วารสาร ฬ. จุฬา vol 1 april 2016

Page 1

2015-03-18 CU_MAG_ISSUE001_COVER_A_SIDE.pdf

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

1

3/21/16

9:38 AM



ร้อยบุบผาเป็นมาลัยกราบแทบบาท ขัตติยะราชนารีศรีสมร

องค์สมเด็จพระเทพฯ สิรินธร ข้าบวรทั้งแผ่นดินล้วนยินดี

สองเมษาวันพระราชสมภพ เวียนบรรจบครบรอบวรดิถี

ชาวจุฬาฯร่วมชื่นชมพระบารมี น้อมชีวีน้อมใจถวายพระพร

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน ขอพระองค์ทรงส�ำราญไม่ถ่ายถอน พระเกียรติยศปรากฏขจายขจร พสกนิกรเทิดไว้ในใจตน

พระเสด็จทางใดให้ร่มเย็น พระทรงเป็นปิ่นแก้วทุกแห่งหน

พระทรงเป็นยิ่งกว่าดวงกมล ไทยทุกคนน้อมจงรักและภักดี

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (น.ส.พรรณทิพย์ โรจนถาวร ประพันธ์)

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 1

3/21/16 1:38 PM


บทบรรณาธิการ

เปิดบ้าน ฬ.จุฬา

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน ผมในนามกองบรรณาธิการขอถือโอกาสเปิดบ้าน “ฬ.จุฬา” ต้อนรับ ท่านผู้อ่านทุกท่านอย่างเป็นทางการนะครับ ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะมีค�ำถามว่าท�ำไมกองบรรณาธิ ก าร ถึ ง เลื อ กฤกษ์ เ ปิ ด บ้ า น (หลั ง เดิ ม ) ที่ ต กแต่ ง ใหม่ ในเดื อ นเมษายนนี้ ก็ เ พราะส� ำ หรั บ ชาว ฬ.จุฬา แล้วนั้น เดื อ นเมษายนนี้ ถื อ เป็ น ฤกษ์ ม หามงคลอย่ า งยิ่ ง เพราะเป็ น เดื อ นแห่ ง วั น คล้ า ยวั น พระราชสมภพ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อุปนายิกา ผู้อ�ำนวยการ สภากาชาดไทยของเรา และยิ่ ง ไปกว่ า นั้ น ส� ำ หรั บ คนไทยทุ ก คนแล้ ว เดื อ นเมษายนก็ เ ป็ น เดื อ นมหาสงกรานต์ ห รื อ วั น ขึ้ น ปี ใ หม่ ของชาวไทยเรานั่นเอง ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งในการที่จะเริ่มต้นสิ่งดีๆ ใหม่ๆ ครับ นอกจากนั้นแล้ว วารสาร ฬ.จุฬา ฉบับปฐมฤกษ์ ยังได้รับพระเมตตาจากสมเด็จพระวันรัต เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ผ่านบทความ ให้ข้อคิดเตือนใจ “มรสุมทางใจ” ซึ่งถือว่าเป็นมงคลอันสูงส่งที่บ้าน ฬ.จุฬา ได้รับอีกด้วยครับ ส�ำหรับในฉบับปฐมฤกษ์นี้ ผมและทีมงานทุกคน ก็ตั้งใจเต็มที่ในการคัดสรรเรื่องราวดีๆ มาฝากท่านผู้อ่าน และเพือ่ ความจุใจกับเนือ้ หา เราได้นำ� เรือ่ งราวความเป็นทีส่ ดุ ของบ้าน ฬ.จุฬา มาบรรจุลงในเล่ม ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ งราวของโรงพยาบาลเอง จากอาคารอ�ำนวยการ ซึง่ เป็นอาคารแรกสุดของโรงพยาบาล ไปจนถึงอาคารทีค่ รบครัน และทันสมัยทีส่ ดุ อย่าง อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ อีกทั้งเรื่องราวที่โดดเด่นจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ภายใต้ concept “one chula” ของเราทัง้ 2 องค์กร ซึง่ น่าติดตาม เป็นอย่างยิ่งครับ ผมหวังว่าการพบกันใหม่ครัง้ นี้ ของพวกเราชาว ฬ.จุฬา จะท�ำให้เราทุกคนในบ้านเลขที่ 1873 นี้ รูส้ กึ ได้ถงึ ความรัก ความอบอุน่ และความทุม่ เท ของทุกคนในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ ในการมุ่งมั่นพัฒนาบ้าน ฬ.จุฬา ให้เป็นองค์กรในฝันของเราและคนไทยทุกคน... สวัสดีปีใหม่ไทยครับ ผศ. (พิเศษ) นพ.สุ ริ น ทร์ อั ศ ววิ ทูร ทิ พย์

Contents

สารบัญ

กองบรรณาธิการ ISSN : 2465-4639 เจ้าของโดย : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดท�ำโดย บริษัท เนเบอร์ มีเดีย จ�ำกัด บทความ I น.ส.นุ ช จิ ร า วงศ์ จิ ต ราภรณ์ , น.ส.สุชาวินันท์ พินทะกัง ประสานงาน I นายศักดิ์สิทธิ์ จิตอนันตพร ศิลปกรรม I นายธงชัย กนกากรนนท์ ช่างภาพ I นายศักดิ์สิริ ทรัพย์ยิ่ง

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 2

ณ จุฬา Chula Excellence Center เกียรติประวัติชาวจุฬาฯ บ้านเลขที่ 1873 บอกเล่าก้าวทันหมอ เรื่องจากปก Chula Round up

06 07 08 10 12 14 18

MAN OF THE MED เรื่องเล่า เข้าวอร์ด ว่าที่คุณหมอคนดี สารพันเรื่องยา SHE I SEE YOU by หมอชิด Chula Privilege

20 22 23 24 25 26 27

ที่ปรึกษา I ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ, รศ.นพ.ธีระ วัชรปรีชานนท์, รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ, รศ.พญ.บุรณี กาญจนถวัลย์, ผศ.พญ.ยุวรีย์ พิชิตโชค, รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์, น.ส.กาญจนี โอภาสทิพากร, รศ.พญ.กัญญรัตน์ กรัยวิเชียร, รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ บรรณาธิการ I ผศ.(พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยบรรณาธิการ I นายธีรพร ยินเจริญ, นายเสฏฐ์ศุภณัฐ รัศมิทัต กองบรรณาธิการ I น.ส.สุกานดา นิ่มทองค�ำ, พญ.สกุณ ี ภระกูลสุขสถิตย์, พญ.พรจิรา ศุภราศรี, พญ.ปรารถนา โกศลนาคร, ทญ.ณัฏฐา วงศ์วราวิภัทร, ภญ.วรรณี อิทธิวัฒนกุล, น.ส.ชุติมา ปานเด, น.ส.พรรณทิพย์ โรจนถาวร, นางสมพิศ เสี่ยงบุญ, น.ส.ธัญญา จิตต์แก้ว, นายสุรชัย เล็กสุวรรณกุล ฝ่ายประสานงาน I น.ส.ธนัสมณ พลศร, น.ส.พิมพิกา พินชัย, นางสุดาลักษณ์ อินพรหม, น.ส.วิไลลักษณ์ อยู่ในธรรม ศิลปกรรม I นายวีรศักดิ์ บุญวงศ์ ช่างภาพ I นายภัทรวีร์ วรฉัตร, นายกศก เอี่ยมส�ำอางค์, นายชาญณรงค์ พุฒขาว พิสูจน์อักษร I น.ส.วิไลลักษณ์ อยู่ในธรรม, น.ส.วัสยนรรณ วิริยะกิรติการ, น.ส.วนิดา บุญวาส, นางสุดาลักษณ์ อินพรหม,

3/24/16 5:34 PM


มรสุมทางอารมณ์ มรสุมทางอารมณ์มีอยู่ในชีวิตของคนแทบทุกคน จะมากหรือน้อยกว่ากันเท่านั้น การป้องกันไม่ให้ มีมรสุมทางอารมณ์ก็คือการท�ำใจให้สงบอยู่เสมอ ถ้าเกิดมรสุมก็จงรีบแก้ไขเสียโดยพลัน อย่าให้ยืดเยื้อเรื้อรัง เพราะมรสุมทางอารมณ์อันยืดเยื้อเรื้อรังนั้น จะท�ำลายสุขภาพกายและสุขภาพใจมาก คนที่มีสุขภาพจิตดี ย่อมมีลักษณะท่าทางกิริยาอาการสง่างาม ร่าเริง แจ่มใส บ่งบอกถึงลักษณะ ภายในว่ามีความสุข มีความเชื่อมั่นในตนเอง น่าเกรงขาม น่าเลื่อมใส น่าเข้าใกล้ เพราะคนเข้าใกล้แล้วย่อม ได้รับในกระแสแห่งความสุขความเบิกบานใจเข้าสู่ตัวเขาด้วย ส่วนคนที่มีสุขภาพจิตไม่ดี ย่อมมีลักษณะท่าทาง และกิริยาอาการวิตกกังวล เศร้าหมอง ไม่สดชื่น บ่งบอกลักษณะภายในว่าขาดความสุข ไม่มีความเชื่อมั่นใน ตนเอง ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมและเข้าใกล้ด้วย เพราะเข้าใกล้แล้วย่อมได้รับกระแสแห่งความทุกข์ร้อน มนุษย์เราทุกคนอยากได้ความสุข แต่ทุกคนควรตระหนักว่าสุขภาพจิตที่ดีเป็นบ่อเกิดแห่งความสุข จึงควรบ�ำรุงรักษาสุขภาพจิตให้ดีอยู่เสมอ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราต้องการรักษาต้นไม้ให้สดชื่นต้องรักษา ดินด้วยฉันใด ถ้าต้องการความสุขก็ควรบ�ำรุงรักษาสุขภาพจิตให้ดีฉันนั้น ระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต นั้น ถ้าจ�ำเป็นต้องเลือก ให้เลือกสุขภาพจิตก่อน เพราะคนมีสุขภาพกายดีแต่สุขภาพจิตไม่ดีนั้น เป็นอันตราย ทั้งแก่ตนเอง ผู้อื่น และสังคม ส่วนคนสุขภาพจิตดี แม้สุขภาพกายไม่ค่อยจะดี ก็ยังหาความสุขในชีวิต ได้มากกว่า แต่ถ้าได้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี ก็ถือว่าเป็นลาภอันประเสริฐประการหนึ่ง ขออนุโมทนาต่อคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยที่ได้จัดท�ำวารสาร “ฬ.จุฬา” ฉบับปฐมฤกษ์ ซึ่งมีเนื้อหาธรรมะสอนใจให้แก่ผู้อ่าน ขอให้ ทุกท่านรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดี สามารถผ่านมรสุมทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ และประสพความสุข ความเจริญตลอดจิรกาล

วัดบวรนิเวศ มีนาคม ๒๕๕๙

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 3

(สมเด็จพระวันรัต) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ

3/21/16 1:44 PM


รศ.นพ.บรรเทอง รั ช ตะปี ติ อดีตผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ณ จุฬา

“หากมองตึกอ�ำนวยการในปัจจุบัน ในแง่ของพื้นที่ ใช้สอยนั้น คนรุ่นใหม่อาจไม่เห็นคุณค่ามากนักเพราะ ปัจจุบันเป็นเพียงส�ำนักงานของผู้บริหาร ด้วยเทคโนโลยี และความเจริญทางการแพทย์ได้พัฒนาจน เกิดอาคารใหม่ที่สามารถให้บริการได้ดีกว่า แต่ต้อง ไม่ลืมว่าอาคารเก่าอย่างตึกอ�ำนวยการคือจุดเริ่มต้น และเป็ น ก้ า วแรกของการพั ฒ นาทางการแพทย์ จวบจนทุกวันนี้ มีคุณค่าอย่างยิ่งในเชิงสัญลักษณ์ ของการอุทิศตนเพื่อสังคม ตลอดระยะเวลากว่า 100 ปีที่ผ่านมา” คุณสายสุนีย์ คงมีผล อดีตผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

๑๐๒ ปี ตึกอ�ำนวยการ

สถาปัตยกรรม ศูนย์กลาง ความผูกพัน

ท่ามกลางอาคารใหม่ที่สร้างขึ้น เพื่อ เพิ่มศักยภาพในการให้บริการทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาลจุ ฬ าลงกรณ์ แ ห่ ง นี้ ยั ง คงมี อาคารหนึง่ ซึง่ เป็นจุดเริม่ ต้น เป็นศูนย์รวมจิตใจ และอยู ่ ใ นความทรงจ� ำ ของชาวโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์มาตลอดระยะเวลากว่า 100 ปี นั่นก็คือ “ตึกอ�ำนวยการ” ตึกทรงคุณค่าทาง ประวั ติ ศ าสตร์ ที่ เ ก่ า แก่ ที่ สุ ด ในโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ

ฬ.จุฬา

6

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 6

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2457 โครงสร้างเป็น อาคารทรงยุโรป แต่ ได้ประยุกต์เพือ่ ให้เหมาะสม กั บ เมื อ งร้ อ น ซึ่ ง ถื อ เป็ น งานสถาปั ต ยกรรม ที่ บ ่ ง บอกถึ ง วิ วั ฒ นาการทางศิ ล ปวั ฒ นธรรม และเทคโนโลยี มีความสง่างาม และวางผังการ ใช้สอยพื้นที่ไว้ได้อย่างคุ้มค่า เป็นทั้งโรงเรียน แพทย์ สถานตรวจรักษาผู้ป่วย พิพิธภัณฑ์ และ เป็นอาคารส�ำนักงานอีกด้วย แ ล ะ นี่ คื อ น า น า ทั ศ น ะ เ กี่ ย ว กั บ “ตึกอ�ำนวยการ” ที่บอกเล่าความรู้สึก ความ ภาคภูมใิ จ ความประทับใจจากชาว โรงพยาบาล จุ ฬ าลงกรณ์ ที่ ไ ด้ ร ่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ ประวัติศาสตร์ อันน่าจดจ�ำ ณ ที่แห่งนี้

“หลังจากเรียนจบจากวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย ก็ได้เข้าท�ำงาน ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์แห่งนี้ ซึง่ ตึกอ�ำนวยการก็เป็นเหมือนศูนย์บัญชาการของรพ. และเป็นบ้านหลังที่สองของเราด้วย เราใช้ชีวิตส่วน ใหญ่อาศัยอยูท่ นี่ มี่ ากกว่าบ้านของตนเองเสียอีก สมัย นัน้ ก็จะเข้าปฏิบัติงานตั้งแต่เวลา 06.30 น. กว่าจะ เลิกงานก็ช่วงเย็นๆ เกือบทุกวัน ในวันเสาร์ก็ท�ำงาน จนถึงค�่ำ ท�ำเช่นนี้มาประมาณ 37 ปี หลังจากเกษียณ แล้ว ก็ยังมาช่วยงานอีก 15 ปี จวบจนทุกวันนี้ รู้สึก ภาคภูมิใจและอบอุน่ ใจตลอดระยะเวลาทีไ่ ด้ปฏิบตั งิ าน ณ อาคารเก่าแก่แห่งนี”้ คุณพรรณทิพย์ โรจนถาวร หัวหน้าฝ่ายเลขานุการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ “เข้าท�ำงานทีต่ กึ อ�ำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แห่งนี้ มากว่า 30 ปีแล้ว รักและผูกพันกับตึกนี้มาก ยังจ�ำได้ว่าเวลาที่โรงพยาบาล จัดงานต่างๆ แล้วต้อง มาแต่เช้า ซึง่ มาไม่ทนั ก็ตอ้ งมานอนค้างทีต่ กึ นี้ ตอนที่ โรงพยาบาลประสบปัญหาถูกปิดล้อมจากเหตุความ ไม่สงบทางการเมือง และปัญหาน�้ำท่วมครั้งใหญ่ ตึกอ�ำนวยการก็ถูกใช้เป็นศูนย์บัญชาการช่วยเหลือ เจ้ า หน้ า ที่ แ ละผู ้ ป ่ ว ย และสมั ย ที่ โ รงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ จัดงานฉลองครบรอบ 80 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2537 ตึกอ�ำนวยการก็ได้ถกู ใช้เป็นฉากเล่าความ เป็นมาของโรงพยาบาล ภาพยามค�่ำคืนที่มีแสงไฟ สาดส่องออกมาจากตึกอ�ำนวยการ ภาพพยาบาล ยืนอยูต่ รงหน้าต่างชัน้ ล่างของตึก พร้อมกับเสียงบรรยาย ซาบซึง้ มาก ยังจดจ�ำความประทับใจอยู่จนทุกวันนี้” 3/21/16 1:45 PM


Chula Excellence Center เรื่อง : รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์, ศูนย์นทิ ราเวช ภาพ : www.flickr.com

ปั ญ หาเรื่ อ งการนอน ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งเล่ น ๆ ศู น ย์ นิ ท ราเวช ศู น ย์ รั ก ษาโรคที่ เ กิ ด จากการนอน เพราะการนอนหลับเป็นสิ่งจ�ำเป็นต่อชีวิต ทั้งในด้านร่างกาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นประโยชน์กับการเรียนการสอน จิตใจ และอารมณ์ หากเกิดความผิดปกติในการนอน อาจส่งผลให้เกิด ส�ำหรับแพทย์ นิสิตแพทย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันนี้ ศูนย์ อันตรายต่อชีวิตและสุขภาพได้ ศูนย์นิทราเวช จึงถูกก่อตั้งขึ้น นิทราเวช ได้เปิดคลินิกตรวจผู้ป่วยนอก “คลินิกโรคความ อย่างเป็นทางการโดยเปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์และ ผิดปกติจากการหลับ” ณ ชัน้ 5 อาคารผูป้ ว่ ยในพิเศษ วินจิ ฉัยโรคต่างๆ ให้กบั ผูป้ ว่ ยทีม่ คี วามผิดปกติจากการ 14 ชัน้ มีบริการตรวจการนอนหลับ (Polysomนอนหลับ ไม่วา่ จะเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับ nography) และมีงานสัมมนาให้ความรู้เรื่อง จากการอุดกัน้ และภาวะนอนกรน (Obstructive โรคการนอนหลับแก่ประชาชน นอกจากนี้ Sleep Apnea and Snoring) อาการ ยังมีการจัดตั้งชมรมรักษ์การนอนเพื่อให้ ศูนย์นิทราเวชแห่งนี้ยังคง ง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน (Daytime ผู้ป่วยหรือประชาชนทั่วไปได้เข้าใจเรื่อง เดิ น หน้ า พั ฒ นาต่ อ ไป เพื อ ่ เป็ น ศู น ย์ ค วามเป็ น เลิ ศ Sleepiness) โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) ของการนอน รู้จักวิธีในการดูแลตนเอง ที ม ่ ข ี ด ี ความสามารถในการ หรือการหลับทีม่ ลี กั ษณะผิดปกติอนื่ ๆ ได้แก่ และรักษาการนอนให้มีคุณภาพสูงสุด ให้ บ ริ ก าร การวิ จ ย ั สร้ า งองค์ ค วามรู ้ ละเมอ ฝันร้าย ปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น เพือ่ การมีคณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ อีกทัง้ ยังได้ และนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยศูนย์นิทราเวชอยู่ภายใต้การก�ำกับดูแล จัดท�ำพ็อกเก็ตบุค๊ จ�ำนวน 8 เล่ม เผยแพร่ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตามนโยบายการ เรือ่ งโรคจากการนอนหลับ เพือ่ ให้ประชาชน จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์เพื่อพัฒนา ได้รู้และสังเกตพฤติกรรมตัวเอง รวมถึงคน ระบบการบริการรักษาพยาบาลให้มีความเป็นเลิศ รอบข้าง หากมีค วามผิ ด ปกติ เ กี่ ย วกั บ การนอน ครบวงจร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับ สามารถเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาได้ทันท่วงที นานาชาติ อีกทั้งเป็นการตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพ ศูนย์นิทราเวชแห่งนี้ยังคงเดินหน้าพัฒนาต่อไป เพื่อเป็นศูนย์ ที่ซับซ้อนมากขึ้นของประชาชน ความเป็นเลิศที่มีขีดความสามารถในการให้บริการ การวิจัย สร้าง ด้วยความพร้อมทางด้านเครื่องมือในการวินิจฉัยโรค ที่ได้รับ องค์ความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงผลิตบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ พระเมตตาจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกล- ด้านความผิดปกติจากการนอนหลับ เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งใน มหาสังฆปริณายก ประทานเครื่องตรวจวิเคราะห์การนอนหลับพร้อม ระดับประเทศและนานาชาติต่อไป... เพราะปัญหาเรื่องการนอนหลับ ทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จ�ำเป็นในการตรวจ เพื่อน�ำไปใช้งานใน ไม่ใช่เพียงเรื่องเล่นๆ แน่ๆ ฝ่ายรักษาพยาบาล ส่งผลให้แพทย์สามารถด�ำเนินการรักษาผู้ป่วย

ฬ.จุฬา

7

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 7

3/21/16 1:49 PM


เกี ยรติประวัติชาวจุฬาฯ SHE

1

2

3

6

7

4

5

ฬ.จุฬา

8

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 8

3/21/16 1:50 PM


1

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาค วิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับการแต่งตั้งเป็น “ราชบัณฑิต” ประเภท วิชาแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ สาขา กุมารเวชศาสตร์ ส�ำนักวิทยาศาสตร์ ประกาศจาก ส�ำนักนายกรัฐมนตรี ราชกิจจานุเบกษา มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ ณ วันพุธที่ 2 ธันวาคม 2558

4

นิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับ รางวัล “การแข่งขันตอบปัญหาวิชาการนานาชาติ CMU - IMC 2015” (Chiang Mai University - International Medical Challenge) โดยมี ผศ.ดร.พิสิฏฐ์ ประพันธ์วัฒนะ หัวหน้าภาควิชา ชีวเคมี เป็นที่ปรึกษาและผู้ควบคุมทีมในการเข้า ร่วมแข่งขัน 5

2

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับ รางวัล “สมเด็จพระวันรัต” ประจ�ำปี 2558 ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จากสาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ทางคลินิก

3

ศ.ดร.พญ.สุรางค์ นุชประยูร หัวหน้า ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล พระลัญจกร ญสส. รับเลือกเป็น บุคคลแบบอย่าง คนดี คิดดี สังคมดี ตามรอย พระยุคลบาท รางวัล “พระกินรี” ประจ�ำปี 2559 จาก ฯพณฯ นายอ�ำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ประธานพิธี ซึ่งจัดโดยสมัชชานักจัดรายการข่าว วิ ท ยุ โ ทรทั ศ น์ ห นั ง สื อ พิ ม พ์ แ ห่ ง ประเทศไทย (สว.นท)

ศ.นพ.รั ง สรรค์ ฤกษ์ นิ มิ ต ภาควิ ช า อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับ รางวัล “อาจารย์ดเี ด่นประจ�ำปี 2558” จาก สออ. ประเทศไทย (ASAIHL - Thailand Awards)

6

นสพ.ธนกฤต พงพิทักษ์เมธา นิสิตแพทย์ ชั้นปีที่ 5 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้รับรางวัล “เยาวชนคนเก่ง” ครั้งที่ 7 ประจ�ำปี 2558 ซึ่ง โครงการด้วยรักและห่วงใย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จัดขึ้นโดยมีการคัดเลือกเยาวชนคนเก่งจาก ทั่วประเทศไทย จ�ำนวนทั้งสิ้น 80 คน แบ่งเป็น จังหวัดละ 1 คน และ กรุงเทพฯ 3 คน

7

นสพ.ศีลวันต์ สถิตย์รัตนชีวิน นิสิตแพทย์ ชั้ น ปี ที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ ได้ รั บ พระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จ เจ้าฟ้ามหิดล” ประจ�ำปี 2558

ฬ.จุฬา

9

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 9

3/21/16 1:54 PM


บ้านเลขที่ 1873

เรื่องดีดี ในบ้านเลขที่ 1873 บ้านเลขที่ 1873 ฉบับปฐมฤกษ์นี้ เราได้พูดคุยกับ อาจารย์ 2 ท่าน ที่จะบอกเล่าความภาคภูมิใจในบ้านอันอบอุ่นหลังนี้ และเรื่องราวดีๆ ในแง่มุมที่ใครหลายๆ คนอาจไม่เคยรู้มาก่อน ณ “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์” แห่งนี้ค่ะ

“ ดนตรี หมอตา กีฬาวิ่ง

เชือ่ ไหมคะ ว่าอีกด้านหนึง่ ของชีวติ จักษุแพทย์ทตี่ ารางงาน แน่นเอีย้ ดอย่าง ศ.พญ.วสี ตุลวรรธนะ รองคณบดี ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ท่านนี้ยังเป็นนักเปียโนฝีมือดี แต่ไม่ว่า จะตารางงานแน่นเอี้ยดอย่างไร ท่านยังสามารถแบ่งเวลาทุ่มเทให้ กับการวิ่งมาราธอนเป็นชีวิตจิตใจอีกด้วย หากถามถึงความสนใจในสาขาจักษุวิทยา อาจารย์วสีเล่าว่า ในสมัยก่อนสาขานี้ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก และงานผ่าตัดดวงตาเป็น งานละเอียด ต้องใช้ทักษะมือ แต่ก็เชื่อมั่นว่าตนเองจะท�ำได้ดี เช่นเดียว กับการฝึกฝนเปียโน ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งสามารถสอบเปียโน ขั้นสูงได้ส�ำเร็จ ในขณะเดียวกันก็ต้องทุ่มเทให้กับการเรียนในขณะเป็น นิสติ แพทย์ดว้ ย และแน่นอนว่า บทบาทของจักษุแพทย์ซงึ่ ส่วนมาก เป็น งานผ่าตัดที่มักจะท�ำโดยหมอคนเดียว รับผิดชอบคนเดียว จึงอาจเกิด ภาวะกดดันมากกว่างานผ่าตัดอื่นๆ ที่อาศัยหมอร่วมทีมหลายท่าน

ไม่เพียงแค่ผู้ป่วยเท่านั้น ที่ต้องเตรียมร่างกายและจิตใจ ให้พร้อมเพื่อการผ่าตัด แพทย์ เองก็เ ช่นกัน

อาจารย์วสี เล่าถึงวิธีการจัดการภาวะกดดันนี้ว่าจะต้องมีความมั่นใจ มีความเข้าใจในโรค ทบทวนขั้นตอนการผ่าตัดอยู่เสมอ และไม่เพียงแค่ ผู้ป่วยเท่านั้นที่จะต้องเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมก่อนเข้ารับการ ผ่าตัด แพทย์เองก็ต้องเตรียมพร้อมเช่ น กั น นอกจากบทบาทการเป็ น จักษุแพทย์ที่ต้องทุ่มเทไม่น้อย กับเรื่องการวิ่งมาราธอน อาจารย์ก็ทุ่มเท ไม่แพ้กันเลยค่ะ ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา อาจารย์ได้เป็น หนึ่งในทีมอาจารย์แพทย์ไทยที่เข้าร่วมในการแข่ ง ขั น และยั ง สามารถ พิ ชิ ต การวิ่งมาราธอน ในงานโตเกียวมาราธอน 2016 มหกรรมการวิ่ง ระดับโลก ณ ประเทศญีป่ นุ่ อีกด้วยค่ะ เท่านัน้ ยังไม่พอ อาจารย์ยังได้รับ รางวัล “อาจาริ ย มิ ต ต์ ” ซึ่ ง เป็ น รางวั ล ที่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จั ด ขึ้ น เพื่ อ ยกย่ อ งเชิ ด ชู เ กี ย รติ อ าจารย์ ด ้ า นการเรี ย นการสอน ท� ำ ให้ เห็ น ว่ า ในเรื่ อ งการสอนหนั ง สื อ อาจารย์ ก็ เ ก่ ง กาจไม่ แ พ้ เรื่ อ งอื่ น ๆ เลยทีเดียว ไม่แปลกเลยนะคะ ถ้าจะบอกว่าอาจารย์ ว สี เ ป็ น ตั ว อย่ า ง ของการจั ด สรรเวลาและการทุ ่ ม เทท� ำ ในสิ่ ง ที่ ต นรั ก ให้ ส� ำ เร็ จ ได้ อย่างยอดเยี่ยม เป็นอาจารย์ที่ทั้งสวยและเก่งในทุกๆ ด้าน แห่งบ้าน เลขที่ 1873 ของเราเลยค่ะ

ฬ.จุฬา

10

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 10

3/21/16 2:00 PM


บ้านเลขที่ 1873

“1873” บ้านหลังนี้จาก ‘อดีต’ สู่ ‘ปัจจุบัน’ ทุกการเปลี่ยนผ่านจากยุคหนึ่ง สู ่ ยุ ค หนึ่ ง มั ก มี เรื่ อ งเล่ า และที่ บ ้ า น เพราะบทบาทของแพทย์ เลขที่ 1873 ของเราก็ เ ช่ น กั น ค่ ะ รศ.นพ.ปรีดา ทัศนประดิษฐ์ อาจารย์ คือการยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ ภาควิชาสูตศิ าสตร์-นรีเวชวิทยา อดีตคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และอดีตผูอ้ ำ� นวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ที่อุทิศตนเพื่อบ้าน หลังนี้และมองเห็นทุกการเปลี่ ย นแปลงมาตลอด ระยะเวลาอั น ยาวนาน ณ ปัจจุบนั ท่านก็ยงั แข็งแรง มี สุ ข ภาพดี และยั ง คงจ� ำ เรื่ อ งราวในอดี ต ได้ อ ย่ า งชั ด เจน อาจารย์ได้เล่าให้เราฟังว่า โครงสร้างอาคารของโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ นั้นเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ ร.6 ทรงวางแบบแผนไว้ ซึ่ ง เหมาะกั บ เมื อ งไทยที่ เ ป็ น เมื อ งร้ อ น นอกจากนี้ ยั ง มี บึ ง น�้ ำ ขนาดใหญ่ เนื่ อ งจากสมั ย ก่ อ นพื้ น ที่ แ ห่ ง นี้ เ ป็ น ทุ ่ ง นา เป็ น ที่ ลุม่ ต�ำ ่ การขุดเป็นบึงน�ำ้ จึงง่ายกว่าการถมทีด่ นิ บรรยากาศในสมัยก่อน จึงร่มรื่น เหมือนอยู่ในสวน แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป พื้นที่ ใช้สอยเดิมไม่เพียงพอต่อผู้เข้ารับบริการ อีกทั้งเทคโนโลยีที่เจริญ รุง่ เรืองมากขึน้ จึงจ�ำเป็นต้องถมบึงน�ำ ้ เพือ่ สร้างอาคารใหม่ทที่ นั สมัย และตอบสนองความต้องการทางการแพทย์ให้กับสังคมมากขึ้น ในแง่มุมของการบริการและงานวิชาการก็ได้พัฒนาขึ้นจากใน อดีตเป็นอย่างมาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เป็นผู้น�ำทางด้าน การแพทย์หลายประการ และเป็นหน่วยงานที่ริเริ่มการผ่าตัด ครั้งส�ำคัญ ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัดแยกฝาแฝดหญิง การปลูกถ่าย หัวใจและปอด อีกทั้งการพัฒนาครั้งส�ำคัญ เมื่อปี 2550 ที่สามารถ ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากการระบาดของอหิวาตกโรค ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการคิดค้นการให้น�้ำเกลือที่รวดเร็ว กว่าเดิม อาจารย์ ยั ง กล่ า วอี ก ว่ า เพราะบทบาทของแพทย์ คื อ การยึดถือประโยชน์เพือ่ นมนุษย์มาเป็นกิจทีห่ นึง่ การเปลีย่ นแปลง ในทุกๆ ด้าน จากอดี ต สู ่ ป ั จ จุ บั น ของโรงพยาบาลจุ ฬ าลงกรณ์ จึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สขุ ของส่วนรวมเช่นเดียวกัน ไม่ว่าบ้าน หลังนี้จะเปลี่ยนผ่านการเปลี่ยนแปลงมากี่ยุคสมัย อาจารย์ของ บ้านเลขที่ 1873 ก็ยัง คงมุ่ง มั่นพัฒนาศักยภาพทั้งของตนเอง และการแพทย์เพื่อตอบสนองความเปลี่ ย นแปลงของโลกใบนี้ แต่สิ่งหนึ่งที่ยังเหมือนเดิมคือ ณ บ้านเลขที่ 1873 เราก็ยังยึดถือ ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นส�ำคัญ

ฬ.จุฬา

11

CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 11

3/23/2016 4:27:24 PM


บอกเล่าก้าวทันหมอ เรื่อง : ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ภาพ : www.flickr.com

จับตาความเคลื่อนไหว โรคไข้ซิกา

ภัยใหม่จากยุงลาย

นอกจากโรคไข้เลือดออกแล้ว หากกล่าวถึงโรคระบาดที่ถูกพูดถึงอย่างมากในช่วงเวลานี้คงหนีไม่พ้นเรื่อง ของ โรคไข้ซิกา ที่มียุงลายเป็นพาหะ และได้ระบาดหนักในแถบละตินอเมริกา โดยเฉพาะประเทศบราซิลที่ระบาด อย่างรุนแรง จนรัฐบาลต้องประกาศระงับการตั้งครรภ์ ถึงขนาดที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ออกมา แถลงถึงการแพร่ระบาดของไวรัสซิกา เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ระหว่างประเทศ บอกเล่าก้าวทันหมอฉบับนี้ จึงขอพาคุณผู้อ่านมาพูดคุยกับ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผูอ้ ำ� นวยการศูนย์โรคติดต่อและโรคอุบัติซ�้ำ สภากาชาดไทย และศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เพื่อพูดคุยอัพเดทสถานการณ์เกี่ยวกับโรคนี้กันค่ะ โรคไข้ซิกาคืออะไร โรคไข้ซิกา (Zika fever) เกิดจากเชื้อไวรัสซิกา (Zika-virus ZIKV) เป็นไวรัสที่อยู่ในตระกูลเดียวกับ ไวรัสไข้เหลือง ไวรัสเดงกี ไวรัสเวสต์ไนล์ และไวรัสไข้สมองอักเสบเจอี ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะน�ำโรค ส่วนชื่อซิกา (Zika) เป็นชื่อป่าในประเทศยูกันดาซึ่งเป็นสถานที่แรกที่แยกเชื้อได้จากลิง Rhesus ที่น�ำมาศึกษาในปี พ.ศ. 2490 และเมื่อปี พ.ศ. 2511 ก็พบเชื้อนี้ในคน ในประเทศไนจีเรีย และพบได้ในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา ทวีปเอเชียใต้ และหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ไข้ซิกาในประเทศไทย ในประเทศไทยมีรายงานตรวจพบเชื้อไวรัสซิกา เมื่อ พ.ศ. 2506 และหลังจากนั้นมีรายงานพบผู้ป่วยหญิง จากแคนาดา ติดเชื้อไวรัสซิกา หลังเดินทางมาประเทศไทยในช่วงเวลา 21 มกราคม ถึง 2 กุมภาพันธ์ 2556 โดยพักในกรุงเทพฯ และภูเก็ต และมีอาการบนเครื่องบินขณะเดินทางกลับแคนาดา อีกทั้งเมื่อเร็วๆ นี้ยังมีรายงาน ผู้ป่วยชาวไทยที่เดินทางไปไทเป ถูกตรวจพบเชื้อที่สถานีตรวจคัดกรองไข้ สนามบินนานาชาติเถาหยวน ไต้หวัน แต่ขณะนี้ได้รับการรักษาแล้ว อาการของโรค เนื่องจากไวรัสซิกาเป็นนักเลียนแบบตัวฉกาจ อาการของไข้ซิกามีความคล้ายคลึงกับอาการของโรค ไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis: JE) แต่ส่วนใหญ่ผู้ติดเชื้อมักไม่แสดง อาการ โดยมักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อ 4 - 7 วัน อาการทั่วไปที่พบก็คือ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มีผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ ซึ่งมักมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2 - 7 วัน ส่วนใหญ่อาการเหล่านี้จะหายเองได้ ภายในหนึ่งสัปดาห์ ไม่มีความจ�ำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แต่ในหญิงตั้งครรภ์จ�ำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจาก การติดเชื้อนี้อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ท�ำให้มีความเสี่ยงต่อการพิการแต่ก�ำเนิด มีขนาดศีรษะที่เล็กผิดปกติ (microcephaly) หรือเสียชีวิตได้

ฬ.จุฬา

12

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 12

3/21/16 2:13 PM


สถานการณ์และความคืบหน้าโรคซิกา เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ทั้งโลกมี ความตื่นตัวอย่างมากเกี่ยวกับโรคซิกา หลังพบ หญิงตั้งครรภ์ 6 ราย จากนักท่องเที่ยวอเมริกัน ที่กลับจากอเมริกาใต้ทั้งหมด 107 ราย มีอาการ เข้ า ข่ า ยติ ดเชื้อไวรัสซิก า ซึ่ง ติดเชื้อในช่ว ง ไตรมาสแรก (3 เดือนแรก) โดย 5 ใน 6 ราย มีความผิดปกติเกิดขึ้น รายแรกคลอดลูกออกมา มีสมองลีบ อีกสองรายมีอาการแท้งและพบว่ามี ไวรัสอยู่ในตัวเด็กด้วย หนึ่งรายตัดสินใจท�ำแท้ง เนื่องจากเจาะน�้ำคร�่ำแล้วพบว่ามีไวรัส ส่วนราย สุดท้ายมีความผิดปกติ แต่ไม่ทราบรายละเอียด เหตุการณ์นี้ท�ำให้สรุปได้ว่าไวรัสซิกาท�ำให้เด็กมี สมองลีบจริง นอกจากนั้น ในนิตยสารนิวแลนด์ ระบุว่ามีผู้หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อในช่วงท้ายของ ไตรมาสแรก และมีการตรวจเด็กทารกในครรภ์ พบว่ามีสมองลีบ จึงตัดสินใจเอาเด็กออก และเมือ่ น�ำเด็กออกมาก็พบว่าเด็กมีสมองลีบจริง ทัง้ นี้ เมือ่ น� ำ สมองเด็ ก และอวั ย วะเด็ ก มาตรวจดู จ าก กล้องอิเล็กตรอน พบว่าในสมองเด็กมีไวรัสที่มี ชีวิตอยู่และยังเป็นไวรัสที่สามารถงอกเงยได้อีก ด้วย นอกจากนั้น เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขของฝรั่งเศส ออกมาเปิดเผยว่าพบผู้ ป่วยเพศหญิงในกรุงปารีส ติดเชื้อซิกา ซึ่งติดต่อ ผ่านทางเพศสัมพันธ์ จากคู่นอนของเธอที่เพิ่ง เดินทางกลับมาจากประเทศบราซิล และหลัง จากนั้นก็มีผลวิจัยชี้ว่า ไวรัสซิกาสามารถพบได้ ในน�้ำอสุจิของเพศชาย และสามารถติดต่อกัน ได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งสามารถติดต่อกัน ได้ไม่ว่าจะเป็นคู่รักชายหญิง หรือคู่รักร่วมเพศ ดังนั้นจึงควรป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัย อย่างไรก็ดี ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา แนะน�ำว่าไม่ต้องกังวลมาก เพราะการติดเชื้อ ซิกา ผ่านการมีเพศสัมพันธ์นั้นน้อยมาก แต่เพื่อ ความสบายใจก็ ส ามารถสั ง เกตอาการตาม ข้อบ่งชี้ คือ มีไข้ ออกผืน่ ตาแดง ปวดกล้ามเนือ้ ปวดข้อ อ่อนเพลีย หากมีอาการดังกล่าวให้ ไปพบแพทย์ ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจ ยกเว้นเพียงกลุ่มเสี่ยงคือ หญิงตั้งครรภ์

ความร่วมมือในการวิจยั และป้องกันโรคไข้ซกิ า ทางจุ ฬ าฯ ได้ ร ่ ว มมื อ กั บ กระทรวง สาธารณสุข มากว่า 10 ปี และได้เกิดศูนย์ โรคติดต่อและโรคอุบัติซ�้ำ สภากาชาดไทยขึ้น เพื่อศึกษาวิจัยโรคติดต่ออุบัติใหม่ ที่มีแนวโน้ม จะเกิดขึน้ ในอนาคต โดยทาง กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการอัพเดทข้อมูล ความเคลื่อนไหวต่างๆ จากองค์ ก ารอนามั ย โลก (WHO) ในเรื่ อ งนี้ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้ชี้แจงว่า

ไวรัสซิกา เป็นนักเลียนแบบตัวฉกาจ

“ณ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขก็ได้ส่งตัวอย่าง มาให้ตรวจมากพอสมควร แต่ต้องมีการคัดกรอง เนื่องจากไข้ออกผื่นมีได้เป็นร้อยชนิด หากเรา สนใจแต่ไวรัสซิกาอย่างเดียว แล้วมีตัวอื่นที่ ร้ายแรงกว่า รักษาได้ แล้วไม่ใช่ไวรัส เราอาจจะ หลงลืมไป เพราะฉะนั้นอย่าตื่นเต้นกับตัวนี้มาก เพราะตัวนี้มา แต่ตัวอื่นที่มีอยู่เป็นร้อยตัวเราก็ ไม่ควรเลิกสนใจ เพราะในการดูแลคนไข้ หลักการ ดูแลคือต้องดูวา่ ในแต่ละเดือนแต่ละปี โรคประจ�ำ ถิ่นเรามีอะไรอยู่แล้ว ไม่ใช่สนใจแต่โรคใหม่” และเมื่อพูดถึงเรื่องแนวโน้มของโรค ไข้ซิกา และโรคอุบัติใหม่ ที่อาจจะเกิดขึ้นใน อนาคต คุณหมอกล่าวว่า ในส่วนของโรคไข้ ซิ ก านั้ น ยั ง คงท� ำ การวิ จั ย และติ ด ตามความ เคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด ส่วนโรคอุบัติใหม่นั้น ได้มีการค้นพบโรคใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ทาง ศูนย์โรคติดต่อและโรคอุบัติซ�้ำ สภากาชาดไทย ของเราก็ได้เตรียมรับมือเป็นอย่างดี แต่เหตุผล ทีท่ างศูนย์ยงั ไม่ประกาศให้รบั รูเ้ นือ่ งจากเกรงว่า ประชาชนจะตื่นตระหนก จึงท�ำได้เพียงเฝ้าระวัง และจับตาดูอย่างใกล้ชิดต่อไป

ฬ.จุฬา

13

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 13

3/21/16 2:16 PM


เรื่องจากปก

“ภูมิสิริมังคลานุสรณ์” มิติ ใหม่การแพทย์ไทย ก้าวไกล แต่ ใกล้ ใจคนไทยกว่าเดิม

“ภูมิสิริมังคลานุสรณ์” อาคารผู้ป่วยใหม่แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่เป็นศูนย์รวมแห่งความเป็นเลิศทางการแพทย์แห่งนี้ คือมิติ ใหม่ของวงการสาธารณสุขไทยที่จะพลิกบทบาทให้ประชาชนทุกระดับสามารถเข้าถึงการบริการด้านการแพทย์ ที่มีประสิทธิภาพ ทัดเทียมการบริการแบบเอกชน โดยมิต้องกังวลใจเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลอีกต่อไป ในความเป็นศูนย์รวมแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของอาคารใหม่นี้ ขาดไม่ได้ซงึ่ วิสยั ทัศน์ของผูบ้ ริหารคนส�ำคัญ เรื่องจากปก ฬ.จุฬา ฉบับปฐมฤกษ์นี้ จึงไม่พลาดที่จะน�ำท่านผู้อ่านมารู้จักกับ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ถึงการขับเคลื่อนครั้งส�ำคัญ เพื่อน�ำองค์กรสู่การปรับโฉมใหม่ทางการแพทย์ในครั้งนี้ ฬ.จุฬา : ไม่ทราบว่า ความพิเศษของอาคารภูมิสิริฯ คืออะไร ศ.นพ.สุทธิพงศ์ : อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ได้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็น ศูนย์บริการทางการแพทย์อย่างครบวงจร ซึ่งมีทั้งหมด 29 ชั้น มีเตียง รองรับผู้ป่วยกว่า 1,100 เตียง และมีพื้นที่วินิจฉัยตรวจรักษาโรคต่างๆ พร้อมด้วยห้องสอนนักศึกษาแพทย์ที่รองรับได้สูงสุด 2,500 คนต่อวัน และเพื่อตอกย�้ำความเป็นผู้น�ำทางด้านการแพทย์ เรายังมีพื้นที่ที่น่า สนใจอย่าง Excellence Center หรือศูนย์ความเป็นเลิศทางด้าน งานวิจัยและการแพทย์ครบวงจร ซึ่งให้บริการเฉพาะทางโดยแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ อาทิ ศูนย์เชี่ยวชาญด้านทางเดินอาหาร ศูนย์รักษามะเร็ง เป็นต้น

ฬ.จุฬา : ในมุมมองของอาจารย์ อาคารภูมิสิริฯ ตอบโจทย์ความ ต้องการของสังคมไทยหรือไม่ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ : การเตรี ย มพร้ อ มให้ บ ริ ก ารด้ า นการแพทย์ ข อง อาคารใหม่นี้ ได้ตั้งอยู่บนความคาดหวังที่ค่อนข้างสูงของประชาชน ในทุกระดับ การบริหารงานอาคารนี้ จึงต้องด�ำเนินการภายใต้นโยบาย 4 ด้านเป็นส�ำคัญ ได้แก่ ความปลอดภัย ความสะอาด ความรวดเร็ว และความสะดวกสบาย เพื่อผลักดันให้เป็น One Stop Service ด้านการแพทย์ และในส่วนของเทคโนโลยีการรักษา โดยเฉพาะโรค ที่มีความซับซ้อนก็เป็นสิ่งส�ำคัญ เนื่องด้วย รพ.จุฬาฯ เป็นสถาน พยาบาลระดับตติยภูมิ คือการให้บริการรักษาผู้ป่วยในระดับที่ซับซ้อน อาคารนี้จึงต้องรองรับและสนับสนุนการเรียนรู้โรคในเชิงลึกมาก ขึ้น อีกทั้งสังคมไทยก�ำลังก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ปัจจุบันทาง รพ.จุฬาฯ มีคนไข้ติดเตียงจ�ำนวนมาก เราจึงต้องเพิม่ ความสามารถใน การรองรับผูป้ ว่ ยกลุม่ นีด้ ว้ ย

ฬ.จุฬา

14

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 14

3/21/16 2:16 PM


ฬ.จุฬา : ด้วยความเป็นเลิศของอาคารภูมิสิริฯ ภาพลักษณ์ของ รพ.จุฬาฯ เปลี่ยนไปหรือไม่ อย่างไร ศ.นพ.สุทธิพงศ์ : ตลอดเวลาที่ผ่านมายังคงมีความเข้าใจผิดใน วัตถุประสงค์ของอาคารนี้อยู่มาก ว่าเป็นการด�ำเนินการในลักษณะ ของเอกชน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป้าหมายของการด�ำเนินการ ของอาคารนี้ ยังคงอยู่ภายในวัตถุประสงค์เดิมของ รพ.จุฬาฯ คือการ ให้บริการ ด้วยหัวใจของความเป็นกาชาด อย่างทั่วถึงโดยไม่ค�ำนึงถึง ความแตกต่างในทุกด้านของเพื่อนมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของฐานะ เชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้น วรรณะ ฯลฯ ฬ.จุฬา : ในขณะที่อาคารภูมิสิริฯ คือศูนย์รวมของความทันสมัยด้าน การแพทย์ ในฐานะผู้อ�ำนวยการซึ่งเป็นศูนย์รวมทั้งการด�ำเนินงานและ ศูนย์รวมใจของบุคลากร อาจารย์มีวิสัยทัศน์ในการท�ำงานอย่างไร ศ.นพ.สุทธิพงศ์ : การสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับบุคลากรทุกระดับ และการท�ำงานร่วมกันด้วยความเป็นมิตร คือสิ่งส�ำคัญ ทั้งนี้เราต้องรับ ฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้บุคลากรในองค์กรในการมีส่วนร่วม ทั้ง 3 ด้าน ทั้งด้านบริการทางการแพทย์ การศึกษา และการพัฒนางาน วิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้เกิดขึ้นตลอดเวลา

ฬ.จุฬา

15

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 15

3/21/16 2:16 PM


การให้บริการ ด้วยหัวใจของ ความเป็นกาชาด อย่างทั่วถึง โดยไม่ค�ำนึงถึงความแตกต่าง ในทุกด้านของเพื่อนมนุษย์

ฬ.จุฬา : ส�ำหรับอาจารย์ ความท้าทายของการด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้อ�ำนวยการ รพ.จุฬาฯ และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ในเวลาเดียวกันคืออะไร ศ.นพ.สุทธิพงศ์ : เป็นการท�ำงานใน 2 บทบาทในเวลาเดียวกัน ซึ่งอยู่ภายใต้ 2 องค์กร ก็ท�ำให้เกิดจุดแข็งในด้านการมี เครือข่ายในการท�ำงานทั้งสภากาชาดไทยและมหาวิทยาลัย ซึง่ ความท้าทายของบทบาทผูน้ ำ� ทัง้ 2 บทบาทนี้ ต้องผลักดันให้ 2 องค์กรก้าวไปด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว ทั้งในแง่ของการบริหาร บุคลากรและระบบงาน ส�ำหรับอุปสรรคในการท�ำงานหรือ ภาวะความกดดัน ก็เป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่เมื่อ เรามีเป้าหมาย มองเห็นความส�ำเร็จในการให้บริการทางการ แพทย์ และประโยชน์ของส่วนรวมเป็นส�ำคัญ ก็สามารถเรียนรู้ พัฒนา คิดและแก้ไขไปด้วยกันได้

ฬ.จุฬา : ตลอดเวลาที่ผ่านมา อาจารย์ได้อุทิศตนเพื่อส่วนรวม มากมาย ในวิถีชีวิตส่วนตัว มีแนวคิดในการดูแลครอบครัว อย่างไรบ้าง ศ.นพ.สุทธิพงศ์ : เนื่องจากคนในครอบครัวก็ต่างมีหน้าที่ มีความรับผิดชอบเพื่อสังคมเช่นเดียวกัน ท�ำให้เข้าใจใน ธรรมชาติ ของการท�ำงานเพื่อส่วนรวม และส่วนชีวิตของผมก็ อยู่ที่นี่ เกิดที่นี่ เรียนที่นี่ และก็ท�ำงานเพื่อองค์กรนี้ ก็ตั้งใจที่จะ พัฒนาบ้านหลังนี้ของเราเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเชื่อ มั่นว่าหากทุกคนมีความทุ่มเทและมีเป้าหมายในการท�ำงาน เช่นนี้ ไม่เพียงแต่องค์กรเท่านั้น แต่การพัฒนานี้จะเติบโตไปใน ระดับประเทศชาติด้วย

ฬ.จุฬา

16

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 16

3/21/16 2:18 PM


ไม่เพียงแค่แพทย์เท่านั้น ที่เป็นแรงผลักดันส�ำคัญของ การพัฒนาที่ก้าวล�้ำของ รพ.จุฬาฯ แห่งนี้ “พยาบาลวิชาชีพ” ก็ เ ป็ น บุ ค ลากรที่ ข าดไม่ ไ ด้ ใ นการให้ บ ริ ก ารทางการแพทย์ ที่ สมบูรณ์พร้อม เรื่องจากปกจึงขอน�ำทุกท่านมาพูดคุยต่อเนื่อง กับ คุณกาญจนี โอภาสทิพากร หัวหน้าพยาบาล รพ.จุฬาฯ ตัวแทนพยาบาลวิชาชีพ สภากาชาดไทย ที่เพิ่งได้รับรางวัลเหรียญฟลอเรนซ์ไนติงเกล ระดับนานาชาติ โดยคณะกรรมการกาชาด ระหว่างประเทศ (ICRC) ประจ�ำปี 2558 ที่ผ่านมา

ฬ.จุฬา : ในฐานะหัวหน้าพยาบาล เราได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ ซึ่งเป็นอาคารใหม่ของ รพ.จุฬาฯ อย่างไร บ้าง คุณกาญจนี : การเตรียมการส�ำหรับอาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์นั้น ฝ่ายการพยาบาลมีส่วนร่วมในการวางแผนตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ โดยให้ข้อมูลความต้องการแก่ผู้ออกแบบตกแต่งภายใน วางระบบ การบริการพยาบาลใหม่ ซึ่งได้มีการวิเคราะห์เพื่อแยกส่วนงานที่ ไม่ใช่ภาระงานการพยาบาลออก โดยโรงพยาบาลได้รับอนุมัติให้มี ต�ำแหน่ง Ward Officer เพื่อรับผิดชอบงานเหล่านี้แทน และคืน พยาบาลให้กับผู้ป่วย ในขณะเดียวกันฝ่ายการพยาบาลได้ปรับระบบ บริการพยาบาลโฉมใหม่ในรูปแบบ “Total Care” เพื่อให้ผู้ป่วยได้ รับการดูแลที่ปลอดภัย ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฬ.จุฬา : ความรู้สึกที่มีต่อ รพ.จุฬาฯ ตลอดระยะเวลาที่ท�ำงานอยู่ใน วิชาชีพนี้ คุณกาญจนี : เป็นความรู้สึกที่หยั่งรากลึกถึง DNA ของพยาบาล กาชาด หนึ่งศตวรรษที่ผ่านมาของ รพ.จุฬาฯ ภาพหญิงสาวใน เครื่องแบบสีขาวที่มีสัญลักษณ์เครื่องหมายกาชาด สะท้อนถึงคุณค่า ความมีเมตตากรุณา เอื้ออาทร ตั้งใจมุ่งมั่นและพร้อมที่จะช่วย บรรเทาความทุกข์ให้ผู้เจ็บป่วยหายจากโรคภัยไข้เจ็บ โดยไม่เลือก ชัน้ วรรณะ ตามหลักการกาชาดทีท่ กุ คนยึดมัน่ และเชือ่ ว่าเอกลักษณ์ ของพยาบาลสภากาชาดไทยต้ อ งอยู ่ เ คี ย งคู ่ ฝ ่ า ยการพยาบาล รพ.จุฬาฯ ตลอดไป

ฬ.จุฬา : อยากให้พูดถึงรางวัลเหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ที่ได้รับนี้ มีความส�ำคัญต่อการท�ำงานในวิชาชีพนี้อย่างไร คุณกาญจนี : เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นเหรียญที่จัดท�ำเพื่อ เป็นอนุสรณ์แก่มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ผู้เสียสละและอุทิศตนในการ ดูแลผู้ป่วยทั้งในยามปกติและยามสงคราม เป็นผู้ก่อก�ำเนิดวิชาชีพ การพยาบาล การได้รับการคัดเลือกจาก ICRC ให้เป็นผู้ที่สมควร ได้รับรางวัลนี้ จึงเป็นรางวัลเกียรติยศและเป็นความภาคภูมิใจสูงสุด ของวิชาชีพการพยาบาล ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจในการท�ำงานเพื่อ สืบสานเจตนารมณ์จากผู้ก่อก�ำเนิดวิชาชีพนี้

ฬ.จุฬา

17

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 17

3/21/16 2:21 PM


Chula Round upup! CU Round โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ยกระดับความเป็นเลิศ เปิด “อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์” โรงพยาบาลจุ ฬ าลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิ ด แถลงข่ า วความคื บ หน้ า การเปิ ด ให้ บริการ “อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์” อาคารรักษาพยาบาลรวมและศูนย์ความเป็นเลิศ ทางการแพทย์ แบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ณ ห้องประชุม ชั้น 12 อาคาร ภู มิ สิ ริ มั ง คลานุ ส รณ์ โดยมี ศ.นพ.สุ ท ธิ พ งศ์ วั ช รสิ น ธุ ผู ้ อ� ำ นวยการ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานในการ แถลงข่าวความคืบหน้าการก่อสร้างและความพร้อมในการเปิดให้บริการแบบครบวงจร หรือ “one–stop service” เพื่อยกระดับการบริการสุขภาพของคนไทยสู่มาตรฐานสากล ขยายโอกาสการบริการสุขภาพระดับ Premium Hospital ที่ประชาชนคนไทยทุกคน ทุกชนชั้น สามารถเข้าถึงบริการได้ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี ณัฏฐ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา และ เชื้อชาติ วงษ์สวัสดิ์ ร่วมเป็นพิธีกรรับเชิญ และ ผศ. (พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ด้านภาพลักษณ์องค์กร ร่วมให้ข้อมูล พร้อมน�ำคณะสื่อมวลชน เยี่ยมชม และมี ภารดี วงษ์สวัสดิ์ ร่วมเป็นพิธีกรภาคสนาม “จุฬาฯ สุขใจ ผู้บริหารพบประชาคม ครั้งที่ 2” ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อ�ำนวยการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ จั ด รายการ “จุ ฬ าฯ สุ ข ใจ” วั น ผู ้ บ ริ ห ารพบประชาคม ครั้งที่ 2 เพื่อชี้แจงความคืบหน้าจากการเสนอความคิดสร้างสรรค์ของประชาคมในการพัฒนา โรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ พร้อมแถลงวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ การด�ำเนินงาน เพื่อการพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ให้เป็นผู้น�ำด้าน การผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพ สร้างคุณค่าด้านงานวิจัย ด้านวิชาการ พร้อมทั้งการบริการ ทางการแพทย์ เพื่อคุณภาพที่ดีของประชาชน รวมถึงสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประชาคม ขององค์กร ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อพัฒนาน�ำไปสู่ระดับนานาชาติ โดยมีคณะผู้บริหาร คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ, คณะผู ้ บ ริ ห ารโรงพยาบาลจุ ฬ าลงกรณ์ , เจ้ า หน้ า ที่ , บุ ค ลากรคณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ และโรงพยาบาลจุ ฬ าลงกรณ์ สภากาชาดไทย เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมเฉลิม พรมมาส อาคาร อปร โครงการ “โรงพยาบาลจุฬาฯ คืนผืนป่าให้ชาติไทย” ผศ. (พิเศษ) นพ.สุรินทร์ อัศววิทูรทิพย์ ผู้ช่วยผู้อ�ำนวยการฯ ด้านภาพลักษณ์ องค์กร จัดกิจกรรม Corporate Social Responsibilty (CSR) ภายใต้โครงการ “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คืนผืนป่าให้ชาติไทย” เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีจิตส�ำนึก รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งเเวดล้อม โดยมี นพ.วิชัย วิริยะอุตสาหกุล หัวหน้าฝ่าย ผู้ป่วยนอก พร้อมด้วย นายธีรพร ยินเจริญ หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ ร่วมน�ำ บุคลากรจ�ำนวน 116 คน เข้าร่วมกิจกรรมปลูกป่าชายเลน ณ ศูนย์ประสานงาน เพื่ออนุรักษ์ป่าชายเลนของกองทัพบก (ภาคกลาง) ต�ำบลหาดเจ้าส�ำราญ อ�ำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี ในโอกาสที่ฝ่ายผู้ป่วยนอกและฝ่ายประชาสัมพันธ์จัดการสัมมนา ประจ� ำ ปี 2559 เพื่ อ การพั ฒ นาศั ก ยภาพของบุ ค ลากรในการให้ บ ริ ก ารผู ้ ป ่ ว ย ตามพันธกิจของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ฬ.จุฬา

18

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 18

3/21/16 2:26 PM


อบรมแพทยศาสตรศึกษา รศ.พญ.จิ ต ลั ด ดา ดี โ รจนวงศ์ รองคณบดี ฝ ่ า ยวิ ช าการ คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ เป็ น ประธานเปิ ด โครงการ “หลั ก สู ต รอบรมแพทยศาสตรศึ ก ษา” ส� ำ หรั บ คณาจารย์ คณะทั น ตแพทยศาสตร์ แ ละคณะเภสั ช ศาสตร์ จุ ฬ าลงกรณ์ ม หาวิ ท ยาลั ย ซึ่ ง จั ด โดยงาน แพทยศาสตรศึกษา ฝ่ายวิชาการ ณ ห้องประชุม อาคารหอสมุด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ (ชั้น 4) จัดขึ้นเพื่อให้คณาจารย์ได้มีการพัฒนาด้านแพทยศาสตรศึกษา รวมถึงกระบวนการ พั ฒ นาหลั ก สู ต ร วิ ธี ก ารสอน การประเมิ น ผล และมี แ นวคิ ด ในการพั ฒ นาการศึ ก ษา ส� ำ หรั บ บุ ค ลากรวิ ท ยาศาสตร์ สุ ข ภาพ โดยสามารถน� ำ มาประยุ ก ต์ ใช้ ไ ด้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งตาม หลั ก การ เพื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ นโยบายทั้ ง ของคณะแพทยศาสตร์ และจุ ฬ าลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือ แพทย์จุฬาฯ & Erasmus MC ศ.นพ.สุ ท ธิ พ งศ์ วั ช รสิ น ธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ และ Prof. Steven WJ Lamberts, MD., Ph.D. Professor of Internal Medicine, General Director of International Affairs and former President of Erasmus University Rotterdam (delegation leader) ร่วมลงนามบันทึกเพื่อความเข้าใจด้านวิชาการ งานวิจัย และการ แลกเปลี่ยนนิสิตระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กับ Erasmus University Medical Center Rotterdam ประเทศเนเธอร์แลนด์ ณ ห้องประชุม 210 (ชั้น 2) อาคารอานันทมหิดล โดยมี ค ณะผู ้ บ ริ ห ารคณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ ประกอบด้ ว ย รศ.นพ.อรรณพ ใจส� ำ ราญ รองคณบดี ฝ่ า ยวิ รั ช กิ จ รศ.นพ.พงศ์ ศั ก ดิ์ ยุ ก ตะนั น ทน์ รองคณบดี ฝ่ายกิจการนิสิต ศ.พญ.วสี ตุลวรรธนะ รองคณบดี ฝ่ายบัณฑิตศึกษา ศ.ดร.นพ.สิทธิศักดิ์ หรรษาเวก ผู ้ ช ่ ว ยคณบดี ฝ่ า ยกิ จ การนิ สิ ต รศ.พ.ศั ก นั น มะโนทั ย ผู ้ ช ่ ว ยคณบดี ฝ่ า ยวิ ช าการ และ ผศ.ดร.ศุ ภ างค์ มณี ศ รี เลอกรองด์ เลขานุ ก ารคณะกรรมการบริ ห าร คณะแพทยศาสตร์เข้าร่วมพิธี

อาจาริยมิตต์ ประจ�ำปี 2558 รศ.พญ.บุรณี กาญจนถวัลย์ รองคณบดีฝา่ ยบริหาร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เป็นประธานมอบโล่รางวัลและช่อดอกไม้ แสดงความยินดีแก่คณาจารย์ ผู้ได้รับรางวัล “อาจาริยมิตต์” ประจ�ำปี 2558 ซึ่งจัดโดย ฝ่ายวิชาการ คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ เพื่ อ แสดงความยกย่ อ งเชิ ด ชู เ กี ย รติ อ าจารย์ ด้านการเรียนการสอน มีคณาจารย์ผู้ได้รับรางวัล 2 คน ประกอบด้วย ผศ.ดร.พิสิฏฐ์ ประพันธ์วัฒนะ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ และ ศ.พญ.วสี ตุ ล วรรธนะ รองคณบดี ฝ่ า ยบั ณ ฑิ ต ศึ ก ษา คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ ณ ห้ อ งประชุ ม อาคารหอพั ก และพั ฒ นา คณาจารย์ (ชั้ น 25) โดยมี รศ.นพ.ศั ก นั น มะโนทั ย ผู ้ ช ่ ว ยคณบดี ฝ่ า ยวิ ช าการ คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ เป็ น ผู ้ ก ล่ า วรายงานพร้ อ มทั้ ง กล่าวประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ได้รับรางวัล โดยมี ผศ. (พิเศษ) นพ.ภาคภูมิ คั ม ภี ร ์ พั น ธุ ์ ผู ้ ช ่ ว ยคณบดี ฝ่ า ยวิ ช าการ คณะแพทยศาสตร์ จุ ฬ าฯ เป็นผู้ด�ำเนินรายการ ฬ.จุฬา

19

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 19

3/21/16 2:31 PM


MAN OF THE MED

กว่า 20 ปีกับการวิจัย วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

ท�ำวิจัยต้องอดทน

ฬ.จุฬา

20

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 20

การทุ่มเทท�ำอะไรสักอย่างให้ประสบความ ส�ำเร็จ บ่อยครั้งเราต้องใช้ความอดทนและให้เวลา กับมันไม่นอ้ ยทีเดียว การท�ำวิจยั เองก็เช่นกัน กว่าจะ ได้ผลวิจยั ทีน่ า่ เชือ่ ถือ ต้องผ่านขัน้ ตอน ศึกษา ค้นคว้า และใช้เวลาติดตามผลมากพอสมควร เหมือนอย่างที่ ศ.นพ.ยง ภูว่ รวรรณ หัวหน้าศูนย์เชีย่ วชาญเฉพาะทาง ด้านไวรัสวิทยาคลินกิ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะ แพทยศาสตร์ จุฬาฯ ที่ทุ่มเทกับการวิจัยวัคซีนไวรัส ตับอักเสบบี เป็นเวลากว่า 20 ปี เลยทีเดียว อาจารย์ได้เล่าเกีย่ วกับงานวิจยั ชิน้ ทีใ่ ช้เวลา ท�ำยาวนานที่สุดชิ้นนี้ว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับปัญหา และการป้องกันไวรัส ตับอักเสบบีในประเทศไทย ซึ่ ง เริ่ ม ต้ น ด้ ว ยการติ ด ตามผลการฉี ด วั ค ซี น ในเด็ ก แรกเกิดทีค่ ลอดทีโ่ รงพยาบาลจุฬาฯ จ�ำนวน 400 คน จากนั้ น ก็ เ ฝ้ า ติ ด ตามผลของวั ค ซี น ในเด็ ก ทุ ก ๆ ปี จนกระทั่งเด็กอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ เป็นอันเสร็จ สิ้นภารกิจ ซึ่งผลวิจัยออกมาก็คุ้มค่ากับการรอคอย เป็นอย่างยิง่ เนือ่ งจากท�ำให้รวู้ า่ วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ทีฉ่ ดี ให้เด็กตัง้ แต่แรกเกิดนัน้ สามารถคุม้ กันได้ยาวนาน ถึง 20 ปี โดยไม่จำ� เป็นต้องได้รบั การกระตุน้ วัคซีนทุกๆ 5-10 ปี อย่างที่เคยท�ำในอดีต จากการวิจัยนี้ท�ำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ในประเทศไทยครัง้ ยิง่ ใหญ่ อีกทัง้ งานวิจยั ชิน้ นีย้ งั ติด อันดับการท�ำวิจยั ทีย่ าวนานทีส่ ดุ และได้รบั การยอมรับ ในระดับโลกอีกด้วย นี่เป็นเพียงหนึ่งในงานวิจัยที่ประสบความ ส�ำเร็จ มีประโยชน์ และใช้เป็นสือ่ การเรียนการสอนให้ กับนิสิตแพทย์ นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยของอาจารย์ อีกกว่า 20 ชิ้น ในระยะเวลา 35 ปีที่ผ่านมา ซึง่ ล้วน เป็นงานวิจัยที่ทรงคุณค่าและมีประโยชน์ต่อวงการ แพทย์ และเป็นทีย่ อมรับในระดับนานาชาติ มีรางวัล การันตีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลพระราชทาน นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ดี เ ด่ น แห่ ง ชาติ รางวั ล นั ก วิ จั ย

ดีเด่นแห่งชาติ รางวัลมหิดล บี บราวน์ เพื่อการ แพทย์และสาธารณสุขไทย รับพระราชทานเหรียญ ดุษฏีมาลา ปี 2551 เข็มศิลปวิทยา และล่าสุดปี 2558 อาจารย์ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น “ราชบั ณ ฑิ ต ” ประเภทวิ ช าแพทยศาสตร์ แ ละทั น ตแพทยศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์ ส�ำนักวิทยาศาสตร์ แสดงถึงความเป็นผู้ที่มีเกียรติประวัติดีงาม ได้รับการยอมรับและยกย่องจากผู้รู้ในศาสตร์สาขา เดียวกันและจากคนทั่วไป ซึ่งต�ำแหน่งนี้ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว จะทรงพระกรุ ณ าโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ ง เพราะถื อ ว่ า ราชบั ณ ฑิ ต ต้ อ งมี หน้ า ที่ ค ้ น คว้ า และบ� ำ รุ ง สรรพวิ ช าการให้ เ ป็ น คุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยเฉพาะการแต่ง ต� ำ ราเพื่ อ เผยแพร่ ค วามรู ้ ใ ห้ กั บ ประชาชน ดั ง ที่ อาจารย์กล่าวไว้ว่า “เราควรสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อน�ำมาสอนเด็กๆ เพราะเมื่อมีองค์ความรู้ใหม่ๆ ก็จะท�ำให้การเรียนการสอนมีคุณภาพมากขึ้น” ปั จ จุ บั น อาจารย์ ยั ง คงมุ่ ง มั่ น ท� ำ งานวิ จั ย สร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดวิจัย เรือ่ งโรคอุบตั ใิ หม่ (Emerging Infectious Diseases: EID) หรือโรคทีเ่ กิดจากเชือ้ ไวรัสทีส่ ามารถติดต่อกันได้ จากสั ต ว์ สู ่ ค น หรื อ จากคนสู ่ ค น ซึ่ ง เป็ น เรื่ อ งที่ มี ประโยชน์ต่อการรักษาคนไข้ รวมถึงยับยั้งการแพร่ ระบาดที่ อ าจจะเกิ ด ขึ้ น ได้ ใ นอนาคตอี ก ด้ ว ย สุดท้ายนี้อาจารย์ได้ฝากข้อคิดเรื่องการท�ำวิจัยไว้ ด้วยว่า สิ่งที่ควรยึดมั่นในการท�ำงานวิจัยคือ ต้องมี ความอดทน เพราะทุกสิง่ ไม่ได้สำ� เร็จหรือได้มาง่ายๆ ทุกอย่างต้องใช้เวลา และต้องมีความซื่อสัตย์กับมัน ต้องตรงไปตรงมา มีความกตัญญู และตอบแทน บุญคุณต่อองค์กรทีใ่ ห้เราได้ทำ� งาน หากท�ำงานอย่าง มีความสุข ท�ำด้วยความตั้งใจ ผลตอบแทนจากงาน ที่ท�ำก็จะเกิดแก่เราเอง

3/21/16 2:34 PM


แพทย์ผู้อยู่เบื้ิองหลัง วัคซีนไข้เลือดออก ครั้งแรกของโลก

ปฏิเสธไม่ได้วา่ โรคทีม่ ยี งุ ลายเป็นพาหะอย่างโรคไข้เลือดออก ในปัจจุบัน กลายเป็นโรคที่หลายคนหวาดวิตก หลังจากมีข่าวว่ามี ผู้เสียชีิวิตจากโรคนี้เผยแพร่ออกไปตามสื่อต่างๆ จากคนที่เคยคิดว่า โรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องไกลตัว ก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น แต่ ใ นขณะที่ ห ลายคนก� ำ ลั ง หาวิ ธี ท� ำ ลายแหล่ ง เพาะพั น ธ์ุ ยุ ง ลาย ก็มีคนกลุ่มหนึ่งที่พยายามคิดค้นหาวิธีป้องกันโรคนี้ด้วยการคิดค้น วัคซีนไข้เลือดออก และหนึ่งในทีมผู้ทดสอบวัคซีนนี้ก็คือ ศ.พญ.อุษา ทิสยากร เลขาธิการสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเซีย (Secretary General, Asian Society for Pediatric Infectious Diseases) ที่ปรึกษาคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลและทีป่ รึกษา กรมควบคุมโรคติดต่อ ส�ำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ทุ่มเท และมีส่วนร่วมในการวิจัยวัคซีนไข้เลือดออก ซึ่งประสบความส�ำเร็จ เป็นครั้งแรกของโลก อาจารย์ได้เล่าถึงทีม่ าทีไ่ ปของการท�ำวิจยั วัคซีนไข้เลือดออก นี้ ว ่ า เกิ ด จากการพั ฒ นาต่ อ ยอดจากองค์ ค วามรู ้ เ ดิ ม ที่ มี ผู ้ ไ ด้ ท� ำ วิจัยเรื่องนี้ในประเทศไทยมานานกว่า 40 ปี การทดสอบวัคซีน ดังกล่าว ท�ำทัง้ ในทวีปเอเซียและทวีปอเมริกาใต้ ซึง่ เป็นทวีปทีม่ ปี ญ ั หา การระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างหนัก ตลอดจนภาคเอกชนของ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาวัคซีนดังกล่าว โดยเริ่มต้นด้วยการท�ำวัคซีนจากเชื้อไวรัสซึ่งท�ำให้อ่อนแรงลง ต่อมา ได้ใช้วธิ กี ารน�ำบางส่วนของวัคซีนไข้เหลืองมาผสมกับไวรัสไข้เลือดออก และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนได้เป็นวัคซีนไข้เลือดออกที่ใช้ได้ผลถึง 60% ซึ่งเป็นที่พอใจของทีมวิจัยเป็นอย่างยิ่ง แม้จะไม่ได้ผลเต็มร้อย แต่กช็ ว่ ยให้ความรุนแรงของโรคลดน้อยลงมาก และสามารถลดภาระ การเจ็บป่วยและนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยได้ถึง 80% “ทีผ่ า่ นมาในอดีตหลายคนคงเคยได้ยนิ ว่า โรคไข้เลือดออก จะเกิดขึน้ กับเด็กมากกว่าในผูใ้ หญ่ แต่ผลการวิจยั ปัจจุบนั ท�ำให้เห็นว่า โรคไข้เลือดออกได้ระบาดในวัยผูใ้ หญ่มากขึน้ กว่า 50%” และอาจารย์ ยังเสริมอีกด้วยว่า คนมักเข้าใจว่าหากเคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว เมือ่ เป็น ครัง้ ต่อไปจะรุนแรงถึงขัน้ เสียชีวติ ซึง่ ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริงเสมอไป เพราะความรุนแรงยังขึ้นอยู่กับชนิดของสายพันธ์ุไวรัสไข้เลือดออก ทีไ่ ด้รบั โดยไข้เลือดออกมีทงั้ หมด 4 สายพันธุ์ ฺ ทีร่ นุ แรงทีส่ ดุ คือ สายพันธุท์ ี่ 2

MAN OF THE MED

จากการมีวคั ซีนไข้เลือดออก ก็ถอื เป็นก้าวทีส่ ำ� คัญของการร่วมมือกัน ขององค์กรนานาชาติ ในการวิจัยสร้างความก้าวหน้าทางการแพทย์ ที่จะช่วยลดจ�ำนวนผู้ป่วยทั้งในประเทศ และในประชาคมโลก นอกจากอาจารย์จะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ แล้ว ยังเคยด�ำรงต�ำแหน่งนายก สมาคมโรคเขตร้อนนานาชาติ (International Society of Tropical Pediatrics) นายกสมาคมกุ ม ารเวชศาสตร์ แ ห่ ง ประเทศไทย (Pediatric Society of Thailand) เป็นประธานการประชุมโรคติดเชือ้ ในเด็กแห่งเอเชีย ครั้งที่ 8 หรือ 8th Asian Congress of Pediatric Infectious Diseases (ACPID 2016) อีกทั้งยั​ังเคยด�ำรงต�ำแหน่ง นายกสมาคมโรคติ ด เชื้ อ ในเด็ ก แห่ ง ประเทศไทย (Pediatric Infectious Disease Society of Thailand) อี ก ด้ ว ย ถือเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการท�ำงานทั้งในเรื่อง ของงานวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้เดิม เพื่อต่อยอดให้เกิดความ ก้าวหน้าทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อวงการแพทย์ทั้งในระดับ ประเทศและในระดับโลก

ท�ำให้ความรุนแรงของโรค ลดน้อยลงมาก ลดภาระ การเจ็บป่วยและนอนโรงพยาบาล ได้ถึง 80 %

และไม่จ�ำเป็นว่าการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกครั้งที่ 2 จะได้รับเชื้อ สายพันธุท์ ี่ 2 เสมอไป วัคซีนไข้เลือดออกทีพ่ ฒั นาได้นสี้ ามารถป้องกันได้ครบ ทั้ง 4 สายพันธ์ุ และได้ผลดี ในช่วงอายุ 9 - 60 ปี ก็คงต้องใช้ เวลา 1 - 2 ปี ถึงจะได้ใช้วคั ซีนไข้เลือดออกในระบบการสาธารณสุข เพราะต้องขึ้นอยู่กับขั้นตอนและเวลาในการด�ำเนินการ หลังการ ขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยา แต่ถึงอย่างไรผลลัพธ์ส�ำคัญ

CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 21

ฬ.จุฬา

21

3/24/2016 9:41:32 AM


เรืCU ่องเล่Round า เข้าวอร์up! ด เรื่อง : ชุติมา ปานเด ภาพ : www.flickr.com, www.bloggang.com

เล่าสู่กน ั ฟัง

เด็กชายรองเท้าแตะ

ที่ผ่านมานั้น ดิฉันจะเล่าถึงประสบการณ์การดูแลคนไข้ แต่ในวันนี้จะขอเล่าออกไปนอกรั้ว โรงพยาบาลบ้าง เพราะว่าได้มีโอกาสเปิดภาพยนตร์เกี่ยวกับแรงบันดาลใจให้เราเรียนรู้ถึง คุณธรรมข้อหนึ่ง ซึ่งดิฉันจะเล่าเรื่องราวให้ฟังก่อน แล้วค่อยเฉลยว่าเป็นคุณธรรมประการใด

เรื่องราวเป็นภาพของเด็กชายคนหนึ่งแต่งกายด้วยเสื้อผ้าเก่า และรองเท้าแตะที่ดูเก่ากว่าเสื้อผ้าเสียอีก เป็นรองเท้าแตะที่ต้องใช้นิ้วเท้าหนีบ มิหน�ำซ�้ำเมื่อเดินมาถึงสถานีรถไฟ สายตรงที่เท้าหนีบของรองเท้าข้างหนึ่ง ก็หลุดออก เด็กชายต้องนั่งลงและพยายามซ่อมรองเท้าข้างนั้น แต่ก็ไม่ส�ำเร็จ เขาหงุดหงิดมาก แต่ก็แก้ไขท�ำอะไรไม่ได้ ได้แต่นั่งหน้าเศร้า มองรองเท้าที่ใช้งานไม่ได้สลับกับพื้นทางเดินที่ร้อนระอุด้วยแสงแดดยามเที่ยงวัน ทันใดนั้นเขาก็เหลือบไปเห็นรองเท้าหนังสีด�ำมันวาว ของเด็กชาย คนหนึ่งที่เดินตามพ่อและแม่มาที่สถานีรถไฟ เด็กชายรองเท้าหนังแต่งตัวสะอาดสะอ้าน หยิบผ้าสีขาวผืนเล็กๆ ออกมาเช็ดรองเท้าที่เปื้อนฝุ่น ขณะนั่งรอรถไฟ เด็กชายรองเท้าแตะได้แต่นั่งมองรองเท้าหนังสีด�ำที่สวยงามไม่ละสายตา ในใจคิดว่าถ้าได้ใส่รองเท้าที่สวยและใส่สบายอย่างนั้นบ้าง คงจะดีไม่น้อย เสียงระฆังดังขึ้นทุกคนกุลีกุจอวิ่งขึ้นรถไฟ มีคนหลายคนแย่งกันเพื่อขึ้นรถไฟให้ได้ก่อน เด็กชายรองเท้าหนังถูกพ่อของเขาจูงวิ่งไป ขึ้นรถไฟ แต่เด็กชายตัวเล็กถูกเบียดกว่าจะขึ้นรถไฟได้ รองเท้าหนังข้างหนึ่งก็หลุดออกจากเท้าของเด็กชาย เขาไม่สามารถก้มลงเก็บได้เพราะมีผู้ใหญ่ อีกหลายคนดันขึ้นและยืนกั้นอยู่ตรงบันไดรถไฟ เสียงระฆังดังรัวอีกครั้งและรถไฟก�ำลังเคลื่อนตัวออกจากสถานี เด็กชายรองเท้าแตะ มองดูเหตุการณ์ โดยตลอด เขาจึงวิ่งออกมาเก็บรองเท้าหนังข้างที่หล่นอยู่ เด็กชายหยุดคิดแล้วตัดสินใจวิ่งตามรถไฟ เพื่อยื่นรองเท้าหนังให้กับเด็กชายที่ยืนรออยู่ ที่บันไดรถไฟ ขณะรถไฟวิ่งออกจากสถานีเร็วขึ้นเรื่อยๆ เด็กชายรองเท้าแตะซึ่งตอนนี้ใส่รองเท้าเพียงข้างเดียว วิ่งเร็วขึ้น แต่ก็ยังเอื้อมไปไม่ถึงเด็กชาย อีกคน กระทั่งใกล้สุดเขตชานชลา เด็กชายรองเท้าแตะตัดสินใจโยนรองเท้าหนังไปให้ แต่น่าเสียดาย เด็กชายบนรถไฟไม่สามารถรับรองเท้าของเขาได้ เด็กชายรองเท้าแตะรู้สึกเสียใจที่ไม่สามารถคืนรองเท้าให้เจ้าของได้ นึกเห็นใจเด็กชายรองเท้าหนังที่เหลือรองเท้าสวยเพียงข้างเดียว ทันใดนั้นเด็กชาย รองเท้าหนังก็ถอดรองเท้าหนังจากเท้าอีกข้าง โยนส่งให้เด็กชายรองเท้าแตะ ทั้งคู่มองหน้าและส่งยิ้มให้แก่กันด้วยความรู้สึกขอบคุณซึ่งกันและกัน จนกระทั่งรถไฟเคลื่อนลับตาไป คุณธรรมที่กล่าวถึงคือ การให้ เด็กชายที่ขัดสนเรียนรู้ถึงการให้ การให้ที่จริงใจผู้รับย่อมรู้สึกได้ เพียงแค่ได้ให้ไม่หวังผลตอบแทน เราจะได้ ความสุขทันทีเกิดขึ้นในใจเรา ได้รู้ถึงค�ำว่า ยิ่งให้ไปยิ่งได้คืน ในทางตรงข้ามหากเด็กชายรองเท้าแตะไม่รู้จักการให้ และเก็บรองเท้าข้างเดียวไว้ ก็ไม่ได้มีประโยชน์อันใด เพราะรองเท้านั้นเป็นสิ่งที่เราต้องใช้ประโยชน์เป็นคู่ เฉกเช่นเดียวกัน การให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย เราได้รับความ สุขใจ ตอบแทนกลับมาทุกครั้งที่ได้ให้ เพียงเปลี่ยนความคิดจากการครอบครองเป็นแบ่งปัน เรื่องราวที่ตามมาก็จะเปลี่ยนไปเช่นกัน

ฬ.จุฬา

22

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 22

3/21/16 2:37 PM


ว่าที่คุณหมอคนดี เรื่อง : สุรชัย เล็กสุวรรณกุล นายกสโมสรนิสติ คณะแพทยศาสตร์ ภาพ : ภัทรวีร์ วรฉัตร

ผ่ า นไปแล้ ว กั บ ความยิ่ ง ใหญ่ ข องงานฟุ ต บอล ประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 71 นะครับ ในครั้งนี้สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมนี้อยู่มากมาย โดยเฉพาะ อย่ า งยิ่ ง งานปฐมพยาบาลครั บ แต่ น อกจาก ด้านนี้แล้ว ยังมีนิสิตของเราอีกหลายคนที่เข้าร่วม กิจกรรมนีใ้ นฐานะต่างๆ เช่น จุฬาฯ คทากร ผูน้ ำ� เชียร์ ตัวแทนนิสิต (CU Coronet) ซึ่งในวันนี้เราจะมา Insight น้องๆ เหล่านี้กันครับ

Prasita Jakthreemongkol ประสิตา จักรตีมงคล (มายด์) นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 4 “Do Something today that your future self will thank you for.” ในฐานะผูน้ ำ� เชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครัง้ ที่ 71 ได้มโี อกาสท�ำหน้าทีน่ ำ� เพลงของทัง้ 2 มหาวิทยาลัย เพื่อส่งก�ำลังใจให้แก่นักกีฬา และสร้างเสริมความสามัคคีและความหึกเหิม ให้กับรุ่นพี่ รุ่นน้อง และพี่ๆ ศิษย์เก่าซึ่งใน ฐานะทีเ่ ป็นนิสติ แพทย์ เป็นโอกาสทีห่ าได้ยาก และนี่เป็นปีที่ 2 แล้วที่ได้มาเข้าร่วม รู้สึก ประทับใจในความสามัคคีของพีน่ อ้ งชาวจุฬาฯ ที่ท�ำงานกันอย่างหนักในทุกฝ่ายเพื่อให้

งานออกมาดีทสี่ ดุ การเป็นผูน้ ำ� เชียร์ทำ� ให้ตอ้ ง มีความแข็งแกร่ง ต้องเตรียมร่างกายให้พร้อม มีการซ้อม วิ่งวอร์มร่างกาย ฝึกทวนท่า ขณะ เดี ย วกั น ก็ ต ้ อ งแบ่ ง เวลาในการท� ำงานและ เรียนที่คณะด้วย ต้องมีความรับผิดชอบสูงขึ้น เนื่องจากตอนนี้ขึ้นคลินิกแล้ว แต่ก็พยายาม ตั้งใจเรียนในช่วงระหว่างวันและรีบทบทวน ในช่วงก่อนที่จะไปซ้อม และตั้งใจฝึกซ้อม เพื่ อ ไม่ ใ ห้ เ ป็ น ภาระกั บ เพื่ อ นๆ ในกลุ ่ ม เรื่องส่วนตัวก็จ�ำเป็นต้องพักไว้ก่อน

Chanon Boonratanasmai นายชานน บุญรัตนสมัย ( ไอซ์ ) นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 “ชีวิตก็เหมือนการพายเรือทวนน�้ำ ถ้าไม่รุดหน้า ก็เหมือนกับการถอยหลัง” การได้เข้ามาท�ำหน้าทีอ่ นั ทรงเกียรติในการเป็นกลุม่ ตัวแทนนิสติ ฯ (CU Coronet) ในงานฟุตบอล ประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 71 เป็นสิ่งที่ภาคภูมิใจมาก เพราะรู้จักงานฟุตบอล ประเพณีมาตั้งแต่เด็กผ่านทางโทรทัศน์ นอกจากนี้ยังภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนนิสิตฯ และได้สร้าง ชื่ อ เสี ย งให้ กั บ คณะแพทย์ ลบล้ า งความคิ ด ที่ ว ่ า เรี ย นหมอ ต้ อ งเรี ย นต้ อ งอ่ า นหนั ง สื อ อย่างเดียว แต่เรียนหมอก็สามารถท�ำกิจกรรมไปด้วยได้ ซึ่งสิ่งส�ำคัญที่สุดก็คือ การรู้จักแบ่ง เวลาให้ดี เพราะต้องใช้เวลาเตรียมตัวฝึกทัง้ ร่างกายและจิตใจ กลับบ้านมาก็ตอ้ งอ่านหนังสือต่อ และตื่ น มาเรี ย นตอนเช้ า ตามปกติ หากเป็ น ไปได้ จ ะไม่ ย อมขาดเรี ย นแม้ แ ต่ ค รั้ ง เดี ย ว

Suthapong Tripoppoom สุทพงษ์ ไตรภพภูมิ (เสก) นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 “ลดเพื่อเพิ่ม บางครั้งเราต้องลด บางอย่างเพือ่ ได้รบั สิง่ ใหม่ๆ เพิม่ ขึน้ มา” เคยได้ยนิ ความเชือ่ ว่า เด็กในคณะแพทย์ ต้องเป็น เด็กทีเ่ อาแต่เรียนไม่สนใจโลกภายนอก เป็นคณะที่ ปิดกัน้ ตัวเองกับการท�ำความรูจ้ กั คนอืน่ ค�ำพวกนี้ เป็ น เหมื อ นค่ า นิ ย มที่ มั ก จะมองนิ สิ ต แพทย์ ไปในทิศทางนั้น แต่การที่ได้มีส่วนร่วมในงาน ฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์ - จุฬาฯ ครั้งที่ 71 ได้มีโอกาสเข้ามาท�ำหน้าที่เป็น จุฬาฯ คทากร (คทากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้พสิ จู น์ ว่านิสิตแพทย์เองก็มีความครบครันในทุกๆ ด้าน ทั้งการเรียนและกิจกรรม การเข้ามาตรงนี้ท�ำให้ ต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้น เสียสละมากขึ้น แลกกับเวลาที่น้อยลง เพราะต้องแบ่งเวลา ไปซ้อมหลายชัว่ โมง แต่จฬุ าฯ คทากร ก็จะมีชว่ ง หยุดให้อ่านหนังสือสอบ ท�ำให้รู้สึกว่าไม่ได้ ส่งผลกระทบกับการเรียนขนาดนั้น เหมือนได้ เอาเวลาว่างช่วงเย็น กลางคืน จากปกติทนี่ งั่ ดูหนัง ฟังเพลง เที่ยวกับเพื่อน เล่นเฟสบุ๊ค ไปซ้อม ควงคทาเท่านั้นเอง ฬ.จุฬา

23

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 23

3/21/16 2:38 PM


สารพันเรื่องยา เรื่อง : ภญ.พวงเพ็ญ ฤทธีวีรกูล ภาพ : www.flickr.com

โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ของเราได้สมัครเข้าร่วมเป็น 1 ใน 60 โรงพยาบาลน�ำร่องในโครงการโรงพยาบาล ส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล หรือทีเ่ ราเรียกกันว่า Rational Drug Use (RDU) Hospital ในปี 2558 หลายคนคงสงสัย ว่า RDU หรือ Rational Drug Use หรือ การใช้ยาอย่างสมเหตุผล คืออะไร? และต้อง ท�ำอย่างไร โรงพยาบาลของเราจึงจะเป็น Rational Drug Use (RDU) Hospital? ก่อนอื่นเรามาท�ำความรู้จักกับความหมาย ของค�ำว่า Rational Drug Use ก่อนนะคะ ว่ามัน คืออะไร ต ามค� ำ นิ ย ามขององค์ ก ารอนามั ย โลก หมายถึง การที่ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหา สุขภาพ โดยใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ ละราย ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม และมี ค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยสุด แต่ถ้าเป็น ค� ำ นิ ย ามที่ ร ะบุ ไว้ ใ นหนั ง สื อ คู ่ มื อ การใช้ ย าอย่ า ง สมเหตุผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ (Thai National Formulary-TNF ปี 2552 หมายถึ ง การใช้ ย า โดยมีข้อบ่งชี้ เป็นยาที่มีคุณภาพ มีประสิทธิผลจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ ให้ประโยชน์ทาง คลินิกเหนือกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน มีราคาเหมาะสม คุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ไม่เป็นการใช้ยาอย่างซ�้ำซ้อน ค�ำนึงถึงปัญหา เชื้ อ ดื้ อ ยา เป็ น การใช้ ย าอย่ า งเป็ น ขั้ น ตอนตาม มาตรฐานทางวิชาการ โดยใช้ยาในขนาดที่พอเหมาะ กับผู้ป่วยในแต่ละกรณี ด้วยวิธีการให้ยาและความถี่ ในการให้ ย าที่ ถู ก ต้ อ งตามหลั ก เภสั ช วิ ท ยาคลิ นิ ก ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ผู้ป่วยให้การ ยอมรับและสามารถใช้ยาดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง เป็นการใช้ยาที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อให้ ผู้ป่วยทุกคนสามารถใช้ยานั้นได้อย่างเท่าเทียมกัน และไม่ถูกปฏิเสธยาที่สมควรได้รับ

แล้วเราต้องท�ำอย่างไรเพือ่ ให้เป็น Rational Drug Use (RDU) Hospital? “คี ย ์ เวิ ร ์ ด ” ส� ำ คั ญ ที่ ใช้ เ ป็ น กรอบในการ ด�ำเนินงานของโรงพยาบาล และถือเป็นกุญแจส�ำคัญ เพือ่ ความส�ำเร็จ 6 ประการ คือ “PLEASE” ซึง่ ได้มา จากการน�ำตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของกุญแจ ส� ำ คั ญ แต่ ล ะตั ว มาผนวกรวมกั น และยั ง สามารถ สื่ อ ความหมายไปยั ง โรงพยาบาลต่างๆ เป็นนัยยะ PLEASE กรุณาเข้าร่วมเป็น RDU Hospital กันเถอะ “PLEASE” ประกอบด้วยอะไรบ้าง? P: การสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบ�ำบัด (Pharmacy and Therapeutics Committee (PTC) competency; P) L: การจั ด ท� ำ ฉลากยามาตรฐาน ฉลากยาเสริ ม และข้อมูลยาสูป่ ระชาชน (Labeling and Leaflet; L) E: การจั ด ท� ำ หรื อ จั ด หาเครื่ อ งมื อ จ� ำ เป็ น ที่ ช ่ ว ยให้ เกิดการสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Essential RDU tools; E) A: การสร้างความตระหนักรู้ของบุคลากรทางการ แพทย์ แ ละผู ้ รั บ บริ ก ารต่ อ หลั ก เกณฑ์ ใ นการใช้ ย า อย่างสมเหตุผล (Awareness for RDU; A) S: การดูแลด้านยาเพือ่ ความปลอดภัยของประชากร กลุ่มพิเศษ (Special population care; S) Et: การสร้างเสริมจริยธรรมในการสั่งใช้ยา (Ethics in prescription; Et) ส�ำหรับรายละเอียดของ เป้าหมาย ผลลัพธ์ และวิธีการด�ำเนินงาน ในกุญแจ PLEASE แต่ละตัว จะน�ำเสนอในฉบับต่อไปนะคะ... P-L-E-A-S-E

ที่มา : 1. คู่มือการด�ำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital Manual) 2. คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ (Thai National Formulary-TNF) พ.ศ. 2552 ฬ.จุฬา

24

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 24

3/21/16 2:38 PM


SHE

นานาสาระ อาSHEวอนามัย

เรื่อง : ศูนย์อาชีวอนามัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ความปลอดภัย (Safety) สุขภาพ (Health) และสิ่งแวดล้อมในการท�ำงาน (Environment)

งานอาชีวอนามัย (Occupational Health) ในโรงพยาบาลคืออะไร ?

อาชีวอนามัยในโรงพยาบาล คือ การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการท�ำงานของบุคลากรภายในโรงพยาบาลที่มีโอกาสสัมผัสกับสิ่ง คุกคามทางสุขภาพอนามัยและความไม่ปลอดภัยต่างๆ รวมถึงการป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และครอบคลุมถึงการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับ อาชีวอนามัยในการท�ำงานแก่ผู้ปฎิบัติงาน โดยสิ่งคุกคามทางสุขภาพอนามัยจากสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน มีดังนี้ - สิ่งคุกคามด้านกายภาพ เช่น การสัมผัสกับความร้อน, การสัมผัสกับรังสีรักษาหรือการวินิจฉัยโรค, เสียงดังจากเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ - สิ่งคุกคามด้านเคมี เช่น สารเคมีในห้องปฎิบัติการ, เคมีบ�ำบัด, สารฆ่าเชื้อโรคต่างๆ - สิ่งคุกคามด้านชีวภาพ เช่น การสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์, เชื้อโรคจากห้องปฎิบัติการ - สิง่ คุกคามด้านการยศาสตร์และจิตวิทยาสังคม เช่น ท่าทางการยกของ, การเคลือ่ นย้ายผูป้ ว่ ย, ความเครียดจากการดูแลผูป้ ว่ ยทีม่ จี ำ� นวนมาก และรวมถึงความไม่พึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการรับบริการ เป็นต้น หากไม่มกี ารบริหารจัดการสิง่ คุกคามในด้านต่างๆ ย่อมทีจ่ ะส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของบุคลากรในโรงพยาบาล ซึง่ จะมีผลกระทบตามมา มากมาย ดังนั้น โรงพยาบาลจึงจ�ำเป็นต้องมีการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการท�ำงาน โดยก�ำหนดและประกาศนโยบาย ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการท�ำงาน (7 ข้อ) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558 ส�ำหรับการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย นั้น โรงพยาบาลมีความ ตระหนักถึงความส�ำคัญของภาวะสุขภาพของบุคลากรในองค์กร และมีความมุ่งมั่นในการจัดบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการท�ำงาน รวมทั้งสร้างแนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยและสร้างเสริมสุขภาพให้แก่บุคลากร เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นจาก การท�ำงาน เพื่อให้บุคลากรในโรงพยาบาลยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน โดยให้ “คณะกรรมการอาชีวอนามัย” และ “ศูนย์อาชีวอนามัย” เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารและการจัดบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการท�ำงานภายในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แล้วพบกันใหม่...ฉบับต่อไป

ศูนย์อาชีวอนามัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ Occupational Health Center King Chulalongkorn Memorial Hospital โทรศัพท์: 02-256-5020 โทรสาร: 02-256-5017 E-mail: ohc.kcmh@gmail.com Facebook: ศูนย์อาชีวอนามัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อาคาร อปร ชั้น 6 (ห้อง 605/2) อ้างอิง : การบริหารจัดการงานอาชีวอนามัย, คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 25

ฬ.จุฬา

25 3/21/16 2:44 PM


I SEE YOU by หมอชิด เรื่อง : นางสาวธัญญา จิตต์แก้ว นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 5 www.facebook.com/mhorchid ภาพ : www.flickr.com

เพจ facebook : หมอชิด โดย สโมสรนิสิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ขอน�ำเสนอเกร็ดความรู้ทางการแพทย์เล็กๆ ที่อาจไม่เคยรู้ หรือเคยเข้าใจผิดไป “เพราะเรื่องหมอหมอ... ชิดตัวมากกว่าที่คุณคิด”

โอ๊ย น่องเป็นตะคริว! น่ องเป็นตะคริวเกิดจากกล้ามเนื้อ หดตั ว ฉั บ พลั น โดยไม่ ท ราบสาเหตุ ที่ ชั ด เจน อาจเกิดจากการใช้กล้ามเนือ้ มากเกินไป หรือมี อาการเท้าแบน เป็นต้น วิธีแก้ง่ายๆ ได้แก่ การยื ด คลายกล้ า มเนื้ อ โดยการยื ด เข่ า ตรง กระดกข้อเท้าขึน้ หรือลุกขึน้ ยืนและเดิน โดย อาจบี บ น่ อ งเบาๆ และประคบอุ ่ น ไปด้ ว ย แค่นี้ก็เรียบร้อย ส่วนใครที่มีอาการเป็นตะคริว บ่ อ ยๆ แนะน� ำ ว่ า ควรไปพบแพทย์ เ พื่ อ หา สาเหตุที่แท้จริงต่อไปดีกว่านะคะ แหล่งอ้างอิง : uptodate : nocturnal leg cramps

ท�ำไมอายุมากขึ้นจึง อ่านหนังสือใกล้ ๆ ไม่ชัด

วิธีแก้หูอื้อเวลาขึ้นเครื่องบิน

หลายคนคงเคยเห็น บรรดาผู้สูงอายุ ที่อ่านหนังสือแต่ละครั้ง ก็ต้องยืดกันจนเกือบ สุดแขนนั่นเพราะว่าเลนส์ตามีความยืดหยุ​ุ่น น้อยลง ท�ำให้เพ่งมองใกล้ได้ไม่ชดั โดยอาการนี้ จะเริม่ เมือ่ ตัง้ แต่อายุ 40 ปีขนึ้ ไป และมีชอื่ เรียก ที่ถูกต้องคือ สายตายืดหรือสายตาผู้สูงอายุ (Presbyopia) ซึ่งไม่ใช่สายตายาว อาการนี้ อาจเกิ ด ร่ ว มกั บ ความผิ ด ปกติ ข องสายตา อื่นๆ ได้ เช่น สายตาสั้น สายตายาว หรือ สายตาเอียง โดยที่สายตาสั้นและสายตายาว ไม่สามารถเกิดในตาข้างเดียวกันได้ เพราะ สายตายาว (Hyperopia) คื อ ภาวะที่ แ สง หักเหตกลงหลังจอประสาทตา ส่วนสายตา สั้น (Myopia) คือ ภาวะที่แสงหักเหตกลง หน้าจอประสาทตา

อาการหูออื้ ขณะขึน้ เครือ่ งบิน เกิดจาก ความดันในหูและความดันในอากาศไม่เท่ากัน จึงท�ำให้รู้สึกอึดอัดอย่างบอกไม่ถูก เรามาดู วิธีแ ก้ที่ได้ผ ลกั น ดี ก ว่ า - กลืนน�้ำลายบ่อยๆ แต่หากคุณกลืนน�้ำลาย จนหมดเกลี้ยงแล้ว แนะน�ำให้เคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอม จะช่วยกระตุ้นให้กลืนบ่อยขึ้น - บี บ จมู ก และปิ ด ปาก แล้ ว ออกแรงคล้ า ย จะสั่งน�้ำมูกเบาๆ ก็ช่วยได้เช่นกัน - หลีกเลีย่ งการนอนหลับในระหว่างช่วงเครือ่ งบินลดระดับลง เพราะช่วงนอน เราจะกลืน น�ำ้ ลายน้อยลง ท�ำให้หอู อื้ ได้ นอกจากนีก้ ารขึน้ เครื่องบินขณะเป็นหวัด, ไซนัสอักเสบ, ภูมิแพ้ ก�ำเริบ อาจท�ำให้หูอื้อมากขึ้น แต่หากอาการ หูอื้อไม่ดีขึ้นแนะน�ำให้ไปพบแพทย์หู คอ จมูก เพื่อรักษาต่อไปนะคะ

แหล่งอ้างอิง : ต�ำราจักษุวทิ ยา ส�ำหรับนิสติ แพทย์และแพทย์ เวชปฏิบัติทั่วไป ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งอ้างอิง American Academy of Otolaryngology-Head and Neck Surgery Ear and Attitude

ฬ.จุฬา

26

cs6CU MAGAZINE MARCH 2016_V 26_FOR PRINT.indd 26

3/21/16 2:44 PM


2015-03-18 CU_MAG_ISSUE001_COVER_B_SIDE.pdf

C

M

Y

CM

MY

CY

CMY

K

1

3/21/16

9:29 AM



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.