Sajja to merit

Page 1

www.kalyanamitra.org


พระเผด็จ ทตฺตชีโว

เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ : 978-616-8188-16-3

ที่ปรึกษา

คณะบรรณาธิการ

ผู้จัดท�ำ

คณะวิพากษ์ คณะจัดท�ำต้นฉบับและหนังสือ

ออกแบบปกและรูปเล่ม สถาบันพุทธศิลป์แห่งโลก พรทิพย์ มีดี

นันทิยา แสนจันทร์ สุดปรารถนา จารุชาต

ภาพประกอบ

สถาบันพุทธศิลป์แห่งโลก

พิมพ์ครั้งแรก

วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

จ�ำนวนพิมพ์

๑๕,๐๐๐ เล่ม

ลิขสิทธิ์

วัดพระธรรมกาย อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ๑๒๑๒๐

จัดพิมพ์โดย

กองวิชาการ อาศรมบัณฑิต วัดพระธรรมกาย

พิมพ์ที่

บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จ�ำกัด

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data พระเผด็จ ทตฺตชีโว. สัจจะต่อความดี อานุภาพพลิกโลก.--ปทุมธานี : กองวิชาการ อาศรมบัณฑิต วัดพระธรรมกาย, 2563. 162 หน้า. 1. ธรรมเทศนา. I. ชื่อเรื่อง. 294.308 ISBN 978-616-8188-16-3 www.kalyanamitra.org


ค�ำน�ำ ท่านผู้อ่านที่เคารพรักธรรม รักความจริง รักความดี ปัจจุบัน ความรูว้ ชิ าการและเทคโนโลยีได้เจริญล�ำ้ หน้าเกินคาด มากเกินพอที่ จะท�ำให้ผู้คนทั้งโลกอยู่เย็นเป็นสุข แต่ท�ำไมทั้งโลกกลับต้องอยู่ร้อน เป็นทุกข์จากทั้งปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร การปกครอง แม้การรักษาสุขภาพส่วนตน ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะอาศัยในประเทศ ด้อยพัฒนาหรือมหาอ�ำนาจก็ตาม เมื่อกว่า ๒,๖๐๐ ปี มีบรรพชนผู้รู้เป็นบรมครูแห่งโลกหล้า ได้กรุณาเตือนไว้ว่า โลกเรานี้ แม้ในเมืองน้อยใหญ่ที่ดูแสนสะอาด ต่างก็เคยมีผู้คนล้มตายศพเกลื่อนกลาดทั่วหมู่บ้านร้านตลาด ไม่ต่าง จากใบไม้ร่วงมาแล้ว ๓ ลักษณะ คือ ลักษณะที่ ๑ ล้มตายเพราะสงครามระหว่างหมู่มนุษย์ ลักษณะที่ ๒ ล้มตายเพราะทุพภิกขภัยไร้อาหาร ลักษณะที่ ๓ ล้มตายเพราะอมนุษย์แพร่โรคระบาด

www.kalyanamitra.org


บรรพชนผูร้ ้กู รุณาแจงเหตุอาเพศไว้ดว้ ยว่า เป็นเพราะชาวโลก ขณะนั้นหลงพอใจในอธรรม ละทิ้งธรรม ทิ้งความจริง ทิ้งความดี มีแต่คิดจะร�่ำรวย แม้ด้วยวิธีวิปริต ผิดศีล ผิดธรรม มีทั้งประเภทโลภ จัด โกงจัด คอร์รัปชันจัด เห็นแก่ตัวจัด ไม่ค�ำนึงว่าทรัพย์สมบัตินั้น เป็นของใคร หากตนพอใจอยากได้ ก็ใช้อำ� นาจบาตรใหญ่ไปฉุดกระชาก ลากเอามาเป็นของตนจนได้ ไม่มีความละอาย เทิดทูนบูชาความ ร�่ำรวย ฉกฉวยเทคโนโลยีมาสร้างความยิ่งใหญ่เอาไว้เป็นอ�ำนาจต่อ รอง ไม่ปรารถนาจะยกย่องบูชาคนดี คนมีศลี มีธรรม เพราะพฤติกรรม ต�่ำช้าเยี่ยงนี้ จึงเกิดมีอาเพศทั่วแผ่นดิน บรรพชนผูร้ ยู้ งั ได้ประทานวิธแี ก้ไขอาเพศไว้อกี ว่า จงหันหน้า มาพิจารณาตน หมั่นเตือนตนด้วยตน ตั้งหน้าฝึกฝนอบรมตน ให้ตนคือสัจจะและสัจจะคือตน เมื่อต่างคนต่างยึดมั่นในสัจจะ ถือสัจจะต่อความดีเป็นสรณะ ทั้งโลกย่อมพลิกฟื้นคืนกลับทันใด จากโลกมืดเป็นโลกแจ้ง มีแสงธรรมผ่องอ�ำไพส่องสว่างไปทั่วผืน แผ่นดิน สัจจะต่อความดีมีทั้งส่วนที่มนุษย์ต้องรีบรู้ ๑ และส่วนที่ มนุษย์ต้องรีบประพฤติ​ิ ๑ เมื่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งหญิงและชาย ต่างตั้งใจศึกษาฝึกหัดอบรมสัจจะทั้ง ๒ ไปพร้อม ๆ กัน ย่อมปฏิบัติ ได้งา่ ย ไม่ตอ้ งลงทุนลงแรงใด ๆ เพียงแค่ประกอบธุรกิจการงานอาชีพ ไปตามปกติ ควบคู่กับการหมัน่ ดึงใจกลับมาเก็บรักษาไว้ในกลางกาย เป็นนิจก็เพียงพอ

www.kalyanamitra.org


ส�ำหรับสัจจะที่มนุษย์ต้องรีบรู้ และสัจจะที่มนุษย์ต้องรีบ ประพฤติ​ิ พร้อมทั้งบทฝึกแสนง่ายและกะทัดรัด ได้จัดเตรียมไว้ เรียบร้อยในหนังสือสัจจะต่อความดี อานุภาพพลิกโลก ซึ่งอยู่ในมือ ของท่านแล้วนี้ สัจจะต่อความดี อานุภาพพลิกโลก จัดพิมพ์เป็นธรรม บรรณาการแก่ท่านที่เคารพรักบูชาธรรม ความจริง และความดี เป็น ทีร่ ะลึก ทีไ่ ด้มาร่วมแสดงมุทติ าสักการะ ในวาระอายุวฒ ั นมงคลของ หลวงพ่อทัตตชีโวครบ ๘๐ ปี วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ โดย คณะศิษยานุศษิ ย์พร้อมใจกันแสดงความกตัญญูกตเวที ร่วมกันประมวล บทเทศน์สอนและประสบการณ์การฝึกลูกศิษย์ทุกสถานภาพตลอด ๔๙ พรรษากาลของท่าน ซึง่ นับเป็นองค์ความรูอ้ นั ทรงคุณค่ายิง่ อ่าน ก็ง่าย ฝึกก็สบาย ๆ ยิ่งประพฤติ​ิต่อเนื่อง ยิ่งไม่เบื่อหน่าย มีแต่ได้ กับได้ จึงขอเรียนเชิญท่าน โปรดรีบอ่าน รีบหัด รีบขัด รีบเกลา ผล แห่งการปฏิบัติย่อมเห็นแจ่มชัดเป็นสัจจะแก่ท่านเอง

คณะศิษยานุศิษย์ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๓

www.kalyanamitra.org


สารบัญ โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี • ความหมายของสัจจะ • อานุภาพสัจจะต่อความดี • สัจจะต่อความดี ๒ เพื่อการพลิกโลก สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบรู้ประการที่ ๑ • คุณค่าชีวิตมนุษย์ • องค์ประกอบชีวิตมนุษย์ • คุณลักษณะพิเศษกายและใจมนุษย์ สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบรู้ประการที่ ๒ • โรค ๖ ประจ�ำกาย • โรค ๓ ประจ�ำใจ • ความสัมพันธ์ระหว่างโรค ๖ ประจ�ำกาย กับโรค ๓ ประจ�ำใจ สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบรู้ประการที่ ๓ • สิ่งแวดล้อม ๕

www.kalyanamitra.org

หน้า ๑๑ ๑๒ ๑๖ ๑๘ ๒๓ ๒๔ ๒๕ ๒๗ ๔๑ ๔๒ ๔๖ ๔๙ ๕๗ ๕๘


สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบรู้ประการที่ ๔ • มนุษย์ต้องมีกัลยาณมิตรช่วยชี้ทางถูกให้ • กัลยาณมิตรคือใคร • กัลยาณมิตรอยู่ที่ไหน • สรุป สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบประพฤติ​ิ ๓ • ความหมายและการแสดงออก ๑. นิสัยรักการพูดจริง ๒. นิสัยรักการท�ำจริง ๓. นิสัยรักการแสวงหาความจริงและความดี • การฝึกสัจจะต่อความดีขั้นต้น แนวทางการฝึกสัจจะต่อความดีด้วยการควบคุม โรค ๖ ประจ�ำกาย และการรักษาสิ่งแวดล้อม ๕ โดยมีพ่อแม่เป็นกัลยาณมิตร

๖๕ ๖๖ ๖๘ ๗๐ ๗๓ ๗๗ ๗๘ ๗๙ ๘๓ ๘๘ ๙๑ ๑๐๑

บทสรุปส่งท้าย

๑๔๑

วัตรและพระสูตรที่ใช้ค้นคว้า

๑๔๖

บรรณานุกรม

๑๕๐

วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น

๑๕๓

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org


10

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

• ความหมายของสัจจะ • อานุภาพสัจจะต่อความดี • สัจจะต่อความดี ๒ เพื่อการพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ความหมายของสัจจะ สัจจะ เป็นค�ำในภาษาบาลี แปลว่า ความจริง เมื่อใช้ใน ภาษาไทย มีความหมายที่ใช้บ่อย ๆ คือ ๑. สัจจะ หมายถึง ความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ไม่มีใคร ไปเสกสรรปั้นแต่งขึ้นมา เช่น ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างในเวลา กลางวัน ดวงจันทร์ส่องแสงสว่างในเวลากลางคืน น�้ำย่อมไหล จากที่สูงไปสู่ที่ต�่ำ ทุกคนเกิดแล้วก็ต้องแก่ เจ็บ และตาย ฯลฯ ๒. สัจจะ หมายถึง ความจริงที่เกิดจากการกระท�ำต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็นการกระท�ำของคนหรือสัตว์ แบ่งการกระท�ำดังกล่าวเป็น ๒ ประเภท คือ ๒.๑ สัจจะ หมายถึง ความจริงที่เกิดจากการกระท�ำที่ ขาดสติ ซึ่งอาจเกิดจากความไม่รู้จริงหรือรู้แต่ประมาท ไม่ค�ำนึงถึง ผลเสียที่จะเกิดตามมาว่าจะน�ำความเดือดร้อนเสียหายและมีน�้ำตา นองหน้าในภายหลังทั้งแก่ตนเองและผู้อ่ืน จึงเอาแต่สะดวกสบาย หรือประโยชน์เฉพาะหน้าเป็นที่ตั้ง เช่น - นายขาวเป็นพ่อของ ด.ช.แดง แต่นายขาวไม่ตั้งใจ ฝึกอบรมลูกตั้งแต่เล็ก เมื่อ ด.ช.แดง โตขึ้นเป็นคนเกะกะเกเร นายขาวก็ไม่มีใครเลี้ยงดูตอนแก่เฒ่า - นางเขียวชอบพูดเท็จ พูดก้าวร้าว ติดสุรา จึงไม่มใี คร อยากคบหาสมาคมด้วย

12

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


- เสือ ถ้าหิวมันก็กินได้แม้แต่ลูกของมันเอง เสือ แต่ละตัวจึงไม่ไว้ใจกัน ตัวอย่างทีย่ กมานี้ ล้วนเป็นสัจจะคือความจริง เพราะได้เกิด ขึ้นแล้วจริง แต่เกิดทุกข์เดือดร้อนทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เพราะ ตนเองไม่รู้ความจริง หรือรู้ความจริงแต่ท�ำด้วยความประมาทไม่ ส�ำรวมระมัดระวัง เช่น นายขาวไม่รู้วิธีสอนลูก หรือรู้วิธีสอนลูก แต่ไม่รู้ว่าจะต้องรีบสอนตั้งแต่ยังเล็ก รอไว้สอนตอนโตจึงสายไป นายขาวยังเป็นคนดี เพราะไม่ได้ทิ้งลูก ยังไม่ได้ท�ำความชั่ว แต่สัจจะ ต่อความดีในการท�ำหน้าที่พ่อแม่ที่ต้องรีบท�ำอันดับแรก คือ ห้ามลูก ไม่ให้ท�ำความชั่ว และสอนลูกให้ตั้งอยู่ในความดีนั้น นายขาวยังท�ำ ไม่ถงึ มาตรฐานทีจ่ ะเป็นกัลยาณมิตร คือ มิตรแท้ให้แก่ลกู ได้ ด.ช.แดง จึงเสียนิสัยเป็นคนเกเร นางเขียวเป็นเช่นนั้นเพราะไม่รู้โทษของสุราจึงดื่ม เมื่อเมา จึงพูดเท็จ พูดก้าวร้าว หรือเพราะไม่รู้ว่าพูดเท็จ พูดก้าวร้าวไม่ดี เมื่อพูดบ่อย ๆ จึงไม่มีใครอยากคบ นางเขียวจึงหาทางออกด้วย วิธีผิด ๆ คือ ดื่มสุราจนติด นางเขียวเป็นผู้ยังไม่มีสัจจะต่อความดี การกระท�ำของนางเขียวจัดเป็นกรรมชั่ว เธอเป็นมิตรเทียมท�ำลาย ท�ำร้ายตัวเอง การกระท�ำของเสือที่กินลูกของมันเมื่อหิว เป็นสัจจะคือ ความจริง เพราะเป็นธรรมชาติของสัตว์ว่า ขาดสติตลอดชีวิต สัตว์

www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

13


จึงรังแกกันเอง ซึ่งต่างกับมนุษย์โดยสิ้นเชิง ใครที่ร้คู วามจริงเรื่องเสือ ก็จะต้องกล่าวความจริงเช่นนี้ตรงกัน ๒.๒ สัจจะ หมายถึง ความจริงที่เกิดจากการกระท�ำ อย่างมีสติ เกิดจากความรูจ้ ริงและตัง้ ใจท�ำจริงในสิง่ นัน้ รูจ้ กั ระแวง ภั ย ที่ น ่ า ระแวง และระวั ง ภั ย ที่ อ าจท� ำ ให้ เ ดื อ ดร้ อ นตามมา ภายหลังอีกด้วย จึงกระท�ำทุกอย่างตรงไปตรงมาประกอบด้วย เหตุผล เช่น - นางจ�ำปาเป็นแม่ของ ด.ญ.จ�ำปี ทันทีที่เธอรู้ตัวว่า ตั้งครรภ์ ก็ตั้งใจหาความรู้จริงเรื่องรักษาครรภ์ รักษาสุขภาพตนเอง และเลีย้ งดูลกู ให้ถกู วิธี ยิง่ กว่านัน้ นางจ�ำปายังตัง้ ใจจัดบ้าน และอบรม ทุกคนในบ้านให้รักการท�ำความสะอาด จัดระเบียบสิ่งของเครื่องใช้ ของตนเองอย่างเคร่งครัด ให้สุภาพ ตรงเวลา และรักการนั่งสมาธิ ให้ใจสงบอารมณ์ดี ด.ญ.จ�ำปี จึงเจริญเติบโตท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่ ดี เป็นเด็กฉลาด น่ารัก ขยันท�ำงานบ้านแต่เล็ก โตขึน้ จึงประสบความ ส�ำเร็จในชีวิต

- ความรู้จริงในการบ�ำรุงรักษาครรภ์ของนางจ�ำปา ๑

- ความรู้จริงในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคล และ สถานที่ว่า มีผลต่อการเจริญเติบโตของทารกของนางจ�ำปา ๑ - ความรู้จริงในเรื่องการฝึกฝนอบรมให้กับบุคคล ทุกเพศทุกวัย ว่าต้องเริ่มต้นจากการฝึกให้รักการท�ำความสะอาด จัดระเบียบสิง่ ของเครือ่ งใช้ สถานที่ ด้วยมือของผูเ้ ข้ารับการฝึกอบรม

14

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


เอง คื​ือ หั​ัวใจของการฝึ​ึกอบรม เพราะจะทำำ�ให้​้ใจผ่​่องใสเป็​็นนิ​ิจได้​้ ง่​่าย และรั​ักการฝึ​ึกฝนอบรมให้​้ดี​ียิ่​่�ง ๆ ขึ้​้�นไปอี​ีกของนางจำำ�ปา ๑ - ความตั้งใจจริงที่จะฝึกฝนอบรมบุตรสาวตนเอง คือ ด.ญ.จ�ำปี ให้เป็นคนดีของโลกของนางจ�ำปา ๑ ความรูจ้ ริงในเรือ่ งการบ�ำรุงรักษาครรภ์ สิง่ แวดล้อม และ การฝึกฝนอบรมทั้ง ๔ ประการนี้ จัดเป็นปัญญาของนางจ�ำปา ส่วนความตั้งใจจริงในการเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี จัดเป็นสัจจะต่อ ความดีของนางจ�ำปา จึงเกิดเป็นผลดี คือ ได้คนดีขึ้นมาอีกคนในโลกชื่อ น.ส.จ�ำปี ได้แม่ที่ดีของโลกอีกคนคือ นางจ�ำปา ได้ครอบครัวตัวอย่างอีกครอบครัวหนึง่ คือ ครอบครัว ของนางจ�ำปา ซึง่ ทัง้ หมดนีเ้ ป็นความจริงทีเ่ กิดขึน้ จากการประพฤติปฏิบตั ิ อย่างมีสติ ไม่เห็นแก่ความสะดวกสบายใด ๆ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ เฉพาะหน้าใด ๆ เช่น ความก้าวหน้าในอาชีพของตน แต่เล็งเห็น ประโยชน์สุขที่ยั่งยืนเบื้องหน้า เราเรียกความจริงที่เกิดขึ้นด้วย ความจริงใจ ประกอบด้วยปัญญาเช่นนี้ว่า ความมีสัจจะต่อ ความดี เพราะเกิดจากกรรมดีตลอดทาง

ที่ใดมีสัจจะต่อความดี ที่นั้นต้องมีปัญญา ที่ใดมีปัญญา ที่นั้นต้องมีสัจจะต่อความดี สัจจะกับปัญญาจึงพรากจากกันไม่ได้ www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

15


อานุภาพสัจจะต่อความดี สัจจะ มีอานุภาพมหาศาล เกินกว่าใครจะประมาณคาดคิด สามารถพลิกโลกที่ก�ำลังร้อนระอุให้กลับเย็นสนิท ประสบแต่ ความสงบสุขทันทีก็ย่อมได้ เพราะเป็นสัจจะประจ�ำโลกว่า • ถ้าใครใจสว่างพอเรื่องใด ย่อมเห็นความจริงเรื่องนั้นชัดไป ถึงนั่น ความลับเรื่องนั้น ก็ย่อมหมดไปถึงนั่น • ความลับเรือ่ งใดหมดไปถึงไหน ความไม่รจู้ ริง ความเข้าใจผิด ความหลงผิดเรื่องนั้น ย่อมหมดไปถึงนั่น • ความเข้าใจผิดหลงผิดเรื่องใดหมดไปถึงไหน ความคิดผิด การพูดผิด การท�ำผิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ย่อมหมดไปถึงนั่น • ความคิดผิด การพูดผิด การท�ำผิด เกี่ยวกับเรื่องนั้นหมดไป ถึงไหน กรรมชั่วเกี่ยวกับเรื่องนั้น ย่อมหมดไปถึงนั่น • กรรมชั่วเรื่องใดหมดไปถึงไหน ความทุกข์เดือดเนื้อร้อนใจที่ จะเกิดตามมาจากการกระท�ำชั่วนั้น ย่อมหมดไปถึงนั่น • ความทุกข์เดือดเนื้อร้อนใจที่จะเกิดจากการกระท�ำชั่วใด หมดไปถึงไหน ย่อมเกิดปัญญาและการท�ำกรรมดีขึ้นมาแทนที่ ไม่มี ความทุกข์เดือดเนื้อร้อนใจในเรื่องนั้นไปถึงนั่น • ปัญญาและการท�ำแต่กรรมดี ไม่มีความทุกข์เดือดเนื้อร้อน ใจไปถึงไหน ย่อมเกิดความสุขไปถึงนั่น

16

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


• ผู้ยึดมั่นในการท�ำแต่กรรมดี ทั้งทางกาย วาจา และใจ เพือ่ ให้เกิดความสุขไปถึงไหน ย่อมก่อให้เกิดผูม้ สี จั จะต่อความดีไปถึง นั่น ท่านแล้วท่านเล่า • เมื่อท่านผู้มีสัจจะต่อความดีทั้งหลายกุลีกุจอร่วมใจกัน สร้างผู้มีสัจจะต่อความดี ย่อมช่วยกันพลิกโลกทั้งโลก ให้กลับมา ร่มเย็นเป็นสุข เพราะเขาได้แจ้งประจักษ์แก่ใจตนเองแล้วว่า โลก ภายใน คือ กายและใจของเขาหายร้อนรุ่มกลุ้มใจ เกิดความสุข พวยพุง่ ขึน้ มาได้เอง ทันทีทเี่ ขาปฏิบตั สิ จั จะต่อความดีกบั สิง่ แวดล้อม ทุกประเภทอย่างรอบคอบสมบูรณ์

www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

17


สัจจะต่อความดี ๒ เพื่อการพลิกโลก เนื่องจากคุณธรรม คือ สัจจะต่อความดี ประกอบด้วย คุณธรรม ๒ ประการ คือ

๑. ปัญญา ได้แก่ มีความรู้ความจริงในเรื่องที่ต้องท�ำ

๒. สัจจะ ได้แก่ มีความตั้งใจจริงที่จะท�ำงานนั้นให้เสร็จ ท�ำอย่างตรงไปตรงมาไม่มีอะไรแอบแฝง และท�ำให้ถึงคุณภาพ แท้ ๆ ของเรื่องที่จะท�ำนั้น ดังนัน้ การร่วมมือกันพลิกโลกทัง้ โลกให้พน้ จากความเดือดเนือ้ ร้อนใจ ด้วยสัจจะแห่งความดี จึงเป็นเรื่องที่ชาวโลกทุกคนต่างต้อง รับรู้ทั้งหลักการและวิธีการให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น โดยการเตรียม ความพร้อมที่ประกอบด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ

๑. ต้องเรียนรู้สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบรู้

๒. ต้องฝึกฝนอบรมสัจจะที่มนุษย์ต้องรีบประพฤติ

เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับ ความไม่รู้อะไรเลย ทุกอย่างต่างคนต่างต้องมาเรียนรู้ภายหลัง ทัง้ สิน้ มีทงั้ เรียนรูจ้ ากบุคคลต่าง ๆ รอบข้างบ้าง จากความช่างสังเกต ของตนเองบ้าง ทั้งสังเกตจากสิ่งนั้น ๆ โดยตรง หรือจากสื่อต่าง ๆ ในสังคมก็ตาม ซึ่งอันตรายที่น่ากลัวในขณะเรียนรู้คือ

18

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑. ได้ความรู้ผิด ๆ ไม่ตรงตามจริง

๒. ได้ความรู้ตรงตามจริงแต่ไม่ครบ มีขาดบ้าง เกินบ้าง แล้ว หลงผิดว่าความจริงทั้งหมดมีเพียงเท่านั้น อันตรายที่เกิดตามมาและแก้ไขยากมาก คือ ผู้นั้นย่อมไม่รู้ว่า ตัวเองยังไม่รู้ แต่หลงทึกทักว่า ตนเองรูม้ ากมายพอแล้วพวกหนึง่ อีกพวกหนึ่งน�ำความรู้ผิด ๆ ความรู้ขาด ๆ เกิน ๆ ไปใช้จนเกิด นิสัยไม่ดี บ่มเพาะความชั่วมากจนเกินแก้ เพราะฉะนัน้ มนุษย์ทกุ คนจึงต้องรีบเรียนรูส้ จั จะทีม่ นุษย์ตอ้ ง รีบรู้ และต้องรีบฝึกฝนอบรมสัจจะทีม่ นุษย์ตอ้ งรีบประพฤติ​ิ มีดงั นี้

๑. สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบรู้ ได้แก่

๑.๑ คุณค่าชีวิตมนุษย์

๑.๒ โรค ๖ ประจ�ำกาย และโรค ๓ ประจ�ำใจ

๑.๓ อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม ๕

๑.๔ มีกัลยาณมิตรผู้ชี้ทางถูก

๒. สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบประพฤติ

๒.๑ พูดแต่ความจริงเป็นนิสัย

๒.๒ ท�ำจริงเป็นนิสัย

๒.๓ รักการแสวงหาความจริง และความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นนิสัย www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

19


สาเหตุที่ต้องรีบรู้สัจจะที่มนุษย์ต้องรีบรู้ รีบฝึกอบรมสัจจะ ที่ต้องรีบประพฤติ​ิ ได้แก่ ๑. เพื่อป้องกันไม่ให้หลงผิดคิดว่า ตนเองวิเศษกว่าผู้อื่นและ สัตว์โลกทั้งหลาย ทั้งที่ตนเองยังประกอบคุณงามความดีได้เพียง เล็กน้อย ๒. เพือ่ ป้องกันไม่ให้หลงผิด คิดน้อยเนือ้ ต�ำ่ ใจว่าตนเองต�ำ่ ต้อย กว่าผู้อื่น จนไม่สามารถประกอบคุณงามความดีเช่นใคร ๆ ได้ แล้ว ประพฤติตนเป็นคนท้อถอยสิ้นหวัง ทั้งที่กายก็ไม่พิการ ใจก็ยังทรง พลัง สามารถส่งใจไปถึงดวงอาทิตย์ได้แม้วันละเป็นล้าน ๆ ครั้ง ๓. เพื่อป้องกัน บ�ำรุงรักษากายและใจตนเองให้เข้มแข็ง ทรงพลัง พร้อมท�ำความดีอยู่เสมอให้สมกับที่เกิดเป็นมนุษย์

ชาวโลกทุกคนต้องรับรู้ทั้งหลักการ และวิธีการให้ชัดเจนตั้งแต่เริ่มต้น จะได้ไม่หลงทึกทักว่าตนรู้มากพอแล้ว หรือน�ำความรู้ไปใช้ผิดๆ จนเกิดนิสัยไม่ดี บ่มเพาะความชั่วจนเกินแก้

20

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

21


www.kalyanamitra.org


สัจจะทีม่ นุษย์ต้องรีบรู้ ประการที่ ๑ • คุณค่าชีวิตมนุษย์ • องค์ประกอบชีวิตมนุษย์ • คุณลักษณะพิเศษกายและใจมนุษย์

www.kalyanamitra.org


คุณค่าชีวิตมนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์โลกประเภทเดียวเท่านั้นที่มีศักยภาพเข้าถึง ความจริงทัง้ ปวง ด้วยการฝึกตนให้มสี จั จะต่อความดีกอ่ น จากนัน้ ย่อมสามารถก�ำจัดต้นเหตุความทุกข์ เข้าถึงความสุขแท้จริงได้ แต่การได้อัตภาพร่างกายเป็นมนุษย์นั้นยากแสนยาก ดังบรรพชน ผู้รู้อุปมาความยากไว้ว่า ในมหาสมุทรมีหว่ งตาเดียวอันหนึง่ ลอยไปลอยมา ถ้าทุกร้อยปี มีเต่าตาบอดตัวหนึง่ โผล่ขนึ้ มาบนผิวน�ำ ้ โอกาสทีห่ วั เต่าตัวนัน้ บังเอิญ สอดเข้าไปในห่วงนั้นพอดียากแค่ไหน ต้องใช้เวลามิรู้กี่ล้าน ๆ ปี แต่ ถึงยากและใช้เวลานานขนาดนั้น ก็ยังง่ายกว่าและเร็วกว่าการที่เต่า ตัวนั้นจะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก อย่างไรก็ตาม บัดนี้เราได้รับโอกาสอันแสนยากเกิดมาเป็น มนุษย์แล้ว จึงต้องรีบศึกษาว่าชีวิตมนุษย์มีองค์ประกอบ และ คุณลักษณะพิเศษของแต่ละองค์ประกอบอย่างไร จึงท�ำให้มนุษย์ มีศักยภาพเข้าถึงความจริงทั้งปวง และมีศักยภาพสร้างสรรค์ อเนกอนันต์ถึงปานนั้น

24

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


องค์ประกอบชีวิตมนุษย์ มนุษย์ทุกชีวิตไม่ว่าจะชาติใดภาษาใด ต่างมีองค์ประกอบ เหมือนกัน คือ มีกายหรือร่างกายที่เป็นมนุษย์ และมีใจที่ ต้องอาศัยอยู่ในกายมนุษย์นั้น โดยใจท�ำหน้าที่เป็นนาย กาย ท�ำหน้าที่เป็นบ่าว ทั้งกายและใจต้องอยู่ด้วยกัน ท�ำงานร่วมกัน และพึ่งพากัน หากแยกตัดขาดกันเมื่อใด ความมีชีวิตก็ดับไปเมื่อนั้น ถ้ามีแต่กายไม่มีใจเรียกว่า ศพ ถ้ามีแต่ใจไม่มีกายเรียกว่า ผี กาย มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า รูป เพราะเป็นรูปธรรมที่สามารถ มองเห็น สัมผัส และจับต้องได้ ตรงข้ามกับใจ ใจเป็นนามธรรม คือ เป็นสิ่งที่คนทั่วไปไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ จับต้องไม่ได้ แต่ทุกคนก็รู้ว่า ใจมีอยู่จริง เพราะคนทีม่ ชี วี ติ เท่านัน้ จึงสามารถเห็น จ�ำ คิด และรูเ้ รือ่ งราว เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ เคลื่อนไหวได้ ซึ่งแตกต่างจากคนตาย ที่ใจ ได้ตัดขาดออกจากกายแล้ว แม้อวัยวะร่างกายยังอยู่ครบตามปกติ ทุกอย่าง แต่กายก็ไม่สามารถรับรู้โต้ตอบอะไรกับใครได้อีกแล้ว เคลื่อนไหวไม่ได้ ท�ำการงานต่าง ๆ ไม่ได้ ได้แต่นอนตายขึ้นอืด รอให้ เขาเอาไปเผาทิ้งเท่านั้น องค์ประกอบชีวิตมนุษย์ แสดงดังภาพที่ ๑

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๑ คุณค่าชีวิตมนุษย์

25


ภาพที่ ๑ องค์ประกอบชีวิตมนุษย์

26

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


คุณลักษณะพิเศษกายและใจมนุษย์ ในบรรดาสรรพสัตว์บนโลกนี้ มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีจ�ำนวน น้อยกว่าสัตว์โลกหลายชนิดอย่างลิบลับ แต่มนุษย์กลับสามารถน�ำ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มาใช้ท�ำประโยชน์แก่การด�ำรงชีวิตได้มากกว่า สัตว์โลกชนิดอื่น ๆ อย่างมหาศาล เช่น น�ำเหล็กมาสร้างยานพาหนะ เพือ่ อ�ำนวยความสะดวกในการเดินทางให้รวดเร็วขึน้ หรือสร้างอาวุธ ยุทโธปกรณ์ ห�ำ้ หัน่ ท�ำลายล้างเพือ่ นมนุษย์ดว้ ยกันอย่างไร้ความปราณี นั่นย่อมแสดงว่า มนุษย์เป็นสัตว์โลกที่มีคุณสมบัติพิเศษบางอย่าง เหนือสรรพสัตว์ทงั้ ปวง จึงมีศกั ยภาพอเนกอนันต์ทงั้ ด้านสร้างสรรค์ และท�ำลายรวมอยู่ในตัวผู้เดียว ธรรมชาติความจริงที่ก่อให้เกิด คุณสมบัติพิเศษขึ้นในตัวมนุษย์ที่สำ� คัญมี ๒ ประการ คือ ๑. ลักษณะพิเศษกายมนุษย์ มนุษย์มโี ครงสร้างร่างกายทีไ่ ด้รบั การพัฒนาอย่างสูงสุดแล้ว ตามธรรมชาติ ไม่มีสัตว์โลกชนิดใดเทียบเทียมได้ เพราะกายมนุษย์ มีคุณลักษณะพิเศษ ๒ ประการ คือ ๑.๑ กายมนุษย์ตั้งฉากกับพื้นโลก มนุษย์เป็นสัตว์โลก ชนิดเดียวที่ธรรมชาติปรุงแต่งให้กระดูกสันหลังตั้งฉากกับพื้นดิน ล�ำตัวและขาทั้ง ๒ ข้าง ต่อกันในแนวดิ่ง ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง กายมนุษย์จงึ ไม่ฝนื ต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก เป็นเหตุให้แม้มนุษย์ มีเพียงสองเท้าก็สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว รวดเร็ว

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๑ คุณค่าชีวิตมนุษย์

27


ว่องไว โดยไม่ต้องสูญเสียพลังงานมาก ไม่ว่าจะเดินหน้า ถอยหลัง เลี้ยวซ้ายขวา หมุนตัวกลับหน้ากลับหลัง ลักษณะพิเศษกายมนุษย์ แสดงดังภาพที่ ๒

ภาพที่ ๒ ลักษณะพิเศษกายมนุษย์

28

เพราะล�ำตัวกับขาทัง้ สองข้างต่อขนานกัน มนุษย์จงึ นอนราบ ได้ ทั้งหงาย คว�่ำ และตะแคง ท�ำให้นอนหลับพักผ่อนได้เต็มที่ ขณะ ที่สัตว์บางชนิด เช่น ม้าต้องยืนหลับ เป็นต้น สัตว์สี่เท้าและสัตว์เท้า มากชนิดต่าง ๆ แม้ยืนเฉย ๆ ก็ต้องใช้ขาคู่หน้าช่วยค�ำ้ พยุงร่างกาย เป็ดไก่แม้มีสองขาคล้ายมนุษย์ เวลาวิง่ ก็ยงั ต้องกางกระพือปีกช่วย พยุงตัว ทั้งนี้เพราะกระดูกสันหลังของสัตว์เดรัจฉานทุกชนิดในโลก ล้วนขนานหรือเอียง ไม่ตั้งฉากกับพื้นดินนั่นเอง แม้ยังไม่ได้ท�ำการ งานอะไร เพียงก้าวเดินแต่ละก้าวสัตว์กต็ อ้ งใช้พลังงานมากแล้ว เปรียบ เทียบต�ำแหน่งศีรษะและล�ำตัวของมนุษย์กับสัตว์ แสดงดังภาพที่ ๓ สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ตัวเงินตัวทอง

เสือ

มนุษย์

วัว ภาพที่ ๓ เปรียบเทียบต�ำแหน่งศีรษะ และล�ำตัวของมนุษย์กับสัตว์

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๑ คุณค่าชีวิตมนุษย์

29


๑.๒ ศีรษะมนุษย์เป็นอวัยวะทีอ่ ยูเ่ หนือทุกส่วนของร่างกาย ต่อกับร่างกายในแนวดิ่ง กะโหลกศีรษะของมนุษย์จึงถูกกระทบ กระแทกได้ยาก ขณะที่สัตว์เดรัจฉานทุกชนิดมีกระดูกสันหลัง ขนานกับพืน้ ดิน บังคับให้หวั สัตว์ตอ้ งอยูใ่ นแนวระนาบระดับเดียวกับ ล�ำตัว เมื่อสัตว์เดิน หัวจึงน�ำไปก่อนล�ำตัว ดังนั้นโอกาสที่หัวจะถูก กระแทกกระเทือนจึงมีมาก ยิ่งเมื่อเวลาสัตว์ต่อสู้กันต่างต้องใช้ ส่วนหัวชนกัน ขวิดกัน กัดกัน จิกตีกัน กะโหลกหัวสัตว์ก็ยิ่งมีโอกาส บอบช�้ำ กระทบกระแทกแตกท�ำลายได้ง่ายขึ้นไปอีก เมื่อเทียบสัดส่วนโดยรูปร่างและน�้ำหนักระหว่างหัวกับ ล�ำตัว กะโหลกสัตว์ย่อมทั้งหนาและหนัก เพราะต้องเป็นฐานรองรับ เขีย้ ว เขา นอ งา ซึง่ เป็นอาวุธประจ�ำตัว จึงเหลือพืน้ ทีบ่ รรจุเนือ้ สมอง ไว้ได้น้อย ขณะทีก่ ะโหลกมนุษย์ใหญ่ บาง และเบากว่ากะโหลกของ สัตว์ชนิดอืน่ ๆ มาก จึงบรรจุเนือ้ สมองซึง่ เป็นอุปกรณ์สำ� คัญในการ รับส่งข้อมูลไป-กลับระหว่างภายนอกกับใจได้มากกว่า ท�ำให้มนุษย์ มีอปุ กรณ์สอื่ สารครบบริบรู ณ์ในการเห็น จ�ำ คิด และรู้ อย่างทีไ่ ม่มี สัตว์โลกชนิดใดเทียบได้ เปรียบเทียบขนาดสมองของสัตว์และมนุษย์ โตเต็มวัยกับขนาดกะโหลก แสดงดังภาพที่ ๔

30

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ตัวเงินตัวทอง

วัว

เสือ

มนุษย์

ภาพที่ ๔ เปรียบเทียบขนาดสมองของสัตว์ และมนุษย์โตเต็มวัยกับขนาดกะโหลก

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๑ คุณค่าชีวิตมนุษย์

31


๒. ลักษณะพิเศษของใจมนุษย์

บรรพชนผู้รู้ท่านได้ศึกษาค้นคว้าคุณสมบัติและพลัง อันน่าอัศจรรย์ของใจไว้อย่างลุ่มลึก สรุปเป็นความจริงที่ต้องรีบรู้ ได้ว่า ๒.๑ ใจมีลักษณะเป็นดวงกลม จึงเรียกว่า ดวงใจ เนื้อใจ ใสมาก ใสกว่าเพชรหรือรัตนชาติใด ๆ ในจักรวาล ใสจนกระทั่ง ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อของมนุษย์ แต่เห็นได้ด้วยตาทิพย์ ท�ำให้ใจใสสว่างด้วยตัวเอง เป็นความสว่างน่าอัศจรรย์ คือ สว่าง เหมือนแสงอาทิตย์ แต่นุ่มนวล เย็นตา เหมือนแสงจันทร์ในคืน วันเพ็ญ ความใสสว่างของใจนี้จะลดลง เมื่อปล่อยใจให้เที่ยว ออกไปนอกตัว ใจยิ่งเที่ยวเตลิดไปไกลตัวเท่าไร ยิ่งไปติดในรูป เสียง กลิน่ รส สัมผัส และอารมณ์อนั น่าใคร่ภายนอกมากเท่าไร ความ ใสสว่ า งของใจก็ ยิ่ ง ลดลงมากเท่ า นั้ น ถ้ า ใจยิ่ ง คิ ด พู ด และ ท�ำสิ่งไม่ดี ผิดจากความจริงมากเท่าไร ใจก็ยิ่งขุ่นมากเท่านั้น พร้อมกันนั้นความใสสว่างก็ยิ่งลดลงมากเท่านั้นเช่นเดียวกัน ท�ำนองกลับกัน หากใจอยูใ่ กล้ตวั มากเท่าไร ยิง่ อยูใ่ นตัว หรืออยู่กลางตัวได้นานเท่าไร ความใสสว่างของใจก็ยิ่งมาก สุดประมาณเท่านั้น ท�ำให้ใจรับรู้ข้อมูลภายนอกที่ผ่านประสาท สัมผัสทั้ง ๕ ได้รวดเร็ว ถูกต้องชัดเจน ตรงตามความเป็นจริงได้ มากขึ้น

32

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๒.๒ ใจเป็นธาตุรู้ ขณะที่กายประกอบด้วยธาตุหยาบ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน�้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ ธาตุทั้ง ๔ นี้ ไม่ใช่ธาตุรู้ กายจึงรู้ไม่ได้ แต่ใจเป็นธาตุละเอียด ตามนุษย์และอุปกรณ์ใด ๆ ไม่สามารถช่วยให้เห็นใจได้ ใจเป็นธาตุรู้มีการท�ำงาน ๔ ขั้นตอน ที่ท�ำให้รู้เห็นความจริงได้ ดังนี้ ๑) ขั้นเห็น ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ รับข้อมูลภายนอก ส่งให้สมอง แล้วสมองส่งข้อมูลนั้นให้ใจ กล่าวคือ เมื่อตากระทบรูป หูกระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส กายกระทบสัมผัส จากคน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติแล้ว ประสาทตา หู จมูก ลิ้น และ กายก็ส่งรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัสนั้น ๆ ไปให้สมอง โดยส่งเป็น คลืน่ เห็นไปให้สมอง แล้วสมองก็สง่ คลืน่ เห็นเหล่านัน้ ไปให้ใจ ใจจึง เห็นสิ่งเหล่านั้นเป็นภาพตามไปด้วย พร้อมกับอารมณ์ที่ใจรู้สึก ๒) ขั้นจ�ำ เมื่อคลื่นเห็นของรูป เสียง กลิ่น รส และ สัมผัสส่งมาถึงใจแล้ว ใจก็บนั ทึกภาพคลืน่ เห็นเหล่านัน้ ให้เป็นรูป และ อารมณ์ที่ใจรู้สึกเป็นข้อมูลความจ�ำเก็บไว้ในใจ ๓) ขั้นคิด ใจน�ำภาพรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ อารมณ์ที่ใจรู้สึก เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ ธรรมชาติ ที่เห็นจากคลื่น เห็น มาคิดว่าคืออะไร มีคุณหรือโทษ มีหรือไม่มีประโยชน์อย่างไร ๔) ขั้นรู้ เมื่อใจคิดแล้ว ก็เกิดการรู้ว่า ตนต้องท�ำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไรต่อไป และรู้ด้วยว่าท�ำไมต้องท�ำ ท�ำอย่างไรจะ ไม่ท�ำให้เดือดร้อนต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๑ คุณค่าชีวิตมนุษย์

33


ภาพที่ ๕ การท�ำงานของใจ

34

ภาพที่ ๖ การรับอารมณ์ สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ขั้นตอนการท�ำงาน ๔ ขั้นของใจ ซึ่งแสดงดังภาพที่ ๕ และ ๖ จะเป็นไปอย่างถูกต้องตรงความจริงของเรื่องนั้นมากเท่าไร นอกจากขึน้ กับความชัดของรูป เสียง กลิน่ รส และสัมผัสทีส่ ง่ มาแล้ว ยังต้องขึ้นกับว่า ผู้นั้นได้ฝึกฝนเจริญสมาธิมาช�่ำชองจนใจหยุดนิ่ง อยู่กลางตัวได้มากเท่าไร ยิ่งใจหยุดนิ่งอยู่กลางตัวได้นานเท่าไร ใจก็ยิ่งเห็น จ�ำ คิด และรู้เรื่องราวนั้น ๆ ได้ถูกต้องตรงตาม ความเป็นจริงมากเท่านั้น ปัญญาก็ยิ่งเพิ่มพูนเป็นเงาตามตัว ๒.๓ ใจรับรู้ข้อมูลเรื่องราวต่าง ๆ จากภายนอกได้ทีละ เรื่องอย่างรวดเร็วมาก จากการที่ข้อมูลเรื่องราวต่าง ๆ แม้ผ่านตาดู หูฟัง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส และกายสัมผัสจับต้องพร้อม ๆ กัน หลายเรือ่ ง แต่ไม่วา่ จะระดมมาพร้อมกันกีเ่ รือ่ งก็ตาม ใจย่อมสามารถ แยกรับรู้ทีละเรื่อง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ข้อมูลที่รับมาแต่ละเรื่องจึงไม่ สับสนปนเปกัน ๒.๔ ใจต้องมีกายเป็นบ้านให้อยู่อาศัย ใจจะอยู่ลอย ๆ ตามล�ำพังไม่ได้ ใจของใครก็ต้องมีกายของผู้นั้นเป็นบ้านให้อยู่อาศัย โดยใจมีฐานที่ตั้งถาวรอยู่ตรงศูนย์กลางกายเหนือจากสะดือ ของผู้นั้นขึ้นมา ๒ นิ้วมือ ดังภาพที่ ๗

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๑ คุณค่าชีวิตมนุษย์

35


ภาพที่ ๗ ฐานที่ตั้งของใจ

36

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๒.๕ ใจไร้ น�้ ำ หนั ก ใจจึ ง หนี เ ที่ ย วไปได้ ไ กลแสนไกล โดยไม่ต้องใช้ยานพาหนะใด ๆ ใจออกเที่ยวไปกลับวันละนับครั้ง ไม่ถ้วน โดยที่แต่ละครั้งกายไม่รู้สึกเลย เพราะใจเบาไร้น�้ำหนัก ๒.๖ ใจมี ค วามเร็ ว ยิ่ ง กว่ า แสง เพี ย งชั่ ว กะพริ บ ตา ครั้งเดียว ใจก็เที่ยวไปถึงดวงอาทิตย์และกลับมาเรียบร้อยแล้ว ถ้าใจสามารถไปเที่ยวดวงอาทิตย์วันละกี่ล้านครั้งก็ได้ โดยไม่รู้จัก เหนื่อย แสดงว่าใจทรงพลังมหาศาล เหนือกว่าพลังงานใด ๆ ที่มีอยู่ ในโลกนี้ทุกชนิด กว่าจะรูค้ วามจริงเรือ่ งใจดังทีก่ ล่าวมา บรรพชนผูร้ ตู้ อ้ งยอม สละชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่ากว่าจะค้นคว้าให้ได้มา

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๑ คุณค่าชีวิตมนุษย์

37


ยิ่งใจหยุดนิ่งอยู่กลางตัวได้นานเท่าไร ก็ยิ่งเห็น จ�ำ คิด และรู้ได้ถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงมากเท่านั้น ปัญญาก็ยิ่งเพิ่มพูนเป็นเงาตามตัว

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

39


40

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


สัจจะทีม่ นุษย์ต้องรีบรู้ ประการที่ ๒ • โรค ๖ ประจ�ำกาย • โรค ๓ ประจ�ำใจ • ความสัมพันธ์ระหว่างโรค ๖ ประจ�ำกายกับโรค ๓ ประจ�ำใจ

www.kalyanamitra.org


โรค ๖ ประจ�ำกาย มนุษย์ทุกคนบนโลก ต่างมีโรคประจ�ำกายที่ตามบั่นทอนกาย ให้เสือ่ มอยูท่ กุ ลมหายใจตัง้ แต่เกิด จนกระทัง่ แก่ เจ็บ และตายในทีส่ ดุ โรคเหล่านั้นก็คือ ๑) โรคหนาว ๒) โรคร้อน ๓) โรคหิว ๔) โรค กระหาย ๕) โรคปวดอุจจาระ และ ๖) โรคปวดปัสสาวะ แต่โดยทั่วไปมักมองว่า โรค ๖ ประจ�ำกายเป็นเพียงอาการ กระสับกระส่ายทางกายธรรมดาประจ�ำวันของมนุษย์ เช่นเดียวกับ การหายใจเข้าออก จึงมักปล่อยปละละเลยไม่เฉลียวใจว่า โรค ๖ ประจ�ำกายนี้ มีพิษสงร้ายกาจท�ำลายโลกทั้งโลกได้ ไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อม โดยมีสาเหตุคือ ๑. ท�ำให้ทุกคนเกิดมากายก็เปื้อนสกปรกออกมาจากครรภ์ มารดา ซึ่งมารดาก็เป็นโรค ๖ ประจ�ำกายอยู่ก่อนแล้ว ๒. ทันทีที่เกิดมาต่างคนต่างก็ผลิตขยะออกมาจากกาย ตั้งแต่หายใจออกเป็นอากาศเสีย พร้อมกับผลิตน�ำ้ ตา น�ำ้ มูก น�ำ้ ลาย ปัสสาวะ อุจจาระ ฯลฯ ก่อความสกปรกเปื้อนเปรอะทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมไปตลอดชีวิต ๓. หากผู้ใดมักง่ายดูเบาในการก�ำจัดความสกปรกที่ตนเอง ผลิตขึ้นมาย่อมส่งผลให้ ๓.๑) สุขภาพย่อมทรุดโทรมง่าย เป็นโรคอื่นนานาชนิด ตามมาได้ง่าย

42

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๓.๒) เกิดนิสัยเสียต่าง ๆ ตามมาจากความมักง่ายในการ ก�ำจัดความสกปรกชนิดนั้น ๆ ๓.๓) ต้องท�ำกรรมชัว่ เนือ่ งจากความมักง่ายทุกชนิดแม้ใน เรื่องเล็กน้อยล้วนเป็นการท�ำกรรมชั่วทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้การอาบน�้ำ ท�ำความสะอาดร่างกาย สิง่ ของเครื่องใช้ บ้านเรือน ซึง่ เป็นเรื่องส่วนตัว ดังนัน้ กรรมชัว่ ของชาวโลกทุกคน จึงเริม่ ต้นทีค่ วามมักง่ายในการ ท�ำความสะอาดหรือการก�ำจัดความสกปรก ซึ่งเกิดจากโรค ๖ ประจ�ำกายของแต่ละคนทั้งสิ้น ๓.๔) ทันทีที่เกิดค่าใช้จ่ายในครอบครัว การใช้และ ท�ำลายทรัพยากรจากสิ่งแวดล้อมก็เกิดตามมา ยิ่งใครมักง่าย ใช้จ่าย สิ้นเปลือง ยิ่งท�ำลายสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น อันเป็นที่มาของปัญหา เศรษฐกิจ จิตใจ สังคม การเมือง ฯลฯ ไม่รู้จบ ด้วยเหตุดังกล่าวความร้ายกาจของโรค ๖ ประจ�ำกาย จึงน่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก แต่ทั้งโลกหาใครมองออกได้ยาก ตรงกั น ข้ า ม ผู ้ ใ ดได้ รั บ การอบรมสั่ ง สอน ชี้ ท างถู ก จาก กัลยาณมิตรให้มีความส�ำรวมในการท�ำความสะอาด ความส�ำรวม ในการจัดระเบียบไว้ดีแล้ว ย่อมสามารถควบคุมโรค ๖ ประจ�ำ กายได้ ดี สุ ข ภาพกายย่ อ มแข็ ง แรง โรค ๓ ประจ� ำ ใจก็ บ รรเทา ความส�ำรวมในการท�ำความสะอาดและจัดระเบียบ จึงเป็นรากฐาน ของความดีทั้งปวง จัดเป็นการท�ำกรรมดีที่ต้องฝึกอย่างยิ่งยวด กวดขันจนตลอดชีวิตทั้งหญิงชายตั้งแต่ยังเยาว์ สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๒

www.kalyanamitra.org

43


เพราะโรค ๖ ประจ�ำกายนี้ เป็นโรคที่ไม่มียารักษาให้หายขาด หมอทัง้ โลกก็รกั ษาไม่ได้ ท�ำให้ตอ้ งคอยควบคุมดูแลโรค ๖ ประจ�ำกาย ด้วยตัวเองไปตลอดชีวิต ด้วยการปฏิบัติตนอย่างน้อย ดังนี้ ๑. มีความช่างสังเกต ไม่มักง่าย ไม่ขาดสติในทุกเรื่องราว ที่ต้องเกี่ยวข้อง ๒. รู้ประมาณการบริโภคอาหาร ไม่ใช่อยู่เพื่อกิน แต่กินเพื่อ อยู่ อยู่เพื่อปราบกิเลส แก้ไขนิสัยไม่ดีของตัวเอง และตั้งใจสร้างบุญ ๓. ท�ำความสะอาด ร่างกาย เครื่องนุ่งห่ม สิ่งของเครื่องใช้ และที่อยู่อาศัยให้สะอาดเป็นนิจ ๔. จัดระเบียบ พื้นที่บริเวณที่ตนอยู่อาศัยให้อากาศถ่ายเท สิ่งของเครื่องใช้ต้องแยกให้ชัดว่า สิ่งไหนจ�ำเป็น สิ่งไหนส่วนเกิน จัดวางถูกทีถ่ กู วิธี เพือ่ หยิบก็งา่ ย หายก็รู้ ดูกง็ ามตา รวมทัง้ จัดระเบียบ อิริยาบถ ๔ ของตน คือ ยืน เดิน นั่ง และนอนให้ถูกต้อง ๕. สุภาพ กิริยาท่าทางสุภาพ ตามแบบแผนและวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงาม มีการเคลื่อนไหวอิริยาบถที่นุ่มนวล จะเปิด-ปิด ประตูหน้าต่าง หยิบจับล้างถ้วยชาม หรือข้าวของเครื่องใช้ทั้งหลาย ก็ไม่เสียงดังโครมคราม โพล้งเพล้ง ท�ำให้เกิดอุบัติเหตุได้ยาก

44

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๖. ตรงตามเวลา กิน นอน ตื่น และขับถ่ายถูกเวลา ตรงเวลา

๗. ใจเป็นสมาธิ หมั่นเก็บรักษาใจให้หยุดนิ่งมั่นคงไว้ในตัว ด้วยการนึกถึงองค์พระ ดวงแก้ว หรือก�ำหนดลมหายใจเป็นนิจ

ความส�ำรวมในการท�ำความสะอาด และจัดระเบียบ จึงเป็นรากฐาน ของความดีทั้งปวง จัดเป็นการท�ำกรรมดีที่ต้องฝึก อย่างยิ่งยวดกวดขันตลอดชีวิต ทั้งหญิงชายตั้งแต่ยังเยาว์

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๒

www.kalyanamitra.org

45


โรค ๓ ประจ�ำใจ การที่ใจมีโรค ๓ ประจ�ำใจ เพราะใจถูกธาตุชนิดหนึ่งที่สกปรก มาก ละเอียดมาก และมีพิษร้ายแรงมาก ฝังตัวเข้าไปอยู่ในใจตั้งแต่ เกิด ธาตุร้ายนี้ บีบคั้นบ่อนท�ำลายใจไม่เคยหยุด จนกระทั่งสัตว์โลก นั้นตายไป ด้วยการท�ำให้ใจขุ่นมัวและมืดบอด อันเป็นเหตุให้ การเห็น จ�ำ คิด และรู้ในสิ่งต่าง ๆ ไม่ถูกต้องตรงตามความจริง ใจ จึงเห็นผิด ๆ จ�ำผิด ๆ คิดผิด ๆ รู้ผิด ๆ แล้วท�ำกรรมชั่วในรูปแบบ ต่าง ๆ โดยแบ่งกรรมชั่วออกได้เป็น ๓ รูปแบบ จึงตั้งชื่อโรคตาม ลักษณะการท�ำกรรมชั่วประเภทนั้น ๆ ว่า ๑. โรคโลภะ โดยท�ำให้ใจขุ่นมัว เกิดความอยากได้ไม่รู้จบ มีความก�ำหนัดยิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น อยากได้ของผู้อื่นในทางมิชอบร�ำ่ ไป ๒. โรคโทสะ โดยท�ำให้ใจขุ่นมัว เกิดความขัดเคืองใจ โกรธ คิดท�ำลาย หงุดหงิด และเดือดร้อนใจไม่รู้สร่าง ๓. โรคโมหะ โดยท�ำให้ใจขุ่นมัว เกิดความหลง ความมืดบอด ขลาดเขลา ไม่ค�ำนึงถึงเหตุผล รวมทั้งเป็นเหตุให้เกิดโลภะและ โทสะอีกด้วย เพราะถูกโรคประจ�ำใจทั้ง ๓ ประเภทนี้บีบคั้น ใจจึงชอบหนี เตลิดออกจากกลางกายอันเป็นบ้านของใจ และเป็นศูนย์กลางที่ ช่วยให้ใจรู้เห็นความจริงของโลกและชีวิตได้ถูกต้อง ใจเตลิดหนี เที่ยวไปเมื่อใด ก็ไปเสพคุ้นติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ

46

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


อารมณ์น่าใคร่ น่าพอใจ จากคน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ ภายนอก เมื่อนั้น หากถูกใจ ชอบใจสิ่งใดหรือผู้ใด โรคโลภะก็ก�ำเริบ อยากได้ สิ่งนั้นหรือผู้นั้น แม้มิใช่ของ ๆ ตน แต่ก็จ้องจะเอามาให้ได้แม้ ในทางที่ไม่ชอบ หากไม่ถูกใจสิ่งใดหรือผู้ใด โรคโทสะก็ก�ำเริบ จ้องจะท�ำลาย สิ่งนั้นหรือผู้นั้นให้เสียหายเดือดร้อน หากหลงใหลสิ่งใดหรือผู้ใด โรคโมหะก็ก�ำเริบ ไม่ค�ำนึงถึง เหตุผล ประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งนั้นหรือผู้นั้นอย่างโง่เขลา ท�ำให้ ต้องเดือดร้อนในภายหลัง เพราะโรค ๓ ประจ�ำใจก�ำเริบไม่ยอมหยุด ความทุกข์ตา่ ง ๆ จึง ถาโถมเข้าท�ำลายบีบคั้นสัตว์โลกไม่ว่างเว้น เมื่อทุกข์มากเท่าไร ใจก็ขุ่นมากเท่านั้น เพียงแค่จะเห็นใจตัวเองก็แสนยาก ต้องเพียร ตั้งสติ เจริญสมาธิชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันเท่านั้น จึงจะเห็นใจ ตนเองได้ แต่การที่จะรู้เห็นโรค ๓ ซึ่งฝังลึกภายในใจยิ่งแสนยาก ขึ้นไปอีก เพราะโรคทั้ง ๓ นี้ เป็นธาตุสกปรกที่ละเอียดมาก ๆ ละเอียด จนแทรกเข้าไปในเนื้อใจซึ่งแสนละเอียดอยู่แล้วได้ จึงไม่ต้องพูด ถึงว่า การรู้เห็นวิธีการควบคุมโรค ๓ ประจ�ำใจ จะยากแสนเข็ญยิ่ง ขึ้นเพียงไหน แต่บรรพชนผู้รู้ ก็ได้ค้นคว้าหาความรู้เหล่านี้เตรียม ไว้ให้เราเรียบร้อยแล้ว สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๒

www.kalyanamitra.org

47


การควบคุมรักษาโรค ๓ ประจ�ำใจ กระท�ำได้ดังนี้

๑. เราต้องฝึกตนให้มสี ามัญส�ำนึกความเป็นมนุษย์อย่างมัน่ คง คือ สามารถเตือนตนเองได้เสมอว่า สิ่งใดที่เราไม่อยากให้ใครท�ำ กับเรา เพราะมันท�ำให้เราเดือดร้อน เราเองก็ต้องไม่ไปท�ำสิ่งนั้น กับผู้อื่น หรืออย่าพูด อย่าท�ำกับผู้อื่น ในสิ่งที่เราไม่ชอบนั้น ๆ ๒. เราต้องหมั่นเข้าหากัลยาณมิตรเพื่อให้ท่านชี้ทางสว่าง แก้โรค ๓ ให้เรา ๓. เราต้ อ งมี ค วามกตั ญ ญู ก ตเวทิ ต าและความเคารพต่ อ กัลยาณมิตรผู้มอี ปุ การคุณแก่เราเสมอ เป็นการตอบแทนพระคุณท่าน และเป็น ก� ำ ลั ง ใจให้ท่านได้ท�ำหน้าที่ กั ลยาณมิตรต่อชาวโลกให้ ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ๔. เราต้องตั้งใจฟังค�ำสอนของกัลยาณมิตร และตรองแล้ว ตรองอีกให้เข้าใจค�ำสอนของท่าน แล้วน�ำค�ำสอนนั้นมาปฏิบัติ อย่างเคร่งครัดให้ได้ผลดีเช่นเดียวกับท่านด้วย ๕. เราต้องหมัน่ เจริญสมาธิรกั ษาใจไว้กลางกายเป็นนิจ ให้เป็น นิสัยประจ�ำตน เพื่อรู้เห็นความจริงให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

48

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ความสัมพันธ์ระหว่างโรค ๖ ประจ�ำกาย กับโรค ๓ ประจ�ำใจ ๑. โรคหนาว-ร้อนประจ�ำกาย ไม่ว่าโรคหนาว-ร้อนประจ�ำกายจะมีสาเหตุมาจากอากาศ ภายนอก หรือจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกายตนเอง ล้วน บังคับให้ทุกคนต้องการ ๓ สิ่งต่อไปนี้ ๑) ต้องการอากาศบริสุทธิ์ ที่ไม่เย็นไม่ร้อนจนเกินไปส�ำหรับ หายใจ ๒) ต้องการเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย เพื่อให้ ความอบอุ่นต่อร่างกาย แต่ทั้ง ๒ ประการนี้ มีทั้งที่ถูกใจและไม่ถูกใจ สิ่งใดที่ถูกใจและ ตนเองก็ไม่รู้ประมาณ ก็อยากจะได้มาก ๆ ไว้ก่อน แม้จะต้อง แย่งชิงกันก็ยอม โรคโลภะก็จะก�ำเริบขึ้นมา ความไม่พอใจคู่ต่อสู้ ที่แย่งชิงก็เกิดขึ้น ถึงกับท�ำร้ายกัน โรคโทสะก็จะก�ำเริบขึ้นมา หรือ ถ้าไม่ถกู ใจเสือ้ ผ้าและบ้านเรือนนัน้ ก็อาจรังเกียจ หงุดหงิด คิดท�ำลาย รื้อทิ้ง โรคโมหะก็ก�ำเริบขึ้นมา

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๒

www.kalyanamitra.org

49


๓) ต้องการกัลยาณมิตรชี้แนะให้เห็นตรงความจริงว่า

วัตถุประสงค์หลักของเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม มีไว้เพื่อ ป้องกันความหนาว-ร้อน อันเป็นเหตุให้ป่วยไข้ได้ วัตถุประสงค์รอง มีไว้บำ� บัดสัมผัสอันตรายจากเหลือบ ยุง ริ้น ไร แมลงไต่ตอม ลมแดด สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย รวมทั้ง เพื่อปกปิดอวัยวะกันอาย หากมุง่ นุง่ ห่มอวดสวย อวดงาม อวดเด่น อวดดัง อวดร�ำ่ รวย เมื่อไร แสดงว่าโรคโมหะก�ำลังก�ำเริบครอบง�ำ ท�ำให้ใจขุ่นขึ้น ๆ ยาก ที่จะเห็นความจริงในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นยิ่ง ๆ ขึ้นไป ในท�ำนองเดียวกัน วัตถุประสงค์หลักของบ้านที่อยู่อาศัย ก็เพื่อใช้บ�ำบัดความหนาว ความร้อน อันเป็นเหตุให้ป่วยไข้ วัตถุประสงค์รอง เพือ่ บ�ำบัดสัมผัสอันตรายจากเหลือบ ยุง ริ้น ไร ลมแดด และสัตว์เลื้อยคลานทั้งหลายรบกวน เพื่อบรรเทา อันตรายจากดิน ฟ้า อากาศ และเพื่อเป็นที่ประกอบธุรกิจการงาน หากใช้ผิดวัตถุประสงค์ โรคโมหะก็ก�ำเริบ หากไม่รู้จักพอ ยินดีที่จะได้มาในทางไม่ชอบ โรคโลภะก็ก�ำเริบ หากไม่พอใจถึงกับ ทุบท�ำลาย กระทบกระทั่งผู้อื่น และสิ่งแวดล้อมเสียหาย โรคโทสะ ก็ก�ำเริบ

50

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๒. โรคหิว-กระหายประจ�ำกาย โรคหิว-กระหายเป็นโรคทีเ่ กิดจากการเรียกร้องของร่างกายว่า บัดนี้ร่างกายต้องการอาหารและน�้ำไปสร้างพลังงานแล้ว

๑) เพื่อเป็นไออุ่นเลี้ยงร่างกายให้ด�ำรงชีวิตอยู่ได้

๒) เพื่อสร้างร่างกายให้เจริญเติบโต

๓) เพื่อซ่อมแซมร่างกายส่วนที่สึกหรอ

๔) เพื่อต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ

๕) เพื่อเคลื่อนไหวและท�ำการงานต่าง ๆ

หากกินดื่มเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น เพื่อมีเรี่ยวแรงเที่ยวเตร่ เฮฮา เล่นสนุก เมาพลัง มุง่ ให้รปู ร่างทรวดทรงงาม ผิวพรรณงาม ฯลฯ แสดงว่า โรคโมหะเริม่ ก�ำเริบแล้ว หากกินดืม่ ไม่รปู้ ระมาณ เห็นแก่กนิ หวงกิน กินดื่มร่วมกับใครก็เอาเปรียบเขา แสดงว่า โรคโลภะก�ำเริบ หากกินดื่มทีไร ก็ต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเอามาบ�ำรุงบ�ำเรอเป็นการใหญ่ แสดงว่า โรคโทสะก�ำเริบ ยิ่งกว่านั้น การกินดื่มโดยไม่ค�ำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ มุง่ แต่ความเอร็ดอร่อย การกินดืม่ ไม่เป็นเวลา ฟุม่ เฟือย ทิง้ ๆ ขว้าง ๆ การก�ำจัดขยะจากเศษวัตถุดิบประกอบอาหารและเศษอาหาร ที่เหลือไม่ถูกวิธี อันเป็นการท�ำลายสิ่งแวดล้อม ย่อมน�ำมาซึ่งปัญหา เศรษฐกิจและสังคมไม่รู้จบ ที่อันตรายอย่างยิ่ง คือ เพาะนิสัยมักง่าย และไร้ระเบียบวินัยนานาชนิดให้แก่ผู้นั้น สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๒

www.kalyanamitra.org

51


๓. โรคปวดอุจจาระ-ปัสสาวะประจ�ำกาย ทั้งอุจจาระและปัสสาวะ คือ กากอาหารและเครื่องดื่มที่ รับประทานเข้าไปเพือ่ สร้างพลังงานเลีย้ งชีวติ ซึง่ แน่นอนย่อมสกปรก เน่าเหม็น และน่ารังเกียจทั้งสิ้น ยิ่งกว่านั้นหากเป็นอุจจาระปัสสาวะ ของผู้เป็นโรคติดต่อ ย่อมมีอันตรายร้ายแรงแฝงอยู่ พร้อมท�ำลาย ล้างชีวิตคนทั้งโลกอีกด้วย ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

• การไม่เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม

• การไม่รู้ประมาณในการรับประทานอาหาร

• การขาดวินยั ในการรับประทานอาหารทัง้ พร�ำ่ เพรือ่ ไม่ตรงเวลา

• การควบคุมโรคหนาว-ร้อน หิว-กระหายไม่ได้ ฯลฯ

เหล่านี้ย่อมท�ำให้การขับถ่ายไม่สะดวก ความปวดเจ็บขณะ ขับถ่ายอาจรุนแรง ตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดรุมเร้า อารมณ์ จึงเสียง่าย ค่าใช้จ่ายก็เปลืองตาม ตลอดชีวิตย่อมถูกโรคใจทั้ง ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะรุมเร้าเข้ามาอย่างไม่ควรจะเป็น หากควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกายได้ถูกต้องตรงต่อความจริง ด้วยการรีบปฏิบัติสัจจะที่ต้องรีบประพฤติ​ิ ให้ตนเองมีนิสัยรัก ท�ำความสะอาดและจัดระเบียบสิ่งแวดล้อม ๕ ด้วยตนเอง ย่อมเป็นผู้มีนิสัยช่างสังเกตและรู้ประมาณในปัจจัย ๔ และสิ่งที่

52

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


เกี่ยวข้อง สัจจะต่อความดีก็จะเพิ่มขึ้นในใจ ช่วยให้เห็นความจริง ชัดว่า เราจะมัวเสียเวลาอยูไ่ ยกับรูป เสียง กลิน่ รส สัมผัส และอารมณ์ อันน่าใคร่ของเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องดื่ม คน สัตว์ และสิ่งของต่าง ๆ ท�ำไมไม่เอาแรงกาย แรงใจ แรงทรัพย์ แรงความรู้ และเวลาชีวิต ไปทุ่มท�ำสิ่งที่มีคุณค่าให้สุดชีวิต เช่น

ไปทุ่มท�ำทาน สละแบ่งปันให้แก่ผู้สมควร เพื่อก�ำจัดโลภะ

ไปทุ่มสอนตนเองว่า สิ่งใดที่เราไม่ชอบก็อย่าไปท�ำสิ่งนั้น กับใครให้เขาเดือดร้อน เพื่อก�ำจัดโทสะ ไปทุ่มเจริญสมาธิภาวนา รักษาใจให้หยุดนิ่งอยู่กลางกาย เพื่อก�ำจัดโมหะ

ฯลฯ

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๒

www.kalyanamitra.org

53


การควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกายได้ถูกต้อง ตรงต่อความจริง ย่อมท�ำให้มีนิสัย ช่างสังเกต รู้ประมาณในปัจจัย ๔ สัจจะต่อความดีก็จะเพิ่มขึ้นในใจ แล้วทุ่มก�ำจัดโลภะ โทสะ โมหะอย่างสุดชีวิต

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org


สัจจะทีม่ นุษย์ต้องรีบรู้ ประการที่ ๓ สิ่งแวดล้อม ๕

www.kalyanamitra.org


สิ่งแวดล้อม ๕ สิ่งแวดล้อม คือ สิ่งภายนอกตัวเราที่มีผลต่อการด�ำรงชีวิต ทั้งโลกมีสิ่งแวดล้อม ๕ ที่ทุกคนต้องร่วมมือดูแลรักษาให้สะอาด และเป็ น ระเบี ย บ เพื่ อ เป็ น ที่ อ ยู ่ ที่ พึ่ ง ให้ ชี วิ ต ด�ำ รงอยู ่ เ ป็ น สุ ข ไม่ท�ำความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง ผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแสดง ดังภาพที่ ๘

ภาพที่ ๘ สิ่งแวดล้อม ๕

58

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


สิ่งแวดล้อม ๕ ที่มีผลต่อมนุษย์และเพื่อนร่วมโลก มีดังนี้

๑. สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ เช่น ลม ฝน แดด ที่ราบ ที่ลุ่ม ต้นไม้ พืชพรรณต่าง ๆ ฯลฯ เพื่อให้ มนุษย์มีอากาศหายใจ มีน�้ำดื่มน�้ำใช้ไว้บริโภคใช้สอย ทั้งเป็นแหล่ง วัตถุดิบเพื่อผลิตปัจจัย ๔ และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ อีกด้วย ๒. สิ่งแวดล้อมที่เป็นสิ่งมีชีวิต ได้แก่ สัตว์ทั่วไป สัตว์เลี้ยง สัตว์มีพิษ สัตว์ร้าย สัตว์พาหะโรค และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เพื่อ ช่วยกิน ย่อยสลายสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ท�ำให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติ ซากของสัตว์เหล่านี้อาจใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบเพื่อผลิตปัจจัย ๔ และทรัพยากรใช้สอยต่าง ๆ ได้อีกด้วย ๓. สิ่งแวดล้อมที่เป็นบุคคล ได้แก่ บุคคลที่อยู่แวดล้อม ตัวเรา ประกอบด้วยบิดามารดา ครูอาจารย์ มิตรสหาย เพื่อนบ้าน คู่ครอง เจ้านาย ลูกน้อง สมณะนักบวช ตลอดจนถึงคนจร คนต่างชาติ และต่างศาสนาที่อยู่ร่วมโลก ซึ่งต่างต้องพึ่งพาอาศัย ช่วยเหลือกัน ด้านการผลิต การหา การใช้ และการเก็บปัจจัย ๔ รวมถึงผลิต ทรัพยากรใช้สอยอ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ อีกทั้งต้องพึ่งพากัน ด้านเป็นกัลยาณมิตรต่อกัน เพื่อชี้ทางถูกในการพัฒนาตนให้เป็นผู้มี สัจจะต่อความดี มนุษย์จึงจ�ำเป็นต้องเป็นมิตรต่อกัน สังคมจึงน่าอยู่ ๔. สิ่งแวดล้อมที่เป็นทรัพยากรอ�ำนวยความสะดวก ได้แก่ สิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นสร้างขึ้น เพื่อใช้สอยอ�ำนวยความสะดวก ในชีวิต โดยใช้ วั ต ถุ ดิ บ จากสิ่ ง แวดล้ อ มที่เกิดจากธรรมชาติบ้าง สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๓

www.kalyanamitra.org

59


สิ่ง มี ชี วิ ต บ้ า ง แล้ ว มนุ ษ ย์ ผู ้ มี ป ั ญ ญาก็ คิ ด ค้ น กระบวนการและ เทคโนโลยี เพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบเหล่านั้นมาเป็นสิ่งอ�ำนวยความ สะดวกในชีวิต เช่น บ้าน อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ถนน รถยนต์ เสื้อผ้า ของใช้ชนิดต่าง ๆ ฯลฯ ๕. สิง่ แวดล้อมทีเ่ ป็นระเบียบแบบแผนจริยธรรม เป็นแบบแผน การปฏิบตั ทิ ถี่ กู ต้องตรงต่อความจริงของสิง่ แวดล้อม ๕ ประกอบด้วย กฎหมายที่เป็นธรรม กฎระเบียบที่ถูกต้อง วัฒนธรรมประเพณี อันดีงาม มารยาทสังคม แบบอย่างการท�ำความสะอาดจัดระเบียบ แบบอย่างความประพฤติการอยู่ร่วมกันควรแก่หน้าที่ การงาน และ สิทธิ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมที่เป็นจริยธรรมเหล่านี้เองที่ท�ำให้สมาชิก ในสังคมนั้นรู้และประพฤติตนได้ถูกต้อง ตลอดชีวิตมนุษย์จึงขึ้นกับ สิ่งแวดล้อม ๕ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังแสดงในภาพที่ ๙

60

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๓

www.kalyanamitra.org

61

ภาพที่ ๙ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ๕


ท�ำลายสิ่งแวดล้อม ๕ ธรรมชาติไม่รักษา โลกยิ่งกว่าทะเลทราย เบียดเบียนฆ่าท�ำลาย กลายเป็นสัตว์ ในร่างคน ไม่คิดจับผิดตน ค้น ชอบ-ถูก ใครไม่เจอ เฟ้อฟุ้ง เช้า สาย บ่าย ตราบเท่าตายไร้เอาจริง แบบแผนเหยียบย�่ำทิ้ง บอดโง่ยิ่ง เต่า ปู ปลา แวดล้อมถ้วนสิ่งห้า รักษาไว้สุขใจเทอญ

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

63


64

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


สัจจะทีม่ นุษย์ต้องรีบรู้ ประการที่ ๔ • มนุษย์ต้องมีกัลยาณมิตร ช่วยชี้ทางถูกให้ • กัลยาณมิตรคือใคร • กัลยาณมิตรอยู่ที่ไหน • สรุป

www.kalyanamitra.org


มนุษย์ต้องมีกัลยาณมิตร ช่วยชี้ทางถูกให้

66

การเข้าถึงหรือรู้ความจริงของทุกสรรพสิ่ง มนุษย์ไม่อาจท�ำได้ ด้วยตนเองทันทีตงั้ แต่เกิด ต่อเมือ่ ได้กลั ยาณมิตรเมตตาช่วยชีท้ างถูก ให้แต่ละเรื่อง แต่ละสิ่ง และตนเองก็ตั้งใจฝึกตัวให้ใจใสตามท่าน จึงจะรู้ได้ถูกต้องตรงต่อความจริงเรื่องนั้นสิ่งนั้นได้ เพราะทุกคน เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้อะไรเลย มีแต่กัลยาณมิตรเท่านั้นที่มอง ออกว่า เมื่อใดที่แต่ละคนได้องค์ประกอบ ๔ ประการ คือ ๑) กาย มีคุณภาพ ๒) อยูใ่ นสิง่ แวดล้อม ๕ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ ๓) ใจมีคณ ุ ภาพ ๔) มีกัลยาณมิตรช่วยชี้ทางถูกให้ มนุษย์จึงจะรักษาความเป็น มนุษย์ของตนไว้ได้ และพัฒนาศักยภาพสร้างสรรค์อเนกอนันต์ ของตนได้ หากไม่ได้เจอกัลยาณมิตรและไม่ได้เรียนรูจ้ ากท่านไปตามล�ำดับ ขัน้ ตอนแล้ว แต่กลับไปเจอปาปมิตรผูเ้ ป็นอันธพาลใจบาป ย่อมท�ำให้ เราหลงไปเรียนรู้สิ่งผิด ๆ ว่า เป็นสิ่งที่ถูกต้อง การด�ำเนินชีวิตก็จะ ผิดพลาดอย่างมหันต์ ท�ำให้เสียโอกาสที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ เพราะ กัลยาณมิตรผู้ฝึกตัวมาดีแล้วจริง ๆ เท่านั้น ที่เป็นผู้รู้ความจริง ของชีวิตตลอดสาย ไม่ใช่ปาปมิตรผู้เป็นอันธพาลใจบาป ยิง่ กว่านัน้ แม้เรารูส้ จั จะทีม่ นุษย์ตอ้ งรีบรูแ้ ละรีบประพฤติแล้ว เมื่อถึงคราวน�ำมาปฏิบัติให้เกิดเป็นความดีในตนจริง เราก็ยังต้องมี กัลยาณมิตรเป็นต้นแบบการคิด การพูด และการท�ำ เพื่อให้เราได้ สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


เห็นถูก ได้รับรู้ถูก ได้จดจ�ำถูก และได้คิดไตร่ตรองถูกจนคุ้น จึงจะ ได้หลักคิดและแนวทางปฏิบัติที่ถูก ท�ำให้รู้ถูก ปัญญาจึงงอกงาม เพิ่มพูนขึ้นมาได้ เมื่อนั้นเราจึงมีศรัทธา วิริยะอุตสาหะที่จะทุ่มใจ แก้ไขตน ฝึกตน และพัฒนาตนให้ท�ำแต่สิ่งที่ถูกต้องตรงต่อความจริง ได้เป็นปกตินิสัย กลายเป็นผู้มีสัจจะต่อความดีอย่างมั่นคง ชีวิตจึง เจริญ สามารถเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ชาวโลกท่านอื่น ๆ ต่อไปได้

กัลยาณมิตรคือใคร

เราต้องอาศัยกัลยาณมิตรเพื่อชี้ทางถูกให้ และเป็นต้นแบบในการปฏิบัติให้เกิดผล ปัญญาจึงงอกงามเพิ่มพูน มีศรัทธา วิริยะ อุตสาหะ ที่จะทุ่มใจฝึกตนให้ท�ำแต่สิ่งที่ถูกต้อง ตรงต่อความจริง ชีวิตจึงเจริญ เป็นกัลยาณมิตรให้แก่ชาวโลกต่อไปได้

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๔

www.kalyanamitra.org

67


กัลยาณมิตรคือใคร กัลยาณมิตร หมายถึง มิตรดี คือ มิตรแท้ผมู้ คี วามปรารถนา ดีแก่เราจริง ๆ มี ๔ ประเภทด้วยกันตามความรู้ความสามารถ และศีลธรรมประจ�ำใจที่ท่านฝึกได้จนกลายเป็นคุณสมบัติประจ�ำ ตัวท่าน คือ ๑. มิตรมีอุปการะ ได้แก่ ผู้เต็มใจช่วยป้องกันเพื่อนและ สมบัติของเพื่อน และให้เพื่อนพึ่งพาอาศัยได้ตลอด ๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ได้แก่ ผู้เป็นคนเปิดเผย แต่เก็บ ความลับของเพือ่ นได้ ไม่ละทิง้ กันในยามยาก สามารถตายแทนกันได้ ๓. มิตรแนะประโยชน์ ได้แก่ ผู้กล้าขัดใจห้ามเพื่อนมิให้ท�ำ ผิด แนะน�ำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามให้ ๔. มิตรมีความรักใคร่ ได้แก่ เพื่อนตาย ยอมสุขทุกข์ด้วยกัน พร้อมโต้ตอบคนที่ติเตียนใส่ร้ายป้ายสีเพื่อน มิตรที่มีลักษณะ ๔ ประการนี้ โดยลึก ๆ ในจิตใจของท่านแล้ว ท่านย่อมเป็นผู้รู้จริง ฝึกตนเองมาดีจริงในระดับใดระดับหนึ่ง สมแก่ อายุ การศึกษา หน้าที่ การงาน ต�ำแหน่งของท่าน ท่านจึงพึ่งตนเอง และเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ เนื่องจากท่านผ่านการฝึกตนให้มีฆราวาส ธรรม ๔ มาอย่างช�่ำชองแล้ว คือ

68

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑. มีสัจจะ ท่านได้ฝึกฝนตนให้ท�ำอะไรก็ท�ำจริง ไม่ท�ำเล่น ๆ เพื่อให้สิ่งที่ท�ำนั้นดีจริง หรือเกิดความดีขึ้นมาจริง ๒. มีทมะ ท่านได้ฝึกฝนตนให้ช่างสังเกต มุ่งมั่นฝึกตนให้ รอบรู้จริงในทุกสิ่งที่ควรรู้ หรือที่ต้องรับผิดชอบ จนเกิดเป็นปัญญา ประจ�ำตน ๓. มีขันติ ท่านได้ฝึกฝนตนให้ทรหดอดทนกับทุกสถานการณ์ ได้จริง ท�ำให้ท่านขยัน และตั้งหลักฐานได้มั่นคง ๔. มีจาคะ ท่านได้ฝึกฝนตนให้เป็นนักเสียสละ ยินดีสละ ทั้งทรัพย์ สละทั้งความรู้ให้แก่ผู้สมควร และสามารถสละอารมณ์ ขุ่นมัวได้ดี ท่านจึงแจ่มใสเป็นนิจ กล้าเสียสละชีวิตปกป้องคนดีและ ความดี ท่านไม่เคยถือตัวยกตัวข่มใคร มีแต่ความอ่อนโยน โอบอ้อม อารีกับทุกคน และที่น่าเคารพมาก คือ ท่านยึดถือหลักการศึกษาว่า “ความรู้ หากเกิดกับคนนิสยั เสียเป็นพาล มีแต่จะน�ำความฉิบหาย มาให้ เพราะเขาจะน�ำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิดเกิดโทษ” ถึงคราว ถ่ายทอดให้ความรูผ้ ใู้ ด ท่านจึงเข้มงวดกวดขัน ตัง้ ใจฝึกความประพฤติ ผู้นั้นให้ดีงามตามท่านก่อน เพื่อเป็นหลักประกันว่า เมื่อผู้นั้น ได้ความรู้จากท่านแล้ว จะน�ำความรู้นั้น ๆ ไปใช้ทำ� แต่ความดีเท่านั้น เพื่อให้โลกประสบแต่สันติสุขตลอดกาล

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๔

www.kalyanamitra.org

69


กัลยาณมิตรอยู่ที่ไหน แท้ทจี่ ริงกัลยาณมิตร ผูร้ จู้ ริง รูด้ ี ผูม้ คี วามประพฤติดี น่าเคารพ ยกย่อง แต่ละท่าน แต่ละระดับ ก็มิใช่ใครอื่น ท่านอยู่ไม่ห่างเรา ใจ ของท่านก็ไม่หา่ งฆราวาสธรรม และแต่ละท่านต่างก็เป็นส่วนหนึง่ ของ บุคคลในสังคมรอบตัวเราทั้ง ๖ ทิศนั่นเอง คือ ๑. ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดามารดา ตลอดจนปู่ ย่า ตา ยาย ของเราเอง ท่านเป็นผู้มีความรักปรารถนาดีต่อเราอย่างจริงใจตั้งแต่ เราเกิด ๒. ทิศเบือ้ งขวา ได้แก่ ครูอาจารย์ทอี่ บรมสัง่ สอนเรามาตัง้ แต่ ชั้นอนุบาล จนกระทั่งมหาวิทยาลัย ๓. ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ คู่ครองที่เราคัดกรองเลือกด้วยตนเอง และบุตรของเรา ๔. ทิศเบือ้ งซ้าย ได้แก่ มิตรสหายและเพือ่ นบ้าน ทีเ่ ลือกคบค้า กันมาตั้งแต่เล็ก รวมทั้งมิตรสหายที่เราคัดแล้ว กรองแล้ว ได้เคย ช่วยเหลือกันแล้วในปัจจุบัน ๕. ทิศเบือ้ งล่าง ได้แก่ ลูกจ้าง ลูกน้อง บริวารของเราทีเ่ คร่งครัด ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน และรักการปฏิบัติธรรมสม�ำ่ เสมอ ๖. ทิศเบือ้ งบน ได้แก่ สมณะ นักบวช ผูท้ รงศีล ทีต่ งั้ ใจประพฤติ พรหมจรรย์อย่างเคร่งครัดตามวัดวาอารามและศาสนสถานต่าง ๆ

70

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


บุคคลทั้ง ๖ กลุ่มนี้ มิใช่มีแต่เฉพาะรอบข้างเราเท่านั้น แต่ ยังมีบุคคลภายนอกที่ขยายวงกว้างออกไปอีกมาก ถ้าเราพิจารณาดู ก็จะพบเห็นโดยง่าย กล่าวคือ ๑. ทิศ ๖ ที่อยู่รอบข้างเราโดยตรง จัดเป็นกลุ่มคนที่พร้อม ทีส่ ดุ ทีจ่ ะเป็นมิตรแท้แก่เรา ให้เราได้คบค้าสมาคมใกล้ชดิ โดยเฉพาะ กลุ่มทิศเบื้องหน้า คือ บิดา มารดา ท่านรักเราจริง ท�ำคุณอุปการะ เราก่อน เมื่อเรายังเล็ก ท่านก็ห้ามเราไม่ให้ท�ำชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ส่งเสริมให้การศึกษา ถึงคราวมีคู่ครองท่านก็ช่วยคัดกรอง และมอบ มรดกให้เมือ่ ถึงเวลา โดยท่านไม่หวังเลยว่าจะได้รบั ผลตอบแทนอะไร จากเราผู้เป็นบุตร เพราะท่านต้องการให้เราเป็นคนดี มีสุขจริง ๆ เท่านั้น ๒. ทิศ ๖ ที่ขยายวงจากทิศ ๖ รอบตัวเรา ได้แก่ เครือญาติ ของแต่ละทิศ ๖ ของเราเอง เช่น บิดามารดาของเรา ท่านก็มีทิศ ๖ ของท่านอีก คือ คุณพ่อ คุณแม่ ญาติพี่น้อง ซึ่งเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา ของเรา หรือมีคุณครู มิตรสหาย เจ้านาย ลูกน้อง พระภิกษุเถระ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของท่าน บุคคลทั้ง ๖ กลุ่มรอบตัวเราโดยตรง และที่ขยายวงออกไปนี้ แม้ต่างฐานะ เพศ วัย อายุ ความรู้ ประสบการณ์ หน้าที่การงาน การ เงิน และยศศักดิ์ หากท่านใดที่ได้รับการฝึกฝนอบรมให้ปฏิบัติหน้าที่ ประจ�ำทิศ ๖ ซึง่ เป็นธรรมนูญศีลธรรมประจ�ำโลก อย่างเอาจริง รูจ้ ริง และท�ำจริง ด้วยอารมณ์ทแี่ ช่มชืน่ เบิกบาน ตัง้ แต่ครัง้ ท่านเองยังเยาว์ ทั้งที่บ้าน วัด และโรงเรียน สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๔

www.kalyanamitra.org

71


ท่านเหล่านี้ย่อมมีความรู้ ความสามารถ ความดี ติดตัวมา ท่านละไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านย่อมมีคุณธรรมความเคารพ มาก คือ ท่านย่อมมีความตระหนักซาบซึ้งในคุณค่าและคุณความดี ของบุคคลที่พร�่ำสอนท่าน วัตถุสิ่งของที่เป็นอุปกรณ์ให้ท่านใช้ฝึกตน และเหตุการณ์ที่ท�ำให้ท่านได้เรียนรู้ มีคติสอนใจตน ความเคารพ ได้งอกงามเพิ่มพูนขึ้นในจิตใจของท่านอย่างเต็มเปี่ยม กัลยาณมิตร แต่ละท่านเหล่านี้จึงต่างเล็งเห็นตรงกันว่า • ความทันสมัยของเทคโนโลยี ย่อมไม่อาจสู้ความสูงส่ง ของจิตใจได้ • ผูฝ้ กึ ตัวมาดีแล้วไม่วา่ เด็ก ผูใ้ หญ่ หญิงหรือชายย่อมมีคา่ มากกว่าทรัพย์ใด ๆ • เกียรติยศ ชือ่ เสียง เงินทอง ล้วนเป็นของนอกกาย ไม่จรี งั ยัง่ ยืน มีประโยชน์อย่างมากก็เฉพาะชาตินเี้ ท่านัน้ โดยใช้อำ� นวยความสะดวก ในการด�ำเนินชีวติ แต่ถา้ ใช้ไม่เป็น ก็ยงั ไม่แน่วา่ สิง่ เหล่านี้ จะสามารถ ปิดนรกและเปิดสวรรค์ให้กับตนเองได้หรือไม่ • นิสยั ดี ๆ ความประพฤติทดี่ งี าม ความมีสจั จะต่อความดีเท่านัน้ ที่เป็นแก่นส�ำคัญของชีวิต และติดตัวข้ามชาติไปได้ เพราะปิด นรกก็ได้มิด เปิดสวรรค์ก็ได้กว้าง ซ�้ำเป็นการถางทางเตรียมไปพระ นิพพานอีกด้วย

72

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


สรุป

เมือ่ องค์ประกอบทัง้ ๔ ประการ ของผู้ใดมาบรรจบพร้อมกัน คือ ๑. กายมีคุณภาพ

๒. อยู่ในสิ่งแวดล้อม ๕ มีคุณภาพ

๓. ใจมีคุณภาพ

๔. มีกัลยาณมิตรช่วยชี้ทางถูกให้

ย่อมบังเกิดศักยภาพสร้างสรรค์อย่างอเนกอนันต์ขนึ้ ในตัวมนุษย์ ผูน้ นั้ อย่างมหัศจรรย์ และมีพลานุภาพมหาศาลเกินกว่าพลังงานใด ๆ ในจักรวาล ท�ำให้มนุษย์ผู้นั้นสร้างคุณประโยชน์ได้มากมาย น�ำพา ชาวโลกให้หมดทุกข์พบสุขอย่างแท้จริงถาวรก็ได้ ท�ำนองกลับกัน ศักยภาพท�ำลายล้างของมนุษย์ผใู้ ด ทีเ่ กิดจาก อ�ำนาจใจทีท่ รงความรอบรูส้ ารพัด แต่ขาดสติกำ� กับ คือ มักปล่อยใจ ให้หนีเที่ยวอยู่ร�่ำไป ไม่พยายามเก็บรักษาใจให้เป็นสมาธิสงบอยู่ ในกายของผู้นั้นเองเป็นนิจ ยิ่งมนุษย์ผู้นั้นมีกายแข็งแรง และอยู่ใน สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เอื้ออ�ำนวยมากเท่าไร ตัวเขาเองย่อมเบี่ยงเบน ศักยภาพสร้างสรรค์ให้กลายเป็นศักยภาพท�ำลายล้างได้มากขึ้น เท่านัน้ บุคคลเช่นนีแ้ ม้เพียงผูเ้ ดียว ก็อาจน�ำพาคนทัง้ โลกให้จมดิง่ ในกองทุกข์ ต้องตกนรกทั้งเป็นได้ทุกเมื่อ

สัจจะทีม ่ นุษย์ต้องรีบรู้ ๔

www.kalyanamitra.org

73


เมื่อกายใจและสิ่งแวดล้อม ๕ มีคุณภาพ พร้อมทั้งมีกัลยาณมิตรชี้ทางถูกให้ ย่อมก่อให้เกิดศักยภาพสร้างสรรค์ อย่างเอนกอนันต์

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org


สัจจะทีม่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ​ิ ๓ • ความหมายและการแสดงออก ๑. นิสัยรักการพูดจริง ๒. นิสัยรักการท�ำจริง ๓. นิสัยรักการแสวงหา ความจริงและความดี • การฝึกสัจจะต่อความดีขั้นต้น

www.kalyanamitra.org


ความหมายและการแสดงออก สัจจะทีม่ นุษย์ตอ้ งรีบประพฤติ คือ ความตัง้ ใจจริงในการรักษา ใจให้ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไปเป็นนิจ ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใด เช่น ขณะยืน เดิน นั่ง นอน ท�ำงาน ฯลฯ ซึ่งแสดงออกเป็นนิสัย ๓ คือ

๑. นิสัยรักการพูดจริง

๒. นิสัยรักการท�ำจริง

๓. นิสัยรักการแสวงหาความจริงและความดี

เพราะบรรพชนผู้รู้ได้ค้นพบว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวง มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่ ส�ำเร็จมาจากใจ ถ้าใจดี ใจผ่องใส การท�ำ การพูด ก็ตอ้ งดีไปด้วย ความดี ความสุข ย่อมติดตามมาเหมือนเงาตามตน

78

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑.

นิสัยรักการพูดจริง ๑. นิสัยรักการพูดจริง แสดงออกได้ ๓ ลักษณะ คือ

๑.๑ ความตั้งใจพูดตามความจริงที่เห็นอยู่ ที่รู้อยู่ ที่เกิด ขึน้ อยูท่ วั่ ไป โดยไม่มกี ารบิดเบือนไปจากความจริงนัน้ ๆ เพือ่ ความ เข้าใจถูกของทุกฝ่าย เช่น นายแดงขับรถหรูชนนายเขียวซึ่งขับรถ จักรยานยนต์ถึงแก่ความตาย นายแดงก็ต้องสารภาพกับต�ำรวจว่า ตนเป็นผู้ขับรถชนนายเขียวตาย ไม่ใช่บิดเบือนว่า นายเขียวขับรถ จักรยานยนต์มาชนรถหรูของตนแล้วรถล้มคว�่ำ ศีรษะฟาดถนน เสียชีวติ เอง เพราะนัน่ เป็นความเท็จ การท�ำให้ผอู้ นื่ ตายโดยประมาท แล้วยังโยนความผิดให้ผู้ตายอีก นับว่าขาดสัจจะอย่างมาก ๑.๒ ความตั้งใจพูดตรงความจริงตามธรรมชาติ แม้ใน เรื่องที่รู้เห็นได้ยาก เช่น นรกสวรรค์ ฯลฯ ในเมื่อนรกสวรรค์มีจริง ก็ต้องพูดว่า มีจริง เพราะผู้ที่ท้ังรู้ทั้งเห็นนรกสวรรค์นั้นมีอยู่จริง ทั้งท่านผู้รู้ก็ได้บอกวิธีปฏิบัติให้เข้าไปรู้ไปเห็นนรกสวรรค์เช่นท่าน ไว้แล้ว เพียงแต่เรายังปฏิบัติไม่ถึงเช่นท่านเท่านั้น เพราะฉะนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า นรกสวรรค์ไม่มีจริง เพราะ การที่เราไม่รู้ หรือไม่เห็นนรกสวรรค์นั้น เป็นความไม่สามารถ ของเราเอง แต่ไม่ได้หมายความว่า นรกสวรรค์ไม่มี ส่วนการพูด ให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่า นรกสวรรค์ไม่มี ย่อมเกิดโทษอย่างมหันต์ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น คือ www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

79


๑) ตนเองเป็นผูท้ ำ� ให้ผอู้ นื่ เข้าใจผิด ซึง่ นับว่าท�ำความ เสียหายมากแล้ว ๒) เป็นผูย้ กตนข่มผูอ้ นื่ ให้เชือ่ หรือโง่ตามอีกด้วย ส่วน ผู้เข้าใจผิดย่อมเกิดโทษ คือ

- เกิดความเห็นผิดว่า นรกสวรรค์ไม่มี

- เกิดความด�ำริผิด ไม่คิดจะท�ำความดีต่อไป

- เกิดค�ำพูดผิด ๆ ขึ้นในสังคมตามมา

- ผู้นั้นย่อมละทิ้งศีล ตั้งตนเป็นคนทุศีล ออกหน้า เป็นศัตรูกบั คนดีมศี ลี ตนเองก็มใี จขุน่ มัว ไม่เห็น ความจริงเป็นนิจ นับว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

เมื่อเราพูดความจริงว่า นรกสวรรค์มีจริง พร้อมกับอธิบาย เหตุผล หากใครยอมรับฟังเหตุผลจากเรา เขาย่อมได้ประโยชน์อเนก อนันต์ตามมา คือ ๑) ย่อมมีความเห็นถูกว่า นรกสวรรค์มีจริง ท�ำให้เชื่อ เรื่องบุญ-บาปและชีวิตหลังความตาย

๒) ย่อมมีความด�ำริถูก คือ คิดจะท�ำแต่สิ่งดี ๆ ต่อไป

๓) ย่อมมีคำ� พูดถูก ช่วยกันพูดขยายความจริงให้รู้ถูก ทัว่ สังคม เพือ่ ให้เกิดก�ำลังใจในการท�ำความดีให้ยงิ่ ๆ ขึน้ ไปทัว่ สังคม

80

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๔) ทัง้ สังคมย่อมตัง้ ใจท�ำความดีตามบรรพชนผูร้ ู้ เป็น ผลให้ใจผ่องใสยิ่งขึ้น สามารถไปรู้ไปเห็นนรกสวรรค์ตามท่านผู้รู้ได้ ทั่วหน้ากัน ๑.๓ ความตั้งใจพูดยืนยันความจริงที่เป็นประโยชน์ส่วน ตนและส่วนรวมอย่างถูกกาลเทศะ เพื่อให้เกิดความดีตามมา เช่น ความหนาว-ร้อน ความหิว-กระหาย และความปวดอุจจาระ-ปัสสาวะ ความจริงแล้วเป็นโรคประจ�ำกายของทุกคน เราก็ต้องกล้ากล่าว ยืนยันว่า อาการทั้ง ๖ ประการนี้ เป็นอาการของโรคจริง ไม่ใช่พูด เฉไปตามคนมักง่ายว่า ไม่ใช่โรค เป็นเพียงเรื่องปกติเพราะทุกคน ก็เป็นกันทั้งนั้น เพราะค�ำพูดมักง่ายที่ผิดความจริงเรื่องโรค ๖ ประจ�ำกายนี้ ท�ำให้คนทั้งโลกปล่อยปละละเลย ดูเบาไม่ควบคุม ตนเองเท่าที่ควร อันเป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาจนท่วมโลก ความตัง้ ใจพูดยืนยันความจริงดังกล่าวข้างต้น เป็นความตัง้ ใจ ที่ประกอบด้วยความเมตตา เพื่อรักษาตนและทุกคนไม่ให้ท�ำ กรรมชั่วทางวาจา ช่วยให้ผู้อื่นไม่ต้องเดือดร้อน ไม่ท�ำให้สิ่งแวดล้อม เสียหาย นับว่าเป็นความดีอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าความจริงในบางเหตุการณ์ บางเรื่องมี ผลกระทบต่อส่วนรวม หรือน�ำไปสู่ความแตกแยก ความเดือดร้อน เสียหายอย่างมากขณะนั้น ก็ต้องพูดความจริงด้วยความระมัดระวัง ซึ่งบรรพชนผู้รู้ได้ให้หลักในการพูดยืนยันความจริงที่ไม่มีบาป เกิดตามมาในยามวิกฤติไว้ด้วยว่า www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

81


๑) เรื่องนั้นต้องเป็นเรื่องจริง

๒) เรื่องนั้นต้องเป็นประโยชน์จริง

๓) ต้องพูดเรื่องนั้นด้วยถ้อยค�ำไพเราะ น่าฟัง ร้อยเรียงให้เข้าใจได้ง่าย

๔) ต้องพูดเรื่องนั้นด้วยเมตตาจิต

๕) ต้องพูดเรื่องนั้นถูกกาลเทศะเท่านั้น มิฉะนั้นไม่ยอมพูดเด็ดขาด

บุคคลพูดจริงที่ควรสรรเสริญ ๔

ไตร่ตรองแล้ว กล่าวติเตียนผู้ควรติเตียน ไตร่ตรองแล้ว กล่าวสรรเสริญผู้ควรสรรเสริญ ไตร่ตรองแล้ว แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะ ที่ไม่ควรเลื่อมใส ไตร่ตรองแล้ว แสดงความเลื่อมใสในฐานะ ที่ควรเลื่อมใส

82

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๒.

นิสัยรักการท�ำจริง

๒. นิสัยรักการท�ำจริง คือ มีความระมัดระวังตั้งใจที่จะท�ำ การงานใด ๆ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับธรรมชาติความจริงของงาน นั้น ๆ ขณะท�ำก็แสดงออกถึงธาตุแท้ความเป็นผู้เอาจริง คือ เป็นคน ท�ำอะไรก็ท�ำจริง ท�ำตรง และท�ำแท้

ท�ำจริง คือ มุง่ มัน่ ท�ำให้สำ� เร็จโดยไม่หวัน่ เกรงต่ออุปสรรคใด ๆ

ท�ำตรง คือ มีเจตนามุ่งตรงต่อความจริงและความดีของงาน ที่ท�ำนั้น ๆ ไม่คิดคด ไม่หลอกลวง ไม่เอาเปรียบ ไม่มีอะไรแอบแฝง แต่อย่างใด ท�ำแท้ คือ ตั้งใจท�ำให้ผลงานมีคุณภาพได้มาตรฐานอย่าง สุดความรู้ความสามารถ ตามสภาพการณ์ที่อ�ำนวย ไม่มีการปิดบัง ไม่มักง่าย กดคุณภาพให้ต�่ำลง แต่มุ่งให้เกิดความดีความสงบสุข แท้จริง

นิสัยรักการท�ำจริง แสดงออกได้ ๒ ลักษณะ คือ

๒.๑ ความตั้งใจท�ำตามค�ำพูด ค�ำสัญญา ค�ำปฏิญาณ ที่ไตร่ตรองแล้วว่าถูกต้อง ตรงต่อความจริงของเรื่องนั้น อันจะ ก่อให้เกิดประโยชน์สขุ ต่อส่วนตนและส่วนรวม และไม่ทำ� ลายสิง่ แวดล้อม เช่น ผู้ปฏิญาณตนเป็นพระภิกษุ เป็นสามเณร ในการบรรพชา อุปสมบท ก็ตอ้ งปฏิบตั ติ ามพระธรรมวินยั ของพระภิกษุ ของสามเณร www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

83


เป็นการท�ำจริง คือ ประพฤติปฏิบตั ทิ กุ อย่างตามปฏิญญาทีใ่ ห้ไว้แล้ว ต่อหน้าพระประธานในโบสถ์ และต่อพระอุปัชฌาย์ ๒.๒ ความตั้งใจท�ำตามหน้าที่ หน้าที่ คือ สิ่งที่ต้องรับผิด ชอบ ซึ่งมี ๒ ประเภท คือ ๑) หน้าทีท่ ไี่ ด้รบั มอบหมายเป็นทางการ มีการแต่งตัง้ ไว้แล้ว เช่น หน้าที่ตำ� รวจ ทหาร นายอ�ำเภอ ก�ำนัน ประธานบริษัท พนักงาน ลูกจ้าง เป็นต้น ๒) หน้าทีท่ ไี่ ด้รบั โดยสังคม เช่น ชายหญิงเมือ่ แต่งงาน ก็มีหน้าที่ต้องเป็นสามีภรรยาที่ดีต่อกัน และเมื่อมีบุตรก็มีหน้าที่ เพิ่มอีก คือ หน้าที่เป็นพ่อแม่ที่ดีของบุตร ส่วนบุตรที่เกิดมาก็มี หน้าที่ติดตัวมาทันที คือ หน้าที่เป็นบุตรที่ดี ส่วนพ่อแม่เมื่อมีหลาน เพิม่ ขึน้ มา ตนเองก็ตอ้ งด�ำรงตนท�ำหน้าทีเ่ ป็นปูย่ า่ ตายายทีด่ ที นั ทีดว้ ย ส�ำหรับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยสังคม อันได้แก่ หน้าทีร่ ะหว่างพ่อแม่กบั บุตร สามีกบั ภรรยา ครูอาจารย์กบั ศิษย์ เพือ่ น กับเพื่อน นายจ้างกับลูกจ้าง และพระภิกษุสามเณรกับคฤหัสถ์ บรรพชนผู้รู้ได้บัญญัติไว้แล้ว จึงเป็นหน้าที่ของพวกเราคนรุ่นหลังที่ จะต้องศึกษาและพิจารณาปฏิบัติตามอย่างรอบคอบ และท�ำด้วย ความตระหนักในเรื่องนั้น ๆ ด้วย ดังตัวอย่างเช่น • หน้าที่พ่อแม่พึงปฏิบัติต่อลูก คือ สิทธิที่ลูกพึงได้ จากพ่อแม่ ได้แก่

84

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑) ห้ามลูกท�ำความชั่ว

๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี

๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา

๔) หาคู่ครองที่เหมาะสมให้

๕) มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาอันสมควร

• หน้าทีบ่ ตุ รทีพ่ งึ ปฏิบตั ติ อ่ พ่อแม่ คือ สิทธิทพี่ อ่ แม่ พึงได้จากบุตร ได้แก่

๑) เลี้ยงดูท่าน

๒) ช่วยท�ำการงานของท่าน

๓) ด�ำรงวงศ์ตระกูล

๔) ประพฤติตนสมควรรับมรดก

๕) เมื่อท่านล่วงลับก็ทำ� บุญอุทิศให้

การรักษาสัจจะซึ่งเป็นการท�ำดีจริงของพ่อแม่ในเชิงปฏิบัติ ก็คอื พ่อแม่ตอ้ งปฏิบตั หิ น้าทีข่ องพ่อแม่ทมี่ ตี อ่ บุตรให้ถกู ต้องสมบูรณ์ ตรงต่อความจริงของการเป็นพ่อแม่ ด้วยการเป็นกัลยาณมิตรแก่ลูก เริ่มจากสั่งสอนอบรมให้ลูกรู้จักพิถีพิถันในเรื่อง ๑) ควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกาย ๒) รู้ประมาณในการเก็บ การใช้ และการรักษาปัจจัย ๔ ตั้งแต่ยังเล็ก เข้มงวดกวดขันไม่ให้มีนิสัยมักง่ายอย่างเด็ดขาด

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

85


โดยยึดหลักความจริงว่า ต้องให้ลูกรีบรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ๕ และความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติให้เกิดเป็นนิสัยรักความสะอาด และรักความมีระเบียบ ตามสมควรแก่เพศและวัย นับเป็นการช่วย ถนอมรักษาคุณค่าการได้เกิดเป็นมนุษย์ของลูก ซึ่งได้มาแสนยาก เอาไว้ อีกทั้งเพื่อป้องกันใจไม่ให้ชอบหนีเที่ยว เพราะทารกใดหาก เสพคุ้นกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์อันน่าใคร่ น่าพอใจจาก บุคคล สัตว์ สิ่งของต่าง ๆ เมื่อเติบใหญ่ใจก็ยิ่งกวัดแกว่ง ยิ่งดิ้นรน ตะเกียกตะกาย หนีเที่ยวออกนอกตัวไม่รู้จบ หวังว่าจะได้พบความ น่าใคร่ น่าพอใจที่ตนเองคิดว่าเป็นความสุขให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้ง ๆ ที่ก็ ยังไม่รู้ว่าความสุขจริง ๆ เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน ส่วนผู้เป็นบุตร ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ถูกต้องตั้งแต่เล็ก คือ ตั้งใจน้อมรับค�ำสั่งสอนของพ่อแม่ ด้วยการปฏิบัติตามสัจจะ ที่มนุษย์ต้องรีบรู้ และสัจจะที่มนุษย์ต้องรีบประพฤติปฏิบัติ ที่พ่อแม่ ทุ่มเทพร�่ำสอน พาท�ำซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ อีกทั้งเช้าเย็น เพื่อตนจะได้รู้กระจ่าง ชัดในธรรมชาติความจริงแห่งคุณค่าชีวิตมนุษย์ของตน รวมทั้งของ พ่อแม่ สมาชิกครอบครัว เพื่อนบ้าน ตลอดจนเพื่อนร่วมโลก ครั้นบุตรเติบใหญ่ บุตรเองก็ต้องมีสัจจะต่อความดี คือ ต้อง ตระหนักว่า ตนมีหน้าที่ต้องแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่ ผู้เป็นบุพการีของตน เพราะสิ่งที่ตนท�ำเหล่านี้คือสิทธิที่พ่อแม่ พึงได้รับโดยชอบธรรมจากตน

86

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ด้วยการจัดแบ่งเวลาไปเยี่ยมเยียน ช่วยดูแลรักษาสุขภาพ ของท่าน ช่วยแบ่งเบาภารกิจการงานของท่าน ให้เต็มก�ำลังความรู้ ความสามารถ เพื่อให้ท่านปลอดกังวล ได้โอกาสบั้นปลายชีวิต ในการท�ำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และท�ำบุญกุศลต่าง ๆ ให้เต็มอิ่ม เป็นการเตรียมเสบียงบุญไปภพชาติหน้าของท่าน หากตนเองมีครอบครัวมีลูกแล้ว ก็ต้องพาคู่ครองพร้อม ลูกน้อยของตนไปกราบเยี่ยมปู่ย่าตายายของพวกเขาด้วย ซึ่งการพา ลูกน้อยไปด้วยนี้ย่อมเป็นประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ๑) เป็นการฝึกลูกของตนให้รู้เห็นตั้งแต่เล็กว่า ลูกมีหน้าที่ ต้องปฏิบัติต่อพ่อแม่ของตนเองอย่างไรในอนาคต เพราะการปฏิบัติ เช่นนี้ เป็นการรักษาสัจจะแห่งความเป็นมนุษย์ ลูกทุกคนจะละเลย มิได้ ๒) เป็นการสร้างความปลืม้ ใจและมัน่ ใจแก่พอ่ แม่ตนเองว่า เรา สามารถรักษาชื่อเสียงเกียรติยศวงศ์ตระกูลของท่านไว้ได้แน่นอน เพราะความน่ารักฉลาดเฉลียวของลูกเรา ซึ่งเป็นหลานของท่าน ที่ปรากฏต่อหน้า ย่อมเป็นการยืนยันได้ว่า เราสามารถสร้าง ความเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ตัวเราเอง และถ่ายทอดความเป็น กัลยาณมิตรของท่านที่ได้ให้ไว้แก่เราสู่หลานของท่านได้แล้ว ซึ่ง จัดได้ว่า เป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณต่อท่าน และกตเวที ประกาศคุณความดี ความเป็นกัลยาณมิตรของท่านให้โลกรู้ และ ถือเป็นแบบอย่างต่อไปได้เต็มภาคภูมิ www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

87


๓. นิสัยรักการแสวงหาความจริงและความดี ๓. นิสัยรักการแสวงหาความจริงและความดี คือ การตั้งใจ ฝึกฝนตนเองให้สามารถก�ำจัดโรค ๓ ประจ�ำใจ คือ โรคโลภะ โรค โทสะ และโรคโมหะได้เด็ดขาด โดยเริ่มจากฝึกฝนตนเองให้มีนิสัย รักการท�ำจริงซึ่งแสดงออกเป็นนิสัยรักการท�ำตามค�ำพูด ค�ำสัญญา และค�ำปฏิญญา กับนิสัยรักการท�ำตามหน้าที่ ซึ่งเป็นการประพฤติ ปฏิบัติตามความจริงที่บรรพชนผู้รู้ได้บัญญัติสั่งสอนไว้ เพื่อให้เรา เป็นผู้มีสัจจะต่อความดีขั้นต้น ทุกคนจะได้อยู่ร่วมกันบนโลกนี้ อย่างเป็นสุข อันเป็นรากฐานที่จะน�ำไปสู่นิสัยรักการแสวงหา ความจริงและความดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ซึ่งเป็นสัจจะต่อความดีขั้นสูง คือ ก�ำจัดโลภะ โทสะ และโมหะให้หมดจากใจได้เด็ดขาด การแสวงหาความจริงและความดี เป็นการท�ำงาน ๒ ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ ๑ ตั้งใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ และควรเห็น เพื่อหาความรู้จริงในเรื่องนั้น ๆ จากกัลยาณมิตร ขั้นตอนที่ ๒ ตั้งใจปฏิบัติฝึกฝนตน ตามความรู้จริงที่ได้ ศึกษามาจากกัลยาณมิตรอย่างไม่ลดละ ให้ตนเองสามารถรักษาใจ ผ่องใสได้เป็นนิจ แล้วรู้เห็นความจริงทั้งปวงได้จริง เหมือนดังที่ บรรพชนผู้รู้ท่านได้ไปรู้ไปเห็นมาก่อนแล้ว เพื่อตนเองจะได้พ้นทุกข์ พบสุขแท้จริง

88

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ในระหว่างแสวงหาความจริงตามขั้นตอนทั้งสอง ผู้ปฏิบัติ ย่อมได้ความดีที่เกิดขึ้นมาตามล�ำดับ บรรลุความสุขความเจริญ ตามส่วนแห่งการฝึกฝนตน พร้อมกับหมดความสงสัยลังเลในเรื่อง ชาติหน้ามีจริง ตายแล้วไม่สูญ การเวียนว่ายตายเกิดมีจริง บุญบาป มีจริง นรกสวรรค์มีจริง อริยมรรคมีองค์แปดมีจริง บรรพชนผู้รู้จริง มีจริง พระนิพพานมีจริง ฯลฯ เพื่อเป็นปัญญาติดตัวข้ามภพข้ามชาติ ของเราต่อไป โดยตระหนักแก่ใจเสมอว่า ผู้ตั้งใจแสวงหาความจริง ย่อมเป็นผู้มีธรรมคือ ความดี ความถูกต้องที่ตนปฏิบัติได้ เป็นที่พึ่งแก่ตนเอง ดังนี้ ๑) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้มีศีล ย่อมได้กายและวาจา สะอาด เป็นผู้น่าไว้ใจ ไว้เป็นที่พึ่ง ๒) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้เป็นพหูสูต ย่อมได้ความรู้ ที่ขวนขวายหามา ไว้เป็นที่พึ่ง ๓) ผูม้ สี จั จะในการฝึกตนให้หมัน่ คบหากัลยาณมิตร ย่อม ได้ผู้รู้จริง ดีจริง ไว้เป็นที่พึ่ง ๔) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้เป็นผู้ว่าง่าย ย่อมได้รับฟัง ค�ำสอนจากท่านผู้รู้ได้ลุ่มลึกมากมาย ไว้เป็นที่พึ่ง ๕) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้ขยันช่วยมิตร ย่อมได้ผู้มีใจ โอบอ้อมอารีน่ารักไว้สนับสนุน ไว้เป็นที่พึ่ง

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

89


๖) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้ใคร่ในธรรม ย่อมได้นิสัย รักแต่ความถูกต้องดีงาม ไว้เป็นที่พึ่ง ๗) ผูม้ สี จั จะในการฝึกตนให้หมัน่ ประกอบความเพียร ย่อม ได้นิสัยมีความพยายามปรับปรุงตนเอง ไว้เป็นที่พึ่ง ๘) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้มีสันโดษ ย่อมมีความพอใจ เฉพาะสิ่งที่ตนมีตนได้ ไว้เป็นที่พึ่ง ๙) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้มีสติ ย่อมได้ความเป็นผู้หมั่น เก็บรักษาใจไว้ในกลางกายตนไม่ให้เผลอไผลเป็นนิจ ไว้เป็นที่พึ่ง ๑๐) ผู้มีสัจจะในการฝึกตนให้มีปัญญา ย่อมได้ใจผ่องใส เป็นนิจ ได้รู้เห็นความจริงที่ลึกซึ้ง ไว้เป็นที่พึ่ง นิสยั แสวงหาความจริงและความดีตามเยีย่ งอย่างบรรพชน ผูร้ ทู้ งั้ ๑๐ ประการดังกล่าว ย่อมท�ำให้เราสามารถพึง่ ความดีของตนเอง อย่างเต็มภาคภูมิ ตามหลักการพึ่งตนเองที่ว่า

ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน คนอื่นใครเล่า จะพึงเป็นที่พึ่งได้ บุคคลมีตน ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่ง ซึ่งได้โดยยาก

90

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


การฝึกสัจจะต่อความดีขั้นต้น สัจจะต่อความดีและศักยภาพสร้างสรรค์ของมนุษย์ จะได้มา เพียงทางเดียว คือ ต้องได้กัลยาณมิตรปลูกฝังฝึกฝนให้โดยตรง ยิ่งเร่งปลูกฝังตั้งแต่อายุน้อยเท่าไร ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะไม้อ่อน ดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ยิ่งปรารถนาสัจจะต่อความดี และศักยภาพ สร้างสรรค์มากเท่าไร ก็ยิ่งต้องขยันเข้าไปกราบเท้ากัลยาณมิตร ด้วยความเคารพท่านมากเท่านั้น แต่มขี อ้ แม้วา่ ถ้าจะให้วเิ ศษทีส่ ดุ คือ ผูน้ นั้ ต้องได้รบั การฝึกฝน ฟูมฟักตั้งแต่แรกเกิดจากกัลยาณมิตรท่านแรก คือ พ่อแม่ ตนเองมาดีพอ ไม่ปล่อยปละละเลยให้พิการทั้งกายและใจตั้งแต่ วัยทารก จากนั้นพ่อแม่ก็ส่งบุตรที่ฝึกมาดีพอสมควรแล้วให้ กัลยาณมิตรท่านที่สอง คือครูอาจารย์ทั้งภายในหรือภายนอก สถาบันการศึกษา ตลอดจนสมณะ พระภิกษุ การปลูกฝังสัจจะต่อความดีขนั้ ต้นทีก่ ลั ยาณมิตรทุกระดับเห็น ตรงกัน คือ ต้องปลูกฝัง

๑. นิสัยรักการท�ำความสะอาดด้วยตนเอง

๒. นิสัยรักการจัดระเบียบด้วยตนเอง

เพราะทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมกับความสกปรก คือ ทันทีที่ คลอดจากครรภ์มารดา ทุกคนก็สกปรกด้วยน�ำ้ คร�ำ ่ น�ำ้ เลือด น�ำ้ เหลือง ทารกต้องเผชิญกับโรค ๖ ประจ�ำกายนับตั้งแต่วินาทีนั้น คือ ความ www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

91


หนาว-ร้อน แพทย์และพยาบาลทีท่ ำ� คลอด จึงต้องรีบท�ำความสะอาด และห่อหุ้มร่างกายทารกให้อบอุ่น ครั้นหิว-กระหายก็ต้องการน�้ำ นม และอาหารที่ตรงเวลา กับความหิว และสัมผัสกอดรัดด้วยความทะนุถนอมจากพ่อแม่ ให้มีความอิ่มกาย อิ่มใจ และสุขใจว่ามีพ่อแม่อยู่ใกล้ ๆ ครัน้ ถ่ายอุจจาระ-ปัสสาวะแล้ว ก็ตอ้ งการความสะอาด ไม่อยาก นอนจมกองอุจจาระ-ปัสสาวะ ด้วยรังเกียจและระคายเคืองจาก ความสกปรกนั้น เมื่อพ่อแม่ทำ� ความสะอาดให้ก็สบายกาย สบายใจ อบอุ่นใจว่าพ่อแม่รักไม่ทอดทิ้งตน ความสะอาดและความเป็นระเบียบที่พ่อแม่ทำ� ให้แก่ลูก ด้วย สัมผัสอันนุม่ นวลอ่อนโยน ย่อมท�ำให้ลกู ซึมซาบความรักความเมตตา อันบริสุทธิ์ใจของพ่อแม่ ขจัดความกระวนกระวายใจยามที่ลูก ต้องเผชิญกับโรค ๖ ประจ�ำกาย ใจลูกจึงคลอเคลียไม่ห่างจากพ่อแม่ ใจก็ไม่เตลิดหนีออกนอกตัว แต่กลับมาอยูใ่ กล้ตวั หรืออยูใ่ นตัว เพราะ พึงพอใจต่อความสะอาด ความมีระเบียบที่ได้รับจากพ่อแม่ ลูกจึง เกิดความไว้วางใจต่อพ่อแม่ ต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่นอนแบเบาะ เมื่อลูกเจริญวัย หากพาลูกฝึกท�ำความสะอาดและจัดระเบียบ ด้วยตนเองยิ่ง ๆ ขึ้น โดยมีพ่อแม่พาท�ำอย่างสนุกสนาน ท�ำถูกวิธี พูดคุยให้เหตุผลกันอย่างอารมณ์ดี ลูกจะยิ่งรักไว้ใจพ่อแม่เพิ่ม มากขึ้น พร้อมกับไว้วางใจตนเองว่า สามารถท�ำความสะอาดและ

92

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


จัดระเบียบได้ดว้ ยตนเอง อันเป็นเหตุให้บรรเทาความกระวนกระวาย ใจยามที่ถูกโรค ๖ บีบคั้นได้ ลูกก็จะเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ว่าสามารถพึ่งตนเองได้ ช่วยตนเองได้ จิตใจก็ยิ่งกลับมาอยู่ใกล้ตัว ในตัว หรือกลางตัว มากขึน้ ๆ ไม่ตอ้ งโกรธ หงุดหงิด ร�ำคาญใจ ไม่ตอ้ งเดือดร้อนใจ เพราะ มีความไว้วางใจและเชื่อมั่นในความมีสัจจะต่อความดีของพ่อแม่ เต็มที่ การฝึกลูกตนเองก็ดี ฝึกลูกศิษย์ แม้ฝึกตนเอง หรือฝึก ใคร ๆ ก็ตาม พ่อแม่ ครูอาจารย์ และสมณะซึ่งท�ำหน้าที่เป็น ครูฝึกขณะนั้น พึงระลึกเสมอว่า ต้องฝึกให้สะอาด ระเบียบ และ รู้ประมาณ ผ่านงานหลัก ๒ งาน คือ

๑. งานการควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกาย

๒. งานการรักษาสิ่งแวดล้อม ๕ ให้ถูกต้องตรงความจริง ให้พอเหมาะแก่พัฒนาการตามวัยของผู้นั้นไปตามล�ำดับ ๆ

การฝึกผ่านงานหลัก ๒ งานนั้นต้องยึด

๑. ความจริงที่มนุษย์ต้องรีบรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ๕ เพราะ ตลอดชีวิตทุกคนต้องอยู่กับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ๒. ความจริงที่มนุษย์ต้องรีบประพฤติให้เป็นนิสัย เป็นการ น�ำความจริงเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ๕ มาปฏิบัติ เพื่อเพิ่มพูนสัจจะ

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

93


ต่อความดีในตนให้มั่นคง ซึ่งแสดงออกเป็นนิสัยรักการท�ำความ สะอาดและรักการจัดระเบียบสิ่งแวดล้อม ๕ เป็นนิจด้วยตนเอง โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และท�ำสม�่ำเสมอ จะได้ ติดฝังใจไปตลอดชีวิต ถ้าพ่อแม่ฝึกลูกให้รู้จักควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกายดีพอ ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า ทั้งครอบครัวย่อมเป็นผู้ ๑) มีสุขภาพ แข็งแรง ๒) มีอารมณ์ดีเป็นนิจ ๓) มีนิสัยเป็นคนเอาดีจริง คือ ท�ำอะไรท�ำจริง ท�ำเอาดีจริง ๆ ไม่ทำ� อะไรมักง่าย ไม่เอาแต่พอผ่าน พอเสร็จ ท�ำตรงไปตรงมา ไม่มอี ะไรแอบแฝง และท�ำให้ได้คณ ุ ภาพ แท้ ๆ ของสิ่งนั้น งานนั้น เพราะฉะนั้นผู้เป็นพ่อแม่จึงต้องขยัน ในเรื่องต่อไปนี้ ๑. พ่อแม่ขยันพาลูกท�ำงานจากกิจวัตรในชีวิตประจ�ำวัน ของเด็กที่เกี่ยวกับโรค ๖ ประจ�ำกาย โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี เช่น อาบน�้ำ แปรงฟัน การขับถ่าย จนถึงเรื่องสิ่งของเครื่องใช้ของเด็ก ว่าจะต้องใช้ เก็บ ท�ำความสะอาด และจัดระเบียบอย่างไร ซึ่งเรื่อง เหล่านี้เด็กมีความสนใจ อยากรู้ อยากลอง และอยากท�ำด้วยตนเอง อยู่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติประจ�ำวัยของเด็ก แต่พ่อแม่ต้อง พาท�ำอย่างสนุกสนาน อย่าดุ อย่าตี อย่าใช้ความรุนแรงกับเด็ก แล้ว เด็กจะชอบ ท�ำตาม ว่าง่าย หากพ่อแม่ไม่รีบฉวยโอกาสทองนี้ รีบปลูกฝังนิสัยขยันรัก การท�ำงาน รักการท�ำอะไรท�ำให้ดีจริง ๆ ด้วยตนเอง ความสามารถ

94

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


พึ่งตนเอง ช่วยตนเองของเด็กจะลดลงและหมดไปในที่สุด ซึ่ง จะเป็นภาระหนักต่อพ่อแม่และต่อสังคมในอนาคต ที่ส�ำคัญหาก พ้นวัยนี้ไปแล้ว การปลูกฝังให้รกั งานจะท�ำได้คอ่ นข้างยาก เพราะ เด็กติดนิสัยมักง่าย เจ้าอารมณ์ไปแล้ว จะเอาแต่เล่น เที่ยว กิน นอน และการงานใด ๆ ก็ไม่อยากท�ำ ๒. พ่อแม่ต้องขยันตอบข้อซักถามของลูก อย่าดุ อย่าใช้ อารมณ์เมื่อลูกถาม เพราะเป็นช่วงวัยที่ลูกมีความอยากรู้ อยากเห็น อยากลอง และสงสัยไปทุกเรื่อง การที่พ่อแม่ขยันตอบค�ำถามลูก อย่างอารมณ์ดี ท�ำให้เด็กกล้าซักถาม กล้าเข้าหาผู้ใหญ่ ซึ่งเป็น การกระตุ้นความอยากรู้ อยากเห็น ในเรื่องลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นไป ยิ่งสิ่งใดน่ารู้ น่าเข้าใจ พ่อแม่ก็ต้องขยันบอกเล่า ให้เหตุผล แก่ลูก รวมทั้งข้อควรระมัดระวัง ข้อดี ข้อเสีย คุณ และโทษ ซึ่งเป็น ทางมาของนิ สั ย ช่ า งสั ง เกต อั น เป็ น ประโยชน์ ต ่ อ การพั ฒ นา กล้ามเนื้อ และการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ของลูกให้เจริญเติบโต มีความแข็งแรงยิ่งขึ้น พ่อแม่ต้องมีความขยันอย่างสม�่ำเสมอในการพาลูกท�ำงาน โดยที่พ่อแม่พาท�ำให้ดูอย่างอารมณ์ดี และขยันตอบข้อซักถาม ของลูก ให้ลูกท�ำด้วยตนเอง เคียงบ่าเคียงไหล่กับพ่อแม่ ขณะท�ำก็ พูดคุย ซักถาม ชี้ชวนให้สังเกต ระมัดระวัง หากพ่อแม่ตั้งค�ำถาม ตั้งปัญหา ก�ำหนดสถานการณ์ให้ลูก ฝึกคิด พิจารณาแก้ปญ ั หาว่า หากเจออุปสรรคต่าง ๆ จะแก้ไขอย่างไร www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

95


คาดว่าจะมีผลกระทบทั้งทางบวก ทางลบอย่างไร จะรับมืออย่างไร เช่นนี้เป็นประจ�ำ เด็กจะยิ่งชอบ ถูกใจ ความเชื่อมั่นว่าตนท�ำงานได้ จะเพิ่มพูน ความรักไว้วางใจพ่อแม่จะเพิ่มขึ้น ท�ำให้เป็นคนว่าง่าย อยากท�ำเอง ยิ่งท�ำยิ่งมีความสุข เด็กจะเป็นคนอารมณ์ดี เพราะเด็กได้เรียนรู้วิธีท�ำงานที่ถูกวิธี วิธีการคิดที่ถูกต้อง วิธีการพูดที่เหมาะสม แนะน�ำการท�ำงาน การตอบข้อซักถาม ทีท่ ำ� ให้เกิดแรงบันดาลใจอยากท�ำงาน วิธกี ารสังเกตสิง่ รอบตัว สังเกต ลักษณะอุปนิสัยใจคอของผู้อื่น จะได้ระมัดระวังได้ถูกต้อง ในที่สุด ลูกก็ย่อมสามารถถอดนิสัยความเป็นคนเอาดีจริง ความขยัน ความช่างสังเกต ความเสียสละ และธาตุทรหดอดทนของพ่อแม่ เข้ามาอยู่ในตัวอย่างเต็มภาคภูมิ ที่ส�ำคัญ ลูกได้มีหลักตัดสินดีชั่วขั้นต้นตามวัยแล้ว ส่วนว่า จะได้มากหรือน้อยย่อมขึ้นกับความรู้ความสามารถของพ่อแม่เอง นี้คือ อุปการคุณที่พ่อแม่พึงท�ำให้แก่ลูกก่อน ๒ ประการ คือ

๑) ห้ามลูกท�ำความชั่ว

๒) ให้ตั้งอยู่ในความดี

เพราะความชั่วขั้นต้นของมนุษย์ทั้งโลก มักเกิดจากความ มักง่าย สกปรก ไร้ระเบียบ ไม่รกั การท�ำความสะอาดร่างกาย สิง่ ของ เครื่องใช้ส่วนตัว ไม่รักการจัดระเบียบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยตนเอง

96

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


เมือ่ ถึงเวลาต้องไปโรงเรียน ลูกจะเป็นทีร่ กั ของครูและเพือ่ น ๆ นักเรียน ๑) เพราะมีสุขภาพแข็งแรง ท�ำงานขั้นพื้นฐานเป็น สามารถ ช่วยตนเองได้ จึงไม่เป็นภาระของครูและโรงเรียน ๒) เพราะช่วยตนเองได้แล้ว จึงพร้อมเสียสละแรงกาย เวลา และความรู้ ช่วยครู ช่วยเพื่อน ๆ ในเรื่องการเรียน การกินอยู่ร่วมกัน ๓) เพราะย่อมเลือกคบเพื่อนดี ๆ ได้ง่าย ท�ำให้เด็กมีความเป็น ผูน้ ำ � เด็กเกเรก็ไม่กล้าเข้ามายุง่ มามีอทิ ธิพลครอบง�ำความคิด บงการ ชีวิต พ่อแม่ที่ทำ� ได้เช่นนี้ ย่อมเป็นกัลยาณมิตรให้ลูกได้เต็มภาคภูมิ แม้ตนเองอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ หากตนต้องจากลูกไปวันนี้ ลูก ย่อมมีนสิ ยั รังเกียจความชัว่ มีแต่นสิ ยั ใฝ่ดตี ลอดไป เมือ่ ไปถึงโรงเรียน ลูกก็องอาจ ย่อมไหว้ครู ทักทายครู ขอบคุณ และขอโทษคุณครูเป็น ศิษย์เช่นนี้แหละ ที่ครูพร้อมจะแนะน�ำให้เป็นคนดี สอนความรู้ให้ เข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง และตั้งใจถ่ายทอดศิลปวิทยาให้จนหมดสิ้น นี้คือตัวอย่างหลักคิดการปลูกฝังสัจจะต่อความดีขั้นต้น ส่วน วิธีปฏิบัติให้ยึดตามแนวทางการฝึกสัจจะต่อความดีด้วยการควบคุม โรค ๖ ประจ�ำกาย และการรักษาสิ่งแวดล้อม ๕ โดยมีพ่อแม่ เป็นกัลยาณมิตรแก่บุตร ซึ่งจะได้กล่าวถึงล�ำดับต่อไป

www.kalyanamitra.org

สัจจะทีม ่ นุษย์ ต้องรีบประพฤติ

97


ความชั่วขั้นต้นของมนุษย์ทั้งโลก เกิดจากความมักง่าย สกปรก ไร้ระเบียบ ไม่รักการท�ำความสะอาด ไม่รักการจัดระเบียบด้วยตนเอง

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

99


100

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


แนวทางการฝึก สัจจะต่อความดี

ด้วยการควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกาย และการรักษาสิ่งแวดล้อม ๕ โดยมีพ่อแม่เป็นกัลยาณมิตร

www.kalyanamitra.org


แนวทางการฝึกสัจจะต่อความดี ด้วยการควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกาย และการรักษาสิ่งแวดล้อม ๕ โดยมีพ่อแม่เป็นกัลยาณมิตร

ทุกคนมีโรค ๖ ประจ�ำกาย คือ หนาว-ร้อน หิว-กระหาย ปวด อุจจาระ-ปัสสาวะ รบกวนกายตลอดเวลา ทั้งที่เดิมทีทุกคนมีใจ ใสสว่างอยู่กลางกาย แต่ถูกโรค ๓ คือ โลภะ โทสะ และโมหะ บีบคั้น ทุกวินาที ใจจึงเตลิดหนีออกนอกกาย ความสว่างของใจจึงลดลง การเห็นความจริงในสิง่ ต่าง ๆ จึงไม่ถกู ต้อง การปฏิบตั ติ อ่ ตนเองและ สิง่ แวดล้อม จึงไม่ถกู ต้องตรงตามความจริงไปด้วย พ่อแม่จงึ ต้องเป็น กัลยาณมิตรรีบปลูกฝัง รีบฝึกฝนบุตรตั้งแต่เยาว์วัย ให้มีนิสัยรัก การท�ำความสะอาด จัดระเบียบตนเองและสิง่ แวดล้อม ๕ ดังแนวทาง การควบคุมโรคหนาว-ร้อน โรคหิว-กระหาย และโรคปวดอุจจาระปัสสาวะ โดยมีพ่อแม่เป็นกัลยาณมิตร ดังต่อไปนี้

102

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ภาพที่ ๑๐ การควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกาย ด้วยการท�ำความสะอาด จัดระเบียบตนเอง และสิง่ แวดล้อม ๕

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

103


ภาพที่ ๑๑ แนวทางการฝึกสัจจะต่อความดี

104

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


การควบคุม โรคหนาว-ร้อน

โดยมีพ่อแม่เป็นกัลยาณมิตร

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

105


๑.

สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นธรรมชาติ

• อากาศ • ลม • ฝน • แดด • ลักษณะพื้นที่ • ดิน • ภูเขา • ต้นไม้ • ล�ำธาร ฯลฯ

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ เพื่อควบคุมโรคหนาว-ร้อน ทุกคนมีโรคหนาวร้อนประจ�ำตน จึงต่างต้องควบคุมโรค ทั้งสองนี้ ด้วยการปรับปรุงที่อยู่หรือเลือกอยู่ในสถานที่ ๑) อากาศ บริสุทธิ์ ๒) อากาศถ่ายเทดี ๓) อุณหภูมิอากาศภายนอกกับภายใน กายไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงมาก ๔) รักษาสถานที่อยู่ของตนให้สะอาด ร่มรื่น จัดวัตถุสิ่งของให้เป็นระเบียบอยู่เป็นนิจ

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหนาว-ร้อน จากการรู้จริงเรื่องธรรมชาติ

106

พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้นอย่างเหมาะสม จนลูกเป็นผู้มีสัจจะต่อความดี คือ มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รักการจัดระเบียบ โดยท�ำ อย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่ พาลูกปฏิบัติต่อความจริงนั้น ๆ ดังนี้ สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑. พาลูกดูสงั เกตทิศทางลมฝนแดดว่า แต่ละวัน แต่ละฤดูกาล มีลมพัด ฝนสาด แดดส่องแสงมาทิศทางใด แล้วมีผลดีหรือเสียหาย ต่อที่อยู่อาศัยของตนอย่างไรบ้าง ๒. พาลูกจัดระเบียบสิ่งของเครื่องใช้ภายใน ภายนอกบ้าน ไม่ให้บังทิศทางลม ไม่ให้โดนฝนสาด ไม่ถูกแดดส่องเสียหาย โดย วางถูกที่ ถูกทาง ถูกทิศ ไม่เกะกะ ไม่รกรุงรัง ๓. หากบ้านมีบริเวณ พาลูกช่วยกันปลูก ตัดแต่งต้นไม้ รดน�้ำ ดายหญ้า เพื่อป้องกันลม พายุ ฝนฟ้าคะนอง แดดจ้า ช่วยกัน ปรับพื้นที่ไม่ให้เป็นหลุมบ่อเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ ไม่เป็นแหล่งเพาะ สัตว์เล็กแมลงน้อยและเชื้อโรค ๔. ช่วยกันท�ำความสะอาดสิ่งของ เครื่องใช้ และบริเวณพื้นที่ เป็นประจ�ำ ๕. ชี้ชวนลูกสังเกตระวังอันตราย ที่อาจเกิดจากธรรมชาติ แต่ละชนิด แต่ละฤดูกาล ๖. ขณะพาลูกท�ำความสะอาด จัดระเบียบ พ่อแม่ต้องชี้ชวน พูดคุยอย่างอารมณ์ดี เมื่อลูกได้สังเกต ได้ลองท�ำด้วยตนเอง ทั้งที่ถูก ที่ผิด ภายใต้ค�ำแนะน�ำของพ่อแม่เป็นนิจ ท�ำให้ที่อยู่อาศัยสามารถ ป้องกันความหนาวร้อนจากอากาศภายนอกได้ดี และน่าอยู่ น่าดู ช่วยให้ลูกรักบ้าน อยู่บ้านอย่างมีความสุข ส่งผลให้ลูกควบคุม ความหนาวร้อนใจได้ดี เพราะมีแต่อุ่นไอรักจากพ่อแม่ www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

107


๒.

สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นสิ่งมีชีวิต

• สัตว์เลีย้ ง • สัตว์ทวั่ ไป • สัตว์มีพิษ • สัตว์ร้าย • สัตว์พาหะโรค • เชื้อโรคต่าง ๆ

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เพื่อควบคุมโรคหนาว-ร้อน คนและสัตว์ทกุ ประเภทต่างเป็นโรคหนาว-ร้อน ซึง่ มีผลกระทบ ถึงตายได้ทุกเมื่อ จึงต่างต้องการที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับตน เพื่อ ช่วยให้ไฟธาตุในกายสามารถย่อยอาหารได้ ให้ความอบอุ่นร่างกาย พอเพียง แต่ต้องระวังไม่ให้สัตว์เหล่านั้นกิน นอน หรืออยู่ปะปน ใกล้ชิดกับคนเกินไป อันจะเป็นเหตุให้เกิดการเบียดเบียน ท�ำร้าย รังแก และฆ่ากันได้

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหนาว-ร้อน จากการรู้จริงเรื่องสิ่งมีชีวิต

108

พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้นอย่างเหมาะสม จนลูกเป็นผู้มีสัจจะต่อความดี คือ มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รักการจัดระเบียบ โดยท�ำอย่าง อารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูก ปฏิบัติตามความจริง ดังนี้ สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑. พ่อแม่พูดคุยอย่างอารมณ์ดี ชี้ชวนลูกสังเกตสิ่งมีชีวิต ทีอ่ ยูใ่ กล้หรือไกลตัวว่ามีอะไรบ้าง เป็นสัตว์ชอื่ อะไร มีรปู ร่างลักษณะ อย่างไร เป็นประเภทใด มีธรรมชาติความเป็นอยู่อย่างไร มีพิษ มีคุณ มีประโยชน์ มีโทษ และท�ำอันตรายแก่เราได้หรือไม่ได้อย่างไร ให้ลูกพูดแสดงความคิดเห็นเต็มที่ จนลูกรู้และเข้าใจถูกต้องตาม ธรรมชาติความจริงของสัตว์เหล่านั้น ๒. พ่อแม่พาลูกเดินชม ส�ำรวจ สังเกตบริเวณภายในภายนอก บ้านว่า ตรงไหนเป็นช่องทาง หรือเป็นเส้นทางทีส่ ตั ว์เหล่านัน้ สามารถ เข้ามาอยู่อาศัย ตรงไหนอาจเป็นรังที่อยู่อาศัยถาวรของสัตว์ได้ ช่วยกันหาวิธีป้องกันการรบกวน แล้วด�ำเนินการทันที ๓. พ่อแม่แนะน�ำ สอนให้เหตุผลแก่ลูก ไม่ให้น�ำสัตว์มากิน นอน และอยูร่ ว่ ม เพราะเป็นทางมาของเชือ้ โรค เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ น�้ำลาย หรือขนของสัตว์ ของอันตรายต่าง ๆ และการเบียดเบียนกัน ซึ่งเป็นที่มาของกรรมชั่ว และการผิดศีล ๔. พ่อแม่พาลูกจัดระเบียบสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัว ให้มี ในสิ่งที่ใช่ ที่ชอบ และที่ใช้ตามความจ�ำเป็นเท่านั้น จัดวางถูกที่ ไม่เกะกะ ไม่รกรุงรัง ไม่ให้เป็นที่อยู่ของสัตว์ และสละของส่วนเกิน ๕. พ่อแม่พาลูกท�ำความสะอาดทุกซอกมุมในบ้านเป็นนิจ โดยท�ำอย่างสนุกสนาน ให้ลูกได้ลองผิด ลองถูก และท�ำด้วยตัวเอง โดยมีพ่อแม่ให้ก�ำลังใจ ให้คำ� แนะน�ำ และแลกเปลี่ยนเหตุผล

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

109


๓. สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นบุคคลแวดล้อม • ตนเอง • สมาชิกครอบครัว • เพือ่ นบ้าน • แขกของสมาชิก ครอบครัว ฯลฯ

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับบุคคลแวดล้อม เพื่อควบคุมโรคหนาว–ร้อน การควบคุมโรคหนาวร้อนได้ถูกต้อง จ�ำเป็นต้องเรียนรู้และ แลกเปลี่ยนจากบุคคลแวดล้อมที่เป็นกัลยาณมิตร เพื่อให้ได้ แบบแผนการปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่าง ให้ตนเองประพฤติปฏิบัติดูแล ความหนาว-ร้อนในกายตนได้ถูกต้อง โดยตนเองจะต้องเป็นผู้มี สัจจะและความเคารพปฏิสันถารต้อนรับเป็นอย่างยิ่ง

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหนาว–ร้อน จากการรู้จริงเรื่องบุคคลแวดล้อม พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รักการจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้

110

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑. พ่อแม่ฝึกลูกพูดให้ถูกต้องตรงต่อความจริงของสิ่งนั้น หรือเรื่องนั้น ๆ ที่ลูกท�ำ ๒. พ่ อ แม่ ฝ ึ ก ลู ก ให้ กิ น นอน ตื่ น และขั บ ถ่ า ยถู ก เวลา ตรงเวลา เพื่อฝึกการตัดสินได้ ตัดใจเป็น และท�ำแต่สิ่งถูกต้อง ตรงต่อความจริง ๓. พ่อแม่ฝกึ การต้อนรับปฏิสนั ถาร การเคารพให้เกียรติบคุ คล อย่างถูกต้องและเหมาะสมแก่ลูก โดยพ่อแม่ให้ลูกท�ำความสะอาด จัดระเบียบห้องรับแขก จัดเตรียมวัตถุสงิ่ ของทีใ่ ช้ตอ้ นรับ เช่น พัดลม ผ้าเย็น น�้ำร้อน ถ้วย จาน ช้อน ชาม ที่นั่ง ฯลฯ อย่างเหมาะสม ต่อแขกที่มา ๔. จัดระเบียบกิริยาท่าทาง ค�ำพูดที่ใช้ต้อนรับเชื้อเชิญ ให้ถูกต้องตามเวลา ตามสถานการณ์ เช่น พระ ครู เพื่อนบ้าน ญาติ แขกมาเยี่ยม ฯลฯ ด้วยตัวของลูกเอง โดยมีพ่อแม่ก�ำกับให้ก�ำลังใจ ๕. พ่อแม่พาลูกแต่งกายสะอาด สุภาพ เรียบร้อย ตาม วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

111


๔.

สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นทรัพยากรใช้สอย

• เสื้อผ้า • เครื่องนุ่งห่ม • สิ่งของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้อง

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับทรัพยากรใช้สอย เพื่อควบคุมโรคหนาว–ร้อน เสือ้ ผ้าและเครือ่ งนุง่ ห่ม ใช้เพือ่ ๑) ป้องกันโรคความหนาว-ร้อน ๒) ปกปิดอวัยวะกันอาย และ ๓) ป้องกันอันตรายจากสัตว์ต่าง ๆ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มจึงต้องสะอาด จัดระเบียบอยู่เป็นนิจ ทั้งใน การหา การใช้ และเก็บรักษา ไม่หลงตามแฟชั่น แต่เรียบร้อยตามวัย ตามฤดูกาล และตามวัฒนธรรม แม้สิ่งของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้อง กับการให้ความอบอุน่ แก่รา่ งกาย ก็ตอ้ งท�ำความสะอาดและจัดระเบียบ เช่นกัน

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหนาว–ร้อน จากการรู้จริงเรื่องทรัพยากรใช้สอย

112

พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รักการจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้ สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑. พ่อแม่จัดหาเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ของเล่น และของใช้ ที่เหมาะแก่วัย แก่ฤดูกาลให้ลูก โดยให้ทีละชิ้น แล้วฝึกลูกให้ดู มือหยิบจับ สัมผัสแตะต้อง จมูกดมกลิ่น เพื่อสังเกตความนุ่ม หยาบ กระด้าง ลักษณะต่าง ๆ ให้ลูกบอก พูดอธิบาย จ�้ำจี้จ�้ำไช ซักถาม ให้เข้าใจเหตุผล ที่มาที่ไปของสิ่งเหล่านี้ เพื่อฝึกคิดสืบสาวเหตุผล และสร้างความแข็งแรงของประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ลูกก็จะเลือกของได้ ใช้ของเป็น และเก็บของได้ถูกต้องตั้งแต่เล็ก ๒. พาลูกคัดแยกเสือ้ ผ้าและเครือ่ งนุง่ ห่มว่า ชิน้ ใดจ�ำเป็น ชิน้ ใด ส่วนเกิน โดยให้เหตุผลและหลักเกณฑ์ แล้วฝึกปฏิบัติจนลูกเข้าใจ หลักความจริงการคัดแยก ๓. พาลูกท�ำความสะอาดจัดระเบียบตู้เสื้อผ้า ห้องแต่งตัว เครื่องนอน ห้องนอน ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ เตียง ของเล่นให้อยู่ถูกที่ ถูกทิศ ไม่ถูกลม ฝน และแดด ท�ำให้ของเสียหาย ๔. พาลูกจัดเก็บสิง่ ของเครือ่ งใช้อปุ กรณ์ทำ� ความสะอาดเสือ้ ผ้า เครือ่ งนุง่ ห่ม เช่น สบู่ ผงซักฟอก ขัน กระป๋อง กะละมัง แปรง ไม้กวาด ราวตากผ้า ไม้หนีบผ้า เป็นต้น ๕. ในการพาลูกท�ำความสะอาด จัดระเบียบ พ่อแม่พาท�ำ อย่างอารมณ์ดี ให้ลูกซักถาม พ่อแม่ให้เหตุผล ช่วยกันคิดหาค�ำตอบ หาเหตุผลร่วมกัน ให้ลองท�ำ แข่งกันอย่างสนุกสนานเบิกบานใจ ลูกจะได้ไม่กลัวพ่อแม่ แต่จะกล้าบอกความจริง ความอบอุ่นใจ จึงเพิ่มพูน ความหนาวใจ ความร้อนใจมีแต่จะลดลง www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

113


๕. สิง่ แวดล้อม ๕ ทีเ่ ป็นระเบียบแบบแผนจริยธรรม • แบบแผนการตัดสินใจ • แบบแผนการท�ำความสะอาดและ จัดระเบียบ • แบบแผนการพูด

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน เพื่อควบคุมโรคหนาว–ร้อน การควบคุมโรคหนาว-ร้อนได้ถูกต้อง ผู้นั้นจะต้องรู้จริง ปฏิบัติได้จริงตามแบบแผนที่ต้องปฏิบัติต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็น ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต บุคคลแวดล้อม ทรัพยากร และเครื่องอ�ำนวย ความสะดวกด้วย

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหนาว–ร้อน จากการรู้จริงเรื่องระเบียบแบบแผน พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รักการจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้

114

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑. พ่อแม่ต้องศึกษาให้รู้จริงในสิ่งแวดล้อม ๕ และแบบแผน ควบคุมโรคหนาว-ร้อน ดังได้กล่าวมาแล้ว ๒. พ่อแม่ตอ้ งปฏิบตั ติ ามแบบแผนนัน้ จนช�ำนาญเป็นแบบอย่าง แก่ลูกได้ ๓. พ่อแม่สอนลูกให้รู้หลักความจริงว่า สิ่งจ�ำเป็นส�ำหรับชีวิต ในการแก้โรคหนาว-ร้อนมีอะไรบ้าง สิ่งจ�ำเป็นเหล่านั้นมีหลักตัดสิน อย่างไร ว่าสิ่งใดจ�ำเป็น สิ่งใดส่วนเกิน ต้องมีปริมาณเท่าไร คุณภาพ อย่างไร ฝึกลูกเลือกของให้เป็น ตัดสินให้ถูก เพื่อมีแบบแผนตัดสินใจ ที่ถูกต้องต่อไปในภายหน้า ๔. พ่อแม่เป็นแบบอย่างสอนลูกให้รแู้ บบแผนการท�ำความสะอาด แบบแผนการจัดระเบียบสิ่งจ�ำเป็นต่าง ๆ ๕. พาลูกท�ำตามหลักความจริงและแบบแผนทีส่ อนนัน้ ให้เป็น นิสัย โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี มีความสุข สนุกสนานทั้งครอบครัว

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

115


การควบคุม โรคหิว-กระหาย

โดยมีพ่อแม่เป็นกัลยาณมิตร

116

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑.

สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นธรรมชาติ

• อากาศ • ลม • ฝน • แดด • ลักษณะพื้นที่ • ดิน • ต้นไม้ พืชพันธุ์ต่าง ๆ

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ เพื่อควบคุมโรคหิว–กระหาย อากาศบริสุทธิ์ แสงสว่างพอเหมาะ พื้นแข็งแรงไม่ชื้นแฉะ บรรยากาศอบอุ่นภายในห้องอาหาร มีผลต่อการรับรสและการย่อย อาหารอย่างมาก

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหิว–กระหาย จากการรู้จริงเรื่องธรรมชาติ พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รัก การจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้ ๑. พ่อแม่พาลูกช่วยกันดูแลบริเวณรอบ ๆ ห้องครัว ห้องอาหาร ไม่ให้รกรุงรัง จัดวางสิ่งของไม่ให้บังทิศทางลมและแดด ไม่ให้ถูกฝน สาดจนเป็นเหตุให้ข้าวของเสียหาย www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

117


๒. พ่อแม่พาลูกท�ำความสะอาด ห้องครัว ห้องอาหาร เช่น ตู้เย็น ตู้กับข้าว อ่างล้างภาชนะ เป็นต้น เพื่อไม่ให้มีกลิ่นอับ กลิ่น ไม่สะอาด จัดระเบียบสิ่งของเครื่องใช้ โดยวางเป็นหมวดหมู่ ถูกที่ ไม่บังทิศทางลม มีแดดส่อง ฝนไม่สาดสิ่งของเครื่องใช้ ๓. ขณะพ่อแม่พาลูกท�ำ ให้ลูกได้เล่น ได้ทดลอง ได้ลองผิด ลองถูก โดยมีพ่อแม่ดูแลให้คำ� แนะน�ำ ระมัดระวังไม่ประมาท

118

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๒.

สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นสิ่งมีชีวิต

• สัตว์เลีย้ ง • สัตว์ทวั่ ไป • สัตว์มพี ษิ • สัตว์รา้ ย • สัตว์พาหะโรค • สิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตเพื่อควบคุม โรคหิว–กระหาย ทั้งคนและสัตว์ต่างเป็นโรคหิว–กระหายเหมือน ๆ กัน แต่ ต้องไม่กิน ไม่อยู่ร่วมกัน เพราะสัตว์อาจเป็นพาหะของโรค มีพิษ ท�ำอันตรายแก่คนได้ จึงต้องไม่อยูป่ ะปนกัน จะได้ไม่เบียดเบียน รังแก ฆ่ากัน ซึ่งเป็นกรรมชั่ว

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหิว–กระหาย จากการรู้จริงเรื่องสิ่งมีชีวิต พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักท�ำความสะอาด รัก การจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

119


๑. พ่อแม่พาลูกจัดที่คัดแยก ที่ทิ้ง ที่ก�ำจัดขยะเศษอาหาร แล้วฝึกลูกทิ้งขยะอย่างถูกวิธี ถูกที่ และถูกเวลา ๒. พ่อแม่พาลูกท�ำความสะอาดบริเวณและอุปกรณ์ที่ทิ้งขยะ เพื่อไม่ให้มีกลิ่นรบกวน เชื้อโรคไม่แพร่กระจาย ไม่ให้มีแหล่งอาหาร ของสัตว์ในที่พักอาศัย สัตว์จะได้ไม่เข้ามารบกวนคน คนจะได้ ไม่รังแกสัตว์

120

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๓. สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นบุคคลแวดล้อม • ตนเอง • สมาชิกครอบครัว • เพือ่ นบ้าน • แขกของสมาชิก ในครอบครัว

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับบุคคลแวดล้อม เพื่อควบคุมโรคหิว–กระหาย ทุกคนต่างต้องการอาหาร เครื่องดื่ม ที่มีคุณค่ามีประโยชน์ ทุกมื้อ ทุกวัน จึงต่างต้องพึ่งพาช่วยเหลือ มีสัจจะความจริงใจต่อกัน และมีความเคารพในการปฏิสันถารซึ่งกันและกัน

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหิว–กระหาย จากการรู้จริงเรื่องบุคคลแวดล้อม พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รัก การจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้ ๑. ฝึกลูกเรียกชื่อบุคคล ชื่อวัตถุสิ่งของ ชื่อสถานที่ ชื่อ เหตุการณ์ให้ถูกต้อง ฝึกลูกบอกเล่าเหตุการณ์ให้ตรงต่อความจริง www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

121


ที่ลูกได้เห็น ที่ได้กระท�ำมา ฝึกใช้วาจาให้สุภาพ กล่าวแต่ค�ำที่เป็น ประโยชน์ ไม่พูดส่อเสียด ว่าร้าย กล่าวค�ำหยาบให้เคืองใจ เพื่อให้มี นิสัยพูดแต่ความจริง ไม่กล่าวค�ำเท็จ ๒. พ่อแม่ฝึกลูกให้ช่วยตนเอง เช่น เตรียมจานช้อนเอง รับประทานอาหารเอง ตักอาหารเอง ฝึกให้บริการเป็นตั้งแต่ตักให้ คุณพ่อ คุณแม่ โดยมีพ่อแม่ร่วมรับประทาน พูดคุยให้ก�ำลังใจ ใส่ใจรับฟังปัญหาของลูก และพูดคุยให้คำ� แนะน�ำที่ถูกต้อง ๓. ฝึกลูกให้ต้อนรับเชื้อเชิญแขกรับประทานอาหาร เตรียม น�้ำร้อน น�ำ้ เย็น ผ้าเย็น อาหาร สถานที่ ดูแลต้อนรับแขกอย่างถูกวิธี

122

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๔.

สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นทรัพยากรใช้สอย

• วัตถุดบิ ประกอบและปรุงอาหาร • อุปกรณ์เครือ่ งครัว • อาหาร เครื่องดื่ม • ห้องครัว ห้องอาหาร

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับทรัพยากรใช้สอย เพื่อควบคุมโรคหิว–กระหาย อาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่า มาจากวัตถุดิบที่สะอาด สด ปรุงใหม่ ๆ ถูกกรรมวิธี อยู่ในภาชนะที่สะอาด จัดวางเป็นระเบียบ

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหิว–กระหาย จากการรู้จริงเรื่องทรัพยากรใช้สอย พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รักการจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้ ๑. สอนลูกให้สงั เกตอาหารและเลือกสรรอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

123


๒. ฝึกลูกช่วยพ่อแม่ประกอบและปรุงอาหารที่ได้สารอาหาร ครบถ้วน ๓. พาลูกท�ำความสะอาด จัดเก็บข้าวของในห้องครัวและห้อง อาหารหลังใช้งานให้เรียบร้อยทันที ไม่แช่จานชามทิง้ ข้ามคืน จั ด เก็ บ เศษอาหารทิ้งถูกที่ทันที ๔. พาลูกท�ำอย่างอารมณ์ดี ชม เชียร์ ซักถาม ให้ลองท�ำ ให้ลูกบอกคุณและโทษ ลูกจะสนุก อารมณ์ดี และคิดพึ่งตนเอง

124

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๕. สิง่ แวดล้อม ๕ ทีเ่ ป็นระเบียบแบบแผนจริยธรรม

• การรู้ประมาณในการบริโภคอาหาร • การท�ำความสะอาดและจัดระเบียบ • มารยาทในการพูดและการรับประทานอาหาร

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน เพื่อควบคุมโรคหิว–กระหาย แบบแผนที่ถูกต้องตรงต่อความจริงเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม ช่วยควบคุมโรคหิว-กระหายได้

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุมโรคหิว–กระหาย จากการรู้จริงเรื่องระเบียบแบบแผน พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รักการจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้

๑. พ่อแม่ศึกษาความรู้จริงเรื่อง ๑.๑ สารอาหารที่มีประโยชน์ www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

125


๑.๒ อาหารและเครื่องดื่มที่มีคุณค่า ๑.๓ การเลือกซื้อ การประกอบและปรุงอาหารที่ถูกวิธี ๑.๔ การรู้ประมาณในการบริโภคอาหาร ๑.๕ มารยาทในการพูดและการรับประทานอาหาร ๑.๖ การท�ำความสะอาดและการจัดระเบียบ

๒. พ่อแม่ต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็น ๓. พ่อแม่ฝึกลูกให้รับประทานอาหาร ตรงเวลา เป็นเวลา เป็นมื้อ เป็นคราว ไม่กินจุบกินจิบ กินไม่เป็นเวลา เพราะน�ำ้ ย่อยมา เป็นเวลา ไม่ใช่มาตลอดเวลา ๔. พ่อแม่หมั่นอบรมลูกว่า เมื่อมีของอร่อย ของพิเศษ แม้ มีน้อยก็ต้องแบ่งปันกัน ๕. พ่อแม่ฝึกมารยาทการรับประทานอาหารร่วมกัน การหยิบ จับภาชนะ การตัก การเคี้ยว การกลืน การดื่ม ฯลฯ อีก ๔-๕ ค�ำ จะอิ่ม ให้หยุดแล้วดื่มน�้ำตาม เพื่อฝึกการรู้ประมาณในการบริโภค อาหาร ๖. ทุกคนในบ้านต้องตรงเวลาในการรับประทานอาหาร ๗. พ่อแม่พาลูกฝึกท�ำความสะอาด ฝึกการจัดระเบียบ อุปกรณ์ จาน ชาม โต๊ะอาหาร ฯลฯ ๘. พ่อแม่พาลูกท�ำให้ถูกตามแบบแผน พร้อมให้เหตุผล ตามหลักความจริง ท�ำอย่างสนุกสนาน พูดคุย ซักถาม ให้ลูก ได้ลองท�ำทั้งถูกและผิด

126

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


การควบคุม โรคปวดอุจจาระ-ปัสสาวะ โดยมีพ่อแม่เป็นกัลยาณมิตร

www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

127


๑. สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นธรรมชาติ • อากาศ • ลม • ฝน • แดด • ลั ก ษณะพื้ น ที่ • ดิ น • ภู เขา • ต้นไม้ • ล�ำธาร ฯลฯ

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ เพื่อควบคุมโรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ

สถานที่ขับถ่ายทั้งภายใน และภายนอก มีลักษณะดังนี้ ๑) อากาศถ่ายเทดี ๒) พื้นสะอาด แห้ง มั่นคง แข็งแรง ๓) มีแสงสว่างเพียงพอ

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุม โรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ จากการรูจ้ ริงเรือ่ งธรรมชาติ พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รัก การจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้

128

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑. พาลูกเดินส�ำรวจรอบบริเวณห้องสุขา ห้องอาบน�้ำ เพื่อ สังเกต ๑) ดูทิศทางลม ฝน และแดดในแต่ละวัน แต่ละฤดูกาล มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ลมพัดมาทิศทางใด ๒) ลกั ษณะพืน้ ทีเ่ ป็นอย่างไร ต้องระมัดระวังอันตรายใดบ้าง ๓) รางหรือท่อระบายน�ำ้ ทิง้ จากห้องสุขา ห้องอาบน�ำ ้ หลังคา รางน�้ำฝน มีรอยรั่วหรือการอุดตันหรือไม่ ถ้ามีให้รีบท�ำความสะอาด ซ่อมแซม แก้ไข ให้ใช้งานได้ตามปกติ ๒. พาลูกจัดระเบียบสิ่งของเครื่องใช้ ในบริเวณพื้นที่ห้องสุขา ห้องอาบน�ำ ้ ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่มีสิ่งใดบังทิศทางลม ให้ แดดส่องลงมาถึง ในห้องสุขาและห้องอาบน�ำ้ ให้มีแต่สิ่งของเครื่อง ใช้ที่จ�ำเป็น ไม่ใช้เป็นห้องเก็บของ ๓. พาลูกท�ำความสะอาดบริเวณห้องสุขา ห้องอาบน�้ำ ไม่ให้ มีสิ่งใดเกะกะ รกรุงรัง ไม่ให้มีกลิ่นอับ กลิ่นไม่สะอาด

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

129


๒. สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นสิ่งมีชีวิต • สัตว์เลีย้ ง • สัตว์ทวั่ ไป • สัตว์มพี ษิ • สัตว์รา้ ย • สัตว์พาหะโรค • สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต เพื่อควบคุมโรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ สมาชิกในบ้านปลอดภัยจากสัตว์ร้าย สัตว์มีพิษ สัตว์ที่เป็น พาหะของโรค มด ยุง แมลงหวี่ แมลงวัน แมลงสาบ ฯลฯ

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุม โรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ จากการรู้จริงเรื่องสิ่งมีชีวิต พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รัก การจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้ ๑. พ่อแม่พาลูกจัดที่ทิ้งและที่ก�ำจัดสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้อง ตามหลักสุขอนามัย

130

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๒. พ่อแม่พาลูกสังเกต ตรวจห้องสุขาและห้องอาบน�้ำว่า • มีแหล่งเพาะสัตว์พาหะโรคหรือไม่ • มีชอ่ งทางให้สตั ว์รา้ ยและสัตว์มพี ษิ เข้ามาหรือไม่ ถ้ามี ให้ สอนวิธีป้องกัน แก้ไข และพาท�ำทันที

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

131


๓. สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นบุคคลแวดล้อม

• บุคคลในบ้าน • เพื่อนบ้าน • แขกของสมาชิกครอบครัว

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับบุคคลแวดล้อม เพื่อควบคุมโรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ โรคปวดอุจจาระ-ปัสสาวะ เป็นกันทุกคน เมื่อใช้ห้องสุขาจึง ต้องเห็นอกเห็นใจกัน เคารพให้เกียรติกัน

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุม โรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ จากการรู้จริง เรื่องบุคคลแวดล้อม พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รัก การจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้

132

๑. พ่อแม่ฝึกลูกอย่างอารมณ์ดีว่า ๑.๑ ไม่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะ สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑.๒ ขับถ่ายเสร็จต้องท�ำความสะอาดอวัยวะขับถ่าย ด้วยตนเองให้สะอาดและแห้งทุกครั้ง ๑.๓ ท�ำความสะอาดสุขภัณฑ์และพื้นห้องสุขา ให้สะอาด และแห้ง ทิ้งสิ่งปฏิกูลให้ถูกที่ มิดชิด เพื่อให้ผู้มาใช้ห้องสุขา ต่อจากเรารู้สึกว่า เขาใช้เป็นคนแรกเสมอ ๒. พ่อแม่ซักถาม พูดคุยเหตุผลที่ต้องปฏิบัติ อย่าดุ อย่าใช้ อารมณ์ จะท�ำให้ลูกกล้าคิด กล้าซักถาม เคารพรักและไว้ใจพ่อแม่

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

133


๔. สิ่งแวดล้อม ๕ ที่เป็นทรัพยากรใช้สอย

• ห้องอาบน�้ำ • ห้องสุขา • อุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับทรัพยากรใช้สอย เพื่อควบคุมโรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ ๑. ความสะอาด ความแห้ง ป้องกันการแพร่เชื้อโรค และ อุบัติเหตุได้

๒. ในห้องสุขามีแสงสว่าง และน�้ำใช้เพียงพอ

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุม โรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ จากการรู้จริง เรื่องทรัพยากรใช้สอย พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รัก การจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้

134

๑. พ่อแม่พาลูกท�ำความสะอาดห้องอาบน�ำ ้ ห้องสุขา โถสุขภัณฑ์ ถังน�้ำ ขันน�้ำ สายฉีดช�ำระ ซักผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดเท้า ฯลฯ สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๒. พ่อแม่พาลูกจัดระเบียบสิ่งของ เช่น ที่ใส่กระดาษช�ำระ ผ้าเช็ดมือ ฯลฯ ให้หยิบง่าย อยู่ถูกที่ ถูกทาง ๓. พ่อแม่พาลูกสังเกต ดูแลให้มีแสงสว่างในห้องอาบน�ำ ้ ห้อง สุขา และทางเดินเพียงพอ มีนำ�้ สะอาดเตรียมไว้ในห้องน�้ำ ให้พร้อม ใช้งาน

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

135


๕. สิง่ แวดล้อม ๕ ทีเ่ ป็นระเบียบแบบแผนจริยธรรม

• แบบแผนท�ำความสะอาด จัดระเบียบ • แบบแผนการสังเกต • มารยาทการใช้ห้องสุขา

ความจริงที่ต้องรีบรู้เกี่ยวกับระเบียบแบบแผน เพื่อควบคุมโรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ ๑. ขับถ่ายเป็นเวลาทุกวัน ๒. อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นสิ่งบอกสุขภาพ ต้องฝึกสังเกต สี กลิ่น ลักษณะ และปริมาณให้เป็น

ความจริงที่ต้องรีบปฏิบัติเพื่อควบคุม โรคปวดอุจจาระ–ปัสสาวะ จากการรู้จริง เรื่องระเบียบแบบแผน พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรีบรู้ และพาลูกปฏิบัติ ตามความจริงนั้น จนลูกเป็นผู้มีนิสัยรักการท�ำความสะอาด รัก การจัดระเบียบ โดยท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันที และ ท�ำสม�่ำเสมอ โดยพ่อแม่พาลูกปฏิบัติตามความจริง ดังนี้

136

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑. เลือกรับประทานอาหารทีม่ กี ากใย เคีย้ วอาหารให้ละเอียด ดืม่ น�ำ้ ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ไม่กลัน้ อุจจาระและ ปัสสาวะ ๒. ไม่เล่นเกม ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ ขณะใช้ห้องสุขา เพราะ มีผลต่อการขับถ่าย และสมาชิกทีจ่ ะใช้หอ้ งสุขาถัดจากเราต้องรอนาน ๓. สังเกตสี กลิ่น ลักษณะของอุจจาระ ปัสสาวะ ว่าปกติหรือ ผิดปกติอย่างไร มีสาเหตุจากอะไร ๔. เมื่อขับถ่ายเสร็จ ถ้ามีน�้ำ ต้องใช้น�้ำล้างอวัยวะขับถ่ายให้ สะอาด แล้วเช็ดให้แห้งทุกครั้ง ล้างมือหลังขับถ่ายเสร็จ โดยท�ำด้วย ตนเอง ๕. ระวังอย่าปล่อยให้เป็นโรคท้องผูก ท้องเสียเรือ้ รัง เพือ่ ป้องกัน โรคระบบขับถ่ายที่จะเกิดตามมา เช่น โรคริดสีดวง เป็นต้น

www.kalyanamitra.org

แนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดี

137


พ่อแม่ต้องรีบสอนความจริงที่ต้องรู้ และพาลูกปฏิบัติตามความจริงนั้น โดยน�ำท�ำอย่างอารมณ์ดี ท�ำถูกวิธี ท�ำทันทีและท�ำสม�่ำเสมอ โดยไม่ดุ ไม่ใช้อารมณ์

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org

โลกย่อมสงบสุข หากมีสัจจะต่อความดี

139


140

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


บทสรุปสงท้ ่ าย

www.kalyanamitra.org


วันนี้โลกก�ำลังร้อนระอุด้วยภัยโรคระบาด ภัยพิบัติธรรมชาติ ภัยสงคราม ภัยเศรษฐกิจ ภัยการเมืองและการทหาร ฯลฯ ทั้งที่โลก ก้าวหน้าด้วยเทคโนโลยีและความรู้วิชาการอย่างมหาศาล ขณะเดียวกันชาวโลกส่วนมากก็ได้ลมื เลือน ละเลยแนวทาง การพัฒนาตนเองให้มีสัจจะต่อความดี ด้วยการควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกาย และรักษาสิ่งแวดล้อม ๕ ซึ่งบรรพบุรุษท่านได้อบรม สั่งสอน ปลูกฝังลูกหลานตามเส้นทางนี้กันมาอย่างต่อเนื่องหลาย ชั่วอายุคน ทั้งที่เป็นเส้นทางที่ถูกต้อง มีความเรียบง่าย เป็นการ ท�ำตามสัจจะที่ต้องรีบรู้และสัจจะที่ต้องรีบประพฤติ เพื่อให้สังคม มีสุข สิ่งแวดล้อมสะอาดน่าอยู่ เมื่อโลกเดือดร้อนเช่นนี้ เราจะมัวชักช้าอยู่ไย รีบลุกขึ้นมาฝึก ตนเอง บุตรหลาน สมาชิกในครอบครัว และมิตรสหายในสังคมให้มี สัจจะต่อความดี ตามแนวทางการควบคุมโรค ๖ ประจ�ำกาย และ รักษาสิ่งแวดล้อม ๕ กันดีกว่า เพราะบรรพชนผู้รู้และบรรพบุรุษได้ พิสูจน์ยืนยันแล้วว่าถูกต้อง เราจะเสียเวลาลองผิดลองถูก หาทาง แก้ไขโลกด้วยวิธีอื่นกันท�ำไม

142

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ร่วมจับมือกันให้มั่น เดินหน้าฝึกตนตามแนวทางการฝึกสัจจะ ต่อความดีของท่านกันเถิด ไม่ต้องรอเทพยดาฟ้าดิน อัศวินม้าขาว ที่ไหนมาช่วย สัจจะต่อความดีที่เราเพียรปฏิบัติอย่างไม่ลดละ กันทั้งบ้าน ทั้งเมือง ทั้งประเทศ และทั้งโลกนั่นแหละ คือ ที่พึ่ง ที่จะท�ำให้เราสามารถรักษาใจให้หยุดนิ่งอยู่กลางกายได้เป็นนิจ ให้ใจเราใสสว่าง ส่องเห็นความจริงทั้งปวงได้ถูกต้อง และร่วมมือ กันประกอบคุณงามความดีที่เห็นเหล่านั้น อย่างกระฉับกระเฉง ไม่ช้าโลกก็จะพลิกจากร้ายกลายเป็นดี ตามสัจจะต่อความดีของเรา ได้อย่างอัศจรรย์

บทสรุปส่งท้าย

www.kalyanamitra.org

143


เมื่อโลกเดือดร้อนเช่นนี้ เราจะมัวชักช้าอยู่ไย รีบลุกมาฝึกตนเอง บุตรหลาน สมาชิกในครอบครัว และมิตรสหายในสังคม ให้มีสัจจะต่อความดี ไว้เป็นที่พึ่งกันเถิด

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org

วัตรและพระสูตร ทีใ่ ช้ค้นคว้า

145


วัตรและพระสูตรที่ใช้ค้นคว้า ๑. ภัตตัคควัตร พระวินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค วัตตขันธกะ ๒. วัจจกุฎีวัตร พระวินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค วัตตขันธกะ ๓. เสนาสนวัตร พระวินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค วัตตขันธกะ ๔. อาจริยวัตร พระวินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค วัตตขันธกะ ๕. อาวาสิกวัตร พระวินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค วัตตขันธกะ ๖. กันทรกสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหปติวรรค ๗. กาลามสูตร หรือเกสปุตติสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรค ๘. คิริมานันทสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ สจิตตวรรค ๙. จูฬอัสสปุรสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค ๑๐. ปฐมฉิคคฬยุคสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัจจสังยุต ปปาตวรรค ๑๑. ทุตยิ ฉิคคฬยุคสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค สัจจสังยุต ปปาตวรรค

146

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๑๒. ทุติยอธัมมสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ตติยปัณณาสก์ ปัจโจโรหณิวรรค ๑๓. ธัมมัญญูสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหาวรรค ๑๔. ปฐมนาถสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ นาถกรณวรรค ๑๕. ปฐมนิรยสัคคสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ กรชกายวรรค ๑๖. ปฐมสัญเจตนิกสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ กรชกายวรรค ๑๗. ปธานสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ปัตตกัมมวรรค ๑๘. ปัญญาวุฑฒิสตู ร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ อาปัตติภยวรรค ๑๙. โปตลิยสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหปติวรรค ๒๐. พรหมสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ปัตตกัมมวรรค ๒๑. พาลปัณฑิตสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปณ ั ณาสก์ สุญญตวรรค www.kalyanamitra.org

วัตรและพระสูตร ทีใ่ ช้ค้นคว้า

147


๒๒. มหาตัณหาสังขยสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค ๒๓. มหาลิสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อักโกสวรรค ๒๔. มหาลิสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุต มัชฌิมปัณณาสก์ อุปยวรรค ๒๕. มหาเวทัลลสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค ๒๖. โรคสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ อินทริยวรรค ๒๗. วัจฉโคตตสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ พราหมณวรรค ๒๘. เวฬุทวาเรยยสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค โสตาปัตติสังยุต เวฬุทวารวรรค ๒๙. สรีรัฏฐธัมมสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ อักโกสวรรค ๓๐. สังคหวัตถุสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ อภิญญาวรรค

148

๓๑. สังคหสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ จักกวรรค สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๓๒. สังสัปปติปริยายสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ กรชกายวรรค ๓๓. สาเลยยกสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ จูฬยมกวรรค ๓๔. สิงคาลกสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ๓๕. เสนาสนสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ นาถกรณวรรค ๓๖. อปัณณกสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ คหปติวรรค ๓๗. อรกสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ มหาวรรค ๓๘. อรักขิตสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ตติยปัณณาสก์ สัมโพธวรรค ๓๙. อาฬวกสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ยักขสังยุต ๔๐. อกุสลมูลสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรค ๔๑. อัญญติตถิยสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรค www.kalyanamitra.org

วัตรและพระสูตร ทีใ่ ช้ค้นคว้า

149


บรรณานุกรม มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (๒๕๓๙). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหามกุฏราชวิทยาลัย. (๒๕๔๓). พระไตรปิฎกภาษาไทยและอรรถกถา แปล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. Oyakhire, P. (2010). Healing Hepatitis & Liver Disease Naturally. Bloomington, IN: AuthorHouse.

150

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org

วัตรและพระสูตร ทีใ่ ช้ค้นคว้า

151


152

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่าง ยิ่ง ที่ม นุษ ย์สามารถสร้างขึ้นได้ด ้ วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธ ศาสนาก�ำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการด�ำรงชีวิตทุกวั น อย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่าย ๆ ดังวิธี ปฏิบัติที่ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่ วัดปากน�้ำ ภาษีเจริญ ได้เมตตาสั่งสอนไว้ ดังนี้

๑. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการเตรียมตัวเตรียมใจให้ นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้วสมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ เพื่อย�้ำ ความมั่นคงในคุณธรรมของตนเอง ๒. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบาย ๆ ระลึกถึงความดี ที่ได้ กระท� ำ แล้ ว ในวั น นี้ ในอดี ต และที่ ตั้ ง ใจจะท� ำ ต่ อ ไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกายทั้งหมด ประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงาม ความดีล้วน ๆ

วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น

www.kalyanamitra.org

153


๓. นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย นิ้วชี้ ของมือข้ า งขวาจรดนิ้ ว หั ว แม่ มื อ ข้ า งซ้ า ย นั่ ง ให้ อ ยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลั บ ตาพอสบายคล้ า ยกั บ ก� ำ ลั ง พั ก ผ่ อ น ไม่ บี บ กล้ า มเนื้ อ ตา หรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึก ให้พร้อมทั้งกายและใจ ว่าก�ำลังจะเข้าไปสู่ภาวะแห่งความสงบ สบายอย่างยิ่ง

๔. นึ ก ก�ำหนดนิ มิ ต เป็ น “ดวงแก้ ว กลมใส” ขนาดเท่ า แก้วตาด�ำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอยต�ำหนิใด ๆ ขาวใส เย็นตา เย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรม นิมิต นึกสบาย ๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลาง กายฐานที่ ๗ นึ ก ไปภาวนาไปอย่ า งนุ ่ ม นวลเป็ น พุ ท ธานุ ส ติ ว ่ า “สัมมาอะระหัง” หรือค่อย ๆ น้อมนึกถึงดวงแก้วกลมใส ให้ ค่อย ๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ ฐานที่ ๑ เป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบาย ๆ ใจเย็น ๆ ไปพร้อม ๆ กับ ค�ำภาวนา

154

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น

www.kalyanamitra.org

155


อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงแก้วกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้ วางอารมณ์สบาย ๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็น ส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไปก็ไม่ต้องนึก เสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวง เก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อย ๆ น้อมนิมิตเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิต มาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยังจุดศูนย์กลางของ ดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้ายมีดวงดาวดวงเล็ก ๆ อีกดวงหนึ่งซ้อน อยู่ตรงกลางดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็ก ๆ ตรง กลางนั้นไปเรื่อย ๆ ใจจะปรับ จนหยุดได้ถูกส่วน เกิดการตกศูนย์ และเกิดดวงสว่างขึ้นมาแทนที่ ดวงนี้เรียกว่า “ดวงธรรม” หรือ “ดวงปฐมมรรค” อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่ง มรรคผลนิพพาน

การระลึกนึกถึงนิมิต สามารถทำ�ได้ในทุกแห่งทุกที่ ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือขณะทำ�ภารกิจใด ๆ ข้อแนะน�ำ คือ ต้องท�ำให้สม�่ำเสมอเป็นประจ�ำ ท�ำเรื่อย ๆ ท�ำอย่างสบาย ๆ ไม่เร่ง ไม่บงั คับ ท�ำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น ซึง่ จะ เป็นการป้อ งกั น มิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึ ง กั บ ท� ำ ให้ใจ ต้องสูญ เสียความเป็นกลาง และเมื่อการฝึ กสมาธิบั ง เกิ ด ผลจนได้ “ดวงปฐมมรรค” ที่ใสเกินใส สวยเกินสวย ติดสนิทมั่นคงอยู่ที่ ศูนย์กลางกายแล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกนึกถึงอยู่เสมอ

156

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำ�ให้ชีวิตดำ�รงอยู่บนเส้นทาง แห่งความสุข ความสำ�เร็จ และความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยัง จะทำ�ให้สมาธิละเอียดลุ่มลึกไปตามลำ�ดับอีกด้วย

ข้อควรระวัง ๑. อย่าใช้กำ�ลัง คือไม่ใช้กำ�ลังใด ๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้าม เนื้อตาเพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็ว ๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้า ท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำ�ลังตรงส่วนไหนของร่างกาย ก็ตาม จะทำ�ให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น

๒. อย่าอยากเห็น คือทำ�ให้ใจเป็นกลาง ประคองสติมิให้ เผลอจากบริ ก รรมภาวนาและบริ ก รรมนิ มิ ต ส่ ว นจะเห็ น นิ มิ ต เมื่อใดนั้น อย่ากังวลถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของ ดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจ เร่งเวลาได้ ๓. อย่ า กั ง วลถึ ง การกำ � หนดลมหายใจเข้ า ออก เพราะ การฝึกสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายใน อาศัยการนึกถึง “อาโลกกสิณ” คือกสิณแสงสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อฝึกสมาธิจน เข้าถึงดวงปฐมมรรค แล้วฝึกสมาธิต่อไป ผ่านกายมนุษย์ละเอียด กายทิ พ ย์ กายรู ป พรหม กายอรู ป พรหม จนกระทั่ ง เข้ า ถึ ง พระธรรมกายแล้วจึงเจริญวิปัสสนาในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีความ จำ�เป็นต้องกำ�หนดลมหายใจเข้าออกแต่ประการใด วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น

www.kalyanamitra.org

157


๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลางกายที่ เดียวไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจ บริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่ กันตลอดไป

๕. นิมิตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์กลาง กายทั้งหมด ถ้านิมิตที่เกิดขึ้นแล้วหายไปก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนา ประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้น ใหม่อีก การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นปัจจัย ให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมือ่ ซักซ้อมปฏิบตั อิ ยูเ่ สมอ ๆ ไม่ทอดทิง้ จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้น ไว้ตลอดชีวิต ดำ�รงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นหลักประกัน ได้ว่าได้ที่พึ่งของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ที่จะส่งผลให้เป็นผู้มีความ สุขความเจริญทั้งในภพชาตินี้และภพชาติหน้า หากสามารถแนะนำ�ต่อ ๆ กันไป ขยายไปยังเหล่ามนุษยชาติ อย่างไม่จำ�กัดเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ สันติสุขอันไพบูลย์ที่ ทุกคนใฝ่ฝัน ก็ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

158

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ประโยชน์ของการฝึกสมาธิ ๑. ผลต่อตนเอง

๑.๑ ด้านสุขภาพจิต ส่งเสริมให้คุณภาพของใจดีขึ้น คือ ท�ำให้จิตใจผ่องใส สะอาด บริสุทธิ์ สงบ เยือกเย็น ปลอดโปร่ง โล่ง เบา สบาย มีความจ�ำ และสติปัญญาดีขึ้น ส่งเสริมสมรรถภาพทางใจ ท�ำให้คิดอะไรได้รวดเร็ว ถูกต้องและเลือกคิดแต่ในสิ่งที่ดีเท่านั้น

๑.๒ ด้านพัฒนาบุคลิกภาพ จะเป็นผูม้ บี คุ ลิกภาพดี กระฉับกระเฉง กระปรีก้ ระเปร่า มีความองอาจ สง่าผ่าเผย มีผวิ พรรณผ่องใส มีความมั่นคงทางอารมณ์ หนักแน่น เยือกเย็น และ เชื่อมั่นในตนเอง มีมนุษยสัมพันธ์ดี วางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ เป็น ผูม้ เี สน่ห์ เพราะไม่มกั โกรธ มีความเมตตากรุณาต่อบุคคลทัว่ ไป

๑.๓ ด้านชีวิตประจ�ำวัน ช่วยให้คลายเครียด เป็นเครื่องเสริมประสิทธิภาพในการ ท�ำงาน และการศึกษาเล่าเรียน ช่วยเสริมให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เพราะร่างกายกับ จิตใจย่อมมีอิทธิพลต่อกัน ถ้าจิตใจเข้มแข็ง ย่อมเป็นภูมิ ต้านทานโรคไปในตัว วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น

www.kalyanamitra.org

159


๑.๔ ด้านศีลธรรมจรรยา ย่อ มเป็ น ผู ้ มี สั ม มาทิ ฏ ฐิ เชื่ อ กฎแห่ ง กรรม สามารถ คุ้มครองตนให้พ้นจากความชั่วทั้งหลายได้ เป็นผู้มีความ ประพฤติดี เนื่องจากจิตใจดี ท�ำให้ความประพฤติทางกาย และวาจาดี ตามไปด้วย ย่อมเป็นผู้มีความมักน้อย สันโดษ รักสงบ และมีขันติ เป็นเลิศ ย่อมเป็นผูม้ คี วามเอือ้ เฟือ้ เผือ่ แผ่ เห็นประโยชน์สว่ นรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ย่อมเป็นผู้มีสัมมาคารวะและมี ความอ่อนน้อมถ่อมตน

๒. ผลต่อครอบครัว ๒.๑ ท�ำให้ ค รอบครั ว มี ค วามสงบสุ ข เพราะสมาชิ ก ใน ครอบครัว เห็นประโยชน์ของการประพฤติธรรม ทุกคนตั้งมั่นอยู่ ในศีล ปกครองกันด้วยธรรม เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่สามัคคีเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกัน

๒.๒ ท�ำให้ครอบครัวมีความเจริญก้าวหน้า เพราะสมาชิก ต่างก็ท�ำหน้าที่ของตนโดยไม่บกพร่อง เป็นผู้มีใจคอหนักแน่น เมื่อ มีปญ ั หาครอบครัวหรือมีอปุ สรรคอันใด ย่อมร่วมใจกันแก้ไขปัญหา ให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

160

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


๓. ผลต่อสังคมและประเทศชาติ ๓.๑ ท�ำให้สังคมสงบสุข ปราศจากปัญหาอาชญากรรม และ ปัญหาสังคมอืน่ ๆ เพราะปัญหาทัง้ หลายทีเ่ กิดขึน้ ในสังคม ไม่วา่ จะ เป็นปัญหาการฆ่า การข่มขืน โจรผู้ร้าย การทุจริตคอร์รัปชัน ล้วน เกิดขึ้นมาจากคนที่ขาดคุณธรรม เป็นผู้ที่มีจิตใจอ่อนแอ หวั่นไหว ต่ออ�ำนาจสิ่งยั่วยวนหรือกิเลสได้ง่าย ผู้ที่ฝึกสมาธิย่อมมีจิตใจ เข้มแข็ง มีคณ ุ ธรรมในใจสูง ถ้าแต่ละคนในสังคม ต่างฝึกฝนอบรมใจ ของตนให้หนักแน่น มั่นคง ปัญหาเหล่านี้ก็จะไม่เกิดขึ้น ส่งผลให้ สังคมสงบสุขได้ ๓.๒ ท�ำให้เกิดความมีระเบียบวินัย และเกิดความประหยัด ผู้ที่ฝึกใจให้ดีงามด้วยการท�ำสมาธิอยู่เสมอ ย่อมเป็นผู้รักความ มีระเบียบวินัย รักความสะอาด มีความเคารพกฎหมายบ้านเมือง ดังนั้น บ้านเมืองเราก็จะสะอาดน่าอยู่ ไม่มีคนมักง่ายทิ้งขยะลง บนพื้นถนน จะข้ามถนนก็เฉพาะตรงทางข้าม เป็นต้น เป็นเหตุให้ ประเทศชาติไม่ตอ้ งสิน้ เปลืองงบประมาณ เวลา และก�ำลังเจ้าหน้าที่ ทีจ่ ะไปใช้สำ� หรับแก้ปญ ั หาทีเ่ กิดขึน้ จากความไม่มรี ะเบียบวินยั ของ ประชาชน ๓.๓ ท�ำให้สงั คมเจริญก้าวหน้า เมือ่ สมาชิกในสังคมมีสขุ ภาพ จิตดี รักความเจริญก้าวหน้า มีประสิทธิภาพในการท�ำงานสูง ย่อมส่งผลให้สังคมเจริญก้าวหน้าตามไปด้วย และจะสละความสุข ส่วนตนให้ความร่วมมือกับส่วนรวมอย่างเต็มที่ และถ้ามีผู้ไม่ ประสงค์ดีต่อสังคม จะมายุแหย่ให้เกิดความแตกแยก ก็จะไม่เป็น วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น

www.kalyanamitra.org

161


ผลส�ำเร็จ เพราะสมาชิกในสังคมเป็นผู้มีจิตใจหนักแน่นมีเหตุผล และเป็นผู้รักสงบ

๔. ผลต่อศาสนา ๔.๑ ท�ำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง และรูซ้ งึ้ ถึง คุณค่าของพระพุทธศาสนา รวมทัง้ รูเ้ ห็นด้วยตัวเองว่า การฝึกสมาธิ ไม่ใช่เรื่องเหลวไหล หากแต่เป็นวิธีเดียวที่จะท�ำให้พ้นทุกข์เข้าสู่ นิพพานได้

๔.๒ ท�ำให้เกิดศรัทธาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย พร้อมที่จะเป็น ทนายแก้ตา่ งให้กบั พระศาสนาอันจะเป็นก�ำลังส�ำคัญในการเผยแผ่ การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง ให้แพร่หลายไปอย่างกว้างขวาง ๔.๓ เป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาให้เจริญรุง่ เรืองตลอดไป เพราะตราบใดทีพ่ ทุ ธศาสนิกชนยังสนใจปฏิบตั ธิ รรม เจริญภาวนาอยู่ พระพุทธศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรืองอยู่ตราบนั้น ๔.๔ จะเป็นก�ำลังส่งเสริมทะนุบ�ำรุงศาสนา โดยเมื่อเข้าใจ ซาบซึ้งถึงประโยชน์ของการปฏิบัติธรรมด้วยตนเองแล้ว ย่อมจะ ชักชวนผูอ้ นื่ ให้ทำ� ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาตามไปด้วย และเมือ่ ใด ที่ทุกคนในสังคมตั้งใจปฏิบัติธรรม ท�ำทาน รักษาศีล และเจริญ ภาวนา เมือ่ นัน้ ย่อมเป็นทีห่ วังได้วา่ สันติสขุ ทีแ่ ท้จริงก็จะบังเกิดขึน้ อย่างแน่นอน

162

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org


สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ

การให้ธรรมทาน ชนะการให้ทั้งปวง

น้อมกตัญญูบูชาธรรม พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงพ่อธัมมชโย (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) หลวงพ่​่อทั​ัตตชี​ีโว (เผด็​็จ ทตฺ​ฺตชี​ีโว) คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาทองสุข ส�ำแดงปั้น คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง

164

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


เจ้าภาพกิตติมศักดิ์ พระครูภาวนานันทวิเทศ, และครอบครัว, วัดพระธรรมกายออเรกอน สหรัฐอเมริกา พระสุธรรมญาณวิเทศ วิ., โยมแม่ธรรมนูญ กองสุข และลูกหลาน พระถาวร ถาวโร และสมาชิกบ้านต้นบุญ สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI)-วัดพระธรรมกายดันนีดิน คณะภาคพื้นโอเชียเนีย คุณภัค บุญสูง คุณกรณ์กวี-ดิเเลน กวีวิทยกุล (Kiki Kavee) & BoramyVirak คุณจินตนา-คุณธีโอดอร์ เธียร์ไมเย่อร์ พร้อมครอบครัว และญาติมิตร คุณธีรวัฒน์-คุณค�ำนวณ ฐานะโชติพันธ์ และครอบครัว คุณนฤมล เศรษฐอ�ำนวย คุณบรรณพจน์-คุณบุษบา-คุณพลภูมิ ดามาพงศ์ คุณพิศมัย-คุณวาสนา เรืองรักษ์ลิขิต คุณมงคล-คุณลาวัลย์-คุณมัลลิกา-คุณวิชากร-คุณวิโรจน์ จิรพัฒนกุล คุณแม่ศุภมาส ก้อนจันทร์, คุณปรัชญา ก้อนจันทร์ และครอบครัว คุณยุพิน-คุณดิเรก ธรรมปรีชา, Dara-Prakrit Suppapiroj คุณวันดี วิเศษชาติ และครอบครัว คุณวิญญัติ ชาติมนตรี และครอบครัว คุณษุภกัญ ยวนจิตปิยะ และครอบครัว คุณสมชาย-คุณอ�ำไพ-คุณนลินรัตน์-คุณไกรสร-คุณวาลิกา-คุณภัทรวรรธน์คุณณัฐวัฒน์-คุณปัณฑา จงเจริญพรสุข คุณสันติ-คุณพิมพ์ใจ-คุณศีล-คุณบุญรักษา ทิสยากร คุณสุดาลักษณ์ ชินวิรารัฒน์ คุณสุพัฒน์ ภัทรวรกุลวงศ์, คุณประภาภัทร รุจิระธนลักษณ์ คุณสุริยะ-คุณสุริสา-คุณศาตนันท์ จึงรุ่งเรืองกิจ คุณอนันต์-คุณปรานี ดาโลดม คุณอรพินทร์ ลิ้มธนานุรักษ์ คุณอัมรา-คุณปกาศิต-คุณปภัสรา นาเมืองรักษ์ ผศ.ดร.สมสุดา ผู้พัฒน์ อาม่าจึงสี-คุณสุปรียา-คุณเซงเจง-คุณเซียวฮึง-คุณพัชรินทร์ แซ่เตีย และคณะญาติมิตร ANG KIHENG, TITH PHALLA, ANG SINYONG, ANG YOULINH, ANG SUING, ANG SEANLONG Eng Kwang Yeow & Family Tan Tian Lian สั จจะ ต่อความดี

www.kalyanamitra.org

อานุภาพพลิกโลก

165


เจ้าภาพกิตติมสุข วัดพระธรรมกายโทชิหงิ วัดพระธรรมกายนอร์เวย์ วัดพระธรรมกายลอนดอน ประเทศอังกฤษ วัดพระธรรมกายแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ วัดพระธรรมกายคอร์ซัว-ลุสท์สโกว ประเทศเดนมาร์ก วัดพระธรรมกายชิคาโก, พระครูใบฎีกาวุฒิพงศ์ วุฑฺฒิวํโส, คณะกัลยาณมิตรลูกพระธัมฯ คณะสงฆ์วัดพระธรรมกายบอสตัน, คุณอัฏฐพร-คุณพ่อวีระชัย-คุณแม่นฤมล เรืองธัมมกิจ พระทนุ ชยารกฺโข, คุณจันทราทิพย์ และครอบครัวมานะไชยรักษ์ ครอบครัววีรศักย์-คุณสุภาภร ผดุงตันตระกูล คุณกาญจนา-คุณพงษ์เดช ประชาธ�ำรง คุณแจ่มจันทร์ ศรีคุณ คุณธงชัย-คุณนันทพร แต่งเจริญพาณิชย์ และครอบครัว คุณธีรวัฒน์-คุณวรนุช พัชรตระกูล คุณนภา วรรณพิรุณ คุณพงษ์พัฒน์ เสริงกลาง คุณพิลาวรรณ-คุณเรห์คูลเลอร์ และครอบครัว คุณภาโณตม์-คุณนภษร-คุณภาวิตา ชูชัยศรี คุณแม่เพชรจู ตังสกุล-คุณเมียวกุง แซ่ลี้ คุณรัฐวิชญ์-ด.ญ.ปุญญานิศา รุ่งเรืองนพรัตน์, คุณรภัทร สุวรรณนที คุณสมชาย สิทธิพลกุล พร้อมครอบครัว คุณสรรพศักดิ์-คุณไพแพรว-ดร.กุลธิดา รักษ์ศีลขันธ์ คุณสุชาติ-คุณฮั้ว เปล่งเจริญศิริชัย และบุตรหลาน, Kenneth Johansson คุณสุรชัย จิตรเพียรค้า และครอบครัว คุณอดิศักดิ์-คุณวันเพ็ญ-คุณวรพจน์ วรรณสิน นพ.สุนทร-พญ.ลัดดาวัลย์ ฮ้อเผ่าพันธ์ ร.ต.อ.ชูชาติ-คุณสกาวรัตน์-คุณจิระวัฒน์-คุณจิตตินันท์-พ.ต.ต.หญิงจิราพร สุ่มมาตย์ กองติดต่อสอบถาม และเครือข่าย Youth for Next Step เจ้าหน้าที่, กัลยาณมิตรศูนย์ปฏิบัติธรรมจอร์แดน บุคลากร รุ่น ๒๔ ทองล้นองค์ พนักงานรักษาองค์กร (พ.ร.อ.) NG AH CHONG คุณพัชราภรณ์ แซ่อึ้ง & FAMILY

166

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


เจ้าภาพอุปถัมภ์ พระวิเทศภาวนาจารย์ (สมบุญ สมฺมาปุญฺโ) พระครูภาวนาสุธรรมวิเทศ, อัญชลี อินจารุสร พระครูวรญาณวิเทศ (พิพัฒนพร กิตฺติสุโภ) พระครูภาวนาชาครวิเทศ และญาติมิตร พระครูปลัดสุวิทย์ สุวิชฺชาโภ พระปลัด ดร.กล้าณรงค์ าณวีโร พระปลัดณัฐยุทธ์ โฆสิตวํโส พระครูสังฆรักษ์รักษ์ สิริเมธี พระครูสมุห์ณรงค์ ทนฺตจิตฺโต พระครูสมุห์อ�ำนวยศักดิ์ มุนิสกฺโก พระครูสมุห์พรเทพ าณคุโณ พระใบฎีกาเจียงเต๋อเหอ ปภากโร พระมหาภาสกร ธมฺมวทญฺญู พระมหากิตติ์ ิตปุญฺโ และญาติมิตร พระมหาเจษฎา กิตฺติาโน และคณะญาติมิตร พระมหาเฉลิม ปญฺาภรโณ พระมหาเฉลิมชัย ฉนฺทชโย และผู้มีพระคุณ พระมหาชัชวาลย์ โอภาโส (ป.ธ.๙), ดร. พระมหาชาญชัย ชวนชโย พระมหาทรงวุฒิ ชยวุฑฺโฒ พระมหาธณัช เชฏฺธมฺโม พระมหาธวัชชัย คุณากโร พระมหาธีรโชติ รตนนนฺโท และครอบครัว พระมหาธีระชัย ธีชชโย และคณะญาติมิตร พระมหาธีระพล ิตวํโส พระมหาบุญมา คุตฺตปญฺโ พระมหาปิยณัฐ ปิยชโย (ป.ธ.๙) พระมหาพรหม ภทฺทสีโล พระมหาไพโรจน์ ปุญฺภาโส พระมหาภูริวัฒน์ ฌานวิชฺโช พระมหามิญช์ พุทฺธิวฑฺโฒ, กลุ่ม ๑๐ ตุลามหาปีติ พระมหาวิทัสน์ สทฺธาพหุโล, ครอบครัวรัตนเลิศนาวี พระมหาวินิจ วรทชโย พระมหาวีระพล วชิรจิตฺโต, ครอบครัวกุลศิริ พระมหาวีระวัฒน์ วีรวฒฺฑโก พระมหาศราวุฒิ ปริสุทฺธิชโย พระมหาศุภณัฐ ธมฺมสุโภ พระมหาเศรษฐวิชญ์ เสฏฺวิชฺโช และครอบครัวญาติมิตร พระมหาสงวน สุริยวํโส พระมหาสมเกียรติ-แม่จ�ำรุญ-พ่อสง่า วรยศ พระมหาสมคิด ฉนฺทิสฺสโร พระมหาสมบัติ ธมฺมทีโป พระมหาสมยศ านวโร พระมหาสรพงษ์ ธมฺมวชิโร, ครอบครัวช่วยกอบกิจ พระมหาสุขสันติ สุปภาโส

พระมหาสุริยัน อาภากโร, ครอบครัวแสงแก้ว พระมหาโสพล สุพโล (ป.ธ.๙) และคณะญาติมิตร พระมหาอนุสรณ์ สรณงฺกโร พระมหาอภิรักษ์ ยโสธโร และทีมงาน พระมหาอรรถพล กุลสิทฺโธ และคณะญาติมิตร พระมหาอาคม สนฺติชโย พระมหาเอกมล ปญฺาชโย และหมู่ญาติ พระกฤษณ์ กาญฺจนชโย, ครอบครัวบุญโต พระกฤตยะ สิทฺธมโน, โยมแม่เซียวคาซิม กฤตมโนรถ พระกอบชัย สนฺติชโย พร้อมครอบครัว พระกานต์ สิริกนฺโต และคณะญาติมิตร พระกิตติ กิตติพนฺธุ พระกิตติคุณ สาโม (สายแก้วจิตร) พระเกรียงไกร กิตฺติสุโภ, ครอบครัวชอบสะอาด พระจุมพล ปุญฺพโล พระเจษฎา มหิทฺธิโก พระฉัตรชัย มณิวโร พระชวลิต จนฺทโชโต พระชวิน อภิชฺชโว, ครอบครัวชัยวัฒน์ พระเชษฐพล คุณชโว, บิดามารดา และคณะญาติมิตร พระไชยยศ ยสวํโส พระณภัทร กิตฺติปุณฺโณ พระณรงค์ เวคชโย พระณัฏฐชัย คนฺธวโร และกัลยาณมิตร พระณัฐพงษ์ สุทฺธาโณ และคณะญาติมิตร พระณัฐพล เขมนนฺโท และทิศ ๖ พระณัฐพล อคฺคสกฺโก และครอบครัว พระดร.วรวุธ สุทฺธปญฺโ, ดร.ศิริกุล ณิชา วิสุทธิ์เมธางกูร พระถวัลย์ จตฺตมโล และญาติมิตร พระถาวร ชยคฺโค (ชัยจักร) พระถิรพงษ์ าณธโร และคณะญาติ พระไทยแลนด์ กิตฺติทตฺโต พระธนาสิน จนฺทสาโร พระธรา กิตฺติธโร, ครอบครัวกาญจนภูพิงค์ พระธีรวัฒน์ ชยธีโร พระนคร คุณโรจโน พระนวปฎล กิตฺติปญฺโ และคณะญาติมิตร พระนัฐวุธ ณฏฺชาโต, ครอบครัวกอบัวกลาง พระนิวัฒน์ อาจารสุโภ พระนุชา นาถปุญฺโ พระบุลากร านธาโร และครอบครัว พระปราโมทย์ ปญฺาปทีโป พระปริยพล ยุตฺตวิชฺโช พร้อมคณะกัลยาณมิตร พระปารณ ชยานนฺโท, ครอบครัวพันธเสน พระพงศ์เทพ จิณฺณธมฺโม สั จจะ ต่อความดี

www.kalyanamitra.org

อานุภาพพลิกโลก

167


168

พระพงศ์เมธา วราจาโร พระพงษ์ศักดิ์ ชยสกฺโก และคณะญาติมิตร พระพรชัย อิทฺธิชโย, คณะญาติมิตร พระพลศักดิ์ านสกฺโก, ครอบครัวโชคโภคาสมบัติ พระพสธร เขมธโร, ธงชัย-สุลีพร เลิศเศวตวงศ์ พระพิษณุ เขมจาโร พระพุทธวัจน์ หฏฺมโน และคณะกัลยาณมิตร พระภาสุระ ทนฺตมโน, ครอบครัวใจวงศ์ พระภูมิวรัชญ์ พลทตฺโต, ครอบครัวเอื้อประเสริฐ พระมารุฒ พุทฺธ ิ าโณ พระรุ่งธรรม กตธมฺโม (พันธ์ไพโรจน์) และครอบครัว พระรุ่งวิทย์ ปญฺาวุฑฺโฒ พระเรืองศักดิ์ เตชวโร, กลุ่มแก้วพุทธจักร พระลักษ์ดี ธมฺโมทิโต และคณะญาติมิตร พระวันชัย ขนฺติชโย, ครอบครัวพรรณนาผลากูล พระวิศรุต สุวิมโล พระวิศักดิ์ ธมฺมสิริโก, ครอบครัวชิวหรัตน์ พระวีระพงษ์ นิมฺมโล พระวุฒิกร รวิวํโส, กองติดต่อสอบถาม พระศักดิ์ชัย อภิปฺปสนฺโน, พิชญา ฝอยหิรัญ พระศิริวัฒน์ สิริวุฑฺโฒ, ครอบครัวสีนาคสุก พระศิเวษฐ์ จารุธมฺโม พระสกุล จารุพโล พระสมพร ฉนฺทวโร พระสมุห์อุกฤษฎ์ พฺรหฺมวํโส และญาติมิตร, ญาติธรรม พระสมพล สนฺติมโน และทิศ ๖ พระสันติราษฎร์ อุปสนฺโต และคณะญาติมิตร พระสามารถ สุขพนฺโธ พระสิปปภาส พฺรหฺมสโร พระสิริ คุณากโร พระสุจินต์ สุจิตฺโต พระสุนทร ทนฺตมโน, ครอบครัววิจารณ์สถิตย์ พระสุนันท์ นนฺทพโล, ทวี ผลเจริญ พระเหมราช มณิโชติโก, ครอบครัวฟักมณี พระอนุกูล อติสนฺโต, โครงการอบรม MSO พระอนุชา อคฺคจิตฺโต พระอโนทัย สุทฺธิพโล พระอรรจ เขมาภิรโต พร้อมทิศ ๖ พระอ�ำพล สุตโฆโส และครอบครัว พระอุกฤษฎ์ พรหมบุตร พระอุดม ถิรวฑฺฒโน พระอุดม อุตฺตโม พระอุทิศ อคฺครตโน (ตันแก้ว) Phra Khru Visudvirijakhun สามเณรณภัทร แสนมั่นคงกุล สามเณรพิทยาธร กรวิจิตต์ศิลป์ และครอบครัว สามเณรวัชระ แสงเนียม และครอบครัว สามเณรประจ�ำศูนย์อบรมเยาวชนลาดหลุมแก้ว พระภิกษุ รุ่น ๗ ปี ๒๕๓๔ พระภิกษุ รุ่น ๑๘ พระภิกษุ รุ่น ๑๙ พระภิกษุ รุ่น ๒๐ พระภิกษุ รุ่น ๒๑ ส�ำเร็จทุกอย่าง

พระภิกษุ รุ่น ๒๓ ตามตะวัน พระภิกษุ รุ่น ๒๔ WE ARE ONE พระภิกษุ รุ่น ๓๓ ตามติดตะวัน พระนิสิตสถาบันธรรมชัย รุ่น ๒๐ พระภิกษุหมู่บ้านบรรลุธรรม พระอาจารย์ และเจ้าหน้าที่กองธรรมวารี วัดพระธรรมกายไทเป วัดพระธรรมกายฮ่องกง วัดภาวนาเกาลูน เมืองฮ่องกง ธุดงคสถานชลบุรี ธุดงคสถานชัยบาดาล ศูนย์ปฏิบัติธรรมแก้วโก-ลก จ.นราธิวาส ศูนย์ปฏิบัติธรรมแก้วบูรพา ศูนย์ปฏิบัติธรรมชลบุรี (เนินตอง) ศูนย์ปฏิบัติธรรมเซี่ยงไฮ้ ศูนย์ปฏิบัติธรรมล�ำปาง ศูนย์ปฏิบัติธรรมสุราษฎร์ธานี ศูนย์ส่งเสริมเครือข่ายเยาวชนอาสาสมัคร ครอบครัวกิตติภูมิวงศ์ ยนต์สุวรรณ ครอบครัวคาร์ราเคอร์ ครอบครัวคุณากรจิตติรักษ์ ครอบครัวงามเกียรติทรัพย์ ครอบครัวเงินยอดรัก-จันทร์วงศ์ ครอบครัวจันทรากุลศิริ, ณัฏฐ์ภาพร แสนธนรักษ์ ครอบครัวจารุเสน ครอบครัวชาญชนะโยธิน ครอบครัวโชคดีศรีสวัสดิ์ ครอบครัวซิมมอนล์ ครอบครัวตั้งลิตานนท์ ครอบครัวเตยะราชกุล ครอบครัวทองภักดี, ครอบครัวบุญราศรี ครอบครัวทองรัตน์-พรหมมินทร์-จงจีรังทรัพย์ ครอบครัวธนภัทร ครอบครัวธรรมนิทา, ครอบครัวบุญทัน ครอบครัวนาคลักษณ์ และบัวขาว ครอบครัวบัณฑิตย์นพรัตน์ ครอบครัวพุทธาพิทักษ์กุล ครอบครัวเพ็งอินทร์ และสุวรรณธัย ครอบครัวรังษีพงศ์ ครอบครัวเรือนสากล ครอบครัวโรหิตธรรมพร ครอบครัวโล้วิชากรติกุล ครอบครัวว่องวิสุทธิเกษม ครอบครัววาจาดี ครอบครัววิทยเบญจางค์ ครอบครัววิเศษพันธุรังษี ครอบครัวศรีฟ้า-ปทุมานนท์ ครอบครัวศรีสัจจากุล ครอบครัวศศิศาสตร์ ครอบครัวสรวลสันต์ ครอบครัวสารนารถ อยู่ยืนยง ครอบครัวสาลีผล-Uebersax

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


ครอบครัวสุวิศิษฐ์พงศ์ ครอบครัวอมรรัตน์ธ�ำรงค์ ครอบครัวอิชิดะ ครอบครัวอิ่มอุดม-กิติสิน ครอบครัวเอกชูเกียรติ และญาติ ครอบครัวเอกวงศ์-เกตุวงศา คุณกนกทิพย์-สุวรรณา เลิศประเสริฐรัตน์ คุณกนกวรรณ บุญเนียม คุณกมล เถลิงนวชาติ คุณกรณ์ ตั๊นสวัสดิ์ คุณกรรณิกา จินารักษ์พงศ์ คุณกฤตพัฒน์ ฐิติโชติพณิชย์ คุณกฤต-วาสินี อายุสุข คุณกฤษ-ขวัญฤดี-นลินี-ธิติพันธุ์ ศรีอนันตนนท์ คุณกฤษฏาวรรณ สายหงส์ และครอบครัว คุณกฤษณ์ เหล่าศิริพงศ์ คุณกฤษณา-วนิดา อุ่นจิตติกุล คุณกลิ่นผกา หน่อแก้ว คุณกอบแก้ว อินทพันธ์ และครอบครัว คุณกอบทอง เงินปนทอง พร้อมครอบครัว คุณกัญญภัทร แสงนวล, ประภาพร พงษ์สมบูรณ์ คุณกัญญา-เกลื่อน-เตียง สุวรรณเสม คุณกัญญาณัท ไชยชุมพร และครอบครัว คุณกันติกาญจน์ หัสเดชะ คุณกัลยาทิพย์ เพ็งพานิช คุณกาญจนา ศรีสวัสดิ์ คุณกานตา ศิริแพทย์ คุณกิ่งแก้ว โตศิริพัฒนา และครอบครัว คุณกิตติ กาญจนสุภัคร์ คุณกิตติ ชัยวงศ์ คุณกิตติพงศ์ เกตุศรีพงษ์ คุณกิตติพงศ์ ลิ่มสืบเชื้อ คุณกิตติศักดิ์ รุ่งสิทธิ์ธนาโชติ และครอบครัว คุณกิตติศักดิ์ อาภาเกียรติวงศ์ คุณกุณฑลี สิงหเสนี คุณเกชรัชต์ หาญเหลี่ยมเพชร คุณเกรียงไกร-อิงอร-นพ.อานนท์ ติรธรรมเจริญ คุณเกรียงศักดิ์-ศิริพร-นิรมล เตียงพิทยากร คุณเกศรา-วิโรจน์-กฤติยา จารุศักดิ์เสถียร คุณเกษม แซ่ซิ้ม คุณเกษม-สุนีย์-สง่า-อนุสรณ์ แสงทองพินิจ คุณเกสร อะกิบะ คุณเกียรติชัย-ดร.จันทร์เพ็ญ-ชวิน ล้อจักรชัย คุณขจรศักดิ์ มณีอินทร์ คุณขณิดา อินทะกนก, อนุช พัฒนกุล คุณขวัญใจ-สมชาย จงวัฒน์ผล และครอบครัว คุณขวัญเมือง จิตรักญาติ พร้อมครอบครัว คุณขันติภูมิ กิตติสุบรรณ, ชาลิสา อรุณกิจประคุณ คุณไขนภา ฟ้อง คุณคณะ-รุ่งนภา พงษ์ศิริ และคณะ คุณคณิตา ช่วยขุนทด คุณคมคาย บุญญะการกุล คุณคอนเนอร์ เคลค วาจาดี

คุณค�ำนา เจรจา คุณเครือวัลย์ สุขเจริญ คุณโคตรดีศรีไสว การะเกตุ คุณจงกลกร-ด.ญ.ณัฐสึมิ ทสึโนกาเกะ และครอบครัว คุณจรัส เขมสมิทธิ์ และครอบครัว คุณจรัสศรี พอลล์มันน์ และครอบครัว คุณจรัสศรี ว่องวิทย์เดชา คุณจรินทร์ เศรษฐชยานนท์ และครอบครัว คุณจวง แซ่กิม และบุตร คุณจักรกฤษณ์ สถิรเสถียร คุณจักรพงษ์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ คุณจันทนา ตรีรัตน์ตระกูล คุณจันทนา เมฆวิลัย คุณจันทร์-จันทร์เพ็ญ-ปิยวรรณ เป็งธรรม คุณจันทร์จิรา-ฮิโรยูกิ โนโมโตะ คุณจันทร์ตรี เชื้อสะอาด คุณจันทร์ทิพย์ เวฬุริย และครอบครัว คุณจันทิมา นามิกุจิ-ชไมทิพย์ โทโดโรกิ คุณจามรี ตั้งกสิกิจ คุณจามรี-จิรพงค์-จิรัฐิฏิ-จิรพัส นนทธรรม คุณจารวี สุวัตถี และครอบครัว คุณจารีย์ วัฒวานิช และครอบครัว คุณจารุณี มิเลสซิ และครอบครัว คุณจารุวรรณ สเตฟาล และครอบครัว คุณจิดาภา พยุงพงษ์, ครอบครัวLAWRENCE คุณจิตติภัทท์ ทองประเสริฐ และครอบครัว คุณจิตรา แซ่จง คุณจินดารัตน์ รัตนกุล คุณจินดารัตน์-ทากาอากิ ซาซากาว่า และครอบครัว คุณจินตนา-มาซามิ-ไตรรัตน์ อาซาโนะ คุณจิรภัทร ราชบุรี คุณจีณานาถ เบรดี้ และครอบครัว คุณจีรวดี ทองธนาวัฒน์ คุณจุฑาทิพ พนาวัฒนกุล, ปณิธ ศรีเพ็ญ คุณจุฑามาศ ชุสเตอร์ และครอบครัว คุณจุฑารัตน์ ฉันทาดิศัย คุณจุรีรัตน์ ถ้องพิพัฒน์ คุณแจ๊ค-อุดมลักษณ์ สเป๊นส์ คุณใจทิพย์-พัตราภรณ์ โยสิทธิ์ คุณใจบาล ลีเพ็ญ และครอบครัว คุณฉลวย ศรีวิชัย Sven Olov Brobeck and family คุณฉลอง-พันทอง ลิ้มเรืองโรจน์ คุณฉัตรชัย-สารนันท์-พุฒิธัมม์ เดชประภัสสร คุณฉายา จิตติพันธ์, คุณสมศุข เทียมปฐม คุณเฉลิมชัย-ทิพสินี-ธนาวีร์ วัฒนบูรณ์ชัย คุณชญาดา สีไสล-เจมส์-ด.ญ.อัญมณี แครี่ คุณชญานิศ และครอบครัว คุณชนกนาฏ พิมศรี และครอบครัว คุณชนะ-วาทินี-ณัฐวรรธน์-ณัฏนรา จุลเวช คุณชนัญญา แสงจันทร์ คุณชนันรัตน์ สัตตะรุจาวงษ์ คุณชนิดา-กรณ์, ไกร ช�ำนิวิกัยพงศ์ คุณชนุดม โสภากร และครอบครัว สั จจะ ต่อความดี

www.kalyanamitra.org

อานุภาพพลิกโลก

169


170

คุณชม-แย้ม-มานพ แจ้งค�ำข�ำ คุณชยุตม์-สมยศ-ปราณี พันทรัพย์ คุณชลชมวง ม่วงคราม คุณชลาลัย ธาตรีธร คุณชัชชวิษฐ์-ฐาปาณีย์ เศรษฐ์จิรัฐา คุณชัชวาลย์ ค�ำน�ำลาภ และครอบครัว คุณชัชวาลย์-สุนันทา-ชรีรัช-ชาตบุษย์ ทศรัตน์ คุณชัยประสิทธิ์-วรลักษณ์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา คุณชัยยภัทท์ กันชัย และหมู่ญาติ คุณชัยยศ เตชะทวีวัฒน์ คุณชาญชัย-มณีรัตน์ นพรัตน์ คุณชาญวิทย์ ตั้งแต่งกิจ คุณชาตินิยม-ประนอม สรพิมพ์ คุณชาลิณี ฐิติโชติพณิชย์ คุณชื่นรัตน์ เม้งตระกูล คุณชุตินันท์ ศรีนาคดี และครอบครัว คุณชุติพร บุญกล่อม และครอบครัว คุณชุมพล-ถาวร บุญกล่อม และครอบครัว คุณชุลีพร ช่วงรังษี คุณชูศักดิ์-วิลาวัณย์ พฤกษะวัน พร้อมครอบครัว คุณชู-สุมาลี น้อยฉิม คุณเชษฐา จิรา คุณโชคชัย วลิตวรางค์กูร และครอบครัว คุณโชติมา พูนสวัสดิ์พงศ์ คุณไชยสิทธ์ เลิศกุลทานนท์ คุณเซี่ยมเล้ง แซ่โง้ว, สมร ล�ำมูล และตระกูล คุณโซอิชิโร-ณสพร-ภูมิพัฒน์-ปุญญิศา ฮาชิซูเม คุณฐานิต แสงเกตุ และครอบครัว คุณฐิติกานต์ดา ปัญญานะ คุณฐิตินันท์ สุทธวาทิน คุณณฐารินทร์ เรืองวุฒิสานนท์ คุณณพัชญ์ปภา สิริยุทธ์ภิญโญ และครอบครัว คุณณภัทร พุทธางกูรานนท์ คุณณรงค์-วรรณา-วรงค์ อุดมผล คุณณรงค์-วันเพ็ญ-ฌญา ศุขจรัส คุณณัชชา โตสงวน คุณณัฏฐพัชร มณีโรจน์ คุณณัฐกานต์ บุญกาญจน์ คุณณัฐกานต์ วรรณพงษ์ และครอบครัว คุณณัฐนันท์-พลอยพิชชา ตั้งกิจพัชรพล คุณณัฐพร ขัติบุญ คุณณัฐวุฒิ กาญจนสิทธิ์ และญาติมิตร คุณณัฐวุฒิ ปราโมทย์, อริญชยา พรภักดีวัฒนา คุณณัฐสรวง วงศ์วทัญญู คุณณัฐสุดา ค�ำยอด คุณณิศารัสมิ์ ยิ้มละม้าย และครอบครัว คุณดรุณี จันทรวิทุร และครอบครัว คุณดวงใจ ผาบุญชัย และครอบครัว คุณดวงเนตร เจริญศรี คุณดวงฤดี-Chris Cheatham และครอบครัว คุณดอกไม้-สมบูรณ์-อุไร จุฑานุช คุณดารณี ไกเมอร์ คุณดารา สร้อยเงิน

คุณดาราวรรณ ห่านศรีสุข คุณดีวัน สุประดิษฐ์อาภรณ์ คุณดุจหทัยชนก ทองธนาวัฒน์ คุณดุสิต-อ.อารีย์-พญ.ญาณิศา บุรกิจภาชัย คุณเดชมนตรี ฟองน�ำ้ คุณเด่น-ธนภัทร กันชุม คุณเด่นพงษ์-สุนิดา ชาวงษ์ คุณตาชาญศักดิ์ ติ๊บแก้ว คุณเต็มใจ สุทธิประภา-สุวรรณา สว่างจันทร์ คุณเตียงทอง ชอมกระโทก คุณเตี่ยหลาย-แม่จิราภรณ์ บ�ำรุงศิริ คุณถนอมรัตน์ หัสชัย คุณถนอมศรี เหล่าประสิทธิผล คุณถนอมสิน พิศสุวรรณ, ครอบครัวมัสซึโมโต้ คุณถมรัตน์ วีระพันธ์ และทิศ ๖ คุณทรงชัย-ปิ่นนรา ตั้งจรูญวาณิชย์ คุณทวิวรรณ บุญยอ และครอบครัว คุณทวีชัย-สิริมน-สรวิศ-สุบุษบา ชัยสุวรรณ คุณทวีป-ปราณี สุขวารี คุณทวีลาภ ศรีโกมล, ครอบครัวเสนะวงค์ คุณทศพร เอกชูเกียรติ คุณทองเต็ม สมัครการ และครอบครัว คุณทองมา เอนกนวล และครอบครัว คุณทองสัย-โยฮัน อันดารัชโค, ครอบครัวพรหมดี คุณทองสาย รัชพงษ์ คุณทองห่อ ค�ำยอด คุณทอมมี่-ปานทอง เทกเนอร์ คุณทัน เลกิ คุณทับทิม สืบไทย และครอบครัว คุณทัศนา-Nils Anders Jacobsson และครอบครัว คุณทัศนีย์ โคตรสมุทร คุณทัศนีย์ พิเรศรัมย์ คุณทัศเนาว์ วงศ์แสน คุณเทิดชาติ ศรีนพรัตน์ และพนักงานมุกตะวัน คุณธงชัย-บุศนี-ประภัสสร นพฤทธิ์ และทิศ ๖ คุณธนพร เอกชูเกียรติ คุณธนพล ข่อมขันธ์ คุณธนภร วอนเนอร์ คุณธนวน จาตุประยูร (ธนาลัย) และครอบครัว คุณธนัชพร ใจอิ่ม และครอบครัว คุณธนารมย์ ธนัตพัจน์รดา คุณธนินพัชร์ ทองธนาวัฒน์ คุณธรรม์ ธาตรีธร และครอบครัว คุณธวัลหทัย เรือนสอน, เยาวรัตน์ ไมเซนชมิดท์ คุณธัชมน ศิลาชัย และครอบครัว คุณธัญชนก วิญญเอกสิทธิ์ คุณธารณ์ บุญมาก คุณธิดารัตน์-ธรรมธร-ธวัลรัตน์ เตชะพิสิษฐ์ คุณธีรพล-บุษสินี-รติรัตน์ โอศิริ คุณธีระ คงศรีเจริญ คุณนงนุช พันธ์เพิ่มเจริญกิจ คุณนงลักษณ์ มานนท์ คุณนงลักษณ์ อินทรโยธา

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


คุณนพภรณ์ วงษ์จริต คุณนพสรัญญ แก้ววิมล คุณนภาพร มากจุ้ย และครอบครัว คุณนวพร แสงมณี และครอบครัว คุณนวพัณณ์ กัญจนสิริเพ็ชร, ครอบครัวธวัตอัศวะ คุณนวยนารถ ภู่ไพศาล คุณนวลจันทร์ รักตประจิต คุณนวลนิจ หงส์วิวัฒน์ คุณน้อย สมพร คุณนันทญา กัญญามานนท์ คุณนันทา Orlandin พร้อมครอบครัว คุณนาตยา-อังคณา ไทยทรง คุณนานา ลิ่ว คุณนารี ศรัทธาผล คุณน�้ำอ้อย สายแก้ว และครอบครัว คุณนิชาภา อนันต์สุภัค คุณนิดา ธนธัญญา คุณนิตตยา จรุงจิตต์ คุณนิธิภา-ศิวพร สุขวารี คุณนิพนธ์ ค�ำแสน และครอบครัว คุณนิพาพร-พรนิภา, ครอบครัวเจริญวิเศษศิลป์ คุณนิพิฐพนธ์-วุฒิชัย อนุวรกาญจน์ คุณนิภาพร ทุมบาล, กาญจนา บุญอาจ คุณนิภาวรรณ สุวิมลธีระบุตร คุณนิมิตร-วิไล อุ่นจิตติกุล คุณนิรดา-ภคมน เขียวอัมพร และครอบครัว คุณนิรันดร์-สุภามาศ ตันฑวิวัฒน์ คุณนิวัฒน์ เลิศลัทธภรณ์ คุณนีน่า บลอมเกรียน คุณเนียม ล้อสกุล คุณแน่งน้อย ฮ้าค และครอบครัว คุณบังอร พลต้น, ไอลดา ลักขณาวิจิตร คุณบังอร-อัจฉรา ริด�ำรงค์ คุณบัณฑิต-พุฒซ้อน-กุลนาถ-ธีรเมธ มีสมเพิ่ม คุณบุญช่วย Lars เนียมวัน Andersson and family คุณบุญชัย จันทโรกร คุณบุญชัย-จิรพร ถกลสุเวช และครอบครัว คุณบุญชู-อุศนารถ-บุญเขต วจนพานิช คุณบุญทัก-สมศักดิ์ มั่นเข็มทอง พร้อมครอบครัว คุณบุญเทียม-วันเพ็ญ คชสิทธิ์ และครอบครัว คุณบุญมาก-สุนีย์-สายรุ้ง-นิรุตติ คงเจริญพร คุณบุญมี-ทองค�ำ ดวงสวัสดิ์ คุณบุญศรี สมานไทย คุณบุ้นเจียว แซ่ตั้ง-ลัดดา ศรีวะโลสกุล คุณบูรณ์เลิศ-สิริมณต์ อ�ำนาจฐิตนันท์ คุณเบญจพร-พรทิพย์-ไพฑูรย์ บุญบ�ำรุง คุณเบญจวรรณ โฉมปรางค์ คุณปฏิพล พรหมดี และครอบครัว คุณปฐมา กุลเสนา และครอบครัว คุณปณิธาน ศรีมงคล และครอบครัว คุณปนัดดา-วรยศ-อาธิตญา-เพชรรัตน์ คุณปภาณ ธีรบวรรัตน์ และครอบครัว คุณปภิณชณัชส์ แดงกระจ่าง และครอบครัว

คุณปรมาภรณ์ ศ.จ.มิคาลิ และครอบครัว คุณประดิษฐ์-ลีณาพร-แพรวดี ชุติรัตน์ คุณประทีป จีนเกิด และครอบครัว คุณประทุม ปิ่นกุล คุณประทุม เล็กมณี คุณประเทือง ทักกี้ คุณประเทือง-ประจวบ เพชรไทย และครอบครัว คุณประนอม รัตนเสนา พร้อมครอบครัว คุณประภัสสร ค�ำภิโร, ใจทิพย์ ภัทรวิเชียร คุณประภาพร แซ่ฉั่ว คุณประมวลศิลป์ โฮคแลนด์ คุณประยุทธ-ดรุณี-เลอเกียรติ-ประวิณี คุณวงศ์ คุณประยูร-พึงใจ แย้มโต และครอบครัว คุณประเสริฐ ติยานนท์ คุณประหยัด วงษ์พิรา คุณปราณิศา อัศวโภคี คุณปราณี มุสชิโอล และครอบครัว คุณปรารถนา พุฒิสกุลวงศ์ คุณปริฉัตร ลาภพิทักษ์พงษ์ คุณปลิว-รัชนี-ทวีวุฒิ สุริยะมงคล และครอบครัว คุณปวีณา เคราเซ และครอบครัว คุณปัทมา ค�ำสงค์ คุณปัทมา รัตนคช และครอบครัว คุณปัทมา เสี่ยสงวน และครอบครัว คุณปัทมา หวัง คุณปาณทิพย์ เปลี่ยนโมฬี คุณปาน ทิมเที่ยง คุณปาริชาต อุตตะโมท คุณปาลิดา กุลรุ่งโรจน์ คุณปิยะดา ปทุมสวัสดิ์ โนเซรา และครอบครัว คุณปุณยนุช วัฒนอัศวกุล และครอบครัว คุณเปรมจิต น่วมทนงค์ คุณผจงศักดิ์ ปัทมะศังข์ คุณผ่อ-อาจวน แซ่ฮ้อ คุณฝน ชูรัตน์ คุณเฝย แซ่ลี้ พร้อมครอบครัว คุณพงศ์ศิริ เกตุศรีพงษ์ คุณพจนีย์-ธวัชชัย อมรโกศลพันธ์ คุณพชรนนท์ จันทกูล คุณพณสร-พัฒน์นรี ธรรมพ้นภัย คุณพนม เพ็ชรประสม คุณพนิดา สุวรรณดี คุณพรทรนา โคบายาชิ และครอบครัว คุณพรทิพย์ สวามิวัสดุ์ คุณพรพชร มลสิริเรืองเดช คุณพรพรรณ-Ulrich ซีเมอร์ และครอบครัว คุณพรพรหม โคห์เล พรหมดี และครอบครัว คุณพรพิณ เหลืองไชยรัตน์ คุณพรเพ็ญ-คุณนิตยา โตศิริพัฒนา คุณพรรณี วนิชยางกูรานนท์ คุณพรรวินทร์ ธนินกิติวงศ์ คุณพศิน-ศศินา-ธนิสร-วุฒิภัทร เรืองศรี คุณพ่อมูลจันทร์ และครอบครัว สั จจะ ต่อความดี

www.kalyanamitra.org

อานุภาพพลิกโลก

171


172

คุณพ่อค�ำ-คุณแม่จันทร์ การะเกต คุณพ่อจันทา-คุณแม่สุริมา ฮาดดา คุณพ่อชิด รอดเรืองคุณ และครอบครัว คุณพ่อตะวัน-คุณแม่บุญถิน-กาญจนา บางโม คุณพ่อถนอม-คุณแม่น้อม เสกสุวงศ์ และครอบครัว คุณพ่อบุญเลี้ยง วิรุณานนท์ คุณพ่อโยธิน-คุณแม่สุธิดา-ทพญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ คุณพ่อวารี-คุณแม่ส�ำเนียง-ธนภร ศรสุวรรณ คุณพ่อสงวน สาคริน, คุณแม่สงกา อเนกนวล คุณพะเยาว์ เงินชาลี คุณพัชนี ก�ำธรกิตติ์กุล คุณพัชนีย์ จันทร์อินทร์ คุณพัชรมณฑน์ ทองธนาวัฒน์ คุณพัชราวลัย Klatt และครอบครัว คุณพัชรินทร์ วัชรเวชศฤงคาร คุณพัชรี เจริญศรี คุณพัชรีพร ลาภจิตรกุศล คุณพัฒณานนท์ นาคสวัสดิ์ คุณพัทธนันท์ กุรกนก คุณพิชญไชย เลิศกุลทานนท์ คุณพิชญ์ศุภร วิสุทธิ คุณพิชญ์สินี สงวนพรรค-ครอบครัว คุณพิชมัย รุจจนเวท และครอบครัว คุณพิเชฐพร เผื่อนพิภพ และครอบครัว คุณพิบูลย์ เหลืองวงศ์วาน และครอบครัว คุณพิพัฒน์-สุวรรณา สมรรถวิทยาเวช คุณพิมพกา กาญจนนพวงศ์ และครอบครัว คุณพิมพ์นารา เมืองวงศ์ คุณพิมลพรรณ ฉันทาดิศัย คุณพิมลพรรณ เหลืองวงศ์วาน และญาติมิตร คุณพิศาล จิระวัฒนศักดา และครอบครัว คุณพิศิษฐ์-คุณพัชรินทร์ เงินกร และครอบครัว คุณพิสูจน์ เหลืองวงศ์วาน และครอบครัว คุณพีรพงศ์ วิจิตรวงศ์วาน คุณพีรวัส เหล่าบุญเกื้อ-ภัทรพงษ์ พลเสน คุณพีระ ธาตรีธร คุณพุฒิไชย เลิศกุลทานนท์ คุณพูนศักดิ์ ฝูงทองเจริญ คุณพูลทรัพย์ พยุงธรรม และครอบครัว คุณพูลสุข สุคนธ์-จินตนา พลพิพัฒน์ และครอบครัว คุณเพ็ญจันทร์ แซ่ตั้ง คุณเพ็ญตะวัน ถายา คุณเพ็ญทิพย์ ธ�ำรงค์พรสวัสดิ์ คุณเพ็ญทิพย์ สุรินทร์ไพบูลย์ และครอบครัว คุณเพ็ญพร จงวัฒนา คุณเพลินใจ วานิชสัมพันธ์ คุณเพิ่มศักดิ์-อรัญญา ชีวาวัฒนานนท์ คุณแพงมณี อินทิสาน และครอบครัว คุณไพโรจน์-นิด อัศดาสุข และครอบครัว คุณไพศาล-วรรณี สุชาติกุลวิทย์ และครอบครัว คุณภราดา-อรกัญญา-เขมินี เณรบ�ำรุง คุณภริษา ธนภัควิจิตร และครอบครัว คุณภัคจิรา-จิรัชญา ลือกลาง

คุณภัคนัยนันทน์ สมนาศักดิ์ และครอบครัว คุณภัทร อินลาภ คุณภัทรนันท์ ลาโสม คุณภาณี-นริสรา แสนเดช คุณภาสวร บุญมาก คุณภีรสุ ฉิมเครือวัลย์ คุณมงคล บุญล้อม, สุรีรัตน์ สุทธิประภา คุณมงคล-พิมพิไล-ศศิกาญจน์ มีนาภา คุณมณฑนา พรศาสวัต คุณมณฑา รอดอ�ำพันธุ์ คุณมณทา ทวนทอง คุณมณีรัตน์ น่วมทนงค์ คุณมยุรี สุดสวยวิไล พร้อมครอบครัว คุณมะลิ พูลสวัสดิ์ คุณมัณฑนา เชิดวิศวพันธุ์ คุณมัลลิกา จิรพัฒนกุล และครอบครัว คุณมานิตย์-นุศรา พิลึก คุณมาลินี พรมมาแบน และครอบครัว คุณเมทิกา โยฮันซ่อน และครอบครัว คุณแม่คำ� ปัน-ธนิตา-นฤมล ค�ำมา คุณแม่คุ่ก แซ่เยี๊ยบ-เดือนเพ็ญ เอี่ยมสุพรรณ คุณแม่ซิ้วอิม แซ่ตั้ง คุณแม่ทองอินทร์-สุทิน-สุนันท์ จันทร์เพ็ญ คุณแม่พัด-คุณพ่อทัด ขุนพิทักษ์ คุณแม่ยืน-คุณพ่อจูม-จรรยา หน่อแก้ว และคณะญาติมิตร คุณแม่ศิริขวัญ แซ่ลิ้ม คุณแม่เฮียะ-เตี่ยฮาง แซ่ตั้ง คุณไมตรีจิตร์ สุพรรณานนท์ คุณยายบุญรอด ติ๊บแก้ว คุณย่าสุพิน ศิริวิวัฒนกรกุล คุณยุพาพรรณ จุฑาทอง คุณเยี่ยม สืบสันต์, ครอบครัวสืนสันต์ คุณโยชิอากิ-เมอิ อันโดะ คุณรจิต-รังสรรค์-ทักษิณา รังษิณาภรณ์ และครอบครัว คุณรดา สุวัชรานนท์ และครอบครัว คุณรังสรรค์-บุญมี รัตนนันทวาที คุณรังสินี โฟร์บัค และครอบครัว คุณรัชฎาภรณ์ จันทร์เผือก และครอบครัว คุณรัชดาพร นาสมโภชน์ คุณรัชนีกูล เตชะก�ำธร, หงษ์สุดา ปราบบ�ำรุง คุณรัชนีย์ ตั้งจรูญวาณิชย์ คุณรัชภูมิ นวมงาม คุณรัฐพร แตงมณี คุณรัตติยา จงพิพัฒน์ยิ่ง และครอบครัว คุณรัตนา โชติกเสถียร และครอบครัว คุณรัตนา ตันกิม คุณรัตนา สมภักดี, ครอบครัวสมภักดี คุณรัมภาพรรณ-ฉัฐวัสส์ ชุ่มเชื้อ คุณราตรี น�้ำใส คุณราตรี หงษ์ศรี คุณร�ำไพ จันทร์ภักดี และครอบครัว คุณรุ่งนภา กล่อมเมฆ คุณรุ่งนภา อิงคชัยกุลรัชต์ และครอบครัว

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


คุณรุ่งโรจน์-สุจินตนา-ธีภพ-ธนิตา ชูชัยศรี คุณรุ่งฤดี เฮ้าบ์เนอร์ และครอบครัว คุณโรช-สุกัญญา สกุลวัฒนะ คุณลอน มหาฤทธิ์ คุณละเอียด สอนซื่อ คุณละเอียด สุวรรณรัตน์, ณัฐวุฒิ เครือบุญ คุณลักขณา-วัฒนา-พัสกร-โชติกา ไชยสิทธิ์ คุณลักษณ์พิไล วรทรัพย์, คุณอัญมณี มหาวัจน์ คุณลัดดา ค�ำพร พร้อมครอบครัว คุณลาวัลย์ ธนาสว่างกุล คุณเล็ก ตาคง คุณเล็ก อดุลย์ศักดิ์ คุณเล็ก-เสาวคนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ และครอบครัว คุณเลขา-ส้มเทศ กนิษฐกุล, รุ่งนภา พงษ์ศิริ คุณวนิดา สุวรรณโยธิน คุณวรดา, คุณสุนีย์ ตั้งสืบกุล และครอบครัว คุณวรนิษฐ์ วิศาลคณาสิทธิ์ คุณวรนุช เลาหวัฒน์ คุณวรรณชลัช-วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี คุณวรรณพร โฆษิตวัฒนาพานิชย์ คุณวรรณรวี กอบพึ่งตน และครอบครัว คุณวรรณา ไนด์โฮลด์ และครอบครัว คุณวราลักษณ์ เจริญผล และครอบครัว คุณวรินพร มัลธนาพร และครอบครัว คุณวริษฐา แพทธยา และครอบครัว คุณวันทนา วิมลศิลปิน คุณวันนิพา จูวัฒนส�ำราญ คุณวันเพ็ญ โตศิริพัฒนา และครอบครัว คุณวันเพ็ญ ธ�ำรงค์พรสวัสดิ์ คุณวันเพ็ญ อ�ำไพสัมพันธกุล คุณวันวิสา เธียรปัญญายิ่ง คุณวันวิสา-คณากร ค�้ำชู คุณวัลลภ กัณหะเสน, สุวรรณี เตชาพิสุทธิ์ คุณวัลลภ-ปัทมา, ครอบครัวเชาวนะปัญจะ คุณวารี วงศ์สีนวน และครอบครัว คุณวาสนา-วริยา สาคเรศ คุณวิชชาพร-แม่น้อมจันทร์ขอนแก่น และครอบครัว คุณวิชชุดา พรพิสุทธิ์พันธุ์ คุณวิชญา จงรักษ์วณิช คุณวิชัย-วิภา เลิศกุลทานนท์ คุณวิชิต-จินตนา คุณานันทกิจ และครอบครัว คุณวิเชฏฐ์-พรรณี โรจนธรรมกุล คุณวิฑูรย์ วิไลงาม และครอบครัว คุณวิทยา บุญเลิศเกิดไกร คุณวิทิต-สุรีย์ ชดช้อย, ปเมศ-สชน ประเสริฐยิ่ง คุณวิธาน-วีรวรรณ เสถียรธรรมมณี คุณวิมล เอกธวัชกุล, ครอบครัวชุมพลไพศาล คุณวิมลรัตน์ อัศวโชคสุวรรณ, แม่ไซง้อ แซ่ลิ้ม คุณวิรุฬห์-สุภาภรณ์-บุษกร-วราภรณ์ บูลย์ประมุข คุณวิโรจน์ ธรรมวิจิตเดช และครอบครัว คุณวิลาสินี-ก�ำจัด สร้อยสุวรรณ คุณวิไล ดีกาลกล และคณะญาติมิตร คุณวิไล ปานบุตร Lennerborn and family

คุณวิไลวรรณ์ วงษ์ตะวัน คุณวิวัฒน์-อินทิรา เลิศกุลทานนท์ คุณวีณา เพิ่มพานิช และครอบครัว คุณวีนัส กัณโสภณ และครอบครัว คุณวีร์กวิน ศิริคุรุรัตน์ คุณวีรพล จันทรกุล คุณวีระศักดิ์-สุวรรณี อนุวรกาญจน์ คุณวีระศักดิ์-อารีรัตน์ ศิริคุรุรัตน์ และบุตรธิดา คุณวีรานันท์ พิพัฒวงศ์เกษม คุณเวชยันต์-ประกายมาศ เฮงสุวนิช คุณไวยากรณ์ แก้วใส และครอบครัว คุณศรชัย-นงเยาว์-เจนจิรา กองแก้ว คุณศรีจิตรา จีระวรรณ ศรีข�ำกูล คุณศรีประไพ จันลุทิน และครอบครัว คุณศรีฟ้า-จารุวรรณ-รัตติยากร-วิทยา คุณศรีมุกดา ไกรวงษ์ และครอบครัว คุณศรีวรรณ อินต๊ะพันธ์ และครอบครัว คุณศศธร เกตุมาลี คุณศศิมา-เริงชัย-ภูมิชัย-จิดานันท์ ทองหล่อ คุณศิระพรชัย เดชสุนทรวัฒ และครอบครัว คุณศิริพร ชัยสิริสมบัติ คุณศิริพร ศรีพลแผ้ว คุณศิริพรรณ ธนาวนิชกุล คุณศิริพันธ์ วานกูล คุณศิริภัณฑ์ นิศากรวุฒิพงศ์ และครอบครัว คุณศิวพร Lonnerfors และครอบครัว คุณศิวัชญา พลอยงาม และครอบครัว คุณศุภลักษณ์ Werner และครอบครัว คุณเศกสรร สุขสบาย, เฉลิม ควบพิมาย คุณสกลชัย-นิดา-นินาท-ณกมล อดุลยานนท์ คุณสก๊อต-มาณี ลอเรนเซน คุณสงกรานต์ พันธุ์ไทยศิริ คุณสงวน สาคริน, แม่สงกา เอนกนวล คุณสง่า ดัมทิ และครอบครัว คุณสถาพร ไปนั่น, นราภัทร วงศ์ดาว คุณสถาพร-จิราพร มหัทธโนดมกุล และครอบครัว คุณสถาพร-มณฑกานต์ ทรงก�ำพล และครอบครัว คุณสถิตย์ พันธุวัฒน์ และครอบครัว คุณสนธยา สมบัติสถาพรกุล คุณสนอง-ประภาศรี จักสาน และครอบครัว คุณสมจักร์-แม่ปัน-พ่อจันทร์ วีระปิต คุณสมจิตร วงษ์สืบ คุณสมใจ ไชยสระแก้ว คุณสมชาย-สมหมาย-สมประสงค์ สมสงวน คุณสมชาย-หอมปราง วงศ์สมุทร คุณสมทรง จุ่มแปง และครอบครัว คุณสมบูรณ์ รัตโนธร คุณสมปอง ศรีปั้น คุณสมพงษ์-นิตยา-อภิรดี ตันติวาณิชยสุข คุณสมพร แมดสถาน คุณสมเพชร-แสงเดือน-กฤษดา-นพดล โยธาราษฎร์ คุณสมภัสสร-Vidar Eriksen คุณสมยศ-สมใจ วัฒนผลิน และครอบครัว สั จจะ ต่อความดี

www.kalyanamitra.org

อานุภาพพลิกโลก

173


174

คุณสมร แก้วใส และครอบครัว คุณสมร สตัยน์ และครอบครัว คุณสมฤดี การสาร คุณสมศักดิ์ เจริญศรี คุณสมศักดิ์-สุพร วงศ์ศิริกุล คุณสมสิริ เบญจวรานนท์ คุณสรกานต์ ศรีตองอ่อน คุณสรัญญา ดิลกกัลยากุล คุณสวัสดิ์ โลหารชุน คุณสอาด บุญเพิ่ม และครอบครัว คุณสังวาลย์ Weidemann ชะโลธร และครอบครัว คุณสันทิตย์-นภัค-ณัฏฐ์วิกร-กริษา หรรษาพันธุ์ คุณสา สนรัมย์ และครอบครัว คุณสานิตย์ เสวกคเชนทร์ และครอบครัว คุณสายร่ม ทองยั่งยืน และครอบครัว คุณสายหยุด ประเสริฐวิทย์ คุณสายัณต์ พณิชยกุล และครอบครัว คุณสาริทธิ์ สุริยาแสงเพ็ชร์ คุณสาวิตรี มีชัย และครอบครัว คุณสาวิตรี อินขันตรี และครอบครัว คุณส�ำเนียง วุฒิเกษ คุณส�ำเภา-ธนิดา ยอดทอง คุณส�ำอาง โฮฟมันน์ และครอบครัว คุณสิทธิพร สุขผล คุณสินีนาฎ-กมลวรรณ-กมลพร เกศวพิทักษ์ คุณสิรินทร์ ติยานนท์ คุณสิรินทร์ วงศ์วิทยเวทย์ คุณสิรินุช บุสโร, ARAYA ELISE GREEN คุณสิริพร เฉลิมวิสุตม์กุล คุณสุกรรณิกา ฟองน�ำ้ คุณสุกัญญา ยามางูจิ-ปรางค์ทิพย์ สะกะโยริ คุณสุกัญญา-ณรงค์-ศิริพร-ศิริพรรณ รักษาค�ำ คุณสุขเกษม สุพรรณานนท์ คุณสุขุม-ฉัฐมาพร-เกตุกานต์ โตการัณยเศรษฐ์ คุณสุคนธ์ สุนทรนนท์ คุณสุคนิตย์-คุณศิริลักษณ์ จันทนป คุณสุจารี รักตประจิต คุณสุจิตรา ทองแดง และครอบครัว คุณสุชาดา เธียรปัญญายิ่ง คุณสุชาดา-ปีเตอร์ Stiller, ครอบครัวโคดม คุณสุฑามาศ สิงห์โตทอง-นงลักษณ์ ซาโต้ คุณสุณัชา ง้าวสุวรรณ คุณสุดใจ ถิ่นขาม คุณสุดใจ แฮร์เทล, ครอบครัวกิจขุนทด-แฮร์เทล คุณสุดตา ไกรเพชร พร้อมครอบครัว และญาติมิตร คุณสุทธิชัย พลชัย และครอบครัว คุณสุทธิพร ทิพรัตน์ และครอบครัว คุณสุทิน-โจเซฟ-ยูเรีย คุมพัน และครอบครัว คุณสุธีระ ทองโบราณ และครอบครัว คุณสุนทร ดิลกกัลยากุล คุณสุนทรินทร์ จันทนา คุณสุนทรียา วาสะศิริ คุณสุนันท์ กล้านา

คุณสุนันท์ ชูไทย คุณสุนันท์ เอี่ยมเจริญยิ่ง คุณสุนันทา กังวาลกุลกิจ คุณสุนันทา ชัชวาลนนท์ คุณสุนิตย์ โรจน์หทัยกานต์ คุณสุพจน์-นางสุธี ชัยวงศ์ และครอบครัว คุณสุพร ตั้งอุทัยสุข และครอบครัว คุณสุพรรณี เยาวนิช คุณสุพล-ชุติมณฑ์ ฝอยหิรัญ และครอบครัว คุณสุภร-อาภัสรา ศิริคุรุรัตน์ คุณสุภา มงคลสกุลวุฒิ และครอบครัว คุณสุภาพร ลิ่มสืบเชื้อ คุณสุภาภรณ์ พหลเวชช และครอบครัว คุณสุมิตตา จันบ�ำรุง และครอบครัว คุณสุรชัย-นุวดี-นันท์นภัส-ชัยบูรณ์ พลาดิสัย คุณสุรณี-ปณยา-ปวีณา ทองเหลือง คุณสุรยุทธ์ น่วมทนงค์ คุณสุรศรี-หัสนัย-กิจจ์ศรัณย์ จันทร์โป๊ คุณสุรัตน์-อรทัย แสงสุระธรรม คุณสุรางค์ คารมย์ พร้อมครอบครัว คุณสุรางรัตน์ โรจน์ทินกร คุณสุวรรณา นวศรีอานนท์ พร้อมญาติมิตร คุณสุวรรณา-สุชาติ อนันต์สุขสกุล และครอบครัว คุณสุวรรณี-ณัฐภรณ์ กาสุริยะ คุณสุวัฒน์-อารีรัตน์-วันสุข ศิริคุรุรัตน์ คุณสุวิดา หวังวรวุฒิ และครอบครัว คุณสุวิมล ไพศาลรุ่งพนา คุณสุหรรษา ณ สงขลา คุณสุหร่าย น่วมทนงค์ คุณเสถียร ชมภูศรี คุณเสน่ห์ ศรีเรือน, ครอบครัวจันทร์งาม คุณเสน่ห์-ทิพวัลย์ รัตนมณี คุณเสน่ห์-อ�ำนาจ-พัชนก, ครอบครัวแก้วตะพาน คุณเสาวณีย์ มนไตร และครอบครัว คุณเสาวณีย์ ยถาภูธานนท์ คุณเสาวนีย์ ธีระเกษตรสกุล คุณเสาวรส ปัทมะลางคุล คุณแสงฟ้า แซ่โค้ว คุณแสงอรุณ เหรียญทอง คุณแสวง จันทประสิทธิ์ คุณโสภณ ณรงค์ชัยอุดม คุณโสภา คุมาคุร่า และครอบครัว คุณโสภา ต่อติด คุณโสภา ปัทวี คุณโสภิต คูสุวรรณ คุณโสมนัส-ภัทรพร-สมภพ รัตนนันทวาที คุณไสว เศียรนอก คุณหนิงอาลี ไชยะลาด คุณหนึ่งฤทัย ครีกเกอร์ และครอบครัว คุณหัฏฐชล-Ken Peterson และครอบครัว คุณองอาจ-สุวรรณา-ณัฐณิชา-ปุณยภา อัศดาสุข คุณอธิพัชร์ ฐานอริยบุญศิริ คุณอนพัทย์ เกียรตินวนันท์

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


คุณอนัญญา-สุภาพ-สิริกร บูรณะ คุณอนันตชัย ตั๊นสวัสดิ์ คุณอภิจิตรา อภิภาณุรัฐ คุณอภิชญา ตั้งจักรกระชัย และครอบครัว คุณอภิญญา ชนสยอง, วิรัฐญา-อาสาฬ ชาญอุตสาห์ คุณอภิสิทธิ์ วิศิษฎ์วรพร และครอบครัว คุณอมรา เสริมสุข คุณอรณี เลิศเกรียงไกรยิ่ง คุณอรทิพย์-อุทัยวรรณ ศาสตร์สาระ คุณอรนุช แสงสุข คุณอรนุช, คุณแม่ซอน สุภาพรรณวดี คุณอรพรรณ เหลียง และครอบครัว คุณอรพินท์ วิเตียรณี คุณอรวรรณ นันทวรรณ และครอบครัว คุณอรวรรณ พรหมสถาพร และครอบครัว คุณอรศิริ เกตุศรีพงษ์ คุณอรสุดา ตั้งแต่งกิจ คุณอรุณ หมายซ้อนกลาง และครอบครัว คุณออรี่-ภราแนช ชาร์ดาแนนด์ คุณอัครภัค-Thanh Tran และครอบครัว คุณอังคนีย์ สัมปชัญญกุล และครอบครัว คุณอัจฉรียา ครอบครัววาจาดี คุณอัจพิมา เขื่อนค�ำ และครอบครัว คุณอัญชลี ค�ำพันธุ์ และครอบครัว คุณอัญชลี ชัยวัฒน์ คุณอัณณพ-เรวดี ปาลวัฒน์วิไชย คุณอัมพร พลเยี่ยม, ครอบครัวฮูดัค คุณอัมพวัน ศรีเพ็ชรวรรณดี คุณอัมวารา-สุวรรณา รอดอินทร์ และครอบครัว คุณอาภรณ์-สุนีย์ อินทรสวัสดิ์ คุณอาเม้ง แซ่โล้ว คุณอารมณ์ มงคลลักษณ์ คุณอารี ค�ำสวัสดิ์ และครอบครัว คุณอารี สุวโรพร คุณอารีพันธุ์ ตรีอนุสรณ์ คุณอ�ำนวย แน่นอุดร คุณอ�ำนวย-จ�ำเนียร-ศรีสุดา พรพรหมโชติ คุณอ�ำนวย-ฉวีวรรณ-นราธิป ศิริจันทร์สว่าง คุณอ�ำนวย-เพ็ญพรรณ นิธิการพิศิษฐ์ คุณอ�ำนาจ เจริญอินทร์ คุณอ�ำพร-ยาซึฮิโร่ อิมาอิ และครอบครัว คุณอ�ำไพ-ชิด, ขวัญเรือน เจิมแจ่มแสง คุณอุดร-ประเทืองศรี-รวิศว์ ขันชะลี คุณอุบล-อรุณ-สุทธิณี บุญมา คุณอุ้มฤดี สปีน่า มินไธสง พร้อมครอบครัว คุณอุไร แก้วสมบัติ Fleck และครอบครัว คุณอุไร ศรีจินดา และครอบครัว คุณอุไร-ทากุจิ-มิกะ อิชิดะ คุณอุไรวรรณ เนียมมาลี คุณอุไร-หนูกวน อุ่นพระบุ คุณอุษณี ทมะกุล คุณอุษณีย์ ศันสนะวาณี และครอบครัว คุณเอกพงศ์ สุพรรณพงศ์ และครอบครัว

คุณเอนก-นงค์ลักษณ์ เกิดสุวรรณ คุณเอนกรัตน์ ธีรานันตชัย และครอบครัว คุณเอ็นดู-ทวี เขียวฉะอ้อน คุณเอี่ยมโชค-สุนิษา แสงธรรมชัย และครอบครัว คุณไอริณ-อารยะ-พัทชนันท์ อุลิศ คุณเฮ่งฮก-สง่า แซ่ตัน เตี่ยสุนทร-แม่กิมบ้วย สุวโรพร และลูกทุกคน โยมพ่ออรัญ พิมเสน ด.ช.ภคิน ตั้งแต่งกิจ ด.ช.ย๊ง เหวง เข่ ด.ช.สราวิน จันทนา ดร.ขวัญรวี สิริกาญจน ดร.จุฑามาศ สุขบรรเทิง ดร.เจือ-รศ.นงลักษณ์ สุทธิวนิช ดร.ชาญ-บงกช สรณาคมน์ และคณะ ดร.ณัฐภรณ์-ฉัฐนันท์ ภัทรโชติอนันต์ ดร.นาตยา บุญมาก ดร.ประณต-ทัศนียา พิพัฒนางกูร ดร.ประวัฒน์ เบญญาศรีสวัสดิ์ ดร.ลัดดา อิ่มอกใจ ดร.ลีลาวดี วัชโรบล และครอบครัว ดร.วรพรรณ จันทรากุลศิริ ดร.วิศิษฐ์ แสงหิรัญ และครอบครัว ดร.สมศักดิ์-คุณสุชาดา-คุณน�ำ้ ผึ้ง ศรีสมบุญ ดร.สุนันท์ ทิพย์ทิพากร ดร.อดิศักดิ์, สรีวิมล แจ้งกมลกุลชัย ดร.อรรถ์อนงค์ พินิธชัยสกุล ดร.อรุณี ยูวะนิยม ดร.อาชชว ศิริรักษ์, คุณแม่เฉิดฉาย ศิริรักษ์ ทพญ.วชิราภรณ์ นาคผสม ทพญ.วรัญญา คีรีเรืองชัย และครอบครัว น.สพ.พงษ์สันต์ โรจนปัญญากุล นพ.กิตติ-วุฒิพงศ์-ณัฐพัฒน์ ตระกูลรัตนาวงศ์ นพ.ถนอมพล เครือเถาว์, เดือนเพ็ญ หมื่นคิด นพ.ธนาคม เปรมประภา และครอบครัว นพ.บรรจงศักดิ์ เวชศาสตร์ และครอบครัว นพ.มานัส-จารุวรรณ ประเสริฐธรรม นพ.วันชัย รบชนะ นพ.วาฑิต-จตุพร วัฒนศัพท์ และครอบครัว นพ.สูงชัย อังธารารักษ์ ผศ.ทพญ.ดร.นภา-ส�ำรวย สุขใจ ผศ.ทัศนีย์ แก้วสว่าง ผศ.ยุพา เต็งวัฒนโชติ ผอ.เอกมล แสงหิรัญ และครอบครัว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระ สุภะ พ.ต.ท.วิจักษณ์ หงส์เจริญ, คุณจารีพร ชูโต พ.ต.อ.ประภัสร์-อรสา ประยูรหงษ์ พ.อ.หญิงจุฬาลักษณ์ สินพูลผล พ.อ.อ.อ�ำนาจ-วนิดา ไวยภารา พญ.กาญจนา-อภิสรา ชัยกิตติศิลป์ พญ.นุชภา รัตนจรัสโรจน์ พญ.ศิวาลัย ธนภัทร และครอบครัว พล.ต.สุชาต-คุณสมพงษ์ ปาลวัฒน์วิไชย สั จจะ ต่อความดี

www.kalyanamitra.org

อานุภาพพลิกโลก

175


176

พล.อ.ท นพ.พงษ์เดช-สุวพีร์ พงษ์สุวรรณ พล.อ.วิภาส-วรินทร ตันสุหัช พลโทบุญยัง-ภาสิณี บูชา และครอบครัว พันเอก นพ.ธราพงษ์ ดวงค�ำ ร.ต.อ.ชลอ-สมศรี-สวิชญา-ธนพัต โอสถานนท์ ร.ท.ศรีวิชัย-ศศิธร-ศศิวิมล-ศรีวิกรม์ วงษ์นุช รศ.กาญจนา ตันสุวรรณรัตน์ รศ.คันธรส แสนวงศ์ รศ.ช.ณิฏฐ์ศิริ-ปรีชา สุยสุวรรณ และครอบครัว รศ.ดร.รุ่งรัตน์-พงษ์อินทร์-กมลรัตน์ ชัยส�ำเร็จ รศ.ธวัช-คุณพยอม ลวะเปารยะ รศ.วัฒนา พุทธางกูรานนท์ อ.ฉัตรชัย แสงหิรัญ และครอบครัว อ.บุญส่ง-อ.อุษา-ธีรเกียรติ-บุญนรา ปกสันเทียะ อ.เบญจรงค์ ตันแก้ว พร้อมครอบครัว อ.เผ่าพงษ์สันต์ แสงหิรัญ และครอบครัว อ.พิศมัย แสงหิรัญ อ.ลือพงศ์ ลีลพนัง และทีมแก้วกายสิทธิ์ อ.วรรณี ชัยจักร และครอบครัว ลูก-หลานชัยจักร กลุ่มคลองมอญ กลุ่มปากเกร็ด กลุ่มเพื่อนกัลฯ บูชาข้าวพระ กลุ่มฟินแลนด์แดนธรรมะ กลุ่มสัมมา อะระหัง กองการแปล, กลุ่มสืบสานตะวันธรรม กองจัดระเบียบสาธุชน กองต้อนรับระดับโลก กองต้อนรับสาธุชน กองทุนศรัทธาวาสรวมใจ กองบุญแก้วสารพัดนึก กองอบรมสมาธิ (ดอกไม้บาน) คณะป่าใหญ่ คณะวัดพระธรรมกายโตเกียว คริสตอล ซอฟท์แวร์ กรุ้ป จุดออกรถสนามหลวง, กลุ่มรัตนโชติ ชมรมพระโขนง ทีมชวนบวช (บางบ่อ) ทีมชวนบวชออนไลน์ และทิศ ๖ ทีมหล่อสวยรวยตลอดกาล ทีมอัศจรรย์พันธุ์อจินไตยไปถึงที่สุดแห่งธรรม บริษัท เจคเชียร์ เทคโนโลยี จ�ำกัด บริษัท นครอลูมิเนียม จ�ำกัด บัณฑิตแก้ว รุ่น ๒๐ และกัลยาณมิตร บัณฑิตแก้ว และดวงตะวันสันติภาพ บุคลากร รุ่น ๑๔ บุคลากร รุ่น ๑๖ ไม่ตกกันดาร บุคลากร รุ่น ๑๙ สู้โว้ย บุคลากร รุ่น ๒๕ นักรบกล้าอาชาไนย บุคลากร รุ่น ๒๖ All is well ยกชั้นเข้าถึงธรรม พลังบุญเยอรมนีใสสว่าง พันธุ์ตะวันบูชาข้าวพระ ร้านวิกผม ไดมอนด์ แฮร์ ลูกแก้วตะวันธรรม น.๑๔

ศ.คลินิกเกียรติคุณ พ.ญ.สรรพ์ศรี-คุณสมาน เปียวุฒิ ศึกษานิเทศก์กานต์ทิตา อ้วนอินทร์ สมาคมบัณฑิตรัตน์ หจก.พิษณุโลกชัตเตอร์ส หจก.ส.เจริญพาณิชย์ ปราจีน ออยล์ หมู่คณะ อ.พานทอง อาสาพันธุ์ตะวัน อาสาพันธุ์ตะวัน รุ่น ๗ อาสาพันธุ์ตะวัน รุ่น ๑๐ อาสาพันธุ์ตะวัน รุ่น ๑๑ อาสาพันธุ์ตะวัน รุ่น ๑๒ อาสาพันธุ์ตะวัน รุ่น ๑๓ อาสาสมัครกองรักษาบรรยากาศ อาสาสมัครแผนกสวัสดิการเจ้าหน้าที่ อาสาสมัครแผนกเพชรสว่าง กองรักษาบรรยากาศ อุบาสิกา รุ่น ๖ อุบาสิกา รุ่น ๑๑ ชุ่มบุญ อุบาสิกาพรพิมล คงเกียรติยศ และทิศ ๖ NT ซีร๊อกซ์ ศรีสะเกษ YOUTH รุ่น ๙ กินข้าวกัน Adam and Amari Add-Sengchan-Tyler Charousapha Amanda McLeod Family and Friends Amenda Mcleod Family and Friends Bouavone Manivanh Boupha-Malissa-Emma Bounyavong BU YALAN, XIE SONLIN FAMILY Chandana P.Songer Chomsy Luangpraseuth Cindy-Scott Whitaker Dhammakaya Meditation Center Tennessee Edna Thaniyaphol and Family Eleonore-Ludovic Piluek Eric-Natcha-Warased Ingram Ester Siu & Family Franklin Im, ศิริพร ลิมเกรียงไกร และครอบครัว Gasard Matthijnssens George Vega Holger-ชูขวัญ คเนอร์เล และครอบครัว James-Sivilay-Peter-Lena-Sophia Amkha Jan Hokeofjard Janet Chenaphun & Family Janice Tan Kay Cheng JENNIFER ANNIE JENAREWONG AND FAMILY Jessup family Jutibapa Rittem Katherine-Agnello and family Kenin Funk-Denis Kindgen และครอบครัว Kim Merced Kingsavanh Paul & Michelle Philavong Kormas och familjen Lily Sengsourichanh Liu Chong Sin

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


Liu Hann Zhao Sawang-Virat-Arpapan Watsungnoen Melissa Intrathep & Family Sengaroune Nuanthalasy and family Mone-Pet-Sak-Thel Vongsamphanh SHOTA YAMAZAKI Mr.Christopher, Jumrus Warner Stephanie Nichols MR.NG TAT LEUNG GEORGE FAMILY Steve Macdonald-กัญณ์ภัคญา ทินกร Mrs.Suthinee Lazar Suzanne, Keomany, Nick, Ned Syvolavong Noy Somphone & Nina Lovicha THE STERN FAMILY NUAN SAENSANMRAN Thitirut Khamla-Sydney Horlander Otto & ELIZABETH Papai Thongnhot-Vasana Khamvongsa OZAWA TAKASHI Toby-Melanie-Adam-Tiffany Young Pammie-Paul-TJ Roche Tom-Keo Wood Piyawan-Kenneth Mullins Tony-Cindy-Dania-Justin Charernnam Pleonjai-Chris-Christian Walden TPJ Members Roger-Thawarat Owen Viroot-Manivanh-Julie-Regis Pongsavath SANDY S.RUENGSORN Wannakhon Corry Sang-Teng Sanvoravong WARANGKANA TEMPATI Sasikant Norcross พระมหา ดร.ชัยฟ้า ธฺญฃฺญฃกุโล และกองบุญมหาทานบารมี ๑ เดือน ๑๑ พระมหา ดร.สมบัติ อินฺทปุญฃฺโญฃ, คุณพ่อจู-คุณแม่หนูนัด ศรีนะรัตน์, บุญเติม พระมหากฤตนัย รตนปญฺโญฃ และครอบครัวเอกรักษาศิลป์ชัย พระมหาคงกระพัน วุฑฺฒิธโร, คุณส�ำเริง-บุญส่ง เข่งพิมล และหมู่ญาติ พระมหาชวลิต โฆสชโว, คุณโชค-วิลาภ-เชษฐพล-ชัชรินทร์ โภควรากร และญาติมิตร พระมหาประพันธ์ ชาติวฑฺฒโก พร้อมครอบครัว และหมู่คณะ พระมหาปริยัติ ฐฃิตมโน, ครอบครัวไชยเสนา, คุณวราภรณ์ เค พระมหาภาณุ โอภาสโก และชมรมคนรักบุญเขตภาษีเจริญ พระมหาวรพล วรพโล ครอบครัวแก่นก�ำจร-ครอบครัวตันติศักดิ์ พระมหาวีรพงษ์ สงฺขวํโส, พระจิรโชติ อตฺถโชโต, คุณปราณี-จุไรรัตน์ สังข์วงษ์, ชูศักดิ์ อุบลบาน พระกฤตวิทย์ ฐฃิตสุโข, คุณสมบุญ เลิศอนันต์, บุญเลิศ-ศิริวรรณ-ศุทธิรัตน์-ศุรวีร์ ม่วงสกุล พระกุลชัย ญฃาณานนฺโท, โยมพ่อสมศักดิ์-โยมแม่ทับทิม นามราชา พร้อมหมู่ญาติ พระเกียรติขจร ญฃาณกิตฺติโก, คุณเตย์มูนเกียรติ-ธนัย-วราภรณ์ ตั้งจรูญวาณิชย์ พระโกมิน กุสลารกฺโข, คุณธารทิพย์-โศภิษฐ์-วิมุตติ กอผจญ พระจักรวัฏ ธมฺมโชโต, โยมพ่อเซี่ยวจั๊ว แซ่ลิ้ม, โยมแม่เฮียะ สันถวะคุปต์ พระชูเกียรติ ภทฺทโก, คุณณัฐพัชร์ ภัทรวารินทร์, คุณชูชีพ-ณัฐวัฒณ์-ปิยนุช วิสุทธาภรณ์ พระฐานพัฒน์ ฐฃานภทฺโท, คุณณัฐสุดา-สิริภัทรสร คูหาสรรพสิน พระทรงสกล กนฺตวิชฺโช อุทิศให้ คุณพ่อกิมเตียวเม้ง แซ่ลิ้ม-คุณแม่เซี้ยม อิ่มสงวน พระธรรมนูญ อินฺทโชโต และครอบครัวแววสกุล และทิศ ๖ พระนิติ จิตฺตทนฺโต, คุณพิชัย-สุนีย์-ศ.ดร.กาญจนา-วชิราภรณ์-อมรรัตน์ เศรษฐนันท์ พระบุญชัย ปุญฃฺญฃโชติโก, พ่อวิเชียร-แม่ลัดดา-ป้าแมว-แม่แดง และคณะญาติมิตร พระบุญเยี่ยม ปาสาทิโก, คุณตฤณพรรษ-ทิพยรัตน์ ต�ำนานวัน พระปลัดกล้าณรงค์ ญฃาณวีโร (โตนดแก้ว), ดร.พัชโรบล ณ พัชร์จริยฐิตินันท์ พระไพบูลย์ ธมฺมวโร, แม่ยู้ ดวงพรมณฑล พร้อมครอบครัว พระมงคล คุณมงฺคโล, คุณวันชัย-สุดใจ-สิทธิพงษ์ เสนาธง พระมงคล มงฺคโล และพระภิกษุ รุ่น ๒๖ ทเวนตี้ซิกซ์พลิกโลก พระรณกร พุทฺธิกิจฺโจ, คุณอภิสัณห์-ปฏิพัทธ์ อยู่กิจติชัย และลูกค้า Mozart พระรังสรรค์ กนฺตญฃาโณ, คุณวราภรณ์ ต้นสอน และครอบครัว พระรัฏฐาธิป ชยารกฺโข และครอบครัววงศ์เสนานุรักษ์ พระวรพงศ์ จนฺทวโร, พระภาสุระ ทนฺตมโน, คุณถนอมศรี-วทันยา ใจวงศ์ พระวิริยะ กตปุญฺโญฃ (สกุลศรีจิรวัฒน์) และครอบครัว พระวิศักดิ์ ธมฺมสิริโก, พระภิกษุ รุ่น ๓๒ กองพันแสงสว่าง พระศรุติ สรณงฺคโต, กลุ่มปฏิบัติธรรมออนไลน์, มหาเศรษฐ์รวยอัศจรรย์เข้าถึงธรรม พระศุภกร พุทฺธเปโม, โยมพ่อสายัญ-โยมแม่จำ� รัส กุจิรพันธ์, ครอบครัวบริบูรณ์-ถนอมรัตน์-หมัดพวง พระศุภกรณ์ สุภรตโน พร้อมครอบครัว และคณะญาติมิตร สั จจะ ต่อความดี

www.kalyanamitra.org

อานุภาพพลิกโลก

177


178

พระสุเทพ ทิพฺพสิริโก บุพพาการีผู้มีพระคุณ และคณะญาติมิตร พระสุธินนท์ สนฺตินนฺโท,ร.ต.ท.ชัยทัศน์-พรรณวิภา-จรีรัตน์ พัสดุธาร พระอ�ำนาจ เหมวํโส, คุณโค้วโม้วเจ็ง-สมบุญ-นิภาพร ส่งตระกูลศักดิ์ สณ.คมกฤต-คุณภารดี-ธนิสร-ภาณิชา-ชมกนก เจริญธนมิตร, ภิญญา ภูมิประวัติ และครอบครัว สณ.อภิชา-สณ.ปิติพัฒน์, คุณโต-โกษม-ธนภร-จิดาภา-ภัคภร-ชยุต-กฤตยา-เมธาพันธ์-ปูชิตา แจ่มจันทร์ชนก ครอบครัวThavisack Davanh & Alex Vongnenekeo คุณกชวรรณ-สุชญา สุดชาญชัยกุล, ชลิตา ศิริรักษ์ และครอบครัว คุณกัลยา-สมชัย-นิภา-จินดา วรรธนรียชาติ และครอบครัว คุณกาญจนา ประสิทธุรัตนชัย-วิไล แซ่เฮ้ง และครอบครัว คุณเกรียงชัย-อุบลรัตน์-นฤมล รัตนาสิน ครอบครัวโบเนีย, สาลีงาม รัตนาสิน คุณเกื้อ-เจริญขวัญ-กิตติ-ศุภนุช-พิชญา-ด.ช.จิระเดช เชยกลิ่น คุณคูหน�่ำเตียง-แม่เฮียง แซ่ตั้ง, พ่อชัยยศ-สุเกียรติ-นุชกูล สรวยจิรวัฒน์ และทิศ ๖ คุณจรรยา-Kei-Yoshio คุณแม่จรี ปทิตญา และครอบครัว คุณจันทรา โกมลสุรเดช-คุณแม่นภา แซ่ตั้ง-คุณพ่อจี่ตง แซ่ลิ้ม คุณจีระศักดิ์ ปันจันทร์, วัชรินทร์-ชิโนโรศ-ณภัทรจิรา จันทิมา คุณฉัฐพล-สรัญธร พระวรรณ, อุไรวรรณ ต้นตระกูลรัตน์ คุณชนัณชล-รสริน-ธัณมิกา สัมฤทธิบุญกุล, ศิรประภา-เวสารัช-ภัทรกัญญา ดีเสมอ, ไพโรจน์-ฐาณกัญ คุณชลิตา โยอิชิโร่ ทาเคดะ ทีมดวงแก้วสารพัดนึก วัดพระธรรมกายโตเกียว คุณชาณิดา-นาถลดา-พงษ์ศักดิ์ และครอบครัวก่อกิจฤกษ์ชัย คุณณัฐนันท์-บุญชัย-ยุพดี จึงจตุพร, ชลันธรณ์-ศรัณยู-ศิวัช-สุชาติ อมรรัตนพรรณ คุณเตี่ยตุ่ย-แม่เอ็ง-ละเมียด แซ่โง้ว, บุญศรี-สุพิศ-สุมน รัตนอุบล คุณทัศนา-พรเทพ-จิรพร-ฐิติวุฒิ เจริญสุทธิโยธิน, พ่อตังกวย-แม่ซุ้ย แซ่ฉั่ว, พ่อแห้วสู้-แม่เฮียง แซ่โจว คุณธาดา วงศ์คุณานนท์, อัมพร ปักกาวะโร และครอบครัว คุณนคร-พรพิมล วานิชจ�ำเริญกุล, ร.ต.ท.ประเสริฐ-ทองหยด-เดชา รักษาสุข, พรทิพย์ ศิวบุณยวงศ์ คุณน�ำชัย รุ่งรัตนพัฒนา, ศิริพร เจตน์มงคลรัตน์ และครอบครัว คุณนุชรีย์ อังประภาพรชัย, อัครกิตติ์-ชนินทร์-ชนิดา ซิ้มเจริญ และทิศ ๖ คุณบังอร-Michio-Taisuke-Yasuko Yanagawa และครอบครัว คุณบุณยนุช แสงจันทร์, อุบลรัตน์-ณิษฐ์ฐะกาญจน์ พรหมสาขา ณ สกลนคร, ศศิธร อินทุรัตน์ คุณประไพ-ประเทือง-จินตนา-ชานันท์-มงคล มุ่งแสง และครอบครัว คุณประภัสสร-วทันยู-ธนภัทร มธุรสพาที, อรดี ตัณไชยศรีนคร คุณพจน์-ระเบียบ-แน่งน้อย โรจนประดิษฐ และครอบครัว คุณพนธกร-จันทร์เพ็ญ-จักรพันธ์-นันทิยา แสนจันทร์ และญาติมิตร คุณพลสิทธิ์-นภัสศิริ-สมภพ-สมพร-เพชร-บุญมา ค�ำสอน คุณพ่อประกอบ ไทธงชัย, ศรีจันทรา-กมลรัตน์ ใต้ธงชัย และครอบครัว คุณพ่อลี้หย่วยเอี่ยม-คุณแม่โต๋วซิวฮก-อรุณรัตน์ ลีวิริยะเลิศ-บรรพบุรุษ คุณพ่อวัน-คุณแม่สุดตา-ไสว สุดาวงค์, Rolf โรฟ เทริลเลอร์, ทองย้อย คลึ้มคางพูล คุณพ่อวานิช-คุณแม่สุวรรณ วานิชสัมพันธ์ พร้อมบุตร-ธิดา คุณพ่อสมบูรณ์-คุณแม่บุญศรี, วรรณี ปิยะธนะศิริกุล และครอบครัว คุณพ่อสมุทร-คุณแม่นวลศรี ตั้งคุปตานนท์ และลูกหลาน คุณพ่อสีมา-คุณแม่หลง-อ.กัณหา-ด.ญ.ฌิชชา อรรณพเพ็ชร คุณพ่อสุรัตน์-คุณแม่ศิริวิมล-กรรณฤพร-ด.ช.ต้นข้าว เปรมประภา คุณพัชรีพร-Michael-Patrick-Carina Schulz และครอบครัว คุณพิพัฒน์ คุณประคัลภ์, กาญจนา ดีเอนก, วีระวรรณ ว่องไว คุณพิมพ์ประพรรณ-พิมพา พิมพ์ภัทรยศ, ประสงค์ จรูญรัตน์ คุณภาณุวัฒน์ สุริยวัฒนานนท์ พร้อมคณะญาติมิตร และทีมงาน คุณมณีทิพย์-Mr.Daisuke เครือสิงห์ (ยามาดะ) และบุตรหลาน คุณแม่นิ่มน้อย มาละวิชัย-คุณพ่อมนัส สารถี-ครอบครัวธนัชเมทินี คุณแม่นุ้ย-พ่อมนต์ศักดิ์-สุจิต พันธุ์วิริยรัตน์, หัวหน้าชั้นวินิช & นักเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาทั่วโลก คุณแม่บุญมาก อ�่ำล�ำยอง และครอบครัว, สุวรรณา มูชชาล, สิน โฮเนคเคอร์ และครอบครัวเพชรแอน คุณแม่ประไพ พิริยะมาสกุล, สุชาดา สาลีกงชัย, ชนาภัทร พัฒนสิงห์ คุณแม่พรรณี แซ่ตั้ง, คุณวรวีร์-อิซามุ อามาโนะ และครอบครัว คุณแม่ลีเทียมอิม-กฤศวัชร์-เสาวลักษณ์-ดวงแก้ว-ดวงพร กรวิจิตต์ศิลป์ คุณแม่วิภา เฮ้งบริบูรณ์พงศ์, บุญญาณี บูรณบุรุษธรรม, พรพิชชา วัณนะวัฒนะ สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


คุณแม่หุนเง็ก-เถา-ชูชัย-ชูชาติ-ชูชีพ โง้วสกุล, ศศินทร์ นิศากรนารา คุณโมก-ประยูร สงวนวงษ์ และครอบครัว, ธัชพงศ์-สาคร-ธาริณีย์ ลวะเปารยะ คุณรัชพล-ธัญวรัตน์ พัชรศรีภาส, คุณจิราภา-พงศกร เข็มพันธ์ คุณราตรี-ล�ำดวน-เจเซ็น ดวงแก้ว, Yip Pah Kuan, Shawn Yip, Chee Keong, Sherly Kuanjai คุณรุจี-รุจิราภรณ์ นิลาพันธ์, วลัยลักษณ์ อมรรัตน์ธำ� รงค์ คุณละม่อม-ส�ำเนา-สุภาพร จันทร์ไม้หอม และหมู่ญาติ คุณวนิดา-Hanz-Benjamin Benesch และครอบครัว คุณวราภรณ์ ยอดด�ำเนิน, พ.ต.ท.หญิง รัตนา รัตนอาภา คุณวลัยพร-ทรงภัทร-ด.ช.รดิบดี ศีลสุทธิ์, ใสส่อง-สุธาทิพย์ เวียงค�ำ คุณวันดี-เหรียญ-วิชัย สมุทรสกุลเจริญ, หทัยธร โรจน์นิรันดร์ คุณวิชัย-พูลสุข-สุธางศุ์รัตน์-จิณณวัตร เติมเศรษฐเจริญ คุณวิชัย-ไส้กิม-อ�ำไพ-ภัทรา-กัลยา-ปุณมนัส แสงอินทร์ คุณวิทิต-สุรีย์ ชดช้อย, ปเมศ-สชน ประเสริฐยิ่ง, สาธิตา เสรีโรดม คุณวิริทธิพล-นันท์นภัส-วรรณรัชชา-กานต์สิรี ทรัพย์รดาพัดชา คุณวิโรจน์-สมจิตต์-สิริวรรณ-สิริรัตน์-สิรภัทร-พรชัย-ศันสนีย์-พร-นะโม-น�ำ้ ใจ หัสสวรพันธุ์ คุณวิลาวรรณ-ณัฐวัฒน์-พชรมณฑ์-ชัศพิสิฐ รินลา, ธัญชนก-พัชระวิช-พัทธ์ธีรา สุภาวัฒนา คุณวิวัฒน์-กัลยา-อภิสิทธิ์-อภิญญา-ทิพย์วรรณ-กฤษณ์ อัคราวานิช และครอบครัว คุณศรีวรรณ-มาร์ติน Stachel และครอบครัวพลศรีราช คุณศลิษา มธุรพจนางกูร-ปัญญารัตน์-ทวี เต็มฤกษ์ขจร คุณศุภรัตน์ สุทธิสนธ์, คุณรังจิตร หวังกุล, คุณเบญจพร ค�ำภักดี, คุณมลธิชา ปัดศรี คุณสท้าน-ปวีณ์กร ด้วงที่สุด, ทองแดง-ณัฐพงศ์ สุวรรณสิทธิ์, กิตติชัย ศรีดอกไม้ คุณสมยศ-เอื้อมพร-อารดา-ศุภณัฐ-วีรยา ไฉไลพานิช พร้อมญาติมิตร คุณสาธิต-ชญานิศวร์-ภัทรวัตร์-กสิณวัชร์ ตั่งธนาพร พร้อมครอบครัว คุณส�ำรวย อิ่มเอิบ, ฉลวย-ฉอ้อน-ผิว-บุญชู-เฉลียว-สะวารี ชัยมงคล คุณสืบสวัสดิ์-รศ.ดร.จันทร์พิมพ์ สายสมร และครอบครัว คุณสุขุม-เหมชาดา-สุชาดา-รัชฎา-ผกาวรรณ-สุขพัฒ พงศ์พันธ์ คุณสุภาพร ยิ่ม, YIM KWOK KEUNG, เจริญผล มีจิตต์ คุณสุวรรณา-เฮ้งลิ้ม-สุพัตรา-สุภร-สมพร-สุรชัย-พรอารีย์-เพชรรัตน์ ตันตินิรามัย คุณสุวรรณี, จุรณี, อัสราวรรณ, ปณิตา, สมปอง รับบริจาค คุณเสี่ยมเอ็ง แซ่ลิ้ม-ตั้งเตียงใหม แซ่ตั้ง-อธิจักร ชื่นเกษมกุล คุณหยงหมก แซ่ล้อ, มุยจิว แซ่อึ๊ง, ฮ่วงเซียง แซ่ล้อ, อังคณา-จินตนา-วรรณา วรพันธ์กิจ คุณอริสา-บุญส่ง-ปราณี-สุพจน์ ประเสริฐสุขดี, ศุภณัฐ-สุวภัทร-ชุติมณฑน์-เหนียว-บุญสม ใจคง คุณอาภัสราจรัส วิวัฒน์พรธนา, LEE CHUNG HWA IVAN, แพรวพิรยา วิวัฒน์พรธนา คุณอารีพันธุ์ ตรีอุนสรณ์, สิริรัตน์ หัสสวรพันธุ์, ทิพอาภา แสงมุกดา คุณอุทัยวรรณ์ มารศรี-ดารารัตน์ พลายเพ็ชรน้อย และครอบครัว เตี่ยเซ็กฮวง แซ่อึ้ง-แม่กิมเตียน แซ่ลี้-ธมนต์ภัทร รัตน์ตรีนนท์ พระยาผุย-นางพระยาแพงดี-KINDALASIT-มะยงสิด-ดาราสิด-นามิด BILAVARN&FAMILY พ่อบุญโชติ-สมเกียรติ-เครือวัลย์-ดวงใจ ใจสูง, แม่บุญล�ำ้ เจริญสุข, ธีรทร-ธนัญดา ทองอนันต์, สุรพงษ์ ภู่ขาว ดร.จิตตวุฒิ-สุภัททา-ศิณิชา-สมัชญา ลิ้มศิริเศรษฐกุล ดร.ศิริพร-คุณพ่อสนิท-คุณแม่วลี ศิริขวัญชัย และญาติมิตร ทพ.สุวัฒน์ ทพญ.วิไล สุริยาแสงเพ็ชร์ และครอบครัว นพ.บุณย์ธนิสร์-สรีระเพ็ญ, ผศ.ดร.บุริม-พญ.วราธิป-ดร.พบพร โอทกานนท์ และครอบครัว ผศ.ดร.ธงชัย-จันทนา-พรนภา-เบญจภา พงศ์สิทธิกาญจนา พญ.วริศรา-อัครเรศ-รัชนี-รชน์เรศ-ด.ช.เซน-ด.ญ.ลินน์ เพชรวิภูษิต และครอบครัว พญ.อารีวรรณ-นพ.วัชระ สมหวังประเสริฐ และครอบครัว ร.ต.บุญส่ง-คุณแม่สุพร พันธุ์โกศล, ทพญ.บงกช สุวรรณปัทม ร.ท.หญิงเครือวัลย์-คุณคล้าย-เล็ก แนบชิด และครอบครัว กองทุนรวยทุกวัน โดยบรมเศรษฐีฉะเชิงเทรา-กลุ่มบุญบันเทิง ชุมนุมศึกษาพุทธศาสตร์และประเพณีฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริษัท เวิร์ลอินเตอร์ไลท์ จ�ำกัด และครอบครัวพูลอัครสมบัติ Kulapat Ball, Lukas Ball, Grace Ball และครอบครัว MNC. BUREL EMIL JONES, คุณฝนทิพย์ ทิพย์อักษร Sing-Bounma-Malisa-Jondan-Emily Xaysongkham YANUTTAMO BKIKKHU AND FAMILY, จงกลกร สุวิยานนท์

สั จจะ ต่อความดี

www.kalyanamitra.org

อานุภาพพลิกโลก

179


คณะบรรณาธิการ

180

๑. พระครูปลัดสุวัฒนโพธิคุณ (สมชาย านวุฑฺโฒ), ดร. ๒. พระครูวิบูลนิติธรรม (ไพบูลย์ ธมฺมวิปุโล) ๓. พระครูสมุห์จรินทร์ รตฺนวณฺโณ ๔. พระมหาสมเกียรติ วรยโส, ป.ธ. ๙ ๕. พระมหาสุธรรม สุรตโน, ป.ธ. ๙, ดร. ๖. พระมหาสุทธิชัย สุทฺธิชโย ๗. พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย, ป.ธ. ๙, ดร. ๘. พระมหาสุวิทย์ ธมฺมิกมุนิ, ป.ธ. ๙, ดร. ๙. พระมหาพงศ์ศักดิ์ านิโย, ดร. ๑๐. พระครูสังฆรักษ์อนุรักษ์ โสตฺถิโก ๑๑. นายแพทย์ชูชัย พรพัฒนาพันธุ์ ๑๒. นายแพทย์อภิชน จีนเสวก ๑๓. นายแพทย์สุนทร วิวัฒน์พงศ์กิจ ๑๔. นางสาวโสภิต คูสุวรรณ ๑๕. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทิรา โกมาสถิตย์ (Eng. D) ๑๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมสุดา ผู้พัฒน์ (Ph.D.)

สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


คณะวิพากษ์ ๑. พระมหาสมคิด ฉนฺทิสฺสโร ๒. พระกิตติ กิตฺติพนฺธุ ๓. พระต่อชัย ชยธโร ๔. พระพิเชษฐ ภทฺทธมฺโม ๕. พระชาญชัย สนฺตมโน ๖. พระมหาสุกิจ จิรสุโข ๗. นางสายวรุฬ สมพงษ์ ๘. นายสุรชัย จิตรเพียรค้า ๙. นายสาธิต ตั่งธนาพร ๑๐. นางสกุณา ติรกาญวงศ์

สั จจะ ต่อความดี

www.kalyanamitra.org

อานุภาพพลิกโลก

181


คณะจัดท�ำต้นฉบับและหนังสือ

182

๑. พระพิสุทธิ์ ฐฃานสุทฺโธ ๒. พระภัทรพงษ์ เหมภทฺโท ๓. พระมหาชาญณรงค์ ปคุณธมฺโม ๔. ผู้ช่วยศาสตราจารย์จันทิรา โกมาสถิตย์ (Eng. D) ๕. นางสาวหรรษา ศิริยานุธาพร ๖. นางสาวพุธิตา สุมานนท์ ๗. นางสาวตุลยา ธรรมานุกรศรี ๘. นางสาวปวีณา วันดึก ๙. นางสาวปวีณ์กร ด้วงที่สุด ๑๐. นายพิเชฐพร เผื่อนพิภพ ๑๑. นายอาชาไนย ใจดี ๑๒. นางรภัทร สุวรรณนที ๑๓. นายรัฐวิชญ์ รุ่งเรืองนพรัตน์ ๑๔. นายไพบูลย์ สืบสาย ๑๕. นางสาวปิยนุช นิมิตยงสกุล ๑๖. นางสาวขวัญจิตต์ จิตสินธุ ๑๗. นางสาวสุธิดา จินดากิจนุกุล ๑๘. นางสาวสิริวรรณ อนันต์สุขสกุล ๑๙. นางสาวจรีรัตน์ พัสดุธาร ๒๐. นางสาวชนิดา ซิ้มเจริญ ๒๑. นางสาวธารารัตน์ อินทรเสนา ๒๒. นายเมธี แท่นทอง ๒๓. นางสาวปั​ัทมา รั​ัตนคช ๒๔. นางสาวศิริวรรณ ค�ำคุ้ม สั จจะ ต่อความดี อานุภาพพลิกโลก

www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org


www.kalyanamitra.org


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.