Lhek Khut

Page 1


บทน�ำ ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นพื้นที่ อุดมไปด้วยมะพร้าวภูมิปัญญา อันเกิด จากการน�ำมะพร้าวมาใช้ประโยชน์ในชีวิต ประจ�ำวันมีอยู่อย่างมหัศจรรย์ กล่าวให้ถึงที่ สุด ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับมะพร้าวมี อยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ก่อนที่จะคลอด ลูกต้องดื่มน�้ำมะพร้าว เมื่อตายต้องใช้น�้ำ มะพร้าวในการอาบศพ ในครัวไฟของชาวใต้ มีบทบาทของมะพร้าวปรากฎให้เห็นอยู่หลาย มิติ ไมว่าจะเป็นการน�ำมาเป็นภาชนะต่าง ๆ น�ำมาเป็นเครื่องตักตวงข้าวสารซึ่งเกี่ยวข้อง กั บ คติความเชื่อ ในด้านเครื่อ งลางของขลั ง เช่น กะลาตาเดียว เป็นต้น หรือแม้แต่การ สร้างสรรค์เหล็กขูดเพือ่ น�ำมาขูดมะพร้าวก็ตาม




สารบัญ

1

เหล็กขูด นามกรนี้คือสิ่งใด

3

พัฒนาการและความเป็นมา

9

พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา

17

วิถีที่เปลี่ยนแปลง เหล็กขูดจะหายไป


"เ ห ล็ ก ขู ด น า ม นิ ก ร นี้

คื อ สิ่ ง ใ ด "

เป็ น ค� ำ ถามที่ ต ้ อ งการตอบให้ สั ง คมได้ ถึ ง บางอ้ อ ว่าสิ่งที่ชาวใต้เรีย กว่าเหล็ ก ขู ด นั้ น แท้ จริ ง แล้ว คือกระต่ายขูดมะพร้ า ว ของ ชาวภาคกลาง เมื่อเช่นนั้น แน่นอนบทบาท หน้ า ที่ ก็เป็นในลักษณะเดีย วกัน คื อ การ ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ในการน� ำ เนื้ อ มะพร้ า วมา ประกอบอาหาร

1


"เหล็กขูด"

เป็นค�ำภาษาถิ่นใต้ เกิดจากการประสมค�ำระหว่างค�ำว่า “เหล็ก” และ “ขูด” ต่อมามีผู้คิดหาเหล็กมาท�ำให้ด้านหนึ่ง แหลมอีกด้านหนึ่งแบนใช้ตะไบถูด้านแบนให้เป็นซี่อย่าง ฟันปลา น�ำไปใช้ขดู มะพร้าวก่อนทีจ่ ะเกิดสิง่ ทีเ่ รียกว่า เหล็กขูด มันเคยเป็น ไม้ขูด มาก่อน สิ่งประดิษฐ์ทางภูมิปัญญาที่เรียก ว่า “ไม้ขูด” ถึงแม้จะเป็นนวัตกรรมในการน�ำเนื้อมะพร้าวมา ใช้ประโยชน์ที่ก้าวหน้าในยุคนั้น แต่ก็ยังมีข้อจ�ำกัดมากมาย เช่น เนื้อมะพร้าวที่ได้มักหยาบ สิ่งที่น�ำมาขูดมะพร้าวมี พัฒนาการการเปลี่ยนแปลงมาตามล�ำดับ แต่เหล็กขูดชนิด ที่ใช้คนนั่งขูด กล่าวได้ว่า เป็นชนิดที่แพร่หลายที่สุด และ ตรงกับความคิดรวบยอดของทุกคนเมือ่ ได้ยนิ ค�ำว่า“เหล็กขูด”

“หากยามใดเราในฐานะคนภาคใต้จ�ำเป็นต้องเรียกชื่อมันให้ผู้คน ในภาคกลางได้ยิน ต้องระมัดระวังให้จงหนัก อย่าเรียกมันว่าเหล็กขูด” 2


3


สารานุ ก รมวั ฒ นธรรมไทยภาคใต้ ของสถาบั น ทั ก ษิ ษ คดี ศึ ก ษา ได้ ก ล่ า วถึ ง พัฒนาการของเหล็กขูดไว้ว่า "ในอดีตชาวบ้านในภาคใต้ เมื่อจะใช้กะทิปรุงอาหาร หรือท�ำขนม จะน�ำมะพร้าวมากะเทาะเอเนื้อออกจากกะลา ใส่ครกต�ำแล้วน�ำมา คั่น ต่อมาได้น�ำเอาทางไม้กะพ้อ หรือไม้อื่น ๆ ที่มัเสี้ยนเเข็งขนาดประมาณท่อน แขน ตัดปลายด้านหนึ่งให้โค้งแบนและคมบางเรียกว่า "ผลาดปากเป็ด" แล้วแต่ง ส่วนปลายให้หยักอย่างฟันปลา น�ำไปใช้ขูดมะพร้าวเรียกสิ่งประดิษฐ์นี้ว่า "ไม้ขูด" เนื้มะพร้าวที่ได้มักหยาบ อายุการใช้งานสั้น จึงได้คิดวิธีใหม่โดยน�ำตะปูมาตอก เรียงเป็นแผงเข้ากับแผ่นไม้ ให้ส่วนปลายโผล่ น�ำมะพร้าวที่กะเทาะเปลือกมา "ตรูน" ต่อมาจึงมีผู้น�ำเหล็กมาท�ำให้ด้านหนึ่งแหลม อีกด้านแบนใช้ตะไบถูด้าน แบนเป็นซี่ ๆ แล้วน�ำเหล็กนี้ไปปักเข้ากับหัวนอส�ำหรับใช้ขูดมะพร้าว ถือเป็นจุด เริ่มต้นของเหล็กขูดที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเหล็กขูดในปัจจุบัน

4


"เหล็กขูด"

มีสว่ นประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนทีเ่ ป็นส่วนทีเ่ ป็นเหล็ก เรียก กันว่า “ตาเหล็กขูด” กับส่วนทีเ่ ป็นไม้สำ� หรับใช้รองนั่ง หรือ วัสดุอย่า งอื่นที่น�ำมาท�ำเป็นที่รอง นั่ ง เรี ย กว่ า “ตั ว เหล็ ก ขู ด ”

5


"ตาเหล็กขูด" ลักษณะคล้ายฟันของ"กระต่าย" ท�ำหน้าที่น�ำเนื้อมะพร้าวออกจากกะลา

ในสมัยโบราณชาวใต้จะใช้หวั ของใบกะพ้อบ้าง ใบตาล มาตัดใบออกตรงทางใบของพืชตระกูลปาล์มทัง้ สองชนิด จะมีกา้ นใบทีแ่ ข็งมาก เมือ่ ตัดเป็นรูปใบโพธิ์ขนาดเล็กกว่า

ฝ่ามือ แล้วใช้เป็นที่ขูดมะพร้าว ต่อมาได้พัฒนาโดยน�ำไม้ไผ่ ท�ำให้ซี่ฟันแหลม ๆ หลังจากนั้นได้น�ำไม้ที่มีเนื้อหยาบเป็นเสี้ยน บ้าง เช่น ไม้ตาล ไม้หมาก เป็นต้น อย่างไรก็ตามที่ขูดมะพร้าว ซึ่งท�ำจากไม้มีข้อจ�ำกัดคือความคงทนถาวร ใช้งานได้ไม่นาน ต่อมาเมื่อเกิดการใช้เหล็กขึ้น จึงน�ำเหล็กมาตีขึ้นรูปเป็นแผ่น แล้วดัดให้โค้งมนได้ขนาดและใช้ตะไบถูท�ำเป็นซี่แหลมและคม เหมือนฟันปลา

6


"ตัวเหล็กขูด" จากวิ ถี ชี วิ ต พั ฒ นาสู ่ . ...

งานศิ ล ป์ ขั้ น สู ง

7


ส่วนใหญ่มักท�ำด้วยไม้ที่หาได้ในท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ท�ำจากไม้สะท้อน ไม้หลุมพอ ไม้ขนุน เป็นต้น ซึ่งผู้ ท�ำมักจินตนาการจากสิ่งรอบตัวซึ่งส่วนใหญ่จะออก มาในรูปของสัตว์นานาพันธุ์ เป็นลักษณะต่างคนต่าง ท�ำขึ้น ความประณีตสวยงามจึงขึ้นอยู่กับฝีมือในเชิง ช่างผนวกเข้ากับจินตนาการของแต่ละคน ตัวเหล็ก ขูดที่ท�ำจากไม้ งานกลุ่มนี้เป็นงานเชิงมัณฑนศิลป์ ผสมผสานกับความคิดถึงประโยชน์ใช้สอยตามบริบท จริงของสังคม และเหล็กขูดที่ท�ำจากโลหะพบว่า ท�ำขึ้นจากโลหะแผ่นเดียวที่พบมากคือท�ำจากเหล็ก แหนบรถ น�ำมาดัดโค้งงอให้เข้ารูปทั้งตาเหล็กขูด และตัวของเหล็กขูด

8




"พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา"

ศูนย์กลางการเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมภาคใต้

เป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านมีห้องจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับวิถีการด�ำเนินชีวิตของ ชาวภาคใต้ครอบคลุมทุกมิติ มีห้องจัดแสดงจ�ำนวน 30 ห้อง ในบรรยากาศกลิ่น อายของความเป็นภาคใต้ ภายในอาคารกลุ่มหลังคาปันยา กลุ่มอาคารคาบรานอ และกลุ่มอาคารหลังคาทรงจั่วซึ่งถูกออกแบบและสร้างสรรค์อย่างลงตัวบนเขา เชิงสะพานติณสูลานนท์ ที่คนท้องถิ่นมักเรียกขานกันว่า “สะพานเปรม” ด้าน เชื่อมกับอ�ำเภอสิงหนคร

9


"ห้องกระต่ายขูดมะพร้าว"

ถูกจัดแสดงไว้อย่างเรียบง่าย สวยงาม และลงตัวโดยมีทัศนียภาพของทะเลสาบ สงขลาเป็นม่านธรรมชาติทอดยาวไปบรรจบ กั บ เทื อ กเขาที่ ตั้ ง เป็ น ก� ำ แพงทะมึ น กระต่ายขูดมะพร้าวถูกจัดเรียงวางไว้เพื่อ อวดโฉมเสมือนยั่วยวนให้ผู้มาเยือนต่อ จิตนาการตามประสบการณ์ที่แต่ละคน คุ้นชิน

10


" เหล็ ก ขู ด รู ป ผู้หญิงส่วนใหญ่ จะอยู ่ ใ นท่ า ทางนอนหงายชันเข่า "

11


กลุ่มชนิดรูปคน เหล็กขูดที่ประดิษฐ์ขึ้นมาในรูปผู้หญิงจ�ำนวน 9 ตัว อยู่ในท่านอน หงาย 8 ตัว นอนตะแคงข้าง 1 ตัว ในจ�ำนวนนี้เป็นรูปแก้ผ้า จ�ำนวน 7 ตัว ใส่ชุดว่ายน�้ำ 1 ตัว และสวมเสื้อผ้าจ�ำนวน 1 ตัว เป็นที่น่าสังเกตว่า เหล็กขูดรูปผู้หญิงส่วนใหญ่จะอยู่ในท่าทาง นอนหงายชันเข่า เหตุไฉนต้องแก้ผ้า และนอนอยู่ในท่าสังวาส เสียส่วนใหญ่ นอกจากนี้ยังมีเหล็กขูดรูปผู้ชายจ�ำนวน 6 ตัว เป็นชายหนุ่ม จ�ำนวน 5 ตัวและเป็น เด็กชายแก้ผ้า จ�ำนวน 1 ตัว

12


กลุ่มรูปสัตว์เลี้ยง

สัตว์เลี้ยงที่มีระดับความใกล้ชิดกับคนสูง และมีบทบาทหลากหลาย เป็นทั้งเพื่อน คุ้มครองทรัพย์สิน มีความซื่อสัตย์ และรัก เจ้าของ อย่างเช่นหมา จะได้รับการผลิต เป็นเหล็กขูดมากที่สุด นอกจากหมาที่น�ำมา ท�ำเป็นเหล็กขูดมากที่สุดแล้วยังมี ม้า แมว วัว หมู เป็ดและไก่ เป็นต้น

13


กลุ่มรูปอวัยะเพศ

การพู ด เรื่ อ งเพศเป็ น สิ่ ง "บั ด สี " จึ ง ถู ก ถ่ า ยทอดผ่ า นงานศิ ล ป์ ใ ห้ " สวยงาม"

รูป ลักษณ์ที่พบส่ว นใหญ่เป็นเพศชาย บ่งชี้ถึงผู้ออกแบบและผลิต เหล็กขูดในกลุ่มนี้สื่อตรงไปตรงมาไม่ได้แฝงอวัยวะเพศไว้เพื่อ แสดงลักษณะเพศของสัตว์ตา่ ง ๆ ทีจ่ ำ� ลองขึน้ มาแล้วใส่เพศ บ่งบอกว่ามีเพศใดตามจารีต แต่ได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นรูป ของอวัยวะเพศโดยตรง เพียงแต่ค�ำนึงถึงโครงสร้าง ของตัวเหล็กขูดที่ต้องมีองค์ ประกอบส�ำหรับใช้งาน

14


กลุ่มงานฝีมือช่าง น� ำ สิ่ ง ของเหลื อ ใช้ ผ นวก ความคิ ด สร้ า งสรรค์ ก ลาย เป็ น ผลงานศิ ล ปะใช้ ส อย

กลุ่มงานฝีมือช่างเป็นการสร้างเหล็กขูดที่ มีลักษณะที่แตกต่างไปจากลักษณะที่พบได้โดย ทั่วไปในท้องถิ่น เช่นเหล็กขูดที่สร้างจาก กระดูกสัตว์ เหล็กขูดที่สร้างจากเหล็ก ชิ้นเดียว เหล็กขูดที่สร้างเป็นหมอน ไม้/ที่วางหนังสือส�ำหรับอ่าน เหล็กขูดที่สร้างเป็นกระเป๋า กล่องไม้หิ้ว

15


กลุ่มลายกนกในรูปม้านั่ง

"เหล็กขูดส่วนใหญ่เป็นศิลปะเฉพาะถิ่น ของผู้นับถือศาสนาอิสลาม" เหล็กขูดรูปลักษณ์ลายกนกที่พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาจัดแสดงสามารถ แยกได้เป็น 2 ประเภทคือลายกนกไทยอ่อนช้อยคล้ายสิงห์หรือตัวสิงห์ จ�ำนวน 6 ตัว และเป็นลายดอกไม้ จ�ำนวน 8 ตัว รูปที่เป็นลายกนกส่วนใหญ่จะได้มาจาก พื้นที่ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งอาจจะเกี่ยวของกับคติความเชื่อทาง ศาสนาที่กลุ่มคนในพื้นที่ดังกล่าวนับถือ ซึ่งมักจะไม่นิยมสร้างรูปสัตว์ต่าง ๆ

16


17


วิ ถี ที่ เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง เ ห ล็ ก ขู ด จ ะ ห า ย ไ ป

เมื่อเหล็กขูดหายไปจากวัดด้วยความต้อง การเนื้อมะพร้าวในปริ ม าณมากเพื่อน�ำ ไปประกอบอาหารเลีย้ งผูค้ นจากทัว่ สารทิศ ในยามมีงานการขูดมะพร้าวแบบเดิม ๆ ไม่สามารถตอบสนองบริบททางสังคมแบบ ใหม่ได้ ด้วยเหตุนี้เองจึงเกิดนวัตกรรม ใหม่เกี่ยวกับการขูดมะพร้าวขึ้น นั้นคือ "เครื่องขูดมะพร้าว" ที่ ประยุ กต์ขึ้น มา จากมอเตอร์ไฟฟ้า เข้ามาแทนที่คนและ เหล็กขูดแบบเดิม วัฒนธรรมการบริโภค มะพร้าวที่เปลี่ยนไปพร้ อ มกั บ การฝาก ท้องของสมาชิกภายในครอบครัวด้วยการ

ซื้อ "แกงถุง" จะมีการท�ำกับข้าว รับประทานเองบ้างก็มีอยู่จ�ำนวนน้อย ขึ้นตามล�ำดับ และเมื่อต้องใช้น�ำกะทิ มะพร้าวมาประกอบอาหารเพื่อความ สะดวก รวดเร็ว ครัวของชาวใต้โดย เฉพาะในเขตเมื อ งมั ก จะหั น ไปใช้ บริการกะทิกล่องเสียส่วนใหญ่ และ เหล็กขูดของชาวใต้จึงเริ่มหายไปจาก ครัวในเมืองของชาวใต้ ปัจจุบันเหล็ก ขูดยังมีใช้อยู่ในครัวของชาวใต้ที่ส่วน ใหญ่จะอยู่ในชนบท ถึงแม้ภาคใต้จะ เป็นดินแดนที่อุดมไปด้วยมะพร้าว

18


ไอไหรเหอ... ตัวอยู่ในป่าตาอยู่ในครัว ไอไหรเหอ... ชื่ออยู่ในครัวตัวอยู่ในป่า ไอไหรเหอ... ทั้งไขทั้งเคย อยู่บนหลัง



เหล็กขูด

"รูปลักษณ์ทางศิลปะสู่วิถีชีวิตชาวบ้าน"


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.