ภาพสถาปัตยกรรมใน
ผ้าพระบฏ เมืองลาปาง
สุขธรรม โนบาง
จิตรกรรมที่ปรากฏในพระบฎเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนไทย ในความคิดสร้างสรรค์ด้านศิลปะฝีมือช่างและความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ปฏิบัติสืบ ทอดต่อกันมาเป็นแบบแผนเฉพาะ สิ่งสาคัญและน่าสนใจประการหนึ่งของงานจิตรกรรม พระบฎดังกล่าว คือ ภาพสถาปัตยกรรมอันมีลักษณะเฉพาะตัว ความหลากหลายของ รูปแบบ และเทคนิควิธีการนาเสนอของช่างผู้รังสรรค์ แสดงถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรม ในอดีตได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสื่อให้เห็นถึงสุนทรียภาพด้านความงามในทางศิลปะ โดยพัฒนาการทางประวัติศาสตร์งานจิตรกรรมล้านนาได้มีปรากฏให้เห็นมาตั้งแต่ช่วง พุทธศตวรรษที่ 20 กระทั่งถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ภาพสถาปัตยกรรมจิตรกรรมพระบฎที่พบในเขตอาเภอเมืองจังหวัดลาปาง ได้แก่ พระบฏวัดปงสนุก พระบฏวัดลาปางกลางตะวันออก และพระบฏวัดบ้านสัก
ภาพเจดีย์จากผ้าพระบฏวัดปกสนุก
ภาพเจดียจ์ ากผ้าพระบฏวัดลาปางกลาง
รูปแบบที่ปรากฏในงานจิตรกรรมพระบฏ สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา เจดีย์ ปรากฏอยู่บนจิตรกรรมพระบฏ ตอนมาลัยปลาย การเขียนตกแต่งเจดีย์ ด้วยลวดลายและส่วนขององค์เจดีย์ ระบายสีเหลือง ประดับตุงสองข้าง เช่น จิตรกรรม พระบฏวัดปงสนุกเขียนลวดลายของหงส์ซึ่งเป็นสัตว์ที่คาบตุงที่ยาวสะบัดหางอย่างอ่อน ช้อย โดยลักษณะของการการประดับตุงข้างองค์เจดีย์ เป็นการจัดองค์ประกอบภาพที่ พบว่ามีความนิยมเขียนกันมาก
ภาพเรือนเครื่องผูกจากพระบฏวัดปงสนุก
อาคารเรือนพักอาศัย เรือนเครื่องผูก ประเภทเรือนเครื่องผูกที่ปรากฏในจิตรกรรมภาพพระบฏ มีลักษณะการเขียนเรียน แบบของจริง โดยการเขียนโครงสร้างของอาคารที่มีฝาผนังและหน้าบัน เป็นลวดลายสาน เสารองรับเรือนขนาดเล็กหลังคาทรงจั่ว โดยลักษณะไม้ของหลังคาวางพาดกันเป็นรูปกา แล หลังคามุ่งด้วยหญ้า ตั วอาคารมีความโปร่งเบาต่างจากเรือนไม้ทั่วไป นอกจากนี้ พบว่านิยมเขียนเป็นอาคารที่เปิดโล่ง
ภาพกลุ่มเรือนกาแลจากผ้าพระบฏวัดลาปางกลางตะวันออก
เรือนกาแล เอกลักษณ์ของเรือนกาแลเป็นไม้แกะสลักไขว้กันบนยอดหลังคาขื่อ ส่วนประกอบ ของการเขียนภาพเรือนกาแลมี ความแตกต่างกันในส่วนของการตกแต่ง เช่น รูปทรงที่ เหมือนลวดลายของกระหนกซึ่งปรากฏอยู่อาคารของพระบฏวัดปงสนุก ส่วนการประดับ กาแลรูปทรงโค้งงอ แบบธรรมดา ไม่มีลวดลายตกแต่ง จะปรากฏอยู่อาคารของพระบฏ วัดลาปางกลางตะวันออก นอกจากนี้ภาพเรือนกาแลที่เขียนชุดจิตรกรรมพระบฏในชุดเรียนแบบจิตรกรรม ส.ธรรมภั ก ดี ยั งเขี ย นเป็น เรื อ นกาแลที่ มีลั ก ษณะรูป ทรงเรี ย นแบบของจริ งโดยภาพ ดังกล่าวมีความสมบูรณ์มาก
ภาพเรือนกาแลจากผ้าพระบฏวัดบ้านสัก ลักษณะเรือนยกสูงจากพื้น หลังคาเป็นรูป กาแล
ภาพเรือนกาแลจากผ้าพระบฏวัดปกสนุก เป็นเรือนกาแล ตัวเรือนมีการยกสูง
เรือนกาแลดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกัน ในส่วนของการจัดองค์ประกอบภาพ สัดส่วนของเรือน มีการวางตาแหน่งของตัวภาพไว้ ในส่วนของชานด้านหน้าของเรือนซึ่ง อยู่บริเวณทางขึ้ นบันได้ ที่วางพาดกันตัวเรือนในด้านหน้า เห็น ได้ว่ามีการวางทิศทาง ตาแหน่งของเรือนในทิศทางเดียวกันคือหันหน้าออกไปทางด้านข้าง
ภาพเรื อ นกาแลจากผ้ า พระบฏวั ด ล าปางกลาง ตะวันออก
ปราสาทหลังคาทรงจั่วซ้อนชั้น วัดปงสนุก
ปราสาททรงมณฑปหลังคาซ้อนชั้น วัดปงสนุก
อาคารปราสาทราชวัง สถาปัตยกรรมทรงปราสาทของช่างวัดปงสนุก ภาพปราสาท ปรากฏอิ ท ธิพลของศิ ล ปะแบบไทยภาคกลาง จากรูปแบบของ ปราสาทที่มีทรงสูงและแหลม หลังคาซ้อนชั้น คล้ายกับพระที่นั่งประทับสาหรับชนชั้น กษัตริย์ การเขียนปราสาทเป็นอาคารแบบเปิดโล่ง โดยทาหน้าที่เป็นเหมือนฉาก และ ลักษณะของปราสาทที่ปรากฏ มีรูปแบบของปราสาทที่มีหลังคาซ้อนชั้น ปราสาททรงจั่ว ซ้อนชั้น ปราสาททรงมณฑปหลังคาซ้อนชั้น
ภาพปราสาท จากพระบฏวัดบ้านสัก
สถาปัตยกรรมทรงปราสาทของช่างวัดบ้านสัก ปราสาทที่พบในชุดภาพจิตรกรรมผ้าพระบฏวัดบ้านสัก เป็นการเขียนภาพที่เรียบ ง่าย อาจสันนิฐานได้ว่าเป็นช่างแบบชาวบ้านไม่ใช่ช่างหลวง และอิทธิพลของศิลปะแบบ ไทยภาคกลางจะมีอิทธิพลอยู่บ้าง จากรูปแบบของปราสาทที่มี หลังคาที่มีการซ้อนชั้น เป็นต้น นิยมการเขียนปราสาทอาคารเปิดโล่ง และปราสาทที่เป็นอาคารปิดทึบ
ภาพปราสาท จากพระบฏ วัดลาปางกลางตะวันออก
สถาปัตยกรรมทรงปราสาทวัดลาปางกลางตะวันออก การเขียนปราสาทรูปทรงมีลักษณะเฉพาะถิ่น ปราสาทที่พบในชุดภาพจิตรกรรม ผ้าพระบฏของวัดลาปางกลางตะวันออก เป็น จิตรกรรมที่สร้างขึ้นโดยการนาเอารูปแบบ ของ ชุดภาพพิมพ์ ส.ธรรรมภักดี โดยลักษณะรูปแบบของปราสาทได้แก่ ปราสาทไม้ทรง หลังคาซ้อนชั้น ปราสาททรงจั่วแหลมแบบศิลปะกรุงเทพฯ
เนื่ อ งด้ วยเงื่อ นไขทางสั งคม ท าให้ รูป แบบแต่ เ ดิ มเริ่ม มี ก ารเปลี่ ย นแปลง การ ผสมผสานของวั ฒ นธรรม ในช่ ว งต้ น พุ ท ธศตวรรษที่ 25 จิ ต รกรรมฝาผนั ง มี ค วาม หลากหลาย โดยเฉพาะการเขียนภาพจิตรกรรมแนว ส.ธรรมภักดีซึ่งเป็นการผสมผสาน ระหว่างเทคนิคแนวคิดแบบตะวันตก กับแบบจารีตของการสร้างสรรค์งานจิตรกรรม โดย ชุดภาพพิมพ์ ชุดภาพพระเวสสันดร ซึ่งมีห้าง ส.ธรรมภักดีได้เป็นผู้จัดพิมพ์ออกขาย จน เป็นที่นิยมอย่างมากมายในช่วง ราว พ.ศ. 2500 ลักษณะของภาพสถาปัตยกรรม เป็นการเขียนที่มีลักษณะคล้ายกับต้นแบบใน ภาพแนวจิตรกรรม ส.ธรรมภักดี โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมองค์ประกอบของภาพที่มี ความเหมือนกัน แต่ลักษณะดังกล่าวของงานจิตรกรรมพระบฏมีการปรับเปลี่ยน การ เขียนภาพภาพสถาปัตยกรรมมีการออกแบบใหม่การตัดทอนรูปทรงแต่ยังคงมีเค้าโครง ของภาพต้นแบบอยู่ แสดงให้เห็นถึงความคิดและการแสดงออกของช่าง
ภาพสถาปัตยกรรม วัดลาปางกลางตะวันออกและภาพจิตรกรรม ชุด ส.ธรรมภักดี
ภาพอาศรมจากพระบฏจากวัดลาปางกลาง ตะวันออก
ภาพอาศรม จากพระบฏวัดปงสนุก
อาศรม อาศรม คือที่พักอาศัยสาหรับนักบวช การเขียนอาศรมที่ปรากฏบนภาพพระบฏมี รูปแบบการเขียนให้ตัวอาคารติดกับเขามอ มีทั้งอาคารแบบหลังคาซ้อนชั้น และหลังคา ชั้นเดียว ส่วนวัสดุของภาพสถาปัตยกรรม ได้แก่ การที่มุงด้วยกระเบื้องสี การยกฐานสูง มีทั้งฐานที่เป็นก่ออิฐถือปูน เป็นรูปแบบลักษณะพิเศษที่ในงานจิตรกรรมของวัดปงสนุก ส่วนลักษณะพิเศษของอาศรม วัดลาปางกลางตะวันออกลักษณะการเขียนรูปแบบทรง หลังคาซ้อนชั้นและหลังคาที่มุงด้วยหญ้า ส่วนของอาคารที่มีหลังคาซ้อนชั้นจะมีการ ประดับช่อฟ้าการประดับด้วยผ้าม่าน
ภาพอาศรมจากพระบฏวัดบ้านสัก
ภาพสถาปัตยกรรมกับความสัมพันธ์ที่มีต่อตัวภาพบุคคลและพื้นที่ ภาพสถาปัตยกรรม ที่เขียนขึ้นต้องการแสดงตาแหน่ง โดยการเขียนภาพคนลงไป ในส่ วนที่ เป็น รูปภาพสถาปัตยกรรมเหล่านั้น เพื่อ แสดงสถานที่ในการลาดับเรื่องราว ด าเนิ น ไปด้ ว ยบทบาทของรู ป ภาพคน นอกจากความสั ม พั น ธ์ ใ นการเขี ย นภาพ สถาปัตยกรรม เพื่อเป็นส่วนประกอบร่วมกับรูปภาพบุคคล รูปแบบของรูปภาพเหล่านี้จึง ถูกเขียนย่อส่วนลงในรูปแบบคล้ายกับมีกรอบล้อมรูปภาพบุคคลหรือภาพกลุ่มคน นอกจากนี้ยังมีการลดทอนของอาคาร การจัดองค์ประกอบ และการแบ่งสัดส่วน โดยภาพพระบฏมีการนิยมที่จะจัดให้ภาพสถาปัตยกรรมนั้นอยู่ตรงกลางทาหน้าที่เป็น ส่ ว นประธานของงานจิ ต รกรรม เป็ น การจั ด ให้ เ ป็ น ภาพที่ โ ดดเด่ น ความสั ม พั น ธ์ ที่ กลมกลื น กั น เป็ น เอกภาพอั น หนึ่ ง อั น เดี ย วกั น และยั ง พบการวางต าแหน่ ง ของงาน สถาปัตยกรรมไว้ในส่วนด้านข้างถัดจากจุดศูนย์กลางของภาพ โดยทิศทางของตัวภาพ บุคคลจะมีทิศทางที่พุ่งไปจากส่วนของด้านหน้าและกระจายออกไป
จุดศูนย์กลาง
จุดศูนย์กลาง
ตัวภาพ ตาแหน่งของตัวภาพ
ภาพสถาปัตยกรรมกับความสัมพันธ์ที่มีต่อสภาพแวดล้อม เส้ น สิ น เทาที่ ป รากฏอยู่ เป็ น การเขี ย นตามรู ป ทรงของภาพสถาปั ต ยกรรม มี ลักษณะเป็นคลื่นวงกลม ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ มีสภาพ ที่ เ ป็ น ภู เ ขาล าเนาไพร ดั ง นั้ น รู ป แบบของงานศิ ล ปกรรมจึ ง มี ค วามสอดคล้ อ งและมี ความสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะการเขียนภาพภูเขา ป่า ถ้า ทิวทัศน์ ต้นไม้ ใบหญ้ า ซึ่งล้วน เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งมีความแตกต่างจากปัจจุบัน
ภาพสถาปัตยกรรมในจิตรกรรมพระบฏ ทาหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งที่สาคัญต่อภาพ จิ ต รกรรม ท าให้ เ กิ ด ความสมบูรณ์ ข องเรื่อ งราว โดยเกี่ ย วข้ อ งกั บ ภาพสะท้ อ นความ เป็นอยู่ วิถีชีวิต เรื่องราวของวัฒนธรรม การดาเนินชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น มีการผูกโยง ถึงเรื่องราวของเศรษฐกิจ และสังคม บอกเล่าเหตุการณ์ของคนในสมัยนั้น การใช้สอย ของอาคารสถาปัตยกรรม รวมไปถึงการแสดงบุคลิกที่จาเพาะผ่านการนาเสนอ ซึ่งถูก บันทึกผ่านมาทางภาพจิตรกรรมส่งต่อมาถึงปัจจุบัน
รูปแบบสถาปัตยกรรมในจิตรกรรมพระบฏ เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมทางพุทธ ศาสนา อาคารปราสาทราชวัง และประเภทอาคารเรือนพักอาศัย แสดงลักษณะ องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมมีความแตกต่างกันไปตามฝีมือช่างของแต่ละพื้นที่ ซึ่งทา ให้ทราบถึงรูปแบบ(Style) ที่มีความหลาย นอกจากจะเป็นการเขียนภาพสถาปัตยกรรม ของเฉพาะถิ่นแล้วยังปรากฏอิทธิพลของศิลปะแบบไทยภาคกลาง โดยมีอิทธิพลมากใน ส่วนการเขียนภาพปราสาทราชวัง องค์ ป ระกอบ และความสั ม พั น ธ์ ข องภาพสถาปั ต ยกรรม เป็ น ภาพสะท้ อ นที่ สัมพันธ์กันกับความเป็นอยู่ วิถีชีวิต เรื่องราวของวัฒนธรรม การอยู่อาศัยของคนในอดีต การน าเสนอบุคลิ ก ภาพของคนในสั งคมในสมัย นั้น ที่ มีต่อ งานอาคารสถาปัต ยกรรม ลักษณะเชิงของการใช้สอยอาคารสถาปัตยกรรม มีการผูกโยงถึงเรื่องราวของเศรษฐกิจ และสั ง คม เช่ น ความประณี ต ของแบบสถาปั ต ยกรรมที่ ป รากฏ สะท้ อ นถึ ง ความ เจริญรุ่งเรือง และในเรื่อ งการกาหนดรูปแบบของสถาปัตยกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับสภาพ สังคม การบอกเล่าภาพเหตุการณ์ของคนในสมัยนั้นซึ่งอยู่ในช่วงราว พ.ศ.2400 หรือ ประมาณ 100-150 ปีที่ผ่านมา โดยถูกบันทึกผ่านมาทางภาพจิตรกรรม ซึ่งส่งต่อมาถึง ปัจจุบัน