Trend ของอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลก

Page 1

วารสารที่สรางความเปนไดและสงเสริมศักยภาพของทุกธุรกิจในโลกไรพรมแดน Vol.16 / JULY-SEPTEMBER 2013

อุตสาหกรรม

ยานยนต

แนวโนมการใชพลังงานทดแทน Trend ของอุตสาหกรรม ยานยนตของโลก



ปัจจุบันทั่วโลกก�ำลังแสวงหาความมั่นคง ทางพลั ง งาน เพราะ ‘พลั ง งาน’ เป็ น ปัจจัยส�ำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ก็มีความท้าทายว่าจะพัฒนาพลังงานอย่าง ยั่งยืนได้อย่างไร นิตยสาร Borderless ฉบับ นี้ จึ ง น� ำ เสนอ Cover Story เกี่ ย วกั บ การ พั ฒ นา ‘พลั ง งาน’ อย่ า งยั่ ง ยื น ของ ปตท. ในฐานะองค์ ก รด้ า นพลั ง งานของชาติ ซึ่ ง มี หน้ า ที่ ใ นการสร้ า งความมั่ น คงทางพลั ง งาน ทั้ ง ในการแสวงหา ผลิ ต คิ ด ค้ น จ� ำ หน่ า ย พ ร ้ อ ม ทั้ ง ก ร ะ ตุ ้ น เ ตื อ น ใ จ ใ ห ้ ป ร ะ ช า ช น ตระหนั ก ถึ ง สิ ท ธิ แ ละหน้ า ที่ ใ นการใช้ พ ลั ง งาน และเรี ย นรู ้ รั ก ษาทรั พ ยากรธรรมชาติ ไ ว้ อย่ า งมี ดุ ล ยภาพ ทั้ ง ในปั จ จุ บั น และอนาคต

บรรณาธิการบริหาร คุณปิติ ตัณฑเกษม คุณปพนธ์ มังคละธนะกุล กองบรรณาธิการ คุณวิทยา สินทราพรรณทร ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี คุณเชาวพัฒน์ เลิศวงศ์เสถียร คุณมยุรฉัตร ซื่อสัตย์สกุลชัย คุณวาทินี ณรงค์เกียรติคุณ คุณหนึ่งธิดา กุลเสวต คุณภัทรานิษฐ์ ไตรพิพัฒน์

Special Thanks คุณณัฐชาติ จารุจินดา คุณบดินทร์ บุญวิสุทธิ์ คุณจันทร์นภา สายสมร

ด้ า นคอลั ม น์ Success Story น� ำ เสนอความเคลื่ อ นไหวและความรุ ่ ง เรื อ งของ อุ ต สาหกรรมยานยนต์ ไ ทย ผ่ า นมุ ม มองของ ผูป้ ระกอบการทีเ่ กีย่ วข้องในการทีจ่ ะ ‘ตัง้ รับ’ และ ‘รุกสู้’ เพื่อคว้าชัยในสมรภูมิการแข่งขันนี้ โดย มุ่งหวังว่าจะเป็นกรณีศึกษาที่มีคุณค่าและเป็น ประโยชน์ส�ำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย จากวิสัยทัศน์ของผู้จัดจ�ำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ อย่าง โตโยต้า อยุธยา ของตระกูลบุญวิสุทธิ์ นอกจากนี้ยังน�ำเสนอเรื่องราวในอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับยานยนต์อย่างบริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) จ�ำกัด ผู้น�ำเข้าและจัดจ�ำหน่าย ฟิล์มกรองแสงลามิน่า ที่ต่างเตรียมพร้อมรับมือ กับการเติบโตของอุตสาหกรรมนีใ้ นระดับโลก และ พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับการแข่งขันอย่างท้าทาย นอกจากนี้ยังน�ำเสนอเทรนด์สุดฮอต และ ไอเดียล�้ ำ ๆ ของอุตสาหกรรมยานยนต์โลก ในคอลัมน์ Big Idea ทีจ่ ะเผยให้เห็นว่านวัตกรรม ยานยนต์แห่งอนาคตเป็นอย่างไร และคอลัมน์ Business Funding ตอบโจทย์ ‘ทายาทธุรกิจ’ กับการสานต่อธุรกิจกงสีได้เป็นอย่างดี จากค�ำ แนะน�ำของ TMBAM หรือบริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน ทหารไทย จ�ำกัด

ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โตโยต้า อยุธยา จ�ำกัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทคโนเซล (เฟรย์) จ�ำกัด

ใช้โทรศัพท์มือถือของท่าน สแกนเพื่อดาวน์โหลดวารสาร สนใจรับวารสาร TMB BORDERLESS กรุณาส่งที่อยู่ของท่านมาที่ bizsolution@tmbbank.com

ส่ ว นคอลั ม น์ TMB Report ไม่ พ ลาด กั บ การเจาะลึ ก เศรษฐกิ จ อาเซี ย นด้ ว ยการ เอกซเรย์ถึงศักยภาพในการค้าและการลงทุน ของอาเซียนในตลาดโลก เพราะอย่างที่ทราบ กันดีว่าอาเซียนก�ำลังเนื้อหอม โดยเฉพาะใน อุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีก�ำลังการผลิตคิดเป็น ถึงครึ่งหนึ่งของการผลิตรถยนต์ที่เกิดขึ้นในโลก คอลั ม น์ Reflection ยั ง มี ไ อเดี ย เกี่ยวกับการแตกยอดธุรกิจข้ามสายพันธุ์เพื่อ กระจายความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ ใหม่ ๆ เพราะการท�ำธุรกิจในยุคนี้ ต้องมองหา โอกาสใหม่จากรากฐานเดิมที่แข็งแกร่ง เพื่อที่จะ เติบโตต่อไปได้ในอนาคต ด้านคอลัมน์ Efficiency Expertise จะเผย ให้เห็นถึงความส�ำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพ ขององค์กร เพื่อน�ำองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่ดีขึ้น แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า พร้อมกับคอลัมน์ ใหม่เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ที่ Borderless จะน�ำมา ฝากกัน ซึ่งแน่นอนว่ายังคงเนื้อหาสาระที่เข้มข้น อ่านง่าย และสามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้จริง

ออกแบบโดย บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย จ�ำกัด (มหาชน) 914 อาคารจีเอ็ม กรุ๊ป ถนนพระราม 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 241 8000 โทรสาร 02 243 9099

ดาวน์โหลดได้ที่ Apple store ของ iOS และ play store Android

facebook fanpage TMB Borderless


Vol. 16

009

JULY SEPTEMBER

Success Story

โตโยต้า อยุธยา ต่อยอดโชว์รมู สูศ่ นู ย์บริการครบวงจร

005 World Watch 015 Big Idea

Success Story

ความส�ำเร็จของ ‘ลามิน่า’ กับความท้าทายในอนาคต

การสร้างมูลค่าเพิ่มอย่างสร้างสรรค์ และมีประสิทธิภาพ

024 TMB Report

011

Business Funding

013

จัดทัพลงทุนให้เหมาะกับ Family Council

Borderless Insight ปตท.กับบทบาท บริหารจัดการ ‘พลังงาน’

018

X-ray เศรษฐกิจ และศักยภาพอาเซียน

029 Efficiency Expertise Lean Six Sigma เพื่อปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

031 Reflection แตกยอดข้ามสายพันธุ์… หมากต่อไปของธุรกิจไทย

033 Investment Tools กลยุทธ์ลงทุนตราสารหนี้ ยุคดอกเบี้ยต�ำ่ สภาพคล่องล้น

037 All About Trade Progress of ISBP&BPO

039 TMB Movement


 World Watch

เผย ‘แซลมอน’ จากยุโรปเสี่ยงปนเปื้อน

สารพิษ

ปลาแซลมอนจากทะเลบอลติ ก ถู ก สั่ ง ห้ า ม ไม่ ใ ห้ ส ่ ง ออกจ� ำ หน่ า ยมาตั้ ง แต่ ป ี 2545 เนื่ อ งจากตรวจพบว่ า แซลมอนจากสวี เ ดน ปนเปือ้ นสารพิษไดออกซินเกินกว่าปริมาณที่ก�ำหนด ทว่ า หลายบริ ษั ท ในยุ โ รปยั ง คงกว้ า นซื้ อ แซลมอน ที่ปนเปื้อนสารพิษเหล่านี้อยู่ดี โดยผู้ประกอบการ ในสวีเดนสามารถขายปลาของพวกเขาได้ราว ๆ 200 ตัน ให้ กั บ ลู ก ค้ า จากประเทศฝรั่ ง เศส เดนมาร์ ก เนเธอร์แลนด์ และอีกหลายประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งหนึ่งในบริษัทผู้ซื้อปลาจากฝรั่งเศสรายหนึ่งได้บอก กับผู้สื่อข่าวว่า พวกเขาได้น� ำปลาเข้ากระบวนการ ทดสอบเอง แล้วพบว่าไม่มีสารปนเปื้อนใด ๆ ในปลา ทั้ ง นี้ บ ริ ษั ท ผู ้ รั บ ซื้ อ ปลาในประเทศฝรั่ ง เศส อ้ า งว่ า บริ ษั ท ไม่ ไ ด้ รั บ ค� ำ เตื อ นถึ ง การน� ำ เข้ า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ซลมอนจากสวี เ ดนว่ า เป็ น การกระท� ำ ที่ ผิ ด กฎหมาย ขณะที่ มี บ ริ ษั ท ผู ้ ค ้ า ปลารายหนึ่ ง ใน สวีเดนถูกรายงานความผิดต่อกรมศุลกากร โทษฐาน ฝ่าฝืนกฎข้อห้ามส่งออกปลาแซลมอนเพื่อจ�ำหน่าย โดยตัง้ แต่ปี 2545 เป็นต้นมา สหภาพยุโรปได้สงั่ ห้ามสวีเดนส่งออกปลาแซลมอนทีจ่ บั จากทะเลบอลติก เข้าไปในประเทศสมาชิก แต่ยังสามารถจับเพื่อบริโภค ภายในประเทศได้ เนือ่ งจากพบว่าทะเลบอลติกมีความ เข้มข้นของสารกลุ่มไดออกซินสูง ซึ่งสารดังกล่าวอาจ ก่อให้เกิดมะเร็งและส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ ขณะนี้ทางฟินแลนด์และลัตเวียก�ำลังเจรจากับสหภาพ ยุโรปเพื่อขออนุญาตจับเฉพาะเพื่อการบริโภคภายใน ประเทศบ้าง อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันอาหารของ ทางการสวีเดนได้แนะน�ำว่าไม่ควรบริโภคปลาแซลมอน และปลาเฮริงเกินสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง แต่สำ� หรับเด็กที่ มีอายุตำ�่ กว่า 18 ปี หรือสตรีมีครรภ์นั้น ไม่ควรบริโภค มากเกินปีละ 2-3 ครั้ง BORDERLESS

5


 World Watch

Abenomics จะกู้วิกฤต ค่าเงินเยนได้หรือไม่ สถานการณ์ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นได้อ่อนตัวลงแตะระดับ 100 เยน เมื่อเทียบกับ 1 เหรียญสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี เมื่อ วันที่ 10 พฤษภาคม 2556 ซึ่งนักลงทุนต่างวิเคราะห์ว่าเป็นผล มาจากนโยบายกระตุน้ เศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบนั ทีฉ่ ดุ รัง้ ให้คา่ เงินเยน อ่อนลงกว่าเดิม ทัง้ นี้ สกุลเงินเยนของญีป่ นุ่ มีคา่ อยูท่ รี่ ะดับ 101.18 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือว่าต�ำ่ ที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 เลยทีเดียว ถึงแม้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เงินเยนจะแข็งค่าขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจ ญี่ปุ่นก�ำลังชะลอตัวหรือภาวะเงินฝืด ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้การน�ำ ของนายกรัฐมนตรี Shinzo Abe ซึ่งเพิ่งจัดตั้งรัฐบาลไปเมื่อช่วงปลายปี ก่อน ออกนโยบาย ‘อาเบะโนมิกส์’ (Abenomics) และทุ่มงบประมาณ 12 ล้านล้านเยนกระตุ้นเศรษฐกิจและพยายามกดค่าเงินให้อ่อนตัวเพื่อ เร่งแก้ปัญหาสินค้าส่งออกของญี่ปุ่นที่แพงกว่าชาติอื่น ๆ โดยเขาหวังว่า นโยบายต่าง ๆ จะท�ำให้เงินเยนที่อ่อนค่าลงจะสามารถยุติภาวะเงินฝืด เรื้อรังรุนแรงที่เกาะกินญี่ปุ่นมาเกือบตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จน กระทั่ ง บ่ อ นท� ำ ลายความเชื่ อ มั่ น และกระทบกระเทื อ นต่ อ การลงทุ น

6

BORDERLESS

อาเบะโนมิกส์ ตั้งเป้าไว้ว่าภายในระยะสั้นพยายามที่จะบังคับ ให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นผ่อนคลายนโยบายการเงิน ผ่านการเพิ่มอัตรา เงินเฟ้อเป้าหมายและการพิมพ์เงินเพื่อจ่ายหนี้ภาครัฐ รวมถึงการ เพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นหลุดพ้นจากอัตราเงินฝืด ให้ได้ ส่วนในระยะยาว จะพยายามให้ภาคเอกชนน�ำเงินสดที่กอง อยู่ในบริษัทของตนเองออกมาใช้ ผ่านการเพิ่มค่าจ้างให้กับลูกจ้าง ของตนเอง ผ่านการเพิ่มการจ่ายเงินปันผล และผ่านการจ่ายภาษี เพื่อเป็นรายได้กับภาครัฐเพิ่มเติม ทั้งนี้ก็เพื่อน�ำเม็ดเงินออกจากภาค เอกชนเข้าสู่เศรษฐกิจทุกเซ็กเตอร์ของญี่ปุ่นให้เติบโตอย่างสมดุล กระนั้นบรรดานักวิเคราะห์ยังมีความคิดเห็นว่า โอกาสที่ความ พยายามครั้ ง นี้ จ ะประสบความส� ำ เร็ จ ยั ง ขึ้ น อยู ่ กั บ ความลงตั ว ของ การผสมผสานระหว่างนโยบายการเงินในขณะนี้ กับการปฏิรูปเชิง โครงสร้างทางเศรษฐกิจ มากกว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงิน เพียงอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอาจถล�ำลึกมากกว่านี้


เศรษฐีใหม่ชาวจีนล้วนหลงใหลสินค้าแบรนด์หรู ไม่วา่ จะเป็นกระเป๋าที่ น�ำเข้ามาจากฝรั่งเศส รถสปอร์ตจากอิตาลี และยิ่งไปกว่านั้นพวกเขา หลงใหลการได้อวดโฉมว่าตนเป็นเจ้าของสินค้าฟุม่ เฟือยแบรนด์หรูเหล่า นั้น ทว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งปกครองประเทศกลับปวดหัวกับพฤติกรรม ของเศรษฐีเจเนอเรชั่นใหม่นี้เป็นอย่างมาก เพราะหลังจากที่เกิดการต่อสู้ มากว่าสามศตวรรษเพื่อสร้างความเสมอภาคให้กับทุกภาคส่วน แต่ปัจจุบัน ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยกลับมีให้พบเห็นและเด่นชัดขึน้ มาก ถึงขนาด ที่บรรดาสมาชิกพรรคฯ เริ่มหาทางน�ำพาความเสมอภาคและเท่าเทียมกลับ คืนมาอีกครั้ง โดยพยายามลดช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนทุกวิถีทาง เป็นที่ทราบกันดีว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของประเทศจีน เติบโตอย่างรวดเร็วมาก แม้จะมีอาการสะดุดบ้างจากเหตุการณ์ทางการ เมืองภายในประเทศ การแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงและวิกฤต แฮมเบอร์เกอร์ที่มีต้นตอมาจากสหรัฐฯ แต่เศรษฐกิจของจีนก็ยังสามารถ คงอัตราการเติบโตได้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะ การบริโภคสินค้าหรูที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ชนิดที่ใครอาจจะคาดไม่ถึง ทั้ ง นี้ ระดั บ การบริ โ ภคที่ เ พิ่ ม สู ง ขึ้ น ยั ง น� ำ พาพฤติ ก รรมฟุ ้ ง เฟ้ อ ในการบริ โ ภคสิ น ค้ า แบรนด์ เ นม เพื่ อ ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งบ่ ง ชี้ ส ถานะ ทางสั ง คม เช่ น ความนิ ย มในกระเป๋ า ถื อ แบรนด์ แ อร์ เ มสที่ มี ม ากกว่ า กระเป๋าหลุยส์ วิตตอง ก็เพราะราคาของกระเป๋าแอร์เมสนั้นแพงกว่า จากข้อมูลของ World Luxury Association ยังกล่าวถึงทิศทางของ รูปแบบการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมของชาวจีนไว้ด้วยว่า โดยตลาดสินค้า หรูในจีนนั้นเติบโตขึ้นจากปีก่อน 20% และไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลงเลย นับเป็นประเทศเดียวเลยก็ว่าได้ที่อัตราการบริโภคสินค้าแบรนด์เนมเติบโต ขึ้นอย่างรวดเร็วทุกปี

พฤติกรรมติดหรูของ

ผู้บริโภคจีน

BORDERLESS

7


 World Watch

‘เม็กซิโก’ ขึ้นชั้นเป็นศูนย์กลาง ผลิตรถยนต์ของโลก

ตลาดยานยนต์โลกได้เปลี่ยนแปลงไปสู่รถที่มีขนาดเล็ก ลง ซึ่งผู้ผลิตไม่สามารถท�ำก�ำไรได้มาก ท�ำให้ต้องมอง หาฐานการผลิ ต ที่ ใ ช้ ต ้ น ทุ น ต�่ ำ ส่ ง ผลให้ เ มื อ งพั ว บลา และประเทศเม็ ก ซิ โ ก ได้ ก ลายมาเป็ น ผู ้ มี บ ทบาทส� ำ คั ญ ใน อุ ต สาหกรรมการผลิ ต ยานยนต์ ซึ่ ง ปั จ จุ บั น ต้ น ทุ น ที่ ต�่ ำ และ แรงงานที่ มี ฝ ี มื อ ก� ำ ลั ง เปลี่ ย นโฉมหน้ า วงการนี้ ใ นระดั บ โลก บริษัทผลิตรถยนต์หลายแห่งเริ่มวางแผนขยายฐานการ ผลิตเข้าไปในเม็กซิโก เนื่องจากอยู่ติดกับตลาดยานยนต์ราย ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกา โดยออดี้เป็นบริษัทล่าสุดที่ก�ำลังเข้าไป เปิดโรงงานแห่งแรกในทวีปอเมริกาใต้ที่เม็กซิโก ตามรอยผู้ผลิต หลายบริษัทที่ประกาศแผนสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ในเม็กซิโก ซึ่ ง ถู ก มองว่ า เป็ น ประตู สู ่ ต ลาดอเมริ ก าเหนื อ และอเมริ ก าใต้ ปั จ จุ บั น ผู ้ ผ ลิ ต รถยนต์ ต ่ า งมุ ่ ง หน้ า สู ่ เ ม็ ก ซิ โ ก เพราะ ค� ำ นึ ง ถึ ง ประโยชน์ ใ นแง่ ข องที่ ตั้ ง ทางภู มิ ศ าสตร์ เนื่ อ งจาก เม็ ก ซิ โ กอยู ่ ใ กล้ กั บ สหรั ฐ อเมริ ก า และศู น ย์ ร วมโรงงานของ อุตสาหกรรมยานยนต์ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางของเม็กซิโก ซึ่ง ใช้ เ วลาเพี ย งไม่ กี่ วั น ในการขนส่ ง รถยนต์ ไ ปยั ง สหรั ฐ อเมริ ก า ล่าสุดทางมาสด้า มอเตอร์ และ นิสสัน มอเตอร์ ได้ ออกมาประกาศถึงแผนสร้างโรงงานในเม็กซิโกเช่นกัน ส่วน เจนเนอรัล มอเตอร์ส และฟอร์ด มอเตอร์ นั้นมีฐานการผลิต อยูใ่ นเม็กซิโกแล้ว โดยโรงงานใหม่หลาย ๆ แห่งทีก่ ำ� ลังจะเกิดขึ้น จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่เตรียมก่อสร้าง โรงงานเพื่อเป็นซัพพลายเออร์ให้กับบริษัทรถยนต์เหล่านี้ด้วย จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด น่าจะท�ำให้ในอนาคตอันใกล้ นี้ เม็กซิโกจะขึ้นแท่นเป็นแหล่งผลิตรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ อย่างไม่ยากเย็นนัก

8

BORDERLESS

ก้าวกระโดด สู่ตลาดอาเซียนของซีพี จากการที่ บมจ.ซีพี ออลล์ (CP ALL) เข้าซื้อกิจการ บมจ. สยามแม็คโคร (MAKRO) ด้วยมูลค่าสูงถึง 1.88 แสนล้าน บาท ซึ่ ง ทางเครื อ ซี พี เ ห็ น ศั ก ยภาพของแม็ ค โครที่ มี ผ ลก� ำ ไร เติบโตอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนศักยภาพในด้านการขยายการลงทุน ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่ม AEC (ASEAN Economics Community) เพราะเซเว่ น อี เ ลฟเว่ น ของเครื อ ซี พี มี ข ้ อ จ� ำ กั ด ของการขยายสาขา ซึ่ ง ท� ำ ได้ เ ฉพาะในประเทศไทยเท่ า นั้ น ดังนั้น สยามแม็คโคร จึงกลายเป็นทัพหน้าในการกระจายสินค้า สู่ตลาด AEC และประเทศจีน โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า ซึ่งมีความต้องการสินค้าไทยในระดับ สูง คาดว่าจะเริ่มเปิดตลาดที่เวียดนามและลาวได้ก่อน โดยเบื้องต้น แม็คโครจะเป็นช่องทางกระจายสินค้าจากไทย ทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบเกษตร อาหารส�ำเร็จรูป อาหารแช่แข็งไปทั่วภูมิภาคอาเซียน เมื่ อ เซเว่ น อี เ ลฟเว่ น ในไทยมี ม ากกว่ า 6,000 สาขา ถือเป็น Marketing Arm ที่ดีให้กับเครือซีพีแล้ว ซีพีย่อมต้องการ ให้ แ ม็ ค โครสร้ า งปรากฏการณ์ เ ดี ย วกั น นี้ ใ นต่ า งประเทศให้ จ งได้ อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นแม็คโครได้ขยายธุรกิจประเภท Food Service ในประเทศเวียดนามไปเมือ่ ปลายปี 2555 โดยจัดตัง้ บริษทั วีนา สยาม ฟู้ด จ�ำกัด เป็นผู้ดำ� เนินการและประกอบธุรกิจในเวียดนาม เพื่อ ท�ำธุรกิจทางการค้าและการจ�ำหน่ายสินค้า รวมทั้งธุรกิจการน�ำเข้าและ ส่งออก รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและอัตราการบริโภคของเวียดนาม ที่ขยายตัวสูง ท�ำให้สินค้าอาหารและบริการเหล่านี้เป็นที่ต้องการมากขึ้น ธุรกิจนีน้ บั เป็นโมเดลธุรกิจใหม่ของแม็คโครในไทย ซึง่ พัฒนาและเริม่ เปิด ตลาดในปีที่ผ่านมา สาขาแรกอยู่ที่หัวหิน และสาขา 2 ที่ป่าตอง จังหวัด ภูเก็ต เปิดบริการไปตัง้ แต่เดือนกุมภาพันธ์ปนี ี้ โดยจะเน้นจ�ำหน่ายสินค้า ประเภทอาหารสด อาหารแช่แข็ง อาหารแห้ง วัตถุดิบ เครื่องปรุงทั้งไทย และต่างประเทศ ส�ำหรับแม็คโคร ปัจจุบันมีฐานสมาชิกกว่า 2 ล้านราย มีสาขารวม 58 แห่ง ครอบคลุมกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด กว่า 50 จังหวัด


 Success Story

เรื่อง : กฤตสอร

ด้วยประสบการณ์อนั ยาวนานกว่า 60 ปีในธุรกิจ โชว์รูมรถยนต์โตโยต้าของตระกูล ‘บุญวิสุทธิ์’ ท�ำให้ชื่อ ‘โตโยต้า มหานคร’ กลายเป็นที่คุ้นเคยของ บรรดาแฟนคลับโตโยต้าทัง้ หลาย และยังเป็นทีค่ นุ้ หูของ ผูป้ รารถนาอยากเป็นเจ้าของรถโตโยต้าหลายคน แม้วา่ วันนี้ ตระกูลบุญวิสทุ ธิจ์ ะได้ขายบริษทั โตโยต้า มหานคร ออกไปแล้วก็ตาม

ต่อยอดโชว์รูม สู่ศูนย์บริการครบวงจร

อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ตระกูลบุญวิสุทธิ์ยังคงเป็นเจ้าของ และผู้บริหารบริษัท โตโยต้า อยุธยา จ�ำกัด ซึ่งมีโชว์รูมอยู่ใน พระนครศรีอยุธยา 2 แห่ง ได้แก่ สาขาอยุธยา (สายเอเชีย) และสาขาอ�ำเภอเสนา โดยมี ‘คุณบดินทร์ บุญวิสุทธิ์’ ทายาท รุน่ ที่ 3 ของตระกูล เข้ามารับต�ำแหน่งประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร บริษัท

จากวิสัยทัศน์รุ่นปู่ ...สู่กุญแจความสำ�เร็จ

“It’s my life, I live motoring” คุณบดินทร์กล่าวอย่างมี ความสุขที่ได้รับช่วงธุรกิจขายรถยนต์อายุกว่า 60 ปีต่อจากรุ่น ปู่และรุ่นพ่อ อันเป็นธุรกิจที่ตนรัก ต�ำนานของบริษัท โตโยต้า มหานคร จ�ำกัด เริ่มต้นขึ้น เมื่อปี 2493 โดย ‘คุณสุกิจ บุญวิสุทธิ์’ ซึ่งเป็นคุณปู่ของ คุณบดินทร์ เพื่อเป็นตัวแทนจ�ำหน่ายรถยนต์โตโยต้า ในสระบุรี ต่อมาปี 2522 ในสมัยคุณพ่อ คือ ‘คุณบุญเลิศ บุญวิสุทธิ์’ จึงได้ก่อตั้งบริษัท โตโยต้า มหานคร ขึน้ อย่างเป็นทางการ โดยยึ ด แนวคิ ด ในการด� ำ เนิ น ธุรกิจที่วางรากฐานมาตั้งแต่

BORDERLESS

9


สมัยคุณปู่ นัน่ คือ ‘เพือ่ นกันตลอดไป’ โดยคุณบดินทร์ ได้อธิบายหลักการท�ำงานของแนวคิดเอาไว้ดังนี้ “เพื่อจะคงความเป็นเพื่อนกันไปตลอดชีวิต ฉะนั้นเราก็ต้องดูแลเอาใจใส่ลูกค้า โดยที่บ้านเรา จะยึดหลักปรัชญาที่ว่า ต้องซื่อสัตย์ เอื้อเฟื้อ และ จริงใจต่อลูกค้าทุกท่านดุจญาติมิตร เพราะว่าความ จริงใจและความเอื้อเฟื้อต่อลูกค้าจะท�ำให้ลูกค้า กลับมาซื้อซ�้ำและแนะน�ำลูกค้าคนอื่นให้มาหาเรา” คุณบดินทร์กล่าวว่า สิ่งเหล่านี้ถือเป็นกุญแจความ ส�ำเร็จในการด�ำเนินธุรกิจของบ้านบุญวิสุทธิ์ ด้ ว ยแนวคิ ด ในการด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ดั ง กล่ า ว ต่อยอดมาสู่การพัฒนานวัตกรรมในการบริการ ทั้งก่อนและหลังการขายมาอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่ บริษทั โตโยต้า มอเตอร์ (ประเทศไทย) จะออกเป็น นโยบายให้ดีลเลอร์ปฏิบัติด้วยซ�้ำ โดยนวัตกรรม บริการบางอย่าง โตโยต้าฯ (ประเทศไทย) ได้ ประกาศให้ดีลเลอร์รายอื่นน�ำไปปฏิบัติตามด้วย และด้วยความขยันขันแข็งในการดูแลเอาใจใส่ ลูกค้าเช่นนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่ครอบครัวบุญวิสุทธิ์ จะกลายเป็น ‘ดีลเลอร์แถวหน้า’ ของโตโยต้ามา ตลอดกว่า 60 ปี

ต่อยอดธุรกิจ ..เพื่อพิชิตการแข่งขัน

“จริง ๆ แล้ว สิง่ ทีล่ กู ค้าต้องการจากผูป้ ระกอบ ธุรกิจโชว์รูมอย่างเราคือ เมื่อเขาเข้ามาแล้วเรา สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เกือบ หมดทุกอย่าง” คุณบดินทร์เอ่ยหัวใจส�ำคัญของ ธุรกิจ 10 BORDERLESS

จาก ‘หัวใจธุรกิจ’ จึงต่อยอดมาเป็นบริการ ครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการขายรถใหม่ บริการ รับซือ้ และจ�ำหน่ายรถใช้แล้ว (Toyota sure) บริการ ทัว่ ไปในการเข้าอูซ่ อ่ ม บริการอูส่ เี พือ่ ซ่อมบ�ำรุงหรือ เปลีย่ นชิน้ ส่วนให้ลกู ค้า บริการสปารถยนต์ บริการ ไฟแนนซ์และประกันรถยนต์ ฯลฯ รวมถึงบริการ พิเศษที่ถือเป็น ‘Signature’ หรือ ‘ต้นต�ำรับ’ จาก ครอบครัวนี้ ได้แก่ บริการช่วยเหลือฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอดชั่วอายุการ ใช้งานของรถ “ธุ ร กิ จ โชว์ รู ม รถยนต์ ต ้ อ งถื อ เป็ น ธุ ร กิ จ ให้ บริการ เพราะจริงๆ แล้ว ในตัวสินค้ามันแทบจะ ไม่ได้แตกต่างกันเลย ฉะนัน้ การทีเ่ ราจะท�ำให้ธรุ กิจ ของเรามีความส�ำเร็จ หัวใจส�ำคัญคือ เราต้องเป็น สถานที่ ใ ห้ บ ริ ก ารที่ ลู ก ค้ า มี ค วามพึ ง พอใจสู ง สุ ด อันนีเ้ ป็นปรัชญาทีป่ ขู่ องผมตัง้ ไว้ตงั้ แต่กอ่ ตัง้ โตโยต้า สระบุรี” คุณบดินทร์เล่า ส�ำหรับสถานการณ์การแข่งขันในธุรกิจโชว์รมู คุณบดินทร์มองว่า ปัจจุบัน การแข่งขันค่อนข้าง รุนแรง เนื่องจากมีดีลเลอร์เกิดขึ้นเป็นจ�ำนวนมาก และสินค้าทีข่ ายก็คอ่ นข้างเหมือนกัน จึงเหลือเพียง ‘บริการและความเอาใจใส่ลูกค้า’ ที่จะน�ำมาใช้เป็น จุดสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจได้ ด้วยเหตุนี้ ที่ผ่านมาบริษัทจึงลงทุนในด้าน ต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมการบริการให้ดียิ่งขึ้น อาทิ ด้านระบบไอที เครือข่าย สิ่งอ�ำนวยความสะดวก ต่าง ๆ และที่ส�ำคัญคือ ด้านบุคลากร โดยได้จัดตั้ง เทรนนิ่งเซ็นเตอร์ขึ้น ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นโรงเรียน ‘มหานครธุรกิจยานยนต์’ มีหน้าที่พัฒนาศักยภาพ บุคลากรของบริษทั โดยครอบคลุมทุกต�ำแหน่ง ทัง้ นี้ เพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพมาเป็นผู้มอบบริการที่มี คุณภาพให้กับลูกค้าต่อไป

การบริหารต้นทุน ...คือรากฐานความแข็งแกร่ง

นอกจากบริการที่ถือเป็นหัวใจของ ‘โตโยต้า อยุธยา’ คุณบดินทร์ย�้ำชัดว่า ‘การบริหารจัดการ’ นับอีกกุญแจส�ำคัญสู่ความส�ำเร็จของธุรกิจ เพราะ นัน่ หมายถึงความแข็งแรงของธุรกิจทีจ่ ะเป็นพืน้ ฐาน ของการเติบโต “จริง ๆ แล้ว ในธุรกิจรถยนต์ โดยเฉพาะ ตัวแทนจ�ำหน่ายที่เป็น Authorized Dealer ก�ำไร สุทธิคอ่ นข้าง slim มากๆ เมือ่ เปรียบเทียบกับราคา รถหรือธุรกิจอื่น ฉะนั้น การบริหารต้นทุนถือเป็น สิ่งส�ำคัญมาก ส�ำหรับเรา ทุกอย่างที่เห็นในโชว์รูม เราท�ำให้มี Cost Efficiency ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า ยังต้องดูสวยงาม และมีความสะดวกสบายมากพอ ส�ำหรับลูกค้า”

ส�ำหรับการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory) คุณบดินทร์มองว่า นับเป็นหัวใจของการบริหาร ต้นทุนในธุรกิจโชว์รูมเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าหาก ส�ำรองรถไว้ในสต็อกมากเกินไปก็จะเกิดค่าใช้จ่าย และท�ำให้ต้นทุนจม เนื่องจากรถแต่ละคันราคา เหยียบล้านบาท แต่ถา้ สต็อกน้อยเกินไป ก็จะท�ำให้ ลูกค้าต้องรอนาน และอาจเสียโอกาสในการขายใน ที่สุด ทั้งนี้ ผู้บริหารหนุ่มแนะน�ำ 2 เครื่องมือที่ อาจช่วยบริหารต้นทุนตัวนี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ได้แก่ การค�ำนวณแนวโน้มดีมานด์-ซัพพลายที่ แม่นย�ำ และการท�ำกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อ ควบคุมการหมุนเวียนสินค้าให้เร็วขึ้น ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับธุรกิจขายรถมานาน คุณบดินทร์คาดการณ์ว่า ธุรกิจรถยนต์คงขยายตัว เรื่อยๆ เนื่องจากหลายบริษัทรถยนต์ต่างน�ำเสนอ รถรุน่ ต่างๆ ออกมาอย่างมาก ขณะทีเ่ ศรษฐกิจของ ประเทศก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะใน อนาคตอันใกล้ ที่ตลาดเออีซีก�ำลังจะเปิด ตลาด รถยนต์ก็น่าจะเติบโตไปด้วย “การเปิดเออีซี ผมมองว่าเป็นทั้งโอกาสและ ความท้าทาย เพราะเมื่อตลาดกว้างใหญ่ขึ้น คู่แข่ง ก็มีโอกาสเกิดขึ้นอีกมาก การแข่งขันระดับสากล ก็จะมากขึ้น ฉะนั้นทุกคนที่ต้องการอยู่ในธุรกิจ นี้ต่อไป ก็ต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมส�ำหรับการ แข่งขันในระดับสากล โดยสิ่งที่ต้องรีบท�ำคือ การ ยกระดับมาตรฐานบริการ มาตรฐานการบริหาร และมาตรฐานบุคลากร แต่สงิ่ ส�ำคัญทีส่ ดุ คือ จะต้อง มีคณ ุ ธรรมในการท�ำธุรกิจ และต้องมีความซือ่ สัตย์ และจริงใจต่อลูกค้า เพราะผมเชื่อว่าสิ่งนี้จะท�ำให้ เราอยู่ในธุรกิจนี้ได้อีกนานตราบเท่าที่ลูกค้ายังพึง พอใจเราอยู่” ซีอีโอหนุ่มฝากข้อคิดทิ้งท้าย ทั้งนี้ เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปีของ โตโยต้า อยุธยา ในปี 2557 คุณบดินทร์เล่าว่า บริษัทจะท�ำการรีแบรนด์ครั้งใหญ่ของ ‘โตโยต้า อยุธยา’ พร้อมทั้งยังได้เตรียมแผนลงทุนร่วม 200 ล้านบาท เพื่อขยายโชว์รูมและศูนย์บริการฯ ใน พระนครศรีอยุธยาอีกถึง 3 แห่ง เพื่อรองรับการ ขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมในอยุธยาและจังหวัด ใกล้เคียง รวมทัง้ ได้ตงั้ เป้ายอดขายในปีหน้าเอาไว้ที่ 4,000 คัน เพิ่มจากปีนี้ที่ตั้งเป้าไว้ 3,600 คัน ...ยอดขายหลั ก พั น อาจดู เ ป็ น บทเริ่ ม ต้ น ส�ำหรับซีอีโอหนุ่มอย่าง ‘บดินทร์ บุญวิสุทธิ์’ แต่ ด้วยสายเลือดเจ้าพ่อธุรกิจโชว์รูมที่สืบทอดมาจาก พ่อและปู่ บวกกับความคลุกคลีในธุรกิจนี้มาตลอด ชีวติ หนทางธุรกิจของผูบ้ ริหารหนุม่ คนนี้ แม้จะต้อง เผชิญมรสุมการแข่งขันอีกมากเท่าใด แต่ ‘โตโยต้า อยุธยา’ ก็ดูมีแต้มต่ออยู่หลายขุม


 Success Story

เรื่อง : กฤตสอร

ความสำ�เร็จของ ‘ลามิน่า’ กับความท้าทายในอนาคต ‘สินค้าประดับยนต์’ นับเป็นสินค้าที่ได้รับอานิสงส์โดยตรงจากการ เติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ ขณะเดียวกันก็เป็นธุรกิจที่ได้รับ ผลกระทบอย่างมากหากอุตสาหกรรมรถยนต์ชะงักงัน ในบรรดาสินค้า ประดับยนต์ทั้งหลาย ‘ฟิล์มกรองแสง’ นับเป็นสินค้าที่มีศักยภาพทาง ธุรกิจอย่างสูง โดยเฉพาะกับตลาดรถยนต์ของเมืองไทย ‘ลามิน่า’ นับเป็นผู้น�ำในธุรกิจฟิล์มกรองแสงในประเทศไทยติดต่อกันมากว่า 10 ปี น�ำเข้าและจัดจ�ำหน่ายโดย บริษทั เทคโนเซล (เฟรย์) ซึง่ ก่อตัง้ ขึน้ ตัง้ แต่ 18 ปี ก่อน ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารหญิงชื่อ ‘คุณจันทร์นภา สายสมร’ เพื่อเป็นบริษัท ผู้นำ� เข้าและจัดจ�ำหน่ายฟิล์มกรองแสงลามิน่า ฟิล์มนิรภัย และฟิล์มตกแต่งลูม่าร์ ซึ่ง น�ำเข้าโดยตรงจากบริษัท CP Films Inc. มาตรฐาน ISO9001 จากประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตฟิล์มกรองแสงรายใหญ่ที่สุดของโลก

BORDERLESS 11


‘ลามินา่ ’ และตลาดรวมฟิลม์ รถยนต์

“คาดการณ์ จ ากบริ ษั ท ผู ้ ผ ลิ ต รถยนต์ ว ่ า ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยปีนี้น่าจะประมาณ 1.2 ล้านคัน เรียกว่า หดตัวกว่าปีก่อนราว 10% และคาดการณ์ต่อไปว่า ใน 2-3 ปีนี้ ยอดขาย รถยนต์ในประเทศจะอยู่ที่กว่า 1 ล้านคัน ขณะ ที่หลายประเทศในเอเชียแปซิฟิก เช่น เกาหลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และออสเตรเลีย เริ่มมีการ เติบโตที่ค่อนข้างเสถียร” ในมุมมองของคุณจันทร์นภา ปัจจัยทีผ่ ลักดัน ให้ยอดขายรถยนต์เมืองไทยยังสามารถทะลุ 1 ล้าน คันนัน้ ส่วนหนึง่ เป็นผลจากการผลักดันของรัฐบาล หลายสมัยที่ต้องการขับเคลื่อนให้เมืองไทยเป็น ‘Detroit of Asia’ ส่งผลให้ราคารถยนต์ในประเทศ ไม่สงู จนเกินไป ประกอบกับระบบขนส่งมวลชนทีย่ งั ต้องใช้เวลา 5 ปีขึ้นไปกว่าที่จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ตลาดรถยนต์นับเป็นตลาดส�ำคัญของฟิล์ม กรองแสง โดยเฉลี่ ย ยอดขายรถยนต์ ป ี ล ะกว่ า 1 ล้านคัน จะผลักดัน ‘ดีมานด์’ ในตลาดฟิล์ม กรองแสงได้ถึงกว่า 50 ล้านตารางฟุต หรือเป็น มูลค่าตลาดรวมไม่น้อยกว่า 1,800 ล้านบาท โดย ‘ลามิน่า’ เป็นผู้น�ำครองตลาดด้วยส่วนแบ่งตลาด 30% การเติบโตเป็นประวัตกิ ารณ์ของอุตสาหกรรม รถยนต์ไทยในปี 2555 อันเป็นผลจาก ‘นโยบาย รถคันแรก’ ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ในประเทศ สูงถึง 1.4 ล้านคัน พร้อมกับดันยอดขายฟิล์ม ลามิน่าสูงทะลุ 800 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นตัวเลขที่ สูงเป็นประวัติการณ์ของบริษัทเช่นกัน อย่ า งไรก็ ดี ยอดขายฟิ ล ์ ม กรองแสงของ ‘เทคโนเซล’ ไม่ได้มีเพียงฟิล์มรถยนต์ แต่ยังมี ฟิ ล ์ ม อาคาร ซึ่ ง ที่ ผ ่ า นมา บริ ษั ท ได้ รั บ ติ ด ตั้ ง ฟิ ล ์ ม กรองแสงให้ กั บ ท่ า อากาศยานสุ ว รรณภู มิ , ร้านสะดวกซื้อ 7-11, โรงแรม, มหาวิทยาลัย ฯลฯ โดยเฉลีย่ ยอดขายจากฟิลม์ รถยนต์และฟิลม์ อาคาร จะอยู่ในสัดส่วน 60:40 “ส�ำหรับยอดขายปีนี้ แม้ว่าตลาดรถยนต์ มีแนวโน้มหดตัว 10% แต่เราตัง้ เป้าท้าทายไว้ทกี่ ว่า 800 ล้านบาท คือเท่ากับปีที่แล้ว ถ้าท�ำได้ นั่นคือ เราเติบโตเหนือตลาด 10% และจะครองส่วนแบ่ง ตลาดถึง 33%” คุณจันทร์นภากล่าวด้วยน�ำ้ เสียง หนักแน่น

คัมภีรแ์ ห่งความสำ�เร็จฉบับ ‘ลามินา่ ’

ด้วยประสบการณ์เกือบ 20 ปี คุณจันทร์นภา มองว่า การแข่งขันในตลาดฟิล์มกรองแสงรถยนต์ ดุเด็ดเผ็ดร้อนมาตลอด โดยปัจจุบันมี ‘ผู้เล่น’ ในตลาดกว่า 30 ราย แต่มีเพียงไม่เกิน 10 ราย 12 BORDERLESS

ที่ตื่นตัวในการแข่งขันและสร้างแบรนด์ โดยปัจจัย ที่ท�ำให้ลามิน่ากลายเป็นผู้น�ำตลาด เอ็ม.ดี.หญิง เชื่อว่า มาจากความเป็นผู้น�ำใน 4 ประการ ประการแรกคือ ความเป็นผู้น�ำนวัตกรรม โดยลามิ น ่ า มี ก ารออกผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ม าอย่ า ง ต่อเนื่อง เพื่อรองรับการใช้งานรูปแบบใหม่ โดย ปัจจุบันมีถึง 43 รุ่น หากรวมกับฟิล์มอาคาร ลามินา่ มีสนิ ค้ากว่า 100 รุน่ ให้เลือกตามความเหมาะสม ถั ด มาคื อ ความเป็ น ผู ้ น� ำ ในการบริ ก าร ผ่านการให้ความรู้ในการพัฒนาทักษะช่างฝีมือ อยู่ตลอดเวลา และความเป็นผู้น�ำในการเผยแพร่ ข้อเท็จจริงที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค รวมถึง ความเป็นผู้น�ำในการตอบแทนสังคม ซึ่งในธุรกิจ ฟิล์มกรองแสง มีลามิน่าเพียงรายเดียวที่มุ่งมั่น ท�ำกิจกรรมเพื่อสังคมมาจนเข้าสู่ปีที่ 12 แล้ว “ความเป็นผู้น�ำ 4 ประการนี้มีส่วนส�ำคัญที่ ท�ำให้ลามิน่ากลายเป็นแบรนด์อันดับ 1 ในใจของ ผู้บริโภคมาจนถึงปัจจุบัน” คุณจันทร์นภายืนยัน ด้วยตัวอย่างรางวัลการันตีมากมาย อาทิ รางวัล Super Brand หรือ ‘ตราสินค้าที่ครองใจผู้บริโภค สูงสุด’ และรางวัล TAQA Award หรือรางวัลธุรกิจ ยานยนต์ยอดนิยมด้านผลิตภัณฑ์ประกอบรถยนต์ เป็นต้น ผู้บริหารหญิงยังเชื่อว่า รางวัลเหล่านี้สะท้อน ถึงความเข้มแข็งและความพร้อมของบริษัทส�ำหรับ การแข่งขันและการเปลีย่ นแปลงในตลาดทีก่ �ำลังจะ เกิดขึ้นในอนาคต

สูตรลับรับมือโอกาส-ความท้าทาย

ในฐานะเอสเอ็ ม อี ที่ มี ทุ น จดทะเบี ย นเพี ย ง 1 ล้านบาท จนสามารถต่อยอดธุรกิจมาสู่รายได้ กว่า 800 ล้านบาทต่อปี คุณจันทร์นภามองว่า ปัจจัยทีท่ ำ� ให้บริษทั ของเธอเติบโตมาถึงวันนีม้ าจาก จุดเริ่มต้นที่แข็งแรง ได้แก่ การสร้างธุรกิจด้วย การศึกษาข้อเท็จจริงของตลาดจนรู้ลึกและรู้จริงใน ทุกขั้นตอนของการท�ำธุรกิจ “ปัญหาเอสเอ็มอีไทยอย่างแรก คือไม่รู้จริง ในธุรกิจที่ท�ำ บางทีฟังเขาเล่ามาว่าดี แต่พอท�ำ จริงไม่ใช่ วิธีแก้คือต้องศึกษาข้อมูลให้รู้จริงก่อน” คุณจันทร์นภาแนะน�ำพื้นฐาน ทัง้ นี้ การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในอีก 2 ปีข้างหน้า คุณจันทร์นภามองว่า ด้านหนึง่ มันคือโอกาสส�ำหรับเอสเอ็มอีไทยทีจ่ ะข้าม ไปเปิดตลาดในประเทศเพื่อนบ้านง่ายขึ้น ส�ำหรับ ลามิ น ่ า มี แ ผนจะขยายธุ ร กิ จ ตั ว แทนจ� ำ หน่ า ยใน ลาว พม่า และกัมพูชา ขณะที่อีกด้านของเหรียญ คือการแข่งขันที่จะรุนแรงขึ้น เนื่องจากจะมีผู้เล่น หน้าใหม่เข้ามาท�ำตลาดในเมืองไทยด้วยเช่นกัน

คุณจันทร์นภา ได้ให้ค�ำแนะน�ำแก่เอสเอ็มอี ในการเตรียมตัวรองรับโอกาสและความท้าทาย ที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น จากเออี ซี ว ่ า อุ ป สรรคส� ำ คั ญ ของ เอสเอ็ ม อี คื อ ระบบการบริ ห ารจั ด การ ดั ง นั้ น เอสเอ็มอีไทยควรเริ่มวางระบบการบริหารจัดการ ให้ได้มาตรฐานสากลเสียตั้งแต่วันนี้ นอกจากนี้ เอสเอ็มอีควรให้ความส�ำคัญกับ การพัฒนาบุคลากรมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของ การเพิ่มพูนทักษะงานฝีมือ และการส่งเสริมจิตใจ รักงานบริการ ทั้งนี้เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้ถือเป็นจุด แข็งของเอสเอ็มอีไทยที่ควรรักษาไว้ ขณะเดียวกัน ยังมีอีกทักษะที่ควรพัฒนาควบคู่ไป คือ ทักษะ ด้านภาษา เพราะทันทีที่เปิดเออีซี ‘ภาษา’ จะเป็น ข้อจ�ำกัดส�ำหรับเอสเอ็มอีที่ไม่พร้อม แต่จะเป็น โอกาสส�ำหรับเอสเอ็มอีที่พร้อมกว่า สุดท้าย คุณจันทร์นภาได้บอก ‘สูตรความ ส�ำเร็จ’ ของบริษทั ซึง่ เธอเชือ่ ว่า หากเอสเอ็มอีหรือ บริษทั ใดน�ำไปใช้กน็ า่ จะเติบโตอย่างยัง่ ยืนท่ามกลาง ความเปลี่ ย นแปลงที่ ร วดเร็ ว ได้ เช่ น เดี ย วกั บ ลามินา่ นัน่ คือ ‘หลักเศรษฐกิจพอเพียง’ และ ‘หลัก ธรรมาภิบาล’ โดยเธอยืนยันหนักแน่นว่า เพราะ 2 หลักการนี้ที่ท�ำให้บริษัทเทคโนเซลรอดพ้นจาก วิกฤตเศรษฐกิจมาได้ทุกครั้ง ทั้งหมดนี้ คือแนวปฏิบัติตลอดเกือบ 20 ปี ที่ท�ำให้ ‘ลามิน่า’ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้น�ำตลาดฟิล์ม กรองแสงรถยนต์ของเมืองไทยมากว่า 10 ปี ภายใต้ วิสยั ทัศน์ของแม่ทพั หญิงทีช่ อื่ ‘จันทร์นภา สายสมร’ ผู้ซึ่งยืนยันและยืนหยัดขอเป็น ‘เบอร์ 1’ ในตลาด ฟิล์มกรองแสงของไทยต่อไปอีกนาน


 Business

Funding

เรื่อง : อลิสา ราธี, CFP ที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารทหารไทย จำ�กัด (มหาชน)

ธุ ร กิ จ กงสี คื อ ระบบธุ ร กิ จ ครอบครั ว ของ คนไทยเชื้ อ สายจี น ที่ มี ก ารบริ ห ารธุ ร กิ จ แบบ ง่าย ๆ คือ สมาชิกทุกคนในครอบครัวท�ำงานให้กงสี ใช้จา่ ย หรือเบิกจ่ายกับกงสี ท�ำธุรกิจได้ผลตอบแทนมากเท่าไร ก็ดึงกลับเข้ากงสี และอ�ำนาจสูงสุดในกงสีอยู่ที่หัวหน้า ครอบครัว ดังนั้น การท�ำธุรกิจจะขาดทุนหรือก�ำไร ก็อยู่ที่ผู้น�ำกงสีเพียงคนเดียว

จัดทัพลงทุน ให้เหมาะกับ

ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำ�กัด (TMBAM) และนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)

การบริหารธุรกิจแบบกงสีมีทั้งที่ประสบความสำ�เร็จ ซึ่ง เห็นได้จากหลายตระกูลดังที่มีการบริหารจัดการแบบกงสี และ มีการกำ�หนด ‘ธรรมนูญครอบครัว’ เมื่อสมาชิกมีจ�ำ นวนมากขึ้น เพื่อบริหารจัดการกงสีให้เป็นระบบ ในขณะที่บางครอบครัวก็ไม่ สามารถนำ�พาธุรกิจให้อยู่รอดจนต้องล้มเลิกกิจการไป ธุรกิจกงสีจะอยู่รอดหรือไม่นั้น ลำ�พังผู้นำ�เก่งอยู่เพียง คนเดียวก็คงไม่เพียงพอ ดังนั้น การบริหารกงสีให้อยู่รอด มี กำ�ไร และธุรกิจขยายตัวอย่างมั่นคงก็ต้องอาศัยการจัด Portfolio วางแผนทางการเงินของระบบกงสีให้เป็นระบบ ซึ่งเป็นปัจจัย สำ�คัญทีจ่ ะช่วยเพิม่ พูนทรัพย์สนิ ทีม่ อี ยูใ่ ห้งอกเงย และส่งต่อความ มั่งคั่งให้กับทายาทรุ่นต่อ ๆ ไปเพื่อขยายกิจการหรือรักษาความ มั่งคั่งในอนาคต ดร.สมจิ น ต์ ศรไพศาล กรรมการผู้ จั ด การ บริ ษั ท หลักทรัพย์จดั การกองทุน ทหารไทย จำ�กัด (TMBAM) และนายก สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC) กล่าวว่า การจัดพอร์ตการ ลงทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจกงสี ประเด็นสำ�คัญคือ ต้องเชื่อใน เรื่องการลงทุนที่ต้องขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์ หรือ PurposeDriven Investment (PDI) หากเอ่ยถึงเงินลงทุน วัตถุประสงค์หลักของคนทั่วไปก็เพื่อ สร้างความมั่งคั่ง รักษาเงินต้น รวมถึงการให้สภาพคล่องในชีวิต ประจ�ำวัน ซึ่งสองวัตถุประสงค์หลังนี้มักจะไปด้วยกันได้ เพราะ หมายถึงการลงทุนที่ต้องการความเสี่ยงที่ต�่ำแต่ยังคงได้รับผล ตอบแทนทีท่ ดแทนกับการเพิม่ ค่าของเงินเฟ้อได้ มีเสรีภาพในการ เคลื่อนย้ายเงิน และให้กระแสเงินสด ในส่วนการบริหารธุรกิจกงสีก็เหมือนกับการดำ�เนินชีวิต ของคนทั่ วไป ที่แ ต่ ละช่ วงจั งหวะของชีวิต จะมีค วามต้องการ แตกต่างกันไป โดยมักมีความต้องการสร้างความมั่งคั่งรวมกับ ความต้องการด้านอื่น ๆ เช่น คนในวัยหนุ่มสาวที่กำ�ลังก่อร่าง สร้างตัว การมองหาการลงทุนเพือ่ สร้างความมัง่ คัง่ ระยะยาวก็อาจ จะมีความสำ�คัญ ในขณะที่คนวัยใกล้เกษียณอาจให้ความสำ�คัญ กับการลงทุนเพื่อรักษาเงินต้นและให้สภาพคล่อง หรือต้องการ ให้มีกระแสเงินมาใช้ในช่วงที่ไม่มีเงินเดือน ดังนั้น การจัดพอร์ต การลงทุนของธุรกิจกงสีหรือของคนทัว่ ไปก็ตามควรจะเริม่ ต้นด้วย วัตถุประสงค์ก่อนเป็นลำ�ดับแรก BORDERLESS 13


จัดทัพการลงทุนเหมือนทัพฟุตบอล

ดร.สมจินต์ กล่าวเสริมว่า การลงทุนเพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์นนั้ จำ�เป็นต้องมีการ ‘จัดทัพลงทุน’ ที่ถูกหลักการ ซึ่งหากยกตัวอย่างก็อาจ เทียบเคียงได้กับการจัดทีมฟุตบอล คือต้องมีกองหน้าเพื่อทำ�ประตู กอง กลางเพื่อควบคุมเกมหนุนหน้า-เสริมหลัง ขณะที่กองหลังช่วยป้องกัน ประตูก่อนถึงตำ�แหน่งสุดท้าย คือ ผู้รักษาประตู หากพู ด ถึ ง การจั ด ทั พ ลงทุ น เที ย บเคี ย งกั บ การจั ด ที ม ฟุ ต บอล สามารถเปรียบกองหน้า = หุ้นทุน (ซึ่งจะเน้นการลงทุนเพื่อสร้างความ มั่งคั่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีความเสี่ยงสูงที่สุดด้วยเช่นกัน) กองกลาง = ตราสารหนีต้ า่ ง ๆ (ซึง่ ถือเป็นการกระจายความเสีย่ ง ช่วยสร้างกระแสเงิน และรักษาอำ�นาจซือ้ ) ส่วนกองหลัง = ตราสารหนีร้ ะยะสัน้ ตราสารตลาด เงิน และตราสารการเงิน เช่น พันธบัตร (เน้นการลงทุนเพื่อคุ้มครอง เงินต้นและให้สภาพคล่อง) และสุดท้ายผูร้ กั ษาประตู คือ เงินสำ�รองและ เงินฝากมีไว้เพื่อใช้ยามฉุกเฉินและให้เกิดสภาพคล่อง “ปัจจุบัน Product ของ TMBAM เมื่อเทียบเป็นกองหน้าก็จะ มีทหารไทย SET50 ซึ่งผลตอบแทนปีที่แล้ว +35% ส่วนทหารไทย JUMBO25 ซึ่งลงทุนในหุ้นใหญ่ ๆ 25 ตัวที่เป็นที่รู้จักดีมีผลประกอบ การ +33% ส่วนกองกลาง แนะนำ�ให้ใช้บริการทหารไทยธนไพศาลหรือ ทหารไทย Global Bond และกองหลังกับประตู แนะนำ�ทหารไทยธนพลัส ซึ่งมีผลตอบแทนปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 2.98% ซึ่งไม่เสียภาษี”

กองทุน TMBAM ที่ตอบโจทย์ช่วงเวลา การใช้เงินกงสี

สำ�หรับธุรกิจกงสีที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นองค์กรใหญ่ ดร.สมจินต์ ให้ความเห็นว่า “ความคิดทางการเงินมีความสำ�คัญมาก โดยเฉพาะ ผู้ก่อตั้งธุรกิจรุ่นแรกมักจะมีความขยันและประหยัด เพื่อที่จะมีเงินทุน ไว้ขยายธุรกิจต่อไปเรือ่ ย ๆ ขณะเดียวกันธุรกิจทีก่ �ำ ลังเติบโตนัน้ จะมีได้ทงั้ โอกาสและความเสีย่ ง บางครัง้ จะเห็นได้วา่ ช่วงจังหวะของการเติบโตธุรกิจ หากผู้ลงทุนมุ่งหวังแต่การขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว โดยไม่ระมัดระวัง เรื่องของสภาพคล่อง อาจทำ�ให้ธุรกิจสะดุดหรือล้มลงได้ แต่ถึงอย่างไร การลงทุนของธุรกิจกงสีโดยทั่วไปอาจสามารถแยกมองได้เป็น 2 ส่วน หลัก คือ การลงทุนในธุรกิจ และการลงทุนในส่วนเงินที่เหลือ” ภาพรวมใหญ่ของกงสีทสี่ ามารถเห็นได้ คือ ธุรกิจ ครอบครัว และ ความเป็นเจ้าของ ซึง่ ใน 3 ส่วนนัน้ ความสนใจหรือเกีย่ วข้องในธุรกิจจะมี ความแตกต่างกัน ถ้าเป็นครอบครัวใหญ่กว่าร้อยคน อาจพบว่าบางคนมี ส่วนเข้ามาเป็นผู้บริหารธุรกิจ ในขณะที่บางคนอาจไม่ได้เกี่ยวข้องในการ บริหาร แต่มีส่วนเป็นเจ้าของบริษัทหรือผู้ถือหุ้น โดยธรรมชาติผู้ถือหุ้น อาจอยากได้เงินปันผลมาก ๆ แต่ผู้บริหารอาจอยากจ่ายปันผลน้อยเพื่อ เก็บเงินไว้เผื่อความไม่แน่นอน หรือเผื่อขยายธุรกิจในอนาคต ดังนั้นฝั่ง ผูบ้ ริหารจะต้องมีกระบวนการคิดตัดสินใจทีด่ ี และสือ่ สารให้กบั ครอบครัว ในมุมมองของประโยชน์ส่วนรวมในระยะยาว หลักพื้นฐานที่ส�ำ คัญที่สุด ก็ มั ก จะเป็ น เรื่ อ งของการใช้ เ งิ น ทำ � งานอย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ได้ ผ ล ตอบแทนที่ดี หากมีโอกาสโครงการดี ๆ ก็เก็บเงินไว้ในบริษัทก่อน หาก ไม่มโี ครงการทีด่ นี กั ก็จา่ ยปันผลออกไปมากหน่อยได้ การรักษาสมดุลของ ความเจริญรุง่ เรืองของธุรกิจและความสัมพันธ์อนั ดีของสมาชิกครอบครัว ถือเป็นเป้าหมายหลักที่ส�ำ คัญของผู้นำ�กงสี “ผมเชือ่ ว่าเงินในกงสีทมี่ ไี ว้เพือ่ หมุนเวียนและรอลงทุนควรจัดการ อย่างระมัดระวัง คือมีลักษณะเป็นกองกลางและกองหลัง ซึ่งควรบริหาร 14 BORDERLESS

การจัดทัพลงทุนมุ่งวัตถุประสงค์

Purpose - Driven Investment - PDI ทัพฟุตบอล กองหน้า ทำ�ประตู กองกลาง หนุนหน้าเสริมหลัง

ทัพลงทุน หุ้นทุน สร้างความมั่งคั่ง ตราสารหนี้ สร้างกระแสเงิน รักษาอำ�นาจซื้อ

กองหลัง ป้องกันประตู

ตราสารหนีร้ ะยะสัน้ ตราสารตลาดเงิน คุ้มครองเงินต้น ให้สภาพคล่อง

ผู้รักษาประตู

เงินฝาก

การลงทุนที่ดีต้องมีการกระจายความเสี่ยง และมีการจัดทัพลงทุน ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงทุน

โดยเน้นรักษาเงินต้นและความคล่องตัว และถ้าได้รับผลตอบแทนที่ชนะ เงินต้นได้ก็จะยิ่งดี ลำ�ดับของเครื่องมือตามความคล่องตัวก็คือ เงินฝาก ไม่ประจำ�ของ TMB ถัดไปก็อาจเลือกใช้บริการกองทุนเปิดของ TMBAM ที่มีความเสี่ยงต่ำ�แต่ยังคงให้สภาพคล่อง สั่งขายโดยได้เงินในวันทำ�การ ถัดไป (T+1) เช่น ‘ธนรัฐ’ ที่เป็น Money Market Fund เน้นการลงทุน ตราสารภาครัฐ พันธบัตร และตั๋วเงินคลัง ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิต ความมั่นคงสูงสุด หรือ ‘ธนพลัส’ ที่เน้นการลงทุนกองทุนตราสารหนี้ ระยะสั้นที่มีคุณภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ กองทุนดังกล่าวอาจ เป็นทางเลือกของการลงทุนในระยะสั้นได้ หรือถ้าเป็นเงินที่ไม่เร่งรีบใช้ มากเกินไปนักเช่นภายใน 6 เดือน-1 ปี อาจจะเลือกลงทุนใน ‘ธนไพศาล’ เน้นการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้รัฐ เอกชน และสถาบันการเงิน ในกรณีเฉพาะทีต่ งั้ ใจคงเงินไว้ในกงสีมากเป็นพิเศษจนเกินพอทีจ่ ะ ใช้หมุนเวียนหรือลงทุนใน 2-3 ปีขา้ งหน้า แต่อยากเก็บไว้สร้างความมัง่ คัง่ ร่วมกันในครอบครัว เป็นเงินที่รับความเสี่ยงได้ การลงทุนในกองทุนหุ้น ทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงในบริษัทชั้นนำ�อย่างกองทุนเปิดทหารไทย SET50 หรือ JUMBO25 หรือกระทั่งการตั้ง Private Fund หรือกองทุน ส่วนบุคคลซึง่ สามารถร่วมคุยกับทางผูจ้ ดั การกองทุนถึงนโยบายการลงทุน ที่เหมาะสมของธุรกิจและครอบครัวก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจครับ” จะเห็นได้ว่าการลงทุนต้องมีการกระจายความเสี่ยง และมีการจัด ทัพลงทุนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการลงทุนเสมอ


 Big

Idea

เรื่อง : อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์

จากข้อมูลในเว็บไซต์ของสถาบัน ยานยนต์ รายงานว่าสถานการณ์ อุ ต สาหกรรมยานยนต์ ไ ทยปั จ จุ บั น ในปี 2556 จะเป็นอีกปีที่อุตสาหกรรม ยานยนต์ ไ ทยยั ง คงสามารถท� ำ สถิ ติ ยอดการผลิตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ระหว่าง 2,500,000 ถึง 2,600,000 คัน โดยส่วนหนึง่ มีผลต่อเนื่องมาจาก นโยบายรถคันแรก และคาดว่าภายใน อีก 5 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะสามารถ ผลิตรถยนต์ได้ทะลุเป้าหมาย 3 ล้านคัน

ทั้งนี้เทรนด์ในการผลิตรถยนต์นั้นพบว่า ค่าย รถยนต์หลายค่ายและผู้บริโภคตื่นตัวต่อการใช้รถที่ ประหยัดพลังงาน อาทิ Eco car และรถ Hybrid โดยสถิติยอดการผลิต ยอดการส่งออก และยอดขาย รถยนต์ในประเทศในช่วงต้นปี 2556 มีการขยายตัว อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยเฉพาะ Eco car ซึ่ ง ปั จ จุ บั น มี ผู ้ ผ ลิ ต ในประเทศไทยจ� ำ นวนทั้ ง สิ้ น 4 ราย ได้ แ ก่ Nissan (March, Almera), Honda (Brio), Mitsubishi (Mirage) และ Suzuki (Swift) มี ย อดผลิ ต รวมใน ปี 2555 ถึง 242,129 คัน โดยมีการผลิตเฉลี่ย 20,000 คันต่อเดือน และการผลิตรถ Hybrid ของประเทศไทยในปี 2555 ทีผ่ า่ นมามีการผลิตรถ Hybrid ในประเทศโดยเฉลีย่ 1,000 คันต่อเดือน โดยคาดการณ์วา่ ในปี 2563 อนาคตการใช้รถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดจะมีปริมาณมากขึน้ ในขณะทีร่ ถยนต์ ทีใ่ ช้เชือ้ เพลิงจากฟอสซิลอย่างเดียว จะค่อย ๆ ลดลงจนมีสดั ส่วนน้อยมาก ซึง่ นับเป็นทิศทางทีถ่ กู ทีค่ วร BORDERLESS 15


Ford Fiesta ‘eWheeldrive’

โดยสาเหตุดงั กล่าวเกิดขึน้ ทัง้ จากแรงบีบคัน้ ด้าน พลังงานฟอสซิลทีเ่ ริม่ หายากมากขึน้ รวมถึงการสรรหา พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นสิ่งที่ เราเห็นชัดในขณะนีค้ อื การทีผ่ ปู้ ระกอบการยานยนต์ หลายรายเตรียมความพร้อมยานยนต์แห่งอนาคตด้วย เทคโนโลยีกรีนกันมากขึน้ เพือ่ สร้างยานยนต์ทเี่ ป็นมิตร กับสิง่ แวดล้อม เช่น ฟอร์ดพัฒนาโปรโตไทป์รนุ่ Ford Fiesta ‘eWheeldrive’ โดยมีแนวคิดในการใช้ลอ้ เป็น ศูนย์กลางในการขับเคลือ่ น ด้วยการน�ำมอเตอร์ไฟฟ้า เบรก และระบบท�ำความเย็นเก็บไว้ในล้อหลัง ช่วยลด พืน้ ทีก่ ารจัดเก็บเครือ่ งยนต์รวมถึงระบบเกียร์ สิง่ ทีเ่ กิด ขึน้ ตามมาคือ ท�ำให้พนื้ ทีห่ อ้ งโดยสารกว้างขึน้ เป็นต้น ขณะที่ด้านหนึ่งก็เพื่อตอบสนองความสะดวก สบายและความปลอดภัยของมนุษย์ เช่น เทคโนโลยี ที่ ค ่ า ยจี เ อ็ ม และโฟล์ ค สวาเกนก� ำ ลั ง ศึ ก ษาอยู ่ คื อ Vehicle-to-Vehicle Communication (V2V) หรือ การสื่อสารระหว่างรถ ช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ได้ เช่ น สามารถส่ ง สั ญ ญาณเตื อ นกั น ได้ ห ากมี รถยนต์คันอื่นที่พุ่งมาด้วยความเร็วอย่างกะทันหัน Vehicle-to-Vehicle Communication (V2V)

16 BORDERLESS

บนถนน หรือในกรณีที่มีสิ่งกีดขวาง ซึ่งอาจช่วยท�ำให้คนขับหลีก เลี่ ย งหรื อ ลดอั น ตรายจากการชนได้ ม ากถึ ง 80% เลยที เ ดี ย ว ทีน่ า่ ทึง่ ก็คอื V2V ยังน�ำไปใช้ในการสือ่ สารติดต่อกับสิง่ ไม่เคลือ่ นที่ เช่น ป้ายสัญลักษณ์ตา่ ง ๆ และสัญญาณไฟจราจร ได้ดว้ ย โดยรถจะหยุดเอง โดยอัตโนมัตเิ มือ่ สัญญาณไฟจราจรเป็นสีแดง หรือชะลอความเร็วเมือ่ ป้ายข้างถนนระบุวา่ เป็นเขตโรงเรียน ทางรถไฟหรือทางม้าลาย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีที่พูดถึงกันมากก็คือ Self-Driving Car หรือเทคโนโลยีไร้คนขับ ทีห่ ลายคนอาจจะคิดว่าออกจะเพ้อเจ้อ เหมือนนิยายไซไฟไปสักหน่อย แต่กูเกิลก็ได้ทดลองร่วมกับโตโยต้า จนประสบความส�ำเร็จแล้วเมือ่ ปี 2010 ภายใต้ชอื่ โครงการ ‘Google Driveless Car’ แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ทดสอบบนท้องถนน จนกระทั่งพฤษภาคมปีที่ผ่านมา โดยที่ Steve Mahan ผู้ชายที่ สูญเสียการมองเห็นถึง 95% แต่ก็สามารถขับรถต้นแบบนี้ไปซื้อ ของทีซ่ เู ปอร์มาร์เก็ตได้ แม้จะมีทมี งานของกูเกิลนัง่ ไปในรถ Toyota Prius ด้วย แต่กไ็ ม่ได้ชว่ ยเขาขับแต่อย่างใด และเร็ว ๆ นีจ้ ะมีพฒ ั นา เพื่อการพาณิชย์ แต่บอกไว้ก่อนเลยว่ารถประเภทนี้จะต้องมีราคา สูงกว่าปกติแน่นอน เพราะขึ้นชื่อว่านวัตกรรม มักจะมาพร้อมกับ ต้นทุนทีส่ งู เฉพาะอุปกรณ์ทตี่ ดิ ตัง้ และเรดาร์กม็ มี ลู ค่าถึง 150,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือราว 4.5 ล้านบาท (ไม่รวมค่ารถ) ขณะเดียวกัน ประเด็นทางกฎหมายในการปล่อยให้รถไร้คนขับออกมาแล่นบน ท้องถนนร่วมกับรถปกติทวี่ งิ่ กันขวักไขว่ เคารพกฎจราจรบ้าง ละเมิด กฎจราจรบ้าง ก็เป็นเรือ่ งส�ำคัญทีจ่ ะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบด้วย อย่ า งไรก็ ต าม ค่ า ยรถยนต์ ยั ก ษ์ ใ หญ่ ห ลายแห่ ง เช่ น เมอร์เซเดส-เบนซ์ ก็พัฒนารถยนต์แห่งอนาคตนี้เช่นเดียวกัน ด้วย เทคโนโลยี ‘Virtual Chauffeur’ ส�ำหรับรุน่ S-Class โดยเทคโนโลยีนี้

Google Driveless Car


จะช่ ว ยรั ก ษาต� ำ แหน่ ง รถให้ อ ยู ่ ใ นเลนเมื่ อ ขั บ ด้ ว ยความเร็ ว 120 ไมล์ / ชั่ ว โมง และสามารถจอดเองได้ เบรกอัตโนมัติ เพื่ อ เลี่ ย งการชนคนเดิ น ถนนหรื อ รถคั น อื่ น ได้ รวมถึ ง ช่ ว ย เตื อ นอันตรายในยามที่วิสัยทัศน์ด้านนอกของรถย�่ำแย่ เป็น ไอเดียล�ำ ้ ๆ ทีเ่ หมือนกับระบบ autopilot ของเครือ่ งบินนัน่ เอง ส่วนบีเอ็มดับเบิลยูใช้เทคโนโลยีทเี่ รียกว่า ConnectedDrive Connect (CDC) ที่สามารถจับระยะและรักษาต�ำแหน่งรถให้ อยู่ห่างจากสิ่งที่อยู่รอบข้าง เพื่อความปลอดภัย โดยได้ทำ� การ ทดสอบในรุน่ ซีรสี ์ 5 มาแล้ว ด้วยระยะทางกว่า 5,000 กิโลเมตร ด้ า นนิ ส สั น ก็ ไ ด้ พั ฒ นารุ ่ น NSC-2015 รถไร้ ค นขั บ ที่ สัง่ งานผ่านซัมซุง กาแล็คซี เอส 3 สามารถดูกล้องวงจรปิด และ สั่งงานให้สัญญาณเตือนภัยดังได้ กรณีที่มีโจรมาโจรกรรมรถ ทั้ ง นี้ ใ นอี ก 24-30 ปี ข ้ า งหน้ า ที่ ส หรั ฐ อเมริ ก ามี ก าร คาดการณ์ ว ่ า เพื่ อ เป็ น การแก้ ไ ขปั ญ หาจราจรและรถติ ด รถที่ ไร้คนขับนี้จะเป็นสัดส่วนใหญ่ที่วิ่งบนท้องถนน และใน อนาคตผูค้ นอาจจะไม่ตอ้ งมีรถเป็นของตัวเองเลย หากอยากจะ เดินทางไปไหนก็เรียกใช้บริการรถไร้คนขับผ่านแอพพลิเคชั่น ได้เลย ซึ่งนอกจากสะดวกสบาย ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งค่า เชื้อเพลิงและค่าที่จอดรถแล้ว ยังมีความปลอดภัยในระดับสูง อีกด้วย ที่ส�ำคัญคนเราจะมี ‘เวลา’ มากขึ้น เพราะสามารถ สะสางงานที่คั่งค้างอยู่ได้ขณะที่นั่งอยู่ในรถ เนื่องจากไม่ต้อง ขับเอง และเมื่อถึงบ้านก็จะได้โฟกัสกับครอบครัวมากขึ้นด้วย เท่านัน้ ยังไม่พอ ‘รถไร้คนขับ’ ยังอาจส่งแรงกระเพือ่ มไป ยังธุรกิจอืน่ ได้ดว้ ย เช่น ผูค้ นอาจจะลดการเดินทางโดยเครือ่ งบิน ในเส้นทางภายในประเทศลง หากรถไร้คนขับสามารถพัฒนา

BMW With ConnectedDrive Connect (CDC)

ความเร็วได้เพียงพอ และอาจท�ำให้ธุรกิจกลางคืน อย่าง ไนต์คลับ และบาร์ตา่ ง ๆ มีรายได้เพิม่ ขึน้ อย่างทีไ่ ม่เคยเป็นมา ก่อน เพราะจะท�ำให้มผี คู้ นออกมาสังสรรค์กนั มากขึน้ เพราะ ไม่ต้องห่วงเรื่องกฎหมายการดื่มและเรื่องการเมาแล้วขับ ไม่เพียงแต่รถไร้คนขับจะถูกออกแบบเพือ่ ใช้เป็นพาหนะ เท่านั้น มันยังถูกออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร ด้วย โดยกองทัพอิสราเอล เป็นรถอัตโนมัตทิ ถี่ กู น�ำมาใช้แทน ทหารลาดตระเวน เพือ่ หลีกเลีย่ งความสูญเสียหากเกิดการยิง ปะทะ ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทมี่ คี นคอยสัง่ การอีกที ส�ำหรับเทรนด์อนื่ ๆ ทีน่ า่ สนใจ และคาดว่าจะมีให้เห็น ในเร็ววันนีก้ ค็ อื การควบคุมรถด้วยสมาร์ทโฟน เพราะไม่วา่ จะอยูใ่ นอุตสาหกรรมใดต่างต้องการใช้ประโยชน์จาก Mobile ซึง่ เป็นสิง่ ทีต่ ดิ ตัวผูบ้ ริโภคยุคใหม่ ดังนัน้ Mobile จึงเปรียบ เสมือนศูนย์กลางของชีวติ คนเรา โดยเทคโนโลยี Near Field Communication (NFC) เพื่อใช้ควบคุมส่วนต่าง ๆ ในตัว รถยนต์ ด้วยการรับค�ำสัง่ ผ่านทางสมาร์ทโฟนทีร่ องรับ NFC เช่น Hyundai Elantra GT ที่เตรียมน�ำเทคโนโลยีไร้สาย มาประยุกต์ใช้กบั รถรุน่ นี้ เช่น น�ำสมาร์ทโฟนจ่อทีป่ า้ ย NFC ทีต่ ดิ ไว้บริเวณประตู เพือ่ ปลดล็อก และเมือ่ น�ำไปวางบนแผง คอนโซลก็จะสามารถเข้าถึงไฟล์เพลง ไฟล์วิดีโอและข้อมูล ต่าง ๆ ในสมาร์ทโฟนได้ ขณะเดียวกันก็ถือเป็นการชาร์จ แบตเตอรีไ่ ปในตัว โดยคาดว่าจะเปิดตัวเขย่าตลาดในปี 2015 นอกจากนี้ ย านยนต์ แ ห่ ง อนาคตยั ง ต้ อ งมองหาวั ส ดุ ตัวถังใหม่ ๆ ที่ทนทานทว่ามีน�้ำหนักเบา เช่น คาร์บอน นาโน ไฟเบอร์ ก ลาส ส่ ว นกระจกรถก็ จ ะพั ฒ นาด้ ว ย นานาเทคโนโลยี ที่ ช ่ ว ยท� ำ ให้ ทั ศ นวิ สั ย ในการขั บ ดี เ ยี่ ย ม เพราะจะช่ ว ยป้ อ งกั น น�้ ำ ฝุ ่ น และโคลนไม่ ใ ห้ เ กาะได้ จะเห็นได้วา่ ไอเดียยานยนต์ตน้ แบบแห่งอนาคต เป็นความ หวังอันยิง่ ใหญ่ของมนุษยชาติ ทีต่ อ้ งการใช้ชวี ติ อย่างเป็นมิตร กับสิง่ แวดล้อม ขณะเดียวกันก็ชว่ ยอ�ำนวยความสะดวกสบาย และเพิม่ ความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ มากขึน้ ด้วย BORDERLESS 17


 Borderless

Insight

เรื่อง : อรรถสิทธิ์ เหมือนมาตย์

พลังงานเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราทุกคน ผลกระทบของพลังงาน จึงเป็นผลกระทบต่อชีวิตประจ�ำวันของ ทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น จึงขอน�ำเสนอบทสัมภาษณ์ของผู้บริหาร ในบริษัทพลังงานแห่งชาติ ในหัวข้อ ปตท. กับ บทบาทบริหารจัดการ ‘พลังงาน’

คุณณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจ ปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ นิตยสาร TMB Borderless เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวดังนี้ “ปั จ จุ บั น มี ค วามต้ อ งการใช้ พ ลั ง งานในประเทศทั้ ง น้ำ�มั น และก๊ า ซ ธรรมชาติรวมถึงเชื้อเพลิงประเภทอื่น ๆ รวมกันราว 200 ล้านลิตรต่อวัน โดยแบ่งเป็นน้ำ�มัน 100 ล้านลิตร ก๊าซธรรมชาติและเชื้อเพลิงประเภท อื่ น ๆ 100 ล้ า นลิ ต ร โดยประเทศไทยก็ มี ค วามสามารถในการพึ่ ง พา ตัวเองอยู่เพียงครึ่งหนึ่งของความต้องการเท่านั้น และส่วนใหญ่เป็นก๊าซ ธรรมชาติ เพราะก๊าซธรรมชาติราว 80% ที่ใช้กัน ก็ผลิตในประเทศ ส่วน ที่เหลือก็จะเป็นการนำ�เข้าจากประเทศเมียนมาร์ หรือนำ�เข้าในรูปของ LPG “ขณะทีน่ ำ�้ มันอีกราว 100 ล้านลิตรนัน้ ประเทศไทยต้องพึง่ พาการนำ�เข้า เป็นส่วนใหญ่ หรือคิดเป็นสัดส่วน 80% แม้เราจะสามารถผลิตน้ำ�มันดิบได้แต่ก็ มีอยูเ่ พียงจำ�นวนหนึง่ เท่านัน้ ดังนัน้ สถานการณ์เรือ่ งราคาน้ำ�มันในบ้านเรา จึง จำ�เป็นที่จะต้องโยงกับราคาของน้ำ�มันในตลาดโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” คุ ณ ณั ฐ ช า ติ อ ธิ บ า ย เ พิ่ ม เ ติ ม อี ก ว่ า “ ค ว า ม ต้ อ ง ก า ร ใ ช้ ปิ โ ตรเลี ย มในประเทศจะเติ บ โตในอั ต ราที่ ส อดคล้ อ งกั บ การเติ บ โต ของ GDP โดยในปี ที่ ผ่ า นมาโตประมาณ 6.4% และคาดว่ า ในปี 2556 นี้ GDP น่าจะมีอัตราเติบโตประมาณ 4.5-5.5% ดังนั้นความ ต้ อ งการปิ โ ตรเลี ย มในประเทศก็ น่ า จะเพิ่ ม ขึ้ น ในอั ต ราใกล้ เ คี ย งกั น ” 18 BORDERLESS

เคลียร์ปัญหาคาใจ เหตุใดราคาพลังงานแพง คุณณัฐชาติ ไขข้อข้องใจนีว้ า่ “รัฐบาลกำ�ลังพิจารณาเรือ่ งของการปรับ โครงสร้างของพลังงาน ราคาน้ำ�มันในประเทศส่วนใหญ่ก็เป็นราคาที่เป็นไป ตามกลไกของตลาด ยกเว้นบางประเภทซึ่งเป็นสินค้าที่รัฐบาลต้องการดูแล ในเรื่องของค่าครองชีพของประชาชน เช่นเรื่องก๊าซหุงต้มหรือน้ำ�มันดีเซล ก็ดี ซึ่งก๊าซหุงต้มมีการผลิตในประเทศได้ส่วนหนึ่ง แต่ปัจจุบันประเทศไทย กลายเป็นประเทศทีต่ อ้ งนำ�เข้าสุทธิ แล้วจำ�หน่ายในราคาทีร่ ฐั บาลควบคุมอยู ่ ทำ�ให้รฐั บาลต้องนำ�เงินมาใช้เพือ่ ชดเชยในส่วนของการนำ�เข้านี้ ซึง่ ก็เป็นภาระ ที่หนักพอสมควร โดยรัฐบาลกำ�ลังจะเริ่มมีการลอยตัวของก๊าซหุงต้มและ จะมีมาตรการออกมาช่วยเหลือในกลุ่มที่เดือดร้อนโดยตรง ซึ่งผมคิดว่าเป็น แนวทางที่ถูกต้อง แทนที่จะชดเชยตัวผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ในเรื่องของดีเซล ซึง่ เป็นเชือ้ เพลิงหลักในภาคขนส่งทางการพาณิชย์ของประเทศ รัฐบาลควบคุม ราคาไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร เพราะฉะนัน้ จะเห็นว่าในช่วงทีร่ าคาน้ำ�มันตลาด โลกมีราคาสูงขึน้ ในช่วงต้นปีในเดือน มกราคม กุมภาพันธ์ ราคาบ้านเราก็อยู่ ที่ 30 บาทต่อลิตร หรือแม้ตอนนีร้ าคาน้ำ�มันร่วงลงมาอยูท่ ี่ 98 เหรียญสหรัฐฯ ราคาก็ 30 บาทต่อลิตร เพราะว่ารัฐมีกลไกของกองทุนที่จะมาเป็นตัวเก็บ เข้ากองทุนหรือจ่ายจากกองทุนเข้ามาชดเชยตัวนี้เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ก็เป็นมาตรการทีไ่ ม่ให้ผบู้ ริโภคได้รบั ผลกระทบจากราคาน้ำ�มันทีข่ นึ้ ๆ ลง ๆ”


คุณณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน)

BORDERLESS 19


ปตท.พร้อมสู้ศึกพลังงาน ไม่กังวล AEC แม้ AEC จะเปิดม่านในปี 2558 นี้ แต่คุณณัฐชาติ เห็นว่า เป็นเรื่องที่ไม่น่ากังวล เพราะได้เตรียมความพร้อม รับมือมาก่อนหน้านี้นานแล้ว และมองว่าเป็นเรื่องของ ‘โอกาส’ ที่ท้าทาย “เรื่องการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างเต็ม ตัวในปี 2558 เป็นเรื่องที่ค่อย ๆ มีการดำ�เนินการมาอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ มาตาม ลำ�ดับ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในแง่ของพลังงานก็คงไม่ได้มี อะไรเปลี่ยนแปลงนัก เพราะว่าในกลุ่มประเทศอาเซียนก็มี หลายประเทศที่เป็นผู้นำ�เข้าสุทธิ และผู้ส่งออกสุทธิคือบรูไน กับมาเลเซียเท่านั้นเอง ส่วนอินโดนีเซียจากเดิมเป็นประเทศ ที่ส่งออกสุทธิตอนนี้กลายเป็นประเทศผู้นำ�เข้าสุทธิไปแล้ว เพราะฉะนั้นการเคลื่อนย้ายของสินค้าก็เป็นไปโดยกลไกของ ตลาดปกติอยู่แล้ว ซึ่งถ้ามองโอกาสของประเทศไทยก็คือการ เปิดตลาดจากคนที่ประมาณ 60 ล้านคนขึ้นไปเป็นคนที่ 600 ล้านคน ก็เป็นโอกาสของบริษัทพลังงานในเมืองไทยที่จะเข้าไป ขยายตลาดในประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย มีความได้เปรียบในแง่ของที่ตั้ง ที่อยู่ตรงกลางของกลุ่มประเทศ อาเซียนที่อยู่บนบก มีพรหมแดนติดกับกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ จะมีความได้เปรียบในแง่ของการขนส่ง ประเทศเหล่านี้เองยังอยู่ ในช่วงที่กำ�ลังมีการเติบโตสูง อย่างเมียนมาร์เปิดประเทศมาจึงมี ความต้องการพลังงานเยอะมาก ในขณะที่การผลิตและการกลั่น ภายในประเทศยังมีอยู่น้อยมาก ดังนั้นประเทศไทยจะยังมีโอกาส ในการทำ�รายได้จากอุตสาหกรรมพลังงานในประเทศเพื่อนบ้าน” 20 BORDERLESS


การบริหารจัดการด้านพลังงาน นอกจากนี้ คุ ณ ณั ฐ ชาติ อ ธิ บ ายถึ ง ประเด็ น ปั ญ หาพลั ง งานของ ประเทศไทยอี ก ว่ า “ประเทศเราถื อ เป็ น ประเทศหนึ่ ง ที่ ใ ช้ พ ลั ง งานเป็ น ตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจมาตลอด แต่หากพิจารณาใน แง่ ป ระสิ ท ธิ ภ าพการใช้ พ ลั ง งานเมื่ อ เที ย บกั บ ประเทศที่ เ จริ ญ แล้ ว เรายั ง ไม่ดีเท่าที่ควร โดยในช่วงที่ผ่านมาเราได้มีการลงทุนในส่วนของกำ�ลังการ กลั่นเกินกว่าความต้องการในประเทศอยู่แล้ว แต่ว่าสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ พลังงานบางชนิดต้องมีการนำ�เข้ามากขึ้น เช่น ก๊าซหุงต้มที่มีการเติบโต ค่อนข้างสูง อาจต้องมีการลงทุนในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานในการนำ�เข้า มากขึ้น ส่วน AEC จะเป็นปัจจัยกระทบต่อราคาก๊าซหุงต้มและน้ำ�มันดีเซล ที่รัฐยังควบคุมและกำ�หนดราคาอยู่ในปัจจุบัน เพราะเมื่อเปิด AEC แล้ว จะทำ�ให้มีการเคลื่อนไหวโดยอิสระของสินค้าแรงงานและทุน ดังนั้นรัฐต้อง ค่อย ๆ ลดการสนับสนุนด้านพลังงานลง เพราะมิฉะนัน้ แทนทีเ่ ราจะสนับสนุน เฉพาะภายในประเทศ จะต้องสนับสนุนประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนด้วย”

นอกจากนี้คุณณัฐชาติเพิ่มเติมว่า นโยบายรถคันแรกของรัฐบาล อาจจะทำ�ให้มีความต้องการด้านพลังงานที่สูงมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ก็ มี ก ารลงทุ น ทางด้ า นโครงสร้ า งพื้ น ฐานด้ า นระบบราง ซึ่ ง เป็ น ขนส่ ง มวลชนขนาดใหญ่ที่จะทำ�ให้มีการใช้พลังงานในด้านขนส่งมีประสิทธิภาพ ดีขึ้น ขณะเดียวกันการปรับโครงสร้างพลังงานของรัฐ ก็จะส่งผลกระทบ กับผู้บริโภค ในแง่ของการเลือกใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร

ยืนหยัด ยึดมั่นในภารกิจของ ปตท. ในฐานะองค์ ก รด้ า นพลั ง งานของประเทศ และเป็ น บริ ษั ท พลั ง งานแห่ ง ชาติ คุ ณ ณั ฐ ชาติ แ จกแจงว่ า ภารกิ จ หลั ก ของ ปตท. ที่ ยึ ด มั่ น มาตลอดระยะเวลา 35ปี ก็ คื อ สร้ า งความมั่ น คงทาง ด้ า นพลั ง งานให้ กั บ ประเทศไทย ซึ่ ง ความมั่ น คง หมายความว่ า “ประเทศไทยจะต้องมีพลังงานใช้เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของ ประเทศโดยไม่มขี าดแคลน ภายใต้ราคาทีเ่ หมาะสมและเป็นธรรม” ซึง่ เป็น ภารกิจที่ ปตท. ท�ำมาโดยตลอด และมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน พลังงานไว้คอ่ นข้างเยอะ และในขณะนีเ้ ป็นช่วงที่ ปตท. ก�ำลังพิจารณาว่าด้วย อัตราการเติบโตนี ้ อาจจะต้องมีการลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐานทางด้านพลังงาน ไม่วา่ จะเป็นระบบถังเก็บ ระบบท่อ และการขนส่งต่าง ๆ เข้ามารองรับมากขึน้

BORDERLESS 21


นอกจากนี้ ปตท. ยังมีความพยายามให้เกิดราคาพลังงานที่เหมาะสม และเป็นธรรม รวมถึงส่งเสริมและให้ความรูป้ ระชาชนในการใช้พลังงานอย่าง มีประสิทธิภาพ ส่วน ‘การส�ำรองพลังงาน’ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การส�ำรองพลังงานโดยภาคเอกชน ซึง่ เป็นไปตามกฎหมายทีก่ ำ� หนดให้แต่ละ บริษทั ทีท่ ำ� ธุรกิจน�ำ้ มันต้องมีการส�ำรองน�ำ้ มัน 5% ของปริมาณการค้าในแต่ละ ปี หรือคิดเป็นการส�ำรองน�ำ้ มันส�ำเร็จรูป 18 วัน และน�ำ้ มันดิบอีก 18 วัน รวม เป็น 36 วัน เพื่อป้องกันวิกฤตพลังงานที่อาจจะเกิดขึ้นได้ จากสถานการณ์ ที่ไม่ได้มีการคาดการณ์มาก่อน เช่น การปิดช่องแคบฮอร์มุซ เป็นต้น ส ่ ว น ที่ 2 คื อ ก า ร ส� ำ ร อ ง น�้ ำ มั น ท า ง ด ้ า น ยุ ท ธ ศ า ส ต ร ์ ภาครั ฐ ใช้ เป็นกลไกเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ซึ่ง ปตท.ก็ พ ร้ อ มที่ จ ะเข้ า มาสนั บ สนุ น นโยบายของรั ฐ ในเรื่ อ งเหล่ า นี้ คุณณัฐชาติอธิบายต่อว่า “ขณะนี้เรายกเลิกเบนซิน 91 ไปแล้ว ท�ำให้ ยอดการใช้น�้ำมันประเภทแก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นทุกชนิด ซึ่งก็เป็นทิศทางที่ดี เพราะว่าเป็นการกระตุน้ การใช้เอทานอล ซึง่ เอทานอลเองได้มาจากอ้อยและ มันส�ำปะหลัง จากเดิมส่วนใหญ่จะผลิตจากอ้อย แต่ในปัจจุบันนี้เริ่มมีการ ผลิตเอทานอลจากมันส�ำปะหลังมากขึ้น ส่วนเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างน�้ำมัน ปาล์มที่น�ำไปผลิตไบโอดีเซลก็ได้รับความนิยมมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้ ก็มีการเพาะปลูกปาล์มเยอะ และรัฐบาลได้ก�ำหนดให้น�้ำมันดีเซลทุกลิตรที่ จ�ำหน่ายภายในประเทศจะต้องผสมไบโอดีเซลในสัดส่วน 3-5% ซึง่ ถ้าผลผลิต ปาล์มมีจ�ำนวนมากขึ้น ภาครัฐอาจพิจารณาเพิ่มสัดส่วนในการผสมมากขึ้น” ปัจจุบัน ปตท. ได้ร่วมมือกับ ขสมก.เพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซลในน�้ำมัน ดีเซลขึ้นไปถึง 7% ซึ่งผ่านการทดสอบวิจัยมาแล้วว่าไม่มีปัญหา และ สามารถช่วยแก้ปัญหาผลผลิตปาล์มล้นตลาดได้ส่วนหนึ่ง ในระยะยาวได้มี การพิจารณาถึงการท�ำ Bio-Hydrogenated Diesel หรือ การน�ำน�ำ้ มันปาล์ม ผลิตเป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณสมบัติเหมือนดีเซลที่ได้จากปิโตรเลียม 100% นั้น จะเพิ่มสัดส่วนการใช้นำ�้ มันปาล์มเป็น 20-30% เลยทีเดียว

ต้นแบบพลังงานทดแทนที่ควรเอาอย่าง ประเทศทางแถบยุโรปเป็นประเทศที่มีการส่งเสริมการใช้พลังงาน ทดแทนอย่ า งกว้ า งขวาง เช่ น เดี ย วกั บ ประเทศบราซิ ล ซึ่ ง ผลิ ต อ้ อ ย เป็ น จ� ำ นวนมาก ท� ำ ให้ มี ก ารส่ ง เสริ ม การใช้ อ ้ อ ยเป็ น วั ต ถุ ดิ บ ในการ ผลิ ต พลั ง งานทดแทนกั น มาก ส่ ว นแถบยุ โ รปนั้ น ส� ำ หรั บ พลั ง งาน ทดแทนจะเน้ น ไปทางพลั ง งานสะอาด ซึ่ ง ประชาชนก็ มี ค วามเข้ า ใจ และตระหนั ก ว่ า พลั ง งานชี ว ภาพมี ร าคาแพงกว่ า พลั ง งานที่ ม าจาก ฟอสซิล ท�ำให้สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนก็อยู่ที่ราว 20-30% เท่านั้น บราซิลเป็นกรณีศกึ ษาทีด่ สี ำ� หรับการเปลีย่ น ‘โครงสร้างการใช้พลังงาน’ จาก ‘Flex-Fuel Car’ ซึ่งเป็นเครื่องยนต์ที่สามารถใช้น�้ำมันได้ตั้งแต่ 0% เอทานอล ถึง 100% เอทานอล ขึน้ อยูก่ บั ราคาเอทานอล และดีมานด์รวมถึง ซัพพลายของเอทานอลหรือราคาน�้ำมัน ณ ขณะนั้น ผู้บริโภคก็สามารถ เลือกได้เองให้เหมาะสมกับราคาในช่วงนั้น จะเห็นได้ว่าเป็นโครงสร้าง การใช้พลังงานที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก แต่แม้จะเป็นต้นแบบที่ดี แต่ ส� ำ หรั บ ประเทศไทยยั ง คงต้ อ งใช้ เ วลาอี ก นานกว่ า จะท� ำ ได้ แ บบบราซิ ล กระนั้ น ประเทศไทยเริ่ ม มี ก ารใช้ E85 ซึ่ ง เป็ น เอทานอล 85% แต่ ป ั ญ หาคื อ ต้ อ งใช้ กั บ รถที่ เ ป็ น Flex-Fuel Car ซึ่ ง ก็ ยั ง เป็ น ตลาด ที่เป็น Niche Market อยู่ ถึงแม้เทรนด์โลกจะมาในทิศทางนี้ แต่ส�ำหรับ ประเทศไทยเราจะต้ อ งอาศั ย การเปลี่ ย นแปลงของภาคอุ ต สาหกรรม ยานยนต์ด้วย จึงจะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการใช้พลังงาน 22 BORDERLESS

“ผมคิดว่าคงไม่ใช่บทบาทของ ปตท.ทัง้ หมด คงจะเป็นนโยบายของทาง ภาครัฐมากกว่า แต่บางคนก็เปรียบเรื่องนี้เหมือนไก่กับไข่ เพราะถ้าไม่มีปั๊ม ก็ไม่มี E85 ก็ไม่มรี ถ E85 ทางฝัง่ ผูผ้ ลิตและผูจ้ ำ� หน่ายพลังงานก็บอกว่าถ้าไม่มี รถ E85 จะมาตัง้ ปัม๊ ขาย E85 ได้ยงั ไง ผมว่าคงต้องค่อย ๆ ปรับไปพร้อม ๆ กัน”

เข้าใจพลังงานไม่คลาดเคลื่อน “ปตท.เองก็พยายามที่จะให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องพลังงานที่ ถูกต้อง ด้วยการจัดตั้งสถาบันวิทยาการพลังงานขึ้น เพื่อมุ่งหวังให้บุคลากร ที่เกี่ยวข้องของประเทศโดยเฉพาะผู้บริหารระดับสูงและผู้น�ำทางความคิด ของทุกภาคส่วน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องพลังงาน และเข้าใจในบทบาท ที่จะร่วมส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า เสริมสร้างคุณภาพชีวิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความ มั่นคงทางพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืน และสื่อสารถึงข้อเท็จจริงผ่านสื่อ ต่าง ๆ เพือ่ ไม่ให้เกิดความเข้าใจทีค่ ลาดเคลือ่ นหรือมีการบิดเบือนของข้อมูล” คุณณัฐชาติยกตัวอย่างว่า “ประเทศไทยต้องพึ่งพาการน�ำเข้าเป็นหลัก เราใช้พลังงานที่เป็นน�้ำมันประมาณ 100 ล้านลิตรต่อวัน เราไม่ได้มีพลังงาน มากมายเหลือเฟือจนสามารถส่งออกได้ แต่ส�ำหรับในส่วนที่เราส่งออกนั้น ประมาณ 7 ล้านลิตรต่อวัน เป็นน�ำ้ มันดิบทีผ่ ลิตได้ในอ่าวไทย มีคณ ุ สมบัตทิ ไี่ ม่ เหมาะสม จึงส่งออกไปยังประเทศจีน เป็นต้น ซึ่งการส่งออกนี้ก็เพื่อน�ำเงิน มาซือ้ น�ำ้ มันดิบทีม่ คี ณ ุ สมบัตเิ หมาะสมกว่าจากดูไบหรือจากตะวันออกกลาง”

ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า คุณณัฐชาติ เชื่อว่า ‘พลังงาน’ เป็นเรื่องที่ต้องมองกันในระยะยาว เพราะการลงทุนในด้านนี้ต้องใช้เวลาเตรียมการค่อนข้างนาน และการ ใช้พลังงานต้องมองไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลานด้วย ฉะนั้นภาครัฐก็ต้องก�ำหนด นโยบายล่วงหน้าพอสมควรและต้องเป็นทิศทางนโยบายที่ถูกต้องด้วย โดย ผูป้ ระกอบการและภาคประชาชนต้องค่อย ๆ ปรับตัวปฏิบตั ติ ามนโยบายนัน้ เช่น การที่รัฐเข้าไปตรึงราคาหรือเข้าไปอุดหนุนราคาเพื่อให้ราคาพลังงาน ถู ก ลง การดู แ ลเรื่ อ งค่ า ครองชี พ ของประชาชน ควรจะเป็ น มาตรการ ที่ใช้ในระยะสั้น เพราะข้อเสีย คือ ท�ำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างไม่มี ประสิทธิภาพ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องใช้นโยบายนี้อย่างระมัดระวัง และ ควรมีมาตรการที่สนับสนุนเฉพาะกลุ่มแทนที่จะเป็น Product Subsidy นอกจากนี้ คุ ณ ณั ฐ ชาติ ยั ง แสดงทรรศนะว่ า รั ฐ บาลควรให้ ค วาม ส�ำคัญกับก๊าซธรรมชาติ เพราะแหล่งก๊าซธรรมชาติในไทยถูกน�ำมาใช้ นานกว่า 30 ปีแล้ว และขณะนี้เริ่มเข้าสู่ช่วงถดถอยและมีแนวโน้มว่าจะ เริ่มลดลง เพราะผู้ผลิตเองก็ไม่มั่นใจว่าหลังจากหมดสัมปทานแล้ว จะได้ ต่อสัญญาหรือไม่ เมื่อไม่มั่นใจ จึงไม่มีการลงทุนเจาะหลุมเพิ่ม ตรงนี้เป็น ความเสี่ยงที่รัฐบาลจะต้องเร่งออกมาตรการมาดูแล ส่วนประชาชนก็พึง ตระหนักว่า การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นหน้าที่ของทุกคน สภาวะโลกร้อนเป็นภัยคุกคาม ไม่ใช่ระดับประเทศ แต่เป็นระดับโลก ดั ง นั้ น จึ ง เป็ น ความรั บ ผิ ด ชอบของทุ ก คนที่ จ ะต้ อ งใช้ พ ลั ง งานอย่ า งมี ประสิทธิภาพ


เป็นเรื่องที่ต้องมองกันในระยะยาว เพราะการลงทุ น ในด้ า นนี้ ต้ อ งใช้ เวลาเตรียมการค่อนข้างนาน และ การใช้พลังงานต้องมองไปถึงรุ่นลูก รุ่นหลานด้วย

BORDERLESS 23


 TMB Report

เรื่อง : ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี

ไม่อาจปฏิเสธได้วา่ เหตุการณ์ วิกฤตการเงินครั้งใหญ่ของ โลกในปี 2008 ท� ำ ให้ เศรษฐกิ จ ประเทศแกนหลักโลกอย่างสหรัฐฯ และยุ โรปมี บ ทบาทขั บ เคลื่ อ นการ เติบโตของเศรษฐกิจโลกน้อยลง ในขณะที่ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ที่ แม้ ได้ รั บ ผลกระทบค่ อ นข้ า งแรง ผ่านการส่งออกที่หดตัว แต่ด้วย พื้ น ฐานเศรษฐกิ จ ที่ ไ ม่ ซั บ ซ้ อ น จึงมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว สู ง ผสมผสานกั บ การด� ำ เนิ น นโยบายการเงินและการคลังเพื่อ กระตุ้นเศรษฐกิจ ท�ำให้สามารถ พลิ ก ฟื ้ นกลั บ สู ่ ร ะดั บ ปกติ ได้ เร็ ว และมี แ นวโน้ ม ขยายตั ว ในอั ต รา โดดเด่นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก อย่างต่อเนื่อง

24 BORDERLESS


Figure 1 : 2013 World GDP Forecasts (% Growth)

0%

4-6% 6%

Less than 0 Between 0 and 1 Between 1 and 2

2-4% 1-2%

Between 2 and 4 Between 4 and 6 Greater than or equal to 6 Insufficient data

เศรษฐกิจอาเซียนเติบโตแข็งแกร่ง อย่างต่อเนื่องกว่าหนึ่งทศวรรษ ประเทศสมาชิกอาเซียนมีพฒ ั นาการการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจน บ่งบอกจาก ขนาดเศรษฐกิจที่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.6 ในปี 2000 เพิ่มเป็นร้อยละ 4.3 ของ GDP โลกในปี 2012 (ยังคงเป็นระดับที่ตำ�่ กว่าญี่ปุ่นและอินเดียซึ่งสัดส่วนอยู่ประมาณที่ร้อยละ 5.5) ขับเคลื่อนด้วยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยที่ร้อยละ 5.9 ต่อปี สูงกว่าอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.7 ต่อปีของเศรษฐกิจโลก สืบเนื่องจากการที่อาเซียนเป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้า ส�ำคัญทั้งเกษตรและอุตสาหกรรมของโลก ซึ่งรวมถึงการเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนโดยตรง จากต่างประเทศด้วยความพร้อมของวัตถุดบิ รวมทัง้ ทรัพยากรธรรมชาติดา้ นพลังงาน และ อีกส่วนหนึง่ เป็นเพราะอานิสงส์จากการรวมกลุม่ ในระดับเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA สะท้อนจากมูลค่าการค้าภายในกลุ่ม (Intra-ASEAN) เทียบกับการค้าทั้งหมดของอาเซียน ปรับสูงจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 25 ในปี 2011 โดยในส่วนของไทย อาจกล่าวได้ว่า อาเซียนเป็นคู่ค้าของไทยที่มีมูลค่าการค้าสูงที่สุด ด้วยสัดส่วนมูลค่าการค้าร้อยละ 20.4 ของการค้าไทยทั้งหมดกับโลกในปี 2555 ข้อมูลล่าสุด ณ เดือนเมษายน กองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกปี 2013 ขยายตัวร้อยละ 3.3 ซึ่งแผ่วลงจากการคาดการณ์ก่อนหน้าที่ ร้อยละ 3.5 ตอกย�ำ้ ความล่าช้าของการฟืน้ ตัวของซีกโลกตะวันตก IMF มีมมุ มองเชิงลบต่อ กลุม่ ประเทศพัฒนาแล้ว โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวแผ่วลง อาทิ สหรัฐฯ และเยอรมนี อยู่ที่ระดับต�่ำกว่าร้อยละ 2.0 ขณะที่กลุ่มยูโรโซนยังคงติดกับดักเศรษฐกิจหดตัวเป็นปีที่ สอง แต่กลับมีมมุ มองเชิงบวกมากขึน้ ส�ำหรับภูมภิ าคเอเชีย ด้วยแรงขับเคลือ่ นของดีมานด์ ภายในที่แข็งแกร่งทั้งด้านการบริโภค การลงทุน และดีมานด์ภายนอกที่เริ่มฟื้นตัว น�ำโดย จีน ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของเอเชียที่ยังรักษาโมเมนตัมการเติบโตที่สูงกว่าร้อยละ 7.0 ไว้ได้ อินเดียประเทศเศรษฐกิจอันดับสามของเอเชียก็ไม่น้อยหน้า ถูกคาดว่าจะขยาย ตัวเพิ่มต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า และกลุ่มอาเซียนที่ประเมินว่าจะขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 5.3 เป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับปี 2012 โดยในส่วนของเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 (สูงกว่าที่ TMB Analytics ประเมินที่ร้อยละ 5.0 ในปีนี้)

ส� ำ หรั บ มุ ม มองของ IMF ในระยะปานกลาง (ปี 2013-2017) เศรษฐกิ จ อาเซี ย นยั ง คงเดิ น หน้ า รักษาอัตราการเติบโตที่โดดเด่นได้เฉลี่ยร้อยละ 5.8 ต่อปี โดยกลุ่มอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และบรูไน) ขยายตัวที่ ร้อยละ 4-6 ต่อปี ส่วนกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งมากกว่า ที่ร้อยละ 5-6 ต่อปี ซึ่งเราเชื่อว่าเหตุผลหนึ่งที่อยู่เบื้อง หลังการเติบโตคือการก้าวสูป่ ระชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่ก�ำลังเกิดขึ้นในปลายปี 2015 ที่เอื้อให้ การค้า การลงทุนของกลุม่ ขยายตัวมากขึน้ และต่อยอด ไปถึงการเป็นที่น่าสนใจของประเทศต่าง ๆ ซึ่งต้องการ เข้ามาร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น BORDERLESS 25


ศักยภาพของอาเซียน ในเวทีการค้า การลงทุนโลก

Source : IMF and TMB Analytics.

ภาพประกอบ 2

ระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มเปิดมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่ม CLM ซึ่งวัดจากสัดส่วนมูลค่าการค้า เมื่อเทียบกับ GDP โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มอาเซียนสูงถึงร้อยละ 129.4 ของ GDP ทั้งนี้ ตัวเลขถูกฉุดในทาง บวกมากขึ้นเป็นเพราะตัวเลขของสิงคโปร์ ซึ่งหากไม่นับรวมสิงคโปร์ ระดับการเปิดของกลุ่มจะปรับลดมา ที่ร้อยละ 100.3 ของ GDP แต่ก็ยังเป็นระดับสูงอยู่ดี สะท้อนภาพค่อนข้างชัดเจนว่าในกลุ่มประเทศก�ำลัง พัฒนาที่มีรายได้ต่อหัวจัดอยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูง ได้แก่มาเลเซียและไทย การพึ่งพา การค้าระหว่างประเทศในระดับสูงมีนัยส�ำคัญต่อการผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโต (ตรงข้ามกับประเทศ พัฒนาแล้วที่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มาจากปัจจัยภายในเป็นหลัก) ขณะที่ระบบเศรษฐกิจกลุ่ม CLM มีการเปิดประเทศอยูใ่ นระดับต�ำ่ ในขณะนี้ โดยในส่วนของลาว มีขอ้ จ�ำกัดสภาพภูมศิ าสตร์ทไี่ ม่มที างออกทะเล ขณะที่พม่ายังไม่สามารถส่งสินค้าออกเป็นปกติได้ แต่ในอนาคตสัดส่วนดังกล่าวน่าจะปรับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อได้มีการยกเลิกการคว�ำ่ บาตรทางเศรษฐกิจอย่างเป็นทางการในอนาคต

Figure 3 : GDP Per Capita (in USD term – adjusted for Purchasing Power)

Singapore

$ 70,000

5.46%

Brunei

1.93% $ 60,410

$ 50,000 Malaysia

5.37%

Thailand

$ 54,389

6.10%

Myanmar

9.87%

Cambodia

8.51%

Laos

7.98%

$4,977

$ 3,548

$ 700

$ 2,402

$ 1,000

$ 1,405

$ 4,000

$ 3,011

$ 7,000

$ 16,922

$ 10,000

$ 4,430

$ 30,000

$ 10,126

นอกจากแนวโน้ ม การเติ บ โตใน เกณฑ์สูงของเศรษฐกิจที่เป็นจุดเด่นของ อาเซียนแล้ว อาเซียนถูกจัดอยู่ในกลุ่ม เศรษฐกิ จ ที่ มี ข นาดใหญ่ เ มื่ อ อิ ง เกณฑ์ ประชากรที่ มี ม ากกว่ า 605 ล้ า นคน ในปี 2012 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.8 ของประชากรโลก ซึ่งเป็นจ�ำนวนที่ มากกว่าประชากรของเศรษฐกิจหลักอย่าง สหภาพยุโรป หรือสหรัฐฯ สะท้อนถึงการ เป็นตลาดที่ก�ำลังเติบโต และยังมีความ น่ า สนใจในอี ก หลายมุ ม มองซึ่ ง สะท้ อ น ศักยภาพของอาเซียนได้เป็นอย่างดี ได้แก่ รายได้ ป ระชากรต่ อ หั ว ขยายตั ว ในอั ต ราสู ง และมี แ นวโน้ ม เพิ่ ม ขึ้ น ต่ อ เนื่อง โดยในช่วงปี 2000-2012 รายได้ ประชากรต่ อ หั ว (GDP Per Capita, PPP) ของอาเซียน มีอัตราการขยายตัว สูงเฉลี่ยที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี โดยรายได้ ไต่มาถึง 5,857 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหัว ในปี 2012 ซึ่งแม้ว่าต�่ำกว่ารายได้ต่อหัว ของประชากรโลกซึ่งอยู่ที่ 11,850 เหรียญ สหรัฐฯ มาก แต่ที่ส�ำคัญคือมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย IMF คาดการณ์ว่า ในปี 2018 ประชากรของอาเซียนจะเพิ่ม เป็น 670 ล้านคน และรายได้ตอ่ หัวเพิม่ ขึน้ เป็น 8,369 เหรียญสหรัฐฯ โดยหากแบ่ง จัดเป็นกลุ่มรายได้ตาม World Bank จะ เห็นได้ว่ากลุ่มรายได้สูง (สิงคโปร์ บรูไน) ซึง่ มีรายได้สงู กว่าประชากรในสหรัฐฯ และ ญีป่ นุ่ นัน้ รายได้ประชากรต่อหัวมีแนวโน้ม เติบโตแต่ในอัตราทีแ่ ผ่วลง ขณะทีก่ ลุม่ รายได้ปานกลาง (มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย ฟิลปิ ปินส์ และเวียดนาม) และกลุม่ รายได้ ต�ำ ่ (CLM) ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีอัตราเติบโต เฉลี่ยร้อยละ 6.3 และ 8.8 ต่อปี ตาม ล�ำดับและมีแนวโน้มเติบโตในอัตราเร่ง ต่อเนื่อง

Vietnam

7.92%

Philippines

5.10%

Indonesia

6.17%

Source : IMF (as of 2012) and TMB Analytics. Note ; figure in (

ภาพประกอบ 3 26 BORDERLESS

) refer to average annual growth , 2001-2012


เป็ น แหล่ ง ดึ ง ดู ด การลงทุ น โดยตรงจาก ต่างประเทศทีส่ ำ� คัญ สะท้อนจากมูลค่าการลงทุน จากต่างประเทศ (FDI) มุ่งสู่อาเซียนเพิ่มขึ้นจาก 22,095 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2001 เป็น 116,539 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2011 หรือ คิดเป็นสัดส่วนจากร้อยละ 2.7 ของ FDI ของโลก ในปี 2001 ปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 7.6 ในปี 2011 โดยแหล่งที่มาของเงินทุนเมื่อพิจารณายอดสะสม ในช่วงปี 2006-2011 หลัก ๆ ประกอบด้วยสหภาพ ยุโรป (19.5%) กลุ่มอาเซียนด้วยกัน (16.5%) ญี่ปุ่น (12%) และสหรัฐฯ (9%) เมื่อพิจารณา ยอดเงินลงทุนสะสมในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา เข้าสู่ในแต่ละประเทศ พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ สนใจลงทุนในประเทศสิงคโปร์ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลส�ำรวจความ ง่ายในการท�ำธุรกิจ (Ease of Doing Business) ของปี 2013 ซึ่งส�ำรวจโดยธนาคารโลก รายงาน ว่าสิงคโปร์ติดอันดับหนึ่งจาก 153 ประเทศ ซึ่ง เป็นมาตลอด ส่วนไทยและมาเลเซียติดอยู่ใน 20 อันดับแรก อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเห็นการลงทุน ไหลเข้าประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ CLMV จากการทยอยปรั บ ปรุ ง กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าและ การลงทุนเพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC

ภาพประกอบ 4

ภาพประกอบ 5

เป็นฐานการผลิตและส่งออก สินค้าส�ำคัญ ๆ ของโลก ซึง่ ส่วนหนึง่ เป็นผลต่อเนื่องจากการเคลื่อนย้าย ของ FDI โดยอาเซียนเป็นฐานการ ผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบและ อาหาร รวมถึงสินค้าอุตสาหกรรม ที่ส�ำคัญของโลก ได้แก่ สินค้ากลุ่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และยานยนต์ ซึ่งไทยมีสัดส่วนการ ส่งออกค่อนข้างสูงของตลาดโลกใน สินค้าเกษตรและคอมพิวเตอร์

BORDERLESS 27


อย่างไรก็ดี ในบรรดาอุตสาหกรรมดังกล่าว ข้างต้น อุตสาหกรรมยานยนต์ค่อนข้างโดดเด่น ส�ำหรับภูมิภาคเอเชียและอาเซียน เพราะปริมาณ การผลิตรถยนต์มากกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการ ผลิตทั้งโลก มาจากผู้ผลิตในเอเชีย ซึ่งในส่วนนี้ มีประเทศสมาชิกอาเซียนรวมอยู่ หลัก ๆ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ในช่วงปี 2007-2011 ปริมาณ การผลิตรถยนต์ของอาเซียนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดย ขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี ซึ่งข้อมูลล่าสุดของ International Organization of Motor Vehicle Manufacturer (OICA) รายงานว่าปี 2012 ไทยขึ้น แท่นเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 9 ของโลก จากปี 2011 อยู่ในอันดับที่ 15 เบียดสเปนตกไป ด้วยปริมาณผลิต 2.483 ล้านคัน ซึง่ ได้อานิสงส์จาก โครงการรถคันแรกของภาครัฐ ตามด้วยอินโดนีเซีย มาเลเซียติดอันดับที่ 17 และ 23 หากดูเฉพาะใน ส่วนของการผลิตรถเชิงพาณิชย์ ไทยก็ยงั เป็นดาวรุ่ง พุ ่ ง แรง โดยสามารถเลื่ อ นขึ้ น จากอั น ดั บ ที่ 5 ในปี 2011 เป็นอันดับที่ 3 ของโลกในปี 2012 ด้วย ปริมาณการผลิต 1.525 ล้านคัน ส่วนอินโดนีเซีย และมาเลเซียอยู่ในอันดับที่ 12 และ 22 ของโลก

ภาพประกอบ 6 Figure 6 : ASEAN Exports as % of Total World

ภาพประกอบ 7

โดยสรุป จากการทีอ่ าเซียนเป็นกลุม่ ทีม่ แี นวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจดีสอดคล้องกับภูมภิ าค และมีศกั ยภาพถึงพร้อมในด้านการผลิต การค้าและการลงทุน ท�ำให้มแี นวโน้มเข้ามามีบทบาท ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและโลกมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงหลังปี AEC 2015 เป็นต้นไป ซึ่งถือได้ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตและมีศักยภาพเพียงพอ ที่จะยืนอยู่ในแถว หน้าของอาเซียนได้ไม่ยาก 28 BORDERLESS

ศูนย์วเิ คราะห์เศรษฐกิจ TMB ถูกบ่มเพาะจากความตัง้ ใจของทีมนักวิชาการ TMB เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ไปสู่บุคคลที่มีความสนใจ TMB Analytics ภูมิใจเสนอ บทวิเคราะห์ ครบถ้วน ลึก แต่เรียบง่าย และเข้าถึงได้ ซึ่งเกิดจากการเชื่อมโยง ทางเศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐกิจระหว่างประเทศ การวิเคราะห์อตุ สาหกรรม ตลาดเงิน ตลาดทุน และบริหารความเสี่ยง


 Efficiency

Expertise

เรื่อง : คุณชลิต โรจนวิทย์สกุล

สวัสดีคณ ุ ผูอ้ า่ น TMB Borderless ทุกท่านครับ กลับมาพบกันอีกครัง้ ในคอลัมน์ Effififi ciency Expertise นะครับ จากทีเ่ ราได้คยุ กันไปใน ฉบับทีแ่ ล้ว เรือ่ งของการเพิม่ ประสิทธิภาพ (Effififi ciency) ให้องค์กรนัน้ เชือ่ แน่วา่ ทุกท่านน่าจะพอมองเห็นแล้วว่า การเพิม่ ประสิทธิภาพ มีความส�ำคัญกับทุกท่านอย่างไรบ้าง? อย่างที่ผมได้เกริ่นทิ้งท้ายไว้ในฉบับที่แล้วว่า ฉบับนี้เราจะมาดูกันว่า หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่ ก�ำลังมองหาหนทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรของคุณนัน้ มีอะไรที่ต้องเริ่มพิจารณากันบ้าง แต่ก่อนอื่น ผมอยากให้ทุกท่านได้ มองเห็นจุดส�ำคัญเหมือนกันก่อนว่า ท�ำไมผู้ประกอบการจึงต้องเริ่มให้ความส�ำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างรอช้าไม่ได้

ประเด็นแรก อย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ ทราบกันดีอยู่แล้ว เรื่องของการเปิด เขตการค้าเสรีอาเซียน (AEC) ซึง่ ส่งผลกระทบอย่างมากมายกับผูป้ ระกอบการ ในบ้านเรา ไม่วา่ จะรายเล็กหรือรายใหญ่แค่ไหน ก็ตอ้ งมีการปรับตัวเพือ่ เตรียม รับกับสิง่ ต่าง ๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในทันที หรือแม้กระทัง่ กรณีของการปรับขึน้ ค่าแรง ขั้นต�่ำเป็น 300 บาท เพื่อรองรับการขยายตัวของตลาดแรงงานในอาเซียน ซึง่ ยังมีผปู้ ระกอบการจ�ำนวนมาก ทีต่ อ้ งแบกรับภาระกับการเปลีย่ นแปลงครัง้ นี้ และทยอยปิดตัวไปอย่างมากมาย นี่แค่ค่าใช้จ่ายจากแรงงานภายในประเทศ นะครับ ยังไม่นับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายแรงงานกัน อย่างเสรี และยังมีการย้ายฐานการผลิตในโรงงานอีกหลาย ๆ อุตสาหกรรม ซึ่งนั่นย่อมส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการหลายท่านอย่างแน่นอน ประเด็นที่สอง หากผู้ประกอบการรายใหญ่ในอุตสาหกรรม มีการ พัฒนาในเรื่องเครื่องไม้ เครื่องมือ หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้วยเงินทุน ที่ มี ม ากกว่ า และหากคุ ณ เป็ น ผู้ประกอบการรายย่อย ๆ รอง ๆ ลงมา แล้วคุณไม่ทันได้คิดที่จะ ปรับปรุงกระบวนการของคุณ ลอง คิดดูวา่ คุณจะสูก้ บั ตลาดได้อย่างไร เริ่ ม จากพิ จ ารณาธุ ร กิ จ ของคุ ณ ดูก่อน ว่ามีอะไรที่เป็นต้นเหตุของ การเกิดต้นทุนที่ไม่จ�ำเป็นอีกบ้าง มีอะไรที่คุณต้องท�ำแต่ไม่ได้เพิ่ม คุณค่าในสายตาลูกค้าอีกบ้าง นั่น แหละครับ ได้เวลาก�ำจัดมันทิง้ แล้ว แค่เพียงประเด็นหลัก ๆ ที่ กล่าวมาก็น่าจะท�ำให้ผู้ป ระกอบ การทุ ก ท่ า นอยู ่ นิ่ ง เฉยอี ก ต่ อ ไป ไม่ ไ ด้ สรุ ป อย่ า งง่ า ย ๆ เลย นะครับ ลองเช็ก 7 ค�ำถามส�ำคัญ ที่ผมสรุปมาให้นี้ แล้วคุณจะรู้ว่า ถึงเวลาแล้วหรือยังทีค่ ณ ุ ควรจะเริม่ ท�ำอะไรกับธุรกิจของคุณ

มาก น อย

แน่ น อนครั บ หากคุ ณ พบว่ า องค์ ก รของคุ ณ ต้องเผชิญกับปัญหาในการด�ำเนินธุรกิจจ�ำนวนมาก อยู่ ถึงเวลาที่จะต้องเริ่มหันมาตระหนักถึงการพัฒนา ประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนและสามารถเพิ่มยอดขาย ให้เติบโตได้ในสภาวการณ์แข่งขันแบบนี้แล้วละครับ ซึ่งล�ำดับต่อไปสิ่งที่คุณต้องให้ความส�ำคัญ คือต้องเริ่ม มองหาความเหมาะสมในการเลือกใช้เครื่องมือที่จะมา ช่วยคุณแก้ปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพกันนะครับ ซึ่ง การเลือกเครื่องมือหรือแนวคิดที่เหมาะสมนั้นจะน�ำมา สู่ผลลัพธ์ที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียวครับ

BORDERLESS 29


การเลือกเครื่องมือต่าง ๆ มา ช่ ว ยพั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพของ ธุรกิจคุณให้ได้ผลลัพธ์ทดี่ ที สี่ ดุ นัน้ สิ่งส�ำคัญที่สุดที่ควรพิจารณา คือ การเลือกกรอบของแนวคิดและ วิธกี ารให้เหมาะสมกับองค์กรของ คุณ เช่น หากองค์กรของคุณยังไม่ เคยได้เริ่มปรับปรุงกระบวนการ ใด ๆ คุ ณ อาจจะเริ่ ม ด้ ว ยการ สร้างวัฒนธรรม 5ส ที่ประกอบ ไปด้ ว ย 1.สะสาง 2.สะดวก 3.สะอาด 4.สร้ า งมาตรฐาน 5.สร้างนิสยั ขึน้ ในองค์กร เพือ่ ให้ พนักงานน�ำเทคนิคเหล่านีม้ าปรับ ใช้กบั ชีวติ ประจ�ำวัน และจะน�ำมา สู่การเปลี่ยนแปลงโดยรวมของ องค์กรในที่สุด หรือหากองค์กร ธุรกิจของคุณ มีพนักงานหน้างาน จ�ำนวนมาก แล้วคุณได้ค้นพบ ว่า จุดที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง หรื อ ปรั บ ปรุ ง กระบวนการเพื่ อ เพิ่มประสิทธิภาพคือส่วนที่พนักงานหน้างานนั้นต้องมีส่วนช่วยกัน คุณอาจจะเลือกใช้แนวคิด QCC (Quality Control Circle) หรือกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ เป็นการบริหารแบบ Bottom up โดยเน้นที่พนักงานหน้างานที่ท�ำงานจริงมาเรียนรู้ถึงปัญหาจริงที่ปฏิบัติและท�ำโครงการเพื่อ ปรับปรุงร่วมกันจริงก็สามารถท�ำได้ ข้อดีของการใช้ 5ส และ QCC นัน่ คือการลงทุนทีต่ ำ �่ ท�ำได้ ทันทีดว้ ยตัวเอง และขวัญก�ำลังใจของพนักงานก็จะดีขนึ้ ส่วนข้อเสียก็มเี หมือนกันครับ นัน่ ก็คอื คุณอาจจะประเมินผลของการปรับปรุงออกมาเป็นตัวเงิน หรือต้นทุนที่หายไปได้ยากสักหน่อย และส�ำหรับองค์กรทีม่ ขี นาดใหญ่อย่าง Toyota, GE และ Motorola เป็นต้นแบบกรณีศกึ ษา ที่น่าสนใจอย่างมาก ข้อดีของผลลัพธ์ที่ได้จากการน�ำ Lean Six Sigma ไปใช้ในองค์กร ได้ผล เร็ว ชัดเจน มีการปรับปรุงอย่างก้าวกระโดด ส่วนข้อทีม่ กั เป็นปัญหานัน่ ก็คอื องค์กรต้องลงทุน ค่อนข้างสูงในการน�ำไปใช้ ซึ่งต้องลงทุนทั้งในส่วนของพนักงานที่ต้องมีความรู้ ความสามารถ พื้นฐานที่ดีพอในการเข้ามารับผิดชอบ พูดง่าย ๆ ก็คือต้องมีพื้นฐานในการท�ำความเข้าใจ เกีย่ วกับพวกตัวเลขของสถิตบิ า้ ง บางทีอาจต้องจ้างพวกวิศวกรไว้ในหน่วยงาน หรือทีป่ รึกษาจาก ภายนอกในการท�ำ Lean Six Sigma ให้ได้ผลดีอีกด้วย และการน�ำ Lean Six Sigma มาใช้ นัน้ ไม่เพียงแต่สามารถลดต้นทุนในการผลิตได้แล้ว ยังสามารถเพิม่ ยอดขาย, เพิม่ ประสิทธิภาพ ขององค์กร น�ำมาสู่ความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

แนวคิด Lean Six Sigma ที่น�ำมาใช้นั้น จะอยู่ ภายใต้กรอบกระบวนการแก้ปญ ั หาโดยอาศัย DMAIC เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ ปรับปรุงและแก้ไขปัญหาที่ ชัดเจนที่สุด ซึ่งแน่นอน ผลลัพธ์ที่ได้มักน�ำไปสู่การ เปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนอีกด้วย ถึงคราวที่คุณต้องพิจารณาเลือกแล้วล่ะครับ ว่า องค์กรของคุณเหมาะกับแนวคิดไหนที่จะมาช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในธุรกิจของคุณ ในครั้งหน้า ผมจะลอง ยกตัวอย่างองค์กรที่น�ำ Lean Six Sigma ไปปรับใช้ว่า เขาท�ำกันอย่างไร และได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร แล้วเจอกันใหม่ฉบับหน้าครับ

กรอบคำ�อธิบาย Jargon

D (Define) การกำ�หนดปัญหาให้ชดั เจน ลองดู ว่ า ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น คื อ อะไร กำ�หนดเป้ า หมายที่ชัดเจน ทั้งนี้รวมไปถึงการกำ�หนดกลุ่ม ลูกค้าและความต้องการของลูกค้าด้วย M (Measure) การวัดผล มองสิ่งที่จะ เกิดปัญหา เก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อนำ�ข้อมูลที่ ได้มาวัดผล A (Analyze) การวิเคราะห์ ตรวจสอบ กระบวนการทำ�งานของคุณอย่างใกล้ชิด ระดม สมองหาสาเหตุของปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ลองทำ�ข้อมูล ให้เป็นภาพเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น I (Improve) การปรับปรุง ระดมสมอง หาวิธีการแก้ปัญหา เลือกวิธีการแก้ปัญหามา หลาย ๆ ทางแล้วเลือกทางที่คิดว่าดีที่สุด ลอง แก้ไขปัญหา วัดผลและปรับปรุง C (Control) การควบคุม การปรับปรุง กระบวนการควรทำ�อย่ า งต่ อ เนื่ อ งเพื่ อ ให้ เ กิ ด ประสิทธิภาพมากที่สุด และควรมีการประยุกต์ ความรู้ใหม่ ๆ มาใช้อย่างสม่ำ�เสมอ

คุณชลิต โรจนวิทย์สกุล : เจ้าหน้าที่บริหาร Lean Six Sigma, TMB

ผู้ช�ำนาญการด้าน Lean Six Sigma มีประสบการณ์ในบริษัทชั้นน�ำ อย่าง Seagate Technology, GE Capital และ Ayutthaya Capital Lease รวมทั้งเป็นผู้ที่ประยุกต์วิธีการของ Lean เข้ากับกระบวนการทางการเงินและการขายเพื่อเพิ่มยอดขายให้กับบริษัทจนประสบความ ส�ำเร็จอย่างมาก ปัจจุบันด�ำรงต�ำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหาร Lean Six Sigma ของ TMB ซึ่งได้น�ำวิธีการของ Lean Six Sigma มาปรับใช้กับองค์กร ด้วยการ ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนการจัดท�ำโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม Efficiency ในกระบวนการท�ำงานให้ดียิ่งขึ้น หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ E-mail : efficiency_guru1@tmbbank.com 30 BORDERLESS


 Reflection

เรื่อง : คุณปพนธ์ มังคละธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน TMB

เมื่อฉบับที่แล้วผมได้เขียนถึงเรื่องโอกาส ของธุ ร กิ จ ไทยที่ ส ามารถต่ อ ยอดจาก ทักษะด้านหัตถกรรม หรืองานฝีมือ เพื่อจะได้ รับประโยชน์สูงสุดจากแนวโน้มความต้องการ ของตลาดที่ เริ่ ม เปลี่ ย นแปลงไปโดยมี ค วาม ต้องการมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสินค้าที่มีความ ละเอียดและความประณีตในการผลิต โดยจะ ต้องมีการตีความใหม่ของสินค้าที่จะใช้ทักษะ นัน้ ๆ ท�ำการผลิตให้สอดคล้องกับลักษณะ การใช้ชีวิต (Lifestyle) และรสนิยม ให้มีความ ร่วมสมัยมากขึ้น

ในอดีตทีผ่ า่ นมา สินค้าหัตถกรรมต่าง ๆ ของไทยจะมีแต่เฉพาะดีไซน์ทเี่ ป็นไทย ๆ เท่านัน้ ชาวต่างประเทศทีเ่ ข้ามาเทีย่ วในเมืองไทยเมือ่ 10 หรือ 20 ปีทแี่ ล้วไม่เคยเห็น เลยตืน่ เต้น แต่ใน ช่วงหลัง ๆ ภายหลังทีส่ นิ ค้าประเภทนีไ้ ด้รบั การเผยแพร่มากขึน้ มีนกั ท่องเทีย่ วได้มาเห็นและได้ซอื้ หาไปแล้วมากขึน้ ยอดขายของสินค้าประเภทนีก้ ไ็ ม่ได้มกี ารเติบโตอย่างมากมายเท่าไร การต่อยอด ของประเภทสินค้าเพือ่ ให้ครอบคลุมตลาดมากขึน้ โดยใช้ Core Competency ของกิจการจึงน่าจะ เป็นทางออกทีน่ า่ จะเพิม่ มูลค่าในระยะยาวให้แก่กจิ การเป็นอย่างดี การเคลือ่ นไหวในท�ำนองนีม้ ใี ห้เห็นมากขึน้ เรือ่ ย ๆ ทัว่ โลก โดยเฉพาะในประเทศทางฝัง่ ยุโรปและญีป่ นุ่ เมือ่ เร็ว ๆ นีไ้ ด้อา่ นกรณีศกึ ษาของกลุม่ งานฝีมอื ของเมืองเกียวโต ประเทศญีป่ นุ่ ทีต่ อ้ งการจะอนุรกั ษ์งานฝีมอื หลัก ๆ ทีเ่ ป็นทีข่ นึ้ ชือ่ ของเมืองเกียวโตไว้ให้สบื ทอดต่อไป ซึง่ ประเทศ ญีป่ นุ่ ก็อย่างทีเ่ ราทราบ เขาจริงจังมากกับการอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมต่าง ๆ ของเขาได้เป็นอย่างดี แต่ การอนุรกั ษ์งานฝีมอื ของเมืองเกียวโตมีความแตกต่างกับการอนุรกั ษ์วฒ ั นธรรมทีเ่ ราเห็นทัว่ ๆ ไป สิง่ ทีแ่ ตกต่างก็คอื เขามีการท�ำการวิจยั ว่าจะน�ำทักษะงานฝีมอื ทีม่ อี ยูไ่ ปประยุกต์ใช้กบั สินค้า อืน่ ๆ ได้อย่างไรบ้าง รวมถึงการท�ำการตลาดเพือ่ สร้างแบรนด์นใี้ ห้เป็นทีย่ อมรับ เป็นความร่วมมือ กันของภาคเอกชน และภาครัฐของเมืองเกียวโต BORDERLESS 31


ตัวอย่างของสินค้าทีผ่ มเห็นว่าน่าประทับใจมีตงั้ แต่ การปรับเปลีย่ นทักษะ การสานไม้ไผ่ ทีใ่ นอดีตใช้ในการท�ำภาชนะเก็บสิง่ ของและพืชผลทางการเกษตร (ซึง่ ก็ไม่ได้ตา่ งจากภาชนะสานของไทยเรา) น�ำไปท�ำเป็นทีค่ รอบโคมไฟ ซึง่ ดู โมเดิรน์ มาก ไม่มกี ลิน่ อายของท้องถิน่ เลย หรืออีกตัวอย่างหนึง่ ก็คอื น�ำทักษะ ในการถักทอโลหะมาเป็นลวดลายประดับด้ามจับของวัสดุเครือ่ งใช้ภายในบ้าน เช่น ด้ามจับมีด ด้ามจับทัพพี ข้อสังเกตก็คอื ว่าสินค้าต่าง ๆ นัน้ เป็นสินค้าทีม่ ดี ไี ซน์เป็นสากล ลวดลาย การใช้ฝมี อื ก็เป็นดีไซน์สากล ไม่สามารถมองออกว่าเป็นวัฒนธรรมญีป่ นุ่ แต่ สิง่ ทีบ่ อกตัวตนคงต้องไปดูทวี่ ธิ กี ารท�ำ และผลผลิตจากงานฝีมอื ทีค่ นทีม่ คี วามรู้ เรือ่ งนีถ้ งึ จะบอกได้วา่ งานชิน้ ไหนมีความแตกต่างกันอย่างไร และงานแบบไหน จากทีใ่ ดมีคณ ุ ค่าและคุณภาพสูงกว่ากัน แต่ในสายตาผูบ้ ริโภคแล้วคงดูเพียงว่า สินค้านัน้ ๆ สอดคล้องกับ Lifestyle ของเขาแค่ไหน สินค้ามีความร่วมสมัย แค่ไหนมากกว่า ผู้ประกอบการไทยคงต้องดูตัวอย่างของกลุ่มอนุรักษ์เมืองเกียวโตเป็น ตัวอย่าง และเริม่ ท�ำอะไรสักอย่างกับงานฝีมอื ของเรากันอย่างจริงจังแล้วครับ เพราะการทีจ่ ะอนุรกั ษ์ได้นนั้ งานฝีมอื นัน้ ต้องมีคนซือ้ น�ำไปใช้จริงในชีวติ ประจ�ำวัน หากสินค้าทีม่ ไี ม่สอดคล้องกับพฤติกรรมผูบ้ ริโภค เมือ่ ไม่มคี นซือ้ สินค้า อยาก จะอนุรกั ษ์กไ็ ม่รจู้ ะอนุรกั ษ์อะไรล่ะครับ ส่วนในเรือ่ งของดีไซน์ทเี่ ป็นไทยมาก ๆ ก็ยงั คงต้องรักษาไว้อยู่ เพราะผูบ้ ริโภคบางกลุม่ ก็ยงั คงชอบอยู่ แต่จะได้ตลาดที่ กว้างมากกว่าถ้าขยายขอบเขต หรือ Scope ออกไป การแตกยอดไปสูธ่ รุ กิจอืน่ ๆ เป็นสิง่ ทีธ่ รุ กิจทุกอย่างต้องท�ำกันอยูเ่ ป็น ประจ�ำอยูแ่ ล้ว ทัง้ นีเ้ พือ่ ความอยูร่ อดของธุรกิจ และเพิม่ ช่องทางในการสร้าง รายได้เพิม่ ให้แก่บริษทั เมือ่ ไม่นานมานีไ้ ปอ่านบทความเรือ่ งหนึง่ เกีย่ วกับเครือ่ งส�ำอางยีห่ อ้ หนึง่ ของญีป่ นุ่ ทีส่ ะดุดตาและไปอ่านไม่ได้สนใจจะซือ้ สินค้านัน้ ๆ นะครับ แต่ไป สะดุดทีบ่ ริษทั เจ้าของผลิตภัณฑ์นนั้ คือบริษทั Fuji Film ใช่ครับ Fuji Film บริษทั ทีผ่ ลิตฟิลม์ กล้องดิจติ ลั นัน่ แหละครับ อ่านบทความนั้นเสร็จก็ท�ำให้เกิดความคิดในหัวว่าท�ำไมเส้นทางของ Fuji Film ถึงได้แตกต่างจาก Kodak เช่นนี้ เพราะเมื่อปีที่แล้ว Kodak ต้องเข้าสูก่ ระบวนการล้มละลาย เพราะธุรกิจย�ำ่ แย่ไม่สามารถทีจ่ ะช�ำระหนีแ้ ก่ เจ้าหนีไ้ ด้ แต่ Fuji Film กลับอยูร่ อดในอุตสาหกรรมการบันทึกภาพดิจติ ลั ได้เป็นอย่างดี และแตกไลน์สินค้าไปสู่สินค้าอื่นที่ไม่เกี่ยวกับกล้องและการ บันทึกภาพเลย

32 BORDERLESS

ที่มาที่ไปของการที่ Fuji Film ต้องแตกไลน์สินค้าไปยังเครื่องส�ำอาง ก็เนือ่ งจากได้เล็งเห็นเมือ่ กว่า 10-20 ปีทแี่ ล้วว่าธุรกิจฟิลม์ ถ่ายภาพ ซึง่ เป็น ธุรกิจหลักของตัวนัน้ คงต้องกระทบอย่างหนัก และหลีกทางให้กบั การบันทึก ภาพแบบดิจติ ลั เมื่อเห็นทิศทางการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ กลุ่มผู้บริหารของ Fuji Film ก็ต้องคิดถึงการปรับตัวอย่างไรเพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบรุนแรง การปรับ ตัวตามธรรมชาติก็คงหนีไม่พ้น การพัฒนาเทคโนโลยีการบันทึกภาพดิจิตัล และแข่งขันในตลาดเดิม แต่ดว้ ยผลิตภัณฑ์ใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ สิง่ ทีน่ า่ สนใจก็คอื Fuji Film ได้ศกึ ษาดูวา่ Core Competency ทีม่ เี รือ่ ง การผลิตฟิลม์ ถ่ายภาพสามารถพัฒนาและแตกยอดไปท�ำอะไรได้บา้ ง และก็ได้ ค้นพบว่าเทคโนโลยีการผลิตฟิลม์ ถ่ายภาพ ซึง่ รวมถึงการรักษาพืน้ ผิวของฟิลม์ ถ่ายภาพให้คงสภาพเมื่อเจอแสงนั้น เป็นเทคโนโลยีที่ใกล้เคียงกับการผลิต เครือ่ งส�ำอางประเภทชะลอความชรา (Anti Ageing) ไม่ให้ผวิ พรรณเหีย่ วย่น ไปตามวัยหรือก่อนวัยอันควร ในปัจจุบนั นีเ้ ครือ่ งส�ำอางของ Fuji Film เป็นทีน่ ยิ มพอสมควรในประเทศ ญีป่ นุ่ และก�ำลังอยูใ่ นช่วงการขยายตลาดไปทัว่ โลก แต่ไม่ตอ้ งไปมองหาทีญ ่ ปี่ นุ่ นะครับ เพราะว่าไม่มที างเจอ เนือ่ งจาก Fuji Film สร้างแบรนด์เครือ่ งส�ำอาง ใหม่เลย ถ้าไม่รปู้ ระวัตจิ ะไม่มที างรูเ้ ลยว่ายีห่ อ้ นีเ้ ป็นสินค้าของบริษทั Fuji Film นอกจากนัน้ Fuji Film ได้ตงั้ สายงานธุรกิจ Life Science (ซึง่ ก็คอื การพัฒนา เทคโนโลยีเพือ่ ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพชีวติ ) และเครือ่ งส�ำอางยีห่ อ้ นีก้ เ็ ป็น หนึง่ ในผลิตภัณฑ์หลักของธุรกิจนี้ จากงานหัตถกรรมของกลุม่ อนุรกั ษ์เมืองเกียวโต จนถึงการพัฒนาธุรกิจ Life Science ของ Fuji Film จะเห็นได้ว่ามีลักษณะร่วมเหมือนกันอย่าง หนึง่ ก็คอื การต่อยอด แตกยอด ของความรูค้ วามช�ำนาญหลักอันเป็น Core Competency ของกิจการเพื่อน�ำไปสู่การสร้างธุรกิจใหม่ หรือการขยาย ฐานธุรกิจให้กว้างมากขึน้ เพือ่ รองรับการเปลีย่ นแปลงในอนาคต ธุรกิจของไทยเราคงต้องเริม่ ทีจ่ ะคิดปรับเปลีย่ นในแนวทางนีเ้ พิม่ มากขึน้ เพราะทีผ่ า่ นมาธุรกิจไทยส่วนใหญ่อาจจะให้ความส�ำคัญของการท�ำ R & D เพือ่ ข้ามสายพันธุธ์ รุ กิจน้อย แต่จะเน้นไปในด้านการต่อยอดในเชิงลึกไปต้นน�ำ ้ หรือ ปลายน�ำ้ ในธุรกิจทีอ่ ยู่ หรือไม่อย่างนัน้ ก็ขยายไปธุรกิจอืน่ ทีไ่ ม่ได้ใช้ประโยชน์ จากความช�ำนาญทีม่ อี ยู่ เช่น ขยายไปธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การข้ามสายพันธุโ์ ดยต่อยอดจากความช�ำนาญหลักของธุรกิจ น่าจะเป็น หมากต่อไปทีท่ า่ นผูป้ ระกอบการน่าจะน�ำไปพิจารณา ผมเชือ่ ว่าหากส�ำเร็จธุรกิจ ของท่านน่าจะมีความหลากหลาย และมีภมู ติ า้ นทานต่อความอ่อนไหวทางธุรกิจ สูงขึน้ ความเสีย่ งในการด�ำเนินธุรกิจก็จะลดลงตามไปด้วยครับ

คุณปพนธ์ มังคละธนะกุล

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน TMB และนักเขียนบทความประจ�ำคอลัมน์ Smart SMEs หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ


 Investment Tools เรื่อง : ฝ่ายจัดการลงทุน - บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนทหารไทย จำ�กัด

เมื่อพูดถึงการลงทุน คงเลี่ยงไม่ได้ที่นกั ลงทุนจะคิดถึงตราสารหนี้ เพราะตราสารหนี้เป็นสินทรัพย์ที่มีความส�ำคัญยิ่งในพอร์ต การลงทุน ทั้งในแง่การสร้างผลตอบแทนได้อย่างสม�ำ่ เสมอ และในแง่ที่เหมือนเป็นกองหลังที่ช่วยรักษาความมั่งคั่งในยามวิกฤต แต่ในหลายปีทผ ี่ า่ นมาแนวโน้มของอัตราดอกเบีย้ อยูใ่ นขาลงทัว่ โลก โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมหลักทีธ่ นาคารกลางทัง้ ลดอัตราดอกเบีย้ นโยบาย และอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างท่วมท้น ซึ่งได้สร้างผลกระทบต่อผู้ออมเงินทั่วโลก เพราะต้องแสวงหารูปแบบ การลงทุนใหม่ ๆ เพื่อที่จะเพิ่มผลตอบแทน จนในช่วงปลายปีที่แล้ว ถึงกับมีนกั วิเคราะห์บางท่านคาดการณ์ว่าจะมีเงินไหลออกจากตลาด ตราสารหนี้เป็นจ�ำนวนมาก อย่างไรก็ดีเมื่อผ่านไปหนึง่ ไตรมาส ข้อมูลตลาดเงินยังคงบ่งชี้ว่า ยังมีปริมาณเงินจ�ำนวนมากไหลเข้าตลาด ตราสารหนี้อยู่ จึงเกิดค�ำถามในใจนักลงทุนจ�ำนวนหนึง่ ว่า ถึงแม้ดอกเบี้ยจะอยู่ระดับต�่ำติดดิน ท�ำไมยังคงมีคนมาลงทุนในตลาดนี้อยู่ และเขาสร้างผลตอบแทนกันได้อย่างไร BORDERLESS 33


หนึ่ ง ในเหตุ ผ ลที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ที่ ท� ำ ให้ นักลงทุนยังคงลงทุนในตราสารหนี้ คือ การ ลงทุ น ในตราสารหนี้ เ ป็ น การลงทุ น ที่ ใ ห้ ผ ล ตอบแทนดีที่สุดต่อความเสี่ยง ถึงแม้ว่าทิศทาง อั ต ราดอกเบี้ ย จะเป็ น ขาขึ้ น หรื อ ขาลงก็ ต าม ตราสารหนีเ้ ป็นตัวช่วยให้อตั ราผลตอบแทนของ พอร์ตฯ นิง่ ขึน้ เนือ่ งจากการลงทุนในตราสารหนี้ มีความเสีย่ งทีต่ ำ�่ และให้ผลตอบแทนทีด่ ใี นยาม ที่ตลาดหุ้นผันผวน ค�ำถามต่อมา ก็คือ มีวิธีใด ที่จะเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนในตราสารหนี้ โดยหากดูที่ปัจจัยที่สร้างผลตอบแทนของ ตราสารหนีใ้ นประเทศ จะพบว่า มี 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ดอกเบี้ยส่วนเพิ่ม จากการให้สินเชื่อ (เครดิต) ดอกเบี้ยส่วนเพิ่ม ตามอายุของตราสาร ซึ่งจากสภาพตลาดใน ปัจจุบนั มีนกั ลงทุนจ�ำนวนมากต้องการแสวงหา ผลตอบแทนทีเ่ พิม่ ขึน้ จากอัตราดอกเบีย้ ทีอ่ ยูใ่ น ระดับต�่ำ ดังนั้น ตัวเลือกแรกที่นักลงทุนท�ำคือ 34 BORDERLESS

การลงทุนในตราสารที่คุณภาพดีที่มีอายุยาว ขึ้น จนส่งผลให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย ระยะสัน้ และระยะยาวมีไม่มากนัก ซึง่ การลงทุน ดังกล่าวมีความเสี่ยงแฝงอยู่ คือ เมื่อเศรษฐกิจ โลกเริ่มปรับตัวดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยก็มักปรับ ตัวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้มูลค่า ของตราสารหนีป้ รับตัวลดลง เนือ่ งจากส่วนต่าง ดอกเบี้ย ณ วันที่เริ่มลงทุนมีไม่มากพอที่จะ ชดเชยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตรา ดอกเบี้ยดังกล่าว อีกทางเลือกหนึ่งคือการลงทุนในหุ้นกู้ที่ มีคุณภาพด้อยลงมาสักนิด เพื่อเพิ่มดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยทรงตัว อยูใ่ นระดับต�ำ่ ส่งผลให้การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ท�ำได้ไม่ยากนัก เพราะทุกคนต่างก็แสวงหา ผลตอบแทนที่ สู ง ขึ้ น และบางครั้ ง ก็ ย อมรั บ กับอัตราดอกเบี้ยที่ต�่ำลงจากเดิม สุดท้ายแล้ว ผลจากการลงทุนทั้งสองแบบจะน�ำมาสู่การที่


นั ก ลงทุ น มี แ นวโน้ ม เข้ า ไปลงทุ น ในตราสาร ที่มีอายุยาวนานและมีคุณภาพไม่ดีนัก โดยเรา มองว่าเป็นการลงทุนทีม่ คี วามเสีย่ งสูง และอาจ ได้ไม่คมุ้ เสีย เมือ่ ไม่ได้ตดิ ตามวิเคราะห์แนวโน้ม เครดิตอย่างต่อเนื่อง จะเห็ น ว่ า การลงทุ น เฉพาะตราสารหนี้ ในประเทศนั้น อาจส่งผลให้นักลงทุนแบกรับ ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หรือความเสี่ยง ด้านเครดิตมากเกินไป ในระยะหลังกองทุน ตราสารหนี้ต่าง ๆ ทั่วโลก ได้ให้ความส�ำคัญ กับการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น ด้านหนึ่ง ก็ เ พื่ อ กระจายความเสี่ ย ง และอี ก ด้ า นหนึ่ ง ก็เพื่อเพิ่มผลตอบแทน โดยเฉพาะด้านอัตรา แลกเปลี่ยน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต�่ำมาก ในประเทศเศรษฐกิจหลักทั้ง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น อีกทั้ง ธนาคารกลาง ยังคงอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ ระบบการเงินโลก และยังไม่มีแนวโน้มจะหยุด ลงในเร็ววัน ท�ำให้นักลงทุนมีมุมมองต่อการ อ่อนค่าลงของสกุลเงินหลัก หรือบ้างก็พูดถึง การท�ำสงครามค่าเงิน หรืออีกนัยหนึ่งคือการ แข่งกันท�ำให้ค่าเงินตัวเองอ่อนค่าลง ดังนั้น ใน โลกการลงทุนตราสารหนี้วันนี้ ส่วนต่างอัตรา ดอกเบี้ยในตลาดโลกจึงเข้ามามีบทบาทส�ำคัญ ในการตัดสินใจลงทุนมากขึ้น ซึ่งกองทุนหนึ่งที่ ตอบโจทย์โอกาสในการลงทุนในลักษณะนี้ได้ดี ก็คือ ‘กองทุนเปิดทหารไทย Global Bond Fund’ ‘กองทุนเปิดทหารไทย Global Bond Fund’ เป็นกองทุนรวมประเภท Feeder Fund ที่ลงทุนในกองทุน Templeton Global Bond Fund เพราะว่าเป็นกองทุนที่มีผลการด�ำเนิน งานที่ดีและค่อนข้างสม�่ำเสมอ มีนโยบายการ ลงทุนที่เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ทั้ง ที่เป็นสกุลเงินหลักและสกุลเงินท้องถิ่น โดย มีการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนโดย อาศัยปัจจัยพื้นฐานของประเทศที่ลงทุนในการ ตัดสินใจ จุดเด่นของกองทุน Templeton Global Bond Fund มีรายละเอียดดังนี้ คุ ณ ภาพตราสารอยู ่ ใ นระดั บ สู ง กองทุน Templeton Global Bond Fund มุง่ สร้าง ผลตอบแทนรวมสูงสุดจากการลงทุนในพอร์ต การลงทุนของตราสารหนีท้ อี่ อกโดยรัฐบาลและ องค์กรทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกับรัฐบาล และสกุลเงิน ต่าง ๆ ทัง้ ในตลาดทีพ่ ฒ ั นาแล้วและตลาดเกิดใหม่ คัดสรรการลงทุนจากทั่วโลก ตลาด การเงิ น และสกุ ล เงิ น ทั่ ว โลกโดยปกติ แ ล้ ว ให้ โอกาสแก่นักลงทุนในเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อที่ จะรับผลประโยชน์ของโอกาสเหล่านี้ Templeton

• •

Global Bond Fund ใช้กลยุทธ์การลงทุนที่มี ความยืดหยุ่น เพื่อค้นหาแหล่งของรายได้ การ เพิ่มค่าของสินทรัพย์ และการเพิ่มค่าของสกุล เงินต่าง ๆ ที่ดีที่สุดจากทั่วโลก ที ม งานที่ มี ข นาดใหญ่ แ ละมี ค วาม เชี่ยวชาญในตราสารหนี้ทุกประเภท ส่วนงาน บริหารตราสารหนี้ของ Franklin Templeton มีบคุ ลากรมืออาชีพด้านการลงทุนในตราสารหนี้ กว่ า 140 ท่ า นกระจายอยู ่ ทั่ ว โลก และมี ทรัพยากรที่ส�ำคัญในการบริหารตราสารหนี้ Sector หลักต่าง ๆ ผูจ้ ดั การกองทุน Dr.Michael Hasenstab เป็นสมาชิกอาวุโสของส่วนงาน บริหารตราสารหนี้ของ Franklin Templeton และมีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ได้รับรางวัลด้านผลการด�ำเนินการ กองทุนยังได้รับการจัดอันดับกองทุนที่ระดับ Platinum/V5 จาก Standard & Poor’s และ ผลการจัดกองทุนโดย Morningstar ที่ระดับ 5 ดาว แสดงถึงความสามารถในการสร้างผล ตอบแทนอย่างสม�่ำเสมอของกองทุน

ผู้จัดการกองทุนของกองทุน Templeton Global Bond Fund มองว่าการใช้นโยบาย รั ฐ แบบผ่ อ นคลายเป็ น พิ เ ศษของประเทศ อุตสาหกรรมหลักอาจส่งผลกระทบระยะยาว ต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น การเกิดภาวะฟอง สบู่ และการปรับเพิ่มของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นต้น กองทุนจึงวางกลยุทธ์ในการป้องกัน การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย แต่ในอีกด้าน หนึ่ง การที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในระดับต�่ำ ได้เปิดโอกาสให้ประเทศก�ำลังพัฒนาสามารถ เข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต�่ำได้ และมีหลาย ประเทศที่ ใ ช้ โ อกาสนี้ ใ นการลงทุ น เพื่ อ เสริ ม ความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว และ สิง่ หนึง่ ทีจ่ ะตามมา คือโอกาสในการแข็งค่าของ เงินในระยะยาว

BORDERLESS 35


ปัจจุบัน กองทุน Templeton Global Bond Fund ได้วางกลยุทธ์การลงทุนที่เน้นการ ถือครองตราสารระยะสั้น และหาโอกาสใน การหาผลตอบแทนจากการลงทุนจากสกุลเงิน ของประเทศที่มีปัจจัยพื้นฐานดีที่สนับสนุนให้ ค่ า เงิ น มี แ นวโน้ ม แข็ ง ค่ า ขึ้ น ในอนาคต โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม กองทุนลงทุนในตราสาร หนีม้ อี ายุคงเหลือเฉลี่ยที่ 1.54 ปี โดยมีอัตรา ผลตอบแทนของตราสารเฉลี่ยที่ร้อยละ 3.77

ต่อปี โดยใน 5 ปีที่ผ่านมากองทุนหลักสามารถ สร้างผลการด�ำเนินงานได้ร้อยละ 52.29 หรือ คิดเป็นร้อยละ 8.78 ต่อปี นอกจากนี้ ‘กองทุนเปิดทหารไทย Global Bond Fund’ ที่ บ ริ ห ารจั ด การโดย บลจ. ทหารไทยนั้น ยังได้ท�ำการป้องกันความเสี่ยง ต่อการแข็งค่าของค่าเงินบาท ซึ่งเป็นตัวช่วย สร้ า งผลตอบแทนจากการลงทุ น เพิ่ ม เติ ม ได้ เนื่องจากค่าเงินบาทในตลาดซื้อขายเงินตรา

ล่วงหน้า ได้สะท้อนถึงดอกเบี้ยที่เกิดจากอัตรา ดอกเบี้ยในรูปเงินบาท ซึ่งเมื่อหักลบกับอัตรา ดอกเบี้ยในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ (ซึ่งดอกเบี้ย อยูใ่ นระดับทีต่ ำ�่ มาก) จะท�ำให้นกั ลงทุนเสมือน ได้ดอกเบี้ยในรูปเงินบาทเพิ่มเติมนอกเหนือ จากผลการด�ำเนินงานของกองทุน Templeton Global Bond Fund อีกชั้นหนึ่ง

ผลตอบแทนจากการลงทุน ณ 29 มีนาคม 56

ย้อนหลัง 3 เดือน 28 ธ.ค. 55

ย้อนหลัง 6 เดือน 28 ก.ย. 55

ย้อนหลัง 1 ปี 30 มี.ค. 55

นับตั้งแต่ จัดตั้งกองทุน

TMB Global Bond Fund

+1.92%

+5.85%

+10.41%

+23.88%2

เกณฑ์มาตรฐาน1

-5.97%

-7.97%

-4.36%

+1.62%2

TMB Global Bond Fund Dividend Fund

+1.90%

+5.89%

+10.39%

+12.99%3

เกณฑ์มาตรฐาน1

-5.97%

-7.97%

-4.36%

-1.98%3

TMB Global Bond RMF

+1.68%

+5.42%

+9.54%

+14.33%4

เกณฑ์มาตรฐาน1

-5.97%

-7.97%

-4.36%

+3.19%4

ดัชนี JP Morgan Global Government Bond Index (สกุลเงินบาท) ตั้งแต่ 14 ก.ค. 53, 3 ตั้งแต่ 8 ส.ค. 54, 4 ตั้งแต่ 7 ก.พ. 54

1

2

36 BORDERLESS


 All About Trade

เรื่อง : คุณกิติศักดิ์ ทวีศักดิ์ ที่ปรึกษาด้านธุรกิจการค้าต่างประเทศ TMB

สวัสดีครับทุกท่าน ฉบับนี้ผมขอ อนุญาตเล่าเรือ่ งทีไ่ ด้ฟงั มาจากการ บรรยายของวิทยากร ICC, Paris เรื่อง ISBP (International Standard Banking Practices, ICC publication no. 745 และ เรือ่ ง BPO (Bank Payment Obligation, ICC publication no. 750) เมื่อปลาย เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา

เรื่องแรกเป็นเรื่องของ ISBP หรือ วิธีปฏิบัติของธนาคารอันเป็นมาตรฐานสากลที่ผมเคยเรียนให้ ทราบว่าคณะกรรมการธนาคารของหอการค้านานาชาติ อยู่ในระหว่างการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขวิธี ปฏิบตั ฉิ บับหมายเลข 681 ทีใ่ ช้มาตัง้ แต่ปี 2007 ในขณะนีว้ ธิ ปี ฏิบตั ชิ ดุ ใหม่สำ� เร็จลงแล้ว และหอการค้าฯ ให้มีผลบังคับใช้ควบคู่ไปกับ UCP600 ตั้งแต่วันที่ที่ประชุมลงมติรับเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา ดังนั้นผู้ส่งออกที่ได้รับ LC และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในเครดิตฉบับนั้น ก็สามารถใช้วิธีปฏิบัติฉบับใหม่นี้ได้ ทันที อย่างไรก็ตามวิธีปฏิบัติชุดใหม่เพิ่งจะตีพิมพ์เสร็จเมื่อปลายเดือนมิถุนายนนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าเริ่ม ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2556 เป็นต้นไป

BORDERLESS 37


วิธีปฏิบัติชุดใหม่นี้มีเนื้อหา 291 ย่อหน้าเทียบ กับจ�ำนวน 185 ย่อหน้าของฉบับเดิม ส่วนที่เพิ่มขึ้น มาเป็นเรื่องเกี่ยวกับเอกสารการขนส่งทางทะเลที่โอน เปลี่ยนมือไม่ได้ (NN Sea Waybill) ใบแสดงรายการ บรรจุหีบห่อ ประกาศหรือใบรับรองนอกจากนี้ยัง ครอบคลุมถึงการเปลีย่ นแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น ด้าน โครงสร้างของภาษาทีใ่ ช้ เช่น ถอดค�ำว่า ต้อง (must) ออก เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่าเป็นเพียงวิธี ปฏิบตั ิ (practices) ไม่ใช่กติกาหรือกฎทีจ่ ะต้องปฏิบตั ิ ตาม และถอดค�ำว่า เป็นทีย่ อมรับได้ (is acceptable) หรือ ไม่ถือว่าเป็นข้อผิดพลาด (not a discrepancy) ออกเพราะธนาคารผู้ตรวจเอกสารจะเป็นผู้ตัดสินใจ ว่าเอกสารใดยอมรับได้ไม่ใช่ตัววิธีปฏิบัติ ในส่วนของ การเปลีย่ นแปลงด้านอืน่ ท่านผูส้ ง่ ออกคงจะต้องศึกษา จากตัววิธีปฏิบัติ ISBP 745 หรือจะโทรศัพท์มาถาม เจ้าหน้าที่ในฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องก็ได้ เรือ่ งทีส่ องเป็นเรือ่ งของ BPO (Bank Payment Obligation) ซึ่งผมขอเรียกว่า ภาระผูกพันการช�ำระ เงินของธนาคาร ไปก่อน ทางหอการค้าฯ ถือว่า เป็นวิธีการช�ำระเงินแบบใหม่ (a new method of payment) ที่เข้ามาท�ำให้ผู้ขายสินค้าแบบเงินเชื่อ (open account) มีความมัน่ ใจว่าจะได้รบั เงินค่าสินค้า จากธนาคาร แทนที่จะเป็นผู้ซื้อคล้ายกับหลักการ ของ LC เพียงแต่วิธีใหม่นี้ไม่มีการเปิด LC และการ ตรวจเอกสารอย่างเข้มงวด แต่จะใช้การจับคู่ของ ความส�ำคัญ ๆ (Data Match) ของใบสั่งซื้อ กับใบ ก�ำกับสินค้าและเอกสารการขนส่งที่อยู่ในระบบแทน สามารถสรุปขั้นตอนคร่าว ๆ ของ BPO ได้ดังนี้ครับ ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกันที่จะใช้ BPO เป็นวิธี ช�ำระเงินแบบทันทีหรือแบบช�ำระในอนาคตก็ได้ ผู้ซื้อยื่นใบสั่งซื้อให้ธนาคารของตนที่ท�ำหน้าที่ เป็นธนาคารผู้สัญญาจะช�ำระเงิน (Obligor Bank) เพื่อให้ธนาคารนั้นส่งเป็นข้อมูลส�ำคัญ (Baseline) ให้ระบบจับคู่ข้อมูลการค้า (TMA: Trade Matching Application) บันทึกข้อมูล ขณะเดี ย วกั น ผู ้ ข ายก็ จ ะส่ ง ใบสั่ ง ซื้ อ รายการ เดี ย วกั น ไปให้ ธ นาคารของผู ้ ข ายที่ ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็ น ธนาคารผู้รับเงิน (Recipient Bank) เพื่อส่งข้อมูล ไปให้ระบบจับคู่ข้อมูลการค้า (TMA) บันทึกข้อมูล ระบบ TMA จะตรวจสอบและจับคู่ข้อมูลของ ธนาคารผู้ขายและผู้ซื้อ ถ้าข้อมูลตรงกันระบบจะส่ง รายงานยืนยันข้อมูลส�ำคัญให้ธนาคารของผู้ซื้อผู้ขาย เมื่อถึงตอนนี้ถือว่าสัญญาจะช�ำระเงินของธนาคาร BPO เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าระบบตรวจสอบแล้วมีข้อมูล ไม่ ต รงกั น ก็ จ ะส่ ง รายงานข้ อ มู ล ไม่ ต รงกั น ไปให้ ธนาคารตรวจสอบแก้ไข หรือเปลี่ยนข้อมูลแล้วส่ง กลับไปให้ระบบตรวจสอบอีกจนกว่าระบบจะจับคู่ได้ 38 BORDERLESS

จากนั้นผู้ขายจะส่งสินค้าแล้วยื่นเอกสารใบก�ำกับสินค้าและเอกสารขนส่งให้ธนาคาร ผู้รับเงินส่งข้อมูลต่อไปให้ระบบ TMA เพื่อตรวจสอบ ระบบ TMA จะจับคู่ข้อมูลของใบก�ำกับสินค้าและเอกสารการขนส่งกับข้อมูลส�ำคัญที่ มีอยู่ หากข้อมูลถูกต้องจับคู่กันได้ ระบบจะส่งรายงานยืนยันข้อมูลไปให้ธนาคาร เมื่อนั้นจะ ถือว่าสัญญาจะช�ำระเงินของธนาคารมีผลบังคับใช้ (BPO is due) แต่ถ้าไม่สามารถจับคู่ได้ ระบบก็จะส่งรายงานข้อมูลไม่ตรงกันให้ธนาคารผู้สัญญาจะช�ำระเงินพิจารณาว่าจะยอมรับ หรือปฏิเสธ ซึ่งธนาคารของผู้ซื้อก็จะส่งค�ำตอบรับหรือปฏิเสธไปยังระบบเพื่อแจ้งธนาคาร ผู้รับเงินต่อไป ในกรณีที่ข้อมูลถูกต้อง ธนาคารผู้สัญญาจะช�ำระเงินจะด�ำเนินการช�ำระเงินแบบทันที หรือรอที่จะช�ำระเงินในอนาคตให้แก่ธนาคารผู้รับเงินตามวิธีที่ตกลงกัน ไม่เกี่ยวกับ BPO จากขั้นตอนที่กล่าวมาจะเห็นว่าวิธีช�ำระเงินแบบใหม่นี้ไม่ยุ่งยาก และอาจจะลดค่าใช้ จ่ายของผู้ซื้อในการเปิด standby letter of credit เพื่อค�ำ้ ประกันการช�ำระเงินค่าสินค้าแบบ ขายเชื่อ แต่ผู้ซื้อก็ยังมีค่าใช้จ่ายในการช�ำระเงินแต่ละครั้ง นอกเหนือจากค่าใช้บริการ BPO ในแต่ละสัญญา และเนื่องจากหลักการของ BPO เป็นการจับคู่ข้อมูลในรูปอิเล็กทรอนิกส์ ธนาคารที่จะเข้ามาให้บริการจะต้องมีระบบที่เชื่อมต่อกับระบบ TMA ได้ เช่นระบบ TSU: Trade Service Utility ของ SWIFT เป็นฐานรองรับซึ่งธนาคารจะต้องเป็นสมาชิกก่อนให้ บริการ ในปัจจุบันนี้จึงมีธนาคารจ�ำนวนไม่น้อยที่ให้บริการ BPO ส�ำหรับฉบับนี้ขอรายงาน ความเปลี่ยนแปลงใหม่อย่างย่อ ๆ ให้ทราบเพียงเท่านี้ พบกันใหม่ฉบับหน้า สวัสดีครับ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ท่านสามารถส่งข้อสงสัยมาได้ที่ kittisakaey@yahoo.com


 TMB

Movement

ระยะการวาง Blue างหนักก่อนเวลาเริม แม้วา่ ฝนจะเทลงมาอย่ ่ งาน C100 M44 ไม่นาน แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคส�ำหรับผู้ประกอบการ กว่า 800 ราย ที่มาร่Red วมงานสัมมนา ‘Borderless On Stage ตอน ธุรกิจM100 ไทยจัY81 ดทัพK…4 สร้างฮับ AEC’ ที่ธนาคารทหารไทย (TMB) จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 13 มิถุนายน และก็ไม่ท�ำให้ผิดหวัง เพราะผู้เข้าร่วม สัม มนาในวัน นั้นได้รับทั้ งมุม มองและยุท ธศาสตร์ เพื่อรับมือกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)

เตรียมพร้อมรับการเติบโต

“ประเทศไทยมี ศั ก ยภาพและมี ค วามพร้ อ ม ที่ สุ ด ที่ จ ะเป็ น ศู น ย์ ก ลางของประชาคมเศรษฐกิ จ อาเซียน เพราะได้เปรียบทั้งด้านที่ตั้งของประเทศ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และโครงสร้างพื้นฐาน ทางเศรษฐกิจ สาธารณูปโภค การขนส่ง” บุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TMB กล่าวใน การเปิดงานสัมมนา ดั ง นั้ น นอกจากการส่ ง เสริ ม ให้ ธุ ร กิ จ ออกไป ลงทุนในต่างประเทศแล้ว ทุกภาคส่วนยังควรเร่ง สนับสนุนให้ผู้ประกอบการในประเทศปรับตัวและ เตรียมความพร้อมรับมือกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่จะ เข้ามา เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันที่มีอยู่ และเดินน�ำหน้าอย่างมั่นคงต่อไป พร้ อ มทั้ ง ระบุ ว ่ า ภาครั ฐ ได้ ด� ำ เนิ น การเพื่ อ สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางของประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงด้านภาษี ที่เกี่ยวข้อง และการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งหากท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดต้นทุน ด้านโลจิสติกส์ลงได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการเองก็ต้องปรับ ตัวด้วยเช่นกัน โดย บุญทักษ์ แนะน�ำการปรับกลยุทธ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับธุรกิจด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ดังนั้น 1. สร้างนวัตกรรม “ปั จ จุ บั น ค่ า ใช้ จ ่ า ยด้ า นการวิ จั ย และพั ฒ นาของ ประเทศไทย อยู่ที่ 0.25% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม ประชาชาติ (GDP) เท่านัน้ ขณะทีเ่ กาหลีใต้มคี า่ ใช้จา่ ย ด้านนี้ 3.74% และญี่ปุ่นมีเกือบ 4%” 2. ค�ำนึงถึงสิ่งแวดล้อม “ทั่วโลกให้ความส�ำคัญกับธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ ต่ อ สิ่ ง แวดล้ อ มมากขึ้ น เพราะฉะนั้ น สิ น ค้ า ที่ ติ ด ฉลากลดคาร์บอน (Carbon footprint) จะได้รับ การยอมรับ”

3. การเชื่อมโยงระหว่างกัน “ต้องเน้นอุตสาหกรรมที่สร้างความเชื่อมโยง เช่น อุ ต สาหกรรมยานยนต์ ซึ่ ง ประเทศไทยสามารถ ยกระดับเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ของ อาเซียนได้ รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่ ไทยสามารถเชื่อมโยงกับประเทศอื่น ๆ โดยการส่ง ผ่านนักท่องเที่ยว” 4. เพิ่มประสิทธิภาพ “ผู้ประกอบการไทยควรจะเพิ่มประสิทธิภาพในการ ผลิต สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ และพัฒนา ศักยภาพแรงงานและการออกแบบสินค้า” บุญทักษ์ กล่าวในตอนท้ายว่า หากผู้ประกอบ การไทยสามารถพัฒนาตาม 4 ยุทธศาสตร์นี้แล้ว เชื่อว่า ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจอาเซียน ที่แข็งแกร่ง และผู้ประกอบการจะได้ประโยชน์จาก การเข้าสู่ AEC ในขณะที่ TMB พร้อมจะสนับสนุน ผู้ประกอบการให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

ตั้งรับอย่างมีสติ

สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ ‘จุดยุทธศาสตร์ส�ำคัญใน เวลาการค้าอาเซียน’ โดยระบุวา่ ประเทศไทยมีความ ได้เปรียบประเทศอืน่ ๆ ในหลาย ๆ ด้าน เพราะฉะนัน้ ประเทศไทยน่าจะได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ AEC ถ้าคนไทยมีการเตรียมตัวให้พร้อม “สิ่งที่ต้องท�ำเป็นอย่างแรก คือ การตั้งรับอย่าง มีสติ เตรียมความพร้อม อย่าตื่นตระหนก และหัน หน้าเข้าหากันในการจัดทัพ เพื่อสร้างฮับ AEC แต่ ในเวลานี้คนไทยตื่นตัวในการรับมือ AEC แล้ว แต่ เป็นการตื่นแบบตระหนกมากกว่าการตื่นอย่างมีสติ ต้องเข้าใจโอกาสที่จะเกิดขึ้น กลไก และสิ่งท้าทายที่ จะเข้ามาให้มาก” อดีตเลขาธิการอาเซียน ยังกล่าวอีกว่า ในเวลานี้ ทุกประเทศเชื่อมต่อถึงกันหมด ซึ่งไม่ใช่เฉพาะจาก การเข้าสู่ AEC แต่เป็นเพราะโลกาภิวัตน์ ที่ท�ำให้ทุก แห่งในประเทศไทยอยูใ่ กล้กบั ชายแดน เพราะการท�ำ ธุรกิจในปัจจุบันไม่มีพรมแดน “เพราะฉะนั้ น ปั จ จั ย ที่ ท� ำ ให้ ผู ้ ป ระกอบการ อยู่รอด จะต้องมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องมาพร้อม กับนวัตกรรม โดยที่ผู้ประกอบการจะต้องลงทุนเพื่อ ค้นคว้า วิจัย ของตัวเอง เพราะผู้ประกอบการ หรือ SME ที่มั่นคงจะต้องผลิตด้วยสิทธิบัตรของตัวเอง มี ก ระบวนการผลิ ต ของตั ว เอง ต้ อ งมี อ ะไรที่ เ ป็ น ลักษณะเฉพาะของไทย มีอะไรเป็นพิเศษ ถ้าไม่พเิ ศษ คงจะอยู่ได้ยาก”

พร้อมกันนี้ อดีตเลขาธิการอาเซียน เสนอให้ ภาครัฐสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีการลงทุนเพื่อ พัฒนาด้านนวัตกรรม เช่น การลดภาษี หรือ ยกเว้น ภาษีให้กับบริษัทที่มีการลงทุนและผลิตสินค้าที่เกิด จากการค้นคว้าวิจยั ของบริษทั เอง เพือ่ ส่งเสริมให้เกิด การพัฒนาสินค้าและกระบวนการผลิต “เราอยูเ่ ฉย ๆ ไม่ได้ เพราะสิง่ มีชวี ติ ทีไ่ ม่ปรับตัว ตามสภาพแวดล้อมก็จะตาย หรือเรียกว่า เป็นธุรกิจ กาลาปากอส เหมือนกับผู้ผลิตโทรศัพท์เคลื่อนที่ใน ญีป่ นุ่ ทีเ่ มือ่ 3-4 ปีทแี่ ล้วไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ ท�ำให้ในที่สุดพัฒนาไม่ทัน สู้ผู้ผลิตประเทศอื่นไม่ได้ ซึง่ เราจะปล่อยให้ SME กลายเป็นธุรกิจกาลาปากอส ไม่ได้ ต้องปรับพร้อมรับความท้าทายที่จะมาถึง”

นวัตกรรมสร้างได้

ขณะที่ เบญจรงค์ สุวรรณคีรี เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วเิ คราะห์เศรษฐกิจ TMB กล่าวว่า กลยุทธ์ในการ ปรับตัวต้อนรับ AEC ของผูป้ ระกอบการไทย ในขณะนี้ มีอยู่ 2 ทาง คือ 1. หากมีความพร้อม สามารถออกไปด�ำเนิน ธุรกิจในต่างประเทศได้ เพือ่ รับประโยชน์จากการเปิด AEC 2. หากไม่มีความพร้อม จะต้องปรับตัวเตรียม พร้อมรับกับธุรกิจที่จะเข้ามาในประเทศ “ผูป้ ระกอบการรูอ้ ยูแ่ ล้วว่า ต้องปรับตัวอย่างไร บ้าง จะต้องสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้าหรือบริการ ของเราเอง ต้องมีนวัตกรรมใหม่ แต่คงไม่ใช่ทกุ บริษทั ทีจ่ ะสามารถลงทุนด้านการวิจยั และพัฒนาของตัวเอง ได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วการสร้างนวัตกรรมสามารถท�ำได้ หลายประเภท” BORDERLESS 39



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.