s
ve your e or es s ve w th SOMSRI
บริษัท สมศรีการ์เมนท์ จํากัด
อะไรคือการประเมินแบบ 360 องศา
การประเมินผลในลักษณะนี้ก็คือการแสวงหาข้อมูลด้านความสามารถในการทํางาน (Performance Feedback) ตามตําแหน่งและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายของพนักงานท่านนั้น ๆ เพื่อนํามาประเมินผลการ ทํางานเพื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่องค์กรวางไว้ ตลอดจนประเมินศักยภาพของพนักงานไปพร้อมกัน ด้วย การประเมิ น นี ้ จะสอบถามตลอดจนแสวงหาความคิ ดเห็ น จากบุ ค คลรอบข้ างที ่ เ กี ่ ย วข้ องกั บการ ทํางานทั้งหมดแบบครบองค์รวม 360 องศา ตั้งแต่ ผู้บังคับบัญชาที่อยู่สูงขึ้นไป, ผู้ใต้บังคับบัญชาที่อยู่ ตํ่ากว่า, เพื่อนร่วมงาน, เพื่อนต่างแผนก, พนักงานในระดับที่อยู่ล่างกว่าแต่ไม่อยู่ในสายบังคับบัญชา โดยตรง, ไปจนถึงผู้ที่อยู่นอกองค์กรแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทํางาน อย่างเช่น ลูกค้า, คู่ค้า, เป็นต้น นั่นคือส่วนของบุคคลอื่น
ทําไมต้องประเมินแบบ 360 องศา 1. การประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา (360-degree Feedback) จะทําให้เรารับรู้ข้อมูลได้จาก หลากหลายมุมมอง หลากหลายมิติ หลากหลายระดับ 2. การประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา (360-degree Feedback) จะทําให้เห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อบกพร่อง ตลอดจนปัญหาได้ง่าย เนื่องจากมองจากหลายมุมมอง และสามารถหาทางแก้ไข ปัญหาได้ทันเวลา 3.
การประเมินผลรอบทิศแบบ 360 องศา (360-degree
Feedback)
ผู้ประเมินผลควรให้
ข้อเท็จจริง ตรงไปตรงมา ยุติธรรม ไม่โน้มเอียง เพราะไม่เช่นนั้นจะทําให้ผลการประเมินคลาดเคลื่อน ได้
เกณฑ์และสัดส่วนคะแนนการประเมิน 360 องศา โดยสัดส่วนนํ้าหนักคะแนนจะประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้ 1. พนักงาน ระดับ Supervisor ขึ้นไป
-
ผู้บังคับบัญชา 100 คะแนน
- ผู้ใต้บังคับบัญชา - ประเมินตนเอง 2. พนักงาน ระดับ Operational
- ผู้บังคับบัญชา 100 คะแนน - ประเมินตนเอง ทั้งนี้การที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินและการประเมินตนเอง
จะเป็นการวัดผลแต่ไม่มีผลต่อ
การปรับเงินเดือนประจําปี ขอให้พนักงานทุกท่านประเมินด้วยความสัจจริง
เกณฑ์ประเมินการให้คะแนนดังต่อไปนี้
5 = ดีเกินความคาดหมายอย่างยิ่ง 4 = ดีกว่ามาตรฐาน 3 = มาตรฐาน 2 = พอใช้ 1 = ควรปรับปรุงอย่างยิ่ง
รูปแบบผลการประเมิน การประเมินจะถูกแบ่งเป็น 2 แกน โดยการตัดเป็นเกรด ( Grade ) แกนที่ 1 ความสามารถในการทํางาน จะแบ่งตัววัดการประเมิน เป็นตัวเลข 0 หมายถึง ไม่สามารถทํางานได้ หากได้ 0 จะถือว่าไม่ผ่านทดลองงาน 1 หมายถึง ทํางานได้อยู่ในระดับมาตรฐาน 2 หมายถึง ทํางานได้อยู่ในระดับดีกว่ามาตรฐาน 3 หมายถึง ทํางานได้อยู่ในระดับดีเกินความคาดหมายอย่างยิ่ง ซึ่งจะมีพนักงานเพียง 1-3% เท่านั้นที่จะได้ เกรด3
แกนที่ 2 แกนวัฒนธรรมองค์กร จะแบ่งตัววัดการประเมิน เป็นตัวอักษร A หมายถึง เหมาะกับวัฒนธรรมของเราอย่างมาก เพื่อนร่วมงานมีความสุขที่ได้ร่วมงานด้วย B หมายถึง พอปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์เราได้ ยังมีเพื่อนร่วมงานที่อยากร่วมด้วยและไม่อยาก ร่วมงานด้วย C หมายถึง ไม่เหมาะกับวัฒนธรรมของเราเลย เพื่อนร่วมงานรู้สึกแย่หากต้องร่วมงานด้วย
สรุป ถ้าหากพนักงานท่านหนึ่ง ได้คะแนนแกนความสามารถที่เกรด 3 และได้คะแนนแกนวัฒนธรรม องค์กรที่เกรด A พนักงานท่านนั้นจะได้รับ เกรด 3A
เกณฑ์ในการประเมินหัวหน้างาน/ผู้จัดการ/ผู้บังคับบัญชา เกณฑ์ประเมินพฤติกรรมการทํางาน
1. ความสามารถในการจูงใจทีมงานในการทํางานให้สําเร็จ • การวางแผนและกําหนดเป้าหมายการบริหารจัดการ • การส่งเสริมและสนับสนุนการทํางานเป็นทีม • มอบหมายงานให้ตรงตามความสามารถของบุคลากร 2. ความสามารถในการรับรู้ถึงผลงานและความสําเร็จของทีมงาน • การติดตามและประเมินผลทีมงาน • การชื่นชมและการให้แก้ไขปรับปรุงทีมงานในการทํางาน • ให้คําปรึกษาแนะนําแก่สมาชิกในทีมถึงแนวทางและวิธีการทํางานให้มีประสิทธิภาพ 3. การให้เวลาหรือสนับสนุนให้ทีมงานค้นคว้าแนวคิดใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าเสี่ยง กล้าสร้างสิ่งใหม่ๆ • การสนับสนุนให้ทีมงานมีการนําเทคโนโลยีฯหรือกระบวนการทํางานใหม่ๆมาใช้ • การพูดถึงเหตุผลและเป้าในงานที่มอบหมายให้ทําให้เข้าใจ • ส่งเสริมให้ทีมงานมีการพัฒนาตนเองอย่างสมํ่าเสมอ 4. ความสามารถในการรับฟังและนําความคิดเห็นของทีมงานมาปฏิบัติใช้ • การให้เวลาในการพูดคุย แสดงความคิดเห็นต่อสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ • ไม่มีการปิดกั้นในการแสดงความคิดเห็นของทีม • ความสามารถในการส่งเสริมให้ทีมงานสามารถแสดงความคิดเห็น พูดคุยได้อย่างตรงไปตรงมาอย่างเคารพ กัน 5. ความสามารถในการสื่อสารอย่างกระชับ ชัดเจน ต่อทีมงาน • ความสามารถในการจับประเด็นจากการฟังและอ่าน • ความสามารถในการสื่อความ หรือถ่ายทอดข้อมูล ความคิดโดยการพูด เขียน ตลอดจนการใช้เครื่องมือ สื่อสารต่างๆ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายงานที่ต้องการ
เกณฑ์ในการประเมินตนเอง เกณฑ์ประเมินพฤติกรรมการทํางาน
1. การให้ความร่วมมือ สื่อสาร ประสานงาน และการทํางานเป็นทีม • การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน • การให้ความช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน • การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น 2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง • ความสามารถในการคาดการณ์งาน • การกําหนดความสําคัญของงานที่ต้องมาก่อนและหลัง • มีวิธีการปฏิบัติงานที่ปรับเปลี่ยน ตามความเหมาะสมให้ดีขึ้น 3. การวิเคราะห์ ตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหา • ความรวดเร็วและความถูกต้องในการตัดสินใจ • การรับฟังและการให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ • การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า 4. ความตั้งใจ ทุ่มเทละอุทิศตนในการทํางาน • ความขยันหมั่นเพียร • ความตั้งใจปฏิบัติงานให้สําเร็จ • ความไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและปัญหา 5. ความสามารถในการปฏิบัติงาน • ความรอบรู้และความเข้าใจในงาน • ความสามารถในการวิเคราะห์ เชื่อมโยง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างที่เกี่ยวข้องกับงาน • ความสามารถในการบริหารจัดการงานให้สําเร็จ ทันเวลา และมีประสิทธิภาพ
เกณฑ์ในการประเมิน เกณฑ์ประเมินคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่พึงประสงค์
1. Adaptability • ความสามารถในการปรับตัว เปลี่ยนแปลงต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร 2. Better • ความสามารถในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ 3. Creativity • ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ผลงาน การนําแนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ มาปรับใช้ในการทํางานเพื่อ ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น 4. Discuss • ความสามารถในการกล้าพูดคุยและแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น ตนเอง และองค์กร 5. Empathy • ความสามารถในการเข้าอกเข้าใจเพื่อนร่วมงาน ตนเอง องค์กร และลูกค้า
บริษัท สมศรีการ์เมนท์ จํากัด
s
ve your e or es s ve w th SOMSRI