Thai Railway

Page 1

TRAIN HISTORY Magazine ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับรถไฟ อยู่ในเล่มนี้


การรถไฟแห่งประเทศไทย ประวัติ

เนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสแผ่มาครอบคลุมบริเวณเหลมอินโด จีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำ�คัญของการคมนาคมโดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทาง เกวียนและแม่น้ำ�ลำ�คลองเป็นพื้นนั้นไม่เพียงพอแก่การบำ�รุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกล จากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อ กับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกราน และเป็นการเปิด ภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำ�เนินการสำ�รวจ เพื่อสร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสาย หนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำ�บลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำ�โขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำ�การสำ�รวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดย

เฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ จึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวง โยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมาเป็น สายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำ�เนินประกอบพระราชพิธีกระทำ�พระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ซึ่งปัจจุบัน การ รถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำ�ลึกเหตุการณ์สำ�คัญในอดีต และเพื่อ น้อมรำ�ลึกถึงพระกรุณาธิคุณ สำ�หรับกิจการรถไฟในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการรถไฟประสบภัยสงครามอย่างหนัก ทรัพย์สินทั้งทางอาคาร และรถจักรล้อ เลื่อน ได้รับความเสียหายมาก จำ�ต้องเริ่มบูรณะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว ถ้าจะอาศัยเงินลงทุนจาก งบประมาณของรัฐแหล่งเดียวจะไม่ทันการณ์ รัฐบาลจึงต้องขอกู้เงินจากธนาคารโลกมาสมทบ ในระหว่าง เจรจากู้เงินนั้น ธนาคารโลกได้เสนอให้รัฐปรับปรุงองค์กรของกรมรถไฟหลวงให้มีอิสระกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อ ให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารกิจการรถไฟในเชิงธุรกิจ ต่อมาในสมัยรัฐบาลที่มีจอมพลป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีการประกาศใช้


พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เลขที่ 40 หมวด ก ฉบับ พิเศษ ลงนามในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2494[3] และให้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน ดังนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทยจึงถูกจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจประเภท สาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม และให้มีการโอนกิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิ หน้าที่ต่างๆ รวม ไปถึงข้าราชการ ลูกจ้าง และสายงานทั้งหมดของกรมรถไฟหลวงไปอยู่ในการดำ�เนินงานของการรถไฟ แห่งประเทศไทยในช่วงเวลาต่อมา

เส้นทางเดินรถ

ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง กรุงเทพ - รังสิต ระยะทาง 31 กิโลเมตร และเป็นทางสามช่วง รังสิต - ชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 59 กิโลเมตร โดยมีเส้นทาง ดังนี้ ทางสายเหนือ ถึง สถานีรถไฟเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และ สถานีรถไฟ สวรรคโลก จังหวัด สุโขทัย ระยะทาง 751 กิโลเมตร ทางสายใต้ เริ่มต้นจากสถานีกรุงเทพ ถึง (สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก อำ�เภอสุไหงโกลก) จังหวัด นราธิวาส ระยะทาง 1,159 กิโลเมตร และสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา ระยะทาง 974 กิโลเมตร ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟของ ประเทศมาเลเซียไปถึงยังสถานี Woodland ประเทศสิงคโปร์ และ

สถานีรถไฟกันตัง อำ�เภอกันตัง จังหวัดตรัง ระยะทาง 850 กิโลเมตร และ สถานีรถไฟนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ระยะทาง 816 กิโลเมตร ทางสายตะวันออก ถึง จังหวัดสระแก้ว ( สถานีรถไฟอรัญประเทศ อำ�เภออรัญประเทศ ) ระยะทาง 255 กิโลเมตร และ จังหวัดระยอง ที่ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต สถานีรถไฟมาบตาพุด ระยะทาง 200 กิโลเมตร ทางสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง (สถานีรถไฟอุบลราชธานี อำ�เภอวารินชำ�ราบ) จังหวัด อุบลราชธานี ระยะทาง 575 กิโลเมตร และ จังหวัดหนองคาย และต่อจากหนองคายไปยัง สถานีรถไฟ ท่านาแล้ง (สปป.ลาว) ระยะทาง 627.5 กิโลเมตร ทางสายตะวันตก จาก สถานีธนบุรี ถึง ( อำ�เภอไทรโยค สถานีรถไฟน้ำ�ตก ) จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 194 กิโลเมตร และถึง สถานีรถไฟสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ระยะทาง 157 กิโลเมตร ทางสายแม่กลอง ช่วง สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ - สถานีรถไฟมหาชัย ระยะทาง 31 กิโลเมตร และช่วง สถานีรถไฟบ้านแหลม - สถานีรถไฟแม่กลอง ระยะทาง 34 กิโลเมตร และการรถไฟฯ ยังได้เปิดเดินเส้นทางรถไฟฟ้าจำ�นวน 1 เส้นทาง ระยะทาง 28.6 กิโลเมตร โดยให้ บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำ�กัด (SRT Electrified Train Co., Ltd. หรือ SRTET) ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ก่อตั้ง ขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจาก Deutsche Bahn AG ประเทศเยอรมนี เป็นผู้ดำ�เนินการในการเดินรถ โดย เส้นทางดังกล่าวคือ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนั้นยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า - สถานี รถไฟชุมทางบ้านภาชี - สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย - สถานีรถไฟศรีราชา - สถานีรถไฟแหลมฉบัง สถานีรถไฟชุมทางเขาชีจรรย์ - สถานีรถไฟมาบตาพุด และโครงการรถไฟฟ้าอีกสองเส้นทางคือ รถไฟฟ้า ชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ศาลายา - หัวหมาก) และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม (มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ รังสิต - มหาชัย) หรือเรียกรวมๆ ได้ว่า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง)


รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ-พญาไท-ดอนเมือง) (อังกฤษ : Suvarnabhumi Airport Rail Link, Airport Link) หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ หรือชื่อ โครงการอย่างเป็นทางการว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ สถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษที่เป็นส่วน หนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมือง โดยรัฐบาลได้นำ�โครงการนี้มาเป็น โครงการเร่งด่วนและแยกการก่อสร้างต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำ�เนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่ง ประเทศไทย (รฟท.) และเปิดดำ�เนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำ�กัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจใน กระทรวงคมนาคม อีกทั้งยังเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) ชุดเก่านั้นไม่ยินยอมที่จะให้เอกชนเข้ามาดำ�เนินการแทน

โดยเริ่มก่อสร้างโครงการเมื่อ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2007) และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นในหลาย ต่อหลายครั้ง ทั้งในเรื่องข้อสรุปของผู้ดำ�เนินการรถไฟฟ้า ความปลอดภัยโดยรวมของทั้งระบบ รวมไปถึง การที่ผู้รับเหมาไม่ยอมเซ็นต์โอนโครงการให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และความล่าช้าในการก่อ ตั้งบริษัทดำ�เนินการ จนในที่สุดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ก็เริ่มดำ�เนินการเปิดทดสอบแบบวงจำ�กัดครั้ง แรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งการทดสอบดังกล่าวผู้เข้าร่วมทดสอบจะไม่สามารถเข้าไปในเขต ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ จากนั้นก็ได้เปิดทดสอบแบบไม่จำ�กัดจำ�นวนอีกครั้งในวันที่ 5 ธันวาคม-7 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นการทดสอบของระบบการเดินรถอัตโนมัติอีกด้วย จากนั้นก็ได้ทดสอบระบบกับ สื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆ เรื่อยมาจนถึงช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งจะเป็นกำ�หนดการเปิดทดสอบการ เดินรถทั้งระบบอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดเหตุวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น

ทำ�ให้ต้องเลื่อนการทดสอบจริงออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งดำ�เนินการเปิดทดสอบฟรีใน ช่วงเช้าและเย็น จากนั้นก็ได้ทำ�การเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดย มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ดำ�รงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิด โดยรถไฟฟ้ า เชื่ อ มท่ า อากาศยานสุ ว รรณภู มิ เ ป็ น ระบบรถไฟฟ้ า ที่ มี ทั้ ง โครงสร้ า งใต้ ดิ น และยก ระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางจากชานเมืองด้านตะวันออกและทิศเหนือ และผู้โดยสารจากท่า อากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าสู่เขตใจกลางเมืองได้ เริ่มต้นจากภายในเขตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัด สมุทรปราการ จากนั้นวิ่งเลียบทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก แล้วเริ่ม เข้าสู่เขตเมืองที่ย่านรามคำ�แหง, รัชดาภิเษก, ศูนย์คมนาคมมักกะสัน, พญาไท แล้วเข้าสู่เขตพระราชฐาน ที่บริเวณสวรรคโลก, เข้าสู่ศูนย์คมนาคมบางซื่อ และวิ่งเลียบถนนวิภาวดี-รังสิต แล้วไปยังท่าอากาศยาน ดอนเมืองทางด้านเหนือ รวมระยะทางทั้งโครงการในปัจจุบัน 28.6 กิโลเมตร สำ�หรับยอดผู้ใช้บริการ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เต็มรูปแบบวันแรกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผู้โดยสารใช้บริการในระบบ

ซิตี้ไลน์ 26,149 คน จากเป้าที่ตั้งไว้ 15,000 คน ส่วนรถด่วนมีผู้ใช้บริการ 633 คน ทั้งนี้คาดว่าสิ้นปีนี้จะ มีผู้ใช้บริการประมาณ 5-7 หมื่นคน [2] ปัจจุบันเส้นทางสายสุวรรณภูมิมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินแบบคลองแห้ง และยกระดับ จากปลายทางด้านทิศตะวันตก (สถานีพญาไท) ไปยังศูนย์คมนาคมบางซื่อและท่าอากาศยาน ดอนเมือง และจากทางด้านทิศตะวันออก (สถานีลาดกระบัง) ไปยังเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี และเดินทางไปถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา และเมืองพัทยาได้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการออกแบบโครงการ ส่วนต่อขยายใหม่ทั้งหมด โดยจะเริ่มดำ�เนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายทางด้านทิศตะวันตกพร้อมๆ กับการ ก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อก่อน เนื่องจากอยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปีของรัฐบาล


สถานี ร ถไฟกรุ ง เทพ สำ � หรั บ ที่ ตั้ ง ของสถานี ก รุ ง เทพฯเดิ ม ซึ่ ง อยู่ บ ริ เ วณที่ พ ระบาทสมเด็ จ พระจุ ล จอมเกล้ า เจ้ า อยู่ หัวทรงประกอบพระราชพิธีเริ่มการก่อสร้าง และเปิดเดินรถไฟหลวงนั้น หลังจากได้ก่อสร้างสถานี กรุงเทพหลังปัจจุบันแล้วจึงรื้อถอนออกไป ต่อมาผู้ปฏิบัติงานรถไฟได้ร่วมกัน สละทรัพย์สร้างเป็น อนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2533 เพื่อเป็นการน้อมรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นอนุสรณ์สำ�คัญทางประวัติศาสตร์แก่อนุชนรุ่นหลัง สืบต่อไป สถานี ก รุ ง เทพฯมี แบบก่ อ สร้ า งเป็ น รู ป โดมสไตล์ อิ ต าเลี ย นผสมผสานกั บ ศิ ล ปะยุ ค เรอเนสซอง มีลักษณะคล้ายกับรถไฟเมืองแฟรงค์เฟิร์ตในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันอีกทั้งวัสดุในการ ก่อสร้างก็เป็นวัสดุสำ�เร็จรูปจากเยอรมันนี เช่นกันลวดลายต่างๆที่ประดับไว้เป็นศิลปะที่มีความวิจิตร สวยงามมาก บันไดและเสาอาคารบริเวณทางขึ้นที่ทำ�การกองโดยสาร หรือโรงแรมราชธานีเดิมเป็นหิน อ่อน โดยเฉพาะเพดานเป็นไม้สักสลักลายนูน ซึ่งหาดูได้ยากยิ่งนัก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.