รวมบทความ โครงการ “โรงเรียน 3 วิถี เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย กระบวนการ การมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน”
โรงเรียนบ้านลาดวิทยา อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โทรศัพท์/โทรสาร 0-3249-1343 http//banlat.ac.th
E-Mail Banlat @ banlat.ac.th
โครงการ “โรงเรียน ๓ วิถี เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ การมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน” โรงเรียนบ้านลาดวิทยา จ.เพชรบุรี วไลลักษณ์ พัสดร1 สุภานันท์ ชาติน้าเพชร2 ยุพา กสิรักษ์3 ขวัญตา นาครักษา4 ชูเกียรติ เกษดี5 และ พรรณี เทพสูตร6
การศึกษาเป็นองค์ประกอบส้าคัญยิ่งส้าหรับการพัฒนาประเทศ เพราะการศึกษาเป็นรากฐานของ การพัฒนา ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการศึกษาคือการพัฒนาก้าลังคนให้มีประสิทธิภาพเพราะถือว่าการ ให้การศึกษาเป็นการพัฒนามนุษย์ให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศ ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการศึกษาให้เกิดผลดี มีประสิทธิ ภาพ ตรงตามความต้องการของ ประชาชนโดยเฉพาะผู้ ปกครองต้องอาศัย การนากระบวนการมี ส่ว นร่ว ม มาใช้ ซึ่ ง พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ กล่าวถึงการมีส่วนร่วมไว้ใน มาตรา ๘ (๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๕๘ ได้บัญญัติเรื่องการมีส่วนร่วมไว้ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการ พิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและ เสรีภาพของตน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาทุกระดับจึงต้องปฏิบัติ ตามโดยการเปิดโอกาสให้ประชาชน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งนี้เพราะเมื่อผู้ปกครอง คนเดินเรื่อง : ครูโรงเรียนบ้านลาดวิทยา จังหวัดเพชรบุรี 1 โครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับยุวเกษตรโรงเรียนบ้านลาดวิทยา 2 โครงการ “โรงเรียน ๓ วิถี เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการการอนุรักษ์อาชีพท้องถิ่นของคนบ้านลาด : ตาลโตนด 3 โครงการกลองยาวลิเกอาเภอบ้านลาด วิถีภูมิปัญญาวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้าน 4 โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวบ้านลาด 5
โครงการศูนย์การเรียนรู้สู่ชุมชนคนบ้านลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดี “แยกขยะ” ภารกิจที่เต็มไปด้วยคุณค่า 6 บทส่งท้าย : เรียนรู้คุณค่าของพืช และส่งเสริมการปลูกพืชต่าง ๆ ในโรงเรียนและชุมชน
ควรมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาย่อมจะช่วยขับเคลื่อนให้การบริหารจัดการศึกษาด้าเนิน ไปตามความ ต้องการของผู้ปกครองและชุมชน ช่วยให้สถานศึกษาได้รับการยอมรับจากชุมชน ชุมชนรักและหวงแหน สถานศึกษา ซึ่งส่งผลให้ผู้ปกครองและชุมชนสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา และให้ความร่วมกับ สถานศึกษาในการด้าเนินกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความเต็มใจ การมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้ามาร่วมด้าเนินกิจกรรม ตั้งแต่ การศึกษาปัญหา การวางแผนด้าเนินการ การตัดสินใจ การแก้ไขปัญหา และการประเมินร่วมกัน เพื่อ ขับเคลื่อนให้กิจกรรมนั้นด้าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วม คือ หลักร่วมคิด ร่วมทา ร่วมตรวจสอบ ร่วมรับผิดชอบ อาเภอบ้านลาด เป็น ๑ ใน ๘ อ้าเภอ ของจังหวัดเพชรบุรี เป็นอ้าเภอที่มีวิถีชุมชนที่โดดเด่นด้วย อัตลักษณ์เฉพาะตัว ความเป็นสังคมบ้านมากกว่าสังคมเมือง ท้าให้การด้าเนินชีวิตของผู้คนยังคงอยู่กับ ร่องรอยดั้งเดิม อยู่อย่างพอเพียงสงบ ราบเรียบ ผู้คนสื่อสารกันด้วยภาษาท้องถิ่น เป็นส้าเนียงเพชรฯแท้ และมากมายด้วยศิล ปวัฒนธรรมท้องถิ่นหลากหลายรูปแบบ ที่ยัง อยู่เป็นการอยู่แบบดั้ง เดิมที่หวัง ให้ เยาวชนคนรุ่นหลังสืบทอดต่อไป โรงเรียนบ้านลาดวิทยาได้จัดท้าประชาคมโดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละภาคส่วน มาวิเคราะห์ บริบท จุ ด แข็ง โอกาส อุปสรรค และจุ ด ที่ควรพัฒ นา พบว่ า อ้ าเภอบ้า นลาดมี จุ ด แข็ง ในด้านอาชี พ วัฒนธรรม-ประเพณี สิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันความเจริญทางด้านการสื่อสาร เทคโนโลยี วัตถุต่างๆ ท้าให้เ กิดปัญ หาอุปสรรคในการพัฒ นาสื่ อที่มี อยู่ให้คงอยู่ยั่ ง ยืน ดัง นั้นในที่ประชาคมจึ ง ได้ลงมติในที่ ประชุม ให้ด้าเนิน โครงการ /กิจกรรม ๕ โครงการย่อย คือ ๑. ศูนย์การเรียนรู้เกษตรตามแนวพระราชด้าริของยุวเกษตรกรชุมชนบ้านลาด ๒. โครงการ การอนุรักษ์อาชีพท้องถิ่นของคนบ้านลาด (ตาลโตนด) ๓. โครงการสืบสานการแสดงกลองยาวลิเก ๔. โครงการส่งเสริมสายใยรักแห่งครอบครัวบ้านลาด ๕. โครงการศูนย์การเรียนรู้สู่ชุมชนคนบ้านลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดี ทั้ง ๕ โครงการย่อยเป็นเรื่องเกี่ยวกับ การเรียนรู้ ความเป็นไทย และ ความพอเพียงดังนั้น โรงเรียน จึงได้จัดโครงการ “โรงเรียน ๓ วิถี เพื่อพัฒนา การศึกษาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชน เพื่อสุขภาวะคนไทย” ขึ้นมาเป็นแนวทางการด้าเนินงาน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ตามความหลากหลายของ บริบทในชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบ และสนับสนุนให้เกิดการขยายผลต่อไป
การด้าเนินโครงการทั้ง ๕ โครงการโดยความร่วมมือของชุมชน มีเหตุมีผลมีความภาคภูมิใจใหญ่ หลวงเพียงใด ผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการขอเล่าสู่กันฟัง ดังต่อไปนี้ ๑. โครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับยุวเกษตรโรงเรียนบ้านลาดวิทยา โรงเรียนบ้านลาดวิทยาได้รับรางวัลสถานศึกษาพอเพียง เมื่อปี ๒๕๕๒ ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนในการ น้าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ให้เป็นวิถีชีวิตของ บุ ค ลากรในโรงเรี ย นบ้ า นลาดวิ ท ยา ซึ่ ง ต้ อ งขอขอบพระคุ ณ ส้ า นั ก งานส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ (สสส.)และ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ได้น้าเสนอโครงการการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วน ร่ว มของสถานศึ กษากับ องค์ ก รในชุ ม ชนเพื่อ ส่ ง เสริม สุ ขภาวะคนไทย ท้ าให้ การด้า เนิน งานประสบ ความส้าเร็จอย่างดียิ่ง เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนบ้านลาด ที่ประกอบ อาชี พ เกษตรกรรมเป็นส่ วนใหญ่ ซึ่ ง ในแนวปฏิบั ติแ ล้ว ชาวบ้ านลาดได้น้ าหลักปรัช ญาของเศรษฐกิ จ พอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการท้างานอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้เขียนเป็นหลักวิชาการ เท่านั้น เมื่อมีโครงการดี ๆ มาน้าเสนอให้แก่โรงเรียน จึงได้รับการตอบรับจากชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน คณะครู นักเรียน รวมทั้งคณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ที่ได้น้าโครงการนี้โดยการ ท้าประชาคม และระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อก้าหนดกรอบในการท้างาน ซึ่งการด้าเนิน โครงการยุวเกษตรกรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วน ว่าเป็นโครงการที่ดีสามารถน้ามาพัฒนาผู้เรียนในการด้าเนินชีวิตตามแนวทางพระราชด้าริของในหลวง ที่ ต้องการให้ประชาชนน้ามาใช้ในชีวิตประจ้าวัน ทั้งการใช้หลักคิด และหลักการปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ จากจุดเริ่มต้นในการท้าประชาคมทุกภาคส่วน น้าไปสู่การจัดท้าแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การจัดท้าหลักสูตรท้องถิ่นสาระเพิ่มเติม วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ออกแบบการจัดท้าหน่วยการเรียนรู้ จน น้าไปสู่การจัดท้าหลักสูตรการเรียนการสอนตามความสนใจของนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชุมชน ซึ่งมีอยู่ ๔ กิจกรรมดังนี้ ๑) การเลี้ยงไก่พื้นเมือง (ไก่พื้นบ้าน) ๒) การเลี้ยงปลาดุก ๓). การขยายพันธุ์ พืช การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ๔) การท้าปุ๋ยหมัก น้าหมักชีวภาพ(EM) แต่ละกิจกรรมมีนักเรียนกลุ่ม สนใจที่เรียนวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นวิชาเพิ่มเติมของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและ วัฒนธรรมเป็นสาระหลักในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการร่วมกับกลุ่มสาระการ เรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี รวมทั้งกลุ่มสาระอื่น ๆ โดยผู้รับผิดชอบโครงการนี้ได้ด้าเนินกิจกรรม ต่าง ๆเพื่อเป็นการเร้าพลังความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง โดยการจัดอบรมให้ความรู้เพื่อ พัฒนาบุคลากรในโรงเรียนแก่บุคลากรในโรงเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเห็นความส้าคัญในการน้ามาประยุกต์ใช้ในการด้าเนินชีวิต ทั้งของผู้เ รียน ผู้ปกครอง ตลอดจนบุคลากรในโรงเรียน โดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีกับปราชญ์
ชาวบ้าน หน่วยงานของรัฐในอ้าเภอบ้านลาด ได้แก่เกษตรอ้าเภอบ้านลาด ปศุสัตว์อ้าเภอบ้านลาด ในการ ให้ความรู้ในเรื่องการสร้างอาชีพตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ เมื่อเสร็จสิ้นการอบรมให้ความรู้แล้ว ผู้รายงานได้กระตุ้นการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของผู้เรียน โดยพาไป ศึ ก ษาแหล่ ง เรี ย นรู้ ต ามแนวพระราชด้ า ริ ใ นจั ง หวั ด เพชรบุ รี เช่ น ศู น ย์ ศึ ก ษาการพั ฒ นาห้ ว ยทรายอั น เนื่องมาจากพระราชด้าริ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเรือนจ้าเขากลิ้ง และศูนย์การเรียนรู้ไร่ชั่งหัวมัน ซึ่งเมื่อนักเรียนได้เติมพลังในภาคทฤษฎีการให้ความรู้ไปแล้ว ก็จะเป็นการลงมือไปสู่ภาคปฏิ บัติตามกลุ่ม สนใจ เช่นกลุ่มนักเรียนที่สนใจการท้าปุ๋ยหมักชีวภาพก็จะไปเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้านในอ้าเภอบ้านลาด และครูที่สอนวิชาเกษตรกรรมในโรงเรียน กลุ่มนักเรียนที่สนใจการเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงปลาดุก ก็ จะน้า พันธุ์ไ ก่ พันธุ์ปลาที่โรงเรียนจั ดหาให้ไ ปเลี้ยงที่บ้าน โดยจะมีการให้ความความรู้ในเรื่องการดูแล และ ติดตามเป็นระยะ ๆ กลุ่มนักเรียนที่สนใจการขยายพันธุ์พืชก็จะไปเรียนภาคปฏิบัติกับครูที่มีความรู้ในเรื่อง การขยายพันธุ์พืช และจากปราชญ์ชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ปกครองนักเรียน ส่วนในเรื่องการท้าปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ มี การส้ารวจพื้นที่ของโรงเรียน โดยพบว่าหลัง บ้านพักครูในโรงเรียนเป็นพื้นที่ว่างเปล่าที่ปกคลุมไปด้วยหญ้าวัชพืช ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรมิหน้าซ้้าต้อง เสียค่าจ้างตัดหญ้าเป็นประจ้าซึ่งการท้าแปลงผักในตอนแรกจ้าเป็นที่จะต้องระดมก้าลังของนักเรียนที่เรียน วิชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อท้าการปรับพื้นที่ และท้าแปลงผัก พร้อมหาเมล็ดพันธุ์ผักที่ใช้เวลาไม่นานในการ เก็บผลผลิต เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักชีผักกวางตุ้ง ผักกาด พริก มะเขือ โหระพา กระเจี๊ยบ เป็นต้น การ ระดมก้าลังพลของนักเรียนในวันธรรมดาไม่พอซึ่งต้องใช้วันเสาร์ – อาทิตย์ในช่วงเริ่มด้าเนินการระยะแรก ๆ นักเรียนมีความกระตือรือร้นที่ได้มาช่วยกันท้างาน ครูจะแบ่งหน้าที่ให้นักเรียนในการดูแลพืชผักเหล่านี้ เมื่อถึงเวลาเรียนนักเรียนจะมีความกระตือรือร้นอยากมาเรียน อยากมาดูผลงานที่ตัวเองได้ปลูกผักเองว่า แปลงไหนจะงามกว่ากัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีท้าให้ครูผู้สอน ได้สอดแทรกเรื่องหลักคิดและการท้างานในการน้า เรื่ อ งเศรษฐกิ จ พอเพี ยงมาใช้ จ ริ ง โดยเฉพาะการปลู ก ผั กสามารถสอนผู้เ รี ย นในเรื่ อ งหลั ก ของความ พอประมาณ หากนักเรียนหว่านเมล็ ดไม่กระจายให้สม่้าเสมอกับขนาดพื้นที่ของแปลงผัก ผักก็จ ะไม่ เจริญเติบโต แคระแกรน การสอนความมีเหตุมี ผลว่าท้าไปต้องหว่านเมล็ดผักให้สมดุลกับพื้นที่ หรือการ ปลูกผักต้องดูสภาพพื้นที่ว่าชอบแดดหรือไม่ชอบแดด และการมีภูมิคุ้มกันก็ต้องมีการป้องกันเพลี้ยหนอนที่ จะมาลง ว่าท้าอย่างไรจะท้าให้เป็นผักปลอดสารพิษให้ได้ การมีความรู้ที่จะต้องดูแลผักให้งามต้องท้า อย่างไร รวมทั้ง การมี คุณ ธรรม คือการเอาใจใส่พืชผักให้ง าม เมื่ อพืช ผักสามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว นักเรียนจะต้องวางแผนการตลาดต่อว่าจะต้องขายสินค้าให้ใคร การศึกษาตลาดว่าผักแต่ละชนิดขายอยู่ ในราคาเท่าใด นักเรียนสามารถแบ่งหน้าที่กันได้เป็นอย่างดีและจะช่วยกันเก็บผักไปขายให้กับครู แม่ ค้า ในโรงเรียน และส่งตลาดสหกรณ์การเกษตร ผลการด้าเนินกิจกรรมโครงการนี้ได้รับการตอบรับจากกลุ่ม ลูกค้าที่ส่วนใหญ่เป็นครูในโรงเรียน เนื่องจากเป็นพืชผักปลอดสารพิษ และส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ ระหว่างเรียน เงินที่ได้จะน้าไปฝากกับธนาคารโรงเรียน เมื่อสิ้นภาคเรียนจะมีการปันผลคืนนักเรียนที่เป็น
สมาชิ ก ในกลุ่ ม และโครงการนี้ ต่ า งได้ รั บ การยอมรั บ ว่ า เป็ น โครงการที่ ดี ที่ ค วรด้ า เนิ น ต่ อ ไป ถึ ง แม้ โครงการวิจัยจะสิ้นสุดลงไปแล้วก็ตาม และที่ส้าคัญผู้เรียนต่างมีความสุขในการที่ได้มาเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ผลส้าเร็จจากการด้าเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับยุวเกษตรโรงเรียนบ้านลาดวิทยาคงไม่ได้ วัดอยู่ที่ว่านักเรียนมีรายได้เท่าไรจากการเข้าร่วมโครงการ หากแต่ผลส้าเร็จคือการน้อมน้าหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการท้างาน และเป็นทางเลือกให้กับนักเรียนในการประกอบอาชีพเลี้ยงตนเอง และครอบครัว การสร้างความสุขที่ ยั่งยืนจากการไม่เป็นภาระพึ่งพิงของสังคมและการสร้างสังคมที่อยู่บน พื้นฐานความพออยู่ พอกิน ซึ่งเป็นการสร้างดัชนีความสุขอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องวิ่งตามกระแสวัตถุนิยมที่ มุ่งให้คนเห็นแก่ตัวและแก่งแย่ง จนน้าไปสู่การท้าลายสมดุลทางธรรมชาติเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ ๒. โครงการ “โรงเรี ยน ๓ วิ ถี เพื่อ พั ฒนาคุ ณ ภาพการศึ ก ษาด้ว ยกระบวนการการ อนุรักษ์อาชีพท้องถิ่นของคนบ้านลาด : ตาลโตนด ตาลโตนด เป็นไม้ยืนต้นและเป็นพืชเมืองร้อนที่ปลูกกันมากในเขตจังหวัดเพชรบุรี จากการศึกษา พบว่า อาชีพของชุมชนคนบ้านลาด ร้อยละ ๘๐ ของประชากรที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร เช่น การ ท้านา ท้าไร่ท้าสวนและค้าขายพืชไร่ ได้แก่ ชมพู่ มะนาว ละมุด กล้วยและการท้าตาลโตนด ส้าหรับอาชีพท้าตาลโตนด นับวันจะเหลือการท้าน้อยลง เพราะปัจจุบันมีการท้านาปีมากขึ้นเป็น ปีละ ๒ ครั้ง ท้าให้ไม่มีเวลาที่จะท้าอาชีพตาลโตนดมากนัก ประกอบกับต้นตาลมีจ้านวนลดน้อยลง เพราะตาลต้นถึกถูกน้าไปปลูกสิ่งก่อสร้าง หรือประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน ที่เอื้อประโยชน์ต่อ การด้า รงชี พ มากมาย อีกทั้ง เยาวชนคนรุ่ นใหม่ ขาดการสนใจหันไปนิยมเทคโนโลยีสมั ยใหม่ ซึ่ ง ผู้ปกครองก็ขาดความตระหนักในเรื่องนี้ไม่ได้มีการปลูกฝังอย่างแท้จริงมุ่งแต่ให้บุตรหลานมีอาชีพที่สบาย ในอนาคต ส่วนอาชีพดั้งเดิมของท้องถิ่นถูกมองข้ามไป จึงเห็นสมควรให้มีการอนุรักษ์การท้าอาชี พ ตาลโตนดให้อยู่คู่กับคนบ้านลาดสืบไป ในส่วนของโรงเรียนบ้านลาดวิทยาก็มีนโยบายที่จะปลูกฝั งให้นักเรียนทุกคน เมื่อจบหลักสูตร แล้วจะต้องมีอาชีพอย่างน้อย ๑ อาชีพ และด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงได้หารือกับผู้เกี่ยวข้องคือ ส้านักงาน สนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อที่จะ หาทางด้าเนินการขับเคลื่อนให้ มีส่วนร่วมขององค์กรในชุมชนเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษามากขึ้น โดยมีความคาดหวังให้เยาวชนคนบ้านลาด เกิดจิตส้านึกรักบ้านเกิดและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพท้องถิ่นแบบ ดั้งเดิม พร้อมทั้งรู้จักอนุรักษ์พัฒนาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับท้าตาลโตนด ให้เป็นวิถีชีวิตของคนบ้านลาด แบบเศรษฐกิจต่อไป โครงการจึงได้เริ่มขึ้นโดยส้านักงานกองทุน (สสส.) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และโรงเรียนบ้านลาดวิทยาได้จัดเวทีสมัชชาน้าร่องการจัดการศึกษาในชุมชน เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยมี องค์กรในชุม ชนทั้ง ภาครัฐ และเอกชนรวมทั้ง ผู้ปกครองและ นักเรียน ได้ร่วมกันเสวนา เรื่องอาชีพท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของคนบ้านลาด ที่ควรคู่แก่การ
อนุรักษ์ให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้สืบทอดต่อไป ข้อสรุปจากการเสวนาลงมติว่า อาชีพที่ควรอนุรักษ์ต่อไป คือ การทาอาชีพการทาตาลโตนด ดังนั้นกลุ่มการงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบ้านลาดวิทยา ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการจึง ได้ปรึกษากับองค์กรผู้น้าความรู้ในท้องถิ่น ครูท้องถิ่นและผู้ปกครองร่วมกันประชุมวางแผนจัดการเรียน การสอนโดยใช้หลักสูตรท้องถิ่น เพื่อวางรากฐานการสร้างจิตส้านึกรักท้องถิ่น ในระดับมัธยมศึก ษา ตอนปลายในกลุ่มงานอาชีพวิชาเลือก (เพิ่มเติม) ตั้งแต่ระดับชั้น ม.๔ ให้เรียนรู้เรื่อง องค์ความรู้ของต้น ตาล การเพาะพันธุ์ตาล การปลูกและการดูแลรักษา ระดับชั้น ม.๕ ให้เรียนรู้กระบวนการท้าอาชีพ ตาลโตนดทั้งหมด ส่วนระดับชั้น ม. ๖ เป็นการสร้างอาชีพโดยการใช้โครงงานที่เกี่ยวข้องกับตาลโตนด มี แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่นช่วยสอน เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพจาก ต้นตาลโตนดได้อย่างแท้จริง สิ่งที่คาดหวังไว้เมื่อผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนการสอนครบ ๓ ขั้นตอนแล้ว จะได้รับความรู้ ความเข้าใจ และเห็นคุณค่าของการท้าอาชีพตาลโตนดมากขึ้น มีการอนุรักษ์สืบทอดและมีแนวคิดที่จะ พัฒนาอาชีพในท้องถิ่นได้กว้างไกลในอนาคต จากข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วจึ ง เป็ น ที่ ม าของการทดลองใช้ ห ลั ก สู ต รท้ อ งถิ่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ตาลโตนด กลุ่ ม เป้ า หมายที่ ใ ช้ ท ดลอง คื อ นั ก เรี ย นโครงการอาชี พ เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผา ระดั บ ชั้ น มัธยมศึกษาปีที่ ๕ จ้านวน ๒๐ คน ใช้หลักสูตรท้องถิ่นแบบเร่งรัด (จ้านวน ๑๖๐ ชั่วโมง / ๑ปีการศึกษา) เป็นภาคความรู้จ้านวน ๔๐ ชั่วโมง และภาคปฏิบัติจ้านวน ๑๒๐ ชั่วโมง ใช้สื่อการเรียนการสอนที่เป็น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น มีภูมิปัญญาท้องถิ่นช่วยเติมเต็มความรู้ เพื่อให้เกิดทักษะประสบการณ์ตรง ส้าหรับการประเมินผลจะประเมินตามสภาพจริง ในการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และแก้ปัญหา เป็น ซึ่ง จะน้าไปสู่กระบวนการผลิตต่อไป มี การวัดประเมิ นผลการเรียนรู้และพฤติกรรม รักการ ท้างาน/ผลงานนักเรียน และประเมินความพึงพอใจ เพื่อหาข้อสรุปผลจากสิ่งที่คาดหวังไว้ น้าผลที่ได้รับ มาปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นที่สมบูรณ์ต่อไป จากผลการด้าเนินงานที่ผ่านมาพบว่า เมื่อผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้ ครบ ๓ กระบวนการ แล้ว ท้าให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของท้าอาชีพตาลโตนดมากขึ้น รู้คุณค่าความส้าคัญของต้น ตาล สามารถอนุรักษ์อาชีพการท้าตาลโตนด ด้วยเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนได้ เพราะจากการเรียนรู้ ท้าให้ทราบว่า ต้นตาลโตนดสามารถสร้างอาชีพได้อย่างหลากหลาย ตั้งแต่ยอดถึงรากตาล รายได้ ที่เกิด จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นได้เต็มที่ตลอดทั้งปีโดยไม่ต้องลงทุน เพียงแต่ลงแรงกับต้องเพิ่มความอดทน และอาศัยเวลาเท่านั้น จึงจะประสบผลส้าเร็จในอาชีพ ดังนั้นจากการศึกษาเรื่องต้านานของตาลโตนดโดยภูมิปัญญาท้องถิ่น ท้าให้เกิดความรู้เพิ่มขึ้น ในเรื่อง น้าตาลเมืองเพชร มีรสชาติหวานหอม เข้มข้น ที่ ไม่เหมือนกัน สันนิษฐานจากภูมิ ปัญญาว่า น่าจะมาจากดินที่ปลูกคนละพื้นที่กัน ตาลโตนดที่ปลูกในพื้นที่ดินเปรี้ยวจะมีรสชาติหวานหอม
กลมกล่อม ส่วนมากจะใช้รับประทานเป็นน้้าตาลสด และน้้าหนัก/ความเข้มข้นของน้้าตาลจะได้น้อย ส่วนตาลโตนดที่ปลูกในพื้นที่ดินเค็มจะมีรสชาติหวานเข้มข้นกว่า ได้เนื้อน้้าตาลทีมีน้าหนักมาก เหมาะที่ จะท้าน้้าตาลปึก และจากข้อมูลดังกล่าวจึงเป็นประเด็น ที่ต้องศึกษาเพื่อหาค้าตอบว่า ระหว่างดิน เปรี้ยวและดินเค็ม เมื่อน้าดินมาสร้างผลงานเครื่องปั้ นดินเผาแล้ว จะมีลักษณะที่เหมือนกันและต่างกัน อย่ า งไร ดิน ประเภทใดมี เ หมาะสมในการท้ า เครื่ องปั้ นดิ น เผามากที่ สุด จึ ง เกิ ด โครงงานอาชี พ เครื่องปั้นดินเผาขึ้น เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้ร่วมกับองค์กรในชุมชน โดยมีการสืบค้นความรู้ และ ปฏิบัติการทดลองดินพื้นบ้าน เพื่อสร้างงานเครื่องปั้นดินเผาต่อไป
๓. กลองยาวลิเกอาเภอบ้านลาด วิถีภูมิปัญญาวิถีวัฒนธรรมพื้นบ้าน สมัยนี้วัยรุ่นที่ไหน เล่นลิเกตีกลองยาว ปล่อยคนแก่คนเฒ่าเขาเล่าเรื่องหลังไปเถอะอย่าไปตีฆ้ อง ร้องป่าวให้เสียเวลาเลย ...ดูเหมือนแนวคิดเช่นนี้จะตอกย้้าปัญหาให้หนักหนายิ่งขึ้น ถ้าเด็กไม่สนใจแล้ว ผู้ใหญ่ก็ไม่น้าพา คุณค่าภูมิปัญญาของบรรพชนก็คงสูญสิ้นไปจากท้องถิ่นไทย อ้าเภอบ้านลาด เป็น ๑ ใน ๘ อ้าเภอของจังหวัดเพชรบุรี เป็นอ้าเภอที่มีวิถีชุมชนที่โดดเด่นด้วยอั ตลักษณ์เฉพาะตัว ความเป็นสังคม บ้านมากกว่าสังคมเมือง ท้าให้การด้าเนินชีวิตของผู้คนยังคงอยู่กับร่องรอยดั้งเดิม อยู่อย่างพอเพียงสงบ ราบเรียบ ผู้ คนสื่ อสารกันด้วยภาษาท้องถิ่น เป็นส้าเนียงเพชรฯแท้ และมากมายด้วยศิลปวัฒ นธรรม ท้องถิ่นหลากหลายรูปแบบ ที่ยังอยู่เป็นการอยูแ่ บบดั้งเดิมที่หวังให้เยาวชนคนรุ่นหลังสืบทอดต่อไป
กลองยาวลิเกเป็นการแสดงพื้นบ้านของอ้าเภอบ้านลาดที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในอดีตที่ ผ่านมา ปัจจุบันกลองยาวลิเกไม่มีใครน้ามาจัดการแสดงอนุชนคนรุ่นหลังไม่รู้จักการแสดงกลองยาวลิเก กลองยาวลิเกมีลักษณะเด่นที่การแสดงลีลาประกอบการตีกลองและร่ายร้า บางท่าทางโลดโผน ต่อตัว ท้า สะพานโค้ง ผู้แสดงต้องฝึกฝนให้เชี่ยวชาญ เพิ่มความสนุกสนานให้ผู้ชม การแสดงกลองยาวลิเกนิยมแสดง ในงานบวชนาค ช่ วงเวลารับนาคกลั บบ้านก็มี กลองยาวลิเกเฉลิม ฉลองกันอย่างสนุกสนานครื้นเครง ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของกลองยาวลิเกคือการแต่งกายเพราะผู้แสดงจะแต่งกายด้วยโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมทับด้วยเสื้อกั๊กปักเพชรวูบวาบ โพกหัวคาดเพชรมีขนนกประดับเป็น เป็นเครื่องแต่งกาย ลิเกในสมัยโบราณ เมื่อโรงเรียนบ้านลาดวิทยาร่วมโครงการน้าร่องการจัดการศึกษาแบบมีส่ วนร่วมขององค์กรใน ชุมชนเพื่อสุขภาวะคนไทย กับ สสส.และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล สิ่งที่ ด้าเนินการเป็นอันดับแรกคือการท้าประชาคมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การแสดงพื้นบ้านเป็น ความต้องการของชุมชนที่ปรารถนาจะชุบชีวิตให้การแสดงพื้นบ้านนี้ ฟื้นคืนชีพขึ้นมา หลังจากกลองยาว ลิเกคงอยู่เพียงเรื่องเล่าของคนแก่คนเฒ่าที่นับวันสูญลับดับไป สิ่งส้าคัญกับการตามหาเรื่องราวกลองยาวลิเกบ้านลาดก็คือการสืบค้นภูมิปัญญาที่เป็นศิลปิน พื้นบ้าน เพื่อถ่ายทอดการแสดงกลองยาวลิเก เป็นครูของท้องถิ่นศิลปินพื้นบ้านในโครงการของเราจากการ สืบค้นเราพบครูผ่าน ครึกครื้น ศิลปินพื้นบ้านวัยเฉียด ๙๐ ปี ที่ยังพอเล่าขานถึงความเป็นมาของการ แสดงกลองยาวลิเกได้บ้างแต่ไม่มีเรียวแรงจะแสดงสาธิตแล้ว ที่น่าเสียดายก็คือเราไม่อาจตามหาร่องรอย การแสดงในอดีตได้ ด้วยในสมัยโบราณการบันทึกภาพยังไม่แพร่หลายและยุ่งยากในการด้าเนินงาน โชค ยังดีอยู่บ้างที่ครูผ่านได้แนะน้าศิลปินรุ่นลูกหลานที่ได้รั บการถ่ายทอดศิลปะการแสดงกลองยาวลิเกของ บรรพบุรุษเข้าไว้ เราจึงได้พบกับครู วรารัตน์ นุชอ่อง ครูกลองยาวและครูพุทธชาติ ชื่นฉ่้า ครูร้ากลองยาว ทั้งสองท่านเป็นผู้รับการสืบทอดการแสดงกลองยาวลิเกโดยตรง มรดกตกทอดนอกจากการร้องร้าตีกลอง ยาวแล้ ว ก็ยัง มี เ ครื่ องแต่ง กายลิ เ กที่ ใ ช้ แต่ ง ในการแสดงและกลองยาวที่ใช้ บ รรเลงลี ลาให้ สนุก สนาน ครึกครื้นเป็นของดั้งเดิม ที่เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี โดยไม่ได้น้าออกมาใช้เป็นเวลาเนิ่นนาน เมื่อ ครูพร้อม เยาวชนพร้อม การสืบค้นเพื่อสืบทอดการแสดงพื้นบ้านกลองยาวลิเก อ้าเภอบ้านลาดก็เริ่มขึ้นโดยศิลปินพื้นบ้านท่านรับที่จะเป็นครูของท้องถิ่นเพื่อถ่ายทอดการแสดงกลองยาว ลิเกให้เยาวชนคนบ้านลาดด้วยความเต็มใจ บุคคลส้าคัญที่เป็นเป้าหมายใหญ่ในการเป็นผู้รับการถ่ายทอด คือเยาวชนคนบ้านลาดซึ่งเราได้อาสาสมัครจ้านวน ๓๐ คน เข้าร่วมโครงการ เยาวชนกลุ่มนี้ใช้เวลาหลัง เลิกเรียนในโรงเรียนและวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ เรียนรู้ ฝึกปฎิบัติเพื่อสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพชนอันเป็น สมบัติล้าค่าของท้องถิ่นตนเอง เมื่ อ โครงการผ่ า นไปภาพเยาวชนยุ ค ใหม่ ใ ส่ ชุ ด ลิ เ กตี ก ลองยาวแสดงท่ า มกลางสายตาของ ผู้ปกครองผู้น้าชุมชน คนในท้องถิ่น โดยการสนับสนุนของสถานศึกษาโรงเรียนบ้านลาดวิทยา ส้านักงาน
สนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ก็ปรากฏ บนท้องถิ่นอ้าเภอบ้านลาด เป็นภาพที่คนรุ่นเก่าได้ทบทวนความหลัง คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เรื่องเก่าแล้วเล่า ต่อ พวกเขาเล่าเรื่องครั้งแล้วครั้งเล่า ไปตามงานบุญ งานฉลอง งานรื่นเริงบันเทิงในเทศกาลต่างๆ เป็นภาพ ประทับใจที่เกิดขึ้นได้เพราะผู้ใหญ่ใจดีที่ให้การสนับสนุน...ขอบพระคุณที่ให้โอกาสเยาวชนได้สืบสานภูมิ ปัญญาท้องถิ่น เป็นสมบัติชองชาติต่อไป
๔. โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวบ้านลาด ปรากฏการณ์ครอบครัวสมรสน้อยลง หย่าร้างมากขึ้น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการยังคงถูกทอดทิ้ง สัมพันธภาพในครอบครัวไม่อบอุ่น ขาดการให้เวลาแก่กันอย่างมีคุณภาพ วัตถุนิยมและบริโภคนิยมยัง เป็นใหญ่ การหาเลี้ยงครอบครัวส้าคัญกว่าสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว จึง ก่อให้เกิดปัญหาต่อเยาวชน มากมาย ถึงเวลาแล้วที่ทุกครอบครัวต้องหันกลับมาให้เวลากับตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้มากขึ้น ให้เวลาพูดคุย ดูแลสุขภาพกันและกัน ร่วมท้ากิจกรรมดี ๆ ร่วมกัน เป็นการมอบสัม ผัสรักที่อบอุ่นใกล้ชิด ให้แก่กัน สั งคมอ้าเภอบ้านลาดในปัจจุ บันก้าลัง เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมชนบทสู่สัง คมเมื อง อาชี พ ดั้งเดิมที่เป็นเกษตรกรรมเปลี่ยนเป็นค้าขาย รับจ้างและไปท้างานในโรงงานอุตสาหกรรมในต่างจังหวัดมาก ขึ้นประชาชนส่วนใหญ่จึงมีวิถีชีวิตที่รีบเร่งท้าให้บุคคลในครอบครัวไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน ยังผลให้สถาบันครอบครัวไม่เข้มแข็งก่อให้เกิดปัญหาหลายๆ ด้าน เช่น ปัญหาด้านยาเสพติด ปัญหาเรื่อง การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค เยาวชนส่วนใหญ่น้าหนักตัวเกินเกิดโรค อ้วนและโรคเรื้อรังต่าง ๆ เร็วขึ้น จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนบ้านลาดวิทยาและภาคีเครือข่าย ตระหนักถึงปัญหาสังคม ดังกล่าวจึงได้ท้าโครงการ “ส่งเสริมสายใยรักแห่งครอบครัวบ้านลาด” ขึ้น เพื่อสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดี ระหว่างบุคคลในครอบครัวและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องสู่ครอบครัวอบอุ่นและสถาบันครอบครัวเข้มแข็ง สร้างภูมิคุ้มกันปัญหาสังคมให้แก่สมาชิกในครอบครัว จัดท้าหลักสูตร “ส่งเสริมสายใยรักแห่งครอบครัว บ้านลาด” โดยร่วมกันบริหารจัดการระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นที่ น่ายินดีที่ได้รับการสนับสนุน จาก สสส. และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล ให้
ด้าเนินกิจกรรม โดยมีการส้ารวจข้อมูลพื้นฐานสภาพครอบครัว รับสมัครสมาชิก ๔๐ ครอบครัว มีการ ประชุมวางแผนร่วมกันกับคณะท้างาน และด้าเนินการ ๕ กิจกรรม คือ ครอบครัวรักการอ่าน เน้น อบรมรมให้ความรู้กับพ่อแม่และลูกเรื่องประโยชน์และความสัมคัญของการอ่าน ท้ากิจกรรมร่วมกัน พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง และญาติ ครอบครัวบ้านลาดสัญจรพบผู้ปกครองยามเย็น ให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแล เยาวชนวัยศึกษา การติดตามดูแลช่วยเหลือในเรื่องพฤติกรรมเสี่ยง เรื่องการเรียน ร่วมแก้ปัญหาแบบ กัลยาณมิตร ครอบครัว บวร คือ บ้าน วัด และโรงเรียน อบรมให้ความรู้แก่ครอบครัวนักเรียนที่ เข้าร่วม โครงการด้านพิธีการทางศาสนาพุทธ และท้าบุญร่วมกันที่วัด ระหว่าง นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และชุมชน โดยนักเรียนจะเป็นผู้ด้าเนินขั้นตอนทางพิธีการตั้งแต่ต้นจนจบ ครอบครัวฮูลาฮูป มีการอบรมให้ความรู้ แก่ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการในการรักษาสุขภาพ การใช้อุปกรณ์ ฮูลาฮูปในการออกก้าลังกายให้ถูกต้อง เพื่อลดน้้าหนัก ลดรอบเอว มีกิจกรรมแข่งขันร่วมกัน ระหว่าง นักเรียน ผู้ปกครอง และครู สุดท้าย คือ ครอบครัวปันรัก มีการอบรมให้ความรู้กับครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ ในการดูแล ผู้สูงวัย ผู้พิการ และ ผู้ป่วยเรื้อรัง ทั้งในครอบครัว ตนเอง และครอบครัวในชุมชน จัดกิจกรรมในลักษณะ เยาวชนจิตอาสาออก เยี่ยมบ้านผู้สูงวัย ผู้พิการ และผู้ป่วยเรื้อรัง ร่วมกันดูและช่วยเหลือครอบครัวในชุมชน โดยท้ากิจกรรม ร่ ว มกั บ โรงพยาบาล องค์ ก ารบริ ห ารส่ ว นต้ า บล และหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ทั้ ง ๕ กิ จ กรรม มี ก าร ด้าเนินการมาตั้งแต่ พฤษภาคม ๒๕๕๔ จนถึง ปี ๒๕๕๕ เราคาดหวังไว้ว่า เมื่อด้าเนินกิจกรรมแล้ว สถาบันครอบครัวของชุมชนบ้านลาดที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้มแข็งขึ้น ภาคีเครือข่ายของโรงเรียนได้รู้ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาครอบครัวของชุมชนบ้านลาด และเยาวชนมีทักษะชีวิตที่ดี จาการท้างานร่วมกันกับชุมชน โดยเน้นการพัฒนาครอบครัวซึ่งเป็นสถาบันที่เล็กที่สุด แต่ส้าคัญ ที่สุด เยาวชนในชุมชนบ้านลาดมี ทักษะชีวิตไม่ เป็นปัญหาของสังคม ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการมี สัมพันธภาพที่ดีขึ้น เมื่อสถาบันครอบครัวและชุมชนเข้มแข็งยิ่งขึ้น ภาคีเครือข่ายมีความสัมพันธ์อันดีต่อ กัน ก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกัน ลดปัญหาสังคมให้แก่เยาวชนในชุมชนบ้านลาดได้ในที่สุด ถึงเวลาแล้วที่ทุกฝ่าย ทุกภาคส่วน ทุกระดับของสังคม ต้องหันหน้าเข้าหากัน โดยตระหนักร่วมกัน ถึงภารกิจ การพัฒนาครอบครัวให้เข้มแข็ง มั่นคง มีคุณภาพ ร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม บูร ณาการ และยั่ ง ยืน “หากครอบครัว ไทยไม่ แ ข็ งแรง ก็ ไ ม่ มี วั น ที่ ป ระเทศไทยจะแข็ งแรงได้ เช่นกัน”
๕. โครงการศูนย์การเรียนรู้สู่ชุมชนคนบ้านลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดี “แยก ขยะ” ภารกิจที่เต็มไปด้วยคุณค่า เมื่อเราใช้สอยสิ่งใด ๆ จนไม่สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้อีกแล้ว เราก็จะทิ้งลงถัง และเรียกขานมัน ว่า “ขยะ” แต่ในความเป็นจริงวัสดุต่าง ๆ ถ้าได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ก็ยังสร้างทั้งมูลค่าและคุณค่าได้อีก ไม่น้อย ซึ่งเราอาจเรียกใหม่เป็น “ทรัพยากร” ในปีหนึ่ง ๆ ทั่วอาเภอบ้านลาดมีปริมาณขยะมูลฝอย มากมาย สามารถแยกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้ - ขยะอินทรีย์ เช่น เศษอาหารต่าง ๆ มูลสัตว์ เศษใบไม้ ฟางข้าว และซากพืชต่าง ๆ - ขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ - ขยะบางประเภทซึ่งย่อยสลายยากและมีแหล่งรับซื้อน้อย เช่น น้ามันพืชใช้แล้ว เศษไม้ กล่องโฟม รองเท้าหนัง - ขยะอันตรายที่ต้องระมัดระวังในการจัดเก็บ เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ ภาชนะบรรจุ ภาชนะบรรจุสารเคมีทางการเกษตร จากทั้งหมดที่เราเรียกว่า “ขยะ” ข้างต้น มีเพียงประมาณ ๑๐% ที่ควรนาไปเผาหรือฝังกลบ แสดง ว่าขยะที่เป็นขยะจริง ๆ มีน้อยมาก ยังมีข้าวของที่สามารถนากลับมาใช้ซ้า (รียูส) ได้อีก และที่หมุนเวียน แปรรูปกลับมาใช้ใหม่ได้ (รีไซเคิล) ก็มีไม่น้อยเลยทีเดียว จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พบว่า ศักยภาพของวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนากลับมาใช้ประโยชน์จากมูลฝอยที่เก็บขนได้ทั่วประเทศมีประมาณ ร้อยละ ๑๖.๓๔ แต่มีเพียงร้อยละ ๗ หรือประมาณ ๒,๓๖๐ ตันต่อวันเท่านั้นที่ถูกนากลับมาใช้ประโยชน์ จริง
อุปสรรคอย่างหนึ่งของการนาขยะจากแต่ละบ้านหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ก็คือในแต่ละวันเรายัง ทิ้งขยะแต่ละประเภทรวมกันในถังเดียว ขยะที่ควรจะรีไซเคิลได้หลายชนิดจึงพลอยเปรอะเปื้อนไปด้วย ทา ให้ขยะเหล่านั้นไม่สามารถนามาแปรรูปและหมุนเวียนใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับขยะที่ถูก แยกไว้ตั้งแต่แรก การแยกขยะจึงเป็นก้าวแรกของการลดปริมาณขยะและนาขยะไปใช้อย่างเต็มศักยภาพ ที่ทุกคน น่าจะช่วยทาได้ “มนุษย์” คือเทคโนโลยีคัดแยกที่ดีที่สุด “ไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถแยกขยะชนิดนั้นออกจากขยะชนิดนี้ได้ดีเท่าฝีมือของมนุษย์ ” ไม่ใช่ คากล่าวที่เกินจริงเลย โดยเฉพาะเมื่อเราแยกขยะตั้งแต่ที่บ้าน ด้วยเหตุที่บ้านเรือนเป็นต้นทางของขยะ มากกว่าที่สาธารณะอย่างตลาดหรือริมถนน เป็นไหน ๆ แต่ทุกวันนี้บ้านเรือนส่วนใหญ่ส่งขยะให้เทศบาล หรือ อบต.จัดการ โดยไม่คั ดแยกชนิดขยะออกจากกัน เศษอาหาร กระดาษหนังสือพิ มพ์ ถุงพลาสติก หลอดไฟหรือแม้แต่ภาชนะบรรจุสารเคมี จึงรวมอยู่ในถังเดียวกัน และที่สาคัญสารพิษจากขยะอันตรายที่ไม่ ถูกแยกออกมาอย่างถูกต้อง อาจจะนาอันตรายมาสู่ทั้งคนในบ้านและพนักงานเก็บขยะด้วย ขยะแต่ละชนิดมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน เพื่อให้การแยกขยะมีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างแท้จริง ก่อนจะตัดสินใจทิ้งอะไร เรามาทาความรู้จักเคล็ดลับในการคัดแยกสักหน่อยดีกว่า ขยะอินทรีย์ - อาหารที่กินเหลือ ถ้ายังไม่ค้างคืนจนบูด สามารถนาไปเลี้ยงสัตว์ได้ รวมกันหลาย ๆ วัน ก็ ประหยัดไปไม่น้อย หรือทาปุ๋ยชีวภาพก็ยังได้ - ไม่ควรฝังกลบเศษอาหาร เพราะการย่อยสลายในสภาพไร้ออกซิเจนจะทาให้เกิดก๊าซมีเทน ตามมา แทนที่จะฝังกลบหรือใส่ถุงก๊อบแก๊บผูกปากแน่นทิ้งไป เราสามารถนามันมาเป็นส่วนผสมในปุ๋ยหมักได้ - เปลือกผลไม้รสหวานใช้ทาน้าหมักชีวภาพไว้ดับกลิ่นในท่อน้า ห้องน้า และนาไปรดน้าต้นไม้ได้ กระดาษ - หลังจากใช้ประโยชน์จากกระดาษประเภทต่างๆ ได้ทุกซอกทุกมุมแล้ว ถ้าแยกประเภทกระดาษ ก่อนนาไปขาย จะทาให้ได้ราคามากกว่าขายเหมารวมเป็นกองเดียว ยกเว้นกระดาษทิชชูและกระดาษเคลือบ พลาสติกที่ขายไม่ได้ - ไม่ควรเก็บกระดาษแยกไว้ในที่ชื้นแฉะและสกปรก จะทาให้คุณภาพในการรีไซเคิลลดลง พลาสติก - ขวดพลาสติกที่ใช้แล้ว ยังใช้ซ้าได้อีก
- เมื่อแน่ใจว่าขวดพลาสติกใช้ซ้าไม่ได้แล้ว ควรล้างให้สะอาดและบีบให้แบน เพื่อประหยัดเนื้อที่ ในการเก็บให้มากที่สุด - ขวดพลาสติกมีหลายประเภท ราคารับซื้อแต่ละประเภทก็แตกต่างกันออกไป พ่อค้ามักจะรับซื้อ แบบเหมารวมทั้งหมดแล้วนาไปแยกเองทีหลัง แก้ว - แม้แก้วจะย่อยสลายไม่ได้ แต่มันสามารถรีไซเคิลได้ ๑๐๐% - ล้างขวดแก้วให้สะอาดเพื่อง่ายต่อการรีไซเคิล - ขวดแก้วใช้แล้ว ถ้ายังอยู่ในสภาพใช้การได้ โรงงานผลิตเครื่องดื่มหรือสินค้านั้นๆ ยังรับกลับมา ทาความสะอาด และใช้ซ้าได้อีกถึงอย่างน้อย ๓๐ ครั้ง แต่ถ้าขวดแก้วเสียหายจนใช้ซ้าไม่ได้อีก สามารถ นาไปหลอมเป็นบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้อีกนับครั้งไม่ถ้วนและให้คุณภาพไม่ต่างจากเดิม ทั้งนี้การหลอมแก้วจาก วัสดุ รีไซเคิลยังใช้ความร้อนน้อยกว่าหลอมจากวัตถุดิบโดยตรงอีกด้วย โลหะ - โลหะมีหลายประเภท ซึ่งมีราคาแตกต่างกัน ก่อนนาไปขายควรทาให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อง่ายต่อ การจัดการ และถ้าแยกประเภทของโลหะจะทาให้ได้ราคาสูงกว่าเดิม - เหล็กสามารถรีไซเคิลได้ ๑๐๐% และยังคงคุณภาพเดิม เช่น กระป๋องเครื่องดื่มบางชนิด ผลิตภัณฑ์ บรรจุอาหาร อาจหลอมรวมเพื่อนาไปผลิตเป็นวัสดุต่างๆ ได้อีกมากมาย เช่น คลิปหนีบกระดาษ กระป๋อง ใบใหม่ ชิ้นส่วนจักรยานและรถยนต์ - ห่วงเปิดกระป๋องน้าอัดลมนาไปบริจาคเพื่อทาเป็นขาเทียมได้ หรือจาหน่าย ขยะอันตราย - อย่านาขยะอันตรายไปทิ้งปนรวมกับขยะประเภทอื่นอย่างเด็ด ขาด เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี่ กระป๋องสเปรย์ ขวดน้ามันเครื่อง ขวดยาฆ่าแมลง และตลับหมึกพิมพ์ เป็นต้น ควรแยกใส่ถังขยะแต่ละ ประเภทให้ถูกต้อง - แยกขยะอันตรายโดยเก็บใส่บรรจุภัณฑ์เดิมหรือห่อด้วยกระดาษก่อนทิ้ง บางประเภทขายได้ก็ควร นาไปขาย นอกจากช่วยอนุรักษ์สิ่ งแวดล้อมแล้วยังสร้างรายได้อีกทางหนึ่ง เช่น ขวดยาฆ่าแมลง และตลับ หมึกพิมพ์ เป็นต้น อื่น ๆ - คอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดใช้รีไซเคิลได้ โดยส่วนประกอบภายใน เช่น พลาสติก เหล็ก อะลูมิเนียม ทองแดง และอลูมิเนียม ฯลฯ สามารถนามาแยกชิ้ นส่วนเพื่อขายแยกชนิดทาให้ได้ราคา สูงขึ้น ซึ่งดีกว่าขายยกชิ้นเสียอีก - โทรศัพท์มือถือรีไซเคิลได้ถึง ๘๐% ง่ายที่สุดคือนากลับไปคืนร้านที่ซื้อมาหรือหย่อนลงในกล่อง ที่รับบริจาคซากไปใช้ประโยชน์ เช่น ร้านขายโทรศัพท์มือถือ สานักงานเทศบาลต่าง ๆ และองค์การบริหาร ส่วนท้องถิ่น (อบต.) หรือจะแยกชิ้นเป็นขยะจาหน่ายแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ก็ได้
วิธีที่ทาได้ง่าย ๆ วิธีหนึ่งก็คือการ "แยกขยะ" แล้วนาไปใช้ประโยชน์ให้ตรงกับศักยภาพของขยะ แต่ละประเภทก็เท่านั่นเอง การแบ่งแยกประเภทของถังรองรับขยะมูลฝอยตามสีต่าง ๆ ดังนี้ ถังสีเขียว รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนามาหมักทาปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ ถังสีเหลือง รองรับขยะที่สามารถนามารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ ถังสีแดง รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดไฟที่หมดอายุการใช้งาน ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง ภาชนะ บรรจุสารอันตรายต่าง ๆ ถังสีฟ้า รองรับขยะทั่วไปที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สาเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟม และฟอล์ยที่เปื้อนอาหาร เมื่อ “ขยะ” ในชีวิตประจาวันของเราแฝงไว้ทั้งคุณค่าและมูลค่ามากมาย ศักยภาพที่เราสามารถ จัดการได้ก็คือ ช่วยกันดึงศักยภาพที่ขยะมีอยู่ออกมาใช้ให้เต็มที่ บทส่งท้าย : เรียนรู้คุณค่าของพืช และส่งเสริมการปลูกพืชต่าง ๆ ในโรงเรียนและชุมชน โอ้ย! ตายแน่ ๆ เรา จะทาอย่างไรดี เมื่ อทราบว่าคุณครูที่รับผิดชอบโครงการนี้ ท่านจะลาออกจาก ราชการ แล้วใครจะสานโครงการนี้ต่อเพราะมีตั้ง ๓ กิจกรรม ดีที่คุณครูชูเกียรติ ช่วยในเรื่องค่ายกาจัดขยะ ทั้ง ๆ ที่ ท่านต้องรับผิดชอบในโครงการอื่น อยู่แล้ว แต่ยังเหลืออีก ๒ กิจกรรมคือเรียนรู้เรื่องคุณค่าของพื ช และส่งเสริมการปลูกพืช ต่างๆ ในโรงเรียนและชุมชน พืชอาหาร/ที่อยู่อาศัย พืชเป็นยารักษาโรค สารเคมี ทดแทนสารเคมีเกษตร พืชร่มเงา ....มองซ้าย มองขวา เห็นสายตาเพื่อนๆ ส่งมาทางเรา เอาละหว่า...อย่านะ เพื่อน...บ้านเรามีสวนก็จริง แต่เราไม่รู้จักพืชหรือวิธีปลูกเลย .... ปีหนึ่งเดินเข้า สวนหลังบ้านไม่เกิน ๓ ครั้ง แล้วจะทาอะไรได้...กลับมาบ่นให้คนที่บ้านฟัง เขา หัวเราะ หึ ๆ แล้วส่งหนังสือเกี่ยวกับคุณค่าของพืช พืชสมุนไพรรักษาโรค พืชทดแทนสารเคมี เฮ้อ...อ่านก็ อ่าน...ตรงไหนไม่รู้เรื่องก็ถาม ...อ่านได้สักพักคงเห็นว่าไม่ได้เรื่องเลยพาเราไปพบ คุณน้อย (สุริยะ ชูวงศ์) ปราชญ์ชาวบ้าน เกษตรกรดีเด่นสาขาไร่นาสวนผสมระดับเขต ๒ ราชบุรี ให้ช่วยอธิบาย และพาชมสถานที่ จริงของจริง โห...รู้อย่างนี้มาฟัง/ศึกษาดูงานจากท่านนานแล้ว ท่านอธิบายซะได้ความรู้มากมาย เลยจองตัว ท่านเป็นวิทยากร...ทั้งๆที่ยังไม่รู้จะหาสมาชิกเข้าร่วมโครงการอย่างไร ...เอาละ..พอมี ค วามรู้บ้ า งแล้ วคราวนี้ก็ เริ่ มที่จะหาอาสาสมัครเข้าร่ วมเรีย นรู้เป็ นนัก เรี ย น ชั้ น มัธยมศึกษาตอนต้อน - ตอนปลาย และผู้ปกครองนักเรียน ประมาณ ๑๕ ครอบครัว ประทับใจมากกับการที่ ผู้ปกครองและนักเรียนให้ความร่วมมื อของสมัครเข้าร่วมเรียนรู้ถึง ๒๘ ครอบครัวจากนั้น จึงนัดแนะคุณ น้อยบรรยายให้ความรู้ ...เมื่อถึงวันนัด ผู้ปกครองก็ขี่จักรยานยนต์ให้ลูก(นักเรียน)ซ้อนท้ายไปบ้านคุณน้อย ...ท่านให้ความรู้ในเรื่องการทาน้าส้มจากควันไม้เพื่อใช้ป้องกันกาจัดแมลงศัตรูพืช...ให้ความรู้ตั้งแต่การวาง
เรียงพื้นท่อนไม้เป็นขนาดเล็กใหญ่ ลดหลั่น เพื่อให้ได้ถ่านที่มีคุณภาพมากที่สุดเป็นขี้เถ้าน้อยที่สุด โดย ผู้ปกครองและนักเรียนช่วยกันแบกไม้ จัดเรียง ปิดฝา กลบดิน ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที (ซึ่งเรื่องนี้ท่าน แถมให้..เพราะในชุมชนมีการเผาถ่านใช้เองบ้างและวิธีเผาแบบหลุมก็สามารถทาน้าส้มควันไม้ได้เช่นกัน...) จากนั้นท่านพาไปดูการทาปุ๋ยหมัก ซึ่งโดยทั่วไป เรามักเห็นเศษไม้ใบหญ้า เศษอาหาร มูลสัตว์ ผลพลอยได้ จากกระบวนการหมักคือน้าหมักชีวภาพ แต่... คุณน้อยท่านนาเปลือกลูกตาลที่ชุมชนมีมาก(ส่วนใหญ่จะ ทิ้งหลังจากเฉาะเอาลูกตาลมาขาย) มาทาเป็นปุ๋ยหมักวางทับกันแล้วมีการใส่น้าเป็นการหมักจนมีการย่อย สลายเป็นผง..ไว้สาหรับรองก้นหลุมเป็นปุ๋ย หลังจากนั้นท่านพาไปดูการทาปุ๋ยชีวภาพจากเปลือกสับปะรด การทาจุลินทรีย์หน่อกล้วยเพื่อใช้ ปรับสภาพดิน ....ระหว่างท่านอธิบาย...พาเดินชม...จะได้ยินเสียงซักถาม เป็นภาษาพื้นบ้าน โต้ตอบกัน เห็น รอยยิ้มบนใบหน้าสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งๆ ที่อากาศร้อนมาก ระหว่างเดินสังเกตเห็นหลอดไฟนีออน ยาว บนกะละมัง จึงถามว่าคืออะไร ท่านอธิบายง่าย ๆ ว่า ไฟดักจับแมลง พอเดินไปดูใกล้ๆ เห็นแมลง หน้าตาแปลก ที่กัดกินต้นพืช ต้นข้าวที่ปลูก ตายลอยเป็นแพ...สมาชิกเริ่มสนใจซักถามว่าทาไมมันตายมาก อย่างนี้ที่บ้านเขาก็มีหลอดแบบนี้แต่ไม้ได้ผลแบบนี้ ได้คาตอบว่าได้นาผงซักฟอกยี่ห้อหนึ่ง ใส่ลงไป ๑ ช้อน โต๊ะ ต่อน้าครึ่งกะละมัง ละต้องเปลี่ยนทุกเย็น การวางหลอดไฟต้องหันทิศให้ถูก กลิ่นหอมจากผงซักฟอก จะเรียกแมลงให้มาเล่นไฟ...ตาย...นี่แหละภูมิปัญญาจริง ๆ เดินจนเหนื่อยเลี้ยวกลับบ้าน ผ่านเตาถ่านที่เผา เรียกเสียงฮือฮา จากนักเรียนได้เพราะ น้าส้มควันไม้เริ่มหยดให้เห็น (ขายราคา ๑ ลิตร/๑๐๐ บาท) พอถึงบ้าน นั่งพักเหนื่อยแปบเดียว...คุณน้อยหอบใบไม้มาหอบใหญ่ เรียกว่าใบต้นขี้เหม็น(พืชท้องถิ่น) ใช้ทาสารจับใบ แทนสารเคมีได้เป็นอย่างดี หาง่าย ทาง่าย สมาชิกช่วยกันหั่น คั้นเอาน้า แบ่งกลับไปใช้ที่บ้านคนละเล็กละ น้อย สุดท้ ายท่า นสอนให้ทาฮอร์โมนจากไข่ไ ก่ และแจกน้าส้มควันไม้ให้ถือกลับบ้านอีก ....เป็นความ ประทับใจที่ยากจะลืม...ยัง..ยัง..ไม่ประทับใจไม่รู้จบ... หลายวันผ่านไป นักเรียนมาบอกที่ห้องว่าครูขา ไปบ้านหนูหน่อย เพราะหนูนาความรู้ที่ได้รับจาก ลุงน้อยไปใช้ที่บ้าน กับพวกพืชล้มลุก ได้ผลมาก โดยเฉพาะสารจับใบ จากใบขี้เหล็ก ...อีก ประมาณ ๑ เดือน ได้ไปเยี่ยมบ้านนักเรียนที่เข้าโครงการพบว่า หลายบ้านเริ่มปลูกพืชสมุนไพร พืชล้มลุก และลดการใช้ สารเคมี มี ๒ บ้านที่เริ่มทาปุ๋ยหมักจากเปลือกลูกตาล....และยังได้ทราบอีกว่าบางคนกลับไปขอความรู้จาก คุณน้อยเพิ่มเติม....ประทับใจมาก ๆ ที่ ได้รับโอกาสจาก โครงการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กร ในชุมชนเพื่อสุขภาวะคนไทย ในการทากิจกรรมนี้ โดยเฉพาะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชพรรณไม้ และวิธีปลูก
ทั้ง ๕ โครงการ ล้วนเป็นสิ่งสาคัญในการดารงชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นเรื่องของชีวิต ความรัก สุขภาพ อนามัย อาชีพและจิตสานึกที่ดี เป็นความภาคภูมิใจที่สถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมใน การดาเนินงาน เป็นการสร้างสรรค์สังคมร่วมกันเพื่อวางรากฐานจากท้องถิ่นสู่ประเทศชาติให้ดารงอยู่และ เจริญงอกงามสืบไป
****************************************************