ข้อคิดยามเช้า ประจำเดือน ธันวาคม 2014

Page 1


ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 1 ธันวาคม ค.ศ.2014 เราไม่สงสัยเลยว่าพระเยซูเจ้าจะ เสด็จกลับมาอีกครั้งหนึ่ง แต่ปัญหาคือ ไม่มี ใครรู้วันและเวลาที่แน่นอน “ท่านทั้งหลายไม่รู้ว่าวันเวลานั้น จะมาถึงเมื่อไร” (มก 13:33) เมื่อไม่รู้วันเวลาที่แน่ชัด สิง่ ที่เรา ต้องทาคือ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ “จงระวัง จงตื่นเฝ้าเถิด” (มก 13:33) ถ้าเราต้องการให้พระองค์พบว่าเรากาลังตื่นเฝ้าเมื่อพระองค์เสด็จมา เราต้องไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามความ ต้องการฝ่ายเนื้อหนัง แต่เราต้องระวังตัว เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ เราต้องเป็นเหมือนคนเฝ้าประตูที่รอคอยเจ้าของบ้านกลับมา เขาต้องตื่นเฝ้าตลอดเวลาเพราะเจ้าของบ้าน “อาจจะมาเวลาค่​่า เวลาเที่ยงคืน เวลาไก่ขัน หรือเวลารุ่งเข้า” (มก 13:35) ก็ได้ การเสด็จมาที่พระเยซูเจ้ากาลังพูดถึงนี้หมายถึง “การเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระองค์” หรือ “ความตายของเราแต่ละคน” ไม่มีใครทราบว่าวันสิน้ พิภพจะมาถึงเมื่อใด? วันดีคืนดีดวงดาวในจักรวาลดวงหนึ่ง อาจหลุดออกจากวงโคจรและวิง่ มาชนโลกของเรา โลกอาจแตกสลายไปก็ได้ แน่นอน สักวันหนึง่ ไม่เร็วก็ช้า เราจะต้อง พบกับช่วงเวลาแห่งความตายของเรา อย่างไรก็ตาม ก่อนจะถึงช่วงเวลานั้นยังมีการเสด็จมาอีกอย่างหนึ่งซึ่งเราต้องเฝ้า ระวังเช่นกัน ทุกวัน ทุกชัว่ โมง ทุกนาที และ ทุกวินาทีในชีวิตของเรา พระเยซูเจ้าทรงอยู่ใกล้เราโดยทางบุคคลที่เรา พบปะ และ โดยทางเหตุการณ์ที่กาลังเกิดขึ้น เหมือนที่พระองค์ทรงบอกเราผ่านทางผู้เขียนหนังสือวิวรณ์ว่า “ดูเถิด เราก่าลังยืนเคาะประตู ถ้าผู้ใดได้ยินเสียงของเราและเปิดประตู เราจะเข้าไปกินอาหารร่วมกับเขาเขาจะกินอาหารร่วมกับเรา” (วว 3:20)


พระเยซูเจ้าเสด็จมาหาเราและอยู่ใกล้ชิดเราทุกวัน ในพิธีมิสซาพระองค์เสด็จมาหาเรา และให้พระองค์เอง เป็นอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตฝ่ายจิตของเรา เมื่อเราออกไปข้างนอก เราอาจพบผู้คนมากมาย พบคนขอทาน พบคนที่ ต้องการความช่วยเหลือ เราพอที่จะมองเห็นไหมว่า นั่นคือพระเยซูเจ้าที่เสด็จมาหาเรา เพื่อให้เราทาบางสิ่งบางอย่างเพือ่ พระองค์? ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.2014 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระ คริสตเจ้าซึ่งเป็นช่วงเวลาพิเศษ เพื่อ เตรียมพร้อมที่จะพบกับพระเยซูเจ้า ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่ความพร้อม ภายนอกเท่านัน้ แต่หมายถึงความ พร้อมภายในซึ่งสาคัญมากกว่า ครั้งหนึ่ง คุณพ่อเจ้าอาวาสได้ ถามสามีภรรยาคู่หนึ่งที่มาแจ้งความ ประสงค์จะให้ลูกรับศีลล้างบาปว่า “ลูกรู้ดีใช่ไหมว่าศีลล้างบาปเป็นเรื่องใหญ่และส่าคัญในศาสนาของเราลูกได้เตรียมพร้อมส่าหรับเรื่องนี้ อย่างดีแล้วใช่ไหม?” “แน่นอนครับ คุณพ่อ” สามีตอบ “ภรรยาของผมได้เตรียมอาหารว่าง ขนมเค้ก และ ของที่ระลึกไว้ ส่าหรับแขกทุกคนแล้ว” “ไม่ใช่อย่างนั้น” คุณพ่อเจ้าอาวาสตอบ “พ่อหมายความว่าลูกได้เตรียมจิตใจของลูกอย่างดีแล้วหรือยัง?” “เรื่องนี้ไม่ต้องห่วงครับคุณพ่อ” สามีตอบอีกครั้งหนึ่ง “ผมได้ซื้อเบียร์และเหล้าไวน์ชั้นดีไว้เตรียมฉลอง แล้วครับ” เราอาจหัวเราะสามีคนนี้ แต่หลายครั้งวิธีการเตรียมฉลองการเสด็จมาของพระเยซูเจ้าของเรา ไม่ต่างจากการ เตรียมรับศีลล้างบาปสาหรับลูกของสามีภรรยาคู่นี้เท่าใดนัก นั่นคือ เราเน้นการเตรียมสถานที่ภายนอก การซื้อ ของขวัญ การส่งการ์ดอวยพร แต่ลืมสิ่งทีส่ าคัญทีส่ ุดที่เราต้องเตรียม นั่นคือ การเตรียมจิตใจของเรา ถ้าจิตใจของเรา ไม่พร้อมสาหรับการเสด็จมาของพระเยซูเจ้า คริสต์มาสปีนจี้ ะไร้ความหมายอย่างสิน้ เชิง เราต้องใช้ช่วงเวลาสีส่ ัปดาห์ ในเทศกาลนี้ ทาให้พระองค์สามารถบังเกิดในดวงใจของเราระวังตัวและตืน่ เฝ้าอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ถูกดึงออกไปจาก หนทางแห่งความจริงที่พระองค์ทรงสั่งสอนเรา เตรียมจิตใจให้พร้อมสาหรับการเสด็จมา ที่ไม่มีใครรู้ของพระเยซู เจ้าของเรา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 3 ธันวาคม ค.ศ.2014 “เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า” มาจากภาษาละติน คือ “Adventus” ซึ่งแปลว่า “การมาถึง” เมื่อคานี้ถูกนามาใช้กบั พระเยซู เจ้าในช่วงเวลานีจ้ ึงหมายถึงการเสด็จมา ของพระองค์ในวันคริสต์มาส ในพระ คัมภีร์พูดถึงการเสด็จมาของพระองค์ สามครั้ง ประกาศกเยเรมีย์ได้ทานายถึงการเสด็จมาของพระองค์ โดยอ้างพระดารัสขององค์พระผู้เป็นเจ้าที่ว่า “ในวันเหล่านั้นและในเวลานั้น เราจะให้หน่อชอบธรรมงอกขึน้ มาแก่ดาวิด เขาจะปฏิบตั ิตามความยุติธรรม และ ความชอบธรรมในแผ่นดิน” (ยรม 33:15) หมายถึงการเสด็จมาของพระกุมารเยซูเจ้าที่เมืองเบธเลเฮมซึ่งถือว่าเป็นการเสด็จมาครั้งแรกของพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงพูดถึงวันสิ้นพิภพ และ การเสด็จกลับมาครั้งทีส่ องของพระองค์ในวาระสุดท้ายว่า “หลังจากนั้นประชาชนทั้งหลายจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์เสด็จมาในก้อนเมฆ ทรงพระอานุภาพและพระสิริรุ่งโรจน์ยิ่งใหญ่” (ลก 21:27) ระหว่างการเสด็จมาครั้งแรก และ ครั้งที่สองของพระองค์ ยังมีการเสด็จมาอีกรูปแบบหนึง่ นักบุญเปาโลพูด ถึงรูปแบบการต้อนรับพระองค์เข้ามาในชีวิตของเราที่นี่ และ เวลานี้ ซึง่ เป็นบางสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราได้ทุกวัน การต้อนรับพระองค์เข้ามาในชีวติ ของเราแต่ละวันจะทาให้เราเข้าใจความหมายที่แท้จริงของการเสด็จมาครั้งแรกของ พระองค์ และ เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมสาหรับการเสด็จกลับมาครั้งที่สองของพระองค์ในทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที และ ทุกวินาที


พระเยซูเจ้าทรงอยู่ใกล้เราโดยทางบุคคลที่เราพบ และ โดยทางเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น พระเยซูเจ้าเสด็จ มาหาเราในผู้คนมากมายแต่ละวันในชีวติ ประจาวันของเราหากเราได้ทาบางสิ่งบางอย่างเพื่อพระองค์ พระองค์จะไม่ใช่ คนแปลกหน้าสาหรับเราอีกต่อไป ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.2014 พระศาสนจักรเตือนเราว่า การเริ่มต้น และ การสิ้นสุด เป็นสองด้านของความจริงอัน เดียวกันที่ไม่อาจแยกจากกันได้ เมื่อมีเกิด ก็ย่อมมีตาย เมื่อมี จุดเริ่มต้น ก็ย่อมมีจุดหมายลายทาง การรู้จักจุดหมายปลายทางตั้งแต่ เนิ่น ๆ หรือตั้งแต่เริ่มแรก ย่อมมีประโยชน์ต่อการดาเนินชีวิต ของเราแต่ละคน ถ้าเราไม่รู้ว่าเรากาลังจะไปไหน เราจะไม่มีวันไปถึงสถานที่ที่เราต้องการอย่างแน่นอน แม้ว่าชีวติ จะเหมือนกับ การเดินทาง แต่การเดินทางที่วา่ นี้มีส่วนที่แตกต่างจากการเดินทางทั่วไป ถ้าเราเดินทางจากอุดรธานีไปกรุงเทพฯ โดย ทางรถไฟ เราพอที่จะรู้ว่าต้องใช้เวลากี่ชั่วโมงจึงจะถึงจุดหมายปลายทาง แต่บนรถไฟแห่งชีวติ เราไม่รู้ว่าจะต้องใช้ เวลานานเท่าใดจึงจะบรรลุถึงจุดหมายปลายทางของเรา บางคนอาจใช้เวลายาวนานถึง 100 ปี แต่บางคนอาจเหลือ เวลาเดินทางเพียงแค่ 10 ปี หรือสามเดือน หรือสองสัปดาห์ หรือไม่ถึงวันเสียด้วยซ้า ระยะเวลาของการเดินทางไม่ใช่ เรื่องสาคัญมากนัก แม้ว่าหลายคนจะกังวลใจในเรื่องนี้มากก็ตาม เรื่องที่สาคัญมากกว่าคือ สิ่งทีเ่ ราต้องทาระหว่างการ เดินทางของเราบนโลกนี้ต่างหาก เมือ่ เราไม่ทราบว่าต้องใช้เวลาเดินทางนานเท่าใดเราจึงต้องตื่นจาก “การหลับใหลฝ่ายจิต” และเตรียมตัวให้ พร้อมอยู่เสมอ “จงระวัง จงตื่นเฝ้าเถิด” (มก 13:33) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.2014 บนรถไฟแห่งชีวติ เราไม่รู้ว่าจะต้อง ใช้เวลานานเท่าใด จึงจะบรรลุถงึ จุดหมาย ปลายทางของเรา เราต้องพร้อมที่จะลงจาก รถไฟแห่งชีวิตคันนีต้ ลอดเวลา เราต้องพร้อม อยู่เสมอที่จะพบกับพระเยซูเจ้า เมื่อใดก็ตามที่ พระองค์เสด็จมาหาเรา และ เรียกเราไปอยู่ ร่วมกับพระองค์ อย่ากลัว และ กังวลใจ จนเกินไป ความกลัว และ กังวลใจไม่ได้ชว่ ย แก้ปัญหาใด ๆ เพราะสักวันหนึง่ เราทุกคนต้อง ไปพบกับพระองค์อยู่แล้ว คุณพ่อแอนโทนี่ เดอ เมลโล, S.J. เคยบอกว่า “ท่าไมต้องกังวลใจ ถ้าเรากังวลใจ เราก็ตายอยู่ดี ถ้าเราไม่กังวลใจ เราก็ตายเหมือนกัน แล้วเราจะกังวลใจไปท่าไมละ” ให้เราพยายามสร้างความสัมพันธ์กับคนที่อยู่รอบข้างให้ดีขึ้นตลอดเวลา ชีวิตที่ดไี ม่ได้ขึ้นอยู่กับงานที่เราทา หรือความสาเร็จที่เราได้รับ แต่ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ดีของเรากับคนที่อยู่รอบข้างว่ามีมากน้อยแค่ไหนต่างหาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์กับครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง และ คนแปลกหน้าที่เราพบปะในแต่ละวัน จงใช้ทุกโอกาสที่มที าให้ตัวเราใกล้ชิดกับพระเจ้ามากยิ่งขึ้น พระองค์ทรงอยู่กับเราเสมอไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหน หรือทาอะไร เราสามารถฟังเสียงของพระองค์ พูดคุยและร่วมมือกับพระองค์ ปล่อยให้พระองค์นาทางเราและ ช่วยเหลือเราผ่านทางทุกคนและทุกสิ่งทีผ่ ่านเข้ามาในชีวิตของเรา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 6 ธันวาคม ค.ศ.2014 ในพระคัมภีร์ “ถิ่นทุรกันดาร” เป็น “สถานที่พบปะกับพระเจ้า” ชาวอิสราเอล ได้พบพระเจ้า และ เรียนรู้จักวิถีทางของ พระองค์ในถิ่นทุรกันดาร ที่นั่นเองพวกเขาได้ กลายเป็นประชากรของพระองค์ และ พระองค์กลายเป็นพระเจ้าของพวกเขา แต่ก่อนอื่นหมดพวกเขาต้องปล่อยวางสิ่ง อานวยความสะดวกทุกอย่าง ที่ทาให้พวกเขา มีความสุข และ ความยินดีในประเทศอียิปต์ ไว้เบื้องหลัง ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักที่สวยงาม ทรัพย์สินเงินทอง เรือกสวนไร่นา และ อาหารที่อุดมสมบูรณ์ แล้วติดตามโมเสสเข้า ไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อไปยังแผ่นดินพันธ สัญญาต่อไปเช่นเดียวกันก่อนทีจ่ ะเริ่มพันธกิจ แห่งการประกาศข่าวดีอย่างเปิดเผย พระเยซูเจ้าทรงใช้เวลาสี่สบิ วันสี่สิบคืนในถิ่นทุรกันดารเพื่อเตรียมความพร้อมด้วยการพบปะกับพระเจ้าเป็น การส่วนตัว การเรียกประชาชนให้เข้ามาในถิ่นทุรกันดารของนักบุญยอห์นผู้ทาพิธีล้างนัน้ ท่านกาลังเรียกพวกเขาให้ ปล่อยวางความหวัง แล ะความปลอดภัยที่จอมปลอมของพวกเขามามีประสบการณ์ส่วนตัวกับพระเจ้า และ เรียนรู้ที่ จะหวังและไว้วางใจในพระองค์แต่เพียงผู้เดียว เราเองก็เช่นกัน ถึงเวลาที่ควรปล่อยวางจากเรื่องราวต่าง ๆ จากทรัพย์ สมบัติ ความห่วงหาอาทรที่เกินเหตุ “จงเตรียมทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าจงท่าทางเดินของพระองค์ให้ตรงเถิด” (มก 1:3) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.2014 สัปดาห์ที่ 2 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ในพระวรสารวันนี้ นักบุญ ยอห์นผู้ทาพิธลี ้าง กาลังร้องเรียก “ประชาชนจากทั่วแคว้นยูเดีย และ ชาวกรุงเยรูซาเล็มทั้งหลาย” (มก 1:5) ให้ออกจากที่พานักของ ตนเองและเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร เพื่อให้พระเจ้าเห็นพวกเขา พวกเขา ต้องออกจากที่ซ่อนของเขา มาสู่ที่โล่งแจ้ง เพื่อพบพระเจ้า และปล่อยให้พระองค์ช่วยเหลือ พวกเขา ในแง่หนึ่ง “การเข้าไปในถิ่นทุรกันดาร” เป็นสัญลักษณ์ของ “การปล่อยวางกิจวัตรประจ่าวัน” ซึ่งยึด เหนี่ยวเราไว้เบื้องหลัง ไม่วา่ จะเป็นธุรกิจ การงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูง หรือแม้แต่การปฏิบัติศาสนาที่เราทาเป็น ประจาเพราะความเคยชิน พระเจ้าไม่สามารถทาอะไรกับเราได้มากนัก ตราบใดที่เรายังคงหวังและวางใจในสิ่งเหล่านี้ มากเกินไป มากจนกลายเป็นทีห่ นึ่งและเป็นสิ่งที่ให้ความหมายแก่ชีวิตของเรา เมื่อหัวใจของเรา เต็มไม่มีใครสามารถ เข้าไปในนั้นได้ แม้แต่พระเจ้า ด้วยเหตุนี้ เราต้องปล่อยวางสิ่งที่ใจเราผูกพันไว้ก่อนเพื่อจะได้มีพนื้ ที่ว่างในใจของเรา แล้วเราจะสามารถต้อนรับพระเจ้าเข้ามาประทับในใจของเราได้ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.2014 นักบุญยอห์น ผู้ทาพิธีลา้ ง ดาเนิน ชีวิตที่สมถะ ตามแนวทางที่ทา่ นได้เทศน์สอน “แต่งกายด้วยผ้าขนอูฐ ใช้หนังสัตว์คาดสะเอว กินตั๊กแตนและน้่าผึ้งป่าเป็นอาหาร” (มก 1:6) ท่านแสดงให้เราเห็นว่าความหมายที่ แท้จริงของชีวิต ชีวิตไม่ได้อยู่กับทรัพย์สิน เงินทอง และ อาหารชั้นเลิศ แต่อยู่ใน ความสัมพันธ์ของเรากับพระเจ้า ชีวิตที่เรียบ ง่ายและไม่ยึดติดอยู่กับเกียรติยศชื่อเสียง ท่านปลดปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระเพื่อเปิดรับ พระประสงค์ของพระเจ้าได้อย่างเต็มที่ การเข้าไปในถิ่นทุรกันดารเป็นก้าว แรกของการกลับใจอย่างแท้จริง มันหมายถึง การละทิ้งสถานที่ซ่อนตัวประจาของเรา และ ก้าวออกมาสู่สถานที่ซึ่งพระเจ้าสามารถเข้าถึง เราได้ง่าย มันเป็นการเตรียมทางสาหรับการเสด็จมาของพระองค์ ด้วยการปรับปรุงและ “เปลี่ยนวิถีชีวิต” (2 ปต 3:9) ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ในเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรเรียกร้องเราแต่ละคนอีกครั้งหนึ่ง ให้เตรียมทาง สาหรับพระผูไ้ ถ่ที่กาลังเสด็จมา พยายามปล่อยวางกิจวัตรประจาวันแบบเดิม ๆ ไว้สักระยะหนึง่ เพื่อมาพบพระเจ้า มาเรียนรู้จักตัวตนที่แท้จริงและพระประสงค์ของพระองค์ แล้วเราจะรู้ว่า จริง ๆ แล้วไม่มสี ิ่งใดมีค่าเท่ากับการได้รู้จัก พระองค์ผู้ทรงเป็นทุกสิ่งสาหรับเราทุกคน


ไม่มีใครปฏิเสธความจริงที่วา่ มีหลายสิง่ หลายอย่างที่เราต้องตระเตรียมสาหรับการเสด็จมาของพระบุตรของ พระเจ้าในวันคริสต์มาส การประดับสถานที่ การทาถ้าพระกุมาร บัตรอวยพร และ เรื่องอื่น ๆ ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ดี แต่คริสต์มาสจะขาดความหมาย ถ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระผูไ้ ถ่ไม่สามารถเข้ามาบังเกิดในใจเรา ดังนั้น พยายาม เตรียมทางในใจเราให้ตรงด้วยการเติมหุบเขาแห่งบาปให้เต็มด้วยความรัก และ พระเมตตาของพระเจ้า ทาให้ภูเขา และ เนินเขาแห่งความยิ่งจองหอง และ ความเห็นแก่ตัวราบเรียบเมื่อถึงวันที่พระองค์เสด็จมา พระองค์จะทรงพบเรา “ด่าเนินชีวิตอย่างสันติ ปราศจากมลทินและไร้ข้อต่าหนิ” (2 ปต 3:14)

ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 9 ธันวาคม ค.ศ.2014 ผู้อานวยการโรงเรียน แห่งหนึ่งโทรศัพท์ไปที่บา้ นครูสอน ภาษาอังกฤษ เพื่อถามว่าทาไมเขา จึงไม่มาโรงเรียนเพื่อสอนหนังสือ เสียงเด็กที่รับสายกระซิบเบา ๆ ว่า “สวัสดีครับ” “พ่อของหนูอยู่บ้านหรือ เปล่า?” ผู้อานวยการเอ่ยถาม “อยู่ครับ” เด็กคนนั้นตอบ “ขอคุยกับเขาได้ไหม?” ผู้อานวยนวยการถามต่อ “ไม่ได้ครับ” เสียงเล็ก ๆ ตอบกลับ “แล้วแม่ของหนูละ อยู่ที่นั่นไหม?” ผู้อานวยการถามต่อไปอีก “ขอคุยกับแม่ของหนูหน่อยสิ” “ไม่ได้ครับ” เด็กคนนั้นกระซิบเบา ๆ “ตกลง ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร” ผู้อานวยการถอนหายใจ พร้อมกับถามต่อไปอีกว่า “นอกจากหนูแล้วมีใครอยู่ที่ นั่นอีกไหม?” “มีครับ” เด็กคนนั้นกระซิบเบา ๆ “ต่ารวจคนหนึ่งครับ” “ต่ารวจหรือ? เอาละ ฉันขอพูดกับต่ารวจได้ไหม?” “ไม่ได้ครับ เขาก่าลังยุ่ง” เด็กคนนั้นกระซิบเบา ๆ “เขาก่าลังท่าอะไร จึงยุ่งล่ะ?” ผู้อานวยการถามต่อไป “เขาก่าลังคุยกับพ่อแม่ของผมอยู่ครับ” "อ้าว เกิดอะไรขึ้นที่นั่น?" ผู้อานวยการถามด้วยความกังวลใจ “เปล่าครับ” เด็กคนนั้นกระซิบเบา ๆ เหมือนกลัวคนอื่นจะได้ยนิ ว่า “พวกเขาก่าลังตามหาผมอยู่ครับ”


แน่นอนไม่ใช่เรื่องง่ายที่พ่อแม่และตารวจจะพบตัวเด็ก ตราบใดที่เขายังซ่อนตัวจากพวกเขา เช่นเดียวกัน หากเราไม่ออกจากที่ซ่อนในชีวติ ของเราแต่ละคน ไม่วา่ จะเป็นอานาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ เงินทอง ความสะดวกสบาย ธุรกิจ การงาน ความสัมพันธ์ รวมทั้งกิจวัตรประจาวันเป็นสิง่ ทีย่ ึดเหนี่ยวผูกพันใจเราเอาไว้ ไม่ให้มีพื้นที่ว่างต้อนรับ พระเจ้าเข้ามาประทับในใจของเราได้ เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า จึงเป็นโอกาสอันดีสาหรับเรา ที่จะละทิ้งสถานที่ซ่อนตัวประจาของเรา และก้าวออกมาสู่สถานที่ซึ่งพระเจ้าสามารถเข้าถึงเราได้ง่าย นี่เป็นการเตรียมทางสาหรับการเสด็จมาของพระองค์ ด้วยการปรับปรุงและ “เปลี่ยนวิถีชีวิต” (2 ปต 3:9) อย่าวุ่นวายให้ความสาคัญกับกิจกรรมภายนอกจนลืมไปว่า สิ่งสาคัญคือ การให้เวลาสาหรับเรื่องราวของจิตใจมากที่สุดเพื่อเรียนรู้จักตัวตนที่แท้จริงและพระประสงค์ของพระเจ้า เพราะไม่มีสิ่งใดมีคา่ เท่ากับการได้รู้จักพระองค์ผู้ทรงเป็นทุกสิง่ สาหรับเราทุกคน คริสต์มาสปีนี้จะเปี่ยมด้วยความหมาย และความหวัง หากพระคริสตเจ้าได้เข้ามาบังเกิดในใจของเราแต่ละคน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.2014 นักบุญยอห์น ผู้ทาพิธีลา้ ง เป็นระกาศกผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่งพระเจ้า ทรงเลือกให้มาประกาศการเสด็จมา ของพระเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นพระเมส สิยาห์หรือพระคริสตเจ้า กษัตริย์ผู้ จะเสด็จมาเพื่อช่วยมนุษยชาติให้ รอดพ้นจากการเป็นทาสของบาป และความตาย ท่านเรียกร้องให้ ประชาชนในสมัยของท่านเตรียม ทางสาหรับพระองค์ด้วยการรับ “พิธีล้างซึ่งแสดงการเป็นทุกข์กลับใจเพื่อจะรับการอภัยบาป” (ลก 3:3) พิธีล้างนี้ไม่ใช่ศีลล้างบาปที่เรารู้จักในปัจจุบนั นี้ แต่เป็นกิจการเชิงสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงการเป็นทุกข์กลับ ใจโดยมีความหวังว่าบาปหรือความผิดในอดีตของตนจะได้รับการชาระล้างไปพร้อมกับการจุ่มตัวลงในแม่นาจอร์ ้ แดน การชาระล้างบาปหรือความผิดไม่ได้เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ แต่ขึ้นอยู่กับการเป็นทุกข์กลับใจของผูม้ ารับพิธีลา้ งเป็นหลัก การเป็นทุกข์กลับใจไม่ได้หมายความเพียงแค่การเสียใจสาหรับบาปหรือความผิดที่เคยทาในอดีตเท่านั้น แต่ หมายถึงการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและท่าทีที่มีต่อพระเจ้าและเพือ่ นมนุษย์อย่างสิ้นเชิงอีกด้วย ซึ่งเรียกร้องการปฏิรูป ตนเองและการกลับตัวอย่างจริงใจ อันจะทาให้ผู้มารับพิธีลา้ งได้รับการอภัยบาปได้รับการปลดปล่อยจากพันธะของ บาปและความชั่วร้ายทั้งปวง การอภัยบาปยังเกี่ยวข้องกับการคืนดีกับพระเจ้า และ กับผู้ที่เราทาผิดต่อเขาหรือทาให้เขาต้องเจ็บช้าน้าใจ ด้วย การอภัยบาปเป็นการรักษาโรคร้ายฝ่ายจิตของเรา นี่คือวิธที ี่เราทุกคนควรใช้เพื่อ “เตรียมทางขององค์พระผู้เป็นเจ้า” (ลก 3:4)


เราต้องทาให้ทางที่องค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงใช้เดินเข้ามาในใจของเราตรงด้วยการถมหุบเขาแห่งความชั่วร้าย ทุกแห่งให้เต็มด้วยการปรับภูเขาและเนินแห่งบาปให้ต่าลงด้วยการทาให้วิถีชีวิตที่คดเคี้ยวเพราะการปล่อยตัวตามความ โน้มเอียงที่ไม่ดีของเราตรงด้วยการทาให้ทางที่ขรุขระในใจของเราซึ่งเป็นผลมาจากความเห็นแก่ตัวและความโลภของ เราราบเรียบ ถ้าเราเตรียมจิตใจของเราแบบนี้ เราจะสามารถสัมผัสอานาจ แห่งการช่วยให้รอดพ้นของพระเจ้าในใจ ของเราได้ สิ่งสาคัญอีกสิ่งหนึ่งทีเ่ ราต้องทาคือการเปิดตัวเราเพื่อรับอานาจแห่งการช่วยให้รอดพ้นซึ่งจะมาถึงเราผ่าน ทางพระเยซูเจ้า ผู้ซึ่งจะรักษาคนเจ็บป่วย ช่วยเหลือผู้อ่อนแอ อภัยให้คนบาป ให้ความหวังแก่คนที่สิ้นหวัง ให้ชีวติ นิรันดรแก่ทุกคนที่เปิดหัวใจต้อนรับพระองค์ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.2014 ก่อนที่นักบุญยอห์น ผู้ทาพิธลี ้าง จะปฏิบัติพนั ธกิจ ที่ได้รับมอบหมาย ท่านได้ยนิ เสียงเรียก และ พระดารัสของ พระเจ้าในถิ่นทุรกันดาร ซึ่ง เป็นสถานที่เงียบสงบ และ ปราศจากความวุ่นวาย ความจริงประการนี้ชี้ให้เรา เห็นว่า บางครั้งชีวิตของเรา จาเป็นต้องอยู่ในสถานที่แบบ นั้นบ้าง เพื่อจะได้ยินเสียงของ พระเจ้าที่กาลังตรัสกับเรา เราหลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสงฆ์ และ นักบวชชายหญิง รวมทั้งฆราวาสแพร่ธรรมด้วย มีโอกาสได้เข้า เงียบประจาเดือนหรือประจาปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ยอดเยี่ยมสาหรับการอยู่กับพระเจ้าตามลาพังเพื่อฟังเสียงของ พระองค์ แต่ยังมีอีกหลายโอกาสที่เราสามารถพบปะกับพระเจ้า และ ฟังสิ่งที่พระองค์ต้องการบอกเราได้เช่นกัน เช่น การหยุดพักจากงานที่เรากาลังสักครู่หนึ่ง ยกจิตใจขึ้นหาพระเจ้าเพื่อขอบคุณพระองค์และรับพลังฝ่ายจิตจากพระองค์ การอยู่เงียบ ๆ สักสองสามนาที หลังรับศีลมหาสนิทในพิธีมสิ ซา เป็นต้น ตราบใดที่จิตใจของเราไม่มีเวลาสงบนิ่งอย่างน้อยสักครู่หนึ่ง เราจะไม่มีวนั ได้ยนิ เสียงของพระเจ้า และ เข้าใจ สิ่งที่พระองค์ทรงต้องการให้เราทา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 12 ธันวาคม ค.ศ.2014 เทศกาลเตรียมรับเสด็จ พระคริสตเจ้าเป็นช่วงเวลา ซึ่งเราต้องฟังเสียงเรียกของ นักบุญยอห์น ผู้ทาพิธีลา้ ง ที่ให้เราเป็นทุกข์กลับใจเพื่อจะ ได้รับการอภัยบาปจากพระเจ้า เราควรถือโอกาสพิเศษนี้รื้อฟื้น ความตั้งใจ และ คาสัญญา ที่เราได้ให้ไว้เมื่อรับศีลล้างบาป เราต้องพร้อมที่จะปรับปรุง และ เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมที่จะคืนดีกับพระเจ้า และ ฟังสิง่ ที่ พระองค์ต้องการให้เราทาผ่านทางคนที่อยู่รอบข้างเรา เราต้องตระหนักว่าเราแต่ละคนมีบทบาทคล้ายกับบทบาทของ นักบุญยอห์น ผู้ทาพิธีลา้ ง เรามีหน้าที่นาสารแห่งความหวัง ความรัก เสรีภาพ และ สันติสุขของพระเจ้าไปมอบให้กับ ผู้อื่น เรามีพันธกิจช่วยคนอื่นให้ถมหุบเขาในจิตใจของเขาให้เต็ม ทาให้ทางเดินเข้าสู่หัวใจของเขาที่คดเคี้ยวตรง และ ที่ขรุขระราบเรียบ เพื่อว่าพระเยซูเจ้าจะสามารถเสด็จไปหาเขา และ เข้าไปบังเกิดในจิตใจของเขา เหมือนที่ได้ทรง บังเกิดในจิตใจของเราแต่ละคน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.2014 สันติสุขเป็นสุดยอดแห่ง ความปรารถนาของมวลมนุษย์ทกุ ยุคทุกสมัย หลายประเทศต้อง ต่อสู้แย่งชิงสิง่ นี้มาด้วยชีวิต สู้รบ กันเพียงเพื่อจะได้พบกับคาว่า “สันติสุข” เท่านั้น แล้วพวกเขาเหล่านั้นก็ พบแต่ความสูญเสียทั้งสองฝ่าย หลายคนในโลกนี้แสวงหาสันติสขุ แต่ก็ไม่เข้าใจว่า สันติสุขที่แท้จริง คืออะไรกันแน่? คาว่า “สันติสุข” หรือ “Shalom” (ชาโลม) ในภาษาฮีบรูเป็นคาที่ชาวยิวใช้ทักทาย และ อาลากัน ความหมายดั้งเดิมของคานี้คือ “สุขภาพร่างกายที่ดี” แต่ต่อมาภายหลังคานี้ขยายความถึง “ความสงบร่มเย็น สันติสุขพระพรต่าง ๆ ทั้งด้านจิตใจและด้านวัตถุ” สาหรับคริสตชนคานี้ยังหมายถึง “ความรอดพ้น ความสุขที่สมบูรณ์ และการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ” ประกาศกอิสยาห์ ได้ทานายล่วงหน้าถึงการเสด็จมาของพระเมสสิยาห์วา่ “ประชากรที่เดินในความมืดแลเห็นความสว่างยิ่งใหญ่” (อสย 9:1) “ความสว่างยิ่งใหญ่” นี้คือ กุมารผู้หนึ่ง ซึ่งเปี่ยมด้วยคุณลักษณะพิเศษ 4 ประการ หนึ่งในนั้นคือ “เจ้าแห่งสันติ” (Sar Shalom: อสย 9:5) หรือ “องค์สันติราชา” นั่นเอง การนาสันติสุขมายังโลกนี้เป็นพันธกิจที่สาคัญของพระเยซูเจ้า พระเมสสิยาห์ผู้ซึ่งมวลมนุษย์รอคอยเป็น เวลานานแสนนาน การเสด็จมาของพระองค์ทาให้เราสามารถคืนดีกับพระเจ้า และ พบสันติสุขที่แท้จริง พระองค์ยัง ทรงทาให้มนุษยชาติอยู่ด้วยกันอย่างสันติด้วยการทาลายกาแพงที่ขวางกั้นและแยกพวกเขาออกจากกัน เพราะใน พระองค์ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกัน


“ไม่มีชาวยิวหรือชาวกรีก ไม่มีทาสหรือไท ไม่มีชายหรือหญิงอีกต่อไป” (กท 3:28) ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกทีน่ ักบุญเปาโลยืนยันว่า พระเยซูเจ้าทรงเป็น “สันติของเรา” (อฟ 2:14) พระองค์ “ทรงรับร่างกายเป็นมนุษย์เพื่อสร้างสันติ” (อฟ 2:15) และ “เสด็จมาประกาศสันติเป็นข่าวดี” (อฟ 2:17) สาหรับมนุษย์ทุกคน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 14 ธันวาคม ค.ศ.2014 วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า ในวันอาทิตย์ที่สามเทศกาลเตรียม รับเสด็จพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรเชิญ ชวนเราให้พิจารณาไตร่ตรองเกี่ยวกับความ ชื่นชมยินดี ที่พระบุตรของพระเจ้าจะนามา มอบแก่เรา คริสตชนรู้จักวันนี้ในนาม “วันอาทิตย์แห่งความชื่นชมยินดี” (Gaudete Sunday) คาว่า “Gaudete” (เกาเดเต) เป็นภาษาละตินซึ่งแปลว่า “จงร่าเริงยินดีหรือจงชื่นชมยินดี” พระสงฆ์ผปู้ ระกอบพิธีมสิ ซาจะสวมอาภรณ์สีชมพูหรือแดงอมชมพูซึ่งเป็นสีแห่ง ความชื่นชมยินดี แทนสีม่วงซึ่งเป็นสีแห่งการเป็นทุกข์กลับใจ เราชื่นชมยินดีเพราะว่าในอีกไม่กี่วนั ข้างหน้าพระบุตร ของพระเจ้าจะเสด็จลงมาดาเนินชีวิตเป็นมนุษย์คนหนึ่งท่ามกลางเราและเป็นส่วนหนึ่งของเรา นักบุญยอห์นบอกเราว่า “พระวจนาตถ์ทรงรับธรรมชาติมนุษย์และเสด็จมาประทับอยูท่ ่ามกลางเรา” (ยน 1:14) ยิ่งกว่านัน้ พระองค์จะทรงนาข่าวดีเรื่องความรอดพ้นของพระเจ้ามาประกาศให้เราทราบด้วย “พระจิตของพระเจ้าสถิตเหนือข้าพเจ้าเพราะพระองค์ได้ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้” (ลก 4:18) พระเยซูเจ้าทรงชี้ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ผู้ได้รับเจิมพระเมสสิยาห์ทชี่ าวอิสราเอลเฝ้ารอคอยเป็น เวลานานแสนนาน และ พระผู้ไถ่กู้ประชากรของพระเจ้า พระเจ้าทรงส่งพระองค์ลงมาเพื่อ “ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ปลอบโยนคนที่มีใจชอกช้่าประกาศอิสรภาพแก่เชลย การปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจ่าประกาศปีแห่งความโปรดปรานจากองค์พระผู้เป็นเจ้า” (เทียบ อสย 61:1-2) พระเยซูเจ้าเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากสิ่งเหล่านี้ เราสมควรชื่นชมยินดีมิใช่หรือ? ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 15 ธันวาคม ค.ศ.2014 พระเยซูเจ้าเสด็จมาเพื่อ “ประกาศข่าวดีแก่ คนยากจน ปลอบโยน คนที่มีใจชอกช้่า ประกาศอิสรภาพ แก่เชลย การปลดปล่อยแก่ ผู้ถูกจองจ่า ประกาศปีแห่งความโปรดปราน จากองค์พระผู้เป็นเจ้า” (เทียบ อสย 61:1-2) ในสมัยนี้ มีผู้คน มากมายหลายล้านคนทีย่ ัง ต้องการการปลดปล่อย บางคนมีทรัพย์สนิ เงินทองมากมาย แต่อาจยากจนในด้านสติปัญญา บางคนขาดความรัก และ ความอบอุ่นใน ครอบครัว หลายคนดูเหมือนมีทุกอย่างพร้อม แต่ในส่วนลึกของหัวใจ พวกเขารู้สึกเหมือนว่าตนเองโดดเดี่ยวใน ท่ามกลางฝูงชน บางคนอาจเป็นทาสของยาเสพติด ทาสของลัทธิบริโภคนิยม เห็นอะไรก็อยากจะได้ไปหมด พยายาม ทุกวิถีทางที่จะได้สิ่งนัน้ มาโดยไม่คานึงถึงศีลธรรมอันดีงาม บางคนตกเป็นทาสอารมณ์ของตนเอง ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ พระเยซูเจ้าเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระจากสิ่งเหล่านี้ เราจึงสมควรชืน่ ชมยินดีอย่างยิ่ง “ข้าพเจ้าเปรมปรีดิ์อย่างยิ่งในองค์พระผู้เป็นเจ้า วิญญาณของข้าพเจ้าจะชื่นชมยินดีในพระเจ้าของข้าพเจ้า เพราะพระองค์ประทานความรอดพ้นแก่ข้าพเจ้า เป็นเสมือนอาภรณ์ที่ทรงสวมให้ ประทานความชอบธรรมให้ข้าพเจ้าเป็นเสมือนเสื้อคลุม” (อสย 61:10-11)


การเสด็จมาของพระเยซูเจ้าเป็นคาสัญญาแห่งความรอดพ้นสาหรับเราทุกคน ความรอดพ้นนี้เป็นความ สมบูรณ์พร้อมทั้งฝ่ายกาย และ ฝ่ายจิตของชีวติ เราซึ่งแตกต่างอย่างสิน้ เชิงกับชีวิตที่ถูกครอบงาด้วยความหวาดกลัว และ ความปรารถนาที่จะเป็นเจ้าของอย่างไม่มีทสี่ ิ้นสุด ความรอดพ้นนีไ้ ม่ใช่เป็นสิ่งที่เราสามารถบรรลุถึงได้หลังความ ตายเท่านั้น แต่เป็นบางสิง่ ที่เราสามารถมีประสบการณ์ได้ ตั้งแต่ในโลกนี้ และ เวลานี้แล้ว ถ้าเรายังไม่มปี ระสบการณ์นี้ นั่นหมายความว่าคริสต์มาสไม่เคยเข้ามาในชีวิตเราจริง ๆ เรายังไม่เคยพบพระเยซูเจ้าผู้ซึ่งปลดปล่อยเราให้เป็นอิสระ จากการเป็นทาสในทุกรูปแบบอย่างแท้จริง ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 16 ธันวาคม ค.ศ.2014 นักบุญเปาโลเชื้อเชิญเราให้ “ร่าเริงยินดีเสมอ” (1 ธส 5:16) สาหรับคริสตชน ความร่าเริง ยินดีหรือความสุขเป็นประสบการณ์ ชีวิตประจาวันอันหนึ่ง แม้ว่ามีปญ ั หา มากมายที่ต้องเผชิญในแต่ละวัน คุณพ่อแอนโทนี่ เดอ เมลโลเคยบอกว่า “เราแต่ละคนมีทุกสิ่งที่จ่าเป็นส่าหรับความสุขในเวลานี้ และถ้าเราไม่มีความสุขเวลานี้ เราจะไม่มีอีกเลย หัวใจของความสุขของเราคือการเปิดตัวเองอย่างไร้เงื่อนไขต่อการน่าทางของพระเจ้า และการพร้อมที่จะพูดและกระท่าอย่างกล้าหาญในพระนามของพระองค์” นักบุญยอห์น ผู้ทาพิธีลา้ ง เป็นแบบอย่างที่ดีเยี่ยมสาหรับเรา พระเจ้าทรงส่งท่านมาในโลกนี้เพื่อเป็นพยานถึง แสงสว่าง ท่านไม่ใช่แสงสว่างแต่เป็นพยานถึงแสงสว่าง (เทียบ ยน 1:7) พระเยซูเจ้าทรงเป็นแสงสว่าง และ นักบุญ ยอห์น ผู้ทาพิธลี ้าง เป็นพยานให้กับแสงสว่างนัน้ โดยทางศีลล้างเราทุกคนได้รับมอบหมายให้เป็นพยานถึงแสงสว่าง ยิ่งกว่านัน้ ในบทเทศน์บนภูเขา พระเยซูเจ้าทรงบอกว่า เราแต่ละคนเป็น “แสงสว่างส่องโลก” (มธ 5:14) เราเป็น แสงสว่างในลักษณะเดียวกันกับดวงจันทร์ทสี่ ะท้อนความงดงามของแสงอาทิตย์ ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.2014 ขณะที่เราเตรียมฉลองคริสต์มาส และ การเสด็จมาของพระเจ้า ในชีวิตของ เราโดยทางพระเยซูเจ้า เราควรเตือนตนเอง อยู่เสมอว่า พระเจ้าทรงเรียกเราแต่ละคนให้ นาพระเยซูเจ้าเข้าไปในชีวิตของเพื่อนพี่น้อง คนอื่นที่อยู่รอบข้างเราด้วย แสงสว่างที่เราประดับสถานที่ ต่าง ๆ ในช่วงคริสต์มาส เป็นสัญลักษณ์แทน พระเยซูเจ้า ผู้เป็นแสงสว่างส่องโลกที่ แท้จริง ปัจจุบนั นี้มผี ู้คนมากมายที่ยังคง ดาเนินชีวิตในความมืดขาดเสรีภาพที่แท้จริง ในการเลือกความจริง และ ความรัก หูหนวกตาบอดเพราะกระแสสังคมที่ถูก ครอบงาด้วยวัตถุนิยม ผู้คนเหล่านี้กาลังคอยเราให้นาแสงสว่างของพระคริสตเจ้าไปให้พวกเขา และ ทาให้พวกเขามีประสบการณ์ แห่งความชื่นชมยินดี เราสามารถมีความชื่นชมยินดีของพระเยซูเจ้า และ ความชื่นชมยินดีของคริสต์มาสจริง ๆ ก็ต่อเมื่อเราทางานร่วมกับพระเยซูเจ้าเพื่อนาความชื่นชมยินดีนเี้ ข้าไปในชีวิตของเพื่อนพี่น้องทีอ่ ยู่รอบข้างเราด้วย ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 18 ธันวาคม ค.ศ.2014 ก่อนที่พระเยซูเจ้า จะจากบรรดาศิษย์ของ พระองค์ไป พระองค์ทรง ทราบดีวา่ พวกเขามีความ หวาดกลัว และ กังวลใจมาก ความรู้สึกแบบนี้จะทวีมาก ยิ่งขึ้น เมื่อพวกเขาเห็น พระองค์ทรงรับทรมาน และ สิ้นพระชนม์บน ไม้กางเขน เยี่ยงนักโทษอุกฉกรรจ์ คนหนึ่ง พระองค์จึงตรัสกับ พวกเขาจากห้วงลึกแห่ง หัวใจว่า “เรามอบสันติสุขไว้ให้ท่านทั้งหลาย เราให้สันติสุขของเรากับท่าน เราให้สันติสุขกับท่าน ไม่เหมือนที่โลกให้ใจของท่าน อย่าหวั่นไหวหรือมีความกลัวเลย” (ยน 14:27) สันติสุขที่พระเยซูเจ้าทรงมอบให้ไม่เหมือนสันติสุขที่โลกให้และเข้าใจ สาหรับพระเยซูเจ้า “สันติสุข” ไม่ได้ หมายความเพียงแค่ “การไม่มีความรุนแรงหรือปราศจากสงคราม” เท่านัน้ แต่เป็นบางสิ่งบางอย่างที่มากกว่านั้น สันติสุขที่อยู่กับเราแม้ในสภาพแวดล้อมที่สับสนวุน่ วาย และ ในช่วงเวลาที่เราประสบกับมรสุมชีวิต “เป็นบางสิ่ง บางอย่างที่อยู่ภายใน ไม่ใช่ภายนอก” เป็น “สันติสุขภายในจิตใจ” ของเราซึ่ง “เป็นผลมาจากความรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจว่าพระเจ้าประทับอยู่กับเรา ก่าลังท่างานในตัวเรา และผ่านทางตัวเรา” เป็นบางสิ่งบางอย่างที่แม้แต่การ ขู่เอาชีวิตก็ไม่สามารถเอาไปจากเราได้ มีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่สามารถมอบสันติสุขแบบนี้ให้กับเรา เพราะพระองค์คือ บ่อเกิดแห่งสันติสุขที่แท้จริง ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


en ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 19 ธันวาคม ค.ศ.2014 เราจะสามารถนาสันติสุขไปให้กับคนอื่นได้ ก็ต่อเมื่อตัวเราเองได้พบสันติสุขที่แท้จริงเสียก่อน พระเจ้าทรงเป็นบ่อเกิดแห่งสันติสุขดังกล่าวนี้ เราจึงต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีและเป็นหนึ่งเดียวกับ พระองค์ แล้วเราจะเป็นหนึง่ เดียวกับพระองค์ได้ อย่างไร? คาตอบคือ โดยทางพระเยซูเจ้า เพราะพระองค์และพระเจ้า พระบิดาของเรา ทรงเป็นหนึ่งเดียวกัน เราสามารถเป็นหนึ่งเดียวกับ พระเยซูเจ้า ด้วยการปฏิบตั ิตามพระวาจา และ บทบัญญัติของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบัญญัติแห่งความรัก “เราให้บทบัญญัติใหม่แก่ท่านทั้งหลาย ให้ท่านรักกัน เรารักท่านทั้งหลายอย่างไร ท่านก็จงรักกันอย่างนั้นเถิด ถ้าท่านมีความรักต่อ กันทุกคนจะรู้ว่าท่านเป็นศิษย์ของเรา” (ยน 13:34-35) นอกจากการปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งความรักแล้ว เครื่องมือหนึ่งที่ช่วยทาให้เราเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ คือ ศีลมหาสนิท ศีลศักดิ์สทิ ธิ์แห่งความรักซึ่งพระองค์ได้ทรงมอบไว้ให้เป็นอนุสรณ์แห่งความรักที่พระองค์ทรงมีต่อเรา ทุกคน ดังนัน้ ทุกครั้งที่เรารับศีลมหาสนิท เรากาลังรับพระกายและพระโลหิตของพระเยซูเจ้าซึ่งทาให้เราแต่ละคน ชิดสนิท และ เป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์มากยิ่งขึ้น และ ไม่เพียงเป็นหนึ่งกับพระองค์เท่านัน้ เรายังเป็นหนึ่งเดียวกับ เพื่อนพี่น้องของเราด้วย เพราะทุกคนต่างได้รับพระเยซูเจ้าองค์เดียวกัน และ เมื่อเราแต่ละคนเป็นหนึ่งเดียวกันกับ พระเจ้าแ ละ เพื่อนพี่น้องแล้ว สันติสุขที่พระเยซูเจ้าตรัสถึงในพระวรสารจะเกิดขึ้นท่ามกลางเราและเราจะสามารถพบ กับ “สันติสุขที่แท้จริง” ได้อย่างแน่นอน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


en ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.2014 ปกติแล้วโรงเรียนคาทอลิกของเราจะจัด งานคริสต์มาสให้นักเรียน และผูป้ กครอง เป็นประจาทุกปี มีกิจกรรม และการแสดง ของนักเรียนหลายอย่างเพื่อสร้าง บรรยากาศแห่งความสนุกสนานและชืน่ ชม ยินดี เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดง ความสามารถของตนต่อหน้าผูป้ กครอง แขกผู้มีเกียรติ และ ผู้มีพระคุณต่อโรงเรียน โรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่งได้จัด เตรียมการแสดงละครคริสต์มาสซิสเตอร์ได้ แบ่งบทบาท และ หน้าที่ให้กับเด็กแต่ละคน หนูน้อยเจนนี่ซึ่งเป็นเด็กที่มีหน้าตาน่ารัก และ ช่างพูดได้รับมอบหมายให้แสดงเป็น แม่พระ แต่เจนนี่ไม่ชอบบทบาทนี้เท่าใดนักจึงต้องการเปลี่ยนกับลูซี่ ซึง่ ได้รับบทเป็นเทวดา เมื่อซิสเตอร์ถามหนูน้อย เจนนี่ว่า “ท่าไมหนูจงึ ต้องการเล่นเป็นเทวดาละ?” หนูน้อยเจนนี่ตอบว่า “หนูคิดว่าการเป็นเทวดาง่ายกว่าการเป็น ‘มารดาของพระคริสตเจ้า’ ตั้งเยอะค่ะ” พ่อคิดว่าสิ่งที่หนูน้อยเจนนี่พดู เป็นความจริง การเป็นมารดาของพระคริสตเจ้าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แม้แต่ สาหรับผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายก็นับว่าเป็นเรื่องยากมากแม้วา่ พระคริสตเจ้าได้ทรงบังเกิดเมื่อราว 2000 กว่าปีทผี่ ่านมา แต่นี่คือสิ่งที่เราทุกคนที่เป็นศิษย์ของพระองค์ได้รับการเรียกให้เป็น เพราะความปรารถนาที่แท้จริงของพระองค์คือ การบังเกิดในดวงใจของผู้มีความเชื่อในพระองค์ทุกคนสิ่งนีจ้ ะเกิดขึ้นได้ ด้วยการฟังพระวาจาของพระเจ้า และ ตอบรับพระประสงค์ของพระองค์ แม้ว่าพระประสงค์นนั้ ดูเหมือนว่าจะขัดกับแผนการในอนาคตและความหวังทัง้ หมด ของเรา ขณะที่คริสต์มาสกาลังใกล้จะมาถึง สิง่ หนึ่งที่เราต้องตระหนักอยู่เสมอคือ เราจะสามารถสัมผัสความหมายที่ แท้จริงของวันฉลองอันยิ่งใหญ่นไี้ ด้ ก็ต่อเมื่อเราแต่ละคน กลายเป็นมารดาฝ่ายจิตของพระคริสตเจ้าเท่านัน้ นั่นคือ เมื่อพระคริสตเจ้า พระผู้ไถ่ของเราสามารถเข้ามาบังเกิดในดวงใจของเราแต่ละคนนัน่ เอง ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 21 ธันวาคม ค.ศ.2014 วันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า “มารดาของพระคริสตเจ้า” เป็นชื่อที่เราสงวนไว้ สาหรับพระนาง มารีย์หรือแม่พระของเรา แม่พระทรง เป็นมารดาของพระคริสตเจ้าในสอง ความหมายคือ พระนางทรงเป็น มารดาของพระคริสตเจ้าใน “ความหมายตามธรรมชาติ” หรือ “ความหมายฝ่ายกาย” พระนางทรง รับพระเยซูเจ้าไว้ในครรภ์ของพระนาง และ ทรงให้กาเนิดแก่พระองค์ สิ่งนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งเดียว และ ไม่สามารถเกิดขึ้นซ้าได้อีก เป็นเกียรติ ที่ไม่มีมนุษย์คนใดในโลกนี้สามารถมีส่วนร่วมกับพระนางได้ พระนางคนเดียวเท่านั้นที่ได้เกียรติสูงส่งนี้จากพระเจ้า อย่างไรก็ตาม แม่พระยังทรงเป็นมารดาของพระคริสตเจ้าใน “ความหมายฝ่ายจิต” ด้วย ในความหมายทีส่ องนี้คริสตชนทุกคนสามารถแสดงบทบาทการเป็นมารดาของพระคริสตเจ้าได้ นั่นคือ เราทุกคน ไม่ว่าชาย หรือ หญิง หรือ เด็กต่างสามารถ และ ควรจะเป็นมารดาของพระคริสตเจ้า ความคิดเกี่ยวกับการ ที่คริสตชนทุกคนได้รบั เรียกให้เป็นมารดาของพระคริสตเจ้าไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่รู้จักกันดี แม้แต่ในสมัยอัคร สาวกเอง พระสงฆ์ผู้ศักดิส์ ิทธิ์คณะดอมินิกันท่านหนึง่ บอกว่า “พระเจ้าทรงสร้างวิญญาณของมนุษย์ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ประทับและให้ก่าเนิดแก่พระบุตรของพระองค์ และเมื่อการบังเกิดนี้อุบัติขึ้นพระเจ้าจะทรงปลาบปลื้มพระทัยมากกว่าการได้สร้างสวรรค์และแผ่นดินเสียอีก”


“การเป็นมารดาฝ่ายจิตของพระคริสตเจ้า” คืออะไรและสามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร? เพื่อตอบคาถามนี้เรา ต้องดูพระดารัสของพระเยซูเจ้า เหตุการณ์ที่แม่พระและญาติของพระเยซูเจ้า มาหาพระองค์ และ ยืนรออยู่ข้างนอก แล้วส่งคนเข้าไปทูลพระองค์ ขณะนั้นประชาชนจานวนหนึ่งกาลังนั่งล้อมพระองค์อยู่ พวกเขาจึงทูลพระองค์ว่า “มารดาและพี่น้องของท่านก่าลังถามหาท่าน คอยอยู่ข้างนอก” พระองค์ตรัสถามว่า “ใครเป็นมารดาและ พี่น้องของเรา” แล้วพระองค์ทอดพระเนตรผู้ทนี่ ั่งเป็นวงล้อมอยู่ ตรัสว่า “นี่คือมารดาและพี่น้องของเรา ผู้ใดท่าตามพระประสงค์ของพระเจ้า ผู้นั้นเป็นพี่น้องชายหญิงและเป็น มารดาของเรา” (มก 3:33-34) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 22 ธันวาคม ค.ศ.2014 “นี่คือมารดาและพี่น้องของเรา ผู้ใดทาตามพระประสงค์ของพระเจ้า ผู้นั้นเป็นพี่น้องชายหญิง และเป็นมารดาของเรา” (มก 3:33-34) พระวารสารตอนนี้สะท้อนให้เรา เห็นความจริงว่า พระเยซูเจ้าทรงคาดหวัง ว่าบรรดาศิษย์ ต้องไม่เป็นเพียงพี่น้องชาย หญิงของพระองค์เท่านั้น แต่เป็นมารดา ของพระองค์ด้วย วิถีทางการเป็นมารดาของพระ เยซูเจ้าคือ การทาตามพระประสงค์ของ พระเจ้า เราแต่ละคนจึงสามารถกลายเป็น มารดาฝ่ายจิตของพระคริสตเจ้าได้ด้วยการ ตอบรับแผนการและ พระประสงค์ของ พระเจ้าแม้ว่าบางครั้งสิง่ ที่พระองค์ทรง เรียกร้องจากเรา อาจดูเหมือนว่าเป็นไป ไม่ได้ในสายตาของมนุษย์ก็ตาม เหมือนที่ทูตสวรรค์กาเบรียลได้ขอให้พระนางมารีย์เป็นมารดาพระบุตรของพระเจ้าขณะที่พระนางยังเป็น พรหมจารีอยู่ พระนางทรงตอบรับพระประสงค์ดังกล่าวด้วยใจสุภาพถ่อมตน ด้วยเหตุนี้ เพื่อเราจะกลายเป็นมารดา ฝ่ายจิตของพระคริสตเจ้า เราแต่ละคนต้องเต็มใจ และ กล้าพูดเหมือนที่แม่พระทรงตอบทูตสวรรค์ว่า “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้าขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้าตามวาจาของท่านเถิด” (ลก 1:38) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 23 ธันวาคม ค.ศ.2014 “ข้าพเจ้าเป็นผู้รับใช้ของพระเจ้า ขอให้เป็นไปกับข้าพเจ้า ตามวาจาของท่านเถิด” (ลก 1:38) คาพูดของแม่พระตอนนี้เป็น คาพูดที่ยิ่งใหญ่ และ มีชื่อเสียงมากที่สุด อันหนึ่งในโลกของเรา เพราะคาพูดนี้ได้ นาพระเจ้าลงมาจากสวรรค์ เพื่อประทับ อยู่ในวิญญาณ และ ร่างกายของสตรี ผู้ต่าต้อยคนหนึง่ เป็นคาพูดที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ ยิ่งใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ นั่นคือ พระเจ้าได้ทรงกลายเป็นมนุษย์ใน องค์พระเยซูเจ้า พระเมสสิยาห์ผู้ซึ่ง มนุษยชาติเฝ้ารอคอยเป็นเวลาแสนนาน เป็นคาพูดที่เปลี่ยนวิถีประวัติศาสตร์มนุษย์ เมื่อสองพันกว่าปีที่แล้วตลอดไป คาพูดนี้จึงเป็นคาพูดที่แตกต่าง จากคาพูดอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงของโลกอย่างสิน้ เชิง การเป็นมารดาของพระคริสตเจ้าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย อย่างไรก็ตาม แม่พระได้ทรงแสดงให้เราเห็นว่า เราสามารถเป็นมารดาฝ่ายจิตของพระคริสตเจ้าได้ด้วยการฟังพระวาจาของพระเจ้า และ ตอบรับพระประสงค์ของ พระองค์ แม้ว่าพระประสงค์นนั้ ดูเหมือนว่าจะขัดกับแผนการในอนาคต และ ความหวังทั้งหมดของเรา ขณะที่ คริสต์มาสกาลังใกล้จะมาถึง สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักอยู่เสมอคือ เราจะสามารถสัมผัสความหมายที่แท้จริง ของวันฉลองอันยิ่งใหญ่นี้ได้ ก็ต่อเมื่อเราแต่ละคนกลายเป็นมารดาฝ่ายจิตของพระคริสตเจ้าเท่านั้น นั่นคือ เมื่อพระ คริสตเจ้า พระผู้ไถ่ของเราสามารถเข้ามาบังเกิดในดวงใจของเราแต่ละคนนัน่ เอง ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 24 ธันวาคม ค.ศ.2014 คริสต์มาสเป็นวันฉลองแสงสว่างที่มี ชัยชนะเหนือความมืด ความมืดในยามค่าคืน เป็นสัญลักษณ์หมายถึง อันตราย และ ความ เป็นศัตรู กลางคืนที่มืดมิดสามารถก่อให้เกิด ความรู้สึกหวาดกลัว ความไม่แน่นอน และ ความโดดเดี่ยวราวเจ็ดร้อยกว่าปีก่อนที่พระเยซู เจ้าจะทรงบังเกิดมาบนโลกนี้ประกาศกอิสยาห์ ได้ทานายไว้วา่ “ประชากรที่เดินในความมืด แลเห็นความสว่างยิ่งใหญ่ บรรดาผู้อาศัยในแผ่นดินมืดมิด ความสว่างส่องแสงมาเหนือเขา... เขาทั้งหลายจะยินดี เฉพาะพระพักตร์พระองค์... เพราะกุมารผู้หนึ่งเกิดมาเพื่อเรา” (อสย 9:1-2) คาทานายเหล่านี้กลายเป็นความจริง ในวันคริสต์มาส เหตุการณ์ดังกล่าวนีไ้ ด้เกิดขึ้น ในคืนที่มืดมิดและเงียบสงบคืนหนึ่ง มันเป็นจุด เปลี่ยนสาหรับมนุษยชาติที่เจ็บป่วยปางตาย ด้วยพิษร้ายของบาปมานานการบังเกิดมาของ “กุมารผู้หนึ่ง” ได้ทาให้วิกฤติกาลผ่านพ้นไป แม้ว่าในเวลานั้นมีเพียงพระนางมารีย์ นักบุญโยเซฟ และ บรรดาคนเลี้ยงแกะทีท่ ราบว่าเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ นี้ได้เกิดขึ้นแล้ว แต่พวกเขารูด้ ีว่าการบังเกิดมาของกุมารผูน้ ี้นาความหวังใหม่มาให้มนุษย์ทุกคน เป็นความหวังแห่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากการเป็นทาสในทุกรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิง่ การเป็นทาส ของบาปซึ่งนาความตายตลอดนิรันดรมาให้ด้วยคริสต์มาส เป็นเหตุการณ์ที่นาความยินดีมาให้เราเพราะบุคคลที่เรารอคอยด้วยความหวังเป็นเวลานานแสนนานได้ บังเกิดมาแล้ว


พระเยซูเจ้าได้นาความยินดีมามอบให้เรา แต่เราได้สัมผัสความรูส้ ึกแบบนี้แล้วหรือยัง? ถ้าจิตใจของเรายังไม่ รู้สึกยินดี แสดงว่าเรายังเข้าไม่ถงึ ความหมายที่แท้จริงของวันคริสต์มาส ผู้รู้ท่านหนึ่งอธิบายคาว่า JOY ซึ่งแปลว่า “ความยินดี” ว่า J เป็นตัวอักษรแทน JESUS (พระเยซูเจ้า) O เป็นตัวอักษรแทน OTHERS (คนอื่น) และ Y เป็นตัวอักษรแทน YOU (คุณหรือท่าน) ความยินดีที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพระเยซูเจ้ามาเป็นที่หนึง่ และเ ป็นศูนย์กลางชีวติ ของเรา จากนัน้ เราต้องให้ความสาคัญกับคนอื่นหรือคนที่อยู่รอบข้างก่อน แล้วสุดท้ายจึงนึกถึงตัวของเราเอง นี่คือสูตรสาหรับความ ยินดีที่พนี่ ้องทุกคนสามารถนาไปใช้ได้ “การให้นาความสุขและความยินดีมาให้มากกว่าการรับ” คืนนี้พระเจ้าได้ทรงให้ของขวัญที่มีค่ามากที่สดุ แก่เรา นั่นคือ พระกุมารเยซูเจ้า ผู้ทรงเป็นพระบุตรสุดที่รัก ของพระองค์ ในทางกลับกัน เราก็ควรมอบความเชื่อและความไว้ใจให้กับพระผู้ไถ่ของเราองค์นี้ ให้พระองค์มาก่อนทุก สิ่งและทุกคนในชีวติ ของเรา ในเวลาเดียวกัน ให้เรานึกถึงคนอื่นมากกว่าตัวเราเองและพยายามทาให้พวกเขามี ความสุข แล้วความยินดีแห่งวันคริสต์มาสจะเป็นของเรา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพฤหัสบดี ที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.2014 วันสมโภชพระคริสตสมภพ โดยธรรมชาติแล้วเด็กเกิดใหม่ เป็นเครื่องหมายแห่งความหวัง สาหรับ พ่อแม่และญาติพนี่ ้องของเขา ทุกคน หวังด้วยกันทั้งนั้นว่าลูกของพวกเขาจะ เติบใหญ่กลายเป็นคนดีและมีชอื่ เสียงใน ภายภาคหน้า ในกรณีของพระนางมารีย์ เราไม่ทราบว่าพระนางกาลังคิดอะไรอยู่ พระนางมีภาพของวีรบุรุษผู้ยงิ่ ใหญ่ อยู่ในความคิดของพระนางหรือเปล่า? หรือมีภาพของพระเมสสิยาห์ผู้ต้องถูก ตรึงกางเขนเพื่อไถ่บาปของมวลมนุษย์ ในเวลานัน้ พระนางเข้าใจแผนการและ พระประสงค์ของพระเจ้าสาหรับกุมารผู้ นี้อย่างดีแล้วหรือไม่? อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่กุมารผู้นถี้ ูกตรึงบนไม้กางเขนมาถึง พระนางเข้าใจดีวา่ พระบุตรของพระนางผู้นี้ กาลังมอบตัวเองทั้งครบแด่พระเจ้าเพื่อความรอดพ้นของมนุษย์ทุกคน รวมทั้งเราทุกคนที่อยู่ทนี่ ดี่ ้วยในวันคริสต์มาส ครั้งแรก พระนางมารีย์มองไปยังอนาคตด้วยความหวัง แต่ในวันนี้ซึ่งเรามองย้อนกลับไปในอดีตไม่ใช่เพียงแค่กลับไปดู การบังเกิดของพระเยซูเจ้าเท่านัน้ เรายังมองย้อนกลับไปถึงการสิ้นพระชนม์ และ การกลับคืนพระชนมชีพของ พระองค์ซึ่งหมายถึงความรอดพ้นของเราแต่ละคนอีกด้วย บางคนอาจจะเกิดคาถามในใจเหมือนกันว่า เมื่อพระเยซูเจ้านาความรอดพ้นมาสูโ่ ลกแล้วทาไมเวลานี้โลกของ เรายังป่วยด้วยพิษร้ายของบาปอยู่อีกเล่า? บนโลกปัจจุบันนี้ยังมีความยากจน ความเกลียดชัง การเอารัดเอาเปรียบ การเข่นฆ่า และสงครามอยู่ทั่วไป แล้วสันติสุขและความสุขฝ่ายจิตที่แท้จริงซึ่งเป็นองค์ประกอบสาคัญของความรอด พ้นอยู่ที่ไหนเล่า? คาตอบคือ ความรอดพ้นที่พระเยซูเจ้าทรงนามาให้เราแต่ละคนไม่ได้เกิดขึ้นแบบอัตโนมัติ เราแต่ละคนต้อง เรียนรู้ที่จะดาเนินชีวิตเหมือนพระองค์ และ มีส่วนร่วมในความรักของพระองค์ที่มีต่อพระเจ้า และ ต่อมวลมนุษย์ แน่นอน การบังเกิดของพระองค์เป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์มนุษยชาติเวลานี้วิกฤติกาลได้ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ยังมีหลายสิง่ หลายอย่างที่เราแต่ละคนต้องทาก่อนที่โลกใบนีจ้ ะกลับคืนสู่สภาพดั้งเดิมอย่างสมบูรณ์ เราแต่ละคน ต้องมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ด้วยการดาเนินชีวิตทีด่ ี และ สอดคล้องกับพระประสงค์ของพระเจ้า เรายังคงต่อสู้อิทธิพลของบาปทีย่ ังหลงเหลืออยู่ซึ่งแสดงออกมาในรูปของความชั่วร้ายต่าง ๆ ต่อไป แต่เรามั่นใจได้ว่า สักวันหนึ่งเราต้องชนะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างแน่นอน เพราะพระเยซูเจ้าได้ทรงชนะพวกมันแล้ว ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันศุกร์ ที่ 26 ธันวาคม ค.ศ.2014 เราทุกคนเชื่อว่าการบังเกิด ของพระเยซูเจ้า เป็นการบังเกิดของพระ เมสสิยาห์ หรือ พระคริสตเจ้าผูท้ รงเป็น พระผู้ไถ่ของมนุษยชาติ ชาวอิสราเอล ได้รอคอยการเสด็จมาของพระองค์ เป็นเวลานานหลายศตวรรษ แต่เมื่อวัน แห่งการรอคอยนี้มาถึง พระองค์ทรง ปรากฏองค์ในรูปแบบ และ วิถีทางที่ พวกเขาคาดไม่ถึง ไม่ใช่ในความหรูหรายิ่งใหญ่ ของราชโอรสกษัตริย์ผู้ทรงอานาจ แต่ใน ความเรียบง่าย และ ต่าต้อยของเด็ก ทารกสามัญชนคนหนึ่ง พระองค์ไม่ได้ทรงบังเกิดใน พระราชวังที่ประดับด้วยทองคา และ เพชรนิลจินดาเพื่อต้อนรับทายาทแห่ง ราชบัลลังก์คนใหม่ แต่ทรงบังเกิดใน ถ้าเลี้ยงสัตว์เล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่เมือง เบธเลเฮม เพราะไม่มีห้องพักสาหรับ นักบุญโยเซฟ และ แม่พระผู้ซึ่งเป็น บิดามารดาของพระองค์ ในโรงแรม แถบนั้นเลย ประชาชนกลุ่มแรกที่พระเจ้าทรงเรียกผ่านทางทูตสวรรค์ ให้พบพระบุตรของพระองค์ผู้นี้ก็เป็นสามัญชน ธรรมดาและยากจน พวกเขาเป็นคนเลี้ยงแกะทีด่ าเนินชีวิตอยู่ในท้องทุ่ง “วันนี้ในเมืองของกษัตริย์ดาวิด พระผู้ไถ่ประสูติเพื่อท่านแล้วพระองค์คือพระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า” (ลก 2:11) พวกเขาจึงพูดกันว่า “เราจงไปเมืองเบธเลเฮมกันเถิด จะได้เห็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงแจ้งให้เรารู”้ (ลก 2:15)


บรรดาคนเลี้ยงแกะได้เชื่อและตอบรับข่าวดีที่ทูตสวรรค์ได้นามาแจ้งให้พวกเขาทราบด้วยความยินดี และ เต็มใจ พวกเขายังสามารถเดินทางไปยังสถานทีท่ ี่พระกุมารประทับอยู่เพื่อพบพระองค์ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแสดงให้เรา เห็นถึงความปรีชาฉลาดของพวกเขา ก่อนที่บรรดาโหราจารย์จากทางทิศตะวันออกจะเดินทางมาถึงเสียอีก ในฐานะคริสตชนคนหนึง่ เราแต่ละคนต้องมีประสบการณ์ในการพบกับพระคริสตเจ้า องค์พระผู้เป็นเจ้าของ เราเป็นการส่วนตัว วิธีการหนึ่งที่จะทาให้เราสามารถพบกับพระองค์ได้ คือ ทาเหมือนกับบรรดาคนเลี้ยงแกะใน พระวรสารวันนี้ กล่าวคือ ออกไปหาพระองค์ เราต้องตระหนักอยู่เสมอว่าพระองค์อาจปรากฏองค์ให้เราเห็นในรูปแบบ และ วิถีทางที่เราคาดไม่ถึงก็ได้เหมือนที่พระองค์ได้ทรงปรากฏองค์ครั้งแรกแก่ชาวอิสราเอลเมื่อสองพันกว่าปีที่แล้ว ถ้าเราไม่ตระหนักถึงความจริงประการนี้ เราอาจไม่รู้ว่าเป็นพระองค์ เมื่อเราได้พบพระองค์ พระองค์อาจทรง ประทับอยู่ทา่ มกลางคนที่ขาดบ้าน ไร้ทพี่ ักพิง และ คนที่เข้ามาทางานในประเทศของเรา โดยไม่มีเอกสารถูกต้องซึ่งไม่ มีที่สาหรับพวกเขาในสังคม พระองค์ทรงประทับอยู่กับคนอดยากหิวโหยผู้ซึ่งกาลังรอคอยความช่วยเหลือจากเรา พระองค์ทรงประทับอยู่กับผู้ใช้แรงงานทัง้ หลาย และ คนที่ยอมรับงานที่ตาต้ ่ อย เหมือนบรรดาคนเลี้ยงแกะทีไ่ ปยัง เมืองเบธเลเฮมเพื่อพบพระองค์เป็นกลุ่มแรก ถ้าเราแต่ละคนตระหนักถึงความจริงประการนี้ เราจะไม่พลาดโอกาสทีจ่ ะ พบพระคริสตเจ้าไม่ว่าเราจะเจอพระองค์ที่ไหนก็ตาม ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันเสาร์ ที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.2014 ประชาชนกลุ่มแรกที่ พระเจ้าทรงเรียกผ่านทางทูต สวรรค์ให้พบ พระบุตรของ พระองค์เป็นสามัญชนธรรมดา และ ยากจน พวกเขาเป็นคน เลี้ยงแกะที่ดาเนินชีวติ อยู่ใน ท้องทุ่ง “วันนี้ในเมืองของ กษัตริย์ดาวิด พระผู้ไถ่ประสูติ เพื่อท่านแล้ว พระองค์คือพระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า” (ลก 2:11) พวกเขาจึงพูดกันว่า “เราจงไปเมืองเบธเลเฮมกันเถิด จะได้เห็นเหตุการณ์ที่พระเจ้าทรงแจ้งให้เรารู้” (ลก 2:15) เมื่อใดก็ตามที่เราพยายามจะพบกับพระคริสตเจ้าเราต้องกลับไปยังเมืองเบธเลเฮมของเราแต่ละคนเสียก่อน คาว่า “เบธเลเฮม” ซึ่งเป็นภาษาฮีบรู แปลว่า “บ้านแห่งขนมปัง” พระเยซูเจ้าทรงรับธรรมชาติมนุษย์ในครรภ์ของ แม่พระ และ ทรงบังเกิดที่เมืองเบธเลเฮม บ้านแห่งขนมปังเพื่อว่าพระองค์จะสามารถให้ตัวพระองค์เองเป็นปังทรงชีวติ ซึ่งเป็นอาหารฝ่ายจิตแก่เราทุกคน การบังเกิดของพระองค์ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ วัดต่าง ๆ เมื่อมีการถวายพิธีบูชา ขอบพระคุณ ก็ได้กลายเป็นเมืองเบธเลเฮมใหม่ไม่ใช่เพียงแค่ในวันคริสต์มาสเท่านัน้ แต่ทุกวันตลอดปีด้วย จริงอยู่ วัด ไม่ใช่เป็นสถานที่เดียวที่เราสามารถพบกับพระคริสตเจ้าได้เพราะพระองค์ทรงประทับอยู่ในตัวบุคคลที่เราพบปะในแต่ ละวันด้วยโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในคนยากจนทั้งหลายอย่างไรก็ตาม วัดถือได้ว่าเป็นที่ประทับที่เด่นชัดทีส่ ุดของพระคริสต เจ้าเพราะในวัดเรามีตู้ศีลมหาสนิท และ มีการประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธบี ูชา ขอบพระคุณ เพื่อตอบสนองต่อข่าวดีที่ทูตสวรรค์ได้แจ้งให้เราทราบเราไม่จาเป็นต้องเดินทางไปที่เมืองเบธเลเฮม เหมือน บรรดาคนเลี้ยงแกะในสมัยนั้น เพราะเมื่อเราร่วมในพิธีบูชาขอบพระคุณพระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ท่ามกลางเราแล้ว พระองค์ทรงเลี้ยงเราผู้เป็นฝูงแกะของพระองค์ด้วยพระกายของพระองค์เองซึ่งเป็นปังทรงชีวิตที่นาความรอดพ้นมาสู่ วิญญาณของเรา วัดแต่ละแห่งจึงกลายเป็นเมืองเบธเลเฮมใหม่ บ้านแห่งขนมปังฝ่ายจิตของเรา ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอาทิตย์ ที่ 28 ธันวาคม ค.ศ.2014 วันฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ของพระเยซูเจ้า

วันนี้เป็นวันฉลองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันฉลองของเราทุกคน ในฐานะพ่อแม่หรือลูก ๆ ไม่ว่าจะมีอายุ เท่าใด เพราะเราแต่ละคนล้วนเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัว เมื่อเราได้ยินคาว่า “กระแสเรียก” มักจะนึกถึง กระแสเรียกการเป็นพระสงฆ์หรือนักบวชชายหญิง แต่จริงๆ แล้วพระเจ้าทรงเรียกเราแต่ละคนให้ทาหน้าที่แตกต่างกัน พ่อแม่และลูก ๆ มีกระแสเรียกด้วย นั่นคือ กระแสเรียกชีวิตครอบครัว กระแสเรียกหมายถึงแผนการของพระเจ้า สาหรับเราแต่ละคน แผนการของพระองค์สาหรับคนส่วนใหญ่คือ ชีวิตครอบครัว ผู้ที่เป็นพ่อมีภาระหน้าทีส่ าคัญในการการหาเลี้ยงครอบครัว แต่ไม่ว่าจะเป็นครูบาอาจารย์ กานัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า ชาวนา ชาวไร่ หรือชาวสวน กระแสเรียกหลักของท่านคือ การเป็นสามีและพ่อของลูก ๆ ในครอบครัว ผู้ที่เป็นแม่ สมัยนี้ต้องทางานไม่ต่างกับผูท้ ี่เป็นพ่อหลายคนต้องทางานนอกบ้าน ต้องทุ่มเททั้งกาลังกายและใจ เพื่อช่วยเหลือครอบครัว แต่ท่านต้องไม่ลืมด้วยว่ากระแสเรียกหลักของท่านคือ การเป็นภรรยาและแม่ของลูก ๆ ใน ครอบครัว ลูก ๆ ทั้งหลาย ผู้ซึ่งโตวันโตคืนและสักวันหนึง่ ต้องแยกตัวออกจากครอบครัวเพื่อหาเลี้ยงชีพตนเอง และ สร้างครอบครัวใหม่ แต่อย่าลืมว่าเวลานี้กระแสเรียกหลักคือการเป็นลูก ๆ ที่ดีของพ่อแม่ และ ของครอบครัว จงทาหน้าที่ให้ดีที่สุด อย่าให้พ่อแม่ต้องกังวลใจ หรือ หนักอกหนักใจเพราะพฤติกรรมที่ไม่ดี


ครอบครัวเป็นสถาบันแรกของสังคมอนาคตของสังคมจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับสถาบันนี้ ปัจจุบันนีส้ ถาบัน ครอบครัวกาลังตกเป็นเป้าโจมตีจากการหย่าร้าง การโฆษณาชวนเชื่อที่ไม่ยอมมีบุตร อิสระ เสรีภาพในเรื่องเพศซึ่งแยก ออกจากการแต่งงานและความรักแท้ พระศาสนจักรสอนว่าการแต่งงาน แล ะครอบครัว เป็นสถาบันที่พระเจ้าทรง ตั้งขึ้นเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าที่ให้มีการแต่งงาน และ ครอบครัว ครอบครัวจึงเป็นสถาบันศักดิ์สิทธิ์ และ มีคุณค่า ถาวรตลอดไปมนุษย์ไม่มีสิทธิทจี่ ะทาลายสถาบันนี้ สังคายนาวาติกันครั้งทีส่ องในกฤษฎีกาว่าด้วยเรื่องฆราวาส ได้พูดไว้อย่างชัดเจนว่า “ครอบครัวได้รับพันธกิจจากพระเจ้า ให้เป็นสถาบันแรกและจาเป็นของสังคม” (11) การแต่งงานและครอบครัวที่พระเจ้าทรงสถาปนาขึ้นจึงจาเป็นสาหรับสังคมที่ดี ความเจริญรุ่งเรืองของหลาย อาณาจักรที่เคยยิ่งใหญ่ในอดีตต้องมีอันสูญสลายไปเพราะการแต่งงาน และ ครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันพืน้ ฐานของสังคม ถูกทาลายลง สังคมของเราคงไม่ต่างจากอาคารบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่ ถ้าฐานของอาคารบ้านเรือนไม่แข็งแรง และ ทรุดตัวลง อาคารบ้านเรือนทั้งหลังสามารถพังทลายลงมาได้เช่นเดียวกัน ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันจันทร์ ที่ 29 ธันวาคม ค.ศ.2014 ชีวิตครอบครัวเป็น งานเต็มเวลา แล ะยากลาบาก สังคายนาวาติกันทีส่ องจึง บอกว่า ครอบครัวจะทาให้ พันธกิจของตนสาเร็จไป ไม่ใช่ เพียงโดยทางความรักของ สมาชิกที่มีต่อกันเท่านัน้ แต่ โดยทางการอธิษฐานภาวนา วอนขอความช่วยเหลือจาก พระเจ้าด้วยการอธิษฐาน ภาวนาเป็นสิง่ จาเป็น และ ขาดไม่ได้ ทั้งในบ้าน และ พร้อมกันในวัด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในพิธีมสิ ซา ครอบครัว สามารถได้รบั ความเข้มแข็งและความช่วยเหลือที่จาเป็นเพื่อทาให้กระแสเรียกของตนในสังคมสาเร็จไป พ่อแม่ไม่ควร ลังเลใจที่จะอธิษฐานภาวนาในบ้าน จงอธิษฐานภาวนาพร้อมกับลูกๆ ขอมาร่วมมิสซาพร้อมกัน การอธิษฐานภาวนาร่วมกันในพิธีมิสซาทุกวันอาทิตย์สามารถช่วยเราให้เอาชนะความทุกข์ยากลาบากต่างๆ ได้จงเปิดโอกาสให้พระเจ้าทางานในตัวเรา และ ช่วยเหลือเรา เราทุกคนต้องอธิษฐานภาวนาเพือ่ ความสาเร็จของชีวิต ครอบครัวแม้ว่าบางคนอาจจะใช้ชีวิตอยู่คนเดียวก็ตาม ความผาสุกของสังคม ประเทศชาติ และ พระศาสนจักร ขึ้นอยู่ กับความสาเร็จของชีวิตครอบครัว เมื่อใดก็ตามที่ชีวิตครอบครัวล้มเหลวจะมีปัญหาเกิดขึ้นมากมายแก่สังคม ประเทศชาติ และ พระศาสนจักร ให้เราวอนขอพระเจ้าโปรดอวยพรชีวิตครอบครัวเป็นพิเศษ ให้ทุกครอบครัวในโลกนี้มีความอบอุ่น และ เป็นน้าหนึ่งใจเดียวกัน ให้ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีพระเยซูเจ้าเป็นศูนย์กลาง เป็นแบบอย่างที่ดสี าหรับครอบครัว ของเราแต่ละคน ในเรื่องความรัก ความไว้วางใจในพระเจ้า ความเห็นอกเห็นใจ และการช่วยเหลือผู้อื่น ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันอังคาร ที่ 30 ธันวาคม ค.ศ.2014 ในพระวรสารโดย นักบุญลูกาได้พาเราไปที่ถ้า เลี้ยงสัตว์แห่งหนึ่งในเมือง เบธเลเฮม เพื่อพบกับนักบุญ โยเซฟ พระนางมารีย์ และ พระกุมารซึ่งกาลัง บรรทมในรางหญ้า แม้ว่า กุมารน้อยองค์นี้ทรงบังเกิด ในสภาพที่ยากจน และ ขัดสน พระองค์ทรงเป็น พระบุตรของพระเจ้า ผู้ที่ให้ กาเนิดพระองค์จึงทรงเป็น พระมารดาของพระเจ้า ผู้มาเยี่ยมพระองค์เป็นกลุ่มแรกคือคนเลี้ยงแกะซึ่งเป็นประชาชนที่ยากจนและมักจะได้รับการดูถูกเหยียด หยาม แต่พวกเขาเป็นประชาชนที่พระองค์เสด็จมาเพื่อช่วยให้รอดพ้นและปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากอานาจของบาป และ ความตายด้วยเหมือนกัน นี่คือพระธรรมล้าลึกที่ยากจะเข้าใจ เกี่ยวกับการรับเอาพระธรรมชาติมนุษย์ของพระ เยซูเจ้า และ เป็นเรื่องราวที่พระนางมารีย์เองทรงเก็บ “ไว้ในพระทัยและยังทรงคานึงถึงอยู่” (ลก 2:19) ตลอดชีวิตของพระนางบนโลกนี้ เมื่อพระกุมารมีพระชนมายุครบแปดวัน พระองค์ทรงรับพิธีเข้าสุหนัตตาม ธรรมบัญญัติของชาวยิว พิธีดังกล่าวนีท้ าให้พระองค์ได้ชื่อว่าเป็นลูกหลานของอับราฮัมเหมือนชาวยิวคนอื่น และ ใน โอกาสนี้เองนักบุญโยเซฟและพระนางมารีย์ ทรงถวายพระนามพระองค์ว่า “เยซู” ซึ่งแปลว่า “องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงช่วยให้รอดพ้น” อัน “เป็นพระนามที่ทูตสวรรค์ได้ให้ไว้ ก่อนที่พระองค์จะทรงปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดา” (ลก 2:21) นักบุญเปาโลได้อธิบายให้เราเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับพิธีดังกล่าวของพระเยซูเจ้าว่า “พระเจ้าทรงส่งพระบุตรของพระองค์ให้มาบังเกิดจากหญิงคนหนึ่ง เกิดมาอยู่ใต้ธรรมบัญญัติเพื่อทรงไถ่ผู้ที่อยู่ใต้ธรรมบัญญัติ และทาให้เราได้เป็นบุตรบุญธรรม” (กท 4-4-5)


เกิดมาอยู่ใต้ธรรมบัญญัติ พระเยซูเจ้าทรงนาเราออกจากพันธะของธรรมบัญญัติ และ เกิดจากหญิงคนหนึ่ง พระองค์ทรงทาให้เรากลายเป็นบุตรชายหญิงของพระเจ้าร่วมกับพระองค์ ในฐานะบุตรชายหญิงของพระเจ้า และ พี่น้องของพระเยซูเจ้า เราจึงไม่ได้เป็นทาสอีกต่อไป แต่เป็น “ทายาทตามพระประสงค์ของพระเจ้า” (กท 4:7) ด้วยเหตุนี้ เหมือนพระเยซูเจ้า เราทุกคนจึงสามารถเรียกพระเจ้าว่า “อับบา” ซึ่งแปลว่า “พ่อจ๋า” (กท 4:6) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี


enen ข้อคิดยามเช้า วันพุธ ที่ 31 ธันวาคม ค.ศ.2014 “พระสิริรุ่งโรจน์จงมีแด่พระเจ้า ในสวรรค์สูงสุด และ บนแผ่นดิน สันติจงมีแก่มนุษย์ ที่พระองค์ทรงโปรดปราน” (ลก 2:14) พระวรสารตอนนี้เหมาะสมกับ การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่อย่างยิ่ง พระกุมารเยซูได้นาความชื่นชมยินดี พระพร และ สันติสุขมาสู่คนทั่วโลก ปัจจุบนั นี้ในหลายประเทศยังมีความ ขัดแย้ง สงคราม การเข่นฆ่า ความรุนแรง เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย ผู้บริสุทธิ์ มากมายหลายล้านคนต้องตกเป็นเหยื่อ ของสิ่งชั่วร้ายเหล่านี้ เราจึงควรอธิษฐาน ภาวนาเพื่อสันติสุขที่พระเยซูเจ้าทรงนา มาให้เราจะกลายเป็นความจริงบนโลกนี้ เมื่อเราคิดถึงสันติสุข เราไม่ควรคิดถึงเพียงความขัดแย้งซึ่งเป็นหัวข้อข่าวในหนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ เท่านั้น ปรกติแล้วความขัดแย้งระดับใหญ่มักจะมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งระดับเล็กก่อน นั่นคือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน ครอบครัวอาจลามไปสู่เพื่อนบ้าน สู่ชุมชน สู่ประเทศ และ สู่โลกในที่สุดเราอาจไม่สามารถทาอะไรได้มากนักเพื่อสร้าง สันติสุขในตะวันออกกลางหรือแม้แต่ในสามจังหวัดภาคใต้ของเรา แต่เราสามารถทาบางสิ่งบางอย่างเพื่อสร้างสันติสุข ในชุมชนที่เราอาศัยอยู่ เราทุกคนสามารถเป็นผู้ก่อให้เกิดการให้อภัยและการคืนดี ขอให้ความพยายามที่จะสร้างสันติสขุ อย่างจริงจัง เป็นหนึ่งในข้อตั้งใจของเราในวันขึ้นปีใหม่นี้ “ผู้สร้างสันติย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า” (มธ 5:9) ขอพระเจ้าอวยพรพี่น้องทุกคน พระสังฆราชยอแซฟ ลือชัย ธาตุวิสัย ประมุขสังฆมณฑลอุดรธานี



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.