มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

Page 1


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

มรดกทางผังเมือง แห่งศตวรรษที่ 19

โดย นายพงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา สถ.บ.(เกียรตินิยมอันดับ 2) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย M. Arch,MS (Town & Regional Planning) lowa State ผู้เชี่ยวชาญด้านการผังเมือง

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

คานา “The Public Health Movement” ขบวนการเพื่อสุขภาพและพลานามัย ของสาธารณชน the “Garden City Movement” ขบวนการเนรมิตเมืองอุทยาน และ the “City Beautiful Movement” ขบวนการเพื่อสุนทรียภาพของเมืองทั้งสาม ขบวนการนี้เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 อันเป็นผลจากความประสงค์ที่จะแก้ไขความ เลวร้ายความเป็นอยู่ที่น่าสังเวชของชนชั้นแรงงานในเมือง สืบเนื่องจากการพัฒนา เมืองและเศรษฐกิจในประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป แนวคิดของนักปรัชญาที่ได้ เห็นความสาคัญและความผูกพันของมนุษย์กับธรรมชาติแวดล้อม ความสง่างาม ของศิ ลปวั ฒ นธรรมของการสร้ า งผั ง เมื อ งในสมั ย กรี ก โรมั น ที่ สามารถน ามา ประยุกต์ให้เหมาะสมกับสมัย (Neo – Classic) ขบวนการทั้งสามนี้ ได้เป็นแนวคิดสาหรับการวางผังเมืองทางกายภาพให้ มี สภาพสง่ า งาม ถู ก สุ ข ลั ก ษณะอนามั ย และมี บ รรยากาศของธรรมชาติ เพื่ อ คุณภาพชีวิตที่ดีของตนในเมืองนั้นมีผลต่อการวางผังเมืองจนถึงกลางศตวรรษที่ 20 สาหรับการวางผังเมืองสมัยใหม่ในประเทศไทยได้รับแนวความคิดและเทคโนโลยี จากยุโรปและอเมริกา และขบวนการวางผั งเมือ งในประเทศไทยเป็นเพี ยงการ เริ่มต้น การวางผังเมืองทางกายภาพยังเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับยุคนี้ ดังนั้นทั้งสาม ขบวนการนี้จึงเป็น “มรดกอันล้าค่าทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19” ซึ่งจะสะท้อนให้ สามารถเห็ น ภาพของการพั ฒ นาเมื อ งในอดี ต ของยุ โ รปและอเมริ ก า และ วิวัฒนาการทางด้านความคิดในการวางผังเมืองอันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางผัง เมืองในประเทศไทยยุคนี้และยุคหน้า

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ลัทธิเกษตรกรรมและการพัฒนาเมือง แห่งศตวรรษที่ 19 ใน ค.ศ.1800 เป็นปีแรกของการเริ่มก่อตั้งเมือง Washington D.C. เป็น เมืองที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สร้างขึ้นใหม่ในพื้นที่ดินที่ว่างเปล่า เมือง Washington D.C. ได้วางผังโดย Piere Charles L’Enfant อาสาสมัครชาวฝรั่งเศส ซึ่ ง เป็ น ผู้ ห นึ่ ง ที่ เ ข้ า ร่ ว มท าการต่ อ สู้ ใ นสงครามปฏิ วั ติ อ เมริ ก า ในตอนต้ น คริ ส ต์ ศ ตวรรษที่ 19 ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก ามี ป ระชากรเพี ย ง 5 ล้ า นคน และ ประมาณ 6% อาศัยอยู่ในเมืองต่าง ๆ เมืองนิวยอร์คและเมืองฟิลาเดลเฟียเป็นเมือง ที่มีประชากรเกินกว่า 25,000 คน ในขณะนั้นประเทศสหรัฐอเมริกามีประชากรที่อยู่ ในเมื องต่ าง ๆ รวมทั้ งที่อ ยู่ในหมู่บ้ านเล็ก ๆ รวมทั้ง สิ้นประมาณ 300,000 คน เท่านั้น สาหรับประชากรอีกประมาณ 94% เป็นประชากรที่อยู่ในชนบทประกอบ อาชีพเกษตรกรรม

“Agrarianism” ลัทธิเกษตรนิยม ในด้ า นคริ ส ตศตวรรษที่ 19 นี้ สั ง คมของคน อเมริกันที่เห็นได้เด่นชัดคือสังคมชาวเกษตรกรรม โดยประชากรส่วนใหญ่ถึง 94% ของประเทศเป็น ชาวนาซึ่งเป็นกระดูกสันหลัง ของสั ง คมอเมริ กั น “Agrarianism” ลั ท ธิ เ กษตรนิ ย มเป็ น ปรัชญาของชาวอเมริกันในสมัยนั้นที่มีความเชื่อว่า “ชีวิตที่มี รากฐานจากการเกษตรกรรม เป็ น สิ่ ง ที่ มี ค่ า ในความเป็ น มนุษย์มากที่สุด” ปรัชญานี้จะมีความขัดแย้งกับปรัชญาการ J.Hector St.John de Crevecoeur

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ใช้ที่ดินหลักของสังคมเมือง นอกจากนี้ปรัชญาเกษตรนิยม ยังได้กล่ าวอี กว่า “มนุ ษย์ถ้ าปราศจากธรรมชาติจะมีแ ต่ ความพินาศ พระเจ้าเป็นผู้สร้างชนบท แต่มนุษย์เป็นผู้สร้าง เมือง” มนุษย์แต่ละคนจะเป็นตัวของตัวเองมีความเท่า เทียมกันในสังคมเกษตรกรรม ขณะที่ชีวิตชาวมเมืองมีการ แบ่งชนชั้นมีนักพูด 2 คนที่มีอิทธิพลและโน้มน้าวสนับสนุน Thomas Jefferson ในปรัชญานี้คือ J.Hector St.John de Crevecoeur และ Thomas Jefferson จดหมายเหตุของเกษตรกรอเมริกัน เจ เฮคเตอร์ เซนต์จอห์น เดอ เครฟโคเวอร์ ได้เขียนใน ค.ศ.1782 สรุปถึงหลักสาคัญของลัทธิเกษตรนิยม และแสดงให้เห็นถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจสังคมในสมัยนั้นไว้ว่า กฎของเราเป็นเรื่องสามัญง่าย ๆ เราเป็นเผ่าพันธุ์เกษตรกร การเกษตรกรรมของเราสามารถตักตวงกอบโกยโดยไม่มีเขตจากัด ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างจึงเพียบพร้อมไปด้วยความสมบูรณ์พูนสุข ......เป็นรูปแบบอันน่าชื่นชมในความรอบรู้ทุกด้าน .....ความจนและความร่ารวยมิได้มีความหมายต่อกันมากนัก .......ไม่มีความแตกแยกในเรื่องชนชั้น.........ไม่มีการจ้างงาน อุตสาหกรรมเป็นจานวนพัน ๆ .......ไม่มีความแตกต่างในฐานะ ความเป็นผู้ดีและความเป็นอยู่ที่ฟุ้งเฟ้อ................แต่ละบุคคลก็ ทางานเพื่อตัวเอง............สังคมที่สมบูรณ์แบบได้เกิดขึ้นในโลก แล้ว..........ที่นี่ทุกคนต่างมีเสรีภาพอันควรจะมี................การใช้ แรงงานของพวกเขาจะเป็นไปตามธรรมชาติ.............และเพื่อ ผลประโยชน์ของตัวเขาเอง...............ในฐานะที่เป็นเกษตรกร พวกเขาจะสร้างผลผลิตให้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะสิ่งที่ได้มาทั้งหมด จะเป็นของพวกเขาเอง......... การอุตสาหกรรม การดารงชีวิต ที่ดี ความเห็นแก่ตัว.......... การเมืองของประเทศ ความภาคภูมิใจ พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ในการเป็นเสรีชน ความไม่สนใจในเรื่องศาสนา ต่างเป็นคุณสมบัติของพวกเขานักพูดที่สาคัญอีกผู้หนึ่ง โธมัส เจฟเฟอร์สัน ผู้ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องในการ เริ่มก่อตั้งรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และการสร้างเมืองหลวงใหม่ ได้ให้การสนับสนุนปรัชญาของลัทธิเกษตรนิยม จดหมายของเขา และบันทึกที่สาคัญแสดงให้เห็นเด่นชัด คือ ผู้ใช้แรงงานทั้งหลายบนพื้นโลกคือผู้ที่พระเจ้าเลือกสรรมา....... พวกเขาเป็นผู้ซึ่งพยายามสร้างสมในคุณงามความดีที่แท้จริง ...........การกระทาในทางที่ผิด เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง เป็นเสมือนโชคร้ายที่ทาลายคุณความดีให้สูญสิ้นไป และเป็นสิ่ง ที่ก่อให้เกิดความทะเยอทะยานติดตามมา ...........สาหรับการ ประกอบกิจการทางอุตสาหกรรมนั้น จะปล่อยโรงงานต่าง ๆ ไว้ในยุโรปต่อไป................ฝูงชนของเมืองใหญ่ได้เพิ่มพูนขึ้นมา มากมายเพียงเพื่อให้การสนับสนุนต่อรัฐบาลที่เป็นพวกเขาเช่น เดียวกับความเจ็บปวดรวดร้าวที่ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับ ร่างกาย

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

โธมัส เจฟเฟอร์สัน บันทึกเรื่องรัฐเวอร์จิเนีย 1785 ฉันไม่ใช่สหายของคณะรัฐบาล ทีม่ ีกองกาลังมหาศาลอยูใ่ นมือ เพราะรัฐบาลชนิดนีม้ ักจะกดหัวประชาชนเอาไว้เสมอ เมื่อ (ผู้คน) ต่างแออัดหนาแน่นในเมืองใหญ่อย่างในยุโรป พวกเขาก็จะเกิดการคอรัปชั่นขึ้นมาอย่างในยุโรปทันทีเช่นกัน

โธมัส เจฟเฟอร์สัน จดหมายถึง เจมส์ เมดิสัน 1787 ฉันไม่ใช่สหายทีจ่ ะนาไปแทนที่ชาวเมืองทีเ่ พิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะบุคคลเหล่านั้นต่างสร้างสมอุปนิสัยเฉพาะตัวที่จะ ไม่ก่อให้เกิดความสุขขึ้นในภพหน้าของชีวิตแต่อย่างใด

โธมัส เจฟเฟอร์สัน จดหมายถึง ด๊อกเตอร์ แคสเปอร์ วิสตาร์ 1787 แนวความคิดของการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคอุตสาหกรรม เมื่อมาถึงทศวรรษที่สองของศตวรรษที่ 19 ความคิดของ เจฟเฟอร์สัน เริ่ม เปลี่ยนแปลงไปดังจดหมายถึงเบนจามิน ออสติน ในตอนนี้ เราจะต้องรับการอุตสาหกรรมเคียงข้างกับการเกษตรกรรม

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

..............แรงงานส่วนเกินของเราควรจะนาไปใช้ประโยชน์ จากพื้นดินตามที่ปฏิบัติกันมาแต่ก่อนหรือว่าจะนาไปใช้ในศิลปกรรม ของการประดิษฐ์ (อุตสาหกรรม) ? เรายังพอมีเวลาที่จะ ตัดสินใจในเรื่องนี้ก่อนที่ปัญหาดังกล่าวจะสร้างความกดดันให้ กับเรา และหลักการที่จะนาไปใช้ในเรื่องนี้ย่อมขึ้นกับสถานการณ์ เป็นสาคัญ............ทั้งนี้เพราะเรื่องราวของวิทยาการเป็นเรื่อง ที่ซับซ้อนพอ ๆ กับเศรษฐกิจการเมืองเช่นกัน ไม่มีความคิดเห็น ของใครที่ถือเป็นความคิดที่ฉลาดและถูกต้องตลอดไปในทุก ๆ สถานการณ์

โธมัส เจฟเฟอร์สัน จดหมายถึง เบนจามิน ออสติน 1816 ภาวะสงครามในปี ค.ศ.1812 ทาให้เจฟเฟอร์สัน ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นใน ลัทธิเกษตรนิยมได้ทบทวนความเชื่อแต่เดิมที่เกี่ยวกับลัทธินี้ การที่ชาวอังกฤษได้ เผาเมืองหลวงใหม่ในระหว่างสงครามและความล่อแหลมที่ประเทศกสิกรรมตั้งอยู่ โดดเดี่ยว จะต้องพึ่งพาชาวยุโรปในด้านอุตสาหกรรม ได้นาไปสู่ความตื่นตัวของ ผู้นาของชาติในเรื่องอุตสาหกรรมมากกว่าเพ้อฝัน อีกทั้งแรงงานที่เหลือล้นจากการ ใช้ทาการเกษตรในปี ค.ศ.1815 เนื่องจากการปฏิวัติการเกษตรทาให้ได้ผลผลิตทาง อาหารเพิ่มขึ้นโดยใช้แรงงานน้อยลง นาไปสู่การว่างงานในด้านเกษตรกรรม ใน ที่สุดผลผลิตทางอุตสาหกรรมโดยใช้ระบบโรงงานก็เริ่มเข้ามามีบทบาทในปี ค.ศ. 1820 เป็นที่ประจักษ์ว่าอุตสาหกรรมมีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจและก่อให้เกิดการ รวมตั ว ของประชากรในช่ ว งต้ น ๆ ทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 19 โรงงาน

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

อุตสาหกรรมยังได้ใช้พลังงานเป็นส่วนใหญ่ แต่เริ่มเปลี่ยนมาใช้เครื่องจักรไอน้า มากขึ้น นับตั้งแต่เจมส์ วัตต์ ได้คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ.1763 เป็นต้นมา

แรงผลั ก ดั นซึ่ ง เป็ น บ่ อ เกิ ด การพัฒ นาเมื อ งในสหรั ฐอเมริ ก าใน ศตวรรษที่ 19 การพัฒนาเมืองในประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างศตวรรษที่ 19 ได้ถูก สร้างสรรค์ขึ้นจากแรงผลักดันหลายอย่างที่สาคัญ ได้แก่ ส่วนเกินของแรงงานซึ่งเกิดจากการปฏิวัติการเกษตร ระบบโรงงาน และปรัชญาเลซเซ-แฟร์ ของรัฐบาลซึ่งได้เกิดจากทฤษฎีทุน นิยมของอดัม สมิทธ์ ซึ่งตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1776 กล่าวคือการแข่งขันโดยเสรีในสังคม อย่างไม่มีขอบเขตจากัด จะให้ผลประโยชน์สูงสุด และความยากลาบากที่เกิดขึ้น เฉพาะบุคคลจากผลของการแข่งขันอย่างเสรีเป็นสิ่งสาคัญที่จะเป็นผลดีสุดยอด ทางเศรษฐกิจของรัฐ ซึ่งปรัชญาเลซเซ-แฟร์ หรือปรัชญาอุตสาหกรรมทุนนิยมนี้ ได้ เสริมสร้างลัทธิเกษตรนิยมให้สมบูรณ์ในหลายเรื่อง แรงผลักดันอีกประการที่ก่อให้เกิดการพัฒนาเมือง ก็คือพื้นที่อันกว้าง ใหญ่ ไพศาลโดยไม่ มี ข อบเขตจ ากั ด ถั ด ไปจากพื้ น ที่ ท างฝั่ ง ทะเลแอตแลนติ ค ประกอบกับความไม่มั่นคงในเสถียรภาพของรัฐบาล และความข้าวยากหมากแพง ในยุโรปเป็นผลให้ชาวยุโรปอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอเมริกามากในช่วงครึ่งหลัง ของศตวรรษที่ 19 สิ่งนี้ก่อให้เกิดตลาดสินค้าขนาดใหญ่ที่จาเป็นขึ้นภายในสหรัฐอเมริกา เพื่อป้อนวัตถุดิบเข้าโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเกิดขึ้นเป็นศูนย์กลางการผลิตของชาว ยุโรปตามนิ ค มต่ าง ๆ และการพัฒ นาระบบโรงงานนี้ท าให้เ กิด การรวมตั วของ ประชากรเพื่อมาทางานจนเป็นชุมชนใหญ่ ขบวนการนี้ ไ ด้ เ กิ ด ขึ น เป็ น เวลาถึ ง 100 ปี ในประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า (ระหว่าง ค.ศ.1800-1900) ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเติบโตจากประชากร พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

5 ล้านคน แต่อยู่ในเมืองเพียง 300,000 คน และมีเพียง 2 เมืองเท่านั้นที่มีประชากร มากกว่า 25,000 คน มาเป็นประเทศที่มีประชากรถึง 76 ล้านคน และมีประชากร อยู่ในเมืองมากกว่า 30 ล้านคน นอกจากนี้มีถึง 38 เมืองที่มีประชากรมากกว่า 100,000 คน

การพัฒนาเมืองของสหรัฐอเมริกาในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 ในระหว่ า ง ค.ศ.18231825 มีการขุดคลองอีรี่ (Erie) ขึ้น เป็นการเปิดพื้นที่ทางตะวันตกของ อเมริกาสาหรับชุมชนซึ่งเกิดเพิ่มขึน้ อย่างรวดเร็ว การพัฒนาที่ตามติด มาทั น ที ใ น ค.ศ.1825 ถึ ง ค.ศ. 1828 คื อ การสร้ า งเส้ น ทางรถไฟ คลองอีรี่ (Erie) สายนิวยอร์ค เซ็นทรัล เพ็นซิลวาเนีย บัตติมอร์ ในช่วงทศวรรษ 1830 มีการสร้างบ้านเช่า 5 ถึง 7 ชั้น ขึ้นเป็นครั้งแรกใน เมืองนิวยอร์คและมีชาวยุโรปที่อพยพมาอยู่ในอเมริกาได้เข้าพักอาศัยเต็มหมดใน ระหว่ า งปี ค.ศ.1840-1850 ผู้ อ พยพเหล่ า นี้ ท าให้ เ มื อ งต่ า ง ๆ ในประเทศ สหรัฐอเมริกาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ครึ่ ง แรกของศตวรรษที่ 19 ระบบสั ง คมและระบบเศรษฐกิ จ ของ สหรัฐอเมริกาจะผูกพันกับปรัชญา Laissez-faire และหลักการทางการเมืองของ ลัทธิ “Agrarianism” รัฐไม่มีการปฏิบัติอย่างแท้จริงในการมุ่งที่จะริเริ่มการแก้ไข ป้องกันสภาพเลวร้ายที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนที่อยู่ในเมือง ซึ่งมีการขยายตัวเติบโตขึ้น ถึงแม้จะมีคาสั่งศาลห้ามดาเนินการของโรงงานฟอกหนัง คอกปศุสัตว์ โรงงานทา กาว โรงงานสบู่ ซึ่งก่อเหตุเดือดร้อนราคาญผิดสุขลักษณะ และไม่มีความปลอดภัย

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ต่อสาธารณชน แต่ตัวอย่างนี้ก็เป็นสิ่งที่ยากลาบากในการตัดสินของศาล และเป็น กรณีสุดยอด ในช่วงปี ค.ศ.1800 ถึง 1850 ประชากรได้เพิ่มจาก 5 ล้านคน เป็น 23 ล้านคน และในช่วงกลางศตวรรษ มีประชากรอาศัยอยู่ในเมืองต่างๆ ถึง 4,500,000 คน โดยมีถึง 9 เมืองที่มีประชากรอยู่มากกว่า 100,000 คน เมื่อถึงปี ค.ศ.1850 เมืองต่าง ๆ ในอเมริกามีความเจริญมากขึ้น โดยเมือง เหล่ า นั้ น มี ทั้ ง เมื อ งอุ ต สาหกรรม เมื อ งศู น ย์ ก ลางโรงงาน ซึ่ ง ส่ ว นใหญ่ จ ะ ประกอบด้วยเจ้าของผู้จัดการที่ร่ารวยและคนงานที่ทางานโรงงาน นายทุน และ กรรมการ นายทุนมีจานวนน้อยในขณะที่กรรมกรมีจานวนมากมาย การยึดมั่นใน หลักการของ Laissez-faire นี่เองทาให้กรรมกรมีชั่วโมงทางานที่มาก สภาพความ เป็นอยู่ที่อยู่อาศัยสาหรับคนงานน่าสลดใจ และแรงงานที่เหลือใช้เกิดจากอพยพ อย่างต่อเนื่องทาให้ค่าจ้างลดต่าลง จนถึงระดับที่จะพอยังชีพอยู่ได้เท่านั้น เด็ก คนงาน หญิ ง ต้อ งท างานตามกฎเกณฑ์ คื อ 7 วั นต่ อ สั ป ดาห์ ท างานวั นละ 12 ชั่ ว โมง โรงงานต้ อ งการคนงานจ านวนมากที่ อ ยู่ ใ กล้ โรงงาน เดิ น มาท างานได้ ระยะทางประมาณครึ่งไมล์ หรือไกลกว่าเพียงเล็กน้อย ด้วยเหตุนี้จึงทาให้เกิดการ สร้างบ้านพักอาศัยหนาแน่นบริเวณรอบ ๆ โรงงาน

บ้าน

½ mile

ที่ทางาน

“Railroad Flat” คือที่พักของคนงานในนิวยอร์คและเมืองอื่น ๆ ใน อเมริกาในช่วง ค.ศ.1850 “Railroad Flat” เป็นอาคารกว้าง 25 ฟุต ยาว 75-80 ฟุต ตั้งอยู่ในที่ดินกว้าง 25 ฟุต ยาว 100 ฟุต และเป็นอาคาร 5-7 ชั้น ในแต่ละชั้นมี 4 ครอบครัว โดยมีโถงและบันไดรวม ห้องหนึ่งจะมีหน้าต่าง 1 หรือ 2 ช่อง สาหรับแสง พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

สว่ า งและอากาศเข้ า มาในห้ อ ง บริ เ วณที่ พั ก อาศั ย “Railroad Flat” มี ค วาม หนาแน่นประชากรสุทธิ 348-487 หน่วยต่อเอเคอร์ ไม่มีสาธารณูปการทางด้าน สุขาภิบาลจัดไว้ให้ในยูนิตที่อยู่อาศัยเหล่านี้ มีเพียงสนามหญ้ากว้าง 25 x 25 ฟุต ด้านหลังตึก และมีบ่อน้าบาดาล 1 บ่อเท่านั้นสาหรับผู้พักอาศัย แต่ที่พักเหล่านี้ ก็ ไม่ได้แย่ที่สุด เพราะในบริเวณใต้ถุนตึกเตี้ย ๆ บริเวณห้องเก็บถ่านหินและห้องใต้ เพดานยังอาจเป็นไปได้ที่จะนามาจัดเป็นที่อยู่อาศัยด้วย ซึ่งลักษณะเช่นนี้เป็นสิ่ง ธรรมดาที่ทากันทั้งในยุโรปและอเมริกา

“The Public Health Movement” ขบวนการเพื่อสุขภาพพลานามัยของสาธารณชน “ขบวนการเพื่อสุขภาพพลานามัยของสาธารณชน” คือ ความพยายามใน การแก้ปัญหาความเป็นอยู่ที่มีสภาพที่เลวร้ายของคนงานในเมือง ดังที่ปรากฏใน ครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 โดยการตรากฎหมาย – การพัฒนาเมืองเพื่อนาไปสู่ การกาหนดความต้องการในด้านความปลอดภัยของโรงงาน ชั่วโมงการ ทางานสูงสุด กฎหมายอาคารกาหนดมาตรฐานต่าสุดของที่อยู่อาศัย ข้อกาหนดของ แสงสว่างและอากาศในเมือง และการพัฒนาพื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจสาหรับคนงาน

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

แนวความคิดที่มีผลต่อขบวนการ “The Public Health Movement” จากสภาพความเป็นอยู่ที่น่าสังเวชของคนงาน อัน เนื่องจากการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ทาให้มีการตื่นตัวในเรื่องสุขภาพพลานามัยของคนงาน ได้ เขี ย นไว้ถึ ง สภาพของชนชั้ น แรงงานในประเทศอั ง กฤษ ใน Friedrich Engles ค.ศ.1844 ………ตรงบริเวณใดที่มีที่ว่างหรือมุมที่ยังไม่มีสิ่งปลูกสร้างก็จะถูกสร้างบ้านขึ้นมา ตรงนั้นทันที ราคาที่ดินสูงขึ้นตามการขยายตัวของการอุตสาหกรรม และราคาที่ดิน ยิ่งสูงมากขึ้นเท่าใด การก่อสร้างอาคารอย่างบ้าคลั่งก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น โดยไม่ได้ คานึงถึงสุขภาพหรือความสุ ขสบายของผู้อาศัยกันอีกต่อไป ทั้งนี้เพื่อจะให้ได้ผล กาไรมากที่สุดตามหลักการที่ว่า แม้จะเป็นเพียงรูหนูก็ยังดี ซึ่งสาหรับสัตว์โลกจน ๆ ก็จาเป็นต้องอยู่เพราะไม่อาจจะหาสถานที่ได้ดีกว่านี้............... ฟรีดริช แองเจลส์ สภาพของชนชัน้ แรงงานในประเทศอังกฤษ 1884 ในปี ค.ศ.1848 แองเจลส์ และคาร์ล มาร์คช์ ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ “The Communist Manifesto” มาร์คช์และแองเจลส์ได้มองเห็นว่าไม่มีทางเป็นไป ได้เลยในอันที่จะสามารถปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ที่น่าสังเวชที่สุดของชนชั้น แรงงานในยุ คกลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งกาลังจะมาถึงในเร็ ว ๆ นี้ อัน เนื่องมาจาก รัฐ บาลซึ่ ง ได้น าเอาระบบเศรษฐกิ จลั ท ธิ เลซเซ-แฟร์ มาถื อ ปฏิ บั ติ และคานึ ง ถึ ง ผลประโยชน์สูงสุดทางเศรษฐกิจของรัฐซึ่งถูกครอบครองโดยเหล่านายทุน แม้ใน ประเทศอังกฤษก็ยังมีคนน้อยกว่าหนึ่งในห้าที่มีสิทธิออกเสียงทางการเมือง ดังนั้น พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

อานาจทางการเมืองจึงตกอยู่ในมือของชนชั้นนายทุน ซึ่งเป็นผู้จัดการ หรือเจ้าของ กิจการที่มีเงิน จากความคิดเห็นนี้ เขาได้สอนให้ตระหนักถึงความจาเป็นของการปฏิวัติ อย่ า งนองเลื อ ดของชนชั้ น กรรมกร และการเปลี่ ย นแปลงใหม่ ใ นระบบการ อุตสาหกรรมให้สนองความอพใจของชนชั้นกรรมกร ในประเทศอื่นรวมทั้งอัง กฤษ และอเมริกาได้หวังว่า จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงบทบาทของรัฐบาลทีละน้อยเพื่อ นาไปสู่ความพอใจและบังเกิดผลดีแก่ชนชั้นกรรมาชีพ โดยการวิวัฒนาการและการ ริเ ริ่ม เร่ง เร้า ให้ รั ฐบาลออกกฎหมาย เพื่ อให้ มีห ลั กประกั นถึ ง สุข ภาพและความ ปลอดภัยซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานสาหรับคนงาน ความพยายามในการกระทา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว คือ “The Public Health Movement” ขบวนการเพื่อ สุขลักษณะพลานามัยของสาธารณชน ความพยายามในการจะแก้ปัญหาในด้าน สุขภาพพลานามัยของประชาชนนี้ ได้กลายเป็น “ขบวนการ” หนึ่งในสามขบวนการ สาคัญแห่งศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้มีความสาคัญต่อการวางผังเมืองอเมริกันในช่วงครึ่ง แรกของศตวรรษที่ 20 ความประสงค์ ที่ ไ ด้ ก ระท าใน “ขบวนการเพื่ อ สุ ข ภาพพลานามั ย ของ สาธารณชน” นี้คือ ความพยายามในการตรากฎหมาย เพื่อนาไปสู่การกาหนดใน ด้านความต้องการ ในด้านความปลอดภัยของโรงงาน ชั่วโมงการทางานสูงสุด กฎหมายอาคารกาหนดมาตรฐานต่าสุดของที่อยู่อาศัย ข้อกาหนดของแสงสว่าง และอากาศในเมือง และการพัฒนาในด้านพื้นที่สาหรับการพักผ่อนหย่อนใจสาหรับ คนงาน อย่างไรก็ดีในตอนปลายยุคนี้ (ค.ศ.1850-1870) Herbert Spencer ได้ น าเอาลั ท ธิ ข องดาร์ วิ น ด้ า นสั ง คมซึ่ ง มี ค วามเชื่ อ ชนิ ด ฝั ง ใจมาสนั บ สนุ น ทฤษฎี นายทุนและการทางานของรัฐบาลโดยแสดงให้เห็นว่าผลงานที่โดดเด่นของซอลท์ ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความไม่มั่นคงของทฤษฎีนายทุนและมีอิทธิพลต่อการพัฒนา เพียงเล็กน้อยเท่านั้น พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

Saltaire เมืองอุตสาหกรรมในประเทศอังกฤษ ค.ศ.1851-1871 ในเวลาเดียวกันในยุคของขบวนการเพื่อการสาธารณสุขนี้ มีนักเพ้อฝัน ทางด้านผังเมืองสองสามคน ได้แก่ บัคกิ้งแฮมและโฟริเออ ได้พัฒนาทฤษฎีของ อุดมการณ์ในการกาหนดรูปแบบทางด้านสังคม-เศรษฐกิจ-กายภาพ ของเมือง อุตสาหกรรม แต่ได้ผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจากความพยายามของเขา แต่ก็มีเมือง อุตสาหกรรมที่ได้รับการยอมรับอย่างมาก คือ “เมืองซอลแทร์” (City of Saltaire ใน ประเทศอังกฤษ เมือง Saltaire ในประเทศอังกฤษเป็นเมืองที่ได้มี การออกแบบเพื่อสร้างเป็นเมืองอุตสาหกรรม โดย เซอร์ไตตัส ซอลท์ (Sire Titus Salt) ได้ดาเนินการ ก่อสร้างในระหว่างปี ค.ศ.1851-1871 เซอร์เซอร์ ไตตั ส ซอลท์ เป็ น เจ้ า ของโรงงานขนสั ต ว์ จาก ประเทศอังกฤษ ในเมืองมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ อย่างชนิ ดที่ไม่เคยมีมาก่อนที่ ไหน โรงทานที่พักได้ถูกก่อสร้างขึ้นสาหรับคนงานสูงอายุ เป็นหลักประกันคนงาน เมื่อเกษียณอายุแล้วจะมีท่าอยู่อาศัยฟรี บ้านพัก ทั้งหมดจะให้ เช่า ในราคาที่เ หมาะสมกั บระบบ เศรษฐกิ จ คนงาน่ จ ะจ่ า ยค่ า เช่ า ซึ่ ง ขึ้ น อยู่ กั บ รายได้ของเขา การสารวจข้อมูลทางด้านสังคม เป็นกระบวนการที่สาคัญในการวางผังเมืองซอล เมืองแบรด ฟอร์ด (Bradford) แทร์ ผลการศึกษาความต้องการด้านที่อยู่อาศัยของคนงานลูกจ้าง ได้นามาใช้ใน การจั ด ท าโครงการด้ า นที่ อ ยู่ อ าศั ย ส าหรั บ เมื อ งนี้ นั บ เป็ น ครั้ ง แรกที่ ไ ด้ มี ก าร เตรียมการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยสาหรับเมืองอุตสาหกรรมให้มีขนาดที่พักเหมาะสม กับความต้องการของคนงานซึ่งมีขนาดครอบครัวต่าง ๆ

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

โบสถ์ พิพิธภัณฑ์ โรงเรียน และสวนสาธารณะ ได้ มีการจัดสร้างขึ้นโดยซอลท์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย แสงสว่าง และอากาศถ่ายเทสาหรับที่พักอาศัยแต่ละหน่วยได้มีการ คานึงถึงอย่างพิถีพิถันและสิ่งสาคั ญที่สุด โครงการทั้งหมด (Sire Titus Salt) ได้ตระหนักถึงผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจสุดยอดที่ซอลท์จะ ได้ รับ ความสาเร็จ ของโครงการนี้ได้ พิสูจน์ ใ ห้เ ห็ นว่ า การแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งหมดจากชนชั้นกรรมาชีพนั้น มิได้เป็นสิ่งจาเป็นต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม และให้ ผ ลก าไรต่ อ ลั ท ธิ ทุ น นิ ย ม ซึ่ ง เป็ น การลบล้ า งหลั ก การสาคั ญ ของทฤษฎี เศรษฐกิจ-การเมือง เลซเซ-แฟร์ ในขณะนั้น และเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าช่วง ค.ศ. 1850-1870 นี้เป็นยุคของโรงงาน ซึ่งใช้เครื่องจักรในการผลิตคราวละมาก ๆ

การพัฒนาเมืองและกฎหมายที่สนับสนุนขบวนการ “The Public Health Movement” สวนสาธารณะ Central Park เมือง นิวยอร์ค ในระยะเวลาระหว่าง ค.ศ.1850-1870 เมืองต่าง ๆ ในประเทศอเมริกาได้เติบโตขึ้นอย่าง มาก แรงกระตุ้ น ทางเศรษฐกิ จ อั น เป็ น ผลจาก สงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา มีส่วนช่วยทาให้ชุมชนเมืองเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา มีกิจกรรมที่เห็นชัดสอง สามอย่ า งที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ขบวนการสร้ า งสรรค์ เ พื่ อ สุ ข ลั ก ษณะอนามั ย ของ สาธารณชน และสิ่ ง ที่ ไ ด้ ต ระหนั ก กั น ดี ใ นประเทศสหรั ฐ อเมริ ก าในช่ ว งนี้ คื อ สวนสาธารณะ Central Park ในเมืองนิวยอร์ค ออกแบบ โดยบริษัท Olmsted และ Vaux พื้นที่ที่ใช้สาหรับทาสวนสาธารณะเหล่านี้ได้ซื้อในปี ค.ศ.1866 วัตถุประสงค์

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

เพื่อให้เป็นที่โล่งกลางแจ้งสาหรับแสงสว่างและอากาศ และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ สาหรับชาวเมืองนิวยอร์ค New York City Tenement House Act 1867 ในปี ค.ศ.1867 กฎหมายบ้านแบ่งเช่าของเมือง นิ ว ยอร์ ค ฉบั บ แรกได้ ป ระกาศเป็ น กฎหมาย ท าให้ Railroad Flat อาคารห้องเช่า มีการปรั บปรุงให้ ถูกต้องตามกฎหมายโดยการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย ในด้านสุขลักษณะ San Francisco City Ordinance 1867 กฎหมายผั ง เมื อ งของซานฟรานซิ ส โกได้ ริ เ ริ่ ม นามาใช้ในเมืองซานฟรานซิสโก ในปี ค.ศ.1867 เป็ น กฎหมายที่ มี ค วามส าคั ญ ที่ สุ ด ส าหรั บ การ ควบคุมการใช้ที่ดินในขณะนั้น ซึ่งเป็นยุค Public Health Movement มีการห้ามโรงฆ่าสัตว์ คอกหมูการฟอกหนังในบางย่าน เป็น กฎหมายที่ ค านึ ง ถึ ง สภาพป้ อ งกั น มากกว่ า การคอยตามแก้ สิ่ง ที่ ได้ เ กิ ด ขึ้ น แล้ ว กฎหมายนี้ไม่ มีค วามประสงค์ จะใช้ บัง คั บสิ่ งที่ มีอ ยู่เ ดิ ม แต่ มีค วามประสงค์ จ ะ ป้องกันสิ่งที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขลักษณะอนามัยของประชาชนไม่ให้เกิดขึ้น โดย มีการห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินบางประเภทในบางย่านของเมือง ย่านต่าง ๆ นี้จะ กาหนดขอบเขตตามสภาพภูมิศาสตร์ จากพื้นฐานของกฎหมาย San Francisco City Ordinance นี้ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในศตวรรษที่ 19 Land Use Zoing Ordinance ก็ได้รับการวิวัฒนาการให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัย ในช่วง ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 นี้ เมืองต่าง ๆ ทางแถบฝั่งตะวันตกของประเทศอเมริกา ได้เป็นผู้นาในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งมีข้อจากัดการใช้ ประโยชน์บางประเภท (Land Use Restriction) ส่วนทางฝั่งตะวันออกก็ได้เป็นผู้นา พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ในการออกกฎหมายเกี่ยวกับการสร้างอาคารซึ่งมีการควบคุมความสูง ขนาดความ ใหญ่โตและคุณภาพในการพัฒนาทางด้านกายภาพเพื่อเป็นการป้องกันให้มีแสง สว่าง อากาศ และเพื่อสุขลักษณะพลานามัยของสาธารณชน

“Garden City Movement” ขบวนการเนรมิตเมืองอุทยาน ขบวนการนี้มีพื้นฐานของการนาแนวความคิด Agrarian-Romantic มา ผสมผสานในการสร้างบ้านสร้างเมืองโดยเน้นถึงธรรมชาติแวดล้อม และขจัดสิ่งที่ ไม่ดีงามทั้งหลายอันเกิดขึ้นกับตัวเมืองซึ่งได้สืบทอดกันมาช้านาน โดยหวังจะกลับ ไปสู่บรรยากาศความเป็นหมู่บานชนบทดังเช่นแต่ก่อน ทั้งนี้ เพื่อให้คนเราได้มีการ ดารงชีวิตหลุดพ้นไปจากสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น องค์ประกอบของการออกแบบจะใช้เส้นโค้งและระนาบซึ่งเป็นลูกคลื่น แทนการใช้ เ ส้ น ตรงและระนาบราบเรี ย บ มี ก ารจ ากั ด ขนาดของตั ว เมื อ งและ ผสมผสานข้อดีของเมืองและชนบทมารวมไว้ ณ ที่แห่งนี้ ซึ่งแนวความคิดเหล่านี้ ได้เสนอ “Garden City Theory” ไว้ในหนังสือชื่อ “Tomorrow” ในปี ค.ศ.1898

Garden City Theory

Ebenezer Howard

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

Suburbanization ในสหรัฐอเมริกา ความเป็นเมืองในบริเวณชานเมือง ในปี ค.ศ.1860-1870 ได้มองเห็นการเริ่มต้นของความเป็นเมืองในบริเวณ ชานเมืองในสหรัฐอเมริกา ระหว่างช่วง 10 ปีนี้ การพัฒนาจานวนมากได้มีการ ดาเนินการออกไปอยู่นอกตัวเมืองเพื่อที่จะให้ชนชั้นเจ้าของกิจการและผู้จัดการได้มี โอกาสหลีกหนีความวุ่นวาย ความน่าเกลียด ความสกปรก ความเป็นอยู่ที่น่าสังเวช และความไม่ถูกสุขลักษณะ ซึ่งปรากฏอยู่ทั่วไปในเมือง การพัฒนาเหล่านี้จะอยู่ใน พื้นที่ชานเมืองมีลักษณะห่างไกลจากเมืองพอสมควร เดินมาทางานไม่ได้แต่จะใกล้ กับถนนใหญ่สามารถเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัว ได้ ตัวอย่างที่เด่นของการพัฒนาในเขตชานเมือง คือ Riverside ชานเมือง Chicago รัฐ Illinois

Chicago รัฐ Illinois เมือง Riverside รัฐ Illinois เมืองริเวอร์ไซด์ในรัฐอิลลินนอยส์เป็นเมืองพักอาศัยในเขตชานเมืองชิคา โกเป็นตัวอย่างที่เด่นที่ของการพัฒนาในเขตชานเมืองในยุคนั้น ได้มีการวางผังเมือง ใน ค.ศ.1869 โดยสถาปนิก Frederick Law Olmsted

Olmsted และ Vaux ซึ่งเป็นบริษัท สถาปนิกได้ออกแบบสวนสาธารณะเซ็นทรัล พาร์ ค ที่ เ มื อ งนิ ว ยอร์ ค โดยได้ ต ระหนั ก ถึ ง English Garden อันกว้างใหญ่ไพศาล และได้ เซ็นทรัลพาร์ค เมืองนิวยอร์ค นาแนวความคิด English Garden มาใช้เป็น ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาในการออกแบบสวนสาธารณะแห่งนี้ English Garden เป็น แนวความคิด ทางด้า นภู มิสถาปั ตย์ เพื่ อสร้างสรรค์ ธรรมชาติ องค์ป ระกอบ

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

สาคัญในการออกแบบ คือ การใช้ เส้นโค้งและระนาบซึ่งเป็ นคลื่น ที่ไม่ราบเรีย บ มากกว่าใช้เส้นตรงและพื้นราบเรียบ ในการวางผั ง ชุ ม ชนชานเมื อ ง Riverside นี้ Olmsted และ Vaux ได้นา หลั ก การของการวางผั ง สวนสาธารณะ Garden-Park มาใช้ เป็ น ผลให้ เ มื อ ง Riverside มีบรรยากาศของธรรมชาติมากกว่าเมืองอื่น ๆ ที่เคยมีมาในประเทศ สหรัฐอเมริกาการวางผังถนนจะมีลักษณะของการใช้เส้นโค้งเลี้ยวลัดเลาะไปอย่าง นุ่มนวลในบริเวณต่าง ๆ ของชุมชน พร้อมกันนี้ได้ เน้ น ได้ เ น้ น ให้ มี ที่ โ ล่ ง สี เ ขี ย วระหว่ า งถนนกั บ อาคารทั้งด้านหน้าและหลังซึ่งตามปกติแล้วจะไม่ ค่อยพบเห็นในสหรัฐมากนักนอกจากเมืองเก่า ๆ ในรัฐแถบนิวอิงแลนด์บางเมืองเท่านั้น ก่อนศตวรรษที่ 19 ตามปกติแล้วเมืองเก่า ๆ ของสหรัฐอเมริกาซึ่งส่วน ใหญ่อยู่ในรัฐแถบนิวอิงแลนด์ทางฝั่งทะเลตะวันออก ได้รับอิทธิพลในการวางผัง จากแนวความคิดในการออกแบบของสมัยกลาง (Medieval) ซึ่งถนนในเมืองจะมี ลักษณะวกวน ที่พักอาศัยมีความหนาแน่นสูง อาคารบ้านเรือนจะปลูกเรียงรายสอง ข้างถนนติดต่อกัน Gridiron Plan City ผังเมืองรูปตาราง สี่เหลี่ยมในศตวรรษที่ 19 การเติบโตของประชากรได้แผ่ ขยายไกลออกจากพื้ น ที่ ช ายฝั่ ง ทะเลตะวั น ออก การ สร้างเมืองในแถบนั้นจะมีการวางผังถนนเป็นรูปตาราง สี่เหลี่ยม (Gridiron) เมืองใหญ่ที่มีลักษณะผังรูป Grid พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ได้แก่เมืองชิ คาโก เมืองนิวยอร์ค และเมืองฟิลาเดล เฟี ย เมือ งทั้ ง สามเมื องนี้ เป็น เมื อ งที่ใ หญ่ ที่ สุด ที่ ผู้ อพยพเข้าเมืองจะต้องเข้าสหรัฐอเมริกาที่นี่ และผัง เมืองรูป Grid นี้ เป็นที่เชื่อถือของชาวนาผู้อพยพ เหล่านั้นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นาไปสู่โลกใหม่ (New World) และได้เป็น แบบอย่างการวางผังเมืองทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกาต่อมา พื้นที่โล่งสีเขียวซึ่งมีลักษณะเส้นโค้ง เป็นองค์ประกอบสาคัญที่ควรจะ เป็นสาหรับการวางผังระบบถนนในย่านพักอาศัย ได้ถูกนามาใช้ในการวางผังเมือง Riverside แห่ ง นี้ และได้ กลายเป็น สั ญ ลั ก ษณ์ แ สดงถึ ง สถานภาพของชนชั้ น ผู้ จั ด การและเจ้ า ของ ซึ่ ง แตกต่ า งจากชนชั้ น แรงงานซึ่ ง มี รู ป แบบผั ง เมื อ งซึ่ ง มี ลักษณะเป็น Grid และลักษณะสมัย Medieval รูปแบบของการวางผังเมืองชาน เมือง Riverside นี้ ได้มีอิทธิพลต่อการวางผังการจัดสรรที่ดินสาหรับชุมชนพัก อาศัยในชานเมืองสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่นั้นมา “Romantic Philosophy” ปรัชญามนต์เสน่ห์ธรรมชาติ เป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นในการสร้างสรรที่ผูกพันกับธรรมชาติอย่างแนบ แน่ น และต่ อ ต้ า นสภาพเลวร้ า ยต่ า ง ๆ ในเมื อ งซึ่ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย์ ได้ ส ร้ า งขึ้ น แนวความคิดนี้ได้ปรากฏในกลางศตวรรษที่ 19 ปรัชญานี้ ได้สรรเสริญคุณงาม ความดี ของธรรมชาติประดุจเทพเจ้ า ซึ่งจะสามารถดลบันดาลชะตากรรมของ มนุษย์ได้ ดังคากล่าวที่ว่า ...............มนุษย์ที่ปราศจากธรรมชาติจะต้องพินาศ...............พระเจ้า สร้างชนบท และมนุษย์สร้างเมือง..........ธรรมชาติรังเกียจเส้นตรง......... เป็นแนวความคิดที่เกิดจากความนิยมชื่นชมในธรรมชาติของ English Garden ที่แพร่หลายในยุโรปและอเมริกา และจากปรัชญาของความสมบูรณ์พูน พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

สุขที่จะตักตวงได้จากธรรมชาติอย่างไม่มีขอบเขตจากัดของลัทธิสังคมเกษตรกร อเมริกัน ดังเช่น J.Hector St.John de Grevecoeur และ Thomas Jefferson ได้ เขียนไว้เมื่อเริ่มต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม แนวความคิด ของ Agrarian Philosophy ซึ่งผ่านพ้นสมัยไปแล้วได้กลับเข้ามามีบทบาทอีกครั้ง ในช่วงหลังศตวรรษที่ 19 ใน Romantic Philosophy Romantic Philosophy ได้ให้ความสาคัญของธรรมชาติเนื่องจากเป็นยุค ที่ มี ก ารพั ฒ นาระบบเศรษฐกิ จ อุ ต สาหกรรม ค านึ ง ถึ ง ผลประโยชน์ ท างด้ า น เศรษฐกิจมากกว่าคุณภาพชีวิตของชนชั้นแรงงาน ดังบทบันทึกเรื่อง “The Evil City” ...........เมืองไม่ใช่เกษตรกรรม ดังนั้นจะตัดขาดมนุษย์จาก ขบวนการของธรรมชาติและเมืองเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่ใช่ การสร้างสรรค์ของพระเจ้า จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นผล ของการสร้างสรรที่เลวร้าย..................... นอกจากนี้ แ นวความคิ ด ของ Agrarian Philosophy ยังได้ถูกนามาใช้ผสมผสานกับปรัชญา เศรษฐกิจ Laissez Faire ของลัทธิทุนนิยมอีกด้วย โดยถือหลักที่ว่าความพยายามที่จะทาให้ประชาชน ชั้นแรงงานมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีนั้นสามารถจะทา ได้พร้อม ๆ กับการหาผลกาไรสูงสุดทางด้านเศรษฐกิจในเมืองอันเป็นหลักการของ ลัทธิทุนนิยม ซึ่ง Sir Titus Salt ได้พิสูจน์ให้เห็นความสาเร็จดังกล่าวแล้ว จากการ สร้างเมืองอุตสาหกรรม Saltaire ที่ประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ.1851-1871

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

แนวความคิดที่จะนาไปสู่ “การจากัดขนาดของเมือง” ในบรรดาผู้ที่นาเอาแนวความคิดในด้านความนิยมชมชื่นในธรรมชาติ (Romantic Nation) ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 มาสนับสนุนเปรียบเทียบให้เห็น ความแตกต่างของสภาพความเลวร้ายในเมือง และเห็นข้อดีของหลักการของลัทธิ เกษตรนิยม ในช่วงเวลาที่ประชาชนภายในเมืองได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมหาศาล ได้แก่ Henry David Thoreau, Ralph Waldo Emerson และ John Ruskin ดัง ข้อความต่อไปนี้ ในตอนนี้พวกเราไม่สามารถจะมีสวนดอกไม้หรือสนามหญ้าที่ จะหาความสาราญ ความเพลิดเพลิน และความสงบในตอนเย็น ได้ทุกคนอีกแล้ว ทั้งนี้ เพราะสถาปัตยกรรมได้เข้ามาแทนที่ สิ่งเหล่านี้ และบอกให้เราทราบถึงสภาพตามธรรมชาติที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคต..........................

จอห์น รัสกิน หินก่อสร้างของเวนิช 1860 ผู้ที่รักต้นไม้ทั้งหลายไม่ใช่ผู้คดิ ผิดแต่อย่างไร.......................ผู้ที่ไม่รัก ต้นไม้ต่างหากเล่าทีเ่ ป็นผู้คิดผิดอย่างแน่แท้ ถ้าหากว่าชีวติ ของ พวกเราได้ถูกชักจูงเข้าสู่แนวทางนี้

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

จอห์น รัสกิน จิตรกรรมสมัยใหม่ 1860 ถึงตอนนี้มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกแล้ว.................และฉันขอย้า ให้เข้าใจว่าการให้รายละเอียดต่าง ๆ ในที่นี้ เป็นสิ่งที่ฉันได้เขียนไว้ตั้งแต่สิบ ปีก่อนในบทสุดท้ายของเรื่อง “Seven Lamps of Architecture…………....” มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะมีสิทธิ ในจริยธรรม ในความสุข ในศิลปะอีก ต่อไปในประเทศที่เมืองต่าง ๆกาลังขยายตัวก่อสร้างเป็นการใหญ่ หรือจะ ให้ฉันพูดอย่างตรง ไปตรงมาก็คือ โรคภัยได้แพร่ขยายไปทั่วขณะที่ตัวเมือง กาลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่านจะต้องมีเมืองที่น่ารักมีสิ่งก่อสร้างที่แวววาว ดุจแก้วเจียรนัยที่จะไม่บุบสลายได้ง่าย ๆ มีการจากัดในขนาด และจะต้องไม่ มีสิ่งอันก่อให้เกิดความน่าละอายเกิดขึ้นตรงส่วนใดส่วนหนึ่งของเมืองนั้น ๆ ขณะเดียวกันจะต้องไม่ทอดทิ้งธรรมชาติของสวนดอกไม้ และต้นไม้ที่กาลั ง แตกดอกออกช่อพร้อมด้วยลาธารไหลเย็นอันเป็นธรรมชาติของเรามาแต่เดิม ท่ า นอาจจะพู ด ว่ า เป็ น ไปได้ หรอก และอาจจะจริง ของท่ า นฉัน ไม่ มี อะไรที่ จะมาจัดการกับสิ่ง ที่เป็นไปไม่ได้ อันนี้ นอกจากจะบอกว่าฉันไม่ต้องการ จะอยู่โดยปราศจากสิ่งเหล่านี้

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

จอห์น รัสกิน คาบรรยายในเรื่องศิลปะ 1870 ข้อสังเกตจากข้อความรัสกิน แสดงถึงความจาเป็นที่จะต้อง “มีการจากัด ขนาด” ของตัวเมือง และความจาเป็นสาหรับ “แต่ละเมืองจะต้องถูกล้อมด้วยสวน ผลไม้” ทัศนคติของลัทธิเกษตรนิยม การผสมผสานกับปรัชญามนต์เสน่ห์ธรรมชาติ เหล่านี้ ได้นาไปสู่การกาหนดกฎเกณฑ์ของ “Garden City Concept” ใน 28 ปี ต่อ มา ซึ่ ง “แนวความคิด ของอุ ทยานนคร” นี่ได้บั งเกิ ดผลใน“Garden City Movement” (ขบวนการเนรมิตอุทยานนคร) เป็นขบวนการเนรมิตเมืองขบวนการที่ 2 ในสามขบวนการของศตวรรษที่ 19 ที่มีผลต่อการวางผังเมืองในช่วงเวลาระหว่าง ครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 “The Garden City Movement” มี ห ลั ก การที่ จ ะเนรมิ ต เมื อ งให้ มี ลักษณะตามแนวความคิดที่ ผสมผสานกั น ของปรัชญา Romantic และปรัชญาเกษตร นิย ม โดยต่ อ ต้า นความเป็ นเมื องที่ มีค วาม เป็ น อยู่ ห นาแน่ น โดยค านึ ง ถึ ง การเทิ ด ทู น ธรรมชาติเป็นสิ่งสาคัญ เมืองซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งเลวร้าย ผิด ศีลธรรมซึ่งสืบกันมาจะถูกเปลี่ยนแปลงไปสู่หมู่บ้านใน ชนบท ซึ่งเคยมีมาในสมัยยุคก่อนอุตสาหกรรม ผู้ให้การสนับสนุนอย่างใจจดจ่อต่อปรัชญาการ ต่อต้านสภาพแออัดของเมืองและความนิยมธรรมชาติ (Romantic Anti-Urban Philosophy) ในสหรัฐอเมริกา พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

อีกผู้หนึ่งคือ Ralph Waldo Emerson ดังข้อความของเขาจาก “เกษตรกรรม” ใน สังคมและชนบทห่างไกลความรุ่งโรจน์ของชาวนาวอยู่ที่ว่า เขาเป็นผู้หนึ่งซึ่งมีส่วน ร่วมในการสร้างแรงงาน การค้าขายในทุกรูปแบบ อย่างน้อยก็มาจากผลผลิตของ การปฏิบัติงานของพวกเขา ชาวนาเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด และเป็น ผู้ผลิตขนมปังและเนื้อจากพื้นโลกแม้อาหารที่ไม่ได้มาจากเขาโดยตรง แต่เขาก็เป็น ต้นเหตุของอาหารนั้น ชาวนาคนแรกคือมนุษย์คนแรก และพวกขุนนางทั้งหลาย ในประวั ติ ศ าสตร์ ต่ า งมี ชี วิ ต อยู่ ด้ ว ยการเป็ น เจ้ า ของและการใช้ ป ระโยชน์ ที่ ดิ น ...........และอาชีพทั้งหลายที่รุ่งโรจน์มาแต่โบราณ และอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าที่สุด ต่างสืบทอดมาจากชาวนาทั้งสิ้น...............เขาอยู่บนพื้นโลกได้อย่างดีเช่นเดียวกับ อาดั ม เช่ น เดี ย วกั บ อิ น เดี ย นแดง หรื อ วี ร บุ รุ ษ ของโฮมเบอร์ เช่ น กษั ต ริ ย์ ก รี ก Agamemnon หรือ Achilles ทหารเอกในนิยายเขาเป็นผู้ที่มีบทบาทในโคลงกลอน ทุกแบบ...............เป็นผู้ที่พึงพอใจต่อการเป็นชิ้นหนึ่งของธรรมชาติที่เก่าแก่ ที่ เปรียบเทียบได้กับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ สายรุ้ง และสายน้าที่ท่วมท้นทั้งนี้ เพราะเขาเป็ น บุ ค คลของธรรมชาติ ทั้ ง มวล และเป็ น ตั ว แทนของธรรมชาติ เช่นเดียวกับตัวแทนของสิ่งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดเขาเป็นผู้ที่มีอุปนิสัยอันปราศจาก การฉ้อโกงอย่างเช่นสัตว์ที่เราให้การยกย่อง หรือเด็กหนุ่มที่ไร้เดียงสาเช่นเดียวกับ นักล่าสัตว์ หรือนักเดินเรือที่อยู่ภายใต้การสร้างสรรของธรรมชาติการเติบโตของ เมืองแม้จะทาให้มนุษย์เป็ นคนช่างพูดและสนุกสนานมากขึ้น แต่พวกเขาก็เป็น เพียงของปลอมเท่านั้นเอง

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ร๊าฟ วอลโด อีเมอร์สัน “เกษตรกรรม” ในสังคมชนบทห่างไกล 1870 ขณะที่อีเมอร์สันได้พร่าสอนให้แต่ละบุคคล ได้มีความคิดเข้าใจถึงคุณ งามความดี ข องธรรมชาติ ความน่ า เคารพสั ก การะในการด ารงชี วิ ต ของชาว เกษตรกรรมการกลับมาสู่การเกษตรกรรมซึ่งเป็นสิ่งที่จาเป็นต่อการยังชีพ ทาง รถไฟระหว่างทวีปได้สร้างเสร็จสมบูรณ์ในสหรัฐอเมริกาและเมืองชิคาโกได้ เติบโตมีประชากรถึง 1/3 ล้านคน ในช่วงทศวรรษที่ 1860 Herbert Spencer นั ก ปรัชญาชาวอังกฤษผู้หนึ่งได้นาแนวความคิดทางชีววิทยาของ ดาร์วิน ที่ว่า “Survival of The Fittest” มาประยุกต์ในสังคม มนุษย์ และได้พร่าสอนว่าความอิสระเสรี และการแข่งขันอย่าง รุนแรงระหว่างบุ คคลเป็นหัวใจสาคัญของการสรรหาบุคคลที่ เหมาะที่สุด ตามวิถีทางธรรมชาติ เพื่อนาไปสู่ผู้นาประเทศและ ผู้นาประชาชนและสิ่งนี้ได้แสดงให้เห็นโดยอดัม สมิทธ์ว่า เป็นความจาเป็นทาง เศรษฐกิจสาหรับรัฐบาลเสรีและเป็นความขัดแย้งอย่างมากต่อความพยายามของ เซอร์ไตตัส ซอลท์ เจ้าของปรัชญาที่มีความพึงพอใจว่า “การแสวงหาผลประโยชน์ จากผู้ใช้แรงงานไม่ใช่สิ่งจาเป็นเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ” (ความจาเป็นอัน เนื่องจากปรัชญาชีววิทยาของผู้ไม่แข็งแรงก็สามารถเป็นผู้นาได้ ) ผู้นาทางด้าน ธุรกิจที่นิยมแนวความคิดของ Spencer และแนวความคิดของดาร์วิน ได้ร่วมกัน สร้างองค์กรเศรษฐกิจแห่งชาติในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ระหว่างปี ค.ศ.1880-1910 มีการรวมตัวกันก่อตั้งบริษัทขนาดใหญ่เป็นจานวนมาก เป็นบริษัทผูกขาดและมีขนาดใหญ่ จากปี ค.ศ.1865 เป็นต้นมา ลัทธิเจ้านายและ ระบบเล่นพรรคเล่นพวก ได้ทาให้เกิดการคอรัปชั่ นซึ่งเป็นสิ่งชั่วช้าที่สุดและสิ่งนี้ได้ พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

แทรกเข้า ไปอยู่ ทั่วทุ กเทศบาลรัฐบาลแห่งชาติและของรัฐ ผู้ซึ่ง เป็นหั วหน้ าทาง การเมืองต้องมีความอุตสาหะที่จะบริหารบ้านเมืองเสมือนหนึ่งเป็นธุรกิจ ต้องหา เงิน และผู้ที่มีความสามารถเท่านั้นถึงจะมีโอกาสได้เป็นหัวหน้าทางด้านการเมือง

การเก็ ง ก าไรที่ดิ นในประเทศสหรัฐอเมริ ก าเริ่ม เกิ ด ขึ้นใน ค.ศ. 1865-1900 การอพยพเข้ าเมื องของชาวต่ างชาติจ านวนมหาศาลในครึ่ง หลัง ของ ศตวรรษที่ 19 ได้ทาให้เมืองต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาขยายตัวอย่างน่าอัศจรรย์ ใน ระยะ 10 ปี ระหว่าง ค.ศ.1880-1890 มีผู้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึง 5 ล้านคน ซึ่งเป็นจานวนที่เท่ากับประชากรทั้งประเทศในปี ค.ศ.1800 การ ขยายตัวประชากรยิ่งมากค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายก็ยิ่งถูก ซึ่งเป็นความต้องกาของ อุตสาหกรรมผูกขาดอยู่แล้ว ในระหว่ า งปี ค.ศ.1865-1900 ทุ ก ๆ เมื อ งในสหรั ฐ อเมริ ก าต่ า งก็ มี เหตุการณ์ที่สาคัญเหมือน ๆ กัน คือ ที่ดินสาหรับเมืองได้ขยายตัวสุดขีด เนื่องจาก การเก็งกาไรที่ดินอันเป็นผลจากการอพยพเข้ามาของต่างชาติจานวนมหาศาล และ การปรับปรุงการคมนาคมขนส่งทาให้มีการเปิดพื้นที่ใหม่สาหรับการพัฒนาเมือง ถึงแม้ว่ารถม้าจะเป็นยาพาหนะหลักสาหรับการคมนาคมขนส่งในเมืองต่าง ๆ ของ อเมริกาจนถึงปี ค.ศ.1890 ในปี ค.ศ.1869 ก็ ไ ด้ มี ก ารสร้ า งราง รถไฟไอน้ายกระดับเป็นแห่งแรกที่เมืองนิวยอร์ค รถไฟไอน้ายกระดับได้ขยายโครงข่ายจนทั่วเกาะ แมนฮัตตั้นส่วนหนึ่งของเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1878-1881

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ในปี ค.ศ.1873 รถโดยสารเคเบิลคาร์สายแรกก็ได้สร้างขึ้นในเมืองซาน ฟรานซิสโก ในช่วงเวลาที่มีการเก็งกาไรที่ดินอย่างครึกโครม และช่วงเวลาของการ เติบโตของพื้นที่เมืองกว้างใหญ่ไพศาลเช่นนี้ค่าของที่ดินในเมืองต่าง ๆ ของอเมริกา ได้พุ่งขึ้นสูงอย่างเห็นได้ชัด Single Tax Concept ในสหรัฐอเมริกานั้นเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดแจ้งว่าความตระหนี่ เห็นแก่ตัว ความเลวร้ายต่าง ๆ และอาชญกรรมจะเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในขณะที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ได้ขยายตัวกลายเป็นตัว เมืองขึ้นมา..............การขยายตัวทางอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับ ผลผลิตจากพื้นดิน...............อุปสรรคทางอุตสาหกรรมในการ ปรับปรุงจะอยู่ที่ค่าเช่าล่วงหน้า หรือราคาของที่ดินที่มีผลทาให้ เกิดการควบคุมทั้งด้านแรงงานและเงินทุนโดยเจ้าของที่ดิน ที่ดินเป็นแหล่งของความมั่งคั่งทั้งหลาย...........ความยากจนเป็น ผลมาจากความไม่สามารถจะมีที่ดินอันเป็นที่ทากินได้ ที่ดิน เป็นสิ่งที่ได้รับการผูกขาด และมีการตั้งราคาที่เกิดขึ้นจากการ ค้ากาไรไม่ยึดเอาราคาในปัจจุบันเป็นหลัก (กาลังใช้อยู่) แต่เป็น การเพิ่มราคาที่ไม่สามารถจะสู้ได้ จากการคาดหมายในการ เพิ่มพูนของจานวนประชากรอย่างรวดเร็ว การเพิ่มค่าของที่ดิน ในอนาคตที่ทาให้ต้องเพิ่มค่าแรงงาน และการลงทุนอันเป็น ผลประโยชน์ต่อเจ้าของที่ดินในปัจจุบัน............จากการเพิ่ม ของจานวนการผลิต ทาให้ค่าเช่ามีแนวโน้มสูงตามขึ้นไปด้วย ซึ่งเท่ากับเป็นการบีบบังคับ ให้ต้องรับค่าจ้างในอัตราต่าโดย ปริยาย................นั่นก็คือสาเหตุของความไม่เท่าเทียมกันในความ พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ร่ารวยอันเนื่องมาจากความไม่เท่าเทียมกัน ในการเป็นเจ้าของ ที่ดิน................ฉันไม่เสมอให้มีการซื้อหรือการยึดที่ดินอันเป็น ทรัพย์สินส่วนบุคคล................ไม่มีความจาเป็นอันไดที่จะทาการ ยึดที่ดิน แต่จาเป็นมากที่เราจะต้องจากัดค่าเช่าให้ได้ (ทาการ กาหนดราคาที่ดิน โดยกลุ่มชนทั้งหมดเพื่อไม่ให้ที่ดินราคาสูง ตามการกาหนดของเจ้าของที่ดิน)...............เราได้นาเอาบางส่วน ของค่าเช่าไว้แล้วจากการเก็บภาษี เราจาเป็นจะต้องเปลี่ยน แปลงกรรมวิธีเก็บภาษีเงินได้เสียงเป็นบางอย่างเพื่อช่วยให้ทุกสิ่ง ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี...............ดังนั้นจึงของเสนอให้มีการเพิ่ม ค่าแรงงานช่วงนี้เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ ทาลายการขอทานให้ หมดไป ขจัดความยากจน ฯลฯ คือการจัดการค่าเช่าให้เหมาะสม จากภาษีเงินได้................มีผลได้จากการเก็บภาษีเพียงอย่างเดียว ยกเลิกการเก็บภาษีทั้งหมด เหลือไว้แต่ภาษีค่าเช่าที่ดิน (นา เอาค่าของเงินที่กลุ่มชนสร้างขึ้นกลับมาสู่กลุ่มชนเพื่อเป็นค่า ใช้จ่ายสาหรับชุมชนกลุ่มนี้) การทาลายการตั้งราคาที่ดินใน ราคาแพง จะทาให้ประชากรกระจัดกระจายกันออกไปจาก บริเวณที่มีการอยู่อย่างแออัดและหนาแน่น ออกไปสู่บริเวณที่ เคยอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย ชาวเมืองจะสามารถได้รับอากาศ บริสุทธิ์มากขึ้น ได้รับแสงแดดของชนบทมากขึ้น ชาวชนบท จะมีฐานะทางเศรษฐกิจและชีวิตทางสังคมเหมือนกับชาวเมือง ยิ่งขึ้น

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

เฮนรี่ จอร์จ ความก้าวหน้าและความยากจน 1879 แนวความคิดที่นาไปสู่ขบวนการ “The Garden City Movement” แนวความคิดเรื่อง “Single Tax Concept” ได้ถูกเสนอแนะ เพื่อยับยั้งการ ทะลักของประชากรในชนบทไม่ให้อพยพเข้ามาอยู่ในเมือง และเพื่อกระจายความ คับคั่งของประชากรในเมือง ถึงแม้ว่าจะเป็นความคิดธรรมดา ๆ ในช่วงเวลาครึ่ง หลั ง ของศตวรรษที่ 19 แต่ ข้ อ เสนอแนะทางสร้ า งสรรค์ข องจอร์ จ ที่จ ะปรั บ ปรุ ง แรงงานในเมืองจานวนมหาศาล ก็เป็นแนวความคิดซึ่งแตกต่างจากผู้อื่นมากใน เรื่องวิธีการ เหตุผลของเขาในเรื่องค่าของที่ดินจะขึ้นอยู่กับความต้องการในอนาคต ในการใช้ ป ระโยชน์ ม ากขึ้ น เนื่ อ งจากการเติ บ โตของเมื อ ง ได้ ช่ ว ยสนั บ สนุ น ข้อเสนอแนะของ Ruskin ในเรื่อง “การกาจัดขนาดของเมือง” แนวความคิดเรื่อง Single Tax ของจอร์จ และการนาข้อดีของเมืองและชนบทมาผูกพันไว้ด้วยกันซึ่ง จอร์จได้เสนอแนะไว้ในปี ค.ศ.1879 ได้ถูกนามารวมกับความคิดของ Ruskin เกิด เป็นขบวนการ “The Garden City Movement” ในสองทศวรรษต่อมา การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กับการขยายตัวของ เมืองในอเมริกาในช่วงศตวรรษที่ 19 ศูนย์รวมของโทรศัพท์สาธารณะแห่งแรกได้สร้างขึ้นที่เมือง New Haven รัฐคอนเนคติกัต ในปี ค.ศ.1878 ในปีต่อมา Edison ได้ประดิษฐ์แสงไฟฟ้าได้ และในปี ค.ศ.1881 Edison ได้สร้างสถานีไฟฟ้าแห่งแรกของโลกขึ้นที่ Pearl Street ในเมืองนิวยอร์คด้วยการ สนับสนุนด้านการเงินจาก J.P.Morgan ผู้ก่อตั้ง U.S.Steel Incorperation

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

การประกวดแบบการปรั บ ปรุ ง ที่ อ ยู่ อ าศั ย ในเมื อ งของเมื อ ง นิวยอร์ค สภาพของที่อยู่อาศัยในเมืองต่าง ๆ ของอเมริกาในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 มีสภาพปรักหักพังความเป็นอยู่น่าสลดใจ ในปี ค.ศ.1878 ได้มีการประกวด แบบที่ อ ยู่ อ าศั ย ในเมื อ งนิ ว ยอร์ ค โดยได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากนิ ต ยสาร “The Plumber and Sanitary Engineer” วัตถุประสงค์ต้องการจะปรับปรุงแบบอาคาร ห้องเช่า “Railroad Flat” ของชนชั้นแรงงาน ซึ่งขณะนั้นการออกแบบไม่ได้คานึงถึง ด้านสุขลักษณะอนามัย แบบที่ชนะการประกวดออกแบบโดยสถาปนิก James E. Ware ซึ่งเสนอแปลนที่มีลักษณะ Dumbbells มี ปล่องระบายอากาศภายใน (Air Shaft) ระหว่างห้องเช่าแต่ ละหน่วยพร้อมด้วยในห้องพักแต่ละห้องมีหน้าต่าง และ ห้องน้า 2 ห้องใน 1 ชั้น เปิดออกมาที่โถงบันไดรวมสาหรับ ห้องเช่า 4 หน่วยแทนส้วม ซึ่งอยู่ด้านหลังของ Railroad Flat จากผลการประกวดแบบนี้ได้นาไปสู่การปรับปรุง กฎหมายอาคารห้องเช่าฉบับแรกของเมืองนิวยอร์ค

“Old Law Flat 1879” กฎหมายอาคารห้องเช่าพักอาศัยของเมืองนิวยอร์ค ค.ศ.1867 (New York City Tenement House Act 1867) ซึ่งเป็นกฎหมายห้องเช่าพักอาศัยฉบับ แรกของเมืองนิวยอร์คได้รับการปรับปรุงโดยเพิ่มข้อบัญญัติ คือ กาหนดให้มีปล่อง ระบายอากาศ (Air Shaft) ในอาคารห้องเช่าพักอาศัยและได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1879 กฎหมายอาคารห้องเช่าพักอาศัยของเมืองนิวยอร์ค ซึ่งได้ปรับปรุงในปี ค.ศ.1879 นี้ เรียกสั้น ๆ ว่า “Old Law” เป็นกฎหมายที่ได้มีการปรับปรุงลักษณะ

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

อาคารห้องเช่าพักอาศัยที่สาคัญในเวลานั้น เป็นผลงานที่ส่งเสริมขบวนการ “The Public Health Movement” ขบวนการเพื่อสุขภาพพลานามัยของสาธารณชน ระหว่ า งปี ค.ศ.1878-1880 มี บ ริ ษั ท เอกชนหลายบริ ษั ท ได้ ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น เจ้าของเป็นผู้ที่มีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้ใช้แรงงานที่ต้องอยู่อาศัยในอาคารที่มี สภาพย่าแย่บริษัทเหล่านี้ดาเนินกิจการเพื่อการปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยในเมือง ใหญ่ ๆ ของอเมริกาให้ดีขึ้น อาคารที่อยู่อาศัยที่ดี ๆ ได้ก่อสร้างขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ Tower and Homes Apartment ใน Brooklyn นิวยอร์ค ได้สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1878 เพื่อครอบครัวผู้มีรายได้น้อย Washington Sanitary Improvement Company ได้ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1879 ต่อมารวมกับบริษัท Washington Sanitary Housing Company ตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1904 ได้สร้างอพาร์ทเม้นท์สาหรับครอบครัวผู้มีรายได้น้อยประมาณ 1,000 หน่วยใน Washington D.C.

Slum แหล่งเสื่อมโทรม ในปี ค.ศ.1880 ได้มองเห็นการเริ่มต้นของทศวรรษแห่งการเติบโตของ เมืองอย่างน่าอัศจรรย์ อันเนื่องจากการอพยพจานวนมหาศาล สามะโนประชากรปี ค.ศ.1880 ของสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าเมือง นิวยอร์คได้กลายเป็นเมืองใหญ่อันดับหนึ่งของ สหรัฐอเมริกา และมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน ผู้อพยพในช่วง ค.ศ.1880-1890 ได้ท่วมท้นเข้า มาอยู่ ใ นระบบโครงข่ า ยของเมื อ งอเมริ ก า ก่อให้เกิด แหล่งเสื่อมโทรม (Slum) ขยายตัวไป อย่างกว้างขวางในเมืองใหญ่ ๆ ของอเมริกาแทบทุกหนทุกแห่ง ซึ่งในต่อมาได้รู้จัก กันว่าเป็น “Melting Pot” เบ้าหลอมขนาดใหญ่ของโลกใหม่ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิด การก่อตั้งชุมชนใหม่เกิดขึ้นมากหลาย มีผู้อพยพจานวนมากได้เข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ในเมืองใหม่ (New Town) หลายแห่งซึ่ง ได้สร้างโดยบริษัทใหญ่ ๆ ในตอนสิ้น ศตวรรษที่ 19 เรียกว่า Company Town ตัวอย่าง Company Town ที่เป็นผลงานที่ ดีเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมและให้ความสะดวกสบายน่าพึง พอใจก็คื อ เมือ ง Pullman

Pullman เมืองใหม่ชานนคร Chicago รัฐ Illinois Pullman เป็นเมืองอุตสาหกรรม แบบอย่างสร้างโดย George Pullman ในปี ค.ศ.1881 George เป็ น ผู้ น าทางด้ า น อุตสาหกรรม ได้สร้างเมือง Pullman จาก การเรียนรู้บทเรียนของ Sir Titus Salt ว่า “เมืองสามารถสร้างให้ดีได้และมีผลกาไร” และแล้วความคิดเกี่ยวกับปรัชญา Laissez-Faire และลัทธิทุนนิยมซึ่งฝังอยู่ในวิญญาณของผู้นิยม Spencer ก็ทาให้ เกิดการเปลี่ยนแปลง เขาเหล่านั้น “ได้ปรับ” ราคาสินค้าในเมือง ปรับราคาต้นทุนของการให้ การบริการต่าง ๆ และค่าเช่าที่อยู่อาศัยจนถึงจุดที่กระเทือนต่อรายได้ของคนงานที่ เขาได้รับ ในที่สุดเหตุการณ์ที่สาคัญก็ได้เกิดขึ้นคือ เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่าง ผู้ใช้แรงงานกับนายทุนอย่างรุนแรงในสหรัฐอเมริกาในระหว่างศตวรรษที่ 19: The Great Pullman Strike of 1894 การสไตรค์นี้เป็นสิ่งที่เตือนให้เห็นถึงความเสียหาย จะเกิดขึ้นกับการสร้างเมืองใหม่เมืองอื่น ๆ ในสหรัฐอเมริการอีกต่อไปเป็นเวลานาน

Port of Sunlight ในประเทศอั ง กฤษ ในเวลาใกล้ เ คี ย งกั น กั บ การ สร้ า งเมื อ ง Pullman นาย Lever ได้สร้างเมือง Port of พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

Sunlight ขึ้นในปี ค.ศ.1886 โดยดาเนินแนวนโยบายตาแบบ Salt เป็นแบบอย่างที่ ดีที่ Port of Sunlight นี้มีแนวความคิดเกี่ยวกับการจัดสวนสาธารณะไว้ตรงกลาง ของบล๊อกนี้ (Center Block Park) ต่อมาได้เป็นแนวความคิด “Neighborhood Concept” ใช้ในการออกแบบวางผังที่อยู่อาศั ยในศตวรรษที่ 20 (องค์ประกอบของ “Garden City Concept”)

Suburban Train ดังกล่าวแล้วความเป็นเมืองในบริเวณชานเมือง (Suburbanization) ได้ เริ่มจะปรากฏในสหรัฐอเมริกาในระหว่าง ค.ศ.1860-1870 และเมือง Riverside เป็ นเมื องพั กอาศัย ชานเมื อ ง Chicago ที่ เ ด่น ที่สุด ในขณะนั้ น พอเริ่ม ต้ นของ ทศวรรษที่ 1880 การขยายตั วของความเป็ นเมือ งในบริเ วณชานเมื อ งอเมริก า สาหรับชนชั้นเจ้าของและผู้จัดการซึ่งสามารถจะมาอยู่ได้มีมากขึ้น สาเหตุจากมี การเพิ่มขีดความสามารถในด้านคุณภาพของการบริการ ของการรถไฟ ในระหว่างช่วงเวลานี้ได้มีการสร้างทางรถไฟเชื่อม ที่พักอาศัยชานเมือง (Suburban Train) สายแรกขึ้น คือ ระหว่าง Greenwich, Connecticut รวมทั้ง New York City Chestnut Hill Philadelphia Chestnut Hill Philadelphiaรัฐเพ็นซิลวาเนีย และ Lake Forest Chicago รัฐอิลลินนอยส์ Lake Forest Chicago

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

The Country Club นอกจากมีการสร้างรถไฟขนส่งมวลชนชานเมือง (Suburban Train) แล้ว ในช่วงทศวรรษนี้ยังปรากฏว่ามีการพัฒนากิจกรรมทางสังคมของชนชั้นสูงชาน เมืองเกิดขึ้นอย่างหนึ่ง คือ การสร้าง “Country Club” ซึ่งต่อมาได้กลายเป็น สัญลักษณ์ของความมั่งคั่งของชุมชนชาน เมืองในศตวรรษที่ 20 ศู น ย์ ก ลางกิ จ กรรมทางสั ง คม ดังกล่าวสาหรับชนชานเมืองแห่งแรก “The Country Club” ได้สร้างขึ้นที่ Brookline รัฐแมซซาจูเซทท์ The Country Club, Brookline

High Rise Building อาคารสูง ในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 นอกจากจะมีการกระจายตัวของประชาชน ชั้นผู้จัดการและเจ้าของไปอยู่ในบริเวณชานเมือง และประชาชนชั้นแรงงานได้เข้า มารวมกันอยู่หนาแน่นในเมืองจนเกิดแหล่งเสื่อมโทรมแล้ว ในช่วง ค.ศ.1880-1890 ได้มีอาคารโครงเหล็กเกิดขึ้นในศูนย์กลางเมืองชิคาโก ตอนแรก ๆ เป็นอาคารสูง 16 ชั้น และต่อมาสร้างสูง 22 ชั้น จากปรากฎการณ์ดังกล่าวในบริเวณศูนย์กลางการค้าธุรกิจ (Downtown) ของเมื อ งต่ า ง ๆ ในสหรั ฐ อเมริ ก าในช่ ว งนี้ ท าให้ สามารถเห็ น เค้ า ของเมื อ งที่ มี ลักษณะขึ้นสูงทางตั้งของศตวรรษที่ 20 ทั้งนี้เพื่อความคุ้มกับค่าของที่ดินซึ่งถีบตัว สูงขึ้นในช่วง ค.ศ.1880-1890

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

การปรับปรุงกฎหมายควบคุมการใช้ที่ดินและควบคุมอาคาร พฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ดาเนินการเพื่อปรับปรุงสภาพของเมืองในอเมริกา ให้ดีขึ้ นมีเ พียงเล็กน้ อยเท่านั้น ในช่ วงระหว่า งทศวรรษที่ 1880 ที่สาคัญคื อการ ปรับปรุงกฎหมาย 2 ฉบับ San Francisco City Ordinance กฎหมายควบคุมการใช้ที่ดิน ซึ่งได้เคย ประกาศใช้เป็นครั้งแรกในสหรัฐ อเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1876 ที่เมือง San Francisco ซึ่งห้ามโรงฆ่าสัตว์ คอกหมู โรงฟอกหนัง ในบางย่านนั้น ได้ถูกนามาปรับปรุงใหม่ใน ปี 1885 และได้เพิ่มข้อห้ามไม่ให้มีร้านซักรีดในย่านพักอาศัย New York City Tenement House Act. ซึ่งเป็นกฎหมายที่ควบคุมการ ออกแบบอาคารเพื่อสุขลักษณะอนามัยของผู้อยู่อาศัย ได้เคยปรับปรุงกฎหมายครั้ง แรกเมื่อ ค.ศ.1867 โดยให้เพิ่มปล่องระบายอากาศ (Air Shaft) ในอาคารห้องเช่า ได้มีการปรับปรุงอีกครั้งในปี ค.ศ.1887 โดยเพิ่มอานาจให้สามารถควบคุมเพิ่มขึ้น เกี่ยวกับสุขาภิบาลให้มากขึ้น และโครงสร้างของอาคารเพื่อความแข็งแรง Settlement House ที่เมืองนิวยอร์คได้มีการจัดสร้างหมู่บ้านสาหรับผู้ที่ อพยพ โดยมีการจัดให้มีบรรยากาศผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมของผู้อพยพ ชาติ นั้ น ๆ กั บ สิ่ ง แวดล้ อ มใหม่ เป็ น ยุ ค ของการ เปลี่ยนแปลงที่สาคัญในด้านการจัดที่อยู่อาศัยของ ชนชั้ น แรงงาน และหมู่ บ้ า นผู้ ใ ช้ แ รงงานที่ ไ ด้ กลายเป็นตัวอย่างที่ถือปฏิบัติสาหรับการปฏิรูปที่ อยู่อาศัยต่อไป Settlement House

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ในปี 1889 Jame Addams ได้สร้าง Hull House ขึ้นในเมืองชิคาโกซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย ที่มีชื่อเสียงที่สุดในขณะนั้น ในเวลาเดี ย วกั น สนามเด็ ก เล่ น (Playground) แห่งแรกได้ถูกสร้างขึ้นที่เมือง นิวยอร์ค ในปี ค.ศ. 1888 รถเมล์ไฟฟ้าไม่มีราง (Electric Trolley) ได้นามาใช้เป็น ระบบการขนส่งมวลชนในเมืองเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาที่เมือง Richmond รัฐ เวอร์จิเนีย และต่อมาไม่ช้าระบบขนส่งมวลชน Trolley ก็ได้กลายเป็นระบบขนส่ง มวลชนในเมืองที่สาคัญของเมืองต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาก็ได้

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

“The City Beautiful Movement” ขบวนการเพื่อสุนทรียภาพของเมือง ................เป็น ขบวนการเพื่ อสร้ างสรรค์ ง าน สถาปัตยกรรมแห่งความหรูหราความสง่างามและความ ยิ่ง ใหญ่ ใ ห้ กับ เมือ งโดยเฉพาะ “ศู น ย์ร าชการ” (Civic Center) การออกแบบและการก่อสร้างศูนย์ราชการมี ลักษณะสถาปัตยกรรม “Neo-Classic” ซึ่งมีอิทธิพลจาก สถาปัตยกรรมสมัย “Renaissance” การตัดถนนขนาด กว้างมีต้นไม้สองข้างทาง (Boulevard) มีตัวอาคารสาคัญ เป็ น แนวแกน ค านึ ง ถึ ง สั ด ส่ ว น (Proportion) และการรวมของกลุ่ ม อาคาร (Composition) ที่มีความสมดุลเท่ากัน (Symmetrical Balance) และเรียงแถวเป็น ระเบียบ (Formal) ที่มีลานโล่งอนุสาวรีย์ ขบวนการนี้จะลืมนึกถึงโครงสร้างของ เมืองทางด้านเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยส่วนรวม “The City Beautiful Movement” เป็น ขบวนการสืบเนื่องจากผลงานทาง สถาปัตยกรรมของ “The Columbian Exposition of 1838” งานแสดงมหกรรมโลก (Chicago World Fair) ที่เมือง Chicago The Columbian Exposition of 1838 ออกแบบโดยกลุ่มสถาปนิกซึง่ มี Daniel Burnham เป็นหัวหน้า ผลงานออกแบบได้ แนวคิดจากบทประพันธ์ของ Edward Bellamy และ Camillo Sitte Daniel Burnham

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา

Camillo Sitte


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

แนวความคิดการออกแบบศูนย์กลางเมือง (Civic Center) ของ อเมริกาในศตวรรษที่ 19

ในระหว่างที่ ค.ศ.1880-1890 ขณะที่บ้านเมืองในสหรัฐอเมริกากาลังเติบโตอย่าง สุดขีดและยังยอมรับกันในแนวความคิดของเกษตรกรรมนิยม และปรัชญามนต์ เสน่ห์ธรรมชาติ ได้มีนักเขียนผู้หนึ่ง ซึ่งมีความเห็นที่ต่างออกไปไม่เหมือนใครคือ Edward Bellamy ได้ประพันธ์เรื่อง “Looking Backward, 2000-1887” ในปี ค.ศ. 1888 Bellamy ได้แสดงแนวความคิดต่าง ๆ ของนักผังเมืองสมัยก่อน และความมี คุณค่าและผลงานที่ผ่านมาของบุคคลผู้หนึ่ง ซึ่งมีคุณค่าอยู่จนถึงยุคนี้ ค.ศ.1887 ถึงแม้ว่าแนวความคิดเหล่านั้นจะไม่ได้รับการเอาใจใส่ไปชั่วขณะแต่ก็จะกลับมามี ความหมายอีกครั้งในอีก 100 ปีข้างหน้า ค.ศ.2000 ข้อความของ Bellamy นี้ ช่วย สนับสนุนขบวนการ “The City Beautiful Movement” ใต้ฝ่าเท้าของฉันเป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่ ถนนกว้างขวางพื้นที่ ส่วนใหญ่แบ่งเป็นบล็อกใหญ่บ้างเล็กบ้างมีความยาวเป็นไมล์ ๆ บดบังด้วยเงาต้นไม้และแนวตึก อาคารสวยงาม อาคารส่วนใหญ่ จะแยกเป็นช่วง ๆ โดยมีรั้วรอบใหญ่เล็กต่าง ๆ กันแผ่ขยายออก พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ไปทุกทิศทาง แต่ละส่วนของตัวเมืองจะมีลานโล่งกว้างใหญ่รวม อยู่ด้วย.................ตึกอาคารของรัฐขนาดใหญ่สร้างโดยสถาปัตยกรรม ที่สง่างาม ที่แตกต่างไปกว่ายุคสมัยของฉันตั้งสูงตระหง่านอยู่ ทุกด้าน...............ในปี 1888 ความร่ารวยอันเกินสภาพของปัจเจก บุคคลที่ขัดกับความรู้สึกของสาธารณชน............ปัจจุบัน ปี 2000 กลับกลายเป็นสิ่งตรงกันข้าม ไม่มีความล้นเหลือจากความร่ารวย ที่มาประดับตัวเมืองให้เห็นถึงความแตกต่างกันอีกต่อไป ทุกคน ต่างมีความสุขในอัตภาพอันเท่าเทียมกัน สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ในแต่ละส่วนของตัวเมือง (ศูนย์การค้า) มีอยู่อย่างเพียงพอ ที่ ชาวเมืองทุกคนสามารถเดินถึงกันและกันได้ระหว่างศูนย์การค้า แต่ละแห่งไม่เกินห้าหรือสิบนาที................สินค้าทั้งหมดที่วางขาย ต่างเป็นของประชาชาติ ฝูงชนพากันไปที่นั่นเพื่อซื้อหาสิ่งที่ ต้องการ (ด้วยสินเชื่อ บัตรเครดิต และยกเลิกระบบการแบ่งซื้อ ตามฐานบุคคล) .............พวกเราปรารถนาที่จะจับจ่าย (เงินส่วน ที่เหลือใช้) ในสิ่งที่เกิดต่อผลประโยชน์ของส่วนรวม และพึงพอใจ กับสิ่งที่ทุกคนมีส่วนร่วมกัน...............พวกเราต่างมีความสุขสบาย ภายในบ้าน แต่สิ่งที่มีค่าสาหรับชีวิตของเราคือ เรื่องของสังคม ที่พวกเราทุกคนต่างมีส่วนร่วมกับคนอื่น ๆ ทั้งหมด...................

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

เอ็ดเวอร์ด เบลลามี่ มองย้อนไปเบื้องหลังจากปี 2000 ถึง 1887 1888 บทประพันธ์ของ Bellamy นี้ ผู้ที่ได้อ่านแล้วจะเห็นว่ามีค่า แต่ข้อความใน บทความซึ่งแสดงถึงค่านิยมทางสังคมเมืองแต่ก่อนไม่ได้มีอิทธิพลให้เกิดผลใน ทั น ที ทั น ใ ด อย่ า ง ไรก็ ดี กา รพรรณนาข อ ง Bellamy ถึ ง แบ บ แผน ท า ง สถาปัตยกรรมของศู นย์กลางเมืองที่ยิ่งใหญ่ “ซึ่งทุกคนได้อ่านแล้วต่างก็เห็น คุณค่าเหมือนกันหมดนี้” เป็นจินตนาการที่พวกเขาอยากจะให้เกิดขึ้น และจากบทประพันธ์ของ Bellamy ทาให้ผู้นาทางด้านอุตสาหกรรมหลาย ท่านของสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศซึ่งเกิดใหม่ มีความประสงค์อย่าง ยิ่งยวดที่จะสร้างอนุสาวรีย์เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของพวกเขาที่มีความทัดเทียม กับพวกยุโรป และเพื่อแสดงให้ชาวโลกเห็นถึงความสามารถของพวกเขาในการ ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อ “สาธารณชน” เช่นพวกผู้ดีเหล่านั้น โดยไม่ได้กระทบเทือน ความมั่งคั่งของเขา หรือเพื่อเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ ในช่วงเวลานั้นจึงเป็น เวลาที่มีการสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นมาก ได้แก่ ในปี ค.ศ.1884 อนุ ส าวรี ย์ “Washington Monument” สูง 555 ฟุต ที่เมืองวอชิงตัน ดี .ซี. เมือง หลวงของสหรั ฐ อเมริ ก า ได้ สร้ า ง เสร็จสมบูรณ์ ในปี ค.ศ.1886 อนุ ส าวรี ย์ เ ทพี สันติภาพ “Statue of Liberty” ซึ่ง Washington Monument เป็นของขวัญ จากชาวฝรั่ งเศส ได้สร้างขึ้นที่ท่า เรือนิวยอร์ ค (New York Harbor) Statue of Liberty

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

และในปี ค.ศ.1889 การก่อสร้างอนุสาวรีย์ “Washington Arch” ที่เมืองนิวยอร์คได้ เริ่มต้นดาเนินการ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ จานวนเงินเหลือใช้จานวนล้าน ๆ เหรียญ ได้ถูกนามาใช้ จ่ า ยส าหรั บ การสร้ า งอนุ ส าวรี ย์ เพื่ อ เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง ความยิ่ ง ใหญ่ ข อง สาธารณชน ซึ่งเป็นการแข่งขันกันเพื่อความภาคภูมิใจของชาติ และสง่าราศีของ เมือง สิ่งนี้ได้เป็นทัศนคติแสดงให้เห็นว่าการ สร้างสิ่งเหล่านี้มีอันตรายน้อยกว่าผลที่จะ ตามมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม หรือ การจะต้ อ งปรั บ ปรุ ง บริ เ วณเสื่ อ มโทรม โดยรอบสิ่งเหล่านี้ เนื่องจากการอพยพของ ผู้คนเข้ามาอยู่กันรอบ ๆ อนุสาวรีย์ Washington Arch

องค์ประกอบแห่งความงาม คามิลโล นักเขียนของยุคนั้นอีกคนหนึ่งที่ได้เขียนเสริมแนวความคิดเรื่อง “การออกแบบตัวเมือง” หลังเบลลามีเพียงหนึ่งปี เราต้องการค้นหา..................สิ่งอันเป็นองค์ประกอบสาคัญของ สัดส่วนของแบบซึ่งสมัยก่อนเคยมีความกลมกลืน และสมัยนี้ มีแต่สิ่งที่ใช้ไม่ได้และไม่มีชีวิตชีวา...............ทั้งนี้เพื่อว่าสามารถ จะบรรลุถึงแนวความคิดอันมีคุณค่าสูงเช่นในสมัยโบราณ............... ลานกว้างตามจัตุรัสที่รูปทรงไม่ได้สัดส่วน สามารถประดับ ประดาด้วยรูปปั้นหรืออนุสาวรีย์ให้ดูเหมาะสมสาหรับมัน............. ถนนสาคัญ ๆ และจตุรัสสามารถเสริมสร้างสง่าราศีของเมือง และเพื่อเป็นการจุดชนวนความทะเยอทะยานให้กับเด็กรุ่นหนุ่ม ต่อไป

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

คามิลโล ซิทเต้ ศิลปะของการสร้างเมือง 1889 ผู้นาทั้งหลายของชาติในปลายศตวรรษที่ 19 ต่างได้รับแนวความคิดทาง สถาปัตยกรรมเหล่านี้ของ คามิลโล ซิทเต้ แทบทั้งสิ้น แต่พวกเขาก็ไม่ยอมฟังข้อ ตักเตือนต่าง ๆ ของคามิลโลแต่อย่างใดถ้าพวกเขาเพียงรับฟังก็จะทราบว่า ในการวางผังเมืองนั้น ตามที่ปรากฏมาจะถือได้วา่ เป็นความ ปราดเปรื่องอย่างยิ่งแล้วหรือที่จะวางผังอาคาร (แผนผัง สาหรับการสร้างเมือง) โดยปราศจากแผนการสร้างเมืองไว้ อย่างแน่นอน (การกาหนดวัตถุประสงค์ บทบาท เพื่อการดารง ชีวิตในเมือง)

คามิลโล ซิทเต้ ศิลปะของการสร้างเมือง 1889 ในการที่ จ ะวางผั ง และจั ด แผนโครงการเพื่ อ สร้ า งเมื อ งดั ง กล่ า วนั้ น Camillo Sitte ปรารถนาจะให้มีการพิจารณาอย่างละเอียดละออ ถึงลักษณะ แท้จริงของเมืองที่ดี “Good City” (หลักการของปรัชญาเกษตรนิยม-มนต์เสน่ห์ ธรรมชาตินั้น Agrarian-Romantic มีความสาคัญอยู่ขณะนั้น) ควรมีการพิจารณา อย่างเปิดใจกว้างในการถกปัญหาและประเมินค่าเกี่ยวกับการจัดการใช้ประโยชน์ ในที่ดินสาหรับเมืองในอเมริกา สิ่งนี้เป็นจุดมุ่งหมายที่ควรจะต้องกระทาให้ปรากฏ แต่ความคิดทั้งหมดในเรื่องเหล่านี้ ลัทธินายทุนซึ่งมีความสาคัญกับระบบเศรษฐกิจ พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

อยู่ขณะนั้น และระบบผูกขาด ได้หันเหผู้นาของอเมริกาในศตวรรษที่ 19 ให้ละเลย ในความคิดเหล่านี้ไป แม้แต่ในเรื่องที่จาเป็นพื้นฐานในการวางผังจนกระทั่งกลาง ศตวรรษที่ 19

การตระหนักถึงปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมของรัฐบาลกลางของ สหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรก เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษสุดท้ายของศตวรรษที่ 19 เมืองชิคาโกก็เหมือนกับ เมืองนิวยอร์คมีประชากรมากกว่า 1 ล้านคน นับจากนี้ไปในมหานคร (Metropolis) เมืองใหญ่ซึ่งมีประชากรนับล้าน ประชากรได้กลายเป็นส่วนประกอบที่สาคัญที่เป็น บ่อเกิดนาไปสู่การเพิ่มปัญหาในการดารงชีวิตในเมืองให้กับชนชาติอเมริกาสภาพ ของที่อยู่อาศัยในเมืองนิวยอร์คในปี ค.ศ.1890 ได้กล่าวถึงไว้ในบทประพันธ์ของ Jacob Reis เรื่อง “How The Other Half Lives” ท่านก็ทราบดีว่าในการป้องกันตัวเองนั้น ชีวิตทุกชนิดจะค่อย ๆ ปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ และชีวิตของมนุษย์ก็มี ลักษณะอันเดียวกัน มีห้องโถงใหญ่สาหรับอยู่ร่วมกัน.............. มีปล่องระบายอากาศ (ตามกฎหมายเก่า) ที่ดเู หมือนว่าทางาน หนักอยู่ทุกขณะ จนไม่มีเวลาที่จะนาเอาอากาศบริสุทธิ์ลงมา ทดแทนได้ ปั๊มน้าที่ส่งเสียงดังเป็นจังหวะ (ในทางเดินสาธารณะ) ไม่มีน้าไหลออกมา และค่าเช่าที่ไม่น้อยไปกว่าค่าแรงงานหนึ่ง สัปดาห์สาหรับจะอาศัยอยู่ได้สี่สัปดาห์ หรือบางทีก็ถึงครึ่งหนึง่ ของรายได้ของครอบครัวเลยทีเดียว

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

จาค๊อป เรอิส อีกครึ่งหนึ่งเขามีชีวิตอยู่อย่างไร 1890 ในปี ค.ศ.1890 ได้ มี อ าคารห้ อ งเช่ า อยู่ อ าศั ย ในสหรั ฐ อเมริ ก าถึ ง 13,000,000 หน่วย โครงสร้างของเมืองทั้งหลายจะมีในลักษณะเช่นนี้เหมือนกัน หมด สภาพของการอยู่อาศัยมีความละม้ายคล้ายคลึงกัน หรือไม่ก็มีแต่ความไม่ เอาไหน ดังที่ Jacob Reis ได้แสดงเป็นหลักฐานไว้ในเอกสารเรื่อง “How The Other Half Life” ดังกล่าว และในหนังสือของเขา เรื่อง “The Children of the Poor” ซึ่งพิมพ์ในปี ค.ศ.1892 จากบทความของ Jacob Reis ได้นาไปสู่การแก้ปัญหาอย่างกว้างขวาง ในเรื่องทั่ว ๆ ไปในภาพรวมของความจาเป็นในการขจัดแหล่งเสื่อมโทรม สิ่งนี้ได้รับ การขานรับจากสภานิติบัญญัติของสหรัฐอเมริกา (U.S. Congress) โดยการตั้ง งบประมาณเป็ น พิ เ ศษถึ ง 20,000 เหรี ย ญ ในปี ค.ศ.1892 สาหรั บ สานั ก งาน เลขาธิ ก ารแรงงาน เพื่ อ ใช้ ส าหรั บ การศึ ก ษาเรื่ อ งแหล่ ง เสื่ อ มโทรมในเมื อ งที่ มี ประชากรมากกว่า 200,000 คน การศึกษาหาข้อเท็จจริงเรื่องแหล่งเสื่อมโทรม จะ มุ้งเน้นอยู่ที่เมืองนิวยอร์ค เมืองชิคาโก เมืองบัลติมอร์ และเมืองฟิลาเดลเฟีย สิ่งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกของการตระหนักของรัฐบาลกลางของสหรัฐอเมริกาถึงปัญหา แหล่งเสื่อมโทรมและที่อยู่อาศัย เป็นบทบาทแรกที่ก้าวนาไปสู่ศตวรรษที่ 20 ของ การเคหะ การขจัดแหล่งเสื่อมโทรม อาคารสงเคราะห์เพื่อการอยู่อาศัย การฟื้นฟู ชุมชนเมือง และโครงการวางผังชุมชนทั้งมวลของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

The Columbian Exposition of 1893 นิทรรศการโคลัมเบีย 1893

ค.ศ.1892 ปีแห่งการฉลองครบรอบ 400 ปีของ “การค้นพบอเมริกา” โดย โคลัมบัสกลุ่มนักธุรกิจเมืองชิคาโก โดยการสนับสนุนของรัฐบาลของรัฐ และรัฐบาล กลาง ได้รับอนุญาตให้จัดงานนิทรรศการโลก (World’s Fair) ในเมืองชิคาโกเพื่อ เป็นการระลึกถึงเหตุการณ์สาคัญนี้ นิทรรศการโลกนี้ได้ จัดขึ้นในปีต่อมาเรียกว่า “The Columbian Exposition of 1893” ในศตวรรษที่ 19 เป็นยุคของงานแสดง สินค้าและอุตสาหกรรมของอเมริกา งานแสดงเหล่านี้จะเรียกว่า “World Fair” มหกรรมนิทรรศการโลก เพื่อแสดงถึงสถานภาพอันเอี่ยมอ่องของความเจริญในโลก ธุรกิจของอเมริกา และประกาศให้เป็นที่ประจักษ์ถึงการกาหนดจุดมุ่งหมายความ เป็นประเทศผู้นาใหม่ของโลก ซึ่งกาลังแผ่ขยายความเจริญจากฝั่งมหาสมุทรแอท แลนติคองประเทศไปสู่ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิค

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

งานแสดงสินค้าของอเมริกาก่อน ๆ นั้นเป็นการจัดงานที่มีรสนิยมจืดชืด บริเวณงานขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเหมือนกันแทบทุกครั้ง บริเวณงานจะ เป็นลานโล่งขนาดใหญ่แบ่งบริเวณออกเป็นส่วนๆ ให้บริษัทห้างร้านเช่าแสดงสินค้า มีความแตกต่างไปจากงานแสดงสินค้าในยุโรป นิ ท รรศการที่ ป ารี ส ปี 1878 และงาน แสดงสินค้าที่เวียนนาในปี 1873 บริเวณงานจะ เป็ น การรวมกลุ่ ม ของอาคารอย่ า งมี ร ะเบี ย บ สัดส่วนของผังมีความสมดุลที่เท่ากันทุกด้าน ในปี ค.ศ.1889 ฝรั่งเศสได้จัดงาน “The Great Paris Exposition” ขึ้นพร้อมด้วยหอคอย Eiffel งาน แ ส ด ง ป ร ะ ก อ บ ด้ ว ย อ า ค า ร ซึ่ ง มี ลั ก ษ ณ ะ The Great Paris Exposition สถาปั ต ยกรรม Neo-Classic (การประยุ ก ต์ สถาปัตยกรรมสมัยกรีกและโรมัน) ตั้งเรียงหันหน้าเข้าสู่ลานทางเดินอย่างมีระเบียบ (Central Mall) “The Columbian Exposition of 1893” มหกรรมนิทรรศการโลก ที่เมือง ชิคาโกครั้งนี้ ได้เลียนแบบงานแสดงในยุโรป ความมโหฬารประกาศให้โลกทราบถึง พลังงานทางด้านอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกา และความเติบโตอย่างเต็มที่แล้ว ของชาติ การออกแบบบริ เ วณงานเป็ น รู ป แบบของการรวมกลุ่ ม อาคา (Composition) ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unity) และสัมพันธ์กับบริเวณพื้นที่อย่างชนิด ไม่เคยปรากฏมาก่อนในโลกนี้ ก่อให้เกิดความสง่างามสุดยอดของสภาพแวดล้อม ของงาน เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงพลังอานาจของประเทศใหม่นี้และความเป็นยักษ์ ใหญ่ในด้านอุตสาหกรรม นิทรรศการออกแบบโดยทีมงานนักออกแบบมี Daniel Burnham เป็นสถาปนิกผู้นาทีม Mckim สถาปนิก (Architect Mckim, Meade and White) Frederick Law Olmsted (ภูมิสถาปนิก) Augustus St. Gaudens (ปฏิมากร) และ A.Gottlieb (วิศวกรที่ปรึกษา) พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

แมคคิมและเบิร์นแฮม มีความตระหนักดีต่อสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม แบบ Neo-Classic (สถาปัตยกรรมกรีก-โรมันสมัยใหม่ ) เช่นเดียวกัน Gaudens ส่ ว น Olmsted นั้ น ถึ ง แม้ จ ะยั ง ยึ ด มั่ น ในความคิ ด ของเขาในรู ป แบบซึ่ ง มี องค์ประกอบที่ไม่ใช่รูปเรขาคณิตตามแนวความคิดของเขาในสมัยก่อนก็ตาม ได้ กลายเป็นผู้ร่วมทีมงานที่ดีคนหนึ่งและมีความเข้าใจในวิญญาณของนักออกแบบ คนอื่ น ผลงานออกแบบสะท้ อ นถึ ง หลั ก การสถาปั ต ยกรรมสมั ย Renaissance (Neo-Classic) ที่โล่ง และการออกแบบชุม ชนนั้น เป็ นสถาปัต ยกรรมสมัย เรอ เนซองส์นั้น มีความเชื่อกันว่า เป็นการถอยหลังเข้าคลองหวลกลับไปสู่อดีตเมื่อ 50 ปีที่แล้วแต่สิ่งนี้ก็ได้ครองความนิยมในประเทศอเมริกาใน อีก 30-40 ปีต่อมา ในช่ ว ง 20 ปี ที่ ผ่ า นมาจนถึ ง ปี ค.ศ.1893 หลังจากได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในเมืองชิคาโก (The Great Chicago Fire) ได้มีการ สร้างอาคารขึ้นใหม่เพียงไม่กี่ หลังในเมืองชิคาโกซึ่ง เป็ น การสร้ า งสรรที่ มี ค วามหมายมากกว่ า ความ พยายามที่จะนาเอา แนวความคิ ด สมั ย กรีกโรมันมาใช้ในการออกแบบเท่านั้น ในเมืองชิคา โก ปี ค.ศ.1893 ได้มีการก่อสร้างอาคารของ “The Chicago School” ไม่มีอะไรพิเศษแต่รังเกียจ ปรั ช ญาแนวความคิ ด Neo-Classicism ของ มหกรรมนิ ท รรศการโลก The Columbian The Chicago School Exposition of 1893 ดังคาประณามของ Louis Sullivan สถาปานิกชั้นนาของ The Chicago School

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ความเสียหายที่เกิดจาก World’s Fair จะกระทบกระเทือนต่อไป อย่างน้อยครึ่งศตวรรษ ถ้าหากจะไม่นานไปกว่านั้น มันได้ฝัง ลึกลงสู่หลักการของความนึกคิดของชาวอเมริกัน ซึ่งจะก่อให้ เกิดความปวดร้าวอันสุดแสนสาหัส จนขาดความสมดุลทางจิต ของพวกเขาต่อไป

ลุยซ์ ซัลลิแวน ผลงานการออกแบบงาน The Columbian Exposition ได้ เ ป็ น ตั ว อย่ า งชิ้ น แรกในอเมริ ก าที่ มี ก าร ออกแบบงานสถาปัตยกรรมและงานวางผังขนาดใหญ่ที่มี ความเหมาะเจาะ กลุ่มอาคารที่รวมกันมีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กับพื้นที่โล่งที่กาหนดไว้สาหรับส่วนรวม แนวความคิดนี้เป็นสิ่ง มหัศจรรย์ของยุคและบังเกิดผลดีต่องานแสดงมาก ในขั้นแรกทีมงานออกแบบไม่ สามารถตัดสินใจเรื่องสีของตัวอาคารได้ ในที่สุดจึงตัดสินใจทาสีขาวทั้งหมด ซึ่งผล จากการทาสีขาวนั้น ทาให้อาคารมีความเด่น สง่างามหาที่เปรียบมิได้ มีความสว่าง ไสวและเป็นประกายเมื่อต้องแสงไฟฟ้าจากหลอดไฟ โดย เอดิสัน มหกรรมนิทรรศการแห่งปี ค.ศ.1893 นี้ ได้มีอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงต่อ คนบ้านนอกที่อยู่ในเมืองใหญ่น้อยทั้งหลาย ซึ่งเขาเหล่านั้นเมื่อได้กลับถึงภูมิลาเนา แล้ ว จะตระหนั ก ดี ก ว่ า ขณะนี้ ถึ ง เวลาแล้ ว ที่ บ้ า นเมื อ งของตนจะต้ อ งมี “Civic Center” (ศู น ย์ ก ลางเมื อ ง) ที่ ปร ะ ก อ บด้ ว ย ก ลุ่ ม อ า ค า ร สี ข า ว เช่นเดียวกับที่ได้เห็นมา ในช่ ว งนี้ ไ ด้ มี นั ก ออกแบบ เมืองทั้งหลายได้ฉวยโอกาสจากความ ต้อ งการมี Civic Center ของคน พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

เหล่านั้น ได้ร่อนเร่พเนจรไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อจะขายแบบ “ผังเมือง” (Town Plans) สาหรับศูนย์กลางเมือง (Civic Center) ซึ่งได้ออกแบบโดยไม่ได้คานึงถึงว่า แบบนั้นจะเหมาะกับขนาดของชุมชนหรือไม่ ไม่ได้คานึงถึงความสามารถของการ ลงทุนก่อสร้าง และไม่ได้คานึงถึงการวางผังเมืองในส่วนที่นอกเหนือจากบริเวณ ศูนย์กลาง อย่างไรก็ดีหลักการต่าง ๆ ที่ใช้ในการวางผังเมือง “Civic Center” ได้ นามาใช้กับการวางผังเมือง “City Plan” ต่อมา และยังได้กล่าวกันว่า ขบวนการวาง ผังเมืองสมัยใหม่ในอเมริกา ได้เริ่มจากนิทรรศการ 1893 และผัง “Civic Center” ที่ มีอยู่ดาษดื่นซึ่งได้ถือกาเนิดจากผลงานนิทรรศการ “The Columbian Exposition of 1893”

ลักษณะสาคัญของขบวนการเพื่อสุนทรียภาพของเมือง (The City Beautiful Movement)

ดั ง ได้ ก ล่ า วแล้ ว มหกรรมนิ ท รรศการโคลั ม เบี ย 1893 ได้ ใ ห้ ก าเนิ ด ขบวนการเพื่อสุนทรียภาพของเมือง ซึ่งเป็นขบวนการวางผังเมืองที่สาคัญในสาม ขบวนการแห่งศตวรรษที่ 19 และขบวนการนี้จะมีอิทธิพลต่อการวางผังเมืองไป จนถึงช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 องค์ประกอบสาคัญของขบวนการนี้ คือความ มโหฬารความสง่าของศิลปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรม Neo-Classic การ พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ออกแบบและก่อสร้าง Civic Center การตัดถนน Boulevard กว้าง ๆ ปลูกต้นไม้ สองข้างพุ่งสู่อาคารสาคัญ รูปปั้น ที่โล่งขนาดใหญ่ ขาดความตระหนักถึงเศรษฐกิจ และสังคม และโครงสร้างของเมืองในด้านสิ่งแวดล้อมโดยส่วนรวม จากปี ค.ศ.1896 ความบ้าคลั่งในการสร้างตึ กอาคารที่ท าการของรั ฐ (State Capitols) และอาคารอื่น ๆ ในลักษณะ Neo-Classic ได้ปรากฏไปทั่ว ประเทศสหรัฐอเมริกาและผัง Civic Center เหล่านี้ได้กลายเป็นแบบอย่างในการ วางผังเมืองเมือง หลังจากปี ค.ศ.1893 เมืองอเมริกาต่างก็มีความคับคั่งขึ้นทุกขณะ และ เพิ่มความสลับซับซ้อน ช่วงเวลา นั้ น ทางรถไฟยกระดั บ ได้ เ วี ย น ตวั ด ไปรอบ ๆ บริ เ วณ Down Town ของเมื อ งชิ ค าโก เป็ น (Loop) ซึ่ ง ต่ อ มามั ก จะเรี ย ก Down Town ชิ ค าโกว่ า “Chicago Loop” รถไฟใต้ ดิ น (Subway) สายแรกของ สหรัฐอเมริกา สร้างที่ เมืองบอสตั นในปี ค.ศ.1897 (สร้ า งที่ ม หานครลอนดอน ในปี ค.ศ.1886 และที่ เมืองบูดาเปส เมื่อ ปี ค.ศ.1893) และต่อมาไม่นาน ในปี ค.ศ.1904 รถไฟใต้ดินสายแรกก็ได้สร้างขึ้นที่ เมืองนิวยอร์ค

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

การประกวดแบบอาคารชุดที่อยู่อาศัยในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.ศ.1896 สภา The Improved Housing Council of New York City ได้เป็นผู้อุปถัมภ์การประกวดแบบการปรับปรุงที่อยู่อาศัย ผู้ชนะการประกวด แบบคือ สถาปนิก Ernest Flagg แฟล็กก์ได้เสนอรูปแบบ (Scheme) ที่มี Land Coverage 70 เปอร์เซ็นต์ และ Yard Space 30 เปอร์เซ็นต์ การก่อสร้างบ้านแต่ละ หลังบนที่ดินกว้าง 50 ฟุต ในปีเดียวกันนี้หลังจากชนะการประกวดแบบ Ernest Flagg ได้เข้าร่วมกับบริษัท City & Suburban Houses Company of New York ซึ่งได้ทาการก่อสร้างอาคารห้องเช่าถึง 3,500 หน่วย สาหรับครอบครัวผู้มีรายได้ น้อยในเมืองนิวยอร์ค

“New Law” ในปี ค.ศ.1901 พระราชบัญญัติอาคารห้องเช่าเพื่ออยู่อาศัยของเมือง นิวยอร์คฉบับใหม่ได้ประกาศใช้แทนกฎหมายฉบับเก่า (The New York City Tenement House Act 1867, “Old Law” อาคารลักษณะ Dumbbell มี Air Shaft ระหว่างยูนิตพักอาศัย) กฎหมายใหม่นี้ได้กาหนดให้การก่อสร้างอาคารห้องเช่าเพื่อ อยู่อาศัยตามรูปแบบของ Flagg คือกาหนดให้มีคอร์ดสาหรับแสงสว่างและอากาศ กว้าง 12 ฟุต ระหว่างห้องเช่าแต่ละหน่วยมีห้องน้าส่วนตัว ในทุก ๆ หน่วยมี Land Coverage ไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์และ Yard Space ไม่น้อยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์

The City of Los Angeles Ordinance 1895 ขณะที่กฎหมาย “New Law” ได้ควบคุมการพัฒนาทางด้านคุณภาพทาง กายภาพในการพัฒนาเมือง อยู่ทางแถบฝั่งทะเลตะวันออก เหมืองทางแถบฝั่งทะเล ตะวั นตกก็ได้ ด าเนิ นการต่อ ไปเพื่ อ การพัฒ นาข้อ ก าหนดการใช้ ป ระโยชน์ ที่ ดิ น กฎหมาย “The City of Los Angeles Ordinance 1895” ได้ห้ามตั้งโรงงานปั่นด้าย ด้วยเครื่องจักรไอน้าในรัศมี 100 ฟุต จากโบสถ์ พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

คดีระหว่างอัยการของรัฐแมซซาจูเซ็ทท์กับวิลเลียมส์ (1899) เกี่ยวกับการควบคุมการพัฒนาเมือง มีกรณีสาคัญที่เกิดจากคาตัดสิน ของศาลสูงสุดรัฐแมซซาจูเซ็ทท์ ในปี ค.ศ.1899 ซึ่งกรณีฟ้องร้องระหว่างอัยการของ รัฐกับวิลเลียม เป็นกรณีแรกของอเมริกาที่ได้รักษาสิทธิ์ของประชาชนในการป้องกัน และอนุ รั ก ษ์ แ สงสว่ า ง และอากาศ โดยการก าจั ด ความสู ง ของอาคารเพื่ อ สาธารณประโยชน์ พระราชบั ญ ญั ติ ข อ ง เมื อ งแมซซาจู เ ซ็ ท ท์ ส าหรั บ ปี 1898 จากั ดความสูง ของอาคาร รอบ ๆ บริ เ วณค๊ อ พเพล์ สแควร์ ของเมื อ ง Boston (Copley Square) ไว้ในความสูงไม่เกิน 90 ฟุตและกาหนดไว้ว่า จุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติเพื่อ ความสวยงามจะต้องให้ ค่ า ชดเชยแก่ ผู้ ซึ่ ง ได้ รั บ ความเสี ย หายในทรั พ ย์ สิ น จาก เหตุผลของการจากัดความสูงของอาคาร สาหรับบริเวณ ค๊อพเลย์ สแควร์ เป็นสวนสาธารณะของเมืองที่มีอาคาร ของรั ฐ มากมายล้ อ มอยู่ โ ดยรอบ รวมทั้ ง โบสถ์ ท ริ นิ ตี้ (Trinity Church) พิพิธภัณฑ์ศิลป์ (The Museum of Fine Arts) ห้องสมุดสาธารณะ (Boston Public Library) ตึก New Old South Church และตึกมหาวิทยาลัย M.I.T ฝ่ายจาเลยอ้างว่า พระราชบัญญัติดังกล่าว ขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและความพยายามที่จะ รักษาความสมดุลของสถาปัตยกรรมของบริเวณเอาไว้ ซึ่งศาลได้ให้คาตัดสินว่า เป็นการยากมากที่จะกล่าวว่า พระราชบัญญัติอันนี้มิได้ผ่าน การเห็นชอบการดาเนินการตามอานาจของตารวจ เช่นเดียว กับพระราชบัญญัติอื่น ๆ ที่กาหนดกฎเกณฑ์การสร้างอาคาร พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ที่ผ่านการเห็นชอบตามปกติ เมื่อพิจารณาถึงข้อกาหนดทั้งหมด ที่ให้ไว้ดูเหมือนว่าจะเป็นการตั้งใจที่จะถือสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ใช้บริเวณค๊อพเลย์ สแควร์ ซึ่งมันจะเพิ่มสิทธิ์ให้กับสวนสาธารณะ ในเรื่องแสงสว่างและ อากาศ สิทธิเหล่านี้มีลักษณะการให้สิทธิ์ตามกฎหมายในการ บังคับเจ้าของที่ดินให้เปิดที่โล่ง เพื่อแสงสว่างและอากาศที่ พระราชกาหนดระบุเอาไว้สาหรับสวนสาธารณะ ข้อกาหนด นี้กาหนดเอาไว้ก็เพื่อทดแทนให้กับเจ้าของที่ดินดังกล่าว ไม่ว่า จะพิจารณาในทางใด พระราชบัญญัตินี้เป็นไปตามกฎหมาย ที่ว่าด้วยสิทธิในการเวนคืนที่ดิน หากการออกกฎหมายดังกล่าว เป็นการอนุรักษ์ หรือเพื่อปรับปรุงสวนสาธารณะสาหรับชาวเมือง ได้ใช้ร่วมกัน ซึ่งการใช้สวนสาธารณะเช่นนี้ เมื่อต้องการมีการ เวนคืนที่ดินแล้ว เอกชนผู้เป็นเจ้าของก็ต้องได้รับค่าทดแทนใน การเวนคืนด้วย และเป็นการขยายความก้าวหน้าของชาวเมือง ในการศึกษาและการได้รับอากาศบริสุทธิ์ ทางฝ่ายจาเลยได้ คัดค้านว่า การออกพระราชบัญญัตินี้มีจุดประสงค์ที่จะรักษา สถาปัตยกรรมของบริเวณค๊อพเลย์ สแควร์ ถ้าสิ่งนี้เป็นความ จริง และถ้าพระราชบัญญัตินี้ออกมาเพื่อประโยชน์ของเจ้าของ ที่ดินแต่ละบุคคลแล้ว การเวนคืนที่ดินจะเป็นการทาลายสิทธิ ของเจ้าของที่ดินไป แต่ถ้าหากการออกพระราชบัญญัตินี้เป็น การออกเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม โดยต้องการให้สวน สาธารณะสวยงาม และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและเพื่อเป็นการ ป้องกันไม่ให้มีสิ่งปิดบังแสงสว่าง และอากาศซึ่งได้รับอยู่ก่อน แล้ว เราไม่สามารถจะพูดได้ว่าอานาจของกฎหมายไม่อาจตัดสิน ได้ว่าเรื่องนี้ เป็นเรื่องของประโยชน์ส่วนรวม ของประชาชนที่ พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

ต้องการเงินของรัฐเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และต้องการให้มีการ เวนคืนที่ดิน เพื่อสาธารณประโยชน์ดังกล่าว (สาหรับความเห็น ของศาลนั้นอยู่ตรงคาถามที่ว่าการจ่ายเงินทดแทน การเปิด ช่องว่างสาหรับ “อากาศและแสงสว่าง” ดังกล่าวมีความ จาเป็นหรือไม่) เมื่ อ สิ้ น ศตวรรษที่ 19 เมื อ งชิ ค าโก มี ป ระชากรกว่ า 1,700,000 คน แตกต่ า งจากปี ค.ศ.1870 ซึ่ ง มี ป ระชากรเพี ย ง 300,000 คน และประเทศ สหรัฐอเมริกามีประชากรถึง 76,000,000 คน (เพิ่มขึ้น 71,000,000 คน จากปี ค.ศ. 1800) จากจานวนประชากรทั้งประเทศนี้ 40 เปอร์เซนต์เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง ต่าง ๆ (ค.ศ.1800 มีประชากรเมืองเพียง 6% เท่านั้น) และในปี ค.ศ.1900 มีถึง 38 เมื องที่มี ประชากรมากกว่า 100,000 คน (ค.ศ.1800 มี เพี ยง 2 เมื องเท่ านั้ น ที่ ประชากรเกิ น 25,000 คน) เทศบาลต่าง ๆ ในอเมริกาได้ถูก ครอบงาด้วยการคอรัปชั่น ทั้ง ๆ ที่มีพระราชบัญญัติ ข้าราชการ พลเรือน 1883 องค์กรสันนิบาต เทศบาลแห่ ง ชาติ ใ นปี ค.ศ. 1894 และการรวมมหานครนิวยอร์คกับบริเวณข้างเคียงในปี ค.ศ.1898 เป็น “มหา อาณาจักรนิวยอร์ค” “(The Greater New York)” ในปี ค.ศ.1898 นี้เป็นปีที่สาคัญในประวัติศาสตร์การผังเมือง คือ เป็นปีที่ Ebenezer Howard ได้ประกาศถึงทฤษฎีเมืองอุทยานของเขา “The Garden City Theory”

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

Ebenezer Howard และทฤษฎีเมืองอุทยาน Ebenezer Howard เกิดเมื่อ ค.ศ.1850 และตายเมื่อ ค.ศ.1928 เขาไม่ได้เป็นนักผังเมืองอาชีพหรือสถาปนิก หรือนัก ออกแบบ เขาเป็นนักเขียนชวเลขประจาศาลในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1877 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการ ตาแหน่งนักชวเลขประจารัฐสภา Howard ได้แสดงทฤษฎีเมืองอุทยานเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1898 ในหนังสือชื่อ “Tomorrow a Peaceful Path to Real Reform” ซึ่งมี การพิมพ์เผยแพร่ใหม่ในปี ค.ศ.1920 ในชื่อ “Garden City of Tomorrow” หนั ง สื อ นี้ ไ ด้ น าไปสู่ ก ารก่ อ ตั้ ง สมาคมเมื อ งอุ ท ยาน (Garden City Association) วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนตามทฤษฎีต่าง ๆ ของ Howard “การพัฒนาเมืองซึ่งมีลักษณะสามารถพึ่งพาตนเองได้ และตั้งอยู่ในพื้นที่ ชนบทโดยบริษัทเอกชน” ทฤษฎีนี้ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากแนวความคิดผู้อื่น แนวความคิดของทฤษฎีทั้งหมดได้เคยเสนอมาก่อนแล้ว โดย Buckington Ruskin George และ Salt และได้มีการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมซึ่งตั้งอยู่ในชนบทมาก่อน หน้านี้คือ Saltaire ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความสาเร็จ แต่ชุมชนตามแนวความคิด ของ Howard ก็แตกต่างจากความคิดของ Salt หลายประการ ประการแรกคื อ เป็ น เมื อ งที่ สามารถพึ่ ง พาตนเองได้ ใ นด้ า นการผลิ ต อาหารสาหรับชาวเมือง การหัตถกรรม และการค้าขายบริการสาหรับคนในชุมชน ประการที่สอง หลักการนี้ได้รับอิทธิพลอย่างใหญ่หลวงจากทฤษฎีที่ดิน ของ Henry George Henry George เป็นนักเศรษฐศาสตร์อเมริกัน (เกิด ในปี ค.ศ.1839 และตายในปี ค.ศ.1897) เขาได้ไปลอนดอน เพื่ อ เสนอแนวทฤษฎี ข องเขาในปี ค.ศ.1881-1882 ใน แนวความคิดของเมืองอุทยานของ Howard ที่ดินทั้งหมดเป็น ของบรรษัทชุมชน (Community Association) และทาหน้าที่เป็นรัฐบาล คนใน พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

เมืองอุทยานจะเป็นผู้ถือหุ้น ที่ดินได้เช่าในราคาตามสภาพแวดล้อมของชุมชนและ ค่าเช่าจะถูกจ่ายกลับไปสู่กาปั่นใส่เงินของเมือง เพื่อใช้จ่ ายสาหรับการปรับปรุง สาธารณูปการ การสาธารณูปโภค และเป็นค่าใช้จ่ายสาหรับบริการสาธารณะ Howard พร้อมด้วยนักปฏิรูปผังเมืองส่วนใหญ่ หลัง ปี ค.ศ.1820 ได้ ตระหนักว่ามีทางเลือก 2 อย่างในเรื่องการอยู่อาศัยในประเทศอังกฤษในเวลานั้น “เมืองหรือชนบท” ซึ่งทั้งเมืองและชนบทต่างก็มีข้อดีและข้อเสีย Howard ได้ พยายามที่จะรวมข้อดีทั้งของเมืองและชนบทไว้ด้วยกัน Howard ได้วาดไดอะแกรม สาหรับชุมชนตามแนวความคิดของเขาจากการมีพื้นฐานของการเป็นนักทฤษฎี ทางด้านสังคมวิทยา เขาได้เสนอรูปแบบให้มีเมือง อุท ยานบริ ว ารล้อ มรอบเมื อ งอุท ยานศู น ย์ ก ลาง เมืองแต่ละเมือง และจะพึ่งเมืองศูนย์กลางในด้าน บริ ก า รใ นร ะ ดั บภ า ค เ ท่ า นั้ น เ ข า ไ ด้ เ สน อ แนวความคิดว่ าเมือ งบริวารเหล่ านี้จ ะมี จานวน ประชากรที่ แน่ น อน ไม่ มี การขยายตั ว ประชากร เมืองเติบโตถึงจานวนเป้าหมายแล้ว เพื่อป้องกัน การขยายแผ่บริเวณ และการก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมในชานเมืองประชากรสูงสุด เสนอไว้ 32,000 คน มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ของท้องทุ่งเกษตรกรรมและป่าไม้ ระหว่างเมืองเหล่านั้น เพื่อให้มีที่โล่งแจ้งและมีบรรยากาศแห่งธรรมชาติซึ่งผู้คนใน ย่านพักอาศัยสามารถเดินมาถึง Howard ได้ชื่อนี้ “Garden City” มาจากเมืองหนึ่ง ในมณฑล Long Island รัฐนิวยอร์ค ซึ่งเขาได้เคยไป แนวความคิดของ Howard ได้แตกต่างไปจากแนวความคิดที่จะสร้าง เมืองสวรรค์ทั้งหลายแห่งศตวรรษที่ 19 ที่ผ่านมา เพราะทฤษฎีของ Howard ไม่ เพี ย งแต่ จ ะเกี่ ย วข้ อ งกั บ ความคิ ด เรื่ อ งเมื อ งและชนบทเท่ า นั้ น แต่ ไ ด้ ค านึ ง ถึ ง หลักการทางเศรษฐศาสตร์ใ นเรื่องค่าเช่าที่ดินด้วย แต่เท่าที่ผ่านมาแล้วก็ได้มีการ

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


มรดกทางผังเมืองแห่งศตวรรษที่ 19

สร้างเมืองในแนวความคิดคล้าย ๆ กันนี้บ้าง ซึ่งยังมีผู้ตระหนักถึงอยู่สองสามแห่ง เช่น เมือง Saltaire ในประเทศอังกฤษ ซึ่งได้สร้างเมื่อ 40 กว่าปีก่อนหน้านี้ บรรษัทเมืองอุ ทยานแรก ได้ ก่อตั้งในประเทศอังกฤษเมื่อ ปี ค.ศ.1899 บรรษัทนี้ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน และได้สร้างเมืองอุทยานขึ้นในประเทศ อังกฤษตอนต้นศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีเมืองอุทยานนี้ (Garden City Theory) มีผล ต่อการวางผังในอนาคตอย่างมาก โดยอิทธิพลของบรรษัทเมืองอุทยานทั้งหลาย และเป็นหลักการสาหรับกาหนดแผนการสร้างเมืองใหม่ (New Town) ยุคหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ของรัฐบาลอังกฤษ และเป็นหลักการสาหรับการสร้างชุมชนสี เขียว (Green Belt Community) ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในระหว่างยุคภาวะ เศรษฐกิจตกต่าในทศวรรษที่ 1930 ขบวนการเนรมิตเมืองอุทยานนี้ (The Garden City Movement) ได้เป็น ปรัชญาที่สาคัญของการวางผังในอเมริกานานถึง 60 ปี โดยนาหลักปรัชญาของ ขบวนการนี้ “การสร้างเมืองให้มีบรรยากาศชนบท” ได้ถูกนามาประสานให้เข้ากับ รูปแบบทางเรขาคณิตของขบวนการ The City Beautiful Movement และเน้น ความส าคั ญ เรื่ อ งสิ่ ง แวดล้ อ มและเสริ ม สร้ า งความสมบู ร ณ์ ใ นด้ า นสุ ข ภาพ พลานามัยและความปลอดภัยจากจุดยืนแห่งขบวนการ The Public Health Movement

พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.