ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ
สุนทรียศาสตรเพื่อชีวิต ศาสตราจารย ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ
สุสุนนทรี ยยศาสตร เเพืพื่อ่อชีชีววิติต ทรี ศาสตร หนังสืออานประกอบ ษาทัญ่วไป ศาสตราจารย ดร.วิรุณวิชตัาศึ้งกเจริ ศาสตราจารย ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ
พิมพหนั ครั้งงทีสื่ 3ออ: า2552 นประกอบ วิชาศึกษาทั่วไป หนั ง สื อ อ า นประกอบ จำนวนที่พิมพ 2,300 เลม วิชาศึกษาทั่วไป พิมพครั้งที่ 3 : 2552 พิจำนวนที มพครั้ง่พทีิม่ 3พ:2,300 2552 เลม จำนวนที่พิมพ 2,300 เลม จัดพิมพโดย จัดพิมพโดย จัดพิมพโดย ศูนยนวัตกรรมการเรียนรูตลอดชีวิต http://clli.swu.ac.th ศูนยนวัตกรรมการเรียนรูตลอดชีวิต ศูhttp://clli.swu.ac.th นยนวัตกรรมการเรียนรูตลอดชีวิต http://clli.swu.ac.th ศูนยบริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 ศูโทรศั นยบพทริห02-204-2709, ารจัดการวิช02-649-5000 าศึกษาทั่วไป ตอ 6328 ศูมหาวิ น ย บ ริ ห ารจั ด การวิ ช ยศรีนครินาศึ ทรวิกโษาทั รฒ่วไป โทรสารทยาลั 02-204-2709 มหาวิ ยศรีแขวงคลองเตยเหนื นครินทรวิโรฒอ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 114 สุขทุมยาลั วิท 23 114 วิท 23 แขวงคลองเตยเหนื อ เขตวั นา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัสุพขทุม02-204-2709, 02-649-5000 ตอฒ6328 พิมพ์ทพี่ ทสั02-204-2709 น02-204-2709, ติศิริการพิมพ์ 02-649-5000 ตอ 6328 โทรศั โทรสาร 1316 ซอยจรั ญสนิทวงศ์ 57 แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700 โทรสาร 02-204-2709 โทร. 0-2424-3975 โทรสาร 0-2881-9849
การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย
การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย
คำนำการพิมพ์ครั้งแรก ผมได้รับการมอบหมายจากมหาวิทยาลัยสุรนารี ให้เขียนรายวิชาการ พัฒนาคุณภาพชีวิต เรื่องสุนทรียภาพกับคุณภาพชีวิต ตั้งแต่ปี 2543 ต่อมา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้พัฒนาหลักสูตร วิ ช าศึ ก ษาทั่ ว ไป รายวิ ช า ศศ 101 สุ น ทรี ย ศาสตร์ เ พื่ อ ชี วิ ต (FA 101 Aesthetics for Life) ในปี 2545 จึงได้พัฒนาให้เป็นหนังสืออ่านประกอบ สำหรับรายวิชาดังกล่าวด้วย โดยเนื้ อ หาสาระ ได้ พ ยายามอธิ บ ายเชื่ อ มโยงระหว่ า งทั ศ นศิ ล ป์ ศิลปะการแสดง ดนตรี วรรณกรรม แนวคิดและบริบทสังคม เพื่อให้การ ทำความเข้าใจกับศิลปะในสาระความคิดที่กว้าง หลากหลาย และมีคนอยู่ใน ศิลปะด้วย ก็หวังว่า สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต จะช่วยเสริมกระบวนการคิดได้ ตามสมควร ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ สาขาวิชาศิลปะจินตทัศน์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 1 มกราคม 2546
คำนำผู้เขียน สุ น ทรี ย ศาสตร์ เ พื่ อ ชี วิ ต เป็ น หนั ง สื อ ทางด้ า นศิ ล ปะที่ ผ มเขี ย น ในปี ๒๕๔๕ ในช่วงทำหน้าที่คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ ก่อนที่จะมาทำ หน้ า ที่ อ ธิ ก ารบดี (๒๕๔๖) เจตนารมณ์ ข องหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ประสงค์ ที่ จ ะ บูรณาการแนวคิด และกรณีศึกษาทางด้านศิลปะที่หลากหลาย “ศิลปะ” ที่หมายรวมทั้งทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง วรรณกรรม มิใช่ศิลปะที่มอง อย่างแยกส่วน เพียงด้านใดด้านหนึ่ง ด้วยแท้จริงแล้วสติปัญญาของมนุษย์ เป็นเอกภาพ ศิลปะเป็นเอกภาพ ความดีงามเป็นเอกภาพ สุ น ทรี ย ศาสตร์ เ พื่ อ ชี วิ ต เขี ย นขึ้ น สำหรั บ นิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาระดั บ อุ ด มศึ ก ษาทุ ก คน ทุกศาสตร์ ทุกวิชาชีพ ด้วยหวั ง ให้ พ ลั ง สุ น ทรี ย ศาสตร์ ได้ก่อเกิดสุนทรียภาพหรือความรู้สึกชื่นชมในคุณค่าและความงามทางด้าน ศิลปกรรมเป็นประการสำคัญ คุณค่าและความงามทางศิลปกรรมเป็นคุณค่า ที่ บ่ ง บอกพั ฒ นาการและตั ว ตนของความเป็ น มนุ ษ ย์ ที่ พั ฒ นาสื บ ต่ อ กั น มา บ่งบอกอัจฉริยภาพ จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต เหมาะสมกับการเป็นหนังสืออ่านประกอบ สำหรับวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาวิชาศึกษาทั่วไปที่เป็นองค์รวม และเป็นพลังของการมีชีวิตอยู่ในสังคมบนโลกใบนี้ นอกเหนือจากวิชาชีพ โดยตรง และหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นกรณีศึกษาในแต่ละประเด็น แต่ละ ตัวอย่าง เพื่อกระตุ้นให้นิสิตนักศึกษา แสวงหา ขยายความรู้ความเข้าใจ ขยายความซาบซึ้งในคุณค่าและความงาม จากประสบการณ์ตรงของแต่ละ คน เพื่อความเป็นมนุษย์ที่มีจิตวิญญาณอันประณีต งดงาม มากกว่าความ ดิบเถื่อนในความเป็นมนุษย์
ขอขอบคุณศูนย์บริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไป ที่จัดพิมพ์และเป็น สื่อกลางในการพัฒนารสนิยมทางด้านสุนทรียศาสตร์ของนิสิต มศว ทุกคน ด้วยความปรารถนาดี ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๒๘ เมษายน ๒๕๕๒
สารบัญ บทที่ 1
สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต สุนทรียะ สุนทรียภาพ และสุนทรียศาสตร์ สุนทรียภาพคือประสบการณ์ที่ไม่หวังผลตอบแทน สุนทรียภาพและสมองซีกซ้าย-ขวา สุนทรียภาพกับการสร้างสรรค์ศิลปกรรม สุนทรียภาพกับการดำรงชีวิตส่วนตน สุนทรียภาพกับการดำรงชีวิตในสังคม
25 28 31 33 36 41 46
บทที่ 2
สุนทรียภาพในทัศนศิลป์ มนุษย์กับการแสดงรูปลักษณ์ โลกภายนอกและภายในกับทัศนศิลป์ การเขียนภาพระบายสีและพิมพ์ภาพ การสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติ การผสมผสานความคิดและสื่อแสดงออก ทัศนศิลป์ ศิลปะจินตทัศน์ และสภาพแวดล้อม
49 50 58 61 65 67 68
บทที่ 3
สุนทรียภาพในดนตรี มนุษย์กับการสร้างคลื่นเสียง ความคิดสร้างสรรค์และดนตรี ดนตรีกระแสตะวันตก ดนตรีไทยและวงดนตรีไทย ดนตรี จิตวิญญาณ และสังคม การพัฒนาดนตรีร่วมสมัย
73 73 76 79 85 88 90
บทที่ 4
สุนทรียภาพในศิลปะการแสดง มนุษย์กับลีลา ศิลปะการแสดงตะวันตก โขน : ศิลปะการแสดงที่สง่างาม ละคร : ศิลปะการแสดงหลากหลายรูปแบบ หนังใหญ่ : ศิลปะการแสดงและภาพ หุ่น : ศิลปะการแสดงและประติมากรรม
95 95 98 100 103 107 110
บทที่ 5
การพัฒนาค่านิยมด้านสุนทรียภาพในตัวบุคคล การพัฒนาค่านิยมและสุนทรียภาพในสังคม ระบบการศึกษาและสุนทรียภาพ สุนทรียภาพและประสบการณ์ สุนทรียภาพและสภาพแวดล้อม สุนทรียภาพและวัฒนธรรม ธรรมชาติของการเป็นมนุษย์และการดำรงชีวิต
113 114 115 116 117 117 118
8
9
อารี สุทธิพันธ์ รามเกียรติ์ จิตรกรรมสีน้ำมัน 2522
10
พาโบล ปิคาสโซ ชีวิต จิตรกรรมสีน้ำมัน 2446
11
ลีโอนาร์โด ดา วินชี โมนาลิซา จิตรกรรมสีน้ำมัน 1503-1506
12
คล็อด โมเนท์ สถานีรถไฟ จิตรกรรมสีน้ำมัน 2420
ราอูล ฮูลมันน์ จิตวิญญาณแห่งกาลเวลา ศิลปะสื่อผสม 2462
13
แอร์นส์ท ลุดวิก เคิร์ชเนอร์ ศิลปินและหุ่นนางแบบ จิตรกรรมสีน้ำมัน 2450
14
แจสเปอร์ จอนส์ ธงชาติ ภาพปะติดและสีน้ำมัน 2498
โรเบิร์ต สมิธสัน ขดในทะเล ศิลปะหลังสมัยใหม่ 2513
15
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เริ่มเข้าถึงธรรม สีอะครีลิค 2532
จิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม ราชบุรี
16
ภาพพิมพ์เอทชิงของ สแตนเลย์ เฮย์เตอร์ 2494
17
ภาพพิมพ์หินของ ฌอง ดูบุฟเฟท์ 2505
18
ภาพพิมพ์ซิลค์สกรีนของ รอย ลิชเทนสไตน์ 2508
19
พระพุทธรูปปางประทานธรรม วัดเชิงท่า อำเภอเมือง นนทบึรี ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13
20
ประติมากรรมหลอดสีของ กมล ทัศนาญชลี 2530
21
พาโบล ปิคาสโซ หุ่นนิ่งและเก้าอี้หวาย ศิลปะสื่อผสม 2455
ยอง ปิง ฮวง ประวัติศาสตร์ศิลป์จีน...หลังจากสองนาทีในเครื่องซักผ้า ศิลปะสื่อผสม 2530
22
จิตรกรรมภายในหลุมฝังศพที่เมืองธีบส์ สมัยอียิปต์โบราณ ภาพสตรีเล่นดนตรี ราว 1420 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
23
พาโบล ปิคาสโซ นักดนตรีสามคน จิตรกรรมสีน้ำมัน 2460
24
หุ่นของจักรพันธุ์ โปษยกฤต ในปัจจุบัน
1
สุนทรียศาสตร์เพื่อชีวิต สังคมไทยเป็นสังคมที่สะท้อนกระแสพุทธธรรมตามแนวความเชื่อ ทางพุทธศาสนาเป็นกระแสหลัก หลักธรรมต่างๆ เป็นหลักธรรมในโลกของ ธรรมบริสุทธิ์หรือทีี่เรียกว่า โลกุตรสัมมาทิฐิ การใช้ชีวิตในสังคมในฐานะปุถุชน การศึกษา การทำงาน การมีครอบครัว การเลี้ยงชีพ การมีความสุข ความทุกข์ ความรื่นรมย์ยินดี ซึ่งเป็นโลกของ โลกียสัมมาทิฐิ ต้องประยุกต์หลักธรรมต่างๆ มาใช้ในชีวิตจริง ในสังคมจริง ซึ่งก็คงมิใช่เพียงพุทธศาสนิกชนเท่านั้น หลักธรรม ของทุ ก ศาสนาล้ ว นเป็ น สิ่ ง ดี ง าม เป็ น สิ่ ง ดี ง ามในโลกที่ จ ะพั ฒ นามนุ ษ ย์ ให้มีชีวิตร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข กล่าวเฉพาะพุทธธรรม หลักไตรสิกขา "สิกขา" ที่หมายถึง การฝึกฝน อบรม การเพิ่มพูน การทำให้เจริญ ซึ่งประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) กล่าวว่า ศีล คือการดำรงตนอยู่ด้วยดี มีีชีวิตที่เกื้อกูล ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ตนมีส่วนร่วม ช่วยสร้างสรรค์รักษา ให้เอื้ออำนวยแก่การมีชีวิตที่ดีงามร่วมกัน เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนา คุณภาพจิตและการเจริญปัญญา สมาธิหรือจิต คือการพัฒนาคุณภาพจิตหรือปรับปรุงจิตให้มีคุณภาพ และสมรรถภาพสูง ซึ่งเอื้อแก่การมีชีวิตที่ดีงาม และพร้อมที่จะใช้งานทาง ปัญญาอย่างได้ผลดีที่สุด ปัญญา คือการมองดูรู้จักและเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง หรือ รู้เท่าทันธรรมดาของสังขาร ธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็นอยู่และทำการต่างๆ ด้วย ปัญญา คือรู้จักวางใจ วางท่าที และปฏิบัติต่อโลกและชีวิตได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ในทางที่เป็นไปเพื่อแผ่ขยายประโยชน์สุข มีจิตใจผ่องใส ไร้ทุกข์ เป็น อิสระเสรี และสดชื่นเบิกบาน
26
อารี สุทธิพันธุ์ รามเกียรติ์ จิตรกรรมสีนำ้มัน 2522
ศีล สมาธิ ปัญญา ที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต (Means of Life) ประกอบด้วย ความเห็นชอบ (Right Understanding) ดำริชอบ (Right Thought) วาจาชอบ (Right Speech) กระทำชอบ (Right Action)
27 เลี้ยงชีพชอบ (Right Livelihood) พยายามชอบ (Right Effort) ระลึกชอบ (Right Mindfulness) จิตมั่นชอบ (Right Concentration) ความเข้าใจใน ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ธรรมชาติิ ความงาม ล้วนสัมพันธ์กับอนิจจตา ทุกขตา อนัตตา อนิจจตา (Impermanence) ความไม่เที่ยง ความไม่คงที่ ความไม่ยั่งยืน ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป ทุกขตา (Stress and Conflict) ความเป็นทุกข์ ภาวะที่ถูกบีบคั้นด้วย การเกิดขึ้นและสลายตัว ภาวะที่กดดัน ฝืน และขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะ ปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่สภาพ นั้นไม่ได้ ภาวะที่ไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไม่ให้ความสมอยากแท้จริง หรือความพึงพอใจเต็มที่แก่ผู้อยากด้วยตัณหา และก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้เข้าไป อยากเข้าไปยึดด้วยตัณหาอุปาทาน อนัตตตา (Soullessness หรือ Non-self) ความเป็นอนัตตา ความ ไม่ใช่ตัวตน ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง การใช้ชีวิตในสังคม การครองตน หรือการศึกษา จำเป็นต้องมีโยนิโส มนสิการ วิธีการแห่งปัญญา เมื่อเทียบในกระบวนการพัฒนาปัญญา โยนิโส มนสิการอยู่ในระดับที่เหนือศรัทธา เพราะเป็นขั้นที่เริ่มใช้ความคิดของตน เป็นอิสระ ส่วนในระบบการศึกษาอบรม โยนิโสมนสิการเป็นการฝึกการใช้ ความคิด ให้รู้จักคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ รู้จักคิดวิเคราะห์ ไม่มองเห็น สิ่งต่างๆ อย่างตื้นๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาที่บริสุทธิ์ เป็น อิสระ ทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ และนำไปสู่จุดหมายของพุทธธรรมอย่าง แท้จริง (พระธรรมปิฎก. 2541 : 601-604, 67-68, 667) ชี วิ ต ที่ ถู ก ทำนองครองธรรมและประณี ต งดงามย่ อ มเป็ น ชี วิ ต ที่ มี สุนทรียะ
28 สุนทรียะ สุนทรียภาพ และสุนทรียศาสตร์ สุนทรียะ คือความงาม สุนทรียภาพ คือความรู้สึกในความงาม สุนทรียศาสตร์ คือศาสตร์ที่เกี่ยวกับความงาม สุนทรียะหรือความงาม อาจเป็นความงามของศิลปกรรม ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความประณีตงดงามของจิตใจ ความประณีตงดงามของ การใช้ชีวิตส่วนตัวและชีวิตส่วนรวม ศิลปกรรม (Fine Arts) ที่หมายความ รวมถึงทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง สถาปัตยกรรม วรรณกรรม สุนทรียภาพ ที่หมายถึงความรู้สึกในความงาม ภาพที่งดงามในความคิด หรือภาพของความงามในสมอง (Image of Beauty) ศักยภาพของการรับรู้ ความงามที่ ส ามารถสั ม ผั ส หรื อ รั บ ความงามได้ ต่ า งกั น ความงามที่ อ าจ เกิดจากภาพ จากเสียง จากจินตนาการ จากตัวอักษร หรือประสาทสัมผัสอื่นๆ สุนทรียศาสตร์ ที่หมายถึงศาสตร์หรือวิชาที่เกี่ยวกับความงาม ตาม แนวคิดของชาวตะวันตกแล้ว สุนทรียศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของปรัชญา ปรัชญา ตะวันตกที่มีรากเหง้ามาจากปรัชญากรีกโบราณ ปรัชญาที่เป็นการแสวงหา หรือความรักในภูมิปัญญา (Love of Wisdom) ปรัชญากรีกที่มุ่งแสวงหา ความจริง ความดี และความงาม การแสวงหาความจริงที่มีวิวัฒนาการมาสู่ วิทยาศาสตร์ (Science) ความดีที่เกี่ยวข้องกับจริยศาสตร์ (Ethics) และ ความงามที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ สุ น ทรี ย ศาสตร์ (Aesthetics) ปรั ช ญาหรื อ สุนทรียศาสตร์ที่อาจเป็นเรื่องของความเชื่อ เรื่องของทรรศนะ หรือเรื่องของ เหตุผล ในบริบทความคิดใดความคิดหนึ่ง ในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง หรือ ของนักปรัชญาหรือของนักสุนทรียศาสตร์คนใดคนหนึ่ง พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กล่าวถึงสุนทรียศาสตร์ว่า สุนทรียศาสตร์ คือสาขาปรัชญาที่ว่าด้วยความงามและสิ่งที่งาม ทั้งในงานศิลปะและในธรรมชาติ โดยศึกษาประสบการณ์ คุณค่า ของความงาม และมาตรการตัดสินใจว่า อะไรงามหรือไม่งาม
29 การตัดสินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์มีได้ 3 ลักษณะคือ ความ สวยงาม ความติดตาติดใจ ความเลอเลิศ นักปรัชญาหลายสำนัก ได้เสนอทฤษฎีเพื่ออธิบายว่า เพราะเหตุใดจึงมีการตัดสินใจว่า ศิลปวัตถุประกอบด้วยลักษณะทั้งสามนั้น นักปรัชญาดังกล่าว แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 1. กลุ่มอารมณ์นิยม (Emotionalist) อธิบายว่า การตัดสิน เกิดจากอารมณ์ที่เก็บกดไว้ในจิตใต้สำนึก 2. กลุ่ ม เหตุ ผ ลนิ ย ม (Ralionalist) อธิ บ ายว่ า การตั ด สิ น เกิดจากการเห็นความกลมกลืนไม่ขัดตา 3. กลุ่มสร้างสรรค์ (Creativist) อธิบายว่า การตัดสินเกิดจาก ความสามารถสร้างสรรค์ของมนุษย์ (พระราชวรมุนี. 2540 : 16) ชนชาติตะวันตกหรือชนชาติตะวันออก รวมทั้งชนชาติไทย ก็มีความงาม ในลักษณะเฉพาะตัว มีความเชื่อ มีทรรศนะ มีเหตุผลในความงามของตนเอง เป็นสุนทรียศาสตร์ที่สืบทอดกันมาตามสายวัฒนธรรม ส่วนว่าจะมีพัฒนาการ ที่หลากหลายหรือมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ปรัชญาตะวันตก หรือไม่นั้น ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ตัวอย่างภาพผลงานจิตกรรมของศิลปินชาวฝรั่งเศส เชื้อสายสเปน พาโบล ปิคาสโซ (Pablo Picasso) ศิลปินเอกคนหนึ่งของโลก ชื่อภาพ "ชีวิต" เป็นจิตรกรรมสมัยใหม่ที่เขียนขึ้นตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (1903) เป็น ภาพเขียนสีน้ำมันในช่วงที่ปิคาสโซนิยมระบายสีด้วยสีน้ำเงิน สีน้ำเงินที่ให้ ความรู้สึกเศร้า เงียบขรึม สงบ สมาธิ เป็นภาพเขียนในเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Painting) ที่ เ ขี ยนแสดงเรื่อ งราวสะท้อ นความคิ ด เพื่ อ เปิ ด โอกาสให้ เ รา ตีความตามนัยะของภาพและตามที่เราเข้าใจ ภาพเขียนชื่อ "ชีวิต" ชิ้นนี้ เป็น ภาพชีวิตที่เกี่ยวกับความรัก เป็นภาพในแนวตั้งสูงประมาณ 2 เมตร (197.5 x 128.5 ซม.) ด้านซ้ายเป็นภาพความรักระหว่างเพศหญิงและชาย ด้านขวา เป็นภาพความรักระหว่างบุพการีและลูก บริเวณตรงกลางด้านบนเป็นความรัก
30
พาโบล ปิคาสโซ ชีวิต จิตรกรรมสีน้ำมัน 2446
31 ระหว่ า งเพื่ อ นมนุ ษ ย์ และบริ เ วณตรงกลางด้ า นล่ า ง เป็ น คนที่ แ สดงการ ครุ่นคิดหมกมุ่นอยู่กับตนเอง เป็นความรักตัวเอง "ถ้าเรารักตนเองไม่เป็น เรา ก็รักคนอื่นไม่เป็น" และสำหรับชีวิตในสังคมแล้ว ถ้าเรามีความรักทั้ง 4 ด้าน ได้ ก็นับเป็นชีวิต เป็นความรัก และเป็นความงดงามของจิตใจด้วยเช่นกัน ปิคาสโซระบายสีเรียบง่าย ภาพคนที่ไม่แสดงรายละเอียดมากนัก รอยพู่กันกระฉับกระเฉง ภาพเด่นอยู่ที่ภาพแม่อุ้มลูกขวามือ กำลังมองไปที่ ภาพชายหนุ่มและหญิงสาวซ้ายมือ สีน้ำเงินเด่นทั้งพื้นภาพ ภาพให้ความรู้สึก สงบเสงี่ยมและครุ่นคิด สุนทรียภาพคือประสบการณ์ที่ไม่หวังผลตอบแทน เมื่อเราเดินทางไปสู่ท้องทุ่ง ภูเขา หรือทะเล เราชื่นชมกับภาพที่ ปรากฏเบื้องหน้า ภาพท้องทุ่งยามเช้าที่แสงอาทิตย์สาดส่อง ต้นข้าวสีเขียว ลมพัดผ่าน ต้นข้าวทั้งท้องทุ่งลู่เป็นคลื่นไปตามลม คลื่นแล้วคลื่นเล่า ภาพ ภูเขาที่สูงทะมื่น สง่างาม กลุ่มหมอกเมฆสีขาวเคลื่อนตัวผ่านไป ภาพท้องทะเล สีเขียวเข้ม เขียวน้ำเงิน น้ำเงินเทา ไกลสุดตา ระลอกคลื่นซัดเข้าสู่หาดทราย ฟองคลื่นสีขาวสะอาดซับซ้อนอยู่ชายหาด ลมเย็นผ่านผิวพร้อมกลิ่นไอดิน ของท้ อ งทุ่ ง กลิ่ น หอมของป่ า ไอเค็ ม ของท้ อ งทะเล ความรู้ สึ ก ที่ เ อิ บ อิ่ ม เบื้องหน้าธรรมชาติอันยิ่งใหญ่นั้น เราต่างมีความรู้สึกตอบรับอย่างลึกซึ้ง เรา สัมผัสกับความงาม รับรู้ และซาบซึ้งความงาม โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ความรู้สึกชื่นชมและปีติเกิดขึ้นและอยู่ในความทรงจำ เกิดขึ้นและสมบูรณ์ใน ตัวของมันเอง ความรู้สึกชื่นชมประทับใจในความงามเช่นนั้น เกิดและรับสัมผัสจาก สุนทรียภาพในตัวตนของเรา มีความมากน้อย สูงต่ำ ดื่มด่ำหรือไม่ดื่มด่ำ ต่างกันออกไปตามปัจเจกภาพ ความแตกต่างที่อาจเกิดจากประสบการณ์ แวดล้อมส่วนบุคคล ระบบครอบครัว ระบบการศึกษา ระบบสังคม รวมทั้งการให้ "คุณค่า" ของแต่ละบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ หรือมีต่อความงามอีกด้วย
32
อารี สุทธิพันธุ์ กล่าวถึงประสบการณ์และประสบการณ์สุนทรียะว่า ประสบการณ์ เป็นคำที่ใช้เรียกการรับรู้ที่เกิดขึ้นแก่เรา เมื่อเรา สัมผัสหรือปะทะกับโลกภายนอก โดยจะได้รับการสั่งสมไว้ตาม ประสิทธิภาพของอวัยวะรับสัมผัสของแต่ละคน ซึ่งจะสัมพันธ์ กับความตั้งใจของเราหรือความสนใจของเราด้วย หลังจากที่ เราได้รับรู้หรือได้มีประสบการณ์แล้ว ก็สามารถจำหรือจำแนก แยกแยะสิ่งที่รับรู้นั้นได้ เก็บสะสมไว้ในสมองเป็นความรู้ ซึ่งจะ ช่วยให้เกิดการรู้ตัวหรือที่เรียกว่ามีสติอยู่ทุกขณะนั่นเอง ดังนั้น จึงเชื่อกันว่า เมื่อเรามีประสบการณ์มาก ก็สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังอย่างมีสติได้มาก ประสบการณ์สุนทรียะ ประสบการณ์สุนทรียะต่างกับประสบการณ์ อื่ น ๆ ตรงที่ เ ราจั ด หาให้ ตั ว เราเอง ไม่ ว่ า ทางตรงหรื อ ทางอ้ อ ม เมื่อเกิดขึ้นแก่เราแล้ว ช่วยให้เราเพลิดเพลินพึงพอใจ เกิดเป็น ความอิ่มเอิบใจโดยไม่หวังสิ่งใดตอบแทน เช่น การไปเดินเล่น การไปชมนิทรรศการ ไปดูภาพยนตร์ ไปชมภูมิประเทศสัมผัส ธรรมชาติ ไปชมการประกวดกล้วยไม้ การอ่านนวนิยาย การ ฟังเพลง ฯลฯ ประสบการณ์สุนทรียะเหล่านี้ เรามีความเต็มใจ ที่ จ ะได้ รั บ รู้ ไม่ ว่ า จะเป็ น กิ จ กรรมที่ สั ง คมจั ด ขึ้ น หรื อ เราเลื อ ก กิจกรรมนี้สำหรับตัวเราเอง เป็นประสบการณ์ที่บังคับกันไม่ได้ เกิ ด จากความต้ อ งการหรื อ ความอยากของตั ว เราเอง (อารี สุทธิพันธุ์. 2538 : 135 - 136)
เราลองมาอ่านบทนิพนธ์ของ คาลิล ยิบราน ในหนังสือ ปรัชญาชีวิต (The Prophet) ระวี ภาวิไล ถอดเป็นภาษาไทยอย่างงดงาม ตอนหนึ่งที่เขียนถึง ความงาม ความงามก็มิใช่ความจำเป็นที่ต้องการ แต่เป็นความดื่มด่ำ มัน
33 มิใช่ปากอันแห้งกระหายหรือมือว่างเปล่าที่ชูขอ แต่เป็นดวงใจ อันลุกโรจน์และดวงวิญญาณที่บรรเจิดจ้า ความงามมิใช่ภาพที่ เธอจะเห็นได้หรือเพลงที่เธอจะได้ยิน แต่เป็นภาพที่เธอจะเห็น ผ่ า นดวงตาที่ ปิ ด แล้ ว และเพลงที่ เ ธอได้ ยิ น แม้ อุ ด โสตเสี ย แล้ ว ความงามมิใช่ยางที่ซึมซาบจากรอยขูดเปลือกไม้ หรือปีกที่ติดต่อ อยู่ กับอุ้งเล็บ แต่เป็นสวนพฤกษชาติอันบานสะพรั่งตลอดกาล (ระวี ภาวิไล. 2516 : 76 - 77) นอกจากความไพเราะงดงามแล้ว ยังมีแง่มุมความคิดหลายประการ ที่ซ่อนอยู่ในภาษาและความคิดที่งดงามนั้น ความงามที่เป็นพลังภายใน มิใช่ ปรากฏการณ์ที่สวยงามเปลือกนอก เป็นพลังที่เจิดจ้ากระตุ้นชีวิตและการ ทำงานของเรา "ความสวย" ที่เป็นรูปสมบัติ "ความงาม" ที่เป็นคุณสมบัติ สุนทรียภาพและสมองซีกซ้าย-ขวา ธรรมชาติได้สร้างมนุษย์ให้มีประสาทสัมผัสที่มีประสิทธิภาพมาก ทั้งตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส ตามองเห็นภาพและสีสรรพ์ หูได้ยินเสียง จมูก ได้ ก ลิ่ น ลิ้ น สั ม ผั ส รส และกายสั ม ผั ส สิ่ ง ต่ า งๆ รวมทั้ ง ความร้ อ นหนาวใน ระดั บ อุ ณ หภู มิ ที่ แ ตกต่ า งกั น ไป เมื่ อ สั ม ผั ส สิ่ ง ต่ า งๆ เราจะเกิ ด ความรู้ สึ ก (Sensation) ความรู้สึกเป็นอาการเบื้องต้น แล้วจึงเกิดการรับรู้ (Perception) ขึ้น รับรู้ว่าภาพอะไร กลิ่นอะไร เสียงอะไร ฯลฯ ความรู้สึกที่ได้สัมผัสก่อให้ เกิดการรับรู้และการตีความ การตีความซึ่งเป็นกระบวนการของสมอง และมี ประสบการณ์ อารมณ์ ความคิด แรงจูงใจ เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อฟังดนตรี เราได้ยินเสียงต่างๆ ผสมผสานกัน เรารับรู้ว่าเป็นเสียง ดนตรีในระดับและลีลาของเสียงที่แตกต่างหลากหลาย ผสมผสานกันด้วย ท่วงทำนองต่างๆ เรารับรู้พร้อมกับการตีความ สัมพันธ์กับการเรียนรู้ แรงจูงใจ ประสบการณ์ และอารมณ์ เราเคยได้ยินเสียงดนตรี มีความชื่นชอบ รับรู้ว่า เป็นเสียงที่สอดผสานกันจากเครื่องดนตรีต่างๆ ให้ความรู้สึกเพลิดเพลินและ
34
ตัวกระตุ้น (วัตถุ เหตุการณ์ที่เป็นจริง)
พลังงานกระตุ้น ข้อมูล (1)
อวัยวะรับความรู้สึก
กระแสประสาทขึ้นสู่สมอง (2)
สมองรับสัญญาณหรือเกิดความรู้สึก
การตีความ (3)
การรับรู้ (รัจรี นพเกตุ. 2529 : 2)
จินตนาการไปถึงสิ่งต่างๆ ฟังเพลงของ ริชาร์ด วากเนอร์ ที่อาจจินตนาการ ถึงพายุที่รุนแรง ฟังเพลงเขมรไทรโยค ของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ที่จินตนาการถึงป่าเขาลำเนาไพร ฟังเพลง Bridge Over Trouble Water ของ ไซมอนและการ์ฟังเกิล ที่อาจจินตนาการถึงความ รุนแรงของธรรมชาติและการเสียสละเพื่อความรัก เป็นต้น เราอาจแยกสุนทรียศาสตร์ออกเป็น 2 ด้านคือ สุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญา (Philosophical Aesthetics) และสุนทรียศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Aesthetics) สุนทรียศาสตร์เชิงปรัชญาที่เน้นอารมณ์ความรู้สึก จินตนาการ สุนทรียศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ที่เน้นเหตุผล ตรรกะ แบบแผน สองขั้วซ้าย และขวาที่แตกต่างกันนี้ เรามีดีกรีของความเชื่อ ดีกรีของการรับรู้และชื่นชม ต่างกัน เราอาจรับรู้หรือมีจุดยืนตรงกลาง หรือโน้มเอียงซ้ายหรือขวา อย่างไร ก็ตาม "สุนทรียะ" ย่อมมีทั้งสองด้านผสานกัน ดนตรีที่มีโน้ตและจังหวะ บทกวี
35 ที่มีฉันทลักษณ์ จิตรกรรมที่มีโครงสร้างพื้นภาพ การเต้นรำที่มีจังหวะการก้าว สถาปัตยกรรมที่มีการคำนวณในทางวิศวกรรม "เชิงวิทยาศาสตร์" ที่มีเหตุผล และตรรกะบนฐานของศิลปกรรมศาสตร์ มานุษยวิทยา และสังคมวิทยา ความงามที่ผสานกันทั้งในเชิงปรัชญาและเชิงวิทยาศาสตร์ สัมพันธ์ กับกระบวนการทำงานของสมอง (Brain System) สมองซีกซ้าย-ขวา (Left and Right Hemisphere) ที่แยกภารกิจแต่ทำงานผสานกัน การรับรู้และ การทำงานของสมองซีกซ้ายจะเน้นหนักไปทางเหตุผล ตัวเลข ภาษา การ คาดคำนวณ การวิเคราะห์ การวางแผน สมองซีกขวาที่เน้นหนักไปทางภาพ จินตนาการ อารมณ์ความรู้สึก มิติสัมพันธ์ การสังเคราะห์ ภาพรวม สมองทั้ง 2 ซีก ทำงานผสานกันด้วย คอร์พัส แคลโลซัม (Corpus Callosum) ทำให้ คนเรามีเหตุผลและอารมณ์ควบคู่กันไป พร้อมทั้งมีวุฒิภาวะทางปัญญา (IQ) และวุฒิภาวะทางอารมณ์ (EQ) ควบคู่กันไปด้วยเช่นกัน เอดวาร์ดส์ (Betty Edwards) กล่าวถึงการทำงานของสมองซีกซ้าย-ขวาว่า สมองซีกซ้ายทำหน้าที่วิเคราะห์ คิดในเชิงนามธรรม นับจำนวน กำหนดเวลา วางแผน กระบวนการเป็นขั้นตอน ถ้อยคำ ตรรกะ ตัวอย่างเช่น "a ใหญ่กว่า b และ b ใหญ่กว่า c นั่นหมายถึงว่า a ย่อมใหญ่กว่า c" ข้อความเชิงตรรกะเช่นนี้ แสดงให้เห็นถึง กระบวนการคิดของสมองซีกซ้าย ซึ่งแสดงถึงการวิเคราะห์ถ้อยคำ คาดคำนวณ ขั้นตอน สัญลักษณ์ เหตุผล รูป ส่วนอีกด้านหนึ่ง คื อ สมองซี ก ขวา "การเห็ น " สรรพสิ่ ง อาจเป็ น ไปในลั ก ษณะ จินตภาพ เป็นไปตามสภาพจิต เรามองดูสรรพสิ่งซึ่งดำรงอยู่ใน บริ เ วณว่ า งและมองความสั ม พั น ธ์ ข องส่ ว นย่ อ ยและส่ ว นรวม สมองซีกขวาจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในเชิงอุปมา ฝัน สร้างสรรค์ บูรณาการความคิดใหม่ เมื่อมีบางสิ่งบางอย่างที่ยุ่งยากต่อการ อรรถาธิ บ าย เราก็ ส ามารถที่ จ ะแสดงท่ า ทางอาการประกอบ การสื่อสารนั้น (อ้างใน วิรุณ ตั้งเจริญ. 2535 : 97)
36 การค้นพบการทำงานของสมองดังกล่าว อาจสอดคล้องกับแนวคิด ลัทธิเต๋าของจีนเกี่ยวกับหยิน-หยาง พลังของหยิน-หยาง ทั้งในธรรมชาติและ ชีวิต หยินคือ หญิง ดวงจันทร์ ความมืด ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ร่วง อารมณ์ การ ยอมจำนน ฯลฯ หยางคือ ชาย ดวงอาทิตย์ แสงสว่าง ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ผลิ เหตุผล ก้าวร้าว ฯลฯ สรรพสิ่ ง ในโลกล้ ว นประกอบขึ้ น จากทั้ ง สองสิ่ ง นี้ คื อ ความ เคลื่อนไหวและความสงบนิ่ง เคลื่อนไหวแล้วสงบนิ่ง สงบนิ่งแล้ว เคลื่อนไหว มีความประสานกลมกลืนอย่างยิ่งยวด นี่คือ หลัก แห่ ง เต๋ า ดอกไม้ เ บ่ ง บานขึ้ น แล้ ว ร่ ว งโรย ใบไม้ เ ขี ย วขจี แ ล้ ว แปรเปลี่ยนเป็นเหลืองซีดจนหลุดร่วงไปจากขั้ว มีฤดูใบไม้ผลิและ ติดตามมาด้วยฤดูใบไม้ร่วง เมื่อสรรพสิ่งเคลื่อนไหวจะเต็มไปด้วย พลังและการสร้างสรรค์ ดอกไม้เติบโตขึ้นจากปุ่มปมสีเขียว แล้ว เบ่งบานออก เมื่อพลังแห่งการสร้างสรรค์ได้เปี่ยมล้นขึ้นจนถึงขีดสุด ดอกไม้ก็จะค่อยๆ ร่วงโรยไป กลับไปพักผ่อนอย่างสงบอยู่บน พื้นดิน สรรพสิ่งหมุนเวียนเปลี่ยนแปรไม่หยุดยั้ง เปลี่ยนแปรและ ย้อนกลับหมุนวนเหมือนวัฏจักร (พจนา จันทรสันติ. 2530 : 333) สุนทรียภาพกับการสร้างสรรค์ศิลปกรรม คนเราดำเนินชีวิตอยู่ในธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม มีโลกส่วนตัวที่เป็นตัวของตัวเอง มีอิสระเสรีภาพที่จะคิดที่จะทำ เพื่อความ สุขและความพึงพอใจของเรา แต่ทั้งนี้ต้องไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อผู้อื่น ต่อสังคม ต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สังคมแต่ละสังคมย่อมมีวัฒนธรรมที่ดีงามของตนเอง วัฒนธรรมที่ เป็นวิถีการดำเนินชีวิต เป็นความดีงามต่อตนเองและต่อส่วนรวม วัฒนธรรม ที่พัฒนาและสืบทอดกันมา ผ่านระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบการศึกษา "ธรรมะ" ที่เป็นธรรมชาติ ธรรมดา ความดีงาม "วัฒนะ" ที่คงอยู่ได้และ
37 พัฒนาให้เหมาะสม สอดคล้องกับสังคมและวิถีชีวิตทุกช่วงเวลา เรามีศาสนา ที่ล้วนมีคำสั่งสอนที่สอนให้เรามีคุณค่า มีจิตใจที่ดีงาม "แก่นธรรม" ของ ศาสนามักผสมผสานอยู่กับพิธีกรรมต่างๆ เราต้องรู้จักกลั่นกรอง รู้จักเลือกสรร เพื่อนำมาสู่การดำรงชีวิต มี "ศรัทธา" ต่อศาสนาโดยมี "ปัญญา" ค้ำจุนศรัทธา มิใช่เป็นเพียงศรัทธาที่มีอวิชชาเข้าครอบงำ เรามีสังคมที่มีกติกา มีกฎหมาย มีระเบียบแบบแผนในการอยู่ร่วมกัน อารยสังคมคือสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่าง สันติสุข มีแบบแผนที่งดงาม มีระบบการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ ให้คุณค่าต่อ การดำรงชีวิตและให้คุณแก่สังคม มีรสนิยมที่ดี มีศิลปวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรือง เป็นภาพสะท้อนหรือพลังของความรู้สึกนึกคิด พลังของการอยู่ร่วมกัน และ พลังของการสร้างสรรค์สังคม นอกจากคุณค่าของวัฒนธรรม ศาสนา และสังคมดังกล่าวแล้ว เหนือ สิ่งอื่นใด ระบบครอบครัวย่อมเป็นหัวใจของวัฒนธรรม ศาสนา และสังคม ทุ ก สิ่ ง ย่ อ มเริ่ ม ต้ น พั ฒ นาจากระบบครอบครั ว การสื บ ทอดแบบแผนและ วัฒนธรรม สำนึกในการเป็นคนและสำนึกในการอยู่ร่วมกันอย่างอารยชน ล้วนเริ่มต้นงอกงามขึ้นที่บ้าน เสถียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน) กล่าวถึงความเป็นคนไทยว่า ความเป็นอันเดียวของชาวไทยและอะไรๆ ที่เป็นคุณสมบัติและ เป็นบุคลิกลักษณะของชาวไทย จึงไม่ใช่สำคัญอยู่ที่เรื่องต้นเดิม ของไทยอย่างเดียว ข้อที่สำคัญมากกว่าคือ อยู่ที่เรื่องวัฒนธรรม ที่ปั้นไทยให้ปรากฏเด่นว่าเป็นไทยโดยสมบูรณ์ และทำให้เห็นว่า แตกต่างไปจากชนชาวอื่นมีอย่างไร เราก็อาจตอบได้ในข้อนี้ว่า วัฒนธรรมไทย เกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบๆ ต่อกัน มาเป็นปรัมปรา อย่างที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Tradition หรือ ประเพณีปรัมปรา ซึ่งมีมาหลายกระแสหลายทาง ที่เข้ามาผสม ปนปรุงกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว เกิดเป็นวิถีชีวิตแห่งความเป็นอยู่ ของชนชาวไทยให้เห็นเด่นโดยเฉพาะ (เสฐียรโกเศศ. 2531 : 115)
38 คนเรามีความรู้สึกนึกคิด มีจิตใจที่ชื่นชมยินดี มีความรู้สึกหวั่นไหวต่อ สิ่งกระทบทั้งหลาย มีรสนิยม มีความชื่นชมในความงาม ความไพเราะ ความ สันติสุข เรามีประสาทสัมผัส (Sensibility) ที่จะรับรู้ความรู้สึกต่างๆ เรามีรสนิยม (Taste) ในการคิดและการเลือกสรรเพื่อสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต มีสุนทรียภาพ (Aesthetics) ที่ตอบรับหรือชื่นชมยินดีกับความงามทั้งหลาย เพื่อการดำรง ชีวิตที่มีคุณภาพและชีวิตที่ประณีตงดงาม เมื่อเรามีสุนทรียภาพหรือมีปฏิกิริยาต่อความงามทั้งหลาย ไม่่ว่าจะ เป็นธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัตถุ เหตุการณ์ การดำรงชีวิต สภาพแวดล้อมและ ปรากฎการณ์ เ หล่ า นั้ น มี ส ภาพเป็ น แรงบั น ดาลใจ (Inspiration) ที่ จ ะ กระตุ้นความรู้สึก กระตุ้นการรับรู้ เราจะแปรการรับรู้ไปสู่ความรู้สึกนึกคิด การชื่นชมยินดี การวิพากษ์_วิจารณ์ พร้อมกันนั้นก็จะพัฒนาความรู้สึกนึกคิด ไปสู่การแสดงออก ไปสู่การสร้างสรรค์ เราอาจแสดงออกและสร้างสรรค์ได้ ทุกด้านในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกและสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สร้ า งสรรค์ ท างเทคโนโลยี สร้ า งสรรค์ ท างสั ง คม ฯลฯ โดยมี พ ลั ง ของ สุนทรียภาพเป็นแรงสนับสนุน อีกด้านหนึ่ง พลังสุนทรียภาพในตัวตนของเรา ได้ผลักดันให้เกิดการ สร้างสรรค์ศิลปกรรมขึ้น ผู้ที่ชื่นชมการใช้สื่อตัวอักษรบรรยายจินตนาการก็ จะสร้ า งสรรค์ ว รรณกรรม ผู้ ชื่ น ชมการใช้ สื่ อ เสี ย งก็ จ ะสร้ า งสรรค์ ด นตรี ผู้ชื่นชมการใช้สื่อร่างกายก็จะสร้างสรรค์ศิลปะการแสดง และผู้ชื่นชมการใช้ สื่อวัตถุก็จะสร้างสรรค์ทัศนศิลป์และสถาปัตยกรรม ตามลักษณะเฉพาะของตน (Individuality)
39 AESTHETIC PROCESS
EXPRESSION SENSIBILITY INSPIRATION CREATIVITY - ENVIRONMENT PERCEPTION INDIVIDUALITY - SITUATION - OBJECT, ETC. - PERFORMING ART - MUSIC - VISUAL ART - LITERATURE - ARCHITECTURE การศึกษาค้นคว้าทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ นอกจากการพัฒนาทาง ด้ า นสุ น ทรี ย ศาสตร์ เ ชิ ง ปรั ช ญา ที่ เ ป็ น เรื่ อ งจิ น ตนาการ ความงาม การ แสดงออก ความรู้ สึ ก นึ ก คิ ด และการพั ฒ นาทางด้ า นสุ น ทรี ย ศาสตร์ เ ชิ ง วิทยาศาสตร์ ที่เป็นหลักการ เหตุผล การวางแผน การจัดระบบ เพื่อเป็นฐาน หรือเป็นแรงผลักดันการสร้างสรรค์แล้ว อีกด้านหนึ่ง จำเป็นจะต้องพัฒนา สุ น ทรี ย ภาพของผู้ ศึ ก ษาอี ก ด้ ว ย เป็ น การศึ ก ษาที่ เ รี ย กว่ า สุ น ทรี ย ศึ ก ษา (Aesthetic Education) อ่านกวีนิพนธ์ของ อังคาร กัลยาณพงศ์ ชื่อ ปริศนาในวิญญาณ เมื่อ อ่านแล้วถามตัวเราเองว่า "ปริศนาในวิญญาณ" ของเราเป็นอย่างไร
ปริศนาในวิญญาณ
ทะเลเอ๋ยเมื่อไหร่เจ้า เห็นแก่ได้คือเค็ม ปัญญาแค่แสบเข็ม หวานแก่นใจกำปั้น
จักเต็ม เท่านั้น ทิ่มท่าน พอฤา หนึ่งนั้นไฉนหาย ฯ
40 สายกว่าสายบ่ายแล้ว ตกต่ำดุจตะวันจัก หล่มหนองนี่หรือปลัก โลกแซ่โลกคลั่งบ้า
ความรัก จ่อมฟ้า เกียรติยศ กี่หล้าบัดสีฯ
สูงมนุษย์แต่ต่ำต้อย สวรรค์รั่วลงในรู ชีวิตหนึ่งอักขู- ถมถ่อยอเวจีได้
หอยปู จริงฤา นรกไหม้ ภิณีค่า หน่อยนั้นเต็มไฉนฯ
โศกกี่โลกจึ่งแจ้ง เกิดนี่หรือคือตาย ไปไหนเล่าจุดหมาย อื้ออิ่มคาวเน่าไหม้
แห้งหาย คลั่งไคล้ นรกเก่า พอฤา อยู่ไร้สลายสูญฯ
เทอดทูนไว้ย่ำซ้ำ สยองแต่พิภพที่จบ ปรโลกอย่าหวังสงบ สวยนั่นชีวิตด้วย
เหยียบสยบ หม่นม้วย ดังสนั่น ลั่นโลก เปล่าสิ้นศิลป์เสนอฯ
ละเมอหลงคงตื่นด้วย ใจไม่มีแก่นใจ ศาสนากี่โลกไหว ถือมั่นอัตตาไหม้
หลับใหล เปล่าไร้ บ่หวั่น อยู่ม้วยสูญเสมอฯ
เอาสัจจธรรมซ่อนไว้ สรวงสวรรค์ อยู่เพื่อเท็จลวงกัน เท่านั้น นี่หรือค่ามนุษย์อัน นำโลก โศกแก่ผีที่ปั้น ป่วยป้อนอเวจี. (อังคาร กัลยาณพงศ์. 2533 : 34 - 35)
41 สุนทรียภาพกับการดำรงชีวิตส่วนตน โลกของชาวตะวันออกเป็นโลกของการแสวงหาความสงบสุข ความ เป็นสันโดษส่วนตน ความสงบสุขและความสันโดษที่ผูกพันอยู่กับธรรมชาติ เราพยายามศึกษาจากข้างใน จากตัวตนของเรา เพื่อนำไปแก้ปัญหาโลกภายนอก เช่น พุทธศาสนาสอนให้เรามี พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมตตา ที่มุ่งสร้างความรักความปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีความสุข ให้โลกสันติสุข กรุณา ความสงสาร ความหวั่นไหว ช่วยให้ผู้อื่นเห็นทุกข์ ปลดเปลื้องทุกข์ มุทิตา ความชื่นชมยินดีที่เห็นผู้อื่นได้ดี มีความสุข ไม่อิจฉาริษยา อุเบกขา ความวางใจ เป็นกลางไม่เอนเอียง การใช้ปัญญาพิจารณาโดยสมควรแก่เหตุ สอนเรื่อง ไตรสิกขา สอนให้เรามีศีล สมาธิ ปัญญา สอนให้เราพร้อมและ มั่นคงในความดีงาม มีความมุ่งมั่น มีสมาธิ มีความเพียรในการปฏิบัติหน้าที่ การงาน และใช้ปัญญา ความรู้ ความคิด ในการปฏิบัติภารกิจต่างๆ เป็นต้น ปรัชญาเต๋า ซึ่งกลายเป็นวิถีชีวิตของชาวจีนมานับด้วยพันปี เป็นทั้ง ความคิด วิถีการดำรงชีวิต และความงาม เป็นปรัชญาหรือหลักคิดที่กลั่นกรอง ออกมาจากธรรมชาติ หลักคิดหลักปฏิบัติเหล่านั้นเชื่อมโยงกับธรรมชาติ และ เพื่อความผสานกลมกลืนกับธรรมชาติ ความเรียบง่าย ความเป็นปกติธรรมดา ปรัชญาเต๋าได้กลายเป็นสิ่งเดียวกับคนจีน แยกออกจากกันไม่ได้ ปรัชญาเต๋า ส่งอิทธิพลไปสู่แนวคิดและวิถีการดำรงชีวิตของชาติอื่นๆ ด้วย ในคัมภีร์เต๋าเต็กเก็งของปราชญ์ เหลาจื้อ ซึ่งนิพนธ์มาแล้วกว่า 25 ศตวรรษ ได้กล่าวถึงความงามว่า เมื่อเต๋าอยู่ในทุกสิ่ง ความงามก็อยู่ในทุกสิ่ง ปราศจากขอบเขต เป็นอนันตภาพที่แผ่ครอบคลุมกว้างไพศาล ความงามมิได้มีเพียง ในดอกไม้ ใบไม้ ธารน้ำใส ขุนเขา หรือในดวงจันทร์สว่างนวล เท่ า นั้ น ความงามมิ ไ ด้ มี อ ยู่ เ พี ย งในสิ่ ง สวยงาม ในสิ่ ง สมบู ร ณ์ ในสิ่งสูงส่งเท่านั้น ความงามยังมีปรากฏอยู่ในสิ่งน่าเกลียด มีอยู่ ในสิ่งบกพร่อง และสิ่งสามัญธรรมดาอันต่ำต้อย ในแผ่นกระดาษ
42 เก่าๆ ในไม้ผุๆ ในกะโหลกกะลา ในรูโหว่หลังคารั่ว ความงาม ยังมีอยู่ในโคลนตมที่สกปรก ในฝุ่นละออง ในดอกไม้ที่เหี่ยวแห้ง ในสี ซี ด ๆ และในความเก่ า คร่ ำ คร่ า ความงามในรู ป แบบ อั น พิ ก ลผิ ด ธรรมดาเหล่ า นี้ ได้ ถ อนทิ้ ง รู ป แบบของความงาม อย่ า งเก่ า ลงโดยสิ้ น เชิ ง ความงามในรู ป แบบใหม่ ไ ด้ พุ่ ง ฝ่ า พ้ น ออกมาจากขอบเขต ออกไปสู่ ส าระที่ แ ท้ แ ห่ ง ความงาม ไปสู่ อนันตภาพที่กว้างไพศาล ไปสู่ต้นกำเนิดของโลกและจักรวาล ที่ ซึ่ ง การแบ่ ง แยกยั ง ไม่ มี เ กิ ด ขึ้ น แจกั น ลายครามนั้ น งดงาม แต่ ถ้ ว ยแตก กะลาแตก ที่ ต กทิ้ ง อยู่ ต ามดิ น ก็ ง ดงามปานกั น ดอกบ๊วยที่บานสล้างอยู่บนกิ่งสดชื่นอิ่มเอิบ กับดอกบ๊วยที่หลุด จากขั้วร่วงหล่นแห้งเหี่ยวอยู่บนพื้น ก็งดงามปานกัน ใครเลยอาจ เข้าใจถึงความงามที่แท้นี้ (พจนา จันทรสันติ. 2530 : 326) อ่านบทกวีของ ตูฟู หนึ่งในกวีเต๋าที่เขียนพรรณนาถึงความงามแห่ง ฤดูใบไม้ผลิ ธรรมชาติ ความงดงาม และความธรรมดา
ค่ำคืนแจ่มกระจ่างแห่งฤดูใบไม้ผลิ หลังจากพายุผ่านพ้น ดาวประกายพฤกษ์พราวแสงอยู่เหนือลำน้ำ ทางช้างเผือกขาวสะอ้านราวหิมะ ฟากฟ้ามืดทะมึน ห้วงมหรรณพแผ่ไพศาล บรรพตอุดรเลือนรางอยู่ในความมืด ดวงจันทร์คล้ายกระจกใสผุดขึ้นมาจากความว่าง และเมื่อ ค่อยโคจรขึ้นสูงหว่างฟากฟ้า สาดส่องแสงโสม หยาดน้ำค้างพราวพร่างบนกลีบดอกไม้ (พจนา จันทรสันติ. 2530 : 317)
43 สังคมไทยได้รับกระแสอิทธิพลความคิดที่หลากหลาย ความหลากหลาย นั้นก่อให้เกิดพลวัตขึ้นในสังคม ก่อให้เกิดการปรับตัวยืดหยุ่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งก็รวมทั้งปรัชญาความคิดจากจีน ญีุ่ปุ่น อินเดีย ตะวันตก ปรัชญาความคิด ต่างๆ ได้ช่วยปรับและขัดเกลาวัฒนธรรมไทย จนก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะตัว ทางวัฒนธรรม ลักษณะเฉพาะตัวทางการดำรงชีวิต รวมทั้งสุนทรียภาพ ในชีวิตด้วย ลองศึกษาความคิดของเสาหลักความคิดท่านหนึ่งจากอินเดียคือ รพินทรนาถ ฐากูร ซึ่งก็มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและสุนทรียภาพในชีวิต ของคนไทยไม่น้อย ท่านได้กล่าวถึงความงามที่สัมพันธ์กับสุนทรียภาพในชีวิต สุนทรียภาพส่วนตน ไว้ในบทนิพนธ์เรื่อง สาธนา ข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า เราเข้าใจแจ้งในกฎของสัจธรรม โดยความเข้าใจต่อธรรมะและ เราก็รู้แจ้งในกฎของความเหมาะสมกลมกลืน ด้วยความรู้สึกต่อ ความงาม การรู้จักกฎของธรรมชาติ ให้อำนาจและแรงงานทาง วัตถุแก่เรา การรู้จักกฎของจริยธรรม ให้การชนะตนเองและ อิสรภาพ เมื่อรู้กฎแห่งความกลมกลืน เราก็มีส่วนร่วมในความ เบิกบานชื่นชมของโลกธาตุ ในศิลปะความงามก็แสดงออกอย่าง ทั่วไป ไม่มีขอบเขต เราจะเข้าใจชัดเจนและกว้างขวางในความ สงบศานติ สุ ข ของวิ ญ ญาณ ก็ ข ณะเมื่ อ เรารู้ ถึ ง ความกลมกลื น อันมีภายในวิญญาณของเรา ความงามก็แสดงออกในชีวิตเรา โดยทางคุณธรรมและความรัก มีจุดหมายคืออนันตภาพ นี่แหละคือ จุดหมายสูงสุดของความเป็นอยู่ของเรา เราจะต้องรู้ชัดแจ้งว่า "ความงามคื อ สั จ ธรรมและสั จ ธรรมคื อ ความงาม" เราจะต้ อ ง เข้าใจโลกแจ่มแจ้งด้วยความรัก เพราะว่าความรักให้กำเนิด ดำรง ไว้และโอบมันเข้าสู่อ้อมอุระ เราจะต้องมีดวงใจเป็นอิสระอย่าง แท้จริง อันจะทำให้เราสามารถเข้าหยั่งถึงกลางดวงใจของสรรพสิ่ง และลิ้มรสความชื่นชมสูงสุด (ระวี ภาวิไล. 2517 : 153 - 154)
44 จุนิจิโร ทานิซากิ พรรณนาถึงความงามและรสนิยมของญี่ปุ่น รวมทั้ง ชาวตะวันออก เปรียบเทียบกับความงามของชาวตะวันตก ข้อความตอนหนึ่งใน เยิรเงาสลัว (In Praise of Shadows) กล่าวว่า ในขณะที่โลกตะวันตก แม้กระทั่งผีก็ใสราวแก้ว เครื่องใช้ใน บ้านก็ทำนองเดียวกัน เราชอบสีที่มีส่วนผสมของความมืด แต่ ชาวตะวันตกชอบสีของแสงสว่าง ในกรณีเครื่องใช้ที่ทำด้วยเงิน และทองแดง เรานิ ย มชมชื่ น กั บ รอยเลื่ อ มและคราบคล้ ำ ๆ ซึ่งชาวตะวันตกเห็นว่า สกปรกไม่ถูกสุขลักษณะ และขัดเครื่องใช้ ให้ขึ้นเงาเจิดจ้า ชาวตะวันตกนิยมทาเพดานและผนังด้วยสีอ่อนๆ เพื่อทำลายเงาสลัวให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในขณะที่เราปลูก สวนให้เต็มไปด้วยไม้หนาทึบ ชาวตะวันตกกลับปลูกสนามหญ้า ให้ ล าดกว้ า งออกไป อะไรเป็ น ปั จ จั ย ก่ อ ให้ เ กิ ด ความแตกต่ า ง ถึงเพียงนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า เราชาวตะวันออกมักจะแสวงหา ความพอใจจากสิ่ ง แวดล้ อ มที่ เ ราอยู่ ดั ง นั้ น ความมื ด จึ ง ไม่ ไ ด้ สร้ า งความขั ด เคื อ งแก่ เ รา เรายอมรั บ ว่ า ความมื ด เป็ น สิ่ ง ที่ หลี ก เลี่ ย งไม่ ไ ด้ ถ้ า แสงมี อ ยู่ น้ อ ย เราก็ ย อมรั บ ว่ า มี อ ยู่ น้ อ ย เราปล่อยตัวเราให้ซึมซาบในความมืด และ ณ ที่นั้น เราก็พบ ความงามตามแบบอย่างของมัน แต่ชาวตะวันตกผู้มีความคิด ก้าวหน้า มีแต่จะพยายามทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น จากเทียนไปสู่ ตะเกียงน้ำมัน จากตะเกียงน้ำมันสู่ตะเกียงก๊าซ จากตะเกียงก๊าซ สู่ไฟฟ้า การแสวงหาแสงสว่างของชาวตะวันตกมีไม่รู้จบสิ้น และ ยอมเผชิญหน้ากับอุปสรรคทุกอย่าง เพื่อกำจัดเงาสลัวแม้แต่เพียง เล็กน้อยให้หมดสิ้นไป (สุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ. 2507 : 109 - 110) นักสุนทรียศาสตร์บางแนวคิดเชื่อว่า ความงามเป็น วัตถุวิสัยนิยม (Objectivism) นั่นหมายถึงว่า ความงามเป็นคุณสมบัติของวัตถุ ความงาม
45 อยู่ที่ตัววัตถุ อยู่ที่สรรพสิ่ง แม้เราไม่สนใจ ไม่ชื่นชม ความงามของสิ่งนั้นก็ยังมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความงามของธรรมชาติ ขุนเขา ท้องทะเล ทุ่งหญ้า ผลงาน จิตรกรรม นาฏศิลป์ ดนตรี ฯลฯ นักสุนทรียศาสตร์บางกลุ่มไม่เห็นด้วยกับ แนวคิดข้างต้น เพราะเชื่อว่า ความงามเป็น จิตวิสัยนิยม (Subjectivism) ถือว่าตัวบุคคลเป็นแหล่งคุณค่าของความงาม ความงามเกิดจากความรู้สึกนึกคิด ของเราเอง ความงามคือประสบการณ์สุนทรียะ ถ้าเราปราศจากเสียซึ่งจิตวิสัย ทางความงาม ความงามของวัตถุที่มีอยู่จริงหรือไม่ก็ตาม ย่อมไร้ความหมาย ความงามอยู่ที่จิตใจของเรา เราเป็นผู้กำหนด นักสุนทรียศาสตร์บางกลุ่ม ก็รอมชอมความคิด คือผสานความคิดเข้าด้วยกัน และเชื่อว่า ความงามหรือ สุนทรียะ เกิดขึ้นระหว่างความงามของวัตถุและความงามในจิตใจของเรา ความงามเกิดจากความสัมพันธ์ของวัตถุและสุนทรียภาพในตัวเรา ความงาม ของธรรมชาติ ความงามของภาพเขียน ความไพเราะงดงามของกวีนิพนธ์ อาจมีอยู่ แต่ตัวเราเองต้องมีศักยภาพในการชื่นชมหรือสื่อสารความงาม เราจึงจะสัมผัสกับความงามนั้นได้ วัดพระศรีรัตนศาสดารามหรือวัดพระแก้ว อาจสวยงามอลังการ ต่อเมื่อเรามีสุนทรียภาพ เราจึงชื่นชมความงามวัดพระแก้ว ความเชื่อเช่นนี้ เป็นแนวทางของ สัมพัทธนิยม (Relationism) (อ่าน สุเชาว์ พลอยชุม. 2523) อย่างไรก็ตาม สุนทรียภาพหรือความงามในตัวตนของเรา ย่อมมี ความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ทั้งชีวิตส่วนตนและชีวิตในสังคม สุนทรียภาพ อาจเป็นภาพของความงามที่เกิดขึ้นในการรับรู้หรือในจิตใจ สุนทรียภาพอาจ เป็นเสมือนคุณภาพที่จะใช้ตรวจสอบหรือสืื่อสารกับความงาม เมื่อกล่าวถึง คุ ณ ภาพในบุ ค คล ก็ ย่ อ มมี ดี ก รี ค วามแตกต่ า งมากหรื อ น้ อ ยด้ ว ยเช่ น กั น สุนทรียภาพก่อให้เกิดความสุข ก่อให้เกิดความปีติ ก่อให้เกิดสันติสุข เป็น ความรู้สึกที่เป็นนามธรรม แบ่งปันใครไม่ได้ ไม่มีผลประโยชน์ทางกายภาพ ทางวัตถุ หรือทางธุรกิจใดใด เป็นโลกส่วนตัวที่มีคุณค่าและมีความหมายต่อชีวิต แม้เราจะปราศจากหรืออ่อนด้อยในสุนทรียภาพ ชีวิตก็คงดำรงอยู่ได้ แต่เรา
46 กำลังสูญเสียศักยภาพที่มีความหมายยิ่งในชีวิต พร้อมกันนั้น "ความหมาย" ในการเป็นมนุษย์อาจอยู่ที่คุณค่าของ "สุนทรียภาพ" ในตัวตนด้วยเช่นกัน สุนทรียภาพกับการดำรงชีวิตในสังคม แม้สุนทรียะ ความงาม ความประณีตบรรจง อาจเป็นปรากฏการณ์ ของโลกภายนอก ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม หรือความงามความไพเราะที่เกิดจาก การสร้างสรรค์ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น จิตรกรรม ศิลปะการแสดง ดนตรี บทกวี ฯลฯ แต่ ป รากฏการณ์ เ หล่ า นั้ น ก็ สั ม พั น ธ์ กั บ สภาพการรั บ รู้ ห รื อ สุนทรียภาพของเรา สุนทรียภาพอาจเป็นโลกส่วนตัว เป็นความสุขส่วนตัว เป็นประสบการณ์เฉพาะบุคคลที่ไม่สามารถหยิบยื่นให้กันได้ ไม่สามารถช่วยเหลือ กันได้ ความสุขของคนเราอาจอยู่ที่โลกนามธรรมภายในที่สัมพันธ์กับโลกของ วัตถุภายนอก ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่สะอาด ประณีตบรรจง มีระบบระเบียบ ย่อมสัมพันธ์กับจิตใจที่มีระบบระเบียบ ประณีตงดงาม เราไม่อาจปฏิเสธ ทั้งโลกภายนอกหรือโลกภายใน ศิลป์ พีระศรี กล่าวถึงโลกภายนอก ธรรมชาติที่สิ่งแวดล้อม และ ศิลปะ ที่ส่งผลสู่โลกภายในและศีลธรรมไว้ว่า ความมีศีลธรรม หมายถึงความประพฤติดี ดำเนินตามกฎเกณฑ์ แห่งอารยธรรมทางสังคมของเรา เพื่อที่จะบรรลุถึงความประพฤติดี ดังกล่าวนี้ได้ การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด และศิลปะเป็น จุ ด ศู น ย์ ก ลางแห่ ง การศึ ก ษาอั น สำคั ญ ประการหนึ่ ง ในทุ ก ๆ ประเทศที่มีอารยธรรม ศิลปะก่อให้เกิดภาวะที่ถูกต้องทางความ รู้ สึ ก นึ ก คิ ด ของมนุ ษ ย์ ประชาชนที่ เ กิ ด มาในแหล่ ง เสื่ อ มโทรม ย่อมจะเติบโตในท่ามกลางความรู้สึกอันขมขื่น และไม่คำนึงถึง หลักเกณฑ์ใดๆ ทางศีลธรรม เพราะสิ่งแวดล้อมของเขาขาดระเบียบ ก่ อ ให้ เ กิ ด ความเกลี ย ดชั ง ก่ อ ให้ เ กิ ด ความสิ้ น หวั ง และความ บกพร่องทางจิตใจ
47 ตรงกันข้าม ประชาชนที่ได้รับการเลี้ยงดูให้เติบโตมาในสิ่งแวดล้อม อันมีระเบียบ ในบ้านเมืองที่วางผังไว้เป็นอันดี มีถนนสะอาดสะอ้าน สองฝั่งถนนขนานไปด้วยอาคารที่สวยงาม มีอุทยานประดับตกแต่ง ด้วยรูปปั้นหล่อสลัก มีน้ำพุแลพิพิธภัณฑสถาน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ย่ อ มจะผู ก พั น ให้ เ ขาดื่ ม ด่ ำ เอาความงามเข้ า ไว้ ตั้ ง แต่ เ ยาว์ วั ย ความงามจะค่อยๆ สร้างประสาทรู้สึกทางสุนทรียภาพของเขา อย่างช้าๆ แต่ติดต่อไม่ขาดสาย เด็กที่ทำให้คุ้นเคยต่อการพบเห็น สิ่งประณีตสวยงามนั้น ต่อไปก็จะกลายเป็นของจำเป็นต่อชีวิต ของเด็ก ผลลัพธ์อันน่าพิศวง ซึ่งความงามมีอยู่เหนือธรรมชาติ ของเราก็คือ ทำให้ความคิดของเราประณีตสุขุมขึ้น ด้วยอาศัย ศิลปะ เราจะค่อยกลายเป็นคนดีขึ้น และประพฤติปฏิบัติไปตาม กฎแห่ ง ศี ล ธรรม ซึ่ ง พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ได้ ท รงบั ญ ญั ติ ไ ว้ เมื่อราว 2500 ปีล่วงมาแล้ว (ศิลป์ พีระศรี. 2508 : 23) อีกด้านหนึ่ง ถ้าการอยู่ในสภาพแวดล้อมขาดความเป็นระบบระเบียบ ขาดความประณีต สวยงาม ถ้าเขาผู้นั้นมีปัญญา มีความคิด สิ่งไร้ระเบียบนั้น อาจเป็นแรงกระตุ้น ก่อให้เกิดการแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า แสวงหาสิ่งที่สวยงาม ประณีตบรรจงก็ได้ อาจคล้ายกับการได้ชื่นชมหรือเสพโศกศิลป์ (Tragic Art) เช่ น โศกนาฏกรรม จิ ต รกรรมแสดงภาพสงคราม เพลงเพื่ อ ชี วิ ต บทกวี ที่พรรณนาความทุกข์ ฯลฯ ศิลปะเหล่านี้อาจกระตุ้นให้เราแสวงหาและ ชื่ น ชมสิ่ ง ที่ ป ระณี ต งดงาม ชี วิ ต ที่ สั น ติ สุ ข และความสวยงามได้ เมื่ อ เรามี ความประณีตงดงาม มีสุนทรียภาพ สุนทรียภาพย่อมก่อให้เกิดความสุขส่วนตน ความสุขส่วนตนเป็นความสุขในเชิงปัจเจก เป็นความสุขเฉพาะบุคคล ถ้าเรา ไม่คับแคบจนเกินไป มีปัญญาและมีจิตสำนึกสาธารณะ (Public Mind) ความสุขส่วนตนย่อมส่งผลไปสู่ผู้อื่น ส่งผลไปสู่สังคม เพราะบุคคลหนึ่งย่อม ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมหนึ่ง ปัจเจกหนึ่งย่อมดำรงอยู่ในมวลปัจเจกเช่นกัน และ
48 ถ้าทุกคนหรือทุกปัจเจกในสังคม จะส่งผ่านความสุขส่วนตน ความประณีต ละเอียดอ่อนส่วนบุคคล ไปสู่สังคมโดยรวม สังคมย่อมเกิดสันติสุข กล่ า วโดยสรุ ป แล้ ว สุ น ทรี ย ภาพในเชิ ง ปั จ เจกย่ อ มมี คุ ณ ค่ า ทั้ ง ต่ อ ตนเองและต่อสังคม 3 ด้าน คือ 1. สุนทรียภาพก่อให้เกิดความสุขส่วนตน 2. สุนทรียภาพก่อให้เกิดสันติสุขในสังคม 3. สุนทรียภาพก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม
2
สุนทรียภาพในทัศนศิลป์ ทัศนศิลป์ (Visual Art) เป็นงานศิลปะที่มองเห็นได้ รับรู้ด้วยตา นอกจาก "ทัศนะ" จะหมายถึงงานศิลปะที่มองเห็นแล้ว ยังหมายถึงการสร้างสรรค์ จากสื่อดลใจ (Inspiration) ที่มองเห็นได้ ประจักษ์ได้อย่างเป็นรูปธรรม สื่ อ ดลใจมิ ไ ด้ เ กิ ด จากสิ่ ง ที่ ม องไม่ เ ห็ น คิ ด ฝั น เอาเอง ไสยศาสตร์ ห รื อ จินตนาการในเชิงจิตนิยม กุสตาฟ คูเบท์ ศิลปินลัทธิสัจนิยม (Realism) เคยกล่าวไว้ว่า "ฉันไม่เคยเห็นเทพธิดา ฉันจึงเขียนเทพธิดาไม่ได้" แล้วคูเบท์ก็ เขียนภาพเฉพาะวัตถุ สิ่งแวดล้อม และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในขณะนั้น ในอดีตเรามักเรียกศิลปะที่มีความสวยงามประณีตบรรจง ศิลปะที่ มุ่งเน้นความงามอันมีค่าต่อจิตใจว่า "วิจิตรศิลป์" (Fine Arts) ต่อมาคำว่า "Fine Arts" ก็หมายถึง "ศิลปกรรมศาสตร์" ด้วย "s" ที่หมายถึง "ศาสตร์ ศาสตรา วิชา อาวุธ อาวุธทางปัญญา" ซึ่งหมายถึงศิลปะ 5 แขนงคือ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม การแสดงและดนตรี การแสดง และดนตรี จั ด รวมไว้ด้วยกัน เพราะถือว่าส่วนใหญ่ แ ล้ ว แสดงออกร่ ว มกั น ต่อมาในช่วงเวลาของศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) รุ่งเรืองขึ้นในสังคม ประชาธิปไตย ในสังคมที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม สังคมที่เชื่อมั่นใน เสรีภาพและปัจเจกภาพ คำว่า "Visual Art" หรือ "ทัศนศิลป์" ก็เข้ามาแทนที่ นอกจากทัศนศิลป์จะสะท้อนสิ่งที่ประจักษ์ดังที่กล่าวมาแล้ว ทัศนศิลป์ยัง สะท้อนศิลปะที่เป็นสิ่งธรรมดาสามัญ เนื้อหาสาระเกี่ยวกับความเป็นจริง ธรรมชาติ สิ่ ง แวดล้ อ ม เป็ น เรื่ อ งของสามั ญ ชนและชี วิ ต ประจำวั น ไม่ ใ ช่ สิ่งสูงส่งลึกลับ เพื่อศรัทธาอันสูงส่งทางศาสนา หรือเพื่อแซ่ซร้องสรรเสริญ สมมติเทพดังเช่นในอดีต
50 ช่ ว ง 3-4 ทศวรรษที่ ผ่ า นมา ศิ ล ปะกระแสสากลเริ่ ม พั ฒ นาหรื อ เปลี่ยนแปลงต่อไปอีก กระแสสากลที่ไม่อาจกล่าวได้เพียงกระแสตะวันตก เท่านั้น แต่เป็นกระแสสากลทั้งจากตะวันตกและตะวันออก พัฒนาการจาก ลัทธิสมัยใหม่ (Modemism) ที่เป็นระบบแบบแผนของชนชั้นกลาง พัฒนา มาสู่ ลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) ที่กระจายความคิด กระจาย ความรับผิดชอบ มนุษย์ไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล แต่มนุษย์ควรอยู่ร่วมกับ โลกใบนี้ อยู่ร่วมกับคน อยู่ร่วมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอย่างสันติสุข ศิลปะก็พัฒนาจากภาพสะท้อนปรากฎการณ์เบื้องหน้าและอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดภายในของศิลปิน มาสู่สภาพความคิดในสมอง ภาพที่เกิด จากการสังเคราะห์ จากการรับรู้และสัมผัสโลกภายนอก ภาพที่มีทั้งสติ (EQ) และปัญญา (IQ) หรือที่เรียกว่า ศิลปะจินตทัศน์ (Imaging Art) มนุษย์กับการแสดงรูปลักษณ์ ในขณะที่มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัจจัยสี่คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค แต่มนุษย์ก็ไม่เคยจากพรากศิลปะ ไม่ว่าเขาจะ อยู่ในถ้ำ ในกระท่อม หรือในคฤหาสถ์ ไม่ว่าเขาจะยากดีมีจนอย่างไร ศิลปะ เหล่านั้นอาจจะสูงส่ง ธรรมดาสามัญ หรือต่ำต้อยน้อยค่า อาจจะเป็นความ งามความไพเราะเพื่อความสุขทางใจ หรือประยุกต์ความงามไปสู่สิ่งของ
ภาพเขียนบนผนังถ้ำลาสโคช์ ฝรั่งเศส สมัยหินเก่า อายุประมาณ 15,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
51
เครื่องปั้นดินเผาอารยธรรม บ้านเชียง อุดรธานี สมัยหินใหม่ อายุประมาณ 3,000 ปี รูปแกะสลักหิน “วีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟ” สมัยหินเก่า ประมาณ 15,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
เครื่องใช้ในชีวิตประจำวันก็ตาม เมื่อมนุษย์มีชีวิตอยู่ในถ้ำตั้งแต่สมัยหินเก่า นับด้วยหมื่นกว่าปีมาแล้ว ก็เขียนภาพในถ้ำเป็นรูปสัตว์ที่เขาล่า ด้วยสีจากดิน และจากเขม่าไฟ ผสมกับไขสัตว์หรือยางไม้ อาจจะเพื่อการตัดไม้ข่มนามหรือ เพื่อการไถ่บาปก็เป็นได้ เขาแกะสลักกระดูก แกะหิน เป็นรูปคนและสัตว์ สกัดหินให้มีความแหลมคมและสวยงามเพื่อใช้ล่าสัตว์ ไม่ว่าเขาเหล่านั้น จะใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำลาสโคส์ในฝรั่งเศส ถ้ำอัลตามิราในสเปน หรือถ้ำผาแต้ม อุบลราชธานี ในประเทศไทย เมื่อมนุษย์รู้จักใช้ไฟ ไฟเผาดินให้แข็ง เขาก็เริ่มเรียนรู้และพัฒนา เครื่องปั้นดินเผาขึ้นใช ตกแต่งเครื่องปั้นดินเผาให้สวยงามด้วยการขูดขีดลวดลาย ด้วยการระบายสีจากดินที่สีต่างกัน ด้วยการใช้เชือกหรือผ้ากดทับเป็นลวดลาย มนุษย์ทอผ้าเพื่อนุ่งห่มทดแทนหนังสัตว์ สร้างที่อยู่อาศัยทดแทนการอยู่ในถ้ำ นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงเพื่อช่วยแรงงานในการเพาะปลูก เพื่อช่วยล่าสัตว์ และ เพื่อเป็นเพื่อน มนุษย์พัฒนาการทั้งการดำรงชีวิต ชุมชน วัฒนธรรม และ ความสวยงาม ความสวยงามทั้งสิ่งของเครื่องใช้ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม สิ่งที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม การแสดงออกทางร่างกาย การร่ายรำ ดนตรี
52 ภาพเขียน ภาพพิมพ์ รูปปั้นและแกะสลัก ทั้งความงามที่ผสมผสานกับสิ่งที่ เป็นประโยชน์ใช้สอย และศิลปะที่ไม่มีประโยชน์ใช้สอย แต่มีคุณค่าทางจิตใจ ซึ่งก่อให้เกิดความปีติ ก่อให้เกิดพลังในการดำรงชีวิตและพลังในชุมชน เมื่อมนุษย์พัฒนาจากเผ่า จากชุมชนเล็กๆ รวมตัวกันเป็นชุมชนใหญ่ รวมตัวกันเป็นประเทศชาติ แหล่งอารยธรรมใหญ่ของโลกล้วนเกาะเกี่ยวอยู่
วิหารสมัยอียิปต์โบราณ เมืองลักเซอร์ ประมาณ 3,000 ปีเศษ
ประติมากรรมนูนสมัยเมโสโปเตเมีย สิงโตบาดเจ็บ หินปูน ประมาณ 650 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
53 กับแม่น้ำ สร้างอารยธรรมน้ำ ไม่ว่าจะ เป็ น อี ยิ ป ต์ โ บราณบริ เ วณแม่ น้ ำ ไนล์ เมโสโปเตเมี ย บริ เ วณแม่ น้ ำ ไทกริ ส และยู เ ฟติ ส จี น บริ เ วณแม่ น้ ำ ฮวงโห และแยงซี เ กี ย ง อิ น เดี ย บริ เ วณลุ่ ม แม่ น้ ำ คงคา รวมทั้ ง อารยธรรมกรี ก โบราณ ยุโรป และเอเชีย ในช่วงเวลา ต่ อ มา เมื่ อ มนุ ษ ย์ คิ ด ตั ว อั ก ษรขึ้ น ใช้ เพื่อบันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอักษรภาพของอียิปต์ อักษร ลิ่ ม ของเมโสโปเตเมี ย ตั ว หนั ง สื อ จี น หรือภาษาอื่นๆ ที่ตามมา ภาษาและ ตั ว อั ก ษรได้ ก่ อ ให้ เ กิ ด วรรณกรรม ก่อให้เกิดบทกวี ก่อให้เกิดความงาม ความไพเราะ และจิ น ตนาการอี ก ภาพเขียนจีนบนผ้าไหม อายุประมาณ 3,000 ปี ลักษณะหนึ่งของมนุษยชาติ อารยธรรมกรีกโบราณแถบทะเลเอเจียน ราวสองพันกว่าปีที่ผ่านมา ปรัชญาความคิดที่เกี่ยวกับความจริง ความดี ความงาม ได้ส่งอิทธิพลมาสู่ ชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก ความงามบนหลักของเหตุผล มาตรฐานความจริง ความดี ความงามเป็นสิ่งนิรันดร์ สิ่งสูงสุด พระเจ้าบนร่างมนุษย์ ความงามที่ อยู่เหนือความจริง หลักคิดเหล่านั้นได้ส่งผลมาสู่นักรบโรมันด้วย แต่โรมันได้ พัฒนาศิลปะไปเพื่อสาธารณชนและเพื่อแสดงความอหังการของการเป็น นั ก รบ หลั ง จากนั้ น ศิ ล ปะของชาวตะวั น ตกก็ ด ำเนิ น ไปเพื่ อ พลั ง ศรั ท ธา ของคริ ส ต์ ศ าสนา จวบจนกระทั่ ง โลกตะวั น ตกก้ า วหาสู่ ยุ ค สมั ย ใหม่ ใ น คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อพลังศรัทธาคริสต์ศาสนารุ่งเรืองขึ้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาหรือ
54
ประติมากรรมโรมัน ออกุสตุส หินอ่อน ประติมากรรมกรีกโบราณ นักขว้างจาน หินอ่อนประมาณ 450 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ประมาณ 20 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
"Renaissance" ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 พร้อมกับความรุ่งเรืองแถบ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ศาสนา เศรษฐกิจ การธนาคาร วิทยาศาสตร์ การ ศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น พร้ อ มกั น รวมทั้ ง ศิ ล ปะการแสดง ดนตรี วรรณกรรม สถาปั ต ยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม กล่าวเฉพาะจิตรกรรมที่เป็นรากความคิดของ ศิลปะหลักวิชา (Academic Art) ซึ่งสะท้อนสุนทรียศาสตร์ในเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Aesthetics) ที่มีหลักคิดในทางกายวิภาคคนและสัตว์ ทัศนียภาพ (Linear and Atmospheric Perspective) แสงเงา ความเหมือนจริง รวม ทั้งกระบวนการสร้างสรรค์จิตรกรรม สืบต่อมาจนถึงศิลปะบาโร็ค (Baroque) ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 และศิลปะโรโคโค (Rococo) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ศิลปะหลักวิชาการดังกล่าว ที่ มุ่งเน้นความประณีตบรรจง ความละเอียดอ่อน
55 และหลั ก การต่ า งๆ รวมทั้ ง ความศรั ท ธา จิ ต วิ ญ ญาณ และการแสดงออกในเชิ ง จิ ต นิ ย มทั้ ง หลาย ได้ ก่ อ ให้ เกิดคำว่า "Fine Arts" หรือ "วิจิตรศิลป์" ขึ้น เมื่ อ โลกสมั ย ใหม่ พั ฒ นาขึ้ น มาในยุ โ รปช่ ว ง คริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 19 ทั้ ง ปรั ช ญาความเชื่ อ ที่ เ ชื่ อ มั่ น ในเสรี ภ าพของมนุ ษ ย์ การ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ชนชั้นกลางมีอำนาจ การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรม ลีโอนาร์โด ดา วินชี โมนาลิซา จิตรกรรมสีน้ำมัน 1503-1506 ค ว า ม เ จ ริ ญ รุ่ ง เ รื อ ง ท า ง วิทยาศาสตร์ การศึกษาสมัยใหม่ ศิลปะก็พัฒนาไปสู่ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) ด้วย ทั้งศิลปะการแสดง ดนตรี วรรณกรรม สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม จากวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) สู่ทัศนศิลป์ (Visual Art) ที่เชื่อใน โลกปัจจุบัน สิ่งที่ประจักษ์ และการรับรู้ (Perception) ปรากฎการณ์ต่างๆ ตามที่เป็นจริง ศิลปะสมัยใหม่ทางด้านทัศนศิลป์ได้ก่อให้เกิดศิลปะจินตนิยม (Romanticism) ศิลปะลัทธิประทับใจ (Impressionism) ศิลปะลัทธิรุนแรง (Fauvism) ศิลปะลัทธิแสดงออก (Expressionism) ศิลปะบาศกนิยม (Cubism) ศิลปะลัทธิดาดา (Dadaism) ศิลปะลัทธิเหนือจริง (Surrealism) ศิลปะป็อป (Pop Art) และอีกมากมาย จากทศวรรษ 1960 ศิลปะกระแสสากล ทั้งจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ได้นำเสนอการแสดงออกทางศิลปะในกระแสความคิดใหม่ ศิลปะยุค
56
คล็อด โมเนท์ สถานีรถไฟ จิตรกรรมสีน้ำมัน 2420
แอร์นส์ท ลุดวิก เคิร์ชเนอร์ ศิลปะและหุ่นนางแบบ 2450
จอร์จ บราค โต๊ะกลม จิตรกรรมสีน้ำมัน 2472
57
แจสเปอร์ จอนส์ ธงชาติ ภาพปะติดและสีน้ำมัน 2498
ราอูล ฮุสมันน์ จิตวิญญาณแห่งกาลเวลา ศิลปะสื่อผสม 2462
หลังสมัยใหม่ (Postmodern Art) ที่มุ่งเน้นความคิด มุ่งเน้นการรับรู้และ การตี ค วามภาพความคิดในสมอง การนำเสนอที่ส อดคล้ อ งกั บ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม สื่อแสดงออกทางศิลปะที่หลากหลาย มิได้ติดยึดอยู่กับ สื่อแสดงออกจากอดีตเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ศิลปะแนวคิด (Conceptual Art) ศิ ล ปะจั ด วาง (Installation Art) ศิ ล ปะสื่ อ แสดง (Perfomance Art) ศิลปะบนดิน (Earth Art) ฯลฯ ซึ่งอาจรวมเรียกว่า ศิลปะจินตทัศน์ ศิลปะในซีกโลกตะวันออก ไม่ว่าจะเป็น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย อินโดเนเซีย ไทย และประเทศชาติอื่นๆ ล้วนมีลักษณะเฉพาะในการแสดงออก ทางศิลปะของตน ทั้งศิลปะการแสดง วรรณกรรม ดนตรี สถาปัตยกรรม ทัศนศิลป์ ต่างมีสายศิลปวัฒนธรรม ศิลปะในบริบทวัฒนธรรม (Art in Cultural Context) ที่พัฒนาสืบทอดกันมา เป็นสายศิลปะประเพณีนิยม ซึ่งการอนุรักษ์ (Preservation) การสืบสาน (Transition) และการพัฒนา (Development) ล้วนเป็นสิ่งสัมพันธ์กัน ศิลปะซึ่งขาดการอนุรักษ์ย่อมสูญสลายไป การอนุรักษ์ ที่ขาดการสืบสานและพัฒนา ก็ไร้ค่าสำหรับปัจจุบันและอนาคต ในสังคม ปั จ จุ บั น แม้ ศิ ล ปะกระแสสากลจะไหลบ่ า เข้ า มาอย่ า งไรก็ ต าม เราคง
58
โรเบิร์ต สมิธสัน ขดในทะเล ศิลปะยุคหลังสมัยใหม่ 2513 พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกรุงเทพมหานคร
ต้องทำความเข้าใจ กลั่นกรอง เลือกสรรด้วยปัญญา สร้างความสมดุลทั้ง กระแสสากลและกระแสประเพณี นิ ย ม กระแสประเพณี นิ ย มหรื อ ศิ ล ปะ ประเพณีนิยม (Traditional Art) ที่ได้รับการศึกษาค้นคว้า แสวงหาองค์ ความรู้ที่คมชัด และพัฒนาอยู่ตลอดเวลา พัฒนาให้สอดผสานกับพัฒนาการ ของสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละห้วงเวลา ศิลปะที่ขาดการพัฒนาย่อมสูญ สลายไปในที่สุด โลกภายนอกและภายในกับทัศนศิลป์ โลกภายนอกทั้งปรากฏการณ์รูปธรรมและนามธรรม ไม่ว่าจะเป็น ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัตถุ และเหตุการณ์ต่างๆ ย่อมเป็นแรงกระตุ้นหรือ เป็นสื่อดลใจ ผ่านอวัยวะรับความรู้สึก ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส ก่อให้ เกิดการรับรู้ สร้างภาพ สร้างความคิดและจินตนาการขึ้นในสมอง อวัยวะรับ ความรู้สึกของเรามีภาวะการรับรู้ (Threshold) ระดับหนึ่ง เช่น เราสามารถ ได้ยินเสียงได้ในช่วงความถี่ 20-20,000 เฮิรท์ส มองเห็นแสงได้ในช่วงคลื่น 380-760 นาโนมิเตอร์ ความถี่ของเสียงสูงต่ำกว่านั้นเราไม่สามารถรับรู้ได้ แต่ สัตว์บางชนิดอาจรับรู้ได้ คลื่นแสงสูงต่ำกว่า 380-760 นาโนมิเตอร์ คือ อุลตราไวโอเลทและอินฟราเรด เราไม่สามารถมองเห็นได้
59 การรับรู้โลกภายนอก (Outer World) ที่ส่งผลมาสู่ความรู้สึกนึกคิด และภาพในสมองซึ่งเป็นโลกภายใน (Inner World) ได้ก่อให้เกิดความคิด และจิ น ตนาการ (Imagination) ขึ้ น และจิ น ตนาการจะส่ ง ผลไปสู่ ก าร สร้ า งสรรค์ ศิ ล ปะ ไม่ ว่ า จะเป็ น ดนตรี ศิ ล ปะการแสดง หรื อ ทั ศ นศิ ล ป์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านทัศนศิลป์ ศิลปินก็จะใช้สื่อที่เป็น สี ดิน หรือวัตถุอื่น เป็นสื่อแสดงออก แสดงเป็น "รูป" หรือ "ภาพ" รูปที่เป็น 3 มิติและภาพที่เป็น 2 มิติ เราในฐานะผู้ดูหรือชื่นชมก็จะรับรู้สื่อ 2 หรือ 3 มิตินั้น เชื่อมโยงไปสู่ สื่อดลใจบนพื้นฐานประสบการณ์เฉพาะบุคคล สื่อแสดงออกหรือผลงาน ทัศนศิลป์ดังกล่าว เรามีสิทธิอันชอบธรรมที่จะชื่นชมบนพื้นฐานเสรีภาพของเรา บนพื้นฐานประสบการณ์และจินตนาการของเรา จะผสานสัมพันธ์กับความคิด และจินตนาการของศิลปินด้วยก็ได้ นอกจากการรับรู้ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะรับความรู้สึก ตา หู จมูก ลิ้น และ กายสัมผัส มนุษย์ยังมีการรับรู้พิเศษ "Extrasensory Perception" (ESP.)
เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เริ่มเข้าถึงธรรม สีอะครีลิค 2532
60 หรือความรู้สึกที่หก (The Sixth Sense) ซึ่งเป็นการรับรู้ที่มิได้เกิดจาก อวัยวะรับความรู้สึก ตา หู จมูก ลิ้น กายสัมผัสโดยตรง เช่น การรับรู้ของ คนตาบอด นาฬิกาชีวภาพ (Bioclock) โทรจิต (Telepathy) การสะกดจิต (Hypnosis) ลางสังหรณ์ (Premonition) เป็นต้น ภาพยนต์เรื่อง "At First Sight" (การมองเห็นครั้งแรก) ซึ่งนำแสดง โดย เวล คิลเมอร์ (Val Kilmer) เป็นเรื่องของชายหนุ่ม (เวอร์จิล) ที่ตาบอด ด้วยต้อกระจกมาตั้งแต่วัยทารก เขาไม่สามารถรับรู้ภาพหรือจำภาพอะไรได้ ทั้งสิ้น เป็นคนเฉลียวฉลาดที่เรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้งสี่ ยกเว้นตา รวมทั้ง ความสามารถใน ESP. ที่บูรณาการการรับรู้จากอวัยวะรับความรู้สึกที่มี อยู่ กั บ จิ น ตนาการที่ ง ดงามของเขา เป็ น Scientific ESP. ที่ อ ธิ บ ายได้ ชายหนุ่มคนนี้อาศัยอยู่ในเมืองเล็กที่สงบร่มรื่น หญิงสาว (เอมี) สถาปนิกคนสวย จากนิวยอร์คมาพักผ่อนในเมืองเล็ก เธออาจเปลี่ยวเหงาจากการหย่ากับสามี สถาปนิก ที่แม้หย่าขาดแล้วก็ยังคงทำงานอยู่ในบริษัทเดียวกัน เป็นเพื่อนกัน ตัดกลับมาที่การพบกันของชายหนุ่มและหญิงสาวในเมืองเล็ก การได้ พบปะพูดคุยกันโดยบังเอิญ ได้ไปยืนอยู่ในท้องทุ่งและธรรมชาติ ได้หลบฝน อยู่ในอาคารเก่าด้วยกัน การพรรณนาถึงความรู้สึกสัมผัสต่อธรรมชาติ ฝน ความเงียบ และมิติความรู้สึกอื่นๆ ทำให้หญิงสาวชื่นชมใน ESP. ของชายหนุ่ม มาก เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่วงการแพทย์สามารถผ่าตัดต้อกระจกให้หายและ มองเห็นได้ จากข่าวหนังสือพิมพ์และความพยายามของหญิงสาว ทำให้เธอ ติดต่อกับหมอและเกลี้ยกล่อมให้ชายหนุ่มเดินทางเข้าสู่นิวยอร์ค และยอม ผ่าตัด นับเป็นรายแรกๆ ที่เป็นข่าวฮือฮามาก เมื่อถึงเวลาเปิดตาดูโลก เขาทั้ง ตกใจ ทั้งหวาดกลัว และวิตกกับแสง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวเบื้องหน้า ภาพที่ ไ ม่ เ คยเห็นมาตลอดชีวิต เขาต้องทำความเข้ า ใจกั บ พฤติ ก รรมของ มนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สีหน้าและแววตาของผู้คน รวมทั้ง หญิงสาว ประเด็นสำคัญ เขาต้องปรับ ESP. อันประณีตงดงามของเขา มาสู่ การรับรู้ภาพที่สับสนวุ่นวายและไม่คุ้นชิน จากชีวิตและความรู้สึกนึกคิดที่งดงาม
61 สงบสันติ ทุกสิ่งทุกอย่างได้เปลี่ยนไป เขายังคงต้องไปพบหมอเป็นระยะ ด้วยวิทยาการที่เพิ่งเริ่มต้น หมอ แจ้งว่า เขาจะต้องกลับไปสู่โลกมืดอีกครั้ง เขาทุกข์และแสวงหาความสุขจาก การมองเห็นก่อนที่ตาจะบอดลงอีกครั้ง ก่อนที่จะกลับไปสู่โลก ESP. เขาจาก หญิงสาวเพื่อเปิดโอกาสให้หญิงสาวกลับไปสู่สามีที่ยังคงมีความรักซ่อนเร้นอยู่ กลับไปอยู่เมืองเล็ก เปิดโอกาสให้พี่สาวมีอิสรภาพ หลังจากที่ต้องอมทุกข์รับ ผิดชอบดูแลเขามาตั้งแต่เด็กจนหนุ่ม กลับไปสู่ความสุขในโลกของความมืด ในโลกของ ESP. ที่สง่างามของเขา พร้อมกับมีหมาที่ซื่อสัตย์เป็นเพื่อนและนำทาง ในการสร้างสรรค์ศิลปะ หรือศิลปินจะต้องมีโลกของ ESP. อยู่ด้วย การเขียนภาพระบายสีและพิมพ์ภาพ มนุษย์สมัยหินเก่านับด้วยหมื่นปีเศษ ได้ระบายความรู้สึกนึิกคิดภายใน ด้วยการเขียนภาพระบายสีเป็นรูปสัตว์และคนบนผนังถ้ำ โดยมีหลักฐานเก่า แก่และชัดเจนอยู่ที่ถ้ำลาสโคซ์ในฝรั่งเศสและถ้ำอัลตามิราในสเปน เป็นการ เขียนภาพสัตว์เป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นควายไบซัน กวาง หรือช้างแมมมอธ เขียนด้วยสีดินและเขม่าไฟ ผสมไขสัตว์หรือเลือดสัตว์ และรู้จักการพิมพ์ภาพ ด้วยการทาไขสัตว์ลงบนผนัง วางมือทาบลงไป แล้วใช้สีดินหรือเขม่าไฟใส่ลง ในกระบอกหรือกระดูกสัตว์ที่กลวงเหมือนกระบอก เป่าให้สีติดลงบนผนังถ้ำ เป็นการพิมพ์ภาพมือด้วยกระบวนการสเตนซิล (Stencil Process) ชาวตะวันตกพัฒนากระบวนการเขียนภาพระบายสี ไปสู่กระบวนการ ศิลปะหลักวิชา ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่มีอิตาลีเป็นศูนย์กลาง ราวคริสต์ ศตวรรษที่ 15 และ 16 ศิลปินสร้างสรรค์ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic Approach) บนพื้นฐานความคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ ทั้งด้านกายวิภาคคน และสัตว์ แสงเงา ทัศนียภาพเชิงเส้น (Linear Perspective) ทัศนียภาพ บรรยากาศ (Aerial or Atmospheric Perspective) รวมทั้งกระบวนการ เขียนภาพที่เริ่มจากความชัดเจนแม่นยำของการวาดภาพ (Drawing) การ ระบายสีเดียว (Monochrome) และการระบายหลายสี (Polychrome) ใน
62 ท้ า ยที่ สุ ด กระบวนการเขี ย นภาพอย่ า งศิ ล ปะหลั ก วิ ช าได้ พั ฒ นาและ ปรับเปลี่ยนเนื้อหาสาระมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อโลกสมัยใหม่พัฒนาขึ้นพร้อมกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติอุตสาหกรรม การประกาศอิสรภาพและเสรีภาพของคนชั้นกลาง ศิลปะสมัยใหม่ในบริบทสังคมสมัยใหม่ก็พัฒนาขึ้น ทั้งเนื้อหาสาระ (Content and Subject Matter) รูปแบบและกระบวนแบบ (Form and Style) กลวิธี และกระบวนการ (Techniques and Process) ที่สัมพันธ์กับวิธีการดำรง ชีิวิตสมัยใหม่ เป็นการพัฒนาแนวคิด เสรีภาพในการแสดงออก และกลทักษะ (Technical Skill) สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน แม้ปัจจุบันแนวคิดและการ ปฏิบัติของศิลปะยุคหลังสมัยใหม่ (Postmodern Art) หรือศิลปะจินตทัศน์ (Imaging Art) จะพัฒนาซ้อนขึ้นมาก็ตาม ทางด้านศิลปะภาพพิมพ์ (Printmaking) ได้พัฒนาควบคู่มากับศิลปะ แขนงอื่นๆ จนสามารถสรุปได้ว่า การพิมพ์ภาพในปัจจุบันมี 4 ลักษณะคือ 1. กระบวนการพิมพ์ผิวนูน (Relief Process) 2. กระบวนการพิมพ์ร่องลึก (Intaglio Process) 3. กระบวนการพิมพ์พื้นราบ (Planographic Process) 4. กระบวนการพิมพ์ผ่านฉากพิมพ์ (Serigraphy) การพิมพ์ผิวนูน ที่ใช้สีทาหรือกลิ้งสีลงบนส่วนนูนของแม่พิมพ์ แล้ว พิมพ์เป็นภาพ เช่น ภาพพิมพ์แกะไม้ (Wood Cut) ภาพพิมพ์ถู (Rubbing) การพิมพ์ร่องลึก ที่ใช้กรดกัดหรือขูดขีดแม่พิมพ์โลหะให้เป็นร่อง ใช้สีพิมพ์อัด ลงในร่องผ่านเข้าสู่แท่นพิมพ์ พิมพ์ออกมาเป็นภาพ สีจากร่องติดบนกระดาษ พิมพ์ เช่น การพิมพ์เอทซิง (Etching) การพิมพ์พื้นราบ อาจเป็นแม่พิมพ์หิน หรือแม่พิมพ์โลหะ สร้างภาพด้วยสีผสมไข ซับน้ำลงบนแม่พิมพ์ สีผสมไข และน้ำจะแยกจากกัน การพิมพ์ภาพก็จะได้ภาพจากสีผสมไข การพิมพ์ผ่าน ฉากพิมพ์ โดยทั่วไปแม่พิมพ์จะเป็นฉากไหม (Silk Screen) กันส่วนที่ไม่ ต้องการให้เกิดภาพ จะด้วยการระบายสี ตัดฟิล์ม หรือกระบวนการถ่ายภาพ
63
ภาพพิมพ์ผิวนูนของโรบิน บากิลโฮล 2526
ภาพพิมพ์หินของ ฌอง ดูบุฟเฟท์ 2505
ภาพพิมพ์ซิลค์สกรีนของ รอย ลิชเทนสไตน์ 2508
64 ด้วยน้ำยาไวแสงก็ได้ การพิมพ์ ภาพ สีจะทะลุผ่านฉากพิมพ์ ปรากฏเป็นภาพบนพื้นรองรับ เป็นภาพตรง (Direct Image) ไม่ใช่ภาพกระจกเงา (Mirror Image) เหมือนกระบวนการ พิมพ์อื่น ภาพเขียนหรือจิตรกรรม ของชาวตะวันออกก็มีลักษณะ เฉพาะตัวโดดเด่น ในลักษณะ ศิลปะประเพณีนิยม ภาพเขียน จี น ที่ ส ะท้ อ นจากธรรมชาติ ปรั ช ญาธรรมของจี น และ คุณภาพเชิง บทกวี (Poetic Quality) ภาพเขียนญี่ปุ่นและ ภาพพิมพ์เอทชิงของ สแตนเลย์ เฮย์เตอร์ 2494 ภาพพิมพ์แกะไม้ที่ยิ่งใหญ่ของ ญี่ ปุ่ น สะท้ อ นชี วิ ต ความเป็ น อยู่ ความเรี ย บง่ า ย สมถะ ความคิ ด และ ธรรมชาติ อย่างบทกวีไฮกุ ภาพเขียนไทยที่สะท้อนเรื่องราวของพุทธศาสนา เป็นด้านหลัก เป็นจิตรกรรมแบบอุดมคติ (Idealism) ภาพจากจินตนาการ เพื่อสะท้อนและกระตุ้นโลกุตรธรรม เป็นจิตรกรรม เชิงพรรณนา (Narrative Painting) ในลักษณะภาพประดิษฐ์สร้าง สัญลักษณ์ด้วยลวดลาย ขนาด และสี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สีทองที่แสดงความสูงส่งอลังการ เป็นจิตรกรรมที่ มุ่งเน้นความประณีตบรรจงและระนาบสองมิติบนพื้นราบ
65
จิตรกรรมฝาผนังวัดคงคาราม ราชบุรี
การสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติ ช่วงประมาณ 600 - 700 ปีที่ ผ่ า นมา ประติ ม ากรรมในยุ โ รปพั ฒ นา มาจากประติมากรรมเพื่อคริสต์ศาสนา จากศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque) และโกธิ ค (Gothic) มาสู่ ส มั ย ฟื้ น ฟู ศิลปวิทยา ในช่วงเวลานั้น อาณาจักร สุโขทัยก็กำลังสร้างอารยธรรมของไทยขึ้น รวมทั้งการพัฒนาปฏิมากรรม (ปฏิมา = พระพุทธรูป) ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองทาง ด้านประติมากรรม แล้วพระพุทธรูปของ ไทยก็ ไ ด้ รั บ การพั ฒ นาควบคู่ ม ากั บ พั ฒ นาการของสั ง คมไทยและพุ ท ธ ศาสนาในประเทศไทย ทั้งพระพุทธรูป
พระพุทธรูปปางประทานธรรม วัดเชิงท่า อำเภอเมือง นนทบุรี ศิลปะสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13
66
พาโบล ปิคาสโซ ศีรษะสตรี ประติมากรรมโลหะ 2474
ประติมากรรมหลอดสีของ กมล ทัศนาญชลี 2530
แบบอู่ทอง อยุธยา รัตนโกสินทร์ และปัจจุบัน ส่วนในสังคมตะวันตก ประติมากรรมก็ได้พัฒนาควบคู่มากับศิลปะ ยุ ค ฟื้ น ฟู ศิ ล ปวิ ท ยา บาโร็ ค โรโคโค และก้ า วหน้ า มาสู่ ศิ ล ปะสมั ย ใหม่ ใ น คริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 19 ควบคู่ ม ากั บ ลั ท ธิ ศิ ล ปะและกลุ่ ม ศิ ล ปะมากมาย จนกระทั่ ง ถึ ง ปั จ จุ บั น เราอาจรู้ จั ก ประติ ม ากรรมที่ มี ชื่ อ เสี ย งของโรแดง (August Rodin) และประติมากรรมของเดอกาส์ (Edgar Degas) ในศิลปะ ลัทธิประทับใจ (Impressionism) รู้จักประติมากรรมของปิคาสโซ (Pablo Picasso) ในศิลปะบาศกนิยม รู้จักประติมากรรมของโคลล์วิทซ์ (Kathe Kollwitz) ในศิลปะลัทธิแสดงออก (Expressionism) รู้จักประติมากรรม ผสานรูปและบริเวณว่าง (Form and Space) ของมัวร์ (Henri Moore) ประติมากรรมโมบิล (Mobile) ของคาลเดอร์ (Alexander Calder) หรือ ประติมากรรมหลอดสีของกมล ทัศนาญชลี
67
มาร์เชล บรัดเธอร์ โต๊ะและตู้ ศิลปะการจัดวาง 2519
ปัจจุบัน ศิลปะยุคหลังสมัยใหม่ ศิลปิน ได้สร้างสรรค์ศิลปะหลากหลายความคิดและ หลากหลายรู ป แบบ เพื่ อ สร้ า งความสั ม พั น ธ์ ระหว่างศิลปะจากความคิดและภาพความคิด หรื อ จิ น ตภาพมาสู่ ศิ ล ปะ 2 และ 3 มิ ติ ซึ่งดูเหมือนงาน 3 มิติจะได้รับการตอบรับมาก ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะแนวคิด (Conceptual Art) ศิลปะจัดวาง (Installation Art) ศิลปะ สื่อแสดง (Performance Art) เป็นต้น
การผสมผสานความคิดและสื่อแสดงออก ศิลปะการแสดง ดนตรี และวรรณกรรม มักเป็นศิลปะที่ผสมผสาน สื่อต่างๆ เข้าด้วยกัน ในขณะที่ศิลปะการแสดงใช้การเคลื่อนไหวร่างกายเป็น สื่อแสดงออก ดนตรีใช้ลีลาของเสียงผ่านเครื่องดนตรีต่างๆ เป็นสื่อแสดงออก และวรรณกรรมใช้การดำเนินเรื่องและความคิดผ่านสื่อแสดงออกซึ่งเป็น ตัวอักษร ศิลปะเช่นนี้อาจเรียกว่า ศิลปะสื่อผสม (Mixed Media Art) ใน ลั ก ษณะหนึ่ ง โดยที่ "สื่ อ " (พหู พ จน์ ) ในที่ นี้ ห มายถึ ง สื่ อ ที่ต่างแขนงกัน คือศิลปะการแสดง ดนตรี และวรรณกรรม เมื่ อ ปิคาสโซสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ โดยใช้ วั ส ดุ ต่ า งๆ สี น้ ำ มั น ผ้ า น้ำมัน เชือก กระดาษหนังสือพิมพ์ ฯลฯ มาผสมผสานไว้บนระนาบ พาโบล ปิคาสโซ หุ่นนิ่งและเก้าอี้หวาย ศิลปะสื่อผสม 2455
68 เราก็เรียกศิลปะเช่นนี้ว่า สื่อผสม (Mixed Media) ด้วยเช่นกัน “สื่อ” ในที่นี้ หมายถึงวัสดุต่างๆ หลังจากนั้นศิลปะในยุคหลังๆ ก็ใช้วัสดุต่างๆ ผสมผสานกัน มากขึ้นและมีชื่อเรียกต่างๆ นานา เช่น ภาพปะติด (Collage) ภาพถ่ายปะติด (Photomontage) รูปต่อประกอบ (Assemblage) เป็นต้น ยิ่งศิลปะร่วม สมัยปัจจุบัน ยิ่งมีการผสมผสานความคิดและสื่อแสดงออกมากยิ่งขึ้น ทัศนศิลป์ ศิลปะจินตทัศน์ และสภาพแวดล้อม ขอนำบทความชื่อ “ศิลปะที่เปลี่ยนแปลงไป” ของผู้เขียน ซึ่งตีพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ-จุดประกาย เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2540 มานำเสนออีกครั้งหนึ่งดังนี้ ปิคาสโซ เคยบอกว่า "สำหรับข้าพเจ้าแล้ว ศิลปะไม่มีอดีตและไม่มี อนาคต ถ้าผลงานศิลปะใดก็ตามไม่สามารถคงอยู่ได้ในปัจจุบัน มันคงต้อง เป็นสิ่งที่ไม่มีใครสนใจ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะกรีก อียิปต์ หรือผลงานศิลปะของ จิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในอดีต ย่อมไม่ใช่ศิลปะอดีต มันอาจมีค่ามีความหมายใน ปัจจุบันมากกว่าเคยเป็นมา ศิลปะไม่เคยปฏิวัติตัวเอง แต่ด้วยความคิดของ คนเราที่เปลี่ยนไป การแสดงออกก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย" จากศิลปะบรรพกาลได้พัฒนามาสู่ศิลปะในเชิงมนุษยนิยม ศิลปะหลัก วิชา ศิลปะลัทธิสมัยใหม่ นับจากทศวรรษ 1970 ศิลปินส่วนหนึ่งในซีกโลก ตะวันตก ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นกระบวนการใหม่ทางศิลปะที่เรียกว่า ลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) แล้วศิลปะลัทธิหลังสมัยใหม่ก็แตกลูก หลานออกไปหลากหลายกระบวนแบบ พร้อมๆ กับพัฒนาการสังคมก็ก้าว จากสงครามเย็นมาสู่สงครามเศรษฐกิจ อตุสาหกรรมเก่ามาสู่อุตสาหกรรม ใหม่และสังคมข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน นักออกแบบกราฟิค นักออกแบบ โฆษณา ก็ ต่ อ ต้ า นลั ท ธิ ส มั ย ใหม่ ร ากฐานเบาเฮาส์ จ ากเยอรมนี ต่ อ ต้ า น นักออกแบบสวิสส์ที่มุ่งเน้นแบบแผนของอักขรลักษณ์ (Typography) ก้าวมาสู่ การออกแบบที่แสดงระบบแบบไร้ระบบ และการออกแบบป็อป (Pop Design) ซึ่งป็อปดีไซน์ก็สอดผสานกับป็อปอาร์ตในสังคม
69
ยอง ปิง ฮวง ประวัติศาสตร์ศิลป์จีน...หลังจากสองนาทีในเครื่องซักผ้า ศิลปะสื่อผสม 2530
แม้นักประวัติศาสตร์และนักอื่นๆ ก็ก้าวเข้าสู่ลัทธิหลังสมัยใหม่ ด้วย การต่อต้านแบบแผนและแนวคิดเฉกเช่นอดีต ธีระ นุชเปี่ยม แปลจาก จี.ฮิม เมลฟาร์บ ความบางตอนว่า ความหมายของ Postmodernism มองได้จากสาขาวิชา ความ หมายทางวรรณคดีก็คือ การปฏิเสธความแน่นอนตายตัวของ ตัวบท (Text) ไม่ว่าเรื่องใด นอกจากนั้นก็ได้แก่ การไม่ยอมให้ ผู้เขียนมีความสำคัญเหนือผู้ตีความ และไม่ยอมรับหลักเกณฑ์ การจัดประเภทวรรณกรรม ที่ให้เอกสิทธิ์แก่หนังสือที่เป็นผลงาน สำคั ญ เหนือหนังสือประเภทการ์ตูน ในทางปรั ช ญา ประเด็ น สำคัญในแนวคิดนี้อยู่ที่การปฏิเสธความแน่นอนตายตัวของภาษา ปฏิเสธความสอดคล้องระหว่างภาษาและความเป็นจริง (Reality) และไม่ ย อมรั บ ว่ า เราสามารถจะเข้ า ถึ ง ความจริ ง (Truth) ที่ ใกล้เคียงกับความเป็นจริงได้ ในด้านกฎหมาย (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสหรัฐอเมริกา) โพสท์โมเดิร์นนิสม์ ได้แก่ การปฏิเสธความ
70 แน่นอนตายตัวของรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการปฏิเสธความชอบ ธรรมของกฎหมาย โดยถือว่ากฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือแห่ง อำนาจ ในส่วนของประวัติศาสตร์ โพสท์โมเดิร์นนิสม์ ก็คือการ ปฏิเสธความแน่นอนตายตัวของอดีตนั่นเอง ไม่มีความเป็นจริง แห่งอดีตที่นอกเหนือไปจากสิ่งที่นักประวัติศาสตร์เลือกกำหนดขึิ้น อันหมายถึง การถือว่าไม่มีความจริงอันเป็นภววิสัย (Objectivity) เกี่ยวกับอดีตแต่อย่างใดทั้งสิ้น (สังคมศาสตร์ มศว. 2536 : 59) ลัทธิหลังสมัยใหม่ในทางศิลปะได้เห็นภาพชัดเจนขึ้นระหว่างทศวรรษ 1970 ศิลปะที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยศิลปิน เรานำศิลปะในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นจิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะภาพพิมพ์ ไปติดตั้งไว้ในพิพิธภัณฑ์ ในสำนั ก งาน ในบ้ า น หรื อ แม้ แ ต่ ก ารติ ด ตั้ ง ประติ ม ากรรมไว้ ก ลางสนาม ในสวนสาธารณะ เราเป็นผู้ชื่นชม เรากับศิลปะแปลกแยกจากกัน แปลกแยก จากสภาพแวดล้อม แปลกแยกจากธรรมชาติ ศิลปะมีแบบแผนค่อนข้างตายตัว และชัดเจนจากอดีต การเปลี่ยนแปลงมากมายของลัทธิสมัยใหม่ (Modernism) ก็เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาการอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน อิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism) ต่อต้านเรียลิสม์ (Realism) เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Expressionism) ต่อต้านโฟวิสม์ (Fauvism) คัลเลอร์ฟีลด์ (Color Field) ต่ อ ต้ า น แอ็ บ สแตรคท์ เอ็ ก ซ์ เ พรสซั น นิ ส ม์ (Abstract Expressionism) หรื อ อื่ น ใด ต่ า งก็ เ พี ย งต่ อ ต้ า นและถ้ อ ยที ถ้ อ ยอาศั ย แบบแผนจากอดีต แล้วท้ายที่สุด เขาก็สร้างสรรค์จิตกรรมในลักษณะเดิม สร้างสรรค์บนระนาบ องค์ประกอบภาพอันเป็นแบบแผน แสดงอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด สร้างสรรค์รูปแบบ เนื้อหา และกลวิธีต่างๆ ที่สืบทอดกันมา จากระบบแบบแผนเดิม เมื่อนำผลงานศิลปะเหล่านั้นไปติดตั้งยังที่ใดที่หนึ่ง เขาก็จะไปชื่นชม อย่างแปลกแยก ระหว่าง "เขา" ซึ่งเป็นมนุษย์กับผลงานศิลปะ ซึ่ง "เขา" หรือ "พวกเขา" เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น
71 ศิลปินลัทธิหลังสมัยใหม่ วางหนังสือกางทาบลงบนหน้าอก นอน อาบแดดให้ เ กิ ด คราบแดด แสดงการผสมผสานระหว่ า งผิ ว มนุ ษ ย์ ซึ่ ง เป็ น ธรรมชาติกับคราบแดดรอยหนังสือวางทาบ ซึ่งมนุษย์จงใจให้เกิดขึ้น การเกิด ขึ้นก็เป็นไปอย่างธรรมชาติ ศิลปินกัดย้ำไปที่แขนตนเองให้เกิดเป็นรอยฟัน ล่างและบน รอยกัดย้ำผสมผสานระหว่างธรรมชาติและการกระทำให้เกิดขึ้น ศิ ล ปิ น อาจทาสี ล งบนรอยกั ด นั้ น และพิ ม พ์ ภ าพลงบนกระดาษ ก็ เ ป็ น ทั้ ง แม่พิมพ์และภาพพิมพ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำของมนุษย์ กับธรรมชาติ ศิลปินเดินเข้าไปในป่า เก็บกิ่งไม้จากธรรมชาติวางล้อมรอบต้นไม้เป็น วงกลม ศิ ล ปิ น ขนหิ น ไปถมทะเล วนเป็ น ทาง ขดเป็ น ก้ น หอยขนาดใหญ่ ศิลปินเย็บผ้าใบทำเป็นรูปไข่ดาวขนาดยักษ์ นำไปวางกลางแม่น้ำในฤดูหนาว ที่จับตัวเป็นน้ำแข็ง จัดวางในตอนกลางคืน เพื่อให้รูปไข่ดาวต้อนรับผู้คนที่ขับรถ ข้ามสะพานไปมาในตอนเช้า ศิลปินใช้ผ้าขึงห่อภูเขาทั้งลูก ศิลปินโรยสีฝุ่น หลากสีเป็นแนวยาวกลางทะเลทราย เพื่อปล่อยให้ลมพัดผ่านให้ธรรมชาติ กลืนการกระทำของมนุษย์ไปกับกาลเวลา ฯลฯ แล้ ว คอนเซปชวล อาร์ ต (Conceptual Art) เปอร์ ฟ อร์ แ มนซ์ (Performance) บอดี อาร์ต (Body Art) อินสตอลเลชัน อาร์ต (Installation Art) ก็เติบโตแตกลูกแตกหลานออกไปมากมาย สร้างการชื่นชมและความ งุนงงให้กับสังคมอย่างสะใจ... และต้องไม่ลืมว่า "ลัทธิหลังสมัยใหม่" คือ พัฒนาการมิใช่แฟชั่น
72
3
สุนทรียภาพในดนตรี แม้ศิลปะจะมิใช่ปัจจัยหลักสำหรับการดำรงชีวิต แต่ศิลปะก็อาจเป็น ส่วนพิเศษ ส่วนเสริมหรือส่วนเกินที่สำคัญยิ่งในชีวิต หลายคนบอกว่า ศิลปะ เป็นส่วนที่เติมชีวิตให้เต็ม เมื่อกล่าวถึง ศิลปะ ซึ่งหมายถึงความประณีตงดงาม ย่อมหมายความรวมถึง ดนตรี ศิลปะการแสดง วรรณกรรม และศิลปะอื่นๆ ทั้งความงามและความไพเราะ ถ้าจะกล่าวเฉพาะ ดนตรี (Music) และบทเพลง (Song) ที่สัมพันธ์กับบทกวี (Poem) และศิลปะการแสดง (Performing Art) ศิลปะแขนงต่างๆ เหล่านี้ ไม่สามารถแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด จริงอยู่ ดนตรีบางอย่างไม่ต้องพึ่งพาอาศัยบทกวี ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยศิลปะการแสดง ดนตรีก็สามารถไพเราะได้ งดงามได้ด้วยตัวของมันเอง ในทางกลับกัน ศิลปะ การแสดง (Performing Art) หรือนาฏศิลป์ (Dance) ก็งดงามได้ด้วยตัว ของมันเองเช่นกัน มนุษย์กับการสร้างคลื่นเสียง ดนตรีก็คงเกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ที่เริ่มมีสำนึกเกี่ยวกับความงาม ความไพเราะ ความรื่นรมย์ อาจรวมทั้งสำนึกที่เกี่ยวกับการไถ่บาปและการ ตัดไม้ข่มนาม ในการฆ่าสัตว์ ในการใช้ชีวิตในบรรพกาล เช่นเดียวกับการ ถ่ า ยทอดภาพเขี ย นลงบนผนั ง ถ้ ำ การแกะสลั ก หิ น แกะสลั ก กระดู ก สั ต ว์ แม้จะไม่มีหลักฐานที่เป็นรูปธรรมหลงเหลือไว้เป็นหลักฐานดังเช่น ภาพเขียน รูปแกะสลัก อาวุธหิน สถาปัตยกรรมหินตั้ง หรือเครื่องปั้นดินเผาในยุคต่อๆ มา ก็ตาม มนุษย์และสัตว์ต่างก็มีเสียง นอกจากการร้องหรือเปล่งเสียงเพื่อการ สื่อสาร เพื่อการต่อสู้ เพื่อการขมขู่ เพื่อแสดงความเจ็บปวด ฯลฯ แล้ว มนุษย์ และสัตว์ย่อมเปล่งเสียงเพื่อแสดงความดีใจและแสดงความสุขด้วย นั่นคง
74 เป็นการเริ่มต้นของบทเพลง ดนตรี และการร่ายรำต่างๆ มนุษย์อาจได้ยิน เสียงดนตรีตามธรรมชาติ เสียงไม้เสียดสี เสียงลมพัดผ่านใบไม้ เสียงน้ำหยด ฯลฯ มนุษย์อาจสร้างเสียงดนตรีโดยบังเอิญ เช่น การเป่าใบไม้ การเป่าลม ผ่านกระบอกหรือเขาสัตว์ การเป่าลมผ่านปากของตนเอง การดีดสายธนูหรือ หน้าไม้ ฯลฯ แล้วพัฒนาการของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ก็ตามมา ดนตรีได้กลายเป็นสิ่งที่ผนึกแน่นและเป็นที่ชื่นชมหลงใหลใฝ่ฝันของ ผู้คน ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน กับผู้คนทุกเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์ อารยะ และอนารยะ บทพระราชนิพนธ์ เวนิสวานิช ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่ง ทรงนิพนธ์เกี่ยวกับดนตรีไว้ดังนี้ ชนใดไม่มีดนตรีกาล ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์ หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่ ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ (คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า. 2529 : 173)
เขาและเราชื่นชมดนตรีอย่างไร Elihu Burrit : ระหว่างการเป็นเครื่องมือแห่งความรักและสันติภาพ ไม่มีอะไรที่ อ่อนหวานกว่า นุ่มนวลกว่า และส่งผลกระทบมากไปกว่าดนตรี แห่งลมหายใจของสันติภาพอันประณีต Clarence Cason : เรารู้สึกว่า ดนตรีที่เรียบเรียงเสียงประสานแล้วนั้น เป็นการจัด ระบบระเบียบวิญญาณและจิตใจ เพื่อสมาธิแห่งความรื่นรมย์ ในห้วงเวลาของความเงียบ ห้วงเวลาที่ว่างเปล่า ซึ่งก่อให้เกิด ความทนทานยิ่งสำหรับผู้ที่มีจิตใจอ่อนล้า
75
William Congreve : ดนตรีมีเสน่ห์ที่จะปลอบประโลมอารมณ์ที่ป่าเถื่อน ช่วยให้หินนุ่ม และทำให้ปุ่มโปนบนต้นโอ็คราบเรียบลง
Johann Wolfgang Von Goethe : สิ่งที่มีคุณค่าสูงสุดสำหรับดนตรี ไม่ใช่การรังสรรค์ขึ้นใหม่และ ไม่ใช่ความเก่าแก่ของดนตรี เมื่อเราอยู่กับดนตรีย่อมได้รับผลที่ ยิ่งใหญ่เสมอ
William Green : ดนตรีคือมิตรของแรงงาน ดนตรีช่วยผ่อนงานหนักให้เป็นเบา โดยกระตุ้นให้ประสาทและจิตใจสดชื่นขึ้น
Fulke Greville : หู ที่ ฟั ง ดนตรี ไ ด้ ดี กั บ รสนิ ย มในการฟั ง ดนตรี ที่ ดี ย่ อ มต่ า งกั น อย่างมาก บ่อยครั้งที่เราเข้าใจสับสน ดนตรีช่วยให้เราเข้าใจ และรื่นรมย์ในเป้าหมายทุกอย่างของความรู้สึก และก่อให้เกิด ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง
Victor Marie Hugo : ดนตรีแสดงออกซึ่งสิ่งที่เราไม่สามารถจะพูดออกมาได้ และดนตรี ก็ไม่สามารถจะเงียบอยู่ได้
Matin Luther : ดนตรีคือวินัย คือคนรักที่เจ้าระเบียบ คือพฤติกรรมที่ดีงาม เธอ ทำให้เรานุ่มนวลและอ่อนโยน มีศีลธรรมธรรมและเหตุผล
Maurice Joseph Ravel : สำหรับดนตรีแล้ว ฉันรู้สึกว่าเป็นเรื่องของอารมณ์เป็นประการ แรก และปัญญาประการที่สอง
76
Igor Fedorovich Stravinsky : ปัญหาสำหรับความซาบซึ้งในดนตรี โดยทั่วไปแล้วเรามักจะได้รับ การสั่งสอนให้เคารพนับถือดนตรีมากเกินไป เราควรได้รับการ สอนให้รักดนตรีมากกว่า (John P.Bradley and others. 1969 : 505 - 506)
ความคิดสร้างสรรค์และดนตรี นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้ให้ความสนใจศึกษาค้นคว้าในเรื่อง ของความคิดสร้างสรรค์มาเป็นเวลานาน มีผู้ให้ความหมายของความคิด สร้างสรรค์ (Creativity) ไว้มากมาย บางนิยามก็เน้นถึงผลผลิตทางวัตถุ บางนิยามก็เน้นถึงกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ ลักษณะของบุคคลที่มี ความคิดสร้างสรรค์ หรือสภาพของความคิดสร้างสรรค์ อย่างไรก็ตาม นิยาม เหล่านั้นก็มักรวมถึงผลผลิตที่แปลกใหม่ บางท่านกล่าวถึงความคิดสร้างสรรค์ว่า มีสภาพแตกต่างไปจากสภาพปกติ อยู่นอกเหนือสิ่งที่เป็นกิจนิสัย บางท่านเชื่อว่า การแสดงออกในเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ ต้องเป็นเรื่องของความจริง มีความโดดเด่นจากสภาพที่เป็นอยู่ บางท่านเชื่อว่า การสร้างสรรค์ต้องแสดงถึง ความพิเศษที่หาได้ยากยิ่ง บางท่านก็หมายถึงการสร้างสรรค์ดาษๆ ทั่วไป ทอร์แรนซ์ ให้ความหมายความคิดสร้างสรรค์ไว้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ คือกระบวนการประสาทสัมผัสที่ฉับไวต่อ ปัญหา ต่อสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง ต่อช่องว่างความรู้ ต่อปัจจัยที่ สูญหายไป ต่อสิ่งที่ขาดความกลมกลืน ฯลฯ ความสามารถที่จะ แยกแยะสิ่งที่ยุ่งยาก การค้นหาทางแก้ปัญหา การคาดเดา หรือ กำหนดสมมติฐานในสิ่งที่บกพร่อง การทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่า และท้ายที่สุดสามารถเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ที่ปรากฏ (อ้างใน วิรุณ ตั้งเจริญ. 2535 : 80)
77 จากคำนิยามความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าว ความคิดสร้างสรรค์เป็น กระบวนการทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง เมื่อพบปัญหา เราจะหลีกหนีความ เคยชินและคิดค้นสิ่งใหม่ โยกย้ายสับเปลี่ยน คาดเดา แก้ปัญหา รวมทั้งการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา ความคิดสร้างสรรค์และศิลปะหรือดนตรีเป็นสิ่งที่ แยกออกจากกันไม่ได้ พัฒนาการของดนตรีจากอดีตถึงปัจจุบัน ไม่ว่าดนตรี ตะวันตกหรือตะวันออก ดนตรีคลาสสิค ดนตรีโรแมนติค หรือดนตรีในปัจจุบัน ล้วนพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง จากความคิดสร้างสรรค์ที่ไม่หยุดนิ่ง ของคีตกวี (Composer) นักดนตรี (Musician) นักร้อง (Singer) ไขแสง ศุขะวัฒนะ กล่าวถึงความบันดาลใจและการสร้างสรรค์ของ คีตกวีไว้ว่า การที่คีตกวีคนใดก็ตามแต่งบทเพลงขึ้นมานั้น เขาย่อมจะต้องเกิด ความบันดาลใจอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นมาก่อน ความบันดาลใจนี้ อาจจะเกิดขึ้นจากสิ่งที่เป็นธรรมชาติก็ได้ อารมณ์ก็ได้ หรือสภาพ แวดล้อมรอบตัวเขาก็ได้ทั้งนั้น กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ คีตกวีเมื่อ เขาเกิดมี idea ขึ้นมาแล้ว เขาก็พร้อมที่จะใช้ idea นั้น เป็น ชนวนอันแรกที่จุดไฟทิพย์ของการสร้างสรรค์ของเขาให้โชติช่วง ขึ้น (ไขแสง ศุขะวัฒนะ. 2529 : 15) ปัจจุบัน นักจิตวิทยาเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นเรื่องที่อธิบายได้ พอสมควร แม้การอธิบายเรื่องพันธุกรรมจะยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนก็ตาม ซึ่งการอธิบายเรื่องความคิดสร้างสรรค์ อาจจะเชื่อมโยงกับจิตวิทยาจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ที่เชื่อว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นผลพวงของจิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก เชื่อมโยงกับจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม (Behavioralism) ที่เชื่อในเรื่องพฤติกรรมและสภาพแวดล้อม หรือความเชื่อในเรื่องเจตจำนง ของมนุษย์ (Will Power) ที่สามารถกำหนดและมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่เป้าหมายนั้น โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) เป็น
78 คีตกวีชาวออสเตรีย สมัยคลาสสิค ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีรายงาน การเขียนดนตรีของเขาว่า เมื่อฉันรู้สึกสบายและอารณ์แจ่มใส ในขณะที่กำลังขับรถ เดินเล่น หลังอาหาร หรือกลางคืนเมื่อนอนไม่หลับ ความคิดจะหลั่งไหล เข้ า มาในจิ ต ใจอย่ า งง่ า ยดายดั ง ที่ ป รารถนา มาจากไหนและ อย่างไรฉันไม่รู้ และก็ไม่ต้องทำอะไรกับมันเลย สิ่งที่เกิดขึ้นและ ก่อให้เกิดความปีตินั้น เก็บไว้ในหัวและฮัมออกมา และในที่สุด ก็ได้รับการยอมรับ ครั้งหนึ่งเมื่อฉันมีโครงดนตรีอยู่เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าทำนองดนตรีอื่นได้เกิดขึ้นผสานกับทำนองดนตรีแรก และสัมพันธ์กันอย่างเป็นเอกภาพตามที่ต้องการ (อ้างใน วิรุณ ตั้งเจริญ. 2535 : 86) ในภาพยนตร์ ชี ว ประวั ติ ข อง โวล์ ฟ กั ง อมาเดอุ ส โมซาร์ ท เรื่ อ ง “Amadeus” ก็พยายามสร้างให้เห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์ในการแต่งเพลง ของเขา หลั่งไหลออกมาเหมือนบ้าคลั่ง เมื่อเขาฮัมทำนองเพลงออกมาอย่าง อัตโนมัติ ต้องมีคนตามบันทึกบทเพลงที่เกิดขึ้น และจากรายงานข้างต้น จะ พบว่าทำนองดนตรีที่เกิดจากหัวของโมซาร์ท เป็นทำนองดนตรีที่ค่อนข้าง สมบูรณ์ โดยที่โมซาร์ทไม่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขอีก เหมือนในหัวของเขามี ดนตรีอยู่มากมาย เพียงแต่เลือกนำออกมาใช้เท่านั้นเอง ในอดีตอาจมองใน เรื่องของการจุติหรือพรสวรรค์ที่อธิบายไม่ได้ แต่นักจิตวิทยาแนวจิตวิเคราะห์ อาจมองการสั่งสมหรือเก็บซ่อนไว้ในจิตใต้สำนึกและจิตไร้สำนึก นักจิตวิทยา แนวพฤติกรรมนิยม อาจมองในเชิงสภาพแวดล้อม การเลี้ยงดู โอกาส หรือ ในมุมมองอื่นๆ โรเบิร์ท ไวส์เบิร์ก (Robert Weisberg) ได้กล่าวถึงการสร้างสรรค์ ดนตรีของโมซาร์ทไว้อีกมุมมองหนึ่งอย่างน่าสนใจว่า มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า โมซาร์ทไม่เคยเขียนจดหมายฉบับที่ชอบ
79 อ้างถึงกันบ่อยๆ นั้น เป็นเรื่องผิดพลาด ยิ่งกว่านั้น ในสมุดบันทึก ของโมซาร์ทได้มีการเขียนโน้ตดนตรีในระยะเริ่ ม ต้ น ไว้ แต่ ยั ง ไม่เสร็จสมบูรณ์ หรือมีการเริ่มต้น หยุด และกลับมาแก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งแสดงว่ามันมิได้ราบรื่นเสมอไปเหมือนในจดหมายที่ อ้างอิง นอกจากนั้น ด้วยความจำอันยอดเยี่ยมทางดนตรีของ โมซาร์ท อาจจะช่วยให้เขาผลิตดนตรีที่สมบูรณ์ลงบนกระดาษ โดยผ่ า นการทำงานอย่ า งหนั ก ในหั ว ของเขาก็ ไ ด้ (Robert Weisberg. 1986 : 27) ดนตรีกระแสตะวันตก ดนตรีซึ่งเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง คงเกิดขึ้นมาพร้อมกับความเป็นมนุษย์ ดนตรีอาจเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เป็นทั้งการสื่อสารอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การพั ก ผ่ อ น และการระบายความในใจ อี ก มิ ติ ห นึ่ ง อาจเป็ น ธรรมชาติ เหมือนเสียงนกร้อง เหมือนนกและปลวกสร้างรังอันประณีตสวยงาม ดนตรี ที่พัฒนาควบคู่มากับการขับร้อง การร่ายรำ และการแสดง ดนตรีที่เกิดจาก เสียงอวัยวะของมนุษย์เอง เช่น การปรบมือ ผิวปาก เป่ามือ ดนตรีที่เกิดจาก วัตถุธรรมชาติ เช่น เป่ากระดูกสัตว์ เป่าเขาสัตว์ เป่าใบไม้ มาจนถึงเครื่องดนตรี ที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น เกราะ กลอง ฆ้อง พิณ เป็ น ต้ น เครื่ อ งดนตรี ที่ ม นุ ษ ย์ ส ร้ า งขึ้ น ในยุ ค แรกๆ ก็ ค งมี ค วามเรี ย บง่ า ย ไม่สลับซับซ้อน ใช้วัสดุจากธรรมชาติและส่วนต่างๆ ของสัตว์ที่ล่ามาได้ เป็น ส่ ว นประกอบ เช่ น กลองที่ ใ ช้ ห นั ง สั ต ว์ ช่ ว ยทำให้ เ กิ ด เสี ย ง เครื่ อ งดนตรี ประเภทที่เสียดสีให้เกิดเสียง เป็นต้น คี ต กร จ.มงคลขจร สาทิ ส เขี ย นบรรยายในจดหมายถึ ง คนรั ก หนังสือจากดวงใจ ความตอนหนึ่งว่า เออ - น้อยจะเคยคิดบ้างไหมหนอว่า ดนตรีมีกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ เมื่ อ ไร ใครๆ ที่ เ ป็ น นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ห รื อ นั ก อะไรต่ อ อะไรที่
80 ทรงคุณทางวงวิชาการ คงจะไม่กล้าตอบง่ายๆ เพราะประวัติ ของดนตรีโดยละเอียดแต่สมัยหิน ไม่เคยมีใครระบุไว้ แต่สำหรับ พี่ เ องกล้ า พู ด ทั้ ง ๆ ไม่ รู้ นี่ แ หละว่ า มั น คงเกิ ด มาพร้ อ มกั บ มนุษย์นี่เอง พี่ไม่มีเหตุผลอะไรมาก นอกจากจะเห็นว่าดนตรี เป็นเรื่องของอารมณ์ เมื่อมนุษย์รู้จักมีอารมณ์มาตั้งแต่เกิดแล้ว มนุษย์จะไม่รู้จักดนตรีและเสียงเพลงอย่างไรได้ แม้แต่สัตว์เล็กๆ อย่ า งนก อย่ า งแมลง ยั ง รู้ จั ก กรี ด ปี ก ทำเสี ย ง รู้ จั ก ร้ อ งเพลง ออกมาได้ เวลาที่ มั น ทำอย่ า งนั้ น มั น ต้ อ งมี ค วามรู้ สึ ก อยู่ ด้ ว ย อย่างไม่ต้องสงสัย ก็มนุษย์ที่มีมันสมองมากกว่าสัตว์ ฉลาดกว่า สั ต ว์ เ ช่ น นี้ จะไม่ รู้ จั ก ดนตรี ม าแต่ ส มั ย มี ม นุ ษ ย์ บ้ า งเชี ย วหรื อ (คีตกร จ.มงคลขจร สาทิส. 2539 : 21) ดนตรีในอดีตกาลอาจมุ่งเน้นดนตรีเพื่อพิธีกรรมต่างๆ มากกว่าความ สนุกสนานเพลิดเพลิน หรือการพักผ่อน ประวัติศาสตร์ดนตรีในสมัยอดีตกาล มักจะสะท้อนออกมาเป็นภาพเขียน หรือรูปแกะสลักที่แสดงการเล่นดนตรีใน พิธีกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในสมัยอียิปต์โบราณ เมโสโปเตเมีย จีน กรีก โรมัน และก็มีหลักฐานว่า อารยธรรมเมโสโปเตเมีย ได้รู้จักคิดโน้ตดนตรีขึ้นใช้แล้ว ดนตรีของกรีกและโรมันได้ชื่อว่าเป็นต้นสายธารทางดนตรีของชาวตะวันตก นั ก ปรั ช ญากรี ก โบราณได้ ใ ห้ ค วามสำคั ญ กั บ ดนตรี แ ละการแสดงมากกว่ า ศิลปะแขนงอื่นๆ หลังจากนั้น ดนตรีของชาวฮิบรูหรือยิวก็ได้พัฒนาการสืบต่อมา ทั้งผสมผสานดนตรีของกรีก โรมัน และพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าขึ้น หลักฐาน ในคัมภีร์เก่าของคริสต์ศาสนา ได้กล่าวถึงการเรียนดนตรี การเล่นดนตรี และ เครื่องดนตรีหลายต่อหลายตอน ดนตรีกรีก โรมัน และฮิบรู ได้พัฒนายุคแล้วยุคเล่า มาจนถึงดนตรีคลาสสิคของชาวตะวันตก (อ่าน คีตกร จ. มงคลขจร สาทิส. 2539 : 19 - 31)
81
จิตรกรรมภายในหลุมฝังศพที่เมืองธีบส์ สมัยอียิปต์โบราณ ภาพสตรีเล่นดนตรี ราว 1420 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
ภาพตกแต่งบนซาวน์ดบ็อกซ์ เครื่องดนตรีฮาร์พ สมัยเมโสโปเตเมีย ราว 2,600 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
โรงละครกลางแจ้ง สมัยกรีกโบราณ ราว 350 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
จิตรกรรมรอบเครื่องปั้นดินเผา สมัยกรีกโบราณ แสดงภาพการสอนดนตรีในโรงเรียน ราว 470 ปี ก่อนคริสต์ศักราช
82 สมัยกลาง (Middle Age) หรือนักวิชาการบางท่านเรียกอย่างทำร้าย จิ ต ใจว่ า ยุ ค มื ด (Dark Age) นับจากอาณาจักรโรมั น ล่ ม สลายจนถึ ง ราว คริสต์ศตวรรษที่ 13 - 14 สมัยกลาง ดนตรีได้พัฒนาควบคู่ไปกับการขับร้อง เริ่มเจริญก้าวหน้าในยุโรป เริ่มมีคีตกวีที่มีตัวตนมีบทบาทเด่นชัด เครื่องดนตรี ประเภทซอ เครื่องสาย และเครื่องเป่า ได้รับการพัฒนาขึ้นจนใช้งานได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องเป่าที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ แตรฮอร์น แตรทรัมเปตโบราณ ในช่วงศตวรรษที่ 14 ปลายสมัยกลางต่อ ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ดนตรีตะวันตกได้เจริญก้าวหน้ามากในประเทศฝรั่งเศส และอิตาลี ดนตรีเพื่อศาสนาที่เรียก “ดนตรีแมส” (Mass) ได้พัฒนาขึ้น พร้อมกับความศรัทธาอันสูงส่งที่มีต่อคริสต์ศาสนา ดนตรีใน สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ รุ่งเรืองทั้งทางด้านศาสนา การธนาคาร ศิลปะทุกแขนง การศึกษาระดับ อุดมศึกษา การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ ฯลฯ ราวช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 - 16
ประติมากรรมตกแต่ง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา 2061
83 นอกจากศูนย์กลางการเกิดใหม่ (Rebirth) จากสรรพความรู้กรีกและโรมัน บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอิตาลีแล้ว ความเจริญรุ่งเรืองยังได้แผ่ขยาย ไปทั่วยุโรป พร้อมกันนั้น ดนตรีก็ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง ยุ โ รปทางเหนื อ แถบฝรั่ ง เศสและสแกนดิ เ นเวี ย คี ต กวี ส มั ย นั้ น ได้พัฒนาการประพันธ์เพลงให้ผสานกับการเป็นจินตกวี (Poet) ได้พัฒนา เพลงขับร้องให้ก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก สร้างความผสานสัมพันธ์อย่างเป็น เอกภาพระหว่างดนตรีและการขับร้อง นอกจากเครื่องดนตรีที่นิยมใช้ เช่น ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) เครื่องสายคันชักลิวท์ (Lute) เครื่องสายประเภทดีด วิโอลส์ (Viols) แตรทรัมเปต (Trumpet) แตรทรอมโบน (Trombone) ฯลฯ แล้ว ยังนิยมใช้คีย์บอร์ดออร์แกน (Organ) สำหรับเพลงศาสนาอีกด้วย สมัยบาโร็ค (Baroque) จากคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึงกลางคริสต์ ศตวรรษที่ 18 ดนตรี ก็ สั ม พั น ธ์ กั บ ศรั ท ธาสู ง สุ ด ที่ มี ต่ อ คริ ส ต์ ศ าสนา สถาปัตยกรรมที่ประดับตกแต่งอย่างอลังการ โบสถ์ที่เป็นตัวแทนของสวรรค์ จิตรกรรมที่พัฒนาเนื้อหาสาระหลากหลาย ดนตรีเพื่อศาสนามีความเจริญ รุ่งเรืองมาก แตกแขนงออกไปหลากหลายลักษณะ ดนตรีได้พัฒนาลีลาให้ตัด กัน ขัดแย้งกัน แสดงลูกเล่นอย่างสนุกสนาน เป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับ ดนตรีคลาสสิคในเวลาต่อมา คีตกวีที่ได้รับการกล่าวขานถึงมากในสมัยนี้ เช่น โยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล (George Frideric Handel) เป็นต้น สมัยคลาสสิค (Classical Period) ดนตรีสมัยคลาสสิคหรือยุคทอง ของดนตรี ต ะวั น ตก พั ฒ นาขึ้ น ในครึ่ ง หลั ง ของคริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 18 ถึ ง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในขณะที่ศิลปะโรโคโคเริ่มคลายตัวลง ชนชั้นกลางมี บทบาททางธุรกิจและการเมือง สังคมเริ่มพัฒนาไปสู่สังคมประชาธิปไตย รากฐานทางดนตรีจากอดีตได้มีพัฒนาการสูงสุด ปรัชญาความคิดได้ก้าวเข้าสู่ ยุคเรืองปัญญา (Enlightenment Period) ทัศนศิลป์ได้พัฒนาเข้าสู่สมัย คลาสสิคใหม่ (Neoclassicism) และโรแมนติค (Romanticism) ในขณะที่
84 ทัศนศิลป์แสวงหาเหตุผลโดยกลับไปรื้อฟื้นความคิดความอ่านและความงาม จากกรีกและโรมันมาสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ แต่ดนตรีได้พัฒนาจากรากฐานดนตรี บาโร็ ค จนก้ า วเข้ า สู่ ค วามยอดเยี่ ย ม ความสมบู ร ณ์ ท างดนตรี โดยมี กรุงเวียนนาเป็นศูนย์กลางของความรุ่งเรือง นักดนตรีสามยักษ์ใหญ่ที่ทั่วโลก รู้จักกันดีคือ โจเซฟ ไฮเดิน (Joseph Haydn) โวล์ฟกัง อมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven) สมัยโรแมนติค (Romanticism) พัฒนาขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 19 มีพัฒนาการอยู่ประมาณห้าทศวรรษ ซึ่งเป็นช่วงเวลาของการปฏิวัติ อุตสาหกรรม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และชีวิตใน สังคมสมัยใหม่ ดนตรีได้พัฒนาการไปสู่อารมณ์ความรู้สึกและจินตนาการ คีตกวีที่ประสบผลสำเร็จมากในสมัยนี้ เช่น ฟรานซ์ ชูเบิร์ท (Franz Schubert) เฟรเดริค ฟรังซัวส์ โชแปง (Frederic Francois Chopin) โรเบิร์ท ชูมันน์ (Robert Schumann) ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner) ปีเตอร์ อิลยิช ไชคอฟสกี (Peter IIyich Tchaikovsky) เป็นต้น (อ่าน ไขแสง ศุขะวัฒนะ. 2529 คีตกร จ. มงคลขจร สาทิส. 2539 และสุรพงษ์ บุนนาค. 2534) หลังจากนั้น ดนตรีกระแสตะวันตกก็ได้ก้าวเข้ามาสู่ยุคสมัยใหม่ ที่มี พัฒนาการผสานสัมพันธ์กันในศิลปะทุกแขนง ดนตรีในยุคสมัยใหม่ก็มีดนตรี อิมเพรสชันนิสม์ ดนตรีเอกซ์เพรสชันนิสม์ ดนตรีนีโอคลาสสิค จนถึงดนตรีแจ็ส ร็อค ป็อป และอีกมากมาย ในปัจจุบันดนตรีกระแสตะวันตกได้ไหลบ่าไปทั่ว โลก พร้อมกับกระแสการล่าเมืองขึ้น กระแสการเมือง ธุรกิจ และวัฒนธรรม คนทั่วโลกคลั่งไคล้ เอลวิส เพรสลีย์ เดอะ บีทเทิลส์ ไซมอนและการ์ฟังเกิล รอด สจ็วร์ต ไมเคิล แจ็คสัน ฯลฯ เราคลั่งไคล้ไปพร้อมกับการรับวัฒนธรรม การแต่งกาย ความรู้ อาหาร ตามแบบอย่างตะวันตก ปัญหาอยู่ที่ว่าเราจะปฏิเสธ เราจะสร้างความสมดุลกับกระแสไทย กระแสตะวันออก หรือ “เลือกสรร ด้วยปัญญาและรู้เท่าทัน” อย่างไร
85
พาโบล ปิคาสโซ นักดนตรีสามคน จิตรกรรมสีน้ำมัน 2464
ดนตรีไทยและวงดนตรีไทย ความพยายามในการค้นหารากดนตรีไทยจากอดีต มนตรี ตราโมท (2540) ให้ความสำคัญไปที่อิทธิพลดนตรีจากจีน โดยมองประวัติศาสตร์ชาติ ไทยไปที่แผ่นดินจีน สิริรัตน์ ประพัฒน์ทอง (2542) ให้ความสำคัญไปที่ ดนตรีเอเชียและอินเดีย โดยเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้ารากเหง้าดนตรีไทย ตั้งแต่ยุคสมัยหิน โดยสรุปว่า สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุ ค โลหะ (Metal Age) ราว 3,000 - 2,500 ปี มาแล้ ว มี ห ลั ก ฐาน เครื่องดนตรีโลหะสำริดคือ กลองมโหระทึก ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ทางกัมพูชา เวียดนาม หรือจีน พบระนาดหินที่นครศรีธรรมราช และสันนิษฐานว่าจะมี เครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ด้วย แต่ไม่มีหลักฐานหลงเหลือ นอกจากนั้น ยังมอง วัฒนธรรมดนตรีไทยที่เชื่อมโยงกับอินเดียอีกด้วย
86 การสื บ หาที่ ม าของเครื่ อ งดนตรี ใ นประเทศไทยและประเทศ เพื่ อ นบ้ า นนั้ น นำไปสู่ ข้ อ ยุ ติ ที่ ว่ า เครื่ อ งดนตรี ส ำคั ญ ล้ ว นมี จุดกำเนิดในประเทศอินเดียมาตั้งแต่สมัยพระเวท ก้าวมาสู่เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ตามหลักฐานทางโบราณคดี งานศิลปกรรม สถาปั ต ยกรรมต่ า งๆ และหลั ก ฐานทางด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ ไม่ว่าจะเป็นจารึกหรือคัมภีร์ต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การใช้ดนตรีในสังคมก็ล้วนเป็นผลสืบเนื่องมาจากการรับอิทธิพล ทางอารยธรรมจากอินเดียแทบทั้งสิ้น (สิริรัตน์ ประพัฒน์ทอง. 2542 : 79) ปัจจุบัน เครื่องดนตรีไทยสามารถแยกออกได้เป็น 4 กลุ่มหลักคือ เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า 1. เครื่องดีด เช่น จะเข้ พิณน้ำเต้า กระจับปี่ 2. เครื่องสี เช่น ซออู้ ซอด้วง ซอสามสาย 3. เครื่องตี เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้อง โหม่ง อังกะลุง กรับ ฉิ่ง ฉาบ 4. เครื่องเป่า เช่น ปี่ ขลุ่ย การผสมวงของดนตรีมีอยู่ 3 ลักษณะคือ วงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี วงปี่พาทย์ อาจรวมวงเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ หรือวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน สองหน้า กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก (ฉาบใหญ่กับโหม่งบางที ก็มีบางทีก็ไม่มี) ปี่พาทย์เครื่องคู่ ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ทุ้มไม้ ตะโพน สองหน้า กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ โหม่ง (บางทีก็มีปี่นอกด้วย) ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ทุ้มไม้ ทุ้มเหล็ก ตะโพน สองหน้า กลองทัด ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่
87 วงเครื่องสาย ประกอบด้วย ซอด้วง จะเข้ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ ซออู้ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบเล็ก (อาจมีผู้นำไวโอลิน ขิม ปี่ชะวา เข้าผสมวง) วงมโหรี ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทอง ฆ้องกลาง ฆ้องเล็ก ทุ้มไม้ ทุ้มเหล็ก ซอสามสาย ซอด้วง จะเข้ ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยหลิบ ซออู้ โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบเล็ก ถ้าเรียกว่า “เครื่องคู่” ก็ลดระนาดทองกับทุ้มเหล็ก ถ้าเรียกว่า “เครื่องเล็ก” ก็ลดฆ้องเล็กกับฆ้องกลาง บางทีก็ลดทุ้มไม้ออกด้วย (มนตรี ตราโมท. 2540 : 10 - 37 และเฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. 2542 : 18 - 21) ดนตรีไทยและวงดนตรีไทยมีวิวัฒนาการควบคู่มากับวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมไทยที่เกี่ยวข้องกับพิธีการของวัง วัด และบ้าน พิธีต่างๆ ของวัง วัด และบ้าน ย่อมแยกออกจากศาสนาไม่ได้ ดนตรีและศิลปะแขนงอื่นๆ ซึ่งเป็น เรื่องของความงามและความไพเราะ เป็นเรื่องของโลกียสัมมาทิฐิ เป็นเรื่อง ทางโลกที่บ้านนำเข้าไปปรุงแต่งให้กับศาสนา ศาสนาพุทธที่มุ่งเน้นโลกุตร สัมมาทิฐิ พุทธศาสนาที่เป็นความดีงาม ธรรมชาติ สงบ สมาธิ สันติสุข และ ไม่ต้องปรุงแต่ง การนำดนตรีไปปรุงแต่งศาสนาจึงควรอยู่ในปริมาณและ คุณภาพที่เหมาะสม เรื่องของศิลปะและเรื่องของดนตรี ควรเป็นเรื่องของ ความประณีตงดงาม ความไพเราะ ที่กระตุ้นหรือปลุกเร้าให้ผู้ชื่นชม มีรสนิยม
ประติมากรรมสมัยทวารวดี พบที่แหล่งอารยธรรมคูบัว ราชบุรี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16
ชิต เหรียญประชา ปี่ใน ประติมากรรมไม้มะฮอกกานี 2497
88 มีความสุขุมคามภีรภาพ ดนตรีไทยจึงต้องพัฒนาตนเองให้มีรสนิยมที่ประณีต งดงาม ยกระดับทั้งผู้เล่นและผู้ฟัง มิใช่ความรุนแรง มิใช่นำดนตรีไทยไป ส่งเสริมไสยศาสตร์ ไสยเวท ดนตรีไทยมีวิวัฒนาการอันยาวนานเช่นเดียวกับศิลปะประเพณีนิยม ของไทยแขนงอื่ น ๆ ศิ ล ปะและดนตรี ไ ม่ เ คยหยุ ด นิ่ ง บรรพบุ รุ ษ ได้ พั ฒ นา อยู่ตลอดเวลา ผู้คนแต่ละรุ่นแต่ละยุคสมัยล้วนพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง อยู่ตลอดเวลา การหยุดนิ่งคือการตาย ดนตรีไทยก็เช่นกัน มิใช่เพียงการแสวงหา ผลประโยชน์ จ ากอดี ต เท่ า นั้ น ดนตรี ไ ทยต้ อ งได้ รั บ การพั ฒ นาเพื่ อ พิ สู จ น์ “ปัญญา” และพิสูจน์ยุคสมัยของเราและผู้คนในวงการดนตรีไทยด้วยเช่นกัน ดนตรี จิตวิญญาณ และสังคม การศึกษาและพัฒนาดนตรีไทยก็คงรวมถึงศิลปะพื้นบ้านของแต่ละ ท้องถิ่นด้วย จำเป็นจะต้องศึกษาค้นคว้าให้มีองค์ความรู้อย่างถ่องแท้ เพื่อให้ ความรู้เป็นพลังสำหรับการพัฒนาทักษะทางดนตรี และเพื่อให้ความรู้เป็น หลักการที่คมชัดสำหรับการอนุรักษ์ การสืบสาน และการพัฒนาดนตรี มนตรี ตราโมท กล่าวถึงการศึกษาดนตรีไทยไว้ว่า จริงอยู่การฝึกฝนแต่ภาคปฏิบัติการ ก็อาจสามารถที่จะไปทำการ บรรเลงได้ แต่ อ ย่ า ลื ม ว่ า การแสดงศิ ล ปะทุ ก ชนิ ด ถ้ า ผู้ แ สดง ขาดหลั ก วิ ช าเสี ย แล้ ว การแสดงนั้ น ๆ จะดี ขึ้ น ถึ ง ขี ด ที่ ค วรจะ ดี ไ ม่ ไ ด้ ว่ า โดยเฉพาะการบรรเลง ถ้ า ผู้ บ รรเลงไม่ รู้ จั ก จั ง หวะ หน้าทับ (ซึ่งเป็นหลักวิชา) ว่าเป็นอย่างไรแล้ว ลองนึกดูว่าการ บรรเลงนั้ น จะรุ ง รั ก รกหู เ พี ย งไร ความพร้ อ มเพรี ย งอั น เป็ น สิ่งสำคัญก็จะไม่มี แม้กาลต่อไปหากต้องเป็นครูสอนเขา การสอน ของเราก็จะบกพร่อง ศิษย์ก็จะดีไม่ได้ถึงขนาด ถ้าจะเทียบกับ วิชาทหาร สมมุติว่าเรายิงปืนแม่นที่สุด ไม่ว่าระยะใกล้หรือไกล แต่ เ ราไม่ รู้ จั ก วิ ธี น ำทั พ หรื อ ยุ ท โธบายต่ า งๆ เลย เราก็ จ ะต้ อ ง
89 เป็นเพียงแต่ผู้ที่จะคอยยิงตามคำสั่งเท่านั้น จะเป็นผู้นำทัพหรือ เสนาธิการอะไรไม่ได้เลย (มนตรี ตราโมท. 2540 : 3) นอกจากดนตรีจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในพิธีการต่างๆ เพื่อก่อให้เกิด การรวมตัว ก่อให้เกิดวัฒนธรรมและชุมชนที่เข้มแข็งแล้ว ดนตรียังมีคุณค่า ต่อการพักผ่อน จินตนาการ จิตวิญญาณ มิติและการรับรู้พิเศษของคนเรา อีกด้วย เป็นแรงกระตุ้นสำหรับโลกส่วนตัว เป็นประสบการณ์สุนทรียะที่ไม่มีผล ในทางปฏิบัติ ไม่มีผลในทางรูปธรรม แต่เป็นพลังกระตุ้นที่ก่อให้เกิดความปีติ (Pleasure) เฉพาะบุคคล ซึ่งความปีติเฉพาะบุคคลย่อมก่อให้เกิดพลังในการ ทำงานและพลังในการสร้างสรรค์ต่อไป นอกจากความปีติส่วนบุคคลจะส่งผล ไปสู่ ก ารสร้ า งสรรค์ แ ละส่ ง ผลไปสู่ สั น ติ สุ ข ในสั ง คมแล้ ว ศิ ล ปะและดนตรี บางลักษณะยังกระตุ้นจริยธรรมและความดีงามในสังคม เป็นพาหะ (Vehicle) ที่จะก่อให้เกิดความดีงามขึ้นในสังคม อริ ส โตเติ ล (Aristotle) นั ก ปรั ช ญาในสมั ย กรี ก โบราณเชื่ อ ว่ า โศกศิลปกรรม (Tragic Art) ไม่ว่าจะเป็นดนตรี ศิลปะการแสดง หรือทัศนศิลป์ สามารถช่วยซักฟอกจิตใจให้ดีงามได้ คริสต์ศาสนาเชื่อว่า ดนตรีสามารถที่จะ ช่วยโน้มน้าวจิตใจให้ศรัทธาต่อศาสนา ศรัทธาต่อพระเจ้า การศรัทธาเชื่อมั่น ต่อศาสนาและพระเจ้า ก็คือความพร้อมที่จะพัฒนาการอยู่ร่วมกัน พัฒนา สังคม ตอลสตอย (Leo Tolstoy) เชื่อว่า ศิลปะที่ดีจะต้องเป็นพาหะที่โน้มนำ ประชาชนไปสู่การเสียสละและจริยธรรมอันดีงาม ศิลปะคือศาสนา การชื่ น ชมซาบซึ้ ง ต่ อ ศิ ล ปะจำเป็ น จะต้ อ งมี ป ระสบการณ์ ต รง ประสบการณ์เปรียบเทียบ (Comparative Experiences) จะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้ง ความซาบซึ้งชื่นชมต่อดนตรีก็เช่นกัน จำเป็น จะต้องสัมผัสตรง รับรู้ตรง ไม่มีดนตรีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง สมัยใดสมัยหนึ่ง หรือของชนชาติใดชนชาติหนึ่งเท่านั้นที่ดีที่สุด การซาบซึ้งศิลปะและดนตรี ที่แท้จริงควรเป็นการซาบซึ้งที่หลากหลาย เพราะศิลปะและดนตรีต่างลักษณะ ต่างกาลเวลา และต่างเชื้อชาติ ล้วนมีคุณค่าและมีลักษณะเฉพาะต่างกัน การ
90 ซาบซึ้งหลงใหลแต่เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมไม่ใช่ความซาบซึ้งที่แท้จริง เราอาจแสวงหาประสบการณ์ทั้งดนตรีตะวันตก ดนตรีคลาสสิคของไฮเดิน โมซาร์ ท เบโธเฟน ดนตรี โ รแมนติ ค ของวากเนอร์ ไชคอฟสกี ดนตรี อิมเพรสชันนิสม์ของเดอบุชชี “เพลงราตรีประดับดาว” ของพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว “เพลงเขมรไทรโยค” ของกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “เพลงลาวดวงเดือน” ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นพิชัยมหินทรโรดม “เพลงแขกบรเทศ” ของพระประดิษฐ์ไพเราะ ฟังดนตรีของจีน อินเดีย ญี่ปุ่น ฟังเพลงแจ็ส ร็อค ป็อป ฯลฯ แล้วเราจะรู้ว่า โลกนี้ มนุษย์ได้รังสรรค์สิ่งที่ ประณีตงดงามและไพเราะไว้มากมายเหลือเกิน การพัฒนาดนตรีร่วมสมัย เราลองอ่านบทกวี “Just for You” ของเมลิส์ซา (Melissa) ปราย พันแสง ได้นำเสนอและเรียบเรียงไว้ดังนี้
If I could touch the stars, I'd give them all to you, and if the moon was in my reach, that would be yours, too.
I pray to see your smile, to warm and brighten my day. You always seem to be in my thoughts, you are special to me in every way.
Like the stars in the heavens, your eyes shine down on me, and when you close them tight, I hope I'm what you see.
91
I couldn't be any happier, especially when I'm by your side, all the feelings I feel, in you, I try to confide.
Sometimes the words “I love you” are hard for me to say, but my love for you is endless, and I love you more with each new day.
หากเอื้อมมือแตะดาวได้ จักกวาดให้เธอหมดฟ้า ในอุ้งมือหากคือจันทรา จักกอบมาให้เธอพร้อมกัน
ปรารถนารอยยิ้มเธอละไม แต่งแต้มแจ่มใสวันอุ่นให้ฉัน ในห้วงคิดคำนึงอึงอลนั้น เธอคืออันเป็นที่รัก
ดวงตาเธอดั่งดาวดวงสรวงสวรรค์ ประกายเฉิดฉันส่องฉายให้ตระหนัก เธอหลับตาคราใดใจหวังนัก ว่า...ในหลับใหลเธอจักเห็น “รัก” ฉันได้
เนื่องเพราะบางครั้งคำว่า “รัก” ยากนักฉันจักเอ่ยไหว ทั้งที่รักตลอดมา...รักตลอดไป ทั้งที่รักมากมายขึ้นทุกวัน
92
หากเอื้อมมือแตะดวงดาวไว้ จักกอบกวาดให้เธอเท่านั้น หากในอุ้งมือฉันคือดวงจันทร์ ขอให้รู้เถิดว่าฉัน...จักกวาดกำนัลเธอเกลี้่ยงฟ้า (ปราย พันแสง. 2543 : 14)
ตัวอย่างของบทกวีร่วมสมัยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก “ความรัก” ที่ ไม่เคยล้าสมัยในโลกนี้ ทั้งเนื้อหาและลีลาของคำงดงาม เป็นพัฒนาการของ บทกวีที่เรียบง่าย มีความฝันและจินตนาการ ศิลปะและดนตรีร่วมสมัยใน ปั จ จุ บั น ก็ เ ช่ น กั น ได้ พั ฒ นาเปลี่ ย นแปลงอย่ า งรวดเร็ ว โดยมี ก ระแส วัฒนธรรมใหม่เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลง กระแสโลกาภิวัตน์ที่สื่อสารกัน ทั้งโลก กระแสธุรกิจที่ผลักดันดนตรีอย่างรุนแรง กระแสสากลได้ก่อให้เกิด ทั้งจากตะวันตกและตะวันออก สงครามอย่างใหม่คือการต่อสู้กันทางวัฒนธรรม และธุรกิจ ใครชนะทาง “วัฒนธรรม” ก็ชนะทุกสิ่ง จากดนตรีแจ็ส ร็อค ป็อป อันเดอร์กราวน์ด โซล เฮฟวีเมทอล แรป และอีกมากมาย นักดนตรีวิจารณ์ บางคนเรียกดนตรีร่วมสมัยอย่างเสียดสีว่า “ดนตรีหมากฝรั่ง (Bublegum Music) ด้วยดนตรีวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เหมือนหมากฝรั่งที่เคี้ยว พอจื ด แล้ ว ก็ ทิ้ ง ดนตรี ร่ ว มสมั ย ที่ พั ฒ นาเปลี่ ย นแปลงไปอย่ า งรวดเร็ ว นี้ มีปริมาณมากมาย ที่หมุนเวียนทั้งในตลาดใดตลาดหนึ่งและในตลาดโลก สัมพันธ์ กับธุรกิจและการโฆษณา เป็นศิลปะในลักษณะมวลผลิต (Mass Production) ที่มีแรงซื้อมหาศาล ท่ามกลางมวลผลิตในสังคมและเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ ย่อมมีผลงานดนตรีที่มีคุณภาพตกเหลือเป็นทรัพย์สินทางปัญญา เป็นมรดก ทางวัฒนธรรมสืบทอดต่อไป อย่ า งไรก็ ต าม ดนตรี ก ระแสตะวั น ตกที่ เ ป็ น ดนตรี ป ระเพณี นิ ย ม (Western Traditional Music) ในรู ป ลั ก ษณ์ ข องซิ ม โฟนี ค อนเสิ ร์ ท (Symphony Concert) แชมเบอร์มิวสิค (Chamber Music) วงดุริยางค์ ซิมโฟนี(Symphony Orchestra) อุปรากร (Opera) ดนตรีประกอบบัลเลต์
93 ฯลฯ ก็ยังคงสืบทอดต่อไป ซึ่งก็ไม่ต่างไปจากดนตรีประเพณีนิยมของชนชาติ ต่างๆ รวมทั้งดนตรีประเพณีนิยมของไทย ทั้งดนตรีไทยและดนตรีพื้นบ้าน ก็ยังคงสืบทอดมาจนถึงวันนี้ มีการปรับประยุกต์เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ประสบผลสำเร็จบ้าง ล้มเหลวบ้าง เข้มแข็งบ้าง อ่อนแอบ้าง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่ กับความจริงจัง การศึกษาค้นคว้า และการพัฒนา ประกอบกัน
94
4
สุนทรียภาพในศิลปะการแสดง เมื่อกล่าวถึงสุนทรียภาพในทางศิลปะ ย่อมเกี่ยวข้องกับความปีติใน การชื่ น ชม (Pleasure) เกี่ยวข้องกับจริยธรรม (Ethics) ไม่ ว่ า ศิ ล ปะจะ กระตุ้ น ให้ เ กิ ด จริ ย ธรรม หรื อ ศิ ล ปะในตั ว ตนของมั น เองคื อ "จริ ย ธรรม" ความดีงาม ความประณีต ความอ่อนโยน ไม่ว่าจะเป็นทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง หรือศิลปะอื่นใดก็ตาม ศิลปะการแสดง (Performing Art) หมายความถึงนาฏศิลป์ (Dance) และการแสดงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโขน ละคร หนังใหญ่ หุ่นกระบอก หนังตะลุง ฯลฯ ทั้งนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์สากล การ แสดงของไทยและการแสดงสากล ศิลปะการแสดงในสังคมไทย ขณะนี้มีทั้ง ศิลปะการแสดงสากลและศิลปะการแสดงของไทย ศิลปะการแสดงของไทย ก็มีทั้งศิลปะการแสดงซึ่งพัฒนาขึ้นในวัง เมื่อครั้งที่ไทยปกครองในระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช เช่น โขน ละครใน ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง ละครสังคีต เป็นต้น และศิลปะการแสดงซึ่งพัฒนาขึ้นในชุมชน มีลักษณะเป็น ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน เช่น โนรา หนังใหญ่ หนังตะลุง ลิเก เพลงเรือ เพลง ฉ่อย ละครนอก เป็นต้น มนุษย์กับลีลา การเกิดขึ้นของศิลปะการแสดงก็คงจะไม่ต่างไปจากดนตรี ทัศนศิลป์ และศิลปะอื่นๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับพัฒนาการของการเป็นมนุษย์ที่เริ่มรู้จักคิด รู้จักทำ และสร้างวัฒนธรรมขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ตั้งแต่ยุคสมัยหินเก่า เมื่อมนุษย์รู้จักกระเทาะหินให้มีรูปร่างดีขึ้น เพื่อนำไปเป็นเครื่องมือล่าสัตว์ รู้จักออกเสียงสูงต่ำที่มิใช่เพียงการสร้างภาษาสำหรับการสื่อสารเท่านั้น แต่ เป็นการพัฒนาภาษาดนตรี พร้อมกันนั้นเขาก็คงจะเคลื่อนไหวร่างกายไปตาม
96 ธรรมชาติ เพื่อสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด นอกจากการเคลื่อนไหว ธรรมดาๆ และเมื่อมนุษย์เริ่มเอาชนะธรรมชาติมากขึ้น ล่าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ใช้ ห นั ง สั ต ว์ เ ป็ น เครื่ อ งนุ่ ง ห่ ม หลบภั ย ไปอยู่ ใ นถ้ ำ ใช้ ไ ฟปรุ ง อาหาร ฯลฯ เขาคงหวาดกลัวธรรมชาติพร้อมกับความพยายามในการเอาชนะธรรมชาติ เมื่อเกิดความหวาดกลัว การเต้นรำเพื่อบวงสรวงหรือบูชาสิ่งที่มองไม่เห็น การแสดงของมนุ ษ ย์ ค งพั ฒ นาจริ ง จั ง ขึ้ น ประกอบกั บ การนำเสี ย งดนตรี เสียงขับร้อง มาประกอบ พร้อมกับการตกแต่งร่างกายให้แปลกและสวยงาม กว่าปกติ ศิลปะการแสดงในลักษณะต่างๆ กันคงเกิดขึ้น พระยาอนุมานราชธน เขียนไว้ในบทความชื่อ สังคีตศิลป์ วารสาร ศิลปากร 21 กรกฎาคม 2491 รวมศิลปะการแสดงและดนตรี แล้วเรียกว่า "สังคีตศิลป์" ได้กล่าวว่า สังคีตศิลป์ ถ้าว่าถึงความหมายอย่างกว้าง ก็ได้แก่เรื่องร้องรำทำ เพลง ซึ่งแยกเป็นร้องส่วนหนึ่ง รำส่วนหนึ่ง และทำเพลงส่วนหนึ่ง เข้าใจว่าสิ่งทั้งสามนี้ เดิมทีเกิดขึ้นฝ่ายละแผนกแล้วจึงมาติดต่อ ปนกัน การร้ อ ง เกิ ด ขึ้ น แต่ มี อ ารมณ์ ใ ห้ ส ะเทื อ นใจคื อ ความดี ใ จและ ความเศร้าใจ เป็นต้น เมื่อเกิดอารมณ์อย่างนี้แล้ว ก็เปล่งเสียง อุทานออกมาเพื่อให้สงบ ความสะเทือนใจ เปล่งอุทาน แล้วก็ พิไรต่อ เพราะฉะนั้นการร้องจึงประกอบด้วยเสียงอุทานและคำที่ เป็นภาษาเข้าประกอบกัน ดังจะเห็นได้จากคำของเด็กเมื่อร้องไห้ การร้องนั้นบางอย่างก็มีจังหวะ บางอย่างก็ไม่มีจังหวะ คิดว่า อย่างไม่มีจังหวะนั้นมาก่อน อย่างมีจังหวะเป็นของคิดได้ภายหลัง เครื่องประกอบจังหวะก็มีตบมือ แล้วที่จะเจ็บมือเข้า ก็ยักไปหา ไม้มาตีเป็นกรับ ทีหลังเอาโทนเข้าประกอบ เป็นอันเอาดุริยะคือ ทำเพลงเข้ามาผสม
97 การรำ เดิ ม จะมาจากการโลดเต้ น คื อ แสดงท่ า ที อ อกมาตาม อารมณ์ ที่ ไ ด้ รั บ ความสะเทื อ นใจ ต่ อ มาก็ จั ด ดั ด แปลงให้ ก าร เต้นรำนั้นงามขึ้น เป็นสิ่งสำหรับดูเล่นให้เพลิดเพลินใจ ในขั้นแรก เป็นระบำ คือรำไม่มีเรื่องก่อน แล้วภายหลังจึงคิดจัดให้รำประกอบ เป็นเรื่องขึ้น ระบำเป็นที่รำสำหรับดูเล่นงามๆ ไม่มีเรื่อง แต่รำ ไม่มีเรื่องไม่สู้ชอบกัน เพราะดูไม่สนุกเหมือนรำมีเรื่อง แม้ว่าจะมี ระบำ ก็เอาเมขลา รามสูร อรชุน เข้าประกอบกับระบำ ทำให้ เป็นเรื่องเกิดขึ้น โขนรำหางนกยูงคู่ คือที่เรียกว่า ประเลง ก็ดี และละคอนหลวงรำดอกไม้เงินทองคู่ เมื่อแรกลงโรงก็ดี เรียกว่า เบิกโรง นั่นก็คือระบำทีเดียว การหัดละคอนของเราก็สอนเป็น สองแยก เริ่มแรกหัดรำเพลงก่อนนั่นก็คือ หัดระบำ สิ้นท่ารำ เพลงต่างๆ แล้วจึงหัดรำใช้บทเพื่อเล่นเรื่องต่อไปทีหลัง ทำเพลง ในที่นี้หมายถึงเครื่องมือที่ทำให้เป็นเพลง มีฆ้อง กลอง เป็นต้น เครื่องเหล่านี้เข้าใจว่าเกิดขึ้นแต่ตีเกราะเคาะไม้ ในการ ไล่ล่าสัตว์เพื่อทำให้สัตว์ตกใจ เครื่องที่ใช้สายก็มาแต่สายธนู เมื่อ น้าวดึงแล้วปล่อยมือ เกิดเป็นเสียงขึ้น (ดู Tylor's Anthopology, Chapter XXI, Arts of Pleasure) ต่อมาคิดต่อแก้ไขให้เครื่องมือ เหล่านั้นดังกึกก้องยิ่งขึ้น เพื่อตีให้เป็นสง่า เพื่อให้เกรงขาม และ เพื่อเป็นสัญญาณ เพื่อเรียก การตีเครื่องเหล่านั้นให้ดังเรียกกันว่า ประโคม ไม่เกี่ยวด้วยการร้องรำเลย เครื่องประโคมให้เป็นเพลง ของเรา มีใช้เป็นหลักอยู่สองชนิดคือ มโหรีกับปี่พาทย์ การร้ อ งรำทำเพลงทั้งสามอย่างดังกล่าวมานี้ ภายหลั ง เข้ า มา ปะปนกันทีละน้อย ในที่สุดก็ปนกันมากอย่าง ที่ปรากฏทุกวันนี้ นานาชาติไม่ว่าสมัยไรและถิ่นไร ตั้งแต่ชาติที่เป็นป่าเถื่อนจนถึง ชาติ ที่ เ จริ ญ ย่ อ มมี ก ารร้ อ งรำทำเพลงเป็ น สมบั ติ ป ระจำชาติ
98 ของตน สำหรับใช้เนื่องในกิจพิธีทางศาสนา และในการพักผ่อน หย่ อ นใจเนื่ อ งด้ ว ยสั ง คม การร้ อ งรำทำเพลงจึ ง เป็ น สิ่ ง จำเป็ น เกี่ยวกับจิตใจ ขาดไม่ได้ เพราะเป็นศิลปะบำรุงจิตใจให้แช่มชื่น ชาติใดมีความเป็นอยู่อย่างไร มีจิตใจดีงามหรือเลวทราม อาจดูได้ จากการร้องรำทำเพลงประจำชาติของตน และอาจเปรียบเทียบ ดูได้กับของชาติอื่นว่า มีความสูงต่ำกันอย่างไรในทางวัฒนธรรม (พระยาอนุมานราชธน. 2517 : 153 - 155) ศิลปะการแสดงตะวันตก ศิ ล ปะการแสดงตะวั น ตกก็ มี ร ากฐานมายาวนานมาแต่ อ ดี ต กาล นักปรัชญากรีกโบราณให้ความสำคัญของการแสดงไว้สูงส่งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดที่เกี่ยวกับศิลปะและศีลธรรม เพลโตให้ความสำคัญกับบทบาทของการแสดง เชื่อว่า เป็นการช่วยสร้างดุลยภาพในสังคม เป็นเรื่อง ของความดี (Goodness) และคุณค่า (Virtue) ศิลปะและการแสดงจะช่วยสร้างให้คนดีกว่า และมีคุณค่ากว่า และมองผู้สร้างสรรค์ในฐานะ พลเมื อ งดี ข องนครรั ฐ อริ ส โตเติ ล เชื่ อ ว่ า โศกนาฏกรรม (Tragedy) ย่อมช่วยฟอกจิตใจ ของคนในสังคมให้เป็นคนดี โศกนาฏกรรม จะต้องมีประสบการณ์รื่นรมย์ (Enjoyable Experience) เพื่อสร้างความปีติในการชื่นชม การแสดงหรือบทกวีต้องวางโครงเรื่องให้มี เหตุผล แสดงความจริงในเชิงจิตวิทยา ต้อง ประติมากรรมสำริด สมัยกรีกโบราณ เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์เพื่อให้สามารถวาง นักเต้นรำคลุมหน้า ราว 200 ปี ก่อนคริสต์ศักราช โครงเรื่องที่ดีได้ (วิรุณ ตั้งเจริญ. 2535 : 5 - 7)
99 จากรากความคิดในเชิงความจริง ความดี และความงาม รวมทั้ง แนวทางธรรมชาติและความสมจริงทางศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ ดนตรี ทำให้ศิลปะการแสดงกระแสตะวันตกและศิลปะสาขาอื่นๆ สัมพันธ์กับธรรมชาติและความสมจริงเป็นประการสำคัญ ไขแสง ศุ ข ะวั ฒ นะ กล่ า วถึ ง ศิ ล ปะการแสดงตะวั น ตกที่ ใ ช้ ด นตรี ประกอบคือ อุปรากร (Opera) และบัลเลต์ (Bullet) อุปรากรเป็นการแสดง ละครร้องที่เกิดขึ้นในอิตาลี แล้วแพร่หลายเข้าไปในฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ เกิดขึ้นตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นความ พยายามที่จะพัฒนาการแสดงให้อลังการคล้ายละครเวทีของกรีกโบราณ เป็นการแสดงที่ผสมผสานกับการร้องเพลงและดนตรี ต่อมาได้มีการนำบัลเลต์ เข้าไปผสมผสานด้วย คริสโตฟ วิลลิบัลด์ กลุค (Christoph Willibald Gluck) ชาวเยอรมัน ได้ปฏิรูปอุปรากรในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 จนได้ชื่อว่า เป็นบิดาแห่งอุปรากร คี ต กวี ที่ มี ชื่ อ เสี ย งหลายคนได้ แ ต่ ง อุ ป รากรไว้ เช่ น โมซาร์ ท แต่งอุปรากรเรื่อง Don Giovanni, The Clemency of Tutus, The Marriage of Figaro วาร์กเนอร์ คี ต ก วี โ ร แ ม น ติ ค ที่ มี ชื่ อ เ สี ย ง ในการแต่ ง อุ ป รากรมาก แต่ ง อุปรากรมากมายหลายเรื่อง เช่น Lohengrin, The Ring แวร์ ดี แต่งอุปรากรเรื่อง Rigoletto, Ra Traviata, Aida เป็นต้น บั ล เลต์ เ ป็ น นาฏศิ ล ป์ ที่ เอดการ์ เดอกาส์ นักเต้นบัลเลต์ แสดงบนเวที ถือกำเนิดขึ้นในราช จิตรกรรมสีพาสเทล ราว 2443 สำนั ก ฝรั่ ง เศสในคริ ส ต์ ศ ตวรรษ
100 ที่ 15 เป็นการแสดงของชาวตะวันตกที่ถือว่าเพียบพร้อมสมบูรณ์แบบ ทั้งลีลา ท่าทาง การแต่งกาย ฉาก ดนตรี ถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 และต้น ศตวรรษที่ 18 บัลเลต์เฟื่องฟูมาก เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทรงโปรดปรานบัลเลต์เป็นพิเศษ ทรงออกแสดงด้วยพระองค์เองหลายครั้ง ถึ ง ปลายคริ ศ ต์ ศ ตวรรษที่ 18 ยอง ยอร์ ช โนแวร์ ได้ ป ฏิ รู ป บั ล เลต์ จ นมี มาตรฐานสูงมาก แม้คีตกวีคลาสสิคอย่าง เบโธเฟน ก็แต่งดนตรีประกอบ บัลเลต์ให้กับเขาด้วย ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ไซคอฟสกี คีตกวีรัสเซีย ได้ สร้างสรรค์ดนตรีประกอบบัลเลต์ที่มีชื่อเสียงมากมาจนถึงวันนี้ 3 เรื่อง คือ The Swan Lake, The Sleeping Beauty และ The Nutcracker และเมื่อ ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 บัลเลต์สมัยใหม่ (Modern Bullet) ของรัสเซียก็มีชื่อ เสียงมาก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ. 2529 : 132 - 149) โขน : ศิลปะการแสดงที่สง่างาม เชื่อกันว่า โขนเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นพัฒนาการทางด้าน ศิ ล ปะการแสดงของไทย จากการแสดงหนั ง ใหญ่ จากศิ ล ปะป้ อ งกั น ตั ว การต่อสู้กันด้วยกระบี่กระบอง และจากการแสดงในพิธีชักนาคดึกดำบรรพ์ ในอดีต โขนได้มีพัฒนาการมาเป็นเวลานาน หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็น โขนกลางแปลง โขนนั่งราวหรือโขนโรงนอก โขนโรงใน โขนหน้าจอ โขนฉาก เป็นต้น ซึ่งโขนฉากพัฒนาขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว ปัจจุบันกรมศิลปากรได้พัฒนาและเผยแพร่อย่างกว้างขวางอยู่ใน ขณะนี้ (อมรา กล่ำเจริญ. 2542 : 45 - 47) ปั จ จุ บั น โขนได้ พั ฒ นาจนมี แ บบแผนชั ด เจนและค่ อ นข้ า งตายตั ว ถือว่าเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูง ศิลปะการแสดงจากวัง มีความประณีตบรรจง ทั้งการแสดง เครื่องแต่งกาย บทพากย์ การพากย์ ดนตรี และฉาก การแสดง โขนจะแสดงเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งพัฒนามาจากวรรณกรรมของอินเดีย จากการ ต่ อ สู้ แ ละวรรณะในสั ง คมอิ น เดี ย เมื่ อ พั ฒ นามาเป็ น วรรณคดี ไ ทยและ
101 ศิลปะการแสดงหรือโขน จะพบลีลาอันประณีตงดงามของพระราม พระลักษณ์ สีดา จะพบความสง่างามฮึกเหิมของทศกัณฐ์และบรรดายักษ์ทั้งหลาย และ พบความคล่องแคล่วเฉลียวฉลาดจากบรรดาพลวานร ไม่ว่าจะเป็นหนุมาน สุครีพ องคต นิลนนท์ ฯลฯ
หัวโขนเรื่องรามเกียรติ์ “หนุมาน”
102 การแต่งกายของโขนมีแบบแผนสง่างามและเหมาะสมสอดคล้องกับ บุคลิกของบรรดา พระ นาง ยักษ์ วานร รวมทั้งหัวโขนที่สวมใส่และสีประจำ ของแต่ละตัวเอก เช่น พระรามสีเขียว พระลักษณ์สีเหลือง หนุมานสีขาว เป็นต้น หัวโขนและเครื่องแต่งกายถือว่าเป็นประดิษฐศิลป์ที่มีความงดงาม ประณีตบรรจง เป็นงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น กอรปกับลีลาท่าทางของ พระ นาง ยักษ์ วานร บทพากย์ เสียงพากย์ และท่วงทำนองของดนตรี สำหรับ ตัวแสดงแต่ละตัว แต่ละตอน แต่ละฉาก ล้วนแสดงถึงบุคลิก เรื่องราว และ เหตุการณ์ ได้อย่างดียิ่ง เช่น ความสง่างามของทศกัณฐ์ ทั้งหัวโขน เครื่องแต่งกาย ลีลาท่าทาง เสียงพากย์ที่กร้าวดุดัน จังหวะและเสียงดนตรีที่สอดผสานหรือ แสดงอารมณ์ร่วมไปพร้อมกัน หรือลีลาของตัวเอกอื่นๆ เช่น พระราม พระลักษณ์ สีดา หนุมาน สุครีพ พิเภก ฯลฯ ก็เช่นกัน โขนเป็นงานศิลปกรรมที่ยอดเยี่ยม แสดงออกทั้งภาพ ลีลา เสียง ดนตรี และบทพากย์ซึ่งเป็นงานวรรณกรรม มีความประณีตบรรจง เป็นศิลปะชั้นสูงที่มีเอกลักษณ์ไทยอันงดงาม ในท้องเรื่องหลายบทหลายตอนที่สามารถสะท้อนความคิดที่หลากหลาย ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ชื่นชมด้วย การต่อสู้ระหว่างเทพและยักษ์ เป็นการต่อสู้ ระหว่ า งธรรมะกั บ อธรรม ถ้ า ขาด "สติ " ที่ จ ะประคั บ ประคอง "ปั ญ ญา" กามโลกีย์ในโลกียสัมมาทิฐิ อาจนำไปสู่ความหายนะ ความงามอาจมีเพียง ความงามที่ขาดความเฉลียวฉลาด พิเภกอาจต้องยอมบอกที่ซ่อนกล่องดวงใจ ของพี่ชายที่เขาเคารพรักยิ่ง เพื่อรักษาพลยักษ์หรือพลเมือง ที่อาจต้องตายต่อไป อีกมากมาย เพียงเพราะผู้หญิงแสนสวยนางหนึ่งของผู้มีอำนาจบนแผ่นดิน ฯลฯ ศิลปะในแขนงต่างๆ ล้วนมีความเชื่อมโยงกัน ทั้งทัศนศิลป์และศิลปะ การแสดงที่เป็นภาษาภาพ ดนตรีที่เป็นภาษาเสียง และวรรณกรรมที่เป็นอักษร เมื่อเปล่งเสียงก็เป็นภาษาเสียง และทั้งหมดล้วนกระตุ้นจินตนาการของเรา "การซาบซึ้งในศิลปะนั้น เมื่อเห็นภาพควรได้ยินเสียง เมื่อได้ยินเสียงควรเห็นภาพ" หรือสำหรับงานทัศนศิลป์และศิลปะการแสดงแล้ว "จิตรกรที่เขียนภาพยักษ์ โดยไม่ได้ชื่นชมลีลาของยักษ์ในโขนเรื่องรามเกียรติ์ เขาไม่อาจเขียนภาพยักษ์
103 ที่สง่างามอหังการ์ได้ และก็เช่นกัน นักแสดง พระ นาง ยักษ์ วานร ที่ไม่เคย ชื่นชมจิตรกรรม เขาย่อมขาดความเข้าใจในเรื่องลีลาท่าทางและความงาม ของเส้นอย่างน่าเสียดายยิ่ง" ศิลปะย่อมส่องทางซึ่งกันและกัน ละคร : ศิลปะการแสดงหลากหลายรูปแบบ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของ คำว่า "ละคร" ไว้ว่า "การเล่นจำพวกหนึ่ง ปกติตัวแสดงแต่งเครื่อง มีบอก บทลำนำดังๆ มีท่ารำและมีทำเพลง มักแสดงเป็นเรื่องราว (ยกเว้น โขน ลิเก) ละครจำพวกนี้มีแตกต่างกันออกไปบ้างตามชนิดของละครนั้นๆ เช่น ละครร้อง ละครดึกดำบรรพ์" (ราชบัณฑิตยสถาน. 2525 : 703) สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์ กล่าวถึงความเป็นมาของละครไทยโดยสรุปไว้ว่า ละครไทยมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยน่านเจ้า มีการแสดง แบบการละเล่นต่างๆ และเริ่มรู้จักละครรำเรื่องแรกคือ เรื่อง มโนราห์ สมั ย สุ โ ขทั ย มี ก ารแสดงระบำเป็ น ส่ ว นใหญ่ สมั ย
ละครเรื่องพระยาผานอง ของนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2541
104 กรุงศรีอยุธยามีละครรำ 3 อย่างคือ ละครชาตรี ละครนอก และ ละครใน สำหรั บ ละครใน สั น นิ ษ ฐานว่ า เกิ ด ขึ้ น ในระหว่ า ง รัชกาลสมเด็จพระเพทราชา มาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมโกศ สมั ย กรุ ง ธนบุ รี มี ทั้ ง ละครผู้ ห ญิ ง และผู้ ช าย ละคร ของเอกชนมี ห ลายโรงด้ ว ยกั น และมี ล ะครผู้ ห ญิ ง ของเจ้ า นครศรี ธ รรมราช อพยพเข้ า มาอยู่ ใ นกรุ ง ธนบุ รี สมั ย กรุ ง รัตนโกสินทร์ ศิลปะทางโขน ละคร ฟ้อนรำ เจริญมากในสมัย รัชกาลที่ 2 และสมัยรัชกาลที่ 6 สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นสมัยที่ ศิลปะทางโขน ละคร ดนตรี ปี่พาทย์ เจริญถึงขีดสุด ทรงตั้ง กรมมหรสพขึ้น สมัยรัชกาลที่ 7 ได้โอนศิลปินมาสังกัดที่กรม ศิลปากร และต่อมาในสมัยปัจจุบันนี้ วิทยาลัยนาฏศิลป์รับหน้าที่ ผลิตครูและศิลปินทางโขน ละคร ในปัจจุบัน (สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. 2541 : 164) ละครไทยพิจารณาได้ 2 ลักษณะคือ ละครรำและละครที่ไม่ใช่ละครรำ ละครรำ ได้แก่ ละครโนรา (ชาตรี) ละครนอก ละครใน ละครดึกดำบรรพ์ ละครพันทาง กำเนิดของละครรำดังกล่าว ละครโนรา ละครนอก และละคร ใน เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนละครดึกดำบรรพ์และละครพันทาง เกิดขึ้นใหม่ในช่วงต้นร้ตนโกสินทร์ ส่วนละครที่ไม่ใช่ละครรำ เช่น ละครร้อง ละครสังคีต ละครพูด ละครพูดคำกลอน ละครพูดคำฉันท์ เป็นต้น พระบาทสมเด็ จ พระมงกุ ฎ เกล้ า เจ้ า อยู่ หั ว ทรงนิ พ นธ์ ร้ อ ยกรอง "ธรรมาธรรมะสงคราม" ไว้อย่างงดงามและมีความหมาย ดังนี้ ธรรมาธรรมะสงคราม(1) 11ดูราประชาราษฎร์ นรชาตินิกรชน จงนึกถึงฐานตน ว่าตกต่ำอยู่ปานใด
105 ไม่สู้อมรแมน ฤ ว่าแม้นปิศาจได้ ฝูงสัตว์ ณ กลางไพร ก็ยังเก่งกว่าฝูงคน ทั้งนี้เพราะขี้ขลาด บ่ มิอาจจะช่วยตน ต่างมัวแต่กลัวชน จะตำหนิและนินทา ผู้ใฝ่ซึ่งอำนาจ ก็ต้องอาจและหาญกล้า ใครขวาง ณ มรรคา ก็ต้องปองประหารพลัน อยากมีซึ่งทรัพย์สิ่ง จะมีนิ่งอยู่เฉยฉนั้น เมื่อใดจะได้ทัน มนะมุ่งและปรารถนา กำลังอยู่กับใคร สิก็ใช้กำลังคร่าห์ ใครอ่อนก็ปะรา ชิตะแน่มิสงสัย สัตรีผู้มีโฉม ศุภลักษณาไซร้ ควรถือว่ามีไว้ เปนสมบัติ ณ กลางเมือง ใครเขลาควรเอาเปรียบ และมุสาประดิษฐ์เรื่อง ลวงล่อ บ่ ต้องเปลือง ธนะหากำไรงาม เมื่อเห็นซึ่งโอกาส ผู้ฉลาดพยายาม ส่อเสียดและใส่ความ และประโยชน์ ณ ตนถึง ใครท้วง ฤ ทักว่า ก็จงด่าให้เสียงอึง เขานั้นสิแน่จึ่ง จะขยาดและเกรงเรา พูดเล่นไม่เป็นสา ระสำหรับจะแก้เหงา กระทบกระเทียบเขา ก็สนุกสนานดี ใครจนจะทนยาก และลำบากอยู่ไยมี คิดปองซึ่งของดี ณ ผู้อื่นอันเก็บงำ ใครทำให้ขัดใจ สิก็ควรจะจดจำ ไว้หาโอกาสทำ ทุษะบ้างเพื่อสาใจ คำสอนของอาจารย์ ก็บุราณะเกินสมัย จะนั่งใยดีไย จงประพฤติตามจิตตู
106 บิดรและมารดา เลี้ยงไว้ทำไมดู เขาให้กำเนิิดเรา กฎธรรมะดาท่าน มามัวแต่กลัวบาป อยากสุขสนุกนัน ใครมีกำลังอ่อน ใครเดชะสำแดง
ก็ชราหนักหนาอยู่ นับจะเปลืองมิควรการ ก็มิใช่เช่นให้ทาน ว่าเป็นของไม่อัศจรรย์ ก็จะอยู่ทำไมกัน ทิก็ต้องดำริห์แสวง ก็ต้องแพ้ผู้มีแรง ก็จะสมอารมณ์ปอง
(2) ดูราประชาราษฎร์ แห่งการสงครามนี้ ธรรมะและอธรร อันผลจะพึงให้ อะธรรมย่อมนำสู่ ธรรมะจะนำพลัน เสพธรรมะส่งให้ แม้เสพอะธรรมพา ในกาลอนาคต ข่มธรรมะทำลาย เชื่อถือกำลังแสน หวังครองประดาโลก สัญญามีตรามั่น ละทิ้งธรรมะสิ้น หญิงชายและทารก ถูกราญประหารเห็น
ท่านอาจเห็นคติดี อย่าระแวงและสงสัย มะทั้งสองสิ่งนี้ไซร้ บ่ มิมีเสมอกัน นิราบายเปนแม่นมั่น ให้ถึงสุคตินา ถึงเจริญทุกทิวา ให้พินาศและฉิบหาย ก็จะมีผู้มุ่งหมาย และประทุษฐมนุษโลก ยะจะขึ้นเป็นหัวโจก และเปนใหญ่ในแดนดิน ก็จะเรียกกระดาษชิ้น เพราะอ้างคำว่าจำเปน ก็จะตกที่ลำเค็ญ บ่ มิมีอะไรขวาง
11
107 ฝ่ายพวกอะธรรมเหิม ก็จะเริ่มจะริทาง ทำการประหารอย่าง ที่มนุษย์มิเคยใช้ ฝ่ายพวกที่รักธรรม ถึงจะคิดระอาใจ ก็คงมิยอมให้ พวกอะธรรมได้สมหวัง จักชวนกันรวบรวม พลกาจกำลังขลัง รวมทรัพย์สพรึบพรั่ง เปนสัมพันธไมตรี ช่วยกันประจันต่อ พวกอะธรรมะเสนี เข้มแข็งกำแหงมี สุจริตะธรรมสนอง ลงท้ายฝ่ายธรรมะ จะชำนะดังใจปอง อะธรรมะคงต้อง ปะราชัยเป็นแน่นอน อันว่ามนุษโลก ยังโชคดีไม่ย่อหย่อน อะธรรมะราญรอน ก็ชำนะแต่ชั่วพัก ภายหลังข้างฝ่ายธรรม จะชำนะประสิทธิ์ศักดิ์ เพราะธรรมะย่อมรักษ์ ผู้ประพฤติ ณ ครองธรรม อันคำเราทำนาย ชนทั้งหลายจงจดจำ จงมุ่งมั่นถนอมธรรม เถิดจะได้เจริญสุข ถึงแม้อะธรรมข่ม ขี่อารมณ์ให้มีทุกข์ ลงท้ายเมื่อหมดยุค ก็จะได้เกษมสานต์ ถือธรรมะผ่องใส จึ่งจะได้เป็นสุขสราญ ถือธรรมะเที่ยงนาน ก็จะได้ไปสู่สวรรค์ (คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือพระมหาธีรราชเจ้า. 2529 : 214 - 215) หนังใหญ่ : ศิลปะการแสดงและภาพ หนังใหญ่ถือกันว่าเป็นงานศิลปะที่ยอดเยี่ยมของไทยอีกลักษณะหนึ่ง เป็นงานศิลปะที่มีความสมบูรณ์ ทั้งตัวหนังที่อาจเรียกได้ว่าเป็นงานศิลปะ แขนงทัศนศิลป์หรือจิตรกรรม เป็นภาพฉลุที่มีแบบแผน ท่าทาง และลวดลาย
108
ภาพหนังใหญ่ ปกวารศิลปกรรมศาสตร์ 3(1) มกราคม-มิถุนายน 2538
ผสมผสานกันอย่างงดงามมาก มีท่าทางการเชิดรวมทั้งท่าทางลีลาของคนเชิด งดงาม เร้าใจ และแสดงออกถึงบุคลิกของตัวหนังใหญ่ได้อย่างสวยงาม มีลีลา การพากย์และดนตรีประกอบที่ทำให้การแสดงหนังใหญ่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เร้าใจและสนุกสนาน กอปรกับโดยทั่วไปแล้ว การแสดงหนังใหญ่มักแสดง ตอนกลางคืน บรรยากาศและแสงไฟยังช่วยให้หนังใหญ่มีเสน่ห์งดงามยิ่งขึ้น เราเชื่อกันว่า ลักษณะการแสดงหนังใหญ่ที่ใช้แผ่นหนังสร้างสรรค์ เป็นตัวแสดง และการแสดงที่ใช้แสง-เงา เป็นมหรสพที่มีมานานนับพันปี ในหลายชาติหลายภาษา หนังใหญ่ของไทยอาจรับมาจากอินเดีย อินโดเนเซีย และ ได้พัฒนาสร้างสรรค์จนประณีตงดงามตามแบบแผนศิลปะของไทย "หนังตะลุง" ก็เป็นศิลปะการแสดงประเภทเดียวกับหนังใหญ่ แต่ตัวหนังมีขนาดเล็กกว่า ในอดีตอินโดเนเซียนิยมแสดงหนังประเภทเดียวกันนี้ แต่จะมีตัวหนังเล็กกว่า
109 หนังใหญ่ของไทย ปัจจุบันก็เสื่อมความนิยมลงแล้วเช่นกัน หนังใหญ่ของไทย มีหลักฐานว่านิยมกันมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กระแสสังคมใหม่ทำให้ การแสดงหนังใหญ่ รวมทั้งศิลปะการแสดงของไทยอื่นๆ เสื่อมถอยลงด้วย ซึ่งเราทุกคนควรจะต้องศึกษา ชื่นชม และช่วยกันอนุรักษ์ไว้เป็นมรดกศิลปะ ของไทยสืบไป หนังใหญ่ของไทยนิยมทำจากหนังวัว เพราะมีความโปร่งแสงหรือ เรียกกันว่า "หนังแก้ว" ช่างหนังหรือผู้แกะสลักหนัง ถือว่าเป็นศิลปินที่สำคัญ ในการสร้างภาพหนังใหญ่ให้วิจิตรบรรจง สร้างความผสานสัมพันธ์ระหว่าง บริเวณรูปและพื้่น (Figure and Ground) หรือบริเวณรูปทรงและช่องว่าง ให้ได้ภาพที่แสดงแสงและเงา (Light and Shadow) สัมพันธ์กันอย่างงดงาม คนเชิ ด หนั ง ต้ อ งเป็ น ศิ ล ปิ น ที่ แ สดงลี ล าท่ า ทางให้ เ ข้ า กั บ ท้ อ งเรื่ อ ง ภาพ เสียงพากย์ ดนตรี และแสง คนพากย์ต้องแสดงออกให้ได้อารมณ์ความรู้สึก สมจริงตามเรื่องราว แสงไฟที่ช่วยให้เกิดภาพและเงาบนจอ นิยมก่อกองไฟ ด้วยกะลามะพร้าว จะได้แสงที่ส่องสว่างเคลื่อนไหวไปมา ช่วยสร้างลีลาของ หนังใหญ่อีกทางหนึ่ง หนังใหญ่เป็นงานศิลปกรรมที่ผสานศิลปะหลายแขนง เข้าไว้ด้วยกัน สุ ภิ ต ร อนุ ศ าสน์ กล่ า วว่ า ตั ว หนั ง ใหญ่ ส ามารถแบ่ ง ออกเป็ น 6 ประเภท ดังนี้ 1. หนังเฝ้า (หนังไหว้) เป็นหนังเดี่ยว (ตัวละครตัวเดียว) ทำท่าไหว้ หนังชนิดนี้ใช้ตอนเข้าเฝ้า 2. หนังคเนจร (หนังเดิน) เป็นหนังเดี่ยว ทำท่าเดิน หนังชนิดนี้ใช้ใน ตอนยกทัพ 3. หนังง่า เป็นหนังเดี่ยวทำท่าเหาะ หนังประเภทนี้ยังแยกเป็น หนังโก่ง (ท่าโก่งศร) และหนังแผลง (ท่าแผลงศร) ด้วย 4. หนังเมือง อาจมีละครตัวเดียวหรือหลายตัว และมีภาพปราสาท ราชวัง พลับพลาหรืออาคารอื่นๆ ที่ตัวละครในเรื่องนั่งหรือทำอิริยาบทอื่นๆ ก็ได้
110 5. หนังจับ เป็นภาพตัวละคร 2 หรือ 3 ตัว ทำท่ารบหรือจับกัน เช่น พระรามรบทศกัณฐ์ เป็นต้น 6. หนังเบ็ดเตล็ด เป็นภาพหนังอื่นๆ ที่ไม่สามารถจัดเข้าประเภทใดๆ ได้ เช่น หนังภาพ ลิงขาวจับลิงดำเดินอกแอ่นมา ซึ่งเรียกว่า "หนังเตียว" (เตียว หมายถึง มัด) หรือหนังท่าแปลกๆ เช่น คนถือบ้องกัญชาหรือขวาน เป็นต้น (สุภิตร อนุศาสน์. 2538 : 11) หนังใหญ่จะนิยมแสดงเรื่องรามเกียรติ์และใช้วงปี่พาทย์เป็นดนตรี ประกอบ ช่วงโหมโรงมักมีการไหว้ครูและเบิกโรงด้วยการแสดงที่สนุกสนาน นิยมเป็นชุดลิงขาวจับลิงดำ ลิงดำซึ่งเป็นลิงเกเร หลังจากนั้นจึงเป็นการแสดง เรื่องรามเกียรติ์ หุ่น : ศิลปะการแสดงและประติมากรรม การแสดงหุ่นเป็นศิลปะการแสดงของไทยอี ก ลั ก ษณะหนึ่ ง ที่ ต้ อ ง สร้างสรรค์หุ่นให้เป็นศิลปะ หรืองานประติมากรรมที่สวยงามประณีตบรรจง นำมาแสดงและพากย์ประกอบดนตรี ในอดีตมีทั้งที่แสดงในวังและนอกวัง วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ กล่าวถึงหุ่นในลักษณะต่างๆ ไว้ดังนี้ หุ่นหลวงหรือหุ่นใหญ่ เป็นหุ่นแบบเก่าดั้งเดิม มีมาตั้งแต่สมัย อยุธยา ลักษณะของหุ่นหลวงสร้างเหมือนคนจริงเต็มตัว มีความ สู ง ประมาณ 1 เมตร รู ป ร่ า งลั ก ษณะเลี ย นแบบจากคนจริ ง ภายในตัวหุ่นกลวง มีสายโยงร้อยไปมาตามท่อนแขน ขา นิ้วมือ สามารถชักเชิดบังคับให้หน้าตาเคลื่อนไหวและกรอกตาไปมาได้ หุ่นเล็ก ตัวหุ่นมีขนาดเล็กสูงประมาณ 1 ฟุต เลียนแบบหุ่นของ จีนที่เรียก "หุ่นจีน" เขียนหน้าแบบงิ้ว เครื่องแต่งกายแบบงิ้ว ตัว หุ่นกลวง มีผ้าคลุมซึ่งเป็นตัวเสื้อของหุ่น คลุมยาว ใช้มือสอด เข้าไปเพื่อใช้นิ้วบังคับหุ่นให้เคลื่อนไหว นิยมใช้แสดงมหรสพที่ เป็นเรื่องราวแบบจีน ผู้สร้างหุ่นเล็กเป็นคนแรกคือ กรมพระราชวัง
111 บวรวิไชยชาญ พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งต่อมาได้สร้างหุ่นชุดรามเกียรติ์ขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง ขนาดเท่าหุ่น จีนแต่มีกลไกในการชักเชิดเหมือนหุ่นหลวง หุ่นละครเล็ก ตัวหุ่นมีขนาดเกือบเท่าหุ่นหลวง การบังคับใช้ไม้ หรือตะเกียบต่อกับมือทั้งสองข้าง ลำตัวใช้ไม้เสียบไว้เป็นแกน ให้ คนเชิดจับเชิดและบังคับท่าทางด้วยการดึงไม้ที่ติดอยู่กับมือของหุ่น การบังคับเชิดด้วยวิธีนี้ใช้คนเชิดเพียงคนเดียว แต่การชักเชิด แบบนี้สามารถมองเห็นไม้ที่เสียบนอกลำตัวหุ่น ทำให้มองเห็น การเชิดได้ถนัดและดูไม่แนบเนียน หุ่ น กระบอก หุ่ น กระบอกเกิ ด ขึ้ น ในสมั ย รั ช กาลที่ 5 ตั ว สู ง ประมาณ 1 ฟุต มีแกนหรือลำตัวเป็นกระบอกไม้ไผ่ ปลายด้าน บนจะสวมหัวหุ่นแกะสลัก ตกแต่งด้วยสีและเครื่องประดับแบบ โขน ตัวหุ่นสวมเสื้อคลุมยาวถึงกระบอกไม้ไผ่ การชักเชิดใช้ไม้ หรือตะเกียบติดที่มือหุ่นทั้งสองข้าง บังคับให้หุ่นทำท่าทางตามที่ ต้องการ (วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ. 2535 : 8) นอกจากความงดงามของตั ว หุ่ น รวมทั้ ง ส่ ว นประกอบอื่ น ๆ เช่ น เครื่ อ งแต่ ง กายหุ่ น ฉาก บทพากย์ แ ละการพากย์ แ ล้ ว ทั ก ษะและศิ ล ปะ ในการเชิ ด หุ่ น นั บ ว่ า เป็ น เรื่ อ งสำคั ญ ยิ่ ง ความสนุ ก สนานและการชื่ น ชม การแสดงหุ่นต้องมีหลายสิ่งหลายอย่างผสานกัน ศิลปะการแสดงของไทยนอกจากโ่ขน ละคร หนังใหญ่ และหุ่น ดังที่ ยกมาเป็นตัวอย่างแล้ว ยังมีการแสดงอีกมากมายหลายอย่าง เช่น เสภา ลิเก หนังสด จำอวด รวมทั้งการละเล่นพื้นเมือง เช่น เพลงอีแซว เพลงปรบไก่ ลำตัด เทพทอง เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเรือ เพลงฉ่อย เต้นกำรำเคียว รำวง รำเหย่อย ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ หมอลำ ลำเต้ย เซิ้งกระติบข้าว เป็นต้น ซึ่งการแสดง พื้นบ้านอาจเป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะการแสดงและการละเล่น เป็น
112
หุ่นไทยของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ สมัยรัชกาลที่ 5
หุ่นของจักรพันธุ์ โปษยกฤต ในปัจจุบัน
การแสดงที่มักเกี่ยวข้องกับการเกษตรกรรมและพิธีกรรมต่างๆ ศิลปะการแสดง หลายต่อหลายอย่างของไทยได้หมดความนิยมลงแล้ว จะด้วยกระแสการ ดำรงชีวิตอย่างใหม่หรือจะด้วยศิลปะการแสดงของไทยขาดการพัฒนาหรือ ประยุกต์ให้เหมาะสมกับปัจจุบันก็ตาม ศิลปกรรมบางอย่างเราคงทำได้ดี เพียงการอนุรักษ์ บางอย่างต้องพัฒนาหรือปรับประยุกต์ให้ร่วมสมัย เพื่อให้ มรดกวัฒนธรรมเหล่านี้เติบโตไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม อย่างไร ก็ตาม เราคงต้องร่วมกันสนับสนุน ผลักดัน และชื่นชมร่วมกัน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งสถาบันการศึกษา วัด และชุมชน เพื่อให้มรดกวัฒนธรรม อันทรงคุณค่าเหล่านี้สืบทอดไปสู่อนาคตให้จงได้
5
การพัฒนาค่านิยม ด้านสุนทรียภาพในตัวบุคคล คนเราเกิดมาพร้อมด้วยศักยภาพทางร่างกาย สมอง และจิตใจ พร้อม ที่จะเรียนรู้ พร้อมที่จะคิดอย่างมีเหตุผล พร้อมที่จินตนาการ และพร้อมที่จะ สร้างสรรค์ ด้วยศักยภาพของมนุษย์ เราจึงพัฒนาการมาจนถึงวันนี้ แม้จะ ต้องใช้เวลานานมากก็ตาม เมื่อเราเรียนรู้ คิด จินตนาการ หรือสร้างสรรค์ มิได้เป็นไปอย่างแยกส่วน เป็นการเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน บูรณาการ ความคิดเข้าด้วยกัน มีบริบทที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยง นักปรัชญากรีก อินเดีย จีนโบราณ ล้วนเสนอความคิดที่เชื่อมโยงกันเป็นเอกภาพ นักปรัชญากรีก คิดถึงความจริง ความดี ความงาม ที่สัมพันธ์กัน พระพุทธเจ้าทรงเผยแพร่ พุทธธรรมเพื่อการดำรงชีวิตโดยรวมทั้งชีวิต เหลาจื้อเผยแพร่เต๋าเพื่อให้มนุษย์ มีชีวิตที่กลมกลืนกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม เมื่อสังคมมนุษย์เปลี่ยนแปลงไป เราแสวงหาวัตถุมากขึ้น เลยมาถึง การปฏิวัติอุตสาหกรรม วัตถุมีความหมายต่อการดำรงชีวิตมากขึ้น การผลิต ด้วยแรงงานพัฒนาไปสู่การผลิตด้วยเครื่องจักรกลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นการผลิตแบบมวลผลิตเพื่อตอบสนองปริมาณของประชากรที่ขยายตัว มากขึ้น พร้อมกันนั้น ระบบการศึกษาก็พัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการ ของสังคมดังกล่าว มนุษย์ได้รับการสอนและพัฒนาอย่างแยกส่วน เพื่อป้อน เข้าสู่กลไกของสังคม ป้อนเข้าสู่โรงงาน ป้อนเข้าสู่ระบบธุรกิจ รู้และมีความ สามารถเพียงอย่างเดียวก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสังคม และอาจประสบผล สำเร็จในทางวัตถุด้วย เราแยกเหตุผลและจินตนาการ แยกสมองซีกซ้ายและ ขวา แยกวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ แยกขาวและดำ แยกดีและเลว ฯลฯ
114 แล้ ว สั ง คมก็ มี ปั ญ หาซั บ ซ้ อ นมากมาย มนุ ษ ย์ ข าดจิ ต วิ ญ ญาณ มนุ ษ ย์ วิทยาศาสตร์ว่างเปล่าสุนทรียภาพ มนุษย์สุนทรียภาพว่างเปล่าความคิดเชิง วิทยาศาสตร์ สังคมมีปัญหาและมนุษย์เชิงปัจเจกภาพมีแต่ความเครียด คำถามสำหรับวันนี้คือ เราจะสร้างเอกภาพในชีวิตอย่างไร เราจะ แสวงหาดุ ล ยภาพระหว่างเหตุผลและจินตนาการอย่ า งไร หรื อ จะพั ฒ นา คุ ณ ภาพชี วิ ต ในเชิ ง วิ ท ยาศาสตร์ ใ ห้ สั ม พั น ธ์ กั บ คุ ณ ภาพชี วิ ต ในเชิ ง สุนทรียศาสตร์อย่างไร ทั้งเพื่อศักยภาพในปัจเจกภาพของเราเองและเพื่อ ศักยภาพของสังคมในท้ายที่สุด การพัฒนาค่านิยมและสุนทรียภาพในสังคม การพัฒนาสุนทรียภาพไม่สามารถเป็นไปได้ ถ้าภาระและบทบาท เป็ น เพี ย งในระบบครอบครั ว ระบบการศึ ก ษา หรื อ เป็ น เพี ย งภาระของ ปัจเจกบุคคลเท่านั้น สังคมคือร่มเงาหรือกรอบของการดำรงชีวิต กระแส สังคมมีพลังมากมายและอาจถือได้ว่าเป็นพลังหลัก ในการกระตุ้นให้สมาชิก สังคมมีแนวโน้มไปทางใดทางหนึ่ง สังคมที่วิกฤติทางการเมือง เศรษฐกิจ และ ระบบการศึกษา ย่อมก่อให้เกิดวิกฤติในการดำรงชีวิตของสมาชิกสังคม สังคม ที่ มี จ ริ ย ธรรมทางการเมื อ ง นั ก การเมื อ งที่ เ สี ย สละ เฉลี ย วฉลาด และ สร้างสรรค์สังคม ระบบเศรษฐกิจที่ห่วงใยเอื้ออาทรและให้ความยุติธรรมกับ สมาชิกสังคมทุกระดับชั้น ระบบการศึกษาที่ผลักดันสังคมให้เป็นสังคมแห่ง การเรียนรู้ สร้างสรรค์วัฒนธรรม และสร้างรสนิยมให้กับมวลสมาชิกในสังคม ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็เป็นที่หวังได้ว่า สังคมย่อมมีพลังในการสร้างความดีงาม สามารถพัฒนาค่านิยมและรสนิยมของมวลสมาชิกได้อย่างแท้จริง สังคมย่อมเป็นภาพรวมทั้งหมด ภาระของสังคมคือภาระของผู้บริหาร ประเทศ องค์กรของรัฐ ศาสนา ภาคเอกชน ชุมชน สื่อมวงชน องค์กรพัฒนา เอกชน ซึ่งก็รวมทั้งองค์กรทางการศึกษาและครอบครัว กล่าวเฉพาะการ พัฒนาสุนทรียภาพในสังคม ถามว่า รัฐหรือผู้บริหารประเทศมีรสนิยมจริงใจ
115 และได้พัฒนารสนิยม พัฒนาสุนทรียภาพของประชาชนมากน้อยเพียงใด ถามว่า สื่อมวลชนวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อมวลชนที่เข้าไปสู่ทุกบ้านเรือน ในสังคมไทย ทำอะไรบ้างกับการพัฒนาสุนทรียภาพ ถามว่า วัดซึ่งยังคงเป็น ศูนย์รวมของจิตใจ ทำอะไรบ้างกับการพัฒนาสุนทรียภาพของประชาชน ฯลฯ เราคงต้องช่วยกันถาม ช่วยกันตอบ ข่วยกันแก้ปัญหา และช่วยกันพัฒนา สังคมต้องเรียนรู้ เฉลีียวฉลาด และมีรสนิยม เข้าใจและสนับสนุนใน สุนทรียะที่หลากหลาย ยอมรับความแตกต่าง ยอมรับทั้งกระแสไทยและ กระแสสากล ยอมรับทั้งเก่าและใหม่ ยอมรับทั้งความประณีตงดงามลึกซึ้ง และระดับที่เรียบง่าย ฯลฯ เพื่อร่วมกันพัฒนาค่านิยมและสุนทรียภาพให้กับ สมาชิกสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย ระบบการศึกษาและสุนทรียภาพ เรามีหลักสูตรศิลปศึกษาในระบบโรงเรียนมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2438 นับด้วยร้อยปีเศษ มาจนถึงทุกวันนี้ ศิลปศึกษาในโรงเรียน รวมทั้งสถาบัน อุดมศึกษา ยังไม่สามารถสร้างทัศนคติที่ดีต่อสุนทรียะในชีวิตประจำวัน ให้กับ คนมีการศึกษาและประชาชนคนไทยทั้งมวลได้ ซึ่งก็อาจจะไม่ต่างไปจาก พั ฒ นาการทางด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ นั บ ด้ ว ยร้ อ ยปี เ ศษในสั ง คมไทย ที่ ยั ง ไม่ สามารถสร้างความคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ให้กับประชาชนคนไทยได้มากนัก คนมีการศึกษายังคงภาคภูมิใจในการไม่มีความรู้และไม่มีรสนิยมทางทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง ฯลฯ และยังภาคภูมิใจในความเชื่อความคิดทางไสยเวท ไสยศาสตร์ ระบบการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ดังที่ผ่านมา ให้ได้ เพราะการศึกษาในระบบโรงเรียนยังคงเป็นหัวใจสำคัญในสังคม การ ศึกษาในระบบโรงเรียนเป็นเช่นใด สังคมและครอบครัวก็มีแนวโน้มไปทางนั้น เท่าที่ผ่านมา ทัศนศิลป์ในโรงเรียน มุ่งผลผลิตทางผลงานศิลปะ ศิลปะ ที่เน้นทักษะและงานช่างฝีมือมากกว่าการสร้างทัศนคติและรสนิยมทางศิลปะ ดนตรีและศิลปะการแสดงยิ่งเป็นปัญหามากกว่าทัศนศิลป์ มีปัญหาทั้งแนวคิด
116 ทางการศึกษาของนักการศึกษา การรวบอำนาจทางวิชาการจากศูนย์กลาง ผู้สอนที่ขาดความรู้ความเข้าใจ และขาดพลังในการเป็นครู ฯลฯ สังคมไทย ต้องปฏิรูประบบการศึกษาทั้งหมด รวมทั้งการศึกษาเพื่อพัฒนาสุนทรียภาพ ด้ ว ย ปั ญ หาทั้ ง หมดก็ ค งมิ ใ ช่ เ พี ย งเฉพาะการศึ ก ษาในระดั บ โรงเรี ย น เท่านั้น การศึกษาในระดับอุดมศึกษา ก็จำเป็นต้องปฏิรูปตัวเองด้วยเช่นกัน เชื่ อ มโยงไปถึ ง การศึ ก ษานอกระบบและการศึ ก ษาตามอั ธ ยาศั ย สำหรั บ คนไทยทั้งปวง สุนทรียภาพและประสบการณ์ สุนทรียภาพอาจเกิดจากการศึกษาหาความรู้ เกิดจากการปฏิบัติ หรือ เกิดจากการได้เห็น ได้ฟัง ได้อ่าน ได้คิด ได้ทำ อย่างไรก็ตาม "ประสบการณ์" คือหัวใจสำคัญในการพัฒนาสุนทรียภาพในบุคคล แน่นอน "ประสบการณ์ ตรง" (Direct Experience) ย่อมมีค่ามากกว่า "ประสบการณ์รอง" (Indirect Experience) ความรู้ ความเข้ า ใจ ความซาบซึ้ ง ถ้ า ในชี วิ ต เราไม่ มี ประสบการณ์ กั บ แก้ ว น้ ำ หรื อ มี ป ระสบการณ์ น้ อ ย เราก็ ค งไม่ ส ามารถ เลือกสรรแก้วน้ำที่สวยงาม จับถนัดมือ ไม่ลื่นตกแตก ได้ดีมากนัก "ความงาม" ก็เช่นกัน ทัศนศิลป์ ดนตรี ศิลปะการแสดง ก็เช่นกัน เราเองต้องแสวงหา ประสบการณ์ สังคม โรงเรียน และบ้าน ต้องร่วมกันสร้างประสบการณ์ทาง ด้านสุนทรียะ ซึ่งก็คงต้องรวมทั้งประสบการณ์ทางด้านอื่นๆ ด้วย ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกคน ในชีวิตเราอาจได้ฟังเพลงบ่อยมาก ทั้งที่มีรสนิยมดีและไม่ดี เพราะสื่อ และการผลิ ต แบบมวลผลิ ต เอื้ อ อำนวย แต่ เ ราอาจมี ป ระสบการณ์ กั บ ทัศนศิลป์ ศิลปะการแดสง วรรณกรรม ที่ดีมีรสนิยมน้อยมาก ปัญหาคือ เราจะช่วยกันสร้างประสบการณ์ให้กับประชาชนคนไทยอย่างไร หอศิลปกรรม พิพิธภัณฑ์ หอนาฏลักษณ์ มิวสิคฮอลล์ ห้องสมุด สื่อมวลชน ที่มีเพียงพอใน ชุมชน มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ มีผลงานทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง
117 ดนตรี วรรณกรรม ภาพยนตร์ ที่มีคุณภาพ มีสติปัญญาความคิด และมีรสนิยม ความพร้อมเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าทุกคน ทุกองค์กร ขาดสำนึกรับผิดชอบ ขาดความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาสังคมให้ก้าวไปทุกด้านพร้อมๆ กัน สุนทรียภาพและสภาพแวดล้อม เมื่อเราพิจารณาสุนทรียภาพและสภาพแวดล้อม เราคงต้องพิจารณา ทั้งสองด้านคือ 1. สภาพแวดล้อมก่อให้เกิดสุนทรียภาพในบุคคล 2. สุนทรียภาพก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่งดงาม 3. สุนทรียภาพและสภาพแวดล้อมก่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี สภาพแวดล้อมในที่นี้หมายถึง ทั้งธรรมชาติและสภาพสิ่งที่มนุษย์ สร้างขึ้น ธรรมชาติเป็นสิ่งงดงาม สมดุล และมีวัฏจักรของการเปลี่ยนแปลง เมื่อมนุษย์สร้างสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร บ้านเรือน ผังเมือง เขื่อน ขยะ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมเหล่านั้นย่อมเกี่ยวข้องหรือไปกระทบกับธรรมชาติ กลมกลืน กั บ ธรรมชาติ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของธรรมชาติ หรื อ ทำลายธรรมชาติ สภาพ แวดล้อมที่ดีงาม สะอาด ประณีต ไม่ฝืนหรือทำลายระบบนิเวศน์วิทยา ย่อม ช่ ว ยกระตุ้ น และพั ฒ นาสุ น ทรี ย ภาพในบุ ค คล ในทางกลั บ กั น การพั ฒ นา สมาชิ ก สั ง คมให้ มี สุ น ทรี ย ภาพ มี จิ ต สำนึ ก ที่ ดี ง าม ชื่ น ชมในความงาม มี จิตสำนึกสาธารณะ สมาชิกสังคมเช่นนั้นย่อมสร้างสรรค์หรือพัฒนาสภาพ แวดล้อมให้ประณีตงดงาม และท้ายที่สุดสุนทรียภาพในบุคคลซึ่งเป็นสมาชิก ของสังคมและสภาพแวดล้อมที่ประณีตงดงาม ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วย พัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลและการมีชีวิตร่วมกันในชุมชน ในสังคม สุนทรียภาพและวัฒนธรรม เมื่อสิ่งใดที่ประพฤติปฏิบัติบ่อยครั้ง การประพฤติปฏิบัติที่มีการคัดสรร กลั่นกรอง คงอยู่แต่สิ่งที่ดีงาม ประณีต และมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต สิ่งนั้น และพฤติ ก รรมนั้ น จะกลายเป็ น วั ฒ นธรรม วั ฒ นธรรมย่ อ มพั ฒ นาได้
118 เปลี่ยนแปลงได้ เพื่อก้าวไปสู่สิ่งที่ดีงามกว่า ประณีตกว่า และมีคุณค่ากว่า สำหรับการดำรงชีวิตร่วมกันในแต่ละช่วงเวลา ในแต่ละบริบทสังคมที่เปลี่ยน ไป "วัฒนธรรม" จึงเป็นความดีงาม ที่มีนัยะทั้งการธำรงไว้ซึ่งความดีงาม ประณีต มีคุณค่า และนัยะของการพัฒนาเปลี่ยนแปลงหรือมีพลวัตในตัวตน ของวัฒนธรรม ระบบครอบครัวหรือ "บ้าน" ย่อมเป็นรากฐานสำคัญในการสร้าง วัฒนธรรม สร้างสุนทรียภาพในบุคคล ตั้งแต่วัฒนธรรมพื้นฐาน เช่น การทิ้งขยะ การตรงต่อเวลา การแต่งกายที่รู้จักกาลเทศะ การมีวัฒนธรรมในห้องเรียน การมีสัมมาคารวะ การมีวัฒนธรรมในชุมชน การมีวัฒนธรรมในการอยู่ร่วมกัน การมีวัฒนธรรมในการขับรถ ฯลฯ นอกจากบ้านแล้ว ระบบโรงเรียนและ สังคมก็มีความสำคัญหรือเป็นรากฐานสำคัญไม่น้อยไปกว่าบ้าน บ้าน โรงเรียน และสังคม จะต้องร่วมกันพัฒนา สร้างเสริมวัฒนธรรมที่ดีงาม ความดีงามที่ เป็นทั้งคุณสมบัติและรูปสมบัติ วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับความรัก และการชื่นชมในความงามและความประณีตหรือสุนทรียภาพ "สุนทรียภาพ" จึงเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมและเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง ธรรมชาติของการเป็นมนุษย์และการดำรงชีวิต ถ้าเราเชื่อว่า มนุษย์มีเหตุผล มีความรู้สึกนึกคิด มีจินตนาการ มีอารมณ์ ใฝ่รู้ ใฝ่ดี ฯลฯ เราก็สามารถพัฒนาให้ทุกคนมีคุณค่า มีวัฒนธรรม และมี สุ น ทรี ย ภาพได้ เมื่ อ เรากล่ า วถึ ง ธรรมชาติ เรามั ก หมายถึ ง ระบบของ ธรรมชาติที่เป็นไปเช่นนั้น ดำเนินไปเช่นนั้น และเรามักเชื่อว่า ธรรมชาติ เปลี่ยนแปลง แต่ระบบของธรรมชาติไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในเชิงวิวัฒนาการของธรรมชาติอาจใช้ช่วงเวลายาวนาน มาก เว้นเสียแต่ว่า มนุษย์พยายามกระทำให้ระบบของธรรมชาติเปลี่ยนแปลง ไปอย่างรวดเร็ว ธรรมชาติของมนุษย์ก็เช่นกัน มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ที่ อ าจเปลี่ ย นแปลงในเชิ ง วิ วั ฒ นาการเร็ ว กว่ า สั ต ว์ แ ละธรรมชาติ อื่ น ๆ
119 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมองและสติปัญญาของมนุษย์ มนุษย์เรียนรู้ได้เร็วและ มีประสิทธิภาพ มนุษย์มีจินตนาการและการสร้างสรรค์ ดังนั้น สภาพแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตของมนุษย์ จึงพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ทั้งในทางที่เป็นคุณและเป็นโทษแก่มนุษย์เอง อย่ า งไรก็ ต าม มนุ ษ ย์ จ ะต้ อ งเรี ย นรู้ แ ละเฉลี ย วฉลาดที่ จ ะรั ก ษา ความเป็นธรรมชาติของมนุษย์ในส่วนที่ดีงาม ประณีต และมีคุณค่าต่อการ ดำรงชีวิต สร้างความสมดุลให้กับชีวิต พัฒนาศักยภาพของสมองทั้งสอง ด้านให้มีคุณค่าสูงสุดในชีวิต ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า ทั้งเพื่อสร้างสรรค์ สภาพแวดล้อม สังคม ชุมชน วัฒนธรรม และสร้างสรรค์ตนเองสืบไป
120 บรรณานุกรม ไขแสง ศุขะวัฒนะ. (2529). สังคีตนิยม ว่าด้วยดนตรีตะวันตก. กทม. : ไทยวัฒนาพานิช. คณะกรรมการจัดพิมพ์หนังสือพระมหาธีรราชเจ้า. (2529). พระมหาธีรราชเจ้า. กทม. : ธนาคารทหารไทย จัดพิมพ์. คีตกร จ.มงคลขจร สาทิส. (พิมพ์ครั้งที่ 7 : 2539). จากดวงใจ. กทม. : สำนักพิมพ์เม็ดทราย. เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (พิมพ์ครั้งที่ 2 : 2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. กทม. : โอเดียนสโตร์. ปลาย พันแสง. “ฉันเกลียดเธอ ฉันรักเธอ ชีวิต”, มติชน. 22 ตุลาคม 2543. พจนา จันทรสันติ (แปล). (พิมพ์ครั้งที่ 10 : 2530). วิถีแห่งเต๋า. กทม. : สำนักพิมพ์เคล็ดไทย. พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (พิมพ์ครั้งที่ 7 : 2541). พุทธธรรม. กทม. : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. พระยาอนุ ม านราชธน. (2517). “สั ง คี ต ศิ ล ป์ ” , การศึ ก ษา ศิ ล ปะและ ประเพณี. กทม. : 2517. พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (พิมพ์ครั้งที่ 3 : 2540). ปรัชญากรีก : บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก. กทม. : สำนักพิมพ์ศยาม. มนตรี ตราโมท. (พิมพ์ครั้งที่ 2 : 2540). ดุริยางคศาสตร์ไทย. กทม. : สำนักพิมพ์ มติชน. ระวี ภาวิไล (แปล). พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2516). ปรัชญาชีวิต. กทม. : สำนักพิมพ์ ศึกษิตสยาม. _____________. (พิมพ์ครั้งที่ 4 : 2517). สาธนา. กทม. : สำนักพิมพ์ ศึกษิตสยาม.
121 รัจรี นพเกตุ. (พิมพ์ครั้งที่ 2 : 2539). การรับรู้. กทม. : สำนักพิมพ์ประกายพรึก. ________. (2540). จิตวิทยาการรับรู้. กทม. : สำนักพิมพ์ประกายพรึก. ราชบัณฑิตสถาน. (2525). พจนานกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525. กทม. : ราชบัณฑิตยสถาน. โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. (2533). โขน ศึกวิรุญจำบัง. กทม. : โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟิกอาร์ต. วรรณรัตน์ ตั้งเจริญ. (2535). ศิลปะพื้นบ้าน. กทม. : บริษัทต้นอ้อ จำกัด. วิรุณ ตั้งเจริญ. (2535). ศิลปะและความงาม. กทม. : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. ศิลป์ พีระศรี. (2508). “ศิลปะและศีลธรรม” การแสดงศิลปะนานาชาติ ครั้งที่ 1. กทม. : ไทยวัฒนาพานิช สดับพิณ รัตนเรือง. “ฟังอะไร ฟังอย่างไร”, วารสารศิลปกรรมศาสตร์. 6 (11), 2541. สิริรัตน์ ประพัฒน์ทอง. (2542). “รากแก้วดนตรีไทย”, ดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 30 กทม. : สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. สุเชาว์ พลอยชุม (แปล). (2523). สุนทรียศาสตร์ : ปัญหาและทฤษฎีเกี่ยวกับ ความงามและศิลปะ. กทม. : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สุภิตร อนุศาสน์. (2538). “หนังใหญ่วัดสว่างอารณ์”, วารสารศิลปกรรม ศาสตร์. มกราคม - มิถุนายน 2538. สุมนมาลย์ นิ่มเนติพันธ์. (พิมพ์ครั้งทีี่ 4 : 2541). การละครไทย. กทม. : ไทย วัฒนาพานิช. สุรพงษ์ บุนนาค. (2534). คีตกวี : ดนตรีแห่งชีวิต. กทม. : สำนักพิมพ์วลี. สุวรรณา วงศ์ไวศยวรรณ (แปล). (พิมพ์ครั้งทีี่ 2 : 2537). เยิรเงาสลัว. อยุธยา : สำนักพิมพ์ทานตะวัน.
122 เสฐียรโกเศศ (ศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน). (พิมพ์ครั้งทีี่ 2 : 2531). ชีวิตชาวไทยสมัยก่อน. กทม. : ราชบัณฑิตยสถาน. อมรา กล่ำเจริญ. (พิมพ์ครั้งทีี่ 3 : 2542). สุนทรียนาฏศิลป์ไทย. กทม. : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. อังคาร กัลยาณพงศ์. (พิมพ์ครั้งทีี่ 3 : 2533). ปณิธานกวี. กทม. : สำนักพิมพ์ศยาม. อารี สุทธิพันธุ์. (2538). สุนทรียศาสตร์. พิมพ์สำนักงาน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. John P.Bradley and others. (1969). The International Dictionary of Thoughts. Chicago : J.G. Ferguson Publishing Co. Weisberg, Robert. (1986). Creativity : Genius and Other Myths. New York : W.H. Freeman.
123