Burmese stucco arts in lampang 130806

Page 1

ลวดลายปูนปั้นศิลปะพม่า ในจังหวัดล�ำปาง ธวัชชัย สุภาศาสตร์



ลวดลายปูนปั้นศิลปะพม่าในจังหวัดล�ำปาง Burmese Stucco Arts in Lampang

ธวัชชัย สุภาศาสตร์



เมืองล�ำปางเป็นเมืองส�ำคัญเมืองหนึ่งในดินแดน ล้านนา ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีตการปกครองและ ศาสนาก็มีความเจริญด้วยเช่นกัน โดยมีการพบหลักฐาน ทางโบราณสถานและศิลปวัตถุโดยเฉพาะโบราณสถาน ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนานั้นได้ปรากฎมากและจาก ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรล้านนาได้ปรากฏหลักฐาน ที่แสดงถึงความสัมพันธ์กันทางการเมืองของพม่ากับ ล้านนาส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัดคืองานศิลปกรรมที่ตกแต่ง ตามศาสนสถานแบบพม่าที่มีอยู่ในเขตจังหวัดล�ำปางนับว่า เป็นศิลปกรรมที่มีความงดงามยิ่งนัก ลวดลายปูนปั้นนั้นหลายแห่งมีลักษณะใกล้เคียง กันแต่มีรูปแบบที่แตกต่างกันโดยเฉพาะศิลปะแบบพม่า ที่เข้ามาจากการที่ชาวพม่าได้เข้ามาในสมัยรัชกาลที่ ๕ และรัชกาลที่ ๖ โดยการเข้ามาผูกขาดการค้าขายไม้ทาง ภาคเหนือได้ตัดไม้โค่นไม้ส่งไปขายยังภาคกลางและต่างประเทศจนร�่ำรวย ซึ่งชาวพม่าจะมีคติความเชื่ออยู่ว่าถ้ารวย แล้วต้องท�ำนุบ�ำรุงศาสนาสร้างวัดหรือบรูณะวัดเก่าขึ้นมา อุทิศให้แก่เทวดาที่อาศัยอยู่ในป่าเพื่อเป็นการตอบสนอง ความศรัทธาและเลื่อมใสในพุทธศาสนาอาคาร ศาสนสถานแบบพม่าจึงเกิดขึ้นมากมายและแพร่หลายใน เขตอ�ำเภอเมือง


การสร้างงานปูนปั้นของช่างพม่าแบ่งได้2ลักษณะ

1. กลุม่ ลวดลายทีส่ ร้างขึน้ ตามแนวคิดคติความเชื่อตามประเพณีนิยมมีการ ผสมผสานแนวคิดความเชื่อของคนในล้านนาและแนวคิดของพม่าเข้าด้วยกันโดย เฉพาะเรื่องคติจักรวาลไตรภูมิซึ่งเป็นแนวคิดนามธรรมโดยใช้ลวดลายเป็นสิ่งแสดง สัญลักษณ์เพื่อให้เป็นรูปธรรม เช่น ลวดลายดาวเพดาน ลวดลายพันธุพ์ ฤกษา เป็นต้น ซึ่งลวดลายนัน้ ต้องสัมพันธ์กบั ต�ำแหน่งของลายและประเภทอาคารเพือ่ ให้สอดคล้องกับ คติความเชือ่ มากขึน้ 2. กลุ่มลวดลายที่ประดิษฐ์ขึ้นตามแบบของช่างลวดลายที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เป็นการผสมลวดลายแบบตะวันตก (ยุโรป) โดยมิได้ค�ำนึงถึงความหมายเชิง สัญลักษณ์ เช่น ลวดลายริบบิ้น ลวดลายใบองุ่นที่มีลักษณะคล้ายลวดลายใบเมเปิล ของตะวันตก

6


รายละเอียดของลวดลาย ประกอบด้วย 5 ประเภท คือ - กลุ่มลวดลายพันธุ์พฤกษา เช่น ลายก้านขด ลายดอกไม้-ใบไม้ เป็นต้น - กลุ่มลวดลายคน เทวดา พระพุทธเจ้า ยักษ์ สัตว์ - กลุ่มลวดลายแบบไข่ปลา - กลุ่มลวดลายดาวเพดาน - กลุ่มลวดลายประเภทอื่น เช่น ลายถักเชือก เป็นต้น

7


เทคนิคการสร้างลวดลายปูนปั้นที่โดดเด่น ลวดลายปั้นรัก สามารถแบ่งได้ 3 ประเภทคือ 1. ลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเครือเถาเป็นลายที่นิยมประดับตกแต่ง แบ่งเป็น 2 รูปแบบคือ แบบที่หนึ่งเป็นลายที่เกิดจากการเลียนแบบธรรมชาติ โดย น�ำรูปแบบของธรรมชาติมาเป็นต้นแบบในการผูกลายมีลักษณะโดยรวมเป็นลาย เครือ-เถา เช่น ลายเครือดอกพุดตาน เป็นต้น การออกลายจะมีทั้งดอกเดี่ยวและ เป็นดอกกลุ่ม นอกจากนัน้ ยังมีการผสมผสานระหว่างลายพันธุพ์ ฤกษาหลายๆ ชนิด ในกรอบลายเดียวกัน เช่น ลายดอกพุดตานผสมกับลายใบอะเคนตัสหรือลายเถา องุน่ เป ็นต้น แบบทีส่ องเป ็นลายธรรมชาติกงึ่ ประดิษฐ์ เป ็นลายทีม่ พี นื้ ลายจากลายพันธุ์ พฤกษาแต่ลดความเหมือนจริงลงไปมีการสร้างลายขึน้ ใหม่ตามแนวทางการออกแบบ ของช่างผูส้ ร้างสร้าง 2. ลวดลายคน เทวดา พระพุทธเจ้า ยักษ์ สัตว์เป็นลวดลายที่เกี่ยวกับ คติความเชื่อเชิงสัญลักษณ์ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล นิยมเป็นลายที่ท�ำให้เป็น ศูนย์กลางของลาย หรือเป็นศูนย์กลางของกรอบลาย เช่น ลายเทวดา หรือตัวเทวดา พระพุทธรูป ตัวสิงห์ ตัวม้า ตัวกวาง เป็นต้น 8


3. ลวดลายประดับเสาอาคารการสร้างลายในเสาอาคารแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือ พื้นที่ที่หนึ่งเป็นลายบัวหัวเสานิยมเป็นลายกลีบบัวซ้อนซ้อนชั้นกันเป็น บัวหัวเสาหรือเป็นลายกาบใบ และมีการใช้รูปทรงใบแบบเรขาคณิต เช่น ลายฟันปลา เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีลายพันธุ์พฤกษาผสมอยู่ด้วย พื้นที่สองเป็นลาย ตัวเสานิยมสร้างเป็นลายพันธุ์พฤกษาแบบพันเกลียวขึ้นในแนวเฉียง พื้นที่ที่สาม เป็นลายกรวยเชิงเสาเป็นลายในกรอบสามเหลี่ยมมีช่อลายอยู่ในจุดศูนย์กลางของ ลาย ด้านข้างมีการเชื่อมกันของลาย

9


ลวดลายปั้นรักประดับกระจกสี

ลวดลายที่สร้างจากงานปัน้ รัก ประดับกระจกสีนั้นนิยมที่จะสร้างเป็น ลวดลายพันธุ์พฤกษาแบบประดิษฐ์ ลวดลายเครือเถา – ก้านดอก เนื่องจาก สามารถปั้นรักประดับกระจกสีได้มาก ที่สุดคือในส่วนของฐานชุกชีส่วนของ เพดานอาคาร ส่วนของเสาอาคาร การ ประดับเฉพาะพื้นที่สามแห่งนี้น่าจะ เป็นความนิยมการประดับของแบบ อาคารศาสนสถานของกลุ่มพม่า – ไท เนือ่ งจากพื้นที่ทั้งสามแห่งนั้นเป็นพื้นที่ ส่วนหนึ่งของอาคารที่ส�ำคัญ กล่าวคือ ฐานชุกชีนิยมใช้ลวดลายเครือเถา ลวด ลายพันธ์ุพฤกษา ปั้นรักไปตามรูปทรง และหน้ากระดานของฐานนอกจากนั้น ยังพบว่ามีเทคนิคพิเศษที่ใช้กับส่วนฐาน นี้คอื เทคนิคแรกเป็นการขึ้นโครงโลหะ เป็นลวดลายก่อนแล้วเดินเส้นรักและ ประดับกระจกสีซึ่งนิยมสร้างประดับไว้ คล้ายรูปแบบของรวงผึ้งประดับไว้ด้าน ขอบบนของฐาน เทคนิคที่สองเป็นการ ปั้นรักรูปนูนสูง เป็นรูปพระพุทธเจ้า เทวดา ช้าง ภูเขา ซึ่งจะเป็นการกล่าวถึง พุทธประวัติของพระพุทธเจ้า

10


ดังปรากฎการสร้างงานโดยเทคนิคนี้ใน อุโบสถวัดป่าฝาง ในส่วนของเสาอาคารนั้นนิยม สร้างลวดลายปั้นรักประดับกระจกสี แบ่ง พื้นที่ของเสาออกเป็น 3 ส่วน โดยทั่วไป นิยมท�ำเป็นลวดลายลายพันธ์พฤกษาผสม กับการสร้างรูปนูนสูงเป็นตัวเทวดาหรือ บุคลต่างๆ ส่วนแรกคือส่วนท้องเสา นิยม สร้างเป็นลวดลายลายพันธ์พฤกษาเชื่อม ต่อกันจนเต็มพื้นที่ของท้องเสาแต่บัวหัวเสากลับใช้รูปแบบกาบบัวแบบพื้นเมือง สันนิฐานว่าน่าจะได้รับอิทธิพลบัวหัวเสาแบบพื้นเมืองส่วนที่สองคือ ลายหน้า กระดานรอบเสานิยมสร้างเป็นลวดลาย ดอกประจ�ำยามสลับกับการปั้นรักเป็นรูป ปั้นเทวดาหรือตัวสัตว์ ส่วนที่สามเป็นการ ท�ำลวดลายบัวเชิงเสาซึ่งน่าจะเป็นอิทธิพล การสร้างงานแบบพื้นเมือง แต่ลวดลาย บัวเชิงเสานั้นมีลักษณะเป็นลายช่อดอก หรือเครือดอกแบบพม่า ในส่วนของเสา อาคารนี้ยังพบเทคนิคพิเศษที่ใช้กับส่วน ฐานนี้คือ เทคนิคการขึ้นโครงโลหะเป็น ลวดลายก่อนแล้วเดินเส้นรักและประดับ กระจกสี

ในส่วนของเพดานอาคาร เนื่องจากเพดานอาคารนิยมสร้างเป็น กรอบช่องในรูปสี่เหลี่ยมเชื่อมต่อกัน ไปจนเต็มพื้นที่เพดานอาคารจึงท�ำให้ ลักษณะของลวดลายเป็นการประดับไว้ ในส่วนด้านนอกกรอบและด้านกลาง ของกรอบช่องเพดานโดยทั่วไปลวดลาย ที่ใช้นั้นพบว่านิยมใช้ลวดลายพันธุ์ พฤกษาแบบประดิษฐ์ลวดลายเครือเถา – ก้านดอก เนื่องจากสามารถปั้นเส้น รักและเดินเส้นรักได้ในพื้นที่ต่างๆของ เพดานได้ดี

11


แนวคิดเชิงสัญลักษณ์ในลวดลาย

งานประดับตกแต่งอาคารทางศาสนา ของกลุ่มชาติพันธุ์พม่า การสร้างลวดลาย ประดับตามส่วนต่างๆทั้งภายนอกและภายใน อาคารนั้นมีช่วงระยะเวลาของการสร้างที่ แตกต่างกันเนื่องจากเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อ ถวายเป็นพุทธบูชาจึงท�ำให้กลุ่มงานประดับ ตกแต่งดังกล่าวมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นแบบแผนของลวดลายยังแสดงให้ เห็นได้ว่ามีการผสมผสานรูปแบบของลวดลาย พืน้ เมืองเข้ากับรูปแบบของลวดลายแบบพม่า เพือ่ เป็นการตรวจสอบและวิเคราะห์ถึงลักษณะ

12


ที่เป็นแบบแผนและแนวคิดเชิงสัญลักษณ์ ที่ปรากฏในลวดลายและเพื่อให้ทราบ ถึงประวัติความเป็นมาของลวดลายใน ที่นี้สามารถจัดแบ่งกลุม่ ตามลักษณะของ ลวดลายออกเป็นกลุม่ ใหญ่ๆ ทีป่ รากฏใน งานปัน้ รักประดับกระจกงานฉลุไม้และงาน ลายค�ำได้ดงั นี้ - ลวดลายพันธุ์พฤกษา - ลายก้านขดเครือเถา - ลวดลายแบบลายประดิษฐ์ - ลวดลายหน้ากระดาน - ลวดลายประเภทเทวดา คนและสัตว์ 1. ลวดลายพันธุ์พฤกษา ลวดลายพันธุพ์ ฤกษาทีป่ รากฏ อยูใ่ นอาคารศาสนสถานแบบพม่ามีความ แตกต่างของการสร้างสรรค์ลายตามแต่ละ วัสดุกล่าวคือข้อจ�ำกัดของวัสดุทใี่ ช้ในการ ประกอบเป็นลายนัน้ มีแบบแผนของการ สร้างลวดลายเฉพาะวัสดุ แต่ในทีน่ จี้ ะ กล่าวถึงภาพรวมของลวดลายพันธุพ์ ฤกษา ทีป่ รากฏอยูใ่ นงานทัง้ งานปัน้ รักประดับ กระจกงานฉลุไม้และงานลายค�ำโดยมีราย ละเอียดของลวดลายดังต่อไปนี้

13


ลายดอกไม้ ลวดลายดอกไม้ที่ใช้ประดับตกต่างมีลักษณะประกอบกันเป็น ลายเครือเถาหรือเป็นลายแบบดอกเดีย่ ว ซึง่ ลวดลายดอกไม้นั้นบางส่วนเป็นลวดลาย ดอกไม้แบบล้านนาและแบบตะวันตกผสมแบบพม่า – ไท ลายดอกไม้ดังกล่าวมี รากฐานมาจากรูปแบบดอกไม้ซึ่งมีความนิยมในงานศิลปะแบบตะวันตกลวดลาย ดอกไม้นั้นมีส่วนประกอบของก้านใบและดอกลักษณะของลวดลายดอกไม้มีทั้งแบบ ที่เป็นไม้เลียนแบบธรรมชาติลวดลายดอกไม้แบบทรงกลม ลวดลายดอกไม้แบบทรงเรขาคณิต ลวดลายดอกไม้แบบลายกนก และลวดลายดอกไม้แบบลายประดิษฐ์ งานศิลปกรรมที่สร้างความโดนเด่นของลายดอกไม้ได้เป็นอย่างดีคืองานแกะสลัก รักเนื่องจากเทคนิคการสร้างแนวโค้งของช่างฝีมือแบบพม่านั้นมีความช�ำนาญและมี เทคนิคในการสร้างให้เกิดมิติดังปรากฏในงานแกะสลักไม้เป็นโก่งคิ้วด้านทางเข้าของ จองศรีชุมเป็นต้น

14


นอกจากนั้นยังพบรูปแบบของลายดอกไม้แบบพื้นเมือง ซึ่งเป็นลายแบบ ดอก 5 – 6 กลีบดอกลักษณะของการท�ำกลีบดอกมีรูปแบบคล้ายดอกในลาย เครื่องเขิน กล่าวคือ ลักษณะของดอกนั้นเป็นดอกแบบดอกกลม กลีบดอกมีปลาย แยกเป็นแฉกแบบเดียวกับเทคนิคการเขียนดอกในเครื่องเขิน ดังปรากฏให้เห็นใน งานลายค�ำในจองป่าฝาง และจองม่อนปู่ยักษ์ ลายใบไม้ เป็นลวดลายที่ปรากฏคู่กับลายดอกไม้ซึ่งประกอบกันเป็นลาย เครือเถา ความแตกต่างของลายใบไม้นี้จะท�ำให้ได้ทราบว่าลวดลายดอกไม้หรือ ลวดลายพันธุ์พฤกษานั้นเป็นลวดลายของดอกไม้ชนิดใด รูปแบบของลายใบไม้มีทั้ง แบบลายใบไม้แบบลายกนกกาบใบแบบพม่า ลายใบไม้ที่เบียนแบบธรรมชาติ ลาย ใบไม้แบบประดิษฐ์ ความนิยมลายใบไม้แบบศิลปะพม่านั้นได้รับรูปแบบลายใบไม้ แบบตะวันตกเช่น ใบเมเปิลซึ่งมีลักษณะลวดลายของใบเมเป็นใบที่หยักแฉกลักษณะ คล้ายใบต�ำลึงและใบอะแคนตัสหรือลายใบองุ่น เป็นต้น

15


2. ลายก้านขด – เครือเถา เป็นลวดลายที่พบในงานปั้นรักประดับกระจกมากที่สุดซึ่งจะปรากฏใน ส่วนที่เป็นกรอบช่องเพดานในอาคารและในส่วนที่เป็นลายท้องเสาและลายเชิงเสา เนื่องจากงานปั้นรักประดับกระจกนั้นมีความเป็นอิสระในการสร้างสรรค์ลวดลาย รูปแบบของลายก้านขดเครือเถามีลักษณะที่เป็นทั้งลายก้านขดแบบพม่า ลายก้านขด แบบลายไทใหญ่ ลายก้านขดแบบตะวันตก ลายก้านขดแบบประดิษฐ์ ลายก้านขด – เครือเถา ตามศัพท์ศิลปกรรมช่างพม่าเรียกว่า “โซ่ปนั กะโนว่” ซึ่งเป็นลวดลายก้านขดที่มีจุดส�ำคัญของลายอยู่ที่ การต่อดอกหรือที่เรียกว่า “ลายก้านต่อดอก” ซึ่งมีรูปแบบของลายคล้ายลายช่อกนก นอกจากนั้นหากเป็นลวดลาย ก้านขอเครือเถาโดยมีจุดส�ำคัญ ของลายอยู่ที่ก้านลายและใบไม้ ดังจะพบเห็นได้ใน งานแกะสลักไม้และงานปั้นรักประดับกระจกจะเรียกว่า “โซ่ปันโซ่แนว่”

16


3. ลวดลายแบบลายประดิษฐ์ เป็นลวดลายที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีพื้นฐานของลายมาจากลวดลายพันธุ์พฤกษา รูปแบบของลวดลายนั้นจะมีความแตกต่างกันตามแนวความคิดหรือแนวทาง การสร้างสรรค์ของแต่ละฝีมือช่าง ลายประดิษฐ์ที่พบมากที่สุดจะพบในงานลายค�ำและ งานแกะสลักหรือฉลุไม้ ซึ่งลวดลายประดิษฐ์นั้นได้รับอิทธิพลจากรูปแบบลวดลาย แบบฝรั่ง

17


4. ลวดลายประเภทเทวดา คนและสัตว์ ลวดลายเทวดา เป็นลวดลายที่มีลักษณะเป็นตัวเทวดาแบบพม่าและเทวดา แบบฝรั่งซึ่งเป็นลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากความนิยมแบบตะวันตกนั้นก็คือ ลายกามเทพหรือตัวคิวปิดซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งความรักตามคติความเชื่อของศาสนาคริสต์ ชาวพม่าเรียกลายตัวเทวดาแบบพม่านี้ว่า “นัตอะเซ่า” และเรียกตัวคิวปิดว่า “เมียย์นัตเม่าว์”

ลายเทวดาหรือลายเทพแบบพม่า – ไทย ยังปรากฏในรูปแบบดังเดิม ดัง ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนในงานปั้นรักประดับกระจกเป็นลายประเสาภายในอาคาร จองศรีรองเมือง ซึ่งเป็นลายที่สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2451 ดังปรากฏข้อความจารึกไว้ที่ ตัวเทวดาในเสาด้านซ้ายสุดของห้องพระประธานภายในจองศรีรองเมืองนี้ รูปแบบ ของตัวเทวดามีอยู่หลากหลายลักษณะ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกันกับลวดลายตัวภาพ 18


ที่ปรากฏในลวดลายของงานเครื่องเขินแบบพม่า ซึ่งนิยมสร้างลวดลายเครื่องเขินเป็น ภาพตัวเทวดาต่างๆ เช่น รูปตัวเดวา (Deva) รูปบีลู (Balu) รูปตัวนัด (Nat) เป็นต้น

แม่แบบของลวดลายตัวเทวดาที่ปรากฏในลวดลายงานปั้นรักประดับกระจก ในงานแกะสลักไม้ งานจิตกรรม งานประติมากรรมหรือในลวดลายเครื่องเขินก็ตาม ล้วนมีแม่แบบมาจากการสร้างหุ่นชักแบบพม่า ซึ่งพม่าถือว่าหุ่นละครชักนี้เป็นศิลปะ ชั้นสูงของพม่าที่น�ำมาสู่การสร้างงานศิลปะในแขนงอื่นๆ อีกมากมายโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเป็นแม่แบบให้แก่ท่าฟ้อนร�ำหรือนาฏลีลาแบบพม่า ชาวพม่าเรียกหุ่นละคร ชักนี้ว่า “โยะเต”

19


ลายสัตว์ ลวดลายสัตว์ปรากฏหลากหลายรูปแบบทั้ง ลายนกยุง ลายกระต่าย ลายสิงห์ หรือลายตามวันเกิดเช่น ม้า นก แกะ ช้าง ซึ่งก็มีความหมาย แตกต่างกันไป อย่างเช่น ลายนกยุง กับลายกระต่าย หมายถึงกลางวันและกลางคืน และ สัตว์ประจ�ำวันเกิดก็สัมพันธ์กับเจดีย์ประจ�ำวันเกิดซึ่งมากจากความเชื่อต่างๆ นั้นเอง

20


งานปูนปั้นประดับศาสนสถานศิลปะพม่าในเขตอ�ำเภอเมือง จังหวัดล�ำปาง เป็นงานศิลปะซึ่งสร้างขึ้นมาจากศรัทธาที่มีความงดงามอ้อนช้อยผสกลมกลืน กับแนวคิดเชิงสัญลักษณ์ไว้อย่างมากมายซึ่งในปัจุบันได้ ความส�ำคัญของศาสนสถาน แบบพม่าในหลายแห่งได้ขาดการดูแลและการให้ความรู้ความส�ำคัญของศาสนสถาน เหล่านั้น ซึ่งการจัดท�ำประวัติวัดหรือประวัติของรูปแบบศิลปะต่างๆ เป็นการให้ความ รู้แก่ผู้ที่สนใจและอยากไปศึกษาจะท�ำให้ผู้ที่สนใจเห็นคุณค่าและความงามของ ศาสนสถานเหล่านั้น ซึ่งถือเป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เพื่อเป็น แบบอย่างในการศึกษาต่อไป

21


ลวดลายปูนปั้นศิลปะพม่าในจังหวัดล�ำปาง ธวัชชัย สุภาศาสตร์ 530310119 ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก สิงหาคม พ.ศ. 2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย ธวัชชัย สุภาศาสตร์ ออกแบบโดยใช้ฟอนท์ TF Lanna ขนาด 16 pt.




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.