ระเบียบโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุง ๒๕๖๐) ******************* โดยที่โรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม ได้ประกาศใช้หลักสูตรโรงเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ตามคาสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สพฐ ๒๙๓/๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ เรื่องให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ จึงเป็นการสมควรที่กาหนด ระเบียบโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม ว่าด้วยการวัดและประเมินผลการเรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพื่อให้สามารถดาเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับคาสั่ง ดังกล่าว ฉะนั้ น อาศั ย อ านาจตามความในมาตรา ๓๙ แห่ ง พระราชบั ญ ญั ติ ร ะเบี ย บบริ ห ารราชการ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.๒๕๔๖ และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และงาน วิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ ระเบียบโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม ว่าด้วยการวัดและประเมินผลผล การเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบข้อบังคับที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๔ ระเบียบนี้ให้ใช้คู่กับหลักสูตรโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขมตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๕ ให้ผู้บริหารสถานศึกษารักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
๒
หมวด ๑ หลักการดาเนินการวัดและประเมินผลการเรียน ข้อ ๖ การประเมินผลการเรียน ให้เป็นไปตามหลักการดาเนินการต่อไปนี้ ๖.๑ สถานศึกษามีหน้าที่วัดและประเมินผล ตัดสิน และอนุมัติผลการเรียนทุกระดับชั้นโดย ความเห็ น ชอบของคณะกรรมการการศึ ก ษาขั้ น พื้ น ฐาน ในเรื่ อ งของเกณฑ์ แ ละแนวด าเนิ น การวั ด และ ประเมินผลการเรียน ๖.๒ การวัดและประเมินผลการเรียนต้องสอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้ที่กาหนดในหลักสูตร ๖.๓ การวัดและประเมินผลการเรียนต้องประกอบด้วย การวัดผลและประเมินผลเพื่อปรับปรุง พัฒนาผู้เรียน ปรับปรุงการเรียนการสอน วัดผลและประเมินผลเพื่อตัดสินผลการเรียน ๖.๔ การวั ด และประเมิ น ผลเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของกระบวนการจั ด การเรี ย นการสอน ต้ อ ง ดาเนินการด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด ธรรมชาติของวิชาและธรรมชาติของผู้เรียน ๖.๕ จัดให้มีการวัดและประเมินผลผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ดังนี้ ๖.๕.๑ วัดและประเมินผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ๖.๕.๒ วัดและประเมินความสามารถของผู้เรียนในการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน เพื่อ ตัดสินการเลื่อนชั้นและเมื่อจบการศึกษาในแต่ละระดับ ๖.๕.๓ วัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละชั้นปีและเมื่อจบ ระดับการศึกษา ๖.๕.๔ วัดและประเมินผลการร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กาหนดตามหลักสูตร ๖.๖ การวัดและประเมินผลต้องมีหลักฐานชัดเจน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ ๖.๗ มีการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถานศึกษาและการศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ๖.๘ สถานศึกษาจัดทาและออกเอกสารหลักฐานการศึกษา เพื่อเป็นหลักฐานการประเมินผล การเรียนรู้ รายงานผลการเรียน แสดงวุฒิการศึกษาและรับรองผลการเรียนของผู้เรียน
๓
หมวด ๒ วิธีวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ข้อ ๗ สถานศึกษาต้องดาเนินการวัดและประเมินผลให้ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ ด้าน คือ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ ๘ กลุ่มสาระ การอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน ๗.๑ การประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง ๘ กลุ่มสาระ เป็นการประเมิน ความรู้ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ทักษะการคิด ที่กาหนดอยู่ในตัวชี้วัดในหลักสูตร ซึ่งจะนาไปสู่การ สรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ การกาหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างภาคและปลายภาค ดังนี้ คะแนน คะแนน กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวม ระหว่างภาคเรียน ปลายภาคเรียน ภาษาไทย ๖๐ ๔๐ ๑๐๐ คณิตศาสตร์ ๖๐ ๔๐ ๑๐๐ วิทยาศาสตร์ ๖๐ ๔๐ ๑๐๐ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ๖๐ ๔๐ ๑๐๐ สุขศึกษาและพลศึกษา ๘๐ ๒๐ ๑๐๐ ศิลปะ ๘๐ ๒๐ ๑๐๐ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ๘๐ ๒๐ ๑๐๐ ภาษาต่างประเทศ ๖๐ ๔๐ ๑๐๐ ๗.๒ การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียนของผู้เรียน ให้ครูประจาวิชาบูรณาการ ตัวชี้วัดของการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน ร่วมกับการประเมินผลในวิชาสอน โดยดาเนินการ วัดผลตามเกณฑ์ที่กาหนดดังนี้ ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๑. สามารถคั ด สรรสื่ อ ที่ ต้ อ งการอ่ า นเพื่ อ หาข้ อ มู ล สารสนเทศได้ ต ามจุ ด ประสงค์ สามารถความเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้จากการอ่าน ๒. สามารถจับประเด็นสาคัญและประเด็นสนับสนุนโต้แย้ง
๔ ๓. สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์ ความสมเหตุสมผล ความน่าเชื่อถือ ลาดับความและ ความเป็นไปได้ของเรื่องที่อ่าน ๔. สามารถสรุปคุณค่า แนวคิด แง่คิดที่ได้จากการอ่าน ๕. สามารถสรุป อภิปราย ขยายความ แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง สนับสนุน โน้มน้าว โดยการเขียนสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ เช่นผังความคิด เป็นต้น ตัวชี้วัดความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑. สามารถอ่ า นเพื่ อ การศึ ก ษาค้ น คว้ า เพิ่ ม พู น ความรู้ ประสบการณ์ แ ละการ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน ๒. สารถจั บ ประเด็ น ส าคั ญ ล าดั บ เหตุ ก ารณ์ จ ากการอ่ า นสื่ อ ที่ มี ค วามซั บ ซ้ อ น ๓. สามารถวิเคราะห์สิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารกับผู้อ่าน และสามารถวิพากษ์ ให้ข้อ เสนอแนะในแง่มุมต่าง ๆ ๔. สามารถประเมินความน่าเชื่อถือ คุณค่า แนวคิดที่ได้จากสิ่งที่อ่านอย่างหลากหลาย ๕. สามารถเขียนแสดงความคิดเห็นโต้แย้ ง สรุป โดยมีข้อมูลอธิบายสนับสนุนอย่าง เพียงพอและสมเหตุสมผล ๗.๓ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้ ครูผู้ส อนนาคุณลักษณะอันพึง ประสงค์เข้าไปประเมินร่วมกับตัวชี้วัด โดยคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่กาหนดมี ๘ คุณลักษณะ ได้แก่ ๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ๒. ซื่อสัตย์สุจริต ๓. มีวินัย ๔. ใฝ่เรียนรู้ ๕. อยู่อย่างพอเพียง ๖. มุ่งมั่นในการทางาน ๗. รักความเป็นไทย ๘. มีจิตสาธารณะ ๗.๔ การประเมิน กิจกรรมพัฒ นาผู้ เรียน ให้ ประเมินเป็นรายภาค โดยสถานศึกษาเป็นผู้ กาหนดแนวทางการประเมิน ผู้รับผิดชอบกิจกรรม ดาเนินการประเมินตามจุดประสงค์
๕
หมวด ๓ เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ ข้อ ๘ การตัดสินผลการเรียน การตัดสินผลการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานใช้ระบบผ่านและไม่ ผ่าน โดยกาหนดเกณฑ์การตัดสินผ่านแต่ละรายวิชาที่ร้อยละ ๕๐ จากนั้นจึงให้ระดับผลการเรียนที่ผ่าน สาหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ใช้ตัวเลขแสดงระดับผลการเรียน ๘ ระดับ ข้อ ๙ การให้ระดับผลการเรียน ๙.๑ การตัดสินผลการเรียนรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้ใช้ระบบตัวเลขแสดงระดับผล การเรียนในแต่ละกลุ่มสาระ ( ๘ ระดับ) ดังนี้ ระดับผลการเรียน ๔ ๓.๕ ๓ ๒.๕ ๒ ๑.๕ ๑ ๐
ความหมาย ดีเยี่ยม ดีมาก ดี ค่อนข้างดี ปานกลาง พอใช้ ผ่านเกณฑ์ขั้นต่า ต่ากว่าเกณฑ์
ช่วงคะแนนเป็นร้อยละ ๘๐ – ๑๐๐ ๗๕ – ๗๙ ๗๐ – ๗๔ ๖๕ – ๖๙ ๖๐ – ๖๔ ๕๕ – ๕๙ ๕๐ – ๕๔ ๐ – ๔๙
ในกรณีที่ไม่สามารถให้ระดับผลการเรียน ๘ ระดับได้ ให้ใช้ตัวอักษรระบุเงื่อนไขของผลการเรียน ดังนี้ “ มส ” หมายถึง ผู้เรียนที่ไม่มีสิทธิเข้ารับการวัดผลปลายภาคเรียน เนื่องจากผู้เรียนมีเวลา เรียนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาและไม่ได้รับการผ่อน ผันให้เข้ารับการประเมินผลปลายภาคเรียน “ ร ” หมายถึง รอการตัดสินและยังตัดสินผลการเรียนไม่ได้ เนื่องจากผู้เรียนไม่มีข้อมูลผล การเรียนรายวิชานั้นครบถ้วน ได้แก่ไม่ได้วัดผลระหว่างภาคเรียน/ปลายภาคเรียน ไม่ได้ส่งงานที่มอบหมายให้ทา ชิ้นงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินผลการเรียน หรือมีเหตุสุดวิสัยที่ทาให้ประเมินผลการเรียนไม่ได้ ๙.๒ การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน เป็นผ่านและไม่ผ่าน ถ้ากรณีที่ผ่านกาหนด เกณฑ์การตัดสินเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่าน ดีเยี่ยม หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่านคิด วิเคราะห์ และเขียน ที่มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนที่มีคุณภาพดีเลิศอยู่เสมอ ดี หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนที่มี ผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนที่มี คุณภาพเป็นที่ยอมรับ
๖ ผ่าน
หมายถึง
มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนที่มี ผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนที่มี คุณภาพเป็นที่ยอมรับ แต่ยังมีข้อบกพร่องบางประการ ไม่ผ่าน หมายถึง มีผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนที่ไม่มี ผลงานที่แสดงถึงความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนหรือถ้ามี ผลงาน ผลงานนั้นยังมีข้อบกพร่องที่ต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขหลาย ประการ ๙.๓ การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ รวมทุกคุณลักษณะเพื่อการเลื่อนขั้น และจบการศึกษา เป็นผ่านและไม่ผ่าน ในการผ่านกาหนดเกณฑ์การตัดสินเป็นดีเยี่ยม ดี และผ่าน และความหมายของแต่ละ ระดับ ดังนี้ ดีเยี่ยม หมายถึง ผู้เรียนปฏิบัติตนตามคุณลักษณะจนเป็นนิสัย และนาไปใช้ในชีวิตประจาวัน เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม โดยพิจารณาจากผู้เรียนปฏิบัติตนตาม คุณลักษณะจนเป็นนิสัยและนาไปใช้ในชีวิตประจาวันเพื่อประโยชน์สุขของ ตนเองและสังคมโดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจานวน ๕ – ๘ คุณลักษณะ และไม่มีคุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ากว่าระดับดี ดี หมายถึง ผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้เป็นการยอมรับของ สังคมโดยพิจารณาจากผู้เรียนมีคุณลักษณะในการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เพื่อให้ เป็นการยอมรับของสังคมโดยพิจารณาจาก ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จานวน ๑-๔ คุณลักษณะและไม่มี คุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ากว่าระดับดีหรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม จานวน ๔ คุณลักษณะและไม่มี คุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ากว่าระดับผ่านหรือ ๓. ได้ผลการประเมินระดับดี จานวน ๕-๘ คุณลักษณะ และไม่มี คุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ากว่าระดับผ่าน ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถานศึกษากาหนด โดย พิจารณาจากผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่สถานศึกษา กาหนดโดยพิจารณาจาก ๑. ได้ผลการประเมินระดับผ่าน จานวน ๕ – ๘ คุณลักษณะ และไม่มี คุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ากว่าระดับผ่าน หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดี จานวน ๔ คุณลักษณะ และไม่มี คุณลักษณะใดได้ผลการประเมินต่ากว่าระดับผ่าน ไม่ผ่าน หมายถึง ผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนด โดยพิจารณาจากผู้เรียนรับรู้และปฏิบัติได้ไม่ครบตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไข ที่สถานศึกษากาหนด โดยพิจารณาจากผลการประเมินระดับไม่ผ่าน ตั้งแต่ ๑ คุณลักษณะ
๗ ๙.๔ การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรมการปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียนตาม เกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนดและให้ผลการประเมินเป็นผ่านและไม่ผ่าน “ผ” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบตามเกณฑ์ ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงาน/ชิ้นงาน/คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนด “มผ” หมายถึง ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไม่ครบตามเกณฑ์ ไม่ผ่านการ ปฏิบัติกิจกรรม ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงาน/ชิ้นงาน/ คุณลักษณะไม่เป็นไป ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนด ในกรณีที่ผู้เรียนได้ “มผ” ครูผู้ดูแลกิจกรรมต้องจัดซ่อมเสริมให้ผู้เรียนทากิจกรรมในส่วนที่ ผู้เรียนไม่ได้เข้าร่วมหรือไม่ได้ทาจนครบถ้วน แล้วจึงเปลี่ยนผลการเรียน จาก “มผ” เป็น “ผ” ได้ ทั้งนี้ต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นภายในปีการศึกษา (๓๑ มีนาคม) ยกเว้นมีเหตุสุดวิสัย ข้อ ๑๐ การเลื่อนชั้น ผู้เรียนจะได้รับการเลื่อนชั้น เมื่อสิ้นปีการศึกษาเมื่อมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ๑) ผู้เรียนมีเวลาเรียนตลอดปีการศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด ๒) ผู้เรียนมีผลการประเมินผ่านทุกรายวิชาพื้นฐาน ๓) ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากาหนด ทั้งนี้ ถ้าผู้เรียนมีข้อบกพร่องเล็กน้อย ตามที่ครูประจาวิชาแจ้ง และเห็นว่าสามารถสอนซ่อมเสริมได้ ให้อยู่ในดุลยพินิจของสถานศึกษาที่จะผ่อนผันให้เลื่อนชั้นได้ อนึ่ง ในกรณีที่ผู้เรียนมีหลักฐานการเรียนรู้ที่แสดงว่ามีความสามารถดีเลิศ สถานศึกษาอาจให้โอกาส ผู้เรียนเลื่อนชั้นกลางปีการศึกษา โดยสถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วยฝ่ายวิชาการของ สถานศึกษาและผู้แทนของเขตพื้นที่การศึกษาหรือต้นสังกัด ประเมินผู้เรียนและตรวจสอบคุณสมบัติให้ ครบถ้วนตามเงื่อนไขทั้ง ๓ ประการ ต่อไปนี้ต่อไปนี้ ๑) มีผลการเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมาและมีผลการเรียนระหว่างปีที่กาลังศึกษาอยู่ใน เกณฑ์ดีเยี่ยม ๒) มีวุฒิภาวะเหมาะสมที่จะเรียนในชั้นที่สูงขึ้น ๓) ผ่านการประเมินผลความรู้ความสามารถทุกรายวิชาของชั้นปีที่เรียนปัจจุบัน และความรู้ ความสามารถทุกรายวิชาในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่จะเลื่อนขึ้น การอนุมัติให้เลื่อนชั้นกลางปีการศึกษาไปเรียนชั้นสูงขึ้นได้ ๑ ระดับชั้นนี้ต้องได้รับการยินยอมจาก ผู้เรียนและผู้ปกครอง และต้องดาเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนเปิดภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษานั้น สาหรับในกรณีที่พบว่ามีผู้เรียนกลุ่มพิเศษประเภทต่าง ๆ มีปัญหาในการเรียนรู้ให้สถานศึกษา ดาเนินงานร่วมกับสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา/ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด/ศูนย์การศึกษาพิเศษเขต การศึกษา/หน่วยงานต้นสังกัด โรงเรียนเฉพาะความพิการ หาแนวทางการแก้ไขและพัฒนา ข้อ ๑๑ การสอนซ่อมเสริม การสอนซ่อมเสริม เป็นการสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง กรณีที่ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ กระบวนการ หรือมีคุณลักษณะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กาหนด จะต้องจัดสอนซ่อมเสริมเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือไปจากการสอนตามปกติ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัดที่
๘ กาหนดไว้ เป็นการให้โอกาสแก่ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนา โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ข้อ ๑๒ การเรียนซ้าชั้น ผู้เรียนที่ไม่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การเลื่อนชั้นจะต้องเรียนซ้าชั้น แต่ทั้งนี้อาจได้รับการ พิจารณาให้เลื่อนชั้นได้ หากผู้เรียนมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ๑) มีเวลาเรียนไม่ถึงร้อยละ ๘๐ อันเนื่องจากสาเหตุจาเป็นหรือเหตุสุดวิสัย แต่มี คุณสมบัติตามเกณฑ์การเลื่อนชั้นในข้ออื่น ๆ ครบถ้วน ๒) ผู้เรียนมีผลการประเมินผ่านมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดไม่ถึงเกณฑ์ตามที่ สถานศึกษากาหนดในแต่ละรายวิชา แต่เห็นว่าสามารถสอนซ่อมเสริมได้ในปี การศึกษานั้น และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การเลื่อนชั้นในข้ออื่นๆ ครบถ้วน ๓) ผู้เรียนมีผลการประเมินรายวิชาในกลุ่มสาระภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมอยู่ในระดับผ่าน ก่อนที่จะให้ผู้เรียนเรียนซ้าชั้น สถานศึกษาควรแจ้งให้ผู้ปกครองและผู้เรียนทราบเหตุผลของการเรียน ซ้าชั้น ข้อ ๑๓ เกณฑ์การจบหลักสูตร หลักสูตรโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม พุทธศักราช ๒๕๕๓ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กาหนดเกณฑ์สาหรับการจบการศึกษาเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษา ตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑๓.๑ ผู้เรียนที่จะได้รับการพิจารณาอนุมัติให้จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ ๑๓.๑.๑ ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๖๖ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากาหนด ๑๓.๑.๒ ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็น รายวิชาพื้นฐาน ๖๖ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๑๑ หน่วยกิต และผ่านทุกรายวิชาที่สถานศึกษากาหนด ๑๓.๑.๓ ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป ๑๓.๑.๔ ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป ๑๓.๑.๕ ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและได้รับผลการตัดสิน “ผ่าน” ทุก กิจกรรม ๑๓.๒ ผู้เรียนที่จะได้รับการพิจารณาอนุมัติ ให้จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายต้องมี คุณสมบัติ ดังนี้ ๑๓.๒.๑ ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐาน และเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๘๑ หน่วยกิต โดยเป็น รายวิชาพื้นฐาน ๔๑ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษา กาหนด ๑๓.๒.๒ ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเป็น รายวิชาพื้นฐาน ๔๑ หน่วยกิต และรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต และผ่านทุกรายวิชาที่สถานศึกษากาหนด
๙ ๑๓.๒.๓ ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนในระดับ “ผ่าน”ขึ้นไป ๑๓.๒.๔ ผู้เรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับ “ผ่าน” ขึ้นไป ๑๓.๒.๕ ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและได้รับผลการตัดสิน “ผ่าน” ทุกกิจกรรม ๑๓.๓ ให้ผู้อานวยการโรงเรียน เป็นผู้อนุมัติผลการเรียน และการจบหลักสูตร
๑๐
หมวด ๔ การรายงานผลการเรียน ข้อ ๑๔ การรายงานผลการเรียน การรายงานผลการเรียนเป็นการสื่อสารให้ผู้ปกครองและผู้เรียน ทราบความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งสถานศึกษาต้องสรุปผลการประเมิน และจัดทาเอกสารรายงาน ให้ผู้ปกครองทราบเป็นระยะๆ หรืออย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง การรายงานผลการเรียนสามารถรายงานเป็น ระดับคุณภาพการปฏิบัติของผู้เรียนที่สะท้อนมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้
หมวด ๕ เอกสารหลักฐานการศึกษา ข้อ ๑๕ ให้มีการจัดหาและจัดทาเอกสารหลักฐานการศึกษา ดังต่อไปนี้ ๑๕.๑ เอกสารหลักฐานการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการกาหนด ประกอบด้วย ๑) ระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ๒) ประกาศนียบัตร (ปพ.๒) ๓) แบบรายงานผู้สาเร็จการศึกษา (ปพ.๓) ๑๕.๒ เอกสารหลักฐานการศึกษาที่สถานศึกษากาหนด ๑) แบบบันทึกผลการเรียนประจารายวิชา ๒) แบบรายงานประจาตัวนักเรียน ๓) ใบรับรองผลการเรียน ๔) ระเบียนสะสม
หมวด ๖ การเทียบโอนผลการเรียน ข้อ ๑๖ ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้จากสถานศึกษาได้ในกรณีต่าง ๆ ได้แก่ การย้ายโรงเรียน การเปลี่ยนรูปแบบการศึกษา การย้ายหลักสูตร การละทิ้งการศึกษาและการขอกลับเข้ารับ การศึกษาต่อ การศึกษาจากต่างประเทศและขอเข้าศึกษาต่อในประเทศ สถานประกอบการ สถาบันทาง ศาสนา สถาบันการฝึกอบรมอาชีพ การจัดการศึกษาโดยครอบครัว เป็นต้น ข้อ ๑๗ ให้สามารถเทียบโอนความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้อื่นๆ เช่น สถานประกอบการ สถาบันทางศาสนา สถาบันการฝึกอบรมอาชีพ การจัดการศึกษาโดยครอบครัว เป็นต้น ข้อ ๑๘ การเทียบโอนผลการเรียนให้ดาเนินการในช่วงเปิดภาคเรียนแรกที่โรงเรียนรับผู้ขอเทียบโอน เป็นผู้เรียน การรับเทียบโอนกาหนดให้ผู้เรียนที่ได้รับการเทียบโอนผลการเรียนต้องศึกษาต่อเนื่องในโรงเรียน มัธยมวัดหนองแขมอย่างน้อย ๑ ภาคเรียน
๑๑ ข้อ ๑๙ การพิจารณาการเทียบโอน สามารถดาเนินการได้ดังนี้ ๑๙.๑ พิจารณาจากหลักฐานการศึกษา ซึ่งจะให้ข้อมูลที่แสดงความรู้ ความสามารถของ ผู้เรียนในด้านต่างๆ ๑๙.๒ พิจารณาจากความรู้ประสบการณ์ตรง ๑๙.๓ พิจารณาจากความสามารถและการปฏิบัติจริง การทดสอบ การสัมภาษณ์ เป็นต้น ๑๙.๔ ในกรณีมีเหตุผลจาเป็นระหว่างเรียน ข้อ ๒๐ การเทียบโอนผลการเรียนให้ดาเนินการในรูปของคณะกรรมการการเทียบโอน จานวนไม่ น้อยกว่า ๓ คน แต่ไม่เกิน ๕ คน การเทียบโอนให้ดาเนินการดังนี้ ๒๐.๑ กรณีผู้ขอเทียบโอนมีผลการเรียนมาจากหลักสูตรอื่น ให้นารายวิชาหรือหน่วยกิตที่มี มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้/จุดประสงค์/เนื้อหาที่สอดคล้องกันไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ มา เทียบโอนผลการเรียน และพิจารณาให้ระดับผลการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่รับเทียบโอน ๒๐.๒ กรณีการเทียบโอนความรู้ ทักษะและประสบการณ์ ให้พิจารณาจากเอกสารหลักฐาน (ถ้ามี) โดยให้มีการประเมินด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย และให้ระดับผลการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่รับ เทียบโอน ๒๐.๓ กรณีการเทียบโอนที่นักเรียนเข้าโครงการแลกเปลี่ยนต่างประเทศให้ดาเนินการตาม ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องหลักการและแนวปฏิบัติการเทียบชั้นการศึกษาสาหรับนักเรียนที่เข้าร่วม โครงการแลกเปลี่ยน ประกาศ ณ วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๒
(ลงชื่อ)................................................ (นายขวัญชัย ไกรธรรม) ผู้อานวยการโรงเรียนมัธยมวัดหนองแขม