คำ�นำ� สื่อมวลชน สื่อสมัยใหม่ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีบทบาทสำ�คัญ ต่อการดำ�เนินชีวติ ประจำ�วันของประชาชน เป็นสือ่ กลางช่วยสร้างความเข้าใจ ต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม เป็นกลไกที่สามารถสื่อสารข้อมูลต่างๆ ให้เข้าถึงคนจำ�นวนมากได้ในเวลาอันรวดเร็วและสามารถตอบสนองความ ต้องการของคนในสังคมที่ต้องการแลกเปลี่ยนข่าวสารและประสบการณ์ ระหว่างกัน ขณะเดียวกันก็อาจสร้างความตื่นตระหนก วิตกกังวล ให้กับ คนในสังคมได้ นั ก สื่ อ สารหรื อ ผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล ข่ า วสารที่ ถู ก ต้ อ งและเชื่ อ ถื อ ได้ ใ นเวลา อันรวดเร็ว จึงมีความสำ�คัญยิ่งในการชี้แจงข้อมูลความจริงที่เกิดขึ้น และ เป็นการสือ่ สารความรูค้ วามเข้าใจทีถ่ กู ต้องด้านสุขภาพจิตสูป่ ระชาชนในช่วง เวลาที่อยู่ในความสนใจของสังคมได้เป็นอย่างดี สำ�หรับ “Top Hits ความรูส้ ขุ ภาพจิต” ฉบับนักสือ่ สาร เล่มนี้ เป็นการ รวบรวมความรูส้ ขุ ภาพจิต จากผูเ้ ชีย่ วชาญในประเด็นต่างๆ ทีส่ อ่ื มวลชนและ สังคมให้ความสนใจ ตลอดจนเทคนิคการสื่อสารผ่านสื่อประเภทต่างๆ จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อนักสื่อสาร และผู้ ใ ห้ ข้ อ มู ล ข่ า วสารได้ มี แ นวทางการสื่ อ สารความรู้ สุ ข ภาพจิ ต สู่ สั ง คมที่ ส ามารถตอบสนองความต้ อ งการของสั ง คมได้ ทั น เหตุ ก ารณ์ ตลอดจนสามารถนำ�เนื้อหาไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบและจัดทำ�สื่อ
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
ก
ในหลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสม สร้างความรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักต่อปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวช ตลอดจนส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตให้กับประชาชน ส่งผลให้ประชาชนสามารถ ปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขได้ในทุกสถานการณ์ กองสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต
ข
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
เคล็ดไม่ลบั : การสือ่ สารผ่านสือ่ โทรทัศน์ คุณลักษณะของสื่อโทรทัศน์
1) มีข้อจำ�กัดเรื่องเวลามากกว่าสื่ออื่นๆ 2) เน้นรูปลักษณ์ภายนอก ได้ยินทั้งเสียงและเห็นรูปร่างหน้าตา
DO : สิ่งที่ควรทำ� ซ
1) 2) 3) 4) 5) 6) 7) 8) 9) 10) 11)
ความตรงเวลากับการนัดหมายสัมภาษณ์ การพูดคุยกับผู้ถาม ให้แสดงความสนใจ ตั้งใจ ในการฟังและตอบคำ�ถาม การแสดงสีหน้าและท่าทาง ควรสอดคล้องกับเนื้อหา จับประเด็นเนื้อหาว่า ใคร ทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร ควรเตรียมตัวก่อนการให้ข้อมูลในประเด็นที่ถูกถามอย่างลึกซึ้ง ให้ข้อมูลที่ชัดเจน ทันต่อสถานการณ์และตอบให้ตรงคำ�ถาม พูดประเด็นที่ครอบคลุมตามเวลา กรณีที่เป็นคำ�ถามหรือประเด็นเก่า ควรหลีกเลี่ยงการพูดซํ้าไป ซาํ้ มาควรยกตัวอย่างกรณีศกึ ษาประกอบ เพือ่ ไม่ให้เรือ่ งเดิมน่าเบือ่ ควรมีจังหวะในการใช้นํ้าเสียง เพื่อให้เกิดความน่าสนใจ มองและสบสายตาผู้ถาม นํ้าเสียงชัดเจนและเลี่ยงการใช้ภาษา ทางเทคนิค หากใช้ควรมีการแปลประกอบด้วย อาจฝึกพูดให้คนรอบข้างฟังก่อนแล้วสอบถามข้อคิดเห็นเพิ่มเติม จากผู้ฟัง หรืออาจฝึกพูดกับตนเองที่หน้ากระจก
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
12) 13) 14) 15) 16)
นํ้าเสียงและคำ�พูดควรมีความหนักแน่น น่าเชื่อถือ อธิบายเสริมในบางประเด็นที่สำ�คัญและเป็นประโยชน์ ติดตามประเด็นที่สังคมให้ความสนใจและทันต่อสถานการณ์ สร้างสัมพันธภาพที่ดีแต่ต้องไม่ให้เป็นความสัมพันธ์แบบส่วนตัว ควรระวังการให้ข้อมูล แม้ว่าจะไม่ได้มีการบันทึกเทป ก็ตาม (Off record ) เพราะอาจถูกนำ�เสนอออกไปได้
DON’T :สิ่งที่ ไม่ควรทำ�
1) 2) 3) 4) 5) 6)
การตอบชีน้ �ำ ว่าถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควรในประเด็นทีย่ งั คลุมเครือ ใช้คำ�ศัพท์ภาษาทางเทคนิคมากเกินไป ระวังทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ถาม และมองว่าผู้ถามน่าจะรู้อยู่แล้ว กระพริบตามากเกินไป เนื่องจากทำ�ให้เสียบุคลิก การให้ข้อมูลที่ละเมิดสิทธิผู้ป่วย ลงลึกรายละเอียดมากเกินไป กลัวจะตอบผิดและวิตกกังวลกับการดูแลบุคลิกภาพตนเอง เมื่อออกสื่อ
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
ฌ
เคล็ดไม่ลับ : การสื่อสารผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ คุณลักษณะของสื่อหนังสือพิมพ์
1) 2)
มีข้อจำ�กัดในการปิดต้นฉบับ ความรวดเร็วในการสื่อสารจึงเป็น สิ่งที่สำ�คัญ อาจมีพนื้ ทีใ่ นการเผยแพร่ไม่กบี่ รรทัด จึงต้องคำ�นึงถึงการให้ขอ้ มูล ที่กระชับและตรงประเด็นมากที่สุด
DO : สิ่งที่ควรทำ� ญ
1) 2) 3) 4) 5) 6)
รับการติดต่อทุกครั้ง และพูดคุยอย่างเป็นมิตรสร้างสัมพันธภาพ ที่ดีระหว่างกัน ให้ข้อเท็จจริงด้วยความเต็มใจ เสี ย สละเวลาเพื่ อ อธิ บ ายข้ อ มู ล หากไม่ มี ข้ อ มู ล ให้ แ จ้ ง ว่ า ยังไม่มีรายละเอียดในเรื่องที่สอบถามหรือขอเวลาค้นหาข้อมูล หรืออาจแนะนำ�ท่านอื่นให้แทน มีตัวอย่างกรณีศึกษาประกอบการให้ข้อมูล แต่ต้องไม่ละเมิดสิทธิ ของผู้ป่วย สื่อสารข้อมูลถูกจังหวะและเวลา มีข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ โดยตรง ติดตามสถานการณ์ขา่ ว และตระหนักถึงความน่าเชือ่ ถือของข้อมูล ข่าวสารที่สื่อออกไป
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
7) 8) 9) 10) 11) 12) 13) 14) 15)
เป็ น ผู้ ฟั ง ที่ ดี รั บ ฟั ง และยอมรั บ มุ ม มองอื่ น ๆ ที่ แ ตกต่ า งทาง ด้านสุขภาพจิต สังเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสามารถวิพากษ์ได้ ติดตามข้อมูลย้อนกลับ(Feedback) ทุกครั้ง ให้ข้อมูลเชิงสร้างสรรค์ หลีกเลี่ยงการสร้างความขัดแย้ง เข้าใจกลุ่มเป้าหมายของการสื่อสารแต่ละครั้ง มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ ดีพอสมควร เพื่อความน่าเชื่อถือ ของข้อมูล สอดแทรกประสบการณ์การรักษาผูป้ ว่ ย หรือมีตวั อย่างกรณีศกึ ษา ประกอบการให้ข้อมูล เพื่อสร้างความแตกต่าง ดึงดูดความสนใจ ประเมินสถานการณ์จากการให้ข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ว่าจะเกิดผลดีหรือผลเสีย เรี ย นรู้ ทั ก ษะในการให้ ข้ อ มู ล ข่ า วสาร ฝึ ก ฝนและพยายาม หาประโยคที่เข้าใจได้ง่ายสำ�หรับคนทั่วไป
DON’T :สิ่งที่ ไม่ควรทำ�
1) 2) 3) 4) 5)
ให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีประเด็น เป็นประเด็นเก่า ไม่เหมาะสม กับสถานการณ์/ยุคสมัย ใช้ศัพท์ภาษาทางเทคนิคที่เข้าใจยาก วิตกกังวลกับรูปร่างหน้าตาและการให้ข้อมูลมากจนเกินไป ใช้คำ�พูดหรือแสดงกริยาท่าทางที่มีลักษณะดูถูกผู้ถาม เปิดประเด็นใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับการให้ข้อมูลที่ถูกถาม “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
ฎ
เคล็ดไม่ลับ : การสื่อสารผ่านสื่อวิทยุ คุณลักษณะของสื่อวิทยุ
1) ไม่เน้นรูปลักษณ์ภายนอก ผู้ให้ข้อมูลสามารถให้ข้อมูลได้ทุกที่ ที่สะดวก 2) ผูร้ บั ฟังจะกล้าโทรศัพท์เข้ามาขอคำ�ปรึกษามากกว่ารายการโทรทัศน์
DO : สิ่งที่ควรทำ� ฏ
1) 2) 3) 4) 5) 6) 7) 8)
ให้ความสำ�คัญกับข้อมูลและความชัดเจนของนํ้าเสียง ควรพูด ให้เต็มเสียงชัดถ้อยชัดคำ� กรณีการอ้างอิงข้อมูลตัวเลขสถิติ ให้เน้นข้อมูลที่สำ�คัญ โดยสรุป ออกมาเป็นใจความสำ�คัญที่ต้องการสื่อสารเกี่ยวกับสถิตินั้น หาก ไม่มั่นใจ อาจพูดว่า ประมาณหรือเท่าที่จำ�ได้ และระมัดระวัง เสียงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะออกอากาศ เช่น เสียงพลิกกระดาษ กรณียกตัวอย่างประกอบ ควรยกตัวอย่างเรื่องจริงที่เกิดขึ้นจาก ประสบการณ์ เป็นมิตรกับผูฟ้ งั หากมีอะไรผิดพลาดให้ขอโทษและแก้ไขให้ถกู ต้อง กรณีผู้ฟังโทรศัพท์เข้ามาขอคำ�ปรึกษาควรรับฟัง และเต็มใจที่จะ ช่วยเหลือ ขอให้คิดว่าผู้ฟังเป็นเหมือนญาติ ใช้เทคนิคการถามกลับผู้ดำ�เนินรายการ เพื่อดึงดูดความสนใจผู้ฟัง ฝึกการพูดฝากทิ้งท้ายในรายการ สร้างประเด็นให้ผู้ฟังจดจำ�ได้ พูดเน้นประโยชน์เป็นสำ�คัญ ด้วยลีลานํ้าเสียงที่น่าสนใจ
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
9) 10) 11) 12) 13)
หาโอกาสออกรายการวิทยุชุมชน ฝึกอ่านออกเสียง ร้องเพลง และออกกำ�ลังกาย เพื่อช่วยในการ ออกเสียงให้ชัดเจน มีพลัง ทำ�ความเข้าใจกับเรื่องที่จะพูด ให้เกียรติผู้ฟัง และผู้ดำ�เนินรายการ ระมัดระวังการให้ข้อมูลออกอากาศสดทางโทรศัพท์ (Phone in) เนื่องจากอุปกรณ์อาจไม่ชัด/ไม่มีสัญญาณ การมาออกรายการสด ที่สถานีวิทยุจึงดีที่สุด
DON’T :สิ่งที่ ไม่ควรทำ�
1) 2) 3) 4) 5)
ตอบไม่ตรงคำ�ถาม ข้อมูลมากมายจนไม่สามารถจับใจความสำ�คัญได้ ใช้ภาษาทางเทคนิคมากเกินไป กังวลว่าเสียงไม่ไพเราะ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ถามหรือผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาขอรับคำ�ปรึกษา
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
ฐ
เคล็ดไม่ลับ : การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ คุณลักษณะของสื่อออนไลน์
1) เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว เผยแพร่ออกไปได้อย่างกว้างขวาง 2) ขาดการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารอย่างถี่ถ้วน
DO : สิ่งที่ควรทำ�
1) 2) 3) 4) 5) 6)
ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม ตรวจสอบข้อมูลก่อนนำ�เสนอ ให้เน้นความถูกต้องตามหลักวิชาการ เนื้อหาต้องสั้น กระชับ ได้ใจความ ใช้อินโฟกราฟิกในการนำ�เสนอสถิติต่างๆ ที่เข้าใจง่าย การใช้อินโฟกราฟิก หรือคลิปวีดีโอ ที่ต้องมีข้อมูลเด่น ครบถ้วน มีความกระชับ เข้ากับสถานการณ์ ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในโลกโซเชี่ยล
DON’T :สิ่งที่ ไม่ควรทำ� ฑ
1) 2) 3) 4)
ให้ข้อมูลโดยไม่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและแหล่งที่มา ให้ข้อมูลตามกระแส ตามอารมณ์ โดยขาดวิจารณญาณที่ดี ให้ข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีประเด็น เป็นประเด็นเก่า ไม่เหมาะสม กับสถานการณ์/ยุคสมัย ใช้ภาษาทางเทคนิคมากเกินไป
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
สุขภาพจิตและจิตเวชผู้ใหญ่ “ความสุข” สหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น ได้กำ�หนดให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็น วัน “ความสุขสากล” หรือ The International Day of Happiness โดยมี แนวคิดริเริ่มมาจากต้นแบบความคิดของประเทศภูฏาน ซึ่งเป็นประเทศที่มี ความสุขมากที่สุดในโลก และติดอับดับที่ 1 ในการวัดความรุ่งเรืองของชาติ และความสำ�เร็จทางสังคม หรือดัชนีมวลรวมความสุข หรือ Gross National Happiness Index (GNH) โดยทีก่ ารวัดค่าดังกล่าวไม่ได้น�ำ การใช้เศรษฐกิจ หรือความราํ่ รวยทางวัตถุมาเป็นตัวตัดสินการพัฒนา แต่กลับหันมามองแบบ องค์รวมว่าจิตใจที่ดีของประชาชนและชุมชนนั้นเป็นสิ่งสำ�คัญมากกว่าวัตถุ การกำ�หนดวันดังกล่าวขึ้นนั้น “ยูเอ็น” มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ เพื่อให้ทุก คนร่วมเฉลิมฉลอง และตระหนักถึงความสุขอันเป็นเป้าหมายพื้นฐานของ มนุษยชนรวมถึงแรงบันดาลใจในการใช้ชวี ติ ของมนุษย์ และเพือ่ เรียกร้องให้ แต่ละประเทศผลักดันและเข้าถึงนโยบายสาธารณะที่จะเพิ่มความสุขให้แก่ ประชาชน โดยสหประชาชาติได้มุ่งเป้าไปที่ความสนใจของโลกต่อแนวคิด ในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจว่าจะต้องประกอบไปด้วย การรวบรวม ความเสมอภาค และสมดุลเช่นเดียวกับการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน และบรรเทาความยากจน
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
1
นอกจากนี้ สหประชาชาติยังระบุว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจจะต้องมา พร้อมกับสังคมและสิง่ แวดล้อมทีด่ นี นั้ เป็นสิง่ สำ�คัญทีจ่ ะทำ�ให้บรรลุความสุข ของโลก โดยได้สำ�รวจวัดระดับความสุขใน 156 ประเทศทั่วโลก ตัวชี้วัดความสุขของประเทศต่าง ๆ เช่นรายได้ การมีงานทำ� ความ สัมพันธ์ที่ดี ความไว้วางใจกันในชุมชน การมีค่านิยมที่เอื้อต่อความสุขและ ศาสนา สุขภาพกายสุขภาพจิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว การศึกษา เสรีภาพ ทางการเมือง ความเข้มแข็งของเครือข่ายสังคม การไม่มคี อร์รปั ชัน่ และความ เท่าเทียมทางเพศและสังคม เป็นต้น สำ�หรับประเทศไทย ได้ท�ำ การสำ�รวจความสุขคนไทย ล่าสุด คือ ปี 2558 โดยความร่วมมือระหว่างกรมสุขภาพจิต สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) ด้วยแบบสำ�รวจสุขภาพจิตคนไทย ฉบับสัน้ 15 ข้อ พบว่า การจัดสรรเวลาสำ�หรับงาน/ชีวิตส่วนตัว/ครอบครัวได้ดี จะมีความสุข มากกว่า 4.2 เท่า ขณะที่ การมีสขุ ภาพดี จะมีความสุขมากกว่า 3.9 เท่าและ การอาศัยอยู่ในชุมชนและสังคมที่ปลอดภัย จะมีความสุขมากกว่า 2.9 เท่า นอกจากนี้ ยังพบว่า ปัจจัยกำ�หนดความสุขของคนในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ การมีสิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติสวยงาม ชุมชนมีสายสัมพันธ์ที่ดี ช่วย เหลือเกื้อกูลกัน ผู้คนรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อาหารการกินอุดม สมบูรณ์ มีหน่วยบริการสาธารณสุขใกล้บ้านที่ไว้ใจได้ มีเศรษฐกิจค่อนข้างดี
2
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ภาคธุรกิจมีความใกล้ชิดกับชุมชน มีเอกลักษณ์ ทางวัฒนธรรม มีงานประเพณีที่ชุมชนภูมิใจ ลูกหลานรักถิ่นเกิด ผู้คนมี สุขภาพดี ส่วนปัจจัยคุกคามความสุขของประชากร ที่สำ�คัญ คือ การแพร่ระบาด ของยาเสพติด ปัญหาจราจรในเขตเมือง ปัญหาสิ่งแวดล้อม การขายที่ดิน ละแวกบ้าน การลงทุนขนาดใหญ่ เหล่านีส้ ะท้อนให้เห็นว่า ความสุขของประชาชนเกิดขึน้ จากปัจจัยหลายอย่าง ร่วมกัน ไม่ใช่เพียงตัวเลขทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่รวมถึงการมีสุขภาพที่ดี และสังคมที่แข็งแรงด้วย สำ�หรับแนวทางสร้างสุข ขอเชิญชวนให้ร่วมกันสร้างสุขด้วยบัญญัติสุข 10 ประการ ทีพ่ ฒ ั นาขึน้ จากผลการวิจยั เรือ่ งความสุขคนไทย งานวิจยั ความ สุขจากต่างประเทศ และข้อคิดของปราชญ์ชาวบ้าน
1. 2. 3. 4. 5.
ออกกำ�ลังกายเป็นประจำ� อย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ค้นหาจุดแข็ง ความถนัดและศักยภาพ พัฒนาจนเป็นความสำ�เร็จ ฝึกหายใจคลายเครียด และทักษะผ่อนคลายอืน่ ๆ (เช่น โยคะ ไท้เก๊ก) คิดทบทวนสิ่งดี ๆ ในชีวิต และฝึกมองโลกในแง่ดี บริหารเวลาให้สมดุลระหว่างการงาน สุขภาพ และครอบครัว
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
3
6. คิดและจัดการปัญหาเชิงรุก อย่าปล่อยให้สถานการณ์ชวี ติ หรือปัญหาต่าง ๆ ทีผ่ า่ นเข้ามา กำ�หนด ความเป็นไปของชีวติ คุณ ควรจัดเวลาทำ�ความเข้าใจปัญหาคิดหาทางเลือกใน การก้าวเดิน โดยการตั้งคำ�ถามกับตัวเองว่า ปัญหาที่ประสบอยู่นั้น “มันเป็น ปัญหาอย่างไร” เราห่วงอะไร กังวลใจในแง่ใด ในปัญหานั้น แต่ละเรื่องที่เราห่วงหรือกังวลใจ ทบทวนดูว่า “เราทำ�อะไรได้บ้าง” จากนั้น ให้ลงมือทำ� อย่ามัวแต่คิดกังวลใจ “คุณจะรูส้ กึ เป็นเจ้าของชีวติ ตนเองมากขึน้ พอใจในชีวติ มากขึน้ ” เติมสุขด้วยการเพิ่มคุณภาพจิตใจ 7. มองหาโอกาสในการมอบสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่น ความสุขในทางโลก อาจแบ่งออกได้เป็นสามระดับ หนึ่ง ความสุขและความเพลิดเพลินทางร่างกาย เช่น รับประทาน อาหารอร่อย สอง ความสุขจากชีวิตที่ลงตัว มีงานที่ท้าทาย มีความรัก และงาน อดิเรก สาม ความสุขจากชีวิตที่มีความหมาย ได้ใช้ศักยภาพของตน เพื่อ ประโยชน์ส่วนรวม ทำ�สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม กิจกรรมสนุกสนานประเภทต่าง ๆ ไม่สามารถสร้างความสุขใจ ได้ลึกซึ้งเท่ากับการที่เราได้มอบสิ่งดี ๆ ให้กับผู้อื่น เมือ่ เราช่วยเหลือผูอ้ นื่ ให้เป็นสุข ตัวเราเองก็มคี วามสุขมากขึน้ ไปด้วย
4
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
8. ศึกษาและปฏิบัติตามหลักคำ�สอนทางศาสนา 1) ผูศ้ กึ ษาและปฏิบตั ติ ามหลักคำ�สอนทางศาสนา ได้รบั ประโยชน์ จากศาสนาอย่างน้อย 4 ด้าน 2) มีสังคม เพื่อนฝูง ที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมร่วมกัน 3) มีจดุ หมายในการทำ�สิง่ ต่าง ๆ มากขึน้ และในเวลาทีต่ อ้ งตัดสินใจ เรื่องสำ�คัญ ก็มีแนวทางที่ชัดเจนจากหลักคำ�สอนทางศาสนา 4) หลีกเลี่ยงจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น ดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด 5) เข้าใจชีวติ มากขึน้ มีความสุขได้งา่ ยขึน้ เติมสุขด้วยการเพิม่ การ สนับสนุนของครอบครัว
9. ให้เวลาและทำ�กิจกรรมความสุขร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เป็นประจำ� อย่าคาดหวังว่าคูข่ องตนต้องสมบูรณ์แบบ ควรยอมรับข้อจำ�กัดของ กันและกัน ฝึกรับฟังอย่างใส่ใจ ชื่นชมกันด้วยความจริงใจ ลดเวลาการดูทีวีลง จัดเวลาทำ�กิจกรรมความสุขร่วมกัน ช่วยกันทำ�งานบ้าน อย่าให้ความสำ�คัญกับเรื่องเงินทองและวัตถุมากเกิน ให้ความสำ�คัญกับการเพิ่มทักษะทางอารมณ์และสังคม เติมความ เข้มแข็งทางใจ และฝึกนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับลูก หากมีเหตุการณ์ลบ ให้มองแง่ดีไว้ก่อนเสมอ
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
5
10. ชื่นชมคนรอบข้างอย่างจริงใจ คนเราทุกคนต้องการความรัก การยอมรับ และความชืน่ ชม คำ�ชืน่ ชม จึงเป็นสิ่งเติมกำ�ลังใจและความสุขให้แก่กัน เราฝึกชื่นชมคนรอบข้างได้ ด้วยวิธีต่อไปนี้ 1) ปล่ อ ยวางความคาดหวั ง ลง เปิ ด ใจรั บ และมองหาข้ อ ดี ที่น่าชื่นชมของคนรอบข้าง 2) กล่าวคำ�ชื่นชมด้วยความจริงใจทุกครั้งที่มีโอกาส 3) ควรฝึกชื่นชมตนเองด้วยการมองเห็นข้อดีของผู้อื่นเป็นการ ฝึกจิตใจของเราเอง และยังช่วยเติมความสุขให้กับชีวิต เราทุกคนสามารถสร้างความสุขให้เกิดขึ้นได้ด้วยตนเองในทุกวัน ทุกเวลา และทุกสถานที่ มาร่วมสร้าง ความสุขและส่งต่อความสุขไปยังคน รอบข้างด้วยกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อความสุขที่ยั่งยืนของสังคมไทย
6
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“สติ” เพือ่ การสร้างความสุขอย่างยัง่ ยืน องค์กรและคนทำ�งานสามารถสร้างความสุขให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืนได้ ซึง่ เป็นการยกระดับของความสุขทีเ่ หนือกว่าความสุขทางวัตถุ เงินทอง และ เกียรติยศชื่อเสียง ที่ต้องพัฒนาจากส่วนลึกของจิตใจ เกิดเป็นคุณค่าความดี งาม เช่น ความรัก ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ เสียสละอดทน ความเห็น อกเห็นใจ และการให้อภัย เป็นต้น คุณลักษณะเหล่านี้ จะแสดงออกอย่าง ชัดเจน ถ้าคนมีความสงบทางจิตใจ ปัจจุบัน หลายองค์กรที่ทันสมัยและมีวิสัยทัศน์กว้างไกลทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้นำ� “การพัฒนาสติ”ด้วยการใช้สมาธิและสติเป็นเครื่อง มือสร้างสุขและความสำ�เร็จในการทำ�งาน และการใช้ชีวิตประจำ�วัน เพราะ การฝึกสมาธิจะช่วยลดอารมณ์และความเครียดที่สะสมอยู่ในจิตใจ ทำ�ให้ สามารถทำ�งานได้อย่างต่อเนื่องด้วยความสงบ ขณะที่ การฝึกสติ จะช่วย ทำ�ให้จิตใจอยู่กับปัจจุบัน อยู่กับงานที่ทำ� ไม่ว้าวุ่น และไม่ถูกแทรกแซงด้วย อารมณ์ หากฝึกเป็นประจำ�สมํา่ เสมอจะช่วยป้องกันบรรเทาและบำ�บัดอาการ เจ็บป่วยได้หลากหลาย เช่น ความวิตกกังวล อาการซึมเศร้า พฤติกรรมเสพ ติด อาการปวดเรื้อรัง นอนไม่หลับ ไมเกรน ภูมิแพ้ หอบหืด ซึ่งมีสาเหตุส่วน หนึ่งมาจากความเครียด การฝึกสติ สามารถทำ�ได้โดย การรับรู้ลมหายใจเข้าออกในขณะที่ทำ�งานหรือทำ�กิจต่างๆ ทั้งทางกาย ทางการสื่อสาร ตลอดจนความรู้สึกนึกคิด
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
7
การฝึกสมาธิ ทำ�ได้โดย 1. ฝึกหยุดความคิดด้วยการรูล้ มหายใจทีผ่ า่ นเข้าออกทีป่ ลายจมูก โดย สังเกตข้างที่ชัดกว่า ตรงตำ�แหน่งที่ชัดที่สุด 2. ฝึกหยุดความคิดจนเกิดความสงบด้วยการรับรู้ลมหายใจที่ผ่านเข้า ออกที่ปลายจมูกอย่างต่อเนื่อง จัดการกับความคิดที่เกิดขึ้นโดยไม่คิดตาม แต่รู้ตัวและกลับมาตามรู้ลมหายใจทุกครั้งที่มีความคิดเกิดขึ้น 3. ฝึกหยุดความคิดจนเกิดความสงบและผ่อนคลายด้วยการรูล้ มหายใจ อย่างต่อเนือ่ งและจัดการกับความง่วงด้วยการยืดตัวตรง หายใจเข้าออกลึกๆ หรือจินตนาการเป็นแสงไฟที่สว่างมากๆ ให้หายง่วง แล้วกลับมารู้ลมหายใจ อย่างต่อเนื่อง องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ สามารถเริม่ ฝึกได้จากการกำ�หนดกติกาการ ประชุมในแต่ละครัง้ ให้มกี ารทำ�สมาธิกอ่ นการประชุม เน้นการสนทนาอย่าง มีสติ เพือ่ ให้เกิดการฟังอย่างใส่ใจ อภิปรายอย่างสร้างสรรค์ ในการแก้ปญ ั หา มากกว่าการเอาชนะ แล้วสรุปการประชุมด้วยความเห็นทางบวก รวมทั้ง ทำ�สมาธิก่อนและหลังเลิกงาน หรืออาจสร้างบรรยากาศการทำ�งานอย่างมี สติ ด้วยการเปิดระฆังสติระหว่างการทำ�งาน ซึ่งจะส่งเสียงระฆังเป็นระยะๆ ตามเวลาที่เรากำ�หนด เพื่อเตือนให้กลับมารู้ลมหายใจ รู้ในกิจที่ทำ� เป็นต้น การพัฒนาสติให้ได้ผลในระยะยาวและเกิดความสุขทีย่ งั่ ยืนได้นนั้ จำ�เป็น ต้องมีการฝึกและนำ�ไปใช้อย่างต่อเนือ่ ง เมือ่ ผูป้ ฏิบตั เิ ห็นประโยชน์ในการนำ� ไปใช้แล้ว ก็ย่อมขยายผลดีไปสู่ผู้รับบริการหรือลูกค้า ครอบครัว ชุมชนและ สังคมต่อไปได้
8
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“การฝึกสติกับการใช้ชีวิตประจำ�วัน” ปัญหาและสถานการณ์ความรุนแรงหลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม ปัจจุบนั ปฏิเสธไม่ได้วา่ ส่วนหนึง่ มาจากการขาดสติของคนเรา ทีไ่ ม่รเู้ นือ้ รูต้ วั เผลอและหลงไปกับความคิด หลงไปกับความรู้สึกโกรธ เหงา เบื่อ อยากได้ อยากมี อยากเป็น จนทำ�อะไรที่ไม่ถูกไม่ควรลงไป ดังนั้น จึงต้องรู้ให้เท่าทัน ปัจจุบนั ว่า เรากำ�ลังทำ�อะไร คิดอะไร พูดอะไร ทีต่ อ้ งไม่ตกอยูภ่ ายใต้อ�ำ นาจของ ความโกรธหรือความไม่พอใจ ดังนัน้ ต้องฝึกสติ ฝึกฝนให้รกู้ ายรูใ้ จอยูเ่ สมอๆ เพื่อให้จิตมีความมั่นคงตั้งมั่น ไม่แกว่งไปกับสิ่งที่เข้ามากระทบมากเกินไป “การฝึกสติ” เริ่มต้นได้จากครอบครัว เพื่อให้เกิดการคิดดี พูดดี ทำ�ดี เนื่องจาก “สติ” คือ การรู้ตัว ไม่เผลอ ไม่ประมาท อยู่กับความรู้สึก ความ คิด การพูด และการกระทำ�ในปัจจุบัน วิธฝี กึ คือ ตอนเริม่ ฝึกใหม่ ๆ ต้องตัง้ ใจใส่ใจรูอ้ ยูท่ ใี่ ดทีห่ นึง่ ทีน่ ยิ มกัน คือ ให้รับรู้ที่ลมหายใจ โดยผู้เริ่มฝึก ควรหลับตา หายใจเข้าออกยาว สัก 3 ครั้ง สังเกตสัมผัสเล็กๆ ของลมหายใจ ข้างที่รู้สึกชัดกว่า ตรงตำ�แหน่งที่ชัดที่สุด ข้างนั้น แล้วดูไปให้ต่อเนื่อง ด้วยลมหายใจปกติ ทำ�อย่างนี้สัก 3 นาที ระหว่างนั้นหากมีความคิดอื่นเข้ามาแทรกหรือใจลอยไปที่อื่น ก็ให้กลับมาที่ ลมหายใจใหม่ จากนั้นให้สงบรู้ลมหายใจ โดยไม่ต้องหลับตาอีก สัก 1 นาที
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
9
ทำ�บ่อย ๆ ก็จะชำ�นาญ และชินกับการกลับมารูส้ กึ ตัวด้วยการรับรูล้ มหายใจ รู้ในกิจที่ทำ�ได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องตั้งใจหรือพยายาม สิ่งที่ได้ต่อมา คือ จะรู้ทันจิตใจของตัวเอง มีความยับยั้งชั่งใจได้ดีขึ้น เมื่อ เกิดความโกรธ หงุดหงิด คับข้องใจ เพียงแต่กลับมารับรูล้ มหายใจให้มากๆ ก็ จะสามารถระงับได้ จิตใจก็จะผ่อนคลาย ปลอดโปร่งขึ้น มีเรื่องอะไรกวนใจ ก็จะอยู่ได้ไม่นาน
“สติ”เป็นทักษะที่ต้องฝึกให้ชำ�นาญ ไม่ใช่ความรู้ ดังนั้น ยิ่งฝึกบ่อยๆ สมํ่าเสมอก็จะยิ่งชำ�นาญ เกิดสติเป็นอัตโนมัติ ที่สำ�คัญ สามารถฝึกได้ทุกที่ ทุกเวลา และควรปลูกฝังตัง้ แต่ในเด็กเล็กซึง่ จะส่งผลให้เขาสามารถจดจ่อกับ การเรียนรูไ้ ด้ดขี นึ้ ผ่อนคลายลง สงบ โดยเฉพาะในเวลาทีม่ อี ารมณ์ ตลอดจน จะทำ�ให้เด็กรับรู้ตนเอง รับรู้ร่างกาย ที่จะตอบสนองต่อเหตุการณ์ มีความ ระมัดระวัง และมีความสามารถในการควบคุมตนเองได้ดขี นึ้ ตามวัย ซึง่ เด็กๆ สามารถพัฒนาสติของตนเองได้ แต่พอ่ แม่ตอ้ งเป็นต้นแบบทีด่ ใี นการมีสติให้ ลูกก่อน โดยฝึกสติตวั เองในกิจวัตรประจำ�วันในบ้าน เช่น ก่อนจะโต้เถียงกัน ก็ควรหยุดสักนิด ถอยออกมาก่อน เป็นต้น
10
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
ทั้งนี้ ในสังคมปัจจุบัน เราสามารถใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เช่น Facebook หรือ Line มาใช้ในการฝึกสติได้ เช่น เวลาที่เราได้รับข้อความ ภาพ หรือ คลิปดีๆ ขณะที่เราอ่านหรือดู ก็ให้รู้สึกตัว รับรู้ถึงความปรารถนา ดีของคนที่ส่งมา แต่ไม่ต้องรีบ Like หรือ Share เช่นเดียวกับ เวลาเจอ ข้อความ ภาพ หรือคลิปที่ไม่ชอบ ก็ไม่ควรรีบตอบโต้ ให้รับรู้ถึงความโกรธ ไม่พอใจ แล้วนิ่งอยู่กับลมหายใจสักพัก แล้วค่อย ๆ ผ่อนคลาย จากนั้น จึง ค่อยตัดสินใจว่าจะทำ�อะไรต่อไป สรุปคือ เวลาจะรับจะส่งข้อความ ภาพ หรือ คลิปใดๆ ก็ควรนึกถึงใจกันและกัน จะส่ง post ส่ง like ส่ง share ก็ ควรใช้สติ ทำ�ให้ช้าลงสักนิด
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
11
“5 Smarts” Smart Health : ดูแลสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง ด้วยการหมัน่ ออก กำ�ลังกาย รับประทานอาหาร ทีม่ ปี ระโยชน์ ควบคุมปริมาณให้เหมาะสม ตรวจ สุขภาพประจำ�ปี ยึดมั่นในหลักธรรมคำ�สอนทางศาสนา หมั่นฝึกสติ สมาธิ อย่างสมํ่าเสมอ สังเกตอารมณ์ รู้จักควบคุมและจัดการ ฝึกการผ่อนคลาย ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นผู้ให้มากกว่าผู้รับ กล่าวขอบคุณ และชื่นชมผู้อื่นได้ ขอโทษผู้อื่นเป็น ตลอดจนสามารถให้อภัยตัวเองและผู้อื่น เป็นต้น Smart Think : คิดบวก มองโลกในแง่ดี คิดอย่างสร้างสรรค์ ด้วย การมองตัวเองอย่างที่เป็น อยู่กับปัจจุบันอย่างมีสติ และมีความสุข ไม่สร้าง เงื่อนไขมากมายให้กับชีวิต หรือรอในสิ่งที่ยังมาไม่ถึง มองสิ่งที่ยังมีอยู่ เห็น คุณค่าสิ่งดีๆ ในชีวิต ทั้งจากตัวเราและสิ่งที่อยู่รอบข้าง เรียนรู้บทเรียนชีวิต ทีผ่ า่ นมา ไม่จมอยูก่ บั ความผิดพลาดในอดีต และใช้ความผิดพลาดนัน้ เป็นครู นำ�มาปรับปรุงแก้ไข Smart Work : เห็นคุณค่าของตัวเอง ภูมใิ จในหน้าที่ ทำ�ให้ดที สี่ ดุ มุง่ สู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ที่สำ�คัญ อย่าหยุดเรียนรู้ เปิดโอกาสให้กับตนเอง เปิดรับ สิ่งใหม่ๆ นำ�มาพัฒนาปรับปรุงศักยภาพตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถปรับ ตัวและก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
12
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
Smart Family : จัดสรรเวลา สำ�หรับหน้าที่การงานและครอบครัว อย่างสมดุล สร้างความรักความผูกพัน สือ่ สารกันทางบวก ไม่ใช้ความรุนแรง ในการแก้ปัญหา เมื่อมีอารมณ์ทางลบ ขุ่นมัวหรือโกรธเคืองใดๆ ขอให้บอก ความรู้สึกของตนเองต่อความสัมพันธ์นั้นมากกว่าพูดถึงพฤติกรรมอีกฝ่าย ร่วมกันแก้ไขปัญหา ตลอดจนวางแผนการใช้จา่ ย รูจ้ กั เก็บรูจ้ กั ใช้ ดำ�เนินชีวติ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น Smart Society : รว่ มมือร่วมใจกันทำ�ความดี สืบสานพระราชปณิธาน รู้รักสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ และทำ�ประโยชน์เพื่อส่วนรวม เป็นต้น
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
13
“ความเครียด” ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเราทุกคน หากไม่มีการจัดการ ความเครียดสามารถทำ�ให้เกิดโรคร้ายแรงได้ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและ มีเจตคติทางบวกให้มากขึ้นเป็นวิธีการป้องกันความเครียดอย่างง่าย การ จัดการกับความเครียดโดยใช้เทคนิคทีไ่ ม่ดี อาจนำ�ไปสูป่ ญ ั หาทางด้านร่างกาย และความเจ็บป่วย ปัญหาสัมพันธภาพและความขัดแย้ง ทำ�งานไม่สำ�เร็จทั้ง ที่บ้านและที่ทำ�งาน ปัญหาความจำ� เกิดยุ่งยากในการแก้ปัญหา ความรู้สึกเครียดมีสาเหตุมาจากสัญชาตญาณของร่างกายเพื่อปกป้อง ตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีในยามฉุกเฉิน แต่จะส่งผลต่อร่างกายถ้าเป็นเวลานาน การเป็นเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม สามารถทำ�ให้รู้สึกเครียด ได้ แม้กระทัง่ การเปลีย่ นแปลงในทางทีด่ ี คนแต่ละคนมีสาเหตุทที่ �ำ ให้เครียด ต่างกัน สาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดความเครียดมี 2 ประการ คือ 1. สภาพปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ในชีวติ เช่น ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาการปรับตัว ปัญหาการเรียน ปัญหาการทำ�งาน ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นอย่างดีที่จะทำ�ให้เกิดความเครียดได้ 2. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล จะสังเกตได้วา่ คนที่ มองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลก ในแง่ร้าย เอาจริงเอาจัง ใจร้อนและวู่วาม
14
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
ความเครียดซึ่งมีความรุนแรงมาก ได้แก่ 1) การเสียชีวิตของคู่ครอง 2) การหย่าร้าง 3) การแยกทางกันในชีวิตสมรส 4) การเสียชีวิตของญาติสนิท 5) การได้รับบาดเจ็บหรือเป็นโรคที่ร้ายแรง 6) ถูกจำ�คุกหรือถูกส่งเข้าไปอยู่ในสถานบำ�บัด 7) การสมรส 8) ถูกให้ออกจากงาน 9) การเกษียณอายุ 10) ญาติมีสุขภาพไม่ดีหรือพฤติกรรมผิดปกติอย่างมาก
อาการ
วิตกกังวล ปวดศีรษะ ปวดท้อง โรคกระเพาะ หายใจถี่ ท้องผูกหรือ ท้องเสีย อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ปวดหลัง นํ้าหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลง มีปัญหา สัมพันธภาพ มีปัญหาการนอนหลับหรือนอนไม่หลับ (Insomnia ความดัน โลหิตสูง
แนวทาง/วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสม
ผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจที่มีต่อความเครียดมีความแตก ต่างกันในแต่ละคน เช่น บุคลิกภาพที่แตกต่างมีผลต่อความทนทานต่อ ความเครียดตาละคนจัดการกับความเครียดแตกต่างกัน ชนิดของตัวกระตุน้ มีมากมายแต่ละคนเผชิญกับปัญหาในชีวิตแตกต่างกัน และมีมุมมองต่อ เหตุการณ์ตา่ งกันวิธกี ารจัดการกับความเครียดมีหลากหลายวิธี บางวิธใี ช้ได้ ผลบางวิธีใช้ไม่ได้ผล
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
15
1. ตระหนักรู้ถึงอาการของความเครียด เช่น ตึงกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ 2. เปลีย่ นแปลงตัวเอง โดยสำ�รวจวิถชี วี ติ เพือ่ ดูวา่ จะเปลีย่ นแปลงเรือ่ ง ไหนได้ 3. รับประทานอาหารทีม่ ปี ระโยชน์ ซึง่ เป็นส่วนสำ�คัญต่อร่างกายและจิตใจ ทำ�ให้เรามีสุขภาพที่ดีและรับมือกับความวิตกกังวลและความเครียด 4. ผ่อนคลาย เรียนรู้วิธีการผ่อนคลายที่ชื่นชอบ 5. ออกกำ�ลังกาย 6. พักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้รับมือกับความเครียดได้ 7. เขียนระบาย 8. หาหนทางเพื่อลืมความเครียดและเติมพลังให้กับตัวเอง 9. พูดคุยกับเพื่อน ครอบครัว ผู้ให้การปรึกษา หรือรวมกลุ่มสนับสนุน จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นและให้มุมมองที่แตกต่าง 10. หากิจกรรมทำ� 11. เรียนรู้ทีจะจัดสมดุลให้กับชีวิตในเรื่องการทำ�งาน การพักผ่อนและ การนอนหลับ 12. หัวเราะให้กับตนเอง การหัวเราะเป็นการออกกำ�ลังกล้ามเนื้อท้อง และนำ�ความรูส้ กึ มีความสุขมาให้ การยิม้ จะช่วยลดความตึงเครียดของกล้าม เนื้อใบหน้า การหัวเราะบ่อยครั้งสามาถเปลี่ยนชีวิตของเราได้ 13. อย่าพยายามเป็นคนสมบูรณ์แบบในทุกเรื่อง การเป็นคนสมบูรณ์ แบบในทุกเรื่องจะกดดันตัวเอง ปล่อยมันผ่านไป ให้ตัวเองมีอิสระในการ สร้างสรรค์ 14. อย่าวิตกกังวลในเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ 15. พัฒนาเจตคติในทางบวก 16. ให้รางวัลกับตัวเอง เมื่อสามารถชนะกับความท้าทาย 16
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
นอกจากนี้ การสร้าง resilience ให้กับตัวเอง จะช่วยให้เรารับมือกับ ปัญหาที่เกิดขึ้น และเผชิญหน้ากับความเครียดในระดับสูง โดย • คิดว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งท้าทายและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต • มองปัญหาว่าเป็นเรื่องชั่วคราวและแก้ไขได้ • เชื่อว่าเราจะประสบความสำ�เร็จถ้าพยายามทำ�ให้ได้ตามเป้าหมาย ที่วางไว้ • หาหนทางเพื่อแก้ไขปัญหา • รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับครอบครัวและเพื่อน
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
17
“แนวทางจัดการความเครียดในทีท่ �ำ งาน” ความเครียดในการทำ�งาน เป็นตัวการสำ�คัญที่มีผลต่อศักยภาพในการ ทำ�งาน คุณภาพชีวิตและคุณภาพการทำ�งานของแรงงานและอาจส่งผล ทำ�ให้มีโรคทางจิตเวชตามมา จึงจำ�เป็นต้องมีทักษะหรือวิธีการจัดการกับ ความเครียดให้กับตัวเองโดยเร็ว การจัดการปัญหาความเครียดมีหลายรูปแบบขึน้ อยูก่ บั แนวทางทีเ่ หมาะ สมทีจ่ ะเลือกนำ�มาใช้ สิง่ ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ คือ การได้มโี อกาสบริหารจัดการความ สมดุลในร่างกายกับความเครียดอย่างเหมาะสม
แนวทาง 4ส.1ม.
สมดุล คือ การค้นหาความหมายในตัวเราเองและแยกแยะได้ว่า เราคือ ใคร งานที่รับผิดชอบคืออะไร ซึ่งการหาสมดุลต้องมีการกำ�หนดลำ�ดับความ สำ�คัญว่าสิ่งไหนสำ�คัญกว่ากันระหว่างตัวเราเองกับงาน โดยจะต้องคำ�นึงว่า เราควรเห็นคุณค่าในการดูแลตนเองมากกว่าการมุ่งเน้นที่ให้ผู้บังคับบัญชา ชื่นชมในผลงาน อีกทั้งต้องมีเป้าหมายและสร้างขอบเขตความรับผิดชอบ ของตัวเราเอง มองว่า ไม่วา่ สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับเราในการทำ�งานจะเป็นเช่นไร เรา สามารถมองเห็นถึงความท้าทายที่เกิดขึ้น และใช้ความท้าทาย เป็นโอกาสที่ จะเติบโตเพิ่มการรับรู้ในการทำ�งานของเรา สมาธิ คือ การจดจ่อ มุง่ เน้นในการทำ�งานตรงหน้า ไม่เสียสมาธิไปกับเรือ่ งอืน่ ๆ ในเวลางาน โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในโลกยุคดิจติ อลในปัจจุบนั ทีม่ กั จะมีสอื่ ต่างๆ เข้ามาก่อกวนสมาธิในระหว่างการทำ�งานทำ�ให้เรากังวลใจ และส่งผลให้งาน ที่ทำ�ออกมาได้ไม่ดีพอ 18
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
สื่อสาร คือ การสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานด้วยข้อมูลที่มีความถูกต้อง มี ความจริงใจ คำ�นึงถึงบริบทแวดล้อม และประเภทของบุคคลที่มีการสื่อสาร ตลอดจนสือ่ สารด้วยคำ�พูดทีส่ ภุ าพ ไม่กา้ วร้าว ถ้ารูส้ กึ ว่าตัวเองเริม่ มีอารมณ์ โกรธ เครียด ไม่ควรเผชิญหน้ากัน นอกจากนั้น ควรคำ�นึงถึงศักยภาพของ แต่ละบุคคลมากกว่าข้อจำ�กัดของเขารวมทัง้ รับฟังเสียงสะท้อนทีเ่ กิดขึน้ ให้ได้ สัตย์ซื่อ คือ การมีจริยธรรม คุณธรรม ซื่อสัตย์ในการทำ�งาน ตระหนักรู้ ในบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้ว่าตนเองมีหน้าที่อะไร ทำ�งานอะไร และ พยายามทำ�บทบาทหน้าที่นั้นให้ดี แม้ว่าจะเผชิญภาวะวิกฤติในการทำ�งาน อยู่ก็ตาม เมตตา คือ ตระหนักและเห็นอกเห็นใจต่อความเป็นมนุษย์ทั้งของ ตัวเราเองและผูอ้ นื่ เพือ่ ให้เกิดความรักความเมตตา เพราะปัจจุบนั การแข่งขัน ในการทำ�งานมีสูงขึ้น งานมีความท้าทาย ถูกกดดัน มีความขัดแย้ง และ มีความเครียด การคำ�นึงถึงความแตกต่างและความเท่าเทียม จึงสำ�คัญอย่างมาก ซึ่ ง ความมี เ มตตากรุ ณ าสามารถหยิ บ ยื่ น ไปยั ง คนอื่ น ๆ ได้ โดยที่ เรา ไม่จำ�เป็นต้องยึดติดกับคำ�วิจารณ์ของคนอื่นๆ
10 เทคนิคลดเครียด
1. 2. 3. 4.
หมั่นออกกำ�ลังกายและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รู้จักพักผ่อนหย่อนใจ พักสมอง พักสายตา ทำ�กิจกรรมหรืองาน อดิเรกที่ชอบ ใช้ค�ำ พูดทีช่ วนฟัง ทักทาย สวัสดี ขอบคุณ ขอโทษ ชืน่ ชม ให้ก�ำ ลังใจ ให้อภัย ไม่พูดส่อเสียดซํ้าเติม จัดการอารมณ์ ตั้งสติ ไตร่ตรอง คิดถึงผลดี ผลเสียที่จะตามมาจาก การกระทำ� “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
19
5. สร้างสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน ยิ้มแย้มแจ่มใส เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา 6. บริหารเวลา เรียงลำ�ดับความสำ�คัญหรือความเร่งด่วนของงาน 7. กล้าแสดงความคิดเห็นในทางสร้างสรรค์ เปิดใจรับฟังและชี้แจง ด้วยเหตุผล 8. สร้างพลังสุขภาพจิตหรือความเข้มแข็งทางใจให้ตนเอง ให้กำ�ลังใจ และชื่นชมตนเองเมื่อทำ�อะไรสำ�เร็จ บอกกับตนเอง “ฉันมีความ สามารถทำ�ได้” อย่ากังวลกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง 9. เก็บออม โดยฝึกให้เป็นนิสัยด้วยการแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งเพื่อการ ออมก่อนการใช้จ่าย 10. แก้ปัญหาอย่างถูกวิธี หาสาเหตุที่ทำ�ให้เกิดปัญหาและแก้ที่ต้นเหตุ ทีส่ �ำ คัญ ไม่แก้ปญ ั หาด้วยอารมณ์ ตลอดจน ไม่ใช้สรุ า ยาเสพติด เป็น ทางออกในการแก้ปญ ั หา หากไม่สามารถแก้ปญ ั หาได้ดว้ ยตนเอง ก็ อย่าอายทีจ่ ะปรึกษาคนใกล้ชดิ หรือคนทีไ่ ว้วางใจ หรือ ขอรับบริการ ปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
20
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“วิธคี ลายเครียดขณะขับรถ” ปัญหาความเครียดที่สำ�คัญปัญหาหนึ่งของคนอยู่ในเมืองใหญ่คงหนีไม่ พ้นเรื่องรถติด เนื่องจากสภาพการดำ�เนินชีวิตที่เร่งรีบ มีการแข็งขั้นสูง แต่ กลับต้องมาเสียเวลาอยู่กับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ ทำ�ให้เครียด ยิ่งต้อง เผชิญปัญหารถติดทุกวัน ทัง้ เช้าและเย็น ยิง่ เครียดมากขึน้ จนทำ�ให้เกิดอาการ ผิดปกติต่างๆ ตามมา หลายคนอาจมีอาการปวดศีรษะ ไมเกรน บางคนท้องผูก บางคนท้องเสีย บางคนปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดต้นคอ ซึ่งเมื่อร่างกายเจ็บป่วยแล้วจิตใจก็จะ พลอยไปด้วย บางคนกลายเป็นคนหงุดหงิด โมโหง่าย ก้าวร้าว บางคนถึง ขนาดท้อแท้ ซึมเศร้า หมดอาลัยตายอยาก เบื่องาน เบื่อชีวิต และทำ�ให้ มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปในทางลบด้วย เช่น บางคนเก็บตัวไม่คบเพื่อนฝูง บางคนพูดมาก จู้จี้ขี้บ่น ชอบชวนทะเลาะ ทำ�ร้ายกัน ฆ่ากันได้ด้วยสาเหต ุเพียงเล็กน้อย หลายคนสูบบุหรี่ ดืม่ สุรา ดืม่ เครือ่ งดืม่ บำ�รุงกำ�ลังเพิม่ ขึน้ กว่าเดิม และอาจมีการใช้สารเสพติดอื่นๆ ด้วย ถ้ า ปล่ อ ยให้ อ าการเหล่ า นี้ ค งอยู่ เ ป็ น เวลานั บ เดื อ นนั บ ปี อาจทำ � ให้ เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงได้ เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน แผล ในกระเพาะอาหาร ริดสีดวงทวาร เป็นต้น ซึ่งจะรบกวนการดำ�เนินชีวิตมาก ยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมอีกหลายเท่า จึงควรหาวิธีการคลายเครียดในขณะขับรถ ทีไ่ ด้ผล เพือ่ ช่วยลดความเครียด และอาการต่างๆ ทีเ่ กิดจากความเครียดด้วย วิธีการคลายเครียดขณะขับรถมีหลายวิธี ได้แก่
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
21
- การฟังเพลง เพือ่ ความเพลิดเพลินในขณะขับรถ ผูท้ ชี่ อบเสียงเพลง อาจคัดเลือกเพลงที่ชอบแล้วบันทึกลงซีดีเอาไว้ฟังในรถแบบ “นันสต๊อป” หรือฟังได้เป็นชั่วโมงๆ โดยไม่ต้องเปิดปิดให้เมื่อยมือ และยังสามารถร้อง คลอตามไปด้วยได้ - การฟังรายการวิทยุที่ชอบ การได้ฟังรายงานการจราจร ฟังนัก จัดรายการที่ชื่นชอบ ได้ฟังเพลงเพราะๆ ที่หลากหลายจากต่างสถานีกัน ก็ช่วยให้เพลิดเพลินได้ - การฝึกท่ากายบริหาร เพือ่ คลายกล้ามเนือ้ ทีห่ ดเกร็งตัวในขณะขับรถ เช่น การกำ�มือและแบมือสลับกัน การก้มเงยศีรษะ หันหน้าไปทางซ้าย และทางขวา การขยับไหล่ขึ้นลง นวดขมับ นวดหัวคิ้วและสันจมูก นวดบ่า ทั้งสองข้าง เป็นต้น
22
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“การใช้ยา” ความเครียดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายและจิตใจ เตรียมพร้อมจัดการกับปัญหาที่ผา่ นเข้ามา แต่หากคนเรามีความเครียดมาก และนานเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจ โดยความเครียดที่ รุนแรงและเรือ้ รังจะส่งผลให้ระบบภูมคิ มุ้ กันทำ�งานลดลง ทำ�ให้เจ็บป่วยด้วย โรคต่างๆ ได้ง่ายขึ้น หากมีโรคประจำ�ตัวก็มักจะมีอาการกำ�เริบ ในทางจิตใจ ความเครียดเรื้อรังทำ�ลายความเชื่อมั่น สูญเสียความสามารถในการคิดและ ตัดสินใจ จนอาจเกิดภาวะซึมเศร้า มีอารมณ์หดหู่ เศร้าหมอง ไม่สามารถ ดำ�เนินชีวิตได้ตามปกติบางรายอาจคิดฆ่าตัวตาย การใช้ยาทางจิต อาจมีที่ใช้ในบางกรณี แยกตามอาการและประเภท ของยา ดังนี้ 1. ใช้ยาคลายกังวล เพื่อช่วยให้หลับ ผู้ที่มีปัญหานอนไม่หลับจากความเครียด หากดูแลตนเองอย่างถูกต้อง จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ยา แต่ในบางกรณี อาจจำ�เป็น ต้องใช้ยาคลายเครียดตามคำ�สั่งแพทย์ช่วยเป็นครั้งคราว เพื่อให้หลับได้ดี ขึ้นไม่ควรใช้ยาต่อเนื่องเกินกว่าสองสัปดาห์ การใช้ยาเช่นนี้จะไม่ก่อให้เกิด ปัญหาติดยาแต่อย่างใด 2. ใช้ยาต้านเศร้า ช่วยรักษาอารมณ์เศร้าที่รุนแรง ผู้มีอารมณ์เศร้าจากความสูญเสีย มักมีอาการดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จน พอทำ�ใจกับความสูญเสียได้ แต่ในระยะแรก หากมีปัญหานอนไม่หลับก็อาจ ใช้ยาคลายเครียดเพื่อช่วยให้หลับได้ นอกจากนี้ ความเศร้าเสียใจยังเป็นบท “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
23
เรียนชีวติ ทีม่ คี ณ ุ ค่า ช่วยให้คนเราเข้าใจชีวติ มากขึน้ อารมณ์เศร้าในเหตุการณ์ สูญเสียจึงไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นความปกติของความเป็นมนุษย์ บางคนอาจมีอารมณ์เศร้ามากและนาน จนรบกวนความสามารถในการ ดำ�เนินชีวติ ในกรณีนคี้ วรพิจารณาใช้ยาแก้เศร้าเพือ่ ช่วยในการรักษา ควรได้ รับการประเมินโดยแพทย์ จิตแพทย์ หรือบุคลากรสุขภาพจิต นอกจากยาคลายเครียดเพื่อช่วยให้หลับ และยาแก้เศร้าเพื่อช่วยผู้มี อาการเศร้ารุนแรงแล้ว ยังมียาช่วยลดอาการหวาดระแวง ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ มีความหวาดระแวง หูแว่ว ประสาทหลอน การใช้ยาทางจิตอย่างถูกต้อง จะช่วยเพิม่ คุณภาพชีวติ ให้กบั ผูป้ ว่ ย ไม่กอ่ ให้เกิดปัญหาการติดยาแต่อย่างใด สิ่งสำ�คัญคือ ควรมีมาตรการดูแลตนเอง ด้วยวิธีต่างๆ ที่ไม่ใช้ยาร่วมด้วยเสมอ
24
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“อุปทานหมู”่ อาการกรีดร้องราวกับคนไร้สติมอื เท้าเกร็ง ตะโกนเอะอะโวยวายสลับกับ เสียงหวีดร้อง ถ้อยคำ�มากมายพรัง่ พรูเพ้อเจ้อไม่สามารถจับใจความได้แสดง กริยาก้าวร้าวชีห้ น้าด่าทอ บุคคลใกล้เคียง จากนัน้ คนอืน่ ๆทีอ่ ยูใ่ นเหตุการณ์ ก็เกิดอาการลักษณะคล้ายๆ กัน ทีละคนๆนั้น อาการเหล่านี้คือการเจ็บป่วย ทางจิตรูปแบบหนึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ แบบแรก คือ โรคจิตอุปทาน (Dissociative Disorder)ซึ่งมีลักษณะ สำ�คัญคือ ผู้ป่วยมีการสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองเพียงบางส่วนหรือ ทั้งหมด ในเรื่องของความจำ� การรับรู้อัตลักษณ์ และประสาทสัมผัส ทำ�ให้ ไม่สามารถควบคุมการเคลือ่ นไหว ความคิด และพฤติกรรม อาจแสดงอาการ ทัง้ ทางร่างกายและจิตใจ เช่น ชักเกร็งกล้ามเนือ้ หายใจถี่ แน่นหน้าอก เป็นลม หมดกำ�ลัง ฯลฯ แบบที่สอง คืออุปทานหมู่/อุปทานกลุ่ม (Mass Hysteria)อาการที่พบ เช่นหวีดร้อง ตกใจกลัว หวาดผวา พูดเพ้อถ้าเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ก็อาจบอก ได้ว่าเป็นท่าทางหรืออาการคล้ายคนถูกผีเข้าหรือร่างทรงบางรายเห็นภาพ หลอน แสดงกิริยาก้าวร้าวออกมาพฤติกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นพร้อมๆกันหรือ ในเวลาใกล้เคียงกัน หากเกิดขึ้นกับคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปจนถึงกลุ่มใหญ่ๆ เมือ่ ใดทีค่ นหนึง่ เกิดอาการขึน้ ก็เสมือนหนึง่ ว่าเป็นตัวกระตุน้ “อารมณ์รว่ ม”
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
25
ของคนข้างเคียงในกลุม่ ให้แสดงออกตามๆ กันไป เป็นปฏิกริ ยิ าลูกโซ่ คล้ายๆ “ติดเชือ้ ” หรือ “ระบาด” ซึง่ อาการเหล่านีอ้ าจเกิดขึน้ เองหรือคล้ายจงใจจะ ให้เกิดขึ้นก็ได้ กลไกของพฤติกรรมการเจ็บป่วยนี้ พอจะสรุปสาเหตุหลักๆ ได้ คือ โรคจิตอุปทาน(Dissociative Disorder) และอุปทานหมู่ (Mass Hysteria) เป็นปรากฏการณ์ทเี่ กิดขึน้ เกีย่ วกับจิตสังคมซึง่ เกิดขึน้ กับบุคคล ตัง้ แต่ 1 คน ขึ้นไป เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในกรณีที่คนหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีความ คิด ความเชื่อว่าตนเจ็บป่วยเป็นโรคเดียวกันหรือเผชิญสถานการณ์/ปัญหา เดียวกัน จึงแสดงอาการออกมาแบบเดียวกัน มักมีลักษณะเด่นตรงที่ไม่อาจ หาสาเหตุแน่ชัดได้อาการที่เกิดก็มักมีความคลุมเครือ และมักเกี่ยวข้องกับ ความเชื่อหรือพิธีกรรมเกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติ ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่าง ประกอบกัน ได้แก่ 1. มีปัจจัยเหนี่ยวนำ� เช่น ความเชื่อในท้องถิ่น เรื่องภูตผี สิ่งเหนือ ธรรมชาติ 2. มีการสือ่ สารข้อมูลออกไป ทำ�ให้เกิดความเชือ่ เดียวกันแพร่กระจาย อย่างรวดเร็ว 3. มีปัจจัยความเครียดในเรื่องสังคมและเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดการขาด ความเชื่อถือในตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้กลุ่มบุคคลเกิดการรับและการ แปลข้อมูลที่ผิด 4. มีประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละภูมิภาคนับถือ 5. มีการระบาดของอาการอย่างผิดปกติ จนต้องมีหน่วยงานเข้าไปดูแล วิธีการรักษา
26
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
โรคจิตอุปทาน (Dissociative disorder)
การพยายามหาข้อขัดแย้งทางจิตใจ หรือ ความเครียดทางจิตสังคม ให้ กับผู้ป่วยได้รู้จักตนเอง เข้าใจและแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ซึ่งอาจใช้วิธีต่างๆ เช่น การทำ�จิตบำ�บัด (Psychotherapy) วิธีการสะกดจิต (Hypnosis) การ รักษาแบบพื้นบ้าน (Indigenous therapy)
อุปทานหมู่ (Mass hysteria)
ในระดับบุคคล เมื่อเกิดอาการขึ้นไม่นานก็จะหายไปเองเมื่อผู้ป่วยรู้สึก ผ่อนคลาย วิธกี ารรักษาเบือ้ งต้น คือ แยกผูป้ ว่ ยคนแรกทีเ่ กิดอาการ หรือ “คน เหนี่ยวนำ�” ออกจากกลุ่ม เพื่อทำ�การรักษาด้วยการตรวจวิเคราะห์ร่างกาย ทำ�ให้ร่างกายผ่อนคลาย ได้พักผ่อน สักพักอาการจะดีขึ้นจนเป็นปกติได้ แต่ หากกลับเข้าไปในกลุม่ ก็อาจเกิดอาการซํา้ ได้อกี หากความเชือ่ ยังคงมีอยู่ จาก นัน้ ให้ประเมินสภาพจิตใจร่วมกับสิง่ แวดล้อม หรือพูดคุยให้คลายความกังวล ใจ ทำ�จิตบำ�บัดรายบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเป็นซํ้า โดยอาจให้หยุดเรียน หรือทำ�งานสักพักโดยเฉพาะรายที่เป็นผู้เหนี่ยวนำ�ผู้อื่นให้เกิดอาการควรได้ รับการตรวจวินิจฉัยและให้การรักษา ในระดับกลุ่ม เช่น เพื่อนนักเรียนในโรงเรียน หรือเพื่อนบ้าน เพื่อนที่ ทำ�งาน อาจมีอาการตามกันมาได้ และมักมีความเชื่อไสยศาสตร์มาอธิบาย ปรากฏการณ์เหล่านี้ ยิง่ ทำ�ให้เกิดความวิตกกังวล และการแพร่กระจายของ อาการไปยังคนอื่นๆได้ง่าย ควรจัดการเรื่องความเชื่อเหล่านี้โดยเร็ว อาจให้ ผู้นำ�ทางจิตวิญญาณ หรือผู้เป็นที่เคารพในชุมชนเป็นหลักในการแก้ไขความ เชือ่ นัน้ ๆ โดยอาจอนุญาตให้มกี ารกระทำ�พิธกี รรมเพือ่ ลบล้างความผิด ความ เชื่อ ทำ�ให้สภาวะทางจิตใจส่วนรวมกลับมาโดยเร็วที่สุด การทำ�กลุม่ จิตบำ�บัด(Group Psychotherapy) ให้กบั กลุม่ ผูม้ อี าการดัง กล่าว หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้จะช่วยให้เห็นถึงปัญหาที่แท้จริงและ ทำ�การแก้ไขปัญหาทางจิตใจ สังคมได้ตรงจุด และทำ�ให้กลุ่มอาการเหล่านี้ หายไปโดยเร็ว “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
27
“การดูดวง” การดูดวงในสังคมไทยได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการดำ�เนินชีวิตของ คนหลายกลุม่ ไม่วา่ จะเป็นพ่อค้านักธุรกิจ แม่บา้ น นักการเมือง ดารานักแสดง นักร้อง ซึง่ เรือ่ งทีจ่ ะไปดูดวงนัน้ ก็มตี งั้ แต่เรือ่ งในบ้าน การตัดสินใจในเรือ่ งต่างๆ บางคนจะคลอดลูกยังต้องไปหาฤกษ์งามยามดีด้วยซํ้าไป จะเห็นได้ว่าการ ดูดวงมีผลกระทบและมีบทบาทกับทุกเรือ่ งราวในชีวติ ตัง้ แต่เกิดจนตาย ทัง้ นี้ เนือ่ งจาก คนส่วนใหญ่เมือ่ เกิดความไม่มนั่ ใจในตนเอง ต้องมีการตัดสินใจก็จะ ต้องการหาที่ปรึกษาหรือหาคนที่จะให้กำ�ลังใจ ช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุน ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น หากมีความเครียดมาก วิตกกังวลใจ กลุ้มใจ สับสน ด้วยแล้วยิ่งต้องวิ่งหาหมอดูกันจ้าละหวั่น ผิดกับวัฒนธรรมตะวัน ตกที่หันหน้าเข้าหาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา เพื่อช่วยบำ�บัดความเครียดต่างๆ แต่ในประเทศไทยกลับพบว่า การไปพบบุคลากรทางการแพทย์เหล่านีจ้ ะถูก มองว่าเป็นคนเสียสติหรือบ้านัน่ เอง ด้วยเหตุนธี้ รุ กิจการดูดวงในประเทศไทย เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีเงินสะพัดปีๆหนึง่ หลายร้อยหลายพันล้านบาท ศาสตร์ที่เกี่ยวกับการดูดวง การทำ�นายทายทักนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายแขนง เช่น โหราศาสตร์ การดูไพ่แบบต่างๆ การดูลายมือ และการดูโหงวเฮ้ง เป็นต้น สังเกตว่ายิ่งนับวันก็มีความแปลกและสร้างจุดขายให้กับตนเอง เช่น การดูลายเท้า การดูกระดองเต่า การดูดวงปาเป้าพลังจิต ถ้าสังเกตให้ดี คำ�ทำ�นายที่ออกมาก็มีลักษณะที่เป็นกลางๆ อ่านแล้วก็ตรงกับสิ่งที่ทุกคน เป็นไม่มากก็น้อย
28
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
คนไทยกั บ การดู ด วงจึ ง เป็ น ของคู่ กั น มาทุ ก ยุ ค ทุ ก สมั ย ยิ่ ง สมั ย นี้ มี อินเทอร์เน็ต เราสามารถเข้าไปเช็คดวงได้ฟรีตลอดเวลา แต่การไปดูหมอ ดูด วงแบบเสียค่าใช้จา่ ยก็ยงั คงนิยมอยูม่ ากไม่เปลีย่ นแปลง เช่น การดูไพ่ยปิ ซี ดู ลายมือ และคำ�นวณวันเกิด หรือแม้แต่รา่ งทรง แม้จะมีคา่ บริการทีส่ งู ขึน้ เรือ่ ย ๆ ลูกค้าก็ไปอุดหนุนกันอย่างต่อเนือ่ ง หากพูดถึงเหตุผลหลักๆ ทีค่ นไทยยึดติด กับการดูดวงมีสาเหตุต่างๆดังนี้ • คนกลัวกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง จึงมองหาอะไรที่มาเสริมความมั่นใจ ใน การตัดสินใจทำ�อะไรสักอย่าง • กำ�ลังอยูใ่ นห้วงความทุกข์ หาทางออกไม่ได้ อยากหาวิธแี ก้ไขให้ชวี ติ ดีขึ้น • อยากประสบความสำ�เร็จในการงาน หรืออยากมีโชคลาภ ถามหา หาเทคนิควิธีแก้เคล็ดต่าง ๆ • กำ�ลังมีความรัก แต่ไม่แน่ใจ ว่าเขาเป็นเนื้อคู่เราจริงหรือไม่ เพราะ คนสมัยนี้รู้หน้าไม่รู้ใจ • เพือ่ ติดต่อหรือถามเรือ่ งราวทีล่ ล้ี บั คนทีต่ ายไปแล้ว หรือเทพ เทวดา ที่มองไม่เห็น สาเหตุทแี่ ท้จริงก็มาจากความเครียดในเรือ่ งต่างๆของชีวติ เช่น การงาน การเงิน และความรัก ยิ่งคนเครียดมากก็ยิ่งไปดูดวงกันมากและพึ่งพาการดู หมอเป็นกำ�ลังใจ ซึง่ จะห้ามคนไม่ให้ไปดูดวงก็คงจะไม่ได้ แต่ในทางจิตวิทยา แล้วการจัดการความเครียดที่เหมาะสมสามารถทำ�ได้ดังนี้
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
29
1. ตระหนักรู้ หรือจับความรู้สึกเครียด วิตกกังวลที่เกิดขึ้นให้ได้ก่อน โดยการสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย จิตใจ ความคิด และ พฤติกรรม เช่น บางคนเครียดแล้วมักกัดเล็บ ปวดศีรษะ หงุดหงิด ความคิด บิดเบือนจากความเป็นจริง หรือ มีพฤติกรรมซํา้ ๆ ยาํ้ คิดยาํ้ ทำ� เป็นต้น ซึง่ เรา สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง หรือ จากการบอกกล่าวของคนรอบข้าง หรือ เข้าไปประเมินได้ที่ Mobile Application ชื่อ Smile Hub 2. หลีกเลี่ยง ตัวกระตุ้นที่ทำ�เครียด แต่ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงที่ไม่นำ� ตนเองไปสูท่ างตัน เป็นต้นว่า การเรียนหรือการทำ�งานทำ�ให้เครียด จึงตัดสิน ใจไม่เข้าเรียนหรือไม่ไปทำ�งาน เช่นนี้แทนที่จะเป็นการไขปัญหาระยะยาว แต่กลับจะสร้างปัญหาใหม่ๆตามมาอีกได้ การหลีกเลี่ยงที่ถูกต้องคือ การไม่ เผชิญกับตัวกระตุน้ ทีก่ อ่ ให้เกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล เช่นเมือ่ ต้อง เผชิญสถานการณ์ที่ชวนให้เครียดหากเลี่ยงได้ก็ควรรีบออกจากสถานการณ์ นั้นโดยเร็ว ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการคิดและการตัดสินใจที่ไม่ก่อให้เกิด ปัญหาใหม่ตามมา 3. จัดการความเครียดที่ได้ผล เช่น การหันมาทำ�กิจกรรมที่สนุกสนาน หรือ ที่ชื่นชอบ การออกกำ�ลังกาย การเล่นกีฬา การเที่ยวพักผ่อน เป็นต้น รวมไปถึงเทคนิคต่างๆ เช่น การฝึกสติ ฝึกหายใจ การทำ�งานศิลปะเป็นต้น 4. การปรับเปลี่ยนความคิด พยายามมองหาแง่ดี หรือ ประโยชน์จาก สถานการณ์ที่ทำ�ให้เกิดความเครียด แทนที่จะหมกมุ่นครุ่นคิดแต่ปัญหาที่ เกิดขึ้นซึ่งยังไม่สามารถหาทางออกได้ ก็ปรับเปลี่ยนมาเป็นการเริ่มมองหา บทเรียนหรือสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากสถานการณ์เลวร้ายนั้นๆ การมองหาแง่มุ มอื่นๆที่แตกต่างออกไป อาจมาจากการอ่านหนังสือ หรือการพูดคุยกับคน หลากหลายจะช่วยให้เกิดมุมมองใหม่ๆต่อปัญหาและสามารถเห็นแนวทาง แก้ปัญหาที่เราคิดไม่ถึงก็เป็นได้
30
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
การดูดวงเพื่อให้เกิดความสบายคลายเครียดนั้น มองในแง่หนึ่งก็เป็น วิธีการระบายความเครียดได้ดี ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอดี คือ ไม่หลงเชื่องมงายจนขาดสติ เพราะอาจเป็นช่องทางให้พวกมิจฉาชีพมา หลอกลวงได้ ในอีกแง่หนึ่งการดูดวงเป็นเพียงเครื่องมือในการบรรเทาภาวะยุ่งเหยิง และสับสนทางความคิด ซึ่งหากพิจารณาให้ถ่องแท้แล้วปัญหาก็ยังอยู่และ ยังไม่ได้รบั การแก้ไขแต่อย่างใด หากเราจะมัวแต่โทษโชคชะตา หรือรอฟ้ารอ ดิน ปัญหาแทนทีจ่ ะได้รบั การแก้ไขอย่างทันท่วงทีกอ็ าจสายเกินไปได้ ทางที่ ดีเราควรตั้งสติ มองโลกตามความเป็นจริง และมีกำ�ลังใจเสมอ ปัญหาใดไม่ ว่าใหญ่แค่ไหน ย่อมแก้ไขได้ไม่ยาก
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
31
“สุรากับปัญหาสุขภาพจิต” จากการสำ�รวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตของคนไทยระดับชาติ ปี 2556 พบ คนไทยมีปัญหาจากการใช้สุรา ถึงร้อยละ 18 หรือประมาณ 9.3 ล้าน คน ผลกระทบจากการดืม่ สุรา มีทงั้ ทำ�ให้สมองเสือ่ ม ความดันโลหิตสูง เลือด ออกในสมอง เกิดความวิตกกังวลสูง ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย มีปัญหาการทำ�งาน การทะเลาะวิวาท และเกิดคดีความ ฯลฯ ผู้ป่วยติดสุราจะมีอาการอย่างน้อย 3 อาการ ตามเกณฑ์ ดังนี้ 1) ดื่มมากกว่าที่ตั้งใจไว้ 2) ไม่สามารถหยุดหรือเลิกการดื่มสุราบ่อยครั้ง 3) มีอาการทนต่อสุรามากขึน้ เช่น ต้องดืม่ มากกว่าเดิมอย่างมากจึงจะ รู้สึกเช่นเดิม 4) มีอาการถอนเหล้า เช่น มือสั่น เหงื่อแตก คลื่นไส้ นอนไม่หลับ เวลา ที่ลดการดื่มลง 5) ยังคงใช้สุรา แม้รู้ว่าจะทำ�ให้เกิดปัญหาทางกาย หรือทางจิตใจ 6) เวลาในแต่ละวันหมดไปกับการดื่ม การซื้อ การคิดถึงการดื่มสุรา การเมา หรือการฟื้นจากฤทธิ์สุรา 7) ใช้เวลาลดลงกับการทำ�กิจกรรมที่สำ�คัญเพราะมัวแต่ใช้เวลาไปกับ การดื่มเหล้า สำ�หรับการบำ�บัดรักษา จะประกอบด้วย การคัดกรองและ บำ�บัดระยะสั้น ด้วยการให้คำ�แนะนำ�/ปรึกษาเบื้องต้น การบำ�บัดอาการ ถอนพิษ การฟืน้ ฟูสภาพด้วยยาและจิตสังคมบำ�บัด และการติดตามหลังการ รักษาเมื่อกลับสู่ชุมชน 32
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
5 เทคนิค สร้างพลังใจ เพื่อเลิกสุรา ได้แก่ 1. มีความรู้สึกดีและภาคภูมิใจในตนเอง ใคร่ครวญถึงการได้ทำ�หน้าที่ และการงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา ตลอดจนการประสบความสำ�เร็จในชีวิต ด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือทั้งในระดับบุคคลและสังคม ค้นหาข้อดี ของตัวเอง ได้ทำ�งาน หรือร่วมกิจกรรมทางสังคมต่างๆ 2. มีใครสักคน หรือสักกลุ่มที่เชื่อมั่นได้ว่า รักและจริงใจต่อกันจริงๆ ซึ่งอาจเป็นคนในครอบครัวสายเครือญาติ เพื่อน เพื่อนบ้าน ผู้ร่วมงาน ซึ่ง จะเป็น “แรงบันดาลใจ” ช่วยให้เลิกดื่มสุราได้ 3. มีการตั้งเป้าหมายในชีวิตทั้งเฉพาะกิจ ระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาวว่าจะทำ�อะไร เพื่อใครและทำ�อย่างไร เช่น เพื่อพ่อแม่ เพื่อลูก เพื่อ คู่รัก เพื่อพระเจ้า เพื่อพระพุทธเจ้า เพื่อสร้างตำ�นานให้ตนเอง เพื่อการมี สุขภาพที่ดีขึ้น เพื่อเป็นของขวัญให้ใครบางคน เพื่อความสุขของครอบครัว และตัวเอง เพื่อให้เจ้านายและผู้ร่วมงานมองตนเองในด้านดี เพื่อถวายเป็น พุทธบูชา เป็นต้น โดยกำ�หนดเวลาให้ชดั เจน ตลอดจนเข้มงวดและมีวนิ ยั ต่อ การปฏิบัติตนในกระบวนการรักษา 4. พบความสำ�เร็จในเป้าหมายที่ตั้งไว้เป็นระยะๆ เช่น เลิกดื่มสุราได้ นานขึน้ เรือ่ ยๆ ทำ�งานได้ดขี นึ้ เรือ่ ย ๆ และมีความพยายามขึน้ เรือ่ ยๆ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีความภูมิใจและรู้สึกดีต่อตนเองขึ้นเรื่อยๆ 5. มีสายสัมพันธ์ทเี่ กือ้ หนุนช่วยให้สามารถเลิกดืม่ สุราได้ ทัง้ ญาติ บุคคล ใกล้ชิด เพื่อน เพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ผู้นำ�ชุมชน ชมรม สมาคม สโมสร มูลนิธิ และสถาบันทัง้ ทางวิชาชีพและวิชาการทัง้ ภาครัฐและ เอกชน เป็นต้น
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
33
“ปัญหาสุขภาพจิตจากสภาพอากาศ” อากาศร้อน นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย เสีย่ งต่อการเกิดโรค ลมแดด หรือ ฮีตสโตรก (Heat stroke) ที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในกลุ่ม เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนดื่มเหล้าจัด คนอ้วน ผู้ที่ต้องทำ�กิจกรรมกลางแจ้งเป็น เวลานานและผู้ที่มีโรคประจำ�ตัวแล้ว อากาศร้อนยังส่งผลกระทบต่อสภาพ จิตใจอีกด้วย ที่เห็นได้ชัด คือ จะทำ�ให้หงุดหงิดง่ายขึ้น ส่งผลให้มีความทนทานต่อ ความเครียดน้อยลง เมื่อมีอะไรมากระตุ้นกับจิตใจก็จะทำ�ให้เครียดง่ายกว่า ปกติ และอาจเกิดการตัดสินใจที่ไม่ได้ยั้งคิดต่างๆ ตามมา เกิดการกระทบ กระทัง่ ทะเลาะเบาะแว้ง และเกิดความรุนแรงขึน้ ได้ ผูท้ มี่ ปี ระวัตกิ ารใช้ความ รุนแรง จึงต้องให้ความระวังเป็นพิเศษ อากาศร้อนไม่มีผลต่อจำ�นวนการเจ็บป่วยทางจิตที่มากขึ้น เป็นเพียง ตัวกระตุน้ หรือเพิม่ ความเครียดเดิมทีม่ อี ยูแ่ ล้วให้มากขึน้ มากกว่า หากไม่มวี ธิ ี การจัดการกับความเครียดที่ดี เมื่อมาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศร้อนย่อม จะเพิ่มความเครียดให้สูงขึ้นได้ สำ�หรับผู้ป่วยจิตเวช การได้รับยาเป็นประจำ� เป็นสิ่งสำ�คัญที่สุดที่จะ ช่วยให้ไม่เกิดอาการกำ�เริบมากกว่าการมีสาเหตุมาจากสภาพอากาศที่ร้อน เพียงเท่านั้น คนในครอบครัวจึงต้องสอดส่องดูแล อย่าให้ขาดยา ตลอดจน ให้ผู้ป่วยจิตเวชทำ�กิจกรรมร่วมกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อไม่ให้รู้สึกโดด เดี่ยว เกิดความเพลิดเพลิน ที่สำ�คัญ ต้องไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกชนิด เนื่องจากจะมีฤทธิ์โดยตรงกับสมอง และมีผลต้านฤทธิ์ยาที่แพทย์ รักษา ทำ�ให้ผู้ป่วยเกิดอาการกำ�เริบได้ 34
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
นอกจากนี้ คนในครอบครัว ญาติหรือผู้ดูแลก็จำ�เป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จัก จัดการความเครียดของตนเองให้ดี เนื่องจากมีความเครียดมากกว่าผู้ป่วย อยู่แล้ว ทั้งต้องทำ�งาน ต้องดูแลผู้ป่วย มีปัญหาชีวิต ปัญหาครอบครัว และ อื่นๆ อีกมากมาย ถ้าจัดการความเครียดไม่ดี ก็อาจไปลงที่ผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วย จะมีความสามารถในการจัดการความเครียดได้นอ้ ยกว่าคนทัว่ ไปอยูแ่ ล้ว จึง มีโอกาสทีจ่ ะเกิดอาการกำ�เริบขึน้ ได้ ดังนัน้ จึงจำ�เป็นต้องดูแลทัง้ เรือ่ งยาของ ผู้ป่วยและก็ต้องดูแลจิตใจตัวเองให้ดีควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ ให้สังเกตสัญญาณเตือนอาการทางจิตกำ�เริบ คือ นอนไม่หลับ หงุดหงิด มีความคิดแปลกๆ มีพฤติกรรมก้าวร้าว หวาดกลัว ฉุนเฉียวง่าย ให้ รีบพาไปพบแพทย์หรือโทรปรึกษาที่สายด่วน 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง วิธีรับมือกับปัญหาสุขภาพกายและสุขภาพใจจากสภาพอากาศที่ร้อน • ไม่ควรปล่อยให้ร่างกายขาดนํ้าเป็นระยะเวลานานๆ ควรดื่มนํ้า ให้มากเพียงพอต่อวัน • ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหาร ทาน อาหารที่ทำ�สุกใหม่ หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดร้อน หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะทำ�ให้ร่าง กายขาดนํ้า • หลีกเลีย่ งการอยูก่ ลางแดดหรืออยู่ทา่ มกลางสภาพอากาศทีร่ อ้ นสูง • สวมเสือ้ ผ้าทีใ่ ส่สบาย ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก สวมหมวก/กางร่ม ใช้ครีมกันแดด เมื่อออกสู่ที่แจ้ง • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากสภาพอากาศในตอนกลาง วันจะทำ�ให้เหนือ่ ยง่าย เสียเหงือ่ และเสียพลังงาน ทำ�ให้ไม่คอ่ ยสดชืน่ สมอง ไม่ปลอดโปร่ง • รู้เท่าทันความเครียดของตนเอง โดยสังเกตได้จากการเริ่มมีอาการ ทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หายใจ “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
35
ไม่ค่อยอิ่ม อาการทางจิตใจ เช่น ว้าวุ้น สมาธิไม่ค่อยดี หงุดหงิด สับสน คิด อะไรไม่ออก ถ้ามีอาการเหล่านี้อยู่ แสดงว่ามีความเครียด จำ�เป็นต้องหา ทางจัดการความเครียดให้ได้ เช่น การออกกำ�ลังกาย ทำ�สมาธิ โยคะ ทำ�งาน อดิเรก ปลูกต้นไม้ หรือทำ�กิจกรรมต่างๆ ที่เพลิดเพลิน เพื่อพักสมองจาก ความเครียดต่างๆ ยิ่งเครียดมากเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตได้ • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะยิ่งทำ�ให้ร้อนข้างในร่างกาย แอลกอฮอล์ถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็ว และจะเพิ่มแรงดันเลือด ให้สูงขึ้นกว่าช่วงที่มีอากาศหนาวเย็นหรือในช่วงที่มีอากาศปกติ โดยฤทธิ์ ของแอลกอฮอล์จะทำ�ให้หลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนังขยายตัว ทำ�ให้ร่างกาย สูญเสียนํ้าและเกลือแร่ ส่งผลให้ร่างกายขาดนํ้ารุนแรง อาจทำ�ให้ช็อกหมด สติ และมีโอกาสเสียชีวิตได้ รวมทั้ง ทำ�ให้ควบคุมสติไม่อยู่และอาจทำ�ให้มี อาการประสาทหลอนตามมาได้
36
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“เสพติดสังคมออนไลน์” Social Networking คือ รูปแบบของสังคมประเภทหนึง่ ทีอ่ อนไลน์อยูบ่ น อินเตอร์เน็ต หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นสังคมเสมือน Virtual Community หรือ Online community ซึ่งมีการขยายตัวแบบ Network หรือเครือข่าย เช่น MySpace, Facebook, Line คุณลักษณะบางอย่างที่พบบ่อยที่สุดของการเสพติดออนไลน์ 1. รู้สึกว่า การออนไลน์เป็นหนทางเดียวที่ทำ�ให้โลกใบใหญ่นี้สังเกตเห็น ตนเอง 2. พยายามควบคุมการเสพติด โดยการเปลี่ยนเครือข่ายสังคม เช่น เปลี่ยนจาก Myspaceไปเป็น Facebook 3. ลบข้อความที่โพสต์ทิ้งเพื่อไม่ให้ใครสังเกตเห็นว่าคุณโพสต์ข้อความ มากเกินไป หรือ update บ่อยแค่ไหน 4. พักผ่อนไม่เพียงพอ
แนวทางการสังเกต
อาการเสพติดเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีดังนี้ 1. ใช้เวลาอยู่กับสังคมออนไลน์มาก ทำ�ให้ไม่มีเวลาพบหน้าเพื่อนและ ครอบครัว 2. ใช้เวลาอยู่กับเครือข่ายสังคมทำ�ให้ไม่รู้ว่าใช้เวลาไปนานเท่าใด 3. อยู่ดึกกว่าเวลาเข้านอนปกติ 4. รู้สึกวิตกกังวล หากไม่ได้อยู่ใกล้โทรศัพท์มือถือ เพื่อตรวจดูหน้าจอ และทำ�ให้ข้อมูลเป็นปัจจุบัน “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
37
5. เพิกเฉยต่องานอดิเรกหรือกิจกรรมทีช่ อบ เพราะใช้เวลาส่วนมากใน การออนไลน์ 6. ไม่ทำ�งานที่สำ�คัญหรือการบ้าน ในขณะที่ใช้เวลาในการออนไลน์ 7. คิดถึงแต่เครือข่ายสังคม
วิธีปฏิบัติเมื่อติดสังคมออนไลน์
1. ยอมรับว่าเป็นปัญหา ตระหนักว่าระบบนีเ้ ป็นเพียงเครือ่ งมือสำ�หรับ การใช้งาน ถ้าใช้มากกว่าที่ตั้งใจ จะเป็นการเสียเวลาเปล่า 2. กำ�หนดข้อตกลงสำ�หรับตัวเอง สังคมออนไลน์เป็นเพียงกิจกรรม ยามว่าง ไม่ใช่สิ่งจำ�เป็นที่เราต้องทำ� เช่น ตั้งเวลานับการเข้าสู่ระบบ และปิด การใช้หลังจากนาฬิกาเตือน 3. จำ�กัดการเป็นสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์ไม่ให้มากจนเกินไป และใช้ดุลยพินิจและเวลาที่กำ�หนดไว้ในการเข้าใช่ 4. จัดลำ�ดับความสำ�คัญ และหยุดการผัดวันประกันพรุ่ง ทำ�งานที่รับ ผิดชอบให้เสร็จ 5. จัดตารางในแต่ละวัน หากอยู่ในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการใช้เวลากับเครือ ข่ายนานมาก ควรจัดตารางเวลาเพือ่ จำ�กัดเวลาในการเข้าใช้ อย่าเปิด Social Media ไว้ตลอดเวลา พยายามทำ�ให้การเข้าถึงยาก 6. ใช้เวลาอยู่กับเพื่อนและครอบครัวให้มากขึ้น มีความสุขกับชีวิตจริง ไม่ใช้ชีวิตทดแทนจากการใช้ Social Media
38
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“โนโมโฟเบีย” “โนโมโฟเบีย” (Nomophobia) ในนิยามทางการแพทย์นั้น ไม่ใช่โรค แต่เป็นกลุ่มอาการ เพราะมีการสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของคน หรือสังคม เวลามีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นมักจะมีคำ�เรียกเฉพาะ อย่างเช่น อาการติดสมาร์ทโฟน เป็นไปตามเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ ซึ่งคำ� ว่า “โนโม” เป็นคำ�ที่ใช้เรียกแทนโมบายโฟน ส่วนคำ�ว่า “โฟเบีย” แปลว่า กังวลอย่างมากต่อสิง่ ใดสิง่ หนึง่ หรือกังวลมากเกินกว่าเหตุ จึงเรียกรวมกันเป็น “โนโมบายโฟนโฟเบีย”แต่เราเรียกกันสั้น ๆ ว่า “โนโมโฟเบีย” มาจากการ ที่โทรศัพท์มือถือเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ของชีวิตประจำ�วัน และเราเกิดความ กังวลใจว่าถ้าไม่มีโทรศัพท์แล้วจะทำ�อย่างไร พฤติกรรมที่เข้าข่ายกลุ่มอาการ “โนโมโฟเบีย” คือ • พกโทรศัพท์มือถือติดตัวตลอดเวลา ต้องคอยคลำ�กระเป๋ากางเกง หรือกระโปรงตลอดว่าโทรศัพท์อยู่ข้าง ๆ ตัวหรือไม่ • หมกมุน่ อยูก่ บั การเช็กข้อความในโทรศัพท์มอื ถือตลอดเวลา แม้กระทัง่ ได้ยินเสียงคล้าย ๆ เสียงข้อความเข้า • ถ้าไม่ได้ตรวจดูโทรศัพท์จะมีอาการกระวนกระวายใจ ไม่สามารถ ทำ�งานหรือปฏิบัติภารกิจตรงหน้าได้สำ�เร็จ ต้องดูหน้าจอโทรศัพท์เพื่อเช็ก ข้อความก่อน
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
39
• เมือ่ ตืน่ นอนรีบคว้าโทรศัพท์มาเช็กข้อความ หรือก่อนนอนเล่นโทรศัพท์ จนกระทั่งหลับ • ใช้โทรศัพท์ระหว่างทานข้าว เข้าห้องนํ้า ขับรถนั่งรอรถโดยสาร ประจำ�ทาง และรถไฟฟ้า • หากใครลืมโทรศัพท์ไว้ทบี่ า้ น ชัว่ โมงแรกทีร่ ตู้ วั ว่าลืมโทรศัพท์จะรูส้ กึ มีความกังวลใจมาก หรือหาโทรศัพท์ไม่เจอจะรู้สึกตื่นตระหนกตกใจมาก • ไม่เคยปิดโทรศัพท์มอื ถือเลย ใช้เวลาพูดคุยกับเพือ่ นในโลกออนไลน์ มากกว่าคุยกับเพื่อนที่นั่งอยู่ตรงหน้า • ห้ามใจไม่ให้เล่นโทรศัพท์ภายใน 1 ชั่วโมงไม่ได้
ผลกระทบและข้อแนะนำ�
ผลกระทบ สุขภาพกาย : เป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ปัญหาสายตา การนอน ยาก อุบัติเหตุ กล้ามเนื้อและกระดูก โรคอ้วน เป็นต้น สุขภาพจิต : ซึมเศร้า วิตกกังวล ขาดสมาธิ ก้าวร้าว ทำ�ร้ายตนเอง กลั่นแกล้งทางออนไลน์ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร มีเพศสัมพันธ์ไม่ ปลอดภัย ชีวิตในแต่ละวันจึงต้องมีช่วงเวลาที่ต้องปลอดมือถือพักสมองบ้าง เช่น จัดช่วงเวลาไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ ได้แก่ เวลารับประทานอาหาร เวลาทำ�งาน อาจจะเริม่ จากกำ�หนดเวลา 30 นาที และเพิม่ เป็น 1 ชัว่ โมง จากนัน้ เพิม่ เวลา ไปเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในห้องนอนถ้ากำ�หนดเป็นเขตปลอดมือถือเลยได้ยิ่งดี อาการโนโมโฟเบีย แค่ปรับเปลี่ยนชีวิตประจำ�วันของตัวเองหากิจกรรม อื่น ๆ ทำ�นอกเหนือจากการพักผ่อนด้วยการเล่นเกม ฟังเพลง ดูหนังใน โทรศัพท์มือถือ เช่น ออกไปวิ่งออกกำ�ลังกายที่สวนสาธารณะ ไปดูหนังที่
40
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
โรงภาพยนตร์ นั่งพูดคุยกับเพื่อนแบบเห็นหน้ากัน แต่ทั้งนี้อยู่ที่ว่าถ้าเราเริ่ม รู้สึกว่ามีผลกระทบ เช่น รู้สึกกังวลใจมาก ไม่สบายใจบ่อย ๆ หงุดหงิดง่าย ควรเริ่มปรับเปลี่ยนซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ทัง้ นี้ หากมีอาการหนักมาก ๆ ทางการแพทย์อาจจะใช้วธิ กี ารรักษาแบบ Cognitive Behavior Therapy (CBT) ทีน่ ยิ มใช้รกั ษาคนมีอาการวิตกกังวล และอาการกลัวในระดับต่าง ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแปลง ความเชื่อเฉพาะตัว ให้เรารู้สึกเป็นอิสระมากขึ้นเมื่อไม่มีโทรศัพท์มือถือ
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
41
“การแอบถ่ายใต้กระโปรง” คำ�ถามทีม่ กั เกิดขึน้ จากสังคม คือ ผูก้ ระทำ� เข้าข่าย เป็น “โรคจิต” หรือไม่ ผูก้ ระทำ�เช่นนี้ ไม่เข้าข่ายโรคจิต แต่เป็นปัญหาสุขภาพจิต อยูใ่ นกลุม่ ผิดปกติ ทางเพศ เกิดขึน้ ได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การแอบถ่าย ถาํ้ มองการขโมยชุด ชั้นใน การโชว์อวัยวะเพศ การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์หรือสิ่งของ รวมถึง Sex Phone ซึ่งส่วนใหญ่ พบว่า ผู้กระทำ�เช่นนี้มักไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ ตามปกติ พบในชายมากกว่าหญิง การแอบถ่าย ถือเป็นการสร้างความตืน่ เต้นให้กบั ผูก้ ระทำ� ทำ�แล้วมีความ สุข เป็นการกระตุน้ ให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเหล่านี้ ควรได้รบั การดูแลรักษาด้านสุขภาพจิต ถ้ามีการใช้สารเสพติดหรือมีโรคทาง จิตเวชร่วมด้วย อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมล่วงละเมิดที่ร้ายแรง เป็นอันตราย ต่อตนเองและคนรอบข้างได้มากยิ่งขึ้น ผู้ ป่ ว ยคดี ที่ มี ปั ญ หาพฤติ ก รรมทางเพศที่ ผิ ด ปกติ ห รื อ ไม่ เ หมาะสม มีไม่มากนัก ถ้าเทียบกับคดีการฆ่าที่เกิดจากโรคจิต คดีลักทรัพย์ หรือ คดียาเสพติด สาเหตุของการเกิดความผิดปกติทางเพศ เกิดจากการเรียนรู้ทางเพศ ที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็กส่งผลมาถึงวัยผู้ใหญ่ อาทิ เด็ก 4-6 ขวบ จะมี พัฒนาการ Sex Play คล้ายกับการช่วยตัวเองในวัยผูใ้ หญ่ ถ้าเด็กไม่มเี พือ่ นเล่น ผูใ้ หญ่ไม่มเี วลาให้ เขาก็จะมีเวลาในการสำ�รวจตนเองและจะเล่นกับตัวเองมาก ซึ่งถือเป็นพัฒนาการปกติ แต่ทั้งนี้จะส่งผลผิดปกติเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ได้ ถ้าผู้ปกครองไม่เข้าใจพฤติกรรมที่เกิดขึ้น มีการด่าว่ารุนแรง หรือตีรุนแรง
42
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
บอกว่าเป็นเรือ่ งน่าอาย เด็กเหล่านัน้ ก็จะฝังใจ ถูกกดดัน มองว่า การเปิดเผย ความสนใจด้านเพศเป็นสิ่งผิด เมื่อโตขึ้นอาจไม่กล้าสนใจเพศตรงข้ามหรือมี กิจกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับ ถ้าได้เรียนรู้ผ่านสื่อลามกหรือ มีต้นแบบที่ไม่เหมาะสม ก็อาจเลียนแบบ ยึดติด หรือหมกมุ่นกับพฤติกรรม ทางเพศที่ผิดปกติได้ในที่สุด การบำ�บัดรักษาจะให้ยาที่จะช่วยลดความต้องการด้านเพศ รวมถึงการ ปรับเปลีย่ นความคิดและพฤติกรรม เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยภาคภูมใิ จในตัวเองมากขึน้ สามารถสร้างความสัมพันธ์กบั เพศตรงข้ามและมีการหาความสุขทางเพศได้ อย่างเหมาะสม รวมทัง้ หากิจกรรมเสริมให้ท�ำ เพือ่ ไม่ให้หมกมุน่ ทางเพศมาก เกินไป ซึง่ ใช้เวลารักษาเป็นเดือน ทัง้ นี้ ถ้าคนในครอบครัว เข้าใจ และให้ก�ำ ลัง ใจก็จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้เข้าสู่ภาวะปกติได้ดียิ่งขึ้น การป้องกันระยะยาว เพือ่ ไม่ให้บคุ คลเกิดความผิดปกติทางเพศเพิม่ มากขึน้ จำ�เป็นต้องสร้างภูมิต้านทานทางจิตใจให้ตั้งแต่เด็ก ให้พวกเขารู้ว่า ความ ภูมิใจของตนเอง อยู่ที่การมีคุณธรรม มีจิตใจที่ดี ไม่ใช่อยู่ที่พฤติกรรมทาง เพศที่ท้าทาย
การป้องกันตัวเองสำ�หรับผู้หญิง
• ต้องสังเกตว่าสถานทีใ่ ดบ้างมีความเสีย่ งและใครมีพฤติกรรมพิรธุ บ้าง ซึ่งคนเหล่านี้อาจแยกตัวอยู่คนเดียว และโดยทั่วไป จะพบตามที่อับ มุมตึก สะพานลอย ตามที่เป็นข่าว จึงต้องระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น และแต่ง ตัวอย่างมิดชิด • มีความรู้ในการป้องกันตัวเองบ้างและถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น อย่ามองว่า เป็นเรื่องน่าอาย ควรดำ�เนินการทางด้านกฎหมายทันที เพื่อให้ ผู้กระทำ�ผิดรับผลจากการกระทำ�นั้น
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
43
“ฆาตกรต่อเนื่อง” ฆาตกรต่อเนื่อง ในทางอาชญาวิทยา หมายถึง ผู้ที่ก่อเหตุฆ่าผู้อื่นด้วย ลักษณะร่วมกัน 4 ประการ คือ 1. ใช้วิธีการฆ่าเหมือนกันทุกราย 2. เป็นการฆ่าที่ไม่มีเหตุผล เหยื่อกับฆาตกรไม่มีความ เชื่อมโยงหรือสัมพันธ์กันเลย 3. สิง่ ทีเ่ ชือ่ มโยงกัน คือ แผนประทุษกรรม กับบุคลิกลักษณะของเหยือ่ 4. เป็นกลุ่มคนที่มีปัญหาทางจิต แต่ไม่ได้เป็นโรคจิตหรือ จิตเภท ที่ไม่ สามารถควบคุมตนเองได้ เพียงแค่มีความผิดปกติทางจิตใจเท่านั้น ฉะนั้น ฆาตกรต่อเนื่องจะอ้างความผิดปกติทางจิต เพื่อยกเว้นโทษไม่ได้ การเฝ้า ระวังฆาตกรต่อเนือ่ งเป็นเรือ่ งยาก ส่วนใหญ่ ดูไม่ออก เพราะลักษณะอาการ ก็เหมือนคนปกติทวั่ ไป ทีอ่ าจแตกต่างบ้าง คือ เก็บตัว ไม่เข้าสังคม แต่ฆาตกร ต่อเนื่องจะมีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะในการก่อเหตุ ซึ่งก็คือกลุ่มที่จะกระตุ้น ภาวะจิตใต้สำ�นึกของเขานั่นเอง การเป็นฆาตกรต่อเนือ่ ง ไม่ใช่เหตุผลความผิดปกติของฮอร์โมน การรักษา ด้วยยาจึงทำ�ไม่ได้ ต้องบำ�บัด ต้องเก็บข้อมูล และรักษาจากประวัตขิ องแต่ละคน เนื่องจากไม่รู้ว่าจิตใจถูกกระทำ�อย่างไรมาบ้าง และอะไรคือสิ่งเร้าความรู้สึก ของเขา
44
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“ข่มขืนผูส้ งู อายุตอ่ เนือ่ ง” การข่มขืนผู้สูงอายุต่อเนื่อง เป็นภาวะที่มีความสุข ความพอใจทางเพศ กับผู้สูงอายุ ที่เรียกว่าเจอโรฟีเลีย (Gerophilia) หรือ เจอรอนโตฟีเลีย (Gerontophilia) ซึง่ จัดเป็นส่วนหนึง่ ของกลุม่ กามวิตถาร (Paraphilia) โดย กลุม่ บุคคลเหล่านีจ้ ะมีความเบีย่ งเบนจากปกติในด้านรสนิยมทางเพศ จนส่ง ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น สำ�หรับการดำ�เนินคดีกบั บุคคลเหล่านีต้ อ้ งพิจารณาเป็นกรณีไป โดยต้อง ดูจากพฤติการณ์คดี แรงจูงใจ และความเจ็บป่วยทางจิตร่วมด้วย แนวทางการรักษา ประกอบด้วย การบำ�บัดทางกาย จิต และสังคม ได้แก่ การใช้ยา เพื่อช่วยลดความต้องการทางเพศลง การทำ�จิตบำ�บัด พฤติกรรมบำ�บัด การเรียนรู้ในการมีความสุขทางเพศที่เหมาะสม และการ ฟื้นฟูให้อยู่กับสังคมได้ รวมทั้ง การระแวดระวังของสังคมเมื่อพ้นคดีที่ต้อง มีการระบุว่าอยู่ที่ไหนเพื่อให้สังคมรับทราบและเฝ้าระวังต่อไป แนวทางสังเกตบุคคลทีเ่ ข้าข่ายมีอาการในกลุม่ กามวิตถาร อาทิ กลุม่ ที่ ชอบร่วมเพศกับเด็ก สามารถดูได้จากการชอบคลุกคลีอยู่กับเด็กหรือเอ็นดู เด็กเกินปกติ รวมทั้งชอบอยู่กับเด็กตามลำ�พัง ซึ่งเช่นเดียวกับกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ถ้ามีพฤติกรรมเชิงชู้สาวมากเกินไปให้ควรระวังเป็นพิเศษ
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
45
“โรคกลัวเฉพาะอย่างและกลัวสังคม” โรคกลัว (phobia) แตกต่างจากความกลัวโดยทั่วไป ตรงที่โรคกลัวเป็น ความกลัวอย่างมาก ไม่มีเหตุผล และไม่เหมาะสมกับสิ่งที่มากระตุ้น ผู้ป่วย จะพยายามหลีกเลี่ยงหรือหลบหนีจากสิ่งที่กลัว สาเหตุ 1. ปัจจัยทางด้านจิตใจ ที่สัมพันธ์กับ เหตุการณ์สะเทือนใจ เช่น กลัว ที่สูงเพราะเคยตกลงมาจากที่สูง 2. ปัจจัยด้านชีวภาพ เป็นเรื่องความผิดปกติของสมอง 3. ด้านพันธุกรรม โรคกลัวเฉพาะอย่าง (Specific phobia) เช่น กลัวหนู กลัวงู กลัวลิฟท์ กลัวเลือด กลัวความมืด กลัวหมอฟัน หรือกลัวลูกเจี๊ยบ อาจเกิดจากในอดีต มีเหตุการณ์เกิดขึน้ เช่น ตอนเป็นแด็กถูกสุนขั กัดทำ�ให้กลัวสุนขั เคยติดอยูใ่ น ลิฟท์คนเดียวเป็นเวลานทำ�ให้กลัวการขึ้นลิฟท์ ส่วนโรคกลัวสังคม(Social phobia) คือ ความกลัวในสถานการณ์ เช่น กลัวเวที กลัวการปรากฏตัวในที่สาธารณะ กลัวที่จะต้องทำ�ความรู้จัก กับคนแปลกหน้า ผูท้ กี่ ลัวประเภทนีม้ กั จะหลีกเลีย่ งการเข้าสังคมเพราะกลัว ว่าตนเองอาจแสดงอะไรไม่เข้าท่าทำ�ให้ขายหน้าได้ พูดง่ายๆ ก็คือ คล้ายคน ขีอ้ าย แต่เป็นการอายแบบสุดขัว้ ชนิดทีแ่ ทบจะไม่สามารถไปไหนโดยลำ�พังได้ ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเช่นนี้ไม่คิดหาทางแก้ไข อาจส่งผลร้ายถึงขั้นที่ทำ�ให้เกิด อาการเก็บกดหรือซึมเศร้า จำ�เป็นต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์หรือ นักจิตวิทยาที่ได้รับการฝึกทางด้านพฤติกรรมบำ�บัดมาโดยเฉพาะ
46
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
นอกจากนั้น พวกที่เป็นโรคกลัวยังมักจะเป็นผู้นิยมความสมบูรณ์แบบ (Perfectionist) คือ พวกทีค่ ลุม้ คลัง่ มีอาการทางประสาทต่อความผิดพลาด แม้เพียงเล็กน้อย และมักจะเป็นคนช่าง เก็บความรูส้ กึ ซึง่ หากมองย้อนกลับไปคนประเภทนีม้ กั จะได้รบั การเลีย้ ง ดูในครอบครัวทีป่ ระคบประหงมบุตรหลานเป็นพิเศษ มักจะได้รบั สิง่ ทีด่ ที สี่ ดุ เสมอตัง้ แต่วยั เด็ก เมือ่ โตขึน้ จึงกลายเป็นผูท้ มี่ ภี มู ติ า้ นทานต่อความผิดพลาด ตํ่าเกินไป ข้อแนะนำ� 1. เผชิญความจริง ยอมรับว่าตนเองมีอาการจริงๆ ไม่ต้องสนใจว่าคน อื่นจะคิดอย่างไร 2. ปล่อยตนเองตามสถานการณ์ สัง่ ตัวเองว่า “ไม่มอี ะไรมากหรอก แค่ กังวลมากไปหน่อย ไม่ถึงตายหรอก 3. ขัน้ สุดท้าย กล้าเผชิญหน้ากับความกลัว โดยตัง้ เป้าหมายเล็กๆ ง่ายๆ เอาไว้แต่ละวัน เช่น ถ้าพบคนมากไป ก็ตั้งเป้าหมายว่า วันนี้ฉันจะชวนเพื่อน ไปกินข้าว ค่อยขยับจากร้านเล็กๆ จนเป็นภัตตาคาร คิดว่า “โธ่เอ๊ย !ไม่เห็น เป็นไรเลย!” ทั้ ง นี้ การรั ก ษา มี ทั้ ง การบำ � บั ด พฤติ ก รรมของผู้ ป่ ว ยโดยการใช้ จินตนาการบำ�บัดก่อนขยับเข้าสู่ตามจริง และบางรายอาจจำ�เป็นต้อง ใช้ยาร่วมด้วย
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
47
“โรคกลัวอ้วน” โรคบูลิเมีย เนอร์โวชาส์(Bulimia Nervosa) หรือโดยทั่วไปรู้จักกัน ในชือ่ “โรคกลัวอ้วน” เป็นอาการทางจิตชนิดหนึง่ อาจไม่รนุ แรงเท่าโรคจิต ที่มีอาการคลุ้มคลั่งและทำ�ร้ายผู้อื่น แต่เป็นอาการทางจิตที่ส่งผลทำ�ร้ายทั้ง สุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ป่วยเอง โรคบูลิเมีย มี 2 ชนิด ชนิดแรก คือ มักจะล้วงคอทำ�ให้ตนเองอาเจียน มีการใช้ยาระบาย ยา ขับปัสสาวะ หรือยาสวนถ่ายเป็นประจำ� ชนิดที่สอง คือ มีพฤติกรรมชดเชยที่ไม่เหมาะสมอื่นเป็นประจำ� เช่น อด อาหารติดกัน 3-4 วัน หรือออกกำ�ลังกายหักโหมโดยไม่มีการทำ�ให้อาเจียน หรือใช้ยาขับปัสสาวะเหมือนชนิดแรก โรคบูลิเมีย จะทำ�ให้คนที่เป็นโรคเกิดอาการผิดปกติเกี่ยวกับอาหาร คือ มีความเชือ่ ผิดเกีย่ วกับอาหารว่า อาหารทุกอย่างทีร่ บั ประทานเข้าไปจะ ทำ�ให้อ้วน สาเหตุของโรคนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อกันว่าส่วนหนึ่งมาจาก ปัจจัยทางพันธุกรรม ส่วนใหญ่จะเกิดกับเด็กและวัยรุน่ ซึง่ เป็นช่วงวัยทีร่ กั สวย รักงามมีความเป็นตัวเองสูง ได้รับค่านิยมที่ผิดๆ จากสังคมภายนอกได้ง่าย สาเหตุการเกิดโรค อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้ 1. พันธุกรรม ซึง่ ในต่างประเทศได้ท�ำ การศึกษาและพบว่าถ้าบุคคลใน ครอบครัว โดยเฉพาะมารดาเคยเป็นโรคนี้มาก่อน ลูกมีแนวโน้มจะเป็นด้วย 2. ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ต่อมควบคุมการบริโภคอาหาร และฮอร์โมนทำ�งานผิดปกติ
48
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
3. ค่านิยม ผู้หญิงบางคนมีค่านิยมในเรื่องรูปร่าง คือ ให้ความสำ�คัญ เรื่องรูปร่างผอมว่า เป็นมาตรฐานที่ดี หรือผู้ที่คิดว่าตนเองไร้ค่า ผู้ป่วยโรค ซึมเศร้ามีโอกาสเป็นโรคนี้ง่าย อันตรายจากโรคบูลเิ มีย ผูท้ เี่ ป็นโรคบูลเิ มียนัน้ จะเห็นชัดทีพ่ ฤติกรรมการ บริโภค คือ มักจะบริโภคอาหารในประมาณมากในแต่ละครั้ง แล้วก็จะล้วง คอให้อาเจียน ใช้ยาถ่าย บางทีก็อดอาหารติดต่อกัน 3-4 วัน หรือพยายาม ออกกำ�ลังกายอย่างหนักติดต่อกันนานมากกว่า 5 ชั่วโมงทุกๆ วัน การรักษา สำ�คัญที่สุด คือ ผู้ป่วยต้องสมัครใจรักษาจึงจะได้ผล 1. สังเกตอาการแล้วปรึกษาแพทย์ ต้องรักษาทางกายและปรึกษา จิตแพทย์ควบคู่กัน 2. ปรับเปลี่ยนค่านิยมเรื่องรูปร่าง อาจจะปรับเปลี่ยนการแต่งกาย เปลีย่ นทรงผม โดยอาศัยพวกออกแบบเสือ้ และอาจารย์เก่งๆ ทางด้านทรงผม เพือ่ เปลีย่ นภาพพจน์ของตนให้ดดู โี ดยไม่ตอ้ งอดอาหาร อาเจียนอาหารออก อาจจะช่วยให้คุณค่าในตนเองดีขึ้น
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
49
“โรคชอบหยิบฉวย” อาการของโรคชอบหยิบฉวย (Kleptomania)
ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมแรงกระตุ้นที่ทำ�ให้เกิดการลักขโมยสิ่งของ ซึ่งสิ่งของที่ขโมยมานั้นไม่มีความจำ�เป็นที่จะนำ�มาใช้ส่วนตัวหรือไม่มีความ จำ�เป็นในเรื่องเงินทองแต่อย่างไร ส่วนใหญ่ผู้ป่วยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า การลักขโมยนีม้ กั ทำ�คนเดียวและจะหลีกเลีย่ งสถานการณ์ทอี่ าจถูกจับกุมได้ โดยง่าย สิง่ ของทีล่ กั ขโมยมานัน้ ก็ไม่ได้มคี า่ เท่าใดนัก เมือ่ ขโมยมาแล้วก็ไม่สนใจ สิง่ ของนัน้ อาจเอาไปทิง้ ซ่อนไว้ หรืออาจแอบเอาไปคืนเจ้าของ ผูป้ ว่ ยส่วนใหญ่ รูส้ กึ ว่าการลักขโมยเป็นสิง่ ทีผ่ ดิ และมักรูส้ กึ ผิด ซึมเศร้า หลังจากการลักขโมย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุที่อาจเริ่มตั้งแต่เด็กหรือวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่ สาเหตุของโรค ยังไม่แน่ชดั แต่นา่ จะเกิดความผิดปกติทางชีวภาพ ทำ�ให้ สมองหลั่งสารบางอย่างออกมา ผู้ป่วยโรคหยิบฉวยจะเป็นโรคซึมเศร้าร่วม ด้วยถึงร้อยละ 40 โรคแพนิกร้อยละ 40 เป็นโรคกลัว ร้อยละ 40 เป็นโรค ยํ้าคิดยํ้าทำ� ร้อยละ 45 เป็นโรคบูลิเมีย ถึงร้อยละ 60 นอกจากนี้ ยังพบมี การใช้สารเสพติดด้วยถึง ร้อยละ 50 โรคนีไ้ ม่ตอบสนองการรักษาใดๆ เพราะแม้วา่ ผูป้ ว่ ยจะเคยถูกจับกุมจาก การกระทำ�เช่นนี้หลายครั้งแล้ว แต่ผู้ป่วยก็หักห้ามใจไม่ให้หยิบฉวยในครั้ง ต่อๆ ไปได้เลย การบำ�บัดรักษา รักษาตามอาการของโรคที่เกิดโดยการใช้ยา เช่น ซึม เศร้า ร่วมกับการทำ�พฤติกรรมบำ�บัด จิตบำ�บัด จะสำ�เร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับ การร่วมมือของผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การอบรมเลี้ยงดูให้เด็กมีสุขภาพจิตดี สร้าง สัมพันธภาพที่ดีกับเด็กอย่างใกล้ชิดและจัดการปัญหาต่างๆ อย่างมีเหตุผล จะช่วยให้โรคชอบหยิบฉวยมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย 50
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“โรคบ้างาน หรือ โรคติดงาน” โรคบ้างาน (Workaholic) คือ คนที่เสพติดการทำ�งานอย่างหนัก แต่ ถึงบ้างานขนาดนัน้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสุขกับการทำ�งานเสมอไป บางคนอาจจะเสพติดกับงานด้วยความรู้สึกโดนบังคับให้ทำ�งาน อาการของคนทีเ่ ป็นโรคบ้างาน มักจะมีปญ ั หาเกีย่ วกับสุขภาพ เช่น เครียด หรืออาจทำ�ให้มีปัญหากับคนรอบข้างเพราะการทำ�งานหนักมากๆ จะส่ง ผลเสียต่อสังคม พอๆกับการติดสารเสพติด เพียงแต่ว่า โรคนี้ไม่ได้เป็นสิ่ง ผิดกฎหมาย ผลจากการเป็นคนบ้างาน ทำ�ให้เกิด อาการทางด้านร่างกาย คือ ปวดหัว ปวดหลัง ปวดท้ายทอย สายตาพร่ามัว ปวดกล้ามเนื้อตา ซึ่งส่งผลเสียต่อ ร่างกาย จนกลายเป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรค หัวใจ โรคกระเพาะ เบาหวาน และความดัน เป็นต้น อาการทางด้านอารมณ์ คือ กลายเป็นคนมองอะไรขวางหูขวางตาไปหมดเกรี้ยวกราดกับเพื่อนร่วม งาน การพูดคุยไม่เหมือนเดิม จะให้ความสนใจแต่เฉพาะในเรื่องการทำ�งาน จนส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว 5 สัญญาณบ่งบอกว่าเป็นคนบ้างานหรือไม่ 1. งานต้องมาก่อนสิง่ ใด รักออฟฟิศยิง่ ชีพยิง่ กว่าบ้านหรือทีอ่ นื่ ๆ กลับ บ้านก็แบกงานกลับไปทำ�ต่อที่บ้าน หยุดพักร้อนไม่เป็น 2. ไม่ชอบให้ใครทำ�งานแทน ต้องทำ�งานเองทัง้ หมดไม่เชือ่ ใจ เชือ่ ความ สามารถคนอื่น จำ�เป็นต้องเป็นฉันเท่านั้นที่จะทำ�งานนี้ได้ “Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
51
3. ครอบครัว เพือ่ น แฟน ถูกละเลย ไม่รจู้ ะสนใจพวกนีไ้ ปทำ�ไม ไม่ท�ำ ให้ ฉันมีเงินมากขึน้ เงินคือพระเจ้าเนรมิตทุกอย่างให้ได้ตามต้องการ ฉะนัน้ ต้อง ทำ�งาน งาน งาน เพื่อ เงิน เงิน เงิน 4. เอาทุกส่วนของชีวิตมาเป็นงานจนเคยตัว มีแต่เรื่องงานเท่านั้นใน สมอง เหมือนพวกติดยา ยาเท่านั้นอยู่ในสมอง แบ่งเวลาไม่เป็น พักผ่อนไม่ เป็น บางครั้งก็ลามปามเอาคนในครอบครัวนั้นแหละมาช่วยงานเสียเลย มา นั่งนิ่งๆ หายใจทิ้งไปวันๆ ทำ�ไมต้องทำ�งาน 5. ซ่อนงานของตัวเพราะกลัวคนเห็น อาการเสพติดงานมันคล้ายกับ การเสพติดยา ไม่อยากให้ใครรู้ กลัวจะดีเด่นเท่าตนเอง แอบทำ� รีบทำ� ทำ�ตัว ให้มีงานยุ่งเสมอ
52
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“โรคจิต” “สติวิปลาส” หมายถึง ผู้ที่มีสติฟั่นเฟือนคล้ายคนบ้า ภาษาชาวบ้าน เรียกว่า “บ้า” ภาษาทางกฎหมาย เรียกว่า “วิกลจริต” ภาษาทางจิตเวช เรียกว่า “โรคจิต” โรคจิต (Psychosis) คือ ผูป้ ว่ ยทีม่ ปี ระสบการณ์ทไี่ ม่อยูใ่ นโลกของความ เป็นจริง มีการรับรูแ้ ปลกไป เช่น หูแว่ว ได้ยนิ เสียง โดยทีค่ นอืน่ อยูใ่ กล้ๆ กันนัน้ ไม่ได้ยินด้วยมักเป็นเสียงคนพูดคุย บางครั้งเป็นเสียงเทพ เสียงเจ้าแม่ ได้ยิน เสียงคนพูดคุย ได้ยนิ คนพูดตำ�หนิ พูดโต้ตอบเสียงนัน้ คนเดียวเห็นภาพทีค่ น อืน่ ไม่ได้เห็นด้วย เช่น เห็นมีคนมาหา ในสมองจะมีการคิด การตีความทีแ่ ปลก เช่น คิดว่าคนบนโลกจะมุ่งร้ายทำ�ลายตนเอง คิดว่าตนเองสามารถสื่อสาร ผ่านทางโทรทัศน์ได้ ระแวงว่าจะมีคนมาใส่ยาพิษในอาหาร กลัวว่าจะมี คนติดตามฆ่าตนเองตลอด หรือคิดว่ามีเทพวิญญาณอยูใ่ นร่างกาย คอยบอก ให้ท�ำ สิง่ ต่าง ๆ โดยทีผ่ ปู้ ว่ ยไม่ได้รบั รูว้ า่ เขานัน้ หลงผิด เขาเชือ่ ในสิง่ นัน้ จริง ๆ โรคจิตนัน้ มีหลายประเภท เช่น โรคจิตเภทซึง่ มีอาการทางจิตดังกล่าวเรือ้ รัง โรคจิตเฉียบพลัน มีอาการระยะสั้น โรคจิตที่เกิดจากสารเสพติด โรคจิตที่มี สาเหตุมาจากโรคทางสมองหรือโรคทางกายที่รบกวนการทำ�งานของสมอง
อาการที่นอกเหนือไปจากความคิดหลงผิด ประสาทหลอน
เนือ่ งจากโรคจิตนัน้ มีความผิดปกติทสี่ มอง จะส่งผลให้ผปู้ ว่ ยมีอาการอืน่ ๆ ได้ด้วย เช่น
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
53
การใช้ค�ำ พูดเพือ่ สือ่ ถึงความคิด ผูป้ ว่ ยจะไม่สามารถคิดแบบมีเหตุมผี ลได้ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยพูดคุยกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ เมื่อคนอื่น คุยกับผู้ป่วยไม่ค่อยเข้าใจก็มักจะไม่ค่อยคุยด้วย ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยถูกแยกให้ อยู่คนเดียว ผู้ ป่ ว ยบางคนถู ก ปล่ อ ยให้ เ ป็ น นาน ๆ จะมี อ าการทางพฤติ ก รรมที่ เปลี่ยนไป เช่น สีหน้าอารมณ์เฉยเมย ชีวติ ไม่มจี ดุ หมาย ไม่มสี มั พันธภาพกับใคร ไม่พดู ไม่มีอาการยินดียินร้าย พฤติกรรมผิดปกติ เช่น อยู่ในท่าแปลก ๆ หัวเราะ หรือร้องไห้ สลับกันเป็นพัก ๆ การจะบ่งชี้ว่าบุคคลนั้นๆ ปกติ หรือผิดปกติทางจิตหรือไม่ ควรจะมี บุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านสุขภาพจิต อาจเป็นแพทย์ที่ชำ�นาญการด้านนี้ หรือจิตแพทย์ในการตรวจสอบ ร่วมกับการทดสอบสภาพจิต จึงจะสรุปว่า ผิดปกติทางจิตหรือไม่ บางรายนั้น หากไม่มีการทำ�การทดสอบ ก็จะพบว่า อาจมีอาการแสดงออกมาไม่ชัดเจน
สาเหตุของการเป็นโรคจิต
1. ปัจจัยด้านชีวภาพ : สารเคมีในสมองผิดปกติไป พันธุกรรม อุบตั เิ หตุ การได้รับสิ่งเป็นพิษ โภชนาการ โรคภัยไข้เจ็บ การติดเชื้อและความพิการ ทางสมอง 2. พื้นฐานบุคลิกภาพเดิม สัมพันธภาพในครอบครัว ประสบการณ์ที่ ได้จากสังคม ความสะเทือนใจทีไ่ ด้มาแต่เยาว์วยั และถ้าได้รบั การกระตุน้ จะ ทำ�ให้เกิดปัญหาตามา เช่น ภาวะความกดดันทางจิตใจ ซึง่ มักมาจากการงาน การเรียน การเงิน ครอบครัว สิง่ แวดล้อม และการใช้ชวี ิตทางเพศ การรักษา
54
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
สามารถรักษาได้ ผลการรักษาแบ่งได้ 2 พวก คือ 1. กลุม่ ทีห่ ายขาด จะกินยาระยะสัน้ ๆ อย่างต่อเนือ่ งไม่เกิน 6 เดือน 2. กลุ่มที่มีอาการเรื้อรังต้องกินยาเป็นระยะเวลานานหลายปี ไม่ ควรหยุดยาเอง เพราะจะทำ�ให้อาการกำ�เริบได้ การรักษาด้วยยารักษาโรคจิตนั้นเป็นหัวใจของการรักษานอกจาก เพื่อควบคุมอาการด้านบวกแล้วยังสามารถลดการกำ�เริบซํ้าของโรคได้ พบว่าผู้ป่วยที่กลับมีอาการกำ�เริบซํ้าอยู่บ่อย ๆ นั้นส่วนใหญ่มีปัญหามา จากการขาดยา
สิ่งที่มากระตุ้นให้อาการโรคจิตกำ�เริบหรือแย่ลง
1. ได้รับความกดดันทางสังคมและจิตใจ เช่น ปัญหาครอบครัว การ งาน ความรัก การเรียน 2. กินยาหรือฉีดยาไม่สมํ่าเสมอ 3. ใช้สารเสพติด เช่น ดื่มสุรา สูบกัญชา กินยาบ้า 4. การอดนอน หรือการเจ็บป่วยทางกาย
การมีส่วนร่วมของญาติ
1. ต้องให้ความเข้าใจ และเห็นใจผูป้ ว่ ยเพราะผูป้ ว่ ยมิได้เจตนาจะสร้าง ความเดือดร้อน ความรำ�คาญให้กบั ญาติ ควรให้อภัยและไม่ถอื โทษโกรธผูป้ ว่ ย 2. ดูแลให้ผปู้ ว่ ยรับประทานยาสมาํ่ เสมอตามแพทย์สงั่ ไม่ควรเพิม่ หยุด หรือหยุดยาเอง 3. การดูแลสุขภาพอนามัย 4. พาผู้ป่วยไปรับการบำ�บัดรักษาให้สมํ่าเสมอ ตรงตามที่แพทย์นัด ทุกครั้ง เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่ให้การดูและตัวเองได้ไม่ดีพอ
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
55
5. ถ้าผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ดูสับสน วุ่นวาย ดื้อ ไม่ยอมกินยา ไม่ยอม มาพบแพทย์ ควรจะมาติดต่อกับแพทย์ เพื่อเล่าอาการให้แพทย์ทราบซึ่งได้ รับคำ�แนะนำ�ไปช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป 6. หมั่นสังเกตอาการผิดปกติของผู้ป่วย ถ้าพบความผิดปกติ เช่น พูดพรํา่ พูดเพ้อเจ้อ พูดคนเดียว เอะอะ อาละวาด หงุดหงิด ฉุนเฉียว หัวเราะ หรือยิ้มคนเดียว เหม่อลอย หลงผิด ประสาทหลอน หวาดกลัว ควรรีบพา ผู้ป่วยไปพบแพทย์ทันที 7. จัดหากิจกรรมให้ผปู้ ว่ ยทำ�ตามศักยภาพ โดยเฉพาะในเวลากลางวัน เพื่อดึงภาวะจิตใจของผู้ป่วยให้กับมาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงมากที่สุด
56
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“โรควิตกกังวล” ความวิตกกังวล (Anxiety)เป็นอาการทีเ่ กิดขึน้ ได้ในคนปกติทวั่ ไป เมือ่ มีความเครียดเข้ามากระทบ ในคนที่มีความวิตกกังวลจะมีความรู้สึกสับสน เครียด กังวล วิตก ตืน่ เต้น ตกใจง่ายหวาดกลัว หงุดหงิด โมโหง่าย ไม่มคี วาม สุขควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น มือสั่น ใจสั่น ตัวสั่น ปัสสาวะ บ่อย ปัน่ ป่วนในท้อง แน่นหน้าอก หายใจขัด ลุกลีล้ กุ ลนวอกแวก เพลีย นอน ไม่หลับ แนวทางการสังเกตว่าความตึงเครียดที่เกิดขึ้นเป็น ความวิตกกังวลที่ ผิดปกติหรือไม่ 1. ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นมากเกินกว่าจะอธิบายได้ด้วยความเครียด ที่มากระตุ้น 2. ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นมีอาการรุนแรงมาก 3. ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นยังคงอยู่แม้สิ่งกระตุ้นจะหมดไปแล้ว 4. ความวิตกกังวลทีเ่ กิดขึน้ รบกวนกิจวัตรประจำ�วันและหน้าทีก่ ารงาน ต่าง ๆ โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) เป็นโรคทางจิตเวชทีพ่ บบ่อยทีส่ ดุ เป็นโรคจิตเวชทีม่ คี วามสำ�คัญระดับต้น ๆ แบ่งย่อย เป็นหลายโรค ทีส่ �ำ คัญมี อยู่ 5 กลุ่ม ดังนี้
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
57
1. โรคแพนิค (Panic disorder) และโรคกลัวการอยู่ในสถานที่ตนเอง เกิดอาการกลัวมาก (agoraphobia) 2. โรควิตกกังวลเฉพาะอย่างและสังคม (Specific phobia and social phobia) 3. โรคยํ้าคิดยํ้าทำ� (Obsessive-compulsive disorder) 4. โรคเครียดที่เกิดภายหลังจากผู้ป่วยเผชิญกับเหตุการณ์ที่รุนแรง (Posttraumatic Stress Disorder และ Acute Stress Disorder) เช่น ภาวะสงคราม วินาศภัย อุทกภัย หรือถูกข่มขืนอย่างร้ายแรง 5. โรคกังวลทั่วไป (Generalized anxiety disorder)
การรักษาอาจต้องใช้ยา และบำ�บัดทางจิตใจร่วมกัน
1. การรักษาโดยการใช้ยา ยามีประสิทธิภาพสูงมากในการรักษาโดย เฉพาะระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยที่เครียดมานาน หลังจากได้รับประทานยาค ลายกังวล จะรู้สึกอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อผู้ป่วยได้ทานยา เพื่อบรรเทา อาการแล้ว ควรมีการปรับปรุงบุคลิกหรือการปรับตัวเอง โดยทัว่ ไปแล้ว ยาค ลายกังวล ในปริมาณไม่สงู นัก ไม่มผี ลเสพติดทางร่างกาย ผูป้ ว่ ยสามารถหยุด ยาได้ โดยไมมีอาการถอนยาแต่อย่างใด โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์์ 2. การักษาทางจิตใจโดยใช้จิตบำ�บัด แบบจิตวิเคราะห์เป็นการรักษา ด้วยวิธีพูดคุย วิเคราะห์โครงสร้างและการใช้กลไกของจิตใจ คล้ายกับการ เอกซเรย์จติ ใจ เพือ่ ทำ�ให้ผปู้ ว่ ยสามารถปรับตัวในชีวติ ประจำ�วันได้ ปรับปรุง บุคลิกภาพของตนเอง มองหาสาเหตุที่ทำ�ให้เกิดความเครียด หาวิธีแก้ไขให้ มีความยืดหยุ่นได้ดีขึ้น
58
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
3. การฝึกการผ่อนคลายด้วยตนเอง อาจใช้การฝึกผ่อนคลายโดยการ หายใจเข้าออก ให้ใจผ่อนคลายจากเรื่องต่าง ๆ จดจ่อที่ลมหายใจที่ผ่านเข้า ออกร่างกาย หรือฝึกผ่อนคลายโดยใช้หลักการตึงสลับคลายกล้ามเนือ้ เพือ่ ให้ ร่างกายได้เรียนรู้สัมผัสกับความรู้สึกผ่อนคลาย การฝึกเหล่านี้ ควรทำ�เป็น ประจำ�ไม่ใช่ทำ�เฉพาะตอนที่ตึงเครียดเท่านั้น 4. การสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำ�ให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย เช่น งาน อดิเรกต่าง ๆ ฟังเพลง เล่นกีฬาเบาๆ ปลูกต้นไม้ การใช้หลักศาสนา ซึ่งแล้ว แต่ความพอใจของแต่ละคน ย่อมทำ�ให้รู้สึกผ่อนคลายได้้ 5. อย่าลืมการดูแลสุขภาพร่างกายให้มีความแข็งแรงสมํ่าเสมอออก กำ�ลังกายบางประเภทที่เน้นความสัมพันธ์ทั่วร่างกาย เช่น โยคะ ก็ช่วยผ่อน คลายความเครียดได้ งดสารเสพติด กินอาหารที่มีประโยชน์ อย่าลืมว่า จิต ที่แจ่มใส อยู่ในร่างการที่แข็งแรง
การรักษาจะหายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ
1. ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล 2. อันตรายจากสภาพรอบตัว 3. ความผิดปกติทางร่างกาย เช่น โรคเรื้อรังต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม มนุษย์ทกุ คนจะมีความวิตกกังวลอยูต่ ามธรรมชาติ ซึง่ เป็น สิ่งที่ดีเพราะเป็นเหมือนระบบเตือนภัยช่วยให้การปฏิบัติงาน ที่อันตราย ปลอดภัยขึ้น เนื่องจากเกิดความระมัดระวังและรอบคอบ และเพื่อเตรียม พร้อมในการเผชิญปัญหาหรือสถานการณ์ความเครียดต่าง ๆ ซึ่งแสดงออก ทั้งในทางความคิดและความรู้สึกทางกาย ผลักดันให้คนเราแก้ปัญหาหรือ คิดพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ได้
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
59
“อาการนอนไม่หลับ” จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก พบว่า 45% ของประชากรโลก เคย มีอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการนอน โดยที่ 35 % จะเป็น อาการนอนไม่หลับ การนอนไม่หลับ เป็นปัญหาทีพ่ บได้บอ่ ย ไม่เฉพาะในโรคต่างๆ แม้ในคน ปกติที่ไม่ได้มีโรคประจำ�ตัวก็สามารถมีอาการ นอนไม่หลับได้ อาการ คือ นอนหลับได้ยาก หลับแล้วตื่นบ่อย ตื่นแล้ว ไม่สามารถหลับ ต่อได้ คุณภาพการนอนไม่ค่อยดี ตื่นนอนตอนเช้า ไวกว่าปกติ ซึ่งคนปกติ ทั่วไป สามารถเกิดอาการนอนไม่หลับขึ้นได้ ประมาณ 1-2 คืนต่อสัปดาห์ เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ พบมากขึ้นในผู้หญิง และ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอายุ มากกว่า 65 ปีขึ้นไป ผูท้ มี่ ปี ญ ั หานอนไม่หลับ จะมีปญ ั หาขาดงานหรือทำ�งานด้วยประสิทธิภาพ ทีล่ ดลงในสัดส่วนทีม่ ากกว่าผูท้ ไี่ ม่มปี ญ ั หาถึง 3 เท่า และการนอนไม่เพียงพอ ยังทำ�ให้การเรียนรู้ ความจำ� และสมาธิในการทำ�งานต่างๆ ลดลง เมื่อเทียบ กับผู้ที่ไม่มีปัญหาการนอน นอกจากนี้ หากนอนหลับไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นเวลานานจะส่งผล ทำ�ให้การทำ�งานของระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง โดยเฉพาะกับกลุ่ม ผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะโรคอ้วน รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะ เครียด โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้า สาเหตุหนึง่ ทีพ่ บได้บอ่ ย คือ ความวิตกกังวล หรือ ความเครียดและหาก มีปัญหานอนไม่หลับเรื้อรัง นอนไม่หลับนานกว่า 3 เดือน อาจสัมพันธ์กับ สภาวะทางจิตใจ หรือโรคทางจิตเวช จึงควรรีบปรึกษาแพทย์ 60
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
การรักษา มีทั้งการรักษาสาเหตุที่เกี่ยวข้องโรคทางกาย หรือ โรคทาง จิตเวชที่ส่งผลให้มีอาการ นอนไม่หลับ เช่น การรักษาโรคกรดไหลย้อน การรักษาโรคซึมเศร้า หรือ โรควิตกกังวล การรักษาโดยการปรับความ คิดและพฤติกรรม และ การรักษาโดยการใช้ยา เช่น การใช้ยาคลายกังวล ยาต้านซึมเศร้า และยาแก้แพ้
10 เคล็ดลับช่วยให้นอนหลับได้ดี
1. เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำ�ทุกวัน 2. ถ้านอนกลางวันเป็นประจา ไม่ควรงีบกลางวันเกิน 45 นาที 3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไป เป็นระยะเวลา 4 ชั่วโมง ก่อนนอนและงดการสูบบุหรี่ 4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา น้าอัดลมประเภทต่างๆ และช็อกโกแลต 6 ชั่วโมงก่อนนอน 5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนัก อาหารเผ็ด หรืออาหาร หวาน เป็นระยะเวลา 4 ชั่วโมงก่อนนอน ของว่างเบาๆ สามารถรับประทาน ก่อนนอนได้ 6. ออกกาลังกายสมํ่าเสมอ แต่ หลีกเลี่ยงการออกกาลังกายก่อนนอน 7. ใช้เครื่องนอนที่ทำ�ให้หลับสบาย 8. ห้องนอนควรมีอุณหภูมิที่เหมาะสมและถ่ายเทอากาศ ได้สะดวก 9. หลีกเลี่ยงเสียงรบกวนทั้งหมดและหลีกเลี่ยงแสงให้มากที่สุดเท่าที่ จะเป็นไปได้ 10. ใช้ห้องนอนเพื่อการนอน อย่าใช้เตียงนอนเป็นที่ทำ�งานหรือการ พักผ่อนหย่อนใจ
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
61
“โรคอารมณ์สองขั้ว” โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder) เป็นหนึ่ง ในกลุ่มโรคอารมณ์ผิดปกติที่พบได้บ่อยในทั่วโลก ประมาณ 1-2% พบได้ ในผู้หญิงและผู้ชายในอัตราที่เท่ากัน อายุเฉลี่ยที่เริ่มพบ คือ20-30 ปีอีกทั้ง พบว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยฆ่าตัวตายสำ�เร็จ ผู้ป่วยไบโพลาร์จะมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ในลักษณะ ที่แตกต่างกันคนละขั้ว โดยมีความผิดปกติในระยะ พลุ่งพล่านฟุ้งเฟ้อหรือ มาเนีย (Mania) สลับกับระยะซึมเศร้า (Depression) ระยะพลุง่ พล่านฟุง้ เฟ้อ อารมณ์ดี หรือหงุดหงิดง่ายมากกว่าปกติ มีความ มั่นใจในตัวเองมาก ขาดความยับยั้งชั่งใจ ไม่หลับไม่นอน หากถูกห้ามปราม หรือขัดขวางในสิ่งที่ต้องการ มักหงุดหงิด ฉุนเฉียว ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจพบมีอาการหลงผิดแบบมีความสามารถพิเศษเหนือคนอื่นจนถึงมีภาวะ หวาดระแวงได้ ระยะซึมเศร้า จะรูส้ กึ หดหู่ เบือ่ หน่าย จิตใจไม่สดชืน่ อารมณ์ออ่ นไหวง่าย ร้องไห้ง่าย ไม่อยากพบใครหรือไม่อยากทำ�อะไร เบื่ออาหาร นํ้าหนักลด เคลื่อนไหวช้า ใจลอย หลงๆ ลืมๆ ไม่มั่นใจ ตัดสินใจไม่ได้ คิดว่าตนเองเป็น ภาระและหากมีอาการหนักจะถึงขั้นฆ่าตัวตาย
อาการของโรค
ผู้ ที่ เ ป็ น จะมี อ าการแสดงออกมาทั้ ง ในด้ า นอารมณ์ ความคิ ด และ พฤติกรรมโดยในแต่ละระยะจะมีอาการนานหลายวัน จนอาจถึงเป็นสัปดาห์ หรือหลายเดือนหากไม่ได้รับการรักษา 62
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
สาเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
โรคอารมณ์สองขัว้ ไม่ได้เกิดจากการมีจติ ใจอ่อนแอหรือคิดมากอย่างทีค่ น อืน่ มักมองกัน แต่เป็นความผิดปกติทางสมอง พบว่าผูท้ เี่ ป็นโรคนีม้ กี ารทำ�งาน ของสมองและสารเคมีในสมองซึ่งทำ�หน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท แปรปรวนไป อาจมีปจั จัยเสริม เช่น ประสบวิกฤตการณ์หรือมีเหตุการณ์พลิก ผันของชีวิต หรือมีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ ได้แก่ การอดนอน การใช้สารเสพติด หรือยากระตุ้น และกรรมพันธุ์มีส่วนเพิ่มความเสี่ยงการป่วย
การรักษา
โดยทั่วไปหากเป็นการป่วยครั้งแรกหลังจากที่แพทย์รักษาจนผู้ป่วย อาการกลับสู่ปกติแล้ว จะให้ยากินต่อไปอีกจนครบ 6 เดือน แล้วค่อย ๆ ลด ยาลงจนหยุดไป โดยทั่วไปก็ใช้เวลาเกือบปี ที่ต้องให้ยานานถึงแม้ว่าอาการ จะหายดีแล้วก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคกำ�เริบ การกินยาอย่างสมา่ํ เสมอเป็นสิง่ สำ�คัญทีจ่ ะทำ�ให้สามารถควบคุมอาการได้ดี รวมทั้งสามารถป้องกันการกำ�เริบในครั้งต่อไป และควรพบแพทย์ตามนัด เพือ่ ประเมินผลการรักษาตลอดจนผลข้างเคียงจากยา แพทย์อาจปรับยาเป็น ช่วง ๆ ตามแต่อาการของโรค ควรบอกแพทย์อย่างไม่ปิดบัง ถึงอารมณ์และ พฤติกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะหากไม่แน่ใจว่าเป็นช่วงที่อารมณ์เปลี่ยนแปลง หรือไม่ นอกจากผู้ ป่ ว ยยั ง ควรออกกำ � ลั ง กายอย่ า งน้ อ ยสั ป ดาห์ ล ะ 3 วั น ยกตัวอย่างง่าย ๆ เดินออกกำ�ลังกายวันละ 30 นาที งดเครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีนอย่างเด็ดขาด เพราะจะกระตุ้นให้อาการ กำ�เริบได้ทสี่ �ำ คัญ หลีกเลีย่ งภาวะทีอ่ าจทำ�ให้เกิดสิง่ เร้า สิง่ กระตุน้ ทีท่ �ำ ให้เกิด ความเครียด โดยการสำ�รวจอารมณ์ตวั เองอย่างสมาํ่ เสมอเป็นสิง่ สำ�คัญทีส่ ดุ
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
63
ในส่วนของญาติและคนใกล้ชดิ ควรร่วมเรียนรู้ เข้าอกเข้าใจ และให้ก�ำ ลัง ใจแก่ผู้ป่วย ช่วยดูแลให้ผู้ป่วยกินยา ปฏิบัติตัวตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์ สังเกตอารมณ์และพฤติกรรมของผูป้ ว่ ย รีบพาไปพบแพทย์กอ่ นจะมีอาการมาก
แนวทางป้องกัน
ปรับวงจรการกินการนอนให้ปกติและสมํ่าเสมอ ดูแลสุขภาพ เช่น ออกกำ�ลังกาย ทำ�กิจกรรมคลายเครียด ไม่ใช้สารเสพติด เช่น สุรา ยากระตุน้ ตลอดจนหมัน่ สังเกตอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง เรียนรูอ้ าการเริม่ แรก และรีบพบแพทย์ก่อนจะมีอาการมาก
64
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“สมองเสือ่ ม” สมองเสื่อม (Dementia) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและพบมาก ขึน้ ตามอายุทสี่ งู ขึน้ พบร้อยละ 5 ในประชากรทีม่ อี ายุตงั้ แต่ 65 ปีขนึ้ ไป และ อาจจะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 50 ในประชากรที่มีอายุ 85 ปี
แนวทางการสังเกต สงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อม
1. ความจำ�ระยะสั้นไม่ดี เช่น ลืมวันนัด ลืมสิ่งของของ บ่อยๆ พูดซํ้า ถามซํ้า 2. มีปัญหาทางด้านการใช้ภาษา เช่น เรียกชื่อสิ่งของและชื่อคนที่ คุ้นเคยไม่ถูกหรือสูญเสียความเข้าใจภาษา 3. มีปญ ั หาในด้านทิศทางและสิง่ แวดล้อม เช่น ขับรถแล้วหลงทางในที่ ๆ เคยขับได้ หรือหลงทางเวลาเดินทางออกนอกบ้านคนเดียว 4. มีความผิดปกติในการทำ�งานที่ซับซ้อน เช่น วางแผนการทำ�งาน การเดินทาง การใช้อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ การใช้จ่ายและเก็บเงินหรือ การไปธนาคาร 5. มีความผิดปกติของอารมณ์และบุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ซึมเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว มีพฤติกรรมแปลกไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ แวดล้อม มีความเชื่อที่ผิดแปลก เห็นภาพหลอน
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
65
เกณฑ์ ในการวินิจฉัย คือ
1. มีความผิดปกติของความจำ� 2. มีความผิดปกติอย่างน้อง 1 ข้อในสิ่งเหล่านี้ คือ - ความผิดปกติของการใช้ภาษา เช่น นึกคำ�พูดไม่ออก ความเข้าใจ ภาษาลดลง - การสูญเสียทักษะในการทำ�กิจกรรม เช่น ไม่สามารถแปรงฟัน หวีผมได้ ตอกตะปูไม่เป็น โดยไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนือ้ เช่น การเคลื่อนไหวผิดปกติ นํ้าลายไหล ตัวแข็งเกร็ง หน้าเรียบเฉย เป็นต้น - การไม่รับรู้ในสิ่งที่เคยรู้มาก่อน เช่น เห็นสิ่งของแล้วไม่รู้ว่าคือ อะไร ไม่รู้ว่าใช้ทำ�อะไร เห็นหน้าคนคุ้นเคยแต่นึกหน้าไม่ออก เป็นต้น - ความผิดปกติในการบริหารจัดการ เช่น ความผิดปกติในการ วางแผนการตัดสินใจ จัดระบบงาน เรียงลำ�ดับงาน และคิดอย่างเป็น นามธรรม 3. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นใน ข้อ 1 และ 2 ส่งผลกระทบต่อความ สามารถทางสังคมและอาชีพ แลมีระดับความสามารถที่ลดลงจากเดิม 4. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ในช่วงที่กำ�ลังมีภาวะซึมเศร้า สับสน เฉียบพลัน 5. ความผิดปกติที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสาเหตุอื่น ๆ
แนวทางการรักษา
ขึ้นอยู่กับภาวะของสมองเสื่อมนั้นเกิดจากอะไร ภาวะสมองเสื่อมบาง ชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ดว้ ยยา เช่น อัลไซเมอร์ดซี สี (Alzheimer’s disease) แต่ภาวะสมองเสื่อมบางชนิดไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้เป็น เพียงการประคับประคอง ยืดเวลาและชะลอไม่ให้อาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว เช่น ดิเมนเชีย ซินโดรมออฟเมเจอร์ ดีเพลสชั่น (Dementia Syndrome of 66
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
major depression) หรือ ไฮโปรไทยรอยด์ดิซึ่ม(Hypothyroidism) ความจำ�ไม่ดี ใช่ภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ ความจำ�ไม่ดี เกิดจากหลายปัจจัยในคนปกติ ถ้าไม่สนใจ ไม่มีสมาธิ ซึม เศร้า โกรธ วิตกกังวล ก็จะจำ�ไม่ได้ โดยทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกับปัญหาทางด้านสมอง
วิธีป้องกันสมองเสื่อม
1. หมัน่ ออกกำ�ลังกายชนิดแอโรบิก เช่น เดินเร็ว วิง่ ว่ายนํา้ เป็นประจำ� ประมาณ 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3 -5 วัน 2. เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ให้ครบ5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหาร มันจัด หวานจัด ควรรับประทานผัก ถั่วเมล็ดแห้ง ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการ ขัดสี และปลา 3. นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ประมาณ 6 - 8 ชั่วโมงต่อวัน 4. ทำ�กิจกรรมทีช่ ว่ ยเสริมการเรียนรูส้ งิ่ ใหม่ ๆ หรือกระตุน้ การคิดอ่าน ความจำ� ประมาณวันละครึง่ ชัว่ โมง 4 - 5 ครัง้ ต่อสัปดาห์ ซึง่ ควรเป็นกิจกรรม ที่ชื่นชอบ เหมาะสม และทำ�แล้วเพลิดเพลิน 5. สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น ด้วยการพูดคุยอย่างสมํ่าเสมอ 6. ทำ�จิตใจให้เบิกบาน ไม่เครียด ไม่เศร้าหมอง 7. ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า 8. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ�ทุกปี หากพบโรคประจำ�ตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรแก้ไขและปฏิบัติ ตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์ 9. หลีกเลีย่ งการใช้ยา ทีม่ ผี ลกดการทำ�งานของสมอง ทำ�ให้งว่ งซึม และ อาจทำ�ให้เกิดอาการสับสนได้ 10. ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ ระวังหกล้ม
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
67
“บทบาทสื่อมวลชน ในการสร้างสรรค์สังคมสุขภาพจิตดี” เมือ่ พูดถึงผูม้ ปี ญ ั หาสุขภาพจิต หลายคนในสังคมอาจจะยังไม่คอ่ ยเข้าใจ หรืออาจมีความเข้าใจทีค่ ลาดเคลือ่ นอยู่ โดยส่วนหนึง่ อาจจะมองว่า การป่วย เป็นการเสแสร้ง หรือแกล้งทำ� น่าเบือ่ หน่าย พฤติกรรมทีเ่ กิดขึน้ บางอย่าง เช่น การฆ่าตัวตาย มักจะถูกมองว่าเป็นการกระทำ�ของคนโง่ อ่อนแอ ไม่เข้มแข็ง เป็นการเรียกร้องความสนใจ และมักถูกเยาะเย้ย หรือซํา้ เติม เช่นเดียวกันกับ ปัญหาทางจิต ส่วนหนึ่งก็ถูกมองว่าเป็นเรื่องที่แก้ไขไม่ได้ เป็นเรื่องของนิสัย หรือถ้าได้รบั การรักษาก็รกั ษาไม่หาย รวมทัง้ ผูป้ ว่ ยทางจิต ทีเ่ คยมีพฤติกรรม รุนแรงมาก่อน ก็ถกู มองว่าเป็นอันตรายต่อสังคมตลอดชีวติ ทำ�ให้คนในชุมชน รู้สึกหวาดกลัว รังเกียจ ญาติก็รู้สึกอับอายที่มีผู้ป่วยทางจิตอยู่ในครอบครัว นอกจากนี้ ภาพต่างๆ ที่ปรากฏผ่านสื่อ เช่น การนำ�เสนอภาพผู้ป่วย จิตเวชทีม่ พี ฤติกรรมรุนแรง ทำ�ร้ายคนอืน่ ซึง่ ในความเป็นจริงมีเพียงส่วนน้อย หรือ การนำ�เสนอภาพหรือข่าวการฆ่า ตัวตายซาํ้ ๆ ติดๆ กันหลายวัน รวมทัง้ การนำ�เสนอข่าวการฆ่า ตัวตายของผู้มีชื่อเสียง การเผยแพร่ภาพยนตร์หรือ ละครทีม่ บี ทพยายามฆ่าตัวตายหรือมีการฆ่าตัวตายทีแ่ สดงวิธอี ย่างละเอียด ตลอดจนการนำ�เสนอตัวละครหรือการใช้ค�ำ พูดทีล่ อ้ เลียนผูป้ ว่ ย ทางจิต เช่น คนบ้า คนไม่เต็มบาท คนไม่ครบ คนไม่สมประกอบ คนน่ากลัว โรคจิต ล้วน ก่อให้เกิดภาพลบตอกยํ้าให้เกิดตราบาปต่อผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและผู้ป่วย จิตเวชในสังคมมากยิ่งขึ้น ที่ถือเป็น
68
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
อุปสรรคสำ�คัญในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตและการฆ่าตัวตายซึ่งใน ความเป็นจริงแล้ว โรคทางจิตเวช ไม่ใช่ โรคร้าย ไม่ใช่ตราบาป ไม่ใช่เรื่องน่า ละอาย สามารถเกิดขึน้ ได้กบั ทุกคน และสามารถรักษาให้หายกลับคืนสูส่ งั คม ได้อย่างมีคุณค่า นอกจาก บุคลากรทางการแพทย์ ครอบครัว และ ชุมชน แล้ว สือ่ มวลชน นับว่าเป็นอีกหนึง่ พลังสำ�คัญ ทีจ่ ะช่วยสร้างสรรค์สงั คมให้มสี ขุ ภาพจิตดี ช่วย ลดตราบาป สือ่ สารอย่างสร้างสรรค์ให้เกิดความเข้าใจทางบวกป้องกันปัญหา สุขภาพจิตและปัญหาการฆ่าตัวตายในสังคมได้ โดย 1. ระมัดระวัง การพาดหัวข่าว หรือนำ�เสนอภาพข่าวในลักษณะที่ มีสีสัน เน้นหรือตอกยํ้า ให้ความโดดเด่นหรือดราม่า ก่อให้เกิดความรู้สึก สะเทือนใจ ซํ้าเติมความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมที่มากเกินไป 2. คำ�นึงถึงการนำ�เสนอข่าวที่อาจส่งผลต่อความรู้สึกหรือเกิดผลกระ ทบในทางลบต่อผู้ป่วยญาติและผู้ใกล้ชิด ไม่ล่วงละเมิดศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิมนุษยชนของเด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาส 3. สอดแทรกความรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน เกีย่ วกับปัญหาสุขภาพจิต เช่น การให้ความรูท้ ถี่ กู ต้องเกีย่ วกับอาการหรือโรค ทางจิตเวช การนำ�เสนอสัญญาณเตือน แนวทางการดูแลจิตใจ การป้องกัน ปัญหา ตลอดจน การนำ�เสนอตัวอย่างด้านบวกแก่สังคม โดยสามารถขอ ความรู้หรือข้อแนะนำ�ได้จากจิตแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักวิชาการด้าน สุขภาพจิต
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
69
4. ให้ข้อมูลแหล่งให้การช่วยเหลือด้านจิตใจ หน่วยงานให้บริการ หรือให้คำ�ปรึกษา เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ที่ควรระบุอย่างชัดเจนใน ตอนท้ายของข่าว บทความ หรือละคร 5. ดูแลกายและใจของตัวเองให้ดีเพราะการติดตามทำ�ข่าว แต่ละ ครั้งอาจได้รับความเครียดและความทุกข์ได้มาก แม้ว่าจะมีประสบการณ์สูง แล้วก็ตาม จึงอย่าลืมพูดคุย ระบายกับเพือ่ นร่วมงาน เพือ่ น คนในครอบครัว หรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ
70
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
ที่ปรึกษาและคณะทำ�งาน ที่ปรึกษา
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ นายแพทย์ชิโนรส ลี้สวัสดิ์ นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ นายแพทย์สมัย ศิริทองถาวร นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นางนันทนา รัตนากร แพทย์หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ แพทย์หญิงศุทรา เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์ แพทย์หญิงฐิติมา สงวนวิชัยกุล แพทย์หญิงกนกวรรณ โมสิกานนท์ แพทย์หญิงทัศนีย์ กุลจะนะพงศ์พันธ์ นายแพทย์อภิชาต จริยาวิลาศ นายแพทย์อภิชาต แสงสิน
อธิบดีกรมสุขภาพจิต รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต ผู้อำ�นวยการ กองสุขภาพจิตสังคม สถาบันสุขภาพจิต เด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สถาบันสุขภาพจิต เด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สถาบันสุขภาพจิต เด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลศรีธัญญา สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
71
คณะทำ�งาน
นางสาวปิยฉัตร นางสาวชนสินันท์ นายชนินทร์ นายอานนท์
ทับทิมเจือ ธนาพัฒนัธนนท์ นาทะพันธุ์ ฉัตรทอง
กองสุขภาพจิตสังคม สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา กองสุขภาพจิตสังคม กองสุขภาพจิตสังคม
72
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
“Top Hits ความรู้สุขภาพจิต” ฉบับนักสื่อสาร
239