การสอบสวนกรณีที่มีผู้เสียชีวิตระหว่างการชุนุม

Page 1

สํานักงานกฎหมาย อัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ 29 มิถุนายน 2010 นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิส ระตรวจสอบและค้นหาความจริง เพื่อความ ปรองดองแห่งชาติ เลขที่ 47/144 ซอยธนเวท ถ.บางกรวยไทยน้อย อําเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ดร. กิติพงษ์ กิติยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เลขานุ ก ารคณะกรรมการอิ ส ระตรวจสอบและค้ น หาความจริ ง เพื่ อ ความปรองดองแห่งชาติ นายธาริต เพ็งดิษ อธิบดี กรมสอบสวนคดีพิเศษ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กรรมการ ศอฉ. นายอภิสิทธิ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เรื่อง การดําเนินการสอบสวนกรณีท่ีมีผู ้เสี ย ชีวิตระหว่างการชุมนุม ของกลุ่มคนเสื้อแดง (เดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2010)


ท่านสุภาพบุรุษ สํ านั ก งานกฎหมายแห่ ง นี้ เ ป็ น ทนายความของอดี ตนายกรั ฐ มนตรี ทักษิณ ชินวัตร และเป็นทีป ่ รึกษาของทีมทนายความไทยของสมาชิก ของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการหรือ นปช. ที่ถูกตั้งข้อ กล่าวหาว่ากระทําความผิดกฎหมายอาญา เกี่ยวกับการชุมนุมของ กลุ่มคนเสื้อแดงในกรุงเทพฯ ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม 2010 สํานักงานฯ เข้าใจว่า แต่ละท่านทีร่ ะบุชอ ่ื ไว้ขา ้ งต้นมีฐานะเป็นผู้ แทนหน่วยงานของรั ฐ บาลไทยแห่ง ใดแห่ง หนึ่ง ซึ่ง มีหน้าที่และความ รับผิดชอบต่อการดําเนินการสอบสวนคดีอาญาที่มีการกล่าวหาต่อลูก ความของสํานักงานฯ วัตถุประสงค์ของหนังสือฉบับนี้ ก็เพื่อเป็นการย้ําถึงสิทธิของลูกความ ของสํานักงานฯ ในการได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมตาม หลักกฎหมายระหว่างประเทศในการที่รัฐบาลทําการสอบสวนและ ดําเนินคดีอาญาเนือ ่ งจากความเกีย ่ วข้องกับการชุมนุมของกลุม ่ คน เสื้อแดง ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมายระหว่างประเทศรวมถึง และ ไม่จํากัดเพียงการดําเนินการตรวจสอบบรรดาข้อเท็จจริงทั้งปวงที่ เกีย ่ วข้องกับข้อกล่าวหาในคดีอาญาทีม ่ ต ี อ ่ ลูกความของสํานักงานฯ อย่างเต็มที่ เป็นธรรมและสมบูรณ์ ซึ่งย่อมรวมถึงการตรวจสอบและ วิเคราะห์อย่างละเอียดถึงความเหมาะสมและความสมควรแก่เหตุของ การใช้กําลังของหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่กระทําต่อการชุมนุม สนธิ สั ญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิ ทธิ ทางการเมืองและสิ ทธิ ของ พลเรือน (International Covenant on Civil and Political Rights หรือ ICCPR) ซึ่งประเทศไทยก็เป็นประเทศตกลงเข้าผูกพัน มีขอ ้ กําหนดให้ หลักประกันแก่ลูกความของสํานักงานฯ ถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้ รับสิทธิที่จะต่อสู้คดีอย่างเป็นธรรม (fair treatment in the conduct of their defense) นอกจากนี้ ตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ ICCPR ยัง


รั บ รองสิ ท ธิ ท่ี จ ะได้ รั บ คํ า แนะนํ า คํ า ปรึ ก ษาทางกฎหมายจาก ทนายความที่ลูกความของสํานักงานฯ ต้องการอย่างมีอิสระ และยัง รับรองสิ ทธิผ ่านทางทนายความและผู ้เชี่ย วชาญอิส ระที่จะตรวจสอบ และทําการทดสอบบรรดาพยานหลัก ฐานทั้ง ปวงที่รัฐ ใช้อ้างในการก ล่าวหาและดําเนินคดีลก ู ความของสํานักงานฯ สําหรับกรณีของลูก ความบางรายของสํานัก งานฯ สิทธิท่ีจะทําการ ตรวจสอบพยานหลัก ฐานย่อมเกี่ยวพันไปถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเกี่ยว กับการเสียชีวต ิ ของบุคคลจํานวน 90 รายที่เกิดขึ้นในระหว่งที่มีการ ชุมนุมของกลุม ่ คนเสือ ้ แดง ลูกความของสํานักงานฯ จํานวน 13 ราย ถูก ตั้ง ข้อกล่าวหาในคดีอาญาว่าเป็นผู ้เกี่ยวพันหรือก่อให้เกิดการใช้ กําลังและความรุนแรง ดังนั้น ข้อเท็จจริง ข้อมูล และพยานที่เกี่ยวข้อง โดยตรง และโดยพฤติเหตุแวดล้อมกับการเสียชีวต ิ ของพลเรือนและ ทหารในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเกี่ยวพันโดยตรงกับการตั้งข้อกล่าวหา ของรัฐบาลไทย นอกจากนีแ ้ ล้ว พยานหลักฐานจะเป็นตัวพิสูจน์ว่า รัฐ บาลไทยได้ปฏิบต ั ิต่อประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง อย่างเหมาะสมและโดยสมควรแก่เหตุหรื อไม่ และยั ง เป็น สิ่ ง ที่จะ พิสู จน์ว่าการใช้ก ําลัง เข้าสั ง หารพลเรือนโดยรัฐ บาลไทย เป็นการ ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ และการใช้กําลังของรัฐบาลไทยดังกล่าว เป็นเหตุชนวนที่ก่อให้เกิดการใช้ความรุนแรงหรือไม่ ข้อเท็จจริงเหล่า นี้เป็นสิ่งที่จําเป็นและเกี่ยวข้องโดยตรงในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของ ลูกความของสํานักงานฯ อย่างน้อย 13 คน ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทํา ความผิดอาญาอย่างร้ายแรงซึ่งมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต นอกจากนี้ เป็นสิง่ ทีช ่ ด ั เจนอยูแ ่ ล้วว่า ประเทศไทยมีภาระหน้าที่ตาม กฎหมายระหว่างประเทศที่จะต้องทําการสอบสวนการกระทําความ ผิดกฎหมายอาญาระหว่างประเทศ และหากพบว่า มีการกระทําความ ผิ ด ประเทศไทยก็ มีภ าระหน้าที่ท่ีจะต้องดําเนินการตามกฎหมาย อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นหลักกฎหมาย aut dedere aut judicar หรือ duty to


prosecute or extradite ซึ่งเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ระบุไว้ โดยชัดแจ้งในสนธิสัญญาแห่งกรุงเจนีวา ปี 1949 (the Geneva Convention of 1979) ในสนธิสัญญาสหภาพยุโรปว่าด้วยการก่อการ ร้ายปี 1977 (European Terrorism Convention of 1977) ในสนธิ สัญญาว่าด้วยตัวประกัน (Hostages Convention of 1979) ในสนธิ สัญญาว่าด้วยการต่อต้านการประทุษร้ายปี 1984 (Anti-Torture Convention of 1987) และสนธิสัญญาแห่งนครนิวยอร์ค ว่าด้วย อาชญากรรมต่ อบุคคลที่ ไ ด้ รั บการคุ ้ ม ครองตามกฎหมายระหว่ า ง ประเทศปี 1973 (the New York Convention of Crime against Internationally Protected Person of 1973) การดํ า เนิ น การของรั ฐ บาลไทยที่ เ ป็ น การละเมิ ด หลั ก ประกั น ต่ อ พลเรือนว่าจะไม่ถูกกระทําวิสามัญฆาตกรรม และการกักขังหน่วงเหนี่ยวไว้ตามอําเภอใจ อาจเป็นการกระทําทีเ่ ป็น อาชญากรรมตามกฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าการกระทําต่างๆ ของรัฐ บาลจะอ้างว่าเป็นการใช้อํานาจตามกฎหมายหรือสถานการณ์ ฉุกเฉิน หรือเหตุกรณีพิเศษ ด้วยเหตุน้ี รัฐบาลไทยจึงมีภาระหน้าที่ตามสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศที่จะทําการสืบสวนสอบสวนอย่างเต็มที่ ครบถ้วน และเป็น ธรรม สําหรับเหตุการณ์ที่มีการสังหารพลเรือนมากกว่า 80 ราย โดย หน่วยงานของรัฐบาลไทยในระหว่างที่มีการใช้อํานาจตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินต่อประชาชนผู้เข้าร่วมการชุมนุมของกลุ่ม คนเสื้อแดง และมีหน้าทีต ่ อ ้ งดําเนินคดีตอ ่ บุคคลใดๆ ที่มีหน้าที่รับผิด ชอบสั่งการให้มีการดําเนินการ จนเป็นเหตุให้มก ี ารเสียชีวต ิ ของ พลเรือนดังกล่าว นอกจากนี้ ในสภาวการณ์เช่นนี้ รัฐบาลไทยจะต้องให้องค์กรที่เป็น อิสระและมีความเป็นกลางทําการสอบสวนข้อเท็จจริงเพราะ


“จะต้องมีการใช้กลไกของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะเจาะจง เพื่อให้เกิด หน้าที่โดยทั่วไปในการตรวจสอบข้อกล่าวหาถึงการละเมิดกฎหมาย โดยทันที โดยละเอียดรอบครอบและอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านทาง องค์กรทีเ่ ป็นอิสระและมีความเป็นกลาง” และเป็นหน้าทีท ่ ช ่ี ด ั เจนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศว่า หากการ สอบสวนแสดงว่ามีการละเมิดสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองตามสนธิ สัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ รัฐมีหน้าที่ต้องดําเนินคดีเพื่อ ทําให้เกิดความยุติธรรม การที่รัฐบาลล้มเหลวในการดําเนินการเช่น นี้: “อาจถือเป็นการกระทําละเมิดต่อภาระหน้าที่ต่อสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศ ภาระหน้าที่ของรัฐมีอย่างชัดเจนโดยเฉพาะต่อการละเมิด กฎหมายที่ถือว่าเป็นอาชญากรรมทั้งภายใต้กฎหมายภายในประเทศ และภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น ในเรื่องการประทุษร้ายและ การปฏิบัติต่อพลเรือนด้วยความทารุณโหดร้าย ไม่เคารพสิทธิมนุษย ชน (มาตรา 7) และ การฆาตกรรมตามอําเภอใจและเลือกปฏิบต ั ิ (มาตรา 6)” นอกจากนี้ ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (the Human Rights Committee of the United Nations) ได้กําหนด: “อาจมีสถานการณ์ที่หากรัฐไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ตามมาตรา 2 ของสนธิสัญญาจะนําไปสู่การกระทําอันถือว่าเป็นการละเมิดสนธิ สัญญาโดยรัฐ เนื่องจากการที่รัฐปล่อยหรือละเลยที่ใช้มาตรการที่ ปฏิบัติภาระหน้าที่ด้วยความระมัดระวังในการป้องกัน ลงโทษ ตรวจ สอบหรือเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทําผิดเหล่านั้น” ภายใต้หลักการของกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าว ลูกความของ สํานักงานฯ และคณะทนายความทีด ่ า ํ เนินการสูค ้ ดีแก่ลก ู ความเหล่านี้ จึงมีสิทธิที่จะร้องขอ และโดยหนังสือฉบับนีถ ้ อ ื เป็นร้องขอต่อรัฐบาล


ไทยและท่านให้ดําเนินการดังต่อไปนี้ 1. ให้ท่านดําเนินการผ่านทางองค์กรที่มีความอิสระและเป็นกลาง สืบสวนสอบสวนถึงการใช้กําลังอาวุธโดยหน่วยงานของรัฐบาลไทยที่ กระทําต่อประชาชนผู้ร่วมการชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดงในระหว่าง เดือนเมษายนและพฤษภาคม 2010 ในกรุงเทพฯ (“การชุมนุม”) อย่างเต็มที่ เป็นธรรมและโดยสมบูรณ์ 2. ให้ท่านเก็บรักษาพยานหลักฐานต่างๆ ทั้งวัตถุพยาน พยานใน ทางนิตเิ วช เอกสาร เทปบันทึกภาพและเสียงทีอ ่ ยูใ่ นความครอบ ครองของหน่วยงานราชการของไทยที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุม คําร้องขอนี้รวมไปถึงบรรดาพยานหลักฐานของหน่วยงานของรัฐบาล ไทยเกี่ยวกับการเตรียมการ การวางแผน และการปฏิบัติการ ที่ เกี่ยวข้องกับการชุมนุม รวมถึงพยานหลักฐานที่อาจบ่งชี้ถึงการกระ ทําที่อาจเป็นการผิดกฎหมายอาญาของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร หรือบรรดาแกนนํา นปช. ในส่วนที่เกี่ยวกับการชุมนุม 3. ขอให้ท่านเปิดเผยรายละเอียดของพยานหลักฐานต่างๆ ตามที่ ระบุไว้ในวรรค 2 ต่อคณะทนายความของลูกความของสํานักงานฯ โดยละเอียดและในทันที คําร้องขอให้เปิดเผยพยานหลักฐานนี้รวมถึง แถลงการณ์จากตํารวจ และ/หรือทหาร รวมทั้งแถลงการณ์จากเจ้า หน้าที่ของรัฐตามลําดับชั้นของการสั่งการของเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ไทยที่เกี่ยวข้องหรือโต้ตอบต่อการชุมนุม 4. ขอให้ท่านได้อนุญาตและเปิดโอกาสให้ลูกความของสํานักงานฯ โดยการดําเนินการแทนโดยคณะทนายความในการที่จะตรวจสอบ ก. บรรดาวัตถุพยานต่างๆ และทําการชันสูตรและวิเคราะห์ หลักฐานในทางนิติเวชโดยอิสระ ซึ่งรวมถึงการชันสูตรศพ การ ทดสอบการใช้ยุทธภัณฑ์ทหาร และการวิเคราะห์วิถีกระสุนที่


เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุม ข. บรรดาพยานหลักฐานทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับการกล่าวหา ลูกความของสํานักงาน รวมถึงการสอบปากคํา การไต่สวน คํา ให้การของพยาน รายงานการชันสูตรและรายงานวิถีกระสุน รายงานของผู้เชี่ยวชาญ และพยานหลักฐานอื่นๆ ทีอ ่ ยูใ่ นความครอบ ครองของหน่วยงานของรัฐ รวมถึงแถลงการณ์โดยตํารวจ ทหาร และ/หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวกับการสั่งการในเรื่องการใช้กําลังใน การสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ค. บรรดาพยานผู้เชี่ยวชาญและบรรดาพยานอื่นๆ ซึ่งหน่วย งานของรัฐบาลไทยใช้เป็นหลักฐานในการตั้งข้อกล่าวหา และ ง. บรรดารายงานผู้เชี่ยวชาญทางทหาร ข้อมูลข่าวกรอง และ รายงานการสอบสวนอื่นๆ ที่หน่วยงานของรัฐบาลไทย จัดเตรียมขึน ้ มาเพือ ่ ใช้กบ ั การชุมนุมของคนเสือ ้ แดง 5. ให้ทา ่ นอนุญาตให้คณะทนายความผูด ้ า ํ เนินการแทนลูกความ ของสํานักงานฯ เข้าร่วมในการสัมภาษณ์การสอบปากคําพยาน หรือ การสอบสวนบุคคลใดๆ โดยหน่วยงานของรัฐบาลไทยในการดําเนิน การสอบสวน ซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ รวมถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คณะกรรมการฯ หรือคณะทํางานด้านการสืบสวนสอบสวนใดๆ ของทางการในส่วนที่เกี่ยวกับการชุมนุม 6. ให้ทา ่ นดําเนินการเปิดโอกาสให้คณะทนายความของลูกความ ของสํานักงานฯ เข้าถึงเพื่อการตรวจสอบเอกสารหลักฐานดัง รายการที่ระบุไว้ข้างท้ายนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการดําเนินการต่อการ ชุมนุมของกลุม ่ คนเสือ ้ แดง ก.

บรรดาเอกสารของหน่วยงานราชการหรือทหารเกี่ยวกับ


ยุทธวิธีในการจัดการกับการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง (ที่เรียกกันว่า เป็น “แผนการหลัก”) จนนําไปสูเ่ หตุวน ุ่ วาย ข. บรรดาเอกสารของหน่วยงานราชการหรือทางทหารเกี่ยว กับยุทธศาสตร์ทางการทหารในการจัดการสลายการชุมนุมตาม แผนการหลักข้างต้น ค. บรรดาเอกสารของหน่วยงานราชการหรือทางทหารเกี่ยว กับยุทธศาสตร์การปฏิบัติการของทหารในการจัดการสลายการ ชุมนุมตามยุทธศาสตร์ทางการทหาร จ. บรรดารายงานและการวิเคราะห์ต่างๆ ทีอ ่ าจใช้โดยทหาร เพื่อเป็นฐานในการออกคําสั่งในทางปฏิบัติ เพื่อทําการสลายการ ชุมนุม รวมถึงรายงานข่าวกรองและการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่างๆ ฉ. บรรดาคําสั่งปฏิบัติการณ์ของหน่วยงานต่างๆ ของกอง ทัพที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม ช. บรรดาข้อมูลทีเ่ กีย ่ วกับคําสัง่ ทัง้ ด้วยวาจาและทีเ่ ป็นลาย ลักษณ์อักษรที่สั่งต่อหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพเกี่ยวกับการใช้ กําลังเพื่อการสลายการชุมนุม ซ. บรรดาเอกสารทางการหรือทางทหาร ซึง่ ระบุลา ํ ดับชัน ้ ของการบังคับบัญชาภายในกองทัพไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการสลาย การชุมนุม ฌ. บรรดาเอกสารทางการหรือทางทหาร ซึ่งระบุการ บรรยายสรุปที่จัดต่อหน่วยงานต่างๆ ของกองทัพ รวมถึงหน่วยหน้า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุม


ญ. บรรดาเอกสารทางการหรือทางทหาร ซึ่งแสดงถึงหน่วย งานในกองทัพที่มีส่วนเกี่ยวพันโดยเฉพาะเจาะจงในการสลายการ ชุมนุม รวมถึงการอธิบายถึงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าว ฎ. บรรดาเอกสารทางการเมืองหรือทางทหารที่แสดงถึงขั้น ตอนการปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐานของกองทัพหรือกองกําลังของ ไทยในการจัดการกับการชุมนุมทางการเมือง รวมถึงรายงาน สถานการณ์เบื้องต้น (first impression report) หรือรายงานหลังเกิด เหตุการณ์ (after action report) ทีม ่ ก ี ารจัดทําขึน ้ และ ฏ. บรรดาเอกสารทางการหรือทางทหารที่อยู่ภายใน ประเภทที่ระบุไว้ในวรรค 6 (ก) - (ฎ) ข้างต้น ซึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ อื่นๆ ที่มีลักษณะทํานองเดียวกันกับการชุมนุม 7. ให้ท่านให้คณะทนายความของลูกความของสํานักงานฯ มี โอกาสที่จะเข้าถึงวัตถุพยานและรายงานทางนิติเวชดังต่อไปนี้ ก. บรรดาข้อมูลทางการแพทย์ของการบาดเจ็บหรือเสียชีวต ิ ของทหาร ข. บรรดาข้อมูลทางการแพทย์ของการบาดเจ็บหรือเสียชีวต ิ ของพลเรือน ค.

การศึกษาและทดสอบวิถีกระสุน

ง. บันทึกภาพและบันทึกเสียงที่เกี่ยวกับการชุมนุม รวมถึง บันทึกภาพและเสียงของหน่วยงานรัฐบาลไทยในการสลายการ ชุมนุม จ.

บรรดาข้อมูลที่เกี่ยวกับคําสั่งที่มีต่อหน่วยงานของกองทัพ


เรื่องการเข้าถึงความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่พลเรือนในระหว่าง การชุมนุม ฉ. รายงานการชันสูตรศพ ซึ่งออกโดยหน่วยงานของรัฐ เกี่ยวกับการชุมนุม รวมถึงรายงานการชันสูตรศพที่ทําโดยแพทย์ ทางด้านนิตเิ วชและ ช. บรรดาแถลงการณ์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ศอฉ. คณะ กรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่ง ชาติ หรือคณะกรรมการชุดอื่นๆ ที่ตั้งขึ้นโดยรัฐที่เกี่ยวกับการชุมนุม 8. ให้ท่านดําเนินการให้ความสะดวกแก่คณะทนายความของลูก ความของสํานักงาน ในการสัมภาษณ์บค ุ คลดังต่อไปนี้ ก. บรรดาผู้บัญชาการผู้บังคับการของหน่วยงานของกองทัพ ที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการที่เกี่ยวกับการชุมนุม ข. บรรดาผู้นําทางการเมืองที่มีอํานาจสั่งการกองทัพในการ เข้าสลายการชุมนุม และ ค. บรรดาพยานผู้เชี่ยวชาญที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยเชื่อ ถือ โดยรวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ สํานักงานฯ หวังว่ารัฐบาลไทยจะปฏิบต ั ห ิ น้าทีต ่ ามภาระหน้าทีท ่ ม ่ี แ ี ละ ผูกพันไว้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และด้วยเหตุน้ี เราจะรอฟัง คําตอบจากท่านภายใน 10 วันข้างหน้า ขอแสดงความนับถือ


โรเบิร์ท อาร์ อัมสเตอร์ดัม สํานักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ สําเนาเรียน ฯพณฯ มาดาม นาวิ พิเลย์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง สหประชาชาติ เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ ศาสตราจารย์ เกิร์ท-แจน อเลกซานเดอร์ คนูป สํานักกฎหมาย คนูป และพาร์ทเนอร์ อัมสเตอร์ดัม, เนเธอร์แลนด์ ประเทศไทยเข้ าเป็ น ภาคี ในสนธิ สัญญาระหว่ างประเทศว่ าด้ วยสิท ธิ ทางการเมืองและสิทธิของพลเรือน ICCPR เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 1996 สนธิสญ ั ญา ICCPR กําหนดโดยชัดเจนว่ารัฐต้องให้หลักประกันแก่ พลเรือนภายใต้สนธิสญ ั ญานีใ้ นกรณีทเ่ี กิดความไม่สงบทางการเมือง หรือเหตุ ฉุกเฉินสาธารณะอืน ่ ๆ โปรดดูมาตรา 6 ของสนธิสญ ั ญา ICCPR และ กฎของ องค์การสหประชาชาติว่าด้วยหลักขั้น พื้น ฐานในการใช้กําลัง และอาวุธ โดยเจ้า หน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะหลักในการปฏิบัติข้อที่ 7 และข้อที่ 8 (U.N. Basic Principles on the Use of Force and Firearms by Law Enforcement Officials of 1990, Principle 7 and 8) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ, ข้อสังเกตุทว ่ั ไปที่ 31, ลักษณะของหน้าทีต ่ ามกฎหมายทัว ่ ไปต่อรัฐทีเ่ ป็นภาคีของสนธิสญ ั ญา, ลง วันที่ 29 มีนาคม 2004 (“ความเห็นที่ 31”) วรรค 8


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.