เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย 2554

Page 1

วารสาร TMB SME แตกต างเพ�่อตอบโจทย ให ธุรกิจก าวไกล

เศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจไทย 2554

World Update

โลก 2554…อีกป ที่ต องจับตา

Economic Outlook ธุรกิจ 2554… อะไรรุ ง อะไรต องระวัง

SME Intrend

เทรนด การตลาดใหม มาแรง

SME Smart Life

ดวงกับการลงทุนในป 2554

Vol.3 • มกราคม - มีนาคม 2554


สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่าน สู่วารสาร TMB SME แตกต่างเพื่อตอบโจทย์ ให้ธุรกิจก้าวไกล สวัสดีปีกระต่าย ก้ า วเข้ า สู่ ปี ใ หม่ แ ล้ ว ก็ ข ออวยพรให้ ท่ า นผู้ อ่ า นเริ่ ม ต้ น การดำ�เนินชีวิต และธุรกิจในปีใหม่นี้ได้อย่างราบรื่น ถึงแม้ว่า การทำ�ธุรกิจในปี 2554 นั้น ยังคงมีอีกหลายๆปัจจัยเสี่ยงที่ต้อง จับตามอง ดังนั้น เพื่อเป็นข้อมูลให้ท่านผู้อ่านได้น�ำ ไปกำ�หนดเป็น กลยุทธ์ในการทำ�ธุรกิจในปี 2554 เนื้อหาของ Ahead ฉบับที่ 3 จึงมุ่งเน้นนำ�เสนอข้อมูลแนวโน้มเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจไทย ความเสี่ยง และการเตรียมตัวรับมือ ขณะเดียวกันก็ได้ชี้ให้เห็น เทรนด์เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเข้ามามีบทบาทในการทำ�ธุรกิจใน ยุคปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น และตัง้ แต่ฉบับนีเ้ ป็นต้นไป จะมีคอลัมน์ใหม่ TMB Spotlight ซึ่งจะมีผู้บริหาร TMB หมุนเวียนมาบอกเล่าประสบการณ์ที่เป็น ประโยชน์แก่ผปู้ ระกอบการ SME โดยฉบับนีไ้ ด้รบั เกียรติจาก CEO ของ TMB คุณบุญทักษ์ หวังเจริญ มาเปิดปฐมฤกษ์ อย่างไรก็ดี ในปี 2554 นี้ TMB SME ก็ยังคงมีแผนงานในการ จัดกิจกรรมดีๆทีเ่ ป็นประโยชน์กบั ผูป้ ระกอบการ SME อย่างต่อเนือ่ ง และครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ในฉบับนีย้ งั ได้แทรกแบบสอบถามเพือ่ ให้ทา่ นผูอ้ า่ น แสดงความคิดเห็นทีม่ ตี อ่ วารสาร Ahead และความรูท้ ท่ี า่ นต้องการ เพื่ อ ทางที ม งานจะได้ นำ � ไปเป็ น แนวทางในการพั ฒ นาวารสาร และกิจกรรมในการพบปะกับท่าน สุดท้ายนี้ ขอบคุณทุกท่านทีใ่ ห้การต้อนรับ Ahead เป็นอย่างดี ทีมงาน TMB SME พร้อมจะนำ�เสนอสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ แก่ทุกท่านต่อไป บรรณาธิการ บรรณาธิการบริหาร สยาม ประสิทธิศิริกุล กองบรรณาธิการ มันตินี อัครเสริญ ดร. เบญจรงค์ สุวรรณคิรี นิรัติ ทิพภาวรรณ นริศ สถาผลเดชา อมรเทพ ศุภวิไล นิธิลภา อรุโณทัย ณัฐพงษ์ พัฒนผล จัดทำ�โดย ฝ่ายการตลาดเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ธนาคารทหารไทย จำ�กัด (มหาชน) 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. 0 2299 2516 โทรสาร 0 2299 2072 อีเมล์ tmbsme@tmbbank.com วิธีใช้ : ใช้โทรศัพท์มือถือของท่านสแกน เพื่อดาวน์โหลดวารสาร “สนใจรับวารสาร Ahead กรุณาส่ง E-mail Address มาที่ tmbsme@tmbbank.com”

TMB Spotlight

p.3

TMB Movement

p.4

ทำ�ไมจะเป็นไปไม่ได้ที่ SME จะ Make THE Difference ปลุกพลัง SME ทั่วประเทศ ตื่นตัวร่วมโรดโชว์สัมมนา เตรียมความพร้อม รุก รวย รับโอกาสจาก AEC TMB World Update

p.6

โลก 2554...อีกปีที่ต้องจับตา สหรัฐฯ...เห็นสัญญาณ “เงินฝืด” EU…ชี้ขาดที่การส่งออก จีนผ่อนคันเร่ง ภาพรวมโลก...ชะลอตัว TMB Economic Outlook

p.10

SME Intrend

p.15

SME Vision

p.16

TMB SMB Community

p.18

TMB Products

p.20

SME Event Calendar

p.21

SME Smart Life

p.22

ชีพจรเศรษฐกิจไทย 2554 ภาพรวม...สอบผ่าน แต่ต้องระวัง ค่าเงินบาท...ได้เห็น 28.50 แน่ ดอกเบี้ยนโยบาย...ได้เห็น 3.25% แน่ ส่งออก...มีทั้งปัจจัยบวก – ลบ ธุรกิจ 2554...อะไรรุ่ง อะไรต้องระวัง เทรนด์การตลาดใหม่มาแรง เจ๊กเม้ง...ก๋วยเตี๋ยวไฮเทค สุดยอดต้นแบบ Social Network Trendyday.com ปีเดียวทะลุเป้า ด้วยพลัง Social Network ที่ครบเครื่อง หาคู่ค้า สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ

สินเชื่อ 3 เท่า TMB SME มาตรฐานที่เหนือกว่า โอดี ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี อินเทอร์เน็ต แวลลู แพ็ค ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี

เติมเต็มองค์ความรู้ทางธุรกิจ

ดวงกับการลงทุนในปี 2554


TMB Spotlight

ทำาไมจะเป นไปไม่ได้ที่ SME จะ Make THE Difference สวัสดีครับ ท่านผูป้ ระกอบการทุกท่าน สำาหรับวารสาร Ahead เล่ ม นี้ ผ มถื อ ว่ า เป็ น โอกาสอั น ดี ที่ จ ะได้ ส่ ง ท้ า ยปี เ ก่ า และสวั ส ดี ปีใหม่กับทุกท่านผ่านคอลัมน์ใหม่ TMB Spotlight นี้ ปีที่ผ่านมา มี ก ารเปลี่ ย นแปลงหลายอย่ า งเกิ ด ขึ้ น ทั้ ง ในประเทศและ ต่างประเทศ ซึ่งคงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ระบบเศรษฐกิจโยงใย ถึงกันหมดทัง้ ทางตรงและทางอ้อม และในปีหน้าก็จะเป็นอีกปีหนึง่ ทีม่ ที ง้ั โอกาสและความท้าทายสำาหรับผูป้ ระกอบการธุรกิจทุกแขนง ท่ามกลางการแข่งขันในโลกธุรกิจทุกวันนี ้ รวมทัง้ การเปิดกว้าง ของเขตการค้าเสรี ย่อมมีผลกระทบกับการดำาเนินธุรกิจของ SME อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สินค้าและบริการมีอยู่มากมายจากคู่แข่งทั้ง ในประเทศและต่างประเทศ การดำาเนินธุรกิจให้ประสบความ สำาเร็จนั้น ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก จะต้อง เกิดจากการให้ความสำาคัญกับลูกค้า มองลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centricity) โดยธุรกิจต้องเข้าใจความต้องการของ ลูกค้าอย่างลึกซึ้งและตอบสนองด้วยสินค้าและบริการที่ตรงความ ต้องการ แต่เท่านัน้ ยังไม่พอ ยังต้องทำาให้ลกู ค้าเห็นถึงความแตกต่าง ในสินค้าและบริการของเรา ดังนัน้ สิง่ ทีจ่ าำ เป็นต้องทำาคือ การคิดใหม่ ทำาใหม่ เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่แตกต่าง หรือวิธีการนำาเสนอ สินค้าที่แตกต่างและโดดเด่น และนั่นต้องเป็นความแตกต่างที่ ตอบโจทย์แก่ลูกค้าอย่างแท้จริง (Make THE Difference) จึง จะสามารถชนะการแข่งขันในโลกธุรกิจได้ ความท้าทายก็คือ ความแตกต่างนั้นไม่ได้สร้างมาโดยง่าย จำาเป็นต้องอาศัยการมีทศั นคติทจ่ี ะเปลีย่ นแปลงและมีความมุง่ มัน่ แรงกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง อีกทั้งมองถึงความเป็นไปได้อยู่เสมอ ในขณะทีค่ นอืน่ อาจมองว่าเป็นไปไม่ได้ และยิง่ ไปกว่านัน้ ความสำาเร็จ ซึง่ เกิดจากการทำางานเป็นทีมทีม่ ปี ระสิทธิภาพ การทำาให้พนักงาน ในองค์กรมีทัศนคติและความมุ่งมั่นเดียวกันเป็นสิ่งสำาคัญยิ่ง ผมขอร่วมแบ่งปันประสบการณ์การบริหารงานในองค์กร TMB ซึง่ แม้จะเป็นองค์กรใหญ่ แต่ความสำาเร็จนัน้ มาจากพนักงานทุกคน ทำางานร่วมกันด้วยจุดหมายเดียวกัน คือ การมุง่ มัน่ สร้างความแตกต่าง ที่ตอบโจทย์ (Make THE Difference) ทำาให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ บริการ และการนำาเสนอที่แตกต่างให้แก่ผู้บริโภค เช่น ผลิตภัณฑ์ สินเชือ่ 3 เท่าด่วน โอดีไม่ตอ้ งใช้หลักประกัน บัตรโอดีการ์ด บัญชีเงินฝาก TMB SME Saver ซึง่ ล้วนมาจากการส่งเสริมแนวคิด ในเรื่อง “ความเป็นไปได้” ซึง่ ผมได้สอ่ื สารแก่พนักงานทุกคนว่า เรื่องเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน ปัจจัยเดียวกัน และปัญหา เดียวกันนัน้ คนทีเ่ ห็นว่า “เป็นไปไม่ได้” อาจมองหาพืน้ ทีป่ ลอดภัย ไม่อยากเปลีย่ นแปลง ในขณะทีค่ นทีเ่ ห็นว่า “เป็นไปได้” จะเห็น

บุญทักษ หวังเจริญ

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำากัด (มหาชน)

การเปลีย่ นแปลง พบโอกาสและความท้าทายทีจ่ ะสร้างสิง่ ใหม่ๆ ทัง้ นีก้ ารสร้างสิง่ ทีแ่ ตกต่าง คงเป็นไปได้ยาก หากยังคิดอยูใ่ น โจทย์เดิมๆ วิธีแก้โจทย์เดิมๆ ดังนั้นจำาเป็นจะต้องเปลี่ยนใหม่หมด ทัง้ สมการ กล้าเปลีย่ นโจทย์ ใส่เงือ่ นไขใหม่ ค้นตัวแปรอืน่ ผลลัพธ์ จึงจะแตกต่างอย่างจริงจัง เพราะ “ปรับปรุง” อาจไม่พอ “เปลีย่ นแปลง” อาจน้อยไป จำาเป็นต้องปรับโฟกัสใหม่ให้สายตาแล้วลงมือทำา และสิ่งที่เกิดขึ้นผมเชื่อว่าจะไม่ใช่เพียง “เหตุการณ์ที่เปลี่ยนไป” แต่จะเป็น “ปรากฏการณ์อันแตกต่างที่สร้างคุณค่า” มีคำากล่าวที่ว่า... “ไม่ยากที่จะพลิกโลกทั้งใบ แค่เริ่มพลิก ความคิดก่อน เชือ่ มัน่ ว่าจะเปลีย่ นแปลงได้และสร้างสิง่ ทีด่ กี ว่าได้” แค่นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่แล้วสำาหรับการเริ่มที่จะสร้างความ แตกต่างทีเ่ ป็นไปได้ แล้วท่านก็จะเป็นผูช้ นะในเกมแข่งขันในทุกสนาม ไม่ ว่ า จะเป็ น สนามธุ ร กิ จ ที่ ต้ อ งเดิ ม พั น ด้ ว ยความคงอยู่ ห รื อ เติบใหญ่ของธุรกิจ ผมขออวยพรให้ป ี 2554 นีเ้ ป็นปีทล่ี กู ค้าผูป้ ระกอบการทุกท่าน ประสบความสำาเร็จและก้าวต่อไปอย่างมั่งคั่งครับ 3


TMB Movement

ปลุกพลัง SME ทั�วประเทศ ตื่นตัวร่วมโรดโชว์สัมมนา เตรียมความพร้อม รุก รวย รับโอกาสจาก AEC ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช

1

กรุงเทพมหานคร

ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ และ สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม TMB

2

3

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวปาฐกถาพิเศษ กรุงเทพมหานคร

4 ชลบุรี

ขอนแก่น

5 อุดรธานี

7 นครราชสีมา

6

8

สงขลา

อุบลราชธานี 1 บัญชา ชุมชัยเวทย์, ฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล รองคณะกรรมการกฎระเบียบและการค้าต่างประเทศ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย, ดร.ตรีสลา ตันติมิตร ประธาน บริษัท อินเตอร์โมเดล โลจิสติกส์ จำากัด, กรกฎ ผดุงจิตต์ รองเลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ปพนธ์ มังคละธนะกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ TMB ร่วมเสวนาบนเวที 2 ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาดดอทคอม (ขวาสุด) ผู้บรรยายพิเศษ ถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหาร TMB 3 ธีระ ตั้งหลักมั่นคง ประธานหอการค้า จังหวัดอุดรธานี (ที่ 2 จากขวา) ถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหาร TMB 4 มันตินี อัครเสริญ ผู้อำานวยการการตลาด SME ขนาดเล็ก TMB, บุริม โอทกานนท์ ประธานสาขา การตลาด วิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล, ทศพล ตันติวงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำากัด, บุญศักดิ์ ศรีประเสริฐยิ่ง ผู้อำานวยการอาวุโส สำานักงานภาคลูกค้าธุรกิจ-ภาคเหนือ TMB ร่วมเสวนาบนเวที

4

เชียงใหม่ 5 ธรรมศักดิ์ เจนพัฒนพงศ์ ผู้อำานวยการอาวุโส สำานักงานภาคลูกค้าธุรกิจ-ภาคกลางและ ภาคตะวันออก TMB (ที่ 1 จากขวา) เพ็ญทิพย์ พรจะเด็ด กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจริญทวีค้าเหล็ก จำากัด (ที่ 2 จากขวา) ร่วมเสวนาบนเวที 6 สุรเชษฐ์ ตริยางกูรศรี รองกรรมการ บริษัท ก้าวหน้าไก่สด จำากัด ร่วมเสวนาบนเวที 7 บุญช่วย จังศิริวัฒนธำารง รองนายกเทศมนตรี เทศบาลนครหาดใหญ่ (ที่ 3 จากขวา), ดร.สุรชัย จิตภักดีบดินทร์ ประธานกรรมการ หอการค้าจังหวัดสงขลา (ที่ 6 จากขวา) ถ่ายภาพร่วมกับผู้บริหาร TMB 8 ประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำากัด ผู้ร่วมเสวนา และร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ผู้บรรยายพิเศษ


TMB Movement

ผู้ประกอบการ SME ทั้งจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี กรุงเทพฯ นครราชสีมา ชลบุรี อุบลราชธานี สงขลา ภูเก็ต และล่าสุด เชียงใหม่ รวมทั้งสิ้นกว่า 2,500 คน ได้เข้าร่วมสัมมนาที่จัดขึ้น โดยธนาคารทหารไทย จำ�กัด (มหาชน) หรือ TMB ซึ่งมีการ เดินสายจัดสัมมนาทั่วประเทศมาตั้งแต่ต้นปีโดยรวมกว่า 9 ครั้ง ซึ่งถือว่าประสบความสำ�เร็จในการกระตุ้นผู้ประกอบการ SME ให้เห็นความสำ�คัญกับเรื่องนี้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดประโยชน์ที่ผู้เข้า ร่วมสัมมนาได้รับนั่นคือความพร้อมทั้งในส่วนของการรักษาตลาด ภายในประเทศ และการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจในประเทศอื่น สยาม ประสิทธิศิริกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อม TMB ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัด สัมมนา เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME ได้รับองค์ความรู้ แนวคิด ความคิดเห็น และทัศนะจากผู้มีความรู้ที่มีชื่อเสียง เพื่อนำ�ไปใช้ เป็นข้อมูลเตรียมความพร้อมรับโอกาสและลดอุปสรรคจาก AEC ซึ่งจากผลสำ�รวจความพร้อมและความเข้าใจของผู้ประกอบการ ไทยต่อ AEC พบว่า ผู้ประกอบการ SME ไม่เข้าใจ AEC มาก ถึงกว่า 80% (ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย) ยิ่งทำ�ให้ TMB มองเห็นความสำ�คัญ อย่างเร่งด่วนในการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ SME มีความรู้ เพื่อ พร้อมที่จะปรับตัวรับโอกาสและลดอุปสรรคจาก AEC ที่ส่งผล กระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อ SME อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยล่าสุด เมื่อวันที่ 19 พ.ย 53 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการ SME จากเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงกว่า 350 คน ร่วมเข้าฟัง สัมมนาปิดท้ายปีนี้ในหัวข้อ “เปิดแผนที่เศรษฐกิจปี 54 จัดทัพ SME ก้าวไกลสู่ AEC” ที่ TMB จัดขึ้น ณ โรงแรม เลอเมอริเดียน เชียงใหม่ ซึ่งนอกเหนือจากบทวิเคราะห์เศรษฐกิจจาก TMB Analytics แล้ว ยังได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำ�นวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัย หอการค้าไทย และประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย) จำ�กัด ร่วมเสวนา “SME รุก รวย รับโอกาส จาก AEC” และ ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ผูอ้ �ำ นวยการสถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ บรรยายพิเศษ “โอกาสทางการค้าใหม่ SME ไทย ก้าวไกลสู่ AEC” สำ�หรับ “บทวิเคราะห์ คาดการณ์ เศรษฐกิจไทยปี 54”

ภูมวิ ฒ ั ก์ นันทวณิชย์ ผูอ้ �ำ นวยการอาวุโส สายงานธุรกิจตลาดเงิน TMB กล่าวว่า ในปี 2011 ประเทศไทยคาดว่าจะมีการเติบโตที่ น้อยลง จาก 7.5% ในปีนี้ ลดลงเหลือ 3.6% โดยสาเหตุหลักจาก การส่งออกของไทยทีม่ แี นวโน้มปรับตัวลดลง อัตราเงินเฟ้อคาดว่า จะสูงขึน้ จาก 3.00% เป็น 3.75% ค่าเงินทีน่ า่ จะอ่อนตัวลงจากการ ไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้ม เติบโตได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในการเสวนา “SME รุก รวย รับโอกาส จาก AEC” ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำ�นวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่าง ประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ชี้ให้เห็นว่าผู้ประกอบการ SME ต้องทำ�ความเข้าใจกับกรอบ กฎบัตร ข้อตกลงต่างๆ ของ AFTA ทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจของตนเอง เนือ่ งจากในปัจจุบนั นัน้ SME ไทย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย และประวิทย์ จิตนราพงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แบล็คแคนยอน ได้ แนะนำ�ถึงการทำ�ธุรกิจ ควรนำ�ระบบไอทีและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ ใ ห้ เ ป็ น ประโยชน์ แ ละให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การฝึ ก อบรม การสร้ า งความแตกต่ า งของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ โ ดนใจผู้ บ ริ โ ภค การอาศัยข้อมูลต่างๆของหน่วยงานรัฐให้เป็นประโยชน์ และต้อง รู้จักการจดทะเบียนลิขสิทธิ์การค้าในต่างประเทศ และมาตรการ กีดกันทางการค้าที่ต่างประเทศจะใช้เมื่อ AEC มีผลอย่างเต็มตัว ปิดท้ายด้วยบรรยายพิเศษ “โอกาสทางการค้าใหม่ SME ไทย ก้าวไกลสู่ AEC” โดย ร.ต.อ.ดร.นิติภูมิ นวรัตน์ ผู้อำ�นวยการ สถาบันเอเชียและแอฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้สรุปว่า นอกเหนือจากกลยุทธ์ทางธุรกิจแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องฝึก ภาษา เรียนรู้วัฒนธรรม กฎหมาย ความเป็นอยู่ของประเทศที่ เราจะเข้าไปทำ�ธุรกิจนั้น ถือเป็นเรื่องสำ�คัญอย่างยิ่ง ทั้ ง นี้ ใ นปี ห น้ า TMB SME ยั ง คงมี แ ผนงานในการจั ด กิจกรรมดีๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการ SME อย่างต่อ เนื่อง และครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น รวมทั้งยังคงให้ความ สำ�คัญกับกรอบความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC สำ � หรั บ ผู้ ที่ พ ลาดโอกาสในการเข้ า ร่ ว มสั ม มนาที่ ผ่ า นมา สามารถติดต่อขอรับหนังสือ “วาระเร่งด่วน SME กับ แนวโน้ม การค้ า ใหม่ ใ ต้ ก รอบ AFTA” ได้ ที่ ห มายเลข 0 2299 1111 ต่อ 5514 และ 5515

5


TMB World Update

โดยศูนย์ว�เคราะห์เศรษฐกิจ

โลก 2554...อีกปีที่ต้องจับตา สหรัฐฯ...เห็นสัญญาณ“เงินฝ ด”

การส งผ านของนโยบายการเง�นสู ภาคเศรษฐกิจยังคงมีป ญหา ตัวคูณทางการเง�นและขนาดของสินทรัพย์ของธนาคารกลางสหรัฐ USD bil.

ปริมาณสินทรัพย์ของธนาคารกลาง ค่าตัวคูณทางการเงิน (RHS)

Times

ที่มา : CEIC และคำานวณโดย TMB Analytics

ก่อนวิกฤตซับไพร์ม เงินที่ใส่เข้าไปในสถาบันการเงินสหรัฐฯ จะหมุนต่อ ก่อให้เกิดตัวคูณทางการเงินถึง 9 เท่า แต่หลังวิกฤตซับไพร์ม Fed ได้ อัดฉีดเงินเข้าสูส่ ถาบันการเงินมหาศาล ซึง่ ทำาให้ Fed Assets พุง่ ขึน้ ตัง้ แต่ ปลายปี 2551 เงินเหล่านี้กลับไม่หมุนต่อ มีตัวคูณทางการเงินแค่ 4 เท่า ข้อมูลนีช้ ว้ี า่ การอัดฉีดเงินรอบแรก 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ รอบสองอีก 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯของ Fed ไม่มีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ (ตัวคูณทางการเงิน : เงินสามารถเปลี่ยนมือไดกี่ครั้ง ซึ่งในภาวะปกติจะอยูที่ 9 ครั้ง)

6

เศรษฐกิจสหรัฐฯปี 2554 ยังไม่มีความแน่นอน เชือ่ ว่าจะมีขา่ วขึน้ ๆลงๆ แต่จะขึน้ ไม่จริง ลงจริงอย่างไร คำาถามคือ การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบ 2 รอบ รอบแรก 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ รอบสอง 6 แสน ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของ Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ จะกระตุน้ เศรษฐกิจได้แค่ไหน จริงๆแล้ว การกระตุน้ เศรษฐกิจทีม่ ผี ลทีส่ ดุ จะต้อง ทำ า ให้ ภ าคเศรษฐกิ จ ที่ แ ท้ จ ริ ง กลั บ มาทำ า งานและ แข่งขันได้อีกครั้ง แต่ Fed กลับเลือกวิธอี ดั ฉีดเงินผ่านสถาบันการเงิน ทั้ ง ๆที่ ต ลาดอยู่ ใ นภาวะไม่ ต้ อ งการสิ น เชื่ อ เพราะ ไม่มั่นใจเศรษฐกิจ ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินก็ ไม่ปล่อยสินเชื่อ เพราะเศรษฐกิจไม่แน่นอน เงินจึง ไม่หมุนต่อและล้นอยู่ในระบบ Fed ก็รวู้ า่ นโยบายการเงินกระตุน้ เศรษฐกิจไม่ได้ แต่ทย่ี งั เลือกวิธนี ้ี ก็นา่ จะมีอยูป่ ระเด็นเดียวคือ ต้องการ เพิม่ ปริมาณเงินในระบบ เพือ่ ลดอัตราดอกเบีย้ ด้านหนึง่ เป็ น การลดต้ น ทุ น สิ น เชื่ อ ผู้ ผ่ อ นบ้ า น อี ก ด้ า นหนึ่ ง หวังดันเงินเฟ้อขึ้น คำาถาม คือ ดันเงินเฟ้อขึ้นทำาไม นับตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ลดลงไม่หยุด ซึ่งในที่สุดอาจติดลบกลายเป็นภาวะ เงินฝืดเหมือนที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ทัง้ หมดนีช้ ว้ี า่ Fed กำาลังต่อสูก้ บั โอกาสเกิดเงินฝืด มากกว่ากระตุน้ เศรษฐกิจ แต่ถา้ ภาคเศรษฐกิจทีแ่ ท้จริง ไม่ ฟื้ น ยั ง แก้ ปั ญ หาการว่ า งงาน ราคาบ้ า นตกต่ำ า กำาลังซื้อถดถอยไม่ได้ จะเอาชนะการเกิดเงินฝืดได้ จริงหรือ ก็เป็นเรื่องที่ต้องติดตาม แต่ขณะนีน้ โยบายของ Fed ได้สร้างปัญหาใหม่ ขึน้ มาแล้ว เงินทีล่ น้ อยูใ่ นระบบมหาศาล กำาลังกระจาย ไปยังประเทศต่างๆ กดดันค่าเงินเกือบทุกสกุลให้ แข็งขึ้นจนปันป่วนกันทั้งโลก ในประวัตศิ าสตร์สหรัฐฯนัน้ ทุกครัง้ ทีพ่ น้ วิกฤตได้ ก็ด้วยอำานาจผูกขาดตลาดเทคโนโลยีที่สามารถคิดค้น ขึ้นมาใหม่ เพราะภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงของสหรัฐฯ แข่ งขัน กั บ ใครได้ย าก แต่ ค รั้ งนี้ ยั งไม่ เ ห็ น สหรั ฐ ฯมี อะไรใหม่มากู้วิกฤต จึงสรุปได้ว่า สหรัฐฯเป็นปัจจัย เสี่ยงที่ 1 ของเศรษฐกิจโลก 2554 จะสอบผ่าน แต่ ต้องระวัง


TMB World Update

EU...ชี้ขาดที่การส่งออก

เศรษฐกิจ EU ปี 2554 ยังทรงๆ แม้เกิดปัญหา หนี้สาธารณะในบางประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร หรือ อยู่ใน “ยูโรโซน” แต่ก็ผ่านมาได้ และกล่าวได้ว่า มีความแน่นอนกว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ข้อมูลที่ยืนยัน ก็คือ เงินที่ ECB หรือธนาคาร กลาง EU อัดฉีดเข้าสู่ระบบ แม้จะหมุนต่อ ก่อให้เกิด ตัวคูณทางการเงินลดลงจากที่เคยสูงถึง 10 เท่า แต่ ก็ยังอยู่ในระดับ 7 เท่า แสดงว่า สถาบันการเงินยัง ปล่อยสินเชื่อ และตลาดยังมีความต้องการสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม EU ยังมี 2 ความเสี่ยง เรื่องแรก ขณะที่ปัญหาหนี้สาธารณะในบาง ประเทศ “ยูโรโซน” ยังไม่ได้หมดไปโดยสิน้ เชิง ปัญหา ในไอร์แลนด์กลับประทุขึ้นมาอีกครั้ง อีกเรื่อง คือ เยอรมนีและฝรั่งเศส 2 ผู้นำาใน EU กลับมาแข็งแรง จึงประคองทั้ง EU ให้ผ่านวิกฤตได้ โดยเฉพาะเยอรมนี ซึง่ กลับมาแข็งแรง เพราะการส่งออก ปี 2553 ขยายตัวในอัตราก้าวกระโดด แต่ขณะนี ้ การค้าขายของโลกเริม่ ชะลอตัว ก็อยูท่ ่ี การส่งออกของ EU จะชะลอตามแค่ไหน นี่คือ ปัจจัย เสี่ยงที่ 2 ของโลก 2554

สหภาพนักศึกษาแห่งชาติของอังกฤษชุมนุมใหญ่ในกรุงลอนดอน ประท้วง รัฐบาลทีป่ ระกาศลดค่าใช้จา่ ยเพือ่ แก้ปญ ั หาหนีส้ าธารณะ ด้วยการตัดงบ อุดหนุนการศึกษาระดับมัธยม 40% และขึ้นค่าเทอมระดับมหาวิทยาลัย 3 เท่าตัว มีผู้ชุมนุมบางส่วนพยายามบุกเข้าไปในสำานักงานใหญ่พรรค คอนเซอร์เวทีฟ เหตุการณ์ประท้วงการลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลอย่างนี้ กำาลังระบาดไปทั่ว EU Times

การส งผ านของนโยบายการเง�นสู ภาคเศรษฐกิจได ผลระดับหนึ่ง

ตัวคูณทางการเง�นและขนาดของสินทรัพย์ของธนาคารกลางสหภาพยุโรป USD bil.

ปริมาณสินทรัพย์ของธนาคารกลาง ค่าตัวคูณทางการเงิน (RHS)

ที่มา : CEIC และคำานวณโดย TMB Analytics

“คริสติน ลาการ์ด” รัฐมนตรีคลังฝรั่งเศส ยังเครียด แม้ร่างกฎหมายเพิ่มอายุผู้เกษียณจาก 60 เป็น 62 ปี และผู้ได้รับเงินบำานาญเต็มจำานวนจาก 65 เป็น 67 ปี เพื่อลดค่าใช้จ่ายของรัฐบาลผ่านรัฐสภาแล้วก็ตาม แต่ ส หภาพแรงงานก็ ยั ง ไม่ ห ยุ ด การชุ ม นุ ม ประท้ ว ง จากร่างกฎหมายดังกล่าว 7


TMB World Update

โดยศูนย์ว�เคราะห์เศรษฐกิจ

จีน...ผ่อนคันเร่ง

มาตรการควบคุมฟองสบูอ่ สังหาริมทรัพย์ ของจีนเข้มข้นถึงขั้นจำากัดการซื้อบ้าน ของชาวต่างชาติ โดยให้ซอ้ื ได้หลังเดียว และต้องทำางานในจีนแล้ว 1 ปี ก่อนหน้านี้ จีนได้ประกาศนโยบาย “1 ครัวเรือน 1 บ้าน” จำากัดการซือ้ บ้านเกินกว่า 1 หลัง ของคนจีน ด้วยการบังคับเพิม่ เงินดาวน์ และลดวงเงินสินเชื่อ

จี น เป็ น ประเทศที่ มี ลั ก ษณะพิ เ ศษ คื อ สั่ ง เศรษฐกิจได้เพราะระบบการเมืองเป็นคอมมิวนิสต์ ย้อนกลับไปปลายปี 2551 เมื่อเศรษฐกิจโลก กลับมามีปัญหาจากวิกฤตซับไพร์มในสหรัฐฯ ซึ่งจีน ก็กระทบด้วย โดยเห็นได้จากราคาอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่ดิ่งลงแรงมาก ครั้งนั้นจีนนำาเศรษฐกิจออกจากวิกฤตด้วยการ สั่ ง สถาบั น การเงิ น เพิ่ ม การปล่ อ ยสิ น เชื่ อ ให้ ไ ด้ ต าม เป้าที่กำาหนด การขยายตัวของสินเชื่อจึงกระโดดจาก ปกติ 15% ขึ้นไปเป็น 30-35% ทันที มาตรการของจีน ก็คอื กระตุน้ เศรษฐกิจผ่านธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ ซึง่ ก็ได้ผล จะเห็นได้วา่ นับตัง้ แต่ตน้ ปี 2552 เป็นต้นมา ราคาอสังหาริมทรัพย์พุ่งขึ้นตลอด การที่เศรษฐกิจจีนกลับมาร้อนแรง ถือว่ามีส่วน อย่างมากในการประคองเศรษฐกิจโลก จากปี 2552 ถึงปี 2553 แต่เมื่อร้อนแรงถึงจุดหนึ่ง ซึ่งเริ่มกังวลกันว่าจะ เกิดฟองสบู่ เพราะอัตราเงินเฟ้อของจีนพุ่งขึ้นไม่หยุด นับตั้งแต่ต้นปี 2552 เป็นต้นมา จนขึ้นมาแตะ 4.4% ใน ช่วงปลายปี 2553 สิ่งที่จีนกังวลที่สุดคือยังมีแนวโน้ม จะขึน้ ต่อ จึงตัดสินใจใช้นโยบายหดตัว กลับมาควบคุม สินเชื่อ ถ้าถามว่า เศรษฐกิจจีนปี 2554 จะเป็นอย่างไร คำาตอบ ก็คือ ชะลอตัวแน่ จากที่เคยเติบโต 10-12% น่าจะเหลือ 8-9% ซึง่ จะส่งผลให้เศรษฐกิจโลกปี 2554 ชะลอตาม แต่ตอ้ งถือว่าจีนตัดสินใจถูกต้อง เพราะถ้าปล่อย ให้ถงึ จุดฟองสบูจ่ นี แตก โลกจะวิบตั ทิ นั ที จึงสรุปได้วา่ จีนเป็นปัจจัยเสีย่ งที ่ 3 ของโลก 2554 แต่เป็นปัจจัยบวก ของโลกในระยะยาว

ความเสี่ยงจากฟองสบู และเง�นเฟ อในประเทศจีน อัตราเงินเฟ้อ ดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ อัตราการขยายตัวสินเชื่อ (RHS)

8

โฉมหน้ า ว่ า ที่ ผู้ นำ า ค น ใ ห ม่ ข อ ง จี น “สี จิ้ น ผิ ง ” รอง ป ร ะ ธ า น า ธิ บ ดี ( ใ น ภ า พ ) เ มื่ อ เร็ ว ๆนี้ ไ ด้ เ ดิ น สาย ไปแอฟริกาซึ่งเป็น แหล่งแร่ และแหล่ง พลังงานสำาคัญทีจ่ นี กำาลังให้ความสนใจ


TMB World Update

ภาพรวมโลก...ชะลอตัว

มาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่สถาบันการเงินรอบ 2 หรือ QE2 อีก 6 แสนล้ า นเหรี ย ญสหรั ฐ ฯ หลั ง จากอั ด ฉี ด รอบแรกไปแล้ ว 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ของ Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ กลายเป็นประเด็นร้อนในวงประชุม G20 ที่กรุงโซลเมื่อเดือน พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย 7 ประเทศอุตสาหกรรม และ 12 ประเทศเศรษฐกิ จ เกิ ด ใหม่ ทั้ ง วงประชุ ม ในระดั บ รัฐมนตรีคลังและผูน้ � ำ ทุกประเทศแสดงความกังวล โดยเยอรมนี ถึงขัน้ ระบุวา่ เงินทีอ่ ดั ฉีดจนล้นระบบ และทะลักไปทัว่ โลก จะสร้าง วิกฤตให้กับโลกระยะยาว อาจกล่าวได้ว่า เรื่องนี้กลบทุกเรื่องที่ หารือกันใน G20 และทำ�ให้ไม่มีข้อสรุปร่วมในการแก้วิกฤตโลก อย่างแท้จริง

หากมองย้อนกลับไปในปี 2552 ปีนน้ั เศรษฐกิจโลก น่าจะติดลบมากกว่า 0.6% เพราะฟองสบู่การเงินใน สหรัฐฯแตก ส่งผลกระทบไปทัว่ โลก แต่กไ็ ด้จนี ซึง่ เติบโต สวนกระแสถึง 9.1% มาค้ำ�เอาไว้ ในปี 2553 แม้จะเกิดวิกฤตหนี้สาธารณะใน EU ทำ�ให้หลายประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่ใช้เงินสกุลยูโร ประสบปัญหาหนีส้ าธารณะ แต่เศรษฐกิจโลกก็ยงั กลับมา ฟื้นตัวเป็นบวกได้ 4.8% จากพลังของเศรษฐกิจจีนที่ เติบโต 10.5% และกล่าวได้วา่ เศรษฐกิจของ 5 ประเทศ ในอาเซี ย นประกอบด้ ว ยไทย มาเลเซี ย สิ ง คโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลปิ ปินส์ ก็มสี ว่ น เพราะเติบโตถึง 6.6% GDP โลกที่เติบโต 4.8% นั้น มาจากพลังของ เศรษฐกิจในเอเชีย รวมจีนด้วยถึง 1 ใน 3 ทัง้ ๆทีม่ ขี นาด ของเศรษฐกิจรวมกันแค่ 1 ใน 5 ของ GDP โลก เมือ่ มองไปข้างหน้าในปี 2554 เศรษฐกิจเอเชียก็ยงั จะเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ซึ่ ง IMF หรื อ กองทุ น การเงิ น ระหว่ า งประเทศ ประมาณการว่าจะเติบโต 4.2% GDP โลกปี 2554 ทีช่ ะลอตัวลงโดยจะบวกแค่ 4.2% นั้น ปัญหาหลัก ก็คือ สหรัฐฯไม่ฟื้น EU ทรงๆ ขณะที่ ญี่ปุ่นฟุบยาว เมือ่ 3 ผูน้ �ำ กลุม่ เศรษฐกิจเก่ามีปญ ั หา การส่งออก ของประเทศในเอเชียก็ถูกกระทบ เศรษฐกิจปี 2554 จึงมีแนวโน้มชะลอตัว ยกเว้นจีนที่จะชะลอตัวเพราะ จำ�กัดตัวเอง แม้ปี 2554 เศรษฐกิจจะชะลอตัวลง แต่โลกก็จะ ไม่กลับไปยากลำ�บากมากเหมือนปี 2552 และน่าจะ ถือว่าเรือ่ งจีนตัดสินใจจำ�กัดตัวเองเป็นข่าวบวก เพราะถ้า ยังปล่อยให้เศรษฐกิจร้อนแรงต่อไป ฟองสบูอ่ สังหาริมทรัพย์ จีนก็มโี อกาสแตกสูง เมือ่ นัน้ โลกจะวิบตั ยิ ง่ิ กว่าปี 2552

เครื่องยนต์หลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ก็คือ เอเชีย ภาพรวมโลก อาเซียน 5 EU แอฟริกา จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา

2551 2.8 4.7 0.8 5.5 9.6 -1.2 0.0

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (%)

2552 -0.6 1.7 -4.1 2.6 9.1 -5.2 -2.6

2553 4.8 6.6 1.7 5.0 10.5 2.8 2.6

2554 4.2 5.4 1.7 5.5 9.6 1.5 2.3

หมายเหตุ • อาเซียน 5 ประกอบด้วยไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ • ปี 2553 และ 2554 เป็นการประมาณการ

9


TMB Economic Outlook

โดยศูนย์ว�เคราะห์เศรษฐกิจ

ชีพจรเศรษฐกิจไทย 2554 ภาพรวม... สอบผ่าน แต่ต้องระวัง

“เศรษฐกิจไทยมี 4 ความเสีย่ ง ความเสีย่ งที่ 1 เศรษฐกิจโลก ยังไม่มคี วามแน่นอน ความเสีย่ งที่ 2 เงินทุนทีไ่ หลเข้ามา ทำาให้ ค่าเงินบาทแข็งขึน้ ความเสีย่ งที่ 3 ภัยธรรมชาติ ซึง่ กระทบต่อ กำาลังซือ้ ของเกษตรกร และความเสีย่ งที่ 4 ก็คอื การเมือง” อภิสทิ ธิ ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี 26 ตุลาคม 2553

คาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 2552-2554 เกิดจุดเปลี่ยน เมื่อการส่งออก ชะลอตัว

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทยและคาดการณ์โดย TMB Analytics

ปี 2553 จะเติบโต 7.5% ปี 2554 จะเติบโต 3.6% 10

ถ้าจะให้ฟนั ธงเศรษฐกิจไทยปี 2554 ก็ตอ้ งยืนยัน ว่า ไม่ได้แย่ เพียงแต่จะไม่ร้อนแรงเท่ากับปี 2553 ปี 2553 GDP ตัวชีว้ ดั เศรษฐกิจน่าจะบวกได้ 7.5% แต่กไ็ ม่ได้บอกอะไรนัก เพราะบวกจากฐานต่าำ ที ่ GDP ติดลบในปี 2552 ส่วนปี 2554 GDP น่าจะเป็นบวก 3.6% ถือว่า ดีในระดับปานกลาง หากเทียบกับ “อัตราธรรมชาติ” ของ GDP ไทยที่จะบวกประมาณ 4% ถ้าถามว่า อะไรคือปัจจัยที่ทำาให้ GDP กลับมา เป็นบวกได้ในปี 2553 และจะต่อเนือ่ งถึงปี 2554 ก็ตอ้ ง บอกว่ามาจากพลังของการส่งออก จะเห็นได้ว่า ไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2553 ที่ GDP บวก 12% และ 9.6% เป็นผลมาจากการส่งออก กลับมาก้าวกระโดดจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และ อีกปัจจัย ก็คือ โลกกลับมาสต็อกสินค้าอีกครั้ง แต่จุดเปลี่ยนได้เกิดขึ้นในช่วงไตรมาส 3 นับ ตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2553 การส่งออกของไทยเมื่อ เทียบเดือนต่อเดือนเริ่มติดลบ กรกฏาคมติดลบ 14% เดือนต่อมากลับมาได้แค่ 4.4% ก็ต้องถือว่ายังลบอยู่ นี่คือ ข้อมูลที่อธิบายว่า ทำาไม GDP ไตรมาส 3 จึงจะบวกแค่ 6% ไตรมาส 4 จึงจะบวกแค่ 2.9% แต่ ทั้งปี 2553 ก็ยังบวกได้ 7.5% จุดเปลี่ยนที่เกิดขึ้น มาจากเศรษฐกิจโลกเริ่ม ชะลอตัวลงจากปัญหาใหม่ใน EU และสหรัฐฯฟื้น ไม่จริง รวมทัง้ การซือ้ สินค้าเข้าสต็อกของโลกชะลอเช่นกัน อาจกล่าวได้วา่ เทรนด์การส่งออกกับเทรนด์ GDP นัน้ ไปด้วยกัน เมือ่ แนวโน้มโลกปี 2554 กลับมาชะลอตัว การส่งออกของไทยก็ชะลอตาม โดยไตรมาสแรกของ ปี 2554 จะมีปัญหามากที่สุด ถ้าจะกลับมาใหม่ ก็ต้อง รอไตรมาส 3 หรือ 4 ดังนัน้ ครึง่ ปีแรกของ 2554 จึงเป็นช่วงทีต่ อ้ งระวัง แต่น่าจะขยับขึ้นช่วงครึ่งปีหลัง และทั้งปี 2554 GDP จะบวก 3.6% หากจะให้สรุปภาพรวมเศรษฐกิจไทย ก็ตอ้ งบอกว่า ปี 2553 GDP บวก 7.5% เพราะการส่งออกทั้งปีบวก 20.5% และปี 2554 ที่ยังจะบวกอยู่ 3.6% ก็เพราะ การส่งออกทั้งปีจะบวก 8.6% ขณะที่อัตราปกติของ การขยายตัวของการส่งออกไทยอยู่ที่บวก 8-12% ถือว่าปี 2554 จะสอบผ่าน แต่ต้องระวัง


TMB Economic Outlook

ค่าเงินบาท... ได้เห็น 28.50 แน่

กรณีฐาน

ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส ไตรมาส

กรณีแข็งค่า

กรณีอ่อนค่า

1 2 3 4

ความเป็นไปได้ ที่มา : กระทรวงพาณิชย์และ TMB Analytics

“เชือ่ ว่าเงินทุนจะไหลเข้าต่อไปอีกระยะ ซึง่ จะกดดันค่าเงินบาท ให้กลับมาแข็งขึ้น แต่ยังไม่จำาเป็นต้องออกมาตรการภาษี ควบคุมการไหลเข้าของเงินทุน และดอกเบีย้ ก็ไม่ใช่ปญ  หาหลัก ที่ทำาให้เงินทุนไหลเข้า” ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผูว้ า่ การธนาคารแห่งประเทศไทย 29 พฤศจิกายน 2553

ที่บอกว่า เศรษฐกิจไทยปี 2554 จะสอบผ่าน แต่ ต้องระวังนั้น อย่างแรกเลยต้องระวังเรื่องค่าเงินบาท เมื่อต้นปี 2552 ค่าเงินบาทยังอยู่ที่ 35 บาทกว่าๆ ถึง 36 บาทกว่าๆ/ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่เมื่อปลายเดือน ตุลาคม 2553 แข็งขึ้นมาแตะระดับ 29 บาทกว่าๆแล้ว แม้ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนจะอ่อนค่าลงมาที่ 30 บาทต้นๆ แต่ก็อ่อนลงโดยเทคนิค ทิศทางใหญ่ยังจะกลับมาแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง จะว่าไปแล้ว ปัญหาค่าเงินแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐฯก็เกิดกับทั่วโลกโดยเฉพาะในเอเชีย รวมทั้งไทย จาก 2 สาเหตุด้วยกัน หนึ่ง-ดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงทั้งโดยพื้นฐาน และโดยนโยบาย และสอง-เงินล้นระบบโลก ซึง่ เกิดจาก Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐฯอัดฉีดเงินเข้าสู่สถาบัน การเงินถึง 2 รอบ รอบแรก 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รอบ 2 อีก 6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่เงินเหล่านั้น ไม่หมุนต่อ จึงล้นอยู่ในระบบ และทะลักออกมาจน ท่วมโลก ปัญหาในขณะนี ้ ก็คอื ทะลักเข้าไปในประเทศไหน ค่าเงินประเทศนั้นก็จะแข็ง นี่คือ ทิศทางการเงินโลก ซึ่งแม้กระทั่งยาแรงอย่างมาตรการ 30% เงินนอกไหล เข้ามา 100 ให้ใช้ได้แค่ 70 ต้องกันไว้ 30 ที่ไทยเคย ใช้ได้เมื่อปลายปี 2550 ก็ยังเอาไม่อยู่ เชือ่ ว่า สิน้ ไตรมาส 1 ปี 2554 ค่าเงินบาทเมือ่ เทียบ กับดอลลาร์สหรัฐฯจะไปที่ 29.37 บาท สิ้นไตรมาส 2 จะไปที่ 28.95 บาท สิ้นไตรมาส 3 จะไปที่ 28.53 บาท และสิ้นปี 2554 จะไปที่ 28.45 บาท ผลกระทบต่อการส่งออกมีแน่ จึงได้สรุปไว้แต่ ตอนต้นว่า นี่เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมรับ

อัตราการเติบโตการส่งออก : เดือนต่อเดือน % เดือนต่อเดือน ปรับฤดูกาล

สินค้าเกษตร เหมืองแร่

สินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม อัตราการเติบโตของการส่งออก

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์และ TMB Analytics

11


TMB Economic Outlook

โดยศูนย์ว�เคราะห์เศรษฐกิจ

ดอกเบี้ยนโยบาย... ได้เห็น 3.25% แน่

“เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ทั้งปี 2553 น่าจะอยู่ที่ ประมาณ 3% สูงสุดจะไม่เกิน 3.5% แน่นอน แม้ราคาสินค้า อาหารจะขยับขึ้นช่วงปลายปี 2553 จากปญหาน้ำาท่วม แต่ ก็เป็นสถานการณ์ชั่วคราว” พรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพาณิชย์ 29 ตุลาคม 2553

คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั�วไป

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทยและคาดการณ์โดย TMB Analytics

ถ้าถามถึงทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทย ขอ ฟันธงว่า ขึ้นแน่ ตามเงินเฟ้อที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ภายในเดือนธันวาคม 2553 คณะกรรมการ นโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งจาก 1.75% เป็น 2% และอีกหลายครั้งเป็น 3.25-3.50% ณ สิ้นปี 2554 การที่ทิศทางออกมาอย่างนี้ ก็เพราะธปท.ใช้ นโยบาย Inflation Targeting (เป้าหมายภาวะ เงินเฟ้อ) มีมุมมองว่าหากเงินเฟ้อสูงขึ้นจนใกล้กับ เป้าหมายที่ควบคุมไว้ เป็นสัญญาณอาจเกิดฟองสบู่ ต้องขึ้นดอกเบี้ย เพื่อชะลอเงินเฟ้อ ที่จริงเงินเฟ้อขยับมาตลอดตั้งแต่ปลายปี 2552 ซึ่งธปท.น่าจะขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่านี้และมากกว่านี้ แต่ เกิดความไม่สงบทางการเมืองในช่วงไตรมาส 2 ปี 2553 ขึ้นมาเสียก่อน จึงต้องชะลอ ในปี 2553 ที่คาดกันว่าเงินเฟ้อน่าจะอยู่ที่ 3% มีข้อสังเกตว่า แม้ดอกเบี้ยนโยบายจะขึ้นมาเป็น 2% ก็ยงั ต่าำ กว่าเงินเฟ้อ ส่วนเงินเฟ้อในปี 2554 น่าจะอยูท่ ่ ี 3.75% จากแรงกดดันทั้งภายนอก-ภายใน เช่น ราคา น้ำามันและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆของโลกจะสูงขึ้นจาก ปัญหาดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนลง การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำา ของไทย ฯลฯ ทั้งหมดเป็นข้อมูลที่อธิบายว่า ทำาไมดอกเบี้ย นโยบายในปี 2554 จึงเป็นขาขึน้ ซึง่ แน่นอนว่า จะกระทบ ต่อต้นทุนทางการเงินของผู้ประกอบการ

คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย มีโอกาส มากกว่าที่ ดอกเบี้ยจะ สูงกว่าค่า กลางของ ค่าพยากรณ์

ดอกเบี้ยมีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่งใน เดือนธันวาคม ทำาให้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย ไปอยู่ที่ 2.0% ณ สิ้นปี 2010 ความเสี่ยงทางเงินเฟ้อจะสร้างแรงกดดันให้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นตลอดปี 2011 จนไปปิดที่ระดับ 3.25 – 3.5% ณ สิ้นปี

12

เป็นอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทยและคาดการณ์โดย TMB Analytics


TMB Economic Outlook

ส่งออก... มีทั้งปัจจัยบวก-ลบ

คาดการณ์การส่งออกตามรายสินค้า

การมองการส่งออก ซึง่ เป็นตัวกำ�หนดเศรษฐกิจไทย มองได้ 2 มิติ มิติแรก คือ สินค้าอะไรบวก สินค้าอะไรลบ และ ภาพรวมบวกหรือลบ การมองมิตินี้ช่วยให้คาดการณ์ ได้เลยว่า GDP จะเป็นอย่างไร มิติที่สอง คือ การส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เป็นอย่างไร การมองมิตนิ จ้ี ะช่วยให้เห็นการกระจายตัว ของตลาด ซึ่งหมายถึงความมั่นคงของการส่งออก สำ�หรับการส่งออกปี 2554 มองในมิติแรก ยัง จะบวก แต่จะบวกในอัตราทีล่ ดลงเกือบทุกกลุม่ สินค้า ยกเว้นกลุ่มกระดาษ/การพิมพ์ กลุ่มโลหะ/เหมืองแร่ และกลุ่มข้าว ที่จะบวกในอัตราที่สูงขึ้น ภาพรวมปี 2554 จึงจะบวกแค่ 8.6% จาก 3 ปัจจัย ด้วยกัน คือ หนึง่ -โลกกลับมาชะลอตัว สอง-ค่าเงินบาท แข็งขึ้น และสาม-ฐานในปี 2553 สูงขึ้นมามากแล้ว บวกถึง 20.5% แต่ถ้ามองในมิติที่สอง จะเห็นความมั่นคงของ การส่งออกไทยมากขึ้น ที่ชัดเจน ก็คือ ตลาดกระจายตัว พึ่งพาตลาดใน ั หาและเป็นตัว ประเทศ อุตสาหกรรมชัน้ นำ�ทีก่ �ำ ลังมีปญ ฉุดเศรษฐกิจโลก อย่างเช่น สหรัฐฯ EU และญีป่ นุ่ น้อยลง ขณะที่ตลาดในกลุ่มอาเซียน 5 ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ตลาดในจีน และ ตลาดอื่นๆมีบทบาทสูงขึ้น อาจสรุปได้ว่า การส่งออกที่จะบวกลดลงเป็น ปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องระวัง แต่ปัจจัยบวก ก็คือ การส่งออกไทยน่าจะมีความมั่นคงมากขึ้น

ยานยนต์ ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ยาง กระดาษ / การพิมพ์ โลหะ / เหมืองแร่ เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องดื่ม ข้าว พลังงาน / น้�ำ มันเชื้อเพลิง อาหารสัตว์ สินค้าอุปโภคบริโภค การส่งออกรวม

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์และ TMB Analytics

การส่งออกไทย : แนวโน้มการขยายตัวในปี 2554 ตามตลาดส่งออก อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ยาง เคมีภัณฑ์ สินค้าโลหะและแร่ เครื่องจักร เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค พืชไร่ ข้าว อาเซียน 5

จีน

ญี่ปุ่น

สหรัฐฯ

สหภาพยุโรป

อื่นๆ

การส่งออกรวม

ที่มา : กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ TMB Analytics

13


TMB Economic Outlook

โดยศูนย์ว�เคราะห์เศรษฐกิจ

อุตสาหกรรมที่แนวโน้มดี ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

แนวโน้มอุตสาหกรรม ปี 2554 อุตสาหกรรมที่ต้องระวัง ภาคเกษตร เช่น ข้าว เครื่องประดับ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงาน เข้มข้น เช่น เซรามิก, เฟอร์นิเจอร์ไม้, เครื่องหนัง และเสื้อผ้า

อุตสาหกรรมที่แนวโน้ม ดีปานกลาง-ทรงตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า การก่อสร้าง บริการด้านสุขภาพ ท่องเที่ยว

ธุรกิจ 2554... อะไรรุ่ง อะไรต้องระวัง คำาถามยอดฮิตในทุกจังหวะทีจ่ ะมีการเปลีย่ นผ่าน จากปีเก่าสู่ปีใหม่ ก็คือ ปีหน้าธุรกิจอะไรรุ่ง สินค้าอะไร ไม่รุ่ง ปีหน้าจะขยายธุรกิจดีหรือไม่ หรือตั้งรับดีกว่า จากการประเมินเศรษฐกิจโลก แล้วกลับมามอง เศรษฐกิจไทย ปี 2554 อะไรจะรุ่ง อะไรจะไม่รุ่ง อาจ แบ่งเป็น 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วยกลุ่มที่ มีแนวโน้มดี กลุ่มที่มีแนวโน้มดีปานกลาง-ทรงตัว และกลุ่มที่ต้องระวัง แต่ละกลุม่ มีอะไรบ้าง ได้สรุปไว้ให้แล้วในตาราง ประกอบเรื่อง แต่ อ ยากจะแนะนำ า ผู้ ป ระกอบการทางด้ า น ภาคเกษตร เช่น ข้าว เครื่องประดับ และอุตสาหกรรม ที่ใช้แรงงานมาก เป็นต้นว่า เซรามิก เฟอร์นิเจอร์ไม้ เครื่องหนัง และเสื้อผ้า ต้องระวังตัวมากเป็นพิเศษ เพราะน่าจะมีปัญหามากในปี 2554 สำาหรับค่าเงินบาททีม่ ที ศิ ทางแข็งขึน้ ส่งผลกระทบ ต่ออุตสาหกรรมแน่ แต่จะไม่เท่ากันโดยจะมีทั้งกลุ่ม ที่ได้และที่เสีย อุ ต สาหกรรมกลุ่ ม ที่ เ สี ย ประโยชน์ ม ากจาก ค่าเงินบาทแข็ง และต้องระวังตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง โรงเลือ่ ยและผลิตภัณฑ์ไม้ การแปรรูปอาหาร การฟอก พิมพ์ ย้อมผ้าและสิง่ ถักทอ ผลิตภัณฑ์โลหะทีไ่ ม่ใช่เหล็ก และน้ำาตาล

ผลของการแข�งค่าของเงินบาทต่ออุตสาหกรรม เสียประโยชน์มาก ผลิตภัณฑ์ยาง โรงเลื่อยและผลิตภัณฑ์ไม้ อาหารแปรรูป การฟอก พิมพ์ ย้อมผ้า และสิ่งถักทอ ผลิตภัณฑ์โลหะ ที่ไม่ใช่เหล็ก น้ำาตาล 14

เสียประโยชน์น้อย เครื่องประดับ การทอผ้า ภาคบริการ เครื่องหนัง ภาคเกษตร การค้า

ได้ประโยชน์น้อย ผลิตภัณฑ์ยาสูบ รถยนต์และ รถจักรยานยนต์ เครื่องแต่งกาย พรม ผลิตภัณฑ์ป่านและปอ ปุยและยาปราบศัตรูพืช

ได้ประโยชน์มาก การก่อสร้าง ซีเมนต์และ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต เครื่องดื่ม โรงกลั่นน้ำามันปิโตรเลียม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง


เทรนด์การตลาดใหม่มาแรง ดิจิทัล มีเดีย ทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี เป็นสื่อใหม่ ที่กำ�ลังมาแรง ความแรงของดิจิทัล มีเดียนั้น มาจากผู้บริโภคทุกกลุ่ม เปิดรับการใช้เทคโนโลยีใหม่ในยุคดิจิทัล เห็นได้จากขณะนี้ มีผู้ใช้เฟซบุ๊คแล้ว 6.2 ล้านคน มีผู้ใช้มือถือใช้ในงานด้านเน็ต แล้ว 33% จาก 69 ล้านเลขหมาย นอกจากนี้ หากเจาะกลุม่ คนรุน่ ใหม่วยั 15-24 ปี ยังพบว่า ใช้เน็ตเป็นช่องทางแรกในการหาข้อมูลถึง 60% แม้กระทั่งในกลุ่มผู้สูงอายุ ยังพบอีกว่ามีการใช้มือถือ กว่า 58% ใช้เอสเอ็มเอส 33% ใช้เน็ตทุกวัน 9% ใช้อีเมล์ 8% และหาข้อมูลสินค้าจากเน็ต 4% ส่วนความแรงของทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี มาจาก เนื้อหาที่หลากหลาย มีให้เลือกชมมากกว่า รวมทั้งมีเนื้อหา ที่หาชมไม่ได้ในฟรีทีวี นอกจากนี้ แต่ละช่องยังนำ�เสนอเนื้อหาแบบเจาะกลุ่ม เช่น เพลงทั้งช่อง พระทั้งช่อง ข่าวทั้งช่อง ซึ่งตอบโจทย์ผู้บริโภค ยุคนี้ได้ชัดเจน จำ�นวนผู้ชมจึงพุ่งขึ้นเป็น 7.6 ล้านครัวเรือนแล้ว และ คาดว่าจะทะลุ 12.2 ล้านครัวเรือนในปี 2554 ทั้งหมดนี้คือ ข้อมูลตอกย้ำ�ความแรงของดิจิทัล มีเดีย ทีวีดาวเทียม และเคเบิลทีวี ที่ท�ำ ให้นักการตลาดต้องจับตามอง และนำ�มาใช้เป็นเครือ่ งมือสือ่ สารกับผูบ้ ริโภคมากขึน้ กลายเป็น เทรนด์การตลาดใหม่มาแรงไปแล้วในขณะนี้

SME Intrend จำ�นวนผู้ชมและงบโฆษณา ผ่านทีวีดาวเทียม-เคเบิลทีวี ปี ล้านครัวเรือน 2551 3.80 2552 6.40 2553 7.60 2554 12.20 2555 15.80 2556 20.60 ที่มา – เอจีบี นีลเส็น

ล้านบาท 500 1,000 2,000 5,000 -

ต้องปรับกลยุทธ์การสื่อสาร “ปี 2553 คาดว่า มีการใช้งบโฆษณาผ่านสื่อใหม่ ในกลุ่มดิจิทัล มีเดีย 1,950 ล้านบาท ทีวีดาวเทียมและ เคเบิลทีวี 1,000 ล้านบาท ส่วนปี 2554 จะเพิ่มขึ้นเท่าตัว ทั้งนี้ เป็นผลจากพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภค เปลี่ยน ทำ�ให้นักการตลาดต้องปรับกลยุทธ์การสื่อสาร กับผู้บริโภคโดยใช้สื่อใหม่เข้ามาเสริมสื่อแบบดั้งเดิม เช่น ฟรีทีวี สิ่งพิมพ์ เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย”

กนกกาญจน์ ประจงแสงศรี ผู้อำ�นวยการสมทบ ฝ่ายวิจัยสื่อโฆษณา บริษัท ไอพีจี มีเดีย แบรนด์ดิส

ทีวีดาวเทียม ถึงกว่า...ถูกกว่า

“ทีวีดาวเทียมได้รับความนิยมมานาน และมีมูลค่า ทางการตลาดที่สูงในต่างประเทศ แต่ยังค่อนข้างใหม่ สำ�หรับประเทศไทย จึงทำ�ให้อัตราค่าโฆษณาถูกกว่า ฟรีทวี ที ว่ั ไปถึง 10 เท่า อีกอย่างก็คอื ยังไม่มกี ารจัดเรตติง้ ซึ่งในต้นปี 2554 จะเริ่มมีการจัดเรตติ้งในทีวีดาวเทียม แน่นอนว่าค่าโฆษณาจะเริ่มสูงขึ้น จุดเด่นของทีวีระบบนี้ คือการจัดแบ่งเซคชั่นหรือ หมวดหมู่ของช่องรายการที่แน่นอน เช่น ช่องการ์ตูน สำ�หรับเด็ก ช่องความสวยความงามสำ�หรับผู้หญิง ช่อง วิเคราะห์ข่าวสารสำ�หรับนักธุรกิจ หากเป็นสมัยก่อนลง โฆษณาทางฟรี ที วี ทั่ ว ไป เสี ย ค่ า ใช้ จ่ า ยนาที เ ป็ น แสน หว่านลงไปโดยที่ไม่รู้เลยว่ากลุ่มเป้าหมายได้ดูหรือไม่ ผิดกับการโฆษณาในทีวีดาวเทียมที่เลือกส่งตรงไปยัง กลุม่ เป้าหมายได้อย่างแน่นอน ในราคาทีถ่ กู กว่า 10 เท่า”

จิรัฐ บวรวัฒนะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อิกไนท์ เอเซีย 15


SME Vision

เจ๊กเม้ง...ก๋วยเตี๋ยวไฮเทค สุดยอดต้นแบบ Social Network ธีรศานต์ สหัสสพาศน์

16

3 ปีก่อน “เจ๊กเม้ง ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ต้นตำ�รับเพชรบุรี” รีแบรนด์ตัวเองขนานใหญ่ จากร้านก๋วยเตีย๋ วเนือ้ เก่าแก่ทข่ี ายแค่ในท้องถิน่ มาสูร่ า้ นดังประจำ�จังหวัด โดยอาศัยช่องทาง การโปรโมทตัวเอง และการทำ�ตลาดผ่าน Social Network ทั้งทาง Facebook, Twitter, Youtube และ Foursquare ด้วยไอเดียของ “ธีรศานต์ สหัสสพาศน์” เปลีย่ นลุค จากร้านก๋วยเตี๋ยวธรรมดา ให้กลายเป็นร้านก๋วยเตี๋ยวไฮเทค ที่กระแสแรงที่สุดในโลกอินเทอร์เน็ต “เมื่อผมก้าวเข้ามาสานต่อกิจการ สิ่งแรกที่มองคือการ ขยายตลาดไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยว และเพิ่มมูลค่าสินค้า เริ่ม จากเพิ่มเมนูอาหารใหม่ๆ จากเดิมที่ขายแค่ก๋วยเตี๋ยวเนื้อสูตร ดัง้ เดิม ตอนนีเ้ พิม่ เป็น 50 เมนูแล้ว ทัง้ ก๋วยเตีย๋ ว อาหารตามสัง่ ขนมหวาน ปัจจุบันยอดขายเพิ่มขึ้น 4-5 เท่า และค่าเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มจาก 35 บาท เป็น 85-105 บาท” นอกจากเมนูอาหารที่หลากหลาย และรสชาติอาหารที่ถูกปากแล้ว ปัจจัยสำ�คัญ แห่งความสำ�เร็จของ “เจ๊กเม้ง” คือ การที่คนรุ่นใหม่อย่างธีรศานต์ นำ� Social Network มาใช้ในการโปรโมทร้านและทำ�การตลาดควบคู่กัน เริ่มต้นจากการถ่ายรูปเมนูอาหาร แล้ว โพสต์ตามเว็บไซต์ต่างๆ โดยสอดแทรกโลโก้ร้านเข้าไป เพื่อให้ผู้พบเห็นรู้สึกคุ้นตา และ เริ่มตามหาที่มาของร้าน จากนั้นหมั่นอัพเดทเมนูอาหารตามหน้า Facebook, Twitter และชักชวนลูกค้า ทีม่ าใช้บริการเข้าไปโพสต์ขอ้ ความ รูปภาพ บอกเล่าถึงรสชาติอาหาร และบรรยากาศของร้าน เพื่อบอกต่อให้เพื่อนในสังคมออนไลน์มาลองชิมบ้าง เป็นการสร้างสีสัน และยังช่วยเพิ่ม ความน่าเชื่อถือในเรื่องรสชาติอาหาร เพราะการันตีโดยลูกค้าตัวจริง และกระตุน้ ยอดขายด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น ส่งภาพลูกค้า ที่ถ่ายในร้านมาลง Facebook หรือ Twitter หากโดนใจ ได้รับเลือกให้ลงโบรชัวร์ฉบับต่อไป จะได้รับ GiftVoucher มูลค่า 1,200 บาท หรือใส่เสื้อยืดโลโก้เจ๊กเม้งมาที่ร้าน รับ น้ำ�ผลไม้ฟรี เป็นต้น ล่าสุดผุดไอเดียนำ�เสนอเมนูอาหารผ่าน iPad เป็นร้านแรกในประเทศไทย เห็นได้ว่า ร้านก๋วยเตี๋ยวก็สามารถนำ� New Media (การสื่อสารยุคใหม่ผ่าน อินเทอร์เน็ต ) ช่องทางต่างๆ มาประยุกต์ใช้ และประสบความสำ�เร็จอย่างงดงาม จนได้รับ การยอมรับว่าเป็นต้นแบบของ SME ในการนำ� Social Network มาใช้ในการต่อยอดธุรกิจ


SME Vision

Trendyday.com ปีเดียวทะลุเป้า ด้วยพลัง Social Network ที่ครบเครื่อง วรวุฒิ อุ่นใจ

“Trendyday.com” เป็นเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์น้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว ได้ปเี ดียว ถือเป็นอีกหนึง่ ตัวอย่างทีป่ ระสบความสำ�เร็จจากการใช้ Social Network มาเป็นเครื่องมือในการขยายฐานตลาด และเจาะลูกค้ากลุ่มใหม่ จริงๆแล้วต้องบอกว่าเว็บไซต์ Trendyday.com นั้น ถูกสร้างขึ้นก็เพื่อใช้ เป็นช่องทางในการขายสินค้ากลุ่มที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ที่เน้นดีไซน์ของ “ออฟฟิศเมท” ซึ่งเป็นบริษัทขายเครื่องเขียน – เครื่องใช้สำ�นักงาน โดยมุ่งกลุ่ม ลูกค้าบุคคล หรือผู้ใช้ตามบ้าน รวมทั้งวางฐานขยายสู่ตลาด SME อย่างเต็มรูปแบบ สิ่งที่น่าสนใจสำ�หรับการจัดทำ�เว็บไซต์ Trendyday.com ในครั้งนี้ ก็คือ การใช้ Facebook มาเป็นช่องทางการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งเปิดมาได้ แค่ 1 ปี ก็สามารถสร้างยอดแฟนคลับได้เกือบหมื่นเลยทีเดียว “กระแสตอบรับที่มาแรงนั้นมาจากการปรับกลยุทธ์เปิดให้ลูกค้าสร้างบล็อก ส่วนตัว เพือ่ เอาไว้รวี วิ สินค้า ตัวไหนดี ตัวไหนน่าใช้ แล้วให้คะแนนเป็นเรตติง้ วิพากษ์ วิจารณ์กันเอง ตรงนี้จะทำ�ให้สินค้ามีความน่าเชื่อถือกว่าให้เจ้าของสินค้าพูด และ เป็นการปูทางไปสู่การใช้ระบบ Affiliate marketing (การเป็นนายหน้าขาย สินค้าและบริการให้กับเว็บไซต์ต่างๆ) เช่น ลูกค้าแนะนำ�เพื่อนให้ซื้อสินค้า หรือ การที่ลูกค้าเข้ามาเห็นรีวิวในเว็บ แล้วตัดสินใจซื้อตาม ผู้แนะนำ�หรือผู้รีวิวก็จะได้ ค่าคอมมิชชั่นไปด้วย ระบบนี้จะนำ�มาใช้ต้นปี 2554 พร้อมขยายตลาดออนไลน์ไปยังกลุ่มประเทศ อินโดจีน โดยร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ไทย แล้วจะเปิดให้ SME ไทยฝากขาย สินค้าดีไซน์ในเว็บอีกด้วย สำ�หรับ Facebook ทีม่ แี ฟนคลับนับหมืน่ นัน้ เป็นเพราะเรามีการจัดกิจกรรม ต่อเนื่อง เช่น คลิปฮานาทีเดียว หรือประกวดภาพถ่ายเฟี้ยว ที่วัดคะแนนจาก จำ�นวนแฟนคลับที่กด like ให้ รวมถึงคลิปวิดีโอสาธิตวิธีการใช้ผลิตภัณฑ์ใน Youtube ช่องทางต่างๆเหล่านี้ เราจะสอดแทรกกิจกรรมลงไป เพื่อให้ลูกค้ารู้สึก คุ้ น เคย ซึ่ ง จำ � นวนสมาชิ ก ตรงนี้ จ ะกลายเป็ น ฐานข้ อ มู ล ในการทำ � แคมเปญ มาร์เก็ตติ้งต่างๆในอนาคตต่อไป” “วรวุฒิ อุ่นใจ” กรรมการผู้จัดการบริษัท ออฟฟิศเมท จำ�กัด (มหาชน) กล่าว ถึงความสำ�เร็จจากการใช้ Social Network พร้อมทั้งฝากข้อคิดทิ้งท้ายว่า “ข้อจำ�กัดของ Social Network ก็คอื ห้าม hard sale แต่ให้สอดแทรกข้อมูล ทีเ่ ป็นสาระ รวมถึงจัดกิจกรรมให้ลกู ค้ารูส้ กึ คุน้ เคย ก็จะได้รบั การบอกต่อในวงกว้าง” 17


TMB SME Community คอลัมน์นม้ี เี ป้าหมายเพือ่ สร้างคูค่ า้ ทางธุรกิจให้กบั ลูกค้าของ TMB SME ท่านใดต้องการ ซือ้ ขาย ให้บริการ หรือหาพันธมิตรธุรกิจ สามารถแจ้งข้อมูลข่าวสารมาได้ที่ ฝ่ายการตลาดเอสเอ็มอี E-mail : tmbsme@tmbbank.com หรือ ผู้จัดการดูแลความสัมพันธ์ของท่าน โดยโปรด แจ้งชื่อ ประเภทกิจการ ภาพถ่าย วัตถุประสงค์ พร้อมรายละเอียดข้อความที่ต้องการเผยแพร่ และสถานที่ติดต่อ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ = ต้องการซื้อ

= ต้องการขาย/ให้บริการ

= ต้องการหาพันธมิตร

ชื่อกิจการ บริษัท เพรชสยาม พีอีไพ้พ์ จำ�กัด ประเภทกิจการ ผลิตและจำ�หน่ายท่อ HDPE วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตและจำ�หน่ายท่อ HDPE รายละเอียด บริษัทผลิตท่อ HDPE สำ�หรับนํ้าดื่มตามมาตรฐาน สากล มอก.982 โดยคำ�นึงถึงคุณภาพของสินค้า และบริการ เพื่อมุ่งเน้นความพอใจของลูกค้า ติดต่อ ฝ่ายขาย สถานที่ติดต่อ สำ�นักงานใหญ่ 496/6 ซ.เจริญกิจ ถ.พระราม 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0 2234 5686 แฟกซ์ 0 2633 2144 โรงงาน 99 หมู่ 3 ต.ทับยาว อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี 76140 โทรศัพท์ 0 3279 7046-49 แฟกซ์ 0 3279 7050 เว็บไซต์ www.pspipe.co.th

ชื่อกิจการ บริษัท ไฮ-โฟน ซิสเต็ม คอร์เปอร์เรชั่น จำ�กัด ประเภทกิจการ จำ � หน่ า ยระบบโทรศั พ ท์ ตู้ ส าขา เครื่ อ งโทรศั พ ท์ อุปกรณ์โทรศัพท์ รับเดินสายโทรศัพท์ สายแลน ติดตัง้ และซ่อมระบบโทรศัพท์ NEC วัตถุประสงค์ เพื่ อ จำ � หน่ า ยระบบโทรศั พ ท์ ที่ มี คุ ณ ภาพภายใต้ การผลิตของประเทศญี่ปุ่น รายละเอียด บริษัทเน้นการจำ�หน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ รูปทรง ของสิ น ค้ า ทั น สมั ย ในราคาที่ ย่ อ มเยาและเน้ น คุณภาพของการบริการให้ลูกค้าพึงพอใจอย่างดีที่สุด ติดต่อ ฝ่ายขาย สถานที่ติดต่อ 284/10 ถ.พระราม 3 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2292 1447-8, 0 2689 1894 – 5, 0 2689 1996 แฟกซ์ 0 2291 3224 อีเมล์ nec_hiphone@hotmail.co.th

18


TMB SME Community ชื่อกิจการ บริษัท เคนตั้นอินเตอร์เทรด จำ�กัด ประเภทกิจการ 1. รับผลิต-จัดจำ�หน่าย สีโปสเตอร์ สีอินเดียอิงค์ สีเขียนผ้า สีอะคริลิค สีมุก สีสะท้อนแสง และสีพิเศษที่ใช้ในงานศิลปะ จิตรกรรม หัตถกรรม สถาปัตยกรรม รวมไปถึงจัดจำ�หน่าย หมึกเติมแท่นประทับตรา น้�ำ มันลินสีด และน้ำ�ยางพารา หล่อแบบ โดยเน้นสินค้าที่มีคุณภาพผลิตตรงตามมาตรฐาน สากล ในราคาที่เป็นกันเอง 2. รับผลิตและจำ�หน่าย เครื่องสำ�อางทั่วไป ทั้งแนวสมุนไพร และแฟชั่น วัตถุประสงค์ รับผลิตและจัดจำ�หน่ายทั้งปลีกและส่ง รายละเอียด บริษัทผลิตตลอดจนควบคุมคุณภาพ โดยส่งตรวจวิเคราะห์ ที่บริษัท SGS เพื่อยืนยันคุณภาพสินค้าอย่างสม่ำ�เสมอ เรา จะให้ความสำ�คัญกับการให้บริการลูกค้าโดยให้คำ�แนะนำ� การใช้สนิ ค้าอย่างถูกต้องและรับประกันในคุณภาพของสินค้า ให้บริการส่งไปยังตัวแทนจำ�หน่ายอย่างรวดเร็วและซื่อตรง ต่อพันธมิตรเสมอ ติดต่อ จารุรัตน์ เคียงนภาเจริญ สถานที่ติดต่อ 1104/23 ถ.เทอดไทย แขวงตลาดพลู เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ 0 2465 6948, 0 2465 4131 แฟกซ์ 0 2465 8218 อีเมล์ kentonintertrade@yahoo.com, info@kentonintertrade.com เว็บไซต์ www.kentonart.com ชื่อกิจการ บริษัท ส.เจริญพงษ์ ค้าวัสดุก่อสร้าง จำ�กัด ประเภทกิจการ จำ�หน่ายวัสดุก่อสร้าง วัตถุประสงค์ จำ�หน่ายทั้งปลีก และ ส่ง พร้อมจำ�หน่ายเข้างาน โครงการก่อสร้างทุกประเภท รายละเอียด บริษทั จำ�หน่ายวัสดุกอ่ สร้าง เคมีภณ ั ฑ์ตา่ งๆ รวมถึงอุปกรณ์ ไฟฟ้า ประปา และเครือ่ งมือช่างของเครือ SCG บริษทั เป็นซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ท Authorized Dealer รายแรก ของ SCG อีกทั้งยังเป็นผู้แทนจำ�หน่ายยอดเยี่ยมของ ภาคนครหลวงติดต่อกันมา 8 ปี บริษัทมีศูนย์บริการ หลั ง คา (Roofing Center) ที่ ใ ห้ บ ริ ก ารเกี่ ย วกั บ ประมาณการใช้หลังคา ออกแบบโครงหลังคา โดยทีมงาน ผู้เชี่ยวชาญ ของ SCG นอกจากนี้บริษทั ยังได้รบั รางวัล มาตรฐานดีเด่นอันดับ 1 ของประเทศปี 2553 (ด้าน มาตรฐานการบริการ) ของร้านโฮมมาร์ททั่วประเทศ บริษัทมุ่งเน้นรักษามาตรฐานการบริการที่ดีมีคุณภาพ เช่นนี้ตลอดไป ติดต่อ แผนกค้าปลีก (โฮมมาร์ท) : คุณวันเพ็ญ และ คุณรถจรี แผนกค้าส่ง : คุณวรณัน แผนกโครงการ : คุณดลดา และ คุณอรทัย สถานที่ติดต่อ 333/3 หมู่ 5 ถ.ศรีนครินทร์ ต.บางเมือง อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10270 เวลาทำ�การ สำ�นักงาน วันจันทร์ – วันเสาร์ 8.00 – 17.00 น. ร้านโฮมมาร์ท วันจันทร์ – วันเสาร์ 8.00 – 18.00 น. วันอาทิตย์ 8.00 – 17.00 น. โทรศัพท์ 0 2703 1888 แฟกซ์ 0 2703 1889 อีเมล์ sojareun@cdc.ji-net.com 19


TMB Products กระแสตอบรับ สินเชื่อ 3 เท่า ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี แรงไม่หยุด จนมีหลายธนาคารออกผลิตภัณฑ์ สินเชื่อ 3 เท่าของมูลค่าหลักประกันตามมา ยิ่งเป็นการตอกย้ำามาตรฐานสินเชื่อ 3 เท่า ทีท่ าง TMB SME เป็นผูก้ าำ หนดมาตัง้ แต่ปลายปี ทีผ่ า่ นมา และยังคงมีอยูห่ ลายเหตุผลทีท่ าง TMB มีข้อเสนอให้กับผู้ประกอบการที่แตกต่างกว่า จากธนาคารอื่น ไม่ว่าจะเป็นการขอสินเชื่อ เงินกูร้ ะยะยาว หรือ โอดี อย่างเดียว ก็ขอได้ 3 เท่า หรือจะใช้บ้านหรือสถานที่ประกอบการหลัก เงินฝาก ค้ำาประกัน ก็ได้ 3 เท่า หรือจะเป็น ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีรายได้ต่อปีไม่เกิน 500 ล้านบาท ก็ขอได้ 3 เท่า พร้อมทัง้ ยังอนุมตั ิ วงเงิน 3 เท่าได้สูงสุดถึง 60 ล้านบาท

สนใจสอบถามข อมูลเพ��มเติมได ที่ สาขา TMB ทั่วประเทศ หร�อ โทร.1558

ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป สำาหรับธุรกิจเอสเอ็มอีที่กำาลัง มองหาสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องกิจการ แต่ไม่มี หลักทรัพย์ค้ำาประกัน เพราะวันนี้ทีเอ็มบีมีบริการใหม่ “โอดี ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี” สินเชื่อ เพื่อเสริมสภาพคล่องกิจการ โดยไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ ค้ำาประกัน ด้วยวงเงินโอดี กู้ได้สูงสุด 10 ล้าน พิเศษ รับเงินไวใน 9 วัน สำาหรับเอสเอ็มอีที่มียอดขายต่อปี ไม่เกิน 50 ล้านบาท

สนใจสอบถามข อมูลเพ��มเติมได ที่ สาขา TMB ทั่วประเทศ หร�อ โทร.1558 20


SME Event Calendar งานอบรมสัมมนา

งานแสดงสินค้าในประเทศ

สัมมนาไทยนำ�ไทยสร้างสรรค์ ตอน “นาโนซิลเวอร์เคลย์” นวัตกรรมแนวใหม่ของเครื่องประดับเงิน

งานไทยแลนด์ เมกะ โชว์

25 ก.พ. 54 : เวลา 13.00 – 16.00 น. หมายเหตุ สัมมนาฟรี โทร. 0 2189 5470 – 3 ต่อ 16 – 17

สัมมนาเปิดเหมืองพลอยใหม่ในดินแดนอารยธรรมหลังคาโลก (ทิเบต) 18 มี.ค. 54 : เวลา 13.00 – 16.00 น. หมายเหตุ สัมมนาฟรี โทร. 0 2189 5470 – 3 ต่อ 16 – 17

การอบรมโครงการเสริมสร้างผูป้ ระกอบการใหม่ (NEC) จ.ภูเก็ต

29 ม.ค. – 23 เม.ย. 54 หมายเหตุ รับสมัครตัง้ แต่วนั นีถ้ งึ – 15 ม.ค. 54 จำ�นวน 45 ราย ฟรีตลอดหลักสูตร โทร. 081 479 7820, 0 7720 0395 – 8 ต่อ 320, 0 7627 6412 – 4

การอบรมโครงการเสริมสร้างผูป้ ระกอบการใหม่ (NEC) จ.สุราษฏร์ธานี

26 ก.พ. – มิ.ย. 54 หมายเหตุ รับสมัครตัง้ แต่วนั นีถ้ งึ – 15 ก.พ. 54 จำ�นวน 60 ราย ฟรีตลอดหลักสูตร โทร. 081 479 7820, 0 7720 0395 – 8 ต่อ 320, 0 7567 3532, 0 7567 3509

15 – 23 ม.ค. 54 เวลา 11.00 – 21.00 น. อาคาร 1 – 8 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

งานโอกาสธุรกิจ 2011 ครั้งที่ 16

25 – 27 ก.พ. 54 เวลา 10.00 – 20.00 น. อาคาร 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

งานแสดงสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับ ครั้งที่ 47

25 ก.พ. – 1 มี.ค. 54 เวลา 10.00 – 18.00 น. อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

งาน Health Food & Ingredient Thailand 2011

10 – 13 มี.ค. 54 10 – 11 มี.ค. เวลา 10.00 – 18.00 น. 12 – 13 มี.ค. เวลา 9.00 – 20.00 น. อาคาร 9 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

งานแสดงสินค้าในต่างประเทศ GULFOOD 2011

Dubai, U.A.E. 27 ก.พ. – 2 มี.ค. 54

อินเทอร์เน็ต แวลลู แพ็ค ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี พิเศษสำ�หรับลูกค้า SME ฟรี โอนเงินข้ามธนาคาร โอนเงินข้ามเขต จ่ายบิลออนไลน์ ค่าธรรมเนียมรับฝากเช็คข้ามธนาคาร เหมาจ่ายเพียง 199 บาท/เดือน

ปลอดภัยไม่ต้องไปสาขา วันนี้ เพียงมีบัญชีกับ TMB ธุรกิจไปได้ไกล ไปได้เร็วขึ้น

FOODEX JAPAN 2011

Chiba, Japan 1 – 4 มี.ค. 54

INDIA – ASEAN BUSINESS FAIR 2011

New Delhi, India 2 – 6 มี.ค. 54

21


SME Smart Life

ซินแสวิริทธิ์พล จันทร์เทศนา (อาจารย์แป้ง)

ดวงกับการลงทุนในป 2554 ธุรกิจในปี 2554 หรือปีกระต่ายทอง ต้องรวดเร็วจับกระแสให้ถูกทาง ควรเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด และมีข้อมูลในเชิงลึกที่ถูกต้อง ชัดเจน ที่สำาคัญควรมีแผนเกี่ยวกับเงินทุนหมุนเวียนไว้ล่วงหน้า รวมทั้ง มี ค วามพร้ อ มในการปรั บ ตั ว ให้ ทั น ต่ อ สถานการณ์ ภ ายในประเทศและ ต่างประเทศ โดยการพึง่ ตนเองให้ได้มากทีส่ ดุ ใช้หลักเหตุผลทีเ่ ป็นกลางในการ ชัง่ น้าำ หนักความถูกต้อง ระหว่างผลดีและผลเสียทีจ่ ะเกิดขึน้ ก่อนการตัดสินใจ ทำาธุรกิจหรือขยายงาน ทีส่ าำ คัญไม่ควรรอโอกาสเข้ามาหา แต่ตอ้ งคว้าโอกาส ที่ดีให้ได้ก่อนผู้อื่น และทำาโอกาสนั้นให้ประสบความสำาเร็จ ก็จะเป็นผู้ชนะ เหนือดวงในปีนี้

ป ช วด

22

ปขาล

ต้ อ งระมั ด ระวั ง การลงทุ น อาจทำาให้เป็นปีแห่งการก่อหนี้สิน หรือเพิ่ม ภาระทางการเงินให้กบั ตนเอง การทำาเอกสาร สัญญาโดยขาดความรอบคอบ จะทำาให้เกิด คดีความได้ ให้ระวังเดือนมีนาคม มิถุนายน กรกฎาคม และกันยายน

ควรทำ า ธุ ร กิ จ แบบค่ อ ยเป็ น ค่อยไป จังหวะการลงทุนในปีนไ้ี ม่สง่ ผลทีด่ นี กั นอกเสียจากจะมีรากฐานที่ดีมาก่อน และ จำาเป็นต้องลงทุนต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้ธรุ กิจเดินหน้า แต่กไ็ ม่ควรลงทุนในเดือนมีนาคม พฤษภาคม และสิงหาคม

ปฉลู สามารถขยายงานให้เจริญ รุ่งเรือง หรือลงทุนร่วมกับผู้อื่นได้ แต่ไม่ควร เป็นธุรกิจทีม่ คี วามเสีย่ งเกินไป และไม่ควรเชือ่ อะไรตามกระแสอย่างเดียว จะตกหลุมพรางได้ เดือนที่ดีในการลงทุนคือ เดือนมกราคม และ พฤษภาคม

ปเถาะ การสร้างงานและการลงทุน เป็นสิ่งสำาคัญ ควรเลือกทำาในสิ่งที่ตนเอง ควบคุ ม ได้ จะประสบความสำ า เร็ จ ในปี นี้ อย่ า งมาก จึ ง เป็ น ช่ ว งจั ง หวะที่ ดี ที่ จ ะคว้ า โอกาสเข้ า หาตนและสร้ า งความก้ า วหน้ า ในธุรกิจ ซึ่งเริ่มต้นได้ในเดือนมีนาคม


TMB Smart Life

ป ม ะโรง ต้ อ งมี ค วามรอบคอบ อย่างมากสำาหรับการลงทุนในปีนี้ ซึ่งหาก ผิดพลาดขึ้น จะมีผลเสียต่อเนื่องในปีถัดไป จึงต้องมีความแน่นอน และชัดเจนในตัวธุรกิจ ที่ทำา ไม่ควรลงทุนในเดือนมีนาคม เมษายน กรกฎาคม และตุลาคม

ปวอก จะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ของปี ที่ ผ่ า นมาได้ ไ ม่ ย ากนั ก ตั้ ง แต่ เ ดื อ น มีนาคมไปจะมีความราบรืน่ ขึน้ แต่การลงทุน หรือขยายงานในปีน ้ี ควรเริม่ ในเดือนสิงหาคม ไปแล้ว และควรวางแผนระยะยาว จึงจะ ประสบความสำาเร็จ

ปมะเส็ง ควรประคับประคองไปก่อน

ประกา ต้องระวังการขยายงานหรือ

ส่ ว นการลงทุ น ต้ อ งดู ก่ อ นว่ า คุ้ ม ค่ า หรื อ ไม่ เพราะในระยะยาวจะให้ ผ ลตอบแทนที่ คุ้ ม ค่ า กว่ า แต่ ก็ ต้ อ งมี ส ายป่ า นที่ ย าวด้ ว ย เช่นกัน จึงจะบรรลุเป้าหมาย ไม่ควรลงทุน ในเดือนกุมภาพันธ์ และพฤศจิกายน

ลงทุนอย่างมาก โดยเฉพาะในเดือนมีนาคม มิถนุ ายน และกันยายน หากไม่จาำ เป็นควรงด การลงทุนในปีนี้ เพราะจะมีอุปสรรคปัญหา เกิดขึ้นมากมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่อง หนี้สินหรือคดีความ

ปมะเมีย ไม่ควรจับธุรกิจหลายอย่าง ในปีนี้ จะไม่ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่จะ กลั บ กลายเป็ น ภาระได้ แต่ ถ้ า เลื อ กเพี ย ง อย่ า งเดี ย วจะไปได้ ดี แ ละมี ค วามราบรื่ น มากกว่ า ให้ ร ะวั ง ปั ญ หาในเดื อ นมี น าคม พฤษภาคม กันยายน และธันวาคม

ปจอ เป็นปีที่ดีที่จะขยายงานหรือ ลงทุนต่อเนื่อง แต่ควรทำาในช่วงต้นปี คือ เดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม อย่างช้าไม่ควร เกินเดือนมิถุนายน เพราะหลังจากกลางปี ไปแล้ว การลงทุนจะมีความเสี่ยง และหาก ผิดพลาดจะมีผลเสียไปถึงปีหน้า

ปมะแม มีโอกาสทีด่ มี ารออยูต่ รงหน้า

ก็ รี บ ตั ด สิ น ใจลงมื อ ทำ า เสี ย แต่ เ นิ่ น ๆ หาก คิดมากรอนานก็จะหมดเวลา แต่ก็ไม่ควร ขยายงานหรือลงทุนทำาธุรกิจที่เสี่ยง เดือน ที่ เ หมาะแก่ ก ารลงทุ น คื อ เดื อ นมี น าคม มิถุนายน และกรกฎาคม

ป กุ น

ธุ ร กิ จ ส า ม า ร ถ ป ร ะ ส บ ความสำาเร็จได้ แต่ไม่ควรมองอะไรด้านเดียว ในปี นี้ จะถู ก หลอกหรื อ พลาดท่ า เสี ย ที ไ ด้ การลงทุนหรือขยายงาน สามารถเริ่มทำาได้ ตั้ ง แต่ เ ดื อ นกุ ม ภาพั น ธ์ ไ ป แต่ ไ ม่ ค วรทำ า ในเดือนพฤษภาคม



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.