210 + 6 mm
san 18 mm
210 + 6 mm
15 mm
15 mm
15 mm
ไผ่ในเมืองไทย
สราวุธ สังข์แก้ว อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ กิตติศักดิ ์ จินดาวงศ์
of Thailand
245 + 6 mm
of Thailand
ไผ่ ในเมืองไทย
หนังสือ “ไผ่ในเมืองไทย” นับเป็นหนังสือรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไผ่ที่สมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทยที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งในด้านพฤกษศาสตร์ การปลูกเลี้ยง การขยายพันธุ์ การดูแลรักษา พร้อมรวบรวมไผ่ชนิดต่าง ๆ มากกว่า 50 ชนิด ที่มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทยและไผ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จนกลายเป็นไม้ประดับที่สำคัญในปัจจุบัน ผู้สนใจทุกท่านสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานได้เป็นอย่างดี สำนักพิมพ์บ้านและสวนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะให้ข้อมูลความรูท้ ี่สมบูรณ์ที่สุดกับผู้อ่าน ซึ่งนับเป็นเป้าหมายหลักที่ผู้เขียนและสำนักพิมพ์เล็งเห็นร่วมกัน และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำ จนทำให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จลงได้
editor อุไร จิรมงคลการ photographers อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ สราวุธ สังข์แก้ว อภิรักษ์ สุขสัย ธนกิตติ์ คำอ่อน
graphic designer ธีระยุทธ ช่างคิด
ISBN 978-974-289-317-0
พิมพ์ครั้งที ่ 1
botanical illustrator สุนิตสรณ์ พิมพะสาลี
569.-
15 mm
569
54-HP-037 Bihum 5c_J.indd 1
สีที่ 5
54-HP-037 Bihom 5c._san 18 mm._J = CS2_G Classic Glossy
7/19/11 2:50:00 PM
ไผ่ในเมืองไทย
of Thailand ปาเจราจริยา โหนฺต ิ คุณตุ ตฺ รานุสาสกา
ปญฺาวุฑฒ ฺ กิ เรเต เต ทินโฺ นวาเท นมามิหํ ผู้เขียนขอขอบพระคุณคณาจารย์ทุกท่านที่สั่งสอนให้เรามีความรู้ และทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติจนถึงวันนี้
p.1-69_Bamboo.indd 1
7/11/11 12:16:49 PM
ไผ่ในเมืองไทย
of Thailand สราวุธ สังข์แก้ว อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ กิตติศักดิ์ จินดาวงศ์
ชุดไม้ดอกไม้ประดับ ลำดับที่ 48 เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
978-974-289-317-0
พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2554
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของศูนย์ข้อมูลอมรินทร์ สราวุธ สังข์แก้ว. ไผ่ในเมืองไทย / สราวุธ สังข์แก้ว, อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ และ กิตติศักดิ์ จินดาวงศ์: เขียน.® กรุงเทพฯ: บ้านและสวน, 2554. 263 หน้า: ภาพประกอบ (สี). (ชุดไม้ดอกไม้ประดับ ลำดับที่ 48) 1. ไผ่ - - ไทย. 2. ไม้ ไ ผ่ - - ไ ทย. I. อั จ ฉรา ตี ร ะวั ฒ นานนท์ , ผู้แต่งร่วม. II. กิตติศักดิ์ จินดาวงศ์, ผู้แต่งร่วม. III. ชื่อเรื่อง. 633.58 ส4ผ9 ISBN 978-974-289-317-0
DDC 633.58
เจ้าของลิขสิทธิ์ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) พิมพ์ครั้งแรกในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554 © Amarin Printing and Publishing Public Co., Ltd. First published in Thailand in 2011 by Amarin Printing and Publishing Public Co., Ltd. ข้อความและรูปภาพทั้งหมดในหนังสือนี้ เจ้าของลิขสิทธิ์สงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ การคัดลอกส่วนใด ๆ ในหนังสือนี้ไปเผยแพร่ในทุกรูปแบบ ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน ยกเว้นการอ้างอิงเพื่อการศึกษาและการวิจารณ์
เจ้าของ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กรรมการผู้จัดการใหญ่ ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการสายงานนิตยสาร นวลจันทร์ ศุภนิมิตร บรรณาธิการที่ปรึกษา สุภาวดี โกมารทัต, ผศ.จิรายุพิน จันทรประสงค์, ประมวล โกมารทัต, ประพันธ์ ประภาสะวัต บรรณาธิการอำนวยการ เจรมัย พิทักษ์วงศ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์ กาญจนา เอนอ่อน บรรณาธิการ อุไร จิรมงคลการ กองบรรณาธิการ ธิวลักษณ์ บุนนาค เลขานุการคณะบรรณาธิการ สุรีรัตน์ ตั้งตะธารากุล ที่ปรึกษาฝ่ายซับเอดิเตอร์ มนทิรา วงศ์ชะอุ่ม ซับเอดิเตอร์ พิมพา จิตตประสาทศีล หัวหน้าฝ่ายศิลปกรรม พรพัฒน์ วงศ์ตั้นหิ้น ศิลปกรรม ธีระยุทธ ช่างคิด บรรณาธิการภาพ อภิรักษ์ สุขสัย ช่างภาพ อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์, สราวุธ สังข์แก้ว, ธนกิตติ์ คำอ่อน ภาพวาดประกอบ สุนิตสรณ์ พิมพะสาลี ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการสำนักพิมพ์ ชัชฎา พรหมเลิศ พิสูจน์อักษร วีระเดช จันภิรมย์ คอมพิวเตอร์ ธรรมรัตน์ เอี่ยมวรากุล ประสานงานการผลิต ไตรรัตน์ ทรงเผ่า ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและสื่อสารแบรนด์นิตยสาร น้ำทิพย์ เงินแย้ม ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและสื่อสารแบรนด์นิตยสาร ศุภมิต นำประดิษฐ์ ฝ่ายการตลาดและสื่อสารแบรนด์ จุรีพร ชัยสงคราม, พิญญารัศม์ ศรีเนียม
p.1-69_Bamboo.indd 2
สำนักงาน
บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 65/101 - 103 ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ 0-2422-9999 ต่อ 4278 โทรสาร 0-2422-9999 ต่อ 4078 E-mail: info@amarin.co.th Homepage: http://www.amarinpocketbook.com
แยกสีและพิมพ์ที่
สายธุรกิจโรงพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) 65/16 ถนนชัยพฤกษ์ (บรมราชชนนี) เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170 โทรศัพท์ 0-2422-9000, 0-2882-1010 โทรสาร 0-2433-2742, 0-2434-1385
จัดจำหน่ายโดย
บริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จำกัด 108 หมู่ที่ 2 ถนนบางกรวย - จงถนอม ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130 โทรศัพท์ 0-2423-9999 โทรสาร 0-2449-9222, 0-2449-9500 - 6 Homepage: http://www.naiin.com
7/11/11 12:17:17 PM
Foreword
คำนำสำนักพิมพ์ เมื่อกล่าวถึงไผ่ หลายท่านมักนึกถึง “ข้าวหลาม” อาหารพื้นบ้านของไทย “หน่อไม้” ผักพื้นบ้าน ทีบ่ ริโภคกันมาแต่โบราณและยังเป็นทีน่ ยิ มถึงปัจจุบนั บางท่านอาจนึกถึง “รัว้ ไผ่” “ฟากไม้ไผ่” ทีน่ ำมาใช้ ก่อสร้างบ้านเรือน หรือแม้แต่อาหารขึน้ ชือ่ อย่าง “หนอนรถด่วน” ทีก่ ลายเป็นเมนูเด่นอาหารพืน้ บ้านของ ชาวเหนือ แต่ใครรูบ้ า้ งว่า ไผ่ในเมืองไทยทีน่ ำมาใช้ประโยชน์มกี ช่ี นิด และอีกกีช่ นิดทีย่ งั ไม่เป็นทีร่ จู้ กั หรือ ยังไม่มกี ารค้นพบ แต่มกี ารนำมาใช้ประโยชน์กนั มานานแล้ว ผู้เขียนทั้งสามท่าน คือ ดร.สราวุธ สังข์แก้ว ดร.อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ และ คุณกิตติศักดิ์ จินดาวงศ์ จึงได้ร่วมกันศึกษาวิจัยเรื่องไผ่อย่างจริงจังในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านพฤกษศาสตร์และ พืชสวน เพื่อให้ไผ่เป็นพรรณไม้ที่ทุกคนเห็นคุณค่าและนำมาใช้ประโยชน์กันให้มากขึ้นอีกในอนาคต หนังสือ “ไผ่ในเมืองไทย” เล่มนีน้ บั เป็นหนังสือทีร่ วบรวมข้อมูลเกีย่ วกับไผ่ทส่ี มบูรณ์ทส่ี ดุ ในเมืองไทย ที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งในด้านพฤกษศาสตร์ การปลูกเลี้ยง การขยายพันธุ์ การดูแลรักษา พร้อม รวบรวมไผ่ชนิดต่าง ๆ มากกว่า 50 ชนิด ทั้งที่มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทยและไผ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จนกลายเป็นไม้ประดับที่สำคัญในปัจจุบัน ผู้สนใจทุกท่านสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานได้ เป็นอย่างดี สำนักพิมพ์บา้ นและสวนหวังว่า หนังสือเล่มนีจ้ ะให้ขอ้ มูลความรูท้ ส่ี มบูรณ์ทส่ี ดุ กับผูอ้ า่ น ซึ่งนับเป็นเป้าหมายหลักที่ผู้เขียนและสำนักพิมพ์เล็งเห็นร่วมกัน และขอขอบคุณทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำ จนทำให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จลงได้ด้วยดี สำนักพิมพ์บา้ นและสวน
p.1-69_Bamboo.indd 3
7/11/11 12:17:21 PM
Preface
คำนำผู้เขียน ไผ่มคี วามสำคัญต่อมนุษย์ ทัง้ ทางด้านนิเวศวิทยา เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ด้วยความ หลากหลายของไผ่ที่มีมากถึง 80 - 90 สกุล ประมาณ 1,500 ชนิด มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง หาง่าย โตเร็ว และเป็นพืชอเนกประสงค์ ทำให้ไผ่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้คนโดยเฉพาะ ในทวีปเอเชีย อเมริกา และแอฟริกา ผูเ้ ขียนตระหนักและเล็งเห็นถึงคุณค่าอันหลากหลายทีม่ มี าแต่โบราณ จึงเริม่ ทำการศึกษาวิจยั เรือ่ ง ไผ่มานานกว่า 10 ปี จากการสำรวจไผ่ในธรรมชาติทุกฤดูกาล จึงมีโอกาสได้เห็นต้นไผ่หลากหลายชนิด ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ ตะวันออกจรดตะวันตก รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ในเมืองไทย และทุกครั้งที่ออก สำรวจก็มโี อกาสพบต้นไผ่ทยอยกันผลิดอก ซึง่ นับว่าเป็นโชคของผูเ้ ขียนจริง ๆ เพราะดอกไผ่เป็นสิง่ สำคัญ ในการจำแนกชนิด จึงช่วยให้ผู้เขียนสามารถแก้ปัญหาในการจำแนกไผ่ ให้สำเร็จลุล่วงลงได้ ด้วยเหตุนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลที่มีอยู่จัดทำเป็นหนังสือ “ไผ่ในเมืองไทย” เล่มนี้ขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ตำนานของไผ่ ถิ่นกำเนิดการกระจายพันธุ์ การจัดจำแนกไผ่ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ การขยายพันธุ์ การปลูกและดูแลรักษา รวมถึงการใช้ประโยชน์ในแง่มุมต่าง ๆ พร้อมรวบรวมพันธุ์ไผ่ แต่ละชนิดที่พบในประเทศไทย ทั้งที่เป็นไผ่พื้นเมืองและไผ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ รวม 58 ชนิด โดย เรียงลำดับตามชื่อพฤกษศาสตร์ เพื่อป้องกันความสับสนเรื่องชื่อไทย ชื่อพื้นเมือง และชื่อเรียกการค้า ทีม่ จี ำนวนมาก สำหรับการจำแนกชนิดอาศัยหลักการทางอนุกรมวิธานทีผ่ า่ นการศึกษาจากตัวอย่างต้นแบบ (Type specimen) ทีใ่ ช้ในการตัง้ ชือ่ พฤกษศาสตร์ของไผ่ชนิดนัน้ ๆ พร้อมทัง้ เอกสารการจัดทำคำบรรยาย ของไผ่ชนิดนัน้ ๆ ครัง้ แรก (First description) เนื้อหาของหนังสือยังครอบคลุมถึงระบบการแบ่งกลุ่มไผ่ทั่วโลก ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากความ ร่วมมือกันของหลายหน่วยงาน ได้แก่ The Department of Botany, Trinity College, The University of Dublin, Ireland สวนพฤกษศาสตร์คิวแห่งประเทศอังกฤษ คณะวนศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ และโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษา นโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) เป็นต้น สำหรับเนือ้ หาด้านการปลูกเลีย้ งและ การขยายพันธุ์ไผ่ได้รับเกียรติจาก คุณกิตติศักดิ์ จินดาวงศ์ ผู้คลุกคลีอยู่กับการปลูกและขยายพันธุ์ไผ่ มาอย่างยาวนาน มาถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์ตรงสู่ประชาชนผู้สนใจ คณะผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือไผ่เล่มนี้จะช่วยให้ผู้ที่สนใจมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ทางด้านการจำแนกชนิด นิเวศวิทยา รวมถึงการขยายพันธุ์ การปลูก และการดูแลรักษาไผ่แต่ละชนิด มากขึ้น และสามารถใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับนักเรียน นิสิตนักศึกษาต่อไป สราวุธ สังข์แก้ว, อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ และกิตติศกั ดิ ์ จินดาวงศ์ มีนาคม 2554
p.1-69_Bamboo.indd 4
7/11/11 12:17:44 PM
p.1-69_Bamboo.indd 5
7/11/11 12:18:34 PM
ไผ่ในเมืองไทย
of Thailand Contents
สารบัญ
บทนำ ...............................................................................9 ไผ่คืออะไร.................................................................... 10 ตำนานของไผ่............................................................... 12 ถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์.......................................... 14 การจัดจำแนกไผ่............................................................ 16 ส่วนต่าง ๆ ของไผ่. ......................................................... 18 การขยายพันธุ์............................................................... 36 การปลูกเลี้ยงและการดูแลรักษา......................................... 48 โรค แมลงศัตรู และวิธีป้องกันกำจัด. ............................... 56 ประโยชน์ของไผ่............................................................. 58 แหล่งรวบรวมพันธุ์ไผ่. ..................................................... 68 ไผ่นานาชนิด.....................................................................71 1. สกุลไผ่ป่า (Bambusa Schreb.)............................... 73 2. สกุลไผ่สี่เหลี่ยม (Chimonobambusa Makino).......111 3. สกุลไผ่ตง (Dendrocalamus Nees).......................115 4. สกุลไผ่เลื้อย (Dinochloa Büse).............................155 5. สกุลไผ่ไร่ (Gigantochloa Kurz ex Munro)...........159
p.1-69_Bamboo.indd 6
7/11/11 12:18:48 PM
6. สกุลไผ่เครือวัลย์ (Melocalamus Benth.)................173 7. สกุลไผ่ราชวัง (Neohouzeoua Benth.)....................177 8. สกุลไผ่รวกฝรั่ง [Otatea (McClure & E.W.Sm.). C.E.Calderon & Soderstrom]..............................181 9. สกุลไผ่ภูพาน (Phuphanochloa. Sungkaew & Teerawat.)......................................187 10. สกุลไผ่ญี่ปุ่น (Phyllostachys Siebold & Zucc.).................................................191 11. สกุลไผ่ลูกศร (Pseudosasa Makino ex Nakai)...............................................209 12. สกุลไผ่ออลอ (Pseudostachyum Munro).............213 13. สกุลไผ่ทอง (Schizostachyum Nees)...................219 14. สกุลไผ่อาจารย์เต็ม (Temochloa S.Dransf.)...........233 15. สกุลไผ่รวก (Thyrsostachys Gamble)..................237 16. สกุลไผ่เพ็ก (Vietnamosasa T.Q.Nguyen)...........243 ดัชนี .............................................................................250 บรรณานุกรม....................................................................254 ขอบคุณ.........................................................................259 เกี่ยวกับผู้เขียน.................................................................262
p.1-69_Bamboo.indd 7
7/11/11 12:18:55 PM
p.1-69_Bamboo.indd 8
7/11/11 12:19:04 PM
ไผ่ในเมืองไทย
of Thailand Introduction
บทนำ
p.1-69_Bamboo.indd 9
7/11/11 12:19:13 PM
ไผ่คืออะไร ไผ่จดั เป็นพืชในวงศ์หญ้า (Gramineae หรือ Poaceae) เนือ่ งจากมีลกั ษณะทางสัณฐานวิทยา และชีววิทยาหลายประการคล้ายคลึงกับหญ้าทัว่ ไป อย่างไรก็ตาม ยังมีลักษณะอีกหลายประการที่สามารถแยกไผ่ออกจากหญ้าได้ เช่น การมีระบบ เหง้าทีช่ ดั เจน ใบทีค่ อ่ นข้างกว้างและมีกา้ นใบเทียม (pseudopetiole) มีระบบการเจริญเป็นกิง่ (branch complement) ทีซ่ บั ซ้อนและแข็งแรง ลักษณะช่อดอกและส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอกทีซ่ บั ซ้อน รวมทัง้ ลักษณะที่คล้ายกับการมีเนื้อไม้ (woody bamboo) ซึ่งส่งผลให้ไผ่ส่วนมากมีลำต้นสูงใหญ่และมีอายุ ยืนนานหลายปี ลักษณะดังกล่าวเหล่านีอ้ าจเป็นเหตุผลทีท่ ำให้คนส่วนใหญ่ลมื ไปว่า ไผ่คอื พืชในกลุม่ เดียว กับหญ้า ที่ส่วนมากมีขนาดเล็กและเป็นพืชล้มลุกที่อายุสั้นกว่า คำว่า “ไผ่” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง “น. ชือ่ ไม้พมุ่ หลายชนิด และหลายสกุลในวงศ์ Gramineae ขึ้นเป็นกอ ลำต้นเป็นปล้อง ๆ...” ภาษาจีนเรียกไผ่ว่า “ชู” (chu, zhu, ju, ) และภาษาญีป่ นุ่ เรียกว่า “ทะ - เกะ” (ta-ke, ) ส่วนคำว่าไผ่ในภาษาอังกฤษทีเ่ รียกว่า “bamboo” นัน้ มีทม่ี าไม่แน่ชดั อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานการกล่าวถึงไผ่เป็นครัง้ แรกเมือ่ 400 ปีกอ่ นคริสตกาล โดย Ktesias นั ก ฟิ ส ิ ก ส์ แ ละนั ก ประวั ต ิ ศ าสตร์ ช าวกรี ก จากเมื อ ง Knidus (ปัจจุบันเมืองนี้ตั้งอยู่บนอ่าวในทะเลอีเจียนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ตุรกี) ได้บันทึกเรื่องราวของอินเดียโบราณ ในบันทึกดังกล่าวปรากฏข้อความ ทีก่ ล่าวถึง “Indian reed” ทีพ่ บขึน้ ตามภูเขาและตามริมแม่นำ้ ว่าเป็น “อ้อ (reed) ขนาดใหญ่ที่มีความสูงเท่ากับเสากระโดงเรือสินค้าขนาดใหญ่” นักภาษาศาสตร์ สั น นิ ษ ฐานว่ า “bamboo” เป็ น คำที ่ เ พี ้ ย นมาจากคำว่ า “ba˘ nbu˘” ในภาษา Canarese (หรือ Kannada) ซึ่งเป็นการสะกดตามเสียงแตกและระเบิดของ ลำไผ่เมื่อถูกไฟเผา แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าคำเรียกไผ่ที่ถูกต้องของภาษานี้น่าจะ มาจากคำว่า “banwu” และเพี้ยนมาเป็น “mambu” และ “bambus” ที่ปรากฏ เป็นหลักฐานในบันทึกของชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามาในแถบอินเดียและเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงปี ค.ศ. 1580 - 1598 ส่วนอีกสันนิษฐานหนึ่งกล่าวว่า คำว่า “bamboo” เพีย้ นมาจากคำว่า “samambu” ซึง่ เป็นคำทีใ่ ช้เรียก “Malacca- cane” สินค้าส่งออกที่สำคัญของคาบสมุทรมลายูในช่วงคริสต์ศตวรรษที ่ 16 แต่ ความหมายของคำว่า “Malacca-cane” จริง ๆ แล้วเป็นคำที่ฝรั่งใช้เรียกหวาย ชนิดหนึง่ ทีค่ นไทยเรียกว่า “หวายไม้เท้า” (Calamus scipionum Lour.) ซึง่ นิยม นำมาทำเป็นไม้เท้าและส่งเป็นสินค้าออกไปประเทศอังกฤษ 10 p.1-69_Bamboo.indd 10
7/11/11 12:19:18 PM
11 p.1-69_Bamboo.indd 11
7/11/11 12:19:25 PM
ตำนานของไผ่ ไผ่เป็นพืชโตเร็ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลังจากปลูกเพียงไม่กี่ปี ประกอบกับเป็นพืชทีพ่ บเจริญเติบโตอยูท่ ว่ั ไป ไผ่จงึ มีบทบาทสำคัญต่อมนุษย์เป็น อย่างมาก ทัง้ เพือ่ การอุปโภคและบริโภค อิทธิพลของไผ่ตอ่ มนุษย์เรานัน้ ได้ฝงั รากลึก ลงในวิถีชีวิต ความเชื่อ ความเป็นอยู่ โดยเฉพาะทวีปเอเชีย จนปรากฏเป็น ตำนานเรื่องเล่าของชาวเอเชีย รวมถึงหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกหลายเรื่องที่ เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาจากกอไผ่ เช่น ตำนานที่เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 10 ของญี่ปุ่น เรื่องเจ้าหญิงคะงุยะ (The Tale of Princess Kaguya) ซึ่งกล่าวถึง เจ้าหญิงจากดวงจันทร์ที่มาเกิดบนโลกในกระบอกไม้ไผ่ นอกจากนี้ยังว่ากันว่า ชนเผ่าในอินโดนีเซียและหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียมีความเชื่อกันว่ากษัตริย ์ และราชินีก็เกิดจากไม้ไผ่ โดยมีเรื่องเล่าว่าในสมัยก่อนชาวเกาะบูตัน (Buton - เกาะทางตะวั น ออกเฉียงใต้ของเกาะซูลาเวซี) ไม่ ม ี ก ษั ต ริ ย ์ ป กครอง ต่ อ มา วันหนึ่งชาวบ้านได้เข้าไปตัดไม้ไผ่ในป่า ขณะที่กำลังจะตัดต้นไผ่นั้นเกิดได้ยิน เสี ย งดั ง จากต้ น ไผ่ ว ่ า “หยุ ด ก่ อ นมนุ ษ ย์ ขออย่ า ได้ ท ำร้ า ยข้ า ได้โปรดช่วย ปลดปล่อยข้าออกไปจากที่คุมขังนี้ด้วย” เมื่อชาวบ้านได้ผ่าต้นไผ่ต้นหนึ่งออกตามยาวก็พบกับชายหนุ่ม และเมื่อผ่าต้นไผ่อีกต้นหนึ่งก็พบหญิงสาว ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องให้ขึ้นเป็นกษัตริย์และราชินีของเกาะ นิทานเก่า ๆ ของไทยเองก็มีตำนานเกี่ยวกับไผ่ เช่น เรื่องมณีพิชัย ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ในพระเจ้า- บรมวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ ์ (พระราชโอรสในรัชกาลที ่ 2) มีเรือ่ งเล่าว่า นางยอพระกลิน่ ผูเ้ ป็นธิดาของพระอินทร์กบั นางเกษณีพระธิดาของท้าววรวรรณผูค้ รองกรุงปาตลี เมือ่ ครัง้ ทีท่ า้ ววรวรรณจัด พิธเี ลือกคูใ่ ห้นางเกษณีนน้ั นางได้เลือกพระอินทร์ในร่างของชายทุคตะ (ยากจน) เป็นคูค่ รอง ท้าววรวรรณ ทรงพิโรธอย่างมากจึงขับไล่ทง้ั คูใ่ ห้ออกจากเมืองไป ชายทุคตะก็กลับร่างเป็นพระอินทร์พานางเกษณีเหาะ ขึ้นไปอยู่บนดาวดึงส์ หลังจากนั้นนางเกษณีได้ตั้งครรภ์ ครั้นถึงกำหนดประสูติพระอินทร์จึงพานางเกษณี ลงมายังโลกมนุษย์ เนือ่ งจากบนสวรรค์ไม่เคยมีการให้กำเนิดทารกแบบมนุษย์มาก่อน นางเกษณีได้ประสูต ิ พระธิดากลางป่ากว้าง มีรปู โฉมงดงาม มีกลิน่ กายหอม จึงได้ชอ่ื ว่า “ยอพระกลิน่ ” พระอินทร์ไม่สามารถ นำพระธิดาไปอยู่บนสวรรค์ด้วยกันได้ จึงนำนางใส่ไว้ในปล้องไม้ไผ่สีสุกลำหนึ่ง พร้อมกับกล่าววาจาสิทธิ์ กำกับไว้วา่ “หากมิใช่เนือ้ คูข่ องนางแล้ว ผูอ้ น่ื จะไม่สามารถตัดไม้ไผ่ลำนีไ้ ด้เลย” จนกระทัง่ วันหนึง่ พระมณี- พิชยั ผูเ้ ป็นโอรสของท้าวพิชยั นุราชกับพระนางจันทรแห่งกรุงศรีอยุธยาได้เสด็จประพาสป่าจนถึงบริเวณป่าไผ่ เชิงเขาอัญชัน ระหว่างประทับแรมทรงสุบินว่ามีดอกไม้สวรรค์หล่นลงมาบนเตียงบรรทม พระมณีพิชัย
ไผ่ตง
12 p.1-69_Bamboo.indd 12
7/11/11 12:19:35 PM
ลำอ่อนและกาบหุม้ ลำของไผ่สสี กุ
หยิบดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมชื่นใจนั้นขึ้นดม พอรุ่งเช้าพระมณีพิชัยพร้อมด้วยข้าราชบริพารจึงติดตาม กลิ่นหอมนั้นไป จนพบกับลำไผ่สีสุกที่นางยอพระกลิ่นซ่อนตัวอยู่ พระมณีพิชัยจึงใช้พระขรรค์ตัด ด้วย เหตุที่เป็นเนื้อคู่กัน พระมณีพิชัยจึงสามารถตัดลำไผ่สีสุกได้และพบกับนางยอพระกลิ่น นอกจากนี้ไผ่สีสุกยังเป็นไม้มงคลหนึ่งใน 9 ชนิดของคนไทยที่ใช้ในพิธีวางศิลาฤกษ์การก่อสร้าง อาคารบ้านเรือน โดยนำไม้มงคล 9 ชนิดไปลงอักขระขอมที่เรียกว่า “หัวใจพระอิติปิโส” ได้แก่ “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะฯ” พร้อมปิดทองและนำไปปักบริเวณหลุมเสาเอก โดยปักวนจากซ้ายไปขวา (ทักษิณาวรรต) เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย อีกทั้งคนโบราณยังนิยมปลูกไผ่สีสุกไว้ทางทิศตะวันออก (บูรพา) เพราะเป็นไผ่ที่มีกอสูงโปร่ง เมื่อปลูกทางทิศตะวันออกจะช่วยพรางแสงแดดยามเช้าและไม่บัง ทางลมเข้าสูบ่ า้ น นอกจากนีช้ อ่ื ของไผ่สสี กุ ก็เป็นมงคลนาม หมายถึง ความมัง่ มีศรีสขุ หรืออยูเ่ ย็นเป็นสุข ซึ่งคาดว่าเป็นที่มาของชื่อ “ไผ่สีสุก” นั่นเอง อาจารย์วราพงษ์ จีนประดิษฐ์ ได้เขียนประวัตขิ องไผ่สสี กุ ในหนังสือ “ตำนานพระฤษี” ไว้วา่ พระฤษี สุขวัฒน์เป็นพระฤษีที่บำเพ็ญตบะอย่างเคร่งครัดอยู่ที่เชิงเขาไกรลาส จนกระทั่งเกิดอภินิหารปรากฏต้นไผ่ ขึ้นอย่างงดงามบริเวณหน้าอาศรม ทั้งยังโตวันโตคืนขึ้นจนมีความสูงเทียบเท่ายอดเขาไกรลาส พระฤษี ก็เห็นเป็นสิ่งอัศจรรย์ จึงไม่รอช้ารีบตัดต้นไผ่นั้นแล้วนำขึ้นไปถวายพระอิศวรด้วยเห็นว่าเป็นของแปลก พระอิศวรทรงรับเอาไม้ไผ่นน้ั ไว้และนำมาทำเป็นคันธนู แต่เมือ่ ทรงทดลองโก่งคันธนู นั้นดูปรากฏว่า คันธนูหักออกเป็นสองท่อนเพราะทานกำลังของพระองค์ไม่ไหว พระอิศวรทรงตกพระทัยและเสียดายเป็นอย่างมากจึงหยิบเอาคันธนูท่อนปลาย ขว้างลงไปยังโลกมนุษย์ ทันใดนั้นปลายธนูที่ตกลงมาถึงพื้นดินก็บังเกิดเป็นลิงชื่อ นิลเกสรหรือชามพูวราช เมื่อพระอิศวรขว้างคันธนูท่อนโคนลงไปยังแผ่นดินอีก ก็พลันบังเกิดเป็นพญาอสูรชือ่ ว่า เวรัมภ์ ภายหลังพระอิศวรได้ทรงทำนายอนาคต ไว้วา่ “ต่อไปวานรกับอสูรจะต้องเกิดการสูร้ บกัน และในทีส่ ดุ ฝ่ายวานรก็จะเป็นฝ่าย มีชยั เนือ่ งจากเกิดมาจากคันธนูทอ่ นปลาย ส่วนอสูรจะพ่ายแพ้เนือ่ งจากเกิดมาจาก โคนของคันธนู” ในกาลต่อมาพระนารายณ์อวตารลงไปเกิดเป็นพระราม นิลเกสร หรือชามพูวราชจึงมาเป็นพลลิงของพระราม ส่วนเวรัมภ์จอมอสูรได้เข้าไปอยู่ใน กลุ่มของทศกัณฑ์แห่งกรุงลงกา และในที่สุดก็ทำสงครามกัน ยักษ์แพ้ลิงชนะ ตรงตามคำพยากรณ์ของพระอิศวรทุกประการ สำหรับไผ่ที่พระฤษีนำไปถวาย พระอิศวรนัน้ ต่อมาก็ได้มกี ารตัง้ ชือ่ ว่า “ไผ่ษสี ขุ ” หรือ “ไผ่ฤษีสขุ ” และเพีย้ นมาเป็น “ไผ่สีสุก” จนตราบเท่าทุกวันนี้
13 p.1-69_Bamboo.indd 13
7/11/11 12:19:40 PM
p.70-157_Bamboo.indd 70
7/11/11 12:56:50 PM
ไผ่ในเมืองไทย
of Thailand Bamboo species
ไผ่นานาชนิด
ความหมายของสัญลักษณ์ ประเภทไผ่ตามถิ่นกำเนิด
p.70-157_Bamboo.indd 71
ลักษณะการแตกกอ
ไผ่มีเนื้อไม้เขตหนาว
ประเภทเหง้ากอ
ไผ่มีเนื้อไม้เขตร้อน
ประเภทเหง้าเดี่ยว
7/11/11 12:57:04 PM
ไผ่ในเมืองไทย
of Thailand
p.70-157_Bamboo.indd 72
7/11/11 12:57:08 PM
สกุลไผ่ป่า (Bambusa Schreb.) ชื่อสกุลมาจากคำว่า “bamboo” หรือ “bamboe” ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวพื้นเมืองในมาเลเซียใช้เรียกไผ่ ไผ่สกุลนี้มีการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีเนื้อไม้แกร่งและเหนียวเหมาะสำหรับ งานก่อสร้างและงานจักสาน ปัจจุบนั พบ 120 - 140 ชนิด กระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึง่ ร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในอินเดีย เนปาล ปากีสถาน บังกลาเทศ จีน ญีป่ นุ่ ไต้หวัน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟลปิ ปนส์ เรือ่ ยไปจนถึงทางเหนือของออสเตรเลีย ลักษณะทัว่ ไป ไผ่ประเภทเหง้ากอขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ สูง 1 - 25 เมตร ลำมักโค้งออกจากกลางกอ ปลาย ลำโค้งหรือโค้งลง แตกกิ่งหลายกิ่งที่ข้อ กิ่งกลางเด่นและแตกกิ่งเกือบตลอดลำหรือตั้งแต่กลางลำ ขึ้นไป หลายชนิดมีกิ่งแขนงย่อยลดรูปเป็นหนามแข็ง โดยเฉพาะบริเวณโคนกอ จึงนิยมปลูกเป็นแนวรั้ว ข้อล่าง ๆ ของลำบางครั้งมีรากอากาศ กาบหุ้มลำส่วนมากร่วงง่าย ใบยอดกาบรูปโดมหรือรูปสามเหลี่ยม กว้าง หูกาบเป็นพูกว้าง ส่วนมากหยักเป็นคลื่นหรือยับย่น ขนาดของหูกาบซ้ายขวามักไม่สมมาตรกัน ช่อดอกย่อยมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ส่วนมากยาวมากกว่า 1 เซนติเมตร ดอกย่อย 1 - 12 ดอก แกน ช่อดอกย่อยยืดยาวระหว่างดอกและหลุดได้เป็นท่อน โลดิคูล 3 อัน
p.70-157_Bamboo.indd 73
7/11/11 12:57:13 PM
> ช่อดอก
> หน่อบิน
p.70-157_Bamboo.indd 74
7/11/11 12:57:21 PM
ไผ่ปา่ ไผ่หนาม
ชือ่ พฤกษศาสตร์ : Bambusa bambos (L.) Voss ชือ่ พ้อง : Arundo bambos L. ชือ่ สามัญ : Giant Thorny Bamboo
> ลักษณะกอ
ไผ่ประเภทเหง้ากอขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10 - 25 เมตร ลำตรงอัดกันเป็นกอแน่น เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 5 - 15 เซนติเมตร ปล้องยาว 15 - 45 เซนติเมตร เนื้อลำหนา 1 - 3 เซนติเมตร ลำอ่อน มีนวลสีขาวปกคลุม ลำแก่สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเทา แตกกิ่ง ตลอดลำหรือเกือบตลอดลำ กิ่งบริเวณโคนกอเป็นกิ่งแขนงย่อยลดรูป เป็นหนามแข็งและโค้ง กิ่งที่มีใบเริ่มแตกกิ่งจากประมาณกึ่งกลางลำ มีกง่ิ กลางเด่น 1 กิง่ และกิง่ รองเด่น 2 กิง่ กิง่ ทีเ่ หลือมีขนาดไล่เลีย่ กัน ใบรูปใบหอกหรือรูปแถบ กว้าง 0.5 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 5 - 15 เซนติเมตร กาบหุ้มลำสีเหลืองอมเขียว มีแถบสีม่วงสลับตามความยาวกาบ มีขนสีน้ำตาลกระจายห่าง ๆ หรือเกลี้ยง ใบยอดกาบรูปโดมหรือรูปสามเหลี่ยมกว้าง ตั้งตรงถึงกางออก ด้านในมีขนสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำปกคลุม หนาแน่น หูกาบเป็นพูกว้าง เป็นคลื่นเล็กน้อยหรือยับย่น ขนาดซ้ายและขวามักไม่สมมาตรกัน ขอบมีขนเล็กน้อย ด้านในมีขนสีนำ้ ตาลดำปกคลุมหนาแน่น ลิน้ กาบเป็นแถบเตีย้ ๆ สูง 1 - 2 มิลลิเมตร ขอบมีขนยาว ช่อดอกย่อยเทียมยาว 1 - 2 เซนติเมตร ไม่มีกลูม ดอกย่อย- สมบูรณ์ 3 - 4 ดอก แกนช่อดอกย่อยยืดยาวระหว่างดอกและหลุดได้เป็นท่อน ๆ โลดิคูล 3 อัน เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านเกสรเพศผู้แยกอิสระ ยอดเกสรเพศเมีย แยกเป็น 3 แฉก นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ ์ : พบตัง้ แต่อนิ เดีย ภูมภิ าคอินโดจีนถึงอินโดนีเซีย ในไทยมักพบตามป่าผสมผลัดใบ พบบ้างในป่าดิบแล้ง ประโยชน์ : มีการใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งการก่อสร้าง อุตสาหกรรม จักสาน ทำข้าวหลาม ทำเยื่อกระดาษ เหมาะปลูกเป็นแนวเขตพื้นที่ หน่อกินได้ นิยมเผาก่อนกิน > ลำอ่อนและกาบหุม้ ลำ 75
p.70-157_Bamboo.indd 75
7/11/11 12:57:29 PM
ไผ่กมิ ซุง ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่บเี ชย์
ชือ่ พฤกษศาสตร์ : Bambusa beecheyana Munro ชือ่ สามัญ : Beechey Bamboo, Silk-ball Bamboo
ไผ่ประเภทเหง้ากอขนาดกลาง สูงถึง 15 เมตร เส้นผ่านศูนย์- กลางลำ 7 - 12 เซนติเมตร ปล้องยาว 25 - 45 เซนติเมตร เนื้อลำ หนา 1.5 - 2 เซนติเมตร ลำอ่อนมีนวลสีขาวปกคลุม มีวงของขน สีน้ำตาลใต้ข้อ ลำแก่สีเขียวเข้ม ลักษณะซิกแซ็กเล็กน้อย ข้อล่าง ๆ มักมีรากอากาศ แตกกิ่งตั้งแต่กลางลำขึ้นไป มีข้อละ 3 ถึงหลายกิ่ง มีกิ่งกลางเด่นเพียงกิ่งเดียว หรือมีกิ่งกลางเด่น 1 กิ่งและมีกิ่งรองเด่นอีก 2 กิ่ง กิ่งที่เหลือเล็กกว่า และมีขนาดเท่า ๆ กนั ใบรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5 - 5 เซนติเมตร ยาว 10 - 30 เซนติเมตร กาบหุ ้ ม ลำสี เ หลื อ งหรื อ สี เ หลื อ งอมเขี ย ว เกลี ้ ย งหรื อ มี ข นกระจายห่ า ง ๆ ใบยอดกาบรู ป ไข่ ห รื อ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ตั้งตรงถึงกางออก หูกาบเป็นพูเล็ก ๆ ไม่เด่นชัด ขอบมีขนเล็กน้อย ลิน้ กาบลักษณะเป็นแถบสูงประมาณ 0.5 - 1 เซนติเมตร ขอบจักซี่ฟัน
> ใบ
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ : เป็นไผ่พื้นเมือง ทางตอนใต้ของจีน นำเข้ามาปลูกในไทยเพื่อผลิตหน่อ บริโภคจนเป็นที่นิยมเนื่องจากให้หน่อเร็ว ประโยชน์ : ลำใช้ก่อสร้าง หน่อกินได้ แต่มีรสขม นิยมปลูกเพื่อตัดหน่อส่งโรงงานหน่อไม้แปรรูป
> หน่อบิน 76 p.70-157_Bamboo.indd 76
7/11/11 12:57:36 PM
> ลักษณะกอ
> ลำ
p.70-157_Bamboo.indd 77
7/11/11 12:57:44 PM
> กอไผ่สสี กุ ทีม่ กี ง่ิ แขนงย่อยลดรูปเป็นหนาม
ไผ่สสี กุ ไม้สสี กุ
ชือ่ พฤกษศาสตร์ : Bambusa blumeana J.H.Schultes ชือ่ สามัญ : Spiny Bamboo, Thorny Bamboo, Thorny Branch Bamboo
ไผ่ประเภทเหง้ากอ ลักษณะทั่วไปคล้ายไผ่ป่า (B. bambos) เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 5 - 15 เซนติเมตร ปล้องยาว 15 - 50 เซนติเมตร เนื้อลำหนา 1 - 3.5 เซนติเมตร ลำอ่อนมีนวลสีขาวปกคลุมบาง ๆ ลำแก่สีเขียวหรือสีเขียวอมเหลือง โคนกอมีกิ่งเรียวยาวอัดกันแน่น กิง่ แขนงย่อยลดรูปเป็นหนามแข็ง ข้อล่าง ๆ ของลำมีรากอากาศ บริเวณ ข้อมักบวมเล็กน้อย ลำอ่อนมีขนสีน้ำตาลดำหนาแน่นเป็นวงที่ใต้ข้อ แตกกิ่งเกือบตลอดลำ มักมีข้อละ 3 กิ่ง โดยมีกิ่งอันกลางเด่น 1 กิ่งและกิ่งรองเด่น 2 กิ่ง ใบรูปแถบแกมรูปใบหอก กว้าง 1 - 2.5 เซนติเมตร ยาว 7 - 20 เซนติเมตร กาบหุ้มลำสีเหลือง สีเขียวอมเหลืองหรือเขียวอมส้ม ค่อนข้างเกลี้ยงหรือมีขนสีน้ำตาล ปกคลุม ใบยอดกาบรูปใบหอก รูปโดม หรือรูปสามเหลี่ยมแคบ ๆ ตั้งตรงถึงกางออก ด้านในมีขนสีน้ำตาลปกคลุม หู ก าบ เป็นพูกว้าง ๆ ต่อเนื่องมาจากส่วนของใบยอดกาบ เป็นคลื่นเล็กน้อย มีขนสี น้ำตาลปกคลุม ลิ้นกาบเป็นแถบเตี้ย ๆ สูงประมาณ 5 มิลลิเมตร ขอบมีขนยาว ช่อดอกย่อยเทียมยาว 1.5 - 3 เซนติเมตร อาจมีกลูม 1 อัน ดอกย่อยสมบูรณ์ 3 - 7 ดอก แกนช่อดอกย่อยยืดยาวระหว่างดอกและหลุดได้เป็นท่อน ๆ โลดิคลู 3 อัน เกสรเพศผู้ 6 อัน ก้านเกสรเพศผู้แยกอิสระ ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 แฉก นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ : ไม่ทราบแน่นอนว่าเป็นไผ่พื้นเมืองของที่ใด แต่เชื่อกันว่าเป็นไผ่พื้นเมืองของแถบเกาะสุมาตรา ชวา จนถึงบอร์เนียว ประโยชน์ : หน่อกินได้ทง้ั สดและดอง ลำใช้กอ่ สร้าง ทำข้าวหลาม ทำไม้คานหาบ คุณภาพดี เครื่องจักสาน ในอดีตนิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้านทางทิศตะวันออก (บูรพา) เพราะเชื่อว่าเป็นไม้มงคลจากชื่อ “สีสุก” อันเป็นมงคลนาม เพื่อให้เกิด ความสุข ความเจริญ มีความสุขกายสบายใจแก่ผู้เป็นเจ้าของและครอบครัว > ลำอ่อนและกาบหุม้ ลำ 78 p.70-157_Bamboo.indd 78
7/11/11 12:57:50 PM
> กลุม่ ช่อดอกย่อยของไผ่สสี กุ
> หน่อบิน
> ลำอ่อนทีม่ โี พรฟิลล์และวงของขนสีนำ้ ตาล ใต้ขอ้
p.70-157_Bamboo.indd 79
7/11/11 12:58:00 PM
ไผ่บงหวานเมืองเลย
ชือ่ พฤกษศาสตร์ : Bambusa cf. burmanica Gamble
ไผ่ประเภทเหง้ากอขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 7 - 15 เมตร ลำอยู ่ ร วมกั น เป็ น กอหลวม ๆ ม ั ก โค้ ง ออกจากกลางกอ เส้ น ผ่ า น- ศูนย์กลางลำ 3.5 - 10 เซนติเมตร ปล้องยาว 20 - 30 เซนติเมตร เนื ้ อ ลำหนา 1 - 2 เซนติ เ มตร บางครั ้ ง ลำอาจตั น ลำอ่ อ นมี น วล สี ข าวปกคลุ ม มี ว งของขนสี ข าวผสมกั บ นวลสี ข าวที ่ เ หนื อ ข้ อ ลำแก่สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเทา แตกกิ่งค่อนข้างต่ำหรือตั้งแต่ กลางลำขึ้นไป แต่ละข้อมีหลายกิ่ง โดยทั่วไปกิ่งอันกลางเด่น ใบรูปใบหอก รูปขอบขนาน หรือ รูปแถบ กว้าง 2.5 - 4.5 เซนติเมตร ยาว 20 - 30 เซนติเมตร กาบหุ้มลำสีเขียวอมเทา เกลี้ยงหรือ มีขนสีน้ำตาลและนวลสีขาวปกคลุม มักมีแถบสีขาวหรือสีเหลืองซีดตามความยาวกาบ ใบยอดกาบ รูปโดม รูปสามเหลี่ยม หรือรูปหัวใจ สีเขียวหรือสีเขียวอมม่วง บางครั้งมีริ้วสีขาวหรือสีเหลืองสลับ ตั้งตรง หูกาบเป็นพูคล้ายใบหู ขนาดซ้ายและขวา มักไม่สมมาตรกัน เรียบหรือเป็นคลื่น มีขนที่ขอบ หรือเกลี้ยง ลิ้นกาบเป็นแถบเตี้ย ๆ ขอบเรียบ
> ช่อดอก
นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์ : เป็นไผ่พื้นเมือง ในภู มิ ภ าคอิ น โดจี น ในไทยพบตามป่ า ผสมผลั ด ใบ ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประโยชน์ : หน่อมีรสหวาน สามารถกินสดได้ หมายเหตุ : ที่ใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Bambusa cf. burmanica โดยมี “cf.” เนื่องจากมีลักษณะทั่วไป คล้ายกับชนิดดังกล่าว แต่ยังไม่ตรงกับคำบรรยาย ในต้นฉบับเสียทีเดียว > ลักษณะของกาบหุม้ ลำ 80 p.70-157_Bamboo.indd 80
7/11/11 12:58:07 PM
> หน่ออ่อน
p.70-157_Bamboo.indd 81
> ลักษณะกอของ ไผ่บงหวานเมืองเลย
7/11/11 12:58:16 PM
210 + 6 mm
san 18 mm
210 + 6 mm
15 mm
15 mm
15 mm
ไผ่ในเมืองไทย
สราวุธ สังข์แก้ว อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ กิตติศักดิ ์ จินดาวงศ์
of Thailand
245 + 6 mm
of Thailand
ไผ่ ในเมืองไทย
หนังสือ “ไผ่ในเมืองไทย” นับเป็นหนังสือรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับไผ่ที่สมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทยที่มีอยู่ในขณะนี้ ทั้งในด้านพฤกษศาสตร์ การปลูกเลี้ยง การขยายพันธุ์ การดูแลรักษา พร้อมรวบรวมไผ่ชนิดต่าง ๆ มากกว่า 50 ชนิด ที่มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทยและไผ่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จนกลายเป็นไม้ประดับที่สำคัญในปัจจุบัน ผู้สนใจทุกท่านสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานได้เป็นอย่างดี สำนักพิมพ์บ้านและสวนหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะให้ข้อมูลความรูท้ ี่สมบูรณ์ที่สุดกับผู้อ่าน ซึ่งนับเป็นเป้าหมายหลักที่ผู้เขียนและสำนักพิมพ์เล็งเห็นร่วมกัน และขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำ จนทำให้หนังสือเล่มนี้สำเร็จลงได้
editor อุไร จิรมงคลการ photographers อัจฉรา ตีระวัฒนานนท์ สราวุธ สังข์แก้ว อภิรักษ์ สุขสัย ธนกิตติ์ คำอ่อน
graphic designer ธีระยุทธ ช่างคิด
ISBN 978-974-289-317-0
พิมพ์ครั้งที ่ 1
botanical illustrator สุนิตสรณ์ พิมพะสาลี
569.-
15 mm
569
54-HP-037 Bihum 5c_J.indd 1
สีที่ 5
54-HP-037 Bihom 5c._san 18 mm._J = CS2_G Classic Glossy
7/19/11 2:50:00 PM