เสียงจากถ้ำ ฉบับที่ ๒๕

Page 1

ฉบับที่ ๒๕ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓


บรรณาธิการ: พระครูภาวนาพิลาศ กองบรรณาธิการ: สายฟ้า, โชติธมฺโม, วิสูตร จิรโสภณ, สิริวรรณ เอกผล, อภิสรา จุลพันธ์, ธนัญชนก รัตนธาดา พิสูจน์อักษร: พระโอภาส โอภาโส, วิสูตร จิรโสภณ, ศิลปกรรม: พระนิพพาน โชติธมฺโม ภาพปก : จำ�ปีลอยน้ำ� แยกสีและพิมพ์ที่: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทร. ๐ ๒๘๘๒-๑๐๑๐, ๐ ๒๔๒๒-๙๐๐๐ โทรสาร : ๐ ๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐ ๒๔๓๔-๑๓๘๕ อัตราค่าสมาชิกหนังสือ ‘เสียงจากถ้ำ�’ จำ�นวน ๑๒ เล่มต่อครั้ง รวมค่าจัดส่งภายในประเทศ ๒๔๐ บาท โดยเงินสด ตั๋วแลกเงิน หรือธนาณัติ ปณ พระพุทธบาท สั่งจ่ายในนาม : พระนิพพาน โชติธมฺโม ส่งตามที่อยู่ : วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) ๖๒/๑ หมู่ที่ ๕ ตำ�บลเขาวง อำ�เภอพระพุทธบาท สระบุรี ๑๘๑๒๐ โทรศัพท์เลขหมายใหม่! ๐๓๖ ๓๔๗-๗๓๐ แฟ็กซ์ : ๐๓๖ ๓๔๗-๗๓๑

ขอโมทนากุศลครอบครัว ‘คุณชูเกียรติ-คุณเมตตา อุทกะพันธุ์’ เป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือเสียงจากถ้ำ� เป็นธรรมทาน


www.watkhaowong.com ภาพ: ดอกจิก จากต้นไม้ล้อม ๑๒๐ ต้น


บรรณาธิการ พระครูภาวนาพิลาศ ๖ มรดกพระดี ‘เรื่องในบ้านใหญ่ ตอนที่ ๙’ หลวงตา ๘ พูดตามพ่อสอน ‘ธงของการปฏิบัติ’ พระครูภาวนาพิลาศ ๑๙ ปกิณกะ พระครูภาวนาพิลาศ ๖๐ ใบไม้พูดได้ ‘นิพพานฯ’ ๖๑ ใบไม้ในป่าใหญ่ ‘เจรจากับทุกข์’ เนตรา ๖๒ งบการเงิน ‘เดือนมีนาคม ๕๓ - สิงหาคม ๕๓’ ๖๙ โมทนากุศล ๗๕ กองทุนธรรมทาน ‘ข้าวก้นบาตรของหนู’ ๙๗ ในรอยเท้าพ่อ พระโอภาส โอภาโส ๑๑๕ ในรอยเท้าพ่อ ธนัญชนก รัตนธาดา ๑๑๘ ในรอยเท้าพ่อ ปิติพัฒน์ พยัคฆพันธ์ ๑๒๒ เรื่องจากปก ‘บูรณะศาลพระนารายณ์’ ๑๒๗ ในรอยเท้าพ่อ นิศานาถ ตะเวทิกุล ๑๓๐ คนรักษ์เขาวง ‘กระรอกขาว’ ๑๓๖ ท้ายเล่ม ‘โชติธมฺโม’ ๑๓๘ ปกิณกะ พระครูภาวนาพิลาศ ๑๔๖


สารบัญ ฉบับที่ ๒๕ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๓

www.watkhaowong.com

ภาพ: ดอกจิกร่วงเรียงรายเต็มพื้นลานวัดเขาวง




บัดนี้ก็ถึงเวลาต้องทำ�งานที่เคยคิดว่า เรา รักที่สุด แต่ที่จริงยากที่สุดสำ�หรับตัวเรา... ตัวหลวงตาเอง คือต้องเขียนต้นฉบับ ‘เสียงจากถ้ำ�’ออกหนังสือแจกวันกฐิน

อีกแล้ว ก็อย่างที่บอกลูกหลานไว้ ว่าชีวิตหลวงตาเอง ไม่ มีสาระอะไรที่จะเขียนบันทึกไว้ในโลกหนังสือได้ ก็ได้แต่ อาราธนาอัญเชิญเรื่องราวของพระคุณครูบาอาจารย์ผู้มี ความดีจริงๆ ที่เห็นมารู้สึกมาได้จริงๆ มาเล่าสู่กันฟัง โดยลำ�ดับมา.. มาถึงตอนนี้ก็หมดปัญญาจะเขียนคล่อง ใจสบายมือได้อีก ต่อมาก็เลี่ยงมาเขียน เรื่องราวในบ้าน ใหญ่คือวัดท่าซุง เล่าสู่กันฟังจนหมดเรื่องที่เกี่ยวข้อง แล้ว จะเขียนต่อไปก็เกรงจะผิดพลาดเกิดโทษแก่ตัว หลวงตาเองเสียเปล่า ได้แต่ทรงจำ�เป็นอนุสติที่มั่นคง


ต่อบ้านที่หลวงตาเกิดมาในทางธรรม.. ต่อไปนี้ก็จะ พยายามเล่าถึงการออกจากบ้านใหญ่ มาสู่โลกภายนอก บนเส้นทางพระโยคาวจรจริงๆ เสียที ลูกหลานเอ๋ย.. ลูกเอย.. เมื่อออกจากบ้านวัดท่าซุงมาในปี ๒๕๓๗ ตั้งใจว่าจะมาในเดือน ธันวาคม ๒๕๓๖ แต่ เหมือนพระคุณอาจารย์อนันต์จะทราบดีถึงชะตาวิบาก กรรมที่หลวงตาต้องออกมาเผชิญข้างนอก จึงได้เมตตา


10

ประทานโอกาสกุศลวิเศษสุดให้ โดยออกปากว่า “เออนี่! วัชรชัย ปลายธันวานี่วัดเราจัดอยู่ธุดงค์ เป็นปีแรก อยู่ช่วยกันสอนมโนมยิทธิเต็มกำ�ลังให้ญาติ โยมก่อน ค่อยไปนะ..” ยังจำ�น้ำ�เสียงและสีหน้าอันนุ่มนวลอบอุ่นของ ท่านผู้เป็นทั้งพี่และพระอาจารย์คู่สวดของหลวงตาได้ จึงได้รับคำ�รับพรนั้น รับใช้งานสอนธรรมเป็นมงคลติด ตัวติดใจออกมาอยู่ที่สระบุรี มาอยู่ที่ศูนย์พุทธศรัทธา อ.บ้านหมอ ประมาณ ๑๐ เดือน ได้เพิ่มพูลบุญกุศลและ ประสพการณ์ชีวิตนอกบ้านที่มีค่ามหาศาลได้รู้ชัดเจน จริงๆ ว่าชีวิตการสร้างวัดและนำ�บริวารทำ�นุบำ�รุงพระ พุทธศาสนานั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างแน่นอน ที่จริงแล้ว ชีวิตคนเรา ไม่ว่าพระหรือฆราวาส… หากยึดมั่นคำ�สอน ครูบาอาจารย์และยืนหยัดอยู่ ปฏิบัติอยู่ ตามคำ�ท่าน… ก็จะมีแต่สิ่งที่ดีงามธรรมสมบัติเท่านั้น ที่เราพบเห็นเป็น สิ่งเตือนใจให้รู้แน่ชัดว่า โลกมีแต่ความทุกข์ เป็นโลก ของกิเลสที่มีโทษแสนสาหัส และรู้ชัดว่า เราเองยังไม่ดี พอเพียงตามที่เราคิดเอาเองว่าดีแล้ว ยังต้องฝึกฝนสติ


11

อยู่กับพระธรรมต่อไปจนลมหายใจสุดท้าย ในช่วงเวลาที่ศูนย์พุทธศรัทธา ได้ไปกราบหลวง ปู่วัดสามพระยา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) โดยมี จ.ส.ต ปัญญา อ่องคล้าย และ คุณบังเอิญศรีภรรยา เป็นผู้พาเข้าพบ.. ก็ยังจำ�สีหน้าที่ แกล้งดุแต่ใจดีที่สุดนั้นได้.. ได้กราบ เรียนถามแบบโง่ๆ ว่าที่หลวงตาออก จากบ้านใหญ่มาอยู่สระบุรีนี้ ควร ไหม? ท่านหยิบพลูใส่ปาก เคี้ยวตามหมาก ค่อยๆพูดว่า “ก็ควรแล้ว.. ออก มาช่วยกันเผยแผ่ คำ�สอน ของ ครูบาอาจารย์ ให้แพร่หลาย” สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺทโร)


12

หลวงปู่มองหน้า แล้วเน้นชัดว่า “สอนมโนมยิทธิต่อไป.. เป็นกำ�ลังช่วยให้สติมี กำ�ลังใหญ่ หมดความสงสัยในกฎของกรรมได้ พยายาม ทำ�เอง พยายามสอนคนอื่นไปจนตลอดชีวิต กว่าครู อาจารย์จะรวบรวมคำ�สอนนี้มาได้ ก็ยากลำ�บากมาก มนุษย์ทั้งหลายเขาก็อยากเรียนอยากปฏิบัติกัน แต่หาที่ เรียนหาคนสอนไม่ได้ อย่าไปเปลี่ยนแปลงของท่าน อย่า สงสัยลังเล อะไรเลย..” แล้วหลวงปู่ก็คุยเรื่องการบำ�เพ็ญสาธารณประโยชน์ แจกของแก่ประชาชนในชีวิตของท่านเอง พร้อม กับ แนะนำ�หลักการทำ�งานสาธารณสงเคราะห์ให้ได้ผลดี จริงๆ.. ซึ่งหลวงตาได้จดจำ�และนำ�มาปฏิบัติตลอดมา คำ�ถามสุดท้ายและคำ�ตอบสุดท้ายที่หลวงตามีวาสนาได้ มาก็คือ “ผมจะมาหาหลวงปู่อีกได้ใหม?” “ก็ไม่เห็นจะเป็นไร” ลูกหลานเอย หลังจากพระคุณพ่อ (หลวงพ่อฤาษี) มรณภาพไม่นาน เจ้าประคุณหลวงปู่วัดสามพระยาก็


มนุษย์ทั้งหลาย เขาก็อยากเรียน อยากปฏิบัติกัน แต่หาที่เรียน หาคนสอนไม่ได้ มรณภาพ ทิ้งร่างกายอันทรงคุณประโยชน์ต่อพระพุทธ ศาสนาและศิษยานุศิษย์ไว้ในโลก ดวงจิตอันบริสุทธิ์พ้น วิเศษของเจ้าประคุณหลวงปู่ พ้นแล้วจากร่างนั้น… จาก โลกนี้ไปสถิตอยู่ในภาวะที่ท่านปรารถนาอันเป็นบรมสุข ก็จ่าปัญญาและคุณบังเอิญอีกนั่นแหละ! ที่มา บอกข่าวมรณภาพ และพาไปกราบร่างของพระดีที่กุฎิ เดิมที่เคยไปพบท่าน ..ร่างนั้นยังนอนอยู่บนเตียงคลุมผ้า แค่อก เผยใบหน้าซึ่งอิ่มเอิบผ่องใส.. อิ่มเอิบเป็นพิเศษ ไม่เหมือนหน้าคนตาย แต่ผ่องใส ยิ้มแบบผู้ชนะแล้ว เหมือนจะถามหลวงตาว่า “ปู่ชนะแล้ว..ปู่ไปแล้ว..” “ตัวเธอเล่า …ชนะหรือยัง..”


14

เจ้าประคุณปู่ของเกล้ากระผม แม้จะพบกันเพียง ครั้งเดียว ชั่วโมงเดียวขณะมีชิวิตอยู่ แต่หลวงปู่ก็เหมือน ปู่ที่ดูแลลูกหลานมานับร้อยปี.. กระผมยังตอบปู่ไม่ได้.. แต่กระผมตอบตัวเองได้เสมอว่า ปู่ไม่เคยห่างกระผม และกระผมก็ไม่เคยห่างปู่เลยจนบัดนี้ ปู่ครับ! เมื่อสองปีก่อน กระผมได้ไปที่วัด สามพระยา ไปสอบอุปัชฌาย์ รุ่น ๔๔ เห็นปู่นั่งแข็งแรง เป็นประธานห้องประชุมใหญ่ เห็นเจ้าประคุณสมเด็จทั้ง ๔ เจ้าคณะหน กราบปู่.. กระผมปลาบปลื้มอิ่มอยู่ในใจ ที่เจ้าประคุณทั้งหลายบอกว่า ปู่เป็นปรมาจารย์แห่ง อุปัชฌาย์ในสังฆมณฑล กระผมจะเป็นอุปัชฌาย์ที่ดี เป็น ครูที่ดีตามที่ปู่เคยสั่งสอน ทุกครั้งที่ผมเป็นอุปัชฌาย์ ปู่ โปรดมาประทับคุมทำ�งานบวชด้วย ผมได้กราบปู่… ปู่ที่ เป็นรูปหล่อที่จะไม่ป่วยอีกต่อไป..กราบใจปู่ที่จะไม่ตาย อีกต่อไป.. ปู่จำ�ผมได้นะครับ! กระผมพระอุปัชฌาย์ ตราตั้งที่ ๒๕/๒๕๕๓ รุ่น ๔๔ ลูกหลานเอย… หลวงตาอ้อนหลวงปู่สามพระยา เสร็จแล้ว ก็เล่าต่อ..หลวงตามาอยู่พุทธศรัทธาได้ ๑๐


15

เดือน ก็ย้ายมาอยู่วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) ในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่า ศูนย์พุทธศรัทธามีพื้นที่ไม่ครบ ๖ ไร่ ขยาย ต่อก็ไม่ได้ เพราะติดบ้านประชาชน มาชื้อที่คนละฝั่ง ถนนก็อยู่คนละตำ�บลการปกครองคณะสงฆ์ คือตำ�บล บ้านหมอกับตำ�บลสร่างโศก และคณะญาติโยมที่นิมนต์ มาอยู่ก็ไม่อยากสร้างเป็นวัด อยากให้เป็นสำ�นักปฏิบัติ ธรรมต่อไป หลวงตาจึงได้ย้ายมาอยู่ที่วัดเขาวง เป็นเวลา ๑๖ ปีแล้ว

งเมื่อปี ๒๕๓๗

บริเวณหน้าสำ�นักงานกลา


16

ที่จริงนะลูก.. พระผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ก็ไม่ได้ ต้องการให้หลวงตามาอยู่ที่บ้านหมอ ต้องการให้มาอยู่ วัดเขาวงแต่แรกออกจากวัดท่าซุง คือเจ้าคุณพระธรรม สิทธินายก (ธงชัย สุขญาโณ) ผูช้ ว่ ยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ผู้ เ ป็ น อุ ปั ฎ ฐากและเลขานุ ก ารส่ ว นตั ว ของหลวงพ่ อ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกีย่ ว อุปเสโณ) ประธานผูป้ ฏิบตั ิ หน้าที่สมเด็จพระสังฆราช.. ท่านเป็นคนเขาวง บวชเณร ที่วัดเขาวง ตระกูลของท่านเป็นคนเขาวง บูรณะวัด เขาวงมาโดยตลอด เมื่อเจ้าอาวาสวัดเขาวงองค์ก่อน ลาสิกขา ท่านเจ้าคุณก็ให้หลวงตาย้ายเข้าวัดเขาวงดำ�รง ตำ�แหน่งเจ้าอาวาส ทำ�การพัฒนาวัดมาจนปัจจุบันนี้ โดยท่านเจ้าคุณธรรมสิทธินายกคอยดูแลใกล้ชิด และ หลวงพ่อสมเด็จก็โปรดเมตตาอยู่เสมอมา.. ลูกหลานเอ๋ย..ที่หลวงตาเล่าให้ฟังนี้ ไม่ใช่อวด ความดีความสามารถตัวเอง แต่จะบอกลูกหลานคือจะ เขียนเล่าต่อไปข้างหน้า… ว่าที่หลวงตายังยืนอยู่ได้ทุกวัน นี้ก็เพราะพระคุณความดีของพระพุทธศาสนา พระคุณ ความดีของครูบาอาจารย์ คือ หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค


ที่หลวงตายังยืนอยู่ได้ทุกวันนี้ ก็เพราะพระคุณความดี ของพระพุทธศาสนา พระคุณความดีของครูบาอาจารย์

ปัจจุบัน

สำ�นักงานกลางสมัย


18

หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ผู้เป็นพ่อในทางธรรม พระคุณ อุปัชฌาย์คือพระครูอุทัยธรรมโกศลผู้ล่วงลับ พระคุณ อาจารย์คู่สวดคือท่านพระครูปลัดอนันต์ พุทธญาโณ พระครูสมุห์พิชิต ฐิตวีโร แห่งวัดท่าซุง และพระผู้ใหญ่ ผู้ทรงพระคุณตามที่ได้เล่ามาทั้งหมดนั้น และที่สำ�คัญก็คือ... น้ำ�ใจศรัทธาของลูกหลาน ญาติโยมที่เมตตาสงเคราะห์ และให้กำ�ลังใจหลวงตา ตลอดมาถึงทุกวันนี้ หากหลวงตาจะมีความดีอยู่บ้างก็ คือพลังที่หล่อหลอมมาจากความดีทั้งหลายดังกล่าวมา อันเป็นสรณะเป็นบุญญาบารมีที่จะคุ้มกาย คุ้มใจหลวงตาต่อไปจนสิ้นชีวิต.. หลวงตาง่วงนอนแล้วเขียนไม่ไหวแล้ว จบแค่นี้ก่อน.



ภาษาไทยที่ท่านจะได้อ่านจาก‘พูดตามพ่อสอน’ ฉบับนี้ เป็นถ้อยคำ�ที่ถอดจากการพูดตอบปัญหาและการสนทนาในงานประจำ�วันจริงๆ โปรดทราบว่าเป็นการพูด เฉพาะกิจ เฉพาะกาลเวลา และเฉพาะอารมณ์ของบุคคล ซึ่งอาจไม่ถูกใจท่านก็ได้ เราถอดเทปพิมพ์ไว้ อ่านแล้วเห็นว่าฟังง่ายสบายใจ ก็ลองนำ�เสนอแบ่งกันอ่าน... ตัวผู้พูดคือ ‘หลวงตา’ ท่านปรารภว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นละเอียดอ่อนบริสุทธิ์มหาศาล ทรงเลือกสรรเพียงน้อยนิดมาสอน พระสาวกองค์ใดดื่มด่ำ�สิ้นสงสัย ก็พยายามใช้ภาษามนุษย์พูดออกมาได้เพียงหนึ่งในหมื่นพันที่กินใจอิ่มเอิบ หลวงตาท่านฟังจากหลวงพ่อครูบาอาจารย์ แล้วทรงไว้ได้เพียงหนึ่งในล้าน ที่พ่อปรารถนาจะให้เข้าถึง ต่อไปนี้จะเป็นภาษามนุษย์ ที่พยายามบรรยายถ่ายทอดรสชาติที่ผ่านมาในใจ ของหลวงตา ท่านว่าจะได้สักกี่ส่วน จะเกิดประโยชน์สักกี่สัด ก็ทำ�ได้สุดความสามารถสุดวาสนา.. แล้วแต่ผู้ฟัง ผู้อ่านจะพิจารณาเอาเองเถิด.


21

พระครูภาวนาพิลาศ (๒๕ ตุลาคม ๕๐) นั่งสบายๆ ที่จะถามรวมอยู่ในที่กำ�ลังจะพูดนี่แหละคือ ระหว่างที่อยู่ปริวาสกรรม ก็ถือโอกาสรวบรวมความผิดพลาด การใช้อารมณ์ผิดถูกมาแต่อดีต ที่ถูกก็ไม่ทรงตัวกัน เราจะเอา อะไรเป็นเครื่องวัดผลของการปฎิบัติดี ว่าจะถูกต้องในปัจจุบัน ผลสูงสุดจะอยู่ตรงไหน? ทีนี้ถ้าหากว่าเราจะเอาฌานสมาบัติเป็นเครื่องวัด เช่น ได้ธรรมปีติ โยกตัวโยกซ้าย ๕ ที ขวา ๕ ที หกคะเมน ๙ ที ตัวลอย ๓ ฟุต อะไรก็ตาม.. สิ่งเหล่านั้นเอาเป็นเครื่องวัดไม่ได้ เพราะ ก่อนที่เราจะเกิดเราเป็นพรหมเทวดามามันเลยปีติ เลยอะไร ไปอีก ทรงฌานอยู่เป็นร้อยๆ ล้านปีนั้นน่ะ ทิพย์สมบัตินั่นน่ะ ทำ�ไมร่วงลงมาเป็นมนุษย์เป็นสัตว์เดรัจฉานกันล่ะ? เพราะหมด กำ�ลัง.. เพราะฉะนั้นเป็นตัววัดถาวรไม่ได้


22 เพราะฉะนั้นอารมณ์ธรรมะ ที่จะถามที่จะคุยกันว่า ทำ�ไมฌานโน้นเป็นอย่างโน้น? ฌานนี้เป็นอย่างนี้? เห็นเทวดา ยอดแหลมยอดปู้น อย่างไรก็ช่างเหอะ ท่านเป็นพ่อเป็นแม่ยังไง ก็ช่างเถอะ เป็นของจริง!! เป็นของบริสุทธิ์ ด้วยความเมตตาปรานี ต่อกรรมต่อหน้าที่ แต่นั่นเอาเป็นเครื่องวัดไม่ได้!! ถ้าเอาเป็น เครื่องวัดได้เป็นเครื่องถาวร จะลงมาเกิดทำ�ไม? ก็เป็นเทวดา หรือไปนิพพานเสียเลยไม่ดีกว่าเหรอ? บางคนเคยได้สมาบัติ ๘ ด้วยซ้ำ�ไป ได้ฌาน ๔ ได้ อภิญญา ๕ เหาะได้ทั้งตัว ก็ตกนรกอย่างเจ้าประคุณเทวทัต ก็มี.. แล้วค้างลงมา.. พลาดพระพุทธเจ้ามากี่องค์ก็มี.. เพราะ ว่าตัวเองเอาฌานเป็นเครื่องวัด อิ่มใจในฌานสมาบัติและความ เป็นทิพย์เป็นเครื่องวัด.. ยังไม่ใช่พระโสดาบัน!! ก็ไปเสวย แค่เป็นพรหมชั้นโน้น ชั้นนี้ๆๆ แต่ยังไม่ใช่พรหมอริยะ ไม่ใช่ เทวดาอริยะ เมื่อหมดกำ�ลังขัยของบุญตรงนั้น ถ้าหากเศษของ กรรมยังเหลือยังไม่ใช่พระโสดาบัน ย่อมจะมีการปรามาสศีลอยู่ เป็นธรรมดาในอดีต ถ้าศีลไม่ปรามาสเลยก็คือ พระโสดาบัน ถ้าหากยังไม่ใช่พระโสดาบันกรรมปรามาสศีลย่อมมี อยู่ กรรมไม่เคารพพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ โดยจริงใจยัง มีอยู่ กรรมที่ประมาทไม่นึกถึงความตาย อันไม่เข้าถึงแก่นของ ความตายยังมีอยู่ จะต้องลงมาเสวยกรรมปรามาสธรรมอันนั้น


23 คือตกนรกขึ้นมาเป็นมนุษย์เป็นสัตว์เดรัจฉานขึ้นมา จนกว่าเจอ พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์พูดให้เอาฌานสมบัติเดิม กำ�ลัง ฌานเดิม มาทำ�ให้นึกถึงความตาย.. นึกถึงศีลให้บริสุทธิ์.. จน กระทั่งมันมั่นใจเด็ดขาด ขนลุกชูชัน “เข้าถึงความตายนี่มัน เป็นสุขอย่างนี้เองหนอ” นั่นน่ะถึงจะได้พระโสดาบัน พอเข้าถึง พระโสดาบันนั่นจึงจะเป็นยอดธงของการปฏิบัติธรรม ธงแรก นะ มีอยู่ ๔ ชั้นน่ะธง โสดา.. สกิทาคา.. อนาคา.. อรหันต์ ธงชั้นเลิศเลย.. แต่ถ้าไม่ถึงธงอันแรกนี่ยังวนแน่นอน เพราะฉะนั้นที่ จะถามกันที่คุยกัน บางคนก็ถามนาน บางคนก็ถามน้อย แต่ ถามอย่างเดียวก็คือว่า ที่ตัวสั่นตัวคลอนเป็นยังไงจ๊ะ? น้ำ�ตา ไหลเป็นยังไงจุ๊? ตัวยืดพองหน้าตาเห่อ บางทีก็มีแสงวิ่งเข้ามา ในหูในตา เป็นยังไง? บางทีก็เห็นพรหมเทวดามาอยู่ด้วยเป็น ครึ่งคืนเป็นยังไง? ก็จะเป็นยังไง ก็เป็นอย่างที่เราเห็น แต่มันไม่ ทรงตัว ให้รู้ว่าในขณะที่เกิดนิมิตที่ดีน่ะ จิตเราเผอิญลงร่อง มีอุปจารสมาธิเป็นต้นไปถึงปฐมฌาน ไปถึงฌาน ๔ พอไปถึง ฌาน ๔ นี่สัมผัสอะไรไม่ได้หรอก เขาทรงของเขา ต้องใจต้อง ลดลงมาถึงระหว่างปฐมฌานกับอุปจารสมาธิ ถึงจะเห็นแสง.. เห็นสัมผัส.. ได้นิมิต.. ครูบาอาจารย์พ่อแม่แต่เดิมมาพูดให้ฟัง


24 เข้ามาในใจ.. จึงจะตีนิมิตเป็นธรรมะได้ จิตต้องต่ำ�กว่าปฐมฌาน จึงจะรับกระแสธรรมได้ นอกจากกำ�ลังเจริญฌานอยู่ เจริญ วิปัสสนาญาณอยู่ เจริญอารมณ์คิดอยู่ จิตเป็นอุปจารสมาธิ นิวรณ์ไม่เข้า พอตีไปถึงปฐมฌานก็หนักแน่นยิ่งขึ้นพอเลยปฐมฌานไปปั๊บ! อารมณ์คิดเขาตกลงไป เหลือแต่คิดได้แค่ไหน ก็ ทรงอารมณ์ให้ผ่องใสขึ้นไป ตอนนี้อารมณ์คิดตัด.. ตอนนี้ อารมณ์ต่างๆ จะเข้ามาไม่ได้นอกจากใจเรากับธรรมะ ที่ถามกันที่พูดกันเป็นเรื่องก่อนถึงปฐมฌานทั้งนั้น.. ถึงปฐมฌาน ฌาน ๒ ไปแล้วไม่มีใครเขาจำ�อะไรได้นอกจาก เป็นสุข เป็นอุเบกขาเฉย.. เข้าไป จะเอาอะไรมาถามล่ะ? เขา ก็ถนอมของเขา พอเขาออกมาปั๊บ! แทนที่จะถาม เขาบอก.. “โอ้โหจำ�ได้แล้วหนอ! พุทโธ แล้วต่อด้วยความตาย แล้วแผ่เมตตา พุทโธ ๒ คำ� มันนิ่ง.. มันเป็นสุขเหลือเกิน โอ๊.. เจ้าประคุณขอลาแล้ว” ไม่ลืมหูลืมตา ลากลับไปทำ�อย่างเก่าที่ หน้าศาล.. ไปเดินจงกรม.. ไปห้อง.. ไปทวนเหตุเดิมเพื่อให้ผล เดิมเกิด ไม่ใช่ว่าได้ผลเดิมแล้วออกจากเหตุ “หลวงตา.. หนูจะ ถามอย่างโน้น.. อย่างนี้” ไปละเหตุเดิม มีเสื้อเกราะแก้วอยู่ แล้ว เกราะเพชรอยู่แล้ว “โอ้โห..อุ่นจังๆ” อยู่ในเกราะนี้แล้ว มันไม่อยากถาม มันเข้าถึงผลแล้ว ผลของฌาน ไม่มีใครเขาบ้า


25 ถามหรอก นอกจากจะสัมผัสเกราะ ดูคนอื่น อ๋อ..เขาขัดอย่างนี้ ก็ขัดบ้าง ไม่มีใครเขาถาม ไม่มีใครเขาพูด ถ้าพูดก็หมายความว่า ถอดฌาน ถอดเกราะออก แล้วอยากจะอวดหรือไม่อยากจะ อวดก็สงสัย มันก็เป็นก่อนถึงอุปจารฯ ใช่ไหมเล่า? เออ!..ตัว นิวรณ์อยู่แล้วนี่ ก็ถอดเกราะแก้วออก ก็มีแต่ของอากาศแท้ๆ ฝุ่นแท้ๆ เอามาถาม นั่นแหละลูก ไม่ได้ว่ากันแต่จะบอกให้ฟังว่า ผลของ การปฏิบัติถ้าจะถามกันจริงแล้ว ฌานสมาบัตินี่ไม่ทรงตัวลูก ก่อนจะตายเราได้ฌาน ๔ อภิญญา ๕ แล้วก็ได้สมาบัติ เข้าไปในฌานสมาบัติตายในฌาน เก่งเนาะ เป็นพรหม ๘๐๐ ล้านปีแสง..เอ้า พอหมดอายุก็ลงมาอีก ไม่ใช่พระโสดาบัน ตัว นั้นวัดไม่ได้...วัดไม่ได้ พอเราเลิกทำ�เหตุ.. ผลก็เลิกทำ�.. เหมือนกับที่หลวงตาบอก ที่ยกตัวอย่างไง (วันหลังหา ร่มมาให้คันหนึ่ง) เนี่ย! ร้อนๆ อยู่ แล้วก็กางร่มแจ๊ะขึ้นไป โอ๊.. เย็นจังเลยๆ ถ้าอยากเย็นก็ทรงการกางร่มเข้าไว้ ถือเหตุคือ ถือด้ามร่มไว้ ถ้าไปหุบร่ม โอ๊ย..ทำ�ไมร้อนหลวงตา? ก็มึงเสือก หุบร่ม เลิกเจริญเหตุ.. ผลก็หายไป.. แล้วจะมาถามว่า “เอ๊ะ!.. หายไปยังไง? ทำ�ไมไม่กลับมาอีก?” ก็มึงไปหุบร่ม ก็บอกให้ กลับไปกางร่มใหม่ “ไม่เอา..อยากจะลองอย่างอาจารย์โน้น อาจารย์นี้บ้าง” ก็ไปลองกับเขาสิ มึงมาถามกูทำ�ไม..?


26 แต่ไม่ได้กีดกันนะ แต่จะเล่าให้ฟังว่า ถ้าใครประกอบ เหตุอะไรใจเยือกเย็นเป็นสุข ให้จำ�เหตุนั้นไว้แล้วเจริญธรรมนั้น เจริญเหตุนั้น จนกว่าจะตาย หรือจนกว่าจะเจอเหตุใหม่ซึ่ง ประณี ต กว่ า ..บริ สุ ท ธิ์ ก ว่ า ..ถ้ า ยั ง ไม่ เจอเหตุ ที่ ป ระณี ต กว่ า บริสุทธิ์กว่าให้ทำ�จนตาย ก่อนตายใน ๗ วัน จะต้องได้รู้ผล มันอิ่มแล้วจึงเปลี่ยนอารมณ์ ตอนนั้นจะมีท่านมาบอก.. มี อารมณ์ธรรมะในใจมาบอก.. ควรจะเป็นยังไง ถ้าบอกแล้วยังไม่ แน่ใจ เสียดายอารมณ์นี่ ก็อยากได้อารมณ์นั่น เหมือนกับนั่ง อยู่ตรงนี้กางร่มอันนี้อยู่ ลองนั่งอยู่ ลองเอาหัวไปอยู่ใต้ร่มไม้ เอ้า..เย็นดี นี่ก็เย็นดี.. ยังลังเลอย่างนี้ ไม่รู้จะเอาเหตุอะไร ตอนนี้จะมีครูบาอาจารย์มาบอกในกรรมฐาน ถ้าเราลังเลว่า บอก อันนี้กลัวจะพลาด กลัวจะคิดเอาเอง จะมีเหตุให้ไปเจอ ครูบาอาจารย์หรือมีคนมาคุยด้วย ยืนยันเห็นด้วย ไม่ต้องถาม ถ้าถามอาจจะจัญไร พอถามเขาก็เอาตำ�ราตอบ มันก็ตรงใจ อยู่แล้ว มันต้องพูดโดยไม่ต้องถาม เป็นการยันกัน ใช่มั้ย? นอก จากเขาไม่อยากจะพูด เขาก็ถาม “เอ้า!..มีอะไรมั้ยๆ ?” เอาเฉพาะสิ่งที่เราทำ�แล้วมันชนไม่รู้จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยว ขวานะ ไม่ใช่ไปเอา “หลวงตา..หนูอ่านหนังสือมา เนี่ยๆ..หลวง แม่ หลวงป้า หลวงพ่อองค์นั้นท่านทำ�อย่างนี้..เนี้ยะ! ท่านทำ�ตั้ง ๑๘ พรรษา ๑๘ ชั่วโมงนะ แล้วก็ทำ�อย่างโน้น..อย่างนี้ ท่านก็


27 คิดถึงพ่อแม่ท่าน ท่านอยากตาย ท่านก็ตายไม่ได้” เล่าอยู่ ๔๕ นาที ถาม..แล้วโยมจะเอาอะไร? “หนูจะถามว่า มันเป็นยังไง?” กูจะไปรู้เรอะมึงบ้าพล่ามมาตั้ง ๔๕ นาที แล้ว มึงมาถามสรุป ยอดมันจะเป็นยังไง? มึงก็บ้านะซิ มึงก็ฟุ้งนะซิ ถ้าจะตอบไม่ เกรงใจมันต้องเป็นอย่างนั้น ถ้าหากเขาถามว่ามีอะไรมั้ย? ก็ต้องเอาอารมณ์ที่ตัว เองทำ�ดีมาแล้ว มันชนเพดานเนาะไม่รู้เอาซ้ายหรือขวาดี มัน เห็นช่องอยู่ ๒ ช่อง ก็ไม่กล้าพลาด แล้วเขาจะไม่ลดเหตุลงมา เขาจะทรงเหตุนั้นไว้ จะดู “จะเอาซ้ายหรือเอาขวาดี” นั่นน่ะ ต้องการครูแล้ว ถ้าละเหตุแล้วมาบอก “หายไปหมดแล้ว” มึง ไปหาเอาเอง (หัวเราะ) เออ..ถ้าถามต้องเอาสิ่งที่ตัวเข้าถึง แล้วแต่จะเข้าถึงฝั่ง ไม่รู้เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวานะ กลัวจะเสียผล กลัวจะลืมเหตุ เนี่ย.. เขาจะตอบได้ ถ้าไปเอาสมมติมา เขาตอบไม่ได้หรอก.. ตอบ ไม่ได้.. ของปีที่แล้วก็ตอบไม่ได้ ธรรมะมันเหมือนอย่างนี้โยม.. สมมติใจพระ.. ใจหลวงตานี่.. ทีแรกกระดำ�กระด่างอย่างนี้นะ หนูน้อยนะพอขัดไปๆ มันก็ใสเนาะ พอใสเขาก็ดูความใสตัวเอง เขาไม่ได้ดูคนอื่นหรอก “ใสจริงน้อ..สักกายทิฐิก็ไม่มี วิจิกิจฉาก็ น้อยไป สีลพตปรามาสก็น้อยไป กามราคะ..อุ๊ย! ยังมีๆ โกรธยัง มีๆ” เขาจะดูใจเขาในความผ่องใสอันนี้


28 แล้วเขาจะไม่ส่อง.. “นั่นมันเป็นยังไงวะ? เป็นเมียกู หรือเปล่า? เป็นหมาด้วยหรือเปล่า? เอ๊ะ..มันมีราคะ โทสะ โมหะด้วยหรือเปล่า?” ไม่มีประโยชน์! ไม่มีใครเขาบ้าอย่างนั้น หรอกนอกจากจะจบกิจแล้วเป็นครูบาอาจารย์คน เขาก็เฉยๆ ให้คนมันมานั่งตรงหน้า แล้วมันเริ่มถาม เงามันปรากฏเป็นยังไง เขาจะตอบไปตามเงาตรงนี้ เขาไม่.. “เอ๊ย..เมื่อคืนตี ๒ ๑๕ นาที ๑๘ วินาทีไก่ขัน เอ้ก อี่ เอ้ก เอ้ก พอเอ้ก! มึงตดเลยลูกเอ๊ย” เขาก็รู้อดีตมึง ขนาดนั้นมันมีประโยชน์ให้กิเลสมึงมันหมดหรือเปล่า? ใครเขา จะบ้าไปพยากรณ์เรื่องมึงตดตอนไก่ขัน ถึงของสุภาพกว่านั้น “ลุกขึ้นมาล้างหน้าใช่มั้ย? ขันตกลงไป ก้มลงไปเห็นเทวดา โผล่ มาทางหน้าต่าง ค่อยๆ หยิบนะจ๊ะ พุทโธด้วย” ก็มาทวนให้ เราฟัง หรือว่าครูบาอาจารย์บอก “ตี ๒ ๑๕ นาที มึง ตื่นใช่มั้ย? ขันตกใช่มั้ย? ก้มไปเห็นเทวดามาพูดอย่างนี้” “โอ้โห..หลวงปู่เก่งเหลือเกินรู้ใจทุกอย่างเป็นที่พึ่งของ หนูด้วย” ถามว่าถ้าเป็นอย่างนี้ เป็นที่พึ่งให้มึงยังไง? เขาทาย ในสิ่งที่มึงก็รู้น่ะ แล้วมึงก็รู้ดีตอนก้มน่ะมึงปวดหลัง หลวงปู่ไม่รู้ ว่ามึงปวดระดับไหนอ่ะ ทิพจักขุญาณซึ่งพูดความจริงซึ่งมึงก็รู้ อยู่กันนะลูก แล้วมันช่วยเราตรงไหน ช่วยให้เราบ้าขึ้นมา “อู้หู..


29 กู ได้ครูบาอาจารย์แล้ว” ก็ไปติดก็ไปจ้องเขานะ ไม่อยู่กับผัว กับเมีย.. มีผัวก็ทิ้งผัว มีเมียก็ทิ้งเมีย มีหน้าที่ก็ทิ้งหน้าที่ ไป จ้อง.. “เมื่อคืนแกล้งทำ�ขันตก วันนี้เสือกไม่ทาย” ก็โกรธเขาอีก มันไม่มีสาระ ทีนี้ครูบาอาจารย์ที่ท่านขัดใจตัวเอง ดู..ขัดแล้วขัดอีก ทำ�งานทำ�การก็ทำ�ของท่านไป พอว่างก็ขัดใจ ภาวนาไป.. ทำ�งาน ทำ�การ ก็ทำ�ด้วยใจที่ผ่องใสไป.. ถ้าคนจะถามปัญหามาอยู่ตรง หน้าด้วยความเคารพในธรรมของตัวเองนี่ ไอ้หนูขนาดควาย มาอยู่หน้ากระจกเนี่ย เจ้าของกระจกยังเห็นเงาควายใช่มั้ยลูก? ถูกมั้ย? รู้เขารู้หางใช่มั้ย? แล้วใจของพระอริยะ (ไม่ใช่หลวงตา) ใจของพระคุณครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านผ่องใสยิ่งกว่า กระจก แล้วเราฉลาดยิ่งกว่าควายอีกใช่มั้ย? มาอยู่ ทำ�ไมจะไม่รู้ เหตุผลที่เขาจะพูดตามเงาที่เกิดขึ้นนี่ แต่ว่าเราไม่เอาเงาของเรา พอเรามานั่งปั๊บ! “หลวงตา! นี่นะ เมื่อหลายเดือนก่อนหนูไป ตรงนี้ตรงโน้น” ก็ไปอ่านอะไรมาบังใจตัวเองไว้เนี่ย เขาจะบอก ไม่ใช่เรื่องของกู มึงจะไปบ้าที่ไหนก็ไปบ้าเอาเอง เอาอุปทาน ออกเอง แล้วเอาใจมาพูดกัน อืม..เขาถึงจะช่วยได้ อย่างหลวงตาตอนบวชใหม่ๆ บ้ามากมาย บวชแล้วทำ� กรรมฐานนะคุณนะ ถ้าเราได้ทิพจักขุญาณนะ ได้มโนมยิทธิเต็ม กำ�ลังนะ เราจะเพ่งไปเลยวันนี้ใครจะมาบ้าง จะดูตั้งแต่มันออก


30 จากบ้านเลย จะให้เห็นจั๋งหนังเลยนะ มันจะใส่เสื้อเขียวแล้ว เปลี่ยนใจเป็นสีเหลือง เดี๋ยวกูจะทายให้ ทำ�ไมเปลี่ยนเป็นสี เหลือง? หลบหมาเกือบจะชนเสาไฟฟ้าใจหายใจคว่ำ� ท่องพุทโธ แล้วก็กินกาแฟที่ร้านวันยังค่ำ�แล้วขึ้นมานี่ ถามจริงๆ เถอะลูก มันผ่องใสเหมือนทีวีเนี่ย แล้วมึงก็ไปบอก “นี่! จะนุ่งกางเกงใน สีเขียวทำ�ไมเปลี่ยนเป็นสีแดงนะโยม” มันอัศจรรย์ตรงไหน? มันรู้ของมันเอง... เพราะมันเกิดเยี่ยวรดอีตอนนั้นแล้วมันก็ เปลี่ยน มันเหม็นมัน ( ขอโทษนะ หลวงตาต้องพูดหยาบๆ ) ไปรู้ของซึ่งเขาก็รู้ของเขาอยู่ แล้วเอาอวดอุตริไปทายให้ เขาเลื่อมใส หวังอะไร? หวังให้เขาเป็นพระโสดาบันหรือเปล่า? ถ้าหวังให้เขาเป็นพระโสดาบันต้องอย่าหลงฌานสมาบัติ อย่า หลงความดี ต้องนึกถึงความตาย ต้องนึกถึงคุณพระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ ถ้าไม่อยากให้เขาเป็นพระอริยะ ต้องอยากได้ โลกธรรมให้เขาชม อยากผูกเขาไว้เป็นลูกศิษย์ อยากให้เขาเป็น หัวหน้ากฐิน.. อยากให้เขาเอาผ้าป่ามา.. หรือไม่เขาก็ถูกทิ้ง กำ�ลังทะเลาะกะผัวมันพอดี เลยมาอยู่กับกูเหอะ บ้า!! ไปขนาด นั้นน่ะ! หลวงตาเคยบ้าอยากได้ขนาดนั้นน่ะ แล้วก็โดนด่าหู ขาดเลยนะ หลวงพ่อท่านก็ด่าเอา หลวงพ่อท่านไม่ด่าหยาบคายเหมือนหลวงตาหรอกนะ นั่งๆ กรรมฐานออกจากกรรมฐานนี้ปั๊บ! เราคิดอยู่ตั้ง ๓-๔ คืน


31 มาแล้วเนี่ย อารมณ์มันก็ไม่หาย คอยจะคิด คิดว่านั่นก็ดีนะนี่ก็ดี ท่านก็บอก “เออ!..ไอ้บ้าเกินปัจจุบันหยุดกันเสียบ้างนะ ไอ้ที่จะ ไปรู้หรือเห็นเหตุการณ์ของคนอื่น แล้วไปทายเอาโลกธรรม กามคุณ ให้มันหยุดเสียก่อนจะตายไปลงอเวจีมหานรก หยุดซะ เลยๆ” แล้วก็ไม่มองหน้าใครด้วย เงียบ!ก้มหน้ากันพอหลวงพ่อ ไปแล้ว “โดนใครๆ?” อวดกันว่าโดน..วันนี้โดน โอ้โหคิดมา หลายวันเลย ดีแล้ว สาธุ หยุดเลย ท่านจะด่าท่านจะทาย ไม่ใช่ ทายว่า “เออ!..มึงคิดยังงี้ๆ ใช่มั้ย?” ไม่ใช่! ท่านจะทายๆ เพื่อจะ ตัดเหตุที่เราจะประกอบกรรมเลวอันนั้น ที่จะเกาะใจเรา แล้ว ท่านก็ไม่ได้ช่วยเราอย่างนั้นตลอด เราต้องกลับมาแก้อารมณ์ ตัวเอง พูดเสียยาว จะบอกว่าผลของการปฏิบัติ ถ้าจะวัดก็ คือวัดว่า ขณะนี้ลมหายใจของเราสม่ำ�เสมอดีมั้ย? เพราะถ้าคน หายใจรวนๆ เป็นคนบ้า เป็นคนตาย ในชีวิตที่มีชีวิตอยู่มีค่าที่ สุดสำ�หรับใจเรา มีร่างกายนี้ร่างเดียวได้มาจากพ่อแม่อุตส่าห์ ให้มา เลี้ยงมาตั้งนานแสนนาน มีจมูก ๒ รู มีปอดสำ�หรับสูด ลมเข้าไปเลี้ยงร่างกาย แล้วสิ่งที่เป็นจังหวะที่สุด ที่มีระเบียบ ที่สุดคือลมหายใจเข้าออก ไม่นึกถึงกัน ไปนึกถึง “โอ้โห..ผมเปีย ยาวจังเนาะ” ไปโน่นเลย “ตูดงอนจังเนาะ หล่อจังนะ ดาราคนนี้ เสียงดี” ไปคิดถึงอะไรก็ไม่รู้ ลมหายใจอยู่กับจมูกกับใจนี่ ไม่


32 นึกถึง ถ้าจะทวนอารมณ์กรรมฐาน ถ้าจะวัดกรรมฐานให้ดูว่า ขณะนี้ กำ�ลังนึกถึงลมหายใจของตัวเองหรือเปล่า? นึกว่ารู้มั้ย สั้นหรือยาว? นึกก็ไม่นึก ยาวหรือสั้นก็ไม่รู้ ก็อึ่งอ่างนะสิ ไม่รู้ว่า ลมหายใจตัวเองสั้นหรือยาว ไม่ใช่คนน่ะสิ เออ!..มันต้องรู้ เมื่อรู้ แล้ว..แล้วมันเบาสบายมั้ย? ไม่เบาสบายมันอึดอัด แล้วอึดอัด เพราะว่าขณะที่นั่งหายใจอยู่น่ะ นั่งท่าไหน? โอ..ได้มอง เอ้า! นั่งพับเพียบ โอโห..ขัด ก็นั่งอยู่อย่างนี้ตั้งครึ่งชั่วโมง เวทนามัน เกิด มันก็ไม่สบาย ก็เปลี่ยนเสียสิ! เอาขวามาหนอ ซ้ายมาแล้วนะ อย่าโป๊นะ นั่งดีๆ แล้วก็ หายใจ ดีขึ้นมั้ย? ดีขึ้นนิดนึง มันหายเมื่อยแต่ยังอึดอัดอยู่ แล้ว ก็เขาบอกว่านอกจากรู้ลมหายใจเข้าออก แล้วยังรู้ว่าตัวเองนั่ง หรือ นอนหรือยืนอยู่ ท่านบอกว่าตั้งกายให้ตรงดำ�รงสติมั่น ทำ� หรือเปล่า? โอ..หลังงออยู่เป็นชั่วโมงก็ต้องยืดหลังขึ้นมาค่อยยัง ชั่ว ก็แก้กันได้ทันทีให้มันรู้ตามแบบของวิชาท่านสอน นั่งคู้ บัลลังก์ ตั้งกายตรงดำ�รงสติให้มั่น จับลมหายใจ รู้ตามความจริง ยาวก็รู้ว่ายาว สั้นก็รู้ว่าสั้น ..แค่นี้ไม่ทำ�กัน แล้วเอาสวรรค์ วิมานมาถาม ถามว่าไปถึงไหน? ไปหน้าคอกควาย ยังไม่พ้น ประตูคอกควายเลย เพราะลมหายใจยังไม่รู้ จะไปเอาเรื่องของ พรหมเทวดามาถามได้ยังไง? เออ..ลมหายใจรู้แล้วให้รู้ว่าเราแก่อายุเท่าไรแล้ว?


33 ๖๕ ปีแล้ว.. ๓๘ ปีแล้ว.. แล้วกิเลสยังสวมหัว ถ้าตาย วันรุ่งขึ้นเอาอะไรติดใจไปได้? ต้องถามตัวเองอย่างนี้ มันถึงจะ ของจริง!! จะไปบอกว่า “เอ๊ะ! ดิชั้นน่ะ พอเอ่ยถึง ร. ๕ นี่นะ ใจมันคิดรักท่านเหลือเกิน มันปีติมันเป็นสุข ทำ�ยังไงเจ้าคะ?” บอก..อีควาย! มึงยังไม่รู้มึงเกิดมา ๖๕ ปีมึงจะตายคืนนี้มึง จะไปนรกหรือสวรรค์ มึงจะข้ามไป ร. ๕ ย้อนไป ร. ๖ ยังไงได้ เขาเรียกถามแบบควาย รู้ว่า ๖๕ ปีแล้ว ศีลบริสุทธิ์มั้ย? เมื่อวานยังด่าอยู่เลย ข้อ ๑ ก็ไม่ได้ฆ่าใครนะ ปลาก็สั่งให้เขาทุบให้กิน เมื่อวานก็ไป สั่งกุ้งเต้น เอาๆ..ข้อ ๑ มันก็พร่องนะสิ ข้อที่ ๒ ชีวิตที่ก่อน จะตายที่เลี้ยงดูอยู่นี่เคยไปล่วงเกินชีวิตทรัพย์สินคนอื่นเขามา เลี้ยงมั้ย? โดยทางตรงทางอ้อม ไม่ละเมิดเองก็ไปยุยงส่งเสริม ให้เขาละเมิดแทน แล้วไปยินดีที่คนอื่นเขาโกงกัน ถ้าเรามี โอกาสเราจะเอาบ้าง เคยไปยินดีมั้ย? การละเมิดชีวิต ละเมิด ทรัพย์สิน ละเมิดกามคุณ ละครน้ำ�เน่าแย่งผัวแย่งเมียกัน ไป นั่งดูหัวเราะคิกๆ อยู่หรือเปล่า ตัวเองไม่ได้ละเมิดกามคุณ แต่ ไปยินดีที่เขาละเมิดกามคุณ ศีลข้อไหนมันอยู่บ้าง? ถามว่าศีล ๓ ข้อ เอาไว้ได้ไหม? วันๆ อยู่ เรื่องวาจาตัวเองไม่ได้โกหก ไม่ได้ส่อเสียด ไม่ได้เพ้อเจ้ออะไร เวลาคนเขาปาฐกถาด่ารัฐบาล ฮื้อๆ


34 (ตบมือ)... ไปยินดีพอใจในสิ่งซึ่งวาจาทุภาษิต ซึ่งคนเขาไม่ได้ สรรเสริญอะไรกันเลย ศีลข้อ ๔ จะบริสุทธิ์ไหม? ต้องไม่ทำ�เอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นทำ� ไม่ยินดีเมื่อเห็นคนอื่นทำ�แล้ว ต้อง รู้สึกสลดสังเวช โอหนอ.. ปากมี ภาษามี ไม่เจริญสุภาษิตวาจา ไม่เจริญ แม่จ๋า พ่อจ๋า.. พุทโธ ธัมโม สังโฆ.. ไม่เตือนตัวเองกัน ก็ไปชอบให้เขาด่ากัน เปิดทางช่องนัน้ แหละ ติดละครติดอะไรกัน นี่ไม่ได้ว่าใคร ว่ากันตรงๆ นี่แหละ ตัวเองเป็นมาแล้วไม่อยากให้ เป็นซ้ำ�เหมือนหลวงตา มันแก้ยากลูก ใช่มั้ยลูก? นอกจากนั่งตัวตรงดำ�รงสติมั่น รู้ลมหายใจเข้าออกแล้ว ดูซิศีล ๕ ข้อขณะนี้เราบริสุทธิ์ อิ่มใจมั้ย? ขณะหลังคาพังลงมา ตูม! เนี่ย เราตายจากคนมีศีลบริสุทธิ์ผ่องใสมั้ย? ตายอยู่ในลม หายใจเข้าออกนี้ไหม? แล้วถามว่า ถ้าหากเราตายในวันพรุ่งนี้ วันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิตเนี่ย ถามตัวเองว่า กิเลสทั้งหมดที่ พระพรรณามาในใจเรา ตอบตามความเป็นจริงว่า ยังมีเหลืออยู่ เยอะมั้ย? ถ้าเยอะแล้วละทั้งวัน จากวันนี้จนตายเนี่ยหมดมั้ย? ถ้าไม่หมดเสือกไปยุ่งเรื่องกิเลสคนอื่นทำ�ไม? ไปด่าเขาทำ�ไม? ไปนินทาเขาทำ�ไม? ไปนินทาแจ๊ะๆๆ แล้วมันดีตามปากเรามั้ย? ถ้าสมมติมึงด่าคนเก่งนะลูกนะ “อีเหี้ย อีหอย อีปู อีเป็ด มึงจงเป็นพระโสดาบันเดี๋ยวนี้นะ!!” แล้วเขาก็เลิกเลย เขาก็ เป็นพระโสดาบัน ป๊อง! มาตามที่มึงด่าเนี่ย มันเป็นไปได้ไหมลูก?


35 เอ้า! แล้วมึงจะไปด่ามันให้มันหนักใจปากทำ�ไมล่ะน่ะ ไปนินทา เขาก็เหมือนกัน มันดีขึ้นมาตามปากเรามั้ย? หรือว่าเราก็เสีย เวลาเสียอารมณ์ปัจจุบันของเราเนี่ยลูก ฮึ.. แล้วไปเอาทำ�ไม? ไปด่าเขาทำ�ไม? ไม่ได้โกหกก็ส่อเสียดหรือยินดีในการที่คนอื่น เขาส่อเสียดกันเก่ง นี่มันไปมีรักพอใจในเรื่องของคนผิดศีลผิด ธรรมทั้งนั้นเลย ดูว่า เออ!..ถ้าเราตายวันพรุ่งนี้ ความเลวที่เหลืออยู่นี่ ศีล ๕ ข้อนี่ก็แก้ยากแล้ว เมื่อวานโกหกเขาไว้ แล้วก็ยังด่ากันอยู่ ถ้าจะเอากันจริงๆ ต้องไปขอขมาเขา แล้วถ้าเกิดตายตอนตี ๔ ขอขมาไม่ทัน ฉิบหายแล้ว! กูจะไปมัวกลุ้มข้างหน้ากลุ้มข้าง หลังทำ�ไม? ก็ต้องนึกขอขมาพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ทำ�กรรมฐานนึกถึงความตาย นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นึกถึงคุณพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ นึกถึงกุศลให้ได้ ด้วยบุญอันนี้น้อยนิดนี่น้อ..แว่บๆ เหมือนหิ่งห้อยนี่นะ ขอให้แม่คุณที่หนูด่าเมื่อวานจงโมทนานะแม่นะ.. แม่ไม่รู้ก็ขอ ให้เทวดาที่รักษาชีวิตแม่จงโมทนาจงอโหสิกรรมให้ด้วยนะ.. ถ้า มีชีวิตรอดไปฉันจะไปขอโทษนะ ฉันมันคนใกล้ตายแล้ว ฉันจะ ไม่เอาความเลวไปเลย ความเลวอะไรที่คนอื่นไม่กล้าเอาออก ฉันจะกล้าเอาออก ความดีอะไรที่คนอื่นขี้ขลาดจะทำ� ฉันจะทำ�!! เพราะฉันมีชีวิตอยู่วันเดียว แม่คุณขอขมาด้วยนะ


36 เออ..พอใจเรายอมรับความเลวมันเบา พอเริ่มขอขมา แผ่กุศล เอ๊ะ..มันผ่องใส เอ๊ะ!..นี่ด่าตัวเองนี่มันผ่องใสขนาดนี้นา พอด่าคนอื่นมืดเลยนะ ใช่มั้ยลูก? ก็ต้องเลือกเอาสิจะด่าใคร มึงปากคันนักนะเรอะ ใจคันนักเหรอ เออๆ.. เลือกเอาจะด่า ให้ใจผ่องใส หรือจะด่าให้ใจมัวหมอง ใช่มั้ยลูก? เอ้า!..ความเลว ปิดยอดไป ถามว่ายังมีชีวิตอยู่อีกวันเดียว พรุ่งนี้ตายแล้ว ความดี บารมีทั้ง ๑๐ ทัศนี่ มีข้อไหนที่อิ่มใจขนาดว่า “พรหมเทวดาจ๋า.. ดูใจฉัน เป็นผู้ยิ่งด้วยทานบารมี ด้วยเนกขัมฯ ด้วยศีลฯ ด้วย อธิษฐานบารมี” มีอันไหนที่จะยืดหัวใจอวดท่านได้บ้าง มีมั้ย? ถ้าไม่มี.. แล้วมึงจะไปเห่อถึงอาจารย์ที่อยู่ทางเหนือทางใต้ ใต้ บาดาลเหนือแผ่นดินทำ�ไมล่ะ? ทำ�ไมมึงไม่ดูบารมี ๑๐ กับใจ มึงเอามาผสมกันล่ะ? ให้ตัวเองมันได้เป็นที่พึ่งในใจตัวเองได้ล่ะ “พรุ่งนี้กูจะจองตั๋วเครื่องบิน จองรถทัวร์ไป กูจะขโมยเงินผัว ยืมเงินเมีย เซ็นเช็คเขาไปเพื่อจะเอาเงินไปถวายหลวงตา หลวงปู่ ท่านจะให้พร กูจะได้ตั้งอธิษฐานตอนนั้นน่ะ ขอเข้าถึงมรรคผล นิพพานตอนนั้นน่ะ” เตรียมการเพื่อจะไปทำ�บุญในอนาคต แต่ ตอนนี้ฟุ้งซ่านนะสิ เรื่องเลวเว้นไว้เถอะรู้แล้วใช่มั้ยว่า ยังพลาดอยู่ ใช่มั้ย ลูก? แล้วเรื่องดีน่ะมีอะไรที่จะให้พ่อ แม่ ครูบาอาจารย์โมทนา


37 บ้าง ที่จะแผ่บุญกุศลให้เขาบ้าง หาแล้ว..โอ้โห! แย่เลย ก็รีบทำ� นะสิลูก เหลือเวลาอีกตั้งวันนึงนะลูกนะ ลมหายใจก็ยังมี เวลา ก็ยังมี ตาก็ยังอ่านหนังสือได้ ทำ�ไมไม่หันมาดู ปิดทีวีซะ หันมา ดูพระพุทธรูปซะ เลิกดูไอ้ไอพอด อีพอด.. ที่มีเพลงนะ เอา กรรมฐานใส่เข้าไปแทนบ้าง เหลือเวลาอีกคืนเดียวลูก.. ต้องรีบ ฟื้นใจของเรามาให้มีกายสิทธิ์ ติดตัวไปพรุ่งนี้เราจะเดินทางแล้ว พอร่างกาย อะจิรัง วะตะยัง กาโย ปะฐะวิง อะธิเสสะติ อีกไม่ นานนัก อีก ๘ ชั่วโมงร่างนี้ก็ต้องตายทับถมแผ่นดิน ฉุฑโฑ อะเปตะ วิญญาโณ นิรัตถังวะ กะลิงคะรังฯ เมื่อวิญญาณออก จากร่างแล้ว คนเขาก็ทิ้งร่างนี้ไว้ในแผ่นดินไร้ประโยชน์เหมือน ท่อนไม้ในป่าช้า ฟังแล้วมันน่าเหงาๆ นะ น่าสลดใจ พรุ่งนี้เราจะต้องทิ้ง ร่างไว้ในพื้นดิน เราจะต้องเอาใจเดินทางต่อแล้ว เรามีโซ่ตรวน อะไรที่รั้งใจเราไว้คือกิเลสบ้าง..บานเลย มีกำ�ลังเสบียงอะไรที่ จะติดใจไปในวันพรุ่งนี้บ้าง..น้อยเลย เพราะฉะนั้นหน้าที่ของลูกๆ ตอนนี้ก็คือว่า ต้องหยุด เรื่องไกลตัวลูก ต้องหยุดเรื่องวันมะรืนนี้กับเมื่อวานนี้ ต้องเอา วันนี้กายเดียว จิตเดียว วันเดียวนี่ มาดูว่าจะแกะโซ่อะไรออก ได้บ้าง ใครน้อ..จะมาด่าให้เราสะเดาะโซ่ตรวนอันนี้ออกได้ ต้องหาบัณฑิตที่จะกล้าด่า กล้าแนะวิธีแกะให้เรา..เขาแกะให้เรา


38 ไม่ได้ เราหมดเวลาแล้วลูก แล้วเสบียงหรือก็เหลือน้อย โถ.. มีตังค์อยู่ ๘๐๐ เอาไปไม่ได้ เงินรัฐบาลไทยเอาติดไปไม่ได้หรอก นะ ก็เอาถวายสังฆทานเสีย ๗๐๐ เลย ถ้ารู้แน่ว่ามันจะตายนะ เหลืออีก ๑๐๐ เดียวกินก่อนตาย เดี๋ยวเกิดจะตายหิวข้าว จับฌานไม่ได้ ยุ่งเลย! เวลา คำ�พูด ทรัพย์สิน การยิ้ม สายตา ท่าทาง เราจะ ประกอบเมตตาพรหมวิหารให้คนเห็นแล้วเขาจะสบายใจ คนที่ เราล่วงเกินก็ “พี่หนูไม่รู้จะขอโทษอะไร หนูรู้ว่าพี่เป็นคนดี (เลวก็เยอะแต่หนูไม่สนใจ) หนูน่ะเป็นคนเลว(ดีก็เยอะ แต่อวด ไม่ได้ไม่มีประโยชน์) หนูขอขมาถ้าล่วงเกินอะไรพี่ไว้ กราบขอ ขมานะ” ไอ้หนูพรุ่งนี้เอ็งจะต้องไปอยู่กับพญายมกับในอเวจี เนี่ย ถ้าเขาบอก “ไอ้หนู กูให้เวลามึงไปกราบตีนคนๆ หนึ่งแล้ว มึงไม่ตกนรกเอามั้ย?” เอามั้ยลูก? ไฟไหม้ครึ่กอยู่ ๓ วัน ท่านบอกว่า “กูให้เวลามึงไปกราบตีนคนที่มึงเกลียดที่สุดแล้ว พ้นจากนรก มีเวลาอีก ๓-๔วัน” มึงต้องรอให้มันไหม้ทำ�ไม มึงกราบเสียเลยสิลูก ใจมันจะหมดมานะด้วย ทำ�ไมไม่คิด อย่างนี้วะ เวลามันมีน้อย ต้องเตือนตัวเองอย่างนี้นา ไม่คิดถึงตาย แล้วมึงวนนะลูกนา ต้องคิดถึงตาย ตายแล้วไปไม่ดี ติ๋งต่างว่า.. ไม่ดีเลย ถ้าติ๋งต่าง “ตายแล้วก็ไปนิพพาน แน่นอนเลย คนดี


39 อย่างเรา ลูกพระเอกนางเอกเนี่ย เป็นนางเอกทุกชาติไม่เคย เป็นผู้ร้ายเลย คนอื่นผิดหมด กูเนี่ยถูกทุกชาติทุกลมหายใจ เข้าออก คนอื่นเลว กูดีคนเดียว คนอย่างกูพอตายปั๊บ!เนี่ย พระ พุทธเจ้าต้องมารับกูไปนิพพานเลยละ” แล้วมึงเอาตำ�ราอะไร มาบ้างว่ามันจะเป็นอย่างนั้นอ่ะ? มึงจะไปอ้างว่าครูบาอาจารย์ รับรอง..มันไม่ใช่! ต้องดูว่าเราจะเอาอะไรออกได้ในวันนี้ เพิ่ม อะไรได้ในวันนี้ แล้วจะทรงให้ใจมันเบาผ่องใสยังไง ถ้าหากนึกไม่ออก มึงเลิกยุ่งเรื่องของคนอื่นเหอะนั่ง ขีดวงดู เอานาฬิกามาตั้ง กินข้าวซะ อย่างน้อยเราจะนึกถึงลม หายใจสัก ๑๐ คู่ แบบหลวงพ่อว่า เอาเม็ดกรวดมา ไม่มีอะไรก็ “โธ่..หลวงพ่อ ฉันจะเอาอย่างหลวงพ่อนะ คุมฉันด้วย ฉันจะ ตายอยู่แล้ว พุทโธ พุทโธ” ร้องไปด้วยก็ได้ ดีกว่า “พุทโธ ฉิบหายเอ๊ย” ร้องไห้ใจโทรมๆ ดีกว่าที่ไปนินทาคนอื่น “แหม.. ทำ�เป็น สัมมา อะระหัง” แล้วกระแทกยังงี้ ได้ที่ไหน..ขอโทษ ทำ�โง่ๆ อย่างนี้ “พ่อช่วยหนูด้วย พุทโธ พุทโธ พุทโธ ฟุ้งไปอีกแล้ว ได้แค่ ๕ องค์” เออ!.. ก็ยังดี วันทั้งวันได้ พุทโธ ๕ องค์ เอาใหม่ๆ “พ่อ หนูขอโทษด้วย พญายมขอเวลาอีก หน่อยนะ อย่าเพิ่งเอาลงไปเผาไฟนะ” กินน้ำ�กินท่าแล้วตั้งกาย ให้ตรง เอาใหม่ ตั้งใหม่ “พ่อ..ตานี้หนูจะเอาใหม่ไม่ประมาท แล้วนะ”ขึ้นชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีคุณไม่มีประมาณ ใจคนที่นึกถึง


40 พระพุทธเจ้าด้วยใจที่ต้องการเป็นที่พึ่งที่สุด ด้วยความจริงใจ ที่สุด พระองค์ย่อมทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า ใครก็ตามอยู่เกาะชายสังฆาฏิตถาคต แม้ซักจีวรให้ตถาคต พับจีวรให้ตถาคต ห่มจีวรให้ตถาคต แต่ ใจไม่เคยนึกถึงความดีของพระพุทธเจ้า ชื่อว่าห่างไกลเหลือเกิน ส่วนคนที่เกิดในภายหลังแม้ไม่เห็นพระตถาคตนี่ (ในบาลีไม่มี ซักจีวรให้นะ นี่จะพูดให้ฟังว่าใกล้ชิดขนาดนั้น) คนภายหลัง พระตถาคตปรินิพพานไปแล้วแต่คิดถึงความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ได้ด้วยใจถือว่าคนๆ นั้นเกาะชายสังฆาฎิพระ ตถาคตอยู่ตลอด “สมเด็จพ่อฯ ลูกมันคงวาสนาน้อย ไม่เจอองค์สมเด็จ พ่อ ไม่เจอหลวงปู่พระโมคคัลลาน์ หลวงปู่พระสารีบุตร หลวง พ่อฤๅษีฯ..เจอ แต่อีตอนท่านสอนก็อวดดีไม่ทำ�ตามท่าน ตอนนี้ ก็โด๋เด๋อยู่คนเดียว เหลืออีกชั่วโมงเดียว..ตายแล้ว พญายมอย่า เพิง่ เอาไปนะ ขอนึกถึงพระพุทธเจ้า ๑ ชัว่ โมง ถ้าลูกนึกคำ�ว่า พุทโธ และความดีอะไรที่พ่อทำ�มาทั้งหมด ชื่อว่าลูกนึกถึงทั้งหมดนะ.. พ่อ พุทโธ พุทโธ (ร้องไป)” พอหมดปุ๊บ!..อิ่มใจ..ขออีกรอบนึง.. ย้อนกลับ เออๆ..เอาอย่างนี้สิลูก พอน้ำ�ตาไหล โอ้โห..ใจเราอิ่ม นึกเลย พ่อ.. เราอวดดีมานานแล้ว วันนี้ทำ�แบบเด็กอนุบาลโง่


41 ที่สุด เอากรวด เอาตะกรุดมานับเนี่ย มันอิ่ม.. ยิ่งกว่าทั้งชีวิตที่ เราทำ�มาอีก ที่อวดดีอวดเลวมาตลอด อ่านหนังสือมาตั้ง ๘๐๐ เล่ม ปาฐกถามา ๕๐๐ ธรรมาสน์นี่นะ ไม่เคยอิ่มใจเท่าทำ�โง่ๆ อย่างนี้เลย.. ก็แสดงว่าเรากางร่มถูกแล้ว กางร่มโง่ๆ นี่มันเย็น ใจน้อ..ก็หันมากางนานขึ้น พอใจมันทรงตัวใจเยือกเย็นเป็นสุขดีแล้ว ท่านไม่ให้เรา ทำ�เชยๆ อย่างนี้ตลอดเวลาหรอกลูก แล้วตานี้ท่านก็จะมาบอก ใจมันนึกออก แต่ต้องเริ่มต้นบันไดขั้นที่ ๑ ไม่งั้นขั้น ๒-๓ อย่า ไปฝันลูก.. ขึ้นไม่ถึง ไม่ได้ เท้าต้องเหยียบบันไดขั้นที่ ๑ เสียก่อน ขอบคุณและมั่นใจ ถึงจะยกเท้าขึ้นมาเหยียบย่างขั้นที่ ๒ ได้ ความเลวก็ยังเอาออกไม่หมดต้องพยายามเอาออกนะลูกนะ ความดียังมีน้อยก็พยายามทำ� “สมเด็จพ่อฯ ช่วยหนูด้วย หนูไม่อยากตกนรก ขอให้ หนูนึกออกจนตายเลย ต่อไปนี้ทุกลมหายใจเข้าออกของหนูมี ราคามาก ๒๑ คู่ ยังเป็นสุขขนาดนี้นะ เหลืออีกกี่องค์ก็ไม่รู้ จะไม่ยอมไปเสียเวลาคิดอย่างอื่นนอกจาก พุทโธ ถ้าพ่อพุทโธ เห็นว่าใจลูกอิ่มมีคุณภาพพอจะใส่ ธัมโม มาเมื่อไรก็ขอให้เข้ามา ในใจเลย ไม่ต้องให้คิดเองนะ” ให้เข้ามาอย่างนั้นเลยด้วยอำ�นาจ ของกรรมฐาน


42 ถ้าอย่างนี้ อ๋อ..ความเลวที่มีอยู่ ก็จะนึกออก มันมี อยู่ในโลกอยู่แล้ว ความเลว.. ตั้งแต่ ๖ โมงเช้า ยันถึง ๖ โมงเช้า วันรุ่งขึ้น โลกทั้งโลกมันประกอบด้วยเหตุเลวอยู่แล้ว มันแย่ง ชิงกันขึ้นรถเมล์ แย่งกันเติมน้ำ�มัน พ่นท่อไอเสียให้กัน ด่ากัน มีใครบอกมั้ย? “ท่อไอเสียคุณหอมจังเลย..” มีมั้ยลูก? ..ไม่มี มันด่ากัน มันแย่งชิงกันอยู่แล้ว มันโลภ มันโกรธ มันหลงอยู่ แล้ว โลกเขาเป็นเพียงกระแสของความเลวอยู่แล้ว เราอยู่ใน โลก เราอยู่กับความเลว ไม่มีใครตัดความเลวในโลกออกได้ แล้วร่างกายเราเนี่ย ทำ�ไมเราไปรับรู้ความเลว รับผล ความเลวในโลก เพราะเรามีร่างกายอยู่ร่างหนึ่ง ถ้าไม่มี ร่างกายเสีย มันก็ไม่รับรู้ ไม่ต้องนั่งรถน้ำ�มันแพง ไม่ต้องหิวข้าว หิวน้ำ� ไม่ต้องปวดท้องขี้ท้องเยี่ยว ไม่ต้องง่วงเหงาหาวนอน ก็ ไม่ต้องไปสร้างบ้านสร้างช่องอะไร โอ้..เพราะมีร่างกายทุกข์ทั้งหลายจึงบรรจุเข้ามาในร่าง กายแล้วเราก็เอาร่างกายนี้มาเป็นตัวเราของเรา ใจเราก็อยู่ใน ร่างกาย เกิดมาเนี่ย..ตัวกูของกูมันหิวข้าวหิวน้ำ�ก็ทุกข์..ธรรมดา ใจก็สักแต่กินข้าวกินน้ำ� และต้องปวดท้องขี้ท้องเยี่ยว และต้อง ง่วงเหงาหาวนอน และต้องเจ็บไข้ไม่สบาย และต้องแก่ ต้องตาย ใช่มั้ยลูก? ทุกข์ประจำ�กายมันมีเหมือนกันทุกคนใช่มั้ยลูก? มัน อยู่ในร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ใช่ไหมลูก? ถ้ายังมีลมหายใจตราบใด


43 ทุกข์อันนี้ยังเกาะกายอยู่ ใจต้องพามันไปบริหาร ไม่งั้นมันทน ไม่ไหว ปวดท้องขี้นี่ใจมึงไม่ได้สั่ง โน่นๆ ส้วมอยู่ตรงโน้น แล้ว บังคับมันไป มันแตกเอาตรงนี้นะลูก ทุกข์เนี่ยมันทนไม่ไหวนา ถ้าทนไหวเขาไม่เรียกทุกข์นะลูกนะ ถ้าขี้ในระดับพรุ่งนี้ ๘ โมง เช้าเดี๋ยวขี้อีกนี่ยังไม่ทุกข์นะลูกนะ ปวดท้องเยี่ยวเต็มที่อ่ะนะ น้ำ� เมื่อวานกินไปอ่ะนะ หิวข้าวหิวน้ำ�เมื่อวาน กินซะเต็มคราบเลย ก่อนนอน ปวดท้องเยี่ยวจนกระเพาะใสแหนวเลยนะ ดึกแล้ว นะมึงนะ เนี่ยทนไม่ไหวจะต้องพาไปเยี่ยวให้ถูกที่ จะไปเยี่ยว รดหมอนแม่ไม่ได้ ใจต้องพามันไปบริหารทุกข์ถ่ายทุกข์ออก ทุกข์ต่างๆ เนี่ยมันอยู่ในร่างกายที่ยังมีชีวิตน้อ.. แล้วโลกธรรมก็เข้ามา “คุณสวยจังเลย” ชมแล้วก็หน้า บาน เขาก็หลอกเอาเงินเอาอะไรก็ไม่รู้ พอเขาด่า “อีเหี้ย ทำ� เป็นสวยนักรึมึง อีเปรต อีสัตว์นรก” อ้าว! มันด่าร่างกาย ด่า จมูก ด่าปาก ใจก็ไปรักไปโกรธแทนมันเพราะมัน โอ้โห..เพราะ มีร่างกายนี้เอง ถึงต้องอยู่กับความทุกข์อยู่กับกิเลส แล้วเราก็ บริหารทุกข์บริหารกิเลสโดยผิดศีลผิดธรรมอยู่ ถ้าร่างกายมัน ตายมันก็กลายเป็นดิน น้ำ� ลม ไฟไป กายเรานี่มันไม่ตกนรกนะ พญายมไม่ได้เอากระดูกไปตกนรกนะ เอาใจซึ่งไปทำ�เลวแทน กระดูกเนี่ยตกนรก พระธรรมเข้ามาแล้ว เพราะมีร่างกาย จึงมี


44 ทุกข์ เพราะบริหารร่างกายผิดศีลผิดธรรม จึงไปเสวยทุกข์แทน ร่างกาย โอย..ถ้าเห็นอย่างนี้ แค่เราคิดให้ได้ว่า ร่างกายไม่ใช่เรา ของเรา อะจิรัง วะตะยัง กาโย แปลว่า อีกไม่นานนัก ร่างกาย ซึ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอนนี่ ก็จะต้องล้มลงทับถมแผ่นดิน ฉุฑโฑ อะเปตะ วิญญาโณ เมื่อวิญญาณออกจาก ร่างแล้ว นิรัตถังวะ กะลิงคะรังฯ เขาก็ทิ้งร่างไร้วิญญาณไว้ ไม่มีใครมาเอาไปเฉือนขายกิโลฯ ละ ๘ หมื่น มีมั้ยลูก? เมีย ที่รัก ผัวที่รัก ลูกที่รักที่สุด อย่างมากก็ซื้อโลงที่ดีหน่อย นิมนต์ พระเทศน์เก่งๆ หน่อย ออกการ์ดเยอะๆ แล้วได้ทุนคืนเลย เอา ให้สวด แล้วก็เผา เขาให้ค่าร่างกายของเราที่เราอาศัยแค่นี้ ให้รู้ตัวด้วยว่า ร่างกายนี้ไม่ได้มีราคาเหมือนดั่งมนุษย์ เขาจะร้องไห้หัวขาด กระเด็นตามเราไป..ไม่มีลูก!! อย่าไปโง่ขนาดนั้นว่าใครเขาจะรัก ร่างกายเราขนาดนั้น เราต้องรู้ว่าเราก็ต้องจากมัน เมื่อร่างกายไม่มีแล้วเวทนาความรู้สึกหิว รู้สึกสุขรู้สึก ทุกข์ก็ไม่มี.. เย็นสนิทไปแล้ว .. เมื่อร่างกายตายแล้วสัญญาที่จำ�ว่าเคยดีเคยเลวก็ดับ สูญไปแล้ว ศพมันจำ�อะไรได้ไหม? ศพมันหิวข้าวหรือดีใจมีสุข


45 หรือมีทุกข์มั้ย? เมื่อร่างกายตายไปสังขารคือคิดดีคิดเลว คิดโน่นคิดนี่ คิดกุศลคิดอะไรนี่ ศพนี่มันคิดออกไหม ปรุงอารมณ์ได้ไหม?.. ไม่ได้ สังขารเย็นสนิท นิ่งสนิทสิ้นเชิงไปจากกายนี้แล้ว วิญญาณ ตาเคยเห็นรูป หูเคยได้ยินเสียง เคยพูดได้ เคยร้องเพลงได้ จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัสได้เนี่ย วิญญาณก็ปราศจากไปแล้ว หายไปแล้ว ร่างรูปนี้ไม่มีวิญญาณ ไม่มีวิญญาณในร่างนี้ มันไม่ใช่ ของกันและกันเวทนาก็ไม่ใช่ของกันและกันสัญญาก็ไม่ใช่ของ กันและกัน สังขารความคิดก็ไม่ใช่ของกันและกัน “สมเด็จพ่อฯนี่รูปและเวทนานี่มันคนละตัวนี่เนาะเมื่ อความตายมาถึงนี่พ่อๆๆๆ.. มันแยกกันนี่พ่อ สัญญาก็ไปทาง นี่ขันธ์ ๕ มันมีทางที่ไหน ล่ะเนี่ย..” เมื่อใจหนูนี่ออกจากร่าง แล้วลูก พอร่างกายตาย หนูครองร่างไม่ได้แล้วลูก หนูต้องออก หนูหมดสิทธิ์หมดเวลา หนูจะไปไหนก็อยู่ที่กำ�ลังของหนู ที่ใช้ ร่างกายและฝึกกำ�ลังใจ ให้มีอานุภาพทางเลวหรือทางดี อานุภาพนั่นก็พาเราไปข้างบนหรือข้างล่าง พอวิญญาณออกไปแล้วนี่ นิรัตถังวะ กะลิงคะรังฯ คน ทั้งหลายเขาก็ทิ้งไว้เหมือนท่อนไม้ซึ่งเขาทิ้งไว้ในป่าช้า ท่อนไม้ ธรรมดายังเอาไปทำ�ฟืนได้เอาไปแกะสลักอะไรได้ แต่ไม้ที่เขา


46 เสียบผี หามผีไปนะ ใครเคยเห็นเขาหามผีตามบ้านนอกสมัย โน้นบ้างลูก? กองฟอนผีเนี่ย เขาไม่ได้มีแก๊สอย่างนี้นะลูกนะ เขาเอาอิฐก่อขึ้นมาเป็นเชิงตะกอนขึ้นมา มีเหล็กรางรถไฟพาด ขึ้น ๓ อัน เอาโลงศพสดไปวางแล้วเอาไฟสุมข้างล่าง เผากัน อย่างนั้นแหละ บางศพถ้าไม่คว่ำ�หน้า หงายขึ้นมาก็แหง่.. ขึ้นมาเอ็นมันดึงขึ้นมา..งอ เขาต้องเอาไม้ทิ่มผี กลับผี พลิกผี เอาไม้ผลิกผีลง ให้มันก้มลง พอก้มลงมันก็เงยขึ้นไม่ได้ ไม้ที่ทิ่ม ผีพลิกผีนั่นน่ะ เมื่อเขาเผาเสร็จแล้วเขาก็ทิ้งในป่าช้า มีใครเขา เอาไปทำ�ฟืนบ้าง? ร่างกายที่เราตายยิ่งกว่านั่น ไม้ทิ่มผีทิ้งไว้มัน ไม่เน่ามันยังผุไปได้ ร่างกายถ้าลูกหลานเอาไปทิ้งไว้ตรงนั้นคน เขาด่าทั้งเมือง ใช่มั้ยลูก? ต้องสลดใจอย่างนี้ “พ่อ..ร่างกายนี้ไม่ใช่เราของเรานะ..ที่จริงน่ะ เมื่อคิด ให้ถึงตายมันไม่ใช่จริงๆ มันโล่งจริงๆ เนาะ” เพียงแต่หนูเนี่ย ถ้าใจหนูอยากมีร่างอีกร่างนึง ถึงไปบวชเป็นเณรเป็นพระก็ตาม บวชซัก ๗ ขวบเชียว ถามว่าเณรหิวข้าวหิวน้ำ�ไหมลูก? ปวด ท้องขี้ท้องเยี่ยวมั้ย? ง่วงเหงาหาวนอนมั้ย? เจ็บไข้ไม่สบาย ต้อง เป็นพระแก่และต้องตาย อะจิรัง วะตะยัง กาโย อีกหรือเปล่า? แล้วระหว่างเกิดไปผิดศีลตอนเป็นพระเป็นเณร มันหนักยิ่งกว่า ร่างที่แล้วที่เป็นฆราวาสนะลูกนะ ไอ้นั่นมันศีล ๕ นี่มันศีล ๒๒๗ นะลูกนะ


47 “พ่อๆ..เอาร่างนี้ดีกว่า ขอยืมวันหนึ่ง ลุงพุฒิพญายม ราช สมเด็จพ่อฯ ขอยืมไว้อีกวันช่วยคืนร่างให้หนูด้วย” เอาถุง หนังร่างกายมาสะบัด.. เอาตับมาชุดนึง.. หลับหูหลับตา ทุก อย่างเอามาทำ�งาน เอาปอดมาชุด ไส้น้อยไส้ใหญ่อาหารใหม่ อาหารเก่า ตับม้ามไต ฟันชุดนึง ถุงหนัง ผมขนเล็บฟันหนังปะๆ ไม่เห็นสวยเห็นงาม เย็บก๊อกๆๆๆ เข้ามา เอาไฟเป่าปิด๊ ก็อนุ่ เข้ามา อารมณ์เป่าปู้เข้ามา เคลื่อนไหวได้ เมื่อจิตเรามาจับร่างกายปั๊บ! วิญญาณย่อมเข้ามาอาศัย เหมือนนกลงจับคอน เงาของนกเริ่มจับพร้อมกัน ตาก็เริ่มเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส รู้สึกหนาวร้อนหิวข้าวหิวน้ำ� ปวดท้องขี้ท้องเยี่ยว สัมผัสกับโลกตามกฎธรรมชาติของโลก แล้ว ถามว่าเมื่อมีสติ ขอสติมาว่า จะขอใช้วันสุดท้ายอีกวันนึง เพื่อที่จะเคลียร์ร่างกาย มองร่างกายให้ชัดเนี่ย มึงยังหน้าด้าน ไปหลงร่างกายว่าเป็นตัวเราของเราอยู่หรือเปล่า? ยังไปถาม ธรรมะที่ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องที่จะทำ�ให้เราหลุดจากร่างกายตัวนี้ อยู่หรือเปล่า? ต้องคิดว่าเรานี่มันเป็นคนตายแล้ว มีพญายมราชผู้มี เมตตา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เมตตารับรองให้พระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ พ่อแม่ ที่ให้ร่างนี้มา ก็เอาบุญรับรองไว้ ทำ�ประกาศว่า ขอเวลาวันนี้อีกวันนึง


48 เพราะฉะนั้นภิกษุทั้งหลาย เธออย่าได้ตามคิดถึงสิ่งที่ ล่วงไปแล้ว แล้วอย่าได้มุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง เพราะสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ก็เป็นอันละไปแล้ว สิ่งที่ยังไม่ มาถึงก็เป็นยังไม่ถึง บุคคลผู้ใดมองเห็นความจริงอยู่เฉพาะหน้า แจ่มแจ้ง ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน เขาพึงเจริญธรรมนั้นให้ทะลุปรุโปร่งอยู่เนืองนิตย์ ความเพียรเป็นสิ่งที่ต้องทำ�เสียในวันนี้ (ขัดสมาธิเข้ามา) ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้ ความผัดเพี้ยนต่อพญามัจจุราชผู้มีอำ�นาจสิทธิ์ขาด มี เสนามาก มีกำ�ลังมาก ไม่มีสำ�หรับเราแล้ว ใครเขาจะผัดผ่อน นอนยังไง ไม่ใช่เราแล้ว เรามาเป็นคนตายแล้ว ได้สิทธิ์พิเศษ วันเดียว พระมหามุนีทั้งหลายพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเรียก บุคคลผู้มีชีวิตเป็นอยู่อย่างนี้ ไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน ว่าผู้มีราตรีเดียวเจริญ คือมีชีวิตอยู่เพียงราตรีเดียวก็พอแล้ว!! จะเอาอะไรก็ได้แล้ว! (นี่แปลบาลีแบบนี้) ถ้าเรามีสติสมบูรณ์ในกายคตาสติ นึกถึงความตาย ตามความเป็นจริง นึกให้ได้อย่างนี้! ว่าเรามันคนตายแล้ว!! หัว


49 จรดตีน ตีนจรดหัวนี่ขอยืมมา ตับไตไส้ปอดเนี่ยสาวเอามา เหมือนไปซื้อสายยางมาจากร้านๆ นึง เอามา ๑๘ เมตร อีกคนนึง ก็เอาไป ๒๐ เมตร ไส้เป็นของสาธารณ์อยู่ น้ำ�เลือดก็ตักเข้ามา เหมือนตือฮวนในกระทะกรอกเข้ามา น้ำ�เหลืองก็กรอกเข้ามา เสลดน้ำ�ลายน้ำ�มูกก็เอาเข้ามา มันของใช้ร่วมกันอยู่ในโลก แล้ว ขยับกึ๊กๆ ขึ้นมา เย็บขึ้นมา เอาลมใส่ไฟใส่เนี่ย ให้มันมีสติตาม สัญญาสิลูก.. ว่า กายนี้มีอยู่ เอามาตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่จิตของเรานี้ อาศัยเป็นเครื่องระลึกเครื่องรู้ แต่อย่าเกาะร่างกายนี้ลูก อย่า เกาะร่างกายคนอื่น อย่าเกาะอะไรๆ ในโลกด้วย คือไม่มีเวลาแล้ว คนที่เขามีเวลาอีก ๒-๓ วันคือคนประมาทลูก แม้พ่อเองตถาคตเองก็นึกถึงความตายทุกลมหายใจ เข้าออก แม้พระอานนท์เจ้าผู้เป็นเอก ผู้รู้รอบ ผู้รู้ธรรมะทุกอย่าง พระคุณยังนึกถึงกายคตาสติทุกลมหายใจเข้าออก (เขาเล่าให้ฟัง หลวงตาไม่มีเวลาอ่าน) เราพระอานนท์ผู้เป็นพุทธอนุชา ผู้มี เสียงไพเราะ ผู้มีความทรงจำ�ยอดเยี่ยม (ท่านไม่ได้คุยโม้นะ ทวนอารมณ์ตามบาลี) ผู้เป็นอย่างโน้น ผู้เป็นอย่างนี้ฯลฯ ผู้มี กัลยาณมิตรอันตายหมดแล้ว พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร พระมหากัจจายนะก็ตายหมดแล้ว เราอายุ ๑๒๐ ปี เราไม่ เหลือกัลยาณมิตรแล้ว เราจะไม่คบกัลยาณมิตรใหม่ เราจะคบ


50 กายคตาสตินี้เป็นกัลยาณมิตร ดุจนกอยู่ในรังยามฝนตก คำ�นี้มันจับใจมาก ฝนตกข้างนอกเป็นพายุ นกเขาอยู่ใน รังกายคตาสติเขาเนี่ย เขาจะบิน ถ่อไปให้มันเปียกทำ�ไมลูก.. ใช่มั้ย? มันอุ่นอยู่แล้ว..อุ่นอยู่กับความตาย เดี๋ยวตายแล้วก็ไป นิพพาน(ก็ถูกของคุณนี่ เอ้า..ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว) ใจก็..เมื่อ ตายก็ตายแล้ว เดี๋ยวก็ตายแล้วเนาะสมเด็จพ่อเนาะ ต่อไปนี้ศีล ลูกจะต้องบริสุทธิ์บริหารร่างกายวันสุดท้าย จะไม่ยอมละเมิด ศีล แทนร่างกายเพราะร่างกายเป็นอันขาด และจิตใจลูกพร้อม จะผูกพันมั่นหมายไว้กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ขาด แล้ว..สายใจของลูก ถ้ามีมโนมยิทธิก็ขึ้นไปกราบ ถ้าไม่มีก็นึก ว่าเราเนี่ยมันคนในนิพพาน ใจเรามันขอโอกาสลงมาพิจารณา อะไรให้มันถ่องแท้ให้มันเด็ดขาดอยู่เพียงราตรีเดียว เราจะไป ผิดศีลเพื่อเขาทำ�ไม? เราจะออกจากสตินี้ทำ�ไม? เราเป็นคน ไม่มีเวลาแล้ว พระคุณพระสารีบุตรบอก.. เราประคองร่างกายนี้ เหมือนบุรุษผู้มีถาดน้ำ�มันเต็มเปี่ยมเทินอยู่บนหัว เราเดินเรา ก็รู้ว่าเดิน หายใจก็รู้ว่าหายใจ ประคองเหมือนบุรุษไม่ยอมให้ น้ำ�มันมันหก เพราะมีเพชรฆาตเปลือยดาบเงื้อเต็มที่ หกปั๊บ เดียวฟันขาดกลางเลย! ระวังสติขนาดนั้น.. แม้เป็นพระอรหันต์ อัครสาวกแล้ว ยังประคองสติถึงปานนั้น


51 สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพอว่างพระโอษฐ์จากการ สั่งสอนคนอื่น พระองค์ก็กลับมาหาความตาย หากายคตาสติ ทุกลมหายใจเข้าออก แม้ทรงสั่งสอนคนอื่นก็ทรงสั่งสอนเนื่อง ด้วยความตาย เนื่องด้วยความไม่ประมาท แล้วเรา..บัดนี้เราพอเห็นแล้วว่าอันนี้เป็นของจริง การ มีศีลก็อิ่มใจจริง เวลาที่เหลืออยู่ก็มีเวลามีค่าจริง ลูกขอผูกพัน มั่นหมาย จำ�ว่าลูกเป็นคนของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตั้งแต่นี้ไปลูกจะเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่มีที่อื่นอีก ถ้าเวลาเราน้อย ร่างกายนี้ตายก่อน แต่เชื้อมันยังล้างไม่หมด สติมันยังไม่สมบูรณ์ ใจเราอยู่ตรงนี้แล้ว ไปเป็นพรหมเป็นเทวดา โต๋เต๋ๆ สักกัป ๒ กัป เขาเรียก พระโสดาบัน ลงมาถ้าหากชาตินั้น พระศรีอาริย์ลง เป็นพรหม เทวดาลงมา เป็นมนุษย์ชาติที่ ๑ อ้าว! ขี้เกียจอีกแล้ว ไม่นึกถึง ความตาย พอจะตายแล้ว “ขออีกวันเถิ้ด!” เมื่อชาติที่แล้ว ก็ขอวันนึง วันนี้เอาอีกเหรอเนี่ย!! ...... “ขออีกหน่อยเหอะ” ก็ประมาทอีก ก็ไปเป็นพรหมเทวดาโสดาบันอีก สมเด็จพระราม ลง ก็ขอลงมาอีก ตามพระพุทธเจ้าลงมา ๓ ครั้งแล้วมันยังเอา ดีไม่ได้อ่ะ ต้องโต๋เต๋เป็นต้นไม่เกิน ๗ ครั้ง มันยังไงเนี่ย? นี่เราไม่ได้ไปว่าพระเดชพระคุณเรา ที่ยังสู้ท่านที่ ๗ ชาติไม่ได้ แต่เราพูดในนามของธรรมะว่า มันยังไงกันเนี่ย!!?


52 ขอชาตินี้ ทำ�ไมไม่ไปชาตินี้อ่ะ!! แต่ดีว่าใจเราผูกไว้กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอจงอย่าได้พลาดจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เลย จะเป็นอะไรก็ตามขอให้เป็นด้วยใจผูกพันอยู่ อย่างนี้ เขาเรียกว่า ลงนรกไม่ได้แล้วเลย อย่างมากก็เป็นมนุษย์ อีก ๗ ชาติสลับพรหมเทวดา ถ้าปัญญาห่าง สติห่างเกินไป ต้อง เอาตรงนี้ให้ได้!! แต่บางคนเขาไม่ยังงั้น เขาผูกเขาพันว่า ร่างกายก็ยัง เพราะรีโมทคอนโทรลร่างกายเลย ไม่จับแล้ว พระอนาคามี พระ สกิทาคามีไม่จับแล้ว ใช้รีโมทคอนโทรล กินข้าวซะ กินน้ำ�ซะ อยากกามนั่นน่ะเมียมึง ผัวมึง ไม่ลงไปจับแล้ว เขาเรียกว่า ชาติเดียว ตายไปจากนี้แล้ว ก่อนจะตายไม่แตะร่างกายอยู่แล้ว ไม่เอากามคุณอะไร พอตายแล้วเขาก็เข้าถึงนิพพานในชาติ เดียว ขอประทานอภัยสมเด็จพ่อฯ ครูบาอาจารย์ที่เอาของนี้ (รีโมทคอนโทรล) มาล้อเล่นแต่ไม่ได้ล้อ ยืนยันจะให้ลูกหลานที่ ประมาททั้งหลายเหมือนหลวงตา ปัญญาหยาบเหมือนหลวงตา ได้เห็นนิมิตว่าจะทำ�อย่างไร ถึงจะเรียกว่าคนไม่ประมาท? อานิสงส์ของความตายคืออะไร? จะได้เข้าใจ หน้าที่ของเราผิด ศีลไม่ได้เพราะอะไร? เวลาวันพรุ่งนี้ของเราไม่มีเพราะอะไร? เพราะถ้าเกิดมันมี มันตายจริงๆ แล้วก็ยังประมาท ใจยังผูกอัน


53 นี้ไม่ได้ ถ้าเข้าไม่ถึงความตาย เรียกว่าใจยังไม่ผูกพระพุทธเจ้า เพราะพระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญความตาย เรานึกถึงความตาย ตาย! ครั้งที่ ๑ ตายแล้วๆ แล้วก็กินแจ๊บๆๆๆ ครั้งที่ ๒ ตายแล้ว แจ๊บๆๆๆ ครั้งที่ ๓ ตายแล้วก็นินทาคนอื่น ฝืนคิดว่า ตายๆๆ ๗ ครั้ง จะเท่าพระอานนท์ มันไม่มีประโยชน์ มันเข้าไม่ถึงต้อง เข้าจนกระทั่งสั่น โห...ซาบซ่าน เออๆ.. ดีที่เรายังไม่ตายถ้าตาย แล้วแย่เลย อะไรอย่างนี้ เออ!..เข้าไปอย่างนี้ เมื่อถึงความตายอย่างนี้ ถึงเรียกว่าเข้าถึงพระพุทธเจ้า ผู้ใดเห็นธรรม เห็นคือ เห็นจริงๆ ผู้นั้นถึงจะเรียกว่า เห็นพระ ตถาคต ถ้าไม่เห็นธรรมเกียจคร้านอยู่ก็เรียกว่า เห็นแก่ร่างกาย เห็นแก่ขันธ์ ๕ คือเห็นแก่กิเลส กรรม วิบาก แน่นอน.. คนพวกนี้ ก็จะต้องไปเกิดต่อ พลาดพระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ไปเสียอีก เพราะกาลเวลากำ�หนดไม่ได้ว่าจะเจอองค์ต่อไป หรือไม่ เพราะตัวเองสละสิทธิ์จากการผูกพันมั่นหมายกับพระ พุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สละสิทธิ์ที่จะเข้าไปในรังนกอันเป็น อมตะยามฝนตกซะแล้ว ออกไปบินเล่น เร่ๆๆ ร้องเพลงล่อหนุ่ม ล่อสาวแล้ว ฟ้าผ่าปีกหักมาแล้ว ตกไปในโคลนหมาแดกไปแล้ว แล้วจะบอกเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์


54 ไม่อยากให้อ้อมกันว่า แล้วเอ็งก็ไปคำ�สุภาพๆ ที่บ้านเอ็ง ที่นี้สุภาพแล้วไม่รู้เรื่องกันละ.. ก็ไม่ได้หยาบคายหรอกพูดมัน ตรงๆนี่ เอ้า!วันนี้ก็เอากันเพียงแค่นี้... พูดมาเป็นชั่วโมงแล้ว เตือนลูกว่าต้องนึกถึงความตายให้จริง ต้องคิดถึงให้เข้าถึง ลูก ถึงจะเข้าถึงพระพุทธเจ้า ถึงจะรู้ว่าการนึกถึงความตายที่สุด..มัน ของดี มันของไม่ประมาท ของเบาจริงๆ เห็นด้วยเหตุผลแล้ว.. ถ้าตายแล้วเป็นอย่างนี้ มันไม่ใช่เราของเราเลย เราเปลี่ยนมา กี่ร่าง สมเด็จพ่อฯ เพราะฉะนั้นร่างนี้จงเป็นร่างสุดท้ายของ ลูก ขึ้นชื่อว่าร่างกายนี้ไม่มีสำ�หรับลูกอีกแล้ว ใจมันปรารถนา อย่างนี้จริงๆ จะตัดได้ไม่ได้ แต่ใจมันตั้งอธิษฐานไว้แล้ว!! ร่าง กายนี้ขันธ์ ๕ นี้จงเป็นขันธ์ ๕ สุดท้าย เมื่อสิ้นขันธ์ ๕ นี้แล้ว ลูกปรารถนาพระนิพพานที่เดียว! ไม่มีขันธ์ ๕ ที่ ๒ อีก เพราะ ฉะนั้นถ้าหากลูกเป็นอย่างนี้ปั๊บ! ลูกจะไม่ยอมมามีขันธ์ ๕ อีก ลูกจะเป็นเทวดาชั้นสูงหรือพรหมชั้นสูง ซึ่งฟังเทศน์ข้างบนโดย ไม่ต้องใช้ขันธ์ ๕ เพราะลูกเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่กล้าอธิษฐานขันธ์ ๕ นี้จงเป็นขันธ์ ๕ สุดท้าย ขันธ์ ๕ ที่ ๒ จะไม่มี แต่เชื้อมันยังมีอยู่ เมื่อมีเชื้อก็ต้องไปล้างเชื้อโดยด่วน


55 เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปเทศน์ที่ใด ก็จะมี พรหมและเทวดาไปยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฟังธรรมและ บรรลุมรรคผล มากกว่ามนุษย์ที่เห็นด้วยตา..เยอะแยะ คือท่าน พวกนี้ ที่ไม่ปรารถนามีขันธ์ ๕ ที่ ๒ แต่เชื้อขันธ์ ๕ ยังอยู่ในใจ ก็ต้องมาฟังด้วยทิพโสต ฟังด้วยความเป็นทิพย์แล้ว ก็คาย สำ�รอกกิเลสที่เหลืออยู่ออกไปแล้วได้มรรคผล และก็ไม่ต้องมา อวดใครหรอก ฉันอยู่วัดนั้นนะ เอากฐินไปทอดหน่อย(หัวเราะ) ไม่มีขันธ์ ๕ ไม่ต้องหากฐินแล้ว ไม่ต้องสร้างโบสถ์แล้ว มีวิหาร ธรรมของตัวเองอยู่แล้ว เอา..นี่สรุปให้ฟังว่า นอกจากจะเข้าถึงธรรม มีศีล บริสุทธิ์แล้ว เข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปรารถนา พระนิพพานแล้ว ต้องกล้าอธิษฐานว่าขันธ์ ๕ นี้จงเป็นขันธ์ ๕ สุดท้าย เราจะไม่มีขันธ์ ๕ อีก ถ้ามันอยากนัก ก็มาได้ขันธ์ ๕ ซึ่งมาถึงก็บวชเลย จะเป็นขันธ์ ๕ ที่ประหนึ่งเทพเจ้า ไม่มีขันธ์ ๕ ที่ ๒ เป็นผัวคนเมียคนอีก ๗ ขวบ ก็เป็นพระโสดาบัน (ในบาลีท่านบอกเป็นพระโสดาบันตอน ๗ ขวบ คงจะแปลเบา ไปหน่อยหรือเปล่า ที่จริงท่านพระโสดาบัน ๗ ชาติที่ลงมา ท่าน เป็นอยู่แล้ว) ลงมาได้ร่างกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือสมองเนี่ย นามธรรม ๔ อย่างกับรูป จิตท่านเข้ามาอยู่ตรงนี้ จิตท่านรู้ศีล รู้ธรรม รู้เท่าเดิมทุกอย่าง..


56 แต่เมื่อมาเกิดปั๊บ! วิญญาณมันเข้ามาหุ้ม แม่ก็ใส่เข้ามา “คนดีของแม่รูปหล่ออย่างนี้ต้องเป็นนายทหารนะลูกนะ เอ้า.. แต่ช้าแต่” หรือ “เรียนเก่งๆ ซะนะ จะได้เป็นหัวหน้าโจร หัวหน้าทหาร” (ไม่มีใครให้พรลูกอย่างนี้นะ) “จะได้ผัวเป็น เศรษฐี เป็นพระยาพานทอง” ใส่เข้าไป.. ใส่เข้าไปในวิญญาณ ทางหูทางตาเข้าไป สร้างอุปทานให้ลูกเข้าไปว่า “เกิดไปมันดีลูก ดีๆๆ” ก่อน ๗ ขวบมันก็เชื่อแม่มันสิ! มันยังแปลกระแสธรรม ด้วยวิปัสสนาญาณไม่ได้ เอาของเดิมคุดไว้ ยังไงก็ตาม แม่มันยุยังไง มันก็ต้องตามไปใส่บาตร พอ เห็นยอดเจดีย์ ใจมันแว่บ!! “อะไรนี่! ทำ�ไมใจเรา มันหายยังงี้...” พอมันเห็นผ้าเหลืองเห็นเณรน้อย น้ำ�ตามันซึม.. พระโสดาบัน พอฟังเทศน์หน่อยเดียว(ไม่ตรงกะเรา) ได้ยินเสียงตั้งนะโม มัน จับใจ.. ใจเรารู้เลย “เราต้องการผ้าเหลือง เราต้องการสิ่งนี้..เรา ต้องการสิ่งนี้เพื่อจะได้อะไรซักอย่างซึ่งอยู่ในใจเรานี่ เราอยาก อะไร ให้มาต่อให้เราหน่อย” พอไปอ่านหนังสือ หรือไปเจอองค์ที่เทศน์กัณฑ์ (*เทป ฟังไม่ชัด*)...(หลวงตาดีดนิ้ว) ตามขึ้นไปเจอพระพุทธเจ้า หรือ พระสาวกที่มีเชื้อพุทธภูมิเทศน์กัณฑ์เดียวเป็นพระอรหันต์เลย จะบอกให้ฟังว่า ที่บอกได้พระโสดาบันได้สติว่าเป็นพระโสดาบันตอน ๗ ขวบ ก่อน ๗ ขวบนี่ สมอง สัญญา สังขารมันแปล


57 กระแสคลื่นของขันธ์ ๕ กับคลื่นจิตมันยังผสานกันไม่ได้ พอ ๗ ขวบไปแล้ว ถึงแปลตรงกัน ถึงจะใช้ตรงกันได้ ท่านเป็น พระโสดาบันมาก่อน แต่มาได้สติว่า พ. น้องหญิงเธอมาจากไหน? (กำ�ลังคิด..ก่อนเราเกิดเรามาจากไหนไม่รู้ ใจก็แน่ชัด) ไม่ทราบพระเจ้าค่ะ พ. แล้วเธอจะไปไหน? (เราตายแล้วเราจะได้ไปนิพพานหรือเปล่าก็ไม่รู้) ไม่ทราบพระเจ้าค่ะ พ. เธอไม่รู้เหรอว่าเธอจะตาย? เราอาจจะตายเมื่อไรก็ได้ พอท่านถามตรง พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ถามส่งเดชนะ กำ�ลังคิดอะไรท่านถามตรงนั้นนะ เขาถึงตอบเลยนะ ไม่ใช่ท่อง กันมานะ กำ�ลังคิด.. ก่อนจะตายเรามาจากไหนหนอ.. ฟังอยู่ พระพุทธเจ้าเทศน์มาหลายปี มาจากไหนน้อ..? พ. เธอทราบไหมเธอมาจากไหน? ไม่ทราบค่ะ ตรงใจเป๊ะเลย ! พ. เธอไม่ทราบหรือ?


58 ทราบพระเจ้าค่ะ โยมเขาบอก.. ที่ท่านถามว่าทราบหรือบอกไม่ทราบ ที่ ถามไม่ทราบหรือบอกทราบ อีนี่มันกวนพระพุทธเจ้านี่หว่า! พ. แล้วเธอรู้ไหมว่าจะตายวันไหน? ไม่รู้พระเจ้าค่ะ! ๔ ครั้ง! พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ถามเตี๊ยม แต่ท่านถาม จากใจของพระคุณท่าน ซึ่งใส..บริสุทธิ์ และมีสัพพัญุตาญาณ ทุกอย่าง เด็กคนนั้นคิดอะไรเนี่ย.. ท่านถามไปตามนั้นเลยลูก! เป็นการย้ำ�ว่าที่คิดน่ะคำ�ตอบที่ถูกนั้นถูกแล้ว.. ที่คิดน่ะถูกแล้ว.. ก็อิ่มใจกราบ.. อารมณ์พระโสดาบันที่ได้อยู่ก็ทรงตัว.. ไปพักผ่อนกัน.


ขอเชิญเป็นเจ้าภาพ สร้างห้องน้ำ�สาธารณะ ๑๔ ห้อง (ห้องน้ำ�คนพิการ ๒ ห้อง)

เพื่อรับรองผู้มาปฏิบัติธรรมบำ�เพ็ญกุศล ได้ใช้เป็นที่สบายคลายทุกข์ ห้องน้ำ�ชาย ๖ ห้อง, ห้องน้ำ�หญิง ๖ ห้อง ห้องน้ำ�ผู้พิการ ๒ ห้อง

ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างห้องละ ๕๐,๐๐๐ บาท (พร้อมจารึกชื่อที่อาคาร) ติดต่อแจ้งความประสงค์ได้ที่ องค์หลวงตา หรือสำ�นักงานกลาง โทร. ๐๓๖ ๓๔๗-๗๓๐


60

“ยังไม่ต้องไปนึกถึงวิปัสสนาญาณ หรือไปนึกถึงพระอรหันต์ หรือว่าใครดี ใครเลวเลยลูก.. แค่นึกถึงลมหายใจตัวเองที่กำ�ลังสบายๆ ถ้านึกไม่ออกจบ!ลูก.. อย่าเป็นผู้เป็นคนเลย เกิดเ ป็นคนใหม่ก็ไม่ได้ใช่มั้ยลูก? เพราะตอนนี้น่ะลูก ตาก็ยังดี หูก็ยังดี ยังเปลี่ยนท่านั่งได้..หูยังฟังเสียงคำ�แนะนำ�ได้ ตาเห็นท่าทาง เห็นนาฬิกาได้.. ยังตั้งอารมณ์ให้เป็นสุขไม่ได้ แล้วอีตอนจะตายแล้วลูก โรคมันรุมเร้า..เนาะ! หรือตายแล้วไปอยู่นรก หรือเป็นหมา หรือเป็นคนง่อยเปลี้ยเสียขา มันไปฝึกต่อไม่ได้ลูก.. เพราะว่าขณะที่ดีที่สุด ยังเอาไม่อยู่นะ”


สุกสว่าง กระจ่างใส ใจใครหนอ ผุดโผล่พ้น ก้นบ่อ รอแดดสาย อาบกระแส อุ่นไอ ใจสบาย เหยียดสุดกาย ระบัดใบ ไปลำ�พัง ผ่อนพักสาย หายใจ เพียงปลายราก สักแต่ว่า ปักฝาก เพียงรากฝัง ไม่มีกาย ใจจับ สดับฟัง เพียงลงนั่ง ฟังพ่อ รอวันตาย จะวันนี้ วันไหน ใจผ่องแผ้ว เบิกบานแล้ว เป็นแก้ว เห็นแววใส ไม่เปื้อนเปรอะ เลอะเทอะ ถึงข้างใน พออยู่ได้ แค่กาย ที่ป้ายตม สุกสว่าง กระจ่างใจ เหมือนใกล้พ่อ พ้นเพียงพอ รอกาย ถูกทับถม อยู่ก็ได้ ตายก็ดี มิมีตรม รอวันสม พ่อครับ.. รับลูกที.


62

ภาพ : ลานโยคะสติปัฏฐาน วัดเขาวง


63 สวัสดี แฟนๆ.. ท่านผู้อ่านเสียงจากถ้ำ�นารายณ์.. มาฉบับนี้ฉันขออนุญาตเหมารวมว่า..ทุกท่าน..เป็น แฟนๆ คอลัมน์ ‘ใบไม้ในป่าใหญ่’ ของฉันที่หลวงตาท่าน เมตตาตั้งให้เลยละกันนะคะ เพราะยังไง.. หากท่านมีหนังสือ เล่มนี้อยู่ในมือ..ก็ถือว่าเราอยู่ในวงเดียวกัน.. ถ้าเป็นนักดนตรี... ก็เล่นเพลงสไตล์เดียวกัน..จังหวะเดียวกัน..และถ้าหากฉันเล่น ได้ถูกใจ..ไม่ถูกใจยังไง.. ขอความกรุณาท่านพ่อยก..แม่ยก.. และลูกยก..ทุกท่าน ได้โปรดเมตตา..ติชม..ได้ตามสบายเลย นะคะ..เพราะฉันจะได้นำ�ไปปรับปรุง..ให้ถูกอกถูกใจแฟนๆ ฟัง กันเมื่อไร..ก็เพลินเมื่อนั้นดีไหมคะ…… ในตอนที่แล้วถือเป็นฉบับปฐมฤกษ์ของฉัน.. ซึ่งฉันได้ เขียนเรื่องธรรม..มหัศจรรย์ ตอน ‘ไม่เชื่อแถมลบหลู่’ ซึ่งเป็น เหตุการณ์ในชีวิตของฉันเอง... นำ�มาเล่า... มากล่าวกันฟัง... ความจริงก็ตั้งใจว่า... ตอนนี้จะเป็นตอนที่ ๒ ต่อเนื่องจากตอน ที่แล้ว.. เพราะยังมีเรื่องราวสนุกๆ ต่อจากนั้นอีก… แต่ปรากฏ ว่า..ไม่นานมานี้..ฉันได้พบเรื่องราวบางเรื่องที่ทำ�ให้ฉันอยากนำ� มาเล่า....แบบตัดหน้าเรื่องของตนเองเพราะรู้สึกว่าอาหารจาน นี้ควรกินตอนร้อนๆ..ขืนรอให้เย็นมันจะไม่อร่อยค่ะ..


64 อารัมภบทมานาน เริ่มเลยดีกว่า.. เรื่องมีอยู่ว่า.. ฉันมีพี่ที่รู้จักอยู่คนหนึ่ง เป็นผู้ชาย อายุ ประมาณ ๔๐ กว่าๆ รูปร่างสันทัด ใจดี เป็นคนสนุกสนานเขา มีภรรยาและลูกๆที่น่ารักถึง ๕ คน..ซึ่งฉันชอบแซวเขาบ่อยๆ ว่า.. พี่อู๋.. (ชื่อจริงชื่อณิก) (หมายเหตุ..ฉันได้โทรไปสอบถาม พี่อู๋แล้วว่าขออนุญาตนำ�เรื่องของพี่มาลงให้ทุกท่านได้อ่านและ สามารถลงชื่อได้ไหม...ซึ่งพี่อู๋ก็เต็มใจอย่างยิ่งแถมให้ลงชื่อจริง แล้วยังบอกว่าจะเอารูปด้วยไหม..นั่น..ใจดีจริงๆ ขออนุโมทนา นะคะ) ฉันแซวว่า.... “พี่อู๋..คุณพ่อลูก ๕” เพราะฉันนึกไม่ ออกว่าพี่อู๋ใช้ชีวิตยังไง.. มีลูกตั้ง ๕ คนในยุคนี้ที่เศรษฐกิจแปร ปรวนแถม.. ฉันก็เห็นพี่อู๋และพี่ปุ้มภรรยา เทียวไปเทียวมาทำ� บุญกันแบบทุ่มสุดตัว ทั้งกำ�ลังกายกำ�ลังใจ กำ�ลังทรัพย์มิได้ ขาด.. “พี่อู๋กับพี่ปุ้มเขาเอาเวลาไหนไปทำ�งานกันเนี่ย..แล้ว เขาอยู่กันยังไง..ลูกก็ยังเรียนกันทุกคน เขาเอาเงินจากไหนมาใช้ จ่ายกันนะ...!” ฉันกับสามีเคยนั่งคิด... งง...กับเรื่องพี่อู๋หลายหน เพราะรู้อยู่ว่า พี่ทั้งสองคนก็เป็นคนที่ฐานะปานกลาง (เหมือนฉันและสามี) คือ.. แม้เราไม่ได้ถึงขั้นยากจน ยาจกอะไร


65 แต่เราก็ไม่ได้ร่ำ�รวยมีเงินทองมาใช้จ่ายกันแบบไม่ต้องทำ�งาน ทำ�การกันแล้วชาตินี้ แต่ด้วยความที่พี่ทั้งสองเป็นคนชอบทำ� บุญสุนทาน..ทำ�ทั้งทาน ศีล ภาวนา มิได้ขาด.. แถมยังใช้ชีวิต หนักไปทางทำ�บุญกันแบบ..สุดโต่ง..คือ ทำ�บุญเป็นอาชีพหลัก นอกนั้นคืองานอดิเรก.. ทุกวันหยุดหรือแม้แต่วันธรรมดาก็ตาม ...ฉันจะได้ยิน ว่ า พี่ อู๋ แ ละภรรยาไปทำ � บุ ญ กั น ที่ โ น่ น ที่ นี่ เ ป็ น เวลาหลายวั น หรือบางทีก็ไปกันเป็นอาทิตย์ สองอาทิตย์ เช่นไปอินเดียเพื่อ ไปอุปัฏฐากรับใช้คณะสงฆ์ที่เดินทางไปแสวงบุญ ฉั น จึ งสงสัยอยู่เ สมอว่า..พี่อู๋กับภรรยาเอาเวลาไหน ไปทำ�งาน..เอาเวลาไหนไปเลี้ยงดูอบรมลูก..และเอาเวลาไหน ให้กับตัวเอง.. และพี่อู๋อยู่ได้ยังไง.. พูดกันตรงๆ เลยคือ.. เอา เงินมาจากไหน ? และแล้วฉันก็ได้คำ�ตอบ..วันหนึ่ง..พี่อู๋ได้เขียนเล่าความ ในใจของตนเองผ่านมาให้พวกเราได้ฟัง..(ปล. พวกเราในที่นี้ หมายถึงชมรมของเราที่ตั้งขึ้น.. รวมตัวกันเป็นชมรมเพื่อไปทำ� บุญกันในที่ต่างๆ) ชื่อว่า.. ชมรมคนรักดี ค่ะ คือวันนั้นพี่อู๋ได้ส่ง e-mail เล่าความในใจของตนเอง มาให้พวกเราฟัง..และเมื่อฉันได้ฟังแล้วจึงได้เข้าใจว่าพี่อู๋และ ภรรยาอยู่ได้เช่นไร.. และฉันเห็นว่า เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมาก


66 ...ลองดูเคล็ดลับของพี่อู๋นะคะ วิธีนี้เรียกว่า... เจรจากับทุกข์! ค่ะ.. พี่อู๋ : “พอตอนเช้าตื่นลืมตาขึ้นมา.. ก็รู้ตัวว่าเจ้า ‘ตัว ทุกข์’ มารออยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นเรื่องลูก..เรื่องการงาน..เรื่องพ่อ แม่..เรื่องตนเอง..และที่สำ�คัญเรื่องเงินทอง..ผมก็ใช้วิธีเจรจาว่า.. “รอเดี๋ยวก่อนนะทุกข์นะ เดี๋ยวไปอาบน้ำ� แปรงฟัน ก่อน เดี๋ยวเจอกันนะ.. พออาบน้ำ�อาบท่าเสร็จ เปิดประตูห้อง น้ำ�ออกมามันก็ ยืนรอดักหน้าอยู่แล้ว เราก็เจรจากับมันอีก เดี๋ยวก่อนนะ ขอกินข้าวเช้าก่อน.. พอกินเสร็จมันก็จ้องอีกแล้ว ผมก็บอกว่า.... อย่าเพิ่งเข้ามาจะรีบทำ�งานก่อนนะ งานรออยู่ เดี๋ยวคุยกัน.. พอเที่ยงมันจะมาอีกแล้ว..ผมก็รีบกินข้าวเที่ยงบอกมัน ว่าให้รอก่อน.. พอตกบ่ายผมก็มีธุระต้องทำ�.. ก็ให้มันรออีก.. พอบ่าย ๓ โมง เจ้าตัวทุกข์กำ�ลังจะกระโจนเข้าใส่ ผมก็บอกว่า ไม่ได้...หยุดเดี๋ยวนี้! เพราะต้องรีบไปรับลูกกลับจากโรงเรียน ให้มันกลับมารอที่บ้านก่อน.. พอกลับมาบ้านได้นั่งนิ่งๆ เพลินๆ มันก็จะเข้ามาอีกแล้ว ความทุกข์มันชอบนักแหละ... ตอนที่เรา ปล่อยใจเพลินๆ ไม่ค่อยมีอะไรทำ�เนี่ย...! ผมเลยรีบบอกว่า....รอเดี๋ยวก่อน จะสอนการบ้านลูก ยังไม่ใช่เวลามาคุยกันตอนนี้..ให้รอก่อนนะ เอาไว้ ๖ โมงเย็น


67 ค่อยเจอกัน.. พอถึง ๖ โมง.....ก็ถึงเวลากินข้าวเย็น.....ไม่ว่าง อีกแล้ว ก็บอกให้มันรอก่อน.. กินข้าวเย็นเสร็จ กำ�ลังเพลินๆ ลูกๆ กำ�ลังดูทีวี มัน กำ�ลังจะย่องเข้ามา ผมรีบบอก หยุด.. เดี๋ยวต้องส่งลูกเข้า นอน...! มันก็รออยู่.....อย่างนั้น ทีแรกคิดว่ามันจะถอดใจ...หาย กลับไปแล้ว แต่ที่ไหนได้ ส่งลูกเข้านอนเสร็จ เปิดประตูออกมา ๓ ทุ่มกว่ามันก็ยังรอ.. ผมเลยรีบบอกว่า ดึกแล้วถึงเวลานอน แล้ว... ขอนอนก่อนนะ.. ไว้พรุ่งนี้ค่อยคุยกัน.” เฮ้อ...ผ่านไปอีก ๑ วัน ผมก็เจรจา..กับทุกข์อยู่ทุกวัน แบบนี้ ก็พอทำ�ให้ใจให้ เป็นสุขได้บ้าง.....ยิ่งเมื่อไหร่ไม่ได้ใช้ชีวิตทางโลก.. แต่ได้ไปใช้ ชีวิตทางธรรม.. วิปัสสนากรรมฐาน.. เจ้าตัวทุกข์ก็ยิ่งไม่มาให้ เห็น.. สบายใจดี ผมก็ใช้วิธีเจรจาอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ..เพราะรู้อยู่แก่ใจว่า.. แท้จริงแล้ว เจ้าตัวทุกข์มันก็ไม่ได้ไปไหนไกล.. แถม! มันยัง พยายามเกาะเราไปทุกที่..ผมอยู่ได้เพราะการคิดแบบนี้..เพื่อให้ ใจเป็นสุข..และไม่เปิดโอกาสให้ทุกข์เข้ามาเกาะใจได้.. ผมก็ไม่รู้..ว่ามันรอดมาได้อย่างไร..แต่ก็น่าแปลก เมื่อ มีปัญหาหนักๆ เข้ามา.. ผมกับครอบครัวก็ผ่านมันมาได้เรื่อยๆ


68 และเราก็มีเงินมาทำ�บุญ ทำ�กุศล อย่างที่ผมและภรรยาได้ตั้งใจ ไว้เสมอ จึงทำ�ให้เรารอดจากทุกข์ได้ทุกครั้ง..” และนี่ก็คือเรื่องของพี่อู๋.. ที่ชื่อนายณิก...พี่ปุ้มภรรยา.. และลูกอีก ๕.. ครอบครัวมหัศจรรย์.. ที่ฉันและสามีนับถือ.. เพราะ หัวใจที่มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตั้งมั่นในการใช้ ชีวิตเพื่อบำ�เพ็ญเพียรทั้ง ทาน ศีล ภาวนาอย่างเข้มข้น ..และ ในที่สุด ก็พิสูจน์แล้วว่า... สิ่งที่หล่อเลี้ยงให้ใจของพี่ทั้งสองเป็น สุขอยู่เสมอ ก็เพราะผลบุญที่ได้ทำ�นั่นเอง..... ความมหัศจรรย์แห่งธรรม..จะเกิดขึ้นแก่คนที่น้อมนำ� เอาธรรมนั้นใส่ไว้กับตัวเสมอ.. ไม่เชื่อ..คุณก็ลองดูด้วยตนเองซิคะ!


วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๕๓ ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ๗๕๙๘๗๗.๘๙ รายรับ รับเงินทำ�บุญวิหารทาน ๑,๗๘๕,๘๐๓.๐๐ รับเงินทำ�บุญธรรมทาน ๑,๔๓๓,๕๔๙.๕๕ รับเงินทำ�บุญสังฆทาน ๒,๓๘๙,๙๓๔.๒๕ รับเงินทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์ ๗๙,๕๘๑.๐๐ รับเงินทำ�บุญอื่น ๒๑๑๔๐.๐๐ รับเงินอื่น ๑๑,,๐๒๕.๐๐ รับเงินยืม ๗๓๒๐๐๐.๐๐ รวมรายรับ ๖,๔๕๓,,๐๓๒.๘๐ รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณูปการ ๓,๔๑๑,๔๖๐.๗๖ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาและงานเผยแพร่ ๙๕๙,๑๓๕.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสงเคราะห์ ๐.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ ๑๙,๐๐๐.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับงานปกครอง ๙๐๘,๑๙๒.๐๐ รายจ่ายชำ�ระคืนเงินยืม ๓๔๖,๔๐๐.๐๐ รวมรายจ่าย ๕,๖๔๔,๑๘๗.๗๖ เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด ๑๕๖๘๗๒๒.๙๓ เงินสดในมือ ๓๖๘,๙๘๒.๐๑ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๑๑๐๔๕๐๑.๔๘ เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) ๔๓๗๕๔.๒๒ เงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน) ๔๐๒๘๕.๒๒ เงินประกันต่างๆ ๑๑๒๐๐.๐๐


วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) เดือนมิถุนายน-สิงหาคม ๒๕๕๓ ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด รายรับ รับเงินทำ�บุญวิหารทาน รับเงินทำ�บุญธรรมทาน รับเงินทำ�บุญสังฆทาน รับเงินทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์ รับเงินทำ�บุญอื่น รับเงินอื่น รับเงินยืม รวมรายรับ รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณูปการ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาและงานเผยแพร่ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสงเคราะห์ รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณสงเคราะห์ รายจ่ายเกี่ยวกับงานปกครอง รายจ่ายชำ�ระคืนเงินยืม รวมรายจ่าย เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) เงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน) เงินประกันต่าง ๆ

๑๕๖๘๗๒๒.๙๓ ๑๐๓๘๓๔๓.๐๐ ๖๒๕๓๘๙.๐๐ ๑๙๑๖๓๑๙.๐๑ ๑๓๖๔๒๓.๐๐ ๑๑๙๙๖.๐๐ ๑๔๗๓๒.๘๑ ๘๒๐๒๐๐.๐๐ ๔๕๖๓๔๐๒.๘๒ ๒๙๘๐๕๔๒.๐๐ ๔๗๖๑๗๔.๐๐ ๑๕๐๐๐.๐๐ ๔๐๗๕๕.๐๐ ๖๑๕๗๒๗.๕๐ ๓๕๒๗๕๐.๐๐ ๔๔๘๐๙๔๘.๕๐ ๑๖๕๑๑๗๗.๒๕ ๕๔๑๒๙๑.๕๑ ๑๐๑๔๔๔๙.๖๗ ๔๓๗๕๔.๒๒ ๔๐๔๘๑.๘๕ ๑๑๒๐๐.๐๐


วัดเขาวง (ข้าวก้นบาตร) เดือนมีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๕๓ ยอดเงินและเงินฝากธนาคารต้นงวด เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) รายรับ รับเงินจากสมาชิก รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รวมรายรับ รายจ่าย จ่ายเพื่องานสาธารณูปการ จ่ายเพื่องานศึกษาสงเคราะห์ จ่ายเพื่องานสาธารณสงเคราะห์ จ่ายค่าสวัสดิการพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ จ่ายเงินยืมให้บัญชีถ้ำ�นารายณ์ รวมรายจ่าย ยอดเงินและเงินฝากธนาคารปลายงวด เงินสด เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด ( มหาชน )

๔๗,๐๘๙.๘๕ ๓๑,๑๐๖.๐๐ ๑๕,๙๘๓.๘๕ ๓๒๕,๖๓๗.๗๔ ๐.๐๐ ๓๒๕,๖๓๗.๗๔ ๐.๐๐ ๕๓,๘๕๐.๐๐ ๓,๙๐๐.๐๐ ๑๘,๖๕๗.๐๐ ๑๕๒,๐๐๐.๐๐ ๒๒๘,๔๐๗.๐๐ ๑๔๔,๓๒๐.๕๙ ๑๑๒,๑๗๐.๙๙ ๓๒,๑๔๙.๖๐


วัดเขาวง (ข้าวก้นบาตร) เดือน มิถุนายน - สิงหาคม ๒๕๕๓ ยอดเงินและเงินฝากธนาคารต้นงวด เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) รายรับ รับเงินจากสมาชิก รับคืนเงินยืมจาก “ ร้านวันยังค่ำ�” รับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รวมรายรับ รายจ่าย จ่ายเพื่องานสาธารณูปการ จ่ายเพื่องานศึกษาสงเคราะห์ จ่ายเพื่องานสาธารณสงเคราะห์ จ่ายค่าสวัสดิการพระสงฆ์และเจ้าหน้าที่ จ่ายเงินยืมให้ถ้ำ�นารายณ์ รวมรายจ่าย ยอดเงินและเงินฝากธนาคารปลายงวด เงินสด เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน)

๑๔๔,๓๒๐.๕๙ ๑๑๒,๑๗๐.๙๙ ๓๒,๑๔๙.๖๐ ๒๖๓,๑๑๖.๕๐ ๓๕,๒๒๖.๐๐ ๖๐.๔๕ ๒๙๘,๔๐๒.๙๕ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๐.๐๐ ๕๔,๖๕๔.๐๐ ๓๔๕,๐๐๐.๐๐ ๓๙๙,๖๕๔.๐๐ ๔๓,๐๖๙.๕๔ ๒๘,๔๙๙.๙๙ ๑๔,๕๖๙.๕๕


วัดเขาวง (วันยังค่ำ�) เดือน มีนาคม-พฤษภาคม ๒๕๕๓ ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ยกมา ๓๗๓,๙๗๓.๑๒ เงินสดในมือ ๒๒๗,๔๕๒.๓๔ เงินสดย่อย ๑๕,๐๐๐.๐๐ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๑๓๑,๕๒๐.๗๘ รายรับ รายได้จากการขายเครื่องดื่ม และสินค้าสำ�เร็จรูป ๗๘๒,๕๔๖.๐๐ รับเงินยืม ๒๐๐,๐๐๐.๐๐ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ๐.๐๐ รวมรายรับ ๙๘๒,๕๔๖.๐๐ รายจ่าย ต้นทุนขายในการผลิต ๖๒,๙๗๗.๐๐ ต้นทุนขายจากสินค้าสำ�เร็จรูป ๔๖๔,๕๒๒.๙๘ เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ ๑๕,๖๐๖.๐๐ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ๓๒๓,๖๙๖.๐๐ รวมรายจ่าย ๘๖๖,๘๐๑.๙๘ ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารคงเหลือ ปลายงวด ๔๘๙,๗๑๗.๑๔ เงินสดในมือ ๒๗๓,๑๙๖.๓๖ เงินสดย่อย ๑๕,๐๐๐.๐๐ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๒๐๑,๕๒๐.๗๘


วัดเขาวง (วันยังค่ำ�) เดือน มิถุนายน-สิงหาคม ๒๕๕๓ ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ยกมา ๔๘๙,๗๑๗.๑๔ เงินสดในมือ ๒๗๓,๑๙๖.๓๖ เงินสดย่อย ๑๕,๐๐๐.๐๐ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๒๐๑,๕๒๐.๗๘ รายรับ รายได้จากการขายเครื่องดื่ม และสินค้าสำ�เร็จรูป ๗๒๙,๘๗๔.๐๐ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร ๔๓๐.๙๒ รวมรายรับ ๗๓๐,๓๐๔.๙๒ รายจ่าย ต้นทุนขายในการผลิต ๕๗,๔๕๐.๕๐ ต้นทุนขายจากสินค้าสำ�เร็จรูป ๕๒๓,๔๗๘.๐๐ เครื่องมือเครื่องใช้และอุปกรณ์ ๐.๐๐ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ๔๙๓,๖๖๓.๕๐ รวมรายจ่าย ๑,๐๗๔,๕๙๒.๐๐ ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคารคงเหลือ ปลายงวด ๑๔๕,๔๓๐.๐๖ เงินสดในมือ ๑๒๘,๔๗๘.๓๖ เงินสดย่อย ๑๕,๐๐๐.๐๐ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) ๑,๙๕๑.๗๐



76 สังฆทาน คุณวลีกาญน์ นัติชัยพัฒน์ คุณวรีพร พงษ์เขียว คุณชมพูนุท ยาคุณ คุณนิธินันท์ ชัยธนาหิรัณย์ คุณชนะสิทธิ์-คุณเรือนใจ-คุณปอล มามะกะลูละ คุณสมเกียรติ เจียรอุทัยธำ�รงค์ ส.ต.อ. วรพจน์ สุจิตตกุล คุณสุพจน์ สิงห์คำ� คุณนงเยาว์-คุณคณวัฒน์ มณีกร คณะบึงลับแล คุณทนงศักดิ์ เล่นทัศน์และครอบครัว คุณรวยริน เปล่งสงวน ครอบครัววมะลิวัลย์ คุณภัสร์ศรัณ ชัยคณาวิรัตน์และครอบครัว คุณวินัย-คุณอณิภร ทัพมีและครอบครัว คุณชญนิษฐ์ ศักดิ์การินทร์กุล คุณทัศนีย์ แสงคำ� คุณแก้ว กิรสมุทรกานนท์ ครอบครัวศรีจันทร์ คุณจิรพัฒน์ เรไร คุณอาทิตย์ เชียงอินทร์ ครอบครัวศิรารัตน์ คุณจรรยา ศิลารัตน์ พระภูษิต อาภาธโร คุณจี๋ อินทราพงษ์ คุณอนันต์ ศศิกีรติ คุณอำ�นวย จั่นแก้ว

๑๐๐ ๒๐๐ ๒๒๐ ๕๔๐ ๕๐๐ ๘๐๐ ๒,๖๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๘๔๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๓,๐๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๖๘๐ ๑๐๐ ๒,๔๐๐ ๕๐๐


77 คุณอ้อย พระบาท คุณประกอบ ผลาสุข พ.ต.อ. สิทธิพันธ์ พุฒทอง คุณณัฐนันท์ พุฒทอง คุณสมเกียรติ เริ่มสุคนธ์ คุณชมพูนุท ยาคุณ คณะโรงพยาบาลบ้านหมอ ครอบครัวอินทณารักษ์ ครอบครัวสังวรเวชภันฑ์ ครอบครัวอู่วิเชียร คณะคุณแม่ชีเจดีย์ ครอบครัวธาราสันติ ครอบครัวตันจริยานนท์ ครอบครัวงามเลิศชัย คณะนวรัตน์ คุณพั่ว นิสสัยมั่นและคณะ คุณแสงชัย-คุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์และครอบครัว คุณพิราภรณ์ วิเชียรโรจน์ คุณอาภากร สุขกมลและครอบครัว คณะพี่อ้อยพระบาท คุณพยอม วงศ์ช่างหล่อ คุณประกอบ ผลาสุข คุณพนพรัตน์ จิรโรจน์ คุณชัยรัตน์ ผลาสุ คุณวิภาวรรณ รุ่งเรืองรัตนชัย พระเฉลิมชาติ ชาติวโร วัดชลประทานรังสฤษฏ์และคณะ คุณธริตและคณะ คุณโรจนวรัตน์ สุรเลิศรังสรี - คุณฟ้าปกเกศ บรรจงจิต

๒,๒๐๐ ๘๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑,๕๘๙ ๑,๐๐๐ ๕,๕๐๐ ๔,๐๐๐ ๖,๙๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๒๓,๕๐๐ ๖,๘๔๐ ๔,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๒๐๐ ๒,๐๔๐ ๒,๑๒๐ ๑,๐๐๐ ๘๑๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๙๙๔ ๒,๐๐๐


78 คุณไพรัช แสงงาม คณะนวรัตน์ ครอบาครัวรุ่งเลิศสิทธิกุล ครอบครัวกาญจนโสภา คุณรภัทร ภัทรคงสิทธิ์ คุณรุ่งนภาและครอบครัว คุณประคอง วัฒนกุลและครอบครัว คุณเอี่ยวตวง แซ่เตีย คุณสาลินี สุทธิถวิล คุณอุบลวรรณ สูสุข คุณปราณี เลไทสงค์ คุณทิชากร ชินบุตร บ้านบางประกอก คุณภัคภร ทองกระจ่างเนตร คุณสุนิตยา กิ่งโพธิ์ คุณปิติ วงศ์ชวนาถและครอบครัว ครอบครัว ไม้จีน คุณพิทักษ์-แม่เขียน บัวพันธ์ คุณยุพิน ปุ่นวัฒน์ คุณสานิต วิชชุภานันท์ นพ.เลิศยศ ประสิทธิโศภิณ ร้านอาหารคุณ หินกอง ร้านฮู้เจริญ เต๊นท์ไพสารี เจริญยนต์ คุณบุญยงค์-ชนิสรา ผลเจริญ คุณมนตรี - อรพิน โรจน์เรืองมาศ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชี อ.ดร. ปริญดา มณีโรจน์

๓,๐๐๐ ๙,๒๐๐ ๑,๕๐๐ ๒,๑๐๐ ๑๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐๐ ๒,๐๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๒,๑๐๕ ๕๐๐ ๑๑,๗๓๒ ๒,๐๐๐ ๕๐๐ ๘๖๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๑,๒๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๕๐๐


79 คุณษมาภรณ์ นราธิปานันท์ คณะนวรัตน์ คุณดลนภา-จิตตินันท์ ปลั่งกลาง คุณนฤพาน ดุสิตาอาภาและครอบครัว คุณอรทัย ปิ่นน้อย คุณธนภา ธนินยาพร คุณเสกสรรค์ ปั่นโพธิ์ คุณอนุชา-สุชานุช เสงี่ยมงาม คุณสุวรรณ กล่าวสุนทร-คุณชลังกร ซื่อสัตย์และมารดา คุณแววตา - อรพินท์ - เก่งพงศ์ - เจียวก๊ก ครอบครัวเทพเจษฎาทรศักดิ์และคุณากร คุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์ คุณประจวบ บุญสนธิ คุณพรรณี วันสีและครอบครัว คุณทัศพล-สมวงษ์-สุทธิณี-สุทธิชัย ผึ้งแดง คุณคมสัน-จันทนา-ศุภวิชญ์ ผึ้งแดง ชมรมคนรักดี ครอบครัวจันทร์เพ็ง คุณปิยธิดา พูนพัฒนปรีชา คุณเอกรัฐ กังวรรัตน์-คุณปกรณ์ ชื่นยืนยง คุณธันย์จิรา ธนาอธิเศรษฐ์ คุณแม่มัลลิกา ทองเพิ่มสมสิทธิ์ คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ พนักงาน บจก. พชรมาสเตอร์ คอนสตรัคชั่น คุณธนยศ - คุณกฤติกา บุญมีมา บ.สหพัฒนพิบูลจำ�กัด รุ่น ๓ คุณนันทา บุญมีมา คุณแม่ศรีเพ็ญ-คุณเจียมจิตต์ แสงสินเจริญชัย

๒,๐๐๐ ๔,๗๔๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๑๒๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๔๕๐ ๓๐๐ ๘,๔๕๐ ๒,๑๐๐ ๕๐๐ ๒,๔๐๐ ๙๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๔,๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๕๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐


80 คุณบุษบา ปทุมลังการ์ คุณธัญลักษณ์ สุขเกษม คุณธนสาร สุภาพรหม คณะคุณมยุรีย์ อาจศิริ คุณภูชิณ แสงไฟ-ชัชกร ศุภศักดิ์มนตรีและคณะ คุณจันทนา โพธิ์ศรีและครอบครัว คุณรสกมล วงศ์เชาวนาถ บ้านปากน้ำ� คุณไตร ปริปุณณานนท์

๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๖,๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๗๓,๔๕๒ ๑,๐๐๐

ชำ�ระหนี้สงฆ์ คุณจินตนา พิเชียรพงษ์ ลูกศิษย์หลวงพี่องอาจ พระวิเชียร สุธมฺมวชิโร พระทรงศักดิ์ ด.ต. โกศล ชมภูพาน คุณลำ�ดวน สมบุญ คุณทรงพล บุญประเสริฐ คุณธีรชัย เอื้อชลิตนุกุล คุณน้ำ�ฝน พระทรงศักดิ์ - พระภูษิต คุณจรรยา ศิลารัตน์ คณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านหมอ คุณเหรียญ เกตุสุขำ� ครอบครัวคุณากร คณะนวรัตน์ คุณลออ พิพัฒนางกูร คุณจิตต์ทิพย์-จิตติมา บุนนาค

๒๔๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๓๐๐ ๑,๐๐๐ ๗๓๐ ๕๐๐ ๓๐๐ ๑,๐๐๐ ๒๔๐ ๑๐๐ ๓๐๐๐ ๑๐๐ ๓,๑๐๐ ๓,๔๘๐ ๑,๐๐๐ ๒,๐๐๐


81 ส.ต.อ. วรพจน์ สุจิตตกุล คุณสมเกียรติ เจียรอุทัยธำ�รงค์ คณะนวรัตน์ กลุ่มกาขาว คุณนันทมน วัฒิธรรม คุณณัฐธยาน์ ถิระถวรทรัพย์ ม.ราชภัฎเทพกษัตรีลพบุรี คุณองอาจ ราเหลือ คณะนวรัตน์ คุณดลนภา-จิตตินันท์ ปลั่งกลาง วัดพระบาท(บำ�รุงค่ากลด) คุณเกรียงไกร ศิริภาณุเสถียร คุณอุทุมพร คุณากรและครอบครัว บ้านปากน้ำ�

๓,๗๔๐ ๗๐๐ ๒,๖๖๐ ๙,๔๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๖๐๐ ๔,๐๐๐ ๒,๐๓๐ ๕๐๐ ๕,๐๐๐ ๕๐ ๒,๐๐๐ ๓,๔๕๙

ทำ�บุญอาหารพระเข้าปริวาสกรรม คุณบัวใย มังอุ่ม หลวงพี่ไพโรจน์ หลวงพี่โก้ วัดทรงเมตตา ป้าพยอม ผดุงพล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบ้านหมอ พระวิชิตและญาติโยม คุณสุภาพรรณ์ ธนะเกียรติไกรและครอบครัว คุณสุภานันท์ ยุทธศักดิ์สุนทร พระครูปลัดเฉลิมพล สุเมโธ ครอบครัวหลอดศิริ คุณจารุณี หิรัญธนานันทกิจ คุณนันนภัส พรานป่า-คุณแม่ทองอินทร์ เหล่าบัวดี

๑,๐๐๐ ๔,๘๗๐ ๑,๔๐๐ ๑,๕๐๐ ๙๓๙ ๑,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐


82 และครอบครัว หลวงพี่องอาจ อาภากโร กลุ่มกาขาว คุณวิเชียร ถาวรสถิตย์และครอบครัว คุณลักษณ์สิภา ศิริถาวรสถิตย์

๑,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๕,๐๐๐

ทำ�บุญบูรณะศาลพระนารายณ์ คุณพัศญา วีรวงศ์ คุณติ๋ม เชียงใหม่ คุณสมชัย ธรสารศิลป์และครอบครัว

๒๐๐ ๑๐,๐๐๐ ๓๐๐,๐๐๐

ทำ�บุญหล่อพระอรหันต์ ๔ องค์ คุณกัญญนันทน์ มีสัตย์จิตธาดา และครอบครัว คุณพิกุลฉัตร พิจารณ์จิตร และครอบครัว คุณพีระเดช-พัทธนันท์ ตรงจิตไพศาลและครอบครัว คุณนิวัฒน์-คุณกัลยาณี พงศ์สมจิตร คุณสมจิต รอดเดชและครอบครัว คุณสอางค์ศรี สังฆสุวรรณ คุณวัฒนา วงษาก้อ คุณภาณุ อุดมทรัพย์ พระอำ�นวย สุมโน

๒๕๐,๐๐๐ ๒๕๐,๐๐๐ ๒๕๐,๐๐๐ ๒๕๐,๐๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๖,๑๐๐ ๑๐๐

ทำ�บุญเครื่องปรับอากาศห้องสมุด คุณโรจนวรัตน์ สุรเลิศรังศรี-คุณฟ้าปกเกศ บรรจงจิตร ๔๒,๐๐๐ ทำ�บุญถวายภัตตาหารพระ คุณเทียนชัย กังวรรัตน์ ครอบครัวสังวรเวชภันฑ์

๕,๐๐๐ ๓,๐๐๐


83 ครอบครัวอู่วิเชียร คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์และครอบครัว คุณอัญชลี กีรติวิทยนนท์ คุณแสงชัย-คุณจอมใจ พงศ์อนิวรรตน์และครอบครัว คุณพ่อพระปอล คุณมธุรส-คุณมิ่งขวัญ เจียประเสริฐ และคุณอุไรวรรณ บุญกังวาน คุณสุภานันท์ ยุครศักดิ์สุนทร คุณกิ่งฟ้า ขอเอิบกลางและคณะ คุณอุทุมพร คุณากรและครอบครัว คุณอำ�ไพ อุไรรัตน์ คณะหนุนบุญ คุณนิตยา ม่วงทรัพย์ คุณภูชิณ แสงไฟ-คุณรัชกร ศุภศักดิ์มนตรี คุณพาณี-คุณปาณิศา-คุณพสธร-คุณกวินนา โกยสมบูรณ์ ทำ�บุญร่วมซื้อที่ดินวัด คุณวีรชัย บุญยเกียรติ ครอบครัววอาวสกุลสุทธิ ทำ�บุญสร้างอุโบสถ คุณไพโรจน์ ภรรณพาศพงศ์ คุณอุทุมพร คุณากรและครอบครัว บ้านปากน้ำ� ทำ�บุญธรรมทานหนังสือ คุณจุฑาทิพย์ เกียรติกิตติพงษ์ คุณภาคย์ ทิพานุกะและคณะ คุณอัจฉราภรณ์ พัลลภรักษา

๖,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๐๓๒ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๕,๐๐๐ ๓,๑๑๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๓๐๐ ๕๐๐ ๕๒,๐๐๐ ๓๐,๐๐๐ ๔,๙๗๔ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐


84 ทำ�บุญเบี้ยประกันรถตู้ คุณวิชียร ถาวรสถิตย์

๓,๐๐๐

ทำ�บุญค่าน้ำ�-ไฟฟ้า คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์และครอบครัว คุณสิริวรรณ เอกผล คุณอรุณี คำ�หอม คุณวริศรา ติสรณวราภรณ์ คุณเล็ก มณีกร บ้านปากน้ำ�

๑,๐๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๒๐๐ ๑,๐๐๐ ๒,๖๑๒

บูชาคาถาพระปัจเจกพุทธเจ้า คุณพชร อุทัชกุล

๒,๐๐๐

ทำ�บุญอาสนะไม้เคลื่อนที่ คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์และครอบครัว คุณพชร อุทัชกุล คุณดุษฎี รุ่งเลิศสิทธิกุล

๑๐,๐๐๐ ๒๐,๐๐๐ ๑๐,๐๐๐

ถวายทุนการศึกษาพระนักเรียนนักธรรม พระเอกรัฐ กังวรรัตน์ ๑๐,๐๐๐ ถวายค่ากรอบรูป ในอุโบสถ คุณลัดดา นภาลัยและบุตรธิดา คุณแสงเดือน พร้อมพันธุ์และครอบครัว

๒๕,๐๐๐ ๒๕,๐๐๐


85 คุณสมหมาย มีทรัพย์ทอง คุณภัคภร ทองกระจ่างเนตรและครอบครัว คุณศรีเจริญ สุขวีรพล คุณสุนีย์ สิงหะพันธ์และคณะ

๑๐,๐๐๐ ๒๕,๐๐๐ ๒๐๐ ๔๐๐

ถวายเทียนพรรษา คณะนวรัตน์ พระครูพิพิธปริยัติกิจ คณะปิยะบุตร

๑,๖๖๐ ๒,๐๐๐ ๑,๑๐๐

ถวายค่าอาหารปลา คณะนวรัตน์

๒,๘๘๐

เจ้าภาพสร้างห้องน้ำ�สาธารณะ ๑๖ ห้อง พระทรงศักดิ์ สุทธิญาโณ ๑๕,๐๐๐ พระภานุวัฒน์ สุเมธโส ๑๐,๐๐๐ คุณเกียรติ - คุณจงกลณี ดิษฐอุดม ๕๐,๐๐๐ คุณพชร อุทัชกุล ๕๕,๖๗๓ เจ้าภาพสร้างหัวพญานาคปั้นลมวิหารหน้าถ้ำ� คุณพิบูลย์ ดิษฐอุดม ๕,๐๐๐ เจ้าภาพปลูกต้นไม้ ๑. คุณน้ำ�ฝน พิเชษฐ์พงศ์ ๒. คุณทิพวรรณ ดวงภมร


86 ๓. ๔. ๕. ๖. ๗. ๘. ๙. ๑๐. ๑๑. ๑๑. ๑๒. ๑๓. ๑๔. ๑๕. ๑๖. ๑๗. ๑๘. ๑๙. ๒๐. ๒๑. ๒๒. ๒๓.

บริษัทซีเคียว คลีน (ไทยแลนด์) จำ�กัด ครอบครัวคุณสิทธิไพศาล, ครอบครวพิพัฒน์วุฒิธร, ครอบครัวสวนศิลป์พงศ์ คุณปรานี-คุณพงศพจน์ เปี่ยมเจริญ และครอบครัว คุณณัฐชนก แสงสุข คุณมาลี สุวรรณณณตมณี และครอบครัว คุณกัญญานันท์ ครอบครัวจิตต์โอภาส นพ.อานนท์ จติชาติและเพื่อน คุณแม่เชื้อน ทองทรัพย์-คุณสมควร - คุณอารีย์ คุณธิดารัตน์ - คุณธิดาทิพย์ จริตทรง คุณธนยศ - คุณกฤติกา - คุณณฐพนธ์ บุญมีมา พ.ต.ท. คนิณฑ์ - คุณสายชล สวัสดิชัยโสภิต และครอบครัว พระเอกรัฐ ธมฺธโรและคณะ คุณชัยศิษฎ์-คุณมนชนก - คุณขวัญพัฒน์ คุณดลสวัสดิ์ สกุลธัญญลักษณ์ คณะภูเก็ต พระปกรณ์ อินทปญฺโญ - คุณประภาศ - คุณกรวิกา ชื่นยืนยง กลุ่มพัชรพฤกษ์และอรุณเลิศพิทักษ์ คุณกรมาศ ปัญญารัตนภักดี - คุณนินา ฐานทองธรรม คุณเกษศิริ ตั้งสุพงษ์ ห้างไฟฟ้าไทย - คุณสุรชัย - คุณวิภาภรณ์ - คุณสิริมา คุณสิรินภา พฤกษาวนกิจ คุณจุลเทพ-คุณอิสรา-คุณพรพรหม เอื้อชลิตนุกูล คุณเกรียงศักดิ์-คุณสุปริญญา เอื้อชลิตนุกุลและครอบครัว ครอบครัว ล้วนประจักษ์แจ้งและวิวัฒนกิจ พระสันติชัย สนฺติชโย


87 ๒๔. ๒๕. ๒๖. ๒๗. ๒๘. ๒๙. ๓๐. ๓๑. ๓๒. ๓๓. ๓๔. ๓๕. ๓๖. ๓๗. ๓๘. ๓๙. ๔๐. ๔๑. ๔๒. ๔๓. ๔๔. ๔๕. ๔๖. ๔๗. ๔๘. ๔๙. ๕๐. ๕๑.

คุณธีรชัย-คุณยุพร-คุณจิตรลดา เอื้อชลิตนุกูล, คุณระชาวีย์ พูลสวัสดิ์และคณะ คุณจิรชยา บุญเรืองศรี-คุณพิชิต เลาห์เกริกเกียรติและเพื่อน คุณวรญา-คุณธงชัย จึงทองดีและครอบครัว คณะนวรัตน์ คุณวิเชียร ถาวรสถิตย์-คุณศรีจิตรา ภัทรพฤก์พาณิช คุณอรนุช อิเคโนย่า คุณอรทัย ปรมัตตานนท์-คุณกัลยา เดชรักษ์ พระภานุวัฒน์ สุเมธโส พ.ต.อ. สิทธิพันธ์ - คุณณัฐนันท์ - คุณฤดีมาศ พุฒทอง คณะคุณวรญา จึงทองดี คุณชมชนก นารทอัมพุทและครอบครัว คุณฟ้าปกเกศ บรรจงจิตและเพื่อนๆ ครอบครัวชินวงศ์-ครอบครัวภวภูตานนท์- ครอบครัวแน่นอน คุณดลนภา- คุณจิตตนันท์ ปลั่งกลาง คุณปริญดา ศรีสร้อยแก้ว คุณสิริกาญน์ กุลสยามและครอบครัว คุณลัดดา นภาลัย พระพรชัย รตนโชโต คุณพิพัฒน์ นิลกาญจน์ พระณฐพนธ์ คุณากโร- คุณธนยศ- คุณกฤติกา บุญมีมา คุณภรภัทร คำ�ภาพงษ์ - คุณเสาวนีย์ กินะรี คุณระชาวีย์ พูลสวัสดิ์และคณะ ครอบครัวอรุณเลิศพิทักษ์และเชียงใหม่ คุณเธเนศ ขำ�เกิด- คุณรุจิเรข จิระเสวี คุณอำ�นวย จั่นแก้ว คุณณรงค์-คุณประไพ-คุณอิสระ-คุณศุภกิตต์ เกียรติกิตติพงษ์ พระเอกรัฐ ธมฺธโรและคณะ


88 ๕๒. ๕๓. ๕๔. ๕๕. ๕๖. ๕๗. ๕๘. ๕๙. ๖๐. ๖๑. ๖๒. ๖๓. ๖๔. ๖๕. ๖๖. ๖๗. ๖๘. ๖๙.

คุณธริต-คุณภรมณ จึงทองดีและครอบครัว คุณพิสิษฐ์กร-คุณพันธุ์วัฒน์ มิตรธรรฒพิทักษ์-คุณวรรณวนัช โคศิริ คุณชาลิสา วงศ์ภากร คุณอนุชา จึงทองดี-คุณชยุตา ไตรธรรมและครอบครัว พล.ต.ต. สมยศ-คุณโสภิต พรหมนิ่ม คุณวรรณาและครอบครัวสหสักยะ-คุณคำ�นึง-คุณจีรนันท์ พิมพ์ถาวร ชมรมคนรักดี คุณนชัยเศรษฐ์ คุณนินา ฐานทองธรรม คุณแม่สาคร คุณฉัตริษา ศรีสานติวงศ์-คุณปิติพัฒน์ พยัคฆพันธ์ คุณสุภานันท์ ยุทธศักดิ์สุนทะ พล.ต.ต. สมยศ-คุณโสภิต พรหมนิ่ม คุณเสรี-คุณจำ�ปี รุ่งเลบิศสิทิกุลและครอบครัว คุณสมจิต รุปขำ�-คุณสมบุญ หลุงเจิญ-คุณประยงค์ อิทรมณี พนักงานบริษัท นิเด็ค-โรจนะปี 53 คุณจอมใจ-คุณแสงชัย พงศ์นิวรรตน์และคณะ คุณกัลยา เอื้อชลิตรนุกุล พระเอกรัฐ ธมฺธโรและคณะ

๑. ๒. ๓. ๔. ๕. ๖. ๗.

เจ้าภาพก้อนหินนั่งภาวนา คุณกรวรรณ ผาสุข คุณไพบูลย์ ชินวงศ์ คุณจงกล ชินวงศ์ ด.ญ. จิราภรณ์ ชินวงศ์ คุณมนูญ-คุณใบศรี ชินวงศ์ คุณวสุ เอี่ยมเจริญ - บุษบากร ห้องสุข คุณฟ้าปกเกศ บรรจงจิตร


89 ๘. คุณประคอง บุนนาค ๙. คุณคำ�นึง - คุณจีรนันท์ พิมถาวร ๑๐. คุณกัลยาณี - คุณพจน์ กิตติจูธจิต ๑๑. คุณทรงพล - คุณชิเอะ บุญประเสริฐ ๑๒. ร้านหินโกฮาร์นสโตน ๑๓. คุณวราวุฒิ - คุณสาธินี นิจวัตถา ๑๔. พระสุดจิต เตชะปัญโญ ๑๕. คุณสุรศักดิ์ กองพลและคุณทรงกลด ธนาภามาอ่อน ๑๖. คุณบุญชัย เจริญด้วยศีลและคุณปรัชญา คนธขจร ๑๗. คุณพันธนันท์ คู่อรุณและครอบครัว ๑๘. คุณนรินยา เจตนานุศาสน์และยุทธนา ไสไทย ๑๙. คุณลออ พิพัฒนางกูร - คุณพิราภรณ์ เมธินี ไสไทย ๒๐. คุณตรีสุคนธ์กานต์ เจริญผล - กิตติ กิตติขจร ๒๑. คุณวินิตา มณฑบโสภณ ๒๒. คุณป้าพยอม ผดุงพล ๒๓. นายแพทย์ ธีระพงศ์ บุญยะกิริยากร ๒๔. คุณทวิดา อัคนิทัต ๒๕. คุณวีระพร ประเสริฐชาติและคุณสุรีย์ หวังบำ�รุงศักดิ์ ๒๖. คุณวรรณา สหศักยะและครอบครัว ๒๗. คุณปรีดี ถาวรสถิตย์ ๒๘. คุณประภาส - คุณกรวิกา ชื่นยืนยง ๒๙. คุณเวช ลำ�พุทธา - ทองถุลล์ ลำ�พุทธา ๓๐. คุณมานพ - คุณละมัย โพธิ์ประเสริฐและครอบครัว ๓๑. คุณเฉลียว รอดบ่วงและครอบครัว


90 ๓๒. คุณสุกานดา แสงเวชและครอบครัว ๓๓. คุณณิฐชานันท์ - ภิตินันท์ จิโรจสุวรรณกุล ๓๔. คุณทิพย์วรรณ หนูปล้อง ๓๕. คุณจักรกฤษ เอื้อบุณยะนันท์ ๓๖. คุณณัฐพร ธีรเนตร ๓๗. คุณพิชชาภา เจริญชีพและครอบครัว ๓๘. คุณจุฬาลักษณ์ กาญจนโสภา ๓๙. คุณภูวกร- ณภัค - บุญญาภา ยิ้มแย้ม ๔๐. คุณพรพิศ - คุณอนงค์ - คุณทองมา สังข์ทอง ๔๑. คุณสาลี่ คุณสิทธิไพศาลและครอบครัว ๔๒. คุณชัยยศ เดชฤดี ๔๓. คุณจำ�แลง เดชฤดี ๔๔. คุณทวี หัตถกรรมและครอบครัว ๔๕. คุณฐิติชญาชน์ สุขสำ�ราญ - คุณณัฐพงศ์ พรพัฒนาพงศ์ ๔๖. คณะอินทราพงษ์ ๔๗. คุณแสวง - วันเพ็ญ ถาวรเจริญและครอบครัว ๔๘. ครอบครัวคุณฉวีวรรณ สุวรรณนิโรจน์ ๔๙. คุณอาภากร สุขกมล ๕๐. คุณวิยะวัฒน์ จิรวัตร์โอภาส ๕๑. คุณดลธรรม จิรวัตร์โอภาส ๕๒. คุณเพ- คุณซัว สังข์ทองและครอบครัว ๕๓. ครอบครัวคุณบัณฑิต - คุณมาลี สุวรรณรัชตมณี ๕๔. คุณกฤษฎา เดชฤดี


91 ๕๕. คุณสถิตย์ เดชฤดี ๕๖. คุณดุษฎี รุ่งเลิศสิทธิกุลและครอบครัว ๕๗. คุณกิติยา รุ่งเลิศสิทธิกุล ๕๘. คุณวิฑูรย์ รุ่งเลิศสิทธิกุล ๕๙. คุณสิตา ธนาสิริดา ๖๐. คุณวนิษฐา ฉันทานุศาสน์ ๖๑. คุณกฤษณะ ชี้วปลีและครอบครัว ๖๒. คุณดำ�รง - คุณสุพิศ บุญชาติ ๖๓. คุณตรีสุคนธ์กานต์ เจริญผล - กิตติ กิตติขจร ๖๔. คุณแม่จำ�ลอง(จั่น) เจริญผล ๖๕. คุณสุภากาญจน์ - คุณวนรัตน์ กิตติขจร ๖๖. คุณกิตติ - คุณวนรัตน์ กิตติขจร ๖๗. คุณกันยารัตน์ รัตนภาหุและครอบครัว ๖๘. คุณสราญรัตน์ กุลสยามและน้องกีวี่ ๖๙. คุณมงคล - คุณกรณิภา กุลสยามและครอบครัว ๗๐. คุณสืบศักดิ์ สืบศักดิ์และน้องอินดี้ ๗๑. คุณบุปผา - คุณกุหลาบ กุลสยาม ๗๒. ภก.ชัยวัฒน์ นิปกานนท์และครอบครัว ๗๓. คุณสิริกาญจน์ กุลสยาม ๗๔. คุณดวงใจ ภพเหมวโรดมและครอบครัว ๗๕. คุณโรจนวรัตน์ สุรเลิศรังศรี ๗๖. ด.ช. ธนาววรวัจน์ สุรเลิศรังศรี ๗๗. คุณวรรณา สุรเลิศรังศรี


92 ๗๘. คุณบุญยืน เพ็ชรพงและน้องแพง น้องเบบี๋ ๗๙. คณะวัชรบุตร ๘๐. หลวงตา ๘๑. พระสมเกียรติ ๘๒. คุณยุทธพงษ์ อนุวัฒน์มงคล ๘๓. คุณธนยศ บุญมีมา ๘๔. คุณกฤติกา บุญมีมา ๘๕. คุณณฐพนธ บุญมีมา ๘๖. คุณพิเชษ คงจันทร์ ๘๗. คุณอรทัย คงจันทร์ ๘๘. คุณอภัสรินทร์ เปี่ยมวิมล ๘๙. คุณฐาน์ณสุข บ่อสุข ๙๐. คุณนงลักษณ์ ศรีอุบล ๙๑. คุณเลิศยศ ประสิทธิโศภิณ ๙๒. คุณกิตติพจน์ - คุณชนิญญา ฤกษ์จำ�รัส ๙๓. คุณศุภกร โสมทัศน์ ๙๔. คุณอัครินทร์ คติคุปต์อนันท์และครอบครัว ๙๕. คุณลักษณาวลัย เอื้ออารีนุกุล ๙๖. คุณรณิดา บัวแย้ม ๙๗. คุณพิมพ์มาดา ชื่นมาน ๙๘. คุณมณฑาริกา ไตรยสุทธิ์และครอบครัว ๙๙. คณะวัชรบุตร ๑๐๐. คุณพิฑิวดี สุ่มสวัสดิ์


93 ๑๐๑. คุณบัณณทัต ขุนทอง-คุณกุลธิรัตน์ สร้อยสุวรรณและครอบครัว ๑๐๒. คุณทิพย์ศวิน - คุณละออง - คุณประยงค์ - คุณสุริยัน อุทิศวงค์ ๑๐๓. คุณสายชล สารสุวรรณ์ ๑๐๓. คุณหนูเล็ก ๑๐๔. คุณทวีศักดิ์ - คุณณัฐชยา โทแก้วและครอบครัว ๑๐๕. คุณตรี เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา ๑๐๖. คุณวุฒิกรเดช มั่นถาวร ๑๐๗. คุณธีรพงษ์ แก้วสา ๑๐๘. ครอบครัวนครคุปต์ ๑๐๙. คุณเทียนชัย กังวรรัตน์ ๑๑๐. คุณสมหวัง กังวรรัตน์ ๑๑๑. คุณพัชรินทร์ กังวรรัตน์ ๑๑๒. คุณเอกรัฐ กังวรรัตน์ ๑๑๓. คุณเอกภพ กังวรรัตน์ ๑๑๔. คุณบุปผา บางแสง ๑๑๕. คุณกมลลักษณ์ บางแสง ๑๑๖. คุณชลคเณศ - คุณคเณศวร ยกสวัสดิ์ ๑๑๗. อุทิศให้ หลวงประสานประศาสตร์ - คุณปิ่น สายะสิต ๑๑๘. อุทิศแด่ คุณถิระ บุณยรัตนกลิน ๑๑๙. คุณฐิตาภัทร์ ภัทรบริพันธ์ - คุณธนัท สุนทรธีรภาพกุล ๑๒๐. คุณกรรณิกา กุลสยาม ๑๒๑. คุณศรันย์ บุณยเรืองกิจ ๑๒๒. ครอบครัวบุญยเรืองกิจ


94 ๑๒๓. ด.ญ. ธัญชนก มนัสมโนธรรม ๑๒๔. คุณวนิดา คงคาโชติ ๑๒๕. คุณวรญา แซ่ตั้งและครอบครัว ๑๒๖. คุณธงชัย จึงทองดีและครอบครัว ๑๒๗. คุณพ่อธงจียง แซ่ตั้ง ๑๒๘. คุณยายเงิ่นบ้วย แซ่ถัว - คุณตาตั่งเหลียง แซ่ก๊วย ๑๒๙. คุณแม่เกศแก้ว จิรัฐรุจิกร - คุณแม่ยุพาพร สาธิตสัมพันธ์ ๑๓๐. คุณณัฏฐภณ นามโภษน์ และครอบครัว ๑๓๑. คุณพ่ออยู่จั้ว - คุณแม่ซิ้วหงษ์ จึงทองดี ๑๓๒. คุณนิรชา ศิริจานุกุล ๑๓๓. คุณจอมใจ โกมลผลิน ๑๓๔. คุณจิตติมา บุนนาคและครอบครัว ๑๓๕. คุณจิตติทพย์ บุนนาคและครอบครัว ๑๓๖. คุณธัญธร มงคลชนก ๑๓๗. คุณพ่อจำ�ปี ๑๓๘. คุณอานนท์ ๑๓๙. คุณสามารถ - ด.ญ. ศภิสรา แสงจันทร์ ๑๔๐. คุณล้วน แซ่เซียง ๑๔๑. คุณเจมส์ เสริทฟิวด์ -คุณอรวรรณเปี่ยมวิมลและลูก ๑๔๒. คุณฮิโรอะกิ-คุณขวัญจิรา ยามาเบะ - ด.ญ. สุธาวดี เปี่ยมวิมล ๑๔๓. คุณกำ�พล - คุณสุนีย์ สิงหพันธ์ ๑๔๔. คุณสายหยุด - คุณอรุณ สิงหพันธ์ ๑๔๕. อุทิศให้ พ่อบุญกอง-แม่สังเวียน


95 ๑๔๖. คุรปาริชาติ เชื้อปรุง ๑๔๗. คุณชนันพร บุหงานคร ๑๔๘. คุณณัฐพล ทองเพิ่มสมสิทธิ์ ๑๔๙. คุณวีระศักดิ์ ทองเพิ่มสมสิทธิ์ ๑๕๐. คุณมณเฑียร ทองเพิ่มสมสิทธิ์ ๑๕๑. คุณเสถียรพงษ์ ทองเพิ่มสมสิทธิ์ ๑๕๒. คุณบงกชรัตน์ ทองเพิ่มสมสิทธิ์ ๑๕๓. คุณประภาส ชื่นยืนยง ๑๕๔. คุณกรวิกา ชื่นยืนยง ๑๕๕. คุณอุด- คุณเฮียน ปลายเนตร ๑๕๖. คุณประคอง บุนนาค อุทิศให้นางจำ�เนียร ทองคำ� ๑๕๗. คุณกันยารัตน์ รัตนพาหุ และครอบครัว ๑๕๘. คุณศรันย์ บุณยเรืองกิจ และครอบครัว ๑๕๙. สราญรัตน์ กุลสยามและน้องกีวี่ ๑๖๐. คุณดวงใจ ภพเหมวโรดม และครอบครัว ๑๖๑. ภก.ชัยวัฒน์ นิปกานนท์และครอบครัว ๑๖๒. อุทิศให้นายฮวดจุ่ย-นางบัวทอง กุลสยาม ๑๖๓. ภญ.อธิชา วิยาภรณ์ และครอบครัว ๑๖๔. น.ส.สุภัทรา กุลสยาม ๑๖๕. สืบศักดิ์ สืบภักดี และน้องอินดี้


ถวายสิ่งของ คุณทิพย์ จั่นเทศ บริษัท ทีทีซี น้ำ�ดื่มสยาม จำ�กัด ถวายน้ำ�ดื่ม คุณไตร ปริปุณณานนท์, คุณธีรพงษ์ เตมีรักษ์ คุณภคินี เตมีรักษ์, คุณสมกมล ด่านสุวรรณ คุณสมปอง เขมาดิรักษ์, ครอบครัวราญจิตต์ ถวายกล้วยไม้คัทลียา

๒๘๐ โหล

๑ ไร่



98 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๔๖๐๙ ๔๖๑๐ ๔๖๑๑ ๔๖๑๒ ๔๖๑๓ ๔๖๑๔ ๔๖๑๕ ๔๖๑๖ ๔๖๑๗ ๔๖๑๘ ๔๖๑๙ ๔๖๒๐ ๔๖๒๑ ๔๖๒๒ ๔๖๒๓ ๔๖๒๔ ๔๖๒๕ ๔๖๒๖ ๔๖๒๗ ๔๖๒๘ ๔๖๒๙ ๔๖๓๐ ๔๖๓๑ ๔๖๓๒ ๔๖๓๓ ๔๖๓๔ ๔๖๓๕

ครอบครัวคุณสุเมธ-คุณปิดา มโนรส ๕๔๐ พนักงาน หจก. การ์เทอร์ เทคโนโลยี ๙๕๙ คุณภัชกุล ใจเย็นและครอบครัว ๕๐๐ คุณปพน บุญมีมาและครอบครัว ๑๐๐ คุณประจิม แตงร่ม ๑๐๐ คุณศุภฤกษ์ ศรีบุญรอด และ คุณวาริน โรจน์วงศ์ไพศาล ๔๐ คุณสมทรง ศรีบุญรอดคุณสำ�เริง ศรีบุญรอด ๔๐ พ.อ. วีรชัย-คุณวัลลภา เอี่ยมสากล ๕๐ ครอบครัวสุขแย้มศรี ๑๐๐ คุณมะลิ เชิดชู ๑๐๐ พ.ต.หญิงบงกชรัตน์ ทองเพิ่มสมสิทธิ์ ๑๐๐ พ.ท.หญิง ดวงพร โลหะปิยะพรรณ ๑๐๐ พ.อ.หญิง อุบล เรืองทอง ๑๐๐ พ.อ.หญิง อัศนัย แฉ่งฉายา ๑๐๐ อัคริมา เฮงแสงรุ้ง ๑๐๐ คุณอุษมาส บวรกุล ๑๐๐ คุณภาษิญา ภัคกุลกีรต์ ๒๐๐ ครอบครัวนิมิตรมงคลและด่านยุทธพลชัย ๑,๐๐๐ ด.ช. วิศรุต แย้มพราย ๒๐ คุณยุทธนา มณีพร ๑๐๐ คุณรัตนา ศรีศุภะมนตชัย ๑๐๐ คุณนุชรี ศรีสุภะมนตชัย ๑๐๐ คุณชัชชัย นวมงคล ๑,๐๐๐ คุณคัมภีร์-ศรัญญา-ปวริศ บุนนาค ๙,๙๕๕ คุณชมชนก นารถอัมพุท ๑๐๐ คุณนันท์นภัส ทุ่งกลาง ๑๐๐ คุณพิทักษ์ อัมภวา ๕๐๐

๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐

๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๒๙-มี.ค.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๖-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐


หมายเลข

๔๖๓๖ ๔๖๓๗ ๔๖๓๘ ๔๖๓๙ ๔๖๔๐ ๔๖๔๑ ๔๖๔๒ ๔๖๔๓ ๔๖๔๔ ๔๖๔๕ ๔๖๔๖ ๔๖๔๗ ๔๖๔๘ ๔๖๔๙ ๔๖๕๐ ๔๖๕๑ ๔๖๕๒ ๔๖๕๓ ๔๖๕๔ ๔๖๕๕ ๔๖๕๖ ๔๖๕๗ ๔๖๕๘ ๔๖๕๙ ๔๖๖๐ ๔๖๖๑ ๔๖๖๒

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณจิรชยา บุญเรืองศรี ๑๐๐ คุณมนัสนันท์ ชื่นใจ ๑๐๐ คุณขนิษฐา อัมพวา ๑,๐๐๐ คุณอภิชาติ พรมรินทร์ ๑๐๐ คุณมนชัย เกศมนตรี ๑๐๐ ด.ช. ธนากร ศิลาลาภ ๑๐๐ คุณอารีวัล ดาราวัลย์ ๕๐๐ ด.ช. คฑาวุธ บุญเกิด ๑๐๐ คุณบังออน ที่ระลึก ๔๐ คุณลัดดา ดาราวัลย์ ๑๐๐ คุณจิระพันธ์ โชติกวณิชย์ ๑๐๐ ด.ญ. ฉัตรแก้ว ตั้งณรงค์ศิริ ๓๐ คุณภานุพงศ์ ดาราวัลย์ ๑๐๐ ด.ช. วิรชัช โชติกวณิชย์ ๑๐ คุณสุกันยา บัวเพ็ชร ๑๐๐ คุณวิชชุดา วรรณละเอียด ๑๐๐ คุณณรงค์ จิตรกิตติรัตน์ ๑๐๐ คุณนพลักษณ์ ชัยรัฐเรืองแสง ๙๓๗ คุณชินวัตร จิตนกิตติรัตน์และครอบครัว ๒๐๐ คุณณัฐประมวล ธรรมคุณาภรณ์ และครอบครัว ๔๗๗ คุณปวัณศิริ หอมนาน ๓๑๙ คุณจีรนันท์ พิมถาวร ๑๐๐ คุณโต๊ะ เข็มมา ๑๐๐ คุณกวินน์ฑิตา วิริยะวรชัย ๒๐๐ คุณสุภาพรรณ วิริยะวรชัย ๑๓๐ ด.ช. รัชพล รอดรังณ์นก ๕๓๐ คุณตรี เสนีย์วงค์ ๖๙๗

๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๒-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐


100 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๔๖๖๓ ๔๖๖๔ ๔๖๖๕ ๔๖๖๖ ๔๖๖๗ ๔๖๖๘ ๔๖๖๙ ๔๖๗๐ ๔๖๗๑ ๔๖๗๒ ๔๖๗๓ ๔๖๗๔ ๔๖๗๕ ๔๖๗๖ ๔๖๗๗ ๔๖๗๘ ๔๖๗๙ ๔๖๘๐ ๔๖๘๑ ๔๖๘๒ ๔๖๘๓ ๔๖๘๔ ๔๖๘๕ ๔๖๘๖ ๔๖๘๗ ๔๖๘๘ ๔๖๘๙

คุณล้วน แซ่โค้ว คุณบวรพรรณ อัชกุล กวยะปาณิก คุณยุทธศักดิ์ นุ่นโชติ คุณพรเพ็ญ ไชยรินทร์ คุณสกนธิ์ -คุณวัลลา สุขโสภณสนธิ คุณธงชัย - อรสา-ธนาธิป ด.ญ.ล้ำ�ค่า ศรีสุพรรณ คุณจุฑามาส ใหญ่สง่า คุณเพ็ญศรี บุศย์น้ำ�เพชร คุณณัฐวดี จิระปาน คุณดวงกมล มุกดาวงษ์สกุล คุณปาริชาติ เปร่งเดช คุณสมหมาย เลิศสกุลชัย คุณพัชรินทร์ บุษบา คุณเตียง ฤทธิ์มนตรี คุณพันธ์ทิพย์ จุสมใจ สุวรรณเทศ คุณวินัย เปสลาพันธ์ ดวงดาว - เว่ยจง หยู คุณสุวิทย์ กลิ่นทอง นิดพันธ์ เพชรเหมือน คุณกาญจนาวดี พูลพรและครอบครัว คุณชัยสิทธิ์ อนุชิตวรวงศ์ คุณมาโนช-คุณวัชรินทร์ กองจำ�ปา ทองสุข มูลลา คุณภูวกร - นภัค - บุญญาภา ยิ้มแย้ม คุณเรณู บันตติกุล

๔๒๕ ๑๐๐ ๒๐๐ ๓๐๐ ๑,๐๐๐ ๔๐๐

๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๔-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐

๕๐๙ ๑,๖๗๐ ๑๐๐ ๕๐ ๓๙ ๑,๐๐๐ ๔๐๐ ๔๐๐ ๑๐๐ ๗๐ ๑๐๐ ๘๐๐ ๖๙๙ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๘๗๗ ๑๐๐ ๓๖๒ ๑,๕๒๐

๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๘-พ.ค.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐


หมายเลข

๔๖๙๐ ๔๖๙๑ ๔๖๙๒ ๔๖๙๓ ๔๖๙๔ ๔๖๙๕ ๔๖๙๖ ๔๖๙๗ ๔๖๙๘ ๔๖๙๙ ๔๗๐๐ ๔๗๐๑ ๔๗๐๒ ๔๗๐๓ ๔๗๐๔ ๔๗๐๕ ๔๗๐๖ ๔๗๐๗ ๔๗๐๘ ๔๗๐๙ ๔๗๑๐ ๔๗๑๑ ๔๗๑๒ ๔๗๑๓ ๔๗๑๔ ๔๗๑๕ ๔๗๑๖

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณฐานันดร์ มั่นถาวร คุณณิชาภา จันสีนาก คุณวิศวิ ชัยรุ่งเรือง คุณณรงค์ ภมรานนท์ คุณพงษ์อินทร์ นางไหล ศิริเขตต์ คุณเมธี ทรัพย์ประสพโชค คุณนิอร กังกฏเสนา คุณศิสุดา โควะอินทวีวัฒน์ คุณศิริพร โควะอินทวีวัฒน์ คุณปวิตรี ลวานนท์ คุณชุติกาญจน์ ยาเตชะ คุณกัญญธร สายปาน คุณนงนภัส ผาสุกรรม คุณณัฐธนนท์ ทองมีและครอบครัว คุณหทัยชนก เลิศอุดมไพศาล คุณณัฐติยา ศรีรักษ์ คุณอรุณี ณ หนองคาย คุณสมัย ณ หนองคาย คุณพิทักษ์ ดิ่งกลาง ครอบครัวอำ�นวยเทียนเวียง กมล พิกุลสวัสดิ์ คุณยศวัจน์ พุฒิกรเลิศศิริ คุณพิมพ์วดี มนต์อภิวันท์ คุณวรรณภา พิพัฒนางกูร คุณนราธิป โลหะวนโรจน์ คุณลออ พิพัฒนางกูร คุณเมธินี วิเชียรโรจน์ คุณภัสนันท์ - คุณจารุพันธ์ หนูสมตน

๑๐๐ ๕๐ ๔,๙๙๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๔๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๒๐ ๕๐ ๑๐๐ ๔๐ ๑๐๐

๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑๖-เม.ย.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐

๒๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๒,๐๐๐

๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐


102 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๔๗๑๗ ๔๗๑๘ ๔๗๑๙ ๔๗๒๐ ๔๗๒๑ ๔๗๒๒ ๔๗๒๓ ๔๗๒๔ ๔๗๒๕ ๔๗๒๖ ๔๗๒๗ ๔๗๒๘ ๔๗๒๙ ๔๗๓๐ ๔๗๓๑ ๔๗๓๒ ๔๗๓๓ ๔๗๓๔ ๔๗๓๕ ๔๗๓๖ ๔๗๓๗ ๔๗๓๘ ๔๗๓๙ ๔๗๔๐

คุณอมรรัตน์ เฉลิมชวลิต ๒,๐๐๐ คุณจินตนา ๑๐๐ คุณมนตรี กริ่มใจ ๑๐๐ คุณพรเพ็ญ ช่างเกตุ ๑๐๐ คุณเยาวนาถ ทองบัว คุณวิมลรัตน์ วงศ์สถิต ๒,๘๗๐ คุณสุรีพร ดาคำ� ๑๐๐ คุณปาจรีย์ บุญยศรีสวัสดิ์ ๑,๐๐๐ คุณวรินทร์ธร ปิยทัชอังค์วรา ๓,๕๐๐ คุณสมศรี ศักดารุจานนท์ ๑๐๐ คุณสรวุฒิ เกตุสิงห์สร้อย ๑๐๐ ด.ช. ชัยมงคล หนูโคกสูง ๑๐๐ คุณวิชัย ๕๐๐ คุณวรรณี จิตรวิมล ๕๐๐ คุณฐามิกา-จันทนา-จันทร์เพ็ญจุฑามาศ - อินทร์ธิดาประวิทย์ พิพัฒน์วุฒิ ๒,๐๐๐ คุณสรวงมณฑ์ พนมพริ้ง ๒๐ คุณชยากิติรัชฎ์ บรรจงจิตร ๕๐๐ คุณสุนทร-จินตนา-ทศพรธนัตถ์ภรณ์ มีคำ� ๑,๒๒๗ ร้านเค.ที.มาร์ท ปทุม ๙๕๐ คุณสำ�ราญ วงษ์สุวรรณ ๖๑๐ คุณยุทธี พฤทธิบุญญกุล และครอบครัว ๑,๕๗๙ คุณทองม้วน มีภักดี ๑,๑๐๐ คุณสิริกาญจน์ กุลสยามและครอบครัว ๑๐๐ คุณสืบศักดิ์ สืบภักดีและน้องอินดี้ ๑๐๐ คุณชิไหว่ เจอราพี เช็ง ๑๐๐

๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐


หมายเลข

๔๗๔๑ ๔๗๔๒ ๔๗๔๓ ๔๗๔๔ ๔๗๔๕ ๔๗๔๖ ๔๗๔๗ ๔๗๔๘ ๔๗๔๙ ๔๗๕๐ ๔๗๕๑ ๔๗๕๒ ๔๗๕๓ ๔๗๕๔ ๔๗๕๕ ๔๗๕๖ ๔๗๕๗ ๔๗๕๘ ๔๗๕๙ ๔๗๖๐ ๔๗๖๑ ๔๗๖๒ ๔๗๖๓ ๔๗๖๔ ๔๗๖๕ ๔๗๖๖ ๔๗๖๗

ชื่อเจ้าของทุน

คุณปิยะ ธนกาญจน์ คุณสุภัทรา กุลสยาม คุณบุปผา กุลสยาม คุณณัฏฐ์สุมน ศุภวงค์ศิริกุล และสุทธิกร สังข์เสน คุณสุรพรรณ พิพัฒนเดชา คุณพิสมัย พิพัฒนเดชา คุณนารี พิพัฒนเดชา ด.ญ. พิมพ์ลภัส พิพัฒนเดชา คุณนวลปรางค์-ศรชัย คุณเพียน พิมล คุณเอมิกา ศรีวงศ์ คุณวิชุพร จิตวิมลรัตน์ คุณบุรเศรษฐ์ โสภณดิษย์ คุณศิริพงษ์ พิพัฒนเดชา คุณกิ่มบางยาง - ไหมสีงาม กองทุน อุบลไทร คุณวันเพ็ญ แซ่เอี้ยและครอบครัว คุณกวิสรา สมบัติเทพสุทธิ์ กองทุน ครุธา - ครุฑเมธา สาธร สำ�ราญหันต์ - ลีรัตนนุรัตน์ กองทุน โมสิกะ คุณกนกกร ยุทธวรวิทย์ คุณมิ่งขวัญ เจียประเสริฐ คุณเมธัส เสียงสุวรรณ์ คุณเมธิวัจนน์ เสียงสุวรรณ์ คุณประไพจิตร์ เสียงสุวรรณ์ คุณภควัต ธรรมประทีป

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐

๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐

๑๐๐ ๓๖๕ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๕๐ ๓๐๐ ๑๔๙ ๓๖๕ ๒๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๔๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐

๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐


104 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๔๗๖๘ ๔๗๖๙ ๔๗๗๐ ๔๗๗๑ ๔๗๗๒ ๔๗๗๓ ๔๗๗๔ ๔๗๗๕ ๔๗๗๖ ๔๗๗๗ ๔๗๗๘ ๔๗๗๙ ๔๗๘๐ ๔๗๘๑ ๔๗๘๒ ๔๗๘๓ ๔๗๘๔ ๔๗๘๕ ๔๗๘๖ ๔๗๘๗ ๔๗๘๘ ๔๗๘๙ ๔๗๙๐ ๔๗๙๑ ๔๗๙๒ ๔๗๙๓ ๔๗๙๔

คุณรัชนี ธรรมประทีป ๑๐๐ ด.ช.ภัคพล ธรรมประทีป ๑๐๐ คุณกานต์ธนัตถ์ เอกวัฒนพันธ์ ๒๐๐ ด.ช. วงศธร เจนวุฒาจุฬานนท์ ๑๐๐ คุณมณฑาทิพย์ ก้านอินทร์ ๑๐๐ กองทุน บุญประสม ๑๐๐ คุณสุดสาคร ภัทฤนิษฐ์และครอบครัว ๑๐๐ กองทุน วงศ์วรรณ-เครือวัลย์ ๑๐๐ คุณมนัส เสียงสุวรรณ์ ๓๐๐ คุณดวงเดือน ธัญญาภิบาล ๑๐๐ คุณอรลดา อิ่มสมุทร ๒๔๐ คุณอลัมภ์ อิ่มสมุทร ๒๔๐ คุณอิมอร อิ่มสมุทร ๕๐๐ คุณจำ�ปา เรืองแสง ๑,๐๐๐ นาวาโท ญ.แอนนา สันต์พงษ์ไพบูลย์ ๑๕๐ คุณณัฐพร พิริยะธรรม ๕๐ ครอบครัวภัยพิทักษ์ ๒๒๒ คุณมานพ ฉายปรีชาและครอบครัว ๑๐๐ คุณหนึ่งฤทัย-ด.ญ.ศิริด.ช.เอกมล ธีราวิทยางกูร ๑๑๖ คุณพรพิศ เฉลียวเรศ ๒๐๗ แม่น้อย มาศตรัย ๒๐๐ ร้าน เอ แอนด์ พี มาร์ท ๑,๐๐๐ คุณธนวัฒน์ วงศ์สินคงมั่นและครอบครัว ๑๘๔ มาร์ช (ทักษิณ) ๑๒๑ คุณวรินดา โรจน์กัญญาพร ๑๕๗ คุณณัฐกมลธร งามเลิศ ๒๑๗ คุณภาณุ อุดมทรัพย์ ๓๓๐

๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐


หมายเลข

๔๗๙๕ ๔๗๙๖ ๔๗๙๗ ๔๗๙๘ ๔๗๙๙ ๔๘๐๐ ๔๘๐๑ ๔๘๐๒ ๔๘๐๓ ๔๘๐๔ ๔๘๐๕ ๔๘๐๖ ๔๘๐๗ ๔๘๐๘ ๔๘๐๙ ๔๘๑๐ ๔๘๑๑ ๔๘๑๒ ๔๘๑๓ ๔๘๑๔ ๔๘๑๕ ๔๘๑๖ ๔๘๑๗ ๔๘๑๘ ๔๘๑๙

ชื่อเจ้าของทุน

คุณชวด เลาวณาภิบาล ครอบครัวทิมดอน คุณบัวศรี บุญค้ำ� ด.ญ.สุพรรณี บึงพับ คุณวันวิสาข์ เพชรสลับศรี คุณพัชยา ชะบางบอน คุณสรินทร์ทิพย์ สายพันธุ์ททิพย์ คุณเยาวภา จารุเกษม คุณณัฐธยาน์ โพธิ์พิเนตร คุณวิภาวี มโนศิรินุกุล ครอบครัว มั่ง มี ศรี สุข เงินทอง คุณวรรณา , คุณชารีย์ , คุณปฐมพงษ์ สหศักายะ ญาณมาศ พรหมภักดี น.อ.หญิง ธัญญพัทธ์ สถิรจรัสพงศ์ คุณพุทธรักษา เผ่าทอง ครอบครัวแสงสมัย คุณบุญรุ่ง - คุณอารยา คุณอารีย์ - คุณสุวรรณี และครอบครัวเชื้อคง คุณกษิเดช ประกอบธรรม คุณนิตยา พงษ์สิงห์ คุณรวิภา ธงชัย น.ท. ประเสริฐ พงษ์สิงห์ คุณนิพาดา วงษ์กระสันต์ คุณขวัญพัฒน์ พงษ์สิงห์ คุณนุชอนงค์ วงษ์กระสันต์ คุณขวัญเมือง สอนดา

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๘๐๐ ๒๐๒ ๒๓๐ ๒๘ ๒๐๐ ๕๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๘๐

๑-พ.ค.-๑๐ ๑-พ.ค.-๑๐ ๑๘-พ.ค.-๑๐ ๑๘-พ.ค.-๑๐ ๑๘-พ.ค.-๑๐ ๑๘-พ.ค.-๑๐ ๑๘-พ.ค.-๑๐ ๑๘-พ.ค.-๑๐ ๑๘-พ.ค.-๑๐ ๑๘-พ.ค.-๑๐ ๑-มิ.ย.-๑๐

๒๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐

๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐

๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐

๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐


106 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๔๘๒๐ ๔๘๒๑ ๔๘๒๒ ๔๘๒๓ ๔๘๒๔ ๔๘๒๕ ๔๘๒๖ ๔๘๒๗ ๔๘๒๘ ๔๘๒๙ ๔๘๓๐ ๔๘๓๑ ๔๘๓๒ ๔๘๓๓ ๔๘๓๔ ๔๘๓๕ ๔๘๓๖ ๔๘๓๗ ๔๘๓๘ ๔๘๓๙ ๔๘๔๐ ๔๘๔๑ ๔๘๔๒ ๔๘๔๓ ๔๘๔๔ ๔๘๔๕

พันตรี สว่าง เพ็ชรพล รตท.วีรยุทธ พ่วงเพิ่ม คุณสุรี่รัตน์ ปิ่นนราทิพย์ คุณทวีวัฒน์ กองกูต คุณเรืองระวี มีสัตย์นนทิกร คุณกัญญนันทน์ มีสัตย์จิตธาดา คุณวราพร อภัยโส คุณจตุระ พึ่งธรรมสกุล มามงคล คุณดาวใจ สุทธิธารธวัช และ รชตะ ปาระดี คุณจินดารัตน์ สีหรัตนปทุม คุณอุ่นเรือน โสรกนิษฐ์ คุณมานพ - คุณสายพิน ษมาวิมล คุณสรลักษณ์ ห้อมท่าช้าง คุณกนกลักษณ์ นากดี คุณชุติกาญจน์ นากดี คุณอัญชนา วิลัยรัตน์ คุณปาริฉัตร เชื้อปรุง คุณสภาวดี คชารัตน์ ศาสตร์สาระ คุณอุไร ศุภเกียรติกัมธร ด.ญ.ขวัญฤทัย กุญชโร คุณเซี่ยมเช็ง เลี่ยวไพรัชต์ ด.ช.นรวิทญ์ กนกประดิษฐ คุณหอมไกร สุฤทธิ์ ชมรมสายสัมพันธ์บ้านเริงราง (องค์กกรสวัสดิการชุมชน)

๑๐๐ ๑๐๐ ๓๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐

๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐

๕๐๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๒๐๐ ๓๐-พ.ค.-๑๐ ๑๐๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๑๐๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๓๐๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๑๐๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๑๐๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๑๐๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๓๐๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๑๐๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๒๐๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๕๐ ๑-มิ.ย.-๑๐ ๔๔๗ ๒-มิ.ย.-๑๐ ๔๙๗ ๒-มิ.ย.-๑๐ ๕๐๖ ๒-มิ.ย.-๑๐ ๑๕๔ ๒-มิ.ย.-๑๐ ๖๖๐

๒-มิ.ย.-๑๐


หมายเลข

๔๘๔๖ ๔๘๔๗ ๔๘๔๘ ๔๘๔๙ ๔๘๕๐ ๔๘๕๑ ๔๙๕๐ ๔๙๕๑ ๔๙๕๒ ๔๙๕๓ ๔๙๕๔ ๔๙๕๕ ๔๙๕๖ ๔๙๕๗ ๔๙๕๘ ๔๙๕๙ ๔๙๖๐ ๔๙๖๑ ๔๙๖๒ ๔๙๖๓ ๔๙๖๔ ๔๙๖๕ ๔๙๖๖ ๔๙๖๗ ๔๙๖๘ ๔๙๖๙ ๔๙๗๐ ๔๙๗๑

ชื่อเจ้าของทุน

ครอบครัวแก้วพูลศรี คุณจริยาพร ชานะคา รชต โปษยะนันทน์ และครอบครัว คุณนรัตน์วันท์ พันธ์ยาว ด.ญ. ธนานันท์ จิรัสยาวรกุลภู คุณพชรพร เห่งรวย พระอำ�นวย ฐิติโก คุณเมย์ สุรจิตตาภรณ์ คุณวีระยา นันตะโรหิต คุณสุชานัน นารายพิทักษ์ คุณวิทวัส ทองมุข คุณวรพล บุดดี พระนที ฉนฺทปาโล คุณสมคิด คลังสมบัติ พระราชันย์ จิรธมฺโม บริษัท เทคเวิร์ค จำ�กัด คุณสิริรักษ์ กำ�ลังหาญ คุณรวงรัตน์ ลิ่วเฉลิมวงค์ ด.ญ. นวพร จิตต์จำ�นงค์ คุณสุนิตยา กิ่งโพธิ์ คุณธนภัค กิจใบ กมลนารถ อุ่นไธสง คุณกานดา โพธิ์เขียว ด.ญ.นวพร จิตต์จำ�นงค์ คุณสมคิด ชูกลีบ คุณรณชัย-วิรุฬห์ เรืองรัตนวิภา คุณสากล เรืองรัตนวิภา คุณกรรณิกา ลาภไลน์ไพบูลย์

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๑,๑๖๘ ๕๐ ๑,๐๐๖ ๒๐๐ ๒๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐ ๑๐๐ ๕๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๕,๐๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐

๒-มิ.ย.-๑๐ ๒-มิ.ย.-๑๐ ๒-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๓-มิ.ย.-๑๐ ๑๕-มิ.ย.-๑๐ ๑๕-มิ.ย.-๑๐ ๑๕-มิ.ย.-๑๐


108 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๔๙๗๒ ๔๙๗๓ ๔๙๗๔ ๔๙๗๕ ๔๙๗๖ ๔๙๗๗ ๔๙๗๘ ๔๙๗๙ ๔๙๘๐ ๔๙๘๑ ๔๙๘๒ ๔๙๘๓ ๔๙๘๔ ๔๙๘๕ ๔๙๘๖ ๔๙๘๗ ๔๙๘๘ ๔๙๘๙ ๔๙๙๐ ๔๙๙๑ ๔๙๙๒ ๔๙๙๓ ๔๙๙๔ ๔๙๙๕ ๔๙๙๖ ๔๙๙๗

คุณปรียนันท์ อมรศุภพรพงษ์ ๑๐๐ คุณมลิวรรณ สร้อยจีนดี ๑๐๐ คุณเปรมจิต จิรเศรษฐ์ ๒,๔๗๗ คุณบุญเสือ-ทิพย์ประภา-บุญประสิทธิ์บุญญาสิทธิ์-บุญญารุจน์ บุญตั้ง ๑,๐๒๙ คุณโกสิน ตันวรรัตน์ ๑,๑๔๖ คุณพีรญา สนธิ์พุก คณิศร พฤกษภักดีวงศ์ ๘๔๘ คุณชลนิษฐ์ ศักดิ์การินทร์กุล ๑๐๐ คุณจินตนา จันทร์แก้ว ๕๐ คุณฉัตรชัย กังวาลและครอบครัว ๑๔๐ คุณกฤษณะ จูพานิชย์ ๓๑๙ คุณปิยเชษฐ-ฐิติชัย สนธิ์พุก ๘๒๐ ด.ญ. ธิดารัตน์ - เรไร เฉลิมทรัพย์ ๒๐ ด.ญ.หงส์ดุษฎีทอง เฉลิมทรัพย์ ๒๐ ด.ญ. ศิริบุญลักษณ์ เรไร ๒๐ คุณอิสรีย์ จิรัสยาวรกุลภู ๒๐ ด.ญ. สุพิชฌาย์ จิรัสยาววรกุลภู ๒๐ คุณวิรุฬห์เทพ-พรบุลกัณณ์ ชัยวัชรเสถียร ๒๐๐ คุณสุชีลา ตาลอำ�ไพ ๑๐๐ คุณธราธิษฐาน พิเชษฐพงศ์และครอบครัว ๔๐๐ คุณเนตรนัย อริยตระกูล ๑,๐๐๐ คุณพิมพ์ใจ ไชยชื่นพร ๑,๐๐๐ คุณทศพล ฉันทะยิ่งยง ๓๖๐ คุณวาทกานต์ ทนันชัย ๕๐ คุณณัฐนวพร ทรัพย์ศรีโสภา ๒๐๐ พตท.ชัชวาลย์ พิมพ์ศรี ๑๐๐ คุณพศิกาภัทร รื่นถวิล ๑๐๐

๑๕-มิ.ย.-๑๐ ๑๕-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๗-มิ.ย.-๑๐ ๒๘-มิ.ย.-๑๐ ๒๘-มิ.ย.-๑๐ ๒๘-มิ.ย.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐


หมายเลข

๔๙๙๘ ๔๙๙๙ ๕๐๐๐ ๕๐๐๑ ๕๐๐๒ ๕๐๐๓ ๕๐๐๔ ๕๐๐๕ ๕๐๐๖ ๕๐๐๗ ๕๐๐๙ ๕๐๑๐ ๕๐๑๑ ๕๐๑๒ ๕๐๑๓ ๕๐๑๔ ๕๐๑๕ ๕๐๑๖ ๕๐๑๗ ๕๐๑๘ ๕๐๑๙ ๕๐๒๐ ๕๐๒๑ ๕๐๒๒ ๕๐๒๓ ๕๐๒๔

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณแสงอุษา-คุณกนกแสง-คุณปัทมาภรณ์ด.ช.บุรินทร์ ด.ช.อัจฉรัย ๒๐๐ คุณฐาปนี เมฆารสธรรมกุล ๑๐๐ ตระกูล รัตนวิฬาร์ ๑๐๐ คุณวรรณวนัช โคศิริ ๔๐๐ คุณพันธุวัฒน์และคุณพิสิษฐ์กร มิตรธรรมพิทักษ์ ๔๐๐ คุณกชกร จันคำ�และด.ญ.ปาล์มมี่ ๒๐๐ คุณประวิทย์ ขำ�เจริญ ๑๐๐ Mr. David Fierstine ๑๐๐ คุณสมัย พ่วงจ่าง ๑๐๐ คุณสมใจ สถาปนศิริ ๑๐๐ คุณธนาคร จุลอักษร ๓๐๐ ด.ญ.สุวพิชญ์ คำ�วรรณ ๑๐๐ มาลี แซ่โค้ว ๕๐๐ คุณวรษา เสน่ห์นุช ๑๐๐ คุณทิพยพร บุญสิทธิ์ ๕๐๐ คุณสวาท บุญเรืองศรี ๑๐๐ คุณอณุชา ทองหุ้ม ๕๐๐ คุณรัชชานนท์ - กานดา ขุนเอม ๒๐๐ คุณขวัญจิต วงค์แก้วและครอบครัว ๑๐๐ ครอบครัวคุณาพร บ้านธีรธรรมาพร ๓,๐๐๐ คุณเผด็จ เคลือมณี ๒๐ มนตรี สารสุวรรณ์ ๑,๑๐๐ ประไพศรี สงเคราะห์ ๖๔๐ คุณสำ�ราญ มัคพาน ๒๐๐ คุณวิพูน ๑,๓๘๙ คุณคริช รัชโซ - ธวัลสิรี เปนะนาม ๒,๖๗๗

๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๒-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๘-ส.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐


110 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๕๐๒๕ ๕๐๒๖ ๕๐๒๗ ๕๐๒๘ ๕๐๒๙ ๕๐๓๐ ๕๐๓๑ ๕๐๓๒ ๕๐๓๓ ๕๐๓๔ ๕๐๓๕ ๕๐๓๖ ๕๐๓๗ ๕๐๓๘ ๕๐๓๙ ๕๐๔๐ ๕๐๔๑ ๕๐๔๒ ๕๐๔๓ ๕๐๔๔ ๕๐๔๕ ๕๐๔๖ ๕๐๔๗ ๕๐๔๘ ๕๐๔๙ ๕๐๕๐ ๕๐๕๑

คุณวราภรณ์ กัลยาณธีร์ ๒๐๐ คุณวนิดา นรพัลลภ ๘๐๐ คุณภูมิจิตร พงษ์เลอฤทธิ์ ๑๐๐ คุณละเอียด พงษ์เลอฤทธิ์-ส.อ.จักรพงษ์ ๒๐๐ ด.ญ. ชวัลรัตน์ นิธิมงคลชัย ๑๐๐ คุณลำ�จวน-ปิยะดา-ปฎิพัทธ์ ปิยาภัสร์ -ปภาวรินท์ ผงผัน ๑๐๐ ครอบครัวนิธิมมงคลชัย ๒๐๐ คุณวรภัฐ เสรีกุล ๒๐๐ คุณพนารัตน์ เชี่ยววิทย์ ๑๐๐ พลตรีหญิง ดวงพร เชี่ยววิทย์ ๒๐๐ คุณสุลีพร สุต้น ๒๐๐ คุณสิน คล้ายนาค ๑๐๐ คุณสรรค์นิธิ รัตนศิริสกุล ๒๐๐ คุณสุประวีณ์ สุทธิเวชชะกร ๒๐๐ คุณธนิตา แม้นศิริ ๕๐๐ คุณณภัสสรณ์ หาญเจริญอัศวสุข ๑๐๐ คุณยุทธพงษ์ สืบภักดี ๔๐ คุณละมัย สืบภักดี ๑๐๐ คุณเอกพล กวีสุนทรเสนาะ ๔๐๐ คุณประสาน ผลต้น ๑๐๐ คุณคณัสนันท์ วินุราช ๑๐๐ คุณดวงพร นครคุปต์ ๕๐ คุณภานุพงษ์ จุฬาดิลก ๑๐๐ คุณนวพร กุญชรจันทร์ ๑,๐๐๐ คุณอิสระ คำ�แถลง ๑,๐๐๐ คุณปัญจนา เหมะจันทร ๒๐๐ คุณชนัญญา สุขงูเหลือม ๑๐๐

๑๓-ก.ค.-๑๐ ๑๓-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐


หมายเลข

๕๐๕๒ ๕๐๕๓ ๕๐๕๔ ๕๐๕๕ ๕๐๕๖ ๕๐๕๗ ๕๐๕๘ ๕๐๕๙ ๕๐๖๐ ๕๐๖๑ ๕๐๖๒ ๕๐๖๓ ๕๐๖๔ ๕๐๖๕ ๕๐๖๖ ๕๐๖๗ ๕๐๖๘ ๕๐๖๙ ๕๐๗๐ ๕๐๗๑ ๕๐๗๒ ๕๐๗๓ ๕๐๗๔ ๕๐๗๕ ๕๐๗๖ ๕๐๗๗ ๕๐๗๘ ๕๐๗๙

ชื่อเจ้าของทุน

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

คุณวรรณกานต์ ใจช่วง คุณขนิษฐา ชูรอด คุณสุกานดา แสงเวช คุณธีรวัจน์ ธีรธรณัฐฐากุล ครอบครัวมาลัยบุญ คุณวริษฐ์ พานิชย์พันธุ์ คุณสุวรรณ์ ทองปน คุณณัฐชนา ทองปน ด.ช. พงศฺปณต ทองปน คุณนวลจันทร์ ทองปน คุณสัมฤทธิ์ ทองปน คุณนฤชิต มณีวงศ์ คุณทัตจิรา แจ่มเล็ก ด.ช. ภูภณ มณีวงศ์ คุณระริน เครือแก้ว คุณธเนศ พรหมประเสริฐ คุณนนิรักษ์ ณะสุวรรณ คุณนรา ใสสุก คุณสภานุ ขาวสะอาด คุณอิทธิเดช ไพรสว่าง คุณพันธกานต์ พิพัฒน์สัจจา คุณพนารัตน์ ธารธรรมมงคล ด.ช. ศักดิ์สิทธิ์ ยอดนารี คุณภัสร์ศศิร์ รัตนเลิศธาดา คุณณภัชนันท์ เพ็ชรล้วน คุณทศพณ ผดุงพันธ์และครอบครัว คุณธีรภัทร สุวรรณรุจิ คุณณัฐพงศ์ พรพัฒนาพงศ์

๒๐ ๒๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๐ ๒๕ ๒๕ ๒๕ ๒๕ ๑๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๖๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๕๐

๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๘-ก.ค.-๑๐ ๒๙-ก.ค.-๑๐ ๒๙-ก.ค.-๑๐


112 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๕๐๘๐ ๕๐๘๑ ๕๐๘๒ ๕๐๘๓ ๕๐๘๔ ๕๐๘๕ ๕๐๘๖ ๕๐๘๗ ๕๐๘๘ ๕๐๘๙ ๕๐๙๐ ๕๐๙๑ ๕๐๙๒ ๕๐๙๓ ๕๐๙๔ ๕๐๙๕ ๕๐๙๖ ๕๐๙๗ ๕๐๙๘ ๕๐๙๙ ๕๑๐๐ ๕๑๐๑ ๕๑๐๒ ๕๑๐๓ ๕๑๐๔ ๕๑๐๕

คุณสร้อยนภา พิมพ์ชื่น ๒๗๘ ๒๙-ก.ค.-๑๐ คุณไพฑูรย์ พุทธานี ๑๐๐ ๒๙-ก.ค.-๑๐ คุณสุรางค์ศรี โกศลยุทธสาร ๔๖๑ ๒๙-ก.ค.-๑๐ คุณกัญจนา กู้นาม ๑,๐๑๗ ๓๐-ก.ค.-๑๐ คุณฐิติชญาน์ สุขสำ�ราญ ๕๐ ๓๐-ก.ค.-๑๐ คุณธินันท์ บุญมีมา ๑๖๑ ๘-ส.ค.-๑๐ หลวงตา ๔,๘๘๕ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณพิฑิวดี สุ่มสวัสดิ์ ๑๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ ด.ช. พัทวัส โพธิ์ปฐม ๑๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ ครอบครัวรอดประดิษฐ์ ๑๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ สันติ สัมพันธ์ประทีป ศิริเพ็ญ ตันติพิทักษ์กุล ๒๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณอัญชลี แท่นพรหม ๒๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ พล.อ.ท สท้าน - นพรัตน์ จิรโรจน์ ๕๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ พณชนก จิรโรจน์ ๑๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณดลชนก นนทะเปารยะ ๑๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณคเณศวร ยกสวัสดิ์ ๓๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณพิเชษ-อรทัย คงจันทร์ ๑๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณละออง อุทิศวงศ์ ๑๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณธัญธร มงคลชนก ๑๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณนงาลักษณ์ ศรีอุบล ๔๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณวรรณา-ชารีย์-ปฐมพงศ์ สหศักยะ ๑๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณพรหมภัสสร - ด.ญ. สุภนิจ และครอบครัวยาทา ๓๐๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณอภัสรินทร์ เปี่ยมวิมล ๑๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณอรอนงค์ โพธิ์ขาม ๑๐ ๘-ส.ค.-๑๐ คุณสุลีวัลย์ ทวีกุลกิจชัย ๙๖๕ ๘-ส.ค.-๑๐ กองทุน พ่อ-แม่ ชาติต้น-ชาติปัจจุบัน ๑๐๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐


หมายเลข

๕๑๐๖ ๕๑๐๗ ๕๑๐๘ ๕๑๐๙ ๕๑๑๐ ๕๑๑๑ ๕๑๑๒ ๕๑๑๓ ๕๑๑๔ ๕๑๑๕ ๕๑๑๖ ๕๑๑๗ ๕๑๑๘ ๕๑๑๙ ๕๑๒๐ ๕๑๒๑ ๕๑๒๒ ๕๑๒๓ ๕๑๒๔ ๕๑๒๕ ๕๑๒๖ ๕๑๒๗ ๕๑๒๘ ๕๑๒๙ ๕๑๓๐

ชื่อเจ้าของทุน

คุณครรชิต กษภักดี คุณวรรณา ทาเสนา ร.ท. นันนภัส ขุนภักดี คุณศศิกานต์ รัตนสินธุ์ คุณธณภร จันทศร คุณนันทิชา เกิดถาวร คุณสุวิมล ครอบครัวถิระถาวรทรัพย์ คุณนันทมน วัฒิธรรม คุณอาภา คุณเจริญวิชญ์ คุณธิดารัตน์ สุริยาชัยวัฒนะ และครอบครัว คุณศิษฎิเนตติ จีระนันตสิน และครอบครัว คุณพิชญุตม์ สุวรรณมุณี ครอบครัวทองอุ่ม คุณจุฑารัตน์ เธียรกิจ คุณจิตต์ชนก เอื้อชลิตนุกุล คุณอิสสริยา เรืองศิริกูลชัย คุณบัณฑิตา แสงมณีเสถียร ด.ช. ณัฐปคัลภ์ สุวรรณมุณี คุณศิริวรรณ-กนกชาติ ปิติยาธร ทวีพันธุ์สานต์ ด.ช. เอกมล ธีราวิทยางกูร คุณภาพร ทรงธนสิทธิ์ คุณวุฒิชัย สมดี คุณพรรณปพร ศรีสุมานันท์

จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๑๐๐ ๒๙๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๘๐๐ ๒๐๐ ๕๐๐ ๓๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐

๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐

๑,๐๐๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๕๐๐ ๒๐ ๑๐๐ ๒๐ ๑๐๐ ๓๐ ๒๐ ๒๐

๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๕-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐

๒๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๓๖๕ ๓๐๐

๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐


114 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วันเริ่มทุน

๕๑๓๑ ๕๑๓๒ ๕๑๓๓ ๕๑๓๔ ๕๑๓๕ ๕๑๓๖ ๕๑๓๗ ๕๑๓๘ ๕๑๓๙ ๕๑๔๐ ๕๑๔๑ ๕๑๔๒ ๕๑๔๓ ๕๑๔๔ ๕๑๔๕ ๕๑๔๖ ๕๑๔๗ ๕๑๔๘ ๕๑๔๙

คุณนวพร สินสมบูรณ์ทองและครอครัว ๓๐๐ พนง.บจก.ชัยนริศภูเก็ตบจกพลเทพ เทรดดิ้ง ๑,๗๔๑ คุณษมาภรณ์ นราธิปานันท์ ๒,๗๐๐ คุณนพพร กมลดำ�รงค์กุล ๑๐๐ คุณคณิศร จันทรยาสาคร ๒๐๐ แชมป์กุลวานิช ๖๓ คุณเยื้อน เล็กเลิศ ๑๐๐ คลีนิคคุณหมอพิเชษฐ์ พัวพันกิจเจริญ ๑,๒๓๕ บ.สยาเซฟตี้ เทคโนโลยีจำ�กัด ๕๐๐ คุณสมคิด ทองใบและครอบครัว ๗๐๕ คุณผ่องศรีพรรณ์ สอาดเอี่ยม ๑๙๖ คุณปิตุรัก มะไหย์-คุณคชเดช โพธิ์ศรี ๔๓๐ บริษัท เอ็น.ที.มีเดียกรุ๊ป จำ�กัด ๒๕๐ อจ.สุมล สุวรรณรัตน์ ๑,๓๒๔ คุณนิรันดร์ ฮ้อแสงชัย ๑๐๐ คุณกษิดิศ ฮ้อแสงชัย ๑๐๐ คุณแดน ส่วนพงษ์ ๑,๔๐๙ คุณอำ�นาจ อ่อนศรีและครอบครัว ๑๐๐ คุณบุญญาพร งามจำ�รัส ๕๐

๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐ ๒๔-ส.ค.-๑๐


115 พระโอภาส โอภาโส

เคยรู้สึกน้อยใจบ้างไหม?

ว่าทำ�ไมเราไม่ เกิดครัง้ พุทธกาล พบพระพุทธเจ้า แล้วฟังธรรมจบเดียวสำ�เร็จ เป็นพระอรหันต์เลย หรืออย่างน้อย เอาแค่พระโสดาบันก่อน ก็ยงั ดี แล้วตอนนี้ พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่อยูแ่ ล้ว และพระอรหันต์ จะไปหาทีไ่ หนล่ะ นีเ่ ป็นความคิดโง่ๆ ก่อนทีจ่ ะได้เจอคำ�สอน ของหลวงพ่อ และตามกราบลูกศิษย์ของหลวงพ่อต่อๆ มา... มี หลวงพ่อองอาจ, หลวงพีเ่ อก, หลวงพ่อเล็ก, หลวงตาชลอ, หลวงพ่ออนันต์, และสุดท้ายคือหลวงตา.. ครัง้ แรกทีพ่ บหลวงตา จำ�ได้วา่ คืองานของหลวงพ่อ องอาจทีว่ ดั ศรีเอีย่ ม ตอนนัน้ ไม่รจู้ กั หลวงตาหรอก แต่เห็น หลวงพ่ออนันต์นง่ั สนทนากับพระรูปหนึง่ อยู่ เราก็ได้โอกาส เพราะปกติจะไม่ได้เข้าใกล้ทา่ นขนาดนี้ จึงเข้าไปนัง่ ทีพ่ น้ื ข้างหลัง ท่าน ไม่ได้ฟงั ท่านคุยกันหรอก แต่แอบมองและรูส้ กึ ถึงกระแส ความร่มเย็นของท่านทัง้ สอง จนอดรูส้ กึ อิจฉาไม่ได้วา่ ทำ�ไมเป็น คนทีม่ คี วามสุขแบบนีน้ ะ เราอยากมีความสุขแบบนีบ้ า้ ง แล้วใจ ก็บอกว่าองค์นแ้ี หละหลวงตาวัชรชัย วัดเขาวง ลูกศิษย์หลวงพ่อ อีกท่านหนึง่ หลังจากนีก้ เ็ ริม่ มาทีว่ ดั เขาวง ความรูส้ กึ แรกที่ ประทับใจ คือความสะอาดและความเป็นระเบียบทีส่ ดุ จริงๆ แต่


พระโอภาส โอภาโส

นักศึกษาปริญญาโท คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

“สถานที่ยังทำ�ให้สงบเย็นได้ขนาดนี้ แล้วเจ้าของที่จะสงบเย็นขนาดไหน”


117 ก็ยงั ไม่ได้พบหลวงตา ได้แต่กราบหลวงพ่อในถ้�ำ แล้วก็กลับ... เป็นแบบนีอ้ ยูห่ ลายครัง้ แต่กอ็ ม่ิ ใจทุกครัง้ นีข่ นาดสถานทีย่ งั ทำ�ให้ สงบใจได้ขนาดนี้ แล้วเจ้าของทีจ่ ะสงบเย็นขนาดไหน อดนึกไม่ได้ หลวงพ่อท่านเป็นองค์แรกทีบ่ อกว่านิพพานไม่สญ ู พระพุทธเจ้า ท่านอยูบ่ นพระนิพพาน ทีด่ บั ไปมันก็แค่ขนั ธ์ ๕ ของท่าน ท่าน เป็น พระพุทธเจ้าทีใ่ จ ไม่ใช่ทก่ี าย.. เราอยากพบท่านเราก็เอาใจ ของเราขึน้ ไปบนพระนิพพานสิ! และเราก็สามารถฟังคำ�สอนของ ท่านได้โดยตรง แต่เราก็ยงั กำ�ลังใจไม่ถงึ เลยคิดว่าฟังคำ�สอนของ ท่านผ่านหลวงพ่อ.. ผ่านหลวงตา.. ไปก่อนแล้วกัน ทำ�ให้มคี วาม มัน่ คง ในพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ มากขึน้ “ปฏิปทาใดทีท่ เ่ี ป็นทีช่ อบใจ ไม่เกินวิสยั ลูก ขอลูกจง ทำ� และจงรักษาอภิญญาสมาบัตไิ ว้ ขณะใดทีใ่ นของลูกยัง รักษาอภิญญาสมาบัตไิ ว้ รักษาปฏิปทาสาธารณประโยชน์ ขณะ นัน้ ลูกจงภูมใิ จว่าพ่ออยูก่ บั ลูกตลอดเวลา ถึงแม้วา่ ร่างกาย กายาของพ่อจะสลายไป แต่ใจของพ่อยังอยูก่ บั ใจของลูก ลูกจะไปไหนก็ชอ่ื ว่าพ่อไปด้วยช่วยลูกทุกประการ” ลูกมัน่ ใจว่า หลวงพ่อยังอยูก่ บั หลวงตาเสมอ พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ลูกรักพ่อครับ!


ภญ.ธนัญชนก รัตนธาดา

อาชีพ เภสัชกร๖ ว(เภสัชกรรมคลีนิก) วิทยาแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร และวชิรพยาบาล

“ไปขอฟังธรรมะจากหลวงตา ก็จะได้คำ�สอนในเรื่องการฝึก ‘นึกถึงความตาย’ ไปทุกครั้ง”


119

ภญ.ธนัญชนก รัตนธาดา

ทุ ก ครั้ งที่ได้ยินหลวงตาเล่าถึงหลวงพ่อ ด้วยความเคารพเลื่อมใส ข้าพเจ้าต้องคอยเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจ โดยที่ไม่ต้องการพลาดการรับฟังไปแม้แต่คำ�เดียว ธรรมะที่ ข้าพเจ้าได้รับฟังจากหลวงตา โดยที่หลวงตาได้รับการถ่ายทอด มาจากหลวงพ่อนั้น ได้ซึมซับเข้ามาในจิตใจของข้าพเจ้าทีละ เล็กทีละน้อย จนกระทั่งธรรมะและคำ�สอนของหลวงตานั้นได้ เข้ามาอยู่ในจิตใจของข้าพเจ้าอย่างเต็มเปี่ยมโดยปริยาย หลวงตาเล่ า ให้ ฟั ง ถึ ง คำ � สอนของหลวงพ่ อ เรื่ อ งการ เข้าถึงอารมณ์ของพระโสดาบัน ด้วยการละสังโยชน์ ๓ อัน ได้แก่ ๑. สักกายทิฏฐิ คือ การยึดติดในขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ด้วยการระลึกถึงความตาย อยู่อย่างสม่ำ�เสมอโดยรำ�ลึกว่า “ชีวิตนี้เป็นของไม่เที่ยง.. ความตายเป็นของเที่ยง!” ดังนั้นจึงต้องคิดอยู่เสมอว่าความ ตายเป็นของธรรมดาในชีวิต เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความ ตายนั้นไปได้เลย ความตายอาจเกิดขึ้นได้ในทุกเวลาและทุก โอกาส ดังนั้น.. หลวงตาจึงให้นึกถึงความตายบ่อยๆ


120 ส่วนชีวิตในการ ปฏิบัติธรรมในปีแรกๆ ของข้าพเจ้านั้น หลวงตาท่านจะเน้นให้นึกถึงความตายอย่างน้อย วันละ ๗ ครั้ง คือตื่นนอน ๑ ครั้ง ก่อนนอน ๑ ครั้ง และระหว่างวันอีก ๕ ครั้ง เมื่อทำ�เช่นนี้ได้อยู่สม่ำ�เสมอแล้ว...อารมณ์การนึกถึงความตาย จึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเป็นฌาน ในทุกครั้งที่ข้าพเจ้ามาวัด ก่อนกลับจะต้องไปขอฟัง ธรรมะจากหลวงตา เพื่อนำ�ไปฝึกปฏิบัติต่อที่บ้านอย่างต่อเนื่อง ก็จะได้คำ�สอนในเรื่องการฝึก ‘นึกถึงความตาย’ ไปทุกครั้ง จน บางครั้งข้าพเจ้ามีความสงสัยว่า ทำ�ไมข้าพเจ้าจึงได้ฟังแต่เรื่อง นี้ ทุกครั้งเป็นประจำ� มาบัดนี้ข้าพเจ้าได้เข้าใจแล้วว่าเราสามารถ ใช้มรณานุสสติเป็นหลักในการพิจารณาสภาพธรรมต่างๆ ทำ�ให้ กิเลส คือความโลภ ความโกรธ และความหลง ลดลงไปทีละน้อย มรณานุสสติจึงเป็นอนุสสติที่ควรระลึกถึงอย่างสม่ำ�เสมอจึงจะ ส่งผลในการปฏิบัติธรรมได้อย่างมั่นคง ๒. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลและความสงสัยในคำ�สั่ง สอนของพระพุทธเจ้าและความไม่เชื่อมั่นในคุณของพระรัตนตรัย หลวงตาจะกล่าวถึงคุณของพระรัตนตรัยอยู่เนืองๆ ทำ�ให้ พวกเราสามารถเข้าถึงได้ด้วยปัญญา


121 ๓. สีลัพพตปรามาส อันได้แก่ การมิได้มีศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ครบถ้วนหลวงตาจะกล่าวอยู่เสมอว่าศีลเป็นเบื้องต้น ของความดี และเป็นพื้นฐานแห่งธรรมะทั้งปวง คนเรานั้นจะ ทำ�อะไรก็ทำ�เถิด แต่อย่าผิดศีลห้า! ควรน้อมเอาศีลมาครอบ คลุมร่างกายเรา เพื่อจะเลี้ยงดูร่างกายนี้ก่อนตายด้วยศีลอัน บริสุทธิ์ โดยที่เราไม่เบียดเบียนไม่ละเมิดผู้ใดโดยเจตนา อารมณ์พระโสดาบันคือการละสังโยชน์ ๓ ดังกล่าวมา แล้วนี้ เป็นสิ่งที่หลวงตากล่าวเสมอๆ ว่า เป็นอารมณ์จิตที่หลวง พ่อต้องการให้ลูกๆ เข้าถึงให้ได้เป็นอย่างน้อยที่สุด พระคุณของหลวงพ่อมีมากมายสุดจะคณานับและลูก คงไม่มีสิ่งใดจะตอบแทนท่านได้นอกจากการตั้งใจปฏิบัติธรรม และพยายามที่จะขัดเกลาอารมณ์จิตของตัวเองให้ผ่องใสตาม คำ�สอนอันเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตาของท่าน.


ปิติพัฒน์ พยัคฆพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

บริษัท เอ็นเตอร์ริช เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำ�กัด

“ทำ�เลว(แม่ง)ได้ทุกอย่าง... แต่อย่าผิดศีลห้า”


123

ปิติพัฒน์ พยัคฆพันธ์

ผมจำ�ได้ว่า

ผมรู้จักวัดเขาวง ครั้งแรก พร้อมกับภรรยา ‘น้องเล็ก’ ฉัตริษา ศรีสานติวงศ์ (ขณะนั้น ยังไม่ได้แต่งงาน) จากการแนะนำ�ของคุณเพื่อนผู้แสนดี ‘หนุ่ย’ นันทกานต์ ฤทธิวงศ์... หลังจากนั้นเราก็ได้มาแวะที่วัดเขาวง ด้วยกัน แต่การมาในครั้งแรกของผมเป็นเพียงการมาเพื่อชื่นชม บรรยากาศด้านนอกของวัดเท่านั้น... หลังจากกลับจากการไป เที่ยวลพบุรี...เราเลี้ยวรถเข้ามาในบริเวณวัดและจอดรถทันทีที่ มองเห็นพระพุทธรูปสีขาวองค์ใหญ่บนยอดเขา แล้วก็ยกมือไหว้ พระตามปกติของคนที่ไม่สามารถเรียกตัวเองในขณะนั้นได้เลย ว่าเป็น ‘นักปฏิบัติธรรม’ ความเข้าใจธรรมะอย่างผิวเผิน ของผมไม่ได้ท�ำ ให้รู้สึกซาบซึ้งใจมากนักในครั้งแรก นอกจาก ชอบบรรยากาศของวัดที่ดูสะอาดสะอ้าน สบายตาและก็สบาย ใจ ก็เพียงเท่านั้น... แล้วเราก็วกรถกลับออกไปโดยมีความรู้สึก ลึกๆ ในใจว่า “ผมคงมีโอกาสที่จะได้กลับมาที่นี่อีกครั้งแน่นอน”


124 เวลาทิ้งห่างเพียงไม่นานผมก็ได้กลับมาที่วัดเขาวงอีก ครั้งจริงๆ โดยเป็นสารถีมาส่งคุณภรรยาเพื่อมาปฏิบัติธรรมที่ วัด และในครั้งนี้นี่เอง! ที่ผมได้มีโอกาสเข้ามาในบริเวณวัดและ กราบพระพุทธรูปหน้าถ้ำ� (ขณะนั้นกำ�ลังสร้างโบสถ์ใหม่) ซึ่ง รู้สึกสบายใจและชอบมากๆ... และแล้ว! ผมกับภรรยาก็ได้มี โอกาสพบและกราบพระสงฆ์รูปหนึ่งซึ่งเรารับรู้ถึงกระแสแห่ง ความเมตตาของท่านที่แผ่ออกมามากมายเพียงครั้งแรกที่เจอ... ท่านเป็นพระที่ดูหนุ่มเกินไป (ในความคิดของผม) ที่เราจะเรียก ท่านว่า‘หลวงตา’ …ใช่แล้วครับผมและภรรยาได้กราบนมัสการ ‘หลวงตาวัชรชัย’ หรือ‘ท่านพระครูภาวนาพิลาศ’เจ้าอาวาส วัดเขาวงเป็นครั้งแรก... การกราบของผมในครั้งแรกก็คงไม่ แตกต่างจากการกราบพระรูปอื่นทั่วๆ ไป ที่เคยปฏิบัติมาตาม วิสัยของบุรุษผู้มีมิจฉาทิฐิและอัตตาในตัวเองสูงมาก... จำ�ได้ว่า ในขณะนั้นหลวงตาท่านเมตตาเราทั้งสองในการสอนธรรมะ ซึ่งผมก็ยังไม่เข้าใจและซาบซึ้งอะไรมากนักในช่วงแรกๆ แถม ยังมีคำ�ถามแปลกๆ จากคนที่ไม่ค่อยศรัทธาอะไรง่ายๆ หลุด ถามท่านกลับไปอีกนิดหน่อย.. และแล้วมันก็เหมือนมวยที่ถูกไล่ ต้อนให้จนมุม จนในที่สุดผมก็ถูกน็อคไม่เป็นท่า... หลวงตาท่าน ได้สะกิดและเขี่ยปมในใจของผมออกจนหมดสิ้นด้วยธรรมะ


125 ของพระพุทธองค์นั่นเอง พร้อมด้วยคำ�พูดเรียบง่ายที่ผมฟัง แล้วเข้าใจโดยไม่มีข้อสงสัยใดๆ อีกเลย...ท่านบอกกับผมว่า... ต่อไปนี้ถ้ายังสงสัยหรือไม่เข้าใจอะไรยังไงอีกก็ ‘ให้ทำ�เลว(แม่ง) ได้ทุกอย่าง แต่อย่าผิดศีลห้า’ ...ในครั้งนั้นผมจำ�ได้ว่าการ กราบตอนแรกพบ กับการกราบตอนลากลับ มันช่างต่างกัน โดยสิ้นเชิง เพราะมันเป็นการกราบลาแบบมอบกายถวายชีวิต ให้กับพระพุทธศาสนาไปแล้วนั่นเอง ผมจดจำ�และยึดมั่นในคำ�สั่งสอนของหลวงตาในครั้ง นั้นและเรียกว่า “คาถาของพ่อ” มาจนทุกวันนี้ จากนั้นชีวิต ผมก็เปลี่ยนเข้ามาในถนนแห่งสัมมาทิฐิ จนไม่นานผมก็ได้มี โอกาสมาปฏิบัติธรรมที่วัดครั้งแรก (โดยการแนะนำ�แกมบังคับ เล็กๆ ของภรรยา) เป็นเวลา ๗ วัน และหลังจากนั้นอีกไม่ นานเช่นกัน ผมกับภรรยาก็ได้มาจัดพิธีแต่งงานในวัดโดยได้รับ ความเมตตาจากหลวงตาเป็นผู้ทำ�พิธีอันเป็นมงคลให้กับเราทั้ง สอง และที่พิเศษสุดๆ ในชีวิตผมก็คือ หลังจากแต่งงานเพียงไม่ นานผมก็ได้เป็นกลายมาเป็นลูกชายทางธรรมคนแรกของหลวง ตา ที่ท่านบวชให้หลังจากที่เป็นพระอุปัชฌาย์เพียงไม่นาน และ ได้มาใช้ชีวิตเป็นพระสงฆ์ที่วัดเขาวงเป็นเวลาหนึ่งเดือนเต็ม!!!!


126 ยังมีเรื่องราวที่ประทับใจอีกมากมายที่อยากจะเล่าให้ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ฟังถ้ามีโอกาสนะครับ...สำ�หรับตอนนี้ก็คง ต้องขอจบเท่านี้ก่อน และอยากบอกว่าถ้าใครสนใจ ‘คาถาของ พ่อ’ บทนี้ก็ขอให้เอาไปใช้ได้เลยนะครับ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น..... ธรรมะสวัสดีครับ.

‘ในรอยเท้าพ่อ’ เป็นเนื้อที่สำ�หรับเผยแผ่บทความของลูก หลานหลวงตา และมีประทับใจในปฏิปทาสายพระคุณหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง หรือวัดเขาวง(ถ้ำ�นารายณ์) บันทึกบางหน้า.. อ่านชีวิตทั้งชีวิตได้จากคำ�เพียงคำ�เดียว ขอ เพียงคำ�บางคำ�ในใจของท่านทั้งหลาย ยังประโยชน์สุขแก่เพื่อนร่วม วัฏสังสารก็เป็นกุศลมหาศาลแล้ว ขอเชิญท่านส่งบทความขนาด ๑ หน้า A4 พร้อมรูปถ่ายของ เจ้าของเรื่องมาตามที่อยู่หนังสือเสียงจากถ้ำ�นารายณ์ วงเล็บมุมซองว่า ‘ในรอยเท้าพ่อ’ เพื่อความสะดวกในการคัดจดหมาย.


127

วัดเขาวงหรือวัดถ้ำ�นารายณ์หลวงตา เขียนรวมเป็นชื่อทางการว่า ‘วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์)’ ด้วยเหตุปัจจัย ๒ ประการคือ หนึ่งสมัยโน้น.. นานมาแล้ว มีรูปหล่อพระนารายณ์ทรงครุฑศิลปะแบบโบราณกว่า พันปี สถิตเป็นที่สักการะของประชาชนอยู่ภายในถ้ำ� แล้วก็มาหายไป เหลือแต่ชื่อว่าถ้ำ�นารายณ์ ต่อมาเมื่อหลวงตามาจำ�พรรษา บูรณะวัดเขาวง เมื่อ ๑๗ ปีก่อน รูปหล่อนี้ก็กลับมาที่วัดได้ด้วยเหตุ อัศจรรย์ จึงได้สร้างศาลเป็นที่สถิตภายนอกถ้ำ� เพื่อ ความเหมาะสมกับภาวะกระแสศรัทธาในยุคปัจจุบัน ดังที่เห็นเป็นภาพปกหนังสือนี้


128

ภาพ: รูปหล่อสำ�ริดพระนารายณ์ทรงครุฑ ทีว่ ดั เขาวง (ถ้ำ�นารายณ์)


129

อีกเหตุผลหนึ่ง... ซึ่งจะไม่เถียงกับนักประวัติศาสตร์ แต่เป็นไปตามความรู้ทางจิตของพระมหาเถระ ผู้ทรงคุณธรรมความดี ที่หลวงตาเชื่อถือมั่นคง ว่าถำ�้ นารายณ์นี้อาจจะได้ชื่อมาจากชีวิตส่วนเสี้ยวหนึ่งของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ แห่งกรุง ศรีอยุธยา มีพระราชวังที่ลพบุรี เมืองละโว้ ในการเดิน ทางผ่านไปพระราชวังกรุงศรีอยุธยา หรือการประพาส พักจิตใจปฏิบัติธรรมบางระยะบางครั้ง พระองค์ จะค้าง แรมและพักผ่อนปฏิบัติธรรมในถ้ำ�ที่มีสภาพเหมาะสม และเย็นสบายตลอดทั้งปี แม้สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอยุธยา เสด็จมานมัสการรอยพระพุทธบาท คราใด ก็จะแวะพักผ่อนสงบใจ ภายในถ้ำ�นารายณ์ เสมอมา.. ใครจะเชื่อไม่เชื่อก็ช่างเถิด วัดก็สวยสงบงามตามธรรมชาติ เป็นสำ�นักปฏิบัติ ที่เป็นสัปปายะแก่นักปฏิบัติ ศาลก็สง่างาม กลมกลืนกับภูเขา ว่างๆ ก็มาดูเอาเองเถิด..


นิศานาถ ตะเวทิกุล School Developer

The American School of Bangkok

“คนทุกคนก็สามารถ ที่จะค้นพบธรรมะขั้นสูงได้ หากเราปฏิบัติอย่างตั้งใจ”


131

นิศานาถ ตะเวทิกุล

ถึงผู้อ่านทีร่ ก ั

ดิฉันก็เป็นคนหนึ่ง ที่มีความปรารถนาที่จะเข้าใจในพระธรรมอย่างลึกซึ้ง เหมือน กับหลายๆ ท่าน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ดิฉันได้ค้น หาพระอาจารย์ที่เข้าใจ รวมถึงสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมกับการเรียนรู้ การปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง รวมทั้ง ได้พัฒนาตนเองในด้านสังคม อารมณ์ จิตใจ และจิตวิญญาณ ในช่วงที่ดิฉันได้ค้นหาสถานปฏิบัติธรรมให้เหมาะกับตนเองนั้น วันหนึ่งเพื่อนของดิฉันได้ให้หนังสือเกี่ยวกับวัดเขาวง หลังจากที่ ได้อ่านจบแล้ว ทำ�ให้ดิฉันสนใจที่จะมาสัมผัสประสบการณ์ด้วย ตนเอง จนกระทั่งได้มีโอกาสพบและได้ปรึกษาธรรมะกับท่าน หลวงตาพระครูภาวนาพิลาศ เป็นครั้งแรก.. ดิฉันรู้สึกได้ว่าท่านหลวงตามีพลังพิเศษที่ทำ �ให้คนที่ มาพบท่าน สัมผัสได้ถึงพลังงานที่ดีและได้รับพลังงานที่ดีนั้น กลับมาด้วย หลังจากที่ดิฉันได้ฟังท่านสอนธรรมะ ทำ�ให้ดิฉัน ได้รู้จักวิธีการฝึกมโนมยิทธิ ซึ่งช่วยในการพัฒนาทักษะการ ปฏิบัติธรรมของดิฉันขึ้นมาอีกขั้น จนปัจจุบันนี้ทำ�ให้ดิฉันเข้าใจ ว่าหากเราวางจิตใจและจิตวิญญาณของเราไว้กับพระพุทธองค์ ก็มีโอกาสที่เราจะสามารถเจริญรอยตามพระธรรม และมีชีวิต


132 ที่สงบสุขอย่างแท้จริงได้ นอกจากนี้ท่านหลวงตายังย้ำ�เสมอว่า คนทุกคนก็สามารถที่จะค้นพบธรรมะขั้นสูงได้ หากเราปฏิบัติ อย่างตั้งใจ โดยไม่จำ�เป็นต้องบวชเป็นพระสงฆ์ หรือแม่ชี หลวงตาและลูกศิษย์ได้ทำ�การสร้างวัดเขาวงขึ้นมา โดยมีสถาปัตยกรรมที่ประณีตและงดงามแทบทุกกระเบียดนิ้ว มีสภาพแวดล้อมที่สวยงามตามธรรมชาติของต้นไม้.. ภูเขา.. หน้าผา.. และน้�ำ ตก ทำ�ให้ผู้ที่เข้ามาพักผ่อนจิตใจและร่างกาย ได้รับความสุขและสบายอย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้วัดเขาวง ยังเป็นสถานที่ ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดความสงบจากภายใน สำ�หรับคนที่ต้องการจะนั่งสมาธิหรือปฏิบัติธรรม จากประสบการณ์ของดิฉัน ที่เคยไปปฏิบัติธรรมมา หลายสถานที่แล้วนั้น ดิฉันคิดว่าวัดเขาวงเป็นสถานที่ที่เหมาะ สมที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ในการฝึกสมาธิ และสิ่งที่มี ความเป็นพิเศษอย่างเห็นได้ชัดและแตกต่างจากที่อื่นๆ ก็คือ ที่วัดแห่งนี้มีกระรอกขาวและสระดอกบัวที่สวยงามมาก อีกทั้ง ภายในบริเวณวัดมีความสะอาดทำ�ให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมค้างคืน ที่วัดได้รับความสะดวกสบาย สำ�หรับผู้ที่กำ�ลังมองหาสถานที่และพระอาจารย์ที่จะ ช่วยสอนธรรมะและฝึกปฏิบัติธรรมนั้น ดิฉันขอแนะนำ�วัด เขาวงค่ะ ดิฉันอยากจะขอเชิญทุกท่านได้มีโอกาสมาที่วัดเขาวง


133 ด้วยตัวท่านเอง ท่านจะได้รับประสบการณ์ที่สงบสุข เพื่อเติม เต็มความรักและความสุขให้กับชีวิตได้ค่ะ นิศานาถ ตะเวทิกุล Dear Readers, Like many of you, I was one of those who seek out for the right teacher, the right environment for me to learn and understand what Dhamma practice really means to improve myself socially, emotionally, psychologically, and spiritually. As I seek out different places, I came across a book about Khao Wong temple that was given to me by my friend. This book made me want me to come and experience the temple and to meet our Luangta, Pra Kru Bhavanaphilard. The first time I met him, I felt that he has this special ora that makes people feel a huge presence of his positive energy. As I listened to his teachings, it opened up my eyes to how the practice of Manomayuthi can help me improve my meditation


134 skills. It helps me to understand that if we place our minds, our spirits, and our souls with the Lord Buddha, chances are that we can follow the path of Dhamma and live a happy peaceful life. Luangta always stresses that a person does not have to be a monk or a nun to be enlightened, if we follow the practice whole heartedly, anyone can always understand Dhamma at a high level. Khao Wong Temple, created by Luangta and his followers, are so exquisitely built. Every inch of the temple from the architecture, the trees, the beautiful naturally surroundings of the cliffs, and waterfalls make it a perfect for those who need a nice retreat. It is a place that stimulates inner peace and the desire to practice meditation. Khao Wong Temple is one of the best meditation retreats in Thailand as I am comparing to several different places that I have seen. What is so special is the albino squirrels and beautiful lotus in


135 the ponds. All the facilities are very clean which made it so easy to stay overnight. For those who are seeking for a place and a teacher to learn Dhamma and practice meditation, I certainly recommend Khao Wong Temple. Please try to make the effort to visit the temple yourself, and you will experience peace, love, happiness and fulfillment. Sincerely, Nisanart Tavedikul School Developer The American School of Bangkok


กระรอกขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Callosciurus finlaysoni finlaysoni วงศ์ : Sciuridae กระรอก (อังกฤษ: Squirrel) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำ�ตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตา กลมดำ� หางเป็นพวงฟู จัดอยู่ในประเภทสัตว์ฟันแทะ วงศ์กระรอกมีวงศ์ย่อย ๒ วงศ์ คือ Pteromyinae ได้แก่ กระรอกบิน และวงศ์ Sciurinae ได้แก่ กระรอกต้นไม้, กระรอกดิน, ชิพมั้งค์ กระรอกขาวจัดอยู่ในพวกกระรอกต้นไม้ เป็นกระรอกที่มักพบเห็นได้ ง่าย มีหางยาวเป็นพวงสวยงาม มีกรงเล็บแหลมคม และมีใบหูใหญ่ บางชนิด มีปอยขนที่หู ส่วนกระรอกบินนั้น จะมีพังผืดข้างลำ�ตัว สำ�หรับกางเพื่อร่อน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง มักเป็นหากินในตอนกลางคืน มีตาสะท้อนแสงไฟ และเช่นเดียวกับสัตว์ฟันกัดแทะชนิดอื่นๆ กระรอกขาวจะมีนิ้วเท้าหลังข้างละ ๕ นิ้ว และนิ้วเท้าหน้าข้างละ ๔ นิ้ว ตรงส่วนที่น่าจะเป็นนิ้วโป้งจะกลาย เป็นปุ่มนูนๆ ซึ่งถูกพัฒนาให้เหมาะสำ�หรับจับอาหารมาแทะ กระรอกขาว เป็นสัตว์ป่าจำ�พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดความ ยาวตั้งแต่หัวจรดโคนหาง ๒๑-๒๒ เซนติเมตร ความยาวหาง ๒๒.๕-๒๔ เซนติเมตร ออกหากินในเวลาเช้าตรู่และพลบค่ำ� นอนหลับพักผ่อนตามพุ่มใบไม้ ทำ� รังคล้ายรังนกด้วยกิ่งไม้เล็กๆ รูปทรงยาวอยู่ตามปลายกิ่งไม้ ตัวเมียมีเต้านม ๒ คู่ ออกลูกครั้งละ ๒ ตัว กระรอกขาวเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก อาหารคือผลไม้และ เมล็ดพืชเป็นหลัก แต่กระรอกก็ยังชอบกินแมลงด้วยเหมือนกัน ที่วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) จะพบเห็นกระรอกขาว (หลายคนเข้าใจผิด เรียกกระรอกเผือก) อยู่เป็นกลุ่มๆ ทำ�รังตามยอดไม้และตามโขดเขา ลักษณะ คล้ายรังนกสร้างด้วยกิ่งไม้แห้ง กระรอกขาวถูกจัดอยู่ในบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. ๒๕๔๖ รายการที่ ๕ สถานะการอนุรักษ์ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช ๒๕๓๕ . ภาพถ่ายโดย : จำ�ปีลอยน้ำ�, กลุ่มศิษย์โรงเรียนนานาชาติ The American Scool of Bangkok



138

ายณ์) มองจากบนยอดเขา

ทัศนียภาพวัดเขาวง(ถ้ำ�นาร


139

วัดเขาวงที่ท่านกำ�ลังยืนอยู่ ณ ปัจจุบันนี้มี สัดส่วนผสมผสาน และผ่านเรื่องราวมาหลายเหตุการณ์ หลายฤดู นับเนื่องมาได้ถึง ๑๗ ปีกว่าแล้ว จากวันที่พระ คุณหลวงตาท่านได้มาเริ่มปักหลักพัฒนาวัดนี้ ตอนนั้นผู้เขียนยังไม่ได้บวชเข้ามาในพระธรรม วินัยนี้ ได้เดินทางมากราบพบหลวงตาท่าน ทันทีที่ทราบ ว่าท่านได้ย้ายที่ทำ�งานพระศาสนา จาก อ.บ้านหมอมาที่ ต.เขาวงแห่งนี้ ตอนขับรถเข้าวัดครัง้ แรก หาทางเข้าไม่ถกู ! เพราะแยกไม่ออกว่าไหนช่องประตู.. ไหนกำ�แพงที่สลัก หักพัง.. เพราะรถสิบที่ล้อห้อตะบึงมาตามถนน สะบัด หินปะทะกำ�แพงรูแล้ว.. รูเล่า.. เมื่อหาทางเข้าวัดได้แล้ว ภาพแรกที่ผู้เขียนเห็น ก็คือหลวงตาเดินใส่อังสะ (สมัยนั้น..ยังไม่มีไม้เท้าในมือ ของท่าน) อยู่กลางลานวัด สั่งคนงานทุบโน่น.. ขนนี่กัน ดูอึกทึกครึกโครม และเป็นอยู่อย่างนั้นเรื่อยมา..


140

............... ภาพที่ปะติดปะต่อให้เห็นชินตา จัดเจนใจว่า หลวงตาท่านทำ�งานหนักมาตั้งแต่วันนั้น..จากพื้นดินที่ เป็นเลนเละเทะในหน้าฝนจนรองเท้าหลุดติดพื้น เดี๋ยว นี้..เราทั้งหลายยืนบนพื้นดินที่ท่านถมให้ใหม่หลายครั้ง เวลาคนงานวัดขุดดินลงไป จะเห็นสีของดินไม่เหมือนกัน ทับกันเป็นชั้นๆ.. พื้นลานวัดปัจจุบันนี้ ถ้าเราเดินถอดรอง เท้าก็ไม่รู้สึกสาก เพราะสะอาดสะอ้านด้วยนิสัยที่ท่าน อบรมคนในวัดและผู้ปฏิบัติธรรม ให้กวาดกันจนเป็น จารีตของสำ�นัก

บำ�เพ็ญประโยชน์แทนคุณสถ าน

ที่


141

ถนนในวัดอีกสักพักหนึ่ง.. ก็คงใช้เดินเท้ากันเข้า มาพักปฏิบัติธรรม เดินลอดซุ้มต้นม่านบาหลีที่ทอดราก สีชมพูอ่อนต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือน ลองจอดรถกัน ที่ลานด้านนอก ทั้งสะดวกและปลอดภัย.. เพื่อให้ถนน ส่วนในใช้เดินภาวนาได้ทั่วทั้งวัด ตามอัธยาศัย..

นั่งรอใส่บาตรพระ.. บนถนนในวัดเขาวงยามเช้า

บางท่านกลับมาวัดคราวนี้.. พอเข้ามาด้านใน อาจจะดูแปลกตาไป.. จากร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ครึ้มไป ทั่ววัด นับได้ประมาณ ๑๔๐ กว่าต้น หลวงตาท่านชวน


142

รุกขเทวดามาอยู่ร่วมบุญกัน ดลใจลูกหลานของท่านทั้ง หลายเข้ามาช่วยกันทำ�งานพระศาสนา เจ้าของบุญปลูก ต้นไม้ก็มีเทวดาประจำ�กายรักษา และที่แปลกยิ่งไปกว่า ก็คือต้นไม้ที่วัดนี้พูดได้! ร่มเงาเอาไว้คุ้มคลุมร่างกายคน นั่งภาวนา นั่งพิจารณาตามความเป็นจริงของใจแต่ละ ดวง ป้ายธรรมบทพุทธพจน์ต่างๆ ก็ชวนผู้อ่านคิดตาม ความหมายผ่านสายตา ประหนึ่งว่าท่านเจ้าของถ้อยคำ� ได้เมตตามาพูดคุยกับลูกๆ หลานๆ.. คิดกันไป.. ตรอง กันไป.. ทบทวนกันไป.. เหมือนที่หลวงตาท่านเคยบอกพวกเราเอาไว้ว่า.. อากาศที่ใช้จับลมหายใจก็เป็นของสาธารณ์ ที่นั่งบำ�เพ็ญ เพียรไม่กี่ตารางนิ้วก็ไม่ต้องซื้อหา ร่างกาย แขน ขา ก็มี ครบตามอาการ จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็เลือกเอาได้ ไม่มีใครบังคับขู่เข็ญ เราลงทุนแค่ความขยันหมั่นเพียร.. ความศรัทธา.. และมุ่งมั่นต่อปฏิปทาแห่งพระศาสนา ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาพระองค์นั้น.. ใครใคร่เดิน.. เธอก็เดินเถิด.. เดินสอดเท้าตาม ร่องรอยของพ่อ.. ของครูเธอ..


143

ใครใคร่ยนื .. ยืนตามรู้ ตามดู.. ว่า ตัง้ แต่หวั จรดตีน ตีนจรดหัว มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ มีสิ่งไหนสะอาดบ้าง.. ใครอยากนั่ง.. ก็จงนั่ง ตั้งกายตรงดำ�รงสติมั่น.. ใช้อิริยาบถหนักนัก ก็จงผ่อนพักเอนกายลงด้วย สติตั้งใจว่า จะตื่น.. จะลุกขึ้น.. เมื่อถึงเวลาทำ�กิจวัตรร่วม กันทั้งสำ�นัก..

ลานจงกรม โยคะสติปัฏฐาน


144

ตรเช้า ลานหน้าพระอุโบสถหลังทำ�วั

บัดนี้.. ล่วงเข้ามากว่า ๑๗ ปีแล้ว หลวงตาท่านเริ่ม ประคองกายตัวเองด้วยไม้เท้า แต่ก็ยังไม่หยุดทำ�งาน ยัง เดินไปมาในงานของท่านด้วยความมานะบากบั่น ตั้งใจ มั่นที่จะทำ�ให้สถานที่แห่งนี้เป็นที่รองรับนักบุญทั้งหลาย ได้มาผ่อนพักกาย ชำ�ระใจ.. สถานที่รองรับนักปฏิบัติธรรมบำ�เพ็ญกุศล คราว ละไม่เกิน ๕๐ ดวงจิต ก็มีเพียงพอแล้ว.. อาคารสถานที่ ทำ�กิจกรรมก็เลือกใช้สอยได้หลายหลาก พื้นที่พุทธาวาส สังฆาวาสและฆราวาสก็จัดสรรไว้ลงตัวหมดแล้ว ร้านค้า


145

สวัสดิการวันยังค่ำ�จากกองทุนข้าวก้นบาตรก็มีอำ�นวย ความสะดวกแก่ท่านที่มาเยี่ยมเยียนใช้สอยสถานที่ได้ พอสมควร ร่มไม้ก็ใหญ่ครึ้ม.. ก้อนหินที่นั่งพักก็มีกระจาย เต็มลานวัด เหลือแค่​่.. กำ�ลังใจของผู้ใด ที่จะอาศัยใช้ทำ� ประโยชน์และความสุขแก่ตนเอง ให้เยือกเย็น.. สงบงาม แล้ว.. และแบ่งปันความเย็นนั้นให้ครอบคลุมสถานที่อัน พระคุณหลวงตาได้เหนื่อยยากมานานนัก ให้สมกับคำ�ที่ ท่านเขียนเชิญชวนมากว่า ๑๗ ปีแล้วว่า.. เชิญเถิด.. เชิญนั่งให้เป็นสุข นั่งพักทุกข์ภาวนา.. กุศลสั่งสมมา.. ย่อมให้ผลอิ่มเอมใจ..


146

“หลวงพ่อท่านถึงได้บอกว่า คนเราน่ะ..ถ้ามีปัญญาและบุญเข้าสิงใจแล้ว จะไม่เห็นใครเลวเลยในโลก จะเห็นแต่กฎของกรรม ซึ่งกำ�ลังแสดงผลเฉพาะหน้า เห็นแต่กฎของกรรม เห็นแต่กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรม และกายซึ่งเป็นเหตุให้ทำ�กรรม”


147


เชิญเถิด.. เชิญนั่งให้เป็นสุข นั่งพักทุกข์ ภาวนา.. ความร่มรื่นในบริเวณลานศาลพระนารายณ์ วัดเขาวง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.