all about Glass

Page 1

8.5 x 10 in

san 12 mm

8.5 x 10 in

เกี่ยวกับแก้ว All about Glass : Sand & Husk, Art & Science

All about Glass : Sand & Husk, Art & Science

โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร

54-05-058 Cover new18_V.indd 1

PUMP FOIL

54-05-058 Cover_san 12 mm._J = CS2_G Classic Artcard

8/3/11 3:23:07 PM



All about Glass : Sand & Husk, Art & Science

Art Exhibition of Thai Creative Economy: by Research and Development Institute Silpakorn University in Collaboration with Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts, Faculty of Decorative Arts and Faculty of Science, Silpakorn University 29 April  -  6 May 2011 At PSG Art Gallery, Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts

โครงการจัดแสดงนิทรรศการ “All about Glass”

ศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดย  สถาบันวิจัยและพัฒนา  คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์  และคณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร 29 เมษายน - 6 พฤษภาคม 2554 ณ หอศิลป์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  วังท่าพระ  กรุงเทพมหานคร



All about Glass : Sand & Husk, Art & Science เกี่ยวกับแก้ว

ภายใต้โครงการศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย “วิจิตรศิลป์ - สินไทย” และโครงการนวัตกรรมการเปลี่ยนขยะสู่งานสร้างสรรค์


All about Glass

“All about Glass : Sand & Husk, Art & Science”

Art Exhibition of Thai Creative Economy: Art from Thai Intelligence [ATI] by Members of The Art Exhibition of Thai Creative Economy: by Research and Development Institute Silpakorn University 29 April  -  6 May 2011 At PSG Art Gallery, Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts © 2011 Copyright by Research and Development Institute Silpakorn University

Special thanks to :  Professor  Emeritus  Khunying  Khaisri  Sri-Aroon  :  Silpakorn  University  Research  and Development  Institute  :  Mr.  Warwick  West  :  Invited  Instructor  and  Artist  :  Henkel  Thailand Co.,  Ltd.  :  Creative  Economy  Project’s  Officers Photographer : Alongkorn Sriprasert, Damrong Leewairoj Exhibition concept : Pensiri Chartniyom, Sayumporn Kasornsuwan Art Directer : Teerayut Changkit Translation : Dr. Paramaporn Sirikulchayanont : Vichaya Mukdamanee : Petchada Choon-On : Suthassanee Jitjai : Lalida Jitjai Text : Ochana Poonthongdeewattana : Jirada Jareewaruroj : Pornwipa Suriyakarn : Theerapol Uthum : Nutcha Aeknava : Chanis Sutthiyuth : Pensiri Chartniyom : Radchada Buntem Printed by Amarin Printing and Publishing Public Co., Ltd., Bangkok E-mail: info@amarin.co.th Homepage: http://www.amarin.com Edition limited 15,000 copies Printed and bound in Thailand



All about Glass

สารจากนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ (Comprehensive University) ที่มีการเรียนการ สอนครบทุกด้าน  ทั้งมนุษยศาสตร์  สังคมศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เราได้พดู กันมาช้านานมากถึงการบูรณาการข้ามสาขาวิชาเพือ่ ผลิตบัณฑิตหรือสร้างองค์ความรูใ้ หม่  โดยเฉพาะ ด้านศิลปะซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรมีศักยภาพสูงกับศาสตร์อื่นๆ ที่มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยศิลปากร แต่ก็เป็นไปได้ช้ามาก เป็ น ที ่ น ่ า ยิ น ดี ท ี ่ ส ถาบั น วิ จ ั ย และพั ฒ นา  มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร  ได้ ค ิ ด โครงการพั ฒ นาเศรษฐกิ จ เชิงสร้างสรรค์ขึ้นและเป็นที่มาของการบูรณาการข้ามศาสตร์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับศิลปะ  โดยมีโครงการ All about Glass เป็นตัวอย่างหนึ่งในโครงการเหล่านั้น ขอแสดงความชื ่ น ชมยิ น ดี แ ละขอขอบคุ ณ สถาบั น วิ จ ั ย และพั ฒ นา  คณะมั ณ ฑนศิ ล ป์   และคณะ วิทยาศาสตร์ในความร่วมมือร่วมใจกันทำงาน  ดิฉันหวังว่าจะได้เห็นโครงการลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกในศิลปากร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและประเทศชาติ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ  คุณหญิงไขศรี  ศรีอรุณ นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร


Sand & Husk, Art & Science

โครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร All about Glass เป็นนิทรรศการซึ่งจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานบางส่วนที่เกิดจากโครงการศิลปากร  พัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  ตามทีค่ ณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ  ซึง่ มีนายกรัฐมนตรี  เป็นประธานและได้ขอให้คณะกรรมการฯ  จัดสรรวงเงิน 1,000 ล้านบาท  จากพระราชกำหนดให้อำนาจ  กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ  พ.ศ. 2552  เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย  เศรษฐกิจสร้างสรรค์และนำเสนอโครงการซึ่งมีความพร้อมดำเนินการในปี  2553  และมีความจำเป็นในการ  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้บรรลุเป้าหมายตามพันธสัญญาทั้ง 4 ด้านของรัฐบาลในวงเงิน 1,384 ล้าน  บาท  คณะกรรมการฯได้พิจารณากลั่นกรองโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555  โดยมี  หลักเกณฑ์ในการพิจารณาโครงการดังนี้ 1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555  ที่คณะรัฐมนตรี  กำหนด 2. สอดคล้องกับพันธสัญญา 4 ด้าน  ของรัฐบาลภายใต้โครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ดังนี้ •ด้านที่ 1  ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์  (Creative Infra-  structure) •ด้านที่ 2  สร้างรากฐานและปลูกฝังความสามารถด้านการคิด  และการสร้างสรรค์ในระบบการ  ศึกษาไทย  (Creative  Education & Human Resource) •ด้านที่ 3  กระตุ้นให้ทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์  (Creative society & In-  spiration) •ด้านที่ 4  ส่งเสริมสนับสนุนธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์  (Creative  Business Development & Investment) 3. สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์คอื   “การสร้างสรรค์สนิ ค้าและบริการใหม่ๆ ทีเ่ กิด  จากการผสมผสานสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม  ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่   และเอกลักษณ์ความเป็นไทยเข้ากับองค์ความรู้  และเทคโนโลยีที่เหมาะสม  เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีลักษณะเฉพาะตัว  มีการออกแบบและนวัตกรรมของ  ตนเอง” และโดยมติของคณะรัฐมนตรี  เรื่องการบริหารโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง  2555  เมื่อวันที่  9  มีนาคม  2553  ได้อนุมัติงบประมาณส่วนหนึ่งให้มหาวิทยาลัยศิลปากรดำเนินการโครงการภายใต้  แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555  โครงการเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ปี


All about Glass

โครงการปฏิบัติการไทยเข้มเเเข็ง : ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย “วิจิตรศิลป์  - สินไทย” ตามธรรมชาติของคนไทยเราต่างก็มีความสามารถในเชิงการช่างฝีมือ  หรือสามารถสร้างผลงาน  ต่างๆ ที่อาศัยความประณีตบรรจงได้ดี  แต่สิ่งที่ยังขาดอยู่ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะตอบสนองค่านิยม  ของคนในปัจจุบันนี้ได้คือ “ความคิดสร้างสรรค์” มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงมีแนวคิดที่จะช่วยพัฒนาระบบการผลิตของคนไทยขึ้นมาอย่างเป็น  รูปธรรม  โดยที่ทางสถาบันตระหนักถึงศักยภาพด้านศิลปะ  หรือการออกแบบของคณะวิชาต่างๆ  และเล็งเห็นว่าสามารถนำคุณประโยชน์นไ้ี ปช่วยพัฒนาหรือส่งเสริมกระบวนการผลิตของท้องถิน่   รวมถึง  ผู้ประกอบการต่างๆ ให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพอันจะส่งผลให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วย  ทางมหาวิทยาลัย  จึงคิดจัดทำโครงการขึน้ มา  โดยมีเป้าหมาย  คือ  การพัฒนาให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเข้มแข็งมาก  ยิ่งขึ้น  มีสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นฝ่ายประสานงานกับคณะวิชาต่างๆ ให้  เสนอโครงการทีส่ ามารถนำศักยภาพของแต่ละคณะวิชาไปสร้างสรรค์ผลงาน  หรือส่งเสริมท้องถิน่ รวมถึง  ภาคธุรกิจ  ให้ได้ผลลัพธ์ตอบโจทย์กับเป้าหมายดังกล่าว สำหรับในส่วนของคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์  เนื่องด้วยเวลาใน  การดำเนิ น โครงการมี จ ำกั ด   เราจึ ง ใช้ ว ิ ธ ี ก ารต่ อ ยอดจากโครงการเดิ ม ที ่ เ คยทำอยู่คือ  โครงการ “OTOP  หนึ ่ ง ตำบลหนึ ่ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ”   เพราะแนวคิ ด ของโครงการนั ้ น มี ค วาม  คล้ายคลึงกัน  คือ  นำศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะของคณะจิตรกรรมฯ  เข้าไปสนับสนุนการออกแบบ  หรือช่วยพัฒนาวัสดุของท้องถิ่นให้มีมูลค่าเพิ่ม  จึงเกิด  “โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง: ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย  วิจิตรศิลป์  - สินไทย” ขึ้น  เพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการพัฒนาประเทศไทยให้เข้มแข็ง  โดยมีแนวคิดสำคัญ  คือ  นำ  “วิจิตรศิลป์”  ซึ่งหมายถึง  องค์ความรู้ในเชิงศิลปะ  มาพัฒนา “สิน” ที่มาจาก “สินทรัพย์”  ของประเทศไทยให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น การดำเนินโครงการเริ่มจากการตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายและวางแผน  งาน  อันประกอบไปด้วย  คณาจารย์อาวุโส  หรือตัวแทนจากภาควิชาต่างๆ  ต่อมาจึง  กำหนดกลุ่มเป้าหมายซึ่ง  ก็คือ  กลุ่มผู้ประกอบการที่จะมาร่วมโครงการ  ได้แก่  บริษัท  At  Bangkok  Co., Ltd.  ผู้ผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์  FlyNow โดยให้การสนับสนุนเทคนิค  ประเภทผ้าและเครื่องหนัง  บริษัทวัฒนสิริโลหการ  จำกัด  สนับสนุนเทคนิคประเภทโลหะ  ห้างหุ่นส่วนจำกัด  เถ้าฮงไถ่  ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา  บริษัทเอเบิลอินทีเรีย  เวิร์คช็อป  จำกัด  ให้การสนับสนุนด้านผลิตภัณฑ์ไม้  และ MR. Warwick West  ศิลปินวิทยากร  พิเศษจากออสเตรเลีย  ให้ความรู้และสนับสนุนการผลิตประเภทแก้ว


Sand & Husk, Art & Science

เมื่อติดต่อประสานงานกับกลุ่มผู้ประกอบการได้แล้ว  จึงจัดสัมนาร่วมกัน  ระหว่างผู้ประกอบการกับกลุ่มศิลปิน  ซึ่งมีทั้งคณาจารย์จากคณะจิตรกรรมฯ  ศิษย์เก่าของคณะจิตรกรรมฯ  รวมถึงคณาจารย์ตา่ งคณะวิชา  เพือ่ ให้ผปู้ ระกอบการ  ชี้เเจงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือขอบเขตการผลิตที่ตนเองกระทำอยู่แต่เดิม  โดยเป็น   ไปในลักษณะของการพูดคุยและให้ชมตัวอย่างผลิตภัณฑ์  จากนั้นจึงให้ฝ่ายศิลปิน  เข้าเยี่ยมชมแหล่งผลิต  เพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดของวัสดุและขั้นตอนต่างๆ  แล้วจึงกลับมาออกแบบด้วยการร่างภาพต้นแบบของผลงาน  ต่อมาก็มีการหารือ  กันอีกครั้งระหว่างศิลปินและผู้ประกอบการเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการ  สร้างผลงาน  ซึง่ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องมีการปรับแก้ตน้ แบบ  เพือ่ ให้สอดคล้อง  กับเทคโนโลยีการผลิตของผู้ประกอบการ  จากนั้นศิลปินแต่ละท่านจะติดต่อกับผู้ประกอบการโดยตรง  เพื่อเริ่มทำการผลิตผลงาน  และในอีกส่วนหนึ่งก็เปิดโอกาสให้ศิลปินได้ผลิตผลงานด้วยตัวเอง  ซึ่งบาง  ท่านก็จะสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคอื่นๆ  แต่อย่างไรก็ดี  ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะไปถึงยังผู้ประกอบการ  รายย่อยอืน่ ๆ ได้เช่นเดียวกัน  ท้ายทีส่ ดุ ก็จดั รูปแบบการเผยเเพร่ผลงาน  อันประกอบไปด้วย  ตัวผลผลิต  การจัดนิทรรศการ  เว็บไซต์  และหนังสือทีร่ วบรวมองค์ความรูต้ า่ งๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปิน  แต่ละท่านตลอดทั้งโครงการ จุดมุ่งหมายของโครงการนี้มิใช่เพียงเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง  แต่มุ่งหวังเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับหลายฝ่ายในระยะยาว  อย่างเช่น  สำหรับผู้ประกอบการก็ดี  หรือ   ผู้ผลิตระดับท้องถิ่นก็ดี  จะสามารถนำความรู้ความถนัดในด้านศิลปะมาต่อยอดภูมิปัญญาของตน   เพื่อสร้างเป็นผลงานศิลปกรรมหรือนำความรู้นั้นๆ ไปประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ของตนเอง  เพื่อสร้าง  อัตลักษณ์ที่โดดเด่นขึ้นมาได้  หากเป็นทางด้านวิชาการก็จะเกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ  หรือมุมมองใหม่ๆ ขึ้น  เพราะในระหว่ างกระบวนการปฏิบ ัติ ร่ วมกั น ระหว่ า งศิ ล ปิ น กั บ ผู ้ ป ระกอบการ  อาจมี ก ารต่ อ รอง  แลกเปลี่ยนทัศนคติ  หรือคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการออกแบบและการผลิตที่อาจเป็นประโยชน์ต่อสาขา  วิชาความรู้ได้มากยิ่งขึ้น  ส่วนสาธารณชนทั่วไปก็จะได้ความรู้จากนิทรรศการที่จัดขึ้น  รวมถึงจากการ  เผยเเพร่ข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต  และเนื่องจากโครงการนี้ดำเนินไปด้วยความร่วมมือ  จากหลายฝ่าย  จึงก่อให้เกิดสัมพันธไมตรีระหว่างหน่วยงานรัฐ  ซึ่งหมายถึง  มหาวิทยาลัยศิลปากร  กับภาคเอกชน  คือ  ผู้ประกอบการแต่ละท่าน  อันจะก่อให้เกิดเครือข่ายที่เข้มเเข็งขึ้นในอนาคต


10 All about Glass

สำหรับผลที่คาดหวังว่าจะได้รับจากการร่วมมือกัน  ส่วนใหญ่แล้วจะสอดคล้องไปกับจุดมุ่งหมายของโครงการ  ประการแรก  คือ  ผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตระดับท้องถิ่น  สามารถนำความรู้ทางด้านวิจิตรศิลป์จากฝ่ายศิลปินไป  ต่ อ ยอดภู ม ิ ป ั ญ ญาดั ้ ง เดิ ม ตนเองให้ ม ี ค ุ ณ ค่ า มากยิ ่ ง ขึ ้ น  ประการทีส่ อง  คือ  เกิดการเเก้ปญ ั หาต่างๆ ในเชิงสร้างสรรค์  อาทิเช่น  ปัญหาความซ้ำซากของการออกแบบ  อันเนื่องมาจากความเคยชินของผู้ผลิต  ซึ่งสามารถแก้ปัญหา  ได้ด้วยองค์ความรู้ของแต่ละฝ่ายที่มาแลกเปลี่ยนกัน  ทำให้การออกแบบก็ดี  หรือการผลิตก็ดี  มีรูปแบบ  ที่แปลกใหม่มากขึ้น  ผลงานที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้จึงมีความน่าสนใจมากไปกว่าที่เป็นอยู่เดิม  สุดท้าย  คือ  การ  บริการความรูส้ สู่ าธารณะทางช่องทางต่างๆ ทีจ่ ดั ทำขึน้   ทำให้ทง้ั ภาคธุรกิจและภาคประชาชนสามารถนำความรู้  ไปประยุกต์ใช้กับหน่วยการผลิตของตนเอง  เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในระบบการผลิตของคนไทยต่อไป ถึงแม้วา่ โครงการนีจ้ ะมีระยะเวลาดำเนินงานค่อนข้างจำกัด  แต่อย่างไรก็ตาม  การจัดทำโครงการนีก้ ก็ ลาย  มาเป็นโอกาสอันดีที่ศิลปินหลากหลายท่านจะได้พบเจอกับผู้ประกอบการซึ่งอยู่ในภาคธุรกิจ   จึงอยากจะฝาก  คำขอบคุณไปถึงผู้ประกอบการทุกท่านที่มีส่วนช่วยในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการครั้งนี้  เพราะจากการ  ทำกิจกรรมร่วมกัน  ทำให้เกิดโอกาสเรียนรู้ซึ่งกันและกัน   นับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะก่อให้เกิดการ  สร้างสรรค์ในรูปเเบบใหม่ๆ  รวมถึงได้รับความรู้ใหม่ๆ ด้วยกันทั้งสองฝ่าย  โดยที่ฝ่ายศิลปินเองอาจจะได้ทราบ  ถึงข้อจำกัดทางเทคนิค  เงื่อนไขทางการผลิต  หรือหนทางความเป็นไปได้ในการสร้างงาน  ในขณะเดียวกัน  ฝ่ายผู้ประกอบการเองก็คงจะได้แง่มุมในทางศิลปะเพิ่มเติม  จนสามารถพัฒนาในสิ่งที่ตนทำอยู่เดิมให้กลาย  เป็นผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ได้  และผลสรุปจากความร่วมมือร่วมใจกันก็จะไม่จบอยู่เพียง  แต่ในโครงการนี ้ แต่ไม่ว่างานใดๆ ที่เกิดจาก  2  ปัจจัยสำคัญ  คือ  “ความคิดสร้างสรรค์”  และ “ความร่วมมือ”  งานนั้นๆ ก็ย่อมประสบผลสำเร็จ  และถึงแม้จะเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆ  แต่ก็สามารถเป็นส่วนสำคัญที่ช่วย  พัฒนาประเทศได้  ซึ่งหลักการที่เกิดขึ้นมานี้  ก็คือ  ผลลัพธ์สำคัญที่พวกเราต่างได้รับจากการดำเนิน “โครงการ  ปฏิบัติการไทยเข้มเเข็ง:  ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย  วิจิตรศิลป์  -  สินไทย” ในครั้งนี้ด้วย เรียบเรียงจากการสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ปริญญา  ตันติสุข คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย จิรดา  จรีเวฬุโรจน์


Sand & Husk, Art & Science 11


12 All about Glass

สารจากผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร การจัดนิทรรศการ  All  about  Glass  เป็นหนึง่ ในพันธกิจของสถาบันวิจยั และพัฒนา  มหาวิทยาลัย  ศิลปากรในการดำเนินโครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์  โดยได้รวมผลงานบางส่วนของ  “โครงการปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง  ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย”  ซึ่งดำเนินการโดยคณะจิตรกรรม  ประติมากรรมและภาพพิมพ์  กับผลงานของ “โครงการนวัตกรรมการเปลี่ยนขยะสู่งานสร้างสรรค์”  ซึ่งดำเนินการโดยความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และคณะมัณฑนศิลป์ ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคัดเลือกมาแสดง  ในส่วนของคณะจิตรกรรม  ประติมากรรมและ  ภาพพิมพ์  เป็นผลงานศิลปะที่เกิดจากการใช้แก้วเป็นวัสดุหลัก  แก้วเป็นวัสดุโปร่งใส  เปราะบางและ  มีความงดงาม  เหมาะแก่การรังสรรค์งานศิลปะ  คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์เป็นแหล่ง  แรกของการผลิตบัณฑิตของมหาวิทยาลัยศิลปากร  ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยท่านศาสตราจารย์ศิลป์  พีระศรี  ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานจากแก้ว  สมดังคำกล่าวที่ว่า  “คณะจิตรกรรม  ประติมากรรมและภาพพิมพ์  ไม่ได้สอนวาดรูป  แต่สอนให้คนเป็นศิลปิน”  และต่อมาด้วยการเจริญ  เติบโตและการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของมหาวิทยาลัยศิลปากร  นำมาซึ่งคณะวิชาต่างๆ  ทั้งด้านศิลปะ  สังคมศาสตร์  และวิทยาศาสตร์  ซึง่ ส่วนของนิทรรศการทีเ่ กิดขึน้ จากโครงการนวัตกรรมการเปลีย่ นขยะ  สูง่ านสร้างสรรค์  ได้แสดงถึงผลงานสร้างสรรค์ทเ่ี กิดจากการบูรณาการทางวิชาการทีข่ า้ มศาสตร์ระหว่าง  วิทยาศาสตร์กับศิลปะ  ซึ่งเป็นการผลิตแก้ว  แต่มีจุดตั้งต้นในการผลิตที่ต่างกัน  คือ  การใช้เศษวัสดุ  เหลือใช้ทางการเกษตร  ซึ่งมีอยู่มากในบ้านเรา  คือ  แกลบ  และทำการเพิ่มมูลค่าให้วัสดุดังกล่าว  โดยการรังสรรค์ความงามทางศิลปะ  และนำมาซึง่ ชิน้ งานทีส่ ะท้อนถึงความร่วมมือของคณาจารย์รนุ่ ใหม่  จากคณะวิทยาศาสตร์และมัณฑนศิลป์  ซึง่ บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยในการเป็นมหาวิทยาลัย  ชัน้ นำแห่งการสร้างสรรค์  พร้อมทัง้ เป็นผลงานต้นแบบทีส่ ามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจสร้างสรรค์  สมกับ  เจตนารมณ์ของโครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.อริศร์  เทียนประเสริฐ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร


Sand & Husk, Art & Science 13

ความคิดเห็นจากรองอธิการบดี (กิจการนักศึกษา) มีความสุขและประทับใจในความร่วมมือของอาจารย์รุ่นใหม่ที่มาจากสายวิชาการ/สายวิชาชีพ  ที่ต่างกัน  มาบูรณาการเพื่อสร้างผลงานที่มีความลงตัวระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์   ไม่มีอะไร  จะติเลยสำหรับการจัดนิทรรศการครั้งแรก  จัดได้ดี  สวย  สมบูรณ์แบบ  ผลงานที่จัดแสดงทุกชิ้น  มีรายละเอียดให้อยากรู้มากเกินกว่าที่จะดูเพียงครั้งเดียว  ต้องมาดูครั้งที่  2  ครั้งที่  3  เพราะสงสัยว่า  ทำได้อย่างไร  เครื่องไม้เครื่องมือมีเพียงพอแล้วหรือที่ทำออกมาได้ละเอียดและสวยงามมากๆ  ราวกับ  ออกมาจากโรงงานใหญ่ๆ ที่มีเครื่องมือทันสมัย ข้อเสนอแนะ  :  อยากให้สถาบันวิจยั และพัฒนา  สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานอย่างต่อเนือ่ ง  เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษารุ่นต่อไปได้มีเวทีในการแสดงผลงานด้วย  และนอกจากอาจารย์  2  ท่าน  2  คณะวิชาทีม่ าร่วมมือกัน  ก็อาจจะมีอาจารย์/บุคลากรท่านอืน่ ๆ  สนใจทีจ่ ะเข้าร่วมโครงการด้วย  และ  น่าจะพัฒนาให้เป็นของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยศิลปากรได้เป็นอย่างดี  ซึ่งอยากเห็นตรงนี้มากๆ อาจารย์พรสวรรค์  อัมรานนท์ รองอธิการบดี  (กิจการนักศึกษา) มหาวิทยาลัยศิลปากร

ความคิดเห็นจากคณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ผลงานของคณาจารย์จากคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์  คณะมัณฑนศิลป์  และ  คณะวิทยาศาสตร์ในนิทรรศการ  “All  about  Glass”  ซึ่งเป็นผลงานศิลปะและนวัตกรรมที่เกิดจาก  ความคิดสร้างสรรค์ของบุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากรต่างสาขา  อันได้แก่  สาขาทัศนศิลป์  (Visual  Arts)  ทีเ่ ป็นสายงานทางด้านวิจติ รศิลป์  (Fine  Arts)  สาขาออกแบบเครือ่ งประดับ  (Jewelry  Design)  ที่เป็นสายงานทางด้านประยุกต์ศิลป์  (Applied  Arts)  และสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์  เป็นหลักฐานและภาพสะท้อนอย่างชัดเจนให้เห็นถึงศักยภาพทีโ่ ดดเด่นทางสุนทรียภาพของมหาวิทยาลัย  ศิลปากรและเปิดหนทางใหม่ๆ  ในลักษณะบูรณาการองค์ความรู้ทางศิลปะและศาสตร์ในสาขาอื่น ข้อเสนอแนะ  :  การบริหารจัดการในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์  และการนำเสนอผลงานในครัง้ แรกนี ้ อาจกะทันหันอยู่บ้าง  มีความเชื่อว่าหากมีระยะเวลามากขึ้น  สามารถกำหนดวิธีการ  รูปแบบ  และ  สถานที่ในการเผยแพร่และนำเสนอให้เกิดผลกระทบและประโยชน์แก่สาธารณะได้มากขึ้น รองศาสตราจารย์ปริญญา ตันติสุข คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


14 All about Glass

ความคิดเห็นจากคณบดีคณะมัณฑนศิลป์ เป็นโครงการบูรณาการที่น่าสนใจมาก  เนื่องจากเป็นการนำวัสดุที่ใช้แล้วมาสร้างสรรค์เป็นงาน  ศิลปะและการออกแบบได้อย่างดีเยี่ยม นับว่าเป็นมิติที่ดีในการส่งเสริมการผสมผสานทางด้านสายวิทยาศาสตร์และศิลปะการออกแบบ   อันเป็นปัญหาต่อเนื่องมายาวนาน  สอดคล้องกับแนวคิด  ยุทธศาสตร์  เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้เป็น  อย่างดี ข้อเสนอแนะ  :  ส่งเสริมสู่สาธารณะในระดับผู้บริโภคเกรด  A รองศาสตราจารย์เอกชาติ  จันอุไรรัตน์ คณบดีคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ความคิดเห็นจากคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ นิทรรศการ  All  about  Glass  เป็นนิทรรศการที่แสดงผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์จาก  คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์  และผลงานสร้างสรรค์ที่เกิดจากการบูรณาการองค์ความรู้  ระหว่างวิทยาศาสตร์และศิลปะของอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และมัณฑนศิลป์  ซึ่งเป็นการแสดงถึง  การใช้ศักยภาพของความต่างของศาสตร์  เพื่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยที่มีความ  หลากหลายทางวิชาการ  การทำงานร่วมกันเช่นนีจ้ ะก่อให้เกิดองค์ความรูใ้ หม่ๆ  และทำให้มหาวิทยาลัย  ได้แสดงถึงอัตลักษณ์อย่างเด่นชัด ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.จรุงแสง  ลักษณบุญส่ง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


Sand & Husk, Art & Science 15

ความคิดเห็นจากคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ การเปิดงานนิทรรศการมีความกระชับ  บรรยากาศอบอุน่ และเป็นกันเอง  สำหรับการจัดงานแสดง  มีความน่าสนใจ  ผลงานที่นำมาแสดงมีความสร้างสรรค์สวยงามมาก  และสร้างแรงบันดาลใจให้กับ  นักออกแบบอื่นๆ  ด้วย ข้อเสนอแนะ  :  หากจัดงานในช่วงเปิดเรียนจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาอีกจำนวนมากเข้าร่วมชม  นิทรรศการที่น่าสนใจนี้ด้วย รองศาสตราจารย์  ดร.ชัยสิทธิ ์ ด่านกิตติกุล คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ความคิดเห็นจากคณบดีคณะโบราณคดี เป็นงานวิจัยที่ดีมาก  เพราะเป็นการทำงานร่วมกันและได้ผลของงานที่นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่าง  เป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะ  :  หวังว่าจะมีการวิจัยย้อนรอยไปถึงเรื่องการทำแก้วในสมัยโบราณด้วย  เพราะ  มีแหล่งโบราณคดีที่ปรากฏชัดเจนว่า  เป็นแหล่งผลิตแก้วและเครื่องประดับที่ทำด้วยแก้ว งานวิจัยนี้จะมีมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดียิ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญพรรณ  เจริญพร คณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร


16 All about Glass

ความคิดเห็นจากคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นิทรรศการ  All  about  Glass  สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือของคณาจารย์รุ่นใหม่ที่บูรณาการ  องค์ความรู้จากศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับสุนทรียะทางศิลปะ  ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ของ  มหาวิทยาลัยศิลปากร หวังเป็นอย่างยิ่งว่า  จะได้เห็นโครงการที่แสดงถึงความร่วมมือ  และบูรณาการระหว่างศาสตร์  และศิลป์เช่นนี้เพิ่มมากขึ้นต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชัยชาญ  ถาวรเวช คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

ความคิดเห็นจากคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เห็นงานศิลปะที่ทำจากวัสดุพื้นฐานที่เป็นแก้ว  ซึ่งเป็นวัสดุที่เห็นในห้องปฏิบัติการวิทยาสาสตร์  ทั่วไปและดูเป็นของที่ไม่น่าสนใจเท่าไร  แต่เมื่อนำมาเติมความคิดและกระบวนการทางศิลปะ  ทำให้  ดูน่าสนใจ  ช่วยให้เกิดแง่คิดและมุมมองที่ต่างไปจากเดิม  เทคนิคหลายอย่างทางวิทยาศาสตร์ที่ทำ  กับแก้วน่าจะเป็นประโยชน์ต่องานศิลปะและการออกแบบเครื่องประดับ  น่าจะมีโอกาสแลกเปลี่ยน  ความรู้และประสบการณ์ระหว่างบุคลากรสายศิลปะ  และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้อเสนอแนะ  :  1.  ควรมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างบุคลากรสายศิลปะและวิทยาศาสตร์ 2.  เปิดโอกาสให้มีการดูงาน  ดูห้องปฏิบัติการ  และเสวนาร่วมกัน  จะนำไปสู่การพบแง่คิด  วิธีการที่จะช่วยสนับสนุนงานของแต่ละฝ่าย 3.  ควรมีโปรเจคร่วมในการทำวิจัย  หรือโครงงานสำหรับนักศึกษาต่างคณะจับกลุ่มกันทำโปรเจค  ร่วมที่ใช้เทคนิคต่างกันในการวิเคราะห์วิจัย อาจารย์  ดร.ประเสริฐ  ไกรสิงห์เดชา มหาวิทยาลัยศิลปากร


Sand & Husk, Art & Science 17

The All about Glass Exhibition The recent exhibition of gallery of Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts  displayed some interesting and innovative work by lectures from Faculty of Painting,  Sculpture and Graphic Arts and Faculty of Decorative Art (Jewellery Department)  in collaboration with Faculty of Science, Silpakorn University. Glass work by lectures from Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts was  no surprise, aesthetically drawing upon their cultural heritage, whether their concept  was religious or functional, showing a sensitivity to the medium of glass, of particular  interest was a cold - formed table lamp. Particularly interesting was the Jewellery Department, whose exhibited work was  intricately and delicately made, having a soft fragile beauty. The glass in the jewellery  was made by the Faculty of Science, using a new process to make glass, utilizing  the husk of rice which contains silica. Silica is a major component of normal glass  production there being a copious supply of rice husks in Thailand, it seems natural  to use this resource. The Faculty of Science of Silpakorn University is to be commended for its efforts as  this is a new development in the production of a specialty glass. (The Faculty of Science  must bear in mind most countries have banned the use of lead and other toxic substances  in glass making) It would be interesting for the Faculty of Science to research how some stinging  plants and reef-forming glass sponges produce glass without the intense heat required  for the normal production of glass. There is an abundance of these stinging plants in  Australia, the sting is actually delivered to the unfortunate person, causing intense pain,  by tiny silica hairs that deliver the toxin. The reel-forming glass sponges discovered off the coast of British Columbia, Canada  were thought to have been extinct during the age of the dinosaurs. These diatoms or  living fossils make their skeletons out of silica. What a topic for research, to produce glass without using such intense heat. The  energy saving could not calculated. Warwick West Glass Artist



All about Glass : Sand & Husk, Art & Science


20 All about Glass

โครงการนวัตกรรมการเปลี่ยนขยะสู่งานสร้างสรรค์ Innovation  of  Changing  Waste  to  Creative  Works หน่วยงานหลัก 1. ภาควิชาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  จังหวัดนครปฐม  73000  2. ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ  คณะมัณฑนศิลป์  มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม  73000 ชื่อหัวหน้าโครงการ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.รัชฎา  บุญเต็ม  ภาควิชาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  จังหวัดนครปฐม  73000  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญสิร ิ ชาตินิยม  ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  จังหวัดนครปฐม  73000 ผู้ร่วมงานวิจัย 1. รองศาสตราจารย์กำชัย  ตรีชัยรัศมี  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรจังหวัดนครปฐม  73000  2. ดร.ประเสริฐ  ไกรสิงห์เดชา ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขต  พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม  73000

วัสดุตั้งต้นที่ได้จากการเปลี่ยน แปลงขยะจากการเกษตร

ความสำคัญ  ที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย  ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม  ทุกปีเราจะมีขยะหรือของเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่าง  มหาศาล  บางส่วนอาจขายได้แต่มีราคาต่ำ  แม้จะมีผู้สนใจนำมาเพิ่มมูลค่าก็อยู่ในวงจำกัด  ทั้งในแง่ของชุมชนและในแง่ของระดับของกระบวนการแปรรูป  ปัจจุบันนี้ในทุกๆ  ชุมชน  เกษตรกรรมประสบกับปัญหาการจัดการของเหลือทิ้งเหล่านี้  ซึ่งถ้าเราสร้างกระบวนการ  จัดการขึ้น  โดยนำขยะเหล่านี้มาสร้างนวัตกรรม  จะได้วัสดุนวัตกรรมที่มีมูลค่ามากขึ้น  และ  สามารถนำไปใช้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย  เช่น  ทำเครือ่ งประดับ  ผลิตภัณฑ์ตกแต่ง  และเครื่องใช้สอยในครัวเรือนต่างๆ  ทางกลุ่มวิจัยซึ่งประกอบด้วย  คณาจารย์จากภาควิชา  เคมีและภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์  และจากภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ  คณะ  มัณฑนศิลป์  มหาวิทยาลัยศิลปากร  ได้ริเริ่มโครงการนำร่องทำการวิจัยในปี  2550  โดย  วิธีการนำขยะทางการเกษตรมาเพิ่มมูลค่าโดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์   แล้วนำมาขึ้นรูป  จะได้วัสดุตั้งต้น  จากนั้นนำวัสดุตั้งต้นไปปรับรูปทรงให้ได้ตามต้องการ  เพื่อความสมบูรณ์ในการนำไป  สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ  (ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นการสร้างงานให้กับชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย)  หลังจากนั้น


Sand & Husk, Art & Science 21

ทางกลุม่ วิจยั ได้ทำชิน้ งานต้นแบบเป็นผลิตภัณฑ์เครือ่ งประดับ  โดยนำวัสดุนวัตกรรมนัน้ มาใช้เป็นส่วนประกอบในการสร้างสรรค์  ชิน้ งาน  เพือ่ ให้เกิดการเพิม่ มูลค่าทัง้ วัสดุนวัตกรรมและชิน้ งาน  เครื่องประดับ  สำหรับวัสดุนวัตกรรมนี ้ ยังต้องได้รบั การปรับปรุงในเรือ่ ง  ของความแข็ง  ความแวววาว  และความคงทนต่อสารเคมี  รวมทั้งควรมีการประยุกต์องค์ความรู้ให้นำไปใช้งานจริงได้  และผลิตเป็นสินค้าด้านการออกแบบ  โดยร่วมกับผูป้ ระกอบการ  ในท้องตลาด  และนอกจากนี้ยังเน้นให้ชุมชนแก้ปัญหาขยะ  การพัฒนาวัสดุตั้งต้นให้เกิดรูปทรง ในพื้นที่ตนเองและสร้างรายได้ในเวลาเดียวกันด้วย ตามต้องการ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.  เพื่อสร้างองค์ความรู้  กระบวนการจัดการขยะของชุมชนเกษตรกรรม  โดยนำขยะและวัสดุ  เหลือใช้จากผลผลิตในภาคการเกษตรมาวิจัยนวัตกรรมแปรรูปเป็นวัสดุตั้งต้น 2.  เพื่อใช้วัสดุตั้งต้นนั้นสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  โดยใช้กระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์  เน้นสร้างผลงานต้นแบบทางด้านงานเครื่องประดับ  ผลิตภัณฑ์ตกแต่งขนาดเล็ก  เครื่องใช้สอยบนโต๊ะ  อาหาร  และเครื่องใช้สอยภายในครัวเรือน 3.  เพื่อถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน  ทำให้ชุมชนมีศักยภาพในการแก้ปัญหาการสะสมขยะเกษตร  อุตสาหกรรม  และนำขยะมาสร้างรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้ ขอบเขตของการวิจัย 1.  สร้างเตาเผาที่มีประสิทธิภาพสำหรับการแปรรูปวัสดุ 2.  ศึกษาองค์ประกอบของสารเคมีเพื่อนำผสมกับขยะที่ได้จากการเกษตร  เพื่อทำเป็นวัสดุที่มี  ความแข็ง  มันวาว  ทนต่อสารเคมีต่างๆ  และไม่เป็นพิษกับมนุษย์ 3.  ศึกษาช่องทางการตลาดตามประเภทสินค้า  ปริมาณการผลิต  และพฤติกรรมผู้บริโภค  เพื่อ  เป็นแนวทางในการออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ 4. สร้างชิ้นงานต้นแบบจากวัสดุที่ผลิตได้เพื่อทำเป็นเครื่องประดับ  ผลิตภัณฑ์ตกแต่งขนาดเล็ก  เครื่องใช้สอยบนโต๊ะอาหาร  และเครื่องใช้สอยภายในครัวเรือน 5.  เผยแพร่ผลงานทีไ่ ด้ออกสูส่ าธารณะชนในการประชุมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม  6.  คัดเลือกและประสานงานกับชุมชนที่สนใจเปลี่ยนขยะเกษตรกรรมสู่งานสร้างสรรค์ 7.  ถ่ายทอดเทคโนโลยีและจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ชุมชน


22 All about Glass

ผศ.ดร. รัชฎา  บุญเต็ม ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ผู้เขียน

ประวัติความเป็นมาของวัสดุแก้ว แก้วและเคมีของแก้ว ประวัติศาสตร์การพัฒนาแก้ว ประวัติศาสตร์ในยุคต้น มนุษย์เริ่มผลิตแก้วเป็นเวลากว่า  4,000  ปีมาแล้วในตะวันออกกลาง  ด้วยการหลอมแร่โลหะ  แล้วจึงกำจัดสิ่งปนเปื้อนที่มีอยู่ด้วยการเผาเช่นเดียวกับเครื่องปั้นดินเผาทั่วไป  ในช่วงแรกนั้นชิ้นงาน  ที่ผลิตได้นั้นได้รับการสนใจเป็นอย่างมาก  เนื่องจากแก้วที่ได้มีลักษณะคล้ายกับก้อนหินที่โปร่งแสง  สามารถนำไปใช้เป็นเครื่องประดับ  และในเวลาต่อมาเกิดแนวคิดที่จะนำแก้วมาผลิตเป็นถ้วยชาม ในยุคเริม่ แรกนัน้ แก้วจะได้จากการหลอมทราย  ปูนขาว  และส่วนผสมอืน่ ๆ  ทช่ี ว่ ยให้เกิดการหลอม  ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลวของทราย  เทคโนโลยีเกี่ยวกับแก้วนั้นถูกศึกษาแบบลองผิดลองถูกเป็น  พันๆ  ปี  และการค้นพบถูกเก็บไว้เป็นความลับ  นักศิลปะพยายามเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตแก้วสี  และ  พบว่าในสมัยทีร่ งุ่ เรืองทีส่ ดุ ของเวนิส  เทคโนโลยีในการสร้างงานศิลปะด้วยแก้วนัน้ ถือเป็นเทคโนโลยีขน้ั สูง เราสามารถจำแนกแก้วออกเป็น  2  ชนิด  คือ 1)  Crown  glasses  เป็น  soda-lime  glass  มีค่าดัชนีหักเหต่ำ  เหมาะกับงาน  ทั่วไป  เช่น  ทำกระจกหน้าต่าง 2)  Flint  glasses  เป็นแก้วที่มีส่วนผสมของตะกั่ว  มีค่าดัชนีหักเหสูง  นิยมนำไป  ใช้ในงานตกแต่ง  โดยคำว่า  Flint  มาจาก  Flint  stone  ซึ่งเป็นแหล่งของซิลิกา ศาสตร์เกี่ยวกับแก้วไม่ได้รับการพัฒนาจนกระทั่งในปี  1800  เนื่องจากมีปัญหาทาง  ด้านเทคนิคในการผสมส่วนผสมทีใ่ ช้ในการทำแก้วให้เป็นเนือ้ เดียวกัน  Pierre  Louis  Guinand  พัฒนาวิธีการใช้เครื่องปั่นกวนในการเตรียมแก้ว  และถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้แก่  Joseph  von  Fraunhoffer  จากบริษัทผลิตเลนส์แก้วในมิวนิค  Fraunhoffer  สามารถวัดค่าดัชนี  หักเหของแก้ว  โดยพบว่าค่าดัชนีหักเหของแก้วที่ผสมตะกั่วมีค่ามากกว่าแก้วที่มีแคลเซียม  เป็นองค์ประกอบ Fraunhoffer  ได้สร้างเครือ่ งมือทีส่ ามารถวัดค่าดัชนีหกั เหของแสงทีม่ คี า่ ความยาวคลืน่   ทีม่ คี า่ แตกต่างกันได้  โดยเขาทำการศึกษาอิทธิพลของธาตุได้แก่  โซเดียม  (Na)  โพแทสเซียม  (K)  อลูมิเนียม  (Al)  และเหล็ก  (Fe)  ต่อค่าดัชนีหักเหของแก้ว  นักวิทยาศาสตร์ชาว  อังกฤษ  Harcourt  และ  Strokes  ทำการศึกษาต่อจาก  Frauhoffers  แต่ศึกษาอิทธิพล  ของธาตุอื่น  เช่น  ลิเทียม  (Li)  เบริลเลียม  (Be)  แบเรียม  (Ba)  แมกนีเซียม  (Mg)  การขึ้นรูปแก้วที่หลอมเหลวในแม่พิมพ์


Sand & Husk, Art & Science 23

สทรอนเชียม  (Sr)  สังกะสี  (Zn)  แคดเมียม  (Cd)  โบรอน  (B)  ดีบุก  (Sn)  ฟอสฟอรัส  (P)  ฟลูออรีน  (F)  อาร์เซนิก  (As)  พลวง  (Sb)  ทังสเตน  (W)  โมลิบดีนมั   (Mo)  แทนทาลัม  (Tl)  และวาเนเดียม  (V)  งานวิจัยนี้ใช้ถ้วยครูซิเบิลที่ทำจากแพลทินัมในการผสม  องค์ประกอบในการทำแก้วเพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากไอออนของโลหะอื่น   และใช้  เปลวไฮโดรเจนเพื่อให้ได้อุณหภูมิสูงเพื่อป้องกันสิ่งปนเปื้อนที่มาจากส่วนผสมของ  เชื ้ อ เพลิ ง   นอกจากนี ้ ย ั ง พบว่ า ถ้ า ใช้ ส ารตั ้ ง ต้ น เป็ น บอริ ก ออกไซด์   (B 2O 3)  และ  ฟอสฟอรั ส เพนทอกไซด์   (P 2O 5)  แทนการใช้ ซ ิ ล ิ ก าจะได้ แ ก้ ว ที ่ ม ี ค ุ ณ สมบั ต ิ พ ิ เ ศษ  สามารถนำไปใช้เป็นเลนส์ของกล้องโทรทรรศน์ได้ การพัฒนาคุณสมบัติของแก้วเชิงแสง ข้ อ มู ล ในเชิ ง วิ ท ยาศาสตร์ ข องแก้ ว เชิ ง แสงถู ก ค้ น คว้ า โดย  Otto  Schott  และ  Ernst  Abbe  ในช่วงปลายศตวรรษที่  19  ในเยอรมันตะวันออก  Ernst  Abbe  ทำงานวิจัย  ร่วมกับ  Carl  Zeiss  และทีมวิจัยในมหาวิทยาลัยจีน่า  (Jena)  เกี่ยวกับสมบัติเชิงแสง  ของแก้ว  ในขณะที ่ Otto  Schott  มาจากครอบครัวทีท่ ำแก้ว  ซึง่ ทำให้เขาสนใจทำงานวิจยั เกีย่ วกับ  แก้ว  Ernst  Abbe  สนใจงานวิจัยของ  Otto  Schott  และเชิญมาร่วมทำงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยจีน่า  ลักษณะของถ้วยครูซิเบิล พวกเขาได้ร่วมกันค้นคว้าวิธีการต่างๆ  รวมทั้งผลของสารประกอบบอเรตและฟอสเฟตที่มีต่อคุณสมบัติ  ทีท่ ำจากแพลทินัม เชิงแสงของแก้ว  จากความร่วมมือระหว่าง  Abbe  และ  Schott  ทำให้เกิดบริษทั   Jena  Glass  Works  of  Schott  and  Associates  ซึ่งกลายมาเป็นผู้นำในการผลิตแก้วเชิงแสง  และเมืองจีน่ายังเป็นที่ตั้ง  ของบริษัท  Zeiss  ซึ่งเป็นผู้นำทางด้านการผลิตอุปกรณ์เชิงแสงต่างๆ    แก้วที่มีบอเรตเป็นส่วนผสมจะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับ  chromatic  aberration  ทำให้ได้อุปกรณ์  เชิงแสงที่มีคุณภาพมากขึ้น  Ernst  Abbe  ได้สร้างระบบที่จะแก้ไข  chromatic  aberration  ในกล้อง  จุลทรรศน์  และในปัจจุบันกล้องจุลทรรศน์ของ  Abbe  กลายเป็นเครื่องมือที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก  นำมาใช้ในการศึกษาค้นคว้าวิจัยในทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์


24 All about Glass

องค์ประกอบและคุณสมบัติของแก้วสี  ก่อนที่จะมีการผลิตแก้วสี  เครื่องประดับต่างๆ จะทำมาจากอัญมณี  เช่น  เพชร  และพลอย  ซึ่งอัญมณีเหล่านี้มีราคาแพงและหายาก  จึงได้มีแนวคิด  ในการนำแก้วสีมาใช้ทำเครื่องประดับ  เรามีความรู้ว่า  การเกิดสีของวัตถุเกิดจาก  วัตถุนั้นดูดกลืนแสงที่บางช่วงคลื่น  และปล่อยแสงช่วงคลื่นอื่นออกมา  แสงที่ถูก  ปล่อยออกมาจะทำให้เกิดสีของวัตถุนั้น  ซึ่งความยาวคลื่นของแสงที่ถูกดูดกลืน  จะขึน้ อยูก่ บั องค์ประกอบและลักษณะโครงสร้างผลึกของวัตถุ  การเกิดสีของแก้วนัน้   เกิดจากการเติมไอออนของโลหะแทรนซิชัน  เช่น  เหล็ก  (Fe)  โคบอลต์  (Co)  นิ ก เกิ ล   (Ni)  ทองแดง  (Cu)  โครเมี ย ม  (Cr)  และแมงกานี ส   (Mn)  โดย  ไอออนเหล่านี้จะมี  d-orbital  ที่มีอิเล็กตรอนบรรจุไม่เต็ม  ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก  ของการเกิดสีในแก้ว  มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่ากระจกไม่มีสีในบางครั้งถ้าเรามอง  จากขอบจะเห็นเป็นสีเขียว  ทั้งนี้เกิดจากการเจือปนของไอออนของเหล็กในแก้ว  ซึ่งหลีกเลี่ยงได้ค่อนข้างยาก การเกิดสีของแก้วโดยการเจือไอออนของโลหะแทรนซิชันนั้น  สีของแก้ว  จะขึ้นกับชนิดของโลหะแทรนซิชัน  เลขออกซิเดชัน  และองค์ประกอบที่ใช้ในการ  ทำแก้ว  ดังข้อมูลในตารางต่อไปนี้ ชนิดของไอออน

แก้วซิลิเกต

แก้วฟอสเฟต

Fe2+ Fe3+

สีเขียวอมน้ำเงิน สีน้ำตาลอมเหลือง

สีน้ำเงินอมเขียว สีน้ำตาลอ่อน

การใช้งานวัสดุแก้ว แก้วถูกนำไปใช้ในการผลิตชิ้นงานได้หลากหลายดังนี้ 1.  แก้วในงานก่อสร้าง  (Constructions)  เช่น  กระจกแผ่น  กระจกลาย  อิฐแก้ว  (Glass  block)  เป็นต้น  โดยแก้วชนิดนี้ต้องมีความแข็งแรง  ความโปร่งใสสูง  สามารถผลิตในปริมาณมากเพื่อให้คุ้มกับ  การลงทุน 2.  แก้วบรรจุภัณฑ์  (Containers)  เช่น  ขวด  แก้วน้ำ  และภาชนะต่างๆ  แก้วชนิดนี้มีความ  ทนทานทางกายภาพและทางเคมี  และสามารถนำกลับมาล้างใช้ได้ใหม่อย่างน้อย  50  ครั้ง


Sand & Husk, Art & Science 25

3.  แก้วทีผ่ า่ นการแปรรูป  (Specialty  glass)  เช่น  กระจกนิรภัยชนิดต่างๆ  กระจกฉนวน  กระจก  เสริมลวด  เป็นการนำกระจกแผ่นแบบ  float  มาอบ  ดัด  ตัดแต่ง  ซึ่งจะทำให้ได้กระจกที่มีรูปร่างตาม  ที่ต้องการ  มีความทนทานมากขึ้น  กระจกนิรภัยจะช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากการแตกได้   4.  แก้วเครื่องประดับ  ตกแต่ง  (Ornaments  &  Figurines)  เช่น  แก้วคริสตัล  ของชำร่วยต่างๆ  แก้วสลัก  เจียระไน  มักเป็นแก้วพวก  borosilicate  ซึ่งสามารถนำมาเป่าขึ้นรูปได้ง่าย  หรือแก้วผสม  ตะกั่ว  ซึ่งจะทำให้แกะสลักและเจียระไนได้ง่าย   5.  แก้วในอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์  (Electronics &  Electrical  Glass)  เช่น  Cathode-ray  tubes,  capacitors,  resistors,  computer  components  และ  print  circuits  เป็นต้น  แก้ว  ที่ใช้จะต้องมีค่า  dielectric  สูง  มีการสูญเสียทางไฟฟ้าน้อยเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยน  สำหรับแก้วที่ใช้ทำ  จอทีวีจะมีปริมาณตะกั่วสูงเพื่อป้องกันการแผ่รังสี  6.  แก้วในงานเชิงแสง  (Optical  glass)  เช่น  หลอดไฟ  ต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ  และการใช้งานที่อุณหภูมิสูง  ทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ  ส่วนเลนส์  ใยแก้วนำแสง  ต้องใช้วัตถุดิบที่ม ี ความบริสุทธิ์สูง   7.  แก้วในงานอื่นๆ  (Other  Glass)  เช่น  ใยแก้ว  โฟมแก้ว  วัสดุคอมโพสิท  มีคุณสมบัติ  แข็งแรง  ทนต่อการกัดกร่อน  ทนความร้อน  และมีความต้านทานไฟฟ้าที่ด ี   แก้วและคุณสมบัติทั่วไปของแก้ว “แก้ว ”  มาจากภาษาอังกฤษว่ า  “Glass”  เป็ น วั ต ถุ โ ปร่ ง ใส  เนื ้ อ ใส  มี ค วามแวววาว  แก้ ว  เกิดจากสารประกอบของซิลิกากับสารประกอบออกไซด์  จาก  ASTM  กล่าวว่า  แก้ว  คือ  วัสดุที่เป็น  สารอนินทรีย์ต่างๆ มาเผาให้ถึงจุดหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูง  และเมื่อเวลาเย็นตัวลงมาจะกลายเป็น  ของแข็งโดยไม่มีการตกผลึก จากคำนิยามดังกล่าวจะเห็นว่า  แก้วมีลักษณะที่เหมือนกับเซรามิกส์  คือ 1.  แก้วประกอบขึ้นจากสารอนินทรีย์ 2.  แก้วต้องผ่านการใช้อุณหภูมิสูง  แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างแก้วกับเซรามิกส์  คือ 1.  แก้วต้องมีการหลอมตัวก่อนที่จะขึ้นรูป  ในขณะที่เซรามิกส์ต้องขึ้นรูปก่อน 2.  แก้วจะแข็งตัวโดยไม่มีการตกผลึกจากธรรมชาติของแก้วที่เป็นของแข็งที่ไม่มีผลึกอยู่ในตัวเอง


26 All about Glass

จึงถือว่าแก้วเป็นวัสดุอสัณฐาน  (amorphous  material)  ประเภทหนึ่ง วัสดุอสัณฐาน  หมายถึง  วัสดุที่มีโครงสร้างไม่แน่นอน  หรือมีโครงสร้างที่ไม่เป็นผลึก  (Non-  crystalline  Solid)  ถ้าพิจารณาจากความหมาย  วัสดุอสัณฐานอาจครอบคลุมไปถึงวัสดุที่ไม่จำเป็น  ต้องผลิตด้วยการหลอม  หรือวัสดุที่อาจจะไม่ใช่สารอนินทรีย์  เช่น  พวกพอลิเมอร์ต่างๆ  ก็มีคุณสมบัติ  อสัณฐานเหมือนกัน  สมบัติพื้นฐานของวัสดุอสัณฐานหรือแก้ว  คือ  Glass  transition  temperature  หรือ  Tg  ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญอันหนึ่งที่จะบอกว่าวัสดุนั้นเป็นวัสดุอสัณฐานหรือไม่ crystalline

(a)

non-crystalline

(b)

Silicon atom Oxygen atom

โครงสร้างเปรียบเทียบระหว่าง  (a)  crystalline  SiO2  และ  amorphous  SiO2

จากรูป  โครงสร้างที่ไม่เป็นระเบียบของซิลิกาอสัณฐาน  (amorphous  silica)  ทำให้ระยะห่าง  ระหว่างอะตอมมีมากกว่าซิลิกาในรูปผลึก  (crystalline  SiO2)  ทำให้แสงสามารถเดินทางผ่านไปได้  หรือแม้ว่าจะมีการหักเหบ้าง  แต่ก็น้อยกว่าการหักเหที่เกิดขึ้นในซิลิกาในรูปผลึก การแบ่งประเภทของแก้ว  สามารถแบ่งได้หลายแบบ  เช่น  แบ่งตามกรรมวิธกี ารผลิต  องค์ประกอบ  ทางเคมี  หรือจุดประสงค์การใช้งาน  แต่โดยปกติแล้วเรามักจะแบ่งประเภทของแก้วตามองค์ประกอบ  ดังนี้ 1.  แก้วโซดาไลม์  (Soda-lime  glass) ผลิตจากทราย  โซดาแอช  หินปูน  เป็นแก้วที่พบได้ทั่วไป  เช่น  ขวดแก้ว  แก้วน้ำ  และกระจก   เป็นต้น  สามารถทำให้เกิดสีต่างๆ  ได้โดยการเติมออกไซด์ของโลหะแทรนซิชันลงไป


Sand & Husk, Art & Science 27

2.  แก้วบอโรซิลิเกต  (Borosilicate  glass)  หรือ  Pyrex เป็นแก้วทีม่ กี ารเติมบอริคออกไซด์ลงไป  ทำให้มคี า่ สัมประสิทธิก์ ารขยายตัวเนือ่ งจากความร้อนต่ำ  และทนต่อการเปลี่ยนแปลงความร้อน  แก้วที่ได้สามารถนำไปใช้ทำเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์  ทำภาชนะ  แก้วสำหรับใช้ในเตาไมโครเวฟ  เป็นต้น 3.  แก้วตะกั่ว  (Lead  glass)  หรือแก้วคริสตัล เป็นแก้วที่มีสารผสมของตะกั่วออกไซด์ในปริมาณมากกว่า  24%  โดยน้ำหนัก  เป็นแก้วที่มีดัชนี  หักเหสูงมากกว่าแก้วชนิดอื่น  ทำให้มีประกายแวววาวสวยงาม  และแกะสลักเป็นลวดลายต่างๆ  ได้  ใช้ทำเครื่องแก้วที่มีราคาแพง 4.  แก้วโอปอล  (Opal  glass)   เป็นแก้วที่มีการเติมสารบางตัว  เช่น  โซเดียมฟลูออไรด์  หรือแคลเซียมฟลูออไรด์  ทำให้มีการ  ตกผลึก  หรือการแยกเฟสขึน้ ในเนือ้ แก้ว  ทำให้แก้วชนิดนีม้ คี วามขุน่ หรือโปร่งแสง  จากการทีแ่ ก้วชนิดนี ้ สามารถหลอมและขึน้ รูปได้งา่ ยจึงมีตน้ ทุนการผลิตต่ำ  และสามารถทำให้มคี วามแข็งแรงทนทานมากขึน้   โดยนำไปผ่านกระบวนการอบ  (tempering)  หรือการเคลือบ  (laminating) 5.  แก้วอลูมิโนซิลิเกต  (Alumino  silicate  glass) มีอลูมินาและซิลิกาเป็นส่วนผสมหลัก  มีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนต่ำ  และ  มีจุดอ่อนตัวของแก้ว  (softening  point)  สูงพอที่จะป้องกันการเสียรูปทรงเมื่อทำการอบ  และช่วย  เพิ่มความแข็งแรงให้แก่ผลิตภัณฑ์ 6.  แก้วอัลคาไลน์-เอิร์ท  อลูมิโนซิลิเกต  (alkaline-earth  alumino  silicate) มีส่วนผสมของแคลเซียมออกไซด์หรือแบเรียมออกไซด์  ทำให้มีค่าดัชนีหักเหใกล้เคียงกับแก้ว  ตะกั่ว  แต่ผลิตง่ายกว่า  และมีความทนทานต่อกรดและด่างมากกว่าแก้วตะกั่วเล็กน้อย  7.  กลาส-เซรามิกส์  (Glass-ceramics) เป็นแก้วประเภทลิเทียมอลูมิโนซิลิเกตที่มี  TiO2  หรือ  ZrO2  ผสมอยู่เล็กน้อย  ซึ่งจะทำให้เกิด  ผลึกในเนื้อแก้ว  ซึ่งอาจทำให้แก้วมีความทึบแสงหรือโปร่งใส  ขึ้นกับชนิดของผลึก  กลาส-เซรามิกส์  จะทนทาน  และมีสมั ประสิทธิก์ ารขยายตัวเนือ่ งจากความร้อนต่ำมาก  สามารถนำไปใช้เป็นภาชนะหุงต้ม  หรือเป็นแผ่นบนเตาหุงต้มได้  นอกจากนี้ยังมีแก้วประเภทอื่นๆ  อีกหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่แตกต่างกันออกไป  แต่  เนื่องจากไม่มีการใช้ที่แพร่หลายนัก  จึงไม่นำมากล่าวในที่นี้


28 All about Glass

องค์ประกอบทางเคมีของแก้วจะมีผลต่อคุณสมบัติของแก้ว  ดังต่อไปนี้ 1.  SiO2  แก้วที่มีปริมาณของ  SiO2  สูง  จะทำให้แก้วนั้นมีโครงสร้างที่แข็งแรง  ทนต่อความร้อน  และสารเคมี  แต่ทำให้ต้องใช้พลังงานในกระบวนการผลิตมากขึ้น  เนื่องจากต้องใช้อุณหภูมิสูงขึ้นในการ  หลอมเหลว  และทำให้ขึ้นรูปได้ยากเนื่องจากมีความหนืดสูง  2.  Na2O  แก้วที่มีปริมาณ  Na2O  สูงจะหลอมเหลวที่อุณหภูมิต่ำ  เปราะแตกง่าย  และไม่ทนต่อ  สารเคมี  ถ้ามีปริมาณ  Na2O  สูงมากๆ  จะสามารถละลายน้ำได้  3.  K2O  ช่วยให้การตกผลึกเป็นไปอย่างช้าๆ  ทำให้การเรียงตัวของผลึกออกมาสวยงาม  4.  CaO,  MgO  หรือ  BaO  จะช่วยในการขึ้นรูป  ทำให้แก้วคงตัวเร็วขึ้นเมื่อเย็นลง  และเพิ่ม  ความทนต่อสารเคมี  แก้วที่มีปริมาณ  MgO  มากกว่า  CaO  จะทำให้ให้การตกผลึกเป็นไปอย่างช้าๆ  ทำให้การเรียงตัวของผลึกออกมาสวยงาม  5.  Al2O3  แก้วที่มีปริมาณ  Al2O3  สูง  จะทำให้แก้วนั้นมีความทนทานต่อการสึกกร่อนและ  สารเคมีได้ดีขึ้น  6.  B2O3  แก้วที่มีสารประกอบพวก  Boron  เป็นองค์ประกอบ  (Borosilicate)  จะมีความคงทน  ต่อกรด -  ด่าง  และทนต่อความร้อน  เนื่องจากทำให้สัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนลดลง  แก้วประเภทนี้เป็นแก้วที่ใช้ในอุปกรณ์วิทยาศาสตร์และเป็นแก้วประเภทที่สามารถใช้ในเตาไมโครเวฟได้  7.  PbO  แก้วทีม่ ตี ะกัว่ เป็นองค์ประกอบ  (Lead  glass)  เนือ้ แก้วใสวาวเนือ่ งจากมีคา่ ดัชนีหกั เหสูง  มีความอ่อน  (soft)  ไม่แข็งกระด้าง  ง่ายต่อการเจียระไน  เวลาเคาะมีเสียงกังวาน  8.  Fe2O3  ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในขณะหลอม  แต่จะทำให้เนื้อกระจกใส  มีสีค่อนไปทางเขียว    สำหรับองค์ประกอบทางเคมีของแก้ว  จะขึ้นกับวัตถุดิบ ตารางแสดงองค์ประกอบทางเคมีของแก้วและวัตถุดิบ องค์ประกอบทางเคมี

วัตถุดิบซึ่งเป็นที่มา

SiO2 Na2O K2O CaO MgO Al2O3 Fe2O3

ซิลิกา  (จากทราย) Soda  ash  (Na2CO3),  Salt  cake  (Na2SO4) Feldspar  (เป็นแร่พวก  Alumino  silicate  ที่ม ี Na,  K  เจือปน) Dolomite  (เป็นแร่พวก  carbonate  ของ  Mg,  Ca),  Lime  stone Dolomite Feldspar Impurity


Sand & Husk, Art & Science 29

ถ้าต้องการให้แก้วหรือกระจกมีสีสันต่างๆ  สามารถเติมสารออกไซด์ของโลหะแทรนซิชัน  โดยที ่ ลักษณะการเกิดสีในแก้ว  แบ่งออกเป็น  3  แบบ  ดังนี้ สีที่เกิดจากการดูดกลืน  แสงที่ถูกดูดกลืนจะเป็นช่วงคลื่นเฉพาะ  โดยสารเคมีที่อยู่ในเนื้อแก้ว  จะทำหน้าที่เป็นสารที่ทำให้เกิดสี  ซึ่งสารเหล่านี้จะเป็นออกไซด์ของโลหะแทรนซิชัน สีที่เกิดจากอนุภาคคอลลอยด์  โดยปกติแล้วคอลลอยด์ที่ตกค้างอยู่ในเนื้อแก้วจะไม่มีสี  แต่เมื่อ  ผ่านการให้ความร้อนแล้ว  จะทำให้เกิดสีขึ้นได้  เช่น  คอลลอยด์ของทองคำ สีที่เกิดจากอนุภาคขนาดเล็กที่มีขนาดใหญ่กว่าอนุภาคในระดับโมเลกุล  เช่น  สีแดงที่เกิดจาก  อนุภาคเล็กๆ ของซิลิเนียมออกไซด์  ซึ่งปกติแล้วจะไม่มีส ี แต่เมื่ออยู่ในเนื้อของแก้วสามารถหักเหหรือ  สะท้อน แสงในช่วงคลืน่ หนึง่ ได้ดเี ป็นพิเศษ  ทำให้เกิดสีคล้ายโอปอล  ซึง่ เป็น  Hydrate  amorphous  silica  ที่เดิมมีสีขาวขุ่น  เมื่อหักเหแสงจะทำให้มีสีเปลี่ยนไป โครงสร้างของ  silicate  glass ปัจจุบันมีการผลิต  silicate  glass  เป็นจำนวนมาก  การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของ  silicate  เป็นสิ่งจำเป็นในการนำมาใช้อธิบายโครงสร้างและพฤติกรรมของแก้วในสถานะของเหลวและ  ของแข็ง SiO4  unit  ใน  silicate  glass ใน  silicate  glass  จะมี  SiO4  unit  เชือ่ มต่อกันผ่าน  oxo  linkage  โครงสร้างของ  SiO4  มีลกั ษณะ  เป็นทรงสี่หน้า  (tetrahedron)

(a)

(b)

(a)  แสดงตำแหน่งของ  ออกซิเจนใน  SiO4  unit (b)  แสดงโครงสร้างทรง สี่หน้าของ  SiO4  unit

จากรูป  ความยาวพันธะ  Si-O  มีค่าเท่ากับ  1.60  Å  มุมพันธะ  O-Si-O  เท่ากับ  109.5°  และระยะห่างระหว่าง  O---O  (ความยาวตามขอบของทรงสี่หน้า)  เท่ากับ  2.62  Å


30 All about Glass

Si  ซึ่งเป็นอะตอมกลางใน  SiO4  unit  มีเลขอะตอมเท่ากับ  14  และมีรูปแบบการจัดอิเล็กตรอน  เป็น  1s2  2s2  2p6  3s2  3p2  อิเล็กตรอนใน  3s-subshell  1  ตัวจะถูกกระตุ้นไปยัง  3p-subshell   โดยใช้พลังงานไม่มากนัก  ได้รูปแบบการจัดเรียงอิเล็กตรอนที่สภาวะกระตุ้นเป็น  3s1  3p3  และพบว่า  3s-orbital  และ  3p-orbital  สามารถรวมตัวกัน  (hybridization)  ได้  sp3  hybrid  orbitals  ทั้งหมด  4  orbital  ชี้ไปตามมุมของทรงสี่หน้า  ดังรูป  A  และ  B +

E

2p

E

ได้รับพลังงาน

sp3

sp3

109.5°

sp3

2s

109.5°

+

+ 109.5°

+

sp3

109.5°

sp3

(A)

(B)

รูป  A  การเกิด  sp   hybridization

รูป  B  รูปร่างของ  sp3  hybrid orbitals

3

ออกซิเจนและซิลิกอนใน  SiO4  unit  จะมีเลขออกซิเดชันได้หลายค่าขึ้นอยู่กับลักษณะการเกิด  พันธะระหว่าง  Si  และ  O Θ

22-

4+ 2-

(a)

2-

Θ

Θ

4-

Θ

(b)

(c)

ลักษณะการเกิดพันธะระหว่าง  Si  และ  O (a)  ไอออนิก  (b)  โคเวเลนท์  Si-O  (c)  โคเวเลนท์  Si=O

(a)  พันธะใน  SiO4  unit  จะเป็นไอออนิกประกอบด้วย  Si4+  และ  O2-  ในขณะที่  (b)  จะเกิดพันธะ  เดี่ยวระหว่าง  Si  และ  O  โดยที่เลขออกซิเดชันของ  Si  =  0  และ  O  =  -1  (c)  เกิดพันธะคู่ระหว่าง  Si  และ  O  โดยที่เลขออกซิเดชันของ  Si  =  -4  และ  O  =  0  จากข้อมูลที่ได้จากการคำนวณและการ  ทดลองพบว่า  พันธะระหว่าง  Si  และ  O  จะเป็นพันธะผสมระหว่าง  pure  ionic  bond,  covalent  single  bond  และ  covalent  double  bond


Sand & Husk, Art & Science 31

Building  units  ของผลึก  silicate  ที่พบในธรรมชาติ  Pauling  พบว่าลักษณะการจัดเรียงตัวของไอออนบวกและไอออนลบจะขึ้นกับรัศมีของไอออน  บวกและไอออนลบ  อัตราส่วนของรัศมีไอออนบวกและไอออนลบจะมีผลต่อเลขโคออร์ดิเนชันและ  โครงสร้างดังข้อมูลในตาราง อัตราส่วนของรัศมีไอออนบวกและไอออนลบ  (rcation/ranion) ต่อเลขโคออร์ดิเนชัน  และโครงสร้าง rcation/ranion 0.155 0.225 0.415 0.732 1.0

เลขโคออร์ดิเนชัน

โครงสร้าง

3 4 6 8 12

Triangular planar Tetrahedron Octahedron Cube Close packed structure

ในกรณีของ  SiO4  unit  นัน้ ค่า  rsilicon/roxygen  มีคา่ เท่ากับ  0.3  จากตาราง  ค่าอัตราส่วนนีจ้ ะทำให้  Si  มีเลขโคออร์ดิเนชันเป็น  4  และมีโครงสร้างเป็น  tetrahedron  ซึ่งสอดคล้องกับโครงสร้างที่แท้จริง  ของ  SiO4  unit  SiO4  แต่ละ  unit  สามารถเชือ่ มต่อกันได้โดยผ่าน  oxo  linkage  ทำให้ได้  silicate  หลายชนิดดังนี้ 1.  Discrete  silicate  anions 2.  Infinite  silicate  chain 3.  Silicate  sheet 1.  Discrete  silicate  anions Silicate  ในกลุ่มนี้จะเป็น  silicate  ขนาดเล็ก  เช่น  orthosilicate  (SiO44-),  pyrosilicate  (Si2O72-  )  และ  cyclic  silicates  (Si3O96-  และ  Si6O1812-)  SiO44-  :  Mg2[SiO4]  หรือ  forsterite,  Be2[SiO4]  หรือ  phenacite,  Zr[SiO4]  หรือ  Zircon,  Garnets  หรือ  M(II)3M(III)2[SiO4]3  โดยที่  M(II)  =  Ca,  Mg  หรือ  Fe  และ  M(III)  =  Al,  Cr  หรือ  Fe Si2O76-  :  Sc2  [Si2O7]  หรือ  thortveitite


32 All about Glass

Si3O96-  :  Ca3[Si3O9]  หรือ  wollastonite,  BaTi[Si3O9]  หรือ  benitoite Si6O1812-:  Al2Be3[Si6O18]  หรือ  beryl

โครงสร้างของ  Discrete  silicate  anion

(a)  SiO44-

(b)  Si2O72-

(c)  Si6O1812-


Sand & Husk, Art & Science 33

2.  Infinite  silicate  chain Silicate  ในกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นสายโซ่ยาว  โดยตัวอย่างของ  silicates  ในกลุ่มนี้มีดังนี้ (Si2O6)n4n-  :  Mg2[Si2O6]  หรือ  enstatite,  CaMg[Si2O6]  หรือ  diopside,  LiAl[Si2O6]  หรือ spodumene  (Si4O11)n6n-:  Ca2Mg5[(OH)2(Si4O11)2]  หรือ  tremolite โครงสร้างของ  Infinite  silicate  chain  (a)  single  chain  (b)  double  chain

n

(a) single  chain  เช่น  pyroxenes,  (Si2O6)n4n-

n

(b) double  chain  เช่น  amphibole,  (Si4O11)n6n-


34 All about Glass

3.  Silicate  sheet เป็น  silicate  ที่มีลักษณะเป็น  แผ่ น   เช่ น   ใน  talc  (Mg 3 [(OH) 2  (Si4O10])  และ  biotite  (K(Mg,Fe)3  [(OH)2AlSi3O10]

โครงสร้างของ  Silicate  sheet

n

Talc,  (Si O )

2n2 5 n

สำหรับ  discrete  silicate  anions  แบบต่างๆ  จะมีอัตราส่วนของจำนวน  Si  และ  O  แตกต่างกัน  ดังข้อมูลในตาราง สูตร

อัตราส่วนจำนวน  Si  หรือ  (Si+Al)  และ O

จำนวนของ  bridging  oxygen

[SiO4]4[Si2O7]6[Si3O9]6[Si6O18]12-

1:4 1:3.5 1:3 1:3

0 1 3 6

อัตราส่วนของจำนวน  Si  และ  O  ใน  discrete  silicate anions  แบบต่างๆ


Sand & Husk, Art & Science 35

การเกิดสีในแก้ว แก้วที่เจือด้วยไอออนโลหะแทรนซิชันชนิดต่างๆ  และองค์ประกอบในเนื้อแก้วสามารถทำให้เกิดสี  ที่แตกต่างกัน สีของแก้วที่เจือด้วยไอออนโลหะแทรนซิชันชนิดต่างๆ ไอออนของ

สี

Fe Mn Cr Cu Co Ni Au

เหลืองอมเขียว เหลืองอมน้ำตาล เขียว ฟ้า น้ำเงินเข้ม ควันบุหรี่ แดง

ลักษณะแก้วสีที่ได้จากการเผา

ลักษณะแก้วสีที่นำมาผ่านการเจียระไน


36 All about Glass

ดัชนีหักเหของแก้ว  (Glass  Refractive  Index) ค่าดัชนีหักเหของสาร  หมายถึง  ความเร็วของแสงในสารนั้นเทียบกับความเร็วของแสงใน  สุญญากาศ  ดังสมการต่อไปนี้ n  =  ความเร็วของแสงในสุญญากาศ  /  ความเร็วของแสงในสารนั้น โดยที่ความเร็วของแสงในสุญญากาศ  มีค่าเท่ากับ  3  ×  108  m/s จากค่าดัชนี้หักเหของน้ำที่มีค่าเท่ากับ  1.33  นั้นหมายถึง  แสงเดินทางในสุญญากาศได้เร็วเป็น  1.33  เท่าของความเร็วของแสงในน้ำ  ค่าดัชนีหักเหของแสงจะขึ้นอยู่กับความถี่ของแสงที่ฉายลงไปบน  สารนั้น  โดยที่ค่าดัชนีหักเหของแสงจะเปลี่ยนไปเล็กน้อยเมื่อความถี่ของสารเปลี่ยน  ดังนั้นจึงจำเป็น  ทีจ่ ะต้องระบุคา่ ความยาวคลืน่ หรือความถีข่ องแสงทีใ่ ช้ในการหาค่าดัชนีหกั เหทุกครัง้   ซึง่ ในกรณีของน้ำนัน้   ใช้แสงที่มีความยาวคลื่น  589.29  นาโนเมตร ในการวัดค่าดัชนีหักเหของสารมักนิยมวัดเทียบกับดัชนีหักเหของอากาศ  โดยใช้กฎของ  Snell P

n1 v2

normal

n1sinΘ1 = n2sinΘ2 n1 =  ค่าดัชนีหักเหของอากาศ = 1 n2 = ค่าดัชนีหักเหของสาร Θ1 = มุมที่แสงตกกระทบทำกับเส้นปกติ  (normal  line) Θ2 = มุมที่แสงหักเหทำกับเส้นปกติ  (normal  line)

n2 index v2 velocity

Θ1 Θ2

Interface การหักเหของแสงผ่านตัวกลาง

ค่าดัชนีหกั เหของแก้วจะเพิม่ ขึน้ เมือ่ ความหนาแน่น  เพิม่ ขึน้   แต่อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนี  หักเหแสงของแก้วกับความหนาแน่นของแก้ว  silicate  และแก้ว  borosilicate  นัน้ ไม่เป็นเส้นตรง  แก้วบางชนิด  มีค่าดัชนีหักเหของแสงมากแต่ความหนาแน่นน้อย  ซึ่งพบได้ในแก้วที่มีส่วนประกอบของโลหะออกไซด์  ที่มีน้ำหนักเบาเช่น  Li2O  และ  MgO  แต่ในกรณีของ  แก้วที่มี  PbO  และ  BaO  เป็นส่วนประกอบนั้น  จะมี  ค่าดัชนีหักเหของแสงน้อยแต่ความหนาแน่นมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของแก้ว และค่าดัชนีหักเหของแก้ว silicate และแก้ว borosilicate 6.5 6.0

ความหนาแน่น (g/cm3)

5.5

SiO2-BaO

5.0 4.5 4.0 3.5

SiO2-MgO-CaO

3.0

SiO2-Li2O

2.5 2.0 1.4

SiO2-PbO

SiO2-BaO SiO2-K2O

1.5

1.6

1.7

ค่าดัชนีหักเหของแสง, n0

1.8

1.9

2

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของแก้วซิลิเกตชนิดต่างๆ และค่าดัชนีหักเห


Sand & Husk, Art & Science 37

เอกสารอ้างอิง 1.  “http://www.inyourfacefotos.com/glasstech.htm#COLOR”  http://www.inyourfacefotos.com/glasstech.htm#COLOR,    เข้าถึงเมื่อวันที ่ 21  พฤษภาคม  2554. 2.  “http://www2.mtec.or.th/th/research/GSAT/glassweb/apply.html”  http://www2.mtec.or.th/th/research/GSAT/  glassweb/apply.html,  เข้าถึงเมื่อวันที ่ 21  พฤษภาคม  2554. 3.  Douglas,  R.  W.  (1972)  A  history  of  glassmaking.  Henley-on-Thames:  G  T  Foulis  &  Co  Ltd.  HYPERLINK  “http://en.  wikipedia.org/wiki/International_Standard_Book_Number”  \o  “International  Standard  Book  Number”ISBN HYPERLINK    “http://en.wikipedia.org/wiki/Special:BookSources/0854291172”  \o  “Special:BookSources/0854291172”0854291172.   4.   Zallen,  R.  (1983)  The  Physics  of  Amorphous  Solids.  New  York:  John  Wiley.  “http://en.wikipedia.org/wiki/  International_Standard_Book_Number”  \o  “International  Standard  Book  Number”ISBN HYPERLINK  “http://en.wikipedia.  org/wiki/Special:BookSources/0471019682”  \o  “Special:BookSources/0471019682”0471019682.  5.  Cusack,  N.  E.  (1987)  The  physics  of  structurally  disordered  matter:  an  introduction.  Adam  Hilger  in  association    with  the  University  of  Sussex  press.  HYPERLINK  “http://en.wikipedia.org/wiki/International_Standard_Book_Number”    \o  “International  Standard  Book  Number”ISBN  “http://en.wikipedia.org/wiki/Special:BookSources/0852748299”    \o  “Special:BookSources/0852748299”0852748299.  6.  Elliot,  S.  R.  (1984)  Physics  of  Amorphous  Materials.  Longman  group  Ltd.  7.  Scholze,  H.  (1991)  Glass  –  Nature,  Structure,  and  Properties.  Springer.  “http://en.wikipedia.org/wiki/International_  Standard_Book_Number”  \o  “International  Standard  Book  Number”ISBN HYPERLINK  “http://en.wikipedia.org/wiki/Special:  BookSources/0-387-97396-6”  \o  “Special:BookSources/0-387-97396-6”0-387-97396-6.  8.  Vogel,  W.  (1994)  Glass  Chemistry  (2  ed.).  Springer-Verlag  Berlin  and  Heidelberg  GmbH  &  Co.  K.  HYPERLINK  “http://  en.wikipedia.org/wiki/International_Standard_Book_Number”  \o  “International  Standard  Book  Number”ISBN HYPERLINK    “http://en.wikipedia.org/wiki/Special:BookSources/3540575723”  \o  “Special:BookSources/3540575723”3540575723.  9.  “http://1st-glass.1st-things.com/articles/glasscolouring.html”  http://1st-glass.1st-things.com/articles/glasscolouring.  html,  เข้าถึงเมื่อวันที ่ 1  พฤษภาคม  2554 10.  รัชฎา  บุญเต็มและคณะ,  รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการ “นวัตกรรมการเปลี่ยนขยะสู่งานสร้างสรรค์”  โครงการไทยเข้มแข็ง  2553. 11.  “http://en.wikipedia.org/wiki/Refractive_index,%20%20เข้าถึง”  http://en.wikipedia.org/wiki/Refractive_index,  เข้าถึง  เมื่อวันที ่ 30  พฤษภาคม  2554 12.  “http://www.glassproperties.com/refractive_index/”  http://www.glassproperties.com/refractive_index/,  เข้าถึง  เมื่อวันที ่ 30  พฤษภาคม  2554


38 All about Glass

ผศ.เพ็ญสิร ิ ชาตินิยม ภาควิชาออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ ผู้เขียน

การสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุประเภทแก้ว แก้ว  ถือว่าเป็นวัสดุทม่ี มี าแต่โบราณกาล  ไม่พบหลักฐานการกำเนิดทีช่ ดั เจน  วัสดุแก้วนัน้ เป็นวัสดุ  ที่มีมาแต่มนุษย์มีลักษณะการดำรงชีวิตอยู่ในทะเลทราย  หรือที่มักเรียกกันว่า  แบบชนเผ่า  ความเชื่อ  แต่ดั้งเดิมในพื้นที่แถบเมดิเตอร์เรเนียน  แก้ว  ถูกมองว่าเป็นวัสดุหรูหรา  มีราคา  เกือบจะเทียบเท่า  อัญมณีเลยทีเดียว1  แก้วมีความรุ่งเรืองมากในสมัยอียิปต์และโรมัน  แต่กระนั้น  ในเวลาต่อมา  ความ  รุ่งเรืองของศาสตร์แห่งแก้วก็ด้อยค่าลง  และนับแต่ศตวรรษที่  19  ลงมา  วัสดุแก้วก็มุ่งเน้นพัฒนาไป  ในทางอุตสาหกรรมอันตอบสนองประโยชน์การใช้งานมากขึ้น  เช่น  แก้วสำหรับเครื่องมือวิทยาศาสตร์  แก้วสำหรับเครื่องใช้ในครัว  กระจก  แก้วหลอดไฟ การผสมงานแก้วเพื่อการใช้สอยและงานแก้วทางศิลปะเข้าด้วยกันนั้น  สามารถเห็นเด่นชัดในช่วง  ตั้งแต่ราวๆ  ปี  1910  เป็นต้นมา  ช่างแก้วผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับมีอยู่สามคน  คือ  Maurice  Marinot,  Henri  Navarre  และ  Andre  Thuret  โดยเริ่มจากงานประเภท  ขวดใส่น้ำหอม  ชามอ่าง  และแจกัน2               ประเภทของวัสดุแก้ว วัสดุแก้วทีน่ ำมาใช้งานในปัจจุบนั มีหลายประเภท  สารประกอบหลักทีใ่ ช้ทำแก้ว  คือ  ซิลกิ า  และ  โซดา  และมีการเติมสารอื่นๆ  ซึ่งจะทำให้ลักษณะทางเคมีและกายภาพของแก้วมีคุณลักษณะเหมาะสม  ตามการใช้งานต่างๆ  เช่น  แก้วน้ำ  กระจก  เลนส์  คริสตัล  ไฟเบอร์กลาส  แก้วทนความร้อน  หลอดไฟ  หลอดบรรจุยา  ประเภทของวัสดุแก้วที่มีการใช้อย่างแพร่หลายมี  3  ประเภทใหญ่ๆ  ดังนี3้       แก้วอ่อน  (Soda-lime)  แก้วนี้มีส่วนผสมซิลิกาประมาณ  70%  โซดา  และหินปูน  อย่างละ  ประมาณ  15%  จัดเป็นเนื้อแก้วที่ใช้กันทั่วไป แก้วคริสตัล  (Lead  glass)  เป็นแก้วที่ใช้ออกไซด์ตะกั่วแทนหินปูน  โดยใส่ตะกั่วระหว่าง  18 -  38%  จะได้เนื้อแก้วที่มีค่าดัชนีหักเหสูง  เพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนแสง  โดยทั่วไปจะใส่ตะกั่ว  ประมาณ  24%  หากมีตะกั่วสูงถึง  30%  จัดว่าเป็นแก้วคริสตัลคุณภาพดี แก้ ว โบโรซิ ล ิ เ กต  (Borosilicate)  เป็ น แก้ ว ที ่ ม ี ซ ิ ล ิ ก าสู ง ที ่ ส ุ ด  ประมาณ  70 -  8 0%  และ  มีส่วนผสมสำคัญ  คือ  โบริกออกไซด์ในปริมาณ  7 -  13%  ทำให้เกิดคุณสมบัติการทนไฟ


Sand & Husk, Art & Science 39

สีของแก้ว  วัสดุแก้วโดยแท้จริงแล้ว  มีลักษณะใส  ไม่มีสี  การสร้างแก้วให้มีสีทำได้โดยการเติมออกไซด์ของ  โลหะในขั้นตอนการหลอมเนื้อแก้ว  เช่น  โคบอลต์ออกไซด์  ทำให้เนื้อแก้วเกิดสีน้ำเงินเข้ม  สีของแก้ว  แบ่งได้เป็น  3  แบบ  ดังต่อไปนี4้ แก้วสีแบบใส  (transparent  glass)  คือ  แก้วที่ยอมให้แสงผ่านได้  อาจจะเป็นแก้วไม่มีสี  คือ  สีใส  หรือมีสีอื่นๆ  ก็จะเรียก  ฟ้าใส  เขียวใส  แดงใส  ฯลฯ  แก้วสีแบบทึบ  (opaque  glass)  คือ  แก้วแบบที่ตรงข้ามกับสีใส  คือ  ไม่ยอมให้แสงผ่านได้  จึงมองเห็นเป็นสีทึบ  มักมีพื้นฐานของแก้วสีขาวเป็นหลัก  แก้วสีแบบกึ่งใสกึ่งทึบ  (Opalescent  glass)  เป็นแก้วที่มีลักษณะสีใสปนกับสีทึบ  มองดูคล้าย  อัญมณี  Opal  บ้างจะมองเห็นเป็นสีขุ่นเหมือนน้ำนม  บ้างพบเป็นลักษณะที่มีสีใส  และสีทึบ  อยู่ในชิ้น  เดียวกัน การใช้งานวัสดุแก้วหลายสีรวมกัน ปกติแล้ว  ผลิตภัณฑ์ที่เห็นทั่วไปตามท้องตลาดจะผลิตจากวัสดุแก้วประเภทเดียวและมีสีเดียว  การใช้แก้วหลายประเภทมาหลอมรวมกันนัน้ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย  การใช้วสั ดุแก้วมากกว่าหนึง่ สีในการ  สร้างงานนัน้   ถือว่าเป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญสูง  โดยเฉพาะในชิ้นงานที่มี  ขนาดใหญ่ สิ่งที่ทำให้การทำงานกับแก้วหลากสีนั้นมีความยาก  คือ  ค่าสัมประสิทธิ์การ  ขยายตั ว   Coefficient  of  Expansion  (COE)  หมายความถึ ง   ค่ า การขยายตั ว  ของเนื้อแก้วเมื่อโดนความร้อน5  ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้สร้างงานจำเป็นจะต้องเรียนรู้ก่อน  ลงมือปฎิบัติงานแก้ว  หากเนื้อแก้วที่จะใช้ผสมรวมกันนั้น  มีค่า  COE  ต่างกันก็จะ  ปัญหาเกิดการแตกร้าวในชิ้นงาน  ค่า  COE  นั้น  อาจมีค่าแตกต่างกันแม้ว่าจะเป็น  เนือ้ แก้วประเภทเดียวกัน  และแม้แต่ในเนือ้ แก้วจากผูผ้ ลิตแหล่งเดียวกัน  แต่มีสีต่างกัน  ก็อาจมีค่า  COE  ต่างกันอีกด้วย 1

ผลิตภัณฑ์เครือ่ งใช้บนโต๊ะอาหาร  ที่ทำจากวัสดุแก้ว


40 All about Glass

วัสดุแก้วที่จำหน่ายเป็นวัตถุดิบในการสร้างงานนั้น  ผู้ผลิตจะแจ้งค่า  COE  ไว้อย่างชัดเจน  โดยเฉพาะวัสดุแก้วเพื่องานหลอมซ้ำ  เพราะเป็นข้อมูลที่ขาดไม่ได้สำหรับการนำแก้วไปใช้งานข้อมูล  เกี่ยวกับ  COE  ยังมีประโยชน์ในด้านการแสดงค่าอุณหภูมิในจุดอ่อนตัว  และจุดหลอมตัวของเนื้อแก้ว  ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการควบคุมอุณหภูมิของเตาเผาให้เหมาะสมกับเนื้อแก้ว  และมากไปกว่านั้น  แก้วทีม่ กี ารขยายตัวเนื่องด้วยความร้อนใกล้เคียงกับวัตถุก็สามารถจะนำไปเชื่อมติดกับวัสดุได้ดี   เช่น  การเชื่อมหรือการติดกันของแก้วกับโลหะ6 ดั ง นั ้ น การทำงานกั บ แก้ ว หลายสี จ ะต้ อ งพึ ่ ง พาข้ อ มู ล ค่ า  COE  เป็ น สำคั ญ จึ ง จะสร้ า งสรรค์  ชิ้นงานได้  ถ้าหากไม่ทราบค่า  COE  ก็ควรจะต้องทดลองหาค่าอุณหภูมิอ่อนตัวและหลอมตัวเสียก่อน  ที่จะนำวัสดุแก้วนั้นไปสร้างชิ้นงานจริง

2 แก้วโซดาในรูปแบบแท่ง   มีเฉดสีที่หลากหลาย  ทั้งแบบสีทึบและสีใส 3

เครื่องแก้วคริสตัลหรือ แก้วเจียระไน

ผลิตภัณฑ์จากวัสดุแก้ว แก้วอ่อน  หรือบ้างเรียกแก้วโซดานั้น  เป็นแก้วที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย  พบเห็นได้ในรูปของ  แก้วน้ำ  ขวด  กระจกหน้าต่าง  ประตู  ซึ่งส่วนมากจะเป็นลักษณะแก้วใส  คือ  ไม่มีสี  หลายๆ ประเทศ  ได้มีการพัฒนาเนื้อแก้วให้เหมาะกับระบบอุตสาหกรรม  (Commercial  Glass7)  เพื่อลดปัญหาในการ  ผลิต  รวมถึงใช้กระบวนการผลิตที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก  ทำให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย  และผลิตภัณฑ์ที่ได้ก็ตอบสนองการใช้งานในชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้ดี  แก้วใสจึงถูกพบเห็นได้  แพร่หลายทั่วไป  ส่วนแก้วโซดาชนิดมีสีนั้นจะมีราคาสูงกว่าแก้วใส  เช่น  แก้วสีชา  นิยมใช้สำหรับ  ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์  แก้วสีเขียว  สีน้ำตาล  ใช้ทำขวดไวน์ แก้วที่ใช้สร้างงานศิลปะประเภทประติมากรรม  กระจกหน้าต่างสี  หรือลูกปัด  ส่วนใหญ่ก็ใช้  แก้วโซดานี้  ในการผลิตวัสดุแก้วเพื่องานศิลป์นี้มีการเพิ่มสีของเนื้อแก้วให้มีเฉดสีมากขึ้น  เพิ่มลวดลาย  ผิวสัมผัส  ไปจนถึงมีการเคลือบสีเมทัลลิกบนผิวหน้า  เพื่อให้มีรูปแบบวัสดุใช้งานที่หลากหลายขึ้น แก้วคริสตัล  มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก  เช่น  แก้วผลึก  แก้วตะกั่ว  แก้วเจียระไน  เป็นแก้วที่มีความ  หนาแน่นสูง  มีคุณสมบัติสะท้อนแสงได้ดี  เหมาะสำหรับการใช้ในงานเจียระไน  มีใช้มากในผลิตภัณฑ์  ของตกแต่งภายในบ้าน  เช่น  แจกัน  โคมไฟ  เชิงเทียน  วัสดุแก้วคริสตัลถูกสร้างเพื่อใช้ร่วมกับเทคนิค  การเจียระไนสลักตกแต่งลวดลายเป็นสำคัญ แก้วโบโรซิลเิ กต  จัดเป็นแก้วชนิด  แก้วแข็ง  มีคณ ุ สมบัตพิ เิ ศษ  คือ  ทนต่อการเปลีย่ นแปลงอุณหภูม ิ อย่างรวดเร็วได้  ดังนั้นแก้วชนิดนี้จึงนำมาใช้ในงานประเภทภาชนะเครื่องครัว  เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์  และงานเป่าแก้วทางศิลปะ  ค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวของแก้วชนิดนี้อยู่ที่ประมาณ  32.5  ซึ่งถือว่า  มีการขยายตัวต่ำมาก8


Sand & Husk, Art & Science 41

การใช้แก้วในงานเครื่องโลหะและเครื่องประดับ การใช้แก้วในงานเครื่องโลหะและเครื่องประดับ  จัดว่าเป็นการใช้ในแง่การประดับและ  ตกแต่ง  ซึ่งจะต้องใช้วัสดุอื่นร่วมเป็นส่วนประกอบด้วย  เช่น  โลหะ  เชือก  ไม้  หนังสัตว์  การใช้วัสดุแก้วด้วยตัวมันเองอย่างเดียว  อาจจะทำได้ในงานประเภท  แหวน  และกำไล  แต่ไม่คอ่ ยพบบ่อยนัก  เนือ่ งจากปัจจัยด้านความปลอดภัยในการสวมใส่ การประยุกต์ใช้วัสดุแก้วในงานเครื่องโลหะและเครื่องประดับนั้นทำได้หลายวิธ ี เพื่อให้  ง่ายต่อการทำงานของผูส้ ร้างสรรค์  จึงแบ่งตามลักษณะการทำงานได้เป็น  2  วิธกี าร  ดังนี ้   1.  งานที่ไม่ใช้ความร้อนในการเปลี่ยนรูปทรง 2.  งานที่ใช้ความร้อนเพื่อการสร้างรูปทรงใหม่

4 ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ทาง วิทยาสาสตร์ที่ทำจาก แก้วโบโรซิลิเกต

งานที่ไม่ใช้ความร้อนในการเปลี่ยนรูปทรง  การสร้างงานโดยไม่ต้องใช้ความร้อนนั้นมีความสะดวกและรวดเร็ว   เพราะผู้สร้างงานไม่ต้อง  จัดเตรียมอุปกรณ์ให้ความร้อนต่างๆ  เช่น  เตาเผา  ไม่เสียเวลาในการอบแก้ว  ซึง่ มักจะต้องใช้เวลานาน  ข้ามวันและอาจเกิดความเสียหายระหว่างการอบได้    ดังนั้นการสร้างรูปทรงโดยไม่ใช้ความร้อนจึงทำด้วยวิธีการตัด  และเจียร  เป็นหลัก  เมื่อได้  รูปทรงที่ต้องการแล้วก็จะต้องทำการขัดเงา  เพื่อให้ส่วนรอยตัดกลับมามีความมันวาวดังเดิม  ชิ้นแก้ว  เหล่านี้ได้รับความนิยมมากในผลิตภัณฑ์ของประดับบ้านประเภทเครื่องโลหะ  เช่น  แจกัน  เหล็กดัด  5 พาติชั่น  เชิงเทียน  การประกอบชิ้นส่วนแก้วแต่ละชิ้นทำได้หลายวิธี  เช่น  ใช้วัสดุอื่นทำฐานรองรับ  ภาพแสดงชิ้นงานซึ่งใช้วิธีการ ทำขอบหุ้มชิ้นแก้ว  เจาะรูร้อยเชือก  ดังตัวอย่างเช่น  ขอบโลหะหุ้มจานแก้ว  ขอบกระจกสเตนกลาส  ตัดกระจกสีและเจียรขอบ ให้เกิดรูปร่าง นอกจากนี้สามารถใช้กาวสำหรับติดแก้วโดยเฉพาะ  เช่น  กาว  UV,  กาวติดกระจก,  กาวซิลิโคน  ในงานเครื่องประดับเชิงพาณิชย์  วัสดุแก้วสามารถนำมาตัดและเจียระไนเป็นรูปทรงของอัญมณี  ได้ทุกรูปแบบ  เมื่อได้พลอยแก้วตามแบบที่ต้องการแล้ว  ก็นำมาประกอบกับตัวเรือนโลหะตามขั้นตอน  ปกติของงานเครือ่ งประดับ  แม้วา่ พลอยจากแก้วจะไม่สามารถเทียบมูลค่าเท่ากับอัญมณีแท้หรือเทียมได้  แต่ก็ให้ลักษณะความแวววาวและรูปลักษณ์ที่ใกล้เคียง  การใช้พลอยแก้วเป็นทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำ  สำหรับการผลิตงานเครื่องประดับเงินที่ต้องการประดับพลอย งานที่ใช้ความร้อนเพื่อการสร้างรูปทรงใหม่ การสร้างรูปทรงใหม่ของวัสดุแก้วโดยผ่านความร้อนนั้นจะต้องใช้ความร้อนที่อุณหภูมิอย่างน้อย   6 600ºc  ในการทำให้เนื้อแก้วอ่อนตัวลงได้  แหล่งความร้อนที่ใช้สำหรับงานแก้วมีอยู่สองประเภท  คือ  แก้วสีที่ถูกเจียระไนรูปทรง เตาเผา  และหัวเชื่อมแก็ส  Acetylene  อัญมณีเพื่อใช้เป็นพลอยแก้ว


42 All about Glass

งานหลอมซ้ำเพื่อสร้างรูปทรงใหม่นี้เลือกใช้แก้วได้ทุกประเภท  แต่ประเภทของแก้วที่นิยมใช้  คือ  แก้วโซดาและแก้วโบโรซิลเิ กต  วิธกี ารนำวัสดุแก้วมาหลอมซ้ำนัน้ มีสง่ิ สำคัญคือ  เมือ่ แก้วได้รบั ความร้อน  และถูกเปลีย่ นเป็นรูปทรงที่ต้องการแล้ว  แก้วชิ้นนั้นจะต้องถูกทำให้เย็นตัวอย่างช้าๆ  ในระยะเวลาการ  เย็นตัวนี้  คือการอบเรียงอะตอมของเนื้อแก้ว  ซึ่งจะมีผลต่อความทนทานของชิ้นงาน  การอบเรียง  7 อะตอมนี้อาจใช้เวลา  2  ชั่วโมงไปจนถึง  2  วัน  แตกต่างกันตามประเภทของแก้วและขนาดของชิ้นงาน งานแก้วที่ใช้เตาเผา  มักเป็นเทคนิคที่เกี่ยวกับการอ่อนตัว  ยืดตัวของเนื้อแก้วไปตามรูปทรงของ  แม่พิมพ์  ซึ่งมีหลายเทคนิคด้วยกัน  เช่น  Fusing,  Slumping,  Draping  หรืออาจจะใช้อุณหภูม ิ ที่สูงมากขึ้นในการหลอมเนื้อแก้วให้เป็นน้ำแก้วแล้วเทใส่แม่พิมพ์ที่เรียกว่า   casting  ก็สามารถทำได้  วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์เป็นวัสดุผสมจากปลาสเตอร์และอลูมินาเป็นหลัก  เพื่อคุณสมบัติการทนความร้อน  ที่ยาวนานในเตาเผา9  ส่วนงานแก้วที่ใช้หัวเชื่อมแก็สนั้น  เป็นลักษณะของการยืดเนื้อแก้ว  อาจจะโดยการเป่าลม  ดึง  เหวี่ยง  หรือให้แก้วยึดตัวลงตามแรงโน้มถ่วง  เหล่านี้ก็เป็นวิธีการตามทักษะฝีมือของช่างแก้วแต่ละ  บุคคลไป ในเรื่องของการเย็นตัวหรืออบเรียงอะตอมนั้น  สำหรับการทำงานโดยใช้เตาเผาก็จะต้องใช้วิธีการ  ควบคุมให้อุณหภูมิของเตาเย็นตัวลงอย่างช้าๆ  ซึ่งมักจะใช้เวลาหลายชั่วโมง  ส่วนการสร้างงาน  โดยใช้หัวเชื่อมแก็สนั้น   หากชิ้นงานนั้นมีขนาดใหญ่อาจจะต้องอบลดอุณหภูมิในเตาเผาร่วมด้วย  การสร้างชิน้ งานโดยใช้ความร้อน  ส่วนงานประเภทลูกปัดที่มีขนาดเล็กมากๆ  นั้นนิยมใช้  วิธีการฝังใน  Vermiculite  สักระยะเวลาหนึ่ง  จากเตาเผา  โดยมีแม่พิพม์  ก็เพียงพอ ปลาสเตอร์เป็น ตัวกำหนด  การใช้วสั ดุแก้วผ่านความร้อนในงานเครือ่ งโลหะและเครือ่ งประดับนัน้   มีเทคนิคทีพ่ เิ ศษอีกอันหนึง่   รูปร่างของแก้วที่จะทำ  เรียกว่า  งานสีลงยา  (Enamellings)  คือ  การนำผงแก้วเคลือบลงบนผิวโลหะจะทำโดยใช้เตาเผา  การหลอม หรือหัวเชื่อมแก็สก็ได้ทั้งสองอย่าง  มักนิยมทำเป็นสีสันลวดลายในช่องเล็กๆ  การใช้วัสดุแก้วในรูปแบบ  ผงนี้  ทำให้สามารถทำงานบนพื้นที่ขนาดเล็กได้ดีและวาดเป็นภาพรูปร่างได้ง่าย  ในงานเครื่องประดับ  8 จะพบเห็นจากผลิตภัณฑ์ประเภทล็อกเกตรูปบุคคล  เหรียญตรา  แหวนพระ  ส่วนในงานเครื่องโลหะ  มักจะทำเป็นแจกันเล็ก  หรือกล่องเครื่องประดับ10 วัสดุแก้วเป็นวัสดุทเ่ี ปราะบางในรูปร่าง  แต่มคี ณ ุ สมบัตใิ นการคงสภาพความเป็นเนือ้ แก้วได้ตลอดไป  กล่าวคือ  เนือ้ แก้วจะไม่มกี ารเปลีย่ นสภาพ  มีการผุกร่อนน้อย  ไม่สลายตามกาลเวลา  แก้วทีเ่ สียรูปร่าง  แล้วหรือแตกแล้ว  ก็สามารถนำกลับมาหลอมใช้ใหม่ได้  ภาชนะแก้วสำหรับใส่อาหาร  เช่น  ขวด  ก็นิยมนำมาล้างทำความสะอาดและนำกลับมาใช้ใหม่  เรียกว่า  วัสดุแก้วนั้น  สามารถตอบสนองความ  การยืดแท่งแก้วด้วยหัวเป่าแก็ส  ต้องการในยุคปัจจุบันที่เน้นการนำกลับมาใช้ใหม่  (Reuse  และ  Recycle)  ได้อย่างดี Acetylene


Sand & Husk, Art & Science 43

การทำงานกับวัสดุแก้วนั้นจะต้องใช้การสังเกตและความอดทนอย่างสูง  เพราะมีปัจจัยแวดล้อม  ที่เป็นตัวแปรอยู่หลายปัจจัย  เช่น  ความหนา  ขนาดของชิ้นงาน  หรือ  อุณหภูมิของสภาพแวดล้อม   ดังนัน้   การตรวจสอบและทดลองวัสดุแก้วก่อนการสร้างสรรค์ผลงานถือเป็นขัน้ ตอนทีส่ ำคัญมาก  แม้วา่   วัสดุแก้วจะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้  แต่กค็ วรมีความรอบคอบในการใช้งาน  มิให้สน้ิ เปลืองพลังงาน  และเวลาอย่างไม่ได้ประโยชน์อะไร เอกสารอ้างอิง 1. Dieter Enke, (2009). Ideas in Glass. Unica and more, Berlin: Arnoldshe Art Publisher 2. Frankie Leibe, (1999). Glass of the ’20s & ’30s, London: Miller’s 3. นิสารกร  ปานประสงค์,  (2544).  เครือ่ งแก้ววิทยาศาสตร์  เพือ่ นคูใ่ จในห้องปฎิบตั กิ าร,  นิตยสารupdate  ปีท่ ี 16  ฉบับที ่ 165,  กรุงเทพ:  สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซนเตอร์ 4.  เพ็ญสิริ  ชาตินยิ ม,  (2551).  เอกสารประกอบการสอน “การลงยาสีเครือ่ งประดับ”  ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ  มหาวิทยาลัย  ศิลปากร 5. “Summery  of  Coefficient  of Expansion  for  Common  Glasses  and  Metals”  (online) Available  at http://www.warmglass.  com/COESummary.htm 6. นรินทร์  สิรกิ ลุ รัตน์,  ร.ศ.,  (2548).  “การใช้ประโยชน์และการเพิม่ มูลค่าของผลิตภัณฑ์แก้ว”  เอกสารสัมนา “การสร้างแก้วสำหรับ  งานศิลป์”  ส่วน ข หน้า 9,  กรุงเทพ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 7. “type  of  glass”  (online)  Available  at  http://www.britglass.org.uk/types-glass 8. “Summery  of  Coefficient  of  Expansion for Common Glasses and Metals” (online) Available at http://www.warmglass.  com/COESummary.htm 9. “Warm  Glass  Technique”  สูจบิ ตั รนิทรรศการโครงการสัมนมนาเชิงปฎิบตั กิ ารศิลปกรรมแก้ว  คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์  มหาวิทยาลัยศิลปากร.  17 สิงหาคม 2552 10. เพ็ญสิร ิ ชาตินยิ ม,  (2551).  เอกสารประกอบการสอน “การลงยาสีเครือ่ งประดับ”  ภาควิชาออกแบบเครือ่ งประดับ  มหาวิทยาลัย  ศิลปากร

ภาพประกอบ 1.  Dieter Enke, (2009). Ideas in Glass. Unica and more, Berlin: Arnoldshe Art Publisher p. 19 2.  ภาพโดย  ผศ.เพ็ญสิร ิ ชาตินิยม 3.  สมศักดิ ์ จารุรันต์  และอรชร  เอกภาพสากล,  (2536).  The Infinity of Glass,  กรุงเทพ: อมรินทร์พรินติ้งแอนด์พับลิชิ่ง  จำกัด  (มหาชน) 4.  เอกสารประชาสัมพันธ์  ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามัญนิติบุคคล  เอสพี  กลาส  แอนด์  เคมีคอล 5. - 8.  ภาพโดย  ผศ.เพ็ญสิร ิ ชาตินิยม


All about Glass ชิ้นงานโครงการนวัตกรรมการเปลี่ยนขยะสู่งานสร้างสรรค์ Innovation of Changing Waste to Creative Works


Sand & Husk, Art & Science 45



Sand & Husk, Art & Science 47


48 All about Glass


Sand & Husk, Art & Science 49


50 All about Glass


Sand & Husk, Art & Science 51


All about Glass

Caso

RELEVENT ACCOMPLISHMENTS : 2011 : DESIGNER ROOM, BIFF & BIL FAIR, Bangkok International Fashion & Bangkok International Leather Fair 2011, Impact Arena, Bangkok. 2010 : TALENT THAI BIG & BIH FAIR, Bangkok International Gift & Bangkok International Houseware Fair 2010, Bitec, Bangkok. 2009 : PROJECT GLITZ The Design Project The Uniqueness of Thai Jewelry Vol 1 : CRAFT MATCH EUROPE  ASIA  TRADIN  G  MATCHING  EVENT, 28-31 Jun 2009, Cambodia. 2008 : YOUNG DESIGNER ROOM, BANGKOK GEMS & JEWELRY FAIR,Impact Arena, Bangkok. 2007 : TALENT THAI BIG & BIH FAIR, Bangkok International Gift & Bangkok International Houseware Fair 2007, Impact Arena, Bangkok.

2005 : Exhibition, Art Thesis, Gallery of Art and Design, Faculty of Decorative Art, Silpakorn University, Bangkok. 2004 : Anticlastic  Workshop  with  Dr.Benjamin Storch 2003 : Exhibition, Wear It, Gallery of Aecorative Arts, Silpakorn University. : Exhibition, Rice Jewelry Workshop & Diamonds and Coal/Erotic in Jewelry : Exhibition, Body Performance, The Magnetism, All Season Place, Bangkok. EDUCATION : BFA; Jewelry Design, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University.

Concept : “ Simplify-Back to basic, lighten, but remain the elegant.”

“งานพลอย  มีลักษณะแปลกตา น้ำหนักเบากว่าที่คิดไว้  เฉดสียังน้อย สำหรับการเลือกมาประกอบกับชิ้นงาน ตำหนิ  ฟองอากาศ  ด้านในตัวพลอย  แปลกตา น่าจะมีอีกรูปแบบ  ที่เน้นฟองอากาศมาก กระจายตัวอยู่ในพลอย  และรอย  ขีดๆๆ ด้านใน  ถ้าควาบคุมรอยพวกนี้ได้  คิดว่าน่าจะ สามารถมาประกอบชิ้นงานเครื่องประดับ ได้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น”

Mr. Pakapong Threethumpinid E-mail : casojewelry@gmail.com  casojewelry@gmail.com, www.casojewelry.com


Sand & Husk, Art & Science 53


All about Glass

SOMetall

“ผมพบว่าผิวและสีของแก้วสามารถสร้างความหลากหลาย  ให้สินค้าได้โดยผ่านกระบวนการออกแบบเป็นส่วนช่วย  และส่งผลให้สินค้าสร้างราคาที่แตกต่างได้  ส่วนขนาดของแก้ว  ถ้าสามารถผลิตแล้วทำให้ไม่เห็นฟองอากาศน่าจะทำให้แก้ว  ถูกใช้แทนวัสดุอื่นๆ ได้”

ประวัติการศึกษา 2010-2008 :  Master degree in Metal design โดย Prof. Werner Buenck และHerr Hartwig Gerbracht ณ FH HildesheimเมืองHildesheim/Deutschland 2002-1998 :  Diploma degree in Metal design โดย Prof. Georg Dobler และ Prof. Hartwig Gerbracht ณ FH Hildesheim เมืองHildesheim/Deutschland 1994-1991 :  ศิลปบัณฑิต  คณะมัณฑนศิลป์  สาขาวิชา ออกแบบตกแต่งภายใน  มหาวิทยาลัยศิลปากร

สมชาติ  ศุภนภาโสตถิ์ e-mail : deutschbeer@yahoo.com โทร. : 08-6535-0739 อาชีพ : นักออกแบบอิสระ

ประวัติการทำงาน 2008-2003 :  อาจารย์พิเศษ  วิชา  Metal  Design  ภาควิชา  ออกแบบเครื่องประดับ  มหาวิทยาลัยศิลปากร  :  อาจารย์พิเศษ  กาญจนาภิเษกวิทยาลัย  ช่างทองหลวง  ในพระบรมมหาราชวัง 1997-1995 :  มัณฑนากร  บริษัท OF scale Co. LTD. กรุงเทพมหานคร  และ Singapore การประกวด/รางวัล 2007-2004 :  นิทรรศการ  บุคลากร  มหาวิทยาลัยศิลปากร  งานวันศิลป์  พีระศรี 15 กันยายน 2002 :  “LUNA  CHRISTI”  die  Osterleuchter  Aus-  stellung  เมือง Hildesheim/Deutschland 2000 :  2nd  Platz  “WASSER  2000”  Wettbewerb  เมือง Hildesheim/Deutschland 2002-1999 :  นิทรรศการประจำปี  “November  Ausstellung  ณ FH Hildesheim  เมือง Hildesheim/Deutschland


Sand & Husk, Art & Science 55


All about Glass

“สวยงาม ราคาถูก เหมาะสมกับ scale ราคา ของ costume jewellery การที่พลอยตัวนี้ทำจากวัสดุ เหลือใช้ ทำให้เป็นที่น่าสนใจมาก ทางแบรนด์ Lily&Ross มีแผนที่จะขอซื้อพลอยตัวนี้มาทำ limited edition collection ที่มีแนวคิดเพื่อสังคม และ สิ่งแวดล้อม”

Lily & Ross


Sand & Husk, Art & Science 57

Lily & Ross

jewellery and accessories

Lily & Ross Influenced  by  intricate  detailing  of  world cultural  heritage  decor,  Lily&Ross  presents  you  a mythical scented ornament. Leaf  and  flower  motif  of  ancient  Greek earthenware, Chinese crest hidden around summer palace,  and  fascinating  ornament  pattern  on Burmese and Thai Temple, will welcome you to experience  the  treasury  world  of  Lily & Ross.


All about Glass

Orn

“สีสันสวยงามเหมือนพลอยแท้  ราคาถูก  การที่พลอย มี inclusions เหมือนลายแก้วด้านใน  ทำให้ดูเหมือนเป็นพลอย จากธรรมชาติ  แตกต่างจากพลอยสังเคราะห์ที่ขายตามท้องตลาด  ข้อเสียคือ  พลอยค่อนข้างเปราะ  เวลาฝังหรือสวมใส่ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ  พลอยบางสีแตก  และเป็นฝ้า เมื่อลงชุบทอง”

EDUCATION MA Goldsmithing, Silversmithing, Metalwork and Jewellery, Royal College of Art, London, 2008 BA (HONS) Jewellery design, Silapakorn University, Bangkok, 2004 WORK EXPERIENCES 2010 : Special Lecturer at HAWK Hochschule für Angewandte Wissenschaft und Kunst, Hildesheim, Germany 2009 Collaboration with Alter and Kiss (fashion house, Budapest) Jewellery designer 2007 : Collaboration with Teerabul Songwich for RCA  degree  fashion  show,  Jewellery  designermaker 2006 : Tête  á  Tête  jewellers,  Bangkok  (April 2004-August  2006)  Jewellery  designer

ORN-PANIT CHIARAKUL Email : mail@ornpanit.com Website : www.ornpanit.com

INTERNSHIP EXPERIENCES Gallerie Supattana, Bangkok, Thailand (March-April 2003) Designer for gallerie’s collections, retail sale, designer and display designing Jay Gems co.,ltd (a diamond trading sight holder) (April-May 2003) Jewellery designer AWARDS 2007 : Shortlisted Pewter Live Award, The Worshipful Company of Pewterers, London EXHIBITIONS 2010 : ‘Focus’ Exhibition at Electrum Gallery, London : Inorgenta, Munich, Germany 2009 : ‘New Maker’ Exhibition at Electrum Gallery, London : ‘Making Sense’ Exhibition, Chelsea Conservation Club, London 2008 : Graduation Show, Royal College of Art Lower Gallery, London : Christmas Exhibition at Electrum Gallery, London : We Are Here, Le Pagliere di Porta Romana, Florence, Italy


Sand & Husk, Art & Science 59

Orn-panit´s  recent  jewellery  collections reflect  a  philosophical  concept  of  truth  of  life cycle,  changing  of  substances  and  traveling  of time. By observing and interpretating surrounding natural substances such as eclipse, moon phase, flowers, birth and corrosion of stone and natural chaos. She brought out its quintessence uniquely in her jewelleries.By combining her fine jewellery experience  and  unique  technique,  her  pieces become correlation of contemporary and classic. Mixture of oriental splendour and art deco is shown moderately through exquisitely elegant and feminine pieces.

In her collections, these influence are mostly shown in alluring array of stone on precious metal. By adopting the eclectic of hand work and technology of electroforming, she has explored a novel and unconventional way of setting stone resulting in the delicacy of organic details in which gives a unique characteristic to her jewellery pieces.


All about Glass

Bankad Silver หมู่บ้านกาดหรือ “บ้านกาด” เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีชาวไทย  ใหญ่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากและในบรรดาชาวไทย  ใหญ่ทเ่ี ข้ามาอาศัยอยูน่ น้ั มีกลุม่ ชาวไทยใหญ่ทร่ี วู้ ธิ กี ารทำเครือ่ งเงิน  ด้วย  และนีค่ อื จุดเริม่ ต้นของหัตถกรรมเครือ่ งเงินบ้านกาด  ซึง่ คน  ที่ได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์ผู้ที่ถ่ายทอดศิลปะการทำเครื่องเงินให้เรา  นั่นคือ “ลุงสร่างปาน”  อาชีพของลุงสร่างปานคือการตีแหวนและ  กำไลซึ่งทำจากแร่เงิน  เราชอบไปดูลุงสร่างปานตีแหวนอยู่บ่อยๆ  เรารู้สึกชอบแหวนที่เขาตีให้เรามากๆ ซึ่งเป็นลวดลายรูปงู  และลุง  สร่างปานก็ได้สอนพืน้ ฐานการทำเครือ่ งเงินให้เราตัง้ แต่ขน้ั ตอนแรก  ด้วยแรงบรรดาลใจครั้งนั้นบวกกับความตั้งใจ  ทำให้เราคิดอยาก  จะทำเครือ่ งเงินให้ได้เหมือนกับลุงสร่างปาน  ก็เลยเริม่ ต้นก้าวเข้าสู ่ อาชีพช่างทำเครื่องเงิน  โดยจุดเริ่มต้นคือ  การได้จัดตั้งกลุ่มเล็กๆ  ภายในชุมชนขึ้นมา  เมื่อเรามีประสบการณ์  และความชำนาญ  มากขึ ้ น จึ ง ได้ ช ่ ว ยกั น คิ ด และออกแบบชิ ้ น งานที ่ เ ป็ น ลั ก ษณะ  เอกลักษณ์ของเราเอง  และพร้อมกันนี้เราก็ได้เริ่มขยายผลงาน  ของตัวเองด้วยการนำสินค้าออกสู่ตลาดส่งตามร้านค้าต่างๆ  เช่น  ถนนวัวลาย  บ่อสร้าง  สันกำแพงซึง่ เริม่ ต้นจากการจำหน่ายสินค้า  แค่ภายในจังหวัดเชียงใหม่เท่านัน้   ต่อมาเมือ่ สินค้าได้รบั ความนิยม  มากขึ้นจากนักท่องเที่ยวภายใยประเทศ  รวมไปถึงนักท่องเที่ยว  จากต่างประเทศด้วย  จึงได้คดิ ปรับเปลีย่ นแผนการตลาดเพือ่ ขยาย  ช่องทางการจำหน่ายสินค้าไปสู่ต่างจังหวัด  และต่างประเทศด้วย

อังคาร  อุปนันท์  และหงษ์ศรา  จันทร์พัฒน์ หัตถกรรมเงินบ้านกาด (Bankad Silver Home)/  วิจิตรศิลป์  อัญมนีแห่งล้านนา (H&I Silver Jewelry)

ปัจจุบนั เรามีโรงงานผลิตสินค้าและมีหน้าร้านเป็นของตัวเอง  ภายใต้ชื่อ “หัตถกรรมเครื่องเงินบ้านกาด” โดยได้มีการฝึกสอน  อาชีพเด็กๆ ภายในชุมชนเพื่อใ้ห้มีอาชีพและรายได้  ซึ่งกิจการนี้  ได้ดำเนินมาเป็นเวลานานกว่า  30  ปีแล้ว แผนงานต่อไปคือจะทำแบรนด์ใหม่ภายในปีนี้โดยแตกยอด  ออกมาจากเครื่องเงินบ้านกาด  ชื่อว่า  วิจิตรศิลป์  อัญมนีแห่ง  ล้านนา  โดยจะใช้อัญมนีสากลมาผสมผสานให้เข้ากับงานไทย  ล้านนาโบราณ  เพื่อให้งานล้านนาเป็นที่รู้จักอย่างเป็นสากลยิ่งขึ้น  ซึ่งเราได้ใช้อัญมณีควบคู่กับเครื่องเงินมาสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง  แล้ว  และได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี


Sand & Husk, Art & Science 61

“ส่วนแก้วจากโครงการวิจัยที่นำมาให้ขึ้นรูปนั้น ก็สามารถที่จะนำมาทำเครื่องประดับได้ รูปทรงก็เหมาะที่จะทำเครื่องประดับ แต่ขาดคุณสมบัติเรื่องความแข็ง การโดนความร้อน  ทำให้เวลาขึ้นรูปงาน ทำได้ยากกว่าต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่า การใช้อัญมณีแท้ ส่วนเรื่องสี และความแวววาวนั้น  เห็นว่าอัญมณีมีความ แวววาวมากกว่า  น้ำหนักของแก้วยังมีน้ำหนัก ไม่เหมาะสม  หนักมากไปนิด  ในความคิดของผม ชิ้นงานแก้วน่าจะทำเครื่องประดับที่เป็นงาน แฟชั่น  งานดิบๆ เหมือนงานจี้ใบไม้ชิ้นใหญ่ มากกว่าดอกทานตะวันหรือดอกอื่นๆ ครับ”


All about Glass ชิ้นงานโครงการปฏิบัติไทยเข้มแข็ง : ศิลปกรรมจากภูมิปัญญาไทย “วิจิตรศิลป์  -  สินไทย”




Sand & Husk, Art & Science 65

ศ.วิโชค  มุกดามณี

“Face” 30 x 25 ซม.  หนา 0.5 ซม. : แก้ว แนวความคิด เป็นงานศิลปกรรมเทคนิคแก้ว  ได้รับแรงบันดาลใจจากบุรุษที่มีความ  สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน  มีชีวิตร่วมกัน  โดยแสดงออกถึงภาพใบหน้า  สองใบหน้าที่ผสมกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียว “Face” 30 x 25 cm  Thick: 0.5 cm : Glass Concept: The glasswork inspired by man relationship, presented by the  gathering of two faces.

ÇÔâªค  ÁØ¡´ÒÁณÕ  / Vichoke Mukdamanee • ÈÒʵÃÒ¨ÒÃÂì»Ãะ¨ÓÀÒคÇԪҨԵáÃÃÁ / Professor of Painting Department. • à¡Ô´àÁืèÍÇÑน·Õè  8 ÁÕนÒคÁ 2496  ¨Ñ§ËÇѴʧ¢ÅÒ • ÊÓàÃç ¨ ¡ÒÃÈÖ ¡ ÉÒÃะ´Ñ º »ÃÔ ญ ญÒµÃÕ á Åะâ·  ¨Ò¡คณะ¨Ô µ áÃÃÁ »ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔÁพì  áÅะ Diploma in Art Education (Graphic Design and Contemporary Art), Tokyo Gakugei University, Tokyo, Japan. • ÇÔâªคà»çนºØคคÅËนÖ觷ÕèÁÒ¡´éÇ»Ãะʺ¡ÒÃณì·Ñ駴éÒน¡ÒÃÊÍนáÅะ ¡ÒúÃÔËÒÃ  ÍÒ·Ôàªèน  ´ÓçµÓáËนè§ผÙéÍÓนÇ¡ÒÃËÍÈÔÅ»ì   áÅะ Ãͧ͸ԡÒú´Õ  ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ  ·Ñé§ÂѧàคÂÁÕผŧÒนÊÃéÒ§ÊÃÃคì ãนÃะ´Ñ º ªÒµÔ á ÅะนÒนÒªÒµÔ Í Âè Ò §µè Í àนื è Í §  ÍÒ·Ô à ªè น   2 nd Prize, Silver Medal (Painting). The 37th National Exhibition of Art, Bangkok : Award Winner (Ceramics Arts), the 5th National Ceramic Exhibition, Bangkok : 3 rd Prize, Bronze Medal (Painting), the 38th National Exhibition of Art, Bangkok : Award Winner (Ceramic Art), the 6 th National Ceramics Exhibition, Bangkok  นÍ¡¨Ò¡ผŧÒน·Õèä´éÃѺÃÒ§ÇÑÅáÅéÇÇÔâªคÂѧÁÕ ผŧÒนÍÍ¡áÊ´§นÔ·ÃÃÈ¡ÒÃÊÙèÊÒµһÃะชาªนÍÂèÒ§µèÍàนืèͧ  ·Ñé§ áÊ´§ผŧÒนà´ÕèÂÇáÅะ§Òน¡ÅØèÁËÅÒÂคÃÑé§


66 All about Glass

“Blue No.1” 37  x  50  ซม.  สูง  7  ซม. ระบายสีเครื่องเคลือบดินเผาบนแก้ว แนวความคิด ลวดลายของกระจกที่นำมาประกบกัน  ผสมผสานกับความงามด้วย  เทคนิค  Painting  ที่นำมาสรรสร้างในการวางจังหวะของสี  รังสรรค์  สู่รูปทรงใหม่ที่แตกต่าง  ทำให้เกิดความงามที่เปี่ยมด้วยคุณค่าทาง  ศิลปะที่มากกว่า

“Blue No.1” 37 x 50 cm  Height: 7 cm Stain colour on glass Concept The sticked glass combine with the beauty of painting teah-  nique. The different shade of colors create new different  shapes which are more beautiful and have high value.


Sand & Husk, Art & Science 67

“Blue No.2” 37  x  50 ซม.  สูง 7 ซม. ระบายสีเครื่องเคลือบดินเผาบนแก้ว แนวความคิด จากความงามที่ไม่ฉูดฉาดนัก  สู่ความบริสุทธิ์ในรูปทรงคนกระจก  ขาวขุ่นผสมผสานลวดลายที่นำมาประกอบตามจินตนาการสู่ความงาม  ที่มากด้วยคุณค่า  พร้อมกับการใช้เทคนิคระบายสีเครื่องเคลือบดินเผา  บนแก้วในการระบายสู่รูปทรงใบหน้าโดยเน้นไปที่ความสัมพันธ์ของเส้น  ในชิ้นงาน

“Blue No.2” 37 x 50 cm  Height: 7 cm Stain colour on glass Concept The modest beauty transform to be the purity  of  human.  Imagination become the decoration on the white glass. The  stain technique, normally use in pottery, was used to focus  on the joining live in the piece of work.


รศ.พิษณุ  ศุภนิมิตร “Flower bloom 1” Diameter  45  cm  Depth:  5.5 cm : Glass Concept Imagination  from  the  story of a blossoming flower make a  good feeling become a big fruit trey, set decoration on the  dining table is beautiful in itself.


พÔÉณØ  ÈØÀนÔÁÔµÃ / Pishnu Supanimit • ÃͧÈÒʵÃÒ¨ÒÃÂì»Ãะ¨ÓÀÒ¤ÇÔªÒÀÒพพÔÁพì  / Associate Professor of Graphic Arts Department. • à¡Ô´àÁืèÍÇÑน·Õè  17 Á¡ÃÒ¤Á 2491  ¨Ñ§ËÇÑ´ÊÁØ·Ãʧ¤ÃÒÁ • ÊÓàÃç ¨ ¡ÒÃÈÖ ¡ ÉÒÃะ´Ñ º »ÃÔ ญ ญÒµÃÕ á Åะâ·  ¨Ò¡¤ณะ¨Ô µ áÃÃÁ »ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔÁพì  ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡà • พÔÉณØà»çน·Ñé§ÍÒ¨ÒÃÂì  ÈÔÅ»Ôน  นÑ¡à¢ÕÂน  áÅะนÑ¡ÇÔ¨ÒÃณìÈÔÅ»ะ นÒÁ»Ò¡¡Ò “พÔÉณØ  ÈØÀ.”  à¤Âä´éÃѺÃÒ§ÇÑŨҡ¡ÒÃáÊ´§ÀÒพพÔÁพì ¡ÇèÒ 24 ÃÒ§ÇÑÅ  áÅะä´é¶ÇÒ§ÒนÃѺãªéãนพÃะºÒ·ÊÁà´ç¨พÃะà¨éÒÍÂÙËè ÇÑ à»çนËÑÇËนéÒ¤ณะ·Ó§ÒนáÅะ»ÃะÊÒน§ÒนÈÔÅ»Ôน 9 ¤นãน¡ÒèѴ·Ó ÀÒพ»Ãะ¡Íº¨Ñ ´ ·ÓàËÃÕ Â ญ “พÃะÁËÒªน¡”  áÅะà»ç น ผÙ é Í Í¡áºº ËนÑ § Êื Í พÃะÃÒªนÔ พ น¸ì   “พÃะÁËÒªน¡”  àนื è Í §ãนÇÒÃะ¤Ãº 50 »Õ áË觡Òญ¨นÒÀÔàÉ¡ãนพÃะºÒ·ÊÁà´ç จพÃะà¨éÒÍÂÙèËÑÇ   ÃѪ¡ÒÅ·Õè  9 áÅะà»çนผÙé»ÃะÊÒน§ÒนËนѧÊืÍพÃะÃÒªนÔพน¸ìàÃืèͧ “¤Øณ·Í§á´§” ©ºÑº¡ÒÃìµÙน  â´Â ªÑÂ  ÃÒªÇѵÃ  นÍ¡¨Ò¡à»çนÈÔÅ»ÔนáÅéÇ  พÔÉณØÂѧ à»çนนÑ¡à¢ÕÂน·Õèâ´è§´Ñ§  ä´éÃѺพÃะÃÒª·ÒนÃÒ§ÇÑŨҡÊÁà´ç¨พÃะà·พ- ÃѵนÃÒªÊØ´ÒÏ  ÊÂÒÁºÃÁÃÒª¡ØÁÒÃÕ  ¨Ò¡§ÒนÊÑ»´ÒËìËนѧÊืÍáËè§ªÒµÔ ËÅÒ»յԴµèÍ¡Ñน  áÅะä´éÃѺÃÒ§ÇÑÅÍืèนæ ÍÕ¡ÁÒ¡ÁÒÂ  นÍ¡¨Ò¡นÕéÂѧ à¤Â´ÓçµÓáËน觤ณº´Õ¤ณะ¨ÔµÃ¡ÃÃÁ»ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔÁพì ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃอีกด้วย

“ดอกไม้บาน 1” เส้นผ่าศูนย์กลาง 45 ซม.  ลึก 5.5 ซม. : แก้ว แนวความคิด เรื่องราวจินตนาการจากดอกไม้บาน  ให้ความรู้สึกที่ดี  กลายมาเป็น  จานใส่ผลไม้ขนาดใหญ่  ตั้งประดับไว้บนโต๊ะอาหารก็เกิดความสวยงาม  ในตัวเอง


“ดอกไม้บาน 2” เส้นผ่าศูนย์กลาง  32  ซม.  ลึก 3 ซม. : แก้ว แนวความคิด เรื่องราวจินตนาการจากดอกไม้บาน  ให้ความรู้สึกที่ดี  กลายมาเป็น  จานใส่ผลไม้ขนาดใหญ่  ตั้งประดับไว้บนโต๊ะอาหารก็เกิดความสวยงาม  ในตัวเอง

“Flowers bloom 2” Diameter  32  cm  Depth:  3 cm : Glass Concept Imagination  from  the  story of a blossoming flower make a  good feeling become a big fruit trey, set decoration on the  dining table is beautiful in itself.



ผศ.เพ็ญสิริ  ชาตินิยม àพçญÊÔÃÔ  ªÒµÔนÔÂÁ / Pensiri Chartniyom • ผÙéªèÇÂÈÒʵÃÒ¨ÒÃÂì»Ãะ¨ÓÀÒ¤ÇÔªÒÍ͡Ẻà¤Ãืèͧ»Ãะ´Ñº ¤ณะ ÁÑ ณ ±นÈÔ Å »ì   ÁËÒÇÔ · ÂÒÅÑ Â ÈÔ Å »Ò¡Ã / Assistant Professor of Jewelry Design Department, Faculty of Decorative Arts, Silpakorn University • à¡Ô´ÇÑน·Õè  9 ÊÔ§ËÒ¤Á 2517  ¡Ãاà·พÁËÒน¤Ã • ÊÓàÃ稡ÒÃÈÖ¡ÉÒÃะ´Ñº»ÃÔญญÒµÃÕ  ÈÔÅ»ºÑณ±Ôµ  ÊÒ¢ÒÍ͡Ẻ à¤Ãืèͧà¤Åืͺ´ÔนàผÒ ¤ณะÁÑณ±นÈÔÅ»ì  ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ  áÅะ Ãะ´Ñ º »ÃÔ ญ ญÒâ· M.A. Design Studies  Ê¶ÒºÑ น  St.Martin’s College of Art & Design  »Ãะà·ÈÊËÃÒªÍÒณҨѡÃ


“คลื่นมหาสมุทร” 35 x 40 x 20 ซม. : แก้ว แนวความคิด ในมหาสมุทรกว้างใหญ่  การดำรงชีวิตก็ต้องพบกับสิ่งมากมาย  อยู่ที ่ ใครจะมองว่าดีหรือร้ายเช่นไร  ก็มาจากการตัดสินของใจตน “The ocean wave” 35 x 40 x 20 cm : Glass fusing Concept There are many experiences in life under the  vast  ocean.  What is good or what is bad, both depend on your mind.


ดร.ปรมพร  ศิริกุลชยานนท์


“มอง+” 20  x  40  x  30  ซม. แก้ว  วิธีการขึ้นรูปแบบเย็นด้วยแสงยูวี แนวความคิด สิ่งบางสิ่งที่อาจดูเรียบง่าย  อาจไม่สมบูรณ์  หรืออาจเป็นเพียงสิ่งเล็กๆ  ในชีวิต  ล้วนมีแง่งามเสมอ  อยู่ที่เราจะมอง

“See positively” 20 x 40 x 30 cm Cold form with U.V. light Concept Something that may look simple, incomplete, or non-perfect  can be beautiful, depend on our attitude.

´Ã.»ÃÁพÃ  ÈÔÃÔ¡ØŪÂÒนน·ì  / Paramaporn Sirikulchayanon • ÍÒ¨ÒÃÂì » Ãะ¨ÓÀÒ¤ÇÔ ª Ò·ÄÉ®Õ È Ô Å »ì   / Art Instructor of Art Theory Department • ÊÓàÃ稡ÒÃÈÖ¡ÉÒÃะ´Ñº»ÃÔญญÒâ·  áÅะ»ÃÔญญÒàÍ¡ (·ØนÃÑ°ºÒÅ- â¤Ã§¡ÒÃผÅÔµáÅะพÑฒนÒÍÒ¨ÒÃÂì)  ÊÒ¢Ò Architectural Heritage Management  ¨Ò¡ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ


76 All about Glass

ทรงไชย บัวชุม “แจกัน” 5  x  20  x  14  ซม. / 7  x  26 x 20 ซม. / 7  x  33  x  28.5  ซม.  :  แก้ว  เครื่องเคลือบดินเผา แนวความคิด กลุ่มแจกันรูปทรงหนังสือ  นำเสนอแนวคิดทางศิลปะซึ่งกำลังทำหน้าที่  ของการเชือ่ มโยงระหว่างวัตถุตา่ งๆ  ทัง้ กำลังสะท้อนถึงการโยงไประหว่าง  ความหมายและความรู้สึกในขณะเดียวกัน

·Ã§äªÂ  ºÑǪØÁ / Songchai Buachum • ÍÒ¨ÒÃÂì»Ãะ¨ÓÀÒ¤ÇԪҨԵáÃÃÁ / Art Instructor of Painting Department • à¡Ô´àÁืèÍÇÑน·Õè  17 àÁÉÒÂน 2516  ¨Ñ§ËÇÑ´¢Íนá¡èน • ÊÓàÃç ¨ ¡ÒÃÈÖ ¡ ÉÒÃะ´Ñ º »ÃÔ ญ ญÒµÃÕ á Åะâ·  ¨Ò¡¤ณะ¨Ô µ áÃÃÁ »ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔÁพì มหาวิทยาลัยศิลปากร • ÀÒÂËÅѧ¨º¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ  ·Ã§äªÂä´éÃѺ¡ÒúÃèØà»çนÍÒ¨ÒÃÂì»Ãะ¨Ó ÀÒ¤ÇÔ ª Ò¨Ô µ áÃÃÁ ¤ณะ¨Ô µ áÃÃÁ»ÃะµÔ Á Ò¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔ Á พì ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ  â´Âä´éÊÃéÒ§ผŧÒนÈÔÅ»ะÍÂèÒ§µèÍàนืèͧ  ¨นÁÕ

นÔ·ÃÃÈ¡ÒÃáÊ´§ผŧÒนà´ÕèÂÇáÅะ§Òน¡ÅØèÁËÅÒ¤ÃÑé§  ÍÕ¡·Ñé§ä´éÊè§ ผŧÒนÈÔÅ»¡ÃÃÁà¢éÒÃèÇÁ»Ãะ¡Ç´ãนÃะ´ÑºªÒµÔÍÂèÒ§µèÍàนืèͧ  áÅะ ä´é Ã Ñ º ÃÒ§ÇÑ Å ËÅÒÂÃÒ§ÇÑ Å   â´ÂËนÖ è §ãนนÑ é น ¤ื Í ÃÒ§ÇÑ Å  3 rd Prize, Bronze Medal, Mixed Media, The 46th National Exhibition of Art  ·Ã§äªÂนѺä´éÇèÒà»çนÈÔÅ»ÔนËนØèÁฝÕÁืÍ´Õãน§Òน´éÒน¨ÔµÃ¡ÃÃÁ ÍÕ¡¤นËนÖ觢ͧǧ¡ÒÃÈÔÅ»ะ  §Òน´éÒนºÃÔËÒûѨ¨ØºÑน´ÓçµÓáËนè§ Ãͧ¤ณº´ÕฝèÒ¡Ԩ¡ÒÃนÑ¡ÈÖ¡ÉÒ ¤ณะ¨ÔµÃ¡ÃÃÁ»ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁáÅะ ÀÒพพÔÁพì  ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ


“Vase” 5  x  20  x 14  cm / 7 x 26 x 20 cm / 7  x  33  x 28.5  cm : Glass, Ceramics Concept Group of Vase in a shape of book repre-  sents  the  concept of art objects, which  are  responsible of the link between  objects.  Both  are refer to the meaning  and feeling at the same time.


78 All about Glass

“จังหวะของหนังสือ” 23 x 30 x 40 ซม. แก้ว  โลหะ  เครื่องเคลือบดินเผา แนวความคิด กลุ่มของหนังสือที่สร้างจากวัสดุต่างชนิดกัน  แสดงลักษณะของวัตถุที่มี  แนวคิดทางศิลปะ  ซึ่งกำลังทำหน้าที่ของการเชื่อมโยงระหว่างวัตถุ  ต่างๆ  ทั้งกำลังแสดงถึงการโยงใยระหว่างความหมายและความรู้สึกใน  ขณะเดียวกัน


Sand & Husk, Art & Science 79

“Rhythm of the book” 23 x 30 x 40 cm Glass, Metals, Ceramics Concept Collection of books, which made from different materials. To express  of the concept of art objects with acting to links between objects and  showing the link between meaning and feeling at the same time.


ปัญญา  วิจินธนสาร »ÑญญÒ  ÇÔ¨Ôน¸นÊÒÃ / Panya Vijinthanasarn • ÍÒ¨ÒÃÂìพิเศษÀÒ¤ÇÔªÒÈÔÅ»ä·Â / Guest Instructor of Thai Art Department • à¡Ô´àÁืèÍÇÑน·Õè  25 พÄÉÀÒ¤Á 2499  ¨Ñ§ËÇÑ´»Ãะ¨Çº¤ÕÃÕ¢Ñน¸ì • ÊÓàÃ稡ÒÃÈÖ¡ÉÒÃะ´Ñº»ÃÔญญÒµÃÕ  ¨Ò¡¤ณะ¨ÔµÃ¡ÃÃÁ  »ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁ áÅะÀÒพพÔÁพì  ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ  áÅะä´éÃѺ»Ãะ¡ÒÈนÕºѵèҡ »Ãะà·ÈÊËÃÒªÍÒณҨѡÃ Certificate of Printmaking, School of Fine Arts, University College London • »ÑญญÒà»çนÍÒ¨ÒÃÂìÊÍนÈÔÅ»ะผÙÁé ªÕ Íèื àÊÕ§¢Í§ä·Â  ¨Ò¡»Ãะʺ¡ÒÃณì ãน´éÒน¡ÒÃÊÃéÒ§ÊÃäìÈÔÅ»ะผÊÁผÊÒน¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ¤éน¤ÇéÒ´éÒนÇÔªÒ¡Òà ÈÔÅ»ะ  นÓä»ÊÃéÒ§ÊÃäìผŧÒนãนẺä·ÂÃèÇÁÊÁÑ·ÕÁè ºÕ Ø¤ÅÔ¡à©พÒะµÑÇ áÅะพÑฒนÒä»ÊÙè¤ÇÒÁÊÓàÃç¨ÊÙ§ÊØ´à»çน·ÕèÃÙé¨Ñ¡ãนǧ¡ÒÃÈÔÅ»ะ·Ñé§ãนÃะ´Ñº »Ãะà·ÈáÅะµèÒ§»Ãะà·È  à¤Âä´éÃѺÃÒ§ÇÑŨҡ¡ÒÃáÊ´§ÈÔÅ»¡ÃÃÁ ¨Ò¡µèÒ§»Ãะà·È  ÍÒ·Ôàªèน  British Council Scholarship to study Printmaking at Slade School of Fine Art, University College London; Represented Thailand at SPAFA ASEAN Art Conference, Jakarta  áÅะä´é à ¢é Ò Ãè Ç Áâ¤Ã§¡ÒÃ 2 nd ASEAN workshop, Exhibition and Symposium on Aesthetics, Manila ผŧÒนÈÔÅ»¡ÃÃÁ¢Í§»ÑญญÒà»çน§Òน·ÕèÁÕ ¤ÇÒÁâ´´à´èนáÅะà»çน·Õè ªื è น ªÍº¢Í§Ç§¡ÒÃÈÔ Å »ะ  â´Âä´é ¨ Ñ ´ นÔ · ÃÃÈ¡ÒÃáÊ´§à´Õ è  ÇáÅะ áÊ´§¡ÅØèÁÍÂèÒ§µèÍàนืèͧ·Ñé§áÊ´§ãน»Ãะà·ÈáÅะµèÒ§»Ãะà·È


“แดนนิพพาน 1” เส้นผ่าศูนย์กลาง 46 ซม.  สูง 25 ซม. แก้ว  โลหะทองแดง แนวความคิด การสร้างพระพุทธรูปมิได้เพียงเพือ่ การบูชา  แต่สามารถสือ่ ความหมาย  ให้ความลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจมากขึ้น  ด้วยการสร้างสรรค์จากงานศิลปะ

“Land of Nirvana 1” Diameter 46 High: 25 cm Glass, Bronze. Concept A Buddha, not only for worship but can be meaningful to a  more profound caring with the creation of works of art.


“อีกโลกหนึ่ง” 71 x 29 ซม. ระบายสีบนแก้ว แนวความคิด สีและลวดลายที่ปรากฏบนแผ่นแก้ว  ทำให้เกิดจินตนาการของเรื่องราวที ่ ซ่อนเร้นอยู่ ที่ข้าพเจ้าได้คัดขึ้นมาให้  เห็นเป็นรูปธรรม

“ANOTHER WORLD” 71 x 29 cm Paint on glass Concept The color and detail on  the  glass bring about the imagina-  tion of the hidden story  which,  I create in the form of abstract  artwork.


“แดนนิพพาน 2” 30  x  45 x 54 ซม. แก้ว  โลหะทองแดง แนวความคิด การสร้างพระพุทธรูปมิได้เพียงเพือ่ การบูชา  แต่สามารถสือ่ ความหมาย  ให้ความลึกซึ้งเข้าถึงจิตใจมากขึ้น  ด้วยการสร้างสรรค์จากงานศิลปะ

“Land of Nirvana 2” 30 x 45 x 54 cm Glass, Bronze. Concept A Buddha, not only for worship but can be meaningful to a  more profound caring with the creation of works of art.


วอวิค  เวสท์

ÇÍÃÔ¤  àÇÊท์ / Warwick West • ÇÔ · ÂÒ¡ÃพÔ à ÈÉ ¤ณะ¨Ô µ áÃÃÁ»ÃะµÔ Á Ò¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔ Á พì ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ / Guest Instructor of Faculty of Painting Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University • à¡Ô´àÁืèÍÇÑน·Õè  22 µØÅÒ¤Á 2483  àÁืͧ«Ô´นÕÂ ì »Ãะà·ÈÍÍÊàµÃàÅÕ • สำเร็จ¡ÒÃÈÖ¡ÉÒÃะ´Ñº B.A. Visual Arts (Studio Major)  áÅะ Ãะ´Ñº B.A. Honours Visual Art ¨Ò¡ University of Western Sydney, NSW, Australia • ÇÍÃÔ¤  àÇÊ·ì  ä´éà¤ÂÁÒ»¯ÔºÑµÔ§Òนà»çน Artist in residence ãน â¤Ã§¡ÒÃáÅ¡à»ÅÕ è  นÃะËÇè Ò §¤ณะ¨Ô µ áÃÃÁ»ÃะµÔ Á Ò¡ÃÃÁáÅะ ÀÒพพÔÁพì  ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ  áÅะ Western Sydney Univer- sity, Australia  àÁืèÍ»Õ  พ.È. 2549 - 2550 ÍÒ¨ÒÃÂìÇ ÍÃÔ ¤  àÇÊ·ì  ä´é Ê Ãé Ò §ÊÃäì ผ ŧÒนÈÔ Å »¡ÃÃÁá¡é ÇäÇé ÁÒ¡ÁÒÂ  ·Ñ駡ÒÃáÊ´§ผŧÒน Performance Installation áÅะ áÊ´§ผŧÒนÈÔÅ»¡ÃÃÁ·Ñ駡ÒÃáÊ´§ผŧÒนà´ÕèÂÇáÅะผŧÒน¡ÅØèÁ ·Ñé§ãน»Ãะà·ÈÍÍÊàµÃàÅÕÂáÅะ»Ãะà·Èä·Â


“Savoury dishes” 23  x  33 x 5 ซม. ระบายสีบนแก้ว แนวความคิด ความงามของแสงที่ตกกระทบบนวัสดุที่เป็นแก้ว  ทำให้เกิดสีแสงที ่ หลากหลาย  ความสวยงามของธรรมชาติที่เกิดจากการถ่ายทอดของ  แก้วจึงเริ่มต้นขึ้น  ผสมกับการระบายทับด้วยสีเฉพาะเพื่อให้เกิดความ  งามที่เปี่ยมคุณค่าทางด้านศิลปะ

“Savoury dishes” 23 x 23 x 5 cm Paint on the glass Concept The beauty of reflection on the glass surface cause a variety  shade of light. The process of reflecting is the natural beauty.  Creating more value and aesthetic by painting over with the  selective colors


86 All about Glass

“Autonomous wall hanging”


Sand & Husk, Art & Science 87

“Fruit bowl” เส้นผ่าศูนย์กลาง 56 ซม. ระบายสีบนแก้ว แนวความคิด ความงามของแสงที่ตกกระทบบนวัสดุที่เป็นแก้ว  ทำให้เกิดสีแสงที ่ หลากหลาย  ความสวยงามของธรรมชาติที่เกิดจากการถ่ายทอดของ  แก้วจึงเริ่มต้นขึ้น  ผสมกับการระบายทับด้วยสีเฉพาะเพื่อให้เกิดความ  งามที่เปี่ยมคุณค่าทางด้านศิลปะ

“Fruit bowl” Diameter 56 cm Paint on the glass Concept The beauty of reflection on the glass surface cause a variety  shade of light. The process of reflecting is the natural beauty.  Creating more value and aesthetic by painting  over  with  the  selective colors


สมวงศ์  ทัพพรัตน์

“The traveling of time” A fruit tray, Diameter 33 cm Height 12 cm/Plates, Diameter  14 cm Glass  decorated  with colored mirrors and painted before  firing. Concept A set of glass containers consist of a tray of fruit and  small plates. Each plate represents the endless flow of time  through Fine art, by paint the difference of colors on the  white space.

ÊÁǧÈì  ·ÑพพÃѵนì  / Somwong Tupparat • Í Ò¨ÒÃÂì » Ãะ¨ÓÀÒ¤ÇÔ ª Ò·ÄÉ®Õ È Ô Å »ì   / Art Instructor of Art Theory Department • à¡Ô´àÁืèÍÇÑน·Õè  7 พÄÉÀÒ¤Á 2494  ¨Ñ§ËÇÑ´¨Ñน·ºØÃÕ • ÊÓàÃ稡ÒÃÈÖ¡ÉÒÃะ´Ñº»ÃÔญญÒµÃÕáÅะâ·  ÊҢҨԵáÃÃÁ  ¨Ò¡ ¤ณะ¨ÔµÃ¡ÃÃÁ»ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔÁพì  ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡà • µÅÍ´ÃะÂะàÇÅÒãน¡Ò÷ӧÒนÊÁǧÈì à »ç น ÍÒ¨ÒÃÂì Ê ÍนÈÔ Å »ะ ·Õè·ØèÁà·¡ÒÃÊÍนãËé¡ÑºนÑ¡ÈÖ¡ÉÒ  áÅะà»çนÈÔÅ»Ôน·ÕèÁÕªืèÍàÊÕ§¤นËนÖè§ ¢Í§àÁืͧä·Â  นÍ¡¨Ò¡§ÒนÊÍนÈÔÅ»ะáÅéÇÊÁǧÈìÂѧÊÃéÒ§ÊÃäì ÈÔÅ»ะÍÂèÒ§µèÍàนืèͧàÊÁÍÁÒ  ¨Ò¡¡ÒÃÊÑè§ÊÁ»Ãะʺ¡ÒÃณìãน´éÒน¡Òà ÊÃéÒ§ÊÃäìÈÔÅ»ะพÃéÍÁ¡ÑºผÊÁผÊÒน¡Ñº¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ¤éน¤ÇéÒ´éÒนÇÔªÒ¡Òà ÈÔÅ»ะ  ÊÁǧÈìนѺä´éÇèÒà»çนÈÔÅ»ÔนผÙé·èÁÕ ¤Õ ÇÒÁÊÒÁÒöãน¡ÒÃÊÃéÒ§ÊÃäì ผŧÒนÈÔÅ»ะ»ÃะàÀ·ÊÕนéÓ·ÕèÍÂÙèãนÍÑน´Ñºµéนæ ¢Í§àÁืͧä·Â¤นËนÖè§ »Ñ¨¨ØºÑนÁÕ¤ÇÒÁÊน㨡ÒÃÊÃéÒ§ÊÃäì·Õèà»çน·Ñé§à·¤นÔ¤ÊÕนéÓáÅะ·Ñé§à·¤นÔ¤ ÊÕนéÓÁÑน¤Çº¤Ùè¡Ñนä»  áµèÊÒÁÒöáÊ´§àÍ¡ÅÑ¡Éณìà©พÒะ¢Í§µนàͧ ÀÒÂãµé à ·¤นÔ ¤ ·Õ è á µ¡µè Ò §¡Ñ นä´é Í Âè Ò §ªÑ ´ à¨น จาก¡ÒÃÊÃé Ò §ÊÃäì ผŧÒนÈÔÅ»ะÍÂèÒ§ÊÁèÓàÊÁÍ·ÓãËéÊÒÁÒöáÊ´§§Òนà´ÕèÂÇáÅะáÊ´§ §Òน¡ÅØèÁä´éÍÂèÒ§µèÍàนืèͧµÅÍ´ÁÒ·Ñé§ãนÃะ´Ñº»Ãะà·ÈáÅะµèÒ§»Ãะà·È


“การขับเคลื่อนของกาลเวลา” ถาดผลไม้  เส้นผ่าศูนย์กลาง 33 ซม.  สูง 12 ซม. / จาน  เส้นผ่าน  ศูนย์กลาง 14 ซม.  ตัวภาชนะทำด้วยแก้ว  และมีการตกแต่งด้วย  กระจกสี  แล้วระบายสีก่อนนำไปเผา แนวความคิด เป็นชุดภาชนะทำจากแก้วที่ประกอบด้วยถาดใส่ผลไม้  และจานแบ่ง  ในแต่ละภาชนะมีการนำเอาวิธีการทางจิตรกรรมมาใช้  เพื่อแสดงออก  เกี่ยวกับการไม่หยุดนิ่งของกาลเวลา  ด้วยการใช้จังหวะ  ลีลาของสีมา  สื่อความหมายบนพื้นที่ว่างสีขาว


90 All about Glass

อำมฤทธิ์  ชูสุวรรณ

“ช้าง” 70  x  60  ซม. แก้วทำพิมพ์รูปช้าง แนวความคิด ใช้วัสดุสองอย่างในการสร้างสรรค์  รูปทรงช้างจากแบบปลาสเตอร์  โดยเลือกนำกระจกมาทำให้เกิดสิ่งที่น่าสนใจ  และความท้าทายรูปแบบ  ใหม่ในผลงานศิลปะ

ÍÓÁÄ·¸Ôì  ªÙÊØÇÃÃณ / Amrit Chusuwan • ÍÒ¨ÒÃÂì»Ãะ¨ÓÀÒ¤ÇԪҨԵáÃÃÁ / Art Instructor of Painting Department • à¡Ô´àÁืèÍÇÑน·Õè  22 àÁÉÒÂน 2498 • ÊÓàÃ稡ÒÃÈÖ¡ÉÒÃะ´Ñº»ÃÔญญÒµÃÕáÅะâ·  ÊҢҨԵáÃÃÁ  ¨Ò¡ ¤ณะ¨ÔµÃ¡ÃÃÁ»ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔÁพì  ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡà • µÅÍ´ªèǧªÕÇÔµ¡Ò÷ӧÒน·ÕèผèÒนÁÒ  ÍÓÁÄ·¸ÔìÁÕผŧÒน¡ÒÃáÊ´§ ÈÔÅ»ะÁÒ¡ÁÒÂ  ·Ñé§นÔ·ÃÃÈ¡ÒáÅØèÁáÅะà´ÕèÂÇ  àªèน  ãน»Õ  2548  à¢éÒ ÃèÇÁáÊ´§§ÒนนÔ·ÃÃÈ¡ÒÃàพืèÍà»çน¡ÒÃÃÓÅÖ¡¶Ö§à˵ءÒÃณìÊÖนÒÁÔ·ÕèËÒ´ »èҵͧ  ¨Ñ§ËÇÑ´ÀÙà¡çµ  ãน»ÕµèÍÁÒä´éà¢éÒÃèÇÁนÔ·ÃÃÈ¡ÒÃÈÔÅ»ะà©ÅÔÁ พÃะà¡ÕÂõÔพÃะºÒ·ÊÁà´ç¨พÃะà¨éÒÍÂÙèËÑÇãนâÍ¡Òʷç¤ÃͧÊÔÃÔÃÒª ÊÁºÑ µ Ô ¤ ú 60 พÃÃÉÒ  áÅะãน»Õ   2550  à¢ÒÂÑ §ä´é à ¢é Ò Ãè Ç ÁáÊ´§ ผŧÒนãนà·È¡ÒÅÈÔ Å »ะ Venice Biennale  ณ »Ãะà·ÈÍÔ µ ÒÅÕ ÍÓÁÄ·¸Ôì  ä´éÃѺÃÒ§ÇÑÅ·Ò§ÈÔÅ»ะÁÒ¡ÁÒÂ  «Öè§ËนÖè§ãนนÑéน¤ืÍ  ÃÒ§ÇÑÅ »Ãะ¡ÒÈนÕºѵÃà¡ÕÂõÔนÔÂÁÍÑน´Ñº 2 (àËÃÕÂญà§Ôน) »ÃะàÀ·¨ÔµÃ¡ÃÃÁ ãน§ÒนÈÔÅ»¡ÃÃÁáË觪ҵÔ ¤ÃÑ駷Õè  32  นอกจากนี้ยังได้รับเชิญเป็น ศิลปินในพำนัก และวิทยากรบรรยายความรู้ต่างๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ  áÅะÂѧà¤Âà»çนผÙéºÃÔËÒÃâ´Â´ÓçµÓáËนè§Ãͧ¤ณº´Õ ฝèÒºÃÔËÒÃ ¤ณะ¨ÔµÃ¡ÃÃÁ»ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔÁพì ปัจจุบัน เป็นผู้อำนวยการหอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


Sand & Husk, Art & Science 91

“Elephant” 70 x 60 cm Warm glass Concept Using two materials to create the elephant shape by the Plaster  technique. Glass was selected to cause the interesting and challeng-  ing in the new style of art.


ธานี  กลิ่นขจร “นกของบราค” 55 x 47 x 12 ซม. กระจกสีฟ้าอ่อน  พ่นทรายตามรูปทรงที่ออกแบบ แนวความคิด สร้างชิน้ งานวัสดุเป็นแก้ว  ออกแบบรูปทรงโดยนำงานของศิลปินในอดีต  คือ  จอร์จ  บราค (George Braque)  โดยที่งานจริงเป็นภาพพิมพ์  Mezzotint  หากแต่นำเทคนิคพ่นทรายให้เกิดรูปทรงบนผิวแก้วทำให้  เกิดลอน (Convex) ตรงกลาง  ใช้เป็นงานตกแต่งผนัง  ฯลฯ


"The bird of Braque (George Braque)" 55  x  47  x  12  cm. Sandblasting Concept A piece of glass material inspired by George Braque’s Mezzo-  tin work, by using the technique of sandblasting on the glass  surface to create wave (Convex) in the middle.

¸ÒนÕ  ¡ÅÔèน¢¨Ã /  Thanee Klinkhajorn • อดีตÍÒ¨ÒÃÂì»Ãะ¨ÓÀÒ¤ÇÔªÒ·ÄÉ®ÕÈÔÅป์  / Former Art Instructor of Art Theory Department • à¡Ô´àÁืèÍÇÑน·Õè  13 ÊÔ§ËÒ¤Á 2495  ¡Ãاà·พÁËÒน¤Ã • ÊÓàÃç ¨ ¡ÒÃÈÖ ¡ ÉÒÃะ´Ñ º »ÃÔ ญ ญÒµÃÕ á Åะâ·  ¨Ò¡¤ณะ¨Ô µ áÃÃÁ »ÃะµÔ Á Ò¡ÃÃÁáÅะÀÒพพÔ Á พì   ÁËÒÇÔ · ÂÒÅÑ Â ÈÔ Å »Ò¡Ã  áÅะä´é Ã Ñ º »Ãะ¡ÒÈนÕºѵèҡ Certificate Tecnica di Sculptura in Marmo, Accademia di Belle Arti Firenze, Italy • µÅÍ´ÃะÂะàÇÅÒãน¡Ò÷ӧÒน  ¸ÒนÕà»çนÍÒ¨ÒÃÂìÊÍนÈÔÅ»ะ·Õè·ØèÁà· ãËé ¡ Ñ º ¡ÒÃÊÍนâ´Âãªé » Ãะʺ¡ÒÃณì ã น´é Ò น¡ÒÃÊÃé Ò §ÊÃÃค์ È Ô Å »ะ ผÊÁผÊÒน¡ÒÃÈÖ¡ÉÒ¤éน¤ÇéÒ´éÒนÇÔªÒ¡ÒÃÈÔÅ»ะ  นÍ¡¨Ò¡§ÒนÊÍน áÅéǸÒนÕÂѧÊÃéÒ§ÊÃäìÈÔÅ»ะÍÂèÒ§µèÍàนืèͧàÊÁÍÁÒ  ·ÓãËéÊÒÁÒö áÊ´§§Òนà´ÕèÂÇáÅะáÊ´§§Òน¡ÅØèÁä´éÍÂèÒ§µèÍàนืèͧ·Ñé§ãนÃะ´Ñº»Ãะà·È áÅะµèÒ§»Ãะà·È  นÍ¡¨Ò¡¡ÒÃÊÃéÒ§ÊÃäìผŧÒน·Ò§´éÒน»ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁ áÅéÇ  ¸ÒนÕÂѧÁÕ¤ÇÒÁÊÒÁÒöãน¡ÒÃÇÒ´àÊéน  §Òน´éÒนºÃÔËÒøÒนÕà¤Â ´ÓçµÓáËนè§ËÑÇËนéÒËÁÇ´ÇÒ´àÊéน ¤ณะ¨ÔµÃ¡ÃÃÁ»ÃะµÔÁÒ¡ÃÃÁ áÅะÀÒพพÔÁพì  ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ


94 All about Glass

อภิรมย์  กงกะนันท์ ÍÀÔÃÁÂì  ¡§¡ะนÑน·์  /  Apirom Kongkanan • ÍÒ¨ÒÃÂì»Ãะ¨ÓÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂà·¤âนâÅÂÕพÃะ¨ÍÁà¡ÅéÒ¸นºØÃÕ  / Art Instructor at King Mongkut’s University of Technology Thonburi • à¡Ô´àÁืèÍÇÑน·Õè  1 ¡ØÁÀÒพÑน¸ì  2516  ¡Ãاà·พÁËÒน¤Ã • ÊÓàÃ稡ÒÃÈÖ¡ÉÒÃะ´Ñº»ÃÔญญÒµÃÕ¨Ò¡ÁËÒÇÔ·ÂÒÅÑÂÈÔŻҡÃ  áÅะ »ÃÔญญÒâ·  MFA Academy of Art University • นÍ¡¨Ò¡º·ºÒ·¡ÒÃÊÍนáÅéÇÍÀÔÃÁÂìÂѧä´éÃѺ¡ÒÃÂÍÁÃѺãนÃะ´Ñº ÊÒ¡Åãน´éÒน¡ÒÃÍ͡Ẻ  พÃéÍÁÃÒ§ÇÑÅà¡ÕÂõÔÂÈ«Ö§è à»çนà¤ÃืÍè §ÂืนÂÑน ¶Ö§»ÃะÊÔ·¸ÔÀÒพáÅะ¤ÇÒÁÊÒÁÒöÍÂèÒ§µèÍàนืèͧ  àªèน  Honourable mention, LG Electronic design competition, Soul Korea 2540, Honourable mention, LG Electronic design competition, Soul Korea 2542, Grant foe international UNESCO creativity workshop ; Gioco Design Disabilita,granted by Foerdem durch Spielmittel-Spielzeug fuer Kinder, Berlin Germany and PAIDEIA Foundation, Torino, Italy 2551

“Balance” Diameter 18 cm Height: 15 cm (Big size) / Diameter 18 cm  Height: 5 cm (Small size) Glass Concept Stackable blown glass set derived the idea from the oriental  stone stacking sculpture.


“Balance” เส้นผ่าศูนย์กลาง 18 ซม.  สูง 15 ซม. (ชิ้นใหญ่)  /  เส้นผ่าศูนย์กลาง  18  ซม.  สูง  5  ซม. (ชิ้นเล็ก) แก้ว แนวความคิด งานออกแบบทีน่ ำเรือ่ ง Tableware ทีแ่ สดงแนวความคิดแบบตะวันออก  มาใช้


จัดพิมพ์เผยแพร่โดยโครงการศิลปากรพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยศิลปากร




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.