โครงการการพัฒนาระบบไอทีบน Cloud Computing เพื่อการทำงานอย่างต่อเนื่อง Business Continuity with Cloud Solutions โดย เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย -----------------------------------------1.
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ได้กลายมาเป็นปัจจัยหลักในการทำงานของระบบธุรกิจส่วนใหญ่ ทั้งในภาค รัฐและเอกชน โดยได้มีการนำระบบไอทีมาใช้ในองค์กรอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นระบบการติดต่อสื่อสารในองค์กร เช่น ระบบ Electronic mail การระบบบริหารงานต่างๆ เช่นระบบ HR, CRM, ERP, ระบบประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ เช่น การจัดทำ เว็บไซต์ และระบบบริหารจัดการอื่นๆ ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเข้าถึงข้อมูลองค์กรกลายเป็นเรื่องที่พนักงาน ทุกคนคุ้น เคยและใช้ปฎิบัติงานอยู่ในชีวิตประจำวัน โดยอาศัยระบบไอทีเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการทำงานของระบบต่างๆ ดังกล่าว แต่เนื่องจากภาวะการณ์ที่ผ่านมาพบว่าหลายๆองค์กร ทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างมีโอกาสที่จะประสบปัญหา ระบบสารสนเทศล่มและมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นสาเหตุให้การดำเนิน งานขององค์กรหรือธุรกิจำนวนมากเกิดการ ชะงักงัน เพราะไม่สามารถเข้าถึงสถานที่ตั้งของหน่วยงานและ องค์กรได้ ยกตัวอย่าง เช่น หากพนักงานเข้าระบบไม่ได้ ในช่วงระยะ เวลาที่ระบบล่มอยู่ พนักงานก็ไม่สามารถเรียกข้อมูลต่างๆ ที่ถูกเก็บอยู่ในรูปของดิจิตอลฟอร์เมต (Digital format) หรือ e – Document ออกมาได้ อีกทั้งลูกค้าก็ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลขององค์กร เช่น เข้าชม Web Site ขององค์กร หรือ ไม่สามารถส่ง อิ เล็กโทรนิคส์เมล์ได้ ยิ่งถ้าเป็นระบบของโรงพยาบาล ระบบฝากถอนเงินของธนาคาร หรือ ระบบที่ใช้ในการควบคุมขนส่งมวลชน ตลอดจนระบบที่ใช้ในการควบคุมสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น ล้วนเป็นระบบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เป็น โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (Critical Infrastructure) ดังนั้น หากระบบดังกล่าวไม่สามารถใช้งานได้ การเข้าถึงข้อมูล ที่อยู่ใน ระบบก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ทันท่วงที ทำให้องค์กรไม่สามารถดำเนินธุรกิจธุรกรรมต่างๆได้ตามปกติส่งผลให้องค์กรเกิดความ เสีย หายได้ ตัวอย่างภัยคุกคามที่ทำให้ระบบล่ม ได้แก่ ภัยธรรมชาติ เช่น สึนามิ, พายุเฮอริเคน, น้ำท่วม หรือ ภัยจากมนุษย์ เช่น การก่อ วินาศกรรม เช่น กรณี 911 การจราจล การลอบวางเพลิง ก็ล้วนเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริหารองค์กรจำเป็นต้อง ให้ความสำคัญ อย่างยิ่งยวดต่อระบบสารสนเทศที่เป็นกระดูกสันหลังในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เพราะหากระบบเกิดปัญหา องค์กรก็ควรที่จะมี แผนฉุกเฉินในการทำให้ระบบสารสนเทศขององค์กรสามารถให้บริการได้อย่างไม่ติดขัดจนก่อให้เกิด ความเสียหายแก่องค์กรทั้ง ทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นหากองค์การต่างๆมีการเตรียมการและมีความรู้ด้านการบริหารจัดการให้องค์กรสามารถดำเนิน ธุรกิจได้อย่างต่อ เนื่องภายใต้ภาวะวิกฤติ หรือ “Business Continuity (BC)” จะทำให้สามารถอยู่รอดและสร้างศักยภาพ ในการดำเนินการได้ในทุก สภาวะการณ์ ทั้งนี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้าน Cloud Computing และ Mobile Technology จะ ช่วยทำให้องค์กรต่างๆสามารถบริหารจัดการงานได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถสร้างองค์กรให้เป็น Virtual Office ที่สามารถ ทำงานได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์ (Anytime, Anywhere, Any device) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ Software Park Thailand เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทหลักในการส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในภาค อุตสาหกรรมและบริการต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ได้มีแผนการดำเนินงานสนับสนุน เทคโนโลยีก่อกำเนิด (Emerging Technology) อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพของภาคธุรกิจและสังคม อาทิเช่น Cloud and
Mobile Technology เล็งเห็นว่า ภายใต้สภาวะการณ์และภัยพิบัติต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ธุรกิจ ควรมีการส่ง เสริมให้หน่วยงานและภาคธุรกิจต่างๆ มีการเตรียมตัวเพื่อการปกป้องระบบไอทีที่สมบูรณ์ แบบ โดยการใช้ Cloud Computing ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีเอกลักษณ์ คือ ลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนโครง สร้างพื้นฐานทางไอที และการกระจายความเสี่ยงของศูนย์ข้อมูล (Data Center) ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถ ประคับประคองระบบไอทีและการสื่อสาร ซึ่งเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนองค์กรให้ดำเนิน การต่อไป แม้ในภาวะปกติหรือภัยพิบัติได้อย่างต่อเนื่อง 2.
วัตถุประสงค์ 2.1 2.2 2.3 2.4
3.
เพื่อให้ซอฟต์แวร์เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนภาคธุรกิจและองค์กรต่างๆให้ดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดชะงัก เพื่อประสานงานและรวบรวมผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่มีโซลูชั่นส์บน Cloud Computing เสริมสร้างบทบาทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทยและผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ ให้เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ ของประเทศให้มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นการใช้ซอฟต์แวร์บน Cloud Computing ในการเพิ่มประสิทธิภาพการ บริหารจัดการใน ภาคอุตสาหกรรมและบริการต่างๆ
กลุ่มเป้าหมาย 3.1. ผู้ใช้งาน ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจต่างๆ 3.2. ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่มีโซลูชั่นส์บน Cloud Computing 3.3. ผู้ให้บริการ Cloud Service Providers
องค์กรภาครัฐและเอกชนอื่นๆ
4. เป้าหมายของโครงการ โครงการ นี้มีจุดประสงค์ให้ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจต่างๆและองค์การต่างๆสามารถนำไอที มาใช้ในการทำงานเพื่อ ให้สามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทุกที่ ทุกเวลาและทุกอุปกรณ์ โดยตั้งเป้าหมาย ให้องค์กรสามารถนำไอทีเพื่อการต่อเนื่องมาใช้ได้ ในสี่ระยะคือ o ระยะที่หนึ่ง (Phase I ) : การฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากความเสียหายจากภาวะการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น การปรับปรุงและฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ อาทิ ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล หรือ Data Center ซึ่งเป็นช่อง ทางการตลาดทางหนึ่ง จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ธุรกิจสามารถเริ่มต้น และดำเนินต่อไปได้ o ระยะที่สอง (Phase II ) : การสร้าง Virtual Office เพื่อให้การทำงานสามารถดำเนินได้ในระยะเวลาอันสั้นภายหลังได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ต่างๆ โดย เฉพาะส่วนสำนักงานได้ด้วยปัจจัยพื้นฐานในการดำเนินการ อาทิ ระบบเมล์ ปฏิทินนัดหมาย การติดต่อสื่อสาร และ e-Office o ระยะที่สาม (Phase III ) : การประยุกต์ใช้ Business Applications บน Cloud Computing การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจในระยะยาวให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ application ต่างๆ มาใช้กับธุรกิจ ไม่ได้รับผลกระทบจากสภาวการณ์ต่างๆ ผ่านเทคโนโลยี cloud computing อาทิ พาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์ เว็บไซต์ การบริหารงานบุคคล หรือ การบริหารงานขาย o ระยะที่สี่ (Phase IV ) : การประยุกต์เทคโนโลยีบน Cloud Computing เพื่อสร้างธุรกิจใหม่ เพื่อสร้างช่องทางการดำเนินในรูปแบบใหม่ เช่น การทำการตลาดผ่านตลาดกลางต่างๆ
ทั้งนี้ผู้ใช้ในแต่ละหน่วยงานอาจมีจุดมุ่งหมายการใช้งานไอทีให้สำเร็จตามเป้าหมายของแต่ละระยะ ไม่เหมือนกัน แต่ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องสัมฤทธิ์ผลอย่างน้อยในระยะที่หนึ่ง
5. กิจกรรมในโครงการ 5.1.
รวบรวม Cloud Solutions จากกลุ่มเป้าหมาย คือ จากผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่มีโซลูชั่นส์บน Cloud Computing และ ผู้ให้บริการ Cloud Service Providers ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้สำรวจความคิดเห็นและได้รับความ ร่วมมือจากบริษัทซอฟต์แวร์ นำเสนอ application ใน phase ต่างๆ คือ
ทั้งนี้ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ยังเป็นที่ปรึกษาเพื่อการวางแผนการนำ IT ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจได้อีกด้วย และโครงการจะ ดำเนินรับสมัครบริษัทซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการฯ ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการและมี application ที่เหมาะสมเข้าร่วมโครงการ เพิ่ม 5.2. จัดทำเอกสารเว็บไซต์และระบบ Contact Center ของโครงการ จัดทำ facebook fanpage เพื่อเป็นศูนย์กลางข่าวสาร และ เป็นช่องทางการให้คำปรึกษาเบื้องต้นสำหรับ SMEs ที่ต้องการคำแนะนำ โดยบริษัทซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการ cloud provider จะร่วมกันให้คำปรึกษาในด้านต่างๆ และสามารถกลายเป็นสังคมออนไลน์สำหรับผู้ที่ต้องการนำ IT ไปใช้เพื่อทำ BCP ได้ 5.3. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่างๆ แถลงข่าวเปิดโครงการ Facebook E-Mail Marketing 5.4. จัดกิจกรรมอบรมสัมมนาให้ความรู้ สัมมนา เพื่อให้ความรู้ในเบื้องต้นสำหรับ SME ที่ต้องการนำ IT ไปใช้ในส่วนต่างๆ Business Matching 6. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ 6.1. ผู้ใช้งาน SME ที่มีความสามารถในการใช้ IT ในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องการนำ IT ไปใช้เพื่อการดำเนินธุรกิจและต้องการพัฒนา ศักยภาพการดำเนินงานให้สามารถดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในทุกสภาวะการณ์ 6.2. ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ที่มีโซลูชั่นส์บน Cloud Computing ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ที่ใช้ Cloud Technology และมี Application ที่สามารถทำให้ SME ดำเนินธุรกิจได้อย่าง ต่อเนื่อง มีสเถียรภาพในการให้บริการตรงตามที่ SME ต้องการ 6.3. ผู้ให้บริการ Cloud Service Providers
ผู้ให้บริการด้าน Cloud Service สำหรับบริษัทซอฟต์แวร์ที่ต้องการพัฒนาระบบที่มีอยู่ให้สามารถให้บริการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 7. ระยะเวลาโครงการ 1 ปี เริ่มตั้งแต่มกราคม ปี 2555 วันที่ เนื้อหา 1 รับสมัครผู้ให้บริการ 2
แถลงข่าวโครงการ
3
ประชาสัมพันธ์
4
กิจกรรมสัมมนา
5
ติดตามและประเมินผล
มค. 55
กพ. 55
มีค. 55
เมย. 55
พค. 55
มิย. 55
กค. 55
สค. 55
กย. 55
ตค. 55
พย. 55
x x
x
x
x
x
ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้ดำเนินการประชุมระดมความคิดเห็นจากบริษัทซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการ Cloud Service Provider เพื่อ หารือความร่วมมือ รวมทั้งหา Application ที่เหมาะสมกับ SME (ข้อมูลเพิ่มเติม หน้า 7) 8. ตัวชี้วัดโครงการ 8.1. 8.2. 8.3.
จำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมการอบรม จำนวนผู้ที่เข้าศึกษาเนื้อหา และเยี่ยมชมสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ จำนวนหน่วยงานที่สามารถนำเทคโนโลยี Cloud Computing มาใช้ในแต่ละระยะ
9. ติดตามและประเมินผล เพื่อประเมินประสิทธิภาพและผลจากการดำเนินโครงการ รวมทั้งปรับปรุงโครงการให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความต้องการของ SME เพื่อให้สามารถวางแผนและพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง โดย การดำเนินการประเมินผลเป็นระยะตลอดโครงการ 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ 10.1.
10.2.
ผู้ประกอบการ SMEs ระยะสั้น : SME ที่ได้รับผลกระทบการสภาวะการณ์ปัจจุบัน สามารถดำเนินการธุรกิจต่อได้ในระยะเวลาอันสั้น จากการเลือกใช้ technology ที่เหมาะสม ลดความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่างๆ ระยะยาว : SME สามารถเลือก technology ไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ และการวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ ต่างๆ สามารถทำ BCP ด้วยการนำ IT ไปใช้ ก่อให้เกิดการทำงานอย่างต่อเนื่องด้วยต้นทุนที่ต่ำ มีความปลอดภัย ในข้อมูลด้านธุกิจ และการดำเนินธุรกิจได้อย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และผู้ให้บริการ Cloud Service Provider
ธค. 55
มีรายได้เพิ่มระยะยาวจากการที่ SME ปรับแนวทางการใช้ IT มาใช้ในรูปแบบ Cloud มากขึ้น สามารถพัฒนาและปรับปรุง Application บน Cloud ที่เหมาะกับ SME มากขึ้น ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ผู้ประสานงานโครงการดังรายละเอียดต่อไปนี้ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย 99/31 หมู่ 4 อาคารซอฟแวร์พาร์ค ชั้น 4 ถนน แจ้งวัฒนะ ตำบล คลองเกลือ อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120 โทร : (662)583-9992 ต่อ 1481, 1482, 1484, 1485 แฟกซ์ : (662) 583-2884 e-mail: sbe@swpark.or.th
ข้อมูลเพิ่มเติม รายชื่อบริษัทและ Application ในโครงการ