Everlasting Economy

Page 1




EVERLASTING ECONOMY ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช

เลขมาตรฐานสากลประจ�าหนังสือ 978-616-91250-2-0 พิมพ์ครั้งที่ 1 พฤศจิกายน 2561 ข้อมูลบรรณานุกรมของส�านักหอสมุดแห่งชาติ ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช Everlasting Economy. - - กรุงเทพฯ : บางจาก, 2561. 248 หน้า. • พลังงาน - - รวมเรื่อง. I. ชื่อเรื่อง. 333.79 ISBN 978-616-91250-2-0

รวบรวมและผลิตโดย ส่วนประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จ�ากัด (มหาชน) จัดพิมพ์โดย บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จ�ากัด (มหาชน) 2098 อาคารเอ็ม ทาวเวอร์ ชั้น 8 ถนนสุขุมวิท แขวงพระโขนงใต้ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260 โทรศัพท์ 0 2335 8888 โทรสาร 0 2002 5509 Website : www.bangchak.co.th พิมพ์ที่ บริษัท แกรนด์พ้อยท์ จ�ากัด 74 ซอย บรมราชชนนี 6 แขวงบางบ�าหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร 10700 โทรศัพท์ 0 2001 9991



สารบัญ 8 10

จากบรรณาธิการ จากผู้เขียน

16 22 28 34 40 46 52 58 64 70 78

SECTION 1 BIO ECONOMY Chapter 01 ฟุตบอลโลกกับเศรษฐกิจเวียนวน Chapter 02 จากพลังงานหมุนเวียนสู่เศรษฐกิจวนเวียน Chapter 03 พลาสติก สะดวก ประหยัด ตายยาก Chapter 04 Edible Packaging นวัตกรรมลดขยะพลาสติก Chapter 05 จากแป้งและน�้าตาลสู่อปุ กรณ์ช่วยชีวิต Chapter 06 Biodegradable สร้างผลิตภัณฑ์รักษ์โลก Chapter 07 นวัตกรรมไบโอดีเซล ยกระดับเศรษฐกิจ สังคมไทย Chapter 08 PCM นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพไทยแลนด์ 4.0 Chapter 09 Bioeconomy นวัตกรรมภาคเกษตร 4.0 Chapter 10 ข้อตกลงปารีสกับหนทางเยียวยาสิ่งแวดล้อมโลก Chapter 11 ท�าไมองค์กรใหญ่จงึ ต้องปรับตัวรับนวัตกรรม?

86 92

SECTION 2 ELECTRIFICATION Chapter 12 ประชาธิปไตย พลังงาน : พลังงาน 4.0 Chapter 13 สายส่งไร้สาย (Wireless Transmission) ชีวิตดี๊ดี


98 104 110 116 122 128 134 142 150 158 166

Chapter 14 Chapter 15 Chapter 16 Chapter 17 Chapter 18 Chapter 19 Chapter 20 Chapter 21 Chapter 22 Chapter 23 Chapter 24

Distributed Generation ระบบไฟฟ้ายุค 4.0 โครงข่ายไฟฟ้าไร้พรมแดน แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 1 แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 2 ก้าวคนละก้าว : โครงการฝายทดน�้าไซยะบุรี Corporate Buyer โอกาสพลังงานหมุนเวียนโต Reverse Auction หนุนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนย่อมดีกว่าวันนี้ น�้ามันดิบร่วง พลังงานหมุนเวียนรอด โอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว Hydrogen Society โซลาร์หยอดเหรียญ

240

SECTION 3 MOBILITY & STORAGE Chapter 25 อะไรคือค�าตอบของรถยนต์ไฟฟ้า Chapter 26 นวัตกรรมแบตเตอรี่สะสมพลังงาน Chapter 27 รถยนต์ไร้คนขับ..The Next Revolution Begins Chapter 28 รถวิ่งได้ล้านไมล์ ความฝัน ความจริง Chapter 29 เดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า Chapter 30 เครื่องบินพลังงานสะอาด นวัตกรรมที่บรรเจิด Chapter 31 ลิเทียม..ดาวรุ่งดวงใหม่แห่งวงการพลังงาน Chapter 32 Startup ระบบเก็บสะสมพลังงาน ‘เราท�าได้’ Chapter 33 จากลิเทียมสู่พลังงานสะอาด สร้างสังคมสีเขียว Chapter 34 Energy Storage สร้างเสถียรภาพไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน Chapter 35 รีไซเคิลลิเทียม จุดประกายธุรกิจ Startups

247

เกี่ยวกับผู้เขียน

174 180 188 196 202 208 214 220 226 234


8

จาก บรรณาธิการ ในแต่ ล ะวั น มี บ ทความและข่ า วสารจ� า นวนมากมาย ทีผ่ า่ นสายตาของผม ในฐานะบรรณาธิการบริหารของหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ขณะเดียวกันในยุคปฎิวตั เิ ทคโนโลยีดา้ นการสือ่ สาร สังคมจึงเต็มไปด้วยข้อมูลทีห่ ลากหลาย หน้าทีใ่ นฐานะบรรณาธิการ พยายามเฟ้นหาข้อมูล ข้อเขียนหรือบทความทีค่ ดิ ว่าเป็นประโยชน์ กับสังคมโดยรวมมากที่สุด และเป็นข้อมูลที่บอกกล่าวอนาคตได้ ผมได้เห็นบทความด้านพลังงานทีค่ ณ ุ ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช หรือ CEO บางจากฯ เขียนให้กับกรุงเทพธุรกิจเป็นบทความ ที่เหมาะที่จะบอกกล่าวเรื่องราวในอนาคต แถมอ่านง่าย เนื้อหา กระชับ ใช้คา� ศัพท์ง่ายๆ จบเป็นตอน สามารถอ่านและนึกภาพ ตามได้ เหมาะทัง้ การอ่านเพือ่ หาความรูร้ อบตัว หรืออ่านในยามว่าง และเมื่อน�ามารวบรวมเป็นพ็อคเก็ตบุ๊ค รูปแบบทันสมัย ท�าให้ บทความมีเสน่ห์ น่าติดตาม นอกจากเพลิดเพลินในการอ่านแล้วก็ทา� ให้ได้ตระหนักถึง ความส�าคัญข้อหนึ่งว่า พลังงานที่เราใช้กันนี้ จะยังคงมีอยู่กับเรา ไปตลอดชีวิตของเราหรือไม่ แล้วลูกหลานของเราจะมีใช้อย่าง สะดวกสบายหรือไม่ แล้วเราทุกคนจะมีส่วนช่วย และร่วมมือกัน อย่างจริงจังเพือ่ ท�าให้มนั มีอยูต่ ลอดไปได้จริง หรือแค่เพียงรณรงค์ กันไปตามกระแสสังคมเท่านั้น


9

คุณชัยวัฒน์ได้ถ่ายทอดประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆ ด้านพลังงานสมกับที่เป็นผู้น� าองค์กรด้านพลังงานชั้นน�าของ ประเทศไทย ตลอดจนแนะน�าแนวทางบริหารจัดการการใช้ การผลิต การอนุรักษ์พลังงานเพื่อสร้างความตระหนักอย่างรู้คุณค่ารวมถึง เทรนด์ใหม่ของพลังงานที่ก�าลังมาถึง ท�าให้เราอดตื่นเต้นไม่ได้ ทีจ่ ะได้สมั ผัสกับนวัตกรรมใหม่ๆ ทางพลังงานทีก่ ้าวหน้าจากอดีต ที่เราผ่านกันมาแล้วตั้งแต่ยุคหินเก่า-หินใหม่ สู่ยุคเกษตรกรรม และยุคอุตสาหกรรมในปัจจุบนั ก่อนทีจ่ ะก้าวสูก่ ารปฏิวตั พิ ลังงาน ครั้งส�าคัญที่จะเปลี่ยนโลกใบนี้ไปในรูปแบบใดนั้น...ต้องมาลุ้น ไปด้วยกันครับ...

วีระศักดิ์ พงศ์อักษร บรรณาธิการบริหารกรุงเทพธุรกิจ


จาก ผู้เขียน


11

นับเป็นโอกาสอันดีที่ได้รับการติดต่อจากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจให้เขียนบทความถ่ายทอดมุมมอง ประสบการณ์ เกี่ยวกับพลังงาน ผ่านคอลัมน์ Everlasting Economy ที่ตีพิมพ์ ลงในหนั ง สื อ พิ ม พ์ ก รุ ง เทพธุ ร กิ จ สื่ อ สิ่ ง พิ ม พ์ ร ะดั บ แนวหน้ า ของประเทศ ซึง่ เป็นเหมือนการบ้านชิน้ ส�าคัญทีต่ อ้ งท�าเป็นประจ�า ทุกเดือน การค้นคว้าข้อมูล การแลกเปลีย่ นความรูจ้ ากผูท้ รงคุณวุฒิ การเดิ น ทางไปในต่ า งประเทศเพื่ อ ศึ ก ษาต่ อ ยอดและน� า สิ่ ง ที่ สร้างสรรค์มาแชร์ นับเป็นประโยชน์สองต่อ ทั้งจากการน�าสิ่งที่ ตนเองรู ้ แ บ่ ง ปั น แก่ ค นอื่น และการเรีย นรู ้ เ พิ่ม เติม จากคนอื่น เพื่อส่งต่อบทความดีๆ ให้กบั ผู้อ่าน ผมตั้งชื่อคอลัมน์ว่า “Everlasting Economy” เพราะเห็นว่า ค�านี้สื่อถึงความยั่งยืน เมื่อน�ามารวมกับค�าว่า Economy แล้ว จะสื่อให้เห็นว่า เราจะสร้างเศรษฐกิจ หรือด�าเนินธุรกิจพลังงาน อย่างไรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ เพื่อให้มีพลังงาน


12

ใช้อย่างยัง่ ยืนถึงคนรุน่ ต่อๆ ไป โดยหนังสือเล่มนีแ้ บ่งเป็น 3 หมวด ตามประเภทของกลุ่มเทคโนโลยี คือ Bioeconomy, Electrifification และ Mobility & Storage ทุ ก วั น นี้ เราต่ า งอยู ่ ใ นบทบาทของ “ผู ้ ใ ช้ พ ลั ง งาน” ในชีวิตประจ�าวันของเรา เช่น การใช้พลังงานจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ในการอ�านวยความสะดวก และการใช้พลังงานเชื้อเพลิงส�าหรับ ยานพาหนะ จะดีเพียงใดหากเราสามารถใช้พลังงานอย่างไร้ ขอบเขต เพราะโลกของเราสามารถผลิตพลังงานจากแหล่งต่างๆ ได้ ม ากมายจากในธรรมชาติ มี ก ารน� า นวั ต กรรมมาต่ อ ยอด สร้างประโยชน์ได้มหาศาล แต่น่นั ไม่ใช่ค�าตอบของความยั่งยืน สิ่งส�าคัญคือ การตระหนักรู้ว่า ใช้อย่างไรจึงจะพอดีและ พอเพียง ใช้อย่างไรไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อม และทีส่ า� คัญ คือ ใช้อย่างไรไม่ให้หมดไปและมีเหลือเพื่อส่งต่อไปยังลูกหลาน ในอนาคต ในฐานะทีเ่ ป็นผูน้ า� ของบริษทั บางจาก คอร์ปอเรชัน่ จ�ากัด (มหาชน) เป็นบริษัทพลังงานไทยที่ด�าเนินงานเคียงคู่กับการดูแล สิ่งแวดล้อมและสังคม วันนี้บางจากฯ ไม่เพียงแต่ดา� เนินกิจการ ด้านโรงกลัน่ น�า้ มันเท่านัน้ แต่เราได้ขยายกิจการสูธ่ รุ กิจผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ ธุรกิจพลังงานชีวภาพ ธุรกิจส�ารวจและ ผลิตปิโตรเลียม โดยใช้นวัตกรรมเป็นเครื่องมือในการต่อยอด และให้ความส�าคัญกับการพัฒนาทัง้ เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจ ชีวภาพ (Bioeconomy) และการเข้าสูพ่ ลังงานไฟฟ้า (Electrifification) ด้ ว ยมี เ ป้ า หมายในการสร้ า งความมั่น คงให้ พ ลัง งานของชาติ และขยายการลงทุ น สู ่ ธุร กิ จ ใหม่ เ พื่ อ สร้ า งความต่ อ เนื่ อ งและ ยวั่งฒ ช เขียว ความยั่งยืน ตามวิสัยทัคุศณ น์ ชั“มุ สู่กน์ลุ่มโควาวิ บริษัทสนวัารัตกรรมสี ประธานเจ้ า หน้ า ที บ ่ ริ ห ารและกรรมการผู จ ้ ด ั ชัน้ น�าในเอเชีย ทีม่ บี บริรรษั ทภิบาลทีด่ แี ละด�าเนินธุรกิจด้วการใหญ่ ยแนวทาง ษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จ�ากัด (มหาชน) แบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน” อายุ 51 ปี


13

ผมขอขอบคุ ณ ทุ ก ท่ า นที่ ใ ช้ เ วลากั บ พ็ อ คเก็ ต บุ ๊ ค เล่ ม นี้ เพือ่ รูจ้ กั หลากหลายแง่มมุ ของพลังงาน และหวังว่าจะเป็นส่วนหนึง่ ที่สร้างแรงบันดาลใจให้พวกเราทุกคน ใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า และยั่งยืน

ขอบคุณครับ ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช


BIO ECON CHAPTER 01

ฟุตบอลโลก กับเศรษฐกิจเวียนวน

CHAPTER 04

Edible Packaging นวัตกรรมลดขยะพลาสติก

CHAPTER 02

จากพลังงานหมุนเวียน สู่เศรษฐกิจวนเวียน

CHAPTER 05

จากแป้งและน�้าตาล สู่อุปกรณ์ช่วยชีวิต

CHAPTER 03

พลาสติก สะดวก ประหยัด ตายยาก

CHAPTER 06

Biodegradable สร้างผลิตภัณฑ์รักษ์โลก


01 SECTION

NOMY CHAPTER 07

นวัตกรรมไบโอดีเซล ยกระดับเศรษฐกิจ สังคมไทย

CHAPTER 10

ข้อตกลงปารีสกับหนทาง เยียวยาสิ่งแวดล้อมโลก

CHAPTER 08

PCM นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ ชีวภาพไทยแลนด์ 4.0

CHAPTER 11

ท�าไมองค์กรใหญ่ จึงต้องปรับตัวรับนวัตกรรม?

CHAPTER 09

Bioeconomy นวัตกรรมภาคเกษตร 4.0


CHAPTER

O1 ฟุตบอลโลก กับเศรษฐกิจเวียนวน


17

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 กรกฎาคม 2561

ฟุตบอลโลกที่รัสเซียก็ได้รูดม่านจบไปแล้วเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ส่วนแชมป์โลก ก็เป็นดังทีท่ ราบกันนะครับ แม้วา่ ก่อนการแข่งขัน ทุกคนมองว่าฟุตบอลโลกจะขาดมนต์ขลังแล้ว เนื่องจากมีฟุตบอลแชมเปี้ยนลีกที่แข่งกันอยู่ทุกปี แถมยังเป็นการรวมดารานักเตะชั้นน�า ของโลกที่เล่นกันในระดับสโมสร ซึง่ หมายถึงทีมเวิรค์ ทีซ่ อ้ มกันอย่างดี ขณะทีฟ ่ ตุ บอลทีมชาติ นานๆ ถึงจะรวมตัวซ้อมกัน แถมสีป่ แี ข่งกันที ท�าให้อาจจะขาดเสน่หแ์ ละอาจจะไม่ได้รบั ความสนใจ จากแฟนบอลเท่าที่ควร


18

Chapter 01

ฟุตบอลโลก กับเศรษฐกิจเวียนวน

ในเบือ้ งต้นมีการประเมินกันว่า ฟุตบอลโลกครัง้ นีน้ า่ จะเป็น ฟุตบอลโลกที่ประสบความส�าเร็จสูงที่สุดครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น จ�านวนประตูที่ยงิ การแข่งขันทีม่ ีการพลิกกันพอสมควร แต่ยังมี ทีมใหญ่อย่างฝรัง่ เศสเข้าชิง กฎกติกาทีท่ า� ให้การแข่งขันยุตธิ รรมขึน้ บรรยากาศของการแข่งขัน จ�านวนของผู้เข้าร่วมชม และเข้าเยีย่ ม ประเทศรั ส เซี ย ในช่ ว งห้ า สั ป ดาห์ ท่ี มี ก ารแข่ ง ขั น โดยคาดว่า มีนกั ท่องเทีย่ วและแฟนบอลเข้าร่วมชมนับล้านคน ซึง่ ในส่วนนีม้ ที งั้ แฟนบอลทีเ่ ข้าชมในสนามแข่งขัน และแฟนท้องถิน่ ทีเ่ ข้าร่วมเฮฮา ในแฟนโซนหรือแฟนเฟส (Fan Zone or Fan Fest) ซึ่งในบางนัด ว่ากันว่า มารวมตัวกันกว่า 500,000 คน สิ่งที่ขาดไม่ได้ในการเชียร์กีฬาทุกประเภทคือ อาหารและ เครื่องดื่ม โดยเฉพาะเครื่องดื่มประเภทที่มีแอลกอฮอล์ผสม เช่น เบียร์ ซึ่งจะดื่มกันไม่น้อยเลยทีเดียว บางท่านอาจจะดื่มกันถึง 4-5 แก้วต่อแมทช์การแข่งขัน ซึ่งย่อมท�าให้มีแก้วพลาสติกเหลือ


19

เป็นจ�านวนมาก อันเป็นขยะพลาสติกที่ยากแก่การท�าลายและ ส่งผลต่อมลภาวะตามมา ในการแข่งขันครัง้ นี้ คาดว่าจะมีแก้วต่างๆ ดังกล่าว หลายสิบล้านแก้ว ซึ่งทางผู้จดั การแข่งขันก็มีกุศโลบาย ทีแ่ ยบยลทีส่ ดุ และน่าจะเป็นตัวอย่างส�าหรับผูจ้ ดั การแข่งขันใหญ่ๆ ในอนาคต เพือ่ น�าไปก�าจัดขยะพลาสติกจ�านวนมาก สิง่ ทีผ่ จู้ ดั การ แข่งขันท�าคือ พิมพ์วันที่ที่แข่งขัน และรายละเอียดของการแข่งขัน ในวันนัน้ ๆ ลงไปบนแก้วพลาสติก สิง่ ทีต่ ามมาก็คอื แก้วเบียร์ตา่ งๆ ในแต่ ล ะแมทช์ ก ลายเป็ น ของสะสมที่ผู ้ เ ข้ า ชม หรือ เข้ า ไปใน แฟนโซน ต้องเก็บไว้ ใครๆ ก็อยากมีแก้วเก็บไว้เป็นทีร่ ะลึกว่าครัง้ หนึง่ ได้มาดูบอลโลกในนัดนี้ที่รัสเซีย และมีแก้วเบียร์เป็นหลักฐาน จึง กลายเป็นของหายากไป และเป็นการดูแลขยะที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง บางทีการที่แฟนบอลชาวญี่ปุ่นเก็บขยะบนอัฒจันทร์อาจจะเป็น เพราะต้องการสะสมแก้วเบียร์กเ็ ป็นได้ จะเห็นว่าการเพิ่มการลงทุนนิดหน่อย โดยพิมพ์วันที่และ

Everlasting Economy

คน คือจ�ำนวนแฟนบอล ที่ซื้อตั๋วเข้ำมำ ดูการแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งนี้


34,000,0 Chapter 01

ฟุตบอลโลก กับเศรษฐกิจเวียนวน

20

รายละเอียดแมทช์การแข่งขัน ท�าให้ขยะกลายเป็นทองไปโดย ปริยาย และนี่ก็คือหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเวียนวน (Circular Economy) ที่พยายามน�าเอากลับมาใช้ เพื่อลดมลภาวะต่างๆ ของโลก และในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งนี้ แม้แต่ลูกฟุตบอล ก็ได้ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจเวียนวนเช่นกัน โดยลูกฟุตบอล ‘เมชทา (Mechta)’ ทีห่ มายถึง ความฝัน (dream) หรือ ความมุง่ มัน่ (ambition) ในภาษารัสเซียนั้น ก็เป็นลูกฟุตบอลที่ทา� จากวัสดุรีไซเคิล และที่ ส�าคัญคือมีการฝังชิบ NFC ไว้ในลูกฟุตบอล เพือ่ ทีผ่ บู้ ริโภคสามารถ ติดตามการเล่นลูกบอลได้จากมือถือ ซึง่ นอกจากจะเก็บข้อมูลการ ใช้งานหรือการเล่นและเตะมันแล้ว ยังสามารถทีจ่ ะรูว้ า่ ลูกบอลอยู่ ที่ไหน เมื่อต้องการน�าไปรีไซเคิลก็จะใช้ได้ง่ายขึ้น ผู้ผลิตลูกฟุตบอลรายเดียวกันนี้ก็ได้แสดงเจตจ�านงว่า ตัง้ แต่ปี 2025 หรืออีกเจ็ดปีจากนี้ เสือ้ ผ้าและรองเท้าทีผ่ ลิตจะไม่ใช้ ใยบริสทุ ธิท์ ที่ า� จากกระบวนการผลิตจากฟอสซิลเลย แต่จะเป็นใย ที่เกิดจากการรีไซเคิลจากขวดพลาสติกหรือขยะพลาสติก และผู้


000,000 21

คน คือ จ�ำนวนแฟนบอลทั่วโลก ที่ติดตำมชมกำรถ่ำยทอดสด ฟุตบอลโลกครั้งนี้ในช่องทางต่างๆ

Everlasting Economy

ผลิตเครือ่ งดืม่ รายใหญ่ทเี่ ป็นสปอนเซอร์ของฟุตบอลโลกครัง้ นีก้ ไ็ ด้ แสดงเจตจ�านงเช่นกันว่าตัง้ แต่ปี 2025 ขวดน�า้ อัดลมทุกขวดจะถูก รีไซเคิลเช่นกัน ขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่ทั้งเสื้อผ้า และบรรจุภัณฑ์ ต่างก็ปวารณาว่าจะใช้วัสดุที่เป็นรีไซเคิลหรือ วัสดุชีวภาพเป็น วั ต ถุ ดิ บ ในการผลิ ต ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องตนและลดการใช้ วั ส ดุ จ าก ฟอสซิล ในขณะที่ผู้ผลิตรายใหญ่เริ่มตระหนักถึงการควบคุมดูแล โลกใบนี้ของเรา ผู้บริโภคน่าจะเป็นแรงผลักดันที่สา� คัญที่สุดที่จะ ท�าให้เทรนด์น้เี กิดและยั่งยืนอยู่ได้ เริ่มจากวันนี้ เราใช้ถงุ ผ้าแทน ถุงพลาสติก เราไม่ใช้หลอดพลาสติกในการดืม่ น�า้ หรือเราใช้แก้วน�า้ ถ้วยน�า้ แทนขวดน�า้ พลาสติก หรือถ้าจะใช้กค็ วรจะเป็นพลาสติกที่ ท�าจากพลาสติกชีวภาพ หรือ plant plastic ที่สังเกตได้ว่าจะมีรูป ต้นไม้หรือใบไม้อยู่ข้างขวด (label) หรือไม่ก็สัญลักษณ์ลูกศร สามเหลี่ยมที่หมายถึงรีไซเคิลนั่นเอง เราก็จะช่วยรักษาโลกใบนี้ ให้น่าอยู่ส�าหรับลูกหลานอันเป็นที่รักของเราตลอดไป


CHAPTER

O2 จากพลังงานหมุนเวียน สู่เศรษฐกิจวนเวียน


23

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 มิถุนายน 2561

ตั้งแต่คนไทยรู้จักการใช้พลังงานชีวภาพ ไม่ว่าจากกากน�า้ ตาล มันส�าปะหลัง หรือ ผลปาล์ม โดยมีจุดเริ่มต้นจากล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 ที่ทรงแนะน�าและทรงปฏิบัติเป็นตัวอย่าง ให้ปวงชนชาวไทยได้รจู้ กั การใช้พลังงานหมุนเวียนตัง้ แต่ปี ค.ศ.1985 ซึง่ ต่อมา เมือ่ น�า้ มันดิบ มีราคาสูงขึ้น ประเทศไทยถือเป็นผู ้ น� า ในภู มิ ภ าคอาเซี ย น ที่ เ ริ่ ม ใช้ พ ลั ง งานหมุ น เวี ย น และเป็นตัวอย่างให้อีกหลายประเทศในเอเชีย แม้กระทั่งประเทศจีน น�าไปปฏิบัติ ซึ่งนอกจาก จะช่วยลดการน�าเข้าน�้ามันดิบแล้ว ยังช่วยส่งเสริมภาคเกษตรกรรม อันเป็นอาชีพหลัก ของคนไทย นับเป็นศาสตร์พระราชา ที่มีคุณค่ายิ่งส�าหรับประชาชนชาวไทย


Chapter 02

จากพลังงานหมุนเวียน สู่เศรษฐกิจวนเวียน

24

ในช่วงต้น เราเรียกว่า “พลังงานทดแทน” โดยคาดว่าใน อนาคตอาจจะสามารถทดแทนน�า้ มันได้ทงั้ หมด แต่เมือ่ เทียบกับ ปริมาณน�้ามันที่เราบริโภคต่อวันกว่า 15,000 ล้านลิตรทั่วโลก การน�าพลังงานชีวภาพมาทดแทนน�า้ มันทัง้ หมดน่าจะเป็นไปได้ยาก จึงถือเป็นพลังงานทางเลือกอีกทางหนึ่ง ซึ่งในระยะหลัง ค�าว่า “พลังงานหมุนเวียน” หรือ “Renewable Energy” น่าจะเป็นค�า อธิบายทีช่ ดั เจน กล่าวคือ เป็นการหาพลังงานจากแหล่งธรรมชาติ ที่สามารถสร้างใหม่ข้นึ ได้ และไม่หมดไป ไม่ว่าจะมาจากพืชพันธุ์ ต่างๆ ที่แปลงเป็นของเหลวเพื่อเติมในยานพาหนะ หรือสายลม แสงแดด ที่แปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า ในเมื่อพืชพันธุ์ต่างๆ สามารถแปลงเป็นของเหลวที่ใช้เติม แทนน�้ามันได้ ก็น่าจะพัฒนาต่อยอดไปแทนพลาสติกหรือใยผ้า ทีท่ า� จากน�า้ มันดิบได้ด้วยเช่นกัน ซึง่ ทีผ่ ่านมามีการทดลองแล้วว่า สามารถท�าได้ แต่อาจมีข้อจ�ากัดในเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นใน เรื่องของต้นทุนที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากแต่ละโรงผลิตมีขนาดเล็ก ไม่มี Economy of Scale หรือกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนกว่า

75

ประเทศ คือ จ�านวนประเทศที่ออก มาตรการลดใช้ ถุงพลาสติก ในระดับที่แตกต่างกันไป


25

12

ใบ คือ ค่าเฉลี่ยต่อเดือน ที่คนอังกฤษใช้ถุงพลาสติก ในปี 2015 ก่อนที่จะมี มาตรการบังคับให้ผู้บริโภค เสียเงินค่าถุงพลาสติก

Everlasting Economy

การผลิตจากน�้ามันดิบ แต่สิ่งที่ส�าคัญคืออาจส่งผล กระทบต่อการจัดสรรทรัพยากร กล่าวคือแทนทีจ่ ะน�า พืชพันธุ์ต่างๆ มาเป็นอาหาร กลับน�ามาผลิตเป็น พลาสติก ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาหารไม่เพียงพอกับ ประชากรโลกกว่าเจ็ดพันล้านคนนั่นเอง ต่อมามีการพัฒนาสู่เจเนอเรชั่นที่สองของ อุตสาหกรรมไบโอพลาสติก คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ด้วยการใช้วัตถุดิบจากส่วนที่เป็นขยะของพืชพันธุ์ เช่น ก้าน ใบ ชานอ้อย ฟางข้าว กะลาปาล์ม เป็นต้น แทนการใช้ผลของพืชพันธุ์ ซึ่งช่วยตอบโจทย์เรื่อง ผลกระทบต่อการจัดสรรทรัพยากรได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่มีการเบียดเบียนห่วงโซ่อาหาร เราจึง สามารถเรียกว่า “พลาสติกจากพืช” (Plant Plastic) ได้อย่างเต็มปากเต็มค�า อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการผลิต ยังเป็นประเด็นที่ส�าคัญ ทั้งนี้ เนื่องจากกระบวนการ ผลิตที่ยังต้องพัฒนาเพิ่มและปริมาณการผลิตที่มี ไม่มาก ถ้าเรายังจ�ากันได้ แผงโซลาร์เซลล์ที่ราคา ถูกลงอย่างมากมายจนถูกกว่าการผลิตไฟฟ้าจาก แหล่งดั้งเดิมนั้น เนื่องจากมีการผลิตในปริมาณมาก และใช้กันอย่างแพร่หลาย ท�าให้ราคาลดลงกว่า 80% ในระยะ 5-6 ปีท่ผี ่านมา ในทุกๆ ปี ผู้น�าของโลกทั้งภาครัฐและเอกชน จะพบปะกันที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพือ่ หารือประเด็นหลักทีม่ ผี ลต่อเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองของโลก เมื่อได้ประเด็นแล้วจะเป็นเรื่องที่ ให้ประชาคมโลกช่วยกันผลักดันต่อไป ซึ่งในต้นปี ทีผ่ า่ นมาประเด็นขยะพลาสติก เป็นเรือ่ งใหญ่ทไี่ ด้รบั


Chapter 02

จากพลังงานหมุนเวียน สู่เศรษฐกิจวนเวียน

26

การกล่าวถึง และว่ากันว่าถ้าเราปล่อยไปโดยไม่ทา� อะไร ในปี ค.ศ. 2050 จะมีเม็ดพลาสติกในมหาสมุทรมากกว่าประชากรปลา และ ปลาซึง่ กินเม็ดพลาสติกต่างๆ เหล่านี้ ก็จะมาเป็นอาหารของมนุษย์ สุดท้ายเราจะเป็นผูร้ บั ประทานขยะพลาสติกจ�านวนมหาศาลเหล่านี้ จึงควรจะมีการบริหารจัดการเพื่อลดการใช้การบริโภคพลาสติก โดยเฉพาะส่วนที่ผลิตจากฟอสซิลที่ไม่สามารถย่อยสลายหรือ ใช้เวลากว่า 500 ปีในการย่อยสลาย ตัง้ แต่เดือนมกราคมทีผ่ า่ นมา ในประเทศฝรัง่ เศสเริม่ ไม่ให้ ใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ถุงพลาสติก หรือพลาสติก ที่ ใ ช้ ห ่ อ อาหารเข้ า ไมโครเวฟ หรื อ ในประเทศอั ง กฤษ ห้ า ง ร้านสะดวกซื้อต่างๆ จะเก็บเงินค่าถุงพลาสติก แม้กระทั่งสินค้า แบรนด์ดังทั่วโลกก็ประกาศจะใช้พลาสติกจากพืชเป็นหลักในปี ค.ศ.2030 เป็นต้น พลาสติกจากพืชหรือ Plant Plastic นั้น หลายประเภท

15,0


27

สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาอันสัน้ เสมือนหนึง่ กระดาษหรือ เปลือกส้ม เปลือกกล้วย ซึ่งเป็นการคืนรูปสู่ธรรมชาติท่ีดีที่สุด ช่วยรักษาสมดุลของสิง่ แวดล้อมและนิเวศน์วทิ ยา แม้ว่าพลาสติก จากพืชบางประเภทจะไม่สามารถย่อยสลายในระยะสั้น ก็ยัง สามารถรีไซเคิลได้ทงั้ หมด ในขณะทีพ่ ลาสติกจากฟอสซิล เช่น Wrap ส�าหรับไมโครเวฟ หรือเม็ดบีดส์ในโฟมล้างหน้า ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เราจึงเห็นว่าการท�าพลาสติกจากพืชเป็นอุตสาหกรรมทีส่ า� คัญมาก ที่ท�าให้เราสามารถลดการใช้ทรัพยากรที่สิ้นเปลืองและหมดไป ที่ฝรั่งเรียกว่า Circular Economy หรือผมแอบเรียกว่า “เศรษฐกิจ วนเวียน” คือใช้แล้ววนเวียนกลับมาใช้อีก หรือไม่ก็วนเวียนปลูก เพือ่ น�ามาใช้อกี ในชัว่ ชีวติ ของคนคนหนึง่ โดยไม่เป็นภาระให้ลกู หลาน คอยแก้ปัญหาที่เราสร้างไว้ หากเราช่วยกันบริโภคพลาสติกจาก พืชมากขึน้ ก็หวังว่าจะเกิดปรากฏการณ์เหมือนกับแผงโซลาร์เซลล์ ที่จะผลักดันให้ต้นทุนราคาถูกลงและแข่งขันได้ครับ

Everlasting Economy

000

ล้านลิตร

คือ ปริมาณน�้ามันที่มี การบริโภคต่อวันทั่วโลก


CHAPTER

O3 พลาสติก สะดวก ประหยัด ตายยาก


29

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 มีนาคม 2561

ในวันที่ 22 เมษายนที่จะถึงนี้เป็นวัน Earth Day ผมเลยขอคุยถึงสิ่งที่ใกล้ตัว เนื่องในโอกาสที่จะท�าให้โลกใบนี้ของเราน่าอยู่ น่าอาศัยส�าหรับลูกหลานของเราต่อไป เมื่อเดือนก่อนระหว่างเดินทางไปยุโรปได้เปิดดูหนังเรื่อง The Graduate ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1967 จัดว่าเป็นหนังที่แรงมากในสมัยนั้น ได้รับรางวัล Oscar สาขาผู้ก�ากับภาพยนตร์ ยอดเยี่ยมด้วย (เข้าบรรยากาศงาน Oscar ในเดือนนี้) จ�าได้ว่า ตอน Dustin Hoffman พระเอกของเรื่องจบจากมหาวิทยาลัยใหม่ๆ เคล็ดลับที่คุณลุงของเขาให้ไว้ คือ ให้ไปท�าธุรกิจ เกี่ยวกับ “พลาสติก” จะมีชีวิตรุ่งโรจน์ชัชวาลแน่นอน


Chapter 03

พลาสติก สะดวก ประหยัด ตายยาก

30

ในปี 2017 ที่ภาวะราคาน�้ามันตกต�่า และรถยนต์ไฟฟ้า อาจจะมาแทนทีร่ ถเติมน�า้ มันในระยะอันใกล้ ล่าสุดทีป่ รึกษาธุรกิจ ในระดับโลก ต่างให้ความเห็นว่า โรงกลัน่ ต่างๆ ควรพิจารณาขยาย และเปลี่ยนก�าลังการผลิตจากน�้ามันส�าเร็จรูปเป็นปิโตรเคมีหรือ ธุรกิจ ‘พลาสติก’ นัน่ เอง ผ่านไป 50 ปี ก็ยงั เป็นธุรกิจดาวรุง่ ต่อไป จึงเป็นอะไรที่น่าสนใจจริงๆ “พลาสติก” หลักๆ ผลิตมาจากน�า้ มัน เมือ่ ผ่านกระบวนการ ผลิตแล้วจะออกมาเป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ เช่น ขวดน�้า ท่อ ประปา สายไฟ เสื้อผ้า เก้าอี้ โซฟา รวมไปถึงลิ้นหัวใจเทียม หรือ อวั ย วะส� า รองต่ า งๆ พลาสติ ก จึ ง เป็ น อะไรที่ มี ป ระโยชน์ แ ละ สามารถต่อยอดได้อีกมาก คาดกันว่าในอนาคต รถทั้งคันหรือ เครื่องบินทั้งล�า อาจจะท�าจากพลาสติก ในขณะเดียวกัน ขยะที่เกิดจากพลาสติกก็มีมากอย่าง คาดไม่ถงึ มีขอ้ มูลว่า ตัง้ แต่ทศวรรษ 1950 จนถึงปัจจุบนั น่าจะมี ขยะพลาสติกสะสมอยู่ประมาณ 6,500 ล้านตัน หรือเทียบเท่าน�า้ หนักคนทัง้ โลก (ประมาณ 7,000 ล้านคน) รวมกัน 10 เท่า ในจ�านวน นี้ 20% ถูกรีไซเคิลหรือเผาไป จ�านวนที่เหลือ ไม่ถูกฝังกลบก็ถูก ทิ้งลงทะเล ซึ่งต้องใช้เวลา 500 ปีกว่าจะย่อยสลาย ในแต่ละปีมี พลาสติกกว่า 10 ล้านตันถูกทิ้งลงไปในทะเล และคาดกันว่าในปี 2050 ขยะพลาสติกในทะเลจะหนักกว่าน�้าหนักของปลาที่ว่ายอยู่ ในทะเลทั้งหมดรวมกัน! ถุงพลาสติก เมือ่ โดนน�า้ ทะเลและแสงแดด จะถูกกัดกร่อน เป็นเม็ดพลาสติกเล็กๆ ทีเ่ รียกว่า Microplastic หรืออนุภาคพลาสติก ซึง่ ย่อยสลายไม่ได้ นอกจากนี้ ในทะเลยังมีเม็ดบีดส์สครับของโฟม ล้างหน้าที่เราใช้และทิ้งน�า้ ลงสู่ทะเล เมื่อรวมกัน คาดว่าในทะเล มีเม็ดต่างๆ เหล่านีก้ ว่า 50 ล้านล้านเม็ด ซึ่งบางส่วนก็ถูกปลากิน เข้าไป จากนั้นเราก็กินปลา ซึ่งเป็น Clean Food ท้ายสุดเม็ดบีดส์


31

คือ น�้าหนักของขยะพลาสติก ที่สะสมมาในโลกนี้ตั้งแต่ปี 1950


Chapter 03

พลาสติก สะดวก ประหยัด ตายยาก

32

ที่เราใช้ล้างหน้าก็กลับมาอยู่ในตัวเราแทน ล่าสุดมีอีกประเด็นที่น่ากังวล คือ จากผลการศึกษาของ Orb Media พบว่า น�้าดื่มบรรจุขวดพลาสติกบางยี่ห้อก็มีอนุภาค พลาสติกขนาดเล็กปนในน�า้ ดืม่ ด้วย คาดว่าน่าจะเกิดการปนเปือ้ น ระหว่างการบรรจุน�้าดื่มลงในขวด มีการประเมินกันว่าเราใช้ขวดพลาสติกกว่า 110,000 ล้าน ขวดต่อปี ซึง่ เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของอุตสาหกรรมพลาสติก บริษทั ผู้ผลิตสินค้าบริโภครายใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น โค้ก แมคโดนัล พีแอนด์จี ตอนนี้ต่างก็ปวารณาที่จะ Recycle บรรจุภัณฑ์ให้ครบ 100% ในปี 2030 หรือบ้างก็จะใช้ผลิตภัณฑ์ท่เี ป็น Plant Plastic หรือพลาสติกทีม่ สี ว่ นผสมของพืชหมุนเวียน เช่น ข้าวโพด ชานอ้อย


33

ล้าน คือ จ�านวนขวดพลาสติก ที่มีการใช้งานทั่วโลกในแต่ละปี

Everlasting Economy

หรือมันส�าปะหลัง เป็นต้น เหมือนกับที่เราเติมเอทานอลที่ผลิต จากพืชในน�้ามันเพื่อเป็นแก๊สโซฮอล์ อันเป็นการลดการบริโภค พลาสติกจากฟอสซิล ขยะพลาสติกในปัจจุบันอาจจะไม่เป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุด เมื่อเทียบกับ Climate Change แต่เป็นปัญหาที่สะสม และจะเป็น เรือ่ งใหญ่ในอนาคตอันใกล้ การใช้พลาสติกชีวภาพทีย่ อ่ ยสลายได้ หรือ Biodegradable Plastic จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ส�าคัญ เพื่อที่ ขยะดังกล่าวจะไม่กลับมาท�าร้ายตัวเราเอง ดังนั้นพวกเราควร ช่วยกันลดการบริโภคพลาสติก ด้วยการ Reduce Re-use และ Recycle เช่น ใช้ถุงผ้า แก้วน�า้ ชามกระดาษ เพื่ออนุรักษ์สัตว์นา้� และทรัพยากรในท้องทะเลให้อยู่คู่กบั โลกใบนี้ไปอีกนาน


CHAPTER

O4 Edible Packaging นวัตกรรมลดขยะพลาสติก


35

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 กรกฎาคม 2560

การใช้ชีวิตประจ�าวันของผู้คนในยุคนี้มักจะชอบดื่มน�้าจากขวดพลาสติกเพราะว่า มีน�้าหนักเบา กะทัดรัด พกพาสะดวก เมือ่ ใช้แล้วเราก็ทงิ้ ขวดลงถังขยะ ขวดพลาสติกทีอ่ ยู่ ในมือพวกเราไม่นาน ท่านทราบหรือไม่ครับว่าหลังจากเราทิ้งขวดพลาสติกแต่ละขวดไป ขวดพลาสติกเหล่านั้นต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึงห้าร้อยปีถึงจะย่อยสลายได้หมด


Chapter 04

Edible Packaging นวัตกรรมลดขยะพลาสติก

36

นอกจากขวดแล้ว ยังมีสิ่งของอื่นๆ อีกมากมาย ที่ท�าจาก พลาสติก ไม่วา่ จะเป็นถุง แก้วน�า้ หรือกล่องอาหาร ทีเ่ ราใช้ไม่กคี่ รัง้ แล้วทิ้งไป ลองไปดูในทะเลทั่วโลก ตอนนี้มีขยะพลาสติกปนอยู่ เป็นจ�านวนมาก สมมุติว่าท่านเห็นปลาว่ายน�้า 5 ตัวจะพบขยะ พลาสติก 1 ชิน้ ทีน่ า่ เป็นห่วงคือหากเราไม่หาทางลดขยะพลาสติก เหล่านี้ ตามรายงาน The New Plastics Economy: Rethink the Future of Plastics ของ World Economic Forum คาดว่าในปี 2050 จะมีขยะพลาสติกเยอะพอๆ กับน�้าหนักของปลาในมหาสมุทร รวมกัน และพลาสติกเหล่านัน้ ก็คงไม่ได้ไปไหน บางชิน้ ทีม่ ขี นาดเล็ก ก็คาดว่าจะถูกปลากินแล้วสะสมในตัวปลา เมื่อคนรับประทาน ปลาก็จะได้พลาสติกแถมให้ด้วย แล้วท้ายที่สุดลูกหลานเรานี่เอง ที่จะต้องกินสารพิษต่างๆ เหล่านี้ โชคดีทปี่ ญ ั หาเหล่านีไ้ ม่ได้ถกู เพิกเฉย มีหลายทีมวิจยั และ หลายบริษัทที่ให้ความสนใจ พยายามช่วยกันหาทางออก เช่น การเปลี่ ย นมาใช้ แ ก้ ว ไบโอพลาสติ ก ที่ ย ่ อ ยสลายได้ เ องตาม ธรรมชาติ ซึ่งบริษัท บางจาก คอปอร์เรชั่น จ�ากัด (มหาชน) ได้นา� มาใช้แล้วในร้าน Inthanin Garden ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่ให้ความ ส�าคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกจากไบโอพลาสติ ก แล้ ว ในขณะนี้ มี น วั ต กรรมที่ สามารถช่วยลดพลาสติกที่ได้รับความสนใจมากขึน้ เรือ่ ยๆ ก็คอื บรรจุภณ ั ฑ์กนิ ได้ (Edible Packaging) จากสาหร่าย ที่เริ่มมีการผลิต ทดลองใช้แล้วอย่าง Ooho Water ซึ่งเป็นตัวอย่างของบรรจุภณ ั ฑ์ กินได้ โดยเน้นใช้บรรจุอาหารประเภทเครื่องดื่ม ได้รับการพัฒนา ขึ้นโดยทีม Skipping Rocks Lab ในวิทยาลัย Imperial College กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดย Ooho ผลิตขึน้ จากสารสกัดทีไ่ ด้ จากสาหร่ายสีนา�้ ตาลผสมกับสารประกอบแคลเซียม รูปร่างหน้าตา ของ Ooho มีลักษณะเป็นทรงกลมใสขนาดเท่าผลส้ม ด้านใน


37

คือ มูลค่าของตลาดสินค้า บรรจุภัณฑ์กินได้ในปี 2559

Everlasting Economy

บรรจุเครื่องดื่ม เช่น น�้าเปล่าหรือน�้าหวาน หลายท่าน ทีไ่ ด้ตดิ ตามโลกโซเชียลคงจะเคยได้เห็นคลิปไวรัลและเคย ได้เห็นหน้าตาของ Ooho Water นีม้ าบ้างแล้ว โดยผูบ้ ริโภค สามารถกิน Ooho ทั้งค�าหรือกัดเปลือกให้เป็นรูเล็กๆ ดูดน�า้ แล้วทิง้ เปลือกก็ได้ ซึง่ เปลือกของ Ooho นัน้ สามารถ ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติเหมือนเปลือกส้มทีเ่ ราปอก แล้วทิ้งไป Ooho ที่ว่านี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา กลุม่ เป้าหมายทีพ่ วกเขาต้องการขยายผลคือ ผูเ้ ข้าชมงาน นิทรรศการ Expo ใหญ่ๆ งานมหกรรมกีฬา เช่น งาน ฟุตบอล งานวิง่ มาราธอน ทีม่ คี นมารวมตัวกันเยอะๆ และ ต้องการเครื่องดื่มส�าหรับดับกระหายเป็นจ�านวนหลาย ร้ อ ยหลายพั น ถึ ง หลายหมื่ น แก้ ว ต่ อ หนึ่ ง งาน คาดว่ า นวัตกรรมของพวกเค้าจะช่วยลดขยะจ�าพวกขวดและแก้ว พลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้งรวมทั้งหลอดดูดลงได้ อย่างมหาศาล ซึ่งในวันที่ 7 กันยายนนี้ ทางบางจากฯ จะจัดงาน เปิดตัวสถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ Bangchak Initiative and Innovation Center (BIIC) คาดว่าจะมีผู้ร่วม งานหลายร้อยคนซึ่งบริษัท บางจากฯ ได้เชิญทีม Ooho


Chapter 04

Edible Packaging นวัตกรรมลดขยะพลาสติก

38

Ooho Water


39

คือ มูลค่าของตลาดบรรจุภัณฑ์กินได้ ที่คาดการว่าจะเติบโตขยายตัวในปี 2566

Everlasting Economy

มาออกงานพร้อมกับโชว์ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของพวกเขา เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเราคิดค้นนวัตกรรมลดขยะ พลาสติกที่น่าสนใจนี้ พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนไอเดีย นวัตกรรมกัน ในเบื้องต้นทีม Skipping Rocks Lab เล่าว่าก�าลัง พยายามพัฒนา Ooho ของพวกเขาให้สามารถใช้กับ เครื่องดื่มประเภทอื่น เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย และทางทีมคาดว่าจะผลิต Ooho ในเชิงพาณิชย์และ สามารถพัฒนาเครื่องผลิต Ooho ให้สามารถจ�าหน่าย ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข องพวกเขาตามร้ า นสะดวกซื้ อ หรื อ ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปได้ในปีหน้า ทัง้ นี้ จากการประเมินของสถาบัน Stratistics Market Research Consulting ประเทศสหรัฐอเมริกาคาดว่าตลาด บรรจุภัณฑ์กินได้ทั่วโลกในปี 2559 จะมีขนาดประมาณ 715 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งน่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะขยายตัวด้านการตลาดได้ปีละประมาณ 8.2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2566 นับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือกที่จะสามารถ ช่วยลดปัญหาขยะบรรจุภณ ั ฑ์พลาสติกในอนาคตได้ครับ


CHAPTER

O5 จากแป้งและน�้าตาลสู่อุปกรณ์ช่วยชีวิต


41

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 มิถุนายน 2560

ข่าวอุบัติเหตุจากการขับขี่รถยนต์ หรือแม้กระทั่งอุบัติเหตุจากการออกก�าลังกาย ในบางครั้งอาจถึงขั้นกระดูกหักหรือพิการ ซึ่งวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันท�าให้เรา สามารถเชือ่ มกระดูกทีห่ กั ไปให้กลับมาได้เหมือนเดิม แต่ในผูป้ ว่ ยบางรายอาจต้องผ่าตัดซ�า้ ๆ หลายครัง้ จนร่างกายบอบช�้ากระทบต่อเนื้อเยื่อ


Chapter 05

จากแป้งและน�้าตาลสู่อุปกรณ์ช่วยชีวิต

42

วันนี้ผมเลยอยากจะเล่าถึงการบรรจบกันของเทคโนโลยี ชีวภาพและเทคโนโลยีสิ่งพิมพ์สามมิติหรือ 3D Printing ที่จะช่วย รักษาฟื้นฟูผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นและลดขั้นตอนการผ่าตัดลง ท่านผูอ้ า่ นคงจะรูจ้ กั พลาสติกชีวภาพทีเ่ รียกว่า พลาสติก PLA (Polylactic Acid) กันดีอยู่แล้ว ซึ่งพลาสติก PLA ส่วนมากจะ ใช้ในการผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วทิ้งอย่างเช่น แก้วพลาสติก หรือกล่องบรรจุอาหารพลาสติก เพราะพลาสติก PLA มีคณ ุ สมบัติ ส�าคัญ คือ สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติเมื่ออยู่ใน สภาวะเหมาะสม ช่วยลดขยะที่จะต้องก�าจัดลงได้ ที่ส�าคัญอีกประเด็น คือ พลาสติก PLA ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้ทดแทนพลาสติกที่ผลิตจากน�้ามันปิโตรเลียม ซึ่งก่อให้เกิด มลพิษโดยเฉพาะก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต โดย พลาสติก PLA ผลิตได้จากผลผลิตทางการเกษตรในบ้านเรา เช่น แป้งจากมันส�าปะหลังและน�้าตาลจากอ้อย น�าไปผ่านการหมัก และกระบวนการเคมีให้กลายเป็นพลาสติกขึ้นมา และอีกเทคโนโลยีหนึง่ ทีท่ า่ นผูอ้ า่ นน่าจะรูจ้ กั อีกเช่นกัน คือ เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ หรือ 3D Printing ซึ่งคาดกันว่า จะเป็นเทคโนโลยีแห่งยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม Industry 4.0 โดย 3D Printing นี้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อช่วยวงการอุตสาหกรรมการผลิต ให้สามารถสร้างชิ้นงานต้นแบบ (Prototype) ได้รวดเร็ว ก่อนที่จะ น�าไปผลิตเป็นสินค้าล็อตใหญ่ๆ ต่อไป ซึ่งหากต้องการปรับแก้ ชิ้ น งานต้ น แบบก็ ส ามารถปริ๊ น ท์ ใ หม่ ไ ด้ โ ดยใช้ เ วลาน้ อ ยกว่ า การสร้างแม่พิมพ์และการหล่อชิ้นงานขึ้นมาใหม่ ประหยัดได้ท้ัง เวลาและต้นทุน ลดความสิ้นเปลืองลงได้ จากข้อดีในจุดนี้เอง จึงท�าให้มีการน�า 3D Printing ไปประยุกต์ใช้ในวงการอื่นๆ อีกมากมายหลายแขนง นับว่านวัตกรรมทั้งสองต่างก็มีประโยชน์กันคนละด้าน


3D Printing 43

Everlasting Economy

หรือ เทคโนโลยี การพิมพ์แบบสามมิติ คือเทคโนโลยีแห่งยุค ปฏิวัติอุตสาหกรรม Industry 4.0 เนื่องจาก สามารถสร้างชิ้นงาน ต้นแบบ (Prototype) ได้รวดเร็ว ก่อนที่จะ น�าไปผลิตเป็นสินค้า ล็อตใหญ่ๆ ต่อไป


44

Chapter 05

จากแป้งและน�้าตาลสู่อุปกรณ์ช่วยชีวิต

ซึ่งตอนนี้ได้มีการน�าทั้งสองนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้งานร่วมกัน โดยพลาสติก PLA ได้รับความนิยมในการน�ามาใช้เป็นวัสดุการ พิมพ์ส�าหรับ 3D Printing เนื่องจากมีจุดหลอมเหลวไม่สูงมาก สามารถน�ามาหลอมผ่านหัวฉีดเพือ่ พิมพ์เป็นชิน้ งานสามมิตไิ ด้งา่ ย และเนือ่ งจาก PLA ผลิตมาจากน�า้ ตาลหรือแป้ง เวลาท�าการหลอม พลาสติกเพือ่ ฉีดผ่านหัวฉีดจึงมีกลิน่ คล้ายน�า้ ตาลละลาย ต่างจาก พลาสติกที่ผลิตจากปิโตรเลียมที่มักเกิดกลิ่นและละอองควันที่มี อันตรายต่อผู้ใช้งานสูงกว่า ในวงการแพทย์มกี ารน�าพลาสติก PLA มาใช้ในการผลิต ชิ้นงานต่างๆ ด้วย 3D Printing เช่น ชิ้นส่วนของนิ้วมือ แขนเทียม และขาเทียม ทีส่ ามารถออกแบบให้มรี ปู ร่างและขนาดทีเ่ หมาะสม

1986 คือ ปี ค.ศ. ที่เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เครื่องแรก ถูกประดิษฐ์ขึ้นมา โดยชายชาวอเมริกันที่ชื่อ Charles Hull ซึ่งเป็นการต่อยอด เทคโนโลยี Rapid Prototyping และ Stereolithography ที่มีผู้คิดค้นไว้


45

Everlasting Economy

เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยที่พิการในแต่ละราย และยังถูกน�าไปใช้ พิมพ์เป็นวัสดุเฝือกทีม่ ขี อ้ ดีกว่าเฝือกทัว่ ไป คือ น�า้ หนักเบาสามารถ ออกแบบให้มลี กั ษณะโปร่งเพือ่ ให้อากาศถ่ายเท มีชอ่ งว่างให้ล้าง ท�าความสะอาดผิวหนังของผู้ป่วยได้ง่ายกว่า พลาสติก PLA ยังถูกน�าไปพิมพ์เป็นข้อต่อช่วยสมานหรือ สกรูสา� หรับฝังในร่างกายผูป้ ว่ ย (Surgical screw) เพือ่ ช่วยซ่อมแซม อวัยวะทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากอุบตั เิ หตุทางร่างกาย โดยชิน้ งานจาก พลาสติก PLA มีคณ ุ สมบัตทิ ดี่ ี คือ สามารถย่อยสลายได้ในร่างกาย ท�าให้ไม่ตอ้ งผ่าตัดผูป้ ว่ ยซ�้าเพือ่ เอาข้อต่อหรือสกรูนนั้ ออก ช่วยลด การบาดเจ็บลงได้ นอกจากนี้พลาสติก PLA ยังถูกน�าไปใช้ในการผลิตสินค้า อื่นๆ อีกมากมายหลายประเภท เช่น โมเดลหุ่นโชว์ เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน เคสส�าหรับใส่มอื ถือ ซึ่งสินค้าเหล่านี้บางชิ้นอาจ ถูกทิ้งหลังใช้งานได้ไม่นาน การใช้พลาสติก PLA ที่ย่อยสลายได้ มาเป็นวัสดุในการผลิตก็จะช่วยลดปริมาณขยะลงได้มาก มิตใิ หม่ในยุครูท้ นั เทคโนโลยีจงึ มีการน�านวัตกรรมพลาสติก ชีวภาพและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 3D Printing มาประยุกต์ ใช้ร่วมกัน นอกจากจะช่วยลดโลกร้อนแล้วยังช่วยให้เรามีชีวติ ที่ดี ขึน้ จากอุบตั เิ หตุตา่ งๆ โดยไม่ตอ้ งเจ็บตัวเพิม่ จากการผ่าตัดซ�้าด้วย เรื่องนี้เป็นโอกาสของประเทศไทยที่ควรได้รับการพัฒนา และสนับสนุนจากทุกภาคส่วนครับ


CHAPTER

O6 Biodegradable สร้างผลิตภัณฑ์รักษ์โลก


47

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 พฤษภาคม 2560

ผลิตภัณฑ์​หลากหลายชนิดในชีวิตประจ�าวันของเราทุกวันนี้ล้วนแต่มีพลาสติก​ เป็นส่วนประกอบ


Chapter 06

Biodegradable สร้างผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

48

ท่านผู้อ่านครับ จากรายงาน The New Plastic Economy ของสถาบัน Ellen Macarthur Foundation ระบุว่า ในแต่ละปีมกี าร ผลิตพลาสติกทั่วโลกกว่า 300 ล้านตัน และประเภทของพลาสติก ที่มีการใช้งานมากที่สดุ คือ บรรจุภัณฑ์ และพลาสติกประเภทบรรจุภัณฑ์กลายเป็นขยะเกลื่อน เมืองเพราะคนทัว่ ไปใช้เพียงครัง้ เดียวก็ทงิ้ จะมีเพียงแค่ 2% เท่านัน้ ที่ถูกน�ามารีไซเคิลต่อเนื่อง ที่เหลือเป็นขยะต้องก�าจัดท�าลาย ที่ป ระเทศอัง กฤษพบว่ า ในแต่ ล ะปี มีก ารใช้ แ ก้ ว กาแฟ พลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งสูงถึง 2,500 ล้านใบ มีอัตราการรีไซเคิล ไม่ถึง 1% กลายเป็นขยะที่ต้องก�าจัดมากมายมหาศาลและก�าลัง กลายเป็นปัญหาเรือ้ รังเพราะพลาสติกต้องใช้เวลาย่อยสลายนาน ถึง 500 ปี ขณะนี้ มี นั ก ชี ว วิ ท ยาพยายามใช้ ตั ว หนอนกั ด กิ น และ ย่อยสลายพลาสติกมาช่วยแก้ไขปัญหาซึง่ อยูใ่ นระยะศึกษาทดลอง และพัฒนา


49

Everlasting Economy

ล้านตัน คือปริมาณ การผลิตพลาสติกทั่วโลก ในแต่ละปี ในจ�านวนนั้น มีบรรจุภัณฑ์พลาสติก รวมเกือบ 80 ล้านตัน

จากปัญหาดังกล่าวจึงมีการพัฒนาพลาสติก ชีวภาพ (Biodegradable Plastic) ที่สามารถย่อยสลาย ได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กับน�้า เมื่อน�าไป ฝังกลบภายหลังการใช้งาน โดยใช้เวลาในการย่อย สลายสั้นลงกว่าพลาสติกปกติเหลือไม่ถึง 5 ปี หรือ ใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือนจะยิ่งดี พลาสติกชีวภาพนี้สามารถผลิตได้จากพืช จ� า พวกแป้ ง และน�้ า ตาล ในต่ า งประเทศนิ ย มใช้ ข้าวโพดหรือหัวบีท ส�าหรับประเทศไทยสามารถใช้ มันส�าปะหลังหรือน�า้ ตาลจากอ้อยเป็นวัตถุดบิ ในการ ผลิตได้ พลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากพืชเหล่านี้ส่วน ใหญ่มักจะเป็นสารพอลิเมอร์ (Polymer) ในกลุ่ม พอลิแลกติกแอซิดหรือ PLA (Polylactic Acid) และ พอลิบวิ ธิลนี ซัคซิเนต หรือ PBS (Polybutylene Succinate) ที่ น� า มาใช้ ใ นการผลิ ต เป็ น แก้ ว ส� า หรั บ เครื่ อ งดื่ ม กล่องอาหาร ขวดบรรจุของเหลว ถุงหูห้วิ ส่วนใหญ่ ใช้ ค รั้ ง เดี ย วก็ ทิ้ ง จึ ง เหมะสมที่ จ ะน�า มาใช้ เ พราะ ย่อยสลายได้เร็ว ขยะพลาสติกก็จะลดลงเร็ว ปั จ จุ บั น ผู ้ ผ ลิ ต และผู ้ ใ ช้ ที่ มี หั ว ใจสี เ ขี ย ว รักษ์สิ่งแวดล้อมน�าพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้มาผลิต เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีระยะเวลาใช้งานสั้นและ ถูกทิง้ หลังหมดอายุการใช้งานเพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ เช่น รองเท้าวิ่ง ล่าสุดได้ข่าวว่าบริษัท Adidas ได้ริเริ่มน�า นวัตกรรมในการใช้วัสดุธรรมชาติมาผลิตเป็นเส้นใย ที่มีความเหนียวแบบเส้นไหมมาใช้ในการผลิตเป็น


Chapter 06

Biodegradable สร้างผลิตภัณฑ์รักษ์โลก

50

รองเท้าวิ่ง ที่มีความคงทนเหมือนรองเท้าวิ่งทั่วๆ ไป แต่สามารถย่อยสลายได้ภายใน 36 ชัว่ โมงเมือ่ อยู่ใน สภาวะที่ เ หมาะสมและมี เ อนไซม์ ช ่ ว ยย่ อ ย และ อีกหนึง่ ในความพยายามของผูผ้ ลิตทีร่ กั ษ์โลก หวังจะ ช่วยลดขยะคือผลิตผ้าอนามัยทีย่ อ่ ยสลายได้เองตาม ธรรมชาติ การคิดค้นของกลุม่ นักวิจยั University of Utah ได้ พั ฒ นาการผลิ ต ผ้ า อนามั ย ยี่ ห ้ อ SHERO จากวัตถุดิบธรรมชาติ 100% ที่สกัดและสังเคราะห์ ได้จากข้าวโพด เปลือกฝ้าย และสาหร่ายสีน�้าตาล ที่ย่อยสลายได้ในสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งใช้เวลา ประมาณ 45 วัน ถึง 6 เดือน คาดว่าจะผลิตออกขาย ได้ภายในหนึ่งปีจากนี้ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลโดยสมาคม Eurpean Bioplastic พบว่าพลาสติกประเภทนี้ ณ ปี 2560 มีก�าลังผลิตรวมทั่วโลกเพียง 964,000 ตันเท่านั้น ไม่ถึง 1% ของก�าลังผลิตพลาสติกทั่วโลก คาดว่า ก�าลังผลิตพลาสติกชีวภาพประเภทย่อยสลายได้เอง ตามธรรมชาติจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 30% ทัง้ จากแรงกระตุน้ ด้านปัญหาการก�าจัดขยะ และจาก ความต้องการลดการพึ่งพาฟอสซิลซึ่งเป็นวัตถุดิบ หลักของการผลิตพลาสติกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ผมคิดว่าเป็นโอกาสดีทปี่ ระเทศไทยจะส่งเสริม ให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ เรามีศักยภาพและความพร้อมในส่วนต้นน�้าด้าน วัตถุดิบทางการเกษตร เรามีทั้งมันส�าปะหลังและ น�า้ ตาลจากอ้อยทีส่ ามารถผลิตและส่งออกได้เป็นอันดับ

2%

คือ สัดส่วนของ พลาสติก ที่ได้รับการ น�ากลับมา รีไซเคิล


51

ต้นๆ ของโลก รวมทั้งมีพื้นฐานในส่วนปลายน�า้ ที่แข็งแรงเพราะมี การผลิตและส่งออกเม็ดพลาสติกจากปิโตรเคมีไปยังประเทศต่างๆ ทั่ ว โ ล ก อ ยู ่ แ ล ้ ว ช ่ ว ย ใ ห ้ เ ก ษ ต ร ก ร แ ล ะ อุ ต ส า ห ก ร ร ม มีรายได้เพิม่ ขึน้ และช่วยลดปัญหาสิง่ แวดล้อมได้ในระยะยาวต่อไป นวัตกรรมสิง่ แวดล้อมมีหลากหลายขึน้ เพราะความรับผิดชอบ ของผู้ผลิต และผู้ใช้ท่ตี ้องการเยียวยาโลกใบนี้ครับ

ปี คือ ระยะเวลาในการย่อยสลายพลาสติก


CHAPTER

O7 นวัตกรรมไบโอดีเซลยกระดับเศรษฐกิจ สังคมไทย


53

สังคมไทย เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 เมษายน 2560

ท่านผูอ้ า่ นครับช่วงนีผ้ ลผลิตปาล์มออกสูท่ อ้ งตลาดเป็นจ�านวนมาก การสนับสนุนให้มี การผลิตและใช้ไบโอดีเซลอย่างกว้างขวางจะมีประโยชน์ต่อพี่น้องเกษตรกร ภาครัฐขอ การสนับสนุนจากบริษัทน�้ามัน เพิ่มสัดส่วนไบโอดีเซลจากน�้ามันปาล์มที่เอามาผสมในน�้ามัน ดีเซลเป็น 7% หากช่วงไหนมีผลผลิตน้อยก็ปรับสัดส่วนลดลงตามสถานการณ์ ไม่ให้กระทบ ต่อการบริโภค เพื่อประโยชน์สูงสุดในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


Chapter 07

นวัตกรรมไบโอดีเซลยกระดับเศรษฐกิจ สังคมไทย

54

การปรับตัวของภาคเกษตรยุค 4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล จะต้องน�านวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มคี ณ ุ ภาพ สร้างมูลค่า เพิ่ม ส�าหรับภาคอุตสาหกรรมที่เข้ามามีส่วนร่วมและสนับสนุน ที่เห็นได้ชดั คือธุรกิจพลังงานประเภทเชื้อเพลิงชีวภาพ ไบโอดีเซล (Biodiesel) หรือกรีนดีเซล (Green diesel) ไบโอดีเซลที่ว่านี้ หลายท่ า นอาจไม่ ท ราบว่ า แต่ ล ะชนิ ด แตกต่ า งกั น อย่ า งไร ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถน�านวัตกรรมใหม่ๆ มาช่วยปรับปรุง คุณภาพให้ดยี ิ่งขึ้นครับ ไบโอดีเซล (Biodiesel) เป็นพลังงานชีวภาพกลุม่ แรกและ กลุม่ หลักทีน่ า� มาใช้สา� หรับทดแทนน�า้ มันดีเซล ส�าหรับประเทศไทย ในขณะนี้สามารถผลิตได้จากการน�าน�้ามันปาล์มหรือน�้ามันพืช ใช้แล้วมาท�าปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ โดยน�้ามันไบโอดีเซลมีข้อดี คื อ มี ก ระบวนการที่ ไ ม่ ซั บ ซ้ อ นและมี ต ้ น ทุ น ไม่ สู ง มากนั ก มีคุณสมบัติท่ดี ี คือ มีค่าซีเทน (Cetane Number) สูงกว่าเมื่อเทียบ กับดีเซลที่ได้จากการกลั่นน�้ามันดิบ ช่วยให้เครื่องยนต์จุดระเบิด ได้ดี รถยนต์สามารถเดินเครื่องได้ราบเรียบไม่สะดุด อย่างไรก็ตาม ไบโอดีเซลมีสารประเภท Fatty Acid Methyl Ester หรือเรียกว่า FAME ซึ่งมีองค์ประกอบบางอย่างที่แตกต่าง จากน�้ามันดีเซลที่ได้จากการกลั่นน�้ามันดิบ น�้ามันดีเซลที่ขาย ในประเทศไทยจึงควบคุมให้มีสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลที่อัตรา ไม่เกิน 7% (หรือทีเ่ รียกทัว่ ไปว่า B7) เพือ่ ป้องกันไม่ให้องค์ประกอบ ทีเ่ จือปนในไบโอดีเซลอาจส่งผลให้เกิดการอุดตันของหัวฉีดน�า้ มัน ในรถยนต์น่งั บางประเภท เชือ้ เพลิงชีวภาพอีกกลุม่ ทีต่ อบโจทย์ดงั กล่าวและเริม่ ผลิต เพือ่ ใช้ในประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้ว คือ น�้ามันกรีนดีเซล (Green diesel) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น น�้ามันดีเซลหมุนเวียน (Renewable diesel) หรือน�้ามัน BHD (Bio-hydrogenated diesel) น�้ามันกลุ่มนี้


55

Biodiesel

คือ เชื้อเพลิงทดแทนเชื้อเพลิง ประเภทดีเซลที่ผลิตจากพืชพลังงาน สามารถย่อยสลายได้ตามกระบวนการ ชีวภาพในธรรมชาติ โดยใช้น�้ามันจาก

ปาล์มบริสุทธิ์ ท�าปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จะได้ผลผลิต เป็นเอสเทอร์หรือที่เรียกว่าไบโอดีเซล และมีผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้เป็น กลีเซอรีน ซึ่งไบโอดีเซลชนิดเอสเทอร์นี้ มีลักษณะคล้ายกับน�้ามันดีเซล ท�าให้สามารถใช้แทนกันได้ Everlasting Economy


Chapter 07

นวัตกรรมไบโอดีเซลยกระดับเศรษฐกิจ สังคมไทย

56

ผลิตได้จากการน�าน�้ามันปาล์มไปท�าปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจน เพือ่ ให้ได้นา�้ มันทีโ่ มเลกุลเสถียรกว่าและแยกสารทีท่ า� ให้อดุ ตันใน หัวฉีดน�า้ มันเครือ่ งยนต์ออก มีขอ้ ดีคอื ได้นา�้ มันทีม่ ลี กั ษณะเหมือน กับน�า้ มันดีเซลมาก สามารถน�าไปผสมในดีเซลเพือ่ เติมรถยนต์ได้ ในสัดส่วนทีส่ งู กว่าไบโอดีเซลประเภทแรกหรือใช้แทนน�้ามันดีเซล ได้เลย แต่จะมีปัญหาด้านต้นทุนการผลิตทีส่ ูงกว่าไบโอดีเซลมาก และเมื่อเทียบราคากับน�้ามันดีเซลแล้วจะสูงกว่าประมาณ 4 เท่า ท�าให้แข่งขันด้านราคาได้ยาก ดังนั้นเพื่อแก้ข้อจ�ากัดต่างๆ ของน�้ามันชีวภาพทั้งสอง กลุ่ม จึงได้มีการพัฒนาหาทางออกใหม่ซึ่งมี 2 วิธี คือ การผลิต Refined-FAME และการผลิต H-FAME ส�าหรับ Refined-FAME เป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อน ท�าโดยน�าไบโอ ดีเซลประเภท FAME มากลั่นแยกสารเจือปนได้เป็นน�้ามันที่ยงั คง มีค่าซีเทนสูง และความบริสุทธิ์มากขึ้น ลดการอุดตันของหัวฉีด น�้ามันได้ดยี ิ่งขึ้น ส่วนวิธที สี่ อง คือ H-FAME (Partially Hydrogenated Diesel) ซึง่ เป็นนวัตกรรมการเพิม่ คุณภาพไบโอดีเซลวิธใี หม่ โดยน�า FAME มาท�าปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจนในปริมาณจ�ากัด แล้วจึงน�าไป กลั่นแยกสารเจือปน ได้น�้ามันที่คุณสมบัติคล้าย Refined-FAME แต่ดีกว่าตรงที่ลดโอกาสในการที่น�้ามันจะเสื่อมสภาพและสะสม อยู่ในเครื่องยนต์ระยะยาว ทั้งนี้วธิ ี Refined-FAME เป็นวิธีที่มีต้นทุนแข่งขันได้ และเริ่ม มีการผลิตน�้ามันด้วยวิธีดังกล่าวในบ้านเราแล้ว ส่วนวิธี H-FAME มีต้นทุนสูงกว่าเล็กน้อยและรัฐบาลก�าลังอยู่ระหว่างส่งเสริมให้มี การพัฒนามาใช้ในบ้านเรามากขึ้น ในเบื้องต้นคาดว่าวิธีเพิ่มคุณภาพไบโอดีเซลดังกล่าว ทีว่ า่ มาน่าจะช่วยให้เราสามารถเพิม่ สัดส่วนเชือ้ เพลิงชีวภาพทีผ่ ลิต

B


B7

57

คือชื่อเรียกน�้ามันดีเซล ที่มีไบโอดีเซลผสมอยู่ 7% ที่มีจ�าหน่ายตามสถานีบริการ

Everlasting Economy

จากน�้ามันปาล์มในน�้ามันดีเซลให้สูงขึ้นเป็นน�้ามัน B10 หรือ B20 ได้โดยเร็ว คนไทยก็จะได้มีโอกาสใช้น้�ามันที่มีคุณภาพดีที่เป็น พลัง งานหมุนเวีย น ลดการพึ่งพาการน�า เข้ า เชื้อเพลิง ท�า ให้ ประหยัดเงินตราต่างประเทศ ช่วยลดการขาดดุลทางการค้า จะได้ น�าเงินมาพัฒนายกระดับภาคเกษตร ก�าหนดเป็นยุทธศาสตร์ การพัฒนาทีส่ อดคล้องกับนวัตกรรม และน�าผลการวิจยั พัฒนามา วางแผนก�าหนดเป้าหมายให้เหมาะสมกับปัจจัยแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นไป โดยค�านึงถึงความสมดุลในทุกๆ ด้าน สอดคล้องกับหลักเศรษฐศาสตร์ สังคมยกระดับรายได้ของเกษตรกร และคุณภาพด้านสิง่ แวดล้อม ที่ ส� า คั ญ ประเทศไทยจะได้ พ ้ น กั บ ดั ก รายได้ ป านกลาง ทีต่ ดิ หล่มมานานับ 10 ปีแล้ว


CHAPTER

O8 PCM นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพไทยแลนด์ 4.0


59

ผลิตภัณฑ์ชวี ภาพ เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 มีนาคม 2560

คราวก่อนผมได้เล่าถึงแนวทางการพัฒนาธุรกิจชีวภาพหรือ Bioeconomy ซึง่ เป็น หนึ่งในยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0 ที่รัฐบาลก�าลังผลักดันให้เป็นแนวทางที่จะช่วยสร้าง New S-Curve ด้านเกษตรกรรมของประเทศ โดยการน�าสินค้าเกษตรมาแปรรูปให้เป็น ผลิตภัณฑ์ทมี่ มี ลู ค่าเพิม่ สูง (High Value-Added Product) และส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เหล่านี้ให้เกิดเป็นตลาดใหม่เฉพาะกลุ่ม (Niche Market)


Chapter 08

PCM นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพไทยแลนด์ 4.0

60

ตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูงจาก สินค้าเกษตรที่น่าสนใจคือ การผลิตวัสดุ Phase Change Material หรือเรียกสั้นๆ ว่า PCM ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการต่อยอด น�้ามันปาล์มและน�้ามันไบโอดีเซล วัสดุ PCM เป็นวัสดุที่น�ามาใช้ทา� เป็นฉนวนกันความร้อน ซึง่ ได้รบั ความนิยมในการน�ามาใช้ผลิตเป็นแผ่นกันความร้อนหรือ ผสมในวัสดุสา� หรับก่อสร้างอาคารบ้านเรือนในประเทศทีม่ อี ากาศ หนาวในช่วงกลางวัน วัสดุ PCM ที่ว่านี้จะดูดซับความร้อนที่ เข้ามาจากภายนอกอาคารมากักเก็บเอาไว้ในตัวเองเป็นการช่วยลด ความร้อนทีจ่ ะกระจายเข้าสู่ผนังหรือหลังคา ท�าให้อากาศด้านใน อาคารไม่ ร ้ อ นมากเกิ น ไป และเมื่ อ ถึ ง ตอนกลางคื น ในช่ ว งที่ อุณหภูมิในอาคารลดต�่าลง วัสดุ PCM จะคายความร้อนที่เก็บ สะสมไว้ออกมา ช่วยสร้างความอบอุ่นให้ภายในอาคารไม่หนาว จนเกินไป PCM ที่นา� มาใช้เป็นฉนวนกันความร้อนจะถูกบรรจุอยู่ใน แคปซูลขนาดเล็กๆ เมื่อมีการดูดซับความร้อน PCM ที่อยู่ใน แคปซูลจะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว และเมื่อคาย ความร้อน PCM ก็จะเปลี่ยนจากของเหลวกลับไปเป็นของแข็ง อีกครั้ง ลักษณะเดียวกับน�้าและน�้าแข็งที่เปลี่ยนสถานะกลับไป กลับมาได้ แต่จะแตกต่างกับน�า้ ตรงทีว่ สั ดุประเภท PCM จะแข็งตัว ที่อุณหภูมิในช่วงประมาณ 14-21 องศาเซลเซียส เหมาะสมกับ การน�าไปใช้งานในประเทศที่มีอากาศหนาวและมีอุณหภูมิห้อง อยู่ในช่วงที่ใกล้เคียงกันนี้ ผมคิดว่าการน�าวัสดุ PCM มาใช้ในการกักเก็บและคาย ความร้อนมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะช่วยให้เกิดการประหยัด พลังงานในการใช้เครือ่ งปรับอากาศและเครือ่ งฮีทเตอร์ นับว่าเป็น นวัตกรรมที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและดีต่อโลกที่ช่วยอนุรักษ์พลังงาน


61

hange

hase

aterial

Everlasting Economy

ย่อมาจาก Phase Change Material นอกจากชื่อ PCM แล้ว ภาษาไทยยังมีใช้ในหลายๆ ชื่อ เช่น วัสดุเปลี่ยนเฟส วัสดุเปลี่ยนสถานะ สารเปลี่ยนสถานะ


Chapter 08

PCM นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพไทยแลนด์ 4.0

62

ตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาน�าวัสดุ PCM ไปใช้งานในประเภทอื่นๆ ด้วย เช่น เสื้อผ้ากันความร้อน และสารในระบบท�าน�้าอุ่นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น ในปัจจุบันวัสดุ PCM สามารถผลิตได้จากสารตั้งต้น ประเภทอื่นที่ไม่ใช่น�้ามันปาล์ม เช่น เกลือไฮเดรท (Salt Hydrates) และพาราฟินที่ผลิตได้จากสารกลุ่มปิโตรเลียม (Petroleum-based Paraffin) แต่เนือ่ งจาก PCM ทีผ่ ลิตจากปาล์มเป็นวัสดุทผี่ ลิตได้จาก สารชีวภาพ ไม่ตอ้ งพึง่ พาการผลิตจากสารกลุม่ ปิโตรเลียมทีม่ กี าร ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตสูงกว่า PCM จึงได้รับความสนใจที่จะน�ามาใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง ญี่ปุ่นที่พยายามให้ภาคอุตสาหกรรมลดปริมาณการปลดปล่อย ก๊ า ซเรื อ นกระจกอย่ า งเต็ ม ที่ แ ละต้ อ งการให้ ภ าคครั ว เรื อ น มีส่วนร่วมในการใช้วัสดุจากสารชีวภาพและการอนุรักษ์พลังงาน ตามอาคารบ้านเรือน การน� า น�้ า มั น ปาล์ ม หรื อ ผลพลอยได้ จ ากน�้ า มั น ปาล์ ม มาผลิตเป็นสารประเภท PCM ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับน�า้ มัน ปาล์มดิบได้เป็นอย่างดี เพราะ PCM ที่ซื้อขายในตลาดขณะนี้ มีราคาไม่ต�่ากว่า 3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับราคาน�้ามันปาล์มดิบ การแปรรูปน�้ามันปาล์มดิบให้กลายเป็นสาร PCM แล้วส่งออกไป ขายในตลาดต่างประเทศจึงช่วยเพิม่ รายได้ให้กบั ประเทศได้มากขึน้ สิ่งที่ผมเล่ามานี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการพัฒนา สินค้าเกษตรไปสูผ่ ลิตภัณฑ์ชวี ภาพทีม่ มี ลู ค่าเพิม่ สูง เชือ่ ว่าบ้านเรา ยัง มีผ ลผลิต ทางการเกษตรอีก หลายชนิด ที่มีศัก ยภาพในการ แปรรูปเพือ่ เพิม่ มูลค่าและสามารถพัฒนาตามแนวทางยุทธศาสตร์ ไทยแลนด์ 4.0 ในด้านธุรกิจชีวภาพได้แน่นอนครับ


63

Everlasting Economy


CHAPTER

O9 Bioeconomy นวัตกรรมภาคเกษตร 4.0


65

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 มีนาคม 2561

ผมได้เล่าเรื่องพลังงานไฟฟ้าสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาหลายเรื่องแล้ว วันนี้ ขอพูดถึงกิจการอีกประเภทหนึง่ ทีท่ า� ให้โลกเราน่าอยูข่ นึ้ คือ ธุรกิจชีวภาพ หรือ Bioeconomy เป็น 1 ใน 5 ของ New S-Curve ของรัฐบาลไทยในยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่ก�าลัง ผลักดันกันอย่างเต็มที่


Chapter 09

Bioeconomy นวัตกรรมภาคเกษตร 4.0

66

ธุรกิจชีวภาพเป็นการต่อยอดสังคมเกษตรกรรมแบบดัง้ เดิม ที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมวิถีไทย อย่างไรก็ตามการท�าเกษตร ต้องพึ่งพาดิน ฟ้า อากาศ น�้า ตามธรรมชาติ ซึ่งในปัจจุบันการ เปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมภูมิอากาศส่งผลกระทบอย่าง รุนแรงต่อภาคการเกษตร โดยเฉพาะปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) และลานีญา (La Nina) ที่กระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร บางปี ผลผลิตน้อย บางปีผลผลิตล้นตลาดราคาตกต�่า บางสถานการณ์พชื ผลบางอย่างราคาดี เกษตรกรก็จะแห่กนั ปลูกพืชชนิดนั้น จนผลผลิตล้นตลาด ในที่สุดเกษตรกรขาดทุน ไม่คุ้มการลงทุนจนรัฐบาลต้องเข้ามาแบกรับภาระด้วยการออก มาตรการอุดหนุนราคาอย่างเนืองๆ ในพืชหลักหลายชนิด เช่น ข้าว ยาง มันส�าปะหลัง เป็นต้น ผมคิดว่าธุรกิจชีวภาพซึ่งเป็นการขยายต่อห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ของสินค้าเกษตรเป็นสิ่งที่ส�าคัญมากส�าหรับการ แก้ปัญหาสินค้าการเกษตรล้นตลาดและราคาตกต�่า ซึ่งการ วางแผนพัฒนาธุรกิจชีวภาพในบ้านเราจะต้องค�านึงถึงสภาวะ ปัจจุบันของเกษตรกรไทยด้วย ที่มีความรักและยึดติดกับการ เป็ น เจ้ า ของพื้ น ที่ ท� า กิ น ในขณะที่ บ างพื้ น ที่ เ ป็ น แปลงขนาด ใหญ่มาก แต่ไม่สามารถท�าการเพาะปลูกได้ และไม่ได้ท�าเกษตร แบบมีสญ ั ญา (Contract Farming) หรือบริหารจัดการแบบสมัยใหม่ (Modern Farming) ท�าให้การต่อยอดภาคการเกษตรเป็นธุรกิจ ชีวภาพขนาดใหญ่ค่อนข้างยาก ทั้ง นี้ การท�า ธุร กิจ ชีว ภาพโดยการน�า ผลผลิต ทางการ เกษตรมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียง กับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากสารกลุ่ม Fossil-Based ทั่วไป เช่น ผลิต ภัณ ฑ์ ก ลุ่ ม ปิ โ ตรเคมีค อล (Petrochemical) นอกจากจะ ไม่สามารถแข่งขันด้านราคา อันเนือ่ งมาจากราคาน�้ามันดิบอยูใ่ น


67

Everlasting Economy

ระดับต�่าที่ 50-60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลแล้ว ยังมักไม่ สามารถแข่งขันด้านปริมาณผลิตภัณฑ์หรือขนาด ตลาด (Economy of Scale) ได้อกี ด้วย ดังนั้น การแบ่งพื้นที่ (Zoning) เพื่อพัฒนา ผลิตภัณฑ์ชีวภาพส�าหรับแต่ละภูมิภาคจึงมีความ ส�าคัญ และการท�าผลิตภัณฑ์ควรเน้นแบบรวมกลุ่ม (Cluster) เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่า สูงเท่านั้น แต่มีปริมาณการผลิตที่พอเหมาะ เช่น ในส่วนของพืชกลุ่มปาล์มซึ่งมีการเพาะปลูกมาก ทางภาคใต้ และทุกวันนีม้ กี ารน�าน�า้ มันปาล์มไปผลิต เป็นสารกลุ่มโอลิโอเคมิคอล (Oleochemical) เช่น น�้ามันไบโอดีเซลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งที่ควรมี การต่อยอดทางธุรกิจชีวภาพโดยเน้นการต่อยอด ผลิตภัณฑ์จากน�้ามันปาล์มหรือผลพลอยได้ต่างๆ ไป เป็นสารทีม่ มี ลู ค่าสูงขึน้ (Value-added Product) เช่น วัสดุกักเก็บความร้อน/ความเย็น (Phase Change Material) เป็นนวัตกรรมส�าหรับใช้ในการอนุรักษ์ พลั ง งาน หรื อ สารชี ว เคมี เ ฉพาะทางส� า หรั บ ใช้ ในการผลิตเครือ่ งส�าอาง (Biocosmetics) เพิม่ มากขึน้ ส�าหรับพืชกลุ่มอ้อยและมันส�าปะหลัง ที่มี การเพาะปลูกมากในภาคกลางและตะวันออกเฉียง เหนือ มีการน�าผลผลิตจากพืชดังกล่าวไปผลิตเป็น น�้าตาล แป้ง และเอทานอลเพื่อผลิตแก๊สโซฮอล์ ที่มี ใช้กนั อยูแ่ ล้วอย่างแพร่หลาย ก็ควรมีการต่อยอดทาง ธุรกิจชีวภาพโดยเน้นการสนับสนุนต่อยอดผลิตภัณฑ์ น�า้ ตาล แป้ง เอทานอล หรือผลพลอยได้ตา่ งๆ ให้เป็น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี มู ล ค่ า สู ง ขึ้ น เช่ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ลุ ่ ม


68

หมายถึง กลุ่มอุตสาหกรรมอนาคต ที่มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเข้มข้น มีศักยภาพในการเติบโตต่อไปในอนาคต ซึ่งภาครัฐได้ระบุในยุทธศาสตร์การพัฒนา อุตสาหกรรมไทย 4.0 ว่ามี 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ - อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) - อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics) - อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและ เคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) - อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital) - อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)


69

พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) อาทิ พลาสติกโพลี แลคติคแอซิด (PolyLactic Acid หรือ PLA) และ พลาสติกไบโอเพท (Bio-PET) หรือผลิตภัณฑ์กลุม่ สาร ให้ความหวานที่มีแคลอรีต�่า อาทิ สารซอร์บิทอล (Sorbital) และสารไอโซมอล์ท (Isomalt) เป็นต้น ผมคิดว่าเพื่อให้เหมาะกับสภาพการเกษตร บ้านเรา ในการมุ่งพัฒนาธุรกิจชีวภาพ ควรแบ่ง พั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ชี ว ภาพให้ เ หมาะสมกั บ พื ช ที่ มี ศักยภาพในแต่ละพืน้ ที่ โดยเน้นต่อยอดสินค้าเกษตร ทีม่ อี ยู่เดิมไปสู่ตลาดใหม่เฉพาะกลุ่ม (Niche Market) และเน้นบุกเบิกตลาดที่มีมูลค่าสูง มากกว่าที่จะเน้น การท�าตลาดขนาดใหญ่ท่ีมีฐานความต้องการสูง เพื่อให้ไทยมีความสามารถแข่งขันกับธุรกิจชีวภาพ ในตลาดโลกต่อไปครับ

Everlasting Economy


CHAPTER

10 ข้อตกลงปารีสกับหนทางเยียวยาสิ่งแวดล้อมโลก


71

ปารสี เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 มกราคม 2559

พลั ง งานมี บ ทบาทส� าคั ญ ยิ่ ง ต่ อ การด� ารงชี วิ ต ของมนุ ษ ย์ ใ นยุ ค นี้ แต่ ส รรพสิ่ ง เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน พลังงานมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติแต่กระบวนการที่จะได้ พลังงานเอามาใช้ ระหว่างการใช้ หลังจากที่ใช้แล้ว ในบางกรณีมีผลกระทบต่อคุณภาพ สิง่ แวดล้อมและสุขอนามัยของสิง่ มีชวี ติ ทัง้ ปวง สมัยก่อนจ�านวนประชากรของโลกไม่มากนัก ผลกระทบในด้านลบอาจเห็นไม่เด่นชัดเหมือนปัจจุบันที่ทั้งโลกมีประชากรหลายพันล้านคน แย่งกันใช้ทรัพยากร บริโภคอย่างไร้ขดี จ�ากัด จนส่งผลกระทบต่อการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมิ อากาศ ท�าให้โลกใบนี้เกิดอาการเหมือนคนป่วย และดูเหมือนจะป่วยเรื้อรังเข้าไปทุกที


Chapter 10

ข้อตกลงปารีสกับหนทางเยียวยาสิ่งแวดล้อมโลก

72

มนุ ษ ย์ เ ผลอท� ำ ร้ ำ ยสุ ข ภำพของโลกไปโดยไม่ ไ ด้ ตั้ ง ใจ เริม่ ตัง้ แต่ชว่ งคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในยุคปฏิวตั อิ ตุ สำหกรรมทีม่ กี ำร คิดค้นเครื่องจักรไอน�้ำโดยใช้ถ่ำนหินเป็นเชื้อเพลิงขึ้นมำเป็น ครั้งแรก ต่อมำได้ถูกน�ำไปประยุกต์ใช้กับกำรสร้ำงพลังงำนให้กับ เครื่องจักรโรงไฟฟ้ำถ่ำนหิน และโรงไฟฟ้ำควำมร้อนประเภทอื่นๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นับแต่บัดนัน้ เป็นต้นมำถ่ำนหินก็ได้ถูกเผำไหม้ อย่ำงนับไม่ถ้วน หลังจำกยุคของเครื่องจักรไอน�้ำเกิดขึ้นไม่นำนก็มีกำรค้น พบวิธีกำรน�ำพลังงำนฟอสซิลอื่นๆ เช่น แก๊สธรรมชำติและน�้ำมัน ขึ้นมำใช้ รวมถึงค้นพบวิธีกำรถลุงเหล็กกล้ำ จนได้ช่อื ว่ำเป็นช่วง แห่งกำรปฏิวตั อิ ตุ สำหกรรมยุคเหล็กกล้ำอย่ำงทีห่ ลำยๆ ท่ำนเรียก กัน เมือ่ มนุษย์ในยุคนัน้ เริม่ ผลิตเหล็กกล้ำได้แล้ว ก็ทำ� ให้สำมำรถ พัฒนำรถยนต์ เรือ และเครื่องบินที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และนี่ก็ เป็นอีกจุดเริ่มต้นหนึ่งซึ่งท�ำให้ปริมำณกำรเผำไหม้เชื้อเพลิงสูงขึ้น กว่ำในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 18 แบบยำกจะหยุดลง เมื่อเรำได้ถูกท�ำให้เคยชินกับกำรอยู่อย่ำงสะดวกสบำย เรียกได้ว่ำเปิดสวิตช์ปุ๊บก็มีไฟฟ้ำใช้ปั๊บ ผมเชื่อว่ำควำมสะดวก สบำยแบบสุดๆ นี้ ท�ำให้พวกเรำเกินครึ่งโลกใช้พลังงำนโดยขำด ควำมตระหนักว่ำเชื้อเพลิงจำกฟอสซิลที่ถูกเผำไหม้เพื่อผลิตเป็น พลังงำนนัน้ ก่อให้เกิดก๊ำซคำร์บอนไดออกไซด์อนั เป็นต้นเหตุทำ� ให้ โลกใบนี้มีอุณหภูมิสูงขึ้นเหมือนคนเริ่มเป็นไข้อ่อนๆ จนค่อนข้ำง รุ น แรงอย่ ำ งในทุ ก วั น นี้ ซึ่ ง ถ้ ำ ยั ง ปล่ อ ยให้ เ ป็ น เช่ น นี้ ต ่ อ ไป คำดกำรณ์กันว่ำอุณหภูมิของโลกจะสูงขึ้นกว่ำยุคก่อนปฏิวัติ อุตสำหกรรมถึงกว่ำ 3-6 องศำเซลเซียส รวมทั้งก่อให้เกิดฝุ่นละอองหรือเขม่ำจำกกำรเผำไหม้จน ท�ำให้โลกต้องส�ำลักควันออกมำอีกด้วย ดูจำกข่ำวในประเทศจีน ก็ได้ครับ จำกกำรทีจ่ นี เป็นประเทศรำยใหญ่ทใี่ ช้ถำ่ นหินผลิตไฟฟ้ำ


73

Paris Agreement Everlasting Economy

คือ ข้อตกลงที่เกิดขึ้น จากการประชุมรัฐภาคี อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศสมัยที่ 21 (Conference of Parties : COP21) จัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน 11 ธันวาคม 2558 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส


Chapter 10

ข้อตกลงปารีสกับหนทางเยียวยาสิ่งแวดล้อมโลก

74

และพลังงำนเพือ่ ใช้ในภำคอุตสำหกรรม ขณะนีส้ ภำพอำกำศของ ประเทศจีนจึงเต็มไปด้วยฝุ่นและควัน จนรัฐบำลต้องประกำศให้ กรุงปักกิ่งอยู่ในระดับเตือนภัยขั้นสีแดงแล้ว จำกปัญหำกำรเปลีย่ นแปลงสภำพภูมอิ ำกำศ ท�ำให้ระบบ นิเวศวิทยำสูญเสียควำมสมดุลตำมธรรมชำติ จึงส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตค่อนข้ำงรุนแรง เกิดภัยพิบัติต่ำงๆ ทั้ง น�้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ภัยหนำว หิมะตก ทีค่ ่อนข้ำงรุนแรง และเกิดถี่ขึ้น จึงเป็นที่มำให้ผู้นำ� ของประเทศมหำอ�ำนำจหยิบยก ประเด็นดังกล่ำวมำถกแถลงหำรือ แก้ไขปัญหำร่วมกัน เมื่อเดือน ธันวำคมที่ผ่ำนมำ โดยมีผู้น�ำและผู้เกี่ยวข้อง 195 ประเทศทั่วโลก รวมทัง้ ประเทศไทยได้บรรลุขอ้ ตกลงพร้อมลงนำม ‘ข้อตกลงปำรีส’ เกี่ยวกับควำมร่วมมือด้ำนสภำวะกำรเปลี่ยนแปลงสภำพอำกำศ โดยสัญญำว่ำจะร่วมกันลด ละ ในด้ำนต่ำงๆ ของกำรผลิต และกำรบริโ ภค ฯลฯ เพื่อ ไม่ใ ห้อุณหภูมิโ ลกเพิ่ม สู ง เกินกว่ ำ 2 องศำเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับอุณหภูมิโลกในยุคก่อน ปฏิวตั อิ ตุ สำกรรม เพือ่ เยียวยำรักษำสุขภำพของโลกใบนีเ้ อำไว้ให้ อยูก่ บั เรำไปถึงรุน่ ลูกรุน่ หลำน โดยในข้อตกลงได้กำ� หนดเป้ำหมำย และแนวทำงที่จะท�ำให้เป้ำหมำยดังกล่ำวประสบควำมส�ำเร็จ ไว้หลำยประกำร ประกำรหนึง่ ซึง่ ถือเป็นโจทย์สำ� คัญของข้อตกลงปำรีส คือ ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันท�ำให้ปริมำณก๊ำซเรือนกระจกที่ ปลดปล่อยสู่บรรยำกำศจำกกิจกรรมต่ำงๆ ของมนุษย์มีปริมำณ เท่ำกับปริมำณก๊ำซเรือนกระจกทีถ่ กู ขจัดออกจำกบรรยำกำศให้ได้ ภำยในช่วงปี ค.ศ. 2050 ถึง 2100 หรือพูดง่ำยๆ ก็คือทุกประเทศ จะต้องมีกำรปลดปล่อยก๊ำซเรือนกระจกรวมสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon Emission) ซึง่ ผมคิดว่ำข้อนีเ้ ป็นโจทย์ทย่ี ำกมำกทีเดียว ยำสำมัญพื้นฐำนส�ำหรับโจทย์ข้อนี้ก็คือ กำรปลูกป่ำเพื่อ


75

Everlasting Economy

ดูดซับและขจัดคำร์บอนไดออกไซด์ออกจำกอำกำศ ซึ่งนับว่ำเป็น วิ ธีที่ ง ่ ำ ยและมี ต ้ น ทุ น ต�่ ำ ซึ่ ง นอกจำกจะปลู ก ต้ น ไม้ จ ริ ง ตำม ธรรมชำติแล้ว ตอนนีก้ ม็ กี ำรพัฒนำใบไม้เทียม (Artificial Leaf) ขึน้ มำ ด้วยควำมหวังว่ำจะเพิม่ ประสิทธิภำพกำรดูดซับคำร์บอนไดออกไซด์ และกำรผลิตพลังงำนโดยเลียนแบบกำรสังเครำะห์แสงเพือ่ ช่วยเร่ง กำรเยียวยำโลกอีกทำงหนึ่ง ส�ำหรับพลังงำนหมุนเวียนอย่ำงเช่นโรงไฟฟ้ำพลังงำน แสงอำทิตย์และพลังงำนลมทีห่ ลำยคนคิดว่ำพอจะฝำกควำมหวังได้ ผมคิดว่ำยังไม่พอทีจ่ ะท�ำให้เรำบรรลุเป้ำหมำยกำรปลดปล่อยก๊ำซ เรือนกระจกรวมสุทธิเป็นศูนย์ได้ครับ เนือ่ งจำกแนวโน้มกำรเพิม่ ขึน้ ของประชำกรและกำรเจริญเติบโตทำงเศรษฐกิจโดยเฉพำะใน ประเทศก�ำลังพัฒนำอย่ำงจีนและอินเดีย ซึ่งแนวโน้มในอนำคต ยังคงมีอตั รำกำรใช้พลังงำนทีเ่ พิม่ สูงขึน้ อย่ำงมำกเนือ่ งจำกประเทศ เหล่ำนีย้ งั คงต้องพึง่ พำเชือ้ เพลิงรำคำถูกอย่ำงเชือ้ เพลิงฟอสซิลเป็น เชื้อเพลิงหลักในกำรพัฒนำประเทศต่อไปอีกสักพักใหญ่จนกว่ำ พลังงำนสะอำดต่ำงๆ จะมีรำคำต�่ำกว่ำพลังงำนฟอสซิล อย่ ำ งไรก็ ต ำม เมื่ อ มองทำงออกกำรใช้ พ ลั ง งำนมำที่ พลั ง งำนทดแทนซึ่ ง น่ ำ จะเป็ น ยำขนำนหลั ก แต่ ติ ด ที่ ร ำคำยั ง ค่อนข้ำงแพงอยูใ่ นขณะนี้ ท�ำให้บำงประเทศไม่มเี งินมำกพอทีจ่ ะซือ้ มำใช้ จึงต้องพัฒนำยำขนำนอื่นๆ ด้วยตัวยำหนึ่งที่เริ่มได้รับ ควำมสนใจ ก็คอื เทคโนโลยีกำรดักจับและกักเก็บคำร์บอน (Carbon Capture & Storage) มีหลักกำรท�ำงำน คือ ดึงคำร์บอนไดออกไซด์ ออกจำกเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ถูกเผำไหม้ในโรงไฟฟ้ำโดยใช้สำรเคมี เช่น เอมีน (Amine) แล้วท�ำกำรรวบรวมก๊ำซคำร์บอนไดออกไซด์ นัน้ ไว้ด้วยกันก่อนจะถูกขนส่งและน�ำไปกักเก็บในทีท่ กี่ ๊ำซดังกล่ำว ไม่ ส ำมำรถรั่ ว ไหลสู ่ บ รรยำกำศด้ ว ยวิ ธีต ่ ำ งๆ เช่ น วิ ธีก ำร จั ด เก็ บ ทำงธรณีวิทยำซึ่งจะท�ำกำรปรับอุณหภูมิและควำมดัน


76

5 2 2คื อ เป้ า หมาย ที่ รั ฐ บาลไทย ตั้งเป้าว่าจะลด การปล่อยก๊าซ เรื อ นกระจก ลงภายในปี ค.ศ.2030


77

Everlasting Economy

ของคำร์ บ อนไดออกไซด์ ใ ห้ อ ยู ่ ใ นรู ป ของไหลวิ ก ฤติ ยิ่ ง ยวด (Supercritical Fluid) แล้วอัดฉีดเข้ำไปเก็บในโพรงหินใต้ดินที่มี ควำมซึมผ่ำนได้ของก๊ำซต�ำ่ หรือจัดเก็บด้วยวิธกี ำรช่วยผลิตน�ำ้ มัน (Enhanced Oil Recovery) อันเป็นวิธที จ่ี ะน�ำก๊ำซคำร์บอนไดออกไซด์ มำอัดฉีดเข้ำไปแทนที่น�้ำมันที่อยู่ในชั้นหินซึ่งสูบออกมำได้ยำก ด้วยวิธกี ำรผลิตปกติ เป็นต้น ทั้งนี้เทคโนโลยีดังกล่ำวยังถูกคัดค้ำนจำกหลำยๆ ฝ่ำยใน เรื่ อ งควำมปลอดภั ย ของกำรกั ก เก็ บ ก๊ ำ ซในระยะยำว เช่ น กำรรั่วไหลของก๊ำซเมื่อเกิดแผ่นดินไหวหรือกำรเคลื่อนตัวของ เปลือกโลก หรือกำรปนเปื้อนของกำรลงสู่น�้ำใต้ดนิ เป็นต้น ในอนำคตหำกเทคโนโลยีถกู พัฒนำจนประสบควำมส�ำเร็จ ก็อ ำจจะถือ เป็นที่พึ่งหลัก ส�ำหรับโลกในกรณีที่เ รำไม่ สำมำรถ เลิกใช้เชือ้ เพลิงฟอสซิลส�ำหรับกำรผลิตพลังงำนได้ 100% เนือ่ งจำก วิธีนี้เป็นวิธีที่สำมำรถก�ำจัดคำร์บอนไดออกไซด์ได้ครำวละมำกๆ สำมำรถช่วยให้เรำควบคุมกำรปลดปล่อยก๊ำซเรือนกระจกรวมสุทธิ ให้เป็นศูนย์ได้ แต่เทคโนโลยีนยี้ งั คงมีตน้ ทุนทีส่ งู อยู่ กำรจะผลักดันให้เกิด ผลส�ำเร็จจะต้องอำศัยกลไกสนับสนุนด้ำนกำรเงินเข้ำมำช่วย ทัง้ นี้ จำกข้อตกลงปำรีส ซึง่ มีกำรตัง้ เป้ำว่ำจะมีกำรจัดตัง้ ตลำดคำร์บอน ขึน้ ให้เป็นอีกทำงหนึง่ ทีจ่ ะช่วยสนับสนุนทำงกำรเงินให้เทคโนโลยี ดักจับและกักเก็บคำร์บอน รวมทัง้ เทคโนโลยีสะอำดอืน่ ๆ สำมำรถ ที่จะพัฒนำได้เร็วขึ้น น�ำมำเยียวยำโลกได้ทันเวลำ ต้องช่วยกันติดตำมข้อตกลงปำรีส ว่ำจะช่วยให้โลกของเรำ มีอณ ุ หภูมเิ พิม่ ขึน้ ไม่เกิน 2 องศำเซลเซียสได้หรือไม่ ผมว่ำเรำต้อง ช่วยกันคนละไม้ละมือนะครับโลกของเรำถึงจะยิม้ ได้ ไม่เป็นโลกที่ ป่วยไข้


CHAPTER

11

ท�ำไมองค์กรใหญ่จึงต้องปรับตัวรับนวัตกรรม?


ท�ำไม

79

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 สิงหาคม 2560

ที่ผ่านมาผมได้เล่าถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีการ Breakthrough ด้านเทคโนโลยีหรือ ท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด ซึ่งนวัตกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น มักมาจากไอเดีย ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจ


Chapter 11

ท�ำไมองค์กรใหญ่จึงต้องปรับตัวรับนวัตกรรม?

80

นวั ต กรรมใหม่ ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น และได้ รั บ การ พัฒนาอย่างรวดเร็วไม่ได้เกิดมาจากจากการคิดของ เจ้ า ของไอเดี ย ที่ คิ ด เองล� า พั ง หั ว เดี ย วกระเที ย ม ลีบ เพราะถ้าเป็นแบบนี้ ไอเดียเหล่านัน้ มักถูกพัฒนา อย่างช้าๆ ใช้เวลานานกว่าจะส�าเร็จได้ผลลัพธ์ออก มาเป็นรูปเป็นร่าง แต่นวัตกรรมใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึน้ อย่าง รวดเร็วในยุคนี้มักเกิดมาจากการแลกเปลี่ยนไอเดีย ของหลายๆ คนที่ช่วยกันคิดช่วยกันต่อยอด ท�าให้ ไอเดียเล็กๆ สามารถพัฒนาเป็นไอเดียใหญ่ๆ ออก มาเป็นรูปเป็นร่างได้รวดเร็วขึ้น ดังนัน้ การทีค่ นจากหลายๆ ฝ่ายได้มาท�างาน ร่วมกันหรือมี collaborative discussion จึงเป็นจุดเริ่ม ต้นทีด่ ใี นการท�านวัตกรรมอย่างยิง่ หลังจากมีไอเดีย แล้วการทดลองเพือ่ พัฒนาไอเดียไปสู่การใช้งานจริง ก็เป็นส่วนส�าคัญทีจ่ ะท�าให้นวัตกรรมถูกน�าไปใช้อย่าง แพร่หลายได้ ยกตัวอย่างเช่นงานด้านวิทยาศาสตร์ ก็อาจจะเริ่มจากการทดลองในห้อง Lab ผ่านการท�า Prototype ท�า Pilot แล้วถึงจะ Scale Up ขยายขนาด ให้ใหญ่ขนึ้ ในทางธุรกิจก็มีกระบวนการคล้ายๆ กัน แต่ จะเป็นในรูปแบบของ Live Lab ทีม่ กี ารน�าไอเดียธุรกิจ มาทดลองจริงในลูกค้ากลุม่ เล็กๆ ต้องลองผิดลองถูก ปรับปรุงแก้ไข จนเป็นที่น่าพอใจ ก่อนจะเริ่มน�าไป หมายถึง ธุรกิจเริ่มต้นใหม่ ที่มีนวัตกรรมและใช้เทคโนโลยี ในการช่วยให้เกิดการเติบโต แบบก้าวกระโดด


81

Everlasting Economy

หมายถึง สตาร์ทอัพ ที่มีมูลค่าเกินกว่า 1,000 ล้านเหรียญ

Launch เพื่อใช้ในตลาด ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต้องการ เงิ น ทุ น สนั บ สนุ น เพื่ อ ช่ วยต่ อ ยอดหรื อ บ่ ม เพาะ ให้ น วั ต กรรมสามารถพั ฒ นา จนเกิ ด เป็ น ธุ ร กิ จ ที่สร้างมูลค่าและเติบโตได้อย่างรวดเร็วต่อไป จากนั้นเมื่อธุรกิจเริ่ มหาตลาดที่เหมาะสมได้ ก็จะต้องการทุนแบบ Series A, B, C เพิ่มเพื่อขยาย ธุรกิจให้เติบโตจากต้นก ล้าเป็นต้นไม้ที่ใหญ่โตขึ้น ซึ่งทั้ง Seed Money และทุน Series A, B, C เป็นทุน แบบ Private Equity เมื่อขยายธุรกิจและประสบ ความส�าเร็จในระดับหนึง่ หากต้องการให้ธรุ กิจเติบโต ต่อ ก็จะมีการระดมทุนเพิ่มเติมในตลาดหลักทรัพย์ (Initial Public Offerin g หรือ IPO) และขายหุ้น (Trade Sale) หรือท�าการควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition) ต่อไป จากที่เล่ามาข้างต้น ตั้งแต่การ พัฒนาไอเดียจนถึงการสนับสนุน เงินทุนถือเป็นส่วน ส� า คั ญ ที่ ช ่ ว ยผลั ก ดั น ให้ ก า รเปลี่ ย นแปลงต่ า งๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในโลกของเราได้อย่างรวดเร็ว ทัง้ หมดถือเป็น การสร้ า งระบบนิ เ วศน์ (Ecos ystem) ให้ กั บ การ พัฒนานวัตกรรมและธุรกิจ Startup ขึ้น ส�าหรับบริษัท บางจาก คอร์ป อเรชั่น จ�ากัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นถึงความ ส�าคัญในการสร้าง Ecosystem เพื่อพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจ Startup นี้เช่นกัน เพราะเรามองว่าก า ร ที่บริษัทจะคงอยู่ได้ ยาวนานแบบ Everlasting ได้ ต้ องมีการปรับตัว ให้ ทั น กั บ สิ่ ง ใหม่ ๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ด้ ว ย ขณะนี้ เราสร้าง Ecosystem ของเราโดยการจัดตั้งสถาบัน นวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (Bangchak Initiative and


82

Chapter 11

ท�ำไมองค์กรใหญ่จึงต้องปรับตัวรับนวัตกรรม?

คือ การลงทุนในสตาร์ทอัพ โดยการน�าเงินเข้าไปร่วมถือหุ้น บริษัทในธุรกิจที่มีศักยภาพ รวมทั้งให้ค�าปรึกษา เพื่อให้ธุรกิจ ที่ได้รับเงินร่วมลงทุน สามารถที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ธุรกิจเงินร่วมลงทุนได้ถอนการลงทุนผ่านการขายหุ้น ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในเวลาประมาณ 3-5 ปี

หมายถึง นักลงทุนในสตาร์ทอัพ ที่เป็นบุคคลอิสระและมีจุดมุ่งหมายที่ต้องการ จะช่วยเหลือธุรกิจสตาร์ทอัพที่สนใจ มากกว่ามุ่งหวังแค่ผลก�าไรอย่างเดียว


83

Everlasting Economy

Innovation Center; BIIC) เริ่มจากการฟอร์มทีมเล็กๆ ขึ้นมาเพื่อ พัฒนานวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจซึง่ เรามุง่ เน้นทีจ่ ะต่อยอดธุรกิจ พลั ง งานสี เ ขี ย วและธุ ร กิ จ ชี ว ภาพซึ่ ง เป็ น ธุ ร กิ จ หลั ก ของ บางจากฯ ขณะเดี ย วกั น ก็ ค อยติ ด ตามและพยายามน� า Disruptive Technology ใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจที่มีอยู่ด้วย การฟอร์มทีมขึ้นมาช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนไอเดียจาก ภายในและนอกองค์กร โดยสร้าง Live Lab ให้เป็นพืน้ ทีร่ ะดมความ คิดก่อนจะน�าไอเดียไปทดลองใช้จริงกับ Operation ของหน่วยธุรกิจ ต่างๆ ของเรา นอกจากนี้ยงั มีการตั้งงบเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการ ต่อยอดและบ่มเพาะไอเดียทัง้ ทีเ่ กิดจากทีมของเราและไอเดียจาก Startup ภายนอกที่จะช่วยให้เรามีโอกาสติดตามนวัตกรรมและ ไอเดียใหม่ๆ ในธุรกิจได้ใกล้ชดิ มากขึ้น นอกจาก บางจากฯ แล้ว ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ องค์กรธุรกิจ ขนาดใหญ่หลายองค์กรก็มกี ารจัดตัง้ Ecosystem ที่เป็นหน่วยงาน เฉพาะกิ จ เพื่ อ ลงทุ น ด้ า นนวั ต กรรมและ Startup ขึ้ น เพื่ อ รั บ มื อ กั บ การเปลี่ ย นแปลงของสิ่ ง แวดล้ อ มทางธุ ร กิ จ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยแต่ละหน่วยงานอาจมีภารกิจ และเป้าหมายที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ลักษณะการส่งเสริมด้าน นวัตกรรมในองค์กรก็จะเป็นไปในแนวทางคล้ายๆ กัน ผมคิดว่าการปรับตัวขององค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ให้ทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจเป็นสิ่งจ�าเป็นยิ่ง ต่อการอยู่รอดขององค์กรในปัจจุบันและในอนาคตครับ


ELECTRIF CHAPTER 12

ประชาธิปไตย พลังงาน : พลังงาน 4.0

CHAPTER 15

โครงข่ายไฟฟ้า ไร้พรมแดน

CHAPTER 13

สายส่งไร้สาย (Wireless Transmission) ชีวิตดี๊ดี

CHAPTER 16

แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 1

CHAPTER 14

Distributed Generation ระบบไฟฟ้ายุค 4.0

CHAPTER 17

แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 2


02 SECTION

FICATION CHAPTER 18

ก้าวคนละก้าว : โครงการฝายทดน�้าไซยะบุรี

CHAPTER 22

น�้ามันดิบร่วง พลังงานหมุนเวียนรอด

CHAPTER 19

Corporate Buyer โอกาสพลังงานหมุนเวียนโต

CHAPTER 23

โอลิมปิก2020 ที่โตเกียว Hydrogen Society

CHAPTER 20

Reverse Auction หนุนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์

CHAPTER 24

โซลาร์หยอดเหรียญ

CHAPTER 21

ไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนย่อมดีกว่าวันนี้


CHAPTER ประชาธิปไตย พลังงาน : พลังงาน 4.0


87

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 พฤษภาคม 2561

เขาว่ากันว่า คนเราเริม่ รูจ้ กั การใช้พลังงาน ก็นา่ จะสมัยทีเ่ ราเอาหินสองก้อนมากระทบกัน แล้วมาจุดให้กิ่งไม้ ใบไม้ติดไฟ เพื่อการหุงต้ม ท�าให้อาหารสุกน่ากินขึ้น ใช้เพื่อสร้างความ อบอุน่ ให้รา่ งกาย หรือแม้กระทัง่ ใช้ปอ้ งกันตัว ซึง่ ก็นา่ จะเป็นจุดเริม่ ต้นของการใช้พลังงาน หรือ ในศัพท์สมัยนี้ คือ พลังงาน 1.0 กระมัง อันนี้เห็นว่าเกิดขึ้นมากว่า 6 แสนปีแล้ว


Chapter 12

ประชาธิปไตย พลังงาน : พลังงาน 4.0

88

จนกระทั่งในช่วง ค.ศ.1300 ตามประวัติศาสตร์ระบุว่า มีอินเดียนแดงชนเผ่า Hobi เป็นกลุ่มแรกๆ ที่รู้จักถ่านหินและ น� า มาใช้ แต่ ก ว่ า ชาวยุ โ รปและชนชาติ ที่ เ จริ ญ แล้ ว จะเริ่ ม ท�า เหมืองถ่านหินก็อีก 300 ปีให้หลัง คือในช่วงศตวรรษ 1600-1700 และก้าวสูก่ ารปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม หรือ Industrial Revolution ในช่วง ปลาย 1750 ถึงต้น 1800 ซึ่งก็คงจะเรียกว่าอุตสาหกรรม 1.0 ได้ และน่าจะเป็นพลังงาน 2.0 นะครับ คลื่นลูกที่สามในวงการพลังงานก็คงหนีไม่พ้นน�้ามัน หรือ Petroleum ซึ่งจะว่าไปแล้วได้มีการค้นพบตั้งแต่สมัยโรมันเมื่อสัก 4,000 ปีที่แล้ว หรือในประวัติศาสตร์จนี ก็รู้จักน�า้ มันมากว่า 2,000 ปีแล้ว แต่ชาวโลกได้น�าน�้ามันมาใช้อย่างเป็นล�่าเป็นสัน ทั้งด้าน อุ ต สาหกรรมและบริ โ ภคก็ เ มื่ อ สั ก ต้ น ศตวรรษ 1900 นี่ เ อง ท�าให้พวกเราในโลกใบนีว้ นั หนึง่ ๆ บริโภคน�า้ มันทีม่ าจากปิโตรเคมี ประมาณ 96 ล้านบาเรลล์ หรือประมาณ 15,000 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งนับว่าไม่น้อยเลย และการจัดหา การขุดเพื่อให้มีแหล่งน�้ามัน ที่เพียงพอ (Scarcity) จึงเป็นสิ่งที่ส�าคัญและจ�าเป็น และนี่ก็คง เป็นสาเหตุที่ทุกๆ ประเทศมองว่า น�้ามันและพลังงานเป็นเรื่อง ความมัน่ คงของชาติ และปัญหาภูมริ ฐั ศาสตร์ (Geopolitics) ทีเ่ กิดขึน้ อย่างเนืองๆ ตลอดศตวรรษที่ผ่านมา ตอนนี้เริ่มมีการวิเคราะห์กันว่า เราน่าจะเข้าสู่ยุคที่สี่ของ พลังงาน ซึง่ จะเป็นยุคทีพ่ ลังงานอาจจะหาได้งา่ ยขึน้ (Abundance) โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้จากรอบๆ ตัวเรา เช่น การเกิดขึ้นของ โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ พลังงานลม การใช้เชื้อเพลิงจากพลังงาน หมุนเวียน การพัฒนาต่างๆ เหล่านีท้ า� ให้เรามีทางเลือกของแหล่ง พลังงานมากขึ้น และหลากหลายขึ้น ในขณะเดียวกัน จากสนธิสญ ั ญาปารีส 2015 เรือ่ งโลกร้อน ท�าให้ฝั่งผู้บริโภคเองก็ตระหนักมากขึ้น และหันมาใช้ในสิ่งที่


89

Blockchain

Everlasting Economy

คือ รูปแบบการเก็บข้อมูล (Data Structure) รูปแบบหนึ่งที่ไม่มีศูนย์กลาง โดยข้อมูลที่ ถูกเก็บในรูปแบบดิจิตอลของแต่ละคน จะสามารถแชร์ไปยังคนอื่นในระบบได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ท�าให้ block ของข้อมูลเชื่อมต่อไปยังทุกๆ คน หากมีใคร ในระบบต้องการจะเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะต้องผ่านการตรวจสอบจากเครือข่ายก่อน ถึงจะท�าธุรกรรมได้ จึงเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ขึ้นชื่อว่าปลอดภัย น่าเชื่อถือ และไม่มีการ รวมศูนย์ ซึ่งเราจะได้ยินการใช้ Blockchain ในการท�าธุรกรรมออนไลน์ และสกุลเงิน ดิจิตอล (Crypto Currency) อย่างเช่น Bitcoin


Chapter 12

ประชาธิปไตย พลังงาน : พลังงาน 4.0

90

เป็นมิตรกับสิง่ แวดล้อมและโลกใบนีม้ ากขึน้ เช่น การเกิดขึน้ ของรถ EV การติดแผงโซลาร์บนหลังคา การใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ (Bio-degradable) รวมถึงเรื่องที่จะใช้พลังงานในรูปแบบของไฟฟ้า มากขึ้น (Electrification) ล้วนมีส่วนท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน โครงสร้างของพลังงานโลก และลดความส�าคัญของประเทศที่ ส่งออกน�้ามัน (Petro-States) การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีดิจิทัล น่าจะเป็นตัวเร่งที่ส�าคัญ โดยเฉพาะ Blockchain ทีจ่ ะท�าให้ระบบทีเ่ ป็นการรวมศูนย์และผ่าน คนกลางนั้น เปลี่ยนเป็นในลักษณะที่เรียกว่า ตัวต่อตัว (Peer to Peer) ได้เร็วขึ้น โดยไม่ต้องมีผู้ผลิตที่มีขนาดใหญ่และต้นทุนต�่า อ�านาจต่อรองสูง ขายให้กบั ผูจ้ �าหน่ายรายใหญ่นอ้ ยราย แล้วค่อย เข้าสู่ผู้บริโภค ซึ่งท�าให้เกิดการผูกขาด แต่ Blockchain จะเป็น ลักษณะทีผ่ ผู้ ลิตรายเล็กขายตรงให้กบั ผูบ้ ริโภครายเล็ก เสมือนหนึง่ เราซื้อผัก ปลาในตลาด อ.ต.ก. หวังว่าถ้าเราสามารถแปลงแสงแดด สายลม กระแสน�้า ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และมีสายส่งแรงสูง ทีส่ ามารถส่งไฟจากแหล่งทีม่ พี ลังงานเหลือเฟือในเวลาหนึง่ ไปยัง อีกประเทศหนึ่งที่มีความต้องการใช้สูง อันเนื่องมาจากความ แตกต่างของเวลา ตัวอย่างเช่น เวลาหัวค�า่ ในเมืองไทย อาจเป็น เวลาเทีย่ งคืนทีว่ ลาดีวอสตอคทีล่ มแรง และส่งไฟฟ้าทีผ่ ลิตจากลม ผ่านมาได้ เป็นต้น ซึ่งจะท�าให้ไฟฟ้าเป็นทรัพยากรที่ไม่ได้หายาก และแพงอีกต่อไป ถ้าเราสามารถต่อยอดน�าอิเล็กตรอนสีเขียว เหล่านี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมขนส่ง หรืออุตสาหกรรมการผลิต จะท� า ให้ ก ารพึ่ ง พาพลั ง งานแบบรวมศู น ย์ จ ากแหล่ ง ฟอสซิ ล ลดน้อยลงได้ เมื่อเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานมีต้นทุนที่เหมาะสม โครงสร้างของพลังงานในอนาคตอันใกล้จึงน่าจะเป็นรูปแบบ


91

ทีม่ นุษย์เงินเดือนหรือคนเดินตรอกอาจจะเป็นผูผ้ ลิตไฟฟ้าในเวลา กลางวันจากโซลาร์รูฟให้กับโรงเรียน ส� านักงาน และรถยนต์ ของตัวเอง เมื่อตกเย็นก็น�าไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ข้างฝา หรือรถยนต์มาใช้ ถ้าไม่พอก็อาจจะใช้กงั หันอันเล็กๆ บนหลังคา ปัน่ ให้ และพวกเราจะเริม่ มีอสิ ระทางพลังงาน เนือ่ งจากเราจะผลิต เพื่อใช้เองก็ได้ ขายก็ได้ และนี่ก็คือประชาธิปไตยพลังงาน : พลังงาน 4.0 ที่ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และ ความส� า คั ญ ของผู ้ ผ ลิ ต ขนาดใหญ่ แ ละรวมศู น ย์ จ ะมี บ ทบาท น้อยลงครับ

Everlasting Economy


CHAPTER

สายส่งไร้สาย (Wireless Transmission) ชีวิตดี๊ดี


93

(Wireless Transmission)

ชีวิตดี๊ดี

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2561

ท่านผูอ้ า่ นยังจ�าหนังฮอลลีวดู เมือ่ สักสิบปีทแี่ ล้วได้ไหมครับ ในหนังมักจะมีฉากคุณแม่บา้ น อยู่ในห้องครัว แล้วคุณสามีโทรมา เธอจะรีบไปรับโทรศัพท์ที่มีหูฟังสายยาวๆ แล้วก็หนีบ หูโทรศัพท์และคุยไปเดินไป เพือ่ ท�าอาหารไปด้วย ภาพเหล่านี ้ เดีย๋ วนีไ้ ม่มแี ล้วครับ เพราะเราใช้ โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟนที่ไม่ต้องใช้สายแล้ว


Chapter 13

สายส่งไร้สาย (Wireless Transmission) ชีวิตดี๊ดี

94

ทุกวันนี้ เราสามารถค้นหาข้อมูลทีต่ อ้ งการผ่านสมาร์ทโฟน โดยไม่ตอ้ งต่อสายคอมพิวเตอร์ ซึง่ เป็นวิวฒ ั นาการของการส่งข้อมูล สื่อสารแบบไร้สาย ที่พัฒนาตั้งแต่เริ่มมีไอโฟนเมื่อ 10 ปีผ่านมา (แต่ใช้กนั จนคุน้ เคยเหมือนอยูด่ ว้ ยกันมาเกือบทัง้ ชีวติ ของเรา) เริม่ จากสัญญาณเสียง (Voice) ของโทรศัพท์ไร้สาย มาสูก่ าร ส่งข้อมูล (Data) แบบไร้สายผ่านสมาร์ทโฟน เมือ่ ทัง้ เสียงและข้อมูล สามารถส่งแบบไร้สายได้แล้ว ท�าไมตัวประจุไฟฟ้าจึงจะไม่สามารถ ส่งแบบไร้สายได้ ซึง่ ล่าสุดสิง่ ทีไ่ อโฟนได้พฒ ั นาคือเรือ่ งของการชาร์จ โทรศัพท์ ถ้าเป็นไอโฟนรุน่ ก่อนๆ เรายังต้องใช้สายชาร์จอยู่ แต่ตอน นีไ้ อโฟนแปดและไอโฟนสิบก็สามารถชาร์จไฟแบบไร้สาย (Wireless Charging) ได้แล้ว นั่นเป็นตัวอย่างการชาร์จไฟในอุปกรณ์ขนาดเล็ก แต่ใน ประเทศอังกฤษ ทีเ่ มือง Milton Keynes นัน้ เราสามารถชาร์จรถเมล์ ไฟฟ้าแบบไร้สายได้โดยไม่ตอ้ งเสียบปลัก๊ ท�าให้ในเมืองไม่ตอ้ งมีสาย ไฟฟ้ารกรุงรัง ไม่ตอ้ งมีแท่นชาร์จไฟฟ้าตัง้ ขึน้ มาทัว่ เมือง และทีเ่ มือง ฉงชิง่ ประเทศจีน ก็ใช้รถเมล์ไฟฟ้าทีช่ าร์จไฟแบบไร้สายแล้วเช่นกัน การชาร์จแบบไร้สายนี้ ใช้หลักการเหนี่ยวน�าแม่เหล็ก ไฟฟ้า (Induction) เป็นหลักการพืน้ ฐาน อาศัยขดลวดสองชุด ชุดหนึง่ ฝังทีพ่ นื้ ถนน เมือ่ มีกระแสไฟฟ้าจ่ายเข้าไปยังขดลวด จะเกิดการ เหนี่ ย วน� า ท� า ให้ เ กิ ด สนามแม่ เ หล็ ก และเมื่ อ รถเคลื่ อ นที่ ม าที่ สนามแม่เหล็กนัน้ ขดลวดอีกชุดหนึง่ ทีอ่ ยู่บนรถก็จะถูกเหนีย่ วน�า ท�าให้เกิดกระแสไฟฟ้าส�าหรับใช้ในการขับเคลือ่ นรถ อีกระบบหนึง่ ทีม่ กี ารน�าหลักการเหนีย่ วน�าแม่เหล็กไฟฟ้าไปใช้ คือ รถไฟ Maglev ซึง่ ผูอ้ า่ นหลายท่านคงเคยนัง่ จากสนามบินผูต่ ง เข้าสู่เมืองเซี่ยงไฮ้ ที่วิ่งที่ความเร็วกว่า 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาไม่ถงึ สิบนาทีในการเดินทาง โดยรถไฟ Maglev นี้ ตัวถังรถไฟ ไม่ตดิ กับรางรถไฟและไม่ตอ้ งใช้สายไฟเพือ่ จ่ายไฟให้รถ แต่สามารถ


Everlasting Economy

หรือ การชาร์จไฟแบบไร้สาย คือการชาร์จประจุไฟฟ้าแบบเหนี่ยวน�า (Inductive Charging) ท�าให้เกิดกระแสไฟฟ้าชาร์จเข้าไปในแบตเตอรี่โดยไม่ต้องมี สายไฟฟ้าเชื่อมต่อ มีการใช้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก อย่างโทรศัพท์มือถือ ไปจนถึง รถเมล์ไฟฟ้าแบบไร้สาย ที่เมือง Milton Keynes ประเทศอังกฤษอีกด้วย

Wireless Charging 95


Chapter 13

สายส่งไร้สาย (Wireless Transmission) ชีวิตดี๊ดี

96 96

ขับเคลือ่ นรถไฟโดยอาศัยการจ่ายไฟเข้าไปยังแผงขดลวดทีอ่ ยูบ่ น รางรถไฟฟ้า เพือ่ เหนีย่ วน�าให้เกิดขัว้ แม่เหล็กทีท่ า� ให้เกิดแรงดึงและ ผลักรถไฟไปข้างหน้า โดยขัว้ แม่เหล็กทีร่ างด้านหน้ารถไฟจะตรงข้าม กับขั้วของแม่เหล็กที่ตัวถังรถท�าให้เกิดแรงดูดรถให้วิ่งไปข้างหน้า และขั้วแม่เหล็กที่รางด้านท้ายรถไฟจะเหมือนกับขั้วแม่เหล็กที่ ตัวถังรถ ท�าให้เกิดแรงผลักทีค่ อยเสริมแรงให้รถเคลือ่ นไปข้างหน้า อีกแรงหนึง่ ทีนี้เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถชาร์จไฟโดยไม่ต้อง ใช้สายแล้ว กล่าวคือส่งประจุโดยไม่ใช้สายในระยะใกล้ได้แล้ว ท�าไม เราจะไม่สามารถส่งไฟฟ้าแบบไร้สายได้ในระยะไกล จึงเกิดการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดและพัฒนาสายส่ง


97

Everlasting Economy

กิโลเมตร ต่อชั่วโมง คือ ความเร็วของ รถไฟ Maglev ที่ให้บริการ ณ สนามบินผู่ตง เข้าสูต่ วั เมืองเซียงไฮ้

ไฟฟ้าโดยไม่ตอ้ งใช้สายส่ง หรือ Wireless Transmission ซึง่ ก็เป็นเรือ่ งทีน่ า่ สนใจ เท่าทีศ่ กึ ษาในปัจจุบนั จะมีสอง เทคโนโลยีหลักคือการเหนีย่ วน�าสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เหมือนที่กล่าวข้างต้น ส่วนอีกเทคโนโลยีจะอาศัย คลืน่ ไมโครเวฟ ท�างานคล้ายกับเตาไมโครเวฟ โดยวิธี การส่งพลังงาน คือ ทีต่ น้ ทางจะมีระบบแปลงพลังงาน ไฟฟ้าเป็นคลื่นไมโครเวฟ แล้วส่งผ่านตัวกระจาย สัญญาณไปในระยะทางไกลๆ ส่วนทีป่ ลายทางก็จะมี อุปกรณ์รบั คลืน่ ไมโครเวฟทีส่ ามารถแปลงคลืน่ ทีร่ บั ได้ ให้เปลี่ยนกลับมาเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง ซึ่งทั้ง สองเทคโนโลยีนตี้ ่างก็เป็น Proven Technology แล้ว แต่ยังมีจุดด้อยหลายประการที่ต้องพัฒนาต่อเนื่อง ด้วยกันทัง้ คู่ คิดว่าการพัฒนาเรือ่ งสายส่งไร้สายคงยัง ต้องใช้เวลาอีกสักพักก่อนที่จะถูกน�ามาใช้งานอย่าง แพร่หลาย อย่างไรก็ตามเมื่อสายส่งไร้สายใช้งานได้ แล้ว คงเห็นการเปลีย่ นแปลงในหลายๆ ด้าน ทัง้ เรือ่ ง ของทัศนียภาพของเมืองทีเ่ ปลีย่ นไปทีไ่ ม่ตอ้ งมีสายไฟ ตามถนนทางเดิน ไม่จา� เป็นต้องมีทชี่ าร์จรถยนต์ขา้ ง ถนน หรืออาจจะท�าให้แท่นชาร์จตามถนนมีสภาพ เหมือนตูโ้ ทรศัพท์สาธารณะทีจ่ ะไม่มคี นใช้งาน ขณะ เดียวกันความต้องการของทองแดงเพือ่ มาท�าสายไฟก็ จะลดไป ลดการท�า เหมือ งที่ต ้ อ งใช้ พ ลัง งานและ ทรัพยากรมาก เป็นส่วนท�าให้โลกเราน่าอยู่ส�าหรับ ลูกหลานของเราต่อไป


CHAPTER

Distributed Generation ระบบไฟฟ้ายุค 4.0


99

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560

ผมเคยเข้าสัมมนาของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยครัง้ หนึง่ ซึง่ วิทยากรท่านได้เล่า ถึงการพัฒนาของระบบต่างๆ ในโลกยุค 4.0 ว่า เรื่องราวปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นคล้ายๆ กับ การท�าน�า้ แข็งเมือ่ อดีตสมัยรัชกาลที่ 5 ในยุคนัน้ เราจะต้องน�าเข้าน�า้ แข็งมาจากสิงคโปร์ซงึ่ ถือเป็น เรื่องใหญ่ จนกระทั่งเมืองไทยเริ่มมีโรงน�้าแข็งตั้งอยู่ตามหัวเมือง การจะได้น�้าแข็งเป็นก้อนๆ จะต้องผลิตจากโรงน�้าแข็ง แล้วส่งไปขายตามร้านขายของช�า แต่ในปัจจุบันนี้เราสามารถท�า น�า้ แข็งได้จากตูเ้ ย็นในบ้าน เพียงแค่นา� น�า้ ใส่เข้าไปในช่องแช่แข็งก็ได้นา�้ แข็งออกมาเป็นก้อนแล้ว แม้จะท�าน�้าแข็งได้เองโดยง่าย แต่คนก็ยังนิยมซื้อน�้าแข็งแพ็คจากร้านสะดวกซื้อ


2,715.1

Chapter 14

Distributed Generation ระบบไฟฟ้ายุค 4.0

100

ผมอุปมาอุปมัยเรือ่ งน�้าแข็งเฉกเช่นกับระบบ ไฟฟ้ า ในประเทศไทยซึ่ ง จะมี แ นวทางการพั ฒ นา คล้ายๆ กับการผลิตน�้าแข็ง กล่าวคือ จากเดิมที่เคย ผลิตในปริมาณมากๆ ตามโรงน�้าแข็งใหญ่ๆ แล้วมี การขนส่งไปยังยี่ปั๊วไปขายต่อให้ร้านขายของช�า ตามล�าดับ การผลิตไฟฟ้าก็จะคล้ายๆ กัน เริ่มจาก ต้องมีโรงผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ผลิตไฟฟ้าขึน้ มาก่อน แล้วส่งผ่านสายส่งไฟฟ้าไปตามสถานีไฟฟ้าย่อย แล้วจึงกระจายไปยังผูใ้ ช้ไฟฟ้าทุกภาคส่วน แนวโน้ม ต่ อ ไปอาจเปลี่ย นเป็ น ว่ า แต่ ล ะบ้ า นจะสามารถ ผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ โดยหลักการคือผลิตจากโซล่าร์ รู ฟ ท็ อ ปบนหลั ง คา หรื อ บางที่ อ าจจะผลิ ต จาก ความร้อนใต้ดนิ ในโรงรถ ซึ่งในเบื้องต้นเริ่มจากผลิต เพื่อใช้เองเมื่อมีเหลือจะจ่ายเข้าสู่ระบบเพื่อขาย ไฟฟ้าให้กบั คนอื่น ในโลกยุค 4.0 เราเรียกระบบไฟฟ้าแบบนี้ว่า ระบบ “Distributed Generation” ซึ่งลักษณะการจ่าย ไฟฟ้าทีว่ า่ นี้ จะท�าให้เกิดการจ่ายไฟฟ้าทีไ่ ม่เป็นระบบ และไร้ ทิ ศ ทางที่ แ น่ น อนมากยิ่ ง ขึ้ น หรื อ เรี ย กว่ า เกิดการจ่ายไฟฟ้าแบบ Random Walk โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อไปถึงจุดที่เกิดการขายไฟฟ้าได้อย่าง อิสระ หรือที่เรียกว่า Peer-to-Peer ผ่านระบบจัดการ แบบ Blockchain ก็จะท�าให้ระบบจ่ายไฟฟ้าในบ้าน เราเกิดขึ้นอย่างง่ายดายและรวดเร็ว เหมือนกับการ เล่น Line หรือ WhatsApp ที่สามารถสื่อสารได้อย่าง รวดเร็วโดยไม่ต้องมีศูนย์กลางการกระจายข้อมูล ต่างกับสมัยก่อนที่ต้องเอาข่าวไปส่งโรงพิมพ์หรือ


101

เมกะวัตต์ คือ ก�าลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งระบบของประเทศไทย (ข้อมูลจาก www.egat.co.th ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2561)

โดยแบ่งเป็น

36.90%

มาจาก โรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งผลิตไฟฟ้าจาก ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พลังงานหมุนเวียน น�้ามันเตา น�้ามันดีเซล และพลังงานอื่นๆ

35% 19.02% 9.08%

มาจาก ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ หรือ IPP (Independent Power Producer)

มาจากต่างประเทศ ได้แก่ สปป.ลาว และ มาเลเซีย

Everlasting Economy

มาจาก ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก หรือ SPP (Small Power Producer)


Chapter 14

Distributed Generation ระบบไฟฟ้ายุค 4.0

102

สถานีวิทยุกระจายเสียง เพื่อกระจายให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังทราบ แต่การสื่อสารสมัยนี้จะมีลักษณะคล้ายกับ “ใยแมงมุม” ที่ข้อมูล สามารถส่งผ่านไปได้ในทุกที่ทุกทิศทางแบบไร้ขดี จ�ากัด อีกปรากฏการณ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้น คือ การบริหารจัดการ ทางด้านอุปสงค์หรือ Demand Response หรือ Demand Side Management ที่จะมีวธิ ีการจัดการเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าลดการบริโภค ในช่วงที่มีความจ�าเป็นต้องใช้ไฟเป็นจ�านวนมากหรือที่เรียกว่า ช่วง Peak Load แล้วน�าไฟฟ้าในส่วนทีต่ วั เองเคยใช้ในช่วงเวลานัน้ ๆ ไปเป็นโควต้าให้กบั คนอืน่ ทีม่ คี วามจ�าเป็นต้องใช้ไฟฟ้า ซึง่ เสมือน หนึ่งว่ามีก�าลังผลิตไฟฟ้าเพิ่มเข้ามาในระบบ เราเรียกวิธีการ จัดการแนวนีว้ า่ Virtual Power Plant หรือ VPP แม้กระทัง่ แบตเตอรี่ ในรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งในอนาคตอาจจะเอามาเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้า ชั่วคราวชนิดใหม่หรือเป็น VPP ได้ด้วยเช่นกัน ระบบการจ่ายไฟฟ้ายุค 4.0 ที่ว่านี้ ภาครัฐจ�าเป็นต้อง ปรับทิศทางการให้บริการด้านธุรกิจไฟฟ้า โดยพิจารณาทบทวน ปรับลดแผนการลงทุนโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และโครงสร้างระบบส่ง ที่ไม่จ�าเป็นในระยะยาว แล้วหันมาปรับปรุงประสิทธิภาพของ ระบบจ�าหน่ายไฟฟ้าให้มีความ Smart เพื่อรองรับเทคโนโลยี การผลิตและบริหารจัดการระบบไฟฟ้าใหม่ๆ ได้ดยี ิ่งขึ้น และอาจ จ�าเป็นจะต้องปรับรูปแบบธุรกิจจากเดิมที่เน้นรายได้จากการ จ�าหน่ายไฟฟ้าเป็นหลัก เป็นการให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและ บริการการเพิ่มเสถียรภาพของกระแสไฟฟ้าในระบบ ผมมองว่าในอนาคตระบบไฟฟ้าของประเทศไทยจะต้องมี การเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่จากหน้ามือเป็นหลังมืออย่าง แน่นอนเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆในยุคเศรษฐกิจ 4.0 ครับ


103

Everlasting Economy


CHAPTER โครงข่ายไฟฟ้าไร้พรมแดน


105

โครงข่าย ไร้พรมแดน

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559

เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาผมมีโอกาสได้ไปร่วมงาน The Future of Energy Summit จัดขึน้ โดยสถาบัน Bloomberg New Energy Finance ณ มลฑลเซีย่ งไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในงานมีการบรรยายแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอนาคตของพลังงาน หมุนเวียนในแง่มุมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยี การเงินลงทุนและนโยบายรัฐ โดยมี ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมาร่วมในงานนี้ด้วย


Chapter 15

โครงข่ายไฟฟ้าไร้พรมแดน

106

หั ว ข้ อ หนึ่ ง ที่ น ่ า สนใจและอยากน�า มาเล่ า ให้ทา่ นผูอ้ า่ นได้ฟงั กันในคราวนีค้ อื เรือ่ ง Global Energy Interconnection เรียกสัน้ ๆ ว่า ระบบ GEI หรือโครงข่าย ไฟฟ้าไร้พรมแดนครับ ระบบ GEI เป็นระบบใหม่ทกี่ า� ลัง อยู่ระหว่างการพัฒนาโดย GEI เป็นโครงข่ายระบบ ไฟฟ้าทีเ่ ชือ่ มต่อแหล่งผลิตกับผูใ้ ช้ไฟฟ้าทัว่ ทุกมุมโลก ไว้ในระบบเดียวกัน ท�าให้สามารถส่งไฟฟ้าจากแหล่ง ผลิ ต ต่ า งๆ ข้ า มประเทศหรื อ ข้ า มทวี ป ได้ อ ย่ า ง ไร้พรมแดน แรงจูงใจหลักที่ GEI ได้รบั ความสนใจและถูก พัฒนาขึ้นมา ก็เพื่อรองรับการเติบโตของโรงไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนในอนาคตซึ่ง GEI จะช่วยให้เรา สามารถส่ ง ไฟฟ้ า จากโรงงานไฟฟ้ า พลั ง งาน หมุนเวียนที่คาดว่าต่อไปจะมีปริมาณมากขึ้นและ มีราคาถูกลงเรื่อยๆ แต่มักกระจุกตัวอยู่ในบางแหล่ง ที่มีแดดดีหรือลมแรง เช่น ไฟฟ้าจากลมในยุโรป ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในตะวันออกกลาง ไปยังแหล่ง ผู้ใช้ไฟฟ้าที่อยู่ห่างไกลกันคนละทวีปได้ นอกจากนี้ GEI ยังช่วยในเรือ่ ง Load Balancing หรื อ การบริ ห ารปริ ม าณการผลิ ต ให้ เ หมาะสม กั บ ความต้ อ งการไฟฟ้ า อี ก ด้ ว ย เพราะจากการ ที่ประเทศต่างๆ ในโลกนี้ มีช่วงเวลาไม่ตรงกัน เช่น ญีป่ นุ่ เร็วกว่าเรา 2 ชัว่ โมง สิงคโปร์เร็วกว่าเรา 1 ชัว่ โมง ท�าให้แต่ละประเทศมีความต้องการในการใช้ไฟฟ้า ไม่ตรงกัน เมือ่ มี GEI เกิดขึน้ จะช่วยให้สามารถน�าไฟฟ้า ที่ผลิตได้ในประเทศหนึ่งที่เลิกงานแล้วและมีความ


107

Everlasting Economy

ย่อมาจาก Global Energy Interconnection หมายถึง โครงข่ายระบบไฟฟ้าที่เชื่อมต่อแหล่งผลิต กับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วทุกมุมโลกไว้ในระบบเดียวกัน ท�าให้สามารถส่งไฟฟ้าจากแหล่งผลิตต่างๆ ข้ามประเทศหรือข้ามทวีปได้อย่างไร้พรมแดน


Chapter 15

โครงข่ายไฟฟ้าไร้พรมแดน

108

คือ ปี ค.ศ. ที่คาดว่าโครงข่าย GEI จะเสร็จสมบูรณ์ โดยมีองค์กร Global Energy Interconnection Development and Cooperation Organization (GEIDCO) จากประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ รับผิดชอบในการพัฒนาโครงการ และประสานให้เกิดความร่วมมือ จากต่างประเทศต่างๆ


109

Everlasting Economy

ต้องการไฟฟ้าในประเทศลดลง ส่งไปให้กับอีกประเทศหนึ่งที่ยัง ไม่เลิกงานและยังมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงอยู่ช่วยท�าให้บริหาร ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตและใช้ได้ดีขึ้น หัวใจหลักที่ส�าคัญของโครงข่ายไฟฟ้าไร้พรมแดน คือ เทคโนโลยีระบบส่งไฟฟ้าทีม่ แี รงดันสูงมาก (Ultra High Voltage) โดย ใช้แรงดันสูงถึง 1,000 กิโลโวลต์ หรือสูงกว่าแรงดันระบบส่งไฟฟ้า สูงสุดของบ้านเรา 2 เท่าเพือ่ ให้สามารถส่งไฟฟ้าไปได้ในระยะทางไกลๆ หลายพันกิโลเมตรข้ามทวีปต่างๆ โดยเกิดการสูญเสียไฟฟ้า หรือ loss ระหว่างทางน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการส่งไฟฟ้าด้วยแรงดันต�่า เทคโนโลยีนเี้ ป็นเทคโนโลยีใหม่ทกี่ า� ลังเริม่ ได้รบั ความสนใจ ในการพัฒนาขึน้ มาใช้ มีแผนการพัฒนาในระยะยาว โดยจะทยอย ท�าการเชือ่ มต่อระบบส่งไฟฟ้าแบบธรรมดาระหว่างประเทศ และ แบบแรงดันสูงมากระหว่างทวีป รวมทั้งการพัฒนาระบบควบคุม ข้อมูลและการส่ง การรับส่งไฟฟ้าไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลก คาดว่า จะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี ค.ศ.2050 ซึ่งตอนนี้มีองค์กร Global Energy Interconnection Development and Cooperation Organization (GEIDCO) จากประเทศจีนเป็นเจ้าภาพรับผิดชอบในการพัฒนา โครงการ ประสานให้เกิดความร่วมมือจากต่างประเทศต่างๆ และผลักดันโครงการให้สา� เร็จตามแผน ผมคิดว่าระบบ GEI เป็นอีกค�าตอบหนึง่ นอกเหนือจากระบบ เก็บสะสมพลังงาน (Energy Storage) ทีม่ กี ารพัฒนาขึน้ มาเพือ่ ส่งเสริม การผลิ ต ไฟฟ้ า จากพลั ง งานหมุ น เวี ย นอย่ า งต่ อ เนื่ อ งเต็ ม ประสิทธิภาพ โดย GEI จะช่วยให้เราสามารถส่งไฟฟ้าจากพลังงาน หมุนเวียนไปยังพืน้ ทีต่ า่ งๆ ได้อย่างไร้พรมแดน ช่วยลดการพึ่งพา การผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยเฉพาะถ่านหิน ข้อดีอกี อย่างคือช่วยลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากกระบวนการผลิตไฟฟ้าได้อกี ทางหนึ่งครับ


CHAPTER แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 1


111

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 กันยายน 2559

ประเทศไทยอยูใ่ นเส้นศูนย์สตู ร มีความเข้มแสงอยูใ่ นเกณฑ์ดี มีศักยภาพสูงในการ ผลิตไฟฟ้าจากเซลส์แสงอาทิตย์ อย่างไรก็ตามเมื่อมาดูปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจากเซลล์ แสงอาทิตย์ในตอนนี้ พบว่ายังมีปริมาณที่น้อยมาก ไม่ถึง 5% ของปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตจาก เชื้อเพลิงทุกประเภทรวมกันเสียด้วยซ�้า


Chapter 16

แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 1

112

ปัญหาส�าคัญที่ท�าให้สัดส่วนนี้ยังต�่ามาก คือ ขีดความ สามารถในการแข่งขันด้านราคาและความแออัด ของสายส่ ง นอกจากนีผ้ มยังมองเห็นว่า ปัญหาทีส่ �าคัญมากๆ อีกเรือ่ งหนึง่ คือ ความไม่สม�า่ เสมอ (Intermittent Problem) ของการผลิตไฟฟ้าจาก แสงอาทิต ย์ เพราะโรงไฟฟ้ า แสงอาทิต ย์ ส ามารถผลิต ไฟฟ้ า ได้เฉพาะเวลากลางวันที่มีแสงแดด แต่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้า ได้ในเวลากลางคืน หรือบางช่วงแดดแรงก็ผลิตไฟฟ้าได้มาก แต่ไม่สามารถใช้ไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตได้ ดังนัน้ หนทางทีจ่ ะผลักดันให้เมืองไทยสามารถผลิตไฟฟ้า จากแสงอาทิตย์ได้มากกว่านี้ก็ต้อง พัฒนาเรื่องการติดตั้งระบบ เก็บสะสมพลังงาน (Energy Storage) เพือ่ ท�าหน้าทีเ่ ก็บส�ารองไฟฟ้า ไว้ใช้ในช่วงที่โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ โดยสิง่ ที่ ก�าลังกล่าวขวัญในขณะนีค้ อื แบตเตอรีล่ เิ ทียม เพราะสามารถเก็บ ไฟฟ้าได้มากและมีขนาดกะทัดรัด แต่ราคาค่อนข้างสูง แล้วจะมีทางออกไหนส�าหรับประเทศไทยบ้าง? เมื่อหลายเดือนก่อนผมได้เดินทางไปดูงานที่โรงไฟฟ้า แม่เมาะร่วมกับคณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.58) โดยวิทยากรได้เล่าว่า โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้า ขนาดใหญ่ มีก�าลังผลิต 2,400 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ท่จี ังหวัดล�าปาง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภาคเหนือ เรียกได้ว่าเป็นท�าเลที่เหมาะ ส�าหรับจ่ายไฟฟ้า เหมืองแม่เมาะจะผลิตถ่านหินป้อนให้แก่โรงไฟฟ้าได้อีก เพียงประมาณ 30 ปี หากต้องการถ่านหินเพือ่ ป้อนให้แก่โรงไฟฟ้า หลังจากนั้น จะต้องขยายพื้นที่ขดุ ถ่านหิน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะต้อง ลุกล�้าเข้าไปในเขตป่าสงวน ด้วยเหตุนี้โรงไฟฟ้าแม่เมาะจึงมีแผน จะปลดระวางโรงไฟฟ้าในปี 2594 และหลังจากนั้นจะท�าการ ปรับปรุงบริเวณโรงไฟฟ้าและฟื้นฟูบ่อเหมืองเป็นพื้นที่สีเขียวหรือ


113

Everlasting Economy

สวนสาธารณะส�าหรับพักผ่อนหย่อนใจในอนาคต ผมรูส้ กึ ว่าคงน่าเสียดายมากหากสถานีไฟฟ้า และระบบสายส่งซึ่งมีทั้งแรงดันตั้งแต่ 115 ถึง 500 กิโลโวทต์ มูลค่านับหลายพันล้านบาทจะต้องถูกทิ้ง ไปโดยเปล่าประโยชน์ และการจะหาพืน้ ทีอ่ น่ื ทีม่ ที า� เล เหมาะสมส�าหรับพัฒนาโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ไม่ง่าย อีกทัง้ ต้องใช้เงินลงทุนหลายหมืน่ ล้านบาท ตอนนัน้ เอง ผมจึ ง ได้ ค� า ตอบเรื่ อ งการพั ฒ นาระบบเก็ บ สะสม พลังงานซึ่งจะเป็นทางออกให้แก่ประเทศไทย จากการที่ผมศึกษารวบรวมข้อมูล พบว่า นอกจากแบตเตอรีแ่ ล้ว ในโลกนีย้ งั มีการพัฒนาระบบ Energy Storage อื่นๆ มาใช้ส�ารองไฟฟ้าด้วย คือ ระบบเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าแบบสูบกลับ (Pumped Hydro Energy Storage) ซึง่ ระบบนีถ้ อื เป็นระบบสะสม พลังงานประเภทหนึ่งที่มีก�าลังผลิต ติด ตั้งสู ง ที่สุด ในโลก โดยในบ้านเราเองก็มกี ารติดตัง้ ระบบดังกล่าว แล้ว เช่น โรงไฟฟ้าล�าตะคองชลภาวัฒนา เป็นต้น ระบบเก็ บ สะสมพลั ง งานแบบสู บ กลั บ ต้องประกอบไปด้วยอ่างเก็บน�้าขนาดใหญ่ 2 อ่าง ที่มีความสูงแตกต่างกันไม่น้อยกว่า 300 เมตรขึ้นไป จึงได้ค�าตอบว่าบ่อเหมืองถ่านหินแม่เมาะเป็นพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมจะพัฒนาเป็นระบบเก็บสะสม พลังงานแบบสูบกลับ รวมทั้งพัฒนาเป็นโครงการ ต้นแบบส�าหรับระบบเก็บสะสมพลังงานแบบสูบกลับ ต่อไปในอนาคต ในเบื้ อ งต้ น ผมได้ ท� า การศึ ก ษาโครงการนี้ และเคยได้หารือกับผู้บริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต


Chapter 16

แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 1

114

28.11.2503

คือ วันท�าพิธีเปิดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ อย่างเป็นทางการ ซึ่งโรงไฟฟ้าแม่เมาะ นั้นเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ลิกไนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จากแหล่งแม่เมาะที่อุดมไปด้วย เชื้อเพลิงลิกไนต์จ�านวนมหาศาล


115

บางท่านแล้ว พบว่าเป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้และน่าจะ เป็นทางออกให้กบั การเพิม่ สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ เพิ่มเติมในอนาคต อย่ า งไรก็ ต ามแนวทางการพั ฒ นาโครงการดั ง กล่ า ว มี ร ายละเอี ย ดและปั จ จั ย ด้ า นสิ่ ง แวดล้ อ มที่ ยั ง กั ง วล เชื่ อ ว่ า ทางออกเป็นอย่างไร ไว้คราวหน้าผมจะน�ามาเขียนให้ทราบนะครับ

Everlasting Economy


CHAPTER แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 2


117

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม 2559

เมื่อครั้งก่อนผมได้เกริ่นไว้ว่าภายหลังสิ้นสุดการผลิตถ่านหินในเหมืองแม่เมาะและ ปลดระวางโรงไฟฟ้าตามแผนการผลิตในปี 2594 ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ก�าหนดไว้ พื้นที่นี้เหมาะที่จะพัฒนาเป็นตัวอย่างของ “ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียน อย่างยั่งยืน” โดยการผสมผสานระหว่างโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์และระบบเก็บสะสม พลังงานแบบสูบกลับ วันนี้ผมจะขอเล่าถึงรายละเอียดที่ได้ท�าการศึกษาเพิ่มเติมให้รับทราบ


118

กล่าวคือระบบเก็บสะสมพลังงานแบบสูบกลับเป็นระบบ ที่ท�าหน้าที่เหมือนเป็นแบตเตอรี่ ใช้ส�าหรับการกักเก็บพลังงาน เอาไว้ใช้จ่ายไฟฟ้าในช่วงที่โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมีปัญหา ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง (Intermittent Problem) เช่น ในเวลากลางคืนที่โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ เป็นต้น การท�างานของระบบสูบกลับ ช่วงทีไ่ ฟฟ้าเหลือหรือไม่มี ใครต้องการใช้ไฟฟ้า ก็จะท�าการปั๊มน�้าจากบ่อล่างไปบ่อบนใน ตอนกลางคืน เมื่อถึงช่วงที่ต้องการใช้ไฟฟ้าก็จ่ายจากบ่อบนมา ปั่นไฟแล้วเก็บน�้าไว้ในบ่อล่างดังรูปข้างล่าง

Chapter 17

แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 2

หลักการท�างานของระบบเก็บสะสมพลังงานแบบสูบกลับ การท�างานขณะสูบน�้า เพื่อสะสมพลังงาน

อ่างเก็บน�้าบน

สูบกลับ

การท�างานขณะปั่นไฟฟ้า เพื่อจ่ายพลังงาน

อ่างเก็บน�้าล่าง

อ่างเก็บน�้าบน

ปั่นไฟฟ้า

อ่างเก็บน�้าล่าง


119

Everlasting Economy

หากเราต้องการน�าระบบสูบกลับมาใช้ร่วมกับโรงไฟฟ้า แสงอาทิ ต ย์ เ พื่ อ ให้ ส ามารถผลิ ต ไฟฟ้ า ได้ ต ่ อ เนื่ อ ง โรงไฟฟ้ า แสงอาทิตย์ควรมีก�าลังผลิตไฟฟ้าสูงกว่าระบบสูบกลับ 2 เท่า เพื่อที่จะได้น�าพลังงานไฟฟ้าครึ่งหนึ่งที่โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ผลิต ได้ในช่วงกลางวันไปจ่ายให้กบั ผู้ใช้ไฟฟ้า และน�าพลังงานที่เหลือ อีกครึง่ หนึง่ ไปปัม๊ น�า้ จากบ่อล่างไปเก็บยังบ่อบนของระบบสูบกลับ จากนั้นในช่วงหัวค�่าจึงค่อยปล่อยน�้าจากบ่อบนลงมายังบ่อล่าง เพื่อปั่นไฟฟ้าจ่ายไปให้ผู้ใช้ไฟฟ้า ระบบสูบกลับที่ว่านี้แตกต่างกับแบตเตอรี่ที่เราใช้ทั่วไป ตรงทีร่ ะบบสูบกลับเป็นระบบขนาดใหญ่ตงั้ แต่ 100-1,000 เมกะวัตต์ แต่แบตเตอรีท่ วั่ ไปมีขอ้ จ�ากัดสามารถบรรจุพลังงานได้นอ้ ยกว่ามาก ตัวอย่างการใช้น�้าปริมาณมากส�าหรับเก็บพลังงานจะคล้ายๆ กับเขื่อนที่โรงไฟฟ้าล�าตะคองชลภาวัฒนาซึ่งประกอบไปด้วย อ่างเก็บน�้าขนาดใหญ่ ตอนที่ผมมีโอกาสไปดูงานที่แม่เมาะ และได้ทราบว่า ผลจากการขุดดินในเหมืองเพือ่ ผลิตถ่านหินเป็นเวลานานหลายสิบปี จะท�าให้พื้นที่เหมืองมีลักษณะเป็นบ่อลึกขนาดกว้างใหญ่และมี ภูเขาดินกองสูงอยู่รอบๆ นั้น ผมจึงคิดว่าพื้นที่นี้มีลกั ษณะเหมาะ กับการพัฒนาเป็นระบบเก็บสะสมพลังงานแบบสูบกลับอย่างยิ่ง นอกจากบริเวณบ่อที่เคยท�าเหมืองแล้ว รอบๆ ยังมีพื้นที่ เหลืออีกเกือบแสนไร่ หากแบ่งมาท�าโรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์สกั 20,000 ไร่ เราก็สามารถแปลงพื้นที่แม่เมาะจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน ให้กลายเป็นระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดทีผ่ สมผสานระหว่าง โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์และระบบเก็บสะสมแบบสูบกลับที่จะ สามารถท�าหน้าที่ผลิตไฟฟ้าได้ท้งั กลางวันและกลางคืน อีกทั้งที่แม่เมาะยังมีระบบสายส่งทั้ง 500 กิโลโวลต์ และ 230 กิโลโวลต์ ตั้งอยู่ในท�าเลศูนย์กลางของภาคเหนือเหมาะที่จะ


120

ตัวอย่างระบบเก็บสะสมพลังงานแบบสูบกลับ

Chapter 17

แนวคิดใหม่หลังปลดระวาง ‘แม่เมาะ’ 2

พัฒนาโครงการนีใ้ ห้เป็นโครงการต้นแบบพลังงานหมุนเวียนอย่าง ยั่งยืนขนาดใหญ่แห่งแรกของโลก (2,000 เมกะวัตต์) หากส�าเร็จ จะช่วยลดการน�าเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้มากทีเดียว และ ช่วยลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกได้ถงึ 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อปี หรือเท่ากับการปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอนถึง 260,000 ไร่ ผมคิดว่าเป็นทางเลือกที่ดีในการผลิตไฟฟ้าคาร์บอน ต�่ า ซึ่ ง สอดคล้ อ งการปลดปล่ อ ยคาร์ บ อนสุ ท ธิ เ ป็ น ศู น ย์ ต าม เป้าหมายทีไ่ ทยได้ลงนามในความตกลงปารีส (COP21) ตามกรอบ อนุสญ ั ญาสหประชาชาติวา่ ด้วยการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ นอกจากนีก้ ารพัฒนาดังกล่าวยังช่วยให้ไม่เกิดปัญหาการ ว่างงานภายหลังการยุติการผลิตถ่านหินและการปลดระวาง

ทีม่ าของภาพ https://s3.amazonaws.com/ese-prod/uploads/project/image_1/375/yecheon.jpg


121

โรงไฟฟ้าในอีก 30 ปีข้างหน้า ชาวบ้านที่แม่เมาะยังมีงานท�ามี รายได้ต่อเนื่องในระยะยาว และยังสามารถพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว เป็นสถานที่ท่องเที่ยว แหล่งพักผ่อนหย่อนใจได้อกี ด้วย อย่างไรก็ตาม โครงการที่ผมว่ามานี้ยังต้องศึกษาในเชิง เทคนิคและประเมินผลกระทบสิง่ แวดล้อมเพิม่ เติม เช่น การบริหาร จัดการน�้าส�าหรับระบบสูบกลับ การปูวสั ดุรองบ่อเพื่อป้องกันการ ปนเปือ้ นของโลหะหนัก เพือ่ ท�าแผนป้องกันผลกระทบต่างๆ ทีอ่ าจ เกิดขึ้นในอนาคตด้วย “นวัตกรรมทางความคิด ก่อให้เกิดการพัฒนา สู่ความ มั่นคงด้านพลังงานของประเทศ”

โรงไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์

Everlasting Economy

https://static-secure.guim.co.uk/sys-images/Environment/Pix/columnists/2011/5/26/1306406165484/Les-Mees-solar-farm-the-b-004.jpg


CHAPTER ก้าวคนละก้าว : โครงการฝายทดน�้าไซยะบุรี


123

ก้าวคนละก้าว :

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม 2559

ส่งท้ายปีไก่ 2560 ต้อนรับปีจอ 2561 ทีก่ า� ลังจะมาถึง ผมขอร่วมอินเทรนด์กบั กระแส ก้าวคนละก้าว ของตู น ด้ ว ยคนนะครั บ ซึ่ ง พนั ก งานบางจากฯ ก็ ไ ด้ ช ่ ว ยกั น บริ จ าคเงิ น ตามก�าลัง ส�าหรับก้าวคนละก้าวของผมทีเ่ ขียนในวันนีเ้ ป็นก้าวทีท่ า� ให้เกิดความก้าวหน้า ร่วมกัน พัฒนาสิ่งใหม่ๆ ในโครงการขนาดใหญ่


Chapter 18

ก้าวคนละก้าว : โครงการฝายทดน�้าไซยะบุรี

124

เมื่ อ ช่ ว งต้ น เดื อ นที่ ผ ่ า นมาผมมี โ อกาสเดิ น ทางไป หลวงพระบางและได้ไปดูงานที่ไซยะบุรี เป็นโครงการฝายทดน�้า บนล�าน�า้ โขงเพือ่ ใช้ในการผลิตไฟฟ้าพลังน�า้ ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในภูมภิ าค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อสร้างเสร็จแล้วโครงการแห่งนี้จะมี ก�าลังผลิตไฟฟ้ารวมสูงถึง 1,285 เมกะวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 7,400 ล้านหน่วยต่อปี ใช้เงินลงทุนกว่า 135,000 ล้านบาท ยังจ�าได้ว่าเมื่อสิบปีที่แล้วก่อนที่จะเริ่มก่อสร้างโครงการ แห่งนี้ มีหลายฝ่ายออกมาให้ความเห็นกันว่าการสร้างเขื่อน ขนาดใหญ่อาจท�าให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ เช่น ท�าให้เกิดการเปลีย่ นแปลงระดับน�า้ ในแม่นา�้ อาจส่งผลให้เกิด น�้าท่วมในบางช่วง และแล้งในบางช่วง กระทบต่อระบบนิเวศ ท�าให้ปลาที่อาศัยอยู่ในล�าน�้าโขงไม่สามารถวางไข่ได้ตามปกติ รวมทัง้ ส่งผลต่อผูท้ ใี่ ช้ลา� น�า้ โขงในการสัญจร มีการกีดขวางทางน�า้

The Batt of ASEA


125

ไม่สามารถเดินเรือได้ ทีผ่ ่านมาเมือ่ มีการประกาศว่าจะสร้างเขือ่ น ก็มักจะได้รบั การต่อต้านอยู่เสมอๆ จากการทีผ่ มได้ไปศึกษาเยีย่ มชมโครงการนี้ ทราบว่าผูไ้ ด้รบั สัมปทานมีการปรับปรุงรูปแบบของโครงการจากเขื่อนมาเป็น ฝายทดน�้า (Run-Off-River) แทน ซึ่งในการผลิตไฟฟ้าตัวฝายจะท�า หน้าที่ทดน�้าให้น�้ามีระดับสูงขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้มีความดันสูงพอ ที่จะปั่นไฟฟ้า เมื่อปั่นไฟฟ้าเสร็จก็ปล่อยน�้าได้ทันที ในแต่ละวัน สามารถปล่อยน�้าให้ไหลผ่านออกไปได้เท่าๆ กับน�้าที่ไหลเข้ามา ไม่ต้องมีการกักเก็บน�้าไว้แบบเขื่อนและไม่ต้องสร้างอ่างเก็บน�้า ขนาดใหญ่ด้วย นอกจากนี้ ในระหว่างก่อสร้างโครงการ ผูท้ ไี่ ด้รบั สัมปทาน ยังได้มีการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มช่องทางเดินเรือขนาดใหญ่ ให้ผใู้ ช้ลา� น�า้ โขงสามารถสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก และลงทุนเพิม่

Everlasting Economy

ttery AN

โครงการฝายทดน�้าไซยะบุรี หรือทีไ่ ด้ยนิ กันบ่อยๆ ในชือ่ เขื่อนไซยะบุรี ตั้งอยู่ ทางทิศตะวันออกของเมือง ไซยบุรี ทางตอนเหนือของ ประเทศลาว เป็นโครงการ กฟผ. ร่วมลงทุนกับ รัฐบาลลาว เพื่อส่งเสริม แผนการส่งออกไฟฟ้าในฐานะ แบตเตอรี่แห่งอาเซียน ก่อสร้างโดยบริษัท ช.การช่าง บริษัทก่อสร้าง จากประเทศไทย


,28 Chapter 18

ก้าวคนละก้าว : โครงการฝายทดน�้าไซยะบุรี

เมกะวัตต์ คือ ก�าลังผลิตไฟฟ้ารวม ของฝายทดน�้าไซยะบุรี สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 7,400 ล้านหน่วยต่อปี ใช้เงินลงทุนกว่า 135,000 ล้านบาท


127

Everlasting Economy

อีกกว่าพันล้านบาทเพื่อสร้างทางผ่านให้ปลา โดยออกแบบให้มี ลักษณะใกล้เคียงกับสภาพตามธรรมชาติ เหมาะสมกับชนิดและ ขนาดของปลาในแม่นา�้ โขงทีอ่ าศัยในบริเวณโครงการ ท�าให้ปลา สามารถว่ายทวนน�้าขึ้นไปวางไข่ได้ เส้นทางน�้าของปลามีความ ลาดเอียงระดับน�้าจากท้ายฝายไปเหนือฝายสูงถึง 50 เมตร หรือ ประมาณตึกสิบชั้นเลยทีเดียว โครงการที่ ไ ซยะบุ รี แ ห่ ง นี้ ไ ด้ มี ก ารออกแบบติ ด ตั้ ง เครื่องปั่นไฟฟ้าขนาดเล็กทั้งหมด 8 เครื่องเป็นเครื่องปั่นไฟฟ้า ก�าลังผลิตเครื่องละ 175 เมกะวัตต์ จ�านวน 7 เครื่อง และเครื่อง ปั่นไฟฟ้าก�าลังผลิต 60 เมกะวัตต์อีก 1 เครื่อง ท�าให้โครงการ สามารถผลิตไฟฟ้าได้แม้ในช่วงหน้าแล้ง ถ้ามีน�้าน้อยก็จะเดิน เครื่องแค่ 1 หรือ 2 เครื่อง ถ้าน�้าหลากก็จะเดินเครื่องทั้งหมด โดยรวมแล้วโครงการไซยะบุรีมีความพร้อมในการผลิตกระแส ไฟฟ้า (Available Factor) ถึง 64% ซึ่งสูงกว่าเขื่อนทั่วไปมาก การผลิตไฟฟ้าพลังน�้าจากฝาย ถือเป็นพลังงานหมุนเวียน ทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อมอีกประเภทหนึง่ ทีค่ วรได้รบั การสนับสนุน ให้ เ ป็ น พลั ง งานทางเลื อ ก ที่ มี ผ ลกระทบด้ า นต่ า งๆ น้ อ ยลง และโครงการนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผู้พัฒนาโครงการได้ร่วมกับ NGO ในการพยายามหาทางออกที่เป็นกลางในการก่อสร้าง โรงไฟฟ้า โดยฝ่ายผู้พัฒนาโครงการได้ปรับรูปแบบโครงการและ ลงทุนเพิม่ เติมเพือ่ ลดผลกระทบสิง่ แวดล้อม ส่วน NGO ทีช่ ว่ ยดูแล สิง่ แวดล้อมก็ได้รว่ มกันศึกษาเพือ่ หาทางออกทีด่ ที สี่ ดุ ซึง่ ต้องลงทุน เพิม่ อีกประมาณ 20,000 ล้านบาท ในทีส่ ดุ ทัง้ สองฝ่ายก็ได้ข้อสรุป ตรงกลางที่ไม่มีความขัดแย้ง กลายเป็นเอกภาพของความขัดแย้ง ทีส่ ามารถสร้างฝายทดน�า้ ขนาดใหญ่ได้สา� เร็จ เรียกว่า “ก้าวคนละก้าว ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน”


CHAPTER Corporate Buyer โอกาสพลังงานหมุนเวียนโต


129

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 กรกฎาคม 2559

ท่านผูอ้ า่ นครับ ครัง้ ทีแ่ ล้วผมได้เกริน่ ถึงเรือ่ งการประมูลราคารับซือ้ ไฟฟ้าแบบ Reverse Auction ซึง่ มีขอ้ ดีตรงทีท่ า� ให้เกิดการแข่งขันด้านราคา วันนีจ้ ะขออธิบายขัน้ ตอนการซือ้ ขาย ไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกนิดว่าจะช่วยให้เกิดการแข่งขันด้านราคาได้อย่างไร


Chapter 19

Corporate Buyer โอกาสพลังงานหมุนเวียนโต

130

Reverse Auction ถ้าแปลตรงๆ ก็คือ แทนที่ราคาชนะประมูลจะเป็นราคาสูงสุดแบบ การประมู ล ทั่ ว ๆ ไป แต่ ก ารประมู ล แบบ “Reverse” ราคาที่ ช นะจะเป็ น ราคาที่ เ สนอ ต�่าที่สุด วิ ธีก ารนี้ ดี ต ่ อ กระเป๋ า เงิ น รั ฐ และ ประสบความส�าเร็จมาแล้วในหลายประเทศ โดยดูตัวอย่างได้จากประเทศเม็กซิโก พบว่า ในไตรมาสแรกของปี 2559 สามารถรั บ ซื้ อ ค่าไฟฟ้าจากการประมูลในโครงการพลังงาน แสงอาทิตย์ต�่าที่สุดของโลกมีราคาที่ยูนิตละ 0.036 ดอลลาร์ หรือเพียง 1.3 บาทเท่านั้น ในบ้านเรามีปัญหาเรื่องสายส่งเต็มใน หลายพื้นที่ ท�าให้หน่วยงานที่รับผิดชอบขยาย สายส่งให้พร้อมเสียก่อน ผมคิดว่ามีทางออก ส�าหรับปัญหานี้คือ ควรสนับสนุนการซื้อขาย ไฟฟ้ารูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Corporate Buyer ซึง่ เป็นวิธกี ารสนับสนุนให้องค์กรผู้บริโภคไฟฟ้า รายใหญ่สามารถเป็นผูร้ บั ซือ้ ไฟฟ้าจากโครงการ พลั ง งานหมุ น เวี ย นโดยตรงได้ ไม่ จ� า เป็ น ต้ อ งให้ ก ารไฟฟ้ า เป็ น ผู ้ รั บ ซื้ อ เข้ า สายส่ ง เพียงฝ่ายเดียว การส่งเสริมที่ว่านี้สามารถเริ่มเฉพาะ ในพื้ น ที่ ที่ มี ผู ้ ใ ช้ ไ ฟฟ้ า รายใหญ่ ห ลายราย อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ใ กล้ เ คี ย งกั น เช่ น ในเขตนิ ค ม อุตสาหกรรมหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อช่วย ให้เกิดความคุ้มค่าในการบริหารจัดการและ

2,


,200 131

Everlasting Economy

เมกะวัตต์ คือ ตัวเลข ที่ Google ลงนามซื้อขายไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งนับเป็น 2 เท่า ของก�าลังผลิตจากโรงไฟฟ้า พลังงานแสงอาทิตย์และลม ในไทยรวมกัน


การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในบริเวณดังกล่าว สิ่งที่ภาครัฐต้องลงมือท� า ก็คือ ช่วย ปลดล็ อ คกฎระเบี ย บการซื้ อ ขายไฟฟ้ า ให้ เอื้ออ�านวยต่อการท�าสัญญาซื้อขายไฟฟ้า หรือ PPA (Power Purchase Agreement) ระหว่าง เอกชนกั บ เอกชน รวมทั้ ง ก� า หนดแนวทาง สนับสนุนด้านการเงินเพื่อจูงใจให้องค์กรต่างๆ และเจ้าของโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด หันมาเข้าร่วมโครงการ โดยพิจารณาจากต้นทุน ที่ลดลงของภาครัฐ (Avoided Cost) จากการที่ ไม่ต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น สายส่งและสถานีส่งไฟฟ้า ส�าหรับแนวทางการซือ้ ขายไฟฟ้ารูปแบบ Corporate Buyer นี้ถือเป็นรูปแบบที่เรียกได้ว่า Win-Win Solution ฝ่ายแรกที่ได้รับประโยชน์ คือภาครัฐ ช่วยลดความแออัดและความจ�าเป็น ในการลงทุนขยายสายส่งลงได้ และช่วยให้เกิด การกระจายก�าลังผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน (Distributed Generation) มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเปิดโอกาสให้เอกชน มี ส ่ ว นร่ ว มยั ง เป็ น การช่ ว ยลดการลงทุ น ของ ภาครัฐ แต่ทั้งนี้ยังมีความจ�าเป็นที่รัฐต้องช่วย สนับ สนุน ทางอ้ อ ม เช่ น การลดหย่ อ นภาษี เป็น 2 เท่า ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการเพิ่มสัดส่วน พลังงานสะอาดในระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ และสอดคล้ อ งกั บ แนวทางการลดการ ปลดปล่ อ ยก๊ า ซเรื อ นกระจกที่ ไ ทยได้ ล งนาม

.036

Chapter 19

Corporate Buyer โอกาสพลังงานหมุนเวียนโต

132


133

เหรียญสหรัฐต่อยูนิต หรือ 1.3 บาท คือ ตัวเลขที่ประเทศเม็กซิโกรับซื้อ ค่าไฟฟ้าจากการประมูลในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ต�่าที่สุดของโลก ในไตรมาสแรกของปี 2559

Everlasting Economy

ในข้อตกลงปารีส (COP21) ส่วนองค์กรผู้ซื้อไฟฟ้าจะได้รับประโยชน์ คือ สามารถ บริหารจัดการค่าไฟฟ้าช่วง On-Peak ซึ่งหากซื้อไฟฟ้าจากสายส่ง จะมีราคาแพง แต่ถ้าท�าสัญญาซื้อจากโรงไฟฟ้าหมุนเวียนก็จะมี ราคาถูกลง รวมทั้งยังถือเป็นโอกาสดีที่องค์กรสามารถมีส่วนร่วม ในการท�า CSR in-process ด้านสิ่งแวดล้อมได้ด้วย สุดท้ายฝ่ายของผู้ประกอบการก็ยังได้ประโยชน์จากการ ที่มีสัญญา PPA ในมือ คือ ช่วยให้โครงการมีหลักประกันว่าจะมี รายได้ต่อเนื่องแน่นอน ท�าให้สามารถกู้เงินได้ง่าย และมีโอกาส ในการท�าธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ผมคิดว่าการซือ้ ขายไฟฟ้าแบบ Corporate Buyer ก�าลังเป็น กระแสใหม่ที่รุดหน้าเติบโตอย่างรวดเร็วในอเมริกาและยุโรป หน่วยงานของ Google ก็ถอื เป็นองค์การเจ้าของ PPA รายใหญ่ทส่ี ดุ มีการลงนามซื้อขายไฟฟ้าสีเขียวไปแล้วถึง 2,200 เมกะวัตต์ หรือ เท่ากับ 2 เท่าของก�าลังผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และลมในไทยรวมกัน และยังมีบริษัทอื่นๆ อีกไม่ตา�่ กว่า 50 ราย เช่น GM Ikea Nestle Starbucks ที่เข้าร่วมโครงการนี้ ดังนั้นประเทศไทยควรเร่งเดินหน้าพิจารณาโครงการนี้ โดยเร็ ว เพื่ อ ลดปั ญ หาสายส่ ง เต็ ม และเพิ่ ม โอกาสเติ บ โตของ ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในบ้านเราให้สูงยิ่งขึ้น


CHAPTER Reverse Auction หนุนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์


135

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มิถุนายน 2559

เมือ่ ประมาณ 8 ปีทผี่ า่ นมาหลายคนคงจ�ากันได้นะครับว่าราคาน�า้ มันดิบในตลาดโลก เคยท�าสถิติสูงถึง 140 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลายประเทศทั่วโลกตื่นตัวหันมาส่งเสริม พลังงานทดแทนให้เป็นพลังงานทางเลือกแทนน�้ ามันจากฟอสซิลที่เกิดจากการทับถม ของซากพืชซากสัตว์นับพันๆ ปี


Chapter 20

Reverse Auction หนุนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์

136

แต่ในปัจจุบันราคาน�้ามันดิบร่วงลงอย่างต่อเนื่องเมื่อ เทียบกับทีเ่ คยแตะสูงสุด ลดลงมากกว่า 70% หลายฝ่ายวิเคราะห์ กันว่าเห็นทีพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติจะถึงทางตัน คงไม่มี ใครคิดลงทุนเป็นแน่เพราะต้นทุนสูงไม่คุ้ม ในความเป็นจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ โดยดูจากเมื่อปีที่ ผ่านมาการลงทุนในกลุม่ ธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทัว่ โลก มีมลู ค่าถึง 3.29 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 10 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนหน้า 4% ท�าลายสถิติปี 2554 ที่มีการลงทุนสูงถึง 3.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ธุรกิจดาวรุ่ง คือ โรงไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานลม มียอดเงินลงทุนเกินกว่าครึง่ ของพลังงานหมุนเวียนทั้งหมด โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมที่สร้างขึ้น ใหม่ทั่วโลกเมื่อปีที่แล้วมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ มีก� าลัง การผลิตติดตั้งรวมกันประมาณ 118 กิกะวัตต์ ซึ่งมีกา� ลังการผลิต มากถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยสูงสุด ที่ประมาณ 29 กิกะวัตต์ แม้ว่าโรงไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ในกลุ่ม ประเทศยุโรปจะเริ่มอิ่มตัว แต่ยังมีตลาดใหม่ที่ก�าลังขยายตัว เพิม่ ขึน้ ทัง้ ในประเทศทีพ่ ฒ ั นาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกา และในกลุม่ ประเทศก�าลังพัฒนาอย่างจีน อินเดีย รวมทัง้ ประเทศในแถบทวีป เอเชียและทวีปอเมริกาใต้ ด้านศักยภาพการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และพลั ง งานลมของประเทศต่ า งๆ อาจมี ค วามแตกต่ า งกั น โดยภาพรวมแล้วประเทศทีต่ งั้ อยูใ่ กล้บริเวณเส้นศูนย์สตู รส่วนใหญ่ จะได้รับปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์อยู่ในเกณฑ์สูงตลอดทั้งปี แต่มคี วามเร็วลมเฉลีย่ ต�า่ จึงเหมาะกับการลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ ในทางกลับกันประเทศทีอ่ ยูห่ า่ งไกลจากเส้นศูนย์สตู ร


Everlasting Economy

คือ การประมูลราคารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมาใช้ จะเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้ขายไฟฟ้าแสงอาทิตย์ยื่นเสนอราคาค่าไฟฟ้าต�่าสุดที่จะขาย ใครเสนอราคาขายต�่าสุด ผู้ก็ได้รับสิทธิ์ในการขายไฟฟ้า

Reverse 137


Chapter 20

Reverse Auction หนุนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์

138

โดยอยู่เหนือเส้น Tropic of Cancer หรือใต้เส้น Tropic of Capricorn จะได้ รั บ ปริ ม าณรั ง สี จ ากดวงอาทิ ต ย์ ค ่ อ นข้ า งน้ อ ย แต่ จ ะมี ความเร็ ว ลมสู ง ตลอดทั้ ง ปี จึ ง เหมาะกั บ การลงทุ น โรงไฟฟ้ า พลังงานลมมากกว่า ส�าหรับประเทศไทยจัดอยูใ่ นกลุม่ แรก เพราะมีปริมาณรังสี ดวงอาทิตย์ที่ได้รับในแต่ละปีเฉลี่ยประมาณ 1,800 กิโลวัตต์ต่อ ตารางเมตรต่อปี ถ้าพิจารณาในเชิงเทคนิคแล้วโรงไฟฟ้าประเภท เซลล์แสงอาทิตย์บา้ นเราจะมีคา่ ตัวประกอบก�าลัง (Capacity Factor) อยู่ที่ประมาณ 16-17% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก ถือว่ามี ศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดอยู่ในเกณฑ์ดีเลยทีเดียว หากเราพัฒนาสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดอย่างจริงจัง ก็จะสามารถช่วยลดการพึ่งพาการน�าเข้าเชื้อเพลิงถ่านหินและ ก๊าซธรรมชาติได้มาก การสนับสนุนและพัฒนาธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจส�าคัญทีท่ า� ให้ประเทศต่างๆ สนใจ ที่จะดึงศักยภาพของพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ได้อย่างเต็มที่ หากย้อนไปเมื่อ 10 ปีก่อนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์มีต้นทุนที่แพงมาก ดังนั้น การสนับสนุนทางการเงิน

2.7 บาทต่อยูนิต คือ ราคาประมูลจากการ รับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Reverse Auction


139

Everlasting Economy

เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาสู่ธุรกิจนี้จึงเป็นสิ่งจ�าเป็น ซึ่งหลาย ประเทศมี น โยบายสนั บ สนุ น ทางการเงิ น ส� า หรั บ การพั ฒ นา โครงการโรงไฟฟ้าแสงแดดในรูปแบบต่างๆ ส�าหรับประเทศไทยของเราช่วงเริ่มต้นรัฐบาลมีมาตรการ สนับสนุนทั้งในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) 8 บาท ต่อยูนิตให้แก่ผู้ลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็ น ระยะเวลา 10 ปี และยกเว้ น ภาษี เ งิ น ได้ นิ ติ บุ ค คลของ โครงการด้วย ท�าให้ผู้ลงทุนในยุคนั้นได้รับผลตอบแทนในการ ลงทุนสูง ธุรกิจนี้จึงเป็นที่น่าสนใจ อีกทัง้ การสนับสนุนของรัฐบาลประเทศต่างๆ เป็นอีกหนึง่ แรงผลักดันที่ท�าให้เกิดการแข่งขันด้านการตลาดของแผงเซลล์ แสงอาทิตย์ (PV module) ซึง่ เป็นต้นทุนหลักของโรงไฟฟ้าแสงแดด ขณะนี้ราคาถูกลงมากเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้วที่มีต้นทุนสูงกว่า 110 ล้านบาทต่อเมกะวัตต์ ปัจจุบันเหลือเพียง 45-55 ล้านบาท ต่อเมกะวัตต์ คือลดลงเกินครึ่ง เมื่อโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มี ศักยภาพมากขึ้น ราคาถูกลง สามารถดึงดูดนักลงทุนเข้ามาเป็น จ�านวนมาก ขณะเดียวกันสถาบันการเงินเริ่มมั่นใจปล่อยสินเชื่อ ด้านนีเ้ พิม่ ขึน้ ดอกเบีย้ ก็ถกู ลง ท�าให้ตน้ ทุนเฉลีย่ ทัว่ โลกเหลือเพียง 3-4 บาทต่อยูนติ ถูกกว่าค่าไฟขายปลีกในบางประเทศเสียด้วยซ�า้ ผมคิดว่าการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแสงแดดในอัตรา ราคาสูงไม่จ�าเป็นอีก ต่อ ไป ในปี 2553 ประเทศไทยได้ ปรับ อัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้าลงเหลือ 6.5 บาทต่อยูนิต และ ล่าสุดได้มีการเปลี่ยนรูปแบบและปรับลดการสนับสนุนลง โดยมี การรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบอัตราราคา Feed-in-Tariff เหลือ 5.66 บาทต่อยูนติ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าแนวโน้มการลงทุนไฟฟ้าพลังงาน


,80

140

Chapter 20

Reverse Auction หนุนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์

กิโลวัตต์ ต่อตารางเมตรต่อปี คือ ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์ ที่ประเทศไทยได้รับ ในแต่ละปี


141

Everlasting Economy

แสงอาทิตย์ทวั่ โลกยังคงมีการแข่งขันสูง จะยิง่ ท�าให้ตน้ ทุนการผลิต ลดลงอีกแน่นอน ซึ่งการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in-Tariff ด้วยอัตราคงที่อาจจะไม่สะท้อนการเปลี่ยนแปลง ที่ ร วดเร็ ว ในตลาดโลก ซึ่ ง จะส่ ง ผลกระทบต่ อ ค่ า ไฟฟ้ า ฐาน ในอนาคตได้ จึงควรที่จะหากลไกใหม่เพื่อแก้ปัญหาในจุดนี้ แนวทางการก�าหนดอัตรารับซือ้ ไฟฟ้าใหม่ทหี่ ลายประเทศ นิยมท�ากันและน่าจะน�ามาใช้ในไทยคือ การประมูลราคารับซือ้ ไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียนมาใช้ หรือทีเ่ รียกว่า Reverse Auction หลักการ คือ เปิดโอกาสให้ผขู้ ายไฟฟ้าแสงอาทิตย์ยนื่ เสนอราคาค่าไฟฟ้าต�า่ สุด ที่จะขาย ใครเสนอราคาขายต�า่ สุด ก็ได้รับสิทธิ์ในการขายไฟฟ้า ในอินเดีย บราซิล ออสเตรเลีย ฯลฯ นิยมท�ากันอย่างแพร่หลาย ซึ่งในรายละเอียดอาจมีความแตกต่างกันบ้างแล้วแต่การ ก�าหนดกลไกการประมูลของแต่ละประเทศ วิธกี ารนีท้ �าให้คา่ ไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ในหลายประเทศถูกลงและสะท้อนต้นทุน ที่แท้จริงมากขึ้น เช่น ในอินเดีย ราคาประมูลจากการรับซื้อไฟฟ้า มีราคาเพียงแค่ 2.7 บาทต่อยูนติ หากน�ากลไกนี้มาใช้ในบ้านเราคิดว่านักลงทุนหน้าใหม่ สนใจทีจ่ ะเข้ามาเล่นมากขึน้ และจะช่วยให้การแข่งขันมีประสิทธิภาพ มากขึ้นด้วย ที่สา� คัญในระยะยาว รัฐบาลไม่ต้องจ่ายเงินอุ้มธุรกิจ พลังงานหมุนเวียนมากเกินไป อีกทัง้ ราคาค่าไฟฟ้าจากแสงแดดก็ จะลดต�า่ ลงจนเริม่ แข่งขันกับราคาค่าไฟฟ้าจากเชือ้ เพลิงอืน่ ได้ดว้ ย การประมูลแบบ Reverse Auction รัฐบาลไทยเริ่มน�ามา ทดลองใช้กบั การรับซือ้ ไฟฟ้าในโครงการไฟฟ้าชีวมวล ทีด่ า� เนินการ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ซ่งึ จะประมูลในปลายปีน้ี และควร จ ะน�ามาใช้กับโครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ด้วย เพือ่ ภาครัฐจะได้ไม่ตอ้ งแบกรับภาระในอนาคต ไว้ฉบับหน้าผมจะ มาเล่าเรื่องการซื้อขายไฟฟ้าแบบอื่นๆให้ฟังครับ


CHAPTER ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนย่อมดีกว่าวันนี้


143

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 14 ตุลาคม 2558

เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวเกี่ยวกับค่ายรถยุโรปที่แจงค่ามลพิษของไอเสียรถยนต์ ไม่ตรงกับ ความเป็นจริงดังไปทัว่ โลก ผมคิดว่าถึงเวลาแล้วทีผ่ บู้ ริหารระดับสูงของทุกภาคธุรกิจควรใส่ใจ เรื่องสิ่งแวดล้อม ควบคู่การการพัฒนาธุรกิจอย่างจริงจัง ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องมลพิษจากไอเสีย รถย นต์เท่านั้น เรื่องมลพิษจากการผลิตไฟฟ้าก็เป็นอีกเรื่องที่ถูกหยิบยกกล่าวถึงกันมาก รัฐ บาลของหลายประเทศจึงมีนโยบายการผลักดันให้มีการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน แทน การใช้ไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิลกันอย่างจริงจัง เพื่อช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จึงขอน�าเรื่องการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมาเล่าสู่กันฟัง


Chapter 21

ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนย่อมดีกว่าวันนี้

144

การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานจากเซลล์แสงทิตย์จดั เป็นกระบวนการผลิตทีไ่ ม่กอ่ ให้เกิด ก๊าซมลพิษต่างๆ ทั้งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนตรัสออไซด์ หรือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพราะในกระบวนการผลิตไฟฟ้าจาก แหล่งพลังงานดังกล่าวไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงแบบโรงไฟฟ้าที่ ใช้พลังงานจากฟอสซิล เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน แก๊สธรรมชาติ โรงไฟฟ้ า ประเภทนี้ จึ ง ถื อ เป็ น โรงไฟฟ้ า สี เ ขี ย วที่ รั ฐ บาลต่ า งๆ ทั่ ว โลกพยายามผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด ขึ้ น เพื่ อ ลดปั ญ หาสิ่ ง แวดล้ อ ม การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ อันเป็นสาเหตุทกี่ อ่ ให้เกิดภาวะ โลกร้อน ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม พลังงานจากเซลล์ แสงอาทิตย์ยงั มีขอ้ ดีทวี่ า่ เชือ้ เพลิงทีใ่ ช้ในการผลิตไฟฟ้าซึง่ ก็คอื ลม หรือแสงอาทิตย์นนั้ เป็นทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิง่ ทีใ่ ครก็ใช้ได้ฟรี แถมไม่มวี นั หมด เป็นการสร้างความมัน่ คงด้านพลังงานให้กบั ประเทศ ลดการน�าเข้าน�า้ มัน และยังช่วยลดการขาดดุลการค้า การสูญเสีย เงินตราต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วย จากข้อดีต่างๆ เหล่านี้จึงท�าให้เกิดการสนับสนุนการสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนกันมากขึ้น จากการรวบรวมข้อมูล ของ Renewable Energy Policy Network for the 21st Century (REN21) พบว่าในระหว่างปี 2552-2557 โรงไฟฟ้าพลังงานลม มีก�าลังการผลิตทั่วโลกเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 18% ต่อปี กล่าวคือเพิ่มขึ้น จาก 159 กิกะวัตต์ เป็น 370 กิกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าจากเซลล์ แสงอาทิตย์มีก�าลังการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 50% ต่อปี จาก 23 กิกะวัตต์ เป็น 177 กิกะวัตต์ ณ สิ้นปี 2557 พลังงานที่ได้จาก โรงไฟฟ้ า พลั ง งานหมุ น เวี ย นทั้ ง สองประเภทนี้ คิ ด เป็ น 9% ของก�าลังการผลิตไฟฟ้าทุกประเภท ซึง่ การเติบโตของโรงไฟฟ้าสีเขียวเหล่านี้ คาดว่าจะไม่หยุด


ในระหว่างปี 2552-2557 โรงไฟฟ้าพลังงานลม มีก�าลังการผลิตทั่วโลก

อยูแ่ ค่นี้ เพราะเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน ลมและแสงอาทิตย์มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ท�าให้ต้นทุนการติดตั้งลดลงอย่าง ต่อเนื่อง รวมทั้งในหลายๆ ประเทศมีการตั้งเป้าและ ออกนโยบายเพิม่ สัดส่วนไฟฟ้าทีผ่ ลิตได้จากพลังงาน หมุนเวียนให้สูงขึ้น ยกเช่น ประเทศเดนมาร์กซึ่งเป็น ประเทศผู้น�าด้านพลังงานหมุนเวียน ในปี 2557 มีสดั ส่วนไฟฟ้าทีผ่ ลิตได้จากพลังงานลมและพลังงาน แสงอาทิ ต ย์ ร วมกั น 44% ของไฟฟ้ า ที่ ผ ลิ ต จาก โรงไฟฟ้าทุก ชนิด ในประเทศ และมีเ ป้ า หมายจะ เพิ่มขึ้นไม่ต่า� กว่า 50% ภายในปี 2563 ส่วนประเทศเยอรมันก็เป็นอีกประเทศทีก่ �าลัง ขะมักเขม้นจะเพิ่มสัดส่วนไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงาน ลมและพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์จากปัจจุบนั อยู่ ที่ 16% เป็น 40-45% ภายในปี 2568 อย่ า งไรก็ ต ามแม้ ว ่ า การผลิ ต ไฟฟ้ า จาก พลังงานลมและเซลล์แสงอาทิตย์มีข้อดีหลายอย่าง ตามทีไ่ ด้เล่าไว้ขา้ งต้น แต่การเพิม่ สัดส่วนไฟฟ้าทีผ่ ลิต จากพลังงานหมุนเวียนทัง้ สองชนิดนีก้ ไ็ ม่ใช่เรือ่ งง่ายๆ เพราะพลั ง งานหมุ น เวี ย นทั้ ง สองชนิ ด นี้ ถื อ เป็ น พลังงานหมุนเวียนแบบแปรปรวน (Variable Renewable Energy) หรื อ ที่ บ างส� า นั ก เรี ย กว่ า พลั ง งาน หมุนเวียนแบบไม่ต่อเนื่อง (Intermittent Renewable Energy) อธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ ไฟฟ้าจาก พลังงานลมก็จะผลิตไฟได้เฉพาะในช่วงที่ลมพัดแรง พอเท่านั้น ไฟฟ้าที่ผ ลิต ได้ จ ากพลัง งานลมจึง ไม่

Everlasting Economy

เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 18 ต่อปี และโรงไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ มีก�าลังการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 50 ต่อปี

145


146

Chapter 21

ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนย่อมดีกว่าวันนี้

ข้อด้อยของโรงไฟฟ้าพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ก็คือ ไม่สามารถผลิตพลังงานได้อย่าง สม�่าเสมอ ทางแก้ไขก็คือ

การพัฒนาระบบ สะสมพลังงาน เพื่อเก็บสะสมไฟฟ้า ในช่วงที่ผลิตได้มาก และเก็บไว้ใช้ในช่วงที่ ไม่สามารถผลิตไฟฟ้า ได้เพียงพอ


147

Everlasting Economy

ต่อเนือ่ งสม�า่ เสมอ หรือถ้าเป็นไฟฟ้าจากพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ จะผลิตได้เฉพาะตอนกลางวันเท่านั้น วันไหนแดดดี ท้องฟ้า ปลอดโปร่งก็ผลิตไฟได้มาก วันไหนเมฆครึม้ ฝนตกก็ผลิตไฟได้นอ้ ย ดังนั้นไฟฟ้าที่ผลิตได้ในแต่ละวันก็จะแตกต่างกันไปตามสภาพ ท้องฟ้าอากาศ ซึ่งปัญหานี้นับเป็นข้อด้อยของโรงไฟฟ้าพลังงาน ลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพ ของระบบจ่ า ยไฟฟ้ า และปั ญ หาเรื่ อ งการผลิ ต ไฟฟ้ า ให้ พ อดี กับความต้องการใช้ไฟในแต่ละช่วงเวลา หากจะส�ารองไว้ใช้ใน เวลาที่ต้องการใช้ไฟฟ้าสูง ยังมีปัญหาด้านความคุ้มค่าการลงทุน ติดตั้งระบบสะสมพลังงาน ตัวอย่างปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นหากประเทศใดประเทศ หนึ่งมีสัดส่วนก�าลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานลมและเซลล์ แสงอาทิตย์สงู กว่า 30-40% ขณะทีม่ สี ดั ส่วนก�าลังการผลิตของโรง ไฟฟ้าประเภทอื่นต�่า เช่น ในช่วงตอนกลางวันที่แดดดีและเป็นวัน ทีม่ ลี มแรง ในช่วงนัน้ จะมีไฟฟ้าทีผ่ ลิตได้จากพลังงานหมุนเวียนสูง มาก เมือ่ รวมปริมาณไฟฟ้าทีผ่ ลิตได้นกี้ บั ปริมาณไฟฟ้าจากโรงไฟ ฟ้าอืน่ ๆ ในระบบแล้วท�าให้มปี ริมาณไฟฟ้าทีผ่ ลิตได้ทงั้ หมดสูงเกิน กว่าความต้องการใช้ไฟทั้งประเทศ ก็อาจท�าให้ผู้ควบคุมการจ่าย ไฟจ�าต้องปล่อยให้ไฟฟ้าส่วนทีเ่ หลือนัน้ ทิง้ ไปหรือต้องสัง่ ให้โรงงาน ไฟฟ้าประเภทที่สามารถปรับเปลี่ยนก�าลังการผลิตไฟฟ้าได้เร็ว (Peaking Power Plant) เช่น โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ช่วยลดก�าลัง การผลิตไฟฟ้าในช่วงนัน้ แต่พอถึงช่วงกลางคืนซึง่ มีความต้องการ ใช้ไฟฟ้าสูง แต่สามารถผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้นอ้ ยมาก หรือแทบไม่ได้เลย และการผลิตไฟฟ้าจากลมก็ไม่เพียงพอ โรง ไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติก็จะถูกสั่งให้เร่งเครื่องขึ้นมาเพื่อผลิตไฟให้ เพียงพอกับความต้องการ สรุปง่ายๆ ก็คือเมื่อระบบมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจาก


148

Chapter 21

ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนย่อมดีกว่าวันนี้

พลั ง งานลมและเซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ สู ง จะพบปั ญ หาหลั ก ๆ 4 ประการ คือ เราไม่สามารถควบคุมการผลิตไฟฟ้าได้ดงั ใจนึก บาง ช่วงผลิตไฟฟ้าได้เยอะแต่กไ็ ม่มใี ครอยากใช้ บางช่วงผลิตไฟฟ้าไม่ ได้แต่กลับมีคนอยากใช้ไฟฟ้าเยอะ แม้ว่าเราจะอยากเอาไฟฟ้าที่เหลือเยอะในช่วงที่ไม่มีใคร ต้องการมาใช้ในช่วงอื่นที่มีคนอยากใช้เราก็เก็บเอาไว้ไม่ได้เพราะ ไม่มีระบบสะสมพลังงาน (Energy Storage) ที่เพียงพอ เราจะต้องมีโรงไฟฟ้าประเภทอืน่ คอยเดินเครือ่ ง Stand-by รอที่จะเพิ่มหรือลดก�าลังการผลิตไฟฟ้าตลอดเวลา ซึ่งการเดิน เครื่อง Stand-by นี้จะต้องมีการเผาไหม้เชื้อเพลิงซึ่งท�าให้เกิดก๊าซ มลพิษโดยไม่จ�าเป็นอยู่ตลอดเวลา และการเพิ่มๆ ลดๆ ก�าลังการผลิตของโรงไฟฟ้าทีท่ �าการ Stand-by ถือเป็นการเดินเครื่องอย่างไม่มีประสิทธิภาพ มีโอกาส


149

ท�าให้เครื่องจักรเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ถือเป็นต้นทุนที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น ดังนัน้ ในอนาคตหากแต่ละประเทศจะเพิม่ สัดส่วนไฟฟ้าที่ ผลิตได้จากพลังงานลม พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้สูงขึ้น เพือ่ รับมือกับปัญหามลพิษต่างๆ ก็ควรทีจ่ ะเตรียมตัวรับมือกับปัญหา ความแปรปรวนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนด้วย สิ่งหนึ่งที่คาดว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ คือ การ พัฒนาระบบสะสมพลังงาน (Energy Storage) เช่น แบตเตอรี่ มา ให้เป็นตัวช่วยในการเก็บสะสมไฟฟ้าช่วงที่ผลิตไฟฟ้าได้มากเกิน กว่าความต้องการเพื่อเอาไว้ใช้ในช่วงที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ เพียงพอ รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะต่างๆ ที่จะมาช่วย ควบคุมปริมาณการผลิตและจ่ายไฟฟ้าให้มปี ระสิทธิภาพสูงสุดด้วย ในครั้งต่อไป ผมจะมาเล่าให้ฟังว่าระบบสะสมพลังงานคืออะไร และในโลกเรามีการพัฒนาไปถึงไหนแล้วเชิญติดตามกันนะครับ

Everlasting Economy

คือสัดส่วนไฟฟ้า ของประเทศเดนมาร์ก ที่ผลิตจากพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ ในปี 2557 และตั้งเป้า ให้ถึง 50% ภายในปี 2563


CHAPTER น�้ำมันดิบร่วง พลังงำนหมุนเวียนรอด


151

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 มีนาคม 2559

ราคาน�้ า มั น ดิ บ ในตลาดโลกมี แ นวโน้ ม ลดลงอย่ า งต่ อ เนื่ อ งจากปี 2557 อยู ่ ที่ 110 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล พอมาถึงต้นปี 2559 มีราคาเฉลีย่ ที่ 30 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล กูรูหลายส�านักคาดการณ์ว่าราคาน�้ามันดิบจะยังคงอยู่ในระดับต�่าอีกพักใหญ่ๆ นอกจากนี้ ราคาก๊าซธรรมชาติที่ปกติจะอิงกับราคาน�้ามันดิบก็จะตกต�่าเช่นเดียวกัน


152

Chapter 22

น�้ำมันดิบร่วง พลังงำนหมุนเวียนรอด

ราคาพลังงานทีด่ งิ่ ลงท�าให้บริษทั ปิโตรเลียมและนักลงทุน ในกลุ่มธุรกิจส�ารวจและผลิตทั้งน�้ามันดิบ และก๊าซธรรมชาติ ต่างต้องรัดเข็มขัดประหยัดรายจ่ายอย่างเคร่งครัด เพราะได้รับ ผลกระทบโดยตรง รายได้ไม่พอกับรายจ่ายท�าเอาหลายบริษัท ต้องเปลี่ยนแผนการลงทุนขยายธุรกิจมาเป็นแผนเอาชีวิตรอด จากภาวะวิกฤติราคาน�้ามันที่ดิ่งลงแทน หลายบริษัททนไม่ไหว ถึงกับทยอยเลิกจ้างพนักงานเป็นลูกโซ่ Wood Mackenzie บริษทั ทีป่ รึกษาผูเ้ ชีย่ วชาญด้านพลังงาน ประเมินว่าตั้งแต่ราคาน�้ามันดิ่งลงในช่วงปี 2557 เป็นต้นมา โครงการลงทุนในกลุ่มน�้ามันดิบและก๊าซธรรมชาติถูกยกเลิก ไปแล้ ว เป็ น จ� า นวนมาก มู ล ค่ า โครงการที่ ถู ก ยกเลิ ก รวมกั น ประมาณ 380,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นปริมาณการผลิต ที่ถูกยกเลิกรวมกว่า 27,000 ล้านบาร์เรลน�้ามันดิบเทียบเท่า

265,00


153

ส่วนธุรกิจในกลุ่มโรงกลั่นน�้ามันเป็นกลุ่มที่ยังเอาตัวรอด ได้อยู่ เนื่องจากเมื่อราคาน�้ามันดิบลดลง ราคาน�้ามันส�าเร็จรูป ก็ถูกลงตามไปด้วย ท�าให้มีความต้องการซื้อน�้ามันส�าเร็จรูป ในตลาดมากขึน้ อัตราการลดลงของราคาน�า้ มันส�าเร็จรูปจึงลดลง น้อยกว่าอัตราการลดลงของน�้ามันดิบ นั่นหมายความว่าต้นทุน น�้ามันดิบถูกลงมาก แต่ราคาขายน�า้ มันส�าเร็จในตลาดยังลดตาม ไม่ทัน ท�าให้ค่าการกลั่นอยู่ในเกณฑ์สูงในช่วงสั้นๆ ทั้งนี้ แรงกดดันด้านราคาน�้ามันดิบยังส่งผลต่อสภาพ การลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนต่างๆ ด้วย โดยในกลุ่มของ ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างไบโอเอทานอลและไบโอดีเซลเองก็ ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากน�้ามันส�าเร็จรูปถือเป็นคู่แข่ง โดยตรงของเชื้อเพลิงชีวภาพ เมื่อราคาน�้ามันเบนซินและน�้ามัน ดีเซลหน้าโรงกลั่นถูกลง ก็ท�าให้นักลงทุนเกิดความกังวลเรื่อง ความสามารถในการแข่งขันของไบโอเอทานอลและไบโอดีเซล

Everlasting Economy

00$

ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คือ มูลค่าการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ทั่วโลก เมื่อปี 2558 ซึ่งมีอัตราการเติบโตถึง 9% เทียบกับปีก่อนหน้า


Chapter 22

น�้ำมันดิบร่วง พลังงำนหมุนเวียนรอด

154

จากเดิมทีก่ ารลงทุนในกลุม่ เชือ้ เพลิงชีวภาพทัว่ โลกทีอ่ ยูใ่ น สภาวะตึงตัวมาสักระยะหนึ่ง เนื่องจากมีก�าลังการผลิตติดตั้ง สูงเกินกว่าความต้องการที่มีอยู่ เมื่อมีปัจจัยลบจากราคาน�้ามัน ก็ยงิ่ ส่งผลให้ยอดการลงทุนโครงการในกลุม่ เชือ้ เพลิงชีวภาพลดต�า่ ลงไปอีก โดยในปี 2558 เป็นปีที่มียอดเงินลงทุนในกลุ่มเชื้อเพลิง ชีวภาพทั่วโลกต�่าสุดในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม หลายประเทศ อาทิ บราซิล สหรัฐอเมริกา รวมทั้งประเทศไทย ที่ให้การสนับสนุนราคาเชื้อเพลิงชีวภาพผ่าน รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการชดเชยทางภาษีหรือการให้เงิน สนับสนุนผ่านกองทุนน�้ามัน จึงท�าให้ราคาขายเชื้อเพลิงชีวภาพ ไม่ลดต�า่ ลงมากนัก จึงท�าให้ผู้ประกอบการกลุ่มนีไ้ ด้รบั ผลกระทบ จากวิกฤติราคาน�้ามันค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับกลุ่มปิโตรเลียม ฉะนั้นธุรกิจนี้ยังพออยู่รอดได้ในปัจจุบัน ผมว่าการที่รัฐบาลสนับสนุนธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพอย่าง ต่อเนื่องแม้ว่าราคาน�้ามันในตลาดโลกจะต�่าลงมากก็ตามถือเป็น สิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศใน ระยะยาว โดยการอุดหนุนราคาจะช่วยพยุงธุรกิจเชือ้ เพลิงชีวภาพ ให้ไม่ลม้ หายตายจากไป สามารถด�าเนินการผลิตได้อย่างต่อเนือ่ ง ช่ ว ยลดการพึ่ง พาการน�า เข้ า เชื้อ เพลิง จากต่ า งประเทศต่ อ ไป หากในอนาคตเกิ ด ราคาน�้ า มั น ดิ บ ดี ด ตั ว ขึ้ น สู ง อี ก ครั้ ง ธุ ร กิ จ เชื้ อ เพลิ ง ชี ว ภาพเหล่ า นี้ ก็ จ ะยั ง คงช่ ว ยลดการสู ญ เสี ย รายได้ ของประเทศจากการน�าเข้าน�้ามัน เหมือนที่เคยเกิดในช่วงวิกฤติ ราคาน�้ามันสูงหลายๆ ครั้งก่อนหน้าปี 2557 นอกจากนี้ การช่วยเหลือธุรกิจเชือ้ เพลิงชีวภาพยังเป็นการ ช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตวัตถุดิบส�าหรับเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น อ้อย มันส�าปะหลัง และปาล์มน�า้ มัน ให้ยงั คงมีตลาดรองรับสินค้า เกษตร ไม่เกิดสภาวะการล้นตลาดอันเนื่องมาจากหยุดการผลิต


155

Everlasting Economy

ไบโอเอทานอลหรือไบโอดีเซล เกษตรกรกระดูกสัน หลังของชาติไม่เดือดร้อนจากราคาตกต�่าขาดรายได้ ส� า หรั บ ธุ ร กิ จ โรงไฟฟ้ า พลั ง งานหมุ น เวี ย น ทั้ ง โรงไฟฟ้ า พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ แ ละโรงไฟฟ้ า พลังงานลมถือเป็นธุรกิจที่มีทั้งรอดและรุ่งในช่วง ภาวะวิกฤติราคาน�า้ มันโลกตกต�า่ เช่นนี้ โดยในปี 2558 ที่ผ่านมาถือเป็นปีที่มียอดการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนสูงกว่าทุกปีก่อนหน้า คิ ด เป็ น มู ล ค่ า การลงทุ น ทั่ ว โลกเกื อ บ 265,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และมีอัตราการเติบโตถึง 9% เทียบกับปีก่อนหน้า เป็นเช่นนี้ได้เนื่องจาก 1. ธุรกิจโรงไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ไม่มีต้นทุนของวัตถุดิบ ในการผลิ ต ไฟฟ้า ทั้ ง แสงอาทิ ต ย์ แ ละลม ถือเป็นทรัพยากรที่ได้มาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย จึงท�าให้ นักลงทุนไม่ตอ้ งกังวลในเรือ่ งความผันผวนของต้นทุน วัตถุดิบ 2. ในส่วนของปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตแม้ว่าอาจ จะได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพ อากาศในแต่ละช่วงเวลา แต่โดยปกติก่อนลงทุน โครงการจะต้องมีการส�ารวจข้อมูลความเข้มของ แสงอาทิตย์ในพื้นที่หรือข้อมูลความเร็วลมย้อนหลัง จนเกิ ด ความมั่ น ใจในปริ ม าณไฟฟ้ า ที่ จ ะขายได้ จากโรงไฟฟ้าของโครงการในระดับที่ยอมรับได้ 3. โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้รบั การสนับสนุนจากรัฐบาลในรูปแบบ Feed-in-Tariff ซึ่งเป็นการประกันราคาขายไฟฟ้าที่คงที่สม�่าเสมอ


น�้ำมันดิบร่วง พลังงำนหมุนเวียนรอด

ล้านบาร์เรลต่อวัน คือ ตัวเลขที่ตลาดโลกต้องการน�้ามันดิบ จาก 15 ประเทศสมาชิกโอเปค

32.05

Chapter 22

156


157

เมื่อน�าปริมาณไฟฟ้าที่มั่นใจว่าจะขายได้ในข้อ 2 มาคูณกับราคา ขายไฟฟ้าในอัตราคงที่ในข้อ 3 นี้ ผลลัพธ์ที่ได้กค็ ือความเชื่อมั่น ของนักลงทุนที่มีต่อโครงการไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนว่าจะท�าให้ ได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนสม�่าเสมอ เป็นค�าตอบที่ตอบโจทย์ กระแสการลงทุนอย่างยัง่ ยืนซึง่ ก�าลังได้รบั ความนิยมในยุคปัจจุบนั จากปัจจัยที่ว่านี้นักลงทุนที่ขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ธุรกิจปิโตรเลียมซึง่ เสีย่ งกับความผันผวนของราคาน�้ามันในตลาด โลกจึงหันมาสนใจลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน มากขึ้น นับเป็นสัญญาณที่ดวี ่าก�าลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้า พลังงานสะอาดเหล่านี้จะยังคงเพิ่มสูงขึ้นต่อไป และเมื่อยิ่งมีการ สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมากขึน้ จากเดิมทีต่ น้ ทุนโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่สูงกว่าโรงไฟฟ้าทั่วไปก็มีโอกาส จะลดต�่าลงเร็วขึ้นตาม Experience Curve หรือความช�านาญ ของผู้ผลิตเทคโนโลยีและผู้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าทีส่ ูงขึน้ ซึง่ ผมมองว่า ในปีนี้ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะยังคงได้รับการตอบรับ ที่ดี รวมถึงมีการขยายฐานการลงทุนไปในประเทศก�าลังพัฒนา โดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิกและอเมริกาใต้ต่อไปอีกด้วยครับ Everlasting Economy


CHAPTER โอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว Hydrogen Society


159

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 13 เมษายน 2559

พลังงานสะอาดยังคงเป็นกระแสทีม่ าแรงอย่างต่อเนือ่ งเพราะเป็นพลังงานแห่งอนาคต ล่าสุดได้เริม่ มีการผลักดันไฮโดรเจนให้เป็นพลังงานทางเลือกอีกทางหนึง่ ไม่วา่ จะเป็นประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก และในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา


Chapter 23

โอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว Hydrogen Society

160

ส�ำหรับประเทศทีใ่ ห้กำรสนับสนุนเรือ่ งไฮโดรเจนอย่ำงจริงจัง มำกที่สุดคือ ญี่ปุ่นซึ่งได้ก�ำหนดเป็นแผนยุทธศำสตร์ผลักดัน เพือ่ พลิกประเทศให้กลำยเป็น “Hydrogen Society” หรือสังคมทีใ่ ช้ ไฮโดรเจนส�ำหรับกำรผลิตไฟฟ้ำและขับเคลื่อนรถยนต์ ซึง่ กำรจัดงำนโอลิมปิกทีก่ รุงโตเกียวในปี ค.ศ. 2020 ทีจ่ ะถึงนี ้ ญีป่ นุ่ ตัง้ ใจจะใช้ไฮโดรเจนในกำรผลิตไฟฟ้ำในอำคำร สนำมกีฬำ รวมทั้งใช้สำ� หรับเติมรถยนต์และรถบัสในบริเวณจัดงำนด้วย นอกจำกนี้ ค่ ำ ยรถยนต์ ต ่ ำ งก็ ไ ด้ มี ก ำรพั ฒ นำรถยนต์ ไฮโดรเจน ออกสูต่ ลำดเป็นทีเ่ รียบร้อยแล้ว ไม่วำ่ จะเป็น “Toyota Mirai” “Honda Clarity” และ “Hyundai Tucson” สิ่งที่ท�ำให้ ไฮโดรเจนซึ่งเป็นธำตุที่เล็กที่สุดในตำรำงธำตุ ถูกคำดหวังว่ำ จะเป็นเชือ้ เพลิงทีย่ งิ่ ใหญ่แห่งโลกอนำคต คือ กำรทีไ่ ฮโดรเจนเป็น องค์ประกอบของสิ่งต่ำงๆ มำกมำย ไม่ว่ำจะเป็นน�ำ้ หรือที่เรำรู้จัก สูตรเคมีกันว่ำ H2O อันเป็นส่วนประกอบหลักของโลกใบนี ้ เป็น องค์ประกอบของพืช ผลผลิตทำงกำรเกษตรน�ำ้ มัน ก๊ำซธรรมชำติ หรือสำรอืน่ ๆ เช่น แอมโมเนีย และโซดำไฟ จนเรียกได้วำ่ ไฮโดรเจน นั้นมีอยู่ท่วั ทุกหนทุกแห่ง หำกอนำคตประเทศที่ไม่มีแหล่งพลังงำนฟอสซิลเป็นของ ตนเอง หันมำใช้พลังงำนจำกไฮโดรเจนเป็นหลักก็จะช่วยลด ปริมำณน�ำเข้ำพลังงำนของประเทศนั้นๆ ลงได้ ยิ่งไปกว่ำนั้น อีกหนึง่ ข้อดีทแี่ อบแฝงอยู ่ ก็คอื กำรหันมำใช้ไฮโดรเจนกันมำกขึน้ ก็จะท�ำให้สิ้นสุดยุคกำรใช้ควำมเป็นเจ้ำของบ่อน�้ำมันดิบมำเป็น เครื่องมือสงครำมเศรษฐกิจและกำรเมือง ไฮโดรเจนสำมำรถผลิตได้หลำยแนวทำง แนวทำงที่เป็น จุ ด มุ ่ ง หมำยสู ง สุ ด ของกำรพั ฒ นำไปสู ่ โ ลกพลั ง งำนสะอำด คือ “Green Electrohydrolysis” ซึ่งจะผลิตไฮโดรเจนด้วยกำร แยกโมเลกุลของน�้ำด้วยไฟฟ้ำจำกพลังงำนหมุนเวียน


161

Everlasting Economy

คือ การผลิตไฮโดรเจน ด้วยการแยกโมเลกุล ของน�้าด้วยไฟฟ้า จากพลังงานหมุนเวียน เป็นกระบวนการผลิต ไฮโดรเจนที่ที่สะอาดที่สุด เพราะไม่มีการปลดปล่อย ก๊าซเรือนกระจก แต่ใช้ต้นทุนสูงมาก


Chapter 23

โอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว Hydrogen Society

162

แนวทำงนี้ถือเป็นกำรผลิตไฮโดรเจนที่ไม่มีกำรปลดปล่อย ก๊ำซเรือนกระจก เป็นแนวทำงที่สะอำดที่สุด ทั้งนี้ รัฐบำลญี่ปุ่น มี แ ผนกำรพั ฒ นำโครงกำรผลิ ต ไฮโดรเจนด้ ว ยวิ ธีดั ง กล่ ำ ว ที่เขตจังหวัดฟูกูชิมะ น�ำไฟฟ้ำจำกพลังงำนลมและควำมร้อน ใต้พิภพมำใช้ในกระบวนกำรผลิตด้วย ซึ่งขณะนี้ก�ำลังเร่งด�ำเนิน กำรเพื่อผลิตไฮโดรเจนให้ทันก่อนงำนโอลิมปิกจะเริ่มขึ้น อย่ำงไร ก็ตำมกำรผลิตแนวทำงนี้เป็นแนวทำงที่มีต้นทุนสูงมำก จึงยัง ไม่เป็นที่นิยมเท่ำใดนัก ส�ำหรับแนวทำงที่ได้รบั ควำมนิยมมำกกว่ำในปัจจุบนั คือ กำรผลิตไฮโดรเจนจำกก๊ำซธรรมชำติดว้ ยกระบวนกำรเคมีควำมร้อน ที่เรียกว่ำ “Steam Reformer” ซึ่งมีต้นทุนต�่ำกว่ำ แต่มีข้อเสีย คื อ ท� ำ ให้ เ กิ ด ก๊ ำ ซคำร์ บ อนมอนอกไซด์ จ ำกปฏิ กิ ริ ย ำเคมี ในกระบวนกำรผลิ ต จึ ง อำจถู ก มองว่ ำ เป็ น วิ ธีที่ น� ำ มำใช้ เ พี ย ง ชั่วครำวระหว่ำงรอให้ Green lectrohydrolysis ได้รับกำรพัฒนำ จนมีต้นทุนที่ถูกลงกว่ำนี้ นอกจำกนีย้ งั มีกำรน�ำไฮโดรเจนซึง่ เป็นผลพลอยได้ในกำร ผลิตสำรเคมีต่ำงๆ เช่น โซดำไฟ มำใช้เป็นเชื้อเพลิงอีกด้วย โดยกำรเปลี่ยนไฮโดรเจนให้เป็นพลังงำนที่พร้อมใช้งำนจะต้อง อำศั ย อุ ป กรณ์ ที่ เ รี ย กว่ ำ “Fuel Cell” หรื อ เซลล์ เ ชื้ อ เพลิ ง เป็นอุปกรณ์ที่ท�ำให้เกิดปฏิกิริยำไฟฟ้ำเคมีโดยเปลี่ยนพลังงำน ที่เกิดจำกกำรรวมไฮโดรเจนและออกซิเจนจำกอำกำศให้เกิด เป็นพลังงำนไฟฟ้ำ กระบวนกำรดังกล่ำวไม่มีกำรปลดปล่อย ก๊ ำ ซเรือ นกระจกใดๆ มีแ ต่ เ พีย งน�้ำ บริสุท ธิ์ที่เ ป็ น ผลพลอยได้ จำกปฏิกิรยิ ำไฟฟ้ำเคมีเท่ำนั้น กำรผลิ ต ไฟฟ้ ำ จำกเซลล์ เ ชื้ อ เพลิ ง จึ ง เป็ น ทำงเลื อ ก ที่น่ำสนใจมำกส�ำหรับกำรผลิตไฟฟ้ำจำกพลังงำนสะอำด กำรใช้ ไฮโดรเจนผลิตไฟฟ้ำตำมบ้ำนเรือน มักมีรูปแบบเป็นกำรส่งก๊ำซ


163

Everlasting Economy

ธรรมชำติทผี่ ลิตจำกโรงแยกก๊ำซไปตำมระบบท่อก๊ำซ ซึ่ ง ตำมบ้ ำ นเรื อ นจะต้ อ งติ ด ตั้ ง ระบบ Reformer เพื่อแปลงก๊ำซธรรมชำติเป็นไฮโดรเจน และติดตั้ง ระบบเซลล์ เ ชื้ อ เพลิ ง เพื่ อ น� ำ ไฮโดรเจนไปใช้ ผ ลิ ต กระแสไฟฟ้ำอีกทีหนึง่ เซลล์เชือ้ เพลิงทีใ่ ช้ในกำรผลิต ไฟฟ้ำจะเป็นประเภท Solid Oxide ท�ำงำนที่อุณหภูมิ สูงหลำยร้อยองศำเซลเซียส ในกำรผลิตไฟฟ้ำจะยัง มีควำมร้อนเหลือ สำมำรถน�ำไปใช้ประโยชน์อนื่ ๆ ต่อ ได้อีก เช่น ผลิตน�้ำร้อนไว้ใช้ในบ้ำนหรือใช้ในกำรให้ ควำมอบอุ่น อย่ ำ งไรก็ ต ำมประเทศไทยไม่ เ หมำะกั บ แนวทำงนี้เท่ำไหร่เพรำะบ้ำนเรำไม่มีระบบท่อส่ง ก๊ำซธรรมชำติไปตำมบ้ำนเรือน และประเทศไทย ตัง้ อยูใ่ นเขตอำกำศร้อนจึงมีควำมต้องกำรควำมร้อน ที่เหลือจำกกำรผลิตไฟฟ้ำต�่ำเมื่อเทียบกับประเทศที่ อำกำศหนำว นอกจำกกำรใช้ไฮโดรเจนผลิตไฟฟ้ำตำมบ้ำน เรือนแล้ว ตอนนีย้ งั มีกำรใช้ไฮโดรเจนผลิตไฟฟ้ำตำม อำคำรขนำดใหญ่และโรงงำนอีกด้วย แต่เนื่องจำก เซลล์เชื้อเพลิง Solid Oxide ยังมีรำคำแพงอยู่ จึงมี กำรใช้งำนเฉพำะในพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั กำรสนับสนุนจำกรัฐ เท่ำนั้น ในส่วนของกำรใช้ไฮโดรเจนในรถยนต์ซ่งึ มัก ต้องกำรระบบผลิตพลังงำนที่น�้ำหนักเบำเพื่อให้รถ ไม่ต้องแบกรับน�้ำหนักเยอะเกินไป จะนิยมใช้เซลล์ เชื้อเพลิงประเภท Polymer Electrolyte Membrane (PEM) มำกกว่ำ โดยเซลล์ PEM นี้สำมำรถเปลี่ยน ไฮโดรเจน 1 กิ โ ลกรั ม ให้ เ ป็ น พลั ง งำนส� ำ หรั บ


Chapter 23

โอลิมปิก 2020 ที่โตเกียว Hydrogen Society

164

Steam Reformer คือ การผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซธรรมชาติ ด้วยกระบวนการเคมีความร้อน ซึ่งมี ต้นทุนต�่ากว่า แต่มีข้อเสียคือท�าให้เกิดก๊าซ คาร์บอนมอนอกไซด์จากปฏิกิริยาเคมี ในกระบวนการผลิต


165

Everlasting Economy

ขับเคลื่อนรถยนต์ได้ไม่ต�่ำกว่ำ 100 กิโลกรัม ซึ่งรถยนต์ที่เติม ไฮโดรเจนเต็มถังสำมำรถวิ่งได้ไกลประมำณ 400-500 กิโลเมตร อี ก ทั้ ง กำรเติ ม ไฮโดรเจนให้ เ ต็ ม ถั ง จะใช้ เ วลำเพี ย งไม่ กี่ น ำที จึ ง เป็ น จุ ด เด่ น เหนื อ รถยนต์ ไ ฟฟ้ ำ ที่ ใ ช้ แ บตเตอรี่ ซึ่ ง ใช้ เ วลำ ชำร์จไฟฟ้ำนำนกว่ำแต่วิ่งได้ในระยะสั้นกว่ำ ซึ่งกำรพัฒนำให้ รถยนต์ไฮโดรเจนสำมำรถตีตลำดรถยนต์ถอื ว่ำยังเป็นเรือ่ งยำกอยู ่ เนื่องจำกรถยนต์ไฮโดรเจนยังมีรำคำแพงมำก โดยรำคำรถยนต์ ไฮโดรเจนในญีป่ นุ่ เช่น Toyota Mirai และ Honda Clarity มีรำคำ ประมำณกว่ำ 6-8 ล้ำนเยน (รวมภำษี) เป็นเพรำะเซลล์เชื้อเพลิง PEM ต้องใช้แพลทตินั่มเป็นตัวเร่งปฏิกิริยำและวัสดุที่ใช้ท�ำถัง ไฮโดรเจนมีต้นทุนที่สูง รวมถึงยังมีอุปสรรคอื่นๆ อีกมำก เช่น ต้นทุนของกำรผลิตไฮโดรเจนและต้นทุนของสถำนีบริกำรทีส่ งู มำก อี ก ทั้ ง จ� ำ นวนสถำนี บ ริ ก ำรไฮโดรเจนที่ ยั ง ไม่ เ พี ย งพอต่ อ ควำมต้องกำร ควำมปลอดภัยในกำรขนส่งก๊ำซไฮโดรเจนซึ่งเป็น ก๊ำซที่ติดไฟและระเบิดได้ง่ำยจำกแหล่งผลิตไปยังสถำนีบริกำร ต่ำงๆ ที่ส�ำคัญ ควำมปลอดภัยของกำรใช้รถยนต์ที่ติดตั้งถังก๊ำซ ไฮโดรเจนมำใช้บนท้องถนน เป็นต้น ด้วยเหตุผลต่ำงๆ ที่เล่ำมำ ผมจึงมองว่ำถึงแม้ไฮโดรเจน จะมีขอ้ ดีหลำยอย่ำง แต่ดว้ ยอุปสรรคต่ำงๆ ทีม่ ขี ณะนีจ้ งึ ถือว่ำกำร ผลักดันไฮโดรเจนให้กลำยเป็นเชื้อเพลิงทำงเลือกแห่งโลกอนำคต จึงยังไม่ใช่เรื่องง่ำยนัก ควำมคิดสร้ำงสรรค์ที่ว่ำนี้จะประสบ ควำมส�ำเร็จได้ต้องมีแผนกำรพัฒนำที่ชัดเจน หนีไม่พ้นที่ภำครัฐ จะต้องลงแรงให้กำรสนับสนุนอย่ำงเต็มทีต่ ลอดจนได้รบั ควำมร่วมมือ จำกผู้ประกอบกำรทุกภำคส่วนที่มีควำมตั้งใจแน่วแน่เท่ำนั้นครับ


CHAPTER โซลาร์หยอดเหรียญ


167

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 สิงหาคม 2559

ท่านผูอ้ า่ นครับผมขอเขียนเรือ่ งพลังงานจากแสงอาทิตย์อกี นิดเพราะมีเรือ่ งทีน่ า่ สนใจ คือเรือ่ งราคาทีข่ ายเข้า Grid นัน่ เอง ไม่นา่ เชือ่ ว่าเมือ่ เดือนพฤษภาคมทีผ่ า่ นมาการประมูลซือ้ ขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทดี่ ไู บมีราคาลดลงมากต�า่ กว่ายูนติ ละ 3 เซนต์สหรัฐ เทียบกับ เงินไทยไม่ถงึ 1 บาท ถูกกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน และในเดือนเดียวกันนีท้ ปี่ ระเทศ อังกฤษซึ่งมีอากาศขมุกขมัว กลับมีการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ได้มากกว่าไฟฟ้าที่ ผลิตจากถ่านหินเป็นสัญญาณว่าการผลิตพลังงานของโลกเราก�าลังมาถึงจุดเปลีย่ นจากยุค ที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่โลกแห่งพลังงานคาร์บอนต�่ามากขึ้น ซึ่งดีต่อโลกของเรา


168

Chapter 24

โซลาร์หยอดเหรียญ

แนวโน้มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนไม่ได้พฒ ั นา เฉพาะโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านัน้ ช่วง 4-5 ปีทผี่ า่ นมามีการลงทุน ในรูปแบบการติดตัง้ เซลล์แสงอาทิตย์ตามหลังคาอาคารบ้านเรือน (Solar Rooftop) ก�าลังเป็นที่นิยมกันมากในหลายประเทศรวมถึง ทั้งไทย ทั้งนี้ การติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ตามหลังคาบ้าน หรืออาคารแม้จะช่วยลดปริมาณไฟฟ้าที่ต้องซื้อจากการไฟฟ้า ท� า ให้ ป ระหยั ด ค่ า ไฟบ้ า นหรื อ อาคารในแต่ ล ะเดื อ นได้ ก็ ต าม แต่การติดตั้งระบบเองยังคงต้องใช้เงินลงทุนสูงมากพอสมควร ในระยะอันใกล้น้ี อย่างไรก็ตาม คาดว่าปี 2020 ต้นทุนแผง PV ซึ่งเป็น อุปกรณ์หลักของโรงไฟฟ้าโซลาร์จะลดลงมาอยู่ท่ี 30 เซนต์สหรัฐ หรือประมาณ 10 บาทต่อวัตต์ ท�าให้ต้นทุนไฟฟ้าจากพลังงาน


169

หมายถึง ระบบโครงข่าย ไฟฟ้า ที่เชื่อมต่อไฟฟ้า จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค โดยเริ่มต้นจากโรงไฟฟ้า หรือระบบผลิตไฟฟ้าต่างๆ เข้าสู่ระบบส่งไฟฟ้า เช่น สายไฟฟ้าแรงสูง เข้าสู่ระบบจ�าหน่าย และส่งไปยังผู้ใช้ไฟฟ้า ในพื้นที่

Everlasting Economy

แสงอาทิตย์เข้าสู่ Grid Parity คือมีราคาแข่งขันได้ กับค่าการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าประเภทอืน่ ๆ ท�าให้ น่าลงทุนมากขึ้น สิ่งที่น่าตื่นเต้น คือ มีผู้คดิ นวัตกรรมการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ“โซลาร์หยอด เหรียญ” หรือ “Prepaid Solar” ซึ่งมีหลักการคล้าย กับ Prepaid Mobile หรือโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงิน หลักการท�างานของระบบ Prepaid Solar คือ ในเบือ้ งต้นผูป้ ระกอบการจะท�าการติดตัง้ ระบบเซลล์ แสงอาทิตย์ไว้ตามหลังคาบ้านเรือน เจ้าของบ้านทีไ่ ด้ รับการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ไม่ต้องจ่าย ค่ า ติ ด ตั้ ง แค่ เ พี ย งลงทะเบี ย นเพื่ อ สร้ า งบั ญ ชี ส� า หรั บ ซื้ อ ไฟฟ้ า จากผู ้ ข ายผ่ า นทางเว็ บ ไซต์ ห รื อ ใน Application บนมือถือทีบ่ ริษทั ผูผ้ ลิตและขายไฟฟ้า Solar Roof ก�าหนดไว้ ระบบ Solar Prepaid ถือเป็นโมเดลที่สามารถ เจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคไฟฟ้าที่มีรายได้น้อยตาม ชนบท โดยเฉพาะในชุมชนในเขตห่างไกลสายส่งหรือ Off-grid ได้เป็นอย่างดี เนือ่ งจากผู้บริโภคไม่ต้องออก เงินลงทุน และสามารถซือ้ ไฟฟ้าตามงบประมาณทีม่ ี ระบบ Prepaid Solar ที่ว่านี้มีการน�ามาใช้แล้วใน หลายประเทศ เช่น อินเดีย แทนซาเนีย เคนย่า อูกนั ดา เป็นต้น ส� า หรั บ ประเทศไทยหากรั ฐ มี ก ารปรั บ กฎเกณฑ์ควบคุมการจ�าหน่ายไฟฟ้าให้สามารถน�าระบบ Prepaid มาใช้ ก็จะช่วยดึงดูดให้ประชาชนที่ไม่ได้ มีเงินทุนหรือมีรายได้สูงหันมาใช้ไฟฟ้าจากพลังงาน


170

Chapter 24

โซลาร์หยอดเหรียญ

หมายถึง ระบบการผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ไม่ได้ เชื่อมต่อกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ เจ้าของระบบสามารถผลิตไฟฟ้า ใช้เองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาไฟฟ้า จากผู้ผลิตรายใหญ่ อย่างเช่น การไฟฟ้านครหลวง หรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

หมายถึง ระบบการผลิตไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ที่เชื่อมต่อ กับผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ โดยมีอุปกรณ์ส�าหรับแปลงไฟ เชื่อมต่อเข้าระบบของการไฟฟ้า เพื่อท�าการขายไฟฟ้าคืน


171

Everlasting Economy

แสงอาทิตย์มากขึ้น ช่วยลดความจ�าเป็นในการพึ่งพาไฟฟ้าจาก พลังงานฟอสซิลอื่นๆ ในช่วงกลางวันซึ่งมักเป็นช่วงที่มีความ ต้องการไฟฟ้าสูงมาก (On-peak Period) จุดอ่อนของระบบผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ คือสามารถ ผลิตไฟฟ้าได้เฉพาะช่วงเวลากลางวันเท่านั้น ในช่วงกลางคืนอาจ ต้องพึ่งพาไฟฟ้าจากแหล่งอื่น เช่น ไฟฟ้าจากระบบสายส่ง ระบบ เก็บสะสมพลังงาน (Energy Storage) เป็นต้น ซึง่ รัฐบาลจะต้องช่วย ผลักดัน สนับสนุนการติดตั้งระบบเก็บสะสมพลังงานเพิ่มเติม ส�าหรับโครงการที่อยู่ห่างไกลสายส่งก็จะช่วยแก้ไขข้อจ�ากัดได้ ผมเชือ่ ว่าในอนาคตระบบ Prepaid Solar จะสามารถขยาย ฐานลูกค้าได้อย่างแพร่หลายแล้วยังถือว่าเป็นการกระจายแหล่ง ผลิตไฟฟ้า (Distributed Power Generation) ไม่ให้กระจุกตัวอยู่แค่ ตามโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ เพือ่ ลดปัญหาระบบสายส่งคับคัง่ เหมือน กับระบบ IT ที่เปลี่ยนผ่านจาก On premise Server เป็นระบบ Cloud โซลาร์หยอดเหรียญ หรือ Prepaid Solar จะเป็นอีกทาง เลือกหนึง่ ส�าหรับรัฐบาลทีจ่ ะผลักดันให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจ การผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนให้เติบโตในเมืองไทยได้ โดยให้ มีหุ้นส่วนรายย่อยใหม่ๆ มีส่วนร่วมมากขึ้น


MOBIL & STOR CHAPTER 25

อะไรคือค�ำตอบ ของรถยนต์ไฟฟ้ำ

CHAPTER 28

รถวิ่งได้ล้ำนไมล์ ควำมฝัน ควำมจริง

CHAPTER 26

นวัตกรรมแบตเตอรี่ สะสมพลังงำน

CHAPTER 29

CHAPTER 27

รถยนต์ไร้คนขับ.. The Next Revolution Begins

เดินทำงที่เป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม ด้วยรถยนต์ไฟฟ้ำ

CHAPTER 30

เครื่องบินพลังงำนสะอำด นวัตกรรมที่บรรเจิด


LITY ORAGE

03 SECTION

CHAPTER 31

ลิเทียม..ดำวรุ่งดวงใหม่ แห่งวงกำรพลังงำน

CHAPTER 32

Startup ระบบเก็บสะสม พลังงำน ‘เรำท�ำได้’

CHAPTER 33

จำกลิเทียม สู่พลังงำนสะอำด สร้ำงสังคมสีเขียว

CHAPTER 34

Energy Storage สร้ำงเสถียรภำพไฟฟ้ำ จำกพลังงำนหมุนเวียน

CHAPTER 35

รีไซเคิลลิเทียม จุดประกำยธุรกิจ Startup


CHAPTER อะไรคือค�ำตอบของรถยนต์ไฟฟ้ำ


175

ค�ำตอบ เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 กันยายน 2558

OICA หรือ Organisation Internationale des Constructeurs d’Automobiles ระบุว่าปัจจุบัน รถที่วิ่งบนท้องถนนทั่วโลกมี 1,200 ล้านคัน ทาง International Energy Agency (IEA) จึงได้ส�ารวจปริมาณการใช้พลังงานเฉพาะการสัญจรทางบกพบว่าต้องขุด น�า้ มันขึน้ มาใช้ 40 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถือว่ามากเลยทีเดียว โลกใบนีถ้ งึ ได้แปรปรวนตลอดเวลา เพราะเชื้อเพลิงส่วนใหญ่มาจากพลังงานฟอสซิลที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ


Chapter 25

อะไรคือค�ำตอบของรถยนต์ไฟฟ้ำ

176

หลายประเทศทั่วโลกจึงได้พยายามหันมาส่งเสริมการใช้ เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เช่น ไบโอดีเซล (Biodiesel) และ ไบโอเอทานอล (Bioethanol) พลังงานสะอาด ที่ผลิตจากพืชผล ทางการเกษตร เช่น ปาล์ม มันส�าปะหลัง อ้อย เป็นต้น พลังงาน ทดแทนเหล่านี้สามารถน�ามาใช้แทนพลังงานฟอสซิล เทียบเท่า กับน�้ามันดิบ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพียงร้อยละ 4 ของ พลังงานที่ใช้ในการขนส่ง ท�าให้ค่ายรถยักษ์ใหญ่หลายบริษัท ได้วิจัยพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าขึ้นและทยอยเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า รุ่นใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ปีทแี่ ล้วทุกประเทศผลิตรถใหม่ออกมาวิง่ บนถนนประมาณ 88 ล้านคัน ในจ�านวนนี้มีรถยนต์ไฟฟ้าเกือบ 2 ล้านคัน รถยนต์ ไฟฟ้าไฮบริดขายได้มากที่สุด คนในประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ที่มีใจรักษ์โลก ดูแลสิ่งแวดล้อมนิยมซื้อมาใช้ ยอดจ�าหน่ายรถไฟฟ้าของประเทศเหล่านี้ติดอันดับท็อปของโลก ประกอบกับรัฐบาลของเขาออกมาตรการอุดหนุนในหลายด้าน อาทิ เก็บภาษีในอัตราที่ต�่า ให้ติดตั้งที่ชาร์จไฟฟ้าตามหน่วยงาน ราชการ สถานที่สาธารณะ ฯลฯ ส่วนประเทศไทยเรามีรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อน ด้วยไฟฟ้าประเภทไฮบริดไปจดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก ณ ปี 2557 ประมาณ 62,629 คัน ขณะที่รถขับเคลื่อนด้วยระบบ ไฟฟ้าอืน่ ๆ มีเพียง 36 คัน เท่านัน้ น้อยมากเมือ่ เทียบกับรถยนต์นงั่ ส่วนบุคคลทีจ่ ดทะเบียนกว่า 7 ล้านคัน เรือ่ งนีส้ ภาปฏิรปู แห่งชาติ หรือ สปช. เห็นชอบให้คณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานศึกษา แนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยให้เพิม่ มากขึน้ องค์ ป ระกอบที่ ส� า คั ญ ของรถยนต์ ไ ฟฟ้ า ส่ ว นใหญ่ ใ ช้ แบตเตอรีก่ กั เก็บพลังงานเพือ่ ส่งต่อไปยังมอเตอร์ขบั เคลือ่ นรถยนต์ ซึ่ ง รถไฟฟ้ า ที่ ค ่ า ยผู ้ ผ ลิ ต รถยนต์ ไ ด้ พั ฒ นาออกสู ่ ต ลาดขณะนี้

6


62,629 177

คัน คือ จ�านวน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ประเภทไฮบริดที่แจ้ง จดทะเบียนกับกรมขนส่ง ทางบก ณ ปี 2557

Everlasting Economy

มีรถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle) เครื่องยนต์สันดาปภายในโดยใช้น�้ามันเป็นเชื้อเพลิง เหมือนรถยนต์ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเป็นก�าลังหลักและ มีแบตเตอรี่ซึ่งสามารถเก็บพลังงานที่เกิดจากการ เบรกในรู ป พลั ง งานไฟฟ้ า มาใช้ เ ป็ น เชื้ อ เพลิ ง รอง ในการขับเคลื่อนรถ รถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) มีแบตเตอรีส่ า� หรับชาร์จไฟจากแหล่ง ไฟฟ้าภายนอก เช่น ไฟบ้านหรือตู้จ่ายไฟ เป็นแหล่ง เชื้อเพลิงหลัก และมีเครื่องยนต์สันดาปภายในเป็น เชื้ อ เพลิ ง รองในการขั บ เคลื่ อ นรถรถยนต์ ไ ฟฟ้ า แบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle) มีแบตเตอรี่ ส�าหรับชาร์จไฟจากแหล่งไฟฟ้าภายนอก เป็นแหล่ง เชื้อเพลิงส�าหรับขับเคลื่อนรถ และรถยนต์ไฟฟ้า


Chapter 25

อะไรคือค�ำตอบของรถยนต์ไฟฟ้ำ

178

เซลล์เชือ้ เพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle) ทีม่ อี ปุ กรณ์ ส�าหรับแปลงเชือ้ เพลิงไฮโดรเจนและอากาศให้กลาย เป็นพลังงานไฟฟ้า สามารถท�างานควบคูก่ บั แบตเตอรี่ เพื่อขับเคลื่อนรถ ส�าหรับประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้ รถยนต์ไฟฟ้าจะบุกตลาดได้น่าจะมีเพียงรถยนต์ ไฟฟ้าประเภทไฮบริดเท่านั้น เพราะผู้ขับขี่ไม่ต้อง ปรับเปลีย่ นพฤติกรรมมากนัก ไม่ตอ้ งคอยเสียบปลัก๊ ชาร์จไฟทุกคืน ไม่ต้องกังวลว่าไฟในแบตเตอรี่จะ เพียงพอต่อการเดินทางไปยังเป้าหมายหรือไม่ อย่างไรก็ตาม มีคนไทยกลุม่ หนึง่ มากพอสมควร เป็นผู้ที่มีหัวใจสีเขียว รักสิ่งแวดล้อมและรายได้สูง ยินดีซื้อรถไฮบริดมาใช้แม้ราคาจะสูงกว่ารถยนต์ ทัว่ ไปในท้องตลาดก็ตาม ทีผ่ า่ นมารัฐบาลไทยได้ปรับ โครงสร้างภาษีรถยนต์ประเภทอีโคคาร์ให้ถกู ลง มีสว่ น ช่วยให้คนสนใจซื้อมาใช้มากขึ้น ส่ ว นรถยนต์ ไ ฟฟ้ า ประเภทอื่ น ๆ คาดว่ า ภายใน 5 ปีนไี้ ม่นา่ จะบุกตลาดได้มากนักเพราะราคา แพงกว่ารถยนต์ทั่วไปครึ่งหนึ่ง แม้จะช่วยประหยัด ค่ า น�้ า มั น เชื้ อ เพลิ ง ก็ ต าม เนื่ อ งจากค่ า เชื้ อ เพลิ ง ทีป่ ระหยัดได้ตลอดอายุการใช้งานยังไม่สงู เท่าส่วนต่าง ระหว่างราคารถยนต์ไฟฟ้ากับราคารถยนต์ท่วั ไป ไหนจะเรื่องสถานีชาร์จไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอ ท� า ให้ กั ง วลว่ า แบตเตอรี่ อ าจจะหมดระหว่ า งทาง เพราะรถยนต์ไฟฟ้าส่วนมากวิ่งได้ประมาณ 120-300 กิ โ ลเมตรต่ อ หนึ่ ง รอบการชาร์ จ แบตเตอรี่ เ ท่ า นั้ น ที่ส�าคัญคือเรื่องความมั่นใจเกี่ยวกับความปลอดภัย

36 คัน คือ จ�านวนรถยนต์ นั่งสวนบุคคลที่ขับเคลื่อน ด้วยระบบไฟฟ้าอื่นๆ ที่แจ้ง จดทะเบียนกับกรมขนส่ง ทางบก ณ ปี 2557


179

ล้าน คัน คือ จ�านวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลโดยรวม ที่แจ้งจดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก ณ ปี 2557

Everlasting Economy

ของระบบแบตเตอรี่ ระบบจ่ายไฟเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือน�า้ ท่วม อายุการใช้งานของแบตเตอรี่ การรองรับ ของบริษัทประกันภัย และอู่ซ่อมรถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ ไว้วันหลังผมจะเล่า Model การชาร์จแบตเตอรี่ให้ฟัง กุ ญ แจส� า คั ญ ที่ จ ะท� า ให้ ร ถไฟฟ้ า อยู ่ ใ นใจ ของคน คือ การพัฒนาแบตเตอรีส่ า� หรับรถยนต์ไฟฟ้า ให้ มี ต ้ น ทุ น ต�่ า ลง มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพดี ขึ้ น ปั จ จุ บั น แบตเตอรี่ที่นิยมมาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดคือ ลิเทียมไอออน (Lithium ion) มีค่าความหนาแน่น พลังงานประมาณ 150-300 วัตต์ชั่วโมงต่อกิโลกรัม สูงกว่าแบตเตอรี่ตะกั่วกรดที่ใช้กันทั่วไปในรถยนต์ ปัจจุบันกว่า 5 เท่า แต่ลิเทียมไอออนยังมีปัญหา เรื่องอายุการใช้งาน ความปลอดภัย และมีต้นทุน สูงถึง 400-700 ดอลลาร์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง หรือ คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของต้นทุนผลิตรถยนต์ ความท้าทายของค่ายรถยนต์ใหญ่คอื จะท�า อย่ า งไรให้ ลิ เ ที ย มไอออนมี ต ้ น ทุ น การผลิ ต ต�่ า ลง ซึง่ คาดว่าอีก 5 ปีขา้ งหน้า น่าจะมีราคาที่ 200 ดอลลาร์ ต่อกิโลวัตต์ชวั่ โมง ถึงจะจูงใจให้คนซือ้ มากขึน้ โลกเรา ก็จะสดใสขึ้น


CHAPTER

นวัตกรรมแบตเตอรี่สะสมพลังงาน


181

นวัตกรรม พลังงาน

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558

ในยุคปัจ จุบันเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้ามีความก้าวหน้ามากเมื่อเทียบกับสิบกว่าปี ที่ผ่านม า สมัยก่อนมีเพียงโรงไฟฟ้าถ่านหิน หรือไม่ก็โรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาติขนาดใหญ่ เท่านัน้ แต่ในขณะนีป้ ระเทศต่างๆ ทัว่ โลก อาทิ ฝรัง่ เศส เยอรมนี แม้กระทัง่ ในญีป่ นุ่ จีน รวมทัง้ ประเทศไทยของเราได้ให้ความส�าคัญและสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์อย่าง แพร่หลาย อีกหน่อยท่านเดินทางไปต่างจังหวัดจะเห็นโซล่าร์ฟาร์มใหญ่บา้ งเล็กบ้างเต็มไปหมด และตามหลังคาบ้านเรือนก็จะมีแผงโซล่าเซลล์ติดอยู่เป็นจ�านวนมาก หรือบางท่านที่มีโอกาส เดินทางไปหลายประเทศในยุโรปจะคุน้ ตากับกังหันลมส�าหรับผลิตไฟฟ้าทีต่ งั้ เรียงรายระหว่างเมือง หรือในทะเลบางแห่งซึ่งมีมากกว่าสมัยก่อน


Chapter 26

นวัตกรรมแบตเตอรี่สะสมพลังงาน

182

อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีกังหันลมและเซลล์แสงอาทิตย์ ผลิตไฟฟ้าอยูม่ ากมายแล้ว เราก็ยงั คงต้องการไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้า แบบดั้งเดิมอยู่ในช่วงกลางคืนที่ไม่มีแดดหรือในช่วงที่ลมสงบ ซึ่งเป็นจุดอ่อนของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน วิศวกร และนั ก ประดิ ษ ฐคิ ด ค้ น จึ ง พยายามปลดล็ อ คปั ญ หาดั ง กล่ า ว โดยเร่งพัฒนาระบบเก็บสะสมพลังงาน (Energy Storage) เพื่อท�า หน้าทีเ่ ก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าทีผ่ ลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์และ พลังงานลมส�ารองไว้ใช้ในช่วงกลางคืนที่ไม่มีแดด หรือในช่วง ลมสงบที่กังหันลมไม่สามารถปั่นไฟได้ เพื่อจะได้มีไฟฟ้าใช้โดย ไม่ต้องพึ่งพาพลังงานชนิดอื่นเพิ่มเติม เทคโนโลยีระบบเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้าถือเป็นเทคโนโลยี ที่ น ่ า จั บ ตามองเนื่ อ งจากเป็ น ความหวั ง ของการผลิ ต ไฟฟ้ า จากพลังงานหมุนเวียนอย่างยั่งยืน แม้ว่าตลาดระบบเก็บสะสม พลังงานจะยังเป็นตลาดน้องใหม่ในกลุ่มธุรกิจพลังงาน แต่ก็ ถือเป็นเทคโนโลยีที่มีค่ายผู้ผลิตหลายๆ ค่ายก�าลังแข่งกันพัฒนา ให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นและมีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง และมีแววว่า จะเติบโตขึ้นหลายเท่าตัวในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ระบบเก็บสะสมพลังงานที่ถูกพัฒนาและน�ามาใช้ใน เชิงพาณิชย์แล้วมีอยู่หลายประเภท เช่น ระบบสะสมพลังงานน�า้ แบบสูบกลับ (Pumped Hydro Energy Storage) ระบบสะสม พลังงานดูดอากาศ (Compressed Air Energy Storage) แบตเตอรี่ (Battery) ฯลฯ โดยประเภทที่ถูกพัฒนาจนมีต้นทุนต�า่ และเป็นที่ นิยมใช้มากที่สุดทั่วโลก คือ ระบบสะสมพลังงานน�า้ แบบสูบกลับ ซึง่ ระบบนีจ้ ะต้องตัง้ อยูใ่ นสภาพภูมปิ ระเทศทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะ คือ เป็นอ่างเก็บน�้าสองอ่างที่ตั้งอยู่บนระดับความสูงที่แตกต่างกัน การท�างานของกังหันน�า้ ในระบบทีต่ งั้ อยูร่ ะหว่างอ่างเก็บน�า้ ทัง้ สองอ่างจะถูกเชือ่ มต่อกับแหล่งก�าเนิดพลังงานไฟฟ้า โดยไฟฟ้า


183

Everlasting Economy

ที่ผลิตได้จะถูกใช้ในการสูบน�้าจากอ่างเก็บน�้าด้าน ล่ า งขึ้ น ไปเก็ บ ไว้ ที่ อ ่ า งเก็ บ น�้ า ด้ า นบนในช่ ว งที่ มี ความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อย และเมือ่ ใดก็ตามทีต่ อ้ งการ จะใช้ไฟฟ้าจากระบบดังกล่าวก็จะต้องท�าการปล่อยน�า้ จากอ่างเก็บน�า้ ด้านบนลงมาด้านล่างเพือ่ ให้นา�้ ทีเ่ ก็บ ไว้ท�าหน้าที่ปั่นกังหันน�้าส�าหรับผลิตไฟฟ้า ในบ้านเราก็มีการใช้ระบบสะสมพลังงานน�้า แบบสู บ กลั บ เช่ น โครงการโรงไฟฟ้ า พลั ง น�้ า ล�าตะคองแบบสูบกลับ จังหวัดนครราชสีมา ระบบ สะสมพลังงานน�า้ แบบสูบกลับจะนิยมสร้างก็ต่อเมื่อ พืน้ ทีท่ จี่ ะสร้างตัง้ อยูใ่ นสภาพภูมปิ ระเทศทีเ่ หมาะสม ตามทีไ่ ด้กล่าวในข้างต้น และเหมาะกับการเก็บสะสม ไฟฟ้ า ในปริ ม าณมากในระดั บ เมกะวั ต ต์ ซึ่ ง ใน บางพื้นที่อาจจะไม่เอื้ออ�านวยและไม่เหมาะกับการ ใช้เป็นระบบสะสมพลังงานในครัวเรือน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเมื่อหลายปีที่ผ่านมาระบบสะสมพลังงานน�้า แบบสู บ กลั บ จะมี ก ารใช้ ง านอยู ่ เ ป็ น จ� า นวนมาก แต่อัตราการเติบโตในอนาคตคงจะเพิ่มขึ้นไม่มาก ดังนั้น เพื่อแก้ไขข้อจ�ากัดดังกล่าว จึงมีการ พัฒนาระบบแบตเตอรีใ่ ห้มาท�าหน้าทีเ่ ก็บสะสมไฟฟ้า ทั้งในระดับไม่กี่กิโลวัตต์จนถึงหลายเมกะวัตต์ และ สามารถน� า มาใช้ ไ ด้ ทั้ ง ระบบผลิ ต ไฟฟ้ า พลั ง งาน หมุนเวียนส�าหรับขนาดครัวเรือนและขนาดโรงไฟฟ้า ปัจจัยหลักทีท่ า� ให้แบตเตอรีไ่ ด้รบั การพัฒนา และมีความต้องการในตลาดสูงขึ้น เนื่องจากรัฐบาล ของหลายประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาออสเตรเลีย และในยุโรป ออกมาตรการส่งเสริมให้ประชาชน


12,7 Chapter 26

นวัตกรรมแบตเตอรี่สะสมพลังงาน

184

ติ ด ตั้ ง ระบบผลิ ต ไฟฟ้ า เซลล์ แ สงอาทิ ต ย์ บ นหลั ง คาบ้ า นเรื อ น พร้อมติดตั้งระบบเก็บสะสมพลังงานตามบ้านเรือนขึ้น เพื่อให้ สามารถน�าพลังงานมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเก็บส�ารอง ไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวันไว้ใช้ในช่วงกลางคืน ท�าให้ลด การพึ่ ง พาพลั ง งานไฟฟ้ า จากถ่ า นหิ น หรื อ ก๊ า ซธรรมชาติ ไ ด้ อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ แบตเตอรี่ที่น�ามาใช้ส�าหรับการเก็บไฟฟ้าจากระบบ ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ตามชนิดขั้วแบตเตอรี่ เช่น แบตเตอรี่ตะกั่วกรดขั้นสูง (Advanced Lead Acid Battery) แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Ion Lithium Battery) และแบตเตอรี่โซเดียมซัลเฟอร์ (Sodium Sulphur Battery) โดย ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออน


749 $ 185

เนือ่ งจากมีคณ ุ สมบัตติ า่ งๆ ทีเ่ หมาะสม เช่น เก็บสะสม พลังงานได้มากในขนาดทีเ่ ล็กและน�า้ หนักเบา มีอายุ การใช้งานค่อนข้างนาน และราคาต�า่ กว่าประเภทอืน่ นอกจากแบตเตอรี่ ลิ เ ที ย มไอออนจะเป็ น เทคโนโลยี ที่ นิ ย มน� า มาใช้ ท� า หน้ า ที่ เ ป็ น ระบบ เก็บสะสมไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนแล้ว แบตเตอรี่ชนิดนี้ยังเป็นที่นิยมส�าหรับใช้กับอุปกรณ์ ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค โทรศัพท์มอื ถือ และ อุปกรณ์สมาร์ทเทคโนโลยีต่างๆ รวมไปถึงแบตเตอรี่ ส�าหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ไฮบริดด้วย ท�าให้ เป็ น แบตเตอรี่ ลิ เ ที ย มไอออนเป็ น แบตเตอรี่ ที่ มี การพัฒนาทัง้ ด้านคุณภาพและราคาก้าวกระโดดกว่า

Everlasting Economy

หรือประมาณ 420,000 บาท คือ ค่าใช้จ่ายในการซื้อ และติดตั้งแบตเตอรี่ Tesla Powerwall2 ในสหรัฐอเมริกา ที่บริษัทผู้รับติดตั้งเทคโนโลยี โซล่าเซลล์ทั่วไปได้เปิดให้ ประชาชนใช้บริการ ซึ่ง Tesla Powerwall2 จะเป็นแบตเตอรี่รุ่นถัดมา จาก Tesla Powerwall ซึ่งมีรูปร่างและคุณสมบัติ ที่พัฒนาขึ้นมาอีกขั้น


นวัตกรรมแบตเตอรี่สะสมพลังงาน

คือ ประมาณการมูลค่าตลาดของธุรกิจ Battery Energy Storage ทั่วโลกในปี 2023 ซึ่งปัจจัยหลายอย่างที่จะส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจนี้ ได้แก่ ความต้องการ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเพื่อตอบสนองการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน การลดลงของราคาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน

8,540,000,000 $

Chapter 26

186


187

Everlasting Economy

แบตเตอรี่ชนิดอื่นๆ ล่าสุดเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมาค่ายรถยนต์ในต่างประเทศ ก็เริ่มทยอยประกาศเปิดตัวแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนซึ่งใช้ส�าหรับ เก็บไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนขนาดครัวเรือน เช่น ค่ายรถยนต์ เทสล่ า (Tesla) ซึ่ ง เป็ น ค่ า ยรถยนต์ ไ ฟฟ้ า โด่ ง ดั ง ในประเทศ สหรัฐอเมริกา โดยได้ท�าการเปิดตัวพาวเวอร์วอลล์ (Powerwall) ระบบเก็บ สะสมไฟฟ้ า ประเภทแบตเตอรี่ลิเ ทีย มไอออนขนาด 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง และ 7 กิโลวัตต์ชั่วโมง ราคาประมาณ 350 และ 430 เหรี ย ญสหรั ฐ ต่ อ กิ โ ลวั ต ต์ ชั่ ว โมง ตามล� า ดั บ นอกจากนี้ก็ยังมีผู้ผลิตแบตเตอรี่ค่ายอื่นๆ อีกมากมายที่พัฒนา และเปิดตัวแบตเตอรีม่ าแข่งกับค่ายเทสล่า เช่น เมอร์เซเดส-เบนซ์ (Mercedez-Benz) พานาโซนิค (Panasonic) ซัมซุง-เอสดีไอ (Samsung SDI) แม้ว่าพาวเวอร์วอลล์ของเทสล่าจะมีราคาถูกและเป็น ทีส่ นใจของสือ่ มวลชนจนมีผสู้ งั่ จองนับหมืน่ ราย แต่กย็ งั ถือว่าราคา ค่อนข้างสูงส�าหรับผูบ้ ริโภคทัว่ ไป จากสภาวะการแข่งขันของผูผ้ ลิต ในตลาดแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนซึ่งล้วนแต่เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ ท�าให้ตลาดคาดคะเนว่าอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้าราคาแบตเตอรี่ ลิเทียมไอออนน่าจะลดลงต�่ากว่า 200 เหรียญสหรัฐต่อกิโลวัตต์ ชัว่ โมง เมือ่ ถึงเวลานัน้ ตลาดแบตเตอรีน่ า่ จะเติบโตเพิม่ ขึน้ อีกหลาย เท่าตัว ผมคิดว่าอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าจะมีการพัฒนาได้ อีกไกล โดยเห็นได้จากบ้านเรือนนับพัน นับหมืน่ อาจจะเป็นแสนหลัง ติดตัง้ โซล่าเซลล์บนหลังคาบ้านและมีระบบสะสมพลังงานรองรับ พร้อมใช้งานอย่างมีเสถียรภาพ โดยลดการพึง่ พาไฟฟ้าจากโรงงาน ไฟฟ้าฟอสซิลแบบเดิมๆ ได้


CHAPTER รถยนต์ ไร้คนขับ..The Next Revolution Begins


189

รถยนต์ไร้คนขับ Revolution เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558

นวัตกรรมยานยนต์กา้ วล�า้ ทันสมัยจริงๆ ท่านผูอ้ า่ นคงได้รบั ทราบว่าเดีย๋ วนีม้ รี ถยนต์ ไร้คนขับหรือ Driverless Car เกิดขึ้นจริง ไม่แค่จินตนาการ หรือเห็นในภาพยนต์เท่านั้น แม้จะมีไม่กี่คันในโลกแต่จับต้องได้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้เป็นสัญญาณที่บอกว่า เราก�าลังจะก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในอีกไม่ช้า


Chapter 27

รถยนต์ ไร้คนขับ..The Next Revolution Begins

190

ก่ อ นหน้ า นี้ โ ลกของเราผ่ า นการปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรม มาแล้ว 3 ครั้งแล้ว ครั้งแรกเกิดขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีก ารประดิษ ฐ์ เ ครื่อ งจัก รไอน�้า เครื่อ งจัก รกลส�า หรับทุ่ นแรง และมีการคิดค้นยานพาหนะ เช่น รถไฟ ถัดจากนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นยุคแห่งการปฏิวัติ อุตสาหกรรมครั้งที่ 2 มีการน�าไฟฟ้ามาช่วยขับเคลื่อนเครื่องจักร ท�าให้เกิดโรงงานผลิตสินค้าซึ่งสามารถผลิตในปริมาณมากๆ หรือ Mass Production และในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกิดการปฏิวัติ ครั้งที่ 3 เป็นยุคแห่งคอมพิวเตอร์ มีการน�าคอมพิวเตอร์มาช่วย ในการควบคุมกระบวนการผลิต และถูกน�ามาช่วยในการคิด การค�านวณ การประมวลผลต่างๆ มากมาย ส�าหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ก�าลังจะเกิดขึ้น เป็นยุคแห่ง Cyber-Physical Systems น�าความล�้าสมัยของ Cyber ที่มีการคิดค้นประมวลของคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น การติดต่อ สื่อสารผ่านระบบอินเตอร์เน็ต รวมถึงการเก็บและการน�าข้อมูล จากระบบ Cloud มาใช้ สิ่งเหล่านี้จะถูกน�ามาผนวกไว้ในสิ่งที่ เป็น Physical หรือสิ่งที่เราจับต้องได้ ทั้งเครื่องจักรผลิตสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ หรืออุปกรณ์พกพาต่างๆ ท�าให้ ระบบการผลิ ต และสิ่ ง ที่ ถู ก ผลิ ต ขึ้ น ในยุ ค นี้ ส ามารถท� า หน้ า ที่ ของมันได้ แถมยังคิดได้และติดต่อสือ่ สารได้อกี ด้วย ถือว่าครบถ้วน เลยทีเดียว จุดเด่นเหล่านี้จะน�าไปสู่การผลิตสินค้าและการน�าเสนอ บริ ก ารที่ ฉ ลาดมากขึ้ น กว่ า ยุ ค ต่ า งๆ ที่ ผ ่ า นมาและสามารถ ตอบสนองตรงต่อความต้องการของลูกค้ามากยิง่ ขึน้ โดยเทคโนโลยี ซึ่ ง ถื อ เป็ น Highlight แห่ ง การพั ฒ นาของอุ ต สาหกรรมในยุ ค แห่ง Cyber-Physical นี้ ก็คือ Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่เปรียบเหมือนความฉลาดเทียมที่ถูกสร้างขึ้น


2009 191

คือ ปี ค.ศ. ที่ google เริ่มโครงการพัฒนา รถไร้คนขับ โดยมีโตโยต้า พรีอุส เป็นรถที่ใช้ ทดลองในโครงการ ต่อมาก็ได้เริ่มมีการ เชิญชวนพนักงานของกูเกิล ให้ทดลองใช้ บริการนั่งรถไร้คนขับมาท�างาน และไปเที่ยว ในช่วงวันหยุด จนกระทั่งในปี 2016 ก็ได้ตั้ง บริษัทลูกชื่อ Waymo ในการท�าโครงการ รถยนต์ ไร้คนขับมาจนถึงปัจจุบัน

Everlasting Economy

AI ไม่ใช่แค่เพียงหุ่นยนต์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ที่เรา คุ ้ น เคย แต่ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ถู ก ติ ด ตั้ ง ระบบประมวลผลสมองกลที่ มี ความสามารถคล้ า ยสมองของคนเรา มี ป ระสาทสั ม ผั ส รั บ รู ้ สิ่งต่างๆ เพื่อน�าไปแปรผลภายใต้การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล สามารถตัดสินใจ เรียนรู ้ หรือมีการกระท�าต่างๆ ทีเ่ หมือนมนุษย์ ปั จ จุ บั น มี ว งการอุ ต สาหกรรมมากมายหลายสาขาที่ พยายามผนวกความฉลาดแบบ AI เข้ า กั บ สิ น ค้ า หรื อ บริ ก าร ต่างๆ ซึง่ หนึง่ ในสาขาทีม่ กี ารพัฒนาอย่างรวดเร็วและน่าจับตามอง มากที่สุด คือ สาขายานยนต์ไร้คนขับ ขณะนี้ได้รบั การพัฒนาใน เชิงพาณิชย์จากทั้งฝั่งค่าย IT และค่ายผู้ผลิตรถยนต์


Chapter 27

รถยนต์ ไร้คนขับ..The Next Revolution Begins

192

ส�าหรับฝั่ง IT บริษัท Google ถือเป็นยักษ์ใหญ่ท่ีลงทุน พัฒนาในด้านนี้ทั้งระบบขับเคลื่อน Google Self-Driving ระบบ ข้อมูลแผนที่ และการพั ฒ นาการออกแบบตั ว รถ ซึ่ ง รถยนต์ ที่ Google ออกแบบไว้อาจมีรูปร่างภายนอกแตกต่างจากรถยนต์ ทั่วไปบ้างเล็กน้อย แต่ภายในตัวรถแตกต่างโดยสิ้นเชิงเพราะเป็น รถยนต์ทไี่ ม่มที งั้ พวงมาลัย ไม่มเี กียร์ ไม่มเี บรก แต่มเี พียงปุม่ สตาร์ท ส�าหรับบอกให้รถรู้ว่าผู้โดยสารออกพร้อมออกเดินทางแล้ว หากส่องดูคา่ ยผูผ้ ลิตรถยนต์ตอนนีม้ บี ริษทั ทีท่ �าการพัฒนา ระบบรถยนต์ไร้คนขับมาแข่งขันกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นค่ายรถ ฝั่งยุโรปจาก BMW และ Audi ด้านทวีปเอเชีย ค่ายรถยนต์ ที่เริ่มขยับมี Toyota และ Nissan ส่วนฝั่งอเมริกาก็มี Tesla และ Chevy เป็ น ต้ น ขณะนี้ มี บ างค่ า ยติ ด ตั้ ง ระบบดั ง กล่ า วในรถ ที่ น� า ออกมาขายแล้ ว อย่ า งเต็ ม รู ป แบบ หรื อ ติ ด ตั้ ง แค่ เ พี ย ง บางฟังก์ชนั่ เช่น ระบบเบรกอัตโนมัติ หรือระบบช่วยจอด ในการท�างานของระบบขับเคลื่อนแบบไร้คนขับจะต้อง อาศัยการท�างานร่วมกันของอุปกรณ์ต่างๆ คือ ระบบน�าทาง Global Positioning System (GPS) เพื่อบอกว่าจะต้องใช้เส้นทาง ไหนในการพาผู้โดยสารไปยังจุดหมายปลายทาง ระบบกล้องและ ซอฟท์แวร์ประมวลผลทีค่ อยอ่านภาพป้ายจราจร สัญญาณไฟเขียว ไฟแดง หรือเส้นแบ่งถนนเพื่อให้รถรู้ต�าแหน่งที่เหมาะสมและ สามารถปฏิบัติตามกฎจราจรได้ถูกต้อง และยังมีระบบเซนเซอร์ ที่คอยตรวจจับสิ่งต่างๆ รอบรถที่อยู่ท้งั ใกล้และไกล เพื่อค�านวณ ความเร็วรถที่เหมาะสม และกะระยะเบรกป้องกันการชน นอกจากนี้ รถยนต์ไร้คนขับของบางค่ายยังสามารถเรียนรู้ วิธีการขับรถจากมนุษย์ได้ เช่น หากมีเส้นทางไหนที่ยากต่อการ ขับขี่และรถยนต์คันนั้นไม่ได้ถูกสอนมาก่อนว่าต้องขับเคลื่อน อย่างไร ในช่วงต้นจะต้องสลับโหมดจากการขับเคลื่อนอัตโนมัติ


193

Everlasting Economy

มาเป็นโหมดที่ให้มนุษย์เป็นผู้ควบคุม แล้วระบบ ก็จะเรียนรู้วิธีการขับเคลื่อนของมนุษย์ โดยจดจ�า จังหวะการเร่ง-ชะลอความเร็วรถ จดจ�าองศาการหมุน พวงมาลัย เมื่ อ เจอสภาพเส้ น ทางยากที่ ลั ก ษณะ เหมือนกันอีกครั้ง รถก็จะเลียนแบบและสามารถ ขับเคลื่อนได้เองโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วยอีกต่อไป ที่ เ หนื อ ชั้ น และน่ า ตื่ น เต้ น ไปกว่ า นั้ น คื อ รถยนต์ไร้คนขับแต่ละคันยังสามารถสื่อสารติดต่อ กับรถยนต์คันอื่นๆ ได้ด้วย โดยการติดต่อสื่อสาร มี ป ระโยชน์ ต รงที่ ร ถแต่ ล ะคั น สามารถแชร์ ข ้ อ มู ล วิธีการขับรถเส้นทางยากๆ ที่มันได้เรียนรู้จากมนุษย์ จากรถคั น หนึ่ ง สู ่ อี ก คั น หนึ่ ง ดั ง นั้ น เมื่ อ คั น ที่ ส อง เจอเส้นทางยากๆ เหมือนคันแรก มันก็จะรู้วธิ ีบังคับ รถยนต์ตามที่เพื่อนอีกคันสอน หรื อ ในกรณี ที่ เ ส้ น ทางหนึ่ ง เกิ ด ภาวะการ จราจรติดขัด รถคันนัน้ ก็จะมีการสือ่ สารไปให้คนั อืน่ ๆ ทราบ เพือ่ ให้หลีกเลีย่ งเส้นทาง ซึง่ สิง่ เหล่านีจ้ ะท�าให้ ระบบการขับเคลือ่ นแบบไร้คนขับไม่ตอ้ งรอให้มนุษย์ เป็นผู้ให้ความรู้เพียงฝ่ายเดียว เทคโนโลยีล�้าหน้านี้ สามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นกว่าที่เคยมี การคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตามแม้ว่ารถยนต์ไร้คนขับจะถูก ออกแบบมาเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งสาเหตุ ส่วนใหญ่มักมาจากความผิดพลาดในการขับขี่ของ มนุ ษ ย์ แต่ ต อนนี้ ก็ ยั ง ไม่ มี ก ารรั บ รองว่ า รถยนต์ ไร้คนขับจะปลอดภัย 100% ข้อจ�ากัดของการน�ารถยนต์ ไร้ ค นขับ มาใช้ ใ นท้ อ งถนนตอนนี้จึง เป็ น เรื่อ งของ


2011 Chapter 27

รถยนต์ ไร้คนขับ..The Next Revolution Begins

194

คือ ปีที่รัฐเนวาด้า ได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับ การขับขี่รถยนต์ไร้คนขับ เป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกา โดยครอบคลุมเรื่อง มาตรฐานความปลอดภัย ประกันภัย กฎเกณฑ์ ในการทดสอบรถ


195

Everlasting Economy

กฎหมายการควบคุมเทคโนโลยีที่ลา�้ หน้าเช่นนี้ว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุ ขึ้นมาจริง ใครควรจะเป็นผู้รบั ผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ระบบรถยนต์ไร้คนขับไม่ได้ถกู พัฒนาเฉพาะ อ�านวยความสะดวกแก่เจ้าของรถยนต์เท่านั้น ยังมีการต่อยอด ให้พฒ ั นาไปเป็น Taxi ไร้คนขับด้วย ซึง่ ในเชิงเทคนิคสามารถท�าได้ จริงแล้ว แต่คงต้องรอกฎหมายทีเ่ อือ้ อ�านวยเสียก่อนจึงจะสามารถ น�ามาใช้งานได้ ตอนนี้ทาง Google ได้จับมือค่ายผู้ให้บริการรถ รับส่งอย่าง Uber และ Lyft เพื่อกระตุ้นให้มีการออกกฎหมาย เรื่องรถยนต์ไร้คนขับโดยไว รวมทัง้ ยังมีการวางแผนพัฒนาเทคโนโลยีขบั เคลือ่ นอัตโนมัติ ให้สามารถน�าไปใช้ในระบบขนส่งสาธารณะ และอุตสาหกรรม การขนส่งสินค้า (Logistic) อีกด้วย โดยออกแบบให้การขับเคลือ่ น รถขนส่งต่างๆ ทีต่ อ้ งบรรทุกคนหรือสิง่ ของทีม่ นี า�้ หนักมาก มีการใช้ พลังงานในการขับเคลือ่ นอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และขับเคลือ่ น ไปเส้นทางทีส่ นั้ หรือระยะเวลาน้อย ซึง่ เป็นประโยชน์ในการช่วยลด ทรัพยากรแรงงานโดยเฉพาะจ�านวนพนักงานขับรถ และการใช้ ทรัพยากรพลังงานทีส่ นิ้ เปลืองไปกับการขับขีท่ ไี่ ม่มปี ระสิทธิภาพลงได้ ผมคิ ด ว่ า เทคโนโลยี ร ถยนต์ ไ ร้ ค นขั บ แห่ ง ยุ ค ปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมครั้ ง ที่ 4 ไม่ ไ ด้ มี เ พี ย งเทคโนโลยี ที่ ขั บ เคลื่ อ น ยานพาหนะเท่านัน้ แต่ยงั ขับเคลือ่ นเอาความฉลาดเทียมทีม่ นุษย์ สร้างขึ้นมาพัฒนาต่อยอดอย่างได้ไม่มสี ิ้นสุด ฝันที่เป็นจริงอยู่ใกล้แค่เอื้อมในยุคนี้ ท�าให้ผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจต่างๆ ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว กล้าที่จะลงทุนด้านการ วิจยั พัฒนาเพือ่ ให้แข่งขันได้ แต่ทแี่ น่ๆ ถ้ารถยนต์ไร้คนขับสามารถ ขจัดปัญหา อุปสรรค มีขอ้ กฎหมายลงตัวชัดเจนเมือ่ ไหร่ ผมว่าอาชีพ คนขับรถคงล�าบาก หลายธุรกิจคงต้องหายไป เรามีแผนรองรับ กันแล้วหรือยังครับ


CHAPTER รถวิ่งได้ล้านไมล์ ความฝัน ความจริง


197

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 เมษายน 2561

นาทีนี้ สิ่งที่ทุกคนก�าลังพูดถึงในวงการยานยนต์คือรถ EV ที่จะมาแทนที่ รถ ICE (Internal Combustion Engine) หรือรถใช้นา�้ มันเพือ่ การเผาไหม้ ซึง่ หลายคนคาดว่าน่าจะเกิด ได้ภายใน 15-20 ปี หรือคนในวงการน�า้ มันอาจจะคิดว่าอีกสักสามถึงสีส่ บิ ปีจากนี้ นานาจิตตังครับ แต่แนวโน้มทีเ่ กิดขึน้ มาค่อนข้างชัดเจนคือคนรุน่ ใหม่ หรือ เจนเนอเรชัน่ มิลเลนเนียม ไม่นยิ ม ซือ้ รถครับ ถ้าคิดจะเดินทาง ถ้าไม่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะก็จะใช้ ride-sharing อย่างอูเบอร์ หรือแกรบ เป็นต้น ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ย่อมส่งผลกระทบต่อธุรกิจยานยนต์ โดยเฉพาะ รถโดยสารส่วนบุคคลหรือรถเก๋งที่เราขับกันพอสมควร


Chapter 28

รถวิ่งได้ล้านไมล์ ความฝัน ความจริง

198

เราเคยสังเกตไหมว่าการมีรถส่วนตัวเป็นความฟุ่มเฟือย อย่างมาก ผมไม่ได้หมายถึงว่ามีรถราคาแพง แล้วเกิดความ ฟุม่ เฟือ่ ย แต่รถยนต์สว่ นตัวเกือบทุกคันนัน้ ถูกใช้งานวันละ น่าจะ สักสองชั่วโมง คือ เดินทางจากบ้านไปที่ท�างานแล้วเดินทางกลับ บางท่านบ้านไกลก็อาจจะสักสามชัว่ โมง หมายความว่าในวันหนึง่ ที่มี 24 ชั่วโมง รถยนต์จะถูกใช้งานเพียงสองถึงสามชั่วโมง หรือ คิดเป็น ผลิตภาพ (Productivity) ที่ประมาณ 10-15% ถ้าเราลงทุน หรือจ้างใครท�างาน ต้องจ่ายเงินแล้วได้ผลิตภาพแค่นถี้ อื ว่าใช้เงิน ฟุ่มเฟือยไหมครับ ทีน้ีเมื่อเป็นลักษณะของ ride-sharing การใช้งานของรถ ย่อมมากขึ้นเป็นสี่ห้าเท่าตัว ท่านผู้อ่านลองนึกถึงรถแท็กซี่ที่ต้อง วิ่งวันละ 10-12 ชั่วโมง จะเห็นว่า การใช้งานย่อมต่างกันเยอะ ความทนทาน ความแข็งแรงจะเป็นปัจจัยทีส่ �าคัญทีต่ ้องพิจารณา มากกว่ารูปร่างความโค้งมน หรือความสวยงามของรถ จะเห็นว่า รถแท็กซีพ่ อวิง่ ได้ไม่นานก็โทรม ยิง่ ถ้าขาดการดูแล รักษา จะยิง่ แย่ นั่นคงเป็นที่มาว่า เวลาเราเลือกเรียกแท็กซี่ ถ้าเลือกได้ เรามักจะ


199

เลือกรถใหม่ เพราะรถเก่า ย่อมถูกใช้งานจนนั่งไม่สบาย ไม่ว่าจะ เป็ น เบาะนั่ ง เสี ย งบานพั บ ตอนเปิ ด ประตู เสี ย งของตั ว ถั ง ขณะวิ่ง แอร์ไม่เย็น ต่างๆอีกมากมาย รถยนต์นั่งโดยส่วนใหญ่ถูกออกแบบให้วิ่งได้ประมาณ 150,000 กิโลเมตร หรือประมาณ 10 ปี โดยมีสมมุติฐานว่าเราขับ วันละประมาณสองสามชั่วโมงหรือสัก 40-50 กิโลเมตร หรือ ประมาณปีละ 15,000 กิโลเมตร การออกแบบรถจึงตัง้ อยูบ่ นโจทย์ ดังกล่าว แต่เมือ่ รถมีการใช้งานแตกต่างออกไป กล่าวคือเป็นแบบ แท็กซี่หรือ ride-sharing มากขึ้น การออกแบบจึงต้องเปลี่ยนไป และค่ายรถขนาดใหญ่จากทัง้ ยุโรป ญีป่ นุ่ และอเมริกา จึงพยายาม ออกแบบรถที่วิ่งได้ มากกว่า 1,000,000 ไมล์กนั อย่างขมักเขม้น

กิโลเมตร คือ ระยะทางที่รถยนต์ส่วนบุคคลถูกออกแบบมา ให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Everlasting Economy


200

Chapter 28

รถวิ่งได้ล้านไมล์ ความฝัน ความจริง

1 ล้านไมล์

คือ โจทย์ในการออกแบบ รถยนต์ยุคใหม่ เพื่อให้รถยนต์สามารถ ใช้งานได้ยาวนานขึ้น


201

Everlasting Economy

เริ่มมีการคิดว่ารถที่วิ่งได้หนึ่งล้านไมล์น่าจะแตกต่างจาก รถที่เราขับกันในปัจจุบันพอสมควร บางค่ายบอกว่าน่าจะเหมือน เครื่องบิน ที่จะมีตารางการซ่อมบ�ารุงชัดเจน อย่างเครื่องโบอิ้ง จัมโบ้ 747 ที่ล�าหนึ่งๆ อยู่กบั เรากว่ายี่สิบปี เป็นต้น เพราะฉะนั้น การออกแบบจึงต้องแบ่งเป็นส่วนๆ เช่น ตัวถัง อาจจะต้องอยูอ่ ย่าง ทนทาน ตลอดระยะล้านไมล์ ขณะที่ชิ้นส่วนต่างๆ ต้องสามารถ ถอดเปลี่ยนได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นมือจับ แบตเตอรี่หรือเครื่องยนต์ เอง ขณะทีเ่ บาะนัง่ หรือการตกแต่งภายในรถอาจจะมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงได้ทุกๆ สองสามปีเหมือนเก้าอี้ที่นั่งในสายการบิน ต่างๆ ที่เมื่อเสื่อมสภาพ รวมถึง software ก็อาจจะ update ทาง อากาศได้เหมือนการ update iOS เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจและดีกับโลกใบนี้คือ อายุการใช้งานของรถ จะยาวขึ้นและมีผลิตภาพที่ดีขึ้นหลายเท่าตัวในแง่เศรษฐศาสตร์ ซึง่ ก็ทา� ให้การตัดค่าเสือ่ มราคาท�าได้นานขึน้ หรือมีต้นทุนการผลิต ต�า่ ลง ในแง่ของโมเดลธุรกิจก็จะเปลีย่ นเป็นการให้บริการ (ส่งมอบ เป็นไมล์หรือกิโลเมตร) แทนการเน้นการขายผลิตภัณฑ์ (ส่งมอบ เป็นคัน) ซึ่งท้ายสุดก็ช่วยให้การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติที่ ถดถอยไปของโลกใบนี้ลดลงอย่างมีนัยยะส�าคัญ และมีการใช้ ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้น เป็นอีกครัง้ หนึง่ ทีพ่ ฤติกรรมผูบ้ ริโภคท�าให้ผผู้ ลิตต้องปรับตัว ไม่ว่าจะเป็น EV หรือ ICE การที่รถวิ่งได้นานขึ้นถึงหนึ่งล้านไมล์ ย่อมเป็นสิ่งที่ดีแน่นอน อย่างไรก็ดี ผมได้แต่หวังว่าค่ายรถจะไม่ เปลีย่ นโมเดลใหม่ๆ มายัว่ น�า้ ลายให้ผบู้ ริโภครุน่ เก่าเปลีย่ นรถก่อน ก�าหนดนะครับ


CHAPTER เดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า


203

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 26 มกราคม 2561

ช่วงนีค้ า่ ยผลิตรถยนต์เกือบทุกค่ายต่างก็เริม่ หันมาพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าหรือ Electric Vehicle (EV) ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างขะมักเขม้น ส่วนหนึ่งมาจากการได้รับแรงกระตุ้นของ รัฐบาลทีม่ นี โยบายลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้เชือ้ เพลิง และ ตอนนี้หลายประเทศก็มีแผนยกเลิกการใช้รถยนต์ที่ใช้น�้ามันเบนซินและดีเซลในอนาคต


Chapter 29

เดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

204

ถ้าดูเผินๆ เราอาจมองว่ารถ EV เป็นรถที่ ไม่มกี ารปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เลยเพราะว่ารถ EV ใช้แค่ไฟฟ้าที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ ไม่มไี อเสียจาก การเผาไหม้น้า� มันเพื่อขับเคลื่อนรถ เราจึงเชื่อกันว่า รถ EV เป็นรถที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มากกว่ารถยนต์ท่ใี ช้น้�ามันเป็นเชื้อเพลิง ในการเปรียบเทียบมลภาวะของรถแต่ละชนิด เราจะดูเพียงแค่ส่ิงที่ปล่อยออกมาจากท่อไอเสีย คงจะไม่ถกู นัก ควรจะต้องวิเคราะห์ดทู งั้ วงจรชีวติ ของ รถมากกว่า ถ้าเราดูรถยนต์ EV ตัง้ แต่กระบวนการผลิต การใช้งาน ไปจนถึงการรีไซเคิลส่วนประกอบแล้ว ก็ไม่จา� เป็นเสมอไปว่าปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ไฟฟ้าจะน้อยกว่ารถยนต์ทใี่ ช้ น�้ามันเป็นเชื้อเพลิง เพราะในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ก็มีบางกระบวนการที่ใช้พลังงานและปลดปล่อย


205

กรัมคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อกิโลเมตร คือ อัตราการปล่อยมลพิษ ของรถไฟฟ้า Tesla โมเดล S รุ่น P100D

Everlasting Economy

มลภาวะสูง เช่น กระบวนการผลิตแบตเตอรี่ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น จากข้อมูลของ Trancik Lab ของ Massachusetts Institute of Technology ในวงจรชีวติ รถยนต์ไฟฟ้า Tesla โมเดล S รุ่น P100D ปล่ อ ย 226 กรั ม คาร์ บ อนไดออกไซด์ เ ที ย บเท่ า ต่อกิโลเมตร ถ้าเทียบกับรถยนต์ทใี่ ช้นา�้ มันรุน่ ใกล้ๆ กัน อย่าง BMW ซีรี่ส์ 7 รุ่น 750i xDrive ซึ่งมีปริมาณ การปล่อย 385 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ต่อกิโลเมตร จะเห็นได้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าปลดปล่อย มลพิษน้อยกว่ารถยนต์ท่ใี ช้น�้ามันเป็นเชื้อเพลิง แต่ถา้ ลองเทียบกับรถยนต์ Mitsubishi Mirage ที่ เ ป็ น รถยนต์ ข นาดเล็ ก ซึ่ ง ใช้ น�้ า มั น เป็ น เชื้ อ เพลิ ง มี อั ต ราการปล่ อ ยมลพิ ษ แค่ 192 กรั ม คาร์ บ อนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อกิโลเมตร ถ้าเทียบกันแบบนี้ รถยนต์ไฟฟ้าก็จะมีอัตราการปล่อยมลพิษมากกว่า รถยนต์ท่ใี ช้น�้ามันเป็นเชื้อเพลิง ที่เปรียบเทียบมานี้ไม่ได้จะเปรียบเทียบผล การพัฒนาเทคโนโลยีแต่ละค่ายแต่อย่างใด เพียงแต่ อยากจะเสนอว่าเราควรมองภาพใหญ่และให้รอบด้าน มากขึ้น โดยแก้ปัญหาเรื่องมลภาวะของรถยนต์ ไม่ควรมองแค่การเปลี่ยนประเภทรถยนต์จากเดิม ที่ใช้นา�้ มันไปเป็นรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียว แต่เรา ควรมองไปที่ประเด็นอื่นๆ ด้วย เช่น การรณรงค์ให้ ผู้ใช้รถหันไปใช้รถ City Car ขนาดเล็กก็เป็นแนวทาง หนึ่งที่ช่วยลดปัญหามลพิษได้ ซึ่งเป็นการรณรงค์ สร้างจิตส�านึกส�าหรับผู้ที่ใช้รถประเภทใช้นา�้ มันเป็น เชื้อเพลิงและรถยนต์ EV


Chapter 29

เดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

206 206

กิโลเมตร คือ ระยะทางเฉลี่ย ที่คนเมืองใช้รถ ในการเดินทาง ต่อหนึ่งวัน


207

Everlasting Economy

เพราะผู้ใช้รถที่เป็นคนเมืองส่วนใหญ่ก็ขับรถเฉลี่ยวันละ ประมาณ 30 กิโลเมตรต่อวัน การใช้รถยนต์ที่ขนาดเล็กซึ่งมี น�้าหนักรถน้อยลงก็จะช่วยประหยัดเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน และลดมลพิษจากการเผาไหม้รถยนต์ลงได้ทางหนึ่ง ในกรณี EV ที่ วิ่ ง ได้ ร ะยะทางไกลๆ 600 กิ โ ลเมตรต่ อ หนึ่ ง รอบการชาร์ จ ก็จะมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่มาก ท�าให้น�้าหนักของตัวรถหนักขึ้น กินไฟมากขึ้น ต้องใช้พลังงานขับเคลื่อนมากเกินความจ�าเป็น การควบคุมให้มีการใช้รถ EV ให้มีขนาดแบตเตอรี่ท่ีเหมาะสม จะช่วยลดการปล่อยมลภาวะได้อกี มาก นอกจากนี้ แหล่ ง พลั ง งานส� า หรั บ ขั บ เคลื่ อ นรถยนต์ ก็มีปริมาณมลภาวะที่ต่างกันไป อย่างเช่น ถ้าเป็นน�า้ มันเบนซิน หรื อ ดี เ ซล ในกระบวนการผลิ ต ตั้ ง แต่ ก ารขุ ด เจาะ การกลั่ น จนกลายมาเป็นเชื้อเพลิงที่ใช้ในรถ ก็มีการใช้พลังงานและมีการ ปล่ อ ยก๊ า ซคาร์ บ อนไดออกไซด์ ใ นกระบวนการผลิ ต มากมาย แต่หากเปรียบเทียบแหล่งพลังงานส�าหรับรถ EV การใช้ไฟฟ้าทีม่ า จากพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลม ก็ ย ่ อ มจะสะอาดกว่ า การใช้ ไ ฟฟ้ า ที่ ม าจากเชื้ อ เพลิ ง ถ่ า นหิ น และก๊าซธรรมชาติ ดังนัน้ ในการสนับสนุนเรือ่ งรถ EV ก็ควรมองไปถึง การส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในการชาร์จไฟ รถยนต์ด้วย ผมคิดว่าการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยมาตรการที่รอบด้านและถี่ถ้วน จะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการใช้รถยนต์ได้มากยิ่งขึ้น เพื่ออนุรักษ์โลกใบนี้ส่งต่อให้ ลูกหลานในอนาคตได้ใช้ชวี ิตในสภาพแวดล้อมที่ดีต่อไป


CHAPTER เครื่องบินพลังงานสะอาด นวัตกรรมที่บรรเจิด


209

เครื่องบิน

พลังงานสะอาด ที่บรรเจิด เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 9 ธันวาคม 2558

วันนีเ้ ทคโนโลยีแห่งการเดินทางก้าวหน้าไปมาก ในต่างประเทศมีรถยนต์ไฟฟ้ารุน่ ใหม่ๆ ออกมาจ�าหน่ายแล้วปีละนับแสนคัน แล้วท�าไมต้องเป็นรถไฟฟ้า ก็เพราะสังคมโลกห่วงใย การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศนัน่ เอง เมือ่ ต้นเดือนทีผ่ า่ นมาสดๆ ร้อนๆ ผูน้ า� ของประเทศ มหาอ�านาจทัว่ โลกต่างมุง่ สูป่ ารีส ประเทศฝรัง่ เศส เพือ่ ถกปัญหาการเกิดสภาวะโลกร้อนร่วมกัน เร่งหาทางออกด้วยการลด ละ พฤติกรรมการบริโภคอุปโภคอันเป็นสาเหตุทกี่ อ่ ให้เกิดปัญหา หนึ่งในทางออกก็คือ มาตรการคุมเข้มการปล่อยก๊าซที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม หลายประเทศจึงลดการพึ่งพาน�้ามันจากฟอสซิล สร้างนวัตกรรมยานยนต์ในมิติใหม่ เช่น รถยนต์ ไฟฟ้า


Chapter 30

เครื่องบินพลังงานสะอาด นวัตกรรมที่บรรเจิด

210

ไม่เพียงแต่รถยนต์ที่วิ่งกันตามท้องถนนเท่านั้นที่ได้รับ การพัฒนาให้ขบั เคลือ่ นด้วยพลังงานไฟฟ้า ตอนนีไ้ ม่วา่ จะเป็นเรือ หรือเครือ่ งบินก็กา� ลังถูกพัฒนาให้สามารถขับเคลือ่ นด้วยพลังงาน ไฟฟ้าเช่นกัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเพื่อการผลิต พลังงานสะอาดอย่างเซลล์แสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีสะสม พลังงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพสูงอย่างแบตเตอรีล่ เิ ทียม ท�าให้ความฝัน ในการพัฒนาเรือ หรือเครื่องบินที่สามารถเดินทางได้โดยไม่ต้อง ใช้น�้ามันกลายเป็นความจริงแล้ว ที่มีให้เห็นกันจะจะก็คอื เรือ Turanor ถูกพัฒนาโดยองค์กร เพื่อสิ่งแวดล้อม PlanetSolar จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นเรือ พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ ข นาดใหญ่ ที่ สุ ด ของโลกมี ค วามยาวเรื อ 31 เมตร สามารถบรรจุผู้โดยสารได้ 40 คน ใช้พลังงานไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนตัวเรือ มีก�าลังการผลิตไฟฟ้า 93 กิโลวัตต์ ใช้แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเป็นแหล่งส�ารองพลังงาน ซึ่งมีน�้าหนักรวม 8.5 ตัน เรือTuranor พิสูจน์ให้เห็นถึงความส�าเร็จ ในการพัฒนาการเดินเรือด้วยพลังงานสะอาด เมือ่ ปี 2555 ท้าพิสจู น์ ด้วยการเดินทางรอบโลกระยะทาง 37,294 ไมล์ ใช้เวลา 584 วัน นอกจากนี้ก็ยังมีเรือพลังงานแสงอาทิตย์อื่นๆ ที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรือ SoelCat 12 จากความร่วมมือของสองบริษัท สัญชาติเนเธอร์แลนด์ Soel Yachts และ Naval DC โดยเรือ SoelCat 12 นี้เป็นเรือที่มีขนาดเล็กกว่า Turanor มีความยาวเรือ 11 เมตร จุผู้โดยสารได้ 24 คน ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีก�าลังการผลิตไฟฟ้า 8.6 กิโลวัตต์ และใช้แบตเตอรี่ลิเทียมโพลิเมอร์ความจุ 120 กิโลวัตต์ช่วั โมง น�้าหนักรวม 960 กิโลกรัมเป็นแหล่งพลังงาน สิ่งที่น่าสนใจของเรือ SoelCat12 นี้คือแนวคิดของการ พัฒนาเรือ ซึ่งถูกออกแบบให้เหมาะกับการท่องเที่ยวในแนวรัก สิ่งแวดล้อมหรือ Ecotourism ซึ่งเป็นตลาดใหม่ของอุตสาหกรรม


211

ฟรังก์สวิส คือ เงินทุนที่ใช้ในการท�าโปรเจ็ค Solar Impulse ตั้งแต่ปี 2003 จนถึง 2016 เพื่อบรรลุเป้าหมายในการส่ง ให้เครื่องบิน Solar Impulse 2 บินได้ครบรอบโลก โดยเงินทุนนี้มาจากทั้งรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ บริษัทเอกชน เช่น Omega Solvay Schindler ABB

Everlasting Economy

การท่องเทีย่ วในหลายๆ ประเทศ โดยเรือ SoelCat12 นี้ นอกจากจะเดินเรือโดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะแล้ว ยังสามารถท�าหน้าที่เสมือนเป็นโรงไฟฟ้าส�าหรับ จ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับรีสอร์ทตามเกาะต่างๆ ที่เรือ ไปทอดสมออยู่ หรือจ่ายไฟให้กับนักท่องเที่ยวที่ เดินทางไปจอดเรือแวะพักกางเต็นท์ตามเกาะต่างๆ ได้อีกด้วย ถือเป็นเรืออรรถประโยชน์ ส�าหรับเครือ่ งบินซึง่ เป็นพาหนะทีก่ นิ พลังงาน มหาศาลในการขับเคลื่อน บางท่านอาจจะสงสัยว่า จะสามารถบินด้วยไฟฟ้าได้จริงหรือ เพราะขนาด เรือ แสงอาทิต ย์ที่ก ล่าวไปยัง ต้ องใช้ แ บตเตอรี่ที่มี น�้าหนักมาก แล้วหากเป็นเครื่องบินที่จุคนได้หลาย สิบคน จะต้องใช้ไฟฟ้าสูงกว่า และจะต้องบรรทุก แบตเตอรี่ ที่ มี น�้ า หนั ก หลายตั น จะบิ น ขึ้ น ได้ ห รื อ แล้วจะเกิดอาการแบตเตอรีห่ มดกลางทางไหม นึกแล้ว ก็หวั่นอยู่ไม่น้อย แต่จากที่ผมเห็นเครื่องบินไฟฟ้า หลายรุน่ ทีก่ า� ลังถูกพัฒนาขึน้ อยูใ่ นขณะนี้ คิดว่าเป็น เรื่องน�้าหนักแบตเตอรี่ถือเป็นข้อจ�ากัดหลักที่ท�าให้ เครื่อ งบินไฟฟ้ายังไม่ประสบความส� า เร็จ มากนัก


Chapter 30

เครื่องบินพลังงานสะอาด นวัตกรรมที่บรรเจิด

212

เครือ่ งบินไฟฟ้าที่พัฒนาออกมาใช้ในช่วงนี้จึงยังมีขนาดเล็กมาก มีเพียงห้องกัปตัน 1 ที่นั่งเท่านั้น เครื่ อ งบิ น พลั ง งานแสงอาทิ ต ย์ ที่ ถู ก พั ฒ นาและได้ รั บ ความสนใจจากสื่อเป็นอย่างมากในตอนนี้ คือ เครื่องบิน Solar Impulse 2 สัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ เป็นเครื่องบิน 1 คนขับ มีขนาดห้องบังคับเล็กเพียงแค่ 3.8 ตารางเมตร ความยาวปีก ทั้งหมดรวม 71.9 เมตร ใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากเซลล์ แสงอาทิตย์ทตี่ ดิ ตัง้ ตามปีกและล�าตัวเครือ่ งบินเป็นแหล่งพลังงาน ในการขับเคลื่อน โดยมีก�าลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุด 66 กิโลวัตต์ และมีแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนซึ่งมีความจุไฟฟ้า 164 กิโลวัตต์ ชั่วโมง น�้าหนักแบตเตอรี่รวม 633 กิโลกรัม ซึ่งในขณะนี้ Solar Impulse 2 ได้ท�าการบินทดสอบข้าม มหาสมุทรแปซิฟิก ระยะทางกว่า 12,500 ไมล์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยใช้ระยะเวลาในการบินต่อเนื่องนานถึง 117 ชั่วโมง 52 นาที เป็นการบินต่อเนื่องโดยไม่ใช้น้�ามันที่ยาวนานที่สดุ ในโลก นอกจากนี้ก็ยังมีค่ายผลิตเครื่องบินชั้นแนวหน้าของโลก อย่างค่าย Airbus ที่ได้มีการพัฒนาเครื่องบินที่ขับเคลื่อนโดยใช้ ไฟฟ้าโดยใช้แบตเตอรีล่ เิ ทียมโพลิเมอร์เป็นแหล่งพลังงานเชือ้ เพลิง ซึ่งเครื่องบินไฟฟ้าของค่าย Airbus นี้ ต่างจากพาหนะอื่นๆ ที่เล่า มาข้างต้น คือไม่มกี ารติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ แต่จะใช้ไฟฟ้าที่ได้ จากการชาร์จไฟฟ้าก่อนขึ้นบินเท่านั้น เครื่องบินไฟฟ้าของ Airbus ชื่อว่า E-fan มีขนาด 1 ที่นั่ง ใช้ก�าลังไฟฟ้าทั้งหมด 60 กิโลวัตต์ในการขับเคลื่อน ใช้แบตเตอรี่ ลิเทียมโพลิเมอร์ที่มีความจุไฟฟ้า 29 กิโลวัตต์ช่ัวโมง น�้าหนัก แบตเตอรีร่ วม 167 กิโลกรัม ซึง่ เครือ่ งบิน E-fan นี้ ได้ทา� การทดลอง บินข้ามช่องแคบอังกฤษระยะทางประมาณ 74 กิโลเมตรไปแล้ว เมื่อเดือนกรกฎาคมปีน้ี ซึ่งทาง Airbus ไม่ได้เพียงแค่พฒ ั นา E-fan


213

Everlasting Economy

หรือแค่ออกมาสร้างความสนใจให้สอื่ เล่นๆ เท่านัน้ แต่ได้ตงั้ เป้าว่า จะพัฒนา E-fan ให้สามารถออกสูต่ ลาดได้จริง เป็นเครือ่ งบินขนาด 2 ที่นั่ง ใช้เป็นเครื่องบินส�าหรับการฝึกบินให้ส�าเร็จภายในปี 2560 หากท�าได้ส�าเร็จต่อไป Airbus มีแผนที่จะพัฒนาให้มขี นาด 4 ที่นั่งซึ่งเป็นอีกขั้นหนึ่งของการคิดค้นพัฒนา นอกจากนี้ Airbus ยังได้ร่วมมือกับ Rolls-Royce และกลุ่ม นักวิจยั ชัน้ น�าในการพัฒนาเครือ่ งบินแบบไฮบริดซึง่ ขับเคลือ่ นด้วย เครือ่ งยนต์ Jet Engine ร่วมกับไฟฟ้าจากแบตเตอรีล่ เิ ทียม ภายใต้ ชื่อโครงการ E-Thrust ซึ่งเป้าหมายของโครงการนี้คือสามารถ พัฒนาเครื่องบินให้สามารถใช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ ที่สามารถ รองรับผู้โดยสารประมาณ 90 ที่นั่งและใช้ในการเดินทางส�าหรับ เที่ยวบินที่มีระยะเวลาไม่ต่�ากว่า 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม Airbus คาดว่ายังคงต้องใช้เวลาพัฒนาอีกไม่นอ้ ยจึงจะประสบความส�าเร็จ โดยเครื่องบิน E-Thrust นี้คาดว่าจะออกสู่ตลาดได้ในปี 2593 อย่างไรก็ตาม การพัฒนา E-Thrust ให้ส�าเร็จจะต้อง ฝากความหวั ง ไว้ กั บ สองเทคโนโลยี ที่ ส� า คั ญ คื อ เทคโนโลยี เก็บสะสมพลังงานแบตเตอรี่ลิเทียม ที่จะต้องพัฒนาให้มีความจุ ไฟฟ้าสูงขึ้นพร้อมกับน�า้ หนักทีเ่ บาลง และเทคโนโลยีตวั น�ายิง่ ยวด หรือ Superconductivity ที่จะช่วยลดความเสียดทานในการไหล ของกระแสไฟฟ้าในระบบจ่ายไฟฟ้าบนเครือ่ งบิน ในขณะทีเ่ ทคโนโลยี Superconductivity ทีใ่ ช้ได้จริงในเชิงพาณิชย์ยงั มีขนาดเล็กเกินกว่า ที่จะน�ามาใช้กบั เครื่องบินพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ ผมเชื่อว่าทั้งสองเทคโนโลยีนี้ก�าลังอยู่ในความสนใจของ นักวิจยั ในวงการพลังงานไฟฟ้าและน่าจะถูกพัฒนาให้กา้ วหน้าจน สามารถท�าให้การพัฒนาเครือ่ งบินไฟฟ้าประสบความส�าเร็จในเชิง พานิชย์ได้จริงในอนาคต ผมรอลุ้นและเอาใจช่วยกับวิวัฒนาการ ทางการบินเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้โลกใบนี้ครับ


CHAPTER

ลิเทียม..ดาวรุ่งดวงใหม่แห่งวงการพลังงาน


215

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559

ในขณะนี้แม้ว่าก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน โดยเฉพาะราคาน�้ามันที่มีราคาถูกลงมาก แต่พวกเราต้องช่วยกันประหยัดนะครับ ใช้พลังงานอย่างรูค้ ณ ุ ค่า มองไกลถึงอนาคตลูกหลาน ของเรา ท่ามกลางราคาพลังงานทีม่ คี วามผันผวนและดิง่ ลงอย่างแรง แต่ผมสังเกตว่าแร่ลเิ ทียม (Lithium) ซึง่ เป็นทรัพยากรน้องใหม่ของกลุ่มพลังงานกลับมีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับ ราคาพลังงานประเภทอืน่ ๆ โดยเฉพาะลิเทียมส�าหรับผลิตแบตเตอรีใ่ นประเทศจีนมีราคาสูงขึน้ กว่าเท่าตัวในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา


Chapter 31

ลิเทียม..ดาวรุ่งดวงใหม่แห่งวงการพลังงาน

216

หลายคนอาจสงสัยว่าแร่ลเิ ทียมคืออะไร แล้วท�าไมตอนนี้ แร่ลิเทียมถึงได้ถูกขนานนามว่าเป็นทรัพยากรในกลุ่มพลังงานได้ ท่านลองนึกถึงโทรศัพท์ประเภท Smart Phone เครื่อง Tablet หรือ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คก็ได้ครับว่ามีแหล่งพลังงานอะไรในเครื่อง เกือบทุกเครื่องมีแบตเตอรี่ลิเทียมอย่างแน่นอน ซึ่งแบตเตอรี่ ลิเทียมนีจ้ ะมีลเิ ทียมเป็นหัวใจหลักท�าหน้าทีเ่ ก็บและจ่ายไฟฟ้าให้ กับอุปกรณ์นนั้ ๆ ด้วยเหตุนลี้ เิ ทียมจึงถูกจัดเข้าอยูใ่ นกลุม่ พลังงาน โดยธรรมชาติแล้วลิเทียมจะอยู่ในรูปสารประกอบ ซึ่งพบ ตามเหมืองต่างๆ ทั้งในรูปเกลือหรือแร่ที่มีลักษณะเป็นหินแข็ง เมื่อสกัดออกมาจะมีลักษณะเป็นผงสีเทาหรือเงิน เป็นธาตุที่มี น�้าหนักเบาที่สุดในกลุ่มธาตุโลหะ จุดเด่นที่ส�าคัญ คือ เมื่อน�ามา ผลิตเป็นแบตเตอรี่ ลิเทียมจะมีความหนาแน่น ให้พลังงานไฟฟ้า สูงมาก สามารถจุไฟฟ้าได้มากกว่าเมือ่ เทียบกับวัสดุอนื่ ๆ ทีม่ นี า�้ หนัก เท่ากัน ลิเทียมจึงได้รบั ความนิยมมากในปัจจุบนั โดยน�ามาผลิตเป็น แบตเตอรีส่ า� หรับอุปกรณ์ไร้สายทีต่ อ้ งการให้มนี า�้ หนักเบา รวมไปถึง ใช้เป็นแบตเตอรี่ส�าหรับรถยนต์ไฮบริด รถยนต์ไฟฟ้า หรือแม้ กระทั่งระบบเก็บสะสมพลังงาน Energy Storage ที่ใช้กบั การเก็บ ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึง่ ล้วนแต่ใช้แบตเตอรีล่ เิ ทียมทัง้ สิน้ สาเหตุที่ลิเทียมมีราคาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงนี้ เพราะมีความ ต้องการใช้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงเป็นไปตามหลักกลไกตลาด ในขณะเดี ย วกั น ปริ ม าณลิ เ ที ย มที่ ผ ลิ ต ได้ ก็ ไ ม่ เ พี ย งพอกั บ ความต้องการ ซึ่งสถานการณ์นี้แตกต่างจากตลาดน�้ ามันดิบ ส่งผลให้ราคาลิเทียมมีแนวโน้มสวนทางกับ Commodity อื่นๆ ในกลุ่มพลังงาน ความต้องการลิเทียมเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประเทศต่างๆ หันมาใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดมากขึน้ ประเด็นแรกคือ การที่ รัฐบาลจีนออกมาเดินหน้าผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในการ


217

แก้ปัญหามลพิษทางอากาศตามเมืองใหญ่ๆ ที่อยู่ระดับอันตราย เมื่อตลาดรถในจีนเพิ่มก�าลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเต็มที่ ความต้องการลิเทียมเพื่อน� ามาผลิตแบตเตอรี่ส�าหรับรถยนต์ จึงสูงขึน้ มาก อีกประเด็นคือ การที่รัฐบาลส่งเสริมให้มีการใช้ระบบ Energy Storage โดยเฉพาะการใช้เพื่อเก็บสะสมพลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถผลิตได้เฉพาะในตอน กลางวันเอาไว้ใช้ในตอนกลางคืน รวมไปถึงการทีค่ า่ ย Tesla ซึง่ เดิม เป็นค่ายที่พัฒนาเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าหันมารุกตลาดแบตเตอรี่ ลิเทียมทีใ่ ช้เป็นระบบเก็บสะสมพลังงานด้วย ทัง้ นี้ Tesla ได้เริม่ ผลิต Energy Storage แล้วยิง่ ท�าให้ความต้องการใช้ลเิ ทียมเพิม่ มากขึน้ อีก อีกปัจจัยที่ท�าให้ราคาลิเทียมเพิ่มสูงขึ้น มาจากปัจจัย ด้านปริมาณการผลิต โดยปกติแหล่งผลิตลิเทียมทีส่ า� คัญจะอยูใ่ น

Everlasting Economy

คือ สัญลักษณ์ของธาตุลิเทียม ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1817 ในสินแร่เพพาไลต์ แต่ยังไม่สามารถ แยกธาตุลิเทียมออกมาได้ส�าเร็จ ต่อมาจึงใช้วิธีแยกสลายด้วยไฟฟ้า กับลิเทียมออกไซด์ และแยกสลาย ลิเทียมคลอไรด์ด้วยไฟฟ้า จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1923 บริษัทจากเยอรมนี ก็สามารถผลิตโลหะลิเทียมในเชิง พาณิชย์ ได้ส�าเร็จ โดยใช้วิธีแยกสลาย ด้วยไฟฟ้า แต่ใช้สารตั้งต้นเป็นลิเทียม คลอไรด์ และโพแตสเซียมคลอไรด์ ที่หลอมละลาย เมื่อได้ธาตุบริสุทธิ์ ออกมา ก็ได้ตั้งชื่อว่า ลิเทียม


Chapter 31

ลิเทียม..ดาวรุ่งดวงใหม่แห่งวงการพลังงาน

218

ทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศชิลีและอาร์เจนตินาเป็นส่วนใหญ่ แต่โชคไม่ดีที่เมื่อเร็วๆ นี้ได้เกิดปัญหาน�้าท่วมเหมืองแร่ลิเทียม ทีป่ ระเทศชิลี ท�าให้กระบวนการผลิตสะดุดลงและไม่สามารถผลิต ลิเทียมได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการใช้น่นั เอง ราคาลิเทียมทีเ่ พิม่ สูงขึน้ ได้สง่ สัญญาณให้ตลาดแร่ลเิ ทียม เป็นทีน่ า่ จับตามอง เนือ่ งจากความต้องการทีเ่ พิม่ ขึน้ นีเ้ กิดจากการ เริ่มเข้าสู่ยคุ Internet-of-Things และในอนาคตแนวโน้มประชากร ที่เพิ่มมากขึ้น สังคมมีความเจริญ มีการพัฒนาเป็นเมืองมากขึ้น วิถีการใช้ชวี ิต หรือ Lifestyle เปลี่ยนไปจากเดิม มีความต้องการ ใช้อุปกรณ์ท่เี ป็นเทคโนโลยีดิจิทัลไร้สายใหม่ๆ ในอัตราสูง โอกาส การเติบโตของตลาดลิเทียมเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว อีกทั้งแนวโน้มการเติบโตของตลาดรถยนต์ไฟฟ้าก็เพิ่ม สู ง ขึ้ น เพราะประเทศต่ า งๆ มี ก ารยกระดั บ การควบคุ ม การ ปลดปล่อยมลพิษจากรถยนต์มากขึน้ เหมือนอย่างกรณีประเทศจีน แม้วา่ ราคาน�า้ มันจะถูกลงแต่การใช้รถยนต์ทใี่ ช้นา�้ มันเป็นเชือ้ เพลิง ก็เป็นต้นเหตุทกี่ อ่ ให้เกิดมลภาวะ รัฐบาลจึงต้องหันมาควบคุมเรือ่ ง นี้มากขึ้น ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบาย ปรั บ โครงสร้ า งภาษี ส รรพสามิ ต รถยนต์ โ ดยคิ ด อั ต ราภาษี ตามปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทน ท�าเอา ค่ารถยนต์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศปรับตัวหันมาใช้แบตเตอรี่ ลิเทียมส�าหรับรถยนต์ไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆ มากขึ้น จนสถาบันการเงินระดับโลกอย่าง Goldman Sachs ได้เรียกลิเทียม ว่าเป็นน�้ามันประเภทใหม่หรือ “New Gasoline” ที่ส�าคัญคือความต้องการระบบ Energy Storage เพิ่มขึ้น เนือ่ งจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนซึง่ ผลิตไฟฟ้าได้ไม่สม�่าเสมอ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลม รวมทั้งการติดตั้งแผงเซลล์ แสงอาทิ ต ย์ ต ามบ้ า นเรื อ นในต่ า งประเทศมี ม ากขึ้ น จึ ง มี


219

Everlasting Economy

ความต้องการแบตเตอรี่เทียมมาเก็บไฟฟ้าในช่วงที่มีแดดมีลม ไว้ใช้ในเวลาอื่นมากขึ้น นอกจากนี้ลิเทียมเองก็มีตลาดฐานเดิมที่ค่อนข้างมั่นคง อยู่แล้ว คือ ตลาดลิเทียมส�าหรับใช้ในอุตสากรรมเซรามิก แก้ว สารหล่อลืน่ และวัสดุอลั ลอย เมือ่ พิจารณาร่วมกับปัจจัยก่อนหน้า ผมจึ ง มองว่ า ลิ เ ที ย มเป็ น ตลาดที่ น ่ า สนใจลงทุ น และมี โ อกาส ที่จะเติบโตไปอีกมาก แล้วถ้าลิเทียมเป็นทีต่ อ้ งการมากขึน้ ราคาสูงขึน้ จะมีการ น�าแร่หรือวัสดุอนื่ มาใช้ในแบตเตอรีท่ ดแทนลิเทียมหรือไม่ คาดว่า เป็นไปได้ยากครับ เพราะลิเทียมเป็นธาตุที่เล็กที่สุดเป็นอันดับ ทีส่ ามของตารางธาตุแล้ว การจะหาแร่อนื่ ทีม่ คี ณ ุ สมบัตดิ า้ นความ หนาแน่นพลังงานไฟฟ้าสูงกว่าลิเทียมมาใช้แทนคงไม่ใช่เรื่องง่าย ทิศทางการพัฒนาแบตเตอรี่คงเป็นไปในด้านการพัฒนาส่วน ประกอบอืน่ ในแบตเตอรีใ่ ห้มคี ณ ุ สมบัตดิ ขี นึ้ รวมทัง้ การลดต้นทุน การประกอบแบตเตอรีม่ ากกว่า หรือถ้าจะหาเทคโนโลยีแหล่งพลังงาน รูปแบบใหม่มาแทนแบตเตอรี่เลยก็อาจเป็นไปได้ แต่การพัฒนา ให้เป็นที่ยอมรับและนิยมใช้งานคงไม่ง่ายนัก เพราะแม้จะคิดค้น รูปแบบเทคโนโลยีแหล่งพลังงานใหม่ขึ้นมาได้ก็จะต้องให้เวลา กับผูพ้ ฒ ั นาอุปกรณ์และกระบวนการผลิตต่างๆ ให้สามารถรองรับ การใช้งานเทคโนโลยีแหล่งพลังงานใหม่ๆ ซึ่งต้องใช้เวลาครับ ในอนาคตแนวโน้มของราคาลิเทียมคงมีลกั ษณะใกล้เคียง กับสินค้า Commodity ซึ่งมีผู้ใช้เยอะ เมื่อมีความต้องการสูง ก็ยอ่ มมีผอู้ ยากขายเพิม่ ซึง่ ในขณะนีพ้ วกเหมืองใหม่ๆ เริม่ จะทยอย ป้อนลิเทียมเข้าสู่ตลาด ผมว่าอีกสักระยะหนึ่งราคาที่ทะยานขึ้น ก็จะชะลอลง กระนัน้ ก็ตามลิเทียมก็ยงั คงหอมหวานเป็นทีต่ อ้ งการ ของตลาดอยู่


CHAPTER Startup ระบบเก็บสะสมพลังงาน ‘เราท�าได้’


221

‘เราท�าได้’ เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 ธันวาคม 2559

เรือ่ งทีผ่ มน�ำมำเล่ำสูก่ นั ฟังปิดท้ำยปีวอกก่อนเข้ำสูป่ รี ะกำ ยังคงเป็นระบบกำรเก็บสะสม พลังงำนหรือ Energy Storage ซึง่ เป็นเทคโนโลยีทไี่ ด้รับควำมสนใจอยูใ่ นขณะนี้ และทำง ส�ำนักงำนนโยบำยและแผนพลังงำน (สนพ.) กระทรวงพลังงำนก็ได้เห็นถึงควำมส�ำคัญในเรือ่ งนี้ โดยตัง้ งบประมำณกว่ำ 700 ล้ำนบำท เพือ่ สนับสนุนกำรศึกษำวิจยั และพัฒนำระบบ Energy Storage เพือ่ จะได้นำ� มำใช้กบั ระบบผลิตไฟฟ้ำในประเทศไทย


Chapter 32

Startup ระบบเก็บสะสมพลังงาน ‘เราท�าได้’

222

หน้าที่หลักของ Energy Storage คือการเก็บส�ารองไฟฟ้า ทีผ่ ลิตได้เกินความต้องการในช่วงเวลาหนึง่ ไว้ใช้ในยามทีต่ ้องการ ถ้ามองไปยังต่างประเทศ ขณะนี้มีการพัฒนาโครงการ Energy Storage กันอย่างคึกคัก ส�าหรับเทคโนโลยีที่มีก�าลังผลิต ติดตั้งรวมทั่วโลกสูงที่สุด คือระบบเก็บสะสมพลังงานประเภท สูบกลับ (Pumped Hydro Energy Storage) ซึ่งประกอบด้วย อ่างเก็บน�้าขนาดใหญ่ที่มีระดับความสูงต่างกัน จ�านวน 2 อ่าง อุโมงค์ทางเดินน�า้ เชือ่ มระหว่างอ่างทัง้ สอง โดยมีเครือ่ งสูบน�า้ และ เครื่องปั่นไฟอยู่ภายใน ส่วนขั้นตอนการเก็บพลังงานระบบจะน�า ไฟฟ้าส่วนเกินมาเดินเครื่องสูบน�้าเพื่อสูบน�้าจากอ่างด้านล่าง ขึ้นไปอ่างด้านบน ระบบสูบกลับนีน้ ยิ มใช้กนั อย่างแพร่หลาย เพราะสามารถ เก็บพลังงานได้ตั้งแต่ 100-1,000 เมกะวัตต์ มีต้นทุนที่ต�่ากว่า แบตเตอรี่ ส่วนใหญ่จะต้องใช้พนื้ ทีบ่ ริเวณภูเขาเพือ่ ให้นา�้ มีแรงดัน


223

สูงพอที่จะปั่นไฟ ซึ่งตอนนี้เริ่มประยุกต์ใช้กับเหมืองผิวดินต่างๆ อย่างไรก็ตาม ข้อจ�ากัดหลักของระบบสูบกลับ คือต้องหา พื้นที่ที่มคี วามสูงต่างกันมากกว่า 300 เมตรเพื่อสร้างอ่างเก็บน�า้ จึงท�าให้มโี ปรเจค Startup ทีพ่ ฒ ั นา Energy Storage รูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมาเป็นทางเลือกมากมาย โดยทั้งนี้ผมขอเลือก 2 เทคโนโลยี ที่มีไอเดียแปลกใหม่และน่าสนใจมาเล่าให้ฟัง คือ “StEnSea” และ “Hydrostor” ทัง้ 2 ระบบเป็นระบบเก็บสะสมพลังงานใต้ทะเล ซึง่ ท�างาน แตกต่างจากเทคโนโลยี Energy Storage ทั่วไป ตรงที่อาศัย ความดันน�้าใต้ทะเลมาช่วยในการเดินระบบและใช้พื้นที่ไม่มาก เป็นทางเลือกส�าหรับบริเวณที่ไม่มีภูเขาหรือเหมืองผิวดิน เทคโนโลยี StEnSea มีชื่อเต็มว่า Storing Energy at Sea พัฒนาโดย Fraunhofer Institute ประเทศเยอรมนี ระบบนีป้ ระกอบ ด้วยถังคอนกรีตทรงกลมกลวงขนาด 12 ลูกบาศก์เมตร ติดตั้งที่

Everlasting Economy

บำท คือ งบประมำณที่ส�ำนักงำนนโยบำย และแผนพลังงำน (สนพ.) กระทรวงพลังงำน ได้ตั้งเอำไว้ เพื่อสนับสนุนกำรศึกษำวิจัยและพัฒนำระบบ Energy Storage ของประเทศไทย


Chapter 32

Pumped Hydro Energy Storage

Startup ระบบเก็บสะสมพลังงาน ‘เราท�าได้’

224


225

Everlasting Economy

ใต้ทะเลลึก 100 เมตร ด้านในของถังประกอบด้วยท่อกลวงท�าหน้าที่ เป็นทางไหลเข้า-ออกของเครื่องน�้าเครื่องสูบน�้า-เครื่องปั่นไฟฟ้า หลักการท�างานของ StEnSea คือระบบจะน�าไฟฟ้ามาเดิน เครื่องสูบน�้าเพื่อสูบน�้าออกจากถังทรงกลม และเมื่อต้องการผลิต ไฟฟ้าระบบจะปล่อยให้นา�้ ทะเลที่มีความดันสูงไหลเข้ามาทางท่อ เพือ่ ขับใบพัดของเครือ่ งปัน่ ไฟฟ้า ซึง่ น�า้ ทีป่ น่ั ใบพัดแล้วจะถูกเก็บไว้ ในถังทรงกลมก่อนทีจ่ ะถูกสูบออกเมือ่ จะเริม่ การท�างานในรอบต่อไป ส�าหรับเทคโนโลยีของ Hydrostor จากเมือง Toronto ประเทศแคนาดา แตกต่างจาก StEnSea ตรงที่ใช้อากาศเป็น ตัวกลางในการเก็บสะสมพลังงานแทนน�้า โดยระบบ Hydrostor ประกอบด้วยเครื่องอัดอากาศและเครื่องปั่นไฟฟ้าที่อยู่บนบก ซึง่ เชือ่ มกับลูกโป่งเก็บอากาศใต้ทะเลมีความจุรวม 100 ลูกบาศก์เมตร ติดตั้งที่พื้นทะเลลึก 50 เมตร เมือ่ ต้องการสะสมพลังงานระบบจะน�าไฟฟ้ามาเดินเครือ่ ง อัดอากาศส่งอากาศแรงดันสูงผ่านท่อเข้าไปเก็บในลูกโป่งใต้ทะเล จากนั้นเมื่อต้องการผลิตไฟฟ้าจะท�าการปล่อยอากาศแรงดันสูง ไหลย้อนกลับไปขับใบพัดของเครือ่ งปัน่ ไฟฟ้าเพือ่ ผลิตกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ระบบ StEnSea เพิ่งเริ่มติดตั้งทดลองเมื่อเดือนที่แล้ว หากส�าเร็จโครงการจะขยายขนาดให้มกี า� ลังผลิตไฟฟ้า 5 เมกะวัตต์ ส่วนระบบ Hydrostor ตอนนี้ท�าการทดลองมาแล้วกว่าหนึ่งปี รวมถึงมีแผนจะพัฒนาโครงการทีเ่ มือง Goderish ประเทศแคนาดา ขนาดก�าลังผลิต 1.75 เมกะวัตต์ และจะขยายก�าลังผลิตให้เพิ่ม สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยมีเป้าหมายให้ถงึ 100 เมกะวัตต์ในอนาคต ผมว่าคนไทยเรามีศักยภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ไม่แพ้ชาติอื่น และสามารถน�างานวิจัยมาต่อยอดพัฒนาระบบ Energy Storage มาใช้ได้จริงตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน ความเพียรน�ามาซึ่งความส�าเร็จครับ


CHAPTER

จากลิเทียม สู่พลังงานสะอาดสร้างสังคมสีเขียว


227

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 17 มกราคม 2560

เราคงได้ยินเรื่องลิเทียม (Lithium) ซึ่งเป็นแร่ที่ตลาดต้องการในปัจจุบัน นอกจาก จะเป็นวัตถุดบิ ส�าคัญส�าหรับผลิตแบตเตอรีใ่ นอุปกรณ์พกพาแล้ว ตอนนีล้ เิ ทียมยังถูกน�าไปใช้ ผลิตแบตเตอรี่ส�าหรับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage) ท�าหน้าที่กักเก็บพลังงาน ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน รวมถึงน�ามา ใช้ในแบตเตอรี่ส�าหรับรถยนต์ ไฮบริดและ รถยนต์ ไฟฟ้าด้วย


Chapter 33

จากลิเทียม สู่พลังงานสะอาดสร้างสังคมสีเขียว

228

แบตเตอรี่ ส� ำ หรั บ รถยนต์ ไ ฟฟ้ ำ หนึ่ ง คั น มี ลิ เ ที ย มเป็ น ส่วนประกอบประมำณ 30-70 กิโลกรัม เทียบง่ำยๆ คือมีมำกกว่ำ ในแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือกว่ำหมื่นเท่ำ เมื่อตลำดรถยนต์ไฟฟ้ำ ในจีน ยุโรป และอเมริกำขยำยตัวเพิ่มมำกขึ้น ส่งผลให้มีกำรใช้ แร่ลิเทียมมำกขึ้น จนตลำดลิเทียมเริ่มตึงตัวเพรำะปริมำณแร่ ทีผ่ ลิตได้ในขณะนีม้ จี ำ� กัด รำคำแร่ทซี่ อื้ -ขำยตำมสัญญำระยะยำว จึงพุ่งสูงขึน้ จำกประมำณ 5,000 ดอลลำร์สหรัฐฯ ต่อตันในปี 2557 สูงขึ้นเป็น 7,500-10,000 ดอลลำร์สหรัฐฯ ต่อตันเมื่อปีที่ผ่ำนมำ อีกทั้งรำคำแร่ท่ซี ื้อขำยในตลำด (Spot Market) สูงถึงกว่ำ 20,000 ดอลลำร์สหรัฐฯ ต่อตัน ประเมิ น กั น ว่ ำ ก� ำ ลั ง ผลิ ต แร่ ลิ เ ที ย มอำจจะเพิ่ ม ไม่ ทั น ควำมต้องกำรใช้ที่เพิ่มสูงขึ้นมำก ประกอบกับกำรที่เทคโนโลยี แบตเตอรี่ส่วนใหญ่ยังคงต้องใช้ลิเทียมเป็นองค์ประกอบหลัก ยังไม่มีแนวโน้มว่ำจะมีแร่อื่นใดมำทดแทน ใน 5-10 ปีข้ำงหน้ำนี้ จึงคำดว่ำลิเทียมจะเป็นแร่พลังงำนที่ส�ำคัญในอนำคต ท�ำให้มี นักลงทุนสนใจเข้ำมำประกอบธุรกิจเหมืองแร่ลิเทียมซึ่งเป็นธุรกิจ ต้นน�้ำของแบตเตอรี่กันอย่ำงคึกคัก และมีกำรเร่งพัฒนำเหมือง เพื่อให้สำมำรถผลิตแร่ลิเทียมสู่ตลำดให้ได้เร็วที่สุด แหล่งแร่ลเิ ทียมที่พบและผลิตได้แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ เหมืองน�ำ้ เกลือ (Brine) เหมืองแร่หนิ (Hard Rock) และเหมืองแร่ดนิ (Clay) ซึ่งกำรผลิตลิเทียมจำกเหมืองแต่ละประเภทมีกระบวนกำร และต้นทุนที่ต่ำงกันไป ลิเทียมจำกแหล่งน�้ำเกลือ เป็นแหล่งที่พบแร่ลิเทียมที่มี ควำมเข้มข้นมำกที่สุด และมีต้นทุนกำรผลิตต�่ำสุดประมำณ 2,000-3,000 ดอลลำร์สหรัฐฯ ต่อตัน ประเทศทีม่ แี ร่ลเิ ทียมในแหล่งน�ำ้ เกลือมำกทีส่ ดุ อยูใ่ นแถบ อเมริกำใต้ ได้แก่ ประเทศโบลิเวีย ชิลี และอำร์เจนตินำ นิยมเรียก


229

ดอลลาร์/ตัน

คือราคาของแร่ลิเทียม (ตัวเลข ปี 2560)

Everlasting Economy


230

20 ล้านคัน

Chapter 33

จากลิเทียม สู่พลังงานสะอาดสร้างสังคมสีเขียว

คือ จ�านวนของรถไฟฟ้า ที่คาดว่าจะมีการผลิตไปจนถึงปี 2583

ซึ่งจ�าเป็นจะต้องใช้ ลิเทียมเป็นส่วนประกอบ ส�าคัญในการ ผลิตแบตเตอรี่


231

Everlasting Economy

แหล่งแร่ของทั้งสำมประเทศนีร้ วมกันว่ำ “สำมเหลี่ยมแห่งลิเทียม (Lithium Trinity)” ซึ่งประเมินว่ำในสำมเหลี่ยมแร่แห่งนี้มีลิเทียม รวมกันมำกถึงกว่ำครึ่งหนึ่งของแหล่งลิเทียมทุกประเภททั้งหมด ของโลก กำรผลิ ต ลิ เ ที ย มจำกน�้ ำ เกลื อ มี ลั ก ษณะคล้ ำ ยกำรท� ำ นำเกลือในบ้ำนเรำ คือกำรตำกน�ำ้ เกลือให้เกลือลิเทียมตกตะกอน โดยใช้แสงแดดและลมช่วยในกำรระเหยของน�ำ้ หลังจำกนัน้ จึงน�ำ ไปท�ำกำรแยกสิ่งเจือปนและท�ำปฏิกิริยำกับสำรเคมีเพื่อเปลี่ยน ให้อยู่ในรูปสำรประกอบลิเทียมที่เหมำะสมต่อกำรน�ำไปผลิต แบตเตอรี่ เช่น ลิเทียมคำร์บอเนต หรือใช้ในอุตสำหกรรมต่ำงๆ ตำมควำมต้องกำร แต่กำรผลิตลิเทียมจำกน�้ำเกลือมีข้อเสียคือ ใช้ เ วลำนำนประมำณ 12-18 เดื อ น ถึ ง จะได้ ผ ลผลิ ต ที่ เ ป็ น สำรประกอบลิเทียมออกมำ ส�ำหรับลิเทียมจำกแหล่งแร่หิน เป็นแหล่งที่พบแร่ลิเทียม ได้มำกเป็นอันดับที่สอง มีมำกในประเทศออสเตรเลียและจีน รองลงมำคือลิเทียมจำกแหล่งแร่ดิน พบได้ในประเทศแม็กซิโก และสหรัฐอเมริกำ เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกำรผลิตของลิเทียมจำกเหมือง ทัง้ 3 ประเภทแล้ว กำรผลิตลิเทียมจำกน�ำ้ เกลือจะมีตน้ ทุนต�ำ่ ทีส่ ดุ เนือ่ งจำกมีกำรใช้แสงแดดและลมช่วยในกำรระเหยน�ำ้ จึงช่วยประหยัด ต้นทุนพลังงำน ส่งผลให้ค่ำกำรตลำดสูงกว่ำและมีควำมสำมำรถ ในกำรแข่งขันด้ำนรำคำมำกกว่ำเมื่อเทียบกับลิเทียมจำกเหมือง ประเภทอื่น ส�ำหรับประเทศไทยตอนนี้เริ่มมีชำวต่ำงชำติสนใจขอเข้ำ ท�ำกำรส�ำรวจแร่ลิเทียม คำดว่ำแหล่งที่มีโอกำสขุดพบแร่ลิเทียม น่ำจะอยู่ในบริเวณเดียวกับแหล่งแร่ดีบุก เนื่องจำกแร่ท้งั สองชนิด มักเป็นแร่ทเี่ กิดร่วมกัน แต่ยงั ไม่แน่ใจว่ำเป็นแหล่งลิเทียมประเภทใด


Chapter 33

จากลิเทียม สู่พลังงานสะอาดสร้างสังคมสีเขียว

232

ตัน คือ ปริมาณแร่ลิเทียม ที่ผลิตได้จากเหมือง ในประเทศออสเตรเลียใน ปี 2016 ซึ่งถือว่าเป็น ประเทศที่ส่งออกแร่ลิเทียม ได้มากเป็นอันดับหนึ่ง ของโลก รองลงมาก็คือ ประเทศ ชิลี อาร์เจนตินา จีน


233

Everlasting Economy

ซึ่งจะมีผลต่อกำรพัฒนำกระบวนกำรผลิตต่อไป คำดว่ำในอนำคตลิเทียมจะเป็นแร่พลังงำน ที่ส�ำคัญ เพรำะเป็นหัวใจหลักของแบตเตอรี่ที่ถูก พั ฒ นำไปใช้ กั บ เทคโนโลยี พ ลั ง งำนสะอำดต่ ำ งๆ ทีเ่ ล่ำในข้ำงต้น ซึง่ นอกจำกกำรพัฒนำเหมืองลิเทียม แล้ว กำรพัฒนำกระบวนกำรรีไซเคิลลิเทียมจำก แบตเตอรี่เสื่อมสภำพเพื่อน�ำกลับมำใช้ใหม่ก็ถือเป็น อี ก สิ่ ง หนึ่ ง ที่ ค วรท� ำ ควบคู ่ กั น ไป เพื่ อ ให้ เ กิ ด กำร ใช้ทรัพยำกรอย่ำงยั่งยืน ช่วยให้โลกใบนีส้ ดใสและน่ำอยูข่ นึ้ ส�ำหรับคน รุ่นต่อๆ ไปครับ


CHAPTER Energy Storage สร้างเสถียรภาพไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน


235

สร้างเสถียรภาพไฟฟ้า เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 22 กันยายน 2560

เมือ่ ปลายเดือนก่อนผมนัง่ รถเพือ่ เดินทางไปต่างจังหวัดระหว่างทีน่ งั่ ไปผมก็มองข้างทาง ไปเรื่อยๆ สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตได้คือ ทางที่รถผมขับผ่านมีต้นไม้ข้างถนนที่โดนตัดหายไป เยอะมาก ตอนแรกก็คดิ ว่าคงจะมีการขยายถนนให้ใหญ่ขนึ้ แต่เมือ่ ถึงปลายทางก็อดถามผูท้ ี่ นัดกันไม่ได้วา่ ท�าไมต้นไม้ถกู ตัดออกเยอะ จึงได้รบั ทราบว่าน่าจะมีคนรับจ้างตัดต้นไม้เพือ่ น�าไป เป็นเชือ้ เพลิงของโรงไฟฟ้าชีวมวล อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถยืนยันได้วา่ การตัดไม้ดงั กล่าว เป็นการน�าไปท�าเชือ้ เพลิงส�าหรับโรงไฟฟ้าจริงๆ หรือไม่


Chapter 34

Energy Storage สร้างเสถียรภาพไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน

236

เรื่องนี้ท�ำให้อยำกเล่ำถึงกำรที่ประเทศต่ำงๆ มีกำรใช้พลังงำนหมุนเวียน เช่น โรงไฟฟ้ำพลังงำน แสงอำทิตย์ แล้วท�ำให้เกิดเหตุกำรณ์ 2 เหตุกำรณ์ ในระบบกำรจ่ำยไฟฟ้ำ อย่ำงแรกคือเหตุกำรณ์ Duck Curve หรือ ในภำษำไทยเรียกว่ำตกท้องช้ำง คือ ในช่วงกลำงวัน ก�ำลังกำรผลิตไฟฟ้ำของโรงไฟฟ้ำหลักจะลดต�่ำลง ระยะหนึ่ง เนื่องจำกมีก�ำลังผลิตไฟฟ้ำจำกโรงงำน ไฟฟ้ำแสงอำทิตย์มำเสริม หลังจำกนัน้ ในช่วงกลำงคืน ก�ำลังผลิตไฟฟ้ำของโรงไฟฟ้ำหลักจะกลับไปสูงขึน้ อีก ครัง้ ท�ำให้ปริมำณก�ำลังผลิตไฟฟ้ำมีลกั ษณะเกิดกำร ตกท้องช้ำงในช่วงกลำงวัน ส่วนเหตุกำรณ์ที่สอง คือ เหตุกำรณ์ควำม ไม่แน่นอนของปริมำณไฟฟ้ำที่ผลิตจำกแผงเซลล์ แสงอำทิตย์ ที่ขึ้นอยู่กับควำมเข้มและควำมต่อเนื่อง ของแสงแดดที่ แ ปรเปลี่ ย นไปในแต่ ล ะช่ ว งทั้ ง ใน หน้ำฝนหรือในช่วงที่ไม่มีแดด สองเหตุกำรณ์นจี้ งึ เป็นทีม่ ำของควำมคิดทีจ่ ะ ท� ำ ให้ ร ะบบกำรจ่ ำ ยไฟฟ้ ำ มี ร ะบบที่ เ สถี ย รขึ้ น โดยมีกำรเปิดรับซือ้ ไฟฟ้ำแบบ “Firm” จำกโรงไฟฟ้ำ พลังงำนหมุนเวียน SPP-Hybrid Firm ที่รัฐเปิดโอกำส ให้มีกำรรับซื้อไฟฟ้ำจำกโครงกำรที่มีกำรผสมผสำน ระหว่ำงโรงไฟฟ้ำแสงอำทิตย์และชีวมวล เพื่อให้ โครงกำรสำมำรถจ่ำยไฟฟ้ำได้อย่ำงต่อเนือ่ ง โดยวันที่ มี แ ดดจะใช้ ไ ฟฟ้ ำ ที่ ผ ลิ ต จำกเซลล์ แ สงอำทิ ต ย์ ส่ ว นในวั น ที่ ไ ม่ มี แ ดดก็ จ ะผลิ ต ไฟฟ้ ำ จำกชี ว มวล ซึง่ วิธนี ก้ี จ็ ะท�ำให้ไม่เปลืองวัตถุดบิ ในส่วนของชีวมวล

AE


EDP2015 237

ย่อมาจาก Alternative Energy Development Plan หรือแผนพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 คือ 1 ใน 5 แผนพลังงาน 5 แผนหลักที่สอดคล้อง กับการท�าแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ

Everlasting Economy

มำกนักแต่ก็ยังมีควำมเสี่ยงว่ำเรำจะมีวัตถุดิบ เช่น เศษไม้เพียงพอหรือไม่ หรือเสี่ยงจะเกิดปัญหำใหม่ ท�ำให้ต้องตัดกิ่งไม้ริมถนนไปใช้หรือไม่ ผมคิดว่ำทำงออกส�ำหรับกำรเพิ่มควำม Firm ของไฟฟ้ำพลังงำนหมุนเวียน ควรจะส่งเสริมกำรใช้ ระบบกักเก็บพลังงำน (Energy Storage) มำกกว่ำ เพรำะเรำสำมำรถเก็บพลังงำนไว้ใน Energy Storage แล้ ว เอำมำใช้ ช ่ ว ยจ่ ำ ยไฟฟ้ ำ ในช่ ว งที่ โ รงไฟฟ้ ำ แสงอำทิตย์และลมไม่สำมำรถผลิตไฟฟ้ำได้ ซึ่งก็จะ ช่วยให้เกิดควำม Firm ขึ้น ระบบกักเก็บพลังงำนที่ใช้ส�ำหรับพลังงำน หมุ น เวี ย น ตอนนี้ มี ห ลำยประเภท เช่ น กำรใช้ โรงไฟฟ้ำพลังน�ำ้ สูบกลับร่วมกับโรงไฟฟ้ำแสงอำทิตย์ หรือแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน (Lithium Ion Battery) ที่ได้รับควำมนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ รัฐบำลจึงควรจะมีกลไกสนับสนุนทีเ่ หมำะสม เพื่ อ ช่ ว ยผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด กำรใช้ Energy Storage อย่ำงแพร่หลำยและท�ำให้กำรลงทุนของโครงกำร


,02 Energy Storage สร้างเสถียรภาพไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน Chapter 34

พันตันเทียบเท่าน�้ามันดิบ (ktoe) คือสถิติการใช้ พลังงานทดแทนของ ประเทศไทยในปี 2557 คิดเป็นร้อยละ 11.9 ของการใช้พลังงาน ขั้นสุดท้าย โดยพลังงาน ทดแทนที่ใช้จะอยู่ในรูป ของพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และเชื้อเพลิงชีวภาพ


239

สำมำรถแข่งขันได้เร็วขึน้ ซึง่ หำกผลักดันให้มกี ำรใช้ Energy Storage ในประเทศไทยในวงกว้ำ งได้จริง ก็น่ำ จะช่ ว ยเพิ่ม ควำม Firm ให้กำรผลิตไฟฟ้ำจำกพลังงำนหมุนเวียนได้ในระยะยำว และยิง่ ท�ำให้ เรำสำมำรถเพิม่ สัดส่วนพลังงำนหมุนเวียนในประเทศได้สงู ขึน้ ด้วย ที่ส�ำคัญคือเรำควรจะมีกำรพัฒนำระบบส่งจ่ำยไฟฟ้ำ เพิ่มเติมเพื่อให้สำมำรถที่จะบริหำรระบบไฟฟ้ำย้ำยอิเล็กตรอน จำกจุดทีไ่ ม่มคี วำมต้องกำรใช้ไฟฟ้ำไปยังจุดทีต่ ้องกำรใช้ไฟฟ้ำสูง พร้อมทั้งเร่งพัฒนำระบบบริหำรกำรส่งจ่ำยไฟฟ้ำ เพื่อส่งเสริม ให้มีกำรกระจำยตัวของไฟฟ้ำไปยังบริเวณใกล้ผู้ใช้ไฟมำกขึ้น (Distributed Power Supply) หรือมีก ำรจัด กลุ่ ม ผู ้ ผ ลิต ไฟฟ้ ำ ขนำดเล็กที่อยู่ใกล้ๆ กัน (Virtual Power Supply) เพื่อให้สำมำรถ บริหำรกำรไฟฟ้ำจำกผู้ผลิตรำยเล็กได้ดีขึ้น สิ่งต่ำงๆ เหล่ำนี้ควรจะต้องมีนโยบำยสนับสนุนระยะยำว เหมือนกับเมื่อ 10 ปีก่อนที่ภำครัฐให้กำรสนับสนุนกำรลงทุนผลิต ไฟฟ้ำจำกเซลล์แสงอำทิตย์ที่ท�ำให้ในวันนี้ประเทศไทยเป็นผู้น�ำ ด้ำนโรงไฟฟ้ำพลังงำนแสงอำทิตย์ระดับเอเชีย สิ่งที่ผมกล่ำว ข้ ำ งต้ น จะท� ำ ให้ ป ระเทศไทยมี โ อกำสพั ฒ นำกำรฝึ ก ไฟฟ้ ำ จำกพลังงำนแสงอำทิตย์มำกยิ่งขึ้น Everlasting Economy


CHAPTER รีไซเคิลลิเทียม จุดประกายธุรกิจ Startup


241

เผยแพร่ครั้งแรกคอลัมน์ Everlasting Economy หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 27 ตุลาคม 2560

ช่วงนีต้ ลาดแบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออน (Lithium Ion Battery) มีการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง และท�าให้ราคาต่อหน่วยลดลงจาก 1,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชวั่ โมงเมือ่ สามปีทแี่ ล้ว มาเป็นต�่ากว่า 250 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งคาดว่าเมื่อราคาแบตเตอรี่อยู่ที่ ประมาณ 100 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อกิโลวัตต์ชวั่ โมงแล้ว จะท�าให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต ส่งผลให้ปริมาณความต้องการลิเทียมซึง่ เป็นวัตถุดบิ ทีส่ า� คัญในการผลิตแบตเตอรีเ่ พิม่ สูงขึน้ เป็นเงาตามตัว ประมาณการณ์วา่ ภายในปี 2568 ความต้องการลิเทียมจะสูงขึน้ กว่า 4 เท่าตัว จากปัจจุบนั


Chapter 35

รีไซเคิลลิเทียม จุดประกายธุรกิจ Startup

242

นอกจากนี้ ราคาหุ้นของบริษัทผู้ผลิตลิเทียมหลายรายก็มี แนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน โดยราคาหุน้ เพิม่ สูงขึน้ 2-3 เท่าตัว ตามแนวโน้มของตลาดลิเทียมที่ขยายใหญ่ข้นึ มีการวิเคราะห์ว่า สาเหตุหลักที่อุปสงค์ของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนมีการเติบโต อย่างก้าวกระโดดนีม้ าจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งที่เป็นรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle) รถยนต์ ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) และรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (Hybrid Electric Vehicle) ท�าให้เกิด ปัญหาคอขวด เนื่องจากบริษัทเร่งผลิตแบตเตอรี่อย่างรวดเร็ว ให้เพียงพอต่อการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งแบตเตอรี่ที่ใช้ในรถยนต์ ไฟฟ้ า 1 คัน จะมีขนาดใหญ่ก ว่าแบตเตอรี่ที่ใ ช้ใ นโทรศัพท์ Smartphone ประมาณ 5,000 เท่า ขณะเดียวกันธุรกิจกักเก็บพลังงานขนาดใหญ่ (Energy Storage) ที่กักเก็บพลังงานเพื่อลดพีคในการใช้ไฟฟ้า หรือป้องกัน ไฟฟ้าดับ (Black out หรือ Brown out) นั้น ก็เป็นอีกอุตสาหกรรม หนึง่ ทีต่ อ้ งการใช้แบตเตอรีล่ เิ ทียมเพิม่ สูงขึน้ โดยดูได้จากโครงการ ของเทสล่าที่ก�าลังติดตั้งแบตเตอรี่ที่มีขนาดรวม 129 เมกะวัตต์ ชั่วโมง ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก การเติบโตอย่างรวดเร็วของทั้งสอง อุตสาหกรรมนีท้ า� ให้คาดว่าจะมีแบตเตอรีจ่ า� นวนมหาศาลในโลก ในอีก 20-30 ปีข้างหน้า ส�าหรับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ ส่วนใหญ่ประมาณ 10 ปี จึงคาดว่าจะมีขยะแบตเตอรี่จ�านวน หลายล้านตันใน 15 ปีข้างหน้า การน�าแบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออนไปรีไซเคิลอาจเป็นทางเลือก หนึ่ ง ที่ น ่ า สนใจ อย่ า งไรก็ ต ามยั ง มี ข ้ อ จ� า กั ด ของการรี ไ ซเคิ ล แบตเตอรี่ คือ ความแตกต่างของแบตเตอรีล่ เิ ทียมไอออนซึง่ มีสาร ทีเ่ ป็นส่วนประกอบหลายๆ แบบทีแ่ ตกต่างกันไป ท�าให้รไี ซเคิลยาก ต้องอาศัยกระบวนการทีซ่ ับซ้อนและต้นทุนสูง


243

ตัน คือ ปริมาณขยะจากแบตเตอรี่ ลิเทียมที่หมดอายุการใช้งาน ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ช่วงปี 2573

Everlasting Economy

ทุกปัญหามีทางออกครับ เมือ่ เร็วๆ นีม้ ขี า่ วว่า บริษัท OnTo Technology ซึ่งเป็น Startup รายหนึ่ง ที่ให้ความสนใจและได้พัฒนาการรีไซเคิลแบตเตอรี่ ลิเทียม คิดค้นกระบวนการพิเศษที่ท�าให้สามารถ รีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเทียมได้ทุกประเภท แม้ว่าจะมี ส่ ว นผสมของขั้ ว แบตเตอรี่ แ ตกต่ า งกั น ก็ ต าม เทคโนโลยีทพี่ ฒ ั นาขึน้ มานีช้ ว่ ยให้เราสามารถท�าการ สั ง เคราะห์ ขั้ ว แบตเตอรี่ ขึ้ น มาใหม่ ไ ด้ โ ดยตรง จากแบตเตอรีท่ เี่ สือ่ มสภาพ ไม่ตอ้ งแยกส่วนประกอบ ปลีกย่อยของแบตเตอรี่แบบรีไซเคิลแบตเตอรี่ทั่วไป และท�าให้มีต้นทุนการรีไซเคิลต�่า


5,000 Chapter 35

รีไซเคิลลิเทียม จุดประกายธุรกิจ Startup

244

เท่า คือ ความใหญ่ ของแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ ที่ใช้ในสมาร์ทโฟน


การรีไซเคิลแบตเตอรี่นอกจากจะช่วยลดขยะแล้ว ยังเป็น การช่วยลดปริมาณความต้องการทรัพยากรจากธรรมชาติด้วย เพราะสามารถน�าโลหะต่างๆ รวมทัง้ ลิเทียมกลับมาใช้ใหม่อกี รอบ อีก 10 กว่าปีข้างหน้าประมาณปี 2573 เราจะต้องจัดการขยะ แบตเตอรี่มากถึง 11 ล้านตัน เมื่อเทียบกับก�าลังการรีไซเคิล แบตเตอรี่ของ Startup ข้างต้นแค่ 250,000 ตันต่อปี จะเห็นว่า ในปัญหายังมีหนทางอีกมากที่สามารถขจัดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ได้ เพียงแต่ตอ้ งใช้เวลาในการจัดการ เหรียญมีสองด้านครับ เพียงแต่ จะมองมุมไหนเท่านั้น ยั ง มี อี ก วิ ธีห นึ่ ง ที่ จ ะจั ด การกั บ ปั ญ หาแบตเตอรี่ คื อ บริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่มีความคิดที่จะรวบรวมเอาแบตเตอรี่ ที่ไม่สามารถใช้ได้แล้วมารวมศูนย์ไว้ด้วยกัน แล้วจัดให้มีระบบ บริหารจัดการเพือ่ ให้กลายเป็นแหล่งไฟฟ้าส�ารองหรือเป็นโรงไฟฟ้า เสมือน (Virtual Power Plant) เพื่อท�าหน้าที่เก็บและจ่ายพลังงาน ให้ ผู ้ ใ ช้ ไ ฟฟ้ า รายย่ อ ยตามบ้ า นเรื อ นหรื อ อาคารพาณิ ช ย์ ซึ่งโดยทั่วไปแบตเตอรี่ที่ไม่สามารถใช้งานได้แล้วในรถยนต์มักมี คุณภาพด้อยลงกว่าทีจ่ ะใช้ขบั เคลือ่ นเครือ่ งยนต์ในรถได้ แต่จะยังมี ความสามารถเก็บและจ่ายไฟฟ้าให้กบั อุปกรณ์ไฟฟ้าทัว่ ๆ ไปได้อยู่ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีที่หลายคนมีความเป็นห่วง มีทางออก ด้ ว ยการแปลงสภาพแบตเตอรี่ ที่ เ สื่ อ มสภาพมาใช้ ป ระโยชน์ ดังตัวอย่างข้างต้น และสามารถผลักดันให้เป็นธุรกิจ Startup “แปลงขยะให้เป็นทอง” ได้ทั้งมูลค่าและคุณค่า สร้างงานดูและ สิ่งแวดล้อมคู่กนั ไป

Everlasting Economy

0

245


คุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จ�ากัด (มหาชน) อายุ 51 ปี


247

คุณชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ด�ารงต�าแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั บางจาก คอร์ปอเรชัน่ จ�ากัด (มหาชน) ตัง้ แต่ปพี .ศ.2558 และด�ารงต�าแหน่งรองประธานกรรมการ บริษทั บีซพี จี ี จ�ากัด (มหาชน) ซึง่ เป็นบริษทั ในกลุ่มเมื่อปี พ.ศ. 2560 คุณชัยวัฒน์เป็นผูท้ มี่ ปี ระสบการณ์การท�างานในด้านวิศวกรรม ด้านการเงิน และด้านการบริหารมากกว่ายีส่ บิ ห้าปี โดยส�าเร็จการศึกษาวิศกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินยิ ม) จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ส�าเร็จ การศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เริ่มต้นชีวิตการท�างานเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในต�าแหน่งวิศวกร บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จ�ากัด (มหาชน) ก่อนทีจ่ ะได้รบั ทุนเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ AIT จากนั้นจึงเบนเข็มมาท�างานในต�าแหน่งวาณิชธนากร (Investment Banker) ที่ บริษัท หลักทรัพย์ แอสเซท พลัส จ�ากัด ก่อนที่ต่อมาจะด�ารงต�าแหน่งกรรมการ บริษทั SG Crosby (Thailand) และ SG Securities (Singapore) Pte. Ltd. โดยคุณชัยวัฒน์ ได้กอ่ ตัง้ และด�ารงต�าแหน่งกรรมการผูจ้ ดั การบริษทั เทิรน์ อะราวด์ จ�ากัด ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้คา� ปรึกษาด้านการเงิน การตลาด และการลงทุน ภายหลัง ท่านได้ดา� รงต�าแหน่งทีป่ รึกษา บริษทั อวานการ์ด แคปปิตอล จ�ากัด ซึง่ เป็นบริษทั ที่ให้ค�าปรึกษาเกี่ยวกับงานด้านการเงิน การลงทุน รวมถึงการบริหารธุรกิจ คุณชัยวัฒน์เข้าด�ารงต�าแหน่งที่บางจากฯ ครั้งแรกในต�าแหน่งกรรมการ บริษัท เมื่อปี พ.ศ.2555 และรับต�าแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ เมื่อปี พ.ศ.2558 ตามที่กล่าวมาข้างต้น ปัจจุบันคุณชัยวัฒน์ส�าเร็จการศึกษาหลักสูตรส�าหรับผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (NDC) รุ่นที่ 58 วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร, หลักสูตรผูบ้ ริหารระดับสูง ด้านวิทยาการพลังงาน รุน่ ที่ 10 (วพน.10) และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 26 (วตท.26)





Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.