ต้นกำเนิดของเรื่องเล่าเหล่านี้ย้อนไปถึงยุค โบราณและยุคกลางทั้งอาหรับ เปอร์เซีย เมโสโปเต เมีย อินเดีย ยิว และวรรณคดีของอียิปต์ โดยนิทาน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวพื้นบ้านเดิมในยุคสมัยของกา หลิบราชวงศ์อับบาซิด (Abbasid) ขณะที่ส่วนที่ เหลือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องโครงร่างมีความ เป็นไปได้มากว่าจะหยิบยกมาจากงานเขียน เปอร์เซียโบราณที่ชื่อ “เฮซอร์ด อัฟซอน” ทั้งนี้ นิทานซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรื่อง “ตะเกียงวิเศษของละดิน” “อาลีบา บากับสี่สิบโจร” “การผจญภัยทั้งเจ็ดครั้งของ กะลาสีซินแบด” ในต้นฉบับภาษาอาหรับไม่ได้เป็น ส่วนหนึ่งของนิทานพันหนึ่งราตรีนี้ แต่ถูกเพิ่มเติม ลงไปในฉบับแปลของ แอนโทนี่ กัลแลนด์ (Antoine Galland) และนักแปลคนอื่นๆ ของ ยุโรป นิทาน “พันหนึ่งราตรี” เป็นเรื่องราวของ พระราชา “ชาห์เรยาร์ด” (Shahryār ในภาษา เปอร์เซียแปลว่าพระราชาหรือผู้ปกครอง) และ มเหสีของตนที่ชื่อ “ชาห์เรซาด” (Scheherazade) โดยโครงเรื่องเป็นนิทานซ้อนนิทาน และมีเรื่องใหม่ ต่อเนื่องเมื่อเรื่องเดิมจบลง พระราชา ที่ผู้เล่าเรื่องเรียกว่า “กษัตริย์ แซซซาเนียน” (Sasanian king) แห่งอาณาจักร แซสซานิด (Sassanid Empire) ซึ่งปกครองอินเดีย และจีน รู้สึกตะหนกตกใจเมื่อรู้ว่าภรรยาของพี่ชาย ตนไม่ซื่อสัตย์ และการค้นพบว่าภรรยาของตนก็ นอกใจจึงยิ่งตอกย้ำเขาเข้าไปอีก เขาได้ฆ่านาง
ท่ามกลางความขมขื่นและโศกเศร้านี้เขาได้ตัดสิน ว่าสตรีทุกคนนั้นเป็นเหมือนๆ กัน จากนั้น พระราชา “ชาห์เรยาร์ด” ได้เริ่ม แต่งงานกับหญิงพรหมจารีแล้วก็สั่งประหารเจ้าสาว ของตนในวันรุ่งขึ้นก่อนที่พวกนางจะมีโอกาส ทำลายชื่อเสียงของพระราชา เป็นเช่นนี้คนแล้วคน เล่า จนในที่สุดขุนนางผู้ใหญ่ในราชอาณาจักรซึ่งมี หน้าที่รับผิดชอบไม่สามารถจัดหาสตรีพรหมจารีมา ให้พระราชาได้อีก ด้วยเหตุนี้ “ชาห์เรซาด” (Scheherazade) บุตรีของขุนนางผู้ใหญ่จึงเสนอ ตัวเองเป็นเจ้าสาวของพระราชาแม้ผู้เป็นพ่อจะไม่ เห็นด้วย ในคืนแต่งงาน “ชาห์เรซาด” ได้เริ่มต้น เล่านิทานให้พระราชาฟัง แต่นางได้หยุดที่จะเล่า ตอนจบไว้ พระราชาที่อยากจะรู้ว่าตอนจบของ นิทานเป็นเช่นไรจึงสั่งเลื่อนการประหารนางออกไป คืนถัดมานางก็เล่าตอนจบแล้วก็เริ่มต้นเล่าเรื่องใหม่ โดยหยุดตอนจบไว้อีก พระราชาที่อยากรู้ตอนจบ ของนิทานเรื่องใหม่ก็สั่งเลื่อนการประหารนาง ออกไปอีกครั้ง เรื่องดำเนินไปเช่นนี้จนกระทั่งเป็น เวลา 1,001 คืน
บริษัท E-Commerce ยักษ์ใหญ่อย่าง อาลีบาบาที่ก่อตั้งโดยแจ็ค หม่า ที่เป็นชาวจีนแต่ ชื่อของบริษัทนั้นกลับเป็นชื่อที่ไปเหมือนกับนิทาน ในพันหนึ่งราตรีอย่างเรื่องอาลีบาบากับจอมโจร 40 คน โดยทีม่ าของชื่ออาลีบาบาที่แจ็ค หม่า ได้ กล่าวไว้มีดังนี้ “วันหนึ่ง ตอนนั้นผมอยู่ในร้านกาแฟที่ ซานฟรานซิสโก แล้วผมก็นึกขึ้นมาได้ว่า อาลีบาบา ก็เป็นชื่อที่ดีนะ เมื่อพนักงานเสิร์ฟเดินผ่านมา ผมก็ เลยถามว่าคุณรู้จักอาลีบาบารึเปล่า? แล้วเธอก็ บอกว่า ใช่สิ ผมเลยถามต่อว่าคุณรู้อะไรเกี่ยวกับ อาลีบาบาบ้าง? เธอตอบว่า ‘ฝักงาจงเปิดออก’ (Open Sesame) ผมเลยคิดว่านี่แหละชื่อที่ใช่! จากนั้นผมก็ออกจากร้านเดินไปตามถนนถามคน 30 คนว่า ‘คุณรู้จักอาลี บาบามั้ย?’ คนจากอินเดีย เยอรมนี โตเกียว หรือจีน…พวกเขาต่างรู้จักอาลีบา บา อาลีบาบา ฝักงาจงเปิดออก อาลีบาบา กับ 40 โจร อาลีบาบาไม่ใช่โจร อาลีบาบาคือนักธุรกิจที่ใจ ดีและฉลาด เขาช่วยเหลือชาวบ้าน มันยังสะกดง่าย คนทั่วโลกรู้จัก อาลีบาบาเปิดฝักงาให้กับบริษัท ขนาดกลางและขนาดเล็ก เรายังจดทะเบียนชื่อ อาลีมามา (Alimama) เผื่อไว้ว่าใครอยากจะร่วม หอลงโรงกับเรา”
ถึงแม้พันหนึ่งราตรีจะเป็นนิทานอาหรับ แต่โบราณ ถึงอย่างไร ในปี 1712 นักวิชาการชาว ฝรั่งเศส Antoine Galland ได้แปลนิทานเรื่อง อาหรับราตรีจากภาษาอาหรับเป็นภาษาฝรั่งเศส และเขาได้เพิ่มนิทานเรื่องใหม่ๆ ที่ชาวซีเรียคนหนึ่ง นามว่า Hanna Diyab จากเมืองอะแลปโป เป็นผู้ เล่าให้เขาฟัง โดย “อะลาดินกับตะเกียงวิเศษ” เป็น หนึ่งในนิทานเรื่องใหม่นี้ อะลาดินเป็นเด็กหนุ่มในกรุงจีน วันหนึ่ง พ่อมดแห่งแคว้นมักเริบ (Maghreb) ในแอฟริกา ปลอมตัวเป็นพ่อค้าภูมิฐานมายังบ้านของอะลาดิน อ้างว่า เป็นน้องชายหรือพี่ชายของช่างเสื้อมุสตาฟา (Mustapha) บิดาผู้ล่วงลับแล้วของอะลาดิน แล้ว ขอให้อะลาดินไปเอาตะเกียงน้ำมันดวงหนึ่งซึ่งอยู่ ในถ้ำกล (booby-trapped cave) มาให้ เมื่ออะลา ดินเข้าไปในถ้ำแล้วก็ติดอยู่ในนั้น ไม่รู้จะทำเช่นไร ก็ ลูบมือตนเองอยู่ พลันยักษ์ซึ่งสิงอยู่ในแหวนที่พ่อ มดมอบให้ใส่นั้นก็ผุดออกมาและเสนอตัวเป็นข้ารับ ใช้ อะลาดินจึงให้ยักษ์พาเขาและตะเกียงออกจาก ถ้ำกลับไปยังเมืองชี่ตัน ต่อมาเมือ่ มารดาของอะลาดินเช็ดถูตะเกียงที่ บุตรชายนำกลับมาด้วยนั้น ยักษ์อีกตนหนึ่งซึ่งสิงสู่ อยู่ในตะเกียงและมีพลังอำนาจเหนือกว่ายักษ์ตน แรกก็ปรากฏโฉมและเสนอตัวเป็นข้าช่วงใช้เช่นกัน ด้วยความช่วยเหลือของยักษ์ตนนั้น อะลาดินก็มั่งมี บารมีและทรัพย์สินขึ้นมา เมื่อทราบว่า องค์หญิง บัดร์อุลบาดูร์ (Badroulbadour) ราชธิดาพระเจ้า กรุงจีน กำลังจะสมรสกับบุตรชายของเสนาบดี
(vizier) อะลาดินจึงให้ยักษ์ขัดขวางการสมรสนั้น และให้ตนได้สมรสกับองค์หญิงแทน ยักษ์ยังเนรมิต ปราสาทราชมนเทียรให้อะลาดินเสียใหญ่โตยิ่งกว่า ราชวังพระเจ้ากรุงจีน ฝ่ายพ่อมดแห่งแคว้นมักเริบ เมื่อทราบว่า อะลาดิน ออกจากถ้ำไปได้ ทั้งได้เป็นใหญ่เป็นโตเพราะฤทธิ์ ตะเกียง จึงกลับมายังกรุงจีน ปลอมตัวเป็นพ่อค้าเร่ รับแลกตะเกียงเก่าด้วยตะเกียงใหม่ องค์หญิงบัดร์ อุลบาดูร์เอาตะเกียงของอะลาดินไปแลกตะเกียง ใหม่มา พ่อมดจึงบัญชาให้ยักษ์ในตะเกียงนำ ปราสาทและทรัพย์สินทั้งหมดของอะลาดิน รวมถึง องค์หญิงผู้ชายา ไปยังแคว้นมักเริบ แต่พ่อมดลืมไป ว่า อะลาดินยังมีแหวนวิเศษที่ตนเคยให้ไว้อยู่ อะลาดินสั่งให้ยักษ์ในแหวนช่วยเหลือ แต่ยักษ์ แหวนไม่อาจสู้อำนาจยักษ์ตะเกียง ทำได้แต่เพียง นำพาอะลาดินไปยังแคว้นมักเริบ เมื่อไปถึงแคว้น นั้นแล้ว อะลาดินฆ่าพ่อมดตาย จึงได้กลับ ครอบครองตะเกียง และให้ยักษ์ในตะเกียงนำ ปราสาทราชสมบัติและคนรักของตนกลับคืนไป กรุงจีน น้องชายหรือพี่ชายของพ่อมดทราบว่า พ่อมดถูกฆ่า ตาย ก็แค้นใจ ปลอมตนเป็นหญิงชรามายังกรุงจีน อ้างว่า สามารถเยียวยารักษาโรคภัยทั้งปวงได้ องค์ หญิงบัดร์อุลบาดูร์จึงรับไว้เป็นนางข้าหลวง ยักษ์ ตะเกียงเตือนอะลาดินถึงภัยจากนางผู้แปลกปลอม นั้น อะลาดินจึงฆ่านางตาย ทุกคนก็อยู่อย่างสุข สันต์สืบมา ครั้นพระเจ้ากรุงจีนสิ้นพระชนม์แล้ว อะ ลาดิน ในฐานะราชบุตรเขย จึงได้ครองบัลลังก์ต่อ