Q2 | Apr – Jun, 2015
สารบัญ Challenge Yourself, Change Lives ความท้าทายที่รออยู่สำ�หรับทีมงานและครูผู้นำ�การ เปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ก่อนที่จะครบกำ�หนด 2 ปี ในโครงการครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง Read
สรุปผลการคัดเลือกครูผู้นำ�ฯ รุ่นที่ 2 ความท้าทายสำ�หรับการคัดเลือกรุ่นที่ 3 ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น Read
TEDxBangkok เรื่องราวของครูจอยและประกายไอเดียจาก ตัวแทนนักเรียน คุณครู และครูผนู้ �ำ การเปลีย่ นแปลง Read
2 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
MESSAGE from CEO ไตรมาสทีส่ องของปี 2558 นับเป็นอีกก้าวสำ�คัญของมูลนิธทิ ชี ฟอร์ ไทยแลนด์ เพราะนอกจากจะเป็นปีสดุ ท้ายที่ "ครูผนู้ �ำ การเปลีย่ นแปลงรุน่ แรก" ของมูลนิธฯิ เข้าปฏิบตั งิ านในโรงเรียน ยังเป็นช่วงทีม่ ลู นิธฯิ เสร็จสิน้ การสรรหาและการคัดเลือก "ผูเ้ ข้าร่วมโครงการเพือ่ เป็นครูผนู้ �ำ การเปลีย่ นแปลงรุน่ ทีส่ อง" ซึง่ ดำ�เนินการ ต่อเนือ่ งมาแล้วกว่า 8 เดือน ก่อนหน้าที่ครูรุ่นแรกจะกลับไปสอนในปีที่สอง เรามีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรม สัมมนาเชิงปฏิบัติการ Retreat 2015 พร้อมกับครูรุ่นแรกทั้ง 29 คน เพื่อร่วม กันประมวลผลการปฏิบัติงานสอนและความเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาได้ร่วมสร้างให้ เกิดในห้องเรียน ตลอดระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมา รวมทั้งให้พวกเขาได้เตรียมความ พร้อมด้านทักษะและวิสัยทัศน์ก่อนเข้าสู่การสอนในปีที่สอง การสัมมนามีแนวคิด หลักคือ “Challenge Yourself, Change Lives” เพื่อพัฒนาความเป็นผู้นำ�ที่ จะเข้าร่วมเปลี่ยนแปลงชีวิตลูกศิษย์ของพวกเขาและระบบการศึกษาไทย ระหว่างที่ กิจกรรมดำ�เนินไป เราได้สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของครูผู้นำ�เหล่านั้นในหลาย มิติจนคิดได้ว่า หนึ่งปีในโรงเรียนช่างเป็นจุดเปลี่ยนผ่านสำ�คัญ จากจุดนี้ทำ�ให้เรายิ่ง มั่นใจว่า หลังจากสองปีนี้ เมื่อก้าวออกจากห้องเรียนของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์แล้ว พวกเขาจะถูกหล่อหลอมให้พร้อมที่จะก้าวสู่บทบาทใหม่ในฐานะผู้นำ�ที่พร้อมเผชิญ กับความท้าทายของสังคมในอนาคต ในการแก้ไขปัญหาระดับชาติอย่าง "การศึกษา" ผู้ที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ย่อมมิใช่เพียงผู้มีความรู้ความสามารถเท่านั้น หากแต่ต้องเป็น "ผู้ที่มีความเข้าใจถึง ปัญหาอย่างครอบคลุมและถ่องแท้" เป็น "ผู้ที่พร้อมจะผูกพันกับภาระหน้าที่เพื่อ ส่วนร่วมอย่างไม่ย่อท้อ โดยตระหนักถึงบริบทสังคมที่เต็มไปด้วยความท้าทายเป็น หัวใจสำ�คัญ" หนึ่งปีแห่งการบ่มเพาะ เราเริ่มมองเห็นคุณสมบัติเหล่านี้ในครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง รุ่นที่หนึ่งหลายคน และในอนาคตเรายังคงคาดหวังว่า ภาพความหวังอนาคต การศึกษาไทยที่พวกเราทุกคนร่วมมือกันจะเริ่มกระจ่างชัดขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์มีกลุ่มคนรุ่นใหม่ผู้มุ่งมั่นอีก 60 ชีวิตมาเข้าร่วมสร้าง ความเปลี่ยนแปลงสู่สังคมไทย วิชิตพล ผลโภค
3 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
e g n e l l a h C , f l e s r u o Y and
! s e v i L e g n a h C o G s ' t Le 4 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
RETREAT 2015 : Challenge Yourself, Change Lives
การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการก่อนเข้าปฏิบัติงานในปีที่ 2 ของครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่น 1
เมื่อวันที่ 14 – 15 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา ครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่น 1 ทั้ง 29 คนได้เข้าร่วม "การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการก่อนเข้าปฏิบัติงานในปีที่ 2" ซึ่งเป็น กิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ครูผู้นำ�ฯ ร่วมสะท้อนถึงผลการสอน และวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับนักเรียนในปีที่ผ่านมา รวมถึงตั้งเป้าหมายการพัฒนาตนเองและการทำ�งาน ในปีสุดท้าย กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Challenge Yourself, Change Lives" ณ โรงแรม มณีจันท์รีสอร์ท จังหวัดจันทบุรี ถึงจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 2 วัน แต่การอบรมในครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงจุดเปลี่ยนผ่านที่สำ�คัญสำ�หรับผู้เข้าร่วมโครงการเท่านั้น หากยังเป็นความท้าทายของทีมงาน ฝ่ายอบรมและพัฒนา ในการที่จะร่วมผลักดันให้เป้าหมายทั้งระยะสั้นและระยะยาวของโครงการสำ�เร็จด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นมุมมองที่ตัวครูผู้นำ�ฯ ควรได้รับจากกิจกรรม วิสัยทัศน์ที่ตรงกันกับโครงการฯ ไปจนถึงความพร้อมในการเผชิญกับความท้าทายที่รอพวกเขาอยู่ในปีที่ 2 ของการสอน
เบญจมาศ สีสวย | เจ้าหน้าที่พัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ� ในฐานะทีมงานพัฒนาศักยภาพความเป็นผู้นำ� (Leadership Development) การเข้าร่วมสัมมนาครั้งนี้ทำ�ให้เห็นถึงวิธีการที่จะพัฒนาครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงใน ด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น การปรับมุมมองครูที่ควรต้องเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียน การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ฯลฯ เป็น โอกาสดีที่ครูผู้นำ�ฯ จะได้นำ�สิ่งเหล่านี้ไปถ่ายทอดแก่นักเรียนในห้องเรียนของตน ต่อไป เพราะการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยผ่านครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงได้นั้น เรามี บทบาทสนับสนุนให้ครูผู้นำ�ฯ สามารถมุ่งความสนใจและอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับ การเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนั้นการแสดงเป้าหมายขององค์กรในภาพกว้าง ให้พวกเขาเห็นอย่างสม่ำ�เสมอจึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญอย่างมาก นอกจากนี้การสัมมนาในครั้งนี้ยังเปิดโอกาสให้ได้วางแผนร่วมกับทีมงา นทุกๆ ฝ่าย ได้เข้าใจถึงเป้าหมายสูงสุดที่ทีมคาดหวัง ตลอดจนได้เรียนรู้แนวทาง ในการแก้ไขปัญหาโดยไม่มองที่เพียงตัวปัญหา หากแต่มองเห็นจุดที่ต้องใส่ใจ และพัฒนาเพิ่มเติม
ณ ขณะนี้เป้าหมายของฝ่ายอบรมและพัฒนา แบ่งออกเป็นดังต่อไปนี้ เป้าหมายระยะยาว คือ พัฒนาการของเด็กนักเรียนที่เปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้น โดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัย ได้แก่ การบรรลุผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา (Academic Achievement – AA), การสร้างทักษะจำ�เป็น (Essential Skills – ES) และการพัฒนาอุปนิสัย (Character Strength – CS) เป้าหมายระยะสั้น คือ การติดตามการสอนของครูผู้นำ�ฯ โดยพิจารณา จากความสามารถของครูในการท้าทายนักเรียนในการเรียนการสอน การคิดหา กิจกรรมที่เหมาะสมกับตัวผู้เรียนและพัฒนาการ ทั้งด้านพฤติกรรม และผลการ เรียนของเด็ก โดยทางฝ่ายใช้วิธีการวัดผลจากการสุ่มสอบถามนักเรียนเป็นราย บุคคล การออกแบบทดสอบเพื่อติดตามหรือประเมินนักเรียน และการใช้คำ�ถามใน เชิงปฏิบัติเพื่อเน้นให้ครูผู้นำ�ฯคิดและนำ�ไปต่อยอดในการเรียนการสอนในปีที่สอง
5 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
RETREAT 2015 : Challenge Yourself, Change Lives
ธันยพร สุปการ | เจ้าหน้าที่ฝ่ายอบรมและพัฒนา การสัมมนาครั้งนี้เป็นงานแรกในฐานะทีมงานของทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ จึงรู้สึก ตื่นเต้นเป็นอย่างมาก สิ่งสำ�คัญที่ได้เรียนรู้จากสัมมนาคือ ทักษะการทำ�งานร่วม กันเป็นทีม ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจและความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างมาก เพราะทุกคนต่างมีความคิดที่หลากหลาย ดังนั้นการรวบรวมทุกความคิดให้ออก มาเป็นงานเดียวของพวกเราทุกคนจึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของพี่ๆ เพื่อนๆ และครูผู้นำ�ฯ แต่ละคนหลังจากมีโอกาสพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ซึ่งถือเป็นการ ฝึกตนเองให้รับฟังผู้อื่น ในขณะที่เราก็เปิดใจของตัวเองที่จะเล่าเรื่องราวให้คนอื่น ฟัง ดังนั้นสิ่งที่ได้มาจึงไม่ใช่เพียงความรู้ในด้านต่างๆ แต่ยังได้มิตรภาพจากกัน และกันอีกด้วย ความท้าทายในชีวิตที่ได้รับจากการสัมมนาครั้งนี้มีอยู่ 2 เรื่องด้วยกัน เรื่องแรก คือการพยายามทำ�ความรู้จักครูผู้นำ�ฯ ให้ครบทุกคน โดยปกติแล้ว ภารกิจการเยี่ยมเยียนโรงเรียนต่างๆ จะเป็นโอกาสที่ทำ�ให้มีการได้เข้าไปพูดคุยและ แลกเปลี่ยนความคิดกับครูผู้นำ�ฯ โดยเฉพาะด้านการสอน ซึ่งเราจะพยายามรับฟัง และให้คำ�แนะนำ�ครูผู้นำ�ฯ เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น เรื่องที่สอง คือการเตรียมงานฝึกอบรมสำ�หรับครูผู้นำ�ฯ รุ่นที่ 2 (Teach For Thailand Institute) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มีโอกาสทำ�งานรูปแบบนี้ โดยพยายาม วางแผนและคิดหาไอเดียสร้างสรรค์ที่จะช่วยให้งานดำ�เนินไปได้ตามเป้าหมาย ดังนั้นเป้าหมายที่ตั้งไว้ตอนนี้คือการทำ�งาน Teach For Thailand Institute ให้บรรลุผล พยายามพัฒนาตนเองโดยการหาไอเดียใหม่ๆ จากการอ่านหนังสือ บทความ หรือชมภาพยนตร์ รวมไปถึงการพูดคุยกับคนอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น เพราะโดยส่วนตัวเชื่อว่าไอเดียหรือแรงบันดาลใจต่างๆ สามารถเกิด ขึ้นได้รอบตัวในเวลาใดก็ได้ ฉะนั้นทุกๆ สิ่งรอบตัวจึงมีความหมาย เพียงแค่เรา ต้องหยิบสิ่งนั้นมาดัดแปลงและใช้ให้ถูกเวลาและเหมาะสมกับบริบท
การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการก่อนเข้าปฏิบัติงานในปีที่ 2 ของครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่น 1
ภรปภัช พิศาลเตชะกุล (แข) | ครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 หนึ่งปีที่ผ่านมา เราทุกคนได้ใช้เวลาทุ่มเทไปกับการพยายามสร้างความ เปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้น ผ่านช่วงเวลาที่ทั้งสุขและเศร้า พบเจอเรื่องราวที่ไม่เคย คาดคิดหลายต่อหลายครั้ง ใช้พลังไปกับการผลักดันและประคับประคองทั้ง นักเรียนและตนเอง การกลับมาพบกันของทั้งเฟลโลว์และทีมงานทุกคนทำ�ให้แขได้พบว่าพลังของ ทีมเป็นสิ่งสำ�คัญมากในการเผชิญกับความท้าทาย กลุ่มคนที่ผ่านพบเรื่องราว คล้ายๆ กันและมุ่งมั่นเพื่อเป้าหมายเดียวกันย่อมเข้าใจและรับรู้ถึงความรู้สึกของกัน ได้ง่าย เราได้แลกเปลี่ยนเรื่องราว และแรงใจให้แก่กันและกัน สิ่งนั้นอบอวลอยู่ใน บรรยากาศตลอดการสัมมนา คำ�ว่า "Feel it" ที่ถูกย้ำ�ซ้ำ�ๆ ช่วยให้ได้สัมผัสความ รู้สึกต่างๆ ด้วยหัวใจมากขึ้น เข้าใจโลกของคนอื่นมากขึ้น มันช่วยเสริมกำ�ลังใจใน การเดินหน้าสร้างความเปลี่ยนแปลงในปีที่สองได้เป็นอย่างดี แขประทับใจแนวคิดหลักของการสัมมนาครั้งนี้ที่ว่า “Challenge Yourself, Change Lives” การได้เดินออกไปแปะชื่อตัวเองไกลจาก Comfort zone ตอน นั้นยังส่งผลมาถึงตอนนี้ ทำ�ให้แขถามตัวเองเสมอว่าเราจะเดินไปสู่ “Where the magic happens” เหมือนที่เราได้แปะชื่อตัวเองเอาไว้หรือไม่ การเดินทางออก จากความปลอดภัยของหัวใจ คือการเดินทางที่ยิ่งใหญ่ มันอาศัยความกล้าหาญ จากใจของเราเองจริงๆ แขลงสมัคร The Voice เพราะแขอยากก้าวข้ามความกลัวและไปสู่ดินแดน แห่งปาฏิหาริย์บ้าง กลายเป็นว่าการไปออดิชั่นครั้งนั้นสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียน หลายๆ คนในโรงเรียนที่อยากเดินตามความฝัน การเฝ้าบอกคนอื่นให้ กล้าหาญ เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะกับเด็กๆ ดังนั้นเราต้องลงมือทำ�เป็นแบบอย่างแทนทุก คำ�ที่เราพูดออกไป แขตัดสินใจสมัครเรียนต่อปริญญาโทที่ต้องเรียนไกลถึงรังสิตในช่วงวัน เสาร์-อาทิตย์ แม้จะรู้ตัวว่าเป็นคนรักสบายและหวงวันหยุดขนาดไหน แต่แขเชื่อ มั่นเหลือเกินว่าการตัดสินใจครั้งนี้จะทำ�ให้แขและนักเรียนเห็นกันว่า การทุ่มเท เพื่อการศึกษามันอาจจะไม่สนุกและลำ�บาก แต่การศึกษาจะเปลี่ยนชีวิตเราไปใน ทางที่ดีขึ้น และความท้าทายเหล่านั้นก็เป็นเหมือนแบบฝึกหัด หากอยากจะเก่งขึ้น ก็ต้องกล้าทำ�แบบฝึกหัดที่ยากขึ้นเพื่อขยายขีดจำ�กัดของตัวเองให้ได้
6 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
RETREAT 2015 : Challenge Yourself, Change Lives
การประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการก่อนเข้าปฏิบัติงานในปีที่ 2 ของครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่น 1
> กิจกรรมเม็ดฝน ช่วยให้ครูผู้นำ�ฯ มอง ตนเองเป็นดวงอาทิตย์ ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาการ ศึกษาที่มีปัญหาต่างๆ เสมือนก้อนเมฆอัน เป็นต้นตอแห่งปัญหา สาดเทลงมาใส่เด็กไทย
วิศรุต นุชพงษ์ (ตี๋) | ครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ตอนแรกไม่คิดว่าจะได้อะไรมากขนาดนี้ คิดว่าแค่ไปพักผ่อน แต่เมื่อได้ไปทำ�กิจ กรรมจริงๆ มันกลายเป็นกิจกรรมที่เล่าผ่านวิธีคิดของเรา สิ่งไหนที่เราคิดอยู่ก็ ถูกถ่ายทอดออกมาให้เป็นเรื่องราว โดยที่เราเองก็ไม่ได้มีภาระมากขึ้น เป็นเพียง แค่ตัวกลางในการถ่ายทอดข้อมูลที่สำ�คัญ เมื่อจุดประสงค์ในการทำ�กิจกรรมชัดเจน ก็ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมไม่รู้สึกหลงทาง พวกเขาจะรับรู้ว่าความคิดของพวกเขาถูกถ่ายทอดออกมาได้รับการจัดกลุ่มและ ถูกนำ�ไปใช้อย่างถูกทาง ไม่ได้เป็นเพียงคำ�พูดที่สูญเปล่า มันทำ�ให้เรากลับมาท บทวนถึงจุดประสงค์การเรียนการสอนของเราเอง ในหนึ่งชั่วโมง หากการสอน ของเรามีจุดประสงค์ที่ชัด กิจกรรมและผลการเรียนรู้ เราจะรู้ว่าเราต้องทำ�อย่างไร กิจกรรมในห้องเรียนอาจไม่ได้สนุกขึ้น แต่สิ่งที่นักเรียนควรได้ในคาบเรียน จะเห็นผลอย่างชัดเจน เช่น ทักษะการทำ�งานเป็นกลุ่มที่เด็กๆส่วนใหญ่เบื่อ เพราะ เด็กบางคนอาจชอบทำ�งานเดี่ยว แต่เราสามารถวัดเขาได้จากกิจกรรมนี้ว่าเขา จะสามารถอยู่ในกิจกรรมกลุ่มที่ต้องเจอกับความกดดันนี้ได้หรือไม่ เพราะเรารู้ เป้าหมายชัดเจนว่าเราต้องการรู้อะไร มีช่วงหนึ่งที่ผมชอบมากคือ 'กิจกรรมเม็ดฝน' เป็นกิจกรรมที่สุดยอดมาก สามารถดึงอะไรจากความคิดเราออกมาได้หลายอย่าง ทั้งที่ขณะนั้นความคิด ของเรามีเยอะมาก ฟุ้งมาก แต่เมื่อได้รับการจัดการด้วยวิธีการที่ดี ก็ช่วยให้เรา สามารถเรียงลำ�ดับความคิดได้ดีขึ้น เช่นเดียวกับปัญหาหลายๆ อย่างที่เรามอง เห็นวิธีการแก้ไขที่ชัดเจนมากขึ้น หลังจากกิจกรรมนี้เรายังได้คุยกับเพื่อนๆ ถึง สิ่งที่ได้รับว่ามันส่งผลกระทบต่อเราจริงๆ อย่างไร บางปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นส่งผล อย่างมาก ดังนั้นเราจะทำ�งานเพียงแค่นี้ไม่ได้ อาจต้องแก้ไขไปถึงระดับนโยบาย จึงจะช่วยให้เราก้าวผ่านปัญหาทางการศึกษาเหล่านี้ไปได้ หลายปัญหาทำ�ให้เรารู้สึกชัดเจนว่าเราไม่สามารถมองข้ามได้ ยังมีหลาย เรื่องที่เราต้องรีบทำ�ตั้งแต่ตอนนี้ การพูดคุยในครั้งนี้ช่วยให้เรารู้ว่าหลังจากนี้เรา จะเคลื่อนตัวเองไปทางไหน ต้องทำ�งานอะไร และเราสามารถทำ�อะไรได้มากน้อย แค่ไหนกับปัญหาเหล่านี้
กชามาส ลิ้มพุทธพงศ์ (บุ้งกี๋) | ครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 การเข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาภายใต้ธีม Challenge Yourself, Change Lives ทำ�ให้เราได้รับพลังมากระตุ้นตัวเองอีกครั้งให้สร้างความท้าทายที่จะทำ�ให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงขึ้น และมันเริ่มต้นได้ที่เราเอง ในแต่ละวัน เราไม่รู้เลยว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรบ้าง ความท้าทายเกิดขึ้น ทุกวันที่เราไปโรงเรียน เรียกได้ว่าพวกเราต้องเตรียมตัวให้พร้อมเผชิญกับทุก สถานการณ์ให้ได้จริงๆ ปัญหาเล็กใหญ่มากมาย อาจมีรูปแบบหลากหลายที่เรา แทบคิดไม่ถึงด้วยซ้ำ� บางวันเราเตรียมการสอนมาดีมาก คาดหวังจะให้เกิดผลที่ดี 100% ใน ห้องเรียนเราสนุกสนานกันมาก แต่กลับมีนักเรียนหนึ่งคนในห้องที่บอกว่าไม่ ชอบการเรียนแบบนี้ แม้มันจะเป็นแค่ 1 เสียงเล็กๆ แต่เรารู้สึกว่าเสียงนี้มันดังจน แทบจะฉุดใจเราให้ดำ�ดิ่งลงไปในความทุกข์ เกิดคำ�ถามในหัวว่าเพราะอะไร? มันเป็นความท้าทายอย่างมากว่าเราจะรับมือกับสภาวะการจมของใจเราได้ดี แค่ไหน เหตุการณ์แบบนี้เราจะเพิกเฉยให้เรื่องมันจบๆ ไปก็ได้ แต่เราตระหนักอยู่ เสมอว่าเรามาอยู่จุดนี้เพื่ออะไร เราจะไม่อยู่ใน Comfort zone ที่ทำ�ให้เรารู้สึก ปลอดภัย เรากำ�ลังท้าทายตัวเองด้วยการทำ�ในสิ่งที่คนอื่นไม่อยากทำ� แม้จะต้อง มีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น แต่เราก็รู้เสมอว่าทุกๆ การกระทำ�จะช่วยเปลี่ยน ชีวิตของใครอีกหลายคนให้ดีขึ้นได้ การกระทำ�ของเราที่จะไปมีผลกับชีวิตใครสักคนมันเป็นความท้าทายที่ยิ่ง ใหญ่ในตอนนี้ ในฐานะครูที่เป็นแม่แบบให้นักเรียนหลายๆ คน เราเชื่อว่านักเรียน จะเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านทุกการกระทำ�ของเรา ดังนั้นเราจะทำ�ตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ต่อไป ถึงแม้ว่ามันอาจจะดูเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยก็ตาม แต่เราเชื่อว่า ‘สิ่งที่ยิ่งใหญ่ เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ เสมอ’
7 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
TALENT ACQUISITION : 2015 Recruitment Summary
ฝ่ายสรรหาผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง บทสรุปการสรรหาผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 2
สถิตกิ ารรับสมัครผูเ้ ข้าร่วมโครงการรุน่ 2015 ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ฝ่ายสรรหาผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง ได้เสร็จสิ้น กระบวนการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง รุ่นปี 2015 ซึ่ง ประกอบด้วยการกรอกใบสมัคร การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และวันกิจกรรม คัดเลือก (Assessment Center) และในวันที่ 20 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้ประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการ และออกจดหมายเชิญ ผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมดเข้าร่วมโครงการฯ ในรอบปีนี้ ทางฝ่ายฯ ก็ได้จัด กิจกรรมต้อนรับ (The Welcome Event) ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้า ร่วมโครงการทั้งในรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 รวมถึงผู้ปกครอง และทีมงานขององค์กร ได้มาพบปะทำ�ความรู้จักกันมากขึ้นผ่านกิจกรรมต่างๆ พร้อมทำ�ความเข้าใจถึง ขั้นตอนต่อไปหลังจากนี้ ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นด้วยการเข้ารับการอบรมเตรียมความ พร้อมระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป โครงการ “ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง” โดย ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ได้รับความ สนใจเป็นอย่างสูงในรอบปีการรับสมัครนี้ ทางฝ่ายสรรหาฯ ได้รับใบสมัครส่วน ที่ 1 ทั้งสิ้น 1,595 ใบ โดยมีผู้กรอกใบสมัครส่วนที่ 2 ซึ่งประกอบด้วยเรียงความ 3 เรื่อง และประวัติการทำ�งานหรือกิจกรรมแล้วเสร็จเป็นจำ�นวน 578 คน รวม ถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และวันกิจกรรมคัดเลือก (Assessment Center) ซึ่งประกอบไปด้วย 5 กิจกรรมคัดเลือก เช่น การทดลองสอน กิจกรรม สนทนากลุ่ม เป็นต้น โดยหลังจากกระบวนการคัดเลือกทั้งหมดเสร็จสิ้นลงแล้ว ทางฝ่ายสรรหาฯ ได้เชิญผู้ผ่านการคัดเลือกจำ�นวน 82 คน เข้าร่วมโครงการฯ ในรอบปีนี้ โดย มีสัดส่วนการรับเข้าร่วมโครงการฯ (Acceptance Rate) อยู่ที่ 15% ของผู้ ที่สมัครมาทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนการรับเข้าร่วมโครงการฯ ดังกล่าวสะท้อนถึง กระบวนการคัดเลือกที่มีความถี่ถ้วนเพื่อค้นหาผู้ที่มีความพร้อมมากที่สุดที่จะ รับความท้าทายในการร่วมผลักดันการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ�ทางการศึกษา ให้ลดลง นอกเหนือจากความสำ�เร็จของการรับสมัครในเชิงตัวเลขแล้ว ในรอบปีนี้ยัง นับว่าเป็นปีที่ทางฝ่ายฯ ได้เข้าถึงกลุ่มบุคคลที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ความหลาก หลายของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในปีนี้แสดงถึงมุมมองที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ ที่หันมาสนใจปัญหาสังคมและปัญหาการศึกษามากยิ่งขึ้น และเลือกที่จะท้าทาย ตนเองด้วยการนำ�ศักยภาพที่ตนมีอยู่มาผลักดันการพัฒนาผู้อื่นที่มีโอกาสใน การเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ น้อยกว่า โดยความสนใจดังกล่าวไม่ถูกจำ�กัดในกลุ่ม วิชาชีพใดวิชาชีพหนึ่ง หากแต่เป็นความสนใจที่กำ�ลังเกิดขึ้นในวงกว้างในทุกสาย วิชาชีพของคนรุ่นใหม่
1,595
578
ผู้สนใจ เริ่มต้นใบสมัคร
ส่งใบสมัครสมบูรณ์ เขียนเรียงความทั้ง 3 เรื่องเสร็จสิ้น
2015
72
2014
จาก มหาวิทยาลัยในประเทศ
26
จาก มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
35 % จำ�นวนผู้สมัครเพิ่มขึ้น จากจำ�นวนผู้สมัครในรุ่นปี 2014
40 % ผู้ที่มีประสบการณ์ทำ�งานมาแล้ว ในสาขา ที่แตกต่างกันไป เช่น วิศวกร สถาปนิก นักวิเคราะห์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ฯลฯ
60 % กลุ่มบัณฑิต และผู้ที่กำ�ลังจะจบ การศึกษาในระดับปริญญาตรี-โท จากในประเทศและต่างประเทศ 8 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
TALENT ACQUISITION : 2015 Recruitment Summary
ฝ่ายสรรหาผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง บทสรุปการสรรหาผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 2
64 ผู้ผ่านการคัดเลือกและตอบรับเข้าร่วมโครงการ 15 มหาวิทยาลัยในประเทศ
จาก
(เกษตร, จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล และศิลปากร)
จำ�นวนผู้เข้าร่วมแบ่งตามมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษา
มหาวิทยาลัยอื่นๆ ในไทยและต่างประเทศ
(University of Edinburgh, Glasgow School of Art, Grinnell College, University of South Carolina, Stanford University)
ประกอบไปด้วยบัณฑิตจบใหม่ จนไปถึงผู้มีประสบการณ์ทำ�งานจากสาขาวิชาชีพที่หลากหลาย จาก 25 คณะ แบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชาที่มีผู้ผ่านการคัดเลือกมากที่สุด ได้แก่
จุฬาฯ
มศว.
ธรรมศาสตร์
ศิลปากร
เกษตรฯ
5
และจาก มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ
มหิดล
วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สังคมศึกษา พาณิชยศาสตร์ และเทคโนโลยี มานุษยวิทยา บัญชี และ บริหารธุรกิจ
ความท้าทายของการก้าวเข้าสู่การทำ�งานในปีที่ 3
ศิลปศาสตร์ ภาษาศาสตร์
• การกลับมาทำ�ความเข้าใจกับมุมมองของนิสิตนักศึกษาและวัยทำ�งานซึ่งเป็นกลุ่มผู้สมัครหลักของเราว่ามี การรับรู้อย่างไรต่อองค์กรและโครงการตลอดระยะเวลาสองปีที่ผ่านมาเพื่อเป็นแนวทางในการสื่อสารที่ ตรงกับความสนใจของพวกเขามากขึ้น • การปรับปรุงกระบวนการคัดเลือกให้มีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการรองรับผู้สมัครจำ�นวนมาก • การขยายฐานการประชาสัมพันธ์ออกไปยังมหาวิทยาลัยต่างๆ เพิม่ เติมทัง้ ในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
รัฐศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ นิติศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และสาธารณสุข
อื่นๆ
นิเทศศาสตร์
INSIGHT PROGRAM 2015
ทางฝ่ายสรรหาผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงได้ริเริ่มสร้าง ความเป็นที่รู้จักของโครงการและองค์กรให้แก่นิสิต นักศึกษา ก่อนจะเข้าสู่ปีสุดท้ายของการเรียนผ่าน โครงการฝึกงานระยะสั้น 1 สัปดาห์ ที่ให้ผู้เข้าร่วมได้ ลงไปสัมผัสปัญหาของระบบการศึกษาและตระหนักถึง การมีส่วนร่วมลดความเหลื่อมล้ำ�ทางการศึกษา
ฝ่ายสรรหาผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงขอขอบพระคุณองค์กรเครือข่าย ทั้งในภาคธุรกิจและสถาบันศึกษาต่างๆ ผู้บริจาค ผู้บริหารองค์กรต่างๆ คณาจารย์ สื่อสารมวลชน และ ผู้สนับสนุนทุกท่ายที่ได้ช่วยเหลือในการประชาสัมพันธ์และผลักดันให้คนรุ่นใหม่ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเข้ามาเป็นฟันเฟืองหนึ่งในการลดความเหลื่อมล้ำ�ทางการศึกษา กับทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และเราหวังว่าเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนอย่างอบอุ่นเช่นนี้จากทุกท่านในรอบการรับสมัครที่กำ�ลังจะมาถึง
9 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
STORIES FROM TEDxBangkok
เรื่องราวบันดาลใจ จากเวที TEDxBangkok
บนเวที TEDxBangkok ที่ผ่านมา นอกจากการได้รับฟังเรื่องชวนจุดประกายความ คิดจากคุณจอย ณัฐรดา เลขะธนชลท์ หัวหน้าฝ่ายอบรมและพัฒนา (Training and Support) และฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ (External Relations) กับเรื่องราว นักเรียนบันดาลใจและจากสปีกเกอร์ท่านอื่นๆ แล้ว ส่วนหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ การได้เห็นการประกายที่เกิดขึ้นจากผู้ฟังที่มีโอกาสได้เข้าร่วมงาน อันประกอบด้วย ตัวแทนจากครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 ตัวแทนนักเรียนและครูจากโรงเรียน เพี้ยนพินอนุสรณ์ ที่ต่างได้รับเรื่องราวดีๆ มาจุดประกายความคิดของตนเอง ในการทำ�งานภาคการศึกษาต่อไป
ผมอยากเป็นนักประดิษฐ์ครับ ด.ช. ประวิทย์ เตชะคำ� (บอส) | ตัวแทนนักเรียนจากโรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ กับแรงบันดาลใจที่ได้รับเรื่องหุ่นยนต์และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Q : รู้จัก TEDxBangkok มาก่อนไหม วันที่ไปรู้สึกอย่างไร A : ไม่รู้จักมาก่อนครับ เช้าวันที่ไปฝนตก ผมเลยนั่งรอครูพาไป ไปถึงก็ตื่นเต้นครับ ไม่ได้คิดไว้ว่าในงานมีอะไรบ้าง แต่ผมได้กินปลาดิบด้วย ไม่เคยกินมาก่อน ชอบ กินมากครับ Q : ชอบใครใน TEDxBangkok ที่สุด เพราะอะไร A : ชอบพี่ช้าง มหิศร ว่องผาติ ที่สุด ชอบที่พี่เขาพูดถึงหุ่นยนต์ตัวแรก ตอนฟัง แล้วรู้สึกถึงความเป็นอนาคตดีครับ เกี่ยวกับเทคโนโลยี พี่ช้างเขาเคยชนะการ แข่งขันหุ่นยนต์เตะบอล แล้วผมอยากชนะบ้าง (หัวเราะ) วันต่อมาครูยีราฟ (ครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่น 1) ก็มาหา เลยได้คุยกันว่าผมอยากทำ�หุ่นยนต์ เพราะอยากเป็นวิศวกรอยู่แล้วครับ แล้วครูยีราฟก็พาผมไปหาหุ่นยนต์ที่จะเอา มาทำ�ด้วยกัน Q : ถ้าไม่ได้ไป TEDx จะมีความฝันความคิดแบบวันนี้ไหม A : คงไม่มีครับ วันที่ไป ได้เห็นพี่ช้างก็รู้สึกมีแรงใจ อยากเป็นวิศวกรไฟฟ้า หรือ เป็นโปรแกรมเมอร์อย่างพี่เขามากขึ้นครับ ได้ความคิดอยากสร้างสิ่งต่างๆ เป็นของตัวเอง เช่น คอนแทคเลนส์ อยากเปลี่ยนให้เป็นเหมือนโทรศัพท์ ให้ มันโทรออกได้ โดยใช้ความคิดสั่ง ให้สั่งได้ทั้งสองด้านเลยครับ แล้วพวก กระจกรถยนต์ ผมอยากให้มันเชื่อมต่อกับโทรศัพท์ได้ เผื่อเราหลงทางจะได้ ให้มันเป็นจีพีเอสที่จะขึ้นแผนที่มาบนหน้ากระจกที่เราขับเลย แต่ตอนนี้เริ่ม อะไรจากเล็กๆน้อยๆ ก่อน เช่น ราสเบอรี่พาย
Q : ราสเบอรี่พายคืออะไร ช่วยอธิบายให้ฟังเพิ่มเติมได้ไหม A : มันคล้ายๆ คอมพิวเตอร์ แต่มีซีพียูที่เล็กมาก นำ�ไปต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้ สั่ง ให้เกิดเสียง เกิดไฟได้นิดหน่อย ต้องใช้ทักษะการเขียนโปรแกรม Q : ใครสอนให้เราทำ�เป็น ทำ�ยากไหม A : ครูยีราฟสอนครับ ทำ�ไม่ยากเลย แค่ดาวน์โหลดจากเว็บมาแล้วโหลดใส่ SD Card จากนั้นก็ไปเสียบกับตัวราสเบอรี่พาย แต่ตอนนี้ยังไม่ได้เขียนอะไรมาก เลยครับ ต้องศึกษาก่อน ครูยีราฟก็แนะนำ�ให้ไปดูตามอินเตอร์เน็ต บางทีก็เป็น ภาษาอังกฤษ คำ�ไหนที่ไม่เข้าใจผมก็ใช้กูเกิ้ลแปล (หัวเราะ) Q : ที่บ้านเห็นน้องบอสทำ�แบบนี้ได้ ที่บ้านว่ายังไงบ้าง? A : ก็ไม่ได้ว่าอะไร (หัวเราะ) แต่ต้องแย่งโทรทัศน์ เพื่อต่อเข้าให้ภาพออกมา เขาก็จะ งงๆ ว่าทำ�อะไร บอสก็บอกแค่ว่า ขอทำ�งานแป๊ปนึง (หัวเราะ) Q : เมื่อก่อนปกติทำ�อะไร? ตอนนี้เปลี่ยนไปไหม? A : เมื่อก่อนเล่นเกมส์ แต่ตอนนี้ก็แบ่งเวลามาศึกษาข้อมูล ปกติจะทำ�ตอนเย็นๆ เสาร์-อาทิตย์ ไม่ได้มีเวลากำ�หนดว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ ผมก็ศึกษาไปเรื่อยๆ ครับ Q : ถ้าสมมติว่าเพื่อนคนอื่นในโรงเรียนที่ไม่ได้ไปร่วมงาน TEDx แต่อยากเป็น วิศวกรแบบบอสอยากบอกอะไรถึงเพื่อน A : มาช่วยผมหน่อย (ยิ้ม) 10 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
STORIES FROM TEDxBangkok
เรื่องราวบันดาลใจ จากเวที TEDxBangkok
เด็กคือผ้าขาว สุมามาส จันทร์เรียง | ครูวิชาสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ และแนะแนว โรงเรียนเพี้ยนพินอนุสรณ์ กับความประทับใจ และไอเดียที่จะนำ�มาต่อยอดใช้ในห้องเรียนของเธอเอง Q : รู้จัก TEDxBangkok มาก่อนไหม คิดว่าจะได้อะไรจากงานนี้ A : เคยได้ยินมาก่อนค่ะ แต่ไม่ได้ให้ความสนใจอะไร ในการไปงานครั้งนี้จริงๆ เราไม่ได้คาดหวังอะไร แต่อยากให้เด็กๆ ที่มีโอกาสได้ไป ได้รับจากงานนี้มากกว่า และน่าจะสร้างแรงกระเพื่อมให้เราได้บ้าง เพราะเราเพิ่งประสบอุบัติเหตุมา Q : ชอบใครในงานบ้าง A : ชอบคุณจอย ณัฐรดา เลขะธนชลท์, ดร.พงศกร สายเพ็ชร์ ที่สอนวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนอนุบาล และคุณศุภกร โนจา ที่ช่วยเหลือเด็กเรื่องค้ามนุษย์ Q : จากสิ่งที่ได้รับมา นำ�มาต่อยอดไอเดียของตัวเองอย่างไรได้บ้าง A : ในงาน TEDx คือการให้คนออกมาพูดต่อสาธารณะ เราอยากนำ�มาใช้ใน ห้องเรียนบ้าง ให้เด็กได้ลองออกมาพูดในสิ่งที่ประทับใจ, เครียด หรือเรื่อง ที่เขาไม่เคยบอกใคร เพราะสำ�หรับบางคน อาจมีเรื่องเครียดที่ไม่อยากบอก ใคร เลยอยากให้เขาเขียนระบายแล้วเราขออ่านตรวจสอบก่อน เรื่องไหน ที่เป็นเรื่องดีๆ เราก็จะให้เขาออกมาพูด เรื่องไหนที่ไม่ดี เราก็จะเก็บไว้ เรา บอกเขาเลยว่า เขียนมาเถอะ เขียนมาเลย มีเรื่องไหนที่อยากพูด อยาก ระบาย เขียนมาเลย ไม่ต้องกลัว ถ้าเรื่องไม่ดีเราก็จะเหยียบไว้ ถ้าเรามีเวลา มากพอ เราก็จะลองเข้าไปคุย อย่างมีเหตุการณ์ขโมยโทรศัพท์กันในชั้น เรียน เราก็พาเขาไปที่ศูนย์เยาวชน เพื่อให้เขาเห็นถึงตัวอย่างของการทำ� ไม่ดี เพื่อไม่ให้เขาทำ�อีก Q : ถ้ามีโอกาสได้ขึ้นไปพูดบนเวที TEDx สิ่งที่อยากถ่ายทอดคืออะไร A : อยากให้มองเห็นเด็กเป็นผ้าขาว เราจะพับเขายังไงก็อยู่ที่เรา ถ้าเราพับเขา ดูแลเขาดีๆ ก็สวยได้ เขาจะขาวอยู่ตลอดหรือเปล่าก็ขึ้นอยู่กับตัวเรา Q : คุณครูรู้สึกยังไงที่บอส (ด.ช. ประวิทย์ เตชะคำ�) กลับมาแล้ว มีความคิดอยากทำ�หุ่นยนต์ และเขียนโปรแกรมจากการไปงานนี้ A : เราดีใจ เพราะปกติเขาเป็นคนพูดน้อย ค่อนข้างขี้อาย ดีใจที่มีสิ่งมาจุดประกายความคิดให้แก่เขา เพราะเด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยกล้าคิด หรือบางคนคิดก็ไม่กล้าพูดออกมา พอไปงานนี้แล้วเขากล้า แสดงออกถึงแรงบันดาลใจในการทำ�หุ่นยนต์ออกมา เราก็ดีใจ Q : อยากมีกิจกรรมอะไรเพิ่มเติมในโรงเรียน A : อยากพานักเรียนไปศึกษาอาชีพในสิ่งที่เขาอยากเป็น ไปลองเรียนรู้ว่าเป็นอย่างไร คล้ายๆ กับ กบนอกกะลาอะไรทำ�นองนั้น ถ้ามีโครงการแรกที่คิดก็อยากพาเขาไปบ้านเมตตา อยากให้เขาได้ ดูว่าถ้าเขาทำ�ผิดจะเกิดอะไรขึ้นกับชีวิตบ้าง โรงเรียนทุกวันนี้ก็ยังมีเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ยังมีความรุนแรงอยู่เลย อยากพาเขาไปดูว่าชีวิตในนั้นเป็นอย่างไร ถ้าได้พาเขาไปก็อยากถามเขา สั้นๆ ตรงๆ ว่า “อยากอยู่ไหม?” ถ้าไม่อยากอยู่ก็ให้ทำ�ตัวดีๆ ถ้าอยากอยู่ก็บอกมา ครูพาไปเอง เลยก็ได้ (หัวเราะ) Q : คิดว่าทำ�ไมเด็กถึงกล้าพูดคุยและไว้ใจเรา A : เราคงเป็นคนไม่ดุมั้งคะ มันเลยเป็นธรรมชาติของคนไม่ดุที่เด็กๆ จะชอบ แต่ถ้าเราจะดุ ก็เพราะ เขาทำ�ผิดมากกว่า แต่เขาก็ไม่เคยแสดงอาการไม่พอใจอะไร เราบอกเขาเสมอว่ามีอะไรก็พูดกับ เราได้เลย เหมือนล่าสุดมีเด็กมาบ่นว่าโดนยึดริสแบนด์ ราคามันแพง เราก็เลยบอกว่า แพงก็เก็บ ไว้ใส่ที่บ้านแค่นั้นเอง เราใช้คำ�พูดง่ายๆ สอนเขา 11 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
STORIES FROM TEDxBangkok
เรื่องราวบันดาลใจ จากเวที TEDxBangkok
ทางเลือกที่ถูกแล้ว บุญศิริ จุติดำ�รงค์พันธ์ (ใหม่) | ครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงรุ่นที่ 1 สอนวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนวัดปากบ่อ ความประทับใจ และแง่คิดใหม่ๆ สำ�หรับการจัดการเรียนการสอน Q : จากเวที TEDxBangkok อยากให้พูดถึงหัวข้อที่ยังจำ�และยังประทับใจถึงตอนนี้ A : TEDx ที่เราประทับใจที่สุดคือ ครูรินและพี่จอยนะคะ ครูรินคือดีไซเนอร์ที่ฟังเสียง หัวใจตัวเอง เป็นคนที่คิดแล้วทำ�เลย เขามักจะตั้งคำ�ถามว่า "เราอยากทำ�อะไรก่อน" มันเป็นคำ�ถามที่ทำ�ให้เราคิดว่า must do or should do ทำ�ให้เรารู้สึกว่าอยากทำ� อะไรก็ให้ลงมือทำ�เลย แล้วก็พูดถึงการเกษียณการทำ�งาน ว่าเราควรทำ�งานสัก 5 ปีแล้วพักสัก 1 ปีไหมให้หัวใจได้พักผ่อน พี่จอยพูดในสิ่งที่ทำ�ให้เราเห็นตัวเองว่าเราก็คิดแบบนั้น เช่น ตอนที่เราไปเห็น เด็กๆ แล้วกลัว กลัวว่าจะเปลี่ยนเด็กเขาไม่ได้ แต่เอาจริงๆ แล้วเราคิดว่าเปลี่ยน เด็กได้สักหนึ่งคนก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำ�อะไรเลย เหมือนในห้อง เรารู้สึกว่าเรากำ�ลัง สร้างอะไรอยู่หรือเปล่า จริงๆ แล้วถ้าเราสามารถสร้างเด็กคนหนึ่งได้แค่นี้ก็เพียง พอแล้ว ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นแล้ว มีตอนที่ครูจอยเล่าเรื่องของหลง เขาพูด ว่าแม้การศึกษาจะพาพ่อแม่หลงกลับมาไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็ทำ�ให้หลงสามารถ สร้างครอบครัวในฝันของหลงเองได้ในอนาคต พอฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นความสุขของ เรา ในวันนั้นร้องไห้เลย ทำ�ให้เราเห็นว่าทางที่เลือกเดินมามันถูกแล้ว มันคือสิ่งที่เรา รักและอยากทำ� Q : ถ้ามีโอกาสได้ขึ้นไปพูดบนเวที TEDxBangkok บ้าง อะไรคือสิ่งที่อยากถ่ายทอด A : อยากพูดเรื่องความมั่นใจ เพราะเราเป็นคนที่มีปัญหาเรื่องความมั่นใจ และคิดว่า คนไทยไม่น้อยก็ยังมีปัญหาเรื่องนี้ บางครั้งเราต้องพยายามสร้างความมั่นใจขึ้นมา เอง ซึ่งมันก็ยาก เหมือนการที่เราเป็นครู ในวันที่มีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นเราก็มั่นใจ แต่วัน ไหนที่มันแย่ เช่น วันนี้เป็น fail day เด็กป่วย เราก็เสียความมั่นใจและไม่รู้จะดึงมัน กลับมาได้อย่างไร แต่ก็ต้องพยายามหาวิธีดึงความมั่นใจส่วนนี้กลับมา พยายาม หาจุดที่พอดีว่าคำ�ว่าพอดีในเวลานี้คืออะไร Q : ได้อะไรบ้างจาก TEDx ครั้งนี้ A : คือเดิมทีเราเป็นคนชอบฟัง talk อยู่แล้ว เราชอบสังเกตการพูดคุยของคน การ ได้เข้าร่วมงานนี้ดีมาก ทำ�ให้เรารู้ว่า แต่ละคนมีวิธีนำ�เสนอข้อมูลให้น่าสนใจได้ อย่างไร อย่างคุณหมู ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ พูดเรื่อง Start-up ที่ตอนแรกเรา เห็นแล้วรู้สึกว่าต้องพูดไม่รู้เรื่องแน่ๆ แต่กลายเป็นว่าเขาพูดได้ดีมาก ทำ�ให้เราได้ เข้าใจเรื่องธุรกิจเอสเอ็มอีและวงการสตาร์ทอัพได้กระจ่างมาก ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ใช้น้ำ� เสียงที่หวือหวาอะไร แต่เขาสามารถจับคนฟังอยู่หมัด เราเลยได้เรียนรู้ว่ามันมีวิธี การนำ�เสนอที่หลากหลาย คุณพล หุยประเสริฐ ที่เป็นคนจัดคอนเสิร์ต ซึ่งทำ�ให้เราได้ตัวอย่างรูปแบบ ความบันเทิงที่เราสามารถนำ�ไปใช้ในห้องเรียนได้ด้วย คือ เขาบอกว่าเพลงมัน "ขายพร้อมทัศนคติ" ซึ่งมันต้องมีมวลอารมณ์ที่ต้องเรียบเรียงให้ดี เพราะมันเป็น ประสบการณ์ของคน การไปฟังคอนเสิร์ตตอนแรกเราอาจให้เขารู้สึกสนุกก่อน แล้วพาไปเศร้า ต่อด้วยการทำ�เหมือนจะจบแล้วแต่มีเซอร์ไพรส์ หรือมีแขกรับเชิญ ออกมาอะไรทำ�นองนี้ เขาบอกว่าเราควรมีนักออกแบบในทุกๆ โครงการ เพราะ มันเป็นเรื่องของความสร้างสรรค์ที่ว่าคนดูจนจบแล้วมวลอารมณ์เราคืออะไร เช่น การกลับไปบ้านแล้วคนยังร้องเพลงต่อตอนอาบน้ำ�ได้ ยังมีความสุขกลับไป ซึ่ง มันเป็นสิ่งที่ประสบความสำ�เร็จ เช่นเดียวกับการเรียนรู้ในห้องเรียน ถ้าครูเปิดมา พีคมาก แต่จบด้วยอะไรที่จืดมาก ก็ไม่ได้ ทำ�ให้เราคิดว่าเราควรให้เล่นเกมส์ตรง ไหน จัดการเรียงลำ�ดับการสอนได้อย่างไร คือทำ�ให้เราได้มุมมองใหม่ๆ ในการสอน นอกจากการวิธีการนำ�เสนอแบบเดิม 12 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
FINANCE งบรายจ่าย - ไตรมาสที่ 1–2/25581
หน่วย : บาท
2558
ระหว่างวันที่ 1 มกราคม – 30 มิถุนายน 2558 H1
Q2
Q1
1,979,439.55 2,286,891.07 849,730.26 4,435,487.00
926,898.82 1,369,108.34 429,115.10 2,440,515.00
1,052,540.73 917,782.73 420,615.16 1,994,972.00
เงินเดือนครูในโครงการ2
2,853,250.00
1,413,250.00
1,440,000.00
เงินสำ�รองจ่ายล่วงหน้า3
994,750.00
780,000.00
214,750.00
เงินช่วยเหลือพิเศษ
587,487.00
247,265.00
340,222.00
9,551,547.89
5,165,637.25
4,385,910.63
887,984.43 560,058.97 1,448,043.40
312,999.07 311,333.25 624,332.32
574,985.36 248,725.72 823,711.09
10,999,591.29
5,789,969.57
5,209,621.72
ค่าใช้จ่ายส่วนปฏิบัติการโครงการ ฝ่ายสรรหาผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง ฝ่ายอบรมและพัฒนา ฝ่ายประเมินและวิจยั ผลสัมฤทธิ์ ส่วนครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง
รวมรายจ่ายส่วนปฏิบัติการโครงการ ค่าใช้จ่ายส่วนสนับสนุน ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ฝ่ายบริหารจัดการ
รวมรายจ่ายส่วนสนับสนุน รวมรายจ่ายทั้งหมด 1
งบรายจ่ายโดยประเมินนี้จัดทำ�ขึ้นโดยมูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ และอาจมีการเปลี่ยนแปลง รวมเงินที่จ่ายโดยตรงจากภาครัฐและจากมูลนิธิ ซึ่งได้มีการแยกประเภทของค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น จากเดิมที่บางส่วน รวมอยู่ในเงินช่วยเหลือพิเศษ โดยครูผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงแต่ละท่านจะได้รับเงินเดือนอย่างต่ำ� 15,000 บาทต่อเดือน 3 เงินสำ�รองจ่ายล่วงหน้า คือ เงินที่จ่ายให้กับครูในโครงการผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง ในระหว่างรอการดำ�เนินงาน 2
ประสิทธิภาพการใช้จ่ายขององค์กร Organizational Efficiency H1
Q2
Q1
11%
13 %
16 %
รายจ่ายส่วน สนับสนุน (Support)
รายจ่ายส่วน สนับสนุน (Support)
87 %
รายจ่ายส่วน สนับสนุน (Support)
89 %
รายจ่ายส่วนปฏิบัติการโครงการ (Program)
84 %
รายจ่ายส่วนปฏิบัติการโครงการ (Program)
รายจ่ายส่วนปฏิบัติการโครงการ (Program)
13 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015
STEP OUT OF YOUR COMFORT ZONE ? THANK YOU มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ขอแสดงความขอบคุณเป็นอย่างยิ่งสำ�หรับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลที่ให้การ สนับสนุนด้านต่างๆ ในการผลักดันการดำ�เนินงานของมูลนิธิ ทั้งจากทางเบื้องหน้าและเบื้องหลัง
ผู้ให้การสนับสนุน ภาครัฐ • คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
• องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
ภาคเอกชนและบุคคล • ธนาคารกสิกรไทย • คุณปิแอร์ บรีเบอร์ • ธนาคารไทยพาณิชย์ • กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ • บริษัท ปตท.สำ�รวจและผลิตปิโตรเลียม จำ�กัด (มหาชน) • คุณภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ไซม่อน • มูลนิธิยุวสถิรคุณ ผู้ ให้การสนับสนุนด้านอื่นๆ • บริษัทปิโก (ไทยแลนด์) จำ�กัด มหาชน • โรงแรมมณีจันท์รีสอร์ท
• บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จํากัด • มูลนิธิสยามกัมมาจล
• คุณร็อบ โรเซ็นสไตน์ • ทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ • คุณสุภกิต - มาริสา เจียรวนนท์ • มูลนิธิเอสซีจี • หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
Teach For Thailand Foundation 10 Soi Lasalle 56, Sukhumvit Rd., Bangna, Bangkok 10260 Thailand มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ เลขที่ 10 ซอยลาซาล 56 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260 www.teachforthailand.org | E-mail: info@teachforthailand.org | Facebook: TeachForThailand 14 | Teach for Thailand | Quarterly Report Q2/2015