จุลสารแคร์ | ฉบับ เดือน มกราคม - มีนาคม 2556
บรรณาธิการขอคุย ต้อนรับปีมะเส็ง ด้วยการมีสุขภาพดี กันทุกคนนะคะ Care ฉบับนี้ ต้อนรับปีใหม่ ด้วยความรู้เรื่อง “ข้อเข่าเทียม” สำ�หรับผู้ ที่มีปัญหาเรื่องข้อเข่า “โรคสมองเสื่อมและ โรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา” คืออะไร “โรคหืด”สาเหตุและอาการของโรคที่ควร ทราบ ปิดท้ายด้วยเมนูสุขภาพ ทำ�ง่ายๆแต่ได้ ประโยชน์ และในวาระดิถีขึ้นปีใหม่นี้ ขออำ�นาจ คุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายใน สากลโลก ดลบันดาลให้ทุกท่านพบแต่ความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ตลอดไปคะ
Contents care ฉบับ ม.ค. - มี.ค. 2556
4 6 8
ข้ อ เข่ า เที ย มตั ว ช่ ว ย ข้ อ เข่ า เสื ่ อ ม
128-Slice CT
Scan
โรคสมองเสื ่ อม คื ออะไร ?
บรรณาธิการ
10 12 14
โรคเบาหวาน เข้ า จอประสาทตา
มารู ้ จ ั ก โรคหื ด กั น เถอะ
เมนู ส ุ ข ภาพ “แกงจื ด สามกษั ต ริ ย ์ ”
4
SUKUMVIT HOSPITAL
ข้ อ เข่ า เที ย ม
ตั ว ช่ ว ย
ข้อเข่า เสื่อม ม ม
รศ.นพ.วัชระ วิไลรัตน์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
ถ้าคุณคือหนึ่งในผู้ป่วยที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากโรคข้อเข่าเสื่อม ในปัจจุบันมีข้อเข่าเทียม เป็นทางออก เพราะข้อเข่าทีม่ กี ารเสือ่ มตัวจนถึงขนาดทีม่ อี าการเจ็บปวดและไม่สามารถให้การรักษาทางยา หรือกายภาพบำ�บัดได้แล้ว ในปัจจุบันเราสามารถทำ�การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อใหม่ หรือที่เรียกว่าผ่าตัดใส่ ข้อเข่าเทียม เทคโนโลยีทางการแพทย์แบบใหม่ ที่รพ.สุขุมวิท นำ�มาเป็นทางเลือกนั้นได้ส่งผลดีต่อการรักษาผู้ป่วย ในกลุ่มดังกล่าว นั่นคือวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า แบบแผลเล็กซึ่งจะช่วยลดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อ ภายในของผู้ป่วยให้น้อยลงมาก ทั้งยังเสียเลือด น้ อ ยและไม่ ม ี โ รคแทรกซ้อนจึงฟื้นตัวได้เร็ว ซึ่งอาการปวดเข่าจะไม่กลับมาสร้างความทรมาน ให้อีกหลังจากผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าแล้ว ผู้ป่วยจะ สามารถทำ�กิจกรรมที่เคยทำ�และใช้ชีวิตแบบปกติสุข ได้แล้วยังให้ความสำ�คัญของข้อเข่าเทียมด้วย จากผลการศึกษาวิจัยเรื่องการผ่าตัด เปลี่ยนข้อเข่าเทียมพบว่า ข้อเข่าเทียมมีอายุการ ใช้งานยาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งสถาบันวิจัยชั้นแนวหน้า ของสหรัฐอเมริกา A NATIONAL INSTITUTE OF HEALTH (NIH) ได้ให้้การรับรองว่าการผ่าตัด เปลีย่ นข้อเข่าเทียม เป็นวิธกี ารรักษาโรคข้อเข่าเสือ่ ม ที่ได้ผลการรักษาที่ดี สามารถช่วยลดความเจ็บปวด
จากโรคข้อเข่าเสือ่ มได้อย่างมาก อีกทัง้ ช่วยให้ขอ้ เข่า กลับมาใช้งานได้ดีขึ้น มีการพัฒนาข้อเข่าเทียม ที่สามารถรองรับการงอเข่าได้มากถึง 155 องศา สำ�หรับผูป้ ว่ ยทีง่ อเข่าได้มากก่อนการผ่าตัด จึงทำ�ให้ ผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมยอมรับ ว่ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รองศาสตราจารย์นายแพทย์ วัชระ วิไลรัตน์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ได้ให้ข้อมูล เพิ่มเติมว่า การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมมีหลาย ชนิดและหลายวิธี จึงจำ�เป็นต้องเลือกให้มีความ เหมาะสม สำ�หรับผู้ป่วยแต่ละราย จำ�เป็นที่ผู้ป่วย ต้องมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยก่อน ข้อเข่าเทียมที่ใส่ให้กับผู้ป่วยแต่ละรายจะมี ร ะยะ เวลาในการใช้ งานแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เช่น ความแข็งแรงของผู้ป่วย ระดับความรุนแรงของกิจกรรมที่ทำ� น้ำ�หนักตั ว และ เทคนิ ค การผ่ า ตั ด ของแพทย์ ด ้ ว ย
ติดต่อขอรับแบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมได้ที่ ศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อ รพ.สุขุมวิท โทร 0-2391-0011
?
SUKUMVIT HOSPITAL
ข้อ เข่าเทียมทำ�มาจากอะไร ปลอดภัยแค่ไหน
เป็นคำ�ถามยอดนิยมข้อหนึ่งที่ผู้ป่วยหรือญาติมักถามแพทย์ ข้อเข่าเทียมเป็นวัสดุ ทางการแพทย์ที่ต้องนำ�เข้าจากต่างประเทศ โดยผู้ป่วยทั่วโลกไม่ว่าจะมีเศรษฐานะ อย่างไรก็ต้องใช้ข้อเทียมที่เหมือน ๆ กัน จึงทำ�ให้มีราคาแพง ผิวข้อเข่าเทียมทำ� มาจากสเตนเลสผสมจำ�พวกนิเกิล โคบอล ไททาเนียม ซึ่งวัสดุดังกล่าวไม่มีปฏิกิริยา ต่อร่างกาย น้ำ�หนักเบาและมีความทนทานต่อการใช้งาน ส่วนประกอบของข้อเทียม ประกอบด้วยส่วนใหญ่ 3 ส่วน ส่วนประกอบของข้อเทียม 3 ส่วนใหญ่ประกอบ ด้วย ส่วนฝาครอบบนกระดูกต้น เป็นวัสดุทางการ แพทย์ซึ่งผลิตจากโลหะกลุ่มโครเมี่ยม มีคุณสมบัติแข็ง มันวาว ไม่เป็นสนิม ไม่สกึ กร่อนง่าย ไม่เกิดประจุไฟฟ้า และไม่กอ่ สารมะเร็ง ต่อมาคือส่วนแป้นวางบนกระดูก หน้าแข้งพร้อมหมอนรองข้อเทียม เป็นวัส ดุ ท างการ แพทย์ที ่ ท ำ � จากโลหะกลุ ่ ม ไททาเนี ย ม เป็นตัวกลาง ถ่ายน้�ำ หนักระหว่างกระดูกกับข้อเทียม มีคณุ สมบัตแิ ข็ง ใกล้เคี ย งกั บ กระดู ก มนุ ษ ย์ ไม่ เ ป็ น สนิ ม และไม่ ก ่ อ สารมะเร็ ง เช่ น กั น ส่ ว นหมอนรองข้ อ เที ย ม และ ผิวกระดูกสะบ้าเทียมเป็นโพลิเมอร์ที่มีเนื้อแข็งมาก สำ�หรับใช้ในทางการแพทย์โดยเฉพาะ “หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จนสามารถเดินได้ ใกล้เคียงปกติแล้ว การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดเป็นสิ่งสำ�คัญที่ไม่ควรละเลย เพราะ จะส่งผลต่อการใช้งานข้อเทียมในระยะยาว จำ�เป็นทีต่ อ้ งทำ�ตามทีแ่ พทย์และนักกายภาพบำ�บัด แนะนำ�ด้วยครับ” รองศาสตราจารย์นายแพทย์ วัชระ วิไลรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย อย่างไรก็ดีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำ�เสมอ หมั่นดูแลตัวเองโดยใช้แบบประเมิน ความรุนแรงของภาวะข้อเข่าเสือ่ มในการสังเกตเบือ้ งต้น เพือ่ รับการรักษาจากผูเ้ ชีย่ วชาญ ตั้งแต่เนิ่นๆจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ�อย่างยิ่ง เพราะถ้าจำ�เป็นต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม และทำ�ตั้งแต่ช่วงที่สภาพร่างกายยังไม่ทรุดโทรมจากอาการของโรคจะช่วยให้การรักษา ได้ผลดีกว่า
5
6
SUKUMVIT HOSPITAL
เสริมศักยภาพ เทคโนโลยีดูแลผู้ป่วย ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นอีกศูนย์หนึ่งที่เตรียมพร้อมให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด อย่างครบวงจรโดยทีมแพทย์ผู้ชำ�นาญเฉพาะทางโรคหัวใจ เริ่มตั้งแต่การวินิจฉัยเบื้องต้น การตรวจ ด้วยอุปกรณ์พิเศษ การดูแลและป้องกันโรคหัวใจ การรักษา การผ่าตัด การติดตามดูแลในหออภิบาล ผูป้ ว่ ยหัวใจ ตลอดจนการฟืน้ ฟูสมรรถภาพหัวใจด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ หลายประเภทมาติดตั้งให้บริการแก่ผู้ป่วยรวมทั้งแผนกสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization)
นพ.ดาวิน นารูลา
ผู้อำ�นวยการ โรงพยาบาลสุขุมวิท กล่าวว่า “ในการตรวจ วินิจฉัยโรคทางหัวใจ เครื่อง CT Scan แบบ 128-Slice เป็นวิธที ไ่ี ด้รบั การยอมรับอย่างสูง ทั ่ ว โลก เนื ่ อ งจากมีความปลอดภัยสูง ใช้ ระยะเวลาในการตรวจสั้นมาก มีผลแทรกซ้อน ต่ำ� ใช้ติดตามผลการรักษาโรคหัวใจ อีกทั้งยัง ใช้ตรวจหาแคลเซี่ยมที่เกาะที่ผนังหลอดเลือด หัวใจ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของหลอดเลือด หัวใจอุดตันและยังสามารถวิเคราะห์หาตำ�แหน่ง และระดับความรุนแรงของโรคได้ เพือ่ วางแผน การรักษาได้อย่างทันท่วงที”
นพ.ดาวิน นารูลา
ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลสุขุมวิท
SUKUMVIT HOSPITAL
เทคโนโลยี 128-Slice CT Scan เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT:Computer Tomography) สามารถตรวจระบบต่างๆของร่างกายได้ เกือบทุกระบบ ได้อย่างแม่นยำ� แสดงภาพขาว-ดำ� และภาพสี ทั้ง 2 มิติและ 3 มิติได้ถึง 128 ภาพ ในการสแกนผู้ป่วยเพียงรอบเดียวในเวลาอันสั้น ซึ่ง เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
128-Slice CT Scan พร้อมเทคโนโลยีใหม่ ขั้นสูงที่เพิ่มมา ช่วยในการลดปริมาณรังสีเอ็กซ์ที่ ผู้ป่วยจำ�เป็นจะต้องได้รับ ได้แก่ เทคโนโลยีของ ตัวรับรังสี การลดปริมาณรังสีตามขนาดของผู้ป่วย ในระหว่างการตรวจ เทคโนโลยีการสร้างภาพ อวัยวะ ดังนั้น จึงสามารถมั่นใจได้ว่า เครื่อง CT ที่โรงพยาบาลสุขุมวิทนำ�มาให้บริการนี้มีความ ปลอดภัยและแม่นยำ�อย่างสูงสุด 128-Slice CT Scan ช่วยในการตรวจ วินจิ ฉัยโรคทางหัวใจ ซึง่ เป็นวิธที ไี่ ด้รบั การยอมรับ อย่างสูงทั่วโลก เนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ใช้ ระยะเวลาในการตรวจสั้นมาก มีผลแทรกซ้อน ต่ำ� อีกทั้งยังสามารถใช้เพื่อติดตามผลการรักษา โรคของหัวใจได้ สามารถใช้ตรวจหา แคลเซียม ที่เกาะที่ผนังหลอดเลือดหัวใจได้ ซึ่งเป็นหนึ่งใน สาเหตุของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และยังสามารถ วิเคราะห์หาตำ�แหน่งและระดับความรุนแรงของโรค ได้นอกจากนีย้ งั สามารถใช้ตรวจหาพยาธิสภาพของ เส้นเลือดได้ทั่วร่างกาย โดยเพียงฉีดสารทึบรังสี เข้าทางหลอดเลือดดำ�แล้วตรวจด้วยเครื่อง CT
ก็จะเห็นภาพของของเส้นเลือดในระบบทีต่ อ้ งการ ตรวจได้ เช่น สมอง,หัวใจ,ปอด,ตับ,ไต,แขน และขา สามารถแสดงตำ�แหน่งของเลือดออกฉับพลันใน เนือ้ สมอง หรือบริเวณทีเ่ ส้นเลือดโป่งพองได้อย่าง ชัดเจน เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ในด้านศัลยกรรมกระดูก CT ช่วยการติดตามผล การผ่าตัดและยืนยันตำ�แหน่งของโลหะและอุปกรณ์ ยึดกระดูกว่าอยู่ในตำ�แหน่งที่ต้องการหรือไม่ การตรวจลำ�ไส้ใหญ่ (Virtual Colonoscopy) โดยไม่ต้องใช้กล้องสอดเข้าไปทางทวาร หนัก ไม่มีผลแทรกซ้อนและใช้เวลาตรวจไม่นาน ระบบคอมพิวเตอร์สามารถแสดงตำ�แหน่งผิดปกติ ของอวัยวะ ช่วยให้รงั สีแพทย์ตรวจสอบโดยละเอียด ได้อีกครั้ง การตรวจหาก้อนเนื้อในเนื้อเยื่อปอด โดย ระบบคอมพิวเตอร์สามารถแสดงตำ�แหน่งของก้อน เนื้องอก หรือความผิดปกติของเนื้อเยื่อปอด และ เครือ่ งดังกล่าวนีม้ คี วามสามารถในการตรวจเพียง ครัง้ เดียวและครอบคลุมในระยะ 160 ซม. ตัง้ แต่ ศรีษะจรดเท้า ซึ่งสามารถใช้กับผู่ป่วยอุบัติเหตุ ที่มีอาการบาดเจ็บที่หลายอวัยวะ โดยไม่จำ�เป็ น ต้ อ งเคลือ่ นย้ายผูป้ ว่ ยไปตรวจด้วยเครือ่ งมือต่างๆ ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยขึ้น
เทคโนโลยี 128-Slice CT Scan พร้อมบริการทันทีที่เปิดอาคารใหม่
7
8
SUKUMVIT HOSPITAL
โรคสมองเสื่อมคืออะไร ? โรคสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการความผิดปกติของการทำ�งานขั้นสูงของสมอง ได้แก่ ความจำ� การใช้เหตุผล ทักษะในการใช้อุปกรณ์ต่างๆ การใช้ภาษา รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพและ พฤติกรรม ซื่งมักมีอาการเกิดขึ้นหลายๆ อาการร่วมกัน โดยความผิดปกติที่กล่าวมานั้น เป็นมากจนกระทั่ง ผู้ป่วยมีปัญหาในการทำ�งานและการใช้ชีวิตประจำ�วัน โดยที่อาการดังกล่าว ไม่ได้เป็นอาการที่เกิดจาก โรคทางจิตเวช
สาเหตุของโรคสมองเสื่อม สาเหตุหลักของกลุม่ อาการโรคสมองเสือ่ ม ได้แก่ ความเสื่อมของเซลล์ประสาทสมอง ซึ่ง โรคที่รู้จักกันดี ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ และ ภาวะ สมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นก ลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่อาจ ชะลอการดำ�เนินโรคได้ ส่วนสาเหตุอื่นๆที่ทำ�ให้ เกิดภาวะสมองเสื่อม ที่ไม่ได้เกิดจากความเสื่อม ของเซลล์ประสาทสมองโดยตรง เป็นโรคที่ ได้รบั การรักษาแล้วสามารถหยุดการดำ�เนินโรค หรือรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคสมองอักเสบ เนื้องอกในสมอง ภาวะน้ำ�ในโพรงสมองมาก ผิดปกติ ภาวะสมองเสื่อมจากการดื่มสุรา การขาด ฮอร์โมน เกลือแร่ หรือวิตามินบางชนิดและการ รับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานาน เป็นต้น
อาการของโรคสมองเสื่อม อาการเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อม ที่รู้จัก กันทั่วไปได้แก่ อาการหลงลืม โดยในระยะเริ่ม แรกอาจจะยังไม่เป็นปัญหาต่อการทำ�งานหรือเป็น ปัญหากับการใช้ชีวิตประจำ�วัน ซื่งเรียกภาวะนี้ว่า Mild Cognitive Impairment โดยลักษณะ ของผู้ที่มีภาวะ Mild Cognitive Impairment ได้ แ ก่ มี อ าการหลงลืมในสิ่งที่เพิ่งได้พูดคุยกัน การทำ�งานหรือการตัดสินใจช้าลง
ส่วนผู้ป่วยที่เริ่มเป็นโรคสมองเสื่อม จะมี อาการหลงลืมที่มากขึ้น เช่น มีอาการถามซ้ำ�หรือ พูดคุยในเรื่องที่ได้พูดไปแล้วบ่อยๆ จำ�ชื่อญาติสนิท หรือชื่อสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำ�วันไม่ได้ ทำ�ของ หายบ่อยๆ เลิกสนใจในสิ่งที่เคยชอบ เป็นต้น ถ้าผู้ป่วยมีอาการมากขึ้นจะมีการนอนหลับ การตื่น ที่ผิดเวลา ไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำ�วัน บางอย่างได้อย่างถูกต้อง เช่น การแต่งตัว ทำ�อาหาร ขับรถ อาจมีอาการลืมในสิ่งที่เพิ่งได้ทำ� ไป เช่น ลืมว่ารับประทานอาหารไปแล้ว ลืมว่า เพิ่งได้ไปสถานที่ใดมา หลงทางเมื่ออยู่ในสถานที่ ที่ไม่คุ้นเคย ผู้ป่วยบางรายอาจไม่สามารถอ่าน หรือเขียนหนั ง สื อ ได้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ ง ใช้ ค ำ � ผิ ด ใน การสนทนา มี ก ารตั ด สิ น ใจที ่ ผ ิ ด พลาดในสิ ่ ง ที ่ สามารถเป็นอันตรายต่อผูป้ ว่ ยเพราะขาดความยัง้ คิด ผู้ป่วยอาจมีภาพหลอนหรืออาการหลงผิด เช่น คิดว่าจะมีคนเข้ามาขโมยของในบ้าน ส่วนผู้ป่วย ที่มอี าการมากจะไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำ�วัน ด้วยตัวเองได้ ต้องมีคนคอยช่วยเหลือ เช่น อาบน้ำ� แต่งตัว รับประทานอาหาร มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว และไม่ สามารถจำ�สมาชิกในครอบครัวได้ เป็นต้น
SUKUMVIT HOSPITAL
คุณเป็น...โรคสมองเสื่อม หรือ ขี้ลืม...กันแน่ ? การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม
การรักษาโรคสมองเสื่อม
ประวัตทิ ไ่ี ด้จากญาติหรือผูด้ แู ลเป็นสิง่ สำ�คัญ โดยเฉพาะอาการของความผิดปกติเริ่มแรกที่เกิด ขึ้นจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ร่วมกับการตรวจ ร่างกายและเลือกการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่เหมาะสม เพื่อให้การวินิจฉัยแยกโรค ที่ถูกต้อง ว่าผู้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมหรือไม่และมีสาเหตุ จากอะไร นอกจากการตรวจร่างกายแล้ว จะมี การทดสอบผู้ป่วยด้วยแบบทดสอบ ระดับพุทธิปัญญา ของผู้ป่วยแบบสั้น ซื่งเรียกว่า mini mental state examination เพื่อประเมินความรุนแรง ของอาการสมองเสื่อม ส่วนการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการ เป็นการตรวจเพื่อหาเหตุที่ทำ�ให้เกิด อาการสมองเสื่อมหรือทำ�ให้อาการสมองเสื่อม เป็นมากขึ้น ประกอบด้วย การตรวจเลือดต่างๆ การตรวจภาพสมองด้วยเครื่อง Computed Tomography (CT) หรือ Magnetic Resonance Imaging (MRI) และการตรวจน้�ำ ไขสันหลัง เป็นต้น
การรั ก ษานั ้ น ขึ ้ น อยู ่ ก ั บ สาเหตุ เ ป็ น หลั ก โดยผู้ป่วยที่ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากความเสื่อม ของเซลล์ประสาท การรักษาจะประกอบด้วยการ ให้ยาที่ทำ�ให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นและชะลอการ ดำ�เนินโรคให้ช้าลง ซึ่งมักจะได้ผลกับผู้ป่วยใน ระยะเริ่มแรก ร่วมกับการให้ยารักษาอารมณ์และ พฤติ ก รรม ที ่ ผ ิ ด ปกติ ใ นผู ้ ป ่ ว ยที ่ ม ี อ าการรุ น แรง ส่วนผู้ป่วยที่ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากความเสื่อม ของเซลล์ประสาทนั้น จะเป็นการรักษาสาเหตุของโรคเป็นหลัก
การป้องกันโรคสมองเสื่อม
เนือ่ งจากปัจจุบนั สาเหตุของโรคสมองเสือ่ ม ที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทสมอง เช่น อัลไซเมอร์ ยังไม่เป็นที่ทราบชัดเจน ดังนั้นการ ป้องกันโรคสมองเสื่อมดังกล่าว ทำ�ได้เพียงการ ลดปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับโรคสมองเสื่อม เช่น การออกกำ�ลังกายและมีกิจกรรมทำ�อย่าง สม่ำ�เสมอ การเล่นเกมส์ฝึกสมอง การรักษา โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น
ปัญหาสุขภาพสมองใช่ว่าจะไม่มีทางรักษาหรือไม่มีทางแก้ แต่หากเข้ามา รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกสามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้
ปรึกษาอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ คลินิกความจำ� รพ.สุขุมวิท
โทร : 0-2391-0011 นพ.ยุทธชัย ลิขิตเจริญ
อายุ รแพทย์ ระบบประสาท ผู้เชี่ยวชาญ โรคสมองเสื่อม
9
10
SUKUMVIT HOSPITAL
โรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
(Diabetic Retinopathy)
โรคเบาหวาน
ลักษณะทั่วไป
เบาหวาน พบได้ประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ของคนทั่วไป พบได้ใน คนทุกวัยแต่จะพบมากในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และคนที่อยู่ ในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้ มากกว่าชาวชนบท คนอ้วนและหญิงที่ มีลูกดก มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากขึ้น
ประเภทของเบาหวาน ระยะเริ่มแรก
เบาหวานสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ที่มี อาการ สาเหตุ ความรุนแรงและการรักษาต่างกัน ได้แก่ 1.เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลินเป็นชนิดที่พบได้น้อยแต่มีความ รุนแรงและอันตรายสูง มักพบในเด็กและคนทีม่ อี ายุต�ำ่ กว่า 25 ปี แต่ ก็อาจพบในคนสูงอายุได้บ้าง 2. เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เป็นเบาหวานชนิดที่พบเห็น กันเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมักจะมีความรุนแรงน้อยมักพบในคนอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป แต่ก็อาจพบในเด็กหรือวัยหนุ่มสาวได้บ้าง
อาการแทรกซ้อน
มักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานมานานอย่างน้อย 5 ปี โดย ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง โรคแทรกซ้อนที่อาจพบได้ เช่น 1. ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัยอันควร จอประสาทตาเสื่อมและมีเลือดออกในน้ำ�วุ้นตา ทำ�ให้มีอาการตามัว ลงเรื่อยๆ หรือมองเห็นจุดดำ�ลอยไปมาและอาจทำ�ให้ตาบอดในที่สุด 2. ระบบประสาท ผู้ป่วยอาจเป็นปลายประสาทอักเสบ มีอาการชาหรือปวดแสบร้อนตามปลายมือปลายเท้า 3. ไต มักจะเสื่อมจนเกิดภาวะไตวาย มีอาการบวม ซีด ความดันโลหิตสูง 4. ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ทำ�ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง,อัมพาต, โรคหัวใจขาดเลือด 5. เป็นโรคติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานโรคต่ำ� 6. ภาวะคีโตซิส พบในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน ที่ขาดการฉีดอินซูลินนานๆ ผู้ป่วยจะซึมลง เรื่อยๆ จนกระทั่งหมดสติ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้ ระยะรุนแรง
ระยะต่างๆของโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา
ภาพที่ผู้ป่วยเบาหวานเข้าจอประสาทตามองเห็น
Non-proliferative Diabetic Retinopathy (ระยะ เริ่มแรก) พบจุดเลือดออกและมีโปรตีนรั่วทั่วไป ศูนย์กลางจอ ประสาทตาบวม มีอาการตามัวแบบค่อยเป็นค่อยไป Proliferative Diabetic Retinopathy (ระยะ รุนแรง) พบเส้นเลือดผิดปกติบนจอประสาทตา เลือดออกใน วุ้นตา จอประสาทตาลอกตัวได้ มีอาการตามัวลงอย่างรุนแรง ตาอาจบอดหากไม่ได้รับการรักษา
SUKUMVIT HOSPITAL coagulation (PRP) ส่งผลให้เลือดหยุดออกในช่องวุ้นตา ยับยั้งภาวะตาบอด
แนวทางในการรักษา
1. ควบคุมระดับน้ำ�ตาล และไขมันในเลือด 2. ติดตามรับการตรวจตาอย่างสม่ำ�เสมอ 3. การรักษาด้วยเลเซอร์ 4. การรักษาด้วยการผ่าตัด
หลังการรักษาด้วยเลเซอร์
วิธีการตรวจจอประสาทตา
1.หยอดยาขยายม่านตา หลังจากตรวจวัด ความดันโลหิตและความดันตา 2.รอจนม่านตาขยายเต็มที่ ใช้เวลาประมาณ 20 นาที 3.ม่านตาจะขยายอยู่เป็นเวลา 4 – 6 ชั่วโมง จะมีอาการตามัว มองใกล้ไม่ชัด
การรักษาด้วยเลเซอร์
1. เลเซอร์จะช่วยให้มองเห็นชัดขึ้น กรณีจุดโฟกัสบวม 2. ส่วนใหญ่จะป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม 3. การรักษาครั้งละ 20 นาที อาจต้องรักษาหลายครั้ง 4. ผลข้างเคียงคือลานสายตาแคบลง ความสามารถของ การมองในที่มืดลดลง
เมื่อไรจะรักษาด้วยการผ่าตัด
1. มีเลือดออกในน้ำ�วุ้นตาเรื้อรัง และไม่สามารถสลายตัว ไปได้เอง 2. วุ้นตาขุ่นมากไม่สามารถให้การรักษาด้วยเลเซอร์ได้ 3. จอประสาทตาลอกตัว 4. จอประสาทตาฉีกขาด
วัตถุประสงค์ของการยิงเลเซอร์ 1)เพื่อลดการบวมของศูนย์กลางจอประสาทตา (Macular edema) ชื่อวิธีการยิง Focal or Grid laser treatment ส่งผลให้การมองเห็นดีขึ้น ปกติใช้เวลาในการ ลดบวมประมาณ 6-12 สัปดาห์ 2)เพื่อยับยั้งการเกิดเส้นเลือดฝอยที่ผิดปกติ (Neovascularization) ชื่อวิธีการยิง Pan-retinal Photo-
โดยสรุป
โรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาเป็นโรคที่ สามารถรักษาและได้ผลดี หากตรวจพบได้ในระยะ เริ่มแรกและให้การรักษาอย่างทันท่วงที
คำ�แนะนำ�ในการตรวจจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน อายุที่เร่ิมเป็นโรคเบาหวาน 0-29 ปี 30 ปี หรือมากกว่า ก่อนการตั้งครรภ์
ตรวจตาครั้งแรก
ตรวจตาครั้งต่อไป
ทันทีทร่ี วู้ า่ เป็นโรคเบาหวานหรืออย่างช้าทีส่ ดุ ภายใน 5 ปี หลังจากเริ่มเป็นโรคเบาหวาน - ตาปกติตรวจปีละ 1 ครั้ง - โรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา ตรวจ ทันทีที่รู้ว่าเป็นโรคเบาหวาน ทุก 3-6 เดือน - ระยะอันตรายตรวจทุก 1-3 เดือน ก่อนตั้งครรภ์และหลังตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก
ทุกปัญหาสุขภาพตา สามารถปรึกษาจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ได้ที่ศูนย์ตา
โทร : 0-2391-0011 นายแพทย์ธีระพัฏ จิตต์พูลกุศล
จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาจอประสาทตาและน้ำ�วุ้นตา
11
12
SUKUMVIT HOSPITAL
มารู้จัก โรคหืดคืออะไร
โรคหืด กันเถอะ ?
โรคหืด (Asthma) เกิดจากหลอดลมมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆมากผิดปกติ ทำ�ให้มีการอักเสบ เรื้อรังของหลอดลม ส่งผลทำ�ให้เยื่อบุหลอดลมบวม เกิดการหดรัดตัวของหลอดลมเป็นพักๆ หรือมีการขับ สารที่เป็นมูกเหนียวข้นออกมามากผิดปกติ สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้หลอดลมมีขนาดตีบแคบลง
สาเหตุของโรคหืดในเด็ก 1.กรรมพันธุ์ ถ้าคุณพ่อหรือคุณแม่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือโรคหืด ลูกก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหืดสูงด้วย เช่นกัน 2. สารก่อภูมแิ พ้ในอากาศ เช่น ไรฝุน่ แมลงสาบ ขนสัตว์ ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อรา เป็นต้น 3.การติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ เป็นปัจจัยกระตุ้น อาการของโรคหืดซึ่งพบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก 4.สิง่ กระตุน้ อืน่ ๆ เช่น ควันบุหรี่ มลพิษ การออกกำ�ลังกาย และอากาศเปลี่ยนแปลง
อาการที่ควรสงสัยว่าลูกเป็นโรคหืด 1.หายใจแรงและเร็ว ได้ยินเสียงวี้ดโดยเฉพาะในช่วง การหายใจออก หน้าอกบุ๋ม มีเสียงครืดคราดในอก 2.แน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย หายใจดังวี้ด เมื่อได้ รับสิ่งกระตุ้นต่างๆข้างต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีอาการขณะการ ออกกำ�ลังกาย 3.ไอบ่อย เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งอาจมีไข้หรือน้ำ�มูกร่วมด้วย ไอมากตอนกลางคืนและเช้ามืด 4.ระยะเวลาในการเป็นหวัดและไอจะนานกว่าปกติ
SUKUMVIT HOSPITAL
จะตรวจได้อย่างไรว่าลูกมีอาการของโรคหืด การวิ น ิ จ ฉั ย โรคหืดนั้น ทำ�ได้โ ดยเริ่มจากการ ดูอาการและอาการแสดงดังกล่าว หากยังมีข้อสงสัยแพทย์ จะทำ�การตรวจเอกซเรย์ปอดและการตรวจวัดสมรรถภาพปอด แต่อย่างไรก็ตามการตรวจวัดสมรรถภาพปอดทำ�ได้ยากใน ผู้ป่วยเด็กเล็ก ดังนั้นการวินิจฉัยโรคหืดในเด็กจะอาศัยอาการ และอาการแสดงที่เข้าได้เป็นหลัก
รักษาโรคหืดได้อย่างไร เมื่อหลอดลมมีการอักเสบเรื้อรัง ร่างกายจะซ่อมแซม การอั กเสบทำ � ให้ เยื ่ อ บุห ลอดลมกลายเป็น พังผืด หลอดลมจะ มีความยืดหยุ่นไม่เหมือนปกติ และ สูญเสียสมรรถภาพปอด มี อ าการหอบหื ด หื ด เฉี ย บพลั น แต่ ล ะครั ้ ง ถื อ ว่ า เป็ น ภาวะ แทรกซ้อน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหืด ต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ระยะที่เริ่มมีอาการ การ รั ก ษาโรคหื ด ประกอบด้วย - การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำ�ให้เกิดอาการ - การใช้ยา ซึ่งมีทั้งในรูปแบบยารับประทาน ยาพ่น และยาสูด แบ่งยาเป็น 2 ประเภทโดยยาเพื่อลดการอักเสบ เรื้อรังของหลอดลม ต้องใช้ต่อเนื่องจนควบคุมการอักเสบได้ จึงหยุดใช้ และ ยาเพื่อขยายหลอดลมที่ตีบแคบ จะใช้เป็น ครั้งๆเมื่อเกิดอาการเฉียบพลัน - การฉีดวัคซีนภูมิแพ้
“ ถ้าลูก ของท่านเริ่มมีอาการที่ น่าสงสัยว่าเป็นโรคหืด ควรรีบพามาพบ แพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้มี อาการเรื้อรังนะคะ ”
พญ. ปิยวดี เลิศชนะเรืองฤทธิ์
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน
ภาวะภูมิไวเกินหรือภูมิแพ้ เป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขและควบคุมได้ หากได้รับการทดสอบและรู้แน่ชัดว่าลูกมี ปฏิกิริยาต่อสารอะไร ก็สามารถให้การดุแลรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ
ท่านสามารถปรึกษากุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือตรวจสอบภูมิแพ้ ได้ที่
คลินิกโรคภูมิแพ้และหอบหืด ศูนย์เด็ก โทร : 0-2391-0011
13
14
SUKUMVIT HOSPITAL
เมนู...สุขภาพ
แกงจืดสามกษัตริย์ ในปัจจุบันผู้สูงอายุมักจะประสบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคเรื้อรังแต่สามารถควบคุมได้ด้วยอาหาร สำ�หรับ อาหารเพื่อสุขภาพประจำ�ฉบับนี้ เป็นเมนูอาหารเฉพาะโรคสำ�หรับผู้สูงอายุ : โรคเบาหวาน
วัตถุดิบและส่วนผสม
( สำ�หรับรับประทาน 6 ท่าน ) สันในหมู 100 กรัม เนื้อกุ้ง 100 กรัม เนื้อไก่ 100 กรัม หัวผักกาดเค็ม 2 หัว 120 กรัม ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำ�ซุป ผักชีและรากผักชี 1 ต้น พริกไทยป่น 1/2 ช้อนชา กระเทียม 5 กลีบ ต้นหอม 1 ต้น
ที่มา : กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข
วิธีทำ� 1. หั่นเนื้อหมูเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวประมาณ 1/2 นิ้ว 2. ปอกเปลือกกุ้ง ผ่าหลังตามยาว 3. หั่นเนื้อไก่เป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวประมารณ 1/2 นิ้ว 4. ล้างหัวผักกาดเค็มหั่นเป็นเส้นเล็กยาว ใช้ มัดหมู กุ้ง เนื้อไก่ รวมกัน อย่างละ 1 ชิ้น 5. โขลกรากผักชี กระเทียม พริกไทยให้ ละเอียด 6. หั่นต้นหอม ผักชีเป็นท่อนสั้น ๆ 7.ตั้งหม้อน้ำ�ซุปให้เดือดใส่รากผักชี กระเทียม พริกไทยที่โขลกไว้ ปรุงรสด้วยซีอิ๊ว ใส่เนื้อ สัตว์ที่มัดไว้ลงต้ม พอสุกโรยหน้าด้วยต้นหอม ผักชี
CARE EVENT นพ.ภมรศั ก ดิ ์ เธี ย รประสิ ท ธิ ์ ผู ้ บ ริ ห าร รพ.สุ ข ุ ม วิ ท และ นายแอนโทนี ยู ว า เช ประธานและหั ว หน้ า ฝ่ า ยบริ ห ารประเทศไทย บ.ซีเมนส์ ประเทศไทย ร่วมลงนามในข้อตกลง ความร่ ว มมื อ ด้ า นเทคโนโลยี ท างการแพทย์ ระหว่าง รพ.สุขมุ วิท และ บ.ซีเมนส์ ประเทศไทย
Change to Win
รพ.สุ ข ุ ม วิ ท มุ ่ ง มั ่ น ที ่ จ ะพั ฒ นาคุ ณ ภาพ มาตรฐานการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารโรงพยาบาลตระหนักและเห็นความ สำ�คัญ จึ ง จั ด อบรมพนั ก งาน เพื ่ อ เตรี ย ม ความพร้ อ มในการรับรองมาตรฐานระดับ โลก JCI (สหรัฐอเมริกา)
กิจกรรม
ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ สิทธิพิเศษ ! สำ�หรับลูกค้า รพ.สุขุมวิท
คูปองส่วนลด พิ เ ศษเพี ย ง 900 บาท
เงื่อนไข 1.โปรดแสดงคูปองนี้ก่อนใช้บริการ 2.คูปองนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ 3.คูปองนี้สามารถเปลี่ยนมือได้ 4.คูปอง 1 ใบ สามารถใช้สิทธิได้ 1 ครั้ง 5.ราคานี้ไม่รวมค่าแพทย์และค่าบริการ
เอกซเรย์ข้อเข่า 2 ข้าง ในท่ายืน
ปกติราคา 1,050 บาท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
ใช้สิทธิได้ถึง 31 มีนาคม 2556
* ตัดตามรอยประ * โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
โทร. 0-2391-0011
m