1 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
คู่มือปฐมพยาบาลเบื้องต้น โ ค ร ง ก า ร เ ส ริ ม ส ร้ า ง ทั ก ษ ะ ก า ร ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 29 – 30 กุมภาพันธ์ 2560
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
ส า ร บั ญ หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยาสามัญประจาชุดปฐมพยาบาล การทาแผล การปฐมพยาบาล เลือดกาเดาไหล การปฐมพยาบาล แผลฟกช้า การปฐมพยาบาล แผลถลอก แผลขนาดเล็ก การปฐมพยาบาล แผลฉีกขาดขนาดใหญ่ และห้ามเลือด การปฐมพยาบาล แผลไฟไหม้น้าร้อนลวก แผลวัตถุหักคา แผลกระดูกหัก การปฐมพยาบาลอาการเจ็บป่วยเฉีบยพลัน การปฐมพยาบาล เป็นลม ลมแดด การปฐมพยาบาล ชักเกร็ง ชักกระตุก การปฐมพยาบาล กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติ Hyperventilation การปฐมพยาบาล ตะคริว การปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก การปฐมพยาบาล ข้อแพลง เคล็ดขัดดยอก การปฐมพยาบาล กระดูกหัก การพันผ้าพันแผล Bandage การทาผ้าคล้องแขน Arm sling การดามและเข้าเฝือกชั่วคราว การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยมีผู้ช่วยเหลือคนเดียว การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยมีผู้ช่วยเหลือ 3 คน เอกสารอ้างอิง
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1 4 7 7 8 9 10 11 12 12 13 14 14 15 15 16 17 19 20 21 22 23 24 25
2 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาล เป็นการช่วยเหลือแรกสุดเพื่อให้ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุปลอดภัย โดยมี วัตถุประสงค์ดังนี้ ✓ เพื่อช่วยชีวิต ✓ เพื่อทาให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ✓ เพื่อลดความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย ✓ เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการปฐมพยาบาลแบบต่าง ๆ หลักการการปฐมพยาบาลเบือ้ งต้น 1. ช่วยเหลือทันที ณ ที่เกิดเหตุ ยกเว้นกรณีท่ีมีอุปสรรคหรืออันตรายในการ ช่วยเหลือ จะต้อ งย้ายผู้บาดเจ็บออกสู่ที่ปลอดภัยเสียก่อนจึง จะเริ่มทา การช่วยเหลือหรือปฐมพยาบาล 2. ให้ก ารปฐมพยาบาลในสถานที่อ ากาศถ่า ยเทสะดวก ปลอดโปร่ง มีแสง สว่างเพียงพอและบริเวณกว้างขวางสะดวก อย่าให้มีคนมุง 3. จัดผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บให้อยู่ในท่าที่สะดวกในการปฐมพยาบาลและไม่ เพิ่มอันตรายแก่ผู้บาดเจ็บ 4. อย่าเคลื่อนย้ายเกินความจาเป็น เพราะอาจเกิดอันตรายเพิ่มขึ้น แต่ถ้าต้อง เคลื่อนย้ายจะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังและถูกวิธี 5. ให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว นุ่มนวล 6. ต้ อ งคานึ ง ถึ ง สภาพจิ ต ใจของผู้ ป่ ว ยหรื อ ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ บาดเจ็ บ ควรได้รับการ ปลอบประโลม และให้กาลังใจเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือ อย่างปลอดภัย
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
ที่มา: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)
อาการฉุกเฉินให้รบี โทรแจ้ง 1669
ขั้นตอนการแจ้งเหตุ
• หมดสติ ช็อค สะลึมสะลือ เรียกไม่ รู้สึกตัว • เจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย • มีสิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดิน หายใจ หายใจไม่ออก • ปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีกฉับพลัน • ชักเกร็ง ชักกระตุก • ปวดท้องรุนแรง • เลือดออกทางช่องคลอด • ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง จมน้า ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ ได้รับสารพิษ สัตว์มีพิษกัดต่อย
แจ้งข้อมูลต่อไปนี้ ‣ ชื่อผูแ้ จ้ง ‣ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ ‣ อาการของผู้ป่วย ‣ สถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจน ‣ การช่วยเหลือที่ทาไปแล้ว
หลังแจ้งเหตุ
‣อยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา คอยสังเกตอาการ ผู้ป่วย ‣ ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตามคาแนะนา ของเจ้าหน้าที่ ‣ทาสายโทรศัพท์ให้ว่าง เจ้าหน้าที่อาจโทร กลับมาเพื่อสอบถามเส้นทาง และให้คน ใกล้เคียงรอรับรถพยาบาล ‣ เตรียมเอกสารสาคัญของผู้ป่วย
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
ยาสามัญประจาชุดปฐมพยาบาล กลุ่มอาการ ยาแก้ปวด ลดไข้
รายการยาที่ใช้ Paracetamol 500 mg Sara 500 mg Tilinol 500 mg Beramol 500 mg Ibruprofen
Ponstan
ยาทดแทนสาร น้าและเกลือแร่
ORS (oral rehydration salt)
ORT (oral rehydration therapy) ยาแก้แพ้
Chlorpheniramine 4 mg
ขนาดและวิธีใช้ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ เกิน 6 เม็ดต่อวัน
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เช้า-กลางวัน-เย็น หลังอาหาร *ห้ามรับประทานตอนท้องว่าง เนื่องจากตัวยา ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เช้า-กลางวัน-เย็น หลังอาหาร *ห้ามรับประทานตอนท้องว่าง เนื่องจากตัวยา ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ละลายยา 1 ซองต่อน้าสะอาด 250 มิลลิลิตร จิบช้าๆ อย่าทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง *สาหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย อาเจียนมาก เสีย เหงื่อ ละลายยา 1 ซองต่อน้าสะอาด 250 มิลลิลิตร จิบช้าๆ อย่าทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง *สาหรับผู้ที่เสียเหงื่อมากจากการออกกาลังกาย เท่านั้น รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง (เมื่อ มีอาการ)
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
5 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
กลุ่มอาการ
รายการยาที่ใช้
ยาแก้เมา
Dimenhydrinate
ยาลดกรด *ยาน้าให้เขย่า ขวดก่อนดื่ม
Antacil gel , Alum milk , Belcid Antacid
ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ *ยาน้าให้เขย่า ขวดก่อนดื่ม
Air-X (Simethicone) ยาธาตุน้าขาว
ยาธาตุน้าแดง
Mixture Carminative ยานวดแก้ปวด Counterpain , Voltaren คลายกล้ามเนื้อ emulgel ,Perskindol , Nurofen gel , ยาหม่อง
ขนาดและวิธีใช้ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนออกเดินทาง ½ - 1ชั่วโมง รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกิน 4 ครั้งต่อวัน *ใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนครั้งละ 1-2 เม็ด วัน ละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ไม่ควรรับประทานเกิน 4 ครั้งต่อวัน *ใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนครั้งละ 1 – 2 เม็ด วัน ละ 3 - 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ หลังอาหาร เช้า กลางวัน และเย็น หรือทุกๆ 4-6 ชั่วโมง *แก้ท้องเสียได้ จึงใช้ในผูป้ ่วยที่มีอาการท้องเสีย ได้ รับประทานครั้งละ 1- 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร *มีส่วนผสมของยาระบาย ไม่แนะน้าให้ใช้ใน ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียร่วมด้วย , ห้ามใช้นาน เกิน 2 สัปดาห์ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร ทา นวด บริเวณอาการปวดเมื่อย
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
6 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
กลุ่มอาการ ยาทาแก้แพ้ แก้คัน ผื่น ยาทาเมื่อมี แมลงสัตว์กดั ต่อย ยาแก้วิงเวียน ศีรษะ หน้ามืด เป็นลม
รายการยาที่ใช้ Calamine lotion ยาหม่อง , แซมบัค
ยาดม แอมโมเนีย ลูกอม
ชุดทาแผล
แอลกอฮอล์ 70% 0.9% NSS (น้าเกลือ) Betadine , Providone-iodine
ขนาดและวิธีใช้ เขย่าขวดก่อนใช้ ใช้สาลีหรือไม้พันสาลีชบุ น้ายา ทาบริเวณที่มีอาการ ทาบริเวณที่แมลงกัดต่อย
ใช้สูดดมเมื่อมีอาการ เทแอมโมเนียใส่ไม้พันสาลี สูดดมเมื่อหน้ามืด วิงเวียน *ห้ามจุ่มไม้พันส้าลีลงในขวดเด็ดขาด ใช้สาหรับผูท้ ี่เป็นลมจากภาวะน้าตาลในเลือด ต่า ไม่ได้รับประทานอาหารมา ใช้ล้างทาความสะอาดบริเวณรอบๆบาดแผล ใช้ล้างทาความสะอาดบริเวณบาดแผล ใช้ใส่บริเวณบาดแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรค
ข้อควรระวังก่อน - หลังใช้ยา ‣ อ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนใช้ยา ‣ ตรวจสอบวันหมดอายุของยา และสังเกตสภาพลักษณะของยา ทุกครั้งก่อนใช้ ‣ ใช้ยาตามคาแนะนาของแพทย์ เภสัชกร หรือฉลากยาอย่างเคร่งครัด ‣ สอบถามประวัติการแพ้ยาและอาหาร ทุกครั้งก่อนให้ยาใดๆ ‣ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาร่วมกับนม น้าผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอลผสม ‣ เก็บยาให้ถูกวิธี และแยกเป็นสัดส่วนระหว่าง ยาใช้ภายใน และ ยาใช้ภายนอก ให้ชัดเจน ‣ ถ้ามีการฝากยาไว้ในกระเป๋าชุดปฐมพยาบาล ควรเขียนชื่อสกุลผูฝ้ ากให้ชัดเจน ‣ สังเกตอาการผิดปกติหลังกินยาเสมอ โดยเฉพาะกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ทาให้ง่วงนอน ควรหลีกเลี่ยง การทากิจกรรมหรืสโมสรนั อขับขี่ยกานพาหนะ ศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
7 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
การทาแผล เลือดกาเดาไหล สาเหตุของเลือดกาเดาไหล ► การระคายเคื องหรือ บาดเจ็บ ต่ อ เยื่ อบุจ มูก ได้แก่ การแคะ การสั่งน้ามูกแรงๆ หรือการ เปลี่ยนแปลงความกดอากาศอย่างเร็ว เช่น ระหว่างขึ้นเครื่องบิน หรือการดาน้า รวมทั้ง การได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะและใบหน้า ► การอักเสบในช่องจมูกซึ่งมีเลือดคั่งที่เยื่อบุจมูก ถ้าสั่งน้ามูกหรือจามรุนแรงอาจทาให้เลือด กาเดาไหลมีน้ามูกปนเลือด ► โรคทางระบบอื่น ๆ ได้แก่โรคเลือดที่ทาให้ เลือดออกง่ายได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ความดันโลหิตสูงทาให้เส้นเลือดแตกได้
ตาแหน่งที่พบเลือดกาเดาไหล • เลือดออกจากด้านหน้าโพรงจมูก • เลือดออกจากด้านหลังโพรงจมูก แขนงเส้นเลือดแดงฝอย ด้านหน้าโพรงจมูก
แขนงเส้นเลือดแดงฝอย ด้านหลังโพรงจมูก ทาให้เลือดไหลลงคอ
ที่มา: http://emedicine.medscape.com/article/80526-overview
การปฐมพยาบาลผู้ที่เลือดกาเดาไหล
ก้มหน้ า
บีบจมูก ให้แน่ น
หายใจ ทางปาก
บ้วน เลือดทิ้ ง วิธีที่ถูกต้อง บีบบริเวณปีกจมูก 15 - 20 นาที จนเลือดหยุดไหล หายใจเข้า-ออกทางปาก บ้วนเลือดทิ้ง เพื่อป้องกัน การอาเจียน
ที่มา: http://www.calldoctor.co.in/tag/nose-bleeding/
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
แผลฟกช้า แผลฟกช้าเป็นบาดแผลที่เกิดจากการถูกของแข็งหนีบ หรือกระทบกระแทกไม่มีบาดแผลฉีกขาดหรือ เลือดออกให้เห็นจากภายนอก แต่มีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อใต้ผิวหนังและหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนัง ทาให้เลือดออกและคั่งอยู่ใต้ผิวหนัง การประคบเย็น - ร้อน สาหรับแผลฟกช้า เมื่อมีการบาดเจ็บฟกช้า สิ่งแรกที่ควรกระทา คือ การประคบเย็น ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ตามหลัก
ไม่ควรใช้น้าแข็งประคบโดยตรง แนะนาให้ใช้ผ้าห่อน้าแข็งหรือผ้าชุบน้าเย็น พยายามลดการเคลื่อนไหวบริเวณที่บาดเจ็บ
เมื่อผู้บาดเจ็บอาการเริ่มทุเลาแล้ว จะทาการประคบร้อน หลังจาก 24 ชั่วโมง ตามหลักการ
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
9 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
แผลถลอก แผลขนาดเล็ก แผลถลอก (abrasion) ลักษณะแผลตื้น มีรอยเปิดเพียงชั้นนอกของผิวหนัง หรือเยื่อบุ มีเลือดซึม เล็กน้อย สาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุถูกขีด ข่วน หรือลื่นไถลบนพื้นหยาบขรุขระ การปฐมพยาบาลแผลถลอก แผลตื้น แผลขนาดเล็ก
ล้างมือ ล้าง แผล ซับแผล
• ล้างมือให้สะอาดทุกครัง้ ก่อนทีจ่ ะทาแผล • หรือใช้เจลแอลกอฮอลล้างมือให้ทวก่ ั ่ อนทาแผล • ใช้น้ าสะอาดล้างแผล ล้างเศษหิน สิง่ สกปรก ในบาดแผลออกให้หมด • อาจใช้สบู่อ่อนๆ ล้างผิวหนังรอบๆบาดแผล แล้วล้างด้วยน้ าสะอาด • ใช้ผา้ ก๊อซหรือผ้าสะอาดซับบาดแผลให้แห้ง
ทาแผล
• ใช้คมี คีบสาลีหรือไม้พนั สาลี ชุบแอลกอฮอล70% พอหมาด เช็ดรอบบาดแผล • ใช้สาลีชุบน้าเกลือหรือโปรวิดี ไอโอดีน เช็ดวนในบาดแผลเป็ นวงกลมจากในออกนอก
ปิ ดแผล
• สามารถเปิ ดแผลทิง้ ไว้ได้ และรักษาความสะอาด ยกเว้น ถ้าบาดแผลอยู่บริเวณเท้า บริเวณทีอ่ บั ชืน้ หรือเสียดสีบ่อย ควรปิ ดแผลด้วยผ้าก๊อซสะอาด
ล้างมือให้สะอาด
ล้างแผลให้สะอาด ล้างสิ่งสกปรกออก ให้หมดจด
เช็ดรอบแผลด้วยแอลกอฮอล เช็ดในแผลด้วยน้าเกลือล้าง แผล หรือ โปรวิโดนไอโอดีน
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เปิดหรือปิดแผล ตามความเหมาะสม
10 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
แผลฉีกขาดขนาดใหญ่ และการห้ามเลือด หากพบว่าผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บ มีบาดแผลขนาดใหญ่หรือเลือดออกมาก ให้รีบทาการห้ามเลือดและ นาส่งโรงพยาบาลหรือโทรแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 โดยเร็วที่สุด ระหว่างรอนาส่งโรงพยาบาลให้ สังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ข้อควรระวัง : ควรสวมถุงมือสะอาดและหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดผู้ป่วยโดยตรง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ล้างบริเวณที่เปื้อนเลือดด้วยสบู่ให้สะอาดโดยเร็วที่สุด การห้ามเลือด ใช้ผา้ ก๊อซหนาๆกดลงบนบาดแผล ใช้ผา้ สะอาดพันปิ ดแผลไว้ แต่ห้ามแน่ นเกิ นไป ยกบาดแผลขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ รีบนาส่งโรงพยาบาล หรือโทรแจ้ง 1669 สาคัญ หากมีเลือดซึมออกมาจนเปียกชุ่ม ให้นาผ้าก๊อซชิ้นใหม่มาปิดทับโดยไม่ตอ้ งดึงอันเก่าออก
หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้กดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงบริเวณบาดแผล การห้ามเลือดโดยการกดเส้นเลือดแดงใหญ่ควรทา ก็ต่อเมื่อใช้วิธีการห้ามเลือดโดยการกดบาดแผลหรือ ใช้ผ้าพันแผลแล้วไม่ได้ผล เพราะจะทาให้อวัยวะที่ต่ากว่าจุดกดขาดเลือดไปเลี้ยง หากกดนานเกินไป อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นขาดเลือด และเกิดเนื้อตายได้ จึงไม่ควรกดเส้นเลือดแดงใหญ่เกินกว่า ครั้งละ 15 นาที (ดูแผนภาพจุดกดเส้นเลือดแดงใหญ่ในหน้าต่อไป ►)
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
ข้อควรระวัง การใช้นิ้วกดเส้นเลือดแดงใหญ่ เหนือบาดแผล ใช้ในบาดแผลบริเวณแขนขาที่ เลื อ ดออกมาก โดยส่ ว นใหญ่ เ กิ ด จากการ บาดเจ็ บ ต่ อ หลอดเลื อ ดแดง และห้ า มกด ติด ต่อกันนานเกิน 15 นาที เพราะจะทาให้ เนื้อเยื่อส่วนปลายขาดเลือดได้ ที่มา: http://www.modernreflexology.com/
บาดแผลอื่น ๆ แผลไฟไหม้ น้าร้อนลวก ใช้น้าสะอาดจานวนมากล้างแผล เพื่อทาความสะอาด และลดอาการปวดแสบปวดร้อ น รี บ ถอดเสื้ อ ผ้ าและ เครื่องประดับที่ถูกเผาไหม้ออก เสื้อผ้าที่ถูกเผาไหม้อ าจ ติ ด กั บ ผิ ว หนั ง ห้ า มใช้ น้ ามั น โลชั่ น ยาสี ฟั น หรื อ ยา ปฏิชีวนะทาบนแผล ห้ามเจาะตุ่มพอง บาดเจ็บทีศ่ ีรษะ ให้ ท าการห้ า มเลื อ ดโดยวิธ ี ก ดที ่แ ผลโดยตรง ถ้ า เลือดออกมากให้ใช้ผ้ายืดพันทับ คอยสังเกตอาการทาง สมองควบคู่ไปด้วย เช่น ซึมลง ความรู้สึกตัวลดลง พูด สับสน ปวดศีรษะมากอาเจียน เป็นต้น และรีบนาส่ ง โรงพยาบาล
แผลจากวัตถุหกั คา ห้ามดึงวัตถุที่หักคาออก ยึดตรึงวัตถุที่หักคาให้อยู่นิ่ง ห้ามเลือดโดยใช้ผ้าแห้งสะอาดปิดแผลหนาๆ ปิดบริเวณ รอบวัตถุนั้น แล้วนาส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด กรณีกระดูกหัก หากไม่มีบาดแผล ให้ประคบด้วยน้าแข็งบริเวณที่ปวด บวมผิดรูป เพื่อลดอาการปวดบวม ดามกระดูก โดยยึด ตรึงส่วนที่หักให้อยู่นิ่งมากที่สุด หากมีแผลหรือมีกระดูก โผล่ ห้ า มดั น กระดู ก กลั บ เข้ า ที่ โ ดยเด็ ด ขาด ให้ ท า การปฐมพยาบาล ตามขั้ น ตอนการห้ า มเลื อ ดเหมือน แผลที่วัตถุหักคา ไม่ควรยก หรือเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ โดยไม่จาเป็น และรีบโทรแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 (รายละเอียดหน้า 16)
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
12 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
การปฐมพยาบาลอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน กลุ่มอาการหมดสติ เป็นลม
ลมแดด (Heat Stroke)
สาเหตุ อยู่ ใ นที่ อ ากาศร้ อ นและมี ความชื้ น สูง เหงื่ อ ออกมากทาให้ตัวเย็น ปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ เพี ย งพอ ท าให้ ส มองขาดออกซิ เ จน เช่ น กิ จ กรรม ประชุมเชียร์ในห้องแคบ ๆ อากาศมักถ่ายเทไม่สะดวก กิจกรรมกลางแจ้ง
สาเหตุ อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมาก ความชื้น สูง และมีอากาศถ่ายเทไม่ดี เช่น การอยู่กลางแดดนาน ๆ การดื่มสุรามากเกินไปในอากาศร้อน ๆ
อาการ หน้าซีด ผิวหนังเย็นชื้น เหงื่อออกมาก ชีพจร เต้นเบาแต่เร็ว อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ บางคนอาจหมด สติไป
อาการ หน้าแห้งแดง ผิวหนังร้อน แต่ไม่มีเหงื่อ ชีพจร เต้ น แรงและเร็ ว หายใจหอบเร็ ว ปวดศี ร ษะ อึ ด อั ด อาเจียน กระหายน้ามาก
การปฐมพยาบาล 1. จัดให้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 2. คลายเสื้อผ้าให้หลวม 3. นอนราบไม่หนุนศีรษะ ยกขาสูงกว่าศีรษะ
การปฐมพยาบาล 1. จัดให้อยู่ในสถานที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก 2. คลายเสื้อผ้าให้หลวม 3. นอนราบไม่หนุนศีรษะ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง 4. เช็ดตัวด้วยน้าเย็น หรือใช้ผ้าชุบ น้าเย็ นหรื อน้ าแข็ ง ประคบตามซอกคอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการ ใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน 5. ให้ดื่มน้าเย็นในราย ที่ไม่หมดสติ
ใช้พัดลม หรือพัดให้ อากาศเย็นและถ่ายเทสะดวก กรณีลมแดด เช็ดตัว ประคบเย็น บริเวณซอกคอ รักแร้ ศีรษะ
ยกขาสูงทั้งสองข้าง
ให้ผู้ป่วยนอนลงในที่ร่ม ให้จิบน้าเย็น ถ้ารู้สึกตัวดี
ที่มา: http://nursingcrib.com/
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
13 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
กลุ่มอาการหมดสติ ชักเกร็ง ชักกระตุก
สาเหตุ อาจเกิดจากโรคประจาตัวหรือได้รับสิ่ง กระตุ้น ความเครียด หรืออาการขวัญผวาตกใจ คลายเสื้อให้หลวม
อาการ เกร็ง กระตุก ซึ่งอาจจะชักจากจุดใดจุด หนึ่ ง ของร่ า งกายและกระจายไปทั่ ว ร่ า งกาย หรื อไม่ ก็ ได้ หรื อจะเกิ ด ขึ้ น ทั้ ง ตั ว ผู้ ป่ วยจะไม่ รู้สึกตัว การปฐมพยาบาล เป้าหมายหลักคือ การป้องกันการบาดเจ็ บของ ผู้ป่วยทีอ่ าจเกิดขึ้นขณะชัก 1. ให้ ผู้ ป่ ว ยนอนลงบนพื้ น ราบ จั ด สิ่ ง แวดล้อม รอบตัวผู้ป่วย ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางหรือของมีคม หาหมอนรองรับศีรษะกันกระแทกพื้น 2. จัดท่านอนตะแคงกึ่งคว่าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสูดสาลักและลิ้นตกไปอุดกั้น ทางเดินหายใจ ห้ามใช้ช้อนหรือไม้กดลิ้ น งั ด ปาก 3. ปล่ อ ยให้ ชั ก ห้ า มยึ ด ตรึ ง แขนขา สั ง เกต ลักษณะการชักอย่างใกล้ชิด 4. งดการดื่มน้าและรับ ประทานอาหารทุกชนิด จนกว่าจะรู้สึกตัวดี 5. ไม่ ย กหรื อ เคลื่ อ นย้ า ยผู้ ป่ ว ยขณะชั ก โดยไม่ จาเป็น 6. โทรแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669
ให้ผู้ป่วยนอนราบลงบนพื้น ระวังศีรษะกระแทกพื้น
ค่อยๆพลิกตัวผู้ป่วยไป ด้านใดด้านหนึ่ง
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สังเกตอาการชักอย่างใกล้ชิด และโทรแจ้ง 1669
14 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติ Hyperventilation Syndrome อาการไฮเปอร์เวนทิเลชั่น Hyperventilation
สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความเครียดและความ วิตกกังวล แล้วทาให้หายใจเร็วกว่าปกติ ส่งผลทา ให้ร่างกายขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากเกินไป ทาให้ระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระแสเลือดต่าลงกว่าระดับปกติ ทาให้ความ เป็ น กรดด่ างในเลื อดไม่ ส มดุ ล ท าให้ เ ส้ น เลื อ ดที่ หล่ อ เลี้ ย งสมองหดตั ว ขั ด ขวางการส่ ง ถ่ า ย ออกซิเจน และโมเลกุลอื่นที่จาเป็นต่อการทางาน ของระบบประสาท
อาการ ► หายใจเร็ว, ลึก และเป็นอยู่นาน (รู้สึกแน่น หน้าอกเหมือนหายใจไม่เต็มอิ่ม) ► มีอาการใจสั่น ► เหน็บชาบริเวณ ปาก มือ เท้า ► มือจีบเกร็ง ► เท้าเกร็ง การปฐมพยาบาล 1. ทาให้ผู้ป่วยคลายความเครียดและวิตกกังวล 2. จัดท่าให้นอนราบหรือนอนพัก 3. ให้ผู้ป่วยควบคุมจังหวะการหายใจให้ช้าลง 4. อาการไม่ดีขึ้นให้รีบนาส่งโรงพยาบาล
อาการตะคริว ตะคริว คือ การที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเป็นเวลานาน สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ ชัด อาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้มีการยืดตัวบ่อยๆ ทาให้มีการหดรั้ง และเกร็งได้ง่ายเมื่อมี การใช้กล้ามเนื้อนั้นมากเกินไป การปฐมพยาบาล ยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่เก่งจนกระทั่งหายปวด 1. ตะคริวที่มือ : ให้ยืดนิ้วมือ ดัดปลายนิ้ว 2. ตะคริวที่ต้นขา : ให้เหยียดขาตรง ไม่งอเข่า ยกต้นขาขึ้น 3. ตะคริวที่น่อง : ให้เหยียดเข่าให้ตรง จับ ปลายเท้าดึงขึ้นมาทางหน้าแข้ง 4. ตะคริวที่นิ้วเท้า : ให้ดันนิ้วเท้าเข้าหาหน้า แข้ง หรือ ยืนเขย่งปลายเท้า ที่มา: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
15 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
การบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ข้อแพลง เคล็ดขัดยอก มีการเคลื่อนไหวของข้อมากเกินปกติหรือข้อเกิดการหมุน พลิก บิด จนทาให้เส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อที่ ยึดรอบๆข้อฉีกขาด โดยข้อที่พบบ่อยคือ ข้อเท้า มักเกิดจากการเดินสะดุดล้มหรือหกล้ม ข้อเท้าพลิก หรือบิดงอ อาการ ► เจ็บที่ข้อหลังได้รับบาดเจ็บ โดยจะเจ็บมากเวลาเคลื่อนไหวข้อหรือใช้นิ้วกด ► ข้อมีลักษณะบวมแดงและร้อน อาจจะพบรอยเขียวคล้า ฟกช้าเนื่องจากเส้นเลือดฝอยแตก การปฐมพยาบาลข้อแพลง เคล็ดขัดยอก
1. จากัดการเคลื่อนไหว บริเวณที่บาดเจ็บให้อยู่นิ่ง หรือเคลื่อนไหวน้อยที่สุด
4. ยกบริเวณทีบ่ าดเจ็บขึ้นสูง หากบาดเจ็บบริเวณแขน ให้ คล้องแขนไว้ด้วยผ้า
2. ประคบเย็นภายใน 24 ชั่วโมง ตามหลัก RICE
3. พันด้วยผ้ายืดเพื่อจากัดการ เคลื่อนไหว และลดอาการบวม
Rest – Ice – Compress - Elevate
5. หากอาการไม่ดีขึ้น หรือ สงสัยว่ากระดูกหัก ให้ไปพบ แพทย์ด่วน
ที่มา: http://raisingchildren.net.au/articles/pip_ricer.html
ภายใน 48 ชั่วโมง X ใช้งานบริเวณที่บาดเจ็บ X การประคบร้อน ทายาหม่อง X การนวดถู ขยี้ คลึง
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
16 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
กระดูกหัก เมื่อสันนิษฐานว่ากระดูกหัก ให้สังเกตลักษณะรูปร่างและการวาง แนวของกระดูกบริเวณนั้น โดยกระดูกหักสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ A. กระดูกหักชนิดไม่ซับซ้อน (แบบปิด) : ผู้ป่วยจะมีอาการปวด มาก อันเกิดจากกระดูกหักเพียงอย่างเดียว ไม่มีการบาดเจ็บที่ กล้ามเนื้อหรือผิวหนัง B. กระดูกหักชนิดซับซ้อน (แบบเปิด) : ผู้ป่วยจะมีอาการปวด มาก อันเกิดจากกระดูกที่หักทิ่มแทงทะลุออกนอกกล้ามเนื้อ มีการ ฉีกขาดของหลอดเลือดและเส้นประสาท และมีโอกาสติดเชื้อได้สูง การปฐมพยาบาลกระดูกหัก จากัดการเคลื่อนไหว ไม่เคลื่อนย้ายโดยไม่จาเป็น
การดามสาหรับกระดูกหักแบบปิด
ประเมินอาการผู้ป่วย และโทรแจ้ง 1669 กระดูกหักแบบ ปิด
กระดูกหักแบบ เปิด
ประคบเย็น
X ห้ามดันกระดูกกลับ
ทาการดามบริเวณ ที่บาดเจ็บ
ห้ามเลือดโดยใช้ผ้าก๊อซ สะอาดปิดแผลหนาๆ ปิดบริเวณรอบกระดูกนั้น
(รายละเอียดหน้า 17 - 20)
** กรณีเลือดไม่หยุดไหล เพิ่มผ้าก๊อซปิดทับ โดยห้ามดึงอันเก่า ออกเด็ดขาด
ทาการดามบริเวณ ที่บาดเจ็บ
นาส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
17 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
หลักการพันแผล โดยใช้ผ้ายืด Bandage การพันผ้า โดยใช้ bandage ใช้สาหรับพันบริเวณที่บาดเจ็บทีแ่ ขน ขา และศีรษะ เมื่อพันแล้วขอบของ ผ้าควรกว้างกว่าขอบบาดแผลอย่างน้อยหนึ่งนิ้ว ข้อแนะนาในการพันผ้า 1. ผ้าที่พันต้องแห้งและสะอาด โดยเริ่มพันจากปลายโคน 2. จับม้วนผ้าหงายเสมอ 3. พันผ้าให้แน่น แต่ระวังการรัดแน่นจนเกินไป 4. เมื่อสิ้นสุดการพัน ควรผูก หรือกลัดเข็มกลัด หรือติดพลาสเตอร์ ให้เรียบร้อย แต่ไม่ให้ทับบริเวณแผล 5. เมื่อพันเสร็จแล้ว ขอบของผ้าควรกว้างกว่าขอบบาดแผลอย่าง น้อยหนึ่งนิ้ว 6. ให้สังเกตได้จากอวัยวะส่วนปลายมือปลายเท้า หากมีสีผิวซีดขาว หรือคล้าเขียว และเย็นเมื่อสัมผัส รวมไปถึง ผู้บาดเจ็บจะบอกถึง อาการปวดและชา ให้รีบคลายออกทันทีแล้วพันใหม่ วิธีการพันผ้า - Bandaging การพันรอบหรือพันเป็นวงกลม (Circular Turns) เป็นการพัน รอบที่ใช้กับส่วนที่เป็นวงกลม และมักใช้เป็นจุดเริ่มต้นและ จุดสิ้นสุดของการพันผ้าพันแผลชนิดม้วนลักษณะอื่นๆ อวัยวะที่ เหมาะสาหรับการพันรอบ เช่น รอบศีรษะ รอบนิ้วมือ รอบ ข้อมือ เป็นต้น ซึ่งมีวิธีการพันตามลาดับดังนี้
1. ใช้มือขวาจับม้วนผ้าให้ชายผ้าอยู่ข้างล่าง 2. พันรอบบริเวณที่ต้องการพันหลาย ๆ รอบ 3. ติดเข็มกลัด หรือ ผูกชายผ้าให้เรียบร้อย
E ไม่ควรผูกปม หรือกลัดเข็มกลัด เหนือบริเวณที่บาดเจ็บ
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
18 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
การพันเป็นเกลียว (Spiral turns) เป็นการพันกับอวัยวะที่ ยาว เช่น ต้นแขน ต้นขา หน้าแข้ง ลาตัว เป็นต้น ซึ่งมี วิธีการพันตามลาดับดังนี้
‘
A
1. ใช้มือขวาหรือซ้ายจับม้วนผ้าให้ชายผ้าอยู่ข้างล่าง 2. พันรอบ 2-3 รอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าคลายตัว 3. พันเฉียงขึ้นไปเป็นเกลียวโดยให้เหลื่อมกัน ประมาณ 2 ใน 3 ของผ้า 4. เมื่อสิ้นสุดการพันให้พันรอบ อีก 2-3 รอบ ติด เข็มกลัดหรือผูกชายผ้าให้เรียบร้อย
B
การพันรูปเลขแปด (Figure of eight turns) เป็นการพัน อวัยวะที่เป็นส่วนของข้อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อสะโพก ข้อศอก และหัวไหล่ เป็นต้น มีวิธีการพันตามลาดับดังนี้
1. ใช้มือขวาหรือซ้ายจับม้วนผ้าให้ชายผ้าอยู่ข้างล่าง พันรอบ 2-3 รอบ 2. พันขึ้นไปเป็นเกลียวแล้วอ้อมกลับเป็นรูปเลขแปด 3. พันขึ้นไปโดยให้ผ้าเหลื่อมกันให้ลายขนานกัน 4. ระวังไม่ให้เกิดรอยย่น ไม่พันผ้าแน่นจนเกินไป โดยระวังไม่ให้ดึงผ้าในขณะที่พันผ้า 5. เมื่อสิ้นสุดการพัน พันรอบประมาณ 2-3 รอบ ติด เข็มกลัดหรือผูกชายผ้าให้เรียบร้อย
B
A
D
E
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
C
19 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
การพันพับกลับเป็นเกลียว (Spiral Reversed turns) เป็นการพันอวัยวะที่เป็นทรงกระบอก ปลายเล็กโคน ใหญ่ เช่น ท่อนแขน ท่อนขา การพันแบบนี้ใช้พันเมื่อ ต้องการความอบอุ่นหรือต้องการแรงกด
1. พันรอบ 2 รอบ 2. ดึงผ้าเฉียงขึ้นไปจนถึงกลางแขนหรือขา แล้วพลิก ผ้ากลับมาโดยใช้นิ้วหัวแม่มือจับไว้ 3. การพันรอบต่อไปให้ผ้าซ้อนกัน 2/3 ของความ กว้างของผ้า และให้มุมที่พันผ้ากลับมาตรงกันทุก รอบ 4. จบผ้าพันด้วยการพันรอบ 2 รอบ
การพันผ้าคล้องแขน Arm Sling เมื่อเกิดอุบัติเหตุ การคล้องผ้าเป็นการปฐมพยาบาลชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้บาดแผลหรืออวัยวะที่ได้รับ อุบัติเหตุมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อช่วยลดอาการบวม ทาให้เกิดความสุขสบาย และป้องกัน อันตรายบริเวณที่บาดเจ็บได้ โดยตัวอย่างการคล้องผ้า มีดังนี้
Sling I สาหรับท่อนแขน ข้อศอก และมือ วิธีการคล้องผ้า 1. วางผ้าสามเหลี่ยมให้มุมยอดอยู่ด้านข้อศอกของแขนข้างที่เจ็บ เพื่อที่จะได้พับมุมของผ้าห่อประคับประคองข้อศอกให้อยู่กับที่ 2. งอข้อศอกให้ข้อมืออยู่สูงกว่าระดับข้อศอกเล็กน้อย เพื่อให้ส่วน ปลายแขนและมือได้พักและทาให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น 3. ยกชายผ้าด้านล่างชายผ้าอีกข้างหนึ่ง ผูกชายผ้าทั้งสองข้า งเข้า ด้วยกันด้วยเงื่อนพิรอดบนไหล่ตรงข้ามกับแขนข้างที่เจ็บ เพื่อไม่ให้รอย ผูกของผ้ากดลงบนแขนข้างที่เจ็บหรือบริเวณต้นคอ 4. พับมุมยอดของผ้าห่อข้อศอกไว้แล้วกลัดด้วยเข็มกลัดซ่อนปลาย
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
20 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
การดามบริเวณทีก่ ระดูกหัก การดาม คือ การเข้าเฝือกแบบชั่วคราวเพื่อลดความเจ็บปวด ป้องกันไม่ให้เกิดความบาดเจ็บหรือ พิการเพิ่มขึ้น โดยทาได้โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ วัสดุที่หาง่าย ได้แก่ กระดาษแข็ง ฟิวเจอร์บอร์ด ผ้า เป็น ต้น อุปกรณ์ที่นามาเลือกใช้ต้องมีความแข็งแรงเป็นหลักให้กับขาหรือแขนได้ โดยความยาวของวัสดุที่ นามาดามควรยาวกว่าบริเวณส่วนที่หัก วิธีการดามเข้าเฝือกชั่วคราว 1. เข้าเฝือกชั่วคราวในท่าที่พบครั้งแรกห้าม พยายามจัดท่าบริเวณทีบ่ าดเจ็บให้ตรง 2. ตาแหน่งของเฝือกชั่วคราวจะอยู่ด้านข้างของ กระดูกที่หัก และต้องแน่ใจว่าเฝือกต้องมีความ ยาวเพียงพอ เหนือตาแหน่งของข้อต่อ และยาว ลงมาให้ต่ากว่าบริเวณที่กระดูกหัก 3. ก่อนจะวางเฝือกให้วางผ้าหรือสาลีรองรับก่อน เพื่อลดการกดลงบนผิวหนังโดยตรงซึ่งจะทาให้ เจ็บปวดและเกิดบาดแผลได้ 4. เข็มขัดหรือผ้าที่จะนามาผูกเฝือกชั่วคราว จะต้องอยู่เหนือและต่ากว่าบริเวณกระดูกหักห้าม ผูกปมเหนือบริเวณที่สงสัยว่าจะมีกระดูกหัก
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
21 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายมีความสาคัญอย่างมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อที่ปลอดภัย หากผู้ที่ทาการ เคลื่อนย้ายไม่มีความรู้ในการเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องอาจทาให้อาการของผู้บาดเจ็บแย่ลง แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนจะทาการเคลื่อนย้ายนั้นต้องมั่นใจว่าได้ทาการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้บาดเจ็บแล้วจึงทาการ เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ หลักในการเคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ 1. ต้องทราบว่าผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณใด 2. ให้การปฐมพยาบาลก่อนการเคลื่อนย้าย เช่น ห้ามเลือด ดามกระดูกที่หัก เป็นต้น 3. เลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย 4. การเคลื่อนย้ายต้องทาด้วยความนุ่มนวล มีสติ รอบคอบ 5. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักจะต้องมีสิ่งรองรับ ศีรษะ แขน ขา และหลัง 6. อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น เปล ต้องนามาให้ถึงผูป้ ่วย มิใช่ยกผู้ป่วยเดินไปหาเปล 7. ถ้ามีผู้ช่วยเหลือหลายคนควรมีหัวหน้าเพื่อสั่งการหนึ่งคน เพื่อให้การทางานเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ 8. ขณะเคลื่อนย้ายด้วยเปลควรมีสายรัดกันการตก 9. ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสังเกตการหายใจและจับชีพจร ถ้ามี อาการผิดปกติต้องรีบช่วยเหลือทันที 10. รีบนาผู้ป่วยส่งให้ถงึ มือแพทย์โดยเร็วที่สุดและผู้นาส่งควรเล่าเหตุการณ์ให้แพทย์ทราบเพื่อ ช่วยการวิเคราะห์การบาดเจ็บ
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
22 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
ผู้ช่วยเหลือคนเดียว การพยุงผู้ป่วย 1. ผู้ปฐมพยาบาลยืนด้านทีบ่ าดเจ็บ ให้ผู้บาดเจ็บ พาดแขนไว้ที่คอของผู้ปฐมพยาบาล แล้วจับข้อมือ ของผู้บาดเจ็บไว้ 2. ใช้แขนอีกข้างของผู้ปฐมพยาบาลโอบเอว ผู้บาดเจ็บ จับเข็มขัดหรือขอบเสื้อผ้าเพื่อช่วยพยุง 3. เริ่มก้าวเท้าที่อยู่ชิดผู้บาดเจ็บก่อน ก้าวสั้น ๆ ไป พร้อมผู้บาดเจ็บ การใช้ไม้เท้าช่วย จะช่วยประคอง ผู้บาดเจ็บได้ดยี ิ่งขึ้น
การลากผูป้ ่วย เหมาะที่จะใช้ในกรณีฉุกเฉินจาเป็นต้องเคลื่อนย้าย ออกจากที่เกิดเหตุให้เร็วที่สุด ให้ผู้บาดเจ็บกอดอก และให้ผู้ปฐมพยาบาลนั่งยองๆ ด้านหลังผู้บาดเจ็บ สอดแขนใต้รักแร้แล้วลาก การลากควรมีผ้าหรือ กระดาษรองลาตัวผู้บาดเจ็บเพื่อลดอันตรายที่จะ เกิดขึ้นเพิ่มกับผู้บาดเจ็บ
การขี่หลัง เหมาะกับผู้บาดเจ็บที่ขา เดินไม่ได้ แต่ต้องรู้สึกตัวดี หรือรู้สึกตัวอยู่บ้าง มีน้าหนักตัวไม่หนักมาก ไม่เกิน กาลังของผู้ช่วยเหลือ 1. ผู้ปฐมพยาบาลนั่งคุกเข่าหันหลังเข้าทางด้านหน้า ของผู้บาดเจ็บ นาแขนทั้งสองข้างของผู้บาดเจ็บพาด ที่คอของผู้ช่วยเหลือ 2. ผู้ปฐมพยาบาลจับต้นแขนของผู้บาดเจ็บ ลุกขึ้น ช้าๆ โน้มตัวไปข้างหน้าพอให้ทรงตัวและเดินไปได้ โดยไม่หงายหลัง
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
23 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
ผู้ช่วยเหลือ 2 คน เก้าอี้สองมือ เหมาะสาหรับผู้ป่วยในรายที่ขาเจ็บแต่รู้สึกดีและ สามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้ 1. ผู้ปฐมพยาบาลนั่งยอง ๆ ข้างผู้บาดเจ็บ ข้างละ คน ให้ผู้บาดเจ็บไขว้แขนที่ด้านหลังของผู้ปฐม พยาบาล 2. ผู้ปฐมพยาบาลสอดมืออีกข้างใต้เข่าผู้บาดเจ็บ และจับข้อมือกัน เลื่อนแขนที่จับกันมาอยู่ที่ตรง กลางต้นขาผู้บาดเจ็บ 3. ให้เข่าผู้ปฐมพยาบาลชิดตัวผูบ้ าดเจ็บ หลังตรง ลุกขึ้นช้าๆแล้วก้าวเดินพร้อมกัน
การอุ้มพยุงแขนและขา เหมาะสาหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว แต่ไม่ควรใช้ ในรายที่มีการบาดเจ็บของลาตัว หรือกระดูกหัก 1. ให้ผู้บาดเจ็บนั่งชันเข่า มือกอดอก 2. ผู้ปฐมพยาบาลคุกเข่าลงทางด้านหลัง สอดมือ เข้าใต้รักแร้พร้อมทั้งชันเข่าขึ้น 1 ข้าง 3. ให้ผู้ปฐมพยาบาลอีกคนนั่งหันหลังให้ผู้บาดเจ็บ และขยับตัวเข้าไปอยู่ระหว่างขาผู้บาดเจ็บแล้วสอด มือทั้งสองข้างเข้าไปใต้ข้อพับ 4. ผู้ปฐมพยาบาลลุกขึ้นพร้อมๆกัน ช้าๆ และออก เดิน ห้ามใช้วิธีนี้ ถ้าบาดเจ็บที่แขนหรือไหล่
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
24 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น
ผู้ช่วยเหลือ 3 คน การอุ้มสามคนเรียง เหมาะสาหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้ม ขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ วิธีเคลื่อนย้าย 1. ผู้ปฐมพยาบาล ทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่า คุกเข่าข้างเดียว ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และ อุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้ คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอ และหลังส่วนบน และเป็นคนให้สัญญาณเคลื่อนย้าย คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณ หลังส่วนล่างและก้น คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขา 2. ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า 3. ประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคงและอุ้มยืน หากจะวางผู้ป่วยลงให้ คุกเข่าก่อนและค่อยๆวาง ผู้ป่วยลง
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
25 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น บันทึก ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
26 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น บันทึก ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
27 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น บันทึก ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. ................................................................................................................................................................. .................................................................................................................................................................
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
28 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น เอกสารอ้างอิง • วราภรณ์ บุญเชียง และวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. การรักษาโรคเบื้องต้น. เชียงใหม่ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556 • เอกสารประกอบเรียนกระบวนวิชา 552217 การฝึกปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานใน ห้องปฏิบัติการ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • ศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสาหรับประชาชนทั่วไป : 2558
คณะผู้จัดทา นายจรูญ เนตาสิทธิ์ นางสาวกนกพร ลิ้มเจริญสุขสกุล นางสาวพิมพัฒน์ เตชะ นายธนากร ลิมป์แสงใส สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่