วารสารที่สร้างความเป็นได้และส่งเสริมศักยภาพของทุกธุรกิจในโลกไร้พรมแดน Vol.17 / OCTOBER-DECEMBER 2013
เจาะลึก
โอกาสธุรกิจไทย ในเวทีการค้า อาเซียน จากบทสัมภาษณ์พิเศษ
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ความส�ำคัญของ
ในโลกธุรกิจ
วารสารที่สร้างความเป็นได้และส่งเสริมศักยภาพของทุกธุรกิจในโลกไร้พรมแดน Vol.17 / OCTOBER-DECEMBER 2013
เจาะลึก
โอกาสธุรกิจไทย ในเวทีการค้า อาเซียน จากบทสัมภาษณ์พิเศษ
ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ความส�ำคัญของ
ในโลกธุรกิจ
Editor’s Talk ท่ามกลางการแข่งขันในโลกของธุรกิจที่รุนแรงขึ้น การที่องค์กรธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศชาติ จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีเสถียรภาพและเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น การวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เป็นเสมือนส่วนเสริมที่จะเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ ยิ่งประเทศ ที่ต้องการก้าวไกลในด้านเศรษฐกิจ ยิ่งต้องเร่งสร้างความได้เปรียบด้วยการทุ่มงบเพื่อส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากละเลยหรือไม่ให้ความส�ำคัญเท่าที่ควร ก็อาจเป็นอุปสรรค และท�ำให้เศรษฐกิจของประเทศชะงักงันลงได้ เพราะไม่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ และนวัตกรรมมาสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพเหนือกว่าประเทศอื่นได้ นิตยสาร Borderless ฉบับนี้ เล็งเห็นถึงความส�ำคัญดังกล่าวเป็นอย่างดี จึงน�ำเสนอมุมมองด้านการ ให้ความส�ำคัญของการวิจยั และพัฒนาทีม่ ผี ลต่ออนาคตเศรษฐกิจและการค้าในเวทีอาเซียนของประเทศไทย โดยมุ่งหวังให้ผู้ประกอบการภาคเอกชนปรับตัว ให้ความสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น เพื่อสร้างความได้เปรียบ ในการแข่งขันในสมรภูมิการค้าที่ทวีความร้อนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่วนคอลัมน์ Success Story ผู้อ่านจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ธุรกิจ หลักคิดอันล�ำ้ ค่า ตลอดจนกรณี ศึกษาเกี่ยวกับ R & D ที่ช่วยท�ำให้ธุรกิจประสบความส�ำเร็จได้ จากผู้บริหารบริษัทดังของไทยอย่างทียูเอฟ, พีซีเอส-นิสชิน และวิริยะกรุ๊ป ที่ล้วนแล้วแต่สามารถยึดเป็นแบบอย่างและน�ำไปปรับใช้ได้เป็นอย่างดี ขณะทีค่ อลัมน์ Reflection เสนอแนะไอเดียในการใช้ R & D ส�ำหรับ SMEs เพือ่ ตอบสนองพฤติกรรม และความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะผู้บริโภค Gen Y ส�ำหรับคอลัมน์ Efficiency Expertise เจาะลึกต่อเนื่องเกี่ยวกับ Lean Six Sigma พร้อมกันนี้ยังมี ไฮไลต์จากรายงานพิเศษบทความเรือ่ ง ‘ชีจ้ ดุ ยุทธศาสตร์สำ� คัญของไทยในเวทีการค้าอาเซียน’ ที่ ดร.สุรนิ ทร์ พิศสุวรรณ ได้แสดงทรรศนะไว้อย่างคมคาย นอกจากนี้ยังมีคอลัมน์ใหม่อย่าง Celebrity Biz, Hobby, Book Summary, Edutainment และ Indulging ที่จะช่วยเพิ่มสีสันและเติมเต็มรสชาติของนิตยสาร Borderless ให้กลมกล่อมมากขึ้น พร้อมเรื่ องราวที่ครบเครื่องทางธุรกิจ รวมถึงเกร็ดสาระที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งการด� ำเนินธุรกิจและ การด�ำเนินชีวิตของทุกคน
ใช้โทรศัพท์มือถือของท่าน สแกนเพื่อดาวน์โหลดวารสาร สนใจรับวารสาร TMB BORDERLESS กรุณาส่งที่อยู่ของท่านมาที่ bizsolution@tmbbank.com
ดาวน์โหลดได้ที่ Apple store ของ iOS และ Play store Android
บรรณาธิการบริหาร คุณปิติ ตัณฑเกษม คุณปพนธ์ มังคละธนะกุล กองบรรณาธิการ คุณวิทยา สินทราพรรณทร ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี คุณเชาวพัฒน์ เลิศวงศ์เสถียร คุณมยุรฉัตร ซื่อสัตย์สกุลชัย คุณวาทินี ณรงค์เกียรติคุณ คุณหนึ่งธิดา กุลเสวต คุณภัทรานิษฐ์ ไตรพิพัฒน์
Special Thanks l ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รองหัวหน้า พรรคประชาธิปัตย์, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตเลขาธิการอาเซียน l คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร บริษทั ไทยยูเนีย่ น โฟรเซ่น โปรดักส์ จ�ำกัด (มหาชน) l คุณอังกฤษ รุ่งโรจน์กิติยศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีซีเอส-นิสชิน จ�ำกัด l คุณธงชัย จิรอลงกรณ์ ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทวิริยะกรุ๊ป l คุณฉันทวิชช์ ธนะเสวี เจ้าของแบรนด์ Cup-T l คุณวนิดา เติมธนาภรณ์ เจ้าของแบรนด์ V-Aura l คุณปราสาท วิทยาภัทร์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเทลเลคท์ จ�ำกัด ออกแบบโดย บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย จ�ำกัด (มหาชน) 914 อาคารจีเอ็ม กรุ๊ป ถนนพระราม 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300 โทร. 02 241 8000 โทรสาร 02 243 9099
facebook fanpage TMB Borderless
CONTENTS Vol. 17 OCTOBER - DECEMBER 2013
005 Knowledge 006 Trend Watching 009 TMB Report สัญญาณอันตราย ต้องเร่งพัฒนา เพื่อยกระดับขีดความสามารถของไทย 012 Celebrity Biz กิ๊บซี่-วนิดา เติมธนาภรณ์ ปั้นธุรกิจความงามแบบดารา
เต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวี The (Cup) T-Shirt Man
006
014 Efficiency Expertise ‘lean six sigma’ เพื่อปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพ 016 Reflection วิจัยเพื่อพัฒนาฉบับ SMEs
019 Special Interview ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ชี้จุดยุทธศาสตร์ส�ำ คัญของไทย ในเวทีการค้าอาเซียน
012 013
BORDERLESS
03
CONTENTS 026 024
Vol. 17 OCTOBER - DECEMBER 2013
028
023 How to success Interview 024 TUF ยืนหยัดผู้น�ำ ด้วยนวัตกรรมและ R & D 026 วิริยะกรุ๊ป เติบโตต่อยอดผ่านบทเรียน 028 ‘พีซีเอส-นิสชิน’ พัฒนาองค์ความรู้ ต่อยอดสู่ความสำ�เร็จ
033 Book Summary
031 Leisure
034 Edutainment
032 Hobby เสน่ห์ BaselWorld ในมุมมองนักสะสมนาฬิกา
036 Indulging 039 TMB Movement
034
032
033
04 BORDERLESS
KNOWLEDGE Trend Watching TMB Report Celebrity Biz Efficiency Expertise Reflection Special Interview
เรือ่ ง : ไม้มว้ น
ญี่ปุ่นเฮ!! โอลิมปิกโตเกียว แม้จะต้องเสียน้ำ�ตาไปบ้าง หลังโดนคู่แข่งยกเรื่องสารกัมมันตรังสี ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะรั่วไหลจากเหตุสึนามิมาโจมตี แต่ในที่สุด ผลการตัดสินคัดเลือกเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2020 ก็สิ้นสุดลง พร้ อ มชั ย ชนะของกรุ ง โตเกี ย ว ญี่ ปุ่ น ที่ ไ ด้ รั บ เป็ น เจ้ า ภาพต่ อ จาก นครริ โ อเดอจาเนโร บราซิ ล โดยมี ชั ย เหนื อ อิ ส ตั น บู ล ประเทศตุ ร กี และมาดริด ประเทศสเปน โดย ‘ชินโสะ อาเบะ’ นายกรัฐมนตรีประเทศ ญี่ ปุ่ น กล่ า วขอบคุ ณ คณะกรรมการโอลิ ม ปิ ก สากล และประกาศว่ า ญี่ ปุ่ น จะจั ด การแข่ ง ขั น ให้ ย อดเยี่ ย มที่ สุ ด เพื่ อ เป็ น การตอบแทน คนทั้งโลกที่ช่วยเหลือในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่ผ่านๆ มาที่เกิดขึ้นกับ ประเทศญี่ปุ่น มี ร ายงานล่ า สุ ด ว่ า คณะกรรมการโอลิ ม ปิ ก ญี่ ปุ่ น (JOC) ได้แต่งตั้ง ‘โดราเอมอน’ ตัวการ์ตูนขวัญใจเด็กๆ ทั่วโลกหลายยุค หลายสมัย ขึ้นมาทำ�หน้าที่ ‘ทูตพิเศษ’ แล้ว โดยมีหน้าที่โปรโมต การจัดการแข่งขัน รายงานความคืบหน้าของทัวร์นาเมนต์ และหน้าที่ สำ�คัญคือ การดูดเงินจากกระเป๋าแฟนๆ ที่เดินทางไปชมโอลิมปิก เข้าประเทศ ด้ ว ยพลั ง ของแฟนคลั บ โดราเอมอนหลากสั ญ ชาติ ห ลายวั ย เชื่ อ ได้ ว่ า ‘แมวหุ่ น ยนต์ อั จ ฉริ ย ะสี ฟ้ า ’ ตั ว นี้ จ ะสร้ า งสี สั น และ รายได้ให้กับ ‘โตเกียว 2020’ ได้มากทีเดียว
เมืองดีทรอยต์ ล้มละลาย กับแผนการกู้วิกฤตครั้งนี้ ‘นครดีทรอยต์’ เมืองใหญ่ที่สุดในรัฐมิชิแกน ครัง้ หนึง่ เคยได้ชอื่ ว่า ‘The Motor City’ เปรียบ เหมือนเมืองหลวงของอุตสาหกรรมรถยนต์ของ สหรัฐฯ และเคยเป็นเมืองอุตสาหกรรมรถยนต์ แห่งใหญ่ทส่ี ดุ ของโลก แต่เมือ่ ไม่นานมานี้ ดีทรอยต์ ได้ ยื่ น ขอล้ ม ละลาย ด้ ว ยหนี้ ก้ อ นโตกว่ า 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 4.5 แสนล้าน บาท หลั ง จากประสบวิ ก ฤตการเงิ น มาตลอด หลายปี ทำ�ให้ดีทรอยต์กลายเป็นเมืองใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ ที่ยื่นขอความคุ้มครอง การล้มละลาย 006 BORDERLESS
เหตุ ผ ลที่ ทำ � ให้ ดี ท รอยต์ ล้ ม ละลายครั้ ง นี้ เป็ น เพราะภาวะเศรษฐกิ จ ถดถอย ในสหรัฐฯ เมื่อปี 2009 และการแข่งขันของค่ายรถยนต์นำ�เข้าจากญี่ปุ่น ซึ่งทำ�ให้ อุตสาหกรรมรถยนต์ของเมืองต้องขาดทุน ชาวดีทรอยต์จงึ อพยพไปหางานทีเ่ มืองอืน่ จากประชากร 1.8 ล้ า นคนในช่ ว งที่ เ มื อ งเฟื่ อ งฟู ลดลงเหลื อ เพี ย ง 7 แสนคน ในระยะหลัง บวกกับปัญหาการทุจริต และการบริหารงานผิดพลาดของรัฐบาลท้องถิน่ ที่ซ้ำ�เติมภาวะการเงินการคลังของเมืองให้ยิ่งตกต่ำ�ลง แผนการแก้วิกฤตของผู้บริหารเมืองดีทรอยต์ คงหนีไม่พ้นการปรับโครงสร้างหนี้ ระยะยาวด้วย ‘การรัดเข็มขัด’ เช่น การตัดลดสวัสดิการบำ�เหน็จบำ�นาญเจ้าหน้าที่รัฐ การปลดคนงาน ฯลฯ ไปถึงการบีบบังคับให้เจ้าหนี้ต้องยอมยกหนี้บางส่วน ฯลฯ พร้อมกับการปรับขึ้นภาษีในเมืองเพื่อเพิ่มรายได้ แต่ทั้งนี้ การแก้ปัญหาด้วยแนวทาง ดังกล่าวคงไม่ง่ายนัก เพราะจะต้องเผชิญกับการต่อต้านจากประชาชนและเจ้าหนี้ ต่าง ๆ รวมถึงผู้เสียประโยชน์อย่างแน่นอน สำ � หรั บ การแก้ วิ ก ฤตในระยะยาว ผู้ เชี่ ยวชาญหลายคนมองว่ า อนาคตของ นครดีทรอยต์แห่งนี้น่าจะขึ้นอยู่กับโอกาสในการปรับเปลี่ยนฐานการทำ�ธุรกิจจาก กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมไปสู่ธุรกิจด้านเทคโนโลยี
4 ทศวรรษหน้า
โลกจะแออัดและขาดแคลนอาหาร องค์ ก ารสหประชาชาติ (UN) เผยรายงานการศึ ก ษาและ วิจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม The World Economic and Social Survey ประจำ�ปี 2013 ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าภายใน อีก 37 ปีข้างหน้า ประชากรโลกอาจจะมีจำ�นวนสูงกว่า 9 พันล้าน คน และราว 2 ใน 3 หรือประมาณ 6.5 พันล้านคน จะอาศัยอยู่ ในเขตเมือง โดยเฉพาะในเอเชียและแอฟริกา รายงานนี้ระบุตัวเลขที่น่าตกใจว่า ปัจจุบัน มีผู้คน 1 ใน 8 คน ของประชากรโลกในปัจจุบันที่ยังคงประสบภาวะอดอยากซ้ำ�ซาก ขณะที่ข้อมูลอีกด้านระบุว่า ปัจจุบัน มีอาหารจากทั่วโลกที่เสีย ไปโดยเปล่าประโยชน์มากกว่าร้อยละ 32 และการผลิตอาหาร โดยรวมของโลกจำ�เป็นต้องเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 70 จึงจะสามารถ รองรับความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นกว่า 2.3 พันล้านคน ในอีกเกือบ 40 ปีข้างหน้า โดย UN แนะทางออกในการลดตัวเลขแห่งความเลวร้ายเหล่านี้ ว่ า ทำ � ได้ ด้ ว ยการเปลี่ ย นวิ ธี จั ด การห่ ว งโซ่ อ าหาร การจั ด เก็ บ การขนส่ง และที่สำ�คัญคือ การเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดย มิใช่แค่การบริโภคอาหาร แต่ยังหมายรวมถึงการใช้พลังงานและ ทรัพยากรอื่น ๆ
สถานการณ์ เ ลวร้ า ยดั ง กล่ า วจะยิ่ ง ถู ก ซ้ำ � เติ ม ด้ ว ยภาวะโลกร้ อ น โดยรายงานจาก ธนาคารโลก อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะ ทำ�ให้พืชพรรณธัญญาหาร เช่น ข้าวสาลี ข้าว ข้าวโพด และ ฯลฯ ประสบปัญหาในการปรับตัว คาดว่าในปี 2050 ประชากร 25-90% ในเขต ซับสะฮาราอาจขาดอาหาร และเขตเอเชียใต้ จะมีปริมาณน้�ำ ทีส่ ามารถดืม่ ได้ลดลงอย่างมาก เมื่อความเสี่ยงของโลกกำ�ลังเพิ่มสูงขึ้น และการแก้ไขปัญหาก็จำ�เป็นต้องลงมืออย่าง เร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความเลวร้าย ที่ สุ ด ของวิ ก ฤต โดยเวลาที่ จ ะต้ อ งลงมื อ ทำ � ก็คือตอนนี้เลย!
‘แกล็กโซ สมิทไคลน์’
ถูกสอบสวนในคดีติดสินบนแพทย์จีน
เมื่อไม่นานมานี้ จีนได้สร้างความฮือฮาให้กับ วงการธุรกิจข้ามชาติ ด้วยการรวบตัวผู้บริหารระดับ สูงของบริษัท แกล็กโซ สมิทไคลน์ (จีเอสเค) บริษัท ยาและเวชภั ณ ฑ์ ข้ า มชาติ ยั ก ษ์ ใ หญ่ จ ากอั ง กฤษ ในข้อหาติดสินบนเกือบ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือราว 1.5 หมื่นล้านบาท) ให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ แพทย์ และโรงพยาบาล เพื่อให้สั่งจ่ายยาของบริษัท จากรายงานของสือ่ จีน เจ้าหน้าทีท่ ตี่ ดิ สินบนมีทงั้ รองประธานบริษัท ผู้อำ�นวยการด้านกฎหมาย และ ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ และติดสินบนขนานใหญ่ ด้วยการจัดการเดินทางท่องเที่ยวให้ฟรี
ขณะที่สำ�นักข่าวซินหัวของจีนยังรายงาน ด้วยว่า จีเอสเคยังต้องสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการ ทุจริตภาษี ที่รวมถึงการรับเงินสดโดยการออก ใบกำ�กับยกเว้นภาษีมลู ค่าเพิม่ ปลอม รวมถึงสมรู้ ร่วมคิดกับบริษัทนำ�เที่ยวในการเขียนใบกำ�กับ ภาษีปลอม และออกใบกำ�กับภาษีปลอมเพื่อ หาเงินเข้ากระเป๋า ซึง่ เป็นเงินหมุนเวียนมหาศาล นอกจากนี้ ทางรัฐบาลจีนยังขยายผลตรวจสอบบริษทั ยาข้ามชาติอกี ร่วม 60 แห่ง พร้อมกับ เดินหน้าฟ้องร้องดำ�เนินคดีกับ บริษัท จอห์นสัน แอนด์จอห์นสัน (J&J) จากสหรัฐฯ กรณีละเมิด กฎการค้าด้วยการผูกขาดตลาด และยังมีกรณีที่ เจ้าหน้าที่จีนสั่งทำ�ลายขนมจาก ‘คราฟท์’ และ ช็อกโกแลตบาร์ของ ‘เนสท์เล่’ เนื่องจากมีส่วน ผสมของสารบางชนิดที่เกินกว่ามาตรฐานความ ปลอดภัย หรือการตรวจสอบสารในเนื้อไก่ของ เคเอฟซี เหตุการณ์ทัง้ หมดนีน้ บั เป็นความเคลือ่ นไหว ที่ นั ก วิ เ คราะห์ ส่ ว นใหญ่ เ ห็ น ว่ า เป็ น ไปตามที่ ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ได้ลั่นวาจาไว้ว่า จะลุย กวาดล้างการทุจริตคอร์รปั ชัน่ ทีก่ ดั กร่อนโครงสร้าง
การเมืองและเศรษฐกิจของจีนให้สิ้น หลายคน มองว่าการทีจ่ นี ลุกขึน้ มาปราบปรามคอร์รปั ชัน่ อย่างจริงจังขนาดนี้ นับเป็นประเด็นสำ�คัญที่ ต้องจับตามอง!
BORDERLESS
007
รัชทายาทองค์ใหม่อังกฤษ กระตุ้นธุรกิจสินค้าเด็ก
พระประสูติกาลของเจ้าชายน้อย จอร์จ อเล็กซานเดอร์ หลุยส์ แห่ง เคมบริดจ์ ขวัญใจพระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์อังกฤษ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ได้สร้างความสดใสคึกคักให้กับเศรษฐกิจอังกฤษเป็นอย่างมาก แม้จะเกิดขึน้ ภายในระยะเวลาสัน้ ๆ แต่นกั วิเคราะห์เชือ่ ว่า น่าจะสร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิ จ ได้ สู ง ถึ ง 245 ล้ า นปอนด์ หรื อ กว่ า 1.1 หมื่ น ล้ า นบาท เลยทีเดียว ทั้งนี้ แรงกระตุ้นโดยส่วนใหญ่จะมาจากภาคธุรกิจค้าปลีก ดังเห็นได้จาก การนำ�สินค้าหลากชนิดเกี่ยวกับของที่ระลึกมาจำ�หน่าย ตั้งแต่พวงกุญแจ ชุดเด็กทารก ไปจนถึงชาสำ�เร็จรูปทีผ่ ลิตออกมาเป็นรุน่ พิเศษ โดยนักวิเคราะห์ ระบุ ว่ า ธุ ร กิ จ ผลิ ต สิ น ค้ า เกี่ ย วกั บ ทารกและเด็ ก น่ า จะเป็ น ธุ ร กิ จ ที่ ไ ด้ รั บ ประโยชน์มากที่สุด อันเนื่องมาจากกระแสแห่ซื้อตาม ทั้งนี้เพราะอิทธิพล ของดัชเชสแห่งเคมบริดจ์ หรือเจ้าหญิงเคท ที่มีต่อวงการแฟชั่น จะทำ�ให้ ไม่ว่าพระองค์จะเลือกใช้เลือกซื้อสินค้ายี่ห้อใดให้กับพระโอรส บริษัทผู้ผลิต สินค้าเด็กยี่ห้อนั้นก็จะได้รับอานิสงส์ตามไปด้วย
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ยอดจำ�หน่ายที่นั่งนิรภัยสำ�หรับเด็กยี่ห้อไบรแท็กซ์ (Britax) ที่มีหูหิ้วคล้ายเปลแบบตะกร้า ซึ่งเจ้าชายวิลเลียมทรงเลือกใช้นำ�พระโอรส ออกจากโรงพยาบาลเซนต์แมรี มียอดจำ�หน่ายเฉพาะที่ร้านคิดดี้แคร์ ซูเปอร์สโตร์ สูงเป็น 3 เท่าภายในวันนั้น ศูนย์วิจัยค้าปลีก หรือ ซีอาร์อาร์ (Centre for Retail Research) ในกรุง ลอนดอน ประมาณการว่า ชาวอังกฤษจะใช้จ่ายเงินราว 87 ล้านปอนด์ เป็นการ ใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าเกี่ยวกับการจัดปาร์ตี้เพื่อเฉลิมฉลองให้กับเจ้าชายน้อยพระองค์ ใหม่ อีก 80 ล้านปอนด์ เป็นการซื้อสินค้าที่ระลึกและของเล่น และ 76 ล้านปอนด์ เพือ่ ซือ้ สือ่ ต่าง ๆ เช่น หนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และดีวดี ี เกีย่ วกับเจ้าชายจอร์จ
The Rise of New Middle Class ในแถบเอเชีย ในขณะที่ อ เมริ ก าและยุ โรปยั ง คงประสบ ปัญหาเศรษฐกิจ ภูมิภาคเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น จึงกลายเป็น ‘ดาวเด่น’ ในแง่ตัวเลขเศรษฐกิจ ที่เติบโตอย่างโดดเด่นด้วยพลังขับเคลื่อนของ ‘กลุ่มชนชั้นกลาง’ (Middle Class) ที่ขยาย ตั ว อย่ า งรวดเร็ ว ในทางกลั บ กั น เศรษฐกิ จ ที่
008 BORDERLESS
เติ บ โตอย่ า งรวดเร็ ว ก็ ก ระตุ้ น ให้ ก ลุ่ ม ชนชั้ น กลาง ในภูมิภาคนี้ยิ่งขยายตัวมากขึ้น จ า ก ก า ร ค า ด ก า ร ณ์ ข อ ง S i l k Ro a d Associates ระบุ ว่ า ชนชั้ น กลางในเอเชี ย กว่ า 500 ล้านคนมีรายได้สูงกว่า 5 พันเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี โดย 70% อยู่ในประเทศจีน ส่วนชาวเอเชีย
ที่มีรายได้กว่า 7,500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี มีราว 286 ล้านคน ส่วนประชากรเอเชียที่มีรายได้ต่อปีสูงกว่า 1 หมื่นเหรียญสหรัฐฯ มีสูงถึง 123 ล้านคน ส่ ว นใหญ่ ช นชั้ น กลางในเอเชี ย จะอาศั ย อยู่ ใ น เมืองใหญ่ทีม่ กี ารเติบโตทางเศรษฐกิจสูง เป็นกลุม่ คน ที่มีความต้องการที่มีความสลับซับซ้อน และมีความ ปรารถนาที่ จ ะบริ โ ภคหรื อ ใช้ ชี วิ ต เพื่ อ ตอบสนอง ไลฟ์สไตล์ด้านต่าง ๆ บนพื้นฐานความเข้าใจที่ว่า ‘รสนิยมซื้อหาได้ด้วยเงิน’ สิ่งที่น่าสนใจคือ ยังมีคนอีกกลุ่มที่เป็นกลุ่มคนที่ มีรายได้ ‘น้อย’ แต่คดิ หรือทำ�ตัวคล้ายกับชนชัน้ กลาง เรียกว่า ‘Virtual middle class’ หรือ ‘ชนชัน้ กลาง เสมือนจริง’ บางคนอาจเรียก ‘คนชั้นกลางระดับล่าง’ ขณะที่มิติเศรษฐกิจเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ‘ชนชั้นกลาง รุ่นใหม่’ เชื่อกันว่า ชนชั้นกลางรุ่นใหม่ในจีนและอินเดีย มีจำ�นวนมากพอกับชนชั้นกลางจริง ส่วนชนชั้นกลาง ระดั บ ล่ า งของไทยอาจมี ม ากกว่ า คนชั้ น กลางจริ ง แต่แม้จะเป็นชนชั้นกลางเสมือน คนกลุ่มนี้ก็มีส่วน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไม่น้อย เพราะคนกลุ่ม นี้รับเอาลัทธิ ‘บริโภคนิยม’ ของชนชั้นกลางเดิมไป อย่างเต็มที่ โดยลักษณะการใช้จ่ายเป็นแบบผ่อนส่ง บนความคิดเห็นที่ว่าการมีหนี้พอกพูนเป็นเรื่องปกติ
ห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี TMB Report เรือ่ ง : ศูนย์วเิ คราะ
ัสญญาณอันตราย ต้องเร่งพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถของไทย เหลียวมองความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีเศรษฐกิจโลกที่นับวันการแข่งขันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การมองย้อนดูสถานะของประเทศ หรือการประเมินขีดความสามารถทางการแข่งขันเป็นสิ่งส�ำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจถึงจุดเด่น และจุดด้อยของประเทศในเชิงเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ณ ช่วงเวลาเดียวกัน และที่สำ� คัญคือสามารถหาแนวทางพัฒนา เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ โดยเฉพาะในเรื่องระบบขนส่งทางรางและนวัตกรรมในประเทศ
เปิดปูมความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง
นิยามที่เป็นที่เข้าใจง่ายของความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่เราได้ยินกันบ่อยขึ้นในช่วงนี้หมายถึง ขี ด ความสามารถและผลการด� ำ เนิ น งานในหลายด้ า นของประเทศในการสร้ า งและรั ก ษาสภาพแวดล้ อ ม ที่ เ หมาะสมแก่ ก ารประกอบกิ จ การ หรื อ การลงทุ น ซึ่ ง เวลาดู ก็ ค งต้ อ งเปรี ย บเที ย บกั บ ประเทศอื่ น ๆ เพื่ อ ประเมิ น ว่ า เราอยู ่ ใ นอั น ดั บ ใด โดยใช้ เ กณฑ์ ป ระเมิ น ที่ เ หมื อ นกั น และถ้ า ให้ เ ป็ น ที่ ย อมรั บ กั น ทั่ ว ไป ก็คงไม่พ้นที่จะต้องเป็นผลประเมินของหน่วยงานกลาง ซึ่งปัจจุบันมีหลายหน่วยงาน แต่ที่ได้รับการยอมรับมาก ได้แก่ สถาบันการจัดการนานาชาติ หรือ IMD และสภาเศรษฐกิจโลก หรือ WEF ซึ่งในที่นี้จะขอหยิบยกของ WEF มาใช้ ซึ่งท�ำการประเมินโดยใช้ 3 กลุ่มปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยพื้นฐาน 2) ปัจจัยยกระดับประสิทธิภาพ 3) ปัจจัย นวัตกรรมและความซับซ้อน ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะถูกประเมินด้วยน�้ำหนักที่แตกต่างกันในแต่ละปัจจัย โดยใช้ เกณฑ์ของระดับการพัฒนามาเป็นตัวแบ่งกลุ่ม อาทิ ไทยและอินโดนีเซียจัดอยู่ในกลุ่ม 2 คือ มีรายได้ประชากร ต่อหัวในช่วง 3,000-8,999 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือว่าเป็นประเทศที่ใช้ปัจจัยด้านประสิทธิภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ จึงให้นำ�้ หนักในด้านนีส้ งู ถึงร้อยละ 50 ขณะทีส่ งิ คโปร์มรี ายได้ตอ่ หัวสูง คือเป็นกลุม่ 3 ถือว่าเป็นประเทศทีข่ บั เคลือ่ น ด้วยนวัตกรรม น�้ำหนักของปัจจัยด้านนวัตกรรมก็จะสูงถึงร้อยละ 50 ในท�ำนองเดียวกันกับมาเลเซียที่จัดอยู่ในกลุ่ม ระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากกลุ่ม 2 ไปอยู่กลุ่ม 3 จึงให้นำ�้ หนักด้านนวัตกรรมอยู่ที่ร้อยละ 50 เช่นกัน เมื่อประเมิน ปัจจัยด้านต่าง ๆ แล้วได้เป็นคะแนนออกมาในช่วง 1-7 โดย 7 เป็นคะแนนที่ดีที่สุด ข้อมูลล่าสุดของ WEF ส�ำหรับประเทศไทยในปี 2555 นั้น ถูกจัดเป็นอันดับที่ 38 จากทั้งหมด 144 ประเทศ ขยับขึ้นหนึ่งอันดับจากปีก่อนหน้า แต่มีคะแนนเท่ากันคือ 4.52 และเป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียน (ไม่นับรวมบรูไน) โดยปัจจัยยกระดับประสิทธิภาพ มีอันดับดีขึ้นเล็กน้อย แต่ปัจจัย พื้นฐานและปัจจัยนวัตกรรมมีอันดับต�่ำลง สะท้อนถึงว่า ขณะนี้ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง ในด้านขนาดของตลาด (ตลาดใหญ่ท�ำให้ธุรกิจมีโอกาสขยายตัวได้) แต่ยังต้องได้รับการพัฒนา ในด้านปัจจัยพืน้ ฐาน ซึง่ มีเรือ่ งโครงสร้างพืน้ ฐานด้านคมนาคมขนส่งเข้ามาเกีย่ วข้อง และการพัฒนา ด้านนวัตกรรมอีกมาก เมื่อเปรียบเทียบสถิติย้อนหลังไป 5 ปี ปรากฏว่าได้ให้ภาพชัดเจนว่าทั้งคะแนนและอันดับ ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยมีแนวโน้มปรับลดลง ซึง่ เป็นเรือ่ งทีเ่ ราต้องกลับมาประเมินว่า เกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยในช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจเฉลี่ย ร้อยละ 4.3 จัดอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ความสามารถในการแข่งขันของประเทศกลับลดต�่ำลง ขณะที่ ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นส่วนใหญ่มีคะแนนและอันดับดีขึ้นทั้งนั้น
ที่น่าเป็นห่วง คือคุณภาพการขนส่งทางราง ที่ ได้คะแนนต�่ำ ทิ้งห่างจากสิงคโปร์และมาเลเซีย มาก และยังต�่ำกว่าอินโดนีเซียซึ่งมีลักษณะเป็น หมู่เกาะด้วยซ�้ำไป และเมื่อดูสภาพโครงสร้าง การขนส่ง พบว่า ไทยพึ่งพาการขนส่งทางถนน เป็นหลักถึงร้อยละ 83 ซึ่งมีต้นทุนแพงกว่าการ ขนส่งทางอื่น คือ อยู่ที่ประมาณ 1.72 บาท/ ตัน/กิโลเมตร เทียบกับรถไฟ 0.93 บาท/ตัน/ กิ โ ลเมตร และขนส่ ง ทางน�้ ำ 0.64 บาท/ตั น / กิโลเมตร โดยยังไม่นับรวมต้นทุนด้านพลังงาน ที่ สู ญ เสี ย ไปถึ ง 700,000 บาทต่ อ ปี อี ก ทั้ ง ยั ง ขาดการบ�ำ รุ ง รั ก ษาอย่ า งเป็ น ระบบ ท� ำ ให้ ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยต่อ GDP อยู่ในระดับ สูงถึงร้อยละ 15.2 หรือพูดง่าย ๆ เราสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง : ไทยล้าหลังในระบบราง
โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เป็นโจทย์ข้อแรกที่เราคงต้องเร่งพัฒนา แม้ว่าระดับความ สามารถได้คะแนนอยูท่ ี่ 4.95 เป็นอันดับ 27 ของโลก และอันดับ 3 ของกลุม่ อาเซียนรองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย เนื่องจากคุณภาพการขนส่งทางถนนและทางอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี แต่องค์ประกอบ BORDERLESS
09
TMB Report
มูลค่าทางเศรษฐกิจ 100 บาท แต่ต้องเสียไปกับค่าขนส่งถึง 15 บาท ซึ่งแม้ว่าตัวเลขนี้ ต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 17 แต่ประเทศพัฒนาแล้วล้วนมีต้นทุนตรงนี้อยู่ที่ ร้อยละ 10 ต้น ๆ เท่านัน้ นอกจากนี้ ด้วยความทีป่ ระเทศไทยไม่มกี ารลงทุนโครงสร้างพืน้ ฐาน ขนาดใหญ่ ด ้ า นการคมนาคมขนส่ ง อย่ า งจริ ง จั ง เป็ น เวลานานแล้ ว ที่ เ ห็ น เป็ น รู ป ธรรม ล่าสุด คือสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ ที่เริ่มการก่อสร้างในปี 2545 อีกทั้งงบลงทุนที่ ได้รบั จัดสรรจากภาครัฐในแต่ละปีกไ็ ม่มากเฉลีย่ อยูท่ รี่ อ้ ยละ 20 ของงบประมาณประจ�ำปี หรือ คิดเป็นเม็ดเงินราว 3-4 แสนล้านบาท และการลงทุนโดยภาครัฐยังเผชิญกับ กฎ ระเบียบ และ หลักเกณฑ์ที่บังคับใช้ไม่สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้การ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานล่าช้าและเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ดั ง นั้ น แนวทางพั ฒ นาระบบโครงสร้ า งพื้ น ฐานของภาครั ฐ โดยเป็ น เมกะโปรเจ็ ก ต์ ที่ มี มู ล ค่ า การลงทุ น 2 ล้ า นล้ า นบาท ในช่ ว งปี 2556-2563 สู ง สุ ด เป็ น ประวั ติ ก ารณ์ ในรอบหลายสิ บ ปี ครอบคลุ ม ทั้ ง ทางบก ทางน�้ ำ ทางอากาศ โดยเฉพาะการก่ อ สร้ า ง ระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน รถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า ถนน ทางด่วน โดยหลักการแล้วถือว่าเหมาะสมและมีความจ�ำเป็นส�ำหรับการพัฒนา (โดย ขอตั ด ประเด็ น ข้ อ กั ง วลเรื่ อ งการสร้ า งภาระหนี้ เ พิ่ ม ขึ้ น ความ โปร่งใสในการลงทุนออกไปก่อน) เพราะเป็นแผนการลงทุนที่ จะช่วยสนับสนุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการคมนาคมขนส่ง และพัฒนาศักยภาพของประเทศ และเมื่อเจาะลึกแผนลงทุน ในรายละเอี ย ด พบว่ า ทุ ่ ม เม็ ด เงิ น ไปกั บ ระบบรางมากที่ สุ ด ถึงร้อยละ 83 หรือเป็นเม็ดเงิน 1.65 ล้านล้านบาท รองลงมา เป็ น ด้ า นถนนร้ อ ยละ 14 กว่ า 2.89 แสนล้ า นบาท และ ตามด้วยทางน�้ำ จึงนับว่าเป็นการตอบโจทย์ด้านที่ประเทศไทย มีจุดอ่อนมากที่สุด และเชื่อมโยงต่อยอดยกระดับประเทศไทย เป็ น จุ ด ศู น ย์ ก ลางของภู มิ ภ าคอาเซี ย นในการก้ า วสู ่ ป ระชาคม เศรษฐกิ จ อาเซี ย น หรื อ AEC โดยอาศั ย ความพร้ อ มทาง ด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ที่สามารถเชื่อมโยงด้าน การขนส่ ง สิ น ค้ า และการเดิ น ทางกั บ ประเทศเพื่ อ นบ้ า น รวมถึงยักษ์ใหญ่ในเอเชียอย่างจีนและอินเดียได้ ประโยชน์อีกด้านของการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ 2 ล้านล้าน บาท ที่ ถื อ ว่ า ส� ำ คั ญ ไม่ น ้ อ ย นอกจากที่ ค นไทยจะได้ ใช้ ร ถไฟ ความเร็วสูงก่อนใครในภูมิภาคถึง 4 สาย (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, 010 BORDERLESS
กรุ ง เทพฯ-หนองคาย, กรุ ง เทพฯ-ปาดั ง เบซาร์ และกรุ ง เทพฯระยอง) ยกระดับความเร็วรถไฟไทยเป็น 2 เท่าจากรถไฟทางคู่ และถนนใหม่ อี ก หลายเส้ น ทางแล้ ว ยั ง พบว่ า นอกจากเม็ ด เงิ น ลงทุ น ในกรุ ง เทพฯ ที่ มี มู ล ค่ า สู ง สุ ด 3.96 แสนล้ า นบาท หรื อ ร้ อ ยละ 26 ของมู ล ค่ า ลงทุ น ก่ อ สร้ า งรวม เนื่ อ งจากเป็ น การ ลงทุ น รถไฟฟ้ า สายใหม่ 8 สายทาง ปรากฏว่ า เม็ ด เงิ น ก่ อ สร้ า ง มู ล ค่ า สู ง ยั ง มี ก ารกระจายไปยั ง ภาคต่ า ง ๆ อย่ า งไม่ เ คยเกิ ด ขึ้ น มาก่ อ น โดยภาคที่ มี ก ารลงทุ น ก่ อ สร้ า งในโครงการต่ า ง ๆ สู ง สุ ด คื อ ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ประมาณ 3.33 แสนล้ า น บาทหรือร้อยละ 22 รองมาเป็นภาคกลาง ราว 3.26 แสนล้าน บาทหรื อ ร้ อ ยละ 21 ที่ เ หลื อ กระจายไปที่ ภ าคเหนื อ ภาคใต้ และภาคตะวั น ตก ภาคละกว่ า 1 แสนล้ า นบาท เป็ น ผลดี ส�ำหรับกลุ่มธุรกิจก่อสร้าง ทั้งในส่วนวัสดุก่อสร้าง ผู้รับเหมาก่อสร้าง และผู้ค้าส่งค้าปลีกอย่างเห็นได้ชัด อี ก ทั้ ง สิ่ ง ที่ ค าดว่ า จะเกิ ด ขึ้ น คู ่ ข นานไปกั บ รถไฟความเร็ ว สู ง คือ โอกาสการเกิดเมืองใหม่ ตามเส้นทางที่ทางรถไฟตัดผ่าน ท�ำให้ สามารถพัฒนาการค้า-การลงทุน-การท่องเที่ยวให้ขยายตัวเพิ่ ม ขึ้ น ได้อีกมาก เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคต่าง ๆ
ปัจจัยนวัตกรรม : อันดับความสามารถของไทยอยู่ในระดับต�่ำ
นวั ตกรรม ถื อ เป็ น กระบวนการที่ เ กิ ด จากการน� ำ ความรู ้ แ ละ ความคิดสร้างสรรค์มาผสมผสานกับ ความสามารถในการบริหารจัดการ เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ธุรกิจใหม่ ที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถการ แข่งขันของประเทศ แต่ส�ำหรับประเทศไทย ยังคงมีปัญหาอยู่มาก ในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มเพราะไม่ได้ให้ น�้ำหนักกับการวิจัยและพัฒนาเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ สนั บ สนุ น และการสร้ า งบุ ค ลากรในสาขานี้ ซึ่ ง สอดคล้ อ งกั บ ผล การประเมินความสามารถในการแข่งขันด้านนี้ ปั จ จั ย ด้ า นนวั ต กรรม เป็ น อี ก หนึ่ ง ปั จ จั ย ด้ อ ยของไทยอย่ า ง ชัดเจน เนื่องจากคะแนนอยู่แค่ 3 ต้น ๆ โดยในปี 2555 ไทยมี คะแนนอยู่ที่ 3.19 อันดับที่ 68 ลดลงจากอันดับที่ 54 ในปีที่ผ่านมา
และลดลงจากปี 2550 ที่มีคะแนนอยู่ 3.62 อันดับที่ 36 บ่งชี้ความสามารถ ในการแข่งขันอยูใ่ นระดับต�ำ่ กว่าประเทศอาเซียน ทัง้ สิงคโปร์ มาเลเซีย โดยเฉพาะ อินโดนีเซียที่เมื่อ 5 ปีก่อนมีคะแนน 3.56 อันดับที่ 41 แต่ในปี 2555 สามารถ ปรับขึ้นเป็นคะแนน 3.61 อันดับที่ 39 และหากเราไม่สามารถพัฒนาปัจจัย ด้ า นนวั ต กรรมเพิ่ ม ขึ้ น ในที่ สุ ด ไทยจะยั ง คงติ ด กั บ ดั ก อยู ่ ใ นกลุ ่ ม ที่ ใช้ ป ั จ จั ย ด้านประสิทธิภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป ขณะที่อินโดนีเซียมีโอกาสก้าวขึ้น เป็นประเทศทีอ่ ยูร่ ะหว่างการเปลีย่ นผ่านไปใช้ปจั จัยนวัตกรรมขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ ดังเช่นมาเลเซียในขณะนี้ เมื่อดูลึกลงไปในองค์ประกอบของปัจจัยด้านนวัตกรรม พบข้อมูลที่น่าสนใจ ในเรื่องค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา (R & D) ภาคเอกชนของไทยมีคะแนน 3.07 อันดับที่ 74 สะท้อนภาคธุรกิจอุตสาหกรรมยังไม่ให้ความส�ำคัญกับการวิจยั และพัฒนาหรือ R & D เท่าใด ทั้งที่กระแสของโลกปัจจุบันให้ความส�ำคัญกับ ั นาแล้ว หรือ สิง่ ทีเ่ รียกว่า R & D มากขึน้ เรือ่ ย ๆ หากเปรียบเทียบกับประเทศทีพ่ ฒ อาจเรียกว่าเป็นประเทศที่ใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่าง สหรัฐฯ สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ล้วนทุ่มค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ (รวมทั้งส่วนภาคเอกชนและ ของภาครัฐ) คิดเป็นร้อยละ 2-4 ของรายได้ประชาชาติหรือ GDP ขณะทีข่ องไทย คิดเป็นเพียงร้อยละ 0.25 ของ GDP เท่านั้น พูดง่าย ๆ สิงคโปร์มีการลงทุน R & D มากกว่าไทยเกือบ 10 เท่า ในขณะที่ผู้นำ� เทคโนโลยีอย่างเกาหลีใต้หรือ ญี่ปุ่นนั้น ทิ้งห่างเราอย่างไม่ติดฝุ่น ทั้งนี้ จากรายงานของ สวทช. ในปี 2549 พบว่าภาคธุรกิจอุตสาหกรรมของ ไทยที่เน้นให้ความส�ำคัญกับ R & D อาทิ กลุ่มอาหาร เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และพลาสติก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และสิ่งทอ มีแนวโน้มที่ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ จะเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง โดยตัวเลขดังกล่าวเฉลีย่ ในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ อยู่ที่ประมาณร้อยละ 3.5 ของรายได้ โดยบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมไฮเทคและ คอมพิวเตอร์อาจมีการลงทุนในหมวดดังกล่าวสูงกว่าร้อยละ 15 ของรายได้เลย ทีเดียว
อาจกล่าวได้ว่าการเร่งพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย เป็นสิ่งจ�ำเป็นมาก ซึ่งจะช่วยยกระดับความสามารถในการผลิตให้สูงขึ้นและก่อให้ เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยัง่ ยืน แต่ทั้งนี้ การพัฒนาขีดความสามารถ ในการแข่งขันของประเทศจะเกิดผลสัมฤทธิ์เพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของ ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่ต้องวางแผนการด�ำเนินงานอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุนมหาศาล และภาคเอกชนที่เข้ามา มีส่วนร่วมในการเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างนวัตกรรมให้แก่เศรษฐกิจ เพราะ เมื่อต้องเข้าสู่ AEC ในปี 2558 ที่จะเป็นแรงผลักดันให้ทุกประเทศพยายามดึงดูด การลงทุนไปยังประเทศของตนมากขึน้ ประเทศทีม่ ขี ดี ความสามารถในการแข่งขัน สูงย่อมเป็นที่ดึงดูดส�ำหรับนักลงทุนจากทั่วโลกอย่างแน่นอน
tmbanalytics@tmbbank.com (66) 2 299 2645 BORDERLESS
011
Celebrity Biz เรือ่ ง : ญามินทร์
กิบ๊ ซี-่ วนิดา เติมธนาภรณ์ ปัน้ ธุรกิจความงาม แบบดารา ถ้าว่ากันตรง ๆ เรือ่ งความสวยเป๊ะ หุน่ ดี มีออร่า เชือ่ ว่า 4 สาว เกิรล์ ลี่ เบอร์ร่ี แห่งค่ายอาร์เอสฯ ย่อมไม่เป็นสองรองใครแน่นอน และเมือ่ มีความสวยอยูก่ บั ตัว กิ๊บซี่-วนิดา เติมธนาภรณ์ หนึ่งใน 4 สาว เกิร์ลลี่ เบอร์รี่ จึงปิ๊งไอเดียที่จะ เริม่ ต้นธุรกิจอย่างเป็นชิน้ เป็นอันชิน้ แรกของตัวเองด้วยธุรกิจด้านความงาม ซึง่ กำ�ลัง เป็นตลาดธุรกิจใหม่ล่ามาแรง ที่คนในวงการบันเทิงนิยมทำ�กัน หากแต่เธอเลือก ที่จะฉีกตลาดด้วยการนำ�เสนอสินค้าภายใต้แบรนด์ V-AURA ที่ไม่เหมือนใคร
ผุด V-AURA ตีตลาดด้านความงาม
การต่อยอดธุรกิจจากคนสนิท ทำ�ให้หนทางที่เริ่มเดินบนเส้นทางเงินทอง อาจไม่ได้มีตะปูหรือลวดหนามมากเท่านักธุรกิจมือใหม่คนอื่น ๆ กิ๊บซี่เองก็ใช้ วิธีการนี้ โดยต่อยอดธุรกิจมาจากรุ่นพี่ ซึ่งก่อนหน้าที่เธอจะตัดสินใจทุ่มเทให้กับ แบรนด์ V-AURA ก็ได้ทำ�การวิเคราะห์ตลาด พร้อมทั้งเล็งเห็นแล้วว่า ในยุคนี้ ตลาดด้ า นความสวยความงามกำ � ลั ง มาแรง ส่ ว นหนึ่ ง อาจเพราะคนทั่ ว ไป เกิดค่านิยมด้านความสวยความงามมากขึ้น พอเห็นจังหวะน้ำ�ขึ้นแบบนี้ กิ๊บซี่ ก็ไม่รีรอที่จะก่อร่างสร้างธุรกิจในทันที
ขับเคลือ่ นธุรกิจด้วยระบบขายส่ง
แบรนด์ V-AURA จะใช้ระบบธุรกิจแบบขายส่ง จำ�หน่ายสินค้าผ่านตัวแทน จำ�หน่ายทั้งหมด ซึ่งแม้จะเหนื่อยกับการดีลคน หาตัวแทน แต่กิ๊บซี่ก็ไม่หวั่น เพราะเชือ่ ว่าวิธกี ารนี้ จะทำ�ให้สามารถกระจายสินค้าให้เข้าถึงผูบ้ ริโภคได้มากทีส่ ดุ ทัง้ ยังเป็นการตัดปัญหาเรือ่ งการตัดราคา ทำ�ให้ตวั แทนจำ�หน่ายสามารถขายของ ต่อไปได้อย่างมีก�ำ ไร
สร้างคุณภาพให้ โดดเด่น
ความโดดเด่นตั้งแต่แรกเริ่มของ V-AURA คือเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน มีทะเบียน อย. รับรองความปลอดภัยชัดเจน การันตีได้จากเสียงตอบรับของ ผู้บริโภคที่อุดหนุนสินค้าไปมากกว่า 20,000 ชิ้น ภายในระยะเวลา 3 เดือน อีกทั้งเมื่อสำ�รวจความพึงพอใจหลังการใช้ผลิตภัณฑ์จากลูกค้า ก็มักจะได้รับ ผลตอบรับในแง่บวก 012 BORDERLESS
ฉีกตลาดด้วยทองคำ�
V-AURA สร้างความแตกต่างด้วยการนำ�ทองคำ�มาสกัดเป็นมาสก์สเตมเซลล์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในวงการความงาม ร่วมกับสารสกัดจากธรรมชาติหลายอย่าง ที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูและบำ�รุงผิวพรรณ ไร้สารอันตรายแน่นอน เธอยังบอกกับเราอีกว่า การฉีกรูปแบบผลิตภัณฑ์ด้านความงามด้วยการนำ�ทองคำ�มาเป็นส่วนผสมในสินค้า และนวัตกรรมสเตมเซลล์ นับเป็นสิ่งใหม่ ยังไม่มีแบรนด์ใดทำ�แบบนี้มาก่อน
พัฒนาแบรนด์อย่างค่อยเป็นค่อยไป
ต้องยอมรับว่า V-AURA ยังเป็นเพียงธุรกิจเล็ก ๆ ที่เพิ่งเติบโต จำ�เป็นอย่างยิ่ง ทีก่ บิ๊ ซีจ่ ะต้องค่อย ๆ วิเคราะห์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปเรือ่ ย ๆ เพราะเธอเองก็ไม่เคย สัมผัสกับธุรกิจนีม้ าก่อน อาศัยวิธกี ารศึกษาหาข้อมูลด้วยตัวเอง สะสางปัญหาอุปสรรค ที่ผ่านเข้ามาในทุกขั้นตอน ขณะนี้ก็ได้เริ่มพัฒนาแบรนด์ขั้นแรกด้วยการปรับเปลี่ยน แพ็คเกจใหม่ให้สวยงามและเหมาะกับแบรนด์มากขึ้น
เรียนรู้อุปสรรคจากการทำ�ธุรกิจ
คำ�ว่า ‘ธุรกิจ’ ไม่ได้ง่ายอย่างที่ใจนึก อุปสรรคกระจุกกระจิกผุดขึ้นมาได้เรื่อย ๆ เสมอเพื่ อ ท้ า ทายความสามารถให้ ฝ่ า ฟั น ไป ไม่ ว่ า จะเป็ น การดี ล กั บ ตั ว แทน การดีลกับลูกค้า การทำ�การตลาด การกระจายสินค้า ฯลฯ กิ๊บซี่กล่าวว่า ถ้าอยากให้ ธุรกิจเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนได้ก็ต้องอดทน เน้นปูรากฐานให้ดี ค่อย ๆ ทำ�และพัฒนา ไปเรือ่ ย ๆ อย่าก้าวกระโดด เพราะจะทำ�ให้มองข้ามจุดเล็กจุดน้อย แต่ถา้ ค่อย ๆ ทำ�ไป ไม่บุ่มบ่าม ก็จะสามารถเรียนรู้และหาข้อผิดพลาดมาปรับแก้ไขให้สมบูรณ์แบบได้ ในที่สุด
ใช้ความน่ารักของสัตว์ สร้างเอกลักษณ์ให้แบรนด์
Cup-T ใช้วิธีการสร้างลายเซ็นให้แบรนด์ด้วยการนำ�ความน่ารักของสัตว์มาเป็น แรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลาย โดยเริ่มต้นไอเดียที่นกกระจอกเทศ ซึ่งเป็น สัตว์ที่เต๋อมองว่ามีบุคลิกน่ารักและขำ�ขัน แต่คนทั่วไปกลับมองข้ามไป เขาจึงหยิบ นกกระจอกเทศมาเนรมิตเป็นลวดลายบนเสื้อยืด สำ�หรับเสื้อยืดตัวแรกของผู้หญิง จะเป็นลายนกกระจอกเทศที่มีสีสันสวยงาม มีลวดลายดอกไม้ประดับประดาอยู่ ส่วนของผูช้ ายจะเป็นนกกระจอกเทศใส่แว่นตาสีด�ำ สไตล์ยยี วน ปรากฏว่าได้รบั ผลตอบรับ มากมายจากผู้บริโภค และต่อยอดให้เกิดลวดลายมากมายจวบจนปัจจุบัน
การตลาดผ่านโซเชียลเน็ตเวิรก์
เต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวี The (Cup) T-Shirt Man แม้จะเป็นหนุ่มมากความสามารถแห่งวงการบันเทิงที่มีงานถาโถมเข้ามา ไม่ขาดสาย ทั้งงานเบื้องหน้าและงานเบื้องหลัง แต่ เต๋อ-ฉันทวิชช์ ธนะเสวี ก็ยังเจียดเวลาหาธุรกิจเสริมทำ�ร่วมกับแฟนสาว พีค-ภัทรศยา เครือสุวรรณศิริ และเพื่ อ นสาว จ๋ า -ณลิ ต า อิ ส สระชั ย ยศ อย่ า งเป็ น ล่ำ � เป็ น สั น จนตอนนี้ แบรนด์เสื้อยืด Cup-T ได้กลายเป็นหนึ่งในแบรนด์เสื้อยืดที่ครองใจคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘คนมีคู่’ ซึ่งไม่ใช่แค่คู่รักหนุ่มสาวเท่านั้น หากแต่เต๋อยังได้ ขยายลู่ทางที่แตกต่างให้แบรนด์ของตนครอบคลุมไปถึงคู่รักแบบครอบครัว เช่น คู่แม่ลูก คู่พ่อลูก หรือคู่พี่น้อง เป็นต้น และในอนาคตเขาก็เล็งเป้าไว้แล้วว่า ธุรกิจนี้จะไปได้สวยด้วยการขยายแบรนด์ให้ใหญ่ขึ้นสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่สามารถ จับต้องได้จริงในชีวิตประจำ�วัน
ว่าด้วยความเขินของผูช้ าย
เต๋อบอกถึงเหตุผลที่ท�ำ ให้เขาหันมาจับธุรกิจตรงนี้ว่า ธุรกิจดังกล่าวเกิดจาก การที่เขาและแฟนสาวอยากมีกิจกรรมที่ทำ�ร่วมกัน ส่วนตัวมองเห็นว่าเสื้อยืด เป็นเครื่องแต่งกายที่ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง หลายคนที่เป็นคู่รักก็นิยมใส่เสื้อคู่ เห็นดังนั้นจึงทำ�การวิเคราะห์การตลาดจนหาคำ�ตอบให้ตัวเองได้ว่า เสื้อคู่รักใน ตลาดส่วนใหญ่จะมี 2 แบบ คือ แบบที่ดีไซน์เหมือนกัน แต่ต่างไซส์ กับอีกแบบ คือ เสื้อยืดคู่รักที่เมื่อใส่คู่กันแล้วจะมีความหมาย เช่น เสื้อยืดของผู้ชายสกรีนว่า ‘ข้างข้าง’ ส่วนเสื้อยืดของผู้หญิงสกรีนว่า ‘แฟนผม’ ซึ่งเขามองว่าผู้ชายมักจะมี อาการเขินอายเมือ่ ต้องใส่เสือ้ ในลักษณะนี้ ขณะทีผ่ หู้ ญิงจะปลืม้ อกปลืม้ ใจทีแ่ ฟน หนุ่มสวมใส่ จึงเกิดไอเดียในการทำ�เสื้อยืดที่ใส่ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง นอกจาก แบบวัยรุ่นหนุ่มสาวแล้ว เขายังคิดเผื่อให้ใส่ได้ทั้งครอบครัว จึงสามารถยึดครอง กลุ่มตลาดทั้งวัยรุ่นวัยทำ�งาน และกลุ่มครอบครัว
ด้วยความที่ทั้งเต๋อและพีค ต่างก็เป็นคนดังในวงการบันเทิง จึงช่วยประหยัดเงิน ทุนเรื่องการหาพรีเซ็นเตอร์ไปได้ โดยทั้งสองคนจะสร้างการจดจำ�ให้แบรนด์ ด้วยการ โพสต์ภาพใส่เสื้อยืด Cup-T ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่างอินสตาแกรมและทวิตเตอร์ พอผู้คนเริ่มให้ความสนใจและจดจำ�แบรนด์ได้ ทีมงานก็เริ่มขยายการตลาดให้คน ทั่วไปสามารถร่วมสนุกกับแบรนด์ ด้วยการจัดให้มีการประกวดถ่ายรูปกับเสื้อยืด แบรนด์ Cup-T รวมถึงจัดให้มีการโหวตว่า คุณอยากให้เสื้อยืด Cup-T คอลเลกชั่น ต่อไป เป็นลายสัตว์อะไร โดยมีสิทธิพิเศษเป็นรางวัลให้ ทำ�ให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ ดูเป็นมากกว่าธุรกิจ หากแต่เป็นเหมือนกิจกรรมที่ทำ�ร่วมกัน ส่งผลให้ฐานการตลาด ค่อนข้างเหนียวแน่น อีกทั้งการทำ�การตลาดผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ยังง่ายต่อการวัด ความพึงพอใจของลูกค้า เพราะเสียงสะท้อนกลับทัง้ หมดจะเข้ามาผ่านทางคอมเมนต์ ในโซเชียลฯ แต่ละช่องทาง ซึ่งเป็นการสื่อสารทางตรงถึงทีมงานเพื่อนำ�ไปปรับแก้ไข แบรนด์ต่อไป
ขยายช่องทางตลาดสูก่ ลุม่ ลูกค้าต่างชาติ
เมื่อแบรนด์ Cup-T มีกระแสตอบรับที่ท่วมท้น อีกทั้งการทำ�การตลาดผ่าน โซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งเป็นสื่อที่ไร้พรมแดน ก็ง่ายต่อการเข้าถึงทั้งในและนอกประเทศ พอลูกค้าชาวต่างชาติให้ความสนใจ แบรนด์ Cup-T จึงจำ�เป็นต้องขยาย ช่องทางการจำ�หน่ายสินค้าขึน้ เว็บไซต์ www.cuptshop.com เนื่ อ งจากเว็ บ ไซต์ เ ป็ น ช่ อ งทางเดี ย วที่ เ หมาะสมที่ สุ ด มีความเป็นระบบระเบียบและตอบสนองต่อการทำ�ธุรกิจ ขายสินค้าออนไลน์ได้ แต่อาจมีข้อจำ�กัดในด้านการจัดส่ง (Shipping) ซึ่งต้องมีปริมาณให้คุ้มทุนสักนิดหนึ่งจึงสามารถ จัดส่งได้ เพราะค่าจัดส่งค่อนข้างมีราคาสูง
พัฒนาแบรนด์สสู่ นิ ค้าในชีวติ ประจำ�วัน
จากการที่ แ บรนด์ Cup-T มี ก ารพั ฒ นาอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง มาเป็ น เวลากว่ า 1 ปี ทำ � ให้ ใ นตอนนี้ สิ น ค้ า ของแบรนด์ เริ่ ม แตกหน่ อ ออกผลไปมากกว่ า แค่ ก ารเป็ น แบรนด์ เ สื้ อ ยื ด ซึ่งเต๋อเน้นย้ำ�ตั้งแต่แรกแล้วว่า ต้องการให้แบรนด์ Cup-T เป็น แบรนด์ของสินค้าที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำ�วัน เพราะอย่างไรก็ตาม สินค้าที่อยู่ใน กิจวัตรประจำ�วันของผู้คน ย่อมเป็นที่ต้องการอยู่ตลอด จนในขณะนี้มีสินค้าประเภท อื่นๆ อย่าง ผ้าพันคอ เคสไอโฟน และหมอน ถูกผลิตออกมาภายใต้แบรนด์ Cup-T เพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น
สิง่ ทีเ่ รียนรูจ้ ากการทำ�ธุรกิจ
กว่าปีครึง่ ทีเ่ ต๋อลงมาจับธุรกิจแบรนด์ Cup-T ทำ�ให้เขาได้รบั บทเรียนจากโลกธุรกิจ โดยเฉพาะเรือ่ งของเม็ดเงินลงทุน และความพยายาม การสร้างแบรนด์สกั แบรนด์หนึง่ ขึ้นมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำ�เป็นอย่างยิ่งที่เขาจะต้องเข้าใจทุกขั้นตอน รวมถึงให้ความ ทุ่มเทอย่างจริงจัง ตลอดจนขยันพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายช่องทางการตลาด ยิ่งถ้า สามารถเปลีย่ นความเหน็ดเหนือ่ ยให้เป็นความสนุกได้ จะยิง่ เป็นโอกาสทองให้สามารถ ต่อยอดไอเดียทางธุรกิจไปได้แบบไม่รู้จบ BORDERLESS
013
Efficiency Expertise เรือ่ ง : คุณชลิต โรจนวิทย์สกุล
Lean Six Sigma เพื่อปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
สวัสดีคุณผู้อ่าน TMB Borderless ทุกท่านครับ กลับมาพบกันอีกครั้งในคอลัมน์ Efficiency Expertise ครับ ช่วงที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสพูดคุย และให้ค�ำ แนะนำ�กับลูกค้าของ TMB หลาย ๆ บริษัท ถึงการนำ�เครื่องมือต่าง ๆ ไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) ให้กับองค์กร หลังจากที่ได้ทราบกัน ไปแล้วว่าองค์กรของคุณถึงเวลาทีจ่ ะให้ความสำ�คัญกับการเพิม่ ประสิทธิภาพกันแล้วหรือยัง และวิธกี ารเลือกเครือ่ งมือในการปรับปรุงแบบไหนทีเ่ หมาะกับ ธุรกิจของคุณ มีหลาย ๆ ท่านหลังไมค์กันเข้ามาครับ ว่าได้ลองเอาแนวคิดไปปรับใช้แล้วได้ผลอย่างไรกันบ้าง และมีเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่หลายประเด็น วันนี้ผมขอนำ�เรื่องราวเหล่านั้นมาเล่าสู่กันฟังในคอลัมน์นี้แล้วกันครับ เผื่อว่าท่านที่สนใจจะได้ลองไปปรับใช้ดู น่าจะเป็นประโยชน์ ไม่น้อยเลยทีเดียว
ก่อนที่จะเล่าถึงกรณีของบริษัทต่าง ๆ ที่ผมได้มีโอกาสให้คำ�แนะนำ�ไปนั้น ตัวอย่าง กรณี ศึ ก ษาแรกที่ ผ มอยากเล่ า ให้ คุ ณ ผู้ อ่ า นทราบ ก็ ไ ม่ ใช่ อ งค์ ก รที่ ไ หนไกล TMB นี่ แ หละครั บ องค์ ก รธุ ร กิ จ ด้ า นการให้ บ ริ ก ารทางการเงิ น ที่ นำ � Lean Six Sigma มาใช้ ป รั บ ปรุ ง และเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพของการ ดำ � เนิ น งานอย่ า งเต็ ม รู ป แบบแห่ ง แรกในประเทศไทย ถ้ า คุ ณ ผู้อ่านท่านใดได้ติดตามคอลัมน์ของเราเมื่อสองฉบับที่ผ่านมา คงจะพอจำ � กั น ได้ ว่ า การใช้ Lean Six Sigma เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพนั้ น นิ ย มใช้ กั น อย่ า งมากในอุ ต สาหกรรม การผลิต แต่นอ้ ยคนนักทีจ่ ะนำ�มาปรับใช้กบั ธุรกิจภาคบริการ อย่างเต็มรูปแบบ TMB ได้ริเริ่มนำ� Lean Six Sigma มาปรับใช้กับ การดำ�เนินงานของธนาคาร โดยมีการจัดอบรมพนักงาน ตั้งแต่ระดับผู้บริหารไปจนถึงระดับปฏิบัติการ เพื่อสร้างให้ เป็นวัฒนธรรมร่วมกันขององค์กร โดยมุ่งหวังที่จะปรับปรุง การดำ�เนินงานเพื่อให้พนักงานสามารถทำ�งานเพื่อตอบสนอง ความต้ อ งการของลู ก ค้ า ให้ ไ ด้ ม ากที่ สุ ด ซึ่ ง หลั ง จากที่ เราได้ นำ � กระบวนการต่าง ๆ ของ Lean Six Sigma มาใช้นั้น ผลที่เกิดขึ้น ก็ คื อ ธนาคารสามารถสร้ า งสรรค์ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ต อบสนองความต้ อ งการ ของลูกค้าได้อย่างตรงจุด สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเป็นอย่างมาก และ นอกเหนื อ ไปจากนั้ น พนั ก งานของธนาคารก็ ส ามารถบริ ห ารเวลาในการทำ � งานได้ ดี ยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีเวลาพักผ่อนมากขึ้นหลังเลิกงาน มีกำ�ลังใจที่ดีในการปฏิบัติงานต่อไปในทุก ๆ วัน และที่ส�ำ คัญธนาคารยังสามารถลดต้นทุนที่อาจเกิดจากการสูญเสียต่าง ๆ ในกระบวนการทำ�งานได้เพิ่มมากขึ้น นำ�ไปสู่ ผลกำ�ไรที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย และเมื่อเราได้นำ�เรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพมาปรับใช้กับธนาคารที่เป็นธุรกิจบริการและประสบความสำ�เร็จแล้ว TMB ยังมุง่ หวังทีจ่ ะนำ�องค์ความรูเ้ หล่านีเ้ ผยแพร่ให้กบั ลูกค้าของธนาคาร หรือผูท้ สี่ นใจในเรือ่ งของการเพิม่ ประสิทธิภาพ เช่นเดียวกัน โดยทาง TMB ได้จัดตั้งโครงการ TMB Efficiency Improvement for Supply Chain ซึ่งเป็นโครงการให้ความรู้ ทางด้านการพัฒนาประสิทธิภาพให้กับซัพพลายเชนอย่างแท้จริง ซึ่งจะเกิดขึ้นรุ่นแรกในเดือนพฤศจิกายนนี้ เราได้เริ่ม กับซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมอาหาร โดยในโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากเครือเบทาโกร ผู้นำ�กลุ่มอุตสาหกรรม อาหารรายใหญ่ของประเทศไทย มาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และร่วมเผยแพร่องค์ความรู้ ซึ่งผู้ประกอบการท่านใด อยู่ในอุตสาหกรรมอาหารแล้วมีความสนใจก็ลองติดต่อกันเข้ามาดูนะครับ ผมเชื่อแน่ว่าผู้ที่เข้าร่วมโครงการนี้ จะเข้าใจ เรื่องของประสิทธิภาพมากขึ้นและยังได้รับความรู้จากตัวอย่างจริง ๆ ที่น่าจะไปปรับใช้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี และแถม ได้พบปะพูดคุยกับผู้ประกอบการที่อยู่ในซัพพลายเชนเดียวกัน ซึ่งจะทำ�ให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ หรือ สามารถต่อยอดธุรกิจในอนาคตได้เลยทีเดียวครับ 014 BORDERLESS
ส่วนบริษัทต่าง ๆ ที่ผมได้มีโอกาสพูดคุยและ ให้ คำ � แนะนำ � ในเรื่ อ งการเพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพไปนั้ น มีตวั อย่างกรณีทน่ี า่ สนใจหลายเรือ่ งนะครับ ขออนุญาต เอามาแชร์กันตรงนี้ เพราะจากที่หลาย ๆ บริษัทได้ พูดคุยกันนัน้ พบว่า ผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่โดยเฉพาะ ที่ เ ป็ น SME มั ก จะมี ปั ญ หาเรื่ อ งของวั ต ถุ ดิ บ หรือบรรจุภัณฑ์ที่เสียหาย บางทีก็ไม่ได้ตามสเปกที่ ลูกค้าต้องการ ตั้งแต่ก่อนเข้าในสายพานการผลิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เป็นการสูญเสียที่เกิดขึ้นเฉพาะกับ บรรจุภัณฑ์เท่านั้น แต่จะมีผลไปถึงผลผลิตของบริษัท อีกด้วย แล้วยังมีอยู่อีกหลายบริษัทเหมือนกันครับ ที่ต้องทำ�การบรรจุผลิตภัณฑ์หรือสินค้าให้กับลูกค้า เกินกว่าที่ก�ำ หนด เช่น สินค้าปริมาณ 750 มิลลิลิตร แต่กลับต้องบรรจุเกินถึง 753-755 มิลลิลิตร เนื่อง มาจากว่าเป็นการป้องกันการถูกลูกค้าร้องเรียนว่า ได้รับสินค้าไม่ตรงตามที่กำ�หนด แต่ลองคิดดูแล้วกัน นะครับว่า แค่เราเติมสินค้าเกินเพียง 1% ต่อขวด แล้ว เราต้องผลิตไป 100 ขวด นั่นเท่ากับว่าเราสามารถนำ� ส่วนเกินนัน้ ไปเป็นสินค้าได้อกี 1 ขวดเต็ม ๆ เลยทีเดียว อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจและเกิดขึ้นกับหลาย ๆ บริษัท ก็คือ เรื่องของการจ่าย OT. พนักงาน ซึ่งเวลา ที่เกินเวลาทำ�งานปกตินั้น มาจากการที่ต้องใช้เวลา ในการ set up เครื่องจักรมากกว่า 40% ของเวลา งานทั้งหมด สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ผมมีความคิดว่า เรา สามารถทีจ่ ะใช้เครือ่ งมือในลักษณะของการวิเคราะห์ แบบ Six Sigma มาใช้แก้ปัญหาเรื่องของบรรจุภัณฑ์ ที่เติมเกินไป การใช้หลักของการทำ� Acceptance Sampling หรือการที่เราควรมานั่งคิดว่า ค่าแรงและ ค่าความสูญเสียอันเนือ่ งมาจากวัตถุดบิ ทีไ่ ม่มคี ณ ุ ภาพ เอามาเป็นส่วนเพิ่มให้กับคู่ค้าของเรา ก็น่าจะเป็น
แนวทางในการแก้ปัญหาที่ดีกว่า หรือแม้กระทั่งหลักการลดเวลาในการ set up ของ Lean ก็สามารถนำ�มาใช้ได้ เช่นกัน ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนไปได้อีกจำ�นวนมาก และแน่นอนครับ ต้นทุนที่ลดลงนั้นย่อมแปลว่าผลกำ�ไรของ ท่านก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ลองคิดดูนะครับว่า ที่ผมนำ�มาเล่าให้ฟังนั้น เป็นตัวอย่างของโรงงานแค่โรงงาน เดียวหรือ SME รายเดียวเท่านั้น ยิ่งถ้าเราทำ�ในลักษณะของการร่วมมือแบบทั้งซัพพลายเชนด้วยการหันมา ร่วมมือกัน และมีส่วนช่วยในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพกันทั้งระบบธุรกิจ ก็ย่อมจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีกว่า อย่างแน่นอนนะครับ ในฉบั บ หน้ า ผมจะลองเอากรณี ตัว อย่ า งของบริ ษั ท ใหญ่ ๆ ในอุ ตสาหกรรมหลาย ๆ ที่ มาเล่ า ให้ ทุ ก ท่ า นฟั ง กั น นะครั บ ทั้ ง แบบการปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพโดยตั ว เองในองค์ ก ร และการปรั บ ปรุ ง แบบ ซัพพลายเชน ซึ่งรับรองว่าจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกหลายประเด็นให้ได้เรียนรู้กันเลยครับ แล้วพบกันใหม่ ฉบับหน้าครับ
รายละเอียดโครงการ
วันเริ่มโครงการ : พฤศจิกายน 2556 ระยะเวลาโครงการ : พฤศจิกายน 2556-มีนาคม 2557 ทุก ๆ วันเสาร์ ตลอดระยะเวลาโครงการ วันเข้าอบรม : ติดต่อ พัฒนาการตลาดความสัมพันธ์กับลูกค้า และคู่ค้าธุรกิจ โทร. 02 299 2250, 02 299 1111 # 5268 E-mail : lssforsupplychain@tmbbank.com
คุณชลิต โรจนวิทย์สกุล : เจ้าหน้าที่บริหาร Lean Six Sigma, TMB ผู้ช�ำนาญการด้าน Lean Six Sigma มี ป ระสบการณ์ ในบริ ษั ท ชั้ น น�ำ อย่ า ง Seagate Technology, GE Capital และ Ayutthaya Capital Lease รวมทั้งเป็นผู้ที่ประยุกต์วิธีการ ของ Lean เข้ า กั บ กระบวนการทางการเงิ น และการขายเพื่ อ เพิ่ ม ยอดขายให้ กั บ บริ ษั ท จนประสบความส�ำเร็ จ อย่ า งมาก ปั จ จุ บั น ด�ำรงต�ำแหน่ ง เจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห าร Lean Six Sigma ของ TMB ซึ่งได้น�ำวิธีการของ Lean Six Sigma มาปรับใช้กับองค์กร ด้วยการฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนการจัดท�ำโครงการต่าง ๆ เพื่อเพิ่ม Efficiency ในกระบวนการ ท�ำงานให้ดียิ่งขึ้น • หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ E-mail : tmbeisc@tmbbank.com BORDERLESS
015
Reflection เรือ่ ง : คุณปพนธ์ มังคละธนะกุล ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน TMB
วิจัยเพื่อพัฒนาฉบับ
SMEs
โลกทุ ก วั น นี้ เ ปลี่ ย นแปลงเร็ ว มากนะครั บ ยิ่ ง ในแวดวงธุ ร กิ จ ด้ ว ยแล้ ว การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้นเร็วจนห้ามกะพริบตากันเลยทีเดียว โดยเฉพาะ อย่างยิ่งธุรกิจโทรคมนาคม (Telecommunications) และธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT) ใครจะเชื่อว่า Samsung ที่ไม่เคยอยู่ในเรดาร์ของผู้บริโภคในตลาดมือถือเมื่อ 4 ปีที่แล้ว จะใช้เวลาเพียงแค่ 3 ปี โค่นแชมป์ Smart Phone อย่าง iPhone ลงได้ ยิ่งกว่านั้น Nokia ที่เคยเป็นมือหนึ่งของตลาด ทั้งระบบโทรศัพท์ธรรมดา และ Smart Phone (ในตอนนั้นด้วยระบบ Symbian) จะโดนโค่นลงจากบัลลังก์ โดย น้ำ�มือ iPhone และตอนนี้ยังหาทางกลับมาอยู่ในตลาดไม่ได้เลย ไม่ต้องพูดถึง Blackberry ที่เคยสร้างปรากฏการณ์เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว แต่ค่อย ๆ หายไปหลังการ มาของ iPhone และ Samsung
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงแน่ ๆ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ก็มีความ เปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่งที่ส�ำ คัญไม่แพ้กัน นั่นก็คือการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้ใช้มือถือ หากไปย้อนดูขอ้ มูลของบริษทั ข้างต้น ผมเชือ่ ว่าทุกบริษทั ทีก่ ล่าวมาใช้งบประมาณในด้าน R & D (Research and Development) เยอะไม่แตกต่างกัน แต่ท�ำ ไมถึงได้ผลลัพธ์ต่างกันโดยสิ้นเชิง ผมเชื่อว่าปัจจัยเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคมีส่วนอย่างมาก Blackberry และ Nokia อาจคาดการณ์ (หรืออาจ ไม่ได้คาดการณ์) ถึงพฤติกรรมของคนทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปได้ดเี ท่าคูแ่ ข่งทำ�ให้เสียท่า เป็นบทเรียนธุรกิจราคาแพงให้ พวกเราศึกษาต่อกันไป ประเด็นเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปนี่ละครับที่ผมคิดว่า SMEs ทั้งหลายควรจะต้องให้ความใส่ใจกันให้มาก และควรจะตั้งหน้าตั้งตาทำ�การวิจัย ผู้บริโภคกันอย่างจริงจังทีเดียว เพราะสิ่งนี้ละครับจะเป็นตัวที่ช่วยให้ท่านเตรียม ตัวปรับเปลี่ยนรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ทันท่วงที และได้ประโยชน์จากการ เปลี่ยนแปลงมากกว่าเสียประโยชน์ เราได้เห็นกันอยู่แล้วว่าธุรกิจที่เคยดีอยู่ หาก ปรับตัวไม่ได้ตอ่ การเปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ สุดท้ายไม่วา่ ธุรกิจจะใหญ่ขนาดไหนก็ไป ไม่รอด ไม่ว่าจะเป็น Kodak Nokia หรือ IBM ในช่วงตลาด PC ขยายตัว หลาย ๆ ครั้ ง เราจะเห็ น ว่ า ธุ ร กิ จ ให้ ค วามสนใจกั บ เทคโนโลยี ม ากเกิ น ไป จนหลงลืมเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภค ซึ่งแท้ที่จริงแล้วพฤติกรรมผู้บริโภคต่างหากจะ เป็นตัวกำ�หนดเทคโนโลยีหรือรูปแบบสินค้าหรือบริการ...
016 BORDERLESS
BORDERLESS
016
เอ่ยถึงเรือ่ งการทำ�การวิจยั ผูบ้ ริโภค หลายคนอาจ ร้องเสียงหลงว่า เราไม่ได้จบมาทางด้านการทำ�วิจัย การตลาดหรือสถิติ จะทำ�ได้อย่างไร ท่ า นผู้ ป ระกอบการลองนึ ก ย้ อ นถึ ง วั ย เด็ ก ของ พวกท่านดูนะครับ ผมเชื่อว่าในอดีตพวกเราทุกคน คงต้ อ งมี เรื่ อ งที่ ต นสนใจเป็ น พิ เ ศษ และค้ น คว้ า หาความรูจ้ นมีความรูใ้ นเรือ่ งนัน้ ๆ กันพอตัว ผมอยาก ให้ท่านผู้ประกอบการนำ�ความรู้สึกแบบนั้นมาใช้กับ ธุรกิจของท่าน สิ่งที่เราทำ�ในตอนเด็กคืออะไรครับ เราสังเกต ความเป็นไปต่าง ๆ ของเรือ่ งทีเ่ ราสนใจ และพยายาม ปะติดปะต่อเรื่องตามความเข้าใจของเรา และกล้าที่ จะทดลองทำ�ดูและดูผลว่าเกิดอะไร หากสงสัยเราก็ ขวนขวายถามผูร้ ู้ นีล่ ะครับคือวิธกี ารทำ�วิจยั ทีผ่ มอยาก ให้ท่านผู้ประกอบการลองทำ�กับธุรกิจของท่าน ธุรกิจจะอยู่ได้หรือไม่ได้ ก็อยู่ที่ว่ามีลูกค้าหรือ ไม่และทุก ๆ วันได้ลูกค้าใหม่เพิ่มขึ้นหรือเปล่า และ คนที่เป็นลูกค้าแล้ว กลับมาซื้อเพิ่มหรือไม่ ดังนั้น สิ่ ง ที่ ต้ อ งทำ � การศึ ก ษาก็ คื อ พฤติ ก รรมลู ก ค้ า การ เปลี่ยนแปลงทางสังคม และ Lifestyle ที่มีผลต่อการ ซื้อหรือไม่ซื้อสินค้าของท่าน
ปั จ จั ย ทางสั ง คมและ Lifestyle นี้ สำ � คั ญ มาก นะครับ หากใครที่เคยรู้ประวัติของ MK Suki จะรู้ว่า ธุรกิจ MK สามารถแจ้งเกิดและเริ่มแซงธุรกิจแบบ เดี ย วกั น ที่ เ ป็ น เจ้ า ตลาดในวั น นั้ น ได้ เ พราะการ เปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง ก็คือ พฤติกรรมของคนไทย เริ่มกินข้าวนอกบ้านมากขึ้น และมักจะไปกินตามห้าง MK ก็เลยเน้นการขยายสาขาในห้าง ไม่เน้นการเปิด ร้านเดียวโดด ๆ ตามย่านต่าง ๆ ซึ่งค่อนข้างใหม่ใน สมัยนั้น แต่มีผลอย่างใหญ่หลวงกับการเติบโตของ ธุรกิจจนถึงวันนี้ ปัจจัยทางสังคมที่ผมสังเกตเองและเห็นค่อนข้าง ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือ คนรุ่น Gen X เริ่มมีบทบาท ในการกำ�หนดกำ�ลังซือ้ ทางเศรษฐกิจมากขึน้ ทัง้ นีอ้ าจ จะเป็นเพราะวัยอยู่ในช่วงที่เริ่มประสบความสำ�เร็จ ในหน้าที่การงาน กำ�ลังซื้อก็มีมากขึ้น แต่สิ่งที่ต่างกับ คนรุ่น Baby Boom ก็คือ Gen X กล้าที่จะจับจ่าย มากกว่า
พฤติกรรมที่เริ่มเห็นมากขึ้นเรื่อย ๆ ของ Gen X คือ เริม่ ห่วงใยเรือ่ งสุขภาพมากขึน้ หันมาออกกำ�ลังกาย เพราะอยากจะมีสุขภาพที่ดี การออกกำ�ลังกายที่เน้น เรื่องความอดทนเริ่มเป็นที่นิยมในกลุ่ม Gen X หาก สังเกตให้ดี กลุ่มขี่จักรยานเพื่อสุขภาพต่าง ๆ มักจะ มี Gen X เป็นสมาชิกส่วนใหญ่ กลุ่มคนวิ่งระยะไกล ตามงานวิง่ ต่าง ๆ ก็ Gen X นีล่ ะครับทีว่ งิ่ กันมากทีส่ ดุ มากไปกว่านั้น คนกลุ่ม Gen X มักมีพฤติกรรม นึกย้อนถึงอดีตสมัยเป็นเด็ก ผลิตภัณฑ์เก่า ๆ สมัย เป็นเด็ก ก็มีการนำ�กลับมาทำ�ใหม่ให้คน Gen X ได้ รำ�ลึกความหลังกัน คนกลุม่ นีม้ ลี กั ษณะกลางเก่ากลางใหม่นะครับ คือ ไม่สดุ โต่งไปด้านใดด้านหนึง่ ใช้เทคโนโลยีเป็น แต่ขณะ เดียวกันก็ไม่ได้เอาแต่เฝ้าหน้าจอ Smart Phone ทัง้ วัน โดยไม่สนใจคนรอบข้าง ยิ่งไปกว่านั้น คนกลุ่ม Gen X มีแนวโน้มบริโภคตามกระแสน้อยกว่าคนรุน่ ใหม่ ทีก่ าร บริโภคต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงตามกระแสเร็วมาก จากวั น นี้ ไ ป ลองสั ง เกตเวลาไปเดิ น ตามห้ า ง ต่ า ง ๆ ดู น ะครั บ ว่ า คนที่ ม าเดิ น ห้ า งและซื้ อ ของ มีใครบ้าง พฤติกรรมในการซื้อคืออะไร ผมอยาก ให้ท่านผู้ประกอบการใช้เวลานอก Office มากขึ้น เพื่อศึกษาพฤติกรรมต่าง ๆ จะได้นำ�มาปรับใช้กับ ธุรกิจของท่าน
SMEs
SMEs SMEs
BORDERLESS
017
Special Interview เรือ่ ง : อรรถ อรรถมาตย์
“ประเทศไทย ต้องตั้งรับ อย่างมีสติ เตรียมพร้อม และหันหน้าเข้าหากัน ในการจัดทัพ ที่ผ่านมา เราตื่นตระหนกมากกว่า จะตื่นแบบมีสติ ถ้าอยากเป็น ฮับก็ต้องเป็นฮับที่มั่นใจ”
ดร.สุรนิ ทร์ พิศสุวรรณ ชี้จุดยุทธศาสตร์สำ�คัญของไทย ในเวทีการค้าอาเซียน
BORDERLESS
019
หนึ่งในกูรู ‘อาเซียน’ ที่ได้รับการยอมรับในความรู้ความสามารถและมีชื่อเสียง เป็ น ที่รู้จัก อย่ า งกว้ า งขวางก็ คือ ดร.สุ ริน ทร์ พิ ศ สุ ว รรณ อดี ต เลขาธิ ก ารอาเซี ย น (1 มกราคม 2551 -1 มกราคม 2556) ผู้คร่ำ�หวอดและรู้ลึก รู้จริงในเรื่องอาเซียนมานาน กว่า 5 ปี โดย ดร.สุรินทร์ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานสัมมนา ‘TMB Borderless on Stage ตอน ธุรกิจไทยจัดทัพ สร้างฮับ AEC’ ซึ่งจัดโดย TMB ในหัวข้อ ‘จุดยุทธศาสตร์ สำ�คัญในเวทีการค้าอาเซียน’ ชี้ให้เห็นถึงความสำ�คัญของ SME ที่จะมีบทบาทสำ�คัญ อย่างยิง่ ในอาเซียนพร้อมให้ค�ำ แนะนำ�ในการเตรียมพร้อมและตัง้ รับประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนที่กำ�ลังจะเข้ามาในปี 2558 นี้ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของการค้า อาเซียนได้อย่างมั่นใจ “AEC ทำ�ให้คนไทยตื่นตัว แต่เท่าที่เห็นคือเป็นการตื่นตระหนกมากกว่าการตื่น แบบมีสติ ดังนั้นผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SME จะต้องเข้าใจกลไกและบริบทของ การแข่งขันจากโอกาสในครัง้ นีม้ ากขึน้ ” ดร.สุรนิ ทร์เปิดฉากวิเคราะห์ให้เห็นถึงภาพรวม พร้อมชีช้ ดั ถึง ‘ข้อได้เปรียบ’ หลายประการของผูป้ ระกอบการไทยในอาเซียน ซึง่ จัดเป็น ‘แต้มต่อ’ ที่โดดเด่น ว่า “อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมรถยนต์และชิน้ ส่วน รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบริการของไทยที่มีประสิทธิภาพ และยังสร้าง ความประทับใจด้วยความอ่อนหวานและมิตรไมตรี ส่วนการสาธารณสุขก็เป็นเลิศอยูแ่ ล้ว แต่ตอ้ งขยายให้แพร่หลายกว่านี้ ขณะทีอ่ ตุ สาหกรรมเกีย่ วกับการหัตถกรรมและงานฝีมอื ก็ได้รับความสนใจจากทั่วโลกและอาเซียน เพราะเขาต้องการคอนเทนต์ หรือสินค้า ที่พิเศษจากฝีมือของคนจริงๆ”
การสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่น (Creativity)
“อีกประการหนึ่งก็คือ สินค้าที่มีผลในการรักษาดุลยภาพของสิ่งแวดล้อม ไม่เพิ่ม ปัญหาให้กับโลก ลดโลกร้อนได้ สิ่งเหล่านี้จะ ‘ดึงดูด’ ผู้บริโภค ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาคเอกชน จะต้องพิจารณา เพราะถือเป็นจุดเด่น แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีการแข่งขัน เพราะทุกคนมอง ตลาดเดียวกันหมด แต่ถ้าเทคโนโลยีดีกว่า คุณภาพดีกว่า ก็มีโอกาสที่จะชนะ ดังนั้น Uniqueness หรือเอกลักษณ์ จึงเป็นหนึง่ ในปัจจัยชีว้ ดั ความสำ�เร็จและความอยูร่ อดของ ธุรกิจ ธุรกิจทีข่ าดเอกลักษณ์และไม่สามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมเพือ่ รับมือกับการ แข่งขันได้ ก็เหมือนเป็นธุรกิจกาลาปากอส และพ่ายแพ้ไปในทีส่ ดุ ซึง่ ในอุตสาหกรรมภาค บริการ การที่เรามีภาพลักษณ์แบบไทย ๆ ความนิ่มนวลอ่อนหวานแบบไทย ๆ เป็น เอกลักษณ์ที่ต้องรักษาไว้ ขณะที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก็เป็นสิ่งสำ�คัญ และ SME ก็ตอ้ งได้รบั ความช่วยเหลืออย่างจริงจัง” การลงทุนนอกประเทศและในแง่ของการตัง้ รับ ภายในประเทศ แต่ก็มี ‘อุปสรรค’ อยู่ไม่น้อย ซึ่ง ดร.สุรินทร์ ให้คำ�แนะนำ�ว่า
การเข้าถึงรสนิยมผู้บริโภค “เบื้องต้นคือ SME ต้องเข้าใจรสนิยมของผู้บริโภค และเข้าใจความต้องการของ ตลาด ซึ่ง BOI และกระทรวงพาณิชย์ต้องส่งเสริม เพราะเขาไม่มีเครือข่าย ต้องช่วยเขา วิเคราะห์รสนิยมและความต้องการของผูบ้ ริโภคในตลาดนัน้ ๆ ยกตัวอย่างสินค้าของจีน ทีไ่ ปตีตลาดในตะวันออกกลาง ในวันทีเ่ ขาเฉลิมฉลองวันตรุษทางศาสนาก็มสี นิ ค้าจากจีน เท่านั้น เพราะจีนเข้าไปวิจัยและค้นคว้าว่าสินค้าประเภทไหนที่ชาวมุสลิมต้องใช้ในการ บริโภค ฐานการผลิตภายในของเขาไม่มี ยังไงก็ตอ้ งซือ้ จากข้างนอก ใครก็ตามทีส่ ามารถ ผลิตสินค้าและบริการได้ตรงกับรสนิยมของเขาได้ก็จะได้เปรียบและได้ประโยชน์ นี่คือ สิ่งที่ SME ไทยต้องทำ� และหน่วยงานภาครัฐที่ดูแล SME ไทยต้องทำ� ถ้ายังไม่มีก็ต้อง จัดตั้งขึ้น มีหน่วยงานออกไปศึกษา วิเคราะห์รสนิยมของผู้บริโภค ช่วยสนับสนุน
020 BORDERLESS
ค่าใช้จ่าย นัดแนะผู้ประกอบการต่างประเทศที่จะเป็น คู่ค้าให้กับเขา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่จำ�เป็น ประเทศอื่นเขา ก็ท� ำ แต่เริม่ ต้นต้องรูว้ า่ ปัญหาอยูต่ รงไหน อะไรคือสิง่ ทีเ่ รา ต้องการ จุดแข็ง และจุดอ่อนของเราคืออะไร โอกาสของ เราอยู่ที่ไหน ใครเป็นกลุ่มเป้าหมาย ทุกวันนี้ประเทศไทย diversify มากในแง่ของระบบเศรษฐกิจ แต่จะ diversify ไปทั่วโลก หรือจะเจาะตลาดอาเซียนได้อย่างเหมาะเจาะ มากน้อยแค่ไหน ในระดับโลกอาจจะต้องพึ่งพาบริษัท ใหญ่ ๆ เพราะเรารับจ้างผลิตตามแบรนด์ ตามดีไซน์ และมาตรฐานของเขา แต่สำ�หรับ SME ต้องเจาะ Niche Market ซึ่งเขาทำ�เองไม่ได้ รัฐบาลและสถาบันการเงิน ต้องช่วย”
‘SME ต้องไม่โดดเดี่ยว’
เป็ น สิ่ง ที่ ดร.สุ ริ น ทร์ ก ล่ า วย้ำ �อยู่เ สมอ ทั้ งนี้ ก าร สนับสนุนของภาครัฐทั้งไทยและอาเซียนเป็นสิ่งที่จำ�เป็น โดยในระดับอาเซียนมีหน่วยงานที่เรียกว่า ‘Asean SME Advisory Council’ คอยดู แ ลและส่ ง เสริ ม เรื่ อ งนี้ ใ ห้ เดินหน้าเข้าหากัน ประตูเออีซีที่จะถูกเปิดขึ้นในระยะ เวลาอันใกล้นี้ จึงเป็นโอกาสของ SME อยู่ไม่น้อย เพราะ ปัจจุบนั การค้าขายกันเองระหว่างอาเซียนมีอยูเ่ พียง 25% เท่านั้น และ SME จะมีบทบาทสำ�คัญในการที่จะเพิ่ม สัดส่วนดังกล่าวเป็น 35% และ 45% ในอนาคต “แต่ ไ ม่ ไ ด้ ห มายความว่ า แต่ ล ะประเทศจะไม่ ทำ � อะไรเอง เนื่องจากอาเซียนเป็นทั้งการแข่งขันและความ ร่วมมือระหว่างกัน แต่ละประเทศจะร่วมมือกันก็ต่อเมื่อ ได้ประโยชน์ ทำ�ตามข้อกำ�หนดของแต่ละประเทศและ ยังต้องมุ่งมั่นพัฒนาตัวเองให้เต็มที่ เพื่อไปใช้โอกาสจาก เออีซีที่เปิดกว้างขึ้น
“ประเทศไทย มีเศรษฐกิจที่ หลากหลายที่สุด ในอาเซียน จึงมี Diversity มากที่สุด”
BORDERLESS
021
04 Efficiency
Innovation 01 งบ R & D ของไทยคิดเป็น 0.25% ของ GDP ดังนั้นการ เพิ่ ม มู ล ค่ า ให้ กั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ด้ ว ยนวั ต กรรมและดี ไซน์ จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ SME ไทย จะเพิกเฉยไม่ได้ และภาครัฐ ควรสนับสนุนและส่งเสริม ในเรือ่ งนีอ้ ย่างจริงจังเพือ่ ให้ SME สามารถผลิ ต สิ น ค้ า ที่มีประสิทธิภาพ และแข่งขัน กับประเทศอื่นได้
SME ต้ อ งรู้ จั ก เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในการ บริ ห ารจั ด การงานด้ ว ยซอฟท์ แวร์ ต่ า งๆ ที่ เ ป็ น ประโยชน์ เพื่ อ ลดต้ น ทุ น ขั้ น ตอน ทำ�งาน และเป็นการประหยัดเวลา
Key
Human Productivity นอกเหนื อ จาก การพัฒนาเทคโนโลยี 02
แล้ ว จำ � เป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จะต้ อ งพั ฒ นา ‘คน’ ให้ สามารถใช้ เ ทคโนโลยี ไ ด้ อย่ า งเต็ ม ประสิ ท ธิ ภ าพ ไม่ เช่ น นั้ น ก็ จ ะเป็ น การ ลงทุนที่สูญเปล่า
to success of Thai SME
Connectivity 03
SME ต้องแสวงหาเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน และภาครัฐควรจัดตั้ง กองทุ น พิ เ ศษเพื่ อ ให้ ก ารสนั บ สนุ น ด้ ว ย โดยเฉพาะการเดินทางไปเจรจาพบปะ กับคู่ค้าในอาเซียน
“SME จะลุยเดี่ยวไม่ได้ ต้องมีภาครัฐ ภาคการเงิน ภาควิทยาศาสตร์และภาควิทยาการ เข้ามาช่วยเหลือ ต้องมีการสร้างองคาพยพทีร่ ดั กุม ทุกวันนีก้ ารค้นคว้าการวิจยั เกิดขึน้ ทัว่ ไปในห้อง ทดลอง แต่การขับเคลื่อนหรือผ่องถ่ายสิ่งที่ค้นพบออกมาเป็นการผลิตและการบริการยังมีน้อย แต่ในต่างประเทศความสัมพันธ์ระหว่างภาคการผลิตกับภาควิชาการค่อนข้างใกล้ชดิ มีกลไกทีค่ อย ช่วยเหลือและสนับสนุน ดังนั้นภาครัฐต้องตระหนักในบทบาทที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่เพียงแค่ การส่งเสริมเฉพาะภายในประเทศ แต่ต้องคำ�นึงถึงมิติต่างประเทศด้วย โดยคิดว่าจะทำ�อย่างไร ในการที่จะยกระดับคุณภาพของทั้งคนและเทคโนโลยี อย่าลืมว่าถ้า SME ไม่สามารถอยู่รอดได้ ภาคการเงินธนาคารก็ยากที่จะอยู่รอด” ดร.สุรินทร์ ชี้ให้เห็นถึง ‘ช่องว่าง’ ที่ต้องเติมเต็มระหว่าง SME กับภาครัฐ ว่า “สิ่งที่น่ากังวลคือ ‘การสื่อสาร’ ระหว่างภาครัฐซึ่งเป็นผู้กำ�หนดกฎเกณฑ์ กับฝ่ายผลิตหรือผู้ประกอบการ ถ้าไม่มั่นใจ ในโอกาส ข้อมูลและการสนับสนุน ก็จะทำ�ให้ผู้ที่ทำ�ธุรกิจ ‘งมโข่ง’ ไม่รู้ทิศทางสำ�หรับอนาคต “ยกตัวอย่างกลไกของประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก เช่น JTRO ออกไปสำ�รวจ ตลาดต่างประเทศ เพื่อนำ�สินค้า SME ของญี่ปุ่นไปตอบสนองให้ตรงกับความต้องการของแต่ละ ตลาด ภาครัฐของไทยก็อาจไปเก็บข้อมูลมาเหมือนกัน แต่ในปัจจุบันระหว่างภาครัฐด้วยกันเอง ก็ยังพูดกันคนละทาง ไม่มีภาพชัดเจนที่จะทำ�ให้ SME มั่นใจได้ “ดังนั้นภาครัฐกับภาคเอกชนจะต้องใกล้ชิดกันมากกว่านี้ ช่วยเหลือ สนับสนุน ไปกันเป็นทีม และนีค่ อื ความท้าทายทีย่ งิ่ ใหญ่ไม่แตกต่างกับการทำ�สงคราม ถ้าเราไม่พร้อม ไม่สามารถจัดทัพได้ดี เราจะอยูร่ อดไม่ได้ และก็จะกลายเป็นผูแ้ พ้และโทษใครไม่ได้ดว้ ย เพราะกฎเกณฑ์โปร่งใส เปิดกว้าง เราทำ�ได้เขาก็ทำ�ได้ ถ้าเราไม่ทำ� ไม่ใช่ความผิดของคนอื่น แต่เป็นความผิดของเราเอง” ดร.สุรินทร์ ทิ้งท้ายพร้อมให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์ 022 BORDERLESS
How to success Interview
SME Inspiration เรือ่ ง : ไม้มว้ น
ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ TUF เริ่มต้นธุรกิจผลิตและ ส่งออกอาหารทะเลแช่งแข็ง เมื่อปี 2531 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกเพียง 25 ล้านบาท แต่วันนี้ TUF เป็นบริษัทมหาชนที่มีทุนจดทะเบียนสูงกว่า 1.2 พันล้านบาท และเป็น ‘เบอร์ 1’ ของผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเล แช่แข็งของโลก รายได้ของ TUF ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ 106,698 ล้านบาท (หรือ 3,441 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เติบโตจากปีก่อน 8% โดยครึ่งหนึ่ง เป็นรายได้ทมี่ าจากฐานการผลิตในต่างประเทศ ขณะทีก่ �ำ ไรสุทธิของ TUF ณ สิ้นปี 2555 อยู่ที่ 5,117 ล้านบาท ลดลง 8% จากปี 2554
TUF
ยืนหยัดผู้นำ� ด้วยนวัตกรรมและ
024 BORDERLESS
สาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้กำ�ไรลดลง มาจากราคาวัตถุดิบที่ถีบตัวสูงขึ้นมากกว่า 20-30% โดยเฉพาะราคากุ้งที่ถีบตัวสูงขึ้นในไตรมาส 4 อันเนื่องมาจากโรคระบาด และปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ เป็นผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจโลก ซึ่งดูจะเป็นปัจจัยสำ�คัญที่กระเทือนกับหลายธุรกิจ คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร TUF กลับมองว่า ปัญหานี้ไม่ส่งผล กระทบมากนัก เพราะ TUF เป็นธุรกิจอาหารซึ่งมีความสำ�คัญต่อการบริโภคของ คนทั่วโลก จึงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง แต่ปัจจัยที่กระทบกับ TUF มากกว่าคือ ค่าเงินบาทที่ผันผวน ซึ่งส่งผลต่อ การตัดสินใจซือ้ สินค้าของผูบ้ ริโภคในต่างประเทศ สำ�หรับการแก้ปญ ั หานีใ้ นระยะสัน้ คุณธีรพงศ์เลือกใช้เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ โดยเฉพาะการซื้อขายอัตรา แลกเปลี่ยนล่วงหน้า ซึ่งถือเป็นการประคับประคองธุรกิจ ในการแก้ปัญหาเรื่องค่าเงินผันผวนในระยะยาว TUF ใช้วิธีกระจายความเสี่ยง ด้วยการลดการพึ่งพารายได้จากฐานการผลิตในเมืองไทยลง และเพิ่มฐานรายได้ จากต่างประเทศมากขึ้น โดยหลายปีที่ผ่านมา TUF ได้ดำ�เนินการลงทุนสร้างฐาน การผลิตในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันระดับการพึ่งพารายได้จากฐาน การผลิตในประเทศเหลือเพียง 50% จากที่เคยสูงถึงเกือบ 100% การเริม่ ลงทุนในต่างประเทศครัง้ แรกในสหรัฐอเมริกา เมือ่ 15 ปีกอ่ น และกว่า 2 ปี มาแล้วที่ TUF ได้เข้าไปลงทุนในตลาดยุโรป ขณะที่ตลาดดาวรุ่งอย่าง ‘เออีซี (AEC)’ ก็เป็นอีกกลุ่มที่ TUF ให้ความสนใจมาก ซึ่งในปัจจุบันบริษัทได้ส่งสินค้า ภายใต้แบรนด์ของ TUF เข้าสู่ตลาดพม่า, ลาว, เขมร และอินโดนีเซีย เพื่อชิมลาง และเรียนรู้ตลาดแล้ว สำ�หรับการรับมือราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมถึงการแข่งขัน ที่รุนแรงขึ้น ผู้นำ� TUF เลือกใช้ ‘นวัตกรรม’ และ ‘R & D’ เป็นยุทธศาสตร์หลัก เพราะเชื่อมั่นว่า นี่คือ ‘กุญแจ’ ที่จะทำ�ให้ TUF รักษาความสามารถในการทำ�กำ�ไร และสร้างศักยภาพความเป็นผู้นำ�ในธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง “การลดต้นทุนอย่างเดียวไม่พอแล้ว สิ่งที่ต้องให้ความสำ�คัญ คือ ‘นวัตกรรม’ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และเพิ่มคุณค่าของสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งนี่จะ ทำ�ให้สินค้าของเราแตกต่างจากคู่แข่งอย่างชัดเจน” ผลจากการให้ความสำ�คัญกับ ‘นวัตกรรม’ ทัง้ ในแง่กระบวนการคิดและการผลิต รวมถึง R & D ทำ�ให้ TUF มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่เสมอ โดยปัจจุบัน บริษัท มีสินค้าใหม่กว่า 170 ประเภท โดยมี Sushi & Sashimi และ Bakery เป็นกลุ่ม ธุรกิจใหม่ล่าสุด “เราตัง้ เป้าว่า สินค้าหรือธุรกิจใหม่ทเี่ ราทำ�ในอนาคตจะต้องมาจาก ‘นวัตกรรม’ อย่างน้อย 20% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ไม่น้อย แต่ก็เป็นทิศทาง ทีต่ อ้ งมุง่ ไปเพือ่ ตอกย้�ำ ความเป็นผูน้ �ำ ธุรกิจของเรา โดยเฉพาะท่ามกลางการแข่งขัน ที่รุนแรงขึ้นทุกปี” คุณธีรพงศ์ย้ำ� ทั้งนี้ ในฐานะ ‘เบอร์ 1’ ของธุรกิจอาหารแช่แข็งระดับโลก คุณธีรพงศ์มองว่า มีหลายสิ่งที่ต้องทำ�ไปพร้อมๆ กันเพื่อรักษาความเป็นผู้นำ�ในอนาคต นอกจาก เรื่องคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย สิ่งสำ�คัญคือ การพัฒนาและปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าต้นทุนการผลิตของบริษัท ยังสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
Global Challenger Global Challenger เป็ น รางวั ล ที่ พิ จ ารณาจากความสามารถในการ ดำ�เนินธุรกิจ และความสามารถในการ แข่งขันสูง โดยธุรกิจมีการเติบโตอย่าง ต่อเนื่อง รวมถึงกลยุทธ์การลงทุนใน ต่างประเทศ เพือ่ ขยายธุรกิจสูร่ ะดับโลก หัวใจสำ�คัญอีกประการคือ ‘นวัตกรรม’ เพราะ นี่คือกุญแจในการสร้างความแตกต่างให้ผลิตภัณฑ์ และสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ส่วนกุญแจสำ�คัญ ดอกสุ ด ท้ า ยคื อ การพั ฒ นาคน เพื่ อ ให้ พ ร้ อ มกั บ การแข่งขัน ความท้าทาย และโอกาสที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต แม้จะตระหนักว่า การแข่งขันและความท้าทาย ในธุรกิจจะมากขึ้นทุกวัน แต่คุณธีรพงศ์ยังคงยืนยัน เป้าหมายการเติบโตของ TUF ไว้ที่รายได้ 5 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2558 และ 8 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ ในปี 2563 โดยคุณธีรพงศ์มั่นใจว่า หาก TUF สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ TUF ก็นา่ จะรักษา ความสามารถในการแข่งขันและความเป็นผูน้ �ำ ในเวที ระดับโลกเอาไว้ได้อย่างมั่นคง นีค่ อื เรือ่ งราวความสำ�เร็จและยุทธศาสตร์บางส่วน ของ TUF บริษัทซึ่งนำ�ความภาคภูมิใจมาสู่คนไทย ในฐานะ ‘พ่อครัวของโลก’ และผู้นำ�ตลาดอาหาร ทะเลโลก ผ่านการนำ�เสนออาหารที่มีคุณภาพ และ ‘นวัตกรรม’ ด้านผลิตภัณฑ์และการผลิตมาอย่าง ต่อเนื่อง และทั้งหมดนี้ ก็คงพออธิบายได้ว่าเพราะเหตุ ใด บริษัทสัญชาติไทยที่ชื่อ ‘ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์’ จึงได้รับรางวัล Global Challenger 2013 จาก The Boston Consulting Group ติดต่อกัน มานานถึง 8 ปี
BORDERLESS
025
SME Inspiration เรือ่ ง : ไม้มว้ น
วิริยะกรุ๊ป
เติบโตต่อยอดผ่านบทเรียน ‘วิ ริ ย ะกรุ๊ ป ’ หนึ่ ง ในตั ว แทนจำ � หน่ า ยรถยนต์ ร ายใหญ่ ข อง เมื อ งไทย และมี บ ริ ษั ท ในเครื อ ดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ที่ ห ลากหลาย โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์ที่มีอย่างครบวงจร นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจอีกมากมาย ซึ่งกว่าจะมาถึงวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย 026 BORDERLESS
คุ ณ ธงชั ย จิ ร อลงกรณ์ ประธานกรรมการ กลุ่ ม บริ ษั ท วิ ริ ย ะกรุ๊ ป เล่ า ว่ า เริ่ ม ดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ รถยนต์ ม าจากธุ ร กิ จ เช่ า ซื้ อ รถยนต์ (Leasing) เคยมี ย อด การปล่อยเช่าซื้อสูงเกือบ 3 หมื่นล้านบาท จนกระทั่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ที่ทำ�ให้หลายธุรกิจต้องเผชิญความยากลำ�บาก ซึ่งกลุ่มวิริยะก็เป็นหนึ่งในนั้น “วิกฤตต้มยำ�กุ้งทำ�ให้ภาพรวมธุรกิจประเทศไทยประสบภาวะทางการเงินอย่างรุนแรง นั่นเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำ�ให้วิริยะต้องกลับมามองตัวเองใหม่ และเปลี่ยน ยุทธศาสตร์หันกลับมามุ่งเน้น (Focus) ในธุรกิจที่เราชำ�นาญที่สุด นั่นคือธุรกิจตัวแทนจำ�หน่ายรถยนต์” ปี 2543 วิริยะกรุ๊ปได้ตั้งบริษัทในกลุ่มธุรกิจรถยนต์แห่งแรกคือ ‘วิริยะนครินทร์’ ดำ�เนินธุรกิจตัวแทนจำ�หน่ายรถยนต์เชฟโรเลต ซึ่งปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วประเทศ 16 สาขา รวม 11 จังหวัด นอกจากนี้วิริยะกรุ๊ปยังเป็นตัวแทนจำ�หน่ายรถมาสด้าและรถมิตซูบิชิ โดยมีเครือข่ายทั่วประเทศ 7 สาขา ในปีที่ผ่านมา วิริยะกรุ๊ปมียอดขายรถเกือบ 20,000 คัน แบ่งเป็นรถเชฟโรเลต 17,000 คัน โดยวิริยะกรุ๊ปถือเป็นกลุ่มบริษัทที่สร้างยอดขายสูงสุดให้กับเชฟโรเลต ส่วนยอดขายรถมาสด้าและมิตซูบิชิอยู่ที่ 1,000 และ 1,200 คัน ตามลำ�ดับ
ต่ อ มา วิ ริ ย ะกรุ๊ ป ได้ ข ยายธุ ร กิ จ ไปสู่ ก ลุ่ ม ธุ ร กิ จ ผู้ แ ทนจำ � หน่ า ยรถใช้ แ ล้ ว (used car) เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยล่าสุดบริษัทได้เซ็นสัญญากับ ‘Gulliver international’ บริษัทจำ�หน่ายรถใช้แล้ว ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น เพื่อจัดตั้ง ‘Gulliver’ ดำ�เนินธุรกิจซื้อ-ขายและแลกเปลี่ยน รถยนต์ใช้แล้วคุณภาพดีด้วยบริการจากพนักงานขายมืออาชีพ ภายใต้ระบบงาน และ know-how จากญีป่ นุ่ ซึง่ บริษทั ใหม่นจี้ ะเริม่ เปิดบริการในต้นปีหน้า โดยตัง้ เป้า ขยายสาขาให้ได้ถึง 30 สาขาในเฟสแรก ทัง้ นี้ เพือ่ ต่อยอดรายได้และบริการให้ครบวงจร วิรยิ ะกรุป๊ ยังได้เปิดธุรกิจบริการ อู่ซ่อมสีและตัวถังมาตรฐานเพิ่มเติม โดยปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศ 8 แห่ง “บทเรียนจากวิกฤตปี 2540 ทำ�ให้เห็นว่า ถ้าเราเอาความชำ�นาญของเรามาสร้าง ธุรกิจใหม่ มันจะ ‘แน่น’ และสามารถ synergy กับธุรกิจเดิมได้ การที่เรามี ประสบการณ์ยาวนานในธุรกิจรถยนต์ มันทำ�ให้เราเข้าใจวิธีรุกตลาดรถยนต์ ซึ่งใน ความคิดผม ถ้าเราทำ�ธุรกิจเกี่ยวกับรถยนต์แบบครบวงจร แบบมืออาชีพ และมี มาตรฐานสากล เราก็น่าจะประสบความสำ�เร็จ” นอกจากการ ‘Focus’ ในธุรกิจที่ช�ำ นาญ จากวิกฤตครั้งนั้น ผู้บริหารวิริยะกรุ๊ป ยังได้เรียนรู้ว่า การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk Management) ถือเป็นอีกกุญแจ สำ�คัญในการดำ�เนินธุรกิจให้มั่นคง เพือ่ กระจายความเสีย่ งทางธุรกิจ วิรยิ ะจึงได้รกุ เข้าสูธ่ รุ กิจด้านโลจิสติกส์ โดยให้ บริการ ‘รถบรรทุกขนส่งปูนซีเมนต์’ ให้กบั ‘บริษทั ผลิตภัณฑ์และวัสดุกอ่ สร้าง จำ�กัด (CPAC)’ โดยเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของซีแพค และธุรกิจจัดจำ�หน่าย รถบัสโดยสารยี่ห้อ ‘แดวู’ ซึ่งมีลูกค้ารายใหญ่คือ บริษัท ขนส่ง จำ�กัด (บขส.) บริษัท เอกชนในธุรกิจท่องเทีย่ ว และหน่วยงานราชการทีต่ อ้ งการจัดซือ้ รถ-รับส่งพนักงาน นับเป็นการบริหารความเสี่ยงที่น่าสนใจ เพราะเป็นการขยายฐานลูกค้าจากบุคคล ธรรมดา ซึง่ เป็นลูกค้าส่วนใหญ่ของธุรกิจค้าปลีกรถยนต์ ไปสูก่ ลุม่ ลูกค้าทีเ่ ป็นบริษทั เอกชนขนาดใหญ่และหน่วยงานราชการ ซึ่งมีความอ่อนไหวต่อปัญหาเศรษฐกิจ น้อยกว่า (ไม่นับวิกฤตครั้งใหญ่) นอกจากนี้ วิริยะกรุ๊ปยังขยายสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยเน้นดำ�เนินธุรกิจ ให้เช่าสถานที่ประกอบธุรกิจแก่บริษัทในเครือทั้งหมด ทั้งนี้ วิริยะกรุ๊ปตั้งเป้ามุ่งสู่การเป็น ‘ผู้นำ�’ ในธุรกิจตัวแทนจำ�หน่ายรถยนต์ ภายใน 3-5 ปี โดยคุณธงชัยเชื่อว่า ด้วย 4 องค์ประกอบสำ�คัญที่บริษัทมี คือ
พนั ก งานที่ ดี , สิ น ค้ า ที่ ต อบโจทย์ ลู ก ค้ า , เครื อ ข่ า ยธุ ร กิ จ ที่ ค รบวงจร และ ผูส้ นับสนุนทางการเงินทีด่ ี จะทำ�ให้บริษทั เข้มแข็งและเติบโตอย่างก้าวกระโดด จนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ในที่สุด จากบทเรี ย นและการปรั บ ตั ว เพื่ อ ความอยู่ ร อดของกลุ่ ม วิ ริ ย ะครั้ ง นั้ น ใครเลยจะเชื่ อ ว่ า นั่ น คื อ จุ ด เริ่ ม ต้ น แห่ ง ความยิ่ ง ใหญ่ ข องวิ ริ ย ะกรุ๊ ป ในวั น นี้ และเป็นรากฐานการเติบใหญ่ในวันหน้า “เพราะโลกธุรกิจไม่เคยหยุดหมุน เราต้องเรียนรู้และปรับตัวตลอดเวลา เรียนรู้จากข้อผิดพลาด นำ�มาปรับปรุงและปรับตัว เพื่อทำ�ให้ธุรกิจเข้มแข็ง และมีศักยภาพต้านทานผลกระทบต่างๆ ในอนาคต เหมือนที่วิริยะกรุ๊ปเรียนรู้ และปรับตัวจนเติบโตมาถึงวันนี้” ผู้บริหารวิริยะกรุ๊ปทิ้งท้าย
BORDERLESS
027
SME Inspiration เรือ่ ง : รัชตวดี
‘พีซีเอส-นิสชิน’ พัฒนาองค์ความรู้ ต่อยอดสู่ความสำ�เร็จ
ปฏิ เ สธ ไม่ได้วา่ ‘การวิจยั และพัฒนา’ (Research and Development) นับเป็น หัวใจสำ�คัญในการดำ�เนินธุรกิจในยุคนี้ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ยานยนต์ ซึ่ ง มี ก ารแข่ ง ขั น สู ง ด้ ว ยแล้ ว นวั ต กรรมใหม่ ๆ คือตัวชี้วัดความสำ�เร็จ ดังเช่นที่บริษัท พีซีเอส-นิสชิน จำ�กัด ได้ทำ�การคิดค้นและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งตลอดระยะเวลา กว่า 30 ปี จนในวันนี้ได้กลายเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในการ ผลิตชิน้ ส่วนยานยนต์หลากหลายชนิด และก้าวขึน้ เป็น Supplier ในธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ ในประเทศไทย
3 ทศวรรษแห่งการเติบโต
คุณอังกฤษ รุ่งโรจน์กิติยศ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีซีเอส-นิสชิน จำ�กัด ผู้เป็นทายาทรุ่นที่ 3 ซึ่งรับหน้าที่บริหารธุรกิจในกลุ่มบริษัทพีซีเอส แมชีน กรุ๊ป บอกเล่าถึง จุดเริม่ ต้นธุรกิจของครอบครัวว่า “ในช่วงแรกบริษทั เป็นธุรกิจนำ�เข้าเครือ่ งจักรกลการเกษตรจากยุโรป เพือ่ ทำ�การซ่อมแซมก่อนจะจัดจำ�หน่ายให้แก่เกษตรกรไทย หลังจากนัน้ ทางบริษทั ได้รบั การส่งเสริมจากสำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI แนะนำ�ให้เริม่ ผลิตชิน้ ส่วนสำ�หรับเครือ่ งจักรกลการเกษตรให้กบั ตลาดรับจ้างผลิต (OEM) เป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ ’80S ต่อมาทางบริษัทก็ได้มีโอกาสผลิตชิ้นส่วนให้ธุรกิจยานยนต์ จนกระทั่งบริษัทเติบโตขยายมาจนถึงทุกวันนี้” จากการสัง่ สมประสบการณ์กว่า 3 ทศวรรษทีผ่ า่ นมา วันนี้ พีซเี อส-นิสชิน มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างบูรณาการ ผ่าน 3 ระบบ คือ Quality Control, Quality Assurance และ Quality System ขยายขอบเขตครอบคลุมผลิตภัณฑ์หลากหลาย ทั้งอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร, ชิ้นส่วนรถยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ชิ้นส่วนโทรศัพท์มือถือและกล้องถ่ายรูป เพื่อส่งต่อให้กับลูกค้าทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการส่งออกให้กับลูกค้าในนามบริษัทโดยตรง 15% ที่เหลือ ส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิตแบบ OEM 028 BORDERLESS
“ปัจจุบันธุรกิจของเราแตกไลน์ขยายไปค่อนข้างมาก ธุรกิจที่เกี่ยวกับ อุปกรณ์เครื่องจักรกลการเกษตรก็ยังคงมีอยู่ ในขณะที่ธุรกิจผลิตชิ้นส่วน ยานยนต์นนั้ ถือเป็นธุรกิจหลักในเครือบริษทั พีซเี อส แมชีน กรุป๊ นอกจากนี้ ยังมีการขยายการผลิตไปครอบคลุมอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงด้วย เช่น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนที่เป็นต้นน้ำ�ของ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เราผลิตอยู่ รวมทั้งยังมีโปรดักต์ที่เราทำ�การผลิต ออกแบบ และพัฒนาวิจัยสินค้าด้วยตัวเอง เพื่อขายให้กับ end user เพราะฉะนั้นจึงเรียกได้ว่าสินค้าของเราครอบคลุมค่อนข้างกว้างทั้งเรื่อง ยานยนต์และอุตสาหกรรมการเกษตร”
ปรับตัวพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
สำ�หรับภาพรวมของธุรกิจในปีทผี่ า่ นมานัน้ ผลจากนโยบายรถคันแรก ของรัฐบาลทำ�ให้ธุรกิจของบริษัทได้รับอานิสงส์ทำ�ให้ยอดขายชิ้นส่วน ยานยนต์เพิม่ ขึน้ 15% จากปีทแี่ ล้ว แต่ในขณะเดียวกันก็มผี ลกระทบด้านลบ แฝงอยู่ เนื่องจากในธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มีข้อกำ�หนดของ อุตสาหกรรมค่อนข้างมาก ดังนัน้ การจะเพิม่ กำ�ลังการผลิตจึงไม่สามารถ ทำ�ได้โดยง่ายภายในระยะเวลาอันสั้น “ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์จะมีการเปลี่ยนโมเดลทุก ๆ 5-6 ปี ดังนั้น สินค้าที่จะเริ่มผลิตในช่วงต้นปีหน้า ตอนนี้ก็ต้องมีการสั่งซื้อเครื่องจักร เข้ามาตั้งสายการผลิตให้ลูกค้าแล้ว ความท้าทายอีกเรื่องคือ กฎระเบียบ ด้านสิง่ แวดล้อมในการผลิต เช่น ในสหภาพยุโรปจะมีขอ้ กำ�หนดมาตรฐาน ยูโร 4 ซึง่ ในประเทศไทยเองก็ก�ำ ลังเริม่ บังคับใช้เร็ว ๆ นีเ้ ช่นกัน ฉะนัน้ แล้ว ธุรกิจผู้ผลิตยานยนต์ไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศก็ต้องปรับตัว ให้ เข้ า กั บ กฎระเบี ย บ และปรั บ เปลี่ ย นเทคโนโลยี เ พื่ อ ให้ ต อบรั บ กั บ มาตรฐานการผลิตที่จะใช้บังคับในอนาคต” อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลต้นทุนในการออกแบบและการวิจัยพัฒนา สินค้าในธุรกิจยานยนต์ ทำ�ให้ลกู ค้าไม่สามารถปรับเปลีย่ น Supply Chain ได้ในระยะสั้น แต่คุณอังกฤษวิเคราะห์ว่า แนวโน้มในอนาคตจะเริ่มมีการ แข่งขันกันในการผลิตชิ้นส่วนรถในโมเดลถัดไป ซึ่งขณะนี้รถบางรุ่นกำ�ลัง จะหมดสายการผลิตในช่วงปี 2015 และจะเริ่มโมเดลใหม่ในปี 2016 ดังนั้น เป้าหมายหลักของพีซีเอส-นิสชินก็คือ พัฒนาศักยภาพของบริษัท ให้ทันก่อนที่จะถึงเวลาเจรจาทำ�สัญญาทางธุรกิจรอบใหม่ “อันดับแรกคือการพัฒนาศักยภาพในการผลิตของพนักงานในโรงงาน ให้ได้เพิ่มขึ้น เพราะประเทศไทยค่อนข้างเสียเปรียบในเรื่องของค่าแรง ที่แพงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศรอบข้างในอาเซียน จึงต้องเพิ่มสัดส่วน การผลิตเชิงอัตโนมัติเพื่อลดต้นทุนค่าแรง และลดปริมาณการใช้แรงงาน ด้อยฝีมือ หันไปใช้แรงงานฝีมือในระดับ technician ไปจนถึงระดับ engineer เพิ่มขึ้น” ทัง้ นี้ คุณอังกฤษมองว่าการปรับปรุงโครงสร้างระบบการขนส่งทางบก อย่างระบบรถไฟรางคู่ ซึง่ จะเชือ่ มต่อระหว่างภูมภิ าคต่าง ๆ ของไทย และ รถไฟความเร็วสูงทีว่ งิ่ ขนส่งสินค้าไปยังมาเลเซียและสิงคโปร์ มีสว่ นสำ�คัญ มากในการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน การเปิด AEC ในอีก 2 ปีข้างหน้า จึงนับเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำ�หรับพีซีเอส-นิสชิน ที่จะไปเปิดตลาดและสร้างโรงงานใหม่ในภูมิภาคนี้ “ผมมอง AEC ว่าเป็นโอกาสมากกว่าที่จะเป็นผลกระทบเชิงลบ ต่อธุรกิจ เพราะการเปิด AEC คือการเปิดตลาด ประเทศไทยเป็น Hub ของการผลิตยานยนต์ในภูมิภาค AEC ฉะนั้น จึงเป็นโอกาสสำ�หรับผู้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ที่จะได้ใกล้ชิดกับบริษัทรถยนต์ต่าง ๆ อยู่แล้ว ซึ่งใน
ตอนนีอ้ นิ โดนีเซียเป็นคูแ่ ข่งทีน่ า่ กลัวทีส่ ดุ ของไทยในภูมภิ าค AEC เพราะมีโครงสร้างสังคม และการปกครองไม่แตกต่างจากประเทศไทย แต่ขณะเดียวกันทัง้ ฟิลปิ ปินส์และอินโดนีเซีย ก็เป็นตลาดทีเ่ รามองว่าน่าเข้าไปลงทุนเพือ่ เสริมศักยภาพการผลิตให้กบั บริษทั เราด้วยเช่นกัน”
การค้นคิดและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต หัวใจสำ�คัญแห่งความสำ�เร็จ
คุณอังกฤษเน้นย้ำ�ว่า คุณภาพคือหัวใจสำ�คัญที่สุดของธุรกิจยานยนต์ กลยุทธ์ที่ทาง พีซเี อส-นิสชินใช้ในการขับเคลือ่ นความสำ�เร็จอย่างยัง่ ยืน จึงเน้นไปทีก่ ารคิดค้นและพัฒนา เทคโนโลยีการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่จะต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้เข้ากับข้อกำ�หนดมาตรฐานการผลิตใหม่ ๆ ไปจนถึงการต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ให้ สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้ “เนื่องจากธุรกิจของเราถือกำ�เนิดมาจากเทคโนโลยีวิศวกรรมที่โดดเด่น ดังนั้น สินค้า ของเราส่วนใหญ่จึงได้รับความไว้วางใจให้อยู่ในผลิตภัณฑ์กลุ่มที่เรียกว่า Power Train System คือระบบส่งกำ�ลังในเครือ่ งยนต์ตา่ ง ๆ โดยชิน้ ส่วนหลัก ๆ จะเป็นชิน้ ส่วนทีต่ อ้ งใช้ Know-how ในการผลิตค่อนข้างเยอะ และเป็นสินค้าทีม่ ผี ผู้ ลิตได้เพียงแค่ไม่กรี่ าย ทำ�ให้เรา สามารถสร้าง Value Added หรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและองค์กรได้มากขึ้น โดยใช้ Know-how การผลิตทีเ่ ราได้ท�ำ การศึกษาและพัฒนาวิจยั กันเองภายในบริษทั เริม่ ต้นตัง้ แต่ สมัยทศวรรษที่ ’80s ในเรือ่ งของการผลิตชิน้ ส่วนยานยนต์ อาจจะเรียกได้วา่ เราเป็นธุรกิจ แรก ๆ ที่บุกเบิกการสร้างระบบควบคุมคุณภาพแบบ Active ตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะเป็นระบบ ISO 9001:1994 ไปจนถึง ISO/TS 16949:2002 ที่บังคับใช้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเฉพาะ เราได้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และวัฒนธรรมองค์กร หลังจากนัน้ ความรูต้ า่ ง ๆ ก็ถกู ถ่ายทอดมาจากรุน่ สูร่ นุ่ จากพนักงานระดับบนไปสูพ่ นักงาน ระดับล่าง เลยทำ�ให้ Know-how เหล่านี้ถูกเก็บสั่งสมมาเป็นระยะยาวนานจนถึงเวลานี้ ก็เกือบ 30 ปีแล้ว” ไม่เพียงแต่องค์ความรู้ที่ถูกถ่ายทอดและสืบต่อมาภายในองค์กร แต่พีซีเอส-นิสชิน ยังให้ความสำ�คัญการวิจยั และพัฒนาด้วยการแฝงไว้ในทุกกิจกรรมของบริษทั พร้อมเปิดรับ และแลกเปลี่ยนนวัตกรรมงานวิจัยใหม่ๆ กับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ นำ�มาปรับใช้ ในการดำ�เนินธุรกิจ รวมถึงทำ�การถ่ายทอดองค์ความรูน้ นั้ ให้กบั บุคคลภายนอกต่ออีกด้วย ณ วันนี้ คุณอังกฤษยืนยันว่า พีซีเอส-นิสชินจะยังคงมุ่งมั่นพัฒนาทั้งในด้านเทคโนโลยี และการบริหารบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเติบโตอย่างยั่งยืนเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ระดับ ‘World Class’ ต่อไป BORDERLESS
029
LEISURE Hobby Book Summary Edutainment Indulging TMB Movement
Hobby เรือ่ ง : ไม้มว้ น
เสน่ห์
ในมุมมองนักสะสมนาฬิกา
‘นาฬิกา’ ของใช้คู่กายขนาดไม่ใหญ่ แต่กลับได้รับการยกย่องเป็น ‘สุดยอด’ แห่งงาน ประติมากรรมของโลก เพราะนับเป็นงานหัตถศิลป์ที่มีขนาดเล็ก แต่กลับแฝงไว้ซึ่งภูมิปัญญาที่ สืบทอดมาหลายร้อยปี และซุกซ่อนองค์ประกอบศิลป์ชิ้นเล็กๆ เอาไว้มากมาย โดยที่แต่ละชิ้น มีกลไกและหน้าที่ของมันเอง สำ�หรับคนที่สนใจเทคโนโลยีและงานศิลปะบนข้อมือ การได้เข้าชมงานนาฬิการะดับโลก สักครั้งในชีวิต คงเป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝัน โดยหนึ่งในงานสำ�คัญของวงการนาฬิกาโลก คือ BASELWORLD ซึ่งจัดขึ้นทุกปี ณ เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สำ�หรับงาน BASELWORLD 2013 ทีเ่ พิง่ จัดขึน้ เมือ่ ปลายเดือนเมษายนทีผ่ า่ นมา คุณปราสาท วิทยาภัทร์ นักสะสมและกูรแู ถวหน้าในวงการนาฬิกาของเมืองไทย เอ่ยชือ่ นาฬิกาทีเ่ ขาชืน่ ชอบเป็น พิเศษ 2 เรือน คือ PATEK PHILIPPE รุ่น Sky Moon Tourbillon และ A. Lange & SÖhne รุ่น 1815 Rattrapante Perpetual Calendar “เนื่องจากผมเป็นคนที่ชื่นชอบนาฬิกาโบราณเป็นพิเศษ ปีนี้ PATEK PHILIPPE ทำ�ออกมาได้ สุดยอดมาก ปกตินาฬิกาของ PATEK PHILIPPE ซับซ้อนและงดงามอยู่แล้ว แต่ปีนี้ Sky Moon Tourbillon ของเขาสวยมาก เพราะเขาแกะลวดลายได้วจิ ติ รอ่อนช้อย จนผมไม่คดิ ว่าเขาจะกล้าทำ�ขนาดนี้ มันถือเป็นศิลปะชั้นสูงเลยทั้งการรมยาและแกะลาย ส่วนนาฬิกาของ A. Lange & SÖhne ปกติก็มี ความซับซ้อนสูงอยู่แล้ว แต่ Rattrapante Perpetual Calendar จะยิ่งซับซ้อนขึ้นไป เพราะนอกจาก แยกเข็มจับเวลา ยังมีกลไกสำ�หรับบอกปีอธิกสุรทิน ซึง่ ถือเป็นนาฬิกาทีค่ รบเครือ่ งเรือ่ งการใช้สอยจริงๆ”
ปราสาท วิทยาภัทร์ ผู้หลงใหลนาฬิกา
คุณปราสาท วิทยาภัทร์ เป็นประธานกรรมการบริหารบริษัท Intellect ผู้ผลิตเครื่องมือและศูนย์การเรียนรู้ทาง วิทยาศาสตร์ แต่ดว้ ยความชอบและสนุกกับการสะสมนาฬิกา จนเรียกได้วา่ คลัง่ ไคล้ โดยเฉพาะนาฬิกาโบราณและ คลาสสิก คุณปราสาทจึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์นาฬิกาส่วนบุคคลขึ้นในนาม ‘ปกิณกะ นาฬิกา’ คุณปราสาทสนใจนาฬิกาตั้งแต่เด็ก แต่เริ่มสะสมจริงจังเมื่อ 30 กว่าปีก่อน เขาถือเป็นนักสะสมนาฬิกายุคแรก โดยแรงบันดาลใจมาจากความชื่นชอบเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ซึ่งเขามองว่า นาฬิกาถือเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ชนิดหนึง่ แต่มคี วามพิเศษทีม่ คี วามสวยงาม คลาสสิก และทีส่ �ำ คัญคือ นาฬิกาเรือนเล็ก ๆ แต่มชี นิ้ ส่วนร่วม 300 ชิน้ หรือมากกว่านั้น คุณปราสาทมองว่า นาฬิกาจึงเป็น ‘ผลผลิต’ ที่ลงตัวทั้งเรื่องของเทคโนโลยีและศิลปะ ปัจจุบัน คุณปราสาทมีนาฬิกาข้อมือในคอลเลกชั่นไม่ต่ำ�กว่า 1,000 เรือน โดยมีอยู่แทบทุกแบรนด์ที่เห็นตาม หน้าหนังสือนาฬิกาชัน้ นำ� ส่วนใหญ่เป็นนาฬิกาโบราณเพราะความชอบศิลปะสไตล์คลาสสิก และนาฬิกาทีม่ ดี ไี ซน์ สวยแปลก เพราะทำ�ให้การสะสมดูไม่น่าเบื่อ โดยคุณปราสาทย้ำ�ว่า ทั้งหมดเป็นการสะสมด้วยความรัก ไม่ใช่เพื่อ เก็งกำ�ไร “นักสะสมมือใหม่ควรใจเย็น ค่อย ๆ หาสไตล์ที่ตัวเองชอบให้เจอ แล้วอย่าคิดจะสะสมนาฬิกาเพื่อเก็งกำ�ไร เพราะมันทำ�ไม่ได้ ถ้าเพื่อการลงทุนก็ยังพอทำ�ได้ แต่ต้องใช้เวลา แต่ถ้าซื้อเพราะความชอบหรือเล่นนาฬิกาเพราะ ความชอบ บวกกับความตัง้ ใจเก็บไว้ให้ลกู หลาน แค่นคี้ ณ ุ ก็ได้ก�ำ ไรตัง้ แต่เริม่ ต้นแล้ว เพราะคุณจะมีความสุขตัง้ แต่ซอื้ ” สำ�หรับช่วงเวลาที่มีความสุขและสนุกที่สุดในการสะสมนาฬิกา คุณปราสาทมองว่าเป็นช่วงแห่งการรอคอย ที่จะได้ครอบครองนาฬิกาเรือนที่ปรารถนา “บางเรือน เราอยากได้แต่ยงั ไม่มเี งิน พอมีเงิน ปรากฏมันขายแล้ว กว่าจะเจออีกทีตอ้ งรอเป็นสิบปี หรือบางเรือน อาจจะไม่ได้เจอเลย แต่มันก็เป็นความสุขเพราะมันได้ลุ้น” สุดท้าย คุณปราสาทฝากคำ�เตือนถึงนักสะสมมือใหม่ว่า ก้าวแรกบนเส้นทางนี้ควรเริ่มจากการหาข้อมูลให้ ลึกซึ้งก่อนการตัดสินใจซื้อนาฬิกาแต่ละเรือน 032 BORDERLESS
Book Summary เรือ่ ง : ไม้มว้ น
หนึ่งในหนังสือที่ติด Best Seller อยู่ขณะนี้ ต้องมีรายชื่อของหนังสือเล่มนี้ LEAN IN: Women, Work, and the Will to Lead ของ Sheryl Sandberg ซึง่ ต้องยอมรับว่า ชือ่ ผูเ้ ขียนสร้างความน่าสนใจให้กบั หนังสือ เล่มนี้อย่างมาก Sheryl เป็ น ซี โ อโอ (Chief Operating Officer) ของเฟซบุ๊ ก โดยตำ�แหน่งและอำ�นาจ เธอเป็นรองเพียง Mark Zuckerberg ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของเฟซบุ๊กเท่านั้น โดยก่อนย้าย มาสร้างความสำ�เร็จให้เฟซบุ๊ก เธอเคยเป็นผู้บริหารคนสำ�คัญที่ผลักดันการขายโฆษณาของกูเกิลให้เติบโต Sheryl มี บ ทบาทในการประชุ ม ผู้ นำ � ภาคธุ ร กิ จ ของโลก ทั้ ง World Economic Forum ที่ ด าวอส และการประชุมนโยบายไอที e-G8 เธอติด 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลของโลกจากนิตยสารไทม์ และติดอันดับ ผู้หญิงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในธุรกิจใน Fortune 50 ขณะเดียวกัน เธอยังเป็นแม่ที่น่ารักของลูก 2 คนอีกด้วย Sheryl ได้รบั การยกย่องเป็น ‘ผูบ้ ริหารหญิงเก่ง’ ทีส่ ร้างสมดุลระหว่างชีวติ งานและชีวติ ครอบครัว เธอกลายเป็น ‘แรงบันดาลใจ’ ของสตรีรุ่นใหม่ และนั่นก็จุดประกายให้เธอเขียนหนังสือแนวเฟมินิสต์กึ่งฮาวทูเล่มนี้ขึ้นมา ชือ่ เต็มของหนังสือแปลเป็นไทยได้วา่ ‘เผชิญความท้าทาย – สตรี, หน้าทีก่ ารงาน และเจตจำ�นงสูก่ ารเป็นผูน้ �ำ ’ ตรงกับหัวใจของหนังสือเล่มนี้ที่ต้องการกระตุ้นให้ผู้หญิงไล่ตามความฝันทั้งด้านงานและด้านครอบครัว รวมทั้ง กระตุน้ ให้เกิดการทบทวนย่างก้าวของผูห้ ญิงยุคใหม่ พร้อมกับปลุกให้ผหู้ ญิงออก ‘ก้าวไปข้างหน้า’ อย่างกล้าหาญ Sheryl เริม่ ด้วยข้อสังเกตว่า ‘ทำ�ไมมีผหู้ ญิงเพียงน้อยคนทีไ่ ด้ขนึ้ เป็นผูน้ �ำ ’ จนพบว่าปัญหาอยูท่ กี่ ารสร้างสมดุล ระหว่างอาชีพและครอบครัว เธอขุดลึกลงไปจนได้ข้อสรุปว่า ‘อคติ’ รอบตัวผู้หญิงและ ‘ทัศนคติ’ บวกกับความ ไม่มั่นใจของผู้หญิงเองถือเป็นความท้าทายสำ�คัญ ในหนังสือยังมีคำ�แนะนำ�ในการเอาชนะสิ่งเหล่านั้น โดยบอก เล่าผ่านวิธีคิดและประสบการณ์ทั้งที่สำ�เร็จและล้มเหลว ด้วยอารมณ์ขัน เร้าใจ และมีพลัง Lean In นับว่าเป็นหนังสืออีกเล่มที่จะทำ�ให้ผู้หญิงที่เคย ‘หดหัว’ กล้าที่จะก้าวขึ้นมาแถวหน้าอย่างสง่างาม
Startup Weekend : How to Take a Company from Concept to Creation in 54 Hours
เนื่องจากคนรุ่นใหม่ในยุคนี้มีความฝันอยากสร้างธุรกิจของตัวเองมากขึ้น จึงมีหนังสือขายฝันกลุ่ม How to และ Startup เกิดขึ้นมากมายในท้องตลาด Startup Weekend เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว เขียนโดยผู้ร่วมก่อตั้งของ Startup Weekend องค์กร ไม่แสวงหาผลกำ�ไร มีภารกิจในการให้ความรูแ้ ก่ผปู้ ระกอบการในการเริม่ ต้นธุรกิจเพือ่ สร้างความเข้มแข็ง ให้กับชุมชน กลางปี 2007 องค์กรนี้ได้จัดอีเวนต์ที่รวมเอานักออกแบบ, นักพัฒนา, นักการตลาด, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ และผู้ที่อยากเริ่มต้นธุรกิจ มารวมตัวกันเพื่อแบ่งปันความคิด ทีจ่ ะนำ�ไปสูก่ ารเริม่ ต้นธุรกิจให้ได้ภายใน 54 ชัว่ โมงในช่วงสุดสัปดาห์ หลังจากนัน้ อีเวนต์นี้ก็ถูกหมุนเวียนไปจัดในสถานที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
หนังสือเล่มนี้เป็นการเล่าเรื่องผ่านความหลากหลาย Startup Weekend events ด้วยคำ�อธิบายเชิงลึก ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างมีศิลปะ พร้อมกับหยิบยกเอาบทเรียนและประสบการณ์ของผู้ประกอบการ ในเครือข่ายมาใช้อธิบาย นับว่าเป็นหนังสือฮาวทูที่รวบรวมองค์ความรู้และแนวปฏิบัติในการเริ่มต้นธุรกิจที่เกิดขึ้น จริงไว้มากที่สุดเล่มหนึ่ง Startup Weekend ถูกยกให้เป็นหนังสือคู่มืออีกเล่มที่ผู้ต้องการเริ่มต้นธุรกิจต้องอ่าน เพราะเนื้อหาในหนังสือ เล่มนีจ้ ะเปลีย่ นวิธคี ดิ เกีย่ วกับการเริม่ ต้นของคุณ และทำ�ให้คณ ุ พร้อมทีจ่ ะปฏิวตั ติ วั เองเพือ่ การเริม่ ต้นธุรกิจอย่างแท้จริง
BORDERLESS
033
Edutainment เรือ่ ง : ญามินทร์
M ovie ชื่อของ สตีฟ จ็อบส์ นั้น มีพลังมากกว่าการเป็นเพียงแค่ชื่อของคนคนหนึ่ง ชื่อของเขาเปรียบเสมือน เป็นตราสินค้าที่สำ�คัญของบริษัทเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของโลก อย่าง Apple Inc. ทำ�ให้ จ็อบส์ ได้รับ การยกย่องให้เป็นศาสดาแห่งวงการเทคโนโลยีผไู้ ม่มวี นั ตาย (แม้ตวั ของเขาจะหมดลมหายใจลงไปแล้วก็ตาม) ไม่เพียงแค่นั้น แนวคิดอันอัจฉริยะของ สตีฟ จ็อบส์ ยังมีส่วนช่วยจุดประกายไฟไอเดียให้กับบรรดา นักคิดหัวสร้างสรรค์ทั้งหลาย ทั้งแง่มุมชีวิตของเขาก็ยังมีเกร็ดประวัติที่น่าเรียนรู้ จึงทำ�ให้เกิดภาพยนตร์ เรื่อง jOBS ขึ้น เพื่อป่าวร้องสิ่งที่หลอมรวมตัวตนและความเป็นอัจฉริยะของเขา ที่ปูทาง Apple ให้เป็น มหาอำ�นาจทางเทคโนโลยีได้ในปัจจุบัน ภาพยนตร์เรื่อง jOBS ที่นำ�แสดงโดย แอชตัน คุชเชอร์ (เขาทุ่มเทสวมบทบาทจ็อบส์อย่างลึกซึ้งถึง จิตวิญญาณ จนมองเผิน ๆ เหมือนกับได้ดจู อ็ บส์แสดงเป็นตัวเองผ่านจอเงินจริง ๆ) เป็นผลงานกำ�กับของ Joshua Michael Stern เขียนบทโดย Matt Whiteley เนื้อหาของหนังพูดถึงชีวิตช่วงหนึ่งของสตีฟ จ็อบส์ ชี้ให้เห็นจุดเปลี่ยนและพลังของชีวิตที่ทำ�ให้เขาประสบความสำ�เร็จเป็นบุรุษเรืองนามอย่างเช่นในปัจจุบัน แม้หนังจะได้รับเสียงวิจารณ์ข้างลบมาไม่น้อย ในวันฉายรอบปฐมทัศน์ที่สหรัฐฯ (โดยเฉพาะเนื้อหา ของหนังทีว่ า่ กันว่าดัดแปลงข้อมูลจริงมาอยูไ่ ม่นอ้ ย แม้แต่ สตีฟ วอซเนียก ผูร้ ว่ มก่อตัง้ Apple Inc. ยังแอบ เคืองนิด ๆ ตรงกันข้ามกับบทบาท สตีฟ จ็อบส์ ของ แอชตัน คุชเชอร์ ที่ได้รับคำ�ชมว่าเป็นหนึ่งในบทบาท ทางการแสดงทีด่ ที สี่ ดุ ของเขา) แต่ถงึ อย่างไรเราก็ยงั เชือ่ ว่า ในเนือ้ แท้ของภาพยนตร์เรือ่ ง jOBS ก็ยงั ซุกซ่อน แรงบันดาลใจไว้ให้ผู้ชมอยู่ดี กรุณาชมด้วยสายตาของคุณเอง 12 กันยายน ศกนี้ ที่โรงภาพยนตร์
M usic
Lady Gaga - Art Pop ไม่ปล่อยให้เหล่าลิตเติล มอนสเตอร์ ต้องทนคิดถึงนาน ล่าสุด มาเธอร์ มอนสเตอร์ ตัวจริงแห่งวงการเพลงป๊อปโลก ‘เลดี้ กาก้า’ กลับมาเขย่าเวที พร้อมกับอัลบั้มชุดใหม่ที่ใช้ชื่อว่า Art Pop ซึ่งถ้ากลับมาในรูปแบบธรรมดา ก็คงไม่ใช่ เลดี้ กาก้า จอมพิสดาร ดังนั้นการปรากฏตัวครั้งแรกของเธอใน อัลบัม้ ชุดนีจ้ งึ เป็นภาพโปรโมตแบบนูด้ ชวนสยิว พร้อมกับหอบหิว้ ซิงเกิลแรก Applause มาเรียกเสียงฮือฮาจากบรรดาสาวก และเหล่านักฟังเพลงทั่วโลก อีกด้วย แน่นอนว่า การตลาดของการขายเพลงในรูปแบบใหม่ เลี่ยงไม่ได้ ทีจ่ ะต้องเปิดช่องทางดาวน์โหลดเพลงผ่านแอพพลิเคชัน่ อย่าง ไอทูนส์ สโตร์ ตามค่านิยมด้านเทคโนโลยีของคนในยุคปัจจุบัน เอาเป็นว่า ถ้าคุณชื่นชอบ ในความเป็นมืออาชีพด้านเอนเตอร์เทนเนอร์ ผสานกับลูกเพี้ยนของเธอ ก็กดเข้าไปอุดหนุนและฟังเพลงของเธอได้ ส่วนอัลบัม้ เต็ม อาจต้องร้องเพลง Applause รอไปพลาง ๆ ก่อน จนกว่าจะถึง 11 พฤศจิกายน จึงจะได้ยินยล แบบจัดเต็มทั้งอัลบั้ม! 034 BORDERLESS
myeasytv.com Watch TV Online
TV Online
for Free
เว็บไซต์ทีวีออนไลน์ระดับอินเตอร์ ให้คุณเปิดประสบการณ์เอนเตอร์เทนเมนต์ พร้อมก้าวทัน ทุกความเคลือ่ นไหวของโลกได้อย่างจุใจเพียงเชือ่ มต่อเข้าโลกไซเบอร์ เว็บไซต์ดงั กล่าวมีชอ่ งให้คณ ุ เลือก ชมมากกว่า 2,300 ช่อง จัดเป็นประเภทให้เลือกว่า 350 ประเภท และแบ่งแยกโซนในแต่ละประเทศ อีกกว่า 2,000 ช่อง ทั้งยังจัดเก็บข้อมูลเป็นสัดเป็นส่วน เอาใจคุณเป็นพิเศษด้วยการลิสต์ทีวีช่องโปรด ไว้ให้โดยอัตโนมัติ พร้อมทั้งจัดอันดับความน่าสนใจของแต่ละช่อง รอคอยการคลิกเข้าไปชมอย่าง ใจจดใจจ่อของคุณในทุกคืนวัน
tunein.com
Listen to the world’s radio
Radio Online
วิทยุออนไลน์ที่เป็นหนึ่งในตองอูเรื่องความเยอะ คำ�ว่าเยอะในที่นี้ อยากให้เข้าใจร่วมกันว่าเป็นความหมายในแง่บวก เริม่ ด้วยความเยอะเรือ่ ง สถานีวิทยุ ที่มีมากกว่า 70,000 สถานีทั่วโลก ซึ่งที่เจ๋งไปกว่านั้นคือ เราสามารถเจาะจงสิ่งที่ต้องการฟังให้ลึกลงไปได้ตามคลื่นวิทยุในท้องถิ่น, แนวเพลง, ประเทศ, กีฬา, ข่าว ฯลฯ เผลอ ๆ อาจไม่พบขุมเพลงที่เป็น เพียงสถานีออนไลน์เล็ก ๆ แต่อัดแน่นไปด้วยเพลงที่คิดถึงอีกด้วย หรือถ้า ไม่รู้จะฟังคลื่นไหนดี tunein ก็มีช้อยส์ให้คุณเลือกตามเรตติ้งของสถานีที่ ได้รับการฟังมากที่สุด และถ้าชอบเพลงไหนก็สามารถดาวน์โหลดเก็บไว้ใน เครือ่ งได้เดีย๋ วนัน้ เลยด้วย เพียงแต่อาจต้องลงทุนซือ้ กันหน่อย เพือ่ เป็นขวัญ กำ�ลังใจและให้อุตสาหกรรมเพลงดำ�เนินไปได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
App Release
Sataporn Books
คลั ง ของคนรั ก หนั ง สื อ แห่ ง ใหม่ จาก สถาพรบุ๊คส์ สำ�นักพิมพ์ชั้นนำ�ของเมืองไทย เพือ่ เป็นอีกหนึง่ ทางเลือกให้แก่บรรดาหนอน หนังสือยุคใหม่ เพียงมีแอพพ์นี้ไว้ หนังสือ เล่มโปรดก็จะมีอยู่ในมือคุณได้แค่ปลายนิ้ว สัมผัส มั่นใจได้ว่าอรรถรสยังไม่เปลี่ยน สิ่งที่ เปลี่ยนมีแต่ความสะดวกสบาย หิวความรู้ หรือเหงาเดียวดายเมือ่ ใด หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เหล่านี้ ก็จะช่วยปลดล็อกความทุกข์ให้คุณ พร้อมให้ดาวน์โหลดแล้วที่แอพพ์ สโตร์
Wongnai
ผู้ ช่ ว ยหาร้ า นอาหารอร่ อ ยที่ คุ ณ เคยคุน้ สลับโหมดมาอยูบ่ นสมาร์ทโฟน เพื่ อ เฟ้ น หาร้ า นดั ง ตอบสนองความ อยากอาหารของคุณ บนฐานข้อมูลร้าน อาหารทีม่ มี ากกว่า 100,000 ร้านทัว่ กรุง และอีกหลากหลายจังหวัดทั่วประเทศ มอบความพิเศษ ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยส่วนลดเมื่อคุณตกลงปลงใจเป็นครอบครัว เดี ย วกั น กั บ Wongnai ประสบการณ์ ค วามอิ่ ม อั น แสน คุ้มค่าก็จะเสิร์ฟถึงคุณทันที ดาวน์โหลดได้แล้วทั้งในระบบ iOS และ Android
www.wongnai.com BORDERLESS
035
Indulging เรือ่ ง : อรรถ อรรถมาตย์
เมื่อ ‘โตเกียว’ ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2020 สปอตไลต์ก็สาดส่องโตเกียวอีกครั้ง และคนไทยยิ่งให้ความสนใจกับญี่ปุ่น เป็ น พิ เ ศษ เมื่ อ รั ฐ บาลญี่ ปุ่ น อนุ ญ าตให้ ค นไทยสามารถยกเว้ น วี ซ่ า เข้าประเทศญีป่ นุ่ ให้กบั คนไทยทีม่ จี ดุ ประสงค์เพือ่ จะเดินทางเข้าประเทศญีป่ นุ่ ในระยะสั้น ซึ่งจะสามารถพำ�นักในประเทศญี่ปุ่นได้ 15 วัน จากเดิมที่เป็น จุ ด หมายปลายทางยอดนิ ย มอยู่ แ ล้ ว ยิ่ ง ได้ รั บ ความนิ ย มเพิ่ ม มากขึ้ น โดยเฉพาะเมืองหลวงอย่าง ‘โตเกียว’ โตเกียว นครหลวงตะวันออกแห่งนี้ เป็นเมืองที่มีส่วนผสมลงตัว ของความสมัยใหม่และอารยธรรมอันเก่าแก่ และเป็นเสน่ห์ล้นเหลือที่ทำ�ให้ ไทเลอร์ บรูเล บรรณาธิการคนดังของนิตยสาร MONOCLE ถึงกับบอกว่า โตเกียวเป็นเมืองทีเ่ ขาชืน่ ชอบมากทีส่ ดุ ในโลก และสามารถใช้ชวี ติ ทีม่ หานคร แห่งนี้ได้อย่างไม่รู้เบื่อ
นอกเหนือจากแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางแล้ว ลองมองหา สถานที่ใหม่ ๆ และกิจกรรมที่แตกต่างทำ�ที่โตเกียวดูบ้าง แล้วคุณจะสัมผัสโตเกียว ในมุมมองที่แตกต่าง ปั่นจักรยานทัวร์โตเกียว โดยเฉลี่ยใช้เวลาวันละ 6 ชั่วโมง (09.00-15.00 น.) ราคา ราว 10,000 เยน หรือประมาณ 3,200 บาท (รวมภาษี ค่าเช่าจักรยาน ค่าประกัน ค่ า อาหารกล่ อ งมื้่ อ กลางวั น ค่ า ไกด์ ) มี เ ส้ น ทางให้ เ ลื อ กตามความสนใจ เช่ น ปัน่ ไปอ่าวโตเกียว ปัน่ ชมเมืองและสถานทีส่ �ำ คัญเชิงประวัตศิ าสตร์ในโตเกียว เป็นต้น หรือจะเช่าเฉพาะจักรยานในราคาเริ่มต้นราว 500 เยน หรือประมาณ 160 บาท และออกแบบเส้นทางปั่นเองก็ได้ มาโตเกียวทั้งทีอย่าเที่ยวเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อ หรือช้อปปิ้งท่ามกลาง แสงสีละลานตา แต่ควรลองแวะไปเยือน Ikenoue ย่านที่เต็มไปด้วยบ้านเรือน ยุคเก่าทีเ่ งียบสงบแห่งนี้ แฝงตัวอยูใ่ นโตเกียวอันพลุกพล่าน นับเป็นเสน่หอ์ กี อย่างหนึง่ ที่ควรสัมผัส แล้วจะรู้ว่าคุณสามารถหยุดเวลาที่โตเกียวได้เหมือนกัน โตเกียว สกายทรี หอคอยแห่งใหม่ของโตเกียว ที่มีความสูง 684 เมตร เป็นจุด ชมวิวที่เห็นมหานครแห่งนี้แบบสุดลูกหูลูกตา ตอนนี้คนกำ�ลังเห่อและคาดว่าจะ ได้รับความนิยมไปอีกนาน เปิดบริการ 08.00-22.00 น. ทุกวัน ดูรายละเอียด เพิ่มเติมที่ www.tokyo-skytree.jp/en 036 BORDERLESS
หากต้องการระเบิดความมัน Sega world Joypolis สวนสนุกในร่มที่จำ�ลองวิดีโอ เกมมาเป็นเครื่องเล่นแบบต่าง ๆ นับเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำ�หรับวัยรุ่นและ คนที่ชอบธีมพาร์ค นอกเหนือจากโตเกียว ดิสนีย์ แลนด์ และโตเกียว ดิสนีย์ ซี หนอนหนังสือต้องปลื้มกับร้านหนังสือมือสองกว่า 180 ร้านที่เรียงรายอยู่ในย่าน จิมโบโช นับเป็นย่านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น หนังสือแปลก ๆ และหาได้ยาก ก็สามารถพบได้ที่นี่ นอกจากนี้ยังเป็นย่านที่คลาคล่ำ�ไปด้วยร้านจำ�หน่ายอุปกรณ์ กี ฬ าอี ก ด้ ว ย สวนอั ก ษรแห่ ง นี้ ตั้ ง อยู่ ทิ ศ ตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของพระราชวั ง อิมพีเรียล เดินทางได้ง่ายโดยรถไฟฟ้าสถานีจิมโบโช คอแอนิเมชั่นไม่ควรพลาดพิพิธภัณฑ์จิบลิด้วยประการทั้งปวง เพราะพิพิธภัณฑ์ แห่งนี้ รวบรวมสุดยอดการ์ตูนชื่อดัง อาทิ Spirited Away, Tonari no Totoro, Grave of Fireflies และการ์ตนู คุณภาพมากมายกว่า 30 เรือ่ ง พิพธิ ภัณฑ์แห่งนีก้ อ่ ตัง้ ตั้งแต่ปี 1985 โดย ฮายาโอะ มิยาซากิ และอิซาโอะ ทาคาฮาตะ เราทราบกันดีว่าญี่ปุ่นขึ้นชื่อในเรื่องตัวการ์ตูนและของเล่นนานาชนิด และเมื่อ มาเยือนโตเกียวทั้ งที ต้ อ งแวะมาช้ อปปิ้ งของเล่ นสารพั ดแบบที่ Kiddy Land ที่เปิดบริการมานานกว่า 60 ปีแล้ว โดยในโตเกียวมีอยู่ 3 สาขา แต่ขอแนะนำ�ให้ ไปทีส่ าขาฮาราจูกุ เพราะเดินทางสะดวกโดยรถไฟฟ้าใต้ดนิ หลายสาย เช็กรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ www.kiddyland.co.jp/en ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องลิ้มลองอาหารญี่ปุ่นชั้นเลิศที่ร้านอาหาร Kozue ที่ตั้งอยู่บน ชั้น 40 ของโรงแรมปาร์ก ไฮแอท โตเกียว ในย่านชินจูกุ อย่าลืมจองโต๊ะติดกระจก ที่จะทำ�ให้คุณมองเห็นวิวอันงดงามของมหานครโตเกียว และในวันที่หมอกจาง ฟ้าใส จะเห็นภูเขาไฟฟูจติ งั้ ตระหง่านอย่างน่าชม อิม่ อร่อยมือ้ เทีย่ งในราคาเริม่ ต้น 3,900 เยน (1,250 บาท) มื้อเย็นเริ่มต้น 11,200 เยน (3,850 บาท) เปิดบริการ ทุกวันเวลา 11.30-14.30 น. และ 17.30-22.00 น. ปิดทุกวันพุธ
แช่ออนเซนหลากแบบที่ Oedo Onsen Monogatari เป็นธีมพาร์คที่มอบ ประสบการณ์ออนเซนสุดพิเศษ นอกเหนือจากการอาบน้�ำ พุรอ้ นกลางแจ้ง แล้ว ยังมีจดุ เด่นทีบ่ อ่ ออนเซนเท้าทีท่ อดตัวยาวกว่า 50 เมตร สำ�หรับให้คณ ุ นัง่ ผ่อนคลายความเมือ่ ยล้าได้แบบสบาย ๆ ท่ามกลางบรรยากาศทีต่ กแต่ง อย่างสวยงาม คิดค่าบริการ 1,980-2,180 เยน (630-700 บาท) ดาวน์โหลดแอพพ์ท่องเที่ยวต่อไปนี้ติดดีไวซ์ของคุณไว้ เป็นผู้ช่วยสำ�คัญ ุ จะต้องได้ใช้งานแน่ ๆ อย่าง Google Maps ของคุณ โดยเฉพาะแอพพ์ทคี่ ณ รวมถึง Kotoba แอพพ์ดิกชันนารี ช่วยแปลคำ�ศัพท์ภาษาญี่ปุ่นให้คุณ หรือจะเป็น Talking Japanese Phasebook ก็เข้าทีเหมือนกัน เพราะจะช่วย ให้คุณสามารถสื่อสารภาษาญี่ปุ่นได้ รวมถึง TeePee ซึ่งจะช่วยให้คุณ เสาะหาร้านอาหาร ผับบาร์ แหล่งช้อปปิ้ง ตลอดจนถึงออนเซนได้อย่าง ง่ายดาย และที่ส�ำ คัญคือ Tokyo Metro ช่วยให้คุณเดินทางในโตเกียวได้ อย่างสะดวกมัน่ ใจ เพราะแอพพ์น�ำ ทางนีจ้ ะบอกเส้นทางสายรถไฟฟ้าใต้ดนิ ทั้งหมด และวิธีการเดินทางที่ดีที่สุดให้กับคุณ
ถ้าพร้อมแล้วก็เตรียมตัวลาพักร้อน และหา ตั๋วเครื่องบินราคาดีได้เลย ลองเข้าไปเปรียบ เทียบราคาตั๋วที่ www.skyscanner.co.th หรือ จะหาตั๋วเครื่องบินและที่พักก็ลองใช้บริการ www.cheaptickets.co.th, www.expedia.co.th ดู ก็เข้าท่าดีเหมือนกัน BORDERLESS
037
Indulging เรือ่ ง : อรรถ อรรถมาตย์
Roof Top Bar & Restaurant หนึ่งในเทรนด์คนรักการกินดื่มยุคนี้ คือการดื่มด่ำ�กับวิวชั้นเลิศและเต็มอิ่มกับอาหารและเครื่องดื่มบนบาร์ และร้านอาหาร Roof Top และต่อไปนี้คือ Roof Top แห่งใหม่ที่จะกลายเป็นจุดหมายปลายทางของคุณ
CLOUD 47 Bar & Bistro
Stop here CLOUD 47 Bar & Bistro
ชั้น 47 อาคารยูไนเต็ด สีลม เซ็นเตอร์ ถนนสีลม (เดินทางสะดวกด้วยบีทีเอส สถานีศาลาแดง และเอ็มอาร์ที สถานีสีลม) เปิดบริการ จันทร์-เสาร์ (หยุดวันอาทิตย์) เวลา 17.00-01.00 น. โทร. 09 1889 9600 www.thecloud47.com, www.facebook.com/thecloud47
นั บ เป็ น Roof Top แห่ ง ล่ า สุ ด ใจกลาง กรุ งเทพฯ ออกแบบให้ คุณ รู้ สึ ก เหมื อ นลอย ละล่ อ งอยู่ บ นปุ ย เมฆที่ ฟู ฟ่ อ ง พร้ อ มกั บ วิ ว ใจกลางกรุงเทพฯ ในมุมมองที่แปลกตาและ หาชมได้ยาก ด้านอาหารก็อร่อยไม่แพ้ใคร แถมดัดแปลง เมนู ที่ คุ้ น เคย ให้ มี ลู ก เล่ น ที่ แ ปลกใหม่ เช่ น ‘ต้ ม ยำ � กุ้ ง ’ ที่ ห อมหวานน้ำ � ต้ ม ยำ � ที่ ทำ � จาก น้ำ�มะพร้าว รสจัดจ้านกลมกล่อม นอกจากนี้ ยั งมี ‘ทอดมั น กุ้ ง ห่ อ ชี ส ’ กุ้ ง เนื้ อ แน่ น ผสาน กั บ ชี ส รสเลิ ศ ทำ � ให้ รั บ ประทานได้ ไ ม่ มี เ บื่ อ ส่วน ‘ยำ�แมงกะพรุน’ เป็นเมนูเด็ดที่ไม่ควร พลาด เพราะความกรุบกรอบของแมงกะพรุน
คลุ ก เคล้ า กั บ เครื่ อ งยำ � รสจั ด จ้ า น ขณะที่ ‘ขาหมู ท อด’ กรอบนอกนุ่มใน ก็เป็นอีกเมนูเลื่องชื่อของที่นี่ สำ � หรั บ คอบอล ในฤดู ก าลพรี เ มี ย ร์ ลี ก ก็ ส ามารถชม ถ่ายทอดสดผ่านจอยักษ์ในรูปแบบของ Motion Mapping ที่น่าตื่นตาตื่นใจ นอกจากนี้ ที่นี่ยังเป็นสวรรค์ของคนรักการดื่ม เพราะ รวบรวมเครื่องดื่มหลากชนิด และมีไวน์ เซลลาร์ ที่คลาคล่ำ� ไปด้วยไวน์กว่า 400 แบรนด์ สำ�หรับใครที่มองหาประสบการณ์ชิลล์ๆ บนร้านอาหาร และบาร์สไตล์ Roof Top ในราคาที่เอื้อมถึงได้ ขอแนะนำ�ว่า CLOUD 47 จะตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้อย่างลงตัว
Horizons Tapas Bar & Restaurant Roof Top หรู ใจกลางเมื อ ง มี ใ ห้ เ ลื อ กทั้ ง โซนอิ น ดอร์ แ ละ เอาต์ดอร์ เหมาะกับการดินเนอร์หรือจิบค็อกเทลเบา ๆ เพือ่ ผ่อนคลาย หลังช้อปปิ้งเสร็จ หรือหลังเหนื่อยล้าจากการทำ�งาน ลมเย็นเอื่อย ๆ ที่พัดปะทะผิวหน้า พร้อมกับวิวสวยสุดบรรยายใจกลางกรุงเทพฯ โดยเฉพาะสนามเขียวขจี ดูสดชื่นสบายตาของราชกรีฑาสโมสร ช่วยทำ�ให้อาหารมื้อพิเศษลงตัวมากขึ้น แม้ จ ะเป็ น ร้ า นอาหารและบาร์ ท าปาสนานาชาติ แต่ ก็ เ สิ ร์ ฟ ชิ้นโตกว่าปกติ ทำ�ให้ไม่ใช่เป็นแค่อาหารรับประทานเล่น แต่สามารถ รับประทานจริงจังได้ โดยฝีมือของเชฟเซบาสเตียนจากออสเตรีย ที่ถนัดในการรังสรรค์อาหารฟิวชั่น ที่นอกจากจะการันตีในรสชาติ ที่อร่อยแบบแตกต่างแล้ว ทุกเมนูยังได้รับการตกแต่งอย่างสวยงาม ดูแล้วสะดุดตาอีกด้วย เมนูยอดนิยมคือ แซลมอนย่างปรุงสไตล์น้ำ�ตก พร้อมน้ำ�ยำ� รสเด็ด เป็นต้น ส่วนเครือ่ งดืม่ ก็มใี ห้เลือกละลานตาไปหมด นอกจาก ค็อกเทลคลาสสิกทีเ่ ราคุน้ เคยกันดีอย่างมาร์การิตา และสิงคโปร์ สลิง แล้วค็อกเทลโมเลกูลาร์หลากชนิดก็น่าลิ้มลอง ที่นี่จะทำ�ให้คุณเพลิดเพลินและครื้นเครงกับดนตรีจังหวะดิสโก้ มัน ๆ แถมมีดีเจชื่อดังบินมาเปิดแผ่นสร้างสีสันอยู่เป็นประจำ� 038 BORDERLESS
Stop here Horizons Tapas Bar & Restaurant
ชั้น 19 อาคารเซ็น ทาวเวอร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ถนนราชดำ�ริ ปทุมวัน กรุงเทพฯ เปิดบริการทุกวัน เวลา17.30-00.00 น. โทร. 02 101 0900 info@diningzensations.com, www.horizonsbangkok.com
TMB Movement
ทีเอ็มบี - เครือเบทาโกร เปิดโครงการ ‘TMB Efficiency Improvement for Supply Chain’ มุ่งยกระดับประสิทธิภาพซัพพลายเชน เพื่อต่อยอดสร้างคอมมูนิตี้ที่มีขีดความสามารถสูง ทีเอ็มบี เปิดตัวโครงการ ‘TMB Efficiency Improvement for Supply Chain’ มุ่ ง พั ฒ นาประสิ ท ธิ ภ าพผู้ ป ระกอบการ และยกระดั บ ซั พ พลายเชน เปิ ดรุ่ น ที่ 1 สำ � หรั บ อุ ต สาหกรรม อาหาร โดยร่วมมือกับเครือเบทาโกร ที่พร้อมแชร์ประสบการณ์ และกรณีศกึ ษา เน้นการเรียนรูจ้ ริง นำ�ไปใช้ได้จริง เชือ่ มโยงการพัฒนา แบบซัพพลายเชน และสร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายธุรกิจเดียวกัน เชือ่ มัน่ เป็นจุดเริม่ ‘ซัพพลายเชนคอมมูนติ ’ี้ ของประเทศ ให้มขี ดี ความ สามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน นายปพนธ์ มังคละธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีเอ็มบี นายวนัส แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเครือเบทาโกร นายวสิษฐ แต้ไพสิฐพงษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่เครือ เบทาโกร
ทีเอ็มบีร่วมโครงการ GTFP ของไอเอฟซี หนุนผู้นำ�เข้า-ส่งออกไทย ไปโตในตลาดเกิดใหม่ แบบไม่ต้องกังวลเรื่องความเสี่ยง ทีเอ็มบีเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งแรกที่ได้เข้าร่วมโครงการ Global Trade Finance Program (GTFP) กับไอเอฟซี ซึง่ เป็นโครงการทีช่ ว่ ยให้ธนาคาร สามารถเสนอผลิตภัณฑ์ทางด้านการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance) ให้กบั ผูน้ �ำ เข้า-ส่งออกไทยทีส่ นใจทำ�ธุรกิจในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) โดยทีเอ็มบีมองว่าการนำ�เข้า-ส่งออกเป็นเฟืองจักรสำ�คัญในการขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยที่จะทำ�ธุรกรรม การค้าต่างประเทศในตลาดเกิดใหม่ อาจจะยังไม่มีความมั่นใจในตัวคู่ค้าและ ธนาคารในต่างประเทศของตลาดเกิดใหม่เหล่านั้น จึงอาจจะทำ�ให้โอกาส ในการขยายธุรกิจเป็นไปอย่างจำ�กัด ไอเอฟซี ซึง่ เป็นองค์กรในกลุม่ ธนาคารโลก ทีม่ เี ป้าหมายในการช่วยพัฒนา ภาคเอกชน จึงได้ทำ�โครงการ Global Trade Finance Program for Thai Importers & Exporters นีข้ นึ้ โดยทำ�หน้าทีใ่ นการค้�ำ ประกันการรับเงิน-จ่ายเงิน ระหว่างธนาคารของคู่ค้าในตลาดเกิดใหม่ให้กับธนาคารสมาชิกที่เข้าร่วม โครงการฯดังกล่าว ทีเอ็มบีจึงได้เข้าร่วมเป็นธนาคารเครือข่ายของโครงการฯนี้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้นำ�เข้า-ส่งออกไทยมีโอกาสที่จะขยายตลาดไปยังประเทศ เกิดใหม่ได้ง่ายขึ้น สามารถป้องกันความเสี่ยงได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีเอ็มบี นายเซอร์จิโอ พิเมนต้า ผู้อำ�นวยการไอเอฟซี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก
BORDERLESS
039