Rama III Arts at Phaichayonphonsep Ratchaworawihan Monastery

Page 1

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3

สิตานัน เพียรวานิช

วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ



ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3

วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 1



รูปแบบศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 ARTS OF KING RAMA III


4 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ลักษณะของรูปแบบศิลปกรรมในรัชกาลที่ 3 นัน้ ถือเป็นการเปลีย่ นแปลง รู ป แบบการก่ อ สร้ า งครั้ ง ส� ำ คั ญ ในงานสถาปั ต ยกรรมไทยที่ มี ก ารศึ ก ษาและ กล่ า วถึ ง มากที่ สุ ด คื อ การสร้ า งอาคารที่ มี ลั ก ษณะของอิ ท ธิ พ ลจี น เรี ย กว่ า แบบพระราชนิยม หรือ แบบนอกอย่าง คือ มีการปรับเปลีย่ นโครงสร้างของหลังคา โดยเฉพาะหน้าบัน ท�ำเป็นงานก่ออิฐถือปูน ไม่ประดับช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ส่วนหน้าบันนั้นประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลวดลายแบบจีน และที่ส�ำคัญคือ มีการเพิม่ เสาพาไลรับน�ำ้ หนักด้านข้าง โดยตัวเสาพาไลนีม้ กั เป็นทรงสีเ่ หลีย่ มขนาด ใหญ่ ท�ำให้สามารถรับน�ำ้ หนักส่วนหลังคาได้เป็นอย่างดี ไม่มกี ารประดับบนหัวเสา เป็นผลให้รูปแบบศิลปกรรมในรัชกาลที่ 3 นั้นสามารถสร้างให้มีขนาดใหญ่ทั้งด้าน กว้าง ด้านยาว และสูงได้

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 5


6 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


จุดประสงค์ในการสร้างวัด THE PURPOSE OF BUILDING


8 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


สมัยรัชกาลที่ 3 นัน้ รูปแบบศิลปกรรมแบบพระราชนิยมมีความแพร่หลาย ได้มีการสร้างวัดเป็นจ�ำนวนมาก จึงส่งผลให้ขุนนางได้น�ำรูปแบบพระราชนิยมมา สร้างตามพระองค์เช่นกัน โดยจุดประสงค์ในการสร้างนั้น เป็นพระราชนิยมส่วน พระองค์ที่มีการติดต่อค้าขายกับจีน จึงน�ำเอาศิลปะจีนมาใช้ และมีความเลื่อมใส ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 9


10 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ความหมายชือ่ "ไพชยนต์ พลเสพย์ ราชวรวิหาร" THE MEANING OF PHAICHAYON PHONSEP RATCHAWORAWIHAN


12 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


นามของวัดนี้ที่ว่า “ไพชยนต์พลเสพย์” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด�ำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า คงเป็นนามใหม่เดิมเมื่อแรกสร้าง ในสมัยรัชกาลที่ 2 เห็นจะเรียกว่า วัดกรมศักดิ์ หรือ วัดปากลัด เมื่อถึงรัชกาลที่ 3 คงจะเรียกว่า วัดวังหน้า เมื่อวิเคราะห์ค�ำ “ไพชยนต์” ดูหมายจะเอาบุษบกนั้น เป็นนิมิต และค�ำว่า “พลเสพย์” มาจากสร้อยพระนามของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ดังนั้นนาม “ไพชยนต์พลเสพย์” คงเป็นนามที่พระบาทสมเด็จฯ พระจอมเกล้าฯ เจ้าอยูห่ วั ทรงขนานนามขึน้ ส่วนทีม่ คี ำ� ว่า “ราชวรวิหาร” นัน้ เป็น ไปตามท�ำเนียบพระอารามหลวงชนิดชั้นโทในภายหลัง

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 13


14 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ประวัติวัด A HISTORY OF PHAICHAYON PHONSEP TEMPLE


16 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


วัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2365 เมื่อแรกสร้าง กรมหมื่นศักดิพลเสพ คงจะได้เป็นพระธุระอุปการะมาตลอด และเมื่อกรมหมื่น ศักดิพลเสพ ได้ทรงด�ำรงต�ำแหน่ง กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชกาล ที่ 3 วัดนี้ก็คงจะมีความส�ำคัญมากขึ้นและคงจะมีฐานะเป็นพระอารามหลวงใน รัชกาลนี้ ประกอบทั้งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชนิยมใน การสร้างวัด ถึงกับมีค�ำพังเพยเล่าสืบต่อกันมาว่า “ในรัชกาลที่ 1 ใครรบทัพจับศึก เก่ง ก็เป็นคนโปรด ในรัชกาลที่ 2 ใครเป็นนักเลงกลอน ก็เป็นคนโปรด ในรัชกาล ที่ 3 ใครสร้างวัดวาอาราม ก็เป็นคนโปรด” เพราะฉะนั้น วัดไพชยนต์พลเสพย์ ก็ คงจะรุง่ เรืองมากในรัชกาลที่ 3 นี้ นอกจากนีย้ งั มีหลักฐานอยูใ่ นหมายรับสัง่ รัชกาล ที่ 3 เรือ่ งการบูรณะซ่อมแซมพระอารามนีว้ า่ “มีรบั สัง่ ให้เอาทองค�ำเปลว ไปจ่ายให้ ช่างรักปิดเสาเม็ดราวเทียนในพระอุโบสถ กระจังเสามุขเด็จหน้าหลังพระวิหาร ใหญ่” ในรัชกาลต่อๆ มาไม่มีหลักฐานว่าวัดนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์หรือไม่” วัดนีค้ งรุง่ เรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึง่ มีหลักฐานว่าได้รบั การบูรณะในสมัยนี้ และ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรมหลายอย่างบ่งบอกว่าเป็นแบบพระราชนิยม ในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เห็นได้ชัดเจนคือ อุโบสถ และวิหาร วัดนี้ได้รับการบูรณะแล้ว แต่ยังคงรูปแบบเดิมไว้

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 17


18 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ INTERSTING ARCHITECTURE


20 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


สถาปัตยกรรมทีน่ า่ สนใจก็เริม่ ตัง้ แต่ ตัววิหารด้านนอกซึง่ เป็นลักษณะแบบ พระราชนิยม ซึ่งเราจะเห็นเสาพาไลตั้งล้อมรอบ เมื่อลองสังเกตรอบตัวอาคารจะ พบว่าแผนผังของวิหารนั้นเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า และเป็นอาคารแบบก่ออิฐถือปูนทั้ง หลัง ปิดล้อมทั้ง 4 ด้าน ส่วนทรงของหลังคานั้นเป็นโครงสร้างไม้ทั้งหมด ทรงจั่ว มุงกระเบื้องดินขอ หลังคามี 3 ตับ และเป็นปีกนกรอบอาคาร

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 21


22 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 23


24 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ประวัติวิหาร HISTORY OF VIHAN


26 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ราชวรวิหารสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2365 มีอายุ เกือบ 200 ปี เป็นศิลปกรรมแบบพระราชนิยม รูปทรงอาคารเป็นอาคารแบบ ก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกคู่กับอุโบสถ โดยมีการบูรณะล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2533

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 27


28 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ประวัติผู้สร้าง HISTORY MAKER


30 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ หรือ สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอรุโณทัย เป็น พระราชโอรสล�ำดับที่ 17 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติ แต่เจ้าจอมนุ้ยใหญ่ ธิดาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2328 พระองค์เจ้าอรุโณทัย ได้ทรงกรมเป็น กรมหมื่นศักดิพลเสพ ใน พ.ศ. 2350 ทรง ก�ำกับราชการกลาโหมในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2363 มีข่าวพม่าจะยกทัพเข้ามาตีไทย ทรงเป็นแม่ทัพคุมไพร่พลไปตั้งที่ เมืองเพชรบุรี ท�ำศึกร่วมกับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ซึ่งยกทัพไปตั้งที่เมืองราชบุรี และกาญจนบุรี เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงราชาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2367 จึงทรงอุปราชาภิเษกกรมหมื่นศักดิพลเสพ เป็น สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ ด�ำรงต�ำแหน่ง กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 31


32 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ศิลปกรรมที่น่าสนใจ INTERESTING ARTS


34 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ศิลปกรรมทีน่ า่ สนใจของวิหารหลังนีม้ หี ลายอย่างด้วยกัน สิง่ แรกทีส่ งั เกต เห็นได้คือ หน้าบันวิหาร ซึ่งอยู่ด้านบนสุดของอาคารมีทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตกแต่งด้วยลาดลายทิวทัศน์ผสมกับลายดอกไม้และประดับประดาด้วยกระเบื้อง เคลือบสีแบบจีน เมื่อมองลงมาเราจะเห็นคันทวยติดอยู่ตามเสาทุกต้นของอาคาร มีลักษณะเป็นไม้แกะสลักซึ่งมีความงดงามอย่างยิ่ง ส่วนตัวอาคารด้านซ้ายและ ขวานั้นจะมีบานหน้าต่างซึ่งประดับประดาด้วยเครื่องเคลือบแบบจีนผสมกันซุ้ม ปูนปัน้ แบบฝรัง่ ลวดลายบนบานหน้าต่างนัน้ จะเป็นลายเมฆไหลแบบจีน และด้าน หน้าและด้านหลังของคารจะมีประตูด้านละ 2 ช่อง ซึ่งประดับประดาลวดลายเช่น เดียวกันกับหน้าต่าง ส่วนลายบนบานประตูนนั้ จะเป็นลวดลายมังกรดัน้ เมฆแบบจีน ซึ่งมีความสวยงามมาก และทางขึ้นประตูทั้ง 4 ด้านนั้นจะมีรูปจ�ำหลักหินสิงโตจีน ตั้งอยู่ เพื่อแสดงถึงความมั่นคงแข็งแรงและสง่างาม

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 35


36 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 37


38 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


จิตรกรรมที่น่าสนใจ INTERESTING PAINTING


40 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


เมื่อเราเข้ามาภายในวิหาร เราจะเห็นพระประธานปางมารวิชัยหน้าตัก กว้าง 1 วา 16 นิ้ว มีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรยืนอยู่คู่กันทางด้านหน้า ที่ฐานชุกชีเป็นที่บรรจุอัฐิของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพและบุคคลอื่นๆ ในราชตระกูล อีกทั้งเราจะพบว่าทุกรอบด้านภายในตัวอาคารนั้นประดับประดา ด้วยจิตรกรรมแบบไทยผสมจีน มีอายุเกือบ 200 ปี บางส่วนนั้นหลุดลอกไปตาม กาลเวลา ส่วนผนังด้านบนที่อยู่เหนือประตูหน้าต่างขึ้นไปนั้น เจาะเป็นช่องเพื่อ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 41


42 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ภาพจิตรกรรมภายในวิหารเป็นภาพเล่าเรือ่ งเกีย่ วกับพุทธประวัติ ทศชาติ ชาดก และไตรภูมิ เริม่ จากพืน้ ทีร่ ะหว่างช่องประตูและหน้าต่างทุกด้าน จะเขียนเป็น ภาพทศชาติชาดก ผนังด้านทิศใต้เป็นเรื่อง เตมีย์ชาดก มหาชนกชาดก สุวรรณสามชาดก เนมิราชชาดก ภูรทิ ตั ชาดก จันทกุมารชาดก นารทชาดก และวิฑรู ชาดก ต่อเนื่องไปผนังด้านหน้าพระประธานเป็นเรื่องมโหสถชาดก ส่วนผนังทางทิศ เหนือและด้านหลังพระประธาน เป็นชาดกเรื่องสุดท้ายที่มีเนื้อเรื่องยาวที่สุด คือ พระเวสสันดรชาดก ท�ำให้ใช้พื้นที่ห้องภาพมากกว่าชาดกเรื่องอื่น ผนังส่วนบนที่ อยู่บริเวณเหนือประตูหน้าต่างขึ้นไป ด้านหลังพระประธานเป็นภาพไตรภูมิแสดง รายละเอียดของสวรรค์

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 43


44 ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ


ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ © 2015 (พ.ศ. 2558) โดย สิตานัน เพียรวานิช สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ตุลาคม พ.ศ. 2558 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรียบเรียงและออกแบบโดย สิตานัน เพียรวานิช ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TH SawrabunPSK 16 pt. หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริม และต่อยอดศักยภาพการศึกษา ภายในภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ชมศิลปกรรมแบบรัชกาลที่ 3 วิหารวัดไพชยนต์พลเสพย์ฯ 45



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.