color

Page 1

ev i

Pr ew


ทฤษฎีสี

Pr

ev i

ew

Color Theory

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย T57028-2

ตําราเล่มนี้ผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว


ทฤษฎีสี Color Theory ผู้แต่ง สงวนลิขสิทธิ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ การทําซ้าํ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แต่ง

พิมพ์ครั้งที่ 2

ปรับปรุงแก้ไข เดือนกุมภาพันธ์ 2558 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ชนัญชี ภังคานนท์ วิรชา ณ พัทลุง

เจ้าของ ผู้พิมพ์และผู้โฆษณา ออกแบบปก

สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 9/1 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน ตําบลคลองหนึ่ง อําเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทร. 0-2902-0299 ต่อ 2859 โทรสาร 0-2902-0299 ต่อ 2850 http://bupress.bu.ac.th e-Mail: bupress@bu.ac.th

Pr

ev i

ew

จัดพิมพ์และจัดจําหน่าย

ISBN 978-974-219-305-8


(3)

คํานํา

Pr

ev i

ew

หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นสําหรับใช้ประกอบการเรียนการสอนในรายวิชา ศก.107 : ทฤษฎีสี ซึ่งเป็น รายวิชาหนึ่งในหมวดวิชาพื้นฐานของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อันเป็นวิชาที่ออกแบบขึ้น โดยอาศัยเนื้อหา และหลักการคิดในหนังสือ The Elements of Color: A Treatise on the Color System of Johannes Itten ของโยฮันส์ อิตเตน (Johannes Itten) เป็นต้นแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดเรื่องความ เปรียบต่างสี 7 รูปแบบ (The Seven Color Contrasts) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ศึกษาได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ ทฤษฎี และได้ฝึกฝนตามทฤษฎีดังกล่าว เพื่อพัฒนาการรับรู้ การคิดเรื่องสี และการใช้สี เป็นการสร้างความรู้ และทักษะพื้นฐานในการใช้สีในงานศิลปะและงานออกแบบประเภทต่างๆ อย่างไรก็ตาม แม้ชื่อวิชาจะใช้คําว่า “ทฤษฎี” แต่ในระบบการเรียนการสอนจริงๆ นั้น เป็นการเน้นการฝึกปฏิบัติบนพื้นฐานของทฤษฎีชุดหนึ่ง โดย แบบฝึกปฏิบัติจะประกอบด้วย 1. ส่วนที่เป็นการฝึกผสมสีและการระบายสี โดยการสร้างภาพตารางสีแสดงผล ความเปรียบต่าง (Contrast Effect) ลักษณะต่างๆ ของสีในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งจะส่งผลให้ทักษะในการผสมสี การคิดและการตัดสินใจ การมอง การอ่านค่าสี และการรับรู้ผลความเปรียบต่างสีของนักศึกษาพัฒนาขึ้นอย่าง เป็นรูปธรรม 2. แบบฝึกหัดอีกส่วนหนึ่งเป็นการนําการเรียนรู้เรื่องผลความเปรียบต่างของสีไปทดลองใช้ในงาน ออกแบบเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการฝึกฝนเพื่อพัฒนาจินตนาการสร้างสรรค์ที่อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีที่เป็นระบบ โดยตรง ทั้งนี้ ในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้ใช้การผสมผสานระหว่างความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์ ในการสอนของผู้เขียนโดยตรง ร่วมกับสิ่งที่หยิบยืมมาจากหนังสือ The Art of Color: The Subjective Experience and Objective Rationale of Color และ The Elements of Color: A Treatise on the Color System of Johannes Itten ของโยฮันส์ อิตเตนเป็นหลัก โดยมีภาพประกอบ ซึ่งผลิตขึ้นในระบบ การเรียนการสอนแสดงไว้ในเนื้อหาทุกๆ หัวข้อ ทั้งยังมีภาพตัวอย่างผลงานของศิลปินระดับนานาชาติ ซึ่ง ผู้เขียนใช้เป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ประกอบการสอนมาแสดงไว้บางส่วน เพื่อให้เห็นตัวอย่างการใช้สีในงาน สร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฉบับพิมพ์ครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงบทนําและได้เพิ่มเติมแบบฝึกหัด ทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงสร้างสรรค์เข้ามา อีกทั้งยังได้ให้คําอธิบายประกอบเพิ่มเติมไว้ในรูปแบบของเชิงอรรถไว้ จํานวนหนึ่ง เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจวิธีคิดเบื้องหลังการเรียนการสอนได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าผู้อ่านจะไม่ใช่นักศึกษาที่ ศึกษาในหลักสูตรก็ตาม อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการพิมพ์ครั้งนี้ เป็นเพียงการเพิ่มเติมความ สมบูรณ์ของหนังสือให้มีมากขึ้นกว่าการพิมพ์ครั้งที่แล้ว และเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อ่านในวงกว้างมากขึ้น เท่านั้น มิได้เป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างแต่อย่างใด นอกจากนี้ แม้ว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะยังไม่ ครอบคลุมถึงทฤษฎีสีของแสง และอาจยังไม่ครอบคลุมถึงทฤษฎีสีซึ่งอาจมีขึ้นใหม่ในโลกของเทคโนโลยีแบบ ดิจิตอลก็ตาม แต่ผู้เขียนก็ยังมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างมากว่า การเรียนรู้และการฝึกฝนอย่างจริงจังตามที่ได้ ออกแบบไว้ในรายวิชานี้ยังมีความเพียงพอในฐานะที่เป็นความรู้พื้นฐาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ เข้าหาชีวิตจริงในโลกร่วมสมัยอย่างมีคุณภาพได้ ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนใคร่ขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งต่อ ผศ.สรรเสริญ มิลินทสูต คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ที่คอยเอาใจใส่ กระตุ้น และสนับสนุนให้เขียนหนังสือ เล่มนี้ขึ้น ขอขอบคุณเป็นการพิเศษต่อ ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์ ซึ่งนอกจากจะเป็นอาจารย์ผู้ซึ่งเคยให้ความรู้


(4)

แก่ผู้เขียนโดยตรงในอดีตแล้ว ยังมีส่วนให้ความช่วยเหลืออย่างมากในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ทั้งในการให้ คําแนะนําและให้ข้อมูลเพิ่มเติมที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง ผู้เขียนขอขอบคุณ อ.มนต์ชัย สันติเวส และ คุณกนกนุช ศิลปวิศวกุล ในการเอื้อเฟื้อภาพประกอบ รวมถึงเพื่อนอาจารย์ทุกคนที่เคยร่วมประสบการณ์การสอนด้วยกัน และนักศึกษาทุกคนที่เคยเรียนวิชานี้กับผู้เขียน ประสบการณ์ในการสอนอันยาวนานในวิชานี้กว่าสิบปีทําให้ ผู้เขียนได้เรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจในเรื่องสีขึ้นไปอีกมาก ถ้าหากปราศจากประสบการณ์การสอนดังกล่าวนี้ แล้ว หนังสือเล่มนี้คงยากที่จะเกิดขึ้นและสําเร็จลุล่วงด้วยดีได้

Pr

ev i

ew

ผศ.ธเนศ อ่าวสินธุ์ศิริ มกราคม 2558


(5)

สารบัญ บทนํา ทฤษฎี (Theory) ทฤษฎีสี ฟิสิกส์ของสี (Color Physics) แสงสีที่เกิดจากการบวกรวมกันของคลื่นแสงและสีคู่เติมเต็ม (Additive Color and Complementary Colors) สีของวัตถุหรือสีที่เกิดจากการหักลบแสงสีออก (Subtractive Color) สีที่ใช้ในการเรียนการสอน

ew

บทที่ 1

หน้า 1 1 2 7 10 10 11

วงจรสี 12 สี (The Twelve-Part Color Circle)

12

บทที่ 3

ความเปรียบต่างสี 7 แบบ (The Seven Color Contrasts) ความเปรียบต่างสีและผลความเปรียบต่างของสี (Color Contrast and Contrast Effect) ความเปรียบต่าง (Contrast) ผลความเปรียบต่าง (Contrast Effect)

15 15 15 16

ความเปรียบต่างของสีแท้ (Contrast of Hue)

18

Pr

บทที่ 4

ev i

บทที่ 2

บทที่ 5

ความเปรียบต่างของความสว่าง-มืดของสี (Light-Dark Contrast)

25

บทที่ 6

ความเปรียบต่างของความสว่าง-มืดของสีแบบไร้สีสัน (Achromatic Light-Dark Contrast) Achromatic ค่าสว่าง-มืด (Value) แสง-เงา (Chiaroscuro)

27

ความเปรียบต่างของความสว่าง-มืดของสีแบบมีสีสัน (Chromatic Light-Dark Contrast) Chromatic

34

บทที่ 7

27 27 27

34


(6)

แสง-เงาแบบหมอกควัน (Sfumato) ของ Leonardo da Vinci แสง-เงาแบบเร้าอารมณ์ (Tenebroso) ของ Caravaggio บทที่ 8

ความเปรียบต่างของความสว่าง-มืดของสีแบบหลากหลายสีสัน (Polychromatic Light-Dark Contrast) Polychromatic สีผสมดํา (Shade) สีผสมขาว (Tint)

42

ความเปรียบต่างของสีเย็นกับสีร้อน (Cold-Warm Contrast)

48

ew

บทที่ 9

หน้า 34 35

ev i

บทที่ 10 ความเปรียบต่างของสีคู่เติมเต็ม (Complementary Contrast) สีคู่เติมเต็ม (Complementary Colors) คุณสมบัติสําคัญของสีคู่เติมเต็ม

42 42 42

55 55 55 62

บทที่ 12 ความเปรียบต่างของความอิ่มตัวของสี (Contrast of Saturation)

68

บทที่ 13 ความเปรียบต่างของการแผ่ขยายตัวของสี (Contrast of Extension) ความเปรียบต่างระหว่างขนาดใหญ่-เล็กของพื้นที่สี Harmonious and Expressive: ผลความเปรียบต่าง 2 แบบ ค่าความสว่าง-มืดของสีของเกอเธ่ (Goethe)

75 75 75 76

บทที่ 14 สรุป

82

ภาคผนวก

83

บรรณานุกรม

87

Pr

บทที่ 11 ความเปรียบต่างที่เกิดขึ้นทันทีจากอิทธิพลของสีคู่เติมเต็ม (Simultaneous Contrast)


(7)

สารบัญภาพประกอบ

ev i

ew

ปกเอกสารรวมงานเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชี่ Treatise on Painting ปกหนังสือ Opsticks ของเซอร์ไอแซค นิวตัน วงจรสีของเกอเธ่ ปกหนังสือ Interaction of Color ของโจเซฟ อัลเบอร์ ปกหนังสือ The Elements of Color ของโยฮันส์ อิตเตน ภาพกราฟิกแสดงการทดลองแยกแสงสีของนิวตัน ภาพวาดลายเส้นต้นฉบับแสดงการทดลองแยกแสงสีของนิวตัน วงจรสีของนิวตัน แสดงให้เห็นว่าแสงสีแต่ละสีมีขนาดไม่เท่ากัน วงจรสี 12 สีของอิตเตน ภาพกราฟิกแสดงผลความเปรียบต่างของสี ภาพแสดงผลความเปรียบต่างระดับต่างๆ ของความเปรียบต่างของสีแท้ ภาพตารางสี 25 ช่อง แสดงความเปรียบต่างของสีแท้รูปแบบต่างๆ Mimmo Paldino, L’angelo Karel Appel, Questioning Children Paul Gauguin, We Hail Thee Mary Frank Stella, Tahkt-I-Sulayman Variation II ภาพแสดงการปรับค่าวงจรสีให้เป็นขาว-ดํา ภาพแสดงการเปรียบเทียบค่าสว่าง-มืดของสีเทา 12 ระดับกับสีในวงจรสี ภาพแสดงการเกิดขึ้นและลักษณะของแสง-เงา (Chiaroscuro) ผลงานจิตรกรรมแสดงการใช้คอิ ารอสคูโรในการสร้างภาพ ภาพแสดงผลความเปรียบต่างของชุดสีขาว-เทา-ดํา Albrecht Dürer, Adam and Eve Jean-Auguste-Dominique Ingres, Odallisque in Grisaille Gerhard Richter, Sea-Piece-Wave Käthe Kollwitz, Self Portrait Leonardo da Vinci, Mona Lisa Michelangelo Merisi da Caravaggio, The Incredulity of Saint Thomas ภาพแสดงการฝึกฝนควบคุมค่าสว่าง-มืดของสีด้วยการผสมสีดํา ภาพแสดงตารางสีและแถบสีเพื่ออธิบายเสริมภาพที่ 24 ภาพแสดงการฝึกฝนควบคุมค่าสว่าง-มืดของสีด้วยการผสมสีขาว Diego Velazquez, The Feast of Bacchus (Los Borrachos)

Pr

ภาพที่ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31

หน้า 3 3 4 6 7 8 8 9 12 16 19 20 21 22 22 23 25 26 28 28 29 30 31 31 32 35 36 37 37 38 39


(8)

ภาพที่

ev i

ew

Michelangelo Merisi da Caravaggio, Bacchus Philip Pearlstein, Mr. and Mrs. Pillsbury Dod Procter, Morning ภาพแสดงการฝึกฝนควบคุมค่าสว่าง-มืดของสีด้วยการผสมสีขาว ภาพแสดงตารางสีและแถบสีเพื่ออธิบายเสริมภาพที่ 31 Pablo Picasso, The Dream Pablo Picasso, Portrait of Dora Maar R.B. Kitaj, The Ohio Gang Paul Klee, Landscape with Yellow Birds ภาพแสดงการใช้วงจรสีอธิบายสีเย็น-ร้อน ภาพแสดงผลความเปรียบต่างสีเย็น-ร้อนแบบต่างๆ Claude Monet, The Japanese Bridge (The Water-Lily Pond, Water Irises) Paul Cézanne, Bibemus Quarry Thomas Moran, An Arizona Sunset Near the Grand Canyon Pierre Bonnard, Dining Room on the Garden ภาพแสดงการใช้วงจรสีอธิบายตําแหน่งของสีคเู่ ติมเต็ม ภาพแสดงการผสมสีคู่เติมเต็ม 3 คู่เข้าหากัน ภาพแสดงผลความเปรียบต่างของคู่สีเติมเต็ม น้ําเงิน-ส้ม William Holman Hunt, The Scapegoat Vincent van Gogh, The Night Café David Hockney, Portrait of an Artist (Pool with Two Figures) Francis Bacon, Study after Velazquez’s Portrait of Pope Innocent X ภาพแสดงปรากฏการณ์ภาพติดตา (After-Image) ภาพแสดงผลความเปรียบต่างที่เกิดขึ้นทันทีจากอิทธิพลของสีคู่เติมเต็ม ภาพแสดงการแก้ไขปรับแต่งผลความเปรียบต่างที่เกิดขึ้นทันทีจากอิทธิพลของสีคู่เติมเต็ม Satan and the Locusts จากผลงานชุด “Apocalypse de St. Sever” El Greco, The Disrobing of Christ ภาพแสดงการปรับลดความอิ่มตัวของสีแดงด้วยสีเทา ภาพแสดงการปรับลดค่าความอิม่ ตัวของสีด้วยการผสมสีขาว ภาพแสดงการปรับลดค่าความอิม่ ตัวของสีด้วยการผสมสีดํา ภาพแสดงการปรับลดค่าความอิม่ ตัวของสีด้วยการผสมสีคู่เติมเต็ม น้ําเงิน-ส้ม Paul Cezanne, Ginger, Jar and Fruits Peter Paul Rubens, Portrait of Sara Serena Rubens Diego Velazquez, Joseph's Bloody Coat Brought to Jacob

Pr

32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65

หน้า 39 40 40 43 43 44 45 45 46 49 50 51 52 52 53 56 56 57 58 59 59 60 62 63 64 65 66 69 70 70 71 72 72 73


(9)

ภาพที่ Piero della Francesca, The Flagellation of Christ ภาพแสดงขนาดพื้นที่สีที่สมดุลประสานสัมพันธ์กันของสีขั้นทีห่ นึ่งและสอง ภาพแสดงขนาดพื้นที่สีที่สมดุลประสานสัมพันธ์กันของสีขั้นทีห่ นึ่งและสองในรูปแบบวงจรสี Robert Motherwell, Jet’aime No.2 Mark Rothko, Violet, Black, Orange, Yellow on White and Red Patrick Heron, January 1973: 7 Peter Halley, Suburgatory ตารางสีของไทยที่ถกู แปรเทียบเคียงกับระบบสี Pantone ตารางสีของไทยที่ถกู แปรเทียบเคียงกับระบบสี Pantone

Pr

ev i

ew

66 67 68 69 70 71 72 73 74

หน้า 73 77 78 79 79 80 80 85 86


ev i

Pr ew


บทที่ 1 บทนํา

ev i

ew

ทฤษฎี (Theory) คําว่า “ทฤษฎี” เป็นคําที่คล้ายยาขมสําหรับนักเรียนศิลปะโดยทั่วไป เพราะเป็นคําที่ให้ความรู้สึกขึงขัง ดูจริงจัง และเป็นวิชาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักศึกษาศิลปะโดยปกติไม่ชอบ เนื่องจากพวกเขามักทึกทักเอาเองว่า ศิลปะเป็นเรื่องของอารมณ์และความรู้สึก ไม่ต้องใช้ความรู้มาก และศาสตร์ของการปฏิบัติต่างๆ นั้นอยู่ได้ด้วย ตนเอง ใช้เพียงการฝึกฝน ฝึกไปเดี๋ยวก็ทําเป็น ไม่ต้องมีหลักการใดๆ เป็นพื้นฐาน ที่จริงแล้วคําว่า ทฤษฎี มี ความหมายได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับบริบทในการใช้และเป็นสิ่งที่นักศึกษาควรทําความเข้าใจอย่างยิ่ง เพื่อให้ อคติต่อคํานี้ของนักศึกษาซึ่งเป็นอุปสรรคสําคัญในการเรียนรู้ลดน้อยลงหรือหมดสิ้นไป ในพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถานระบุความหมายของคํานี้ไว้หลายแบบ ตั้งแต่ความหมายง่ายๆ เช่น “ความเห็น” หรือ “การ เห็นด้วยใจ” ไปจนถึงความหมายระดับที่เป็นหลักวิชาการ ส่วนแหล่งข้อมูลอ้างอิงภาษาต่างประเทศก็ให้นิยาม ไว้ต่างๆ กัน ตัวอย่างเช่น “ข้อสรุปที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ให้ชัดเจน สมมติฐานหรือการคาดคะเนที่ใช้เพื่อหา ข้อสรุปในเรื่องโต้แย้งเรื่องหนึ่งๆ” (www.artlex.com) หรือ “อรรถาธิบายในเรื่องใดเรื่องหนึ่งของโลกธรรมชาติ ที่ถึงพร้อมด้วยหลักฐานและเหตุผลสนับสนุน” (www.wordreference.com) หรือ “ศาสตร์หรือสาขาซึ่ง เกี่ยวข้องกับหลักการ กระบวนการ หรือเทคนิควิธีการต่างๆ ซึ่งแยกออกจากการฝึกปฏิบัติ ดังเช่น ทฤษฎีดนตรี” (www.dictionary.com) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความหมายที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้เป็นเพียงภาพคร่าวๆ ตาม บริบทที่หลากหลายของคําๆ นี้เท่านั้น เมื่อสังเคราะห์ข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง พอจะสรุปความให้สอดคล้อง กับบริบทและเนื้อหาการเรียนการสอนในรายวิชานี้ได้ว่า “ทฤษฎีสี” คือ

Pr

“หลักเกณฑ์หรือข้อสรุปของชุดความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ของการใช้สี ซึ่งวิเคราะห์และสังเคราะห์มาจาก ประสบการณ์ของการเรียนรู้ การฝึกฝนใช้สี และการวิเคราะห์ วิจัยทั้งในทางทฤษฎี ในการทดลอง และการ ปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของการสร้างสรรค์และการทําความเข้าใจผลงานศิลปะและงานออกแบบ”

ดังนั้น การศึกษาและการฝึกฝนการใช้สีโดยมีทฤษฎีเป็นพื้นฐานจึงเป็นองค์ประกอบที่สําคัญและเป็น สิ่งจําเป็นในการเรียนรู้และการฝึกฝนศาสตร์ชนิดนี้ เพราะเปรียบได้ดังการมีมัคคุเทศก์นําทาง ซึ่งจะช่วยให้ ผู้เรียนประหยัดเวลา สามารถบรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น ไม่ต้องฝึกฝนอย่างงุ่มง่าม ลองผิดลองถูก อย่างไร้ทิศทางให้เสียเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นการศึกษาทฤษฎีที่มีแบบฝึกปฏิบัติอย่างเป็นระบบควบคู่ กันไปก็ยิ่งจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาศักยภาพและทักษะในการใช้สีของตนได้อย่างรวดเร็ว และจะมี พื้นฐานที่มั่นคง จนสามารถใช้ในการปฏิบัติงานในรายวิชาต่างๆ ได้ เป็นต้นว่า การผลิตผลงานสร้างสรรค์ ประเภทต่างๆ ตามหลักสูตรของสาขาวิชาไปจนถึงการประกอบอาชีพในทางศิลปะหรืองานออกแบบในอนาคต ข้างหน้า


2

Pr

ev i

ew

ทฤษฎีสี (Color Theory)1 การสร้างองค์ความรู้เชิงวิชาการในโลกตะวันตกนั้น ผูกติดอย่างมากกับยุคสมัยใหม่และกรอบคิดแบบ สมัยใหม่นิยม (Modernism) ที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อแบบมนุษย์นิยม (Humanism) ซึ่งมีความเชื่อว่า มนุษย์มีสติปัญญาสูง สามารถใช้สติปัญญาและเหตุผลแสวงหาความจริงจากการศึกษาธรรมชาติ จากความเชื่อ ที่ว่านี้ ทําให้มนุษย์ขวนขวายแสวงหาความรู้เพื่อเข้าใจความจริงของโลกรอบตัวพวกเขา และเป็นพื้นฐานสําคัญ ที่ทําให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทําให้โลกตะวันตกก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ในยุโรปในช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 15 – 17 ทําให้เกิด องค์ความรู้แบบวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นความรู้ที่มีความเป็นวัตถุวิสัยและเป็นภาวะวิสัย มีวิธีวิทยาที่เป็นระบบชัดเจน พิสูจน์และตรวจสอบได้ ทําให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นศาสตร์พื้นฐานในการคิดเรื่องความจริงและทฤษฎีความรู้ เทียบเคียงให้แก่ศาสตร์อื่นๆ ความรู้เรื่องสีก็เช่นกัน ที่ได้ดําเนินไปตามเส้นทางที่วิทยาศาสตร์ได้วางต้นแบบไว้ และมีผู้คนมากมาย ร่วมอยู่ในสิ่งที่กล่าวถึงนี้ ในยุคสมัยใหม่ หลักการเกี่ยวกับทฤษฎีสีปรากฏเป็นงานเขียนครั้งแรกในหนังสือชื่อ Il Libro dell’arte (The Craftman’s Handbook) ของเชนนิโน เชนนินี (Cennino Cennini) จิตรกรชาว ทัสคัน2 ที่เขียนขึ้นราวประมาณปี ค.ศ. 1390 ให้ข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับการเตรียมวัตถุดิบสําหรับการวาด ภาพ ทั้งจิตรกรรมฝาผนังสีปูนเปียก (Fresco) และภาพวาดสีฝุ่น (Egg Tempera) บนแผ่นไม้ นับตั้งแต่วิธีการ เตรียมสีไปจนถึงขั้นตอนและวิธีการต่างๆ ในการวาดภาพอย่างละเอียด เขานําเสนอการใช้สีสดและการ ผสมสี ส ดด้ ว ยสี ข าวเพื่ อ แสดงความเป็ น แสง ทฤษฎี ข องเขาถู ก ใช้ เ ป็ น แม่ แ บบของการวาดภาพในอิ ต าลี ในคริสตศตวรรษที่ 15 ต่อมาในปี ค.ศ. 1435 เลโอเน บาตติสตา อัลแบร์ตี (Leone Battista Alberti) นัก คิด และสถาปนิก ชาวอิตาเลียนได้ตีพิมพ์เอกสารชื่อ Della Pittura (On Painting) มีเนื้อหาหลักๆ เกี่ยว กับการวาดภาพจําลองความเป็น 3 มิติอย่างเป็นระบบด้วยหลักทัศนียวิทยาแบบจุดเดียว (Single-point Perspective) เขาแบ่ง พื้นที่ของหนัง สือส่วนหนึ่งเขียนเรื่องสี แสง-เงา การผสมสีส ดด้ว ยสีข าวและดํา เพื่อสร้างแสง-เงาและความเป็น 3 มิติให้แก่วัตถุ3 และการเน้นค่าของสีบางสีให้โดดเด่นด้วยการนําสีอื่น มาวางข้างเคียง ไปจนถึงผลทางจิตวิทยาของสีที่ให้ผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้ชม และต่อมาในสมุด บันทึกต้นฉบับลายมือของเลโอนาร์โด ดา วินซี (Leonardo da Vinci) ซึ่งเขียนเกี่ยวกับงานจิตรกรรม โดยแบ่ง 1

ทฤษฎีสีแรกสุดของโลกนั้นถูกนําเสนอโดยอริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก ในหนังสือชื่อ de Coloribus (On Colours) ซึ่งเสนอว่ามีสีหลัก 2 สี ได้แก่ สีขาวและสีดาํ -แสงและสภาวะไร้แสง -และสีใดๆ ก็ตามย่อมเกิดขึน้ จากธาตุหนึ่งๆ ในธาตุทั้งสีข่ องธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ อากาศ น้ํา ดิน และไฟ เขายังเสนอว่า นอกจากสีขาวและดําแล้ว สีพนื้ ฐานที่แท้จริงคือ สีเหลืองและสีน้ําเงิน เนื่อง จากเรา “เห็น” แสงสีขาวบริสุทธิ์ของดวงอาทิตย์เป็นสีเหลืองและเห็นความมืดของเทศะเป็นท้องฟ้า สีน้ําเงิน 2 ทัสคานี (Tuscany หรือ Toscana ในภาษาอิตาเลียน) เป็นแคว้นหนึง่ ในภาคกลางของอิตาลีเมืองหลวงของแคว้น คือฟลอเรนซ์ (Florence หรือ Firenze ในภาษาอิตาเลียน) ในสมัยของเชนนินี อิตาลียังไม่มีสถานะเป็นประเทศ 3 ทฤษฎีสีของเชนนินีและอัลแบร์ตใี นที่นี้เหมาะกับการวาดภาพด้วยเทคนิคสีปูนเปียกและสีฝุ่นเท่านั้น เมื่อสีน้ํามัน ถูกผลิตขึ้นและได้รับความนิยมนํามาใช้กันอย่างกว้างขวาง ระบบการผสมสีได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องด้วยการผสมสีนา้ํ มัน เข้าหากัน ให้ผลที่ละเอียดและซับซ้อนกว่า ทั้งในแง่ของค่าสว่าง-มืด และความสด-หม่นของสี


3

ev i

ew

เป็นบทย่อยๆ ถึง 944 บท เอกสารชุดนี้ถูกเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันโดยฟรานเชสโก เมลซี่ (Francesco Melzi) ศิษย์คนหนึ่งของเขาในปี ค.ศ. 1540 มันเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ Libro di Pittura (Treatise on Painting) และต่อมาถูกตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวางในรูปแบบของหนังสือใน ปี ค.ศ. 1651

Pr

ภาพที่ 1 ปกเอกสารรวมงานเขียนของเลโอนาร์โด ดา วินชี่ Treatise on Painting ฉบับตีพิมพ์ปี ค.ศ. 1651 ภาพ- http://www.bne.es/es/Micrositios/Exposiciones/Leonardo/resources/img/seccion 3_60_gr.jpg

ภาพที่ 2 ปกหนังสือ Opsticks ของเซอร์ไอแซค นิวตัน ปี ค.ศ. 1704 ภาพ- http://library.lehigh.edu/omeka/exhibits/show/heavenlyspheres/newton/opticks


4

Pr

ev i

ew

เมื่อถึงต้นคริสตศตวรรษที่ 18 ความรู้เรื่องสีมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นและกลายเป็นหัวข้อที่โต้แย้งกัน ในวงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ วงการศิลปะ และช่างฝีมืออย่างกว้างขวาง เมื่อเซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษตีพิมพ์หนังสือ “Opticks” ออกมาในปี ค.ศ. 1704 หนังสือเล่มนี้มีสาระ สําคัญทําให้คนรู้ว่าสีคือคลื่นแสงและแสงสีขาวประกอบขึ้นจากการรวมตัวของแสงสีต่างๆ ในคริสตศตวรรษที่ 18 นี้เองที่ความรู้เรื่องทฤษฎีสีก้าวหน้าอย่างมีนัยสําคัญ เมื่อมีการทดลองค้นคว้า อย่างจริงจังในเรื่องผลทางจิตวิทยาที่สีมีต่อการรับรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลความเปรียบต่างของสีคู่ตรงข้ามหรือ สีคู่เติมเต็ม (Complementary) ซึ่งเกิดขึ้นในระบบการรับรู้ที่เรียกว่า “ภาพติดตา” (After-image) นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารศึ ก ษาอย่ า งละเอี ย ดในเรื ่ อ งคุ ณ สมบั ต ิ เ ฉพาะของสี ต ่ า งๆ ความก้ า วหน้ า ในการศึ ก ษาเรื ่ อ งสี ในยุคนั้นส่งผลสรุปเป็นตําราทฤษฎีสีที่สําคัญหลายเล่มของศตวรรษที่ 19 ซึ่ง เป็น รากฐานสํา คัญ ให้แ ก่ การพัฒนาทฤษฎีใหม่ๆ ใน ชั้นหลัง ดังเช่น “Theory of Colours” (ค.ศ. 1810) ของโยฮัน วูล์ฟกัง ฟอน เกอเธ่ (Johann Wolfgang von Goethe) กวีและนักคิดคนสําคัญชาวเยอรมัน และ “The Law of Simultaneous Contrast of Colors and the Mixing of Colored Objects” (De la Loi du Contraste Simultané des Couleurs et de I’ Assortiment des Objets Coloris)4 (ค.ศ. 1839) ของมิเชล ยูจีน เชฟเริล (Michel Eugène Chevreul) นักเคมีชาวฝรั่งเศส

ภาพที่ 3 วงจรสีของเกอเธ่ในหนังสือ Theory of Colours ปี ค.ศ. 1810 วงจรสีนี้เป็นต้นแบบให้กับ แนวคิดเรื่องสีคู่เติมเต็ม (Complementary Color) และตําแหน่งตรงข้ามกันในวงจรสีของคู่สีเติมเต็ม ภาพ- http://en.wikipedia.org/wiki/File:GoetheFarbkreis.jpg

4

หนังสือเล่มนี้เป็นหลักการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้แก่งานจิตรกรรมของจิตรกรกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสต์และนีโอ-อิม เพรสชั่นนิสต์


5

Pr

ev i

ew

อาจจะสรุ ป ให้ เ ข้ า ใจง่ า ยลงได้ ว่ า เซอร์ นิ ว ตั น ศึ ก ษาสี จ ากกรอบคิ ด แบบวิ ท ยาศาสตร์ ธ รรมชาติ ซึ่งเน้นไปที่ความจริงทางกายภาพหรือฟิสิกส์ของสี ส่วนเกอเธ่และเชฟเริลได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยเฉพาะจิตวิทยาการรับรู้ ทําให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการ การเห็ น สี ซึ่ ง ขึ้ น กั บ กระบวนการทํ า งานระหว่ า งดวงตาที่ ทํ า หน้ า ที่ รั บ ภาพและสมองซึ่ ง ทํ า หน้ า ที่ จั ด การ ข้อมูลที่ดวงตารับมา ทําให้เรามองเห็นสีไม่ตรงกับความจริงทางกายภาพของสี ดังเช่น ปรากฏการณ์ภาพติดตา (After-image) ที่สมองสร้างการชดเชยการเห็นภาพขึ้นเพื่อสร้างความสมดุลทางจิตวิทยา และการเข้าใจเรื่อง ผลความเปรียบต่างของสี (Contrast Effect of Colors) เป็นต้น นอกจากนี้ เกอเธ่ยังมีธรรมชาติแบบกวี การคิดเรื่องสีของเขาจึงเกี่ยวข้องกับอารมณ์ ความรู้สึกและสุนทรียภาพด้วย สําหรับวงการศิลปะและการออกแบบ ความกระตือรือร้นในการสร้างองค์ความรู้เชิงวิชาการนั้นเกิดขึ้น อย่างเป็นระบบและมีการวางแผน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในต้นคริสตศตวรรษที่ 20 เมื่อสถาบันออกแบบและศิลปะ เบาเฮาส์ (Bauhaus) เกิดขึ้นในไวมาร์ ประเทศเยอรมันนี ในปี ค.ศ. 1919 ที่สถาบันแห่งนี้มีหมวดวิชาพื้นฐาน ที่กลุ่มปัญญาชน ทั้ง นักออกแบบและศิลปินคนสําคัญๆ ของยุโรปในเวลานั้นร่วมกันสร้างหลักสูตรและ ร่วมกันสอน ดังเช่น วาสซิลี แคนดินสกี้ (Wassily Kandinsky) พอล คลี (Paul Klee) ไลโอเนล ไฟนิงเง่อร์ (Lyonel Feininger) ลาสโล โมโฮลี-นากลี (László Moholy-Nagy) โจเซฟ อัลเบอร์ (Josef Albers) และโยฮันส์ อิตเตน (Johannes Itten) ฯลฯ พวกเขาได้สร้างตําราวิชาการทางศิลปะและการออกแบบที่สําคัญไว้หลายเล่ม บุคคลหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนสําคัญในการศึกษาเรื่องทฤษฎีสีในศตวรรษที่ 20 คือ โจเซฟ อัลเบอร์ ศิลปินชาวเยอรมัน วิธีคิดของเขารวบรวมอยู่ในหนังสือเล่มบางๆ ชื่อ “Interaction of Color” ซึ่ง ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1963 เมื่อเขาย้ายหนีภัยสงครามจากเยอรมันนีมาใช้ชีวิตในอเมริกา หนังสือเล่มนี้ได้รับการ ยกย่องอย่างมากในวงการศึกษาศิลปะ โดยเฉพาะในกลุ่มของบุคคลที่เชื่อในการทํางานศิลปะแบบนามธรรม (Abstract Art) วิธีคิดหลักที่สําคัญของอัลเบอร์วางอยู่บนผลที่เกิดขึ้นแบบสัมพัทธของสี ปฏิกริยาและอิทธิพล ระหว่างสีต่างๆ ที่ถูกวางไว้ในพื้นที่เดียวกันเพื่อให้เห็นผลเชิงประจักษ์ในการมองโดยไม่ต้องมีกรอบคิดใดๆ ไว้ก่อน ล่วงหน้า อย่างไรก็ตาม แนวทางการฝึกฝนของอัลเบอร์นั้นไม่ใช้การฝึกผสมสีเลย แต่จะใช้การตัดกระดาษสี ต่างๆ เป็นรูปทรงเรขาคณิตทดลองวางเปรียบเทียบกันในลักษณะต่างๆ เพื่อตรวจสอบผลที่เกิดขึ้น


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.