คู่มือปฐมพยาบาลเบื้องต้น

Page 1

1 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

คู่มือปฐมพยาบาลเบื้องต้น โ ค ร ง ก า ร เ ส ริ ม ส ร้ า ง ทั ก ษ ะ ก า ร ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

ณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 29 – 30 กรกฎาคม 2560

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


1 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

ส า ร บั ญ หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน  การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่ การจัดกล่องปฐมพยาบาล  ยาสามัญประจาชุดปฐมพยาบาล  หลักการจัดกล่องปฐมพยาบาล  หลักการใช้ยาและกล่องปฐมพยาบาล การทาแผล  การปฐมพยาบาล แผลฟกช้า  การปฐมพยาบาล แผลถลอก แผลขนาดเล็ก  การปฐมพยาบาล ห้ามเลือด การปฐมพยาบาลอาการเจ็บป่วยเฉีบยพลัน  การปฐมพยาบาล เพลียแดด ลมแดด  การปฐมพยาบาล ชักเกร็ง ชักกระตุก  การปฐมพยาบาล กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติ Hyperventilation  การปฐมพยาบาล ตะคริว การปฐมพยาบาลอาการบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก  หลักการ PRICE  การพันผ้าพันแผล Bandage  การทาผ้าคล้องแขน Arm sling การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยมีผู้ช่วยเหลือคนเดียว  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยมีผู้ช่วยเหลือ 2 คน  การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย โดยมีผู้ช่วยเหลือ 3 คน เอกสารอ้างอิง สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2 4 4 5 5 8 8 9 9 10 11 13 13 14 15 15 16 16 17 19 21 22 23 24 25


2 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การปฐมพยาบาล เป็นการช่วยเหลือแรกสุดเพื่อให้ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุปลอดภัย โดยมี วัตถุประสงค์ดังนี้ ✓ เพื่อช่วยชีวิต ✓ เพื่อทาให้บรรเทาความเจ็บปวดทรมาน และช่วยให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ✓ เพื่อลดความรุนแรงของการได้รับบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย ✓ เพื่อป้องกันความพิการที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลังการปฐมพยาบาลแบบต่าง ๆ หลักการการปฐมพยาบาลเบือ้ งต้น 1. ช่วยเหลือทันที ณ ที่เกิดเหตุ ยกเว้นกรณีท่ีมีอุปสรรคหรืออันตรายในการ ช่วยเหลือ จะต้องย้ายผู้บาดเจ็บออกสู่ที่ ปลอดภัยเสียก่อนจึง จะเริ่มทา การช่วยเหลือหรือปฐมพยาบาล 2. ให้ก ารปฐมพยาบาลในสถานที่อ ากาศถ่า ยเทสะดวก ปลอดโปร่ง มีแสง สว่างเพียงพอและบริเวณกว้างขวางสะดวก อย่าให้มีคนมุง 3. จัดผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บให้อยู่ในท่าที่สะดวกในการปฐมพยาบาลและไม่ เพิ่มอันตรายแก่ผู้บาดเจ็บ 4. อย่าเคลื่อนย้ายเกินความจาเป็น เพราะอาจเกิดอันตรายเพิ่มขึ้น แต่ถ้าต้อง เคลื่อนย้ายจะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังและถูกวิธี 5. ให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว นุ่มนวล 6. ต้ อ งคานึ ง ถึ ง สภาพจิ ต ใจของผู้ ป่ ว ยหรื อ ผู้ ที่ ไ ด้ รั บ บาดเจ็ บ ควรได้รับการ ปลอบประโลม และให้กาลังใจเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะได้รับการช่วยเหลือ อย่างปลอดภัย

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


3 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

ที่มา: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)

อาการฉุกเฉินให้รบี โทรแจ้ง 1669

ขั้นตอนการแจ้งเหตุ

• หมดสติ ช็อค เรียกไม่รู้สึกตัว • เจ็บหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย • มีสิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดิน หายใจ หายใจไม่ออก • ปากเบี้ยว อ่อนแรงครึ่งซีกฉับพลัน • ชักเกร็ง ชักกระตุก • ปวดท้องรุนแรง • เลือดออกทางช่องคลอด • ผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุจราจร ตกจากที่สูง จมน้า ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ ได้รับสารพิษ สัตว์มีพิษกัดต่อย

แจ้งข้อมูลต่อไปนี้ ‣ ชื่อผูแ้ จ้ง ‣ หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อกลับ ‣ อาการของผู้ป่วย ‣ สถานที่เกิดเหตุที่ชัดเจน ‣ การช่วยเหลือที่ทาไปแล้ว

หลังแจ้งเหตุ

‣อยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา คอยสังเกตอาการ ผู้ป่วย ‣ ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ตามคาแนะนา ของเจ้าหน้าที่ ‣ทาสายโทรศัพท์ให้ว่าง เจ้าหน้าที่อาจโทร กลับมาเพื่อสอบถามเส้นทาง และให้คน ใกล้เคียงรอรับรถพยาบาล ‣ เตรียมเอกสารสาคัญของผู้ป่วย

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


4 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


5 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

ยาสามัญประจาชุดปฐมพยาบาล กลุ่มอาการ ยาแก้ปวด ลดไข้

รายการยาที่ใช้ Paracetamol 500 mg Sara 500 mg Tylenol 500 mg Beramol 500 mg Ibruprofen

Ponstan

ยาทดแทนสาร น้าและเกลือแร่

ORS (oral rehydration salt)

ORT (oral rehydration therapy) ยาแก้แพ้

Chlorpheniramine 4 mg

ยาแก้เมา

Dimenhydrinate

ขนาดและวิธีใช้ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่ เกิน 6 เม็ดต่อวัน

รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เช้า-กลางวัน-เย็น หลังอาหาร *ห้ามรับประทานตอนท้องว่าง เนื่องจากตัว ยาระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เช้า-กลางวัน-เย็น หลังอาหาร *ห้ามรับประทานตอนท้องว่าง เนื่องจากตัว ยาระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ละลายยา 1 ซองต่อน้าสะอาด 250 มิลลิลิตร จิบช้าๆ อย่าทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง *สาหรับผู้ที่มีอาการท้องเสีย อาเจียนมาก เสียเหงื่อ ละลายยา 1 ซองต่อน้าสะอาด 250 มิลลิลิตร จิบช้าๆ อย่าทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง *สาหรับผู้ที่เสียเหงื่อมากจากการออกกาลัง กายเท่านั้น รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง (เมื่อมีอาการ) รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนออกเดินทาง ½ - 1ชั่วโมง

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


6 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

กลุ่มอาการ ยาลดกรด

ยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ *ยาน้าให้เขย่า ขวดก่อนดื่ม

รายการยาที่ใช้

ขนาดและวิธีใช้

Antacil gel , Alum milk , Belcid *ยาน้าให้เขย่าขวดก่อนดื่ม

รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร หรือเมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกิน 4 ครั้งต่อวัน *ใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้

Antacid

เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนครั้งละ 1-2 เม็ด วัน ละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร เมื่อมีอาการ ไม่ควรรับประทานเกิน 4 ครั้งต่อวัน *ใช้เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนครั้งละ 1 – 2 เม็ด วันละ 3 - 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ หลังอาหาร เช้า กลางวัน และเย็น หรือทุกๆ 4-6 ชั่วโมง *แก้ท้องเสียได้ จึงใช้ในผูป้ ่วยที่มีอาการ ท้องเสียได้ รับประทานครั้งละ 1- 2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร *มีส่วนผสมของยาระบาย ไม่แนะน้าให้ใช้ใน ผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสียร่วมด้วย , ห้ามใช้ นานเกิน 2 สัปดาห์ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร ทา นวด บริเวณอาการปวดเมื่อย

Air-X (Simethicone) ยาธาตุน้าขาว

ยาธาตุน้าแดง

Mixture Carminative ยานวดแก้ปวด Counterpain , Voltaren คลายกล้ามเนื้อ emulgel ,Perskindol , Nurofen gel ยาทาแก้แพ้ Calamine lotion แก้คัน ผื่น

เขย่าขวดก่อนใช้ ใช้สาลีหรือไม้พันสาลีชบุ น้ายา ทาบริเวณที่มีอาการ

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


7 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

กลุ่มอาการ

รายการยาที่ใช้

ขนาดและวิธีใช้

ยาทาเมื่อมี แมลงสัตว์กดั ต่อย ยาแก้วิงเวียน ศีรษะ หน้ามืด เป็นลม

ยาหม่อง , แซมบัค

ทาบริเวณที่แมลงกัดต่อย

ยาดม

ชุดทาแผล

แอลกอฮอล์ 70% 0.9% NSS (น้าเกลือ) Betadine , Providone-iodine

ใช้สูดดมเมื่อมีอาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืดตาลาย เทแอมโมเนียใส่ไม้พันสาลี สูดดมเมื่อหน้ามืด วิงเวียน *ห้ามจุ่มไม้พันส้าลีลงในขวดเด็ดขาด ใช้ล้างทาความสะอาดบริเวณรอบๆบาดแผล ใช้ล้างทาความสะอาดบริเวณบาดแผล ใช้ใส่บริเวณบาดแผลเพื่อฆ่าเชื้อโรค

แอมโมเนีย

ข้อควรระวังก่อน - หลังใช้ยา ‣ อ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนใช้ยา ‣ ตรวจสอบวันหมดอายุของยา และสังเกตสภาพลักษณะของยา ทุกครั้งก่อนใช้ ‣ ใช้ยาตามคาแนะนาของแพทย์ เภสัชกร หรือฉลากยาอย่างเคร่งครัด ‣ สอบถามประวัติการแพ้ยาและอาหาร ทุกครั้งก่อนให้ยาใดๆ ‣ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาร่วมกับนม น้าผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอลผสม ‣ เก็บยาให้ถูกวิธี และแยกเป็นสัดส่วนระหว่าง ยาใช้ภายใน และ ยาใช้ภายนอก ให้ชัดเจน ‣ ถ้ามีการฝากยาไว้ในกระเป๋าชุดปฐมพยาบาล ควรเขียนชื่อสกุลผูฝ้ ากให้ชัดเจน ‣ สังเกตอาการผิดปกติหลังกินยาเสมอ โดยเฉพาะกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ทาให้ง่วงนอน ควรหลีกเลี่ยง การทากิจกรรมหรือขับขี่ยานพาหนะ

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


8 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

หลักการจัดกล่องปฐมพยาบาล 1. เลื อกกล่ องพลาสติก ที่ มีฝาปิ ด หรือกระเป๋า ที่มี นาหนั ้ ก เบา เคลื่อนย้ า ยสะดวก และมี ความจุ ท่ีสามารถใส่ ยาเวชภัณฑ์ ท้งั หมดที่จาเป็นต้ องได้ 2. กล่ องบรรจุ ยานี้ต้องปิ ดมิ ดชิ ดไม่เปิ ดได้โดยง่ า ย 3. ชุ ดปฐมพยาบาลควรมี อุปกรณ์ ทางการแพทย์ พ้ืนฐานที่สาคัญ อยู่ ค รบถ้ ว น ซึ่ง จานวน รายการจะขึ้ นอยู่ กับ กิจ กรรม และระยะเวลา 4. ยาและอุปกรณ์ป ฐมพยาบาลควรจั ดวางเป็ นหมวดหมู่ โดยแบ่งเป็ น 1. อุป กรณ์ปฐมพยาบาล : อุป กรณ์ ทาแผล 2. ยา 2.1 ยาใช้ ภายใน: กลุ่ม ยากิ น เช่ น ยาน้า ยาเม็ ด 2.2 ยาใช้ ภายนอก: ยาทา 5. มี การตรวจเช็ค กล่ องปฐมพยาบาลอยู่ เสมอและก่ อนนาไปใช้งาน เพื่อตรวจสอบ สภาพยาและอุป กรณ์ ที่หมดไปหรือหมดอายุ

หลักการใช้ยาและกล่องปฐมพยาบาล 1. 2. 3. 4. 5. 6.

ล้ า งมื อให้ ส ะอาดทุ ก ครั้ ง ก่ อนหยิ บ ยาและอุ ป กรณ์ ใ นกล่ องปฐมพยาบาล อ่ า นฉลากยาทุ ก ครั้ ง ก่ อนให้ ยา ตรวจสอบวั นหมดอายุ และสั ง เกตสภาพลั ก ษณะของยาทุ ก ครั้ ง ก่ อนใช้ สอบถามประวั ติโรคประจาตั ว การแพ้ ยาหรื อแพ้ อาหาร หลี ก เลี ่ย งการรับ ประทานยาร่ ว มกับ นม น้ าผลไม้ และเครื ่ อ งดื ่ม ที ่ม ีค าแฟอีน หรือ แอลกอฮอลล์ สั ง เกตอาการผิด ปกติ ห ลั ง ได้ รั บ ยาเสมอ โดยเฉพาะยาที ่ อ อกฤทธิ ์ ท าให้ ง ่ว งนอน ควรหลี กเลี่ ยงการทากิ จ กรรมหรื อขั บ ขี่ ยานพาหนะ

วันหมดอายุ EXP.date, EXP, ดูได้จากกล่องบรรจุ ฉลากยา หรือบนแผงยา และการสังเกต การเสื่อมสภาพของยา เช่น เม็ดยากร่อน ร่อน สีซีดจาง ยาน้าสีเปลี่ยน มีกลิ่นผิดไป เขย่าไม่เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน หรือครีมแยกชั้น

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


9 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

การทาแผล ความหมายของบาดแผล บาดแผล ( wound) ความหมาย หมายถึ ง การบาดเจ็ บ ( trauma or injury) ต่ อผิ ว หนั ง เนื่ องจาก แรงทางกายภาพ (physical force) เช่น กระแทก ทิ่ม แทง เป็นต้น ลักษณะของบาดแผล บาดแผลแบ่งตามลักษณะที่เห็นเพื่อการดูแลรักษาเป็น 2 ชนิด คือ แผลปิด และแผลเปิด • แผลปิด (Closed wound) คือ แผลที่เกิดขึ้นโดยผิวหนังส่วนที่ปกคลุมแผลอยู่ ไม่มีการฉีกขาด มองไม่ เ ห็ น เนื้ อ เยื่ อ ที่ อ ยู่ ใ ต้ ผิ ว หนั ง หรื อ เนื้ อ เยื่ อ ที่ อ ยู่ ภ ายใน มั ก เป็ น แผลที่ เ กิ ด จาก การกระทบ กระแทก เป็นแผลไม่มีเลือดออกให้เห็นภายนอก แต่เลือดอาจออกภายในได้ เช่น แผลฟกช้า (Contusion) • แผลเปิด (Opened wound) คือ แผลที่ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อที่มีการบาดเจ็บจากวั ตถุต่ า งๆ จนทาให้ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อแยกออกจากกัน ทาให้มองเห็นเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกลงไป ได้แก่ แผลถลอก แผลมีดบาด แผลจากกระสุนปืน แผลตะปูตา เป็นต้น

แผลฟกช้า แผลฟกช้า คือ แผลปิด เกิดจากการกระแทก ส่งผลให้เนื้อเยื่อเกิดการบวม และอาจมี เลือดออก เห็นเป็นจ้าห้อเลือด (Bruise) หรือมีก้อนเลือดแข็งอยู่ตรงตาแหน่งที่บวม เรียกว่า ก้อนเลือดขัง (Hematoma) การดูแลบาดแผลฟกช้า ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก สิ่งที่ต้องทาคือ การประคบเย็น โดยการประคบเย็ นจะช่ ว ยลดบวม ทาให้หลอดเลือดบริเวณที่ประคบหดตัว เลือดไหลซึมออกมาลดลง และยังลด enzymes และสารต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอักเสบลงอีกด้วย • หลีกเลี่ยงการบีบนวดและการทายาที่มี ส่ว นผสมของ Methylsalicylate เช่น Counterpain, Neotica balm หรือแม้แต่ยาหม่อง • ควรพัก หรืองดการทากิจกรรมที่อาจทาให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มขึ้น •

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


10 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น ในช่วงหลัง 48 ชั่วโมง ช่วงนี้ให้เปลี่ยนจากประคบเย็นเป็นประคบอุ่นแทน โดยการประคบอุ่นจะ ทาให้หลอดเลือดขยายตัว โดยการที่หลอดเลือดขยายตัวจะช่วยเอาพวกเลือดที่ค้างอยู่ออก และให้มี เลือดใหม่ๆ พาสารอาหารและ oxygen มาเลี้ยงและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ

แผลถลอก แผลขนาดเล็ก •

• •

แผลถลอก ( Abrasions) คื อแผลที่ ผิ ว หนั ง ได้ รับ บาดเจ็ บ เพี ยงชั้ นนอกของผิ ว หนั ง (ชั้ น หนั ง กาพร้า ) ไม่ กิ นลึ ก ลงไปถึงชั้นผิว หนั งแท้ ผิ ว หนั ง จะไม่เกิ ดลัก ษณะเป็ นแผลฉีกขาด แต่อาจมีเลือดออกเพียงเล็กน้อยได้ แผลถูกแทง (Punctures) เป็นแผลที่เกิดจากของมีคม เรียวยาว แผลมักจะเป็นรูเล็กแต่ลึก ความรุนแรงขึ้นอยู่กับความลึกของบาดแผล และความสกปรกของสิ่งที่ทาให้เกิดแผล แผลฉีกขาด ( Lacerations) เป็นแผลที่เกิดจากการกระแทกจากของมีคมแต่ขอบไม่เรียบ เช่น เศษแก้ว เศษเหล็ก ลักษณะของแผลจะขาดรุ่งริ่งบางแห่งลึก บางแห่งตื้น มีการฉีกขาด ของหลอดเลือดทาให้เลือดไหลมากและติดเชื้อได้ง่าย แผลถูกตัดขาด (Traumatic amputation) เป็นแผลที่เกิดจากวัตถุมีคมหรือไม่มีคมก็ได้ เช่น มีดตัดนิ้ว รถทับขาขาด บาดแผลนี้จะทาให้เสียเลือดมาก

การทาแผล วัตถุประสงค์ของการทาแผล 1. ป้ อ งกั น แผลจากสิ่ ง ที่ เ ป็ น อุ ป สรรคต่ อ การหายของแผล เช่ น เชื้ อ โรค ฝุ่ น ละออง สารคัดหลั่งต่างๆ 2. ส่งเสริมการงอกใหม่ของเนื้อเยื่อ 3. ให้ผู้บาดเจ็บมีความสุขสบาย

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


11 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

หลักการทาแผล 1. เครื่องมือเครื่องใช้ในการทาแผลต้องปราศจากเชื้อโรค 2. เลือกทาแผลสะอาดก่อนแผลสกปรก หรือทาแผลที่สกปรกน้อยที่สุดก่อน 3. ยึ ดหลั ก เทคนิ ค ปลอดเชื้อ aseptic technique คื อ การกระท าใดๆที่ ลดความเสี่ ยงต่อ การติดเชื้อมากที่สุด ในการทาแผลอย่างเคร่งครัด 4. หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือ หยั่ง แยง หรือควานในแผล 5. ขจัดสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการหายของแผลออกจากแผล เช่น เศษดิน เนื้อตาย สารหลั่งจาก แผลและหนอง เป็นต้น 6. ก่อนใช้ยาฆ่าเชื้อโรคใส่แผล ควรซับบริเวณที่จะทายาให้แห้งเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ยา เจือจาง 7. การเปิดแผล ควรระมัดระวังไม่ทาให้หลอดเลือดเนื้อเยื่อฉีกขาด 8. การปิดแผล ไม่ควรปิดหรือรัดจนแน่นเพราะทาให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี ส่งผลให้แผล หายช้า 9. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทาให้เนื้อเยื่อติดสี เช่น ยาแดง ยาเหลือง เพราะทาให้แยกได้ยากกว่า แผลมีเนื้อตายหรือมีหนองหรือไม่ 10. ในกรณีที่บาดแผลมีเลือดออก ต้องทาการห้ามเลือดก่อนการทาแผลเสมอ

การห้ามเลือด การห้ามเลือด หมายถึง การลดการสูญเสียเลือดไปจากร่างกายทางบาดแผล ประกอบไปด้วย 3 วิธี 1. การกดบนบาดแผลโดยตรง ร่ ว มกั บ การยกอวั ย วะที่ มี บ าดแผลให้ สู ง กว่ า ระดั บ หั ว ใจ ใช้ ใ นกรณี ที่ มี เลื อดไหลริ นจากบาดแผลตลอดเวลา ท าการห้ า มเลื อดโดยการใช้ ผ้ า สะอาด หรื อ Gauze ปิ ดปากแผลและกดลงไปโดยตรง เมื่ อเลื อดไหลซึ ม ช้ าลงให้ใช้ ผ้า สะอาดอีกผืน ปิดทับลงบนผ้าปิดแผลเดิม และใช้ผ้าพันรัดบาดแผลให้แน่ นพอควร ถ้ามีเลือดชุ่มออกมาให้เห็น ให้เปลี่ยนเฉพาะผ้าปิดแผลผืนนอก เพราะถ้าเอาผ้าชิ้นแรกออกด้ว ย อาจทาให้ปากแผลแยก จากกันง่ายขึ้น ซึ่งเป็นผลทาให้เลือดออกเพิ่มขึ้นได้

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


12 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น 2. การใช้แรงกดบนหลอดเลือดแดงใหญ่ ในกรณีที่ห้ามเลือดโดยกดที่บาดแผลโดยตรงและยก อวัยวะให้สูงขึ้นแล้วไม่ได้ผล อาจใช้แรงกดบนเส้นเลือดแดงใหญ่ ในตาแหน่งระหว่างบาดแผลกับ หัวใจ การกดโดยใช้แรงนิ้วมือกดลงบนหลอดเลือด •

บริเวณแขน : บริเวณของแขน กดเส้นเลือดแดง Brachial artery ซึ่งอยู่บริเวณเหนือรอยพับ ข้อศอกด้านในของแขน บริเวณฝ่ามือ กดเส้นเลือดแดง Radial artery หรือ Ulnar artery ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงที่ ทอดลงมาตามปลายแขน ด้านในเรียกว่า หลอดเลือดแดงอัลนา และด้านนอกเรียกว่า หลอด เลือดแดงเรเดียล บริเวณขา : กดที่เส้นเลือดแดง Femoral artery ซึ่งอยู่บริเวณรอยพับของต้นขาด้านใน

3. การใช้สายรัดห้ามเลือด หรือ วิธีขันชะเนาะ เป็นวิธีห้ามเลือดวิธีสุดท้ายในกรณีที่ห้ามเลือดด้ วย วิธีอื่นๆข้างต้นแล้ว ไม่สามารถหยุดการเสียเลือดได้ ทั้งนี้เพราะว่าการห้ามเลือดวิธีนี้ ถ้าทาไม่ถูก วิธี เช่น รัดแน่น หรือ นานเกิน อวัยวะที่ต่ากว่าบริเวณที่รัดไว้อาจขาดเลือดไปเลี้ยง ทาให้เซลล์ เนื้อเยื่อตายได้ ข้อควรระวัง : ควรสวมถุงมือสะอาดและหลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดผู้ป่วยโดยตรง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ล้างบริเวณที่เปื้อนเลือดด้วยสบู่ให้สะอาดโดยเร็วที่สุด การห้ามเลือด ใช้ผา้ ก๊อซหนาๆกดลงบนบาดแผล ใช้ผา้ สะอาดพันปิ ดแผลไว้ แต่ห้ามแน่ นเกิ นไป ยกบาดแผลขึ้นสูงกว่าระดับหัวใจ รีบนาส่งโรงพยาบาล หรือโทรแจ้ง 1669 สาคัญ หากมีเลือดซึมออกมาจนเปียกชุ่ม ให้นาผ้าก๊อซชิ้นใหม่มาปิดทับโดยไม่ตอ้ งดึงอันเก่าออก

หากเลือดยังไม่หยุดไหล ให้กดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงบริเวณบาดแผล สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


13 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

การปฐมพยาบาลอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน กลุ่มอาการหมดสติ เพลียแดด/เป็นลม (Heat Exhaustion)

ลมแดด (Heat Stroke)

สาเหตุ อยู่ ใ นที่ อ ากาศร้ อ นและมี ความชื้ น สูง เหงื่ อ ออกมากทาให้ตัวเย็น ปริมาณเลือดไปเลี้ยงสมองไม่ เพี ย งพอ ท าให้ ส มองขาดออกซิ เ จน เช่ น กิ จ กรรม ประชุมเชียร์ในห้องแคบ ๆ อากาศมักถ่ายเทไม่สะดวก กิจกรรมกลางแจ้ง

สาเหตุ อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อนอบอ้าวมาก ความชื้น สูง และมีอากาศถ่ายเทไม่ดี เช่น การอยู่กลางแดดนาน ๆ การดื่มสุรามากเกินไปในอากาศร้อน ๆ

อาการ หน้าซีด ผิวหนังเย็นชื้น เหงื่อออกมาก ชีพจร เต้นเบาแต่เร็ว อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ บางคนอาจหมด สติไป

อาการ หน้าแห้งแดง ผิวหนังร้อน แต่ไม่มีเหงื่อ ชีพจร เต้ น แรงและเร็ ว หายใจหอบเร็ ว ปวดศี ร ษะ อึ ด อั ด อาเจียน กระหายน้ามาก

การปฐมพยาบาล 1. จัดให้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก 2. คลายเสื้อผ้าให้หลวม 3. นอนราบไม่หนุนศีรษะ ยกขาสูงกว่าศีรษะ

การปฐมพยาบาล 1. จัดให้อยู่ในสถานที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก 2. คลายเสื้อผ้าให้หลวม 3. นอนราบไม่หนุนศีรษะ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง 4. เช็ดตัวด้วยน้าเย็น หรือใช้ผ้าชุบ น้าเย็ นหรื อน้ าแข็ ง ประคบตามซอกคอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการ ใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน 5. ให้ดื่มน้าเย็นในราย ที่ไม่หมดสติ

ใช้พัดลม หรือพัดให้ อากาศเย็นและถ่ายเทสะดวก กรณีลมแดด เช็ดตัว ประคบเย็น บริเวณซอกคอ รักแร้ ศีรษะ

ยกขาสูงทัง้ สองข้าง

ให้ผู้ป่วยนอนลงในที่ร่ม ให้จิบน้าเย็น ถ้ารู้สึกตัวดี

ที่มา: http://nursingcrib.com/

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


14 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

กลุ่มอาการหมดสติ ชักเกร็ง ชักกระตุก

สาเหตุ อาจเกิดจากโรคประจาตัวหรือได้รับสิ่ง กระตุ้น ความเครียด หรืออาการขวัญผวาตกใจ อาการ เกร็ง กระตุก ซึ่งอาจจะชักจากจุดใดจุด หนึ่ ง ของร่ า งกายและกระจายไปทั่ ว ร่ า งกาย หรื อไม่ ก็ ได้ หรื อจะเกิ ด ขึ้ น ทั้ ง ตั ว ผู้ ป่ วยจะไม่ รู้สึกตัว การปฐมพยาบาล เป้าหมายหลักคือ การป้องกันการบาดเจ็ บของ ผู้ป่วยที่อาจเกิดขึ้นขณะชัก 1. ให้ ผู้ ป่ ว ยนอนลงบนพื้ น ราบ จั ด สิ่ ง แวดล้อม รอบตัวผู้ป่วย ไม่ให้มีสิ่งกีดขวางหรือของมีคม หาหมอนรองรับศีรษะกันกระแทกพื้น 2. จัด ท่านอนตะแคงกึ่งคว่าไปด้านใดด้า นหนึ่ ง เพื่อป้องกันการสูดสาลักและลิ้นตกไปอุดกั้น ทางเดินหายใจ ห้ามใช้ช้อนหรือไม้กดลิ้ น งั ด ปาก 3. ปล่ อ ยให้ ชั ก ห้ า มยึ ด ตรึ ง แขนขา สั ง เกต ลักษณะการชักอย่างใกล้ชิด 4. งดการดื่มน้าและรับ ประทานอาหารทุกชนิด จนกว่าจะรู้สึกตัวดี 5. ไม่ ย กหรื อ เคลื่ อ นย้ า ยผู้ ป่ ว ยขณะชั ก โดยไม่ จาเป็น 6. โทรแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669

คลายเสื้อให้ หลวม ให้ผปู้ ่ วยนอนราบลงบน พืน้

ระวังศีรษะกระแทกพืน้

ค่อยๆพลิกตัวผูป้ ่ วยไป ด้านใดด้านหนึ่ง

สังเกตอาการชักอย่างใกล้ชดิ และโทรแจ้ง 1669

ที่มา: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


15 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

กลุ่มอาการหายใจเร็วกว่าปกติ Hyperventilation Syndrome อาการไฮเปอร์เวนทิเลชั่น Hyperventilation

สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากความเครียดและความ วิตกกังวล แล้วทาให้หายใจเร็วกว่าปกติ ส่งผลทา ให้ร่างกายขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกมากเกินไป ทาให้ระดับความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ ในกระแสเลือดต่าลงกว่าระดับปกติ ทาให้ความ เป็ น กรดด่ างในเลื อดไม่ ส มดุ ล ท าให้ เ ส้ น เลื อ ดที่ หล่ อ เลี้ ย งสมองหดตั ว ขั ด ขวางการส่ ง ถ่ า ย ออกซิเจน

อาการ ► หายใจเร็ว, ลึก และเป็นอยู่นาน (รู้สึกแน่น หน้าอกเหมือนหายใจไม่เต็มอิ่ม) ► มีอาการใจสั่น ► เหน็บชาบริเวณ ปาก มือ เท้า ► มือจีบเกร็ง ► เท้าเกร็ง การปฐมพยาบาล 1. ทาให้ผู้ป่วยคลายความเครียดและวิตกกังวล 2. จัดท่าให้นอนราบหรือนอนพัก 3. ให้ผู้ป่วยควบคุมจังหวะการหายใจให้ช้าลง 4. อาการไม่ดีขึ้นให้รีบนาส่งโรงพยาบาล

อาการตะคริว ตะคริว คือ การที่มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงเป็นเวลานาน สาเหตุการเกิดยังไม่ทราบแน่ ชัด อาจเกิดจากการที่เอ็นและกล้ามเนื้อไม่ได้มีการยืดตัวบ่อยๆ ทาให้มีการหดรั้ง และเกร็งได้ง่ายเมื่อมี การใช้กล้ามเนื้อนั้นมากเกินไป การปฐมพยาบาล ยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่เก่งจนกระทั่งหายปวด 1. ตะคริวที่มือ : ให้ยืดนิ้วมือ ดัดปลายนิ้ว 2. ตะคริวที่ต้นขา : ให้เหยียดขาตรง ไม่งอเข่า ยกต้นขาขึ้น 3. ตะคริวที่น่อง : ให้เหยียดเข่าให้ตรง จับ ปลายเท้าดึงขึ้นมาทางหน้าแข้ง 4. ตะคริวที่นิ้วเท้า : ให้ดันนิ้วเท้าเข้าหาหน้า แข้ง หรือ ยืนเขย่งปลายเท้า ที่มา: สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.)

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


16 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

การบาดเจ็บในระบบกล้ามเนื้อและกระดูก หลักการ PRICE P = Prevent further injury ป้องกันการบาดเจ็บที่จะตามมาอีก ให้หยุดการเล่นกีฬาทันที นานักกีฬาออกจากสถานที่ที่ได้รับบาดเจ็บเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บที่จะตามมาอีก R = Rest the injured part พักส่วนที่ได้รับบาดเจ็บทันที เพราะการเคลื่อนไหวส่วนที่บาดเจ็บ จะทาให้เลือดออกมากขึ้น I = Ice ประคบเย็นบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บด้วยน้าแข็ง น้าเย็น ผ้าเย็น หรือน้าเย็นจากน้าก๊อก เพื่อลดอาการบวม การเจ็บปวด กล้ามเนื้อเกร็งตัว และการอักเสบ การประคบเย็นจะใช้เวลา ประมาณ 15-30 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง จนอาการบวมไม่เพิ่มขึ้นหรือภายในเวลาประมาณ 48 ชั่วโมง ไม่ควรประคบร้อนทันที เพราะจะทาให้เกิดการบวมมากยิ่งขึ้น

C = Compression พันกระชับส่วนที่ได้รับบาเจ็บด้วยผ้ายืดหรือใช้ผ้าสาลีผืนใหญ่รองไว้หนาๆ โดยรอบก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกมากขึ้น เป็นการลดอาการบวม และเป็น การประคองส่วนที่ได้รับบาดเจ็บด้วย

E = Elevation ยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บนั้นให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลือดไหลเวียนกลับได้ สะดวก เป็นการลดการมีเลือดออก ลดบวม และลดอาการเจ็บปวด

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


17 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

หลักการพันแผล โดยใช้ผ้ายืด Bandage การพันผ้า โดยใช้ bandage ใช้สาหรับพันบริเวณที่บาดเจ็บทีแ่ ขน ขา และศีรษะ เมื่อพันแล้วขอบของ ผ้าควรกว้างกว่าขอบบาดแผลอย่างน้อยหนึ่งนิ้ว ข้อแนะนาในการพันผ้า 1. ผ้าที่พันต้องแห้งและสะอาด โดยเริ่มพันจากปลายโคน 2. จับม้วนผ้าหงายเสมอ 3. พันผ้าให้แน่น แต่ระวังการรัดแน่นจนเกินไป 4. เมื่อสิ้นสุดการพัน ควรผูก หรือกลัดเข็มกลัด หรือติดพลาสเตอร์ ให้เรียบร้อย แต่ไม่ให้ทับบริเวณแผล 5. เมื่อพันเสร็จแล้ว ขอบของผ้าควรกว้างกว่าขอบบาดแผลอย่าง น้อยหนึ่งนิ้ว 6. ให้สังเกตได้จากอวัยวะส่วนปลายมือปลายเท้า หากมีสีผิวซีดขาว หรือคล้าเขียว และเย็นเมื่อสัมผัส รวมไปถึง ผู้บาดเจ็บจะบอกถึง อาการปวดและชา ให้รีบคลายออกทันทีแล้วพันใหม่ ที่มา: https://www.doctor.or.th/

วิธีการพันผ้า - Bandaging การพันรอบหรือพันเป็นวงกลม (Circular Turns) เป็นการพัน รอบที่ใช้กับส่วนที่เป็นวงกลม และมักใช้เป็นจุดเริ่มต้นและ จุดสิ้นสุดของการพันผ้าพันแผลชนิดม้วนลักษณะอื่นๆ อวัยวะที่ เหมาะสาหรับการพันรอบ เช่น รอบศีรษะ รอบนิ้วมือ รอบ ข้อมือ เป็นต้น ซึ่งมีวิธีการพันตามลาดับดังนี้

1. ใช้มือขวาจับม้วนผ้าให้ชายผ้าอยู่ข้างล่าง 2. พันรอบบริเวณที่ต้องการพันหลาย ๆ รอบ 3. ติดเข็มกลัด หรือ ผูกชายผ้าให้เรียบร้อย

E ไม่ควรผูกปม หรือกลัดเข็มกลัด เหนือบริเวณที่บาดเจ็บ ที่มา: https://www.doctor.or.th/

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


18 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

การพันเป็นเกลียว (Spiral turns) เป็นการพันกับอวัยวะที่ ยาว เช่น ต้นแขน ต้นขา หน้าแข้ง ลาตัว เป็นต้น ซึ่งมี วิธีการพันตามลาดับดังนี้

A

1. ใช้มือขวาหรือซ้ายจับม้วนผ้าให้ชายผ้าอยู่ข้างล่าง 2. พันรอบ 2-3 รอบ เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าคลายตัว 3. พันเฉียงขึ้นไปเป็นเกลียวโดยให้เหลื่อมกัน ประมาณ 2 ใน 3 ของผ้า 4. เมื่อสิ้นสุดการพันให้พันรอบ อีก 2-3 รอบ ติด เข็มกลัดหรือผูกชายผ้าให้เรียบร้อย

B

การพันรูปเลขแปด (Figure of eight turns) เป็นการพัน อวัยวะที่เป็นส่วนของข้อ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อสะโพก ข้อศอก และหัวไหล่ เป็นต้น มีวิธีการพันตามลาดับดังนี้

1. ใช้มือขวาหรือซ้ายจับม้วนผ้าให้ชายผ้าอยู่ข้างล่าง พันรอบ 2-3 รอบ 2. พันขึ้นไปเป็นเกลียวแล้วอ้อมกลับเป็นรูปเลขแปด 3. พันขึ้นไปโดยให้ผ้าเหลื่อมกันให้ลายขนานกัน 4. ระวังไม่ให้เกิดรอยย่น ไม่พันผ้าแน่นจนเกินไป โดยระวังไม่ดึงผ้าในขณะทีพ่ ันผ้า 5. เมื่อสิ้นสุดการพัน พันรอบประมาณ 2-3 รอบ ติด เข็มกลัดหรือผูกชายผ้าให้เรียบร้อย

B

A

D

E

ที่มา: https://www.doctor.or.th/

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

C


19 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

การพันพับกลับเป็นเกลียว (Spiral Reversed turns) เป็นการพันอวัยวะที่เป็นทรงกระบอก ปลายเล็กโคน ใหญ่ เช่น ท่อนแขน ท่อนขา การพันแบบนี้ใช้พันเมื่อ ต้องการความอบอุ่นหรือต้องการแรงกด

1. พันรอบ 2 รอบ 2. ดึงผ้าเฉียงขึ้นไปจนถึงกลางแขนหรือขา แล้วพลิก ผ้ากลับมาโดยใช้นิ้วหัวแม่มือจับไว้ 3. การพันรอบต่อไปให้ผ้าซ้อนกัน 2/3 ของความ กว้างของผ้า และให้มุมที่พันผ้ากลับมาตรงกันทุก รอบ 4. จบผ้าพันด้วยการพันรอบ 2 รอบ

ที่มา: https://www.doctor.or.th/

การพันผ้าคล้องแขน Arm Sling เมื่อเกิดอุบัติเหตุ การคล้องผ้าเป็นการปฐมพยาบาลชนิดหนึ่งที่จะช่วยให้บาดแผลหรืออวัยวะที่ได้รับ อุบัติเหตุมีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุด เพื่อช่วยลดอาการบวม ทาให้เกิดความสุขสบาย และป้องกัน อันตรายบริเวณที่บาดเจ็บได้ โดยตัวอย่างการคล้องผ้า มีดังนี้

Sling I สาหรับท่อนแขน ข้อศอก และมือ วิธีการคล้องผ้า 1. วางผ้าสามเหลี่ยมให้มุมยอดอยู่ด้านข้อศอกของแขนข้างที่เจ็บ เพื่อที่จะได้พับมุมของผ้าห่อประคับประคองข้อศอกให้อยู่กับที่ 2. งอข้อศอกให้ข้อมืออยู่สูงกว่าระดับข้อศอกเล็กน้อย เพื่อให้ส่วน ปลายแขนและมือได้พักและทาให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น 3. ยกชายผ้าด้านล่างชายผ้าอีกข้างหนึ่ง ผูกชายผ้าทั้งสองข้างเข้า ด้วยกันด้วยเงื่อนพิรอดบนไหล่ตรงข้ามกับแขนข้างที่เจ็บ เพื่อไม่ให้รอย ผูกของผ้ากดลงบนแขนข้างที่เจ็บหรือบริเวณต้นคอ 4. พับมุมยอดของผ้าห่อข้อศอกไว้แล้วกลัดด้วยเข็มกลัดซ่อนปลาย

ที่มา: https://www.doctor.or.th/

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


20 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

การดามบริเวณทีก่ ระดูกหัก การดาม คือ การเข้าเฝือกแบบชั่วคราวเพื่อลดความเจ็บปวด ป้องกันไม่ให้เกิดความบาดเจ็บหรือ พิการเพิ่มขึ้น โดยทาได้โดยใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ วัสดุที่หาง่าย ได้แก่ กระดาษแข็ง ฟิวเจอร์บอร์ด ผ้า เป็น ต้น อุปกรณ์ที่นามาเลือกใช้ต้องมีความแข็งแรงเป็นหลักให้กับขาหรือแขนได้ โดยความยาวของวัสดุที่ นามาดามควรยาวกว่าบริเวณส่วนที่หัก วิธีการดามเข้าเฝือกชั่วคราว 1. เข้าเฝือกชั่วคราวในท่าที่พบครั้งแรกห้าม พยายามจัดท่าบริเวณทีบ่ าดเจ็บให้ตรง 2. ตาแหน่งของเฝือกชั่วคราวจะอยู่ด้านข้างของ กระดูกที่หัก และต้องแน่ใจว่าเฝือกต้องมีความ ยาวเพียงพอ เหนือตาแหน่งของข้อต่อ และยาว ลงมาให้ต่ากว่าบริเวณที่กระดูกหัก 3. ก่อนจะวางเฝือกให้วางผ้าหรือสาลีรองรับก่อน เพื่อลดการกดลงบนผิวหนังโดยตรงซึ่งจะทาให้ เจ็บปวดและเกิดบาดแผลได้ 4. เข็มขัดหรือผ้าที่จะนามาผูกเฝือกชั่วคราว จะต้องอยู่เหนือและต่ากว่าบริเวณกระดูกหักห้าม ผูกปมเหนือบริเวณที่สงสัยว่าจะมีกระดูกหัก

ที่มา: https://www.doctor.or.th/

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


21 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย การเคลื่อนย้ายมีความสาคัญอย่างมาก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อที่ปลอดภัย หากผู้ที่ทา การเคลื่อนย้ายไม่มีความรู้ในการเคลื่อนย้ายที่ถูกต้องอาจทาให้อาการของผู้บาดเจ็บแย่ลง แต่อย่างไร ก็ตามก่อนจะท าการเคลื่อนย้ า ยนั้ นต้ องมั่ นใจว่า ได้ ทาการปฐมพยาบาลเบื้ องต้ นแก่ ผู้บาดเจ็บแล้ว จึงทาการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ หลักในการเคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ 1. ต้องทราบว่าผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บบริเวณใด และดูความปลอดภัยโดยรอบก่อนจะ ช่วยเหลือ 2. ให้การปฐมพยาบาลก่อนการเคลื่อนย้าย เช่น ห้ามเลือด ดามกระดูกที่หัก เป็นต้น 3. เลือกวิธีการเคลื่อนย้ายที่เหมาะสมกับสภาพความเจ็บป่วย 4. การเคลื่อนย้ายต้องทาด้วยความนุ่มนวล มีสติ รอบคอบ 5. การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักจะต้องมีสิ่งรองรับ ศีรษะ แขน ขา และหลัง 6. อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น เปล ต้องนามาให้ถึงผู้ป่วย มิใช่ยกผู้ป่วยเดินไปหาเปล 7. ถ้ า มี ผู้ ช่ ว ยเหลื อหลายคนควรมี หั ว หน้ า เพื่ อสั่ ง การหนึ่ ง คน เพื่ อให้ ก ารท างานเป็ น ไป อย่างมีประสิทธิภาพ 8. ขณะเคลื่อนย้ายด้วยเปลควรมีสายรัดกันการตก 9. ขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยต้องดูแลอย่างใกล้ชิด โดยสังเกตการหายใจและจับชีพจร ถ้ามีอาการ ผิดปกติต้องรีบช่วยเหลือทันที 10. รีบนาผู้ป่วยส่งให้ถึงมือแพทย์ โดยเร็วที่สุ ดและผู้นาส่งควรเล่า เหตุการณ์ให้แพทย์ ท ราบ เพื่อช่วยการวิเคราะห์การบาดเจ็บ

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


22 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

ผู้ช่วยเหลือคนเดียว การพยุงผู้ป่วย 1. ผู้ปฐมพยาบาลยืนด้านที่บาดเจ็บ ให้ผู้บาดเจ็ บ พาดแขนไว้ที่คอของผู้ปฐมพยาบาล แล้วจับข้อมือ ของผู้บาดเจ็บไว้ 2. ใช้ แ ขนอี ก ข้ า งของผู้ ป ฐมพยาบาลโอบเอว ผู้บาดเจ็บ จับเข็มขัดหรือขอบเสื้อผ้าเพื่อช่วยพยุง 3. เริ่มก้าวเท้าที่อยู่ชิดผู้บาดเจ็บก่อน ก้าวสั้น ๆ ไป พร้อมผู้บาดเจ็บ การใช้ไม้เท้าช่วย จะช่วยประคอง ผู้บาดเจ็บได้ดียิ่งขึ้น

การลากผูป้ ่วย เหมาะที่ จ ะใช้ ใ นกรณี ฉุ ก เฉิ น จ าเป็ นต้ อ ง เ ค ลื่ อ น ย้ า ย อ อ ก จ า ก ที่ เ กิ ด เ หตุ ใ ห้ เ ร็ วที่ สุ ด ให้ผู้บาดเจ็บกอดอก และให้ผู้ปฐมพยาบาลนั่งยองๆ ด้านหลังผู้บาดเจ็บ สอดแขนใต้รักแร้แล้วลาก การ ลากควรมีผ้าหรือกระดาษรองลาตัวผู้บาดเจ็บ เพื่ อ ลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นเพิ่มกับผู้บาดเจ็บ

การขี่หลัง เหมาะกั บ ผู้ บ าดเจ็ บ ที่ ข า เดิ น ไม่ ไ ด้ แต่ ต้ อ ง รู้ สึ ก ตั วดี หรื อรู้ สึ ก ตั วอยู่ บ้ าง มี น้ าหนั ก ตั วไม่ หนั ก มาก ไม่เกินกาลังของผู้ช่วยเหลือ 1. ผู้ปฐมพยาบาลนั่งคุกเข่ าหัน หลั งเข้าทางด้ า น หน้าของผู้บาดเจ็บ นาแขนทั้งสองข้างของผู้บาดเจ็บ พาดที่คอของผู้ช่วยเหลือ 2. ผู้ปฐมพยาบาลจับต้นแขนของผู้บาดเจ็บ ลุกขึ้น ช้าๆ โน้มตัวไปข้างหน้าพอให้ทรงตัวและเดินไปได้ โดยไม่หงายหลัง ที่มา: http://www.cert-la.com/cert-training-education/lifts-carries/

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


23 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

ผู้ช่วยเหลือ 2 คน เก้าอี้สองมือ เหมาะส าหรั บ ผู้ป่ วยในรายที่ข าเจ็บ แต่รู้สึ กดีและ สามารถใช้แขนทั้งสองข้างได้ 1. ผู้ปฐมพยาบาลนั่งยอง ๆ ข้างผู้บาดเจ็บ ข้างละ คน ให้ ผู้ บ าดเจ็ บ ไขว้ แ ขนที่ ด้ า นหลั ง ของผู้ ป ฐม พยาบาล 2. ผู้ปฐมพยาบาลสอดมืออีกข้างใต้เข่าผู้บาดเจ็บ และจั บ ข้ อมื อกั น เลื่ อนแขนที่ จั บ กั น มาอยู่ ที่ ต รง กลางต้นขาผู้บาดเจ็บ 3. ให้เข่าผู้ปฐมพยาบาลชิดตัวผู้บาดเจ็บ หลังตรง ลุกขึ้นช้าๆแล้วก้าวเดินพร้อมกัน

การอุ้มพยุงแขนและขา เหมาะส าหรั บผู้ ป่วยในรายที่ไม่รู้ สึก ตัว แต่ ไม่ ควรใช้ ใ นรายที่ มี ก ารบาดเจ็ บ ของล าตั ว หรื อ กระดูกหัก 1. ให้ผู้บาดเจ็บนั่งชันเข่า มือกอดอก 2. ผู้ปฐมพยาบาลคุกเข่าลงทางด้านหลัง สอดมือ เข้าใต้รักแร้พร้อมทั้งชันเข่าขึ้น 1 ข้าง 3. ให้ผู้ปฐมพยาบาลอีกคนนั่งหันหลังให้ผู้บาดเจ็บ และขยับตัวเข้าไปอยู่ระหว่างขาผู้บาดเจ็บแล้วสอด มือทั้งสองข้างเข้าไปใต้ข้อพับ 4. ผู้ปฐมพยาบาลลุกขึ้นพร้อมๆกัน ช้าๆ และออก เดิน ห้ามใช้วิธีนี้ ถ้าบาดเจ็บที่แขนหรือไหล่

ที่มา: http://www.cert-la.com/cert-training-education/lifts-carries/

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


24 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น

ผู้ช่วยเหลือ 3 คน การอุ้มสามคนเรียง เหมาะสาหรับผู้ป่วยในรายที่ไม่รู้สึกตัว ต้องการอุ้ม ขึ้นวางบนเตียงหรืออุ้มผ่านทางแคบๆ วิธีเคลื่อนย้าย 1. ผู้ปฐมพยาบาล ทั้งสามคนคุกเข่าเรียงกันในท่ า คุกเข่าข้างเดียว ทุกคนสอดมือเข้าใต้ตัวผู้ป่วย และ อุ้มพยุงไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดังนี้ คนที่ 1 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่วยตรงบริเวณคอ และหลังส่วนบน และเป็นคนให้สัญญาณเคลื่อนย้าย คนที่ 2 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ตัวผู้ป่ วยตรงบริ เ วณ หลังส่วนล่างและก้น คนที่ 3 สอดมือทั้งสองเข้าใต้ขา 2. ยกผู้ป่วยพร้อมกันและวางบนเข่า 3. ประคองตัวผู้ป่วยในท่านอนตะแคงและอุ้มยืน หากจะวางผู้ป่ วยลงให้ คุกเข่าก่อนและค่อยๆวาง ผู้ป่วยลง

ที่มา: http://www.cert-la.com/cert-training-education/lifts-carries/

สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


25 | คู่ มื อ ป ฐ ม พ ย า บ า ล เ บื้ อ ง ต้ น เอกสารอ้างอิง • วราภรณ์ บุ ญ เชี ยง และวิ ล าวั ณ ย์ เตื อนราษฎร์ . การรั ก ษาโรคเบื้ องต้ น . เชี ยงใหม่ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556 • เอกสารประกอบเรี ยนกระบวนวิ ช า 552217 การฝึ ก ปฏิ บั ติก ารพยาบาลพื้ นฐานใน ห้องปฏิบัติการ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ • ศูนย์กู้ชีพนเรนทร โรงพยาบาลราชวิถี. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสาหรับประชาชนทั่วไป : 2558 • Thai Resuscitation Council. (2558). ขั้นตอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสาหรับภาวะหัวใจ ห ยุ ด เ ต้ น ใ น ผู้ ใ ห ญ่ ( ฉ บั บ ป รั บ ป รุ ง ) 2 0 1 5 , สื บ ค้ น วั น ที่ 2 4 / 7 / 6 0 จ า ก https://www.thaicpr.org/get_attachment.php?attachment_id=4472&passcod e=103303dd56a731e377

คณะผู้จัดทา นายจรูญ เนตาสิทธิ์ นางสาวกนกพร ลิ้มเจริญสุขสกุล นางสาวพิมพัฒน์ เตชะ นายธนากร ลิมป์แสงใส สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2560 สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.