การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย
นางสาวศิริมนต์ แก้วดอนไพร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎราไพพรรณี
ก คานา การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยถือเป็นงานหลักและเป็นหัวใจในการจัดหลักสูตร และกระบวนเรียนการสอนเลยทีเดียว เพราะการที่ครูแต่ละคนจะวางแผนการเรียนการสอนให้ เหมาะสมกับเด็กแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับผลของการประเมินเป็นสาคัญ จุดเริ่มต้นของการจัดทาหนังสือเล่มนี้เกิดจากประสบการณ์ที่ได้เผชิญกับความยากลาบาก ในการพยายามหาวิธีการประเมินผลให้สอดคล้องกับเด็กนักเรียนในชั้นของตนเองที่ นอกเหนือไปจาก “การทดสอบ” ซึ่งถือเป็นวิธีการประเมินผลที่ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา ช้านาน หนังสือเ ล่มนี้จัดทาขึ้นสาหรับ “ครู ” ทั้งครูที่มีประสบการณ์ในการสอน ครูใหม่ที่เพิ่ง เริ่มต้นชีวิตการเป็นครู รวมตลอดถึงนักศึกษาที่เตรียมตัวไปเป็นครูต่อไปด้วย วัตถุประสงค์ของ ผู้จัดทาเพื่อช่วยให้ครูได้ตระหนักถึงเทคนิคและวิธีการประเมินผลแบบอื่น ที่นอกเหนือไปจากการ ใช้แบบทดสอบโดยการประเมินผลที่ดีนั้น ควรคานึงถึงประสบการณ์เดิมของผู้เรียน สิ่งที่ผู้เรียน ทราบและสามารถทาได้ ความสนใจ ความมุ่งหวังของตัวผู้เรียน และผู้ปกครองเป็นสาคัญ โดย เน้นว่าการประเมินผลนั้นจาเป็นต้องเกิดในสถานการณ์จริงและเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนการสอน โดยจะต้องนาข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนใน ชั้นเรียนของตนต่อไป ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นแนวทางให้ครู นักการศึกษา และผู้รอบรู้อื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงการศึกษาได้ร่วมมือกันพัฒนาวิธีการประเมินผลที่เอื้อประโ
ยชน์ต่อ
ผู้เรียน และการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนต่อไป
ศิริมนต์ แก้วดอนไพร พฤศจิกายน 2555
สารบัญ หน้า คานา
ก
บทที่ 1 ความหมายการประเมินผลพัฒนาการเด็ก
1
บทที่ 2 เทคนิควิธีการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย หลักการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย เทคนิควิธีการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย การสังเกตพฤติกรรมเด็ก การสัมภาษณ์ การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก แฟ้มผลงานเด็ก การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ
3 3 3 3 4 4 4 5
บทที่ 3 การร่วมมือและสื่อสารกับผู้ปกครองในการประเมินผลพัฒนาการ เด็กปฐมวัย
6
อ้างอิง ประวัติผู้เขียน
1
บทที่ 1
ความหมาย ของการประเมินผลพัฒนาการเด็ก ในกระบวนการประเมินผลพัฒนาการเด็ก มีคาอยู่สองคาที่มักได้ยินกันเสมอ ๆ คานั้น คือ “การวัดผล” และ “การประเมินผล” นักการศึกษา วรรณวดี ม้าลาพอง (2525 : 3-5) ได้กล่าวถึงความหมายที่ แตกต่างกันของ “การวัดผล ” และ”การประเมินผล ” ว่า มีความแตกต่างที่เด่นชัด นั่นคือ “การวัดผล” เป็น กระบวนการกาหนดตัวเลขเพื่อแสดงปริมาณของพฤติกรรมของนักเรียน ในขณะที่ “การประเมินผล ” เป็น กระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพ หรือคุณลักษณะของพฤติกรรม หรือปริมาณของพฤติกรรม ว่าเป็นไป ตามจุดมุ่งหมายของการสอนหรือไม่ จากความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า การประเมิน ผลมีความหมายกว้างขวางว่าการวัด และมี ความหมายครอบคลุมไปถึงการวัดผลด้วย เพราะการประเมินผลเป็นการบรรยายทั้งคุณภาพและปริมาณ แต่ การวัดผลเป็นการบรรยายถึงปริมาณของพฤติกรรมเท่านั้นไม่ได้รวมถึงการบรรยายด้านคุณภาพด้วย (วรรณวดี ม้าลาพอง,2525 : 3-5) สานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (2535 : 71) ได้กล่าวถึงการประเมินผลพัฒนาการว่าคือการ นาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการมาสรุปเพื่อตัดสินใจจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละ ด้านและได้จัดทาแผนภูมิอธิบายโครงสร้างของการประเมินผลพัฒนาการเด็กไว้ดังนี้
การประเมิน การประเมิน พัฒนาการ
=
การสะสมข้อมูล
สรุป
ตัดสินใจ
=
การสังเกตพฤติกรรม ของเด็กเป็นระยะ ๆ อยู่เสมอ
สรุป
ตัดสินใจจัด ประสบการณ์
การประเมินผลพัฒนาการเด็ก
2 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ได้กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประเมินผลพัฒนาการเด็กว่า พัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะต้องมีการบันทึก และรวบรวมไว้เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในกาจัดกิจกรรมการ เรียนรู้ที่เหมาะสมแก่เด็กใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการศักยภาพของเด็กแต่ละคนให้ถึงขั้นสูงสุด และใช้ เป็นรายงานสาหรับเด็กติดต่อกับผู้ปกครอง โดยสรุปอาจกล่าวได้ว่า การประเมินผลพัฒนาการเด็ก หมายถึง ความรู้ ความเข้าใจ ของครูที่มีต่อ พัฒนาการ การเรียนรู้ ความสนใจและความต้องการของเด็กแต่ละคน การประเมินผลนั้นถือเป็นกระบวนที่ สาคัญและจาเป็นมากในการจัดการเรียน การสอน การประเมินผลพัฒนาการที่ดีควรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการจัดการเรียน การสอน ความสนใจและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน การประเมินผลพัฒนาการ ที่ดีนั้น มิได้มีแต่เฉพาะการทดสอบหรือการตัดเกรดให้คะแนนเด็กหรือผู้เรียนเท่านั้น แต่ควรรวมถึงเครื่องมือ ชนิดอื่น ๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการด้วย เช่น การสังเกต และแฟ้มผลงานเด็ก เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่จะมีการประเมินผลเด็กปฐมวัย ครูควรได้มีโอกาสถามตนเองถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (Hills, 1993 : 24) 1. การประเมินผลที่มีขึ้นได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อครูในการสอนหรือไม่ 2. ข้อมูลหรือผลที่ได้จากการประเมินนั้นจะเกิดผลดีกับเด็กหรือไม่ 3. การประเมินผลที่มีขึ้น ได้มีขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่าเสมอหรือไม่ 4. เด็กได้มีโอกาสที่จะวิเคราะห์และประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองหรือไม่ 5. การประเมินผลสอดคล้องกับหลักสูตร การสอนหรือไม่ 6. วิธีการประเมินผลประกอบด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่หลากหลาย 7. ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลช่วยให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองเกิดความมั่นใจในความสามารถของเด็ก มากกว่าที่จะทาให้พ่อ แม่ เกิดความไม่มั่นใจในลูกของตนหรือไม่ 8. ตัวครูเองมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการประเมินผลพัฒนาการเด็กหรือไม่ 9. ในการประเมินผลพัฒนาการเด็ก มีการร่วมมือกันระหว่างพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตัวเด็ก ผู้บริหาร และ ครูหรือไม่ ข้อมูลที่ได้จากพ่อแม่ ผู้ปกครองได้นาไปใช้ในการวางแผนการสอนสาหรับเด็ก หรือไม่ 10. การประเมินผลพัฒนาการเด็กที่กระทาอยู่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของ เด็กหรือไม่
3
บทที่ 2
เทคนิควิธีการประเมินผล พัฒนาการเด็กปฐมวัย หลักการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย 1. การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยต้องประเมินทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและ สติปัญญา ไม่ควรแยกประเมินเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง 2. การประเมินผลถือเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง และเป็นส่วนหนึ่งของการจัดกิจกรรมสาหรับเด็ก ปฐมวัย ครูจาเป็นต้องทาการประเมินผลอย่างต่อเนื่องเพื่อทราบถึงพัฒน าการ ความก้าวหน้าของเด็ก นอกจากนั้น ครูยังสามารถนาข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน ให้ เหมาะสมกับความสนใจและความต้องการของเด็กได้ตลอดเวลา 3. ผลการประเมินเด็กแต่ละคนควรเก็บเป็นความลับไม่ควรนาไปเปิดเผยแก่ผู้ไม่เกี่ยวข้อง 4. การเลือกวิธีการประเมินผลต้องเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะประเมิน 5. ในการเปรียบเทียบระดับพัฒนาการเด็กกับเกณฑ์ ต้องใช้เกณฑ์มาตรฐานซึ่งใช้กับเด็กวัยเดียวกัน 6. ในการประเมินพฤติกรรม ครูควรประเมินหลาย ๆ ครั้งก่อนที่จะสรุปผล 7. การเลือกพฤติกรรมที่จะประเมิน ควรพิจารณาวัตถุประสงค์ของการประเมินให้สอดรับกัน
เทคนิควิธีการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย เทคนิควิธีการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีแตกต่างกันหลายวิธี ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1.1 การสังเกตพฤติกรรมเด็ก (Observation) ในการบันทึกการสังเกตพฤติกรรมอย่างเป็นระบบนั้น ครูควรกาหนดวัตถุประสงค์ในการสังเกตเด็ก แต่ละครั้งไว้เสมอว่า ตนต้องการที่จะศึกษาอะไร เช่น ถ้าครูต้องการทราบพัฒนาการด้านการอ่านของเด็ก การ สังเกตก็อาจมีขึ้นในชั่วโมงการอ่านของเด็ก แต่ถ้าครูต้องการประเมินความเข้าใจในการอ่านของเด็ก การ สังเกตอาจมีขึ้นทั้งในชั่วโมงการอ่านรวมตลอดถึงการสนทนาพูดคุยของเด็กที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อครูจะได้เข้าใจถึงภูมิหลัง และสภาพแวดล้อมของเด็กเพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลถึงความเข้าใจในการอ่าน ของเด็กทั้งสิ้น จะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์ในการสังเกตจะเป็นตัวกาหนดธรรมชาติของการสังเกตนั่นเอง
4 การสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ เป็นการสังเกตในสถานการณ์ ปกติไม่มีการควบคุมตัวแปรหรือ เงื่อนไขต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก ครูอาจแบ่งขั้นตอนของการบันทึกพฤติกรรมเป็น 3 ขั้นตอน (นภเนตร ธรรมบวร, 2537 : 75) คือ - การบันทึกเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง - การบันทึกความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตน - การตีความ แปลความ ตลอดจนการสรุปถึงพฤติกรรม การเรียนรู้ของเด็กจากข้อมูลที่ได้จากการ สังเกต 1.2 การสัมภาษณ์ (Interview) การสัมภาษณ์โดยทั่วไปมี 3 ประเภท คือ 1. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์แบบนี้ ผู้สัมภาษณ์หรือครูจะเตรียมคาถามที่จะถาม ไว้ล่วงหน้าซึ่งเป็นการสะดวกต่อผู้สัมภาษณ์หรือครู ในขณะเดียวกันผู้สัมภาษณ์จะไม่มีโอกาสถามอะไรที่ นอกเหนือไปจากคาถามที่เตรียมมาซึ่งเป็นการจากัดคาตอบและโอกาสของผู้ถูกสัมภาษณ์เช่นกัน 2. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างหรือไม่เป็นทางการ เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากในการสัมภาษณ์ เด็กเล็กเพื่อเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากที่มีการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบแล้ว ครูอาจเตรียมหัวข้อที่ต้องการคุย หรือสนทนากับเด็กไว้อย่างคราว ๆ แต่มิได้จดคาถามให้เด็กตอบทีละข้อเหมือนการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 3. การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ผู้สัมภาษณ์หรือครูจะเตรียมคาถามไว้ล่วงหน้าบางส่วน 1.3 การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก (Anecdotes) การเขียนเรื่องราวสั้น ๆ เกี่ยวกับตัวเด็กจัดเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ครูเข้าใจเด็กได้ดีขึ้น ครูอาจ เขียนเรื่องราวสั้น ๆ เกี่ยวกับตัวเด็กจากเหตุการณ์ที่มีความหมายทั้งกับตัวครูและตัวเด็ก ในการเลือกเหตุการณ์ ที่นามาเขียน จะบ่งบอกถึงการให้ความสาคัญของครูต่อพฤติกรรมเด็ก และช่วยให้ครูตอบคาถาม ที่ตนอยากรู้ ได้ดีขึ้น ในการเขียนบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กในชั้นเรียน ครูประจาชั้นอาจต้องใช้เวลามาก แต่ใน ขณะเดียวกันก็ช่วยให้ครูเห็นภาพพจน์ และเข้าใจเด็กแต่ละคนในชั้นของตนได้ดีขึ้น ครูตระหนักว่าตน สามารถกระตุ้นพัฒนาการ การเรียนรู้ของเด็กในส่วนไหน ขณะเดียวกันครูได้ทราบถึงกระบวน การเรียนการ สอน และการใช้คาถามของตนไปพร้อมกันด้วย 1.4 แฟ้มผลงานเด็ก (Portfolios) แฟ้มผลงานเด็ก หรือ Portfolios ถือเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ ของเด็กที่มีจัดประสงค์และกระทาอย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ แฟ้มผลงานเด็กช่วยให้ตัวเด็กต ระหนักถึง ประสบการณ์ ความพยายาม ความก้าวหน้า และความสาเร็จของตนเอง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการประเมินผล พัฒนาการเด็กและการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนต่อไป
5 1.5 การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ (Checklists) การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการหรือ Checklists ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ครูเข้าใจพฤติกรรมเด็ก ได้ดีขึ้น ในการใช้แบบประเมินผลพัฒนาการนั้น ครูประจาชั้นจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ว่าต้องการจะศึกษาอะไร หลังจากนั้นนามาสร้างแบบประเมินผลพัฒนาการโดนอาศัยทฤษฎีพัฒนาการเป็นหลัก ข้อดีของการใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ 1. เป็นการประหยัดเวลา การบันทึกข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว 2. การประเมินผลพัฒนาการมีความยืดหยุ่นได้ สะดวกต่อการทบทวน วิเคราะห์และตีความข้อมูล 3. การประเมินผลพัฒนาการไม่จาเป็นต้องทาให้เสร็จสิ้นในหนึ่งวันหรือหนึ่งสัปดาห์ แต่สามารถทา อย่างต่อเนื่องได้ 4. เนื่องจากการประเมินผ ลโดยใช้แบบประเมินผลพัฒนาการนั้นไม่ได้มีความซับซ้อนมากนัก เพราะฉะนั้นจึงเป็นการง่ายต่อการฝึกบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เช่น ครูผู้ช่วยในการใช้แบบประเมินผล พัฒนาการได้ 5. แบบประเมินผลพัฒนาการสามารถติดตามความก้าวหน้า และพัฒนาการของเด็กได้ในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง ๆ เทคนิคการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีหลายวิธีการต่าง ๆ มากมายหลายวิธีด้วยกันตั้งแต่การ สังเกตพฤติกรรมเด็ก การสัมภาษณ์ การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก แฟ้มผลงานเด็ก วิธีการประเมินผลที่ดีควร คานึงถึงความสนใจของเด็กเป็นสาคัญ ช่วยพัฒนาความมั่นใจในตนเองให้กับเด็ก คานึง ถึงความแตกต่าง ระหว่างบุคคลของเด็ก และเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการเรียนการสอน วิธีการประเมินผลที่จะบรรลุ เป้าหมายต่าง ๆ เหล่านี้ได้จะต้องมีความต่อเนื่องให้ความสาคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก และเป็น ส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจาวันของเด็ก ทั้งนี้ทั้งนั้นก็โดยผ่ านการเรียนการสอนที่ดาเนินอยู่ในชั้นเรียนและ สัมพันธภาพที่ดีงามระหว่างโรงเรียนและบ้าน
6
บทที่ 3
การร่วมมือและสื่อสารกับผู้ปกครอง ในการประเมินผลพัฒนาการ เด็กปฐมวัย บทบาทที่สาคัญประการหนึ่งของการประเมินผล คือ ช่วยให้เด็กเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในขณะเดียวกัน การประเมินผลก็มีบทบาทที่สาคัญอื่น ๆ นอกเหนือจากบทบาทในชั้นเรียนของเด็ก นั่นคือ มี การนาผลที่ได้จากการประเมินไปสื่อสารกับผู้ปกครอง และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเด็กเพื่อเป็นรากฐานในการ ช่วยเหลือและพัฒนาเด็กต่อไป
การสื่อสารผลที่ได้จากการประเมิน ผลที่ได้จากการประเมินควรมีการนาไปสื่อสารกับบุคคลต่าง ๆ ดังนี้ 1. สื่อสารกับเด็ก ครูและเด็กควรมีการพูดคุย สื่อสารเกี่ยวกับพัฒนาการ ความก้าวหน้าของตัวเด็กเป็นประจาอย่าง สม่าเสมอ และถือเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนเลยทีเดียว ในการรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของ เด็ก ครูอาจใช้รูปภาพ หรือคาพูดง่าย ๆ เพื่อสื่อสารให้เด็กเกิดความเข้าใจได้ ในขณะเดียวกัน เด็กสามารถช่วย ครูเลือกผลงานที่ตนชอบเก็บรวบรวมในแฟ้มผลงาน (Portfolios) และอธิบายเหตุผลที่ ตนเลือกแก่ครูและ ผู้ปกครอง ในบางสถานการณ์ ครูสามารถเปิดโอกาสให้เด็กโตได้มีส่วนร่วมในการประเมินพัฒนาการ ความก้าวหน้าของตนบ้าง 2. สื่อสารกับผู้ปกครอง การเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินผลเด็ก จะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างครูและผู้ปกครอง ครูได้มีโอกาสพูดคุย ให้ความรู้และคาแนะนาแก่ผู้ปกครองเพื่อให้เกิดความเข้าใจใน วัตถุประสงค์ของการประเมินผลที่แท้จริง การสร้างความรู้ ความเข้าใจ และประสานสัมพันธ์ระหว่างครูและ ผู้ปกครอง อาจทาได้ดังนี้ - ปฐมนิเทศผู้ปกครอง เพื่อพูดคุย ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับหลักสูตร กิจกรรม และรูปแบบการ ประเมินผลของโรงเรียน มรการเชิญชวนผู้ปกครองให้เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียน - การจัดป้ายประกาศเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมแก่ผู้ปกครอง - การพบปะ พูดคุย กับผู้ปกครอง ควรกระทาอย่างสม่าเสมอเมื่อผู้ปกครองมารับ – ส่ง เด็กที่ โรงเรียน
7 - การประชุมผู้ปกครองตามวาระและโอกาส 3. สื่อสารกับบุคคลอื่น ๆ บุคคลอื่น ๆ ที่ครูจาเป็นต้องสื่อสารเกี่ยวกับผลของการประเมิน ได้แก่ ครูใหญ่ หรือผู้บริหารโรงเรียน ครูประจาชั้นคนใหม่ หรือครูในโรงเรียนใหม่ที่เด็กจะต้องเลื่อนชั้นไปอยู่ด้วย นักจิ ตวิทยาหรือบุคคลอื่นที่ เกี่ยวข้องกับเด็ก เป็นต้น รูปแบบของการสื่อสารอาจเป็นได้หลายรูปแบบ เช่น ผลงานจากแฟ้มผลงานเด็ก สมุดรายงาน ความก้าวหน้าของเด็ก เป็นต้น หรือมิฉะนั้น ครูอาจมีการรายงานโดยการพูดคุย สนทนาโดยตรงเลยก็ได้ เพื่อให้การประเมินผลเป็นไปอย่างถูกต้องที่สุด ครูควรใช้รูปแบบของการสื่อสารให้หลากหลาย
อ้างอิง นภเนตร ธรรมบวร. (2549). การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วรรณวดี ม้าลาพอง. (2525). การประเมินผลการเรียน การสอนระดับอนุบาลศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์โรงเรียนสตรีเนติศึกษา. คณะกรรมการการศึกษาเอกชน, สานักงาน. เอกสารวิชาการ – วิจัย ลาดับที่ 22/2535. คู่มือการ สร้างแบบสอบวัดพัฒนาการด้านสติปัญญา ระดับก่อนประถมศึกษา . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ครุสภา ลาดพร้าว
ประวัติผู้เขียน ชื่อ – สกุล
นางสาวศิริมนต์ แก้วดอนไพร
วัน เดือน ปี เกิด
11 ตุลาคม 2534
สถานที่เกิด
จังหวัดพิษณุโลก
ประวัติการศึกษา วุฒิการศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
ชื่อสภาบัน โรงเรียนบ้านชุมแสง โรงเรียนวังจันทร์วิทยา วิทยาลัยการอาชีพแกลง
ปีที่สาเร็จการศึกษา พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2552
ประวัติการทางาน ตาแหน่ง เจ้าพนักงานบัญชี
สถานที่ปฏิบัติงาน สหกรณ์นิคมชุมแสงจันทร์ จากัด
พ.ศ. ธันวาคม 2553 – ปัจจุบัน