E magazine yaowarat dok fin

Page 1




ถนนเยาวราช เป็นชื่อถนนที่ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานให้กับถนน “ยุพราช” ที่สร้างขึ้นในช่วงปี 2434-2441 มีความ ยาว 1430 เมตร กว้าง 20 เมตร (หรือ 10 วา ) เป็นถนนที่สร้างขึ้นเพื่อขยายความเจริญจากย่าน “สํา เพ็ง” เดิม และเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าไปช่วยเหลือเมื่อ เกิ ด อั ค คี ภั ย เพราะในสมั ย นั้ น การขยายตั ว อย่ า ง รวดเร็วของชุมชนชาวจีนทําให้เกิดการส้รางอาคารและ ร้านค้าที่เบียดเสียดกัน เมื่อเกิดอัคคีภัยจึงเกิดความ เสียหาบมาก ซึ่งเป็นไปตามดําริของ สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ พร้อมกับถนนสายอื่นๆ อีก ๑๗ เส้น


โดยในการตัดถนนในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี พระราชดําริว่า การตัดถนนสายใหญ่ในย่านสําเพ็งนี้ จะสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ อาศัยในย่านนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลี่ยงอาคารบ้านเรือนของชาวจีนที่ปลูก เป็นอาคารที่มีโครงสร้างมั่นคง จึงทําให้ถนนเยาวราชมีลักษณะโค้งไปมาดังที่เห็นได้ใน ปัจจุบัน ต่อมาในปีพุทธศักราช 2443 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนน ออกเป็น 24 เมตร (หรือ 12 วา) เพื่อรองรับความเติบโตทางเศรษฐกิจ และอํานวย ความสะดวกด้านการค้าขาย อีกทั้งยังง่ายต่อการดูแลป้องโจรผู้ร้ายและอัคคีภัยอีกด้วย


ถนนเยาวราช เยาวราช



ตั้งแต่โบราณมาแล้วชาวจีนนั้นมีความเชื่อ เรื่องเทพเจ้า จนกระทั้งกลายมาเป็นลัทธิและศาสนา ซึ่งที่ชาวจีนนิยมนับถือและใช้คําสอนเป็นแนวทางใน การดําเนินชีวิต ก็จะได้แก่ ลัทธิเต๋า ลัทธิขงจื๊อ และ ศาสนาพุทธ โดยเทพเจ้าที่ชาวจีนเคารพและศรัทธานั้นมีอยู่หลาย องค์ เช่น เทพปึงเถ่ากง หรือปุนเถ่ากง เป็นเทพที่ เป็นชาวเดินเรือสมัยราชวงศ์ซ่งนับถือ โดยเชื่อกันว่า ช่วยสร้างความรุ่งเรืองและความสําเร็จในชีวิตและ การงาน เทพเทียนโฮ่วเฉิง้ หมู่ เจ้าแม่แห่งสวรรค์ก็ เป็นเทพที่ชาวจีนฮกเกี้ยนนับถือ เทพเจ้าโจวซือกง ก็ เป็นเทพที่นับถือของชาวจีนแต้จิ๋ว เจ้าแม่ตยุ๊ บ่วย เหนีย่ ว ก็เป็นเทพที่ชาวจีนไหหลํานับถือ


เห้งเจีย หรือฉีเทียนต้าเซิง่ คือเทพเจ้าเทียมฟ้าก็เป็นเทพที่ชาวจีนฮกเกี้ยนนับถือถึงแม้ชาวจีนจะย้าย ถิ่นฐานมาตั้งรกรากใหม่ในประเทศไทย ก็ยังคงนําเอาความเชื่อความศรัทธาและคําสอนมาปฏิบัติใช้ และยังมีการสร้างวัดและศาลเจ้าขึ้นใกล้ๆบริเวณที่อยู่อาศัย เพื่อเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจตามความ เชื่อของตนและใช้ประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของตน ซึ่งวัดและศาลเจ้าต่างๆที่สร้างขึ้นนั้นยังคง สร้างและยึดหลักตามความเชื่อในศาสตร์ของฮวงจุ้ย และสถาปัตยกรรมแบบจีนที่มีความเชื่อมโยงกับ ตํานานและความเชื่อต่างๆของชาวจีนที่ถูกเล่าขานกันมาตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน ดังที่เห็นได้ใน ชุมชนเยาวราช


วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกรกมลาวาส เป็นวัดจีนนิกาย มหายานที่เรียกได้ว่ามีชื่อเสียงที่สุดในเยาวราช ภายในวัดเล่งเน่ยยี่ นี้มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสีทองแบบจีน 3 องค์ และมีวิหาร อยู่ด้านหน้ามีรูปท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 แต่งกายแบบนักรบจีน และยังมีรูปปั้นของเทพเจ้ามีเทพเจ้าที่ชาวชาวจีนนับถืออีกถึง 58 องค์ โดยเทพเจ้าที่ผู้คนนิยมมากราบไหว้ได้แก่ ไท่ส่วยเอี้ยเทพผู้ คุ้มครองดวงชะตา ไฉ่ซิงเอี้ยเทพเจ้าแห่งโชคลาพ เทพเจ้าเฮ้งเจีย หรือ ฉีเทียนต้าเซิ่ง พระเมตไตรโพธิสัตว์ และพระพิสัตว์กวนอิม


ศาลเจ้าเล่งบ้วยเอีย้ ตัง้ อยู่ภายในตลาดเล่งบ้วย เอี้ย หรือ ตรอกอิสรานุภาพ เป็นศาลเก่าแก่อายุกว่า 350 ปี ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางโดยชาว จีนแต้จิ๋ว และยังเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ภายในศาลเจ้ามี เล่งบ้วยเอี้ยกง เล่งบ้วยเอี้ยงม่า เป็นองค์ ประธาน ซึ่งเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวจีนที่ทาํ การ ค้าขายในแถบนี้


ศาลเจ้าพ่อกวนอู ตั้งอยู่ภายในตลาดเก่าเยาวราช ภายในศาลมีรูปปั้นองค์เทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าแห่งความ ซื่อสัตย์ เป็นองค์ประธาน นอกจากนั้นภายในศาลยังมีรูปปั้น เจ้าพ่อม้าเซกเทาซึ่งเป็นม้าศึกของเทพเจ้ากวนอู ศาลเจ้าพ่อ กวนอูนั้นเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวจีนโดยเฉพาะผู้ที่ ประกอบอาชีพค้าขาย เพราะเป็นเทพแห่งความซื่อสัตย์และ วาจาสัตย์ ซึ่งเป็นคุณสมบัติสําคัญของผู้ทําการค้าที่ดี


ศาลเจ้าแม่กวนอิม มูลนิธิเทียนฟ้า ตั้งอยู่บริเวณ ใกล้ๆกับวงเวียนโอเดียน และอยู่ด้านหน้าโรงพยาบาลเทียนฟ้า ตัวศาลเจ้าเป็นอาคารไม้ขนาดใหญ่ ภายในศาลเจ้ามีองค์เจ้าแม่ กวนอิมปางประทานพร แกะสลักจากแก่นไม้จันทร์อายุกว่า 400 ปีแล้วลงลักปิดทอง เจ้าแม่กวนอิมนั้นเป็นพระโพธิสัตว์ แห่งความเมตตาจึงมีผู้คนทั้งชาวจีนและชาวไทยเคารพและ ศรัทธา มาไหว้ขอพรให้มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน


ศาลเจ้าโจวซือกง ตัง้ อยู่ในซอยภาณุรังษี ย่านตลาด น้อย เป็นศาลเจ้าเก่าแก่อายุกว่า 200 ปี เทพเจ้าโจวซือกงนั้น เป็นนั้นเป็นที่เคารพและศรัทธาของชาวจีนแต้จิ๋ว โดยมีความเชื่อ กันว่าถ้าได้มาไหว้เทพองค์นี้แล้วจะหาย จากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่มี โรคภัยเบียดเบียน


ศาลเจ้าไต้ฮงกง หรือ มูลนิธปิ อเต็กตึง้ ตั้งอยู่บริเวณสถานี ตํารวจพลับพลาชัย เป็นศาลที่มผี ู้คนทัง้ ชาวจีนและชาวไทยนิยมมา ทําบุญสะเดาะเคราะห์และต่อดวงชะตาด้วยการบริจาคทําบุญซื้อโลงศพ ภายในศาลเจ้ามีเทพเจ้าไต้ฮงกงเป็นองค์ประธาน จากประวัติไต้ฮงกงเดิม นั้นเป็นนักบวชทีค่ อยช่วยเหลือชาวบ้านเกีย่ วกับการเก็บศพที่ไม่มีญาติ ซ่อมแซมถนนและสะพานที่เป็นทางหลักในการสัญจร ต่อมาพระองค์ อื่นๆจึงปฏิบัติเป็นกิจตามจนรวมตัวกันเป็นคณะสงค์ ต่อมาในขณะที่ คณะสงค์ได้ไปทําการเก็บพที่ไม่มีญาติให้กบั หมูบ่ ้านแห่งหนึง่ ซึ่งเกิดโรค ระบาดอยู่ ได้มีชายบ้านที่ป่วยคนหนึ่งได้ขอให้ท่านพรมน้ํามนต์ให้ ซึ่ง ปรากฎว่าหายจากโรคที่เป็นอยู่ หลังจากนั้นจึงได้มีการสร้างศาลบูชา ให้กับท่าน จนเป็นที่เคารพและศรัทธาจนกลายเป็นเทพเจ้าที่ศกั ดิส์ ิทธิ์


ศาลเจ้าพ่อเห้งเจีย หรือฉีเทียนต้าเซิ่ง ตั้งอยูบริเวณ สามแยกหมอมี ใกล้ๆวัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นศาลเจ้าขนาด เล็กลักษณะเป็นห้องตึกแถวแบบโบราณ ภายในมีองค์เจ้าพ่อ เห้งเจียไม้แกะสลักปางนั่งดอกบัว หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “ไต้ เสี่ยฮุกโจ้ว” ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนในย่านนี้ ด้วย ความศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ว่าใครจะมาบนบานศาลกล่าวด้วยเรื่องอะไร ล้วนแล้วแต่สมหวังดังที่ได้บนไว้


ศาลเจ้าเล่าปุนเถ่ากง หรือปึงเถ้ากง ตั้งอยู่บนถนนทรง วาด นับว่าเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่แห่งนึงด้วยอายุกว่า 100 ปี เทพ เจ้าปึงเถ้ากงนั้นเป็นที่เคารพและศรัทธาอย่างมากของชาวจีนแต้จิ๋ว โดยมีความเชื่อกันว่าหากมากราบไหว้จะช่วยปกป้อง ให้ความ ร่มเย็นเป็นสุข และบันดาลให้การค้าเจริญรุ่งเรือง ซึ่งในอดีต ก่อนที่สําเภาจีนจะมาขึ้นท่าที่ท่าเรือบริเวณนี้จะต้อง จุดประทัดเพื่อ เป็นการบูชาเทพเจ้าเสียก่อน


ตั้งแต่โบราณมาแล้วศาลเจ้านั้นจะเป็นศูนย์กลางของ แต่ะชุมชน ดังนั้นในแต่ละชุมชนจะมีการสร้างศาลเจ้าขึ้นมา อย่างน้อย 1 แห่ง และด้วยเหตุนี้สถาปัตยกรรมของศาลเจ้า บางอย่างนั้นจึงคล้ายกับการจําลองบ้านเรือนของชาวจีนใน แต่ละชุมชนนั้นเอง ซึ่งเป็นผลมาจากภูมิปัญญาของช่างและ ฐานะของคนในชุมชน โดยลักษณะสถาปัตยกรรมในการ สร้างวัดหรือศาลเจ้าของจีนนั้นจะมีลักษณะการสร้างที่ เด่นชัดดังนี



านว่างจะเป็นลานกลางแจ้งไม่มีหลังคาหรือสิ่งใด

มาบดบัง และอยู่ด้านหน้าเรือนประธาน โดยลานนี้จะใช้เป็น สถานที่ในการประกอบกิจกรรมและพิธีกรรมต่างๆซึ่งลาน นี้ตามวัฒนธรรมจีนตั้งแต่โบราณนั้นมีความสําคัญมาก เพราะชาวจีนมีความเชื่อว่าการจะทํากิจหรือพิธีต่างๆนั้นฟ้า ดินจะต้องรับรู้


ายในวัดหรือศาลเจ้ามักจะมีการตกแต่งผนัง ด้วยรูปวาด

หรือรูปปูนปั้นแบบนูนต่ํา เป็นภาพคู่โครงกลอน หรือภาพคติธรรม เช่น ภาพมังกรสอนบุตรบนผนังทางขวาของศาล ภาพเสือดาวในหมู่ เสือโคร่งบนผนังทางซ้ายของศาล


ลายหลังคาจะเชิดขึน้ การสร้างหล

ขึ้นนั้นเป็นภูมิปัญญาของช่างชาวจีน ที่ทําให้ใ

แดดได้มากขึ้น และพอในฤดูร้อนจะทําให้แดดท แค่ชายคาเรือน

ลังคาต้องลาดเอียง วัดหรือศาลเจ้าจีนที่ดังๆนั้นหากสังเกต

หลังคาจะมีลักษณะที่สงู และลาดเอียงมาก เพราะชาวจีนมีความเชื่อว่า ยิ่งหลังคาสูงและลาดเอียงศาลเจ้ายิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่หากเป็นบ้านคนว่า ยิ่งหลังคาสูงและลาดเอียงจะทําให้ยิ่งยากจน


ลังคาให้ปลายมีลักษณะเชิด

ในฤดูหนาวนั้นสามารถรับ

ที่ส่องเข้ามานั้นเข้ามาได้เพียง

มี

การตกแต่งหลังคาด้วยสัตว์มงคล ในการสร้างหลังคาช่างชาว

จีนจะมีกระแกะสลักไม้ให้เป็นรูปร่างของสัตว์มงคลแล้วนํามาประดับบน หลังคา ซึ่งสัตว์มงคลที่นิยมนํามาตกแต่ง เช่น มังกร กิเลน หงส์ ช้าง สิงโต กวาง เป็นต้น


เสาของวัดและศาลเจ้านั้นสําหรับตัวเรือนประธานเสาจะต้อง เป็นเสากลม ซึ่งส่วนใหญ่เสาจะมีลักษณะส่วนฐานใหญ่กว่าส่วนบน และ ช่วงกลางจะป่องออก ส่วนตัวเรือนอื่นๆที่ไม่ใช่เรือนประธานเสาจะเป็น เสาสี่เหลี่ยม ซึ่งผลมาจากความเชื่อที่ว่า วงกลมเป็นสัญลักษณ์ของฟ้า สี่เหลี่ยมเป็นสัญลักษณ์ของดินหรือมนุษย์


พืน้ ของวัดและศาลเจ้านั้นจะต้องยกสูงขึ้นและมีธรณีประตู กั้น แต่สําหรับตัวเรือนประธานนั้นจะต้องมีการยกพื้นสูงขึ้นมาอีกขั้น หนึ่ง เพื่อเป็นการเตือนสติว่าเราจะต้องวางสิ่งไม่ดีทิ้งไว้ข้างล้างแล้ว ยกระดับจิตของตนให้สูงขึ้น


ขื่อนั้นวัดและศาลเจ้าส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็น 3 ชั้น และมีสลักเอาไว้เพื่อรองรับ แรงสั่นสะเทือน ถึงกับมีสุภาษิตจีนว่ากําแพงพังเรือนยังอยู่ เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าการสร้าง บ้านเรือนแบบจีนเมื่อมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นตัวกําแพงจะพังแต่ตัวเรือนจะไม่พงั เพราะ เสา เรือนจะมีสลักยึดเพื่อรองรับแรงสั่นสะเทือน โดยสลัดนั้นจะถูกแกะสลักให้มีรูปร่างเป็นหัว สัตว์ที่มีเขี้ยว เสมือนเป็นสัญลักษณืให้กัดยึดขื่อไว้ให้แน่น และสลักไม้อื่นที่อยู่ในโครงสร้าง ของศาลเจ้านั้นก็จะถูกแกะสลักเป็นลําตัวหรือแกะสลักเป็นมังกรเขียวเพื่อใช้นารข่มไฟ เพราะ ในวัดและศาลเจ้านั้นจะมีการใช้ไฟในการประกอบพิธี จึงถือเป็นเคล็ดในการกันไฟไหม้


ทีกงคือเสาสูงที่อยู่ด้านหน้าของวัดและศาลเจ้า บริเวณจุดไหว้ ฟ้าดิน ซึ่งเปรียบเสมือนชายสูงวัยที่จะค้ําจุนวัดและศาลเจ้า แต่ ส่วนมากแล้ววัดและศาลเจ้าที่สร้างขึ้นในสมัยใหม่จะสร้างเสานี้เป็นเสาที่ มีมังกรพันตัวอยู่ที่เสาแทน


ท่ามกลางควันรถ เสียงการทํางานของ เครื่องจักรโครงการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้าวัด มังกร นั้นมีชุมชนหนึ่งที่มีความพยายามที่จะ อนุรักษ์วัฒนธรรม อาคารบ้านเรือนที่ก่อสร้าง กันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ นั่นคือชุมชนเจริญ ไชย ชุมชนเจริญไชยตั้งอยู่ระหว่างถนนเจริญ กรุง และถนนพลับพลาไชย เป็นแหล่งชุมชนชาว ไทยเชื้อสายจีนในย่านเยาวราชที่มีการค้าขาย คึกคัก โดยย่านชุมชนนี้เป็นย่านที่มีการขาย เครื่องกระดาษสําหรับไหว้เจ้าตามเทศกาลต่างๆ มากที่สุด และยังเป็นแหล่งรวมร้านถ่ายภาพที่ ใหญ่มากในอดีตอีกด้วย


ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ ได้มี การวางแผนโครงการก่อสร้างสถานี รถไฟฟ้าวัดมังกร ซึ่งรูปแบบการก่อสร้าง ตัวอาคารสถานีนั้นไม่ได้มีการออกแบบให้ มีความสอดคล้องกับพื้นที่และชุมชนจึง เกิดการเวนคืนที่ดินและจะต้องมีการทุบ ทําลายอาคารเก่าบางส่วนไป และประกอบ กับมีการกําหนดแนวทางพื้นที่รอบสถานี รถไฟฟ้ารัศมี ๕๐๐ เมตร ซึ่งอนุญาตให้มี การสร้างอาคารสูงได้

คนในชุมชนจึงได้มีการรวมกลุ่มกันมี วัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และรักษาวัฒนธรรม ของชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีประวัติศาสตร์ อันยาวนานของชุมชนเจริญไชยไว้ ชื่อว่า”กลุ่ม อนุรักษ์และฟื้นฟูย่านเจริญไชย” โดยทางกลุ่ม ได้มีการเจรจา หาข้อสรุปที่ดีที่สุดสําหรับ ชุมชน และยังได้มีการใช้อาคารเก่าในชุมชนคือ บ้านเลขที่ ๓๒ เพื่อทําเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน สําหรับเป็นที่สําหรับบันทึกเรื่องราวบางส่วน ของชุมชนเจริญไชยไว้ที่พพิ ิธภัณฑ์แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์ “บ้านเก่าเล่าเรือ่ ง”


พิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่องนั้นตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ ๓๒ ตรอกเจริญไชย ๒ การเดินทางมานั้นไม่ยากนักโดยหาก เดินทางมาจากวัดมังกรกมลาวาส(เล่งเน่ยยี่) ให้เดินเข้าใน ซอยเจริญกรุง ๒๓ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตรอกเจริญไชย ๒ ประมาณ ๑๐๐ เมตร จะพบพิพิธภัณฑ์บ้านเก่าเล่าเรื่องอยู่ ทางด้านขวามือ ลักษณะของพิพิธภัณฑ์เป็นห้องแถวแบบเก่า กลมกลืนไปกับร้านขายกระดาษไหว้เจ้าและร้านอาหารต่างๆใน ละแวกนั้น เมื่อเข้ามาแล้วจะพบกับตู้ขายสินค้าต่างๆของกลุ่ม อนุรักษ์ฯโดยรายได้ที่ได้จากการจําหน่ายสินค้าจะสมทบทุน การดําเนินกิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์ฯ และบํารุงรักษา พิพิธภํณฑ์ต่อไป

ส่วนจัดแสดงต่างถูกจัดไว้บนชั้นสอ

แรกเป็นโต๊ะไม้มีหนังสือเก่าวางอยู่ด้านหลังเป็น เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชนเจริญไชยในอดีต กับหุ่นหญิงสาวแต่งกายเป็นนักแสดงงิ้วแบบ แสดงงิ้วจีนที่เข้ามาแสดงในประเทศไทยอีกด้ว ของคณะแสดงงิ้วอยู่ด้วย ข้างๆกันนั้นมีการจ จีนตั้งอธิบายอยู่ สิ่งของที่จัดแสดงอยู่ในพิพ


องของบ้าน ทางขึ้นชั้นสองของบ้านเป็นบันไดไม้ยาวแบบเก่าไม่กว้างมากนักเมื่อเดินขึ้นไปแล้วจะพบกับมุม จัดแสดง

นป้ายผ้าแสดงเกี่ยวกั บหมอดูจีน แสดงลักษณะของลายมือและลักษณะของบุคคลแบบต่างๆ ถัดมาก็จะเป็นส่วนที่ ต บอกเล่าเรื่องราวต่างๆของชุมชนลงบนป้ายขนาดใหญ่ให้อ่านกันเป็นความรู้ได้ดีเลยทีเดียว หั นหลังกลับมาจะพบ บจีน พร้อมฉากหลังสีแดงสดมีลวดลายประกอบเป็นลายฉากการแสดงงิ้ว และด้านหลังยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับการ วย ถัดจากนักแสดงงิ้วสาวและจะเป็นโซนที่จัดแสดงของใช้ต่างๆในอดีต และด้านบนของโซนนี้จําลองห้องแต่งหน้า รจําลลองโต๊ะบูชาในเทศการไหว้พระจันทร์อยู่ด้วย ใกล้ๆกันนั้นมีป้ายรายละเอียดเทศกาลต่างๆของชาวไทยเชื้อสาย พิธภัณฑ์นี้นั้นได้รบั บริจาคจากชาวบ้านในชุมชนนี้


บ้านเก่าเล่าเรื่องแห่งนี้คือสถานที่ที่กลุ่มอนุรักษ์ฯคาดหวังว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของ ชาวไทยเชื้อสายจีนแห่งชุมชนเจริญไชยที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และมีคุณค่าทางจิตใจของชาว ชุมชนเจริญไชย ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ อนุรักษ์และฟื้นฟูให้วัฒนธรรมของชุมชนแห่งนี้ยังคงอยู่และ กลมกลืนไปกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่จะเข้ามาในอนาคตโดยไม่สูญเสียเอกลักษณ์ของชุมชนไป


เมื่อนึกถึงถนนเยาวราชสิ่งหนึ่งที่ทุกคนคง จะต้องนึกถึงก็คือห้างทอง เพราะตลอด2ฝั่งของถนน เยาวราชนั้นจะเต็มไปด้วยห้างทองกว่า 100 ร้าน ซึ่ง สาเหตุที่ทําให้ถนนเยาวาราชนั้นมีห้างขายทองมากมาย นั้น เพราะเนื่องจากในสมัยก่อนเวลาทําการค้า แลกเปลี่ยนซื้อขายจะมาทํากันที่บริเวณท่าน้ําราชวงศ์ และเมื่อทําการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันเสร็จก็จะนํา เงินที่ได้มา ไปซื้อเปลี่ยนเป็นทองคําเก็บเอาไว้ เพราะว่า ทองคํานั้นสามารถนําไปแลกเปลี่ยนเป็นเงินในประเทศ อื่นๆได้นั้นเอง และหากจะพูดถึงห้างทองที่เก่าแก่และมี ชื่อเสียงก็คงไม่พ้นห้างทองตั้งโต๊ะกังอย่างแน่นอน


ห้างทองตั้งโต๊ะกังนั้นก่อตั้งโดยนายโต๊ะกัง แซ่ตั้ง ซึ่งเดินทางจากเมืองจีนหอบเสื่อผืนหมอน ใบเข้ามารับจ้างเป็นช่างทําทองในประเทศไทยตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่5 ต่อมาได้เปิดร้านโดยใช้ชื่อร้านว่า ตั้งโต๊ะกัง ซึ่งมาจากชื่อของตนเอง ร้านทําทองใน สมัยแรกนั้นจะมีเพียงแค่โต๊ะของช่างทําทองโดย ช่างทําทองจะทําทองตามที่ลูกค้าสั่งเท่านั้น ต่อมา ในสมั ย ราชการที่ 6 ห้ า งทองตั้ ง โต๊ ะ กั ง ได้ รั บ พระราชทานตราตั้งครุฑจากรัชกาลที่ 6 ก็เลย สร้างตึกใหม่ขึ้นเพื่อจะรับตราตั้งนี้ ซึ่งเป็นตึก7ชั้น ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฮอลันดา ในสมัยนั้นตึก นี้ถือว่าเป็นตึกที่สูงที่สุดในย่านเยาวราช และเคย ได้รับรางวัล “อาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรม ดีเด่ น” จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรม ราชูปถัมภ์อีกด้วย ซึ่งขณะนี้ห้างทองตั้งโต๊ะกังนั้น มีอายุกว่า 160 ปีมาแล้ว ต่อมาการทําทองได้ ถูกพัฒนามากขึ้นมีการใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่ มากขึ้นทําให้เครื่องมือการทําทองที่เคยใช้ทําทอง ในสมัยก่อนไม่ได้ถูกนําออกมาใช้ เจ้าของเลยได้ นํามารวบรวม และทําเป็นพิพิธพัณฑ์ในเวลาต่อมา


พิพิธภัณฑ์ทองคำห้ำงทองตัง้ โต๊ะกัง เปิดให้เข้ำชมเวลำ 09.30-16.00 น. เบอร์ติดต่อ 02-622 8640-2 กำรมำเยี่ยมชมควรติดต่อมำล่วงหน้ำก่อนเพือ่ ทีจ่ ะได้มีเจ้ำหน้ำที่พำเดินชม และอธิบำยวิธีกำรทำทอง



เมื่อปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี เสด็จมาเยีย่ มชมพิพิธภัณฑ์ทองคําห้างทองตั้งโต๊ะกังแห่งนี้ และทรงทดลองทําทองคําโดยใช้เครื่องมือแบบช่างทําทองในสมัยก่อน รูปด้านขวาเป็นโต๊ะช่างทําทองที่สมเด็จพระพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรง ใช้ตอนที่เสด็จมาทดลองทําทองคําทีห่ ้างทองแห่งนี้


สําหรับคอลัมน์นี้เราจะได้พบกับ พีก่ ติ ติ ช่างทองผู้ชํานาญการแห่งห้างทองตั้งโต๊ะกัง พี่กิตติได้ เล่าถึงวิธีการผลิตทองคํารูปพรรณในสมัยก่อนว่า เขาผลิตกันอย่างไร ซึ่งเราได้รวบรวมและเรียบเรียง มาไว้ภายในคอลัมน์นี้


กระบวนการผลิตทองคํารูปพนนณนั้นแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมทองคํา และ การประกอบเป็นทองรูปพรรณ การเตรียมทองคํา 1.คัดเลือกทองคํา ในการคัดเลือกทองคํา

ช่างทองที่ชํานาญจะมีความสามารถในการคัด แยกทองคําได้ด้วยสายตา และยังบอกคุณภาพ ของเนื้อทองได้ว่าควรจะนําทองไปหลอมใหม่ หรือไม่ เพราะเพราะเมื่อเนื้อทองไม่บริสุทธิ์ หากนําไปหลอมใหม่จะมีสารต่างๆ เจือปน ทํา ให้เนื้อทองแข็ง ยากต่อการขึ้นรูป หรือทํา ลวดลาย 2.หลอมทอง ทองคําสามารถนํามาหลอม

ละลายด้วยความร้อน ๑๐๖๓ องศาเซลเซียส เมื่อ ทองละลาย ก็นําไปเทลงเบ้า แล้วนําไปรีด ให้มี ลักษณะเป็นแผ่นหรือวงกลมขนาดต่างๆ ตามแต่จะ นําไปทําชิ้นงานลักษณะใด


3.การตี เป็นการนําทองที่หลอมแล้ว ไปตีให้เป็นแผ่นบางลง ไปอีก หรือหากเป็นแท่งเหลี่ยมเล็ก ก็ตีให้มีขนาดเล็กลงไปอีก เพื่อความสะดวกในการนําไปขึ้นรูป แกะลวดลาย ฉลุ หรือรีด เป็นเส้นการตี บางครั้งเรียกว่า “การบุ” หรือ “การเคาะ” ซึ่ง เป็นการตีเพื่อขึ้นรูปตามแบบต่างๆ โดยช่างทองจะเป็น ผู้ออกแบบลวดลายในชิ้นงานนั้น ส่วนมากจะบุเป็นลายไทย เช่น ลายพันธุ์พฤกษา ลายก้านเทศ

4.การรีดทอง เป็นการนําท

ขนาดของรูแป้นรีด เมื่อได้ขน สอดเข้ารูแป้นรีด จากนั้นใช้ค เนื้อสม่ําเสมอ และมีขนาดต่าง จุดประสงค์หลักๆในการรีดค นํามาสาน หรือถักเป็นชิ้นงาน

6.การสลัก คือการทําให้เป็นลวดลาย หรือเขียนให้เป็น ตัวหนังสือด้วยของมีคม 7.การดุน คือการทําให้แผ่นทองเป็นรอยนูนขึน้ มาเป็นรูปร่าง ลวดลายต่างๆ เช่น รอยนูนของพระพุทธรูป ดอกไม้ สัตว์ และ องค์ประกอบทางศิลปกรรมอื่นๆ


ทองที่หลอมเป็นแท่งแล้ว มารีดให้เข้ากับ นาดที่ใกล้เคียงกับรูของแป้นแล้ว นําทอง คีมดึงออกมาอีกด้านหนึ่ง ลวดที่ออกมาจะมี างกัน ตามที่ช่างทองต้องการ ซึ่ง คือ ต้องการให้ชิ้นทองเป็นเส้นขนาดเล็กจน านได้

5. การทําทองไข่ปลา ได้จากการนําทองที่ ได้จากการชักลวดหรือการรีดแล้ว มาตัด เป็นท่อนเล็กๆ ขนาด ๑๓ มิลลิเมตร จากนั้นนําไปเผาไฟหรือเป่าแล่น จนทอง หลอมละลายเป็นก้อนกลมเล็กๆ คล้ายไข่ ปลา ไข่ปลานี้นํา ไปเป็นส่วนประดับตกแต่ง ชิ้นงาน


การประกอบเป็นทองรูปพรรณ เมื่อผ่านขัน้ ตอนการเตรียมทองคําแล้ว จะสามารถแยกออกเป็นส่วนๆ ต่างๆ เช่น ลวดทอง ไข่ปลา แผ่นทองลวดลายสลักดุน ก็จะนําส่วนเหล่านั้น มาประกอบเป็นทองรูปพรรณ ตามที่ ต้องการ เช่น นําลวดทองคําขนาดต่างๆมาถักเป็นสายสร้อยคอ ถักเสร็จติดตะขอ ล้างขัดทําความ สะอาด ถ้าไม่ต้องการตกแต่งลวดลาย ก็พร้อมส่งให้ลูกค้าหรือสวมใส่ได้ทันที แต่ถ้าต้องการประดับ ตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้นไปอีก ช่างทองก็จะต้องผลิตชิ้นส่วนประดับรูปร่างต่างๆ เพื่อประกอบเข้ากับ ชิ้นงานทองรูปพรรณนั้น จนแล้วเสร็จตามที่ออกแบบไว้ การประกอบเป็นทองรูปพรรณมี กรรมวิธี ดังนี้ 1.การถักหรือสานทอง คือการนําเส้นลวดทอดคําที่ได้จากการรีดจนทองเป็นเส้นลวด แล้วนํามา ถักหรือสานเป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ สร้อยข้อเท้

2การทําชิน้ ส่วนสําหรับประดับ เป็นการทําชิ้นส่วนประดับตกแต่งชิ้นงานทองรูปพรรณให้สวยงาม ลวดลาย หรือส่วนประดับต่างๆ จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นอยู่กับการออกแบบของช่างทอง และความ ต้องการของลูกค้า ส่วนมากจะประดับเข้ากับชิ้นงานทองรูปพรรณ ที่เป็นสร้อยคอ สร้อยข้อมือ สร้อยข้อเท้า กําไล-ข้อมือ แหวน ต่างหู หัวเข็มขัด




พูดถึงของกินเยาวราช แน่นอนครับหนึ่งในนั้นที่รู้จักกันดีเลยก็คือ ลอดช่องสิงคโปร์ ที่ร้านสิงค โปรโภชนา ซึ่งมีตัวเส้นมีความเหนียวหนึบ น้ํากะทิก็ไม่หวานจนเกินไป แถมยังมีขนุนใส่อีกด้วยทําให้มีความ อร่อยที่ไม่เหมือนใคร ว่าแต่เคยสงสัยกันไหมครับว่าทําไมถึงชื่อลอดช่องสิงคโปร์ ? ครั้งแรกผมก็คิดว่าต้อง เกี่ยวอะไรกับประเทศสิงคโปร์สักอย่าง อาจจะเป็นต้นกําเกิดของลอดช่องที่มีลักษณะ หรือวิธีการทํามาจาก ประเทศสิงคโปร์ แล้วคุณหล่ะครับคิดว่าเป็นชื่อนี้ได้อย่างไร? จริงๆแล้วลอดช่องสิงคโปร์อยู่ที่ประเทศไทยั้งแต่แรกแล้วครับ เป็นขนมที่คนไทยคิด เป็นภูมิปัญญา ของคนไทย และสืบทอดต่อๆกันมา แต่ที่ได้ชื่อนี้ก็เป็นเพราะว่าเมื่อประมาณเกือบ 60 ปีก่อน เมื่อ พ.ศ.2504 ร้านลอดช่องร้านนี้ไปตั้งอยู่บริเวณหน้าโรงหนังชื่อสิงคโปร์ซึ่งเป็นชื่อเดิม และได้มีการสร้างใหม่เปลี่ยนเป็น โรงหนังเฉลิมบุรี ที่อยู่บนถนนเยาวราช คนในสมัยก่อนเวลาจะไปกินที่ร้านนี้ก็จะพูดว่า “ไปกินลอดช่องหน้า โรงหนังสิงคโปร์” แต่ด้วยความกระทัดรัดก็เลยเรียกให้สั้นลงเหลือเป็น “ลอดช่องสิงคโปร์” นี่จึงเป็นที่มาของ ลอดช่องสิงคโปร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีต้นกําเนิดมาจากร้านสิงคโปรโภชนานั่นเอง และด้วยความเก่าแก่ถึงเกือบ 60 ปี ทําให้ร้านนี้ถูกสํานักงานเขตสัมพันธ์วงศ์ ขอให้คงอยู่ไว้เพราะร้านนี้ได้กลายเป็นที่จดจําหรือเป็นส่วนหนึ่งของ เยาวราช ที่เมื่อมานึกถึงเยาวราชก็จะต้องทําให้นึกถึงสิ่งๆนี้ที่เรียกว่า ลอดช่องสิงคโปร์ สถานที่ตั้งของร้าน สิงคโปร์โภชนา ที่อยู่ 680-682 ถ.เจริญกรุง สามแยกหมอมี แขวง/เขต สัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร การเดินทาง อาจเริ่มจากสถานีรถไฟหัวลําโพง วิ่งรถตรงมาตามถนนพระราม 4 จนสุดทางจะพบแยกหมอมี จากนั้นเลี้ยวซ้าย ร้านจะอยู่ทางขวามือ โดยอยู่ตรงข้ามกับธนาคาร UOB เปิดทุกวัน 11.00-22.00น.



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.