ละอองน้ำProducts and Packaging Desig (ARTD3302-sunsanee supitak 5511300195)

Page 1

Products and Packagig Design

ละอองน้ำ�

Graphic Design On Packaging ARTD 3302 BY SUNSANEE SUPITAK 5511300195


รายงงาน วิชาออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302

จัดทำ�โดย นางสาวศันวนย์ สุพิทักษ์ รหัสนักศึกษา 5511300195 กลุ่ม 101

เสนอ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประชิต ทิณบุตร ปีการศึกษา 2557 มหาราชภัฎจันทรเกษม


คำ�นำ� รายงานเล่นนี้เป็นส่วนหนึ่งของ วิชาออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ARTD3302 เพื่อออกแบบในการใช้ประกอบในการเสนอโครงการออกแบบกราฟิก บนบรรจุภัณฑ์ละอองน้ำ� ซึ่งเป็นการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ร่วม กลุ่มทำ�สมุนไพรบ้านคลองมอญ ตำ�บลมะขามเฒ่า อำ�เภอวัดสิงห์จังหวัดชัยนาท เพื่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ขึ้นใหม่ เนื้อหารายเล่มนี้ประกอบด้วย ความหมายของบรรจุภัณฑ์ ขั้นตอนการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ การ สืบค้นข้อมูล ตั้งสมมุติฐาน และสรุปผล ร่างแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่

นางสาวศันสนีย์ สุพิทักษ์


ความหมายของบรรจุภัณฑ์ ในยุคหินเมื่อมนุษย์ล่าสัตว์ได้เขาก็จะใช้หนังสัตว์ หรือใบไม้ห่อหุ้มสัตว์ที่ล่ามาได้เพื่อป้องกันพวกแมลง แสงแดดและฝน นอกจากนี้ในการพกพาอาหารหรือวัตถุที่ต้องการ สิ่งที่ใช้ในการห่อหุ้มจะเป็น ใบไม้ เปลือก ไม้ เปลือกหอย กระบอกไม้ กระเพาะสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักการแก้ปัญหาด้วยการนำ�เอาวัตถุดิบ (Raw Materials) จากธรรมชาติเจ้ามาเป็นอุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุมวลสาร การกระทำ�ดังกล่าวจึงนับว่าเป็น ที่มาของการบรรจุ (Filling) ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักการประดิษฐ์ คิดค้นภาชนะบรรจุด้วยการดัดแปลงคุณสมบัติ ทางกายภาพของวัสดุธรรมธรรมชาติให้มีรูปร่างและหน้าที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นนี่เอง จึงจัดว่าเป็นการออกแบบบรรจุ ภัณฑ์ดั้งเดิม (Primitive Packaging Design) ที่มนุษย์ในสมัยก่อนได้กระทำ�ขึ้นตามสภาพการเรียนรู้และการค้น พบวัสดุในแต่ละยุค การออกแบบการบรรจุภัณฑ์ จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทสำ�คัญต่อการค้าและการบริการ ในฐานะของสิ่ง ที่ช่วยอำ�นวยความสะดวกแก่การขนส่งสินค้า (Aid Transportation) โดยทำ�หน้าที่ขั้นพื้นฐานอันดับแรกคือ ปกป้อง คุ้มครองสินค้าให้ปลอดภัยจากความเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทบกระเทือน และป้องกันสิ่งปน เปื้อนที่ไม่พึงประสงค์ (To Prevent Spillage And Contamination) ที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้า ผลิตภัณฑ์จากโรงงานผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งบทบาทนี้มีผลทำ�ให้รูปแบบของบรรจุภัณฑ์ (Package Form) มีการพัฒนาขึ้นมารับรอง มีการออกแบบภาชนะบรรจุแบบปิด (Closed Container) เช่น ถังไม้ (Barrel) การรู้จักปิดผนึกบรรจุภัณฑ์ (Container Closure) เช่น มีฝาจุกปิดขวด (Bottle Plug Seals) ฯลฯ เป็นต้น เทคนิค และกรรมวิธีการบรรจุที่พัฒนาขึ้นตามหน้าที่ใช้สอยเหล่านี้ จึงเป็นผลทำ�ให้เกิดการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่ หลากหลายลักษณะตามกาลเวลา และการค้นพบวัสดุหรือเทคโนโลยีที่นำ�มาใช้


ความสำ�คัญของการบรรจุภัณฑ์ ประเทศของเรามีสินค้ามีผลิตผลทางด้านการเกษตรกรรม และการประมงมากมาย เช่นผักสด ผลไม้ สด และสินค้าที่เป็นอาหารจากทะเล สิ่งที่กล่าวมานี้จะได้รับความเสียหายมากเนื่องจากสภาวะของอากาศการ บรรจุหีบห่อ และการขนส่งที่เหมาะสมมีส่วนที่จะช่วยลดความเสียหายเหล่านั้นลงได้ซึ่งเป็นการช่วยให้ผลผลิต ที่กล่าวถึงมือผู้บริโภคในสภาพที่ดี และจะทำ�ให้ขายได้ในราคาที่สูงอีกด้วย นอกจากนี้แล้วผลิตภัณฑ์อื่น ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากอาหารแปรรูปถ้าการบรรจุภัณฑ์และการขนส่งที่ เหมาะสมมีส่วนที่จะช่วยลดความเสียหายและสามารถ จำ�หน่ายได้ในราคาที่สูงเช่นกัน จะเห็นได้ว่าการบรรจุภัณฑ์นั้นมีความสำ�คัญเป็นอย่างยิ่งต่อผลผลิต ทั้งหลายซึ่งสามารถสรุปเป็นราย ละเอียดเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้ 1. รักษาคุณภาพ และปกป้องตัวสินค้า เริ่มตั้งแต่การขนส่ง การเก็บให้ ผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์เหล่า นั้นมิให้เสียหายจากการปนเปื้อนจากฝุ่นละออง แมลง คน ความชื้น ความร้อน แสงแดด และการปลอมปน เป็นต้น 2. ให้ความสะดวกในเรื่องการขนส่ง การจัดเก็บมีความรวดเร็วในการ ขนส่ง เพราะสามารถรวม หน่วยของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเป็นหน่วยเดียวได้ เช่น ผลไม้หลายผลนำ�ลงบรรจุในลังเดียว หรือเครื่องดื่มที่เป็น ของเหลวสามารถบรรจุลงในกระป๋องหรือขวดได้ เป็นต้น 3. ส่งเสริมทางด้านการตลาด บรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำ�หน่ายเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคเห็น ดังนั้นบรรจุ ภัณฑ์จะต้องจะทำ�หน้าที่บอกกล่าวสิ่งต่างๆของตัวผลิตภัณฑ์โดยการบอกข้อมูลที่จำ�เป็นทั้งหมดของตัวสินค้า และนอกจากนั้นจะต้องมีรูปลักษณ์ที่สวยงามสะดุดตาเชิญชวนให้เกิดการตัดสินใจซื้อ ซึ่งการทำ�หน้าที่ดัง กล่าวของ บรรจุภัณฑ์ นั้นเป็นเสมือนพนักงานขายที่ไร้เสียง (Silent Salesman) ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ความสับสนในเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่พบบ่อย คือ การเรียกขานสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ว่าเป็นบรรจุ ภัณฑ์ไปเสียทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ซื้อซ้อสมะเขือเทศมา 1 ขวดแล้วเทแบ่งลงในถ้วยเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหาร ขวด ซอสเป็นบรรจุภัณฑ์ ส่วนถ้วยแบ่งนั้นจะเป็นภาชนะบรรจุ เป็นต้น สินค้าที่ไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่ดีและน่าเชื่อถือนั้น ลองตั้งคำ�ถามกับตัวเองว่าท่านจะซื้อสินค้านั้นหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ยาสีฟันที่ท่านใช้เป็นประจำ�ที่เคยบรรจุอยู่ในหลอดลามิเนตและกล่องกระดาษที่พิมพ์สวยงาม แล้ว อยู่มาวันหนึ่งยาสีฟันนั้นอยู่ในถุงพลาสติกมีหนังยางรัดที่ปากถุงดังในภาพที่1.4ชึ่งเป็นยาสีฟันชนิดเดียวกันแต่ บรรจุภัณฑ์ต่างชนิดกัน เมื่อมองแล้วก็สามารถที่จะแบ่งแยกได้ว่าบรรจุภัณฑ์ชิ้นไหนที่จะสามารถเป็นบรรจุ ภัณฑ์ที่ดีและน่าเชื่อถือได้


ประเภทของบรรจุภัณฑ์ ประเภทของบรรจุภัณฑ์สามารถแบ่งได้หลายวิธีตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้ 1. แบ่งตามวิธีการบรรจุและวิธีการขนถ่าย 2. แบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้ 3. แบ่งตามความคงรูป 4. แบ่งตามวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ 1. ประเภทบรรจุภัณฑ์แบ่งตามวิธีบรรจุและวิธีการขนถ่าย สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท 1.1 บรรจุภัณฑ์เฉพาะหน่วย (Individual Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสอยู่กับผลิตภัณฑ์ชั้นแรก เป็นสิ่งที่ บรรจุผลิตภัณฑ์เอาไว้เฉพาะหน่วย โดยมีวัตถุประสงค์ขั้นแรกคือ เพิ่มคุณค่าในเชิงพาณิชย์ (To Increase Commercial Value) เช่น การกำ�หนดให้มีลักษณะพิเศษเฉพาะหรือทำ�ให้มีรูปร่างที่เหมาะแก่การจับถือ และอำ�นวย ความสะดวกต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ภายใน พร้อมทั้งทำ�หน้าที่ให้ความปกป้องแก่ผลิตภัณฑ์โดยตรงอีกด้วย 1.2. บรรจุภัณฑ์ชั้นใน (Inner Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่อยู่ถัดออกมาเป็นชั้นที่สอง มีหน้าที่รวบรวมบรรจุ ภัณฑ์ขั้นแรกเข้าไว้ด้วยกันเป็นชุด ในการจำ�หน่ายรวมตั้งแต่ 2 – 24 ชิ้นขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ขั้นแรก คือ การ ป้องกันรักษาผลิตภัณฑ์จากน้ำ� ความชื้น ความร้อน แสง แรงกระทบกระเทือน และอกนวยความสะดวกแก่การ ขายปลีกย่อย เป็นต้น ตัวอย่างของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ กล่องกระดาษแข็งที่บรรจุเครื่องดื่มจำ�นวน ฝ 1 โหล , สบู่ 1 โหล เป็นต้น 1.3. บรรจุภัณฑ์ชั้นนอกสุด (Out Package) คือ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นหน่วยรวมขนาดใหญ่ที่ใช้ในการขนส่ง โดยปกติ แล้วผู้ซื้อจะไม่ได้เห็นบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้มากนัก เนื่องจากทำ�หน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์ในระหว่างการขนส่ง เท่านั้น ลักษณะของบรรจุภัณฑ์ประเภทนี้ ได้แก่ หีบ ไม้ ลัง กล่องกระดาษขนาดใหญ่ที่บรรจุสินค้าไว้ภายใน ภายนอกจะบอกเพียงข้อมูลที่จำ�เป็นต่อการขนส่งเท่านั้น เช่น รหัสสินค้า (Code) เลขที่ (Number) ตราสินค้า สถานที่ส่ง เป็นต้น 2. การแบ่งประเภทบรรจุภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้ บรรจุภัณฑ์เพื่อการขายปลีก (Consumer Package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ผู้บริโภคซื้อไปใช้ไป อาจมีชั้นเดียวหรือ หลายชั้นก็ได้ ซึ่งอาจเป็น Primary Package หรือ Secondary Package ก็ได้ บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shopping หรือ Transportation Package) เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้รองรับหรือห่อหุ้ม บรรจุภัณฑ์ขั้นทุติยภูมิ ทำ�หน้าที่รวบรวมเอาบรรจุภัณฑ์ขายปลีกเข้าด้วยกัน ให้เป็นหน่วยใหญ่ เพื่อความ ปลอดภัยและความสะดวกในการเก็บรักษา และการขนส่ง เช่น กล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้บรรจุยาสีฟัน กล่องละ 3 โหล


3. การแบ่งบรรจุภัณฑ์ตามความคงรูป 3.1. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงแข็งตัว (Rigid Forms) ได้แก่ เครื่องแก้ว (Glass Ware) เซรามิคส์ (Ceramic) พลาสติกจำ�พวก Thermosetting ขวดพลาสติก ส่วนมากเป็นพลาสติกฉีด เครื่องปั้นดินเผา ไม้ และโลหะ มี คุณสมบัติแข็งแกร่งทนทานเอื้ออำ�นวยต่อการใช้งาน และป้องกันผลิตภัณฑ์จากสภาพแวดล้อมภายนอกได้ดี 3.2. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงกึ่งแข็งตัว (Semirigid Forms) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทำ�จากพลาสติกอ่อน กระดาษ แข็งและอลูมิเนียมบาง คุณสมบัติทั้งด้านราคา น้ำ�หนักและการป้องกันผลิตภัณฑ์จะอยู่ในระดับปานกลาง 3.3. บรรจุภัณฑ์ประเภทรูปทรงยืดหยุ่น (Flexible Forms) ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ที่ทำ�จากวัสดุอ่อนตัว มีลักษณะเป็น แผ่นบาง ได้รับความนิยมสูงมากเนื่องจากมีราคาถูก ( หากใช้ในปริมาณมากและระยะเวลานาน ) น้ำ�หนักน้อย มี รูปแบบและโครงสร้างมากมาย 4. แบ่งตามวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ การจัดแบ่งและเรียกชื่อบรรจุภัณฑ์ในทรรศนะของผู้ออกแบบ ผู้ผลิต หรือนักการตลาด จะแตกต่างกันออก ไป บรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทก็ตั้งอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์หลักใหญ่ (Objective Of Package) ที่คล้ายกันคือ เพื่อป้องกันผลิตภัณฑ์ (To Protect Products) เพื่อจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ (To Distribute Products) เพื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ (To Promote Products)


สรุปการดำ�เนินงานตามหลัก 3ส. ขั้นตอนการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ สืบค้น ส.1 (Research)

การศึกาาข้อมูลเบื่องต้นเกี่ยวกับสมุนไพร สมุนไพร หมายถึง “ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่น ตามตำ�รับยา เพื่อบำ�บัดโรค บำ�รุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ” หากนำ�เอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสม รวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำ�รับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เรา เรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น พืชเหล่านี้ถ้านำ�มาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า เครื่องเทศ ความหมาย คำ�ว่า สมุนไพร ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง พืชที่ใช้ ทำ�เป็นเครื่องยา สมุนไพรกำ�เนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการ ส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยา สมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จากพฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยัง เป็นส่วนของราก ลำ�ต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะ ถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึก ของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำ�มาใช้เป็นยาเท่านั้น ลักษณะ พืชสมุนไพร นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่าง ๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น พืชสมุนไพร หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ ดังนี้ 1.รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด 2.สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำ�ตาล สีดำ� 3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร 4.รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น 5.ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้น ๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus hystrix DC. ชื่อสามัญ : Leech lime, Mauritus papeda วงศ์ : Rutaceae ชื่ออื่น : มะขุน มะขูด (ภาคเหนือ) มะขู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ส้มกรูด ส้มมั่วผี (ภาคใต้) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำ�ตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมัน สีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำ�มันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำ�มัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มี หลายเมล็ด ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ ผล ผิวจากผล สรรพคุณ ราก - กระทุ้งพิษ แก้ฝีภายในและแก้เสมหะเป็นพิษ ใบ - มีน้ำ�มันหอมระเหย ผล, น้ำ�คั้นจากผล - ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำ�ให้ผมสะอาด ผิวจากผล - ปรุงเป็นยาขับลมในลำ�ไส้ แก้แน่น - เป็นยาบำ�รุงหัวใจ


การบูร

การบูร ชื่อสามัญ Camphor, Gum Camphor, Formosan Camphor, Laurel Camphor การบูร ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora (L.) Presl.[1],[5],[6], Cinnamomum camphora Th. Fries[3],[4], Cinnamomum camphora Nees et Eberm. [4],[6] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Camphora officinarum Nees, Laurus camphora L.) จัดอยู่ในวงศ์ LAURACEAE[1],[4] การบูร คือผลึกที่แทรกอยู่ในเนื้อไม้ของต้นการบูร ที่ มีอยู่ทั่วไปทั้งต้น โดยมักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อ ไม้ และมีมากที่สุดในแก่นของราก รองลงมาคือส่วน แก่นของต้น ซึ่งส่วนที่อยู่ใกล้กับโคนต้นจะมีการบูร มากกว่าส่วนที่อยู่เหนือขึ้นมา ส่วนในใบและยอดอ่อน มีการบูรอยู่น้อย โดยในใบอ่อนจะมีน้อยกว่าใบแก่ ซึ่ง ผงการบูรนั้นจะมีลักษณะเป็นเกล็ดกลมๆ ขนาดเล็ก เป็นสีขาวและแห้ง อาจจับกันเป็นก้อนร่วนๆ และแตก ง่าย เมื่อทิ้งไว้ในอากาศจะระเหิดไปหมด โดยจะมีรส ปร่าเมา ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของการบูร เนื้อไม้ของต้นการบูรเมื่อนำ�มากลั่นด้วยไอน้ำ� จะได้การบูรและน้ำ�มัน หอมระเหย รวมกันประมาณ 1% ซึ่งประกอบด้วย acetaldehyde, betelphenol, caryophyllen, cineole, eugenol, limonene, linalool, orthodene, p-cymol, และ salvene รากของต้นการบูรมีน้ำ�มันหอมระเหย 3% ซึ่งประกอบ ไปด้วย azulene, cadinene, camphene, camphor, carvacrol, cineol, citronellol, citronellic acid, fenochen, limonene, phellandene, pinene, piperiton, piperonylic acid, safrole, และ terpineol ส่วนใบของต้นการบูรพบ camphor และ camperol ราก กิ่ง และใบ พบน้ำ�มันระเหยโดยเฉลี่ยประมาณ 3-6% โดยในน้ำ�มันระเหยจะมีสาร การบูรอยู่ประมาณ 10-50% และพบว่าต้นการบูรยิ่งมีอายุมากเท่าไหร่ จะพบว่ามีสารการบูรมากตามไปด้วย โดยพบสาร Azulene, Bisabolone, Cadinene, Camphorene, Carvacrol, Safrol เป็นต้น การบูรมีฤทธิ์ต้านเชื้อ แบคทีเรีย ต้านเชื้อรา ฆ่าแมลง สร้างภูมิคุ้มกัน และลดระดับคอเลสเตอรอล เมื่อนำ�เกล็ดการบูรมาทาผิวหน้าจะ ทำ�ให้รู้สึกแสบร้อน และหากนำ�มาผสมกับเกล็ดสะระแหน่จะช่วยเพิ่มความรู้เย็น เกล็ดการบูรมีประสิทธิภาพใน การช่วยกระตุ้นประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการทำ�งานของหัวใจ ทำ�ให้หัวใจเกิดการบีบตัวและเต้นเร็วมาก ขึ้น ส่งผลทำ�ให้การหายใจถี่ขึ้น


ประโยชน์ของการบูร น้ำ�มันการบูรจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกและทำ�ให้จิตใจโล่งและปลอดโปร่ง ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ และทำ�ให้ตื่นตัว ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ เมารถ เมาเรือ ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ ช่วยแก้รอยผิวหนังแตก ในช่วงฤดูหนาว กิ่งก้านและใบ สามารถนำ�มาใช้แต่งกลิ่นอาหารและขนมได้ เช่น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ ไส้กรอก เบคอน ข้าวหมกไก่ ลูกกวาด แยม เยลลี่ เครื่องดื่มโคคาโคลา เหล้า หรือใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องพะโล้ เครื่องแกงมัสมั่น ผงกะหรี่ คุกกี้ ขนมเค้ก ฯลฯ ใช้แต่งกลิ่นยา และใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารประเภทผัก ดอง ซอส เป็นต้น การบูรเมื่อนำ�มาวางในห้องหรือตู้เสื้อผ้าจะสามารถช่วยไล่ยุงและแมลง และยังนำ�มาผสม เป็นตัวดับกลิ่นอับในรองเท้าได้อีกด้วย ใช้เป็นส่วนผสมในตำ�รับยาหอมต่างๆ เช่น ยาหอมเทพจิตร ยาหอม ทิพโอสถ ยาประสะไพล ยาธาตุบรรจบ ยาประสะกานพลู ยามันทธาตุ ยาไฟประลัยกัลป์ ยาประสะเจตพังคี ยา ธรณีสัณฑะฆาต ยาธาตุอบเชย หรือนำ�มาใช้ทำ�น้ำ�มันไพล ลูกประคบ พิมเสนน้ำ� ข้อควรระวังในการใช้การบูร สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทานและผู้ที่มีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็งแห้ง ไม่ควรรับประทาน ห้ามใช้น้ำ�มันการบูรที่มีสีเหลืองและสีน้ำ�ตาล เพราะมีความเป็นพิษ[8] เมื่อรับประทาน การบูร 0.5-1 กรัม จะมีผลทำ�ให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และภายในมีอาการแสบร้อนและอาจเกิดอาการเพ้อได้ ถ้า รับประทานการบูร 2 กรัมขึ้นไป จะเกิดอันตรายทำ�ให้อัตราการเต้นของหัวใจอ่อนลง หากรับประทานการบูร 7 กรัมขึ้นไป จะเป็นอันตรายถึงชีวิต ข้อควรระวังในการใช้การบูร สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน และผู้ที่มีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขัด เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจจาระแข็งแห้ง ไม่ควรรับประทาน ห้ามใช้น้ำ�มันการบูรที่มีสีเหลืองและสีน้ำ�ตาล เพราะมีความเป็นพิษ เมื่อรับประทานการบูร 0.5-1 กรัม จะมีผลทำ�ให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และภายในมีอาการแสบร้อนและอาจเกิด อาการเพ้อได้ ถ้ารับประทานการบูร 2 กรัมขึ้นไป จะเกิดอันตรายทำ�ให้อัตรา การเต้นของหัวใจอ่อนลง หากรับประทานการบูร 7 กรัมขึ้นไป จะเป็นอันตรายถึงชีวิต


ถ่าน

เนื่องจากแกลบที่อัดแล้วไม่สามารถรักษาสภาพให้เป็นแท่งอยู่ได้ เมื่อถูกน้ำ� หรือน้ำ�ฝนจะแปรสภาพ เป็นแกลบบดเช่นเดิม แต่เมื่อนำ�แกลบที่อัดแล้วไปเผาให้เป็นถ่าน จะสามารถคงสภาพตามรูปที่ อัดได้ - ดังนั้นทางผู้ผลิตของเราจึงต้องอัดแกลบเสร็จแล้วจึงค่อยนำ�ไปเผาเป็นถ่านอัดแท่ง ซึ่งความแข็งแรง ความทนทาน เมื่อเทียบกับถ่านจากกะลามะพร้าวและ ถ่านจากขี้เลื่อยแล้ว ความหนาแน่นของถ่านใกล้เคียงกัน จากการทดลองและพัฒนาพบว่า คุณสมบัติใกล้เคียงกับถ่านที่อัดด้วยวัสดุชนิดอื่น ซึ่งความทนทานของการเผา ใหม้ขึ้นอยู่กับการอัดของเรา ซึ่งเราทดสอบแล้วถ่านของเราใช้ได้นานกว่าถ่านธรรมดา สูตรและวิธีการทำ�ผงสมุนไพรดับกลิ่นจากธรรมชาติ 100% สรรพคุณใช้ดับกลิ่นห้อง ตู้เสื้อผ้าและรถยนต์ ที่เหม็นอับชื้น เพิ่มความหอมสดชื่นจากกลิ่นหอมของสมุนไพร ธรรมชาติ ใช้ทำ�ความสะอาดเท้า ช่วยในการทำ�ความสะอาดเท้า รักษาแผลสด สมานแผล ฆ่าเชื้อโรค ลดการ อักเสบ รักษากลากเกลื้อนและดับกลิ่นเท้า วิธีใช้สมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติ 1. นำ�สมุนไพรข้อ 1-6 ซึ่งเป็นสมุนไพรอบแห้ง บดให้ละเอียดแล้วนำ�มาผสมกัน 2.นำ�น้ำ�มันหอมระเหยผสมสมุนไพร คนให้เข้ากันอย่าให้จับเป็นก้อน 3.หลังจากนั้นนำ�มาผสมเกลือ พิมเสนและการบูร บรรจุใส่ในบรรจุภัณฑ์ ปิดผนึกให้สนิทอย่าให้กลิ่นออก เมื่อ ต้องการใช้ให้แกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นออกจากบรรจุภัณฑ์ วิธีใช้สมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติ ใช้ดับกลิ่นห้อง ตู้เสื้อผ้า รถยนต์ ที่เหม็นอับชื้น เพิ่มความหอมสดชื่นจากกลิ่นหอมของสมุนไพร ธรรมชาติ โดยแกะสมุนไพรดูดซับกลิ่นจากธรรมชาติออกมา แขวนทิ้งไว้


ข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ ชื่อผลิตภัณฑ์ : สมุนไพรปรับกลิ่นอากาศ รายละเอียด ชื่อสินค้า - สมุนไพรปรับอากาศ ประเภทสินค้า - ดูดกลิ่น สี - เขียว วิธีใช้ - สมุนไพรปรับกลิ่นอากาศ ราคา - 45.ผลิตและจำ�หน่ายโดย - 58 ม.4 ตำ�บลมะขามเฒ่า อำ�เภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท 17120 ติดต่อ : คุณน้อย นางสินมงคล อินธนู โทร : 085-475567, 087-2071795 ข้อมูลจากโครงสร้างบรรจุภัณฑ์ สีของบรรจุภัณฑ์ : บรรจุภัณฑ์ห่อด้วยกระดาษษาสีสันสดใส วิธีการการบรรจุสินค้า : บรรจุใส่ถุง การขึ้นรูปทรง:มีลักษณะโปร่งใสเห็นตัวบรรจุภัณฑ์ ระบบการพิมพ์ที่ใช้ : ปริ้นบนกระดาษสีขาว และแปะลงบนบรรจุภัณฑ์ ด้านหลังบรรจุภัณฑ์ : มีบอกสรรพคุณ ลักษณะพิมพ์ใส่​่กระดาษปริ้นออกมาแปะขนาด กระดาษ กว้าง 5 เซนติเมตร สูง 7.5 เซนติเมตร


ความสูงของสมุนไพรปรับกลิ่นอากาศ 1.สูง กว้าง 9 เซนติเมตร ความสูง 11 เซนติเมตร 2.ด้านบน กว้าง 5.5 เซนติเมตร ความสูง5เซนติเมตร 3.ด้านล่าง กว้าง 9 เซนติเมตร ความสูง7.5เซนติเมตร 4.สายกว้าง 1 เซนติเมตร ความสูง 36 เซนติเมตร 5.เส้นรอบวง 9 เซนติเมตร สติกเกอร์แผ่นสีขาวหน้าถุง 1.ชื่อสิ้นค้า 2.ส่วนประกอบ 3. การใช้งาน 4.ผลิตและจำ�หน่ายที่อยู่ 5.โทรศัพท์ 6. มผช. ที่ปิดปากถุง 7.ชื่อสิ้นค้า 8. การใช้งาน 9.ผลิตและจำ�หน่ายที่อยู่ 10.โทรศัพท์ 11.บาร์โค๊ด 12.สติกเกอร์แผ่นสีขาวหน้าถุง 13.ที่ปิดปากถุง 14.ถุง 15.สินค้า



สมมุติฐาน ส.2 (Resume) ร่างแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ใหม่

แบบร่างโลโก้ใหม่


แบบร่างผลิตภัณฑ์ใหม่


บรรจุภัณฑ์ใหม่



แบบผลิตภัณฑ์ฬหม่

สร้างกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ด้วย Photoshop



บรรจุภัณฑ์

สร้าง Pattern ใส่กราฟิกด้วย llustrator


สร้าง Pattern ใส่กราฟิกด้วย llustrator

บรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 3 มิติ


สรุปผล ส.3 (Result)

ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่สมบูรณ์


Mood board


นางสาวศันสนีย์ สุพิทักษ์ เอกศิลปกรรมออกแบบนิเทศศิลป์ คณะ มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กทม. 10900 mail : sunsanee1993@gmail.com Line : sun-sa-nee Tel.+6647444812



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.