ความผิดพลาดของการอนุรักษ์อาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมศิลปากร
โดย นางสาวปนัสยาญ์ เจริญฐิติวงศ์
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 262214 การศึกษารายบุคคลในงานสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2562
ความผิดพลาดของการอนุรักษ์อาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมศิลปากร
โดย นางสาวปนัสยาญ์ เจริญฐิติวงศ์
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 262214 การศึกษารายบุคคลในงานสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2562
THE MISTAKES OF ARCHITECTURE CONSERVATION UNDER FINE ARTS DEPARTMENT CONTROL
By Miss Panasaya Charoenthitiwong
This Report is a part of 262214 Individual Study in Thai Architecture Architecture Faculty, Silpakorn University Academic Year 2019
262214: การศึกษารายบุคคลในงานสถาปัตยกรรมไทย คำสำคัญ: ความผิดพลาดของการบูรณะโบราณสถาน ปนัสยาญ์ เจริญฐิติวงศ์: ความผิดพลาดของการอนุรักษ์อาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ กรมศิลปากร. อาจารย์ที่ปรึกษา ศ. สมชาติ จึงสิริอารักษ์. 82 หน้า รายงานนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เรียนรู้กระบวนการการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานและเทคนิค วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงปัญหาในการทำงานอนุรักษ์อาคารในปัจจุบันรวมถึงกฎระเบียบแบบแผน การควบคุมการอนุรักษ์ของกรมศิลปากรและเรียนรู้ไปถึงสาเหตุของปัญหาดังกล่าวและเสนอแนวทาง ปรับ ปรุงแก้ไข เนื่องจากกรมศิลปากรถูกก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เพื่อมีจุดมุ่งหมายในการธำรง รักษาคุณค่าและเอกลักษณ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรม แต่ในทางปฏิบัติชาวไทยขาดความรู้ในการปฏิบัติ ตามแนวคิดและมาตรฐานสากลมาตั้งแต่แรก ปัญหานี้ยังคงดำเนินอยู่สืบเนื่องมาถึงทุกวันนี้ ดังที่เราจะ เห็นได้จากความผิดพลาดของการอนุรักษ์โบราณสถานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือใหญ่ อาคาร ประเภทอนุสรณ์สถานหรืออาคารประวัติศาสตร์ เร็วๆนี้ผลงานที่กรมศิลปากรควบคุมรับผิดชอบและ ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่าเป็นการอนุรักษ์ที่ผิดพลาดอันเป็นผลให้กลับกลายเป็นการทำลายหรือ เปลี่ยนแปลงไป เช่น เพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาปราสาทหินพิมาย พระปรางค์วัดอรุณ ราชวราราม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาจึงต้องการทราบว่าความผิดพลาดเหล่านี้เกิดจากปัญหาอะไร เช่น โครงสร้างการบริหารองค์กร ความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์ของสถาปนิก วิศวกร ความ ผิดพลาดของผู้รับจ้าง ปริมาณผู้ปฏิบัติงาน ค่านิยมทางวัฒนธรรมของคนไทย ที่มีต่อการอนุรักษ์ที่ แตกต่างจากหลักการสากล หรือทุกปัจจัยมีส่วนร่วมกันทั้งสิ้น
ง
262214: INDIVIDUAL STUDY IN THAI ARCHITECTURE KEY WORD: THE MISTAKE OF ARCHITECTURE CONSERVATION PANASAYA CHAROENHTITIWONG: THE MISTAKES OF ARCHITECTURE CONSERVATION UNDER FINE ARTS DEPARTMENT CONTROL. ADVISOR PROF. SOMCHART JUNGSIRIARAK. 82 pp.
The objective of this report is to learn a process of preservation of the historical monuments and also know the techniques and methods to reflect the problems in working on conservation of historical sites including rules and regulations of the Fine Arts Department which leading to know cause of the problems and suggestion for solutions and improvements. The Fine Art Department was established since King Rama the 6th, main purpose is to maintain value of arts and cultures. But in the fact, from the beginning, Thai people is lack of knowledge in preservation of the historical monuments which is far from the world standard and strategies. This problem is still going on until now as we can see the mistakes of many national historical preservation sites, no matter of its’ size, big or small, historical monument or building. Recently, the conservation under the Fine Arts Department such as Ayutthaya Elephants Village, the Pagoda at the Temple of Dawn, Phimai Historical Park received negative comments and public blamed the Fine Arts Department for destroy its’ value and/or making its’ worse. For these reasons, I want to learn from this mistake and to understand more in management organization, knowledge of the architects, engineers, contractors and number of staffs. Thai cultures towards conservation why different from the world standard.
จ
กิตติกรรมประกาศ รายงานฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีเพราะได้รับความกรุณาจาก อาจารย์ศาสตราจารย์ สมชาติ จึงสิริอารักษ์ ที่ปรึกษารายวิชาการศึกษารายบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือและให้คำแนะนำที่เป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้เขียนรายงานตลอดการทำงาน รวมทั้ง อาจารย์สมคิด จิระทัศนกุล เจ้าของ รายวิชาที่ได้ให้คำแนะนำ อันเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางการทำงานให้แก่ผู้เขียน เพื่อให้ผู้เขียน สามารถนำไปต่อยอดและทำให้รายงานฉบับนี้ถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณใน ความกรุณาของทุกท่านเป็นอย่างสูง ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์สิริเดช วังกรานต์ อาจารย์สุรศักดิ์ บำรุงเรือน และอาจารย์ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ พีระพัฒน์ สำราญ และอาจารย์ภาควิชาสถาปัตยกรรมไทยทุกท่านที่ได้สละเวลาพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เขียนในการไปหาข้อมูลต่อไป ขอขอบพระคุณเจ้าของหนังสือ วารสาร เอกสาร สื่อต่าง ๆ และวิทยานิพนธ์ทุกเล่มที่ช่วยให้ รายงานนี้มีความสมบูรณ์ ขอขอบพระคุณชาวบ้านสวนพริก ที่ได้ให้ความร่วมมือพาเดินชมโบราณสถาน และให้ความรู้ ความเข้าใจพร้อมข้อมูลมากมาย ทำให้สามารถเก็บข้อมูลจนเขียนรายงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ฉ
สารบัญ หน้า บทคัดย่อภาษาไทย............................................................................................................ ง บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.......................................................................................................จ กิตติกรรมประกาศ.............................................................................................................ฉ สารบัญ.............................................................................................................................. ช สารบัญตาราง.................................................................................................................... ซ สารบัญภาพประกอบ.........................................................................................................ฌ คำนำ..................................................................................................................................ฏ บทที่ 1. การอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบตะวันตก......................................................... 1 แนวคิดของการอนุรักษ์.......................................................................... 2 หลักการในการอนุรักษ์.......................................................................... 5 วิธีการในการอนุรักษ์............................................................................. 10 2. การอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบไทย................................................................ 13 แนวคิดของการอนุรักษ์......................................................................... 13 หลักการในการอนุรักษ์.......................................................................... 18 วิธีการในการอนุรักษ์............................................................................. 24 3. ปัญหาในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย......................................................... 28 ปัญหาด้านวัฒนธรรม แนวคิดของคนไทย............................................. 28 ปัญหาด้านการจัดรูปองค์กร.................................................................. 32 4. กรณีศึกษา........................................................................................................... 40 พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร................................... 40 เพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.......................................... 53 การบูรณะปราสาทหินในประเทศไทย................................................... 65 สรุปและข้อเสนอแนะ....................................................................................................... 76 บรรณานุกรม.................................................................................................................... 80
ช
สารบัญตาราง ตารางที่ หน้า 1. ตารางเปรียบเทียบระเบียบกรมศิลปากรกับ Venice Charter.......................................22-23 2. ตารางสรุปกรณีศึกษา ความผิดพลาดและข้อเสนอแนะ.................................................... 78
ซ
สารบัญภาพ ภาพที่ หน้า 1. โบสถ์ Santa Maria ประเทศอิตาลี การนำกลับมาใช้งานโดยคงสภาพเดิมไว้..... 2 2. การสร้างประติมากรรมให้ดูเหมือนเป็นซากโบราณสถาน................................... 3 3. ภาพลายเส้นแสดงการจดบันทึก Theodotus Chapel...................................... 11 4. แสดงภาพหลังการบูรณะที่ทำให้มีความชัดเจนขึ้น Theodotus Chapel.......... 11 5. St. Pancras Rail Station มีการปรับเปลี่ยนการใช้งาน..................................... 11 6. Notre Dame -Paris ที่ถูกไฟไหม้....................................................................... 12 7. การปฏิบัติการซ่อมแซมอาคาร Notre Dame -Paris......................................... 12 8. ศาลารายวัดกัลยาณมิตร ที่ถูกทุบทำลาย............................................................ 19 9. ปราสาทหินพนมรุ้งก่อนการบูรณะ...................................................................... 26 10. ปราสาทหินพนมรุ้งหลังการบูรณะ...................................................................... 26 11. จารึกสมิงสิริมโนชาด้านที่ 2................................................................................ 29 12. ปราสาท Neuschwanstein............................................................................... 30 13. สถานทูตอังกฤษในประเทศไทย ที่ถูกรื้อทำลาย.................................................. 30 14. ความเห็นของคนไทยปัจจุบัน.............................................................................. 31 15. ผังองค์กรกรมศิลปากรในปัจจุบัน...................................................................... 37 16. การบูรณะพระปรางค์วัดอรุณสมัยรัชกาลที่ 5..................................................... 41 17. เปรียบเทียบศิลปกรรมปูนปั้นซุ้มโค้ง กินนร รัชกาลที่ 5 และปัจจุบัน................. 41 18. ลายพื้น ถ่ายจากพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม................................................. 42 19. ลายนูนสูง จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม..................................................... 43 20. การตัดกระเบื้องถ้วยชนิดต่าง ๆ.......................................................................... 43 21. กระเบื้องใหม่ที่ถูกนำมาแทนที่เทียบกับกระเบื้องเดิม.......................................... 45 22. การบันทึกลวดลายของกรมศิลปากร................................................................... 45 23. การผลิดกระเบื้องใหม่ของกรมศิลปากร ที่ใช้ระบบอุตสาหกรรม........................ 45 24. ยักษ์แบกเหนือลานประทักษินชั้นที่ 2 องค์ปรางค์ประธาน................................. 46 25. ตำแหน่งยักษ์แบกเหนือลานประทักษินชั้นที่ 2 องค์ปรางค์ประธาน................... 46 26. กรอบลายที่หายไปบริเวณแขนของยักษ์ เนื่องจากกระเบื้องเสมอปูน................. 47 27. โครงหน้าของยักษ์ที่เปลี่ยนแปลงไป.................................................................... 47 28. ทัดหูของยักษ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงลวดลายไป................................................... 48 29. กระเบื้องของเดิม (ส้ม) เทียบกับกระเบื้องใหม่ (เขียว)........................................ 48 ฌ
ภาพที่ หน้า 30. กระเบื้องของเดิม (ส้ม) เทียบกับกระเบื้องใหม่ (เขียว)........................................ 49 31. ลายหน้ากระดานของเดิม (บน) เทียบกับของใหม่ (ล่าง)..................................... 49 32. ภาพลอกลายของเก่า(บน) เทียบกับเก่า(ล่าง)...................................................... 50 33. การติดกระเบื้องที่มีการพอกปูนแล้วเสียบกลีบ ทำให้มีปูนเกินออกมา................ 50 34. ตัวอย่างการติดกระเบื้องลายหน้ากระดานบริเวณปรางค์ประธาน....................... 51 35. พระปรางค์วัดอรุณในปัจจุบัน (พ.ศ.2562).......................................................... 52 36. ลักษณะของเพนียดที่มีเสาเรียงกันเป็นสามเหลี่ยม เพื่อต้อนช้างเข้าเพนียด........ 53 37. เสาตะลุงหัวมนภายในเชิงเทิน............................................................................. 54 38. ภาพถ่ายเสาภายนอกเชิงเทินที่กรมศิลปากรใช้อ้างอิง......................................... 54 39. เสานอกเชิงเทินหลังการบูรณะปี พ.ศ. 2500....................................................... 55 40. เสานอกเชิงเทินหลังการบูรณะปี พ.ศ. 2530....................................................... 55 41. ภาพเพนียดที่กรมศิลปากรใช้อ้างอิง.................................................................... 56 42. เสาเพนียดภายนอกเชิงเทินก่อนการบูรณะปี 2561............................................ 58 43. เสาเพนียดภายนอกเชิงเทินหลังการบูรณะปี 2561............................................. 58 44. ภาพเสาเพนียดสมัยรัชกาลที่ 5............................................................................ 58 45. ภาพการบูรณะเพนียดปี พ.ศ.2531 .................................................................... 58 46. การยึดเสากับคานกลมและการเจาะตะปูเข้าไปเพียงนิดเดียว..............................59 47. การใช้ซิลิโคนอุดรูเดิมที่ใช้ยึดกับคาน เป็นไม้เก่าที่มีการนำกลับมาใช้ใหม่........... 59 48. เสาเพนียดบางต้นที่ได้ล้มลงแล้วเพราะไม่มีการทำคานค้ำ................................... 59 49. หัวเสาเพนียดเดิม.................................................................................................60 50. หัวเสาเพนียดใหม่หลังการบูรณะ......................................................................... 60 51. โตงเตงเดิมก่อนการบูรณะ................................................................................... 60 52. โตงเตงหลังการบบูรณะ....................................................................................... 60 53. ระยะห่างเสาโตงเตงที่ช้างเข้าไม่ได้...................................................................... 60 54. การปกปิดสภาพไม้เก่าของกรมศิลปากร ไม่ได้ใช้ไม้ใหม่...................................... 61 55. กองไม้เสาเดิมที่นำไปตัดหัว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่............................................... 61 56. เสาที่มีไม้หลุดออกมาแล้วเนื่องจากยึดไม่แข็งแรงเผยให้เห็นไม้ผุด้านใน.............. 62 57. เสาที่ยังทาสีปิดไม่เสร็จ ไม่เก็บความเรียบร้อยของงาน........................................ 62 58. ด้านหัวเสาเพนียดที่ถูกปักลงดิน.......................................................................... 62 59. เต้นท์หน้าทางเข้าเพนียดที่ชาวบ้านยังคงเฝ้าไม่ให้กรมศิลปากรดำเนินการ......... 64 ญ
ภาพที่ หน้า 60. ภาพป้ายหน้าโบราณสถาน เป็นป้ายที่ชาวบ้านรวมทุนกันซื้อ.............................. 64 61. ภาพชาวบ้านชุมชนสวยพริก ที่อยู่คอยดูแลโบราณสถาน.................................... 64 62. ลักษณะทางกายภาพของปราสาทหินพิมาย........................................................ 66 63. สภาพปราสาทหินพิมายก่อนการบูรณะ.............................................................. 67 64. ปราสาหินพิมายหลังการบูรณะ........................................................................... 68 65. เปรียบเทียบยอดปราสาทหินนครวัด(ซ้าย)กับยอดปราสาทหินพิมาย(ขวา)......... 68 66. สภาพของปราสาทหินพนมรุ้งก่อนการบูรณะ...................................................... 69 67. ปราสาทหินพิมายหลังการบูรณะ มีสภาพสมบูรณ์มาก....................................... 70 68. ปราสาทเมืองสิงห์ที่มีสภาพสมบูรณ์หลังการบูรณะ............................................. 71 69. ประติมากรรมปูนปั้นพยานาคที่ถูกทิ้งไว้.............................................................. 72 70. ประติมากรรมพาลีต่อสู้กับสุครีพ......................................................................... 72 71. กองหินมากมายที่ยังคงเหลืออยู่ในพื้นที่...............................................................72 72. ปราสาทหินพนมวันหลังการบูรณะ...................................................................... 73 73. เสานางเรียงที่เป็นทางเดินไปสู้ปราสาทประธาน.................................................. 74 74. ปราสาทสด๊กก๊อกธมหลังการบูรณะ..................................................................... 75
ฎ
คำนำ รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของรายวิชา 262214 การศึกษารายบุคคลในงาน สถาปัตยกรรมไทย ปีการศึกษา 2562 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำขึ้นใน หัวข้อ “ความผิดพลาดของการอนุรักษ์อาคารที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกรมศิลปากร” เพื่อให้ สามารถเห็นถึงปัญหาในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยในปัจจุบันและชี้ให้เห็นถึงแนวทางแก้ไข ปัญหาเหล่านั้น โบราณสถาน หมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยอายุหรือโดยลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ในทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยาน ประวัติศาสตร์ด้วย การอนุรักษ์โบราณสถานของไทย เปรียบเสมือนการนำความรู้บางส่วนของการอนุรักษ์ โบราณสถานแบบตะวันตกมาใช้เพื่อให้ดูเป็นประเทศศิวิไลซ์เท่านั้นไม่ได้มีความเข้าใจลึกซึ้งถึงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปกรรม อีกทั้งวัฒนธรรมของประเทศไทยที่มองว่าโบราณสถาน เป็นสถานทีเกี่ยวข้องกับศาสนา เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ การอนุรักษ์โบราณสถานจึงสมควรทำให้ยิ่งใหญ่ ขึ้นกว่าเดิม เพื่อที่จะได้บุญกุศลมาก ทำให้การอนุรักษ์โบราณสถานนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะ ของโบราณสถานมากกว่าการดูแลรักษาสภาพ และยังมีอีกหลายเหตุผลมากมายที่ทำให้การอนุรักษ์ โบราณสถานในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร หรืออาจกล่าวได้ว่าการอนุรักษ์ โบราณสถานในยุคหลังมานี้เหมือนเป็นการพัฒนาถอยหลังกลับมากกว่าเป็นการพัฒนาแบบเดินหน้า หรือหากเปรียบเทียบก็คล้ายกับประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคศตวรรษที่ 18 ของการอนุรักษ์ โบราณสถานของตะวันตก
“It is impossible, as impossible as to raise the dead, to restore anything that has ever been great or beautiful in architecture. That which I have insisted upon as the life of the whole, that spirit which is given only by the hand and eye of the workman, can never be recalled.” John Ruskin
ฏ
บทที่ 1 การอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบตะวันตก การอนุรักษ์เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในประเทศตะวันตก โดยมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแนวคิด มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคเรเนซองส์ ทำให้หลายประเทศมีความเข้าใจในการอนุรักษ์โบราณสถาน และ ประชาชนในประเทศก็ถูกปลูกฝังให้รักและเข้าใจในโบราณสถานอย่างแท้จริง แนวคิดของการอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบตะวันตก เนื่องจากแนวคิดแต่ละยุคสมัยของตะวันตกนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงแต่จะเห็นการพัฒนา ของแนวคิดอย่างก้าวหน้า ทำให้ปัจจุบันระบบในการอนุรักษ์โบราณสถานของตะวันตกมีกฎเกณฑ์และ แนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจน ยุคเรเนซองส์ – “ยุคแห่งการเริ่มต้นแนวคิดด้านการอนุรักษ์” ในยุคนี้เริ่มมีการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุมากขึ้น เพราะเชื่อว่า สิ่งเหล่านี้มีการบรรจุประวัติศาสตร์ไว้ ลีโอเน บาติสตา อัลแบร์ตี (L.B.Alberti) นักเขียนและสถาปนิก ชาวอิตาลี มีบทบาทมากมายเกี่ยวกับโบราณสถานในอิตาลี ความรู้ทางคณิตศาสตร์ของเขาได้พัฒนา ระบบอ้างอิงจุด (polar coordinates) ที่ทำให้สามารถวาดแผนที่โดยอ้างอิงจากจุดศูนย์กลางได้ และ เริ่มมีการจดบันทึกและสำรวจกรุงโรม เขาได้กล่าวไว้ว่า “การบูรณะสถาปัตยกรรมต้องการสถาปนิกที่ มีความรู้เปรียบเสมือนกับแพทย์ที่ต้องเข้าใจโรคที่กำลังจะรักษา” อัลแบร์ตี ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการ บูรณะโบราณสถานที่มีความอ่อนแอด้านโครงสร้างเช่นผนังที่มีความหนาน้อยให้มีการเสริมโครงสร้าง ด้านหลังหรือภายในผนังเดิม เขาได้ทำการสำรวจวิเคราะห์รอยแตกและสาเหตุ อัลแบร์ตีกล่าวว่า “การ เห็นโบราณสถานยังสมบูรณ์ผ่านมากว่าศตวรรษเราสมควรที่จะเรียกสิ่งนั้นว่าคุณค่า” ฟิลาเรท (Filarate) มีความเห็นว่าสถาปัตยกรรมมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์ มันจะผุพังหากไม่มี การดูแลรักษาเหมือนกับมนุษย์ที่ขาดอาหาร ฟิลาเรทกล่าวว่าผนังที่สร้างด้วยวัสดุที่ดีเสมือนจะคงทน ไปได้ตลอดการ จะพังทลายลงหากไม่ได้รับการดูแลรักษา” ฟรานเชสโก จอร์จิโอ มาร์ทินิ (Francesco di Giorgio Martini) มีเป้าหมายที่จะศึกษาสัดส่วน และรังวัดอาคารโบราณสถานที่ยังหลงเหลืออยู่ก่อนที่จะพังทลายไป เขาได้ทำการบันทึก แผนผัง รูป ด้าน รายละเอียด และภาพสามมิติ 1
ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) มีความพยายามที่จะรักษาสภาพของโบราณสถานจากการ เปลี่ยนแปลงโรงอาบน้ำสมัยโรมันให้กลายเป็นโบสถ์ Santa Maria ตามคำสั่งของพระสันตะปาปาปิอุส ที่ 4 แต่เขาไม่ต้องการทำลายโบราณสถานโรมัน ยังออกแบบให้คงสภาพเดิมไว้ส่วนหนึ่งเพราะเชื่อว่า ความเป็นซากแสดงถึงความเป็นอมตะ
ภาพที่ 1 โบสถ์ Santa Maria ประเทศอิตาลี การนำกลับมาใช้งานโดยคงสภาพเดิมไว้
18th Century – “ยุคแทรกแซงโบราณสถาน” ในช่วงยุคศตวรรษที่ 18 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมขึ้น มนุษย์สามารถประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ ได้ และมีการผลิตสินค้าส่งออกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการพัฒนาในทุกด้านทั้งด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการศึกษา ในด้านการเมืองเกิดการปฏิวัติทางด้านการเมือง เกิดลัทธิชาตินิยม มีการตื่นตัวที่จะ รักษาทุกอย่างที่ใช้เป็นเอกลักษณ์ของชาติได้ จึงเกิดการปฏิสังขรณ์โบราณสถานมากมาย โดยมี จุดมุ่งหมายที่จะทำให้สมบูรณ์มากกว่ารักษาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์โบราณสถาน ส่วนในด้าน วิชาการก็มีการพัฒนาเกิดกลุ่มนักวิชาการมากมายที่คอยเฝ้าดูการอนุรักษ์โบราณสถานและคอย ควบคุมให้อยู่ในหลักวิชาการ และต้องการให้มีการบันทึกสภาพหากเป็นไปได้ ในศตวรรษที่ 18 มีลัทธิใหม่ทางศิลปะเกิดขึ้นคือลัทธิโรแมนติก เป็นศิลปะที่เน้นอารมณ์ ความรู้สึกสะเทือนใจ เน้นใจ โดยลัทธินี้มีความเชื่อว่าคุณค่าของศิลปะนั้นเกิดจากอารมร์ของผู้ชมและผู้ สร้างสรรค์ผลงาน ความนิยมเหล่านี้ทำให้ผู้คนนิยมสร้างของประดับสวนในคฤหาสน์ให้เหมือนกับ ภาพเขียนเหล่านี้โดยมีการสร้างสถาปัตยกรรมเลียนแบบซากโบราณสถานขึ้น ซึ่งในช่วงหลังของการ นิยมสร้างสถาปัตยกรรมเลียนแบบซากโบราณสถานทำให้เกิดการเข้าไปแทรกแซงโบราณสถานที่เป็น 2
ของแท้ให้ออกมามีรูปแบบตามใจผู้ออกแบบ หลังจากยุคโรแมนติกเป็นยุคที่ผู้คนกลับไปหางานรูป แบบดั้งเดิม ทั้งโกธิคและคลาสสิก จนถัดมามีการแทรกแซงโบราณสถานให้มีลักษณะผสมกันไปหมด
ภาพที่ 2 การสร้างประติมากรรม ให้ดูเหมือนเป็นซากโบราณสถาน เพื่อการประดับตกแต่ง 19th Century – “การแข่งขันระหว่าง 2 แนวคิดหลัก” ในช่วงศตวรรษที่ 19 ได้มีความคิดแตกเป็น 2 แนวทางคือแนวทางที่เน้นคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์โบราณคดี และศิลปกรรม กับแนวทางที่เน้นความงามเป็นหลักตามค่านิยมอุดมคติโดย ในการปฏิบัติจริงจะเป็นแนวทางนี้มากกว่า แต่แนวทางแรกจะเน้นการเผยแพร่ความรู้เป็นหลัก จน สามารถทำให้คนนำมาปฏิบัติได้ในภายหลัง โดยมีบุคคลสำคัญที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถานใน ยุคนี้มากมายได้แก่ วิโอเลต เลอ ดุก (Viollet le Duc) ในปี 1849 มีการตีพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ปฏิสังขรณ์อาคารทางศาสนาโดยเฉพาะอาสนวิหาร มีเป้าหมายเพื่อให้เห็นกระจ่างชัดว่ามีจุดประสงค์ และกระบวนการในการปฏิสังขรณ์ (Restoration) ได้อย่างไร ในเนื้อหามีการกล่าวชัดเจนว่าหากมี วัสดุดั้งเดิมเสื่อมสลายให้นำวัสดุใหม่ไปทดแทนและเขายังมีความคิดที่ว่า หากโบราณสถานนั้นมีการ ต่อเติมซ้อนกันหลายยุคสมัย ให้เน้นยุคใดยุคหนึ่งโดยเฉพาะยุคตั้งต้น และให้มีการบูรณะโดยการต่อ เติมให้สมบูรณ์ถูกต้องตามเอกภาพ อย่างไรก็ตามการทำงานของเขาเป็นการทำงานที่มีระบบ มีการ เก็บข้อมูล บันทึกสภาพ และศึกษาประวัติความเป็นมาเพื่อรู้ยุคสมัย
3
John Ruskin and William Morris ในปี 1860-1870 เขาได้มีการกระตุ้นให้เกิดลัทธิต่อต้าน การบูรณะโดยการทำให้กลับสู่สภาพเดิม เขากล่าวว่ามันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะฟื้นฟูสิ่งที่ตายไปแล้วหรือ ทำให้บางสิ่งกลับคืนสู่สภาพเดิม จิตวิญญาณที่เกิดขึ้นจากมือและตาของช่างศิลป์ไม่มีทางเรียกกลับคืน มาได้ Ruskin มองว่าการทำให้โบราณสถานนั้นกลับคืนสู่สภาพดั้งเดิมเป็นเรื่องโกหกตั้งแต่ต้นจนจบ มนุษย์สามารถสร้างแบบจำลองที่มีผิวภายนอกเป็นผนังเก่าและมีภายในเป็นโครงสร้างโดยที่เขาไม่เห็น และไม่สนใจถึงประโยชน์ใด ๆ เลย แต่ตัวโบราณสถานนั้นได้ถูกทำลายไปแล้วและนั่นเป็นสิ่งที่ไร้ซึ่ง ความเมตตามากกว่าการปล่อยให้มันจมลงไปในซากฝุ่น หรือละลายไปเป็นก้อนดิน คามิโล บอยโต (Camillo Boito) เขามองว่าโบราณสถานนั้นเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงพัฒนาการ ของมนุษย์ จึงไม่เห็นด้วยกับแนวคิดที่จะทำให้กลับไปสมบูรณ์เหมือนเดิมของวิโอเลต เลอ ดุก แต่ เนื่องจากความคิดของรัสกินนั้นปฏิบัติตามได้ยากเพราะเป็นเสมือนการปล่อยให้โบราณสถานนั้นให้ผุ พังโดยไม่เข้าไปแทรกแซงเลย เขาจึงได้นำแนวคิดของรัสกินมาดัดแปลงให้สามารถปฏิบัติตามได้มาก ขึ้น โดยสามารถให้มีการต่อเติมได้เฉพาะในส่วนที่จำเป็น แต่ส่วนที่ต่อเติมจะต้องทำให้ดูแตกต่างเมื่อ เข้าไปดู แต่ต้องให้มีเอกภาพ กลมกลืนไปกับตัวโบราณสถานเดิม 20th Century – “ยุคโครงข่ายนานาชาติหลังสงครามโลก” ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เป็นต้นไป เริ่มมีการประชุมเพื่อมีกฎบัตรสากลในการบูรณะฟื้นฟู โบราณสถานทางประวัติศาสตร์ ในปี 1931 มีการประชุมที่กรุงเอเธนส์ ประเทศอิตาลี ซึ่งมีข้อสรุป ออกมาเป็น Athens Charter ออกมามีใจความสำคัญคือ - ให้ละทิ้งการปฏิสังขรณ์และอนุรักษ์ ให้ความเคารพกับประวัติศาสตร์และศิลปกรรมของเดิม - ให้มีการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง - ให้หลีกเลี่ยงการเคลื่อนย้าย - หากจำเป็นที่จะต้องทำการปฏิสังขรณ์ ต้องเคารพศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ ไม่ทำลายหลักฐาน - อนุญาตให้ใช้เทคนิคสมัยใหม่ได้เพื่อเสริมความมั่นคง - ให้มีความร่วมมือของนานาชาติเรื่องเทคนิค ต่อมาในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีโบราณสถานมากมายถูกทำลายลงจากผลของสงคราม ใน ประเทศฝรั่งเศส มีอาคารโบราณสถานกว่า 1270 แห่งได้รับผลกระทบ ทำให้มีการถกเถียงกันว่าจะ ปฏิสังขรณ์โบราณสถานให้เหมือนกับก่อนที่จะถูกสงครามทำลายลง หรือจะให้เน้นการสงวนรักษาโดย ไม่ยอมให้มีการต่อเติมส่วนที่เสียหายจากภัยสงคราม 4
การสร้างโครงข่ายการอนุรักษ์นานาชาติ ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการจัดตั้งองค์กรนานาชาติขึ้นมากมายเช่นการจัดตั้งองค์กร สหประชาชาติ (UN), องค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งประเทศชาติ (UNESCO), สภา นานาชาติว่าด้วยการพิพิธภัณฑ์ (ICOM), ศูนย์กลางนานาชาติว่าด้วยการศึกษาสงวนรักษาและการ บูรณะทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (ICCROM) เกิดการประชุมที่กรุงเวนิส ประเทศอิตาลี มีความเห็นว่า คุณค่าทางประวัติศาสตร์และ ศิลปกรรมต่างก็มีคุณค่าเทียบเท่ากัน และมีการจัดตั้งสภานานาชาติว่าด้วยอนุสรณ์สถานและสถาน ที่ตั้ง (ICOMOS) และเกิดกฎบัตรที่สำคัญขึ้นที่ยังส่งผลกับการอนุรักษ์โบราณสถานจนถึงปัจจุบันคือ Venice Charter และต่อมาก็มีกฎบัตรอื่น ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องจาก Venice Charter เช่น อนุสัญญา ว่าด้วยการปกป้องมรดกโลกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ, Burra Charter, Nara Conference on Authenticity เป็นต้นซึ่งเป็นข้อกำหนดและหลักการที่ใช้ในการอนุรักษ์โบราณสถานมาจนถึงปัจจุบัน หลักการของการอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบตะวันตก หลักการของการอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบตะวันตก คือการประชุมเพื่อหาแนวทางสากล ร่วมกันจนออกมาเป็นกฎบัตรต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างมาตรฐานการอนุรักษ์ให้ยึดกันทุกประเทศรวมถึง ประเทศอื่น ๆ ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรอนุรักษ์ระดับโลกอย่าง ICOMOS หรือ UNESCO Venice Charter (1964) เป็นกฎบัตรทีเกิดขึ้นจากการประชุมที่กรุงเวนิส ประเทศอิตาลี ซึ่งมีเนื้อหาใจความเกี่ยวกับ การอนุรักษ์โบราณสถานและพื้นที่โดยรอบรวมถึงหลักการที่ให้ยึดปฏิบัติเป็นสากล ซึ่งกฎบัตรเวนิส มี ผลกับการอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศไทยด้วย ใจความของ Venice Charter มีทั้งหมด 5 หมวด 16 มาตราดังต่อไปนี้ คำนิยาม/ความหมาย 1. โบราณสถาน ไม่ได้เป็นแค่เพียงตัวอาคารแต่รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบ และไม่ใช่เพียง แค่งานที่ดูโดดเด่นเท่านั้นแต่รวมถึงงานที่ได้ผ่านมาแต่ละยุคสมัยที่มีความเฉพาะของวัฒนธรรมอยู่ดว้ ย 2. การอนุรักษ์และการบูรณะโบราณสถานต้องมีการใช้วิทยาศาสตร์และเทคนิคทุกแขนง 3. การอนุรักษ์และการบูรณะต้องให้ความสำคัญกับศิลปะไม่น้อยไปกว่าประวัติศาสตร์ 5
การอนุรักษ์ 4. การอนุรักษ์โบราณสถานเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่องตลอดไป 5. การนำโบราณสถานมาใช้ประโยชน์จะเป็นผลดีกับโบราณสถาน แต่ต้องไม่เป็นการเปลี่ยน แปลงรูปลักษณ์หรือการประดับตกแต่งภายนอก ให้ทำได้เฉพาะการใช้งานภายในเท่านั้น 6. การอนุรักษ์รวมไปถึงการดูแลสภาพแวดล้อมโดยรอบ สิ่งที่อยู่ดั้งเดิมต้องถูกเก็บรักษา ไม่มี การเพิ่มเติมสิ่งก่อสร้างใหม่ การรื้อทำลาย หรือการปรับเปลี่ยน ที่จะส่งผลต่อมวลหรือสีของสิ่งเดิม 7. ไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนใดของโบราณสถานเว้นแต่จะเป็นสิ่งเดียวที่จะรักษา โบราณสถานได้ 8. ประติมากรรม จิตรกรรม หรือการประดับตกแต่งที่เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานสามารถ นำออกไปได้เฉพาะเมื่อเป็นหนทางเดียวที่จะเก็บรักษา การบูรณะ 9. การบูรณะมีจุดประสงค์เพื่อรักษาและแสดงออกมาถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และคุณค่า ทางสุนทรียภาพโดยการบูรณะจะต้องเคารพวัสดุดั้งเดิม มีหลักฐานอ้างอิง และหยุดเมื่อเกิดการตั้งข้อ สงสัยขึ้น ในกรณีที่ต้องเพิ่มเติมบางอย่างสิ่งที่เพิ่มเข้าไปจะต้องทำให้ดูแตกต่างและการบูรณะทุกกรณี ต้องมีการศึกษาทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ก่อน 10. เมื่อการใช้วัสดุเดิมไม่เพียงพอต่อความมั่นคง อนุญาติให้มีการใช้วัสดุสมัยใหม่ได้โดยต้องมี การแสดงให้เห็นโดยวิทยาศาสตร์และการทดลอง 11. เคารพทุกยุคสมัยของโบราณสถาน ความกลมกลืนและลักษณะไม่ใช่จุดประสงค์ของการ อนุรักษ์ การที่จะเผยวัสดุด้านล่างทำเฉพาะบางกรณีที่มีประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ มีคุณค่าทางโบราณคดี หรือเหตุผลอื่น ๆที่มากพอที่จะทำ 12. การเสริมส่วนที่หายไปของโบราณสถานจะต้องกลมกลืนกับโบราณสถานเดิม แต่ต้องแยก ออกจากเดิมได้ ไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดทางประวัติศาสตร์ 13. ไม่อนุญาตให้มีการเติมแต่งเว้นแต่จะไม่ทำให้ดึงดูดสายตาไปจากจุดที่น่าสนใจของอาคาร หรือวัฒนธรรมดั้งเดิม องค์ประกอบ และความสัมพันธ์ของบริบท สถานที่ตั้ง 14. ต้องดูแลสถานที่ตั้งเพื่อให้มีความชัดเจนรักษาความเป็นองค์รวม
6
การขุดค้น 15. การขุดค้นจะต้องทำตามเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และให้ใช้คำแนะนำจาก archeological excavation ที่ร่างโดย UNESCO ในปี 1956 ซากจะต้องถูกรักษาและรังวัด เพื่อให้มีการอนุรักษ์ การ อนุรักษ์จะต้องไม่ทำให้เกิดการบิดเบือนความหมาย การสร้างขึ้นใหม่ให้ทำตามหลักการ Anastylosis* สามารถทำการเรียงตัวใหม่ของวัสดุเดิมที่แบ่งเป็นส่วนๆ วัสดุประสานต้องใช้ให้น้อยที่สุดและดูต่าง การจัดพิมพ์ 16. ในการทำงานอนุรักษ์ บูรณะ การสร้างขึ้นมาใหม่ หรือการขุดค้น ต้องมีการบันทึกรายงาน เสมอ ในรูปแบบของการวิเคราะห์ ข้อมูล แบบ และรูปภาพ ทุกขั้นตอนของการทำงานและทุกเทคนิค ต้องมีเขียนอยู่ด้วย และสมควรที่จะเข้าถึงได้สำหรับคนที่ต้องการข้อมูล โดยควรมีการจัดพิมพ์ กล่าวโดยสรุปคือการอนุรักษ์ควรจะมีการแทรกแซงให้น้อยที่สุด และหากมีการแทรกแซงก็ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการเคารพวัสดุดั้งเดิม และมีหลักฐานทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ยืนยัน และ ให้หยุดเมื่อมีการตั้งสมมุติฐานเกิดขึ้น หากต้องซ่อมแซมให้ทำให้เห็นความแตกต่างเล็กน้อย และหาก จำเป็นต้องสร้างขึ้นใหม่ให้ใช้วิธีอนาสไตโลซิส และการอนุรักษ์นั้นต้องรวมถึงการให้ความสำคัญกับ สภาพแวดล้อมโดยรอบด้วย Convention Concerning the Protection of the world Cultural and National Heritage (1972) มีทั้งหมด 38 มาตราโดยมีเนื้อหาใจความที่สำคัญคือ การจำแนกมรดกวัฒนธรรม - Monument: อาคาร อนุเสาวรีย์ ประติมากรรม หรือภาพเขียน ส่วนประกอบของโครงสร้าง ตามโบราณคดี จารึก ที่โดดเด่นทางคุณค่าในระดับสากลทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ - Groups of Buildings: กลุ่มอาคารหรืออาคารที่เชื่อมต่อกัน ความเป็นเอกภาพหรือความเป็น เนื้อเดียวกันของภูมิทัศน์ ที่โดดเด่นทางคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ระดับสากล - Sites: งานที่เกิดจากมนุษย์หรือที่ที่เกิดจากมนุษย์ร่วมมือกับธรรมชาติ พื้นที่รวมถึงที่ตั้งทาง โบราณคดีที่โดดเด่นทางคุณค่าในระดับสากลทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ หรือวิทยาศาสตร์ โดยมีเกณฑ์การพิจารณา - มีความเป็นของแท้ - มีคุณค่าทางสุนทรียภาพ และมีอิทธิพลทางสถาปัตยกรรม - มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์โบราณคดี เป็นพยานหลักฐานที่สำคัญ 7
- มีคุณค่าทางวัฒนธรรม เป็นผลมาจากแนวคิดหรือความเชื่อที่มีความสำคัญในระดับสากล - มีคุณค่าทางสังคม เป็นตัวอย่างที่ดีของวิถีชีวิตตามประเพณีที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรม Appleton Charter (1983) เป็นกฎบัตรที่เพิ่มเติมจาก 2 ระเบียบที่กล่าวมาข้างต้น ในกฎบัตรฉบับนี้ได้มีการจำแนกระดับ ของการแทกแซงโบราณสถานตั้งแต่การอนุรักษ์จนถึงการต่อเติม ระดับของการแทรกแซง - รักษาสภาพ - การทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิม - การทำให้กลับคืนสู่สภาพเดิมรวมถึงการเพิ่มการใช้งาน - สร้างขึ้นใหม่ - พัฒนาใหม่ การดำเนินการ - พัฒนาใหม่ - การดูแลรักษา - ทำให้มั่นคง - การเอาของเดิมออก - การเสริม/เพิ่มเติม โดยการกระทำดังกล่าวจะต้องเคารพองค์ประกอบเดิม ไม่บิดเบือนคุณค่า และต้องมีหลักฐาน ยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญทุกแขนงเพื่อการศึกษาและป้องกัน ต้องมีการสำรวจรังวัด เพื่อสนับสนุนการ ยกระดับสภาพแวดล้อม กฎบัตรฉบับนี้เน้นการกระทำต้องใช้เทคนิควิธีการที่สามารถถอดถอนออกได้ เพื่อให้โบราณสภาพกลับคืนสู่สภาพเดิมที่พบเจอเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ในการพัฒนาซ่อมแซมโบราณ สถานในอนาคต และเป็นการป้องกับโบราณสถานหากวิธีการที่ใช้ทำให้เสื่อมเร็วกว่าที่ควรจะเป็น Burra Charter (1979) เป็นแนวคิดของประเทศออสเตเรียที่แตกแขนงไปจาก Venice Charter โดย Burra Charter ได้ใช้คำว่า สถานที่ แทนคำว่าโบราณสถานและสถานที่ตั้ง ตามแบบของ Venice Charter เนื่องจาก
8
การใช้คำว่าสถานที่นั้นครอบคลุมไปถึงพื้นที่ๆอาจจะไม่ได้มีอาคารหรือโบราณสถานอยู่แต่มีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม ความสำคัญทางวัฒนธรรม (Cultural Significant) หมายถึงคุณค่าทางสุนทรียภาพ ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือสังคม สำหรับอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต คุณค่าเหล่านี้รวมกันอยู่ ภายในที่เดียวกัน ไม่ได้ถูกแยกขาดออกจากกัน การอนุรักษ์จึงจำเป็นจะต้องพิจารณาในทุก ๆ ด้านเพื่อ ไม่ให้ความสำคัญกับคุณค่าด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ Burra Charter ยังกำหนดเกณฑ์ที่ว่า “การอนุรกั ษ์อยู่บนพื้นฐานของการให้ความสำคัญต่อ เนื้อวัตถุที่พบเจอ และควรทำการแทรกแซง ต่อเติม เท่าที่จำเป็น” ขึ้นเป็นครั้งแรก Nara Conference on Authenticity อ้างอิงจากเวนิสชาร์เตอร์ ที่ได้กำหนดให้ปรับใช้ตามแต่ละวัฒนธรรมและประเพณี ไม่ได้ถือว่า เป็นหลักการตายตัว การประชุมนี้มีการพูดถึงความหมายของความเป็นของแท้ (Authenticity) ซึ่งแต่ ละประเทศมีความเห็นที่แตกต่างกัน และสรุปได้ว่า หลักการนี้ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมรดก คุณค่าที่ต่างกันก็ถือว่าถูกต้องเพราะวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันตามแต่ละที่ การรักษา ความเป็นของแท้ จะต้องยึดหลักการนานาชาติ ผลสำเร็จจะต้องไม่บ่อนทำลายคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยแต่ละวัฒนธรรมจะต้องเข้าใจมรดกของตัวเองเสียก่อน และการพิจารณาว่าเป็นของแท้จะต้อง พิจารณาจากหลากหลายแหล่ง ทั้งที่เป็นกายภาพ และไม่เป็นกายภาพ ทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและ ธรรมชาติสร้างขึ้น และยังมีอีกหลายกฏบัตรหรือหลักการทางการอนุรักษ์โบราณสถานที่สำคัญอาทิเช่น - International Cultural Tourism Charter - กล่าวถึงการจัดการการท่องเที่ยวโบราณสถาน - Principles for the Preservation of Historic Timber Structure - กล่าวถึงข้อกำหนดใน การอนุรักษ์โบราณสถานที่มีส่วนประกอบของโครงสร้างไม้ - The ICOMOS Charter for the Interpretation and Presentation of Cultural Heritage Site - กล่าวถึงลำดับในการจัดการอนุรักษ์โบราณสถาน ตั้งแต่ความเข้าใจจนถึงการเขียนรายงาน
9
วิธีการของการอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบตะวันตก การอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบตะวันตกนั้นมีขอ้ บังคับว่าวรจะต้องมีการจดบันทึกโดย ละเอียด และแนะนำให้มีการตีพิมพ์เพื่อให้มีการนำมาศึกษา และการอนุรักษ์จะต้องมีการแทรกแซง โบราณสถานให้น้อยที่สุด มีการเคารพวัสดุดั้งเดิม มีหลักฐานยืนยัน และหยุดการกระทำเมื่อมีการตั้ง สมมุติฐาน โดยการกระทำการอนุรักษ์จะต้องให้คุณค่าของความเป็นของแท้ โดยการแทรกแซงโบราณสถานแบ่งออกเป็นระดับดังนี้ 1. การป้องกันการทรุดโทรม คือการป้องกันไม่ให้ทรุดโทรมไปมากกว่าที่พบเช่นการควบคุมความชื้น การควบคุมอุณหภูมิ การป้องกันอันตรายที่จะเกิดไม่ว่าจะจากธรรมชาติหรือมนุษย์ การสำรวจสภาพแวดล้อม รวมถึงสภาพ ดินเพื่อลดการเกิดการเคลื่อนตัวหรือการทรุดตัวของดิน เป็นต้น 2. การสงวนรักษา เป็นการซ่อมทันทีที่เกิดข้อบกพร่องขึ้น ป้องกันการทรุดโทรมที่จะลามไปมากขึ้น 3. การเสริมความมั่นคงของโครงสร้าง คือการเสริมความแข็งแรงทางโครงสร้างของโบราณสถาน เช่นการใส่วัสดุประสานเพื่อช่วย ในการรับน้ำหนัก โดยการกระทำดังกล่าวจะต้องไม่กระทบกับรูปลักษณ์ภายนอก และการใส่วัสดุ ประสานใหม่เข้าไปต้องทำให้เกิดความแตกต่างจากของเดิม และหากทำการศึกษาแล้วว่าวัสดุดั้งเดิม ไม่เพียงพอที่จะทำให้โครงสร้างมั่นคง ก็อนุญาตให้มีการใช้วัสดุสมัยใหม่ได้ 4. การฟื้นฟูบูรณะ ทำให้วัตถุนั้นเกิดความชัดเจนขึ้น เคารพวัสดุเดิม มีหลักฐานยืนยัน และหยุดกระทำเมื่อมีการ ตั้งสมมุติฐาน การบูรณะต้องทำให้เกิดความกลมกลืน แต่เห็นความแตกต่างเมื่อตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ตัวอย่างงานอนุรกั ษ์ที่ใช้วิธีนี้เช่น Theodotus Chapel ประเทศ อิตาลี มีการเก็บข้อมูลรายละเอียด เปรียบเทียบทุกชั้นของงานเพราะเป็นงานที่มีการซ้อนทับของยุคสมัย มีการศึกษาชิ้นส่วนอย่างดีก่อนที่ จะลงมือบูรณะ ทำให้มีการใช้เวลารวมนานถึง 9 ปี
10
ภาพที่ 3 (ซ้าย) ภาพลายเส้นแสดงการจดบันทึก ศึกษาข้อมูลของโบราณสถาน ภาพที่ 4 (ขวา) แสดงภาพหลังการบูรณะที่ทำให้มีความชัดเจนขึ้น และไม่มีการคาดเดาเกิดขึ้น 5. การปรับปรุงใหม่โดยนำมาใช้งาน เป็นการนำอาคารเก่ามาใช้งานโดยการนำโบราณสถานมาปรับการใช้งานภายในแต่จะต้องไม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ การประดับตกแต่งภายนอกให้ทำได้เฉพาะการใช้งานภายในเท่านั้น ซึ่ง การปรับปรุงโดยการนำมาใช้งานถือว่าเป็นผลดีกับโบราณสถานเนื่องจากการใช้งานจะทำให้เกิดการ ดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างอาคาร St. Pancras Rail Station ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นผลมาจาก การปฏิวัติอุตสาหกรรมและความต้องการใช้พื้นที่ในการคมนาคมในเมืองลอนดอน
ภาพที่ 5 St. Pancras Rail Station ที่มีการปรับเปลี่ยนการใช้งานแต่ภายนอกยังคงสภาพเดิม 6. การสร้างชิ้นส่วนใหม่ การสร้างชิ้นส่วนใหม่เพื่อทดแทนสิ่งที่หายไปหรือทรุดโทรมจนเอากลับคืนมาไม่ได้ แต่ การกระทำใดจะต้องมีหลักฐานและข้อมูลยืนยันอีกทั้งจะต้องทำให้เกิดความแตกต่างของดั้งเดิมกับของ ที่นำเข้าไปติดตั้งใหม่ การสร้างชิ้นส่วนใหม่อาจจะเกิดจากการที่ของเดิมนั้นจะต้องถูกนำไปเก็ บเพื่อ รักษาไว้ จึงต้องทำของใหม่มาทดแทน
11
7. การสร้างขึ้นใหม่ จะกระทำก็ต่อเมื่อโบราณสถานนั้นถูกทำลายจากธรรมชาติหรือจากสงคราม และจะต้องมี หลักฐานรับรองและเที่ยงตรง การสร้างขึ้นใหม่จะต้องไม่ทำให้ความเข้าใจคุณค่าทางประวัติศาสตร์นั้น ผิดเพี้ยนหรือถูกบิดเบือนไป ตัวอย่างอาคารที่ใช้วิธีนี้เช่นอาคาร Notre Dame -Paris ที่ถูกไฟไหม้ไป เมื่อปี 2019
ภาพที่ 6 Notre Dame -Paris ที่ถูกไฟไหม้ปี 2019 ภาพที่ 7 การปฏิบัติการซ่อมแซมอาคาร Notre Dame -Paris การอนุรักษ์โบราณสถานโดยวิธีอนาสไตโลซิส (Anastylosis) คำว่าอนาสไตโลซิส เริ่มจากการที่ฝ่ายฟื้นฟูลัทธิออธอดอกซ์ได้รับชัยชนะจากลัทธิทำลายรูป บูชา คำที่ใช้ในการระลึกถึงชัยชนะนี้ขึ้นต้นด้วยคำว่า anastylosis ซึ่งต่อมามีการนำไปให้เรียกชื่อ วิธีการบูรณะโบราณสถานแบบที่มีข้อกำหนดแบบหนึ่ง เพื่อให้แทนการบูรณะแบบเก่าที่เป็นการสร้าง ขึ้นใหม่จึงถูกต่อต้าน ในตอนแรกนั้น วิธีนี้มีความคล้ายคลึงกับการสร้างขึ้นใหม่จึงทำให้ถูก ต่อต้าน แต่ ในปี 1964 Venice Charter ได้มีการพูดถึงวิธี Anastylosis โดยแยกขาดจากคำว่า Reconstruction โดยชัดเจน วิธี Anastylosis คือการรวบรวมสิ่งที่มีอยู่แต่กระจัดกระจายซึ่งสามารถที่จะเก็บมารวมกัน ได้อีกโดย วัสดุที่ใช้ประสานจะต้องสามารถสังเกตแยกจากของเก่าได้ และจะต้องใช้วัสดุประสานน้อย ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการที่วัสดุประสานน้อยทำให้วัสดุที่ถูกนำมาประกอบนั้นจะต้องเป็นวัสดุที่มี คุณภาพดี และบังคับว่าจะต้องทำภายในพื้นที่ตั้งเท่านั้น ห้ามมีการเคลื่อนย้าย วิธีนี้มีการนำความเชื่อ ยุคโรแมนติกมาใช้คือเชื่อว่าซากก็เป็นสิ่งสวยงาม จุดประสงค์สำคัญของวิธีนี้ก็เพื่อการสงวนรักษาซาก โบราณสถานให้ดูรู้เรื่องมากกว่ากองเศษหิน โดยปฏิบัติเท่าที่จำเป็นให้พอเห็นเค้าโครงของอาคารและ มีความมั่นคงอาคารที่สำคัญที่เป็นต้นแบบการใช้หลักการ Anastylosis คือการบูรณะอะโคโปลิสที่ ประเทศกรีซ ดำเนินการโดย Nikolaos Balanos
12
การอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบของไทย ในประเทศไทยเริ่มมีการอนุรักษ์โบราณสถานในสมัยรัชกาลที่ 4 เนื่องจากก่อนหน้านั้น คน ไทยเชื่อว่าการสร้างปูชนียสถานหรือการบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานให้ยิ่งใหญ่ขึ้นถือเป็นการทำบุญ กุศลที่ยิ่งใหญ่ ทำให้โบราณสถานของไทยไม่ค่อยเหลือแบบดั้งเดิมให้เห็นมากเท่าที่ควร แนวคิดของการอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบของไทย แนวคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล แต่เป็นการบูรณะที่มัก ทำให้ยิ่งใหญ่ขึ้น เพื่อเหตุผลทางด้านการเมือง ความมั่นคงของอาณาจักร หรือเรื่องบุญกุศลของผู้สร้าง มากกว่าความต้องการที่จะอนุรักษ์คุณค่าของโบราณสถาน จนถึงปัจจุบัน คนไทยบางกลุ่มก็ยังมีความ เชื่อนั้นอยู่ เป็นผลทำให้การอนุรักษ์ของไทยนั้นไม่มีแนวคิดที่ชัดเจน ยุคก่อนรัชกาลที่ 4 – “ยุคแห่งความเชื่อและศรัทธา” ประเทศไทยตั้งแต่โบราณกาล มีจุดประสงค์ของการสร้างวัด วัง ต่างมาจากความเชื่อและ ความศรัทธาในศาสนาพุทธและพราหมณ์ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือการสร้างอารามในสมัยนั้นถือเป็นการ ประกาศพระบรมเดชานุภาพของกษัตริย์ การทำนุบำรุงศาสนาไม่ว่าจะด้วยการสร้างวัด ปฏิสังขรณ์ โบราณสถาน เปลี่ยนแปลงให้งดงาม มั่นคงสมความศรัทธา ต่างก็เป็นพระราชกรณียกิจของกษัตริย์ ทั้งสิ้น และการกระทำดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นการกระทำที่จะได้บุญกุศลมาก คนไทยจึงมีความเชื่อตั้งแต่ สมัยโบราณกาลที่จะปฏิสังขรณ์โบราณสถานให้ยิ่งใหญ่ขึ้นโดยไม่ได้สนใจถึงสภาพเดิมของอาคาร ในสมัยอยุธยานั้นมีการสร้างปูชนียสถานมากมาย และด้วยเวลาอันยาวนานทำให้ปูชนียสถาน เหล่านั้นเริ่มเสื่อมลงในช่วงอยุธยาตอนปลาย ทำให้เป็นยุคที่มีการปฏิสังขรณ์โบราณสถานมากมาย โดยส่วนมากจะมีการทำให้ดูยิ่งใหญ่กว่าเดิม เช่นพระอารามวัดสุมงคลบพิตร และมณฑปวัดพระพุทธ บาท จังหวัดสระบุรี เป็นต้น โดยในพระราชพงศาวดารกรุงเก่า แผ่นดินหลวงสรศักดิ์ ซึ่งเรียก พระพุทธเจ้าเสือ มีบันทึกไว้เกี่ยวกับพระราชดำรัสให้ปฏิสังขรณ์มณฑปพระพุทธบาทไว้ว่า “ในปีมเมีย จัตวาศกนั้น ทรงพระกรุณาดำรัศให้ช่างต่ออย่างพระมณฑปพระพุทธบาท ให้มียอดห้ายอด ให้ย่อเก ลดมีบันแถลง แลยอดแซรกด้วย นายช่างต่ออย่างแล้วเอาเข้าทูลถวาย จึ่งมีพระราชดำรัศสั่งให้ปรุง เครื่องบนพระมณฑปตามอย่างนั้นเสรจ จึ่งเสดจพระราชดำเนินโดยขบวนพยุหบาตรา ชลมารค
13
สถลมารค ขึ้นไปนมัศการพระพุทธบาท ตามอย่างพระราชประเพณีมาแต่ก่อน แล้วทรงพระกรุณาให้ ช่างพนักงาน จัดการยกเครื่องบนพระมณฑปพระพุทธบาท” ต่อมาในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการสร้างกรุงเทพมหานคร ให้มีผังเมืองและการจัด ระเบียบคล้ายกับในสมัยอยุธยาซึ่งเป็นการสร้างเลียนแบบเพื่อรื้อฟื้นความยิ่งใหญ่ โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 นั้น ยังไม่ได้มีการบูรณะโบราณสถานมากนักเพราะประเทศยังขาดงบประมานแต่ก็มีการป้องกัน โบราณสถานถูกทำลายจากฝีมือมนุษย์ จึงมีเขียนในกฎหมายตรา 3 ดวงเกี่ยวกับการลักขโมย ทำลาย พระพุทธรูปและวัดเก่าแก่ จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 3 เริ่มมีการปฏิสังขรณ์โบราณสถานสำคัญเช่น การปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยเน้นการอนุรักษ์ให้กลับมาสวยงามดังเดิม และพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาทที่กำชับว่าให้อนุรักษ์ไม่ได้ดูผิดไปจากแบบเดิม รัชกาลที่ 4 – “ยุคเริ่มต้นการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย” ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทรงมีความสนใจในโบราณสถาน มาก ทรงมองโบราณสถานในแง่มุมประวัติศาสตร์ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกเพราะก่อนหน้านี้จะมองว่าเป็นสิ่ง ที่ต้องทำให้ดูยิ่งใหญ่อยู่เสมอ และครั้นรัชกาลที่ 4 ยังผนวชเป็นพระวชิรญานมหาเถระทรงปฏิสังขรณ์ องค์พระปฐมเจดีย์ ซึ่งมีการศึกษาอย่างละเอียด ว่าเดิมใช้เป็นอะไร และใครเป็นผู้ สร้าง ทำให้เป็น จุดเริ่มต้นของการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และการจดบันทึก ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ยังมีการบันทึก ไว้อย่างละเอียดในกระบวนการอนุรักษ์ว่าทำอย่างไร เป็นการบันทึกการบูรณะโบราณสถานที่มีความ ชัดเจน เห็นรายละเอียดเป็นครั้งแรกของไทย เหตุอันเนื่องมาจากต่างชาติเข้ามามีบทบาทในยุคสมัยนี้มาก ทำให้ท่านมีความคิดที่จะอนุรักษ์ ของเก่าเพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าเป็นประเทศที่มีอารยธรรม มองโบราณสถานเป็นเครื่องประดับนคร และด้วยความใส่ใจในของโบราณนี้ทำให้ท่านได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์และหอสมุดขึ้น และยังมีการออก กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาโบราณสถานมากขึ้นเช่นประกาศเขตรังวัดผู้ร้ายขุดวัดในปี พ.ศ.2394 รัชกาลที่ 5 –“ยุคปฏิรูปประเทศ” การเข้ามาของชาติตะวันตกทำให้เกิดการปฏิรูปในทุก ๆ ด้านเพื่อให้เท่าทันชาติตะวันตก รัชกาลที่ 5 ทรงมองว่าโบราณสถานเป็นสัญลักษณ์แทนความศิวิไลซ์ รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปสำรวจที่ อยุธยาทำให้มีการจัดตั้งโบราณคดีสโมสร เพื่อศึกษาประวัติชาติบ้านเมืองในอดีต มีพระราชประสงค์ให้
14
ทำการขุดค้น ตรวจสอบผังของอยุธยา แต่เนื่องจากบ้านเมืองขาดงบประมานทำให้มาดำเนินการใน ภายหลัง นับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการอนุรักษ์ในระดับเมือง งานอนุรักษ์ที่สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5 คือการปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดอรุณ ซึ่งมีพระราช กระแสว่า การซ่อมแซมพระปรางค์วัดอรุณต้องตั้งใจที่จะรักษาของเก่า อย่าพยายามไปแต่งให้ดูเป็น ของใหม่ ให้พยายามผสมสีให้อ่อนลงกลืนกับลวดลาย หากจะเปลี่ยนแปลงอะไรให้กราบทูลก่อน ซึ่ง เป็นเอกสารชิ้นแรกที่แสดงให้เห็นถึงการบูรณะที่ต้องการคงไว้ซึ่งของเดิมไม่ได้เปลี่ยนไปตามใจชอบ รัชกาลที่ 6 – “ชาตินิยม” ผลจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้การเมืองการปกครองครั้งนั้นตึงเครียด รัชกาลที่ 6 จึง ประกาศอุดมการณ์ให้คนยึดถือ คือการรักชาติ เป็นแนวทางชาตินิยม อยากให้คนไทยคิดว่าประเทศ ไทยไม่ใช่ชาติใหม่หรือบ้านป่าเมืองเถื่อน ท่านได้ทำการสำรวจสุโขทัยตามที่มีพระราชนิพนธ์ “เที่ยว เมืองพระร่วง” และทรงรับสั่งให้มีการเก็บบันทึกลวดลายฝีมือช่างโบราณเพื่อให้เห็นว่าช่างไทยมีฝีมือ ไม่จำเป็นต้องใช้ตามแบบอย่างของฝรั่งถึงจะงาม สังเกตไว้ว่าท่านทรงมองโบราณสถานเป็นอารยธรรม ของชาติและความรู้ทางวิชาการมากกว่าเป็นปูชนียสถานเหมือนที่ผ่านๆมา มีการจัดตั้งกรมศิลปากรเพื่อทำหน้าที่ช่างศิลป์ รวมกับกรมพิพิธภัณฑ์ มีการจัดทำประกาศ การตรวจรักษาของโบราณ ซึ่งในเนื้อหามีกล่าวถึงหลักการและเหตุผลชัดเจนรวมถึงคุณค่าแง่วิชาการ และวัฒนธรรม ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ทันสมัยมาก โดยมีผู้ที่เริ่มปฏิบัติงานเป็นหน่วยแรกได้แก่ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์และ ยอร์ช เซเดย์ เริ่มจากการสำรวจเมือง พิษณุโลก กำแพงเพชร สุโขทัย และสวรรคโลก หลังจากนั้นก็มีการวางแผนการทำวิจัย รัชการที่ 7 –“ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง” ในยุคนี้มีเหตุการณ์สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย มีการ จัดตั้งราชบัณฑิตยสภาแทนกรรมการหอสมุดวชิรญาณและมีการโอนงานทั้งหมด โดยมีกรมพระยา ดำรงราชานุภาพเป็นนายกสภา โดยราชบัณฑิตยสภา แบ่งเป็น 3 แผนก ได้แก่ แผนกศิลปากร ทำ เกี่ยวกับงานช่าง แผนกโบราณคดี ให้ความรู้เกี่ยวกับของโบราณ และแผนกวรรณคดี ทำหนังสือและ บันทึก การรวมองค์กรทำให้เกิดความเป็นเอกภาพมากขึ้น มีการรื้อฟื้นกรมศิลปากรและให้มีหน้าที่ หลักๆคือการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และรักษาโบราณสถาน และการออกกฎหมายโบราณสถานที่มี เนื้อหาครบถ้วนครั้งแรก 15
ในช่วงนี้มีการออกประกาศให้ยึดการสงวนรักษารูปแบบเดิมของโบราณสถานและการรักษา สภาพแวดล้อมจากประกาศตรวจรักษาของโบราณ มีการพูดถึงโบราณสถานในแง่ของคุณค่าทาง วิชาการและวัฒนธรรม ถือเป็นการกำหนดวิธีการปฏิบัติโดยเจ้าพนักงานรัฐอย่างชัดเจนครั้งแรก การแสดงปาฐกถาของกรมพระยาดำรงราชานุภาพถือเป็นการวางรากฐานการอนุรักษ์ของ ไทยเลยก็ว่าได้ โดยเนื้อหาใจความเกี่ยวกับขั้นตอนการอนุรักษ์ว่า 1.ขั้นตอนการสำรวจเพื่อให้ทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับโบราณสถาน 2.การขุดค้นทางประวัติศาสตร์ 3.การรักษา แบ่งเป็น 3 ขั้นได้แก่ขั้นต่ำคือ การห้ามทำลาย ขั้นกลางคือการค้ำจุนไม่ให้ผุพัง และขั้นสูง คือการปฏิสังขรณ์ให้ดีอย่างเดิมโดยการใช้ วิธี Anastylosis จากการแสดงปาฐกถานี้ทำให้เห็นว่าท่านมีความเข้าใจในด้านการอนุรักษ์ที่มีความ เป็นสากลมาก การทำงานในช่วงนี้ส่วนมากเพื่อประคองโครงสร้าง มีการปฏิสังขรณ์วัดราชบพิตรและวัดพระ ศรีรัตนศาสดาราม โดยกรมพระยานริศนานุวัติวงศ์ได้บันทึกถึงการซ่อมแซมวัดราชบพิตรไว้โดยแบ่ง ส่วนการบูรณะเป็น 3 ส่วนคือ 1. ส่วนที่ต้องซ่อมแซม พวกสิ่งชำรุด รอยแยก 2. ส่วนที่ต้องซ่อมแปลง คือการปรับแก้สิ่งที่ขัดขวางอยู่ เช่นบันไดเฉลียงที่กีดขวางให้เอาออก 3. การซ่อมเสริม คือการทำสิ่ งที่ ค้างไว้ต่อให้เสร็จ แต่เป็นการทำให้มีไปก่อนโดยไม่กระทบคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เช่นการทาสี ลวดลายภายในตามสมควร แต่ไม่ได้ใช้กระเบื้องปูเป็นประวัติรัชกาลที่ 5 ตามที่ รัชกาลที่ 7 ทรงรับสั่ง ในส่วนการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนมากแก้โครงสร้างที่ไม่แข็งแรง เช่น หลังคาที่ทำจากไม้ มีการใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเข้าไปช่วยเสริม อีกทั้งมีการซ่อมแซม ลวดลายโดยงานนี้เป็นงานที่รวมช่างมีมือเข้าไว้ด้วยกัน
ยุคประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการทหาร–“แนวทางการอนุรักษ์แปรผันตามกระแสการเมือง” ในช่วงยุคนี้เป็นยุคที่มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองมาก จอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกนโยบาย รัฐนิยม คือการสร้างเอกลักษณ์ของชาติ มีการตั้งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ แต่ด้วยสภาพเศรษฐกิจและ การเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มีผลงานด้านการอนุรักษ์น้อย หลังจากสงครามโลกสิ้นสุดลง จอมพล ป. ได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม จนในที่สุดศาลฎีกาได้ตัดสินปล่อยตัวและกลับมา เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ได้มีการสถาปนากระทรวงวัฒนธรรมขึ้นโดยมีหน่วยงานที่สำคัญอยู่ในสังกัด คือ กรมศิลปากร กรมการวัฒนธรรมและกรมศาสนา หลังจากนั้นการปฏิบัติงานดูแลโบราณสถานก็ตก เป็นหน้าที่ของกรมศิลปากรอย่างเต็มรูปแบบ 16
ในช่วง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมณตรี ท่านได้พยายามจะพัฒนาประเทศด้วยการ พัฒนาระบบสาธารณูปโภค และมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และอีกเหตุที่กระทบกับ การอนุรักษ์โบราณสถานคือการเปลี่ยนแปลงการใช้สอยที่ดินและการทำให้กรุงเทพมหานครกลายเป็น พื้นที่ศูนย์กลางระบบเศรษฐกิจ จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของกรุงเทพมหานครมากมายเช่น การสร้างอาคารสมัยใหม่ต่าง ๆ ติดกับโบราณสถาน จึงมีการประท้วงของสมาคมสถาปนิกสยาม ซึ่งถือ เป็นครั้งแรกที่เอกชนได้เข้ามามีบทบาทในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวนี้เอง ก็ทำให้มีการอนุรักษ์โบราณสถานเพื่อการท่องเที่ยว มีการปรับปรุงกลุ่มอาคารประวัติศาสตร์ในพื้นที่ขนาดใหญ่มากมายแล้วจัดตั้งเป็นอุทยาน ประวัติศาสตร์ ซึ่งในขณะนั้นกรมศิลปากรเองยังไม่ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน อย่างถ่องแท้มีการค้ำจุนโบราณสถานด้วยคอนกรีต ต่อมาขุดพบว่าโบราณสถานนั้นหายไปแต่คอนกรีต ที่เสริมเข้าไปนั้นยังคงอยู่ อย่างไรก็ตามยังพบเห็นการพยายามที่จะเรียนรู้ของกรมศิลปากรเช่นการ บูรณะพระปฐมเจดีย์ที่มีการจดบันทึกอย่างละเอียดและไม่มีการต่อเติมใด ๆ ให้บิดเบือนไป ยังมีการ ติดต่อกันของกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ และกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ขณะนั้นลี้ภัยการเมืองไป ปีนังที่พบได้จาก”สาส์นสมเด็จ”ที่มีการพูดถึงเรื่องการอนุรักษ์และปฏิสังขรณ์โบราณสถาน และหลวง บริบาลบุริภัณฑ์ที่ทำการศึกษาด้านการอนุรักษ์แบบ Anastylosis และกล่าวว่าเป็นวิธีที่ไม่เหมาะกับ ประเทศไทย เพราะส่วนมากใช้กับโบราณสถานที่ทำจากหินแต่ของไทยส่วนมากจะทำจากอิฐมากกว่า ทำให้ใช้วิธีนี้ได้ยาก พ.ศ.2490 ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่การอนุรักษ์สากลโดยการเข้าร่วมในองค์กร UNESCO มีการ พัฒนาโดยการส่งข้าราชการไปเรียนรู้การทำงานที่ต่างประเทศ ในขณะเดียวกันก็มีโครงการสำคัญ เกิดขึ้นจากการสนับสนุนของรัฐบาลฝรั่งเศส โดยการส่งผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศสได้แก่นาย Bernard Philippe Groslier, Pfeiffer, Pierre Pichard มาทำการบูรณะปราสาทหินพิมายซึ่งสถาปนิกทั้ง 3 ท่านได้มีการรื้อตัวปราสาทกลางลง ทำฐานรากใหม่ เสริมคอนกรีตในกำแพงและใต้โครงหลังคา แล้ว ประกอบกลับไปให้เหมือนเดิม ส่วนยอดมีการต่อเติมขึ้นไปโดยด้านนอกใช้หินเดิมส่วนด้านในมีการ เสริมคอนกรีต ทำให้มีการเข้าใจว่าวิธีการ Anastylosis นั้นมีกระบวนการทำเช่นนี้ซึ่งผิดไปจากที่หลวง บริบาลบุริภัณฑ์ได้เคยกล่าวไว้ ต่อมาจึงมีการนาไปใช้กบั ปราสาทหินพนมรุง้ และโบราณสถานอื่น ๆ
17
ต่อมาแผนงานกรมศิลปากรถูกบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการจ้าง เอกชนหรือผู้รับเหมา เนื่องจากในกรมศิลปากรไม่มีบุคลากรมากเพียงพอ และยังไม่เชี่ยวชาญทำให้มี การคิดถึงผลกำไรกับโบราณสถานมากกว่าจะเห็นถึงคุณค่าของมัน ปี 2517 กรมศิลปากรได้ทำการปรับโครงสร้างในองค์กร มีการจำแนกงานชัดเจนและมีการนำ Venice Charter มาขยายความและปรับใช้ให้เข้ากับสภาพสังคมของไทย อย่างไรก็ตามต่อมา UNESCO ได้ขึ้นทะเบียนอุทยานของไทยให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก 3 แห่ง เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ 2 แห่งและอุทยานทางธรรมชาติ 1 แห่งได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย อุทยานทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ปรากฏการณ์อีกอย่างหนึ่งที่ปลุกจิตสำนึกของคนในชาติคือการร่วมกันทวงทับหลังนารายณ์ บรรทมสินธุ์คืนจากชิคาโก สื่อต่าง ๆ และประชาชนให้ความสนใจมากมายทำให้คนในชาติทั้งภาครัฐ และเอกชน ต่างก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวในด้านการอนุรักษ์มากขึ้น เช่นในภาคเอกชนมีสมาคมสถาปนิก สยามในพระบรมราชูปถัมภ์ มีส่วนร่วมในการบูรณะหอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม และมีโครงการประกาศ เกียรติคุณการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีแนวความคิด การอนุรักษ์โบราณสถานว่าเป็นการอนุรักษ์ทางการดำเนินชีวิตของชุมชนเมืองด้วย ส่วนในภาครัฐยังมี การตั้งสำนักนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ซงึ่ คลุมพื้นที่เมืองเก่าทั้งหมด ดูแล สร้างพื้นที่ว่างในเมือง มีการทำ พรบ.โบราณสถานฉบับใหม่โดยยกเลิกฉบับเก่าทั้งหมด และเพิ่ม พรบ. ส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งรวมไปถึงการอนุรกั ษ์สิ่งแวดล้อมสถาปัตยกรรมด้วยซึ่ง หากมีปัญหาสิ่งแวดล้อมถึงขั้นวิกฤตรัฐมณตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถเข้า คุ้มครองพื้นที่ได้ และประชาชนสามารถมีส่วนร่วมได้โดยมีสิทธิจดทะเบียนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมด้วย หลักการของการอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบไทย ในประเทศไทยมีการตรากฎหมายมากมายที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถาน ในแต่ละฉบับได้มีการ ระบุไว้ชัดเจนว่าให้มีหลักการ วิธีการในการอนุรักษ์โบราณสถานอย่างไรแต่ในบางฉบับก็ยังมีความ คลุมเคลือและไม่ชัดเจนของระเบียบอยู่
พรบ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 18
แก้ไขเพิ่มเติมปี พ.ศ.2535 มีทั้งหมด 5 หมวด 39 มาตรา โดยจะกล่าวถึงมาตราที่สำคัญๆดังต่อไปนี้ มาตราที่ 1-6 เป็นการพูดถึงตัวพระราชบัญญัติและการยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับเก่า การให้คำจำกัด ความของโบราณสถาน โบราณวัตถุ และอื่น ๆ และผู้ที่จะนำพระราชบัญญัตินไี้ ปใช้ หมวด 1 โบราณสถาน มาตราที่ 7 ให้อธิบดีมีอำนาจในการขึ้นทะเบียนโบราณสถานและกำหนดเขตโบราณสถาน หาก โบราณสถานนั้นมีผู้ครอบครองให้ทำหนังสือแจ้งให้ผู้ครอบครองทราบ หากผู้ครอบครองไม่ยินยอมให้ ร้องต่อศาลภายใน 30 วัน มาตราที่ 7 ทวิ ห้ามก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่โบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนเว้นแต่จะได้รับการ อนุญาตจากอธิบดี หากไม่ได้รับอนุญาต อธิบดีมีสิทธิระงับการก่อสร้างและรื้อถอน มาตราที่ 10 ห้ามมิให้มีผู้ใดซ่อมแซม แก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอน ต่อเติม ทำลาย เคลื่อนย้าย โบราณสถานหรือส่วนต่าง ๆ ของโบราณสถานหรือขุดค้นสิ่งใดภายในบริเวณอาคารโบราณสถานเว้น แต่กระทำตามคำสั่งอธิบดีหรือได้รับการอนุญาตแล้ว หมวด 2 โบราณวัตถุและศิลปวัตถุ มาตราที่ 15 โบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วนั้น ห้ามมิให้ผู้ใดซ่อมแซม แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลง เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตจากอธิบดี หมวดที่ 5 บทกำหนดโทษ มาตราที่ 31-39 เป็นการกล่าวเกี่ยวกับโทษที่จะได้รับหากไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดข้างต้น เช่น มาตรา ที่ 32 กล่าวว่า หากผู้ใดบุกรุกทำลายโบราณสถาน หรือทำให้เสียหาย เสื่อมค่าต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกิน 7 ปีหรือปรับไม่เกิน 7 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งในกรณีนี้ได้เกิดกับพระพรหมกวีฯ อดีตเจ้า อาวาสวัดกัลยาณมิตร ที่ได้ทำการทุบทำลายโบราณสถานรื้อถอนศาลารายและกุฎีในคณะ 1
ภาพที่ 8 ศาลารายวัดกัลยาณมิตร ที่ถูกทุบทำลาย
19
กฎกระทรวงฉบับที่ 1 และ 2 พ.ศ. 2539 เป็นกฎกระทรวงที่มีการกล่าวถึงการปฏิบัติตนของผู้ที่เข้าชมโบราณสถานว่าต้องไม่ เคลื่อนย้ายสิ่งต่าง ๆ ในโบราณสถาน ไม่ขีดเขียน ไม่นำอาวุธ หรือวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิงหรือสารเคมี อันตรายเข้าไปในโบราณสถาน และห้ามปีนป่ายหรือกระทำการใด ๆ ที่จะทำให้โบราณสถานเสียหาย หรือเสื่อมเสียต่อศีลธรรมหรือลบหลู่ศาสนาและวัฒนธรรม หรือก่อความรำคาญให้ผู้อื่น และในฉบับที่ สองได้มีการเพิ่มเติมจากฉบับแรกเช่นการห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในโบราณสถาน การไม่ถ่ายรูปภาพใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเว้นแต่จะได้รับการอนุญาตจากหัวหน้าพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเท่านั้น 1
ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 189 เป็นประกาศที่เกิดจากประชาชนได้นิยมเข้าไปขุดค้นโบราณวัตถุและศิลปวัตถุตในบริเวณ จังหวัดอุดรธานี สกลนคร และลุกลามไปยังจังหวัดอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นเหตุในการทำลายหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ โดยมีเนื้อหาใจความสำคัญดังนี้ ข้อ 1 ห้ามมิให้ผู้ใดขุดค้นโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร ข้อ 2 ห้ามจำหน่าย โอน หรือเคลื่อนย้ายโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุออกไปจากสถานที่นั้น ๆ ข้อ 3 สำหรับผู้ที่มีโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุอยู่ในการครอบครองให้แจ้งแก่อธิบดีกรมศิลปากรแล้วจะ ได้รับการยกเว้นโทษตามข้อ 1-2 1
ระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถาน พ.ศ. 2528 เนื่องด้วยกรมศิลปากรเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุม ดูแล รักษา โบราณสถานอันเป็นสมบัติ และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาติ ดังนั้นเพื่อให้การอนุรักษ์โบราณสถานเป็นไปได้ด้วยความถูก ต้องทั้งด้านศิลปะ ประวัติศาสตร์ และโบราณคดี รวมทั้งให้มีความสัมพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจ สังคม และประเพณีและวัฒนธรรม ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมศิลปากรว่าด้วยการอนุรักษ์โบราณสถาน พ.ศ.2528 ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้การอนุรักษ์ หมายความว่าการดูแล รักษา เพื่อให้คงคุณค่าไว้และหมายถึงการ ป้องกัน การรักษา การสงวน การปฏิสังขรณ์ และการบูรณะด้วย การสงวนรักษา คือการรักษาไว้ให้อยู่ในสภาพเดิม ป้องกันไม่ให้เสียหาย การปฏิสังขรณ์ คือการทำให้กลับคืนสู่สภาพที่เคยเป็นมา 20
การบูรณะ คือการซ่อมให้มีรูปทรงลักษณะกลมกลืนเหมือนเดิม แต่แสดงความแตกต่าง ระหว่างของเดิมกับของใหม่ที่ทำเพิ่ม ข้อ 4 ก่อนที่จะดำเนินการอนุรักษ์โบราณสถานใด ๆ ต้องให้มีการสำรวจศึกษาสภาพเดิม การใช้วัสดุ และสภาพความเสียหาย ต้องมีการบันทึกอย่างละเอียดก่อนการบูรณะว่ามีคุณค่าด้านใดบ้าง มีการ แก้ไขมาแล้วหรือไม่และหากส่วนที่แก้ไขทำให้คุณค่าเดิมเสียไปควรพิจารณารื้อสิ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมออก และบูรณะให้เหมือนเดิม ข้อ 5 การอนุรักษ์ต้องคำนึงถึงภูมิทัศน์โดยรอบด้วย ข้อ 6 โบราณสถานที่บูรณะมาก่อนแล้วต้องพิจารณาให้ละเอียดว่าบูรณะมาแล้วกี่ครั้ง ผิดถูกอย่างไร การอนุรักษ์ใหม่นี้ไม่จำเป็นต้องใช้แบบใดแบบหนึ่งแต่พิจารณาให้แบบที่เหมาะสมที่สุดเป็นหลัก ข้อ 7 โบราณสถานที่มีคุณค่าความสำคัญเยี่ยมยอดควรทำแต่เพียงเพิ่มความมั่นคงแข็งแรง หรือสงวน รักษาไว้เท่านั้น ข้อ 8 การนำวิธีการและเทคนิคใหม่มาใช้งาน เพื่อความมั่นคงแข็งแรงต้องมีการศึกษาทดลองก่อนจึง นำมาใช้ได้ และต้องไม่ทำให้โบราณสถานเสื่อมคุณค่าไป ข้อ 9 การต่อเติมเพื่อความมั่นคงแข็งแรง ควรทำเท่าที่จำเป็นให้เรียบง่ายและกลมกลืนกับของเดิม ข้อ 10 การทำชิ้นส่วนใหม่ที่ขาดหายไปให้แสดงชัดเจนว่าเป็นส่วนที่ทำขึ้นใหม่ ข้อ 11 การอนุรักษ์จิตรกรรม ประติมากรรม ให้ใช้วิธีสงวนรักษาเท่านั้นเพื่อให้คุณค่าของเดิมปรากฏ ชัดเจนมากที่สุด ข้อ 12 การอนุรักษ์ซากโบราณสถานให้ทำโดยการรวมชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบขึ้นไว้ให้เหมือนเดิม สำหรับชิ้นส่วนที่ขาดหายไปอาจทำขึ้นใหม่ได้ ข้อ 13 การอนุรักษ์ซากโบราณสถานซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ทำได้โดยรักษาสภาพ เดิมหลังขุดแต่งและป้องกันไม่ให้เสียหายต่อไป ข้อ 14 โบราณสถานที่เป็นปูชนียสถานอันเป็นที่เคารพบูชา ต้องไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง ลักษณะ สีและทรวดทรง ที่จะทำให้โบราณสถานเสียคุณค่าไป ข้อ 15 สามารถทำการย้ายชิ้นส่วนโบราณสถาน ประติมากรรม จิตรกรรม ศิลปกรรมต่าง ๆ ได้หาก เป็นวิธีเดียวที่จะรักษาชิ้นงาน ข้อ 16 โบราณสถานที่ยังมีประโยชน์ใช้สอยจะกระทำการอนุรักษ์โดยต่อเติมได้เพื่อความเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้องเหมือนของเดิมแต่ต้องมีความกลมกลืนและไม่ทำให้เสียคุณค่า ข้อ 17 โบราณสถานต่าง ๆ ไม่ว่าจะขึ้นทะเบียนแล้วหรือไม่ขึ้นทะเบียน ต้องมีการบำรุงรักษาอยู่เสมอ 21
ข้อ 18 โบราณสถานที่มีสภาพทรุดโทรมต้องเสริมความแข็งแรงไว้ก่อนที่จะดำเนินการอนุรักษ์ ข้อ 19 ในบางกรณีให้มีการติดต่อขอความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นทั้งรัฐและเอกชนเพื่อประโยชน์ต่อ การอนุรักษ์สมบัติชาติ ข้อ 20 งานทุกงานต้องมีการทำรายงานในรูปแบบของการวิเคราะห์และวิจัย โดยมีทั้งภาพลายเส้น และภาพถ่าย และสิ่งที่ปฏิบัติทุกขั้นตอนโดยละเอียด ความแตกต่างของระเบียบกรมศิลปากรกับ Venice Charter (1964) ระเบียบกรมศิลปากร Venice Charter วิเคราะห์ ข้อ 4 ก่อนที่จะดำเนินการ ข้อ 1 โบราณสถานไม่ใช้ จะเห็นว่าทั้งสองข้อของระเบียบ อนุรักษ์โบราณสถานใด ๆ เพียงงานที่ดูโดดเด่น กรมศิลปากรนั้นขัดกับทั้งสองข้อ ต้องให้มีการสำรวจศึกษา เท่านั้นแต่รวมถึงงานที่ได้ ของ Venice Charter เนื่องจาก สภาพเดิม การใช้วัสดุ และ ผ่านมาแต่ละยุคสมัยที่มี ของไทยนั้นสามารถพิจารณารื้อสิ่ง สภาพความเสียหาย บันทึก ความเฉพาะของ ที่แก้ไขในยุคต่าง ๆ ได้ ซึ่งไม่ได้ ละเอียดก่อนการบูรณะว่ามี วัฒนธรรมอยู่ด้วย ระบุชัดเจนว่าผู้ใดจะเป็นผู้ คุณค่าด้านใดบ้าง มีการแก้ไข พิจารณาว่าสิ่งใหม่ที่แก้ไขนั้นมี มาแล้วหรือไม่และ หากส่วนที่ คุณค่าหรือไม่ แต่ของ Venice แก้ไขทำให้คุณค่าเดิมเสียไป Charter จะพบว่าให้ความสำคัญ ควรพิจารณารื้อสิ่งที่แก้ไข กับทุกยุคสมัยของโบราณสถาน เพิ่มเติมออกและบูรณะให้ จะอนุญาตเฉพาะบางกรณีที่มี เหมือนเดิม ประวัติศาสตร์ยิ่งใหญ่เท่านั้น ข้อ 6 โบราณสถานที่ถูก บูรณะมาก่อนแล้วต้อง พิจารณาให้ละเอียดว่าบูรณะ มาแล้วกี่ครั้ง ผิดถูกอย่างไร การอนุรักษ์ใหม่นี้ไม่ จำเป็นต้องใช้แบบใดแบบ หนึ่งแต่พิจารณาให้แบบที่ เหมาะสมที่สุดเป็นหลัก
ข้อ 11 เคารพทุกยุคสมัย ของโบราณสถาน การเผย วัสดุด้านล่างทำเฉพาะบาง กรณีที่มีประวัติศาสตร์ ยิ่งใหญ่ มีคุณค่าทาง โบราณคดี หรือเหตุผล อื่น ๆ มากพอที่จะทำ
22
ข้อ 9 การต่อเติมเพื่อความ มั่นคงแข็งแรง ควรทำเท่าที่ จำเป็นให้เรียบง่ายและ กลมกลืนกับของเดิม ข้อ 10 การทำชิ้นส่วนใหม่ที่ ขาดหายไปให้แสดงชัดเจนว่า เป็นส่วนที่ทำขึ้นใหม่
ข้อ 9 การบูรณะจะต้อง เคารพวัสดุเดิม มี หลักฐานอ้างอิง และหยุด เมื่อมีการตั้งข้อสงสัยขึ้น กรณีที่ต้องเพิ่มเติม สิ่งที่ เสริมเข้าไปจะต้องทำให้ดู แตกต่าง
ในระเบียบกรมศิลปากรนั้นไม่ได้มี ระบุไว้ว่าจะต้องเคารพวัสดุเดิม มี หลักฐานอ้างอิง และหยุดเมือ่ มี การตั้งข้อสงสัยขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจ สำคัญของการบูรณะโบราณสถาน
ข้อ 12 การอนุรักษ์ซาก โบราณสถานให้ทำโดยการ รวมชิ้นส่วนต่าง ๆ ประกอบ ขึ้นไว้ให้เหมือนเดิม สำหรับ ชิ้นส่วนที่ขาดหายไปอาจทำ ขึ้นใหม่ได้
ข้อ 15 การสร้างขึ้นใหม่ให้ ใช้หลักการ Anastylosis สามารถทำการเรียงตัว ใหม่ของวัสดุเดิมที่ แบ่งเป็นส่วนๆ วัสดุ ประสานจะต้องใช้ให้น้อย ที่สุดและดูแตกต่าง
การบูรณะแบบ Anastylosis นั้น จะต้องให้วัสดุประสานน้อยที่สุดซึ่ง หมายความว่าวัสดุที่แตกหัก เสียหายมากจะถูกใช้น้อย ใช้แต่ วัสดุที่ยังสมบูรณ์อยู่ แต่ของไทย อนุญาตให้ทำชิ้นส่วนขึ้นใหม่ได้ ทำ ให้ไม่มีการรักษาความเป็นของแท้ แต่ต้องการทำให้สมบูรณ์มากกว่า
ข้อ 16 โบราณสถานที่ยังมี ประโยชน์ใช้สอยจะกระทำ การอนุรักษ์โดยต่อเติมได้เพื่อ ความเหมาะสม โดยไม่ จำเป็นต้องเหมือนของเดิม แต่ต้องมีความกลมกลืนและ ไม่ทำให้เสียคุณค่า
ข้อ 5 การนำโบราณสถาน มาใช้ประโยชน์ต้องไม่ เปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ หรือการประดับตกแต่ง ภายนอก ให้ทำได้เฉพาะ การใช้งานภายในเท่านั้น
ระเบียบของกรมศิลปากรอนุญาต ให้มีการต่อเติมได้ โดยไม่ต้อง เหมือนของเดิมแต่ต้องกลมกลืนใน ขณะที่ Venice Charter ให้ เฉพาะภายในเท่านั้น หรือหาก อ้างอิงข้อ 13 ของ Charter จะ เห็นได้ว่าห้ามไม่ให้มีการเติมแต่ง เว้นแต่จะไม่ดึงดูดสายตาไปจาก วัฒนธรรมดั้งเดิม
ตาราง 1 เปรียบเทียบ ระเบียบบกรมศิลปากรกับ Venice Charter
23
ประกาศคณะสงฆ์ เรื่องระเบียบควบคุมโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุภายในวัด เนื่องจากโบราณสถานส่วนมากในประเทศไทยเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา ส่วนมากจะอยู่ในรูปแบบของวัดวาอารามต่าง ๆ ดังนั้นพระสงฆ์ที่ประจำอยู่ที่วัดจึงมีบทบาทสำคัญใน การอนุรักษ์โบราณสถาน จึงจำเป็นต้องมีการออกประกาศคณะสงฆ์ฉบับนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันการถูก ทำลายของโบราณสถาน โดยมีเนื้อหาใจความหลักๆดังนี้ 1. ถ้าวัดใดจะเจาะ ขุดรื้อ ปูชนียสถาน และการซ่อมแซมต่าง ๆ ให้มีรายงานขออนุญาตต่อ คณะกรรมการสงฆ์อำเภอและจังหวัดโดยลำดับ 2. ให้ส่งรูปถ่ายเก่าที่จะเจาะ หรือเปลี่ยนแปลงสภาพ พร้อมทั้งประวัติโดยย่อและผังแบบแปลน ที่จะก่อสร้างเปลี่ยนแปลงแนบมาด้วย 3. การจะขุดเจาะ รื้อ หรือเปลี่ยนแปลงโบราณวัตถุต้องได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น 4. ให้คณะกรรมการสงฆ์จังหวัดกับผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกันพิจารณาแล้วแจ้งกรมศาสนาต่อ มากรมศาสนาจะส่งเรื่องเข้าแจ้งกรมศิลปากรร่วมกันพิจารณา แล้วเสนอองค์กรสาธารณูปการเพื่อ พิจารณาสั่งการหรือเสนอคณะสังฆมนตรีพิจารณาอนุมัติ 1
1
วิธีการของการอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบไทย ในประเทศไทยถึงแม้ว่าจะมีหลักการการอนุรักษ์โบราณสถานที่แน่นอนเป็นลายลักษณ์อักษร แล้วแต่การปฏิบัติงานจริงนั้นยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าใช้วิธีใด เพราะในการอนุรักษ์แต่ละที่ก็มี การใช้มาตรฐานที่แตกต่างกัน บ้างก็ใช้การปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์ บ้างก็ใช้การซ่อมแซมปรับปรุง หรือ บางแห่งก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย เช่นพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนที่ทำกันอยู่ใน ปัจจุบันที่สำคัญมักเริ่มต้นด้วยการขึ้นทะเบียนโบราณสถานเป็นอย่างแรก การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน การขึ้นทะเบียนโบราณสถานมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดทำบัญชีโบราณสถาน เพื่อการคุ้มครอง ป้องกันโบราณสถาน และเพื่อการค้นคว้าวิจัยในอนาคต โดยโบราณสถานที่จะได้รับการขึ้นทะเบียน โบราณสถานจะต้องมีคุณค่าด้านใดด้านหนึ่งในแง่ของความเป็นมรดกวัฒนธรรมได้แก่ 1. คุณค่าทางวัฒนธรรม จำแนกออกเป็น คุณค่าทางข้อมูลเอกสาร คุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี คุณค่าทางทัศนียภาพและคุณค่าทางภูมิสถาปัตยกรรมและนิเวศวิทยา 2. คุณค่าทางการใช้สอย จำแนกออกเป็นคุณค่าทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการศึกษา 24
3. คุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ ได้แก่ความวิจิตรบรรจง ความเป็นเอกลักษณ์ การขึ้นทะเบียนโบราณสถานมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรองว่าสถานที่นั้นมีความสำคัญเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของคนในชาติ และเพื่อคุ้มครองป้องกันทางกฎหมายไม่ให้โบราณสถานนั้นถูกทำลาย และเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานนั้นให้เกิดประโยชน์ทางด้านต่าง ๆ โดยการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน มี 9 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ - รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ประวัติ รูปแบบ - ทำหนังสือขออนุญาตเข้าไปสำรวจกับผู้ถือครองโบราณสถาน - สำรวจภาคสนาม เก็บข้อมูลจากพื้นที่จริง - การประเมินคุณค่าเบื้องต้นเพื่อจัดลำดับความสำคัญของโบราณสถาน - การทำรายงาน บัญชีโบราณสถานเบื้องต้นที่ได้รับการประเมินคุณค่าว่าเหมาะสมจะขึ้นทะเบียน - การแจ้งเจ้าของหรือผู้ถือครองในการประกาศขึ้นทะเบียน - ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน - ประกาศพระราชกิจจานุเบกษา ถือเป็นการขึ้นทะเบียนที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย - ติดตามและประเมินผล ตรวจสอบอาคารเป็นระยะ และการขึ้นทะเบียนโบราณสถานจะถูกเพิกถอนเมื่อโบราณสถานได้เสื่อมสภาพจนสูญเสียคุณลักษณะ ของแหล่งโบราณคดี หรือถูกคุกคามจนไม่เหลือคุณค่าความเป็นของแท้ให้ปรากฏ 1
ขั้นตอนการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย 1. การศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เพื่อศึกษาเรื่องราวและข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับโบราณสถาน เช่น ความเป็นมา หลักฐานทางโบราณคดี สถาปัตยกรรม จารึกหรือหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร หรือ ภาพของโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นภาพวาด ลายเส้น หรือภาพถ่ายโบราณรวมถึงการเข้าไปสำรวจ ความผูกพันของคนในท้องถิ่นกับโบราณสถานนั้น 2. การอนุรักษ์ขั้นพืน้ ฐาน ทำเพื่อหยุดหรือบรรเทาเหตุแห่งความเสื่อมโทรมของโบราณสถาน โดยไม่ทำให้โบราณสถานมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่นการทำความสะอาด ไม่ปล่อยให้วัชพืช หรือขยะสร้างความเสียหายกับโบราณสถาน แต่ต้องระวังการใช้สารเคมีในการทำความสะอาด โบราณสถาน ควรมีการการปกป้องคุ้มครองโบราณสถานจากการทำลายจากเงื้อมือมนุษย์ไม่ว่าจาก การโจรกรรม นักท่องเที่ยว และสัตว์ต่าง ๆ
25
3. การเสริมความมั่นคง ในกรณีที่โบราณสถานเกิดความชำรุดและอยู่ในสภาพที่ไม่มั่นคง โดย ของไทยในยุคแรกจะมีการใช้คอนกรีตเสริมเข้าไปในผนังหรือส่วนโครงสร้าง ต่อมาพบว่าโบราณสถาน ยังคงผุพังเหลือแต่คอนกรีตใหม่ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการไปแล้วแต่ความเหมาะสมของสถานที่ อย่างไรก็ตามต้องไม่ทำให้เสียลักษณะทางกายภาพ 4. การใช้ประโยชน์จากโบราณสถาน ถือเป็นประโยชน์กับโบราณสถานเพราะจะเป็นการอนุรักษ์ ในระยะยาว แต่จะต้องไม่เปลี่ยนแปลงรูปแบบของโบราณสถาน 5. การอนุรักษ์ขั้นสูง ซึง่ กรมศิลปากรมีการใช้วิธีต่าง ๆ ในแต่ละที่ไม่เหมือนกัน ไม่ได้มีวิธีการที่ ชัดเจน โดยวิธีที่กรมศิลปากรใช้มีดังต่อไปนี้ - การป้องกันการเสื่อมสภาพ เป็นการดูแลโบราณสถานเบื้องต้นไม่ให้ผุพังกว่าเดิม - การสงวนรักษา ชะลอการเสื่อมสภาพ อาจจะมีการใช้กระบวนทางวิทยาศาสตร์เข้าช่วย - การเสริมความมั่นคงแข็งแรง คือการเสริมความมั่นคงทางกายภาพ - การจำลองแบบ คือการทำเลียนแบบขึ้นมาใหม่ในกรณีที่ของเก่าควรเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ - การบูรณะ คือการซ่อมแซมโบราณสถานโดยคำนึงถึงวัสดุเดิมของอาคาร ยึดรูปแบบเดิม ต้องมี การใช้หลักฐานประกอบการอนุรักษ์ - การปฏิสังขรณ์-การประกอบคืนสภาพ – นิยมทำมากในประเทศไทย เนื่องจากคนไทยยังคงมี ความเชื่อเดิมที่ว่าโบราณสถานคือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต้องทำให้ดูยิ่งใหญ่และสวยงาม ถึงแม้ในยุคนี้จะไม่ได้มี การปฏิสังขรณ์ให้ใหญ่ขึ้นเหมือนในยุคก่อน ๆ แต่ก็ยังมีการทำให้ดูใหม่อยู่เสมอ มากกว่าจะรักษาสภาพ เดิมกับที่เข้าไปบูรณะ เช่นการบูรณะปราสาทหินพนมรุง้ ก็มีการทาให้ดสู มบูรณ์รวมทัง้ มีความ มหัศจรรย์ต่าง ๆ ตามมาอย่างที่ไม่เคยมีปรากฏในจารึกใด ๆ 1
ภาพที่ 9 (ซ้าย) ปราสาทหินพนมรุ้งก่อนการบูรณะที่มีสภาพเป็นกองหินไม่เห็นเค้าโครง ภาพที่ 10 (ขวา) ปราสาทหินพนมรุ้งหลังการบูรณะมีสภาพสมบบูรณ์ขึ้นมา
26
- การประยุกต์การใช้สอย คือการนำโบราณสถานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใช้สอย โดยสรุปวิธีการในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยถึงแม้จะมีการเขียนหลักการที่ชัดเจน แล้วแต่การปฏิบัติจริง ๆ ก็ยังไม่มีความแน่นอน แต่โดยส่วนมากก็ยังยึดติดกับวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มอง โบราณสถานเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวข้องกับความเชื่อในบุญกรรมและชาติภพที่น่าเคารพมากกว่าจะมอง โบราณสถานในแง่คุณค่าทางประวัติศาสตร์ จึงทำให้ถึงแม้วิธีการจะทันสมัยเป็นสากล แต่เมื่อทำมา ผสมกับวัฒนธรรมดั้งเดิมแล้วก็ยังไม่สามารถปฏิบัติให้ตรงตามหลักการที่เขียนไว้ได้จึงทำให้เกิดปัญหา ในการอนุรักษ์โบราณสถานมากมายหลายประเด็น ดังที่จะวิเคราะห์ต่อไป
27
ปัญหาการอนุรักษ์โบราณสถานของไทย การอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศไทยในปัจจุบันถึงแม้จะผ่านมานานแล้ว แต่งานในยุคสมัย หลังกลับมีปัญหามากกว่าเดิม ทั้งนี้เกิดจากปัญหาหลาย ๆ ปัจจัยด้วยกัน เช่น ปัญหาจากแนวคิดของ คนไทย ปัญหาจากการจัดรูปองค์กร ปัญหาจากงบประมาณ หรือปัญหาจากฝีมือช่าง เป็นต้น ปัญหาด้านวัฒนธรรม แนวคิดของคนไทย ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณมีความเชื่อเรื่องบุญกุศลและเรื่องชาติภพเป็นอย่างมาก โดย หลักฐานต่าง ๆ บ่งชี้ว่าประเทศในในสมัยก่อนนั้นมีการทำนุบำรุงรักษาวัดพร้อมทั้งสืบสานพระพุทธ ศาสนาให้คงอยู่นานเท่านานโดยการสร้าง ซ่อมแซม เปลี่ยนแปลง ปฏิสังขรณ์ให้สมกับความศรัทธา โดยในยุคแรกจะมีการใช้คัมภีร์ทางศาสนาเป็นตัวกำหนดแนวคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานด้วย ทั้งนี้ เป็นเพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้ได้กุศลมากและจะได้ไปสู่ภพภูมิที่ดี แต่การอนุรักษ์ให้คงสภาพเดิมนั้น ไม่ได้มีอยู่ในความคิดของคนไทยสมัยก่อนเลย อิทธิพลของศาสนาพุทธและพราหมณ์ได้เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณกาลส่งผลให้ รูปแบบทางสถาปัตยกรรมนั้นก็ติดมาด้วย รวมถึงการเผยแพร่ทำนุบำรุงศาสนาก็เป็นพระราชกรณียกิจ สำคัญของพระมหากษัตริย์ที่จะต้องปฏิบัติโดยการสร้างปูชนียสถานเหล่านี้ถือเป็นการแสดงออกถึง การเผยแพร่ศาสนาและความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ด้วย ทำให้ความเชื่อทางศาสนาและการสร้าง ปูชนียสถานต่าง ๆ ถูกหลอมรวมกันเกิดวัฒนธรรมไทยขึ้นมาในรูปแบบหนึ่งที่ยึดติดกับความยิ่งใหญ่ ของปูชนียสถาน ที่ทำให้หลังจากยุคที่ปูชนียสถานได้เริ่มกลายเป็นโบราณสถานนั้นต่างก็ให้การบูรณะ แบบปฏิสังขรณ์โดยทำให้ใหญ่ขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความศรัทธาหรือความยิ่งใหญ่ของอาณาจักร ดังที่ ปรากฏในจารึกสมิงสิริมโนชาด้านที่ 2 ที่ว่า “ชื่อว่า “สิริมโนราชา” มี ภรรยาชื่อว่า “ตะละสุวรรณวดี” ทั้งสองเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยมีศรัทธาในศีลสมาธิปัญญามีความปรารถนาแด่พระนิพพานจึง ฐาปนาพระฆรเจดีย์ (เจติยฆร) อันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุองค์นี้ด้วยกุศลอันท่านทั้งสอง ได้ฐาปนาพระฆรเจดีย์นี้นั้นขอให้ท่านทั้งสองได้สําเร็จโพธิสมภารอันสมบูรณ์เต็มที่เถิด และขอจิตอัน เลื่อมใสซื่อตรงในพระรัตนตรัยทั้งสามจงบังเกิดแก่ท่านทุกภพทุกชาติ และขอให้เป็นผู้แตกฉานใน พระไตรปิฎกด้วยอนึ่งการกุศลอันท่านได้ฐาปนาพระฆรเจดีย์ขึ้นในครั้งนี้โดยอาศัยพระบารมีปกเกล้าฯ แห่งพระ มหากษัตริย์ขอให้พระองค์ทรงได้อนุโมทนาในส่วนกุศลนี้ด้วยเทอญ” 1
1
1
28
ภาพที่ 11 จารึกสมิงสิริมโนชาด้านที่ 2 ที่เขียนเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องบุญกุศลของคนไทย จากสมัยโบราณมาถึงสมัยนี้ คนไทยยังคงมีความคิดเช่นนี้อยู่มาก คือการมองว่าโบราณสถาน นั้นควรที่จะถูกดูแลให้ใหม่ สมบูรณ์และยิ่งใหญ่อยู่เสมอ ทำให้มีการปฏิสังขรณ์อยู่หลายครั้งโดยที่ไม่ได้ สนใจคุณค่าทางประวัติศาสตร์ แต่สนใจที่ความสวยงามโอ่อ่ามากกว่า ในประเทศไทย โบราณสถานถูก มองและตีคุณค่าออกไปแตกต่างกันตามแต่ละยุคสมัย ดังนี้ ยุคโบราณ-รัตนโกสินทร์ตอนต้น – มองว่าการสร้างหรือการบูรณะโบราณสถานเป็นการสร้างกุศล ยุครัชกาลที่ 4 – มองว่าโบราณสถานเป็นวัตถุทางประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องประดับพระนคร ยุครัชกาลที่ 5 – มองว่าโบราณสถานเป็นสัญลักษณ์แทนความศิวิไลซ์ ยุครัชกาลที่ 6 – นำเอาโบราณสถานมารวมกับแนวคิดชาตินิยมเพื่อเห็นว่าชาติไทยไม่ใช่ชาติใหม่ ยุคประชาธิปไตย – รัฐนิยม เริ่มมองโบราณสถานเป็นสถานที่ท่องเที่ยว แต่การศึกษาโบราณสถานละเอียดและเผยแพร่เพื่อให้คนไทยรู้ถึงความสำคัญของโบราณสถานแต่ละ แห่งนั้นไม่ได้มีมากนัก ต่างจากของตะวันตกที่มีการพูดถึงความสำคัญของโบราณสถานที่สำคัญที่ต่าง ๆ ของประเทศ และลงลึกเกี่ยวกับโบราณสถานของชุมชนด้วยเพื่อให้คนในชุมชนร่วมมือกันดูแลรักษา โบราณสถานเพราะเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานขั้นแรกที่สามารถทำได้ การทำโบราณสถานให้ดูน่าสนใจน่าค้นหา น่าศึกษา เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ประเทศไทยไม่ค่อย นิยมทำ ดังที่จะสังเกตได้ว่านวนิยายหรือวรรณกรรมเยาวชนต่างชาติจะมีการนำรายละเอียดเกี่ยวกับ โบราณสถานมาบรรยายประกอบทำให้ผู้คนเกิดความสนใจและรู้ถึงความสำคัญและคุณค่าของ โบราณสถาน เช่น นวนิยาย The Da Vinci Code หรือการใช้โบราณสถานเข้ามาอยู่ในฉากหนังหรือ การ์ตนู ของตะวันตกก็ทำให้ผู้คนสนใจและเข้าถึงได้มากขึ้น เช่นการใช้ปราสาท Neuschwanstein เป็นต้นแบบของปราสาทดิสนีย์การแสดงละครเวทีก็นิยมใช้ฉากที่เป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ต่างจากของไทยที่มักเน้นไปที่เนื้อเรื่องมากกว่าสถานที่ และการดูละครเวทีก็ไม่ได้เป็นที่นิยมนักทำให้ เรื่องของโบราณสถานเป็นเรื่องที่เข้าถึงยาก เฉพาะคนที่มีความสนใจหรือศึกษาค้นคว้าเท่านั้นถึงจะรู้ ถึงรายละเอียดของสถานที่นั้น ๆ
29
ภาพที่ 12 ปราสาท Neuschwanstein โบราณสถานที่เป็นต้นแบบของปราสาทดิสนีย์ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่าคนไทยยังให้ความสำคัญกับโบราณสถานประเภทศาสนสถานมากกว่า โบราณสถานประเภทบ้านเรือนหรือชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าคนไทยยังไม่ได้มองโบราณสถาน ในทางคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม แต่มองในแง่ของคุณค่าทางศาสนามากกว่า ตัวอย่างกรณีที่ เกิดขึ้นเช่นการรื้ออาคารสถานทูตอังกฤษ ก่อสร้างในปี 1926 และมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากคือในปี 1974 มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเท่านั้น อาคารหลังนี้ยังเป็นอาคารรองรับราชวงศ์อังกฤษหลาย พระองค์ที่เสด็จฯมาเยี่ยม เช่น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ อีกทั้งอาคารนี้ยังได้รางวัลการอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยามฯ อีกด้วย จึงเห็นได้ชัดว่าอาคาร นี้ถือว่ามีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมอย่างมากและจัดว่าเป็นโบราณสถานตาม นิยามของ พรบ.โบราณสถานมาตราที่ 4 น่าเสียดายที่คนไทยส่วนหนึ่งไม่ได้สนใจคุณค่าของอาคารหลัง นี้เลยแต่กลับเห็นด้วยกับการรื้อถอนอาคาร เพราะเห็นความสำคัญของมูลค่าที่ดินมากกว่า 1
ภาพที่ 13 สถานทูตอังกฤษในประเทศไทย ที่ถูกรื้อทำลาย
30
การแสดงความคิดเห็นบนโลกอินเตอร์เน็ตในโพสต์ของ ICOMOS Thailand Association ที่ กล่าวว่าการทุบทำลายสถานทูตนั้นผิด พรบ.โบราณสถาน จะเห็นได้ชัดเจนว่าคนไทยยังไม่เข้าใจ ความสำคัญของโบราณสถาน และเข้าใจว่าการอนุรักษ์โบราณสถานนั้นกรมศิลปากรต้องเป็นเจ้าของ ที่ดิน เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจและน่าเสียใจที่ความคิดเห็นนั้นส่วนมากเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือเห็น ด้วยกับการทุบทำลายโบราณสถานนี้
ภาพที่ 14 ความเห็นของคนไทยปัจจุบัน ที่เห็นแก่มูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าคุณค่าของโบราณสถาน (ข้อมูลจาก Facebook : ICOMOS Thailand Association วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2562 เวลา 16.15 น. ค้นหาเมื่อ 09 กันยายน พ.ศ.2562 เวลา 19.30 น.)
31
ประเทศไทยยังมีวัฒนธรรมอีกอย่างหนึง่ ที่ส่งผลกระทบต่อโบราณสถานอย่างมากคือการมอง ว่าการบวชนั้น เป็นการทำบุญกุศลสูงสุดทำให้การบวชเป็นพระสงฆ์ของไทยนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายไม่ต้องมี กฎเกณฑ์หรือความรู้อะไรมาก ทำให้ผู้ที่จะเข้ามาเป็นพระสงฆ์และจำพรรษาอยู่ในวัดบางรูป ไม่ได้มี การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนสถานที่ตนเองมาจำพรรษา ทำให้ไม่รู้คุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีหรือศิลปกรรม เพียงแต่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นจึงได้ทำการเปลี่ยนแปลง รื้อถอน หรือทำการบางอย่างที่ทำให้โบราณสถานนั้นเสียคุณค่าไป สรุปปัญหาด้านวัฒนธรรมของไทยคือการยึดความเชื่อที่ว่าศาสนสถานควรทำให้ยิ่งใหญ่สม กับความศรัทธาซึ่งเป็นการปลูกฝังให้คนไทยมองเห็นคุณค่าทางด้านศาสนามากกว่าด้านอื่น ๆ และ ปัญหาจากการศึกษาของไทยที่ไม่ได้ปลูกฝังให้คนไทยมีความเข้าใจในโบราณสถานที่สำคัญและที่อยู่ใน ชุมชน แต่การจะศึกษาโบราณสถานได้นั้นต้องอาศัยการค้นคว้าหาข้อมูลที่ไม่ได้เข้าถึงได้ง่ายต่างจาก ต่างประเทศที่มีพยายามทำการเผยแพร่และชักชวนให้คนเห็นความสำคัญของโบราณสถาน 1
ปัญหาด้านการจัดรูปองค์กร รูปแบบของการบริหารองค์กรแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลักคือ 1. การบริหารแบบรวมศูนย์กลาง การบริหารแบบรวมศูนย์กลางนั้นภาครัฐจะมีอำนาจสูง มีองค์กรอนุรักษ์กลางที่มี การวางแผน กำหนดนโยบาย ควบคุมงานรวมถึงลงมือปฏิบัติจากส่วนกลางโดยที่ประชาชนและส่วน ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายน้อยมากหรือไม่มีส่วนร่วมเลย ส่วนมากหน่วยงานท้องถิ่นจะ ทำหน้าที่เพียงดูแลรักษาโบราณสถานในส่วนของตนเองและองค์กรอิสระของประชาชนนั้นไม่ได้เข้ามา มีบทบาทโดยตรงเกี่ยวกับการอนุรักษ์ 2. การบริหารแบบกระจายอำนาจ การกระจายอำนาจคือการร่วมมือกันของภาครัฐกับส่วนภูมิภาคหรือประชาชน องค์กรอนุรักษ์กลางคอยควบคุมดูแล ในส่วนภูมิภาคจะมีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานท้องถิ่นจะ เป็นผู้ดูแล เทศบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีหน้าที่ดูแลโบราณสถานที่มีคุณค่ารองการอนุรักษ์จะดำเนิน ไปตามมติมหาชน โดยจะมีองค์กรผู้ชำนาญการอิสระที่รัฐจะต้องได้รับคำปรึกษาตามกฎหมายและมี ฝ่ายตรวจสอบตามกฎหมาย รวมถึงมีมูลนิธิหรือองค์กรอิสระที่เกิดจากการรวมตัวของประชาชนมี บทบาทในการซื้อโบราณสถานที่เจ้าของไม่ดูแลมาเพื่ออนุรักษ์และเปิดให้เข้าชมได้ ในส่วนของศาสน สถานนั้นเป็นหน้าที่ของนักบวช-เถรสมาคม มีหน่วยงานให้คำปรึกษา รัฐจะเว้นการเข้าไปแทรกแซง 32
จะเห็นได้ว่ารูปแบบการบริหารองค์กรแบบกระจายอำนาจนั้นจะต้องมีส่วนร่วมจาก ทุกฝ่ายและไม่มีฝ่ายใดที่ทำหน้าที่ได้โดยพลการ แต่ต้องได้รับคำปรึกษาหรือได้รับมติจากประชาชน ก่อน ทำให้ไม่สามารถใช้อำนาจไปในทางที่ผิดได้ง่าย ๆ เหมือนการบริหารแบบรวมศูนย์กลางที่จะ ปฏิบัติงานด้วยตนเองโดยไม่ต้องถามความเห็นชอบจากใคร 1
ตัวอย่างการบริหารแบบกระจายอำนาจ -กรณีศึกษาประเทศอังกฤษ ในประเทศอังกฤษนั้นมีการใช้การบริหารแบบกระจายอำนาจโดยมีองค์ประกอบหลักคือ 1. องค์กรอนุรักษ์ส่วนกลาง คือ English Heritage ซึ่งแยกตัวอิสระจากรัฐ เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้น เพื่อเอกภาพของการบริหารงานอนุรักษ์โดยที่ภายในองค์กรประกอบไปด้วยฝ่ายบริหาร หน่วยปฏิบัติ งาน องค์กรให้คำปรึกษา โดยที่องค์กรที่อยู่ใน English Heritage เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้โครงสร้าง เดียวกันแต่ละองค์กรนั้นแยกขาดออกจากกัน หน้าที่หลักของ English Heritage นั้นแบ่งได้หลักๆคือ - ฝ่ายการอนุรักษ์ป้องกันรักษา – ทำหน้าที่พัฒนาความเข้าใจในการอนุรักษ์ที่ถูกต้องให้คำ แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ จัดทำสิ่งตีพิมพ์ เอกสารต่าง ๆ ที่ประชาชนเข้าถึงได้ และทำวิจัยต่าง ๆ ที่จะ ยกระดับการอนุรักษ์โบราณสถานในอังกฤษ - ฝ่ายทรัพยากร – รับผิดชอบทางการเงิน ตรวจสภาวะ ทำบัญชี พัฒนาทรัพยากรบุคคล - ฝ่ายวางแผนพัฒนา – เป็นฝ่ายแนะนำรัฐบาลและวางแผนระยะยาวให้กับสถานที่สำคัญทาง ประวัติศาสตร์ สร้างศักยภาพสูงสุดในการตอบสนองชุมชน จัดการเงินทุนและคอยจัดกิจกรรมเผยแพร่ ความรู้เรื่องโบราณสถานให้กับชุมชนรอบ ๆ โบราณสถาน - ฝ่ายนโยบายการสื่อสาร – จัดการติดต่อภายในองค์กร คอยจัดการประชุม สนับสนุนนโยบาย องค์กรให้คนรู้จักองค์กรในทางบวก คอยพัฒนา Website องค์กรและเผยแพร่นโยบายและคอยให้ คำแนะนำเกี่ยวกับทรัพย์สินทางการค้า - ฝ่ายทรัพย์สินและการศึกษา – เปิดทรัพย์สินต่าง ๆ ให้ประชาชนเข้าถึงได้ บริการชุมชน พัฒนา ยุทธศาสตร์ให้ประชาชนสนใจที่จะเข้ามาเยี่ยมชนทรัพย์สิน และมีการบริการบ้านพักสำหรับพักผ่อน และการจัดทำของที่ระลึก 1
33
1
2. หน่วยงานภาครัฐระดับกระทรวง ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม สื่อการกีฬา (DCMS) มีหน้าที่ ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน อาคารประวัติศาสตร์ ย่าน และจัดการให้ได้มาซึ่งโบราณสถาน การ ให้ทุนและคุ้มครองโบราณสถานโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจะได้จากการเลือกตั้งของ ประชาชนและการกระทำใด ๆ จะได้รับคำปรึกษาจาก English Heritage 3. หน่วยงานส่วนท้องถิ่น เทศบาล ทำหน้าที่ดูแลโบราณทั่วประเทศ ประกาศขึ้นทะเบียน โบราณสถานและถอนย่านอนุรักษ์ อาคารอนุรักษ์ในพื้นที่นั้น ยกเว้นอาคาร Grade 1,2 จัดให้มีการ ซ่อมแซม และโฆษณาประชาสัมพันธ์คุณค่าของย่านอนุรักษ์ 4. เอกชน คือ National Trust เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลที่ตระหนักว่าอุตสาหกรรมใน อังกฤษจะเป็นอันตรายต่อชนบทจึงก่อตั้งองค์กรขึ้นเริ่มจากการรับบริจาคที่ดินที่มีความงดงามทาง ธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ต่อมาเริ่มซื้อบ้าน อาคารโบราณ เน้นการซ่อมแบบสงวนรักษา 5. องค์กรให้คำปรึกษาทางกฎหมาย ประกอบด้วยหลายองค์กร ได้แก่ The Ancient Monument board of England, The Historic Building Council for England, The Royal Commission on Historical Monument โดยหลัก ๆ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษากับรัฐ เป็นการรวมตัว กันของหลายวิชาชีพ และมีหน้าที่รายงานสภาพอาคาร รวมถึงทำแบบรังวัดโบราณสถานสำคัญด้วย 6. องค์กรตรวจสอบตามกฎหมาย เทศบาลต้องแจ้งองค์กรเหล่านี้หากมีการยื่นขอรื้อถอนและ องค์กรเหล่านี้สามารถคัดค้านการรื้อถอนได้ The Ancient Monument Society, Council for the British Archelogy, Georgian Group, The Society for the Protection of Ancient Building (SPAB), Victorian Society, Royal Commission on the Historical Monument แต่ละองค์กรมี การดูแลอาคารหลากหลายยุคสมัย ศึกษาและอนุรักษ์โบราณสถาน คอยตรวจสอบไม่ให้มีการรื้อถอน อย่างระมัดระวัง สรุปการทำงานบริหารองค์กรของอังกฤษคือการกระจายอำนาจไปตามองค์กรต่าง ๆ โดยแต่ละ องค์กรจะไม่สามารถทำงานโดยพลการได้ ทำให้ไม่เกิดการอนุรักษ์โบราณสถานผิดวิธี และการคอย ปลูกฝังประชาชนและโฆษณาให้ประชาชนสนใจทำให้เกิดจิตสำนึกที่จะอนุรักษ์โบราณสถานในชุมชน และประเทศของตน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเพราะหากองค์กรต่าง ๆ จะทำงานได้ดีอย่างไรนัน้ แต่หากขาด จิตสำนึกที่ดีของประชาชนก็ไม่อาจเกิดการอนุรักษ์โบราณสถานที่ดีได้ 1
1
1
34
การบริหารแบบรวมศูนย์กลาง - ประเทศไทย ในประเทศไทยการบริหารงานอนุรักษ์ทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของภาครัฐโดยมี หน่วยงานหลักในการรับผิดชอบประกอบด้วยกระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร เป็นองค์กร อนุรักษ์ส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน ตั้งแต่สำรวจ ศึกษาทำวิจัย วางแผนการอนุรักษ์ จนถึงการลงมือบูรณะหรือทำการจัดจ้างบริษัทเอกชนในการบูรณะโบราณสถาน โดยเทศบาลทำหน้าที่เพียงดูแลรักษาโบราณสถานในชุมชนเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจในการซ่อมแซม โบราณสถาน และองค์กรเอกชนและประชาชนก็ไม่ได้มีบทบาทร่วมในการอนุรักษ์โบราณสถานมาก เท่าที่ควร โดยองค์กรเอกชนที่มีบทบาทสำคัญของไทยในปัจจุบันเช่น สมาคมสถาปนิกสยามฯ สมาคมอิโคโมสไทย และสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น หน่วยงานหลัก สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ทำตามพระราชบัญญัติ การบริหารราชการ แผ่นดิน และติดต่อสื่อสารกับองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับกฎบัตรหรืออนุสัญญาระหว่าง ประเทศว่าด้วยการดูแลโบราณสถาน การบริหารและการกำกับดูแลกิจการของกรมศิลปากร โดยมี การจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมา (National Committees of Monuments) ทำหน้าที่หลักคือ ประสานงานหน่วยราชการ ศึกษาเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน พัฒนาเอกสาร ข้อมูล จัดเตรียมแผนงานการฝึกสอนผู้ชำนาญการพิเศษ กรมศิลปากร มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการผดุงรักษา ส่งเสริม เผยแพร่ศิลปวิทยาการ และวัฒนธรรมของชาติด้านต่าง ๆ เช่นศิลปกรรม วรรณกรรม โบราณคดีปละประวัติศาสตร์ และการ ดูแลรักษาโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นต้น โดยประกอบไปด้วยกองต่าง ๆ 12 กอง ตามพระราช กฤษฎีกา ดังนี้ 1. สำนักงานบริหารกลาง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของกรมศิลปากร ประสานงาน กับหน่วย งานต่าง ๆ ทั้งภายในองค์กรและภายนอก ทำหน้าที่เผยแพร่กิจกรรมและประชาสัมพันธ์ ความก้าวหน้าของกรมศิลปากรและดำเนินงานเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบ 2. สำนักการสังคีต มีหน้าที่ทำนุบำรุง รักษา ฟื้นฟู และศึกษาค้นคว้าทางศิลปวัฒนธรรมด้านการ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ และคีตศิลป์ 1
35
3. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีหน้าที่รวบรวม ประเมินคุณค่า ค้นคว้า ทำวิจัยเพื่อพัฒนา เผยแพร่เอกสารสำคัญของชาติ บันทึกเหตุการณ์สำคัญของชาติ 4. กองโบราณคดี ทำหน้าที่หลักๆคือ - ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนตาม พรบ.โบราณสถาน - สำรวจและวิเคราะห์ทางวิชาการของสิ่งที่เป็นของโบราณสถานทั้งหมด เพื่อนำเสนออธิบดีกรม ศิลปากรให้ขึ้นทะเบียน - ควบคุมรักษาโบราณสถานและสภาพแวดล้อม จัดทำแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อนำไปดูแลรักษา โบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ โดยเป็นโครงการรายปีหรือ 5 ปี -การบูรณะโบราณสถาน กองโบราณคดีจะเป็นผู้จัดหาผู้ชำนาญการด้านต่าง ๆ ไปทำการสำรวจ ออกแบบ บูรณะ - การซ่อมบำรุงรักษาความปลอดภัย ความสะอาดของโบราณสถาน มีการจัดตั้งสำนักศิลปากรที่ 1-15 ขึ้นเพื่อแบ่งงานรับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร 5. กองโบราณคดีใต้น้ำ สำรวจและสงวนรักษาโบราณวัตถุซากโบราณที่ได้จากทะเล 6. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมงานของกรมศิลปากรโดยการใช้ สื่อสารสนเทศและระบบการสื่อสารที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ 7. ช่างสิบหมู่ (เดิมอยู่กองหัตถศิลป์) เผยแพร่และสืบทอดงานด้านการออกแบบสร้างสรรค์และ ฝีมือช่าง บูรณะซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ 8. สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ทำหน้าที่ศึกษา ค้นคว้า วิจัย เผยแพร่ จัดแสดงโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ตรวจพิสูจน์ ทำทะเบียนหลักฐาน ขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ และอนุรักษ์ โบราณวัตถุ บริหารงานพิพิธภัณฑ์ 9. กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ ตรวจสอบ ทำเอกสาร บำรุงรักษางานวรรณคดี ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของชาติ 10. สำนักศิลปากรที่ 1-15 ทำการขุดค้น อนุรักษ์ บูรณะซ่อมแซม โบราณสถานในแต่ละเขตที่ ดูแล และมีการดูแลพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ในพื้นที่การดูแลของแต่ละสำนัก 11. กองสถาปัตยกรรม ทำหน้าที่ รักษา สืบทอด ฟื้นฟูมรดกทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับ สถาปัตยกรรม และศิลปกรรม บูรณปฏิสังขรณ์ปูชนียสถาน โบราณสถาน วัดวาอาราม รวมถึงอาคารที่ มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และประวัติศาสตร์ ทำการเขียนแบบต่าง ๆ ประมาณราคา 1
36
ควบคุมงานบูรณปฏิสังขรณ์ รวมถึงทำการศึกษาวิจัยสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม และอนุรักษ์งาน สถาปัตยกรรมไทยประเพณี 12. สำนักหอสมุดแห่งชาติ ดำเนินการเก็บรวบรวมทรัพย์สินทางปัญญา วิทยาการ ศิลปกรรม และวัฒนธรรมของชาติ บริการให้การอ่าน ค้นคว้า วิจัยต่าง ๆ
ภาพที่ 15 ผังองค์กร กรมศิลปากรในปัจจุบัน 37
จากผังองค์กรกรมศิลปากรจะเห็นได้ว่าอำนาจในการดูแลทั้งหมดอยู่ภายใต้อธิบดีกรม ศิลปากร โดนไม่ได้มีอำนาจอื่น ๆ มาถ่วงดุลทำให้การอนุรักษ์โบราณสถานเสมือนตกอยู่ภายใต้การ ควบคุมของคนไม่กี่คนที่ทำหน้าที่บริหารงานในกรมศิลปากร 1
เอกชน ในประเทศไทยยังมีบทบาทน้อยมาก องค์กรที่มีบทบาทเช่น - สมาคมสถาปนิกสยามฯ เคยมีบทบาทในการบูรณะหอไตรวัดระฆังฯ มีโครงการประกาศเกียรติคุณ การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น - สมาคมอิโคโมสไทย เป็นเวทีระดับชาติในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์ เผยแพร่ ข้อมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ หลักการ เทคนิค นโยบาย และการใช้ประโยชน์ของโบราณสถาน - สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ที่มีการส่งเสริมแนวคิดความสัมพันธ์ระหว่างโบราณสถาน กับการดำเนินชีวิตของชุมชนเมือง สรุปการบริหารงานอนุรักษ์ในประเทศไทย คือการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง คือกรมศิลปากร และในกรมศิลปากรก็มีการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอีกทีคืออธิบดีกรมศิลปากรซึ่งไม่ได้ถูกเลือกจาก ประชาชนแต่จากการแต่งตั้งภายในองค์กร ทำให้ประชาชน เทศบาล และเอกชนมีส่วนร่วมน้อยมากใน การอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศซึ่งต่างกับของอังกฤษที่มีการกำหนดกรอบของหน่วยงานกลาง ชัดเจนว่าจะดูแลเพียง 411 แห่งที่เหลือให้เทศบาลหรือประชาชนดูแลเอง แต่ของไทยกรมศิลปากร ดูแลทั้งหมดโดยปัจจุบันมีโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแล้วว่า 2000 แห่ง และที่พิจารณาอีกเกือบ 3000 แห่ง การบริหารแบบนี้จึงทำให้มีปริมาณบุคลาการไม่มากพอเกิดการทำงานล่าช้ารอจนกว่าจะพัง หรือ เป็นข่าวขึ้นมาแล้วจึงจัดการ หรือจัดการแต่ที่สำคัญจนละเลยโบราณสถานอีกหลายแห่งไป หรือการ เร่งงานจนทำให้งานออกมาไม่มีมาตรฐาน จะเป็นอย่างไรหากประเทศไทยนำระบบแบบอังกฤษมาใช้ เป็นการตั้งคำถามที่เกิดขึ้นหลังจากได้ทำการศึกษาระบบการจัดรูปองค์กรทั้งสองแบบ และได้ ตั้งข้อสรุปว่า ถึงแม้ว่าระบบที่ประเทศอังกฤษใช้จะเป็นระบบที่ดี แต่ก็ยังไม่เหมาะกับประเทศไทย เนื่องจากระบบแบบอังกฤษนั้นมีการใช้อำนาจกับประชาชนทั่วไปด้วย โดยที่ประชาชนสามารถเข้ามา มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายได้ ซึ่งประชาชนที่จะเข้ามามีส่วนร่วมก็ควรจะเป็นประชาชนที่มี คุณภาพ มีความเข้าใจในคุณค่าของโบราณสถาน แต่ของคนไทยนั้น ประชาชนยังไม่ได้มีความเข้าใจ 38
โบราณสถานมากพอทั้งยังมองโบราณสถานว่าเป็นเพียงสถานที่ท่องเที่ยว หรือมองเพียงคุณค่าทาง ศาสนาเท่านั้น และระบบของประเทศอังกฤษมีการให้หน้าที่ของการดูแลรักษาศาสนสถานนั้นเป็นของ นักบวช-เถรสมาคม และได้รับคำปรึกษาจาก English Heritage ต้องเข้าใจก่อนว่าผู้ที่จะมาเป็นนักบวช ของคริสตจักรได้นั้นต้องมีการศึกษาขั้นต่ำคือปริญญาตรีสาขาปรัชญา และเทวศาสตร์และยังต้องมี การศึกษาอีกมากมายก่อนจะบวชเป็นบาทหลวงซึ่งอาจใช้เวลาศึกษาถึง 10 ปี ต่างกับของพุทธที่การ บวชเป็นที่เรื่องทำเพื่อบุญกุศล ไม่มีข้อบังคับเรื่องการศึกษาหากปล่อยให้การดูแลรักษาศาสนสถาน ของไทยเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์แม้ว่าจะมีประกาศคณะสงฆ์ควบคุมอยู่ แต่ก็อาจจะเป็นไปในทางที่ผิด ได้ถ้าไม่มีความเข้าใจในโบราณสถาน
39
กรณีศึกษา การบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม วัดอรุณราชวรารามเดิมเป็นวัดขนาดเล็ก สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลายรู้จักกันในชื่อ “วัด มะกอก” ต่อมาสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้ากรงธนบุรมี ีพระราชประสงค์จะรื้อฟื้นอยุธยาขึ้นมาอีกครั้ง แต่ เนื่องจากอยุธยาเสียหายมาก จึงย้ายไปสถาปนาราชธานีแห่งใหม่และได้โปรดเกล้าให้สร้างพระราชวัง ในพื้นที่ระหว่างวัดอรุณราชวรารามและวัดโมฬีโลกยาราม และยกเป็นวัดประจำพระราชวัง โดยในยุค นั้นพระปรางค์สูงเพียง 8 วา หรือประมาณ 16 เมตรเท่านั้น ประวัติการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม สมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชประสงค์จะเสริมสร้างปรางค์เดิมเนื่องจากเป็น สัญลักษณ์ของราชธานี ควรที่จะเสริมให้ใหญ่ เพื่อเป็นมหาธาตุสำหรับพระนคร จึงมีการลงมือขุด ฐานราก แต่ก็ไม่แล้วเสร็จจนสิ้นรัชกาลที่ 2 สมัยรัชกาลที่ 3 สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริถึงพระปรางค์ที่สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงมี พระราชประสงค์ที่จะสร้างให้สูง จึงทรงคิดแบบและดำเนินการก่อสร้าง ทำแล้วเสร็จเป็นปรางค์สูง 1 เส้น 13 วา 1 ศอก 1 คืบ 1 นิ้ว หรือประมาน 80 เมตร ถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สูงที่สุดในพระนคร ในสมัยนั้น สมัยรัชกาลที่ 5 เกิดอัคคีภัยไหม้พระอุโบสถและลุกลามไปยังจุดต่าง ๆ ทำให้มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ขึ้นโดย ภายหลังปฏิสังขรณ์เสร็จมีการจัดงานพระราชกุศล มีพระบรมวงศานุวงศ์หลายองค์ร่วมกันบริจาค ทรัพย์ จึงได้นำเงินไปปรับปรุงกุฏิที่ชำรุดให้เป็นโรงเรียนทวีทาภิเษก และโปรดให้พระยาราชสงคราม เป็นนายงานอำนวยการปฏิสังขรณ์พระปรางค์ มีพระราชปรารภว่า ล่วงกาลเวลามานานแล้ว พระ ปรางค์ชำรุด เศร้าหมอง ควรแก่เวลาที่จะปฏิสังขรณ์ให้ดีดังเก่า แต่การซ่อมนั้นจะต้องรักษาของเก่า อย่าแต่งของเก่าให้สดเหมือนใหม่ แต่ให้ลดสีของใหม่ให้อ่อนลงให้กลืนกับสีเก่า หากจะเปลี่ยนสิ่งใดให้ ดีขึ้นต้องกราบทูลก่อน โดยการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้มีการแก้ไขในส่วนวิหารคดด้านนอก เก๋งจีนด้าน ตะวันตก ประตูรอบพระปรางค์เดิมมี 9 ประตูลดลงเหลือ 5 ประตู กระเบื้องที่องค์พระปรางค์ และ ฐานใต้เชิงบาตรพระปรางค์ที่เป็นซุ้มโค้ง มีรูปกินนร กินรีชำรุดซึ่งหากทำใหม่หรือซ่อมแซมด้วยวิธีเดิม ต้องใช้งบประมาณมาก จึงได้เสนอการซ่อมโดยใช้การหล่อปูนซีเมนต์ 1
40
ภาพที่ 16 การบูรณะพระปรางค์วัดอรุณสมัยรัชกาลที่ 5
ภาพที่ 17 ภาพเปรียบเทียบศิลปกรรมปูนปั้นซุ้มโค้งกินนร หลังการบูรณะในรัชกาลที่ 5 และปัจจุบัน 41
รัชกาลที่ 9 พ.ศ. 2509 กรมศิลปากรและกรมศาสนา ได้รับมอบให้ปฏิสังขรณ์พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เนื่องจากสภาพทรุดโทรมมาก กรมศิลปากรจึงมอบหมายให้กองหัตถศิลป์ไปตรวจพิจารณารูปแบบ รายละเอียดต่าง ๆ และมีการเชิญฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ ช่างฝีมือ ฝ่ายโบราณคดี ฝ่ายสถาปัตยกรรม ฝ่าย จิตรกรรม ฝ่ายประติมากรรม ฝ่ายประณีตศิลป์ และ ฝ่ายวิศวกรรม มาหารือกัน โดยมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานคณะกรรมการแผนการบูรณะและต่อมาได้มีการบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ.2556-2560 โดยมีการดำเนินการอนุรักษ์ในส่วนพื้นผิวปูนฉาบและกระเบื้องประดับพระปรางค์ หลักการบูรณะสถาปัตยกรรมกระเบื้องเคลือบ สถาปัตยกรรมประดับกระเบื้องเคลือบเป็นสถาปัตยกรรมที่ไม่คงทนเนื่องจากสีและน้ำยาเคลือบไม่ คงทนต่อสภาพอากาศ ปูนประสานสึกกร่อนเร็ว ชิ้นกระเบี้องก็จะหลุดหายไป ทำให้ สถาปัตยกรรม ชนิดนี้ต้องมีการบูรณะอยู่บ่อยครั้ง ประเภทของลายแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆได้แก่ ลายพื้น ลายนูนต่ำ เป็นการประดับลวดลายซ้ำกันไปตามพื้นผิวของงานสถาปัตยกรรม พระ ปรางค์วัดอรุณราชวรารามโดยรวมใช้ลายประเภทนี้แต่ก็มีบ้างที่เป็นลวดลายนูนสูง ลายนูนสูง เป็นการใช้กระเบื้องซ้อนกันหลายชั้นเพื่อให้เกิดมิติ นิยมใช้กับการทำลายดอกหรือ ลายสัตว์ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเป็นลักษณะ 3 มิติชัดเจน
ภาพที่ 18 ลายพื้น ถ่ายจากพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม
42
ภาพที่ 19 ลายนูนสูง จากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กระเบื้องที่นำมาประดับ เกิดจากการนำภาชนะกระเบื้องเคลือบมาตัดเป็นลวดลาย โดยภาชนะจะมีหลายชนิดเช่น จานแบน ถ้วยโป๊ะจีบ เป็นต้น โดยการตัดจะทำด้วยเครื่องมือเพียง 4 ชนิดเท่านั้นได้แก่ เกรียงเหล็ก ใช้เคาะให้แตกออกเป็นรูปทรงใกล้เคียงกับที่ต้องการ คีมแต่งปาดตรง ใช้แต่งชิ้นภาชนะหลังเคาะแล้ว คีมแต่งปากโค้ง ใช้แต่งกระเบื้องที่มีความหนามาก มีดกากเพชร ใช้กับภาชนะเนื้อแกร่งที่หากใช้เกรียงเหล็กจะแตกเป็นเสี่ยง จึง ต้องกรีดก่อนแล้วค่อยเคาะด้วยเกรียงเหล็ก และอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้กระเบื้องสำเร็จรูป การใช้กระเบื้องสำเร็จรูปมักใช้กับพื้นที่ที่ไม่สำคัญมาก เพราะลายที่เกิดจากการใช้กระเบื้องสำเร็จรูปจะไม่พลิ้วไหวเท่าแบบตัดด้วยมือ งานที่ออกมาจะดูแบน และแข็งกว่า
ภาพที่ 20 การตัดถ้วยชนิดต่าง ๆ
43
การขึ้นลายและการติดกระเบื้อง จะต้องปั้นลายปูนปั้นบาง ๆ ลงบนผิวอาคารก่อน เรียกว่าลายโกลน เพื่อดูภาพรวม จากนั้นติด กระเบื้องไปตามโกลนปูนปั้น โดยใช้ปูนขาวหมักเป็นตัวประสาน ต้องมีการจัดจังหวะของชิ้นกระเบื้อง ให้ดูมีความอ่อนช้อย ไม่แข็งกระด้าง การบูรณะสถาปัตยกรรมประดับกระเบื้องเคลือบ จะต้องเริ่มจากการเก็บบันทึกข้อมูล ลักษณะของกระเบื้องก่อน แล้วจึงถอดกระเบื้องเดิมออก ก่อนเพื่อนำไปซ่อมหรือทำความสะอาด จากนั้นทำการสกัดปูนฉาบ ปูนปั้นที่เสียหายออก แล้วติด กระเบื้องกลับที่จุดเดิม การบูรณะปี พ.ศ. 2556-2560 เปรียบเทียบกับก่อนบูรณะ การเปลี่ยนแปลง สาเหตุ และความผิดพลาด กรมศิลปากรกับการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม หลังเกิดประเด็นที่นักวิชาการและประชาชนเห็นว่าการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณนั้นทำได้ไม่ มีคุณภาพ ไม่ถูกหลัก ทำให้กรมศิลปากรออกมาชี้แจงถึงวิธีการที่ใช้ในการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯ ว่าได้ทำถูกต้องตามหลักสากลแล้ว โดยก่อนบูรณะได้มีการทำสำรวจละเอียด มีการใช้เทคโนโลยี ถ่ายภาพสามมิติเพื่อเก็บรายละเอียดของกระเบื้อง โดยพบว่ามีลวดลายทั้งหมด 120 ลาย และได้ทำ การกระสวนลายคือการนำลายมาคัดลอกว่าลายไหนอยู่ส่วนไหนเพื่อเป็นหลักฐานในการบูรณะโดย จำแนกตามตำแหน่งที่พบ ลักษณะทางกายภาพ ลักษณะเนื้อดิน และลักษณะลวดลายสีเคลือบ ในส่วน ของการลงมือทำงานนั้นเริ่มจากในส่วนของปูน ด้วยของเดิมหลังการบูรณะที่ผ่านมาหลายครั้งบางส่วน มีการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมเช่น ปูนดำ(ปูนซีเมนต์) ที่หากปล่อยทิ้งไว้จะสร้างความเสียหายกับเนื้อ กระเบื้องได้ จึงกะเทาะออกและเปลี่ยนใหม่เป็นปูนหมักตามสูตรโบราณทำให้มีสีขาว ส่วนกระเบื้องนั้น ไม่ได้ถอดของเดิมออกหมด แต่สำรวจความเสียหายก่อน หากความเสียหากมากกว่า 30-50% จึงรื้อ ออก ซึ่งทั้งหมดมีการทำใหม่ประมาน 40% หรือ 1.2 แสนชิ้น โดยพยายามทำให้ใกล้เคียงสีเดิมมาก ที่สุด โดยกรมศิลปากรยอมรับว่าอาจจะบกพร่องเรื่องความละเอียดไปบ้างแต่ไม่ถึงกับไร้ฝีมือ
44
ภาพที่ 21 กระเบื้องใหม่ที่ถูกนำมาแทนที่เทียบกับกระเบื้องเดิม
ภาพที่ 22 การบันทึกลวดลายของกรมศิลปากร ที่จดเป็นรูปแบบลายเดียวกัน
ภาพที่ 23 การผลิดกระเบื้องใหม่ของกรมศิลปากร ที่ใช้ระบบอุตสาหกรรม ไม่ใช่ฝีมือช่าง 45
เปรียบเทียบ : ประติมากรรมลอยตัว ยักษ์แบกเหนือลานประทักษินชั้นที่ 2 องค์ปรางค์ประธาน
ภาพที่ 24 ยักษ์แบกเหนือลานประทักษินชั้นที่ 2 องค์ปรางค์ประธาน
ภาพที่ 25 ตำแหน่งยักษ์แบกเหนือลานประทักษินชั้นที่ 2 องค์ปรางค์ประธาน 46
กรอบ (Outline) สังเกตได้ว่าประติมากรรมดูตันขึ้นด้วยเนื้อปูนที่เพิ่มขึ้นมา และสังเกตได้จากความนูนของ กระเบื้อง ที่เดิมมีมิติแต่ปัจจุบันเนื้อปูนถูกพอกขึ้นมาเสมอกระเบื้อง นอกจากนั้น ยังมีการเปลี่ยนแปลง รูปร่างของเศียรยักษ์ที่สามารถมองออกได้ โดยจะเห็นว่าคอของยักษ์หลังบูรณะนั้นจะสั้นลงและหนา ขึ้นส่วนของใบหน้านั้นใหญ่ขึ้น ทำให้ลวดลายถูกถ่างออกเกิดช่องว่างที่มากเกินไปทำให้ผิดเพี้ยน ลูกตา ขาวหายไป ดูโล่งไม่ขึงขังดังเก่า แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ทำได้ดีเช่นส่วนของกางเกงที่ทำได้นูนมีมิติไม่ เปลี่ยนจากของเดิมมากนัก 1
1
1
1
ภาพที่ 26 กรอบลายที่หายไปบริเวณแขนของยักษ์ เนื่องจากกระเบื้องเสมอปูน
ภาพที่ 27 โครงหน้าของยักษ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากมิติที่หายไปและลักษณะการติดที่ผิดเพี้ยน
47
ปูน เนื่องจากของเดิมที่บูรณะในสมัยรัชกาลที่ 5 มีบางส่วนที่ใช้ปูนซีเมนต์ ทำให้เมื่อเวลาผ่านไป ปูนจะกินเนื้อกระเบื้อง การบูรณะในครั้งนี้จึงได้ใช้ปูนหมักทั้งหมดทำให้เป็นสีขาวโพลนทั้งองค์ ลวดลาย (Pattern) ถึงจะมีระยะห่างหรือจังหวะที่ผิดเพี้ยนไปบ้างแต่โดยภาพรวมยังคงลวดลายแบบเดิมไว้แต่ก็ยัง มีบางส่วนที่สังเกตว่ามีลวดลายที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เช่นบริเวณทัดหูของยักษ์
ภาพที่ 28 ทัดหูของยักษ์ ที่มีการเปลี่ยนแปลงลวดลายไป การติดกระเบื้อง จะสังเกตว่าของเดิม การติดจะดูมีจังหวะมากกว่าการเรียงกระเบื้องจะมีสลับเล็กใหญ่ไม่ เท่ากันและมีระยะห่างไม่เท่ากัน แต่ของใหม่มีความเท่ากันทุกชิ้นทำให้ดูแข็งทื่อไม่เป็นธรรมชาติ
ภาพที่ 29 กระเบื้องของเดิม (ส้ม) เทียบกับกระเบื้องใหม่ (เขียว) 48
ลักษณะกระเบื้อง จะเห็นได้ว่ากระเบื้องของเก่ามีขนาดไม่เท่ากันทุกชิ้นและมีความโค้งนูน แต่ของใหม่จะขนา เท่า ๆ กัน ทำให้ขาดความหลากหลายและจังหวะ
ภาพที่ 30 กระเบื้องของเดิม (ส้ม) เทียบกับกระเบื้องใหม่ (เขียว) เปรียบเทียบ : ลายหน้ากระดาน
ภาพที่ 31 ลายหน้ากระดานของเดิม (บน) เทียบกับของใหม่ (ล่าง) ลวดลาย (Pattern) ถ้าสังเกตแล้วจะพบว่าลวดลายเปลี่ยนแปลงไป ทั้งดอกไม้และลายก้ามปู โดยดอกไม้จากเดิม ที่มีกลีบไม่เท่ากันจากการตัดกระเบื้องที่ไม่เท่ากันหรือมาจากส่วนของภาชนะที่ต่างกัน ทำให้ดูเป็น ธรรมชาติ แต่ของใหม่มีการตัดกระเบื้องที่ขนาดใกล้เคียงกันเกือบทุกชิ้น ทำให้ดูแข็งทื่อและดูเหมือน เป็นของสำเร็จรูปมากกว่าฝีมือช่าง ในส่วนของลายก้ามปูเดิมแต่ละชิ้นมีลักษณะใกล้เคียงกันแต่ไม่ 1
49
เหมือนกันทีเดียว ส่วนของใหม่ทำจากโรงงาน ทำให้ทุกชิ้นมีขนาดเท่ากัน และมีการเพิ่มกระเบื้อง ขึ้นมา ทำให้ลายผิดเพี้ยนจากเดิมไปและในลายเองก็ไม่ได้มี Pattern ชัดเจนบ้านก็หันคนละด้าน บ้างก็ หันด้านเดียวกัน
ภาพที่ 32 ภาพลอกลายของเก่า(บน) เทียบกับเก่า(ล่าง) การติดกระเบื้อง จะเห็นได้ว่าของเดิมการติดตรงดอกมีการติดที่มีจังหวะมีระยะห่างไม่เท่ากันแต่ละกลีบ ทำให้ เกิดจังหวะ และการติดดูนูนขึ้นมาทำให้มีมิติ แต่หลังบูรณะมีการพอกปูนขึ้นมาแล้วใช้วิธีเสียบกลีบ ดอกเข้าไปทำให้ดูเป็นก้อนสังเกตได้จากปูนที่นูนออกมาด้านหลังของเกสรดอก
ภาพที่ 33 การติดกระเบื้องที่มีการพอกปูนแล้วเสียบกลีบ ทำให้มีปูนเกินออกมา
50
ภาพที่ 34 ตัวอย่างการติดกระเบื้องลายหน้ากระดานบริเวณปรางค์ประธาน จะสังเกตเห็นว่ามีการพอกปูนขึ้นมาและแปะกระเบื้องลงไปโดยไม่ได้ทำลายโกลน ลักษณะกระเบื้อง กระเบื้องเป็นกระเบื้องที่สั่งผลิตจากโรงงานทำให้มีขนาดเท่ากันไปหมดทำให้คุณค่าของฝีมือ ช่างหายไป และทำให้งานดูแข็งทื่อไปหมด ทั้งนี้รวมถึงลายด้านล่างที่มีลักษณะกลมด้วย สรุปกรณีศึกษาพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ถึงแม้ว่าการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯในครั้งนี้จะมีความพยายามที่จะใช้หลักการการบูรณะ ให้ถูกวิธีแต่ก็ยังเกิดความผิดพลาดของการบูรณะในครั้งนี้มากมาย เริ่มจากขั้นตอนการสำรวจและ บันทึกสภาพที่ไม่มีความละเอียดมากพอ เนื่องจากกระเบื้องขององค์พระปรางค์นนั้ ไม่เหมือนกันเลย เพราะเกิดจากการเคาะและตัดของช่างโบราณจึงไม่สามารถบันทึกสภาพเป็นแบบเดียวกันได้ อีกทั้ง คำอธิบายของกรมศิลปากรได้กล่าวว่าเป็นเพราะการซ่อมในสมัยโบราณนั้นทำผิดวิธีทำให้ ผิดเพี้ยนไป อย่างไรก็ตามความผิดเพี้ยนนี้ถือว่าเป็นศิลปะของแท้ของงานช่างในยุคนั้น จึงไม่ควรไปตัดสินว่าไม่ดี และแก้ไขความผิดนั้นให้ถูกทั้งหมด ซึ่งเป็นการทำให้สมบูรณ์แต่ไม่ได้เป็นการรักษาคุณค่าและความ เป็นของแท้ของโบราณสถานเลย นอกจากกระบวนการการสำรวจแล้วกระบวนการดำเนินงานก็ขาดความเข้าใจในงานช่างและ งานวัสดุ โดยการบูรณะสถาปัตยกรรมประดับกระเบื้องเคลือบนี้ไม่ควรพอกเนื้อปูนเข้าไปเพิ่มแต่ควร สกัดเนื้อปูนให้มากพอก่อนลงปูนใหม่ไปไม่อย่างนัน้ จะเป็นการทำให้กรอบลายของสถาปัตยกรรมนั้น เปลี่ยนแปลงไป และการติดกระเบื้องก็ไม่ใช่การแปะลงบนปูนเพียงอย่างเดียวแต่จะต้องปั้นลายโกลน 51
ก่อนเพื่อให้เห็นลวดลายเบื้องต้น อีกทั้งการประดับลงบนตัวประติมากรรมหากเป็นไปตามหลักการ บูรณะสากลก็ควรที่จะมีการทำแบบจำลองขนาดเท่าจริงมาทดลองก่อนว่าพบเจอปัญหาในการบูรณะ อย่างไรและหากแก้ตัววิธีนนั้ ๆ จะออกมาเป็นอย่างไร ทั้งนี้ความผิดพลาดก็ไม่สามารถโทษผู้รับเหมา อย่างที่กรมศิลปากรออกมาชี้แจงได้ เพราะการควบคุมงานจะต้องอยู่ภายใต้กรมศิลปากร ซึ่งผลงานที่ เป็นเช่นนี้อาจจะเกิดจากผู้ควบคุมงานขาดความเข้าใจในธรรมชาติของงานที่แท้จริง ปล่อยปละละเลย ให้ช่างเป็นผู้ดำเนินงานเองจนออกมาเป็นผลงานที่ทำให้โบราณสถานเปลี่ยนแปลง บิดเบือนความเป็น จริงทางประวัติศาสตร์ไป ข้อเสนอแนะ กรมศิลปากรควรมีการทำบันทึกละเอียดเกี่ยวกับการบูรณะโบราณสถานครั้งนี้ เก็บข้อมูลทั้ง สิ่งที่ทำได้ดีและสิ่งที่ทำผิดพลาดทั้งหมดตีพิมพ์ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นการเผยแพร่ความ รู้ให้กับประชาชนและเพื่อกรมศิลปากรเองจะนำข้อมูลส่วนนี้มาเป็นบทเรียนเพื่อป้องการการทำ ผิดพลาดต่อไปในอนาคต
ภาพที่ 35 พระปรางค์วัดอรุณราชวรารามในปัจจุบัน (พ.ศ.2562) 52
กรณีศึกษา การบูรณะเพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเพณีคล้องช้าง เป็นประเพณีไทยที่ทำมาตั้งแต่สมัยโบราณซึ่งเป็นการจับช้างป่ามาเพื่อใช้ งานและใช้เป็นพาหนะ ประเพณีนี้มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับพระมหากษัตริย์ไทย เนื่องจาก ต้องหาช้างดีมาเพื่อประดับบารมีและในบางครั้งก็เป็นการแสดงเพื่อให้กับพระราชอาคันตุกะที่มาเยือน ประเทศด้วย โดยการคล้องช้างนั้นมีได้หลายวิธีคือ การวังช้างคือการตั้งคอกขนาดใหญ่ล้อมโขลงช้างไว้ แล้วไล่ต้อนจับให้ได้ทั้งโขลง การจัดเพนียดคือการสร้างเพนียดขนาดใหญ่มีผังทางเข้ากว้างแต่ไปสุดที่ ปลายแหลมเหมือนหัวลูกศรเพื่อง่ายต่อการล่อให้ช้างเดินเข้ามาแล้วไล่ต้อนช้างเข้าเพนียดนั้นแล้วใช้ ช้างพลายในการต้อนช้างป่าให้เขาไปในเพนียดเล็ก แล้วค่อยจับช้าง และการโพนช้างคือการขี่ช้างเข้า ไปในป่าเพื่อไล่ต้อนช้างป่าทีละเชือก โดยวิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องอาศัยความชำนาญมาก
ภาพที่ 36 ลักษณะของเพนียดที่มีเสาเรียงกันเป็นสามเหลี่ยม เพื่อต้อนช้างเข้าเพนียด ประวัติการบูรณะเพนียดคล้องช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมัยอยุธยา จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเดิมเพนียดตั้งอยู่ที่ด้านเหนือของพระราชวังจันทรเกษม ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชา พ.ศ.2123 โปรดให้ขยายกำแพงพระนครไปทางด้านทิศตะวันออกไป ถึงริมแม่น้ำ จึงโปรดให้ย้ายเพนียดไปอยู่ที่ตำบลสวนพริกในปัจจุบัน แล้วหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาไป คาดว่าเพนียดคงถูกทิ้งร้างไว้
53
รัตนโกสินทร์ตอนต้น พระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1-4 มีการโปรดให้บูรณะเพนียดอยู่เรื่อย ๆ และยังมีการ นำมาใช้แสดงให้แขกบ้านแขกเมืองชมการคล้องช้างอยู่หลายครั้ง แต่ไม่ปรากฏภาพ จนกระทั่งถึงใน สมัยรัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 5 ปรากฏภาพถ่ายโดยนายโดคิม แอนโทนิโอ ปี พ.ศ.2439 จะเห็นว่าภายในเชิงเทินมีการทำหัว เสาเป็นเสาหัวมนลักษณะคล้ายดอกบัว เรียกว่าเสาตะลุง ที่ทำให้หัวเป็นอย่างนั้นเพื่อไม่ให้น้ำฝนขัง แล้วซึมเข้าไปทำลายเนื้อไม้จนผุ 1
ภาพที่ 37 เสาตะลุงหัวมนภายในเชิงเทิน ในปี พ.ศ. 2449 ปรากฏภาพถ่ายของนายโรเบิร์ต เลนซ์ แอนด์โก จะเห็นว่าหัวเสาภายนอก เชิงเทินยังเป็นเสาที่ไม่มีการทำหัวเสา หัวเสาอาจจะผุพังไป หรืออาจจะเป็นเพนียดชั่วคราวก็ไม่มีระบุ ชัดเจนแต่เป็นภาพที่กรมศิลปากรใช้ในการอ้างอิง
ภาพที่ 38 ภาพถ่ายเสาภายนอกเชิงเทินที่กรมศิลปากรใช้อ้างอิง 54
สมัยรัชกาลที่ 9 ปี พ.ศ.2500 มีการบูรณะเพนียดโดยมีการรื้อหอคเณศเพื่อสร้างใหม่รวมถึงเปลี่ยนเสาเพนียด ทั้งภายนอกและภายในเชิงเทินให้เป็นเสาที่มีหัวเสาหัวมนคล้ายดอกบัว
ภาพที่ 39 เสานอกเชิงเทินหลังการบูรณะปี พ.ศ. 2500 ต่อมาใน พ.ศ.2530-2531 และ พ.ศ.2550-2551 มีการบูรณะเพนียดที่ยังคงยึดรูปแบบหัวเสา ตามแบบการบูรณะในปี พ.ศ. 2500 คือมีเสาหัวมนทั้งด้านในและนอกเชิงเทินและยังใช้ไม้เดิมอยู่มาก
ภาพที่ 40 เสานอกเชิงเทินหลังการบูรณะปี พ.ศ. 2530 ในการบูรณะครั้งล่าสุด ปี พ.ศ.2561 กรมศิลปากรใช้หลักฐานภาพก่อนการบูรณะในปี พ.ศ.2500 เป็นหลักฐานอ้างอิงและใช้การ บูรณะโดยยึดรูปแบบนั้น จึงได้ทำการถอดเสาเดิมออกบางส่วน โดยเสาด้านนอกเชิงเทินถ้าใช้ไม้เดิมก็ ใช้การตัดหัวเสาทิ้งทาสีใหม่แล้วปักกลับลงดิน ส่วนบริเวณด้านในเชิงเทินมีการทำเป็นเสาตะลุงหัวมน เหมือนเดิม แต่ความถูกต้องของเสาตะลุงและความสวยงามมีศิลปะของหัวเสาก็หายไปหมดเหลือเพียง ความแข็งทื่อของเสาที่มาตั้งเรียงกันเท่านั้น และส่วนอื่น ๆ ของเพนียด ก็มีความเข้าใจและความ ถูกต้องที่ผิดเพี้ยนไปมาก เหมือนกรมศิลปากรสร้างฉากละครขึ้น มากกว่าเป็นการอนุรักษ์โบราณสถาน 55
การบูรณะปี พ.ศ. 2561-2562 เปรียบเทียบกับก่อนบูรณะ การเปลี่ยนแปลง สาเหตุ และความผิดพลาด ประเด็นเรื่องหลักการในการอนุรักษ์ของกรมศิลปากรที่ขัดแย้งกับ Venice Charter สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยาได้ลงพื้นที่หลังมีประเด็นเรื่องการบูรณะเพนียดคล้อง ช้างเกิดขึ้นและได้ชี้แจงว่า “หลักฐานที่มีเก่าที่สุดที่ถือว่าเป็นหลักฐานที่ใช้ในงานบูรณะในครั้งนี้คือ หลักฐานภาพถ่ายในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 ต้นรัชกาลที่ 5 ซึ่งปรากฏชัดเจนว่าเสาด้านในเชิงเทินจะมี หัวเม็ด ส่วนด้านนอกจะไม่มีหัวเม็ด หลักการในการอนุรักษ์คือถ้าสามารถย้อนกลับไปในยุคสมัยอยุธยา ได้ก็จะย้อนกลับไปตอนนั้น แต่มีภาพถ่ายเก่าที่สุดคือสมัยรัชกาลที่ 4 จึงเป็นการบันทึกหลักฐานได้ดี ที่สุดจึงนำมาใช้อ้างอิงได้” 1
ภาพที่ 41 ภาพเพนียดที่กรมศิลปากรใช้อ้างอิง ทางด้านอธิบดีกรมศิลปากร นายอนันต์ ชูโชติ กล่าวว่า “ภาพถ่ายในปี พ.ศ. 2441 ข้างนอกไม่ มีหัวเม็ด แม้แต่ตอนซ่อมเพื่อคล้องช้างในปี พ.ศ. 2449 ก็ยังไม่มีหัวเม็ด จึงให้ดูหลักฐานที่เป็นเชิง ประจักษ์ และเมื่อมาซ่อมเพนียดครั้งนี้จึงขอให้มีความถูกต้องมากที่สุด เนื่องจากมีหลักฐานชัดว่าความ เป็นแท้ดั้งเดิม เมื่อพบหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายเก่าปลายสมัยรัชกาลที่ 4 ถ้ามีหลักฐานอะไรที่คิดว่า ถูกต้องและคิดว่าเก่ากว่าภาพถ่ายสมัยรัชกาลที่ 4-5 กรมศิลปากรก็ยินดีที่จะพิจารณาใหม่กรมศิลปากร ไม่ได้ทำงานจากความรู้สึกแต่ทำจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์” ตามกฎบัตรเวนิส (Venice Charter 1964) ข้อ 11 ระบุไว้ว่าการบูรณะโบราณสถาน ให้ เคารพทุกยุคสมัยของโบราณสถาน การที่จะเผยวัสดุยุคก่อนหน้าทำเฉพาะบางกรณีที่มีประวัติศาสตร์ ยิ่งใหญ่มีคุณค่าทางโบราณคดี หรือเหตุผลอื่น ๆ มากพอที่จะทำ ซึ่งขัดกับระเบียบกรมศิลปากรข้อที่ 6 1
1
56
ที่กล่าวว่าโบราณสถานที่ถูกบูรณะมาก่อนแล้วต้องพิจารณาให้ละเอียดว่าบูรณะมาแล้วกี่ครั้ง ผิดถูก อย่างไร การอนุรักษ์ใหม่นี้ ไม่จำเป็นต้องใช้แบบใดแบบหนึ่งแต่พิจารณาให้แบบที่เหมาะสมที่สุดเป็น หลัก แต่อย่างไรก็ตามหากจะพิจารณาตามระเบียบของกรมศิลปากร แบบที่เหมาะสมที่สุดนี้ผู้ใดเป็นผู้ ตัดสิน เพราะกรมศิลปากรก็ถือว่าภาพถ่ายเก่านั้นเหมาะสมที่สุด ส่วนทางประชาชนนั้นก็เห็นว่าที่ เหมาะสมจะต้องเป็นเสาหัวเม็ดตามเดิมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่หากพิจารณาจาก Venice Charter ก็จะเห็นได้ว่าการเลือกแสดงเฉพาะงานยุคก่อนหน้านั้นจะทำได้เฉพาะบางกรณีที่มีประวัติศาสตร์ ยิ่งใหญ่มีคุณค่าทางโบราณคดี ทำให้เห็นชัดว่าการบูรณะกลับไปสู่สมัยรัชกาลที่ 4 นั้น ไม่ได้มี ความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากถึงขั้นต้องบูรณะแบบกลับสู่แบบเดิมเลยในทางกลับกันประชาชน กลับคุ้นเคยกับลักษณะเสาเพนียดแบบมีหัวเสา จึงไม่ควรทำให้ประชาชนสับสน ความจริงนั้นการเลือก แบบบูรณะตามระเบียบกรมศิลปากรข้อ 4.3,6,7 เน้นพูดกลับไปกลับมาระหว่างการทำตามแบบที่เห็น กับการทำตามแบบอื่น ๆ ทั้งเก่ากว่าและใหม่กว่า การทำตามระเบียบกรมศิลปากรจึงเป็นความสับสน ในตัวระเบียบเอง และเนื่องจากอธิบดีกรมศิลปากร นายอนันต์ ชูโชติ ได้กล่าวถึงความเป็นแท้ดั้งเดิม จึงต้องไปพิจารณาที่ Nara Conference on Authenticity ซึ่งระบุว่าการรักษาความเป็นของแท้ จะต้องยึดหลักการนานาชาติ ผลสำเร็จจะต้องไม่บ่อนทำลายคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยแต่ละ วัฒนธรรมจะต้องเข้าใจมรดกของตัวเองเสียก่อนหมายความว่า กรมศิลปากรต้องเข้าใจว่าเสาเพนียด คืออะไร ต้องมีลักษณะอย่างไร ทั้งในเชิงความหมายและกายภาพ การหยิบยกแต่ละแบบมาใช้จะเกิด ผลดีหรือผลเสียอย่างไร ในกรณีสิ่งที่กรมศิลปากรต้องคำนึงถึงคือถ้าหลักฐานเก่าถูกต้องจริงแต่มวลชน ไม่ยอมรับ ก็จะสูญเสียมวลชนในด้านความน่าเชื่อถือไป ยิ่งกรณีนี้พบว่าคนในชุมชนนั้นอยู่และอาศัย กับช้างในปัจจุบัน เพนียดคล้องช้างจึงเป็นโบราณสถานที่คนในชุมชนมีความเข้าใจการใช้งาน ลักษณะ และคุณค่าของโบราณสถานนี้ หากเพนียดขาดคนในชุมชนที่เลี้ยงช้างไปก็อาจกลายเป็นโบราณสถานที่ ดูไม่มีชีวิต ดูไม่สมบูรณ์ได้ ความเป็นแท้ดั้งเดิมจึงไม่ควรพิจารณาจากความเก่าของหลักฐานตามที่กรม ศิลปากรกล่าวอ้างเพียงอย่างเดียว อีกความสงสัยหนึ่งคือ หากกรมศิลปากรต้องการจะบูรณะให้กลับไปเหมือนเดิมทำไมจึงทำแค่ ตัวเสาเพนียด ทั้ง ๆ ที่ตัวพลับพลาเดิมในสมัยนั้นมีหลังคา 3 ชั้น จนการบูรณะปี พ.ศ. 2530 จึงปรับมา เป็น 2 ชั้น หากต้องการกลับไปเหมือนเก่าทำไมไม่ทำให้ พลับพลามี 3 ชั้นเหมือนเช่นเดิม หรือแท้จริง แล้ว การอ้างภาพถ่ายเก่าเป็นเพียงแค่การยกเหตุผลบางอย่างเพื่อมาปกปิดความผิดที่ได้ทำทั้งหมด 1
1
57
ประเด็นความไม่เข้าใจโบราณสถาน จากการบูรณะครั้งที่ผ่านมาทำให้เห็นว่ากรมศิลปากรไม่ได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับโบราณสถาน ที่กรมศิลปากรเข้าไปบูรณะเลย เห็นได้จากการบูรณะที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของโบราณสถาน โดยไม่เข้าใจลักษณะของการใช้งานจริง ทั้งนี้จะเห็นได้จาก - ระยะห่างเสาบริเวณเสาด้านนอกเชิงเทินและความสูงของเสา
ภาพที่ 42 (ซ้าย) เสาเพนียดภายนอกเชิงเทินก่อนการบูรณะปี 2561 ภาพที่ 43 (ขวา) เสาเพนียดภายนอกเชิงเทินหลังการบูรณะปี 2561 สังเกตจะเห็นได้ว่าก่อนการบูรณะจะมีความถี่มาก หากคนจะเดินลอดผ่านจะต้องตะแคงตัว แต่ภาพปัจจุบันหลังการบูรณะปี 2561 พบว่ามีช่องไฟที่กว้างขึน้ คนสามารถเดินลอดผ่านได้โดยง่าย จึงคาดว่าเสามีจำนวนที่ลดลงจากเดิม อีกทั้งความสูงของเสาปัจจุบันเตี้ยกว่าความสูงของช้างทำให้ไม่ สามารถกั้นช้างได้ - คานประคองเสาตะลุง
ภาพที่ 44 (ซ้าย) ภาพสมัยรัชกาลที่ 5 เสาเพนียดภายในเชิงเทินมีการใช้ค้ำยันค้ำคานประคองกลม ภาพที่ 45 (ขวา) ภาพการบูรณะปี พ.ศ.2531 ใช้เป็นไม้เหลี่ยมติดลงมาจากหัวเสาประมาณ 40 ซม. ของเดิมก่อนการบูรณะปี พ.ศ.2561 มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม กว้าง 8-10 นิ้ว หนา 3-4 นิ้ว ยึด ติดโดยการใช้สกรูเจาะจนทะลุเนื้อไม้ทั้งคานค้ำและเสา ยึดด้วยนอตตัวเมียทุกต้น ซึ่งใช้รูปแบบนี้มา 58
ตั้งแต่การบูรณะครั้งปี พ.ศ. 2500 แต่ปัจจุบันที่ทำจะเห็นว่าใช้เป็นไม้กลม ยึดติดบริเวณกลางเสาโดย ใช้สกรู แต่ไม่ได้เจาะทะลุเสาทำให้ไม่มีความแข็งแรงของแนวเสาเพนียด และยังมีการใช้ซิลิโคนในการ อุดรูเดิมของเสาแล้วทาสีทับเพื่อไม่ให้เห็นร่องรอยเดิม คาดว่ากรมศิลปากรบูรณะตามภาพถ่ายเก่า ซึ่ง มีการใช้ไม้กลม แต่หากสังเกตในภาพเก่าจะพบว่ามีการใช้ค้ำยันคอยค้ำเป็นระยะเพื่อให้รับแรงได้ ส่วน ด้านนอก มีแค่จุดก่อนเข้าผ่านโตงเตงเท่านั้นที่มีไม้กลม ส่วนที่เหลือยังไม่มีอะไรมาค้ำ ทำให้เสาบางต้น เริ่มล้มลงมา ปัจจุบันไม่สามารถนำช้างมาใช้งานที่เพนียดได้เพราะเกรงว่าหากโดนแรงช้างเข้าไปแล้ว เสาจะล้มเพราะไม่มีความแข็งแรงใด ๆ
ภาพที่ 46 การยึดเสากับคานกลมและการเจาะตะปูเข้าไปเพียงนิดเดียว
ภาพที่ 47 การใช้ซิลิโคนอุดรูเดิมที่ใช้ยึดกับคาน เป็นไม้เก่าที่มีการนำกลับมาใช้ใหม่
ภาพที่ 48 เสาเพนียดบางต้นที่ได้ล้มลงแล้วเพราะไม่มีการทำคานค้ำ 59
- ลักษณะหัวเสา
ภาพที่ 49 (ซ้าย) หัวเสาเพนียดเดิม ภาพที่ 50 (ขวา) หัวเสาเพนียดใหม่หลังการบูรณะ จะเห็นว่าเสาเดิมจะร่องขนาดใหญ่และลึก เพื่อให้สามารถคล้องเชือกที่ผูกช้างได้ แต่ของใหม่ เป็นเสาที่ทำเพื่อการประดับเท่านั้น มีร่องขนาดเล็กไม่สามารถใช้งานได้ทำให้เห็นว่ากรมศิลปากรไม่มี การศึกษาข้อมูลการใช้งานจริงเลย - โตงเตง
ภาพที่ 51 (ซ้าย) โตงเตงเดิมก่อนการบูรณะ จะเห็นว่าเสาติดพื้นมีรางด้านล่าง ภาพที่ 52 (ขวา) โตงเตงหลังการบบูรณะ เสาขนาดใหญ่ลอยอยู่เหนือพื้น
ภาพที่ 53 ระยะห่างเสาโตงเตงที่ช้างเข้าไม่ได้ 60
โตงเตงเป็นจุดที่ช้างจะเดินผ่านเพื่อเข้าไปสู่ภายในเชิงเทิน เสาโตงเตงมีน้ำหนักมาก ช้างที่ แข็งแรงเท่านั้นที่จะผ่านไปได้และนำไปเป็นช้างที่ใช้ออกรบ แต่ช้างที่ไม่ผ่านจะนำไปขนเสบียงขนของ แทน โดยโตงเตงจะเป็นเสาที่ขยับได้โดยมีรางอยู่ด้านล่าง หลังช้างเดินผ่านไปแล้วจะไม่สามารถกลับ ออกมาได้ แต่ของใหม่ที่ทำนี้ไม่มีรางด้านล่าง เป็นเสาลอยอยู่เหนือพื้น และมีระยะที่แคบมาก (ประมาณ 60 ซม.) ช้างไม่สามารถเข้าได้ซึ่งแม้แต่ลูกช้างก็เข้าไปได้ยาก ปัจจุบันจึงไม่สามารถนำช้าง เข้าไปในเชิงเทินได้เพราะกลัวว่าเสาโตงเตงที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากเท่านั้นอาจตกลงมาหาก ชนกับแรงช้างจึงไม่ปลอดภัยกับช้างและคนด้วย ประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงของวิธีการซ่อม การเปิดเผยและปกปิดข้อมูล
ภาพที่ 54 การปกปิดสภาพไม้เก่าของกรมศิลปากร ไม่ได้ใช้ไม้ใหม่
ภาพที่ 55 กองไม้เสาเดิมที่นำไปตัดหัว เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ วิธีที่กรมศิลปากรใช้บูรณะในครั้งนี้คือการนำไม้เก่าจากภายในเชิงเทินมาแล้วนำมาตัดหัวเสา ทิ้ง แล้วนำไม้มาหุ้มปิดอีกรอบแล้วโป๊วสี ทาสีทับให้เนียนเหมือนเป็นไม้ใหม่ โดยตอนใช้นำด้านหัวเสา เดิมปักลงดินเนื่องจากด้านหัวเสาจะมีความผุพังมากกว่าโคนเสาเดิม การตัดหัวทิ้งแล้วใช้ต่อทำให้เสามี ความสูงที่น้อยลง ซึ่งปัจจุบันเสามีความสูงน้อยกว่าความสูงช้าง และเนื่องจากเสาเดิมที่บูรณะปี พ.ศ. 61
2550 มีการใช้ไม้ใหม่ทั้งหมดแต่เป็นไม้เบญจพรรณ ทำให้ไม่คงทนเหมือนตอนปี พ.ศ.2500 ที่เป็นไม้ สัก เมื่อไม้เสื่อมสภาพก็ไม่ควรนำมาใช้ต่อเนื่องจากเป็นโบราณสถานที่ต้องการความแข็งแรงในการใช้ งาน ต้องรับแรงของช้าง เมื่อไปดูสภาพปัจจุบันจะพบว่าผ่านไปไม่กี่เดือนก็เริ่มมีไม้ที่แปะไว้หลุดออก มาแล้วและในบางส่วนก็ยังทาสีปิดทับไม่เสร็จทำให้เห็นไม้ภายที่เอามาปิดชัดเจน
ภาพที่ 56 เสาที่มีไม้หลุดออกมาแล้วเนื่องจากยึดไม่แข็งแรงเผยให้เห็นไม้ผุด้านใน
ภาพที่ 57 เสาที่ยังทาสีปิดไม่เสร็จ ไม่เก็บความเรียบร้อยของงาน
ภาพที่ 58 ด้านหัวเสาเพนียดที่ถูกปักลงดิน 62
นอกจากเหตุผลเรื่องประวัติศาสตร์แล้ว การทำหัวเม็ดนั้นยังเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำขังบน หัวเสาอีกด้วย การทำหัวเสาได้เปลี่ยนเป็นหัวตัดทำให้หัวเสาที่ทำใหม่ผุพังภายในเวลาไม่กี่เดือน วิธีการซ่อมแบบนี้ทำให้เกิดความสงสัยว่าการอ้างอิงข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่บอกว่าเดิมไม่มี หัวเสานั้น เป็นเพียงข้ออ้างเพื่อให้การซ่อมแบบตัดปะไม้เช่นนี้ดูมีเหตุผลขึ้นมาหรือไม่ ความจริงการ บอกเล่าข้อมูลแบบตรงไปตรงมาน่าจะดีกว่าการอ้างเหตุผลหนึ่งขึ้นมาเพื่อมากลบเกลื่อนข้อมูลที่ไม่ได้ ออกมาเล่าหรือการทำการปกปิดข้อมูลความผิดพลาดในวิธีการซ่อม ซึ่งเป็นการเบี่ยงความสนใจไปที่ ลักษณะมากกว่าวิธีการซ่อม ประเด็นเรื่องดุลพินิจในการพูด และการให้ความสำคัญกับชุมชน จากกรณีศึกษานี้จะเห็นได้ชัดว่าชุมชนนี้มีส่วนร่วมกับโบราณสถานมาก เนื่องจากเป็นชุมชนที่ เติบโตมากับการเลี้ยงช้างและอยู่กับอาชีพนี้ตั้งแต่รุ่นก่อนๆ การบูรณะโบราณสถานแห่งนี้จึงไม่ควรจะ ละเลยการทำประชาพิจารณ์ แต่การเข้ามาทำงานของกรมศิลปากรครั้งนี้กลับกั้นรั้วสังกะสี ไม่เปิดเผย ความคืบหน้าให้คนในชุมชนรู้ กระทั่งงานเสร็จชุมชนถึงได้รู้และมาเห็นถึงความน่าสะเทือนใจนี้ ทั้ง ๆ ที่ ชุมชนนี้มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมชุมชนขึ้นเพื่อเป็นกรรมการภาคประชาชน แต่กลับถูกละเลยจาก ภาครัฐ นอกจากนั้นแทนที่กรมศิลปากรจะใส่ใจกับชุมชน แต่กลับให้ความกับสื่อว่าเป็นชุนชนที่มาใช้ โบราณสถานในการทำมาหากิน ควรไล่ออกไป ทำให้คนหันประเด็นไปทางอื่นมากกว่าสนใจความ ผิดพลาดของกรมศิลปากรในครั้งนี้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง แต่โบราณสถานบางแห่งก็ขาดคนในชุมชน ไปไม่ได้ เช่นเดียวกับกรณีเพนียดนี้ หากเพนียดนี้ไม่มีช้าง ก็เป็นเพียงโบราณสถานร้างที่มีเสาเรียงกันให้ เห็น ไม่ได้เป็นโบราณสถานที่มีชีวิต หลังการบูรณะ คนในชุมชนยังคงตั้งซุ้มด้านหน้าเพนียดให้ลงชื่อคัดค้านการซ่อมเพนียดครั้งนี้ และเพื่อกั้นไม่ให้กรมศิลปากรเข้ามาทำงานได้ตามใจชอบ เพราะได้มีการระงับโครงการไว้ ยังไม่ส่ง มอบงาน โดยคนในชุมชนจะผลัดกันมาเฝ้าและคอยให้ข้อมูล ปัจจุบันได้มีการส่งเรื่องฟ้องร้องเรียบร้อย และคนในชุมชนหวังเพียงให้กรมศิลปากรเข้ามาทำให้มีสภาพเหมือนเดิมก่อนบูรณะ
63
ภาพที่ 59 ภาพเต้นท์หน้าทางเข้าเพนียดที่ชาวบ้านยังคงเฝ้าไม่ให้กรมศิลปากรดำเนินการใด ๆ
ภาพที่ 60 ภาพป้ายหน้าโบราณสถาน เป็นป้ายที่ชาวบ้านรวมทุนกันซื้อเสาแบบเดิมมาตั้ง
ภาพที่ 61 ภาพชาวบ้านชุมชนสวยพริก ที่อยู่คอยดูแลโบราณสถาน
64
กรณีศึกษา พัฒนาการการบูรณะปราสาทหินในประเทศไทย ประเทศไทยได้มีการบูรณะโบราณสถานประเภทปราสาทหินขึ้นในครั้งแรกคือที่ปราสาทหินพิมาย มี การขุดแต่งเพื่อบูรณะไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2494 แต่ยังไม่สามารถดำเนินการต่อได้ จนต่อมาได้จัดทำ โครงการเพื่อบูรณะปราสาทหินพิมายและตั้งพิพิธภัณฑ์สถานเมืองพิมายไว้โดยละเอียด เสนอไปทาง คณะรัฐมนตรี ทำให้ต่อมารัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลฝรั่งเศสโดยผ่านทางองค์การ สนธิสัญญาการป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้องค์กรได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาคือ Mr. Bernard Philippe Groslier และสถาปนิกฝึกงานคือ Mr. Pierre Pichard ซึ่งการบูรณะปราสาท หินในครั้งนี้ ได้ถูกนำมาเป็นต้นแบบ และได้ถูกนำไปพัฒนาปรับปรุงต่อไปเป็นแบบอื่น ๆ เรื่อยมาจน ปัจจุบัน 1
หลักการบูรณะแบบอนัสไตโลซิส (Anastylosis) คำว่า Anastylosis แปลความหมายได้กว้าง ๆ ว่าการบูรณะ ในตอนแรกเป็นศัพท์ที่ถูกต่อต้าน เนื่องจากเป็นศัพท์ที่มีความหมายคล้ายเคียงกับการสร้างขึ้นใหม่ แต่คำนี้ถูกแปลงความหมายจากเดิม ในการประชุมที่ประเทศกรีซ ซึ่งต่อมามีการประกาศ Athen Charter ออกมาใช้ โดยคำนี้ได้ให้ความ หมายถึงการนำกลับคืนสู่ที่เดิมขององค์ประกอบทั่วไปของโบราณสถาน ต่อมาใน Venice Charter ได้มีการแยกศัพท์ Anastylosis กับการสร้างขึ้นใหม่ (Reconstruction) ออกจากกับโดยชัดเจน โดยระบุไว้ว่า การทำงานอนุรักษ์แบบปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดให้หลีกเลี่ยงเป็นอันดับแรก เพียงรูปแบบของอนัสไตโลซิสเท่านั้นที่ยอมรับให้ปฏิบัติได้ โดยอนัสไตโลซิสก็คือ การรวบรวมจัดองค์ประกอบใหม่ของส่วนต่าง ๆ ของโบราณสถานที่ยังคงเหลือ สภาพอยู่แต่หล่นกระจัดกระจายออกจากกัน โดยสามารถใช้วัสดุประสานให้ต่อเนื่องกันได้บ้างแต่ต้อง สังเกตได้ว่าเป็นของใหม่แล้วให้ใช้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น โดยการให้คำจำกัดความที่ไม่ชัดเจนแบบนี้ก็ เพื่อให้ผู้บูรณะตัดสินใจ และขึ้นอยู่กับโบราณสถานแต่ละแห่ง แต่จะต้องหลีกเลี่ยงการปลอมแปลง โบราณสถาน อย่างไรก็ตามการระบุให้ใช้วัสดุประสานน้อย ทำให้ต้องคัดเฉพาะชิ้นที่มีคุณภาพดีมาใช้ งานและเพื่อห้ามปรามการก่อตัวของโบราณสถานขึ้นใหม่ ให้ปฏิบัติเฉพาะที่จำเป็น พอเข้าใจลักษณะ และให้เกิดมั่นคง โดยการบูรณะแบบอนัสไตโลซิสนั้นจะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะหากไม่มีความ ชำนาญแล้วจะทำให้เกิดการแปลงโฉมโบราณสถาน และผู้ชมจะเกิดความสับสนในประวัติศาสตร์ซึ่ง 65
เป็นการลดคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของโบราณสถานนั้นแทน โดยกฎบัตรทั้งสอง ไม่ได้มีการสร้าง กฎเกณฑ์ที่ตายตัว แต่ให้แต่ละประเทศมีอิสระในการดูแลรักษามรดกของชาติ ตามวัฒนธรรมและ ประเพณีของตนเอง การบูรณะแบบอนัสไตโลซิสได้เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย คือบูโรพุทโธ โดยชาวฮอลแลนด์ ต่อมานักอนุรักษ์ชาวฝรั่งเศสที่ทำงานหน่วยงานอนุรักษ์เมืองพระนคร ได้นำเอาการบูรณะแบบนี้มาใช้กับปราสาทหินหลายแห่งจนทำให้สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาก็ได้ นำหลักการนี้เข้ามาใช้กับปราสาทหินในประเทศไทย คือปราสาทหินพิมายเป็นแห่งแรก ประวัติการบูรณะปราสาทหินในประเทศไทย และการปรับเปลี่ยนไปของแนวความคิด Anastylosis ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพิมายเชื่อว่าถูกสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 6 และถูกต่อเติมในสมัยพระ เจ้าชัยวรมันที่ 7 ลักษณะโดยทั่วไป ประกอบด้วยปราสาทหลังกลางที่มีมณฑปประกอบอยู่ด้านหน้า หน้ามณฑปมีปรางค์ 2 หลัง มีหอสมุดอยู่ด้านหลัง และมีระเบียงคดล้อมรอบ และนอกระเบียงคดยังมี กำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง มีประตูทั้ง 4 ทิศ ทิศใต้มีสะพานนาคอยู่หน้าประตู
ภาพที่ 62 ลักษณะทางกายภาพของปราสาทหินพิมาย สาเหตุของความทรุดโทรมนั้นคาดว่ามาจากสาเหตุ 2 ประการหลักคือ จากธรรมชาติของวัสดุ ที่ใช้และการก่อสร้าง คือโครงสร้างของปราสาทหินพิมายนั้น ด้านใต้รองด้วยดินอัดแน่นทำให้น้ำหนัก ทั้งหมดของปราสาทหินถ่ายลงบนดิน เมื่อเวลาผ่านไป ดินก็เริ่มทรุดตัวแล้วถล่ม ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งก็ คือ การทำลายโดยมนุษย์ เพราะสถาปัตยกรรมประเภทนี้มักมีของสำคัญถูกบรรจุไว้บริเวณยอด ทำให้ มีการรื้อทำลายยอดเพื่อเอาของที่บรรจุไว้ไป ข้อสันนิษฐานนี้เกิดจากการสังเกตว่าปราสาทหลังกลาง นั้นยังอยู่ในสภาพที่ดีมาก แต่ยอดซึ่งสูงถึง 60 เมตร กลับหายไป แต่ก็ค้นพบเศษหินที่ตกหล่นอยู่ 66
ข้างล่างได้1ปราสาทหลังกลางและมณฑปนั้นทำจากหินทรายสีเทาจึงมีความคงทน ทำให้ได้รับความ เสียหายน้อย ในขณะที่ปรางค์อีก 2 องค์กับอาคารหอสมุดและคลังเงินนั้นสภาพย่ำแย่มากเนื่องจากทำ มาจากหินทรายสีชมพูและศิลาแลง
ภาพที่ 63 สภาพปราสาทหินพิมายก่อนการบูรณะ วิธีการที่ใช้ซ่อมปราสาทหินพิมายนั้นมี 3 ประการคือ 1. พิจารณาคัดเลือกหินที่ตกหล่นอยู่เพื่อพิจารณาว่าอาคารเดิมมีหน้าตาเป็นอย่างไร และใน ขณะเดียวกันก็ทำการขุดค้นไปด้วย 2. ต้องรื้อปราสาทลงสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด เนื่องจากการซ่อมปราสาทขอมเพียงบางส่วนจะไม่ ช่วยอะไร การรื้อลงสร้างขึ้นใหม่วิธี Anastylosis ทำได้โดยการสร้างโครงสร้างใหม่ให้แข็งแรงขึ้น และ ป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ด้วยคือการสร้างรางระบายน้ำและทาน้ำยารักษาหิน 3. ปราสาทหลังกลางสามารถรื้อแล้วสร้างใหม่ได้สะดวก แต่ระเบียงคดและซุ้มประตูกำแพง ชั้นนอกทำได้ยาก และไม่สามารถทำอะไรกับอาคารอื่น ๆ ได้อีก ทำให้เมื่อซ่อมเสร็จปราสาทหลังกลาง จะอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพัง จึงต้องปรับปรุงบริเวณล้อมรอบใหม่ บันทึกได้เขียนว่าการรื้อแล้วสร้างใหม่เป็นเรื่องง่าย แต่เสียเวลามาก อีกทั้งต้องปิดปราสาทไป ถึง 5 ปี จึงใช้วิธีการรื้อบางส่วน โดยรื้อมุขของปราสาทหลังกลางและมณฑปลงหมด แล้วเสริม โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเข้าไปทั้งข้างนอกและข้างในปราสาทหลังกลางแล้วจึงนำเอาก้อนหินที่ รื้อลงมาเรียงขึ้นไปใหม่และต่อยอดปราสาทจนสมบูรณ์ ถ้ามีช่องอยู่ในหินก็จะฉีดคอนกรีตเข้าไป มีการ วางท่อระบายน้ำและอาบน้ำยาป้องกันหิน การซ่อมปราสาทหินพิมายครั้งนี้ผู้ซ่อมอ้างว่าเป็นการบูรณะที่มีการสำรวจถี่ถ้วนมีการทำผัง หินหล่น ให้รหัสหินทุกก้อน และมีการถ่ายภาพ และจัดทำแบบบูรณะไว้อย่างครบถ้วน ทำให้ 67
โบราณสถานนั้นกลับคืนสู่สภาพที่เคยเป็นอยู่อย่างถูกต้องมากที่สุด มีการใช้วัสดุใหม่เสริมเท่าที่จำเป็น จริง ๆ คือในด้านโครงสร้าง อย่างไรก็ตาม ไม่พบแบบอยู่ที่ประเทศไทยแต่อ้างว่ามีเก็บที่ประเทศ ฝรั่งเศส ซึ่งขัดกับ Venice Charter
ภาพที่ 64 ปราสาหินพิมายหลังการบูรณะ เป็นปราสาทหินที่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังพบบันทึกของอาจารย์ Pierre Pichard ผู้มีหน้าที่หลักในการวิเคราะห์ที่มาของ วัสดุต่าง ๆ ในโบราณสถานว่า “หินส่วนมากที่อยู่ในบริเวณนั้นสำรวจแล้วว่าหลุดออกมาจากส่วนไหน ของปรางค์ แต่บางก้อนก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าอยูต่ รงไหน จำต้องคอยค้นแบบค่อยทำค่อยไป บางก้อน ก็แตกป่นบีไ้ ป บางก้อนก็หายไปไม่มีร่องรอย”แผนผังที่ เมอร์ซีเออร์ ปีชาร์ต เขียนไว้นั้นได้แสดงข้อมูล อย่างละเอียดลออของหินแต่ก้อนทำให้เห็นว่าการคืนรูปแบบให้กับโบราณสถานในครั้งนี้เขาอ้างว่าการ บันทึกนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการคาดเดา แต่เป็นการหาของแท้กลับไปคืนที่เดิม ซึ่งเข้ากับหลักการ ของอนัสไตโลซิส ถึงแม้ว่ากรมศิลปากรจะยืนยันว่าการทำงานครั้งนีเ้ กิดจากการนำกลับที่เดิม แต่หากสังเกต องค์ประกอบดี ๆ แล้วจะพบว่ามีบางส่วนที่แปลกและไม่เคยเห็นในปราสาทขอมที่ไหนมาก่อน เช่น กลีบขนุนตัวมุมที่ถูกหนุนให้เอียงไปตามองศาของยอดปราสาทที่ไม่พบในปราสาทเขมรแห่งใดเลย อีก ทั้งการบูรณะครั้งนี้ไม่มีการบันทึกไว้ว่ามีการใช้หินใหม่กี่เปอร์เซ็นต์ และนำรูปแบบมาจากไหน ซึ่งการ ใส่เพิ่มเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำหรือหากทำก็ควรบันทึกไว้ให้คนรุ่นหลังทราบ
ภาพที่ 65 เปรียบเทียบยอดปราสาทหินนครวัด(ซ้าย)กับยอดปราสาทหินพิมาย(ขวา) 68
ต่อมาได้มีการนำการซ่อมครั้งนี้ไปเป็นตัวอย่างการซ่อมอีกหลายครั้งและได้พัฒนาปรับปรุงไป เรื่อย ๆ จนมีความผิดเพี้ยนในความเข้าใจหลักการและการให้ความสำคัญกับหลักการลดน้อยลงไป ปราสาทหินพนมรุ้ง การบูรณะแบบอนัสไตโลซิสที่ทำโดยคนไทยครั้งแรกนั้นเริ่มขึ้นที่ปราสาทหินพนมรุ้งซึง่ เป็นที่ วิพากษ์วิจารณ์กันมาก โดยการบูรณะปราสาทหินพนมรุ้งนี้ ในช่วงแรกได้ใช้ผู้เชี่ยวชาญการบูรณะชุด เดิมกับที่บูรณะปราสาทหินพิมายแต่หลายจากการบูรณะไม่แล้วเสร็จภายในเวลา 4 ปี ทำให้การ บูรณะปราสาทหินพนมรุ้งได้เปลี่ยนชุดคณะทำงานบูรณะไปทั้งหมด โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน ใหม่ ตลอดจนจ้างแรงงานใหม่
ภาพที่ 66 สภาพของปราสาทหินพนมรุ้งก่อนการบูรณะ การบูรณะในครั้งนี้ได้ทำการบูรณะส่วนปรางค์ประธาน อาคารทุกหลังในลานในระเบียงคด โคปุระ ระเบียงนอก บันไดและทางเดิน โรงช้างเผือก ซึ่งต่างกับการบูรณะปราสาทหินพิมายที่เลือ กที่ จะบูรณะเพียงปราสาทองค์กลางเนื่องจากอาคารอื่น1ๆ มีข้อมูลไม่เพียงพอและวัสดุที่ไม่เพียงพอทีจ่ ะ นำกลับมาสร้างขึ้นใหม่ได้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ปราสาทหินพนมรุ้งที่มีสภาพเดิมย่ำแย่กว่าปราสาท หินพิมายนั้น สามารถทราบรูปแบบจริงของโบราณได้ทั้งหมดจริงหรือ สิ่งที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กัน มากที่สุดคือส่วนยอดขององค์ปรางค์ประธานที่มีลักษณะและสัดส่วนที่แปลกไป ดูเตี้ยกว่าปกติ ลักษณะของกลีบขนุนก็ไม่เคยพบเจอที่ไหนมาก่อน ซึ่งคาดว่าอาจเป็นการอ้างอิงจากการพบ เจอหลักฐานบางส่วน อีกทั้งการติดตั้งเสาประดับกรอบประตูทางด้านทิศตะวันออกของมณฑปอาจ ไม่ใช่ตำแหน่งเดิมที่ควรจะเป็น การบูรณะครั้งนี้จึงอาจทำให้ผู้ที่ไม่รู้เกิดความเข้าใจผิดได้ เป็นการ บิดเบือนคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์ของโบราณสถานไป
69
ภาพที่ 67 ปราสาทหินพิมายหลักการบูรณะ มีสภาพสมบูรณ์มาก อย่างไรก็ตาม กรมศิลปากรได้ออกมายืนยันว่า การซ่อมปราสาทหินพนมรุ้งโดยมี ดร.สัญชัย หมายมั่น เป็นหนึ่งในคณะทำงานนี้ได้มีการหาที่มาของหินเดิมและนำกลับไปสู่ที่เดิมถึง 90% มีส่วนน้อยมากที่ ทำขึ้นใหม่เพื่อให้อยู่ได้ เพราะปราสาทขอมนี้ไม่ใช้ปูนสอในการเชื่อมหิน ทำให้หาได้ง่ายกว่าหินก้อน ไหนต่อกันอย่างไรแต่ละก้อนจะถูกสกัดมาให้พอดีกัน ขนาดจึงไม่เท่ากันเลยทำให้หากวางผิดที่จะรวน ไปหมด อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานใดมายืนยันคำบอกเล่าของกรมศิลป์และคณะผู้จัดทำโดยกรมศิลป์ เรียกการบูรณะครั้งนี้ว่าอนันไตโลซิส ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วตรงข้ามกับหลักการโดยสิ้นเชิง เพราะ จุดมุ่งหมายที่จะสร้างโบราณสถานให้สมบูรณ์แบบมากกว่าการรักษาสภาพเดิมและไม่ต่อเติมในเรื่องที่ ผู้ซ่อมไม่ทราบและไม่อาจหาหลักฐานได้ ดังนั้นแม้จะเป็นการบูรณะที่เป็นผลงานที่ดูสมบูรณ์แต่เป็น การบูรณะที่ทำให้คงเหลือคุณค่าทางโบราณคดีน้อยมาก และกรมศิลป์ก็ได้ถือว่าการซ่อมแบบนี้เป็น มาตรฐานการซ่อมปราสาทอื่น ๆ ตั้งแต่นั้นมา นั่นคือรูปแบบที่สมบูรณ์ต้องมาก่อนเรื่องอื่น ๆ ปราสาทเมืองสิงห์ ปราสาทเมืองสิงห์มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับศิลปะสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้รับการขุดแต่งปี พ.ศ. 2517 จนถึง พ.ศ. 2539 เพื่อเปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ การบูรณะ ปราสาทเมืองสิงห์นั้นเป็นการบูรณะที่เน้นความรวดเร็วจึงทำให้กรมศิลปากรใช้การบูรณะแบบจ้าง เหมาทำให้ขาดการบูรณะตามหลักวิชาการ เนื่องจากวัสดุหลักของปราสาทเมืองสิงห์นั้นคือศิลาแลง ทำให้ต่างจากการบูรณะปราสาทหินพิมายและปราสาทหินพนมรุ้ง กรมศิลปากรได้เรียกการบูรณะครั้ง นี้ว่าใช้หลักการอนัสไตโลซิส แต่แท้จริงแล้วเน้นเพียงการใช้วัสดุเดิม แต่ไม่ได้นำกลับไปในที่ตั้งดั้งเดิม แสดงให้เห็นว่า กรมศิลปากร ขาดความเข้าใจในหลักการนี้ การบูรณะปราสาทเมืองสิงห์ในครั้งนี้มีการ
70
ทำสภาพแวดล้อมให้สวยงามและเน้นทำตัวปราสาทให้สมบูรณ์ แต่ละเลยข้อเท็จจริงทางวิชาการไป โดยสิ้นเชิง ทำให้เป็นเสมือนการแปลงโฉมโบราณสถานขึ้นมาใหม่
ภาพที่ 68 ปราสาทเมืองสิงห์ที่มีสภาพสมบูรณ์หลังการบูรณะ สิ่งที่เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมากในการบูรณะครั้งนี้คือลักษณะของยอดที่ไม่เคยมีมาก่อน พบ ศิลาแลงที่ยังมีส่วนที่ติดปูนปั้นหน้าคนแบบบายนอยู่ แต่ก็ได้ละเลยไม่ใส่ใจกับของที่พบ รูปหน้าบัน ประตูโค้งที่ควรเป็นศิลปะแบบเขมรก็กลับกลายเป็นศิลปะแบบโรมันและอิสลาม อีกทั้ง แผนผังของ โคปุระ ถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดยไม่ได้ถูกอ้างอิงจากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากจุดประสงค์ของการบูรณะครั้งนี้มีเพียงแค่จะเปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ ที่เหมาะ กับการท่องเที่ยว การบูรณะปราสาทเมืองสิงห์ครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการพัฒนาถอยหลังของการบูรณะ แบบอนัสไตโลซิสของประเทศไทย ปราสาทนารายณ์เจงเวง ตั้งอยู่ที่จังหวัดสกลนคร สร้างในสมัยพระเจ้าอุทัยอาทิย์วรมันที่ 2 เป็นปราสาทที่มีการใช้ ประกอบพิธีอันศักดิ์สิทธิ์โดยมีการสร้างอิงแกนทิศตะวันออกแท้ (Vernal Equinox) โดยกรมศิลปากร เข้ามาทำการบูรณะปี พ.ศ.2521- พ..ศ.2525 ปราสาทนารายณ์เจงเวงสร้างจากวัสดุเป็นหินทรายสี ชมพู การซ่อมครั้งนี้ กรมศิลปากรไม่ได้ใช้หินใหม่เลยเพียงแต่ใส่โครงสร้างลักษณะคล้ายฐานเขียงวาง ลงบนฐานอัสดงค์ชั้นที่ 2 ทำหน้าที่รับชั้นรัดประคดที่อยู่เหนือขึ้นไป ทำให้เห็นว่าไม่มีการใช้หินใหม่เลย มีเพียงโครงสร้างใหม่ที่ยื่นออกมารับ ซึ่งแม้จะเป็นการบูรณะจะเป็นวิธีการที่ดูเหมือนเคารพความเป็น ของแท้ แต่เป็นงานที่ดูน่าเกลียด ไม่มีศิลปะ จนทำให้คุณค่าของอาคารไม่ได้ดีขึ้นและไม่ได้เป็นของแท้ เช่นกัน อีกทั้งยังเป็นการบูรณะที่ผิดเพี้ยนไปจากความเข้าใจเรื่องหลักการอนัสไตโลซิสมาก เพราะใน 71
หลักการได้ระบุไว้ชัดเจนว่าห้ามปรามการก่อตัวของโบราณสถานขึ้นใหม่ ให้ปฏิบัติเฉพาะที่จำเป็น พอ เข้าใจลักษณะและให้เกิดมั่นคงเท่านั้น การบูรณะของกรมศิลปากรครั้งนี้ มีชิ้นส่วนหลายชิ้นที่ยังกระจัดกระจายอยู่ตามพื้น ทั้งที่มี ความสำคัญมาก แต่อาจจะไม่สามารถหาที่ตั้งดั้งเดิมได้ เลยไม่ได้นำไปใช้ และได้ทิ้งไว้ที่บริเวณเดิม ซึ่ง รูปสลักที่ถูกทิ้งไว้ยังมีความสมบูรณ์มาก สามารถบ่งบอกการแต่งกายและความเชื่อของคนในยุคสมัย นั้น ๆ ได้
ภาพที่ 69 ประติมากรรมปูนปั้นพยานาคที่ถูกทิ้งไว้
ภาพที่ 70 ประติมากรรมพาลีต่อสู้กับสุครีพ
ภาพที่ 71 กองหินมากมายที่ยังคงเหลืออยู่ในพื้นที่ 72
ปราสาทหินพนมวัน ปราสาทหินพนมวันเป็นโบราณสถานในอารยธรรมเขมรตั้งอยู่จังหวัดนครราชสีมา เดิมสร้าง ขึ้นเพื่อเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นพุทธสถาน โดยวัสดุของปราสาทหิน พนมวันคือหินทรายสีขาว การบูรณะปราสาทหินพนมวันมีอยู่หลายช่วงด้วยกัน โดยเริ่มมีการขุดแต่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2510 โดยเริ่มทำจากระเบียงคดก่อน ในปี พ.ศ.2530 เริ่มมีการขุดสำรวจชั้นดินทับถม ยก ชิ้นส่วนที่พังทลายออก จากนั้นได้เริ่มการบูรณะโดยวิธีที่กรมศิลปากรกล่าวว่าเป็นวิธีอนัสไตโลซิส โดย กรมศิลปากรได้มีการทดลองประกอบหินที่หล่นอยู่ก่อนพบว่ามีจำนวนไม่เพียงพอที่จะประกอบกลับได้ แต่เนื่องจากมีข้อมูลของปราสาทหินพนมวันอยู่จึงทำให้รู้ว่าลักษณะยอดนั้นเป็นอย่างไร จึงใช้วิธีการ ก่อเพิ่มโดยใช้วัสดุเดิมแต่เป็นของใหม่คือหินทรายสีขาวโดยหินใหม่มีการแต่งโกลนให้สอดรับกับ ชิ้นส่วนเก่าแต่จะไม่มีการแกะสลักลวดลาย โดยกรมศิลปากรไม่ได้ทำการขัดล้างหินเดิมเพราะเนื่องจากมีผู้วิพากษ์วิจารณ์มากในกรณีของ การใช้สารเคมีล้างปราสาทหินพิมาย ซึ่งทำให้เนื้อหินกร่อนไป อย่างไรก็ตาม การบูรณะปราสาทหิน พนมวันของกรมศิลปากรนี้อยู่ในกรอบเวลาที่เร่งรัด เพื่อใช้โบราณสถานเป็นแหล่งท่องเที่ยวมากกว่า เป็นแหล่งเรียนรู้ ทำให้การบูรณะกลายเป็นการก่อสร้างขึ้นมาใหม่แทน
ภาพที่ 72 ปราสาทหินพนมวันหลังการบูรณะ ปราสาทหินสด๊กก๊อกธม ปราสาทหินสด๊กก๊อกธมตั้งอยู่จังหวัดสระแก้ว คาดว่าสร้างในสมัยพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ผังของปราสาทหินสด๊กก๊อกธมนั้นมีกำแพงล้อมรอบ มีประตูทั้ง 4 ด้าน มีปราสาทหิน 7 องค์ โดย แบ่งเป็นรอบนอก 4 องค์แล้วตรงกลาง 3 องค์ ปราสาททุกองค์ทำจากหินและศิลาแลง 73
ในปี พ.ศ.2544 ได้มีการสำรวจปราสาทสด๊กก๊อกธมเป็นครั้งแรก กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน โบราณสถานแห่งนี้ในปี พ.ศ.2478 โดยเมื่อกรมศิลปากรเข้าไปสำรวจพบว่า ปราสาทหินสด๊กก๊อกธมนี้ ได้รับความเสียหายมากโดยเฉพาะจากฝีมือมนุษย์ เนื่องจากมีการมาขุดหาโบราณวัตถุและพังยอดลง มา หินบางส่วนก็ถูกสกัดเอาลวดลายแกะสลักไป ในปี พ.ศ.2536 กรมศิลปากรได้เข้าไปทำการสำรวจ ละเอียดอีกครั้งเพื่อทำการบูรณะ โดยเริ่มจากการเขียนแบบสภาพก่อนการอนุรักษ์แล้วดำเนินการขุด ตรวจ ทำผังหินหล่นทุกชั้นพร้อมกำหนดรหัสหิน การบูรณะได้เริ่มจากการอาคารขนาดเล็กก่อนได้แก่ บรรณาลัย 2 หลัง ต่อมาเป็นโคปุระตะวันออกชั้นใน และในปี พ.ศ.2548 ได้เริ่มบูรณะที่องค์ประธาน ปรางค์ประธานสร้างจากหินทรายสีขาวที่ตั้งอยู่บนลานศิลาแลงตรงกลางเป็นห้องที่ใช้ ประกอบพิธี โดยส่วนฐานที่รับส่วนเรือนธาตุได้จมลงไปเนื่องจากการรับน้ำหนักมหาศาลของอาคาร เมื่อทำการขุดแต่งจนถึงชั้นดินเดิมแล้วพบว่ามีทางเดินเชื่อมจากโคปุระตะวันออกเข้ามายังปราสาท องค์ประธาน และพบว่ามีการประดับด้วยเสานางเรียงด้วย
ภาพที่ 73 เสานางเรียงที่เป็นทางเดินไปสู้ปราสาทประธาน หลังจากนั้นได้ทดลองนำหินที่หล่นมาประกอบกัน และได้จัดทำแบบสันนิษฐานโดยอ้างอิง จากสิ่งที่ทดลองเรียงและจากประวัติศาสตร์ ทำให้พอเห็นได้ว่ารูปร่างเป็นอย่างไร โดยพบว่าหิน ของเดิมหายไปถึง150%1โดยกรมศิลปากรได้ใช้หลักการคิดถึงความเป็นของแท้ซึ่งถ้าทำแล้วรู้สึกถึง ความเชื่อเดิมกลับมาก็ถือว่าเป็นของแท้ โดยมีการทำแบบสอบถามผู้คนที่เกี่ยวข้องว่าต้องการให้บูรณะ ไปในแนวทางไหน แล้วพบว่าคนยังต้องการความเก่าแก่ไว้ และให้มีความงาม เป็นแหล่งเรียนรู้ของคน ในชุมชนและในประเทศไทย การบูรณะปรางค์ประธานเริ่มจากการถอดรื้อลงมาเสริมโครงสร้างโดยไม่ให้เนื้อหินเดิมสัมผัส กับคอนกรีตโดยตรง แต่ใช้คอนกรีตเทรองด้านล่างแล้วปูศิลาแลงก่อเรียงขึ้นมารับอาคารแล้วประกอบ กลับไป ต่อมาได้ทำการก่อเรียงหินด้านล่างทีละชั้น ส่วนหินที่หายไปได้ทำขึ้นใหม่จากวัสดุเดิมโดยใช้วิธี 74
เดียวกับที่ปราสาทหินพนมวัน คือการตัดหินก้อนใหม่มาใส่ ขนาดเท่าเดิมแต่ไม่ทำลายสลัก ส่วนหน้า บันที่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ก็ได้ทำของเลียนแบบขึ้นมาประดับไว้ให้คนเข้าใจ ในส่วนของบรรณาลัย เจอหินหน้าบันชั้นบน แต่หากจะซ่อมต้องใช้หินใหม่จำนวนมาก จึงได้ วางกองไว้ด้านข้างไม่ยกขึ้นไป ส่วนที่ทำได้ก็เท่าที่พอจะทำให้เข้าใจ ซึ่งตอนแรกได้มีการใส่หัวนาคข้าง เดียว ทำให้ดูเอียง ภายหลังจึงมีการบูรณะเพิ่ม โดยกลับไปเติมให้เต็มในส่วนของโคปุระตอนแรกนัน้ ก็ เอาขึ้นเฉพาะหินดั้งเดิม แต่ภายหลังเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นก็ได้ทำการเติมให้เต็มด้วยหินใหม่ ทำให้การ บูรณะครั้งนี้ สุดท้ายก็เป็นการทำให้โบราณสถานสมบูรณ์เหมือนใหม่ โดยละเลยความเป็นของแท้ไป
ภาพที่ 74 ปราสาทสด๊กก๊อกธมหลังการบูรณะ จากพัฒนาการบูรณะปราสาทหินในประเทศไทยทำให้เห็นได้ว่า กรมศิลปากรได้เปลี่ยนแปลง ความหมายของหลักการบูรณะแบบอนัสไตโลซิสไปตามที่ต้องการ โดยอ้างว่าเป็นการปรับให้เข้ากับ บริบทวัฒนธรรมของไทย แต่การบูรณะแบบนี้ทำให้โบราณสถานศูนย์เสียความเป็นของแท้ไป และบาง แห่งอาจจะถูกบิดเบือนความหมายทางประวัติศาสตร์ไป การบูรณะแบบอนัสไตโลซิสในประเทศไทย จึงเป็นเหมือนการพัฒนาที่ถอยหลังไป
75
สรุปการอนุรักษ์โบราณสถาน การอนุรักษ์โบราณสถานในตะวันตก มีการปะทะกันของแนวคิดการอนุรักษ์โบราณสถานเกิดขึ้นมากมาย จนเกิดกระแสต่อต้าน การบูรณะแบบสร้างขึ้นใหม่เพราะเชื่อว่าจะทำให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปะมีความผิดเพี้ยน ไป การอนุรักษ์โบราณสถานตามแบบตะวันตกนั้นมีข้อบังคับว่าวรจะต้องมีการจดบันทึกโดยละเอียด และแนะนำให้มีการตีพิมพ์เพื่อให้มีการนำมาศึกษา และการอนุรักษ์จะต้องมีการแทรกแซงโบราณ สถานให้น้อยที่สุด มีการเคารพวัสดุดั้งเดิม มีหลักฐานยืนยัน และหยุดกระทำเมื่อมีการตั้งสมมุติฐาน โดยการกระทำการอนุรักษ์จะต้องให้คุณค่าของความเป็นของแท้ อีกทั้งองค์กรที่ทำงานด้านการบูรณะ ของต่างประเทศนั้นเป็นองค์กรที่มีการกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การอนุรักษ์โบราณสถานด้วย ทำให้จะต้องมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายทั้งภาครัฐและภาคประชาชนไม่มีฝ่าย ใดที่ทำหน้าที่ได้โดยพลการ แต่ต้องได้รับคำปรึกษาหรือได้รับมติจากประชาชนก่อน ทำให้ไม่สามารถ ใช้อำนาจไปในทางที่ผิดได้ง่าย ๆ การอนุรักษ์โบราณสถานของไทย เปรียบเสมือนการนำความรู้บางส่วนของการอนุรักษ์โบราณสถานแบบตะวันตกมาใช้เพื่อให้ดู เป็นประเทศศิวิไลซ์เท่านั้นไม่ได้ความเข้าใจลึกซึ้งถึงคุณค่าทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและศิลปกรรม อีกทั้งวัฒนธรรมของประเทศไทยที่มองว่าโบราณสถานเป็นสถานทีเกี่ยวข้องกับศาสนา เป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ การอนุรักษ์โบราณสถานจึงสมควรทำให้ยิ่งใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อที่จะได้บุญกุศลมาก ทำให้ การอนุรักษ์โบราณสถานนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของโบราณสถานไปมากกว่าการดูแลรักษา สภาพเดิม และยังมีอีกหลายเหตุผลมากมายที่ทำให้การอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศไทยไม่ประสบ ความสำเร็จเท่าที่ควร กรมศิลปากรถูกก่อตั้งมาเพื่อมีจุดมุ่งหมายในการธำรงรักษาคุณค่าและเอกลักษณ์มรดกทาง ศิลปวัฒนธรรม แต่การบริหารแบบรวมศูนย์กลางนั้นภาครัฐจะมีอำนาจสูง ประชาชนและส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายน้อยมากหรือไม่มีส่วนร่วมเลยเป็นการปฏิบัติงานด้วยตนเองโดยไม่ ต้องถามความเห็นชอบจากใคร ทำให้อาจเกิดปัญหาความไม่โปร่งใสในการบริหารงานได้ง่าย 76
ปัญหาที่ทำให้กรมศิลปากรไม่ประสบความสำเร็จในการบูรณะโบราณสถานมีหลายเหตุผล เช่น เหตุผลเรื่องฝีมือช่างที่ขาดความละเอียด ขาดการควบคุมงานที่ดีอาจเป็นเพราะระบบการจ้าง เหมาที่กรมศิลปากรใช้ เนื่องจากช่างของกรมศิลปากรไม่เพียงพอต่อความต้องการการบูรณะและ ความเร่งรีบของการบูรณะเพื่อจะเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหรือการเฉลิมฉลองวันสำคัญบางอย่าง ซึ่ง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบูรณะโบราณสถานในประเทศไทยเป็นเหมือนการทำลายโบราณ สถานมากกว่า เพราะหลังทำออกมาแล้ว มีความหยาบและผิดเพี้ยนไปมาก ทำให้คุณค่าของ โบราณสถานนั้นหายไป ปัญหาด้านการศึกษาและเข้าในโบราณสถาน เช่นจากกรณีของเพนียด จะทำให้เห็นได้ชัดว่า กรมศิลปากรเหมือนบูรณะตามภาพถ่าย ซึ่งเป็นเหมือนการสร้างฉากละคร ไม่ได้เป็นการบูรณะให้ ถูกต้องตามความเข้าในลักษณะการใช้งานเดิมของโบราณสถาน หรือกรณีของปราสาทหินก็มีความไม่ เข้าใจในทั้งในหลักการการบูรณะและในลักษณะของปราสาทขอมอยู่ ทำให้เกิดการบูรณะที่ผิดเพี้ยน ไป ถึงแม้กรมศิลปากรจะเป็นองค์กรแรกของไทยที่มีความรู้ในการบูรณะโบราณสถาน แต่เมื่อผ่านใน ขณะที่คนไทยเริ่มมีความรู้เรื่องการบูรณะโบราณสถานมากขึ้น เหมือนว่ากรมศิลปากรนั้นไม่ได้มี ความรู้เพิ่มขึ้นจากเดิม แต่ระบบขององค์กรนั้นทำให้อำนาจไม่ได้กระจายออกมาสู่ภายนอก คน ภายนอกองค์กรไม่มีส่วนร่วมในการบูรณะโบราณสถาน ปัญหาเรื่องงบประมาณ ไม่ใช่การที่กรมศิลปากรขาดงบประมาณในการดำเนินการแต่อย่างใด แต่เป็นการที่ระบบราชการแบ่งงบประมาณเป็นรายปี ทำให้จะต้องนำงบประมาณนี้ไปใช้ให้หมด และ จบในปีเดียว ทำให้เกิดการบูรณะโบราณสถานแบบเร่งรีบและไม่ละเอียด ไม่ได้ทำการศึกษาให้ดี เสียก่อน และความตั้งใจของการบูรณะโบราณสถานของไทยนั้นมักมีจุดประสงค์เพื่อเปิดเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวมากกว่าการรักษาสภาพและคุณค่าของโบราณสถาน การที่กรมศิลปากรได้ทำข้อตกลงกับนานาชาติอย่าง ICOMOS ทำให้การบูรณะโบราณสถาน ควรที่จะเป็นไปตามหลักสากล แต่สิ่งที่กรมศิลปากรทำ เป็นการสร้างระเบียบของตนเองขึ้นมาจากการ ปรับเปลี่ยนกฎบัตรสากล เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับตนเองให้ที่จะสามารถใช้ระเบียบขององค์กรทำ ปฏิบัติอย่างไรกับโบราณสถานก็ได้ เพราะเป็นระเบียบที่มีช่องโหว่อยู่มาก อาจกล่าวได้ว่าการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยในยุคหลังมานี้เหมือนเป็นการพัฒนาถอย หลังกลับมากกว่าเป็นการพัฒนาแบบเดินหน้า
77
สรุปกรณีศึกษา ความผิดพลาดและข้อเสนอแนะ กรณีศึกษา ปัญหา พระปรางค์ ปัญหาด้านความเข้าใจในกระบวนการอนุรักษ์ วัดอรุณราชวราราม เนือ่ งจากพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามเป็น สถาปัตยกรรมประดับกระเบื้องเคลือบ ดังนั้นผู้ อนุรักษ์จึงต้องมีความเข้าใจในวิธีการ วัสดุ และ กระบวนการการเก็บข้อมูล แต่กรมศิลปากร กลับมีการเก็บข้อมูลแบบเป็น pattern ลาย ทั้ง ๆ ที่ลายในแต่ละจุดนั้นไม่เหมือนกันเลย ปัญหาฝีมือช่าง ช่างที่ทำการบูรณะมีความไม่ประณีต ไม่เก็บ รายละเอียด และไม่เข้าใจลักษณะการทำงาน ประเภทนี้อย่างลึกซึ้ง ทำให้งานออกมาดูแข็ง ทื่อไม่เป็นธรรมชาติไม่เหมือนของเดิม ปัญหาจำนวนเจ้าหน้าที่ควบคุม การทำงานควรมีเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมมา ควบคุมตลอดเวลา แต่งานนี้เนื่องจากเจ้าหน้าที่ กรมศิลปากรไม่เพียงพอ ทำให้ขาดเจ้าหน้าที่ที่ จะคอยควบคุมดูแลคุณภาพงานไป เพนียดคล้องช้าง ปัญหาเรื่องระเบียบกรมศิลปากร พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากกรมศิลปากรมีระเบียบที่ทั้งขัดแย้งใน ตัวเองและขัดแย้งกับกฎบัตรสากล ทำให้มี ความไม่แน่นอนในหลักการอนุรักษ์ที่เลือกใช้ สามารถนำมาอ้างตามที่ผู้บูรณะต้องการได้ ปัญหาเรื่องความไม่เข้าใจในโบราณสถาน กรมศิลปากรยึดถือภาพถ่ายแต่ไม่ได้มีความ เข้าใจลักษณะการใช้งานจริงของโบราณสถาน ทำให้การบูรณะโบราณสถานเป็นการทำให้ ผิดเพี้ยน ไม่ถูกต้องและไม่สามารถใช้งานได้ 78
ขอเสนอแนะ กรมศิลปากรควรมี การศึกษาหลักการให้ เข้าใจถ่องแท้ก่อนนำมา ปฏิบัติ รวมถึงการให้ ความรู้ช่าง และการทำ แบบขยายเท่าจริง ควรที่จะมีการให้ความรู้ กับช่างฝีมือ และคอย ควบคุมงาน
ควรพิจารณาจำนวนงาน บูรณะตามจำนวน พนักงานที่กรมศิลปากรมี อยู่ และควรเป็นบุคลากร ที่มีคุณภาพ ควรมีการพิจารณาร่าง ระเบียบใหม่ให้ตรงตาม หลักการสากลและไม่มี ช่องโหว่และข้อขัดแย้ง กรมศิลปากรควรมี การศึกษาอย่างละเอียดถี่ ถ้วนถึงการใช้งานของ โบราณสถาน ก่อนที่จะทำ การบูรณะ
ปราสาทหินใน ประเทศไทย
ปัญหาเรื่องการปกปิดข้อมูล กรมศิลปากรอ้างเหตุผลหนึ่งขึ้นมาเพื่อมากลบ เกลื่อนข้อมูลที่ไม่ได้ออกมาเล่าหรือการทำการ ปกปิดข้อมูลความผิดพลาดในวิธีการซ่อมซึ่ง เป็นการเบี่ยงความสนใจไปที่ลักษณะมากกว่า วิธีการซ่อม ปัญหาเรื่องความใส่ใจกับชุมชน ชุมชนนี้มีการจัดตั้งสภาวัฒนธรรมชุมชนขึ้นเพื่อ เป็นกรรมการภาคประชาชน แต่กลับถูกละเลย จากภาครัฐ ทำให้การบูรณะเป็นการบูรณะโดย ขาดความร่วมมือจากประชาชนอย่างแท้จริง ปัญหาเรื่องความเชื่อของคนไทย คนไทยเชื่อว่าการสร้างปูชนียสถานหรือการ บูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานให้ยิ่งใหญ่ขึ้นถือ เป็นการทำบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่ ความเชื่อนั้นยังคง นำเดินมาจนถึงทุกวันนี้ การบูรณะปราสาทหิน ส่วนมากจึงเป็นการทำให้มีสภาพสมบูรณ์ โดย ละทิ้งคุณค่าที่แท้จริงของโบราณสถานไป ปัญหาความไม่เข้าใจในกระบวนการอนุรักษ์ การบูรณะปราสาทหินของไทยใช้หลักการ Anastylosis แต่ความหมายของการบูรณะ แบบนี้ได้ถูกเปลีย่ นแปลงไป ทำให้มีการบูรณะที่ ผิดเพี้ยนไป มีจุดประสงค์เพียงเพื่อการทำให้ สมบูรณ์มากกว่ารักษาคุณค่าที่เป็นของแท้ของ โบราณสถาน
79
กรมศิลปากรควรที่จะให้ ข้อมูลทั้งหมด ยอมรับ ข้อผิดพลาดและนำไป ปรับปรุงแก้ไข ไม่ใช่การ อ้างเบี่ยงประเด็นเพื่อให้ คนเลิกสนใจ ควรให้มีการทำปราชา พิจารณ์ หรือคุยกับชุมชน ที่อยู่กับโบราณสถานก่อน เพื่อลดความขัดแย้งที่จะ เกิดขึ้น -
ควรมีการศึกษาให้เข้าใจดี ก่อน และควรตั้งเป้า หมายการอนุรักษ์ให้ มากกว่าการจะทำให้ สมบูรณ์เพื่อเปิดเป็น สถานที่ท่องเที่ยว
บรรณานุกรม กัณต์กนิษฐ์ ก่อสร้าง จำกัด. (2551). รายงานการขุดแต่งบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานเพนียด คล้องช้าง ตำบลสวนพริก อำเภอพระนครศรีอยุธยา. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. กรมศิลปากร. (2537). กรมศิลปากร: นามสงเคราะห์และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สิน ทางศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. _________. (2511). ประวัติวัดอรุณราชวราราม พร้อมด้วยแผนผัง ภาพปูชนียวัตถุสถาน และ ถาวรวัตถุ. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท. _________. (2501). สาส์นสมเด็จ ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์และ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ (ภาค 43). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. กรมศิลปากร. _________. (2550). แนวทางในการอนุรักษ์โบราณสถานสำหรับพระสงฆ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. กรมศิลปากร _________. (ม.ม.ป.). ข้อชี้แจงการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร. เข้าถึงเมื่อ 221กันยายน. เข้าถึงได้จาก http://www.finearts.go.th/component/smileportal/ item/กรมศิลปากรชี้แจงการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร.html กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์. (2548) “พัฒนาการแนวคิดและวิธีการอนุรักษ์โบราณสถานในประเทศ ไทย.” วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชา สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ___________________. (2560). “ว่าด้วย...ประวัติศาสตร์การบูรณะโบราณสถานแบบอนัสไตโล ซิสที่ปราสาทหินพิมาย.” หน้าจั่ว 5 :126-133 โคราชในอดีต. (2560). ปราสาทินพนมวัน. เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน. เข้าถึงได้จาก https://web. facebook.com/korat.in.the.past/posts/1535570726511687? rdc=1&_rdr ชเนนทร์ มั่นคง. (2550). “บททบทวนความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม: แก่นแท้ ความเป็นสากลของหลักจรรยาการอนุรักษ์เพื่อการปรับใช้กับบริบทวัฒนธรรมเฉพาะ.” หน้าจั่ว 5 (กันยายน): 96-111
80
ไทยรัฐ. (2562). เจอโทษคุก 3 ปี “พระพรหมกวี” เป็น “เจ้าอาวาส” วัดกัลยาณมิตร. เข้าถึงเมื่อ 2 กันยายน. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1552501 มูลนิธิเพื่อการพัฒนาผู้นำธุรกิจและชุมชน. (ม.ม.ป.). ปราสาทนารายณ์เจงเวงนุองของดาราศาสตร์ ความเชื่อ และศาสนา. เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม. เข้าถึงได้จาก http://www.yclsakhon. com/ไขความลับปราสาทนารายณ์เจงเวง.html วชิรญาณ. (ม.ม.ป.). พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล). เข้าถึงเมื่อ 3 สิงหาคม. เข้าถึงได้ จาก https://vajirayana.org/พระราชพงษาวดารกรุงเก่า-ฉบับหมอบรัดเล/๒๒ วสุ โปษยะนันทร์. (2552). “อนัสไตโลซีสเพือ่ หารบูรณะปราสาทหินสด๊กก๊อกธม.” วิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต1สาขาวิชาสถาปัตยกรรม1ภาควิชา สถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สุนนท์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2536-2537). “70 ปี แห่งการอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรม.” หน้าจั่ว 12 : 30-48 สมชาติ จึงสิริอารักษ์. (2555). “ความเชื่อและแนวความคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานของไทยจาก อดีต-ปัจจุบัน.” เมืองโบราณ 38, 2 (เมษายน-มิถุนายน) : 84-103. ________________. (2547-2548). “แนวความคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานจากศตวรรษที่ 18 ถึงสิ้นศตวรรษที่120: จากอารมณ์และความศรัทธาสู่ความเป็นมรดกร่วมกันของ มนุษยชาติ.” หน้าจั่ว 21: 71-82. ________________. (2535). “การบูรณะสถาปัตยกรรมกระเบื้องเคลือบ วัดพระเชตุพนวิมลมัง คลาราม ระหว่าง พ.ศ. 2522-2535.” เมืองโบราณ 18, 2 (เมษายน-มิถุนายน) : 40-61 ________________. (2539). “ความเป็นมาของวิธีบูรณะโบราณสถานแบบอนาสไตโลซีสในประ เทศกรีซ.” เมืองโบราณ 22, 1 (มกราคม-มีนาคม) : 121-132 ________________. (2536-2537). “แนวความคิดในการอนุรักษ์โบราณสถานในศตวรรษที่ 19 ของอังกฤษ.” หน้าจั่ว 12 : 49-59 ________________. (2558). การอนุรักษ์โบราณสถาน: ประวัติ แนวคิด ทฤษฎี และการ ปฏิบัติการ. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กรุงเทพฯ: ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรมคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
81
Andre James. (2558). Michelangelo and the Baths of Diocletian: An Analysis of His Re-Use of the Ruin for the Church of Santa Maria degli Angeli e dei Martiri. Accessed August 26. Available from https://academiccommons. columbia. edu/doi/10.7916/D8SJ1K4W BBC News. (2560). พระปรางค์วัดอรุณฯ : เสนอรื้อระบบบูรณะโบราณสถาน. เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน. เข้าถึงได้จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-41164335 Bernard Philippe Groslier. (2506). การซ่อมปราสาทหินพิมาย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร ____________. (2559). เสวนาหัวข้อ “การบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม พัฒนาการล่าสุดของ อนัสติโลซิสในประเทศไทย”. เข้าถึงเมื่อ 14 ตุลาคม. เข้าถึงได้จาก http://channel.sac. or.th/ th/website/video/detail_news/2155 Chappelowsromanticism. (n.d.). Architecture in Romantic Age. Accessed August 26. Available from https://chappelowsromanticism.weebly.com/architecture-inthe-romantic-age.html John H. Stubbs and Emily G Makas. (2554). Architectural Conservation. Unites State of America: John Wiley & Sons, Inc. Jukka Jokilehto. (2529). A History of Architectural Conservation. University of York. MRG Online. (2551). ตามหา ใคร? ทำลายโบราณสถาน. เข้าถึงเอ 14 ตุลาคม. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/travel/detail/9510000026336 ___________. (2560). ปริศนาลึกลับ!!? บูรณะ “พระปรางค์วัดอรุณฯ” กับ “วัตถุมงคลรุ่น กระเบื้องพระปรางค์”. เข้าถึงเมื่อ 22 กันยายน. เข้าถึงได้จาก https://mgronline.com/ live/detail/ 9600000083936 Piriya Krairiksh. (2555). “A Brief History of Heritage Protection in Thailand.” Journal of the Siam Vol.100: 1-40 VOA News. (2562) Macron, UNESCO Officials Discuss Notre Dame Reconstruction. Accessed August 26. Available from https://www.voanews.com/europe /macron-unesco-officials-discuss-notre-dame-reconstruction
82