Factsheet: Thailand Software Park Alliances: TSPA

Page 1

ข้อมูลเพิ่มเติม โครงการความร่วมมือในการพัฒนาเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ สู่ภูมิภาค (Thailand Software Park Alliances: TSPA) และ ข้อมูลเบื้อง ต้นของพาร์คแต่ละแห่ง


โครงการความร่วมมือขยายซอฟต์แวร์พาร์คสู่ภูมิภาค (Thailand Software Park Alliances: TSPA) หลักการและเหตุผล ปัจจุบันในหลายประเทศได้มีการจัดตั้งซอฟต์แวร์พาร์คขึ้นเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของ ประเทศ โดยกำหนดให้ซอฟต์แวร์พาร์คมีบทบาทในการเป็นประตูสู่ตลาดผู้ใช้ทั้งในและต่างประเทศ เป็นช่อง ทางการเข้าถึงผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ เป็นศูนย์กลางของข้อมูลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และสร้างความเชื่อ มั่นให้กับผู้ใช้และคู่ค้าจากทั้งในและนอกประเทศ ในหลายประเทศมีการจัดตั้งซอฟต์แวร์พาร์คมากกว่า 1 แห่ง เพื่อช่วยสนับสนุนการพัฒนาซอฟต์แวร์ของประเทศให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน สำหรับประเทศไทย Software Park Thailand ได้ตระหนักถึงภารกิจดังกล่าว และได้ดำเนินงานส่ง เสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศอย่างต่อเนื่องในหลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาเทคโนโลยี การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรม การส่งเสริมการตลาด และการส่งเสริมให้เกิดการนำไอทีไปใช้ในอุตสาหกร รมอื่นๆ นอกจากนี้ ภารกิจที่สำคัญอีกอย่างของ Software Park Thailand คือ การเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยง Software Park อื่นๆ ที่ตั้งอยู่ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ ซึ่งจัดตั้งและดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนธุรกิจ ซอฟต์แวร์อยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ Software Park ในประเทศไทยแต่ละแห่งมีจุดแข็งที่ต่างกันออกไปและอยู่ ภายใต้การบริหารจัดการของหน่วยงานที่ต่างกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งสิ้น 4 พาร์ค ได้แก่ เขต อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ภูเก็ต และศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาและอุตสาหกรรม องค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (Korat Software Park) ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์พาร์คทั้ง 4 แห่งเล็งเห็นว่า การที่จะทำให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทยเข็มแข็งเพื่อ แข่งขันกับนานาประเทศได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรวมตัวกัน เพื่อร่วมกันสร้างและแบ่งปันความรู้ ความสามารถของตนในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ในแต่ละพาร์คให้เข้มแข็ง มีความ ทัดเทียมกัน สร้างความเป็นปึกแผ่นในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้ประสานและสอดคล้องกันอย่างแน่นแฟ้น ไปในทิศทางเดียวกัน ให้เกิดความร่วมมือและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อให้อุตสากรรมซอฟต์แวร์ไทย สามารถพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ความร่วมมือ 1. สร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่าง TSPA เพื่อให้เกิดผลในภาพรวมต่ออุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ของประเทศ 2. ขยายโอกาสทางธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ทั้งในส่วนกลางและในส่วนภูมิภาค 3. ขยายผลการจัดกิจกรรมต่างๆ ของ SWP ออกสู่ Park ในภูมิภาค สมาชิกเครือข่าย TSPA


เครือข่าย Thailand Software Park Alliances (TSPA) เกิดจากความร่วมมือตั้งต้นระหว่างเขต อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ 4 แห่งในประเทศไทย ดังต่อไปนี้ สมาชิก TSPA ลักษะหน่วย หน่วยงานต้นสังกัด ปีที่ก่อตั้ง งาน (พ.ศ.) 1. เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ภาครัฐ สำนักงานพัฒนา 2540 Software Park Thailand วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2. ศูนย์ประสานงานเขตอุสาหกรรม ภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2546 ซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ E-Saan Software Park 3. เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต ภาคเอกชน บริษัท บลูลากูน ภูเก็ต 2551 Software Park Phuket จำกัด ศู น ย์ พ ฒ ั นาเทคโนโลยี ส ารสนเทศและการสื อ ่ สารเพื อ ่ 4. ภาครัฐ องค์การบริหารส่วน 2552 การศึกษาและอุตสาหกรรม จังหวัดนครราชสีมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา Korat Software Park

ข้อมูลเพิ่มเติม เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand) ก่อตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2540 โดยเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. เพื่อทำหน้าที่สนับสนุน และเสริมสร้างความ แข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยในทุกทาง ทั้งด้านบุคลากร การตลาด การลงทุน รวมถึงเทคโนโลยีอัน ทันสมัยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มธุรกิจทุกกลุ่มภายในประเทศ ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาค การเกษตร และภาคการบริการ เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะส่งผลให้ ตลาดซอฟต์แวร์ภายในประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันได้สร้างความมั่นใจให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จากต่าง ประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรสนับสนุนผู้ประกอบการและสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เทียบเท่าระดับโลก ทำให้ซอฟต์แวร์เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามาถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย” เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทยให้การสนับสนุน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับผู้ประกอบ การซอฟต์แวร์ไทย ทั้งยังช่วยผลักดันอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีพันธกิจหลัก 5 ด้าน ดังนี้ o สนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรไอที


o o o o

สนับสนุน และส่งเสริมการปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณภาพของ บริษัทซอฟต์แวร์ไทยสู่มาตรฐานสากล สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตร เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยในการ ขยายช่องทางการตลาดทั้งใน และต่างประเทศ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อ สร้างผลิตภัณฑ์ หรือปรับปรุงบริการของหน่วยงาน ให้เช่าพื้นที่สำนักงาน ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุม ห้องฝึกอบรม และสัมมนา

ติดต่อได้ที่

รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย โทร. (02) 583-9992 อีเมล์: sbe@swpark.or.th URL: www.swpark.or.th ศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (E-Saan Software Park)

เป็นองค์กรในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 โดยความร่วมมือ และการสนับสนุนจาก 6 องค์กร ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น หอการค้าจังหวัดขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น หอการค้าสวีเดน-ไทย และชมรมธุรกิจคอมพิวเตอร์จังหวัดขอนแก่น โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการเพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ในรูปแบบของนครไอซีที (ICT City) และเพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดการ การศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัย ตามนโยบาย และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามเป้าประสงค์ของ มหาวิทยาลัยและของรัฐ ให้ศูนย์เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น มีการดำเนินงานในลักษณะ พึ่งตนเอง มีการบริหารจัดการที่เป็นอิสระจากระบบราชการ ซึ่งดำเนินการตามหลักการและเป้าประสงค์ที่ได้ รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดต่อได้ที่ ผศ.วันชัย สุ่มเล็ก ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โทร. (043) 202-426 อีเมล์: wanchai@esspark.org URL: www.esswpark.org


เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต (Software Park Phuket) ซอฟต์แวร์พาร์คภูเก็ตเป็นพาร์คแรกที่ก่อตั้งโดยภาคเอกชน ในปี พ.ศ. 2551 ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ และบริษัท บลูลากูนภูเก็ต จำกัด ในการดำเนินการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็น Value Creation ให้กับภูเก็ตในการที่จะเสริมการท่องเที่ยว และเป็นที่ที่ ICT Knowledge Worker มุ่งเข้ามา เพื่อประกอบการ โดยมี 3 ภาระกิจหลักคือ ภาระกิจที่ 1 ภาระกิจที่ 2 ภาระกิจที่ 3

การให้บริการพื้นที่สำหรับผู้ประกอบการด้าน ICT ทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับ ความร่วมมือจาก CAT Telecom ในการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่าน Fiber Optic รองรับผู้มาใช้บริการ ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ หรือ Business Incubator Center ในชื่อ "ศูนย์สร้างสรรค์ นวัตกรรมภูเก็ต" โดยให้บริการบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ทางด้าน ICT เพื่อสร้าง โอกาสทางธุรกิจ นวัตกรรมและการจ้างงาน หน่วยวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม หรือ Research and Development Lab เพื่อส่งเสริมและต่อยอดงานวิจัยให้พัฒนาสู่ เชิงพาณิชย์

ติดต่อได้ที่ นายแพทย์ก้องเกียรติ เกษเพ็ชร์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ภูเก็ต โทร. (076) 680-0351 อีเมล์: service@softwareparkphuket.com URL: www.softwareparkphuket.com

ศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาและอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (Korat Software Park) ก่อตั้งภายใต้การกำกับขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาในปี 2552 เพื่อป็นศูนย์รวมในการ พัฒนาและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีสารสนเทศและซอฟต์แวร์ เพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมหลักของจังหวัด นครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียง และเพื่อให้การพัฒนาอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจในจังหวัดและพื้นที่ในภาค


อีสานเป็นไปอย่างครบวงจร จึงได้ริเริ่มจัดทำโครงการจัดตั้ง “สถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารเขาใหญ่ (Kaoyai ICT Academy : KICTA)” ขึ้น ภายในพื้นที่ประมาณ 160 ไร่ ซึ่ง อยู่ในเขตติดต่ออุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เพื่อให้เป็นสถาบันทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) สาหรับลูกหลานชาวโคราช และพื้นที่ใกล้เคียง ที่มุ่งเน้นในการใช้ ICT เพื่อการสนับสนุน (Supporting Industry) อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิดเมือง ICT (Green City) ภายในโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วย ๓ ส่วนหลักๆ ดังนี้ 1) ส่วนการศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมด้าน ICT (Education Zone) (ใช้พื้นที่ประมาณ 50% ของโค รงการฯ) เป็นสถาบันการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในระดับอุดมศึกษาทางด้าน ICT แห่งแรกของ ประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการทางด้าน ICT ของภาคอุตสาหกรรมหลักในจังหวัดนครราชสีมา โดยการ เชื่อมโยงการศึกษาต่อยอดจากโรงเรียนมัธยมในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา และสานักงาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนและนักศึกษามีความเชี่ยวชาญทางด้าน ICT สามารถประกอบ อาชีพได้ทันที ตลอดจนการฝึกอบรมอาชีพทางด้าน ICT ต่อยอดจากนักศึกษาที่จบมาจากมหาวิทยาลัย และ วิทยาลัยในจังหวัดนครราชสีมา ประมาณ 1,500 คน / ปี 2) พื้นที่ประกอบอุตสาหกรรมทางด้าน ICT (Business Zone) (ใช้พื้นที่ประมาณ 30% ของโครงการฯ) เป็นการส่งเสริมการลงทุนสาหรับผู้ประกอบการทั้งภายใน และภายนอกจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนนัก ลงทุนจากต่างประเทศ ที่ต้องการประกอบกิจการทางด้าน ICT สาหรับเป็นตลาดแรงงานทางด้าน ICT ให้กับ ลูกหลานชาวโคราช โดยผู้ประกอบการที่เข้ามาประกอบกิจการดังกล่าวนั้น จะต้องว่าจ้างลูกหลานชาวโคราชที่ ผ่านการพัฒนาอาชีพจากสถาบันฯ ให้เข้าทางานในหน่วยงานนั้นๆ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพื้นที่โครงการฯ 3) สาธารณูปการ และที่พักอาศัย (Facilities & Residential Zone) (ใช้พื้นที่ประมาณ 20% ของโครง การฯ) เป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอานวยความสะดวกต่างๆ ตลอดจนที่พักอาศัยภายในโครงการฯ ที่ จาเป็นสาหรับการศึกษา การประกอบการ และการอยู่อาศัย ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่นสอดคล้องกับ ภูมิประเทศที่เป็นธรรมชาติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพ การผ่อนคลายในการศึกษา และการทางาน ตลอด จนเอื้อต่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นได้ว่า โครงการสถาบันเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเขา ใหญ่จะเป็นสถาบันการศึกษา การเรียนรู้ การวิจัย เพื่อการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้าน ICT ให้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญระดับมาตรฐานสากล ตลอดจนเป็นการสร้างอาชีพให้กับประชาชนอย่าง ยั่งยืน โดยให้สามารถทางานอยู่ในพื้นที่สถาบันฯ ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่มีความคุ้นเคยมาตั้งแต่เกิด และยัง เป็นการสร้างรายได้ให้กับประชาชน และเสริมสร้างเศรษฐกิจให้กับท้องถิ่น ตลอดจนเป็นการสนับสนุนนโยบาย ทางด้าน ICT ของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และของรัฐบาล ต่อไป” ติดต่อได้ที่ นายเผด็จ จินดา ที่ปรึกษาศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาแลอุตสาหกรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โทร. (044) 257-162 ต่อ 11 อีเมล์: phadet@koratswpark.org URL: www.koratswpark.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.