หลักสูตร ปศท.2 ชุมชนเทศบาลตำบลหนองล่อง

Page 1


หลักสูตรที่ได้จากการจัดโครงการ ปศท.2 : ชุมชนเทศบาลตาบลหนองล่อง

1. ทาไมต้องทาเรื่องนี้ กิจกรรมนี้ ? (ปัญหา) จากการจัดทําประชาคมตําบลหนองล่อง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2554 ได้สรุปปัญหาด้านสังคม ได้ดังนี้ ปัญหาด้านสังคมส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาเกี่ยวกับเยาวชน คือวัยรุ่ นในตําบลมักจะมั่วสุมในเรื่อง สิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ สุรา ตามแหล่งต่างๆ ที่ล่อแหลม มีการแบ่งพรรคพวกตามกลุ่ม ตามหมู่บ้าน มักจะ ทะเลาะวิวาทกันในงานต่างๆ ให้ความสําคัญกับเพื่อนมากกว่าครอบครัว มีโลกส่วนตัวสูง พ่อแม่ขาด การเอาใจใส่ดูแล เนื่องจากต้องทํามาหากินเลี้ยงครอบครัว ในเรื่องการแต่งกายมักจะเลียนแบบจากสื่อ แต่งกายไม่สุภาพ รัดรูป สายเดี่ยวเอวลอย กางเกงขาสั้นจู๋ เด็กและเยาวชนขาดความรับผิดชอบ ไม่มี จิตสาธารณะ ขาดความรักใคร่สามัคคีปรองดองกัน ผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เด็ก ไม่อยู่ในศีลธรรม ได้รับการปลูกฝังทางความคิดที่ผิดจากผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชนลืมวิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ไม่ชอบเข้าวัดทําบุญ ขาดการชักจูงจากผู้ใหญ่ กลุ่มผู้สูงอายุเกรงว่าพิธีกรรมทางล้านนา อาชีพดั้งเดิมของชุมชนจะถูกลืมเลือนและสูญหายไปในที่สุด ถ้าไม่ได้รับการฟื้นฟู อบรม สั่งสอน หรือให้ ความรู้ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ จะทําให้เกิดปัญหาด้านอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย สังคมในตําบลจะไม่ สงบสุข จึงได้กําหนดให้มีการถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องพิธีกรรมล้านนาที่มักจะปฏิบัติกันอยู่ เป็นประจําและถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพดั้งเดิมของชุมชนให้แก่เด็กและเยาวชนในตําบลได้รับรู้ และ เรียนรู้ไว้ตอ่ ไป

2. มีความสาคัญอย่างไร ? มีแนวคิดอย่างไร ? (หลักการและเหตุผล) องค์กรในชุมชนเทศบาลตําบลหนองล่อง ประกอบไปด้วยองค์กรครอบครัว องค์กรชุมชน วัด แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน สถาบันทางสังคม และกลุ่ม ส่งเสริมอาชีพต่างๆ ในตําบล ซึ่งทุกองค์กรมีสิทธิและอิสระในการจัดการศึกษาที่สามารถเชื่อมโยงกันได้ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรูต้ ลอดชีวิต ชุมชนเทศบาลตําบลหนองล่อง จึงตระหนักถึงหลักการแนวคิดนี้ โดยจัดกิ จกรรมการเรียนรู้ ให้กับผูเ้ รียนได้เรียนรูอ้ ย่างมีความสุข เต็มตามความต้องการและเต็มตามศักยภาพของผู้เรียน โดยมีการ กําหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี อาชีพ การรักษาสุขภาพ มีสัมมนาอาชีพ มีความเป็นอยู่อย่างสันติสุข ประชาชนทุกกลุ่มทุกวัยในชุมชนเทศบาลตําบลหนองล่อง ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสามารถนําไปสู่สุขภาวะอย่างยั่งยืนต่อไป


3. มีวัตถุประสงค์อย่างไร ? (เพื่ออะไร) ชุ ม ชนเทศบาลตํ า บลหนองล่ อ งดํ า เนิ น การจั ด ทํ า โครงการนํ า ร่ อ งการจั ด การศึ ก ษาแบบมี ส่วนร่วมขององค์กร ชุมชน เพื่อสุขภาวะคนไทย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อเป็นการนําร่อ่งการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมกับองค์กรในชุมชน เพื่อพัฒนาสุขภาวะ ของคนในเขตเทศบาลตําบลหนองล่อง 2. เพื่ อ พั ฒ นารู ป แบบการจั ด กิ จ กรรมการเรี ย นรู้ ที่ เ น้ น การพั ฒ นาการด้ า นสุ ข ภาพกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านสังคม และด้านสติปัญญา 3. เพื่อศึก ษาการจัดการศึก ษาตามความต้องการของชุมชนและถอดบทเรีย นชุมชนให้เ ป็น รูปธรรม เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาและขยายผลอย่างต่อเนื่อง

4. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างไร ? 4.1 จะเรียนเรื่องอะไร ? / เรียนอะไร ? 4.2 ใครเป็นผู้ให้ความรู้ 4.3 มีกิจกรรมการเรียนแบบใด ? 4.4 มีการวัดผล / ประเมินผลอย่างไร

เนือ้ หา / สาระ วิทยากร วิธีการจัดการเรียนรู้ การวัดผล / ประเมินผล

ชุมชนเทศบาลตําบลหนองล่องได้มีการกําหนดกรอบหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ที่สะท้อนความ ต้องการของชุมชนจากการจัดทําประชาคมตําบล โดยได้กําหนดให้ผู้ เรียนทั้งนักเรียนในสถานศึกษา เด็ ก และเยาวชนในชุ ม ชน กลุ่ ม สตรี แ ม่ บ้ า น กลุ่ ม ผู้ นํ า และคนวั ย ทํ า งาน ตลอดจนกลุ่ ม ผู้ สู ง อายุ ได้ร่วมกันจัดการศึกษา โดยความร่วมมือของทุกกลุ่มทุกองค์กรในชุมชน เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ เนื้ อ หาสาระ การปฏิ บั ติ กิ จ กรรม โดยจั ด การเรี ย นรู้ ทั้ ง ในห้ อ งเรี ย น นอกห้ อ งเรี ย น ในวั ด / สถานประกอบการต่างๆ ได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีการวัดผลประเมินผล ในระหว่าง เรีย นและสิ้ นสุ ด การเรีย นรู้ ซึ่ง กรอบหลัก สู ตรที่จั ดการศึ ก ษาแบบมี ส่วนร่ว มขององค์ ก รในชุ มชน เทศบาลตําบลหนองล่องได้ดําเนินการ มีดังต่อไปนี้


1. ศาสนพิธี ศาสนพิธี คือ พิธีกรรมที่มีขึ้นเพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนเพื่อ แสดงออกถึงความเชื่อทางพุทธศาสนา การประพฤติปฏิบัติศาสนพิธี ต้องทําอย่างถูกต้องเป็นระเบียบ เกิดความสบายใจ ทําให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนดีเป็นแบบอย่างที่ดีได้ 1. ประเภทของศาสนพิธี ศาสนพิธีในทางพุทธศาสนาแบ่งได้หลายประเภท ตามความต้องการของผู้ที่จะศึกษาว่า จะศึกษาในแนวใด เช่น แบ่งเป็นงานมงคลกับงานอวมงคลหรืองานศาสนพิธีสําหรับพระสงฆ์ กับงานศาสนพิธีของประชาชน 1.1 ศาสนพิธีในงานมงคลกับงานอวมงคล มีวิธีการดังนี้ 1.1.1 ศาสนพิธีในงานมงคล คือ การทําบุญเลีย้ งพระในงานมงคล เพื่อให้เกิด ความสุข ความเจริญ เช่น ทําบุญวันเกิด ขึน้ บ้านใหม่ แต่งงาน อุปสมบท ฉลองกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น 1.1.2 ศาสนพิธีในงานอวมงคล คือ การทําบุญที่เกี่ยวกับการตาย หรือทําในสิ่งที่คิด ว่าร้ายให้ก ลายเป็นดี เช่น ทําบุญหน้าศพ 7 วัน 50 วัน 100 วัน ทําบุญ อัฐิ ทําบุญ อสุนิบ าต (ฟูาผ่า) สัตว์ไม่เป็นมงคลขึ้นบ้าน เป็นต้น ศาสนพิธีทั้ง 2 อย่างนี้ ตามประเพณีนยิ มในพระพุทธศาสนา มีวิธีการที่จะต้องจัด เตรียมการหลายอย่าง ดังนี้ (1) การนิมนต์พระ งานมงคลจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ 5 รูป 7 รูป 9 รูป นอกจากงานมงคลสมรสจะนิมนต์พระมาเป็นคู่ ส่วนงานอวมงคล จะนิมนต์พระสงฆ์มาโดยใช้คําว่า ขออาราธนาสวดพระพุทธมนต์ นิยมใช้พระ 4 รูป 8 รูป 10 รูป เป็นต้น (2) การจัดสถานที่ ควรดูแลบริเวณที่มงี านให้สะอาดเรียบร้อย สําหรับที่พระสงฆ์ควร ปูลาดอาสนะให้สูงกว่าผู้เข้าร่วมพิธี โดยการยกให้สูงขึ้น ปูเสื่อปูผา้ ก็ได้ (3) การตัง้ โต๊ะหมูบ่ ูชา นิยมให้พระพุทธรูปตั้งอยู่ด้านขวาของพระสงฆ์หันพระพักตร์ ออกทางเดียวกับพระสงฆ์ (4) การจัดเครื่องสักการะบูชา มีการเชิญพระพุทธรูปมาตั้งบนโต๊ะหมูบ่ ูชาให้เหมะสม สวยงามถูกต้องตามพิธีการ (5) เตรียมภาชนะสําหรับทําน้ํามนต์ จะใช้บาตรหรือหม้อน้ํามนต์หรือขันน้ํา พานรอง ก็ได้ แต่ไม่ควรใช้ขันเงินหรือขันทองเพราะไม่ควรแก่การจับต้องของพระสงฆ์ ใส่น้ําสะอาดไว้พอเหมาะ มีเทียนขี้ผงึ้ วางไว้บนฝาภาชนะและมีเครื่องปะพรมน้ําพระพุทธมนต์ ซึ่งนิยมใช้หญ้าคามามัดเป็นกําหรือ จะใช้อย่างอื่นแทนก็ได้แล้วแต่เหมาะสม (6) การโยงด้วยสายสิญจน์ ให้โยงจากซ้ายไปขวาของสถานที่หรือวัตถุ เช่น รอบบ้าน


รอบรั้วแล้วโยงมาที่ฐานพระพุทธรูปบนโต๊ะบูชาต่อมาที่ภาชนะสําหรับทําน้ํามนต์แล้ววางไว้บนพาน (7) การต้อนรับพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มาถึงก็นิมนต์ให้พักในที่ที่เหมาะสม เตรียม เครื่องรับรอง เช่น น้ําเย็น น้ําร้อน น้ําชา ตามโอกาส (8) การดําเนินการ เมื่อพร้อมแล้ว เจ้าภาพก็จุดเทียน จุดธูปที่โต๊ะบูชา แล้วเริ่ม อาราธนาศีล รับศีล อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์สวดมนต์ จนกระทั่งทําน้ํามนต์ (9) การถวายภัตตาหาร เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ถวายภัตตาหารแก่ พระสงฆ์ เสร็จแล้วถวายไทยธรรม พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ร่วมพิธีกรวดน้ํา อุทิศส่วนกุศลที่ได้ทํา พระสงฆ์ปะ พรมน้ําพระพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จพิธี 1.2 ศาสนพิธีสําหรับพระสงฆ์กับพุทธศาสนิกชน มีรายละเอียดดังนี้ 1.2.1 ศาสนพิธีสําหรับพระสงฆ์ หมายถึง พิธีกรรมที่พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตาม พระธรรมวินัย เช่น พิธีอุปสมบท พิธีกฐิน พิธีในวันสําคัญทางพุทธศาสนา การทําสังฆกรรมต่าง ๆ 1.2.2 ศาสนพิธีสําหรับพุทธศาสนิกชน เป็นระเบียบแบบแผนที่ผนู้ ับถือศาสนาพุทธ จะต้องปฏิบัติตาม ได้มกี ารจัดหมวดหมูไ่ ว้ดังนี้ (1) กุศลพิธี คือ พิธีที่เกี่ยวกับการบําเพ็ญกุศลในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การแสดง ตนเป็นพุทธมามกะ การรักษาอุโบสถศีล การเวียนเทียน การสวดมนต์ ไหว้พระ (2) บุญพิธี คือ การทําบุญตามประเพณีนิยมทั้งงานมงคลและงานอวมงคล ได้แก่ การทําบุญเลี้ยงพระในงานวันเกิด งานมงคลสมรส การทําบุญใน งานศพ (3) ทานพิธี คือ การถวายทานแด่พระสงฆ์โดยทั่ว ๆ ไป ได้แก่การ ถวาย สังฆทาน การถวายสลากภัต ถวายผ้าปุา (4) ปกิณกพิธี คือ พิธีทั่ว ๆ ไปที่รวมไปถึงรัฐพิธีด้วย เช่น การแสดงความ เคารพพระสงฆ์ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันปิยมหาราช วันฉัตรมงคล เป็นต้น 2. ประโยชน์ของศาสนพิธี 2.1 เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีให้มีสบื ไป 2.2 เป็นการปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจหลักธรรมของพระพุทธศาสนา 2.3 ทําให้เกิดความรักความสามัคคีขนึ้ ในหมู่คณะที่รว่ มทําพิธีกัน 2.4 เป็นสิ่งชักนําให้พุทธศาสนิกชน เว้นจากการทําชั่ว ทําความดีมีจิตใจผ่องใส 2.5 แสดงถึงความร่วมมือ ความเจริญทางจิตใจของคนในสังคม 2.6 เกิดความสุขใจ อิ่มเอมใจและเป็นแบบอย่างในการดําเนินชีวิตของผู้ประพฤติปฏิบัติ


3. คุณลักษณะของการประกอบศาสนพิธี 3.1 มีวัตถุประสงค์ที่ทําให้เกิดความสงบสุข เกิดความเรียบร้อย ในสังคมผู้ปฏิบัติเกิด ความสุข เกิดกุศล 3.2 มีเปูาหมาย เพื่อให้เกิดความสามัคคีในสังคม เกิดความร่วมมือร่วมใจในการที่จะให้ พุทธศาสนาคงอยู่และสืบทอดต่อไป 3.3 มีกระบวนการที่เรียบง่าย ไม่ฟุมเฟือยยุ่งยากทุกคนยอมรับที่จะปฏิบัติได้ 4. เครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัยในการประกอบศาสนพิธี เครื่องบูชาพระรัตนตรัย ในการประกอบศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนา มี 3 อย่างคือ 4.1 ธูป สําหรับบูชาพระพุทธเจ้า นิยมจุดบูชาครั้งละ 3 ดอก โดยมีความหมายว่า พระพุ ท ธเจ้ า ทรงมี พ ระคุ ณ อั น ยิ่ ง ใหญ่ 3 ประการคื อ มี พ ระปั ญ ญาธิ คุ ณ พระบริ สุ ท ธิ คุ ณ พระมหากรุณาคุณ ธูปสามดอกจึงบูชาแทนพระคุณทั้งหมด ลักษณะของธูปต้องมีกลิ่นหอม แต่เป็น กลิ่นหอมที่ทําให้กิเลสยุบตัวลง จิตใจสงบไม่ฟุูงซ่าน ธูปหมดแล้วก็ยังมีกลิ่นอบอวล เปรียบเหมือนกับ พระพุทธคุณของพระพุทธเจ้าที่ยังอยู่ในจิตใจของบุคคลมาถึงทุกวันนี้ 4.2 เทียนสําหรับบูชาพระธรรม จะนิยมใช้จุดครั้งละ 2 เล่ม โดยมีความหมายว่า พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี 2 ประเภท คือ พระวินัย สําหรับฝึกหัดกาย วาจา ให้เป็น ระเบียบเรียบร้อยและพระธรรมสําหรับอบรมจิตใจ ให้สงบระงับความชั่วทุจริตทุกประการ เทียน 2 เล่มจะบูชาพระวินัย 1 เล่ม และพระธรรม 1 เล่ม เทียนที่บูชาควรมีลักษณะเล่มใหญ่เหมาะกับพิธีการ เพราะแสงสว่างจากเทียนเป็นเสมือนพระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธองค์ ที่ให้ปราศจากความ 4.3 ดอกไม้สําหรับบูชาพระสงฆ์ มีความหมายว่า ดอกไม้นานาที่มอี ยู่ตามธรรมชาติก็ จะสวยงามตามสภาพนั้น ๆ เมื่อนํามาจัดสรรตบแต่ง ก็จะมีระเบียบสวยงามขึน้ เปรียบได้กับ พระสงฆ์ เมื่ อ ยั ง เป็ น คฤหั ส ถ์ ก็ มี ก ริ ย ามารยาทตามฐานะตามตระกู ล แต่ เ มื่ อ มาบวชในพุ ท ธศาสนาแล้ ว พระพุ ท ธองค์ ไ ด้ ท รงวางพระธรรมวิ นั ย ไว้ เ ป็ น แบบแผนให้ ป ระพฤติ ป ฏิ บั ติ พระสงฆ์ ทุ ก รู ป จึ ง ต้ อ ง ประพฤติ ป ฏิ บั ติ อ ยู่ ใ นรู ป แบบเดี ย วกั น จนเกิ ด ความเป็ น ระเบี ย บเรี ย บร้ อ ย น่ า เคารพ น่ า บู ช า เช่นเดียวกับดอกไม้ที่จัดสรรแล้วฉันนั้น ดอกไม้ที่ใช้บูชาพระสงฆ์ นิยมใช้ดอกไม้ที่มีลักษณะสีสวยมี กลิ่นหอมและกําลังสดชื่น


2. การเรียนรูเ้ รื่อง “ขันแก้วทั้งสาม” ขันแก้วทั้ง สาม หมายถึง พานที่ใช้ ใส่ ดอกไม้ธูป เที ยนบูชาสัก การะพระรัต นตรั ย ซึ่ง ทาง ล้านนา เรียกว่า ขันแก้วตังสาม อันหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฒ์ การทําขันแก้วทั้งสามขึ้นมาสําหรับวัดต่างๆ นั้น ทางชุมชน สมัยโบราณต้องการให้ประชาชน นําเอาดอกไม้ธูปเทียนมารวมกันเป็นจุดเดียว เป็นเครื่องเตือนใจให้เห็นว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งตรง กับคําว่า เอกฉันท์ พร้อมใจเป็นหนึ่ง เอกสามัคคี หรือเอกสามังคี พร้อมกันเป็นหนึ่งเดียว ขันแก้วทั้งสามบางแห่งทําเป็นพานกลมทรงสูง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมษณ 18 – 20 นิ้ว สูงจากพืน้ ประมาณ 30 นิว้ นิยมทําด้วยรักและชาด ปิดทอง และจะเขียนลวดลายรดน้ําอย่างสวยงาม วิถีประเคนนั้น เมื่อถึงเวลาประกอบพิธีไหว้พระรับศีลหรือสวดมนต์ถวายไทยทานนั้น ผู้แทน ทายก ทายิกา คนใดคนหนึ่ง จะยกเอาขันแก้วทั้งสามไปไว้ ณ หน้าพระพุทธรูปประธาน โดยการประเคน คือ เอาขันแก้วทั้งสาม แตะกับฐานชุกชี หรือแท่นแก้วเบาๆ ถือว่าเป็นการประเคนและวางไว้ตรงนั้น กราบ 3 หน เป็นเสร็จพิธีประเคนขันแก้วทั้งสาม ทุกๆ คนไปที่วัด หลังจากกราบและบูชาพระประธานแล้วจะต้องใส่ขันแก้วทั้งสามก่อน และโดย ธรรมเนียมปฏิบัติ คนแรกที่ใส่จะต้องเป็นผู้ชาย ซึ่งจะต้องแบ่งธู ปเทียนและดอกไม้เป็น 3 ชุด ใส่ชุดละ 1 มุม ก่อนใส่จะต้องกล่าวคําอธิษฐานชุดที่หนึ่งว่า “พุทโธ อะระหัง” ชุดที่สองว่า “ธัมโม ปัจจัตตัง” และ ชุดที่สามว่า “สังโฆ ยะทิทัง”


3. การเรียนรู้เรื่อง “ประเพณีขนึ้ ท้าวทั้งสี”่ “ท้าวทั้งสี่” เป็นลักษณะของความเชื่อ เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน เวลามีกิจกรรมและพิธี การต่างๆ ลักษณะของความเชื่อ เช่น มีการทําบุญขึน้ บ้านใหม่ ปลูกบ้านสร้างบ้าน การทําบุญกุศลทาง พระพุทธศาสนา อุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้วายชนม์ ก่อนพิธีการอื่นใดจะเกิดขึ้น ก็จะมีการเซ่นไหว้ หรือบวงสรวง ทางล้านนาเรียกว่า ขึ้นท้าวทั้งสี่ ท้าวทั้งสี่ในที่นี้เป็นชื่อของเทวดา ซึ่งทางภาคกลางจะใช้ คําว่า ท้าวจตุโลกบาล ดูแลทิศทั้งสี่ เบือ้ งบนมีพระอินทร์ เบือ้ งล่างมีแม่ธรณีเป็นที่สุด ท้าวทั้งสี่ หรือเรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล เป็นเทวดาที่รักษาทุกข์สุขของมนุษย์โลกไว้ทั้งสี่ทิศ และ ทําหน้าทีป่ ูองกันอันตรายที่จะเกิดแก่มนุษย์โลก อํานวยความสุขเจริญ ให้แก่มนุษย์โลกทั้งหลายอีกด้วย ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 องค์น้ี คือ 1. ท้าวกุเวร หรือบางทีเรียกว่า ท้าวเวสสุวรรณ มีหน้าที่รักษาอยู่ทางทิศอุดร (เหนือ) มีพวก ยักษ์เป็นบริวาร 2. ท้าวธตะรัฐ มีหน้าที่รักษาอยู่ทางทิศบูรพา (ตะวันออก) มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร 3. ท้าววิรุฬหก มีหน้าที่รักษาอยู่ทางทิศทักษิณ (ใต้) มีพวกอสูรเป็นบริวาร 4. ท้าววิรุฬปักข์ มีหน้าที่รักษาอยู่ทางทิศประจิม (ตะวันตก) มีฝูงนาคเป็นบริวาร ท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวทั้งสี่น้ี มีพระยาอินทราธิราช เป็นประธาน ในการทําพิธีขนึ้ ท้าวทั้งสี่ นี้ ทําเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เครื่องพลีก รรม ก็ มีขนม ของหวาน คาว บุ หรี่ หมาก เมี่ ย ง กล้ วย อ้อ ย ช่อ ทุง อย่ างละ 4 ธูปเทียน บรรจุลงในสะตวง (กระทง) ที่ทําด้วยหยวกกล้วย ขนาดกว้างประมาณ 1 คืบเศษ หรืออาจเล็ก กว่านิดหน่อย เพราะจะต้องเอาสะตวงนี้ไปวางไว้บนเสาไม้ ซึ่งสมมุติว่าเป็นประสาทของเทวดาทั้ง 4 ตน นี้ ส่วนอันกลางจะสูงกว่า สมมุติว่าเป็นของพระยาอินทราธิราช องค์ประมุข สะตวงนี้จะต้องเตรียมไว้ 5 อัน สําหรับเทวดา และกระทงเล็กอีก 1 กระทง วางไว้ที่ตีนเสาประสาท สมมุติว่ าเป็นของแม่ธรณีเจ้า ที่ ซึ่งเป็นประจักษ์พยานในการมงคลที่จัดขึน้ ส่วนความมุ่งหมายในการทําพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 นี้ก็เพื่อขอให้ เทวดาทั้ง 4 คน มาพิทักษ์รักษา คุ้มครอง และดลบันดาลให้มีความสุขสวัสดี ปราศจากภยันอันตราย ทั้งมวล ในการทําพิธีจะมี “อาจารย์” หรือทางล้านนาเรียกว่า “ปูุจ๋าน” ประจําหมู่บ้านมาเป็นผู้ทําพิธี มี การอันเชิญเทวดาก่อน แล้วกล่าวคําโอกาสเวนทานถวายแก่เทวดาให้มารับของพลีกรรมนั้นๆ แล้วเป็น เสร็จพิธี


ภาพแสดงการทาพิธีท้าวทั้งสี่


4. การเรียนรู้เรื่อง “พิธีสง่ เคราะห์แบบล้านนา” การส่ง หรือพิธีกรรมในการสังเวยตามแบบล้านนา เมื่อมีเหตุการณ์ไม่ดเี กิดขึ้น เช่น ความ เจ็บปุวยที่รักษาไม่หาย ประสบเหตุ เช่นไฟไหม้บ้าน หรือมีเคราะห์ร้ายต่างๆ บ่อยครั้ง ซึ่งเชื่อกันว่าอาจ มี สาเหตุเนื่องจากถูกผีหรืออํานาจอื่นกระทํา การแก้ไขอย่างหนึ่งคือ การส่งหรือการสังเวยแก่เทพ หรือผีนั้นๆโดยตรงเพื่อจะได้พ้นจากสภาพที่เลวร้ายนั้น ๆ ได้ ซึ่งพิธีส่งมีหลายชนิด เช่น ส่งขึด ส่งกิ่ว ส่งผีส่งเทวดา ส่งเคราะห์ ส่งแถนเป็นต้น ซึ่งในพิธีกรรมการส่งจะมีเครื่องประกอบพิธีกรรมแและ คําสังเวยแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของการส่ง โดยทั่วไปที่ตอ้ งเตรียมมีดังนี้ 1. เครื่องแสดงความยกย่อง อันประกอบด้วย ข้าวตอกดอกไม้ ธูป เทียน 2. เครื่องประกอบยศ ซึ่งมี ช่อ (ธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก) และ ทุง (ธงตะขาบ) ทั้งนีอ้ าจมีฉัตร ด้วยก็ได้ เทียนค่าฅิง (เทียนสูงเท่ากับความสูงของเจ้าชาตา) สีสายหรือสายน้ํามันค่าฅิง (ไส้ประทีปยาว เท่าตัวเจ้าชาตา) ผ้าขาว ผ้าแดง ห่อเงิน ห่อทอง ฯลฯ 3. อาหารและเครื่องขบเคีย้ วอันประกอบด้วย แกงส้ม แกงหวาน ข้าว ขนม มะพร้าว กล้วย อ้อย หมาก พลู บุหรี่ 4. เครื่องสังเวยตามวัตถุประสงค์ เช่น ดินหรือแปูงที่ปั้นเป็นรูปสัตว์ตา่ ง ๆ 5. เครื่องทานประกอบเช่น สัตว์สําหรับปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์ หน่อกล้วย หน่ออ้อย ไม้ค้ํา ต้นโพธิ์ เป็นต้น 6. การจัดชุดและตําแหน่งของเครื่องสังเวย ตลอดถึงการจัดวางเครื่องบูชาเมื่อเสร็จพิธี 7. คําโอกาสหรือคํากล่าวในการสังเวยอันเป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการสังเวยนั้น ๆ 8. เครื่องคํานับครูของอาจารย์ผู้ประกอบพิธีซึ่งมักจะประกอบด้วยดอกไม้ธูปเทียน หมากพลู เมี่ยง บุหรี่ และเงินตามอัตรา ทั้งนี้การจัดอุปกรณ์ในพิธีอาจจัดวางบนจานสังกะสี ใส่พาน ใส่ฅวัก คือ กระทง ใส่สะทวง คือ กระบะบัตรพลีทําด้วยกาบกล้วยหรือวางบนตะแกรงไม้ไผ่สานก็ได้ เมื่อทําพิธีเสร็จ แล้วก็จะนํากระบะไปวางตามทางแยกหรือทางแพ่ง ซึ่งเชื่อเป็นสถานที่ที่มีผีมาชุมนุมกัน ชนิดของพิธีส่ง เช่น 8.1 ส่งพญานาค พิธีส่งพญานาคหรือขอที่ดนิ จากพญานาคนีเ้ ป็นขั้นตอนหนึ่งในการ ปลูกเรือนของชาวล้านนากล่าวคือ เมื่อเจ้าของเรือนใหม่ได้เตรียมไม้เครื่องเรือนต่างๆ พร้อมแล้วก็จะ ขุดหลุมเพื่อจะลงเสาเรือนซึ่งก่อนที่จะขุดหลุมนั้น เจ้าของเรือนจะต้องทําพิธี ส่งพญานาค หรือขอที่ดิน จากพญานาคเสียก่อนทั้งนีเ้ พื่อความอยู่เย็นเป็นสุขของบุคคลในเรือนนั้น ๆ 8.2 ส่งไฟไหม้ หรือ ปูชาส่งไฟไหม้ เป็นพิธีกรรมที่ชาวล้านนาจะทําขึน้ เมื่อเกิดไฟไหม้วัด


บ้านยุ้งข้าวหรือกองข้าวในนา เป็นต้น เมื่อจัดพิธีนี้แล้วจึงจะสามารถปลูกสร้างอาคารในบริเวณไฟไหม้ นั้นได้ 8.3 ส่งแม่เกิด หรือบางแห่งเรียกว่า ส่งเกิด นีเ้ ป็นพิธีกรรมที่จัดขึน้ เพื่อสังเวยแก่แม่ซือ้ เมื่อเห็นว่า ทารกหรือเด็กปุวยไข้กระเสาะกระแสะร้องไห้กวนโยเยบ่อย เชื่อกันว่าแม่เกิด หรือแม่ซื้อซึ่ง เป็นวิญญาณนั้นจะมารับเอาเด็ กไปอยู่ด้วย ดังนั้นการทําพิธีส่งแม่เกิดหรือสังเวยแก่แม่ซื้อนี้จึงเป็นการ กระทําเพื่อให้แม่ซือ้ พอใจและยุติการกระทําที่จะนําตัวเด็กไปอยู่ด้วยเสีย 8.4 ส่งวานเกิด หรือ ส่งพ่อเกิดแม่เกิด เป็นพิธีที่ทําขึน้ เมื่อเห็นว่าเด็กหรือทารกปุวย กระเสาะกระแสะ มีแนวโน้มว่า วานหรื อญาติใ นปรภพจะมารับ ตัวเด็ก นั้นให้ก ลับ คืนไปอยู่ใ นสภาพ วิญญาณเหมือนเดิม พิธีส่งวานเกิด นี้เป็นพิธีที่ทําต่อจากการส่งเกิดหรือส่งแม่เกิด กล่าวคือ จะมีการ ส่งแม่เกิดคือส่งแม่ซื้อในวันแรก และวันต่อมาจะมีการส่งวานเกิดวานเกิด ในที่นี้มีความหมายว่าญาติที่ เกี่ยวข้องกับการเกิดของทารกดังจะเห็นได้จาก คําโอกาส หรือโองการสังเวยในพิธีนี้ ซึ่งผู้ที่เชิญมารับ เครื่องสังเวยนั้นได้ถูกระบุว่าเป็น “เสี่ยว” “ยี่เสี่ยว”และ “เสี่ยวสหายทังสอง”ซึ่งแปลว่าผู้มารับเครื่อง สังเวยนั้นเป็นเกลอกับบิดามารดาของเด็ก และในบางตอนก็เรียกเป็น “พ่อเกิดแม่เกิด” และ”พ่อยี่แม่ยี่” ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เมื่อทารกนั้นเติบโตขึน้ ก็เกรงไปว่าบิดามารดาซึ่งอยู่ในสภาพของวิญญาณจะมารับตัว เด็ กทารกนั้นไปจึงต้องมีเครื่องสั งเวยต่างๆ เพื่อเอาใจ พร้อมกับ อ้างว่าเด็กนั้นได้ระคนกับ สิ่งที่น่า ขยะแขยงเช่นกินเขียดแห้ง กินทาก กินตั บของอีกาหรือดวงตาของอึ่งอ่าง เป็นต้น มาแล้ว เพื่อให้บิดา มารดาในภาควิญญาณนั้นเกิดรังเกียจแล้วคลายความรักและผูกพันในเด็กนั้นไป 8.5 ส่งโลกาวุฑฒิ หรือโลกวุฒิเป็นพิธีสง่ หรือการสังเวยเพื่อให้พน้ จากการกระทําที่เป็น โลกหาณีหรือการกระทําที่เกิดความเสื่อมแก่โลก ซึ่งจากข้อที่กําหนดไว้ในคัมภีร์ชื่อโลกสมมติราช พบว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับตําแหน่งที่ปลูกเรือนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหากผู้ปลูกเรือนกระทําเข้าลักษณะดังกล่าวนั้น ย่อมจะเป็นที่ติฉินของผูอ้ ื่น ดังนัน้ การส่งโลกาวุฑฒิ จึงเป็นวิธีการที่จะแก้ไขความผิดดังกล่าวนั้นได้ 8.6 ส่งหาบ พิธีส่งหาบนีท้ ําขึน้ เมื่อเด็กที่มอี ายุ 1 ปี ถึง 10 ปี เป็นพยาธิ คือเจ็บไข้ได้ ปุวยเนืองๆ เช่นอาจเป็นเด็กพุงโรก้นปอด เป็นตานขโมย เป็นโรคผิวหนังมีผ่ืนคันไม่รู้จักหาย ร่างกายไม่ แข็งแรงหรือขี้แยผู้เฒ่าผู้แก่หมอยา หรืออาจารย์ผู้ประกอบพิธีอาจแนะให้ ส่งหาบส่ งคอน ส่งวานเกิด ส่งแถนหรือส่งเทวดาแล้วแต่อาการเจ็บไข้นั้นๆ ตามที่เห็นว่าเหมาะสม และในการส่งหาบนั้นจะใช้ กวยตีนช้าง(อ่าน”ก๋วยตีน๋ จ๊าง”) (ตะกร้าสานให้ตาห่างๆ มีลักษณะคล้ายเท้าช้าง เมื่อจะใช้ต้องเอาใบตอง กรุด้านในเสียก่อน) ขนาดกว้างประมาณ 7 นิ้ว สูงประมาณ 9 นิ้ว จํานวนสามหาบคือสามคู่ เพื่อทําพิธี ส่งในตอนเย็นวันและหาบรวมสามวันแต่ละหาบบรรจุเครื่อง 4 คือเครื่องสังเวยต่างๆ อันประกอบด้วย ดอกไม้ธูป เทียนกล้ว ย อ้อยมะพร้าว ข้าวต้มขนมและอาหารตามกําหนดโดยเฉพาะจะต้องมีเ งิน 3 บาท ห่อด้วยผ้าขาวมีดินจากจอมปลวกหรือขี้ผ้ึ งหรือแปูงปั้นเป็นรูปสัตว์เลี้ยงอย่างละ 1 ตัวและให้มีรูป ปั้นชายหญิง 1 คู่ อยู่ในหาบนั้น 8.7 ส่งหาบส่งหาม เป็นพิธีกรรมของพรานปุาเพื่อเลีย้ งผีปุาที่ดูแลรักษาสัตว์ปุา ซึ่ง


พรานเรียกผีปุานี้ว่าพระยาแก้วพรานปุาจ่าเนื้อ พิธีส่งหาบส่งหามนี้บางแห่งก็เรียกว่าส่ งหามส่งคอน พิ ธี ส่ ง หาบส่ ง หามหรื อ ส่ ง หาบส่ ง คอนจะทํ า ก่ อ นที่ พ รานจะชํ า แหละเนื้ อ สั ต ว์ แ บ่ ง ปั น ส่ ว นแบ่ ง กั น พิธีส่งหาบส่งหามหรือส่งหาบส่งคอนจะทําดังนี้ พรานจะตัดเอาเนื้อและเครื่องในสัตว์มาทําเป็นชิ้นหาบ และชิ้นหาม หรือชิ้นคอน โดยนําเนื้อและเครื่องในสัตว์ทําเป็นพวงเล็ก ๆ ขนาดเท่ากับหัวแม่มือ 2 พวง เสียบติดกับปลายไม้ไผ่เล็ก ๆ ยาวประมาณ 1 คืบข้างละ 1 พวงซึ่งเรียกว่า ชิ้นหาบ จากนั้นก็นําเนื้อและ เครื่องในทําเป็นพวงเล็ก ๆ ขนาดหัวแม่มอื อก 1 พวง เสียบติดกับไม้ไผ่โดยให้พวงเนื้อนั้นอยู่ตรงกลางไม้ ไผ่ซึ่งเรียกว่า ชิ้นหาม แต่ถ้ าให้พวงเนื้อนั้นค่อนไปทางปลายไม้ข้างใดข้างหนึ่ง ก็จะเรียกว่า ชิ้นคอน หลังจากทําชิน้ หาบและชิน้ หามหรือชิน้ คอน เสร็จแล้วก็นําไปถวายแก่พระยาแก้วพรานปุาจ่าเนื้อ โดยใช้ มีดถากต้นไม้แล้วเอาชิน้ หาบชิน้ หามหรือชิน้ คอนเหน็บติดกับต้นไม้นั้นพร้อมกับกล่าว คําถวาย 8.8 ส่งฮ่า แมลงเพลีย้ ง แมลงบุ้ง นก หนู คนโบราณล้านนาในสมัยก่อน ถ้ามีสัตว์ต่างๆ แมลงต่างๆ เป็นต้นว่านก หนู บุ้ง หรือเพลี้ยง ลงกินพืชพันธุ์ธัญญาหารในไร่ในนาข้าวกล้าหรือในไร่ใน สวน ท่านว่าเป็นอุบาทว์ชนิดหนึ่งหรือบางแห่งก็ว่าฮ่า (หรือห่าลง) ก็มักจะกระทําพิธีส่งหรือบูชาเพื่อให้ พ้นจากความเลวร้ายนัน้ ๆ ถ้าเหตุการณ์เกิดขึ้นที่ใดก็ให้ทําพิธีส่งในที่เกิดเหตุ นั้น 8.9 ส่งอุบาทว์ 8 ประการ หรือ อภิไทโภวิบาทว์ อุบาทว์คือสิ่งที่นํามาซึ่งความเป็น เสนียดจัญไรให้แก่ตัวเอง แก่ครอบครัวและแก่บ้านเมือง ซึ่งสิ่งที่เป็นอุบาทว์นี้หมายรวมทั้งความไม่ดีไม่ งามต่าง ๆ ที่จะทําให้วิถีชีวิตของผู้ประสบพบเห็นยังลางร้ายต่างๆ เช่นเดียวกับขึด คือเป็นการแสดงให้ เห็นเหตุกาลต่างๆ เรียกว่าลางสังหรณ์ ซึ่งอาจมาในรูปของสัตว์ 2 เท้า 4 เท้า สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์น้ํา สัตว์ปีกซึ่งถือกันว่าเทวดามาแสดงนิมิตให้เห็นเรียกว่า อุบาทว์ ทั้งนี้ส่งิ ที่เห็นนั้นอาจจะเห็นเป็นของแปลก พิศดารหรือที่ไม่เคยพบเคยเห็นก็ได้รู้ได้เห็นไดิยินได้ฟังได้ฝัน ถือเป็นลางมาบอกเหตุล่วงหน้า เมื่อได้พบ ได้เ ห็นได้ยิน ได้ ฟั งแล้ว โบราณาจารย์ล้า นนาท่า นให้ รีบ หาทางแก้ไ ขเสีย ภายใน 3-5 วั น เมื่อ เจอ เหตุการณ์เช่นนี้ในบ้านในเรือนเราท่านให้รีบจัดพิธี บูชาส่ง ถอน เสดาะเคราะห์ หรือ รดน้ํามนต์เสีย เหตุการณ์ร้ายก็จะไม่เกิดขึ้น 8.10 ส่งเคราะห์ บุคคลที่ถูกใส่ความ ประสบอุบัติเหตุ เป็นไข้ ค้าขายขาดทุน ทํางานมักผิดพลาดหรือเกิดความเสียหายบ่อย ๆ ถือว่าบุคคลผู้นั้นมีเคราะห์มากระทบ การส่งเคราะห์ จะทําให้เคราะห์ทั้งหลาย ตกไปได้ 8.11 ส่งเคราะห์เรือน พิธีส่งเคราะห์เรือนนี้ถือกันว่าเป็นพิธีกรรมที่จัดทําขึน้ เมื่อเห็นว่า มีผู้ปุวยหนักจนอาจถึงแก่ชีวิต เมื่อทําพิธีนี้แล้วจะทําให้ผู้ปุวยนั้นพ้นจากความปุวยไข้หรืออุปัทวันตราย ทั้งปวง และช่วยให้เกิดศิริมงคลแก่สมาชิกในเรือนหรือในครอบครัว 8.12 ส่งขึด คือพิธีกรรมอย่างหนึ่งในการแก้ไขสภาพความอัปมงคลซึ่งตกแก่ผู้กระทํา ผิดจารีตของสังคม หรือที่เรียกว่า ต้องขึด ซึ่งจําเป็นจะต้องแก้ไขโดยการ ส่งขึดหรือ ถอนขึด 8.13 ส่งกิ่ว “กิ่ว”มีความหมายว่าชะตาชีวติ , โชควาสนาหรือ”ดวง”ในปัจจุบัน ดังที่มัก


พูดเป็นคําพังเพยว่า ”กิ่วพู กิ่วดอยผ่อหัน กิ่วฅนใผผ่อบ่หัน ” (รอยคอดของภูเขานั้นเห็นได้ แต่โชค วาสนาของคนนั้นไม่มีใครมองเห็นได้) เมื่อในที่บ้านเมืองเกิดมีอุบัติภัยหรือโรคภัยเช่นโรคระบาดต่าง ๆ หรือในกรณีที่บุคคลค้าขายขาดทุนหรือมีวิถีชีวิตลุ่มๆ ดอนๆ โดยหาสาเหตุไม่พบ การส่งกิ่วนี้จะช่วยให้ ภาวะที่เลวร้ายดังกล่าวนั้นหมดไปได้ 8.14 ส่งไข้ ส่งผีหรือ ส่งเทวดาพิธีส่งไข้นี้ บางแห่งบางท้องถิ่นก็จะเรียกว่า ส่งผีบ้าง ส่งเทวดาบ้าง แล้วแต่ผปู้ ระกอบพิธีแต่ละแห่งจะเรียกชื่อเอาเอง อย่างไรก็ตามพิธีนี้ก็มีที่มาอยู่ว่าบุคคล ใดก็ ดีมี ธุ ระไปที่ไ หนๆ มาแล้ว ไปได้รับ ความเจ็บ ไข้ ไ ด้ปุ วยมาในวั นนั้น หรื อว่า เจ็ บ ปวดปุ วยไข้อ ย่า ง กระทันหันมักจะเรียกกันว่าไปถูกผีทักบ้าง ถูกเทวดาทักบ้าง ตามทิศต่างๆ ที่ไปมานั้น


5. การเรียนรู้เรื่อง “ลูกประคบสมุนไพร” ลูกประคบสมุนไพร คือ การนําสมุนไพรหลายๆ ชนิดมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่จะเป็นยาสมุนไพรที่ มีน้ํามันหอมระเหย ซึ่งเมื่อถูกความร้อนจะระเหยออกมากลายเป็นกลิ่น เช่น ไพล ขมิ้นชัน ขมิ้นอ้อย ตะไคร้ มะกรูด การบูร โดยเราสามารถนําเอาสมุนไพรเหล่านั้นมาหั่น ย่อยอย่างหยาบ ๆ จากนั้นห่อด้วย ผ้าดิบ แล้วนําไปผ่านกระบวนการความร้อนด้วยวิธีการนึ่งไอน้ําหรือใส่ไมโครเวฟ เพื่อให้สมุนไพร ละลายออกมาเป็นตัวยาซึมเข้าใต้ผิวหนังตามร่างกาย ถ้าใช้ไมโครเวฟจะต้องพรมน้ําให้ชุ่มมากกว่าการ นึ่งด้วยไอน้ํา สมัยโบราณจะใช้เหล้าขาวไปพรมด้วย เพราะเหล้าขาวเป็นตัวนํายา (หรือกษัยยา) เป็นการ ช่วยทําให้สมุนไพรละลายและซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น การนึ่งระยะแรก จะใช้เวลาประมาณ ๑๐-๑๕ นาที หากใช้ไมโครเวฟในการอุ่นลูกประคบ ห้ามพรมด้วยเหล้าขาวเด็ดขาด เพราะอาจทําให้เกิด อันตรายได้ ลูกประคบ เป็นวิธีการบําบัดรักษาของแพทย์แผนไทย ซึ่งสามารถนําไปใช้ควบคู่กับการนวด ไทย โดยใช้การประคบหลังการนวดหรือประคบพร้อมนวดร่างกาย ชนิดของลูกประคบ ลูกประคบมี ๒ ชนิด คือ และ และลูกประคบสมุนไพรสด 1 ลูกประคบสมุนไพรสด ข้อดี คือ การใช้สมุนไพรสดในการปรุงลูกประคบนั้น สมุนไพรจะมีน้ําอยู่แล้ว จึงไม่ จําเป็นต้องพรมน้ําก่อนนําไปใช้ไม่ต้องตากแห้งไม่ต้องอบฆ่าเชื้อไม่ตอ้ งกลัวขึ้นรา ข้อจากัด คือ เมื่อปรุงลูกประคบเสร็จแล้ว ต้องรีบนําไปใช้ ไม่สามารถเก็บไว้ได้นานในอุณหภูมิ ปกติ ต้องเก็บในตู้เย็นหรือภาชนะบรรจุพเิ ศษ 2. ลูกประคบสมุนไพรแห้ง ข้อดี คือ เก็บไว้ได้นาน สะดวกในการนําไปใช้ สามารถเตรียมสมุนไพรที่ใช้ในการปรุง ลูกประคบได้ครบถ้วนมากขึ้น เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดไม่สามารถหาได้ในท้องถิ่น ต้องหามา จากแหล่งอื่น การทาลูกประคบสมุนไพรสด อุปกรณ์ 1. ผ้าดิบ ขนาด 40 x 40 ซม. หรือขนาด 50 x 50 ซม. สําหรับห่อลูกประคบสมุนไพรขนาด 150-200 กรัม 2. ผ้าเศษดิบ ตัดเป็นเส้นกว้าง 1-2 ซม. ยาว 80 ซม.


สําหรับผูกลูกประคบสมุนไพร 3. เชือกฝูาย สําหรับมัดและตกแต่ง 4. เครื่องชั่ง 5. ชามใหญ่ สําหรับคลุกเคล้าสมุนไพร 6. ทัพพี สําหรับคนสมุนไพรให้เข้ากัน 7. ชามเล็ก สําหรับใส่สมุนไพร 8. ช้อน สําหรับตักสมุนไพร 9. กรรไกร 10. เขียง 11. มีด ปริมาณ 150 กรัม ต่อ 1 ลูก ส่วนผสมสมุนไพร 1. ไพล (Zingiberaceae) จํานวน 30 กรัม 2. ขมิน้ ชัน (Turmeric) จํานวน 20 กรัม 3. ขมิน้ อ้อย (Zedoary) จํานวน 10 กรัม 4. ใบมะกรูด (Kaffir lime, leech lime) จํานวน 10 กรัม 5. ตะไคร้บ้าน (Lemon Grass, Lapine) จํานวน 20 กรัม 6. ใบพลับพลึง (Crinum Lily, Veldlily) จํานวน 10 กรัม 7. ใบส้มปุอย (Acacia concinna) จํานวน 10 กรัม 8. ใบมะขาม (Tamarind) จํานวน 10 กรัม 9. ใบขีเ้ หล็ก (Cassod Tree, Thai Copper Pod) จํานวน 5 กรัม 10. พิมเสน (Borneo camphor) จํานวน 5 กรัม 11. การบูร (Camphor) จํานวน 10 กรัม 12. เกลือแกง (salt) จํานวน 10 กรัม คุณประโยชน์ของสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพรสด ประกอบด้วยสมุนไพร 12 ชนิด ที่มสี รรพคุณแตกต่างกันจึงทําให้ ลูกประคบได้ชื่อว่า เป็นสมุนไพรสารพัดประโยชน์ ได้แก่ 1. เหง้าไพล (Zingiberaceae) บรรเทาปวดเมื่อยลดการอักเสบ


2. ขมิน้ ชัน (Turmeric) บรรเทาฟกช้ํา เม็ดผดผื่นคัน

3. ขมิน้ อ้อย (Zedoary) บรรเทาฟกช้ํา เม็ดผดผื่นคัน

4. ใบมะกรูด (Kaffir lime, leech lime) บรรเทาลมวิงเวียน

6. ตะไคร้บ้าน (Lemon grass, Lapine) บรรเทาปวดเมื่อยลดอาการอักเสบ

7. ใบพลับพลึง (Crinum Lily, Veldlily) บรรเทาเคล็ดบวม ขัดยอก ปวดศีรษะ


8. ใบส้มปุอย (Acacia concinna) ช่วยบํารุงผิว ชําระเมือกมัน

9. ใบมะขาม (Tamarind) บรรเทาอาการคันตามร่างกาย บํารุงผิว ชําระไขมัน

9. ใบขีเ้ หล็ก (Cassod Tree, Thai Copper Pod) ช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนัง ทําให้หลับสบาย

10. พิมเสน (Borneo camphor) แต่งกลิ่น แก้พุพอง แก้หวัด

11. การบูร (Camphor) แต่งกลิ่น บํารุงหัวใจ แก้พุพอง


12. เกลือแกง (salt) ช่วยดูดความชื้น ช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้อย่างสะดวก

วิธีการทาลูกประคบสมุนไพรสด 1. เตรียมสมุนไพรทั้ง 12 ชนิดให้พร้อมก่อนลงมือปรุง นําสมุนไพรมาชั่งน้ําหนักแต่ละชนิดตาม สูตรมาตรฐานที่กําหนดไว้

2. นําส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้าเข้ากัน เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้วให้นํามาทดสอบน้ําหนัก รวมกันอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงนํามาห่อลูกประคบ

3. นําส่วนทั้งหมดมาวางตรงกลางของผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้า ๒ มุม ขึน้ มาทบกัน โดยจับทีละมุมจน ครบทั้ง 4 มุม จากนั้นจะเกิดมุมผ้าขึน้ มาอีก 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุม อีกครั้งหนึ่งจนครบทั้ง 4 มุม


4. แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียว จากนั้นค่อย ๆจัดแต่งลูกประคบให้เป็น รูปทรงกลมที่สวยงาม

5. เมื่อได้ลูกประคบเป็นรูปทรงกลมที่สวยงามแล้ว ให้นําเชือกมาพับครึ่ง ร้อยเป็นห่วงให้ชายทั้ง สองเท่ากัน จากนั้นพันทบกัน ๒ รอบแล้วผูกให้แน่นด้วยเงื่อนตาย ๑ รอบ ก็จะทําให้เหลือ ปลายผ้าที่เท่ากันทั้งสองข้าง จากนั้นจึงค่อย ๆ จัดระเบียบชายผ้าในส่วนที่จะทําด้ามจับ

6. การทําด้ามจับ โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อ เก็บซ่อนชายผ้าทั้งสองด้าน

7. หลังจากที่เราจัดแต่งและซ่อนชายผ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้พับลงมาประมาณ ๒ นิว้ ครึ่ง เพื่อ ทําด้ามจับใช้ปลายเชือกเส้นเดิมมาพันทบกันอีก ๒ รอบโดยการผูกแบบเงื่อนตายให้แน่น อีกครั้ง หนึ่ง


8. จากนั้นให้ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ และเพื่อให้ลูกประคบมีความ แข็งแรงสวยงาม คงทนต่อการใช้งาน ให้นําเชือกปุานผูกให้แน่นอีกครั้งโดยผูกแบบเงื่อนตาย ให้ ปลายด้านหนึ่งยาวประมาณ ๒ นิว้ ครึ่ง เสร็จแล้วให้ยกขึ้นมาแนบกับด้ามจับใช้ปลายเชือกส่วนที่ ยาวกว่าค่อยพันขึ้นมา โดยใช้ปลายนิว้ ไล่กดเชือกให้แน่น การทําเช่นนี้จะทําให้เชือกเรียงกันดู สวยงามและเป็นระเบียบ เมื่อพันจนสุดชายเชือกแล้วให้ผูกเงื่อนตายไว้กับปลายเชือกเส้นที่แนบไว้ กับด้ามจับในตอนแรก จากนั้นซ่อนปลายไว้ในซอกผ้าที่เป็นด้ามจับ เพียงเท่านีก้ ็จะได้ลูกประคบที่ สวยงามพร้อมใช้งาน

วิธีการประคบ 1. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแคง ขึ้นอยู่กับตําแหน่งที่จะทําการ ประคบสมุนไพร 2. นําลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ (การทดลอบความ ร้อนของลุกประคบคือแตะที่ท้องแขนหรือหลังมือของผู้ประคบก่อน) 3. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรกๆ ต้องทําด้วยความเร็ว วางแช่ นาน ๆ เพื่อปูองกันคนไข้จากการถูกลวกด้วยความร้อน 4. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกที่น่งึ ได้ที่ (นําลูกเดิมไป นึ่งต่อ) ทําซ้ําตามข้อ 2 , 3 , 4


ประโยชน์ของการประคบ 1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย 2. ช่วยลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนือ้ เอ็น ข้อต่อ หลัง ๒๔-๔๘ ชั่วโมง 3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนือ้ 4. ช่วยให้เนือ้ เยื่อ พังผืด ยืดตัวออก 5. ลดการติดขัดของข้อต่อ 6. ลดอาการปวด 7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ข้อควรระวัง 1. ห้ามใช้ลูกประคบที่รอ้ นเกินไป โดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ หรือบริเวณที่เคยเป็น แผลมาก่อน ถ้าต้องการใช้ควรมีผ้าขนหนูรองก่อนหรือรอจนกว่าลูกประคบจะคลายร้อนลงจาก เดิม 2. ควรระวังเป็นพิเศษในผูป้ ุวยเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคล ดังกล่าวความรูส้ ึกตอบสนองต่อความร้อนช้า อาจจะทําให้ผิวหนังไหม้ พองได้ง่าย ถ้าต้องการใช้ ควรจะ “ใช้ลูกประคบที่อนุ่ ๆ” 3. ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มแี ผลการอักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) ในช่วง ๒๔ ชั่วโมงแรกอาจจะทําให้บวมมากขึ้น 4. หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ําทันทีเพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และอุณหภูมิของร่างกายปรับเปลี่ยนไม่ทันอาจจะทําให้เป็นไข้ได้ วิธีเก็บรักษา 1. ลูกประคบสมุนไพรที่ทําในแต่ละครั้ง สามารถเก็บไว้ใช้ซ้ําได้ ๓-๕ วัน 2. ควรเก็บลูกประคบไว้ในตู้เย็น จะทําให้เก็บได้นานขึ้น ควรตรวจลูกประคบด้วย ถ้ามีกลิ่นบูด หรือเหม็นเปรีย้ วไม่ควรเก็บไว้) 3. ถ้าลูกประคบแห้ง ก่อนใช้ควรพรมด้วยน้ําหรือเหล้าขาว 4. ถ้าลูกประคบที่ใช้ไม่มสี ีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนลงแสดงว่ายาที่ใช้จดื แล้ว (คุณภาพน้อยลง) จะใช้ไม่ได้ผลควรเปลี่ยนลูกประคบใหม่


แบบทดสอบ เรื่อง การทาลูกประคบสมุนไพรสด คาชี้แจง ให้นักเรียนทาเครื่องหมายกากบาท (X) คาตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว แบบทดสอบก่อนเรียน 1. ส่วนประกอบของสมุนไพรหลักที่ใช้ในการทําลูกประคบสมุนไพรเพื่อสุขภาพมีกี่ชนิด  ก. 10 ชนิด  ข. 11 ชนิด  ค. 12 ชนิด  ง. 13 ชนิด 2. ลูกประคบสมุนไพรมีกี่ชนิด  ก. 2 ชนิด  ข. 3 ชนิด  ค. 4 ชนิด  ง. 5 ชนิด 3. ข้อใด ไม่ใช่ สมุนไพรที่นํามาใช้ในการทําลูกประคบ  ก. ไพล  ข. ขมิน้  ค. ข่า  ง. ตะไคร้ 4. ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าว ผิด  ก. หลักการของลูกประคบ คือ การใช้ประโยชน์จากน้ํามันหอมระเหยที่มอี ยู่ในสมุนไพร ดังนั้นจึงต้องนึ่งหรือให้ความร้อนลูกประคบก่อนใช้งาน  ข. สมุนไพรที่นํามาทําลูกประคบต้องใช้สมุนไพรที่มีนํา้ มันมากเสมอ  ค. สัดส่วนหรือน้ําหนักของสมุนไพรแต่ละชนิด ไม่มีความสําคัญต่อคุณภาพของลูกประคบ  ง. โดยทั่วไปสมุนไพรสดมีโอกาสปนเปื้อนของจุลินทรีง่ายกว่าสมุนไพรแห้ง เนือ่ งจากมี ความชืน้ สูง 5. ขนาดผ้าที่นํามาใช้ในการห่อลูกประคบสมุนไพร คือขนาดใด  ก. 80 * 80 เซนติเมตร  ข. 20 * 70 เซนติเมตร  ค. 40 * 40 เซนติเมตร หรือ 50 * 50 เซนติเมตร  ง. 60 * 60 เซนติเมตร


6. การเก็บลูกประคบสมุนไพรสดด้วยวิธีที่ถูกหลักจะสามารถเก็บลุกประคบไว้ได้นานเท่าไร  ก. 6 เดือน  ข. 5 เดือน  ค. 4 เดือน  ง. 3 เดือน 7. ในการนําลูกประคบไปใช้งานทําไมต้องมี 2 ลูกเปลี่ยนกัน  ก. เพราะสมุนไพรในลูกประคบจะหมดประสิทธิภาพ  ข. เพราะลูกประคบจะเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์  ค. เพราะลูกประคบจะเปียกชืน้ เกินไป  ง. เพราะลูกประคบจะคลายความร้อนออกไปเรื่อย ๆ 8. กากสมุนไพรที่นําออกมาจากลูกประคบที่ใช้งานแล้วนําไปทําประโยชน์ใดได้บ้าง  ก. ทําผงขัดตัว  ข. ทําชาชงสมุนไพรดื่ม  ค. ทําปุ๋ยชีวภาพ และไล่แมลง  ง. ทําน้ําชีวภาพสําหรับล้างท่อน้ําทิง้ ในบ้าน 9. ข้อใดต่อไปนี้ เป็นวิธีเก็บรักษาลูกประคบสมุนไพรสดที่ยังไม่ได้ใช้งาน  ก. เก็บไว้ในบรรจุภัณฑ์ที่อากาศเข้าได้  ข. เก็บไว้ในช่องแช่แข็ง (Freeze)  ค. เก็บไว้ในอุณหภูมิห้องทั่วไป  ง. เก็บไว้ในตู้เย็น 10. ข้อใดต่อไปนีก้ ล่าวได้ถูกต้อง  ก. เมื่อใช้ลูกประคบสมุนไพรเสร็จแล้วให้นําเข้าตู้เย็นทันที  ข. ลูกประคบสมุนไพรลูกหนึ่งสามารถเก็บไว้ใช้ได้ 3 – 5 ครั้ง  ค. การใช้ลูกประคบสมุนไพรควรใช้ครัง้ ละ 1 ลูก  ง. เมื่อต้องการนําลูกประคบสมุนไพรมาใช้ใหม่ให้นําลูกประคบมาแช่น้ําก่อน



6. การเรียนรู้เรื่อง “การปั้นหม้อน้าดินเผา” ความเป็นมาของเครื่องปั้นดินเผา มนุษย์รู้จักการทําเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่ยุคดึกดําบรรพ์เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการใช้ไฟและกิน อาหารสุก สันนิษฐานว่า ค้นพบการทําเครื่องปั้นดินเผาจากการเห็นก้อนดินที่ปะปนอยู่ในกองไฟ ซึ่งถูก ไฟเผาจนดินสุก มีความแข็งตัวไม่ละลายน้ํา จึงนําไปดัดแปลงทําเป็นภาชนะใช้สอยและหุงต้ม โดยการ นําดินมาปั้นขึน้ รูปด้วยมือแบบง่ายๆ แล้วนําไปเผาโดยวิธีสุมฟืนหรือหญ้าแห้งให้สุกตัว สําหรับในประเทศไทย ได้ปรากฏร่อยรอยหลักฐานการทําเครื่องปั้นดิน เผามาตั้งแต่ ยุคหิน กลาง ซึ่งเริ่มทําขึ้นราวยุคหินกลางตอนปลาย อายุประมาณ 10,000 – 8,350 ปีมาแล้ว ภาชนะดินเผา ที่ทําครัง้ แรก มีลักษณะเป็นหม้อทรงกลมก้นมนขึ้นรูปด้วยมือ ฝีมอื ค่อนข้างหยาบ ผนังหม้อมีความหนา บางไม่เสมอกัน เผาพอดินสุกตัวไม่แข็งแกร่ง ไม่มีการตกแต่งลวดลาย รูปทรงคล้ายหม้อตาลในปัจจุบัน ซึ่งค้นพบที่ถ้ําผี จังหวัดแม่ฮ่องสอน และถ้ําองบะ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้นหลังจากนั้นก็มีการค้นพบ เครื่องปั้นดินเผาทั่วทุกภาคในประเทศไทยในยุคต่อๆมาซึ่งมีวิวัฒนาการมากขึ้น โดยมีการปั้นประณีต กว่าเดิมมีรูปทรงหลายแบบหลายขนาด ทําเป็นภาชนะหลายประเภท มีการตกแต่งผิวด้วยการขัดมัน และขูดลายขูดขีด ลายทาบเชือก ความหนาบางสม่ําเสมอ การเผาเนือ้ ดินสุกแข็งแกร่งกว่าเดิม เครื่องปั้นดินเผาสมัยหริภุญไชย ประมาณคริ ส ตศตวรรษที่ 7 ในเขตที่ ราบลุ่ม แม่น้ํ า เจ้ า พระยาจนถึง เขตพม่า ทางตอนล่ า ง เป็นดิ นแดนชุมชนเชื้อสายมอญมีอํานาจ มีศูนย์ก ลางชาวมอญตั้งขึ้นหลายแห่งในพม่าตอนล่าง ใน คริสต์ศตวรรษที่ 8 พระนางจามเทวีได้ขยายอํานาจของชุมชนมอญขึ้นมาตั้งอยู่ที่อาณาจักรหริภุญไชย ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ําปิงตอนบน ในปลายคริสตศตวรรษที่ 13 อาณาจักรหริภุญไชยถูกพระยามังราย รวบอํานาจรวมเข้าเป็นอาณาจักรหนึ่งของล้านนา ซึ่งชนส่วนใหญ่เป็นชาวมอญถูกกวาดต้อนและได้แผ่ วัฒนธรรมของตนให้แก่ชนชาติใหม่ที่เข้าครอบครอง ในยุคนี้พบการทําเครื่องปั้นดินเผาทั้งของพม่า ทวารวดีและหริภุญไชย ซึ่งมีความแตกต่างกัน อย่างสิ้นเชิง พม่าผลิตเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบ โดยใช้น้ําเคลือบทีทําด้วยตะกั่วและเถ้าถ่านจากไม้ แต่หริภุญไชยกับทวารวดีไม่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาชนิดเคลือบและเผาในอุณหภูมิต่ํา ภาชนะที่พบได้แก่ ภาชนะที่ใช้ในครัวเรือน ได้แก่ คณโท คณฑี ตะเกียงน้ํามัน เป็นต้น เครื่องปั้นดินเผาลาพูน (เครื่องปั้นหริภุญไชยรุ่นหลัง) เครื่องปั้นดินเผาลําพูนนี้ไม่มีส่วนสัมพันธ์กับเครื่องปั้นดินเผาหริภุญไชยรุ่นแรก แต่คงจะเริ่ม ผลิตหลังจากพระยามังรายรวมหริภุญไชยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร ใน ค.ศ.1292 ยังไม่เคยพบ


เตาเผาของเครื่องปั้นดินเผาของลําพูนเลย แม้จะพบเศษภาชนะเป็นจํานวนมากในบริเวณใกล้เคียงกับ ลําพูน แต่ก็เชื่อว่าคงจะผลิตในแถบนีเ้ อง เศษเครื่องปั้นดินเผาพบมากในบริเวณที่เป็นเมืองโบราณในล้านนา เช่น ที่เชียงใหม่ พะเยา และ เวียงกาหลง และเมื่อไม่นานมานี้เองพบคนโทเป็นจํานวนมากบริเวณหลุมฝังศพบนเทือกเขาสูงที่ตําบล แม่ตื่นและอําเภออมก๋อย จังหวัดเชี ยงใหม่ และที่จังหวัดตาก เมื่อนําไปเทียบเคียงกับเครื่องปั้นดินเผา จีนที่พบในที่เดียวกัน ทําให้เราสามารถกําหนดอายุเครื่องปั้นดินเผาลําพูนได้ว่าอยู่ในคริสตศตวรรษที่ 14 ผ่านการสืบทอดมาจนปัจจุบัน ส่วนใหญ่ลักษณะของเครื่องปั้นดินเผาจะพบว่าเป็นคณโฑทรงกลม สูงสง่าตั้งบนขอบก้นภาชนะรูปวงกลม คอสูง ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจจะถูกปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาให้ กลายเป็นน้ําต้นของคนเชียงใหม่ ที่พบมากที่บ้านหนองกุง อําเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องปั้นดินเผาในล้านนาปัจจุบัน ในล้านนา การปั้นเครื่องปั้นดินเผา ถูกเรียกว่าอยู่ในประเภทเครื่องปั้นดิ นเผาพื้นบ้าน ซึ่งสภาพ พืน้ บ้านชนบทไทยทั่วๆไป จะมีแหล่งดินเหนียวในท้องถิ่น ซึ่งเด็กๆมักจะนํามาปั้นเป็นของเล่นหรือถูกขุด มาใช้เผาทําอิฐ และบางท้องถิ่นก็ได้ทํางานเครื่องปั้นดินเผาที่เรียกว่า “เครื่องปั้นดินเผาแบบพื้นบ้าน” เพื่อประโยชน์ต่อการใช้สอยของผู้คนในท้องถิ่ น สืบทอดตระกูลช่างตกทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ได้แก่ จําพวกหม้อน้ํา หม้อแกง หม้อ-ข้าว โอ่ง ไห เตา เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่งานประเภทนี้ไม่ได้มีรูปแบบและ ลวดลายตลอดจนกรรมวิธีทําต่างไปจากที่เคยทํามาแต่ในอดีตเท่าใดนัก จะมีความแตกต่างไปบ้างก็ ตามสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน แบบอย่างทางฝีมือสายตระกูลช่าง ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีและ ความเชื่อของผู้คนในแต่ละท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาค หม้อน้าดินเผา หม้อน้ําดินเผา เป็นภาชนะดินเผาที่ใช้สําหรับบรรจุน้ําดื่มหรือน้ําใช้บนเรือนทั่วไป ซึ่งจะมีการ แยกขนาดตามการใช้งาน หม้อน้ําที่พบจะมีขนาดเฉลี่ยความกว้างประมาณ 12 นิว้ สูง 10 นิ้ว มีลักษณะ อ้วนกลมมีฝาปิด โดยทั่วไปมักจะไม่มีลวดลาย แต่หากจะมีลวดลายประกอบแล้ว มักจะทําเป็นลายเชิง อยู่บริเวณคอหม้อ และจะเรียกหม้อน้ําที่มลี วดลายนี้วา่ หม้อน้ําดอก เวลาใส่น้ําดื่ม บางแห่งใส่หินที่เก็บมาจากแม่น้ําหรือลําธารต้นน้ํา เป็นหินสีข าวหรือสีแดงเรียบ กลม ขนาดประมาณ 1 นิ้ว ใส่ไว้ 3 ก้อน เชื่อว่าทําให้น้ําในหม้อเย็น และไม่นิยมล้างตัวหม้อด้านนอก ปล่อยให้พืชจําพวกมอสหรือเฟินขึ้น ทําให้น้ําในหม้อเย็น นอกจากนี้การทําลวดลายขูดขีดรอบตัวหม้อ ทําให้เพิ่มพืน้ ผิวในการระเหยของน้ํา ทําให้นํา้ นั้นเย็นอีกด้วยความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับหม้อน้ําดื่มนี้ เมื่อถึง วันสงกรานต์หรือปีใหม่เมือง จะนิยมเปลี่ยนหม้อน้ําใหม่ โดยเชื่อว่าเมื่อนําหม้อใหม่เข้าบ้านจะพบแต่สิ่ง ใหม่ ๆ ดี ๆ ตลอดปี และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน ส่วนหม้อน้ําใบเดิมก็มักจะนําไปใส่น้ําใน ครัวใส่นํา้ ล้างเท้า ปลูกต้นไม้ หรือคว่ําไว้เฉย ๆ


ประเภทของหม้อน้า เท่าที่พบมีอยู่ 3 แบบ คือ 1. หม้อก้นเรียบจะมีขนาดใหญ่อ้วนกลมและหนักกว่าหม้อน้ําชนิดอื่น ลักษณะก้นหม้อจะเรียบ ตั้งได้ ปากหม้อกว้างตัวหม้ออ้วน ที่คอหรือไหล่หม้อทําลายหยักยกเป็นขอบและมีการตกแต่งด้วยลาย ขูดขีดเป็นริ้ว ปากหม้อทําเป็นขอบกลมประมาณ ๐.๕ นิว้

2. หม้อก้นกลม มีลักษณะก้นกลม ตัวหม้อกลม ไม่มีการทําคอและไหล่หม้อ ลักษณะคล้าย หม้อสาว แต่ขนาดเล็กและสูงเพรียวกว่า ที่ฝาหม้อมีการตกแต่งด้วยลายขอบหยักเช่นกันเวลาตั้งจะใช้ ตั่งหม้อคอยประคองมิให้ล้ม ตั่งหม้อดังกล่าวอาจเป็นกะละมัง เศษกระเบื้อง หรือเศษไม้ไผ่ที่เหลือจาก การเหลามาขดแล้วมัดเป็นวงกลม ใช้รองก้นหม้อไม่ให้ลม้

3. หม้อที่มีเชิงหรือตีน เป็นหม้อที่มีเชิงหรือตีนตั้งได้ ตัวหม้ออ้วนสูงเพรียว ปากแคบ ขอบปาก กลมหนาประมาณ 0.5 นิ้ว คอและไหล่หม้อมีการตกแต่งด้วยลายขูด ขีด และไหล่หม้อทําเป็นขอบหยัก ฝาหม้อมีการตกแต่งด้วยลายหยักเช่นกัน


การปั้นหม้อน้าดินเผา บ้านสันเหมือง ตาบลหนองล่อง อาเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลาพูน ในจังหวัด ลําพู น การปั้นหม้อน้ําดินเผา กลายเป็นงานอดิเรกของช่างฝีมือที่มีความชํานาญ เนื่องจากในปัจจุบันการไม่นยิ มใช้หม้อน้ําดินเผา เนื่องจากยุคโลกาภิวัตน์ทําให้มีเครื่องใช้ที่สะดวกสบาย เข้ า มาแทนที่ ห ม้ อ น้ํ า ดิ น เผา เช่ น ตู้ เ ย็ น เครื่ อ งทํ า น้ํ า เย็ น หม้ อ คู ล เลอร์ กระติ ก น้ํ า เป็ น ต้ น ทํ า ให้ อุตสาหกรรมการปั้นหม้อน้ําดินเผา เลือนหายไปจากวิถีชีวิตของคนในลําพูนและช่างฝีมือดังกล่า ว จึง หันไปประกอบอาชีพอื่นแทนทําให้การปั้นหม้อน้ําดินเผากลายเป็นงานฝีมอื ที่ถูกละเลย ขาดการสืบทอด อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ จึงเห็นช่างฝีมือด้านการปั้นหม้อน้ําดินเผา สมควรได้รับการส่งเสริมและ อนุรักษ์ เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาดังกล่าวให้นักเรียนเยาวชน และประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้และตระหนัก ในความสําคัญของช่างฝีมอื พืน้ บ้านให้คงอยู่สืบไป ในอดีตบ้านสันเหมือง ตําบลหนองล่อง อําเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลําพูน เป็นแหล่งผลิต หม้อน้ําดินเผาขนาดใหญ่ของจังหวัด ลํ าพูน นอกจากมีการผลิตหม้อน้ําดินเผาแล้ว ยั งมีผลิตภัณฑ์ เครื่องปั้นดินเผาอื่นๆ อี ก อาทิเ ช่น กระถางดอกไม้ หม้อสาว (หม้อแกงของคนเหนือ เนื่องจากใน สมัยก่อนไม่มีกะทะ จึงใช้หม้อดินเผาก้นกลมใช้ในการประกอบอาหารแทน) หม้อต่อม (หม้อสําหรับใช้ ใส่กระดูกคนตาย แล้วนําไปฝังบริเวณปุาช้า หรือนําไปลอยน้ํา เชื่อว่าจะทําให้วิญญาณคนตายได้รับ การปลดปล่อยและไปเกิดในภพที่ดี)หม้อข้าวดินเผา (มีลักษณะเหมือนหม้อสาว และมีขนาดเท่าหม้อ ต่อม แต่มีปากหม้อที่ก ว้างกว่า ใช้สํ าหรับ ใส่ข้าวเหนียว) และหม้อต้มเหล้า (ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก ประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง 50 - 60 เซนติเมตร )

หม้อต่อม หม้อข้าว ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะทําก็ต่อเมื่อมีผู้สนใจมาสั่งทําเท่านั้น มีเรื่องเล่ากันว่าหากเดินทางผ่าน สันเหมืองจะได้ยินแต่เสียงทุบหม้อ (ไห่หม้อ) และเห็นควันไฟลอยคละคลุ้งไปทั่ว ปัจจุบันเมื่อ 10 ปีที่ ผ่านมาการปั้นหม้อเริ่มหายไป เนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่หันไปทําสวนลําไยและปลูก หอมแดงเป็น อาชีพหลัก อีกประการหนึ่งความต้องการในการใช้หม้อน้ําดินเผาลดน้อยลง ทําให้ผลผลิตมียอดขาย ลดลงเนื่องจากคนไม่นยิ มใช้กันแล้ว


ลักษณะของหม้อน้าดินเผาที่บ้านสันเหมือง เป็นหม้อดินเหนียวสมัยโบราณที่มีลักษณะก้นกลม ลักษณะคล้ายหม้อสาว แต่มีขนาดเล็กและสู ง เพรียวกว่า ที่ฝาหม้อมีการตกแต่งด้วยลายขอบหยักเช่นกัน เวลาตั้งจะใช้ตั้งหม้อคอยประคองมิให้ล้ม ในการขึ้นรูปหม้อน้ําไม่ใช้เครื่องมือทุ่นแรงในการทํา แต่ใช้การขึ้นรูปด้วยมือทั้งหมด และเป็นการสืบ ทอดจากบรรพบุรุษ ซึ่งปัจจุบันไม่สามารถหาหม้อน้ํารูปแบบนีไ้ ด้ทั่วไป ประโยชน์ใช้สอยคือใช้ใส่น้ําดื่ม เชื่อว่าหม้อดินเผาทําให้น้ําในหม้อเย็นและไม่นิยมล้างตัวหม้อ ด้านนอกปล่อยให้พืชจําพวกมอสหรือเฟินขึ้น ทําให้น้ําในหม้อเย็น และลวดลายที่เกิดจากการไห่หม้อ ด้านนอกทําให้เพิ่มพืน้ ผิวในการระเหยของน้ํา ทําให้น้ํานั้นเย็นอีกด้วย ความเชื่อที่เกี่ ยวกับหม้อน้ําดื่มนี้ เมื่อถึงวันสงกรานต์หรือปีใหม่เมือง จะนิยมเปลี่ยนหม้อใหม่ โดยเชื่อว่าเมื่อนําหม้อใหม่เข้าบ้านจะพบแต่ สิ่งใหม่ๆ ดีๆ ตลอดปี และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน ส่วนหม้อน้ําใบเดิมก็มักจะนําไปใส่น้ํา ในครัว ใส่น้ําล้างเท้า ปลูกต้นไปไม้ หรือคว่ําไว้เฉยๆ


วัสดุท่ใี ช้ในการผลิตผลงาน ประกอบด้วย 1. ดินเหนียว ซึ่งหาได้จากดินเหนียวกลางทุ่งนาในเขต บ้านสันเหมือง อําเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลําพูน โดยขุดลึกลงไปประมาณ 20-30 เซนติเมตร และลักษณะเนื้อดินต้องละเอียด มีความ เหนียวนุ่ม และไม่มีกรวดทรายปนมากเกินไป นํามาตากแห้งและบิดให้เป็นก้อนเล็กๆ ก่อนนําไปใช้ใน กระบวนการผลิต

2. ทราย ได้จากแหล่งแม่น้ําลี้ ซึ่งไหลผ่านในเขตอําเภอเวียงหนองล่อง นํามาร่อนเพื่อให้ได้ ทรายละเอียด ถือว่าทรายจากแหล่งนีเ้ หมาะสมสําหรับการปั้นหม้อ เมื่อนําเนือ้ ดินและทรายผสมแล้ว จะทําให้มคี วามเหนียวนุ่ม และเมื่อเผาแล้วไม่ทําให้หม้อแตกร้าว

3. แกลบและขี้ เ ถ้ า แกลบ ได้ จ ากโรงสี ข้ า วภายในหมู่ บ้ า น ใช้ สํ า หรั บ รองพื้ น ใน การกระบวนการเผาหม้อน้ําดินเผาและขี้เถ้าแกลบที่ได้จากการเผาแล้วจะเก็บไว้เพื่อใช้คลุมด้านบนสุด ของกระบวนการเผาหม้อ


4. ฟางข้าว หาซือ้ ได้ภายในหมูบ่ ้าน ในราคามัดละ 3 บาท

5. ฟืนและใบไม้แห้ง หาได้ภายในบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่ฟืนที่ใช้เป็นฟืนจากต้นลําไย และใบไม้แห้ง ก็ใช้ใบของลําไย ซึ่งมีทั่วไปภายในบริเวณบ้าน

เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต ประกอบด้วย


1. ลูกหินไห่หม้อ

2.

ไม้ไห่ (ค้อนไห่หม้อ)ทั้งที่มลี วดลายและไม่มีลวดลาย เพื่อใช้ในการตกแต่งและไห่หม้อให้มลี ักษณะกลม

3.

มีด ใช้สําหรับปาดดินก้นหม้อ

4.

เชือกปาดดิน

5.

ไม้หลาบ

6.

แท่นปั้นหม้อ


7.

แท่นไม้วางหม้อ

8.

กระเบือ้ งดินขอ ใช้สําหรับวางฝาหม้อน้ํา

ขั้นตอนกระบวนการผลิต/วิธีทา ขั้นเตรียมการ การเตรียมดินปั้นหม้อน้า 1. นําดินเหนียว มาตากให้แห้งสนิท เก็บเศษวัสดุที่ติดดินออกนําดินเหนียวที่ตากแห้งดีแล้ว ทุ บ ให้ละเอียด นําไปใส่กระสอบไปแช่นํา้ ประมาณ 1 ชั่วโมง การหมักดิน เป็นการรักษาให้ดินเหนียวมีสภาพ ความชืน้ และความนุม่ พอเหมาะแก่การใช้งานอยู่ได้เป็นระยะเวลานานๆ แล้วจึงนําไปนวด

2. การนวดดินและผสมดิน เป็นวิธีการที่ทําให้ดินเหนียวมีความนุ่มเสมอเป็นเนือ้ เดียวกัน เพื่อ ความเหมาะสมในการใช้งานหรือเพื่อความสะดวกในการนําไปขึน้ รูปด้วยวิธีต่างๆ ขณะเดียวกันเพื่อ ไม่ให้ดินหดตัวก็จะผสมทรายไปพร้อมกันในขณะนวดในอัตราส่วนดินเหนียว 3 ส่วนต่อทราย 1 ส่วน นวดให้เข้ากันด้วยเท้า โดยใช้วธิ ีเหยียบและกลึงให้เป็นเนื้อเดียวกัน นวดจนกระทั่งดินเหนียวไม่ติดเท้า


หลังจากนั้นนําเชือกปาดดินมาตัดให้เป็นท่อนเพื่อสะดวกแก่การนําไปใช้ที่เหลือจะนําไปถุงพลาสติดเพื่อ ช่วยรักษาความชุ่มชืน้ ของดินเอาไว้

ขั้นการผลิต 1.การปั้นหม้อ/การขึ้นรูปหม้อน้า 1.1. ใช้การขึ้นรูปด้วยวิธีอิสระบนแปูนไม้ โดยนําดินเหนียวที่ผสมแล้วมาปั้นขึ้นรูปด้วยมือ โดยเริ่ม จากนําดินที่นวดไว้แล้ว ปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 22 เซนติเมตร เพื่อวางเป็นฐานหรือก้น หม้อ แล้วกดให้ติดกับตรงจุดศูนย์กลางของแปูนที่จะใช้ปั้น ต้องให้ตรงจุดศูนย์กลางแปูน มิฉะนั้นภาชนะ จะบิดเบีย้ วไม่ได้รูปทรงตามต้องการ

1.2. นําดินเหนียวมาปั้นให้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตรยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มาวางบนส่วนที่เป็นฐานหม้อ ใช้มือกดให้เป็นเนือ้ เดียวกันจากนั้นใช้มอื คลึงเป็นรูปวงกลมใช้นิ้วหัวแม่มือ ทั้งสองค่อยๆจับประคองดินรีดให้สูงใช้ไม้หลาบและเชือกคอยปาดดินส่วนที่เกินโดยมีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร


1.3. นําดินเหนียวมาปั้นให้มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อ ทําส่วนของปากหม้อวางทาบด้านบน ใช้มือกดเพื่อให้ดินประสานกัน ใช้มือแต่งผิวและกดเพื่อทําปาก หม้อให้มคี วามโค้งเว้าตามต้องการ จากนั้นใช้เศษผ้าเรียบชุบน้ําหมาดๆ ช่วยขัดแต่งผิวให้เรียบเสมอกัน เพื่อความสวยงามให้ใช้ไม้ไห่หม้อด้านที่ลวดลาย ตบบริเวณรอบๆคอหม้อ เมื่อได้ภาชนะรูปทรงตามที่ ต้องการแล้ว ก็ใช้เชือกตัดก้นภาชนะให้หลุดจากแปูน นําไปผึ่งลมพอหมาดประมาณ 3 ชั่วโมง หรือ นําไปตากแดดประมาณ 1 ชั่วโมง และต้องคว่ําหม้อเพื่อให้อกี ด้านหนึ่งหมาดเหมือนกัน

1.4 เป็นขั้นตอนต่อจากการนําหม้อไปตากลมพอหมาดได้ที่ดีแล้วนํามากลึงด้วยมือ โดยใช้มือ สัมผัสลายดอกคอของหม้อ หากมือไม่เปื้อนดินแสดงว่าดินแห้งหมาดดีแล้ว ใช้มีดปาดดินขอบของก้น หม้อออก ใช้มือตีและหินดุนโดยใช้มือขวาจับลูกหินไว้ด้านใน ใช้มือซ้ายถือไม้ไห่หม้อตบด้านนอก โดย ตบให้ตรงกันไปรอบหม้อจนได้รูปทรงตามต้องการ หากดินแห้ง ไปก็จะใช้ผ้าชุบน้ําหมาดๆ ชุบให้ทั่วก่อน แล้วใช้ไม้ตีไปรอบๆเพื่อจัดแต่งรูปทรงตามต้องการ ขั้นตอนนี้ ถ้าต้องการให้ตัวหม้อมีลวดลายก็ใช้ไม้ไห่


หม้อด้านที่มีลายตบไปรอบ ๆ เสร็จแล้วนําไปคว่ําไว้ในที่ร่มหรือนําไปตากกลางแดดประมาณ ๒ วัน ก่อนจะเผาจะนําหม้อมาทาด้วยดินสีแดงให้มีความสวยงาม เนื่องจากตลาดมีความสนใจและต้องการ หม้อที่มสี ีสันมากกว่า แล้วจึงนําไปตากแดดให้สีแห้งอีกครั้ง เพื่อรอการเผาต่อไป

2.การทาฝาหม้อ 2.1 นําดินเหนียวที่ผสมแล้วมาปั้นขึ้นรูปด้วยมือ โดยเริ่มจากนําดินที่นวดไว้แล้ว ปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 10 เซนติเมตร เพื่อวางเป็นฐานฝาหม้อ นําดินเหนียวส่วนที่สองมาต่อบนขอบฝา ใช้มือกดให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นใช้มือคลึงเป็นรูปวงกลม ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองค่อยๆ จับประคอง ดินรีดให้สูง ใช้ไม้หลาบและเชือกคอยปาดดินส่วนที่เกิน โดยมีความสูงประมาณ 8 เซนติเมตร

2.2 ใช้ไม้หลาบตบรอบๆ ใช้ผ้า ชุดน้ํานํามาเช็ดรอบๆ สลับกั บ การใช้ไ ม้หลาบ ใช้มือกดดิน เหนียวขณะเดียวกันก็ใช้ไม้หลาบกดด้านในฝาหม้อโดยหมุนไปรอบๆ เพื่อให้ฝาหม้อมีลักษณะบานออก ใช้มือจับจีบขอบฝาหม้อให้เป็นลวดลายหยักริว้


2.3 ปั้นดินเหนียวเพื่อทําเป็นส่วนที่ใช้จับฝาหม้อ โดยปั้นดินเหนียวให้มีลักษณะคล้ายแกนหลอด ด้าย เว้าคอดตรงกลาง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร สูงประมาณ 2 เซนติเมตร นํามาวาง บนฝาหม้อ ให้อยู่ในกึ่งกลางฝาหม้อ ใช้มือกดเนื้อดินให้เชื่อมติดกับฝาหม้อ ตกแต่งให้มีลายหยักริ้วบน ฝาหม้อและมือจับฝาหม้อให้สวยงาม นําไปตากกลางแดดให้แห้งประมาณ 2 วัน

3.การเผาหม้อ การเผาหม้อดินเหนียว เป็นการเผาแบบใช้แรงไฟต่ํา วัสดุเชื้อเพลิงที่ใช้เผาได้จากวัสดุพื้นบ้าน เช่น ฟืน ฟางข้าว เศษใบไม้แห้ง เป็นการเผาแบบเตาเปิด ใช้เวลาในการเผาตั้งแต่เริ่มจุดไฟจนหม้อดิน เหนียวสุก ประมาณ 3-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของผลิตภัณฑ์ที่เผา โดยมีขั้นตอนและวิธีการ ดังนี้


3.1 เมื่อหม้อที่ต้องการเผามีจํานวนมากพอ ประมาณ 30 ใบขึ้นไป ก็จะทําการเตรียมสถานที่ เผาหม้อ โดยจะนําแกลบ (เปลือกข้าวที่นํามาจากโรงสีใ นหมู่บ้าน) มาโรยเพื่อปูเป็นฐานชั้ นแรกบน พืน้ ดินที่เตรียมไว้สําหรับที่เป็นเผาหม้อดินเหนียว หนาพอประมาณ

3.2 นําหม้อดินเหนียวที่จะเผามาวางเรียงกัน โดยหม้อคู่แรกหันปากหม้อชนกัน ใบต่อๆไปเรียงตาม จนเต็มพื้นที่ นําฝาหม้อมาวางข้างๆหม้อดินเหนียว

3.3 วางฟืนไว้รอบๆ หม้อดินเหนียวที่เรียงไว้แล้ว นําฟางข้าวมาตั้งรอบๆ อีกชั้นหนึ่ง โดยฟางข้าว 10 มัดจะเผาหม้อดินเหนียวได้ประมาณ 60 ใบ ขั้นตอนนีถ้ ้ามีใบไม้แห้ง ก็ใช้คลุมด้านบน ใช้ขี้เถ้าโรยทับ ด้านบนอีกชั้นหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อปูองกันไม้ให้ไฟลามลุกไหม้จนเกินไป ใช้ฟางจุดไฟวางรอบๆ เผาจนหม้อดิ น เหนียวสุก ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง เมื่อหม้อสุกแล้วจะยังไม่เก็บจะอบทิ้งไว้จนไฟมอด ดับไปเอง ส่วนใหญ่จะเผาในตอนเย็นและจะเก็บหม้อในตอนเช้าของอีกวัน


3.4 หลังจากนั้นเก็บหม้อดินน้ําดินเผาออกมาวางไว้ในส่วนที่เตรียมไว้ขายให้ลูกค้าต่อไป

จากประสบการณ์ของการปั้นหม้อน้ําดินเผา จะเห็นว่าทุกขั้นตอนและวิธีการจะไม่ใช้เทคนิค หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผลิต ถึงแม้ว่าจะมีการนําเครื่องใช้ที่ทันสมัยเช่น แปูนหมุนด้วยมอเตอร์ เข้ามาประยุกต์ใช้ แต่ตัวช่างไม่มีความถนัดและมี ความชํานาญในการปั้นด้วยมือมากกว่า และสามารถ ปั้นหม้อด้วยมือให้ผลิตภัณฑ์ออกมามีความสวยงามได้ และยังคงนําภูมิปัญญาดั้งเดิมมาใช้ในปัจจุบัน


เช่น การเลือกใช้ทรายจากแหล่งน้ําลีแ้ หล่งเดียวเนื่องจากหากใช้ทรายจากแหล่งอื่นจะทําให้หม้อน้ําแข็ง และแตกในระหว่างการเผาและการเผาเตาเปิด ซึ่งใช้วัตถุดิบเหลือใช้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม เป็นต้น หม้อน้ําดินเผาใช้สําหรับใส่น้ําดื่ม บางแห่งใส่หินที่เก็บมาจากแม่น้ําหรือลําธารต้นน้ํา เป็นหินสี ขาวหรือสีแดงเรียบกลม ขนาดประมาณ ๑ นิว้ ใส่ไว้ ๓ ก้อน เชื่อว่าทําให้นํา้ ในหม้อเย็น และไม่นิยมล้าง ตัวหม้อด้านนอก ปล่อยให้พืชจําพวกมอสหรือเฟินขึ้น ทําให้น้ําในหม้อเย็น นอกจากนี้การทําลวดลาย ขูดขีดรอบตัวหม้อทําให้เพิ่มพื้นผิวในการระเหยของน้ํา ทําให้น้ํานั้นเย็นอีกด้วยความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับ หม้อน้ําดื่มนี้ เมื่อถึงวันสงกรานต์หรือปีใหม่เมือง จะนิยมเปลี่ยนหม้อน้ําใหม่ โดยเชื่อว่าเมื่อนําหม้อใหม่ เข้าบ้านจะพบแต่สิ่งใหม่ ๆ ดี ๆ ตลอดปี และเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน ส่วนหม้อน้ําใบเดิม ก็มักจะนําไปใส่นํา้ ในครัว ใส่นํา้ ล้างเท้า ปลูกต้นไม้ หรือคว่ําไว้เฉย ๆ


7. การเรียนรูเ้ รื่อง “การเล่นฮูล่าฮูป ลดพุง ลดความอ้วน” การนํ าเอาของเล่ นของเด็ ก ๆ มาประยุ ก ต์ใ ช้ ใ นการออกกํ า ลังกาย เพิ่มเติมสี สัน และความ สนุกสนานในการออกกําลังและลดพุง ลดความอ้วนได้ อุปกรณ์ท่ใี ช้ เพื่อให้การออกกําลังกายเพื่อลดพุง ลดความอ้วนได้ผลดีที่สุด ควรเลือกใช้ห่วงฮูล่าฮูป ที่มนี ้ําหนักราว 3 ปอนด์ หรืออาจใช้ฮูลาฮูปแบบธรรมดาทั่วๆ ไป หลายๆ อัน เพื่อเพิ่มน้ําหนัก ระยะเวลาในการออกกาลัง ควรใช้ระยะเวลาประมาณ 30 – 40 นาที ในการออกกําลังแต่ละครั้ง ขั้นตอนในการออกกาลังกาย 1. ย่ําเท้าอยู่กับที่ประมาณ 3 นาที เพื่ออบอุ่นร่างกาย 2. คล้องฮูลาฮูปเข้ากับสะโพก และหมุนไป-มา ประมาณ 3 – 5 นาที 3. ยืนแยกขาให้กว้างเท่าช่วงไหล่ ปลายเท้าชีอ้ อกด้านซ้ายเล็กน้อย จากนั้นวางห่วงบน พื้นข้างเท้าซ้าย จับส่วนบนของห่วงด้วยมือซ้าย ยกขาขวาขึ้นด้านข้างให้สูงระดับ สะโพก หรือสูงที่สุดเท่าที่จะทําได้ ในขณะเดียวกัน กลิ้งห่วงออกให้ห่างตัว และยก แขนขวาขึน้ เหนือหัว ทําซ้ํา 12 ครัง้ แล้วเปลี่ยนไปอีกข้างหนึ่ง ทําซ้ํา 12 ครัง้ เช่นกัน 4. หมุนห่วงรอบสะโพก 3 – 5 นาที 5. ยืนแยกขากว้างเท่าช่วงไหล่ ปลายเท้าชีต้ รงไปข้างหน้า ถือห่วงไว้ในมือแบบเดียวกับ จับพวงมาลัยรถ หมุนตัวไปข้างซ้ายเล็กน้อย และเหยียดแขนขวาข้ามไปจับด้านซ้าย ของห่ ว ง ขณะที่ทํ าท่านี้ เขย่ งปลายเท้า ขวาขึ้ นด้วย ทําซ้ํ าอีก ด้ านหนึ่ ง (ทั้ งหมด นับเป็นหนึ่งครัง้ ) ทําสองเซ็ต เซ็ตละ 12 ครัง้ 6. หมุนห่วงรอบสะโพก 5 – 10 นาที 7. นอนหงายบนพืน้ ยกขาทํามุม 90 องศากับพื้น ถือห่วงไว้มือซ้ายและวางเท้าทั้งสอง ข้างแตะเบาๆ ที่ดา้ นล่างของห่วง เหยียดแขนขวาขึ้นเหนือศรีษะ พร้อมกับยกไหล่ขึ้น เหนือพื้นเล็กน้อย (พยายามยกเอวตามด้วย) และลดขาลงจนกระทั่งอยู่เหนือพื้น สองสามนิ้ว กลั บ สู่ท่าเริ่มต้น นับ เป็น 1 ครั้ง ทําซ้ํา 2 เซ็ต เซ็ตละ 12 ครั้ง โดย เปลี่ยนมาเป็นข้างขวาในเซ็ตที่ 2 8. ย้ําอยู่กับที่ 3 นาที (คูลดาวน์)


การออกกําลังกายด้วย ฮูล่าฮูปจะทําให้กล้ามเนือ้ มัดใหญ่ได้ทํางาน การไหลเวียน โลหิตเพิ่มมากขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มสูงขึ้น แถมยังช่วยให้เผาผลาญไขมัน ไปเป็นพลังงาน จึง ช่วยให้ร่างกายมีน้ําหนักลดลงเพียงแค่เล่นฮูลาฮูป 30 นาที ก็สามารถเผาผลาญพลังงานได้มากถึง 200 แคลอรี นอกจากนี้ การเล่นฮูลาฮูป ยังกระชับความแข็งแรงของกล้ามเนือ้ บริเวณหน้าท้อง และหลังส่วนล่างด้วย ยังส่งผลให้สะโพกก้นกระชับขึ้นอีก ฉะนั้น ถ้าหันมาเล่นฮูล่าฮูปวันละ 30 – 40 นาที จะช่วยลดพุง

ลดความอ้วนได้แน่นอน


8. หลักสูตรการณรงค์ลด ละ เลิก อบายมุข กิจกรรม “สุขภาพดี ชีวเี ป็นสุข” โทษของสุรา 1. ผลของสุราต่อภาวะสุขภาพ การดื่มสุรามีผลต่อร่างกาย 2 แบบ คือ แบบเฉียบพลัน และ แบบเรือ้ รัง 1.1 แบบเฉียบพลัน (acute) จะเกิดการเสียการควบคุมระบบกล้ามเนือ้ (muscular incoordination) (Sullivan, 1995) ระยะเวลาการตัดสินใจช้าลง สมรรถภาพการมองเห็นลดลง ขาดความ ยับยั้งชั่งใจ มีความกล้ามากขึน้ ขับรถด้วยความประมาท มึนงง (stuporous) พบระดับน้ําตาลในเลือดต่ํา การหายใจและการเต้นของหัวใจถูกกด (Johnson, 1995) ประสาทสัมผัสต่าง ๆ จะเสียไป ไม่รสู้ ึกตัว (unconciousness) การหายใจช้าลง และอาจเสียชีวิตได้ (ปริทรรศ ศิลปกิจ และคณะ, 2542) 1.2 แบบเรือ้ รัง (chronic) ผูท้ ี่ด่มื สุราติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะทําให้เกิดการเป็นพิษต่อ อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุทําให้เกิดโรคต่าง ๆ ดังนี้ คือ 1.2.1 ผลต่อสมอง แอลกอฮอล์มีผลต่อเยื่อหุม้ เซลล์ประสาท(membranes of neuron) โดยไปเพิ่มความไม่มั่นคงต่อผนังเซลล์ จะทําให้คุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ตัวรับสื่อประสาท สัมพันธ์ กับช่องทางไหลเข้าออกของประจุไฟฟูาบนผนังเซลล์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทํางานเพิ่มขึน้ ของ นิโคตินิค อะ ซิตลิ โคลีน (nicotinic acytylcholine) ซีโรโตนีน (serotonin), ตัวรับกาบ้าชนิดเอ (GABA type A receptors) และยับยั้งการทํางานของ กลูตาเมท รีเซบเตอร์ (glutamate receptors) ซึ่งเกี่ยวข้องกับช่องทางเข้าออก ของประจุแคลเซียม (voltage-gated calcium channels) และตัวรับโปรตีนที่มาจับกับผนังเซลล์อ่นื ๆ (membrane-bound function protines) เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมในระยะสั้น ๆ และ ถ้าดื่มแอลกอฮอล์ไป นาน ๆ จะมีผลทําให้ผนังเซลล์เริ่มกรอบ และแข็ง ผลต่อการนอนหลับ พบว่า มีผลทําให้วงจรการนอน หลับเสีย กล่าวคือ แอลกอฮอล์ลดวงจรการนอนระยะ REM (rapid eye movement) sleep และระยะ หลับลึก (NREM stage 4) ทําให้วงจรการนอนขาดเป็นช่วง ๆ (increased sleep fragmentation) เป็นผล ทําให้นอนหลับไม่สนิทหลับ ๆ ตื่น ๆ จนถึงนอน ไม่หลับทั้งคืน 1.2.2 ผลต่อตับเนื่องจากตับเป็นแหล่งสันดาป ที่สําคัญของ แอลกอฮอล์ ดังนั้น ตับจึงเป็น


อวัยวะที่รับพิษของแอลกอฮอล์มากกว่าอวัยวะอื่น (Naegle & D’Avanzo, 2001) พิษของแอลกอฮอล์จะ ทําให้เกิดการสะสมไขมันและโปรตีนในตับ นําไปสู่โรคตับเหลือง (fatty liver) ตับอักเสบเนื่องจากพิษของ สุรา (alcoholic hepatitis) และตับแข็ง (cirrhosis) 1.2.3 ผลต่อระบบทางเดินอาหารแอลกอฮอล์จะทําให้มีการหลั่งฮอร์โมนเกสตริน (hormone gastrin) เพิ่มขึน้ ทําให้มกี ารเป็นกรดมากขึ้น ทําให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร (peptic ulcer) โรคหลอดอาหารอักเสบ (esophagitis) กระเพาะอาหารอักเสบ (gastritis) หลอดเลือดดําโปุงพองบริเวณ หลอดอาหารส่วนปลาย (esophageal varices) โรคมะเร็งตับอ่อน (pancreatic cancer) โรคขาดวิตามิน อย่างรุนแรง (serious vitamin deficiency) เช่น การขาดวิตามินบี 1 บี 12 โฟลิค ไนอาซีน (B1, B12, Folic acid, Niacin) โรคตับอ่อนอักเสบ (pancreatritis) เป็นต้น (ไพรัตน์ พฤกษชาติคุณากร, 2542) 1.2.4 ผลต่อหัวใจและระบบการไหลเวียนโลหิต เกิดภาวะของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ (alcohol heart failure) โดยจะทําให้กล้ามเนือ้ หัวใจบวมโต การเต้นของหัวใจผิดปกติ อาจทําให้เกิดภาวะ หัวใจวาย (congestive heart failure) เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทําให้การสังเคราะห์ไขมันพวกไตรกลีเซอร์ ไรด์สูงและจะยับยั้งการสังเคราะห์ 2. ผลของสุราต่อสังคม ก่อให้เกิดปัญหาด้านกําลังคน ด้านครอบครัว ด้านอุบัติเหตุ ด้านเศรษฐกิจ และความ ไม่สงบของสังคม เกิดอาชญากรรม การปุวยด้วยโรคทางกายและทางจิตใจของ ผูท้ ี่ด่มื สุราจะกระทบ ถึงบุคคลที่อยู่รอบข้าง ขยายขอบเขตเป็นปัญหาสังคมที่กระทบกับบุคคลในสังคม เช่น ปัญหาด้าน กําลังคน การสูญเสียทรัพยากรบุคคลเนื่องจากการติดสุรา ปัญหาทางด้านครอบครัว เมื่อมีสมาชิกใน ครอบครัวมีการใช้สุรา จะทําให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น ขาดความสุข ความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่น เกิด การทะเลาะเบาะแว้ง การสื่อสารที่ขัดแย้งกัน อันอาจเป็นสาเหตุ ผลักดันให้เด็กวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ไม่ เหมาะสม นําไปสู่การใช้สารเสพติดโดยเฉพาะสุราได้ สําหรับปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและปัญหาด้าน อาชญากรรม เนื่องมาจากผู้ที่ด่มื สุราจะต้องเสียเงินในการซื้อสุรามาดื่ม ค่าใช้จ่ายในการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในครอบครัวที่มีผู้ด่มื สุราสูงถึงเฉลี่ยประมาณวันละ 100-300 บาท เมื่อพิจารณาจาก จํานวนผูท้ ี่ด่มื ขั้นต่ํา ประมาณ 13 ล้านคน และในอัตราความถี่ของการดื่มสัปดาห์ละครั้ง คิดเป็นเงินค่า ใช่จ่ายในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึง 4.68 ล้านบาท ในแต่ละปี สุราซึ่งนอกจากไม่มีคุณค่าทาง อาหารที่เป็นประโยชน์ตอ่ ร่างกายแล้ว ยังสามารถก่อให้เกิดพิษ เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาดังที่ได้กล่าวมา ข้างต้น แม้กระทั่งสําหรับผู้ที่ด่มื ในปริมาณที่ไม่มากนัก (6-15 มิลลิกรัมต่อซี.ซี) จะมีความรูส้ ึกกระตุ้น ประสาท ทําให้มีความกล้ามากขึ้น ความสามารถของร่างกายในการใช้วิจารณญาณถึงความถูกต้องของ สังคมลดลง ก่อให้เกิดคดีต่าง ๆ ได้ง่ายและยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น อุบัติเหตุจราจร การทะเลาะ วิวาท ทําให้ประเทศต้องสูญเสียงบประมาณเป็นจํานวนมากในการรักษาพยาบาล (กรมสุขภาพจิต, 2547)


สาระการเรียนรู้ข้างต้นดังกล่าว ชุมชนเทศบาลตําบลหนองล่อง ได้ดําเนินการสส่งเสริมให้ ประชาชนในตําบล ลด ละ เลิก อบายมุข ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้  การประชาสัมพันธ์  การติดปูายเพื่อประชาสัมพันธ์  การติดปูายห้ามสูบบุหรี่  การเลิกเลีย้ งสุราในงานต่างๆ ของชุมชน  ห้ามเล่นการพนันในงานต่าง ๆ ของชุมชน นอกจากนี้ทางชุมชนเทศบาลตําบลหนองล่องยังได้กําหนดให้หมูบ่ ้านทั้ง 9 หมูบ่ ้าน ร่วมรณรงค์ งดเหล้าเข้าพรรษา ภายใต้แนวคิด “เข้าพรรษา ชวนครอบครัวเลิกเหล้า” โดย 1. ร่วมบูรณาการกับหน่วยงานทางศาสนา พระสงฆ์ หน่วยงานทางการศึกษา พัฒนาชุมชน จัดการรณรงค์เชิญชวนให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ประชาชนทั่วไป จัดกิจกรรมแสดง นิทรรศการความรูเ้ กี่ยวกับโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในแง่ศลี ธรรมและ กฎหมายในวันเข้าพรรษา และร่วมกันปฏิญาณตนงดเหล้าช่วงเข้าพรรษา 2. ให้การยกย่อง เชิดชูเกียรติ บุคคลต้นแบบที่มปี ระวัติเคยดื่มสุรามาอย่างหนักจนเกิดปัญหา ต่างๆ ตามมา แต่สามารถเอาชนะใจตนเอง ลด ละ เลิก ได้ในที่สุด อย่างเด็ดขาด มีการมอบ ใบประกาศเกียรติคุณและของที่ระลึกตามสมควร 3. เชิญชวนให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ประชาชนทั่วไป ร่วมลงนามปฏิญาณตนงดเหล้า เข้าพรรษา


9. หลักสูตรเยาวชนเพิม่ ขีดความสามารถในการพัฒนาชุมชน ในปัจจุบัน ประเทศไทยต้องการคนรุ่นใหม่ที่มภี าวะผู้นํา เป็นกําลังสําคัญในการนําทิศทาง ประเทศให้อยู่รอด ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ แต่ส่งิ ที่น่าเป็นห่วง คือ เด็กไทยรุ่นใหม่จํานวนมากไม่ต้องการเป็นผู้นํา เนื่องจากชินกับการเป็นผู้ตามมากกว่า ซึ่งมีสาเหตุ มา จากการเลี้ยงดูแบบประคบประหงมจากครอบครัว ระบบการศึกษาที่สร้างเด็กให้คิดตามมากกว่า คิด สร้างสรรค์ และหลักสูตรที่ใช้ในโรงเรียนขาดเนื้อหาที่สอนให้เด็กมีภาวะผู้นํา ดังนั้น ประเทศไทยอาจ ประสบปัญหา ขาดผู้ที่ต้องการเข้ามานําทิศทางประเทศในอนาคต การสร้างผู้นําจึงเป็นเรื่องใหญ่ที่ควร ให้ความสําคัญ และต้องเริ่มพัฒนาผูน้ ําตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีแนวทางดังนี้ 1. สร้างคุณลักษณะผู้นํา ผู้นําควรมีคุณลักษณะบางประการ ที่ผู้อื่นมองแล้วเกิดการยอมรับ ไม่เพียงลักษณะภายนอก แต่รวมถึงความรู้ความสามารถภายในที่แสดงออกมาด้วย ซึ่งสิ่งที่ โรงเรียนควรสอน ได้แก่ 2. ทักษะสําคัญของผู้นํา ทักษะการพูด การวางแผน การแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ วิธี ตั้งเปูาหมายระยะสั้นระยะยาว วิธีสร้างความสัมพันธ์ การบริหารเวลา การสร้างทีมงาน ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นทักษะสําคัญของผู้นํา โรงเรียนสามารถสร้ างทักษะเหล่านี้ได้ โดยสอนผ่านสถานการณ์จริง เช่น ให้ผู้เรียนจัดทีมไปทํากิจกรรมกับชุมชน เพื่อให้ผู้เรียนรู้ วิธีสร้างทีมงาน วางแผนการทํางานและแก้ปัญหา หรือให้ดูภาพยนตร์หรือละครที่ให้ข้อคิด การเป็นผู้นํา แล้วลองวิเคราะห์ภาวะผู้นําที่อยู่ในภาพยนตร์ เป็นต้น 3. ฝึกสังเกตและเข้าใจผู้อื่น การเข้าใจผู้อื่นเป็นพื้นฐานของผู้นําประการหนึ่ง โรงเรียนควรฝึก ให้ ผู้ เ รี ย นมองผู้ อื่ น อย่ า งถู ก ต้ อ ง เช่ น มองผู้ อื่ น ในด้ า นบวก มองทุ ก คนมี คุ ณ ค่ า และมี ศักยภาพ แม้ตา่ งกันแต่นํามาเสริมสร้างกันได้ โรงเรียนอาจสอดแทรกมุมมองดังกล่าว ผ่าน การสอนในห้องเรียนและการทํากิจกรรม 4. ฝึกนิสัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผูน้ ําควรมีฐานความคิดที่ดี รอบคอบ และมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องต่างๆ ซึ่งการพัฒนาคุณสมบัตินี้ได้ โรงเรียนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนอ่านหนังสือ หรือ


เข้าถึงสื่อต่างๆ ทั้งในและนอกห้องเรียน เพื่อเข้าถึงองค์ความรูใ้ นเรื่องต่างๆ ที่ช่วยหลอมเป็น รากฐานความคิดและความเข้าใจ 5. สนับ สนุนเด็ ก ที่ฉายแววความเป็นผู้นํา ใช่ว่าเด็ก ทุก คนจะมีลัก ษณะความเป็นผู้นําอย่าง ชัดเจน แต่จะมีบางคนเท่านั้นที่ฉายแววออกมา ซึ่งโรงเรียนควรสนับสนุนเด็กกลุ่มนี้ เช่น มอบหมายให้เป็นผู้นําห้อง สนับสนุนให้สมัครเป็นประธานนักเรียน ส่งเด็กเข้าประกวดการ โต้วาที ฯลฯ นอกจากนี้ โรงเรียนอาจทําแบบทดสอบภาวะผู้นําเพื่อคัดเลือกผู้เรียนที่มีแวว ผูน้ ํา แล้วส่งเสริมเด็กกลุ่มให้เป็นผู้นําสังคมต่อไป ทั้งนีเ้ ปรียบได้กับเรือที่อยู่กลางทะเล หากขาดกัปตัน ลูกเรือก็เคว้งคว้างสับสน เช่นเดียวกับ ประเทศย่อมต้องการผู้นําที่นําประเทศไปตลอดรอดฝั่ง ซึ่งการสร้างผู้นําที่ดีนั้นต้องเริ่มตั้งแต่การศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยเฉพาะในเด็กที่ฉายแววความเป็นผู้นําควรได้รับการสนับสนุน เพื่อให้พวกเขากลายเป็น ผูน้ ําที่ดใี นอนาคต ดังนัน้ เยาวชนจึงนับได้ว่าเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น ประเทศชาติ และเป็นผู้ นําสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งในสังคมปัจจุบันหากเยาวชนได้รับการยอมรับ/มีโอกาสได้เข้ารับการ อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ มีความเข้าใจต่อกระบวนการพัฒนาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น และได้รับความไว้วางใจจากผู้ใหญ่ ให้มีส่ว นร่วมในการคิด วางแผน และตัดสินใจเกี่ยวกับการ แก้ไขปัญหาสังคม เยาวชนเหล่านี้ก็ สามารถที่จะเติบโตเป็นผู้ใ หญ่ที่ดี มีคุณภาพในวันข้างหน้าอย่าง แน่นอน แต่ในทางตรงกันข้าม หากเยาวชนไม่มโี อกาสที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ไม่ มีผู้เชื่อมประสาน ไม่มเี วทีที่จะแสดงพลังความสามารถ ขาดผู้ให้การสนับสนุนส่งเสริม และให้คําแนะนํา ที่จะก่อให้เกิดกลุ่ม/องค์กร ไม่มกี ารช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เยาวชนเหล่านั้นก็จะเติบโตขึ้นตามยถากรรม ท่ามกลางความเลื่อนไหลของวัฒนธรรม ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ และตามสื่อที่ชักนําสู่ความเสื่อมถอย ของสังคม ด้วยจิตใจที่หยาบกระด้าง การแก่งแย่งแข่งขัน ตัวใครตัวมัน และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป การจัดกิจกรรมเยาวชนเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาชุมชน นับเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า กิจกรรมหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สร้างความรู้ความเข้าใจ ในการพัฒนาศักย ภาพของตนเอง พัฒนาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น สร้างการเป็นผู้นํา และก่อให้เกิดการ จัดตัง้ กลุ่ม/องค์กร ตลอดถึงมีส่วนร่วมในการคิด วางแผน ตัดสินใจ การแก้ไขปัญหาของสังคม และการ มีสว่ นร่วมในทางการเมือง เป็นอย่างดีเสมอมา ซึ่งในการจัดกิจกรรมครัง้ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพผูน้ ําเยาวชน ให้มคี วามรูค้ วามสามารถ ในด้านการพัฒนาตนเอง พัฒนา กลุ่ม/องค์ กร/สังคม/ชุมชนท้องถิ่น ตลอดถึงเรียนรู้ดา้ นการสื่อสารเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนา 2. เพื่อเสริมสร้างความรักความสามัคคี และความเข้าใจอันดีแก่กลุ่มเยาวชนในเขตชุมชนเมือง 3. เพื่อการจัดตัง้ กลุ่ม/องค์กร และเชื่อมร้อยเครือข่ายองค์กรเยาวชนให้ครอบคลุมทุกชุมชน


4. เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เยาวชนได้มสี ่วนในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมแก้ไข ปัญหา ร่วมพัฒนาชุมชน-ท้องถิ่น ร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณี และเป็นการปลุกจิตสํานึกให้ เยาวชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของชุมชนอย่างแท้จริง 5. เพื่อ ให้ เ ยาวชนได้ รู้เ ท่ า ทัน ต่ อ กระแสความเปลี่ ย นแปลงในสัง คม รู้ เ ท่ าทั น สื่ อ เพื่ อสร้ า ง ภูมิคุ้มกั น และเฝูาระวั ง ดู แลสั งคม ชุมชน ท้องถิ่น ให้ป ลอดภัย จากกระแสวัฒนธรรมแปลกปลอม พร้อมทั้งมีความกล้าทีจ่ ะแสดงออกในทางที่ดี กล้าคิด กล้าทํา นําไปสู่การพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ต่อไป


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.