March 2015
Vol.22 Showcase Digital Magazine Free download オンラインマガジン
Artist Interviews Design Illustration Photography Fashion Music Motion/Film Lifestyle
Showcase Digital Magazine Free download
TEAM Editor numpong mudcome Columnist Khatthleeya Srikanta Sukkanok Thongsuk จรณ์หมีขาว 12091979 Py Indie Campfire Nattawat Sombat Graphic designer Smalllike Photographer Khatthleeya Srikanta Sukkanok Thongsuk Smalllike Bazstation Khingiesss Disc jockey Viewplusplay Dj Boss Arnon Chaiyakham Dj Nook Nick Dj Fangko Dj Tony Jabb
“เขียนบันทึกการเดินทางเก็บไว้ เมื่อเราได้กลับมาอ่านอีกครั้ง ในวันที่เราหยุดนิ่ง.... เหมือนต่อไฟให้อยากเดินทางต่อ” ผมดีใจมากที่ได้พบคุณอีก ในการเดินทางนี้... น�ำพงศ์ หมุดค�ำ บรรณาธิการ
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
VIEWPLUSMAG www.facebook.com/viewplusmagazine issuu.com/viewplusmag Contact : Tel. 086-194-5747 E-mail : viewplusmag@gmail.com 134/42 Moo.1 Tonpao Sankumphang , Chiang Mai 50130
contents March 2015
vol.22 -artKaptor FKFT. Wanut Sriwichai -musicU-Saraz
เปิด Live House ในเมืองไทยจะได้ไหม by ฟังใจ -film-
ยอดมนุษย์ -Writer-
ความฝันของจีแฮ
event event
Chiang Mai Photo Festival 2015 20 - 28 FEB. 2015 Chiang Mai, Thailand
Photo by Piyarat Jeasukon , Akcarapop Intawong , Panutat Ketjareon
event
Tuktunteung. Slow life. Love. Smile. Happy.
7 Mar. 2015 Overstand / Chiang Mai, Thailand
Photo by Baz Station
“ice-cream”
COVER artist BY
Kaptor
Kaptor Chiang Mai ,Thailand Contact : www.facebook.com/ KaptorStore
Kaptor
Kaptor
Kaptor
Kaptor
Kaptor
Kaptor
Kaptor
Kaptor
Kaptor
Kaptor
FKF
FT. Bangkok ,Thailand Contact : www.facebook.com/ AboutFKFT
FKFT.
FKFT.
FKFT.
FKFT.
FKFT.
FKFT.
FKFT.
FKFT.
FKFT.
Wanut Sriwichai
Chiang Mai ,Thailand Contact : www.facebook.com/mellowxmood
Motive (เหตุ-เคลื่อน-ไป) หากลองสังเกตสิ่งต่างๆที่อยู่รอบกายคุณจะมอง เห็นสิ่งต่างๆที่ก�ำลังไหลผ่านกาลเวลา หากลองมอง อยู่ด้วยการ รอคอย เช่นในที่นี้ ที่ต้องใช้การมอง ด้วยสายตาอันยาวนาน ผ่านกล้อง ผ่านการใช้คนที่ เป็นวิธีที่ท�ำให้เห็นการ เคลื่อนที่ไปของเวลาผ่านรอบ ตัวเราผ่านสถานที่ต่างๆในที่นี้เป็นวัดและหากเรา สามารถตั้งกล้องได้เป็นเวลานา นมากๆคุณก็อาจจะ เห็นการบุบสลายตัวของสถานที่นั้นๆก็เป็นได้
Wanut Sriwichai
Wanut Sriwichai
Wanut Sriwichai
Wanut Sriwichai
Wanut Sriwichai
Wanut Sriwichai
Wanut Sriwichai
music
U-Saraz
“ การที่คนๆ หนึ่งจะได้พบกับความรักที่ใฝ่หาที่สวยงามตรง ใจไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย บางครั้งอาจต้องรอกันทั้งชีวิต ดังนั้น เมื่อเรามั่นใจว่าเราได้พบกับความรักนั้นแล้วจงพยายาม ไขว่คว้ามันไว้ให้ได้ อย่าถอดใจและปล่อยให้หลุดมือไป ง่ายๆ เมื่อไรที่ท้อให้ถามตัวเองว่า “เต็มที่แล้วหรือยัง ” วง U-Saraz (ยูซาราซ) เป็นการรวมตัวของนักดนตรีจาก เชียงใหม่ 7 คน เริ่มจาก เป้ จักรพงศ์ นักร้องน�ำชาย มีผล งานส่วนตัวออกมาอยู่ก่อนแล้ว และเวลาไปออกงานเล่น ดนตรีก็จะมีเพื่อนๆ นักดนตรีไปเล่นแบคอัพให้ พอไปเล่น ด้วยกันบ่อยๆ เป้จึงได้ชวนเพื่อนๆ กลุ่มนี้มาท�ำวงด้วยกัน เลย ซึ่งแต่ละคนล้วนจบมาจากสถาบันเดียวกัน คือวิทยาลัย ดุริยศิลป์ มหาวิทยาลัยพายัพ มีเพียง ดาด้า มือกีตาร์เท่านั้น ที่จบจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ก็มีดีกรีเป็นอดีตสมาชิก วง H.R.U. เรื่องฝีไม้ลายมือนี่ไม่ต้องห่วงกันเลย หลังจาก นั้นก็ได้ชักชวน บี พรรณเพชร นักร้องหญิงเข้ามาร่วมวง ท�ำให้วงยูซาราซมีจุดเด่นที่มีนักร้องน�ำ 2 คน เป็นชายและ หญิง ร้องประสานกันในแนวเพลงวาไรตี้ป๊อบ ส่วนที่มาของ ชื่อวง ยูซาราซ มาจากค�ำว่า “ยูสลาด” ซึ่งเป็นภาษาเหนือ แปลว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว ตอนที่ตั้งชื่อวงนี้ขึ้นมา เป็นการ คิดเพียงเล่น ๆ สนุกข�ำขันกันเท่านั้น เพราะทุก ๆ คนล้วน เป็นคนภาคเหนือทัง้ สิน้ แล้วก็ออกเสียงให้ดเู ก๋ขนึ้ เป็น ยูซาราซ เราก็ใช้ชื่อนี้มาตลอดโดยไม่คิดอะไร พอคิดจะเปลี่ยนชื่อวง ใหม่ให้ดูจริงจังขึ้นก็ดูเหมือนจะถล�ำลึกกันไปแล้ว หลายๆ คนรู้จักในชื่อนี้ไปเรียบร้อย ก็เลยเป็นไงก็เป็นกัน “ยูซาราซ”
สมาชิกภายในวงมีดังนี้ เป้ - ร้องน�ำชาย บี - ร้องน�ำหญิง บอล - คีย์บอร์ด ดาด้า - กีตาร์ ณัฐ - กลอง ยิ้ม - แซ็กโซโฟน โน้ต - เบส www.facebook.com/usarazband
Play Video
MV เพลง “เต็มที่แล้วหรือยัง” ศิลปิน U-Saraz https://youtu.be/L_Y7YEDl-Pg
music
“เปิด Live House ในเมืองไทย จะได้ไหม”
by: py fungjai
เปิด Live House ในเมืองไทย จะได้ไหม? ไลฟ์เฮาส์ หรือ ‘Live House’ นั้น คือสถานที่ ให้เช่าเพื่อจัดงานแสดงดนตรีหรือคอนเสิร์ตโดยเฉพาะ มีต้นก�ำเนิดจากประเทศญี่ปุ่นในช่วง 1960s-1970s ซึ่งวงดนตรีต่างๆ โดยเฉพาะวงดนตรีอิสระจะเช่าไลฟ์เฮาส์เพื่อแสดงและขาย ตั๋วคอนเสิร์ตให้กับแฟนเพลงที่มาชม จนกลายเป็นวัฒนธรรมดนตรีสดที่ส�ำคัญของญี่ปุ่นเลย ทีเดียว
การ์ตูนเรื่อง BECK (ภาพจาก: http://animesbrrevolution.blogspot.com/2012/12/beck-manga.html)
วัฒนธรรมของไลฟ์เฮาส์น่าจะเริ่มเป็นที่รู้จัก ในหมู่คนไทยผ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง “BECK ปุปะจังหวะฮา” แล้วก็ได้มีคนที่ได้ พยายามสร้างไลฟ์เฮาส์ขึ้นมาในเมืองไทย เหมือนกัน เช่น ร้าน Live House ของพี่ต้า วง Paradox แต่น่าเสียดายที่กลับไม่พบกับ ความส�ำเร็จอย่างในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 58 จากการชักชวนของ คุ ณ จิ น มื อ กลองวง aire และหั ว หน้ า ค่ายDessin the World ผมได้มีโอกาสนั่ง สนทนากับคุณนิชมิ รู ะ ฮิโตชิ เจ้าของไลฟ์เฮาส์
ในโตเกีย่ ว ชือ่ ว่า FEVER (fever-popo.com) กับพีป่ อ๊ ก หัวหน้าค่าย Panda Records และคุณ พุธ เจ้าของร้านไลฟ์เฮาส์ชื่อว่า Harmonica ที่ได้ปิดตัวไปเมื่อปลายปีที่แล้วคุณนิชิมูระได้ พบกั บ วงไทยหลายๆวงที่ ไ ปเล่ น ดนตรี ที่ ญี่ปุ่น จึงสนใจที่จะพาวงญี่ปุ่นมาเล่นที่เมือง ไทย และอยากทราบความเป็นไปได้ของการ ท�ำไลฟ์เฮาส์ในเมืองไทยด้วย จากบทสนทนาที่เกิดขึ้น ท�ำให้ผู้เขียนอยาก สรุ ป ความคิ ด จากการสนทนาในครั้ ง นี้ ม า เขียนเป็นบทความนี้ครับ
Live House มีส่วนท�ำให้วงการดนตรีอิสระ ญี่ปุ่นเติบโต ไลฟ์เฮาส์คือสถานที่ที่เปิดโอกาสให้วงดนตรี อิ ส ระได้ เ ช่ า พื้ น ที่ ที่ เ หมาะสมส� ำ หรั บ แสดง ดนตรีสดขนาดเล็ก และสามารถขายตั๋วให้ คนเข้ามาชมได้ ซึ่งก่อให้เกิดวัฒนธรรมแบบ ไลฟ์เฮาส์ที่แฟนเพลงจะมาช่วยสนับสนุนวง ดนตรีที่ตัวเองชอบด้วยการซื้อตั๋วคอนเสิร์ต และการรวมกลุ ่ ม ก้ อ นของวงดนตรี นั้ น ก็ ท�ำให้วงรุ่นพี่สามารถช่วยดันวงรุ่นน้องให้ขึ้น ไปเกิ ด ได้ นอกจากนี้ ไลฟ์ เ ฮาส์ จ ะไม่ ใ ช่ ผับบาร์ ไม่เน้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ท�ำให้
เยาวชนที่ยังไม่ถึงวัยดื่มสามารถเข้าไปชม การแสดงได้ ไม่เหมือนหลายๆประเทศอย่าง เช่นไทยหรืออเมริกา ที่การแสดงดนตรีสด ขนาดเล็กมักอยู่ในผับบาร์ มีบทความหนึ่งที่เขียนในปี 2009 เขียนว่า ไลฟ์เฮาส์ในญี่ปุ่นน่าจะมีประมาณ 1,000 แห่ง ซึ่งมีในโตเกียวกว่า 300 แห่งด้วยกัน ท� ำ ให้ เ ห็ น เลยว่ า ไลฟ์ เ ฮาส์ ที่ ญี่ ปุ ่ น นั้ น ส�ำคัญต่อวงการดนตรี อิ ส ระ ใต้ ดิ น และ นอกกระแสมากขนาดไหน
ไลฟ์เฮาส์ที่ญี่ปุ่น (ภาพจาก: japanmusicmarketing.com/article3.htm)
ท�ำไม Live House ในเมืองไทยไม่เกิด? ผู้เขียนคิดว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่อาจท�ำให้ธุรกิจไลฟ์เฮาส์ไม่ส�ำเร็จใน ประเทศไทย ซึ่งขอยกตัวอย่างดังนี้
1. กลุ่มลูกค้าของตลาด Live House ใน ปัจจุบันยังไม่เพียงพอ 1) ศิลปินใหญ่/ค่ายใหญ่ ในประเทศไทยนั้น คอนเสิร์ตของศิลปินดัง จากค่ายใหญ่มักจะเป็นสเกลที่ค่อนข้างใหญ่ คนดู ห ลายพั น คน ซึ่ ง ก็ จ ะไปเช่ า ฮอลล์ คอนเสิร์ตขนาดใหญ่ซึ่งมีไม่กี่แห่งในประเทศ สนามกีฬา หรือสถานที่เปล่าใหญ่ๆอย่างใน หุบเขา ซึ่งก็ไม่เหมาะกับสเกลของไลฟ์เฮาส์ที่ มีคนดูเพียงหลักสิบหรือร้อยต้นๆ แต่ก็มีเหมือนกันที่ค่ายใหญ่จะจัดงานสเกล เล็ก แต่ก็มักจะจัดตามผับตามบาร์ สาเหตุ หนึ่ ง อาจเพราะค่ ายเพลงบางค่า ยมีสัญญา ความร่วมมือกับบริษัทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บางราย ที่จะไปจัดการแสดงในร้านผับบาร์ที่ มีสัญญากับบริษัทเครื่องดื่มเหล่านั้น ท�ำให้ ไม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งเช่ า ไลฟ์ เ ฮาส์ เ พื่ อ การแสดง ดนตรีเลย อีกอย่างก็คือร้านผับบาร์เหล่านั้น ก็ จ ้ า งวงดนตรี เ หล่ า นั้ น เพื่ อ สมนาคุ ณ ต่ อ ลูกค้า หรือเพื่อเป็นการส่งเสริมการขายของ ร้านเขาเอง
2) ศิลปินเล็ก/ค่ายเล็ก ในทางตรงกั น ข้ าม วงการดนตรีอิสระที่มีศิลปิน เบอร์เล็กๆ หรือเป็นค่ายเล็กๆ ก็ไม่ค่อยมีเงินที่จะ เช่าไลฟ์เฮาส์เพื่อจัดการแสดงอยู่ดี ท�ำให้ต้องไป แสดงตามผับบาร์ที่ค่าเช่าถูกกว่า หรือสามารถหาวิธี ต่อรองให้ถูกได้
aire ขณะแสดงที่ Harmonica (ภาพจาก: www.facebook.com/HarmonicaBkk)
POLYCAT ขณะแสดงที่งานเห็ดสด 10 ม.ค. 58
2. วัฒนธรรมการเสพดนตรีสด 1) ดนตรีสดกับร้านเหล้า ดนตรีสดกับร้านเหล้าและผับบาร์ มักเป็นของคู่กัน เสมือนว่าดนตรี เป็นของแกล้มเหล้า ท�ำให้มีปัญหา ตามมาหลายอย่าง เช่น ปกติแล้ว การชมดนตรีสดในร้าน เหล้าท�ำได้โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ท� ำ ให้ ก ารซื้ อ ตั๋ ว เพื่ อ ดู ว งดนตรี ใ น ร้านเหล้าเป็นเรื่องแปลกประหลาด ส่งผลให้ตั้งราคาค่าตั๋วเข้าชมสูงๆไม่ ได้เพราะชินกับความฟรี เมื่อพฤติกรรมการชมดนตรีในร้าน เหล้าเป็นความเคยชิน ท�ำให้คนดูไม่ ค่อยสนใจกับเรื่องคุณภาพของโชว์ มากนัก คือ เรื่อง แสงสี เป็นต้น
2) ความรู้สึกคุ้มค่า เวลาที่ ไ ปดู โ ชว์ ด นตรี น อกกระแส ส่ ว นหนึ่ ง ที่ เ กิ ด จากเหตุ ผ ลในข้ อ ด้านบน คือราคาตั๋วเข้าชมมักตั้งสูงๆ ไม่ได้ ผู้จัดงานจึงต้องท�ำให้โชว์ที่จัด นั้นคุ้มค่าที่จะเข้าชม ท�ำให้ต้องจัด งานที่มีวงดนตรีเล่นกันเยอะๆ แล้ว แต่ละวงเล่นกันได้วงละไม่กี่เพลง ซึ่ง สุดท้ายแล้วก็ท�ำให้ประสบการณ์การ ชมดนตรีสดนั้นดร็อปลงอย่างช่วย ไม่ได้ แต่ในตอนนี้ จะเห็นได้ว่ามีงานอีเว้ นท์ ที่ ข ายตั๋ ว เก็ บ ค่ า เข้ า ชมเพิ่ ม ขึ้ น เรื่อยๆ ซึ่งได้มีส่วนช่วยท�ำให้คนคุ้น ชินกับงานประเภทนี้มากขึ้น และผู้ เขี ย นเห็ น ว่ า จะมี ส ่ ว นช่ ว ยในการ แก้ ไ ขปั ญ หาข้ า งต้ น ในได้ อ นาคต อย่างแน่นอน
ท�ำอย่างไรให้ Live House ในเมืองไทยเกิด? (และอยู่ได้อย่างยั่งยืนด้วย) การที่จะท�ำให้ธุรกิจ Live House ในเมือง ไทยเกิด และอยู่ได้อย่างยั่งยืนนั้น ต้องมี ปัจจัยหลายประการด้วยกัน ซึ่งอาจต้องมีกล ยุทธบางอย่างที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความ ส�ำเร็จขึ้นได้ คือ 1.ไลฟ์เฮาส์ต้องมีส่วนร่วมในชุมชนดนตรี นอกกระแส ผู ้ ที่ จ ะท� ำ ไลฟ์ เ ฮาส์ ค วรมี สั ม พั น ธ์ อั น ดี กั บ กลุ ่ ม ศิ ล ปิ น และค่ า ยเพลงนอกกระแส ยิ่งรู้จักหลายกลุ่มมากก็ยิ่งดี เพื่อที่จะได้มี การสลับสับเปลี่ยนวงดนตรีที่มาแสดงอีก ด้วย แล้วก็ควรพยายามร่วมสร้างกิจกรรม ต่างๆเพื่อดึงดูดผู้คนให้มาสนใจกิจกรรม เหล่านั้นอยู่อย่างสม�่ำเสมอ เพราะหากวงการ ดนตรี น อกกระแสสามารถมี จ� ำ นวนแฟน เพลงที่มากขึ้น ก็จะสามารถท�ำให้เงินที่หล่อ เลี้ยงวงการดนตรีนอกกระแสพัฒนาขึ้นตาม ไปด้วย ท�ำให้มีโชว์มากขึ้น และไลฟ์เฮาส์ก็ จะงานมากขึ้นและต่อเนื่องนั่นเอง
2. ประสบการณ์ในไลฟ์เฮาส์ตอ้ งดีกว่าร้านเหล้า หากว่าประสบการณ์การชมดนตรีสดในร้าน เหล้าและไลฟ์เฮาส์ไม่ต่างกัน ก็จะท�ำให้คน จัดงานฯรู้สึกว่าไม่จ�ำเป็นต้องเลือกจัดงานใน ไลฟ์เฮาส์ก็ได้ ผู้เขียนขอแนะน�ำสิ่งเหล่าที่จะ ช่วยท�ำให้ไลฟ์เฮาส์ดีกว่าร้านเหล้าได้ 1) ปรับปรุงคุณภาพเสียง ส่วนหนึ่งที่ส�ำคัญอย่างมากส�ำหรับการชม ดนตรีสดก็คือเรื่องคุณภาพเสียง ซึ่งมาจาก ทั้ ง คุ ณ ภาพอุ ป กรณ์ ความสามารถของ Sound Engineer แต่ที่มักถูกละเลยก็มี อย่างเช่น ทีมงาน backstage หรือที่เรียกว่า ‘Roadie’ ที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการ ตระเตรียมอุปกรณ์ จัดวางอุปกรณ์ และการ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อท�ำให้คุณภาพ เสี ย งและความต่ อ เนื่ อ งของการแสดงไม่ สะดุด
คุณพุธได้เล่าถึงประสบการณ์ทไี่ ด้เห็นใน Live House ของญี่ปุ่นไว้หลายอย่าง เช่น ทางวงจะต้องส่ง Rider (ลิสต์อุปกรณ์ที่ใช้งาน) และ Stage Plot (ภาพแปลน อธิบายต�ำแหน่งการยืนของนักดนตรีและการจัดวาง ของอุปกรณ์) มาให้ทีมงานของไลฟ์เฮาส์ล่วงหน้า ซึ่ง ช่วงบ่ายหลายชั่วโมงก่อนงานเริ่ม ทีมงานของไลฟ์ เฮาส์และของวงเองจะต้องมาประชุมเพื่อตระเตรียม การท�ำงาน เพราะนอกจากจะท�ำให้การสับเปลี่ยน ระหว่างวงง่ายและเร็วขึ้นแล้ว ก็เพื่อให้ซาวด์ออกมา ได้อย่างที่ควรจะเป็น เพราะการจัดเรียงที่แตกต่าง กั น นิ ด เดี ย วก็ จ ะส่ ง ผลให้ ซ าวด์ ที่ อ อกมาต่ า งกั น ความใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆเหล่านี้มันส่งผล ให้กับผู้ฟังจริงๆนะ
ตัวอย่าง Stage Plot
(ภาพจาก: www.radionashvilleband.com/Radio-Nashville-Stage-Plot.jpg)
2) แสงและ visual ระบบแสงสีเป็นสิ่งที่หลายๆคนมองข้ามไป เพราะมัวแต่ไปใส่ใจเรื่องเสียง แต่การจัดแสง และ visual ที่ ดี นั้ น จะเป็ น สิ่ ง ที่ เ สริ ม ให้ ประสบการณ์การชมดนตรีสดนั้นน่าประทับ ใจขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นอีกวิธีที่จะฉีกออกไปจาก ดนตรีสดในร้านเหล้าตามปรกติ 3) ประสบการณ์ของศิลปินและทีมงาน นอกจาก การพัฒนาประสบการณ์ให้กับผู้ชม แล้ว อีกสิ่งที่น่าท�ำก็คือ ท�ำให้ประสบการณ์ ของศิลปินรวมถึงทีมงานดีขึ้น เช่น การมีห้อง พักห้องแต่งตัวศิลปิน ห้องเก็บอุปกรณ์เครื่อง ดนตรี ห้องพักทีมงาน เป็นต้น
3.ไลฟ์เฮาส์ต้องใช้งานได้หลายอย่าง (Multipurpose) เจ้าไลฟ์เฮาส์จะต้องแบกรับค่าเช่าค่า บ�ำรุงอยู่เสมอ แม้ในวันที่ไลฟ์เฮาส์ไม่มี งาน เพราะฉะนั้นทางแก้ที่ดีที่สุดทาง หนึ่งก็คือใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์มาก ที่สุด ซึ่งคุณนิชิมูระได้ยกตัวอย่างสิ่งที่ FEVER ท�ำ อย่างเช่น ท�ำร้านกาแฟ และให้ เ ช่ า พื้ น ที่ เ ป็ น ห้ อ งซ้ อ มดนตรี ซึ่งบางคนอาจมีไอเดียเสริมอย่างเช่น การเปิดให้เป็นสตูดิโอถ่ายหนัง หรือ ท�ำงานโปรดักชันก็ได้ ซึ่งจะท�ำให้ไลฟ์ เฮาส์มีรายได้เข้ามามากเพียงพอที่จะอยู่ รอดได้
ไลฟ์เฮาส์ของโรงเรียนดนตรี Rockademy ที่ดัดแปลงเพื่อถ่ายท�ำรายการ The Voice (ภาพจาก: www.facebook.com/RockademyThailand)
4. เครือข่าย (Network) ผู้จัดงานฯ และ ไลฟ์เฮาส์อื่นๆ เครือข่าย หรือ ‘Network’ นั้นเป็นสิ่งส�ำคัญ ในทุกๆวงการ ซึ่งการรู้จักมักจี่กับศิลปิน ค่ายเพลง ผู้จัดงานฯ และไลฟ์เฮาส์รวมทั้ง ร้ า นเหล้ า ที่ จั ด งานดนตรี ส ดอื่ น ๆจะมี ประโยชน์ดังนี้ 1) ศิลปินและค่ายเพลง การมีสัมพันธ์ที่ดีกับศิลปินและค่ายเพลงก็มี ประโยชน์ชัดๆอยู่แล้ว ก็คือเมื่อไรที่เขามีงาน ที่ต้องการจัด ให้เขานึกถึงเราก่อนให้ได้ 2) ผู้จัดงานฯ เหมือนๆกับศิลปินและค่ายเพลง การได้เป็น ที่รู้จักและมีสัมพันธ์อันดีกับผู้จัดงานฯนั้น ก็ เพื่อให้เขานึกถึงเสมอเมื่อเขาอยากจัดงาน และมาจัดที่ไลฟ์เฮาส์ในที่สุด 3) ไลฟ์เฮาส์และร้านเหล้าอื่นๆ แม้ว่าพวกเขาเหล่านั้นคือคู่แข่ง แต่บางครั้ง การร่วมมือก็เป็นสิง่ ทีด่ เี หมือนกัน โดยเฉพาะ
การน�ำเข้าวงดนตรีจากต่างจังหวัดหรือต่าง ประเทศที่เ ขาต้ อ งเดิ นทางไกลๆ การได้ ท�ำการแสดงในหลายๆที่ที่อยู่ใกล้เคียงกัน จะช่วยลดต้นทุนให้กับผู้จัดงานหลายๆเจ้า ที่ จ ะช่ ว ยกั น แบ่ ง เบาภาระค่ า เดิ น ทางได้ ท�ำให้ราคาว่าจ้างต่องานถูกลง นอกจากนี้ การประสานงานกันจะช่วยให้ งานไม่ชนกัน ไม่จัดในวันเดียวกัน ซึ่งจะ ท�ำให้คนดูของแต่ละงานต้องถูกแบ่งออกไป 5. ราคาและส่วนแบ่งที่เป็นธรรม ข้อสุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอเสนอแนวคิดการคิด ราคาค่ า ใช้ จ ่ า ยส� ำ หรั บ ผู ้ จั ด งานฯและวง ดนตรีอิสระที่เป็นธรรม ซึ่งจะช่วยส่งเสริม ให้มีการจัดงานเพิ่มขึ้นได้ โดยคุณนิชิมูระ ได้อธิบายวิธีการที่ทาง FEVER ได้ท�ำอยู่ ดังนี้
ค่าตั๋วมาตรฐานที่ 2,000 เยน (ประมาณ 550 บาท) ส่วนแบ่งค่าตั๋วแปรผันตามจ�ำนวนผู้ชม ผู้ชม 0-50 คน : ส่วนแบ่งค่าบัตรที่ให้ผู้จัดฯ 0% ผู้ชม 51-100 คน : ส่วนแบ่งค่าบัตรที่ให้ผู้จัดฯ 30% ผู้ชม 101-200 คน : ส่วนแบ่งค่าบัตรที่ให้ผู้จัดฯ 60% ผู้ชม 201 คนขึ้นไป : ส่วนแบ่งค่าบัตรที่ให้ผู้จัดฯ 70% วิธีดังกล่าว จะช่วยดึงดูดให้คนอยากมาจัดงานมากขึ้น เพราะไม่ต้องแบกรับความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงนั้นจะตก มาที่เจ้าของไลฟ์เฮาส์แทน กรณีที่ยกมานี้เป็นตัวอย่าง เท่านั้น ซึ่งอาจมีวิธีอื่นที่เหมาะสมกว่าก็ได้ Live House ในเมืองไทยท�ำได้แน่ ถ้าร่วมมือกัน ตลาดดนตรีนอกกระแสนั้นยังมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก แถม บางครั้งยังถูกกดดันจากค่ายเพลงรวมทั้งบริษัทขนาด ใหญ่ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพราะฉะนั้น หากว่าเราต้องการ ให้โชว์ดนตรีสดนั้นดีขึ้น ต้องการให้ศิลปินและค่ายเพลง เล็กๆเติบโตขึ้น และธุรกิจไลฟ์เฮาส์เกิดขึ้นได้และอยู่ได้ อย่างยั่งยืน พวกเราทุกคนต้องร่วมมือกัน เหมือนที่พวก ผมได้นั่งโต๊ะสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกันและกันใน วันนั้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆที่อาจเติบโตและเป็นจริงได้ สักวัน
จากซ้ายไปขวา: พาย (ผู้เขียน), พี่ป๊อก, คุณจิน, คุณนิชิมูระ และคุณพุธ
ผู้เขียนขอฝากความคิดในบทความนี้ไปถึงทุกคนด้วยนะครับ ไม่แน่เมืองไทยอาจมีไลฟ์เฮาส์หลายๆแห่งเกิดขึ้น และมีดนตรีสดดีๆให้ชมเยอะๆอย่างในญี่ปุ่นก็ได้ครับ
ติดตามพวกเราได้ตามลิงก์เหล่านี้ ฟังเพลงได้ที่ www.fungjai.com อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจได้ที่ http://blog.fungjai.com ติดตามข่าวสารของเราได้ที่ www.facebook.com/hellofungjai มาเป็นเพื่อนกับเราได้ที่ www.facebook.com/fungjai.jaifung ดูรูปของเราได้ที่ www.instagram.com/hellofungjai เกาะติดสถานการณ์ชองเราได้ที่ www.twitter.com/hellofungjai
Film
เด็กชายคนหนึ่งเค้ามีพ่อที่เป็นคนเก็บขยะ เด็กคนนี้มีความต้องการอยากได้หุ่นไอ้มดแดง ซึ่งเป็นฮีโรที่เค้าชอบ แต่ครอบครัวยากจน จึงไม่สามารถจะซื้อสิ่งของที่เด็กชายต้องการได้ แต่สิ่งที่เด็กชายได้รับกลับมีค่ายิ่งกว่า...
ยอดมนุษย์ ภาพยนตร์โดย ธนา ปัทมาภา
https://youtu.be/6bnRE7guk8E
Play Video
Writer
ความฝันของจีแฮ ผู้เขียน : จรณ์หมีขาว
เสียงกรี๊ดดังสนั่นหวั่นไหว เดินทางเข้าไปเขย่าของเหลวที่หูชั้นใน เมื่อนักร้องนักแสดงสาวคนสวยค่อย ๆ ปรากฏตัวขึ้นมาบนเวที ดุจ เทพนิยาย ไอหมอกค่อย ๆ เบาบางลงทีละนิด เผยให้เห็นใบหน้าที่สวย ได้รูปแบบ V-shape ดวงตากลมโตเป็นประกาย ขนตาโค้งงอนทอดยาว ประหนึ่งสะพานโกลเดนเกต เรียวปากอิ่มเอิบดูเป็นธรรมชาติ เส้นผมยาว เกือบแตะสะโพก ให้ความรู้สึกถึงความนุ่มลื่นเรียบสวย โดยโทมัส ทอร์ และทรวดทรงองค์เอวโค้งเว้าที่ท�ำให้ใครหลายคนลืมความโค้งของโคล อสเซียม ซึ่งทั้งหมดนี้ แม้เธอจะย�้ำนักย�้ำหนาว่ามิใช่เรื่องสลักส�ำคัญอันใด หากเปรียบกับความสามารถของเธอ แต่ก็ปฏิเสธมิได้ที่ใครหลายคนในที่ แห่งนั้น ต่างพากันจ้องมองด้วยสายตาอันชื่นชม เพียงแค่แรกเห็นเธอ เดินก้าวเท้าออกมา และต่อให้มีใครสักคนคิดไปว่า รูปร่างหน้าตาเช่นนี้ ก็อาจพบหาได้ตามร้านหรูยามราตรี เขาก็แสร้งลืมมันด้วยการส่งเสียง กรี๊ด...กรี๊ด...และก็กรี๊ด
ท่วงท�ำนองบรรเลงปลุกเร้า แม้ใบหน้าของนักร้องสาวจะระคน ด้วยความขวยเขิน ทว่าเธอก็ยักย้ายส่ายสะโพกไปตามจังหวะ ดนตรีอย่างแข็งขัน พลางโปรยยิ้มให้กับป้ายไฟที่มีชื่อของเธอใน ความมืดเบื้องล่าง เธอโชว์ทั้งร้องทั้งเต้นผ่านไปหลายบทเพลง เสียงปรบมือและเสียงกรี๊ดยังคงดังสนั่นกึกก้องไปทั่ว แสงจากดวง ไฟถูกปรับให้ทั้งเวทีสว่างขึ้นทันตา พิธีกรหนุ่มหน้ามนเดินออกมา จากฉากหลัง ก้าวฉับ ๆ ไม่กี่ก้าวก็ขอให้ผู้มีเกียรติทั้งหลายช่วย ปรบมือให้กับการแสดงที่เพิ่งจบลงไปอีกครั้ง จนนักร้องสาวออก อาการปลาบปลื้มอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ยังไม่ลืมท�ำท่าส่งจูบให้ผู้ชม “คุณจีแฮครับ คุณรู้สึกอย่างไรกับคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบครั้ง แรกของคุณ” พิธีกรหนุ่มเอ่ยถาม ก่อนจะยิ้มเห็นฟันขาวสวย “จีแฮรู้สึกดีใจมาก ๆ เลยค่ะ บอกตามตรงว่า ไม่เคยคิดมา ก่อนเลยว่าจะมีวันนี้ มันดีใจจนอธิบายเป็นค�ำพูดไม่ถูก แต่ก็ ขอบคุ ณ ทุ ก คนมากๆ ขอบคุ ณ ในความรั ก ที่ มี ใ ห้ กั บ จี แ ฮ” เธอตอบด้วยน�้ำเสียงสั่นเครือเล็กน้อย
“เราได้รู้มาว่า ในตอนแรกที่คุณคิดจะเข้าวงการ ทางครอบครัวของคุณ ไม่เห็นด้วย คุณผ่านจุดนั้นมาได้อย่างไรครับ” “ต้องขอบอกว่า ครอบครัวของจีแฮเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างจะมีความ คิดติดกับภาพลักษณ์ของความดีงามในอดีตอยู่บ้าง โดยเฉพาะคุณแม่ของ จีแฮ แต่ตอนนี้ท่านเข้าใจมากขึ้นแล้วค่ะ ซึ่งที่จริงจีแฮว่าท่านเป็นห่วงลูกสาว มากกว่าค่ะ ท่านกังวลเกรงว่าจะดูไม่งามตามแบบแผนเพราะหวงลูกสาว มาก แต่ก็อย่างที่เคยบอกแหละค่ะ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่จีแฮรัก จีแฮก็พิสูจน์ให้ ท่านได้เห็นแล้ว ว่าจีแฮท�ำได้และท�ำได้ดีด้วย” “โอ้...ครอบครัวของคุณต้องภูมิใจในค�ำตอบนี้มากแน่ ๆ เพราะแม้แต่ พวกเราในที่นี้ ยังอดภูมิใจมิได้เลยที่ประเทศของเรามีนักร้องนักแสดงสาวที่ เปี่ยมไปด้วยความตั้งใจเช่นคุณ เอาล่ะครับ ค�ำถามต่อไป คุณอยากจะฝาก อะไรให้กับเยาวชน น้อง ๆ ที่มีความฝัน อยากจะประสบความส�ำเร็จแบบ คุณ” “ส�ำหรับจีแฮ จีแฮเชื่อว่าเราทุกคนมีความฝันค่ะ และความฝันก็เป็นสิ่ง สวยงาม แต่ถ้าเราอยากให้ความฝันกลายเป็นความจริง เราก็ต้องยอมรับว่า ในความฝันมีอุปสรรค จะมากหรือน้อย เราก็ต้องพยายามให้ถึงที่สุด ไม่ใช่ เอาแต่นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่กับความฝัน เพราะจีแฮเชื่อค่ะ...เชื่อว่าถึงที่สุดแล้ว ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีพื้นที่ส�ำหรับความฝันที่ไม่ลงมือท�ำ”
“เป็นค�ำตอบที่ยอดเยี่ยมมากครับ ผมว่าทุกท่านที่อยู่ในที่นี้ก็คิดเช่นนั้น” พิธีกรหนุ่มกล่าวเสริมพลางส่งสายตาเว้าวอน ผู้ชมปรบมือและส่งเสียงกรี๊ดดัง สนั่นอีกครั้ง “ค�ำถามสุดท้ายครับ ก่อนที่เราจะกลับไปสู่ความสุขสนุกสนานกับ คอนเสิร์ตของคุณ” “อี...” “อะไรนะคะ!” นักร้องสาวท�ำหน้าตางุนงง “อี...” “คุณจะถามว่าอะไรคะ” นักร้องสาวเริ่มมีอาการหน้าถอดสี “อีแล! เบาเพลงมึงหน่อยได้ไหมวะ กูจะฟังหวย อีนี่! เปิดดังได้ยินไป เจ็ดบ้านแปดบ้าน แล้วเพลงห่าอะไรของมึง ฟังก็ฟังไม่รู้เรื่อง มึงลงมานี้เลย มาช่วยกูขายของ จะให้กูพูดอีกกี่ครั้ง ไม่มีพื้นที่ส�ำหรับความฝันที่ไม่ลงมือท�ำ หรอกนะโว้ย!” “เออรู้แล้ว...เดี๋ยวลงไป” นกแลจ�ำใจใช้ปลายนิ้วของเธอปิดหน้าต่างยูทูป ก่อนจะเดิน กระฟัดกระเฟียดกระแทกส้นเท้าลงบันไดไป จรณ์ ห มี ขาว เพจงานเขีย น จรณ์หมีขาว www.facebook.com/chornmheekaw
ติดต่อโฆษณา 086 -194-5747