21 minute read
\u0E1F\u0E37\u0E49\u0E19\u0E27\u0E31\u0E14 \u0E04\u0E37\u0E19\u0E18\u0E23\u0E23\u0E21 \u0E19\u0E33\u0E40\u0E21\u0E37\u0E2D\u0E07
Advertisement
อรศรี งามวิทยาพงศ�และคณะ
¡ÅÂØ·¸¿„œ¹ÇÑ´¤×¹¸ÃÃÁ ¹ÓàÁ×ͧ
อรศรี งามวิทยาพงศ์และคณะ
เรียบเรียงเพื่อการเผยแพร่จากผลการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยร่วมและกลยุทธ์ฟื้นฟูบทบาทการพัฒนาจิตวิญญาณ ของวัดในเขตเมืองและกึ่งเมืองกึ่งชนบท” : กรณีศึกษา วัดในโครงการวัดบันดาลใจ
รายงานฉบับสมบูรณ์ http://arsomsilp.ac.th/th/portfolio/watbundanjai-complete-research-report/
กลยุทธ์ฟื้นวัด คืนธรรม นําเมือง : รองศาสตราจารย์ ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์และคณะ พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม ๒๕๖๑ จํานวนพิมพ์ ๕,๐๐๐ เล่ม ผู้จัดพิมพ์ : สถาบันอาศรมศิลป์ และวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้สนับสนุน : สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
คณะผู้จัดทํา ที่ปรึกษา : อ.ประยงค์ โพธิ์ศรีประเสริฐ บรรณาธิการบริหาร : ปริยาภรณ์ สุขกุล กองบรรณาธิการ : ภัสภรณ์ ชาญฤทธิเสน, จิติมา จิตรวรนันท์, อรอําไพ สามขุนทด, จันทรัสม์ จันทรทิพรักษ์, พฤฒิพล อักษรกุล, ศุทธาพิชญ์ บุพพวงศ์ ปกและภาพประกอบ : GPEN ออกแบบรูปเล่ม : ฝ่ายสื่อสารองค์กรสถาบันอาศรมศิลป์, โสภณ สุกแสงแก้ว ดําเนินการผลิต : โครงการวัดบันดาลใจ พิมพ์ที่ : ส.ไพบูลย์การพิมพ์
เผยแพร่แก่ผู้สนใจโดยไม่คิดมูลค่า : สนใจติดต่อขอรับได้ที่ สถาบันอาศรมศิลป์ ๓๙๙ ซอยอนามัยงามเจริญ ๒๕ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ๑๐๑๕๐ โทรศัพท์ : ๐๒-๔๙๐-๔๗๔๘-๕๔ Email : admin@arsomsilp.ac.th
ข้อมูลทางบรรณานุกรม : อรศรี งามวิทยาพงศ์ และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ ๑ กรุงเทพฯ : สถาบันอาศรมศิลป์, ๒๕๖๐. ๒๗๒ หน้า (วิชาการ) ๑.พุทธศาสนา ๒. ปฏิรูปวัด ๓. พัฒนาจิตวิญญาณ ๔. สังคมเมือง ISBN ๙๗๘-๖๑๖-๗๙๒๓-๐๗-๙
ดาวน์โหลด e-book กลยุทธ์ฟื้นวัด คืนธรรม นําเมือง ได้ที่ http://arsomsilp.ac.th/th/portfolio/watbundanjai-complete-research-report/
กุศลกรรมใดอันเกิดจากหนังสือเล่มนี้ คณะผู้วิจัยขอถวายเป็นมุทิตาสักการะ แด่พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ผู้อุทิศกําลังอย่างเต็มความสามารถ เพื่อนําพระศาสนาให้กลับมามีความหมาย แก่ชนร่วมสมัยและสังคมไทย
เนื่องในโอกาสครบ ๕ รอบอายุ ในปี ๒๕๖๐
¡ÔµµÔ¡ÃÃÁ»ÃСÒÈ
คณะนักวิจัยขอนมัสการขอบพระคุณพระเถรานุเถระ และขอบพระคุณคฤหัสถ์ทุกท่านของวัดที่เป็นกรณีศึกษา อันได้แก่ วัดนายโรงและวัดนางชี กรุงเทพมหานคร, วัดป่าสุขสมบูรณ์ จ.บุรีรัมย์, วัดลานสัก จ.อุทัยธานี และวัดภูเขาทอง จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ความอนุเคราะห์ข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัย และเอื้อเฟื้อเกื้อกูล ด้วยความเมตตาในทางต่างๆ อยู่นานนับเดือน จนกระทั่งการวิจัย สําเร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี
ขอนมัสการขอบพระคุณพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาส วัดป่าสุคะโต จ.ชัยภูมิ และขอบพระคุณ ดร.อุทัย ดุลยเกษม ที่กรุณา สละเวลาอ่านร่างรายงานการวิจัยและให้คําแนะนําต่างๆ อันเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งเพื่อการปรับปรุงรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ และขอบคุณคุณนภารัตน์ นนทกิจนพเกล้า ในงานทบทวนวรรณกรรม เรื่องการปรับตัวของศาสนาอื่น, ขอบคุณ คุณนภนาท อนุพงศ์พัฒน์ ในงานบรรณาธิการตรวจทานความถูกต้องของรายงานกรณีศึกษา ในภาคผนวก
๔
ขอขอบคุณสถาบันอาศรมศิลป์และสํานักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ตลอดจน ขอบคุณบุคลากรทุกท่านของโครงการวัดบันดาลใจที่ช่วยประสานงาน การวิจัยและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู ้ ให้ความคิดเห็น ข้อมูล เป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาของการวิจัย
ปูชนียบุคคลซึ่งคณะผู้วิจัยจะต้องน้อมกราบนมัสการด้วยความ สํานึกในพระคุณเป็นอย่างสูงทุกครั้งของการทําวิจัยในเรื่องการพระ ศาสนา คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) ผู้สร้างสรรค์ผล งานอันทรงคุณค่า ลึกซึ้งในเรื่องหลักธรรม สถาบันวัดและพระสงฆ์ เป็นแสงสว่างทางปัญญาให้กับสังคมไทยและคณะนักวิจัยในการศึกษา วิจัยทุกครั้งเสมอมา
๕
¤Ó¹Ó¼ÙŒ¨Ñ´¾ÔÁ¾
หนังสือ “กลยุทธ์ฟื้นวัด คืนธรรม นําเมือง” ซึ่งผู้เขียน คือ รศ.ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์ มีความตั้งใจนําผลงานวิจัยเรื่อง “ปัจจัยร่วม และกลยุทธ์ฟื้นฟูบทบาทการพัฒนาจิตวิญญาณของวัดในเขตเมือง และกึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษา วัดในโครงการวัดบันดาลใจ” มาเรียบเรียงให้เป็นฉบับอ่านง่าย เพื่อนํามาเผยแพร่ให้กับพุทธบริษัท ๔ ที่มีความสนใจร่วมกันพลิกฟื้นวัดให้กลับมามีบทบาทเป็นที่พึ่งทางใจ ของชุมชนและส่งเสริมการพัฒนาจิตวิญญาณของสังคม ได้เข้าใจถึง ปัจจัยร่วมและกลยุทธ์สําคัญที่วัดจําเป็นต้องมี หรือแนวทางการ ปรับปรุงสมรรถนะในด้านต่าง ๆ เพื่อนําพาคณะทํางานของท่านสู่ ภารกิจ “ฟื้นวัด คืนธรรม นําเมือง” ได้อย่างแท้จริง
ในโอกาสนี้ โครงการวัดบันดาลใจ ขอขอบคุณคณะทํางาน วิจัย ที่มีความมุ่งมั่นในการเก็บข้อมูลให้ได้ในเชิงลึก โดยใช้เวลา ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในแต่ละวัดเป็นเวลา ๓-๔ เดือน และได้รับ ความอนุเคราะห์จากพระคุณเจ้าจากวัดกรณีศึกษา เมตตาดูแล
๖
เป็นอย่างดีและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผลงานการวิจัย และหนังสือเล่มนี้ได้การสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่วัดให้เป็น ศูนย์เรียนรู ้สุขภาวะของเมือง เพื่อพลิกฟื ้นความเป็นสัปปายะและการ เป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณให้กับวัดทั่วประเทศ
ขออนุโมทนาแด่ทุกท่าน โครงการวัดบันดาลใจ
๗
à¡ÃÔè¹¹Ó¡‹Í¹ËҤӵͺ
ก่อนเริ่มต้นการวิจัยนี้ คณะผู ้วิจัยมีคําถาม (ค้าง) ในใจอยู ่ก่อนว่า การจะฟื ้นฟูบทบาทของวัดในเขตเมืองและกึ่งเมืองกึ่งชนบท โดยเฉพาะ วัดในเขตเมืองนั้น เป็นไปได้หรือ? ในเมื่อปรากฏการณ์เป็นอันมาก บ่งบอกถึงวิกฤตการณ์เรื้อรังของสถาบันพระพุทธศาสนา ไม่ว่าสถาบัน วัดหรือสถาบันสงฆ์ การจะฟื ้นฟูวัดให้กลับคืนสู ่บทบาทของการพัฒนา มนุษย์ด้านจิตวิญญาณและเกื้อกูลประโยชน์แก่สังคมไทย ดังที่มี มหาคุณูปการมาเนิ่นนานจะเป็นไปได้หรือ
“ฟื้นวัดคืนเมือง ฝันเฟื่องหรือเปล่า?” คือคําถามในใจ และด้วย ความอยากรู้กันให้กระจ่างชัดไปเลย โดยไม่ถามเองตอบเองด้วย ความรู ้สึก หากแต่ใช้กระบวนการวิจัยเข้ามาหาคําตอบ ผลที่ได้จะเป็น อย่างไร
งานที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ มาจากผลการวิจัยเรื่อง “ปัจจัยร่วม และกลยุทธ์ฟื ้นฟูบทบาทการพัฒนาจิตวิญญาณของวัดในเขตเมืองและ กึ่งเมืองกึ่งชนบท กรณีศึกษา วัดในโครงการวัดบันดาลใจ” ซึ่งผู้วิจัย เรียบเรียงขึ้นใหม่ เพื่อการเผยแพร่แก่สาธารณชน ให้อ่านเข้าใจโดย ง่ายขึ้น เพื่อให้มีโอกาสร่วมกันรับทราบว่า การฟื ้นวัดคืนเมืองนั้นมิได้ เป็นเรื่องฝันเฟื่อง หากเป็นไปได้จริง และยังอาจเป็นจริงได้มากขึ้น เป็นลําดับด้วย หากเข้าใจเหตุปัจจัยของการฟื ้นฟูให้แจ่มชัด และร่วมกัน
๘
ขับเคลื่อนด้วยความศรัทธาและห่วงใยในพระศาสนาของผู้คนทุก ภาคส่วนในสังคมไทย
งานวิจัยเรื่องนี้ ได้ศึกษาวัดเมืองและกึ่งเมืองฯ ๕ กรณีศึกษา ใช้เวลาประมาณปีเศษ แล้วนําผลการวิจัยมาวิเคราะห์สังเคราะห์ รวมกับผลการวิจัยก่อนหน้านี้ เพื่อหาคําตอบที่หนักแน่นเพิ่มขึ้นว่า กระบวนการพื้นวัด คืนธรรม นําเมือง ดําเนินการได้อย่างไร ที่สําคัญ คือมีอะไรเป็นปัจจัยร่วมที่ขาดเสียมิได้และจําเป็นต้องสร้างขึ้น ซึ่งผล การวิจัยยืนยันว่าสร้างขึ้นได้ด้วย มิใช่เหตุบังเอิญหรือความโชคดี หากแต่เกิดจากการกระทํา(กรรม)ของพุทธบริษัทที่มาร่วมกันสร้างให้ เกิดเหตุปัจจัยร่วมนั้น จนกระทั่งนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันดีงาม ในลักษณะที่หลากหลายแตกต่างกันไป
คณะผู้วิจัยหวังว่า ผลการวิจัยนี้จะมีส่วนสนับสนุนการปฏิรูป การพระศาสนาไม่มากก็น้อย และเป็นกําลังใจให้พุทธศาสนิกชนได้ ร่วมกันสืบสานพุทธกิจนี้ในยุคสมัยของเราให้ยืนยาวสืบเนื่องต่อไป เหมือนดังบรรพชนอุทิศตนทํามา หากเป็นดังหวัง ขออุทิศกุศลกรรมนี้ บูชาพระคุณแห่งพระรัตนตรัย อันเป็นที่พึ่งสูงสุดในการพัฒนา จิตวิญญาณของพุทธบริษัททั้งหลาย
อรศรี งามวิทยาพงศ์และคณะ
๙
ÊÒúÒÞ
๔ ๖ ๘ ๑๓ ๒๙ ๕๑ ๘๓
๑๐๑
๑๑๙ ๑๒๔ ๑๒๙ ๒๕๙ ๒๗๑
• กิตติกรรมประกาศ
• คํานําผู ้จัดพิมพ์
• เกริ่นนํา ก่อนหาคําตอบ
• บทที่ ๑ เมืองกลืนวัด
• บทที่ ๒ กระบวนการนําวัดคืนเมือง (หลวง)
• บทที่ ๓ ฟุบแล้วฟื ้นของวัดกึ่งเมืองกึ่งชนบท
• บทที่ ๔ เหตุแห่งความสําเร็จ ๑ : ลักษณะทุนคน และทุนทางสังคม
• บทที่ ๕ เหตุแห่งความสําเร็จ ๒ : เคล็ดกลยุทธ์
• บทที่ ๖ ถอดความรู ้สู ่ข้อเสนอแนะ
• คําตาม โดย พระไพศาล วิสาโล
• ภาคผนวก กรณีศึกษาโดยย่อ ๕ วัด
• บรรณานุกรม
• คณะนักวิจัย
๑๑
˹ŒÒá·Ã¡º··Õè ñàÁ×ͧ¡Å×¹ÇÑ´
ความเจริญเติบโตของเมืองในประเทศไทยเป็นไปอย่างรวดเร็ว มากในรอบ ๒๐ ปีที่ผ่านมา เปลี่ยนสภาพพื้นที่จากทุ่งนา สวนผัก- ผลไม้ ลําคลอง บ้านเรือนแบบชาวชนบท ฯลฯ ไปเป็นถนน ๘ เลน ตึกสูงเสียดฟ้า อาชีพที่เปลี่ยนแปลง เช่นเดียวกับ อาหารการกิน การแต่งกาย รูปแบบการใช้ชีวิต (Life style) ของผู้คนล้วนเปลี่ยนไป จากเดิม โดยเริ่มจากเมืองหลวง แล้วกระจายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ช้าเร็วแตกต่างกันไป
“วัด” ซึ่งเป็นสถาบันเก่าแก่แต่ครั้งพุทธกาล และเป็นศูนย์กลาง สําคัญของชุมชนเดิมหมด
ความสําคัญลงไปเป็นลําดับในวิถีเมือง บ้างกลายสภาพเป็นพื้นที่ จอดรถ บ้างเป็นตลาดนัด บ้างก็เงียบเหงาเหมือนวัดร้าง ขาดผู้ใส่ใจ สกปรก ไร้ระเบียบ ส่วนวัดที่ยังคงมีกิจกรรมและผู ้คนพลุกพล่านก็เป็น แหล่งจัดพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ การกราบไหว้อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันห่างไกลจากวัตถุประสงค์เดิมของการก่อตั้งวัด เพื่อให้เป็นสถานที่ พัฒนามนุษย์ให้เป็นผู้มีปัญญา เข้าใจชีวิต สามารถพ้นทุกข์มีความสุข ได้ด้วยตนเอง โดยพึ่งพิงภายนอกน้อย ยิ่งไปกว่านั้นคือยังช่วยเหลือ เกื้อกูลแก่ผู้อื่นได้ด้วย
๑๓
๑๔
ทั้ง ๕ วัดที่เลือกมาศึกษาต่อไปนี้ ก็เคยตกอยู่ในสถานการณ์ถูก เมืองกลืนวัด ก่อนจะฟื้นคืนธรรมนําเมือง สถานการณ์ดังกล่าว คือ
๑. วัดนายโรง : ถนนบรมราชชนนี เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
วัดแห่งนี้สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๐๓ ในอดีตชาวบ้านมีความสัมพันธ์กับวัดอย่างแน่นแฟ้นตาม ลักษณะสังคมในชนบท โดยเฉพาะในช่วงของเจ้าอาวาสลําดับที่ ๒ ของวัด คือหลวงปู่รอด พระเถระผู้มีชื่อเสียงในฝ่ายวิปัสสนาธุระ ซึ่งมี วิชาอาคมในการสร้างเครื่องรางของขลังประเภทเบี้ยแก้ เพื่อใช้กําจัด ภัยอันเกิดจากคุณไสยและภูตผี หลวงปู่รอดจึงมีลูกศิษย์มาอุปสมบท ด้วยจํานวนมาก คลุมพื้นที่ไปไกลในฝั่งธนบุรี นนทบุรี และหัวเมือง ทางใต้ แต่หลังจากยุคเฟื่องฟูในสมัยหลวงปู่รอด วัดนายโรงเริ่ม เสื่อมถอยลงเนื่องจากขาดเจ้าอาวาสที่เข้มแข็ง และบางช่วงถึงกับ ไม่มีเจ้าอาวาสมาประจําที่วัดนานนับสิบปี ทําให้สภาพวัดเสื่อมโทรม กลายเป็นป่าหญ้าปกคลุม มีสภาพกึ่งวัดร้าง ขาดกําลังจากญาติโยม และผู้ดูแล มาเริ่มฟื้นฟูวัดใหม่อีกครั้งประมาณพ.ศ. ๒๕๐๘ มีการ พัฒนาสิ่งปลูกสร้าง เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ วิหาร เจดีย์ ฯลฯ พร้อมกับริเริ่มส่งเสริมการศึกษาของพระเณรในวัด ฯลฯ เวลานั้น พื้นที่โดยรอบวัดยังเป็นสวนผลไม้และบ้านเรือนของชุมชนชาวสวน ผลไม้ วัดและชุมชนยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเกื้อกูลกัน
สภาพแวดล้อมทางกายภาพ วิถีชีวิตของผู้คนและความสัมพันธ์ ระหว่างวัดและบ้าน เริ่มเปลี่ยนแปลงจากการเริ่มตัดถนนบรมราชชนนี ในพ.ศ. ๒๕๒๕ วิถีชีวิตแบบชาวสวนในชนบท ที่ใช้การสัญจรทางนํ้า
ด้วยเรือพาย-เรือหางยาว พระสงฆ์ยังพายเรือออกบิณฑบาตในยามเช้า ฯลฯ ได้ค่อย ๆ หมดไป ผู้อยู่อาศัยในชุมชนเก่าแก่ที่เคยผูกพันกับวัด ย้ายออกจากพื้นที่ไปอยู่เขตชานเมืองหรือต่างจังหวัด ความเป็นเมือง รุกเข้ามาใช้พื้นที่และเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพไปเป็นลําดับ และหมดสิ้นไปอย่างสิ้นเชิง จนกล่าวได้ว่าใน ๕ วัดกรณีศึกษา วัดนายโรง นับเป็นวัดที่ตั้งอยู ่ในวงล้อมของพื้นที่กลางใจเมืองมากที่สุด เนื่องจากติดเขตพื้นที่ธุรกิจสําคัญที่พลุกพล่านของเมืองหลวงในฝั่ง ธนบุรี มีห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ (เซ็นทรัลปิ่นเกล้า เทสโก้ เซน) ที่พักอาศัยแบบสมัยใหม่ คือคอนโดมิเนียมของผู้มีฐานะระดับกลาง ขึ้นไป (B+) จํานวนมาก อยู่ใกล้โรงพยาบาลศิริราช, มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ และสะพานสําคัญเชื่อมต่อกรุงเทพฯ-ธนบุรี (สะพาน สมเด็จพระปิ ่นเกล้า- สะพานพระราม ๘) อัตราเร่งของการเปลี่ยนแปลง ทางสภาพแวดล้อมจึงยังสูงยิ่งมาโดยตลอด
ปัจจุบันพื้นที่โดยรอบวัดนายโรงคือชุมชนสมัยใหม่ ผู ้คนที่เข้ามา อยู ่อาศัยเป็นคนกลุ ่มใหม่จากถิ่นอื่น ที่มาใช้ชีวิตและทํางานในละแวก ใกล้เคียงและเขตอื่น ๆ ของเมืองหลวงเนื่องจากการเดินทางสะดวก สบาย แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีชุมชนระดับล่างซึ่งทํางานรับจ้าง หรือหา เช้ากินคํ่าอยู่รายล้อมวัดด้วยตามลักษณะ ๒ ขั้วของวิถีชีวิตคน กรุงเทพฯ แต่ไม่ว่าจะเป็นผู้อยู่อาศัยในระดับฐานะเศรษฐกิจใด ต่างก็ มีวิถีชีวิตที่ห่างเหินจากวัด หน่วยงานทางสังคมที่มีกายภาพอยู ่ใกล้วัด มากที่สุดคือ โรงเรียนวัดนายโรง แต่ระบบการศึกษาสมัยใหม่ก็มี ข้อจํากัดซึ่งไม่ทําให้เกิดเงื่อนไขจริงจังที่วัดและสถานศึกษาจะต้องมี ความสัมพันธ์กัน หากแต่ขึ้นกับบุคลากรของทั้ง ๒ ฝ่าย ในแต่ละ ยุคสมัยเป็นสําคัญ
๑๕
๑๖
สภาพทางกายภาพและรูปแบบการใช้ชีวิตของคนเมืองที่อยู่ ล้อมรอบ ทําให้วัดกลายเป็นสถานที่ไกลห่างจากชีวิตประจําวันปกติ มีความสําคัญบ้างตามประเพณีพิธีกรรมในบางช่วงเวลา หรือที่เปลี่ยน บทบาทไปเลยและเป็นดังที่วัดนายโรงและวัดในเมืองประสบอยู่ คือการเข้ามาใช้พื้นที่วัดเป็นสถานที่จอดรถ ซึ่งสําหรับวัดเมืองโดย ทั่วไปแล้ว การใช้พื้นที่วัดเป็นที่จอดรถมิใช่ปัญหา หากเป็นปัจจัยบวก เพิ่มรายได้ให้แก่วัด แต่สําหรับวัดที่มีเจตนารมณ์จะฟื้นฟูวัดให้คืนสู่ สัปปายะอันเอื้อต่อการพัฒนาจิตวิญญาณแล้ว ปัญหาที่จอดรถนับเป็น ผลกระทบของเมืองที่สําคัญต่อวัด รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงที่ถูกปล่อยทิ้ง อาชญากรรม ยาเสพติด ฯลฯ
๒. วัดนางชี : ถนนเทิดไท เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
วัดแห่งนี้เป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา สร้างขึ้น พ.ศ. ๒๓๐๖ เนื่องจากเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวข้องกับ พระราชประวัติของสมเด็จพระรูปศิริโสภาคย์ มหานาคนารี พระชนนี ของพระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๑ ครั้งเสด็จออกบวชชี วัดนางชีจึงได้ รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงและมีการบูรณปฏิสังขรณ์ ใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทําให้มีศิลปกรรมแบบจีนและลักษณะงดงาม ที่โดดเด่น และได้รับการดูแลจากสถาบันพระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตาม วัดนางชีก็เป็นอีกวัดหนึ่งในเมืองที่ไม่สามารถ หลีกพ้นจากการเปลี่ยนแปลงของบริบทโดยรอบ จากการศึกษาพบว่า วัดนางชีมีสภาพใกล้เคียงกับวัดนายโรง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในอัตรา เร่งน้อยกว่า เนื่องจากมิได้ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของธุรกิจเมืองหลวง
แต่จากการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของบริบทโดยรอบของพื้นที่ วัดนางชีที่ผ่านมาและที่กําลังจะเกิดขึ้น ก็คาดการณ์ได้ว่า ผลกระทบ จะเพิ่มระดับมากขึ้นได้จากความเป็นเมืองที่เข้มข้นขึ้นเป็นลําดับใน พื้นที่แห่งนี้ด้วย
พื้นที่บริเวณรอบวัดนางชีแต่เดิมนั้น เป็นพื้นที่ทางการเกษตร ชาวบ้านละแวกวัดนางชีต่างทําสวนหมาก สวนพลู ปลูกพืชและผลไม้ ไว้กินไว้ขาย โดยมุ ่งทํามาหากินส่งบุตรหลานเรียนหนังสือเพื่อประกอบ อาชีพอื่นนอกภาคเกษตรกรรม ทําให้ยุคต่อมาลูกหลานในย่านนี้เข้าไป ทํางานในเมือง คนรุ่นใหม่ในพื้นที่ค่อยๆห่างจากถิ่นที่อยู่และวิถีชีวิต ในแบบเดิมของพ่อแม่ปู่ยาตายาย แม้จะมีการสืบทอดมรดกทางที่ดิน แต่ไม่มีการสืบทอดอาชีพและวิถีชีวิต ค่านิยม คนสมัยใหม่ซึ่งรับการ ศึกษาอย่างใหม่และมีรูปแบบการใช้ชีวิตอย่างปัจเจกชน จึงห่างเหิน ไม่รู ้สึกหวงแหนหรือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ ดังนั้น เมื่อการพัฒนาจาก ภายนอกขยายตัวเข้ามา ทําให้ที่ดินบริเวณนี้มีราคาสูง คนรุ่นลูก รุ่นหลานที่รับมรดกที่ดิน และไม่ได้ใช้ประโยชน์จึงขาย มีผลให้ที่ดิน ถูกเปลี่ยนมือ นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทีละน้อย มาตามลําดับ
ปัจจุบันวัดถูกรายล้อมด้วย ๔ ชุมชนรอบวัดที่อยู่กันอย่างแออัด หนาแน่น ในลักษณะของย่านการค้ายุคเก่าที่ยังเป็นตึกแถวเก่า มีตลาดสด การค้าขายปลีกแบบเดิม และผู ้อยู ่อาศัยเดิมซึ่งโดยมากคือ คนรุ่นเก่าสูงวัยซึ่งมิได้ย้ายตามลูกหลานที่แยกครอบครัว การเปลี่ยน ทางกายภาพที่สําคัญคือการตัดถนนทางโซนทิศใต้ของวัดนางชี ให้เชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟฟ้ามหานคร (BTS) สายสีลม การสัญจร ที่สะดวกมากยิ่งขึ้น กําลังเปลี่ยนให้อาณาบริเวณดังกล่าวกลายเป็นที่ อยู ่อาศัยของคนสมัยใหม่ กลุ ่มใหม่ในระดับฐานะสูงขึ้น เช่น การเกิดขึ้น
๑๗
๑๘
ของคอนโดมิเนียม ๕ โครงการใหญ่ จํานวน ๓,๔๒๔ ยูนิต ซึ่งจะทําให้ มีผู้อยู่อาศัยหน้าใหม่ในพื้นที่รอบวัดนางชีกว่า ๓ พันครอบครัว ในอนาคตเป็นที่คาดการณ์ได้ว่าจะตามมาด้วยการผุดขึ้นของ ศูนย์การค้า สถานบริการสมัยใหม่ตามรูปแบบชีวิตของคนรุ่นใหม่ การเปลี่ยนแปลงของบริบทที่ผ่านมาและที่กําลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมถึงอนาคต ล้วนมีผลกระทบต่อการดํารงบทบาทของวัดนางชี โดยเฉพาะกับคนกลุ่มใหม่หน้าใหม่ซึ่งมิได้ใกล้ชิดวัดอยู่ก่อน ส่วนคน ดั้งเดิมโดยมากเป็นผู ้สูงอายุ การมาวัดต้องอาศัยเงื่อนไขเวลาและความ สะดวก (รวมถึงความศรัทธา) ของลูกหลานซึ่งจะเป็นผู้พามา
ปัญหาผลกระทบของเมืองอีกประการของวัดนางชี คือการเข้ามา ใช้พื้นที่วัดเป็นที่อยู ่อาศัยซึ่งเรียกกันว่า “บ้านในวัด” เมื่ออยู ่นานมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาความระเกะระกะ การทับซ้อนของพื้นที่พระสงฆ์และ ฆราวาส สารพันปัญหาต่าง ๆ ของชาวบ้านมาเกิดขึ้นในพื้นที่ของวัด สร้างความไม่ปลอดภัยและทัศนียภาพที่ไม่เหมาะสมแก่การเป็นวัด และแน่นอนว่าการจะฟื้นฟูบทบาทของวัดจะเกิดขึ้นได้ยาก หากไม่ สามารถจัดการปัญหาบ้านในวัดให้ลงตัวได้ และหากจัดการไม่เหมาะสม ก็จะก่อให้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างวัดและชาวบ้าน อันเป็น ประเด็นที่ไม่พึงเกิดขึ้นกับวัด
๓. วัดภูเขาทอง : ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
วัดในกรณีศึกษานี้ เป็นวัดเก่าแก่ตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนต้น ประมาณ พ.ศ. ๑๙๓๐ ตั้งอยู ่ในพื้นที่สําคัญทางประวัติศาสตร์ อันเกี่ยวเนื่องกับการกอบกู้เอกราชของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
จึงเป็นโบราณสถานสําคัญแห่งหนึ่งที่ได้รับการจดทะเบียนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๘ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยรัฐมาเป็นระยะ ทั้งในสมัย จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาจนถึงปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยกรมศิลปากร ในพระอุปถัมภ์ ของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ จากข้อมูลของ คนท้องถิ่นระบุว่า ก่อนสมัยการบูรณะของจอมพลแปลกนั้น วัดเป็น สถานที่รกร้างมีเพียงเจดีย์ทางประวัติศาสตร์ ชาวบ้านในชุมชน ใกล้เคียงใช้ประโยชน์จากพื้นที่ในฐานะเป็นแหล่งอาหาร เนื่องจาก อุดมด้วยสายบัว ผักบุ้ง สันตะวา ตาล ฯลฯ หลังการบูรณะ รัฐบาลได้ นิมนต์พระจากวัดมงคลบพิตรมาเป็นเจ้าอาวาส มีผลให้วัดได้รับการ ฟื้นฟูบทบาท และมีความสัมพันธ์กับชุมชนที่วัดตั้งอยู่โดยแน่นแฟ้น ตามวิถีชีวิตยุคเกษตรกรรม ก่อนจะถูกกระทบให้เปลี่ยนแปลงในยุค การพัฒนาหลังกึ่งพุทธกาล (พ.ศ. ๒๕๐๐)
ในปัจจุบัน หากพิจารณาโดยผิวเผินจากอาชีพเกษตรกรรมของ ชุมชนรอบวัดเพียงประการเดียวแล้ว ก็อาจประเมินว่าวัดภูเขาทอง เป็นวัดในชนบท แต่ในความเป็นจริงแล้วบริบทต่าง ๆ ได้มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างมาก กล่าวเฉพาะทางกายภาพของพื้นที่ แต่เดิม วิถีชีวิตของผู้คนโดยรอบวัดภูเขาทองเกี่ยวข้องกับแม่นํ้า คือแม่นํ้า เจ้าพระยาและคลองมหานาค ที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค และเป็น แหล่งนํ้าสําหรับเกษตรกรรม การค้าขายทางเรือ และอาชีพขับเรือ หางยาว แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในพื้นที่ลุ่มนํ้า ภาคกลางซึ่งกลายเป็นแหล่งปลูกและส่งออกข้าวของประเทศใน ยุคพัฒนาความทันสมัยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯแห่งชาติ การทํานา เพื่อขายคืออาชีพหลักของชาวบ้าน คันคลองชลประทานได้กลายเป็น ถนนเพื่อการขนส่ง การคมนาคมทางนํ้าหมดความสําคัญ มีรถยนต์
๑๙
๒๐
รับจ้างเข้ามาแทนที่เรือหางยาว ในยุคต่อมามีการตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ใหญ่น้อย ไปจนถึงการตั้งนิคมอุตสาหกรรมจํานวน ๕ แห่ง ในพื้นที่ ของจังหวัด
วิถีชีวิตและระบบความสัมพันธ์ของผู้คนได้เปลี่ยนแปลงตาม ระบบเศรษฐกิจและสังคมสมัยใหม่ ส่งผลให้ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม นิยมส่งลูกหลานเรียนหนังสือ เมื่อสําเร็จการศึกษา ก็เปลี่ยนวิถีชีวิตจากรุ่นพ่อแม่ ออกไปประกอบอาชีพนอกชุมชน มีผล ให้ชุมชนที่วัดตั้งอยู่เหลือเพียงผู้สูงอายุที่ไม่มีพละกําลังทํางานหนัก ดังนั้นการทํานาที่ยังปรากฏอยู่นั้น มาจากการให้คนต่างถิ่นเข้ามาเช่า พื้นที่ทํานาในลักษณะมาเช้าเย็นกลับ มิได้ผูกสัมพันธ์กับคนท้องถิ่น ลักษณะสังคมบางอย่างที่ยังดํารงอยู่ เช่น ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และ ความสามัคคีของคนในชุมชนยังมีให้เห็น จากการจัดกิจกรรมในชุมชน ที่ผู้คนยังรวมตัวและช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ หากแต่เป็นคนในกลุ่ม ผู ้สูงอายุมากกว่าคนรุ ่นลูกหลาน ดังนั้น วัดภูเขาทองจึงเป็นวัดในพื้นที่ กึ่งเมืองกึ่งชนบท ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเช่นเดียวกับวัด ในกรณีศึกษาอื่น และเป็นแบบเดียวกับวัดป่าสุขสมบูรณ์
๔. วัดป่าสุขสมบูรณ์ : ต.สองชั้น อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์
วัดป่าสุขสมบูรณ์แต่เดิมมีสถานภาพเป็นสํานักสงฆ์โคกพริก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน ที่ต้องการมีพระมีวัดอยู่ใกล้เพื่อทําบุญ และเป็นศูนย์กลางของชุมชน เหมือนวัดในอดีตทั่วไป สมัยเดิมนั้นชุมชนโคกพริกมีผู้คนอาศัยอยู่ ไม่กี่หลังคาเรือน ชาวบ้านมีอาชีพเกษตรกรรมด้วยการทํานาปี มีฐานะ
ยากจน ต่อมามีการขยายพื้นที่ทําเกษตรกรรม มีผู้อพยพย้ายถิ่น เข้ามา ปัจจุบันบ้านโคกพริกหรือชื่อต่อมาว่าบ้านสุขสมบูรณ์ มีผู้อยู่อาศัยมากกว่า ๕๐ หลังคาเรือน เป็นประชากรที่มาจาก หลากหลายหมู่บ้าน ยังประกอบอาชีพหลักด้วยการทํานาปี แต่เปลี่ยนรูปแบบจากการผลิตเองเป็นการจ้างงานทั้งระบบ ตั้งแต่การ ไถ หว่าน เก็บเกี่ยว และมีการเพาะปลูกมันสําปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดด้วย การเปลี่ยนแปลงเป็นเมืองที่ล้อมรอบวัดมากขึ้น มาจาก การที่บ้านโคกพริกเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลสองชั้นหมู่ที่ ๒ ซึ่งเป็น ศูนย์กลางเศรษฐกิจของเทศบาลตําบล อันเป็นที่ตั้งของร้านค้าต่าง ๆ อาทิ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารและเครื่องดื่มสมัยใหม่ ร้านค้าวัสดุ ก่อสร้าง สถานีบริการนํ้ามัน มีตลาดนัดจําหน่ายสินค้าทุกวันพุธและ วันศุกร์ แหล่งบันเทิงสมัยใหม่ ฯลฯ
วิถีชีวิตของคนในชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เนื่อง มาจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมไม่สามารถรองรับค่าใช้จ่ายใน ครัวเรือนได้ วัยรุ ่นและคนวัยทํางานส่วนใหญ่ที่ยังอยู ่ในหมู ่บ้านจึงออก ไปทํางานรับจ้างในเมืองทั้งแบบไปเช้าเย็นกลับ โดยมีรถตู้รับจ้าง ประจําทางที่มาวิ่งรับคนรับของในหมู่บ้านไปส่งถึงปลายทางเป็น ประจําทุกวัน บ้านเรือนจํานวนไม่น้อยในปัจจุบันจึงถูกปิดใส่กุญแจไว้ ในเวลากลางวัน หรือเหลือกลุ่มประชากรสูงวัยในรุ่นปู่ย่าตายาย กับกลุ่มเด็กเล็กรุ่นหลานหรือที่เรียกว่าครอบครัวแหว่งกลาง อยู่เฝ้า ชุมชน ก่อนหน้าคนรุ่นหลานนั้น คนรุ่นลูกได้เติบโตและย้ายถิ่นถาวร ไปอยู่ในเมืองใหญ่จากการทํางานหรือการศึกษามาก่อนแล้ว เมื่อมี ครอบครัวก็จะส่งบุตรมาอยู่กับพ่อแม่คือฝากให้ปู่ย่าตายายในชุมชน เป็นผู ้เลี้ยงดู เมื่อถึงเวลาปิดเทอมเด็กก็จะถูกส่งไปอยู ่กับพ่อแม่ต่างถิ่น ส่วนกลุ ่มวัยรุ ่นที่จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะไปเรียนต่อ
๒๑
ที่อื่น บางส่วนไปทํางานในเมืองกับผู้ปกครองแล้วย้ายถิ่นไปเลย จะกลับบ้านมาเยี่ยมญาติตามโอกาสสําคัญ
วัดจึงเป็นสิ่งแปลกแยกกับวิถีชีวิตที่กล่าวมา โดยเฉพาะกับ เยาวชนคนรุ่นใหม่ซึ่งแสวงหารูปแบบการใช้ชีวิตแบบเมือง ชื่นชอบ กิจกรรมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาความเป็นเมืองที่ ทันสมัยใหญ่โตของจังหวัดบุรีรัมย์ เช่นความนิยมการเข้าร่วมเป็นทีม เชียร์ฟุตบอลของสโมสรบุรีรัมย์ยูไนเต็ดที่โด่งดังของจังหวัด เมื่อมีการ แข่งขันฟุตบอล กลุ่มเยาวชนในชุมชนจะไปร่วมร้องเพลงของทีมเพื่อ เชียร์สโมสรที่สังกัด อันสะท้อนถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมสมัยใหม่โดย ชัดเจน
๕. วัดลานสัก : ต.ลานสัก อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี
วัดแห่งนี้เป็นวัดตั้งใหม่ สร้างขึ้นจากความร่วมมือกันของชาว ชุมชนบ้านเก่าที่ต้องการมีวัดประจําหมู ่บ้านตามวิถีชีวิตคนชนบทแบบ เดิมที่ผูกพันสูงกับวัด ต้องการมีวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน จึงรวบรวมพุทธศาสนิกชนชาวบ้านเก่า ช่วยกันดําเนินการก่อสร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๑๒ และได้รับประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดเมื่อ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๖ ชื่อเริ่มแรกเรียกกันว่า “วัดบ้านเก่า” เพราะอยู ่ใกล้บริเวณ ชุมชนบ้านเก่า ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดลานสัก” ตามชื่อของ อําเภอลานสัก ซึ่งมีการขยายเขตตัวเมืองของอําเภอมาเป็นสภาพ แวดล้อมของวัดลานสักด้วย
๒๒
ลักษณะพิเศษของกรณีศึกษานี้คือตั้งอยู่ในบริบทของกึ่งเมือง กึ่งชนบทซึ่งเห็นได้ค่อนข้างชัดทางกายภาพ เนื่องจากพื้นที่ซึ่งรายล้อม วัดแบ่งออกเป็น ๒ ฟากฝั่งที่แตกต่างกันโดยชัดเจน คืออยู่กึ่งกลาง ระหว่างเขตชุมชนบ้านเก่ากับเขตตลาดลานสัก ซึ่งเป็นย่านชุมนุม การค้าขายของอําเภอ คนในชุมชนฝั ่งตลาดมีความหลากหลายของคน ต่างถิ่นฐานที่มาเข้ามาอยู่อาศัยในตลาด เพื่อประกอบอาชีพค้าขาย และรับจ้างเป็นส่วนใหญ่ เป็นที่รวมของร้านขายสินค้า บริการต่าง ๆ และสถานที่ราชการ ความสัมพันธ์ของคนในส่วนของตลาดลานสัก มีลักษณะแบบชุมชนเมืองที่ต่างคนต่างอยู ่ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กัน หรือ รู ้จักกันโดยผิวเผิน ส่วนชุมชนบ้านเก่าเป็นชุมชนที่ชาวบ้านยังคงมีการ รวมกลุ ่มและช่วยเหลือเกื้อกูลกันอยู ่ แต่คาดการณ์ได้ว่าความสัมพันธ์ ดังกล่าวก็มีแนวโน้มที่จะต้องเปลี่ยนแปลงจากการเปลี่ยนสภาพของ วิถีชีวิตชนบทรุ่นพ่อแม่ไปสู่สังคมของคนรุ่นใหม่ในรุ่นลูกหลานซึ่งได้ รับการศึกษาสมัยใหม่ มิได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หากแต่เข้า ทํางานในตลาดงานจ้างภาครัฐ เอกชน ทั้งการผลิต การค้า การบริการ เหมือนลูกหลานของคนในชุมชนชนบทอื่น ๆ โดยทั่วไป รูปแบบของ วิถีชีวิตและการทํางานปัจจุบันจะทําให้คนรุ ่นใหม่ห่างไกลจากวัด และ ไม่มีความจําเป็นที่จะต้องอาศัยวัดเป็นที่พึ่งหรือศูนย์รวมจิตใจเช่นเดียว กับรุ่นพ่อแม่
ในขณะเดียวกันผู้อยู่อาศัยในส่วนของพื้นที่ตลาด ก็รู้สึกว่าวัด มีความหมายจํากัดในชีวิตประจําวัน และการทํามาหากินของตนเอง อีกทั้งไม่มีเวลาที่จะเข้าไปสัมผัสจริงจังหรืออาศัยให้เป็นที่พึ่งทางใจใน การแก้ไขปัญหาบรรเทาความทุกข์ของคนสมัยใหม่ แม้ว่าจะยังทําบุญ
๒๓
๒๔
ตักบาตรร่วมประเพณีในวันสําคัญทางศาสนาก็ตาม การที่บริบท ของวัดลานสักเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ เนื่องจากอําเภอลานสักมิได้ เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสมัยใหม่ของจังหวัดอุทัยธานี ผลกระทบ ของปัญหาเมืองต่อวัดลานสักจึงไม่รวดเร็วและรุนแรงดังวัดใน กรณีศึกษาอื่น กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีปัญหาอื่น ๆ ของเมืองและเกิดขึ้น กับวัดในเมืองจํานวนไม่น้อยกระทบต่อวัดด้วย เช่นการมีสัตว์เร่ร่อน จรจัด เช่นสุนัขและแมวถูกนํามาปล่อยให้เป็นปัญหาและภาระของวัด แม้จะไม่มาก
กรณีศึกษาของวัดลานสัก จะเอื้อให้เห็นถึงการทํางานเชิงรุก เพื่อคงสถานภาพในบทบาทการพัฒนาจิตวิญญาณของวัดในพื้นที่ กึ่งเมืองกึ่งชนบทจํานวนไม่น้อยที่ยังมิได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใน อัตราเร่งสูง ว่ามิจําเป็นที่วัดจะต้องอยู่ในลักษณะตั้งรับ รอการรุกไล่ และรับผลกระทบของเมือง แล้วจึงมาฟื้นฟู บทบาท หากแต่วัด ยังสามารถเตรียมการตั้งรับไว้ก่อนและรักษาสถานภาพสําคัญของวัด ไว้ได้ โดยการใช้ทุนและกลยุทธ์การบริหารจัดการปัจจัยร่วมต่าง ๆ ที่ ทําให้วัดเข้มแข็งในบทบาทของตนเอง
กล่าวโดยสรุปจากกรณีศึกษาทั้ง ๕ วัดที่กล่าวมาจะเห็นว่า ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของประเทศ โดยเฉพาะปัจจัย ด้านอาชีพ การศึกษา มีผลกระทบต่อบทบาทของวัดทั้ง ๕ กรณีศึกษา ในระดับต่าง ๆ แตกต่างกันไป ก่อให้เกิดปัญหาที่ท้าทายสูงในการฟื ้นฟู บทบาทของวัด เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มิใช่เป็นการ พลิกเปลี่ยนของการใช้พื้นที่จากเดิมเท่านั้น หากแต่เป็นการพลิก วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม ระบบความสัมพันธ์ของบุคคลและองค์กร เปลี่ยนรสนิยมการบริโภค การแต่งตัว ความบันเทิง ฯลฯ รวมไปถึง การเกิดหน่วยงาน องค์กรใหม่ของรัฐและธุรกิจที่เข้ามาทําบทบาท
ซึ่งวัดเคยทําให้แก่สังคม ในด้านการศึกษา สาธารณสุข เป็นต้น ส่งผล กระทบให้วัดในเมืองและกึ่งเมืองฯโดยทั่วไปทั้ง ๕ กรณีศึกษา ไม่สามารถสร้างบทบาทและพื้นที่ของตนเองในแบบเดิมที่คนและวัด ยังผูกพันต่อกัน มิใช่เพียงเพราะผู้คนมีโอกาสมาวัดน้อยลงเท่านั้น แต่การศึกษาในระบบซึ่งมิได้ให้คุณค่าความสําคัญแก่การอบรม บ่มเพาะคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจในแก่นพุทธธรรมอย่างเพียงพอที่จะเห็น คุณประโยชน์ของศาสนา คนรุ่นใหม่ (ซึ่งเรียกกันว่า Generation X- Y-Z) จึงมิได้เห็นคุณค่าของวัดมากกว่าสถานที่ประกอบพิธีกรรมตาม ประเพณีซึ่งตนเองก็มิได้สนใจมากนักหรือสนใจบ้างในบางโอกาส สําคัญ หรือหากจะสนใจก็สนใจวัดซึ่งสามารถเอื้อประโยชน์ต่อ สิ่งที่ตนเองต้องการในเรื่องดวง โชค ลาภ ที่จะนํามาซึ่งความมั่งคั่ง ความสําเร็จตามกระแสสังคมวัฒนธรรมบริโภคนิยมทางวัตถุ วัดที่จะ อยู ่รอดจําต้องแปรบทบาทของตนเองเพื่อตอบสนองความต้องการของ สังคมด้วยการสร้างจุดขายที่ตลาดต้องการ คือการขายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้บริการพิธีกรรม ซึ่งตรงข้ามกับหลักพุทธธรรม หรือการส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรมของวัดเพื่อดึงดูดผู้คนให้เข้าวัด ดังที่วัดจํานวนมาก ในเวลานี้ดําเนินการอยู่ หากแต่การดึงดูดคนเข้าวัด โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยวจะมีผลต่อการส่งเสริมบทบาทการพัฒนาจิตวิญญาณ และการเกื้อกูลสังคมของวัดได้อย่างไร คือคําถามใหญ่ของวัดในเมือง และกึ่งเมืองกึ่งชนบท
อันที่จริงแล้ววัดในกรณีศึกษาก็มีจุดขายในลักษณะดังกล่าว อยู ่ด้วย คือวัดนายโรงมีพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกามาประดิษฐาน อยู ่และมีหลวงพ่อรอดซึ่งเป็นพระเครื่องซึ่งเคยมีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต ส่วนวัดนางชีมีจุดดึงดูดทางวัฒนธรรมในฐานะพระอารามหลวงซึ่งมี ศิลปกรรมเก่าแก่ จนกระทั่งได้รับความสนับสนุนจากสํานักงาน
๒๕
๒๖
ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้การอุปถัมภ์ดําเนินการบูรณะ เช่น เดียวกับวัดภูเขาทองซึ่งมี “รอยพญานาค” อันศักดิ์สิทธิ์ และเป็น โบราณสถานที่โดดเด่น
จนกระทั่งพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณทรงรับ เป็นองค์อุปถัมภ์ในการอนุรักษ์ แต่วัดทั้ง ๓ กรณี ก็มิได้นําเงื่อนไขที่มี อยู่มาสร้างกระแสสังคมเพราะตระหนักในแก่นของบทบาทหลัก ของวัดในฐานะผู้ให้การพัฒนาด้านจิตวิญญาณแก่ผู้บวชเรียนและแก่ คฤหัสถ์ ส่วนวัดลานสักและวัดป่าสุขสมบูรณ์นั้นความท้าทายในการ ฟื้นฟูวัดอย่างไม่ตามกระแสของวัดทั่วไปในปัจจุบัน คือการดํารงอยู่ ท่ามกลางชุมชนซึ่งมิได้มั่งคั่งรํ่ารวยที่จะสนับสนุนวัดให้พัฒนาเช่นเดียว กับวัดที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย ในทางตรงข้าม วัดยังจะต้องแสวงหาทาง เกื้อกูลชุมชนและนําพาความเกื้อกูลนั้นไปสู่การพัฒนาจิตวิญญาณ ดังที่วัดเคยแสดงบทบาทนี้มาก่อนในอดีต
อย่างไรก็ตาม วัดทั้ง ๕ แห่งก็สามารถฟื้นฟูวัดในแต่ละแห่ง ขึ้นมาได้ แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาของการเปลี่ยนแปลงจากความ เป็นเมือง
º··Õè ò¡Ãкǹ¡ÒùÓÇÑ´¤×¹àÁ×ͧ (ËÅǧ)
วัดทั้ง ๕ กรณีศึกษา ในโครงการวัดบันดาลใจ แต่ละวัดมีทุนเดิม ในด้านต่าง ๆ และปัญหาที่แตกต่างไม่เหมือนกัน กระบวนการฟื้นฟู จึงแตกต่างกันไปด้วย ในบทที่ ๒ นี้จะกล่าวถึงการฟื ้นฟูบทบาทของวัด ในเขตเมืองหลวง คือวัดนายโรงและวัดนางชี และบทที่ ๓ จะกล่าวถึง การฟื้นฟูวัดกึ่งเมืองกึ่งชนบท
๒.๑ วัดนายโรง : ฟื้นวัดให้ไร้พรมแดน
วัดนายโรงเริ่มต้นการฟื้นฟูวัดในช่วงของเจ้าอาวาสลําดับที่ ๑๑ พระครูปริยัติวิมล (คํานวณ ปคุโน) ซึ่งมีความสนใจใฝ่รู้ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านบัญชีและงานออกแบบก่อสร้าง เมื่อท่านได้เข้ามารับ ตําแหน่งเจ้าอาวาสวัดนายโรง (พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๕๓) ท่านจึงดําเนินการ ก่อสร้างอาคารต่าง ๆ มากมายภายในวัด เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ วิหาร เจดีย์ หอพระไตรปิฎก หอฉันภัตตาหาร ศาลาท่านํ้า ศาลาปฏิบัติธรรม ห้องสุขา ลานวัด เป็นต้น และให้การสนับสนุนด้าน การศึกษาและงานเผยแผ่ธรรม โดยสนับสนุนการจัดตั้งสถานีวิทยุ กระจายเสียงเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมวัดนายโรง ทิศทางการ
๒๙
๓๐
ฟื้นฟูบทบาทวัดนายโรงนี้สืบต่อมายังพระครูรัตนโสภณ (สุรัฐ สิริปุ�ฺโญ) เจ้าอาวาสลําดับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓-ปัจจุบัน) โดยท่าน ได้กําหนดเป้าหมายสําคัญของการฟื้นฟูบทบาทวัด คือ การบูรณะวัด ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเข้ามาร่วมกิจกรรม ของศาสนิกชนโดยเชิดชูฐานทุนเดิมของวัด เช่น วิหารหลวงปู่รอด พระบรมสารีริกธาตุ ศาลเจ้ากรับ โบราณสถานภายในวัด ไปพร้อมกับ การจัดพื้นที่วัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมและเรียนรู้ด้านสังคม
กระบวนการทํางานเริ่มด้วยการวางแผนแม่บทด้านสาธารณูปการ โดยมีสถาปนิกอาสาสมัครและคณะกรรมการวัดนายโรง เข้ามามี ส่วนร่วมกับวัดตั้งแต่เริ่มต้น คือ ร่วมคิด ร่วมวางแผน เพื่อปรับปรุง สัปปายะด้านกายภาพให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม คือมีความ ร่มรื่น พื้นที่เป็นสัดส่วนในการใช้สอย ในขณะเดียวกันก็ดําเนินการ พัฒนาสัปปายะด้านบุคคลให้เอื้อต่อการเผยแผ่ธรรม ด้วยการตั้ง เป้าหมายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการศึกษาของพระภิกษุสงฆ์ของวัด ให้มีภูมิรู้ทางธรรมและทางโลก สามารถสนทนาธรรมกับศาสนิกชน ได้หลากหลายกลุ่มเป้าหมายพร้อมเน้นการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ให้เป็นที่ศรัทธาของศาสนิกชน พระภิกษุและสามเณรของวัดจึงได้รับ การส่งเสริมอย่างจริงจัง ให้ได้ศึกษาทั้งฝ่ายปริยัติธรรม และการศึกษา สามัญ ที่จัดขึ้นโดยคณะสงฆ์และมหาวิทยาลัยทั่วไป มีการก่อตั้งมูลนิธิ หลวงปู่รอดเพื่อสนับสนุนการศึกษาของพระภิกษุและสามเณร ส่วน ด้านการปฏิบัติก็มีการอบรมอยู่ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม และในทุกปี จะมีโครงการอบรมประจําปีคือโครงการธรรมสัญจร เพื่อนําพระภิกษุ สามเณรไปปฏิบัติธรรมที่ อ.วังนํ้าเขียว จ.นครราชสีมา พระลูกวัด จะได้รับการอบรมสั่งสอนให้ปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัยอยู่เสมอ
เพื่อให้มีวัตรปฏิบัติเป็นที่เลื่อมใสของสาธุชนที่พบเห็น พระสงฆ์ต้อง ออกบิณฑบาต ทําวัตรสวดมนต์อยู่เป็นประจํา
กระบวนการฟื้นฟูบทบาทวัดอีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นจุดเด่นของ วัดนายโรง คือการเผยแผ่ธรรมเชิงรุก ด้วยการข้ามข้อจํากัดของเวลา และสถานที่ด้วยการเผยแผ่ธรรมผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อ พระพุทธศาสนาและสังคมวัดนายโรง (ความถี่ FM 94.75 MHz.) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๐ เนื่องจากเจ้าอาวาสเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของ วิถีชีวิตของผู้คนในเมือง อันสร้างข้อจํากัดให้พุทธศาสนิกชนที่มีความ ศรัทธาในธรรมขาดโอกาสพัฒนาธรรมให้ก้าวหน้า เนื่องจากขัดข้อง เรื่องสถานที่และเวลาทั้งของวัดและของสาธุชนไม่ตรงกัน ในขณะ เดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของคนรุ ่นใหม่หรือผู ้ที่คุ ้นเคย กับชีวิตสมัยใหม่ที่วัดมิใช่ส่วนหนึ่งของชีวิตในแบบรุ ่นพ่อแม่ ทําให้รู ้สึก แปลกแยกและห่างเหินวัด ทั้ง ๆ ที่ชีวิตมีความทุกข์จากการทํางาน และการใช้ชีวิตที่อาจจะมากกว่าคนยุคก่อน เนื่องจากความซับซ้อน ของวิถีชีวิตเมือง ที่ระบบความสัมพันธ์ในระดับต่าง ๆ แตกสลาย ตัวใครตัวมัน การเผยแผ่ธรรมผ่านรายการวิทยุ สามารถจะเข้าถึงคน กลุ่มนี้ได้บ้างหรือได้มาก หากเนื้อหาหรือรูปแบบของรายการ ตอบโจทย์ชีวิตของผู้คนได้ตรงใจ โดยไม่ติดขัดว่าจะต้องมาวัดใน รูปแบบเดียวอย่างเดิมเท่านั้น
จากการศึกษาเจาะลึกพบว่าสถานีวิทยุนายโรงในยุคเจ้าอาวาส ท่านปัจจุบัน ได้รับการพัฒนาจนเป็นกลไกช่วยสนับสนุนเชื่อมโยง กระบวนการฟื ้นฟูบทบาทวัดทั้งในเป้าหมายของตนเอง คือการเผยแผ่ ธรรมแล้วยังเชื่อมโยงส่งต่อไปสู่กิจกรรมอื่น ๆ ของวัดทั้งทางธรรม และทางโลกอย่างได้ผล จากการวิจัยพบว่าความสําเร็จนี้มาจาก
๓๑
๓๒
กระบวนการทํางานที่มีการกําหนด วิสัยทัศน์ ปรัชญา วัตถุประสงค์ ผังโครงสร้างคณะทํางานอย่างชัดเจน มีการกําหนดเป้าหมายที่จะ ให้สถานีวิทยุฯ วัดนายโรง เป็นคลื่นธรรมะกระแสหลักของ กรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสซึ่งเป็นผู้อํานวยการสถานีให้ความสําคัญ กับกิจกรรมในส่วนนี้มาก เนื้อหาที่ออกอากาศจะได้รับการกําหนด อย่างละเอียดรอบคอบ สาระธรรมที่ออกอากาศต้องผ่านการคัดกรอง และรับฟังมาก่อนทุกเรื่อง ว่าถูกต้องตามหลักธรรม แบ่งสัดส่วนเป็น เนื้อหาธรรมะ ๘๐% เนื้อหาสังคม ๒๐%
การพัฒนาสถานีวิทยุฯ ได้ให้ความสําคัญกับ ๒ ส่วนใหญ่ๆ คือ กําลังส่งสัญญาณและเนื้อหาของรายการวิทยุ สําหรับการพัฒนากําลัง ส่งสัญญาณก็เพื่อช่วยให้สามารถขยายฐานการเผยแผ่ธรรมออกไป ให้ได้กว้างไกล มิให้เกิดความสูญเปล่าในเนื้อหาซึ่งได้สรรหาคัดกรอง มาอย่างดี วัดนายโรงพัฒนากําลังส่งสัญญาณโดยได้รับการสนับสนุน จากญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา และผู้ฟังรายการวิทยุ จนกระทั่งมีเสาส่ง สัญญาณที่มีคุณภาพสามารถส่งสัญญาณได้ชัดเจน และครอบคลุม พื้นที่กรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง สะท้อนถึงความสําเร็จในการ เผยแผ่ธรรมเชิงรุกด้วยสื่อวิทยุ เมื่อเพิ่มกําลังส่งสัญญาณก็ยิ่งมีผลให้ เกิดการขยายกลุ ่มผู ้ฟังรายการวิทยุวัดนายโรงออกไปไปได้หลากหลาย พื้นที่ ต่อเนื่องกันไป มาสะดุดในภายหลังจากการออกระเบียบจํากัด กําลังส่งของวิทยุชุมชน ตามระเบียบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งจํากัดการกระจายเสียงให้อยู่เพียง ๕๐๐ วัตต์ ตามระเบียบ ของสถานีวิทยุชุมชน ส่งผลกระทบให้เกิดการลดจํานวนกลุ่มผู้ฟังที่มี บ้านพักอาศัยอยู่ห่างไกลจากวัดนายโรง
เพื่อก้าวข้ามข้อจํากัดของระเบียบดังกล่าว วัดนายโรงได้พัฒนา ช่องทางการรับฟังรายการของวัดให้เข้าถึงได้ง่ายและเหมาะกับรูปแบบ
การใช้ชีวิตของคนเมืองมากขึ้น ด้วยการทําแอปพลิเคชั่น (Application) ฟังวิทยุวัดนายโรงผ่านสมาร์ทโฟน เพื่อให้สอดคล้องกับชีวิตสมัยใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ คือเยาวชน วัยรุ่น วัยทํางานซึ่งใช้ โทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนกันเป็นจํานวนมาก แต่ช่องทางการ เผยแผ่นี้ก็มีข้อจํากัดในกลุ่มผู้ฟังที่สูงอายุซึ่งมักไม่คุ้นเคยกับการใช้ อินเตอร์เน็ต สมาร์ทโฟนเช่นกัน แต่ก็นับว่ากลไกการเผยแผ่ธรรม ของวัดนายโรงขยายกลุ ่มเป้าหมายได้มากขึ้นจากเครื่องมือที่สอดคล้อง กับกลุ่มผู้ฟังใหม่
ในด้านเนื้อหา แหล่งเนื้อหาสําคัญซึ่งทําให้วัดนายโรงสามารถมี ข้อมูลหลากหลายรูปแบบ กระทั่งสามารถจัดวางรายการวิทยุได้อย่าง เหมาะสม เกิดขึ้นจากการที่เจ้าอาวาสเป็นคณะกรรมการในคณะ ทํางานการจัดตั้งสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อพ.ศ. ๒๕๕๑ และในพ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ดํารงตําแหน่งเลขานุการคณะทํางานการจัดตั้ง สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติในกํากับมหาเถรสมาคมจนถึง ปัจจุบัน ทําหน้าที่ดูแลสถานีวิทยุของคณะสงฆ์ที่อยู่ภายใต้กํากับของ มหาเถรสมาคม จํานวน ๔๐๑ สถานี ด้วยเหตุนี้ทําให้สถานีวิทยุวัด นายโรงมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เป็นจํานวนมาก ในการไปเยี่ยมสถานีวิทยุต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อมีข้อมูลตรงส่วนไหน ที่น่าสนใจหรือทางวัดนายโรงไม่มี เจ้าอาวาสจะขอบันทึกข้อมูลมา และหากสถานีวิทยุไหนที่ต้องการข้อมูลส่วนใดเพิ่มเติมและวัดนายโรงมี ทางวัดก็พร้อมให้การสนับสนุนจนเป็นเสมือนเครือข่ายวิทยุธรรมะไป โดยปริยาย
ต่อมา เมื่อวัดนายโรงเริ่มมีแหล่งข้อมูลเทปเสียงบรรยายธรรมะ เป็นจํานวนมาก ก็ร่วมกับสมาคมผู้ปกครองโรงเรียนมัธยมศึกษา วัดนายโรงจัดทําผ้าป่าข้อมูล โดยการรวบรวมแผ่นซีดีธรรมะของ
๓๓
๓๔
พระมหาเถรานุเถระสําคัญ ๆ บันทึกในฮาร์ดดิสก์ ๑ ตัว จํานวน ๔๐๑ ชุด มอบให้กับสถานีวิทยุของวัดต่าง ๆ ภายใต้กํากับของมหาเถรสมาคม จํานวน ๔๐๑ สถานี เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมในการออกอากาศ ของสถานีวิทยุเผยแผ่ธรรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะสถานีซึ่งอยู่ใน ต่างจังหวัด การเข้าถึงข้อมูลลําบากกว่าในพื้นที่เมือง วัดนายโรงจึงเป็น ผู้นําในการรวบรวมความรู้ทางธรรมที่มีความหลากหลายสูง นํามา เผยแผ่ทั้งโดยช่องทางของตนเอง และโดยทางอ้อม คือสนับสนุน หน่วยงาน องค์กรอื่น ๆ ด้วย จนอาจกล่าวได้ว่า วัดนายโรงมีจุดเด่น ในการจัดการความรู้ ทั้งในด้านการสะสมและการนําไปใช้ประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูบทบาทหลักในการเผยแผ่ธรรมของวัดได้อย่างน่าสนใจ
ความสําเร็จของการขยายบทบาทวัดด้วยช่องทางใหม่นี้ มาจาก การทํางานด้วยการกําหนดกลยุทธ์สําคัญ ๓ ประการ ได้แก่
๑) การออกแบบเนื้อหารายการให้สอดคล้องกับอายุและ พฤติกรรมของผู้รับฟัง
๒) การคัดเลือกเทปบรรยายธรรม ที่คัดสรรจากพระอาจารย์ ที่มีชื่อเสียง มีลูกศิษย์ติดตามเป็นจํานวนมาก
๓) การคัดเลือกเนื้อหาด้านสังคมให้มีความสมดุลกัน ไม่โน้ม เอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง เช่น มีเนื้อหาด้านธรรมชาติบําบัดก็มี เนื้อหาการรักษาสุขภาพจากแพทย์แผนปัจจุบันไปพร้อมกันด้วย
รายการของสถานีวิทยุฯ วัดนายโรง กําหนดเนื้อหาและช่วงเวลา ของการนําเสนอเนื้อหาดังนี้
• ธรรมะยามเช้า ธรรมะแนวสร้างกําลังใจ เหมือนเสียงปลุกให้ ตื่น เพื่อให้คนเห็นความสําคัญของเวลา ตื่นขึ้นมาทําหน้าที่การงาน ด้วยความกระฉับกระเฉง
• ธรรมะแนวปฏิบัติ ในช่วงเช้าตรู่ ผู้ฟังจํานวนหนึ่งเริ่ม นั่งสมาธิในช่วงเวลานี้
• ธรรมะแบบสบายๆ ในช่วงเวลาที่คนกําลังขับรถไปทํางาน ได้ ฟังเสียงอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับศีล ๕ แบบฟังสบาย ไม่เครียด
• ธรรมะแบบฟังง่าย นําประสบการณ์โดยตรงของตัวเอง มาถ่ายทอดแก่ผู้ฟัง
• ธรรมะแบบพระ ฟังจากง่าย ๆ เริ่มไต่ระดับจนไปถึงการให้ ความรู้ในเชิงวิชาการ
• ละครธรรมะ สอดแทรกรายการบันเทิงแต่แฝงไปด้วยสาระที่ ให้แง่คิดแก่ชีวิต
• ประเด็นทางสังคม สําหรับวัดนายโรงมุ่งเน้นเรื่องสุขภาพทั้ง ตามแนวทางแพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนปัจจุบัน และกฎหมายน่า รู้ในชีวิตประจําวัน
บทบาทการเผยแผ่ธรรมโดยช่องทางใหม่นี้ ได้ทําให้วัดสามารถ รักษาสัมพันธ์กับสมาชิกในชุมชนเดิมของวัดที่ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ ต่างจังหวัดจากการขายที่ดินได้ด้วย ทําให้สามารถรับฟังข่าวสารของ ทางวัดได้อย่างสมํ่าเสมอ เมื่อมีโอกาสก็ยังเข้าร่วมกิจกรรม ที่สําคัญ ที่สุดคือเป็นกลไกของการผลักดันปัจจัยการฟื้นฟูวัดในด้านอื่นของ วัดนายโรงด้วย เช่น ทุนทรัพย์ แรงงาน โดยเฉพาะกําลังคนในงาน อาสาสมัคร ที่เข้ามาช่วยงานของวัด เช่น คอยอํานวยความสะดวก ให้การต้อนรับผู้ที่เข้ามาติดต่อกับทางวัดได้ตลอดวัน นอกจากนี้ ยังสร้างแรงจูงใจให้ผู้ฟังอยากมาเยี่ยมเยือนวัดด้วยตนเอง เพื่อทําบุญ หรือมาพบปะผู้จัดรายการ สนับสนุนกิจกรรมในทางต่าง ๆ ของวัด นั่นคือเป็นเครื่องมือและกลไกสําคัญของการสร้างความศรัทธาได้เป็น อย่างดี
๓๕
อีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการมีสถานีวิทยุ วัดนายโรง และมีผลอย่างมากในการขยายบทบาทของวัดใน กระบวนการฟื้นฟู คือการจัดเผยแผ่ธรรมผ่านงานประจําปีของสถานี วิทยุฯ ที่เรียกว่า “๑ ปี ๑ ครั้ง รวมพลังสร้างสรรค์สังคม ให้อุดม ปัญญา” เป็นงานที่จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อให้ผู้ฟังได้มี โอกาสพบกับผู้จัดรายการ และให้ผู้ฟังจากทั่วทุกทิศได้พบปะกันเอง เป็นการสร้างชุมชนสมัยใหม่ในรูปแบบหนึ่งของวัดเมือง โดยเฉพาะ ในยุคสมัยของการมีสื่อสังคม (Social Media) ซึ่งเอื้อให้การพัฒนา สัมพันธภาพระหว่างบุคคลเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องสะดวกสบาย จากการเก็บข้อมูลและการสังเกตในวันงาน พบว่าวันดังกล่าว วัดได้ ออกแบบกิจกรรมให้ตอบสนองต่อความสนใจของผู้เข้าร่วมได้อย่าง หลากหลาย มีการผสมผสานระหว่างกิจกรรมเผยแผ่ธรรม การบริการ สังคม กิจกรรมนันทนาการ และวัดพยายามเชื่อมร้อยภาคีเครือข่าย เข้ามาเป็นผู้ร่วมจัดกิจกรรม เกิดเป็นกิจกรรมในรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของวัด เช่นใน พ.ศ. ๒๕๕๓ และปีล่าสุด (พ.ศ. ๒๕๖๐) ร่วมกับภาคีจัดผ้าป่าต้นไม้เพื่อนํามาจัดสภาพแวดล้อม ในวัดให้ร่มรื่น เหมาะที่ศาสนิกชนจะเข้ามาทํากิจกรรมต่างๆ ภายในวัด กิจกรรมประจําปีดังกล่าวยังช่วยให้ได้ข้อมูล เสียงสะท้อนทางตรงเพื่อ นํามาปรับปรุงรายการของสถานีวิทยุฯอีกด้วย
การจัดกิจกรรมอย่างสืบเนื่องของสถานีวิทยุฯ มีส่วนต่อการ ขยายภาคีองค์กรและผู ้สนับสนุนรายบุคคล ที่เอื้อให้กระบวนการฟื ้นฟู บทบาทวัดขยายออกไปได้โดยไม่ติดขัดด้วยข้อจํากัดพื้นที่และความ เป็นเมือง เกิดกิจกรรมของการเกื้อกูลสังคมจากความสนับสนุนของ บุคคล-องค์กรติดตามมา เช่น การอบรมภาษาอังกฤษสําหรับผู ้สูงอายุ
๓๖
การอบรมจัดดอกไม้ อบรมการทําลูกประคบสมุนไพร คลินิกส่งเสริม สุขภาพ เป็นต้น หลายกิจกรรมได้รับความสนใจสูงมาก เช่นการ ส่งเสริมอาชีพให้กับชาวบ้าน โดยสอนการทํานํ้าพริกของร้านนิตยา ไก่ย่าง ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังที่ตั้งสาขาอยู่ในละแวกวัด โดยเชื่อมโยงกับ โครงการชุมชนรักษาศีล ๕ มีประชาชนให้ความสนใจเข้ารับการอบรม เป็นจํานวนมาก
ที่น่าสนใจสูง คือผลจากรายการวิทยุที่นําไปสู ่การขยายเครือข่าย กับหน่วยงานสําคัญของรัฐ ที่มีมิติเกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาสังคม ของเมือง อาทิ การร่วมคิดและวางแผนกับกรมคุมประพฤติ เพื่อจัด โครงการอบรมเยาวชนผู ้ต้องคดีปีละ ๒ รุ ่น ให้มีโอกาสกลับตัวจากการ อบรมกล่อมเกลาเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณด้วยเนื้อหาและกระบวนการ อบรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของวัยรุ ่น ฝึกให้มีสติรู ้เท่าทันตนเองและ เข้าใจผู ้อื่น อีกกิจกรรมทางสังคมที่เกี่ยวโยงปัญหาสังคมกับการพัฒนา จิตวิญญาณได้ คือ การร่วมมือกับศาลจังหวัดตลิ่งชันซึ่งผู ้นําหน่วยงาน รับฟังรายการวิทยุของวัดนายโรงแล้วเกิดความศรัทธาและเห็นช่อง ทางของการพัฒนาสังคมด้วยธรรมะ เบื้องต้นเกิดเป็นรายการตอบ ปัญหากฎหมายในรายการวิทยุของวัดนายโรง ซึ่งได้รับความนิยมสูง มีผู้โทรศัพท์เข้ามาถามปัญหาเป็นจํานวนมาก ไปจนถึงการก่อตั้งศูนย์ ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทในวัดนายโรง โดยมีการจัดอบรมให้ ความรู้เบื้องต้นกับพระสงฆ์ในวัดให้มีความรู้ด้านกฎหมายในกรณี พิพาทอันเป็นความทุกข์ของชาวบ้าน เพื่อร่วมกับเจ้าหน้าที่ของศาลฯ ในการทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างใช้ทั้งมิติทางกฎหมายและ ธรรมะเข้าบูรณาการแก้ไขปัญหา แม้ว่าต่อมากิจกรรมดังกล่าวจะยุติ ไปเนื่องจากการเปลี่ยนผู้บริหารหน่วยงาน แต่กิจกรรมดังกล่าวก็
๓๗
๓๘
สะท้อนให้เห็นถึงช่องทางของการฟื้นฟูบทบาททางสังคมของวัดที่ เชื่อมโยงกับการพัฒนาจิตวิญญาณ ส่งเสริมธรรมได้เป็นอย่างดี อันเป็น บทบาทสําคัญของวัดในอดีตที่ผ่านมาด้วย
อีก ๑ องค์กรที่มีส่วนร่วมในระดับต่าง ๆ กับวัดนายโรงในการ ฟื้นฟูบทบาทของวัด คือโรงเรียนมัธยมศึกษาวัดนายโรง รวมไปถึง สมาคมผู้ปกครองของโรงเรียน ซึ่งให้ความสําคัญในการมีส่วนร่วมกับ วัด ทั้งการคิด การวางแผน การตัดสินใจ และการลงมือทํากิจกรรม ร่วมกันเพื่อการพัฒนาบทบาทของวัดและการพัฒนานักเรียน-โรงเรียน กระทั่งเกิดเป็นเครือข่าย “บวร” (บ้าน-วัด-โรงเรียน) ที่มีความเข้มแข็ง เกื้อกูลซึ่งกันและกันในการพัฒนาจิตวิญญาณของครูอาจารย์ นักเรียนและพ่อแม่ผู ้ปกครอง อันเป็นการฟื ้นฟูบทบาทของวัดทั้งทางโลกและ ทางธรรมได้พร้อมกัน นอกจากนี้ วัดยังสร้างกระบวนการเชิงรุก ทํางานร่วมกับองค์กรธุรกิจใกล้วัดที่มีนโยบายธุรกิจเพื่อสังคม (CSR) เช่น การร่วมกิจกรรมผ้าป่าต้นไม้ของวัดและวัดจัดอบรมธรรมให้แก่ เจ้าหน้าที่ขององค์กรธุรกิจ เป็นต้น
แม้จะประสานเครือข่ายต่าง ๆ ไปไกลอย่างกว้างขวางหลากหลาย แต่วัดนายโรงก็ยังให้คงให้ความสําคัญกับการรักษาความสัมพันธ์และ การเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกับชุมชนโดยรอบวัดด้วย แม้จะเป็นชุมชนใหม่ที่ เป็นไปตามสภาพของเมือง คือมิได้มีเงื่อนไขเวลาและกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับวัดเหมือนในอดีต เช่น ในกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ของวัดจะ ให้ความสําคัญเชิญตัวแทนชุมชนเข้าร่วมปรึกษาหารือ ในกิจกรรม ผ้าป่าต้นไม้ของวัดก็ให้คนในชุมชนรอบข้างของวัดร่วมกันหาต้นไม้ตาม รายชื่อที่กําหนด ในงานสงกรานต์มีการทําบุญและการเล่นสาดนํ้าตามประเพณีอย่างสนุกสนานสร้างสรรค์ของชาววัดและชาวบ้านในชุมชน การออกบิณฑบาตตามเส้นทางในหมู ่บ้านรอบวัดก็เป็นการสร้างความ
คุ ้นเคยของพระสงฆ์และชาวบ้านโดยรอบวัด ต่อมาขยายความคุ ้นเคยนี้ ไปยังผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมและโรงพยาบาล (เจ้าพระยา) ที่อยู่ ใกล้วัดที่ออกมาตักบาตรด้วย มีคนในชุมชนจํานวนหนึ่งแม้จะไม่มาก มาร่วมทํางานจิตอาสาของวัด และมีคนมาร่วมทําวัตรเย็นเป็นประจํา ที่วัดด้วย
ในส่วนของการสงเคราะห์ของวัดแก่ชุมชนมีในหลายรูปแบบ เช่น ให้โอกาสการศึกษาแก่เด็กในชุมชนซึ่งมีความประพฤติดี มีผลการ ศึกษาอยู ่ในเกณฑ์ที่ดี ครอบครัวมีความใส่ใจในการทํากิจกรรมร่วมกับ โรงเรียนและวัด กิจกรรมบวชสามเณรภาคฤดูร้อนให้แก่เด็กนักเรียน วัดนายโรง โดยมีเด็กในชุมชนเข้าร่วมด้วยแม้จะไม่มากเพราะเน้นการ อบรมนักเรียนของโรงเรียน มีการสงเคราะห์ช่วยเหลือซ่อมแซม บ้านเรือนให้ครอบครัวที่มีฐานะลําบากในชุมชน แม้แต่การจัดตั้งศูนย์ ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทร่วมกับศาลตลิ่งชัน ก็มีเป้าหมายเพื่อ การฟื้นฟูบทบาทเดิมของวัดในอดีต ที่เคยทําหน้าที่ช่วยแก้ไขปัญหา ภายในชุมชนรอบวัด เมื่อมีความขัดแย้งกัน ด้วยการมาไกล่เกลี่ยปัญหา กันที่วัด ด้วยบรรยากาศภายในวัด การพูดคุยร่วมกับพระสงฆ์ ช่วยลด การมุ่งเอาชนะต่อกัน
การสงเคราะห์อีกอย่างหนึ่งของวัดนายโรงที่เอื้อแก่ชุมชน รอบวัด และไม่นําไปสู่ปัญหาเหมือนดังที่เกิดขึ้นระหว่างวัดและบ้าน ในพื้นที่เมืองทั่วไป คือการให้พื้นที่ลานกิจกรรมของวัด เป็นพื้นที่ สาธารณะให้ชาวบ้านโดยรอบได้เข้ามาจอดรถในช่วงที่ไม่มีการจัด กิจกรรมพิเศษได้ โดยมีการเก็บค่าบํารุงวัด บ้านละ ๒๐๐ บาท/เดือน มีการกําหนดระเบียบการจอดรถที่ชัดเจนให้ปฏิบัติตามและมีการทํา สัญญาเช่าที่ซึ่งระบุให้วัดสามารถขอคืนพื้นที่ได้ตลอดเวลา การ อนุเคราะห์นี้มาจากฐานคิดที่มิได้เห็นพื้นที่จอดรถเป็นช่องทางหาทุน
๓๙
๔๐
ให้กับวัด แต่เป็นการอยู ่กันอย่างอะลุ ้มอล่วย รักษาความสัมพันธ์อันดี กับชาวบ้านโดยรอบวัด ซึ่งเป็นชุมชนที่ไม่มีพื้นที่ให้รถเข้าถึงตัวบ้าน การชําระค่าบริการที่จอดรถ เป็นการให้ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ซึ่งมา ดูแลความปลอดภัยในช่วงกลางคืน วัดจึงมีการเขียนรายละเอียดการ ขอคืนพื้นที่จอดรถบริเวณใดก็ได้ เพื่อทํากิจกรรมหรือปรับภูมิทัศน์ ได้ ตลอดเวลา โดยจะมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าภายใน ๑ ปี (อ่านราย ละเอียดประเด็นนี้ได้ในกรณีศึกษาวัดนายโรง ในภาคผนวก ก. ของ รายงานฉบับสมบูรณ์)
๒.๒ วัดนางชี : จัดระเบียบวัดให้ถึงธรรม (ชาติ)
พระราชปัญญาภรณ์ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน เข้ามารับตําแหน่ง เจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๙ โดยก่อนเข้ารับตําแหน่งก็เป็นกําลังสําคัญ ของวัดนางชีอยู ่ก่อนแล้วตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๖ เมื่อเข้ารับตําแหน่งทางการ ก็ได้วางแผนการพัฒนาวัดโดยนําหลักอริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) มาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา เริ่มจากการวิเคราะห์ว่า วัดนางชีกําลังเผชิญกับปัญหาใดบ้าง (ทุกข์) พร้อมวิเคราะห์หาสาเหตุ ที่ก่อให้เกิดปัญหานั้น (สมุทัย) แล้วจึงคิดวิธีหาแนวทาง (นิโรธ) ที่เป็น ไปได้ในการแก้ไขปัญหาทีละปัญหา แล้วจัดเรียงลําดับความสําคัญ ก่อน-หลังเพื่อลงมือปฏิบัติ (มรรค)
จากการพิจารณาในขณะนั้น เจ้าอาวาสพบว่า ปัญหาที่วัดนางชี กําลังเผชิญอยู ่และต้องแก้ไขมีจํานวน ๒๔ ปัญหา โดยกําหนดให้มีการ แก้ไขปัญหา “บ้านในวัด” ก่อนเป็นอันดับแรก พร้อมกับการพัฒนา เชิงรุกไปในเรื่องของการพัฒนาเสนาสนะซึ่งเป็นที่พักและข้าวของ เครื่องใช้ทั้งหลายของพระสงฆ์ เช่น กุฏิ ศาลาการเปรียญ ศาลาท่านํ้า
ปัญหาการใช้พื้นที่ลานฟุตบอล ปัญหาพื้นที่จอดรถ ซึ่งอยู่กันอย่าง ระเกะระกะปนเปไม่น่าดู วัดนางชีกําหนดกระบวนฟื้นฟูบทบาทวัด ให้เริ่มต้นที่เรื่องของกายภาพ เพราะเจ้าอาวาสเห็นว่า การปรับปรุง สิ่งก่อสร้างและสิ่งแวดล้อมภายในวัดนางชี จะเอื้ออํานวยให้เกิด สัปปายะที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ธรรมของญาติโยม เพื่อส่งเสริมให้ พุทธศาสนิกชนได้เห็นวัดที่อยู่ท่ามกลางเมืองแล้วเกิดความศรัทธาใน เบื้องต้น และมีสถานที่ในการจัดกิจกรรมอบรมธรรมในเวลาต่อไปได้ แม้จะเริ่มจากการพัฒนาวัตถุ แต่ท่านก็ดําเนินการอย่างคํานึงถึงเหตุ ปัจจัยอื่น ๆ และปัญหาอื่น ๆ เชื่อมโยงกันไปด้วย กระบวนการฟื้นฟู บทบาทของวัดนางชี มีดังนี้
๑) กระบวนการปรับปรุงสิ่งก่อสร้าง
ช่วงเวลาที่ผ่านมา วัดนางชีมีการซ่อมแซมอาคารเพียงเล็กน้อย ปรับปรุงแก้ไขบริเวณที่ชํารุดบางจุดเท่านั้น แต่ไม่มีการบูรณปฏิสังขรณ์ อย่างจริงจัง เมื่อเวลาล่วงเลยมาถึงยุคสมัยของเจ้าอาวาสท่านปัจจุบัน อาคารต่าง ๆ ที่ได้ก่อสร้างมาเป็นเวลานานจึงทรุดโทรมตามกาลเวลา บางอาคารยังใช้งานได้แต่ต้องปรับปรุง บางอาคารต้องรื้อถอนเพราะ ไม่สามารถใช้งานได้และมีบางอาคารต้องสร้างขึ้นใหม่เพื่อตอบสนอง การใช้พื้นที่ในการทําบทบาททางธรรม เช่น การจัดฝึกอบรมธรรมะ เมื่อสํารวจแล้วพบว่า จําเป็นต้องมีการบูรณะหลายจุดและใช้งบ ประมาณจํานวนมาก ก็ดําเนินการตามเงื่อนไขที่มี มิได้เร่งระดมทุนแต่ ใช้การวางแผนปรับเปลี่ยนพื้นที่ภายในวัดให้ถูกใช้งานอย่างเต็มที่ โดย ควบคุมสิ่งก่อสร้างให้มีจํานวนที่พอดีและตั้งในตําแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้วัดนางชีสามารถมีสถานที่ซึ่งสนับสนุนการทํากิจกรรมทางธรรม และเกื้อกูลแก่ชุมชนตามบทบาทหน้าที่หลักและรองได้โดยครบถ้วน
๔๑
การปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างเกิดขึ้นพร้อมกับการเพิ่มพื้นที่สีเขียว บริเวณทางเชื่อมระหว่างอาคารที่มีการรื้อถอนและสร้างใหม่ และปรับ บริเวณพื้นที่ริมคลองให้เปลี่ยนเป็นพื้นที่โล่ง ป้องกันวัยรุ่นมาใช้พื้นที่ วัดเป็นแหล่งมั่วสุม เหมือนดังที่เกิดขึ้นกับวัดในเมืองจํานวนมาก การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในของวัดในช่วงต้นไม่ราบรื่นนัก เนื่องจาก ชาวบ้านบางส่วนไม่เห็นด้วยกับการปลูกต้นไม้ภายในวัด เนื่องจาก ต้องการพื้นที่ว่างเพื่อกิจอื่น ในระยะแรกการปรับปรุงพื้นที่บริเวณนี้ จึงเกิดสถานการณ์ “โยมตัดพระปลูก” ต้นไม้ที่พระได้ร่วมกันปลูก ชาวบ้านบางส่วนแอบตัดทิ้งเป็นประจํา วันใดที่พบว่าต้นไม้ถูกตัดทิ้ง เจ้าอาวาสจะให้ปลูกเพิ่มเป็นเท่าตัวจากจํานวนที่ถูกตัด เช่น ถูกตัด ๔ ต้น จะปลูกใหม่ ๘ ต้น และปรับเปลี่ยนวิธีด้วยการล้อมต้นไม้ที่มี ขนาดใหญ่มาปลูกเพิ่มด้วย จากการแก้ไขปัญหาของเจ้าอาวาสทําให้ คนแอบตัดหยุดตัดไปในที่สุด โดยไม่มีการกระทบกระทั่งรุนแรง เนื่องจากท่านมิได้กล่าวโทษตําหนิใคร หากแต่ลงมือดําเนินการในสิ่ง ที่เห็นว่าควรโดยไม่ย่อท้อ ให้คนเห็นความมุ่งมั่นอดทน
ต่อมาเมื่อต้นไม้มีเพิ่มมากขึ้น ความร่มรื่นเกิดขึ้นด้วย ปัญหา ความเห็นไม่ตรงกันระหว่างวัดและชาวบ้านที่เคยใช้พื้นที่ก็หยุดไป และชาวบ้านเกิดความศรัทธาในความอุตสาหะ ไม่ย่อท้อทําสิ่งที่เห็น ว่าดีงามแก่วัดและสาธุชนที่จะเข้ามาใช้ประโยชน์ เนื่องจากเมื่อแล้ว เสร็จ ทางวัดก็มิได้เฉพาะเจาะจงว่าใครมีสิทธิ์เข้ามาใช้ประโยชน์ภายใน พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจนี้ ทุกคนทั้งที่บ้านใกล้ บ้านไกล เคยสนับสนุน หรือไม่เคยสนับสนุนกิจกรรมของวัดนางชี ก็สามารถเข้ามาใช้ ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างอิสระ ช่วยให้ผู ้ที่เข้ามาพักผ่อนกายเกิดความ สงบทางใจจากบรรยากาศที่ร่มรื่น
๔๒
ในมุมมองของเจ้าอาวาสการปรับปรุงด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการ สร้างพื้นที่เชื่อมโยงญาติโยมให้เข้าสู่การเรียนรู้ทางธรรมได้ โดยท่าน มุ่งหวังให้สิ่งแวดล้อมและความร่มรื่นเป็นสื่อที่ประสานผู ้คนให้เข้ามา ใช้ประโยชน์ภายในวัด เมื่อมีการออกแบบสอดแทรกกิจกรรมทางธรรม ทีละเล็กละน้อย จะทําให้ผู ้ที่เข้ามาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ทางธรรมชาตินี้ ได้ซึมซับหลักธรรม ซึ่งเป็นแผนในอนาคตที่จะช่วยเยียวยาขัดเกลา จิตใจให้กับญาติโยม ผ่านการเรียนรู้หลักธรรมคําสอน ผ่านธรรมชาติ เช่น อนุเคราะห์พื้นที่ให้พ่อค้าแม่ค้ามาหลบแดดกินข้าวกลางวัน เพื่อให้ผู้ใช้ประโยชน์ได้รู้พระคุณของวัด แล้ววางแผนต่อไปว่าจะติด ลําโพงเล็ก ๆ เปิดบรรยายธรรม ให้ผู้เข้ามานั่งพักผ่อนได้รับฟังธรรม ไปด้วย กระบวนการฟื ้นฟูวัดนางชีแม้เริ่มโดยกายภาพ แต่มีเป้าหมาย นําไปสู่ธรรม เป็นกระบวนการพัฒนาวัตถุที่กํากับด้วยเป้าหมายให้ บรรลุบทบาททั้ง ๒ ประการของวัด คือเตรียมความพร้อมเพื่อใช้เป็น สถานที่ปฏิบัติธรรมไปพร้อมๆ กับการเกื้อกูลแก่บุคคลและชุมชนทั่วไป โดยกระบวนการฟื ้นฟูกายภาพของวัด มีความระมัดระวังที่จะไม่ทําให้ การพัฒนาวัตถุ สิ่งปลูกสร้าง นําไปสู ่การระดมทุนด้วยการเรี่ยไร สร้าง วัตถุมงคล เหมือนดังที่วัดทั่วไปจํานวนมากดําเนินการ ซึ่งเป็นที่มาของ สถานการณ์ “พุทธพาณิชย์” มีผลให้แก่นธรรมของศาสนาเบี่ยงเบน ออกไปจากบทบาททางธรรม
หลังการพัฒนาสภาพแวดล้อมหรือสัปปายะด้านสถานที่แล้ว จากการเก็บข้อมูลด้วยการสังเกตและสัมภาษณ์ มีผู ้ให้ข้อมูลว่า เข้ามา ใช้ประโยชน์จากสถานที่อันร่มรื่นบ่อยครั้งขึ้น กลายเป็นที่พักผ่อน หย่อนใจอันสงบของคนใกล้ คนผ่านทาง ในเวลาเดียวกัน เจ้าอาวาส ยังใช้การพัฒนาสถานที่ สิ่งแวดล้อม ในการสร้างเครือข่ายภาคีได้
๔๓
๔๔
จากการที่งานพัฒนาพื้นที่มีความเป็นรูปธรรม มองเห็นเป้าหมายและ ผลสําเร็จได้ง่าย การขอความร่วมมือและการสนับสนุนจึงทําได้ไม่ยาก หากมีการเคลื่อนไหวทางกิจกรรมในการบูรณะปรับปรุงวัดอย่าง แข็งขันต่อเนื่อง ดังในเวลาต่อมา การฟื้นฟูพื้นที่ของวัดนางชีจึงได้รับ การสนับสนุนจากสํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในด้านการ อนุรักษ์โบราณสถาน เพราะวัดนางชีมีประวัติเก่าแก่ที่สัมพันธ์กับ สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับการจัดกิจกรรมประเพณีของวัด ที่มีชื่อเสียงมาเนิ่นนาน คือประเพณีแห่เรือชักพระไปตามลํานํ้า วัดได้ พัฒนากิจกรรมที่โดดเด่นนี้มาสร้างการมีส่วนร่วมของสังคมได้มากขึ้น จากหน่วยงานต่าง ๆ ที่สําคัญมากไปกว่านั้น คือทํากิจกรรมให้ เชื่อมโยงถึงบทบาทเผยแผ่ธรรมด้วยการพัฒนาให้มีกิจกรรมการ แข่งขันตอบปัญหาธรรม ปาฐกถาธรรม การประกวดการสวดสรภัญญะ ของเยาวชน เพื่อขัดเกลาจิตให้เกิดความสงบจากการสวดมนต์และ เรียนรู้เนื้อหาธรรมไปพร้อมกัน ฯลฯ กิจกรรมนี้ได้ค่อย ๆ พัฒนา จนกระทั่งปัจจุบันเป็นที่สนใจมีผู้สมัครเข้าร่วมอย่างกว้างขวางจาก ทั่วประเทศ
ในกระบวนการฟื้นฟูบทบาทของวัดนางชีซึ่งเริ่มจากการพัฒนา สถานที่-สิ่งแวดล้อมนั้น ปัญหาหนึ่งซึ่งจะต้องประสบเพราะเป็น อุปสรรคสําคัญของวัดเมืองโดยทั่วไป คือการจัดการขอคืนพื้นที่วัด จากการมีบ้านเรือนของประชาชนมาใช้พื้นที่ในเขตวัดซึ่งเรียกกันว่า “บ้านในวัด” อันเป็นปัญหาที่มีความเปราะบางอ่อนไหว เพราะหาก วัดจัดการไม่เหมาะสม วัดและบ้านก็มีโอกาสขัดแย้ง ในบางกรณีถึง ขั้นร้าวฉานกับชุมชนหรือเสียความศรัทธาจากผู้รับรู้ข่าวสาร อันผิด หลักการของวัดที่ต้องเกื้อกูลสังคม และพึงเป็นตัวอย่างที่ดีของการใช้ สติปัญญาในการคลี่คลายปัญหา มิให้ศาสนิกชนเกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดี
ต่อวัด วัดนางชีเผชิญปัญหาสําคัญนี้ในกระบวนการฟื้นฟูสัปปายะ ของวัด หากแต่สามารถจัดการให้ลุล่วง จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นวิธี ปฏิบัติที่ดี (Good Practice) ผสมผสานหลักการทางธรรมและ ทางโลกมาดําเนินการ ทําให้กระบวนการฟื้นฟูวัดไม่สะดุดติดขัด
ความเป็นมาของปัญหา “บ้านในวัด” เกิดจากพื้นที่วัดนางชีด้าน ติดกับวัดนาคปรกมีชาวบ้านเข้ามาขอความเมตตาจับจองพื้นที่อยู่ อาศัยเป็นเวลานานมากแล้วก่อนที่เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันจะเข้ามา ดํารงตําแหน่ง ที่ผ่านมา ไม่เคยมีเจ้าอาวาสรูปใดดําเนินการจัดระเบียบ ชาวบ้านที่อาศัยภายในพื้นที่วัดได้สําเร็จ มีการอะลุ ้มอล่วยให้ชาวบ้าน ได้อยู ่อาศัยอย่างอิสระ ไม่มีการตั้งกฎระเบียบใด ๆ ชาวบ้านที่อยู ่อาศัย ได้รับความอนุเคราะห์ให้อยู่อาศัยฟรีไม่เสียค่าเช่ามาโดยตลอด ทุกหลังคาเรือนเดินเรื่องขอเลขที่บ้าน นํ้าประปาและไฟฟ้ามาใช้ ภายในครัวเรือนด้วยตนเอง แต่ละคนจะใช้เงินส่วนตัวในการสร้างบ้าน ปรับปรุง ต่อเติมบ้านตามกําลังความสามารถที่แตกต่างกัน บางบ้าน สร้างด้วยปูน บางบ้านสร้างด้วยไม้ สภาพบ้านเรือนโดยรวมสร้าง ติดกันมีลักษณะคล้ายชุมชนแออัด ผู้อยู่อาศัยบางคนเป็นหน้าใหม่ เพราะมีการเปลี่ยนมือจากการเซ้ง ปล่อยเช่า ทําให้มีผู้คนผลัดเปลี่ยน ไปมา พื้นที่ดังกล่าวจึงเป็นแหล่งปัญหายาเสพติด การพนัน อบายมุข ไปจนกระทั่งปัญหาโสเภณี โดยที่วัดไม่สามารถดูแลความสงบเรียบร้อย เหมาะสมแก่การอยู่อาศัยบนพื้นที่ทางจิตวิญญาณได้ ทําให้ภาพรวม ทางกายภาพของวัดนางชีในขณะนั้นไม่เป็นระเบียบ กุฏิพระและบ้าน ของชาวบ้าน ตั้งอยู่สับสนปนเปกันไปหมด
เจ้าอาวาสจัดระเบียบบ้านในวัด โดยกําหนดขั้นตอนอย่างเป็น กระบวนการ มีการเก็บข้อมูลด้วยการหมั่นสังเกตพฤติกรรมผู ้พักอาศัย คุณภาพชีวิตในการอยู่อาศัย ที่สําคัญที่สุดคือ ตั้งธงว่าจะจัดการแก้ไข
๔๕
๔๖
ปัญหาโดยระมัดระวังมิให้เกิดความรุนแรง มีการวางวิธีการเจรจา อย่างเป็นขั้นตอน นําเทคนิคการสร้างแรงจูงใจมาใช้กระตุ ้นให้ญาติโยม ย้ายออกเร็วขึ้น ช่วยย่นระยะเวลาของปัญหาและลดแรงปะทะที่อาจ เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันก็ประชาสัมพันธ์แจ้งข่าวสารให้พุทธศาสนิกชน ที่เป็นมิตรของวัดได้เข้าใจที่มาที่ไปของเหตุการณ์และทิศทางการแก้ไข ปัญหาของวัด เพื่อเป็นการบอกกล่าวข้อมูลแก่สาธารณะ ให้ญาติโยม ได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ไม่ทําให้เกิดความสับสนจนอาจเข้าใจผิด ถ้าได้ รับข่าวสารจากแหล่งอื่นที่ไม่เป็นความจริง ทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่าย ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา สร้างผู้ร่วมกระจายข่าวสารให้แก่วัด
นอกจากนี้ กระบวนการแก้ไขปัญหาจะไม่รวมศูนย์ที่เจ้าอาวาส รูปเดียว แต่ทํางานเป็นหมู่คณะ ในวัดมีผู้ช่วยเจ้าอาวาสร่วมคิด ภายนอกวัดมีผู้รู้ที่ผ่านประสบการณ์แก้ไขปัญหาบ้านในวัดโดยตรง เช่น เจ้าอาวาสวัดชิโนรส และทนายความซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้าน กระบวนการยุติธรรม ทําให้การทํางานเพื่อแก้ไขปัญหาบ้านในวัด ของวัดนางชีไม่โดดเดี่ยว เป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความร่วมมือ ของแกนนําภายในวัดและผู้เชี่ยวชาญภายนอกวัด แม้ในกระบวนการ ทํางานด้านอื่นเพื่อการฟื้นฟูวัด ก็จะใช้หลักการทํางานเป็นหมู่คณะ วัดนางชีมีผู ้ช่วยเจ้าอาวาส (พระวิสุทธิ์ธีรพงษ์) และกลุ ่มพระภิกษุสงฆ์ ที่มีความสามารถรูปอื่น ๆ ร่วมกับฝ่ายคฤหัสถ์ซึ่งเห็นการทํางานของ พระสงฆ์แล้วเกิดความศรัทธา เข้ามาช่วยงานโดยจิตอาสา เช่น กลุ่ม จิตอาสาด้านสถาปัตยกรรมและกลุ่มอาสางานครัว งานประเพณี ชักพระ เป็นต้น
ความเด่นของกรณีศึกษาวัดนางชี คือ การสะท้อนให้เห็นว่า การฟื ้นฟูกายภาพหรือสัปปายะทางกายภาพมีความสําคัญ แต่จะต้อง ดําเนินการโดยมีวิธีคิดและปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักธรรม ให้ความ
สําคัญกับกระบวนการดําเนินการมิใช่เพียงต้องการผลลัพธ์ของการ เปลี่ยนแปลง เช่น การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมต้องไม่นําไปสู ่การระดมทุน ด้วยวิธีการที่ไม่ส่งเสริมธรรม หรือออกนอกกรอบของบทบาทหน้าที่ หลักของวัด ในทางตรงข้าม มุ่งที่จะให้การพัฒนากายภาพหรือวัตถุ เป็นกระบวนการเผยแผ่ธรรมได้โดยอ้อมแก่ผู้เกี่ยวข้องด้วย และยัง สร้างความศรัทธาในการทํางานตามแนวทางของหลักธรรมให้สาธุชน เห็นในเรื่องเมตตาธรรม ขันติธรรม กระบวนการเช่นนี้ จะดึงองค์กร และบุคคลที่ยังศรัทธาในหลักพุทธธรรมเข้ามาสนับสนุนได้ โดยไม่ต้อง เบี่ยงเบนธรรมเพื่อความอยู่รอดของวัด อีกทั้งการปรับปรุงสัปปายะ ด้านสถานที่ยังเป็นช่องทางเชื่อมโยงวัดกับชุมชนรอบข้าง นอกจากนี้ วัดยังเอื้อเฟื้อพื้นที่วัดให้เป็นที่จอดรถในเวลาที่ไม่มีกิจกรรม
๒) กระบวนการฟื้นศรัทธา
การปรับปรุงสัปปายะด้านกายภาพอย่างมีกุศโลบายให้ถึงธรรม ดังกล่าวมาให้ข้อแรกก่อให้เกิดความศรัทธาแก่สาธุชนที่ได้ใช้ประโยชน์ จากพื้นที่ และบุคคลทั่วไปซึ่งเห็นความเพียรพยายามของพระสงฆ์ใน วัดทั้งเจ้าอาวาสและพระลูกวัดในการฟื ้นฟูเปลี่ยนแปลงสถานที่ให้กลับ มาเป็นวัดอย่างที่วัดควรจะเป็น แต่การจะก่อให้เกิดความศรัทธาอย่าง ต่อเนื่องยั่งยืนได้ ย่อมต้องขึ้นกับสัปปายะด้านบุคคล คือพระสงฆ์ ต้องมีความรู้ความสามารถให้ธรรมะที่สอดคล้องทันยุคสมัยของโลก ยิ่งไปกว่าการสอนธรรม คือการปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย มีการ ประกอบกิจของสงฆ์ตามวัตรปฏิบัติให้พุทธศาสนิกชนเกิดความศรัทธา เลื่อมใสด้วยเป็นสําคัญ ดังนั้น พระสงฆ์ในวัดนางชีจึงได้รับการ สนับสนุนการศึกษาทางธรรมและทางโลก ปฏิบัติหน้าที่จะพระสงฆ์ ด้วยการแบ่งเส้นทางออกบิณฑบาต สวดมนต์ทําวัตรทุกวัน และฝึกหัด
๔๗
การแสดงพระธรรมเทศนา ซึ่งที่วัดจะแบ่งระดับความสามารถเป็น ๓ ระดับ ได้แก่
เทศน์ได้ – คือมีความสามารถในการอธิบายความรู้ทางธรรม เล่าเรื่องทางธรรม เล่าพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าและสาวกได้
เทศน์ดี – คือมีความสามารถในการอธิบายความรู้ทางธรรม มีการนําหลักธรรมมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ฟังเกิด ความเข้าใจในหลักธรรมได้
เทศน์เป็น เป็นนักเทศน์ – คือมีความสามารถในการอธิบาย ความรู ้ทางธรรม มีการนําหลักธรรมมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน สามารถการหยิบยกเรื่องราวเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น มาเป็นตัวอย่าง ให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจในหลักธรรมได้ง่ายขึ้น
การเทศน์แต่ละครั้งผู้รับผิดชอบในการเทศน์จะคัดเลือกหัวข้อ ทางธรรมขึ้นมาโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาจากท่านเจ้าอาวาสก่อน ท่านให้โอกาสพระผู ้รับผิดชอบคัดเลือกหัวข้อธรรม ออกแบบการเทศน์ ด้วยตนเอง พระนักเทศน์ของวัดนางชีจึงต้องหมั่นค้นคว้าหาความรู้ ทางธรรมและปฏิบัติธรรมเพื่อนํามาใช้ในการสนทนาธรรมกับญาติโยม ข้อดีของการเทศน์ปากเปล่าโดยไม่อ่าน เป็นกุศโลบายหนึ่งของ เจ้าอาวาสในการฝึกฝนพระสงฆ์ให้หมั่นเรียนรู้สถานการณ์ปัจจุบันใน ทางอ้อม ฝึกคิดแบบเชื่อมโยงหลักธรรมคําสอนทั้งปริยัติปฏิบัติกับ เหตุการณ์ และฝึกไหวพริบปฏิภาณการเล่าเรื่องไปในตัว พระสงฆ์ ของวัดจึงก่อเกิดความศรัทธาให้สาธุชนรู้สึกเป็นที่พึ่งทางจิตวิญญาณ ได้ในยามมาวัด เกิดการฟื้นฟูบทบาทของวัดขึ้นมาได้จริง
๔๘
º··Õè ó¿ØºáŌǿ„œ¹¢Í§ÇÑ´¡Öè§àÁ×ͧ¡Ö觪¹º·
๓.๑ วัดภูเขาทอง : เรียกคืนศรัทธา พัฒนาสู่ธรรม
ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๔๙๙ วัดภูเขาทองเป็นวัดร้าง ไม่มีพระจําพรรษา ต่อมามีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสให้เข้ามาฟื ้นฟูวัด มีการปรับปรุงสัปปายะ ทางกายภาพให้มีความเจริญขึ้น เช่น การก่อสร้างอาคาร การจัดทํา ซุ ้มประตูวัดเพื่อสร้างความสวยงาม รวมทั้งมีการดําเนินกิจกรรมต่างๆ ภายในวัด เพื่อระดมทุนมาพัฒนาวัด เช่น จัดงานวัด มีการสอยดาว แสดงลิเก มีบ่อโยนเหรียญ การดูหมอดูดวง และการเช่าวัตถุมงคล ต่างๆ โดยเฉพาะชื่อเสียงที่โด่งดังในหมู่นักท่องเที่ยวและดึงดูดให้มี ผู้มาทําบุญจํานวนมากคือ “รอยพญานาค” ในหอสวดมนต์ของวัด ส่งผลให้มีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาทําบุญที่วัดภูเขาทอง เกิดการเร่ขาย ดอกไม้ธูปเทียน ชุดสังฆทาน และร้านค้าต่าง ๆ ในบริเวณวัด
จนกระทั่งในช่วงเวลาต่อมา ชาวบ้านของชุมชนวัดภูเขาทอง เกิดความกังวลใจต่อการจัดการภายในวัดภูเขาทอง ทั้งด้วยลักษณะ ภูมิทัศน์ที่ไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ขยะถูกทิ้งไม่เป็นที่ ความรกของต้นหญ้าที่สูงถึงระดับศีรษะ ต้นไม้ขึ้นทั่วพื้นที่จนมีสภาพ เป็นป่าทึบ มีมูลนกบริเวณเจดีย์ และมูลวัวที่ถูกเลี้ยงไว้ในพื้นที่วัด
๕๑
๕๒
โดยไม่ได้มีการดูแลและทําความสะอาดเท่าที่ควร ตลอดจนการเร่ขาย ของต่าง ๆ เพื่อสร้างรายได้เข้าวัด และประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อความ เลื่อมใสศรัทธาของชาวพุทธในชุมชนมากที่สุดคือ มีคฤหัสถ์เข้ามา พักอาศัยอยู่ในบริเวณใต้ถุนศาลาการเปรียญมีการแบ่งเป็นห้องแถว และขยายพื้นที่ออกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีการสร้างบ้านหลายหลัง บริเวณรอบวัดภูเขาทอง ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของวัดที่มีพระและ คฤหัสถ์อยู่ปะปนกัน ไม่ได้รับการแบ่งแยกให้ชัดเจน
ด้วยสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ชาวพุทธภูเขาทองจึงตัดสินใจไปทําบุญ ที่วัดอื่นใกล้กับชุมชนเป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปี เมื่อวัดไม่สามารถทํา หน้าที่ขัดเกลาจิตใจของผู ้คนได้ดังเดิม รวมถึงสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็วในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมที่กระทบกับวัด จากสภาพแวดล้อม ของวัดที่มีพื้นที่เป็นป่าทึบแลดูรกร้าง และมืดมิดเนื่องจากแสงสว่าง ของไฟฟ้าไม่ทั่วถึง ทําให้มีคนแอบเข้ามาใช้พื้นที่แลกยาเสพติด รวมถึง การก่ออาชญากรรมที่กลุ ่มคนเข้ามาลักเล็กขโมยน้อยทรัพย์สินของวัด ทําให้วัดกลายเป็นพื้นที่ซึ่งผู ้คนในชุมชนรู ้สึกไม่ปลอดภัยและไม่เอื้อให้ เกิดแรงจูงใจในการเข้าวัดเพื่อทําบุญหรือศึกษาธรรมะแต่อย่างใด
จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๕๗ เกิดการร้องเรียนไปยังเจ้าคณะอําเภอ จึงได้มีการเลื่อนตําแหน่งเจ้าอาวาสรูปเดิมให้เป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์ วัดภูเขาทอง พร้อมทั้งคัดสรรพระรูปใหม่ขึ้นมาเป็นเจ้าอาวาสวัด ภูเขาทอง คือ พระครูใบฎีกาประเทือง กิตฺติปั�ฺโญ ซึ่งย้ายจากวัดใหญ่ ชัยมงคลมาดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสวัดภูเขาทองรูปที่ ๕ ตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา กระบวนการฟื้นฟูวัดเพื่อให้กลับมาทําบทบาทด้านการ พัฒนาจิตวิญญาณและการเกื้อกูลสังคมจึงเกิดขึ้นมาโดยสืบเนื่องถึง ปัจจุบัน
่
เจ้าอาวาสองค์ใหม่มีกระบวนการฟื ้นฟูวัดใน ๓ กระบวนการ คือ
๑) กระบวนการฟื้นฟูสัปปายะทางกายภาพ
จุดมุ่งหมายของกระบวนการนี้ คือการสร้างพื้นที่วัดให้เอื้อต่อ การดําเนินบทบาทต่าง ๆ ของวัด ช่วยสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้ อยู่แวดล้อมวัดและผู้ผ่านทาง ได้แก่ จัดการพื้นที่วัดซึ่งมีความสกปรก และไม่พร้อมให้พระสงฆ์เข้ามาจําพรรษา โดยมีการจัดลําดับความ สําคัญก่อนหลังของการจัดการ อาทิ ทุบทําลายสิ่งก่อสร้างที่ผิดหลัก ตามระเบียบ และสิ่งที่เจ้าอาวาสเห็นว่าไม่สมควร เช่น ซุ้มประตูต่างๆ ป้ายบอกทางที่จัดไว้เกลื่อนกลาด มีการแบ่งพื้นที่พุทธาวาส สังฆาวาส โดยชัดเจน มิให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ และไม่เอื้อต่อการดําเนิน บทบาทของวัด โดยการเรียกคืนพื้นที่วัดจากชาวบ้าน ที่ส่งผลเสียอย่าง มากต่อความเลื่อมใสของชาวพุทธภูเขาทอง โดยเริ่มต้นจากการพูดคุย กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในวัดภูเขาทอง อย่างให้เกิดปัญหาการต่อต้าน ให้น้อยที่สุด โดยจัดการแต่ละกรณี ไม่เหมือนกัน อะลุ้มอล่วยตาม เงื่อนไขของแต่ละราย ทั้งเรื่องเวลาและค่าใช้จ่าย
จนกระทั่งปัจจุบันมีทั้งผู ้ที่โยกย้ายไปอยู ่ถิ่นอื่น และที่ยังอาศัยอยู ในพื้นที่เขตวัดที่จัดแยกใหม่จากพื้นที่สังฆาวาสอย่างชัดเจน โดยเจ้า อาวาสยึดหลัก ใจเขา ใจเรา เพื่อทําความเข้าใจแก่ผู้ที่กําลังประสบ ปัญหา เพื่อให้วัดยุติข้อขัดแย้งโดยไม่มีปัญหากับชาวบ้าน การจัดการ “บ้านในวัด” ของกรณีวัดกึ่งเมืองกึ่งชนบทไม่ซับซ้อนเหมือนวัดนางชี ในเขตเมือง ซึ่งต้องใช้ทั้งมาตรการทางกฎหมายเข้ามาสนับสนุนด้วย หลังจากการย้ายออกเรียบร้อยในระดับหนึ่งแล้ว ทางวัดภูเขาทองได้ ประสานงานกับหน่วยงานทั้งกับกรมที่ดินและสํานักพระพุทธศาสนา เพื่อตรวจสอบพื้นที่ของวัดให้ถูกต้องและชัดเจนใหม่อีกครั้ง และ
๕๓
๕๔
รวบรวมข้อมูลครัวเรือนที่ยังอาศัยอยู ่ในบริเวณพื้นที่วัด เพื่อเก็บไว้เป็น ข้อมูลสําหรับการบริหารพื้นที่วัดให้เหมาะสม ไม่เกิดปัญหาอีกต่อไป
ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังของวัด และความมุ ่งมั่น ตั้งใจในการฟื้นฟูวัดภูเขาทองของเจ้าอาวาสได้เรียกคืนความศรัทธา จากชาวบ้านในชุมชนซึ่งยังมิได้โยกย้ายถิ่นเหมือนวัดในเขตเมือง และ คฤหัสถ์กลุ่มใหม่ ๆ ทั้งใกล้และไกลวัด เอื้อไปสู่การได้รับความ สนับสนุนในการฟื ้นฟูสถานที่โดยต่อเนื่อง เปลี่ยนวัดภูเขาทองจากเดิม ที่ถูกมองเป็นวัดรกร้างเต็มไปด้วยใบไม้ใบหญ้า มูลสัตว์ และสิ่งสกปรก ต่างๆ การอยู่อาศัยปะปนพระ-ชาวบ้าน กลายเป็นวัดที่สะอาด ปลอดภัย มีความร่มรื่นจากต้นไม้ เป็นพื้นที่พักผ่อนที่สร้างความสบาย ตาและสบายใจให้แก่ผู้ที่ผ่านไปมา กลายเป็นพื้นที่ซึ่งเอื้อต่อการ ประกอบกิจของพระสงฆ์และวัด สามารถรองรับคฤหัสถ์ผู้มาร่วม ทําบุญ และร่วมกิจกรรมทางพุทธศาสนาต่างๆ ได้
๒) กระบวนการฟื้นฟูความสัมพันธ์วัด-ชุมชน
ในระหว่างของการฟื้นฟูพื้นที่สภาพแวดล้อมในข้อแรก เจ้าอาวาสก็กําหนดกระบวนการเข้าถึงชุมชนไปพร้อมกันภายใต้ การดําเนินบทบาทหลักของพระสงฆ์ เริ่มจากกิจกรรมตามวัตรปฏิบัติ ของพระ ได้แก่การเดินบิณฑบาต การร่วมประเพณีของชุมชนและ การปฏิบัติตนของพระ ดังนี้
(๒.๑) การเดินบิณฑบาต
การเดินบิณฑบาตของพระสงฆ์วัดภูเขาทองได้ ห่างหายไปจากชุมชน ทําให้เจ้าอาวาสต้องฟื้นฟูขึ้นมา อีกครั้ง โดยลักษณะการเดินบิณฑบาต พระสงฆ์จะเดิน เรียงกัน เป็นสายผ่านเส้นทางของชุมชนหมู ่ที่ ๓ และ ๔
ระยะทางไปกลับประมาณ ๔ กิโลเมตร การให้ความสําคัญ กับการบิณฑบาตเนื่องจากเป็นวัตรปฏิบัติโดยพื้นฐาน ของพระ และเป็นโอกาสของการสร้างความสัมพันธ์ รู ้จัก บุคคล-ชุมชน ในทางกลับกันก็เป็นกระบวนการสําคัญ ที่เอื้อให้ชุมชนได้สัมผัสและรู้จักพระที่ออกบิณฑบาต ก่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนได้ โดยง่าย โดยเฉพาะในเขตกึ่งเมืองกึ่งชนบท ซึ่งวิถีชีวิตยัง ไม่เร่งรีบบีบคั้นมากเหมือนในเมือง ปัจจุบันมีครัวเรือน ชาวพุทธที่ใส่บาตรกับวัดภูเขาทอง จํานวน ๒๐ ครัวเรือน (๒.๒) การร่วมงานประเพณีชุมชน
ชุมชนชาวพุทธในระดับตําบลภูเขาทอง มีการจัด ประเพณีไหว้ศาลประจําหมู ่บ้านเป็นประจําทุกปี คือการ ทําบุญศาลเจ้าพ่อปู่ท้วม (ศาลท้ายหมู่บ้านหัวพรวน) ศาลกลางหมู ่บ้านหัวพรวน และศาลปู ่ชีปะขาว (ในพื้นที่ โบราณสถานของวัดภูเขาทอง) กิจกรรมมีการก่อพระ เจดีย์ทราย และทําบุญตักบาตร โดยในงานบุญชาวบ้าน จะนิมนต์พระสงฆ์ ๙ รูป รวมถึงพระวัดภูเขาทองให้ทํา พิธีทางศาสนาของทั้ง ๓ พื้นที่ การเข้าร่วมงานประเพณี สําคัญของชุมชนเป็นโอกาสได้รู ้จักชาวบ้านในพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นจากการเดินบิณฑบาต และยังได้รู้จักผู้นํา ชุมชน พระสงฆ์จากวัดอื่น ๆ อีกด้วย
กระบวนการฟื ้นฟูความสัมพันธ์ของวัดและชุมชน ของวัดภูเขาทองมีเงื่อนไขพิเศษที่แตกต่างจากพื้นที่อื่น ที่จะต้องคํานึงถึงด้วย นั่นคือวัดภูเขาทองตั้งอยู่ในพื้นที่ ชุมชนชาวมุสลิม ผู้นําชุมชน เช่น นายกองค์การบริหาร
๕๕
ส่วนตําบลเป็นชาวมุสลิม กระบวนการฟื้นฟูวัดจึงต้อง เอื้อให้เกิดการอยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างของทั้ง สองศาสนา ในกระบวนการฟื ้นฟูวัด เจ้าอาวาสและพระ ลูกวัดยึดหลักเคารพความแตกต่างและการอยู่ร่วมกัน อย่างสมานไมตรี การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และการให้ความเอื้อเฟื้อในวัตถุสิ่งของแก่ชาวบ้าน โดยที่ชาวบ้านมุสลิมเองก็ให้ความเอื้อเฟื้อต่าง ๆ เป็นการตอบแทนระหว่างกันด้วยเหมือนกัน ๒.๓) กระบวนการฟื้นฟูธรรมะ-จิตวิญญาณ
กระบวนการในข้อนี้ วัดได้ดําเนินการในหลาย ระดับ ได้แก่
(๒.๓.๑) การปฏิบัติตนของพระสงฆ์ เจ้าอาวาส และพระลูกวัด ให้ความสําคัญกับการฟื้นฟูวัดด้วยการ ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่ศรัทธาทั้งเมื่อแรกพบและ เมื่อรู้จักแล้ว โดยยึดหลักการสอนด้วยการปฏิบัติให้ดู ด้วยการเคร่งครัดในพระธรรมวินัย การสํารวมและการ วางท่าทีในกิริยาต่างๆ ให้เหมาะสมกับสมณสารูป ปฏิบัติกิจของสงฆ์อย่างครบถ้วน ไม่ว่าการบิณฑบาต ทําวัตรสวดมนต์ นั่งสมาธิ ทุกเช้าและเย็นร่วมกับเจ้า อาวาส ในการฉันภัตตาหารทั้ง ๒ มื้อจะต้องมาฉันรวม กันเสมอ เพราะเป็นโอกาสที่เจ้าอาวาสจะได้พบปะและ ติดตามพระลูกวัดทุกรูปและถือโอกาสอบรมสั่งสอน แนะนําอย่างใกล้ชิด
เจ้าอาวาสจะทําและสอนพระลูกวัดให้เป็นผู ้ยิ้มแย้ม อย่างเป็นมิตรกับผู้อื่นอยู่เสมอ อันจะเอื้อให้ผู้คนเข้าถึง
๕๖
ได้โดยไม่อึดอัด นอกจากนี้ เจ้าอาวาสยังยึดหลักและ สอนพระในวัดเสมอว่า ในวันหนึ่ง ๆ ต้องทําประโยชน์ ให้ชาวบ้าน เพราะพระดํารงชีพด้วยการฉันข้าวชาวบ้าน ดังนั้นผู้คนที่ผ่านไปมาจะเห็นเจ้าอาวาสและพระลูกวัด ทํางานอย่างขยันขันแข็ง เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาอยู่ เสมอ การทําหน้าที่ของพระสงฆ์วัดภูเขาทองจึงครบทั้ง บทบาทหลัก คือการเผยแผ่พระธรรมด้วยการสร้างแรง จูงใจให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธาในพระธรรมคําสอน จากการดูตัวอย่างวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ และด้วยการ สอนโดยตรง คือสอนวิปัสสนาและแสดงพระธรรม เทศนาในโอกาสต่าง ๆ
(๒.๓.๒) การรื้อฟื้นประเพณีของท้องถิ่น ด้วยทักษะประสบการณ์ของผู้ช่วยเจ้าอาวาสซึ่งเป็น พระรุ่นใหม่ (พระมหานัธนิติ สุมโน) ได้นําประเพณีเก่า ของท้องถิ่นมาฟื้นใหม่โดยออกแบบให้สมสมัยเพื่อ สื่อสารธรรม คือ “ประเพณีตักบาตรนํ้าผึ้ง” เป็น ประเพณีนํานํ้าผึ้งมาถวายพระสําหรับเป็นส่วนผสมหลัก ในการปรุงยารักษาโรค โดยจัดขึ้นในวันขึ้น ๑๕ คํ่า เดือน ๑๐ จากการค้นคว้าประวัติประเพณีดังกล่าวทาง อินเตอร์เน็ต และหาตัวอย่างการดําเนินกิจกรรมจากวัด ต่าง ๆ เพื่อนํามาออกแบบให้เหมาะกับวัดภูเขาทองและ ศึกษาพระสูตรส่วนที่เกี่ยวกับการถวายนํ้าผึ้ง เนื่องจาก นํ้าผึ้งเป็นของดีตั้งแต่สมัยพุทธกาล นอกจากนี้ในวันงาน ท่านได้แสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง การถวายนํ้าผึ้ง พร้อมทั้งจัดผ้าป่า ซึ่งผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ การปฏิบัติ
๕๗
๕๘
“ทาน ศีล ภาวนา” โดยรู ้จักการให้ทานจากการแบ่งปัน ผ่านการบริจาคเงินผ้าป่า การรับศีลและรักษาศีลเพื่อฝึกปฏิบัติให้อยู ่ในศีลธรรม รวมถึงการฝึกภาวนาจากการ สวดมนต์และฟังธรรมเทศนา
อีกหนึ่งประเพณีที่ได้รับการรื้อฟื้นเพื่อสอนธรรม คือ “ประเพณีไหว้วัด” ซึ่งหายไปจากท้องถิ่น ในอดีต ที่ชาวบ้านใช้การสัญจรทางนํ้าเป็นหลัก ชาวบ้านจะนัดกัน พายเรือไปทําบุญและถวายผ้าป่าตามวัดต่าง ๆ พร้อม ทั้งเล่นเพลงเรือกัน ได้ทั้งบุญและความสนุกสนาน สามัคคี โดยเริ่มตั้งแต่วันแรม ๑ คํ่าเดือน ๑๑ กําหนด ไล่คํ่าไปทีละวัด ซึ่งวัดภูเขาทองจะตรงกับวันแรม ๓ คํ่า เดือน ๑๑ ถึงแม้ในปัจจุบันไม่มีการพายเรือ แต่ทางวัด ได้ปรับกิจกรรมให้เหมาะสม โดยยังคงความสําคัญใน การมาทําบุญ และเพิ่มเติมกิจกรรมในการเรียนรู้ธรรม เช่น การแทรกเรื่องทําบุญให้เทวดา การบวงสรวง ทอดผ้าป่า และการแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่น การ แสดงดาบศิลปะการต่อสู้ การรื้อฟื้นประเพณีที่สื่อสาร ธรรมทั้ง ๒ ประเพณี เป็นกระบวนการที่ช่วยฟื้นฟู บทบาททางธรรมของวัดภูเขาทองให้มีความร่วมสมัย สามารถสื่อสารกับผู้มาร่วมงานทุกเพศทุกวัยได้เป็น อย่างดี
(๒.๓.๓) งานสงเคราะห์ชุมชน-สังคม จากความ หลักคิดที่ว่า ในวันหนึ่ง ๆ พระสงฆ์ต้องทําประโยชน์ให้ ชาวบ้าน เพราะพระดํารงชีพด้วยการฉันข้าวชาวบ้านและความยึดมั่นในหลักการทําทานของเจ้าอาวาส การฟื ้นฟูวัดภูเขาทองจึงให้ความสําคัญกับการนําทักษะ
ความชํานาญด้านช่างของเจ้าอาวาสและพระลูกวัด มาช่วยสร้างประโยชน์และสงเคราะห์ให้แก่ชุมชนโดย ไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ วัดภูเขาทองจึงมีความสัมพันธ์ อันดีและประกอบกิจเกื้อกูลแก่ชุมชนรอบวัดอยู่เสมอ อย่างแรกได้แก่ การซ่อมแซมของชํารุด โดยไม่คิดค่า ใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็น กระติกนํ้าร้อน เย็บหมวก หรือซ่อม รถจักรยานยนต์ เป็นต้น เป็นการอนุเคราะห์แก่ผู้คน รวมทั้งได้ช่วยส่งเสริมธรรมะทางอ้อมให้รู้จักการใช้ของ อย่างรู ้คุณค่า ไม่ฟุ ่มเฟือย ไม่สร้างหนี้สิน เจ้าอาวาสมองว่า สิ่งของที่ผู้คนนํามาให้ซ่อมนั้นล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ทางจิตใจ ถึงแม้จะมีสภาพเก่าแต่คนยังเลือกที่จะซ่อม ให้ใช้งานได้แทนการซื้อใหม่ โดยพระจะซ่อมและให้ นํากลับไปใช้จนกว่าของจะหมดสภาพและซ่อมไม่ได้อีก ต่อไป
นอกจากนี้ ยังมีการสงเคราะห์ยาสมุนไพร ที่เกิดจาก ความสนใจส่วนตัวของเจ้าอาวาส ที่ได้จากการศึกษา ตําราและปรุงยา การทํายาสมุนไพรของท่านถือเป็นการ ให้ทาน ๓ อย่าง ได้แก่ ให้ทานในเรื่องเวลาที่ต้องสละ เพื่อปรุงและดูแลยาอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย ๑ ปี ทาน ปัจจัยที่ใช้ซื้อวัตถุดิบในการทํายา และทานที่ให้ยาแก่ ผู้ที่ต้องการโดยไม่คิดเงิน ผู้รับรู้กระบวนการทํายาของ ท่านจะพบว่า มีธรรมะสอดแทรกอยู่ด้วย ตั้งแต่ความ เคารพในตัวยา ด้วยการ “พลี” หรือการขอต้นไม้ใบหญ้า ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมาทํายา คํานึงถึงสุขภาพของคนกินยา ด้วยการดูแลความสะอาดตั้งแต่การใช้บรรจุภัณฑ์ที่มี สารเคมีน้อยที่สุด ใช้นํ้ากรองอย่างดี และการทําความ
๕๙
๖๐
สะอาดวัตถุดิบทุกชนิด ตลอดจนการสร้างความ ศักดิ์สิทธิ์ให้ตัวยาในตลอดกระบวนการ ตั้งแต่การพลี โดยภาวนาให้คุณสมบัติของยาช่วยบรรเทาโรคให้แก่ ผู้คน การท่องมนต์พุทธคุณเพิ่มพลังฤทธิ์ยาในช่วงผสม ผสานวัตถุดิบ การวางถังยาในห้องสวดมนต์เพื่อรับมนต์ อย่างสมํ่าเสมอ และก่อนการกินยานั้น ๆ ผู้รับยาต้อง ภาวนาบูชาพุทธคุณให้ฤทธิ์ยาช่วยบรรเทาโรค และใน กระบวนการแจกจ่ายยา เจ้าอาวาสจะสอบถามอาการ และเรื่องราวในชีวิตเพื่อพิจารณาว่าเป็นโรคทางกรรม หรือโรคทางกาย ซึ่งหากเป็นโรคทางกรรมที่ตัวยาไม่ สามารถรักษาได้ ท่านจะแนะนําให้สร้างความดีคืนและ ทํากัมมัฏฐาน เพื่อบรรเทาโรค แต่ถ้าเป็นโรคทางกาย ท่านจะสังเกตดูความต้องการว่ามากเพียงพอกับคุณค่า ของยาหรือไม่ การสงเคราะห์สังคมทั้งการซ่อมแซม สิ่งของและการทํายารักษาโรค จึงเป็นการเผยแผ่ธรรม ตามบทบาทของพระสงฆ์ไปพร้อมกันด้วย
๓.๒ วัดป่าสุขสมบูรณ์ : หายทุกข์กาย สุขใจ ได้ธรรม
กรณีของวัดป่าสุขสมบูรณ์นั้น เริ่มต้นกระบวนการฟื ้นฟูคล้ายกับ วัดภูเขาทองคือ เริ่มต้นจากการนับหนึ่งใหม่ เนื่องจากวัดหยุดนิ่ง บทบาทไม่ว่าบทบาทการพัฒนาจิตวิญญาณ หรือบทบาทการเกื้อกูล สังคมไปนานนับสิบปี ก่อนเข้าสู่ยุคของการฟื้นฟูในปัจจุบันซึ่งเริ่ม ในพ.ศ. ๒๕๔๘ ยิ่งไปกว่านั้นคือวัดป่าสุขสมบูรณ์หรือวัดโคกพริกใน อดีต ยังเคยเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือ มีผู้คนมาวัดจํานวนมากจาก การใบ้หวยได้แม่นยําของพระบางรูปในวัด จนกระทั่งความแม่นยํา
ลดหายไป วัดก็ร้างรา แต่อาศัยที่พุทธศาสนิกชนส่วนหนึ่งของ บ้านโคกพริกมีความศรัทธาแก่กล้าในพระศาสนา จึงอุตสาหะไม่ย่อท้อ ในการแสวงหาพระนักพัฒนาที่จะเข้ามาฟื ้นฟูบทบาทของวัดให้เป็นที่ พึ่งทางจิตวิญญาณและทางสังคมของชุมชน จนกระทั่งสามารถนิมนต์ พระอธิการสมบูรณ์ วิสุทฺโธ เข้ามาเป็นเจ้าอาวาสและดําเนินการ ฟื ้นฟูวัด โดยยึดหลักความร่วมมือร่วมใจของชาวชุมชนฟื ้นฟูวัดให้เป็น ศูนย์กลางชุมชน
ท่านเริ่มต้นทํางานด้วยการสร้างทัศนคติที่ดีเป็นการสร้างขวัญ กําลังใจแก่ชาวบ้าน โดยเสนอให้เปลี่ยนชื่อจากสํานักสงฆ์หรือ วัดโคกพริกเป็นวัดป่าสุขสมบูรณ์ เนื่องจากบริเวณรอบด้านมีป่าไม้ สุขกาย มีธรรมะช่วยให้สุขใจ รวมเป็นสุข ฟังแล้วไพเราะ ชาวบ้านเห็น สมควรจึงมีมติเห็นชอบให้เปลี่ยนชื่อบ้านโคกพริกเป็นบ้านสุขสมบูรณ์ ด้วยในคราวเดียวกัน แต่ในทางราชการยังใช้ว่า บ้านโคกพริก
เจ้าอาวาสเริ่มฟื ้นฟูบทบาทวัดในช่วงเวลา ๑๕ ปี ด้วยกระบวนการ ทํางานแบบเดียวกับวัดที่เป็นกรณีศึกษาที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะเหมือนกับวัดลานสัก คือ มีการกําหนดแผนการพัฒนาขึ้น มาอย่างชัดเจนเพื่อเป็นเป้าหมายของการทํางาน จํานวน ๙ ข้อ แบ่งออกได้เป็น ๓ แผน คือ กลุ่มแผนงานสร้างคน แผนงานสร้าง ถาวรวัตถุ และแผนงานสืบทอดการแพทย์ภูมิปัญญา โดยในแต่ละ แผนงานจะกําหนดกิจกรรมรองรับเพื่อดําเนินการ ดังนี้
๑) กลุ่มแผนงานสร้างคน
มีเป้าหมายเพื่อให้มีบุคคลเป็นกลไกผลักดันการฟื้นฟูบทบาท ของวัดทั้งด้านการพัฒนาจิตวิญญาณและการเกื้อกูลสังคม ด้วยการ ส่งเสริมพระภิกษุสามเณรให้ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ตามสํานัก เรียนที่มีคุณภาพและหลากหลายแนวทาง เพื่อเพิ่มเติมความรู ้ พัฒนา
๖๑
๖๒
ความสามารถของพระลูกวัดในระยะยาว พร้อมปลูกฝังการทํางาน เชิงรุกให้พระในงานพัฒนาชุมชน พระสงฆ์ในปกครองของเจ้าอาวาส จึงได้รับการสนับสนุนให้ไปเล่าเรียนต่างถิ่น จนกระทั่งบางช่วงเวลาที่ วัดมีเจ้าอาวาสจําพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว จนถึงช่วงปิดภาค พระสงฆ์ ที่ไปเล่าเรียนต่างถิ่นจึงจะเดินทางกลับมา
ในขณะเดียวกันก็จัดปฏิบัติธรรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ให้กับคฤหัสถ์ ส่งเสริมอุบาสกอุบาสิกาให้ร่วมกันรักษาอุโบสถศีล โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมาย ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อมุ่งเน้นให้ ผู้สูงอายุได้มีโอกาสเข้าร่วมรักษาอุโบสถศีลเป็นการสร้างบุญบารมี ในบั้นปลายของชีวิต โดยเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง และกลุ่มเยาวชน เพื่อมุ่งเน้นให้เยาวชนได้มีโอกาสเข้าร่วมรักษาอุโบสถศีล โดยสร้าง ความเข้าใจให้รู้ว่าคนทุกวัยสามารถเข้าร่วมรักษาอุโบสถศีลได้
พร้อมกันนั้น มีการจัดหลักสูตรใหม่ ๆ เพื่ออบรมกลุ่มเป้าหมาย ได้หลากหลาย ได้แก่ หลักสูตรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลักสูตรผู้นํา หลักสูตรปฏิบัติธรรม หลักสูตรศาสนพิธี หลักสูตรบูรณาการ และ หลักสูตรคนของแผ่นดิน ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามยุค สมัยและกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม ที่จําแนกกลุ่มหลักเป็น ๓ กลุ่ม คือ หน่วยงานราชการ ข้าราชการครู และกลุ่มนักเรียน โดยทุกหลักสูตร ออกแบบให้มีการสอดแทรกศีลธรรม การปฏิบัติธรรม การใช้ปัญญา ในการแสวงหาคําตอบ เช่น ปลูกฝังเรื่องเป้าหมายชีวิตแก่นักเรียน ให้รู้ว่าเรียนไปเพื่ออะไรให้คุ้มค่ากับการเสียเวลาเสียเงิน และการ เสี่ยงภัยจากการเดินทางไปเรียน ด้วยการสร้างแรงบันดาลใจให้คิดถึง เป้าหมายตลอดเวลา และพัฒนาให้เยาวชนเป็นผู้มีจิตอาสา ช่วยงาน บริการสังคม และให้ทุนการศึกษาเข้ามาเสริมเพื่อสงเคราะห์เด็กดีที่ ยากจนด้วย
สุดท้ายของแผนงานนี้คือกิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมให้ชาวชุมชนได้แสดงความจงรักภักดีด้วยการปฏิบัติธรรม โดยใช้วโรกาสพิเศษในวันสําคัญของสถาบัน อาทิ กิจกรรมงดดื่มเหล้า เข้าพรรษาถวายเป็นพระราชกุศล โครงการปฏิบัติธรรมถวายเป็น พระราชกุศล โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมตามแนววิถีพุทธ เป็นต้น
๒) กลุ่มแผนงานสร้างถาวรวัตถุ
ถึงแม้ว่าเจ้าอาวาสจะมุ่งเน้นการสร้างและพัฒนาคน แต่การ พัฒนาสัปปายะทางกายภาพท่านก็ให้ความสําคัญเช่นกัน โดยเน้นการ สร้างถาวรวัตถุให้เหมาะสมกับแผนพัฒนา โดยตั้งเป้าหมาย สู ่การเป็น วัดระดับแนวหน้าภายใน ๑๕ ปี โดยดําเนินการสร้างอาคารสถานที่ และปรับภูมิทัศน์ให้วัดมีสัปปายะเหมาะแก่การประกอบศาสนพิธีและ การพักผ่อนหย่อนใจมิใช่กับชาวบ้านภายในชุมชนเท่านั้น แต่ให้ สามารถรองรับกลุ่มผู้มาจากภายนอกชุมชนด้วย เนื่องจากการ คมนาคมในปัจจุบันมีความสะดวกมากขึ้น
๓) แผนงานด้านการแพทย์ภูมิปัญญาวัดป่าสุขสมบูรณ์
แผนงานนี้เกิดขึ้นภายหลังใน พ.ศ. ๒๕๕๖ เกิดขึ้นหลังจากการ อาพาธด้วยโรคไส้ติ่งแตกของท่านเจ้าอาวาสใน พ.ศ.๒๕๕๕ ทําให้ท่าน พิจารณาเห็นความทุกข์จากการเจ็บป่วย แล้วคิดหาสาเหตุและหนทาง ดับทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ โดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น และการ ค้นคว้าด้วยตนเองทางอินเตอร์เน็ต อิงกับหลักการวิทยาศาสตร์การ แพทย์ในหลักกายวิภาคศาสตร์ พัฒนาความรู้จนกระทั่งเชี่ยวชาญ ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เกิดเป็นศูนย์การแพทย์ภูมิปัญญาของ
๖๓
วัดป่าสุขสมบูรณ์ในปัจจุบัน ดําเนินการรักษาโรคเกี่ยวกับกระดูก เส้นเอ็น พังผืด หลอดเลือดอุดตัน ฯลฯ จากการดําเนินงานมาได้ ประมาณ ๔ ปี มีผู้เข้ารับการรักษาประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน มีแพทย์ ภูมิปัญญา ๑๑ รุ่น รวมทั้งหมดประมาณ ๒๐๐ คน ปัจจุบันนอกจาก ที่วัดป่าสุขสมบูรณ์ที่เป็นศูนย์กลางแล้ว มีอีก ๓ สาขา คือที่วัดหาดใหญ่ สิตาราม จ.สงขลา, วัดอุทกวราราม จ.ร้อยเอ็ด และสาขาบางบัวทอง จ.นนทบุรี ส่วนใหญ่สาขาจะขยายไปตามเครือข่ายของวัด
ความโดดเด่นของศูนย์การแพทย์ภูมิปัญญานี้จะคล้ายคลึงกับ สถานีวิทยุฯวัดนายโรง คือเป็นกลไกสําคัญของการฟื้นฟูบทบาทวัด ด้วยการเชื่อมโยงสอดแทรกหลักธรรมเข้ากับเรื่องความเจ็บป่วย มีการ ออกแบบกิจกรรมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการรักษา ไม่ว่า ผู้ป่วยหรือแพทย์พื้นบ้านที่ให้การรักษาต้องอิงกับการปฏิบัติธรรม คุณธรรม เช่น แพทย์ภูมิปัญญาเองเมื่อมาถึงสถานที่รักษาก็จะ สวดมนต์ไหว้พระที่โต๊ะหมู่บูชาที่จัดไว้ ตัวผู้ป่วยเองก็ต้องสวดมนต์ ทุกครั้งก่อนรับการรักษา บทสวดมนต์ที่ใช้ก่อนรักษา พระอธิการ สมบูรณ์เล่าว่า คัดเลือกมาจากหลายบท โดยมากนํามาจากคาถาพระปริตร เนื่องจากเป็นคาถาที่คุ ้มครองป้องกันจากสิ่งไม่ดี ส่วนบทแปล ท่านก็เรียบเรียงขึ้นใหม่เองเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเหมาะสม ต่อการใช้งาน บทสวดมนต์ที่เจ้าอาวาสเรียบเรียงขึ้นนี้ มีเนื้อหากล่าว ถึงการอุทิศบุญกุศลให้ผู้มีอุปการะและเจ้ากรรมนายเวร เพื่อขอ อโหสิกรรมและให้การรักษาได้ผลดี สอดแทรกธรรมในเรื่องหลักกรรม บาปบุญคุณโทษ และการกําหนดให้ผู้ป่วยได้สวดมนต์ แผ่เมตตาก่อนการรักษาก็ถือเป็นการใช้หลักธรรมมายึดเหนี่ยวจิตใจ สร้างความ สงบ ลดความว้าวุ ่น เป็นการเยียวยาในเบื้องต้น อีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่
๖๔
เชื่อว่าการได้รับการรักษาในวัดจะช่วยขจัดปัดเป่าเภทภัยทุกข์ร้ายให้ หายคลายได้ ในระหว่างการรักษามีการเปิดเสียงบรรยายธรรมไปด้วย
ต่อมาเมื่อขั้นตอนการรักษาเป็นมาตรฐานมากขึ้น จากการศึกษา วิจัยของเจ้าอาวาสและคณะในโครงการวิจัย : การใช้หลักพุทธธรรม ในการเสริมสร้างคุณภาพการรักษาสุขภาพด้วยวิธีการตอกเส้นของ ชุมชนสุขสมบูรณ์ ต.สองชั้น อ.กระสัง จ.บุรีรัมย์ จากทุนของฝ่ายวิจัย เพื่อท้องถิ่น สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พ.ศ. ๒๕๕๙ และโครงการวิจัยพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่นด้วย หลักธรรมในพระพุทธศาสนาแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกับ วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ และสกว. มีผลให้กิจกรรมของศูนย์ได้รับ ความสนใจมากยิ่งขึ้น เกิดเครือข่ายทั้งบุคคลที่มารับการรักษาและ เครือข่ายแพทย์พื้นบ้าน มีการเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลจังหวัดบุรีรัมย์ จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่พบว่า ผู้ที่หายป่วยจะกลับมาสนับสนุนวัด ในทางใดทางหนึ่ง เช่น บริจาคทรัพย์เพิ่มเติมจากค่ารักษาที่ให้แพทย์ และบํารุงศูนย์การแพทย์กับวัด นําข้าวสารอาหารแห้งมาให้โรงครัว เกื้อกูลแก่ผู้เจ็บป่วยที่ยากจน และได้เรียนรู้ธรรมจากกระบวนการ รักษาที่ออกแบบไว้ด้วย เนื่องจากความเจ็บป่วยเป็นเนื้อหาที่เชื่อมโยง ไปสู่การเรียนรู้สัจธรรมของชีวิตได้โดยง่าย
บทบาทของศูนย์การแพทย์ภูมิปัญญา จึงสามารถฟื้นฟูบทบาท ของวัดได้ทั้งด้านการพัฒนาจิตวิญญาณและให้การสงเคราะห์สังคมไป ได้พร้อมกัน โดยเฉพาะเมื่อคาดการณ์ได้ว่าโรคที่ศูนย์ฯให้การรักษา เป็นโรคร่วมสมัยที่มีผู้เจ็บป่วยทุกข์ทรมานอยู่เป็นจํานวนมากใน ทุกเพศทุกวัยทุกสายอาชีพทั้งในปัจจุบันและอนาคต ก็เป็นช่องทาง ของการฟื้นฟูบทบาทของวัดในเมือง กึ่งเมืองฯได้เป็นอย่างดี
๖๕
๖๖
นอกจากนี้ ศูนย์การแพทย์ภูมิปัญญาของวัดป่าสุขสมบูรณ์ ยังเป็นการสงเคราะห์ด้านอาชีพแก่คนในชุมชนได้ด้วย เนื่องจาก ผู้เข้ามาเรียนเป็นแพทย์ภูมิปัญญาเป็นคนในชุมชน บางคนเป็น เกษตรกรมาก่อน แต่ที่ยิ่งไปกว่าการฝึกอาชีพ การเรียนเพื่อฝึกฝน เป็นแพทย์ภูมิปัญญา คือกระบวนการอบรมบ่มเพาะบุคคลให้มี คุณธรรมเข้าถึงจิตวิญญาณ เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เหมือนดัง บทบาทสําคัญประการหนึ่งของวัดในอดีตที่ผ่านมาด้วย เนื่องจาก เจ้าอาวาสจะออกแบบและให้การอบรมเพื่อเป้าหมายนี้ เช่น กิจวัตร ที่สําคัญของผู้ที่เข้าฝึกอบรมเป็นแพทย์พื้นบ้าน คือการตื่นทําวัตร เช้าเย็น เดินจงกรมและนั่งสมาธิ หากวันที่เข้ารับการฝึกอบรมตรงกับ วันพระก็จะได้ร่วมทําบุญตักบาตรพร้อมกัน หลักคุณธรรมที่ใช้เป็น แนวทางในการรักษาผู้ป่วยของวัดป่าสุขสมบูรณ์ ตามหลักจรรยา วิชาชีพของผู ้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย โดยนําหลักจรรยาบรรณ มาใช้กับหลักพรหมวิหาร ๔ เพื่อใช้ในการดําเนินชีวิตและการอยู่ร่วม กับผู้อื่น อันได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา และมีข้อห้าม อย่างเคร่งครัดสําหรับแพทย์ภูมิปัญญาคือ การใช้ยาเสพติด สุราของ มึนเมา พร้อมกับการใช้หลักธรรมอิทธิบาท ๔ ในการพัฒนาตนเอง ได้แก่
๑. ฉันทะ มีความพอใจรักใคร่ในวิชาชีพแพทย์ภูมิปัญญา ตั้งใจ จริงที่จะมาศึกษาวิชาความรู้และศรัทธาในวิชาแพทย์ การเป็นแพทย์
๒. วิริยะ ความเพียรพยายามในการศึกษาวิชา ไม่ย่อท้อต่อ ปัญหาและอุปสรรค ซึ่งแน่นอนแพทย์ภูมิปัญญาของศูนย์ ฯ ส่วนใหญ่ มาจากชาวชุมชนที่มีอาชีพเกษตรกร นอกจากจะต้องใช้ความตั้งใจใน การเรียนภาคทฤษฎี การทําความเข้าใจในระบบต่าง ๆ ยังต้องอาศัย การฝึกฝนจากการรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างมากด้วย
๓. จิตตะ การควบคุมจิตใจให้แน่วแน่ ฝักใฝ่ ประคองความมุ ่งมั่น จนไปถึงเป้าหมาย ในการรักษาที่ต้องใช้เวลาถึง ๒ ชั่วโมง หลายครั้ง ก็นานกว่านั้น การนอนเฝ้าคนป่วยที่อาการหนัก คอยดูแลทุกอย่าง รักษาให้ทุกชั่วโมง
๔. วิมังสา การไตร่ตรองหรือทดลอง มีการวางแผน วัดผล คิดค้น วิธีแก้ไข ปรับปรุง ความรู้ แพทย์สามารถแนะนําคนไข้ถึงพฤติกรรมที่ ทําให้เกิดโรคหรือเป็นอุปสรรคต่อการรักษา
กิจกรรมในศูนย์การแพทย์ฯ สามารถพัฒนาจิตใจของผู้ให้การ รักษาในด้านความเมตตา กรุณา ต่อผู้ที่เข้ามารักษา มีจิตใจที่อยาก สงเคราะห์คนที่มีความทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ว่ายากดีมีจน ในโอกาสวันสําคัญหรืองานบุญก็ให้การรักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย การสงเคราะห์คนไข้ที่ยากจน ตลอดจนการรักษาให้พระภิกษุสามเณร และแม่ชีโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนั้น การทํางานในวัดเอื้อให้ แพทย์ภูมิปัญญาสามารถพัฒนาตนในด้านศีล สมาธิ ปัญญา โดย เจ้าอาวาสวางแนวทางการประพฤติตนของแพทย์ภูมิปัญญาไว้ให้เป็น ผู้ระวังตนและดํารงตนตามทํานองคลองธรรม การเปลี่ยนแปลง บทบาทมาเป็นแพทย์ภูมิปัญญาได้เปลี่ยนแปลงใจของหมอหลายคน ให้มีความสงบเย็นมากขึ้น แพทย์ภูมิปัญญาหลายคนทุ ่มเทในการรักษา ให้คนไข้อย่างละเอียดแม้ว่าบางครั้งจะต้องใช้เวลามากกว่าครึ่งวัน โดยไม่สนใจว่า เมื่อรักษาคนไข้ได้น้อยคน ก็จะได้รับเงินน้อยไปด้วย
นอกจากนี้ วัดซึ่งเป็นพื้นที่รักษาอาการป่วย และเป็นที่พักของ ผู ้ป่วยกับญาติ ได้กลายเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ระหว่าง ผู้ป่วยด้วยกันหรือญาติที่พาผู้ป่วยมารับการรักษา มีการสอบถาม อาการของโรค ความทุกข์ทรมาน การรักษาพยาบาลที่ผ่านมา นอกจากนั้นมีการแบ่งปันทุกข์สุข รวมไปถึงเคล็ดลับการดูแลรักษา
๖๗
๖๘
สุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ ด้วย อีกทั้งในระหว่างรักษาตัวนี้ ยัง เอื้อให้เกิดการพึ่งพาอาศัยกัน ในโรงครัวของวัดจะมีข้าวปลาอาหารที่ แม่ครัวอาสาสมัครของวัดจัดเตรียมไว้ให้ และมีอุปกรณ์กับวัตถุเครื่อง ปรุงอาหารสําหรับผู ้ที่จะทํากินเอง หากมีผู ้ป่วยที่ไม่สามารถเดินมากิน อาหารได้เองจากที่พักซึ่งอยู ่ห่างจากโรงครัว ก็จะมีการตักอาหารไปให้ กินทุกมื้อ ผู ้ที่เคยเดินทางมารับการรักษาแล้วมักจะขนข้าวสาร ผักสด หรือเครื่องเทศ มาถวายวัดเพื่อใช้เลี้ยงดูคนในวัดต่อไป การพักอาศัย ในวัดจึงเปรียบดังครอบครัวใหญ่ ที่แต่ละคนมีความเอื้ออารี แบ่งปัน และเมตตาต่อผู้ที่ร่วมอาศัยอยู่ด้วย เป็นกัลยาณมิตร ที่พร้อมจะช่วย เหลือกันและกัน
แม้ว่าการออกไปศึกษาเล่าเรียนธรรมในต่างถิ่น มีผลให้วัดคง เหลือพระน้อยรูป บางครั้งมีเพียงเจ้าอาวาสเท่านั้น แต่การฝึกฝนอบรม แพทย์ภูมิปัญญาไทยอย่างเข้มงวดจริงจัง ให้อยู่ในศีลในธรรม ปฏิบัติ สัมมาอาชีวะอย่างมีคุณธรรม ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ก็มีผลในการ สร้างความศรัทธาแก่สาธุชนคนไข้และญาติในบทบาทการพัฒนา จิตวิญญาณบุคคลของวัดและการเกื้อกูลแก่ชุมชนได้ทางหนึ่งด้วย
๓.๓ วัดลานสัก : คืนภาพลักษณ์วัดเป็นผู้ให้ มิใช่ผู้เอา
กระบวนการปรับตัวเพื่อฟื้นฟูบทบาทของวัดลานสักปรากฏ ชัดเจนที่สุดในช่วงของเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูอุทัยสุตกิจ (ดร.) ซึ่งเข้ารับตําแหน่งตั้งแต่พ.ศ. ๒๕๕๒ ก่อนหน้านี้เจ้าอาวาสแต่ละ รูปได้มีการพัฒนาวัดลานสักตลอดมา โดยเน้นการพัฒนาด้านสิ่ง ปลูกสร้างต่างๆ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับวัด เอื้ออํานวยต่อ การทําหน้าที่เผยแผ่ศาสนา แต่ด้วยชาวบ้านรอบวัดมีอาชีพหลัก
คือ เกษตรกรรม มิได้มีฐานะดี การพัฒนาวัดในด้านวัตถุจึงเป็นไปแบบ ช้า ๆ ยิ่งในช่วงของการเปลี่ยนแปลงความเป็นเมือง ประชาชนต้อง ดิ้นรนเพื่อความอยู ่รอดของตนเองและครอบครัว ทําให้มาวัดเพียงแค่ ทําบุญในวันสําคัญทางศาสนา งานบุญประเพณี และเข้าร่วมพิธีกรรม ทางศาสนาเท่านั้น การเข้าวัดและมีส่วนร่วมในการดูแลวัดน้อยลง มีผลให้สภาพแวดล้อมของวัดไม่ได้รับการพัฒนาและดูแลเท่าที่ควร ศาลาการเปรียญซึ่งมีเพียงหลังเดียว ชั้นล่างมีนํ้าท่วมขัง และเต็มไป ด้วยเห็บหมัดของสุนัข วัดลานสักจึงเป็นสถานที่ไม่เอื้อประโยชน์ใน การทํากิจกรรมทางสังคมอื่นๆ จนกระทั่งในช่วงที่เจ้าอาวาสท่าน ปัจจุบันเข้ารับตําแหน่ง
กระบวนการฟื้นฟูวัดของเจ้าอาวาส ดําเนินการอย่างเป็นระบบ ตามหลักการบริหารสมัยใหม่เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ร่วมสมัย ดังที่ เจ้าอาวาสเรียกว่า การดําเนินงาน “องค์กรอย่างมืออาชีพ” โดยวัดมี การกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์อย่างการบริหาร สมัยใหม่ วิสัยทัศน์ของวัดลานสักคือ “สนับสนุน ส่งเสริมและผลักดัน ศีลธรรม วัฒนธรรมขององค์กรพระพุทธศาสนาให้เป็นองค์กรต้นแบบ ด้านการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขเป็นองค์กรคุณภาพภายใต้แนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง” ส่วนพันธกิจของวัดลานสักเพื่อไปสู่วิสัยทัศน์ตามที่มุ่งหมาย คือ ๑. กําหนดการบริหารจัดการกลยุทธ์ จัดการงานขององค์กรอย่าง มืออาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล นโยบายของสํานักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๒. วิเคราะห์แนวทางการวางแผน การประสานงานการจัดทํา แผนปฏิบัติการ ในงานองค์กรอย่างมืออาชีพเพื่อให้สามารถดําเนินงาน ร่วมกับหน่วยงานภายใน ภายนอกที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
๖๙
๗๐
๓. ศึกษางานด้านการให้บริการ (service) ด้านให้คําแนะนํา (advise) ด้านให้การสนับสนุนประสิทธิผลนําไปสู่การปฏิบัติได้
๔. นําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้พัฒนา คุณภาพการปฏิบัติงาน คุณภาพชีวิต สภาพแวดล้อมในองค์กร สร้างสังคมแห่งภูมิปัญญา การเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร ซึ่งนําไปสู่การ บริการเพื่อนร่วมงาน บริการพุทธศาสนิกชน
พร้อมทั้งกําหนด ๖ ยุทธศาสตร์หลัก เพื่อให้การดําเนินงาน “องค์กรอย่างมืออาชีพ” สามารถดําเนินไปอย่างมีทิศทางที่ชัดเจน ตอบสนองนโยบาย และส่งผลการดําเนินงานให้เกิดเป็นรูปธรรม ยุทธศาสตร์การดําเนินการ ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ ๑ ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ สามัคคี ปฏิบัติงานเป็นทีม ยิ้มแย้ม แจ่มใส และพร้อมเสมอสําหรับการให้บริการ
ยุทธศาสตร์ ๒ ส่งเสริม พัฒนาให้บุคลากรสํานักงานวัดสามารถ เข้าถึงบริการต่าง ๆ ของหน่วยงาน รวมถึงการปฏิบัติงานโดยนํา เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเป็นเครื่องมือดําเนินการ
ยุทธศาสตร์ ๓ สร้างโอกาสโดยการมีส่วนร่วมของสาธุชนทั่วไป ทุกระดับในการดําเนินกิจกรรมของหน่วยงาน
ยุทธศาสตร์ ๔ สนับสนุนและพัฒนาการสร้างพันธมิตรและ เครือข่ายในระดับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
ยุทธศาสตร์ ๕ เร่งรัดการสร้างกิจกรรมหรือโครงการที่มุ่งเน้น งานด้านศีลธรรม วัฒนธรรม “เศรษฐกิจพอเพียง” และมีความยึดโยง กับงาน “องค์กรอย่างมืออาชีพ” เพื่อให้เกิดค่านิยมร่วมทั่วทั้งองค์การ
ยุทธศาสตร์ ๖ ส่งเสริม สนับสนุนข้อมูลข่าวสารในการ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานด้าน “องค์กรอย่างมืออาชีพ”
แผนการดําเนินงานของวัดนี้ เจ้าอาวาสได้แนวคิดมาจากการ ออกไปศึกษาวัดต่างๆ ที่ประสบความสําเร็จในการพัฒนาวัด โดยใช้วิธี การออกไปศึกษาทั่วทิศทางที่มีวัดซึ่งโดดเด่น หลังจากมีการกําหนด นโยบายบริหารงานของวัดแล้ว เจ้าอาวาสได้มีการฟื ้นฟูกิจกรรมต่าง ๆ ของวัดทั้งกิจกรรมที่วัดเคยทําอยู่ และคิดค้นกิจกรรมใหม่ ๆ ที่วัดยัง ไม่เคยทํา โดยแต่ละกิจกรรมอยู่บนหลักการ หน้าที่ของพระสงฆ์ที่ พึงปฏิบัติเพื่อประชาชน กิจกรรมของวัดจึงอยู ่บนพื้นฐานของบทบาท หลักคือ การเผยแผ่พุทธศาสนา และบทบาทรองคือการเกื้อกูลสังคม
กิจกรรมในบทบาทหลักของวัด เจ้าอาวาสมุ่งการฟื้นฟู ให้ประชาชนเข้าใจถึงแก่นแท้ของศาสนามากกว่าการเข้าวัดเพียงเพื่อ มาทําบุญ โดยให้ความสําคัญเป็นอย่างมากแก่กิจกรรมวิปัสสนา กัมมัฏฐาน ที่ท่านมักจะให้คนที่เข้ามาที่วัดได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม สมํ่าเสมอ ในทุกกิจกรรมของวัดจะต้องมีการสอดแทรกการปฏิบัติ ธรรมเป็นประจํา เพื่อให้ประชาชนมี ศีล สมาธิ และปัญญา เป็นแนวทางในการดํารงชีวิต ในขณะเดียวกันก็ฟื้นฟูกิจกรรมทาง สังคมด้วยงานเชิงรุกในงานสาธารณะสงเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อสร้างภาคี เครือข่ายให้กับวัด และช่วยเหลือเกื้อกูลประชาชนทั้งทางธรรม ทางโลก อันเป็นการทําประโยชน์คืนกลับสู่สังคมของวัด
บทบาทในประการนี้ได้ช่วยให้สังคมปรับเปลี่ยนทัศนะของ สาธารณชนที่มีต่อวัดในทิศทางบวกจากที่มีหลายคนมองว่าวัดมักเป็น ผู้รับมากกว่าผู้ให้ แต่การฟื้นฟูบทบาททางสังคมของวัดลานสักทําให้ ประชาชนประจักษ์ว่า วัดไม่ได้เป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว แต่วัดก็ สามารถเป็นผู้ให้ได้ ให้ทั้งธรรมะและการสงเคราะห์สังคม ทั้งวัดและ ชุมชนจึงต่างพึ่งพาอาศัยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน หน่วยงานและ พุทธศาสนิกชนได้รู้จักวัดลานสักมากขึ้นอย่างกว้างขวาง เกิดความ
๗๑
๗๒
ศรัทธาทั้งต่อวัดและบุคลากรของวัด ความศรัทธาที่เกิดขึ้นทําให้ ผู้คนใกล้ไกล เข้ามาทําบุญ ปฏิบัติธรรม และร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่วัด จัดขึ้น บทบาททางสังคมของวัดลานสักจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือการ ประชาสัมพันธ์ ให้วัดเป็นที่รู ้จักในฐานะของวัดที่เป็นสํานักปฏิบัติธรรม ที่ส่งเสริมสุขภาวะทางกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณให้กับประชาชน
รูปธรรมของกิจกรรมการพัฒนาจิตวิญญาณตามบทบาทหลัก ของวัดลานสักที่ดําเนินการเพื่อฟื้นฟูวัดมี ๒ ส่วน
๑. กิจกรรมในส่วนตั้งรับที่วัด คือ การทําบุญทุกวันพระและวัน สําคัญทางศาสนา ด้วยการสอนหลักธรรมให้ผู้เข้าร่วมให้เข้าใจความ หมายทางธรรมของประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ การอุปสมบทนาคหมู่ งานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นต้น ที่สําคัญที่สุดซึ่งก่อเกิดความ ศรัทธาและเรียนรู้ธรรมในวัด คือการเรียนรู้วิถีชาวพุทธจากพระสงฆ์ ในวัดลานสัก เนื่องเจ้าอาวาสให้ความสําคัญสูงกับการฝึกฝนและดูแล พระสงฆ์ในวัดให้ปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิบัติที่ก่อเกิด ความศรัทธาและเป็นตัวอย่างแก่พุทธศาสนิกชน ด้วยการฝึกฝนใช้ชีวิต ที่สมถะเรียบง่าย เช่น การทําวัตรเช้าเย็น การออกบิณฑบาตทุกวัน กลับมารวมกันฉันภัตตาหารแบบพระวัดป่า ด้วยการใส่รวมอาหาร ทุกอย่างในบาตร หลังฉันเสร็จ ให้ฝึกเทศน์ มีการอ่านพระไตรปิฎก เพื่อที่จะฝึกฝนให้พระสงฆ์ได้ฝึกการพูดต่อหน้าสาธารณชน ได้ฝึกการ อ่านภาษาบาลี ฝึกการวางแผน การเตรียมตัวก่อนอ่าน ซึ่งในทุก ๆ วัน หากเจ้าอาวาสหากไม่มีกิจอันใด ก็มาร่วมฉันภัตตาหารกับพระลูกวัด เพื่อให้คําแนะนํา และอธิบายเนื้อหาในพระไตรปิฎกให้แก่พระลูกวัด และอุบาสก อุบาสิกาฟัง ทําให้ทุกคนได้เรียนรู้หลักธรรมใน พระไตรปิฎกไปพร้อม ๆ กัน นอกจากนี้ ช่วงเวลาฉันภัตตาอาหาร
ในช่วงเช้า ยังเป็นโอกาสที่เจ้าอาวาสใช้ในการสอดส่องพฤติกรรมของ พระลูกวัด หากมีสิ่งไม่ถูกต้อง ท่านจะพูดตําหนิตรง ๆ ต่อหน้าพระ สงฆ์ด้วยกัน และแนะแนวทางการปฏิบัติอันดีที่พระสงฆ์ควรนําไป ปฏิบัติ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงของการมอบหมาย สั่งงาน และแจ้ง ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับวัด
ในช่วงเย็น หลังทําวัตรเสร็จ หากพระรูปใดไม่มีกิจธุระที่ได้รับ มอบหมายจากเจ้าอาวาส ก็จะต้องเข้าปฏิบัติธรรมวิปัสสนากัมมัฏฐาน ในทุก ๆ วัน สําหรับพระบวชใหม่ท่านเจ้าอาวาสได้กําหนดให้เข้าปฏิบัติ ธรรมเป็นเวลา ๗ วัน เพื่อฝึกฝน กาย ใจ และสติปัญญา รวมไปถึง ฝึกฝนความอดทน ถือเป็นการสร้างบารมี และเป็นแนวทางไปสู ่ความ พ้นทุกข์ตามคําสอนของพระพุทธเจ้า กล่าวได้ว่าวัดลานสัก มีความ เข้มงวดในการอบรมพระลูกวัดให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยเพื่อก่อ ให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น
๒. กิจกรรมเชิงรุกซึ่งทํานอกวัด คือ โครงการหมู ่บ้านรักษาศีลห้า โดยมีการประยุกต์หลักธรรมเรื่องของทิศ ๖ ที่เกื้อกูลความสัมพันธ์ของ สังคมเข้าไปสอนเสริมด้วย, กิจกรรมสวดมนต์สร้างปัญญา ด้วยการ ทํางานเชิงรุกกับโรงเรียนต่าง ๆ ซึ่งจะต้องมีกิจกรรมสวดมนต์ในชั่วโมง สุดท้ายของวันศุกร์ ด้วยการเสริมกิจกรรมที่ประยุกต์หลักธรรมให้ ทันสมัยสอดคล้องกับชีวิตและปัญหาของวัยรุ่นในปัจจุบัน เพื่อให้ เยาวชนได้เข้าใจและนําหลักธรรมไปใช้ได้จริงในชีวิต ทั้ง ๒ กิจกรรมนี้ วัดจะให้ความสําคัญกับการติดตามและการประเมินผลด้วย
นอกจากเผยแผ่ธรรมเชิงรุกในชุมชนและโรงเรียนดังกล่าวแล้ว วัดลานสักยังรุกทางธรรมไปยังโรงพยาบาลด้วยการจัดกิจกรรมเยี่ยม ผู้ป่วย มอบนมกล่องที่ได้รับจํานวนมากจากการบิณฑบาต หรือมี
๗๓
๗๔
ผู้อุปถัมภ์ให้ พระจะพูดคุยให้กําลังใจและธรรมะที่เหมาะสมแก่ ผู้ป่วย-ญาติ รวมไปถึงให้ธรรมะแก่พยาบาลด้วย อีกหนึ่งกิจกรรม เผยแผ่ธรรมเชิงรุกคือ กิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่ ร่วมกับวัดและอําเภอ ต่าง ๆ ในจังหวัดอุทัยธานีหมุนเวียนไปตามอําเภอแต่ละแห่ง ด้วยการ ออกบูทแจกจ่ายอาหาร เครื่องดื่ม หนังสือสวดมนต์ วัตถุมงคล พร้อมกับ สอดแทรกสอนธรรม กิจกรรมนี้ได้ขยายเครือข่ายของวัดลานสักไปทั่ว ทั้งจังหวัดได้เป็นอย่างดี
การที่พื้นที่รอบวัดลานสักยังมีสภาพเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบทและ วัดก่อตั้งโดยการร่วมแรงร่วมใจกันของชาวบ้าน ความสัมพันธ์ของ วัดกับชุมชนจึงยังใกล้ชิดกว่าวัดเมืองเป็นอันมาก โดยเฉพาะในฟาก ของชุมชนบ้านเก่า แม้ว่าวิถีชีวิตของชาวบ้านจะไม่เอื้อให้มาวัด หรือมาแล้วใช้เวลาอยู่ที่วัดไม่ได้มากนัก แต่ชาวบ้านยังผูกพันกับวัด ส่วนของวัดเองก็ยังให้ความเอื้อเฟื ้อสงเคราะห์แก่ชุมชน เช่น มีนโยบาย เกื้อกูลสังคมผ่านกิจกรรมที่ริเริ่มในวัดได้อย่างน่าสนใจและเป็น ตัวอย่างแก่วัดอื่นได้ คือ “นโยบายคืนเงินในงานศพ” ของวัดลานสัก นโยบายนี้มาจากแนวคิดของเจ้าอาวาสที่ท่านเห็นว่า งานศพนั้นเป็น งานที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเป็นสภาวะของความโศกเศร้า ของคณะเจ้าภาพ จึงมีนโยบายที่จะคืนเงินส่วนหนึ่งให้กับคณะเจ้าภาพ ในการสวดพระอภิธรรม เพื่อให้เจ้าภาพได้นําเงินในส่วนนี้ไปใช้ใน งานศพ โดยเมื่อสวดพระอภิธรรมเสร็จพระที่ทําหน้าที่สวดก็จะคืนเงิน ส่วนหนึ่งที่ได้จากการสวดให้กับเจ้าภาพต่อหน้าผู ้ที่มาร่วมงาน ในบางกรณี ที่เจ้าภาพไม่มีเงินเลย เจ้าอาวาสก็จะคืนเงินให้ทั้งหมด
นโยบายนี้ถือเป็นการได้ประโยชน์ในหลาย ๆ ฝ่าย ทั้งวัดเองได้ ร่วมเป็นเจ้าภาพทําบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผู ้ล่วงลับ ญาติโยมที่มางานศพ ได้ฟังธรรม พร้อมกับการได้พิจารณาสังขาร รับรู ้ความจริงของชีวิตถึง การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นอกจากนี้วัดยังได้สานความสัมพันธ์อันดี
กับชาวบ้านละแวกวัด ได้ประชาสัมพันธ์สํานักปฏิบัติธรรม เชิญชวน คนให้หันมาปฏิบัติธรรม และทําให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธาต่อ พระในวัด นโยบายนี้ได้รับคําชื่นชมจากชาวบ้านเป็นอย่างมาก เพราะ ไม่เคยมีวัดไหนปฏิบัติแบบนี้เหมือนกับวัดลานสัก
กระบวนการฟื้นฟูบทบาทของวัดลานสัก สําเร็จลุล่วงได้โดยมี แผนของการพัฒนากลไกการขับเคลื่อน ด้วยการพัฒนาบุคลากรให้ พร้อมที่จะร่วมผลักดันวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ของวัด หัวใจ สําคัญของการพัฒนาบุคลากรคือ ส่งเสริมพระธรรมวินัยทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ให้พระสงฆ์แตกฉานและมีประสบการณ์ตรงในทางจิตวิญญาณเพียงพอที่จะสอนผู ้อื่น มีภูมิรู ้และวัตรปฏิบัติที่น่าเลื่อมใส มีทักษะการสื่อสารธรรม ประยุกต์ธรรมที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย และกาลเทศะ เปิดโอกาสให้พระลูกวัดได้ฝึกทํากิจกรรมด้วยตนเอง โดยเจ้าอาวาสให้พระแกนนําแต่ละรูปดูแลรับผิดชอบกิจกรรมของวัด ซึ่งวัดลานสักมีกิจกรรมหลัก ๓ สายงาน ได้แก่ งานสายมวลชนงานสายกิจกรรมอบรมเยาวชน และงานสายวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยกระจายงาน ฝึกงานกับกิจกรรมและแหล่งเรียนรู ้ต่าง ๆ ให้ชํานาญ
ข้อสังเกตจาก ๕ กรณีศึกษา
จากการสังเคราะห์กระบวนการฟื ้นฟูบทบาทวัดทั้ง ๕ กรณีศึกษา มีข้อน่าสังเกตใน ๔ ประเด็น คือ
(๑) ในกระบวนการฟื้นฟูบทบาทวัดเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณนั้น พบว่ายังมีพุทธศาสนิกชนอีกจํานวนมากในสังคมที่พร้อมจะให้ความ สนับสนุน หากแต่จะต้องมีความรู ้สึกเลื่อมใสศรัทธาเกิดขึ้นก่อนเสมอ เพราะจากกรณีศึกษาทั้ง ๕ วัด จะพบตรงกันว่า กระบวนการฟื้นฟู ดําเนินการได้ ขยายผลออกไปได้ เพราะพุทธศาสนิกชนหรือญาติโยม
๗๕
๗๖
เกิดความศรัทธา มีความเชื่อมั่นในพระสงฆ์ที่เป็นผู้นํา ศรัทธาใน วัตรปฏิบัติของพระในวัด มีกระบวนการทํางานที่สามารถสร้างแรง บันดาลใจให้ผู้คนอยากสนับสนุนความมุ่งมั่นตั้งใจทําจริงของท่าน กระบวนการฟื้นฟูวัดจึงไม่จําเป็นที่จะต้องตั้งต้นจากการมีทุนทรัพย์ อันมักเป็นเหตุที่วัดจํานวนมาก เร่งหาเงินมาสร้างสิ่งปลูกสร้างด้วยวิธี การระดมทุนต่าง ๆ ซึ่งจํานวนมากขัดหลักธรรม และกลับทําให้ บทบาทของวัดเบี่ยงเบนไปจากหลักพุทธธรรมได้
(๒) กระบวนการฟื้นฟูวัดที่มีการกําหนดแผนงาน เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ นโยบาย ในแต่ละกรณีศึกษา มีส่วนสนับสนุน ให้เกิดความศรัทธาในข้อที่ ๑ ได้ง่ายขึ้นอีก เนื่องจากลักษณะแผนงาน เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์ ฯลฯ ที่นําเสนอและสื่อสารให้ผู้ เกี่ยวข้องในกรณีศึกษานั้น เห็นความเป็นรูปธรรม ช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมมองเห็นภาพในแต่ละประเด็นได้แบบภาพรวม มีส่วนในการ ติดตามการทํางาน มองเห็นความจริงจังของผู้บุกเบิกงานฟื้นฟูได้ง่าย ขึ้นกว่าที่วัดจะดําเนินการโดยการรับทราบกันเองภายใน หรือการบอก เล่าเพียงลําพัง
(๓) ในกระบวนการฟื ้นฟูวัดนี้ เจ้าอาวาสจะให้ความสําคัญสูงมาก กับการฟื้นฟูพัฒนาสัปปายะด้านบุคคลด้วย เพื่อให้สัปปายะด้าน กายภาพที่ได้รับการฟื้นฟูมิสูญเปล่า เป็นเพียงการปรับพื้นที่ให้ร่มรื่น สวยงาม โดยเข้าไม่ถึงเป้าหมายการฟื้นฟูบทบาทการพัฒนา จิตวิญญาณให้แก่บุคคลทั้งบรรพชิต-คฤหัสถ์และแก่ชุมชนตามบทบาท หลักซึ่งสําคัญที่สุดของวัด เจ้าอาวาสของทุกวัดจึงให้ความสําคัญกับ การส่งเสริมการศึกษาทั้งทางธรรมและทางโลกของพระสงฆ์ใน ปกครอง พร้อมกํากับดูแลการฝึกฝนปฏิบัติตนของพระสงฆ์ให้อยู่ใน กรอบพระธรรมวินัย เพื่อให้พระสงฆ์เองบรรลุเป้าหมายการพัฒนา
จิตวิญญาณของตนเองเคียงคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมให้มีความ สามารถในการเผยแผ่ธรรมแก่สาธุชน ทั้งโดยการปฏิบัติให้ดู สร้าง ความศรัทธาเลื่อมใสแก่สาธุชนและโดยการแสดงธรรมผ่านกิจกรรม อย่างสมสมัย เพื่อให้วัดมีความเข้มแข็งทั้ง ๒ บทบาท บรรลุทั้ง ประโยชน์ตน (การบวชเรียนของภิกษุ) ประโยชน์ท่าน (พุทธศาสนิกชน- ชุมชน) และประโยชน์สูงสุดคือการดํารงอยู ่อย่างมั่นคงของพระศาสนา
(๔) รูปแบบของการฟื ้นฟูบทบาทการพัฒนาจิตวิญญาณของวัด เมืองและกึ่งเมืองฯ
เพื่อฟื้นฟูบทบาทการพัฒนาจิตวิญญาณและบทบาททางสังคม ของวัด กรณีศึกษาทั้ง ๕ วัดได้ปรับปรุงพัฒนากิจกรรมเพื่อการดังกล่าว แบ่งออกได้เป็น ๒ รูปแบบผสมผสานกันไป ขึ้นกับเหตุปัจจัยภายใน ภายนอกหรือบริบทของวัดแต่ละแห่ง โดยที่บางกรณีศึกษาอาจมีความ โดดเด่นเป็นพิเศษในบางรูปแบบ ดังนี้
๑) การฟื้นฟูกิจกรรมและบทบาทเดิมของวัดให้มีความสมสมัย สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป
ตัวอย่างคือการฟื้นฟูให้วัดกลับมาเป็นสถานที่อันสงบร่มรื่น เหมาะแก่การพักผ่อนร่างกายและจิตใจของวัดนางชี ซึ่งทําให้วัดเป็น เสมือนหนึ่งสวนสาธารณะใกล้บ้านที่เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้โดยง่าย เอื้อกับวิถีชีวิตสมัยใหม่ของคนเมืองที่แต่ละวันต้องใช้ชีวิตด้วยความ เร่งรีบ มีความเครียดกับการทํางาน หรือละแวกที่พักอาศัยไม่มี สวนสาธารณะของเมือง เมื่อปรับปรุงแล้วก็คิดสร้างสรรค์ต่อยอดให้ สอดแทรกเผยแผ่ธรรมได้ เช่นเตรียมเปิดเสียงบรรยายธรรมใน บางช่วงเวลา การติดคติธรรมไว้ตามต้นไม้ สร้างความแตกต่างของ
๗๗
๗๘
สวนในวัดกับสวนสาธารณะทั่วไป การฟื้นฟูบทบาทในประการนี้ จะมีผลต่อคนทั่วไป ทั้งผู ้ที่ใส่ใจและไม่ใส่ในในเรื่องศาสนาและธรรมะ ให้เข้าหาวัดและใช้ประโยชน์จากวัด เมื่อเข้ามาแล้วก็มีโอกาสได้รับรู้- เรียนรู้ธรรมะไปด้วยอย่างไม่เป็นทางการ
อีกส่วนหนึ่งคือการฟื้นฟูประเพณี พิธีกรรมของเดิม เพื่อสร้าง บทบาทการรวมคนทางสังคมของวัด แล้วจัดกิจกรรมเสริมทางธรรม ด้วยการประกวดการสวดมนต์ ปาฐกถาธรรม ฯลฯ เพื่อสอดแทรก ธรรมะแก่เยาวชนและผู้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น การแห่เรือชักพระของ วัดนางชี หรือการฟื้นฟูประเพณีไหว้วัด และตักบาตรนํ้าผึ้งของ วัดภูเขาทองแล้วสอดแทรกความหมายทางธรรมของประเพณีพิธีกรรม ในพระธรรมเทศนา เป็นการฟื ้นฟูบทบาทวัดให้แก่กลุ ่มพุทธศาสนิกชน ที่มีความสนใจในธรรมและศาสนาอยู่ก่อนแล้ว แต่อาจสามารถขยาย ไปยังกลุ่มเยาวชนซึ่งสนใจการประกวดต่าง ๆ ให้หันมาสนใจธรรมได้ จากการต้องเข้าใจ ซาบซึ้งในสิ่งที่ตนเองสวด หรือเนื้อหาที่ตนเอง แสดงปาฐกถา เช่นเดียวกับการพัฒนารูปแบบการอบรมสามเณร ภาคฤดูร้อน ค่ายเยาวชนหรือการอบรมนักเรียนในชั่วโมงการเรียนที่ มีพระเป็นผู้สอนให้มีความทันสมัย ด้วยเข้าใจ ใส่ใจในธรรมชาติของ เด็กยุคใหม่ หลายกิจกรรมมีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก จากการติดตามประเมินผลผ่านผู้ปกครองที่ส่งเด็กเข้ารับการอบรม รวมไปถึงการอบรมเยาวชนที่กระทําความผิดของกรมคุมประพฤติซึ่ง จัดร่วมกับวัดนายโรง
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงพิธีกรรมภายในวัดให้เอื้อกับกลุ่ม เป้าหมายให้ได้เข้าใจธรรมมากขึ้นเมื่อเข้ามาร่วมพิธีกรรมภายในวัด เช่น การสวดมนต์แปล หรือการคัดเลือกบทสวดมนต์ที่เหมาะสมมี ความหมายแทนการสวดตามขนบธรรมเนียมเดิมโดยผู้สวดไม่รู้
ความหมาย การจัดเวลาและความยาวของการทําวัตรให้เหมาะสมกับ เงื่อนไขเวลาและสุขภาพของผู้เข้าร่วม (เช่น ผู้สูงอายุ คนทํางานที่มี เวลาจํากัด เป็นต้น)
๒) การสร้างสรรค์กิจกรรมขึ้นใหม่
วัดในทุกกรณีศึกษาจะมีการคิดค้นออกแบบสร้างสรรค์กิจกรรม ใหม่ที่สอดคล้องกับชีวิต และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อสร้าง อัตลักษณ์ของการดํารงอยู่ให้ร่วมสมัยกับการเปลี่ยนแปลง โดยที่ยัง รักษาไว้ซึ่งบทบาทหลักและบทบาทรองอย่างเข้มแข็ง เป็นการสร้าง ความเข้าใจใหม่ของคนสมัยใหม่โดยเฉพาะเยาวชน วัยรุ่น วัยทํางาน ซึ่งมีแนวโน้มเห็นวัดเป็นสถานที่โบราณ เชย ครํ่าครึ หรือเป็นผู้รับ- ผู้เอาจากสังคม
ตัวอย่างเช่น การเผยแผ่ธรรมของวัดนายโรงด้วยช่องทางใหม่ ผ่านสถานีวิทยุและผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งก้าวข้ามข้อจํากัดของการ ไม่มีเวลามาวัด โดยเนื้อหาออกแบบให้ทันสมัยสอดคล้องกับกลุ่ม เป้าหมายที่มีวิถีชีวิต ปัญหา รสนิยม ช่วงเวลาการรับฟังที่แตกต่างกัน อย่างหลากหลาย ส่วนวัดลานสักเปลี่ยนภาพวัดจากผู ้เอาเป็นผู ้ให้ด้วย นโยบายคืนเงินในงานศพ การออกเยี่ยมผู ้ป่วยในโรงพยาบาล ในขณะที่ วัดภูเขาทอง สร้างสรรค์ “หนังสือเดินทางธรรม” ที่สอดแทรกการ ประพฤติธรรมด้วยคําร่วมสมัยซึ่งเป็นที่คุ ้นเคยอยู ่แล้ว (หนังสือเดินทาง) สําหรับวัดป่าสุขสมบูรณ์ริเริ่มและก่อตั้งศูนย์การแพทย์ภูมิปัญญา ซึ่งช่วยฟื้นฟูบทบาททั้ง ๒ ด้านของวัดในอดีต คือการพัฒนาบุคคลใน กระบวนการรักษาทั้งหมดให้มีธรรมะ ทําให้วัดกลายเป็นศูนย์กลาง ความรู ้การแพทย์ที่ร่วมสมัย จากการวิจัยและการร่วมมือกับการแพทย์ สมัยใหม่ ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการรักษาให้คนกลุ ่มใหม่ ในกลุ ่มโรค
๗๙
ซึ่งมีผู ้เจ็บป่วยจํานวนสูงมากจากพฤติกรรมสุขภาพที่ผิด และผู ้แสวงหา ทางเลือกใหม่หลังจากที่ไม่ทุเลาด้วยการรักษาในระบบการแพทย์ สมัยใหม่ เหล่านี้เป็นต้น
รูปแบบของกิจกรรมที่ใช้ในการฟื ้นฟูวัด มาจากการรู ้ความเข้าใจ สภาพของสังคมสมัยใหม่ และความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ และความ ตระหนักในบทบาทหลักและรองของวัด
กระบวนการ วัดฟื้น คืนธรรม นําเมือง จึงมิใช่เหตุบังเอิญ มิใช่ โชคช่วย หากแต่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย หากสังคมและพุทธศาสนิกชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจและเข้าถึงการพัฒนาเหตุปัจจัยดังกล่าวได้ มากเท่าไร โอกาสของการฟื้นฟูบทบาทวัดก็เกิดขึ้นได้มากเท่านั้น
๘๐
º··Õè ô
à˵ØáË‹§¤ÇÒÁÊÓàÃç¨ ñ :Åѡɳзع¤¹áÅзع·Ò§Êѧ¤Á
การฟื ้นฟูบทบาทของวัดในเมืองและกึ่งเมืองฯ ใน ๕ กรณีศึกษา ซึ่งมีลักษณะของความสําเร็จที่หลากหลายแตกต่างกันนั้น จุดโดดเด่น มาจากลักษณะของปัจจัยที่ทุกวัดมีร่วมกัน ๒ ประการ ซึ่งถือว่าสําคัญ ที่สุด จะขาดเสียมิได้เลยใน “กระบวนการฟื้นวัด คืนธรรม นําเมือง” คือปัจจัยร่วมใน ลักษณะของทุนบุคคล และลักษณะของกลยุทธ์การ บริหาร ในบทนี้จะกล่าวถึงลักษณะของทุนบุคคลและทุนทางสังคม ของวัดต่าง ๆ
๔.๑ ทุนบุคคล
ปัจจัยร่วมในประการนี้ถือว่าเป็นปัจจัยจําเป็นมากที่สุด โดย เฉพาะฝ่ายบรรพชิตคือกลไกขับเคลื่อนการฟื ้นฟูวัดไม่ว่าในตอนเริ่มต้น หรือระหว่างกระบวนการฟื ้นฟู แม้ว่าจะมีคฤหัสถ์ที่เอาการเอางานมาก เพียงใด แต่จากกระบวนการทํางานเพื่อการฟื้นฟูบทบาทวัดดังกล่าว ไปแล้วในบทที่ ๒ และ ๓ จะเห็นได้ว่า พระสงฆ์จะเป็นปัจจัยเริ่มต้น ของการสร้างความเลื่อมใสศรัทธา ก่อให้เกิดการระดมทุนด้านต่าง ๆ
๘๓
๘๔
มาได้มากกว่าคฤหัสถ์ แต่ในกรณีศึกษาของวัดป่าสุขสมบูรณ์ก็พบว่า คฤหัสถ์ที่มีความเข้มแข็ง มีภูมิรู้ทางธรรมและศรัทธาจริงจังใน พุทธศาสนา ก็เป็นกําลังขับเคลื่อนสําคัญในการฟื ้นฟูบทบาทวัดทางอ้อม ด้วยการสืบเสาะหาพระภิกษุสงฆ์ที่มีความน่าศรัทธามาบุกเบิกการ ฟื้นฟูวัด แล้วสนับสนุนอย่างต่อเนื่องระหว่างกระบวนการ ส่วนกรณี ศึกษาอื่นก็ทําให้เห็นเช่นกันว่า การมีพระสังฆาธิการฝ่ายปกครองที่ ทรงคุณธรรม บริหารงานเก่ง รู้จักพระภิกษุในปกครองดีก็เอื้อให้อีก ๔ วัด ได้เจ้าอาวาสที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมาดูแลและฟื ้นฟูวัดเช่นกัน ปัจจัยในประการนี้จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนที่มีความสําคัญเช่นกัน
(๑) คุณลักษณะสําคัญของทุนบุคคล
ผลการศึกษาพบว่า บุคลากรของวัด ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ต่าง มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นฟูวัด โดยทุนบุคคลในระยะเริ่มแรก หรือช่วงของการบุกเบิกนั้น ได้แก่ผู้นําวัดหรือเจ้าอาวาสซึ่งถือว่ามี ความสําคัญมากที่สุด เนื่องจากกฎหมายกําหนดให้เป็นผู้ปกครองวัด จึงมีอํานาจดําเนินการพัฒนาวัดได้โดยตรง เมื่อเจ้าอาวาสมีความรู้ ความสามารถทางธรรมทางโลก มีความตระหนักในคุณูปการสูงสุด ของพุทธศาสนา มีอิทธิบาท ๔ (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) และพละ ๕ (ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา) จึงทํางานฟื้นฟูบทบาทวัดอย่าง อุทิศกําลังแก่การพัฒนาพระศาสนาอย่างสุดความสามารถของตน สร้างแรงบันดาลใจให้เกิดแก่ทุนบุคคลส่วนที่สอง คือพระสงฆ์ใน ปกครองและคฤหัสถ์ที่เป็นกําลังเดิมของวัด และทุนบุคคลส่วนที่สาม ได้แก่ จิตอาสา เครือข่าย ภาคี กลุ่มใหม่ต่าง ๆ อีกเป็นอันมากอย่าง ต่อเนื่อง ทุนบุคคล ๒ ส่วนหลังนี้จะเป็นปัจจัยสําคัญของการสืบสาน ความเข้มแข็งและยั่งยืนของผลการฟื้นฟูที่ตั้งต้นขึ้น
จากการสังเคราะห์ผลการศึกษาวัดทั้ง ๕ กรณี พบว่าคุณลักษณะ ของผู ้นําสงฆ์ที่มีผลอย่างยิ่งต่อความสําเร็จของการเริ่มต้นฟื ้นฟูบทบาท วัดในกรณีศึกษามี ๒ ประการสําคัญ ดังนี้
ก. มีภูมิรู้ทางธรรมและทางโลก ในระดับที่สามารถจะเชื่อมโยง ทั้ง ๒ เรื่องนี้มาใช้ประโยชน์ได้ มิใช่เฉพาะในการเผยแผ่และแสดงธรรม ตามหน้าที่พระสงฆ์เท่านั้น แต่รวมไปถึงความสามารถในการบริหาร จัดการด้วย ใน ๕ กรณีศึกษาพบว่า คุณสมบัติในประการนี้มีความ สําคัญอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะแกนนําพระสงฆ์คือเจ้าอาวาสของแต่ละ วัด เพราะเป็นกลไกสร้างการเรียนรู้ให้แก่พระเณรในปกครองและแก่ คฤหัสถ์ที่เกี่ยวข้องกับการฟื ้นฟูบทบาทวัดด้วย เจ้าอาวาสและรองหรือ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ในกรณีศึกษาต่างมีความรู้ทางธรรม-ทางโลกสูง แต่จุดเด่นที่สําคัญที่สุดคือ ความรู้ในทางธรรม เพราะต้องมีความรู้ ในทางธรรมก่อนในเบื้องต้น จึงจะมีวิธีคิด วิธีวิเคราะห์ที่ช่วยจําแนก แยกแยะปรากฏการณ์ของปัญหาที่ประสบในระดับต่าง ๆ ทั้งด้านชีวิต การทํางาน ปัญหาองค์กร ปัญหาสังคม ฯลฯ ให้ถ่องแท้ได้ เนื่องจาก ปัญหาทางโลกในปัจจุบันมีความซับซ้อน การถดถอยของศีลธรรม คุณธรรม ปัญหาและอุปสรรคทั้งหลาย มิได้เกิดจากเหตุส่วนบุคคล เพียงลําพัง แต่เกี่ยวข้อง มีผลกระทบมาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม ในระดับต่าง ๆ ทั้งครอบครัว กลุ ่ม องค์กร ชุมชน สังคม (ในประเทศ ภูมิภาค ระดับโลก) อันเป็นปัจจัยแวดล้อม ที่มีอิทธิพลยิ่งต่อพฤติกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคล
การมีความเข้าใจแก่นธรรมของพุทธศาสนา มีอิทธิพลสําคัญต่อ ศักยภาพและความสามารถของพระสงฆ์ในการคิดวิเคราะห์เชื่อมโยง เหตุการณ์ทางสังคม และประสบการณ์ชีวิตของบุคคล (สุข-ทุกข์ ปัญหาต่าง ๆ ของคฤหัสถ์) มาคลี่วิเคราะห์ปัญหา (ทุกข์) ของผู้ฟัง
๘๕
๘๖
ให้เกิดความเข้าใจเหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ถึงระดับที่เรียกว่าประจักษ์ แจ้งด้วยตนเองได้ (สันทิฏฐิโก) มิได้สั่งสอนข้ามหลักอริยสัจ ๔ ไปที่ เรื่องนิโรธ-มรรคโดยทันทีหรืออย่างโดด ๆ อันทําให้บุคคลในยุคสมัย ใหม่รู้สึกว่า หลักธรรมของพุทธศาสนาไม่ตอบโจทย์ชีวิต เพราะไม่ สามารถชี้เหตุแห่งทุกข์ให้เกิดความกระจ่างใจได้มากเพียงพอ อีกทั้ง ยังมักจะมุ่งสอนให้ปฏิบัติหลักธรรมในระดับโลกุตระ (ศีลธรรม) ให้ทําความดีละเว้นความชั่วอันเหมือนกับหลักศาสนาอื่น ๆ หรือสอน ให้ฝึกจิตให้มีสมาธิ-ความสงบ ว่างเว้นความทุกข์ไว้ชั่วคราว แน่นอน ว่าเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์ แต่เข้าไม่ถึงปัญหาความทุกข์ในวิถีชีวิตของ คนรุ่นใหม่ในสังคมสมัยใหม่ ที่แตกต่างหลากหลายจากคนยุคเดิม ได้มากเพียงพอที่จะทําให้วัดและพระสงฆ์เป็นคําตอบของทางออกได้
ในกรณีศึกษา ความเข้าใจแก่นธรรมสําคัญของพุทธศาสนาซึ่งมี หัวใจที่ระดับปรมัตถธรรม (ความจริงแท้ของชีวิตและธรรมชาติ) ของพระสงฆ์ใน ๕ กรณีศึกษา โดยเฉพาะระดับเจ้าอาวาสและรองหรือ ผู้ช่วย มีผลช่วยให้บุคคลเข้าใจความจริงของเหตุแห่งทุกข์ในชีวิตของ ตนเอง แล้วเห็นเหตุปัจจัยที่จะช่วยดับเหตุแห่งทุกข์นั้น แต่จะสามารถ เจาะลึกช่วยผู้ฟังให้เกิดความประจักษ์แจ้งเหตุแห่งทุกข์ของตนเองได้ ง่ายและมากน้อยเพียงใด ขึ้นกับความรู้ทางโลกที่พระสงฆ์มีด้วย ในการศึกษาพบว่า หากมีความรอบรู้เรื่องทางโลกมาก ก็จะสามารถ ยกประสบการณ์หรือรูปธรรมของเหตุการณ์ต่าง ๆ มาเป็นตัวอย่างให้ ผู้ฟังเข้าใจตามได้โดยง่าย ประจักษ์แก่ใจตนเองได้มากขึ้น เร็วขึ้น
ข. มีความรู้ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในการจัด กระบวนการเรียนรู้ คุณสมบัติในประการนี้นับว่ามีความสําคัญมาก เนื่องจากการฟื ้นฟูบทบาทวัด มิอาจดําเนินการได้โดยลําพังเจ้าอาวาส หากจะต้องมีกลุ่มพระสงฆ์และคฤหัสถ์ในวัดและภาคีเครือข่าย
้
เป็นปัจจัยสนับสนุนที่สําคัญด้วย ดังนั้นจึงจําเป็นที่พระสงฆ์ผู้นําวัด จะต้องมีความสามารถในคุณสมบัติประการนี้ เพื่ออบรมบ่มเพาะกลไก ที่จะสนับสนุนการผลักดันความคิด การบริหารจัดการของตนเองให้ เป็นจริงได้ จากการศึกษาพระภิกษุสามเณรที่ทํางานร่วมกับเจ้าอาวาส ใน ๕ กรณีศึกษา รวมไปถึงคฤหัสถ์ของวัดและกลุ่มจิตอาสา รวมถึง พุทธศาสนิกชนกลุ่มต่าง ๆ ของวัด พบว่าเจ้าอาวาสในกรณีศึกษา มีทักษะความสามารถในการสอนธรรมระดับแก่นธรรมได้อย่างมี ขั้นตอน หยิบเหตุการณ์ ประสบการณ์ของบุคคลมาวิเคราะห์ให้เรียนรู นําไปสู่ความรู้สึกเลื่อมใสศรัทธาของพระและคฤหัสถ์ ทั้งยังเอื้อให้ ท่านมีความสามารถในการออกแบบหลักสูตรการอบรมสอนธรรมให้ เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ด้วย อีกทั้งเป็นผู้มีจิตวิทยาใน การสอน พินิจพิจารณากาลเทศะ ภูมิรู ้ของบุคคล เพื่อเลือกระดับธรรม ประเด็นธรรมและวิธีการสอนที่เหมาะสมมาใช้ด้วย
จากการสัมภาษณ์-สังเกตเรื่องหลักการ ประสบการณ์และวิธีการ ทํางานของเจ้าอาวาส และกระบวนการจัดการเรียนรู้ต่อเนื่องให้ พระลูกวัดและคฤหัสถ์ของวัด ได้ข้อมูลที่ตรงกันว่า บุคคลส่วนใหญ่ โดยเฉพาะพระสงฆ์ในปกครองของเจ้าอาวาสจะได้รับการส่งเสริมให้ มีโอกาสศึกษาเรียนรู้ทั้งจากสถาบันการศึกษาทางธรรมและ มหาวิทยาลัยสงฆ์ และได้เรียนรู้อย่างมากจากภารกิจที่รับมอบหมาย จากเจ้าอาวาส ซึ่งใช้กระบวนการเรียนรู้ในแบบต่าง ๆ อบรมบ่มเพาะ บุคคลในความดูแลหรือเกี่ยวข้องผ่านการทํางาน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์อย่าง สัมพันธ์กับรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ที่สําคัญ ๆ ในปัจจุบันจะพบว่า มีความครบถ้วนครอบคลุมทั้งการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) การเรียนรู ้แบบกลุ ่ม (Collaborative learning) การเรียนรู ้แบบร่วมมือ (Cooperative learning ) การเรียนรู้จากปัญหา (Problem based
๘๗
๘๘
learning) การเรียนรู้จากการใช้โครงงานเป็นฐาน (Project based learning) เป็นต้น ทั้งนี้ประเมินจากผลลัพธ์การเรียนรู้ของบุคคล ที่ปรากฏให้เห็นในการทํางาน ซึ่งได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคล ทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์และจากการติดตามสังเกตในพื้นที่ โดยพบว่า ทุนบุคคลของวัดในกรณีศึกษามีคุณสมบัติส่งเสริมการทํางานฟื้นฟู บทบาทวัดเช่นเดียวกับเจ้าอาวาส เช่น มีความเข้าใจชีวิต เข้าใจความทุกข์ และวิธีการลดละเลิกความทุกข์ด้วยตนเองตามหลักพุทธธรรม จึงสามารถสอนหรือช่วยแนะนํา อบรมผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถออกแบบหลักสูตรการอบรมได้ เนื่องจากมีประสบการณ์ด้วย ตนเองมาแล้ว และยังเป็นผู้มีความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ สามารถทํางาน ร่วมกันเป็นหมู ่คณะ เห็นคุณค่าความสามารถของผู ้อื่นจากการได้เรียน รู ้ร่วมกัน มองปัญหาด้วยความคิดเชิงบวก คิดแก้ปัญหาหรือพัฒนาด้วย การสร้างสรรค์ ซึ่งพัฒนาไปสู่การสร้างนวัตกรรมร่วมกันกับหมู่คณะ เป็นต้น
ค. มีความรู้ความเข้าใจชัดแจ้งในบทบาทของวัด จากการเก็บ ข้อมูลทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ได้ข้อมูลตรงกันว่า เจ้าอาวาสทั้ง ๕ กรณีศึกษา เป็นผู้ที่มีความตระหนักชัดในบทบาทของวัด สามารถ จําแนกแยกแยะบทบาทหลักของวัด ว่าคือศาสนสถานเพื่อการขัดเกลา จิตวิญญาณให้แก่ผู ้เข้ามาบวชเรียนให้ได้พัฒนาตนเองอย่างจริงจังตาม จุดมุ่งหมายของการก่อตั้งวัดเมื่อครั้งพุทธกาล ไม่ว่าจะเป็นการ บวชเรียนในช่วงสั้นหรือช่วงยาว ผู้เข้ามาบวชย่อมจะต้องได้รับการ อบรมบ่มเพาะเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณให้เป็นผู ้รู ้ ผู ้ตื่น ผู ้เบิกบาน เข้าใจ ชีวิตและสัจธรรมของโลก ตามระดับความสามารถของตนเอง แล้วนํา ความรู้ที่ได้ไปเผยแผ่ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม ไม่ว่าจะใน ฐานะผู้บวชหรือเมื่อลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ พระภิกษุในวัดของ
กรณีศึกษาจึงได้รับการส่งเสริมการศึกษาทุกด้าน ทางโลกทางธรรม ปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ มีวัตรปฏิบัติตามหน้าที่พระทั้งต่อตนเอง สังฆะ และสังคม วัดลานสักมีแบบแผนการอบรมและปฏิบัติที่ชัดเจนมาก แม้จะเป็นวัดในตัวอําเภอแต่จะต้องฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานทุกวันและ ทุกวัดจะอบรมพระสงฆ์ให้รู้คุณของสังคมด้วยการตอบแทนธรรมคืน ด้วยการปฏิบัติตนและบําเพ็ญประโยชน์แก่ชาวบ้าน
ในขณะเดียวกันวัดก็ต้องเป็นสถานที่ซึ่งเอื้อให้คฤหัสถ์ได้รับการ พัฒนาอบรมบ่มเพาะด้วยเช่นกัน โดยผ่านประเพณีพิธีกรรมที่ สอดแทรกกุศโลบายในทางธรรมให้บุคคลได้เรียนรู้ร่วมกันตามระดับ ความสามารถของตน วัดจึงเป็นสถาบันทางสังคมที่มีบทบาทพัฒนา มนุษย์เป็นบทบาทหลัก หากแต่บทบาทนี้ ในปัจจุบันทําให้สําเร็จได้ ยากมากขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตของคฤหัสถ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อย่างมากดังกล่าวไปแล้ว ผู้มาบวชเพื่อฝึกฝนตนเองอย่างจริงจังใน สถาบันสงฆ์มีจํานวนลดน้อยลงเป็นลําดับ แม้แต่การบวชเรียนชั่วคราว ของคฤหัสถ์ดังประเพณีเข้าพรรษาก็มีจํานวนลดน้อยลงมากเช่นกัน
ผู้นําของวัดทั้ง ๕ กรณีศึกษาจึงมีกิจกรรมเชิงรุก เพื่อรักษา บทบาทในประการนี้ของวัดให้สัมพันธ์กับบริบทที่เปลี่ยนแปลงของ คฤหัสถ์ เช่น วัดนายโรงนําธรรมะไปให้ถึงครัวเรือนหรือตัวบุคคลผ่าน สถานีวิทยุและแอพพลิเคชั่นทางโทรศัพท์ วัดป่าสุขสมบูรณ์ใช้เรื่อง สุขภาพเป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมทั้งของผู้รักษาและผู้รับการรักษา วัดลานสักนําธรรมะถึงผู้ป่วยและบุคลากรโรงพยาบาล วัดภูเขาทอง รื้อฟื้นประเพณีให้สอดแทรกธรรม วัดนางชีต่อยอดขยายธรรมใน ประเพณีแห่เรือชักพระ และทุกวัดเปิดพื้นที่ให้กลุ่มผู้สูงอายุ เยาวชน ฯลฯ มาทํางานจิตอาสาต่าง ๆ ภายในวัดตามความถนัดเพื่อเรียนรู้ ธรรมจากการทํางานในวัด ทั้งแบบเฉพาะกิจและประจํา การเก็บข้อมูล
๘๙
จากกลุ ่มคฤหัสถ์ที่เข้ามาช่วยงานของวัดในทุกกรณีศึกษา พบว่าบุคคล ได้เรียนรู้ธรรมะและเปลี่ยนความคิด การปฏิบัติตนไปในเชิงบวก อย่างน้อยที่สุดที่ได้คือการเกิดความศรัทธาในพระศาสนา ทําให้เห็น ที่พึ่งทางจิตใจ ผลลัพธ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้จากการที่ผู ้นําวัดในกรณีศึกษา ชัดเจนในบทบาทหลักของวัด และสร้างสรรค์บทบาทรองทางสังคมให้ สอดคล้องกับยุคสมัยเพื่อรักษาบทบาทหลักของวัด ทําให้บทบาททั้ง ๒ ด้านเกื้อกูลกัน
(๒) แหล่งที่มาของความรู้ เมื่อสังเคราะห์แหล่งที่มาของความรู้ ทักษะ ความสามารถของ
เจ้าอาวาสทั้ง ๕ กรณีศึกษา พบว่ามาจาก ๒ แหล่งสําคัญ คือ
ก. การศึกษาเล่าเรียนในระบบ ด้านการศึกษาทางธรรม ทุกรูป สําเร็จชั้นนักธรรมชั้นเอก (อันเป็นข้อกําหนดของคุณสมบัติเจ้าอาวาส ตามที่คณะสงฆ์กําหนด) และมีการศึกษาต่อทางบาลีด้วย มีสําเร็จ ตั้งแต่เปรียญธรรม ๓ ไปถึง ๙ ประโยค ส่วนความรู ้ทางโลกที่เล่าเรียน ในระบบการศึกษา มีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ ไปจนถึงสําเร็จ การศึกษาระดับปริญญาตรี–โท และเอกจากมหาวิทยาลัยสงฆ์และ มหาวิทยาลัยทั่วไปในประเทศ และมีที่สําเร็จการศึกษาจากประเทศ อินเดีย ๑ รูป สาขาวิชาที่สําเร็จปริญญามีตั้งแต่พุทธศาสตร์ไปจนถึง สาขาสังคมวิทยา การบริหารจัดการองค์การ เป็นต้น การเรียนรู้ใน ส่วนนี้ช่วยส่งเสริมความรู้ในทางโลกได้ส่วนหนึ่ง มากหรือน้อยขึ้นอยู่ กับการจัดการศึกษาของผู้สอนในสถาบันการศึกษานั้น ๆ เนื่องจาก ระบบการศึกษาของไทยยังคงมีปัญหาจากการเรียนแบบไม่ส่งเสริม การคิด วิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์
๙๐
ข. การศึกษาเล่าเรียนนอกระบบหรือไม่เป็นทางการ มีตั้งแต่ การอ่านหนังสือทางโลกและทางธรรม หนังสือทางธรรมที่ได้รับการ อ้างอิงถึง คือ งานนิพนธ์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ซึ่งทั้ง ๒ รูปเน้นให้ความรู้ธรรม ในระดับปรมัตถ์, การเรียนรู้จากตัวบุคคลที่ได้จากการทํางานกับ พระมหาเถรานุเถระ เพื่อนสหธรรมิกที่แตกต่างหลากหลายทั้ง พระธุดงค์ พระหมอดู-พระเครื่อง กลุ ่มพระนักพัฒนา การพบคฤหัสถ์ ที่มีความรู ้ทางสังคมสูง การได้ทํางานเรียนรู ้ปัญหาสังคมร่วมกับองค์กร พัฒนาเอกชนสังคม เช่นมูลนิธิเด็ก ฝึกทักษะการเป็นวิทยากร การอบรม การศึกษาดูงาน และอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งเสริมสร้างความ รู้ทางธรรมทางโลก และสามารถกลั่นกรองประสบการณ์มาจัด กระบวนการเรียนรู ้ต่อให้แก่พระสงฆ์ในปกครองและแก่คฤหัสถ์ของวัด
ส่วนทักษะความสามารถในเนื้อหาด้านการบริหารจัดการเพื่อ ฟื้นฟูบทบาทของวัด บางกรณีได้จากการเรียนในระบบในสาขาที่ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการบริหาร หากแต่ประสบการณ์ของการได้ ทํางานจริงน่าจะมีอิทธิพลโดยตรงมากกว่า เนื่องจากเจ้าอาวาส เกือบทุกรูปก่อนมารับผิดชอบการฟื้นฟูวัดนั้น ได้มีประสบการณ์กับ การบริหาร เช่น เป็นเลขานุการพระสังฆาธิการ หรือเป็นคณะทํางาน ในภารกิจขององค์กรปกครองสงฆ์ ไปจนถึงเป็นเจ้าอาวาสวัดในวัดอื่น มาก่อนถึง ๒๐ ปี (วัดลานสัก) ในปัจจุบันเจ้าอาวาสบางรูปก็เป็น พระสังฆาธิการในการบริหารงานปกครองสงฆ์ด้วย
จากการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกเจ้าอาวาสทั้ง ๕ กรณี ทําให้ผู ้วิจัยวิเคราะห์ว่า ทักษะความรู ้ความสามารถของแต่ละ ท่านนั้น โดยมากมีอิทธิพลมาจากการสั่งสมประสบการณ์จากการ
๙๑
๙๒
เรียนรู ้ในข้อ ๒ หรืออย่างไม่เป็นทางการมากกว่า คือการได้เรียนรู ้จาก การทํา (learning by doing) ในลักษณะที่เจ้าอาวาสมีโอกาสและ ได้รับโอกาสคิด-ค้น-ต่อยอดด้วยตนเอง ข้อวิเคราะห์นี้สนับสนุนด้วย หลักคิดและวิธีการทํางานของเจ้าอาวาสซึ่งสะท้อนด้วยตนเองและ จากพระสงฆ์ในปกครองและคฤหัสถ์ที่ทํางานให้วัดในปัจจุบัน คือเจ้าอาวาสจะจัดกระบวนการเรียนรู้ในแบบต่าง ๆ ดังกล่าวไปแล้ว ให้แก่พระสงฆ์ในปกครองและคฤหัสถ์ด้วยการมอบหมายงานให้ทํา ตามความเหมาะสม เช่น งานอบรม งานช่าง งานครัว ฯลฯ และมีการ ติดตาม แนะนํา การถอดบทเรียน อย่างสมํ่าเสมอด้วย
(๓) เนื้อหาการเรียนรู้
พบว่าความรู้ความสามารถทางธรรมของท่านนั้นมาจาก กระบวนการเรียนรู ้ทางธรรมที่มีเนื้อหาครบทั้งปริยัติ (ในกรณีนี้หมาย รวมถึงทฤษฎีของความรู้ทางโลก-ทางธรรมที่ช่วยส่งเสริมการปฏิบัติ) – ปฏิบัติ (การเจริญสมถะวิปัสสนาเพื่อพัฒนาจิตวิญญาณให้เข้าถึง ปรมัตถสัจจะ) – ปฏิเวธ (การประจักษ์แจ้งในผลของการหมั่นเพียร ฝึกฝนบูรณาการปริยัติและปฏิบัติจนได้รับผลที่ต้องการ คืออิสรภาพ จากการเห็นผิดหรืออวิชชา) มิได้ละเลยในด้านใดด้านหนึ่ง จากการ สังเกตกระบวนการเรียนรู้และการกําหนดข้อปฏิบัติของวัด จะพบว่า เจ้าอาวาสในทุกกรณีศึกษาจะส่งเสริมการเรียนรู้ให้ครอบคลุม ทั้งปริยัติ-ปฏิบัติ-ปฏิเวธ นอกจากนี้ จะไม่ละเลยการฝึกหัดขัดเกลา พระในปกครองด้วยการกําหนดวัตรปฏิบัติอย่างสมํ่าเสมอ เช่น การบิณฑบาต การทําวัตร การทํางานบริการสังคม การฝึกแสดงธรรม
ส่วนความรู้ทางโลกได้จากคุณสมบัติเป็นผู้ใฝ่รู้ เป็นนักอ่าน เป็นผู้ชอบการทัศนศึกษาดูงานในที่ต่าง ๆ ติดตามข่าวสารการ
เปลี่ยนแปลงรอบตัว ฯลฯ นอกจากความรู ้สมัยใหม่แล้ว ในกรณีศึกษา ของวัดป่าสุขสมบูรณ์ เจ้าอาวาสยังมีความรู้ในภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน การแพทย์เกี่ยวกับการรักษาโรคและอาการเนื่องกับกระดูก เส้นเลือด และเจ้าอาวาสวัดภูเขาทองมีภูมิปัญญาด้านการปรุงยาแผนโบราณ เมื่อประกอบเข้ากับความรู้ทางธรรมของทั้ง ๒ รูป ทําให้บูรณาการ ความรู้ทั้ง ๒ ชุด มาสนับสนุนการฟื้นฟูบทบาทวัด ทั้งทางโลกและ ทางธรรม โดยเฉพาะศูนย์แพทย์ภูมิปัญญาของวัดป่าสุขสมบูรณ์ ที่มีการก่อตั้งและพัฒนาจนกระทั่งขยายใหญ่มีสาขาย่อยในวัดอื่น โดยกระบวนการรักษาและข้อกําหนดการปฏิบัติต่าง ๆ ของผู ้เกี่ยวข้อง ทั้งผู ้รักษาและให้การรักษาจะยึดโยงกับการเรียนรู ้และปฏิบัติธรรมไป พร้อมกันได้อย่างน่าสนใจ เนื่องจากเป็นโรคที่มีผู้เจ็บป่วยในปัจจุบัน เป็นอันมาก รวมทั้งได้บูรณาการภูมิปัญญาไทยนี้ไปขยายภาคีความ ร่วมมือ สร้างการเรียนรู้และปรับขยายงานร่วมกับองค์กรแพทย์แผน ปัจจุบันคือโรงพยาบาลจังหวัด เปิดช่องทางให้การรักษาสุขภาพ มีความทันสมัยไปพร้อมกับสอดแทรกธรรมได้ด้วย เช่นเดียวกับ เจ้าอาวาสวัดภูเขาทองซึ่งมีกระบวนการปรุงยาแผนโบราณและวิธีการ แจกจ่ายยาโดยบูรณาการกับเนื้อหาธรรม มีการใช้กุศโลบายสอนธรรม ให้แก่ผู้รับยา
๙๓
๔.๒ ทุนทางสังคม (๑)
นับเป็นปัจจัยร่วมที่มีความสําคัญต่อการฟื ้นฟูบทบาทของวัดใน กรณีศึกษาด้วย แต่จะมีอิทธิพลมากหรือน้อยขึ้นกับเงื่อนไขคุณลักษณะ ของทุนบุคคลที่กล่าวไปแล้ว ว่าสามารถสร้างความศรัทธาให้ก่อเกิด ทุนทางสังคมหรือนําทุนทางสังคมที่มีอยู่ก่อนของวัดมาใช้ได้เพียงใด ใน ๕ กรณีศึกษา ทุนสังคมที่สําคัญซึ่งส่งเสริมปัจจัยร่วมให้แก่การฟื ้นฟู บทบาทวัด ได้แก่ กลุ ่มคฤหัสถ์ และทุนทางวัฒนธรรม ในทุกกรณีศึกษา พบว่า มีกลุ่มคฤหัสถ์เข้ามาสนับสนุนการฟื้นฟูบทบาทของวัด มีทั้ง แบบเฉพาะกิจและแบบต่อเนื่อง อาทิ วัดนางชี มีกลุ่มจิตอาสาด้าน สถาปัตยกรรมเข้ามาเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้ด้านการบูรณะซ่อมแซม อาคารเก่าบางส่วนภายในวัด โดยเริ่มจากมีบุตรหลานของชาวบ้านซึ่ง ที่มีความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์มาช่วยดูในเบื้องต้น แล้วจึงเชื่อมโยง ต่อไปถึงอาจารย์ที่เคารพในมหาวิทยาลัยมาช่วยให้คําปรึกษาด้าน สถาปัตยกรรมแก่การบูรณะโบราณสถานของวัด ส่วนกลุ่มจิตอาสา ประเพณีชักพระ เป็นผู้เคยบวชเรียนและอยู่อาศัยกับครอบครัวย่าน วัดนางชี และกลุ ่มจิตอาสางานครัว ส่วนมากเป็นกลุ ่มผู ้สูงอายุที่เข้ามา
(๑)
ทุนทางสังคม หมายถึง ทุนที่เกิดจากการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทํา บนฐานของ ความไว้เนื้อเชื่อใจ สายใยความผูกพัน และวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยผ่าน ระบบความสัมพันธ์ในองค์ประกอบหลัก ได้แก่ คน สถาบัน วัฒนธรรม องค์ความรู้ ซึ่งจะเกิดเป็นพลังในชุมชนและสังคม (สํานักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ๒๕๔๙, ภาคผนวก, น.๑)
๙๔
ช่วยประกอบภัตตาหารประจําวัน เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และได้เรียนรู ้ธรรมจากการทํางานไปด้วย ส่วนวัดภูเขาทองมีอาสาสมัคร ประจําซึ่งเป็นคนต่างถิ่นที่เข้ามาช่วยประสานงานการบูรณปฏิสังขรณ์ โบราณสถาน และยังมีกลุ่มคฤหัสถ์ที่เข้ามาช่วยเจ้าอาวาสในช่วง บุกเบิกการพัฒนาวัดและยังคงหมุนเวียนกันมาอย่างต่อเนื่องใน วันหยุด วันเทศกาลต่างๆ เพื่อช่วยพัฒนาวัด เป็นแรงกายหลักในการ ขับเคลื่อนงานบุญต่าง ๆ ของวัดภูเขาทอง เช่นเดียวกับวัดลานสักและ วัดป่าสุขสมบูรณ์ที่ผลงานการพัฒนาฟื ้นฟูสัปปายะและบทบาทของวัด ได้ก่อให้เกิดความศรัทธา มีคนมาทํางานจิตอาสาในงานต่าง ๆ ของวัด ทั้งแบบเฉพาะกิจและประจํา
ผลจากกรณีศึกษา สรุปในเรื่องงานจิตอาสาสมัครของวัดได้ว่า สามารถใช้เป็นช่องทางและกลไกที่สําคัญของการพัฒนาจิตวิญญาณ ของทุนบุคคลตามบทบาทของวัดได้เป็นอย่างดี แต่จะได้ผลมากน้อย เพียงใด ขึ้นกับการออกแบบกิจกรรมและกระบวนการทํางานอาสาสมัคร ที่บูรณาการประเด็นธรรมะและประเด็นสังคมได้อย่างเหมาะสมกับ กลุ ่มจิตอาสานั้น ๆ เช่น วัดป่าสุขสมบูรณ์พัฒนากลุ ่มเยาวชนให้ทํางาน อาสาสมัครจัดพิธีงานศพในชุมชน จัดประเพณีสงกรานต์ในรูปแบบใหม่ ทําให้ได้เรียนรู้เรื่องของชีวิต คุณค่าความหมายที่แท้จริงของประเพณี การทํางานเป็นหมู่คณะ เนื่องจากความสําเร็จของงานขึ้นกับการ ทํางานอย่างเป็นกระบวนการสอดคล้องกันไป ไม่สามารถหยุดชะงัก ได้ในระหว่างดําเนินการ
ในกรณีศึกษาทั้งหมด วัดนายโรงมีเงื่อนไขพัฒนาทุนทางสังคม ได้มากและที่นําไปสู ่ทุนอื่น ๆ ได้กว้างขวาง หลากหลายมาก เนื่องจาก
๙๕
้
มีสถานีวิทยุฯวัดนายโรงเป็นกลไกสําคัญ ที่สนับสนุนการสื่อสาร กิจกรรมของวัดทั้งในบทบาทการพัฒนาจิตวิญญาณและบทบาททาง สังคม ที่เอื้อให้เกิดการต่อเติมทุนและขยายทุนใหม่ ทั้งด้านทุนทรัพย์ ทุนบุคคลที่อาสาสมัครเข้ามาช่วยงาน และองค์กรที่เข้ามาร่วมสร้าง กิจกรรมทางสังคมที่บูรณาการเข้ากับบทบาททางธรรมและทางสังคม ของวัด อาทิ ศาลจังหวัดตลิ่งชัน กรมคุมประพฤติ ดังกล่าวไปแล้วใน บทที่ ๒ ยิ่งไปกว่านั้น การมีสถานีวิทยุยังช่วยให้วัดนายโรงรักษาความ สัมพันธ์กับทุนบุคคลในชุมชนเดิมของวัดไว้ได้อีกด้วย แม้ว่าจะอพยพ ไปอยู่ต่างถิ่นแล้วก็ยังสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของวัดได้ แตกต่างจากวัดในกรณีศึกษาอื่นและวัดเมืองอื่น ๆ โดยทั่วไป ที่ไม่ สามารถจะรักษาความสัมพันธ์กับญาติโยมกลุ่มเดิมไว้ได้ เนื่องจาก ข้อจํากัดของย้ายถิ่นที่อยู่ไปไกลจากเดิม
อย่างไรก็ตาม การทํากิจกรรมของวัดก็เป็นกลไกสร้างและ สะสมทุนทางสังคมของวัดได้เช่นกัน หากมีการวางแผนและจัดการ วัดป่าสุขสมบูรณ์เป็นตัวอย่างที่ใช้กิจกรรมพัฒนากลุ่มเยาวชนของ ท้องถิ่น ให้เป็นทุนสังคมของวัดและของท้องถิ่น ด้วยการจัดการเรียนรู ทั้งทางโลกและทางธรรมให้กลุ่มเยาวชนจนกระทั่งสามารถเป็น ผู ้รับผิดชอบจัดงานศพของวัดได้ครบทั้งกระบวนการ ตั้งแต่เป็นพิธีกร จัดสถานที่ จัดขบวนศพ เตรียมประกอบพิธีกรรมสวดพระอภิธรรม ร่วมบริจาคปัจจัยไทยธรรมช่วยงานศพ สวดมนต์ปฏิบัติธรรมอุทิศ ส่วนกุศลในงานศพ เจ้าหน้าที่อํานวยความสะดวกในงานศพ เจ้าหน้าที่ ต้อนรับ เชิญผ้าบังสุกุล ดูแลฝ่ายปฏิคม งานบริการ และยังปลูกฝัง คุณธรรมในงานศพ ให้รู้จักเอื้อเฟื้อต่อผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย เป็นที่ ชื่นชมของผู ้มางานศพและผู ้พบเห็น นอกจากนี้ยังอบรมให้เยาวชนรู ้จัก
๙๖
การทํางานหารายได้, ฝึกอบรมเป็นแพทย์ภูมิปัญญาเพื่อดูแลพ่อแม่ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้เป็นกลไกช่วยขยายทุนทางสังคมให้แก่วัด โดยทางอ้อม เนื่องจากทําให้พ่อแม่เยาวชน ครู ผู้ใหญ่ หน่วยงาน เกิดความศรัทธาในบทบาทของวัดที่ช่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะเยาวชนให้แก่สังคมเหมือนที่วัดในอดีตทําหน้าที่ในการ อบรมบุตรหลานให้เป็นทุนของชุมชน
ส่วนทุนทางวัฒนธรรมนั้น ในกรณีศึกษายังไม่มีการนํามาใช้เป็น ทุนดึงพุทธศาสนิกชนเข้าวัดหรือสร้างจุดขายให้วัดโด่งดัง แม้ว่า จะมีทุนดังกล่าวอยู่เด่นชัดที่วัดภูเขาทอง วัดนางชี และวัดนายโรง โดยวัดนายโรงมีพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกา มีหลวงพ่อรอด ซึ่งเป็นพระเครื่องซึ่งเคยมีชื่อเสียงโด่งดังในอดีต ส่วนวัดนางชีมีจุด ดึงดูดทางวัฒนธรรมในฐานะพระอารามหลวงซึ่งมีศิลปกรรมเก่าแก่ เช่นเดียวกับวัดภูเขาทองซึ่งมี “รอยพญานาค” อันศักดิ์สิทธิ์ และเป็น โบราณสถานทางประวัติศาสตร์ แต่วัดทั้ง ๓ กรณีก็มิได้นํามาเป็น เงื่อนไขดึงคน(และเงิน)เข้าวัดด้วยการสร้างจุดขายจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือส่งเสริมการท่องเที่ยว จนกระทั่งข้ามบทบาทหลักของวัด ในฐานะผู ้ให้การพัฒนาด้านจิตวิญญาณแก่ผู ้บวชเรียนและแก่คฤหัสถ์ เนื่องจากผู ้นําทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ตระหนักในบทบาทหลักของวัด แม้แต่วัดป่าสุขสมบูรณ์ซึ่งในอดีต (สํานักสงฆ์โคกพริก) จะเคยมี ชื่อเสียงโด่งดังในการใบ้หวยให้ลาภ แต่เมื่อถึงจุดเสื่อม คฤหัสถ์ที่มี บทบาทฟื ้นฟูวัดก็มุ ่งแสวงหาพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีมาฟื ้นฟูวัด แม้บางวัด จะมีแผนงานพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เช่นวัดนางชี วัดภูเขาทอง แต่ก็จะกํากับด้วยบทบาทหลักของวัด คือเอื้อให้ผู้ เข้ามาต้องได้เรียนรู้ธรรมด้วย
๙๗
๙๘
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ชัดเจนว่า ทุนบุคคลเป็นปัจจัย จําเป็นที่ขาดเสียมิได้ แต่ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะสําคัญตามที่ กล่าวด้วย โดยที่คุณสมบัติต่าง ๆ ล้วนเป็นสิ่งที่บ่มเพาะให้เกิดขึ้นได้ ทั้งสิ้น มิใช่พรสวรรค์แต่อย่างไร
สำหรับผู�ที่ห�วงใยในพระศาสนา หนังสือเล�มนี้ให�ทั้งความรู�และความหวังเป�นเสมือนหน�าต�างที่เป�ดให�เราเห็นแสงเทียนสว�างไสวหลายเล�มที่โดดเด�นท�ามกลางความมืดมิดในยามที่ผู�คนจำนวนมากตั้งข�อกังขาหรือถึงกับเสื่อมศรัทธาในพระสงฆ�หนังสือเล�มนี้ ชี้ให�เราเห็นว�า ยังมีพระและวัดจํานวนไม�น�อยที่ทำคุณประโยชน�อย�างมากแก�สังคม ช�วยเหลือเกื้อกูลประชาชนในด�านต�าง ๆโดยไม�ทิ้งบทบาทหลักคือการพัฒนาด�านจิตวิญญาณเพื่อให�เข�าถึงความสุขที่แท� อันเป�นจุดมุ�งหมายของพุทธศาสนา
บางตอนของคำตาม พระอาจารย�ไพศาล วิสาโล
สถาบันอาศรมศิลป� วิทยาลัยพัฒนศาสตร� ป�วย อึ๊งภากรณ� มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร�
สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร�างเสริมสุขภาพ (สสส.)