พ.ศ. 2557 50 ปี ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สารแสดงความยินดี จากคณบดีคณะศิลปศาสตร์ เนือ่ งในโอกาสครบรอบ 50 ปี ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงนักศึกษาสาขาจิตวิทยาที่รักยิ่ง กระผมรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่ภาควิชาจิตวิทยาของเราก้ าวเข้าสู่ปีที่ 50 หรือ เรียกได้ว่ากึ่งศตวรรษ สาขาวิชาจิตวิทยาซึ่งได้ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2507 นับถึงปัจจุบันก็ 50 ปีพอดี ถ้าเป็นคนก็นับว่าได้ก้าวเข้าสู่วัยกลางคน ได้สั่งสมความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ไว้มากมาย และการที่ต้องปรับตัวให้เข้ากั บสถานการณ์ต่างๆ นานา ย่อมเป็นเครื่อง พิสูจน์ว่า ภาควิชาจิตวิทยาของคณะศิลปศาสตร์ ได้ประสบความส าเร็จเป็นอย่างดี และ ตามปรัชญาในการผลิตบัณฑิตของคณะศิลปศาสตร์ใ นปัจจุบันที่มุ่งผลิตบัณ ฑิตให้เป็นผู้ มีความรอบรู้ สร้างสรรค์ มีจริยธรรม และทันต่อกระแสการเปลี่ย นแปลงของโลก ก็ เป็น อีกบททดสอบหนึ่งของภาควิชาจิตวิทยาที่จะมุ่งผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังกล่าว เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของภาควิชาจิต วิทยา กระผมขออวยพรให้ นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรทุก ท่านของภาควิชาจิตวิทยา ประสบความส าเร็จใน การจัดกิจกรรมครบรอบ 50 ปี และประสบความเจริญก้าวหน้าทุกประการ
รองศาสตราจารย์ ดร.ดารงค์ อดุลยฤทธิกุล คณบดีคณะศิลปศาสตร์
สารแสดงความยินดี จากรองคณบดีฝา่ ยการนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ เนือ่ งในโอกาสครบรอบ 50 ปี ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาสาขาจิตวิทยาทุก ท่าน ภาควิ ชาจิ ตวิ ทยาเป็ นภาควิ ชาที่ มีป ระวั ติคู่ กั บ คณะศิล ปศาสตร์ มาอย่ า ง ยาวนาน คุณภาพและคุณงามความดีของบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาตั้งแต่รุ่นก่ อตั้งจนถึง รุ่นปัจจุบันมีมากมาย บัณ ฑิต เหล่านี้ไ ด้ร่ว มพัฒนาชาติ พั ฒนาสังคมไทยของเราให้ มี ความเจริญรุ่งเรืองในแง่ต่างๆ ซึ่งถือเป็นเกี ย รติประวัติที่นัก ศึก ษาทุก คนควรภาคภูมิใ จ และควรยึดถือปฏิบัติต่อไปเพื่อบัณฑิตอนุชนรุ่นหลัง ข้าพเจ้าขออวยพรให้กิ จกรรมที่ท่านทั้งหลายจัดขึ้นประสบความส าเร็จเป็น อย่างดี เกิ ดประโยชน์และเป็นแรงบันดาลใจให้น้องๆ นัก เรีย นที่เข้าร่วมงานสนใจใน การศึกษาต่อสาขาวิชาจิตวิทยาที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เพื่อจะได้ เป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาภาควิชาจิตวิทยา และประเทศต่อไป
อาจารย์อธิชาติ โรจนะหัสดิน รองคณบดีฝา่ ยการนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์
5ภาควิ O ชาจิปีตวิทยา
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประวัติความเป็นมา "ภาควิ ช าจิ ต วิ ท ยา" เป็ น ส่ ว นราชการไทยระดั บ ภาควิ ช า สั ง กั ด คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนับเป็นสาขาวิชาที่เปิดดาเนินการสอนขึ้นเป็นล าดับที่ 6 ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นสถาบันการเรีย นการสอนทางด้านจิตวิทยาที่ ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช 2507 โดยความเป็นมาในสมัย ก่ อนมีโ ครงสร้างหลัก สูตรจิตวิทยา นั้น พบว่ายังไม่ไ ด้มีก ารก่ อตั้งภาควิชาจิต วิทยาขึ้นอย่างเป็นทางการ และยังไม่ไ ด้ รับสังกั ดในคณะใดๆ หากแต่มีการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาอยู่ก่อนแล้ว โดยเป็นในลักษณะของการบรรยายควบคู่หรือ เสริมใน เนื้อหาของคณะต่างๆ ตามที่จาเป็นต้องใช้ประกอบในเนื้อหาวิชานั้นๆ เช่น นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์แ ละ การบัญชี เศรษฐศาสตร์ เป็นต้น จนกระทั่งคณาจารย์ที่เชี่ย วชาญได้ร่วมกั นวางแผนหลัก สูตรการเรีย นการ สอนวิชาจิตวิทยาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาตรี 4 ปี) ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้าน จิตวิทยา นาความรู้ที่ได้รับนี้ไปใช้สนับสนุนในเนื้องานและการประกอบวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้ทางจิตวิทยา เมื่อครั้งแรกเริ่มก่อตั้งภาควิชาจิตวิทยา คณะศิล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เราได้รับ การสนับสนุนในด้านวิชาการเป็นอย่างดีจากสมาคมฟุล ไบรท์ ด้วยเหตุนี้ทาให้รากฐานโครงสร้างการเรีย น การสอนของภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นไปในลัก ษณะของจิตวิทยา ตะวันตก หรือจิตวิทยาบริสุทธิ์ (pure science) กล่าวคือ เป็นจิตวิทยาที่มุ่งศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ มีก าร ทดลองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ต้นแบบจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกั น (APA) อีก ทั้งเรายัง เป็นสถาบันแรกของไทยที่เปิดสอน Sensitivity Training และ Cognitive Psychology อีกด้วย
ในช่วงแรกนั้นภาควิชาจิตวิทยา ได้จัดการเรีย นการสอนทุก ชั้นปี ณ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่าพระจั นทร์ ตั้ง แต่ปี ที่ไ ด้ รับการสถาปนา แต่ ต่อมาทางภาควิช าได้เปลี่ย นมาจั ดการเรี ย นการสอนที่ มหาวิท ยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูน ย์รั งสิ ต ครบทั้ง 4 ชั้น ปี อย่ างเต็ม รูป แบบ ซึ่งเป็น ไปตามนโยบายของ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ใ นครั้งนั้นที่ต้องการขยายพื้นที่ก ารศึก ษาระดับปริญ ญาตรีทุก คณะ ดังนั้น จึง ส่งผลให้ปัจจุบัน นักศึกษาระดับปริญ ญาตรีโ ครงการปกติศึก ษา ณ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ส าหรั บ นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี โ ครงการพิ เ ศษ และโครงการปริ ญ ญาโท ยั ง คงศึ ก ษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เช่นเดิม โดยภาควิ ช าจิ ตวิ ท ยา คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิ ท ยาลั ยธรรมศาสตร์ ศู น ย์ รัง สิ ต ได้ ส ร้ า ง ห้องปฏิ บัติก ารทดลองทางจิตวิ ทยา (Psychological Laboratory) พร้อมทั้ งอุปกรณ์ก ารทดลองทาง จิตวิทยารูปแบบต่างๆ (เช่น ชุดเกมคอมพิวเตอร์ฝึก ทัก ษะเชิงกระบวนการคิดตามพัฒนาการ, เครื่องวัด ความเครียด GSR, เครื่องจับสัญ ญาณ Eye Movement, เครื่องตรวจสอบค่า Threshold การรับรู้เสีย ง, เครื่องวัดสุขภาพกายและจิต หรือ L.I.F.E. System, เก้าอี้นวดไฟฟ้า เป็นต้น) ที่มีความทันสมัย และถูก ต้อง ตามเกณฑ์มาตรฐานโลก (Global Standardize) ซึ่งเป็นไปตามแกนโครงสร้างวิชาจิตวิทยาระดับสากล โดยห้ อ งปฏิ บั ติ ก ารของภาควิ ช าจิ ตวิ ท ยาได้ เ ปิ ด ให้ บ ริ ก าร ณ ชั้ น 3 อาคารคณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และล่าสุดได้เปิดศูนย์บริการให้คาปรึกษาและบริก ารทางจิตวิทยาแห่ง มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ (TCAPS: Thammasat Counseling And Psychological Services) ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาภาควิชาจิตวิทยาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานด้วยประสบการณ์จริง
เห็นได้ว่าจากพัฒนาการของภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ดังที่ กล่าวไปแล้วข้างต้น ได้ทาให้ภาควิชาจิตวิทยา ได้ผลิตบัณฑิตจิตวิทยาเพื่อรับใช้สังคม โดยจุดเด่นที่ยังยึดถือ ตลอดมาคือสอนให้นั ก ศึก ษามีทัก ษะกระบวนการคิดที่ ดี เน้น กระบวนการเรีย นควบคู่ไ ปกั บคุ ณ ธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพนักจิตวิทยา เนื่องด้วยเราปรารถนาที่จะผลิตบัณ ฑิตที่มีความสามารถ ในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์ใช้ความรู้ได้ในสถานการณ์จริง นอกเหนือจากในส่วนของนักศึกษาแล้ว ในแง่มุมของอาจารย์ และบุคลากรในภาควิชาจิตวิทยา ได้มีผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง เช่น เข้าร่วมประชุมร่วมมือทางการศึก ษาระหว่างประเทศ สมาคม จิตวิทยาในระดับสากล การนาเสนอผลงานวิชาการ และโครงการแลกเปลี่ย นคณาจารย์ผู้ส อนระหว่าง ประเทศ เป็นต้น นั่นทาให้ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก้ าวทันความรู้ทาง จิตวิทยาตลอดเวลา ปัจจุบันภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดทาการเรีย นการสอน ในหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ดังต่อไปนี้ ปริญญาตรี หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยา) 3 กลุ่มวิชา (ศึกษาที่ศูนย์รังสิต) ได้แก่ 1. กลุ่มวิชาจิตวิทยาคลินิก 2. กลุ่มวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์ก าร 3. กลุ่มวิชาจิตวิทยาการปรึกษา ทั้งนี้ หากนักศึกษาไม่ประสงค์จะเน้น กลุ่มวิชาจิตวิทยาข้างต้น สามารถเลือกศึก ษา เป็น General Psychology ได้ตามเงื่อนไขที่หลักสูตรกาหนด โดยเลือกศึก ษาวิชาทางจิตวิทยา ตามความสนใจ เช่น จิตสังคม จิตพัฒนาการ จิตวิทยาสภาวะแวดล้อม จิตวิทยาการรู้ คิด และ ปัญญา จิตวิทยาการสื่อสาร จิตวิทยาข้ามวัฒนธรรม เป็นต้น ปริญญาโท หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาจิตวิทยา) 2 สาขา (ศึกษาที่ท่าพระจันทร์) ได้แก่ 1. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์ก าร 2. สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
จุดมุง่ หมายหลักสูตรสาขาวิชาจิตวิทยา 1. มุ่งให้นักศึกษามีความรู้ในด้านทฤษฎี หลักเกณฑ์ และวิธีการทางจิตวิทยา เพื่อจะได้นาความรู้ไป ใช้ในการประกอบอาชีพตามหน่วยราชการและบริษัทเอกชน 2. มุ่งให้นักศึกษามีความรู้ด้านจิตวิทยาสาขาต่างๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาเพิ่มเติม หรือ ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวัน 3. มุ่งให้นักศึกษาเข้าใจ และสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์ได้ ตลอดจนสามารถแก้ปัญ หา ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ภาควิชาจิตวิทยา ในงาน “เปิดบ้านศิลป์ ” สิงหาคม 2534
จิตวิทยาคลินกิ (Clinical Psychology)
ศาสตร์ที่ว่าด้วยการกระทาต่อมนุษ ย์เกี่ ย วกั บการตรวจการวินิจฉัย การบาบัดความผิดปกติทางจิต อันเนื่องจากภาวะทางจิตใจ บุคลิก ภาพ เชาวน์ปัญ ญา อารมณ์ พฤติก รรมการปรับตัว ความเครีย ดหรือ พยาธิสภาพทางสมอง รวมทั้งการวิจัย การส่งเสริมและประเมินภาวะสุขภาพทางจิตด้วยวิธีการเฉพาะทาง จิตวิทยาคลินิก หรือการใช้เครื่อ งมือหรืออุปกรณ์ทดสอบทางจิตวิท ยาคลินิก ที่รัฐมนตรี ประกาศให้เป็ น เครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางจิตวิทยาคลินิก (ความหมายตามพระราชบัญ ญัติก ารประกอบโรคศิล ปะ สาขา จิตวิทยาคลินิก พ.ศ. 2542 มาตรา 3)
บทบาทหน้าทีข่ องนักจิตวิทยาคลินกิ อธิบายตามมาตรฐานด้านการปฏิบัติการ ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 การตรวจวินิจฉัยทางจิตวิทยาคลินิก มาตรฐานที่ 2 การบาบัดทางจิตวิทยา และการฟื้นฟูสภาพจิตใจ มาตรฐานที่ 3 การประยุกต์จิตวิทยาคลินิกเข้าสู่งานด้านสุขภาพจิตชุมชน และศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานที่ 4 การสอน ฝึกอบรม และเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการจิตวิทยาคลินิก มาตรฐานที่ 5 การพัฒนาบุคลากรวิชาชีพจิตวิทยาคลินิก เทคโนโลยี และการวิจัยทาง จิตวิทยาคลินิก
ความแตกต่างระหว่างนักจิตวิทยาคลินกิ กับจิตแพทย์ นักจิตวิทยาสาขาที่ทางานร่วมกับจิตแพทย์มากที่สุด ก็คือ นักจิตวิทยาคลินิก ซึ่งคนส่วนใหญ่จะสงสัย ในความแตกต่างระหว่าง นักจิตวิทยา (คลินิก) และจิตแพทย์ ประเด็นที่ 1 นักจิตวิทยาคลินิก ศึก ษาจิตวิทยาลงลึก ด้านจิตเวชศาสตร์ การทาแบบทดสอบ การ บาบัด ในขณะที่จิตแพทย์ คือคนที่เรียนแพทยศาสตร์ 6 ปี แล้วศึกษาต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์ ประเด็นที่ 2 ที่เห็นชัดในประเทศไทยคือ การใช้ยา จิตแพทย์เท่านั้นที่สามารถจ่ายยาได้ ประเด็นที่ 3 การวินิจฉัยโรค จิตแพทย์มีหน้าที่ในการวินิจฉัย เวลาที่มีคนเข้ารับการรัก ษา ในขณะที่ นัก จิตวิทยา จะนาผลจากแบบทดสอบมาประกอบ และรายงานแนวโน้มของความเป็นโรค หรือเสนอ ความเห็นต่อการรักษา
จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology)
ศาสตร์ที่ว่าด้วยพฤติกรรมของมนุษ ย์ใ นงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการนาความรู้เรื่องพฤติก รรมของ มนุษ ย์ไ ปใช้ใ นกิ จกรรมทางอุตสาหกรรม การจั ดการและการวางแผนงาน อุต สาหกรรมการผลิต การ โฆษณาสื่อสาร การจาหน่าย การบริโภค และการบริก าร เพื่อให้เกิ ดประโยชน์สูงสุดทั้งในการดาเนินงาน อุตสาหกรรม ทั้ งผู้ ผ ลิต และผู้บ ริโ ภค ด้วยการนาทฤษฎีแ ละหลัก การทางจิต วิทยาไปช่ว ยพั ฒนาและ แก้ปัญหาด้านพฤติกรรมของมนุษย์ที่ดาเนินงานอุตสาหกรรม ทั้งด้านการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน และการวางตนตามบทบาทหน้าที่ในหน่วยงาน จะเห็นได้ว่าการศึก ษาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์ก ารนั้น จะต้องศึก ษาตั้ งแต่ความรู้เบื้องต้ น เกี่ยวกับพฤติกรรม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับงานอุตสาหกรรม แล้ว จึงนาความรู้เบื้องต้นเกี่ ย วกั บพฤติก รรม นั้นไปใช้ประโยชน์ใ นงานอุตสาหกรรมทุก ด้าน ทุก ขั้นตอน ทั้งนี้โ ดยผู้ใ ห้บริก ารก็ ทางานได้ด้วยความสุข ความพอใจ เจ้าของกิจการก็ประสบความสาเร็จและเกิดความสุข ความพอใจในงาน จึงเห็นได้ว่า การที่จะ ได้ชื่อว่าใช้จิตวิทยาเป็นนั้นต้องก่อให้เกิดความพึงพอใจหรือโดยสมัครใจกับทุกฝ่าย
บทบาทหน้าทีข่ องนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 1. การคัดเลือกและจัดวางบุคลากร การพัฒนาเครื่องมือประเมินผลบุคคลเพื่อใช้ใ นการคัดเลือก การจัดวางบุคลากรให้เหมาะสมกั บตาแหน่งงาน และการเลื่อนตาแหน่งของบุคลากร รวมถึงการพัฒนา ศักยภาพของบุคคลให้มีประสิทธิภาพในการทางานและการใช้ชีวิตมากขึ้น 2. การฝึ กอบรมและการพั ฒ นา การระบุค วามจาเป็นในการฝึก อบรม และการใช้เทคนิคการ ฝึกอบรม การกาหนด และโปรแกรมการพัฒนาการจัดการ รวมถึงการวางแผนงานอาชีพให้แก่บุคคล 3. การพัฒนาองค์การ การวิเคราะห์โครงสร้างองค์การ เพิ่มความพึงพอใจ ประสิทธิภาพของบุคคล และกลุ่มให้ถึงจุดสูงสุด รวมถึงการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงองค์การให้พัฒนาไปในแนวทางที่ดีขึ้น 4. การวัดและการประเมิน ผล การพัฒนาเกณฑ์ก ารปฏิบัติ และเครื่องมือที่ใ ช้วัด การนาผลการ ประเมินมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการจัดการ 5. การพัฒ นาคุณ ภาพชีวิต การท างาน การเพิ่มพูนผลผลิตของพนัก งานแต่ล ะบุคคล โดยการ กาหนดปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้แก่ บุคคลที่เป็นก าลังขับเคลื่อน ขององค์การ
จิตวิทยาการปรึกษา (Counseling Psychology)
จิตวิทยาการปรึก ษาเป็นสาขาวิชาจิตวิ ทยาที่มี ค วามเชี่ย วชาญในการช่วยเหลือบุคคลทั้ งในเรื่อ ง ส่วนตัวและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลรอบข้างในทุกช่วงชีวิตของมนุษย์ โดยเน้นเรื่องที่เกี่ ย วข้องกั บอารมณ์ สังคม อาชีพ การศึกษา สุขภาพ พัฒนาการ การทางานในองค์กร ความเชี่ยวชาญนี้ไ ด้รวบรวมความรู้หลาย แขนงทั้งจากทฤษฎี การวิจัย การปฏิบัติงานการปรึก ษา รวมถึงประเด็นที่มีความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม เพื่อใช้ช่วยเหลือบุคคลให้สามารถพัฒนาความเป็นอยู่ข องชีวิต ช่วยบรรเทาความทุก ข์ใ จและการปรับตัวที่ ผิดปกติ แก้ไขสภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในชีวิต และเพิ่มความสามารถในการมีชีวิตอยู่ที่มีประสิทธิ ภาพมากขึ้น ลักษณะเฉพาะตัวของจิตวิทยาการปรึก ษาคือ การเน้นที่ก ารพัฒนาบุคคลในด้านต่างๆ และปัญ หา ต่างๆทางด้านร่างกาย อารมณ์ และปัญหาสุขภาพจิต
บทบาทและหน้าทีข่ องนักจิตวิทยาการปรึกษา นัก จิตวิทยาการปรึก ษาสามารถทางานได้กั บคนทุก เพศทุก วัย และทุก วัฒนธรรม สามารถทางาน ให้กับองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กั บลัก ษณะการให้บริก ารและกลุ่มเป้าหมายที่มารับ บริการ นอกจากนี้นักจิตวิทยาการปรึกษาสามารถเป็นอาจารย์ นัก วิจัย ผู้ใ ห้บริก ารการปรึก ษาในวิทยาลัย หรืออาจจะประกอบอาชีพอิสระในการให้คาปรึก ษา การทาจิตบาบัด การประเมินทางจิตวิทยา และการ บริการเป็นที่ปรึกษาแก่บุคคล ครอบครัว กลุ่ม องค์ก าร หรือทางานในศูนย์สุข ภาพจิต องค์ก ารสงเคราะห์ ทหารผ่านศึก งานบริการครอบครัวและทางานแวดวงอุตสาหกรรม เป็นต้น
จิตวิทยากับประเทศไทย: อดีต ปัจจุบนั และอนาคต Psychology in Thailand: Past, Present and Future ธีรวุฒิ ขุนนะ บทน า “There are a few psychology specialities in Thailand (e.g., experimental, social, educational, counseling) but they are far fewer in number than in the United States. A large number of Thai psychologists are found in clinical or educational settings.” (Sombat, 2004, p.262) จากข้อ ความข้างต้น ผศ.ดร.สมบัติ ตาปัญ ญา อาจารย์ประจาภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิท ยาลัย เชีย งใหม่ ได้ ก ล่าวถึงจิตวิทยาในประเทศไทย ที่ถึงแม้ว่าจะมีก ารศึก ษาอยู่ หลากหลายสาขา เช่น จิตวิ ทยาการทดลอง จิตวิ ทยาสั งคม จิตวิท ยาการศึก ษา จิต วิทยาการปรึก ษา หากแต่ว่ายังคงแตกต่างจากในต่างประเทศ อย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ใ นประเทศ ไทยยังคงเน้นการทางานทางจิตวิทยาคลินิกและจิตวิทยาการศึกษาเท่านั้น ทาให้เห็นว่าจิตวิทยาในประเทศ ไทยทุกวันนี้ ยังคงไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรนัก จึงเกิดคาถามขึ้นว่า เพราะเหตุใดจิตวิทยาในประเทศไทย จึงไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร และทิศทางของจิตวิทยาในประเทศไทยในอนาคตจะเป็นไปในรูปแบบใด การศึกษาจิตวิทยาในประเทศไทย สถาบันการศึกษาทางด้านจิตวิทยาในประเทศไทย สาหรับในประเทศไทยนั้น การศึก ษาทางด้านจิตวิทยาในระดับอุดมศึก ษานั้นได้ถือก าเนิดขึ้นมา ตั้งแต่เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว ซึ่งสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึก ษาที่ไ ด้มีก ารจัดตั้งหลัก สูตรจิตวิทยา ในระดับปริญญาตรีขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย คือมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ โดยเป็นภาควิชาหนึ่งใน คณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts) ก่ อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2507 โดยภาควิชาจิตวิ ทยาฯ ได้รับการ สนั บสนุน ด้า นบุ คลากรในการจัด ทาหลั ก สู ตรการเรีย นการสอนจาก สมาคมฟุ ล ไบรท์ไ ทย หรือ Thai Fulbright Association (TFA) ทาให้หลักสูตรดังกล่าวมีมาตรฐาน มีความทันสมัย ทัดเทีย มกั บหลัก สูตร การศึกษาจิตวิทยาในต่างประเทศ นอกจากนี้สาขาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชีย งใหม่ก็ ไ ด้ ถือกาเนิดขึ้นมาในช่วงเวลาเดีย วกั นด้วย จึงถือได้ว่าทั้งสองแห่งมีก ารก่ อตั้งหลัก สูตรจิตวิทยาขึ้นในเวลา เดียวกัน และในเวลาต่อมา ก็ได้มีการก่อตั้งหลักสูตรจิตวิทยาเพิ่มเติมขึ้นในอีก หลายสถาบันการศึก ษา โดย ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรจิตวิทยาในระดับอุดมศึกษาดังต่อไปนี้
- คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ.2507) - คณะมนุษยศาสตร์ สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ.2507) - คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ.2513) - คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคาแหง (พ.ศ.2514) - คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ.2517) - คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยบูรพา (พ.ศ.2517) - คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (พ.ศ.2518) - คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ.2539) - คณะสังคมศาสตร์ สาขาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยนเรศวร (พ.ศ.2543) - คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ (พ.ศ.2549) นอกจากนี้ ยั ง มี ค ณะศึ ก ษาศาสตร์ สาขาวิ ช าจิ ต วิ ท ยา มหาวิ ท ยาลั ย มหาสารคาม, คณะ ศึกษาศาสตร์ สาชาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ทัก ษิณ และคณะศึก ษาศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยาและการ แนะแนว มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นต้น สาขาจิตวิทยาที่เ ปิดสอนในประเทศไทย สาหรับสาขาจิตวิทยาที่มีการเปิดการเรียนการสอนในประเทศไทยปัจจุบันมีอยู่หลายสาขาด้วยกั น เช่ น จิ ต วิ ทยาคลินิ ก (Clinical Psychology) จิต วิ ท ยาอุ ต สาหกรรมและองค์ก ร (Industrial and Organizational Psychology) จิตวิทยาการปรึก ษา (Counseling Psychology) จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) จิตวิทยาสังคม (Social Psychology) เป็นต้น เมื่อเทีย บกั บสาขาในที่มี อยู่เว็บไซต์ข องสมาคมจิตวิทยาอเมริกั น (American Psychological Association) ที่มีจานวน 56 สาขา (American Psychological Association, 2013) ยังนับว่าน้อยมาก สาหรับในประเทศไทย ส่วนการศึกษาจิตวิทยาในระดับชั้นที่สูงกว่าปริญ ญาตรีนั้น ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีความร่วมมือกั น ของ 5 องค์ ก ร ได้ แ ก่ โครงการวิ จั ย ชี ว วิ ท ยาระบบประสาทและพฤติ ก รรม คณะวิ ท ยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัย มหิดล, คณะ สาธารณสุข ศาสตร์ มหาวิ ทยาลัย มหิด ล, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลั ย มหิดล, ศูน ย์สุข วิทยาจิ ต (ปัจจุบันคือสถาบันสุข ภาพจิตเด็ก และวัย รุ่นราชนครินทร์ ) กรมสุข ภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เปิ ด หลักสูตรในระดับปริญ ญาโทสาขาจิตวิทยาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในชื่อ “โครงการปริญ ญาโท สาขาจิตวิทยาคลินิก” ซึ่งอยู่ในสังกัดบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล (กนกรัตน์ สุขะตุงคะ, 2556) แม้จะมีการเรียนการสอนจิตวิทยาในหลายสาขาและหลายสถาบันการศึก ษา แต่ส าขาที่ถือว่าได้ มีการวางระบบในการประกอบวิชาชีพ มีการออกกฎหมายควบคุม รวมไปถึงมีก ารออกใบประกอบวิชาชีพ สาหรับการทางาน มีเพีย งสาขาจิตวิทยาคลินิก โดยมีก ารก าหนดกฎเกณฑ์ผู้มีสิทธิ์ส อบขึ้นทะเบีย นเป็น นักจิตวิทยาคลินิก จะต้องจบการศึกษาระดับก่ อนหรือหลังปริญ ญา (ตรี, โท, เอก) ในสาขาวิชาจิตวิทยา
คลินิก จากมหาวิทยาลัยในหรือต่างประเทศที่ไ ด้รับการรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพและมีคุณ สมบัติ อื่นๆตามเงื่อนไขของกองประกอบโรคศิลปะ นอกจากนี้ยังต้องเข้ารับการฝึก อบรม Internship ตามเกณฑ์ ที่กาหนดและต้องผ่านเกณฑ์การฝึก จึงจะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นนักจิตวิทยาคลินิกได้ โดยการทางานของ นักจิตวิทยาคลินิกจะอยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะและมาตรฐานวิชาชีพ จิตวิทยาคลินิก (Professional Standards of Clinical Psychology) เนื่องจากงานด้านจิตวิทยาคลินิก นับว่ามีความสาคัญต่อความเป็นอยู่และสุขภาพจิตที่ดีของมนุษ ย์เป็นอย่างมาก เป็นบริก ารที่ต้องใช้ความรู้ และทักษะ จึงต้องรอบคอบระมัดระวังและละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก สถิติการจบการศึกษาทางด้านจิตวิทยา จานวนผู้ที่จบการศึกษาทางด้านจิตวิทยาในแต่ละปีนั้นค่อนข้างน้อย เนื่องด้วยสาเหตุที่มีก ารรับ นิสิ ต /นั ก ศึก ษาเข้ า มาในจ านวนจ ากั ด ในที่นี้ จ ะขอยกตั ว อย่ า งภาควิช าจิต วิ ทยา คณะศิล ปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนได้ทาการรวบรวมจานวนผู้ส าเร็จการศึก ษาในสาขาจิตวิทยาในแต่ล ะปี จากสานักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดังแสดงในตารางด้านล่าง จานวนบัณฑิตภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีการศึกษาที่สาเร็จการศึกษา 2551 2552 2553 2554 2555 จานวนบัณฑิต 65 65 49 59 37 จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าในแต่ละปีการศึกษานั้น จะมีบัณฑิตที่สาเร็จการศึก ษาในสาขาจิตวิทยา ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่นในสายงานเดีย วกั น เช่น พยาบาล นัก สังคมสงเคราะห์ นอกจากนี้ บัณฑิตจิตวิทยาจานวนหนึ่ง ก็เลือกที่จะทางานในสายงานอื่น ที่ไ ม่ไ ด้ใ ช้ความรู้และทัก ษะในทางจิตวิทยา โดยตรง บุค ลากรในสายงานจิตวิทยาในปัจจุบัน บุคลากรในสายงานจิตวิทยาในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับงานด้านจิตเวชและสุข ภาพจิต ซึ่งอยู่ในสังกัดของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่าในปีพ .ศ. 2551 ประเทศไทยมีจานวนนักจิตวิทยาคลินิกทั้งหมดจานวน 286 คน คิดเป็นอัตรานัก จิตวิทยาคลินิก 0.45 คน ต่อประชากรแสนคน ลดลงจากปี 2550 ที่มีจานวนนัก จิตวิทยาคลินิก 297 คน และอัตรานัก จิตวิทยา คลินิก 0.47 คนต่อประชากรแสนคน นอกจากนี้เมื่อแยกตามภาคแล้ว พบว่านักจิตวิทยาคลินิก ส่วนใหญ่จะ อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุด รองลงมาคือภาคเหนือ โดยมีอัตรานักจิตวิทยาคลินิก ต่อประชากรแสน คนอยู่ที่ 1.12 คนและ 0.51 คนตามลาดับ แต่เมื่อดูจากจานวนนักจิตวิทยาคลินิก ปรากฏว่าภาคที่มีจานวน มากที่สุดคือภาคกลาง มีจานวนนักจิตวิทยาคลินิก 73 คน คิดเป็นร้อยละ 25.52 ของจานวนนัก จิตวิทยา คลินิกทั้งหมด แต่มีอัตรานักจิตวิทยาคลินิกต่อประชากรแสนคนอยู่ที่เพียง 0.47 คน
ไม่มีนักจิตวิทยาคลินิก อัตรา 0 – 0.11 อัตรา 0.12 – 0.83 อัตรา 0.84 ขึ้นไป ส่วนอาชี พอื่นที่อ ยู่ใ นสายงานเดีย วกั น พบว่า ในปีพ .ศ.2551 ประเทศไทยมี จานวนจิตแพทย์ ทั้งหมด 546 คน ซึ่งคิดเป็นอัตรา 0.86 ต่อประชากรแสนคน ในขณะที่พยาบาลจิตเวชมีจานวน 2,371 คน คิดเป็น 3.74 คนต่อประชากรแสนคน นักสังคมสงเคราะห์มีจานวน 418 คน คิดเป็น 0.66 คนต่อประชากร แสนคน ส่วนนักกิจกรรมบาบัดมีทั้งหมดจานวน 88 คน คิดเป็น 0.14 ต่อประชากรแสนคน นอกจากนี้ จานวนสถานบริการสาธารณสุขที่ให้บริการสุขภาพจิตด้านต่างๆ ยังมีจานวนน้อยอีก ด้วย ซึ่งจากการสารวจสถานบริการสาธารณสุขทั่วไปที่ให้บริก ารเกี่ ย วกั บสุข ภาพจิตด้านต่างๆ ในประเทศ ไทย ในปี พ.ศ. 2551 พบว่ามีสถานบริการสาธารณสุขเปิดให้บริการด้านสุขภาพจิตดังนี้ 1. การให้บริการปรึกษาทางโทรศัพท์ เปิดให้บริก ารทั้งหมด 523 แห่ง เพิ่มขึ้นจากในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2550 ที่มีเปิดให้บริการทั้งหมด 213 แห่ง 2. คลินิกคลายเครียด เปิดให้บริการจานวน 368 แห่ง เพิ่มขึ้นจากในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2550 ที่มีเปิดให้บริการทั้งหมด 340 แห่ง 3. บริการคลินิกให้คาปรึกษา เปิดให้บริการจานวน 416 แห่ง ลดลงจากในปี พ.ศ. 2549 และ พ.ศ. 2550 ที่มีเปิดให้บริการทั้งหมด 503 แห่ง ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีโรงพยาบาลที่ใ ห้บริการเฉพาะทางด้านจิตเวช ซึ่งสังกัดอยู่ในกรม สุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขหลายแห่ง ดังนี้ 1. สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา 2. โรงพยาบาลศรีธัญญา
3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17.
สถาบันราชานุกูล สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ โรงพยาบาลสวนปรุง โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่ นราชนครินทร์ โรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ โรงพยาบาลจิตเวชสระแก้วราชนครินทร์ โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์ (กรมสุขภาพจิต, 2556)
จิตวิทยากับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สาหรับงานด้านจิตเวชนั้น ได้รับการบรรจุใ นแผนพัฒนาเศรษฐกิ จและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504 – 2509) ซึ่งปรากฏในรูปของ "โครงการโรงพยาบาลโรคจิต " โดยเป็น 1 ใน 22 โครงการของ การพัฒนาสาธารณสุข โครงการนี้ประกอบด้วยการขยายและปรับปรุงการดาเนินงานด้านต่างๆ และได้มี บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรื่อยมา จนถึงฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 –2559) “ในการพัฒนาประเทศไทยให้บรรลุสู่วิสัยทัศน์ปี พ.ศ.2570 ที่มุ่ง หวัง ให้ “คนไทยภาคภูมิใ จใน ความเป็นไทย มีมิตรไมตรีบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพีย ง ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตย และหลัก ธรร มาภิบาล การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง มีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง อยู่ใ นสภาวะ แวดล้อมที่ดี เกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกั บสิ่ง แวดล้อม มีความมั่นคงด้าน อาหารและพลังงาน อยู่บนฐานทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ใ นประชาคม ภูมิภาคและโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี” (กรอบและทิศทางการพัฒนางานสุข ภาพจิตและแผนยุทธศาสตร์ก รม สุขภาพจิต ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559), 2554, หน้า 5) โดยได้มีการกาหนดเป้าหมายการพัฒนาไว้ดังต่อไปนี้ 1. ความอยู่เย็นเป็นสุขและความสงบสุข ของสังคมไทยเพิ่มขึ้น และความเหลื่อมล้าในสังคม ลดลง และภาพลักษณ์การคอร์รัปชั่นดีขึ้น
2. คนไทยมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีสุข ภาวะดีขึ้น และสถาบันทางสังคมมีความเข้มแข็ง มากขึ้น 3. เศรษฐกิจเติบโตในอัตราที่เหมาะสมตามศั ก ยภาพของประเทศ โดยให้ความส าคัญ กั บการ เพิ่มผลิตภาพรวมไม่ต่ากว่าร้อยละ3 ต่อปีเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิ จ ของประเทศเพิ่มมูล ค่าผลิตภัณ ฑ์ข องวิส าหกิ จขนาดกลางและขนาดย่อมต่อ GDP ให้มี สัดส่วนไม่ต่ากว่าร้อยละ 40 และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4. คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ใ นเกณฑ์มาตรฐาน เพิ่มประสิทธิภาพการลดการปล่อยก๊ าซเรือน กระจก รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ (กรอบและทิ ศทางการพัฒนางานสุข ภาพจิต และแผนยุท ธศาสตร์ก รมสุ ข ภาพจิต ในช่ว งแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559), 2554, หน้า 6) จากที่ไ ด้ ก ล่า วมาข้ า งต้ น จะเห็ นได้ ว่า ทุ ก รัฐ บาล ได้ใ ห้ ความส าคั ญ กั บ การพั ฒนาทางด้ า น สุขภาพจิตเป็นอย่างมาก ดังจะเห็นได้จากการบรรจุแผนยุทธศาสตร์ใ นแผนพัฒนาเศรษฐกิ จและสังคม แห่งชาติในทุกฉบับ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับที่ 11 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน ความร่วมมือ ทางจิตวิทยาในประเทศไทย ในด้านความร่วมมือทางวิชาการด้านจิตวิทยาของประเทศไทยยังมีจากั ด เนื่องด้วยเหตุผ ลดังที่ กล่าวมาข้างต้นแล้ว โดยสมาคมที่ถือได้ว่าเป็นสมาคมส าหรับวิชาชีพจิตวิทยาสมาคมแรกในประเทศไทย คือ “สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย” หรือ The Thai Clinical Psychologist Association ซึ่งเป็นสมาคม ที่จัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยเริ่มแรกก่อตั้งในชื่อของ “ชมรมนักจิตวิทยาคลินิก ” และภายหลังได้มี การเปลี่ยนชื่อมาเป็น “สมาคมนักจิตวิทยาคลินิกไทย” จนถึงปัจจุบัน ซึ่งสมาคมดังกล่าวเป็นการรวมตัวกั น ของสมาชิกที่เป็นนัก จิตวิทยาคลินิก เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทัก ษะและประสบการณ์ระหว่างสมาชิก อันจะ นาไปสู่การยกระดับมาตรฐานทางด้านจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย เพื่อประโยชน์แก่ ประชาชนและชุมชน ในการรับบริการด้านสุขภาพจิตที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นับว่าเป็นสมาคมทางจิตวิทยาที่มีความเข้ มแข็ง เป็ น อย่ า งมาก นอกจากนี้ ยั ง มี “สมาคมจิ ต วิ ท ยาแห่ ง ประเทศไทย ” หรื อ Thai Psychological Association ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้น เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น ส่วนในจิตวิทยาสาขาอื่นๆ เช่น จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาสังคม จิตวิทยาการศึก ษา เป็นต้น ยังไม่มีก าร จัดตั้งความร่วมมืออย่างเป็นทางการ
Great Psychology Quote "Psychology helps to measure the probability that an aim is attainable ." - Edward Thorndike
อนาคตของจิตวิทยาในประเทศไทย “In summary, Thai psychologists face multiple challenges. There is a tremendous need to standardize training requirements and upgrade the educational requirements for the profession so that at least some graduate training is the norm rather than the exception. The power and influence of the profession also is limited by the relatively small number of psychologists in Thailand and by the profession’s history as a handmaiden of psychiatry. However, Thai psychologists are actively investigating new professional roles and creating new opportunities for the application of psychological skills in diverse health care settings.” (Sombat, 2004, p.271) จากข้อความข้างต้น ได้กล่าวถึงอนาคตของจิตวิทยาในประเทศไทย ที่ก าลังเผชิญ กั บความท้า ทายที่ส าคัญ ในการยกระดับมาตรฐานทางวิชาชี พให้สู งขึ้น เพื่อส่ งเสริ มความส าคั ญ ให้กั บจิตวิ ทยาใน ประเทศไทยกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการศึก ษาจิตวิทยาจะเกิ ดขึ้นในประเทศไทยมากว่า 50 ปีแล้ว แต่ก ารพัฒนาในเรื่อง ต่างๆยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ ทั้งในด้านของการศึก ษา การฝึก อบรม ความร่วมมือในวิชาชีพ รวมไปถึงการ ประกอบอาชี พทางด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะในด้า นการให้บริก ารสุข ภาพจิต สาขาที่มีก ารพัฒนาอย่า ง ชัดเจนในประเทศไทยคงมีแต่เพียงสาขาจิตวิทยาคลินิกเท่านั้น เมื่อเทียบกับต่างประเทศ สิ่งส าคัญ ที่ช่วยใน การส่งเสริมและพัฒนาจิตวิทยาในประเทศไทยนั่นคือการได้รับความร่วมมือจากทุก ภาคส่วน โดยเฉพาะ ภาครัฐ ที่ควรมีก ารจัดทานโยบาย และแผนการพัฒนาที่มีความชัดเจนมากขึ้น การจัดสรรงบประมาณ ให้กั บหน่วยงานหรือองค์ก รที่ ทางานด้านจิต วิทยา การเพิ่ มค่าตอบแทนให้กั บบุคลากรในสายงาน การ สนับสนุนให้สถาบันการศึก ษาต่างๆพัฒนาหลัก สูตรการเรีย นการสอน รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรทาง การศึกษา ให้มีจานวนมากขึ้น และมีคุณ ภาพทัดเทีย มกั บต่างประเทศ นอกจากนี้สิ่งที่ส าคัญ อีก ประการ หนึ่งนั่นคือการเปลี่ยนทัศนคติของคนไทยเกี่ย วกั บจิตวิทยา ทาให้คนไทยตระหนัก ถึงความส าคัญ ของวิชา จิตวิทยา และมีความสนใจในศาสตร์นี้มากขึ้น ผู้เขียนเชื่อว่าจะทาให้เด็ก รุ่น ใหม่มีความสนใจที่จะศึก ษาต่อ ในด้านนี้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงสามารถเพิ่มจานวนบุคลากรที่ทางานในสายงานจิตวิทยา และที่ส าคัญ ที่สุดคือ การช่วยเพิ่มองค์ความรู้ทางจิตวิทยาให้มากขึ้น กว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้อย่างแน่นอน
Great Psychology Quote
“The act of birth is the first experience of anxiety, and thus the source and prototype of the affect of anxiety.” - Sigmund Freud
หา After the run มีอาจารย์คนหนึ่งบอกกับฉันว่า "การจะเป็นนักจิตวิทยาที่ดีควรทาความรู้จักกับตัวเองให้ดีเ สียก่อน...” แล้วทุกวันนี้ฉันไม่ใช่ฉันหรืออย่างไร? ยังมีใครในตัวฉันอีก? คาตอบคือ... จริงๆ แล้วฉันก็ คือฉันนี่ แหละไม่ใช่ใคร แต่ว่า... ฉันรู้จักฉันดีจริงๆ หรือ? ฉันเพิ่งมาเข้าใจว่าจริงๆ แล้วไม่ใ ช่แค่นัก จิ ตวิทยาหรอกที่ ต้องรู้จักตัวเอง แต่เป็นเรา "ทุกคน" ต่างหาก ไม่ว่าฉันจะทาอะไรก็ตาม การได้รู้จัก ตัวเองจะทาให้ฉันจัดการ กั บตัวเองได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างคาถามทั่วไปที่บางคนก็ ตอบได้ บางคนก็ ตอบไม่ไ ด้อย่าง "โตขึ้นฉันอยาก ทางานอะไร" มันไม่ง่ายเลยกว่าฉันจะได้คาตอบคาถามนี้มา แต่ก่อนฉันก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน ฉันว่ามันน่าเศร้านะที่คนเราไม่รู้จัก ตัวเองหรือไม่รู้ว่าความฝัน ของเราคืออะไร ฉันจึงเริ่มออกเดินทางหาคาตอบให้ตัวเอง ใช้เวลาค้นหาอยู่นานกว่าจะได้รู้ว่าอะไรที่ฉัน ชอบหรือไม่ชอบ บางอย่างใช้เวลาเพียงไม่นาน แต่บางอย่างกลับต้องใช้ เวลาคลุก คลีกั บมันให้นานพอกว่า จะค้นพบเสน่ห์ข องมัน บางครั้งฉันคิดว่าต้องใช้เวลาและความอดทนไม่น้อยเพื่อเรีย นรู้มันในทุก ๆ ด้าน บางอย่างฉันต้องก้าวข้ามผ่านความน่ารังเกี ย จเพื่อจะไปเจอกั บเสน่ห์ข องมัน หากฉันล้มเลิก เสีย ก่ อนก็ คง พลาดโอกาสดีๆ ไป เพราะบางอย่างฉันไม่ชอบมันในตอนแรกแต่กลับรักมันในตอนสุดท้าย นับว่าเป็นโชคดีของฉันที่เจอคาตอบนั้นแล้ว ต่างกับอีกหลายคนที่ยังต้องค้นหากั นต่อไป แล้วมัน ทาให้ฉันจัดการตัวเองได้ดีกว่าอย่างไรกั น ? ฉันก็ จะได้ "เริ่ม" หาหนทางเพื่อเดินไปสู่ความฝันนั้นสัก ทีน่ะ สิ แน่นอนถ้าฉันไม่มีเป้าหมาย ฉันก็ไม่รู้จะเดินไปทางไหน สะเปะสะปะไร้ทิศทาง ใช้ชีวิตอย่างล่องลอยไปวันๆ บางคนยิ่งเดิน กลับยิ่งหลงทาง เพราะไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตัวเองต้องการอะไร การมีเป้าหมายทาให้ฉัน มี ความหวัง และความหวังทาให้ฉันมีแรงขับเคลื่อนในการใช้ชีวิตต่อไป ออกไปค้นหาตัวเองกันเถอะพวกเรา ลองออกไปเปิดหูเปิดตา ใช้ชีวิตอย่างที่เราอยากใช้ ทาสิ่งที่ เราอยากทา อยู่ในที่ที่เราอยากอยู่ แล้วส ารวจความรู้สึก ตัวเองดูว่าสิ่งไหนที่ทาให้เรามีความสุข ฉันทามา หมดแล้วที่ พูดมา และมันทาให้ฉันเรีย นรู้ว่าทุก อย่างล้วนมีทั้งเสน่ ห์ และความน่ารัง เกี ย จในตัวมัน แต่ สุดท้ายถ้าฉันยอมรับความน่ารังเกียจของมันได้ นั่นแปลว่า “ฉันรักมัน” ถ้าฉันไม่เคยลงมือทาอะไรเลย คงไม่มีทางได้รวู้ ่าจริงๆ แล้วฉันชอบอะไร…
Starting With The Man In The Mirror Tori “If you wanna make the world a better place, Take a look at yourself and then make a change.” ประโยคที่อยู่ในเพลงที่มีชื่อว่า Man in the mirror ของไมเคิล แจ็คสัน ดังก้องอยู่ในหูของฉัน และดูเหมือนว่ ามันได้ดังก้ องเข้าไป อยู่กลางใจ เพราะมันเป็นประโยคที่ทาให้ฉันรู้สึก ราวกั บว่ามีใ คร คนหนึ่งพยายามจะปลุก ฉันขึ้นมาจากที่นอนนุ่มๆ พร้อมกระซิบ บอกกับฉันว่า “ตื่นได้แล้ว ตื่นขึ้นมาซิ เธอต้องตื่นได้แล้ว” ฉันได้ทาความรู้จักบทเพลงที่มีความหมายมากกว่าไส้ติ่ง ไม่รู้กี่ร้อยเท่าเพลงนี้ ระหว่างที่อยู่ในค่ายๆ หนึ่งของมหา’ลัย เวลา ราวๆ 5 นาทีที่ฉันถูกสะกดด้วยท่วงทานองที่ตรงใจและเนื้อเพลงที่ ทาให้หัวใจพองโตอยู่ ตลอดเวลา มันทั้งสะอึก สะอื้น และสะกิ ด ต่อ มบางอย่ างในตั วฉั น ที่ก าลัง หลั บ ใหลให้ ลุ ก ขึ้ นมาทางานท า หน้าที่ของตัวเองได้แล้ว WAKE UP! บทเพลงเล่ าถึ ง คนๆ หนึ่งที่ มีค วามคิด อยากเปลี่ ย นแปลงโลกให้ดี ขึ้น อยากจะสร้า งความ แตกต่าง อยากจะแก้ไขความบิดเบี้ยวของโลกให้เป็นไปอย่างถูก ที่ถูก ทางถูก ต้องมากขึ้น เขารู้ดีว่าถ้าครั้ง หนึ่งในชีวิตมีโอกาสได้ทา มันจะเป็นความรู้สึกที่ดีและวิเศษมาก แต่วันเวลาก็ล่วงเลยผ่าน เขาใช้ ชีวิตไปวันๆ แสร้งทาเป็นลืม แสร้งทาเป็นเมินเฉย แสร้งทาเป็นมองไม่เห็นว่ายังมีคนอีก มากที่ยังไม่มีบ้านอยู่ ยังมีคนอีก มากที่ไม่มีเงิน ยังมีคนอีกมากที่ไม่อันจะกิน ...ยังมีคนอีกมากที่ ‘ยังต้องการเรา แต่พวกเราแสร้งทาเป็นลืม’ จนกระทั่งในวันที่กาลังใช้ชีวิตไปเพลินๆ เพียงแค่สายลมเบาๆ ที่พัดผ่านเข้ามา มันได้นาพาความคิดที่เคย แสร้งทาเป็นลืมนั้นผวนกลับเข้ามาอีกครั้ง และความคิดที่มากับสายลมนั้นบอกกั บตัวเขาว่า “หากอยากจะ เปลี่ยนแปลงโลกมากนัก เอ็งต้องเริ่มต้นจากคนที่อยู่ในกระจกก่อน เริ่มต้นที่ตัวเองก่ อน เริ่มเปลี่ย นแปลงที่ ตัวเองให้ได้ก่อนซิ”
ขณะที่บทเพลงบรรเลงไปเรื่อยๆ ฉันเองก็คุยกับตัวเองไปด้วย ฉันได้ยินเสียงความคิดตัวเองชัด มาก “นี่มันฉันเลยนี่หว่า ฉันก็มีความคิดอยากเปลี่ยนแปลงโลกให้มันดีใ ห้มันน่าอยู่ขึ้น แต่ฉันก็ได้แต่คิด ปล่อยความคิดเหล่านั้นให้นอนนิ่งๆทิ้งไปวันแล้ววันเล่า โดยที่ไม่ได้เริ่มต้นทาอะไรเลย” และวันนี้บทเพลงๆ นี้ปลุกฉัน เผยความลับให้ฉันรู้ ว่า ...ถ้าอยากทาอะไรที่ยิ่งใหญ่ขนาดนั้นได้ ต้องหัดทาอะไรเล็กๆให้สาเร็จให้ ได้ก่อน ...เริ่มต้นจากจุดเล็กๆอย่าง “ตัวเราเองให้ได้ก่อน” เพราะถ้าเพียงแค่ตัวเองยังเปลี่ยนไม่ได้เลย ก็ อย่าหวังจะไปเปลี่ยนแปลงโลกที่ใ หญ่ขนาดนั้นเลย ฝันไปเถอะ! ” ถ้าพูดว่าง่ายก็ง่าย ถ้าพูดว่ายากก็ยาก ถ้าพูดว่าทาได้ก็จะทาให้ได้ ถ้าพูดว่าทาไม่ได้ก็ไม่มีทางทา ได้... ฉันเชื่อในความคิดของคนเราว่ามีพลังในการผลักดันเราไปสู่ความสาเร็จ เราจะเป็นอย่างไร อยู่ที่ว่าเรา เชื่ออย่างไร ถ้าเชื่อว่าเราทาได้ เราก็จะพยายามทาให้ได้ตามความเชื่อของเรา แม้สุดท้ายผลลัพธ์ เราอาจ พบกับความล้มเหลว แต่ เชื่อได้เลยว่าเราจะเข้าใกล้ความสาเร็จได้มากกว่าคนที่มีความเชื่อแต่แรกแล้วว่า ทาไม่ได้ เพราะอะไรเหรอ? ก็เพราะเมื่อเชื่อว่าตัวเองทาไม่ได้ เราก็ไม่มีแรงจูงใจที่จะพยายามทาให้ได้เลย ความคิดความเชื่อของมนุษย์ คิดไปคิดมา ก็คล้ายๆกั บการคิดคบเพื่อนสักคน คิดคบเพื่อนดี ก็พา กันไปในทางที่ดี คิดคบเพื่อนชั่วก็พากันตกต่า ฉะนั้นคิดให้บวกเชื่อให้ถูก มันก็เป็นหางเสือที่จะชี้ทางไปที่ดีใ ห้ เรา แต่ถ้าคิดลบเชื่อผิดๆก็พาฉิบหายจมดิ่ งลงไปได้เช่นกัน คุณล่ะ คิดอย่างไร? ถ้าเชื่อว่าตัวเองมีความคิดที่ดีแล้ว ที่เหลือก็แค่ทาตามความเชื่อของเรา ทาตามสิ่งที่ใจเราเชื่อ อย่างน้อยก็ไม่ต้องเหนื่อย ที่จะพยายามทาใจให้เชื่อในสิ่งที่ต้องทา และ มีแรงเหลือเฟือที่จะทาความเชื่อให้เป็นความจริง แค่ลองเปลี่ยน... แค่เริ่มสักที เริ่มที่ตัวเอง... TODAY, not tomorrow.
จิตวิทยารอบๆ ตัวเรา Statue
คนทั่วไปมักจะมองว่า ไม่ต้องเรียนจิตวิทยา ก็ ส ามารถเข้าใจคนได้ ก็ ส ามารถมีความสุข ได้ มัน อาจเป็น เรื่ องจริ งส าหรับ คนบางคน แต่ จริ งๆ แล้ ว มีม ากกว่ านั้ น ในตัว ศาสตร์หรือ วิช าที่ เรี ย กกั น ว่ า “จิตวิทยา” ผมเองก็เคยเป็นหนึ่งในคนที่เรียกได้ว่า มองจิตวิทยาว่าเป็นสิ่งที่ไ ม่ส าคัญ เข้าใจยาก และไม่มี ประโยชน์มากนักในสังคม แต่หลังจากได้ศึก ษาศาสตร์นี้อย่างจริงๆ จังๆ แล้ว ผมก็ รู้ตัวว่า ผมคิดผิดไป... การเรียนจิตวิทยานั้น ทาให้ผมรู้ความจริงหลายอย่างมากขึ้นของสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา มนุษ ย์ วัตถุ สังคม และอีกมากมาย หากเรามองและสังเกตดีๆ ก็จะรู้ได้ว่าตัวตนของมนุษย์นั้น เป็นอะไรที่มหัศจรรย์ และลึก ซึ้งมาก มนุษย์ต่างคน ต่างมีนิสัยของตัวเอง เวลาเด็กๆ ก็จะมีนิสัยแบบหนึ่ง โตขึ้นมาหน่อย ก็ จะมีนิสัย อีก แบบหนึ่ง อยู่กับเพื่อน ก็จะมีนิสัยอีกแบบหนึ่ง แล้วอะไรล่ะ ที่เป็นนิสัยจริงๆของมนุษ ย์ ? จิตวิทยานี่แหละ ที่เป็นสิ่งที่ ตอบคาถามข้อนี้ได้ การเรียนจิตวิทยา ทาให้เรารู้ และเข้าถึงธรรมชาติข องมนุษ ย์ไ ด้ง่ายขึ้น หลังจากเรี ย นแล้ว การ มองคนของผมก็เปลี่ยนไป ทาให้เข้าใจคนๆ นั้น อย่างที่เขาเป็น การกระทาของคนๆ หนึ่ง ในช่วงชีวิตหนึ่งๆ ในอดีต ส่งผลให้เขาเป็นคนแบบนั้นในปัจจุบัน ผมจึงเข้าใจ ว่าทาไมเขาถึงเป็นคนแบบนี้ ? และทานิสัย แบบ นี้ไปเพื่ออะไร? (ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเด็กชาย A ในตอนเด็กๆ อยู่อย่างยากจน พอโตขึ้นมาเป็นนาย A จึงมี นิสัยรู้ถึงคุณค่าของเงินมาก เขามีนิสัยแบบนี้ เพราะรู้ว่าประสบการณ์ย ากจนในอดีตเป็นอย่างไร และจะ พยายามไม่กลับไปหามันอีก) ลองสารวจตัวเองดูสิครับ แล้วน้องๆ อาจจะพบที่มาที่ไปของตัวตน และตัวตน ที่แท้จริงของคุณที่ซ่อนอยู่ก็เป็นได้
หากเราสังเกตรอบๆ ตัวเราดีๆ เราจะเห็นของหลายอย่างที่อยู่รอบตัวเรา เช่ น ป้ายโฆษณา หลอดไฟ เก้าอี้ โต๊ะ บ้าน เป็นต้น บางอย่างเรียบง่าย บางอย่างมีสีสันรูปร่างแปลกตา เคยคิดหรือเปล่าว่า ทาไมของเหล่านี้ถึงเป็นเช่นนี้? ทุกๆ อย่างมันมีที่มาที่ไป และเหตุผลของมัน :) ยกตัวอย่างเก้าอี้ที่โต๊ะทางานละกัน ว่าทาไม มันถึงมีรูปร่างต่างกัน ขนาดต่างกั น ทั้งๆ ที่ใ ช้แค่นั่ง ทางานเหมือนกัน? คนหลายคน ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนั่ง นั่งทางาน นั่งกินข้าว นั่งบนรถ ถึงแม้ว่าการ นั่งจะดูไม่ค่อยมีอะไร แต่รู้ไหม หากนั่งไม่ดี ก็เป็นอันตรายกับร่างกายได้นะ เก้าอี้ทุก ตัวถูก สร้างมา เพื่อปรับ ให้เข้ากับสรีระของร่างกายเรา รวมไปถึงคุณสมบัติในการลดความเครียดของผู้นั่งด้วยสัมผัส สี รูปร่าง และ อื่นๆ อีกมากมาย ของเหล่านี้เกิดจากการนาเอาศาสตร์ทางจิตวิทยา มาประยุก ต์กั บศาสตร์อื่นๆ ทั้งนั้น ทีนี้ ลองสังเกตของรอบๆ ตัวสิ แล้วจะรู้ว่า ของหลายๆ อย่าง มีอะไรน่าสนใจให้ค้นพบมากมายเลยทีเดียว Aristotle นักปรัชญาโบราณเคยกล่าวเอาไว้ว่า มนุษ ย์เป็นสัตว์สังคม ซึ่งจากที่เห็นกั นอยู่ทุก ๆ วันนี้ เราทุกคนต้องมีเพื่อนกันบ้างแหละ ไม่มากก็น้อย จริงรึเปล่า :) ส าหรับคนหลายคน เพื่อน พ่อแม่ ครู อาจารย์ และคนรอบกาย เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อตัวเรามาก หลังจากเรีย นจิตวิทยา ผมก็ เข้าใจมากขึ้น เช่น ทาไมเขาถึงเป็นแบบนี้ในสังคม ในกลุ่มเพื่อน ทั้งๆ ที่ปกติไม่เคยมีนิสัยแบบนี้เลย? ทาไมเราถึงไม่ก ล้ายกมือ ถามคาถามครู เวลาอยู่ใ นห้องเรีย น? และปรากฏการณ์ทางสังคมอีก หลายอย่างที่เราไม่เคยสังเกต (เช่น การที่นาย A เป็นคนไม่เคยเล่นเกม แต่พอไปคบเพื่อนที่เล่นเกมกันเยอะๆ ซักพักนาย A ก็ เริ่มหันมาเล่นเกม เหมือนเพื่อนๆ) นี่แหละ เป็นหนึ่งในจิตวิทยาที่อยู่รอบๆ ตัวเรา หลังจากที่ได้อ่านข้อความข้างต้นมาแล้ว ก็คงจะรู้แล้วสินะครับ ว่าจิตวิทยา ไม่ไ ด้ไ กลตัว และไร้ ประโยชน์อย่างที่หลายๆ คนคิด จิตวิทยาอยู่รอบๆ ตัวคุณ นั่นแหละ เพราะพื้นฐานของชี วิต คือ “จิตใจ” และจิตใจนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทาให้มนุษย์สรรค์สร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาบนโลกใบนี้ :)
A NEW CHAPTER 5O ปี ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รากฐานแห่งความเป็นเลิศ ทุก คนมีส่ว นร่ว มทาให้ภ าควิช าจิต วิทยา คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ เป็นสถานที่ที่ย อดเยี่ย มส าหรับการศึก ษา ชื่อเสีย งของภาควิชาจิตวิทยา ได้รับการสร้างขึ้นบนหลักการของความเป็นเลิศและพวกเรายังคงราลึก ถึงพระคุณ ของ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ได้ทางานและ/หรือเรียนที่นี่ สิ่ ง เหล่ า นี้ เ ป็ น ส่ ว นส าคั ญ ที่ ท าให้ ค วามส าเร็ จ ของเราเป็ น ที่ รู้ จั ก ฐานะ สถาบั น การศึ ก ษาชั้ น น าในศาสตร์ จิ ต วิ ท ยา เราสนั บ สนุ น ให้ เ กิ ด การเรี ย นรู้ ด้ ว ย บรรยากาศแห่งมิตรภาพ ทั้งศิษ ย์เก่ าและนัก ศึก ษาที่นี่ล้วนมีส่วนร่วมในการทาผลงาน โดดเด่นแก่มหาวิทยาลัยในกิจกรรมต่างๆ รวมทั้ง การครองตนอย่างมี คุณ ภาพ ยึด มั่นในจรรยาบรรณ และการมีจิ ต อาสาเพื่อสังคมตามเจตนารมณ์อันยิ่งใหญ่ข องมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ที่ว่า "ฉันรัก ธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน" เราเป็นผู้ริเริ่มบุก เบิก การสร้างหลัก สูตรการเรีย นการสอนและงานวิจัย ทาง จิตวิทยาให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะเราเล็งเห็นถึงคุณ ค่าและประโยชน์ที่จะได้รับ จากศาสตร์จิตวิทยาอันจะสร้างผลในทางที่ดีใ ห้เกิ ดขึ้นต่อสังคมไทยที่เต็มไปด้วยปัญ หา ของบุคคลซึ่งอยู่อย่างมากมายนานัปการ และนั่นคือสิ่งที่ทาให้ทุก ๆ ทศวรรษมีความ แตกต่าง ทาให้ต้องมีก ระบวนการพั ฒนาในเชิ ง วิชาการเพื่ อก้ าวทันสภาพการณ์ข อง ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์
อนึ่ ง ภาควิ ช าจิ ต วิท ยา คณะศิ ล ปศาสตร์ มหาวิท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ มี ปรัชญาก่อตั้งขึ้นบนหลักการของความเป็นเลิศ ความเสมอภาค และโอกาสที่เท่าเทีย ม กันสาหรับทุกคน ดังที่ผู้ประศาสน์ก ารของมหาวิทยาลัย (ดร.ปรีดี พนมยงค์ ) ได้ส ร้าง เจตจ านงของการก่ อ ตั้ ง มหาวิ ทยาลั ย แห่ ง นี้ ขึ้ น โดยอุ ป มาการให้ก ารศึ ก ษาระดั บ มหาวิทยาลัยเสมือนบ่อน้าบาบัดความกระหายของราษฎร ภาควิชาจิตวิทยา เริ่มเปิด การเรีย นการสอนในปี พ.ศ. 2507 มีนัก ศึก ษารุ่นแรกจานวนสิบกว่าคน ทว่าในช่ว ง ระยะเวลาเพี ย ง 50 ปีเราได้ ก ลายเป็ นหนึ่ งในมหาวิทยาลัย ชั้นน าทางจิต วิทยาของ ประเทศไทย ที่ได้ผลิตบุคลากรทางจิตวิทยาสู่สังคมเพื่อเปลี่ย นแปลงประเทศตั้งแต่ 50 ปีที่ผ่านมา เรายังมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวต่อไป และรักษาความเป็นมาตรฐานระดับสากล ในเวลาเพี ย ง 50 ปี ภาควิช าจิต วิ ท ยา คณะศิล ปศาสตร์ มหาวิ ทยาลั ย ธรรมศาสตร์ได้ขับเคลื่อนมาถึงในฐานะหนึ่งในมหาวิทยาลัย มาตรฐานหลัก สูตรจิตวิทยา ในระดับสากลที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก อันเนื่องด้วยรากฐานความ เป็ น เลิ ศ ของการเรี ย นการสอนที่ มี โ ครงสร้ า งเป็ น ระบบ อีก ทั้ ง ยั ง เน้ นให้ รู้ จั ก การ ประยุกต์ใช้ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อประโยชน์ของสังคม ภาควิชาของเราได้มีการแลกเปลี่ยนผู้สอนจากต่างประเทศ และเปิดสอนวิชา ใหม่ๆ ที่น่าสนใจโดยให้ผู้เรียนได้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เช่นวิชา Music Therapy ฯลฯ อีกทั้งการมอบทุนการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาทางจิตวิทยาระดับสากล ทั้งหมดที่ก ล่า วข้ างต้น เราใช้ เวลา 50 ปี ในการรวบรวมความคิ ดที่ เป็ น รากฐานสาคัญ พร้อมทั้งกระตุ้นความคิด ความเข้าใจทางวิชาการให้เกิ ดขึ้นแก่ สังคม เพื่ อ การบรรลุ เ ป้า หมายของการศึก ษาคื อ การน าความรู้ และประโยชน์ที่ ไ ด้ จ าก การศึกษา ประยุกต์ใช้กับบุคคล สังคม และประเทศชาติอย่างถูกต้อง และมีคุณธรรม ครบรอบปี ที่ 50 นี้เ ป็น โอกาสที่จ ะสะท้อ นให้เ ห็นถึ งความส าเร็ จของเรา ขอขอบคุณผู้สนับสนุนเราและร่วมเฉลิมฉลองในอนาคตของเรา
หนังสือที่ระลึกงานเปิดบ้าน 50 ปี ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Editor-in-Chief
TANUPAT LOHAPONGSATHORN
Assistant Editor
PHISUT DETKHUNTHOD
Editorial
PAMIKA ARTHITJAWONG WANWADEE WONGWUTTIWAT
Writers
PITCHAKORN POOMPAYOONG TARID WONGVORACHAN TEERAWOOT KHUNNA THANAPORN SAICHOMPOO THITIPAT RUAMSAP
Special Thanks
DUMRONG ADUNYARITTIGUN, Assoc. Prof. Dr. ADHICHATI ROCHANAHASTIN, A BURACHAI ASAVATAWEEBOON, A
Sponsor Coordinator
NONTAWAT TUANGTAWEESUB
20 02 2014 11 12
●●
50 ปี ทีเ่ ป็นรากฐานสาคัญ รากฐานความเป็นเลิศ กระตุน้ ความคิดความเข้าใจทางวิชาการ ประยุกต์ใช้ความรูท้ างจิตวิทยาเพือ่ ประโยชน์ตอ่ สังคม ●●
50 ปี ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์