เสียงจากถ้ำ ฉบับที่ ๒๔

Page 1

ฉบับที่ ๒๔ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓


บรรณาธิการ: พระครูภาวนาพิลาศ กองบรรณาธิการ: สายฟ้า, โชติธมฺโม, วิสูตร จิรโสภณ, สุญญตา พูลทรัพย์, พัชรี วชิระนิเวศ, สิริวรรณ เอกผล, อภิสรา จุลพันธ์ พิสูจน์อักษร: วิสูตร จิรโสภณ, อภิสรา จุลพันธ์ ศิลปกรรม: พระนิพพาน โชติธมฺโม ภาพปก : ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์ แยกสีและพิมพ์ที่: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทร. ๐ ๒๘๘๒-๑๐๑๐, ๐ ๒๔๒๒-๙๐๐๐ โทรสาร : ๐ ๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐ ๒๔๓๔-๑๓๘๕ อัตราค่าสมาชิกหนังสือ ‘เสียงจากถ้ำ�’ จำ�นวน ๑๒ เล่มต่อครั้ง รวมค่าจัดส่งภายในประเทศ ๒๔๐ บาท โดยเงินสด ตั๋วแลกเงิน หรือธนาณัติ ปณ พระพุทธบาท สั่งจ่ายในนาม : พระนิพพาน โชติธมฺโม ส่งตามที่อยู่ : วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ ตำ�บลเขาวง อำ�เภอพระพุทธบาท สระบุรี ๑๘๑๒๐ โทรศัพท์เลขหมายใหม่! ๐๓๖ ๓๔๗-๗๓๐ แฟ็กซ์ : ๐๓๖ ๓๔๗-๗๓๑

ขอโมทนากุศลครอบครัว ‘คุณชูเกียรติ-คุณเมตตา อุทกะพันธุ์’ เป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือเสียงจากถ้ำ� เป็นธรรมทาน


www.watkhaowong.com ภาพ: ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์


บรรณาธิการ พระครูภาวนาพิลาศ ๖ มรดกพระดี ‘เรื่องในบ้านใหญ่ ตอนที่ ๘’ หลวงตา ๘ พูดตามพ่อสอน ๑๙ ปกิณกะ ‘สังฆทานบูชาพระคุณ’ พระครูภาวนาพิลาศ ๕๔ ใบไม้พูดได้ ‘นิพพานฯ’ ๖๑ ใบไม้ในป่าใหญ่ ‘ธรรมะมหัศจรรย์’ ตอนไม่เชื่อแถมลบหลู่ เนตรา ๖๒ งบการเงิน ‘เดือนสิงหาคม ๕๒ - กุมภาพันธ์ ๕๓’ ๗๒ โมทนากุศล ๘๑ กองทุนธรรมทาน ‘ข้าวก้นบาตรของหนู’ ๑๐๖ เรื่องจากปก ๑๒๗ เณรน้อยเจ้าปัญหา ๑๓๓ ในรอยเท้าพ่อ ‘ไม่มีดีอะไร’ สุญญตา ๑๓๔ คนรักษ์เขาวง ‘จันทน์ผา’ ๑๓๖ ระเบียบข้อปฏิบัติของผู้มาพักปฏิบัติธรรม ๑๓๘ ท้ายเล่ม ‘โชติธมฺโม’ ๑๔๐


สารบัญ ฉบับที่ ๒๔ เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓

www.watkhaowong.com

ภาพ: ทิดเซียม


อุโบสถก็สร้างเสร็จแล้ว บางท่านก็ชมว่าสวยงามนัก บางท่านก็ว่าบึกบึนเป็น บ้านนอกไม่ถูกใจ ตอนกลางวันก็สว่างไสวเห็นชัดเจนสบายใจ แต่พอตกกลางคืนก็มืดมิดเงียบสงัด ไม่คงที่ไม่ถูกใจผู้มาพบเห็น ตามกาลเวลาและบุคคลซึ่งแตกต่างกันไป จะมีอุโบสถวิหารที่ ไหนบ้างหนอที่งามพร้อมถูกใจผู้คนทั้งหลาย.....มีไหมหนอ.. มีซิลูกหลานเอย... และก็มีอยู่ในดวงใจของเรา ทั้งหลายผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งมั่นคงแล้ว มีศีลอันดีงาม ตามบุญของตนแล้ว มีพระธรรมเป็นที่สถิตอาศัย เป็นวิหาร ธรรมประจำ�ใจแล้ว.. นี่แหละลูกหลานเอ๋ย....จึงจะมั่นคง สว่างไสว ถูกใจสบายใจของตัวเราเอง ใช่ไหมลูก... วิหารอันมั่นคงเป็นอมตะคือ‘สติปัฏฐาน’นี่แหละหนอ


ภาพ: ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์

‘ศีล’อันเยือกเย็นปราศจากภัยทั้งต่อตัวเราเองและ ผู้อื่นนี่แหละหนอ ปัญญา‘วิปัสสนาญาณ’ อันสว่างไสวแจ่มแจ้งตลอด โลก ทั้งกลางวันและกลางคืนนี่แหละหนอ... มีอยู่ในใจเรา...ในเขตพระพุทธศาสนาแล้วลูกเอ๋ย เอาขึ้นมาใช้.. มาชื่นชม.. ให้สมปรารถนาที่เกิดมาเป็น มนุษย์พบพระพุทธศาสนา ถ้ายังหาไม่พบ ยังใช้ไม่ถนัดชัดเจน ก็มาที่วัดเขาวง ถ้ำ�นารายณ์ มาที่อุโบสถบ้านนอก แต่สบายใจแห่งนี้ ก็ได้นะลูก!


ลูกหลานเอย.. มาอ่านมาฟัง‘เรื่องในบ้านใหญ่’ (คือวัดท่าซุง)กันอีก เมื่อตอนที่แล้วเขียนถึงเรื่องใน ระยะแรกเริ่มสร้างวัด และคนที่มาสนับสนุนทำ�บุญ ปฏิบัติธรรมยังน้อยกว่าสมัยนี้นัก


มีเรื่องอยากจะเล่าให้ลูกหลานฟังคือเรื่องการเป่ายันต์ เกราะ เพชรในระยะแรก...อยากฟังไหม? เอาตั้งแต่เริ่มแรกที่หลวงตาสัมผัสรู้เห็นมาด้วยตนเอง นะ ตอนแรกพระคุณพ่อ(หลวงพ่อฤาษีฯ) ยังยืนยันที่จะไม่เป่า ยันต์เกราะเพชร ตอนที่หลวงตายังไม่ได้บวชแต่ไฟแรงอยาก บวชออกธุดงค์ เข้าไปหาพระคุณพ่อ ขอให้ท่านจัดเป่ายันต์ เกราะเพชรเหมือนสมัยหลวงปู่ปานวัดบางนมโค (ผู้เป็นที่รัก และมีพระคุณต่อท่านประดุจพ่อ) ท่านมองหน้า..หน้าเข้มตาดุ เชียว.. “จะเอาไปทำ�ไม!” ก็กราบเรียนท่านว่าจะได้เป็นมงคล เป็นยันต์วิเศษ คุ้มกายคลุมใจให้อาจหาญมั่นคงในการถวายชีวิตปฏิบัติธรรม ชนิดเอาเป็นเอาตายกันเลย “ข้าไม่เป่า” ท่านยืนยันทั้งน้ำ�เสียงและสีหน้าสายตา “ข้าไม่เดินทับทางที่พ่อข้าเดิน.. ไม่ต้องมาขอ..เขอ.. อะไรทั้งนั้น!”


10 ลูกหลานเอย หลังจากนั้นอีก ๕ ปี เมื่อหลวงตาบวชได้ พรรษาแรก พระคุณพ่อก็จัดเป่ายันต์เกราะเพชรเป็นครั้งแรก ในชีวิตของท่าน โดยให้เหตุผลว่า ‘พระ’(หมายถึงพระพุทธเจ้า หรือหลวงปู่ปาน) มาบอกให้จัดเป่ายันต์เกราะเพชร ลูกหลาน จะได้มีความมั่นคงในคุณความดีที่ปฏิบัติบูชากันอยู่ จะได้มี มงคลมีพรคุ้มชีวิตจิตใจ เพราะว่าถึงเวลาแล้ว เมื่อได้รับยันต์ เข้าตัวแล้ว ใจก็จะยึดมั่นในศีลและสรณาคมน์อย่างมั่นคง เป็น เครื่องป้องกันอบายภูมิได้โดยตรงอีกด้วย ในการจัดงานเป่ายันต์ครั้งแรกนั้น จัดทำ�ที่ศาลา ‘พระ พินิจอักษร’ ซึ่งเป็นศาลาใหญ่ที่สุดในเวลานั้น ตั้งอยู่ขนานกับ โบสถ์ ติดกับสระน้�ำ ร้านอาหารโยมกิมกี พอถึงเวลาพิธี.. ผู้คน ไม่รู้มาจากไหนกัน แน่นขนัด.. เบียดเสียดเข้าประตูศาลาพระ พินิจอักษร เป็นลมล้มกลางแถว ต้องอุ้มหนีเท้า.. คลื่นผู้คน.. เป็นพัลวัน จัดเพียงรอบเดียวในตอนบ่าย เมื่อเสร็จพิธีเป่ายันต์ ครั้งแรก ลูกหลานศิษยานุศิษย์พระคุณพ่อทั้งหลายต่างก็รอวั นเสาร์ห้าหน้า อันเป็นวันเป่ายันต์เกราะเพชรครั้งที่สองอย่างใจ จดใจจ่อ เพราะเหตุว่า.. พระคุณหลวงปู่ปาน และพระคุณพ่อได้พูดถึงอานิสงส์ อานุภาพของยันต์เกราะเพชรไว้นานแล้ว ลูกหลานจำ�ได้ติดตรึง ใจว่า ต้องรักษาศีล ๒ ข้อ คือข้อไม่ลักทรัพย์ และข้อไม่ดื่มสุรา


11 ต่ อ มาในสมั ย พระคุ ณ พ่ อ ได้ เพิ่ ม เป็ น ว่ า ต้ อ งรั ก ษาศี ล ได้ ทั้ง ๕ ข้อ ยันต์จึงจะเข้าตัว จึงจะเป่ายันต์ติด ต่อไปถ้าไป ผิดศีลข้อใดข้อหนึ่ง.. ที่รักษา สั จ จะเพื่ อ รั บ ยั น ต์ เ กราะ เพชรนั้น ยันต์ก็จะหลุดจะ เสื่อมสภาพจากเกราะเพชร คุ้มกายนั้น ถ้าอยากได้ยันต์ อีก ก็ต้องรักษาศีลเป็นสัจจะ แล้วรอเสาร์ห้าต่อไป เมื่อเข้า ไปรับยันต์ในพิธียันต์ก็จะเข้า ตัวติดตัวได้อีก อยากรู้อานุภาพยันต์เกราะเพชรไหมล่ะลูก!... สมัย หลวงปู่ปานท่านบอกว่า อานิสงส์ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ.. พิษร้าย ทั้งหลาย ไม่ว่าจะงูพิษกัด ตะขาบกัด จะทำ�อันตรายไม่ได้ เมื่อ ถูกพิษทำ�ร้ายแล้ว ก็จะวิ่งขึ้นมาได้แค่ข้อมือข้อเท้า หรือข้อต่อ ถัดจากแผลพิษนั้นเท่านั้น แล้วก็จะพลันวิ่งกลับสลายจากร่าง กายไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งป้องกันไสยศาสตร์ คุณไสย์ได้โดย ตรงอีกด้วย ส่วนอันตรายอื่นๆ อีกนั้นก็คุ้มได้ไม่เกินกฎแห่ง


12 กรรมของแต่ละคน ที่นี้สัญลักษณ์เครื่องกำ�หนดรู้ว่า ยันต์เข้าตัวได้แล้วนั้น จะมีอาการปรากฏต่างๆ กันไปหลายลักษณะ คือรู้สึกว่าคัน ตามผิวหนัง ตามเนื้อตามตัวบ้าง รู้สึกร้อนหรือเย็นบริเวณ หน้าผากอย่างชัดเจนบ้าง บางคนถึงกับจับไข้ไปเลยก็มีมากราย และที่ตื่นเต้นที่สุดก็คือ เมื่อแม่ท้องบุตรแล้วเข้าไปรับยันต์ เกราะเพชร แม่ก็ได้คุณของยันต์สำ�หรับตัว แต่เมื่อคลอดลูกออกมาแล้ว จะมีรายเส้นยันต์เกราะ เพชรสีแดงชัดเจนปรากฏทั่วตัวหรือบางส่วนของร่างกาย จะมี อาการอย่างนั้นชัดเจนอยู่ ๗ วัน ยันต์ก็จะซึมเข้าร่างกายหาย ร่องรอยภายนอกไป อย่างต้องรอพิสูจน์นานหน่อย เด็กคนนั้น จะไม่มีใครทำ�ร้ายได้เลยตราบเท่าที่ยังรักษายันต์ไว้ได้ แถมอีกนิดปิดท้ายอานิสงส์ยันต์เกราะเพชร คือเมื่อ เจ้าของยันต์นั้นตายลง เผาศพแล้วให้ดูที่กะโหลกศีรษะ จะมีเส้น ยันต์เกราะเพชรเต็มรูปยันต์เป็นสีขาวติดอยู่ที่กะโหลกชัดเจน มาก หลวงตายืนยันได้เลยจากกรณีของ ‘หลวงปู่ทองเทศ’ วัดท่าซุง หลวงปู่ทองเทศอายุร้อยกว่าปี นอนอยู่กุฏิหมายเลข ๗ ของกุฏิ ๑๐ หลัง หลังโบสถ์วัดท่าซุง ทุกครั้งที่มีการเป่ายันต์ พระคุ ณ พ่ อ จะให้ พ าดสายสิ ญ จน์ ล้ อ มรอบฝั่ ง โบสถ์ ทั้ ง หมด ระยะสุดท้าย พิธีจัดในศาลา ๑๒ ไร่ ท่านบอกว่าแม้ไม่ได้อยู่


13

ไฟมอดแล้วก็เข้าไปเขี่ยดู กระดูกกระโหลกหลวงปู่ทองเทศ เห็นเส้นยันต์เกราะเพชรชัดเจน ตามตำ�ราไม่มีผิดเพี้ยน! ในศาลาพิธี แต่อยู่ในเขตสายสิญจ์ล้อม ให้ภาวนาพุทโธอธิฐาน ขอรับยันต์ ก็จะรับได้เหมือนนั่งอยู่ต่อหน้าพระคุณพ่อซึ่งกำ�ลัง เป่ายันต์อยู่ หลวงปู่ทองเทศ นอน.. นั่งภาวนาในกุฏิ ซึ่งอยู่นอก กำ�แพงศาลา ๑๒ ไร่ ท่านอธิฐานมั่นคงขอรับยันต์เกราะเพชร ทุกครั้งที่มีการเป่ายันต์ พอหลวงปู่ตาย.. พระทั้งหมดอยากรู้ ผลพิสูจน์ จัดเมรุเผาศพที่ลานหน้าโบสถ์ ไฟมอดแล้วก็เข้าไป เขี่ยดูกระดูกกระโหลกหลวงปู่ทองเทศเห็นเส้นยันต์เกราะเพชร ชัดเจน ตามตำ�ราไม่มีผิดเพี้ยน!


14 ลูกหลานเอย.. พักมือสักครูหนึ่งก่อน.. จะเอาต้นฉบับ ไปให้เขาพิมพ์ลง ‘เสียงจากถ้ำ�’ ได้ ๔ หน้ากระดาษแล้ว... เฮ่อ! กว่าจะเขียนออกมาได้หนอ... ไปดูเขาขุดหลุมปลูกต้นไม้มา นั่งรอเวลาเลิกกรรมฐาน รอเวลาคุยกับลูกหลานญาติโยม ก็เลยเขียนต่อเล่าเติมให้จบ ตอนต้นฉบับ ‘เสียงจากถ้ำ�’... ขณะนี้เวลานี้พระคุณพ่อจากพวกเราไปแล้ว มาถึงยุค สมัยของ‘พระอาจารย์พระครูปลัดอนันต์ พัทฺธญาโณ’ เป็น เจ้าอาวาสทายาทคุณสมบัติทุกอย่างของพระคุณพ่อ รวมทั้ง การเป่ายันต์เกราะเพชรอีกด้วย ที่จริงแล้ว.. พระคุณพ่อก็ได้ เมตตา ทำ�พิธีครอบครูเป่ายันต์เกราะเพชรให้ลูกๆ พระภิกษุ ทั้งหลาย จำ�นวน ๒๐ กว่าองค์ ตามที่ได้เคยเล่าให้ฟังมาแล้ว เท่าที่ ทราบดีกันอยู่ว่า ลูกพระที่จัดพิธีเป่ายันต์เกราะเพชรตามรอย พ่อองค์แรกก็คือ ‘อาจารย์เล็ก สุธมฺมปัญโญ’ แห่งวัดท่าขนุน หรือเกาะพระฤาษีฯ เหตุเพราะพระคุณอาจารย์อนันต์ ไม่จัด เป่าที่วัดท่าซุง ด้วยเหตุผลเดียวกันที่พระคุณพ่อฤาษีฯ ไม่จัดพิธี ทับทางที่หลวงปู่ปานดำ�เนินมาแล้ว แต่กาลเวลาผ่านไปถึงเวลา ปัจจุบันเหตุปัจจัยก็เปลี่ยนไป อาจจะถึงเวลาที่พระคุณอาจารย์ อนันต์ จะเมตตาเป่ายันต์ เหมือนกับที่พระคุณพ่อจัดเป่าให้ ลูกหลานเพราะถึงเวลาอันเป็นมงคล และจำ�เป็นที่ต้องทำ�แล้ว..


15 ก็อาจจะเป็นไปได้ ขอ..เขียนอีกสัก ๒ หน้ากระดาษ.. ลูกหลานเอย.. หลวงตาพูดถึงยันต์เกราะเพชร ในบ้านใหญ่มาพอสมควรแล้ว สิ่งควรพูดถึง เมื่ออยู่ในบ้านใหญ่วัดท่าซุง ก็คือคำ�สอนอัน เป็นอมตะล้ำ�ค่าที่พระคุณพ่อเคยสั่งสอนทั้งทาง ตรงและทางอ้อม พ่อจะสอนอยู่ตลอด เตือน อยู่เสมอว่าอย่ายึดถือทุกสิ่งทุกอย่างว่า มันจะเป็นของเราเป็นเราอยู่ ได้นานตลอดไปมันเกิดมีขึ้น มา แล้วก็เปลี่ยนแปรสิ้น สภาพไป สลายไปไม่มี เหลือในที่สุด และ ใน ระหว่างที่มัน ยังสัมพันธ์ หรือ ครอบครอง คบค้ากับเรา อยู่ก็อย่า ไปใช้ มัน


16 ทำ�ความเลวความชั่ว จงใช้มันทำ�ความดีให้มากให้ฉลาดที่สุด เพราะอีกประเดี๋ยวมันก็จะหมดเวลา หมดสภาพ สลายจากเรา ไปตามกฎธรรมดา แล้วเราก็จะเสียดายว่า “รู้อย่างนี้ไม่ทำ�เลวอย่างนี้ก็ดีแล้วหนอ.. รู้อย่างนี้เรา น่าจะทำ�ความดีให้มากกว่านั้นจริงๆ หนอ” หลวงตามีวาสนามีเวลาอยู่กับพ่อน้อยเหลือเกิน..แม้ จะมีโอกาสที่พ่อให้ลูกเสมอกัน ก็ไม่เข้าใจ ไม่ฉลาดที่จะฉกฉวย ตักตวงโอกาสอย่างนั้นมาทำ�ความดีตามที่พ่อสอนพูดเฉพาะ ตัวว่า

พระคุณ‘พ่อ’ พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง)


17

รู้อย่างนี้ ไม่ทำ�เลวอย่างนี้ก็ดีแล้วหนอ.. รู้อย่างนี้เราน่าจะทำ�ความดี ให้มากกว่านั้นจริงๆ หนอ “..เออนี่คุณ..ในระหว่างที่ยังไม่ได้หมอบหมายให้ทำ� หน้าที่อะไร ก็ไม่ต้องร้อนใจอยากทำ�หน้าที่ รีบเอาเวลาไปทำ� ความเพียร ทำ�กรรมฐานให้มากที่สุด ให้ใจสบายที่สุดเสียก่อน เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำ�งาน จะได้เหนื่อยแต่กายแต่ใจเป็นสุข” ลูกหลานเอ๋ย หลวงตาหายใจเข้าแล้วก็ต้องหายใจออก นาทีหนึ่งหายใจตั้งเกือบ ๑๐ คู่ วันหนึ่งกี่คู่ กี่ครั้งหนอ..เดือน หนึ่งก็แปด-เก้าแสนครั้งแล้วหนอ... โอ! ลูกเอย.. ปีหนึ่งก็กว่า สิบล้านคู่ลมหายใจ หลวงตามาคิดในปัจจุบันวันนี้อายุ ๖๘ ปี เต็มแล้ว หลวงตายอมรับว่า หายใจทิ้งเปล่าๆ ไม่สมกับที่เกิด มามีชีวิตเป็นมนุษย์ หายใจทิ้งเปล่าๆ ก็ยังไม่เสียหาย.. สำ�คัญ ที่ว่าหายใจพร้อมกับคิดเลวๆ คิดขี้เกียจผัดผ่อน... คิดตำ�หนิ


18 คนอื่นนอกจากตัวเอง.. นี่สิลูกหลานเอ๋ย.. มันหายใจขาดทุนคุณ ความดีที่มีชาติกำ�เนิดเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา เสียทีที่ ได้พบพระคุณพ่อ ครูบาอาจารย์อันเลอเลิศที่ท่านรักปรารถนา ให้เราได้ดี ช่างเสียชาติเกิดมาหนอ.. แต่วันนี้เรายังเหลือชาติ เหลือเวลา ยังมีขันธ์ห้าที่ยัง ทำ�งานได้ไม่ทุพพลภาพ ยังอยู่เป็นอิสระนอกคุกนอกตะราง ยัง เลือกที่นั่ง ยืน เดิน นอนได้ ยังหายใจได้..ลูกเอ๋ย..ยังหายใจได้ อย่างน้อยก็ขณะนี้อีกสักครั้งหนึ่ง..คู่หนึ่ง..สักวันสุดท้ายหนึ่ง ทำ�คืนกันเถอะลูก! หายใจเข้าด้วยอารมณ์ดี หายใจออกด้วย อารมณ์สงบ.. ประคองถนอมหายใจให้มีค่าที่สุด.. เผื่อว่ามัน จะไม่หายใจเข้ามาอีกแล้ว.. เราจะได้จาก ขันธ์ ๕ นี้ไปด้วยใจสงบสุข.



ภาษาไทยที่ท่านจะได้อ่านจาก‘พูดตามพ่อสอน’ ฉบับนี้ เป็นถ้อยคำ�ที่ถอดจากการพูดตอบปัญหาและการสนทนา ในงานประจำ�วันจริงๆ โปรดทราบว่าเป็นการพูดเฉพาะกิจ เฉพาะกาลเวลา และเฉพาะอารมณ์ของบุคคล ซึ่งอาจไม่ถูกใจท่านก็ได้ เราถอดเทปพิมพ์ไว้ อ่านแล้วเห็นว่าฟังง่ายสบายใจ ก็ลองนำ�เสนอแบ่งกันอ่าน ตัวผู้พูดคือ ‘หลวงตา’ ท่านปรารภว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นละเอียดอ่อนบริสุทธิ์มหาศาล ทรงเลือกสรรเพียงน้อยนิดมาสอน พระสาวกองค์ใดดื่มด่ำ�สิ้นสงสัย ก็พยายามใช้ภาษามนุษย์พูดออกมาได้เพียงหนึ่งในหมื่นพัน ที่กินใจอิ่มเอิบ หลวงตาท่านฟังจากหลวงพ่อครูบาอาจารย์ แล้วทรงไว้ได้เพียงหนึ่งในล้านที่พ่อปรารถนาจะให้เข้าถึง ต่อไปนี้จะเป็นภาษามนุษย์ ที่พยายามบรรยาย ถ่ายทอดรสชาติที่ผ่านมาในใจของหลวงตา ท่านว่าจะได้สักกี่ส่วน จะเกิดประโยชน์สักกี่สัด ก็ทำ�ได้สุดความสามารถสุดวาสนา.. แล้วแต่ผู้ฟัง ผู้อ่านจะพิจารณาเอาเองเถิด.

ภาพ: คณะนวรัตน์


21

พระครูภาวนาพิลาศ (๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๒) ที่จริงพระกรรมฐานที่เราฝึก มุ่งอย่างเดียวเลยให้ใจเรา มีสติ และให้ใจสบาย ให้ใจเป็นสุขนะลูกนะ ฝึกสติ ฝึกกรรมฐาน ก็คือฝึกใจกับอารมณ์ ๒ อย่าง ใจมันกินข้าวไม่ได้นี่ มันกิน อารมณ์เนาะ ต้องดูอารมณ์ ฝึกอารมณ์ ซึ่งไม่ต้องไปรบกวน ชาวโลกอะไรเขาเลยนะ เสื้อผ้าใส่ชุดนึงตามสบาย ข้าวกินอิ่ม ตามสมควร หาที่นั่งสบายๆ เสร็จแล้วก็เอาหูนี่ฟัง หูก็ไม่ได้ ไปฝึกด้วย ตาก็ไม่ได้เอาฝึกด้วย เอาแค่มองว่าพระพูดอะไร หรือเปิดเทปถูกมั้ย? เมื่อเสียงหรือภาพเข้าไปในอายตนะแล้ว เนี่ย! มันจะเข้าไปในขันธ์ ๕ มันจะจำ�ได้ว่าใครคนโน้นเป็นพระ หรือไม่เป็นพระ มันจะสังขารปรุงแต่งว่า พูดดีฉันจะเอาไปทำ� พูดไม่ดีเราไม่เอา จะเข้าไปในขันธ์ ๕ นะ เสียงธรรมะนี่นะ แล้วก็เกิดความสุข เวทนา ปลื้มใจ หรือเกิดรำ�คาญ เป็นทุกข์ ไม่อยากฟังต่อ แล้วตัวประสาทตา วิญญาณทางตา เห็นรูป วิญญาณทางหูก็ได้ยินเสียง


22 จะเห็นว่าตั้งแต่ขันธ์ ๕ ลงไปจนถึงผู้คน ที่ดิน อาคาร ต่างๆ เนี่ย เราไม่ได้ไปฝึกเขาเลยนะลูกเขาเกิดขึ้นมาตาม ธรรมดา ตั้งอยู่ชั่วไม่เกิน ๑๐๐ ปีก็ตายไป เจ๊งหมดทุกราย พระอรหันต์ กี่องค์ๆ ขันธ์ ๕ พังหมดเนาะ! แม้องค์สมเด็จพ่อ จอมอรหันต์ของเราทั้งหลาย ทรงอุบัติขึ้นมาก็ตั้งอยู่ชั่ว ๘๐ พรรษาแล้วก็สลายไป ทุกวันนี้จะหาพระอัฐิธาตุของพระองค์ ซึ่งเป็นของแท้ ใครจะมารับรองได้บ้างว่าเป็นของพระองค์ท่าน แต่ใจเรารับรองว่า แม้เป็นของใครก็ตาม เราเคารพประดุจเป็น อัฐิของพระพุทธเจ้าอันนี้เป็นของแท้ อารมณ์ใจของเรานี่นะ! ทุกอย่างที่พูดมานี่เป็นการประกอบให้เราเอาใจมาฝึก อารมณ์เท่านั้นเอง ฟังเข้าไปแล้วคิดตาม อารมณ์คิดน่ะ ถึงจะ เริ่มเป็นกรรมฐาน เสียงดีจังนะ.. เหตุผลดีจัง.. มันเริ่มกินเข้าไป อารมณ์ก็ปลื้มใจจัง มันต้องทำ�อย่างนั้น ใช่เขาก็คน เราก็คน เราต้องทำ�เหมือนที่ท่านว่า อะไรอย่างนี้นะ.. ความเพียรเริ่มเกิด เป็นวิริยะบารมี เป็นสัจจะบารมี ตั้งใจจะทำ� นั่นน่ะถึงจะเป็น ธรรมะกับใจ นอกนั้นเป็นอาหาร ซึ่งเคี้ยวให้เกิดรสชาติ เท่านั้น เอง! อย่าไปคิดว่าต้องมาฝึกอะไรหยาบๆ อย่างนั้นนะลูกนะ แต่มันเป็นเครื่องมือให้ฝึกใจได้นะลูกนะ อย่างเหตุผลที่ว่าทำ�ไม ต้องนั่งขาขวาทับขาซ้ายมือ ขวาทับมือซ้าย? เพราะว่าท่านจะให้ฝึกสติ เพราะคนเราส่วน


23 ใหญ่แล้วนี่... ไม่รู้ว่าตัวเองว่า ตอนนี้กำ�ลังเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ เป๋อ... พอเขาหัวเราะก็ฮ่าตาม เขาร้องไห้ก็ร้องไห้ตาม ดูหนังดู ละคร ไม่รู้ว่าตัวเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ ที่แท้อารมณ์ของตัว เป็นยังไง? น้อยคนที่จะรู้ นอกจากคนที่ฝึกสติมาตลอด และ ระวังสติตลอด ว่าใจกับกายคนละตัวนะ นั่นเป็นเรื่องของตา เขาเห็นรูป เดี๋ยวก็ตายจากกัน แต่ใจเรานี่กำ�ลังมีอะไร ถ้าระวัง สติอย่างนี้ก็จะรู้ ไม่ร้องไห้หรือหัวเราะตามเขาไปโดยไม่มีเหตุ ผล.. ไม่รู้กัน เมื่อไม่รู้ก็ไม่รู้จะฝึกอะไรไปทำ�อะไร ฝึกให้มันกลุ้ม เพิ่ม.. มีทิฐิมานะเพิ่ม.. อย่างน้อย..อาจารย์โบราณท่านจะบอกว่า ใจเราเนี่ย.. เมื่อเกิดความสุข ความทุกข์ ชอบใจไม่ชอบใจขึ้นมาต้องตั้งสติ! ตั้งใจว่า นี่กูสุขหรือทุกข์วะนี่? ต้องถามตัวเองว่า ใจกูกำ�ลัง สบายหรือไม่สบาย? ต้องรู้ลูก! เป็นอันดับแรก ถ้าไม่รู้ท่านบอก เหมือนควายที่ปั้นด้วยดินเลย ควายปั้นด้วยดิน ไม่สุขไม่ทุกข์ ยังดีกว่าคน พอสุขพอทุกข์ก็ไปกวนคนอื่น ยืมตังค์ไม่ใช้บ้าง เยอะแยะ หลายเรื่องหลายราว ฟ้องศาลกันอะไรกัน.. เพราะฉะนั้นใจคนพอมาอาศัยคนนี่ ไม่รู้ว่าใจของตัว กำ�ลังสุขหรือกำ�ลังทุกข์นี่..ตายเลย! ขั้นแรกต้องรู้ว่าตอนนี้เรา กำ�ลังนั่งอยู่ ใจสบายหรือไม่สบายวะ? (คำ�ว่าสุขก็คือสบายล่ะนะ) ถ้าอีกภาษา.. บอกว่า ใจสบายหรือไม่สบายหนอ?.. หนอ! มัน


24 ทอดอารมณ์ให้มันกลมกล่อมหน่อย สบายมั้ยหนอ?.. ไม่สบาย หนอ..ก็ให้รู้ ใช่มั้ยลูก? ๒ ช้อยส์นี่นะถ้ามึงไม่รู้ตายเลยลูก มึง อย่าไปฝึกอะไรเลยลูก กลับเข้าป่าเป็นลิงเป็นเสือไปเลย.. ไม่ ต้องคิดอะไรมาก.. ๒ อย่างนี้ต้องรู้นะลูกนะ! ขณะนี้อารมณ์ สบายหรือไม่สบาย? แล้วตัวปัญญามันจะเกิดเมื่อมีสติ อารมณ์ สบายนี่อยากเอาไว้มั้ย? เอาไว้เยอะๆ คล้ายๆ อยากได้เมียเยอะ แล้วให้มันอยู่กับเรายาวๆ ด้วย ปัญญามันจะรู้ว่าอะไรควร เอาเข้ามา ส่วนที่ไม่สบาย ทุกข์ร้อนฉิบหายเลย อยากเอาออก บางคนก็เสียดายนะ ถามว่าทุกข์และร้อน และหนักใจนี่ อยาก เอาไว้มั้ย? ชอบมั้ย? ของที่คิดแล้วทุกข์..หัวสั่นหัวคลอน เนี่ย ชอบมั้ย? ถ้าหากยังชอบอยู่ก็หมดหวังเหมือนกัน ถ้าบอกไม่ ชอบอยากเอาออก ไม่อยากเก็บไว้ อยากเอาออกอย่างนี้พระ จึงจะช่วยได้ เพราะพระธรรมของพระพุทธเจ้ามีหน้าที่อยู่ ๓ อย่าง มีหน้าที่ ๒ อย่างที่ช่วยคน ส่วนอย่างที่ ๓ เป็นผล อย่างแรกคือ ช่วยให้คนรู้สติแล้วเกลียดความเลว ความทุกข์ และเอาความ เลวความทุกข์ออกจากชีวิตจิตใจให้มากที่สุด ให้หมดไปเลย ยิ่งดี แล้วไม่คบเข้ามาใหม่เลยยิ่งดี สิ่งชั่วอัปรีย์จัญไรทั้งหลาย ใครอยากสั่งสมไว้ในโคตรเหง้าหัวใจตัวเองบ้าง เมื่อรู้แล้วต้อง เอาออก ใครน้อ?... จะสอนให้เรารู้ถึงหางถึงรากของมัน ว่ามัน


25 ยังมีอยู่อีกเท่าไร? เราจะถอนรากถอนโคนมันออกมาได้อย่าง ไร? ท่านผู้นั้นจะเป็นคนที่เราเคารพนับถือมาก บอกวิธีให้เรา ด้วย เราจะทำ�ตาม.. เนี่ย..เขาจึงหาครูบาอาจารย์ที่จะถอนจัญไรออกจาก ตัว ก็คือทุกข์ พอถอนออกไปแล้ว โอ๊..จัญไรตัวนี้ออก เดี๋ยวอีก อย่างแหย่หางเข้ามาแล้ว โลภไป โกรธมา รักมา กามมา อิจฉา มา เมตตาอยู่พักเดียว ไปโน่นเลย! อยากรวยขึ้นมาอีกแล้ว ตัว นั้นออกตัวนี้เข้า เราต้องรู้ว่าที่เข้ามาหาเราตอนนี้เป็นประเภทที่ สร้างความสุขหรือความทุกข์ให้เรา? ถ้าสติแค่นี้ ปัญญานี้ไม่รู้ มึงอย่าไปอ้างว่าเป็นลูกศิษย์ครูไหน ขายขี้หน้าครู ดึงครูตกต่ำ� หมดเลยลูก เข้าใจมั้ยลูก? อันแรกต้องรู้พระธรรมนี่ ท่านจะบอก.. เป็นเครื่องนำ� กิเลสออก เป็นเครื่องยับยั้งความความชั่วความเลวทั้งหลาย ที่ทำ�ไปแล้วที่ติดอยู่ในใจ สอนวิธีถอนออก ทั้งราก ทั้งโคน ทั้งเปลือก ทั้งกระพี้ อะไรก็ตาม แล้วสอนวิธีไม่ทำ�ใหม่เพิ่ม แล้วอย่างที่ ๒.. เวลาเว้นว่างจากความเลวแล้วมึงนา แก้วน้ำ�นี่นา.. พอเทน้ำ�เหม็นน้ำ�อะไรออกแล้ว กินหมดแล้วนี่.. แล้วมึงไม่เอาน้ำ�ที่ดีกว่าเติมเข้าไป อย่างน้อยอากาศเหม็นเข้า ไปแทนที่ แมลงมันจะลง(ความฟุ้งซ่านนี่นะ) หรือไม่ก็เดี๋ยวน้ำ� บอระเพ็ดน้ำ�เน่าเข้ามาแทนที่เต็มแก้วของใจอย่างเก่า ก็หนักใจ


26 ร้อนใจทุกข์ใจไปอย่างเก่า เมื่อเราอุตส่าห์เจอครูบาอาจารย์แล้ว ใจเราอาจหาญมีปัญญา กล้าที่มีอุบาย แล้วกล้าเทน้ำ�เสียออก อารมณ์เสียออก พอหงายถ้วยปั๊บ! ต้องแล้วเติมอารมณ์ดี... กร๊อก! มาแทนที่อย่าให้ความเลวใหม่ได้ช่อง หรือความเลวเก่า ไม่ให้ไหลย้อนกลับ เขาถึงบอกว่า ละเว้นความชั่วไม่ทำ�ความชั่ว ด้วยประการทั้งปวง กูไม่เอาแม่งแล้ว เห็นมาหลายชาติ ทุกข์ จัญไรอัปรีย์ แล้วความดีที่ทำ�มาก็ยังน้อย ก็รีบเอาความดีเข้ามา เติม ให้มันเข้ากับความดีเดิมสมมติว่า น้ำ�ที่เราเติมไปมันเป็น น้ำ�หวานเฮลล์บลูบอยนะ หรืออะไรก็ตามมึงอย่าไปเอาเบียร์ ยี่ห้อคาลสเบิร์กมาเติม มันเป็นความดีคนละอย่าง หรือไปเอา น้ำ�ตาลปึกราชบุรีมา มันคนละแบบ เอามาผสมกันมันจะบูด มันจะเสีย เมื่อความดีของเรามีธรรมชาติอย่างไรเราต้องรู้จัก แล้ว เวลาจะเติมให้มันเต็มใจ ต้องเติมให้ถึงพร้อมตามธรรมชาติของ ความดีเดิมเอ็งเข้าใจไหม? เอ็งอย่าไปเติมมั่วซั่วนะ กินไม่ได้นะ ลูกนะ บ้านนั้นเขากะปิอร่อย ปลาทูหน้างอด้วยนะ จิ้ม หอม ดอมอะไรนะ อื้อหือ..เข้าไป มันอร่อยนะลูกนะ สูตรกะปิเขานะ ส่วนบ้านนี้ล่อสเต็ก กินอยู่รสมันจืดหน่อย จะเอากะปิมาทา สเต็กได้ไหม? อาหารเหมือนกันนี่ มันคนละประเภท เติมไม่ได้ ลูก.. เติมไปอ้วกตายเลย


27 เพราะฉะนั้นความดีต่าง ๆ ก็เหมือนกัน ธรรมชาติความ ดีของเราทำ�มาอย่างไรต้องรู้จัก และอิ่มใจทบทวนดูเป็นอนุสสติ ทำ�แล้วทำ�อีก ใช่ๆ.. พระโมคคัลลาน์มียังไงหนูก็มีหน่อยนึง.. หลวงปู่หนูก็มี.. หลวงปู่สอนเฉพาะที่ตรงกับหนูนะไม่ใช่เอา แบบที่หลวงปู่เป็นพระอรหันต์นะ หนูจะทิ้งของหนูมันแล้ว เอา ใหม่แล้ว ก็ต้องไปเริ่มเลขศูนย์ใหม่ มันทำ�ไม่ได้อยู่แล้วกำ�ลังมัน ไม่เสมอกัน ทำ�ความดีให้ถึงพร้อม... แล้วเมื่อใจของเรามันไม่มี มลทิน หรือมีมลทินน้อย แล้วก็มีแต่ความดีหรือมีความดีมาก กว่า ความผ่องใสมันจะปรากฎออกมา.. มันเป็นตัวผล เพราะฉะนั้นจะได้ความผ่องใสเข้ามา ขั้นแรกเอ็งต้องมี สติรู้ ใจเอ็งตอนนี้ดีหรือไม่ดี? ถ้าบอกว่าใจไม่ดีมันเรื่องของกู ก็เรื่องของมึงไหลไปอีกต่อ ไม่ต้องเข้าวัดเข้าวากันไปนะลูกนะ.. ต้องรู้! เพราะฉะนัน้ กรรมฐาน เวลาจะมีสติรนู้ นี่ ะ เขาจะต้องให้ ใจมันไม่ฟุ้งซ่านซัดส่ายเสียก่อน ใจเรานี่มัน เดี๋ยวเห็นพระองค์นี้ องค์โน้นเห็นคนโน่นคนนี้ มันวิ่งไปทั่ว วิ่งเร็วมาก เพราะฉะนั้น เขาจะต้องฝึกใจให้มันเชื่อง จะได้มีสติ แล้วเอาใจมาดูใจตัวเอง ว่าตอนนี้ดีหรือไม่ดี เขาต้องเอาใจมาอยู่ใกล้ๆตัวที่สุด เพราะสิ่งที่ ทำ�ให้ใจตัวเองเป็นทุกข์ก็คือร่างกายที่ใจอาศัย ถ้าเราจะละอะไร


28 ต้องละเกี่ยวกับร่างกายตัวนี้ ใช่มั้ยลูก? ไปละร่างกายอื่นเราไม่ ได้หายเลวเลย เพราะฉะนั้นฝึกตรงนี้เขาต้องฝึกให้ใจอยู่กับ ร่างกายที่ใจอาศัยให้มากที่สุด ห้ามยุ่งกับเรื่อง.. แค่ตาไปเห็นรูป เณรนี่ เอ๊ะ! เณรนี่ทำ�ไมหัวโตกว่าตัววะ แค่นี้ก็ลืมตัวเองแล้ว ไม่ได้ลูก.. ต้องดูเฉพาะตรงนี้ การดูตรงนี้ก็ต้องดูสิ่งซึ่งมันเที่ยงที่สุด.. เห็นง่ายที่สุด หลักท่านให้ไว้แล้ว ถ้ามึงไปดูผม เดี๋ยวก็หงอก เดี๋ยวก็ยาว เดี๋ยวก็เหม็น เดี๋ยวก็เน่า มันดูยาก จะไปดูขี้เดี๋ยวมันก็ปวด เดี๋ยวมันก็ไม่ปวด เมื่อวานขี้เหลว วันนี้ขี้แข็ง ก็ฟุ้งซ่านเปล่าๆ นะลูกนะ ของในตัวแท้ๆ ยังต้องเลือกดูก่อนเลย ในการฝึก กรรมฐานนะลูกนะ สิง่ ทีเ่ ป็นอมตะทีส่ ดุ มีอยู่ ๒ อย่างในร่างกายคนมีชวี ติ คือ ลมหายใจกับชีพจร..มันตายตัว ถ้าเราจะไปฝึกชีพจร ตุ๊บหนอ.. ตุ๊บหนอ.. ก็ไม่ได้ มันไม่ได้! ขนาดหมอเก่งๆ อินเทิร์น เอ๊กซ์ เทิร์นใหม่ๆ จับชีพจรยังไม่คล่องเลย ใช่มั้ยลูก? (เดี๋ยวนี้ต้อง ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จับนะถึงจะได้) จะไปเอาอย่างนี้ไม่ได้ ฝึกลำ�บาก มีอย่างเดียวคือลมหายใจ เข้าแล้วมันต้องออก อันนี้ เป็นกฎตายตัวของมันเลย.. ไม่ใช่เข้าแล้วออกตูดไป ไม่ใช่! ไอ้ที่ เข้าไปต้องออกแน่นอน ออกไปแล้วถ้ามันว่าง มันต้องมีของ ใหม่เข้ามา


29 เขาให้ฝึกดูตรงนี้.. ให้ใจมันมีหน้าที่ตรงนี้ เข้าแล้วโว้ย อุ้ย!เข้าแล้วโว้ย ออกไปแล้วๆ ออกไปหมดแล้ว เข้าใหม่ ดูที่มัน ใกล้ที่สุดและเห็นชัดที่สุดเนี่ยลูก พระพุทธเจ้าท่านเลอเลิศที่สุด ตรงที่ว่า ท่านให้ฝึกของสามัญธรรมดาที่อยู่ใกล้ใจใกล้ตัวที่สุด ของไกลใจไกลตัวฝึกไม่ได้ผล ต้องเอาตรงนี้ก่อน พอหายใจเข้า มาแล้วโว้ยๆ ออกไปแล้วโว้ย.. ไอ้นั้นหน้ามันใส ไม่ได้! ต้องดึง เข้ามาให้แค่จมูกตรงนี้ ห้ามออกนอกจมูก.. มันจะคิดต้องดูตาม เข้ามาๆ โบราณท่านจึงบอกอย่างนี้ลูก.. เหมือนกับช่างกลึงมี รอกอยู่ตรงนี้นะ มันมีมีดกลึงอยู่ตรงนี้นะ (สมัยโบราณนะ สมัยนี้ใช้ไฟฟ้า) การจะทำ�ก็ต้องชักเชือกให้มันสั้น ถ้าหากต้อง การให้แผลมันยาวก็ชักยาว สั้นก็สั้น เขาบอกเชือกกลึงที่ช่างชัก เนี่ยต้องการให้มันยาวก็รู้ว่ายาว... รู้ว่าสั้นก็สั้นๆๆๆ เพราะงาน มันมีอยู่ เขาบอกเหมือนขื่อจมูกเราเป็นรอก ถ้าชักลมเข้ามายาว ตามธรรมชาติ ก็ต้อง(หายใจเข้า)ยาว.. ออกแล้วโว้ยๆๆๆ ยาว เสมอกัน ดูแค่เป็นจริงลูกไม่ต้องดัดจริต วันนี้กูจะเอายาว อย่างนี้(บังคับลมหายใจ)..ไม่ใช่ๆ! สั้นก็รู้ว่าสั้น ยาวก็รู้ว่ายาว ตามสุขภาพ ตามอารมณ์ปัจจุบันแล้วใจมันจะอยู่ตรงนี้ อย่างดูเชือกแดงมันก็ลืมดูสีขาวใจมันจะอยู่ตรงนี้ หาก อากาศร้อนก็ร้อนไป ทีแรกอากาศมันเย็นๆ หน่อยกลิ่นหอม


30 หน่อยกินข้าวอิ่มๆหน่อย ไม่มีใครมารบกวน ก็อาจจะดูได้นาน.. เพลิน พอเพลินปั๊บ! จิตมันเพลินมันชิน ตัว‘ชิน’ภาษาบาลีเขา เรียก‘ฌาน’ มันจะได้ความปลื้มใจอิ่มใจ ๕ อย่าง ขนลุกขนพอง น้ำ�ตาไหล ตัวโยกตัวโคลง ตัวใหญ่ บางคนรู้สึกว่าตัวลอยขึ้นมา นั่นเป็นผลของการที่เราดูลมหายใจเป็นต้นนี่นะ ดูจน กระทั่งจิตไม่ไปไหน อยู่กับที่ สมัยก่อนหนูวิ่งไปร้อนบ้างเย็น บ้าง แต่อยู่ตรงนี้ปั๊บ! มันนิ่ง มันสบายไปแล้ว ทำ�ไมโง่อย่างนี้ น้อ.. ร้องไห้ปลื้มใจขึ้นมา เป็นธรรมปีติ นั่นน่ะลูก เขาฝึกตรงนี้ ปั๊บ! มันฝึกได้ไม่นาน เพราะร่างกายมันเมื่อย อ้าว! ดันนั่งเอี้ยว ตัวนานเกินไป ต้องดูพระสูตรของพระพุทธเจ้า อ๋อ! จะฝึกให้ ได้ดี ต้องตั้งกายให้ตรง ดำ�รงจิตให้มั่น ว่ากายตรงแล้วนะ โห..จริงโว้ย ตะกี้นี้ได้นิดเดียว เชือกรอกพอตรงมันยาว มันโล่ง ต้องสังเกตอย่างนี้นะ เอาเหตุผลของท่านมาใช้นะ (นี่หลวงตาก็พูดซ้ำ�กับพระนะลูกนะ) ทีนี้พอตรงอย่างนี้ มันก็เมื่อย ทำ�ไง? ต้องนั่งคู้บัลลังก์ (สมมตินะ)ขาซ้ายอยู่ข้างล่าง จะเปลี่ยนขาต้องระวังโป๊..ดู มารยาทคนไทยมี มาแล้ว ขาขวา มาแล้ว อีกภาษาก็มาหนอ...งัดหนอ วางหนอ ถูกแล้วหนอ คือ ถ้าฝึกตอนแรกต้องยอมรำ�คาญขั้นตอนหน่อย เพราะว่าใจเรา มันไม่มีระเบียบมา จะไปบอกหนอไม่ดี อย่าไปคิดอย่างนั้นนะ ลูกนะ อะไรที่ทำ�ให้ใจเราเป็นสมาธิดีทั้งนั้น แต่ดีชั่วคราวหรือ


31 ถาวรก็แล้วแต่เราก็เลือกทีหลัง พอเข้ามาตรงนี้ปั๊บ! อ๋อ! ขัดสมาธิเพชร (โอ๊..ขัดไม่ได้ ขัดตอนโตไม่เป็นไร) เอาดอกบัวครึ่งดอกอย่างครูโยคะเขาสอน เขาก็แสดงอานิสงส์เมื่อนั่งเข้าบัลลังก์แล้ว เหมือนนั่งอยู่บน บัลลังก์มันมั่นคงไม่ต้องเปลี่ยนบัลลังก์ เออ..ใช่ เอวก็ได้เรื่องได้ ราว ลองยังไงก็รู้สึกตัวมันไม่ค่อยโยกเท่าไร โอ๊..นี่เองคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง อุ๊ย..โล่งๆ ดำ�รงสติให้มั่น เออ..นี่เรานั่งขวาทับ ซ้ายนะ หายใจเข้าออกแล้วนะ ดีโว้ยๆ คิดไปมือปัดไปถูกโน่น ถูกนี่ ไม่มีสมาธิ เขาบอก ต้องเอามือซ้ายมาวางไว้ไม่ให้มันไป ไหน มือขวามาค่อยๆ มา ถูกหนอ.. กดไว้ให้มันชนกันอย่างนี้ เพื่อจิตจะได้รู้ว่า มึงอย่าไปไหนนะ กูจะทำ�งานกะอันนี้อย่าง เดียว มึงอย่าไปไหน นี่ไม่ได้ว่าเขานะ แต่ว่าเป็นการฝึกที่ เลอเลิศที่สุด ไม่ใช่ว่าถูกหนอๆ เอาออกหนอ ถูกหนอ ก็ได้จะ เรียนสัมปชัญญะก็ได้ มึงจะเอาลมหายใจหรือจะเอาอิริยาบถ ล่ะ ต้องเลือกเอาอย่างนึง พระสูตรขั้นแรกท่านให้เอาลมหายใจ ก่อนอันนี้มันยังไงก็ตาม ตรงกับเรายังไงเอาไว้ก่อน ให้เรียน ตรงนี้ก่อน เอามาเพื่อไม่ให้มันมีกิจไปอย่างอื่น ตานี้ก็จับลมหายใจอย่างเดียวนะลูกนะ เข้าที่เข้าทาง หมดแล้ว จิตมันก็ไม่ไปไหน ไม่ต้องคิดถึงเรื่องข้างนอก ไอ้เรื่อง นอกเข่านอกศอกไม่ต้องพูดถึงเลย เข่ากับศอกให้ ลืมไปเลย


32 ให้เหลือตรงนี้อย่างเดียว หนักๆ เข้า วันหนึ่ง ๒ ชั่วโมง ๓ ชั่วโมงยังไงก็ตาม ๓-๔ วัน.. ๓-๔ เดือน หนักๆ เข้ามันจะชิน มันจะมีอารมณ์ สบายที่จะจับของมันได้ เป็นธรรมชาติของจิตกับอิริยาบถกับ ลมหายใจ เพราะมันฝึกมาหลายล้านชาติแล้ว มันได้มาแล้ว แต่ดันมาฝึกอย่างอื่นตอนเกิดใหม่ ไม่ฝึกอานาปาน์ต่อ มีแม่คน ไหนบ้างพอลูกเกิดมา.. ไอ้หนู พุทโธลูกพุทโธ ไม่มีหรอก! มีตี.. แว้.. กล้วยยัดปากนะ โตขึ้นมาก็สอนให้รวยๆ สวยๆ ไม่ได้สอน เลยพุทโธต่อนะลูกนะ.. จะได้ต่อบุญของเรา ท่านไม่ค่อยได้สอน เพราะว่าท่านไม่มีเวลา พ่อแม่บางคนท่านก็ไม่ได้ฝึกด้วยนะ อย่าไปโทษท่าน.. การฝึกอย่างนี้เราก็รู้ไงลูก.. พอจับลมหายใจแล้วนี่ จำ�ได้ว่าฝึกใจกับอารมณ์ แต่ใจกับอารมณ์ มันอาศัยอยู่ในกายนี้ ต้องเอากายนี้เป็นเครื่องทำ�งาน เขาเรียกกรรมฐาน ‘ฐาน’คือ ที่ทำ�งาน คือที่ตั้ง เป็นโต๊ะทำ�งาน ‘กรรม’คือการทำ� เป็นที่ทำ�งาน ของจิตเท่านั้นนา ร่างกายนี่นะลูกนะ ไม่ใช่ตัวกรรมฐานนะ ตัว กรรมฐานจริงๆ คือจิตกับอารมณ์นะ ทีนี้พอเมื่อย ครึ่งชั่วโมง เมื่อยหนอ เมื่อยหนอ ทำ�ไม ถึงเมื่อย? ก็นั่งทับไว้ตั้งนาน ก็ใครบังคับมึงเล่า? ก็เปลี่ยนใช่มั้ย ลูก? เปลี่ยนหนอ จะเปลี่ยนหนอ ก็ต้องกำ�หนดจิต เพื่อให้จิตมี


33 สติว่าไม่บุ่มบ่ามตัดสินใจทำ�อะไรเร็วเกินไป เปลี่ยนหนอ เปลี่ยน อะไร เปลี่ยนเอาขวาลงหนอ เอาซ้ายขึ้นหนอ เอ้า! ลงแล้วหนอ ก็รู้.. เอาขึ้นทางไหนดีโว้ย เอาขึ้นทางนี้มันโป๊ ทางโน้นงัดขึ้น เถอะวะ เหน็บ(จีวร)เสียหน่อยหนอ.. ก็ว่าไป พอเข้ามาแล้ว อ๋อ..มัน ดีหนอๆๆ เอาใหม่ จับลมหายใจ ใหม่ จับเวลาไว้ พอได้ความอิ่มใจ เราก็เปลี่ยนอิริยาบถ เราจะ เปลี่ยนอิริยาบถแล้วนะ คุกเข่ากราบพระนะ กราบขอบคุณ พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ วันนี้เอาแค่นี้นะ สมเด็จพ่อ..บ๊ายบาย จะไปกินข้าวกินน้ำ� จะทะลึ่งยังไง ก็เอาไป เถอะ! ขอให้ฝึกเสียก่อน ทำ�อย่างนี้ จนกระทั่งเราจับได้ว่า ในเวลาอย่างนี้ ฝึกในอากาศอย่างนี้ ในที่ตรงนี้เราจะฝึกได้ประมาณ ๑๕ นาที ใจเป็นสุขมาก เราก็ทำ�ให้ตรงเวลา ทำ�ให้ตรงอิริยาบถเดิม ท่านั่งนี่มันเสียหาย คือหมายความว่ามันทรมานมันไม่ตรงกับ นิสัยเรา เราก็ใช้วิธีธรรมชาติของแม่ที่เลี้ยงลูกน่ะ แม่นี่ให้นมลูก นั่งท่าขัดสมาธิ..เมื่อย ใครเขาตะบันให้ลูกจนโต ท่านั่งท่าเดียว ก็นั่งพับเพียบก็ได้ พับเพียบแล้วให้นมลูก มันร้อง..ก็ยืนก็ได้ แต่ยังอุ้มลูกรักลูกอยู่ พอยืนแล้วมันยังเสือกร้อง.. โอ๊! ไปเที่ยวลูก ตบตูด เดี๋ยวจะเดินไปถึงเสาโน้น แล้วกูจะกลับมาตรงนี้ เพราะตั้งน้ำ�ไว้


34 หั่นกล้วยไว้ เดี๋ยวอะไรมันจะมากินกำ�หนดจิตไปถึงตรงโน้น จะรีบกลับมาดู นี่คือเดินไปตรงไหนแล้วจะกลับมาตรงไหน เป็นธรรมชาติของแม่ไงล่ะ เราก็เอาแล้ว ถ้าหากว่านั่งมันเมื่อย ลองนั่งท่าอื่นซิ ถ้ามันไม่ไหว ก็ลองยืนดู ยืนเงียบๆ แล้วทำ� อย่างเก่า ชักรอกพุทโธอย่างเก่า ถ้ามันไม่ไหวจริงๆ ก็เอาล่ะวะ เหลืออยู่ ๒ อย่างคือเดินกับนอน (หัวเราะ) ลองเดินก่อน เหมือนแม่เดินอุ้มลูก เราก็เดินอุ้มอารมณ์ เข้าใจมั้ยลูก? หาอิริยาบถ ๔ ให้มันผูกกับอารมณ์ใจในขณะนั้น! เพื่อจะได้จับอานาปาน์หรือพิจารณาอารมณ์ได้ดี ถ้าเดินไปเดิน มาชักไม่ไหวก็นงั่ ก็ไม่ไหว ตามันปรือก็นอนซะนะ สมเด็จพ่อเนาะ นอนแล้วหนอๆ ก็ว่าไป แล้วก็หลับไป พร้อมกับอารมณ์อะไร จับอานาปาน์ก็ได้นะลูกนะ ทำ�อย่างนี้จนได้อิริยาบถซึ่งเราฝึกอานาปานสติแล้ว ใจมันรวมตัวง่าย หรือลองไปทุกวันนั่นแหละ มันไม่เคยตายตัว หรอก อันไหนสบายเราก็เอาอันนั้นนะลูกนะ นั่นแหละลูก เราถึงเกิดเป็นการฝึกอานาปานสติ เกิดอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน มันต้องรู้ไงลูก ไม่ได้ฝึกตัวนั้น อันนั้นเป็นที่ทำ�งานของจิต อานาปาน์ก็เป็นที่ทำ�งานของจิตเขาเรียกกรรมฐาน ใช่มั้ยลูก? ท่ายืนเดินนั่งนอนก็เหมือนกัน ทีนี้ท่ามาตรฐาน (อันนี้คุยหลักๆ นะไม่รู้จะคุยอะไร)


35 จะได้รู้ว่าการที่จิตมันจะรู้ว่าอารมณ์เราดีหรือไม่ดี มันต้องเป็น สมาธิอยู่กับที่ก่อน ก่อนจะตั้งสมาธิได้ไม่ใช่ไปควักมาจาก กระป๋อง เปิดมาแล้วก็กินเข้าไป.. ไม่ใช่! มันจะต้องลงทุนลูก! ศึกษาวิธีสร้างให้ตัวเอง แต่ว่าโชคดีว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ ตรัสรู้ไว้แล้วถ่ายทอดไว้เป็นพระธรรม พระอรหันต์ทั้งหลาย ก็ถ่ายทอดมา เราไม่ต้องไปอวดเก่ง ไม่ต้องไปวิจัยพระสูตรลูก ตกนรกเปล่าๆ เอามาใช้ตามสมควรที่เราจะใช้ได้นะลูกนะ ทีนี้เวลาทำ�อย่างนี้ จนกระทั่งชินจนได้อารมณ์แล้ว ทำ� ไปทำ�ไม? ทำ�แล้วก็เลิก.. ทำ�ๆ แล้วก็เมือ่ ย ..ทำ�แล้วก็ตนื่ ขึน้ มาใหม่ แล้วก็นอนหลับใหม่ทำ�ใหม่ เขาจะให้มันเกิดปัญญาเมื่อมีสติ มั่นคงแล้วเนี่ย มันทุกข์มันสุขเนี่ย เราก็อยากได้สุขอย่างเดียว ทุกข์ไม่เอา ก็ดูสูตรต่อไปว่าสติปัฏฐานมันมีอะไร ที่จะเพิ่ม ปัญญาให้เราได้ ก็จะพบว่า จากอานาปาน์ อิริยาบถ สัมปชัญญะ เป็นตัวสร้างสติ สร้างสมาธิ ตัวปัญญาจริงๆ เริ่มกองที่ ๔ คือ กายคตาสติ มหาสติปัฏฐานสูตรมีอยู่ ๔ กองคือ กาย เวทนา จิต ธรรม ถูกมั้ย? กายก็อานาปาน์ อิริยาบถ สัมปชัญญะ ล่อไปเสีย ๓ แล้ว องค์ที่ ๔ นี่ คือร่างกาย ตั้งแต่หัวจรดตีน ตีนจรดหัว ที่หายใจอยู่ ได้เพราะมันยังมีชวี ติ อยู่ และมันนัง่ อยูเ่ นีย่ มันเป็นถุงหนังถุงหนึง่ ซึ่งเราจับขัดสมาธินั่งนี่นะ ตั้งแต่หัวจรดตีน ตีนจรดหัว มันมี


36 หนังหุ้มอยู่โดยรอบนี่ มันสะอาดหรือสกปรก ข้างในมีของไม่ สะอาดมีประการต่างๆ ไล่ตามพระสูตรไปก่อนไม่ต้องไปเถียง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ท่านถึงให้เริ่มมาใช้ปัญญา ที่นั่งอยู่ หายใจอยู่ ยังไม่ตายนี่ คือถุงหนังนะ ตั้งแต่หัวจรดตีน ตีนจรดหัว มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบนี่ มีผม แล้วก็ขน แล้วก็เล็บ แล้วก็ฟัน แล้วหนังใช่มั้ย? ก็ใช่! แล้วก็ให้ทวน อย่างพระบวชใหม่นี่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ดูให้ชัดว่าเนี้ยะ! ร่างกายคนทุกคน ผู้หญิงผู้ชาย ของที่แปะอยู่ข้างนอกมี ๕ อย่างเนี่ยนะ เอ้า! ยังไม่เห็นโทษยังไม่เห็นสกปรก ท่านก็ให้ดูลึกไปอีก ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ดูอีก ๕ ทีละชุดนะลูกนะ ชุดแรกเป็นชุดดึงสติให้มา อยู่กับปัญญาเท่านั้นเอง ดึงก่อน.. ลึกลงไปก็หนังแล้วก็มีเนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก เอา ๔ ก่อน ถ้าแหวะของเราดูไม่ได้ ต้องไปดูเขาผ่าศพ หรือนึกด้วย ปัญญาของชาติกอ่ นก็ตามหรือเห็นศพต่างๆ ก็ตาม ไปเห็นไส้ไหล เลือดไหล มันปลิ้นออกมานี่ ให้ถือว่าเป็นลาภอันวิเศษ เหมือน เห็นดอกไม้พระอริยะเลย คนปฎิบัติธรรมเขาจะหาดูอย่างนั้น เขาจะไปดูตามป่าช้า ให้เห็นว่า โอ๊ ! ผมศพ เหมือนผมเรา ตายแล้วก็เหมือนกัน ขนศพ เล็บศพ..เขียว อีกหน่อยก็เขียว ฟันศพ เปื้อนน้ำ�เหลืองมีหนอนไหลออกมาด้วย หนอน ฟัน


37 หนังบวมอืดขึ้นมา เราเมื่อตายแล้วเราก็อยู่สภาพเดียวกัน โดน เข้าไป ๕ อย่าง เป็นพระอนาคามีแล้วบางองค์.. เนื่องจาก ฝึกฌานมานาน ร่างกายของเราของเขา มันไม่มีอะไรเหลือจริงๆ มัน ต่างกันตรงที่ธาตุ ๔ ยังประกอบ คือลมยังหายใจอยู่ และธาตุ ไฟยังอยู่ ถ้าร่างกายสิ้นชีวิตเมื่อไรลมหายใจหายไป ก็ล้มลงกับ พื้น ไฟหายไปก็เริ่มบวม เริ่มแข็ง โอหนอมันเท่ากันตอนตายเอง น้อ... อารมณ์เดิมเข้ามาส่งเสริม ด้วย ฟังอยู่หน่อยเดียวเป็น พระอรหันต์ เยอะแยะในสมัยพระพุทธกาล มันเริ่มเห็นไง ลึก เข้าไปด้วยปัญญาว่ามันเป็นของสกปรกมีประการต่างๆ เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก พอแหวะเข้าไปอีกทีนึงนะ ๙ อย่างมันก็ยังสะอาดอยู่ ผู้หญิงก็ยังสวย ผู้ชายก็ยังหล่อเราก็ยังเป็นคนแข็งแรง ท่าน บอก เออ..ไม่เป็นไร ๙ อย่างยังโง่อยู่ ให้ไปอีกหน่อยนึง ถ้าแหวะออกไปจะเห็น หัวใจ ปอด กระบังลม ลำ�ไส้น้อย ลำ�ไส้ใหญ่ ดูจากคนตายจะชัดมาก หรือคนที่ผ่าออกมาแล้ว พอผ่าออกมาปั๊บ! เนี่ย เราอย่าไปดูเพศนะ แหวะหน้าอกออก มาหัวใจของผู้หญิงผู้ชาย ไอ้หนูมึงตัดออกมาเนี่ย.. คนที่ถูกแทง หัวใจหรือถูกยิงทะลุหัวใจ เขาจะตัดหัวใจออกมาแหวะออกดู ลักษณะแผลแล้วเอาไม้บรรทัดวัดว่าแผลยาวเท่าไร ลึกเท่าไร


38 แล้วเขาจะให้อีกคนนึงจดชันสูตรศพ พอตัดออกมาแล้ว ไอ้หนู.. จ้อยเลย.. เอาเตียงโน้นเตียงนี้มาวางรวมกันในถาดนะ แล้ว หมุนถาด ถาดไหนของดอกเตอร์วะ? ไหนของทหาร.. พลเอก? นะลูกนะ.. พอเหลือหัวใจก้อนเดียวแยกออกมั้ยลูก? คนดี พระ พรรษา ๑๐ กับโจรที่มาตัดเศียรพระตายพร้อมกันนะ แล้วผ่า หัวใจมาเรียงกัน โอหนอ.. ยิ่งลึกลงไปเรายิ่งเห็นว่า มันไม่ใช่ มันไม่ต่างกันเลย หัวใจ ปอด ลำ�ไส้น้อย ลำ�ไส้ใหญ่ โอ.. มันก็เหมือนกับตุ๊กตาตัวนึง เครื่องสูบน้ำ�อันนึง ก็ ไปซื้อสายยางมาจากร้านซึ่งมันเป็นสต็อกเดียวกัน สายยางยาว มากนะ ซื้อมา ๒๐ เมตรก็ชักเอามาใส่พุง ๒๐ เมตร ตัดปุ๊บ! ปิดไว้ อีกคนนึงบอก เอ้า! กูเอาต่อ ๒๐ เมตร ๓๐ เมตร ไส้น้อยไส้ใหญ่นะลูกนะ ไส้ก็คือไส้เมื่อเข้าไปอยู่ในร่างกายผู้ หญิงเป็นไส้ผู้หญิง เมื่ออยู่ในผู้ชายเป็นไส้ผู้ชาย เรียนจบปริญญา ตรีเป็นไส้ปริญญาตรี อ้าว! ชิบหายถูกอะไรไปมาบังว่าเป็น.. ขนาดนั้นน่ะเนาะ แท้ๆ ที่จริงมันเป็นสายยางที่อยู่ในวัฏสงสาร น่ะนะ.. ดึงเอามาใช้กันชั่วขณะก่อนที่ร่างกายจะสิ้นอายุ เนี่ยลูก ที่ให้พิจารณาอาการ ๓๒ ทีละ ๕ อย่าง ๔ อย่าง ให้เห็นด้วยปัญญาแบบสบายๆ ว่า อืม..พระพุทธเจ้า พูดไม่เคยผิดเลย กูนี่ผิดที่ไม่คิดตามท่าน คิดและท่องกันเฉยๆ ไม่ได้คิดด้วยปัญญา


39 เอ้า! ไล่ให้จบนะไม่รู้จะเอาไง ลำ�ไส้ใหญ่นะ ลำ�ไส้ใหญ่ มันมีกระเพาะพ่วงอยู่ด้วย อาหารใหม่ที่กินเข้าไปนี่นะ ใหม่ๆ นี่นะ ภายในกระเพาะที่กำ�ลังยั่บๆ อยู่เนี่ย เขายังเรียกอาหาร ใหม่อยู่ มันยังใหม่ พอดูดโปรตีนวิตามินเข้าไปในเส้นแล้ว เหลือแต่กาก เป็นอาหารเก่าเข้าไปในลำ�ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ มันจะเข้าไปใน ลำ�ไส้เล็กนะลูกนะ..ยาวมาก! มันเข้าไปได้ไงก็ไม่รู้ อยู่ในกระเพาะแป๊บเดียวถึงเลย แรงดูดของแรงลมน่ะ พอไป เป็นอาหารเก่ามันจะไปรออยู่ในลำ�ไส้ใหญ่ไม่ยาวมาก ก็รอออก มันจะเหลวหรือแข็งก็ตามนะ..ก็ออก เออ..พอเขาผ่าออกมา ผู้หญิงคนนั้นมันกินยาพิษ เขา ตัดกระเพาะออกมา แล้วจับเอามีดแทงกระเพาะ เอาหยอดลง ไปในขวดโหล น้ำ�ดีดีทีเป็นมัน กะอาหารมีเกาเหลา ถั่วงอก ยังมีเลยนะ นั่นแน่ะ..เราก็มองตามเขาไป ไปดูที่นิติเวช เรียน กรรมฐานแล้วไปดูเอง ตอนเป็นฆราวาส คือจะจำ�เอามาใช้แล้ว จำ�เอามาพูด โอ๊..อาหารใหม่ บางคนกินสเต็กยังเป็นชิ้นย่ำ�ๆ ฟัน มันจะละเอียดแค่ไหนมันยังเห็นชิ้นเนื้อนะลูกนะ แล้วไปถูกสาร อะไรในนั้นมันย่ำ�ๆ กัน มันจะเห็นเนื้อแดงๆ ชัด โอ้โห!.. มันได้คิดเลย แล้วหลวงตาก็ถามไหนอาหารเก่าอยู่ตรงไหน? ไอ้คนนั่นมันไม่รู้ อะไรคุณอาหารเก่า? ขี้น่ะๆ (หัวเราะ) มันก็


40 เอามีดกรีดตรงลำ�ไส้ใหญ่ให้เห็นเนี่ย มันบีบด้วยถุงมือยาง มันก็ ห่างกันคืบเดียว กองไว้ เราก็ได้เห็นเลยโอ..ที่ท่านให้พิจารณา อาหารนี่นะ.. อาหารนี่หนอ ไม่ได้กินเพื่อความอ้วนพีผ่องใส ของผิวพรรณของร่างกายที่ต้องตายแน่ไม่ได้กินเพราะกลิ่น สี หรือรสชาติของอาหารใหม่ซึ่งจะเป็นอาหารเก่าเน่าคาท้องศพ เมื่อสิ้นวันนี้ โอ..ฉิบหายจบเลย พิจารณาแค่นี้ กินเพื่อระงับ เวทนาเก่าคือความหิวซึ่งมันรบกวนร่างกาย และป้องกันไม่ให้ เวทนาใหม่ คือความหิวใหม่ มารบกวนให้ร่างกายกระวน กระวาย จะได้เอามานั่งทำ�กรรมฐานให้เป็นสุขขึ้น พอเป็นอย่างนี้ปั๊บ! หลวงตาหัวเราะเลยนะ หลวงตา ชอบกินสเต็ก ขณะกินเนี่ยภูมิใจมีเบียร์ด้วยนะสมัยก่อนกิน เข้าไป ซ๊อสต้องอย่างดีกินเข้าไป ฉิบหายแล้ว! พอกูตายแล้ว ไม่ได้เหลือเลย.. สเต็ก! โอ้โห..โปรตีน วิตามิน ไอ้ตัวเลือดที่เป็น พลาสม่าต่างๆ เชื้อค่าของเลือดต่างๆ มันไม่ได้บอกนะว่ามา จากสเต็กเนาะ มันมีคา่ ของมันตามเปอร์เซ็นต์นะ แร่ธาตุในโลหิต ฉิบหายแล้วที่กินแพงๆ แล้วสร้างค่านิยมหยิ่งทะนงกัน นั้นน่ะ ขี้ทั้งนั้น! ต้องการอย่างเดียว คือตัวโอชะของอาหารคือตัวแร่ ธาตุต่างๆ ที่จะมาปรุงเลือดให้เนื้อมีความผ่องใสขึ้นมาเท่านั้น เอง โอ..ฉิบหายแล้ว! เขาก็เขี่ยให้ดู.. เนี่ยก่อนอยู่ในจาน ในตู้ หรือเมนู เขาเอามา.. น้ำ�ลาย


41 ไหล ถ้ามึงคิดว่า เอามาเร็วๆ ขี้กองนั้นน่ะ(หัวเราะ) คือถ้ามัน แถมซะหน่อย คนที่พิจารณาน่ะนะ เอามาเถอะให้แพงๆ ไว้ เดี๋ยวก็จะขี้ทิ้งแล้ว (แล้วมันจะสั่งทำ�ไมวะ)ให้มันเห็นปลายทาง ขณะสั่ง ว่ากินเพื่ออะไร..ก็กินเข้าไป ถ้าพิจารณาไม่ทัน ตอนเย็นเขาถึง “อัชชะ มะยา อะปัจจะเวกขิต๎วา..” อาหารมื้อใดคำ�ใดที่ยังไม่ได้พิจารณาแล้ว บริโภคเข้าไปแล้ว เราขอพิจารณาย้อนหลังว่า (ทีนี้พูดเหมือน ตอนเช้าเลย) ไม่ได้กินเพื่อนี่ๆ แต่กินเพื่อนี่ๆ เท่านั้น กันว่าจะ ตายทั้งนรกลงไปถ้าไม่ได้พิจารณาทั้ง ๒ มื้อ เรียบร้อยเลย ถ้า ตายตอนนั้น..ตอนกลางคืน! เพราะมันหลงแม้กระทั่งขี้ มันจะไม่ หลงร่างกายหรือไม่หลงนมต้มผู้หญิง หรือรูปกายผู้ชายผู้หญิง ได้ยังไง เข้าใจมั้ยลูก? ขี้มันยังหลงเลยเนาะลูกเนาะ เขาถึงให้ พิจารณาย้อนหลังเพื่อจะทำ�ใช้หนี้คืนอารมณ์ที่ไม่ได้พิจารณา จะเห็นว่าของดีแท้ๆ เนี่ยกายตัวเดียวเป็นกรรมฐาน อาหารใหม่ อาหารเก่า ตับ ม้าม ไต ตานี้เล่นง่ายแล้วไม่มีผู้หญิง ผู้ชายนะ ลำ�ไส้น้อย ลำ�ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า ตับ ม้าม ไต มันสมองเป็นก้อนใหญ่ผ่าออกมา โอ้โห.. ไอ้นี่จบปริญญา เอกภาษาอังกฤษมาจากเส้นนี้ๆ พอตายแล้วจ๋อยหมดเลยเนาะ พอไปเห็นอย่างนี้ปั๊บ! พิจารณาจากคนตาย หรือคิดว่า จะต้องตาย เราจะเห็นว่า ทิฐิมานะกับการถือตัวมันแทบจะ


42 หมดไปเลย แต่ทว่าคนจะเป็นพระอรหันต์จะเป็นพระอนาคามี ได้ เขาต้องไม่เปลี่ยนกองกรรมฐาน ถ้าได้อันนี้..อื๋อ! แค่นี้ก็ซีด แล้วกู.. ซีดสัก ๓ เดือนต่อกันลูก อย่าไปเปลี่ยนกอง เปลี่ยนกองแล้วกิเลสมันจะสอน อย่าเอาเลยอันนี้ไม่เหมาะกะ เรา! เอาอันโน่น ที่แท้มันจะตายห่าแล้ว ถ้าเรากินต่อไปอีก ๗ วัน มันตาย! มันจะยุเราบอก อย่าเพิ่ง กูจะอยู่กะมึงอีกนานๆ เราก็ไปเชื่อไปเปลี่ยนกองกรรมฐาน ไปสึกซะอะไรซะ ไม่ได้ว่า (พระบวชใหม่) สึกได้ เอาของดีติดตัวไป ทีนี้เอ้า! อาหารถึงมันสมองนี่ ๑๙-๒๐ อย่าง มันมี ๓๒ อย่าง ธาตุดินยังสวยงามอยู่สมมติโง่ขนาดนั้น ที่พูดมันยังรัก ผูห้ ญิงผูช้ าย ยังโง่อยูน่ นี่ ะ! เขาให้พจิ ารณาต่อ เสลด น้�ำ ลาย น้�ำ มูก ชัดเลยมั้ยลูก? เขาดึงออกมาใส่โถแก้ว ให้เลียนะลูกนะ (วัดบวรฯ นี่ใส่และเขียนเอาไว้เลย) เสลด น้ำ�ลาย น้ำ�มูก แค่นี้ก็ตายแล้ว น้ำ�มูกกับน้ำ�ลายอยู่ในปากของดารา ของแฟนที่เราตามจีบ พ่อ เผลอก็จ๊วบเลย! แต่ห่างออกไปนิดเดียวมันมีเสลด น้ำ�ลายอยู่ น้ำ�ลายในปากผู้หญิงดูดได้ ผู้ชายดูดได้ แต่ผู้หญิงคนนั้น ผู้ชายคนนั้น เกิดเป็นหวัดขึ้นมา กินของเผ็ดของแสลง อากาศ เปลี่ยน ก็ไหลยืดออกมา (สั่งน้ำ�มูกออกมา) แล้วมันยังค้าง (ขากเสลดออกมา) ถุยออกมา อุ่นๆ แท้ของแฟนของนางเอก หนังนี่นะ มีผู้ชายคนไหนจะตามไปเลีย แย่งกันเลียเสลด


43 ดูดน้ำ�ลายอันนั้นมั้ยลูก? เพราะอะไร? เพราะมันเห็นแจ้งๆ พิจารณาเห็นแล้วว่า ไม่ใช่ผู้หญิง ไม่ใช่ผู้ชาย และมันเป็นของ สกปรก ไม่ใช่นางสาวไทย ไม่ใช่ป.๔ ไม่ใช่ปริญญาตรี ถ้าปัญญา มันเห็น เห็นแจ้งอย่างนี้ รู้แจ้งแทงตลอดๆๆ ไม่ติดขัดอย่างนี้ ก็ไม่เสียท่ากิเลส เข้าใจมั้ยลูก? สำ�คัญมันไม่.. ในจมูกก็อย่าไปดู เช็ดเสียก็หมดเรื่องหมดราว เวลาเขาเช็ดปี๊ด.. หันไปดูอย่างอื่น พอเขาเช็ดเสร็จแล้วหันมามองอย่างเก่า จะให้ตัวอุปาทานบัง ไว้นะ เสลด น้ำ�ลาย น้ำ�มูก น้ำ�เลือด น้ำ�เหลือง ทำ�ให้ชีวิตเรา มีอยู่ได้ พอเขาเอามาใส่หลอดแก้วอะไรแล้ว มันไม่ต่างกัน น้ำ�เลือด น้ำ�เหลือง น้ำ�หนอง น้ำ�มันเหลว น้ำ�มันข้น น้ำ�ไขข้อ น้ำ�เยี่ยว น้ำ�ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ๓๒ อย่าง ดิน ๒๐ น้ำ� ๑๒ อย่างนี่ ให้ถามตัวเอง มีซักอย่างมั้ยที่มันสะอาด? ถ้ามันโง่นัก..ตอนตาย มีซักอย่างมั้ยที่มันสะอาด? ถ้าสลัดหน้าแสดงว่าสติคืนมาแล้ว ตะกี้สลัดหัวเรียกสติไง เวลานักมวยเมาหมัดนี่นะ ทีนี้เมากิเลส ต้องสลัดหัวนา เรียกสติคืนมานะลูกนะ นั่นแน่ะ! เขาให้ถาม ถ้าหากว่าเราหล่อ ความหล่อมัน อยู่ตรงน้ำ�เลือดหรือน้ำ�เหลืองหรือพลาสม่า หรือก้อนขี้หรือ อาหารในกระเพาะ ทิฐิมานะว่าดีกว่ากัน.. อะไรกว่ากัน.. ถาม อะไรต่างกัน? ก็จะเห็นว่าร่างกายทั้งหมด ตั้งแต่หัวจรดตีน ตีน


44 จรดหัวมีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ ไม่ใช่ผู้หญิงผู้ชาย ไม่ใช่คนดีคนเลว ไม่ใช่เด็กไม่ใช่ผู้ใหญ่ เป็นของซึ่งเกิดขึ้นมาเหมือนลูกไม้เกิด ขึ้นมาตามธรรมชาติ ใช้ประโยชน์ใช้สอยแล้วก็เน่าคืนลงดินไป ซักเดี๋ยวอีกไม่นานน้อ.. อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสะติ ฉุฑโฑ อะเปตะ วิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรังฯ อีกไม่นานหนอ..ร่างกายนี้ก็จะมีวิญญาณอันออกจาก ร่างเสียแล้ว (บาลีนะ) ต้องถูกทอดทิ้งเสียแล้ว ต้องนอนทับถม แผ่นดิน เน่าเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ ไม่มีใครเขาสนใจใยดี พระพุทธเจ้าพูดไว้เพราะมาก ทำ�ไมไม่คิดตามว่าใช่มั้ย? คนที่ตายแล้วนอนกับพื้นมั้ย? ค่อยๆคิดแบบโง่ๆ ไปเลยนะ นอนกับพื้นมั้ย? แล้วเวลานอนกับพื้นแล้วมีคนเขามาใยดีมั้ย? อย่างมากก็รีบหามเข้าข้างทาง มีญาติก็หามเข้าเปลเข้าไปนะ ล้างเนื้อล้างตัวหน่อยค่อยหาเสื้อผ้ามาใส่ อีตอนเป็นพลเอกใส่ เครื่องแบบ เมียขัดดาวช้าหน่อยดุตายเลย เมียก็เอาใจผัว เอาใจลูกเอาใจเมียกัน..แต่งกัน เวลาวันตายเนี่ย ชุดไหนก็ได้ เดี๋ยวก็ใส่โลง ดาวใส่ผิดข้างหน่อยก็ไม่เห็นเป็นไรเนาะ เพราะดุ ไม่ได้แล้ว


45 จะเห็นว่าพอนึกถึงความตาย เรารู้เลยว่าสิ่งซึ่งเป็น ภาระทางจิตใจทั้งหลาย มันน้อยลงไปแล้ว มันหายไปเยอะแล้ว.. ให้มอง! เพราะฉะนั้นสติที่สำ�คัญที่สุด คือ มรณานุสติ ถ้ายังไม่ คิดถึงความตาย คิดไม่ถึงความตาย มันยังจะประมาท ไม่เป็นไร เดี๋ยวพรุ่งนี้ค่อยว่า วันพระหน้าค่อยว่ากัน ตอนนี้ขอกินหน่อย ขอทำ�กามหน่อยอะไรหน่อย แต่ถ้าคิดว่าร่างกายนั้นตายแล้วหนอ.. เราก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะหลีกสภาพอันนี้ไปได้ เมื่อตายไปแล้วเราก็เป็น อย่างนี้เหมือนกัน แต่เราก็ไม่รู้จะตายวันไหน แต่เรารู้ว่าถ้าหมด วันนี้ใช้.. สิ้นสุดวันนี้ วันพรุ่งนี้ไม่มีใช้เนี่ย วันนั้นคือวันตาย แล้ว เราจะรู้มั้ยว่าสิ้นสุดเวลาไหน? โอ..เราอาจสิ้นสุดวันนี้ในวันนี้ก็ ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ปั๊บ! ร่างกายก็เป็นอย่างนี้ๆ ไอ้ที่นั่ง คุยกันมันเรื่องก่อนตายวันเดียวนี่หว่า เมื่อก่อนตายวันเดียว ก็มีเรื่องเอาร่างกายขึ้นมา นั่งคุยกัน ทำ�ไมจะต้องไป..เนาะ ผิด ศีลผิดธรรมอะไรกันด้วย? ถ้ามรณานุสติมา ตัวกรรมฐานมา เป็นยอดของธรรมะ ซึ่ง สมเด็จพระสัมพุทธเจ้าถามพระอานนท์ว่า เธอนึกถึงความตาย วันละกี่ครั้ง? เจ้าประคุณหลวงปู่อานนท์เป็นพระโสดาบัน ระดับดีมากๆ บอกคิด ๗ ครั้งพระเจ้าข้า ท่านบอกน้อยไป


46 ตถาคตคิดถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก ที่ว่างจากการพูด จากการทำ�งาน มีเวลาเป็นของตัวเองจะนึกถึงความตาย ถึงสิ่ง ที่พูดที่ทำ�ไป ก็พูดไปแสดงอานิสงส์ของความตาย ให้คนมีสติใน กายที่กำ�ลังจะตายนี้เท่านั้นเอง ไม่ได้มีอะไรเลย อย่างมากก็เอา เวทนาของร่างกายมาพูดด้วย เอาสัญญาของร่างกายมาพูดด้วย เอาสังขารของร่างกายมาพูดด้วย เอาวิญญาณของร่างกายมา พูดด้วย ก็พูดอยู่ ๕ อย่างเนี่ย ไม่มีเวลาพูด ก็กายอย่างเดียว ไม่เอากาย ๔ อย่างมันก็ไม่มีอยู่แล้ว มันเอาไม่ได้อยู่แล้ว ถ้ามีเวลาแสดงพิสดารก็เอาครบ ๕ อย่าง ๕ ขันธ์ จะเรียกเป็น ๒ ก็ได้ ไอ้ที่เห็นด้วยตาหยิบด้วยมือได้ เขาเรียก รูป ไอ้ที่จับไม่ได้อย่างเช่น เวทนา ความหิว ความสุขความสำ�เร็จ คว้ามายังไงวะนะ? วิญญาณตาเห็นรูป กูจะเอาตัวเห็นมาจากไหน? สิ่งเหล่านี้มันเป็นนามธรรม แต่มัน มีอยู่ เมื่อร่างกายยังมีชีวิต เขาเรียก นาม ก็มีรูปกับนาม หรือว่า กาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ ๔ อย่างรวมกันเนี่ย อีกหน่อยมันรวมกันอยู่มันก็ใช้ได้เหมือนคอมพิวเตอร์เครื่องนึง โน้ตบุ๊คเครื่องนึง ใช้ได้ แต่ถ้าหากร่างกายตัวนี้ ลมหายใจหมดไป วิญญาณ ออกจากร่างถูกชักปลั๊กออก ฉิบหายแล้ว เวทนาก็หนีแล้ว สัญญาก็ไปแล้ว สังขารก็ไม่อยู่แล้ว วิญญาณก็ไม่ได้เหลือแล้ว


47 มันไม่ได้คบกันตลอดหรอกนะ พอตายแล้วไอ้นามธรรมนี่มัน ไม่มีในรูป รูปไม่มีในนาม เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ได้มีในร่าง ร่างไม่ได้มีอันนี้ตลอดนา มันโหลดเข้ามาชั่วขณะ ที่ยังเสียบไฟได้เท่านั้นเอง อย่าไปหลงว่ามันจะอยู่กับเรานาน เมื่อมีเวลาก็พิจารณาขันธ์ทั้ง ๕ นี่ ที่ฝึกก็เอาขันธ์ ๕ มาฝึก เอามาเป็นกรรมฐาน! เอาใจเข้ามาจับอะไรของขันธ์ ๕ ก็ได้มาพิจารณา พิจารณาจนชินจนช่ำ� ก็ตอกหมุดตอกลงเลข ลงยันต์มาแล้ว หมายความว่าเป็นสมถะแล้ว.. ค่อยมาเห็นเป็น ไตรลักษณญาณ อย่าว่าแต่มึงเลย.. ของสมเด็จพ่อยังไปแล้วเลย.. เป็น อนัตตาไปแล้ว ของหลวงปู่อานนท์ หลวงปู่พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตรเก่งขนาดไหน..ไปแล้ว แล้วกูจะรอดมั้ยเนี่ย? มึง จะรอดไหมเนี่ย? หลวงปู่ฤๅษีฯ หลวงปู่มั่นไปแล้ว แล้วกูจะรอด ไหมเนี่ย? มันต้องถามเข้ามาอย่างนี้ มันจะรู้..ไม่รอด! เนี่ยถึงจะ เรียกว่ากรรมฐาน เข้าใจมั้ยลูก? ใจมันจะสลดลงไป ใจมันก็จะ ลืมความคึกคะนองความโลภ โกรธ หลง แทนศพ เพราะศพ พอได้กรรมฐานตัวนี้ เขาถึงบอก เอ้า! ก็มันยังไม่ตาย แล้วจะทำ�ไง? ก็ต้องเลี้ยงมันจนตาย ต่อไปนี้การเลี้ยงมันนี่จะ ไม่ผิดศีลแทนร่างกายเพราะร่างกายแล้ว ที่ผิดศีลแทนร่างกาย เท่านั้นเอง ที่โลภ โกรธ หลง แทนร่างกายเท่านั้นเองใช่มั้ยลูก?


48 ต่อไปนี้จะทำ�อะไร จะเกิดทุกข์อย่างไร ฉันจะเอาใจเป็นใหญ่ เป็นประธาน น้ำ�ที่จะกินต้องบริสุทธิ์ด้วยศีล เขาก็ซื้อมาให้และ ประเคนแล้ว กินไปได้ แล้วกินปัญญาเข้าไปด้วย เข้าปากแล้ว ก็ไปอยู่ในกระเพาะ ตายแล้วก็เป็นน้ำ�ในกระเพาะศพ เอาอีกอึก ก็ได้ อย่างนี้ลูกการดำ�รงชีวิตอยู่ จะเห็นว่ามันคึกคะนองน้อยลง โลภ โกรธ หลงไม่เกาะใจขนาดทำ�ผิดอันนั้น ฝึกให้มันต่อเนื่อง ถาม : แล้วอริยสัจ? ตอบ : อริยสัจก็คอื ตัวทุกข์ไง ทุกข์กเ็ กิดจากร่างกาย หรือ เปล่าล่ะ? เกิดจากร่างกายอย่างเดียว ไม่มีอะไรที่ไม่เกิดจากขันธ์ ๕ เลยลูก..ไม่มีเลย นิวรณ์ ๕ ก็เกิดจากขันธ์ ๕ อยากกามให้ ขันธ์ ๕ หรืออยากกามให้ใจ? ใจมีกะจู๋ไหมเล่า? เอากันตรงๆ อย่างนี้นะลูกนะ โลภ..โลภแทนร่างกายหรือเปล่า? อยากได้รถ เบ๊นซ์ให้ร่างกายนั่งหรือใจนั่งล่ะ? อยากได้โรเล็กซ์ผูกข้อมือ ร่างกายหรือข้อมือของกายทิพย์ล่ะ? นั่นแหละพอร่างกาย ตาย ปั๊บ! มันไม่อยากได้อะไรมาให้ศพหรอกลูก มันจ๋อย มันไม่รู้ จะผูกไปทำ�ไม เอาตามวาสนา แต่สิ่งที่จะเอามาบริหารร่างกายก่อนตายเนี่ย ต้องมา ด้วยศีลที่บริสุทธิ์ จะไม่ละเมิดชีวิตใครมาให้เพื่อชีวิตมึงที่ต้อง ตาย จะไม่ละเมิดทรัพย์สินใครมาเลี้ยงชีวิตมึงที่ต้องตาย จะไม่ ละเมิดผู้หญิงผู้ชายใครมาเลี้ยงมึงกามของมึงก่อนที่มึงจะตาย


49 จะไม่เอาปากมึงไปพูดภาษามนุษย์ไปส่อเสียด เพ้อเจ้อ โกหก เขาก่อนที่มึงจะตาย และไม่เอามึงไปกินเหล้าให้เผลอสติ นั่งไม่ อยู่ จะนั่งหนอๆ ก็ได้โว้ย ไม่เอา..เรื่องทำ�ให้ขาดสติ เราไม่เอา เพราะฉะนั้นต่อไปนี้ร่างกายที่เต็มไปด้วยความทุกข์ เป็นสัจจริงของชีวิต เราจะบริหารทุกข์ของชีวิต ด้วยสติว่า เดี๋ยวมึงก็ตาย บริหารก่อนตายแล้วกูจะผิดศีลแทนเพราะมึง ไม่ได้ เพราะว่าการที่จะไปขโมยของเขานี่ มือเนี่ยกับลูกกะตา มันขโมยไม่เป็น ใจต้องคิดแทน คนไม่มีแล้ว ก้มหัวหน่อย คลานหน่อย ใจมันสั่งทั้งนั้นนะลูกนะ แล้วหยิบมาใส่กระเป๋า.. แล้วเวลาตาย ใจมันกำ�ลัง..ความโหดร้าย ความโลภ ความอะไรโหลดเข้ามานะ จนเต็ม ผู้หญิงเดินผ่านมา..ข่มขืน! แทนที่บอกไหว้..มันไม่ล่ะ ผู้หญิงเดินมา เหมือนเมียกู! แทนที่ บอก แม่กูก็รูปร่างอย่างนี้แหละ มันไม่คิดไงลูก คืออำ�นาจกาม มันเต็มไปหมด เห็นภาพตามนิมิตปั๊บ! มันตามไปที่มันโหลด ไว้เลย แล้วใจก็ไปตามใจมัน ฉุดเข้าข้างป่า ตุ๊ยท้องเลย ถาม ว่ากะจู๋ของผู้ชายกับจมูกของผู้ชายที่ไปดมกลิ่น ไปสัมผัสอะไร ไปต่างๆ เวลาตายไปแล้วมันเน่าลงดินมั้ยลูก? เผาแล้วเป็น ขี้เถ้ามั้ย? แล้วเวลาตกนรก ขี้เถ้ากะจู๋ไปตกมั้ยลูก? แล้วใจเสือก ไปตกแทนมัน เพราะใจมันโหลดกำ�ลังความเลวไว้ ไอ้นั่นมัน


50 โหลดไม่เป็นมันถูกใจใช้ให้ทำ� เพราะฉะนั้นเวลาผิดศีล ผิดศีลแล้วใจตกทุกที! เข้าใจ มั้ยลูก? แล้วเป็นอย่างนี้มาล้านๆครั้ง เกิดมากี่ล้านครั้งก็เป็น อย่างนี้ แต่ตอนนี้กูรู้แล้ว มึงจะทุกข์อย่างไรกูจะบริหารกูจะไม่ ยอมละเมิดศีลแทนมึงเพราะมึง เพราะกูจะตกนรกแทนมึงไม่ได้ ศีลซึ่งมาหลังจากเห็นทุกข์เห็นโทษแล้ว อริยสัจคือของจริงในร่างกาย เกิดขึ้นมา ก็มีอะไรอ่ะ ถุงหนังอันนี้มันมีทุกข์ฝังอยู่ข้างใน ๑๐ อย่างคือหิวข้าว หิวน้ำ� ใช่มั้ย? หิว กระหาย ปวดท้องขี้ ปวดท้องเยี่ยว(กินแล้วก็ปวด) ง่วงเหงาหาวนอน เจ็บไข้ไม่สบาย ต้องแก่ ต้องตาย ใช่มั้ยลูก ๑๐ อย่าง? เป็นของจริงมั้ยลูก? หิวข้าว หิวน้ำ� ถ้าไม่บริหาร ทนไหวมั้ย? ทนไม่ไหว สิ่งที่ทนไม่ได้เขาเรียกทุกข์ ไม่บริหาร มันตายห่าเลยนา กินเข้าไปแล้วมันปวดท้องขี้ ไม่บริหาร มันขี้ แตกตรงนั้นนา ทุกข์มั้ยลูก? นี่คืออริยสัจไง การบริหารคือ บริหารร่างกายนี่แหละ แต่จะต้องมีสติ ว่าอย่าไปขี้กลางถนน ส้วมคนอื่นเขาล้างไว้ดีจะไปขี้ต้องขออนุญาตเขาก่อน แล้วขี้อย่า ขี้ให้เปื้อนส้วมต้องล้างให้เขาด้วย ถ้าส้วมสาธารณะต้องจ่ายตังค์ ต้องมีสติมีปัญญาตามที่คนเขามีกัน การบริหารทุกข์เนี่ย เฉพาะศีลเนี่ยจะผิดไม่ได้ ต้อง เห็นทุกข์ ต้องมีร่างกายอยู่ ต้องมีทุกข์ของร่างกายต้องเห็น


51 แล้วถึงบริหารทุกข์ เพื่อให้มันก่อนตาย เพื่อจะได้มีความสะดวก สบายในการทำ�ความดีหนีความเลวให้ใจผ่องใส ไม่ต้องไปเกิดมี ร่างกายที่ต้องทุกข์อีกต่อไป ความหมายคือตรงนี้ อี ก นิ ด นึ ง ..พอเห็ น ความหมายอย่ า งนี้ มี ส ติ แ ล้ ว นะ (คร่าวๆ นะ) มีศีลแล้วนะ มีปัญญาแล้วนะ สิ่งเหล่านี้มันได้มา เพราะใครลูก? เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โอ..ขนาด ลูกหมาโง่ๆ อย่างเรา คิดตามทำ�ตามยังเห็นธงชัยขนาดนี้เนาะ! ทำ�ต่อไปมันต้องดีแน่ ถ้าพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์จะ ขนาดไหนน้อ..? สระอ๋อ ไม่ทันจบ.. นึกกราบด้วยความเคารพ อยู่ตรงไหนไม่เกี่ยวเลย จะกราบตรงไหนกูเคารพตรงนั้นเลย.. พุทโธ... เมื่อเห็นธรรมแล้วจึงเคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งได้..ด้วยปัญญา แล้วก็คิดต่อไปอีกหน่อยนึง มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง ร่างกายไม่มีประโยชน์ มีสติอยู่ในใจ มีศีลปกครองอยู่เฉพาะหน้า ตายเมื่อไรก็เลิกกัน จะไปอยู่กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะท่านไม่เกิดอีก แล้ว ไม่ทุกข์อีกแล้ว พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ที่ไหน (ภาษาปัจจุบันเขาเรียก ‘นิพพาน’ อย่าไปติดศัพท์) กูจะไปที่ พระพุทธเจ้ากับพระอรหันต์อยู่อ่ะ เออ..ตรงนั้นแน่ะ


52 แต่ศัพท์นี้ยาวมากเลย จะไปไหน? จะไปที่พระพุทธเจ้า กับพระอรหันต์อยู่หนอ.. มันยาวไม่ทันตาย เขาบอกว่านิพพาน ก็นิพพานกันเถอะนะ นิพพานครับ ผมจะไปนิพพาน มันไม่ได้ สูงเกินไป หรือทะเยอเพ้อฝันอะไรเกินไปหรอก ก็ทำ�ตามพระ อรหันต์ท่านทำ�นั่นแหละ คนเรานี่ที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นที่ไป มีพระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แล้วมีสติมีศีลบริสุทธิ์ แล้วเห็นร่างกายเป็นทุกข์ แล้วไม่อาลัยร่างกายแม้จะตาย ก็ บริหารไป อิ่มมั้ยลูกจบมั้ยถ้าเอาแค่นี้? เป็นผัวก็ทำ�หน้าที่ผัว เป็นเมียก็ทำ�หน้าที่เมียไปจนวันตาย แต่ก่อนตายไม่เพิ่มบาปให้ ตัวเอง บาปเก่าจะเอาออก ความดีใหม่ที่จะทำ�จะต้องเท่ากับ ความดีเดิมที่เราทำ�มา ให้มันเต็มขึ้นมา แล้วความผ่องใสก็จะเกิด เอวังนะลูก! พอดี ๓ ทุ่ม ยาวเหยียดเลย.. พูดให้ฟัง เป็นกำ�ลังใจว่า.. การฝึกกรรมฐานเราต้องไป ค้นคว้าหาอาจารย์หรือหาสูตรของเราเอง ตรงตามที่เราทำ�มา แต่อดีตชาติ พูดให้ฟังถึงธรรมชาติว่ามันเป็นเรื่อง แค่นี้แหละ! แต่คำ�ว่า‘แค่นี้แหละ’ต้องหาเอาเอง ต้องหากี่ร้อยชาติก็อยู่ที่ คนแล้ว หรือจะเอาอีกกี่ร้อยนาทีก็ตามใจตัว คนฉลาดก็คือ อย่ามีมานะพบพระก็ไหว้พระ พบคนดีก็ไหว้คนดี ถามเขานี่ ที่หนูโง่ๆนี่ อยากหายโกรธทำ�ไง? ถ้าฟังแล้วไม่ถูกหูก็ คืนนะป้า


53 ไม่ถูกกะหนู หนูจะไปถามเณรต่อ คนตอบไม่ได้ก็ไปอ่านหนังสือ แล้วก็ทำ�ตามนั้นนะลูกนะ ด้วยสัจวาจาอันนี้นะลูกนะ ด้วยความดีที่พวกเราทำ� มาทั้งหมด ขอให้ความดีรวมตัวกันให้เรามีสติตั้งมั่นพบครูบา อาจารย์พบธรรมะของเราให้เร็วที่สุด แล้วรีบทำ�ให้ได้ผล ปลอดภัยเสียก่อนเราจะตายนะลูกนะ.


54

พระครูภาวนาพิลาศ (๙ พ.ย. ๕๒) ภาวนาต้องทำ� ส่วนสมาธิให้ใจมั่นคง แล้วส่วนวิปัสนา ญาณนี่ให้เกิดปัญญา ถ้ามีปัญญา มีศีล รูปร่างสวย มีอวัยวะ ครบถ้วน มีสติปัญญาแต่จนก็แย่เนาะ(หัวเราะ) หรือไม่มีพรรค เพื่อนฝูงช่วยเหลือนะ ไปทำ�งานทำ�การอะไรก็ไม่มีคนสนับสนุน ก็ต้องบำ�เพ็ญทาน ถวายไว้กับเนื้อนาบุญซึ่งเรามั่นใจว่าดีที่สุด เท่าที่จะหาได้ในขณะนั้น ส่วนใหญ่ก็จะถือกันว่าทำ�บุญในเขตพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นเนื้อนาบุญที่สมบูรณ์นะลูกนะ เขาไม่ได้เอาไปทำ�กิจ กรรมในครอบครัวอะไร เอามาเพื่อที่จะเจือจาน ให้คนที่เข้ามา กับพระที่บวชเข้ามา มีความสะดวกสบายในการสืบอายุพระ ศาสนาในการปฏิบัติธรรม การบำ�เพ็ญทานและสังฆทานก็เป็นบุญใหญ่ ทำ�ให้เกิด ทรัพย์สิน ร่ำ�รวย และก็คนที่โมทนากัน คนต้นทาน ต้นคาถา และคนเขาโมทนาถือว่าเขาก็ได้บุญเต็มนะลูกนะ เต็มตามแบบ ของการโมทนาร่วมบุญ และเวลาไปเจอกันชาติไหนนี่ ใจมันจะ


55

สนิทกัน อยากจะร่วมบุญอีกเพราะเคยร่วมบุญกันมา และ โมทนานะ พูดก็จะเชื่อฟังกันง่าย ไม่ระแวงอะไรกัน เพราะเป็น เหตุของความสุข แล้วเราก็โมทนามีความสุขด้วย คนบางคน สังเกตมั้ยลูก รูปร่างก็ไม่ดีเท่าไร ปัญญาก็ อย่างงั้นๆ พูด!...คนมันเชื่อ ขายของคนก็ซื้อ คนร่วมมือดี อย่าง บางคนในชาตินี้ในปัจจุบันก็.. เงินก็ไม่มีมา ทำ�แต่ก่อนมาน้อย เขาก็รู้ตัว เขาก็ขยันบอกบุญ ขยันช่วยเหลือ ไปเรี่ยไร ไปบอกบุญ ขยันยกขยันอะไรก็ว่าไป ก็เป็นส่วนหนึ่งของสังฆทาน โดยเฉพาะสังฆทานทำ�ไมหลวงตาถึงถวาย? ก็พูดซ้ำ� อยู่เรื่อย อันแรกคือตอนที่หลวงตาบวชใหม่ๆ หรือก่อนบวช ก็คิดว่าเราจะเอาแต่ปัญญา เอาแต่วิปัสสนาญาณ เอาแต่ กรรมฐาน จะไปนิพพานชาตินี้ เราไม่โลภในบุญแล้ว ทำ�ไป เกิดไปก็เป็นพระเจ้าแผ่นดิน รวยเป็นร้อยๆ ชาติ ขี้เกียจเกิดให้ มีความทุกข์ มันคิดไพล่ไปเสียอย่างนั้น ก็มาเอาแต่กรรมฐาน แล้วก็สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ ยังมีชีวิต อยู่ พระที่เป็นสหธรรมมิกของท่านก็เป็นพระอรหันต์เป็นพระ สำ�คัญมากมายหลายองค์ อย่างน้อยก็ ๗-๘ องค์ ที่ท่านพา เข้ามาเนี่ย แล้วมาให้พวกเราทำ�บุญ เราก็คิดว่าทำ�กับพระ อรหันต์เหล่านั้นตั้ง ๒-๓ ครั้งแล้ว เกิดไปรวยไปอีกตั้งหลาย ร้อยชาติแล้วก็พอแล้ว อะไรอย่างนี้นะ มันไม่ใช่! พอหลวงพ่อ


56

ตายแล้ว พระกลุ่มนั้นมรณภาพหมดแล้วนี่ เราหาเนื้อนาบุญ ซึ่งเราจะเย็นใจยากแล้วนะ แล้วเราจะรู้ยังไง? ว่าก่อนจะตาย ใจเราจะจับวิปัสสนาญาณได้มั่นคง ถึงขนาดไปนิพพานได้ หรือ ไม่ตกนรกอีกต่อไป หรือไม่เกิดอีกต่อไป เพราะฉะนั้นหลวงตาเลยมาคิดว่า โอ้ โห...ประมาท เกินไปแล้ว ทะนงเกินไปแล้ว ถึงยังไง ต้องทำ�ให้ครบ ทานก็ ต้องบำ�เพ็ญ ดีกว่ากอบโกย ใช่มั้ยลูก? อย่างน้อยให้ทานออกไป เลือกเนื้อนาบุญ เลือกกิจกรรมที่ให้ ก็ยังดีกว่าดึงความโลภเข้า มาถมตัวเอง ศีลก็ต้องรักษา ภาวนาก็ต้องปฏิบัติ ต้องเอาให้ครบ ศีล สมาธิ ปัญญา ทีนี้หลวงตาก็แถมเข้ามาหลวงพ่อท่านก็มา คล้ายๆ เข้า ฝัน ท่านก็บอกว่าคนที่มีคุณต่อชีวิตของเรา ของมนุษย์ทุกคน มีคุณอยู่หลายระดับ แต่ที่สำ�คัญที่สุดก็คือ พระคุณพ่อแม่ ซึ่งให้ร่างกายเรามา นี่ๆ..! ถ้าหนูเป็นเทวดามีอานุภาพยังไงก็ ตาม เป็นนาค เป็นครุฑ เป็นมนุษย์ เป็นอะไรก็ตาม ตาย จากตรงนั้นแล้วนี่ เรื่องจะมาเกิดในท้องของคน ซึ่งเขานับถือ พระพุทธศาสนา แล้วอยู่ในยุคที่พระศาสนา กำ�ลังให้ผลอย่าง พ.ศ. ก่อนจะ ๕๐๐๐ นี่ ไม่ใช่ลงมาแล้วจะลงมาได้นะลูกนะ แม่เจ้าของท้อง ต้องเต็มใจ เคยเกื้อกูลกันมา จึงจะมาเกิดในอุทรประเทศท่าน


57

ได้ ไม่ใช่เลือกเกิดตามใจ.. ไม่ได้! บุญนั้นมีสิทธิ์จะเกิด แต่แม่ ประเภทที่รับบุญเราไม่มี และท่านไม่ให้เราเกิด ค้างเป็นเทวดา.. รอก่อน แล้วมีสิทธิ์ลงมาเกิดเจอแม่อย่างนั้น แต่ไปเกิดในยุค ซึ่งไม่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ.ศ. ๕๒๐๐ ปีไปแล้วนี่นะ หลักคำ�สอนของพระพุทธศาสนาไม่มีให้เราค้นคว้าแล้ว ไม่มี เนื้อนา ไม่มีพระสงฆ์ที่จะเทศน์ให้เราฟัง สอนให้เรานั่ง ให้เดิน จงกรมนี่ ไม่มีแล้ว ต่างคนต่างปฏิบัติเอาเอง ถ้าไปเจออย่าง นั้นเราก็ขาดประโยชน์ไป เพราะฉะนั้นคนที่มีคุณต่อเรามากที่สุดก็คือ พ่อแม่ที่ ให้ท้องเราเกิดด้วยความเมตตา ด้วยความผูกพันแต่เดิม แล้ว ก็เลี้ยงดูเราจนโตมานี่นะ จนเป็นคนโตขนาดนี้ ท่านมีคุณมาก มาย ไม่ว่าจิตของท่านที่มาอาศัยร่างที่เราไปอาศัยท้อง ท่านจะ มีความหยาบ ความละเอียด ความเลว ความประณีต เป็น ศาสนาไหน เป็นอะไรก็ตาม ไม่เกี่ยวเลย เกี่ยวว่าคุณที่ท่าน เลี้ยงเรามา และให้เรานี้เกิด คุณอันนั้นก็มหาศาลแล้วนะลูกนะ แล้วเวลาเกิดออกจากท้องพ่อท้องแม่มา พ่อแม่ก็เป็น ครูคนแรก สอนให้กินข้าว ให้ขี้ ให้เยี่ยวได้ ให้เรียนหนังสือได้ ครูที่สำ�คัญพอกับพ่อแม่ หรือครูบางคนนี่ส�ำ คัญกว่า คือครูที่ สอนศิลปศาสตร์ วิชาการ สอนหนังสือ สอนทำ�มาหากิน


58

โดยเฉพาะคู่สวดอุปัชฌาย์ หรือครูกรรมฐาน คือครูที่มีสำ�คัญ ที่สุด ทำ�ให้จิตใจของเราที่ได้ร่างกายนั้น..ตั้งมั่น! เป็นสัมมาทิฐิ อยู่ในเขตพระศาสนา ยิ่งได้ครูที่ดุ ตีแล้วดุด่าแล้วด่าอีก..เลว ไม่ได้เลย ยิ่งมีคุณมหาศาล ทำ�ให้เราไม่ตกนรก ทำ�ให้เราเพิ่ม บุญของเราได้ เพราะฉะนั้นพูดเสียยาว จะบอก.. สังฆทานที่หลวงตา ถวายในยุคหลังตอนหลังนี่ ถ้ามีสตางค์ส่วนตัวที่พวกเราให้ หลวงตาจะนำ�ถวายสังฆทาน..ว่า ขอถวายบูชาพระคุณพ่อแม่ ทุกพระองค์ ทุกภพทุก ชาติดังกล่าวมา ไม่ว่าสถานะนั้นจะเป็นไส้เดือนกิ้งกือ เป็นลูก หมา ลูกนก อะไรก็ตาม ขอให้ท่านเป็นพ่อแม่เลี้ยงเรามา.. สักชาตินึง แล้วตอนนี้ดวงจิตเหล่านั้นจะไปอยู่ในนรก หรือใน นิพพาน หรือในสวรรค์ หรือในพรหมโลกหรือในมนุษย์โลกก็ ตาม ขอพระคุณได้โปรดทราบว่า ลูกขอถวายสังฆทานบูชาพระคุณ ให้โมทนา แล้วก็พระคุณครูบาอาจารย์ทุกคน ทุกศาสตร์วิชา ทุกภพทุกชาติ คู่สวดอุปัชฌาย์ทั้งหลาย (โดยเฉพาะในชาติ ปัจจุบัน เราต้องนึกชื่อให้ออก คนถ้าไม่มีครูตายห่าเลย! เรา ต้องนึกชื่อครูให้ออกว่าครูอะไร ครูโยคะ ครูเต้นรำ� ครูปิงปอง ครูอะไร ก็ว่าไปเหอะ ขอให้เป็นครูเรา สอนให้เราทำ�ศิลปศาสตร์


59

ทำ�หนังสือ ทำ�กรรมฐานได้ ถือว่าท่านมีคุณมหาศาล) จนถึงครู ปัจจุบัน ทุกๆ ดวงจิตที่มีคุณ ขอได้โปรดเมตตาโมทนาสังฆทาน ที่ลูกทั้งหลายถวายบูชาพระคุณ ทั้งพ่อแม่ก็ดี ทั้งครูบาอาจารย์ ก็ดี อยู่ทีไหนก็ตาม ขอให้ได้โปรดใช้กำ�ลังจิต กำ�ลังกาย กำ�ลัง วาจา ทางตรง ทางอ้อม ทางเป็นทิพย์ ทางหยาบอะไรก็ตาม ช่วยสั่งสอนลูกต่อไป เข้มงวดกวดขัน เหมือนชาติที่เคยดุและ เข้มงวด ให้ลูกได้ดีมา แล้วต่อไปข้างหน้าจนกว่าลูกจะได้เข้า พระนิพพาน ขอได้โปรดเมตตาติดตามสั่งสอน เคี่ยวกรำ�อยู่ต่อไป ตลอดกาลตลอดสมัย แม้ลูกเข้าพระนิพพานแล้ว เป็นพระ อรหันต์ไปแล้ว ก็จะขอบูชาคุณพระคุณครูบาอาจารย์กับพ่อแม่ ตลอดไป ให้พระคุณจงได้ยินจงได้รับการโมทนาในครั้งนี้ด้วย ตั้งนะโม ๓ จบนะลูกนะ! (ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วกล่าวคำ�ถวายสังฆทาน..)


60

[อ่านต่อหน้า ๑๓๓]


เออ..แน่ะ! พ่อหนู ปู่ไม่ไหว ปู่จะได้ ไปก่อน ไหมล่ะหนู ประคองหน้า ประคองหลัง นั่งไม่อยู่ ปล่อยเฉยเฉย ก็ไม่รู้ ล้มเมื่อไร ใจน่ะ มันยัง เด็กน่อยนัก แต่ร่างกาย มันเริ่มหัก ซ่อมไม่ไหว เหมือนลากเกวียน ล้อโย้ มาแสนไกล รอเมื่อไร วันใด ได้จอดพัก แต่ปู่น่ะ ไม่อยากแล้ว ขับ‘รถ’ เปลี่ยนมาหมด รถหรู ยี่ห้อหรา บุโรทั่ง ปู่ก็เคย ได้นั่งมา พอเทียบท่า รถพัง ก็เปลี่ยนรถ หนูเอ้ย! ช่วยปู่ หน่อยได้ไหม ช่วยทำ�ใจ ของหนู ให้หมดจด ก่อนที่ปู่ จะทิ้งร่าง เปลี่ยนรถ ให้ปู่ได้ เอาน้ำ�รด มือ‘พระดี’.


เรื่อง : เนตรา ภาพ : โชติธมฺโม


63

ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ดินแดนมหัศจรรย์...ค่ะ! ก่อนอื่น... ฉันคงต้องขอแนะนำ�ตัวเองกับคุณผู้อ่าน เสียงจากถ้ำ� ...ของวัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) ทุกท่านก่อนว่า... ฉันคือเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ (เอ๊ะ! เล็กหรือเปล่าเอาเป็นว่าสูง ๑๖๘ ซ.ม.นะคะ) แต่ฉันกำ�ลังหมายถึงฉันไม่ใช่ใครที่มีอะไร พิเศษเกินผู้คน และเป็นเพียงคนธรรมดาคนหนึ่ง ที่มีโอกาสเข้า มาเรียนรู้ธรรมะของพระพุทธองค์ นับถึงปัจจุบันก็ประมาณ ๗-๘ ปีได้แล้วค่ะ หลวงตา(พระครูภาวนาพิลาศ) ท่านปรารภว่า.. อยาก ให้ฉันเขียนเรื่องอะไรก็ได้.. ที่จะให้ผู้คนเข้าใจถึงคำ�สอนของ สมเด็จพ่อ(พระพุทธเจ้า)ได้โดยง่าย... เนื่องมาจากว่าฉันมีอาชีพ เป็นนักเขียนอยู่แล้ว .... ฉันรีบรับคำ�ท่าน โดยไม่รีรอ.. แต่ฉันก็คิดในใจว่า.. เรา จะเขียนยังไงดีหนอ? แต่ในที่สุด! แค่เพียงนึกว่าอยากจะเขียน.. คำ�นี้ก็ผุดขึ้น ในใจทันที..


64 ‘ธรรม...มหัศจรรย์’ เป็นคำ�ที่รวมความหมายระหว่าง.... ‘ธรรมะ’... กับ ‘มหัศจรรย์’ เข้าด้วยกัน นั่นเป็นเพราะในชีวิตของฉัน... ตั้งแต่ได้เข้ามาสู่เส้น ทางสายธรรมะ ชีวิตฉันก็เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง และเปลี่ยนแบบ มหัศจรรย์ซะด้วยซิ... จะมหัศจรรย์ยังไง...? มีอะไรให้ลุ้นขนาดไหน...? ขอเชิญทุกท่าน ติดตามได้...ณ...บัดนี้.... โอมเพี้ยง!

ปล. ก่อนอื่นฉันต้องขอบอกไว้ก่อนว่า... เรื่องที่ฉันจะเล่าให้ทุก ท่านฟังต่อจากนี้ ...เป็นเรื่องจริงล้วนๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวฉัน บาง เรื่องอาจฟังดูไม่น่าเป็นไปได้ ท่านจะเชื่อหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความ สมัครใจของท่าน.. หาขนมกิน.. นอนเล่น.. แล้วทำ�ใจให้สบาย.. เชิญฟัง(เอ้ย! เชิญอ่าน) ได้เลยค่ะ!


65 ตอนไม่เชื่อแถมลบหลู่ ------------------

“เนี่ย...เพิ่งเคยมาครั้งแรกนะเนี่ย” “เหรอ...ที่นี่มันกว้างดีเนอะ” เสียงภาษาไทย.... “เอ๊ะ...ทำ�ไมมีเสียงภาษาไทยอยู่แถวนี้” ฉันนึกในใจ เพราะตอนนั้น ฉันกำ�ลังเดินอยู่ในห้างสรรพสินค้า ที่ แอล เอ ลอสแองเจลลิส สหรัฐอเมริกา แล้วจู่ ๆ ก็มีเสียงคนไทยแว่ว ๆ เข้าหู ฉันหันไปดูตามเสียงที่พูดนั้น “เฮ้ย! พระ... นั่นพระสองรูปกำ�ลังนั่งกินไอติมอยู่” ฉันนึกในใจ มองไปด้วยความสับสน พระกินไอติมได้ เหรอ? แล้วนี่มันกี่โมงแล้ว! บ่ายสามกว่าๆ ทำ�ไมมีพระไทยมา นั่งกินไอติมอยู่ในห้างสรรพสินค้าที่นี่ “โอ้ย...ทำ�ไมทำ�แบบนี้” ฉันนึกในใจ หงุดหงิดเป็นที่สุด ใจหนึ่งก็อยากเดินเข้าไปถามว่าท่านมาจากไหน? และทำ�ไม? ทำ�แบบนี้! แต่อีกใจหนึ่งก็ไม่กล้า เพราะเราเป็นชาวพุทธ เราถูก สอนให้กราบไหว้และนับถือพระสงฆ์... การทำ�แบบนั้นเราอาจ จะบาป แต่มันอึดอัดจริงๆ ฉันนึกในใจ และได้แต่เก็บความ ขุ่นข้องหมองใจในครั้งนั้นไว้แต่เพียงผู้เดียว..


66 นี่คือเหตุการณ์เมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว.. หลังจากนั้นไม่ นาน ฉันกลับมาเมืองไทย.. และมาเดินในห้างสรรพสินค้าของ ไทยอีก คือแม็คโคร ห้างที่ขายของราคาส่ง อยู่แถวๆ บางกะปิ และแน่นอน! ฉันเจอพระเดินห้างอีกแล้ว.. คราวนี้เป็นพระรูป เดียว ท่านไม่ได้มากับใคร แต่ท่านก็มาเดินเลือกซื้อของคนเดียว ฉันนึกในใจ...อะไรกันนี่! ฉันเจอพระเดินห้างอีกแล้ว... เอ๊ะ! นี่มันอะไร... มันผิดหรือถูกกันแน่ พระเดินห้างได้เหรอ? (ในตอนนั้นฉันยังไม่เคยเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆ ทั้งสิ้น จึงไม่ทราบ... ซึ่งความจริงแล้ว ถ้าหากท่านเดินเพื่อ เลือกซื้อของใช้จำ�เป็น หรือเดินเพื่อเลือกสมุดหนังสือ... ไปเป็น สื่อการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้ในกิจการของวัดก็สามารถทำ� ได้ค่ะ..) เท่านั้นยังไม่พอ... ครั้งที่สาม ห่างจากสองเหตุการณ์นั้นนานพอสมควร... อยู่มาวัน หนึ่ง ในขณะที่ฉันไปเดินอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าตรง RCA เวลา บ่ายสองโมงกว่าๆ แล้วจู่ๆ หางตาข้างซ้ายฉันก็เห็นอะไรสี เหลืองๆ แว๊บ ๆ.. ในร้าน VCD เพลง ฉันถึงกับหยุด แล้วเดินถอยหลัง เอนตัวไปดูตามหาง ตาข้างซ้ายของฉัน


67 “โอ้..แม่เจ้า... เอาอีกแล้ว!” ฉันเจอพระหนุ่มสองรูป กำ�ลังเลือกซื้อ CD เพลงของบอยโกสิยพงษ์ หืมมมมมมม! ความรู้สึกในตอนนั้น ของฉันมันเหมือนใครเอาน้ำ�ร้อน มาสาด เหตุการณ์นี้เป็นครั้งที่สามแล้วที่ฉันเห็นพระเดินใน ห้าง แล้วนี่เห็นคาตา! ว่ากำ�ลังเลือกซื้อ CD เพลงบอยโกสิยพงษ์ เจ้าพ่อเพลงรักแห่งยุคซะด้วย เอ๊ะ! มันยังไงกันเนี่ย... พระทำ� แบบนี้ได้ยังไง...? ฉันรู้สึก...โกรธจัดๆ หน้านิ่วคิ้วขมวด หูอื้อ ตาแดงก่ำ� หงุดหงิดจนบอกไม่ถูก ไม่รู้จะทำ�อย่างไรดี ...ตอนนี้ภาพพระ ที่กินไอติม.. พระเดินห้าง.. และพระซื้อ CD.. วนเวียนอยู่ในหัว ของฉัน เหมือนหนังฉายวนไปวนมา ฉันพยายามข่มใจ ให้เดินออกไปจากที่นั่น และทำ�เป็น ไม่รู้ไม่ชี้ แต่ในที่สุดก็ทำ�ไม่ได้.. ฉันตัดสินใจตรงดิ่งเข้าไปในร้าน CD นั้น แล้วพูดด้วยเสียงอันดังใส่พนักงานขายว่า... “น้องคะ... น้องกำ�ลังทำ�อะไรอยู่คะ... น้องก็เห็นว่าใคร กำ�ลังมาซื้อของ น้องไปขาย CD เพลงแบบนี้ให้พระได้ยังไงคะ มันไม่ผิดเหรอคะ...” ฉันใส่เป็นชุด จนน้องพนักงานช็อคซีนีม่า อึ้งกิมกี่.... ตอบอะไรไม่ทัน ว่าแล้ว... ฉันก็หันไปทางพระสององค์ที่ยืน ตกใจอยู่


68 “ท่านคะ ถามจริงๆ เมือ่ เช้าท่านบิณฑบาตหรือเปล่า” ฉันพูดด้วยเสียงอันดัง ท่านทำ�หน้างง.. งง.. แล้วตอบว่า “อืม! อาตมาบิณฑบาต ทำ�ไมหรือโยม..” “ถ้าท่านบิณฑบาต ท่านก็ต้องฉันข้าวที่คนเขาใส่บาตร ด้วยความศรัทธามาให้ หนูก็เป็นคนชอบใส่บาตร ...แต่มาเห็น ท่านทำ�แบบนี้แล้วมันเสียใจนะ.. รู้ไหม?...เสียใจ!” ฉันพูดคำ�ว่า‘เสียใจ’ดังที่สุดเท่าที่จะดังได้ แล้วก็ยืน กำ�มือแน่น น้ำ�ตาคลอ.... ความรู้สึกตอนนั้น มันเหมือนคนอกหัก ใจสลาย รู้สึกเสียใจเป็นที่สุด.. ฉันต่อว่าพระ... ทั้งๆ ที่กลัวบาป แต่มันทนไม่ไหวจริงๆ พระทั้งสองรูปท่านไม่โต้ตอบอะไร.. ฉันพูดเสร็จ ก็หัน หลัง ปาดน้ำ�ตา เดินออกจากร้าน... เพราะไม่อยากยืนอยู่ที่นั่น อีกแล้ว... ฉันเดินห่างออกมา... ในใจก็คิดว่า... ท่านคงรู้สึกอะไร บ้าง... แล้วก็หันหลังกลับไปดู ปรากฏว่า... ฉันเห็นพระสองรูปนั้น เดินถือถุง CD บอยโกสิยพงษ์ แกว่งออกมาจากร้าน... เหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น เฮ้อ! นั่นคือ...เหตุการณ์ที่ทำ�ให้ฉันจำ�ติดตา ติดใจจนถึงวันนี้


69 แต่คุณรู้ไหม? เมื่อมาถึงวันนี้แล้ว....ทุกครั้งที่ฉันกราบ พระ ฉันต้องนึกย้อนไปขอขมากรรม กับพระสงฆ์ทั้งสองรูป หรือพระสงฆ์ทุกองค์.. ที่ฉันบังอาจ และอาจเอื้อมไปตัดสิน ความผิดของท่าน เพียงแค่ตาที่ได้เห็น เพราะอะไรหรือคะ? ก็เพราะ... หากพระสองรูปต้องการซื้อ CD ของบอย โกสิยพงษ์ ไปใช้ในการประกอบการสอน หรือการเทศน์ เช่น พระมหาสมปอง ซึ่งท่านก็ฟังเพลงเพื่อนำ�มาปรับใช้ในการสอน เด็กรุ่นใหม่ เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย ซึ่งเป็นเจตนาที่ดี ถ้าเป็นเช่นนั้น...ฉันก็บาป และลงนรกได้ทันที หรือถึงแม้.. พระทั้งสองรูปท่านจะซื้อ CD ไปทำ� อะไรก็ตามที จะถูกหรือผิด ฉันก็ไม่ควรไปตัดสินท่าน ไม่ควร กระทำ�ลบหลู่แบบนั้นทั้ง กาย วาจา และใจ ที่ถูกคือ... ควรปล่อยให้เหตุการณ์ ที่เรารับเข้ามาทาง ประสาทตา ไม่ว่าจะดีหรือร้ายแค่ไหนในแต่ละวัน... เราควร ปล่อยให้มันผ่านไป.. โดยไม่เก็บเข้ามาบันทึกไว้ในจิตของเราให้ เศร้าหมอง การกระทำ�ของฉัน ...คือการบันทึกกิเลส ตัวที่เรียกว่า... ‘ความโกรธ’ เข้ามาในจิตใจ โดยที่ฉันไม่คิดว่าแท้จริงแล้ว... มันเป็นเรื่องของท่าน หากท่านทำ�อะไรไม่ถูกต้อง... ผิดกฎ ผิด


70 พระธรรมวินัย.... ความผิดนี้ก็ไม่ไปไหนเสีย มันก็จะเป็นบาป เป็นกรรมติดตัวท่าน.. คอยตามสนองท่าน.. หรือบุคคลนั้นๆ ที่ กระทำ�ผิดไปอยู่แล้วโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นพระหรือบุคคล ทั่วไป โดยไม่ต้องมีใครไปชี้แจง หรือไปตอกย้ำ�ว่า... สิ่งที่คนๆ นั้นทำ� ผิดหรือถูก ธรรมชาติของกฎแห่งกรรม...จะบันทึกความ ผิด โดยตัวของมันเอง.... แล้วฉันจะเอาใจของตัวเองไปผูกไปโยง ให้มันรุ่มร้อน.. ให้มันวุ่นวาย ให้มันทุกข์ทุรนทุรายไปทำ�ไม....จิตใจของฉันใน ตอนนั้น ที่กำ�ลังโกรธ! แม้ว่า..โกรธพระ ...ก็ไม่ได้ทำ�ให้ใจเย็น ลงเลย ..ตรงกันข้าม ยิ่งร้อนกว่าโกรธคนธรรมดาเสียอีก... ใจ เราเองต่างหากที่กำ�ลังถูกเผา... มันไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย หากฉันตายไปตอนนั้น.. เกิดสะดุดก้อนหิน หัวทิ่ม ตายไปซะ ทั้งๆ ที่ยังมีอารมณ์โกรธ มีหวังดวงจิตของฉันได้ดิ่ง ลงนรกแน่ๆ แล้วก็ไปคนเดียวโด่เด่ซะด้วย...พระสององค์ท่าน ก็ไม่ได้ตามฉันไปด้วยเลย... แย่จริงๆ ! แล้วอย่างนี้ฉันไปโกรธเคืองท่านทำ�ไม?... ถึงตอนนี้.. เวลามีใครมาเล่าให้ฉันฟัง หรือได้รู้ได้เห็น เรื่องราวเกี่ยวกับพระสงฆ์ ไม่ว่าทางสื่อใดๆ ทั้งทีวี หนังสือพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็น...พระไปข่มขืน..พระหลอกเอาเงินชาวบ้าน.. พระ


71 ติดยา.. พระกินไอติม ...หรืออะไรก็ตาม ฉันรู้สึกเฉยๆ และ บอกตัวเองไว้เสมอว่า... เราจะไม่เอาจิตไปจับ..ไปยุ่ง.. หรือไป ขุ่นมัวกับเรื่องเหล่านี้... และที่สำ�คัญ ...ฉันไม่ใช่ตำ�รวจตรวจพระ ฉันไม่สิทธิ์ไป ตรวจสอบ หรือไปตามด่าทอพระ นินทาพระ หรือตัดสินใดๆ ทั้งสิ้น ใครทำ�อะไรไว้ย่อมรู้อยู่แก่ใจ ที่สำ�คัญ.. บัดนี้ ... ฉันได้เจอครูบาอาจารย์ ที่ท่านเป็นพระปฏิบัติ ดี ปฏิบัติชอบ ท่านเป็นพระที่เราควรติดตามหาความรู้และคำ� สอนจากท่าน เพราะท่านคือพระสงฆ์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า อย่างแท้จริง ! ท่านไม่ได้อยู่ที่ไหน.. ไกลเลย..


วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์)เดือนสิงหาคม-ตุลาคม ๒๕๕๒ --------------------------ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๓๗๔,๔๑๓.๒๗ บาท รายรับ รับเงินทำ�บุญวิหารทาน ๑,๗๗๐,๔๔๖.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญธรรมทาน ๒๗๙,๔๙๕.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญสังฆทาน ๑,๖๖๒,๙๘๙.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์ ๔๓,๘๒๙.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญอื่น ๒๗,๐๐๔.๐๐ บาท รับเงินอื่น ๒๒๓,๖๐๐.๐๐ บาท รับเงินยืม ๑,๔๑๕,๐๐๐.๐๐ บาท รวมรายรับ ๕,๔๒๒,๓๖๓.๐๐ บาท รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณูปการ ๓,๐๐๙,๒๐๓.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาและงานเผยแพร่ ๓๖๕,๒๕๘.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสงเคราะห์ ๖,๐๐๐.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ ๓๑,๗๒๔.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับงานปกครอง ๑,๐๒๙,๓๓๙.๒๕ บาท รายจ่ายชำ�ระคืนเงินยืม ๑,๑๗๐,๓๘๔.๐๐ บาท รวมรายจ่าย ๕,๖๑๑,๙๐๘.๒๕ บาท เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๑๘๔,๘๖๘.๐๒ บาท เงินสดในมือ ๑๓,๙๖๗.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๗๘,๖๑๐.๐๑ บาท เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ๔๓,๗๕๔.๒๒ บาท เงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน) ๓๗,๓๓๖.๗๙ บาท เงินประกันต่าง ๆ ๑๑,๒๐๐.๐๐ บาท


วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๕๒ --------------------------ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๑๘๔,๘๖๘.๐๒ บาท รายรับ รับเงินทำ�บุญวิหารทาน ๓๙๓,๔๓๔.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญธรรมทาน ๑๓๖,๓๔๕.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญสังฆทาน ๓,๒๒๖,๒๔๒.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์ ๔๒,๔๖๙.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญอื่น ๒๕,๘๒๑.๐๐ บาท รับเงินอื่น ๒๒๙,๕๕๑.๗๙ บาท รับเงินยืม ๑,๑๒๖,๖๐๐.๐๐ บาท รวมรายรับ ๕,๑๘๐,๔๖๒.๗๙ บาท รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณูปการ ๓,๕๙๗,๕๔๗.๗๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาและงานเผยแพร่ ๓๔๖,๗๕๖.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสงเคราะห์ ๐.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ ๑,๐๐๐.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับงานปกครอง ๕๕๓,๑๐๙.๐๐ บาท รายจ่ายชำ�ระคืนเงินยืม ๖๙๐,๐๐๐.๐๐ บาท รวมรายจ่าย ๕,๑๘๘,๔๑๒.๗๐ บาท เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๑๗๖,๙๑๘.๑๑ บาท เงินสดในมือ ๒๒,๕๗๕.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๕๙,๑๐๓.๖๗ บาท เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ๔๓,๗๕๔.๒๒ บาท เงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน) ๔๐,๒๘๕.๒๒ บาท เงินประกัน ๑๑,๒๐๐.๐๐บาท


วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ --------------------------ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๑๗๖,๙๑๘.๑๑ บาท รายรับ รับเงินทำ�บุญวิหารทาน ๙๒๑,๙๔๔.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญธรรมทาน ๑๗๘,๑๓๐.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญสังฆทาน ๑,๔๒๔,๘๖๔.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์ ๖๐,๔๒๗.๐๐ บาท รับเงินทำ�บุญอื่น ๑๔,๒๓๘.๐๐ บาท รับเงินอื่น ๖,๙๓๐.๐๐ บาท รับเงินยืม ๒๔๘,๐๐๐.๐๐ บาท รวมรายรับ ๒,๘๕๔,๕๓๓.๐๐ บาท รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณูปการ ๑,๔๔๘,๐๕๘.๔๔ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาและงานเผยแพร่ ๒๓๔,๑๔๖.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสงเคราะห์ ๐.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ ๑๑๙,๑๐๐.๐๐ บาท รายจ่ายเกี่ยวกับงานปกครอง ๔๑๐,๒๖๘.๗๘ บาท รายจ่ายชำ�ระคืนเงินยืม ๖๐,๐๐๐.๐๐ บาท รวมรายจ่าย ๒,๒๗๑,๕๗๓.๒๒ บาท เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๗๕๙,๘๗๗.๘๙ บาท เงินสดในมือ ๕๑๖,๗๒๐.๗๗ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๑๔๗,๙๑๗.๖๘ บาท เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ๔๓,๗๕๔.๒๒ บาท เงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน) ๔๐,๒๘๕.๒๒ บาท เงินประกัน ๑๑,๒๐๐.๐๐ บาท


วัดเขาวง (ข้าวก้นบาตร) เดือน สิงหาคม-ตุลาคม ๒๕๕๒ --------------------------ยอดเงินและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๙๑,๘๖๐.๓๖ บาท เงินสดในมือ ๕๘,๑๙๖.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๓๓,๖๖๔.๓๖ บาท รายรับ รับเงินจากสมาชิก ๓๙๙,๕๗๖.๕๐ รับเงินคืนจากร้าน “วันยังค่ำ�” ๑๕๐,๐๐๐.๐๐ รวมรายรับ ๕๔๙,๕๗๖.๕๐ บาท รายจ่าย จ่ายเพื่องานสาธารณูปการ ๐.๐๐ บาท จ่ายเพื่องานศึกษาสงเคราะห์ ๔๗,๐๐๐.๐๐ บาท จ่ายเพื่องานสาธารณสงเคราะห์ ๖,๐๐๐.๐๐ บาท จ่ายค่ารักษาพยาบาล ๑,๕๒๒.๐๐ บาท จ่ายเงินยืมให้บัญชีถ้ำ�นารายณ์ ๕๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท จ่ายเงินลงทุนร้านวันยังค่ำ� ๐.๐๐ บาท รวมรายจ่าย ๖๐๔,๕๒๒.๐๐ บาท ยอดเงินและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๓๖,๙๑๔.๘๖ บาท เงินสด ๒๘,๖๔๕.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด ( มหาชน ) ๘,๒๖๙.๘๖ บาท


วัดเขาวง (ข้าวก้นบาตร)เดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม ๒๕๕๒ --------------------------ยอดเงินและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๓๖,๙๑๔.๘๖ บาท เงินสดในมือ ๒๘,๖๔๕.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๘,๒๖๙.๘๖ บาท รายรับ รับเงินจากสมาชิก ๒๑๙,๐๐๕.๐๐ บาท รับเงินคืนจากร้าน “วันยังค่ำ�” ๑๓๐,๓๙๔.๐๐ บาท รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ๕๒.๙๙ บาท รวมรายรับ ๓๔๙,๔๕๑.๙๙ บาท รายจ่าย จ่ายเพื่องานสาธารณูปการ ๐.๐๐ บาท จ่ายเพื่องานศึกษาสงเคราะห์ ๒,๐๐๐.๐๐ บาท จ่ายเพื่องานสาธารณสงเคราะห์ ๑,๐๐๐.๐๐ บาท จ่ายค่าสวัสดิการพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ ๘๐,๓๙๔.๐๐ บาท จ่ายเงินยืมให้บัญชีถ้ำ�นารายณ์ ๒๖๓,๖๐๐.๐๐ บาท จ่ายเงินลงทุนร้านวันยังค่ำ� ๐.๐๐ บาท จ่ายค่าใช้จ่ายอื่น ๑๗,๐๐๐.๐๐ บาท รวมรายจ่าย ๓๖๓,๙๙๔.๐๐ บาท ยอดเงินและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๒๒,๓๗๒.๘๕ บาท เงินสด ๖,๓๘๙.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด ( มหาชน ) ๑๕,๙๘๓.๘๕ บาท


วัดเขาวง (ข้าวก้นบาตร)เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ --------------------------ยอดเงินและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๒๒,๓๗๒.๘๕ บาท เงินสดในมือ ๖,๓๘๙.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๑๕,๙๘๓.๘๕ บาท รายรับ รับเงินจากสมาชิก ๒๕๓,๗๑๗.๐๐ บาท รับเงินคืนจากร้าน “วันยังค่ำ�” ๐.๐๐ บาท รวมรายรับ ๒๕๓,๗๑๗.๐๐ บาท รายจ่าย จ่ายเพื่องานสาธารณูปการ ๐.๐๐ บาท จ่ายเพื่องานศึกษาสงเคราะห์ ๐.๐๐ บาท จ่ายเพื่องานสาธารณสงเคราะห์ ๑๑,๐๐๐.๐๐ บาท จ่ายค่าสวัสดิการพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ ๐.๐๐ บาท จ่ายเงินยืมให้บัญชีถ้ำ�นารายณ์ ๒๑๘,๐๐๐.๐๐ บาท จ่ายเงินลงทุนร้านวันยังค่ำ� ๐.๐๐ บาท รวมรายจ่าย ๒๒๙,๐๐๐.๐๐ บาท ยอดเงินและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๔๗,๐๘๙.๘๕ บาท เงินสด ๓๑,๑๐๖.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด ( มหาชน ) ๑๕,๙๘๓.๘๕ บาท


ร้านค้าสวัสดิการวันยังค่ำ�เดือนมิถุนายน-สิงหาคม ๒๕๕๒ --------------------------ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ยกมา ๒๕๙,๓๐๑.๘๕ บาท เงินสดในมือ ๑๙๓,๒๗๑.๒๕ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๓๑,๓๘๗.๖๐ บาท รายรับ รายได้จากการขายเครื่องดื่มและสินค้าสำ�เร็จรูป ๗๑๔,๓๖๗.๐๐ บาท ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ๙๓.๗๔ บาท รวมรายรับ ๗๑๔,๔๖๐.๗๔ บาท รายจ่าย ต้นทุนขายในการผลิต ๗๓,๖๔๙.๐๐ บาท ต้นทุนขายจากสินค้าสำ�เร็จรูป ๔๒๒,๒๑๘.๗๓ บาท เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ ๐.๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ๑๗,๒๕๘.๐๐ บาท คืนเงินลงทุนกองทุนข้าวก้นบาตร ๐.๐๐ บาท รวมรายจ่าย ๕๑๓,๑๒๕.๗๓ บาท ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคาร คงเหลือปลายงวด ๔๖๐,๖๓๖.๘๖ บาท เงินสดในมือ ๓๓๔,๖๕๔.๕๒ บาท เงินสดย่อย - เงินทอน ๕,๐๐๐.๐๐ บาท เงินสดย่อย - สำ�รองจ่ายประจำ�ร้าน ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๓๑,๔๘๑.๓๔ บาท ลูกหนี้กองทุนข้าวก้นบาตร ๗๙,๕๐๑.๐๐ บาท


ร้านค้าสวัสดิการวันยังค่ำ�เดือนกันยายน-ธันวาคม ๒๕๕๒ --------------------------ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ยกมา ๓๘๑,๑๓๕.๘๖ บาท เงินสดในมือ ๓๓๔,๖๕๔.๕๒ บาท เงินสดย่อย - เงินทอน ๕,๐๐๐.๐๐ บาท เงินสดย่อย - สำ�รองจ่ายประจำ�ร้าน ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๓๑,๔๘๑.๓๔ บาท รายรับ รายได้จากการขายเครื่องดื่มและสินค้าสำ�เร็จรูป ๖๙๘,๓๐๑.๗๕ บาท ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ๓๙.๔๔ บาท รวมรายรับ ๖๙๘,๓๔๑.๑๙ บาท รายจ่าย ต้นทุนขายในการผลิต ๕๗,๖๔๖.๐๐ บาท ต้นทุนขายจากสินค้าสำ�เร็จรูป ๔๑๒,๔๕๐.๙๓ บาท เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ ๑,๕๗๒.๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ๒๑,๖๐๗.๐๐ บาท คืนเงินลงทุนกองทุนข้าวก้นบาตร ๒๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท รวมรายจ่าย ๖๙๓,๒๗๕.๙๓ บาท ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคาร คงเหลือปลายงวด ๓๘๖,๒๐๑.๑๒ บาท เงินสดในมือ ๓๓๓,๔๒๘.๓๔ บาท เงินสดย่อย - เงินทอน ๕,๐๐๐.๐๐ บาท เงินสดย่อย - สำ�รองจ่ายประจำ�ร้าน ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๑,๕๒๐.๗๘ บาท ลูกหนี้กองทุนข้าวก้นบาตร ๓๖,๒๕๒.๐๐ บาท


ร้านค้าสวัสดิการวันยังค่ำ�เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ --------------------------ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ยกมา ๓๔๙,๙๔๙.๑๒ บาท เงินสดในมือ ๓๓๓,๔๒๘.๓๔ บาท เงินสดย่อย - เงินทอน ๕,๐๐๐.๐๐ บาท เงินสดย่อย - สำ�รองจ่ายประจำ�ร้าน ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๑,๕๒๐.๗๘ บาท รายรับ รายได้จากการขายเครื่องดื่มและสินค้าสำ�เร็จรูป ๔๙๐,๑๒๘.๐๐ บาท ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ๐.๐๐ บาท รวมรายรับ ๔๙๐,๑๒๘.๐๐ บาท รายจ่าย ต้นทุนขายในการผลิต ๗๓,๘๗๘.๐๐ บาท ต้นทุนขายจากสินค้าสำ�เร็จรูป ๒๖๘,๑๓๓.๐๐ บาท เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ ๐.๐๐ บาท ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ๔๗,๒๓๑.๐๐ บาท คืนเงินลงทุนกองทุนข้าวก้นบาตร ๐.๐๐ บาท รวมรายจ่าย ๓๘๙,๒๔๒.๐๐ บาท ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคาร คงเหลือปลายงวด ๔๘๗,๐๘๗.๑๒ บาท เงินสดในมือ ๒๒๗,๔๕๒.๓๔ บาท เงินสดย่อย - เงินทอน ๕,๐๐๐.๐๐ บาท เงินสดย่อย - สำ�รองจ่ายประจำ�ร้าน ๑๐,๐๐๐.๐๐ บาท เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๑๓๑,๕๒๐.๗๘ บาท ลูกหนี้กองทุนข้าวก้นบาตร ๑๑๓,๑๑๔.๐๐ บาท



82 สังฆทาน บ้านปากน้ำ� คณะนวรัตน์ ผ้าป่าคณะ ชมรมพุทธศาสน์รวมใจ คณะปานบุรี คณะสนามชัยเขต ด.ต. วรพจน์ สุจิตตกุล คุณกาญจนา โลหชิตลำ�เพา พอ.ญ รัตนา เอื้อบุณยะนันท์ โรงเรียนอนุบาลนานาชาติ คณะสงฆ์วัดท่าซุง ผ้าป่าสามัคคี คณะคุณรัตนา รุ่งเรือง คณะพระนวกะวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กลุ่ม บ.กระเบื้องเซรามิคไทย จก. ครอบครัวเลาวณาภิบาลและครอบครัวสุคนธ์ คุณลักขณา ดิษยะศริณ , ด.ญ. นิศานาถ ตะเวทิกุล พระอาจินต์ ธมฺมจิตโต นายณัฏฐ์ ธาระเวช สนง.สาธารณสุข จังหวัดสตูล Ja Dinh Pham Kim Dinh ครอบครัวภูมณี - ครอบครัวศิรินันท์วัฒนา คุณอัมรา บุตรคำ�โชติ บริษัท เอ็น.ที.มีเดียกรุ๊ฟ จำ�กัด พ.อ. พิเศษ ประยูร - ประกอบ - พ.อ.หญิง จริยา บุญสนธิ คุณญวร รอดกลาง คุณขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ คุณฉัตรชัย คุณค้ำ�ชู คุณป้าพยอม ผดุงผล ศาลจังหวัดสระบุรีแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว คุณธนกฤต - คุณดารณีย์ สร้อยทอง

๗๘,๘๒๔ ๓๗,๖๑๐ ๒๓,๐๐๙ ๒๑,๗๐๐ ๑๓,๐๒๐ ๑๑,๙๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๖,๙๗๐ ๕,๖๓๗ ๕,๕๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๔,๙๕๐ ๔,๒๐๐ ๔,๐๒๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๓,๕๐๐ ๓,๕๐๐ ๓,๕๐๐ ๓,๒๐๐ ๓,๐๐๐


83 คุณบัญญัติ วงษ์ประยูร - คุณสิรินทร ก้อนทอง คุณศจีรัช บุญญาบารมีธรรม อ.เครือวัลย์ - อ. รุ่งเรือง และคณะ กองบุญ ‘น้ำ�ทิพย์’ คุณณัฐพร ธีรเนตร คุณปราณี เลไทสงค์ คุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์และครอบครัว คุณวรญา แซ่ตั้ง คุณพิณชนก ธารากรสันติ และครอบครัวน.พ. อรรถสิทธิ์ ประดิษฐ์พรกูล ครอบครัว รอดเดช คุณอุโรลักษณ์ ราชเวียง , คุณธวัชชัย , คุณรุ่งนภา ประพฤติดี คุณมะลิ สิทธิมณี , คุณวรพรรณ จันทร์เพ็ง , คุณณัฏฐ ธาระเวช Mr. Colin Bernard Lee - คุณศศิพิมพ์ ลี กลุ่มกาขาว อุทิศบุญให้ คุณพ่อประสงค์ เกิดแก้ว ครอบครัว อมาตยกุล ครอบครัวคุณน้ำ�ฝน ครอบครัวท่าจีน ครอบครัวศิรินันท์วัฒนา-ครอบครัว ภุมณี คุณเกศแก้ว วิรัฐรุจิกรและครอบครัว คุณชลสิชา สว่างวงศ์ คุณพงศธร (แบงค์) จันทน์วัฒนผล และครอบครัว คุณพิบูลย์ ดิษฐอุดม คุณวิเชียร-คุณสารี-คุณเบญมาศ รุ่งเรือง, คุณอุบล-คุณชาญณรงค์-คุณศินีณาท ทวีสาร, คุณปาจรีย์ - คุณอัครเดช - คุณวรเดช จิตรักษา คุณวิลาวัณย์ หวังจิ คุณสายใจ ท่าจีนและคณะ

๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒,๕๐๐ ๒,๕๐๐ ๒,๕๐๐ ๒,๔๗๐ ๒,๓๐๐ ๒,๒๖๐ ๒,๒๐๐

๒,๒๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐


84 คุณสุวรรณภา พรมพิมพ์ , คุณลิตา เรืองไชยเดช คุณอุไรปภา ราชเวียง นางมยุรีช์ อาจศิริ บ.เอ็น.ที่.มีเดีย กร๊ป จำ�กัด พระสมเกียรติ ม.ราชภัฏจันทรเกษม คณะบึงลับแล คุณจารุวัสตร์ วงษ์สุวรรณ , คุณอารยา พรมแสง คุณพชร อุทัชกุล คุณ Low Hock Peng คุณเล็ก-คุณบั๋ม คุณสุรีย์ - ศุภิกา เนียกลิ่นเทศ คุณสมเตียง ฉัตรบุปผา,คุณสุชาดา บัวทอง พี่ปุก - พื่ปู ศูนย์ปฏิบัติธรรมศิษย์หลวงพ่อพระราชพรหมยาน ส.โคกสมบรูณ์ คณะคุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์ คุณเรวดี-คุณทนงศักดิ์ หุตานุวัตร ครอบครัวอดุลสุทธานนท์-ครอบครัวอู่เกนแก้ว อุทิศให้ นายชะม้อย - นางผ่องพรรณ ควรรับผล คุณอมรรัตน์ ดำ�รงสินสวัสดิ ์ กลุ่มมะเขือ ครอบครัว ส่วนพงษ์ ครอบครัวภัทรฤทธิ์พาณิช-ถาวรสถิตย์-สิริถาวรสถิตย์ คุณจีรสุดา โสสตถิกุล คุณตรึงตรา อดุลอสุทรานนท์ คุณทรงพล บุญประเสริฐ คุณประคอง บุญนาค คุณประไพพักตร์ ส่วนพงษ์ คุณพรทิพย์ ธนทวี คุณเพลิน เสาวกุล

๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๙๐๐ ๑,๘๔๐ ๑,๗๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๔๒๐ ๑,๔๐๐ ๑,๒๖๐ ๑,๒๓๐ ๑,๒๐๐ ๑,๒๐๐ ๑,๑๒๐ ๑,๑๑๐ ๑,๐๑๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐


85 คุณยุพิน ปุ่นวัฒน์ คุณรัพล พฤกษมาศ คุณวัชรินทร์ ศรีศุภโอฬาร คุณวิลาวัณย์ วรินทร์รักษ์ คุณสมัย-คุณประพินดา-คุณอรมัย-คุณอัยสุวร ณ หนองคาย คุณสายใจ - คุณสุชาติ ท่าจีน คุณสิทธิศาสน์ อัญชานนท์ และครอบครัว คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ คุณสิริวรรณ เอกผล คุณสุภาพ หว่อง คุณอมาวดี-คุณนอร์แมน-ด.ช.เนเธนร์-ด.ญ.มาฆมาส คาร์สเลค น.ส.จินดา ปานนาค , นายวิมล ปานนาค นายเสงี่ยม - นางโป๊ะจ้าย อำ�ไพ พี่ต้า คุณเล็ก สุจิตตรา คุณอำ�ไร อุไรรัตน์ ครอบครัว พันเอกไพบูลย์ - คุณศิริลักษณ์ วารรัตน์ คณะพนักงานบริษัท มณี อินเตอร์ โปรดักส์ จำ�กัด คุณคมสัน - คุณจันทนา - ด.ช. ศุภวิชญ์ ผึ้งแดง คุณทัศนพล - สมวงษ์ - สุทธิณี - สุทธิชัย ผึ้งแดง คุณวิเชียร ถาวรสถิตย์ แม่ Bird และ Brid คุณทัศน์พล-สมวงษ์-สุทธิณี-สุทธิชัย คุณสมชัย เทียบปิ่นหยก ครอบครัวอินทปัญญา คุณจิรสุดา บุญศิริ คุณมณฑาทิพย์ เพ็ชรสีสม คุณสมเกียรติ เจียรอุทัยธำ�รงค์ ด.ช. ระพินญ์ ยาคุณ นางวิภา เหมวิมล , นายสิทธิพล แซ่เล้า และครอบครัว

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๙๘๐ ๙๐๐ ๘๐๐ ๗๒๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๗๐๐ ๖๕๐ ๖๓๐ ๖๐๐ ๖๐๐ ๖๐๐ ๖๐๐ ๖๐๐ ๖๐๐


86 คุณสุพจน์ แสงคำ� คุณสุเทพ - ชมพูนุช - ระพินญ์ ยาคุณ Chan Man Hung ครอบครัวพิมพา ครอบครัวไม้จีน ครอบครัวอมาตยกุล คุณ หล่ำ� ฉ๋อ ก้วน คุณกาญจนา พุทธโฆษ์ คุณกานต์พิชชา อำ�นาพร คุณจริน พวงแก้ว และครอบครัว คุณจิระวรรณ สุโชตินันท์ คุณจีนสมุทร หว่องโชยเหล็ง คุณถาวร โห้กุ่ย คุณบุญปลูก ส่วนพงษ์ คุณปราสาท โกมุทพงศ์ คุณปิติ วงศ์เปาวนาถ คุณแป๊ว คุณพชร ลัญชานนท์ คุณพยอม-คุณศรีประภา เปรมปริ่ม คุณภาณุ นาคสังข์ คุณภาพิมล แก้วนาบอน คุณเล็ก เผื่อนพินิจ คุณวีรภัสร์ เรืองรัตนศักดิ์ - คุณจันทร์จีรา พ่วงพร - คุณพอตเตอร์ คุณไววิทย์ - คุณศรีไพร - คุณวัชรพงศ์ นรพัลลภ คุณสมเกียรติ - ไทรทอง เมฆธารัตน์ คุณสมเกียรติ ศิลารัตน์ คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ คุณสิรสา สุทธิพิบูลย์ คุณสุพจน์ สิงห์คำ�

๕๖๐ ๕๐๙ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐


87 คุณอภิศักดิ์ วงษ์ศรี-คุณแสงเดือน จันทร ๕๐๐ คุณอ้อ ภูเก็ต ๕๐๐ พระราชันย์ จิรธมฺโม ๕๐๐ พี่ป๋อง-สามี-มังกร ๕๐๐ ร้านเอนกเฟอร์นิเจอร์ ๕๐๐ อ.สรดิษฏ์ รัตนคุณสกุล และลูกๆครอบครัว ๕๐๐ อาม่ากัญญา แซ่เอีย ๕๐๐ อุทิศให้คุณแม่ติ้ว เปล่งสอน ๕๐๐ คุณวุฒิไกร พันธ์จีน ๔๘๐ คุณธัญญะ-คุณสุวรรณี-คุณภัทร-คุณพฤทธ์ เจริญกลกิจ ๔๐๐ คุณประดับ- คุณยายสี - คุณหนูทิน - คุณมี สุดตา ๔๐๐ คุณสงวน - คุณอุดม จิระพรพัฒน์ ๔๐๐ พระธนบดี โชติโก ๔๐๐ คุณอตุณรัตน์ มีทา และครอบครัว , นายผัน มีทา , นางกุหลาบ มีทา คุณบุญจันทร์ สุรันทร์ , คุณพรรณนิภา มีทา , คุณวัฒนา สามลาทา คุณจารุนันท์ - สมยศ - พัทธวรรณ - ณัฐพงษ์ มีทา ๓๗๐ คุณสุเมตตา - พรชัย - ศุภนันท์ - ขนิษฐา บุญนิธิยิ่งยง ๓๕๐ ครอบครัว ชูชื่น บ้านหนองจิก ๓๐๐ คุณกชมล พุ่มนิมิตร,คุณศรัณยพร พุ่มนิมิตร ๓๐๐ คุณฐิติรัตน์ สุวรรณรัตน์ ๓๐๐ คุณสุวิช-คุณจันทนา-คุณสุวิญญ์ มั่งมีทรัพย์ ๓๐๐ คุณเอมอุไร-คุณสิริลักษณ์-คุณพีระพล ภัทรพฤทธ์พาณิช ๓๐๐ นายเมธชนัน สวนศิลป์พงศ์ และครอบครัว ๓๐๐ พี่เจน-โด๋ย ๓๐๐ คุณสังข์ทอง-คุณศิริรัตน์-คุณปุณณิศา-คุณเสถียร พูลผล ๒๔๐ คุณรัตพนธ์ - ดารณี ตรีจาตุรินศ์ ๒๓๐ จ.ส.อ. วรวุฒิ พุทธโคจร ๒๒๐ นายอัจฉริยพงษ์ - น.ส.สุมาลี กลิ่นพิมล ๒๑๐ แผนกบัญชี รพ. แพทย์ปัญญาฯ ๒๑๐ วัดโขงขาว ๒๐๕


88 คุณณพัณญวรรณ และครอบครัว คุณบุญฤทธิ์ ศุภผล คุณประสิทธิ์ - ละเมียด ผึ้งแดง คุณพิสิทธิ์ - คุณณิชาพระ อรุณเลิศพิทักษ์ คุณยายมุ้ยยิ้น แซ่ลิ้ม คุณวรรณี พงศ์รัตนามาน คุณสุเทพ ยาคุณ คุณสุเทพ-คุณชมพูนุช ยาคุณ คุณอมาวดี-คุณมาฆะมาส ศิลารัตน์,คุณนอร์แมน คาสเลค นางสุพัตรา คงมณี , นายชุติมันต์ คงมณี , นงอาภากร จอมแสง นายพัสกร เรืองเดช นายวรกช - วรญา พร้อมบุตร (ครอบครัววิทยานุภาพ) พระสุรสิทธิ์ ประดับพงษ์ พี่เอ๋ อุทิศให้แม่บ๊วย จันทร-คุณสมบุญ จันทร คุณพงษ์ศักดิ์ แซ่ลี้ บริษัทแนชเชอรัลไวทัลลีตี้ จำ�กัด คุณภัสสกาญน์ ธนบดีศรีโชติ คุณกัญจนา นิติศักดิ์ คุณนิตยา สว่างศรี , คุณชัญ-คุณสุนิสา ธนวิบูลย์ คุณมณีรัตน์ - คุณปรียานุช นันทนวิจิตร คุณธัญพิมล ดำ�รงสินสวัสดิ ์ คุณกัญญาภัค จันทร์มีชัย คุณดนตรี เหล่าป้อม คุณคำ�ตัน ทุมสงคราม คุณณัฐกานต์ นามบุตร คุณดีดี้ คุณเดชธนา - คุณกุลนภา ทองกนกพัฒน์ คุณธีรวัฒน์ โพธิสุขไสย์ คุณแน่งน้อย สวนสมุทร

๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๕๐ ๑๒๐ ๑๑๒ ๑๑๐ ๑๑๐ ๑๑๐ ๑๐๗ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐


89 คุณบุญเทือง ใจกล้า คุณบุญหนัก อินทร์วงศ์สีหราช คุณปัญญา ผดุงสันต์ คุณปุณยนุช-คุณวรวลัชญ์ สมานจิต คุณปู้ และครอบครัว คุณพรปรียา สุริยาสังสรรค์ คุณเพ็ญพรรณ ไข่แก้ว คุณภาณุวัฒน์-คุณณัฐวัฒน์-คุณสำ�ราญ-คุณบุญธรรม ผู้พัฒน์,คุณเอนก-คุณลออ ปิ่นวิเศษ และครอบครัว คุณยุพา ซ้อนกระโทก คุณระเมียด ผึ้งแดง คุณราจี วิทยาสิงห์ คุณราตรี เหล่าป้อม คุณวนิดา หวาดตาลเตี้ย คุณวรรณา จันทรามิ คุณวิภาวรรณ วานิชชา คุณวุฒ ถาวรสถิตย์ คุณศรีกุล โรจนกีรติกานต์ และครอบครัว คุณสมยศ - คุณลา ครอบครัว คำ�แดง คุณสันติ - สายใจ - พิชญาภา ราศี คุณสาวิตรี หุ่นทอง คุณสุ คุณสุเทพ - คุณชมพูนุท - ด.ช. ระพินญ์ ยาคุณ คุณสุนันท์,คุณสุจีร์,คุณจีรนันทน์ สิงห์ลี คุณสุนีย์ ตั้งจิตเอื้อบุญ คุณเสาวดี สิทธิหาโคฤย์ คุณอัมพวัน แก้วเมือง คุณอุดม สุจิตตกุล คุณอุบล แก้วกระจ่าง ด.ญ. ปราวดี นิมิตรกมลเลิศ

๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐


90 ด.ญ.ปทิตตา - ปริณดา ศรีโกศะบาล ๑๐๐ ด.ญ.พัชริดา , ด.ช.วาทิวุทธ , นายพีรเดช คงจันทร์ ๑๐๐ ด.ต. ประวัติ สุจิตตกุล ๑๐๐ น.ส.เกษร เฉลยมรรค ๑๐๐ นางอุดม สุจิตตกุล ๑๐๐ นายณัฎฐ์คเณศ คณิศรภาศรี , น.ส.จินตนา สกุลภัทรมนัส ๑๐๐ พระพล ๑๐๐ พี่ปุ๊ย ๑๐๐ ร้อยตรีหญิง อินทร์ระวี ศรีสุคนธรัตน์ ๑๐๐ ร้านเกียว ๑๐๐ วัฒนิกา คงจันทร์ และครอบครัว ๑๐๐ พระวรท อภิวโร , ครอบครัวบุญชิต , สร้างพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา (พระพุทธธรรมะโชติช่วง) คุณมนต์ชัย โชติช่วง ๕๐,๐๐๐ สมาชิกหนังสือเสียงจากถ้ำ� MS.SUDALUX KOSA ๓,๐๐๐ คุณกฤษณา สุขเจริญผล ๑,๐๐๐ คุณปาลิดา พิกุลแก้ว ๓๐๐ คุณชมน ยลพันธ์ ๒๔๐ นางมาลี พรหมดี ๒๔๐ คุณวิภาวรรณ รุ่งเชวง ๒๔๐ คุณวิชัย โพคาวัฒนะ ๒๔๐ คุณชนิตา วัฒนเกษม ๒๔๐ คุณสุรศักดิ์ อัจสริยะสิงห์ ๒๔๐ คุณรัชนิภา จิตวรวิสุทธิ์ ๒๔๐ วิหารทาน คณะคุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์ ๑๐๑,๙๒๐ กลุ่มนักศึกษา เอ็กเซ็คคิวทีฟ วไลยอลงกรณ์ ๓๙,๙๙๙ คุณแพรไหม ภัทรฉายอรุณ ๒๐,๐๐๐ พระภิกษุภูริญาโณ ๑๐,๐๐๐


91 คณะทองแท้ รวมพลคนสร้างบุญ คณะสหพัฒน์ฯ ครอบครัว รอดเดช คุณพรธิรัตน์ คณะพระใหม่วัดสระเกศ คุณคมสัน ผึ้งแดง และคณะ คุณอ๊อด พระอาจินต์ ธมฺมจิตโต ครอบครัว ธำ�รงชัยวรกุล คณะรพ.บ้านหมอ พระภาณุ ฐตมโน พระหวัง นายแพทย์เลิศยศ คณะนวรัตน์ พระพัทธพล ฌาณวโร คุณหมอแดง คุณสิทธิศาสน์ อัญชานนท์ และครอบครัว ครอบครัว สุฤมลนันทร์-สุธรรม คุณเซ่นอ่าว บจก. พชรมาสเตอร์ คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ คุณอนุชาติ เฉลิมชัยโกศล คุณอัญชลี กีรติวิทยานนท์ คุณอุบลวรรณ สุ่สุข น.อ. สมัย-คุณเอกอนัย-คุณสันตินันท์ จันทร์ พระพงศกร ภูริญาโน คุณประกอบ ผลาสุขและครอบครัว ครอบครัว พรทิพย์เทวา และคณะ คุณแตน-คุณจอย คุณชูชาติ ศรีประเสริฐ คุณป้าอวย

๙,๖๒๓ ๘,๓๔๐ ๗,๖๐๐ ๕,๘๔๐ ๓,๖๐๐ ๓,๐๙๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒,๒๒๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๙๐๐ ๑,๘๐๐ ๑,๘๐๐ ๑,๖๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๙๐๕ ๗๐๐ ๗๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐


92 คุณภานุ นาคสังข์ คุณลัดดา หุ่นตระกูล คุณรัตนา รุ่งเรือง, ทศพล รุ่งเรือง, มุกดา มนชู, พรเพท สุขเกษม, สำ�ราญ สุขเกษม, ภรณ์ทิพย์, สุขเกษม, กิตติคุณ กล่อมทรัพย์, สุวัศษา มนชู, ฉลวย เครือสง่า , เตชินี เพ็งพิษ , ภิชัย ทองเหลือ, ชื้น สมิงนรา บ้านปากน้ำ� คุณประนอม ไทยขวัญ คุณยุพา คุณหมวย พระศรัณย์ ปภัสสโร คุณวุฒิไกร พันธ์จีน พระวริทศวัตติ์ จิตโตภาโส คุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์และครอบครัว คุณธีระศักดิ์ ศิริชัย คุณลือชา ธรรมวิชิต พระทรงศักดิ์ สุทธฺจิตโต พระสมเกียรติ สุทฺธจิตฺโต บูรณะศาลพระนารายณ์ ร้านแคร์ โดย นายสมบุญ คุ้มวงษ์ และครอบครัว วัลย์ทิมา สุชล อุษา อิ่มสอาด กิติ กิตติขจร ประไพ รัตนภักด กุลิสรา เรืองวีระ จวง แซ่เอี้ย พนธกร เหมะจันทร วิมลรัตน์ วรกุลสันติ กมลรัตน์ ฉัตรวรุณรัตน์

๕๐๐ ๕๐๐

๔๐๐ ๓๒๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๒๖๐ ๒๕๐ ๒๔๐ ๒๒๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๔๐,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐


93 อุษา อิ่มสะอาด กมลรัตน์ สุขเจริญผล จิรายุ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา มะลิ คงสมกาย จรูญ จุโฬหก สิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ ชไมพร ใจทอง ชาญเฉลิม สุขย้อย อุกฤษณ์ ธำ�รงชัยวรกุล ภวาย์ญาภรณ์ จิตต์โอภาส วรรณดี ชัยตระกูลพิบูลย์ ญาณิน พิเชษฐพงศ์ ปัทมะ คุ้มวงศ์ ประทวน อยู่สุข ฉัตรชัย เทียมเศวต ณํฐิดา แสนสิงห์ พ.อ.(พิเศษ) ประยูร บุญสนธิ ณัฎฐกิตต์ ไทยบุญเรือง ชโลทร วรากุลวิทย์ คุณฉัตรชัย เงินประกายรัตน์ ฐิติรัตน์ เพ็ชรพล ธนายุทธ พรมสุพรรณ เบญจวรรณ วังคะวิง สุวิภา เกษมพินิจวงษ์ ย่าทองเจือ ทองประเสริฐ ฉัตรชัย เทียมเศวต บูชาคาถาพระปัจเจกฯ พระมหากวีศิลป์ วิสุทธิกุโล ด.ต. โกศล ชมภูพาน คุณพลพนธ์ สมบุญ

๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๔,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒,๐๓๕ ๖๐๐


94 ธรรมทาน คณะคุณอ้อย พระพุทธบาท (วรญา แซ่ตั้ง) นายอภินันท์ โรจนวิภาต ร.ท.เฉลิมกิจ โรจนวิภาต บ้านปากน้ำ� พระทรงศักดิ์ สุทธิญาโณ คุณประกอบ ผลาสุขและครอบครัว ครอบครัวพรทิพย์เทวา และคณะ คุณมลิลา สถาพรชาญชัย คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ คุณพัศญา วีรวงศ์ น.ส.จารุณี ถาวรวิริยะนันท์ ครอบครัวสุฤมลนันทร์-สุธรรม คุณกฟฤติน จิรหิตานุวัฒน์ คุณจิระวรรณ สุโชตินันท์ คุณตรึงตรา อดุลสุทธานนท์ คุณภัทราพร เกษรวนิชวัฒนา คุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์และครอบครัว นายชาญพจน์ ฉัตรชัยรัตนเวช สร้างโบสถ์ คุณทิพย์วรรณ หนูปล้อง และครอบครัว คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ คุณสุรพงษ์ เตชะวิบูลย์ บ. นรภัทร์ 2002 จำ�กัด บ้านปากน้ำ� คุณพิมพ์ใจ ไกรสินธุ์ คุณฐิติรัตน์ วรวิชญ์รัตนกุล ครอบครัวพรทิพย์เทวา และคณะ คุณจวง คุณธนยศ บุญมีมา

๑๔,๖๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๒,๙๐๒ ๒,๐๑๐ ๑,๙๒๙ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๔๐๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๒๒๐ ๒๐๐ ๑๐๐,๐๐๐ ๑๐๐,๐๐๐ ๕๐,๐๐๐ ๕๐,๐๐๐ ๑๘,๐๑๓ ๑๐,๐๐๐ ๘,๙๐๐ ๕,๗๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐


95 คุณอัญชลี กีรติวิทยานนท์ คุณประกอบ ผลาสุขและครอบครัว คุณอุทการ-คุณพิสันต์-คุณกุลนาถ สุวรรณหงส์ คุณจิมมี่ คุณเบญจวรรณ จิตมโนโสต คุณมัทนา ถนัดค้า และญาติ คุณสมยศ บุญมีมา คุณสำ�รวย สงบวาจา คุณอาเซียม แซ่เตียว อาจารย์อนันต์ ศศิกีรติ และคณะ คุณกฟฤติน จิรหิตานุวัฒน์ คุณกชพร ศรีรัตนานภากุล,น้องโบว์และน้าเป็ด คุณสำ�ราญ มัณฑการและคณะ ครอบครัวครูมานะ-คุณวาสุรี ประเจียด (ขอมีชื่อในแผ่นหิน) คุณธนัญชนก รัตนธาดา คุณนิกร กังกฏเสนา และครอบครัว คุณไพทูรย์ ชูสถาพรกุล น.ส.วาสนา นวลหอม น.ส.ธัญลักษณ์ อยู่สภาพ คุณเครือพันธ์ เกษสมบูรณ์ (วัดท่าซุง) คุณแม่ใส ร.ต.สมภพ อินก่ำ�,นางปภาพร อินก่ำ�, นายพัลลภ อินก่ำ�,นายยศพล อินก่ำ� สร้างถนนในวัด คุณจันทนา วิทยปิยานนท์ คุณอัญชลี กีรติวิทยานนท์ คุณแอนดี้ - อรัญญา เฮเดน คุณตรึงตา อดุลสุทธานนท์ พ.ต.ท. ประกฤษ สุคันธกุล - คณะนิติศาสน์ธรรมศาสตร์

๒,๐๐๐ ๑,๘๓๙ ๑,๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๘๐๐ ๗๔๐ ๗๑๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๔๐๐ ๑๕๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๔,๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๖๐๐


96 ครอบครัวพรทิพย์เทวา และคณะ ๕๐๐ คุณกิรชา และ ด.ญ. นฤกุล อังกิตานนท์ ๕๐๐ คุณประจักษ์ อดุลสุทธานนท์ , คุณปรียวัท ภู่เกษแก้ว ด.ช.อภิวงศ์ อดุลสุทธานนท์ , ด.ญ.อภิจีรา อดุลสุทธานนท์ ๕๐๐ คุณนฤมาล ทรงอาจ ๓๓๑ พต.หญิง หัสยา พงษ์จุฬากุล ๓๐๐ น.ส.นุศรา กองแก้ว ๑๐๐ ทำ�บุญรวมทุกอย่าง คุณพงษ์ศักดิ์ แซ่ลี้ , อัมพร หกเหลี่ยม , บุญสม หกเหลี่ยม พร้อมครอบครัว ประสาท - สาคร หกเหลี่ยม , บุญชู หกเหลี่ยม พร้อมครอบครัว ทวี ธรรมวัตรพร้อมครอบครัว , ทองใบ ถนัดค้า , ธนภณ พรรณนา อมลวรรณ พรรณนา , สมนึก มุขแก้ว , น้ำ�ผึ้งพระเครื่อง ๔,๘๗๘ ด.ต. วรพจน์ สุจิตตกุล ๒,๕๐๐ นายเกษม นางวัชรี ปานนาค , นายวิทวัส มณีกร ๒,๐๐๐ คุณวิเชียร ถาวรสถิตย์ ๑,๖๐๐ คุณณิชชานันท์และคณะ ๑,๐๙๑ คุณชูพันธ์ ชัยเสนะบัณฑิตและครอบครัว ๑,๐๐๐ คุณปวีณา บุนนาค ๑,๐๐๐ คุณแม่จวบลาภ-คุณจิตติมา ๑,๐๐๐ คุณณัฐพล เลิศทัศนวนิช ๑,๐๐๐ นางเล็ก มณีกร ๑,๐๐๐ พระครูปลัดฐิติพงษ์ วัดหลวงพ่อสดพระธรรมกาย ๑,๐๐๐ คุณวภาทิพย์ โปษยะพิสิทธ์ ๕๐๐ คุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์และครอบครัว ๔๐๐ คุณกมลา ธรรมารมณ์ ๒๐๐ คุณพงษ์ศักดิ์และด.ญ. จิตปภัสสร ๑๔๐ คุณเครือพันธ์ เกษสมบูรณ์ (วัดท่าซุง) ๑๐๐ คุณชาลิศา ดาวเรือง ๑๐๐ คุณวีร์นุช ยะติง และครอบครัว ๑๐๐


97 ภาพพุทธประวัติติดผนังโบสถ์ คุณภัคภร ทองกระจ่างเนตร คุณปราสาท โกมุทพงศ์ คุณพนอ-คุณพิณชนก ธารากรสันติ และครอบครัว คุณลือชา ธรรมวิชิต คุณสุรชัย-คุณอรพิน-คุณสุรพงษ์พ.ต. นพ. อรรถสิทธิ์ ประดิษฐ์พรกูล ร่วมบุญบวชพระ นายพงษกร พงศ์สมบูรณ์ พระศรันย์ ท่าจีน คุณวริทศวัตติ์ จิตต์โอภาส คุณสุวไชย อาชาไชย นายฉัตรชัย เงินประกายรัตน์ นายทัพพ์ชลิต นายศิวสรรค์ เที่ยงธรรม นายพัทธพล บัวล้อมใบ พระณัฏฐ์ ธาระเวช นายถิรายุ เทพสูตร นายภาณุ อุดมทรัพย์ นายศิรเมศร์ มรุพงศ์ศิริกุล นายอัคราวุฒิ สุคนธ์ คุณศรัณย์ ท่าจีน นายประสิทธิ์ ประทัยบุตร คุณศิรเมศร์ มรุพงศ์ศิริกุล นายสุธา ศรีนาค คุณอ้อย บ้านหมอ คุณสมศักดิ์ สุนาถวนิชย์กุล ดต. ประพันธ์ ปัญญาศิลป์ คุณบุญฤทธิ์ ศุภผล คุณเครือพันธ์ เกษสมบูรณ์

๑๑๐,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๕๐ ๔๐,๐๐๐ ๒๑,๖๔๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๑๕,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๘,๒๐๐ ๕,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐


98 สร้างศาลาหลวงปู่ปาน - หลวงพ่อฤาษีฯ นพ.เลิศยศ ประสิทธิโศภิน ดร.อัจฉรา เสาว์เฉลิม (A-Z) คุณศาฬฑูล (Simpson Micheael G) คุณวลินดา (Simpson Walinda) ๔๖๑,๖๒๐ คณะคุณอ้อย พระพุทธบาท ๓๐,๐๐๐ สร้างศาลาปฏิบัติธรรม คณะนวรัตน์ ๕๓,๖๙๗ เกศสิริ โรจนวิภาต ๔,๐๐๐ คุณพงศธร (แบงค์) จันทน์วัฒนผล และครอบครัว ๓,๐๐๐ พระสมหวัง ๒๐๐ นายทวี นิลวดี , นางราตรี นิลวดี , นางสาวสิรสา สุทธิพิบูลย์ นางชอบ แซ่ลิ้ม , นางสาวมยุรา สุทธิพิบูลย์ , นายสิเวศน์ นิลวดี ๓๐,๐๐๐ นางเกร็ดแก้ว จิรัฐรุจิกร ๑,๐๐๐ คุณป้าพยอม ผดุงผล ๕๐๐ คุณแม่อำ�พร พรเดง และครอบครัว ๓๐๐ คุณแม่สะเวียง หงษ์ไทย และครอบครัว ๓๐๐ หมออ๋าไพบูลย์ ๑๐๐ ลายดาวประดับเพดานโบสถ์ คุณแม่เซียมง้อ แซ่ปังและครอบครัว-คุณสุรินย์ ไวยรัชพานิช ๔๓,๐๐๐ คุณกรองกาญจน์ ลาภภูวนารถ ๒๓,๓๐๐ คุณดลนภา ปลั่งกลาง ๓,๖๐๐ คุณนพมาศ-ส.อ. อติเทพ พงษ์ประดิษฐ์ , คุณกิ่งฟ้า ขอเอิบกลาง ๒,๗๐๐ คุณรพีภัทร ทองอ่อนและคณะ ๑,๔๐๐ คุณวิรุฬเทพ-คุณพรบุลกัณณ์ ชัยวัชรเสถียร ๑,๔๐๐ คุณศุภรัตน์ ดิษบรรจง-คุณสถืระ ชัยชนะกลาง คุณบัณทิต เทียมตะกุล ๑,๐๒๐ พระอิทธิเชษฐ์ สุเมโธ ๑,๐๐๐


คุณสุไน้ (ปานบุรี) คุณชาญณรงค์ ตันติรัตนานนท์ คุณชญช์ วชิรเมธาพรรธน์ คุณมยุรี อาจศิริ คุณพราวศ์นภางค์ ทองสอง คุณนภัสรพี เทพคุ้มกัน คุณเอกรินทร์ อาจศิริ พ.ต.ท. นิวัฒน์ - คุณบุญสืบ วิญญา คุณวุฒ ถาวรสถิตย์ คุณบุญชู ศรีโพนทอง คุณลือชา ธรรมวิชิต ไฟเพดานโบสถ์ คุณอ้อย บ้านหมอ คุณประคอง บุนนาค ร้าน ก. เกษตรพันธ์ คุณราตรี นิลวดี , คุณสิรสา สุทธิพิบูลย์ แม่ชีติ่ง-คุณโสภิณ - พนง.วันยังค่ำ� ป้าพยอม ผดุงผล คุณแม่ศิริลักษณ์ จันทรสูตร ร่วมบุญเททองหล่อพระ คุณเจษฎา ผลาสุขและครอบครัว น.ส.ปนัดดา สร้อยกุดเรือ บ้านปากน้ำ� คุณปรียนันท์ พีรโชติวัฒน์ พระทรงศักดิ์ สุทธิญาโณ คุณวันทนี วสุนธาราพร-คุณสุภาพร อุตรพันธ์ คุณนรเสฎฐ์-คุณธันยพัต-คุณนครินทร์คุณชินรัตน์-คุณศิรินรัตน์ มงคลชัย คุณสิริวิมล สรสิงห์ คุณอรศรี สรสิงห์ คุณลือชา ธรรมวิชิต

99

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๙๐๐ ๙๐๐ ๙๐๐ ๙๐๐ ๙๐๐ ๙๐๐ ๙๐๐ ๙๐๐ ๒๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๔๐๐ ๑,๔๐๐ ๑,๔๐๐ ๙๕๐ ๙๐๐ ๙๐๐ ๔,๐๐๐ ๒,๕๐๐ ๑,๘๐๐ ๑,๓๐๐ ๑,๐๐๐ ๖๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๔๐๐ ๒๐๐


100 ซื้อที่ดิน พระปรวีณ ปญฺญาวโร และเพื่อนพระวัดเขาวง ๑๒,๐๐๑ คุณอาเซียม แซ่เตียว ๑,๐๐๐ คุณภัชญา โชติวรรณวิรัช ๓๐๐ คุณสุรชัย-คุณอรพิน-คุณสุรพงษ์-พ.ต. นพ. อรรถสิทธิ์ ประดิษฐ์พรกูล ๑๐๐ ค่าอาหารพระ - ผู้ปฏิบัติธรรม กลุ่ม บ.กระเบื้องเซรามิคไทย จก. ๑๖,๐๐๐ คุณจริยา พัวพันกิจเจริญ ๑๓,๒๐๐ คณะรพ.บ้านหมอ ๑๐,๔๐๐ ดต. โกศล ชมภูพาน ๖,๐๑๐ พระพงษกร ๖,๐๐๐ คณะนวรัตน์ ๕,๙๒๗ คุณประกอบ ผลาสุขและครอบครัว ๕,๓๖๔ คุณจินดา ฤทธาพรหม ๕,๐๐๐ คุณอำ�นวย จั่นแก้ว ๕,๐๐๐ คุณกันตภณ รักไตรรงค์ ๔,๐๐๐ คุณนภาพร เจริญศิริ ๔,๐๐๐ คุณสุทัศน์ จิตรรักษ์ และคณะ ๔,๐๐๐ คุณสุรพงษ์ เตชะวิบูลย์ ๔,๐๐๐ คณะคุณอ้อย พระบาท ๓,๙๐๐ คุณแสงชัย - คุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์และครอบครัว ๓,๓๐๐ คณะคุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์ ๓,๐๐๐ คุณกาญจนา สันติธารา ๓,๐๐๐ คุณจันทร์เพ็ญ ไมตรีจิตต์ ๓,๐๐๐ คุณเซี่ยมง้อ แซ่ปัง , คุณเกียรคุณ นวรัตน์รุ่งโรจน์ ๓,๐๐๐ คุณณัฐพร (ปุ๋ย) ธีรเนตร และครอบครัว ๓,๐๐๐ คุณตวงพร พงษ์ประดิษฐ์ ๓,๐๐๐ คุณรุจิเรจ จิระเสวีและครอบครัว ๓,๐๐๐ คุณอิสรีย์ พงศ์กมลานนท์ ๓,๐๐๐ คุณอุบล ทีปนะ ๓,๐๐๐


101 คุณอุษา บูรณพิมพ์ และครอบครัว พระศิรสรรค์ มเหสกฺโข พระศิวสรรค์ เที่ยงธรรม พล.ต.ท. รชต - พ.ท.หญิง พนัสยา ด.ญ.อติญา - ด.ช. ทธฤต เย็นทรวง ส.ต.อ.วรพจน์ สุจิตติกุล คณะคุณวันทนา ทรัพย์เฮง คณะพระเฉลิมชาติ ชาติวโร คุณพัชรีภรณ์ หยกอุบล นพ. เลิศยส - อ.บุญศักดิ์ - ดร. อัจฉรา พ.อ. หญิง รัตนา เอื้อบุณยะนันท์ คุณน้าแป้ว พระภูริญาโน ครอบครัวพรทิพย์เทวา และคณะ ครอบครัว เรือนเจริญสิน คุณจิราพร ชัยชาญ คุณแม่เซียมง้อ แซ่ปังและครอบครัว คุณสอางค์ศรี - จิตพัฒน์ สังฆสุวรรณ นางจิราพร ชัยชาญ , นางสุภาพรรณ์ ธนะเกียรติไกร และครอบครัว คุณธนากล ญาณฤกษ์ -คุณลัดดาวัลย์ อัมพร พระพรเทพ พุทธรักขิโต พ.ต.ท. นิวัฒน์ - คุณบุญสืบ วิญญา คุณพัศญา วีรวงศ์ คุณวิเชียร ถาวรสถิตย์ -คุณศรีจิตรา ภัทรพฤทธ์พาณิช คุณสมจิต - คุณจิตเฉลียว รอดเดช น.ส.เพ็ญนภา ธนาพรสวรรค์ นายพรศิลป์ รณศิริ คุณทัศน์พล - คุณสมวงษ์ - ด.ช. สุทธิชัย - สุทธิณี ผึ้งแดง คุณทัศน์พล-สมวงษ์-สุทธิณี-สุทธิชัย

๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒,๒๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๒๖๐ ๑,๒๐๐ ๑,๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๖๐๐ ๖๐๐ ๕๘๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๔๕๐ ๓๓๐


102 อุทิศให้ นายปรีดี ถาวรสถิตย์ คุณตาดา มั่นศรี

ค่าอาหารปลา

คุณลุงดา มั่นศรี ครอบครัว พรทิพย์เทวา และคณะ ค่ารักษาพยาบาลสงฆ์ คุณอุสุมา กรดงาม น.ส.ธัญญลักษณ์ ปานแก้วหาญ และครอบครัว ค่าน้ำ�-ค่าไฟฟ้าวัด ท่านเจ้าคุณธรรมสิทธินายก บ้านปากน้ำ� คุณวิชุดา คงสุทธิ์ , คุณทิพย์โชค ไชยวิศิษฎ์กุล , คุณปัทมา ดำ�ประสิทธิ์ คุณสุมาลี มีปลอด , คุณนิตยาพร สายเสนา ครอบครัวตรีทอง คุณกัลยากรณ์ เต็มหิรันรัตน์ คุณสิทธิศาสน์ อัญชานนท์ และครอบครัว พล.ต.ท. รชต - พ.ท.หญิง พนัสยา ด.ญ.อติญา - ด.ช. ทธฤต เย็นทรวง คุณเจริษา เทศเพราะผล คุณบุญช่วย หิรัญสิริสมบัติ คุณธงชัย - คุณอังสุณัฐธา คณฑา คุณนิภาพรรณ อัครเดชเดชาชัย คุณนิภาวรรณ จั่นแก้ว คุณสมศักดิ์ พรมรัก คุณสุวิมล นุติทวัฒน์ คุณทัศน์พล - สมวงษ์ - สุทธิณี - สุทธิชัย ที่เก็บขยะรีไซเคิล พระสมเกียรติ สุทฺธจิตฺโต พระวริทศวัตติ์ จิตโตภาโส

๑๐๐ ๒๐ ๖๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๗๐,๐๐๐ ๕,๐๖๔ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๕๕ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๒,๐๐๐ ๕๐๐


103 พระพงศกร ภูริญาโน พระภาณุ ฐตมโน พระศรัณย์ ปภัสสโร พระทรงศักดิ์ สุทธฺจิตโต ถวายค่าโต๊ะจีนเลี้ยงพระงานประชุมสงฆ์ คณะนวรัตน์ คุณกิตติ กิตติขจร - คุณตรีสุคนธ์กานต์ เจริญพล คุณเจนวิทย์ ไชยรัตน์ คุณพูลภัฏฏ์ หงส์ประภัสร คุณสายใจ ท่าจีน และครอบครัว คณะพระวัดเขาวง หลวงพี่เอก (วัดซับบอน) คุณวริตต์ศวัต จิตโอภาส คุณแม่จั่น ชำ�ระหนี้สงฆ์ บ้านปากน้ำ� คุณสุญญตา พูลทรัพย์ คุณมยุรี อาจศิริและคณะ ส.ต.อ วรพจน์ สุจิตตกุล คุณพชร อุทัชกุล คุณสนิท วรบัญญาและครอบครัว นายณัฏฐ์ ธาระเวช ครอบครัว รอดเดช คุณวันทนา ทรัพย์เฮง-คุณสุดาลักษณ์ โกษา นางจื้อยง แซ่อึ้ง - นางภัทธิภา วิศิษฎ์โสภณ บ้านบางประกอก คุณญาณิน พิเชษฐพงศ์ คุณวรญา แซ่ตั้ง คุณอำ�ไพ อุไรรัตน์ ครอบครัวพรทิพย์เทวา และคณะ

๒๔๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๙๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๓๐๐ ๖,๔๑๒ ๔,๕๐๐ ๓,๘๐๐ ๓,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒,๘๔๐ ๒,๒๓๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๙๖๐ ๑,๘๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๑๐๐ ๑,๐๐๐


104 คุณกฤษณี-คุณสมภพ เพ็ชรสีสม คุณแม่เกศแก้ว จุรัฐรุจิกร คุณวิชิตพร คงคาใส คุณอรวรรณ ตัณฑิจยะ น.ส.เพ็ญนภา ธนาพรสวรรค์ นางเกร็ดแก้ว จิรัฐรุจิกร นายเกษม นางวัชรี ปานนาค , นายวิทวัส มณีกร พระสมบัติ อตฺตทโม คุณตรึงตรา อดุลสุทธานนท์ พระทรงศักดิ์ สุทธฺจิตโต คุณพัศญา วีรวงศ์ คุณวิเชียร ถาวรสถิตย์ -คุณศรีจิตรา ภัทรพฤทธ์พาณิช ลุงดา จสอ.หญิง วรรณี ทัศน์ประภากร หลวงพ่อสมหวัง คุณสุวัชรา ตั้งสกุล น.ส.พีรญา สวนศิลป์พงศ์ และครอบครัว ป้าพยอม ผดุงผล คุณสิรสา สุทธิพิบูลย์ คุณเช้งเซี่ยง เลี่ยวไพรัชต์ คุณบุษบา - พัชรินทร์ คุณสุณี อุดมศักดิ์ คุณอรทัย ปรมัตตานนท์ นางณันทิกานต์ พงษ์อร่าม พัศญา วีรวงศ์ - คุณญานิษฐ์ เกษมโกเมศ คุณวุฒิไกร พันธ์จีน คุณวันทนีย์ แซ่ลิ้ม คุณคมสัน - คุณจันทนา - ด.ช. ศุภวิชญ์ ผึ้งแดง คุณคมสัน-จันทนา-ศุภวิชญ์ ผึ้งแดง คุณสิริวิมล สรสิงห์

๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๘๐๐ ๖๐๐ ๖๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๔๒๐ ๔๐๐ ๔๐๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๓๐๐ ๒๕๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๑๕๐ ๑๒๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐


105 คุณสุเทพ ยาคุณ คุณอรศรี สรสิงห์ คุณอุดม สุจิตตกุล ด.ต.ประวัติ สุจิตตกุล ว่าที่ ร.ต.หญิงดวงใจ รุมพล ว่าที่ ร.ต.หญิงอริยา สุนทรนันท คุณธนชัย เจริญผล

๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐

เจ้าภาพปลูกต้นไม้ล้อม พระพรชัย ชาญแก้วมณี คุณธนยศ, คุณกฤติกา, ณฐพนธ์ บุญมีมา คุณภรภัทร คำ�ภาพงษ์, คุณเสาวนีย์ กินะรี คุณพิพัฒน์ นิลกาญจน์, คุณนิธิมา นันโท, คุณยุวรี อินธุพันธ์, คุณชวลิต กุมาร, คุณเกรียงไกร กุมาร ครอบครัวอรุณเลิศพิทักษ์ เชียงใหม่ คุณธเนศ ขำ�เกิด, คุณรุจิเรข จิระเสวี คุณพยอม ผดุงพล คุณอำ�นวย จั่นแก้ว คุณชมชนก นารถอัมพุทและครอบครัว คุณฟ้าปกเกศ บรรจงจิตรและเพื่อน คุณธันยรัชต์ จินตกานนท์และครอบครัว ถวายสิ่งของ บริษัท ทีทีซี น้ำ�ดื่มสยาม จำ�กัด ถวายน้ำ�ดื่มสวมแค็ปซีล ๒๐๐ แพ็ค ------------------------------


รายชื่อกองทุนธรรมทาน

ของหนูค่ะ! หมายเลข

๔๐๖๗ ๔๐๖๘ ๔๐๖๙ ๔๐๗๑ ๔๐๗๒ ๔๐๗๓ ๔๐๗๔ ๔๐๗๕ ๔๐๗๖ ๔๐๗๗ ๔๐๗๘ ๔๐๗๙ ๔๐๘๐

ชื่อเจ้าของทุน

คุณอารี สมบูรณ์ศิลป์ คุณจุฑาธิป ประดิพัทธ์นฤมล คุณจีรพันธ์ จิระสกุล คุณหน่อย-เอ แม่เตียงทอง มะไหย์ คุณนรมน พงษ์สุวรรณ คุณอัมภรรัตน์ ลอยลม, คุณพงษ์ศักดิ์ ทัพเลี้ยง คุณธนัญชิดา วรกิจวุฒิปรีชา คุณนิชาภา วรกินวุฒปรีชา คุณจิดาภา วรกิจวุฒปรีชา คุณภาณุวัฒน์ พุฒิกุลชัย คุณชัยรัตน์ - ดารณี คุณภดารัชช์ จาวจักรศิริ

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๓๙๒.๐๐ ๔๙๐.๐๐ ๘๗๖.๐๐ ๒๑๒.๐๐ ๕๕๑.๐๐ ๑๔๓๗.๐๐

๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒

๑๓๓๐.๐๐ ๒๕.๐๐ ๒๕.๐๐ ๒๕.๐๐ ๒๕.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐๐.๐๐

๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒


หมายเลข

๔๐๘๑ ๔๐๘๒ ๔๐๘๓ ๔๐๘๔ ๔๐๘๕ ๔๐๘๖ ๔๐๘๗ ๔๐๘๘ ๔๐๘๙ ๔๐๙๐ ๔๐๙๑ ๔๐๙๒ ๔๐๙๓ ๔๐๙๔ ๔๐๙๕ ๔๐๙๖ ๔๐๙๗ ๔๐๙๘ ๔๐๙๙ ๔๑๐๐ ๔๑๐๑ ๔๑๐๒ ๔๑๐๓ ๔๑๐๔ ๔๑๐๕ ๔๑๐๖

ชื่อเจ้าของทุน

คุณวีระสวัสดิ์ - บุณยราช คุณสุพรรณี แสนสวัสดิ์ คุณวชิราภรณ์ สุทัศษา พ.ต.ท.หญิง ศิริพร หารวิชัย ด.ญ. การต์ภคพัชร จาวจักรศิริ จิรพงษ์ธนาเวช คุณณิชารีย์ บุญริ้ว คุณอารีย์ อาเดรียน คุณฉิ่ง-คุณนิภา จงเจริญ คุณเกรียงศักดิ์ คุณปรารถนา และครอบครัว คุณสำ�เร็จ หล่อทรง คุณวีระชัย สินไทย คุณอนุสรา หงส์หยก คุณณัชชา บุญวรานันท์ คุณภุชงค์ ละอองบัว คุณวีรยุทธ สมศรีเสาร์ คุณรภัสสา มานะชัยไพบูลย์ คุณปรเมศ พิชิตกุญชร คุณกัลยา ชินเกตุ คุณจอมขวัญ ,ด.ช. เฉลิมเกียรติ , คุณดำ�รงค์เกียรติ ท้วมพุดซา คุณวิสุทธิชัย เที่ยงธรรม คุณวัชราภรณ์ เฟื่องสุวรรณ คุณสมชัย เทียบปิ่นหยก และครอบครัว คุณเยาว์ งามปลอด ตระกูลประเจียด - สินประเสริฐ คุณนิตยา สว่างศรี ด.ญ. พรภัทรา ประเจียด

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๕๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒

๒๐๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒

๑๐๐.๐๐ ๕๙๔.๐๐ ๔๐.๐๐ ๕๐.๐๐ ๑๐๑๙.๐๐ ๑๒๐.๐๐ ๑๒๐.๐๐ ๓๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐.๐๐

๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒

๒๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๔๐.๐๐

๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒ ๒๐ ต.ค. ๕๒

๒๖๙๓.๐๐ ๑๐๔๐.๐๐ ๒๒๐.๐๐ ๕๐.๐๐ ๕๐.๐๐

๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒


108 หมายเลข

๔๑๐๗ ๔๑๐๘ ๔๑๐๙ ๔๑๑๐ ๔๑๑๑ ๔๑๑๒ ๔๑๑๓ ๔๑๑๔ ๔๑๑๕ ๔๑๑๖ ๔๑๑๗ ๔๑๑๘ ๔๑๑๙ ๔๑๒๐ ๔๑๒๑ ๔๑๒๒ ๔๑๒๓ ๔๑๒๔ ๔๑๒๕ ๔๑๒๖ ๔๑๒๗ ๔๑๒๘ ๔๑๒๙ ๔๑๓๐ ๔๑๓๑

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณวรารัตน์ ด.ช. พลรัตน์ ฉิมครู ๑๐๐.๐๐ คุณสุรีรัตน์ รัตนจันทร์ ๕๐.๐๐ คุณสุวารี ประเจียด ๕๐.๐๐ คุณสาวิตรี วีระสวัสดิ์ ๕๐๐.๐๐ สมาชิกกายภาพบำ�บัดสระบุรี (รัตนำ�ภรณ์ คิววิชชกิจ) ๑๐๐.๐๐ คุณพรจรัส สทารัตน์ ๑๐๕๑.๐๐ คุณหัทยา ดุริยประณีต ๑๐๐.๐๐ คุณชุติกาญจน์ พรเกษม ๕๐.๐๐ คุณนิตยทาน ด่านยุทธพลชัย ๑๐๐๐.๐๐ คุณธนาพร จันทรบุตร ๔๐.๐๐ คุณสุมาลี ฝึกกาย ๒๐.๐๐ พนักงานบริษัท เอช. เค. เนชั่นแนลโปรดักทส์ จำ�กัด ๙๐๐.๐๐ คุณทศพล นวลฝั้น ๑๐๐.๐๐ คุณสมบัติ - คุณขวัญจิต คุณนฤชา - คุณแพรพลอย วงค์แก้ว ๕๐.๐๐ นายธวัช สุรกิตย์ ๑๐๐.๐๐ คุณศรีสุรีย์ อินทร์พรหม ๑๐๐.๐๐ พ.ต.อ. ทรงพร คุณจารุภา รอดเสียงล้ำ� ๔๐๐.๐๐ คุณพีรภัทร ทองอ่อน ๒๐๐.๐๐ คุณรัชนี - ด.ช. ทัศน์พล อินทะขันธ์ ๑๐๐.๐๐ คุณพรธน - คำ�พันธ์ แก้วแสน ๒๔๐.๐๐ คุณจุไร โตสงวน ๓๐๐.๐๐ วัดธรรมยาน ๒๐๐.๐๐ คุณณรัชช์อร อมรศุภเศรษฐ์ ๑๐๐.๐๐ จ.ส.ต. หญิง นารี แถวงาม ๔๐.๐๐ คุณลาวัลย์ ศรสงวน ๔๐.๐๐

๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๒๑ ต.ค. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒


หมายเลข

๔๑๓๓ ๔๑๓๔ ๔๑๓๕ ๔๑๓๖ ๔๑๓๗ ๔๑๓๘ ๔๑๓๙ ๔๑๔๐ ๔๑๔๑ ๔๑๔๒ ๔๑๔๓ ๔๑๔๔ ๔๑๔๕ ๔๑๔๖ ๔๑๔๗ ๔๑๔๘ ๔๑๔๙ ๔๑๕๐ ๔๑๕๑ ๔๑๕๒ ๔๑๕๓ ๔๑๕๔ ๔๑๕๕ ๔๑๕๖ ๔๑๕๗ ๔๑๕๘ ๔๑๕๙ ๔๑๖๐ ๔๑๖๑ ๔๑๖๒

ชื่อเจ้าของทุน

คุณสราวุฒิ สุจริต คุณภรภัสสรณ์ ศิริกาญจนาภัย คุณสุนิษา สาพิมพ์ ด.ช. ธนบดี นามโพธิชัย ด.ญ. จณิสตา นามโพธิชัย คุณธนยศ บุญมีมา คุณกฤติกา บุญมีมา คุณวิไลรัตน์ ไม้ดี คุณอรจิรา จันทร์ศิริ คุณวิทยา บัวแย้ม คุณธัชพล ขำ�ชื่น คุณวรรณา คุณเวียง คุณกนกอร คุณเวียง ครอบครัวชัชกุล ครอบครัวเลาวณาภิบาล ครอบครัวดิมิร๊อฟ บจก.อารยะ อะไหล่ยนต์ ด.ช. จัตุพล เตี้ยพานิช คุณกฤษดา เตี้ยพานิช คุณเพลินพิศ โกศลยุทธสาร คุณสุรศักดิ์ เดชศรี คุณโกสิน ตันวรรัตน์ มล.ธิติพันธ์ สุริยง คุณนวนนท์ ศิริกาญจนาภัย คุณวุรวงค์ศรี โกศลยุทธสวร คุณณัฐฏา เอมอ่อน คุณสุพิชชา จันทร์ศิริ คุณไตรตน โรจนุตมะ คุณณฐพนธ์ บุญมี่มา คุณภัทราทิตย์ บัวศรีทอง

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๑๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๒๐.๐๐ ๘๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๑๐๐๐.๐๐ ๑๒๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๒๑๐๐.๐๐ ๑๐๐๐.๐๐ ๑๐๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๓๐๐.๐๐ ๓๐๐.๐๐ ๖๐๐.๐๐ ๔๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๖๑.๐๐

๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒


110 หมายเลข

๔๑๖๓ ๔๑๖๔ ๔๑๖๕ ๔๑๖๖ ๔๑๖๗ ๔๑๖๘ ๔๑๖๙ ๔๑๗๐ ๔๑๗๑ ๔๑๗๒ ๔๑๗๓ ๔๑๗๔ ๔๑๗๕ ๔๑๗๖ ๔๑๗๗ ๔๑๗๘ ๔๑๗๙ ๔๑๘๐ ๔๑๘๑ ๔๑๘๒ ๔๑๘๓ ๔๑๘๔ ๔๑๘๕ ๔๑๘๖ ๔๑๘๗ ๔๑๘๘ ๔๑๘๙ ๔๑๙๐ ๔๑๙๑ ๔๑๙๒

ชื่อเจ้าของทุน

ด.ช. ภาสกร อยู่แจ้ง คุณกุ้ง แสนคำ� ด.ญ. ศิรภัสสร ฉายวิชา ด.ช. ปวริศร สีแก้ว คุณดิชพล ศรีอุไร คุณแก้วตา คุณสิริกมล ฤทธิวงศ์ คุณสุนันทา ปรีพัฒน์ คุณนวลจันทร์ บุตรพรหม คุณปาลวี ติยะบุตร ครอบครัวนวศีลโสภณ ด.ญ. ฐิติมา อึ่งฮวบ คุณสุจิตรภัค ศรีสุพรรณราช คุณกรกนก ธารามาศกุล คุณนันทพร ธารามาศกุล คุณปิติ ธารามาศกุล คุณปิยนุช ธารามาศกุล คุณอภิสรา ธารามาศกุล คุณสิริลักษณ์ สืบสุข คุณสุธา ศรีนาค คุณมนชิดา ไหลงาม คุณปัทมา บัวทอง คุณธารารัตน์ องอาจ คุณทัศนาลักษณ์ บุญจีน คุณชวลิต-คุณฐิติรัตน์ คนซื่อ คุณปิยวรรณ สถิรประภากุล คุณพรรษพร โสตะพงษ์ คุณสายฝน สายสุวรรณ คุณรุ่งเรือง อำ�รุง คุณเทวี ขอเอิบกลาง

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๑๐๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๑๒๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๗๒๖.๐๐ ๕๙.๐๐ ๑๒๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๓๐๐.๐๐ ๓๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๒๐.๐๐

๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๙ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒


หมายเลข

๔๑๙๓ ๔๑๙๔ ๔๑๙๕ ๔๑๙๖ ๔๑๙๗ ๔๑๙๙ ๔๒๐๐ ๔๒๐๑ ๔๒๐๒ ๔๒๐๓ ๔๒๐๔ ๔๒๐๕ ๔๒๐๖ ๔๒๐๗ ๔๒๐๘ ๔๒๐๙ ๔๒๑๐ ๔๒๑๑ ๔๒๑๒ ๔๒๑๓ ๔๒๑๔ ๔๒๑๕ ๔๒๑๖ ๔๒๑๗ ๔๒๑๘ ๔๒๑๙ ๔๒๒๐ ๔๒๒๑ ๔๒๒๒ ๔๒๒๓

ชื่อเจ้าของทุน

คุณเมธินี กองชนะ คุณจุฑามาส คงคาลึก คุณจักรพงศ์ จึงทองดี ครอบครัวประสานสุข คุณสุ่น เจริญศุภพ คุณขันทอง ธรรมสมบัติ คุณประเทืองชิต แป้นไผ่ คุณกุลชลี ปราณีนหุช คุณกชพรรณ นามดวงดี คุณสุเจตน์ เพิ่มดี คุณมณี วังวิทยา คุณอัญชลี อินทร์พิสัย คุณกรกิจ กรีกุล คุณวราภรณ์ กัลยาณธีร์ ด.ญ. นนท์สภรณ์ ผู้ปลื้ม คุณมัลลิกา ภูศรี คุณจินตนา สุขเกษม คุณสมสมร ศรีมูลและครอบครัว ด.ช. พีรวิชญ์ ดาโรจน์ คุณเศวตชัย สิรินทวัฒน์ ด.ช. พรหมพิริยะ ดาโรจน์ คุณพงษ์ธร สุขก่ำ� คุณณัฐิดา แสนสิงห์ คุณรุจน์สกุล ศรีสุพรรณราช คุณกุลอุษา แสงภักดีจิต คุณแต๋ว จันทร์หอม คุณพิศุทธ์ เกิดปัญญา คุณรัชกฤช รัมจันทร์ คุณพีระ นุตกุลและครอบครัว คุณจรูญ พวงแก้ว และครอบครัว

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๕๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๑๐๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๖๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๘๐๙.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๘๐๐.๐๐ ๕๐.๐๐ ๑๓๒.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๑๐๐๐.๐๐ ๑๐๐๐.๐๐

๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒


112 หมายเลข

๔๒๒๔ ๔๒๒๕ ๔๒๒๖ ๔๒๒๗ ๔๒๒๘ ๔๒๒๙ ๔๒๓๐ ๔๒๓๑ ๔๒๓๒ ๔๒๓๓ ๔๒๓๔ ๔๒๓๕ ๔๒๓๖ ๔๒๓๗ ๔๒๓๘ ๔๒๓๙ ๔๒๔๐ ๔๒๔๑ ๔๒๔๒ ๔๒๔๓ ๔๒๔๔ ๔๒๔๕ ๔๒๔๖

ชื่อเจ้าของทุน

น.ท.หญิง เฉลิมศรี ชุมเกษียน ด.ช. เอกรัฐ แคล้วคลาด ด.ญ. นภัทร แคล้วคลาด พ.ต.ท.หญิง ศิริพร หารวิชัย คุณวัลลารัตน์ บุญริ้ว และ คุณสุพรรษา บุญมาทัศ คุณอริสา พงศ์สรฤทธิ์ คุณสุขสัณห์ ทรงสวัสดิ์ คุณธนวรรณ เอนกกวิธวิทยา คุณสุริยะ ชิตท้วม คุณนันทรา จินปิ่นเพชร คุณอรัญญา ทองดี คุณวิชิตพร คงคาใส คุณศิริโชค-คุณสมจิตรคุณสุชาติ ปิ่นคร้ามสี คุณรภาภัศ ปั้นประสม และครอบครัว คุณพัลลภ - ปัทมา ปุริษกาญจน คุณสุภัสรา กุลหงวน คุณกริช -คุณกันต์ กุลหงวน ด.ช. นพรุจ หฤทัยสดใส คุณมณีจันทร์ สมนึก ด.ญ.ภคพร โปษยะนันทน์ คุณธิดารัตน์ วิสาขะ คุณชาญวิทย์ กุลหงวน คุณฤทธิกานต์ - ด.ญ. ธนัญชนำ� ด.ช. ทนงฤทธิ์ ดำ�คง, คุณนงนุช ณ ไพรี คุณพวงทอง วรรณโรจน์ คุณประพันธ์ มองนนท์

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๑๐๐.๐๐

๑๐ พ.ย. ๕๒

๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒

๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๓๐๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๔๐๐.๐๐

๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒ ๑๐ พ.ย. ๕๒

๑๑๔๘.๐๐

๑๐ พ.ย. ๕๒

๒๔๒.๐๐

๑๐ พ.ย. ๕๒

๑๐๐.๐๐ ๕๑๘.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๑๐.๐๐ ๑๐๐๔.๐๐ ๑๐๔.๐๐ ๑๓๓.๐๐ ๔๘๐.๐๐

๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒

๔๖๐.๐๐ ๓๖๓.๐๐ ๓๐๐.๐๐

๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒ ๑๑ พ.ย. ๕๒


หมายเลข

๔๒๔๗ ๔๒๔๘ ๔๒๔๙ ๔๒๕๐ ๔๒๕๑ ๔๒๕๒ ๔๒๕๓ ๔๒๕๔ ๔๒๕๕ ๔๒๕๖ ๔๒๕๗ ๔๒๕๘ ๔๒๕๙ ๔๒๖๐ ๔๒๖๑ ๔๒๖๒ ๔๒๖๓ ๔๒๖๔ ๔๒๖๕ ๔๒๖๖ ๔๒๖๗ ๔๒๖๘ ๔๒๖๙ ๔๒๗๐ ๔๒๗๑ ๔๒๗๒

ชื่อเจ้าของทุน

คุณระเบียบ เนื้อดี คุณบุปผา มะเริงสิทธ์ คุณโอภาส ล้วนประจักษ์แจ้ง , คุณสิริกาญจน์ สมประสงค์ คุณรัชนิดา จิตรวิสุทธิ์ คุณโภคิน ฐาเจริญทรัพย์ คุณสอางศ์ศรี สังฆสุวรรณ คุณสมชาติ มียิ่ง คุณธรรมรัตน์ อรุณเลิศพิทักษ์ และครอบครัว คุณอุไรวรรณ บุญกังวาล คุณสมคิด ทองศรี คุณรุ้งดาว ภู่ประเสริฐ คุณยุพาพัชร์ ภัทรปรีชาศิริ คุณอารีวรรณ์ น้าวัฒนถาวร คุณสายรุ้ง พินสนิท และครอบครัว คุณชัยรัตน์ เป้ามี และครอบครัว คุณอติกานต์ อดทน คุณมธุรส เจียประเสริฐ คุณธัญ - คุณสุนิสา ธนวิบูลย์ คุณสิทธิพล จตุระบุล คุณสมรัฐ งามกิติเดชากุล คุณสุรเศรษฐ ทองสี คุณชนานัตร์ ทรงพุฒิ คุณภิญพัชร์ นาคแท้ คุณปราณีต อุดมทรัพย์ คุณเมตตา เจนจบทิพย์ คุณประภาพรรณ เลาวณาภิบาล คุณเติมศักดิ์ เจนจบทิพย์

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๕๕๐.๐๐ ๙๐๘.๐๐

๑๑ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒

๙๙๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๔๖๕.๐๐ ๓๙๘๗.๐๐ ๒๐.๐๐

๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒

๕๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐

๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒

๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๒๘ พ.ย. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒


114 หมายเลข

๔๒๗๓ ๔๒๗๔ ๔๒๗๕ ๔๒๗๖ ๔๒๗๗ ๔๒๗๘ ๔๒๗๙ ๔๒๘๐ ๔๒๘๑ ๔๒๘๒ ๔๒๘๓ ๔๒๘๔ ๔๒๘๕ ๔๒๘๖ ๔๒๘๗ ๔๒๘๘ ๔๒๘๙ ๔๒๙๐ ๔๒๙๑ ๔๒๙๒ ๔๒๙๓ ๔๒๙๔ ๔๒๙๕ ๔๒๙๖ ๔๒๙๗ ๔๒๙๘

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณวิชิตพร คงคาใส ๗๗๐.๐๐ คุณศรันย์ ท่าจีน คุณกนกร ยุทธรธวิทย์ ๒๘๖๓.๐๐ คุณอรุณกรณ์ เจริญลาภ ๘๐๕.๐๐ คุณไพโรจน์ - คุณจิตติมา เชยชม ๑๐๐.๐๐ คุณพจนา เลาวณาภิบาล ๑๐๐.๐๐ คุณประนอม เลาวณาภิบาล ๑๐๐.๐๐ คุณสกุลคุณปถมภ์พันธ์ เลาวณภิบาล ๑๐๐.๐๐ คุณเย็นจิต แป๊ะอุ้ย ๑๐๐.๐๐ คุณประจิม บุญส่ง ๑๐๐.๐๐ คุณวาสนา วราภักดิ์ ๑๐๐๐.๐๐ คุณปิ่นนรา-คุณวรรษมนด.ช.ศุภวิชญ์ -คุณนรกมลคุณมงคลและครอบครัว ๖๕๐.๐๐ คุณประจักษ์ สิกขะมณฑล ๑๐๐.๐๐ ด.ญ. ทักษ์ศิญา ปราสาททองโอสถ ๑๐๐.๐๐ คุณอาริญา ปราสาททองโอสถ ๑๐๐.๐๐ คุณณรงค์ยศ เลาวภาภิบาล ๑๐๐.๐๐ คุณศรายุทธ ตรีทอง ๔๐๐.๐๐ ด.ช. ภานุวัฒน์ ตรีทอง ๔๐๐.๐๐ ด.ญ. เกศราภรณ์ ตรีทอง ๔๐๐.๐๐ ด.ญ. ณัฏฐณิชา ตรีทอง ๔๐๐.๐๐ คุณนพมาศ ฉ่ำ�ใจหาญ ๒๐๐.๐๐ คุณกมลชนก ตรีทอง ๔๐๐.๐๐ พ่อสุนทร-แม่ทองผัน อินทร์ทอง ๙๐.๐๐ คุณทนงศักดิ์ เชื้อปาน ๑๐๐.๐๐ กัปตันเสวี - คุณวีรวรรณ เจริญลาภ ๑๐๐.๐๐ คุณสาคร ปินจันทา และครอบครัว ๑๐๐.๐๐ ครอบครัววมั่งมี ศรีสุข เงินทอง ๖๓.๐๐

๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒

๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๖ ธ.ค. ๕๒ ๗ ธ.ค. ๕๒ ๑๑ ธ.ค. ๕๒


หมายเลข

๔๒๙๙ ๔๓๐๐ ๔๓๐๑ ๔๓๐๒ ๔๓๐๓ ๔๓๐๔ ๔๓๐๕ ๔๓๐๖ ๔๓๐๗ ๔๓๐๘ ๔๓๐๙ ๔๓๑๐ ๔๓๑๑ ๔๓๑๒ ๔๓๑๓ ๔๓๑๔ ๔๓๑๕ ๔๓๑๖ ๔๓๑๗ ๔๓๑๘ ๔๓๑๙ ๔๓๒๐ ๔๓๒๑ ๔๓๒๒ ๔๓๒๓ ๔๓๒๔ ๔๓๒๕ ๔๓๒๖

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณสุชาติ - คุณสายใจ ท่าจีน ๒๖๐๐.๐๐ คุณธีรชัย สร้างชัยศิริมั่น และครอบครัว ๒๐๐.๐๐ คุณอนุชา อังทองกำ�เนิด ๑๒๐.๐๐ คุณจตุรงค์ แซ่ลิ้ม ๑๐๐.๐๐ คุณปภาวิน ไชยบูรณะพันธ์กุล ๑๐๐.๐๐ คุณพรทิพย์ กุญชโรและครอบครัว ๒๐๒.๐๐ น.ส. ธัชพร - นายธี่รเมธ ถาวรธวัช ๑๒๒๘.๐๐ คุณศิล ช่างทอง ๑๐๐๐.๐๐ คุณฉัตรชัย กังวาน ๑๐๐.๐๐ คุณบรรจง ๘๐.๐๐ ด.ช. นภัทร พงศ์คำ� ๑๐๐.๐๐ ด.ช. พิภัช พงศ์คำ� ๑๐๐.๐๐ คุณรณชัย มาลาศรี ๕๕.๐๐ คุณสงัด อินชีลอง ๖๑.๐๐ คุณเฉลิมวุฒิ พงศ์เจริญ ๗๔.๐๐ คุณทวี - คุณพี่ระชัย สมดี ๑๐๐.๐๐ คุณธิดารัตน์ วิสาขะ ๑๗๐.๐๐ คุณสกุญชัย ทาไทย ๑๐๐.๐๐ คุณศิรเมศร์ มรุพงศ์ศิริกุล ๑๐๐.๐๐ คุณวิสาสินี รังสิณา ๑๔๐.๐๐ ด.ช. อนันต์ชัย ด.ช. ชินดนัย สุนทโรบล ๓๐๐.๐๐ คุณเพ็ญศรี เรืองพานิชภิบาล ๑๐๐.๐๐ คุณปาริชาติ หาญละคร ๒๐.๐๐ คุณคเชนทร์ คัมภีระและครอบครัว ๕๐๐.๐๐ ครอบครัวปทุมลังการ์ ๑๔๙๗.๐๐ ร้านตะเกียงแดง ๑๐๐.๐๐ คุณธนา รัตนโสภา ๕๐๐.๐๐ คุณมณฤดี อาวะโต ๑๐๐.๐๐

๑๑ ธ.ค. ๕๒ ๑๑ ธ.ค. ๕๒ ๑๑ ธ.ค. ๕๒ ๑๑ ธ.ค. ๕๒ ๑๑ ธ.ค. ๕๒ ๑๑ ธ.ค. ๕๒ ๑๓ ธ.ค. ๕๒ ๑๓ ธ.ค. ๕๒ ๑๔ ธ.ค. ๕๒ ๑๔ ธ.ค. ๕๒ ๑๔ ธ.ค. ๕๒ ๑๔ ธ.ค. ๕๒ ๑๔ ธ.ค. ๕๒ ๑๔ ธ.ค. ๕๒ ๑๔ ธ.ค. ๕๒ ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ๑๕ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒


116 หมายเลข

๔๓๒๗ ๔๓๒๘ ๔๓๒๙ ๔๓๓๐ ๔๓๓๑ ๔๓๓๒ ๔๓๓๓ ๔๓๓๔ ๔๓๓๕ ๔๓๓๖ ๔๓๓๗ ๔๓๓๘ ๔๓๓๙ ๔๓๔๐ ๔๓๔๑ ๔๓๔๒ ๔๓๔๓ ๔๓๔๔ ๔๓๔๕ ๔๓๔๖ ๔๓๔๗ ๔๓๔๘ ๔๓๔๙ ๔๓๕๐ ๔๓๕๑ ๔๓๕๒ ๔๓๕๓ ๔๓๕๔

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณสุฉวี แว่นอินทร์ ๔๐๐.๐๐ คุณหนูแดง เทียมมาลา ๑๐๐.๐๐ คุณรัชกร วัฒนดำ�เนิน ๗๐๐.๐๐ คุณหยาง ซือ เจ๋ ๑๐๐.๐๐ คุณสวิน สินงามทวี ๑๕๐๐.๐๐ คุณณัฐชฎา ภูเขียว ๔๐.๐๐ คณะสมาชาย แสงแก้ว (หาดใหญ่) ๕๐๐.๐๐ คุณนงนุช สว่างใจ ๔๐.๐๐ คุณพัศญา วีรวงศ์ ๑๐๐.๐๐ คุณเกษกนก เฉลยมรรค ๑๐๐.๐๐ คุณวรรณเพ็ญ ศรีตะปัญญะ ๖๐๐.๐๐ คุณภาณุพล ปานสายลม ๔๔๗.๐๐ คุณพิชญา เกตุนุติ และครอบครัว ๑๐๐.๐๐ คุณกฤษณี เพ็ชรสีสม ๑๐๐๐.๐๐ คุณกำ�พล ท้วมแสง ๑๐๐.๐๐ คุณพรทิพย์ กิ้มศรีตุ้น ๑๐๐.๐๐ ด.ญ. กุลปรียา อินทบุตร ๙๐๐.๐๐ คุณวิชัย-คุณอมรรัตน์ อินทรบุตร ๑๐๐.๐๐ คุณธนภรณ์ ยศจิตนนท์ ๑๐๐.๐๐ คุณวราภรณ์ ประกันทะ ๑๐๐.๐๐ คุณสมคิด กุคำ�อู ๑๐๐.๐๐ คุณตรึงตรา อดุลสุทธานนท์ ๑๐๐.๐๐ คุณทนง-คุณรัศมี ว่องวิทยา และครอบครัว ๒๕๗.๐๐ คุณพิมชนา ๔๖๒.๐๐ คุณรณภูมิ - คุณจุฑารัตน์ ทิมโคกกรวด ๑๐๐.๐๐ คุณสุกัญญา มีพลอย ๖๐.๐๐ คุณณิชกุล คงวัฒนใหม่ ๔๐.๐๐ คุณปรียานุช นันทนวิจิตร ๔๒๔.๐๐

๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒๗ ธ.ค. ๕๒ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓


หมายเลข

๔๓๕๕ ๔๓๕๖ ๔๓๕๗ ๔๓๕๘ ๔๓๕๙ ๔๓๖๐ ๔๓๖๑ ๔๓๖๒ ๔๓๖๓ ๔๓๖๔ ๔๓๖๕ ๔๓๖๖ ๔๓๖๗ ๔๓๖๘ ๔๓๖๙ ๔๓๗๐ ๔๓๗๑ ๔๓๗๒ ๔๓๗๓ ๔๓๗๔ ๔๓๗๖ ๔๓๗๗ ๔๓๗๘ ๔๓๗๙ ๔๓๘๐ ๔๓๘๑

ชื่อเจ้าของทุน

พ่อสินพ-แม่แฉล่ม อิ่มสมุทร คุณอรวรรณ ตัณฑ์จยะ คุณธีรา อร่ามรัศมี คุณสุพัตรา - ศิรสิษฐ์ วราสันธ์ คุณณภัชนันท์ ศศิวรศาสตร์ คุณระเบียบ จักรักษา คุณวรุณี เชาวน์สุขุม ด.ญ. เพ็ญพิชชา พุ่มน้อย คุณสุรศักดิ์ หอมตระกูล และครอบครัว ด.ญ.พิชญา อัตตะเปโม คุณศิวสรรค์ เที่ยงธรรม บ้านธรรมธิษฐาน คุณนิตยา จันทน์เทศ คุณคมอมร นรนาถตระกูล คุณจิดาภา วิสุวรรณ คุณดวงพร พิมพาทอง คุณพัทธวรรณ วิจิตร์เนตร์ ออสเตรเลีย คุณอิสรีย์ พงศ์กมลานนท์ คุณยุพา เชิญกระโทก คุณศิรพัชร์-อรณัชชา อนันต์ประภาสิริ คุณตรี เสนีวงศ์ ณ อยุธยา คุณตะวัน แพงศรี คุณมอญ จักรพรมมา คุณณัฐพงศ์-คุณจุฑามาศ เที่ยงธรรม คุณณัชชา โพธิ์นิ่มแดง คุณสุทธิศักดิ์ สัจจพานิชกุล

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๕๐๐.๐๐ ๓๖๕.๐๐ ๔๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๑๑๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓

๔๐๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐

๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓

๒๐๐.๐๐ ๓๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๑๐๐๐.๐๐ ๓๙๒.๐๐ ๗๖๙.๐๐

๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓

๑๖๔๒.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๔๑.๐๐ ๒๐๐.๐๐

๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓

๑๐๐.๐๐ ๑๒๐.๐๐ ๔๐๐.๐๐

๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓


118 หมายเลข

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๔๓๘๒ คุณกิตติ มุดทอง ๑๐๐.๐๐ ๔๓๘๓ คุณกิติมา สุริยามาศ ๑๐๐.๐๐ ๔๓๘๔ คุณศศิธร สุริยามาศ ๑๐๐.๐๐ ๔๓๘๕ คุณถวิล คุนุไทย ๑๐๐.๐๐ ๔๓๘๖ คุณจารุต รัตนนุรารักษ์ ๑๐๔๗.๐๐ ๔๓๘๗ คุณจันทนา-คุณชุมพล ซอยคู่สร้าง ๗๒๐.๐๐ ๔๓๘๘ คุณเกษม-คุณวัชรี ปานนาค,คุณวิทวัส มณีกร ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ ๔๓๘๙ คุณเอกจิตต์ ศิริพงษ์ ๒๐.๐๐ ๔๓๙๐ คุณศักดิ์ชัย ปัณพรเมธี ๓๐๐.๐๐ ๔๓๙๑ คุณอรทัย พันธ์แก่น ๑๐๐.๐๐ ๔๓๙๒ คุณพลอยปภัส สโรบล ๑๐๐.๐๐ ๔๓๙๓ คุณนิยะดา วิชาพูล ๓๗๐.๐๐ ๔๓๙๔ ด.ญ. กัญญาณัฐ โอมลกร ๑๐๐.๐๐ ๔๓๙๕ คุณประภัสสร สุขสำ�ราญ ๑๐๐.๐๐ ๔๓๙๖ คุณชนินทร์ วงษ์สวัสดิ์ ๑๐๐.๐๐ ๔๓๙๗ คุณ โทโมยะ ซุซุกิ ๑๐๐.๐๐ ๔๓๙๘ คุณเพิ่มพูน ชมภูรัตน์ ๓๗๐.๐๐ ๔๓๙๙ คุณนาคพันธ์ วุทฒวิภาต ๕๐๙.๐๐ ๔๔๐๐ ด.ญ. ฤดีวัลย์ เสียงสุวรรณ ๑๐๐.๐๐ ๔๔๐๑ ด.ญ. ดรัลพร ลิขิตคีรีรัตน์ ๗๐๐.๐๐ ๔๔๐๒ คุณวชิรพงศ์ สุรัชตวงศ์ ๓๖๖.๐๐ ๔๔๐๓ คุณโชติกา รูปสอาด ๙.๐๐ ๔๔๐๔ คุณฐนกร โสสาร ๙.๐๐ ๔๔๐๕ คุณสุรัตน์-คุณรัตนา ผดุงลาภ และครอบครัว ๑๐๐.๐๐ ๔๔๐๖ คุณธาริณี ศิริวานนท์ คุณธนัส จึงทองดี ๑๐๐.๐๐ ๔๔๐๗ คุณกัลยา แสนใจมูล ๑๐๐๐.๐๐ ๔๔๐๘ ครอบครัวเขตต์กลาง ๑๐๐.๐๐

๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓


หมายเลข

๔๔๐๙ ๔๔๑๐ ๔๔๑๑ ๔๔๑๒ ๔๔๑๓ ๔๔๑๔ ๔๔๑๕ ๔๔๑๖ ๔๔๑๗ ๔๔๑๘ ๔๔๑๙ ๔๔๒๐ ๔๔๒๑ ๔๔๒๒ ๔๔๒๓ ๔๔๒๔ ๔๔๒๕ ๔๔๒๖ ๔๔๒๗ ๔๔๒๘ ๔๔๒๙ ๔๔๓๐ ๔๔๓๑ ๔๔๓๒ ๔๔๓๓ ๔๔๓๔ ๔๔๓๕ ๔๔๓๖ ๔๔๓๗

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณทิพย์สุดา วงศ์ตระกูลกิจ ๓๐๐.๐๐ คุณธำ�รงค์ พุทธาพิทักษ์ผล ๘๐๐.๐๐ คุณมณีรัตน์ นาสถิตย์ ๒๐๐.๐๐ คุณสมพร นาสถิตย์ ๒๐๐.๐๐ คุณนฤสร โปร่งสละ ๑๐๐.๐๐ คุณสิริมา ศรีสันต์สุขคุณฐิติมา เจริญพานิช ๖๓๒.๐๐ การบินไทย 5/20 ๒๗๖.๐๐ คุณอุดมรัตน์ สมรรคเสวี ๒๐๐.๐๐ คุณฐิตารีย์ เตชวิรพงศ์ ๒๐๐.๐๐ คุณชุติมา ศิริวรรณ ๑๐๐.๐๐ คุณพเยาว์ ลิ้มสกุล ๒๐๐.๐๐ คุณรุ่งรัตน์ รอดทอง ๒๐๐.๐๐ คุณบัณฑิตา ญวรจิตร์ ๑๐๐.๐๐ คุณเยาวลักษณ์ สรรพกิจ ๑๐๐.๐๐ คุณสุมนัส อหันทริค ๑๐๐.๐๐ คงสวัสดิ์ ๑๐๐.๐๐ เขตบัณฑิต ๑๐๐.๐๐ คุณสุธิดา กฤษดิการและครอบครัว ๑๐๐.๐๐ คุณสุธิดา เฉยพ่วงและครอบครัว ๑๐๐.๐๐ คุณกุลสิร์ อรรถจินดา และครอบครัว ๒๐.๐๐ คุณชลลดา ชีวรรถกรและครอบครัว ๒๐.๐๐ คุณทรรศวรรณ เติมพรเลิศ ๑๐๐.๐๐ คุณสแตนลี่ ยังเองสกุล ๑๐๐.๐๐ คุณอรรณพ ทิมนามและครอบครัว ๑๐๐.๐๐ ด.ญ. สุภัสรา ขนาน ๒๐.๐๐ คุณปิยธิดา พูนพัฒนปรีชา ๑๑๐๐.๐๐ พระพิสุทธิ์ วิสุทฺโธ ๕๐๐.๐๐ คุณภัทรานิษฐ์ เกียรติกิตติพงษ์ ๒๐๐.๐๐ คุณสอาด วรรณพัฒน์

๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓ ๓ ม.ค. ๕๓

๓ ม.ค. ๕๓ ๒ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓


120 หมายเลข

๔๔๓๘ ๔๔๓๙ ๔๔๔๐ ๔๔๔๑ ๔๔๔๒ ๔๔๔๓ ๔๔๔๔ ๔๔๔๕ ๔๔๔๖ ๔๔๔๗ ๔๔๔๘ ๔๔๔๙ ๔๔๕๐ ๔๔๕๑ ๔๔๕๒ ๔๔๕๓ ๔๔๕๔ ๔๔๕๕ ๔๔๕๖ ๔๔๕๗ ๔๔๕๘ ๔๔๕๙ ๔๔๖๐ ๔๔๖๑ ๔๔๖๒

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

และครอบครัว ๑๔๐.๐๐ คุณพัชรีภรณ์ หยกอุบล ๑๐๐๐.๐๐ คุณสุรพันธ์-คุณวิไลลักษณ์ พิมพ์ชื่น ๑๐๐๐.๐๐ คุณไพฑูรย์ ชูสถาพรกุล ๑๐๐.๐๐ คุณฉัตรชัย กังวาน ๑๐๐.๐๐ คุณธงชัย - คุณอังสุณัฐชา - ด.ช.ธนาศักดิ์ ด.ช.ปราบ - ด.ช.โปรด คณทา ๑๐๐.๐๐ คุณสุธิดา กฤษดาธิการ และครอบครัว ๑๐๐.๐๐ คุณวัฒนิกา คงจันทร์ ๑๐๐.๐๐ คุณอุษาพร เรืองศรี ๒๐๐.๐๐ คุณสันทนา บ้อโสย ๒๐.๐๐ คุณมงคล -ด.ญ.ปาริฉัตร กลั่นแก้ว ๒๐๐.๐๐ คุณเกศิณี ขนาน ๑๐๐.๐๐ คุณอรุณ พรหมคีรี ๑๐๐.๐๐ ด.ช. บงกช พรหมคีรี ๖๐.๐๐ คุณสำ�รวย สงบวาจา ๕๐๐.๐๐ คุณเพ็ญวิไล ไกรสินธุ์ ๔๐๐.๐๐ คุณหนูเพช์ร บูรณะ ๒๐๐.๐๐ คุณณัฐพงศ์ ชลออยู่ ๑๐๐๐.๐๐ คุณพชรวรัตถ์ แสงทองชนาพงศ์ ๒๑๓๐.๐๐ คุณศุภชัย ทัพหงษ์ ๘๗๖.๐๐ คณะเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลบ้านแพรก ๗๐๐.๐๐ ด.ช. คณาธิป จิตรวศินกุล ๑๙๖.๐๐ บ้านบางประกอก ๑๑๑๙.๐๐ คุณปกรณ์ ชื่นยืนยง ๔๐๐.๐๐ พญ. สิริประภา พจนะแก้วคุณสุธี-ด.ช. ปิณท์ธร ช่วยรอด ๕๐๐.๐๐ คุณพรยมล ภัทรเลิศกุล ๑๐๐.๐๐

๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๘ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๑๙ ม.ค. ๕๓ ๒๐ ม.ค. ๕๓ ๒๐ ม.ค. ๕๓ ๒๐ ม.ค. ๕๓ ๒๐ ม.ค. ๕๓ ๓๑ ม.ค. ๕๓ ๑ ก.พ. ๕๓ ๑ ก.พ. ๕๓ ๑ ก.พ. ๕๓


หมายเลข

๔๔๖๓ ๔๔๖๔ ๔๔๖๕ ๔๔๖๖ ๔๔๖๗ ๔๔๖๘ ๔๔๖๙ ๔๔๗๐ ๔๔๗๑ ๔๔๗๒ ๔๔๗๓ ๔๔๗๔ ๔๔๗๕ ๔๔๗๖ ๔๔๗๗ ๔๔๗๘ ๔๔๗๙ ๔๔๘๐ ๔๔๘๑ ๔๔๘๒ ๔๔๘๓ ๔๔๘๔ ๔๔๘๕ ๔๔๘๖ ๔๔๘๗ ๔๔๘๘ ๔๔๘๙ ๔๔๙๐

ชื่อเจ้าของทุน

คุณสมปอง พันธุจริยา คุณสุมิตรา พันธุจริยา ด.ญ. ธัญจิรา ธรรมรักษ์โต คุณประสิทธิ์ พันธุจริยา ด.ช. ธรรศ ธรรมรักษ์โต คุณสุรภัทร์ ธรรมรักษ์โต คุณณัฐพล นิธิกาญจนกุล คุณสำ�รวย ร้านกุล คุณเสงี่ยม เขื่อนฝัก คุณเรียม หงษ์สมาน คุณปาริชาด จิระกุลชัย คุณกันยรัตน์ กตัญญู คุณสังวาลย์ เล็กเลิศ คุณตะวัน ศิลปรัตน์ คุณเบญจมาศ แสงสว่าง แก้วตา แซ่ลิ้ม คุณณัชณิช ศิริสันธนะ คุณไววิทย์ -ศรีไพร นรพัลลภ คุณภัทรปภา ทองวัฒน์ คุณสุทธิชัย ชัยบุรินทร์ คุณศุภลักษณ์ ม่วงกรุง คุณวรพล เจริญพร คุณสุกัญญา จ่าเขียว น้อง GAIN และคุณแม่ คุณศิริรัตน์ พูลผล คุณ Get และคุณพ่อ คุณชลธิชา สว่างวงศ์ คุณวรรณีย์ พันธพงศ์ คุณวันเพ็ญ ยงวานิชจิต คุณอุทการ-พิสันต์-

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๒๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๔๐๐.๐๐ ๕๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๔๐๐.๐๐ ๗๑๗.๐๐ ๑๘๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๓๗๑.๐๐

๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๒ ก.พ. ๕๓ ๑๑ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓

๔๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓

๑๐๐.๐๐ ๔๐๐.๐๐ ๒๐๙.๐๐ ๑๐๙.๐๐ ๓๓๕.๐๐ ๑๑๕.๐๐ ๒๖๕.๐๐ ๖๙๓.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๑๐ ก.พ. ๕๓


122 หมายเลข

๔๔๙๑ ๔๔๙๒ ๔๔๙๓ ๔๔๙๔ ๔๔๙๕ ๔๔๙๖ ๔๔๙๗ ๔๔๙๘ ๔๔๙๙ ๔๕๐๐ ๔๕๐๑ ๔๕๐๒ ๔๕๐๓ ๔๕๐๔ ๔๕๐๕ ๔๕๐๖ ๔๕๐๗ ๔๕๐๘ ๔๕๐๙ ๔๕๑๐ ๔๕๑๑ ๔๕๑๒ ๔๕๑๓ ๔๕๑๔ ๔๕๑๕

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

กุลนาถ สุวรรณหงษ์ ๓๐๐.๐๐ คุณปกรณ์ ชื่นยืนยง ๑๐๐.๐๐ บมจ. ไทยวาโก้ ๑๐๐.๐๐ คุณอภิชา ภิพิตรกุนทร ๒๐๐.๐๐ คุณชวาล กลิ่นดำ�รงค์ ๑๐๒๐.๐๐ ครอบครัววิวัฒนากุลวาณิชย์ ๖๐๐.๐๐ คุณธีรทัศน์ อาริยะไกรศรี และครอบครัว ๕๐๐.๐๐ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บมจ.สหพัฒน์ ๑๐๐.๐๐ คุณภาณุภาส-อิศราภรณ์ อรรถจินดาและครอบครัว ๑๐๐.๐๐ คุณสุภัค แซ่ตั้ง ๙๙.๐๐ คุณสุวิทย์ อารยะวิไลพงศ์ และครอบครัว ๕๐๐.๐๐ คุณวา อารยะวิไลพงศ์ ๕๐๐.๐๐ ด.ญ. สุวพิชญ์ คำ�วรรณ ๑๐๐.๐๐ คุณรัตนา รุ่งเรือง ๔๐.๐๐ คุณปิยพร วายุภาพ ๑๐๐.๐๐ คุณภควดี แสงเพชร ๕๐๐.๐๐ คุณปารย์พิรัชย์ กลิ่นอุบล ๑๐๐.๐๐ คุณอาทิตย์ นนทรี ๗๓๐.๐๐ คุณกมนวัลย์ ศรสสุวรรณศรี ๑๐๐.๐๐ คุณสุธาทิพย์ ศิริวัฒโนทัย ๑๐๐๐.๐๐ ด.ช. ศุทธา สุมะนังกุล ๕๐๐.๐๐ คุณธิติศา รัตนนุรารักษ์ ๑๐๐.๐๐ คุณสุภลักน์ มูลจิต ๕๐๐.๐๐ คุณพรปรียา สุริยารังสรรค์ ๑๐๐๐.๐๐ คุณปภาวี ตปนียพันธ์ ๑๐๐๐.๐๐ คุณมณีรัตน์ คุณอมรรัตน์ สิทธิเกษร ๑๐๐.๐๐

๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๒๔ ก.พ. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓


หมายเลข

๔๕๑๖ ๔๕๑๗ ๔๕๑๘ ๔๕๑๙ ๔๕๒๐ ๔๕๒๑ ๔๕๒๒ ๔๕๒๓ ๔๕๒๔ ๔๕๒๕ ๔๕๒๖ ๔๕๒๗ ๔๕๒๘ ๔๕๒๙ ๔๕๓๐ ๔๕๓๑ ๔๕๓๒ ๔๕๓๓ ๔๕๓๔ ๔๕๓๕ ๔๕๓๖ ๔๕๓๗ ๔๕๓๘ ๔๕๓๙ ๔๕๔๐ ๔๕๔๑ ๔๕๔๒ ๔๕๔๓

ชื่อเจ้าของทุน

คุณราตรี สุวรรณพันธ์ คุณภาณี วิสุทธิศิริ คุณอรวรรณ ธัมมะรักขิต คุณเขตขันธ์ ทัพวิโรจน์ คุณวรรณพร พิมเนศวย์ คุณนงเยาว์ สร้อยธรรมา คุณจรัญ สร้อยธรรมา ด.ญ. ชลธิชา สร้อยธรรมา ด.ช. รัชชานนท์ สร้อยธรรมา คุณเรวดี สร้อยธรรมา คุณสิริวิมล สรสิงห์ คุณอรศรี สรสิงห์ คุณภรทิพย์ เพื่องเจริญ คุณอัมรา บุตรคำ�โชติ ครอบครัวพงษ์ชัยชนานนท์ คุณจันทร์ยา โตยั่งยืน คุณบุญยัง-คุณชลอบุญ ทรวดทรง คุณสำ�เร็จ-คุณวิไลวรรณ หล่อทรง คุณธงชัย ทองใบ คุณชนิดา เกิดแก้ว คุณฟ้าปกเกษ บรรจงจิต คุณมรรณกร เกิดแก้ว คุณประเสริฐ หล่อทรง พ.อ.อ. ณัฐวุฒิ พูลบุญคุณอนงค์นาฏ นวานุช คุณวิชุดา คงสุทธิ์ อ.เครือวัลย์และคณะ คุณรจนา นพโสภณ คุณนภวัต ชายนุกุล คุณกุลิสรา อือตระกูล

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๕๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๒๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๕๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๖๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๐๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐๐.๐๐

๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓ ๑ มี.ค. ๕๓

๑๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐ ๕๐๐๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓

๑๐๐.๐๐

๒ มี.ค. ๕๓


124 หมายเลข

๔๕๔๔ ๔๕๔๕ ๔๕๔๖ ๔๕๔๗ ๔๕๔๘ ๔๕๔๙ ๔๕๕๐ ๔๕๕๑ ๔๕๕๒ ๔๕๕๓ ๔๕๕๔ ๔๕๕๕ ๔๕๕๖ ๔๕๕๗ ๔๕๕๘ ๔๕๕๙ ๔๕๖๐ ๔๕๖๑ ๔๕๖๒ ๔๕๖๓ ๔๕๖๔ ๔๕๖๕ ๔๕๖๖ ๔๕๖๗ ๔๕๖๘ ๔๕๖๙ ๔๕๗๐

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

ร้านข้าวปั้นซูชิเรศโตรอง ๑๐๐.๐๐ พล.อ.อารักษ์ - ศริริพันธ์ โรจนุตมะ ๒๐๐.๐๐ คุณภูริสา อัคนิทัต ๑๐๐.๐๐ คุณพรรณี เตี๊ยกคำ� ๒๐๐.๐๐ คุณจุฑามาศ โหมดเสม ๑๐๐.๐๐ คุณภาณี ทองคำ� ๕๖๐.๐๐ ด.ช. หัสวีร์ นทีวัชระตระกูล ๑๒๗๔.๐๐ โรงเรียรชมรมภาษาอังกฤษ ๗๒๕.๐๐ คุณปัทมวดี ประดิพัทส์นฤมล ๒๑๗.๐๐ คุณจิตรภาณุ ปุณณภูม ๑๑๑๕.๐๐ คุณกัลยา นพรัตน์รุ่งโรจน์ พร้อมบุตรหลาน ๘๐๐.๐๐ คุณชวนินทร์ รัตนินปัญญพัฒน์ ภิญญาพัชญ์ บุญมา ๘๐๐.๐๐ คุณเชื้อ ทัพแสงศรี ๔๐๐.๐๐ คุณกิ่งแก้ว ดอนกระโทก ๑๐๐.๐๐ คุณนพพร แซ่แต้ ๑๐๐.๐๐ คุณเพ็ญรุ่ง ทองสมัย ๑๐๐.๐๐ คุณฐิติชัย วงศ์ศิริอำ�นวย ๑๐๐.๐๐ คุณคันธวัฒน์ อ้วนโพธิ์กลาง ๑๐๐.๐๐ คุณกฤติเดช ลักษณานันท์ ๑๐๐.๐๐ คุณเอกรัตน์ กังวรรัตน์ ๒๐๐.๐๐ ด.ญ.พัชรพร ๒๐.๐๐ คุณวิภานันท์ จิตต์มโนวงศ์ ๓๐.๐๐ คุณเชื้อ ทัพแสงศรีและครอบครัว ๔๐๐.๐๐ คุณพูนพันธ์ หิรัญวานิชกุล และครอบครัว ๑๐๐.๐๐ คุณกรรณิการ์ ศรีคต ๑๐๐.๐๐ คุณจิราพรรณ ทองปรีชา ๑๐๐.๐๐ คุณอัจฉรา เลาวัณย์ศิริ ๑๐๐.๐๐

๒ มี.ค. ๕๓ ๓ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๒ มี.ค. ๕๓ ๗ มี.ค. ๕๓

๗ มี.ค. ๕๓ ๗ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓


หมายเลข

๔๕๗๑ ๔๕๗๒ ๔๕๗๓ ๔๕๗๔ ๔๕๗๕ ๔๕๗๖ ๔๕๗๗ ๔๕๗๘ ๔๕๗๙ ๔๕๘๐ ๔๕๘๑ ๔๕๘๒ ๔๕๘๓ ๔๕๘๔ ๔๕๘๕ ๔๕๘๖ ๔๕๘๗ ๔๕๘๘ ๔๕๘๙ ๔๕๙๐ ๔๕๙๑ ๔๕๙๒ ๔๕๙๓ ๔๕๙๔

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณธนาวัฒน์ - สุกัญญา ธีมา - ธารี ไชยวุฒิกรณ์วานิช ๑๐๐๐.๐๐ คุณสุภาพร การเกษม ๑๐๐.๐๐ ด.ญ. รัชนีกร ศิรินันท์วัฒนา ๑๐๐.๐๐ ด.ช. ทักษิน ศิรินันท์วัฒนา ๑๐๐.๐๐ คุณอรพิน ทิพย์มะโน ๒๐๐.๐๐ คุณรังสิวรรณ พัฒนาอุตสาหกิจ ๒๐๐.๐๐ คุณฐิติรัตน์ เพ็ชรพล ๕๐๐.๐๐ รัตนโชโต และญาติโยมเพื่อนพรชัย ๒๐๐๐.๐๐ คุณสิริสุข อยู่สำ�ราญคุณชมพูนุท ภัทรอจลานนท์ ๒๐๐.๐๐ คุณฤตรัช รัฐกิจ ๒๑๒๐.๐๐ บริษัท เอ็น ที มีเดียกรุ๊ฟ จำ�กัด ๑๔๑.๐๐ คุณวันดี กล้าเกิด ๕๑๑.๐๐ คุณสกุล - ภัทรี - ณัฐพล รัฐวุติ กิตติวราวุฒิ ๒๗๕.๐๐ คุณภาคย์ ทิพาณุกะ ๓๐๐.๐๐ คุณยอดลักษณ์ และครอบครัว ๖๐.๐๐ ครอบครัวทองอ่อน ๕๗๔.๐๐ สหพัฒน์ กลุ่มอบรมรุ่น ๑ ๒๒๐๐.๐๐ คุณเอกอดุลย์ ไชยรัตนะ และครอบครัว ๖๑๒.๐๐ คุณทองเพียร อุ่นสุข ๑๐๐.๐๐ คุณสุกัญญา จ่าเขียว ๑๖๙.๐๐ คุณวรพล เจริญพรและครอบครัว ๓๑๕.๐๐ คุณวุฒธิชัย - นภาลัย พิชญากร พงศ์เพิ่มกิจวัฒนา ๑๐๐.๐๐ คุณสุรีรัตน์ ชัยปวรัตน์ และครอบครัว ๑๐๐.๐๐ คุณธัญญะ-สุวรรณี-ภัทร-พฤทธิ์

๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๘ มี.ค. ๕๓ ๑๘ มี.ค. ๕๓ ๑๕ มี.ค. ๕๓ ๑๘ มี.ค. ๕๓ ๑๘ มี.ค. ๕๓ ๑๘ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓


126 หมายเลข

๔๕๙๕ ๔๕๙๖ ๔๕๙๗ ๔๕๙๘ ๔๕๙๙ ๔๖๐๐ ๔๖๐๑ ๔๖๐๒ ๔๖๐๓ ๔๖๐๔ ๔๖๐๕ ๔๖๐๖ ๔๖๐๗ ๔๖๐๘

ชื่อเจ้าของทุน

เจริญกลกิจ คุณนิทัศน์ นวชาตโฆษิต คุณภิรญา วีรพลิน และ รณกฤต เรืองน้อย คุณคำ� โพธิ์ขาว คุณสิริวรรณ เมทนาพร คุณบุญร่วม ใจทน คุณเกื้อกูล บุญครอง คุณนงลักษณ์ พิศาลเมธี และครอบครัว คุณทูเร - คุณรัสดาวรรณ นีรูด คุณสมพร -คุณหัทยา ด.ช. ปัณณทัต พลอยจะบก ด.ญ. คนางค์ ผาสุก คุณปิยพร สกุลแพทย์ คุณประเชิญ ศรีชมภู คุณนภสร ผาสุก คุณวิภารัตน์ ปัจจุสมัย คุณพ่อเต้า - คุณแม่อังกาบ มนตรี - มนธิดา ปานแดง

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๓๖๕.๐๐ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๑๐๙๕๐.๐๐ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๑๐๐.๐๐ ๓๖๕.๐๐ ๑๕๐.๐๐ ๒๐.๐๐ ๕๐.๐๐

๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓

๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ Mar ๑๐

๑๐๐.๐๐ ๔๐.๐๐

๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓

๒๐.๐๐ ๔๐.๐๐ ๑๐๐.๐๐

๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓ ๒๒ มี.ค. ๕๓

๑๓๘.๐๐

๒๒ มี.ค. ๕๓

สาธู๊ค่ะ!


เรื่อง : หลวงตา

ภาพ: ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์

127

ปกหนังสือ ‘เสียงจากถ้ำ�..นารายณ์’ ฉบับนี้ ขอ อัญเชิญพระพุทธบารมี แห่งสมเด็จ ‘พระพุทธอภัยทาน’ ซึ่งประทับประดิษฐานอยู่บนไหล่เขาวง มาเป็นมิ่งมงคล แก่ทีมงานและท่านผู้อ่าน ลูกหลานทั้งหลาย....


ภาพ: ณัฏฐ์ ไกรฤกษ์


129

ดูลำ�บากมากไหม?... มองผ่านป่าซึ่งปกคลุมท่านไว้ ดูเป็นนัยชี้ให้ลูกหลานเห็นว่า วัดเขาวงสร้างเสร็จแล้วในท่าม กลางธรรมชาติป่าเขาของวัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) สำ�นักปฏิบัติ ธรรมประจำ�จังหวัดดีเด่นเฉลิมพระเกียรติ ประจำ�ปี ๒๕๕๓ ลูกหลานผู้อ่านเอ๋ย...ทานบารมีที่พวกเราได้บำ�เพ็ญไว้ ณ วัดเขาวง ก็ปรากฏผลทางวัตถุสมบูรณ์แล้ว สวยงามพอเป็น ตัวอย่างแก่วัดวาอารามทั้งหลายพอเป็นที่คลายใจพักกายของ นักปฏิบัติผู้มีศรัทธาทั้งหลายแล้ว.. เหลือแต่ผลทางจิตใจอัน เป็นนามธรรม สงบสุข บริสุทธิ์ ซึ่งลูกหลานจะต้องเข้ามาค้น คว้าหาเอาเอง.. เมื่อมาถึงวัดแล้ว.. ก็เดินขึ้นบันไดหิน ๑๓๙ ขั้น ขึ้นไป กราบขอพรตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าองค์ ‘พระพุทธอภัยทาน’ เผื่อให้เราได้พบสัมผัสกระแสธรรม แล้วเก็บเกี่ยวกอบโกยติด กายติดใจกลับไปสู่โลกส่วนตัวของเรา ให้มีสติ.. มีกำ�ลังใจ อยู่ กับหน้าที่ทางโลก โดยลำ�บากแต่กาย..แต่ใจเป็นสุข.


กิจวัตรประจำ�วัน ของวัดเขาวง

-----------------

๑๑.๐๐ น. ฉันเพล

๑๐.๐๐ น. กวาดลานวัด

๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิทธิ ๑๓.๓๐-๑๖.๐๐ น. หลวงตารับแขก

๑๕.๐๐ น. เดินจงกรม

๐๙.๐๐ น. โยคะสติปัฏฐาน

๑๖.๐๐ น. กวาดลานวัด ๐๗.๐๐ น. ฉันเช้า

๐๖.๐๐ น. บิณฑบาต

ที่วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) มีนาฬิกาพิเศษอยู่ ๒ เรือน แขวนอยู่เหนือ ประตูที่สำ�นักงานกลางของวัด หลวงตาท่านเรียก ‘นาฬิกาอนุสสติ’ ผู้เข้า มาพักปฏิบัติธรรมท่านใดอยากใช้เป็น ก็หาโอกาสกราบเรียนถามท่านได้ ท่านยินดีสอนให้ใช้จ้ะ.. แต่นาฬิกาข้างบนนี้ ทุกชีวิตในวัดเขาวง ต้องใช้ให้เป็น.. และต้องใช้ ทุกคน! หมุนเวียนกันไปตามนี้อยู่ตลอดชีวิต ทั้งผู้เข้ามาเป็นแขกพัก ปฏิบัติธรรมและผู้เป็นคนภายในวัด หรือจะเรียกให้ถูกก็คือ ‘คนวัตร’ ซึ่งถือประพฤติวัตร ปฏิบัติไปด้วยกันตลอดอายุของสำ�นักแห่งนี้.


131 ก่อนจะไปเรื่อง.. อื่นขอแจ้งข่าวเรื่องการติดต่อสื่อสารให้ญาติโยม ทราบก่อน ด้วยความที่เบอร์โทรศัพท์ชุดเก่า มีปัญหาทางเทคนิคหลาย ประการ พระคุณหลวงตาท่านเลยขอให้คณะสงฆ์วัดเขาวงดำ�เนินการ เปลี่ยนหมายเลขชุดใหม่ เพื่อความสะดวกในการติดต่อของญาติโยมคือ: หมายเลขโทรศัพท์ ๐๓๖ ๓๔๗-๗๓๐ โทรสาร ๐๓๖ ๓๔๗-๗๓๑ ใช้ เป็นระบบคู่สายภายในด้วย คิดว่าปัญหาที่ผ่านมาน่าจะหมดไป ถ้ามี ปัญหาใหม่ ค่อยมาคุยกัน.. เนอะ! ช่วงหลังๆ มานี้วัดเขาวงของพวกเรารับแขกบ่อยมากขึ้น ข้อมูลที่ ให้ระหว่างผู้เข้ามาเยี่ยมเยียนและผู้ต้อนรับยังสับสนกัน... ด้วยความไม่ คล่องตัวของพวกเราเองนั่นแหละ ก็ต้องขออภัยไว้ที่นี่ด้วย.. ที่เคยทุกข์ ใจเพราะการต้อนรับที่ไม่สมบูรณ์ ตอนนี้พยายามหาช่องทางการสื่อสาร ให้มากขึ้นแต่ก่อน แต่ก็อีกแหละนะครับ! ด้วยความที่ไม่เก่งเสียทางใด ทางหนึ่ง ทำ�มันเสียทุกเรื่องก็เลยได้แค่นี้ก่อน จะพยายามหาคนมาช่วย.. รับปากๆ..แล้วจ้าา ตอนนี้วัดเขาวงมี ช่วยหนึ่งช่องทาง และเว็บไซต์วัดเขาวงดอทคอม ‘www.watkhaowong.com’ ก็เพิ่งได้ ผู้ดูแล ขันอาสาจะเข้ามาช่วยเรื่องอัพเดทข่าวสารให้ทันแก่เวลา ลองดูกัน สิว่าจะแก้ผ้าเอาหน้ารอด เอ๊!..หรือแก้หน้าเอาผ้ารอดก็ไม่รู้สิ!


132 กำ�หนดงานประจำ�ปี ๒๕๕๓

-----------------

๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๓ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๓

วันวิสาขบูชา (๒๗-๒๙ ลงกลด) ปริวาสกรรม (๓๑ พ.ค.-๙ มิ.ย.) อาสาฬหบูชา (๒๕-๒๗ ลงกลด) เฉลิมพระชนมพรรษา (๑๑-๑๓ ลงกลด) ตักบาตรเทโวโรหณะ เฉลิมพระชนมพรรษา (๔-๖ ลงกลด) สมโภชศาลพระนารายณ์ กฐินสามัคคี (วันลอยกระทง)

กำ�หนดการสอนพระกรรมฐาน ปี ๒๕๕๓

-----------------

บ้านทรัพย์บุญชัย ปากน้ำ� สมุทรปราการ เลขที่ ๑๐๐/๕๗๑ หมู่ที่ ๑๐ หมู่บ้านทรัพย์บุญชัย ซอย ๓๕ ต.บางเมือง อ.บางเมือง จ.สมุทรปราการ โทร. ๐๒ ๗๐๓-๐๐๒๓

ตารางวันที่ฝึก คือวันอาทิตย์ที่ ๒ ของทุกเดือน ๑๐ ม.ค. ๒๕๕๓ ๑๑ ก.ค. ๒๕๕๓ ๑๔ ก.พ. ๒๕๕๓ ๑๕ ส.ค. ๒๕๕๓ ๒๑ มี.ค. ๒๕๕๓ ๑๒ ก.ย. ๒๕๕๓ ๑๘ เม.ย. ๒๕๕๓ ๑๐ ต.ค. ๒๕๕๓ ๙ พ.ค. ๒๕๕๓ ๑๔ พ.ย. ๒๕๕๓ ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๓ ๑๒ ธ.ค. ๒๕๕๓ ผู้มาฝึกมโนมยิทธิ ควรมาก่อนเวลา เพื่อฟังคำ�แนะนำ�ก่อนฝึก จะเข้าใจยิ่งขึ้น


133


เรื่อง : สุญญตา หลวงตามักจะพูดกับลูกศิษย์ว่า “ท่านไม่มีดีอะไร.. เมื่อมอง ย้อนไปในอดีตจะหาเรื่องที่ภูมิใจในตัวเองไม่ได้เลย...” ฉันไม่เห็นด้วยกับท่าน.. เพราะท่านทำ�ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ ถ้าท่านทำ�มากขนาดนี้แล้ว.. ยังไม่มีดีอะไร! แล้วจะมีอะไรในชีวิตที่ดีไป กว่านี้ได้อีกเล่า..ความคิดฉันในตอนนั้น...คิดว่าสิ่งที่ท่านพูดเป็นเพียง เพราะไม่อยากให้ลูกศิษย์หลง ทนงตน..ก็เท่านั้นเอง.. ท่านทำ�ตัวอย่างให้ดูว่า เราอย่าได้หลงภูมิใจไปในสิ่งลวงตา ต่างๆ ที่โลกเสกสรรปั้นไว้ให้ จนเวลาผ่านมา.. สำ�นักที่ท่านทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ใช้แรงทรัพย์และแรงศรัทธา จากญาติโยมทั้งหลาย.. ก่อร่างสร้างขึ้นมาจนแล้วเสร็จบริบูรณ์.. ได้รับ ประกาศเกียรติคุณให้เป็นวัดปฏิบัติธรรมประจำ�จังหวัดดีเด่น เฉลิมพระ เกียรต ๘๒ พรรษา อีกทั้งยังได้รับการยอมรับจากทุกคนที่มาพักปฏิบัติ ธรรม หรือมาเยี​ี่ยมชมสถานที่ว่าเป็นวัดที่สวยสะอาด เป็นรัมณียสถานที่ สวยที่สุดแห่งหนึ่งในโลกเลยก็ว่าได้... แต่ทว่า... หลวงตาก็ยังยืนยันคำ�เดิมว่า “ท่านไม่มีดีอะไร..ไม่มีอะไรที่น่า ภูมิใจสักอย่าง เมื่อมองย้อนหลังกลับไป!” การจะเรียนรู้ตามคำ�สอนของท่านให้ได้กระจ่างใจ ก็คงจะต้อง รอ.. รอวันที่ฝึกจิตฝนใจจนคล้ายกับท่าน..


แต่ตอนนี้ ท่านสอนสั่ง ให้จำ�ไว้จนขึ้นใจ คือ... ๑. ถ้าจะดูความเลว ให้ดูของตัวเอง! ๒. ถ้าจะดูความดีให้ดูของพระพุทธเจ้า การดูความเลวของตนนั้น ดูอย่างไรก็ไม่มีวันจบสิ้น.. กิเลสเมื่อ กำ�เริบอยู่ในใจของคนที่ยังรักยังหลงขันธ์ ๕ อยู่เพียงใด ก็เป็นอย่างนั้น เหมือนกันหมด ต่างกันตรงที่ว่าจะแสดงออกมา หรือยับยั้งเอาไว้ได้ด้วย ความละอายและกลัวต่อผลของบาปเพียงนั้น เราทำ�ความดีได้เพียงแค่น้อยนิด แต่มักจะหวังผลตอบแทน.. เป็นความสุข เป็นบุญ เป็นการได้รับการยอมรับมากมาย.. ยิ่งเมื่อเราคิด ว่าเรามีดีมากเท่าไหร่ และผลตอบแทนที่ได้น้อยกว่าความดีที่เราคิดว่า เรามี​ี...เราจะรู้สึกว่าโลกไม่ยุติธรรม ทำ�ไม? ทำ�ดีแล้วไม่ได้ดี!.. ทั้งนี้เพราะเราประมาท.. ไม่มองเห็นความจริงที่ว่า ‘เราไม่มีดี อะไร’..จะหาอะไรที่ดีในตัวเราได้.. เมื่อเริ่มมี‘เรา’ ก็เริ่ม‘ไม่ดี’เสียแล้ว.. เมื่อไม่เห็นว่าตัวเองดี แต่เรามีที่มั่นที่หมายคือพระพุทธเจ้า.. เราก็จะไม่ออกนอกลู่นอกทางไปไหน ไม่ตื่นข่าว ตื่นมงคล โกลาหลกับ ปาฏิหารย์ ที่มีมาให้ได้ยินได้ฟัง.. ไม่หลงทางออกนอกอริยมรรค ฉะนั้น.. ขณะที่ครูบาอาจารย์ท่านสำ�รวมตนเองให้ดูอยู่... เราลองมาใคร่ครวญตัวเองดู พร้อมๆ กันว่า ที่ผ่านมามีอะไร ที่เราพอจะภูมิใจในชีวิตได้บ้าง? และเราดูความดีของพระพุทธองค์ บ่อยแค่ไหนในแต่ละวัน.


จันทน์ผา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena loureiri Gagnep. วงศ์ : DRACAENACEAE ชื่ออื่น : จันทน์แดง (ภาคกลาง, สุราษฎร์ธานี) จันทน์ผา (ภาคเหนือ) ลักกะจันทน์ (ภาคกลาง) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มสูง ๑.๕-๒ ม. ลำ�ต้นตรงเป็นรูปบวมๆ เรือนยอดอาจมียอดเดียวหรือหลายยอด เปลือกนอกเกลี้ยงสีเทา เปลือกใน สีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียน สลับถี่ๆ ที่ปลายยอด ปลายแหลม สีเขียวเข้ม ก้านเป็นกาบหุ้มซ้อนทับกันรอบลำ�ต้น ดอกออกเป็นช่อใหญ่ตามซอกใบ กลีบ ดอก ๖ กลีบ ตรงกลางดอกมีจุดสีแดง เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๐.๘ ซม. ดอกสีขาว ผล กลมเล็ก ผลอ่อน มีสีเขียว ผลแก่สีแดงและม่วงคล้ำ� มีเมล็ดเดียว ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ออกดอกระหว่างเดือน กรกฏาคมและเดือนสิงหาคม ผลแก่ระหว่างเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน การขยายพันธุ์ : เพาะกล้าจากเมล็ดหรือ แยกกอ ประโยชน์ : ทรงพุ่มสวย ดอกมีกลิ่นหอมนิยมนำ�มาปลูกเป็นไม้ประดับ หรือ จัดสวนเป็นไม้ประธานในสวนหิน ปลูกเป็นกลุ่ม ส่วนของลำ�ต้นที่เกิดบาดแผล นานเข้า เปลี่ยนเป็นเนื้อสีน้ำ�ตาลแดง ใช้เป็นส่วนประกอบในการปรุงน้ำ�ยา อุทัย แก่นที่ราลง-มีสีแดง ใช้เป็นยาเย็น แก้ไข้ทุกชนิด การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดด้วยน้ำ�มีฤทธิ์ลดไข้ แต่ต้องใช้ปริมาณมากกว่าแอสไพริน ๑๐ เท่า และออกฤทธิ์ช้ากว่าแอสไพริน ๓ เท่า จันทน์ผาที่พบในบ้านเรามีอยู่ด้วยกัน หลายสายพันธุ์ย่อย เช่น : ๑. จันทน์ผาใบยาวแคบ ๒. จันทน์แดง/ลักกะจัน ๓. จันทน์ผาใบใหญ่ ๔. จันทน์ผา/จันหอม ใบยาวเป็นเกลียว ๕. จันทน์ผา/จันหอม ใบสั้น เป็นเกลียวเล็กน้อย ลักษณะทั้งลำ�ต้น และใบจะแตกต่างกันไป จากภาพถ่ายด้านข้างนี้ ได้สำ�รวจพบเห็นที่บริเวณเขาวง โดยทีมนัก วิชาการ กลุ่มงานวิชาการกรมป่าไม้จังหวัดสระบุรี จึงนับได้ว่าเขาวง-เขาโพลง นั้นมีแหล่งพรรณไม้สำ�คัญๆ ระดับโลกอยู่หลากหลายชนิด หากได้รับการ สำ�รวจ ก็อาจพบพันธุ์ใหม่ๆ อีกก็เป็นได้.


จันทน์ผาที่พบในพื้นที่เขาวง สูงประมาณ ๕ เมตร ขึ้นกระจายอยู่ตามเงื้อมเขาหลังวัด (ในกรอบ) ดอกจันทน์ผา

ผลจันทน์ผา


ระเบียบข้อปฏิบัติของผู้มาพักปฏิบัติธรรม


๑. นำ�บัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการมาลงทะเบียนเข้าพักปฏิบัติธรรมทุกครั้ง! ๒. อยู่พักปฏิบัติธรรมได้คราวละไม่เกิน ๗ วัน ๓. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมและกิจวัตรประจำ�วันตามที่ทางวัดกำ�หนด และไม่ทำ�กิจกรรมใดๆ นอกจากที่วัดจัดวางเป็นระเบียบไว้ ๔. เมื่อมีความจำ�เป็นต้องออกนอกบริเวณวัดในระหว่างอยู่ปฏิบัติธรรม ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่สำ�นักงานกลาง ทุกครั้ง! ๕. สำ�รวม กาย วาจา ใจ รู้ตัวตลอดว่ามาเพื่อปฏิบัติกรรมฐาน ไม่รบกวนผู้อื่น ด้วยการคุยเสียงดัง ไม่ชักนำ�ผู้อื่นไปสู่สำ�นักอื่น ไม่ทำ�การบอกบุญเรี่ยไร ไม่อวดฉลาดมาสั่งสอนธรรมโดยทางวัดไม่ได้เชื้อเชิญหรือนิมนต์ ขอให้มาเพื่อ ปฏิบัติกรรมฐานเพื่อความบริสุทธิ์ เพื่อความสุขสบายใจของตัวเองเท่านั้น ๖. เมื่อว่างจากกิจกรรมร่วมกันแล้ว ควรแยกย้ายกันภาวนาหาความสงบ ห้ามจับกลุ่มคุยกัน ห้ามทำ�ตัวเป็นหมอดูพยากรณ์ รักษาโรค หรือประทับทรง ไม่ว่าอาการใดๆ ทั้งสิ้น! ๗. ช่วยกันรักษาความสะอาดห้องพัก และช่วยกันกวาดบริเวณวัด อันเป็นจริยา มารยาท ประเพณีของผู้พักมาอาศัยเขตพระศาสนา ๘. ทางวัดจัดอาหารไว้ให้ ๒ มื้อ หากต้องการอาหารมื้อเย็น หรือรับประทานเพิ่ม มีร้านค้า ‘วันยังค่ำ�’ ซึ่งเป็นร้านค้าของวัด เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น.-๑๘.๐๐ น. ๙. แต่งกายสุภาพตามแบบของนักปฏิบัติธรรม หากที่นำ�มาด้วย ไม่เหมาะสมกับระเบียบของสถานที่ ทางวัดมีชุด‘ข้าวก้นบาตร’ ให้ยืม หรือมีจำ�หน่ายเพื่อความสะดวกและประโยชน์สุขของผู้มาพัก ๑๐. วัดนี้เป็นวัด ‘ปลอดสิ่งเสพติดและสัตว์เลี้ยง’ งดสูบบุหรี่และสิ่งเสพติดทุกชนิด งดการนำ�สัตว์เลี้ยง เช่นสุนัข,แมวเข้ามาในบริเวณวัดโดยเด็ดขาด ระเบียบดังกล่าวมา เป็นเพียงการแนะนำ�ให้ท่านเตรียมตัวเตรียมใจได้ถูกต้อง ยังมีมารยาทประเพณีของสำ�นัก ซึ่งท่านต้องปฏิบัติตาม เพื่อประโยชน์สุขของ ตัวเองและของผู้อื่นที่ใช้เวลาและสถานที่ร่วมกัน ซึ่งจะทราบรายละเอียดนั้น เมื่อท่านเดินทางมาถึงวัดเขาวงแล้ว.


เรื่อง : โชติธมฺโม

ร้อนกันไหม? ทุกคนคงตอบกันเป็นเสียงเดียวกันว่า “โค...รร้อน !” ร้อนเพราะอุณหภูมิที่พุ่งขึ้นอย่างไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เหมือนกับว่าโลกเรานั้นอยู่ในเตาอบสัก ๔๐ํ พาลให้นึกถึงความ ร้อนอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งน่ากลัวและอันตรายกว่าอุณหภูมิบนโลก ไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่า.. ก็คือความร้อนจากอารมณ์ใจของเรานั่นเอง!



142 เมื่อเวลาถูกกระทบกระแทกจากปัจจัยภายนอก เรามัก จะไม่มีรีรอที่แสดงผลของใจที่ปรุงสำ�เร็จออกมาทันทีทันใด! อันตรายที่กล่าวถึงก็คือว่านอกจากจะเผาใจของเราแล้ว.. สิ่งที่ หลุดออกมา.. มักจะเผาเอาใจคนรอบข้างของเราให้มอดไหม้ ตามไปด้วย ไม่ก่อผลที่ีดี.. แล้วยังจองถนนแห่งวิบากกรรมเอา ไว้ล่วงหน้าอีกต่างหาก! นั่นเป็นเพราะว่าบางครั้งเราก็ลืมนึกถึง ความจริง ที่ว่า.. ไฟจะสว่างโพลงขึ้นได้ เราต้องมีเชื้อไฟคือคบของเราเอา ไว้ก่อนแล้ว จุดไฟให้คบของตนก่อน แล้วถึงจะจ่อต่อเชื้อให้กับ คบไฟอันอื่นๆ ได้.. อีกอย่างหนึ่ง.. หากเราอยากทำ�ให้คนอื่นเปรอะเปื้อน ไปด้วยปฏิกูล เราก็ต้องเอามือนั้นล้วงปฏิกูลก่อน แล้วจึงไปป้าย ให้ผู้อื่นได้รับผลตามที่ตั้งใจ ถามว่าใครเปื้อนก่อน? ไม่ว่าผู้อื่นจะ ร้อนรนด้วยไฟที่ได้จากคบของเรา หรือเลอะเทอะเปรอะเปื้อน ไปด้วยปฏิกูลส่งกลิ่นคละคลุ้งเพียงไหน ที่เราลืมนึกไปก็คือเรา นั่นแหละร้อนและเปรอะเปื้อนก่อนใครเสียแล้ว! หลวงตาท่านเคยบอกผู้เขียนว่า “เมื่อรู้ว่ามันเสีย..แล้วจะเก็บเอาไว้ในใจให้โง่อยู่ทำ�ไม?” ใจของเราทั้งหลายนั้น เหมือนแก้วใบหนึ่ง ที่มีน้ำ�บรรจุ อยู่ภายใน น้ำ�ในแก้วใบนี้จะมีสีสวยสดใส หรือขุ่นข้นอย่างไร ก็


143 อยู่ที่เจ้าของแก้วใจจะเลือกประเภทของน้ำ�นั้นอยู่ที่แต่ละคน.. เมื่อประกอบเหตุ คือเลือกรินน้ำ�แล้ว! ย่อมแสดงผลผ่านผนัง แก้ว คือจิตใจของเจ้าของออกมาตามความเป็นจริง น้ำ�ที่เลือกสีผิด ที่คับข้อง ขุ่นใจ ร้อนรนอยู่ภายใน ย่อม ทำ�ให้ภาชนะที่รองรับรุ่มร้อนตามไปด้วย เมื่อจิตใจรุ่มร้อนกาย และวาจาก็ร้อน.. รู้ว่าร้อนก็อย่าไปถือเอาขึ้นมาบริโภคใช้สอย เททิ้งไปเสีย! หาน้ำ�ที่ใส ที่เย็น มาเทแทนที่.. ของที่เสียเราก็ต้องเททิ้ง.. อารมณ์ที่เสียเราต้องวางทิ้งไป เพราะของเสียกินเข้าไปก็เสาะท้อง ทำ�ท้องเสีย.. อารมณ์เสีย หากเก็บไว้ในใจ จะทำ�ให้ปากเสีย นิสัยเสีย และสายตาเสียคือ ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นคนดีแค่ไหน เราจะมองไม่เห็นความดีงาม ความน่ารักจากเขาเลย ในขณะที่เราอารมณ์เสีย.. ถ้าถามต่อว่า.. แล้วจะทำ�อย่างไรอารมณ์ถึงจะดี? ตอบแบบกวนๆ ก็ตอบว่า “ก็อย่าให้อารมณ์เสียสิ” แต่ถ้าตอบแบบผู้เขียนว่ามานี้ ผู้อ่านคงวางหนังสือเล่มนี้ แล้วก็คงอารมณ์ก็เสีย! ต้องตอบแบบหลวงตาตอบ.. ท่านก็คงจะตอบว่าเราต้อง รู้ก่อนว่าอะไรดีอะไรเสีย? รู้ถึงผลที่จะตามมา ของทั้งสองด้าน ว่าเป็นอย่างไร? เพราะธรรมชาติของทุกคนนั้นรักสุข เกลียด ทุกข์อยู่แล้ว ย่อมไม่อยากรับทุกข์โทษจากการพูดไม่ดีหรือการ


144 ทำ�ไม่ดี ถึงแม้ตนเป็นคนทำ�เองก็ตามที ในขณะที่ยังมีสติยั้งคิด ได้ก็ควรพึงระมัดระวังถึงผลที่จะตามมา.. หากนึกได้ทันอย่างนี้ เราก็ไม่ต้องจุดไฟ.. ป้ายเปรอะใจตัวเอง.. สุขจากภายในเสียก่อน จะได้ไม่เผลอไปทำ�ร้ายใครๆ ภายนอกอีกด้วย.. ก็ร่ำ�เรียน สอนสั่งกันมาในอารมณ์.. ในกระแสอย่างนี้! กระแสที่หลวงตาท่านเรียกว่า.. ‘กระแสพระนิพพาน’ วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) นี้ นอกจากเป็นสำ�นักปฏิบัติพระ กรรมฐานตามปฏิปทาสายพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุงแล้ว ยังถูกไว้วางใจจากคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี ให้เป็นสำ�นักปฏิบัติ ธรรมประจำ�จังหวัดแห่งที่ ๖ อีกด้วย และในวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ทีผ่ า่ นพ้นมา วัดเขาวงก็ได้รบั เกียรติถกู เลือกให้เป็นสำ�นัก ปฏิบัติธรรมประจำ�จังหวัดดีเด่น เฉลิมพระเกียรติ ๘๒ พรรษา แต่นั่นก็ยังไม่ปลาบปลื้มใจเท่ากับที่ทราบว่า.. วัดของลูกศิษย์ พระคุณ ‘พ่อ’ ได้รับเกียรตินี้ถึง ๒ วัด.. วัดละ ๑ จังหวัด ทั่ว ประเทศ คือสระบุรี วัดเขาวง.. และอุทัยธานี คือบ้านใหญ่ของ เรานั่นเอง วัดจันทาราม (ท่าซุง).. รางวัลไม่ใช่สิ่งที่เราอิ่มใจ แต่ เป็นเพราะเรามั่นใจในปฏิปทาปฏิบัติ.. ที่ตามรอยเท้า ‘พ่อ’ จน เป็นที่ประจักษ์แจ้งใจแก่สายตาผู้คนทั้งหลาย ได้พากันปฏิบัติ บูชาพระคุณท่าน จนเป็นที่ยอมรับทั่วไปในระดับประเทศ


145

หลวงตาถ่ายภาพร่วมกับพระคุณอาจารย์พระครูปลัดอนันต์ พทฺธญาโณ เจ้าอาวาสวัดท่าซุง วันที่รับพัดสำ�นักปฏิบัติธรรมดีเด่น เฉลิมพระเกียรติ ๘๒ พรรษา

ก็ร่ำ�เรียน สั่งสอนกันไปในปฏิปทาอย่างนี้..

หลวงตาท่านเคยบอกผู้เขียนว่า หากมีใครถามภายหลัง ว่าสำ�นักนี้มีปฏิปทาการสอนอย่างไร? ก็ให้ตอบเขาไปว่า.. ที่นี่ พยายามสอนให้เข้าถึงอารมณ์พระโสดาบัน! ที่ต้องใช้คำ�ว่า ‘พยายาม’ เพราะไม่กล้าบอกว่าสอนให้ เป็นได้ แต่มั่นใจว่าสามารถถ่ายทอดบอกเล่า.. ถึงกระแสความ เยือกเย็นแห่งความสุขของการมีศีลบริบูรณ์ได้.. ชวนกันให้เข้า


146 ถึงความซาบซึ้งถึงพระคุณของพระรัตนตรัย อย่างไม่คลางแคลง สงสัยในอานุภาพของพระคุณท่าน.. น้อมใจนำ�กันไปพิจารณา ความเป็นจริงของร่างกายด้วยปัญญา ‘ประหนึ่งมีภาพปรากฏ ขึ้นในใจ’ ด้วยกำ�ลังของวิปัสสนาญานและมโนมยิทธิ.. ในสาม ประการนี้ เมื่อน้อบน้อมใจให้เข้าถึง.. ด้วยความมั่นคงทรงตัว ไม่งุนงง ไม่สงสัย ไม่เซื่องซึม หรือฟุ้งซ่านรำ�คาญใจ ก็ได้ชื่อว่า เข้าถึงอารมณ์ใจแห่งพระโสดาบัน.. พระอริยบุคคลขั้นต้นใน พระพุทธศาสนา นี่ล่ะ! ที่พยายามให้เข้าถึง.. เข้ามาเถิด.. มาเข้าถึงซึ่งกระแสพระนิพพาน กระแสที่เยือกเย็น สงบงาม ตามรอยพ่อ.



กิจวัตรหมู่สงฆ์ในสายพระเนตรของพระพุทธองค์ ที่วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์)



๑๑.๐๐ น. ฉันเพล

๑๐.๐๐ น. กวาดลานวัด

๐๙.๐๐ น. โยคะสติปัฏฐาน

๐๗.๐๐ น. ฉันเช้า

๑๒.๓๐ น. ฝึกมโนมยิท


ทธิ

กิจวัตรประจำ�วัน ของวัดเขาวง

-----------------

๑๓.๓๐-๑๖.๐๐ น. หลวงตารับแขก

๑๕.๐๐ น. เดินจงกรม

๑๖.๐๐ น. กวาดลานวัด

๐๖.๐๐ น. บิณฑบาต

ที่วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) มีนาฬิกา พิเศษอยู่ ๒ เรือน แขวนอยู่เหนือประตูที่ สำ�นักงานกลางของวัด หลวงตาท่านเรียก ‘นาฬิกาอนุสสติ’ ผู้เข้ามาพักปฏิบัติธรรม ท่านใดอยากใช้เป็น ก็หาโอกาสกราบเรียน ถามท่านได้ ท่านยินดีสอนให้ใช้จ้ะ.. แต่นาฬิกาด้านข้างบนนี้ ทุกชีวิตในวัด เขาวง ต้องใช้ให้เป็น.. และต้องใช้ทุกคน! หมุนเวียนกันไปตามนี้อยู่ตลอดชีวิต ทั้งผู้เข้า มาเป็นแขกพัก ปฏิบัติธรรมและผู้เป็นคน ภายในวัด หรือจะเรียกให้ถูกก็คือ ‘คนวัตร’ ซึ่งถือประพฤติวัตร ปฏิบัติไปด้วยกันตลอด อายุของสำ�นักแห่งนี้.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.