ตึกจีนย่านรถไฟลำปาง

Page 1

ตึกจีน


ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดลำ�ปางนั้น เดิมทีได้อพยพเข้ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนใหญ่มีเชื้อสาย จีนไหหลำ� (Hainanese) และจีนแคะ (Hakka) รวมตัวกันอยู่ ณ บริเวณ ตลาดจีน หรือ ตลาดเก่า ในปัจจุบัน ซึ่งในอดีตนั้นเมืองลำ�ปางเคยเป็นเมืองแห่งศูนย์กลางการค้าทางน้ำ�ที่เจริญรุ่งเรือง และ เป็นเมืองท่าสำ�คัญ ที่เชื่อมต่อศูนย์กลางทางการค้าระหว่างเมืองปากน้ำ�โพ (นครสวรรค์) กับภาคเหนือตอนบน และเป็นแหล่ง กระจายสินค้าเข้าออก จนกระทั่งเมื่อมีการสร้างสถานีรถไฟเข้ามาในจังหวัดลำ�ปางเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2459 ซึ่งถือเป็นการเปิดเส้นทางคมนาคมรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะในการขนส่ง ซึ่งทำ�ได้คราวละมากๆ ในเวลาไม่นาน ย่านสถานีรถไฟเมืองลำ�ปางจึงกลายเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าแทนการค้าขาย ทางน้ำ�ที่มีมาแต่เดิม นอกจากนั้นรถไฟยังมีการนำ�เอา รถม้าจากกรุงเทพฯ มาวิ่งเพื่อให้ผู้คนใช้เป็นพาหนะ เสมือนกับรถรับจ้างทั่วไป การมาถึงของรถไฟยังส่งผลให้เกิดความเจริญในด้านอื่นๆ อีก เช่น การสร้าง ถนนพหลโยธิน ไปยังจังหวัด พะเยา เชียงราย ซึ่งถือเป็นการเชื่อมโยงเส้นทางการค้าของเมืองต่างๆทาง ภาคเหนือผนวกกับส่วนกลางซึ่งก็คือ กรุงเทพฯ อันส่งผลกระทบต่อสังคมเศรษฐกิจ วิถีชีวิตของคนลำ�ปาง ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และต่อเนื่องจวบจนถึงปัจจุบัน


ลวดลายของไม้ฉลุลายขนมปังขิง บริเวณทางเข้าสถานีรถไฟนครลำ�ปาง

เมื่อทางรถไฟสายเหนือมาถึงลำ�ปางและขยายต่อไป ถึงเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. 2464 การคมนาคมทางบกสะดวกขึ้น การคมนาคมทางน้ำ�จึงค่อยๆ ลดบทบาท หมดความสำ�คัญ ลงตามลำ�ดับ เป็นเหตุให้แหล่งชุมชนการค้า ค่อยๆ ย้ายไป บริเวณสถานีรถไฟลำ�ปาง ย่านสบตุ๋ย ในเวลาต่อมาประจวบ กับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดลำ�ปาง เพื่อ เป็นทางผ่านไปพม่า เข้ายึดบริเวณต่างๆ โดยเฉพาะย่านการ ค้าตลาดจีน ด้วยเหตุต้องการยึดครองยุทธปัจจัย ทำ�ให้ห้าง สรรพสินค้า ร้านค้าในชุมชนตลาดจีนทั้งของคนเชื้อสายจีน พม่า และฝรั่งต้องอพยพหนีภัยสงคราม การทำ�ไม้ต้องยุติลง โดยปริยาย ชุมชนตลาดจีนจากเดิมเป็นแหล่งศูนย์การค้าจาก เรือที่เจริญ ค่อยๆ ลดบทบาททางการค้าและกลายมาเป็น แหล่งที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน

สถานีรถไฟลำ�ปางในปัจจุบัน


ตึกจีน

ในย่านสถานีรถไฟนครลำ�ปาง

อิทธิพลของชาวจีนในที่ได้เข้ามาอยู่อาศัยและมีความผูกพันกับดินแดนแถบในนี้ จึงส่งผลให้การสร้าง งานศิลปกรรมไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของตัวอาคารหรือลวดลายที่ประดับตกแต่งอาคาร แสดงให้เห็นถึง อิทธิพลในการสร้างโดยชาวต่างชาติอย่างชัดเจน กล่าวคือในการสร้างอาคารทั้งรูปแบบและวิธีการสร้าง อาคารได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก ผ่านช่างฝีมือชาวโปรตุเกสที่ได้เข้ามาทำ�การค้าไม้ และในส่วนของ การประดับตกแต่งลวดลายต่างๆ บนอาคารที่ได้รับอิทธิพลจากคติความเชื่อของชาวจีนโบราณ ซึ่งลักษณะ ของลวดลายประดับที่พบในอาคารพาณิชย์ ย่านสถานีรถไฟลำ�ปาง มักพบในส่วนของอาคารที่เก่าแก่ และ มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ดังเช่นอาคารต่อไปนี้

อาคารยู่ฮวด



อาคารยู่ฮวด

อาคารหลังนี้สร้างขึ้นในสมัยช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยช่างชาวโปรตุเกส เจ้าของเดิมชื่อ ยู่ฮวด เป็นชาวจีน อพยพมาจากปากน้ำ�โพ นครสวรรค์ ซึ่งเป็นต้น ตระกูล “วิทยาเอนกนันท์” ลักษณะของอาคารเป็นตึกสูง 3 ชั้น ก่อสร้างแบบครึ่ง ปูน ครึ่งไม้ อยู่ติดกับถนนประสานไมตรี มีลักษณะของสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพล จากตะวันตก คือมีลักษณะเป็นตึกปูน และลวดลายศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจีน ประดับในส่วนของระเบียง และปูนปั้นบริเวณด้านหน้าของอาคาร ภายในอาคารมีห้อง จำ�นวน 8 ห้อง ได้แก่ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ห้องน้ำ� ห้องรับรองแขก ห้องเก็บของ ห้อง พักผ่อน ประโยชน์ใช้สอยของอาคารในปัจจุบันคือใช้เป็นที่พักอาศัย


งานศิลปกรรมประดับอาคาร เสา

เสาที่พบตกแต่งและค้ำ�ยันมีลักษณะเป็นเสาปูนแบบยุโรป หรือที่เรียกกันว่า เสา Doric เสาในรูปแบบลักษณะนี้พบในบางอาคารเท่านั้น ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเสาแต่ละชั้น ของอาคารยู่ฮวดนี้มีความแตกต่างกันออกไป อันแสดงถึงความมั่งคั่งของผู้ที่เป็นเจ้าของ อาคาร

ปูนป้ันประดับ

ปูนปั้นประดับเหนือทางเข้าประตูของอาคารยู่ ฮวด ที่เป็นรูปพันธุ์พฤกษาแบบยุโรป

ปูนปั้นตราสัญลักษณ์เหนือ อาคาร รูปพระจันทร์เสี้ยว และรูป ดวงดาว ซึ่งน่าจะเป็นสัญลักษณ์ ประจำ�ตระกูล อันแสดงถึงความ สิริมงคล หรือใช้ในการปกปัก รั ก ษาวงศ์ ต ระกู ล ให้ อ ยู่ อ ย่ า ง ร่มเย็นเป็นสุข


ช่องลม

ลักษณะของช่องลมอีกรูปแบบหนึ่งของอาคารยู่ฮวด ในตำ�แหน่ง เหนือประตูบานเฟี้ยม ที่มีลักษณะเป็นทรงโค้งสร้างด้วยไม้ ช่องลมเหนือประตูทางเข้าของอาคารยู่ฮวด ที่มีลักษณะของการแกะสลักเป็น ลวดลายอิงสงโต้วจื้อ และฝู้กุ้ยฮวา หรือลายไก่ชนกับดอกโบตั๋น ลายไก่ชนนั้นหมายถึง มีความกล้าหาญ พร้อมสู้ในการรบ ส่วนลายดอกโบตั๋น นั้นหมายถึงความรํ่ารวยมั่งคั่ง

ระเบียง

ลักษณะของราวลูกระเบียงในอาคารยู่ฮวด บริเวณชั้น 2-3 จากลักษณะของราว ลูกกรงได้ทำ�เป็นลายซื่อตื่อวุ๋น หรือลายลูกพลับ อันเป็นลวดลายสิริมงคลตามความ เชื่อของชาวจีน

ประตู

ลักษณะบานประตูของอาคาร ยู่ ฮ วดที่ มี ก ารสร้ า งจากไม้ อ ย่ า ง สวยงามอั น เปรี ย บเสมื อ นหน้ า ตา ของผู้เป็นเจ้าของอาคาร ประตูใน ภาพซ้ า ยเดิ ม เคยใช้ เ ป็ น ประตู ท าง เข้าอาคารหลัก ปัจจุบันพบว่าประตู ถูกปิดตาย และได้ใช้ประตูบานเฟี้ยม ซึ่งอยู่ถัดไปอีกคูหาของตัวอาคาร

ปูนปั้นประดับภายในตัวอาคารเป็นรูปของสัตว์ เจ้าของอาคาร

ซึ่งสร้างตามปีนักษัตรของผู้เป็น


อาคารพาณิชย์ 2 ชั้น


อาคารพาณิชย์ 2 ชั้น

อาคารหลังนี้สร้างโดย ช่างชาวจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เจ้าของปัจจุบัน คือ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัด ลำ�ปางวิศวกรรม ลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตก สังเกตได้จากรูปทรงของอาคารที่เป็นการสร้างตึกแบบยุโรป ตกแต่งด้วยลวดลาย แบบจีนที่บริเวณระเบียง และมีการประดับปูนปั้นเป็นรูปสัญลักษณ์บริเวณช่วงบนสุด ของตัวอาคาร


งานศิลปกรรมประดับอาคาร

ปูนป้ันประดับ ปูนปั้นประดับส่วนบนสุดของอาคาร มีลักษณะของดอกไม้สี่กลีบ อันแสดงถึง ความเป็นสิริมงคล แต่ตรงกลางของปูนปั้น ไม่พบลวดลายใดๆ ซึ่งเป็นลักษณะของปูน ปั้นที่มีความแปลกจากปูนปั้นประดับส่วน บนอาคารในอาคารพาณิชย์อื่นๆ เดิมทีน่า จะเคยมีปูนปั้นเป็นชื่อของอาคาร แล้วหลุด ร่อนไปในภายหลัง

ช่องลม

ลักษณะของช่องลมอาคารนี้ พบว่ามีการทำ�เป็นลวดลายเรขาคณิต มีลักษณะคล้ายซี่ ลูกกรงเล็กๆ สร้างด้วยปูน ลักษณะของช่องลมลักษณะนี้จะมีความยาวตามความกว้างของ บานหน้าต่างนั้นๆ

ระเบียง

ลักษณะของซี่ลูกกรงที่เป็นลวดลายสิริมงคล ทำ�จากปูนปั้นเป็นรูปเรขาคณิต


อาคารพาณิชย์ 2 ชั้น

อาคารพาณิชย์หลังนี้เป็นสมบัติของร้านมานิตย์ ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับอีกฝั่งของ อาคาร ลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นอาคาร 2 ชั้น ติดกับถนนประสานไมตรี ไม่มีรั้ว สร้างด้วยปูนทั้งหลัง มีลักษณะของศิลปกรรมประดับตกแต่งที่ได้รับ อิทธิพลจากตะวันตกอย่างชัดเจน เช่นลักษณะของเสา เป็นต้น และมีการประดับ ตกแต่งปูนปั้นบริเวณชั้นดาดฟ้าของอาคาร การใช้งานในปัจจุบันถูกนำ�มาใช้เป็น โกดังเก็บสินค้าและข้าว ของร้านมานิตย์


งานศิลปกรรมประดับอาคาร ระเบียง, เสา ลักษณะของระเบียง และเสาในอาคารนี้ มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับระเบียงและเสา ของอาคารยู่ฮวด ซึ่งอาจจะมาจากช่างฝีมือคนเดียวกัน

ช่องลม

ลักษณะของช่องลมอาคารนี้ี่มีลักษณะในการสร้างเป็นรูปแบบครึ่งวงกลมสร้างด้วย ไม้ ซึ่งพบเพียงอาคารเดียว และมีลักษณะคล้ายกับวงกบโค้งเหนือประตูในอาคารยู่ฮวด แต่แตกต่างกันที่อาคารยู่ฮวด วงกบจะปิดด้วยปูนทึบ แสดงถึงการสร้างเพื่อการประดับ ตกแต่ง ส่วนอาคารหลังนี้ จะทำ�เป็นช่องโล่ง เพื่อระบายอากาศและให้แสงลอดผ่าน ซึ่ง ก็คือช่องลมนั่นเอง จากการศึกษายังพบว่าลักษณะการที่สร้างช่องลมให้เป็นรูปครึ่ง วงกลมมีรัศมีนี้ ยังมีความหมายสื่อถึงรัศมีของพระอาทิตย์ อันมีความเป็นสิริมงคลอีก ด้วย

ปูนป้ันประดับ

ปูนปั้นประดับส่วนบนสุดของอาคารนี้ มีลักษณะของรัศมีพระอาทิตย์อันแสดง ถึงความเป็นสิริมงคล ซึ่งการสร้างปูนปั้นในรูปแบบนี้อาจใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำ� อาคารได้อีกด้วย

หน้าต่าง ลักษณะของบานหน้าต่างในอาคาร ซึ่ง มีลักษณะของการทำ�ซี่ลูกกรงไว้ป้องขโมย หน้าต่างลักษณะนี้ยังพบได้ในบางอาคาร


อาคารแบบตึกฝรั่งผสมวัฒนธรรมจีน

อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นโดยชาวจีนไหหลำ� เจ้าของปัจจุบันคือร้านเจริญเกียรติ ขายอุปกรณ์วัสดุก่อสร้าง อาคารนี้มีการใช้งานต่อเนื่องมาจากการใช้งานเดิม คือใช้ ในการพาณิชย์ และใช้เป็นที่อยู่อาศัย ลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคาร 3 ชั้น ก่อสร้างแบบครึ่งปูนครึ่งไม้ โดยได้รับอิทธิพลในการสร้างเป็นแบบตะวันตก สำ�หรับ ศิลปกรรมที่ประดับอาคารมีลักษณะในการใช้ลวดลายประดับต่างๆ จากอิทธิพลจาก จีน นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณด้านข้างอาคารมีการใช้สัญลักษณ์มงคลขนาดใหญ่ ประดับอยู่เพื่อเป็นการช่วยเสริมฮวงจุ้ยของอาคารให้เหมาะสมมากขึ้น การใช้งาน ภายในอาคารมีการแบ่งคูหาของอาคารออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของร้านเจริญ เกียรติ อีกส่วนหนึ่งได้ให้ผู้อื่นเช่า พื้นที่ส่วนชั้น 2-3 พบว่าใช้เป็นโกดังเก็บสินค้า


งานศิลปกรรมประดับอาคาร ช่องลม

ลักษณะของช่องลมในอาคารนี้ มีลักษณะของการสร้างลวดลายช่องลมเป็นลายฟังเสิ้ง หรือลายสี่เหลี่ยมแห่งชัยชนะ อันมีความหมายเป็นลวดลายสิริมงคล ซึ่งมักใช้ในเครื่องประดับ สำ�หรับเด็ก ทำ�จากปูน

ระเบียง ลักษณะของลวดลายของราวลูกกรงในอาคารนี้ พบ ลวดลายที่ประดับด้านบนเป็นลาย ถวนอั้นจื้อ ซึ่งเป็นตัวอักษร ที่อ่านว่า อวั้น ในวงกลม มีความหมายว่าหมื่นประการ หรือ หมื่นปี และด้านลูกกรงล่างเป็นลายจินกังฉู่ ซึ่งเป็นลวดลายเงิน ของวิเศษทางศาสนาพุทธที่พระโพธิสัตว์ใช้ถืออยู่ อันเป็นลายม หามงคที่สามารถขจัดปีศาจได้ นอกจากนี้ยังพบลวดลายปูนปั้น ประดับตรงกลาง ได้แก่ลายสิงห์คาบดาบ และยันต์แปดเหลี่ยม พร้อมดาวบริวาร ที่ทำ�จากกระจกเป็นลวดลายศิริมงคล ใช้ ป้องกัน ภูตผีปีศาจ และขจัดสิ่งชั่วร้ายตามความเชื่อของชาวจีน

ลักษณะของราวลูกกรงอาคาร บริเวณชั้นที่ 2-3 และชั้นดาดฟ้า มีลักษณะของซี่ ลูกกรงที่ลวดลายสิริมงคล ทำ�จากปูนปั้นรูปเรขาคณิตต่างๆ

ลักษณะของประตูเหล็กด้านล่างของอาคาร ที่มีการทำ�เป็นลวดลายต่างๆ


อาคารอดีตโรงงานน้ำ�อัดลมยูฮั่วเซี่ยง

เดิมอาคารหลังนี้เคยเป็นโรงงานผลิตน้ำ�อัดลมยูฮั่วเซี่ยง จำ�กัด เจ้าของ ปัจจุบันคือ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดซุ่ยฮั่วเซี้ยง จำ�กัด ลักษณะของอาคารเป็น อาคาร 2 ชั้น สร้างด้วยปูนทั้งหลัง เป็นอาคารที่มีอิทธิพลในการสร้างผสมกัน ทั้งจากจีนและตะวันตก พื้นที่บริเวณชั้นล่างของอาคารเปิดโล่ง บริเวณด้าน บนของอาคามีการประดับด้วยปูนปั้นเป็นชื่อของโรงงานน้ำ�อัดลม การใช้งาน ในปัจจุบัน ได้ใช้เป็นที่พักคนงานของ ห้างหุ้นส่วนจำ�กัดซุ่ยฮั่วเซี้ยง จำ�กัด


งานศิลปกรรมประดับอาคาร

ระเบียง

ลักษณะของราวลูกกรงของอาคารบริเวณชั้นดาดฟ้า มีลักษณะของลวดลายเป็นลาย จิ่วเหลียนหวน หรือลายห่วงสี่เหลี่ยม ซึ่งเป็นลวดลายมงคล แสดงถึงความไม่จบสิ้น ทำ� จากปูนปั้น

ปูนป้ันประดับ

ปูนปั้นประดับส่วนบนอาคาร ซึ่งเป็นอดีตโรงงานน้ำ�อัดลมยูฮั่วเซี่ยง ลักษณะของปูน ปั้นจะมีการสร้างเป็นชื่อของโรงงาน ซึ่งลักษณะการสร้างเป็นชื่อของโรงงานนี้พบเห็นได้ใน อาคารนี้เพียงอาคารเดียว

หน้าต่าง ลักษณะของบานหน้าต่างในอาคาร อดีตโรงน้ำ�อัลมยูฮั่วเซี่ยง พบลักษณะ การทำ�หน้าต่างเป็นบานเกล็ดไม้ พร้อม ซี่ลูกกรงป้องกันขโมย และวงกบเหนือ หน้าต่าง


อาคารพาณิชย์ 2 ชั้น 8 คูหา

อาคารหลังนี้ปัจจุบันได้เปิดให้ทำ�การเช่าเป็นคูหาลักษณะของ อาคารเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น 8 คูหา ลักษณะการสร้างได้รับ อิทธิพลและรูปแบบมาจากจีน ก่อสร้างแบบครึ่งปูนครึ่งไม้ มีการ ประดับตกแต่งในส่วนของระเบียง และมีการทาด้วยสีสันที่สดใส แตกต่างกันไป


งานศิลปกรรมประดับอาคาร

ช่องลม

ลักษณะของช่องลมอาคารนี้มีความคล้ายคลึงกับช่องลม ของอาคารพาณิชย์ 2 ชั้น ซึ่งอาจ จะมาจากช่างฝีมือ หรือแหล่งผลิตเดียวกัน

ระเบียง ลักษณะของราวลูกกรงของอาคารที่มี การสร้างเป็นลวดลายมงคล ทำ�จากไม้เป็น รูปดอกไม้สี่กลีบ และรูปทรงเรขาคณิต ต่างๆ พบในคูหาของอาคารจำ�นวน 7 คูหา และลั ก ษณะของราวลู ก กรงทำ � เป็ น ลาย จิ่วเหลียนหวน ที่เป็นลักษณะของลายห่วง ซ้อน เป็นลวดลายสิริมงคลที่สื่อถึงความ ไม่จบไม่สิ้น

ปูนป้ันประดับค้ำ�ยัน

ลักษณะของปูนปั้นค้ำ�ยันตัวอาคาร ซึ่งพบ ได้ทั่วไปในอาคารพาณิชย์ย่านสถานีรถไฟเมือง ลำ�ปาง


ลวดลายที่พบเห็นในอาคารพาณิชย์ที่ได้รับอิทธิพลจากจีนในย่านสถานีรถไฟเมืองลำ�ปาง มีลักษณะ ของลวดลายที่ล้วนแล้วแต่นำ�มาจากความเชื่อของชาวจีน ลวดลายเหล่านี้แทนความหมายซึ่งเป็นสิริมงคล แก่ผู้ประกอบการค้าและอยู่อาศัย มิได้ทำ�ขึ้นมาเพื่อความสวยงามเป็นหลัก แต่เป็นสัญลักษณ์แทนปรัชญา ความเชื่อ และคำ�สอนต่างๆ ที่ชาวจีนในย่านสถานีรถไฟเมืองลำ�ปางได้รับการถ่ายทอดมาแต่โบราณ แฝงไว้ ด้วยคำ�สอนที่ให้กำ�ลังใจในการดำ�เนินชีวิต ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของลวดลายเป็นประเภทได้ดังนี้ 1.ลายอักษรประดิษฐ์ (Calligraphic Design) โดยจะใช้ตัวอักษรที่ถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ผู้พักอาศัย สอดแทรกอยู่ในส่วนประดับอาคารด้วย 2.ลายเรขาคณิต (Geometry Design) เป็นลายที่ประดิษฐ์อย่างง่ายๆ ส่วนมากจะใช้ในการสร้าง ราวลูกกรงระเบียง และช่องลม 3.ลายพรรณไม้ (Floral Design) ซึ่งได้แก่ การนำ�เอาลักษณะของลายดอกไม้ ลายใบไม้ มาใช้ใน การทำ�ลวดลายตกแต่ง พบมากในส่วนของลายปูนปั้นประดับอาคาร 4.ลายเลียนแบบธรรมชาติ (Natural Design) เกิดจากการนำ�เอาสิ่งที่พบเห็นในธรรมชาติ มาใช้ เป็นลวดลายของส่วนประดับตกแต่ง เช่น ลายไก่ที่พบในช่องลม เป็นต้น ในปัจจุบันอาคารพาณิชย์สมัยเก่าเหล่านี้ ทั้งที่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษหรือเช่าต่อจากผู้ อื่น มักจะใช้เป็นที่พักอาศัย และในบางแห่งก็ดำ�เนินกิจการการค้าเล็กๆ ไปด้วย สภาพอาคารส่วนใหญ่พบ ว่าไม่ได้รับการรักษา ซ่อมแซม หรือต่อเติมแต่อย่างใด ในบางอาคารอาจพบว่าถูกปล่อยทิ้งร้างเพื่อรอการ รื้อถอน ส่วนหนึ่งอาจจะเนื่องจากผู้ใช้อาคารยังไม่ได้ตระหนักถึงคุณค่าของอาคารและขาดความรู้สึกเป็น เจ้าของ มีเพียงบางอาคารเท่านั้นเท่านั้นที่มีการรักษาและซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม ทำ�ให้สามารถรองรับ กิจกรรมการใช้งานที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม


โรงแรมทับทิมทองอันเลื่องชื่อ อันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของย่านชุมชนนี้ในอดีต

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเนื่องมาจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป จะเห็นว่าอาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน จะเป็นอาคารที่ได้รับอิทธิพลจากทางตะวันตกเป็นส่วนใหญ่และได้นำ�มาเป็นรูปแบบการสร้างอาคารใน ยุคปัจจุบัน ซึ่งอิทธิพลของตะวันตกที่ส่งผลต่อการสร้างอาคารพาณิชย์ในปัจจุบันนี้ได้ส่งผลทั้งในด้านการ ก่อสร้าง รูปร่าง และการตกแต่งของอาคาร ซึ่งโดยภาพรวมแล้วเป็นไปในทางที่มิได้สร้างสรรค์คุณภาพ ชีวิตให้แก่คนในสังคมเลย นอกจากนี้ข้อกฎหมายของรัฐในปัจจุบันยังมีการกำ�หนดรูปร่างและสัดส่วน ของอาคารไว้เป็นแบบแผนโดยเฉพาะ ทำ�ให้ปัจจุบันนี้เราจึงพบเห็นลักษณะของอาคารพาณิชย์ที่มีความ คล้ายคลึงกันและขาดคุณค่าทางด้านความงามกลายเป็นอาคารที่สามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป จากปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจทำ�ให้คนส่วนหนึ่งในสังคม เริ่มเห็นความสำ�คัญของการอนุรักษ์ อาคารเหล่านี้ไว้ เหตุที่ต้องมีการอนุรักษ์อาคารเหล่านี้ไว้ เนื่องด้วยเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัย ใหม่ ที่ช่วยอธิบายความเป็นไปในสังคมได้ดีกว่าตำ�รา แต่ไม่ว่าแหล่งความรู้นอกตำ�ราเหล่านี้จะเป็นโบราณ วัตถุหรือโบราณสถาน ชุมชนเก่าแก่ ตลาดบก หรือตลาดน้ำ� เรือนไทย เรือนแบบจีน เรือนแบบฝรั่ง คน ไทยน่าจะได้ตระหนักว่าคุณค่าของสิ่งเหล่านี้ มิได้อยู่ที่อายุหรือราคา แต่อยู่ที่คุณค่าทางด้านจิตใจ รวมถึง สุนทรียภาพทางด้านความงามที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษ เป็นสิ่งที่แสดงถึงภูมิปัญญาของ คนในสมัยนั้นๆ ซึ่งไม่สามารถขายได้ด้วยเงินตราเหมือนกับอาคารพาณิชย์ที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันนี้

ตึกรูปแบบตะวันตกที่แฝงอยู่กับตึกจีน ในย่านสถานีรถไฟแห่งนี้


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.