Architecture Songkhla

Page 1

ส ถ า ปั ต ย ก ร ร ม ย่ า น เ มื อ ง เ ก่ า “สงขลา” Welcome to

“SONGKHLA”


คำ�นำ� สถาปัตยกรรมที่เป็นอาคารบ้านเรือน ที่พักอาศัย หรือแม้กระทั่งที่ทำ�มาหากินของผู้ที่อยู่อาศัย

ในย่านเมืองเก่าของตัวเมืองจังหวัดสงขลานั้น ยังมีสถาปัตยกรรมรูปแบบโบราณที่มีอายุร่วม 200 ปี ซึ่ง มีความเป็นมาและประวัติอันเก่าแก่จากอดีต หลงเหลือมาจนถึงในปัจจุบันนี้อยู่ โดยบริเวณย่านเมืองเก่า

นั้นประกอบด้วยถนนสายสำ�คัญเด่นๆอยู่ 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม โดยถนน นครนอกนั้น เป็นถนนสายเดียวใน 3 สายที่เป็นถนนติดกับฝั่งทะเลสาบสงขลา

สถาปัตยกรรมรูปแบบต่างๆ ในเขตย่านเมืองเก่านี้จะมีความงดงามแตกต่างกันออกไป เนื่องมา

จากในอดีตได้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านนี้กับต่างชาติ จึงทำ�ให้เกิดสถาปัตยกรรมที่งดงามจากเมื่อ ครั้งอดีตมาจนถึงทุกวันนี้ ...

นาย ธนธรณ์ ประเสริฐเพชรมณี ( ผู้จัดทำ�)


สารบัญ

หัวเรื่อง

หน้า

• ประวัติความเป็นมา • สถาปัตยกรรม : ตึกแถวแบบจีนดั้งเดิม 4 • สถาปัตยกรรม : ตึกแถวแบบจีนพาณิชย์ • สถาปัตยกรรม : ตึกแถวแบบสงขลาดั้งเดิม ( ชิโน – ยูโรเปี้ยน ) • สถาปัตยกรรม : ตึกแถวแบบจีนสมัยใหม่ • อ้างอิง 8

3 5 6 7


ปร ะ ว ั ต ิ ค ว ามเป ็ น มา

ย่านเมืองเก่าสงขลา ตั้งอยู่ในเขตอำ�เภอเมืองจังหวัดสงขลา -ภายในย่านนี้มีถนนสายสำ�คัญ 3 สาย คือ ถนนนครนอก ถนนนครใน และถนนนางงาม ซึ ่ งถนนทั ้ ง 3 สายนี้เป็น ถนนที่ประกอบไปด้วย อาคารและสถาปัตยกรรมที่ง ดงาม เป็ น แหล่ งเรี ย นรู ้ เรื ่ องราวความเป็น มาของชาวสงขลา ผ่านมุมมอง ของสถาปัตยกรรม เมื่อ ครั้ง อดี ตราวๆ 200 ปี ก่ อน ตั วเมื องสงขลาตั้ง อยู่ทางฝั่ง ตะวัน ตกของทะเลสาบ เรีย กว่า “เมือ งสงขลา ฝั่งแหลมสน” จนกระทั ่ งพ.ศ. 2385 จึ งขยายมาทางฝั่ง ทิศ ตะวัน ออกบริเวณ ตำ�บลบ่อยาง เรียกกันว่า “เมื องสงขลาฝั ่ งบ่ อยาง” โดยเริ ่ ม แรกมี ถนนสองสายคือ ถนนนครนอก เป็น ถนนเส้นนอกติดกับ ทะเลสาบ และถนนนครใน เป็ น ถนนเส้ น ในเมือง ต่อมามี การตัดถนนสายที ่ ส ามเรี ย กว่ าถนนเก้ าห้ องหรื อย่ านเก้าห้อง เพื่องานสมโภชเสาหลัก เมือง ต่อมามีการเรียกกันว่า ถนนนางงาม ย่ านเมื องเก่ าสงขลา มี เอกลัก ษณ์โดดเด่น ในแง่ประวัต ิศ าสตร์และ วัฒ นธรรม โดยเฉพาะการอาศั ย อยู ่ ร่ ว มกั น ของ 3 ศาสนา คื อ ศาสนาพุทธ จีน และมุสลิม ที่สะท้อนออก มาในรูปแบบของสถาปัตยกรรมโบราณ ทั ้ งอาคารแบบเรื อนแถวทรงไทย เรือนแถวแบบจีน เรือนแถว แบบชิโน-โปรตุกีส ซึ่งหากบูรณะขึ ้ น ใหม่ เชื ่ อว่ าจะสร้ างจุ ด ขายทางด้านการท่องเที่ยวได้ เทียบชั้น เมือง มะละกาและย่านเมือ งเก่าในเมื องจอร์ จทาวน์ ในมาเลเซี ย

3


1.

ตึกแถวแบบจีนดั้งเดิม สร้างในช่วงปี พ.ศ.2379 ซึ่งเป็นการสร้างช่วง แรกในการก่อตั้งเมืองสงขลาเป็นต้นมา โดยรูปแบบทาง สถาปัตยกรรมจะมีส่วนด้านหน้าอาคารเป็นพื้นที่ที่ใช้ใน การค้าขาย ส่วนด้านบนอาคารจะเอาไว้ใช้เก็บของโดยจะ มีช่องส่งของเล็กๆ ทางด้านตัวอาคารจะวางความยาวตาม แนวเขตของที่ดินประมาณ 30-40 เมตร และเนื่องจากเป็น แปลงที่ดินยาว ผู้ที่ออกแบบจึงได้ออกแบบให้มีพื้นที่ช่อง เปิดโล่งตรง-กลาง เพื่อระบายอากาศ โดยมักมีบ่อน้ำ�ตั้งอยู่ ส่วนอาคารด้านหลังมักเป็นที่พักอาศัย กรมศิลปากรได้ ระบุว่า ห้อง-แถวแบบจีนหลังแรกของสงขลานั้นตั้งอยู่บน ถนนหนองจิก

4


2

. ตึกแถวแบบจีนพาณิชย์ ลั ก ษณะสถาปั ต ยกรรมเป็ น รู ป แบบอาคารเก่ า ๆ มีอายุประมาณ 70 ปีขึ้นไป รูปแบบจะมีความกลมกลืน กับสภาพแวดล้อม มีรูปทรงของอาคารคล้ายๆกับแบบจีน ดั้งเดิม แต่มีการประยุกต์ให้มีความทันสมัยขึ้น ยังคงรูปแบบ ของหลังคาทรงจีน มี ก ารเพิ่ ม พื้ น ที่ ชั้ น บนให้ เ สมอชั้ น ล่ า งด้ า นหน้ า ทา เป็นผนัง หรือประตูบานเกล็ดระบายความร้อนสำ�หรับการ อยู่อาศัย ชั้นล่างเป็นพื้นที่ทาการค้า ประตูหน้าเป็นบานไม้ พับเก็บด้านข้างเพื่อให้มีพื้นที่ค้าขายมากขึ้นตรงกลางอาคาร ยังคงมีการเว้นเป็นพื้นที่ช่องเปิดโล่ง ลักษณะเดียวกันกับ อาคารแบบจีนดั้งเดิม ลักษณะที่สองจะเป็นอาคารที่ตอบ สนองทางการค้า ไม่มีองค์ประกอบทางด้านสถาปัตยกรรม ค่อนข้างเรียบง่าย

5


3.ตึกแถวแบบสงขลาดัง้ เดิม(ชิโน-ยูโรเป้ยี น) โดยจะมีรูปบบลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ ประดับตกแต่งตัวอาคารด้วยลวดลายแบบจีน และแบบ ยุโรปผสมกัน มีหลังคาทรงปั้นหยา คล้ายกับรูปแบบที่ เรียกว่า ชิโนโปรตุกีส ซึ่งรูปแบบนี้จะสามารถพบได้มาก ที่ภูเก็ต แต่ที่สงขลาจะไม่มีทางเดินใต้อาคารที่เรียกว่า “หงอคากี่” ตัวอาคารจะมีช่องเปิดกลางอาคาร และจะ เป็นที่ตั้งของบ่อน้ำ� ซึ่งในอดีตน้​้ำ�ดื่มจะมีรสจืด สะอาด จนสามารถเอาไว้ใช้ดื่มได้

6


4

. ตึกแถวแบบจีนสมัยใหม่ สถาปัตยกรรมรูปแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก โดย ตัวอาคารมีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป มีแผงปกปิดหลังคา และ จะมีอักษรแสดงปี พ.ศ.ปรากฏบนแผงดังกล่าว ในอาคารบางหลังมี หลังคาแบบจั่ว หรือแบบปั้นหยาซ้อนอยู่ บางหลังเป็นหลังคา คสล. ส่วนใหญ่มักมีตั้งแต่ 2-4 ชั้น อาคารลักษณะดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ อย่างมากในปัจจุบัน และยังคงใช้พื้นที่ใช้สอยภายในเพื่อการค้าขาย เป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน

7


อ้างอิง www.museumthailand.com/th/2473/storytelling/ย่านเมืองเก่า-สงขลา/ https://www.songkhla-ht.org/content/9912/อัตลักษณ์แห่งสถาปัตยกรรม http://www.komchadluek.net/news/local/175986

8


ผู้ผลิต นาย ธนธรณ์ ประเสริฐเพชรมณี ชื่อผลงาน สถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่า”สงขลา” นำ�เสนอ อาจารย์ ธีระ ราชาผล วิชา วารสารออนไลน์ ปีการศึกษา 1 / 2561 หลักสูตร นิเทศศาสตร์ คณะ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ทักษิณ วิทยาเขตสงขลา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.