d-tack.indd 1
7/9/2549 17:57:54
d-tack.indd 2
7/9/2549 17:58:01
เรื่อง : ประภาพร สังข์เผือก / ภาพ : บุญณัฐ ฉัตรเสาวภัณฑ์
คิดแรง กับกลุ่มแรงคิด คุณเคยได้ยินคำเหล่านี้บ้างหรือไม่? กลุ่มเยาวชนรักบ้านเมือง, โครงการเยาวชนร่วมใจ เทิดไท้ 60 ปี มหาราชา คุณเคยเห็นภาพเหล่านี้บ้างหรือไม่? กลุ่มนิสิต นักศึกษา รวมตัวกัน แจกใบปลิว เดินขบวนเรียกร้องประชาธิปไตยหน้า สยามสแควร์ ใจกลางแหล่งบันเทิงย่านดังของไทย คุ ณ เคยอยู่ในบรรยากาศเหล่านี้หรือ ไม่ ? สภากาแฟ เยาวชน ที่ติดตามสถาณการณ์บ้านเมืองตลอด ไม่ว่าจะเหตุการณ์ ภาคใต้ การเลือกตั้ง การซุกหุ้น ความเป็นกลางของกกต. คดี ทุจริต หรือการเลือกตั้ง ภาพเหล่านี้คงไม่มีใครนึกถึงว่า เยาวชนบ้านเราก็หันมา ทำอะไร จริงจัง อย่างที่ผู้ใหญ่บางคนไม่กล้าทำภาพดังกล่าวทำให้ เราอยากไปทำความรู้จักกับกลุ่มคนเหล่านี้ กลุ่มคนที่เรียกตัวเอง ว่า “แรงคิด ต้นกล้ากิจกรรม“
d-tack.indd 3
7/9/2549 17:58:01
ช่วงเวลาบ่ายวันเสาร์ เวลาที่หนุ่มสาวบ้านเราออกไปเที่ยว เรียน พิเศษ หรือนั่งดูทีวีอยู่บ้าน ทีมไอเดียได้พบเห็นหนุ่มสาว กลุ่มแรงคิดแจกใบ ปลิวอยู่ที่สยามสแคว์ พบสบโอกาสทีมงานจึงเข้าไปเชิญแกนนำของกลุ่มออก มาพูดคุย โน๊ต-ยุรชัฏ ชาติสุทธิชัย, ข้าว-สุธัมมะ ธรรมศักดิ์ และขุน-ขุนกลาง อุขันชิน มาเป็นตัวแทนบอกเล่าเรื่องราวการทำงานและแนวคิดของกลุ่มให้ เราได้ทราบกัน รู้จักแรงคิด แรงคิด หรือ Rangkids มาจากแนวความคิดและอุดมการณ์ทาง การเมืองที่สอดคล้องกันของคนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบัน นำมาซึ่งการรวมตัวเพื่อ ทำกิจกรรมในเชิงสร้างสรรค์ต่อสังคม เพื่อเป็นผลสะท้อนให้สังคมเห็นถึง พลวัตใหม่ของคนรุ่นปัจจุบันที่มีความมุ่งมั่นในการสืบทอดเจตนารมย์ของ คนรุ่นก่อน (กลุ่มคน 14 ตุลา’) ซึ่งมีความมุ่งหวังจะเห็นสังคมไทยที่เราอยู่ เต็มไปด้วยความเท่าเทียม สิทธิและเสรีภาพที่เปิดกว้างให้คนไทยทุกคนมี สิทธิเท่าเทียมกัน ทั้งด้วยแรงกายและแรงใจที่จะร่วมกันสรรสร้างสิ่งดี ๆ ให้ เกิดขึ้นในสังคมแห่งนี้ ความเป็นมา จากแนวคิดและอุดมการณ์ที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อแม่มาจนถึง รุ่นลูกจึงได้เกิดกลุ่มที่สืบสานประชาธิปไตยภายใต้ชื่อกลุ่ม “แรงคิด” ที่สืบหน่อ เนื้อเชื้อไขมาจากกลุ่มคน14 ตุลา’โดยนายพลีธรรม ตริยะเกษม เป็นผู้ริเริ่ม ได้ร่วมกันเรียกร้องประชาธิปไตยเพื่อคนไทยและประเทศไทยและด้วยจุดยืน ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงที่สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยระยะเวลากว่า 70 ปี ของประชาธิปไตยและความต่อเนื่องยาวนานของการต่อสู้ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ประชาธิปไตยอย่างเต็มใบ อาจจำเป็นต้องใช้เวลาอีกนานหลายปีกว่า ประชาธิปไตยจะเบ่งบานไปทั่วผืนแผ่นดินสยาม จากเหนือสุดมาใต้สุด จากตะวันออกมายังตะวันตก และอาจใช้เวลาอีกนานหลายปีที่ประชาธิปไตย
d-tack.indd 4
7/9/2549 17:58:01
จะเสริมสร้างให้ประชาชนทุกคนมีความกินดีอยู่ดี ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจาก ผู้มีอำนาจและมีอิทธิพลและอาจใช้เวลาอีกนานหลายปี ที่คนไทยจะใช้สิทธิ ของตนเองเป็นและมีเสรีภาพที่เท่าเทียมกัน แต่การเริ่มต้นของประชาธิปไตย ได้เกิดขึ้นแล้ว และคงไม่นานเกินรอสำหรับคนไทย ที่จะมีประชาธิปไตยผลิ บานอยู่ทั่วทุกที่ของสังคมไทย คนเดือนตุลา’ สู่แรงคิด แรงคิดไม่ได้เปิดโอกาสให้ลูกหลานเดือนตุลา’ เข้ามาร่วมคิด ริเริ่ม พูดคุย และเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาการเมืองแค่เฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้คนทั่วไป เพื่อนเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมกลุ่มด้วย แกนนำ กลุ่มยังเล่าว่า “เพื่อนในกลุ่มบางคนเป็นลูกนักการเมืองที่รู้สึกเกลียดพ่อที่โกง กินบ้านด้วย” การรวมกลุ่มนั้นเกิดจากการพูดคุยกับเพื่อนที่ใส่ใจในเหตุบ้าน การเมืองอย่างจริงใจมาร่วมกันทำกิจกรรมดี ๆ เพื่อสังคม เป้าหมายของกลุ่ม เยาวชนส่วนใหญ่มักมองการเมืองเป็นเรื่องไกลตัว กลุ่มแรงคิด อยากให้เกิดการขยายตัวในวงกว้างของกลุ่มเยาวชนให้รู้สึกว่า ”การเมืองเป็น เรื่องของเรา เพราะตั้งแต่ตื่นลืมตา จนกระทั่งเราล้มตัวลงนอน การเมืองมีผล กับเราทั้งนั้น ซึ่งเยาวชนมองว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวออกไป อันเป็นผลมาจาก แนวคิดบริโภคนิยมนั่นเอง” โครงการและกิจกรรม โครงการระยะยาวเป็นการวางแผนเพื่อกำหนดทิศทางของกลุ่มเพื่อ เป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่ให้มีเวทีในการแสดงความคิดเห็นอย่าง มีอิสระภายใต้กรอบของระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังสร้างโอกาสให้ กับเยาวชนในการค้นหาตัวเอง โดยทางกลุ่มมีแผนการดำเนินกิจกรรมที่ หลากหลาย อาทิ จัดให้มีการพบปะสังสรรค์และทำกิจกรรมร่วมกันของเหล่า
d-tack.indd 5
7/9/2549 17:58:01
d-tack.indd 6
7/9/2549 17:58:02
d-tack.indd 7
7/9/2549 17:58:03
เยาวชนในเชิงสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการแสดง ความคิดเห็นต่อประเด็นต่าง ๆ ที่เป็น Talk of the town จัดทำประชาพิจารณ์ ในแง่มุมของเยาวชน สร้างโอกาสในการค้นหาตัวเองของเยาวชน อาทิ เข้าฝึกงานในองค์กรต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ เป็นต้น เข้าเป็นอาสาสมัคร ช่วยเหลืองานสังคมที่เป็นประโยชน์ ฯลฯ กิจกรรมเริ่มแรก ของแรงคิด จากที่กลุ่มแรงคิดได้ก่อตั้งมาเกือบห้าปี เริ่มแรกนั้นกลุ่มแรงคิดเริ่ม จากการจัด”สภากาแฟ” ในครั้งที่1-3 จัดที่บ้านไร่กาแฟ โดยจับประเด็นสังคม ในขณะนั้นมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยเชิญผู้ใหญ่ที่มีความรู้ และ เพื่อนเยาวชนที่สนใจมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น ประเด็นหวัดนก หรือการไฟฟ้า ซึ่งเด็กอาจมีแนวคิดที่แก้ปัญหาต่างออกไป สภากาแฟครั้งล่าสุด สภากาแฟเยาวชนครั้งที่ 5 ที่เพิ่งจัดไปนั้นถือว่าเป็นกิจกรรมครั้ง ใหญ่ ที่มีชื่อหัวข้อสภาว่า ”ถ่ายทอดประสบการณ์จากรุ่นพี่ปี 16 สู่ น้องปี 49” อนุสรณ์สถานวีรชน 14 ตุลา (สี่แยกคอกวัว) อันเป็นการแลกเปลี่ยนทัศนะ หาจุดร่วมของการเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างสร้างสรรค์ โดยมีกลุ่มนักเรียก ร้องประชาธิปไตยรุ่นพ่อแม่ (คน 14ตุลา’) มาเป็นพี่เลี้ยงหาแนวคิดร่วมกันใน การแสดงออกทางความคิดแบบประชาธิปไตยนั่นเอง จากจุดยืนสู่จุดร่วม จากกิจกรรมเล็กๆ อย่างกลุ่มแรงคิดที่มีจุดยืนที่ชัดเจนได้ปรับเข้า หากลุ่มเยาวชนทั่วไป โดยมีเงื่อนไขประชาธิปไตยเป็นหลักพวกเขาได้ผลัก ดันให้เกิด ศนศ. หรือศูนย์ประสานงานนักเรียน นิสิต นักศึกษา เพื่อเป็นศูนย์ กลางในการทางความคิดร่วมกันของกลุ่มเยาวชนผ่านทางกลุ่มนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้ามาร่วมมือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
d-tack.indd 8
7/9/2549 17:58:03
แนวความคิดในการทำงาน นอกจากประเด็นเหตุบ้านการเมือง กลุ่มแรงคิดยังสนใจปัญหาที่ เป็นกระแสสังคมทั่วไปอีกด้วย การเลือกประเด็นบ้านเมืองมาเคลื่อนไหวนั้น แกนนำของกลุ่มให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “แรงคิดนั้นสนใจในทุกปัญหา แต่ ด้วยศักยภาพของแต่ละกลุ่มก็ย่อมมีข้อจำกัดในการทำงานต่างกันออกไป กลุ่มแรงคิดก็ต้องเลือกที่จะหยิบยกในเรื่องที่กลุ่มมีความถนัด หรือสามารถ แสดงจุดร่วมด้วยได้ ซึ่งหมายถึงการให้ความสำคัญในการหาข้อมูลเพื่อนำมา ประกอบการวิเคราะห์ปัญหาต่าง ที่เยาวชนจะสามารถเข้าถึงได้อีกเช่นกัน“ ปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน “เวลาและการประชาสัมพันธ์ก็เป็นปัญหาที่สำคัญ” ซึ่งก็ไม่ได้ต่างไป จากกลุ่มกิจกรรมเพื่อสังคมอื่นๆ เนื่องจากปัญหาการรวมตัวของคนทำงาน ซึ่งต่างก็มีภารกิจออกตนเอง อีกทั้งปัญหาทางทุนทรัพย์ก็ทำให้การประชา สัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ทำได้อย่างลำบากอีกด้วย “แต่ก็ยังดีที่กลุ่มได้รับคำ แนะนำและช่วยเหลือจากกลุ่มคนเดือนตุลา’” สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการทำงานร่วมกลุ่มแนวคิดทางด้านการเมือง แบบประชาธิปไตยนั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะพบเจอความขัดแย้งทางแนวคิด “ประชาธิปไตย เป็นเรื่องของความต่าง และจัดการกับความแตกต่าง ซึ่งเป็น ธรรมดาที่การทำงานจะต้องมีปัญหาในการคิดในเรื่องใดๆ ก็ตาม” ความคิดเห็นต่อการเมืองไทยในปัจจุบัน “การทำงานของกลุ่มด้านการเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ง่ายขึ้น เพราะสังคมก็เริ่มมีการตื่นตัวกับเรื่องประชาธิปไตยมากขึ้น” คำบอกเล่าของ แกนนำเล่าให้เราฟังว่าในขณะที่บ้านเมืองกำลังมีปัญหาเรื่องกระแสการเมือง แบบนี้ส่งผลต่อการทำงานของกลุ่มในทางที่ดีขึ้น “กลุ่มต้องการเห็นเมล็ดพันธุ์ ต้นกล้าประชาธิปไตยเติบโตไปอย่างต่อยอด อย่างน้อยการเคลื่อนไหว หรือ การดำเนิ น กิ จ กรรมทางการเมื อ งคื อ เกิ ด วั ฒ นธรรมการมี ส ่ ว นร่ ว มทาง
d-tack.indd 9
7/9/2549 17:58:03
d-tack.indd 10
7/9/2549 17:58:04
การเมืองที่ดีและถูกกฎหมาย” การที่กระแสสังคมปัจจุบันมีเวทีแสดงความคิด เห็นนั้นก็สะท้อนภาพทางการเมืองที่ดี หลายหลากคำพูดจากการสัมภาษณ์กลุ่มแรงคิดได้สะท้อนภาพทาง การเมืองในทัศนคติของเยาวชนคนหนึ่งต่อบ้านเมือง - ประชาธิปไตยคือเสียงข้างมากที่อยู่บนความถูกต้อง ไม่ใช่พวก มากลากไป - คนระดับรากหญ้ายังถือว่าเป็นเหยื่อของชนชั้นปกครองเสมอมา และเสมอไป คนเหล่านีเ้ คยได้ยนิ คำว่าประชาธิปไตยแต่เขาไม่เคยเข้าใจจริงๆ - บางนโยบายของรัฐบาลก็สร้างค่านิยมที่ผิดให้ประชาชน - ไม่ว่าผู้ปกครองจะเป็นใครก็ตาม ตามใดที่ชนชั้นชาวนายังทนไหว อยู่ ชนปกครองก็ยังอยู่ได้ แต่เมื่อใดที่ชนชั้นชาวนาอยู่ไม่ได้ ชนชั้นปกครองก็ จะอยู่ไม่ได้เช่นกัน - แรงคิดก็ยังไม่คิดว่ารัฐธรรมนูญนี้เป็นปัญหา แต่มันเป็นการใช้ ช่องว่างในการสร้างปัญหาขึ้นมานั่นเอง การใช้อำนาจในการแต่งตั้งคนของ ตัวเองไปตรวจสอบควบคุมปัญหาจึงเกิดแค่กฎหมายนี้ยังไม่รัดกุมเท่านั้นเอง ประชาธิปไตยจริงๆ คือ แม้กระทั่งเรื่องสื่อในปัจจุบันก็ยังไม่ได้รัดกุมพอที่จะ ควบคุมอำนาจการเมืองได้ จากการพูดคุยกับกลุ่มเยาวชนที่ทำงานเพื่อการเมืองกลุ่มนี้ทำให้ เห็นได้ว่าอย่างน้อยบ้านเมืองของเราก็ยังมีกลุ่มเยวชน ต้นกล้าเล็กๆ ที่กำลัง จะเติบโตไปอย่างเต็มใบ ไอเดียได้แต่ก็หวังว่าจุดเริ่มต้นเล็กๆของต้นกล้า ประชาธิปไตยกลุ่มนี้จะนำไปสู่แรงกระตุ้นให้ผู้ใหญ่ในชนชั้นปกครองของ ประเทศเราคิดที่จำทำอะไรเพื่อประเทศของเราอย่างแท้จริงๆ ไม่ทำอะไรเพื่อ ผลประโยชน์สว่ นตน เพือ่ ความเท่าเทียมอันเป็นสิทธิขน้ั พืน้ ฐานของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตยพึงมี
d-tack.indd 11
7/9/2549 17:58:04
d-tack.indd 12
7/9/2549 17:58:13
เรื่อง / ภาพ : บุญณัฐ ฉัตรเสาวภัณฑ์
รางวัลแด่คนชอบฝัน ผมเชื่อว่าทุกคนย่อมมีความฝัน แต่เราจะได้ไขว่คว้าสิ่งที่ลอยฟุ้งอยู่ ในห้วงอากาศนั้น จับมาควบแน่นและกลั่นตัวเป็นหยาดฝนที่เราจับต้องได้ ซักกี่คนกันเชียว ผมไม่รู้-คนหลายคนก็ไม่รู้ อาจเพราะไม่มีหนังสือ How-To เล่มใด บอกกลวิธีสร้างฝันให้เป็นจริง แต่มีสิ่งนึงที่เขาหรือหนังสือเล่านั้นบอกไว้ “ฝันให้สม่ำเสมอ และจงลงมือทำ” พี่อุ๊ หรือ กฤตยา ศรีสรรพกิจ หัวหน้าคณะนักล่าฝันภายใต้ชื่อ YIY (Youth Innovation Years) ได้นำพาทีมงานหนุ่มสาวมากมายทำงาน ส่งเสริมให้เยาวชน “ฝันและทำ” โดยไม่ต้องมีผู้ชมส่ง sms ให้โหวตออก จุดมุ่งหมายสูงสุดของพวกเขา อยากจะให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่ง การช่วยเหลือพึ่งพากัน สอดแทรกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ให้กับคน เหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ความคิดดีๆ หลุดลอยไปในอากาศเช่นครั้งที่ ผ่านมา ให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เคลื่อนไหวด้วยพลังหนุ่มสาว พลังบริสุทธิ์ ที่คอยผลักดันและหมุนโลกเบี้ยวๆ ใบนี้ให้ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เราจะหยุดหมุนโลกนี้ซักครู่ ด้วยบทสัมภาษณ์ต่อไปนี้ และหวังว่า เมื่ออ่านจบ คุณจะเริ่มช่วยพวกเราหมุนโลกนี้ด้วยกันอีกแรง
d-tack.indd 13
7/9/2549 17:58:13
YIY คืออะไร YIY เกิดจากกลุ่มคนกลุ่มนึงที่เคยเป็นกลุ่มเด็กกิจกรรมมาก่อน แล้วบังเอิญได้มาเจอกัน เลยรู้สึกว่ามีความคิดคล้ายๆ กันว่าคนรุ่นใหม่เป็น วัยที่มีพลัง มีความคิดสร้างสรรค์ ทำอะไรได้เยอะ หลายๆ คนก็อยากมาทำ อะไรดีๆ เพื่อสังคม อยากเอาความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นทำสิ่งดีๆ ให้สังคม มีไอเดียอยากทำนู่น อยากทำนี่ แต่เขาไม่ได้ทำด้วยสาเหตุต่างๆ มากมาย เลยรู้สึกว่ามันน่าเสียดาย มันน่าจะมีวิธีอะไรที่ดึงคนรุ่นใหม่มาทำอะไรให้ กับสังคมมากขึ้น ก็เลยรวมกลุ่มกัน ลองทำ YIY กันดูดีกว่า อันนี้คือกลุ่มคนที่ มารวมตัวกัน ที่มาของ YIY ตัวพี่ (พี่อุ๊) เอง จบเศรษฐศาสตร์จากธรรมศาสตร์ ระหว่างอยู่มหา วิทยาลัยรู้สึกว่าเข้าธรรมศาสตร์แล้วต้องทำกิจกรรม มันก็พอมีอะไรอยู่บ้าง แต่รวมๆ แล้วน่าเบื่อ ก็มีค่าย โต้วาที เสวนาวิชาการ งานบอล ทุกๆ อย่าง ก็ดีนะ แต่รู้สึกว่าเราน่าจะทำอะไรได้มากกว่านั้น น่าจะมีอะไรทีแปลกใหม่ สร้างสรรค์และได้ใช้พลังของคนรุ่นใหม่มากกว่านี้จริงๆ ตอนนั้นก็ได้ลองทำ โครงการนึง ชื่อ “โครงการ Thai Rural Net” เกี่ยวกับการใช้ IT เพื่อพัฒนา ชนบท เมื่อ 4 ปีที่แล้วดอทคอมกำลังบูมมาก ถ้าชาวบ้านใช้อินเตอร์เน็ตได้ ขายสินค้าทางการเกษตรผ่าน e-commerce ได้ ก็เลยทดลองทำโครงการ นี้ขึ้นมา รู้สึกว่าได้ทำอะไรที่แหวกแนว ได้ลองใช้รูปแบบ ใหม่ๆ ในการพัฒนา พอดีช่วงเวลานั้นมีการจัดประกวดโครงการของ World Bank ชื่อ Innovation Market Place ก็เลยส่งโครงการนี้เข้าประกวดและได้รับเลือกให้ ทำงาน โครงการนั้นก็เป็นโอกาสที่ใหญ่มากๆ แล้วเราเป็นโครงการเยาวชน โครงการเดียวที่ส่งไป กล้าส่งนะ เพราะรู้สึกว่ามันคงใหญ่ มันคงยากไม่น่าได้ เราก็เลยไม่มีคู่แข่งและได้ไปง่ายๆ แล้วระหว่างการทำงานก็รู้สึกว่าได้เรียนรู้ เยอะมาก สิ่งที่เราเชื่อตอนแรกว่ามันน่าจะเป็นยังงัย แค่ทำให้ชาวบ้านรู้ อินเตอร์เน็ตได้ สร้างเว็บขึ้นมาขายของผ่าน E-Commerce ก็น่าจะจบแล้ว
d-tack.indd 14
7/9/2549 17:58:13
มันก็ไม่จบ หลายๆ อย่างที่เราคิด ที่เราเชื่อ ก็ไม่ถูกเสียทั้งหมด มันอยู่ที่การ ลงไปเรียนรู้จริงๆ ว่าสถานการณ์บังคับให้คุณเป็นยังงัย รู้สึกว่าประสบการณ์ ตรงนั้นมีค่ามาก ก็อยากให้คนอื่นๆ ได้อะไรเหมือนกันด้วย หลังจากนั้นก็เปิดรับอาสาสมัคร เปิดรับจากเว็บไซด์ของเราเอง ก็ไม่มีคนรู้จักเท่าไหร่ แต่ก็มีคนสมัครมา 200-300 คน เยอะมาก แต่ละคนก็มี ไอเดียของตัวเอง ซึ่งแทนที่จะชวนเค้ามาทำโครงการกับเรา ถ้าเราพยายาม ผลักดันให้เขาได้ทำโครงการของเขาเอง แทนที่เราจะมีโครงการเดียวมีคน ทำ 200 คน อาจจะมี 200 โครงการที่จะเกิดขึ้นก็ได้ ก็เลยเกิด YIY ขึ้นมา สิ่งที่ YIY ทำ อยากจะชวนคนรุ่นใหม่มาทำอะไรเพื่อสังคมในรูปแบบของตัวเอง ที่เขาคิดค้นเอง โดยที่เราไม่อยากจะคิดแทนให้เขาทำอะไร เพราะมันเยอะ ไม่ไหวหรอก ให้แต่ละคนลองคิดดูเองว่าตัวคุณน่าจะทำอะไรให้สังคมได้ อาจจะมาเป็นอาสาสมัคร อาจจะมาเป็นในเชิงการเมือง อาจจะมาทำโครงการ เพื่อสังคมตามความถนัดของตัวเอง ตามที่ตัวเองหรือเพื่อนสนใจ อะไรก็ได้ เวลาไปเจอแกนนำเยาวชนเยอะๆ มันก็มีประเด็นที่เด็กมาพูดกันว่า นโยบายรัฐไม่ดีอย่างไร อยากให้รัฐทำอย่างนั้นอย่างนี้ รัฐบาลน่าจะให้การ ศึกษาดีขึ้น มีคนคิดน้อยว่าแล้วตัวเองจะทำอะไร ก็เลยอยากให้เด็กๆ ตั้งคำ ถามกับตัวเองมากกว่า มองสภาพแวดล้อมด้วยว่าเราก็อยู่ในสังคมที่มีความ เชื่อมต่อกัน แต่หลักๆ คือ อยากให้เขามองตัวเอง ถามคำถามกับตัวเองว่า แล้วเราจะทำอะไร เราไม่ได้มุ่งด้านใดด้านนึง แค่อยากให้เขามาทำกิจกรรม แต่ในตัว กิจกรรมเราก็อยากจะจุดประเด็นให้น้องๆ เพื่อนๆ มาทำ ก็คือ ลองใช้ความ คิดสร้างสรรค์ อย่าทำอะไรเดิมๆ เหมือนคุณเคยจัดค่าย จัดไป 20 ค่าย ค่ายที่ 20 ต้องดีกว่าค่ายที่ 1 มันต้องมีการพัฒนา มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา กับสองคืออยากให้มองว่าสิ่งที่เราจะทำได้ประโยชน์สูงสุด ต่อสังคม แน่นอนอยู่แล้วว่ากิจกรรมที่ทำออกไปมีสองด้านที่ได้ประโยชน์
d-tack.indd 15
7/9/2549 17:58:13
d-tack.indd 16
7/9/2549 17:58:18
คนทำก็ได้เรียนรู้ และกลุ่มเป้าหมายที่เราลงไปทำก็ได้ประโยชน์ อยากให้เอา กลุ่มเป้าหมายเป็นตัวตั้งว่าเราจะไปทำอะไรให้เขา แล้วเขาได้อะไร กลุ่มเป้าหมายของ YIY ถ้าเลือกจากกลุ่มอายุ ก็ประมาณ 15-25 ปี จะครอบคลุมตั้งแต่ระดับ ม.ปลาย ระดับมหาวิทยาลัย และคนจบใหม่ จริงๆ แล้วคนที่เพิ่งเรียนจบเป็น กลุ่มเป้าหมายที่น่าสนใจ เพราะอะไร YIY จึงเลือกในช่วงอายุ 15-25 ปี ก็เป็นวัยที่ทำอะไรได้ ถ้าเด็กกว่านี้ เด็กระดับประถม หรือแม้แต่ เด็กระดับ ม.ต้น คิดว่าเด็กยังไม่โตพอที่จะลุกขึ้นมาทำอะไรด้วยตัวเองได้ พ่อแม่ก็ยังเป็นห่วงอยู่ เป็นเด็กหญิงเด็กชายอยู่ หรือถ้าโตไปกว่านั้นก็เริ่ม มีความรับผิดชอบกับชีวิตมากขึ้น ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ มันเริ่มติดเข้าไปสู่ กระแสชีวิตที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น เริ่มคุ้นชินกับวิถีชีวิตอีกแบบนึงมาก ขึ้น ในขณะที่ช่วงอายุ ม.ปลาย ช่วงมหาวิทยาลัย จนถึงช่วงที่เพิ่งจบใหม่ๆ มันยังเป็นช่วงค้นหาและทดลอง ทดลองกินเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวเทค ทดลองนู่นทดลองนี่ แล้วเรารู้สึกว่ามันมีอีกแง่มุมนึงที่อยากให้เขาได้ทดลอง ด้วย อยากให้เขาออกมาค้นพบด้วย แล้วอีกแง่นึงก็คือคิดว่าเป็นวัยที่มีความ คิดสร้างสรรค์เยอะที่สุด หลายๆ คนพูดว่าวัยก่อน 25 ปี เป็นวัยที่มีความคิด สร้างสรรค์เยอะที่สุดแล้ว นวัตกรรมใหม่ๆ ในโลกนี้ที่เจ๋งๆ หลายสิ่งก็ เกิดขึ้นกับคนที่มีอายุต่ำกว่า 25 ปีทั้งนั้น ถ้าโตกว่านั้นความคิดสร้างสรรค์ ต่างๆ ก็ลดน้อยถอยลง ทีแรกมีคนกลุ่มนี้สมัครมาเยอะมาก ก็เพิ่งเรียนจบและอยากจะทำ ตามความฝันของตัวเองซักที หลังจากดำเนินรอยตามวิถีชีวิตที่พ่อแม่วางไว้ ให้ แล้วช่วงที่เพิ่งเรียนจบใหม่ยังพอมีอิสระอยู่บ้าง พอที่จะทำอะไรได้ก่อนที่ จะเข้าสู่ช่วงวัยทำงาน
d-tack.indd 17
7/9/2549 17:58:18
แหล่งทุนของ YIY ก้อนแรกเราได้จากยูนิเซฟ ที่เขาสนใจเพราะยูนิเซฟทำงานเรื่อง การพัฒนาเด็ก เขามองว่าสิทธิเด็กมีหลายด้าน ด้านสิทธิเรื่องการไม่โดน ทารุณ ได้รับการศึกษา ได้รับอาหาร ได้รับปัจจัยสี่ให้ครบ แล้วหนึ่งในสิทธิที่ สำคัญก็คือ สิทธิในการมีส่วนร่วม ในการที่จะตัดสินว่าจะอยู่ร่วมกันในสังคม ได้อย่างไร หลังจากนั้นก็ได้รับแหล่งเงินทุนจาก สสส. ปัญหาที่พบ ปัญหาแรกๆ คือ ก็คงเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือ เพราะเราก็ ไม่ได้มีผู้ใหญ่มาก้าวก่าย ไม่ได้มีผู้ใหญ่มาดูแล เราก็ต้องดูแลตัวเอง แล้วเขา ก็สงสัยกันว่าเด็กพวกนี้จะทำได้ตามที่สัญญาหรือไม่ เพราะฉะนั้นงานของ เราจึงหนักมาขึ้นเพราะต้องพิสูจน์ตัวเองว่าเราสามารถทำได้นะ โดยที่ไม่ต้อง มีใครมาควบคุมได้ ก็เป็นทั้งอุปสรรคและแรงกระตุ้นว่าเราต้องพยายามทำ ให้ได้ ปัญหาต่อมาคือ เราทำงานกันมา 3 ปี เพิ่งย้ายออฟฟิตใหม่ที่เป็น บ้าน ก็เหมือนเป็นครอบครัวใหญ่ครอบครัวนึง ข้อดีก็คือ เราอยู่กันอย่าง พี่น้อง เหมือนเพื่อน กินๆ นอนๆ ทำงานสนุกสนาน แต่บางทีก็ลำบากใน การทำงานอย่างมีวินัย แต่ก็ต้องพยายามทำให้ได้ เพราะเรามารวมกัน ด้วยจุดประสงค์ร่วมกันบางอย่าง ตอนนี้มีคนทำงานใน YIY กี่คน 23 คน แล้วจะจัดการกับคนที่เพิ่งจบใหม่ ที่มาทำงานกับ YIY อย่างไร คนที่เขามาอยู่ที่นี่จะมีสองแบบ แบบแรกคือรู้จักกันมาตั้งแต่ต้น เกาะกลุ่มด้วยกันมา รูปแบบนั้นเรามีความเชื่อตั้งแต่ต้นอยู่แล้วที่มารวมกัน ความที่มารวมกันตอนแรกเราไม่ได้เป็นเพื่อนกันมาก่อนแต่มีคนแนะนำให้ รูจ้ กั ว่าคนนีส้ นใจอะไรทีเ่ หมือนกัน ก็เลยมาเจอกัน แล้วอยูด่ ว้ ยกันมา กับอีกรูป
d-tack.indd 18
7/9/2549 17:58:18
แบบนึงคือการเปิดรับสมัคร เคยไปโพสไว้ที่ Jobsdb.com มีคนสมัครกันมา เป็นพัน แล้วมันกรองไม่ไหว แต่วิธีที่เวิร์คที่สุดคือรับสมัครในเว็บ Thaingo.org เวลาเราเลื อ กคนมาทำงานสิ ่ ง แรกสำคั ญ ที ่ ส ุ ด คื อ ความตั ้ ง ใจ เพราะเราเชื่อว่าถ้าตั้งใจจะทำอะไรมันก็จะทำได้ แม้ว่าจะไม่มีทักษะมาก่อน อาจจะไม่มีความสามารถเฉพาะทาง ทำไม่เป็นแต่ถ้าเขาตั้งใจจริง รู้สึกอยาก ทำสิ่งนั้นจริงๆ ก็จะมีแรงกระตุ้นให้เขาอยากทำได้ สองก็คือเนื่องจากอยู่กัน เป็นบ้านก็ต้องมีความเท่ากันด้วย เท่ากันนี้ไม่ได้หมายถึงทุกคนต้องมี ความเห็นตรงเหมือนกันหมด มันคงน่าเบื่อ แต่ว่าต้องมีพื้นฐานบางอย่าง ที่สามารถไปด้วยกันได้ เพราะฉะนั้น วิธีการจัดการของเราพยายามทำให้เป็นมืออาชีพ พยายามใช้รูปแบบการจัดการเหมือนองค์กรทั่วไป มีการวางแผนงานชัดเจน ว่าจะทำอะไร เมื่อไหร่ แล้ว output ที่จะได้เป็นอย่างไร โดยแผนงานจะทำ ร่วมกันระหว่างทีมงานที่ร่วมกันทำงานกับทีมส่วนกลางและให้ทีมส่วนอื่นๆ มีส่วนร่วมด้วยแล้วเราก็ติดตามผลตามนั้น มีโครงการอะไรบ้างที่ YIY ทำแล้วคนเข้ามาสนใจมากๆ กิจกรรมหลักๆ ที่เราทำทุกวันนี้ ที่ทำกับเด็กและเยาวชน มีสอง โครงการหลักๆ อันที่หนึ่งก็จะเป็นเรื่องอาสาสมัคร องค์กรไหนที่อยากได้ อาสาสมัครบ้าง เราก็จะเป็นเหมือนบริษัทจัดหางานแต่เป็นในจัดหาอาสา สมัครให้การที่จะให้คนเข้าใจเรื่องการทำอะไรเพื่อคนอื่นแล้วมาทำกิจกรรม เพื่อสังคม พูดไปให้ตายก็ไม่เข้าใจก็พยายามจะชวนเขามาทำให้เขาได้มา ทดลอง กับโครงการทีส่ องจะเป็นตลาดนัดประกอบฝัน จะเป็นระดับเข้มข้นขึน้ มาอีกหน่อย ให้เด็กคิดเองเลยว่าอยากจะทำอะไร เราแค่มาชวนเขาคิดว่า เขาอยากจะทำอะไรทีด่ ตี อ่ สังคมแล้วต้องมีความคิดสร้างสรรค์ คนทำต้องเป็น เด็กตั้งแต่อายุ 15-25 ปี ให้เขาส่งโครงการเข้ามา แล้วทีมงานเราจะเป็นคน คัดเลือก มีการสัมภาษณ์ มีการจัดเทรนนิง่ เพือ่ ทำให้เขาคิดได้ชดั ขึน้ จากนัน้ ก็ จะช่วยหาแหล่งทุนที่จะสนับสนุนโครงการ
d-tack.indd 19
7/9/2549 17:58:18
ทั้งสองโครงการก็ได้รับการตอบรับพอสมควร กลุ่มก็จะต่างกันไป โดยที่กลุ่ม ก็จะต่างกันไป กลุ่มของอาสาสมัครอาจจะไม่เคยทำงานด้วยกันมาก่อนแต่ก็ น่าสนใจ แต่ถ้าตลาดนัดประกอบฝัน เพิ่งคัดโครงการกันอยู่ บางคนส่ง โครงการมามูลค่าสิบร้อยล้าน ซึ่งไอเดียเขาน่าสนใจมาก แต่ก็ไม่สามารถทำ เป็นจริงได้ในเร็ววันนี้ ที่น่าสนใจคือ ทุกโครงการที่ส่งเข้ามา เราพบว่าเขา ตั้งใจมากๆ กว่าเขาจะเขียนโครงการขึ้นมาได้ ผ่านการคิด ผ่านข้อมูล ผ่านการคุยกับผู้คนมากมาย ไตร่ตรองและใฝ่ฝัน ก็พยายามให้โครงการ จำนวนมากที่สุดได้ไปทำจริงได้ ก้าวต่อไปของ YIY ที่ผ่านมาเราทำงานเชิงทดลองด้วย หลายๆ อย่างที่ทำขึ้นมาก็ ไม่เคยทำขึ้นมาก่อน แต่เราเชื่อว่ามันน่าจะเวิร์ค เราก็ทดลองทำและศึกษา มันไปด้วย แล้วพยายามถอดบทเรียนว่าอันไหนเวิร์คไม่เวิร์ค พยายาม เรียนรู้ไปกับมัน การที่จะดึงให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมกับสังคมมีวิธีไหนบ้าง แล้วแต่ละวิธีมีลักษณะอย่างไร สำหรับปีหน้าเราน่าจะมีการทำงานกับคนอื่น มากขึ้น มีการขยายผลมากขึ้น มีการศึกษาในวงกว้างมากขึ้น ตอนนี้เรารู้แต่ ของเราว่าวิธีเราทำอย่างไร แต่เรายังไม่ค่อยรู้วิธีคนอื่นเท่าไหร่ เราไม่ได้ เป็นองค์กรเดียวที่ทำแบบนี้ มีหลายองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ก้าวต่อไปก็คือ คงจะศึกษาโมเดลอื่นๆ เพื่อพัฒนางานตัวเองด้วยเพื่อพัฒนา การนำคนอื่นด้วย และปรับปรุงให้เด็กมีส่วนร่วมกับสังคมว่าน่าจะมีวิธี อะไรบ้าง และคงคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ต่อไป ตอนนี้เราจะเห็นว่าเด็กมีส่วนร่วมเยอะมาก มันก็เป็นปรากฎการณ์ ที่น่าสนใจ ที่มีวิกฤตการณ์อะไรบางอย่างขึ้นมา อย่างปีก่อนก็เป็นสึนามิ แล้วก็มีคนมากมายเป็นอาสาสมัคร คราวนี้ก็มีเรื่องของการเมืองขึ้นมาก็มี เด็กมากมายออกมามีส่วนร่วมทางการเมือง รู้บ้างไม่รู้บ้าง ตื้นลึกต่างกันไป มากมาย ก็น่าสนใจว่ามันจะเป็นอย่างไรต่อไป น่าจะมีการสนับสนุนให้ Movement นี้ไม่หายไป
d-tack.indd 20
7/9/2549 17:58:18
YIY อยากเห็นเป้าหมายในอนาคตอะไรมากที่สุด อยากเห็ น การทำอะไรเพื ่ อ สั ง คมเหมื อ นในประเทศแถบยุ โ รป ที่หลายคนเรียนจบม.ปลาย จนถึงคนที่ยังไม่จบมหาวิทยาลัย เค้าก็จะพักไป ปีนึง ไปท่องเที่ยว ไปเป็นอาสาสมัคร ไปทำโครงการเพื่อสังคม ซึ่งมันเป็น เรื่องที่เท่มาก แล้วมหาวิทยาลัยหรือบริษัทที่จะจ้างงานเขาต่อไปเห็นว่ามัน เป็นคุณค่าที่สำคัญของคนๆ นั้น ทำให้คนๆ นั้นเข้าใจโลกมากขึ้น มีประสิทธิ ภาพในการทำงานมากขึ้น เป็นเรื่องที่ดี ที่น่าทำ ซึ่งเรื่องตรงนี้ยังไม่อยู่ใน สังคมไทยเท่าไหร่ การทำงานเพื่อสังคมยังคงเป็นเรื่องที่ไกลตัว เป็นเรื่อง ที่ไม่เกี่ยวกับเรา เรื่องที่น่าเบื่อ เรื่องที่เชย อยากให้ภาพตรงนี้มันเปลี่ยนไป อยากให้สังคมโดยรวมเห็นและเข้าใจด้วยว่าคนรุ่นใหม่ก็สร้างความเปลี่ยน แปลงที่ดีได้ มีกรณีตัวอย่างที่ชัดเจน มันไม่ควรมีแค่นี้ แต่ต้องมีคนที่มา ร่วมกันทำมากกว่านี้ อาจเพราะว่าเขายังไม่ได้โอกาส หรือเพราะเรายังไม่ รู้จักกัน ซึ่งทั้งหมดอาจจะเป็นทั้งที่ YIY ทำเอง แล้วเราเชื่อว่าหลายอย่างก็ใหญ่ เกินตัว ก็อยากจะเห็นเป็นวัฒนธรรมของสังคมไทย ก็คงต้องใช้เวลาและ ร่วมมือกันหลายๆ ฝ่าย อยากจะฝากอะไรกับผู้อ่าน พี่เชื่อว่าคนเรามันไม่ต่างกัน มันไม่มีคนดี คนเลว เด็กเสีย เด็กด้อย โอกาส อาจจะมีด้อยโอกาสนิดนึง ในเชิงที่ขาดโอกาสทางสังคมหรือพิการ อะไรทำนองนั้น แต่โอกาสในการที่จะมาทำอะไรหรือศักยภาพของคน ไม่มีใครต่างกันเลย และพี่ก็เชื่อว่าในพื้นฐาน คนทุกคนก็อยากทำอะไรดีๆ อยากเป็นคนที่มีคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่น เพราะฉะนั้นมันขาดอยู่แค่แรง กระตุ้นแล้วก็ความเชื่อมั่นของคนรอบข้าง และที่สำคัญคือความเชื่อมั่นใน ตัวเองว่าเขาน่าจะทำอะไรดีๆ ได้ อย่างที่เราเห็นในตลาดประกอบฝันที่เด็กๆ เขาส่งมา อย่างแรกที่เขามีเลยคือความกล้าที่คิดว่าน่าจะทำอะไรได้ ก็คงมี เด็กอีกจำนวนมากที่เขามีความฝันที่ดีกว่าโครงการที่รับเลือกให้ลองทำก็ได้ แต่เขาอาจจะไม่กล้าที่จะเชื่อว่าความฝันของเขาเป็นจริง มีประโยชน์และมี
d-tack.indd 21
7/9/2549 17:58:19
คุณค่าได้ ก็อยากจะฝากสุดท้ายว่าอยากให้เชื่อมั่น ในตัวเอง เชื่อมั่นในความคิด ความฝัน และความ สามารถของตัวเอง และสิ่งที่ตัวเองสามารถที่จะ พัฒนาได้
d-tack.indd 22
7/9/2549 17:58:22
d-tack.indd 23
7/9/2549 17:58:24
d-tack.indd 24
7/9/2549 17:58:25
เรื่อง : ปิยาภรณ์ เมืองคำ
I DO, IDEA
IDEA เป็นการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ภายใต้แนวทางที่ต้องการ จะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้แก่วัยรุ่นและสังคมไทย อาจไม่ต่างจากกลุ่ม กิจกรรมอื่นๆ ที่มีอยู่ แต่การเกิดขึ้นของ IDEA นับว่าเป็นอีกหนึ่งพลังที่ ช่วยผลักดันเยาวชนให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมและมีส่วนช่วยเหลือ สังคม เรามาติดตามที่มาที่ไปของกลุ่ม IDEA ว่าเป็นอย่างไร โดยคุณ ชล บุนนาค หัวหน้าฝ่ายจัดการความรู้และเครือข่ายของ IDEA
d-tack.indd 25
7/9/2549 17:58:25
ชื่อ IDEA (ไอเดีย) มีที่มาอย่างไร IDEA มาจาก Institute for Development in Extra Activities หรือ สถาบันเพื่อการพัฒนากิจกรรมนอกหลักสูตร แล้วกลุ่มไอเดียมารวมตัวกันได้อย่างไร เริ่มแรกก็มาจากค่ายอบรมผู้นำนักศึกษารุ่น 1 และ 2 ที่หลายๆ คน ต่างก็ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกัน และทุกคนก็มีแนวคิดที่คล้ายๆ กัน ว่าอยากจะทำอะไรเพื่อสังคม แต่ตอนนั้นมันเป็นเครือข่ายที่ค่อนข้างใหญ่ ประมาณร้อยกว่าคน มันเคลื่อนยาก ซึ่งทุกครั้งที่คุยกันก็มักมีความเห็นที่ ต่างกัน มันถูกกรองจนไม่เหลืออะไรเลย เว้นแต่กิจกรรมที่แต่ละคนอยาก ทำจริงๆ แล้วในช่วงเวลาที่เหมาะสมพอดีกันก็มีประสบการณ์การทำงาน มาสองปีเลยตั้งเป็นองค์กรที่ทำงานจริงๆจังๆ อีกอย่างคนรุ่นที่ 1 และ 2 เริ่มเรียนจบแล้วก็เห็นว่าน่าจะพัฒนาให้เป็นองค์กรที่มีความเป็นมืออาชีพ สามารถอยู่ได้ต่อๆไป ทุกคนก็เลยตัดสินใจรวมกันเป็น ไอเดีย ตอนนั้นมีสมาชิกร่วมก่อตั้งกี่คน เริ่มแรกก็ประมาณห้าคนก็มีพี่เป็ด อุ้ม โจ้ ต๊ะ ชลตอนนั้นผมกำลัง จะจบปีสี่หมดวาระเครือข่ายนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ ก็ได้คุยกันกับพี่เป็ดที่ เป็นคนจัดค่ายอบรมนักศึกษารุ่น 1 แล้วก็มีพี่หรั่งจากบางมด ก็เริ่มคุยกันแล้ว ก็ไปขายไอเดียกับอุ้มและต๊ะ ช่วงนั้นกำลังเตรียมค่ายรุ่นที่ 3 ก็พอดีเกิดเป็น ไอเดียและยังดึงน้องๆ หลายคนมาช่วยทำด้วย อะไรเป็นตัวจุดประกายให้เกิดการรวมตัวกัน ตอนนัน้ มีงานสร้างภาพในช่วงเดือนตุลาคม 2547 ทีค่ ณะศิลปกรรม จัดงานพูดกันด้วยใจ ให้มาสอนและเรียนภาษามือกัน ก็มานั่งคุยกันในกลุ่ม หลายๆคนว่าเราควรจะทำอะไรสักอย่าง ตอนนั้นมันมีกระแสถามกันมาก ว่า “นักศึกษาหายไปไหน” คือคนมองว่าเราหายไปจากสังคม แต่จริงๆ มัน
d-tack.indd 26
7/9/2549 17:58:25
ไม่ใช่ เรามีอะไรทำตั้งเยอะแยะมากมายแต่ไม่มีใครรู้ ก็เลยคิดว่าจะทำ โครงการขึ้นมาสักอย่างตั้งชื่อว่า “สร้างภาพ” ก็คือการต่อภาพของงาน กิจกรรมนักศึกษาให้มันมีความชัดเจน ให้สังคมได้รับรู้ มันก็เลยทำให้เกิด เป็นจุดประสงค์หลักของไอเดียต่อมา แล้วจุดประสงค์หลักหรือเป้าหมายหลักของไอเดียคืออะไร โดยแรกเริ่มเดิมทีแล้ว เป้าหมายของไอเดียคือ ทำอย่างไรก็ได้ ให้กิจกรรมนอกห้องเรียนมาเป็นกระแสควบคู่ไปกับกิจกรรมในห้องเรียน เพราะเราเห็นว่ากิจกรรมนอกห้องเรียนที่นักศึกษาทำกันอยู่นั้นมีความ สำคัญ มันช่วยให้คนพัฒนา มันทำให้คนสมบูรณ์จริงๆ ไม่ใช่แค่รู้แต่ในห้อง เรียนเท่านั้น ประเด็นก็คือถ้าเราสามารถทำให้คนเรียนหนังสือในห้องควบคู่ ไปกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนไปด้วยก็คงจะดีมาก โดยเฉพาะนักศึกษา ซึ่งเป็นคนชนชั้นกลางที่มีจำนวนมากในสังคม ถ้าผ่านกระบวนการขัดเกลา แล้วดี สังคมก็จะดี เพราะทุกครั้งที่สังคมเปลี่ยนแปลง ชนชั้นกลางเปลี่ยน แปลงเสมอ การเริ่มต้นของไอเดีย คือเริ่มจากการคุยกันถึงเป้าประสงค์ของกลุ่มว่ามัน เกิดขึ้น มา เพื่ออะไร เป้าหมายของทุกคนก็เหมือนกันก็คือ การทำให้กิจกรรมมันเป็น กระแสหลัก สิ่งที่เราจะทำคือเราจะช่วยเหลือให้กลุ่มนักศึกษาเข้มแข็งขึ้น เหมือนการพิสูจน์หรือทำวิจัย ว่าถ้ามีการเข้าไปส่งเสริมนักศึกษาอย่าง ถูกจุด เค้าจะมีการเติบโต แล้วเราก็จะคอยเก็บข้อมูล ประเมินเขา หรือ Take Action ด้วย พูดง่ายๆ ก็คือ เราจะต้องชัดเจนกับ Goal ก่อนแล้วจึง มาดูกันอีกทีว่าส่วนงานที่จะต้องทำต่อมาคืออะไรบ้าง หลังจากนั้นเราก็คิด แผนงานและกิจกรรมขึ้นมา อย่างช่วงแรกๆ เหมือนมวยวัดมากๆ คือคิดว่า อะไรเจ๋งก็ทำเลย เขียนโครงการปุ๊บ เสนอขอแล้วก็ทำเลย อย่างงานค้นฝัน พี่เป็ดเป็นเจ้าของไอเดีย พอคิดแล้วก็ลุยเลย
d-tack.indd 27
7/9/2549 17:58:25
d-tack.indd 28
7/9/2549 17:58:30
ก้าวแรกของไอเดีย ในช่วงปีแรกของเรา เหมือนยังคลำหาทางอยู่ เริ่มจากหาแหล่ง งบประมาณซึ่งแหล่งทุนแหล่งแรกที่เราเข้าไปแตะด้วยก็คือ ศูนย์คุณธรรม ดังนั้นแล้ว ในปีแรกเราก็จะเบนเข็มไปตามแหล่งทุน ก็คือเราเข้าไปทำเรื่อง เยาวชนกับความดี จับที่กลุ่มเด็กมัธยม คือมันก็ออกจากกลุ่มนักศึกษาที่ เป็นเป้าหมายหลักของเราไป กิจกรรมแรกสุดคือ กิจกรรมค้นฝันสร้างสรรค์ ความดี ที่จัดขึ้นเพื่อกลุ่มของนักเรียน ค่ายแรกจัดให้น้อง ม.2 เพื่อให้เขา ค้นหาตัวเอง เหมือนกับเจอความฝันของตัวเองผ่านมิติของความดี โดยใช้ เครื่องมือที่เป็นรูปแบบกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นศิลปะหรือว่าเพลงในการสื่อสาร กับเขา จนช่วยให้เค้าได้เจอความฝันเจอความสามารถของตัวเอง กิจกรรม โดยมากของไอเดียจะอยู่ในรูปของการฝึกอบรมและคอยติดตามผลคอยเข้า ไปสนับสนุนส่วนต่างๆ ของคนที่เข้าร่วมกิจกรรม แต่ตอนนี้ผ่านมาปีนึงแล้ว เราก็กลับมาทบทวนตัวเองใหม่ อย่างในช่วงมกราคมที่ผ่านมาก็เริ่มมองเห็น ว่าเราก็ได้เรียนรู้งานและทีมงานที่ค่อนข้างเฟิร์มแล้ว เป็นทีมที่ชัดเจน มีแนว ทางการทำงานและมีเครื่องมือมีอาวุธแล้ว ก็เลยตกลงกันว่าจะกลับมาเล่นกับ เป้าหมายเดิมที่วางไว้นั่นคือกลุ่มนักศึกษา โครงการต่อไปที่เราจะทำก็คือ จะทำอย่างไรให้กลุ่มนักศึกษามีความเข้มแข็งขึ้น เป็นแหล่งที่จะพัฒนาคน และพัฒนาสังคมด้วย ไอเดียเน้นที่ตัวนักศึกษาหรือองค์กรนักศึกษา เราจะเน้นที่องค์กรนักศึกษาคือว่ากิจกรรมของนักศึกษาจะสามารถ ตอบโจทย์ของสังคมหรือส่วนอื่นๆ โดยให้ตัวกิจกรรมตัวนี้ไปแตะกับส่วน ต่างๆ ที่สามารถจะช่วยพัฒนาได้ ต้องยอมรับว่าในสังคมไม่มีใครว่างเท่า นักศึกษา กลุม่ ผูใ้ หญ่กท็ ำงาน กลุม่ เด็กๆ ก็ยงั ต้องเรียนและขาดประสบการณ์ นักศึกษาเป็นคนที่อยู่ตรงกลางและมีเวลา อีกทั้งอยู่ใกล้กับแหล่งข้อมูลต่างๆ มีความตระหนักในหน้าที่และสังคมมากขึ้น เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ซึ่งจะกลาย เป็นพลังสำคัญได้แทนที่จะมองพลังของนักศึกษาไปในแนวทางการประท้วง
d-tack.indd 29
7/9/2549 17:58:30
หรือเรียกร้องเคลื่อนไหวต่างๆ แต่จริงๆ แล้วถ้าเราหาทางให้นักศึกษาได้ทำ กิจกรรมทีต่ นเองต้องการ อาจเพิม่ การช่วยเหลือสังคมเข้าไป มันก็ได้ประโยชน์ ทั้งต่อตนเองและคนอื่น เพราะฉะนั้นก็คิดว่าถ้าเราพัฒนากิจกรรมของ นักศึกษาไม่ว่าแบบไหน การสนับสนุนด้านต่างๆ จะช่วยให้เด็กแต่ละคนได้ ค้นพบตัวเองพร้อมๆ กับทำให้สังคมดีขึ้นด้วย กิจกรรมอื่นๆ นอกจากนี้ ช่ ว งนี ้ อ ยู่ในขั้นตอนการดำเนินการโครงการต่ า งๆ เยอะมาก ประมาณ 19 โครงการ ที่เพิ่มมาก็เรื่องของสื่อ ฝ่ายพีอาร์ของพี่อุ้มที่จะผลิต สื่อทีวี สปอร์ตวิทยุ หนังสั้นหรือแมกกาซีนออนไลน์ต่างๆ เป็นงานใหม่ที่ กำลังวางแนวทางและหาทีมงานอยู่ เราคิดว่าสื่อมีผลตอบรับดีมาก มันมี หน้าที่การประชาสัมพันธ์โครงการทั่วไป อย่างงานค้นฝันฯ ถือว่าประสบ ความสำเร็จเรื่องประชาสัมพันธ์ หลังจากสื่อออกไปก็มีหลายโรงเรียนติดต่อ เข้ามา หรืองานสปอร์ตเกี่ยวกับเยาวชนกับความดีที่งานชิ้นนึงติดหนึ่งในสิบ TACT Award เราคิดว่ามันน่าจะดีพอสมควร มีช่องทางการโปรโมทสื่ออย่างไร ก็ได้เครือข่ายกลุม่ กิจกรรมต่างๆ อย่างช่อง 11 และ ตาสับปะรด ทีอ่ อก ให้ไม่เสียค่าใช้จ่าย อย่างหนังสั้นหรือสปอตก็มีทาง Fat Radio แล้วเราก็ส่ง ไปตามโรงเรี ย นหรือเครือข่ายต่างๆ โดยเราจำเป็ น ต้ อ งหาช่ อ งทางไป พร้อมๆ กับการผลิต ตอนนี้ก็มีรายการของ Workpoint ที่จะเอาสปอต ของเราไปออก โดยเขาก็จะปรับใช้อีกทีให้เหมาะสม มีโครงการอะไรบ้างที่เป็นรูปธรรม อย่างงาน World Bank “Peace and Conflict” เป็น Teleconference ที่รวมนานาชาติ ตอนนั้นมันมีเหตุการณ์ภาคใต้ที่กำลังรุนแรง มีการรวมกลุ่ม นักศึกษาที่ทำงานเรื่องภาคใต้มารวมประมาณยี่สิบกว่าคนมีเด็กจากปัตตานี
d-tack.indd 30
7/9/2549 17:58:30
มาร่วมด้วย แล้วก็มงี าน “World Development Report 2007” ทีเ่ น้นเยาวชน เป็นธีมหลัก เป็นกระบวนการระดมความเห็นก็เข้าไปช่วยเค้าหาเครือข่าย การทำงานการจัดการต่างๆ พูดคุยกัน อีกงานหนึ่งก็คือ งานของเครือซีเมนซ์ไทย “YKSI” ที่เราส่ง โปรเจคไป ต้องการให้เกิดเครือข่ายแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ของนักศึกษา เช่นกลุ่มต่างๆ อย่างองค์กรนักศึกษา ค่ายอาสา และสันทนาการ คือเชื่อว่า ถ้ามีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ก็จะช่วยแก้ปัญหา ก็อาจเกิดนวัตกรรมขึ้น แล้วพอมีนวัตกรรม ประสิทธิภาพและประสิทธิผลก็จะไปทำให้กิจกรรม นักศึกษาเฟื่องฟูมากขึ้น พอคนภายนอกเห็นผลก็อาจจะเข้ามาทำกิจกรรม นักศึกษาต่อ กิจกรรมล่าสุดก็เป็นโครงการที่ใหญ่มากของรัฐบาลชื่อ “18ปีมีดี เพื่อชาติ” ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ใจป้ำมาก ตั้งแนวทางโครงการแล้วให้เด็กและเยาวชนไปทำงานต่อ ก็มีกลุ่ม YIY, Blackbox, IDEA, X-Glue, เครือข่ายเยาวชนเพื่อการพัฒนา, กลุ่มลูกเหรียญ ของภาคใต้ และอีกหลายๆ กลุม่ ก็มาร่วมกันคิด ตอนนีอ้ ยูใ่ นช่วงการวางแผน โครงการหลักๆ ต้องการให้เด็กอายุ 15-18 ปี ออกมาทำอะไรเพื่อสังคม เพื่อคนอื่น คือมีพลังเหลือเฟือแต่ไม่มีที่ปล่อย พอปล่อยออกมาก็อาจเป็นไป ในทางที่สร้างปัญหา เราก็ต้องการให้มันเปลี่ยนเป็นพลังที่เป็นประโยชน์ โดยการที่สนับสนุนให้คนกลุ่มนี้มีพื้นที่ มีทุนและมีคนคอยให้คำปรึกษาเพื่อ สร้างโครงการที่เค้าอยากทำ เป็นโครงการที่ใหญ่มาก ทั่วประเทศเลย ระยะเวลาสามปีกเ็ ริม่ แล้ว ช่วงหกเดือนหลังนีก้ ท็ ำแผนงานและของบประมาณ 30-50 ล้านบาท คิดว่าการทำงานของกลุ่มตลอดหนึ่งปีมีจุดดีจุดด้อยอย่างไร ถ้าพูดถึงจุดดีในการทำงาน หรือว่าจุดแข็งก็คงจะเป็นเรื่องจิตใจ ของคนทำงาน คือทีมงานค่อนข้างมีประสิทธิภาย ทุ ก คนมี ศ ั ก ยภาพ มีเครือข่ายของตัวเอง แม้บางทีเตรียมงานน้อยแต่ทุกคนก็คล่องตัว เรียกว่า
d-tack.indd 31
7/9/2549 17:58:30
โซโล่กันได้เลย ก็แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี รู้งานและยังใจสู้กันทุกคน ส่วนเรื่องของจุดด้อยที่เรามองเห็นและพยายามแก้ไขอยู่ก็มีเรื่องการจัดการ การจัดการโครงการเรื่องการจัดการคน คือเรามีปัญหาเรื่องของบุคลากร ค่อนข้างเยอะ เช่น เมื่อรับคนเข้ามาก็อาจกระจายงานน้อยบ้างมากไปบ้าง บางคนไม่ไหวก็แตกหักหายไปบ้าง หรือเรื่องของการจัดสรรการมีส่วนร่วม ในการทำงานบางทีมันแบ่งระดับมากเกินไป เช่นกลุ่มแกนก็คุยกัน แต่น้องๆ ก็อาจรู้งานในส่วนผิวเผินเป็นงานๆ ไป อีกปัญหาก็คือเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ กระแสหลักอยู่ที่รังสิต มีฝ่าย KM (Knowledge Management) อยู่ที่ท่า พระจันทร์ เราเหมือนกบฎท่าพระจันทร์เลย ที่รังสิตเขาพร้อม คนพร้อม งานก็รันไปได้ตลอด ทั้งเวลาและสถานที่ลงตัว ส่วนฝ่ายเราที่นี่ก็ต้องตาม ข่าวสารตลอด แต่ตอนนี้ก็ดีขึ้นแล้ว แล้วมีการปรับอย่างไร เราก็คอยติดตามผลตลอด คอยดูการทำงานและวางแผนให้ดีขึ้นใน ทุกส่วน จัดการบริหารงานให้คล่องตัวมากขึ้น โดยแต่ละฝ่ายจะมีการวาง แผนและนำมาเสนอให้ ส อดคล้ อ งกั น และมี ค วามชั ด เจนในยุ ท ธศาสตร์ ว่าอะไร เพื่ออะไร ปีที่แล้วเหมือนกองโจรมากๆคืออะไรเข้ามาก็ตีหมด เหนื่อยมา เจ็บตัว เจ็บใจแต่ก็เป็นบทเรียนที่ดี ปีนี้เลยวางยุทธศาสตร์ ให้ชัดเจนไปเลย ว่าจะไปในทิศทางใด อย่างยุทธศาสตร์ในตอนนี้ก็คือ เราจะเร่งพัฒนาองค์กร ให้มีศักยภาพและคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น ดูว่าตรงไหนเป็นหลักที่เราต้องไปถึง ต้องผ่านอะไรบ้าง อย่างค่ายรุ่นสี่ที่ เราตั้งเป้าว่าต้อง Maintain เครือข่ายให้ได้นะ คอยดูและประเมินผล ยังไม่คิด โครงการเพิ่มเพราะว่าที่มีมันก็เยอะพอสมควร ไอเดียจะก้าวไปถึงไหน เมื่อไรจะถึงจุดอิ่มตัว อย่างแรก วันนึงไอเดียต้องเป็นองค์กรที่คนเข้ามาทำแล้วไม่ตาย มีกินมีเงินเดือนอยู่ได้ บางคนคิดว่าถ้าทำงานเพื่อสังคมจะอดตายมันไม่ใช่
d-tack.indd 32
7/9/2549 17:58:31
d-tack.indd 33
7/9/2549 17:58:31
อย่างที่สองมองว่าในระยะยาวมากๆไอเดียอาจไม่มีอยู่ก็ได้ เพราะถ้าสุดท้าย แล้วระบบสนับสนุนต่างๆ ที่เราสร้างขึ้นถูกเอาไปติดตั้งในสถาบันการศึกษา หรือในกลไกของรัฐ มันก็ถือว่ายั่งยืนที่สุดแล้ว ไอเดียก็คงจะสลายตัวหรือไม่ ก็หันไปทำในส่วนอื่นๆ อยากให้ไอเดียเป็นองค์กรนานาชาติ วันนึงความรู้ หรือรูปแบบในประเทศจะอิ่มตัว ดังนั้นถ้าทำเป็นระบบเปิดได้ เข้าไปเรียนรู้ วิธีการทำงานของต่างชาติบ้าง อาจจะเอามาแชร์กันเกิดกิจกรรมดีๆ ใหม่ๆ ซึ่งตอนนี้ก็มีหลายๆ ที่ติดต่อมา มองว่าในอนาคตน่าจะมีโอกาสทำงาน ร่วมกัน พี่อุ้ม อีกหนึ่งทีมงานได้พูดถึงอนาคตของไอเดียว่า เบื้องต้นพี่คิดว่า ใกล้สุดในสามถึงสี่ปีนี้ ไอเดียน่าจะพัฒนาเป็นองค์กรนิติบุคคล โดยส่วนตัว อยากให้เกิดอีกบริษัทขึ้นมา เมื่อรับเงินก็จัดสรรมาทำงานให้กับสังคม นอกจากพัฒนาองค์กรแล้วยังกระจายสู่สังคมด้วย อะไรทำให้ไอเดียแตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ พี่คิดว่าในบรรดาองค์กรทั้งหลายที่มีอยู่ น้อยองค์กรที่จะเข้าถึง นักศึกษาแทบทุกมหาวิทยาลัย อย่างแรกโดยศักยภาพอาจจะซ้ำกับหลายๆ ที่ เช่นเรื่องของการฝึกอบรม กลุ่ม Blackbox อาจพอๆ กับเรา แต่เรามอง ที่นักศึกษา แทบจะไม่มีใครเหลียวมองเลย เราน่าจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามา ทำกิจกรรมกับนักศึกษาอย่างจริงจัง แต่เดิมก็มีกลุ่มต้นกล้าแต่ก็เน้นไป ทางพัฒนาชุมชนชนบท ไม่มีใครจัดกิจกรรมสันทนาการ กิจกรรมบันเทิง หรือกิจกรรมทั่วๆ ไปที่จัดในมหาวิทยาลัย เราเข้าไปจับตรงนี้ และช่วย พัฒนาระบบตรงนี้ให้มันดีขึ้น ทุกคนมองว่านักศึกษาต้องออกมาช่วยเหลือ สังคม แต่ไม่มีใครคิดว่าจริงๆ แล้วมันมีข้อจำกัดอะไร และจะทำอย่างไรให้ ข้อจำกัดนั้นหายไป ต้องส่งเสริมส่วนไหน เพื่อที่เค้าจะลุกขึ้นมาทำอะไรดีๆ ให้สังคม ถ้าวันข้างหน้ามีองค์กรที่เข้ามาทำเรื่องนี้จริงจัง ก็อาจไม่ต้องมี ไอเดียก็ได้ และในเรื่องของรูปแบบองค์กร ของไอเดีย ต้องบอกว่าไม่ค่อยมี องค์กรไหนทำกว้างเท่าไอเดียอีกแล้ว อย่างไม่มีองค์กรไหนที่ทำเรื่องการจัด การความรู้ บางองค์กรจะมีความถนัดเฉพาะเป็นอย่างๆ ไปอย่างการฝึก
d-tack.indd 34
7/9/2549 17:58:31
อบรมหรือทำเรื่องสื่อไปเลย แต่ไอเดียจะเป็นเหมือนก้อนที่รวมทั้งหมดเอาไว้ เป็นโครงสร้างที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เป็นองค์กรเดียวที่ครอบคลุมเกือบทุกด้าน ของงานนักศึกษา ฝากถึงน้องๆที่อยากเข้ามาทำกิจกรรมหรือมีความสนใจ อยู่ที่จุดประสงค์ในการทำว่าเราทำไปเพื่ออะไร ถ้ารู้แล้วก็เริ่ม ได้เลย ข่าวสารหรือข้อมูลต่างๆก็หาง่ายไม่ว่าจะในมหาวิทยาลัยหรือนอก มหาวิทยาลัยอยูท่ เ่ี ราขวนขวายหรือไม่ ส่วนเรือ่ งทีถ่ า้ อยากทำโครงการต่างๆ ตอนนี้ก็มีหลายๆ กลุ่มที่คอยสนับสนุนในเรื่องนี้อยู่ ตอนที่โอกาสเปิดก็หา ข่าวดีๆ แต่ที่สำคัญสุดก็อยู่ที่เราเองว่าเราตอบได้รึเปล่าว่าเราทำอะไร เพื่ออะไร เพื่อใคร และที่สำคัญอีกอย่างคือทุน ถ้ามันดีจริงเดี๋ยวก็จะมีคนเข้า มาสนับสนุนเองต้องมีความพยายามจริงๆ อีกอย่างที่อยากฝากไว้ก็คือ การทำกิจกรรมคนอื่นอาจคิดว่าทำให้การเรียนตกไม่ก็ยังไม่รู้จะเริ่มยังไง แต่สำหรับพี่คิดว่าการทำกิจกรรมแล้วน่าจะช่วยให้หาตัวเองเจอมากขึ้น ทำให้เราได้ลองทำอะไรหลายๆ อย่าง ถ้าทำอะไรแล้วมันสร้างคุณค่ากับเรา เมื่อนั้นเราจะหาตัวเองเจอและเรื่องเรียนพี่ว่ายิ่งไม่ทำอะไรยิ่งเฉื่อยไป กิจกรรมน่าจะมีส่วนให้เราหัดบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพที่ดี ควรลอง ดูก่อนแต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ค่อยลดลง ส่วนพี่อุ้มก็ฝากไว้ว่า การทำกิจกรรมเหมือนอีกมุมหนึ่งที่ให้คนได้ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ไม่จำเป็นต้องเป็นงานเพื่อนสังคมก็ได้ จะเป็น กีฬา ดนตรีก็เพิ่อการพัฒนาตนเอง จากนั้นมันจะเพิ่มไปในส่วนอื่นๆ เอง เพื่อคนรอบข้าง เพื่อสังคมได้ ลองทำดู ไม่ยากเกินไป
d-tack.indd 35
7/9/2549 17:58:31
d-tack.indd 36
7/9/2549 17:58:33
เรื่อง : กนกพร ตรีครุธพันธ์ / ภาพ : บุญณัฐ ฉัตรเสาวภัณฑ์
ได้ดีเพราะปฏิเสธ
ในเหล่าบรรดาปัญหาสารพันที่เกิดขึ้นกับเยาชนวัยรุ่นวัยเรียนนั้น ปัญหาหนึ่งซึ่งหลายๆ ครั้งก็ไม่ถูกมองว่าเป็นปัญหาเท่าไหร่ในหมู่ตัวเยาวชน เอง เนื่องจากมันเป็นเรื่องที่ดูสุดแสนจะธรรมดา พบเห็นกันได้อย่างชินตา กลมกลืนอยูก่ บั วิถชี วี ติ จนอาจเรียกได้วา่ เป็นวัฒนธรรมแฝงอย่างหนึง่ ไปแล้ว เหล้าและบุหรี่ ภัยร้ายใกล้ตัวที่ดำรงอยู่ในสังคมมานาน การรณรงค์ การพยายามแก้ปัญหาด้วยรูปแบบต่างๆ นั้นมีให้เห็นอยู่ตลอด และก็น่ากลัว ว่าจะยังคงมีให้เห็นอยู่ตลอดไป วันที่เหล้าบุหรี่จะหมดไปจากโลก เหมือนกับ โรคภัยที่ถูกกำจัดไปนั้น ดูท่าจะเป็นไปได้ยากเหลือเกิน หรือแทบจะเป็นไป ไม่ได้ แต่หากทุกคนถอดใจ ไม่คิดแม้จะพยายามแก้ไขหรือลดปัญหา ปาฏิหารย์ก็คงไม่เกิด วัยที่เริ่มเดินเข้าสู่ปัญหานี้ คือ วัยรุ่น นิสิต นักศึกษา เป็นช่วงเวลา แห่งความเสี่ยง จะเป็นเรื่องน่ายินดีแค่ไหน ที่ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อกลับกลาย มาเป็นจุดเริ่มต้นของการพยายามแก้ไขปัญหา และนำพามันไปสู่จุดจบ NONA กลุ่มคนที่รวมตัวกันสร้างสรรค์ในสิ่งที่สวนกระแสอันเชี่ยว กรากของสังคม
d-tack.indd 37
7/9/2549 17:58:33
จุดเริ่มต้นของ NONA เกิดจากเพื่อนนิสิตนักศึกษาด้วยกันเองที่มองเห็นว่าพวกเรามี ปัญหาเกี่ยวกับเหล้าบุหรี่เยอะ ก็เลยมาทำงานรณรงค์ให้เพื่อนๆ นักศึกษา ด้วยกันลดละเลิกเหล้าบุหรี่ จะได้ลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับเพื่อนๆ สมาชิกของกลุ่ม เริ่มจากตอนที่เป็นนักศึกษาอยู่ จนตอนนี้คนที่จบไปแล้วยังทำอยู่ ก็มีแกนนำหลักๆที่เป็น Staff ทำงานเต็มเวลาก็มีประมาณ 10 คน และยังมี น้องๆ ที่เข้ามาช่วยงานกันตลอด ส่วนสมาชิกทั้งหมดจริงๆ นั้นก็ยากที่จะ ประมาณ เพราะทำกันเป็นลักษณะเครือข่าย โดยจะมีสมาชิกส่วนกลางอยู่ และในแต่มหาวิทยาลัยก็จะมีเป็นชุมนุมย่อยๆ ซึง่ แต่ละทีก่ จ็ ะมีการหาสมาชิก กันเองต่อไปอีก จากวันที่ก่อตั้ง มาจนถึงวันนี้ก็ 2 ปีแล้ว รูปแบบกิจกรรม หลักๆ ก็จะแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือการสร้างแกนนำในมหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวกับการรณรงค์เรื่องเหล้าบุหรี่ และการช่วยให้แกนนำในแต่ละที่กลับ ไปผลักดันทำกิจกรรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัยของเขาเอง ดังนั้น รูปแบบของ กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นในแต่ละที่นั้นก็อาจจะมีความแตกต่างกันไป เพราะแต่ละ ที่ก็จะมีบริบทแวดล้อมของมหาวิทยาลัยที่แตกต่างกัน แกนนำก็จะไปปรับ กิจกรรมให้มีความเหมาะสม หลังจากได้พูดคุยปัญหาและวางแนวคิดร่วมกัน จากส่วนกลาง
d-tack.indd 38
7/9/2549 17:58:33
ทำในสิ่งที่ทำได้ การรณรงค์เรื่องเหล้าบุหรี่นี้จะต้องต่อสู้กับหลายๆ อย่าง ซึ่ง NONA ก็จะพยายามช่วยในส่วนที่สามารถทำได้ อย่างบริษัทเหล้าเบียร์เขามีเงิน มีอำนาจในการทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นเหมือนการโฆษณาหรือการเข้าไปเป็นผู้ สนับสนุนในกิจกรรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเยาวชน สามารถเข้าถึงตัว เยาวชนได้อย่างง่ายๆ อย่างเราก็ไม่สามารถที่จะไปทำอะไรเค้าได้ ไม่ได้มีเงิน ทุนในการที่จะเข้าไปสนับสนุนกิจกรรมต่างๆอย่างเขา เราก็พยายามทำใน ส่วนที่เราทำได้คือช่วยกันบอกเพื่อนบอกพี่บอกน้อง บอกต่อๆ กันให้ช่วย รณรงค์ พยายามทำให้เห็นว่ามันไม่ใช่สิ่งธรรมดา เพราะเดี๋ยวนี้คนส่วนใหญ่ เห็นเหล้าบุหรี่เป็นของธรรมดาไปแล้ว สิ่งที่ต้องเผชิญ ถ้ามองปัญหาใหญ่สองอย่างคือพวกนายทุนบริษัทเหล้าเบียร์ต่างๆ กับจิตใจของคน ความยากนั้นอยู่ที่การพยายามเปลี่ยน ด้านหนึ่งก็เป็นเรื่อง ของธุรกิจการทำกำไร เขาก็ทำเพื่อเงินทอง การจะไปห้ามไม่ให้เขาเลิกขาย ก็คงทำไม่ได้ ส่วนเรื่องของจิตใจคนก็ไม่ได้ถือว่าเป็นศัตรู คนก็เป็นเหมือน เพื่อนของเรา หรืออาจจะเป็นตัวเราด้วยซ้ำ เพื่อนเราที่ไม่รู้ ตัวเราที่ไม่รู้ เห็นว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ธรรมดา ไม่คิดว่ามันเป็นปัญหาอะไร เป็นการที่จะ ต้องทำให้สามารถเอาชนะจิตใจของตนเองให้ได้ หากเขาไม่ทำเองมันก็ยาก ยากที่จะเปลี่ยนทั้งคู่ โครงการเด่นๆ ในช่วงนี้ จริงๆ แล้วกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นอาจจะเยอะมาก แต่เรื่องที่ใกล้ที่สุด ก็คงจะเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรับน้องปลอดเหล้า เพราะจากการสำรวจ นักศึกษาดื่มเหล้ากันประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ แล้วครั้งแรกก็มักจะเป็นตอน รับน้อง เราก็จะพยายามรณรงค์ให้รุ่นพี่อย่าชวนรุ่นน้องดื่มเหล้า หรือรุ่นน้อง ถ้าถูกรุ่นพี่ชวนก็พยายามอย่าดื่มเลย โดยจะเริ่มจากการประชุมกับเหล่า
d-tack.indd 39
7/9/2549 17:58:33
แกนนำในการจัดการรับน้องทั่วประเทศ จริงๆ ก็จะมีการประชุมอย่างนี้ทุกปี อยู่แล้ว ซึ่งเราก็ประสบความสำเร็จมา 2 ปีแล้ว ปีนี้ก็จะพยายามขยายผล ให้มากขึ้นกว่าเดิม ในปีที่แล้วก็มีมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมกับเราด้วยส่วนหนึ่ง ปีนี้เราก็อยากจะให้เกิดผลอย่างจริงจัง หลายคนพูดว่าการจะเข้าสังคมกับกลุ่มเพื่อนได้ต้องดื่มเหล้าสูบบุหรี่ งานเลี้ยงสังสรรค์จะให้สนุกก็ต้องดื่มเหล้าสูบบุหรี่? เรื่องเหล่านี้ NONA เราได้หาทางออกให้นานแล้ว เราเชื่อว่าความ สนุกไม่ได้เกิดจากการดื่มเหล้า ซึ่งก็ได้พิสูจน์ด้วยตัวเองมาหลายงานแล้ว เช่น การจัดปาร์ตี้ เราก็จัดแบบไร้แอลกอฮอล์เลย เราก็พบว่าเราสนุกกัน สนุกกันได้โดยไม่ต้องดื่มเหล้าเลย แล้วถ้าอยากดื่มน้ำอะไรซักอย่างหนึ่งแทน เราก็คิดน้ำ อัลเทอร์เนทีฟดริ้งค์ขึ้นมาแทนให้ เอาไว้ดื่มแทนเหล้า หลายคน อาจสงสั ย ว่ า แล้ ว มันจะแทนกันได้ยังไง เราก็ม าคิ ด ว่ า เหล้ า นอกจาก แอลกอฮอล์แล้วมันมีองค์ประกอบอื่นที่ดึงดูดและทำให้คุณชื่นชอบ เช่นสีสัน และรสชาติที่ซาบซ่า น้ำนี้ก็สีสวยแล้วรสชาติก็ซาบซ่า แถมยังมีสิ่งที่ให้ได้มา กกว่าเหล้าอีกคือ ให้สติ และประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะคุณจะหาประโยชน์ และสติจากเหล้าไม่ได้เลย
d-tack.indd 40
7/9/2549 17:58:33
d-tack.indd 41
7/9/2549 17:58:33
d-tack.indd 42
7/9/2549 17:58:34
เรื่อง : บุญณัฐ ฉัตรเสาวภัณฑ์
ทำให้ใจได้ใกล้กัน
กรุงเทพมหานคร – สมกับคำต่อท้ายชื่อเมืองว่า “มหานคร” จาก ชุมชนเล็กๆ ริมปากแม่น้ำเจ้าพระยา กลายเป็นเมืองขนาดใหญ่ที่ครอบผู้คน จำนวนเกือบ 1 ใน 6 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศไว้ให้ต้องแก่งแย่ง ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด ทุกคนต้องแย่งตื่นเพื่อแย่งเดินทางไปเรียนหรือ ทำงานในตอนเช้า แย่งกันบริโภคในช่วงเวลากลางวัน และแย่งตะเกียด ตะกายกลับสู่ที่พัก นอนเอาแรงสำหรับการแก่งแย่งในวันต่อไป ยิ่งแย่งก็ยิ่งแบ่งผู้คน แบ่งจิตใจให้ห่างกันมากขึ้นเรื่อยๆ เครื่องมือ ทุ่นเวลามากมายดูคล้ายว่าเราจะมีเวลาใกล้ชิดกันมากขึ้น แต่เปล่าเลย มันกลับสร้างโลกส่วนตัวให้กับผู้คนจนไร้ซึ่งความร่วมมือใดๆ ที่จะเป็นพลัง ขับเคลื่อนให้สังคมก้าวกระโดดไปข้างหน้า กลุม่ คนหนุม่ สาวจำนวนหนึง่ ในนาม Y-ACT พยายามจับมือประสาน คนในชุมชน เชื่อมโลกของเขาให้กลายเป็นโลกของเรา ผ่านรอยยิ้มและเสียง หัวเราะของเด็กๆ ด้วยแรงกายและแรงใจของพวกเขา
d-tack.indd 43
7/9/2549 17:58:34
Y-ACT คืออะไร Youth Action for Community Trust ชือ่ ภาษาไทย คือ ศูนย์กจิ กรรม เยาวชนเพื่อชุมชนและสังคม พวกเรามารวมตัวกันด้วยความอยาก อยาก ทำอะไรดีๆ ให้ชุมชนและสังคม ชุมชนในความคิดของเราก็คือชุมชนในทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นชุมชนในโรงเรียน ชุมชนในสถานศึกษา ชุมชนในวัด ชุมชนที่ เป็นชุมชนจริงๆ เราอยากให้พัฒนาในเรื่องของกระบวนการเรียนรู้และ กระบวนการในการมีส่วนร่วมในการทำงาน ดังนั้นเราก็เลยจะแอบไปตาม ชุมชนต่างๆ และก็ด้วยความรู้สึกที่พวกเราคุยกัน เรามามองกันว่าเหตุผล จริงๆ ที่ทำก็คือ อยากมองให้พ้นจากตัวเองไปว่า เวลาคนเราที่มีความรู้เยอะ พัฒนาตัวเองได้ถึงจุดนึงและดูแลตัวเองได้แล้ว ก็น่าจะแบ่งอะไรให้กับคนอื่น ให้เค้าได้เรียนรู้บ้าง เพื่อที่จะได้พัฒนาตัวเอง พัฒนาสังคมให้มันดีขึ้น Y-ACT เน้นชุมชน? ส่วนหนึ่งคือเน้นเรื่องการพัฒนาชุมชน และอยากพัฒนากระบวน การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมจริงๆ โดยที่พัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้สนุก ซึ่งจริงๆ แล้วรู้สึกว่า เรื่องหลายๆ อย่าง เราสามารถนำมาพัฒนาให้เป็นเกม เป็นกิจกรรมที่สนุกได้ ไม่จำเป็นต้องเลคเชอร์ หรือว่านั่งฟังบรรยายอย่าง เดียวและได้เรียนรู้จากการทำงานจริงๆ แต่ถ้าเกิดพูดถึงเรื่องพื้นที่การ ทำงานแล้ว ก็คือลงชุมชน ก่อตั้งนานหรือยัง? ประมาณ พฤศจิกายน ปีที่แล้ว (2548) จุดเริ่มต้นของพลพรรค? ก็เป็นคนที่มาจากหลากหลายสถาบัน มีน้องจากธรรมศาสตร์ หอการค้า จากราม แล้วชวนกันไปลงชุมชน เมื่อก่อนทำงานในมูลนิธิ ทรัพยากรเอเชีย อยู่ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อเยาวชน ก็คือทำงานด้าน
d-tack.indd 44
7/9/2549 17:58:35
เยาวชนมาตั้งแต่เด็กๆ แล้ว แล้วก็มีน้องจากหอการค้าที่ทำงานกับชาวบ้าน มาเยอะ มาเจอกันแล้วก็พากันไปลงชุมชน อีกคนเจอกันที่สึนามิ อยู่กันที่นั่น ประมาณ 2 เดือน แต่ว่าคนอื่นเขาก็ไปทำกับศพ ไปทำกลุ่มอาสาสมัครอื่นๆ แต่เราไปทำกับเด็กอย่างเดียว ตอนนั้นเขาก็ทำงานเอกชน ทำฝ่ายกิจกรรม เหมือนกัน เลยชวนกันมาทำกิจกรรมกับเด็กด้วยกัน แรงกระตุ้น? คุณเคยรู้สึกมั้ยว่าคุณได้เรียนรู้อะไรมามากจนพอแล้ว นั่งโต๊ะเขียน เอกสารรายงาน ทำไปทำไม ความรู้พวกนั้นมันใช้ได้จริงหรือเปล่า ผมถูก อบรมเรื่องสิทธิเด็กมาตั้งแต่ปี 42 เป็นวิทยากรมาตั้งนานแล้ว ทำเรื่องงาน วิจัยต่างๆ วันนึงเลยนั่งคิดถามตัวเองว่าสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด ได้ทำเพื่อ คนอื่นมากน้อยขนาดไหนวะ ความรู้อย่างเช่นเรื่องสิทธิเด็กก็ดี ความรู้เรื่อง กระบวนการก็ดี กิจกรรมก็ดี ความรู้เรื่องวิชาการก็ดี ความรู้เรื่องสันทนาการ ของพี่ๆ เราก็น่าจะนำไปใช้ พิสูจน์ดูว่าตัวกฎหมาย วิจัย รายงาน ที่คนทำ กันมากันเยอะแยะ มันใช้ได้หรือเปล่า ตอนนั้นทำคนเดียว เดินหาชุมชน ก็หาเอง ก้าวแรกกับอุปสรรค? ก้าวแรกที่เดินลงไปเนี่ยตั้งแต่เริ่ม Survey เลยแล้วกัน เหมือนเป็น การเที่ยวเล่นมากกว่า ไปเที่ยววัด เที่ยวนู่นเที่ยวนี่ ก็เดินไปเจอชุมชนนึง แถวห้างพานิชย์ทวีธา กลิ่นคลองเน่าโชยมาแต่ไกล รู้สึกบรรยากาศมันไม่ เหมาะกับการเจริญเติบโตของเด็กเลย ทำมาทำไมโลกที่เหมาะสมสำหรับ เด็กๆ ทำมาทำไม พรบ. คุ้มครองเด็ก ทำมาทำไม พรบ. สิ่งแวดล้อม มันไม่ เหมาะสมกั บ ใครเลยที่จะไปอยู่ตรงนั้น ก็เลยลองถามประธานชุ ม ชน เขาบอกว่า “โอ้ย เนี่ยจะทำก็ทำได้ มีตังค์มั้ยล่ะ” อ้าว...ไม่มีเงินพอ เราเองไม่ อยากเอาเงินขึ้นมาเป็นตัวตั้งในการทำงานไง เรามีใจ เรามีเพื่อน ถ้าเกิด ถามเราเรื่องเงินก็เลยถอยออกมา แล้วเราก็เลยออกไปต่อชุมชนอื่นคือชุมชน
d-tack.indd 45
7/9/2549 17:58:35
วัดหงส์ จริงๆ เจอก็ไม่ได้คิดที่จะทำอะไร แล้วไปเจอเด็กเล่นในลานวัด เฮ้ย มีลานวัด มีเด็กเล่นด้วย แต่เดินไปเดินมา อ้าว...ชุมชนมันก็แออัดอยู่นี่หว่า ไปนั่งคุยกับเด็กก็รู้สึกว่ามันไม่มีอะไรทำจริงๆ เลยต้องมาอยู่ตรงนี้แล้วก็เดิน ไปถามชาวบ้านแถวนั้นต่อ หลังจากนั้นอาทิตย์นึง เราทำเอกสารไป Survey เพื่อเก็บข้อมูล พอเก็บข้อมูลปุ๊บ ก็ขอคุยกับประธานชุมชน เค้าก็ อืม ไม่มีเงินนะ แต่อยาก ทำก็จะให้ทำ ก็เลยทำกันในสนาม ลานวัดนั่นแหล่ะ เก็บข้อมูลคนเดียว? ใช่ ตอนเก็บข้อมูลทำคนเดียว แต่ว่าตอนนั้นยังทำงานนี่มูลนิธิ ทรัพยากรเอเชีย คือเรายังมีอะไรบางอย่างดูแลตัวเองได้อยู่แต่เราก็อยากทำ แล้วที่นี้ตัวบอสก็โอเค ยูอยากทำข้างนอกก็ทำ ยูไม่ต้องมา Coordinator นั่งอยู่ในออฟฟิศแล้ว คอยประสานงาน เพราะคิดเสมอว่าตัวเองมีศักยภาพ มากกว่านี้ แต่มันก็ได้ความรู้ ได้เรียนรู้ แต่ใช้ได้ไม่ถูกจริต เราก็เลยลองไปทำ ดูว่ามันจะถูกมั้ย แรกๆ ทำกิจกรรมในลานวัด ต่อมาขยับมาเป็นศาลาวัด แล้วก็ที่ตึกเปรียญธรรมของวัด กิจกรรมแรก? เล่นกับเด็กที่วัดหงส์นี่แหล่ะครับ เด็กประมาณ 30-40 คน มะรุม มะตุ้มกัน “พี่ๆ เอารูปมา มาวาดรูปเล่นกัน” เราพลิกรูปแบบการเรียนรู้ของ การทำงานในชุมชนไปเลย อยากลองพลิกดูว่า ถ้าลองไปประสานแล้ว ไม่ต้องบอกว่าเป็นใคร ทำอะไรมา แต่วันนึงฉันอยากลุกขึ้นมาทำอะไรเพื่อ ชุมชน จะทำได้มั้ย ก็ลองเลย ซื้อสี ซื้อกระดาษเข้าไป นั่งวาดรูปเล่น ชุมชน ก็มานั่งวาดรูปเล่นกันบ้าง พาลูกหลานมาวาดรูปเล่น มีวิ่งเปรี้ยวกันด้วย
d-tack.indd 46
7/9/2549 17:58:35
d-tack.indd 47
7/9/2549 17:58:39
ความนิยม? โห คือเราก็ทำ Trust Building คือสร้างความเชื่อใจ เพราะว่าเรา เป็นคนข้างนอกเข้าไป เมื่อก่อนเข้าไปสัปดาห์ละ 4 วัน ทุกเย็น หลังๆ ก็ ชวนเพื่อนเข้าไป ก็เริ่มทำกิจกรรมกับชุมชน พัฒนาไปเรื่อยๆ จนมีงาน วันเด็ก จัดที่ลานวัดบ้าง ศาลาวัดบ้าง ตึกเปรียญธรรมของวัดบ้าง บางทีก็ โดนไล่ที่บ้าง เพราะว่าเสียงดังมากไม่ได้ มีชุมชนอยู่ล้อมบริเวณวัด มีมัสยิด มีโรงเรียน จากกิจกรรมที่ทำก็ค่อยๆ สกรีนเด็กกลุ่มนึงออกไป เราต้องการ กลุ่มเป้าหมายที่ด้อยโอกาส เราอยากรู้ว่าเขาด้อยโอกาสขนาดไหน อยากรู้ ว่าชุมชนดูแลเขาดีขนาดไหน อยากรู้ว่าครอบครัวในสภาวะเศรษฐกิจของ ชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่งจะดูแลเขาได้ขนาดไหน เราก็ไปนั่งทำ ไปกินข้าว เล่นบ้านเขา พอคุยไปเรื่อยๆ ก็เริ่มเลือกเด็กที่บ้านยากจน เหลือกันอยู่ ประมาณ 3-4 คน บวกกับเยาวชนในชุมชนอีกส่วนนึงที่เข้ามาทีหลัง เห็นเรา ทำกิจกรรมก็เข้ามาคุย เรามีความรู้สึกว่า ถ้าชุมชนมีปัญหาขนาดนี้ ชุมชนกรุงเทพไม่ค่อย มีใครทำอยู่นี่นาหรือถ้าทำก็ต้องฝังตัว เราไปฝังตัวไม่ได้ขนาดนั้น เห็น บทเรียนจากพี่ๆ หลายๆที่ที่ไปฝังตัว เราก็อยากลองทำ อยากฝังบ้าง อยู่จน 4-5 ทุ่ม ก็ได้เด็กน้องๆ เยาวชนอีกกลุ่มนึง อายุประมาณ 15 ไม่เกิน 22 ประมาณ 15 คน 60% ของเด็กกลุ่มนี้ผ่านสถานพินิจผ่านคุกมาแล้ว แต่ สามารถทำกิจกรรมกับเราได้ เรื่องดื่มเหล้า สุบบุหรี่ สำหรับเราไม่ใช่ปัญหา แต่ ส ำหรั บ เราที ่ เ ป็นปัญหาคือเขายังทำพฤติกรรมซ้ ำ ๆ อยู ่ น้ อ งผู ้ ห ญิ ง 4-5 คนที่ทำกิจกรรมด้วยท้องหมด เด็กอายุ 14 เคยทำแท้งมาแล้ว 2 ครั้ง อะไรแบบนั้น เลยได้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้มาแล้วทำงานกับน้อง การทำงาน ในรูปแบบนี้คือชวนน้องคุย ทำอยู่ซักปีนึง มีท้อมั้ย? ไม่ท้อครับ 144 วันลงชุมชนถึง 5 ทุ่มทุกวัน นั่งแท็กซี่กลับบ้าน แต่ พอดีตอนนัน้ ได้คา่ เดินทางจากทุนค่าการศึกษาของอเมริกา ขอแค่ทนุ 70000
d-tack.indd 48
7/9/2549 17:58:40
ทำงานทั้งปี 144 วัน รวมค่าอุปกรณ์ ตอนแรกก็ขอจากมูลนิธิเก่าของตัวเอง คุยกันเลยว่าจะเอาเท่าไหร่ แล้วขอในส่วนค่าเดินทางด้วย หลังจากนั้นทำไป ได้แป๊บนึงก็ลาออก เรามีอาสาสมัครที่เข้ามาใหม่ไม่เกิน 3 คนในรอบ 6 เดือน เพราะ ถ้าเขาบอกว่าลงชุมชนไม่ได้ ก็ทำไม่ได้เหมือนกัน บางคนชอบงานค่าย ชอบจัด Event หรือมาจากไหนก็ตาม ลองมาเจอเด็กๆ ที่สังคมมันโหดร้าย ถ้าแค่รับตรงนี้ไม่ได้ ก็อย่าทำเลยดีกว่า คือไปทำองค์กรอื่นเถอะครับ คือถ้า ทำไม่ได้ก็อย่าทำ แต่จริงๆ แล้วรู้สึกว่ากระบวนการการเรียนรู้ของคนที่เคย ทำงานมาแล้ว ไม่ว่าจะทำงานมากขนาดไหน คุณต้องมีเวทีที่นำไปใช้ได้ ต้องพลิกแพลงหาวิธีการที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ที่คุณได้มา คุณจะประชา สัมพันธ์ให้ชุมชนรู้ได้ยังไงว่าคุณมาทำอะไร คุณจะทำเรื่องสิทธิเด็กยังไง ให้มันเกิดผลกับเด็ก ตระหนักกับพ่อแม่ เราลองหลายวิธีที่มันหลากหลาย ชวนเด็กไปเก็บขยะ ชวนเด็กไปดูคนในชุมชน แค่นี้ก็เห็นตัวอย่างแล้ว ให้เขา ได้เห็นเองแล้วเอากลับไปบอกพ่อแม่ได้ ก็ถือว่าเป็นความสำเร็จในระดับนึง อะไรคือตัวผลักดันทำให้ทำงานด้านนี้? ความที่สังคมมันไม่เท่ากัน คือผมเป็นคนอุบลฯ อยู่ครอบครัวที่ พอดีแล้ว ก็ไม่ได้รวยไม่ได้จน พ่อแม่ก็เข้าใจในเรื่องการทำกิจกรรม วันนึง เข้าไปมีส่วนร่วมในหลักสูตรพัฒนาสังคม ทำค่ายเรื่องสิทธิเด็กไปต่างอำเภอ ไปถิ่นทุรกันดาร เห็นความไม่เท่ากัน สิทธิมันไม่เท่ากันนะ ตอนไปทำที่ จังหวัดเลย เด็กร้อยคนมีครูอยู่สองคน ชุมชนก็ไม่มีไอเดีย หรือถ้ามีไอเดียก็ ไม่มีใครสนับสนุน เราก็ไม่ได้ลงไปช่วยแบบเต็มตัวเหมือนกัน ถ้ามีอาสา สมัครลงไปช่วยก็คงจะดี รุ้สึกว่าถ้ามันไม่พัฒนา ไม่ยั่งยืน ก็ไม่รู้จะทำไปทำไม อาจจะเสียสละเวลา 3 เดือน 6 เดือน แต่ถ้าสร้างแรงบันดาลให้กับคนที่ยังไม่ เห็นว่ามันทำได้จริงๆ ด้วยการทำให้เห็น สิ่งที่คุณมีในหัวมันมีตั้งเยอะ แต่จะ ทำให้คนอื่นเห็นด้วยแค่การที่ไปนั่งบอกให้เขาเห็น มันคงไม่ได้ผลเท่าการ ลงมือทำ
d-tack.indd 49
7/9/2549 17:58:40
d-tack.indd 50
7/9/2549 17:58:44
ถ้าลองแล้ว ยังไม่สามารถเปลี่ยนได้ จะทำต่อไป หรือช่างมันเหอะ? คำว่า “ช่างมันเหอะ” หมายถึง เราจะไม่รับผิดชอบกับสิ่งที่เราทำ สิ่งที่เราจะได้รับกลับมาก็คือ “มันก็ทำได้แค่นี้แหล่ะ มันก็ทำไม่ได้อย่างที่มัน พูดหรอก มันก็แค่มาทำแค่นี้ เดี๋ยวมันก็หมดความตั้งใจ” แทนที่เราจะได้รับ ความไว้วางใจ แต่ความไว้วางใจทั้งหมดที่เราสร้างมาจะถูกทำลายด้วยการ กระทำของเราเอง ดังนั้น การสร้าง Trust Building กระบวนการนี้แหล่ะ สำคัญที่สุดสำหรับเราในเรื่องการทำงาน เครือข่ายกับ Y-ACT? ได้ออกสื่อของต่างประเทศ ไม่เคยออกในประเทศไทย มีทั้งจาก อินโดนีเซีย มาเลเซีย สเปน มาทำสกู๊ป คือในเมืองไทยเค้าไม่รู้หรอกว่ามี เยาวชนหลายกลุ่มที่ลุกขึ้นมาทำให้ชุมชนแบบนี้เยอะ แถวสมุทรปราการก็มี แถวบางลำพูก็มี เพียงแต่ว่าสิ่งที่มีมากกว่าสิ่งที่เรามองเห็นคือ การที่เด็กใน ชุมชนเองจะลุกขึ้นมาแล้วตระหนักว่าเขาควรจะทำอะไรเพื่อชุมชนของเขา โดยปรับให้เหมาะกับความแตกต่างของชุมชน เลยลองทำดูซึ่งก็ขยายไป ชุมชนข้างๆ ด้วย แล้วก็สร้างเครือข่ายระหว่างกัน นโยบาย? อย่างแรก เราเน้นการถึงตัวกลุ่มเป้าหมายของเรา ไม่ว่าจะเป็น เป้าหมายไหน ถ้าเราไปทำกลุ่มเป้าหมายเชิงนโยบาย เราก็ต้องเข้าให้ถึง จุดนโยบายที่เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ที่เราคุยได้ เราจะไม่เลือกคุยกับ รัฐมนตรี เราจะเลือกคุยกับกลุ่มมาตรการและการพัฒนาศักยภาพ เพื่อที่เขา จะเอาตรงนี้ไปปฏิบัติงานได้จริง อย่างที่สอง คือเน้นในเรื่องการเรียนรู้เรื่อง สิทธิเด็ก เพราะเรารู้สึกว่า คนพูดมาในเรื่องสิทธิเด็กเยอะแยะ คนที่ทำใน ชุมชนเป็นอาสาสมัครก็มากมาย ดังนั้นถ้าเราจะสามารถพัฒนากระบวนการ ให้เรื่องสิทธิเด็กเป็นเรื่องที่จับต้องได้จริง ไม่อยู่กับกฎหมายแล้ว อาจจะเข้ามา เป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องเล็กน้อยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเขา
d-tack.indd 51
7/9/2549 17:58:45
ข้อที่สาม จะเริ่มพัฒนาให้เขาเห็นคุณค่าของตัวเอง ต้องเห็นคุณค่าของ ตัวเองก่อนเห็นคุณค่าของคนอื่นถึงจะทำงานได้ ถ้าคุณเห็นคุณค่าของตัวเอง แล้วคุณจะรู้ว่าคุณมีค่าพอที่คุณมีค่าพอที่ทำให้กับคนอื่นได้ ข้อที่สี่ เป็นเรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการมีส่วนร่วมอย่าง เต็มที่ บางทีเราทำงานกับเด็กในชุมชน เราทำกับชุมชน เราทำงานกันเอง ไม่มีใครกล้าฟันธง แต่งานมันก็ยังหมุนไปได้ด้วยการตัดสินใจ โอเค..ทำเลย แล้วกัน เน้นว่าคนเรามันมีฐานทิศบางอย่างที่ต่างกัน แต่ต้องมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ถ้ามาประชุมกันไม่ได้ ก็ประชุมทางโทรศัพท์เอา หรือไม่ถ้าคนนี้ ไม่ว่างต้องมีคนนึงคอยโทรบอก มีคนทำหน้าที่ผู้ประสานงาน ข้อสุดท้าย สำคัญมากสำหรับ Y-ACT คือ ส่งเสริมและผลักดันให้เข้าไปมีส่วนรวมใน การพัฒนาสังคมและชุมชน เราตั้งไว้กว้างมาก เพราะเราทำงานได้กว้าง เหมือนกัน อย่างสนุกสนาน และเต็มความรู้ความสามารถ ถ้าไม่สนุกเรา ไม่ทำ วิธีการเก็บรวบรวมองค์ความรู้? ก่อนลงชุมชนหนึ่งครั้งวางแผนว่าวันนี้จะไปเล่นอะไร และจะบอก น้องว่าที่เล่นไปได้อะไรบ้าง หรือเอาสิ่งที่เค้าเล่นอยู่ทุกวันกลับมานั่งคิดว่า ต่อว่าเขาจะชวนใครมาเล่น แล้วเขาจะพัฒนาการเล่นอย่างไร เป็นรายงาน ว่าวันนี้ใครมาบ้าง วันนี้เล่นอะไรกัน วันนี้เจอปัญหาอะไร เช่น บางทีเด็ก 3 ขวบ 5 ขวบต้องเล่นกัน การเรียนรู้ของเขาคือการเล่นกัน ดังนั้นให้ดาบไป คนละอัน ฟันกันยังไงไม่ให้ร้องไห้ ฟันกันยังไงเจ็บ เราก็ต้องรู้จักขอโทษกัน กับอาสาสมัครเราก็เก็บข้อมูลว่ารู้สึกยังไง กลัวอะไร เบื่อไหม แล้วจะแก้ ด้วยกันยังไง หรือว่าอาสาสมัครแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอะไรไปแล้วบ้าง เพื่อที่ จะทบทวนตัวเองอยู่ตลอด เป็นชุดที่ทบทวนตัวเองทุกวัน เพื่อเอามานั่งคุย กันประจำเดือน
d-tack.indd 52
7/9/2549 17:58:45
แล้วตอนนี้ที่ชุมชนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง? ตอนนี้ชุมชนบอกเราว่าเขาทำได้ เราก็เลยถอยออกมา แต่ผมอยาก กลับไปในฐานะที่ปรึกษา กลับไปเล่นกับเด็ก กลับไปคุยบ้าง เราพยายามจะ แปลผลจากที่คนที่เคยทำสำรวจข้อมูลไว้ ซึ่งมีเป็น Case Study หลายตัว แต่ไม่ได้ลงลึกไปถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่การ Leaning by Doing จากข้อมูลที่คนเขาทำไว้เยอะแยะ เราก็มีฐานการทำงานที่เปลี่ยนความคิด คนได้จริงๆ มันเปลี่ยนเด็กได้จริงๆ จากเด็กที่เคยทะโมน ทะลึ่งตึงตัง แต่เริ่ม รู้จักขอโทษเพื่อน เจอผู้ใหญ่รู้จักไหว้ เชื่อไหมว่าสิ่งที่เรารู้สึกว่ามันประสบ ความสำเร็จที่สุดก็คือการที่เด็กในรอบสามเดือนแรกไหว้ผู้ใหญ่ในชุมชน แล้วเด็กทุกคนเวลาเจอกันก็ไหว้ เจอก็สวัสดี ทักทายกัน 6 เดือนต่อมา เด็กเริ่มเกาะกลุ่มกัน เข้าใจกันแล้วเล่นด้วยกัน เด็กกลับไปคุยกับพ่อแม่ว่า ตัวเองทำอะไร พ่อแม่ก็มีผลตอบรับกลับมา ส่งข้าวมาให้กิน ส่งน้ำมาให้กิน พ่อแม่คนนี้ขายเสื้อ เอาเสื้อมาให้ อีก 3 เดือนถัดมาคือเดือนที่ 9 ชุมชนเริ่มเข้ามาสนใจเรา กรรมการ ชุมชนเข้ามานั่งดูสิ่งที่เราทำ เดือนนึง 5 ครั้ง 10 ครั้ง เข้ามานั่งดู มานั่งกับ เด็ก เข้ามามีส่วนร่วมตรงนี้เราก็ถือว่าประสบความสำเร็จนะ ทุกเดือนชุมชน จะขอรายงานจากเราเพื่อไปดูว่าเขาจะทำอะไรได้บ้าง แล้วพอสิ้นปีเขาก็ อยากทำเองแต่ตอนนี้ยังขาดอย่างนึง งบประมาณหาได้แล้ว ชุมชนก็หาคน ได้แล้ว แต่ยังขาดคนช่วยอยู่ ถ้าน้องๆ มีเวลาว่างก็หาอาสาสมัครมาลงได้ เดี๋ยวพี่จะหาค่าขนมให้ กลายเป็นว่า พอเราอยากเปิดรับอาสาสมัครก็ต้อง กลับมาดูว่าอาสาสมัครของเราพร้อมที่จะเรียนรู้หรือเปล่า นั่นคือประโยคนึง ที่เราถามน้องไป ถ้าพร้อมจะเรียนรู้ คนที่พร้อมจะเปิดใจ เห็นบางสิ่งบางอย่าง ที่บางทีไม่ใช่สิ่งที่คุณฝันไว้นะ เรื่องเด็กคือเรื่องที่เราอยากทำอยู่แล้ว อยากเปลี่ยนชุมชน อยากเปลี่ยนสังคมได้
d-tack.indd 53
7/9/2549 17:58:45
d-tack.indd 54
7/9/2549 17:58:50
อยากเห็นอะไร? เราอยากเห็นกระบวนการมีส่วนรวมในทุกขั้นตอนของเรื่องเด็ก และเยาวชน เราอยากเห็นเด็กคนนึงลุกขึ้นมาสามารถคิดอะไรได้ มีส่วนร่วม กันในทุกเรื่องได้ และก็สนุกกับสิ่งที่ตัวเองทำ คือเราพยายามทำให้มันเป็น เรื่องสนุก พอมีส่วนรวมแล้วอยากให้เกิดอะไร? ถ้าเกิดมองเรื่องชุมชน เราอยากเห็นชุมชนลุกขึ้นมาเอาใจใส่กับจุด เล็กๆ ในชุมชนเขาเอง ให้ชุมชนตระหนัก และทำเรื่องดีๆ ให้เกิดขึ้นใน ชุมชนเขาเอง มันอาจจะใช้เวลา 5 ปี 10 ปีก็ช่าง กว่าชุมชนจะเปลี่ยน แต่เมื่อวันนึงเด็กกลุ่มนี้โตขึ้นมา เขาจะหันกลับมาหาชุมชนเขาเองแล้วว่า วันก่อนชุมชนเคยทำอะไรดีๆ ให้กับเขา และวันต่อไปเขาจะทำอะไรให้กับ ชุมชน อยากให้มันมีส่วนร่วม อยากให้มันสนุก อยากให้มันเรียนรู้ได้ง่าย อยากให้มันจับต้องได้จริง เรียนรู้ง่ายๆ ทำได้จริง แล้วก็เปลี่ยนโลกได้
d-tack.indd 55
7/9/2549 17:58:50
d-tack.indd 56
7/9/2549 17:58:54
เรื่อง : สุธารี รุ่งทินพุทธิชัย / ภาพ : จักรพันธุ์ ตรวจมรคา
อะไรอยู่ในกล่องดำ
“Black Box”
เมื่อคุณได้ยินชื่อนี้คุณจะนึกถึงอะไร? ความหมายตรงตัวคือกล่องดำ แต่แท้จริงแล้วมันคือชื่อของกลุ่ม เยาวชนที่ทำงานเพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนมัธยมปลายได้ทำและสนใจกิจกรรม ในโรงเรียนให้มากขึ้น กลุ่มของเขามีที่มาที่ไปอย่างไร และมีวิธีการทำงานที่น่าสนใจ อย่างไร “นาม” และ “หลิว” ซึ่งเป็นตัวแทนจากกลุ่มBlack Box จะมาบอกเล่า เรื่องราวของพวกเขาให้เราฟัง
d-tack.indd 57
7/9/2549 17:58:55
แรกเริ่มก่อตั้ง Black Box เริ่มมาจากสมัยที่เรายังเรียนอยู่ชั้นมัธยมปลาย ต่างคนต่างเป็น กรรมการนักเรียนของแต่ละโรงเรียน จึงได้เป็นตัวแทนโรงเรียนมาเข้าค่าย สภาผู้แทนนักเรียน นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้เจอกัน ได้รู้จักกัน แล้วเราก็ เริ่มทำงานด้วยกัน มีการติดต่อประสานงานกัน ก็เริ่มรู้สึกดีที่จะได้ทำงาน ด้วยกัน มันเป็นจุดเริ่มต้นของคนประมาณ 10 คน Black Box กับสิ่งที่ทำ... ภาพของ Black Box คือ กลุ่มเยาวชนที ่ ท ำงานเพื ่ อ มุ ่ ง เน้ น ให้ นักเรียนระดับมัธยมปลายทำกิจกรรมกันมากขึ้น และเราก็ช่วยส่งเสริมให้มี กิจกรรมในโรงเรียนมากขึ้น สาเหตุที่เรามุ่งเน้นไปที่เด็กมัธยมปลายก็เพราะ ว่าตอนแรกที่พวกเราเจอกัน ได้ทำงานด้วยกันก็คือตอนมัธยมปลาย ก็เลย คิดว่าเราน่าจะถนัดและเข้าใจเด็กกลุ่มนี้มากที่สุด แล้วเราคิดว่าเด็กมัธยม ปลายน่าจะสามารถดึงเด็กมัธยมต้นมาเป็นทีมงานได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาจาก ทั้งตัวทีมงานของกลุ่มเราเอง และทุนทรัพย์แล้วคิดว่าเริ่มที่กลุ่มเด็กมัธยม ปลายนี่แหละน่าจะลงตัวที่สุด กิจกรรมที่ Black Box ทำ โครงการที่เราทำในปีแรกคือ “โครงการพัฒนากรรมการนักเรียน” สืบเนื่องมาจากแนวคิดที่ว่า กรรมการนักเรียนคือคนกลางระหว่างอาจารย์ กับ นักเรียนในโรงเรียน และถ้าเราสามารถพัฒนาตัวกรรมการนักเรียนให้ แนะแนวทางในการทำกิจกรรมให้กับน้องๆ ในโรงเรียนได้มันก็จะดี ปีแรกเรา เริ่มทำโครงการนี้ 15 โรงเรียน โดยใช้งบประมาณไปประมาณ 3 ล้านบาท ต่อมาในปีที่ 2 เราก็ขยายกลุ่มเป้าหมาย จากการพัฒนาแค่กรรมการนักเรียน เป็นการพัฒนานักเรียนควบคู่ไปด้วย เราเชื่อว่าพัฒนาตัวกรรมการนักเรียน อย่างเดียวคงไม่พอ ต้องพัฒนาตัวนักเรียนที่สนใจจะทำกิจกรรมด้วย ซึ่งก็เพิ่ง จะเสร็จโครงการในส่วนของปีที่ 2 กำลังจะเริ่มต้นทำโครงการของปีที่ 3 ต่อไป
d-tack.indd 58
7/9/2549 17:58:55
รูปแบบของการจัดโครงการเรา ช่วงแรกๆ ก็จะเป็นค่ายฝึกอบรม หลังจากนั้น ก็จะมีการเข้าไปคุยกับประธานนักเรียน คุยกับอาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการจัด กิจกรรมนักเรียน แล้วเราก็จะเป็นที่ปรึกษาให้กับน้องๆ และก็ทำคู่มือให้กับ กรรมการนักเรียน ปัญหาที่ Black Box พบ? ปัญหาที่พบคงเป็นเรื่องการขาดแคลนเงิน เนื่องมากจากโครงการที่ เราเขียนไปขอเงินทุนนั้นเป็นโครงการที่เราวางแผนไว้ 3 ปีก็จริง แต่ระหว่าง ที่เราทำโครงการไปในปีที่ 2 มันทำให้เรารู้ว่า เราต้องขยายขอบเขตงานให้มัน กว้างขึ้น มันถึงจะได้ผลมากกว่า ดังนั้นเงินที่ได้มาก็เลยไม่เพียงพอต่อการทำ โครงการต่อเนื่อง 3 ปี การจัดองค์กรของ Black Box ช่วงแรกๆ ก็จะมีคณะกรรมการใหญ่ 5 คน ที่คอยตัดสินใจเรื่องต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวกับกิจกรรม เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลุ่มของเราเอง แต่ตอนนี้มีการแบ่ง ฝ่ายรับผิดชอบงานต่างๆ ชัดเจนมากขึ้น เพราะหลังจากเริ่มทำงานเราก็เริ่มรู้ แล้วว่า จะมีปัญหาอะไรบ้าง ต้องมีหน้าที่หรือฝ่ายใดบ้าง เริ่มมีการตั้งพนักงาน ประจำบริษัทขึ้นมา เมื่อเริ่มมีฝ่ายต่างๆขึ้นมารับผิดชอบ หน้าที่การตัดสินใจ ของกรรมการใหญ่ทั้ง 5 คนก็จะหายไป อนาคต – เป้าหมายของกลุ่มกับแผนการที่วางไว้ หวังไว้วา่ จะให้องค์กรนีโ้ ตต่อไป โดยทีเ่ ราก็พยายามทีจ่ ะทำทุกอย่าง ให้ดีขึ้นเท่าที่ทำได้ แต่อย่างไรก็ต้องดูความเหมาะสมของเวลาด้วย เพราะถ้า เรียนจบแล้วแต่ละคนก็อาจจะต้องไปทำงานอย่างอื่น แต่เราก็มีการวางแผน กันเอาไว้ว่าจะมีการแบ่งงานฝ่ายต่างๆให้มันชัดเจนกว่านี้ แล้วก็ขยายขอบ เขตของงานให้มากขึ้น มีคนแนะนำว่าเราให้เราทำธุรกิจด้วย เพื่อจะได้มาช่วยในส่วนของ
d-tack.indd 59
7/9/2549 17:58:55
งบประมาณ แต่ว่าเราก็จะแยกกิจกรรมเกี่ยวกับนักเรียนกับธุรกิจออกจากกัน แล้วเราจะนำเงินที่ได้จากธุรกิจมาช่วยตรงส่วนกิจกรรมของนักเรียน เพราะ เราอยากทำงานช่วยสังคมแต่เราก็ต้องอยู่ได้ด้วย แล้วเราก็จะมีพนักงาน ประจำ มีเงินเดือนให้ เราอยากให้กลุ่ม Black Box เดินไปจนถึงจุด Black Box City คือ ขยายขอบเขตงานออกไปให้หลากหลาย แตกต่าง เป็นการรวมกลุ่มของเพื่อน สนุกสนาน เฮฮา แต่เป็นอะไรที่สนับสนุนกิจกรรมของเยาวชน ฝากทิ้งท้ายให้กับคนอ่าน ฝากถึงน้องๆ หรือคนที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรมในโรงเรียนว่า ปีหน้ากลุ่ม Black Box ของเราก็ยังจะทำกิจกรรมเกี่ยวกับกิจกรรมของ นักเรียนในโรงเรียนต่อไป หากว่าน้องๆ คนไหนมีปัญหาในการทำงานก็ สามารถติดต่อขอคำปรึกษา หรือขอความช่วยเหลือได้ ติดต่อผ่านทางเวปไซต์ www.blackboxcity.tk ก็ได้ครับ ยินดีช่วยเหลือกันอยู่แล้ว
d-tack.indd 60
7/9/2549 17:58:55
d-tack.indd 61
7/9/2549 17:58:55
d-tack.indd 62
7/9/2549 17:58:59
เรื่อง : กนกพร ตรีครุธพันธ์ / ภาพ : บุญณัฐ ฉัตรเสาวภัณฑ์
ส่งต่อความรักสีขาว
ความรัก... เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา ใครๆก็พากันแต่พูดถึงเรื่องของความรัก บทเพลงรัก บทกวี นิทานตำนานต่างเล่าขานถึงความรักอันยิ่งใหญ่ ในหัวใจของคนทุกผู้ ล้วนมีมุมที่กำลังโหยหาความรักอยู่สักแห่ง ในขณะที ่ ใ ครหลายคนกำลั ง เฝ้ า รอความรั ก กั บ ความฝั น อั น แสนหวาน ใครหลายคนกำลังเจ็บปวดทุกข์ทรมานกับความรัก ใครหลายคน กำลังสุขแสนอยู่กับความรัก คนกลุ่มหนึ่ง ได้นิยาม “ความรัก” ที่ต่างออกไป พยายามส่งต่อ ความรักให้กับผู้อื่น เป็น “ความรักสีขาว” ที่พร้อมจะส่องสว่างให้กับหัวใจ ของทุกคน ไม่ว่าเขาจะเป็นใคร...
d-tack.indd 63
7/9/2549 17:58:59
การก่อตั้ง White Love จริงๆแล้วเพิ่งก่อตั้งมาได้ไม่นาน เจอกันครั้งแรกก็เมื่อ เดือนสิงหาคม ปี48 เริ่มจากการไปทำค่ายกันที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เป็นค่ายเกี่ยวกับการต่อต้านยาเสพติด ต่อต้านแอลกอฮอล์ เหล้า บุหรี่ เป็นค่ายแบบมหาวิทยาลัยสีขาว หลังจากนั้นพอกลับมาแล้ว เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ที่ไปค่ายด้วยกันมาก็ยังมีการติดต่อกันอยู่ เราก็เริ่มมารวม ตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นภาคีความรักสีขาวหรือว่า “White Love” ขึ้นมา Concept ในการทำงาน จากชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าเป็นภาคีความรักสีขาว ดังนั้นจุดยืนหรือ คอนเซ็ปต์ในการทำงานของกลุ่มเรานี้ก็คือเรื่องของ “ความรัก” เราใช้เรื่อง ของความรักมาเป็นจุดยืนในการทำงาน โดยการนำเสนอในเรื่องความรัก ของเราจะเป็นเรื่องของ “การส่งต่อความรักให้กับผู้อื่น” ไม่ใช่ไปเน้นแต่เรื่อง ความรักระหว่างหนุ่มสาวเท่านั้น เป็นความรักในรูปแบบของการให้แก่สังคม การให้แก่คนรอบข้างมากกว่า เป็นการเน้นในรูปแบบของการส่งต่อความรัก อย่างบางกิจกรรมที่เราเคยทำมา เราก็อาจจะเป็นเหมือนสื่อกลางในการส่ง ต่อความรัก เช่น กิจกรรมรักดีๆพี่ให้น้อง ก็จะเป็นการพาน้องๆ เด็กตาบอด ผู้พิการซ้ำซ้อนไปเที่ยวสวนรถไฟ White Love ก็เป็นเหมือนสื่อกลางตัวหนึ่ง ที่ประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนๆ มาร่วมกิจกรรม ให้ใช้กิจกรรมนี้เป็นโอกาสในการ ส่งต่อความรักให้กับน้องๆ รูปแบบของการทำกิจกรรม เราพยายามที่จะให้กิจกรรมของไวท์เลิฟ มันไม่มีการวางรูปแบบที่ ตายตัว เราก็ยึดความรักเป็นหลักอยู่แล้ว ก็เหมือนกับที่เขาบอกว่าความรัก มันไม่มีแบบแผน ความรักมันไม่มีคำนิยามที่แน่นอน เพราะฉะนั้น กิจกรรม ที่ออกมา มันก็สามารถทำออกไปได้หลากหลาย คือไม่จำกัดว่าคุณจะต้องทำ แต่กิจกรรมประเภทนี้ เราไม่จำเป็นต้องเป็นแต่อาสาสมัคร หรือว่าเราต้องทำ
d-tack.indd 64
7/9/2549 17:58:59
แต่เฉพาะกับคนพิการ หรือคนชรา มันสามารถที่จะถ่ายทอดออกมาได้หลาก หลายรูปแบบ เป็นการส่งต่อความรักให้กับคนในสังคม โดยที่ไม่เลือกว่าเขา เป็นใคร และลักษณะของการให้ก็จะไม่ได้จำกัดรูปแบบอีกเช่นกัน อย่างค่าย ละครก็จะให้น้องๆ มาร่วมแสดงละคร ต่อต้านยาเสพติด แล้วก็ไปแสดงให้กับ ประชาชน คนทั่วไปได้ชมกัน นี่ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง จุดเริ่มต้น เริ่มแรกก็มาจากตัวพี่แป๊กซึ่งก็เคยทำกิจกรรมมาเยอะ ผ่านการเป็น สมาชิกของหลายๆ กลุ่มหลายๆ องค์กรมาก่อน ซึ่งแต่ละกลุ่มที่เราเคยทำงาน มาก็จะมีวิธีการทำงาน มีเป้าหมาย มีสไตล์ การทำงานที่มันแตกต่างกัน ออกไป แล้วก็มีความรู้สึกว่า บางครั้งมันยังไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ สิ่งที่ตรงกับ ใจเราจริงๆ ก็เลยคิดว่า อยากจะสร้างกลุ่ม หรือองค์กรที่ จะทำงานในลักษณะ ที่เน้นในเรื่องของจิตใจ ก็คือ ไม่เน้นที่การปฏิบัติ แต่ต้องออกมาจากจิตใจ ได้ทำแล้วมีความสุข ก็เลยเอาเรื่องความรักมาเป็นหัวใจของการทำงาน เพราะความรักน่าจะเป็นสิ่งที่เข้าถึงจิตใจของมนุษย์ได้ดีที่สุด แล้วก็ตั้งกลุ่มนี้ ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า “กลุ่มภาคีความรักสีขาว” ซึ่งต้องการสื่อให้เห็นความรัก รูปแบบใหม่ที่ไม่มีเงื่อนไข และไม่จำกัดอยู่ที่ความรักระหว่างหนุ่มสาวเท่านั้น พอคิดขึ้นมาได้ก็เริ่มไปชวนเพื่อนที่สนิทกัน 2-3 คน แล้วมาคุยให้เพื่อนฟัง ว่าเนี่ย อยากจะทำองค์กร อยากจะทำงานในลักษณะแบบนี้ ตอนแรกเพื่อน ก็ไม่ค่อยอยากจะเชื่อ เหมือนกับว่ายังมองไม่ออกว่าเรากำลังจะทำอะไร ก็จะ ด่าตลอดว่าบ้ารึเปล่า จะตั้งลัทธิอะไรรึเปล่า ยังไม่เชื่อในสิ่งที่เราจะทำ ต่อมา เราก็อธิบายให้ฟังและทำให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น ก็เลยพยายามทำให้เขา เห็นจริงๆ เลยว่ามันเป็นไปได้ สิง่ ทีค่ ดิ มันไม่ได้เป็นเรือ่ งเพ้อฝัน ไม่ใช่ความคิด บ้าๆ แล้วก็ดึงเพื่อนมาทำงานด้วย ให้ได้มาเห็นว่า นี่ไงสิ่งที่เราพยายามจะ ทำ สิ่งที่เราพยายามจะสร้างสรรค์ให้มันเกิดขึ้น พอเขาเห็นว่ามันทำได้จริงๆ แล้วเริ่มก็ยอมรับ ตอนนี้เขาก็มาช่วยเราทำ มาเป็นแกนในการทำงานด้วย
d-tack.indd 65
7/9/2549 17:59:00
d-tack.indd 66
7/9/2549 17:59:04
การรวมตัวของสมาชิก ที่เข้ามาทำงานด้วยกันจริงๆ ก็มีประมาณ 20 คน ต่างคนก็จะมาจาก ต่างที่ ต่างสถาบันกัน อันนี้ ก็น่าจะเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของกลุ่มเรา มัน จะไม่ได้มีแค่สถาบันใดสถาบันหนึ่งเป็นหลัก เริ่มแรกก็ใช้การประชาสัมพันธ์ แล้วก็เปิดรับสมาชิกที่สนใจจะทำงานในเรื่องเกี่ยวกับความรักเหมือนกันกับ เราเข้ามา โดยอาศัยสื่ออินเตอร์เน็ตเป็นหลัก นับจากยอดของคนที่สมัครเข้า มาจนกระทั่งจริงๆ ก็ค่อนข้างเยอะอยู่เหมือนกัน ซักประมาณ 600 กว่าคน การเริ่มต้นในการทำงาน หลังจากที่คิดสิ่งที่อยากทำขึ้นมาแล้วก็เริ่มลงมือเขียนโครงการ แล้วก็มีไปปรึกษาผู้ใหญ่อยู่เหมือนกัน คือคุณหมอยงยุทธ ท่านก็ได้ให้คำ แนะนำว่าควรจะทำอะไรยังไง เช่น ถ้าเขียนโครงการแบบนี้ต้องไปติดต่อใคร ยังไง โปรเจคแรก โปรเจคแรกเลยที่เริ่มทำขึ้นมาก็ลองเอาไปเสนอที่สสส. การที่ค่าย แรกของเราเป็นค่ายเกี่ยวกับเหล้าก็เพราะว่าช่วงนั้นสสส.กำลังรณรงค์ เกี่ยวกับ เรื่องเหล้าบุหรี่อยู่ จึงพยายามที่จะเชื่อมเรื่องขอองความรักกับ แอลกอฮอล์เข้าด้วยกัน ก็เลยเกิดเป็นค่าย “มหาวิทยาลัยสีขาว White Love White University” เป็นการสอนให้เยาวชนเขารักตัวเองก่อน ต้องเริ่มที่รัก ตัวเองก่อน ก่อนที่จะส่งต่อความรักไปให้กับคนอื่น รักตัวเองด้วยการไม่เอา แอลกอฮอล์หรือสิ่งเสพติดเข้ามาหาตัวเอง เป็นมหาวิทยาลัยสีขาว ต่อต้าน เหล้า บุหรี่ แอลกอฮอล์ เริ่มทำกันตั้งแต่วันแม่ปี 48 โดยไปจัดค่ายกันที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ไปเป็นค่ายจุดประกายให้เขาสาน ต่อ หลังจากนั้นน้องๆ เค้าก็ไปตั้งเป็นชมรมขึ้นในมหาวิทยาลัยของเขา
d-tack.indd 67
7/9/2549 17:59:04
ทำไมต้องแม่ฟ้าหลวง? พอดี ว ่ า รู้จักกับน้องคนหนึ่งที่แม่ฟ้าหลวง เขาก็ อ ยากทำด้ ว ย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงเพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน กลุ่มกิจกรรมอะไรต่างๆ เขาก็ ยังมีไม่ค่อยมาก อยากจะมีชมรมในมหาวิทยาลัย คือเหมือนเขามีความ ต้องการ เราก็เลยเกิดความคิดที่ว่า ไปหาคนที่เขาต้องการเลยจริงๆ มันน่าจะ ดี ก ว่ า ที ่ จ ะมาจั ด ในที่ๆ มีกิจกรรมชมรมต่างๆ เยอะแยะอยู ่ แ ล้ ว อย่ า งที่ ธรรมศาสตร์ จุฬาฯ เราก็เลยตัดสินใจไปไกลกันถึงเชียงราย กิจกรรมค่ายแรก ค่ายแรกที่ทำจริงๆ แล้วก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากค่ายทั่วๆ ไป สักเท่าไหร่ มีวิทยากรที่มาจากสสส. และก็มีกิจกรรมต่างๆที่เราคิดกันเองว่า ต้องทำอะไรบ้าง ดูแลจัดการกันเอง พวกเราแต่ละคนก็มปี ระสบการณ์จากการ ทำกิจกรรมกันบ้าง แต่ละคนก็จะมาช่วยระดมความคิดกัน ก็มีปัญหา เกิดขึ้นบ้าง เพราะเป็นครั้งแรกด้วย ยังไม่รู้ใครเป็นใคร มีทะเลาะกันบ้าง แต่ ยิ่งทะเลาะกันเราก็ยิ่งรักกันมากขึ้น จากค่ายมาเป็นองค์กร หลังจากจบงานค่ายแล้วเราก็ยังมีการติดต่อกันอยู่ ก็คุยกันว่ายัง อยากจะทำค่ายต่อไหม ยังอยากให้มี White Love อยู่ต่อไปรึเปล่า ใครอยาก จะทำ ก็เหมือนเกิดมีอุดมการณ์ร่วมกันขึ้นมา พี่แป๊กเขาก็อยากจะให้มันมี ต่อไป คนอื่นๆ ก็พร้อมที่จะร่วมมือกัน พวกเรามีพาวเวอร์พอ มีกำลังความ สามารถพอที่จะสานต่อไป เราก็ต้องมาลองทำดู ทำให้มันเป็นจริงขึ้นมา ไม่ใช่พูดแต่ปาก ความสำเร็จกับกิจกรรมที่ผ่านๆมา คิดว่าประสบความสำเร็จ และก็มีกิจกรรมต่อเนื่องมาเรื่อยๆ อย่าง กิจกรรมแรกทีม่ หาวิทยาลัยแม่ฟา้ หลวง เราก็ไม่ได้ตง้ั เป้าหมายอะไรมากมาย
d-tack.indd 68
7/9/2549 17:59:04
อย่างน้อยๆ ก็เหมือนกับเราได้ไปสานฝันให้เขาอีกทางนึง ไปเป็นแกนนำ ให้เขา ชี้แนวทางให้น้องๆ เพื่อนๆ ในการเริ่มทำชมรม หรืออย่างกิจกรรม ต่อๆ มา คือกิจกรรม “รักดีๆ พี่ให้น้อง” เป็นการส่งต่อความรักให้กับเด็ก พิการ พาไปเที่ยวสวนรถไฟ พาไปว่ายน้ำ นี่ก็เป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่ทำมา แล้ว 3 ครั้ง สิ่งที่จากการทำกิจกรรมกับเด็กพิการ ที่เราเลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กพิการเพราะเรามองว่า เด็กพิการ ยังอยู่นอกความสนใจของคนในสังคม ทำเพื่อที่จะเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า การ ที่เราจะส่งต่อความรักให้กับใครสักคน ไม่จำเป็นว่าจะต้องเฉพาะกับคนที่เรา รัก คนสำคัญของคุณ หรือคนที่อยู่รอบข้างของคุณ เด็กพิการเขาก็เป็นเพื่อน ร่วมสังคม เพื่อนร่วมโลกของเราเหมือนกัน เหมือนกับว่าเราก็อยากจะเป็น แบบอย่างให้กับเยาวชน หรือคนทั่วไปด้วย ไม่อยากให้มาแบ่งแยกว่า นี่ฉัน นี่เธอ ความแตกต่างในแต่ละครั้งที่ทำกิจกรรม สำหรับโครงการ “รักดีๆพี่ให้น้อง” ก็กำลังจะถึงโครงการที่ 3 แล้ว โครงการแรกจัดที่สวนรถไฟ โครงการที่ 2 จัดงานวันเด็กให้ที่มูลนิธิคุ้มครอง เด็กที่อัมพวา แล้วก็ไปบ้านคลองโพน ไปปลูกป่ากัน และโครงการที่ 3 ก็ไปจัด ที่รามอินทรา ที่บ้านเด็กตาบอด ผู้พิการซ้ำซ้อน โดยรูปแบบก็คล้ายๆ กัน แต่อาจจะแตกต่างตรงที่ความรู้สึก เช่น ตอนแรก พาเด็ก น้องๆ ไปว่ายน้ำ ที่สวนรถไฟ น้องบางคนก็ ไม่อยากลงไปเล่น พี่ๆ ไวท์เลิฟก็จะชักชวนว่า ไม่เป็นไรหรอก ให้มาช่วยกัน มาช่วยพาน้องๆไปว่ายน้ำ แล้วก็มีเด็กที่สนใจ มาช่วยเยอะขึ้นเรื่อยๆ คืออย่างน้อยเราก็ได้เป็นแกนนำส่งต่อความรักให้ น้องๆ มาช่วยกันมอบความรักให้กับเด็กๆ ถ้าอย่างตอนไปที่บ้านที่อัมพวา ก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง คือน้องๆเหล่านี้จริงๆ แล้วไม่ได้พิการอะไรเลย แต่ว่า สภาพจิตใจของเขา เราก็ได้ไปรับรู้ว่า เขามีสภาพจิตใจเป็นอย่างไร เราน่าจะ
d-tack.indd 69
7/9/2549 17:59:04
มีวิธีการมอบความรักให้เขาอย่างไร เช่น พาเขาเล่นเกม พอมาบ้านเด็ก พิการอีกที่ก็จะเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง พาน้องๆ ไปช่วยพี่ๆ อาสาสมัครที่นั่นว่า เขาทำกันยังไง ได้ความรู้ด้วย ความรู้สึกมันก็จะเป็นคนแบบ สนุกกันคนละ แบบ ในแต่ละครั้งเราจะเน้นการให้โอกาสพี่กับน้องได้ใกล้ชิดกัน ไม่ได้มีการ เซ็ตกำหนดการว่า ตารางช่วงนี้ๆ เราจะทำอะไร เราจะปล่อยให้มันเป็นไปตาม ความสนใจของน้องและของพี่มากกว่า การเปลี่ยนแปลงของอาสาสมัคร แต่ละคนก็มีการพัฒนาไปมาก อย่างบางคนตอนแรกๆ ก็ยังทำอะไร ไม่ค่อยเป็นแล้วก็ไม่ได้เคยคิดที่จะทำอะไรเลย พอได้เข้ามาทำงาน ได้มา สัมผัสกับสิ่งต่างๆก็จะเริ่มเกิดความรู้สึกที่ดี ความรู้สึกที่อยากจะสานต่อแล้ว ก็สร้างสรรค์ส่งใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น โครงการละครย้อนดูตัว มีการทำเวิร์คช็อป ให้กับประชาชน ไม่ได้เน้นว่ากลุ่มเป้าหมายของเราจะต้องเป็นเด็กพิการ เท่านั้น แต่เราต้องการให้มันเกิดความหลากหลาย ต้องการจะสะท้อนให้เห็น ว่ามนุษย์ทุกคนต่างก็ต้องการความรัก ไม่ใช่เฉพาะคนพิเศษหรือใครคนใด คนหนึ่งเท่านั้น โครงการนี้ ปปส. เป็นผู้สนับสนุนให้เราทำโครงการ คือเราจะ มีการฝึกทักษะของการทำละครเวทีให้กับน้อง โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นน้องๆ ในระดับมัธยมที่มาเข้าร่วมโครงการ เพื่อที่จะให้ที่จะให้เขาเอาทักษะตรงนี้ไป ใช้ในการผลิตละครเวทีกนั จริงๆ แล้วก็นำละครเวทีตรงนีไ้ ปแสดงตามสถานที่ ต่างๆ เพื่อที่จะรณรงค์ให้เห็นถึงพิษภัยของยาเสพติดบ้าง หรือว่าให้เด็ก และเยาวชนเขาได้เข้ามาร่วมทำกิจกรรมต่างๆเพื่อสังคมบ้าง มีวิทยากรจาก ดรีมบอกซ์ กับ ภัทราวดีเธียเตอร์เข้ามาช่วยทำตรงนี้ด้วย โปรเจคต่อไปหลังจากนี้ โปรเจคใหญ่เลยหลังจากนี้ยังคงอยู่บนคอนเซ็ปความรักเหมือนเดิม เป็นการส่งต่อความรักให้กับน้องๆ ตามแนวขอบชายแดนของประเทศ เพราะ เรามองว่าน้องๆกลุ่มนี้ยังขาดโอกาสในการเข้าถึงอะไรหลายๆอย่าง ไม่ว่าจะ
d-tack.indd 70
7/9/2549 17:59:04
เป็นเรื่องของสิทธิพื้นฐาน การกินอยู่ก็มีปัญหาเรื่องขาดสารอาหาร เราก็จะไป ช่ ว ยดู แ ลเรื ่ อ งตรงนี้ โดยเราตั้งใจว่าอยากจะให้ เ ป็ น โครงการต่ อ เนื ่ อ ง ครั้งแรกๆ เราก็เข้าไปศึกษาเค้าให้เข้าใจอย่างดีก่อนที่เราจะหาทางช่วยเหลือ ในค่ายต่อไป จะได้ช่วยเหลือได้ถูกต้องตามความต้องการที่แท้จริงของเขา เหมือนเป็นการเน้นการเรียนรู้ ตัวอาสาสมัครเองก็จะได้มีการพัฒนาตนเอง ไปด้วย น้องๆอาสาสมัครบางคนอยู่แต่ในกรุงเทพ ไม่เคยได้ไปสัมผัสกับวิถี ชีวิต หรือปัญหาของคนในชนบทเลย เราก็อยากจะให้เด็กกลุ่มนี้ ได้มีโอกาสไป พบไปเห็นบ้างว่า ในโลกเราในสังคมเรามันไม่ได้มีแต่สิ่งสวยงามอย่างเดียว เสมอไป มันยังมีผู้คนอีกมากมายที่ยังรอคอยความรักจากเรา แผนในปีหน้า วางแผนไว้ว่าโครงกรที่จะทำต่อไป พยายามจะทำให้มีความชัดเจน ในคอนเซ็บต์ ในเรื่องของความรักให้มากขึ้น อาจจะเป็นเรื่องของสันติภาพ เรามองว่าทุกวันนี้โลกเต็มไปด้วยความขัดแย้ง เต็มไปด้วยปัญหาต่างๆ มากมาย ถ้าเกิดว่าเราทำให้มนุษย์ทุกคนเขารักกัน คือรักกันโดยที่ไม่มี เงื่อนไขได้ มันก็น่าจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะทำให้โลกมันอยู่ร่วมกันได้อย่าง สงบสุข ซึง่ บางครัง้ ความคิดนีม้ นั อาจจะฟังดูเหมือนเป็นสิง่ ทีเ่ หลือเชือ่ หรือมัน เป็นไปไม่ได้ ที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนรักกัน แต่ว่า ผมก็มีความเชื่ออยู่อย่าง หนึ่งว่า บางครั้งคนเราก็ควรจะทำอะไรโดยอาศัยสิ่งที่เรียกว่าศรัทธาหรือ ความเชื่อบ้าง เพราะถ้าคุณมัวแต่ทำอะไรที่คุณคิดว่าจะต้องวัดผลได้ แล้วเป็น รูปธรรมอย่างเดียว มันก็เหมือนกับเราละเลยจิตวิญญาณของความเป็น คนไป ผมมองว่าในความเป็นคนมันต้องยังมีสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเชื่ออยู่ ถ้าเราเชื่อว่าเราทำได้ เราเชื่อว่ามันเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงๆ ผมว่า วันนึงเราก็น่าจะสามารถทำมันได้เหมือนกัน ได้แนวคิดอย่างนี้มาจากไหน? คิดขึ้นมาเอง คิดจากประสบการณ์ที่เราผ่านมา ผมอยากให้ทำ
d-tack.indd 71
7/9/2549 17:59:05
ความดีที่เกิดขึ้นมันมาจากความรู้สึกที่เรียกว่า ความรัก ไม่ใช่คุณทำไปเพราะ ว่าฉันอยากจะเป็นคนดี ฉันอยากจะดูเป็นคนดี หรือทำอะไรตามแฟชั่น แบบเด็กสมัยนี้ อยากให้การทำงานหรือการทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้น เกิดจากความรู้สึกดีๆ ในใจของคุณจริงๆ ในการทำงาน แนวความคิดทางด้านความรักของแต่ละคน เตย - คิดว่าเป็นสิ่งดีๆอย่างหนึ่ง เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะมีให้แก่กัน เป็นนิยามสั้นๆ ค่ะ ริน - ความรักเป็นอะไรที่ไม่มีรูปแบบค่ะ พร้อมที่จะมอบให้ทุกคน และพร้อม ที่จะรับจากทุกคนในทุกรูปแบบด้วย แป็ก - คำว่าความรักจริงๆ แล้วมันไม่มีนิยามที่แน่นอน เพราะฉะนั้นผมก็ อยากจะให้ไวท์เลิฟได้สร้าง นิยามใหม่ของคำว่าความรักขึ้นมา โดยการที่ ทำให้มนุษย์ทุกคน หรือโดยเฉพาะวัยรุ่นที่แต่ละวันโหยหาแต่ความรัก แบบอายุ 12-13 ฉันก็อยากจะมีความรัก อยากจะมีกิ๊ก อยากจะมีแฟน อะไรกันแล้ว เหมือนกับว่าเด็กเขาโตมาในสังคมที่ถูกหล่อหลอมมาว่า ความรัก...มันหมายถึงความรักระหว่างฉันท์ชู้สาว ผมก็เลยอยากสร้างนิยาม ใหม่ขึ้นมาว่า ความรักเนี่ย มันไม่ได้มีแค่ ฉัน กับ เธอนะ มันยังมีในอีกหลาก หลายรูปแบบที่มันดีงาม คล้ายๆ กับแนวความคิดของศาสนาคริสต์? อันนี้ก็จะเป็นอันนึงที่พอทุกคนเห็นชื่อ “ภาคีความรักสีขาว” ก็จะถูก มองอยู่สองอย่างครับ คือ ถ้าไม่ทำโครงการเรื่องเซ็กซ์ในวัยเรียนก็ต้องเป็น กลุ่มเกี่ยวกับศาสนาคริสต์แน่ๆ เวลาผมไปพูดที่ไหน ผมจะบอกอยู่เสมอว่า ความรัก ในความเป็นจริงแล้ว ถึงแม้ว่า มันเป็นหลักการอย่างหนึ่งของศาสนา คริสต์ แต่ถ้าเรามองอย่างใจเป็นกลางแล้วเนี่ย ผมมองว่าความรักมันไม่ได้ขึ้น อยูก่ บั ศาสนาใดศาสนาหนึง่ เพราะว่าคุณเป็นมนุษย์ ไม่วา่ คุณจะนับถือศาสนา ไหน ก็ต่างต้องการความรักด้วยกันทั้งนั้น อย่างน้อยมนุษย์ทุกคนก็เติบโตมา
d-tack.indd 72
7/9/2549 17:59:05
d-tack.indd 73
7/9/2549 17:59:09
ด้วยความรักของพ่อของแม่ เพราะฉะนั้นผมว่า ความรักเนี่ยมันไม่จำเป็นต้อง ผูกกับศาสนา อย่างเดียวเสมอไปครับ อย่างตัวผมเองที่คิดเรื่องนี้ขึ้นมาก็ไม่ได้ นับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็พยายามจะมองในแง่นี้มากกว่า ว่ามันไม่ได้ผูกอยู่ กับศาสนาใดศาสนาหนึ่ง กลุ่มเป้าหมายหลัก เด็กและเยาวชนนี่แหล่ะที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในการทำงาน แต่ในใจจริงๆก็หวังว่า ผลที่เราทำกับเยาวชน มันจะไปเกิดผลต่อสังคมใน ภาพรวมด้วย ยกตัวอย่าง อย่างเช่นว่า ถ้าการที่เราเป็นเด็กแล้วเราไปบอก ให้ผู้ใหญ่คนนึงให้มาทำความดีให้สังคมสิ ผู้ใหญ่เขาก็แบบคงไม่ฟังเรา แต่ถ้า เราไปปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ให้กับลูกเขา วันนึงผู้ใหญ่คนนึงที่ไม่คิดจะทำความดี เพื่อสังคมเลย เขามาเห็นลูกเห็นหลานเขากำลังทำสิ่งดีๆอยู่ ก็อาจฉุกคิด ขึ้นมาได้ว่า เออ ขนาดลูกเรา หลานเรามันยังเป็นเด็กมันยังทำเลย แล้วเราเกิด มาแก่จนป่านนี้แล้วยังไม่เคยทำอะไรดีๆ เพื่อใครเลย เขาก็อาจจะอยากทำ ความดีขึ้นมาบ้าง สิ่งที่อยากเห็นมากที่สุดในการทำงาน เตย - อย่างแรกเลยคืออยากเห็นงานทุกงานที่ทำมันออกมาประสบความ สำเร็จ แต่ว่ามากกว่านั้น วัตถุประสงค์จริงๆคืองานที่เราทำและเราสามารถ ส่งต่อความรักให้กับคนอื่นได้อีกจริงๆ ไม่ใช่ว่าการที่เราลงไปทำงานหนึ่งงาน แล้วมันจะจบแค่ตรงนั้น ทุกคนจะต้องเข้าใจว่าความรักจริงๆ มันคืออะไร รักดีๆ รักจริงๆ คืออะไร ไม่ใช่ความรักฉันท์ชู้สาวเท่านั้น นั่นคือสิ่งที่ หวังเอาไว้ ริน - ก็อยากจะเห็นทุกคนในสังคม เข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่ารัก เพราะว่าถ้าเราเข้าใจจริงๆ แล้วเราจะไม่รู้สึกเศร้าใจ ไม่รู้สึกเสียใจ เพราะคำ ว่ารัก มันเป็นอะไรที่ฟังดูแล้ว รู้สึก..ลึกซึ้งดีค่ะ แล้วก็อยากให้คนในสังคมไม่ เห็นแก่ตัว ถ้าเขามีความรักที่แท้จริงเชื่อว่าเขาจะไม่เห็นแก่ตัวค่ะ
d-tack.indd 74
7/9/2549 17:59:09
แป็ก - ส่วนของผมก็คือ อยากให้คนเรามองความรักให้พ้นเรื่องของตัวเอง ถ้าคุณมองความรักให้พ้นเรื่องว่า เออ ฉันจะรักเธอ แล้วเธอจะรักฉันไหม หรือแบบว่ามองให้มันกว้างมากไปกว่านั้นแล้วเนี่ย มันก็จะได้ไม่มีคนที่มา ทุกข์เพราะความรัก เพราะความรักจะทำให้เราอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข งานแบบนี้ต้องทำต่อเนื่องใช่ไหม ? ผมมองว่ามันต้องทำต่อเนื่อง เหมือนกับเรากำลังสุมไฟให้ลุก โชติช่วง ถ้าเกิดไฟมันลุกแล้ว คุณหยุดใส่ฟืนลงไป หยุดเติมเชื้อเพลิง มันก็มีวันที่จะมอดได้ ผมมองว่าภาระหน้าที่ตรงนี้ เป็นภาระหน้าที่ของคนใน แต่ละรุ่น คือมันมีการถ่ายทอด มีกระบวนการต่อๆ ไป ไม่ได้จบที่เหตุการณ์ ใดเหตุการณ์หนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่ง อย่างการทำงานของไวท์เลิฟเอง ผม ก็พยายามที่จะให้มันเกิดกระบวนการของการถ่ายทอดงานให้กับเยาวชน กับน้องรุ่นหลังๆ ที่เขาเข้ามาทำงานกับเรา เพื่อที่จะให้โครงการมันมีความ ยั่งยืนต่อไป ในวันข้างหน้าคิดว่า White Love อยากจะยืนอยู่ตรงจุดไหนของสังคม อยากให้ไวท์เลิฟอยูใ่ นหัวใจทุกๆคน เชือ่ ว่าทุกๆคนก็ตอ้ งมีความรัก ที่แท้จริงและก็ส่งต่อความรักให้คนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ไปในทาง ที่ผิด เพราะว่าทุกคนมีหัวใจที่เป็นเหมือนกับไวท์เลิฟ แผนในอีกปีสองปีข้างหน้า ในอนาคตการทำงานเราก็จะยังเน้นกลุ่มเป็นหมายที่เป็นเยาวชน อยู่เหมือนเดิม แต่ว่าอยากจะกระจายโอกาสในการมีส่วนร่วมไปให้กับ เยาวชนที่เขาอยู่ภายนอก หรือเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาบ้าง คือมัน เหมือนกับว่าเรามีการรวมตัวกัน เป็นเครือข่ายของนักศึกษามหาวิทยาลัย ต่างๆ ผมอยากให้เด็กและเยาวชนที่อยู่นอกระบบตรงนี้ เขาอาจจะเป็นลูก เกษตกรที่ทำงานอยู่ที่ไหนซักแห่ง กลุ่มลูกชาวประมงอะไรทำนองนี้ อยากให้
d-tack.indd 75
7/9/2549 17:59:09
เยาวชนในส่วนตรงนี้ได้มามีส่วนร่วมกับการทำงานในลักษณะแบบนี้บ้าง ฝากถึงคนอ่าน ริน - อยากจะฝากว่า การทำความดีถึงแม้ว่ามันจะยาก แต่ถ้าได้ลองทำจริงๆ แล้วจะรู้ว่ามันไม่ยากเกินไป พอทำไปแล้วเราจะรู้สึกภูมิใจในสิ่งนั้นด้วย เตย - ในทุกๆ เช้าที่ตื่นขึ้นมา อย่างน้อยก็ขอให้คิด หรือกำหนดซักอย่างว่า วันนี้ฉันจะทำความดี ฉันจะมอบความรักดีๆให้กับคนซักหนึ่งคน หรือรักซัก หนึ่งอย่างในแต่ละวันก็น่าจะพอแล้ว แป็ก - ใช่ครับ อย่างน้อยๆ เลยเนี่ยถ้าคุณไม่รู้ว่าจะรักใครก็เริ่มที่ตัวคุณเอง ก็ยังดี รักตัวเองให้เป็นก่อน แล้วก็ค่อยๆที่จะเรียนรู้ที่จะรักคนอื่นครับ แล้ว ก็การทำความดีอะไรซักอย่าง ผมเชื่อว่ามันไม่ยากเกินไปหรือเป็นไปไม่ได้ ถ้าเกิดว่าเราเชื่อมั่นว่าจะทำมันได้ด้วยความรักที่เรามีครับ
d-tack.indd 76
7/9/2549 17:59:10
d-tack.indd 77
7/9/2549 17:59:10
d-tack.indd 78
7/9/2549 17:59:12
เรื่อง : พัชรพันธุ์ ใจเที่ยงธรรม / ภาพ : บุญณัฐ ฉัตรเสาวภัณฑ์
Purity…To Be Peace
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ทุกคนในสังคมยอมรับแนวคิดของคน กลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแนวคิดนั้นสวนกระแสสังคมและดูเหมือนจะ ก้าวล้ำความเป็นปัจเจกบุคคล แต่กลุ่มเยาวชนผู้ทำกิจกรรมโครงการ Pure Love ยืนหยัดและยืนยันว่า “ปัญหาครอบครัว ทุกคนแก้ไขได้ เพียงแค่ใช้ ความรักให้ถูกทาง” กิจกรรมรณรงค์เรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดจึงถูกจัดขึ้นเป็นกิจกรรมแรกและกิจกรรมหลัก เพื่อบ่มเพาะ เยาวชนซึ่งเป็นต้นกล้าที่งดงามให้เติบโตเป็นพ่อแม่ที่สมบูรณ์และสร้างภูมิ คุ้มกันให้ครอบครัวแข็งแกร่งในอนาคต จนถึงวันนี้ นับเป็นเวลา 10 ปีที่โครงการ Pure Love ได้รับการ ก่อตั้งและเติบโต ขณะเดียวกันสังคมภายนอกนั้นก็พัฒนาขึ้น การต่อสู้กับ กระแสสังคมในภาวะที่เงินตรามีค่ามากกว่าคุณธรรมในจิตใจ จึงไม่ต่างอะไร กับการเข็นครกขึ้นภูเขา ทว่า เข็นมาได้ถึง 10 ปี ถ้าคนเข็นไม่บ้า ก็ต้องอดทนอย่างที่สุด พื้นที่หน้านี้ จึงมี 1 ในคนเข็นครกมาพูดคุยกับเรา
d-tack.indd 79
7/9/2549 17:59:12
แนะนำตัวกันก่อน ชื่อนายกิติศักดิ์ วงษ์ตระกูล ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ของสหพันธ์ครอบครัวเพื่อความสามัคคีและสันติภาพโลกแห่งประเทศไทย ผูป้ ระสานงานโครงการ PURE LOVE “รักบริสทุ ธิ์ หยุดปัญหา พัฒนาสังคม” Pure Love เริ่มต้นได้อย่างไร? Pure Love เริ่มต้นเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แต่ในช่วงแรก เราไม่ได้ใช้ชื่อ ว่า Pure Love เราใช้ชื่อว่า “โครงการหนุ่มสาวก้าวสวย” เป็นนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยต่างๆ เริ่มต้นจากจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ รามคำแหง และมหิดล ในการที่จะทำกิจกรรมรณรงค์เรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และเรื่องยาเสพติด เพราะว่าตั้งแต่ 10 ปีที่แล้ว เราก็ไม่สนับสนุนเรื่องการ ใช้ถุงยางอนามัย เพราะเราเห็นว่ามันการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และไม่ใช่ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการที่เยาวชนหรือวัยรุ่นจะใช้เรื่องเพศในการสื่อ ความรัก ประเด็นที่ Pure Love เข้าไปจับ? จริงๆ แล้ว ต้องย้ำนิดนึงว่า Pure Love เป็นโครงการที่เน้นเรื่อง คุณธรรม จริยธรรมในการที่จะสร้างครอบครัว สร้างพ่อแม่ต้นแบบในอนาคต ได้อย่างไร เพราะว่าเราเชื่อ ถ้าทำให้เด็กสมัยนี้เข้าใจว่า “เขาเป็นพ่อแม่หรือ เป็นโมเดลในอนาคต เขาจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง” มากกว่า เมือ่ คนดี 2 คน ที่พร้อมจะเป็นพ่อแม่มาสร้างครอบครัวด้วยกัน ปัญหาต่างๆ มากมายมันก็ จะไม่เกิด เราคิดว่าโครงการ Pure Love เป็นโครงการที่หยุดตั้งแต่เริ่มแรก เริ่มต้นสร้างโมเดลใหม่ๆ สร้างต้นแบบใหม่ๆ สร้างทัศนคติของมนุษย์ใหม่ๆ ที่มีคุณธรรมจริยธรรมด้วย แต่ไม่ใช่ว่าต้องเข้าป่า ล้าหลัง โกนหัวบวช อันนี้ ไม่ใช่ แต่คุณธรรมจริยธรรมนี้คือ คุณธรรมจริยธรรมสากล คนดีกับคนไม่ดี ต่างกันอยู่นิดเดียว คนดีก็ใช่ว่าไม่มีธรรมชาติที่คิดในเรื่องไม่ดี หมายถึงว่า
d-tack.indd 80
7/9/2549 17:59:13
คนดีก็มีทั้งคิดดีและคิดไม่ดี แต่คนดียับยั้งชั่งใจได้ ในเรื่องที่เห็นว่าไม่ดีแล้ว เขาจะไม่ทำ แต่คนไม่ดี รูว้ า่ ดีและรูท้ ง้ั ไม่ดี แต่เขายับยัง้ ชัง่ ใจตัวเองไม่ได้ ทำใน สิ่งที่ไม่ดี ต่างกันแค่นี้ฮะ ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติจริงๆ ถ้าเราเข้าใจมนุษย์จริงๆ เราก็จะเข้าใจว่า ต้องสอนให้เขายับยั้งชั่งใจ ใช้เหตุใช้ผล ใช้สติในการที่จะ ตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง ที่เลือกทำโครงการนี้ เพราะเราเชื่อว่า มันเป็นต้นตอในการที่จะหยุด ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะเรื่องเพศ เรื่องยาเสพติด อบายมุขต่างๆ ถ้ามีพ่อแม่ที่ดีแล้ว ก็จะสร้างลูกที่ดีขึ้น เราเชื่อว่า ลูกจะดีกว่าพ่อแม่ เพราะว่า พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกดีกว่าตัวเองแน่นอน ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะทุ่มเทให้ลูก นีค่ อื พ่อแม่ทด่ี นี ะ ก็จะสร้างให้ลกู ดี เมือ่ ลูกดีปญ ั หาสังคมก็จะไม่เกิด ทรัพยากร มนุษย์รุ่นต่อๆ มาก็จะเป็นคนที่ดี ทำไมถึงเลือกทำในเรื่องเพศกับความรัก เพศกับความรัก ต้องมาด้วยกัน จริงๆเยาวชนปนเรือ่ งเพศกับความรัก กันเกินไปและไม่สามารถจะแยกแยะหรือทำความเข้าใจที่ถูกต้องได้ อย่าง โครงการ Pure Love จริงๆ แล้วจะสอนหรือเน้นหนักในเชิงที่บอกว่า ถ้าคุณ กำลังจะทำความเข้าใจเรื่องเพศสัมพันธ์ หรือคุณกำลังจะใช้เพศสัมพันธ์ คุณ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คุณค่าของเพศสัมพันธ์อยู่ตรงไหน? ไม่ใช่สนุกกับ เพศอย่างไรให้ปลอดภัย? ประเด็น “สนุกกับเพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย?” มีหลายองค์กรทำมากแต่มันไม่ใช่การแก้ปัญหา มันเป็นการเพิ่มพูนปัญหา มากกว่า เพราะเมื่อเราลงไปสำรวจจริงๆ แล้ว การติดเชื้อ HIV หรือการพัฒนา กลุ่มเป้าหมายของ HIV มันเริ่มต้นจากแนวความคิดเรื่องการใช้ถุงยาง มากกว่า ในยุคแรกๆ เอดส์อยู่ในกลุ่มของผู้ใช้แรงงานและหญิงขายบริการ แต่เมื่อถุงยางเข้ามาในสังคม ทำให้ความเข้าใจถูกเบี่ยงเบนประเด็นว่าการมี เพศสัมพันธ์ แค่ Safe Sex เท่านั้น ให้ปลอดภัย นี่คือ เพศสัมพันธ์ที่ถูกต้อง ทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน ไม่ว่าจะเป็นคนงาน มันกลายเป็นความคิด แบบนั้นไปซะหมด ก็เลยทำให้คุณธรรมและจริยธรรมของเพศสัมพันธ์
d-tack.indd 81
7/9/2549 17:59:13
หมดไป กลายเป็นว่า ใช้อย่างไร สนุกกับมันอย่างไร? ให้ปลอดภัยมากกว่า กลุ่มเอดส์ก็เลยย้ายจากกลุ่มเสี่ยง จากกลุ่มนักเที่ยว กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มโสเภณี กลายมาเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน เพราะว่ากลุ่มเด็กและเยาวชน มีความเข้าใจเรื่องเพศสัมพันธ์ที่ไม่ถูกต้องและใช้เพศสัมพันธ์ในทางที่ผิด ไม่ถูกกาละและเทศะ คือจริงๆ เราต้องพูดถึงว่า เวลาและสถานที่ในคุณค่า ของเพศสัมพันธ์อยู่ที่ไหน? โครงการ Pure Love จะสอนเด็กว่า เพศสัมพันธ์ เป็นสิ่งที่สวยงาม เพศสัมพันธ์เป็นสิ่งที่คน 2 คน รักกันและก็ตกลงที่จะสร้างครอบครัวด้วยกัน แล้วใช้มันอย่างถูกต้อง มากกว่าประเด็นที่ว่า สนุกกับมันอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่ต้องสนใจว่าจะสร้างครอบครัวหรือไม่สร้างครอบครัว แค่ไม่ติดเอดส์ เท่านั้น ถือว่าพอแล้ว จริงๆ แล้ว Pure Love ไม่ได้รณรงค์เรื่องเพศอย่างเดียว แต่รณรงค์ เรื่องคุณธรรม จริยธรรมในครอบครัวมากกว่า แต่เรื่องเพศเป็นสาขาหนึ่ง เท่านั้นเอง ที่เรากำลังบอกว่า ความรัก ความเข้าใจ หรือถ้าคุณเรียนรู้เรื่อง ธรรมชาติ เรื่องครอบครัวจริงๆ คุณจะรู้ว่าเพศสัมพันธ์เป็นเครื่องมือในการ สร้างครอบครัวที่สำคัญที่สุดในชีวิต ไม่งั้นปัญหาต่างๆ มากมายก็จะเกิด และจะเกิดคำว่า “มารหัวขน” แทนที่จะเกิดคำว่า “ลูกของฉัน” นี่คือ ผลมันไม่ เกิดครับ ผลมันเน่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีคุณค่าต้องดูที่ผลครับ แนวคิดขัดแย้งกับสังคม? มีปัญหา มีคนต่อต้านเหมือนกัน แล้วก็มีคนเข้าใจผิดด้วยนะ อย่างเช่น เราไปจัดงานที่จุฬา มีนิทรรศการและการเสวนา ก็มีอาจารย์คนหนึ่ง เดินเข้ามา แล้วก็บอกว่า “พวกคุณอยากให้เยาวชนพวกนี้ตายรึไง? คุณไม่ รณรงค์ให้เขาใช้ถุงยาง แล้วมาบอกได้ยังไงว่าถุงยางป้องกันไม่ได้ร้อย เปอร์เซนต์” แต่เราก็ยืนยันหนักแน่นว่า “เราเชื่อมั่นว่า การไม่ใช้ถุงยางก็คือ การไม่ ม ี เ พศสั ม พั น ธ์ ก ่ อ นวั ย อั น ควรซึ ่ ง เป็ น เรื ่ อ งสำคั ญ กว่ า ” ในความคิดของเรา ถ้าคุณเชื่อมั่นขนาดนั้น มีใครมั้ยที่กล้าใช้ถุงยางกับคนที่
d-tack.indd 82
7/9/2549 17:59:13
d-tack.indd 83
7/9/2549 17:59:15
รู้ว่าตัวเองติดเอดส์ ถ้าคุณเชื่อมั่นในแนวความคิดของคุณ คุณกล้ามั้ย? เราก็ อยากจะถามกลับไปแบบนั้น แต่เราก็ไม่ได้ถามนะ จนถึงตอนนี้ แนวคิดของสังคมเปลี่ยนแปลงไปไหม? ไม่ครับ เมื่อ 10 ปีที่แล้ว กลุ่มเรายังเป็นเยาวชน เงินทุนในการรณรงค์ ก็ได้จากการทำของชำร่วยไปเดินขายแล้วก็ได้ทนุ มาจัดค่าย นานๆ ครัง้ กว่าจะ จัดได้ซักค่ายหนึ่ง แล้วเราก็เป็นนิสิตนักศึกษาอยู่ด้วย ไม่สามารถที่จะทำ ตรงนีไ้ ด้เต็มที่ เป็นปัญหาทีเ่ รากระจายความคิดนีไ้ ด้ยาก แล้วก็ไม่มอี งค์กรทีม่ ี งบประมาณมาสนับสนุนเรา ตอนนี้พอเราได้มาพูดคุยและเข้าร่วมกับองค์กร สหพันธ์ครอบครัว เราก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสสส. เมื่อ 3 ปีที่แล้ว ปีแรกในช่วงขั้นทดลอง ได้มาประมาณ 4 แสนกว่าบาท แต่ปีที่ผ่านมา เราได้ 3.9 ล้าน ในการรณรงค์ทั่วประเทศ ปีนี้เราก็จะเคลื่อนและพัฒนาองค์กรให้ ได้มากยิ่งขึ้น สามารถที่จะเผยแพร่และทำสื่อให้ได้มากยิ่งขึ้น รูปแบบกิจกรรมที่ผ่านมา? รูปแบบกิจกรรมเราจะเน้นเรื่องความเข้าใจก่อน ก่อนที่จะทำอะไร ซักอย่าง อบรมให้เด็กเข้าใจว่ามนุษย์คืออะไร? อบรมให้เด็กเข้าใจว่าเพศ สัมพันธ์ทแ่ี ท้จริงคืออะไร? ครอบครัวทีแ่ ท้จริงคืออะไร? แล้วอีก 10 ปี เขาจะเป็น อะไร? ก็คือเป็นพ่อแม่นั่นเอง พอเข้าใจเสร็จ เราก็มาประชุมทีมกับเด็กว่า เด็กจะทำอะไรในโรงเรียนเขาได้บ้าง? กิจกรรมอะไรที่เอื้ออำนวย เพราะว่า แต่ละโรงเรียนมีความเอื้ออำนวยในกิจกรรมต่างกัน และก็จะมีการดึงพวกครู อาจารย์ที่มีแนวความคิดเหมือนกันกับเราในการที่จะรณรงค์ ในช่วงแรก กลุม่ เป้าเราเป็นทัง้ เด็กมัธยมและเด็กมหาวิทยาลัย แต่เด็ก มหาวิทยาลัยส่วนมากจะมีความเป็นส่วนตัวเยอะ และไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษา ที่แน่นอน ก็เลยจะเป็นพวกอาสาสมัครซะมากกว่า การลงทำงานจริงๆ จะลง กับเด็กมัธยมซะมากกว่า
d-tack.indd 84
7/9/2549 17:59:15
ข้อจำกัดหรืออุปสรรคในการทำงานกับสถานศึกษาเรื่องเพศสัมพันธ์? ครับ ยุคนี้เขาถือว่าดีกันหมดแล้ว เพราะว่าถุงยางไม่ได้ช่วยอะไร 10 กว่าปีแล้ว ถุงยางก็ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น เมื่อ 2-3 ปีก่อนรัฐบาลออกมา ประกาศด้วยความภาคภูมิใจว่าปัญหาเด็กที่ติดเชื้อน้อยลง แต่เคยสำรวจมั้ย ว่าเด็กที่ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้นเท่าไหร่? เด็กที่เสียตัวจากการใช้ถุงยางเพิ่มขึ้น เด็กที่เสียใจจากความรักแล้วก็ฆ่าตัวตาย ชีวิตเขาเหลวแหลกไปเท่าไหร่? สำรวจแค่เรื่องเอดส์ แล้วจริงๆ มันก็ไม่ได้น้อยลงครับ มันไม่ได้รายงาน มากกว่า เท่าที่เรารู้ วัดพระบาทน้ำพุก็ยังมีสมาชิกที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี วันเสาร์วันอาทิตย์ก็จะมี 5 คน 10 คนเข้าไปตลอด ถ้าถามจริงๆ หลวงพ่อ ที่วัดพระบาทน้ำพุก็บอกว่าไม่ได้ลดลง โรงเรียนเครือข่าย Pure Love ถ้าในกรุงเทพฯ มี 10 โรงเรียน ในต่างจังหวัด 50 โรงเรียนในปี งบประมาณใหม่นน้ี ะครับ และเราก็จะลองวิชาทีเ่ ราทำสำเร็จออกมาแล้วมาใช้ อบรมและพัฒนามากขึ้น ก็จะเริ่มพัฒนากิจกรรมใหม่ๆ ขึ้นมา ในเชิงของ การสร้างกระแสสังคมด้วย อย่างปีที่แล้ว เราก็ทำโครงการ “สื่อดี สื่อรักบริสุทธิ์ - Pure Love Media Contest” เป็นการประกวดสือ่ ให้เยาวชนออกมาทำสือ่ แข่งกัน แต่พดู ใน เชิงแนวความคิดของ Pure Love ก็คือ เรื่องคุณธรรมจริยธรรมในครอบครัว ความรัก ความอบอุ่น ความหวังดีซึ่งกันและกัน รักนี่ไม่ได้หมายถึง ใคร่ แต่รัก ในที่นี้หมายถึงมีเรื่องคุณธรรมจริยธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย มี 5 สื่อด้วยกัน คือ เพลง เรียงความ ภาพวาด ภาพถ่าย และแอนนิเมชั่น ทั้ง 5 สื่อนี้ รางวัล ชนะเลิศจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ ปีที่แล้วเป็นช่วง ทดลอง ปีนี้เราก็จะทำให้มันเป็นกิจจะลักษณะมากขึ้น และโปรโมตให้มากขึ้น นอกจากนี้ ในวันที่ 14 กุมภา เราก็จะมีกิจกรรมของเราอยู่ตลอด เช่น มีงานวิ่งครอบครัว ปีนี้เราก็มีการเทิดพระเกียรติ ทำให้เห็นว่าคำว่า “พ่อ” สำคัญอย่างไร? เกาะกระแสของการที่ในหลวงทรงครองราชย์ครบ 60 ปี
d-tack.indd 85
7/9/2549 17:59:15
d-tack.indd 86
7/9/2549 17:59:17
ในหลวงก็เป็นพ่อแบบอย่าง เป็นผู้นำแบบอย่าง เป็นครูอาจารย์แบบอย่าง เราก็จะทำให้เด็กๆ เห็นว่า พ่อแม่ที่ดีเป็นแบบนี้ สั่งสอนได้ เป็นครูอาจารย์ และเป็นผู้นำที่ถูกต้อง มีคุณธรรมจริยธรรม ไม่ใช่แค่ฉลาดอย่างเดียว ยังไม่ทิ้งรูปแบบการอบรม? ไม่ทิ้งครับ เป็นการสร้างความเข้าใจและความสำคัญ ถ้าเด็กมาทำ แค่กิจกรรมแล้วก็ไม่รู้ว่า เขาทำเพื่ออะไร? เขาจะต้องเป็นอะไร? คุณค่าของ กิจกรรมนี้อยู่ที่ไหน? มันก็ไม่มีค่าอะไรเหมือนกัน เราไม่เน้นแค่ตัวกิจกรรม เราจะเน้นที่ความเข้าใจก่อน เด็กกลุ่มที่เห็นด้วยและมีแนวความคิดที่ เหมือนกันก็จะเข้ามาทำกิจกรรมนี้ แล้วเราก็จะง่ายยิ่งขึ้น เราจะเอาคำว่า “วิทยากร” ออกไปเลย เราบอกว่านี่คือ “ครอบครัว” เรามาอยู่กันเป็นครอบครัว คุณคือพี่ คุณคือน้อง ผมคือพี่ ผมคือน้อง คือเป็นทั้งพี่และน้อง ให้คำปรึกษา ซึ่งกันและกันได้ เราจะสร้างสภาพแวดล้อมของครอบครัวที่มีความรักความ จริงใจให้แก่กัน ไม่ใช่ไปเพื่อจะจีบใครบางคน เด็กก็จะซึมซับและเข้าใจว่าเขา เป็นพี่และเป็นน้องกันมากกว่าในช่วงเวลาที่เป็นนักเรียนนักศึกษาตรงนี้ จากอดีตสู่ปัจจุบัน รูปแบบกิจกรรมเปลี่ยนแปลงบ้างไหม? เราพัฒนาขึ้นมากกว่า เนื้อหาลึกขึ้น สมัยก่อนจะเป็นแบบ “พี่เตือน น้อง” แต่ตอนนี้เราทำให้มันเป็นหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น และเชื่อม โยงความเข้าใจที่มันลึกมากขึ้น ในสมัยก่อนเรามีแค่นักศึกษา ฉะนั้น นักศึกษา ก็จะมีความรู้นิดหน่อย แต่ตอนนี้เรามีทั้งอาจารย์ ทั้งนักปราชญ์ทางศาสนา มีทั้งนักวิชาการ คุณหมอต่างๆ มาช่วยกันคิด มาวิเคราะห์ร่วมกันว่า จริงๆ แล้วมันควรจะสอนอย่างไร? คือเนื้อหาจะลึกมากกว่า ลึกในเชิงปรัชญาด้วย เชิงวิทยาศาสตร์ด้วย มาอธิบาย
d-tack.indd 87
7/9/2549 17:59:18
นักวิชาการหรือนักปราชญ์ทางศาสนาเข้ามาเป็นเครือข่ายพันธมิตร ได้อย่างไร? ตอนนี้เขาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิขององค์กรเราด้วย เราจะไม่ยึดติดกับ ศาสนาใด เราจะเอาเข้ามาคุยกันหมด เมื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ในเชิงศาสนา ออกมาแล้ว ทุกศาสนาพูดเหมือนกันหมด คือ เรื่องสำส่อนทางเพศสัมพันธ์ เป็นเรื่องที่บาปที่สุด แต่ในเชิงวิทยาศาสตร์เอง ความทุกข์ตรงนี้เกิดขึ้นจาก การจดจำและเรื่องสุขภาพจิต เยาวชนผู้หญิงจะมีเรื่องความหึงหวงเยอะมาก กว่าเพราะว่าชาย จริงๆ แล้วแค่อยากได้ร่างกาย แต่เยาวชนผู้หญิงจะนึกว่า รักจริง เขาก็จะหวง ตามตื้อ แย่งผู้ชาย ปัญหาเรื่องสุขภาพจิตพวกนี้ก็จะ เกิดขึ้น มันเชื่อมโยงกันหมดเลยครับ Pure Love ต่างแดน เราเป็นเอ็นจีโอนานาชาติ ตอนนี้ที่ทำอยู่ก็ประสบความสำเร็จใน รัสเซีย จีน เกาหลี คือสามารถลดได้จริงๆ และมีความเข้าใจเรื่องคุณค่าของ ครอบครัวจริงๆ ฉะนั้น การทดลองหรือสำรวจข้อมูลตรงนี้ ทำให้เห็นได้เลยว่า เด็กที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว จะมีปัญหาเพิ่มขึ้น และการสร้างครอบครัวในอนาคต ก็จะมีปัญหา ตอนนี้เรามีหลักสูตรที่รวบรวมเป็นส่วนกลางที่ใช้ในนานาชาติ เรียกว่า IEF Character Education ซึ่งเราได้เข้าไปคุยกับกระทรวงศึกษา และก็พูดคุยร่วมกับคุณจาตุรนต์ ฉายแสง (รมต.กระทรวงศึกษาธิการ) ก็เห็นดี ด้วยและประทับใจกับเนื้อหานี้ ก็คือจะร่วมกันพัฒนาเนื้อหานี้ให้กลายเป็น หลักสูตรของไทย เพราะตอนนี้เป็นภาษาอังกฤษอยู่ เพื่อแปลและจะทำเป็น Power Point และใช้ใน 4 ภาค จะเริ่มในการที่จะอบรมแม่ไก่ คือครูที่จะเป็น แกนให้กับเรา ภาคละ 100 คนในการที่จะเริ่มทดลองก่อน IEF ของเราเป็น คุณธรรมจริยธรรมแบบสากล ก็คือ ให้เข้าใจองค์รวมของมนุษย์ ครอบครัว ไม่ใช่โยงไปเรื่องศาสนา หมายถึง การดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ที่ดี ที่อยู่ร่วมกัน แบบต่างๆ สังคมสงบสุขเราควรจะประพฤติปฏิบัติตัวอย่างไร?
d-tack.indd 88
7/9/2549 17:59:18
ในต่างประเทศ อย่างเช่นเกาหลี เขามีวิทยาลัยที่สอนเฉพาะสาขารัก บริสุทธิ์แล้ว นักศึกษาทุกคนที่เรียนต้องผ่านการตรวจสอบประวัติและข้อมูล อย่างละเอียด เพราะคนที่เรียนตรงนี้ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้คนอื่น เมื่อเรียน จบก็ออกไปเป็นอาสาสมัครรณรงค์เรื่องรักบริสุทธิ์และเป็นแบบอย่างได้ ซึ่ง เราก็คิดว่าจะให้ตัวแทนอาสาสมัครเหล่านี้มาร่วมทำกิจกรรมให้กลุ่มของเรา น้องๆ เองก็จะได้เห็นแบบอย่างของเยาวชนที่ทำได้จริง จนถึงตอนนี้ คิดว่าประสบความสำเร็จในขั้นไหน? ก็รณรงค์ได้กลุม่ หนึง่ มีความหวังเรือ่ งทีก่ ระทรวงศึกษาจะรับโครงการ เราเข้าเป็นหลักสูตรในสถานศึกษา ตอนนีห้ น่วยงานของเราได้รบั การสนับสนุน จากอเมริกา เพราะทางนั้นเห็นว่างานของเราสามารถช่วยเยาวชนได้จริง ถุง ยางอย่างเดียวช่วยอะไรไม่ได้ เยาวชนก็ยังติดเอดส์กันเยอะอยู่ เขาหันกลับ มารณรงค์ที่เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และเรื่องครอบครัว คนดีต้นแบบ จริงๆ ฝรั่งเขามีคุณธรรม จริยธรรมนะ ตอนนี้เขาจะขึ้นจากโคลนแล้ว แต่ของเรา กลับยิ่งจมโคลน ของฝาก อยากให้เยาวชนมองและคิดไกลๆ ว่าอนาคตตัวเองจะกลายเป็นอะไร ต้องกลายเป็นพ่อแม่ เป็นแบบอย่างที่ดีให้เยาวชนและสังคมและคนรุ่น ต่อๆ ไป หรือว่าจะกลายเป็นรอยด่างพร้อยที่คนเขาประณาม มนุษย์เราไม่ได้ เกิดมาเพื่อมีเพศสัมพันธ์ แต่เกิดมาเพื่อทำอะไรมากกว่านั้น เพศสัมพันธ์เป็น แค่องค์ประกอบหนึ่งในการสร้างครอบครัวเท่านั้น ถ้าวันนี้จะสอนลูกเรื่อง เพศสัมพันธ์ ควรสอนว่าคุณค่าของเพศสัมพันธ์อยู่ที่ไหน มากกว่า สนุกกับ เพศสัมพันธ์อย่างไรให้ปลอดภัย เรายืนยันครับ
d-tack.indd 89
7/9/2549 17:59:18