The Olympain Gods

Page 1


ตำ�นานเทพเจ้ากรีก

ตำ�นานเทพกรีกนี้เป็นเรื่องราวของเหล่าเทพเจ้าและวีรบุรุษในตำ�นาน ของชนชาวกรีกโบราณซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีแต่อาจจะแปลกตรงที่หลายชื่อไม่ ค่อยคุ้นหู เพราะหนังสือเล่มนี้อ้างอิงชื่อตามตำ�นานของกรีกโบราณเป็นหลัก ไม่ได้อ้างอิงตามตำ�นานของโรมันซึ่งเป็นอาณาจักรที่เกิดทีหลัง แต่ แ ท้ จ ริ ง แล้ ว เหล่ า เทพเจ้ า ของโรมั น นั้ น ก็ คื อ เทพเจ้ า ที่ ก รี ก นั บ ถื อ นั่นเอง เมื่ออาณาจักรกรีกล่มสลายไปและเกิดอาณาจักรโรมันที่รุ่งเรืองขึ้น มาแทนที่ชาวโรมันก็ได้รับตำ�นานความเชื่อในเหล่าเทพเจ้าของชนชาวกรีก มาด้วยแต่ก็ได้มีการนำ�มาเปลี่ยนชื่อและแต่งเติมเรื่องราวเข้าไปจนกลายเป็น ตำ�นานเทพเจ้าของอาณาจักรตนเอง ตัวอย่างชื่อเทพเจ้าที่แตกต่างกัน เช่น เทพเจ้าสูงสุดกรีกเรียกว่า ซูส แต่โรมันเรียกว่า จูปิเตอร์ กรีกเรียกเทพเจ้าแห่งความรักว่าอีรอส แต่โรมัน เรียกว่าคิวปิด กรีกเรียกเทพีแห่งความงามว่าอะโฟรไดที แต่โรมันเรียกว่า วีนัส เป็นต้น เหตุ ที่ ห นั ง สื อ เล่ ม นี้ อ้ า งอิ ง ชื่ อ และเรื่ อ งราวจากตำ � นานกรี ก เป็ น หลั ก เนื่องจากเมื่อค้นคว้าเรื่องราวต่างๆ เพิ่มขึ้น ก็พบว่าตำ�นานโรมันนั้นมีเรื่องราว ค่อนข้างสับสน ซึ่งเป็นเพราะมีกวีชาวโรมันหลายคนนำ�เรื่องราวของเหล่าเทพ มาแต่งเติมเสริมต่อจนเรื่องราวขัดแย้งกัน ซึ่งหากอ่านเอาแค่สนุกก็นับว่าสนุก ดี แต่ถ้าอ่านให้เป็นเรื่องราวจะทำ�ให้เกิดความสับสนมาก อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตำ�นานที่กล่าวถึงจะอิงของกรีกโบราณแต่เพียง ฝ่ายเดียว ก็หาได้ทำ�ให้อรรถรสในการศึกษาตำ�นานของเทพเจ้าลดน้อยลงไป ไม่ แม้จะพ้นวัยจินตนาการไปแล้ว แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็ควรจะได้จดจำ�เอาไว้เล่า ให้ลูกหลานฟังกันสืบไป

ตามความเชื่อของชนชาติกรีกโบราณ เชื่อกันว่า... อดีตกาลนานแสนนานมาแล้วไม่อาจนับเวลาได้ย้อนหลังไปถึงยุคก่อน กำ � เนิ ด โลกสรรพสิ่ ง ทั้ ง หลายยั ง เป็ น เพี ย งความวุ่ น วายที่ เ วิ้ ง ว้ า งกว้ า งใหญ่ มหึมาจนหาขอบเขตมิได้ มีแต่ความมืดมิด ปราศจากรูปใดๆ เรียกว่า เคออส (Chaos) กาลเวลาล่วงมาอีกนานนับกัปไม่ถ้วน โลกพิภพจึงผุดขึ้นเป็นผืน แผ่นกว้างใหญ่ไพศาล เรียกว่า จีอา (Gaea) ซึ่งถือว่าเป็นจอมมารดาของ สรรพสิ่งทั้งมวลเพราะถือกำ�เนิดขึ้นก่อนใคร ผืนแผ่นดินนี้มีอิทธิฤทธิ์บันดาล ให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และทำ�ให้เกิดพายุได้ ต่อมา จีอาก็บันดาลให้เกิดแผ่นฟ้าที่ดาษดาไปด้วยดวงดาวขึ้นปกคลุม เหนือผืนแผ่นดิน เรียกว่า อูรานอส (Ouranos) ซึ่งถือเป็นจอมบิดาของ สรรพสิ่งทั้งปวงคู่กับจอมมารดาจีอาและบันดาลให้เกิดขุมนรกที่มืดมิดและน่า กลัว เรียกว่า ทาร์ทะรัส (Tartarus) กาลเวลาผ่านมาอีกนับกัปไม่ถ้วนจอมมารดาจีอาและจอมบิดาอูรา นอส จากที่เดิมเป็นเพียงธรรมชาติผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ก็ค่อยๆกลายเป็นจอมเทพ ผู้ทรงอำ�นาจคู่แรก ทั้งสองร่วมกันเถลิงอำ�นาจอยู่ ณ สวรรค์โอลิมปัส ซึ่ง เป็นภูเขาที่สูงตระหง่านตั้งอยู่กลางแผ่นดินสูงขึ้นไปจนสุดชั้นฟ้า ต่อมาไม่นาน จอมมารดาจีอาก็ให้กำ�เนิดเทพบุตร 6 องค์ คือ โอเซียนัส (Oceanus) ซีอัส (Coeus) ครีอัส (Creus) ไฮเพอร์เรียน (Hyperion) ไอแอพิทัส (Iapetus) และโครนัส (Cronus) และให้กำ�เนิดเทพธิดา 6 องค์ นามว่า เธีย (Thea) รี อา (Rhea) ธีมิส (Themis) ธีทิส (Thetis) เนโมซินี (Nemosyne) และฟีบี (Phoebe) เทพบุตรและเทพธิดาทั้ง 12 องค์นี้มีขนาดร่างกายใหญ่มหึมา เรียกว่า ไทแทน (Titan) หรือ ไจแกนทีส (Gigantes) ด้วยขนาดร่างกายที่ใหญ่โต นี้เอง ทำ�ให้จอมบิดาอูรานอสหวาดหวั่น จึงได้จับเทพไทแทนทั้งหมดโยนลงไป ขังไว้ในตรุทาร์ทะรัส (Tartarus) ซึ่งเป็นขุมนรกส่วนที่ลึกที่สุดในยมโลกที่มืด มิด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เทพบุตรหรือเทพธิดาองค์ใดใช้พลังเป็นปฏิปักษ์ กับจอมบิดาได้ ต่อมา จอมมารดาจีอาก็ให้กำ�เนิดโอรสที่ดุร้าย แถมมีร่างกายที่แปลก ประหลาดมากยิ่งขึ้นไปอีก คือ เป็นยักษ์ 50 หัว 100 แขน จำ�นวน 3 ตน คือ คอตทัส (Cottus) เบรียรูส (Briareus) และไกจีส (Gyges)


อูรานอสรู้สึกกลัวในความดุร้ายของยักษ์ 50 หัวพวกนี้ จึงจับพวก เขาโยนลงไปขังในตรุทาร์ทะรัสอีก ต่อมาจอมมารดาจีอาก็ให้กำ�เนิดโอรสเป็น ยักษ์ตาเดียว เรียกว่า ไซคลอปส์ (Cyclops) อีก 3 ตน มีนามตามลำ�ดับว่า ฟ้าลั่น-บรอนทีส (Brontes) ฟ้าแลบ-สเทอโรพีส (Steropes) และแสงสว่าง วาบ-อาจีส (Arges) จอมบิดาอูรานอสก็จับไซคลอปส์ทั้งสามโยนลงไปขังไว้ ในตรุทาร์ทะรัสอีกเช่นเดียวกัน ด้วยแสงสว่างจากไซคลอปส์ทั้งสาม ในตรุทาร์ทะรัสที่มืดมิดจึงพอมอง เห็นกันได้ เมื่อเริ่มมองเห็นแสงเทพไทแทนก็เริ่มคิดหาทางเป็นไทแต่ก็หาวิธีออก จากตรุทาร์ทะรัสไม่ได้ ฝ่ายจอมมารดาจีอานั้นรู้สึกไม่พอใจที่อูรานอสจับลูกๆ ลงไปขังไว้ใน ตรุทาร์ทะรัสทั้งหมด แต่แม้จะห้ามปรามอย่างใรอูรานอสก็ไม่ฟัง จอมมารดาจี อาจึงลงไปที่ตรุทาร์ทะรัสและยุยงลูกๆ ให้ร่วมคิดกันแย่งอำ�นาจจากบิดาให้จง ได้ แม้เทพไทแทนจะอยากเป็นอิสระจากตรุทาร์ทะรัสแต่เมื่อคิดถึงการต้อง ไปต่อสู้แย่งชิงอำ�นาจจากจอมบิดาอูรานอสก็ไม่มีใครกล้าพอ ยกเว้นโครนัส น้องสุดท้องคนเดียวที่กล้าจะทำ�ตามคำ�ยุยง จอมมารดาจีอาจึงช่วยโครนัสให้ หลุดจากพันธนาการ และมอบเคียวให้เป็นอาวุธเพื่อไปสู้กับจอมบิดา ตกกลางคืนโครนัสก็ไปแอบรอท่าอยู่ใต้เตียงอูรานอสกับจีอา เมื่ออู รานอสหลับ โครนัสก็ถือเคียวอาวุธคู่มือเข้าจู่โจมจอมบิดาอูรานอสโดยไม่ให้ รู้ตัว อูรานอสกำ�ลังน้อยกว่าแถมไม่รู้ตัวมาก่อนทำ�ให้เสียเปรียบ ยิ่งต่อสู้กัน นานไปก็ยิ่งได้รับบาดเจ็บมีบาดแผลทั่วร่าง เลือดของอูรานอสแต่ละหยดเมื่อ ตกต้องผืนแผ่นดินก็กลายเป็นยักษ์ ภูติอีรินิส และพรายน้ำ� จำ�นวนมาก ในที่สุดอูรานอสก็พ่ายแพ้และถูกโครนัสใช้เคียวตัดอัณฑะขว้างทิ้งลง ทะเลและยึดอำ�นาจบนเขาโอลิมปัสไปได้ ก่อนจะสิ้นชีวิตอูรานอสได้กล่าวสาป แช่งโครนัสว่าวันหน้าขอให้โครนัสถูกลูกของตนเองแย่งชิงอำ�นาจไปเหมือนกับ ที่ตนเองถูกกระทำ� โครนัสจัดแจงปล่อยเทพไทแทนทั้งหมดออกจากขุมนรกทาร์ทะรัส ซึ่ง เทพไทแทนทุกองค์รู้สึกปิติยินดีในอิสรภาพเป็นอย่างยิ่งจึงพร้อมใจกันยกให้ โครนัสเป็นเทพบิดาปกครองเทพทั้งมวลอยู่ที่เขาโอลิมปัส

เมื่อโครนัสยึดอำ�นาจจากอูรานอสจอมบิดาได้แล้วก็ได้ขึ้นเถลิงอำ�นาจ เป็นจอมเทพแห่งเขาโอลิมปัสสืบแทนจอมบิดาและได้แบ่งปันอำ�นาจหน้าที่ให้ พี่ๆ ที่เป็นไทแทน คือ โอเชียนัส เป็นเทพคุ้มครองมหาสมุทรและแม่น้ำ� ซีอัส เป็นเทพแห่งภูมิปัญญา ครีอัส เป็นเทพคุ้มครองฝูงแกะ ไฮเพอร์เรียน เป็นเทพคุ้มครองดวงอาทิตย์และไฟ ไอแอพิทัส เป็นเทพสงคราม เธีย เป็นเทพีแห่งการมองเห็น รีอา เป็นเทพีคุ้มครองการแต่งงาน ธีมิส เป็นเทพีความยุติธรรม ธีทิส เป็นเทพีคุ้มครองเด็กและสายน้ำ�ใต้ดิน เนโมซินี เป็นเทพีแห่งความทรงจำ� ฟีบี เป็นเทพีแห่งความฉลาด จากนั้นบรรดาเทพไทแทนต่างก็มีคู่ครองแต่อาจเป็นเพราะสวรรค์ยังมี เทพจำ�นวนน้อยเทพไทแทนส่วนใหญ่จึงจับคู่แต่งงานกันเองในระหว่างพี่น้อง คือ โอเชียนัสกับทีธิส มีธิดาชื่อ คลีมีน (Clemene) ยูริโนม (Eurynome) มีทิส (Metis) และเทพธิดาดูแลสายน้ำ�อีก 3,000 องค์ ซีอัสกับฟีบี มีธิดาด้วยกัน 2 องค์ คือ เอสเทอเรีย กับลีโต (มารดา ของเทพอพอลลอนกับเทพีอาร์ทีมิส) ครีอัสกับยูรีเบีย (Eurybia) มีบุตรด้วยกัน 3 องค์ คือ เพอร์สเซส (Perses) พอลลัส (Pallas) และแอสตราเอียส (Astraeus) ไฮเพอร์เรียนกับเธียมีบุตรธิดา 3 องค์ คือ ฮีเลียส-พระอาทิตย์ ซีลีนพระจันทร์ และอีออส-รุ่งอรุณ ไอแอพิทัสกับคลีมีน ธิดาของโอเชียนัสกับธีทิสมีบุตร คือ แอตลาส โป รมิธิอุส และเอปิธิอุส เนโมซินี กับธีมิสครองตัวเป็นโสดไม่จับคู่กับผู้ใด ส่วนโครนัสนั้นเลือก รีอาผู้ซึ่งเป็นเทพธิดาที่สวยที่สุดเป็นคู่ครอง


กำ�เนิด ซูส ราชาแห่งทวยเทพ

เทพซุส (Zeus) หรือ ภาษาโรมันว่า จูปิเตอร์ (Jupiter) เป็นราชาแห่งทวยเทพ ผู้ปกครอง เขาโอลิมปัส (Olympus) และ เทพแห่งท้องฟ้า ฟ้าร้อง ของตำ�นานเทพปกรณัมกรีก มี อสนีบาต (Thunder bolt) เป็นอาวุธประจำ�กายทรงเกราะทองประกายวาววับ ซึ่งเกราะทองนี้มนุษย์ทั่วไป จะไม่สามารถทนมองดูได้ แม้แต่ทวยเทพด้วยกันเอง หากไปเพ่งมองแสงเจิดจ้า ของเกราะทองเข้า ก็ย่ำ�แย่เช่นกัน เทพซุสมีพญานกอินทรีเป็นบริวาร ต้นโอ๊คเป็นต้นไม้ประจำ�องค์ มีมหาวิหาร และ ศูนย์กลางศรัทธา อยู่ที่เมืองโอลิมเปีย สัญลักษณ์ประจำ�พระองค์คือ โคเพศผู้ นกอินทรี และต้น โอ๊ก ตำ�นานกล่าวว่า เมื่อสมัยที่เทพเจ้าโครนัส ยังครองอำ�นาจเหนือเหล่าเทพทั้งปวงอยู่ ณ สวรรค์โอลิมปัสเป็นสุขสงบมาแสนนาน เป็นยุคสมัยแห่งความยิ่งใหญ่ของเทพไทแทน จนกระทั่ง วันหนึ่งพระนางรีอาก็ให้กำ�เนิดเทพบุตรองค์แรกคำ�สาปของอูรานอสจอมบิดาก็ผุดขึ้นในความทรง จำ�ของโครนัสทันที โครนัสจึงรีบไปหาพระนางรีอาและจับเทพบุตรนั้นกลืนกินเสีย หลังจากนั้นโค รนัสก็ยังกลืนกินเทพบุตรและเทพธิดาองค์ต่อๆ มาอีกรวม 5 องค์ พระนางรีอาพยายามขอร้องให้ โครนัสไว้ชีวิตบุตรที่เกิดใหม่ แต่โครนัสกลัวคำ�สาบแช่งของจอมบิดาจึงไม่ยอมฟัง พระนางรีอาจึง ปรึกษากับจอมมารดาจีอาและวางแผนช่วยชีวิตบุตรองค์ต่อไปให้รอดพ้นจากการถูกโครนัสกลืน กินให้จงได้ ครั้งถึงเวลาประสูติบุตรองค์ต่อไปเป็นเทพบุตรชื่อว่า ซูส (Zeus) หรือ เซอุส พระนางรีอา ก็เอาซูสไปซ่อนเสียก่อนที่โครนัสจะมาถึง ส่วนจอมมารดาจีอาก็เอาหินก้อนหนึ่งมาห่อผ้าไว้ทำ�ทีว่า เป็นเด็กเกิดใหม่ให้พระนางรีอาอุ้มไว้ โครนัสได้ข่าวการประสูติของเทพบุตรองค์ใหม่ก็รีบมาหมาย จะจับกินเสีย พระนางรีอาแสร้งทำ�เป็นอ้อนวอนขอชีวิตไว้แต่โครนัสไม่ยินยอมเช่นเดิม โครนัสแย่ง ผ้าห่อก้อนหินไปจากพระนางรีอาและกลืนกินลงท้องไปโดยเข้าใจว่าเป็นบุตรที่เกิดใหม่แล้วก็กลับไป โครนัสกลับไปแล้วพระนางรีอาก็จัดแจงฝากฝังซูสให้นางอัปสรนีเรียด ธิดาของผู้เฒ่าทะเลนี รูส นำ�ไปเลี้ยงดู นางอัปสรจึงพาซูสไปเกาะครีตโดยนำ�ซูสไปไว้ในถ้ำ�บนยอดเขาไอคา และเลี้ยงดูด้วย น้ำ�นมจากนางแพะชื่อว่าแอมัลเธีย (Amalthea) โดยมีกลุ่มสาวกของพระนางรีอา เรียกว่า คิวรีทิส ทำ�หน้าที่เป็นอาจารย์สอนสรรพวิชาให้ซูส ระหว่างที่ซูสยังเป็นทารกน้อย นางอัปสรนีเรียดต้องหา วิธีป้องกันไม่ให้โครนัสรู้ว่าซูสยังมีชีวิตอยู่ โดยการผูกเปลกับต้นไม้ให้ซูสนอน โครนัสที่คอยสอด ส่องทั้งบนสวรรค์และบนดินจึงมองไม่เห็นซูสที่ไม่ได้อยู่ทั้งบนสวรรค์และบนแผ่นดิน นอกจากนี้เหล่าคิวรีทิสก็ช่วยกันคิดค้นเพลงเต้นรำ�แบบหนึ่งขึ้นเพลงเต้นรำ�แบบนี้ต้องใช้ เสียงประสานของอาวุธที่อึกทึกจนกลบเสียงร้องของซูสไว้ไม่ให้ได้ยินไปถึงสวรรค์ ฝ่ายโครนัส สำ�คัญผิดว่าคำ�สาปของจอมบิดาไม่เป็นผลแล้วก็สิ้นวิตกมิได้แยแสกับเสียงเอ็ดอึงของเหล่าคิวรีทิส


ทำ�ให้ซูสสามารถดำ�รงค์ชีวิตอยู่ได้จนเติบใหญ่เป็นเทพบุตรหนุ่มที่แข็งแรง และได้นำ�หนังนางแพะแอ มัลเธียที่ตายไปแล้วมาทำ�เป็นโล่ห์ประจำ�ตัว เทพบุตรหนุ่มซูสกลับมารบกับโครนัสผู้เป็นบิดาในที่สุดโครนัสก็เป็นฝ่ายปราชัยให้แก่ ซูสที่มีพลกำ�ลังเหนือกว่าซูสจับตัวโครนัสไว้และปรึกษาพระนางรีอาผู้เป็นมารดาว่าจะทำ�อย่างไร พระนางรีอาแนะนำ�ให้มีทิสธิดาของโอเชียนัสปรุงยาสำ�รอกและบังคับให้โครนัสดื่ม โครนัสดื่มยานั้น ไปแล้วจึงได้สำ�รอกเทพบุตรและเทพธิดาที่กลืนลงท้องไปออกมาหมดทุกองค์ รวมทั้งหินที่เข้าใจว่า เป็นซูสด้วย เทพบุตรและเทพธิดาพี่ๆ ของซูสที่โครนัสสำ�รอกออกมา คือ เฮสเทีย (Hestia) ดีมิเตอร์ (Demeter) ฮีรา (Hera) ฮาเดส (Hades) และโปไซดอน (Poseidon) ตามลำ�ดับ สำ�หรับก้อนหินที่โครนัสสำ�รอกออกมาด้วยนั้น ภายหลังได้เอาไปเก็บรักษาไว้เป็นที่เคารพ บูชาแทนองค์ซูส ณ วิหารเดลฟี (Delphi) จากนั้นซูสก็เนรเทศโครนัสออกไปจากเขาโอลิมปัส เมื่อซูสยึดอำ�นาจจากโครนัสได้สำ�เร็จ ซูสก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นจอมเทพแห่งสวรรค์โอ ลิมปัส โดยมีพี่ๆ ที่สำ�รอกออกมาจากท้องโครนัสเป็นกำ�ลังสนับสนุน ฝ่ายโครนัสเมื่อถูกขับไล่ออกจากสวรรค์โอลิมปัสก็ไปรวบรวมกำ�ลังกลับมาทวงอำ�นาจ คืนจากซูส กองกำ�ลังฝ่ายโครนัสประกอบด้วยเทพบุตรไทแทน คือ ซีอัส ครีอัส ไฮเพอร์เรียน และ ไอแอพิทัส ส่วนโอเชียนัสกับเทพธิดาไทแทนที่เหลือวางตัวเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใด นอกจากนี้โค รนัสก็ยังมีหลานๆ มาเป็นกำ�ลังสนับสนุนในการศึกนี้ด้วย ที่เป็นจอมทัพคนสำ�คัญ คือ แอตลาส โอรสของไอแอพิทัสกับคลีมีน สงครามแย่งชิงบัลลังก์สวรรค์เป็นไปอย่างดุเดือดยาวนานถึง 10 ปี ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพลี่ยงพล้ำ� ในที่สุดจอมมารดาจีอาก็พยากรณ์ว่าหากต้องการชัยชนะ ซูสจะต้องใช้อาวุธที่ทรง ประสิทธิภาพจากตรุทาร์ทะรัส ซูสเชื่อคำ�พยากรณ์ จึงลงไปยมโลก ขอให้ไซคลอปส์ยักษ์ตาเดียวทำ�อาวุธให้แลกกับการ ปลดปล่อยให้เป็นอิสระจากตรุทาร์ทะรัส ยักษ์ไซคลอปส์จึงผลิตสายฟ้ามอบให้ซูสใช้เป็นอาวุธ สร้างตรีศูลให้โปไซดอน และทำ�หมวกล่องหนให้ฮาร์เดส จากนั้นซูสก็พายักษ์ไซคลอปส์และยักษ์ 50 หัวจากตรุทาร์ทะรัสมาเป็นพวกต่อสู้กับฝ่ายโครนัส ด้วยอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพของเทพทั้งสาม ในที่สุดซูสก็จับโครนัสได้ และพวกไทแทน บริวารก็ยอมแพ้ศิโรราบ

ซูสลงโทษโครนัสและบริวารโดยการเนรเทศน์โครนัสให้ไปอยู่เกาะกลางทะเล ซึ่งต่อมาโครนัสก็ สามารถหนีออกจากเกาะนั้นได้และไปอาศัยอยู่ที่เฮสเพอเรียซึ่งก็คือดินแดนอิตาลีในปัจจุบันอย่าง สงบ แอตลาสถูกลงโทษให้เป็นผู้แบกสวรรค์ไว้บนบ่า ส่วนผู้สนับสนุนอื่นๆ ก็ถูกจับไปขังในตรุ ทาร์ทะรัส เสร็จศึกครั้งนี้ซูสก็แบ่งการปกครองออกเป็น 3 ส่วน คือ ตัวซูสเองปกครองสวรรค์และ พิภพ ฮาเดสปกครองขุมนรกและบาดาล ส่วนโปไซดอนปกครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยเหลือม หาสมุทรรอบนอกให้โอเชียนัสปกครองต่อไป ส่วนยักษ์ไซคลอปส์ก็ช่วยสร้างพระราชวังที่โอ่โถงสง่างามบนยอดเขาโอลิมปัสมอบให้ซูส จอมเทพ พระราชวังนี้อยู่สูงเหนือเมฆและสามารถมองได้ไกลรอบด้าน จอมเทพซูสจึงสามารถมอง เหตุการณ์ต่างๆบนโลกมนุษย์ได้จากพระราชวังแห่งนี้ เมื่อสงครามสงบ ซูสซึ่งมีความพึงพอใจในตัวมีทิสเทพธิดาไทแทนที่มาช่วยทำ�ยาสำ�รอกให้ โครนัสดื่มก็คอยเฝ้าตามตื้อมีทิสไปทุกแห่ง หวังจะได้นางเป็นชายา ฝ่ายมีทิสนั้นก็พยายามหลีก หนีโดยแปลงร่างไปต่างๆ นานา แต่ซูสก็ยังติดตามไปไม่ห่าง ในที่สุดมีทิสก็ยอมแพ้ความพยายามของซูสและยอมรับซูสเป็นสวามีจนตั้งครรภ์ขึ้น แต่ จอมมารดาจีอากลับพยากรณ์ว่าหากมีทิสมีโอรส โอรสนั้นจะโค่นอำ�นาจของซูส ด้วยความเกรง กลัวคำ�พยากรณ์ซูสจึงจับมีทิสกลืนลงท้องไป ต่อมาไม่นานซูสก็มีอาการปวดหัวจนทนไม่ไหวต้องผ่าหัวออก จึงปรากฎร่างของเทพีเอเธ นาในชุดนักรบเดินออกมาจากหัวของซูส เทพีเอเธนานี้เป็นธิดาของซูสกับเมทิส เป็นเทพีแห่งสติ ปัญญา และมักจะอยู่ใกล้ๆ ซูสเพื่อให้คำ�แนะนำ�ซูสตลอดมา เมื่อสิ้นมีทิสไปแล้ว ซูสก็เจ้าชู้มีชายาไปทั่ว แต่ที่หมายมั่นปั้นมือมากที่สุดก็คือเทพธิดาฮีรา พี่สาวสุดสวย ฝ่ายฮีราก็เอาแต่หนีด้วยกลัวความเจ้าชู้ของน้องชายจนซูสไม่อาจเข้าใกล้ตัวฮีราได้ ซูสจึงใช้แผนแปลงร่างเป็นนกน้อยบินฝ่าสายฝนไปตกตรงหน้าฮีรา ฮีราเห็นนกน้อยที่น่าสงสารบินหมดแรงมาตกตรงหน้า เนื้อตัวสั่นเทาด้วยความหนาว นาง จึงโอบอุ้มนกน้อยนั้นไว้แนบออกเพื่อให้ไออุ่น ซูสได้ทีก็แปลงร่างกลับเป็นจอมเทพและกอดฮีราไว้ จนนางไม่อาจหนีได้อีกต่อไป ด้วยอุบายของซูสทำ�ให้ฮีรารู้สึกอับอายจึงยินยอมอภิเษกกับซูสหลังจากที่หลีกหนีซูสมา ได้ถึง 300 ปี และฮีราก็อยู่ช่วยซูสปกครองสวรรค์ที่เขาโอลิมปัสตลอดมา


พระนางฮีราหรือเฮร่าให้กำ�เนิดโอรสธิดากับซูส คือ ฮีบี้ (Hebe) อิลลิธธียา (Ilithyia) และแอ รีส (Ares) และด้วยอารมณ์โกรธที่เห็นซูสให้กำ�เนิดเทพีเอเธนาจากศีรษะ พระนางฮีราก็ให้กำ�เนิด โอรสโดยไม่พึ่งพาซูสบ้าง โอรสองค์นั้นคือ เฮฟิสทัส ด้านการปกครองสวรรค์ในยุคแรกนั้น ซูสถูก ท้าทายอำ�นาจอีกหลายครั้ง เริ่มจากจอมมารดาจีอาที่มีความไม่พอใจซูส เนื่องจากซูสจับไทแทนซึ่งเป็นโอรสและธิดา ของจอมมารดาจีอาหลายองค์ไปขังไว้ในตรุทาร์ทะรัส จอมมารดาจีอาจึงเนรมิตอสูรขึ้นตนหนึ่ง เรียกว่า ไทฟอน (Typhon) เป็นอสูรที่ดุร้ายและมีร่างกายประหลาดน่ากลัวมาก คือ มีหัวเป็น มังกรนับร้อยหัวที่ยาวเกือบจะถึงดวงดาว มีเปลวไฟพิษพวยพุ่งออกจากดวงตา มีลาวาไหลออก จากปากแผดเสียงก้องกัมปนาทตลอดเวลาดังกว่าราชสีห์คำ�รามพร้อมกันเป็นร้อยตัว มันหักยอด เขาขว้างใส่เหล่าทวยเทพจนเทพทั้งหลายต่างตกใจพากันหนีเตลิดจากเขาโอลิมปัสไปหลบซ่อนตัว กันจ้าละหวั่น และด้วยความที่กลัวว่าอสูรจะตามทัน เทพเหล่านั้นยังจำ�แลงองค์เป็นสัตว์นานาชนิด ด้วยเพื่อมิให้อสูรจำ�ได้ เช่น ซูสจำ�แลงร่างเป็นแกะ ฮีราจำ�แลงร่างเป็นโค เป็นต้น แต่เทพีแห่งสติปัญญาเอเธนาได้กล่าววาจาเตือนสติซูสจนซูสเกิดความละอายจึงกลับคืนสู่ เขาโอลิมปัสอีกครั้งเพื่อหาทางปราบอสูรไทฟอน ส่วนเทพอื่นๆ เมื่อได้สติก็กลับมาช่วยซูสต่อสู้กับ ไซฟอน ซูสใช้สายฟ้าอาวุธประจำ�ตัวต่อสู้กับอสูรไทฟอนอย่างดุเดือด จนยากที่จะมีผู้ใดรอดชีวิต อยู่ได้หากเข้าไปใกล้บริเวณสู้รบ การสู้รบดำ�เนินไปเป็นเวลานาน ไทฟอนหันไปหักยอดเขาเอตนา มาขว้างใส่ซูส แต่ซูสก็ใช้สายฟ้าฟาดยอดเขาเอตนาลอยละลิ่วกลับมาทับอสูรไทฟอนไว้ใต้เขาจนไม่ สามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ได้อีก ซูสจึงได้รับชัยชนะจากการต่อสู้ครั้งนี้ ส่วนไทฟอนก็ยังคงถูกทับอยู่ ใต้เขา และมันยังคงพยายามพ่นไฟ พ่นลาวา ออกมาอยู่บ่อยๆ ต่อมาไม่นานนักจอมมารดาจีอาก็เนรมิตยักษ์ร้ายชื่อเอนเซลาดัส (Enceladus) มาต่อสู้ กับซูสอีก แต่ซูสก็สามารถจับยักษ์ร้ายเอนเซลาดัสไว้ได้ ซูสจับเอนซาลาดัสล่ามโซ่และขึงพืดไว้ใต้ ภูเขาเอตนา เอนเซลาดัสคำ�รนคำ�รามแผดเสียงกึกก้องอยู่ใต้เขาเอตนาบางทีก็พ่นไฟขึ้นหวังจะทำ� อันตรายซูส ทำ�ให้เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดอย่างรุนแรง แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปเอนเซลาดั สก็เริ่มอ่อนแรงจึงหยุดสำ�แดงฤทธิ์อาละวาด เพียงแต่ขยับตัวทำ�ให้เกิดแผ่นดินไหวเป็นครั้งคราว เท่านั้น เมื่อทั้งอสูรไทฟอนและยักษ์ร้ายเอนเซลาดัสพ่ายแพ้อย่างราบคาบ จอมมารดาจีอาก็เลิกคิด จะเนรมิตสัตว์ร้ายใดๆ มาทำ�ร้ายซูสอีก สรวงสวรรค์จึงสงบขึ้น

หากกล่าว ถึงบทบาทของเทพซุสแล้ว ต้องยอมรับว่า มีบทบาทขัดแย้งในองค์เองมากที่สุด ในบรรดาเทพด้วยกัน เนื่องจากทรงเป็นมหาเทพผู้ทรงอำ�นาจสูงสุด และมีผู้เคารพนับถือโดย ทั่วไปเป็นที่ยำ�เกรงของสามโลก ทรงไว้ซึ่งฤทธิ์อำ�นาจ ล้นฟ้าล้นแผ่นดิน แต่กลับทรงมีอุปนิสัย เหมือนบุรุษหนุ่มธรรมดา ๆ นั่นคือ ความเกรงใจ ที่มอบให้แก่มหาเทวี ฮีร่า ชายาของเทพซุสเอง เป็นอย่างมาก ซึ่งก็คืออาการ “กลัวเมีย” และสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ ความเจ้าชู้ที่มีอยู่ในตัว มหาเทพซุสนั่นเอง ความขัดแย้งอีกประการ หนึ่งที่มีอยู่ในตัวมหาเทพองค์นี้ คือ แม้ว่าเทพซุสจะมีอำ�นาจสูงสุด ทั่วสามภพ แต่ไม่อาจใช้อำ�นาจของตน ไปแตะต้องเทพองค์หนึ่งได้ ทั้ง ๆ ที่เทพองค์นั้นก็เป็นเพียง เทวะชั้นรอง และไม่สามารถมาประชันขันแข่งกับซุสได้ เทพองค์นั้นมีนามว่า ชะตาเทพ (Fate) ซึ่ง บ่งบอกให้เราทราบว่าไม่มีผู้ใดเลย หรือ แม้แต่เหล่าทวยเทพ จะหาญสู้หลีกเลี่ยง หรือก้าวก่ายกับ ชะตาชีวิตได้ ด้วยเหตุนี้ การที่มหาเทพซุสมีอะไรแย้ง ๆ กันในองค์เอง อาจเป็นเพราะชาวกรีกโบราณที่ สร้าง เหล่าทวยเทพ ขึ้นนับถือมีความเป็นนักปรัชญาอยู่เต็มตัว เขาจึงสร้างทวยเทพของเขาให้ ละม้ายคล้ายกับมนุษย์ปุถุชน มีทั้งข้อดี และจุดบกพร่อง คุณงามความดีอันสำ�คัญของมหาเทพ ซุสเป็นอีกอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้ที่เคารพนับถือเป็นนักปราชญ์มากกว่านักสงคราม ก็คือ ซุส ทรงรักสัจจะ และความเป็นธรรมอย่างที่สุด ทรงเกลียดชังคนโกง และคนโกหกอย่างที่สุด การ แข่งขันกีฬาโอลิมปิกเพื่อถวายแด่พระองค์ นักกีฬาจึงต้องแข่งกันอย่างตรงไปตรงมา แต่ในยาม โกรธเกรี้ยว และต้องลงทัณฑ์ต่อความผิด เทพซุสก็โหดเช่นกัน เช่น ตอนโพรเมธุสขโมยไฟจาก สวรรค์มาให้มนุษย์ พระองค์ตามล่าจนได้ตัวแล้วนำ�โพรเมธุสฝังเข้าไปในหิน 30,000 ปี และยังได้ ส่งนกอินทรีย์ มากินตับโพรเมธุสทุกวันอีกด้วย ความเจ้าชู้ ดูเหมือนจะกลายเป็นภารกิจหลักของมหาเทพ แต่ก็ใช่ว่าซุส จะประสบความ สำ�เร็จทุกครั้ง คนที่พ้นมือไปได้ก็ยังพอมีอยู่ เช่นนางอัปสร (Nymph) ที่มีนามว่าแอสทีเรีย เธอ แปลงเป็นนกกระทาบินหนีไป หรือ เทย์กีต ลูกสาวของแอตลาสก็เกือบไป เพราะ เทพีอาร์เทมีส มา พบเข้าพอดี แล้วช่วยแปลงนางเป็นกวาง จนนางวิ่งเร็วกว่าซุสหายไปในป่า วันเวลาผ่านไป เมื่อซูสเติบใหญ่ขึ้นนิสัยมุทะลุวู่วาม เอาแต่ใจก็ลดน้อยลง กลายเป็น มหาเทพที่ฉลาดและสามารถปกครองสามโลกได้อย่างเที่ยงธรรม และปล่อยบรรดาไทแทนออกมา จากตรุทาร์ทะรัสด้วย


ราชินีของเทพธิดา เฮร่า,ฮีร่า (Hera) หรือ ภาษาโรมันว่า จูโน (Juno) เป็นราชินีของเทพธิดาทั้งหลาย และ ทรงพยายามอย่างที่สุดที่จะไม่ใส่พระทัยกับเรื่องราวรักๆ ใคร่ๆ ที่ไม่ถูกทำ�นองคลองธรรมของ สวามี ฮีราได้รับการกล่าวขานว่าเป็นเทพธิดาผู้มีพระกรใสกระจ่างดุจงาช้าง ในตำ�นานโบราณสัตว์ ประจำ�องค์ของเทพีฮีราคือวัว แต่ในตำ�นานยุคใหม่นกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำ�พระองค์ และจะ ตามเสด็จอยู่ไม่ห่าง เทพีฮีราเป็นที่รู้จักกันดีในด้านของอารมณ์ดุร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่นๆของ ซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางจะเป็นเทพีหรือเป็นมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของ ผู้ที่ถูกเทพีฮีราปองร้ายมีมากมาย เช่น เทพีลีโต มารดาของเทพอพอลโล่และเทพีอาร์ทีมิส เฮอร์ คิวลิส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดโอนิซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบ ไม่สวยงาม เพราะเป็นชายาของซุส และ เฮร่า ยังเป็นธิดาคนโตของ เทพไทแทนโครนัส กับเทพีรี อา อีกด้วย ต่อมาในตอนหลังได้อภิเษกสมรสกับ ซุส ซึ่งเป็นน้องชายของนาง ทำ�ให้นางกลายเป็น ราชินีสูงสุดในสวรรค์ชั้นโอลิมปัส โครนอส และ รีอา มีบุตรธิดาด้วยกันห้าองค์ซึ่งโครนอสกลืนลงท้องไปซะสี่องค์ เหลือซุสผู้ เดียว ที่เหลือรอดกลับมาทวงสิทธิคืน(ด้วยกำ�ลัง) จนได้ตำ�แหน่งมหาเทพไปครอง เฮร่าก็เป็นหนึ่ง ในสี่ที่ถูกโครนอสกลืนลงไป นางเป็นลูกคนที่สามของพี่น้องทั้งห้า เมื่อตอนที่โครนอส ดื่มน้ำ�ยา ที่เมทิสผสมขึ้นเพื่อให้คายลูกๆ ทั้งสี่ออกมานั้น ความงามของเฮร่า ก็เป็นที่ประจักษ์ต่อชาวโลก โดยเฉพาะต่อซุสจอมเทพ เทวีเฮร่า ไม่ชอบนิสัยเจ้าชู้ของซุส ด้วยเหตุที่ซุสเป็นคนเจ้าชู้ ทำ�ให้เฮร่า กลายเป็นคนขี้หึง และคอยลงโทษ หรือพยาบาท คนที่มาเป็นภรรยาน้อยของซุสอยู่เสมอ ซุสคลั่งไคล้นางต้องการได้นางเป็นภรรยาแต่ทว่าเฮร่าไม่ต้องการเช่นนั้น เนื่องจากต้อง ติดอยู่ในท้องของบิดามาตลอดชีวิตวัยเยาว์ เฮร่าจึงต้องการใช้ชีวิตให้คุ้มค่า ไม่รีบร้อนที่จะคิดมี พันธะใดๆจึงไปอยู่ที่เฮร่าเออุม ซึ่งเป็นวิหารศักดิ์สิทธิ์ของตนในอาร์กอสโดยมี นางไนแอดส์ หรือ นางเงือก แห่งทะเลสาบอย่าง ยูรีโบอา โปรซีมนา และ อาคราเออา เป็นนางกำ�นัลคนสนิทคอยรับ ใช้ดูแล แต่มีบางตำ�นานกล่าวว่า ผู้ที่ดูแลเฮร่าก่อนที่นางจะสมรสกับซุส คือ เทเมนุส บุตรแห่งเพลา สกุส ซึ่งเขาก็คอยดูแลเฮร่า อย่างจงรักภักดีโดยตลอด และได้สร้างเจดีย์ขึ้นมาสามองค์เพื่อระลึก ถึงวัยต่างๆของเฮร่า คือ ก่อนสมรสกับซุส นั้นคือวัยเยาว์ สมรสกับซุสแล้วคือวัยผู้ใหญ่ และเมื่อ ตอนทะเลาะกับซุส แล้วหนีจากโอลิมปุส มาพำ�นักกับราชาสติมฟาลุส แห่งอาร์คาเดีย และเทเมนุส คือวัยม่าย


เมื่อแรกที่ซุสขอแต่งงานเฮร่าปฏิเสธและปฏิเสธเรื่อยมาจนถึง 300 ปี วันหนึ่งซุสคิดทำ�อุบาย ปลอมตัวเป็น นกกาเหว่า เปียกพายุฝน ไปเกาะที่หน้าต่าง เฮร่าสงสารก็เลยจับนกมาลูบขน พร้อม กับพูดว่า “ฉันรักเธอ” ทันใดนั้นซุสก็กลายร่างกลับคืน และบอกว่าเฮร่าต้องแต่งงานกับพระองค์ แต่ทว่าชีวิตการครองคู่ ของเทวีเฮร่ากับเทพซุส ไม่ค่อยราบรื่นเท่าใดนัก มักจะทะเละเบาะ แว้งมีปากเสียงกันตลอดเวลา จนเป็นเหตุให้ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่า ในเวลาที่เกิดฟ้าคะนอง ดุเดือดขึ้นเมื่อไร นั่นคือ สัญญาณว่า ซุสกับเฮร่า ต้องทะเลาะกัน เป็นแน่ เพราะ 2 เทพนี้เป็น สัญลักษณ์ของสรวงสวรรค์

ฮีรามีบุตรทั้งหมด 5 องค ดังนี้

เนื่องจากซูสขึ้นครองตำ�แหน่งจอมเทพตั้งแต่วัยหนุ่ม ด้วยนิสัยใจร้อน หุนหันพลันแล่น และเอาแต่ใจ เทพองค์อื่นๆ รู้สึกไม่พอใจจึงวางแผนโค่นอำ�นาจซูส แผนก่อการครั้งนี้นำ�โดยเทวีฮี ราผู้เป็นมเหสี โปไซดอน เฮอร์เมส และเทพีเอเธนาโดยเทพีฮีรานั้นคิดก่อการโค่นอำ�นาจซูสส่วน หนึ่งมาจากเพราะเบื่อกับความเจ้าชู้ของซูสด้วย

เทวีฮีราลงมือมอมยาให้ซูสหลับ จากนั้นเทพกบฏก็เข้ามาจับซูสมัดไว้กับรถม้าด้วยเชือก หนัง และยึดสายฟ้าอาวุธของซูสไว้ด้วย เมื่อซูสได้สติก็ไม่สามารถแก้มัดเชือกหนังนั้นได้เพราะเทพ กบฏผูกปมไว้ถึง 100 ปม ระหว่างที่เหล่าเทพหารือกันว่าจะให้ใครขึ้นเป็นจอมเทพแทนซูส ธีทิสเทพีไทแทนผู้เป็น ชายาองค์หนึ่งของซูสก็ได้เรียกเบรียรูสยักษ์ 50 หัว ให้มาช่วย เบรียรูสใช้มือ 100 มือแก้ปม เชือกทั้ง 100 ปมออกได้อย่างรวดเร็ว พอซูสเป็นอิสระก็สามารถแย่งสายฟ้ากลับคืนมาได้ เมื่ออาวุธสายฟ้าอันทรงอานุภาพกลับมาอยู่ในมือซูส เหล่าเทพกบฏต่างก็คุกเข่าขออภัยโทษ ต่อมหาเทพ ซูสให้โปไซดอนและเฮอร์เมสสาบานว่าจะไม่คิดคดทรยศอีก จากนั้นก็ลงโทษสถานเบาให้ ลงไปช่วยงานมนุษย์เป็นเวลา 1 ปี สำ�หรับเทพีเอเธนานั้น ซูสไม่ได้ลงโทษ ด้วยเทพีเอเธนานั้นไม่ได้เต็มใจจะเข้ากับกลุ่มกบฏ ส่วนมเหสีฮีราในฐานะผู้นำ�กบฏถูกลงโทษหนักโดยจอมเทพจับมัดด้วยสายเงินที่ข้อเท้า แขวน นางไว้กับขื่อสวรรค์ และเอาทั่งเหล็กมาถ่วงไว้ด้วย เฮฟีสทัสพระโอรสพยายามเข้าช่วยเหลือ พระมารดา จึงถูกซูสจับโยนตกลงมาจากสวรรค์ทำ�ให้ขาหักกลายเป็นเทพพิการไป การลงโทษโดยการแขวนนี้เจ็บปวดทรมานมากจนพระนางฮีราทนไม่ไหวร้องไห้คร่ำ�ครวญ ตลอดทิวาและราตรีแต่ไม่มีเทพองค์ใดกล้าช่วยเหลือ แต่ผ่านพ้นไปเพียงแค่ 4 วัน มหาเทพไม่ได้ หลับได้นอนเพราะเสียงร้องคร่ำ�ครวญของมเหสี พระองค์จึงบอกให้นางสาบานว่าต่อไปจะไม่คิด โค่นบัลลังก์ของพระองค์อีก พระนางฮีราไม่มีทางเลือกเป็นอย่างอื่นจึงยอมสาบาน มหาเทพจึงยุติ การลงโทษนางและรับกลับเป็นมเหสีเช่นเดิม

1. ฮีบี (Hebe) หรือ แกนีมีดา เทพธิดาแห่งความเยาว์วัย ได้รับหน้าที่ ให้ถือถ้วยของ เทพเจ้า จนถูกปลด ให้เจ้าชาย แกนิมีดทำ�แทน เนื่องจากนาง แสดงความหยาบคาย ในงานที่จัดขึ้น ที่โอลิมปุสงานหนึ่ง 2. อิลิธียา (Eileithyia อาจมีการสะกดหลายแบบ) หรือ ลูซิดา ในตำ�นานโรมัน ซึ่งเป็น เทพีแห่งการให้กำ�เนิดทารก 3. แอรีส,อาเรส (Ares) หรือ มาร์ส (Mars) เทพเจ้าแห่งสงคราม

4. อีริส (Eris) หรือ ดิสคอร์เดีย เทพธิดาแห่งการวิวาทบาดหมาง ฝาแฝดของแอรีส (ซึ่ง เป็นเทพธิดา ผู้กลิ้งลูกแอปเปิ้ลทองคำ� ที่สลักคำ�ว่า “แด่ผู้ที่งดงามที่สุด” เข้าไปในกลุ่มเทพธิดา ที่มา ใน งานแต่งงานในโอลิมปุส จนผลของการตัดสินของ เจ้าชายปารีส นำ�ไปสู่มหาสงคราม ซึ่งทำ�ให้ ทรอยล่มสลาย) 5. ฮีเฟสตุส,เฮฟเฟตัส (Hephaestus) หรือ วัลแคน (vulcan) เทพแห่งการช่าง เทพ องค์นี้ ส่วนมากว่า เป็นโอรสที่ฮีรา ให้กำ�เนิดฝ่ายเดียว ไม่เกี่ยวกับซุส หรือชายใด บางตำ�นานกล่าวว่าฮีราอิจฉาที่ซูสสามารถให้กำ�เนิดบุตรด้วยตนเองได้ นั่นคืออะธีน่า นาง จึงสร้างฮีเฟสตุส ขึ้นมาด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากซูส แต่เมื่อฮีเฟสตุสถือ กำ�เนิดขึ้นนางก็โยนบุตรชายลงจากเขาโอลิมปัสเนื่องจากรังเกียจรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดของฮี เฟสตุส ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นทำ�ให้ฮีเฟสตุสกลายเป็นเทพที่มีขาพิการ ภายหลังฮีเฟสตุสได้ทำ�การแก้แค้นพระมารดาด้วยการสร้างบัลลังก์ทองที่แสนสวยงามให้ฮี รา แต่เมื่อนางนั่งลงบนบัลลังก์ทองนั้นแล้วกลับลุกขึ้นมาไม่ได้อีกเลย เทพโอลิมปัสร่วมกันอ้อนวอนให้ฮีเฟสตุสกลับขึ้นมาอยู่บนเทือกเขาโอลิมปัสและให้อภัย พระมารดา แต่ฮีเฟสตุสไม่ยอม ในที่สุดเหล่าเทพจึงส่งเทพไดโอไนซัสผู้เป็นเทพแห่งเหล้าองุ่นให้ มอมเหล้าฮีเฟสตุสและนำ�เขาขึ้นมายังเทือกเขาโอลิมปัส ทำ�ให้คำ�สาปเรื่องบัลลังก์ทองเสื่อมไปเทพีฮี ราจึงได้ลุกขึ้นจากบัลลังก์อีกครั้ง


เทพเจ้าแห่งท้องทะเล โพไซดอน หรือ โพเซดอน (Poseidon) หรือ โปเซดอน หรือ ภาษาโรมันว่า เนปจูน (Neptune) ตามภาษาละติน โพไซดอน เป็นผู้คุ้มครอง ท้องทะเลและห้วงน้ำ� (The ruler of the sea) เป็นพระอนุชาของเทพซุสส่วนพระชายาของพระองค์ คือ เทพีอัมฟิไทรต์ ซึ่งก็เป็นเทพี แห่งท้อง ทะเล เช่นกัน โพไซดอน เป็น เทพเจ้าแห่งท้องทะเล และมหาสมุทร เป็น ผู้ปกครองดินแดน แห่งท้องน้ำ� ตั้งแต่แหล่งน้ำ�จืด เช่น แม่น้ำ� ลำ�คลอง จนถึงใต้บาดาล มีอาวุธคือสามง่าม บางตำ�นานกล่าวว่า มี ท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้แล้วยังถือว่าเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าอีกด้วย ตามตำ�นานเล่าว่า โพเซดอนเป็นบุตรของโครโนสกับเร มีพี่น้องอีก 4 องค์ ซึ่งล้วนแต่เป็น เทพ แห่งโอลิมปัสทั้งสิ้น ได้แก่

1. 2. 3. 4.

ซุส ผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส ฮาเดส ผู้ครอบครองยมโลก เฮรา ชายาแห่งเทพซุส เฮสเตีย เทพีแห่งเตาผิง

รูปลักษณ์ ของโพเซดอน ส่วนมากจะปรากฏเป็นชายวัยกลางคน รูปร่างกำ�ยำ�ล่ำ�สัน มี หนวดเครา ถือสามง่ามเป็นอาวุธ ซึ่งสามง่ามนี้มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถดลบันดาลให้เกิดคลื่นลม แรงในทะเล หรือแผ่นดินไหวได้ ครั้งหนึ่งโพเซดอน เคยคิดที่จะโค่นอำ�นาจของซุส โดยร่วมมือกับ เฮราและอะธีนา แต่ไม่สำ�เร็จจึงถูกซุสลงโทษ โดยการให้ไปสร้างกำ�แพงเมือง ทรอย ร่วมกับเทพอ พอลโล โพเซดอนมีมเหสีองค์หนึ่ง ซึ่งเป็นหญิงรับใช้ของเทพีอะธีนา คือ เมดูซ่า ซึ่งในตอนแรกนั้น ยังไม่ถูกสาบให้มีผมเป็นงู เพิ่งจะเป็นเช่นนั้นเมื่อเทพีอะธีนาทราบเรื่องว่าหญิงรับใช้ของตน ไปเป็น มเหสีของโพเซดอน จึงสาบเมดูซ่าให้เป็นปีศาจที่มีผมเป็นงู และเมื่อมองใครก็จะกลายเป็นหินไป หมด ในคราวที่เปอร์ซิอุสปราบเมดูซ่านั้น เปอร์ซิอุสได้ตัดศีรษะของเมดูซ่าแล้วเลือดของเมดูซ่า ที่ กระเซ็นออกมา กลายเป็นม้าบินสองตัว คือ เพกาซัส (Pegasus) และ คริสซาออร์ (Chrysaor) ดังนั้นจึงถือว่า ทั้ง เพกาซัส และ คริสซาออร์ เป็นลูกของโพเซดอนด้วย โพเซดอนมีพาหนะเป็นม้าน้ำ�เทียมรถที่มีส่วนบนเป็นม้า และท่อนล่างเป็นปลา ซึ่งบางครั้ง จะ พบรูปโพเซดอน อยู่บนรถเทียมม้าน้ำ�นี้ขึ้นมาจากทะเล


โพไซดอน เป็นเทพเจ้าที่หงุดหงิด และโมโหง่าย ดวงตาสีฟ้าดุดัน มองผ่านทะลุ ม่านหมอกได้ และ ผมสีน้ำ�ทะเลสยายลงมาเบื้องหลัง โดยได้รับสมญาว่า “ผู้เขย่าโลก” เนื่องจากเมื่อปักตรีศูลหรือ สามง่ามลงบนพื้นดิน โลกก็จะเกิดการสั่นสะเทือน และแผ่นดินแยกออกจากกัน เมื่อฟาดสามง่าม ลงบนทะเล ก็จะบังเกิดคลื่นลูกใหญ่เท่าภูเขา และ เกิดพายุ มีเสียง ครึกโครมน่ากลัว ทำ�ให้เรือ อับปางลง และผู้คนที่อาศัยอยู่ชายทะเลจมน้ำ� แต่เมื่อยามโพไซดอน อารมณ์ดี ทรงยื่นพระหัตถ์ ออกไป ทำ�ให้ทะเลสงบและทรงยกแผ่นดินใหม่ขึ้นมาจากน้ำ� ในสมัยที่โครนัส และเทพไททัน เป็นใหญ่อยู่นั้น เนรูส เป็นผู้ครอบครองทะเล เนรูสเป็น โอรสของ แม่พระธรณี กับ พอนทัส หรือทะเล ซึ่งเป็นสวามีองค์ที่สอง เนรูสเป็นเทพเจ้าผู้ชรา แห่งทะเล มีหนวดสีเทายาว มีหางเป็นปลา และ มีธิดาเป็นนางพรายน้ำ�ห้าสิบนาง คือ เนรีด ผู้น่า รัก เมื่อโพไซดอน ได้รับมอบหมายให้มาเป็นเจ้าแห่งทะเลแทน เนรูส ผู้ชราที่มีน้ำ�พระทัยดี ก็ทรงยก ธิดานามว่า อัมฟิไทรต์ ให้เป็นมเหสีของโพไซดอน แล้วเธอเองก็ปลีกตัวไปประทับอย่างสงบในถ้ำ�ใต้ บาดาล เนรูสทรงยกปราสาทใต้ทะเลให้แก่พระราชา และพระราชินีองค์ใหม่ด้วยปราสาททองคำ� ซึ่ง ตั้งอยู่ในสวนหินปะการังและไข่มุก อัมฟิไทรต์ประทับที่ปราสาทแห่งนี้อย่างมีความสุข พร้อมกันนั้น ยังห้อมล้อมด้วยนางพรายน้ำ�พี่น้องอีกสี่สิบเก้านาง นางมีโอรสองค์เดียว นามว่า ไทรทัน ซึ่งมีหาง เป็นหางปลา เหมือนเนรูสผู้เป็นพ่อ ทรงขี่หลังสัตว์ทะเล และทรงเป่าสังข์ท่องเที่ยวไปในทะเล โปไซดอนเป็นเทพจอมเจ้าชู้อีกองค์หนึ่ง แต่โชคดีกว่าซูสตรงที่เทวีอัมฟิตริตีปล่อยให้สวามีเจ้าชู้ กับสาวอื่นได้โดยไม่ตามหึงหวง ยกเว้นรายนางซิลลาเพียงรายเดียว นางซิลลา (Seylla) เป็นนางไม้แสนสวยที่โปไซดอนหลงรักเธอหัวปักหัวปำ�จนเทวีอัมฟิตริตีทน ไม่ได้ จึงแอบนำ�ยาพิษไปโรยในสระน้ำ�ที่นางซิลลาลงอาบประจำ� ทำ�ให้นางซิลลากลายร่างจากสาว งามเป็นนางอสูรร้าย 6 หัวที่น่าสะพรึงกลัวไปทันที นับว่าเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่เทพีอัมฟิตริตี กระทำ�รุนแรงกับชายาน้อยของสวามี อีกครั้งหนึ่งโปไซดอนเจ้าสมุทรเกิดไปหลงรักนางอัปสรบริวารเทพีเอเธนาชื่อ เมดูซา ซึ่งเมดูซาก็ หลงไหลไฝ่ฝันโปไซดอนเป็นอันมาก โปไซดอนนั้นแปลงร่างเป็นม้ามาสมสู่กับเมดูซา แต่เทพีเอเธนา นั้นเป็นเทพีพรหมจรรย์ นางอัปสรบริวารทั้งหมดก็รักษาพรหมจรรย์ เมื่อรู้ว่าเมดูซาไปสมสู่มีสามี เทพีเอเธนาจึงพิโรธมากสาปให้เมดูซากลายร่างจากนางอัปสรแสนสวยเป็นปิศาจผมงูที่น่าเกลียด น่ากลัว และหากใครมองหน้านางตรงๆ ร่างเขาก็จะกลายเป็นหินไปทันที นางเมดูซาเมื่อถูกสาบให้กลายเป็นปิศาจร้ายไปแล้ว ก็ได้ไปอาศัยอยู่กับพี่สาวอีกสองคนที่เกาะ ลึกลับแห่งหนึ่ง กลางทะเลตะวันตกที่สุดปลายพิภพ แต่สุดท้ายนางเมดูซาก็ถูกเพอร์ซูส โอรสของ มหาเทพซูสกับนางดาเน่ ฆ่าตัดหัวตามที่ได้รับมอบหมายภาระกิจนี้มาจากท้าวโพลิเดคทิส ระหว่าง ที่เมดูซาถูกตัดหัวนั้น เลือดที่กระเซ็นออกมาได้กลายเป็นม้าวิเศษสองตัว คือ ม้าคริสซาออร์ (Chrysaor) กับม้าเปกาซัส (Pegasus) ซึ่งม้าทั้งสองนี้ก็คือโอรสของโปไซดอนกับเมดูซานั่นเอง

ชายาอีกองค์หนึ่งของโปไซดอน คือ เทพีดีมิเตอร์ โปไซดอนนั้นหลงรักเทพีดีมิเตอร์มานาน แม้เทพีดีมิเตอร์จะมีธิดากับมหาเทพซูสจนโตเป็นสาวชื่อเพอร์ซีโฟนีแล้ว โปไซดอนก็ยังคงรักเทพีดี มิเตอร์อยู่ จนวันหนึ่งเมื่อเพอร์ซีโฟนีธิดาสาวของเทพีดีมิเตอร์ถูกฮาเดสเทพโลกันต์ลักพาตัวไปเป็นชายา ในยมโลก ดีมิเตอร์ก็ทุกข์ทรมานด้วยความเป็นห่วงและเฝ้าตามหา แต่ตามหาเท่าไรก็ไม่พบ เมื่อ เป็นทุกข์หนักเข้าเทพีดีมิเตอร์จึงแปลงร่างเป็นม้าตัวเมียเพื่อหลบไปอยู่ตามลำ�พังไม่ให้ใครรบกวน โปไซดอนได้ทีจึงแปลงร่างเป็นพ่อม้าไปสมสู่กับดีมิเตอร์ในร่างม้าตัวเมียจนได้ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 2 คน คนหนึ่งเป็นนางไม้ชื่อเดสพีนา (Despoena) อีกคนเป็นม้าป่าชื่อแอเรียน (Arion) โพไซดอนเคยแย่งชิงสิทธิในการตั้งชื่อและเป็นเทพผู้รักษาเมืองใหม่แห่งหนึ่งกับเทพีเอเธนา มหาเทพซูสให้โปไซดอนและเทพีเอเธนาเนรมิตสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เมืองใหม่ หากสิ่งเนรมิตของใคร มีประโยชน์มากกว่าก็จะได้สิทธิในเมืองใหม่นั้นโพไซดอนเนรมิตน้ำ�ทะเลให้พวยพุ่งเป็นน้ำ�พุเป็นที่น่า อัศจรรย์แก่ชาวเมือง ส่วนเทพีเอเธนาเนรมิตเพียงต้นมะกอกต้นเดียว เหล่าเทพและเทพีต่างโต้เถียง กันว่าระหว่างน้ำ�พุกับต้นมะกอก อย่างไหนจะให้ประโยชน์แก่ชาวเมืองมากกว่ากัน ฝ่ายที่เข้าข้างโป ไซดอนก็ว่าน้ำ�พุนั้นมีประโยชน์กว่า อีกทั้งน่าอัศจรรย์ในความสวยงามและความแรงของสายน้ำ� ไม่ เหมือนต้นมะกอกที่ไม่เห็นมีค่าอันใดส่วนฝ่ายที่เข้าข้างเทพีเอเธนาก็แย้งว่าน้ำ�พุนั้นสวยงามก็จริง แต่มีรสเค็ม ไม่อาจสร้างประโยชน์อันใดได้ ส่วนต้นมะกอกนั้นมีประโยชน์ทั้งผลที่กินได้ ให้น้ำ�มัน และกิ่งก้านใช้ทำ�ฟืนในฤดูหนาว ผลการตัดสินของเหล่าเทพบุตรและเทพธิดาปรากฎว่าเทพบุตรเลือกน้ำ�พุของโปไซดอน ส่วน เทพธิดาเลือกต้นมะกอกของเทพีเอเธนาและเนื่องจากเทพธิดามีจำ�นวนมากกว่าเทพบุตรอยู่ 1 องค์ ต้นมะกอกของเทพีเอเธนาจึงชนะการแข่งขัน เทพีเอเธนาตั้งชื่อเมืองใหม่นั้นว่ากรุงเอเธนส์ และต้นมะกอกก็กลายเป็นสัญญลักษณ์แห่งกรุง เอเธนส์นับแต่นั้นมา เทพโพไซดอนมีความสำ�คัญสำ�หรับชาวกรีก รองลงมาจากเทพซุส ด้วยเหตุว่าชาวกรีกที่ อาศัยอยู่ทั้งสองฝั่ง ของทะเลอีเจียนเป็นชาวทะเล ดังนั้นเทพแห่งท้องทะเลจึงมีความสำ�คัญอย่าง มาก และนอกจากพระองค์จะเป็นเทพแห่งท้องทะเลแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้ประทานม้าตัวแรกให้แก่ มนุษย์ โดยการใช้อาวุธประจำ�กาย นั่นก็คือตรีศูลหรือสามง่าม ตีก้อนหินจนเกิดเป็นน้ำ�พุเกลือ และกลายเป็นม้าตัวแรกของโลก พระองค์จึงได้รับการสรรเสริญ ทั้งในฐานะที่เป็นเทพเจ้า แห่งท้อง ทะเล และ ผู้ประทานม้าตัวแรกให้แก่มนุษย์อีกด้วย วิหารของ เทพโพไซดอนอยู่ที่ อัคซูเนียน ประเทศกรีซ อยู่บนอะโครโพลิสตรงข้ามกับวิหา รพาร์เธนอนที่โด่งดัง ซึ่งเป็นของเทพีอะธีนา


เทพีแห่งการเก็บเกี่ยว ดีมิเตอร์ (Demeter) หรือ ภาษาโรมันว่า ซีริส (Ceres) เทวีครองข้าวโพด และ เกษตรกรรม เทวีดีมิเตอร์มีธิดาองค์หนึ่งทรงนามว่า พรอสเสอะพิน (Proserpine) หรือ เพอร์เซโฟนี (Persephone) เป็นเทวี ครองฤดูผลิตผล ของพืชทั้งปวง เพื่ออธิบายธรรมชาติของการผลัดฤดู กวี กรีกโบราณจึงผูกเรื่อง ให้เทวีองค์นี้ ถูกฮาเดส ลักพาตัวไปเป็นคู่ครองในยมโลก ดังมีเรื่องดังนี้ ฮาเดส ปกครองยมโลกอยู่คนเดียว โดดเดี่ยวไร้คู่ มาเป็นเวลานาน หามีเทวีองค์ใดไยดีที่จะ ร่วมเทวบัลลังก์กับฮาเดส เทวีแต่ละองค์ที่ฮาเดสทอดเสน่หา ต่างองค์ต่างก็ไม่สมัครรักใคร่ ด้วยไม่ ปรารถนาจะลงไปอยู่ในใต้หล้าแดนบาดาล อันดวงสุริยาไม่สามารถทอแสงลงไปถึง ในที่สุดฮาเดส จึงต้องตั้งปณิธาน จะไม่ทอดเสน่หาใครอีกเป็นอันขาด หากปฏิพัทธ์สวาทกับใคร ก็จะฉุดคร่าพา เอาลงไปบาดาลดื้อ ๆ วันหนึ่งเพอร์เซโฟนี พร้อมเพื่อนเล่นทั้งมวล ชวนกันลงเที่ยวสวนดอกไม้ เที่ยวเด็ดดอกไม้ อันจรุงกลิ่น สอดสร้อย ร้อยมาลัยอยู่ เป็นที่สำ�ราญ บังเอิญฮาเดสขับรถทรงแล่นผ่านมาทางนั้น ได้ยินสรวลสรรหรรษา ร่าเริงระคร เสียงขับร้อง ของเหล่านางอัปสรสาวสวรรค์ลอยมา จึงหยุดรถ ทรง ลงไปเยี่ยมมองทางช่องสุมทุมพุ่มไม้ ครั้นพบเทวีรุ่นสะคราญทรงโฉมวิลาสลิไลนักให้นึกรัก จะเอาไปไว้ในยมโลก ฮาเดสจึงก้าวกระชากชิงอุ้มเพอร์เซโฟนีเทวี ขึ้นรถไปในทันที ฮาเดสขับรถเร่ง ไปจนถึงแม่น้ำ� ไซเอนี (Cyane) ซึ่งขวางหน้าอยู่ เห็นน้ำ�ในแม่น้ำ�เกิดขยายท่วมท้นตลิ่งสกัดกั้นฮา เดสเอาไว้ จึงชักรถไปทางอื่น ใช้มือถือคู่หัตถ์มีง่าม 2 แฉก กระแทกกระทุ้งแผ่นดินให้แยกออกเป็น ช่อง แล้วขับรถลงไปยังบาดาล ในขณะเดียวกันนั้นเพอร์เซโฟนีแก้สายรัดองค์ขว้างลงในแม่น้ำ�ไซเอ นี พลางร้องบอกนางอัปสรประจำ�แม่น้ำ� ให้เอาไปถวายเทวีดีมิเตอร์ ผู้มารดาด้วย ฝ่ายดีมิเตอร์แม่โพสพกลับมาจากทุ่งข้าวโพดไม่เห็นธิดาเที่ยวเพรียกหาก็ไม่พานพบวี่แวว อันใด เว้นแต่ดอกไม้ ตกเรี่ยราดกลาดเกลื่อนอยู่ เทวีเที่ยวหาไปตามที่ต่าง ๆ พลางกู่เรียกไปจน เวลาเย็นให้อาดูร โทมนัสนัก ล่วงเข้าราตรีกาล ก็ไม่หยุดพักการเสาะหาธิดา จนถึงรุ่งอรุณของ วันใหม่ แม้กระนั้นก็ไม่ลดละความพยายาม คงดั้นด้น เรียกหาธิดาไปตามทางอีก มิได้ห่วงถึงภาระ หน้าที่ประจำ�ที่เคยปฏิบัติแต่อย่างใด ดอกไม้ทั้งปวงจึงเหี่ยวเฉาเพราะขาดฝนชะโลมเลี้ยง ติณชาติ ตายเกลี้ยงไม่เหลือเลย พืชพันธุ์ธัญญาหารถูกแดดแผดเผาซบเซาหมด ในที่สุดเทวีก็สิ้นหวัง ระทดระทวยหย่อนองค์ ลงนั่งพักที่ริมทางใกล้นครอีลูสิส ความระทมประดังขึ้นมาสุดที่จะหักห้าม เทวีก็ซบพักตร์กันแสงไห้ตามลำ�พัง


ในระหว่างที่ยังไม่พบธิดานี้ มีเรื่องแทรกเกี่ยวกับเจ้าแม่ดีมิเตอร์เกิดขึ้นเรื่องหนึ่ง ดังนี้ เพื่อมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดรู้จัก เทวีดีมิเตอร์ ได้จำ�แลงองค์เป็นยายแก่ ในขณะที่นั่งพัก พวกธิดา ของเจ้านครอีลูสิส รู้ว่ายายแก่ มานั่งคร่ำ�ครวญคิดถึงลูก บังเกิดความสังเวชสงสาร และเพื่อที่จะให้ ยายหายโศกเสร้า นางเหล่านั้นจึงชวนยายแก่ เข้าไปในวังให้ดูแลกุมาร ทริปโทลีมัส (Triptolemus) ผู้น้อง ซึ่งยังเป็นทารกแบเบาะอยู่ เทวีดีมิเตอร์ยอมรับภาระนี้ พอลูบคลำ�โอบอุ้มทารก ทารกก็ เปล่งปลั่ง มีน้ำ�มีนวลขึ้นเป็นที่อัศจรรย์แก่เจ้านคร และบริษัทบริวารยิ่งนัก ตกกลางคืนขณะที่เทวี อยู่ตามลำ�พังกับทารก เทวีคิดใคร่จะให้ทารกได้ทิพยภาพเป็นอมรรตัยบุคคล จึงเอาน้ำ�วิเศษเกสร ดอกไม้ชะโลมทารก พลางท่องบทสังวัธยายมนต์ แล้ววางทารกลงบนถ่านไฟอันเร่าร้อน เพื่อให้ไฟ ลามเลียเผาผลาญธาตุมฤตยู ที่ยังเหลืออยู่ในกายทารกให้หมดสิ้น ฝ่ายนางพญาของเจ้านคร ยังไม่วางใจยายแก่นักค่อยย่องเข้าไปในห้องเพื่อคอยดู ประจวบ กับตอนเทวีดีมิเตอร์ กำ�ลังทำ�พิธีชุบทารกอยู่พอดี นางตกใจนัก หวีดร้องเสียงหลงพลางถลันเข้า ฉวยบุตรออกจากไฟ ครั้นเห็นบุตรสุดสวาทไม่เป็นอันตรายแล้ว จึงหันกลับมาจะไล่เบี้ยเอากับ ยายแก่เสียให้สาสมกับความโกรธแค้น แต่แทนที่จะเห็นยายแก่ กลับเห็นรูปเทวีประกอบด้วยรัศมี เรืองรองอยู่ตรงหน้า เทวีตรัสพ้อนางพญาโดยสุภาพ ในการที่เข้าไปขัดขวางการพิธีเสีย ทำ�ให้มนต์ เสื่อมและชุบทารกอีกไม่ได้ แล้วเทวีดีมิเตอร์ ก็ออกจากเมืองอีลูสิส เที่ยวหาธิดาต่อไป วันหนึ่งเทวีดีมิเตอร์พเนจรเลียบฝั่งแม่น้ำ�อยู่พลัน ได้ประสบวัตถุแวววาวสิ่งหนึ่ง อยู่แทบ บาท เทวีจำ�ได้ทันทีว่า เป็นสายรัดองค์ของธิดา คือสายรัดองค์ที่เพอร์เซโฟนีทิ้งฝากนางอัปสรแห่ง แม่น้ำ�ไซเอนีไว้ เมื่อตอนรถทรงของฮาเดส จะลงสู่บาดาล เทวีได้ของสิ่งนี้ยินดียิ่งนัก แสดงว่าธิดา อยู่ใกล้ที่นั้น จึงรีบดำ�เนินไปจนถึงน้ำ�พุแก้วแห่งหนึ่ง รู้สึกเมื่อยล้าจึงลงพักทอดองค์ตามสบาย พอ รู้สึกเคลิ้มจะหลับ เสียงน้ำ�พุก็ฟ่องเฟื่องยิ่งขึ้นเหมือนเสียงพูดพึมพำ� ในที่สุดเทวีก็จับความได้ว่าเป็นการแจ้งข่าวของธิดาว่าเป็นประการใดน้ำ�พุเล่าประวัติของ ตนเองว่าเดิมตนเป็น นางอัปสรชื่อว่า แอรีธูสะ (Arethusa) บริวารของเทวี อาร์เตมิส (Artemis) วันหนึ่งลง อาบน้ำ�ในแม่น้ำ� แอลฟีอัส (Alpheus) เทพประจำ�น่านน้ำ�นั้นหลงรัก แต่นางไม่ไยดี ด้วยจึงหนีไป ส่วนเทพนั้นก็ติดตามไม่ลดละ นางหนีเตลิดข้ามเขาไปตลอดแว่นแคว้น ซ้ำ�ผ่านแดน บาดาลไปตลอดอาณาเขตของฮาเดส ได้เห็นเพอร์เซโฟนีประทับบัลลังก์อาสน์ของราชินีแห่งยมโลก ครั้นกลับขึ้นมาอ่อนแรงเห็นไม่พ้นเทพแอลฟีอัส นางเสี่ยงบุญอธิษฐานยึดเอาเทวีของ นางเป็นที่พึ่ง เทวีอาร์เตมิส จึงโปรดบันดาลให้นางกลายเป็นน้ำ�พุอยู่ ณ ที่นั่น

เมื่อได้รู้ถึงที่อยู่ของธิดาดังนี้แล้ว เทวีดีมิเตอร์จึงรีบไปอ้อนวอนเทพซุสให้ช่วย ซุสอนุโลม ตามคำ�วอนขอ โดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าเพอร์เซโฟนีไม่ได้เสพเสวยสิ่งใดในระหว่างที่อยู่บาดาลจะให้ฮา เดส ส่งเพอร์เซโฟนีขึ้นมาอยู่กับมารดา แล้วมีเทวบัญชาให้เฮอร์มีสลงไปสื่อสารแก่ฮาเดสในยมโลก เจ้าแดนบาดาลจำ�ต้องยอมโอนอ่อน จะส่งเพอร์เซโฟนีคืนสู่ เทวีดีมิเตอร์ แต่ในขณะนั้นภูตครองความมืดชื่อว่า แอสกัลละฟัส (Ascalaphus) ร้องประกาศขึ้นว่า ราชินีแห่งยมโลกได้เสวยเมล็ดทับทิมแล้ว 6 เมล็ด ในที่สุดจึงตกลงกันเป็นยุติว่าในปีหนึ่ง ๆ ให้เพ อร์เซโฟนีเทวี อยู่กับฮาเดสใน ยมโลก 6 เดือน โดยเมล็ดทับทิมที่เสวยคิดเป็นเมล็ดละเดือนแล้วให้ กลับขึ้นมา อยู่กับมารดาบนพิภพอีก 6 เดือน สลับกันอยู่ทุกปี ไป ด้วยเหตุนี้เมื่อเพอร์เซโฟนีเทวี อยู่กับมารดา โลกจึงอยู่ในระยะกาลของวสันตฤดู พืชพันธุ์ธัญญาหารนานาชนิดผลิดอกออกผล และเมื่อเพอร์เซโฟนีเทวี ลงไปอยู่ในบาดาล โลกก็ตกอยู่ในระยะกาลของเหมันตฤดู พืชผลทั้งปวง ร่วงหล่นซบเซา อันเป็นความเชื่อของชาวกรีก และโรมันโบราณ ยังมีเรื่องที่ต้องเล่าต่ออีกเล็กน้อย คือเมื่อเทวีดีมิเตอร์ พบธิดาแล้ว ก็กลับไปยังเมืองอีลูสิสอีก เพราะว่าเจ้าครองนคร กับนางพญาปลูกวิหารถวายเทวีไว้ที่นั่น เพื่อให้มนุษย์รู้จักการทำ�ไร่ไถนา เทวีได้สั่งสอนทริปโทลีมัส ซึ่งเติบโตเจริญวัยเป็นผู้ใหญ่แล้ว ให้รู้จักใช้ ไถ จอบ และเคียว สั่งสอน ชาวนาสืบ ๆ กันมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้


เทพเจ้าแห่งสงคราม อาเรส,เอรีส (Ares) หรือ ภาษาโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม และ อาวุธชุดเกราะ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัสด้วย โดยเป็นบุตรองค์หนึ่งของ เทพซุส กับเทวีฮีรา และอาเรสยังเป็นที่เกลียดชังของเทพ และมนุษย์ทั้งปวง เว้นแต่ชาวโรมัน ผู้มี นิสัยชอบการสงคราม อาเรส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อาเธน่า แต่ทว่าอาเธน่า จะได้รับการยกย่อง และบูชามากกว่า เนื่องจากอาเธน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับ การบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับ อาเรส ซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการ สงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำ�คัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงอาเรสว่า เป็นเทพที่ โหดร้ายและหยาบช้า ชาวโรมันเทิดทูนสดุดีเทพองค์นี้ยิ่งนัก ถึงกับอุปโลกน์ให้เป็นเทพบิดาของ โรมิวลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรม และพรรณาสรรเสริญเกียรติคุณนานัปการ ตรงกันข้ามกับชาวกรีก ซึ่งนอกจากจะไม่นิยมเลื่อมใสเทพองค์นี้แล้ว ยังถือว่า เป็นเทพที่มีสันดานป่าเถื่อนดุร้าย ปราศจาก ความเมตตากรุณาเสียอีก อาเรสเป็นโอรสขององค์เทพซุสกับฮีร่า และทรงเป็นโอรสที่เทพบิดาซุส ตรัสใส่หน้าเลยว่า “เจ้าเป็นที่น่าชังที่สุดในบรรดาลูกของข้า ทั้งโหดร้าย ดื้อด้านเหมือนแม่เจ้าไม่ผิด!” ซึ่งวาทะประโยค นี้นับว่าวิจารณ์อุปนิสัยใจคอของ อาเรสได้ตรงเป็นที่สุด นอกจากโหดร้ายและดื้อดึง อาเรสยัง บุ่มบ่าม โกรธง่าย และนิยมความรุนแรงมาก นับว่าเป็นอุปนิสัยที่แตกต่างกับเอเธน่ามาก ซึ่งเป็น เทวีแห่งสงครามเหมือนกัน เอเธน่านั้นสุขุม เฉลียวฉลาด และ กล้าหาญ จึงได้รับการ ยกย่องทั่ว ทุกหนแห่ง เป็นเหตุให้อาเรสเกิดจิตริษยาเอามาก เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับอาเรสองค์นี้ คือในฐานะที่เป็นเทพแห่งสงคราม ตามปกติ หากรบที่ไหน ต้องมีชัยที่นั่น แต่ผิดถนัดสำ�หรับเทพองค์นี้ หากว่าอาเรส รบที่ไหนปราชัยที่นั่น มากกว่าจนน่าประหลาดใจ นอกจากจะพ่ายแพ้ แก่เทวีเอเธน่าแล้ว ยังแพ้มนุษย์อีกด้วย อาทิเช่น วีรบุรุษเฮอร์คิวลิส เคยสังหารโอรสของอาเรสมาแล้ว ครั้นผู้เป็นพ่อเข้าช่วยลูก ก็ถูกต่อยตีจน ต้องหลบหนีขึ้นไปบนโอลิมปัสแทบไม่ทัน เมื่อนำ�เรื่อง ทูลฟ้องซุส ซุสก็ตัดสินไกล่เกลี่ยให้เลิกรา กันไป เนื่องจากแท้ที่จริง เฮอร์คิวลิส ก็เป็นโอรสของซุส เช่นเดียวกัน เพียงแต่มีมารดาเป็นมนุษย์ สามัญ


เทพอาเรสมักเสด็จไปไหน ๆ โดยรถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะ และแสงศาต ราวุธส่องแสงเจิดจ้า บาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ เดมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บริวารนี้บางตำ�นานกล่าวว่าเป็นโอรสของเทพอาเรส ในทาง ดาราศาสตร์ เมื่อตั้งชื่อ ดาวอังคารว่า มาร์ส ตามชื่อเทพแห่งสงครามแล้ว ก็เลยตั้งชื่อดวงจันทร์บริวารทั้งสองของดาวอังคารว่า เดมอส กับ โฟบอสตามตำ�นานไปด้วยเลย และชื่อของทั้งคู่ก็เป็นรากศัพท์ของคำ�ว่า ความตื่นตระหนก (Panic) และ ความกลัว (Phobia) อีกด้วย ในด้านความรักของอาเรสนั้นเร่รักไปเรื่อย เช่นเดียวกับเทพบุตรอื่นๆ ในโอลิมปัส ไม่ได้ ยกย่องใครเป็นชายา แต่มีเรื่องรักสำ�คัญของอาเรสอยู่ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น ได้แก่การลักลอบเป็นชู้ กับเทวีแห่งความงาม และความรักนาม อโฟรไดท์ เมื่ออาเรส เป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ (ชาวกรีก) เช่นนั้น พฤติการณ์ตอนเป็นชู้ กับเทวีอโฟรไดท์ จึงเป็นที่ครหารุนแรง และมวลเทพก็คอยจ้องจับผิด แต่ก็เพราะความมืดของราตรี กาลเป็นใจ ทำ�ให้อาเรสเลี่ยงหลบลอบเป็นชู้ได้ หากยังจับไม่ได้คาหนังคาเขา ตราบนั้นพฤติกรรม เช่นนี้ก็ยังคงเป็นความลับ อาเรสกลัวแสงสว่างยามเช้า ซึ่งเปรียบเหมือนนักสืบของเทพอพอลโล ถ้านักสืบนั้นแฉ พฤติกรรมออกไป ให้แก่เทพอพอลโลแล้ว เทพอพอลโลก็คงจะนำ�ความไปบอก แก่เทพฮีฟีสทัสผู้เป็นสามีของอโฟรไดท์ ถึงกรณี ที่ อาเรส ลักลอบกับคบกับ เทวีอโฟรไดท์ อา เรสจึงวางยามไว้คนหนึ่ง ให้คอยปลุกเมื่อใกล้รุ่ง ผู้ทำ�หน้าที่นี้คือ หนุ่มน้อยชื่อว่า อเล็กไทรออน (Alectryon) ในคราวที่ความจะแตก อเล็กไทรออนหลับยามเพลินไปจนรุ่งเช้า เป็นเหตุให้อพอลโล เห็น อาเรสกับอโฟรไดท์ นอนหลับอยู่ด้วยกัน อพอลโลจึงนำ�ความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ฮีฟีสทัส สานร่างแหเหล็กเตรียมไว้ก่อนแล้วเพราะรู้ระแคะระคายมาบ้าง พอได้ความดังนั้น ก็หอบร่างแหไป ทอดครอบอาเรสกับอโฟรไดท์ ไว้ให้เทพทั้งปวงมาดูและหัวเราะเยาะอย่างครื้นเครงแล้วจึงปล่อยไป ฝ่ายอาเรสได้รับความอัปยศอดสูท่ามกลางธารกำ�นัลยิ่งนัก จึงสาปอเล็กไทรออน ให้กลายเป็นไก่ ทำ�หน้าที่คอยขันในเวลาใกล้รุ่งของทุกคืน เป็นการลงโทษในการที่หลับยาม ด้วยเหตุนี้ไก่ตัวผู้ทุก ตัวที่เกิดขึ้นในโลก จึงสืบสกุลมาจากไก่อเล็กไทรออนตัวแรกนั้นทั้งสิ้น ถึงแม้จะถูกจับได้แต่แอรีสกับอโฟรไดทีก็ยังแอบเป็นชู้กันอยู่เรื่อยมา จนมีโอรสและธิดาด้วย กันอย่างละ 2 องค์ โอรส คือ อีรอส กับแอนติรอส ส่วนธิดา คือ เฮอร์ไมโอนี กับอัลซิปเป นาง เฮอร์ไมโอนีนั้นต่อมาได้เป็นราชินีแห่งนครธีปส์ ส่วนนางอัลซิปเปต่อมาถูกโอรสของโปไซดอนเจ้า สมุทรลักพาตัวไป เทพแอรีสโกรธมากจึงฆ่าโอรสโปไซดอนตาย โปไซดอนไปฟ้องเทพสภาว่าแอรีส ทำ�เกินกว่าเหตุ แต่เทพสภาตัดสินให้แอรีสชนะ

เรื่องราวความรักของแอรีสนั้นแม้ตนเองจะเป็นเพียงแค่ชู้รักกับอโฟรไดทีแต่แอรีสนั้นรักและ หึงหวงนางมากจนถึงกับทำ�ให้หนุ่มน้อยคนหนึ่งต้องเสียชีวิตลง หนุ่มน้อยคนนั้นคือ อโดนิส อโดนิสนั้นมีกำ�เนิดมาจากต้นไม้ เทพีอโฟรไดทีไปพบเข้าขณะที่ ต้นไม้กำ�ลังล้ม ซึ่งขณะนั้นอโดนิสยังเป็นเด็กน้อยอยู่ อโฟรไดทีจึงตั้งชื่อให้และนำ�ไปฝากให้เทพีเพ อร์ซิโฟนีมเหสีแห่งยมโลกช่วยเลี้ยงดู อโดนิสเติบโตเป็นชายหนุ่มรูปสวย ไม่ว่าเขาจะย่างเท้าไปทาง ไหน ดอกไม้ก็จะเบ่งบาน นกจะร้องเพลงเริงร่า และหมู่ผีเสื้อก็จะโบยบินตามหลังเขาไป อโดนิสชม ชอบธรรมชาติ และชอบล่าสัตว์มาก เขาเป็นนักล่าสัตว์ที่เก่งกล้า วันหนึ่งเทพีอโฟรไดทีหยอกเล่นกับอีรอสผู้เป็นโอรส พระนางเผลอถูกปลายศรรักของอีรอส สะกิดเข้านิดหนึ่ง แผลนั้นแม้จะเล็กเพียงนิดเดียวแต่ก็ส่งผลให้เมื่อพระนางมาพบอโดนิสที่กำ�ลังล่า สัตว์อยู่กลางป่า พระนางก็เกิดหลงรักหนุ่มน้อยรูปงามคนนี้อย่างหัวปักหัวปำ� และคิดจะเอาตัวอ โดนิสไปเป็นสวามีลับๆ อีกคน แต่เทพีเพอร์ซิโฟนีไม่ยอมเนื่องจากพระนางก็ต้องการเก็บหนุ่มน้อย อโดนิสไว้เป็นสวามีลับด้วยเช่นกัน ทำ�ให้เทพีทั้งสองทะเลาะกัน เรื่องรู้ถึงหูซูส มหาเทพจึงยุติศึก โดยตัดสินให้แต่ละปีอโดนิสต้องใช้ชีวิต 4 เดือนอยู่กับเทพีอโฟรไดที อีก 4 เดือนอยู่กับเทพีเพอร์ ซิโฟนี ส่วนอีก 4 เดือนที่เหลือให้อโดนิสเลือกใช้ชีวิตได้ตามชอบใจ ผลการตัดสินเป็นที่พึงพอใจ ของสองเทพี แต่ขัดใจแอรีสมาก เนื่องจากอโฟรไดทีเฝ้าเอาใจอโดนิสออกหน้าออกตาจนแทบจะ หลงลืมเทพแอรีสไปเลย วันหนึ่งเทพแอรีสจึงจำ�แลงแปลงกายเป็นหมูป่ามาหลอกล่อให้อโดนิสไล่ล่า และฉวยโอกาส ขวิดอโดนิสจนถึงแก่ความตายที่กลางป่า เทพีอโฟรไดทีมาพบร่างอโดนิสเมื่อสายเสียแล้ว พระนาง จึงต้องหลั่งน้ำ�ตาด้วยความอาลัยรักในตัวหนุ่มน้อย เมื่อหยดน้ำ�ตาของเทพีแห่งความรักตกต้อง เลือดสีแดงของอโดนิส ก็บังเกิดต้นไม้ชนิดหนึ่งงอกงามขึ้นและออกดอกสีแดงดังสีเลือด ดอกไม้นั้น คือ ดอกอโดนิส ดอกไม้แห่งความรัก กรุงโรมนี้เทพแอรีสจะคอยปกปักรักษาเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นเมืองของโอรสของพระองค์ เอง พระองค์ส่งโล่ห์ประจำ�องค์มาช่วยปกป้องกรุงโรม ซึ่งชาวโรมได้สร้างโล่ห์จำ�ลองขึ้นอีก 11 อัน เพื่อป้องกันไม่ให้ใครรู้ว่าอันไหนเป็นโล่ห์จริง เพื่อป้องกันไม่ให้โล่ห์นั้นถูกขโมย แอรีสมีชายาอีกองค์หนึ่ง คือ อีรีส ซึ่งเป็นเทพีแห่งความแตกแยก และเป็นน้องสาวของ พระองค์เอง มีโอรสด้วยกัน 2 องค์ คือ ไดมอส กับโฟบอส ซึ่งเป็นเทพแห่งความกลัว กับเทพห่ง ความสยดสยอง ส่วนโอรสอีกองค์หนึ่งของอีรีสที่ชื่อ เอตี เทพแห่งโทสะ นั้นเป็นโอรสของซูสผู้เป็น เทพบิดา


เทพีแห่งปัญญา คณะเทพโอลิมเปียนมีเทวีพรหมจารีอยู่ 3 องค์ ทรงนามตามลำ�ดับว่า เฮสเทีย (Hestia) เทพีแห่งครัวเรือน อาเธน่า (Athena) เทพีแห่งปัญญา และ อาร์เทมิส (Artemis) เทพีแห่งดวง จันทร์ องค์แรกเป็นเทวีภคินีของเทพซุส ส่วน 2 องค์หลังเป็นธิดา เทพีอะธีนา หรือ อาเธน่า (Athena) หรือ ภาษาโรมันว่า มิเนอร์ว่า (Minerva) เป็นหนึ่ง ในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัส ได้รับสมญานามว่าเทพีแห่งปัญญา เนื่องจากเกิดมาจากส่วนหัวของ ซุส ประมุขแห่งเหล่าทวยเทพ นอกจากนี้ยังได้รับสมญานามเป็น เทพีแห่งสงคราม เทพีแห่งงาน หัตถกรรม (โดยเฉพาะงานทอผ้า ปั้นหม้อ และงานไม้) อีกด้วย ชื่อเต็มของอธีนาคือ พัลลัสอธี นา (Pallas Athena) ซึ่งชื่อพัลลัส มาจากเพื่อนมนุษย์ของอธีนาซึ่งเธอพลั้งมือสังหารไปขณะเล่น ด้วยกัน จึงได้นำ�ชื่อของพัลลัสมาใส่นำ�หน้าเพื่อเป็นที่ระลึก อธีนาเป็นตัวแทนของสงครามที่เอาชนะ ด้วยกลยุทธหรือความถูกต้อง ซึ่งต่างจากแอรีสที่เป็นเทพสงครามที่ใช้กำ�ลังมากกว่า การถือกำ�เนิดของอาเธน่านั้น กล่าวกันว่า ครั้งหนึ่ง เทพซุส ได้รับคำ�ทำ�นายว่า โอรสธิดา ที่ ประสูติจากมเหสีเจ้าปัญญา นามมีทิส (Metis) นั้นจะ มาโค่นบัลลังก์ของพระองค์ เทพซุส ก็แก้ ปัญหาด้วยการจับเอามีทิส ซึ่งทรงตั้งครรภ์แก่นั้นกลืนเข้าไปในท้อง แต่เวลาไม่นานนักซุสก็บังเกิดอาการปวดเศียรขึ้นมา ให้รู้สีกปวดร้าวเป็นกำ�ลัง จึงมีเทว โองการสั่งให้เรียกประชุมเทพทั้งปวงบนเขาโอลิมปัส ให้ช่วยกันหาทางบำ�บัดเยียวยา แต่ความ พยายามของทวยเทพก็ไม่เป็นผล ซุสไม่อาจทนความเจ็บปวดต่อไปได้ ในที่สุดจึงได้ให้เฮฟเฟสตุส เทพแห่งการตีเหล็ก ใช้ขวานผ่าศีรษะออก ปรากฏเป็นอาเธน่ากระโดดออกมาในลักษณะเจริญเต็ม วัย แต่งฉลององค์หุ้มเกราะแวววาวพร้อมสรรพ ถือหอกเป็นอาวุธ พร้อมกันนั้นทั่วพื้นพสุธาและ มหาสมุทร ก็บังเกิดอาการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ประกาศกำ�เนิดเทวีองค์นี้สนั่นไปทั้งโลก การอุบัติของเทวีองค์นี้ถือว่าเป็นไปเพื่อยังสันติสุข ให้บังเกิดในโลกและขจัดความโฉดเขลา ที่ครองโลก จนตราบเท่าบัดนั้นให้สิ้นไป ด้วยว่าพออาเธน่าผุดจากเศียรซุส เทวีแห่งความโฉด เขลาซึ่งไม่ปรากฏรูปก็ล่าหนีไป ด้วยเหตุนี้เทวีอาเธน่าจึงเป็นที่นับถือบูชาในฐานะเทวีครองปัญญา นอกจากนั้นอาเธน่ายังมีฝีมือในการเย็บปักถักร้อย และ เชื่อว่าพระนางเป็นเทพีแห่งสงครามด้วย เนื่องจากเทวรูปของพระนาง มักปรากฏเป็นรูปผู้หญิงสวมชุดเกราะ ถือโล่ห์ และหอกที่มือซ้าย พร้อมถือ เทพีไนกี้ เทพีแห่งชัยชนะที่มือขวา


ภายหลังการอุบัติของอาเธน่าไม่นาน มีหัวหน้าชนชาวฟีนิเชียคนหนึ่งชื่อว่า ซีครอบส์ (Cecrop) พาบริวารอพยพเข้าไปในประเทศกรีซ เลือกได้ชัยภูมิอันตระการตาแห่งหนึ่งในแคว้น อัตติกะ (Attica) ตั้งภูมิลำ�เนา ก่อสร้างบ้านเรือนขึ้นเป็นนครอันสวยงามนครหนึ่ง เทพทั้งปวงเฝ้าดูงานสร้าง เมืองนี้ด้วยความเลื่อมใสยิ่ง ในที่สุดเมื่อเห็นว่า เมืองมีเค้าจะกลายเป็นนครอันน่าอยู่ขึ้นมาแล้ว เทพ แต่ละองค์ต่างก็แสดงความปรารถนา ใคร่จะได้เอกสิทธิ์ตั้งชื่อนคร จึงประชุมกันถกถึงเรื่องนี้ เมื่อมี การอภิปรายโต้แย้งกันพอสมควรแล้ว เทพส่วนใหญ่ในที่ประชุมก็พากันยอมสละสิทธิ์ คงเหลือแต่ เทพโปเซดอน และเทวีอาเธน่า 2 องค์เท่านั้นยังแก่งแย่งกันอยู่ เพื่อยุติปัญหาว่าใครควรจะได้เอกสิทธิ์ตั้งชื่อนคร เทพซุส ไม่พึงประสงค์จะชี้ขาดโดย อำ�นาจตุลาการที่จะพึงใช้ได้ ด้วยเกรงว่าจะเป็นที่ครหาว่าเข้า ข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จึงมีเทวโองการ ว่านครนั้น พึงอยู่ในความคุ้มครอง ของเทพ หรือเทวี ซึ่งสามารถเนรมิตของที่มีประโยชน์ที่สุดให้ มนุษย์ใช้ได้ และมอบหน้าที่ตัดสินชี้ขาดให้แก่ที่ประชุม เทพโปเซดอน เป็นฝ่ายเนรมิตก่อน โดยยกตรีศูลคู่หัตถ์ขึ้นกระแทกลงกับพื้น บันดาล ให้มีม้าตัวหนึ่งผุดขึ้นท่ามกลางเสียงแสดงความพิศวง และชื่นชมของเหล่าเทพ เมื่อเทพผู้เนรมิต ม้า อธิบายคุณประโยชน์ของม้า ให้เป็นที่ตระหนักแก่เทพทั้งปวงแล้ว เทพองค์ต่างๆ ก็คิดเห็นว่า เทวีอาเธน่าคงไม่สามารถเอาชนะ เทพโปเซดอนเสียเป็นแน่แล้ว ส่วนฝ่าย เทวีอาเธน่า ก็ได้เนรมิต ต้นมะกอกต้นหนึ่งขึ้นมา และได้อธิบายถึงคุณประโยชน์ ของต้นมะกอก ที่มนุษย์จะเอาไปใช้ได้ นานัปการ นับตั้งแต่ใช้เนื้อไม้ ผล กิ่งก้าน ไปจนถึงใบ พร้อมกับยังมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ ของมะกอกว่า เป็นเครื่องหมายถึงสันติภาพและความรุ่งเรืองวัฒนาอีกด้วย เมื่อผลเป็นดังนั้นจึง เป็นที่พึงประสงค์ ยิ่งกว่าม้า ซึ่งเป็นเครื่องหมายของสงคราม หลังจากพิจารณาแล้ว มวลเทพก็เห็น พ้องต้องกันว่า ของที่เทพีอาเธน่าเนรมิต มีประโยชน์กว่า จึงลงมติตัดสินชี้ขาดให้เป็นฝ่ายชนะ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงชัยชนะครังนี้ เทพีอาเธน่าได้ตั้งชื่อนครนั้น ตามนามของท่านเองว่า เอเธนส์ (Athens ) และสืบจากนั้นมา ชาวกรุงเอเธนส์ ก็นับถือบูชาท่านในฐานะเทวีผู้ปกครอง นครอย่างแน่นแฟ้น โดยรวมๆ แล้ว อาเธน่าเป็นเทพธิดาที่มีจิตใจเอื้ออารีชอบช่วยเหลือผู้อื่นมาก ในมหากาพย์ อีเลียด ที่ว่าด้วยสงคราม แห่งชาวกรีก และ ชาวเมืองทรอย อาเธน่า ก็มีบทบาทในการช่วยวีรบุรุษ กรีกหลายครั้ง เช่น หลอกเฮกเตอร์ว่าจะคอยช่วย และให้มาสู้กับอคิลลิส ทำ�ให้เฮกเตอร์ถูกอคิล ลิสสังหารอย่างโหดเหี้ยมในสนามรบ เป็นต้น และในมหากาพย์โอดิสซีที่กล่าวถึงการเดินทางกลับบ้านที่อิธาก้าของ โอดิสซีอุส หรือ ยูลิ ซีส วีรบุรุษกรีก ผู้คิดสร้างม้าไม้ ซึ่งเป็นผู้ทำ�ให้สงครามเมืองทรอยสิ้นสุดลง ต้องใช้เวลาในการ เดินทางกลับบ้านเป็นเวลาถึงยี่สิบปี เพราะเขาไปทำ�ให้โปเซดอนพิโรธ อาเธน่าก็เป็นเทพีอุปถัมภ์ของ โอดิสซีอุส ช่วยให้เขาพ้นภัยหลายครั้งจนกลับถึงบ้านได้

อาเธน่ายังมีบทบาทมากมาย โลดแล่นในตำ�นานการผจญภัยของวีรบุรุษอีกหลายคน เช่น - ช่วยให้การแนะนำ�ในการต่อเรืออาร์โกที่ใช้ในการตามหาขนแกะทองคำ� โดยถ่ายทอดคำ� พูดผ่านกิ่งของต้นโอ๊คศักดิ์สิทธิ์ ที่นำ�มาทำ�เป็นหัวเรือ - บอกวิธีสังหารเมดูซ่าแก่เปอร์ซีอุส - ช่วยเอเปอีอุสสร้างม้าไม้ - มอบบังเหียนวิเศษเพื่อใช้ควบคุมเพกาซัสแด่เบลเลโรฟอน ฯลฯ เทพธิดาที่แสนดีก็พร้อมจะโหดได้ หากมีใครไปหยามเข้า เช่น เรื่องของนางอาแรคนี (Arachne) ซึ่งมีฝีมือทอผ้า และปั่นด้ายเป็นเลิศ ด้วยความลุ่มหลงทะนงตนสำ�คัญว่าไม่มีผู้ใดอีกแล้ว จะมี ฝีมือเสมอกับนาง ในที่สุดจึงกำ�เริบคุยฟุ้งเฟื่องไปว่า ถึงแม้เทพีเอเธน่าจะลงมาประกวดฝีมือกับนาง นางก็ยินดีจะสู้ด้วยไม่รอช้าเลย นางโอ้อวดดังนี้เนือง ๆ จนเทพีเอเธน่าสุดแสนจะทนต่อไปได้ ต้อง ลงมาจากเขาโอลิมปัส เพื่อมาลงโทษนางอาแรคนีมิให้ใครเอาไปเป็นเยี่ยงอย่างสืบไป โดย เทพีอาเธ น่าจำ�แลงองค์เป็นยายแก่ เดินเข้าไปในบ้านของนางอาแรคนี และนั่งลงชวนคุย นางอาแรคนี ก็ได้คุยถึงฝีมือตน และเริ่มโวเรื่องจะแข่งขัน ประกวดฝีมือกับเทพีเอเธน่า อีก เทพีอาเธน่าตักเตือนโดยให้นางยับยั้งคำ�ไว้เสียบ้าง กลัวว่าคำ�ของนางซึ่งพูดเอาเองเป็นเหตุให้ เทพเจ้าขัดเคือง จะทำ�ให้นางเคราะห์ร้าย แต่นางอาแรคนีมีจิตมืดมนไปในความทรนงตนเสียแล้ว จน ไม่แยแสต่อคำ�ตักเตือน กลับพูดสำ�ทับว่า นางอยากให้เทพีอาเธน่าได้ยิน และลงมาท้าประกวดฝีมือ เสียด้วยซ้ำ� นางจะได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์เพื่อพิสูจน์ว่า คำ�กล่าวอ้างของนางเป็น ความจริงเพียงใด ในที่สุดเทพีอาเธน่าก็สำ�แดงองค์ให้ปรากฏแก่อาแรคนี ตามจริง และรับคำ�ท้านั้น ทันที ในที่สุดอาแรคนี ก็แพ้แก่เทพีอาเธน่า และได้เสียใจยิ่งนัก ทั้งเจ็บทั้งอาย ในความผิดพลาดของ ตนไม่อาจทนอยู่ได้ หมายจะเอาเชือกผูกคอตาย เทพีเอเธน่าเห็นนางจะด่วนหนีโทษทัณฑ์ไป จึงรีบ แปรเปลี่ยนร่างของนางให้กลายเป็นแมงมุม ห้อยโหนโตงเตง และสาปให้นางต้องปั่น และ ทอใยเรื่อย ไปไม่มีเวลาหยุด เป็นการเตือนมนุษย์ ผู้ทรนงทั้งปวง มิให้หลงไปว่าตนจะเทียมเทพได้เป็นอันขาด เกี่ยวกับการครองความบริสุทธิ์ของเทพีอาเธน่า มีเรื่องเล่าว่า เทพฮีฟีสทัส หมายปองเท พีอาเธน่า ใคร่จะได้วิวาห์ด้วย ได้ทูลขอต่อเทพบิดา เทพบิดาประทานโปรดอนุญาต แต่ให้ฮีฟีทัส ทาบทามความสมัครใจของเทพีอาเธน่าเอาเอง ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ เทพีอาเธน่าไม่ตกลงด้วย ทำ�ให้ ฮีฟีสทัส เข้าไปหา เทพีอาเธน่า หมายจะรวบรัด ในระหว่างที่ฉุกละหุกอุตลุดนั้นของไม่บริสุทธิ์ของ ฮีฟีทัส ตกลงมายังพื้นโลก เป็นเหตุให้เกิดทารก ผุดขึ้นมาเป็นเพศชาย เทพีอาเธน่ารอดพ้นมลทิน แปดเปื้อน แต่รับทารกไว้ในปกครอง เอาทารกบรรจุหีบให้งูเฝ้า และฝากไว้ให้ลูกสาวท้าวซีครอปส์ ดูแล โดยห้ามเด็ดขาด มิให้เปิดหีบดู แต่ลูกสาวท้าวซีครอปส์ไม่เชื่อฟัง พยายามจะเปิดหีบ ครั้นเห็น งูเข้าก็ตกใจวิ่งหนีตกเขาตาย ทารกนั้นได้ขนานนามว่า อิริคโธเนียส (Erichthonius) และ ดำ�รง ชีวิตอยู่สืบมา จนภายหลังได้ครองกรุงเอเธนส์ ส่วนเทพีอาเธน่าก็ไม่ได้รับการเกี้ยวพาราสี ของ เทพองค์หนึ่งองค์ใดอีกต่อไปตั้งแต่บัดนั้น


เทพีแห่งดวงจันทร์ อาร์เตมิส (Artemis) หรือ ภาษาโรมันว่า ไดอานา (Diana) เทวีแห่งการล่าสัตว์ และ เทวี แห่งดวงจันทร์ ในคณะเทพโอลิมเปียนมีเทวีพรหมจารีอยู่ 3 องค์ ทรงนามตามลำ�ดับว่า เฮสเทีย (Hestia) เอเธน่า (Athene) และ อาร์เตมิส (Artemis) ซึ่งเป็นเทวีครองการล่าสัตว์ ทรงนามว่า ไดอานา (Diana) หรือ อาร์เตมิส เทวีองค์นี้เป็นที่เคารพบูชาของพวกพรานโดยเฉพาะ และเป็น เจ้าของสัตว์ป่าทั้งปวง แต่สัตว์ที่เทวีโปรดปรานมากเป็นพิเศษ ได้แก่ กวาง โดยที่แสงเดือนเพ็ญ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การเดินป่า และล่าสัตว์ในเวลากลางคืน คน ทั้งปวง จึงนับถือ เทวีในฐานะ เทวีครองแสงจันทร์ด้วย และในที่สุดก็ยกย่องเทวี เป็นเทวีแห่งดวง จันทร์ ในชื่อว่า ฟีบี (Phoebe) บ้าง เซลีนี (Selene) บ้าง ซึ่ง เป็นชื่อเรียกเทวีประจำ�ดวงจันทร์ หรือจันทรเทวี มาแต่ดั้งเดิม ต่อมาในระยะหลัง ๆ ยังมีการเอา เทวีเหกกะตี (Hecate) ซึ่งครอง ความมืดในข้างแรม และไสยศาสตร์ มารวมกับ เทวีอาร์เตมิส หมายให้เป็นเทวีองค์เดียวกันอีก ด้วย อาร์เตมิสเป็นเทพธิดาคู่แฝดผู้พี่ของ อพอลโล สุริยเทพของกรีก เกิดแต่ซุส กับนางแลโต นา หรือ ลีโต (Latona ,Leto) (แต่บางตำ�นานกล่าวว่า เป็นธิดาของเทพไดโอนิซัสกับไอซิส แต่ ผู้คนมักรู้จักเทวีอาร์เตมิส ในฐานะธิดาของ ซุสมากกว่า รวมทั้งท่านโฮเมอร์นักกวีชาวกรีกกล่าว ไว้เช่นนี้ด้วย) เมื่อตอนเกิดคลอดยากนักหนา ถึงแก่นางแลโตนา เกือบเอาชีวิตไม่รอด เทวีรู้สึกถึง ความเจ็บปวดทนทุกข์เวทนาอย่างใหญ่หลวงของมารดา เลยพลอยรังเกียจการวิวาห์ ถึงกับขอ ประทานอนุญาตจากเทพบิดาในอันที่จะขอไม่มีคู่ครอง แม้เหล่าเทพบนเขาโอลิมปัส แสดงความ ปรารถนา ใคร่จะได้วิวาห์ด้วยเทวีก็ไม่ไยดี คงยืนกรานที่จะดำ�รงชีวิตโสดอย่างเดียว และวิงวอนต่อ เทพบิดา ด้วยเหตุผลเช่นนี้ ซุสจำ�ต้องประทานอนุญาตให้ เทวีขอประทานนางอัปสรโอเชียนิค 60 กับอัปสรอื่นอีก 20 ซึ่งล้วนแต่ ไม่ยินดี ในการวิวาห์ เป็นบริวารติดสอยห้อยตาม เสด็จประพาส ไปตามราวป่า เพลิดเพลินเป็นนิตย์นิรันดร ทุกเวลาเย็นอาทิตย์อัสดง พอตะวันตกลับโลกไปแล้ว เทวีอาร์เตมิส ก็ทรงจันทรยานเทียม ม้าขาวปลอด ดั่งสีนม พเนจรไปในห้วงเวหา ผ่านดวงดารา ซึ่งต่างก็ทอแสงจ้าระยิบระยับรับตลอด ทาง อาร์เตมิส เป็นเทวีที่มีอุปนิสัยโหดเหี้ยมและดุร้าย น่าแปลกที่ชาวกรีกกลับให้ความเคารพ นับถือเทวีเป็นอันมาก ตำ�นานหลายฉบับ กล่าวไว้ตรงกันว่า นางมักลงโทษผู้ที่ทำ�ให้ขุ่นเคืองอย่าง รุนแรง มีผู้เคราะห์ร้ายหลายรายถูกเทวี ลงโทษอย่างน่าสยดสยอง ดังเรื่องราว 2-3 เรื่องต่อไปนี้


วันหนึ่งเมื่อเทวีอาร์เตมิสทรงจันทรยาน ดำ�เนินไปตลอดราตรีกาลแล้ว จึงถือศรคู่หัตถ์ลง จากรถออกล่าสัตว์ป่า มีนางอัปสรบริวาร ติดสอยห้อยตามดุจเคย เวลาบ่ายหนึ่งในฤดูร้อนภาย หลังที่เที่ยวตามสัตว์ ด้วยความตื่นเต้นเป็นเวลานานผิดกว่าเคย เทวีกับบริวาร ก็พากันมาถึง หนองน้ำ�นิ่งแห่งหนึ่งแห่งลำ�เนาเขา น้ำ�ใสเย็น แพรวพราย ชวนให้ลงสรงสนาน เทวีและบริวารทั้งปวง จึงพากันเปลื้องเครื่องทรง ชุดล่าสัตว์ ลงเล่นน้ำ�เป็นที่สำ�ราญยิ่งนัก แต่วันนั้น เทวีและบริวารใช่จะ เป็นพรานคณะเดียวที่ออกล่าสัตว์ก็หาไม่ ยังมีนายพรานชื่อ แอคเตียน (Actaeon) ออกเที่ยวล่าสัตว์หาเนื้อ อีกคนหนึ่งด้วย พอ เวลาบ่ายตะวันชาย แอคเตียน เหน็ดเหนื่อยโรยกำ�ลัง และกระหายน้ำ� จึงมุ่งหน้า มายังหนองน้ำ�แห่ง นี้เหมือนกัน ในขณะที่เข้าไปใกล้หนองน้ำ�นั้น แอคเตียนแว่วเสียงสำ�รวล สรวลดัง มาจากหนอง น้ำ�แต่ไกล จึงย่องเข้าไปอย่างระมัดระวัง เมื่อถึงระยะพอมองเห็น เขาก็ค่อยบรรจง แหวกกิ่งไม้ใบ หนา แง้มมองดู เห็นเทวีอาร์เตมิส กับบริวารสรงน้ำ�อยู่ เป็นภาพที่ไม่เคยมีมนุษย์คนใด มีโอกาสได้ พบเห็นซักครั้งหนึ่งเลย ในขณะนั้นเอง เทวีซึ่งสันทัดจัดเจนกับความเป็นไปในราวป่า ได้สดับเสียง ใบไม้ไหว เหลียวขวับมาเพื่อจะดูให้แน่ใจว่าเสียงนั้นเกิดจากเหตุใด ก็ประสบสายตาจ้องมองอย่าง ตะลึงพรึงเพริด ของนายพรานหนุ่มผู้พิศวง เทวีโกรธนักที่เจ้าหนุ่มบังอาจละลาบละล้วง จึงกอบน้ำ� ด้วยอุ้งหัตถ์ ซัดสาดตรงไปยังใบหน้าของเจ้าหนุ่มทันที พอหยดน้ำ�กระทบหน้าเจ้าหนุ่ม เขาก็รู้สึก ตัวว่าร่างของเขากลายเปลี่ยนเป็นกวางไปเสียแล้ว พร้อมกับมีเขางอกขึ้นแผ่กิ่งก้านสาขางามสะพรั่ง ให้รู้สึกเสียใจนัก ในขณะที่เขายืนนิ่งงันในรูปกวางอยู่ ณ ที่นั้นเอง ก็แว่วเสียง สุนัขล่าเนื้อ ของเขา เอง เห่าอยู่ในที่ไกลเที่ยวตามหานาย แอคเตียนสะดุ้งตกใจ จึงขยับออก จะวิ่งหนีเข้าป่า แต่อนิจจา ช้าไปเสียแล้ว ฝูงสุนัขเห็นเขาเข้าแล้ว มันพากัน วิ่งกรูตามกระชั้นเข้าไปเป็นพรวน กวางแอคเตียน เจ้ากรรม พยายามโกยหนีสุดกำ�ลัง แต่ไม่พ้น พอล้มฮวบลงกับพื้นเพราะอิดโรย สุนัขทั้งฝูงก็ กระโจนเข้ารุมงับคอหอย ถึงแก่ความตายอยู่กับที่ตรงนั้นนั่นเอง กาลครั้งหนึ่งยังมีนายพรานร่างกำ�ยำ�ทรงพลังยิ่งคนหนึ่ง ชื่อว่า โอไรออน (Orion) กำ�เนิด อันแท้จริงของเขาไม่มีประวัติแน่ชัด หากแต่ถือกันว่าเขาเป็นบุตรของเทพเจ้าแห่งทะเลโปเซดอน (เนปจูน) และสามารถลุยทะเลลึก บางคน ก็ว่าเดินไปบนพื้นน้ำ�ทะเลได้ในเวลากลางวัน โอไรออนอ อกเที่ยวตระเวณไป ตามราวป่าตลอดวัน มีสุนัขที่แสนซื่อ ชื่อว่า ซิริอัส (Sirius) ตามติดสอย ไปด้วย วันหนึ่งเขาได้พบกับนางอัปสรทั้ง 7 เรียกว่า พลียาดีส (Pleiades) ที่กลางป่า ให้บังเกิด ความเสน่หา จึงตามนางเหล่านั้นไปอย่างฉับพลัน แต่นางอัปสรก็เร่งหนี จนกระทั่งอ่อนกำ�ลังจวน เจียนจะไม่พ้น นางเหล่านั้นจึงขอร้องให้ เทวีอาร์เตมิสช่วย เทวีก็โปรดช่วยดังที่เคยโปรดแก่บริวาร เสมอ เพราะฉะนั้นเมื่อโอไรออน กระหืดกระหอบตามไปทันก็พลันได้เห็นนกพิราบสีขาวดังหิมะ 7 ตัว บินขึ้นสู่ฟากฟ้าพอดี ในฟากฟ้านกพิราบทั้ง 7 เปลี่ยนไปอีกด้วยอำ�นาจบันดาลของเทวีอาร์เต มิส กลายเป็นกลุ่มดาวซึ่งเรียกว่า พลียาดีส เปล่งประกาย ระยิบระยับเรืองโรจน์ แต่เมื่อกรุงทรอย เสียแก่ข้าศึกนั้น ดาวกลุ่มนี้สลัวลงด้วยความเศร้า และดวงหนึ่ง ซึ่งมีอารมณ์แรงกว่าเพื่อน ถึงแก่ มืดมัวลับจากสายตาไป เพื่อซ่อนตัวให้พ้นตาคน ฝ่ายโอไรออนแม้ไม่สมหวังก็มิได้เสียใจนานนัก ต่อมาเขาก็ผูกสมัครรักนาง มิโรปี (Merope) ธิดาท้าว อีโนเปียน (Oenopion) เจ้าครองเกาะไค ออส (Chios) โดยความมุ่งมั่นที่จะวิวาห์ด้วยกับนาง

โอไรออนอุตส่าห์ล่าสัตว์ป่าเสียจนเตียนไปทั้งเกาะ เอาสัตว์ที่ล่าได้เป็นกำ�นัลแด่สาวเจ้าและบิดา แต่ เมื่อโอไรออนออกปากขอนางมิโรปีต่อบิดาของนางทีใด บิดานางก็ผัดไปทุกที โอไรออนนั้นมีนิสัย วู่วามไม่อดทนในการที่จะต้องคอยเรื่อยไป ไม่มีกำ�หนดเวลาเช่นนี้ เขาจึงตัดสินใจที่จะรวบรัดด้วย วิธีฉุดคร่านางมิโรปีด้วยกำ�ลังหักหาญ แทนการวิวาห์โดยเปิดเผย ซึ่งจะกำ�หนดกันเมื่อใดก็ไม่รู้ ฝ่ายท้าวอีโนเปียนรู้ทันจึงจัดการตัดไฟแต่ต้นลมเสียก่อน โดยมอมเหล้าโอไรออนจนเมาทำ�ให้ ตาบอด แล้วเอาไปทิ้งริมทะเล โอไรออนเสียทั้งรัก ทั้งดวงตา ฟื้นตื่นขึ้นไม่รู้จะไป ณ แห่งหนใด แต่ อาศัยความรู้ของนายพราน ฟังเสียงของค้อนยักษ์ไซคลอปส์ในเกาะเลมนอส (lemnos) ดั้นด้นไป จนถึงถ้ำ�ตีเหล็กของยักษ์ ฝ่ายยักษ์ตนหนึ่งมีความสงสารจึงอาสาพาโอไรออน เดินไปทางทิศตะวัน ออก ช่วยให้ได้พบกับ สุริยเทพ อพอลโล และอาศัยแสงสว่างรักษาดวงตาให้กลับคืนเป็นปกติ เมื่อกลับเป็นปกติดังเดิมแล้ว โอไรออนก็กลับมาล่าสัตว์อีก ตั้งแต่เช้าจนเย็นทุกวัน โดย ตอนนี้เองเทวีอาร์เตมิสได้พบเขาในป่า และได้คบหาชอบพอกันมาก อพอลโล เห็นท่าไม่ชอบกลใน มิตรภาพ ทั้งนี้เกรงว่าภคนีเทวีจะกลับสัตย์ปฏิญาณที่ตั้งไว้เดิม ว่าจะครองความเป็นพรหมจารี ตลอดไปนั้นเสีย จึงคิดอุบายให้มิตรภาพนั้นยุติลงอย่างเด็ดขาด วันหนึ่งอพอลโล เห็นโอไรออนเดินลุยทะเล โผล่หัวอยู่เหนือพื้นน้ำ� จึงเรียกอาร์เตมิสเข้าไปและชวน คุยเรื่องฝีมือธนูศิลป์ จนอาร์เตมิสตายใจ ว่าแล้วอพอลโล ก็ท้าให้อาร์เตมิสลองฝีมือ โดยให้ลองยิง อะไรที่ลอยอยู่เหนือพื้นน้ำ�ทะเลดูว่าจะถูกหรือไม่ ฝ่ายเทวีขมังธนูก็ยิงธนูออกไปฉับพลัน หาเฉลียว ใจไม่ว่าอะไรดำ� ๆ นั้นคือ หัวของโอไรออน ลูกธนูถูกเป้าหมายอย่างแม่นยำ� ครั้นคลื่นซัดสาดโอไร ออนเข้าฝั่ง เทวีอาร์เตมิสจึงรู้ว่าได้ทำ�อะไรลงไป จึงรู้สึกเศร้าเสียดายเป็นอย่างมาก เมื่อเป็นเช่นนั้น แล้วเทวีจึงแปลงโอไรออน กลายเป็นกลุ่มดาว พร้อมด้วย สายรัดเอว ดาบ และ กระบองคู่มือของ เขา อยู่ในท้องฟ้าต่อจากกลุ่มดาวพลียาดีส และแปลงสุนัขของเขา ให้กลายเป็น ดาวซิริอัส อยู่ท้าย กลุ่มดาวโอไรออนด้วยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา เรื่องราวนายพรานโอไรออนนั้น มีบางตำ�นานกล่าวถึงการตายของนายพรานหนุ่มคนนี้ แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ขณะที่ไปล่าสัตว์ด้วยกัน โอไรออนเกิดไปสัมผัสถูกกายของเทวีอาร์ เตมิสเข้า ความที่ไม่ยอมให้ชายใดเข้าใกล้ เทวีเผลอตัวลงโทษบุรุษคนแรกที่บังอาจสัมผัสกายเทวี ทันที โทษที่อาร์เตมิสบันดาลให้เป็นไปนั้น มาในรูปของแมงป่องพิษ ที่โผล่ขึ้นจากใต้ดิน มากัดข้อ เท้าของโอไรออน อันเป็นเหตุให้ นายพรานอาภัพผู้นี้ ล้มลงสิ้นใจตาย เนื่องด้วยเทวีอาร์เตมิส รังเกียจการวิวาห์ ถือครองพรหมจารี นอกจากนางจะไม่รัก ไม่ วิวาห์แล้ว เทวีเองยังบังคับให้ บริวารของตนไร้รัก และไร้คู่ ตามไปด้วย หากผู้ใดฝ่าฝืนถูกพิษรัก เข้าให้ ก็จะถูกเทวีอาร์เตมิสลงโทษอย่างทารุณ ดั่งเช่น นางคัลลิสโต นางสวยงามจนซุส แอบหลง รักจึงใช้เล่ห์เพทุบาย จำ�แลงองค์เป็นอาร์เตมิสเข้าไปคลอเคลียใกล้ ๆ พอเทวีอาร์เตมิสรู้เข้าก็โกรธ เป็นฟืนเป็นไฟ แต่ไม่ยักโกรธเทพพระบิดาผู้ก่อเหตุ กลับหันไปเล่นงาน คัลลิสโตผู้น่าสงสาร ด้วย การใช้ธนูยิงนางจนมอดม้วยสิ้นใจไป


เทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ อพอลลอน (Apollon) หรือภาษาโรมัน ว่า อพอลโล (Apollo) อพอลโลยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น ฟีบัส (Phoebus) อาเบล (Abel) ไพธูส (Pytheus) หรือ เฮลิออส (Helios) ซึ่งแต่ละ ชื่อมีความหมายถึง แสงสว่างทั้งสิ้น อพอลโล่ เป็นบุตรชายคนโตของมหาเทพซุส กับนางเลโต เป็นหนึ่งใน 12 เทพ แห่งโอลิมปัส เป็นเทพแห่งแสงสว่าง หรือ เทพแห่งดวงอาทิตย์ รวมถึงเป็นเทพแห่งสัจจะและการดนตรีด้วย อ พอลโล มีพี่สาวฝาแฝดชื่อ อาร์เทมิส หรือ ไดอาน่า ซึ่งเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์ จริงๆแล้วสุริยเทพดั้งเดิมของกรีกคือ ฮีลิออส (Helios) ซึ่งเป็นบุตรของไฮเพอร์เรียน (Hyperion) ในคณะเทพไทแทน แต่เมื่อคณะเทพไทแทนสิ้นอำ�นาจ ชาวกรีกจึงนับถือเทพ อ พอลโลแทนสืบต่อมา เมื่อนาง เลโต มารดา ของ อพอลโล ถูกกระทำ�ด้วยความหึงของ เทวีเฮร่า เพราะเหตุเป็นที่ต้องตาต้องใจของซุส ทำ�ให้ในขณะที่นางเลโตอุ้มครรภ์ ต้องหนีงูไพธอน (Python) ของเทวีเฮร่า ซอกซอนไปไม่มีที่จะให้กำ�เนิดบุตรในครรภ์ได้ จนไปถึงเกาะดีลอส (Delos) เทพโปเซ ดอน มี ความสงสาร บันดาลให้เกาะน้อยผุดขึ้นในทะเล นางจึงได้ให้กำ�เนิด อพอลโลกับอาร์เตมิส บนเกาะ นั้น ในทันทีที่ประสูติ จากครรภ์มารดา อพอลโลก็ได้จับงูไพธอนฆ่าเสีย ด้วยเหตุนี้ บาง ทีอพอลโลก็เป็นที่เรียกขานว่า ไพธูส (Pytheus) แปลว่า “ผู้ประหารไพธอน” นอกจากนี้อพอลโล ยังมีชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อ เช่น มีชื่อตาม สถานที่เกิดว่า ดีเลียน , ฟีบัส (Phoebus) แปลว่า “โอภาส” หรือ “ส่องแสง” ชื่อหลังนี้มักใช้ร่วมกับชื่อหลักว่า ฟีบัส อพอลโล เมื่อให้กำ�เนิดบุตรแล้ว นางเลโตก็ยังไม่พ้นการรังควานของเทวีเฮร่า ต้องดั้นด้น ต่อไปจนถึง แคว้น เคเรีย (Caria) ซึ่งอยู่ในเอเซียไมเนอร์ ในปัจจุบันนี้ นางจำ�เป็นต้องหยุดพัก ณ ริมหนอง น้ำ�แห่งหนึ่งด้วยโรยกำ�ลัง และขอดื่มน้ำ�จาก พวกชาวบ้าน ที่ออกมาถอนหญ้าคาอยู่ในบริเวณนั้น พวกชาวบ้านแทนที่จะสมเพชสงสารกลับไล่ตะเพิด และ ด่าทอนางด้วยคำ�หยาบช้า ทำ�ให้ซุสกริ้ว หนัก ถึงกับสาปชาวบ้านเหล่านั้นให้กลายเป็นกบไปทั้งหมด อพอลโล เป็นเทพที่ชาวกรีกถือว่ามีรูปงามยิ่ง และเป็นนักดนตรีผู้ขับกล่อมเทพทั้งปวงบน เขาโอลิมปัส ด้วยพิณถือ ของท่าน นอกจากนี้ยังมีคันธนูซึ่งยิงได้ไกล จึงได้สมญานามว่า เทพขมัง ธนู และนอกจากนี้ ยังเป็น เทพผู้ถ่ายทอดวิชาโรคศิลป์ให้แก่มนุษย์ เป็นเทพแห่งแสงสว่างผู้ขจัด ความมืด และเป็นเทพแห่งสัจธรรม ผู้ไม่เคยเอ่ยวาจาเท็จอีกด้วย วิหารของเทพอพอลโลนั้น มีอยู่ดาษดื่นทั่วไปแต่ที่สำ�คัญที่สุดได้แก่ วิหาร ณ เมืองเดลฟี ใกล้ทิว เขา พาร์นาซัส รูปอนุสาวรีย์ โคลอสซัส (Colosus) ที่เขาสร้างอุทิศแด่ ณ เกาะ โรดส์ (Rhodes) นับเป็นสิ่งหนึ่ง ในสิ่งอัศจรรย์ทั้ง 7 ของโลกสมัยโบราณทีเดียว


เทพอพอลโลมีวีรกรรมสังหารเหล่าคนพาลมากมาย นอกจากเคยฆ่างูยักษ์ไพธอนจนมีชื่อ เสียงแล้ว ยังสามารถสังหารยักษ์ อโลอาดี (Aloadae) และ อีฟิอัลทิส (Ephialtes) ซึ่งเป็นเชื้อ สายของ วงศ์ไทแทน ที่คิดล้มซุสเพื่อฟื้นวงศ์ไทแทนคืนมา เป็นต้น แต่มีครั้งหนึ่งที่ อพอลโลยังไม่อาจเอาชนะมนุษย์ คนหนึ่งได้จนร้อนถึงเทพซุสต้องออกมา ประนีประนอม บุรุษเดินดิน คนนั้นนามว่า เฮอร์คิวลิส เหตุเกิดเพราะ เฮอร์คิวลิส ไปขอคำ� พยากรณ์ที่วิหารเดลฟี แล้วได้รับคำ�ทำ�นาย ไม่ถูกใจ จึงล้มโต๊ะพิธีในวิหาร แล้วฉวยเอากระถางธูป ไป เทพอพอลโล รีบรุดตามไป ท้าเล่นมวยปล้ำ� เพื่อชิงเอากระถางคืน ปล้ำ�กันอยู่นานไม่อาจรู้แพ้ ชนะ ซุสเห็นท่าว่าขืนปล่อยไว้นาน อพอลโล อาจจะเสียเปรียบ พ่ายแพ้แก่มนุษย์เข้าได้ และ อาจเสีย หน้าวงศ์เทพแน่ จึงลงไปห้ามปรามให้เลิกราต่อกัน ขอให้เฮอร์คิวลิส คืนกระถางธูป แก่อพอลโล แล้วให้เลิกราเรื่องบาดหมางต่อกัน เรื่องราวก็เลยจบลงด้วยดี เทพอพอลโลมีอุปนิสัยไม่ยอมแพ้ใครอยู่ไม่น้อย เห็นได้จากที่ไปแข่งเป่าขลุ่ยกับมาไซยาส์ซึ่งเป็น เทพชั้นรอง แล้วตั้งกรรมการตัดสินว่า ผู้ใดเป่าเก่งกว่ากัน ท่านไมดาส (Midas ตามประวัติกล่าว ว่าท่านจับอะไรก็จะกลายเป็นทองคำ�) เกิดตัดสิน เข้าข้างมาไซยาส์ เพียงเท่านี้ อพอลโลก็ไม่ฟังอะไร อีกแล้ว โดยได้สาปให้ไมดาสมีหูเป็นลาไปทันที เมื่อยังเยาว์อพอลโลเที่ยวไปตามแว่นแคว้นต่าง ๆ ทางทิศเหนือของประเทศกรีซ มีดินแดน ของชนชาติ ไฮเพอร์โบเรียน และ แคว้นเธสสะลี เป็นต้น อพอลโลเที่ยวผูกสมัครรักใคร่หญิงทั่วไป ตามวิสัยหนุ่มวัยรุ่น ในแคว้นเธสสะลี มีหญิงงาม ชื่อว่า โครอนนิส (Coronis) เป็นธิดาเจ้าแห่ง แคว้นนั้น อพอลโล ผูกสมัครรักใคร่ได้เสียกับนาง จนเกิดบุตรด้วยกันคนหนึ่ง แต่นางกลับปรากฏ ว่าเป็นหญิงหลายใจ ในระหว่างที่นางตั้งครรภ์ อพอลโลได้ให้นกดุเหว่าขนขาวปลอดตัวหนึ่งเฝ้านางไว้ เมื่อนางคบชู้ นก ก็ไปบอกข่าวแก่นาย อพอลโลบันดาลโทสะ พลอยสาปนกซึ่งบอกข่าวอัปมงคลให้กลับมีขนสีดำ�ไป ดังนั้น นกดุเหว่า จึงมีขนสีดำ�ตั้งแต่นั้นมา ส่วนนางโครอนนิสถูกฆ่า ว่ากันว่าด้วยน้ำ�มือของเทพอ พอลโลเองบ้าง ด้วยคมศรของเทวีอาร์เทมิสบ้าง แต่บุตรในครรภ์ซึ่งจวนจะครบกำ�หนดคลอดนั้นรอดตาย ด้วยอพอลโล (บ้างก็ว่าเฮอร์ มีส) เอาออกจากครรภ์ ตอนเผาศพ นางโครอนนิส แล้วมอบให้แก่ ไครอน (Chiron) ผู้มีชาติเป็น อมนุษย์เซนทอร์ (Centaur) เป็นผู้เลี้ยงดู ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ ไครอน เป็นอาจารย์ ผู้ปราด เปรื่อง เชี่ยวชาญในวิชาการต่าง ๆ มีวิชาดนตรี เภสัชกรรมวิทยา และวิชาธนูศิลป์ เป็นต้น เป็นที่ นับถือของชาวกรีกโบราณว่า เป็นผู้สอนมนุษย์ให้รู้จักใช้พืชสมุนไพรทำ�ยา และ เป็นอาจารย์ ของ วีรบุรุษคนสำ�คัญ ๆ ในเทพปกรณัมมากมาย เช่น อคิลีส, เฮอร์คิวลีส, เยสัน, พีลูส, อีเนียส และ คนอื่น ๆ อีก

ในตอนปลายอายุถูกเฮอร์คิวลีสยิงด้วยธนูอาบยาพิษ โดยความสำ�คัญผิด ของเฮอร์คิวลีส ใน ระหว่างที่ตามล้าง เซนทอร์พวกหนึ่ง แม้ว่าเฮอร์คิวลิสจะพยายามรักษาอย่างไร และแม้ไครอนจะ เป็นหมอเอง ก็ไม่สามารถถอนพิษยาได้ พิษยาบันดาลให้ไครอนเจ็บปวดรวดร้าวหนักหนา ซุสจึง โปรดให้กลายเป็นดาวอยู่ในกลุ่มดาวชื่อ แซชจิเทริอัส (Sagitarius) บุตรของเทพอพอลโล ที่อาจารย์ไครอนรับฝากไว้นั้นได้ขนานนามว่า เอสคิวเลปิอัส (Aesculapius) เป็นเด็ก ฉลาดเฉลียว มีความเข้าใจในวิชาต่างๆแตกฉาน และเป็นที่รักของอาจารย์ อย่างยิ่ง วิชาที่เขาใส่ใจศึกษาที่สุด ได้แก่ โรคศิลป์ เพราะฉะนั้นเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขี้น เขาจึง กลายเป็นหมอบำ�บัดโรคผู้มีความสามารถยิ่ง ความสามารถของเอสคิวเลปิอัส ในการบำ�บัดโรคนั้นยิ่งกว่าของอาจารย์มาก ด้วยที่ สามารถบำ�บัดโรคและความป่วยไข้ได้ทุกชนิด ซึ่งไครอนเองทำ�ไม่ได้ ในไม่ช้าชื่อเสียงของเอสคิวเลปิ อัส ก็เลื่องลือไปไกล ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วย หนักหนาสาหัส หรือเล็กน้อย ถ้าได้รับการบำ�บัด จากเขาแล้วก็ทุเลาลงอย่างรวดเร็ว จนกล่าวได้ว่าหายวันหายคืนเลยทีเดียว ผู้คนพากันไปขอรับ การบำ�บัดโรค ณ สำ�นักของเขา ทั้งจากใกล้และไกลทุกทิศทาง นับว่าการบำ�เพ็ญประโยชน์ ของ เอสคิวเลปิอัสแผ่ไพศาลยิ่ง ความสามารถของเอสคิวเลปิอัสเป็น ที่เลื่องลือไปจนว่ากันว่า ครั้งหนึ่งเขาสามารถแก้คน ตายให้ฟื้นได้ อันเป็นเหตุให้เทพซุส กับเทพฮาเดส เจ้าแห่งแดนคนตายเดือดร้อน ทั้งริษยาและหวั่น เกรงในอำ�นาจบารมีของ เอสคิวเลปิอัส หากปล่อยไว้นานไปเบื้องหน้าจะทำ�ให้มนุษย์กำ�เริบอีก เห็น ว่าจะละไว้มิได้ ซุสจึงประหาร เอสคิวเลปิอัส ด้วยอสนีบาตเอง เทพอพอลโลบันดาลโทสะ ในการตายของบุตร แต่ไม่รู้จะโกรธเอากับเทพบิดาอย่างไร จึงหัน ไปไล่เบี้ยเอากับช่างประกอบอสนีบาตถวายซุส คือ เทพฮีฟีสทัส กับ ยักษ์ไซคลอปส์ โดยน้าวคัน ธนูเงินมุ่งจะยิงธนู สังหารยักษ์ ไซคลอปส์ เสียให้สมแค้น แต่ซุสไม่ยอมให้อพอลโลทำ�เช่นนั้นได้ และ เพื่อจะลงโทษบุตรในความอุกอาจครั้งนี้ จึงเนรเทศอพอลโลให้ลงมาอยู่ในมนุษย์โลก และให้เป็นข้า ของมนุษย์เป็นเวลา 1 ปีเสียก่อน จึงจะพ้นโทษ อพอลโลก็ยังเคยต้องอาญาจากซุส เช่นกัน เมื่อร่วมมือกับโปเซดอนและเฮร่า คิดจะล้มล้าง ซุส แต่พ่ายแพ้ จึงถูกสั่ง ให้ลงไปช่วย สร้างกำ�แพงเมืองทรอย กับโปเซดอนเป็นเวลาสามปี เมื่อเกิด สงครามทรอย อพอลโลก็อยู่ฝ่ายทรอย เครื่องดนตรีที่เป็นสัญลักษณ์ของอพอลโลก็คือพิณกระดองเต่า ซึ่งเฮอร์เมส ได้ประดิษฐ์ และมอบให้เป็น ของขวัญ ขอโทษขอโพยที่ขโมยวัวอพอลโลไป ปัจจุบัน อพอลโลเป็นชื่อที่ถูกอ้างอิงบ่อย ๆ ในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำ�เร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการ ทางอวกาศ ของนาซาที่เรียกว่า โครงการอพอลโล


เทพีแห่งความรัก

เทวีองค์สำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์มากที่สุดได้แก่เทวี อโฟรไดท์ (Aphrodite) หรือ ภาษาโรมันว่า วีนัส (Venus) ซึ่งงเป็นเจ้าแม่ครองความรักและความงาม สามารถสะกดเทพและ มนุษย์ทั้งปวงให้ลุ่มหลง ทั้งอาจจะลบสติปัญญาของผู้ฉลาดให้ตกอยู่ในความโฉดเขลาไปได้ และ เจ้าแม่จะคอยหัวเราะเยาะบรรดาผู้ที่ตกอยู่ในอำ�นาจแห่งความเย้ายวนของเจ้าแม่ร่ำ�ไป หากจะสืบสาวต้นกำ�เนิดของอโฟร์ไดที่ อาจต้องสืบสาวไปไกลกว่าตำ�นานของกรีกเสียอีก เนื่องจากเจ้าแม่มี ต้นกำ�เนิดมาจากดินแดนซีกโลกตะวันออก ว่ากันว่าเจ้าแม่เป็นเทวีองค์แรกเริ่ม ของชน ชาติฟีนีเซีย ที่มาตั้งอาณานิคม มากมาย ในดินแดนตะวันออกแถบตะวันออกกลาง ทราบ กันมาว่าเจ้าแม่ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเทวีของชาวอัสสิเรีย กับบาบิโลเนีย ที่มีนามว่า อีชตาร์ (Ishtar) และก็ยังเป็น อันหนึ่งอันเดียวกับเทวีของชาวไซโร-ฟีนิเซี่ยน ผู้มีนามกรว่า แอสตาร์เต (Astarte) จึงนับได้ว่าเป็น เทวีที่มีความสำ�คัญมากมาแต่ดึกดำ�บรรพ์ ตามมหากาพย์อิเลียดของโฮเมอร์ เทวีอโฟรไดท์เป็นเทพธิดาของซูส เกิดกับนางอัปสร ไดโอนี (Dione) แต่บทกวีนิพนธ์ชั้นหลัง ๆ กล่าวว่า เจ้าแม่ผุดขึ้นจากฟอง ทะเล เนื่องจากคำ�ว่า Aphros อันเป็นที่มาของชื่อเจ้าแม่ใน ภาษากรีกแปลว่า “ฟอง” แหล่งกำ�เนิดของเจ้าแม่อยู่ในทะเล แถว ๆ เกาะ ไซเธอรา (Cythera) จากนั้น เจ้าแม่ถูก คลื่นซัดไปจนถึงเกาะ ไซพรัส (Cyprus) อาศัยเหตุนี้ เกาะทั้งสองจึงกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับเจ้าแม่ และบางทีเจ้าแม่ก็มีชื่อเรียก ตามชื่อเกาะทั้งสอง นี้ว่า ไซเธอเรีย (Cytherea) และ ไซเพรียน (Cyprian) ตามเรื่องที่เล่ากันแพร่หลายกล่าวว่า เมื่อเทวีอโฟรไดทีถูกคลื่นซัดไปติด ณ เกาะไซพรัสนั้น ฤดูเทวีผู้รักษาทวาร แห่งเขาโอลิมปัสลงมารับพาเจ้าแม่ขึ้นไปยังเทพสภา เทพทุกคนในที่นั้นต่าง ตะลึงใน ความงามของเจ้าแม่ และต่างองค์ต่าง ก็อยากได้เจ้าแม่เป็นคู่ครอง แม้แต่ซูสเองก็อยากจะได้ แต่เจ้าแม่ ไม่ยินดีด้วย ไท้เธอจึงโปรดประทานเจ้าแม่ให้แก่ ฮีฟีสทัส (Hephaestus) เทพรูปทราม ผู้มีบาทอัน แปเป๋เป็นบำ�เหน็จรางวัลทดแทนความชอบ ในการที่ฮีฟีสทัส ประกอบอสนียบาตถวาย และเป็นการลงโทษ เจ้าแม่ในเหตุที่ไม่ไยดีซูสไปในตัวด้วย แต่เทพองค์แรกที่เจ้าแม่พิศวาสและร่วมอภิรมย์ด้วยคือ เอรีส (Ares) หรือ มาร์ส (Mars) ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม เทพบุตรของซูสเทพบดี เกิดกับเจ้าแม่ ฮีรา ได้เป็นชู้สู่หากับเทวี อโฟรไดท์ จนให้ประสูติบุตรสอง ธิดาหนึ่งรวมเป็นสาม มีนามตามลำ�ดับว่า อีรอส (Eros) หรือ คิวพิด (Cupid) แอนติรอส (Anteros) และ เฮอร์ไมโอนี (Hermione) หรือ ฮาร์โมเนีย (Harmonia) นางเฮอร์ไมโอนีนั้นได้วิวาห์กับ แคดมัส (Cadmus) ผู้สร้างเมืองธีบส์ ซึ่งเป็นพี่ของนางยุ โรปา ผู้ถูกซูสลักพาไป เป็นคู่ร่วมอภิรมย์ ดังเล่ามาแล้วแต่ต้น


เรื่องราวความรักของเทวีแห่งความงามและความรักอโฟร์ไดที่ไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ เจ้าแม่ เที่ยวหว่าน เสน่ห์ไปทั่วไม่ว่าเทพหรือมนุษย์ อาทิเช่น การมีจิตปฏิพัทธ์ เสน่หากับเทพเฮอร์มีส จน เกิดมีโอรสองค์หนึ่งนามว่า เฮอร์มาโฟร์ดิทัส (Hermahroditus) ในด้านของมนุษย์เทวีอโฟร์ไดที่ ยังเคยแอบไปมีจิตพิศวาสกับบุรุษ เดินดิน เช่น ไปชอบพอกับเจ้าชายชาวโทรยันนามว่า แอนคิซีส (Anchises) จนมีโอรสครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ออกมานามว่า เอนิแอส(Aenias) ผู้เป็นต้นตระกลูของ ชาวโรมันทั้งหมด และที่อื้อฉาวฮือฮามากที่สุดได้แก่ การไปแอบรัก สุดหล่อแห่งยุคคือ อโดนิส ในกาลวันหนึ่ง เจ้าแม่อโฟรไดท์เล่นหัวหยอกเอินอยู่กับอีรอส บังเอิญถูกศรซึ่งอีรอสถือ อยู่สะกิดเอาที่อุระ ถึงแม้ว่า จะเป็นแผลเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำ�ให้เจ้าแม่ตกอยู่ ในอำ�นาจพิษศรของบุตรได้ ยังมิทันที่แผลจะ เหือดหาย เจ้าแม่ได้พบกับ อโดนิส (Adonis) มานพ หนุ่มพเนจรอยู่ในราวป่า ให้บังเกิดความพิสมัยจนไม่อาจระงับ ยับยั้งอยู่ใน สวรรค์ได้ เจ้าแม่จึงลง มาจากสวรรค์มาพเนจรตามอโดนิส หมายที่จะได้ใกล้ชิดซึ่งกันและกันไม่ว่าจะไป ทางไหนเจ้าแม่ก็จะ ตามไปด้วย เทวีอโฟรไดท์หลงใหลและเป็นห่วงอโดนิส จนไม่เป็นอันระลึกถึงสถานแห่งหนึ่งแห่งใดที่เคย โปรด เที่ยวติดตาม อโดนิสไปในราวป่าตลอดเวลาเพื่อคอยตักเตือน และกำ�ชับอโดนิสในเวลาล่า สัตว์ มิให้หักหาญเสี่ยงอันตรายมากนัก ให้หลีก เลี่ยงสัตว์ใหญ่ ล่าแต่สัตว์เล็กชนิดที่พอจะล่าได้ เท่านั้น ตลอดเวลาที่เฝ้าติดตามเจ้าแม่พะเน้าพะนอเอาใจ อโดนิสด้วยประการ ทั้งปวง แต่ความรักของเจ้าแม่ที่มีต่ออโดนิสเป้นความรักข้างเดียว เจ้าหนุ่มหาได้รักตอบเจ้าแม่ไม่ ชะรอยจะเป็น เพราะอีรอสมิได้แผลงศรรักเอากับเจ้าหนุ่มดอกกระมัง ด้วยเหตุนี้อโดนิสจึงไม่แยแส ต่อคำ�กำ�ชับตักเตือนของเจ้าแม่ คงเที่ยวล่าสัตว์ใหญ่น้อยเรื่อยไปตามใจชอบ วันหนึ่งเจ้าแม่อโฟร ไดท์มีธุระต้องจากไป จึงทรงเทพยานเทียมหงส์เหิน เหาะไปในนภากาศ ฝ่ายอโดนิสพบหมูป่าแสน ดุร้ายเข้าตัวหนึ่ง (บางตำ�นานเล่าว่าหมูป่าตัวนี้ เกิดจากเสกจำ�แลงของ เทพเอเรส เนื่องจากหึงหวง ความรักที่เทวีอโฟรไดท์มีให้แก่อโดนิส) และตามล่ามันไปจนหมูป่าจนมุมแล้ว อโดนิสก็ ซัดหอกไป ถูกหมูป่า แต่หอกพลาดที่สำ�คัญ หมูป่าได้รับความเจ็บปวดจึงเพิ่มความดุร้ายยิ่งขึ้น จึงรี่เข้าขวิดอ โดนิสล้มลง ถึงแก่ความตาย เจ้าแม่อโฟรไดท์ได้สดับเสียงร้องโอดโอยของอโดนิสในกลางหาวผินพักตร์มาเห็นดังนั้น จึง ชักรถเทียม หงส์กลับลงมายังพื้นปฐพี และลงจากรถเข้าจุมพิตอโดนิสซึ่งกำ�ลังจะสิ้นใจ ครั้นแล้ว เจ้าแม่ก็ครวญคร่ำ�รำ�พันพิลาปพิไร ด้วยสุดแสนอาลับรัก แถมทึ้งเกศาข้อนทรวงทำ�อาการต่าง ๆ ตามวิสัยผู้ที่คลุ้มคลั่ง เจ้าแม่รำ�พันตัดพ้อเทวีครองชะตา กรรมที่ด่วนเด็ดชีวิตผู้เป็นที่รักของ เจ้าแม่ให้พรากจากไป ประดุจควักดวงเนตรออกจากเจ้าแม่ก็ไม่ปาน พอค่อยหาย โศกแล้วเจ้าแม่ จึงเอื้อนโอษฐ์ออกปณิธานว่า “ถึงมาตรว่าดังนั้นก็อย่าหมายเลยว่า ผู้เป็นที่รักแห่งข้าจะต้องอยู่ ในยมโลกตลอดกาล หยาดโลหิตของอโดนิสแก้วตาข้าจงกลายเป็นบุปผชาติชนิดหนึ่ง เพื่อเป็น อนุสรณ์ความ โศกของข้าให้ข้าได้ระลึกถึงวาระเศร้าสลดครั้งนี้เป็นประจำ�ปีเถิด”

เมื่ออกปณิธานดังนั้นแล้ว เจ้าแม่ก็พรมน้ำ� ด้วยเกสรอันศักดิ์สิทธิ์ลงบนหยาดโลหิตของอโดนิส บัดดลก็มีพันธุ์ไม้ดอกสีแดงเลือดดังสีทับทิมผุดขึ้น ดังมีชื่อเรียกกัน สืบๆ มาว่าดอกอโดนิส หรือ ดอกเออะเนมโมนิ (Anemone) ก็เรียก แปลว่า ดอกตามลม (บางตำ�นานว่าก็คือ ดอกกุหลาบ นั่นเอง) เนื่องจากธรรมชาติซึ่งกล่าวกันว่า ลมทำ�ให้ดอกไม้นี้แย้มบานและภายหลังก็พัดกลีบให้ร่วง หล่นไป มีฤดูกาลอยู้ได้เพียงชั่ว 3-4 เดือนเท่านั้น ว่ากันว่าแรกเริ่มเดิมทีก่อนที่จะกลายเป็นเทวีแห่งความงามและความรักนั้น อโฟร์ไดที่เป็น เทวีแห่งความสมบูรณ์ มาก่อน เมืองที่นับถือเจ้าแม่มากที่สุดได้แก่ เมืองปาฟอสในไซปรัสและเมือง ไซธีราในเกาะครีต นอกจากนั้น วิหารที่เล่าลือ ว่าโอ่อ่าที่สุดของซีกโลกทางด้านตะวันออกได้แก่ วิหารที่เมืองคนิดุส ในรัฐแคเรีย (Caria) เมื่อเดินทางมาถึงกรีกก็มีผู้ ศรัทธาเชื่อถือสร้างวิหาร ใหญ่ให้หลายแห่ง รวมทั้งกรุงเอเธนส์ซึ่งมีเทวีเอเธน่า เป็นเทพอุปถัมภ์อยู่บนเนินอโครโปลิส ได้กล่าวแล้วว่า อโฟรไดท์เป็นเทวีที่ชาวกรีกและโรมันโบราณถือว่าเกี่ยวข้องกับความเป็น อยู่ของมนุษย์มาก ที่สุด เนื่องจากเจ้าแม่เป็นเทวีครองความรักและความงาม และความงามกับ ความรักก็เป็นสิ่งที่จับใจคนมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้เจ้าแม่จึงมักเป็นที่เทิดทูนและกล่าวขวัญ ในวิจิตรศิลป์และวรรณคดีต่าง ๆ นอกจากนั้นชาวกรีก และโรมันยังถือ ว่าเจ้าแม่เป็นเทวีครอง ความมีลูกดกและการให้กำ�เนิดทารกอีกด้วย มีคติความเชื่อประการหนึ่งซึ่งอย่างน้อยก็ยังพูด กันติด ปากชาวตะวันตกมาจนถึง ปัจจุบันนี้ว่า ทารกถือกำ�เนิดเพราะนกกระสานำ�มา คตินี้สืบ เนื่องจากข้อยึดถือของชาวกรีกและ โรมันมาแต่เดิมเหมือนกัน ในเทพปกรณัมกล่าวว่า นกกระสาเป็นนกประกอบบารมีของอโฟรไดท์ คราวใดมีนกกระสาผัวเมีย ไปทำ�รังอยู่บน ยอดหลังคาบ้านใด ก็หมายความว่าเจ้าแม่อโฟรไดท์โปรดให้ครอบครัวในบ้านนั้นมี ลูกและจะให้ประสบความรุ่งเรือง ใน ยุโรปโดยเฉพาะภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ถือนกกระสาประหนึ่ง ที่เคารพทีเดียว ในเยอรมันและเนเธอร์แลนด์ถือว่านก กระสาเป็นนกที่นำ�โชคลาภมาให้ ดังนั้นชาว เยอรมันและวิลันดาจึงยินดีที่จะให้นกกระสามาทำ�รังบนหลังคาบ้านเสมอ ยิ่ง อาศัยอยู่นานเท่าใด ก็ยิ่งเป็นมงคลแก่บ้านนานเท่านั้น นกกระสาจึงเป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่าวสำ�คัญตามเทพนิยาย นิทาน ชาวบ้าน และนิทานเทียบสุภาษิตต่าง ๆ ของฝรั่งด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ อนึ่งชาวยุโรปทั่วไปเขาเชื่อกันมาเป็นเวลานานหลายศตวรรษด้วยว่า ในคราวที่บ้านหนึ่งบ้านใด กำ�ลังจะมีเด็ก เจ้าแม่อโฟรไดท์จะให้นกกระสามาบินวนเวียน เหนือบ้านนั้น คตินี้กินความไปถึงว่า ถ้านกกระสาบินวนเหนือบ้านที่กำ�ลังจะมีเด็กเกิด เด็กนั้นจะคลอดออกจากครรภ์โดยง่ายและอยู่ รอดด้วย แต่คตินี้ในที่สุดก็เป็นเพียงข้อ อ้างที่พ่อแม่จะใช้ตอบลูกตอนโต ๆ เมื่อถูกถามว่าน้องเล็ก เกิดมาแต่ไหน หรือตัวเกิดจากอะไรเท่านั้น เทวีอโฟร์ไดที่มีต้นเมอร์เทิลเป็นพฤกษาประจำ�องค์ สัตว์เลี้ยงของเจ้าแม่เป็นนก บ้างว่าเป็น นกเขา นกกระจอกบ้าง หงส์บ้าง ตามแต่กวีคนไหนจะชอบใจยกให้เป็น สัญลักษณ์ของเทวีแห่ง ความงามและความรัก


เทพเจ้าแห่งการช่าง เฮฟเฟสตุส (Hephaestus) หรือ ภาษาโรมันว่า วัลแคน (Vulcan) เทพแห่งไฟ โลหะ และการช่าง วัลแคน เป็นเทพแห่งโอลิมเปียนที่ครองการช่างโลหะ เรียกตามชื่อกรีกว่า ฮีฟีสทัส (Hephaestus) มีประวัติกำ�เนิดเล่าแตกต่างกันเป็น 2 นัย นัยหนึ่งว่าเป็นเทพบุตรของเจ้าแม่ฮีรากับเทพปรินายกซูสโดยตรง แต่อีกนัยหนึ่งว่าฮีฟีสทัส ถือกำ�เนิดแต่เจ้าแม่ฮีรา ทำ�นองเทวีเอเธน่าเกิดกับซูสฉะนั้น คือผุดขึ้นจากเศียรของเจ้าแม่โดยลำ�พัง ตนเอง ทั้งนี้เนื่องด้วยเจตจำ�นงของเจ้าแม่ฮีราที่ ต้องการจะแก้ลำ�ซูสในการกำ�เนิดของเทวีเอเธน่าให้ เทพทั้งปวงเห็นว่าเมื่อซูสทำ�ให้เทวีเอเธน่าเกิดเองได้ เจ้าแม่ก็สามารถทำ�ให้ ฮีฟีสทัสเกิดเองได้เช่นกัน แต่ ถึ ง กำ � เนิ ด ของเทพฮี ฟี ส ทั ส จะเป็ น ประการใดก็ ต้ อ งนั บ ว่ า ฮี ฟี ส ทั ส เป็ น เทพบุ ต รของซุ สด้วยเช่นกัน หากมีข้อควรกล่าวก็ คือว่า ฮีฟีสทัส “ติดแม่” มากกว่า “ติดพ่อ” และเข้ากับ “แม่” ทุกคราวที่ “พ่อแม่ทะเลาะกัน” ตามประสา “ผัวเจ้าชู้” กับ “เมียขี้หึง” ทั่วไป ในคราวหนึ่งซูส ประสงค์จะลงโทษเจ้าแม่ฮีราให้เข็ดหลาบ เอาโซ่ทองล่ามเจ้าแม่แขวนไว้กับกิ่งฟ้าห้อยโตงเตง อยู่ ดัง นั้นฮีฟีสทัสก็เข้าช่วย เจ้าแม่ พยายามแก้ไขโซ่จะให้เจ้าแม่เป็นอิสระ ซูสบันดาลโทสะ จึงจับฮีฟีสทัส ขว้างลงมาจากสวรรคโลก ฮีฟีสทัสตกจากสวรรค์เป็นเวลาถึง 9 วันจึงลงมาถึงมนุษย์โลก ณ เกาะเลมนอสในทะเลเอ จีน และเนื่องในการตกครั้งนี้ เธอจึงมีบาทแปเป๋ไปข้างหนึ่งตั้งแต่นั้น มา แต่ทั้งที่เธอต้องพิการเช่นนั้น ด้วยหมายจะช่วยมารดา เจ้าแม่ฮีราผู้เป็นมารดาก็หาแยแสเหลียวแลเธอไม่ ฮีฟีสทัสเทพบุตรบังเกิดความโทมนัสซ้ำ� เติมอย่างแสนสาหัสใน ความเฉยเมยของเจ้าแม่ ถึงแก่ตั้งปณิธานว่าจะไม่กลับขึ้นไปบนเขาโอลิมปัส อีก เธอจึงสร้างวังประทับอยู่ในเกาะเลมนอสและตั้งโรงหล่อเพลิดเพลินในการช่างฝีมือประกอบ โลหะนานาชนิด โดยมีพวกยักษ์ไซคลอปส์เป็นลูกมือ


และเพื่อจะแก้ลำ�ความเมินเฉยของมารดา เธอจึงสร้างบัลลังก์ทองคำ�เปล่งสะพรั่งพร้อมด้วย ลวดลายสลักเสลาอย่างหาที่ เปรียบมิได้ขึ้นตัวหนึ่ง เป็นบัลลังก์กลประกอบด้วยลานกลไกซ่อนอยู่ ข้างใน ส่งขึ้นไปถวายเจ้าแม่ฮีรา เจ้าแม่ยินดีในรูปลักษณะอันแสนงามของบัลลังก์กล สำ�คัญว่าเป็นของ บุตรถวายโดยซื่อ พอขึ้นประทับเครื่องกลไกที่ซ่อนอยู่ก็ดีดกระหวัดรัด องค์เจ้าแม่ตรึงติดกับบัลลังก์อย่างมั่นคง จนไม่สามารถแม้แต่จะขยับเขยื้อนองค์ แม้เทพทั้งปวงจะ รวม กำ�ลังกันเข้าแก้ไขก็จนปัญญา ไม่มีทางปลดเปลื้องพันธนาการให้หลุดออกไปได้ เมื่อเหนือกำ�ลังทวยเทพดังนั้น เฮอร์มีส เทพผู้มีลิ้นทูต จึงอาสามาเกลี้ยกล่อมวอนง้อขอให้ ฮีฟีสทัสขึ้นไปช่วยแก้แต่ “ลิ้นทูต” ของเฮอร์มีสกลับกลายเป็น “ลิ้นถึก” ในกรณีนี้ แม้เธอจะหว่าน ล้อมด้วยความคมขำ�ไพเราะสักเพียงใด ก็ไม่อาจชักจูงฮีฟีสทัสให้ขึ้นไปบนเขาโอลิมปัสได้ ทวยเทพประชุมปรึกษากันอีกวาระหนึ่ง มองไม่เห็นใครนอกจากเทพไดโอนิซัส จะช่วยได้ จึงเห็นชอบพร้อมกันส่งไดโอนิซัสลงมาเกลี้ยกล่อมเทพฮีฟีสทัสด้วย อุบาย คือใช้วิธีมอมฮีฟีสทัส ด้วยน้ำ�องุ่นจนฮีฟีสทัสเคลิบเคลิ้มมึนเมา แล้วไดโอนิซัสก็พาฮีฟีสทัสขึ้นไปแก้เครื่องกลพันธนาการให้เจ้าแม่ฮีราเป็นอิสระจนได้ ใช่แต่ เท่านั้น เธอยังช่วยไกล่เกลี่ยให้เทพบิดามาดรและเทพบุตรออมชอมเข้ากันได้ดังปกติอีกด้วย แต่ทั้งที่ได้รับความยกย่องโปรดปรานเทียมเท่าเทพองค์อื่น ๆ ในคณะเทพโอลิมเปียนแล้ว เช่นนั้น ฮีฟีสทัสก็ไม่ยินดีที่จะอยู่บนเขาโอลิมปัสเป็นประจำ� จะขึ้นไปก็เฉพาะคราวประชุมเทพสภา และในวาระอื่น ๆ เท่านั้น ในยามปกติเธอคงขลุกอยู่ในโรงหล่อ และหมกมุ่นง่วนกับงานช่างของเธอ เป็นนิตย์ จะเปรียบเธอก็เป็น พระเวสสุกรรมของกรีก เพราะการสร้างวังที่ประทับของเทพแต่ละองค์ บนเขาโอลิมปัสนั้นเป็นพนักงานของ เธอทั้งสิ้น นอกจากนี้เธอยังเป็นผู้ออกแบบประกอบเครื่อง ตกแต่งตำ�หนักต่าง ๆ ด้วยโลหะประดับมณีแวววาว จับตา และประกอบอสนีบาตเป็นอาวุธถวายแก่ ซูส กับศรรักให้อิรอส

เนื่องด้วยเหตุดังกล่าว พระองค์จึงห่างเหินจากพระบิดาและมารดา Hephaestus ใช้เวลา ช่วง 10 ปีแรกอยู่ในทะเล และได้สร้างโรงหล่อไว้ใต้ภูเขา Aetna มี Cyclops เป็นคนงาน

สิ่งที่พระองค์สร้างขึ้น มีดังนี้

-

สายฟ้าของ Zeus หอกตรีศูลของ Poseidon หมวกล่องหนของ Hades อาวุธของ Achilles และ Aeneas คทาของ Agamemnon สร้อยคอของ Harmonia ซึ่งผู้สวมใส่จะประสบเคราะห์ร้าย โล่ของ Heracles

เทพฮีเฟสตัสมีรักครั้งแรกคือเทพีอะธีนา แต่พระนางไม่ตกลงปลงใจด้วย (คงเพราะเทพฮี เฟสตัสใช้กำ�ลังพยายามลวนลามพระนาง) และเหตุนี้ทำ�ให้เทพีอะธีนามุ่งมั่นจนกลายเป็น 1 ใน 3 เทพีครองพรหมจรรย์ เฮฟิสทัสเทพผู้พิการ แต่กลับมีชายาที่แสนสวย เพราะชายาของเฮฟิสทัสนั้นคือ อโฟรไดที (Aphrodite) แต่เพราะความสง่างามที่ไม่เสมอกัน อโฟรไดทีจึงมักนอกใจเฮฟิสทัสไปกับเทพบุตร รูปงามอื่นๆ อีกหลายองค์


เทพเจ้าแห่งการเดินทาง เฮอร์มีส (Hermes) หรือ เมอร์คิวรี่ (Mercury) เป็นเทพบุตรของซูสเทพบดี กับ นางมาย หรือ เมยา (Maia) เป็นเทพที่มีผู้ร้จักมาก เนื่องจากรูปของเธอปรากฏคุ้น ตาคนมากกว่าเทพองค์อื่น ๆ คนมักนำ�รูปเทพองค์นี้ หรืออย่างน้อยก็ของวิเศษอย่างหนึ่งของเธอ คือ เกือกมีปีก มาแสดงเป็น เครื่องหมายถึงความเร็ว นอกจากเกือก หมวกและไม้ถืออันศักดิ์สิทธิ์ของเธอก็มีปีก เหมือนกัน เธอไปได้เร็วยิ่งนัก ถึงแด่ว่ากันว่า “ไปเร็วเพียงความคิด” ทีเดียว หมวกและเกือกมีปีกของเฮอร์มีสนั้นเรียกว่า เพตตะซัส (Petasus) และ ทะเล เรีย (Talaria) เป็น ของที่ได้รับประทานจากซูสเทพบิดา ซึ่งโปรดให้เธอเป็นเทพพนักงาน สื่อสารประจำ�พระองค์ ส่วนไม้ถือศักดิ์สิทธิ์เรียกว่า กะดูเซียส (Caduceus) เดิมเป็น ของเทพอพอลโล เธอใช้ต้อนวัวควายในครอบครอง ครั้งหนึ่งเฮอร์มีสขโมยวัวของ เธอไปซ่อน อพอลโลรู้ระแคะระคายดังนั้นจึงมาท วงถามให้เทพภราดรคืนวัวให้แก่เธอ เฮอร์มีสในตอนนั้นยังเยาว์อยู่แท้ ๆ กลับย้อนถาม อย่างหน้าตาเฉยว่า วัวอะไรที่ไหนกัน เธอไม่เคยเห็นและไม่เคยได้ยิน อพอลโลก็ไปฟ้องเทพบิดา ซูส ไกล่เกลี่ยให้เฮอร์มีสคืนวัวให้เจ้าของ อพอลโล ได้วัวคืนแล้วก็ไม่ถือเทพผู้น้อง แม้ว่าวัวจะขาดจำ�นวนไป 2 ตัว เพราะ เฮอร์มีสเอาไปทำ� เครื่องสังเวยเสียแล้วก็ตาม เธอเห็นเฮอร์มีสมีพิณถือคันหนึ่งเรียกว่า ไลร์ (lyre) เป็น ของเฮอร์มีส ประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยกระดองเต่าก็อยากได้ จึงเอาไม้กะดูเซียสแลก ไม้ถือกะ ดูเซียสจึงเป็นของเฮอร์มีสด้วยเหตุฉะนี้ และถือ กันว่าเป็นสัญลักษณ์ของเฮอร์มีสแต่ ครั้งนั้น


ไม้กะดูเซียสนี้แต่เดิมเป็นไม้ถือมีปีกลุ่น ๆ ต่อมาเฮอร์มีสถือไปพบงู 2 ตัวกำ�ลัง ต่อสู้กัน เธอเอาไม้ทิ่มเข้าในระหว่างกลางเพื่อห้าม ความวิวาท งูก็เลื้อยขึ้นมาพันอยู่กับ ไม้ โดยหันหัวเข้าหากัน ตั้งแต่นั้นมางูนี้ก็พันอยู่กับไม้ถือกะดูเซียสตลอดมา และไม้ถือกะดู เซียสก็ กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นกลางด้วย ภายหลังได้ใช้เป็นสัญลักษณ์ของ การแพทย์มาจนบัดนี้ เฮอร์มีสไม่แต่จะเป็นเทพพนักงานสื่อสารของซูสเท่านั้น หากยังเป็นเทพครองการ เดินทาง การพาณิชย์ และตลาด เป็นที่บูชาของพวกหัวขโมย และมีหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์ คอยนำ�วิญญาณคนตายไปสู่ยมโลกด้วยจนได้รับนามกร อีกชื่อหนึ่งว่า เฮอร์มีสไซโค ปอมปัส (Hermes Psychopompus) สรุปว่าการสื่อสารและการเป็นคนกลางใน กิจการทุกอย่างตกเป็นภาระของเธอ หรืออยู่ในความสอดส่องของเธอทั้งสิ้น ส่วนการที่เธอเป็นที่นับถือบูชาของพวกขโมยก็ คง เนื่องจากขโมยวัวของอพอลโลที่เล่ามาแล้วนั่นเอง สิ่งที่น่าแปลกประการหนึ่งในตัวของเฮอร์มีสก็คือ แม้ว่าเธอจะเป็นโอรสของซูส เทพบดีกับนาง เมยา (Maia) ซึ่ง เป็นอนุ แต่ทว่าทรงเป็นโอรสองค์เดียวของซูสที่ราชินีขี้ หึงเทวีฮีร่าไม่เกลียดชัง กลับเรียกหาให้เฮอร์มีสอยู่ใกล้ ๆ ด้วยเสีย อีก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ บุคลิกและนิสัยของเทพเฮอร์มีส ที่ชอบช่วยเหลือทุกคน

ไม่ว่าจะเป็นทวยเทพด้วยกัน หรือมนุษย์ ธรรมดา อาทิเช่น

- ช่วยปราบยักษ์ร้ายฮิปโปไลตุล - ช่วยองค์ซูสเทพบิดาให้พ้นจากพันธนาการของยักษ์ไทฟีอัส - ช่วยอนุองค์ หนึ่งของเทพบิดา คือนางไอโอให้รอดตายด้วยการสังหารอาร์กัส อสูรพันตาของเจ้าแม่ฮีร่า - ช่วยเหลือเลี้ยงดูไดโอนิซัส ในยามแรกถือกำ�เนิดขึ้นอีกด้วย

ในด้านของมนุษย์นั้น เฮอร์มีสเคยช่วยเปอร์ซีอุสสังหารนางการ์กอนเทดูซ่า ช่วย เฮอร์คิวลิสในยามเดินทางสู่แดนบาดาล ช่วยโอดีสซีอัสให้รอดพ้นเงื้อมมือนางเซอร์ซี และช่วยให้เต เลมาดุสตามหาพ่อจน พบ เป็นต้น เฮอร์มีสก็เช่นเดียวกับเทพบุตรองค์อื่น ๆ ตรงที่ไม่ยกย่องเทวีหรือสตรีนางใดเป็นชายา แต่ สมัครรักใคร่ไปเรื่อย ๆ นับไม่ถ้วน ว่ากันว่าการที่เธอชอบเสด็จลงไป ในแดนบาดาลบ่อย ๆ นั้นเป็น เพราะหลงเสน่ห์ของเทวีเพอร์เซโฟนีผู้เป็นชายา ของฮาเดส จ้าวแดนบาดาล ยามขึ้นมาสู่ผืนดินเฮอร์มีสก็รักกับสตรีมนุษย์มากหน้า ที่เป็นที่ กล่าวขานได้แก่ อคาคัล ลิส (Acacallis) ผู้เป็นธิดาของท้าวไมนอส แห่งครีต เมื่อขึ้นไปสู่สวรรค์โอลิมปัสก็เกิดจิตพิศวาส กับเทวีในทำ�นองรักข้ามรุ่น โดยเฉพาะกับ เฮเคตี และอโฟร์ไดที่เทวี


เทพเจ้าแห่งเมรัย ไดโอนิซัส (dionysus) หรือ ภาษาโรมันว่า แบกคัส (Bacchus) ได้รับการยกย่องเป็น เทพองค์หนึ่งในคณะเทพโอลิมเปียน และเป็นที่นับถือของชนทั้งหลายในฐานะเทพผู้พบและครอง ผลองุ่น ต่อมาเป็นเทพครองน้ำ�องุ่นตลอดจนความเมาเนื่องจากการดื่มน้ำ�องุ่นด้วย ไดโอนิซัส เป็นบุตรของซูสเทพบดี กับนาง สีมิลี ธิดาของแคดมัสผู้สร้างเมืองธีบส์ กับนาง เฮอร์ไมโอนี การกำ�เนิด ของเทพไดโอนิซัสนับว่าน่าสงสารทีเดียว เหตุเพราะความหึงหวงของเจ้าแม่ ฮีรา กล่าวคือ เมื่อเทพปริณายกซูสไปเกิดมีความปฏิพัทธ์พิศวาสนางสีมิลี จึงได้จำ�แลงองค์เป็นมานพลง มาแทะโลมและสมสู่ด้วย ถึง แม้ว่านางจะได้รับแต่คำ�บอกเล่าของมานพ โดยไม่มีอะไรพิสูจน์ว่ามานพ นั้นคือเทพไท้ซูส นางก็พอใจและปิติยินดีไม่ติดใจ สงสัยอันใด ไม่ช้าเรื่องพิศวาสระหว่างซูสเทพบดีกับนางสีมิลีก็แพร่งพรายไปถึงเจ้าแม่ฮีราผู้หึงหวง เจ้า แม่มุ่งมั่นจะให้เรื่องนี้ ยุติเสียทันที จึงจำ�แลงองค์เป็นนางพี่เลี้ยงแก่ของสีมิลีเข้าไปในห้องของนาง และชวนคุย พอได้ช่องก็ซักเรื่องเกี่ยวโยงไปถึง เรื่องความรักของนาง และออกอุบายให้นางหลง เชื่อเกี่ยวกับประวัติอันน่าสงสัยของมานพผู้นั้นว่าจะเป็นซูสจำ�แลงมาจริงหรือไม่ โดยให้มานพนั้น ปรากฏกายให้เห็นในลักษณะของเทพเจ้า ซึ่งนางสีมิลีก็หลงเชื่อในที่สุดและตกลงใจที่จะกระทำ�ตาม ที่พี่เลี้ยงแนะนำ� เมื่อซูสเสด็จลงมาอีก นางสีมิลีจึงหว่านล้อมให้ไท้เธอสาบาน โดยอ้างแม่น้ำ�สติกซ์เป็นทิพย พยานว่าไท้เธอจะโปรด ประทานฉันทานุมัติตามคำ�ของนางประการหนึ่ง ครั้นไท้เธอสาบานแล้วนาง ก็ทูลความประสงค์ของนางให้ทราบ ซูสเทพบดีถึงแก่ ตกตะลึงด้วยคิดไม่ถึงว่านางจะทูลขอในข้อ ฉกรรจ์ถึงเพียงนี้ ไท้เธอตระหนักดีว่า ถ้าไท้เธอสำ�แดงองค์ให้ปรากฏตามจริง ก็จะ ทำ�ให้นางสีมิลีผู้ เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดาไม่อาจมีชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ดีไท้เธอก็มีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามสาบานอย่าง เคร่งครัด ไม่มีทางจะบ่าย เบี่ยงได้ ด้วยว่าการละเมิดคำ�สาบานซึ่งอ้างแม่น้ำ�สติกซ์อันศักดิ์สิทธิ์เป็นทิพยพยานนั้นย่อมบังเกิด ผล ร้ายกับเทพผู้สาบานทุกองค์เหมือนกันหมด ไม่มีที่ยกเว้นแม้แต่องค์เทพบดีซูสเอง


ซูสเนรมิตองค์ให้ปรากฏตามลักษณะประกอบด้วยทิพยาภิสังขารอันเป็นจริง พอนางสีมิลี ได้เห็นภาพของไท้เธอ ด้วยตาอันพร่าพราว นางก็ถึงแก่ล้มกลิ้งด้วยไม่อาจทนต่อทิพยอำ�นาจของ ไท้เธอได้ และในชั่วพริบตาก็บังเกิดไฟลุกขึ้นเผา ผลาญนางให้วอดวายกลายเป็นจุณไป ในขณะนั้นนางสีมิลีทรงครรภ์อยู่ แม้ซูสไม่อาจช่วยชีวิตของนางไว้ได้ แต่ก็ยังสามารถ ช่วย บุตรได้ ไท้เธอฉวยทารกออกจากไฟฝัง ไว้ในต้นชานุมณฑลของไท้เธอเอง ทารกคงอยู่ในที่นั้นต่อ จากที่ได้อยู่ในครรภ์ มารดามาแล้ว จนครบกำ�หนดคลอด ซูสจึงเอาทารกออก มอบให้นางอัปสร พวกหนึ่งเรียกว่า ไนสยาดีส (Nysiades) เป็นผู้ อนุบาล นางอัปสรพวกนี้เอาใจใส่อนุบาลทารก อย่างทะนุถนอมเป็น อย่างดี ซุสจึงโปรดเนรมิตให้กลายเป็นกลุ่มดาวหนึ่ง เรียกว่า ไฮยาดีส (Hyades) ส่วนทารกน้อยผู้ที่ ถูกนางอัปสรเลี้ยงดู มีชื่อว่า ไดโอนิซัส หรือ แบกคัส นั่นเอง แม้ว่ากำ�เนิดแท้จริงของไดโอนิซัสจะเป็นกึ่งมนุษย์กึ่งเทพ แต่ก็ได้รับการยอมรับให้เป็นเทพ อย่าง สมบูรณ์ มีความเป็น อมฤตภาพเช่นเดียวกับเหล่าเทพสภาอื่น ๆ บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัส แต่ไดโอนิซัสรักที่จะ เดินทางท่องเที่ยวไปบนผืนดินอัน กว้างขวางมากกว่า ไปทางไหนก็นำ�ความชุ่ม ชื้นแห่งสุราเมรัยติดไปด้วย คนที่มองเห็นคุณความดีของเธอพากันเคารพนับถือส่วนคนที่ดูถูกเหยียดหยามมักถูก ลงโทษ ในฐานะที่เพิ่ง จะดำ�รงตำ�แหน่งเทพ ไดโอนิซัสไม่ประสบความสำ�เร็จในการทำ�ให้ คนนับถือ สักเท่าใดนัก ครั้นเวลาผ่านไป และคุณกับโทษของเธอเป็นที่ประจักษ์ชัดขึ้น มนุษย์ส่วนใหญ่จึงพา กันเคารพนับถือ และสร้างวิหารถวายแด่ เมรัยเทพเป็นการใหญ่ ไดโอนิซัส ทำ�ให้พื้นดินสะพรั่งไปด้วยองุ่นรสเลิศที่ทรงคุณประโยชน์มากหลาย ทำ�ให้ผู้คน อิ่มหนำ� และชื่นบาน แต่มีหลายครั้งที่ไดโอนิซัสทำ�ให้คนกลายเป็นวิกลจริตอย่างน่าสมเพช ใน จำ�นวนนี้มีสตรีกลุ่ม หนึ่งซึ่งเรียกว่า เมนาดส์ (Maenads) ซึ่งถูกพิษของเมรัย ทำ�ให้เป็นบ้าหมด สติไปทุกคน ต่างกระโดด โลดเต้นร้องรำ�ทำ�เพลงไปตามป่าเขาลำ�เนาไพร อย่างขาดสติ บางครั้งก็มาห้อมล้อมติดสอยห้อยตามไดโอนิซัส ไปด้วย ต่อมาในยุคโรมันเมื่อไดโอนิซัส ได้รับชื่อเป็นภาษาละตินว่า แบกคัส (Bacchus) คณานางสติไม่ สมบูรณืเหล่าสตรีก็ได้รับชื่อใหม่ ว่า แบกคันทีส(Bacchantes) จึงออกจะเป็นถาพที่ ประหลาดมากที่ชาย หนุ่มรูปงามคนหนึ่งจะ เดินทางไปไหน ๆ โดยแวดล้อมด้วยผู้หญิงบ้า

เรื่องราวความรักของไดโอนิซัสก็มีบ้าง แต่เป็นรักที่ลงเอยด้วยความเศร้าสลด คือเธอไปพบ และช่วยเหลือนาง อาริแอดนี่ (Ariadne) ธิดาเจ้ากรุงครีตไว้ได้ อาริแอดนี่ ธิดาของท้าว ไมนอส แห่งนตรครีต ซึ่งเลี้ยงอสูรร้ายชื่อ มิโนทอร์เอาไว้ใต้ดิน เมื่อวีรบุรุษ ธีลิอัสเดินทางไปครีตเพื่อเป็น เหยื่อแก่มิโนทอร์ นวลอนงค์ก็เกิดมีใจปฏิพัทธ์กับเจ้าชาย หนุ่ม จึงหาทางช่วยเหลือและพาหนีออก เกาะครีตได้สำ�เร็จ แต่ทว่านางถูกทอดทิ้งไว้เดียวดายบนเกาะร้างแห่งหนึ่ง ไดโอนิซัส ไปพบเข้าจึงเกิด ความสงสารและรักนาง แต่รักได้ไม่นาน อาริแอดนี่ก็ตายลง ไดโอนิซัสสุดเสียใจนัก จึงไม่มีรักใหม่ อีกเลย ตัวของไดโอนิซัสเองก็มีชีวิตแสนเศร้าพอ ๆ กับรักของเธอเอง ใครคิดบ้างว่าเทพที่มีกาย เป็นอมฤตภาพก็มีโอกาส ตายได้เช่นกัน นักกวีชาวกรีกโบราณเขาเขียนขึ้นตามความเป็นจริงของ ต้นองุ่น กล่าวคือ เมื่อถึงฤดูเก็บองุ่น ชาวบ้านจะฟันเอากิ่งที่มีองุ่นติดเต็มไปหมด เหลือไว้แต่ต้นโดด เดี่ยว มองดูแล้วน่า สะพรึงกลัว เพราะมีแต่ลำ�ต้นลุ่น ๆ ปราศจากกิ่งก้านสาขา แต่ไม่นานเมื่อเวลา ผ่านไป ต้นองุ่นก็ค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับแตกแยก กิ่งก้านและใบสวยงาม ต่อจากนั้นก็ผลิดอกออกผล เป็นที่เจริญตาอีกครั้ง ฉันใดฉันนั้นเทพไดโอนิซัส ตามตำ�นานกล่าวว่า เธอถูกยักษ์เผ่าวงศ์ไทแทน ทำ�ร้ายอย่างน่า สยองขวัญด้วยการฉีก ร่างออกเป็นชิ้น ๆ ก็ดั่งต้นองุ่นที่ถูกตัดกิ่งก้านเพื่อเก็บผลของมัน แต่ไม่นานนัก เทพไดโอนิซัสก็จับฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ ก็ ในเวลาที่เธอฟื้นจากความตายนี่ แหละ ที่ใคร ๆ ทั้งเทวดาและมนุษย์ต่างก็ชื่นชมยินดี และจัดงานรื่นเริงฉลองรับขวัญกันเอิกเกริก และจากการตายนี้เอง ไดโอนิซัสได้ช่วยเหลือมารดาที่เธอไม่เคยเห็นหน้ามาก่อนจากหัตถ์ของยม เทพ และนำ� ขึ้นสถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นโอลิมปัสได้อย่างปลอดภัย เรื่องมีอยู่ว่า เทพไดโอนิซัส ได้ติดตามหามารดาในปรโลก เมื่อพบแล้วเธอก็ขอนางคืน มา จากยมเทพฮาเดส แต่มัจจุราชไม่ยินยอม จนเกิดการโต้เถียงกันว่าใครจะเหนือกว่าใคร ไดโอนิซัส บอกคำ�เดียวว่า ตนนั้นเหนือกว่ามัจจุราช เพราะเธอสามารถตายแล้วคืนชีพได้อีก ไม่ เคยมีเทพ องค์ใดกระทำ�ได้อย่างเธอเลย เทพฮาเดสเห็นจริงตามนั้น ก็ยอมมอบนางสิมิลีให้บุตร ชายพาออก จากแดนบาดาลไป เทพไดโอนิซัสจึงพามารดาขึ้นสวรรค์บนโอลิมปัส ที่นั่นเหล่าเทพ น้อยใหญ่ต่าง ต้อนรับนางสิมิลีเป็นอย่างดี โดยที่นางเป็นอมตขนคนเดียวที่อยู่ท่ามกลางอมตเทพ ทั้งปวงและฮีร่า เทวีก็ทำ�อะไรมิได้อีก


เทพเจ้าแห่งยมโลก

ฮาเดส (Hades) หรือ ภาษาโรมัน ว่า พลูโต (Pluto) ฮาเดสเป็นโอรสองค์ที่ 4 ของเทพ ไทแทนโครนัส เป็นพี่ชายของโปไซดอนและซูส เมื่อแรกกำ�เนิดถูกโครนัสเทพบิดากลืนลงท้องเพราะ กลัวว่าเมื่อโตขึ้นจะมาโค่นอำ�นาจของตนเองตามคำ�สาปแช่งของอูรานอส เมื่อซูสรบชนะโครนัสก็ให้ มีทิสปรุงยาสำ�รอกให้โครนัสดื่ม โครนัสจึงสำ�รอกฮาเดสและพี่น้องอีก 4 องค์ออกมา ซึ่งตอนนั้น บรรดาเทพบุตรเทพธิดาที่อยู่ในท้องของโครนัสได้กลายเป็นหนุ่มสาวหมดแล้ว หลั ง จากช่ ว ยซู ส ให้ ช นะศึ ก ไทแทนแล้ ว ซู ส ก็ ไ ด้ แ บ่ ง อำ � นาจให้ ฮ าเดสปกครองยมโลกและ บาดาล ฮาเดสเป็นหนึ่งในเทพโอลิมเปียนส์ที่ไม่ยอมอยู่บนโอลิมปัส แต่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในวังใน ยมโลก ทำ�หน้าที่เป็นเทพโลกันต์ตัดสินให้คนตายไปสวรรค์หรือนรก ซึ่งสวรรค์สำ�หรับคนตายนี้ คือทุ่งเอซีเลียน ไม่ใช่โอลิมปัส เพราะโอลิมปัสเป็นสวรรค์สำ�หรับเหล่าเทพ พระราชวังของฮาเดสอยู่ในยมโลก อยู่ในที่กว้าง ปกคลุมด้วยหมอกที่หนาวเย็น และมีลม พัดแรงตลอดเวลา ฮาเดสนอกจากเป็นเทพโลกันต์แล้วยังเป็นเทพแห่งทรัพย์ด้วย เนื่องจากบรรดา ทรัพย์ต่างๆ ใต้พิภพล้วนแต่เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น เนื่องจากมีหน้าที่ต้องตัดสินคนตายด้วยความยุติธรรมไม่เข้าข้างผู้ใด เทพฮาเดสจึงมีหน้าตา ถมึงทึง และเย็นชา เป็นที่เกรงกลัวของทุกคน เป็นเหตุให้จีบสาวไม่เป็น หาชายาไม่ได้ หรืออาจเป็น เพราะไม่มีเทพธิดาหรือสาวคนใดอยากไปอยู่ในยมโลกที่มืดมิดและน่ากลัว แต่วันหนึ่งอสูรเอนซา ลาดัสที่ถูกซูสล่ามโซ่ไว้ใต้ภูเขาเอตนาเกิดดิ้นรนจะให้หลุดจากพันธนาการ ด้วยความแรงทำ�ให้เกิด แรงสั่นสะเทือนลงไปถึงยมโลก เทพฮาเดสเกรงว่ายมโลกจะแตกร้าวจึงขับราชรถเทียมม้าดำ�ไปขึ้น มาตรวจดู พอดีเทพีอโฟรไดทีเห็นเทพฮาเดสเข้าก็บัญชาให้กามเทพอีรอสยิงศรรักไปปักอกเทพ ฮาเดส ซึ่งจะทำ�ให้เทพฮาเดสหลงรักหญิงคนแรกที่พบเห็นทันที หญิงที่เทพฮาเดสเห็นเป็นคนแรกเป็นเทพธิดานามว่า เพอร์ซิโฟนี (Persephone) เทพีฤดูใบไม้ ผลิซึ่งเป็นธิดาองค์เดียวของเทพีแห่งพืชพันธุ์ดีมีเตอร์ และเป็นหลานของเทพฮาเดสเอง เทพีเพอร์ซิโฟนีกำ�ลังเก็บดอกไม้อยู่กับบรรดาเพื่อนๆ พอเทพฮาเดสเห็นนางเข้าก็หลง รัก จึงตรงเข้าฉุดพาเพอร์ซิโฟนีขึ้นราชรถพาไปยมโลกทันที เพอร์ซีโฟนีพยายามส่งเสียงเรียกให้ เพื่อนๆ ช่วย แต่ไม่มีใครช่วยเธอได้


เทพฮาเดสพาเพอร์ซิโฟนีขึ้นราชรถไปถึงแม่น้ำ�ไซเอนี (Cyane) ที่ขวางหน้าอยู่ แม่น้ำ�นั้นก็ ปั่นป่วน ผิวน้ำ�เอ่อท้นขึ้นมาท่วมตลิ่งเพื่อขัดขวาง เทพฮาเดสกริ้ว ใช้ด้ามคทากระแทกพื้นจนแยก เป็นทาง แล้วพระองค์ก็ทรงราชรถตรงดิ่งไปสู่ยมโลก ฝ่ายเพอร์ซิโฟนีก็แก้สายรัดองค์โยนแม่น้ำ�ไซเอนีและฝากนางอัปสรประจำ�แม่น้ำ�ให้ช่วยบอก ข่าวเทพีดิมิเตอร์ผู้เป็นมารดาให้ด้วย ถึงยมโลกแล้วเทพฮาเดสก็จัดแจงอภิเษกสมรส กับเพอร์ซิ โมนีโดยที่เธอไม่ได้เต็มใจด้วย ฝ่ายเทพีดิมิเตอร์ได้ยินเสียงแว่วๆของธิดาก็พยายามติดตามหา แต่ ไม่ว่าจะตามหาไปแห่งใดก็ไม่อาจพบธิดาสาวได้พระนางพบแต่เพียงร่องรอยของดอกไม้ที่ตกอยู่ เกลื่อนกลาด เทพีดีมิเตอร์ออกเที่ยวตามหาธิดาไปตามที่ต่างๆ ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ทุกวัน จนไม่มีเวลาไป สนใจดูแลพืชพันธุ์ บรรดาพืชพันธุ์และดอกไม้จึงพากันเหี่ยวเฉา และแห้งตายไปตามๆ กัน ระหว่าง การตามหาเพอร์ซิโฟนีธิดาสาว เทพีดีมิเตอร์ได้จำ�แลงองค์เป็นหญิงชราเพื่อมิให้ผู้ใดรู้จัก วันหนึ่งเทพีดีมิเตอร์ในร่างหญิงชรา ได้มานั่งร้องไห้คร่ำ�ครวญอยู่ที่เมืองอีลูสิส ธิดาของเจ้า เมืองสงสารจึงชวนยายแก่เข้าวังให้ดูแลกุมาร ทริปโทลีมัส (Triptolemus) ผู้น้อง ซึ่งยังเป็นทารก แบเบาะอยู่ พอยายแก่ลูบคลำ�ทารก ทารกนั้นก็เปล่งปลั่งขึ้นเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก ตกกลางคืนเทพี ดีมิเตอร์คิดจะช่วยทำ�ให้ทารกนั้นเป็นอมตะ จึงทำ�พิธีเอาน้ำ�เกสรดอกไม้ชะโลมทารก ท่องมนต์ และ วางทารกลงบนถ่านไฟ ฝ่ายพระมารดาของทารกนั้นยังไม่วางใจยายแก่นักจึงแอบย่องมาดู เห็น ทารกกำ�ลังถูกย่างอยู่บนไฟก็ตกใจ รีบถลันไปอุ้มทารกนั้นออกจากไฟ ขณะเดียวกันยายแก่ก็กลับคืนร่างเป็นเทพีดีมิเตอร์ บอกเล่าเหตุการณ์ที่กำ�ลังจะชุบโอรสให้ เป็นอมตะให้ฟัง จากนั้นเทพีดีมิเตอร์ก็เดินทางตามหาธิดาต่อไป จนวันหนึ่งเทพีดิมิเตอร์ก็มาถึงแม่น้ำ�ไซเอนี นางอัปสรประจำ�สายน้ำ�จึงพัดสายรัดองค์ของเพอร์ ซิโฟนีมาให้เทพีดิมิเตอร์ แต่เทพีดิมิเตอร์ก็ยังไม่รู้ว่าธิดาสาวอยู่แห่งใด นางอัปสรแห่งน้ำ�พุอาเรธูซา จึงได้ขับเป็นลำ�นำ�ให้เทพีดิมิเตอร์ได้ฟัง ….. ข้าพวยพุ่งจากพื้นปฐพี ซอกแซกวารีผ่านโลกันต์ บนบัลลังก์หินอ่อนดำ�สนิท แนบชิดเทพฮาเดสคือใครนั่น คือเอกองค์มเหสีเทพโลกันต์ เพอร์ซิโฟนีจากสวรรค์องค์นั้นเอง …..

รู้ว่าธิดาสาวเพอร์ซิโฟนีกลายเป็นชายาของเทพฮาเดสอยู่ในยมโลกแล้ว พระนางจึงไปฟ้องมหา เทพซูสให้ช่วยนำ�พาธิดานางคืนมา มหาเทพทรงใช้ให้เฮอร์เมสเทพสื่อสารลงไปยมโลกและเจรจา เพื่อนำ�ตัวเพอร์ซิโฟนีกลับมา โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าหากเพอร์ซิโฟนีไม่ได้ทานสิ่งใดในยมโลก เทพฮา เดสต้องคืนเธอกลับมาโดยไม่มีข้อแม้ แต่ถ้าหากเพอร์ซิโฟนีได้ทานอะไรเข้าไปแล้ว เทพฮาเดสจึงจะ มีสิทธิในตัวเธอ เทพฮาเดสจึงจำ�เป็นต้องส่งเทพีเพอร์ซิโฟนีกลับคืน แต่ภูติแห่งความมืดได้บอกว่าเห็นเพอร์ ซิโฟนีเสวยทับทิมไป 6 เมล็ด ในที่สุดจึงตกลงกันว่าในปีหนึ่งๆ เพอร์ซิโฟนีต้องใช้เวลา 6 เดือนอยู่ ในยมโลก เป็นชายาของฮาเดส และอีก 6 เดือนกลับมาใช้ชีวิตบนโอลิมปัส เมื่อเพอร์ซิโฟนีซึ่งเป็นเทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิกลับจากยมโลก ต้นไม้ใบหญ้าบนโลกก็จะผลิใบ และช่วงระยะเวลา 6 เดือนที่เพอร์ซิโฟนีอยู่บนโลกนี้ เทพีดิมิเตอร์ผู้เป็นมารดาก็มีความยินดีมาก ยามที่เทพีแห่งพืชพันธุ์ยินดี ผืนดินที่อับเฉาก็จะชดชื่นเขียวขจีด้วยพืชพันธุ์ แต่ยามใดที่เพอร์ซิโฟนีกลับลงไปอยู่ยมโลก เทพีดิมิเตอร์ก็เงียบเหงา พลอยทำ�ให้ผืนดิน อับเฉา พืชพันธุ์แห้งเหี่ยวไปตามๆ กัน อาณาจักรยมโลกของฮาเดสนั้นเป็น ดินแดนเร้นลับ อยู่ภายใต้พื้นโลกที่แสงอาทิตย์ส่องไปไม่ ถึง คำ�ว่า ฮาเดส เป็นภาษากรีกโบราณแปลว่า “มองไม่เห็น” ลักษณะของยมโลก ในตำ�นานของ ทุกชาติ มีความคล้ายคลึงกัน ตรงที่เป็นสถานที่ที่ไม่มีใครอยากไปเยี่ยมชม ผู้ถูกลงทัณฑ์อยู่ใน ยมโลกก็อยู่ในสภาพทุกข์ทรมาน เจ็บป่วย เต็มไปด้วยทุกขเวทนา และเป็นดินแดนลี้ลับภายใต้ พื้นพิภพ ที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ส่องไม่ถึง อาณาจักรแห่งนี้ จึงมืดมิด และหนทางที่จะลงไปก็ ลำ�บากเอาการ เพราะต้องเดินทางไปถึงสุดขอบพิภพโดยข้าม มหาสมุทรไป (คนกรีกโบราณ เชื่อ ว่าโลกแบน และแวดล้อมด้วยมหาสมุทร) จาก ความเชื่อนี้เอง จึงเกิดธรรมเนียมเอาเงินใส่ปากคนตายก่อนฝัง เพื่อใช้ในการข้ามแม่น้ำ� 3 สาย คือ 1. แม่น้ำ�สติกซ์ (Styx) แปลว่าแม่น้ำ�แห่งความเกลียด 2. แม่น้ำ�ลีธี หรือ เลเธ แปลว่าแม่น้ำ�แห่งความลืม เมื่อดวงวิญญาณคนตายได้ดิ่มน้ำ�แล้วจะ ลืมความหลังทั้งหมด 3. แม่น้ำ� เฟลจีธอน หรือ เฟลเกทธอน แม่น้ำ�สายนี้เป็นแม่น้ำ�ไฟ มีเปลวไฟลุกไหม้โชติช่วง อยู่บนผิวน้ำ� และอยู่ล้อมรอบ นรกขุมลึกสุด คือ ทาร์ทะรัส ชาวกรีกโบราณจะถวายการสักการะแด่ฮาเดสด้วยแกะดำ� ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เร้นลับสืบหา ที่มาได้ค่อนข้างยาก แต่ก็มีการสืบทอดต่อกันมาว่า หากจะบูชาเทพแห่งความตายหรือเทพอันใด ที่ เป็นสัญลักษณ์ของความน่ากลัวหรือชั่วร้าย ต้องบูชายัญด้วยแพะ หรือแกะดำ�



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.