ขอโมทนากุศลครอบครัว
‘คุณชูเกียรติ-คุณเมตตา อุทกะพันธุ์’
เป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือเสียงจากถ้ำ� เป็นธรรมทาน
พ่อเอย.. พ่อนั่งพัก พ่อเหนื่อยมานานนัก สิบหกอสงไขย พ่อนำ�ลูก เดินทางมายาวไกล พ่อเข้าถึงหลักชัย ลูกจะทยอยติดตาม ถ้าทำ�เพื่อตัวเอง พ่อจบไปนานแล้ว แต่พ่อแก้ว ทำ�เผื่อลูกน้อยที่ตามหลัง ลูกทราบ ซึ้งน้ำ�ใจ.. พ่อเอยจงฟัง ต่อนี้ไปลูกจะทำ�บ้าง พ่อเอย พ่อนั่งดู.
บรรณาธิการ: พระครูภาวนาพิลาศ กองบรรณาธิการ: สายฟ้า, โชติธมฺโม, วิสูตร จิรโสภณ,ชาญยุทธ บุญธนศักดิ์, สิริวรรณ เอกผล, อภิสรา จุลพันธ์, ธนัญชนก รัตนธาดา พิสูจน์อักษร: วิสูตร จิรโสภณ, พวงเพ็ญ เลาหเจริญสมบัติ ศิลปกรรม: พระนิพพาน โชติธมฺโม ภาพปก : สิรินยา จุรุเทียบ แยกสีและพิมพ์ที่:
บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำ�กัด (มหาชน) ๖๕/๑๖ ถนนชัยพฤกษ์ เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ๑๐๑๗๐ โทร. ๐ ๒๘๘๒-๑๐๑๐, ๐ ๒๔๒๒-๙๐๐๐ โทรสาร : ๐ ๒๔๓๓-๒๗๔๒, ๐ ๒๔๓๔-๑๓๘๕ ถ่ายภาพ: สิรินยา จุรุเทียบ
บรรณาธิการ พระครูภาวนาพิลาศ ๖ งานหล่อ ‘พระศรีอาริยเมตไตรย’ ๘ มรดกพระดี ‘บนเส้นทางพระโยคาวจร’ หลวงตา ๑๐ พูดตามพ่อสอน ‘ธรรมะจากหมู’ พระครูภาวนาพิลาศ ๑๙ เณรน้อยเจ้าปัญหา ๖๐ ใบไม้พูดได้ ‘นิพพานฯ’ ๖๑ ใบไม้ในป่าใหญ่ ‘วิกฤตการณ์วัดใจ’ เนตรา ๖๒ ปกิณกะ พระครูภาวนาพิลาศ ๖๙ งบการเงิน ‘เดือนมีนาคม ๕๔-สิงหาคม ๕๔’ ๗๐ โมทนากุศล ๗๖ กองทุนธรรมทาน ‘ข้าวก้นบาตรของหนู’ ๙๑ ในรอยเท้าพ่อ มุกด์ วงศ์ไชยกุล ๑๑๖ ในรอยเท้าพ่อ ธนกร ธรรมพงศ์ธร ๑๒๒ เรื่องจากปก ‘พ่อนั่งพัก’ โชติธมฺโม ๑๒๗ ท้ายเล่ม โชติธมฺโม ๑๓๘
สารบัญ ฉบับที่ ๒๗ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔
www.watkhaowong.com
ใบบัวในสระเขตที่พักสงฆ์ วัดเขาวง ถ่ายภาพ: สิรินยา จุรุเทียบ
ในระยะแรกที่พวกเราฟื้นฟูงาน อ.ป.ต. (หน่วยอบรม ประชาชนประจำ�ตำ�บล) เขาวงขึ้นมานั้น ภาพเป้าหมาย ประโยชน์สุขที่จะเกิดแก่ประชาชนยังไม่ชัดเจนนัก แต่เมื่อมา เกิดอุทกภัยท่วมท้นแผ่นดินไทยครั้งนี้ เราได้เห็นเด่นชัดว่า คนไทยทุกตำ�บล ทุกหมู่บ้านไม่ทอดทิ้งกัน ที่สำ�คัญที่สุดก็คือ ประชาชนต้องมีความรู้ มีความพร้อมที่จะช่วยตัวเอง ที่จะช่วย หมู่บ้านตำ�บลของตนไว้ก่อนเป็นดีที่สุด นี่คือจุดประสงค์ ที่ผู้ ปกครองคณะสงฆ์ได้ตั้งหน่วยอบรมประชาชนประจำ�ตำ�บล (อ.ป.ต.) ทุกตำ�บลคณะสงฆ์ทั่วประเทศขึ้นมา เกือบ ๕๐ ปีแล้ว
ลูกหลาน.. ท่านทั้งหลายเอย.. ลองนึกวาดภาพใน ใจของเรา ถ้าเจ้าคณะตำ�บลปรับปรุงวัดของตนให้เป็นที่รวม ของชาวบ้าน ให้ความรู้ ให้การช่วยเหลือสม่ำ�เสมอตลอดเวลา แล้ว ไม่ว่าจะเกิดปัญหา หรือภัยพิบัติใดๆ ขึ้นมา ก็จะสามารถ ป้องกัน แก้ไข ช่วยเหลือตัวเองได้ทุกตำ�บล ตลอดไปทั่วแผ่นดิน ในหลวงและรัฐบาลจะเบาใจเพียงใดหนอ?.. มาเถิดลูกหลานเอย.. มาทำ�ให้มันเกิดขึ้นที่ตำ�บล เขาวง คณะสงฆ์วัดเขาวงทำ�คอยอยู่แล้ว..
11
ฉบับนี้จะเอาอะไรมาเล่าให้ลูกหลานฟังดีหนอ.. ลูกหลานเอย.. ที่รำ�พึงอยู่นี้ไม่ใช่เพราะมีเรื่อง.. มี มรดกพระดีมาก.. จนเลือกไม่ถูก แต่เป็นเพราะมันไม่มีเรื่องจะ เขียนเล่าขาน เรามาคุยกันในเหตุการณ์ปัจจุบันเฉพาะหน้ากัน ดีกว่า.. ดีไหมลูก! ขณะที่เขียนอยู่นี้ เป็นช่วงกลางเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ ประเทศของเรากำ�ลังรับวิบากกรรมน้ำ�ท่วมเกือบทั่วราชอาณา จักร เป็นทุกข์หนักสาหัสที่สุดในรอบ ๑๐๐ ปีประวัติศาสตร์ ชาติไทยของเรา ทั้งน่าสงสารและน่าปลื้มใจลูกหลานเอย.. ที่น่า สงสารก็คือ ผู้ประสพภัยมากมายที่หมดเนื้อหมดตัว ทรัพย์สิน บ้านเรือนต้องจมอยู่ในน้ำ� ไม่มีที่จะนอน ไม่มีอาหารจะกิน ต้อง อพยพจากถิ่นฐานมารวมกันอยู่ในที่ซึ่งทางการจัดให้ ไม่รู้ว่า นานเท่าใดจึงจะกลับบ้าน เพื่อตั้งต้นสร้างตัวกันใหม่ ...และท่ี่ น่าปลื้มใจก็คือ คนไทยเราไม่ทอดทิ้งกัน.. ทั้งส่วนรัฐบาลส่วน (ภาพด้านซ้าย) รอยยิ้มของ ‘พ่อ’ ภาพวาดสีชอล์ก โดยคุณศิริพงศ์
12 ราชการ และประชาชนต่างก็ทุ่มเทน้ำ�ใจ แรงกายและทรัพย์สิน เข้าไปช่วยเหลือกันในยามยากลำ�บากนี้ ลูกหลานคงจะทราบดี จากข่าวสาร.. และจากท่ี่ได้พบเห็น และมีส่วนร่วมด้วยตัวเอง อยู่แล้ว ลูกหลานพระคุณพ่อวัดท่าซุงทุกสายสาขา รวมทั้งวัด เขาวงก็ได้มีส่วนในปฏิปทาสาธารณประโยชน์นี้ ประจักษ์ใจตัว เองอยู่ในขณะนี้ และยินดีจะเข้าไปเกื้อกูลกันจนกว่าเหตุการณ์ อุทกภัยจะกลับสู่สภาพปกติตามเดิม และจะบำ�เพ็ญปฏิปทา สาธารณประโยชน์นี้ไปจนตลอดชีวิต ตามคำ�สั่งสอนของพระ คุณพ่อฤาษีฯ อันเป็นมรดกพระดีอย่างหนึ่ง ที่พวกเรารับมา ปฏิบัติและรักษาไว้ตลอดไป..
โรงทานวัดเขาวง ไปช่วยทำ�อาหารร้อนๆ แจกที่ลพบุรี
13
พ่อ..สอนด้วยการทำ�ให้ดู.. สอนอย่างไรพ่อปฏิบัติเอง อย่างนั้นเสมอมา ลูกหลานเอย...เรายังมีมรดกล้ำ�ค่าอีกประการหนึ่ง ที่ พวกเราได้รับมาอันมีค่าประมาณมิได้ ใช้เลื้ยงชีวิตจิตใจและ แจกจ่ายแบ่งปันแก่คนทั้งหลายไม่มีประมาณ ไม่มีการหมดสิ้น สูญหาย แต่ยิ่งใช้ก็ยิ่งมีมากมายเพิ่มพูน... สมบัติล้ำ�ค่านั้นก็คือ การปฏิบัติธรรมแบบมโนมยิทธิควบคู่กับมหาสติปัฎฐานอันจะ หล่อหลอมยกชูจิตใจของผู้ปฎิบัติให้มั่นคงในพระนิพพานและ คุณพระรัตนตรัยไม่มีเสื่อมคลาย ทั้งยังหายสงสัยในกฎของ กรรมใดๆ ที่เกิดแก่เราทั้งในอดีตชาติและปัจจุบัน และดำ�รง ชีวิตอยู่กับกฎของกรรมนั้นๆ ด้วยใจสบาย จนกว่าจะเข้าสูู่พระ นิพพานในระยะเวลาท่ี่ตนปรารถนาอีกด้วยเป็นสำ�คัญที่สุด
14 คุยกันต่อนะลูก.. วัดท่าซุงเราก็ถูกน้ำ�ท่วมขั้นวิกฤต จน พระอาจารย์เจ้าอาวาสต้องย้ายร่างในโลงแก้วของพระคุณพ่อ หนีน้ำ�จากวิหาร ๑๐๐ เมตร ไปตั้งที่ตึกขาวเป็นการชั่วคราว ก็ เลยนึกถึงคำ�สอนของพระคุณพ่อ และขออัญเชิญมาเล่าให้ลูก หลานฟัง เป็นกำ�ลังใจในยามน้ำ�ท่วมใหญ่ครั้งนี้ (พ่อ..สอนด้วยการทำ�ให้ด.ู .สอนอย่างไรพ่อปฏิบตั เิ อง อย่างนั้นเสมอมา)
15 ่ พ่อจะสอนพระและลูกหลานสมำ�เสมอ ตลอดเวลาว่า ให้ยอมรับนับถือกฏธรรมดา ไม่ฝ่าฝืน.. คือเมื่อสิ่งใดเกิดขึ้น เฉพาะหน้าแล้ว.. มันเกิดขึ้นมาเสียแล้ว.. ต้องยอมรับว่ามัน คือของจริง! แล้วมันก็ต้องเสื่อมไปแปรปรวนไป อยู่เฉยๆ อย่างนั้นไม่ได้เป็นธรรมดา.. และ ที่สุดแล้วสิ่งนั้นก็จะสลายสภาพ สูญสิ้นไป ไม่มีตัวตนอะไรที่จะกระทบสัมผัสได้ เป็นธรรมดา.. ให้วางใจ ตั้งความเห็น ในใจไว้ตลอด สายกระแส พระธรรม
เงาของปราสาททองคำ� สะท้อนน้ำ�สวยแปลกตาไปอีกแบบ..
คือพระไตรลักษณ์นี้เป็นปกติ ใจก็จะเบาลง ไม่เครียดไม่หนักใจ 16 มากนัก แล้วก็อยู่กับสิ่งนั้นได้ด้วยความเบาใจ ตามดูมันไป... จนมันเปลี่ยนไป.. สลายไป.. ก็ให้เบาใจโล่งใจว่า “กูนึกอยู่แล้ว! มันต้องเป็นอย่างนี้..” นี่กูทุกข์ใจหนักใจเกือบตาย ผลสุดท้าย ก็ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีตัวตนอะไรเลยนี่.. รู้อย่างนี้ กูจะให้ค่ามึง แค่ ‘ช่างมัน’ จึงจะถูกต้องตามธรรมดา.. คิดได้อย่างนี้..จนชิน...จนเหลืออารมณ์เดียวที่แน่ใจ ว่าอะไร ๆ เกิดขึ้นมาก็.. ธรรมดา.. ช่างมัน! แล้วอยู่กับมันจน มันสลายไปจากเราไป จนกว่า.. ร่างกายของเราจะพังสลายไป ตามกฏธรรมดา เหลือแต่ใจ.. ท่ี่เป็นคนละตัวกับกฏธรรมดานั้น เมื่อตายจากกันเราจะไม่ขอเกิดมามีร่างกายที่ต้องมาสัมผัสรับ รู้กับกระแสทุกข์อย่างนี้อีก พระพุทธเจ้าอยู่ในท่ี่ใดเราขอไปอยู่ ที่นั้น ขออยู่กับท่าน ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป.. เรื่องใด ๆ ในโลกที่ เกิดขึ้นมากระทบผ่านร่างกาย ก่อนตาย.. ก็เป็นเรื่องธรรมดา ของโลกเขา ใจเรายกพ้นไปว่าไม่ใช่เรื่องของเรา
หลังคาวิหาร ๑๐๐ เมตร
17
ตั้งไว้เป็นสูตรตายตัวของใจเรา “ธรรมดา ช่างมัน พระนิพพานเป็นของเรา”
18 ไม่ใช่ตัวตนของเรา ตอนที่อยู่ด้วยกันก็บริหารร่างกายกองทุกข์ ก่อนจะทิ้งไว้ในโลกด้วยจริยาที่ไม่ผิดศีลของใจเรา ตั้งไว้เป็น สูตรตายตัวของใจเรา “ธรรมดา ช่างมัน พระนิพพานเป็นของ เรา” นี่แหละลูกหลานเอ๋ย.. หลวงตาแก่จำ�ได้แค่นี้และทำ� แค่นี้เหมือนกัน.. เพราะฉะนั้นเมื่อมันเกิดเหตุภัยน้ำ�ท่วมขณะ นี้ ยอมรับเถอะลูกว่ามันเป็นของจริงที่เกิดขึ้นแล้วเป็นธรรมดา เปลี่ยนไม่ได้.. แล้วมันกำ�ลังเปลี่ยนปรับตัวเองไป มากขึ้นบ้าง ลดลงบ้าง อยู่กับที่ไม่ได้.. นำ�้ท่ีท่วมนครสวรรค์ก็เลื่อนไหลมา ท่วมอยุธยา แล้วมันจะผ่านพ้นไป ไม่นานมันจะแห้งหาย.. น้ำ� ก็ไม่เหลือ.. ความทุกข์ก็ไม่เหลือ.. ขณะท่ี่มันยังอยู่ มีทุกข์อยู่ ก็บริหารชีวิตไป ช่วยเหลือตัวเอง.. ช่วยเหลือผู้อื่นไปนะลูก.. นึกไว้ว่าเดี๋ยวก็ไม่มีอะไรเหลือ ...ทำ�ให้ดีที่สุด แต่อย่าฝืนกฏ ธรรมดา.. ใจจะเป็นทุกข์ เรามีเรื่องอื่นต้องคิดคู่กันไป คือเมื่อ ทุกข์ภัยนี้ผ่านพ้นไป... เราตายไปในที่สุดแล้ว.. ใจเรานี้จะไปอยู่ ที่ไหน.. คิดไว้ด้วยนะลูก! เขียนไม่ออก จบแค่นี้นะ.
ภาษาไทยที่ท่านจะได้อ่านจาก‘พูดตามพ่อสอน’ ฉบับนี้ เป็นถ้อยคำ�ที่ถอดจากการพูดตอบปัญหาและการสนทนาในงานประจำ�วันจริงๆ โปรดทราบว่าเป็นการพูด เฉพาะกิจ เฉพาะกาลเวลา และเฉพาะอารมณ์ของบุคคล ซึ่งอาจไม่ถูกใจท่านก็ได้ เราถอดเทปพิมพ์ไว้ อ่านแล้วเห็นว่าฟังง่ายสบายใจ ก็ลองนำ�เสนอแบ่งกันอ่าน... ตัวผู้พูดคือ ‘หลวงตา’ ท่านปรารภว่า พระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้นละเอียดอ่อนบริสุทธิ์มหาศาล ทรงเลือกสรรเพียงน้อยนิดมาสอน พระสาวกองค์ใดดื่มด่ำ�สิ้นสงสัย ก็พยายามใช้ภาษามนุษย์พูดออกมาได้เพียงหนึ่งในหมื่นพันที่กินใจอิ่มเอิบ หลวงตาท่านฟังจากหลวงพ่อครูบาอาจารย์ แล้วทรงไว้ได้เพียงหนึ่งในล้าน ที่พ่อปรารถนาจะให้เข้าถึง ต่อไปนี้จะเป็นภาษามนุษย์ ที่พยายามบรรยายถ่ายทอดรสชาติที่ผ่านมาในใจ ของหลวงตา ท่านว่าจะได้สักกี่ส่วน จะเกิดประโยชน์สักกี่สัด ก็ทำ�ได้สุดความสามารถสุดวาสนา.. แล้วแต่ผู้ฟัง ผู้อ่านจะพิจารณาเอาเองเถิด.
ถ่ายภาพ : สิรินยา จุรุเทียบ
21
พระครูภาวนาพิลาศ (๒๓ มีนาคม ๒๕๕๔) ปีหนึ่ง ๆ วัดท่าซุงจัดงานใหญ่ ๒ ครั้ง คือวันครบ รอบวันตายหลวงพ่อ วันมรณะภาพหลวงพ่อ จะเป็นเดือน ตุลาคมปลายเดือนและวันงานประจำ�ปีวัดคือเดือนนี้ เดือน มีนา-เมษานี่ ถ้าหากเป็นงานครบรอบหลวงพ่อ จะนิมนต์ พระราชาคณะจากกรุงเทพฯ เข้าไป แล้วก็ลูกศิษย์ที่เป็นเจ้า สำ�นัก ผู้ใหญ่ๆ ก็จะนิมนต์ไปงานหลวงพ่อ ตั้งแต่สมเด็จฯ ลงมาปีละครั้งเหมือนกัน พอมางานประจำ�ปีวัดนี่ ไม่นิมนต์ พระราชาคณะ นิมนต์เฉพาะเจ้าสำ�นักหรือลูกศิษย์ซึ่งไปตั้ง วัดข้างนอก มารวมกันปีละครั้ง พอทำ�บุญ สวดมนต์ ฉันข้าว ถวายสตางค์แล้วก็.. ส่วนที่เข้าป่า ก็เข้าป่า เขาเรียกเข้าปริวาสถือโอกาสปฏิบัติ ธรรมร่วมกัน คุยกัน มีปัญหาอะไรก็คุยกัน ท่านที่มีปัญหาก็ คุยกันแก้ไขช่วยกันปรึกษากัน ในระยะ๙ คืน ๑๐ วัน ก็ถือ
22
เป็นประเพณี หลวงตาก็ไปปีละครั้ง ไปปฏิบัติธรรมกัน ได้ สิ่งที่สะเทือนใจในด้านดีมาจุดหนึ่ง (นี่คุยกันไปก่อนนะลูก นะ) เวลาลานที่พระนั่งก็เหมือนหนูนั่งอยู่อย่างนี้ พระพุทธ รูปอยู่บนนี้ อาจารย์กรรมอยู่บนนี้ อาจารย์ที่คุมป่า แล้ว พระก็นั่งประมาณ ๓๐ องค์ นั่งหันหน้ามาทางนี้ ป่าข้างหลังศาลาพระเนี่ย มันมีหมูตัวนึงเขาเอามา ปล่อยไว้นานแล้ว อายุจะสัก ๑๐ปี ตัวมันใหญ่มาก ใหญ่ มากนะน้ำ�หนัก ๑๐๐ กว่ากิโลฯ น่ะ ขาหลังข้างขวาขาด ขาดจากข้อเท้า มันก็บวมมาก มันก็เดินไปกระเผลกไป ไอ้ นั่นมันก็ทิ่มบนคอนกรีต บนป่าน่ะ เลือดมันก็ออกจากเท้า มาเป็นปี ให้สัตวแพทย์มาดูเขาก็บอกว่ารักษาไม่ได้ เพราะ ถ้ารักษาแล้วตัวมันใหญ่เกินไปจะไปนอนเตียงสัตวแพทย์ยัง ไง เวลาผ่าตัดเขาก็ต้องฟูมฟักเหมือนคนไข้เหมือนกัน นี่หมู ทั้งตัวใหญ่ ๆ เขาบอกไม่เคยเจอเคสอย่างนี้ เขาไม่รับรักษา พระท่านก็จะไปช่วยมันยังไง ก็เลี้ยงมัน คุยกับมัน อู๊ดอี๊ด อู๊ดอี๊ด ก็ว่า.. หมูผู้หญิงนะ หมูสุภาพสตรี มันก็เดิน อยู่ตรงนั้นน่ะ แล้วข้อสำ�คัญคือว่าเวลาพระนั่งกรรมฐานนี่ น่ะ มันก็จะเดินมาดุนพระ อู๊ด ๆๆ แล้วเลือดมันก็เปรอะนะ
23
มันก็เป็นฟองนะ ตัวมันก็ใหญ่ พอนึกออกมั้ยลูก? แล้วพระ ก็นั่งตัวสะอาดอยู่ อาสนะพระก็สวย.. คือผ้าสะอาดน่ะนะ นั่งสวดมนต์ทำ�สมาธิกัน ฟังธรรมกัน หมูเขาก็มาผ่าวงเข้าไป วงก็แตก ไอ้วงแตกนี่ มันจำ�เป็นจะต้องแตกเพราะว่าพระก็ ต้องลุกหนี ตัวมันใหญ่กว่าพระ ไอ้หนู! ตัวมันใหญ่กว่ามาก นะ ชนนี่ กลดที่ปักเอาไว้ (เต้นท์น่ะ) มันขวิดล้มเลยนา มัน ดุน กลางคืนต้องย้ายกลดหนีหมูน่ะ ทีนี้ที่หลวงตาสะเทือนใจมากก็คือว่า พอแม่คุณหมู ตัวนี้เดินไปตรงไหนนี่.. พระซึ่งเข้าสังฆะเป็นสังฆกรรมกัน ซึ่งมีความสามัคคีสวยงามกันแบบนี้นะ ก็นั่งเป็นสุขอยู่ หมู ตัวเนี่ยจิตก็คือจิตเหมือนเรา แต่ก่อนจะจากร่างกายที่เป็น มนุษย์ชาตินั้นมาเป็นหมูนี่ คุณภาพของจิตนั้นเขาแค่สัตว์ เดรัจฉาน เขาอาจจะเป็นพระอยู่ก่อนที่วัดไหนแถว ๆ นั้น นะ ตายเมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่แล้วน่ะ แล้วก็ข้อสำ�คัญคือเวลาพระองค์สุดท้ายเนี่ย.. พระ มหาสุริยันเรานี่นะ.. ลุกไปห้องน้ำ� เขาไปยืนคร่อมที่นั่งพระ แล้วก็หลับตาลง เหมือนท่องพุทโธ ๆ อื๊ด ๆ เขามาผลัก “ไอ้ หมูไป ๆๆ” มันก็เฉย.. ตีมันยังไงมันก็ไม่เคลื่อนไหว พอขยับ
24
เลื่อนมันก็ออก พระก็ต้องสละที่ให้หมู เรารู้สึกว่าใจเขาสงบ ตอนนั้น (หลวงตาไม่ได้บอกว่าเป็นพระที่ได้ทิพยจักขุญาณ หลวงตาไม่อยากพูดแบบนั้น..) แต่หลวงตารู้ด้วยจิตเลยว่า เขากำ�ลังมีความสุข เขาอยากจะเข้าสังฆะ เข้าหมู่ของสงฆ์ แต่สงฆ์ไม่ยอมรับเพราะมันคนละภูมิ ขันธ์ ๕ ของเดรัจฉาน กับรูปของเดรัจฉานมันสกปรก ภาษาใจของที่อยู่ในร่างหมู น่ะ อาจจะพูดว่า “คุณสบายดีหรือ จำ�ผมได้ไหม?” เรา ได้ยิน แค่ “อู้ด ๆๆ” เข้าใจมั้ยลูก? การสื่อสารของระบบ ขันธ์ ๕ ของเดรัจฉาน กับมนุษย์น่ะคนละชั้น คนละความถี่ คนละความหยาบความละเอียด เขาเรียกคนละภูมิ เข้าใจ นะลูกนะ! เมื่อภูมิต่างกัน .. ภูมิเดรัจฉานกับมนุษย์มาอยู่ด้วย กันเนี่ย ไอ้หนู! ไม่รังเกียจ มันก็เข้ากันไม่ได้ ถูกมั้ยลูก? เขาก็ ถอยหนีมัน หนัก ๆ เข้า เขาก็เอาไม้มาตีมัน ต้องตี.. ไม่ตีวง แตกหมดเลยก็แล้วกัน.. กำ�ลังทำ�สมาธิ มันจะบาปเพิ่มหรือ เปล่าไม่รู้? พระท่านก็เคยบอกว่าเดรัจฉานนี่เขาทำ�กรรม ยังไงเขาก็ไม่มีการติดลบ เขาก็ไปใช้ภูมิเดรัจฉาน กรรมนั้น ได้รับโทษ เหมือนเป็นนักโทษไปอยู่ในนั้นน่ะ เกิดไปข่มขืน
25
ผู้ชายด้วยกันหรือไปต่อยปากกัน แทงกันตาย ก็ไม่มีการ ฟ้องศาลเพิ่มโทษอะไร ถือว่าเป็นการบริหารโทษทัณฑ์กัน ในคุก ในภูมิของอบายภูมิ ในหมู่มนุษย์ก็คือในคุกน่ะ ใช่มั้ย ลูก? ภูมิต่างกันน่ะ .. มันก็เข้ากันไม่ได้ หลวงตารู้สึกว่า เขาสะเทือนใจ เขาคงอยากจะพูดว่า “จะขอสงบสักหน่อย ก็ไม่ได้หรือ?.. ท่านมีความสุขกัน เราเห็นท่านมีความสุขเรา อยากมีด้วย ทำ�ไมต้องรังเกียจกันด้วย?” คือสัญญา สังขาร สมองของเขา แปลภาษาใจเขาได้แค่ที่เดรัจฉานแปล เขา มองในมุมของเดรัจฉาน เนาะลูกเนาะ! เรามองในมุมของ มนุษย์ และซึ่งห่มผ้า ซึ่งมีอุปทาน ยึดมั่นว่าเราเป็นสงฆ์มี ศีลดี มีบุญมารวมกันดี หลวงตาสะเทือนใจมาก.. โอหนอ! ไม่ได้สะเทือนใจว่าพระไปรังแกสัตว์.. ควรจะไล่ แต่ ไล่สุภาพว่า “หมูจ๋า..ไปนะจ๊ะ” มันไม่รู้เรื่อง มันสื่อไม่ได้เข้า ใจมั้ยลูก? มันสื่อได้ก็คือ “เฮ้อ..เฮ้ย ไป!” ผลักตัวหรือตีเข้า ใจมั้ยลูก? มันจะสื่อด้วยภาษาหยาบทางกาย เพราะภาษา ของเสียงนี่ คนละคลื่น (คนละอะไรนะถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ เขาเรียกว่าอะไรนะ) มันแปลกันไม่ได้เนาะลูกเนาะ! ต้องใช้
26
ภาษาสากลคือตี แสดงว่าถอยไป เนาะลูกเนาะ! เขาก็ต้อง หนีไป เขาคงจะบอกว่า “ต้องไล่ขนาดนี้เชียวหรือ พวกท่าน มีความสุขกันได้ ขอมีความสุขด้วยได้ไหม?” แต่ใครจะไป แปลมันออกล่ะ ก็กลัวมันด้วย ตัวมันใหญ่ และน้ำ�ลายก็เป็น ฟอง เลือดก็เต็มตีน หลวงตาสะเทือนใจ โอหนอ..จิตดวงหนึ่งพลาดจากการ ปฏิบัติธรรมทำ�กุศล ยังไม่ทันได้กลับใจกลับความประพฤติ ละจากอัตภาพของมนุษย์ซึ่งมีใจหยาบเท่าเดรัจฉาน ออก จากตรงนี้แล้ว.. มันเหมือนกับตัวเองวาดภาพไว้ในอากาศ เห็นผู้หญิง เห็นผู้ชาย เห็นทรัพย์สินเขาก็ว่า “อืม..กูจะอย่าง นี้..กูจะอย่างนี้” คือความรู้สึกมันหยาบ ภาษาใจหยาบเท่า เดรัจฉาน อารมณ์นั้นคลุมใจอยู่ขณะตาย ตรงนี้! เป็นตัวนำ� ไปเกิด ต้องไปได้โน้ตบุ๊คยี่ห้อหมู เข้าใจมั้ยลูก? ไอ้ศักยภาพที่ใช้ในตัวนี้ ๆ มันพังแล้วนี่ ต้องไปเช่าตัว ใหม่ จิตมันเพลินในอารมณ์เดรัจฉาน มันอัตโนมัติเลย จิต กับเรื่องของการเกิด มันจะเข้าไปในภาวะ แต่ศักยภาพของ จิตน่ะเขาจะรู้ว่าเขาคือใคร เขากำ�ลังทำ�อะไร อยากจะทำ� อะไรต่อ แต่ทำ�ไม่ได้แล้วนี่ จะไปตั้งนะโม ก็ไปตั้งตามเขาไม่
27
ได้.. เขาโยโสฯ ก็ฟังไมรู้เรื่อง สื่อไม่ได้ คนละภูมิจริง ๆ จะโทษพระ โทษมนุษย์ก็ไม่ได้ว่ารังเกียจ ต้องวาง เป็นกฎของกรรมว่า โอหนอ..สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ตน.. มีกรรมเป็นทายาท.. มีกรรมเป็นกำ�เนิด.. มีกรรมเป็น เผ่าพันธุ์.. มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย.. จะทำ�กรรมอะไรไว้ ดี หรือเลวก็ตาม ต้องได้รับผลกรรมของกรรมนั้น ไม่มีทางจะ หลีกเลี่ยงกรรมหรือบิดพลิ้วได้ นอกจากว่า ตอนทำ�กรรม เดรัจฉาน กรรมสัตว์นรกในภาวะของมนุษย์ ตรงเนี้ยะ! เกิด มีอารมณ์สบายจับ ‘พุทโธ’ หรือไปกฐิน ผ้าป่า หรือเมียผัว เป็นคนดีพาไปวัด พ่อแม่พาไปวัด จิตดวงนี้เกิดสงบใจขึ้น ทั้ง ๆ ที่ในหนังสือในใจตัวก็เขียนเรื่องเลวไว้ตลอดนะ มัน มีหน้าต่อมาเขียนเรื่องดีไว้ในใจ ถูกบันทึกไว้ในใจ เกิดตายตอนนี้นะ.. จิตซึ่งเขาจะอ่านหน้าสุดท้าย ลูก ไปสมัครงานเขาจะอ่านหน้าสุดท้ายเอ็งจบอะไร เข้าใจ มั้ยลูก? นี้เอ็งจบความเป็นมนุษย์ในระดับนี้ เอ็งก็ไปได้งาน คือได้ร่างกายของมนุษย์ซึ่งมีใจเท่าเดรัจฉาน ซึ่งบันทึกไว้ ตรงนี้ เกิดมาแต่เด็กจะอกตัญญู พูดเพราะ ๆ ไม่เป็น เข้า ใจมั้ยลูก? อยากกินอะไรก็แย่งเขากินแบบหมาแย่งหมูแย่ง
28
เพราะไอ้สิ่งที่บันทึกไว้ในใจคือกรรมนี่ มันลบไม่ได้ นอกจาก จะไปเกิดเป็นกรรมเป็นเดรัจฉานชดใช้ไปทีละหน้า.. ทีละ ชาติ.. สองชาติลบไปจากกรรมเลว หมดจากกรรมเลวแล้ว เหลือแต่หน้าของความดีเนี่ย ก็มาใช้ตรงนี้กันใหม่ พระท่านถึงสอนว่า อันที่จริงแล้วความเลวน่ะไป ติดนี่มันโง่ เซ่อวายวอดอยู่แล้วนะ ทำ�แล้วมันติดใจ มันก็ไป เต็มที่เลยนะ ถ้าหากทำ�แล้วไม่ติดใจก็แสดงว่ารู้ตัว แม้ความ ดีก็ตาม ทำ�แล้วติดใจ ก็ต้องไปได้คอมพิวเตอร์ที่ดี แต่ก็ยัง มีทั้งสองหน้าอยู่ อ่านหน้านี้จนหมดซิมการ์ดไปแล้ว หมด เวลาแล้ว ไอ้หน้าที่ยังไม่ได้อ่านคือหน้าเดรัจฉาน หน้าเปรต ตรงไหนก็ต้องไป.. นะลูกนะ! เพราะฉะนั้น นักกรรมฐานจริง ๆ น่ะก็พอใจสงบ แล้ว.. อย่าติดแม้ความดีหรือความเลว ความเลวไม่ติด แน่นอน ความเลวที่แล้วมาก็ให้สลดใจ ความดีใหม่จะเอา ศีลพอกพูนใจไว้ไม่ยอมทำ�อะไรที่มันละเมิดศีลเป็นอันขาด นะลูกนะ ไม่ทำ�ใหม่ ให้รังเกียจความเลวเดิม แล้วความเลว ปัจจุบันที่ครองใจอยู่จะไม่ทำ�เพิ่ม การรังเกียจความเลว ว่า “ร่างกายเป็นทุกข์ ร่างกายสกปรก จิตใจที่หมกมุ่นใน
29
กามคุณ มันน่าเกลียดอย่างนี้ ๆๆ ตัวเองทำ�ก็ดี คนอื่นทำ� ก็ดี ไม่ได้ยินดีด้วยเลย อยากจะกลับตัวแต่ทนไม่ไหวโว้ย!มัน อยากเลวต่อ” อย่างนี้เขาเรียกว่าก็ยังเบื่อ เข้าใจมั้ยลูก? ความเบื่อมันก็จะเพิ่มพูนขึ้นมา จนกระทั่งเบื่อแล้ว ศีลบริสุทธิ์ได้ก็จะเรียก ‘นิพพิทาญาณ’ นะลูกนะ มันจะ เบื่อหน่ายตรงนี้ พอเบื่อหน่ายแล้วก็หันมาทำ�ความดีแทน “ไม่เอาแล้ว ถ้าเกิดต่อไปฉิบหายอีกหลายหน้าเลย ทั้งนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน โอ้โห..ไปอีกหลายแสนปี ล้าน ปีเลย ไม่เอา ถ้าขืนเราเอา...” ก็มาเขียนบันทึกความดี..ก็เป็น นะโมตัสสะ ภะ คะวะโต พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิฯ ตะ ติยัมปิฯ การเขียน หมายความว่าการสมาทานด้วยความ มั่นใจ เข้าใจมั้ยลูก? “พุทโธ พุทโธ ตายแล้วขอไปอยู่กับ พระพุทธเจ้านะ..ท่านอยู่ที่ไหนก็ตาม ตายแล้วหนูอยากอยู่ กับพ่อ หนูอยากอยู่กับพระอรหันต์ จำ�หนูไว้ด้วยหนูอยาก ไปตรงนั้น” นี่เขาเรียกเขียนไว้ เขาเรียก ‘อธิฐานบารมี’ ตัว นี้ลูกต้องเขียนสลักเข้าไว้ เข้าใจมั้ยลูก? พอไปใช้อันนี้ปั๊บ! หมดแล้วอันนี้มันจะขึ้นมา มันจะ
30
เกิดลอยขึ้นมา.. ได้ร่างกายตามสภาพตรงนั้น แต่เมื่อยังอยู่ ในกระแสวน หลวงตาเคยทำ�ให้ดูว่า โลกมันวนอย่างนี้การ เกิด.. สึนามินะที่ญี่ปุ่นนะเมืองมันเป็นทะเลกว้าง ขอบฟ้า ไม่มีจำ�กัด มีคลื่นสึนามิซึ่งมีซากหมูตาย ซากโรงงานโตโยต้า แทงโก้.. อะไรนั่นน่ะ อีซูซุน่ะนะ ลอยป่องมาตลอดเป็นคลื่น ทับถมกันอยู่อย่างนี้น่ะลูก ทำ�ความเลวตรงนี้ ผลของความ เลวมันก็รออยู่เป็นคลื่น เข้าใจมั้ยลูก? กิเลสมันยุ.. ยุให้ ทำ�กรรม กรรมนี่ไปเกิดเป็นเงาของวิบาก คือผลรออยู่ ถ้าหากเราทำ�ดี วิบากดีก็รออยู่ แต่มันรออยู่ในคลื่น สึนามิ คือการเกิด แต่สลับคลื่นดีกับคลื่นเลว เพราะหนูยัง ไม่ได้เบื่อทั้งสองคลื่นอันนี้ หนูเซ็งความแลว แต่เพลินความ ดีก็ยังอยู่ในคลื่นนี้อยู่ เหมือนมีเรือยอร์ช แต่ถูกสึนามิพัดไป ชนสะพานซะนี่..เออใช้ได้ไหมลูก..เออ..เออ..มันต้องอยู่ใน วังวนอันนี้อยู่ เพราะฉะนั้ น กรรมที่ ทำ � แล้ ว แก้ ไขไม่ ไ ด้ มั น มี ผ ล กรรมรออยู่ ถ้าเรายังเกิดอยู่บนผืนแผ่นน้�ำ นี้เพียงใด ในใจ ของเราที่เป็นเกาะฟองน้ำ�ใหม่เนี่ย ลงไปปั๊บ! เนี่ย (อินเตอร์ เน็ตมันอธิบายได้ดีมาก ๆ ) ความเลวที่เราทำ�ตอนเป็นผู้หญิง
31
เป็นผู้ชายตอนอายุเท่านี้ ๆ มันไม่ได้บันทึกว่าทำ�แบบผู้หญิง แบบผู้ชายหรอก แต่บันทึกว่าหนักในราคะ! หนักในโทสะ! หนักในความอกตัญญู! เข้าใจมั้ยลูก? ..กรรมมันไม่มีเพศ! มันเป็นพลังงานของความดีความเลวในวัฏฏะ เหมือนคลื่น วิทยุ คลื่นอินเตอร์เน็ต ในเว็บเลว เว็บโป๊ เว็บพระ เข้าใจมั้ย ลูก? มันเป็นสากลอยู่ในนี้ ถ้าใจดวงใดดวงหนึ่งไปเกิดใหม่ปั๊บ!นี่ ที่มันโหลด ไว้ในใจมันบันทึกไว้ในใจมันจะจำ�กันได้ มึงเข้าใจมั้ย? อีเมล์ แอสเดรสมึงเนี่ยนะ มึงกดไปเถอะ! มันเข้ามาโดยไม่ต้องรู้ เลยว่าเข้าหน้าต่างไหนเข้าคลื่นเส้นไหน เข้าใจมั้ยลูก? มา จากเมฆก้อนไหน เข้าใจมั้ยลูก? มันไม่มีแต่ระบบของมัน มีแน่นอน มึงเข้าใจไหม? มึงไม่ต้องไปคิดเลย “กูจะพิมพ์ แล้ว.. มึงเข้าทางหน้าต่างนะ ๒ ทุ่ม ๑๘ มึงมานะ” ไม่ใช่! มึงกดไปเมื่อไหร่ปั๊บ! มันเข้าถึงเลย เหมือนสายไฟแดง ๆ สายทองแดงนะลูกนะ หรือ พื้นซึ่งเปียกน้ำ�แล้วมีไฟหมื่นโวลต์แช่ มึงไม่ต้องไปเลือก ตำ�บลไหน มึงจับลงไปแล้วตายห่าทุกที เหมือนกันแหละกฎ ของกรรมน่ะ ทำ�อะไรไว้ผลมันรออยู่ แม้มาเกิดเป็นมนุษย์
32
ก็ต้องไปเจอกระแส ในครอบครัวที่หนักด้วยกามราคะ มี ประวัติพ่อข่มขืนแม่ แม่เป็นโรคเอดส์ มักมากในกามคุณ กระแสตรงนี้ถึงจะเป็นมนุษย์น่ะ มันจะดูดเข้าไปหาสึนามิ ตรงนั้น เข้าใจมั้ยลูก? มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น ตระกูล เป็นที่พึ่งอาศัยมันหลีกไม่ออกจนกระทั่ง ๆ นี่เอาตัวอย่าง (เอาอันเก่าละ ๆ หลวงตาทำ�..เข้าใจ นะลูกนะ) จิตเราอยู่ในร่างกายที่เห็นน่ะนะ ทำ�ดีก็อยากได้ดี ไปเกิดดีนะ ทำ�เลวก็ไปตกเลว มันวนอยู่อย่างนี้ตลอด อย่าง มากก็ไปเป็นเมฆสักหน่อย(ไปเป็นพรหมเทวดา) ใช่มั้ยลูก? แต่ยังไม่ได้เบื่อ ยังพอใจสะใจในความดีความเลวอยู่ แต่ใจ ผ่องใสด้วยกุศล ก็ไปเกิดเป็นพรหมเทวดา เหมือนเมฆลอย ขึ้นมาพ้นพื้นสึนามิ ไปเป็นเมฆสวย ๆ อยู่สักล้านปี ๑๐ ล้าน ปี หมดซิมการ์ดแล้วมึงต้องตกลงมามึงเข้าใจมั้ย? ถ้าไปตก ในป่ามันก็จะต้องไหลไปตามลำ�ธาร ต้องลงทะเลอย่างเก่า เข้าใจมั้ยลูก? ก็ต้องหมดอายุจากพรหมเทวดา เพราะกระแสจิต มันยังอยู่ในวัฎฎะด้วยการเวียนเรื่องดีเรื่องเลวอยู่ จนกระทั่ง หนูเจอพระพุทธเจ้า เจอพระธรรมของท่านที่สั่งสอน เจอ
33
พระสงฆ์ที่สืบคำ�สอนปฏิบัติตามท่าน แล้วก็เข้าใจด้วยตัว เอง พยายามพูดให้ประชาชนให้เห็นว่า เกิดอย่างนี้มันน่า กลัวนะ.. ใช่มั้ยลูก? ไม่เบื่อหรือ..? ชาติที่หนึ่งเมื่อไหร่กูก็ไม่รู้ ชาติสุดท้ายเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ ถ้ามันวนอย่างนี้ มันเป็นวงกลม เข้าใจมั้ยลูก? สึนามิทั้งโลกมึงจะไปหาจุดเริ่มต้นหรือจุดจบ ตรงไหนลูก?..มันไม่ได้ การเกิด.. สลดใจและพิสดารยิ่งกว่า นั้น..วัฏฏะสงสาร จนกระทั่งพระผู้รู้องค์หนึ่ง ท่านเบื่อหน่าย และ บำ�เพ็ญบารมีนับเวลาไม่ถ้วน จนกระทั่งเบื่อหน่ายร่าง สุดท้าย และจิตใจของท่านก็มีแต่ความเป็นทิพย์ ไปอยู่ใน สภาวะซึ่งพ้นจากสึนามิพ้นจากคลื่นของพรหมเทวดาอย่าง เมฆ ไปอยู่เหนือโลกเหนือการวน เขาเรียก ‘โลกุตตระ’ คือ พระนิพพาน ท่านเหล่านี้ไม่ว่าร่างกายจะตายไปแล้ว หรือ ยังไม่ตายแต่จิตใจของท่านไปอยู่ในภาวะสะอาดที่สุด เว็บ โป๊เข้าไม่ได้ เว็บอาฆาตเข้าไม่ได้แล้ว ตัดคลื่นของการ สื่อสาร ตัดกิเลสออกไปแล้ว ใจท่านอยู่ข้างบนนี่ แต่ว่า สติสัมปชัญญะยังเอาร่างกายนี่มาเทศน์สอนคน เข้าใจมั้ย ลูก? คือจิตไม่ได้หวังลาภ ยศ สรรเสริญ สุขของโลกอันนี้
34
แล้ว เขาเรียก ‘พระอรหันต์’ น่ะพระอริยะทั้งหลายน่ะ ใช่ มั้ยลูก? อย่างหลวงตา หลวงปู่ หลวงพ่อต่าง ๆ ที่ท่านได้ดี กัน ท่านทำ�งานอย่างนี้ไงลูก! เราเป็นคลื่นสึนามินี่ มันต้องอาศัยคลื่นด้วยกัน แต่ ใจท่านไม่ได้อยู่ในคลื่น “เออเห็นมั้ย? น่ากลัวอย่างนี้.. ส่วน ข้างบนนี่เป็นสุขอย่างนี้ ให้ภาวนาพุทโธไว้” ปะเหมาะ เคราะห์ดีใจสงบ ขึ้นมาอยู่บนเกาะเหลือแต่ซากเรือ ใจสงบ ไม่ได้พังไปนะ พุทโธ ๆ ก็พอจะเห็นหนทางว่ามีการขึ้นฝั่ง ได้ แล้วพอเสร็จแล้วพอนึกขึ้นได้ ปั๊บ! สึนามิคลื่นต่อมาพัด ตายห่าไปอีก ไปเป็นหมู เป็นงูอีก เข้าใจมั้ยลูก? จนกว่าจะ มาเจอพระพุทธเจ้าอีกทีนึง เกิดเป็นมนุษย์เจอพระพุทธ ศาสนาประจำ�โลก แล้วได้ฟังธรรมจากครูบาอาจารย์หรือ พระที่เคยสอนกันมาแต่ชาติก่อน..“เข้าใจแล้ว”สะเทือนใจ อีตอนเมื่อชาติก่อนได้มาหน่อยนึงนะ ธรรมะความสะเทือน ใจความอิ่มใจเนี่ย พอมาเติมอีกหน่อยมันจะเพิ่มเอง เข้าใจ มั้ยลูก? จนกว่าเอ็งจะเบื่อหน่ายโดยสิ้นเชิงแล้วจะเต็มตรง นี้โดยสิ้นเชิงเหมือนท่านเหล่านี้ ถึงจะเป็นผู้พ้นจากวัฏฏะ ความวนเวียนอันนี้ได้ เข้าใจมั้ยลูก? มันน่ากลัวขนาดนี้
35
ทีนี้หมูตัวนั้นนะลูก! จิตของคนทุกคนนะลูก จำ�ไว้ เลยลูก ท่านจำ�ไว้เลย จิตทุกดวงนี่ผลสุดท้ายต้องเข้าถึงจุด บรมสุข เมื่อความเลวหมดไปโดยสิ้นเชิงจากจิตใจแล้วความ ดีเต็มถึงพร้อมและจิตใจผ่องใสเต็มที่ เข้าใจมั้ยลูก? แต่กาล เวลาเท่านั้นเองจะเป็นเครื่องแบ่งสัตว์ทั้งหลาย... กรรมดี กรรมเลวที่บรรจุอยู่ในใจเป็นเครื่องที่จะต้องใช้เวลาซักฟอก เพิ่มเติมเอาออกเอาเข้า เข้าใจมั้ยลูก? จนกว่าจะหมดเลว และมีความดีเต็มและผ่องใสไม่มีมัวหมอง จึงจะพ้นจาก กระแสคลื่นอันนี้ได้ กินเวลาเท่าไหร่เราไม่รู้ แล้ ว ถ้ า ไม่ ไ ด้ ส มเด็ จ พระสั ม มาสั ม พุ ท ธเจ้ า ผู้ เ ลิ ศ ล้น ผู้มีความเพียรยอดเยี่ยม ผู้ถอนใจจากวัฏฏะขึ้นมาสู่ ฝั่งพระนิพพาน และยังใช้เวลาที่เหลือของชีวิตนี่สั่งสอน ผู้คน ประทานพระธรรมไว้ ๒,๕๐๐ กว่าปี บางองค์มีอายุ ตั้ง ๔ หมื่นปีมนุษย์(บางยุคมนุษย์เขาโตขนาดนั้น)แล้ว พระพุทธเจ้าท่านก็สอนมนุษย์ตั้ง ๓ - ๔ หมื่นปี แล้วองค์นี้ สอน ๔๕ ปีใช่มั้ย? แล้วท่านก็นิพพานมรณภาพ แล้วพระ ธรรมของท่านยังเริ่ม พ.ศ. ๑ จนถึง พ.ศ. ปัจจุบัน ๒๕๕๔ นี่ ขนาดท่านสั่งสอนแค่นั้น เรายังได้พระธรรมบันทึกไว้ติดต่อ
36
กันมา ให้พวกเราได้รู้ความจริงกันของคลื่นการหมุนเวียน ของโลก พูดถึงหมูก็เลยนึกถึงตรงนี้ได้ว่า ไม่มีใครอยากเป็น หมู ไม่มีใครอยากเป็นคนเลว ไม่มีใครอยากเป็นกระหรี่ เป็น แมงดา เป็นมหาโจร แต่กรรมในใจก่อนตายน่ะมันจำ�แนก สัตว์ ให้ได้อย่างนั้น ๆๆ มึงจำ�ไว้เลย ถ้าใจมึงขยันพิมพ์อะไร ไว้มึงก็..มันลบไม่ได้แต่ก็ต้องไปใช้ใช่มั้ยลูก? มันไม่เหมือนเล่านิทานกัน ถ้ามึงอาฆาตเขา “ไอ้ เหี้ย..กูจะฆ่ามึง ฆ่าไม่ได้กูจะยุให้เขาฆ่ามึง” จนกระทั่งเขา โกรธกันแยกกันแทบจะตบกันตายยังงี้ เสร็จแล้วอยู่เฉย ๆ ปัดมือ “กูสมาทานศีล ๕ เจ๊ากันไป” ได้มั้ยลูก? ไม่ได้! ศีล ๕ มึงสมาทานมึงก็ได้ใหม่ เข้าใจไหมลูก? ตั้งใจใหม่ แต่ไอ้นั่น มันน่ะบันทึกอยู่ในหน้าก่อน ไอ้นี่มาเขียนใหม่ มันอยู่ที่ก่อน ตายเอ็งจะอ่านหน้าไหนอยู่ ใจเอ็งจะอยู่กับอารมณ์อะไร เข้าใจมั้ยลูก? ถ้าใจเอ็งอยู่ในอารมณ์ดี อันเป็นบันไดให้มาพักพิง จนกระทั่งพิจารณาความเลวย้อนหลัง “โอ้โห..ฉิบหาย!นรก รอกู.. ทั้งหมูทั้งหมารอ.. แล้วขืนเกิดไปในฟองน้ำ�ของ
37
สึนามิอีกนี่ กูจะต้องไปเจอกระแสคลื่นอัตโนมัติที่กูบันทึก ไว้เองน่ะนะ ในเว็บไซต์ต่าง ๆ น่ะนะ หลีกไม่ออกแน่ ทำ� อย่างไรหนอเราถึงจะพ้น? ทำ�อย่างไรหนอเราถึงจะพ้นจาก คลื่นอันนี้? ทำ�อย่างไรหนอเราถึงจะพ้นจากระบบตรงนี้?” ถ้าใจเรายังทำ�ดีแล้วยังปรารถนาได้ดี.. ทำ�เลว.. ก็เพลินใน ความเลว ก็วนอย่างนี้ใหม่ จนท่านบอกว่า..เออนะลูกนะ..ร่างกายเป็นทุกข์นะ ลูกนะ เกิดแล้วอีกไม่นานหนอ..ร่างกายนี้ก็ต้องมีวิญญาน ออกจากร่างอีกครั้งหนึ่ง ต้องนอนทับถมแผ่นดินเหมือน ท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ ไม่มีใครเขาสนใจใยดี ถ้าเราตั้งใจฟัง เราจะ.. อือ! เหมือนกันเลย เมื่อวิญญานออกจากร่าง จิตก็ต้องออกจากร่าง หน้าด้านอยู่ในศพไม่ได้ ถูกมั้ย? ถ้าใครฟังเหตุผลเขาเรียก ธรรมะ เขาเรียกคนไม่มีวิจิกิจฉา เข้าใจไหมลูก? ไม่มีความ สงสัยแต่.. เสียว.. เบื่อ! นี่แหละคือตัวธรรมะที่บันทึกในใจ คน ว่าร่างกายเป็นทุกข์ ไม่น่าเกิด ไม่น่าทำ�เลวเลยกู.. แต่ทำ� ไปแล้วทำ�ยังไง? (หัวเราะ) ไม่ต้องไปทำ�มึงโดนแน่ ทีนี้จนกระทั่งเนี่ยท่านพูดให้ฟังทั้ง ๒ ส่วน ทั้งความ
38
ดีและความเลว ไม่มีใครหมดเลวลูก ถ้ายังเกิดเป็นมนุษย์ เนี่ย เพียงแต่ว่าเบื่อเร็วจนสุดขาดใจหรือยัง? และรักความดี จนสิ้นหัวใจหรือยัง? รักความดีแล้วก็ต้องเอาความดีมาพยุง ใจให้ลอยขึ้นมา แล้วพิจารณาย้อนลงไปทั้งความดีความเลว ก็วนทั้งหมด “ถ้าเป็นไปได้ตั้งแต่ชาตินี้เป็นต้นไปลูกจะไม่ ขอมีร่างกายมีขันธ์ ๕ ในโลกอีก ใครหนอจะสั่งสอนให้เรา หมดเชื้อจากเว็บไซต์เลว? พอใจในกาม ผู้ชายก็หล่อ ผู้หญิง ก็สวยหรือสายสะพายก็ดี เงินก็ดี ของเหล่านี้ทำ�ยังไงเราถึง จะลบไปจากใจเราได้?” ก็ต้องลบด้วยความเบื่อหน่ายด้วย ปัญญา เขาเรียกว่า ‘วิปัสสนาญาณ’ เข้าใจมั้ยลูก? แล้วมาเกาะความดีของพระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ ถ้าเรา โอ๊ย..เราเบื่อหน่ายการเกิด ฉะนั้นก่อนจะตาย.. นี่ ๆ! มันตายแน่นอนเนี่ย ถ้าหมดวันนี้เมื่อไหร่ร่างกายตาย แน่ ใช่มั้ยลูก? ถ้าหมดวันนี้ใช้ก็ตายใช่มั้ยลูก? พูดอย่างนี้เรา จะได้สติ เมื่อสิ้นสุดวันนี้เมื่อไหร่ร่างกายนี้ต้องถูกทอดทิ้งไว้ ในโลกอีกครั้ง ไม่มีใครเขาสนใจใยดี เมื่อร่างกายนี้ตายไป ลมหายใจก็ออกจากจมูกก็ไปอยู่ในอากาศธาตุ ตามไปดูลม หลวงตา ลมอีหนูก็ไม่มีแล้ว มันเป็นของสาธารณะ ธาตุไฟ
39
คือตัวเชื้อชีวิตนี่ออกไปอยู่ในอุณหภูมิธาตุ ตามไปดูพรรษา ไหนก็ไม่รู้เรื่อง ใช่มั้ยลูก? โอ..ตัวชีวิตแท้ ๆ คือลมกับไฟเนี่ย พลังของชีวิตนี่ ที่จริงเมื่อถึงที่สุดของความจริงแล้ว มันไม่มีผู้หญิงผู้ชาย มัน ไม่มีใครจะยึดครองว่าเป็นของกู เป็นชีวิตของกูได้ โอหนอ.. เอ๊! เหตุผลอันนี้.. ใครน้อเป็นคนพูด?.. มันทำ�ไมเถียงไม่ได้ อย่างนี้วะ..ทำ�ไมกูแก่ป่านนี้กูไม่เคยฟังมาก่อนวะ?ใช่มั้ยลูก? เลื่อมใสอยากจะฟังต่อ เข้าใจมั้ยลูก? เออ..เมื่อลมกับไฟสลายไปแล้ว ดินกับน้ำ� ตั้งแต่หัว จรดตีน ตีนจรดหัวมีผิวหนังหุ้มอยู่โดยรอบตั้งแต่ ‘ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง’ ทวนเป็น ‘หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม’ ของคน ตาย! ของคนที่ไม่มีลมไฟแล้วเนี่ย เป็นยังไงลูกน่ารักมั้ย? ไอ้ ๕ อย่างไม่น่ารัก ลองผ่ามันดูข้างในเดี๋ยว.. กูเกิดมาแล้วรัก กันมาตั้งเยอะแยะ ล่อไป ๕ อย่างไม่เห็นมันจะมีอะไรน่า รักซักอย่างใช่มั้ยลูก? งั้นผ่าไปดูเนื้อศพซิ เอ็น กระดูกศพ เหมือนกระดูกหมูอ่ะเนอะ เยื่อในกระดูกมีซักอันไหมลูก สะอาดมีมั้ย? เออเอ็งฟังแล้วเอ็งตอบ เอาใจตอบนะลูกนะ.. เอ้า! ไม่สะอาด แล้วกูเสือกรักมันยังไงวะนี่?
40
ค้นมันลงไปอีก เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูกก็ ไม่มี หัวใจ..หัวใจศพ ปอด กระบังลม อีก ๓ อย่างไหวไหม ลูก? (นี่เขาเรียกเกรงใจเอ็ง) เข้าถึงกายคตาสติ อาการ ๓๒ นี่เข้าใจไหมลูก? ไม่ใช่ไปท่อง ท่องทำ�..อะไรนักหนา ผม ขน ฟัน เล็บ หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก.. เอ็งพูดไปใจ เอ็งต้องเห็นเข้าไปด้วย ‘เห็น’..เขาเรียกถ้าจะทำ�อะไรให้ได้ จริง ๆ ก็บอก ทำ�มันให้ถึงตายเลย! สู้แค่ตาย! เอาแค่ตาย! ธรรมมะทุกอย่างต้องเอาตัวตายเลยมา ถึงจะเห็น เข้าใจมั้ย ลูก? หัวใจ ปอด กระบังลมก็ไม่สวยละ ฉิบหาย.. มัน มีลำ�ไส้น้อย (เอาตามสูตรที่ท่านว่าเลยนะ) เป็นอะไรลูก.. เป็นพวงเลย แล้วเขียวปรื๋อเลยนะ ลำ�ไส้ใหญ่มีกระเพาะ ห้อย ๆ นะ และอาหารใหม่กินเข้าไปในกระเพาะศพน่ะ ล่อ เกาเหลาบวกข้าว มีข้าวเหนียวกับมะม่วง น้ำ�ปลาหวานด้วย ไปอยู่ในนั่น น้ำ�ย่อยมันก็ขยำ�ป้อด! แล้วก็ตายก่อนมันก็ยัง อยู่เป็นอาหารใหม่ ไหวไหมลูก? อาหารเก่าคือที่เป็น มัน ดูดเชื้อโอชะไปแล้วมันกำ�ลังจะขี้..ยังไม่ทันได้ขี้ตายห่าก่อน ผ่าออกมาเป็นดุ้น หรือเป็นเหลวเป็นถ้วยยังงี้ อาหารใหม่
41
อาหารเก่าก็ไม่สวยใช่มั้ยลูก? เอ้า..ฉิบหายแล้ว กูรักอะไร วะเนี่ย? เอาอีก! ตับศพ ม้ามศพ ไตศพ ไหวไหม? เอ้า.. ฉิบหายแล้ว เหลืออะไรวะ? มันสมอง ผ่ากระโหลกออกมา สมองคนตายมันไหวมั้ยลูก? ดอกเตอร์กับ ป.๔ ต่างกันมั้ย? ไอ้ฉิบหายแล้วไงเล่า กูท่องมา ๒๐ อย่างธาตุดินทั้งนั้นเลย จับได้ ชั่งน้ำ�หนักได้ทั้งนั้นเลย ก็ไม่เห็นมันสะอาดซักอย่าง เลยเนาะ? หัวใจตัดออกมา หัวใจเอ็งน่ะตายพร้อมข้านี่นะ เอา มาวางบนจานแก้ว เอาหัวใจเณร หัวใจหลวงตามาเอาหัวใจ ป้ามาหมุนแล้วให้ดู ว่าไหนหัวใจผู้หญิงหัวใจผู้ชาย ดูออกมั้ย ลูก? ตัดไส้มาคนละฟุตนี่นะ เอ้า..ฉิบหายล่ะธาตุดินก็ไม่ได้ เรื่อง มันต้องมีของดีซิวะ งั้นล่อธาตุน้ำ�อีก ๑๒ อย่าง (ร่างกายมันมี ๓๒ อย่าง นะ) อื้อ..หือ ..เสลดศพ น้ำ�ลาย น้ำ�มูก น้ำ�เลือด น้ำ�เหลือง น้ำ� หนองศพ ฉิบหายยิ่งไปกันใหญ่เลย มันเหลว มันข้นเหลือง ๆ ในศพนะ น้ำ�ไขข้อ น้ำ�ดีศพ น้ำ�เยี่ยวที่ค้างกระเพาะศพที่ ยังเยี่ยวไม่ออกตายห่าก่อนเนี่ย อีก ๑๒ อย่างเนี่ยมีอะไร
42
สะอาดมั้ยลูก? ตายห่าแล้ว เอ๊ะนี่..ทำ�ไมกูเพิ่งคิดออกวะ ๓๒ อย่างไล่ไปเลยอนุโลมปฏิโลมไปกลับ ๆ เนี่ย ยิ่ง ไล่ยิ่งแสยะแหยง ไล่วันรุ่งขึ้นมันก็เน่าไปอีกวันนึงใช่มั้ยล่ะ? ที่เราเห็นเพราะเราเอาถึงตาย มึงเข้าใจมั้ย? อาศัยมรณา นุสตินี่เป็นตัวช่วยพิจารณา ถ้าเอาไม่ถึงตายมึงวนมาพอใจ ใหม่ เข้าใจมั้ยลูก? อือ ๆ.. เนาะ!.. เอาถึงตายแล้วจึงจะมอง เห็น โอ๊..เมื่อเป็นอย่างนี้ปั๊บ! ลมก็ไปอยู่กับลมไม่อยู่กับศพ แล้ว ไฟก็หายไป ดินกับน้ำ�ก็ทำ�ลายกันเน่า ๒-๓ วันหนอน มากินยังไง วิญญาณออกจากร่างแล้วใจต้องออกจากร่าง มาด้วย ใจออกจากร่างแล้วมันจะไปไหนวะ? ใจกูจะไปไหน วะ? ใจเราออกจากร่างมาด้วยนะ ปล่อยให้ตัวนี้มันเน่า เละกันนะลูกนะ ไอ้หนู!หลวงตาถามหน่อย ตอนที่ใจอยู่ใน ร่างเนี่ย มันมีวิญญาณ ไอ้นี่ ๆ ไง มีตาเห็นรูปใช่มั้ย? หูได้ยิน เสียงใช่มั้ย? จมูกรับรู้กลิ่น ลิ้นรับรู้รสน้ำ�ปลาแม็กกี้อะไรน่ะ กายแฟนมาหอม ไปหอมแฟน ถูกต้องสัมผัส มีความรู้สึกได้ ใจเทิดทูนว่ากูจะไปทำ�บุญกับหลวงตา กูจะอย่างโน้น กูจะ อย่างนี้ ยังเพลิดเพลินในกุศลและสลดใจในอกุศลได้ เข้าใจ
43
มั้ยลูก? วิญญานมันเข้าไปอาศัยตาก็ทำ�ให้ตารับรูป เสียง เข้าไปในหู มันก็ทำ�ให้หูได้ยินเสียง ได้กลิ่นได้รส สัมผัส ใจ มีส่วนสัมผัสมันก็คอยเพลิดเพลินว่าร่างกายเป็นเราเป็นของ เราด้วย ตัวก็เพลินเข้าใจมั้ยลูก? มโนวิญญานมันทำ�งาน โอ้โห..พอใจออกจากร่าง เคยมีคนตายคนไหนที่ คนเขาไปรดน้ำ�ศพทำ�ตาปิ๊บ ๆ มั้ย? มันเห็นมั้ยลูก? ตามอง ไม่เห็นรูป ไม่รับรู้รูป ให้ร้องไห้ให้ตาย หูไม่รับรู้เสียง ใช่มั้ย ลูก? เอาน้ำ�หอมหรือเอาตดมาตดใส่จมูกศพ... ไม่รับรู้กลิ่น เอาไวน์มาหยอดใส่ลิ้นศพผสมแม็กกี้ รู้รสมั้ย? แล้วก็โห.. เอานางงามจักรวาลมากอด เอาลิ้นแลบเข้าไปในลิ้นศพเนี่ย ศพมันพอใจมั้ยล่ะ? ไม่รู้เรื่องเลยนะ.. สัมผัสโผฏฐัพพะ แล้ว ใจเราออกจากศพแล้วนี่.. มันไม่ได้มาเพลินในน้ำ�เหลือง ตรงไหนเลย โอ.. เมื่อจิตออกจากร่างวิญญานก็ออกจากร่าง ไปด้วย เมื่อวิญญานออกจากร่างเรา ตอนที่อยู่ด้วยกันยัง มีเวทนา ตอนฟังธรรมนี่สบายใจ พอด่า“อีเหี้ย”ก็ทุกข์ใจ เนาะ เขาเรียกสุขเวทนา ทุกขเวทนาเข้าใจมั้ยลูก? เออ..
44
ลูบหัวก็สบายใจ ตบหน้าเป็นทุกข์ใจ เสวยสุขเสวยทุกข์ได้ อยู่ พอวิญญานออกจากร่าง จิตออกจากร่าง ไปบีบจมูก เอาตีนถีบมันรู้สึกมั้ยล่ะ? พอตัวตายปั๊บ! เรื่องทุกข์เวทนาทำ�ร้ายซากศพไม่ได้ แล้ว เรื่องวิญญาน..จะเห็นใครรัก เห็นใครเกลียด แล้วทำ�ให้ ศพปรุงให้ศพมาเต้นแร้งเต้นกาไม่ได้แล้ว สัญญา.. ความจำ�ได้ หมายรู้ กูชื่อนี้ เมียกูชื่อนี้ ลูกกูเป็นเณรอยู่อย่างนี้ จำ�อะไร ไม่ได้แล้วใช่มั้ยลูก?.. ศพน่ะ สังขารที่จะรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง จะทำ�โน้นจะทำ�นี่หยุดแล้วโดยสิ้นเชิงแล้ว ‘เตสัง วูปสโม สุ โขฯ’ สงบปรุงไม่ได้แล้ว วิญญานก็ทำ�งานไม่ได้ โอหนอ..อีกไม่นานหนอ..ร่างกายที่ไม่เที่ยงนี้ ก็จะ มีวิญญานออกจากร่างแล้ว ต้องนอนทับถมแผ่นดินเหมือน ท่อนไม้ที่ไร้ประโยชน์ ไม่มีใครเขาสนใจใยดี เขาให้เอาจิต ซึ่งยอมให้เห็นว่าตายเนี่ยมาชลอรออยู่ ยังไม่ทันไปลงนรก หรือไปนิพพาน ไปสวรรค์นี่.. ให้ดู เขาเรียกถอนจิตออกมา ดู ถ้ามันตายเนี่ยมันเป็นยังไง เข้าใจหรือยังลูก? มรณานุสติ เนี่ย ให้เห็น..โอ! มันเป็นอย่างนี้ ๆๆ สมัยก่อนถ้ากูอยู่กับมันนะ พอเขาชมว่า “พ่อรูป
45
หล่อ แม่คนสวย” ใจเนี่ยพอใจ เขาชมว่าผมสวยนี่ ผมมัน เคยออกไปยิ้มกับเขามั้ย? ใจเนี่ยเสือกคิดว่าผมเป็นของเรา ก็อิ่มใจก็ไปทำ� ปากยิ้มหน้าบาน ให้เขาหลอกต่อ มึงเข้าใจ มั้ย? พอเขาด่า “อีจมูกหัก” จมูกมันเคยโกรธคนมั้ยลูก? ใจ น่ะ มันคิดว่าจมูกเป็นของเราว่ามันสวย “มึงว่ากูจมูกหัก.. แม่มึงซิหัก”(หัวเราะ) เออ..เอางั้นเลยนา แต่เวลาวิญญาน ออกจากร่าง จิตออกจากร่างแล้วนะ ไปจมูกเละยังไง จมูก มันไม่โกรธ ร่างกายก็ไม่โกรธ ใช่มั้ยลูก? โอหนอ.. อีกไม่นานหนอเมื่อวิญญานออกจากร่าง นอนทับถมแผ่นดินไม่มีใครสนใจใยดี เราก็ไม่สนใจ พิจารณา ทั้ง ๓๒ อาการไม่ได้มีใยดีอะไรกันแล้ว โอหนอ..จิตซึ่งไปอยู่ ในร่างกายที่มีชีวิตอยู่ ทุกข์ทั้งหลายจะให้ผลกับร่างกายซึ่ง ยังมีจิตเกาะ กิเลสทั้งหลาย รัก โลภ โกรธ หลงทั้งหลาย จะ ผ่านร่างกาย ตา หู จมูก ลิ้นมาให้ใจเป็นทุกข์ เข้าใจมั้ยลูก? และใจที่ถูกกิเลสสอนนี่ ก็บังคับให้ร่างกายไปทำ�กิเลสต่อ เมื่อกิเลสที่หุ้มห่อในใจนี่ บังคับให้ใจทำ�กรรม บังคับให้ปาก กับวาจาและกายทำ�ไปด้วย แล้วเกิดวิบากรออยู่ข้างหน้า ถ้าจะต้องไปเป็นหมูขาด้วน มันเคยใช้ตีนไปเตะแม่เตะพ่อ
46
หรือไปเขี่ยบาตรพระกำ�ลังบิณฑบาต ใจเท่าเดรัจฉานหรือ สัตว์นรกอ่ะ? เวลาร่างนั้นตายไป ตีนซึ่งเป็นของเหลว เป็น ของแข็ง เป็นดิน เผาไปแล้วไปตกนรกกับเรามั้ยลูก? มัน ก็เป็นดินอย่างนั้น ที่ไปเกิดเป็นหมูน่ะคือใจโว้ย.. เข้าใจมั้ย ลูก? ใจเอาพลังงานซึ่งสั่งสมมาเนี่ย ไปเกิดเป็นหมู ร่างกาย ที่ทำ�ผิดร่วมกันมามันไม่ไปกับเราเลย เข้าใจมั้ยลูก? ทั้ง อาการ ๓๒ ลงดินลงน้ำ�หมดเนาะลูกเนาะ! ชีวิตก็อยู่ในลม ในอากาศธาตุ ไอ้ฉิบหาย.. สมัยก่อนกูเนี่ยทำ�เลวเพื่อมึงเพราะมึง แท้ ๆ เลยเนี่ยนะ กูรัก กูโกรธ กูหลง แทนมึงเพราะมึงเนี่ย แล้วเอามึงทำ�เลวเนี่ย มึงน่ะทำ�เลวไม่เป็นหรอก ไอ้ศพหรือ ไอ้คนเนี่ย ถ้าใจกูไม่สั่งนะ ขนาดปวดท้องขี้จะตายห่า.. กลัว ผี ใจมันบอก เดี๋ยวผีหักคอ ใจไม่สั่งให้ลงกระไดไป ขี้ไม่ออก นะ เข้าใจมั้ยลูก? เพราะฉะนั้น ถ้าไม่มีเจตนาจากใจเป็นคน สั่งเนี่ย ร่างกายทำ�อะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นร่างกายเขาไม่มีเจตนา เขาไม่ตกนรก มึงเข้าใจมั้ย? มันก็เป็นธาตุ ๔ ของมัน เอ็งน่ะไปเอาธาตุ ๔
47
อันใหม่ แต่มึงเสือกวาดรูปอะไรไว้ล่ะ ใจเท่าหมู ใจเท่าเดิม ก็ไปได้ธาตุ ๔ เนี่ยเหมือนกับไอ้ถ้วยแก้วที่เป็นรูปหมูนี่นะ พอแหย่ไปในน้ำ�ปั๊บ! แล้วเอ็งกดแบบกาลักน้ำ�อย่างนี้นะ มันจะเป็นรูปหมูอยู่เต็มแก้วใช่มั้ยลูก? ถ้าตรงนี้เป็นงูพอลง ไปเกิดใหม่ปั๊บ! มันก็เป็นงูอยู่ในรูปธรรม เกิดเป็นคนก็ได้คน ตามสภาพ ไม่มีศีล ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไปทรมานสัตว์ ก็ไปเป็น คนขาเป๋ขาด้วน แล้วซ้ำ�ยังมีใจโหดร้าย เพราะมันยังโหลด ขาลงไปอย่างนั้นน่ะนะ เข้าใจมั้ยลูก? นี่เองเจตนาของใจมันเป็นตัวทำ�กรรมเและเป็นตัว รับกรรมทำ�ให้ตัวเอง โดยที่ร่างกายคือขันธ์ ๕ เนี่ย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน หรือตัวโน้ตบุ๊คกับตัว เมมโมรี่ ตัวปรุงแต่ง ตัวปรุงค่า กล้อง ลำ�โพง เปรียบเหมือน วิญญานน่ะนะ และเวทนาเนี่ย มันไม่ได้ไปกับเราเลย.. มึง เข้าใจมั้ยลูก? เราเดือดร้อนว่ามันเป็นเรา เป็นของเรา ทั้งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเนี่ย.. แล้วเอามันไปทำ�เลว นี่ลูก พิมพ์ข้อมูลเข้าไปในใจเราเนี่ย ก็หมายความว่าเกิดมา ทั้งชาติเนี่ยกูจะเอาร่างกายซึ่งจะเป็นพระอรหันต์ก็ได้ แต่ กูเป็นหมาอีกชาตินึง เข้าใจมั้ยลูก? แล้วก็ไปเกิดใหม่ ความ
48
สลดใจตรงนี้ไงลูก ที่หลวงตาไล่มาให้ดู.. ยุคนี้มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์สั่งสอนเรา อยู่ แต่เราฟังไม่ถึงตายเข้าใจมั้ยลูก? ถ้าฟังไม่ถึงตายมึงวน ใหม่เข้าใจมั้ยลูก? มันก็ไปมีมานะใหม่ “โอ้กู..ไปถึงหลวงตา ทักกูก่อนเลย” มาพอใจคำ�ชม เอ้อ ๆ.. ก็ยังพอใจคำ�ชม ร่างกายนี้อยู่ เข้าใจมั้ยลูก? ก็ยังต้องเกิดวนอยู่ ไปเห็นหมู มาก็แสดงว่าเขามีอุปทานยึดถือในความดีความเลวก็ไปเกิด ตามนั้น แต่ใจเขาสงบ พอเห็นหมู่พระสวดมนต์ เขาจะมา เข้าสังฆะหมู่เรา มันคนละภูมิเข้าใจมั้ย? เขาไม่ให้เข้า จะต่อว่าก็ไม่ได้ “หลวงน้าจำ�กันไม่ได้หรือ? ไอ้หนู มึงจำ�กูไม่ได้หรือ? กูเป็นอุปัชฌาย์มึงอยู่วัดยางเนี่ย! กูตาย เมื่อ ๑๑ ปีที่แล้ว นี่มึงทำ�กับอุปัชฌาย์มึงขนาดนี้เหรอ?” จะ พูดอย่างนั้นมันก็ร้อง อู๊ด ๆๆๆ แล้วใครมันจะไปฟังรู้เรื่องล่ะ เข้าใจมั้ยลูก? ความสลดใจก็คือตรงนี้ไงลูก เพราะฉะนั้น ณ บัดนี้ ที่เราพูด เราฟังกันอยู่เนี่ย เมื่อลบลมหายใจที่ผ่านมาถึงเมื่อ วานถึงวานซืนเนี่ย ทำ�ดีทำ�เลวมึงแก้ได้มั้ยลูก? แก้ไม่ได้แล้ว ไม่ต้องไปยุ่งกับมันเลย ถ้าทำ�เลวมันรอมึงอยู่แล้ว ทำ�ดีแล้ว
49
มาแต่ไหนมันก็รออยู่แล้ว อยู่ในคลื่นของวัฏฏะตรงนี้ ซึ่งมัน รอให้มึงไปเสียบปลั๊กเข้ากับธาตุ ๔ เมื่อไรมันแปล๊บ!..ออก มาเลย เข้าใจมั้ยลูก? เอ้อ..มึงจะพักตอนเป็นพรหมเทวดาหน่อยเดียว นะ พอหมด..เหมือนเมฆ เคยเห็นคนท้องเสียขี้ท้องจะแตก ขมิบตูดเข้าส้วมมั้ยลูก? มึงขมิบได้ทั้งวันมั้ยล่ะ? ฮื้อ..มึงหมด แรงขมิบมึงแตกเลยนะ เหมือนคนกะเป็นพรหมเทวดาเลย หมดอายุลงเลยนา พักได้หน่อยเดียวเท่านั้นเอง แต่เป็นสิบ ล้านปีร้อยล้านปีมนุษย์ ก็ไม่มีความหมายต่อคนอื่น ไปพัก หน่อยเดียวเดี๋ยวก็ลงมา ทีนี้ไอ้ที่มึงบันทึกไว้น่ะ ก็จะดึงเข้า มาให้ผลทันที เพราะฉะนั้น.. ที่เรามาวัดกัน ไม่ใช่มาสมาทานศีล มาสมาทานอะไรกันแล้วก็อิ่มใจ กูเป็นคนมีบุญ อย่างเดียว ไม่ได้นะ ประมาทนะลูกนะ! ต้องบอกบาปกูมีพอตกนรกได้ สบายมาก ทำ�ยังไงกูถึงจะไม่เกิดต่อไปหว่า? คือถ้าเกิดมาก็ เกิดอีกทีนึง ออกจากนี้ไป.. ไปเป็นเทวดาอยากเข้านิพพาน เลย แต่เข้าไม่ได้ก็ไปเป็นพรหมเทวดาก่อน ค้างเติ่งอยู่อย่าง นี้นะ.. แต่ใจยึดมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้วนะ
50
ไม่วนแล้วนะ อยากขึ้นที่สูงแล้วนะ พระพุทธเจ้า.. และพระอรหันต์ทั้งหลาย.. อยู่ใน นิพพาน ฉันจะอยู่ด้วย จำ�ลูกไว้เลย! ลูกขอผูกพันมั่นหมาย เชื่อมโยงไว้กับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือด้วยอารมณ์กรรมฐานก็ตาม ยึดไว้ก่อน พระท่าน อยู่ที่ไหน เราจะอยู่ที่นั่น แล้วเราก็ห้อยร่างกายนี้ไป เอามัน เดินจงกรมเสียมั่งคราวนี้.. เข้าใจมั้ยลูก? เอาไปนั่งกรรมฐาน เสียมั่ง เอามันสวดมนต์เสียมั่ง สมัยก่อนร้องเพลงเต้น เหยว ๆ มึงไม่รู้จักเมื่อย แล้วมึงเดินจงกรม ๑๐ นาที โอ๊ย.. ทนไม่ไหว สวดอิติปิโสฯ หน่อยเดียวไม่ได้ สวดไม่จบ.. แล้ว มึงบันทึกอะไรไว้ล่ะลูก! เห็นหรือยังเวลาตายแล้วมันไม่ขึ้นที่ สูงไง เออนี่ไง ผูกไว้อย่างนี้ลูก แล้วเวลาตายเมื่อไหร่ปั๊บ! เราปรารถนาจะเข้าพระนิพพาน เข้าไม่ได้เราไปค้างเป็นเมฆ ของพรหมเทวดา แต่ใจผูกกับพระนิพพาน เขาเรียกคนที่ เข้าถึงกระแสพระนิพพานแล้ว เขาเรียกพระโสดาบัน คือ เบื่อหน่ายร่างกาย เบื่อหน่ายความเลว ยึดพระพุทธ พระ ธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งด้วยปัญญา ปรารถนาพระนิพพาน
51
แล้วก็ก่อนจะตายเนี่ย ต่อไปนี้กูจะไม่ยอม กูรู้เดี๋ยวตายแล้ว มึงไม่ไปกับกู เพราะฉะนั้นมึงจะหิวข้าวหิวน้ำ� กูจะไม่ละเมิด ชีวิตทรัพย์สินใครมาเลี้ยงมึง เดี๋ยวมึงก็ตาย มึงก็โกงกูให้กู ไปรับคนเดียว ต่อไปนี้ศีลเป็นของกู ๆ จะไม่ยอมละเมิดชีวิตทรัพย์สิน ใครมาเลี้ยงมึงเป็นอันขาด! แค่ก่อนตายวันเดียว หมดวันนี้ มึงกะกูก็แยกกัน เกิดกามขึ้นมากูก็รู้ กูจะจำ�ได้เมมโมรี่กูมี อยู่ ว่าไหนผัวไหนเมียมึง เออ..กูจะไม่ยอมไปละเมิดความ เจ็บใจของคนอื่นเอามาเลี้ยงกามคุณนี้เป็นอันขาด เพราะกู จะต้องไปปีนต้นงิ้วเป็นสัตว์นรกแทนมึงเพราะมึง กูไม่เอา เรื่องกูจะไปพูดโกหก ส่อเสียด เพ้อเจ้อ เพื่อจะไป ละเมิด ๓ อย่างแรก เอามาเลี้ยงมึงก่อนตาย แล้วมึงก็ไป เป็นต้นมะกรูด ต้นมะพร้าว เป็นปุ๋ยเข้าไป เป็นดอกมะม่วง ลูกมะม่วง เป็นดอกกุหลาบ เป็นดอกบัวบูชาพระ ไอ้ ฉิบหาย! ทำ�บาปด้วยกันแท้ ๆ ไปอยู่หน้าหิ้งพระ กูไปนรก ธาตุ ๔ น่ะ เข้าใจมั้ยลูก? ต่อไปนี้กูรู้แล้ว.. กูได้สติแล้ว มีพุทธา..ธัมมา..สังฆา นุสสติ.. อุปมา(นิพพาน)นุสสติ.. แล้วมองเห็นมรณานุสสติ
52
แล้วมีสีลานุสสติ (นี่พูดตามตำ�รานะ) ว่ามีศีลบริสุทธิ์ต่อไป นี้จนวันตาย แต่กูจะตายแบบคนไม่มีหนี้ค้างกับศีล ถ้าอย่าง นี้เขาเรียกพระโสดาบัน เข้าใจมั้ยลูก? ก็รออยู่อย่างนี้ แต่มีที่ ยึดแล้ว แต่เข้าไม่ได้ ยังมีเชื้อเลวอยู่ เขาเรียกดับจากการเกิด แต่ยังเหลือเชื้ออยู่ เนื่องจากเอ็งปรารถนาพระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ แต่เชื้อการมีร่างกายเอ็งยังมีอยู่ เหมือนกาลักน้ำ� เอ็ง ก็เป็นกายลูกพระสงฆ์นะสิ คือลูกมหาอุบาสก อุบาสิกาที่มี ศีล มีธรรมพร้อม ออกแบบไว้ดี เวลามีพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใน โลกประกาศศาสนา มีพระอรหันต์รู้ตามปั๊บ! จิตของเทวดา พรหมเขาจะถูกอินเตอร์เน็ตชิพ.. แปล๊บ! เข้าใจมั้ยลูก? ถึง เวลาแล้วน้อ.. ที่เราจะไปต่อเอาความเลวออกเอาความดี เพิ่ม ทำ�ให้ใจผ่องใสจากศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์นี้ เขาก็พิมพ์คอมพิวเตอร์อธิษฐาน ไปเกิด พ่อไหน ท้องไหน เจออุปัชฌาย์คู่สวด หรืออาจารย์ไหนองค์ไหน.. กดไปเลย เขาจะออกมา..แหวม! ไปเกิดข้าง ๆ วังโน่น แต่ ไปเป็นลูกมหาดเล็ก อะไรก็แล้วแต่นะลูกนะ แต่ไม่เป็นหมา ต้องเป็นมนุษย์ แล้วเป็นเหตุให้จะต้องมาฟังธรรมจากพระ
53
พุทธเจ้า ฟังอีกทีก็เบื่อร่างกายเต็มที่ก็เป็นพระอรหันต์ ถ้า ยังไม่สิ้นร่างกาย ก็จะเอาร่างกายนี้เทศน์ธรรมะต่อไป พอ สิ้นร่างกายก็เข้าพระนิพพานไป แล้วตลอดเวลาของพระอริยะก็จะเตือนคนอย่างนี้ ตลอด (อย่าไปคิดว่าหลวงตาเป็นพระอริยะนะ! แต่ว่าพูด ตามแบบของท่านว่า) เขาจะเตือนคนให้เห็นโทษของการ เกิด เห็นคุณของศีล ๕ เห็นคุณพระพุทธ พระธรรม พระ สงฆ์ รีบผูกจิตผูกใจไว้กับที่พึ่งอันมั่นคงเสีย สายศีล สายสติ นี่อย่าให้ขาด นะลูกนะ! แล้วก็จับร่างกายไว้ สมัยก่อนสวมมันเลย กายเป็น ใหญ่เป็นประธาน มันอยากอะไรกูเจตนาทำ�ให้มึงทั้งนั้นนะ ลูกนะ ตอนนี้ใจเป็นใหญ่เป็นประธานแล้ว เหมือนเอาตีน คีบมันไว้ มือจับพระพุทธเจ้าไว้ ตีนคีบร่างกายไว้ เอ็งเข้า ใจมั้ยลูก? มึงเห็นขัน ก็เอาตีนขวาพายข้าวมาให้มันกิน แต่ รับรองไม่เอาของผิดศีลเอามาเลี้ยงมึงเป็นอันขาด ความ สนใจในร่างกายประดุจอย่างนั้น ความสนใจของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ประดุจมือที่เราเกาะข้อพระบาทท่าน ไว้ อย่างนี้ถึงเขาถึงเรียกพ้นจากอบายภูมิ
54
แต่ว่าถ้าหากฟังแล้ว เกิดทำ�มาน้อย.. ขี้เกียจ! ก็ยัง เข้าไม่ได้ แต่สะอาดขึ้นอีกก็ไปเป็นพระสกิทาคามี.. พระ อนาคามี.. ถ้าจะลงมาเกิดมามีร่างกายก็อีกก็ไม่เกิน ๗ ครั้ง ตอนเป็นปุถุชนขึ้นไปแล้วลงมาเป็นชาติที่ ๑ กิเลสยังไม่ หมดนับไปอีกไม่เกิน ๗ ชาติ อาจจะเป็น ๓ ชาติ ๒ ชาติ เอ็งจะต้องบริสุทธิ์เบื่อหน่ายเต็มที่.. เข้านิพพานไป เป็นพระ อรหันต์ไป นี่พูดกันเอาแบบ..ได้ดีเพราะหมูนะ! เอากันให้ถึง นิพพานเลย ให้ถึงเลยว่าเป็นทุกข์อย่างนี้น่ะลูก ต้องเอา พระปากจัดอย่างนี้พูด มันจะได้เห็นลึก ๆ กัน ถ้า “โยม จ๋า..เจริญพระกรรมฐานกันนะจ๊ะ” ง่วงนอน! บางองค์ท่าน พูดเพราะ แล้วเราเข้าใจก็เป็นวาสนาของท่านกะเราร่วมกัน แต่ส่วนใหญ่ กูว่าถ้าพระพูดเพราะไป รูปหล่อไป มันก็ไปติด พระกันอีกน่ะเนาะ (หัวเราะ) เยอะแยะไป ไม่ติดธรรมะแล้ว ติดเสียงติดรูปกันแล้ว นึกออกนะลูกนะ เจอกันกับลูกๆ ทั้งหลายวันนี้ หลวงตาออกจากป่ามาพอดี อยากจะเตือนลูก ๆ อย่า ประมาท ไม่มีใครรู้เลยว่าวันนี้ของเราจะสิ้นสุดลงเมื่อไร วัน
55
พรุ่งนี้ไม่เคยมีในชีวิตเรา มีแต่วันนี้ที่ต่อเนื่องกันมาเรื่อย ๆ ถ้าสิ้นสุดวันนี้เมื่อไหร่ หมดวันนี้ใช้เมื่อไหร่ มึงเจ๊งเลย กูก็ เจ๊งเหมือนกัน ตัวใครตัวมัน ใจใครใจมันแล้วตานี้ เพราะฉะนั้น เราเนี่ยลูก สิ่งที่มีค่าที่สุดของเรา ไม่ใช่ วันพรุ่งนี้ไปถึงกี่ปีก็ตาม ไม่ใช่ร่างกายอื่น ไม่ใช่ทรัพย์สิน อื่น สิ่งที่มีค่าที่สุด คือใจของดวงเดียวของเราเนี่ย ทุกคนนี่ มีบุญอันทำ�มาแล้วตั้งแต่ชาติสองชาติ ชาติที่ ๑ ๒ ๓ ๔.... จนกระทั่งถึงวันนี้นี่ กราฟของความดีนี่เป็นแท่งสูงที่สุด สมบรูณ์ที่สุด เพราะพรุ่งนี้มึงยังไม่ได้ทำ�เพิ่ม เข้าใจมั้ย? แล้ว มึงก็ทำ�มากกว่าเมื่อวานหน่อยนึงด้วย แต่เสือกมีอุปทานมี ความเลวหุ้มทองคำ�ไว้ เข้าใจมั้ยล่ะ? ที่เอ็งเกิด.. (ห่ม)ผ้านี่เอ็งเกิดมาเป็นพระ มาเป็นคน อย่างนี้ได้ เราพ้นนรกมาแล้ว ใช่มั้ยล่ะ? ถ้างั้นมึงตกมา ๑๘ ชาติ ก็เหลือ ๑๗ เหลือ ๑๖ สิ นี่มัน ๐ ชาตินรกไปแล้วนี่ เดรัจฉานก็ ๐ ไปแล้ว คนนอกศาสนาก็ ๐ แล้ว เห็นมั้ย?เอา ความจริงกันนะ เอ้า..ไม่ ๐ มันก็ไปเป็นอีก ๒ ชาติสิ คนใน เขตศาสนาแต่ในครอบครัวมิจฉาทิฐิก็หมดไปจากใจเราแล้ว คนง่อยเปลี้ยเสียขาก็หมดไปมั้ยล่ะ มีขาที่ดีกันนี่ หูหนวก
56
ตาบอดก็หมดไปแล้ว ใจดวงเดียวนี้นะโว้ย! ลูกหลานเอ๊ย มันเป็นใจที่มี อานุภาพที่สุด ไม่เท่าใคร ๆ ก็ไม่เท่าเรา ไม่เหมือนใคร ๆ ก็ ไม่เหมือนเรา มันเท่าที่เราทำ�มา เหมือนที่เราทำ�มา ให้นึก อย่างนี้ไว้ “ทำ�อย่างไรน้อ..? ครูบาอาจารย์หรือหนังสือเล่ม ไหนหนอ..? จะช่วยเตือนให้เกล้าหม่อมฉัน ให้หนูนี่รู้จัก ความดีตัวเอง” แล้วความเลวที่มันครองเรามาก็หมดไปแต่ ชาติที่แล้ว เหลือทำ�ใหม่ตั้งแต่เกิดมาจนถึงตอนนี้เท่านั้นเอง อาจจะเหลืออยู่ แต่ว่าจะลงไปสัตว์นรกไม่มี แต่ ความรักในราคะ โทสะ โมหะ ก็ยังวนอย่างนี้อยู่ แต่มีสิทธิ์ จะไม่ลงนรกได้แล้ว ถ้าเราเห็นโทษอย่างนี้ แล้วเรารักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์ เคารพ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แล้วทำ� ภาวนาสลับกับการทำ�มาหากินไป เอาธรรมะไปใช้ในการ ทำ�มาหากิน เมื่อใจเอ็งแก่กล้าขึ้นมา ผ่องใสขึ้นมา รังเกียจกาม ขึ้นมา เอ๊ะ! ก็ไม่แต่งงาน หรือแต่งแล้ว “จะไปไหนก็ช่างมึง เถอะ ตังค์กูมั่ง กูจะไปวัดแล้ว” หรือว่าอยู่คนเดียว อยู่ สอง คนไรก็ตาม ก็ทำ�กรรมฐานไปก็ได้ เมื่อความดีมันสุกปลั่ง
57
ขึ้นมาแล้ว คนเลวมันอยู่กับคนดีไม่ได้ เหมือนคนตาแดง ตาแฉะ มันสู้แสงอาทิตย์ไม่ได้ สู้แสงสว่างไม่ได้ กระแสจิต ของคนดีตั้งแต่พระโสดาจนถึงพระอนาคามี ถ้าผู้หญิงที่อยู่ ในร่างอนาคามี ผัวขี้เหล้าเมายาอะไรเนี่ย มันจะเกลียดเมีย เพราะว่า เทวดารักษาตัวพระรักษาตัว เมียสวย ๆ เดี๋ยว นอนน้ำ�ลายไหลเลย หรือบางทีนอนตดปี๊ด! ออกมา.. เหม็น มันจะหาเรื่องรังเกียจเพื่อให้เบื่อหน่ายจากตรงนี้ แล้วมันจะ ไปหากามคุณที่ประณีตกว่าเรา ซี่งนี่ไม่มี ก็สบายเลย อย่าง นี้เทวดากับธรรมะที่รักษาชีวิต ก็จะช่วยให้พ้นจากกระแส ตรงนี้ขึ้นมาได้ เขาจะยอม “เอาตำ�แหน่ง เอาทรัพย์สินเอา ไป ฉันขอเสื้อผ้าสัก ๒-๓ ชุด” ใจดวงเดียว กาย ๆ เดียว แล้ววันนี้อีกวันเดียว พอ สำ�หรับฉันแล้ว กายที่มีอายตนะครบที่จะฟังธรรม ที่จะ ทำ�มาหากินในทางสุจริตต่อได้ แล้ววันนี้ก็ยังมีใช้อยู่ตลอด เวลา พอมั้ยลูก? บุญก็มากมายแล้ว มึงทำ�อะไรไม่ได้ มึงก็ อ่านหนังสือเอา เล่นคอมพิวเตอร์ เว็บดี ๆ มึงก็อ่านเอาแล้ว ทำ� ตามีลูก..นี่คือทรัพย์ที่สมบรูณ์ที่สุด เข้าใจมั้ยลูก? สมอง สัญญา สังขาร ก็ยังมีใช้ แล้วมึงจะเอาอะไรมากกว่านี้
58
หลวงปู่บุดดาท่านสอนหลวงตาว่า “กายเดียว จิตเดียว พอ! มึงไปเอา ๒ กายเดี๋ยวก็มีกายที่ ๓ มาอีก จิต ๒ ดวง ก็ทะเลาะกันอีก ไม่ชอบใจกันอีกอยู่ด้วยกัน” ต้องกายเดียว จิตเดียว หลวงพ่อฤๅษีฯมาเพิ่มว่า “ต้องวันเดียวโว้ย!” เพิ่ม เข้ามา ถ้าไม่งั้นมึงประมาท กายเดียวโว้ย มีบุญแข็งแรง จิต เดียวก็มีบุญโว้ย เอาไว้พรรษาหน้าค่อยไปวัด ไว้วันพระหน้า ค่อยไปกรรมฐาน เกิดตายวันโกน ฉิบหายเลย มันต้องรีบทำ�เสียวันนี้วันเดียว เออ! สรุปให้ฟังนะ ลูกนะ พรุ่งนี้ก็คุยได้ต่อ.. ถือว่าวันนี้ออกจากป่ามาคุยกัน หลวงตาพูดถูกมั้ย? ถูกนะ แต่จะทำ�ได้ไม่ได้อยู่ที่กำ�ลังใจ ค่อย ๆ เพิ่ม ส่วนเลวก็ค่อย ๆ ลด ค่อย ๆ เบื่อ ความดีค่อย ๆ เพิ่ม ๆ ค่อย ๆ ละก็ได้ แต่ที่จริงแล้วมีอยู่มหาศาล แต่ ไม่ใช้ข้อมูลเดิม เข้าใจมั้ย? ตัวเองก็มีเยอะแยะไป เจอหลวง ปู่อะไรขลัง ๆ ห้อยปะคำ�โต ๆ ลืมความดีตัวเอง! ขับรถไป หาเขาอ่ะนะ เดี๋ยวก็ผิดหวังบ้างสมหวังบ้าง ความดีในใจตัว เองมองไม่ออก! ถ้าไปหาครูบาอาจารย์ก็ไปหาเพื่อจะอธิษฐานว่า “ธรรมะใดที่เกล้าหม่อมฉันเข้าถึงแล้ว และที่พระคุณเจ้า
59
จะพึงรู้ได้ ขอหลวงปู่หลวงตาหลวงพ่อได้โปรดชี้แนะให้ลูก เข้าถึงธรรมที่ลูกเข้าถึงที่สุดพระคุณเข้าถึงด้วยเถิด” ไม่ใช่ ท่านเป็นพระอรหันต์ “ธรรมใดที่หลวงปู่เข้าถึงแล้วขอให้ หนูได้เข้าถึงด้วย” ก็ท่านทำ�ของท่านมา มึงจะไปเอาชุบมือ เปิบได้เหรอนั่น! มันต้องเข้าใจบุญตัวเอง แล้วทำ�ตามเยี่ยง ท่าน ให้กำ�ลังใจหนูให้ทำ�แบบหลวงปู่ด้วย ต้องอธิษฐานให้ มีจังหวะนะไม่ใช่หลวงปู่ได้อะไรหนูจะไปเอาบ้างนะ ท่านก็ บอก “เออ ๆๆ” ไม่ใช่ได้อย่างของท่านนะ “เออ ๆๆ ไปอีก ล้านชาติลูก” นะวงเล็บ แล้วมึงอย่าไปอธิษฐานโง่ ๆ อีกนะ เข้าใจมั้ยลูก เอ้า..วันนี้ก็ดีใจที่ได้พูดกันนะลูกนะ.
(อ่านต่อหน้า ๑๑๕)
หน้ารูปหล่อพ่อนั่งพักยามค่ำ�คืนในวัดเขาวง ถ่ายภาพ: สิรินยา จุรุเทียบ
62
น้ำ�ท่วม! วิกฤตการณ์ที่ใครหลายคนห้ามอะไรไม่ได้
63
และยังคงสร้างความทุกข์ เดือดร้อนให้กับผู้คน ที่ประสบภัย จนทุกวันนี้ ความทุกข์หนักหนาสาหัสนั้น คือความจริง.. ที่มนุษย์ยุคนี้ต้องทำ�ใจยอมรับ ...เพราะ เป็นผลจากการกระทำ�ของมนุษย์ด้วยกันเอง หลายคนเริ่มจะชินชา ..แต่หลายคนก็กลายเป็น หวาดผวา วิตกกังวล จนความทุกข์เข้าครอบงำ�แบบ แกะไม่ออก หน้าตาเคร่งเครียดทุกเช้าค่ำ� อยู่ที่ไหนก็ไม่มี ความสุข จิตใจล้มเหลว ซึมเศร้าเพราะสูญเสียของรัก ทรัพย์สินเงินทอง ผู้คน และอีกมากมาย..
64
และการทำ�ใจยอมรับเหตุการณ์เช่นนี้ ช่างเป็น เรื่องหนักหนาสาหัส นี่คืออะไร? ..ทำ�ไมพวกเรามนุษย์ เมืองพุทธ ทำ�บุญกันอยู่ทุกเช้าค่ำ� ต้องมาโดนแบบนี้? หลายคนคงคิด....!! บางคนถึงขั้นหมดอาลัยตายอยาก...ท้อแท้ หมด หวัง ต่อว่าเทวดาฟ้าฝน... แทบจะหมดศรัทธาในบุญตัว เองไปเลยก็มี..!! ทำ�ดีแล้วทำ�ไมไม่ได้ดี..? คำ�นี้ฉันได้ยินบ่อย.. คนที่ไม่ค่อยสมหวังในชีวิต มักพูดแบบนี้! แต่นั่นเป็นเพราะ... แท้จริงแล้ว.. ผู้คนเหล่านั้น ไม่เคยสังเกตใจตัวเอง.. ได้แต่ไปมองที่วัตถุเงินทอง คำ� ว่า ‘ได้ดี’... ไม่ได้หมายความว่า ร่ำ�รวย มีกินมีใช้ มีชื่อ เสียง เกียรติยศ เพราะสิ่งเหล่านี้คือ ‘ทานบารมี’ ที่ต้อง ทำ�กันมาก่อนหน้านี้ ใครไม่เคยสร้างมาก่อน ชีวิตก็จะ ยากจนเข็ญใจเป็นเรื่องธรรมดา แต่แท้จริงแล้ว คำ�ว่า... ‘ทำ�ดีได้ดี..’ หมายความ ว่า... หากคุณหมั่นทำ�ความดี มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
65
โอบอ้อมอารี มีคุณธรรม ไม่เอาเปรียบ ไม่ดูถูก ดูหมิ่น ดูแคลนผู้คน คุณก็จะเป็นคนมีจิตใจดี ผ่องใส ไปไหน.. ใครได้เห็นพูดคุย สัมผัส เขาก็จะรับรู้ได้ถึงกระแสความ ดีในใจคุณ พอคุณมีเรื่องเดือดร้อนตกทุกข์ได้ยาก ผู้คน เหล่านั้นเขาก็อยากมาช่วยเหลือ มาอุปถัมภ์ มิได้ขาด เอ่ยปากขออะไรกับใคร ก็ได้มาโดยง่าย อย่างนี้ต่างหาก เขาถึงเรียกว่า.. คนทำ�ดีได้ดี อยู่ ที่ไหนตกน้ำ�ไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ แม้สูญเสียอะไรไป ..ไม่ นานก็ฟื้นตัวกลับคืนมาได้โดยง่าย เพราะมีคนคอยช่วย เหลือนั่นเอง รอยยิ้มของผู้ประสบภัย.. รางวัลของผู้ช่วยเหลือ..
66
ผิดกับบางคนที่..ทำ�ดีแบบกระท่อนกระแท่น... เอาแน่เอานอนอะไรไม่ได้ อารมณ์ดี..ก็ทำ�ดีได้ แต่พอ อารมณ์เสีย.. ตนเองเองเสียประโยชน์.. ก็กลับมาเป็นคน เห็นแก่ตัวได้ทันที อย่างนี้รับรองไม่มีเพื่อนฝูง ตกน้ำ�ก็ ไหล ตกไฟก็ไหม้แหง๋ ๆๆ น้ำ�ท่วมคราวนี้.. ฉันจึงเรียกว่า.. ‘วิกฤตการณ์ วัดใจ’ ที่ว่าวัดใจคือ.. วัดใจตัวเอง.. ว่าเคยทำ�อะไรมา บ้าง... และบัดนี้ใจเราเป็นอย่างไร ทำ�ไมมันจึงทุกข์ ทำ�ไมมันจึงสุข หรือ ไม่สุขไม่ทุกข์ เพราะชินซะแล้ว การสูญเสียทรัพย์สิน เงินทอง ข้าวของ ยังดี กว่า สูญเสียคนรัก คนในครอบครัว หรือแม้กระทั่งสูญ เสียชีวิตของตนเอง หากใครยังมีชีวิตอยู่ นั่นคือโอกาส.. โอกาสที่จะทำ�ดี.. โอกาสที่จะต่อสู้.. โอกาสที่จะสร้าง สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น.. ฟังดูยากเย็น หรือบางคนอาจ เหน็ดเหนื่อย เหนื่อยที่จะสู้ เพราะคิดว่าตนเองสู้มามาก แล้ว...ทำ�ไมยังต้องต่อสู้อะไรอีก อยากมีชีวิตที่สบายๆ กับเขาบ้างไม่ได้หรือ..? คำ�ตอบคือ.. ไม่มีใครมีชีวิตที่สบายไปทั้งชาติ และ
67
ที่ว่าวัดใจคือ.. วัดใจตัวเอง.. ว่าเคยทำ�อะไรมาบ้าง... และบัดนี้ใจเราเป็นอย่างไร ไม่ต้องต่อสู้กับอะไรเลย แม้คนร่ำ�รวยที่สุด เขาก็ยังต้อง ต่อสู้เช่นกัน น้ำ�ท่วมครั้งนี้.. ไม่วัดกันที่รวยกว่า หรือ จนกว่า... เพราะทุกคนสูญเสียเหมือนกันหมด แม้ เจ้าของโรงงานพันล้าน ก็ยังสูญเสีย! งานนี้จึงวัดกันที่ใจ..อย่างเดียว.. ว่าใจใครจะแข็ง มากกว่ากัน ใจใครจะอึด อดทน ต่อสู้มากกว่ากัน ใคร ลุกก่อนย่อมได้เปรียบ ใครเข้มแข็งไม่ย่อท้อ ไม่นานก็ จะกลับคืนฟื้นตัวได้เร็วกว่า คนที่ท้อแท้หมดหวัง
68
เพราะฉะนั้น ...สู้เข้าไว้นะคะ! อย่าล้มเลิกความ ตั้งใจ.. อย่าอ่อนแอ.. และอย่ารอคอยกำ�ลังใจ จากใคร ที่ไหนทั้งสิ้น จงสร้างกำ�ลังใจให้เกิดขึ้นด้วยตัวเอง แล้ว คุณจะรู้ว่า... หากคุณลุกขึ้นได้วันนี้ วันหน้าแม้จะมี อุปสรรคขวากหนามเพียงใด คุณก็จะลุกขึ้นยืนได้อย่าง สบาย และจงเชื่อเถอะว่า ผลบุญที่คุณๆ ได้ทำ�ไปแล้ว... จะกลับมาช่วยส่งเสริมให้คุณได้รอดพ้นจากความทุกข์ ยาก ความลำ�บาก ครั้งนี้แน่นอน... เหมือนอย่างที่หลวงตาเคยพูดไว้เสมอว่า.. “อย่าดูถูกบุญตัวเอง”...ไงคะ!
69
อย่าดูถูกว่า..บุญเรามีไม่มากพอ ทีจ่ ะทำ�ความดีตอ ่ ไป แต่กอ ็ ย่าปรามาสบาปอกุศล เพราะถ้าเขาไม่เก่งจริง ก็คงไม่ดงึ ให้เราเวียนเกิด มาจนป่านนี.้ .
70
วัดเขาวง ( ถ้ำ�นารายณ์ ) เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ๒๕๕๔
เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด รายรับ รับเงินทำ�บุญวิหารทาน รับเงินทำ�บุญธรรมทาน รับเงินทำ�บุญสังฆทาน รับเงินทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์ รับเงินทำ�บุญอื่น รับเงินอื่น รับเงินยืม รวมรายรับ รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณูปการ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษา และงานเผยแผ่ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสงเคราะห์ รายจ่ายเกี่ยวกับ งานสาธารณสงเคราะห์ รายจ่ายเกี่ยวกับงานปกครอง รายจ่ายชำ�ระคืนเงินยืม รวมรายจ่าย เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) เงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน)
๑,๔๗๘,๘๑๒.๘๘ ๗๒๑,๕๖๓.๐๐ ๔๓๓,๖๑๕.๐๐ ๑,๘๓๑,๕๕๐.๗๕ ๒๘๒,๗๓๔.๐๐ ๓๖,๔๒๘.๐๐ ๓๐,๔๑๔.๐๐ ๑,๗๑๘,๕๖๒.๐๐ ๕,๐๕๔,๘๖๖.๗๕ ๓,๗๕๓,๓๓๖.๑๕ ๕๑๘,๖๐๒.๐๐ ๘๘,๙๘๐.๐๐ ๘๗,๗๓๙.๐๐ ๗๙๐,๖๕๐.๕๐ ๕๙๗,๒๖๐.๐๐ ๕,๘๓๖,๕๖๗.๖๕ ๖๙๗,๑๑๑.๙๘ ๔๗๒,๑๕๗.๕๘ ๑๓๔,๑๕๓.๗๖ ๔๓,๗๕๔.๒๒ ๔๗,๐๔๖.๔๒
71
วัดเขาวง ( ถ้ำ�นารายณ์ ) เดือนมิถุนายน - สิงหาคม ๒๕๕๔
เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด รายรับ รับเงินทำ�บุญวิหารทาน รับเงินทำ�บุญธรรมทาน รับเงินทำ�บุญสังฆทาน รับเงินทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์ รับเงินทำ�บุญอื่น รับเงินอื่น รับเงินยืม รวมรายรับ รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับงานสาธารณูปการ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษา และงานเผยแผ่ รายจ่ายเกี่ยวกับการศึกษาสงเคราะห์ งานสาธารณสงเคราะห์ รายจ่ายเกี่ยวกับงานปกครอง รายจ่ายชำ�ระคืนเงินยืม รวมรายจ่าย เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน) เงินฝากธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำ�กัด (มหาชน)
๖๙๗,๑๑๑.๙๘ ๒,๓๔๖,๒๗๑.๕๔ ๕๒๔,๘๖๓.๐๐ ๒,๕๐๔,๖๑๑.๒๐ ๒๖๙,๑๘๗.๐๐ ๑๖,๓๒๑.๐๐ ๘๗,๒๗๙.๗๑ ๒,๒๕๒,๐๐๐.๐๐ ๘,๐๐๐,๕๓๓.๔๕ ๓,๕๕๙,๕๗๓.๒๖ ๔๔๗,๑๐๐.๐๐ ๔๒,๔๖๖.๐๐ รายจ่ายเกี่ยวกับ ๑๕๗,๓๒๓.๐๐ ๑,๒๐๐,๕๖๑.๐๐ ๒,๓๐๓,๑๗๙.๐๐ ๗,๗๑๐,๒๐๒.๒๖ ๙๘๗,๔๔๓.๑๗ ๑๖๔,๒๘๒.๕๘ ๗๖,๒๐๙.๕๐ ๖๙๙,๙๐๔.๖๗ ๔๗,๐๔๖.๔๒
72
วัดเขาวง ( ข้าวก้นบาตร ) เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ๒๕๕๔
เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) รายรับ รับเงินจากสมาชิก ปรับปรุงรับเงินคืนค่าใช้จ่าย รวมรายรับ รายจ่าย ค่าสาธารณสงเคราะห์และการกุศล ค่าสาธารณูปโภคและการสื่อสาร ค่าน้ำ�ปานะพระสงฆ์และสวัสดิการ รวมรายจ่าย เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด เงินสด เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด ( มหาชน )
๑๗๙,๙๔๘.๐๗ ๑๒๘,๑๒๘.๙๙ ๕๑,๘๑๙.๐๘ ๒๙๓,๙๗๕.๐๐ ๕๘,๒๐๕.๐๐ ๓๕๒,๑๘๐.๐๐ ๕,๐๐๐.๐๐ ๑,๒๐๐.๐๐ ๓๙,๗๕๔.๐๐ ๔๕,๙๕๔.๐๐ ๙๐,๒๑๕.๐๗ ๒๓,๔๙๖.๙๙ ๖๖,๗๑๘.๐๘
73
วัดเขาวง ( ข้าวก้นบาตร ) เดือนมิถุนายน - สิงหาคม ๒๕๕๔
เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด เงินสดในมือ เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) รายรับ รับเงินจากสมาชิก รวมรายรับ รายจ่าย ค่าสาธารณสงเคราะห์และการกุศล ค่าสาธารณูปโภคและการสื่อสาร ค่าน้ำ�ปานะพระสงฆ์และสวัสดิการ รวมรายจ่าย เงินสดและเงินฝากธนาคารปลายงวด เงินสด เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด ( มหาชน )
๙๐,๒๑๕.๐๗ ๒๓,๔๙๖.๙๙ ๖๖,๗๑๘.๐๘ ๖๓๖,๖๐๓.๔๑ ๖๓๖,๖๐๓.๔๑ ๓๒,๗๐๐.๐๐ ๐.๐๐ ๘๙,๕๗๓.๐๐ ๑๒๒,๒๗๓.๐๐ ๑๗๔,๙๒๓.๔๗ ๙๘,๕๓๓.๔๘ ๗๖,๓๘๙.๙๙
74
วัดเขาวง ( วันยังค่ำ� ) เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ๒๕๕๔
เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ยกมา เงินสดในมือ เงินสดย่อย เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) รายรับ
ขายเครื่องดื่มและสินค้าสำ�เร็จรูป ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รวมรายรับ
รายจ่าย ต้นทุนขายในการผลิต ต้นทุนขายจากสินค้าสำ�เร็จรูป ค่าปรับปรุงขยายร้าน และอุปกรณ์เครื่องใช้ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ รวมรายจ่าย เงินสดและเงินฝากธนาคารคงเหลือ ปลายงวด เงินสดในมือ เงินสดย่อย เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน)
๙๘,๔๙๒.๕๘ ๘๑,๕๑๑.๓๖ ๑๕,๐๐๐.๐๐ ๑,๙๘๑.๒๒ ๙๐๔,๒๗๒.๐๐ ๐.๐๐ ๙๐๔,๒๗๒.๐๐ ๕๐,๘๗๖.๗๕ ๕๓๒,๘๑๘.๐๐ ๘,๙๕๐.๐๐ ๑๔๖,๓๔๓.๐๐ ๗๓๘,๙๘๗.๗๕ ๒๖๓,๗๗๖.๘๓ ๒๔๖,๗๙๕.๖๑ ๑๕,๐๐๐.๐๐ ๑,๙๘๑.๒๒
75
วัดเขาวง ( วันยังค่ำ� ) เดือนมิถุนายน - สิงหาคม ๒๕๕๔
เงินสดและเงินฝากธนาคารต้นงวด ยกมา เงินสดในมือ เงินสดย่อย เงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำ�กัด (มหาชน) รายรับ ขายเครื่องดื่มและสินค้าสำ�เร็จรูป รายได้อื่น รวมรายรับ รายจ่าย ต้นทุนขายในการผลิต ต้นทุนขายจากสินค้าสำ�เร็จรูป ค่าปรับปรุงขยายร้าน และอุปกรณ์เครื่องใช้ ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ รวมรายจ่าย เงินสดและเงินฝากธนาคารคงเหลือ ปลายงวด เงินสดในมือ เงินสดย่อย เงินฝากธนาคารกรุงไทย จำ�กัด (มหาชน)
๒๖๓,๗๗๖.๘๓ ๒๔๖,๗๙๕.๖๑ ๑๕,๐๐๐.๐๐ ๑,๙๘๑.๒๒ ๘๕๗,๒๘๑.๐๐ ๑๔๙.๐๐ ๘๕๗,๔๓๐.๐๐ ๖๐,๐๐๘.๕๐ ๖๓๔,๖๒๖.๕๐ ๖๐,๖๒๓.๐๐ ๑๖๖,๘๓๔.๒๒ ๙๒๒,๐๙๒.๒๒ ๑๙๙,๑๑๔.๖๑ ๑๓๓,๑๑๔.๖๑ ๑๕,๐๐๐.๐๐ ๕๑,๐๐๐.๐๐
78 ทำ�บุญเครื่องเสียง
ครอบครัวเหินสว่างปภา
ทำ�บุญปั้นพระปางไสยาสน์
คณะคุณวันทนีย์ ภูมิฐานนท์ คุณอิณณ์ พยัคฆพันธ์ พระชุตินฺธโร กลุ่มกาขาว
ทำ�บุญชำ�ระหนี้สงฆ์
คุณศุภาวีร์ สมใจ- คุณบุญล้อม ราชพลแสน คุณมยุรีย์ อาจศิริ กลุ่มกาขาว คณะปิยะบุตร คุณศรัญดา อดุลสุทธานนท์ คุณตรึงตรา อดุลสุทธานนท์ คุณปภาวดี นิมิตกมลเลิศ คุณอัญชนา สมบูรณ์นิรันทร์ คุณธนินทร์ สมบูรณ์นิรันทร์ ด.ต. โกศล ชมพูพาน พ.อ. ไพบูลย์ - ศิริลักณ์ วรารัตน์ คณะจ๋าย ภูเก็ต บ้านปากน้ำ� ด.ช. ภูธดา บุญธนสักดิ์ ด.ญ. โอปอล์ เทียนจีน คณะวัชรบุตร ครอบครัวนพคุณ คณะนวรัตน์
๑,๕๕๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๗,๓๒๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๒,๒๐๐ บาท ๔,๑๒๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๘๔๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๓๕๐ บาท ๒๐๐ บาท ๓,๘๖๐ บาท
79 คุณนภาพร เจริญศิริ คุณธิวาพร คงจันทึก คุณสุมิตรา วัชรภาสกร คุณสมภพ รามสูต คุณนงนุช ขัดเรื้อนมูล คุณสุกัญญา บุณยรังค์ คุณปราโมทย์ ผิวเหลืองสวัสดิ์ คุณณิชชารีย์ ธีรชาติธนาพัฒน์ ผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหารเหมืองแม่เมาะ คุณธัญวรัตม์ สุริยวงศ์ คุณรัธรินทร์ เจริญชนัชศิลป์ คุณวชิรพงศ์ ปัญจธันยพงศ์ คุณเพชรชงาม สุรัชตวงศ์ คณะคุณศิริรัตน์ โรจน์วิภาต บ้านปากน้ำ� คุณตรึงตา อดุลสุทธานนท์ บ้านปากน้ำ� คุณณัฏฐารี น้อยบุญญะ คุณประเทืองชิต คุณธนภร-เมทิกา พุทธวิบูลย์ คุณสินธุชล ชลทานันท์ คุณเมทิกา พุทธวิบูลย์ คุณธนรัตน์ - คุณปุษยา ปุษยะนาวิน ร้านอินเขาใหญ่ คุณประกอบ ผลาสุข คุณพรศักดิ์ ดำ�รงทวีศักดิ ์ คุณพิเชษ-คุณอรทัย คงจันทร์ คุณประกอบ ผลาสุข
๑๐,๐๐๐ บาท ๑,๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท ๕๓๐ บาท ๕๐๐ บาท ๔๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๗๑ บาท ๑,๒๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๙,๙๖๐ บาท ๑,๐๐๕ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๑,๑๒๐ บาท
80 ครอบครัวสุวรรณรัตนมณี พระเศียรมณี กัลยาโณ กลุ่มกาขาว คุณวิมล เรืองศรี พระเศียรมณี กลฺยาโณ พระทรงศักดิ์ คุณมยุรีช์ อาจศิริ คุณพิเชษ -อรทัย คงจันทร์ คุณอัมพร สูงแข็ง คุณครรชิต การภักดี คุณพรรณปพร ศรีสุมานันท์ คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ คุณพชร อุทัชกุล คุณรัชนี แสงพิรุณ คุณเพ็ญพิมล บุณยพิจิตร
ทำ�บุญสังฆทาน
ครอบครัวอมรวงศ์ คุณประกอบ ผลาสุข เณรณัฐพงศ์ พงศ์อนิวรรตน์ คณะคุณอ้อยพระบาท ด.ญ. ธีระวิทยางกูร - ด.ช. เอกมล ธีราวิทยางกูร ส.ต.อ. วรพจน์ สุจิตตกุล คุณประสาท โกมุทพงศ์ คุณสารี รุ่งเรือง คุณพัศกร รอดเดช คุณโสศภิษณฐา เซ่งมาก คุณจิตติมา คนตรง
๒,๐๐๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท ๓๖,๐๐๐ บาท ๙,๐๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท ๖๔๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๒๐๐ บาท ๑,๒๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท
81 ครอบครัวคุณศุภาวีร์ สมใจ คุณขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ คุณมยุรีย์ อาจศิริ คุณพสิษฐ์ - ณัฐนันท์ เสรีวิริยะกุล คุณนันนภัส ขุนภักดี คุณกาญจนา บู่บาง เว็ปพลังจิตและคณะกัลยาณธรรม คุณพัศพงศ์ ลิมปะพรพิศาล คุณวงเดือน เฉลิมศักดิ์ คุณลำ�ดวน สมบุญและญาติ คุณจันทร์เพ็ญ โพธิ์เย็นญาติ ครอบครัวฉายพุทธ คุณประกอบ ผลาสุขและครอบครัว คุณนุชชยาพัสตร์ ศิริฤกษ์รัตนา คุณพ่ออุดม-คุณแม่เกศแก้ว จิรัฐรุจิกรและครอบครัว ดาบตำ�รวจนครินทร์ แยกโคกสูง Mr. Mark Hammonal คุณไพรัช แสงงาม คุณพีรศักดิ์ หงษ์ไพร ครอบครัวยาคุณ ครอบครัวสมานจิต คุณชัยโรจน์-คุณธีระวรรณ พิทยาธิคุณ คุณปราณี เลไทสงค์ คุณถนอมศรี-คุณปราโมทย์ แสงจันทร์ คุณภาคย์ ทิพานุกะ คุณสิริวรรณ เอกผลและคณะ คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ คุณภาณุ นาคสังข์
๑,๒๐๐ บาท ๔,๕๐๐ บาท ๒,๓๕๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑,๔๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๘๕๐ บาท ๒๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๑,๕๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๒,๕๒๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๘๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
82 บ.ที.เอส ดีเวลลอปเมนท์ คุณธีระชัย ศิริชัยและครอบครัว ผ.อ. ภิรมย์ พานิชเจริญ คุณอรพินธ์ เลี่ยวไพรัตน์ คณะบ้านก๋ง คุณสมพงษ์ หลุนประยูร คุณอำ�นวย เทียนประเสริฐ ยายน้อย สวนสมุทร์ คุณสมใจ บุญรัตน์ คุณอมาวดี ศีลารัตน์ คุณพรชัย อมรศรี คุณธงชัย คนหา คุณอุทุมพร คุณาการ คุณแวววลัย วัฒนา คุณปรานี เทพเจษฎาทรศักดิ์ คุณสุธัญญา รัตนพันธ์ คุณวิลาศ แดงมณี คุณสมบุญ จันทร์ตรง คุณศุภาวีร์ สมใจ พล.ต.ขวัญชัย - คุณพรสรวง วีระนาวิน คุณเบญจวรรณ นาคีรัตน์ คุณอนิตา ชุ่มมี คุณมยุรีช์ อาจศิริ คุณภานุพงษ์ รู้แผน คุณพัชรินทร์ งามมุข คุณอุษา เหรียญทอง พระซ้ง-พระอุ๋ย คุณทัศน์พล-สมวงษ์-สุทธิณี-สุทธิชัย ผึ้งแดง
๒,๐๐๐ บาท ๕๖๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๖,๓๕๐ บาท ๔,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒๐๔ บาท ๕๐๐ บาท
83 คุณวิชัย-คุณกาญจนา โตพินธ์ พ.อ. หญิง ศศิภาพิมพ์ ไกรกุลพงษ์ คุณธนศร สังวรเวชชภัณฑ์ คุณสุภัสสา บุญทวี คุณเทพบัญชา องค์สุนทรชัย คุณปรรัฎฎา พิบูลสราวุธ พระมหาวิเชียร วัดท่าซุง พระนิพพาน โชติธัมโม คุณเริงศักดิ์ ใจธรรม และคณะ คุณชมพุนุช ยาคุณ คุณศุณัฐา ทุมนอก-คุณไพบูลย์ สาคร คุณปุ๋ยและครอบครัว คุณนภาพร มากมณี คุณประภาพรรณ ทองอินต้ะ บ้านปากน้ำ� ร.ร. นานาชาติ คุณชนมณี มีฤกษ์งาม คณะนักศึกษา-อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา คุณธนศร สังวรเวชชภัณฑ์ คุณอเนก พงศ์ภานนท์ พลอากาศเอก อภิสิทธิ์ จุลโมกข์ ครูบาอริยชาติ อาริยจิตโต ครอบครัวพุฒทอง ดต. พัทธพล มหาคำ� คุณกิมไล้ ฉัตรสุทธิพงษ์ คุณปุญย์วารี ปรัชญ์วรโรจน์ คุณณัฐพร เหลืองนวล
๕๐๐ บาท ๗๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๑๕๐ บาท ๑๕๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๘๗๒ บาท ๒,๐๖๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๑๑,๗๐๐ บาท ๑๒,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๓,๙๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
84 คุณจารุวรินทร์ พิทยาโรจน์ คุณป้าพยอม ผดุงพล ครอบครัวสุวรรณรัตนมณี คุณนินา ฐานทองธรรม คุณศิริ ธีรพิทยางกูร คุณมานิจ สกุนตนิยม คณะบุญรายการพลังใจ คุณจรรยา ศิลารัตน์ คุณเอกศักดิ์-ฑิตยา-เอกศาสตร์ เพชรคุณากร บ.ทีทีซี น้ำ�ดื่มสยาม ดร.ทรงพร-ทิพย์-พรรณทิพา จั่นเทศคุณสมจิตต์ กรรณิการ์ คุณณัฐพันชร์ วงศ์กนกกพล คุณนฤพาน ดุสิตาอาพา คุณจรุญจุโฬทก ทำ�ครอบครัว บ้านปากน้ำ� คุณจักร-คุณนุจรีย์ แซ่หว่อง คุณภัณฑิลา มานิจ คุณอรทัย โยศิริ คุณลัดดาวัลย์ วรรณอนิรุทธิ์ คุณรพีภัทร คชนันท์ คุญลัชร์ ลัธธนันท์ โรงเรียนวัดเขาวง ครอบครัวจึงทองดี คุณดาริกา พิพัฒน์กมลเขต คุณบั่ว นิสัยมั่น คุณรัสรินทร์ ปริยไชยพงศ์ คุณมยุรีช์ อาจศิริ
๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๑,๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕,๔๖๓ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕,๙๐๐ บาท ๑๖,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๒๔,๗๙๑ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒๐ บาท ๑,๒๐๐ บาท ๑,๒๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๔,๖๕๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท ๒,๒๐๐ บาท
85 คุณวีระเดช ชัยพัฒนานนท์ คุณวันเพ็ญ ชัยพัฒนานนท์ คุณธดล ชัยพัฒนานนนท์ ครอบครัวปุ่นวัฒน์ คุณหัทยา ชัยพัฒนานนท์ ครอบครัว สุขวัฒนศิริ คุณอ้อย พระบาท คุณประภัสสร โสดาคำ� คุณพิมพ์ใจ สุขเสน่ห์ คุณพ่อเที่ยง-คุณแม่จรัสศรี ตั้งสกุล คณะโยมอ้อย พระพุทธบาท คุณสมชาย คุณะดิลก คณะศิษย์เมืองอาริยะ สระบุรี-กรุงเทพ พระไอซ์ (ชยวุฑโฒ) คุณบุญหลง ผึ้งแดง พล.ต ณรงค์ศักดิ์ ไกรกุลพงษ์ คุณวันชัย สุทธิธารธวัช คุณบุญอยู่ การดี คุณอมาวดี คาร์แลค ครอบครัวนันทนวิจิตร คุณเพ็ญพิมล บุณยพิจิตร คุณขาว-คุณทองขัน ศรีนิล คุณวิลาวัณย์ วรินทร์รักษ์ คุณกำ�พร โยธินรัตนกุล ครอบครัวแสงพนมรุ้ง คุณพรจรัส สตารัตน์ คุณธนวัฒน์ เวคะวนิชย์ ครอบครัวยิ้มมาธนกิจ
๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๙๔,๔๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๙๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
86 คุณอุไรปภา ราชเวียง คุณสมพงษ์ สุขเยี่ยม คุณมยุรี ชุติมาเทวินทร์ คุณบัว รุจิราไพบูลย์ คุณวันนี รับรอง คุณสุวิมล สุจช่วยชู ส.ต.อ. วรพจน์ สุจิตตกุล คุณวรพันธุ์ และครอบครัว บ้านปากน้ำ� ส.ว.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์และคณะ คุณวิไลวรรรณ นาคอิงรัตน์ อาจารย์มิ่งขวัญ กล้วยไม้ ดร.ทรงพร-ทิพย์ -พรรณฑิตา จั่นเทศ คุณเพ็ญพิมล บุญยพิจิตร คุณจิรายุ รณวีร์ คุณปิติ-คุรกลอยศรี วงศ์เชาวนาถ คุณแน่งน้อย สวนสมุทร ครอบครัวคุณขวัญรัฐ ส่วนพงษ์ ด.ช.ศิลปิน เฮงสุโข คุณยุทธนา มณีพรและครอบครัว คุณพัธทธา ชุ่มสูงเนิน คุณพิชญนันท์ ธนพรบุญเศรษฐ์ คุณณปภา ใจทา คุณพรพรรณ จันทราช คุณนัยนา โสภาพงษ์ คุณตุ่น คุณเอกศักดิ์ วงษ์ศรี พระทรงศักดิ์ สุทธิญาโณ
๒,๐๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๒,๒๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๑๑,๖๑๙ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๑๑๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๓,๓๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๕๐ บาท ๒๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท
87 คุณประกอบ ผลาสุข คุณมยุรีช์ อาจศิริ คุณสุวิทย์ น้อยแก้ว คุณกันยรัตน์ กตัญญู
ทำ�บุญค่าอาหารพระ
คุณประกอบ ผลาสุข คุณจอมใจพงษ์อนิวรรตน์ (วันที่ ๑๓ มี.ค. ๕๔) คณะสหพัฒน์ฯ คุณแสงชัย - คุณจอมใจ พงษ์อนิวรรตน์ คุณวิเชียร ถาวรสถิตย์ คุณโรจนวรัตม์ สุรเลิศรังสี คุณจิราพร - คุณชัยชาญ คุณประกอบ ผลาสุขและครอบครัว คุณแม่ฮั่วหงี้ แซ่ปึง คุณลักษณ์สิภา ศิริถาวรสถิตย์ ด.ต. โกศล ชมพูพาน คุณประกอบ ผลาสุขและคณะ คุณทัศน์พล-สมวงษ์-สุทธิณี-สุทธิชัย ผึ้งแดง ครอบครัวกังกฎเสนา นายแพทย์ ธีระพงศ์ บุญยะกิริยากรณ์ คณะคุณมยุรีช์ พระพายุ คุณดารณี ตรีจาตุรันต์ คณะนวรัตน์ คุณบุญชัย อาจอภิสิทธิ์ พระเศียรมณี กลฺยาโณ คุณแม่สถาพร เอื้อบุณยะนันท์
๙๕๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๕๕๕ บาท ๖,๐๐๐ บาท ๔,๐๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๓,๗๕๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๖๒๓ บาท ๒๐๐ บาท ๖,๐๐๐ บาท ๒,๓๒๐ บาท ๕๐๐ บาท ๘๒๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท ๔๐๐ บาท ๕,๕๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๑,๒๐๐ บาท ๑๑,๘๒๐ บาท ๒๐๐ บาท ๑,๒๒๐ บาท ๔๒,๐๐๐ บาท
88 คุณสมจิต รอดเดช คุณจารุต ดวงาอัมพร พระนปฎล อินยาศรี คุณดาวใจ ปาระดี พระสมเกียรติ สุทจิตโต คุณสิวิณีย์ เอี่ยมเจริญ คุณนุชชยาพัสตร์ ศิริฤกษ์รัตนา คุณวิเชียร ถาวรสถิตย์ คุณประกอบ ผลาสุข
ทำ�บุญค่าก๋วยเตี๋ยววัดเขาวง
คุณอำ�นวย จั่นแก้ว
ทำ�บุญค่าน้ำ�-ค่าไฟวัด
คุณสิทธิศาสน์ ลัญชานนท์ บ.ที.เอส ดีเวลลอปเมนท์ พระเศียรมณี กลฺยาโณ
ทำ�บุญซื้อที่ดินวัด
คุณนิตกัลยา ถาคำ� กลุ่มแม่บ้านสตรีนพรัตน์ (พ่อเก้) คุณกัญญนันท์ มีสัตย์จิตธาดา คณะศิษย์หลวงตา คุณสิริมาศ มุตตามระ ตู้ทำ�บุญค่าที่ดิน คณะเว็บพลังจิต (คุณชยาคมน์ ธรรมปรีชา) วิทยาลัยในวังหญิง
ทำ�บุญค่าดอกไม้
๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๑,๗๕๐ บาท ๑,๘๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๙๔๐ บาท ๒,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๒,๐๘๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑๐,๐๐๐ บาท ๑๐๐,๐๐๐ บาท ๒๔๙,๙๖๐ บาท ๑๐๑,๐๐๐ บาท ๙๙,๐๐๐ บาท ๗๑,๐๐๐ บาท ๑,๗๗๐ บาท
89 ทำ�บุญพระเข้าปริวาสกรรม
บ้านปากน้ำ� ครอบครัวหลอดศิริ คุณมนต์ณิชศา กูลธนประเสริฐ คุณจริชยา บุญเรืองศรี คุณทัศพงษ์ ลิมปะพรพิศาล คุณอนุเทพ เจิมจรุง คุณป้าชลอ สอนดี พระครูต้น-พระเจี๊ยบ นายรัฐสิทธิ์ เข็มกลัด คณะศิษย์หลวงพ่อ คุณคุ้มรัตนฺ ศิรบรรจง คุณรัศมีจันทร์ สงบจิต ครอบครัวพรมพิมพ์ คุณจิราพร ชัยชาญ คุณพิทักษ์ ธนะเกียรติไกร คุณชนะสิทธิ์ มามะกะมูระ ครอบครัวปิ่นกระโทก คุณป้าพยอม ผดุงผล คุณนิตย์ สุขศรี คณะครอบครัวบุญประเสริฐ
ทำ�บุญวิหารทาน
๑,๐๐๐ บาท ๖๗๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๖๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ๘,๑๔๐ บาท ๑๐๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒,๐๕๐ บาท ๕๐๐ บาท ๕๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๕,๒๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท ๓๐๐ บาท ๕,๐๐๐ บาท
คุณสุนทร เกษแก้ว คุณสิทธิ์ศาสน์ ลัญชานนท์ บ้านปากน้ำ�
๒,๐๐๐ บาท ๓,๐๐๐ บาท ๒๒๐ บาท
คณะนวรัตน์
๑,๖๒๐ บาท
ทำ�บุญค่าอาหารปลา
90 ทำ�บุญผ้าป่าสามัคคี
คณะคุณธีรชัย เอื้อเชาวลิตนุกูล คณะคุณประภัสสร โสดาคำ� คณะพระมหาสมบัติ วัดสร้อยทอง
๕๗๒,๐๐๐ บาท ๕๘,๔๑๐ บาท ๖๖,๗๐๐ บาท
ทำ�บุญค่าโต๊ะป่าปริวาสวัดท่าซุง
กลุ่มอินทราพงษ์
ทำ�บุญมุ้งครอบผู้ปฏิบัติธรรม
คุณจริยา พัวพันกิจเจริญ
ทำ�บุญโคมไฟฟ้า
คุณกนกพรรณ เข็มทอง คุณอุไรปภา ราชเวียง
๒,๗๐๐ บาท ๒๐,๐๐๐ บาท ๑๕,๐๐๐ บาท ๓,๑๐๐ บาท
ทำ�บุญบูรณะเรือนไทยหลังใหญ่
คุณรัตนา ลือชัยขจรพันธ์
ทำ�บุญถวายธงปักยอดเขาวง
คุณแมนรัตน์-คุณมณีวรรณ บุญเย็น
๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ๒,๑๐๐ บาท
ทำ�บุญแจกของ, เลี้ยงอาหารนักเรียน รร.วัดเขาวง
คุณมยุรีช์ อาจศิริ
๔๘,๕๐๐ บาท
เชิญตรวจสอบรายชื่อ และร่วมโมทนาได้เจ้าค่ะ!
92 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๔๘๘ ๕๔๘๙ ๕๔๙๐ ๕๔๙๑ ๕๔๙๒ ๕๔๙๓ ๕๔๙๔ ๕๔๙๕ ๕๔๙๖ ๕๔๙๗ ๕๔๙๘ ๕๔๙๙ ๕๕๐๐ ๕๕๐๑ ๕๕๐๒ ๕๕๐๓ ๕๕๐๔ ๕๕๐๕ ๕๕๐๖ ๕๕๐๗ ๕๕๐๘ ๕๕๐๙ ๕๕๑๐ ๕๕๑๑ ๕๕๑๒ ๕๕๑๓ ๕๕๑๔ ๕๕๑๕ ๕๕๑๖
คุณมงคล สันชัย คุณกรรณิกา กุลสยาม คุณลัคนา ญาณสิทธิ คุณมงคล นาคปรางค์ คุณสุมิตรา โดชาลี คุณทัตติยา เวชภูนนท์ คุณแอนนา ภูมิอมร คุณสมพร สังข์ทอง คุณเบญจพร เฟรนช์ สกุลธรรม คุณปีเตอร์-ขนิษฐา - แพทริก เควิน ลังเงอร์ ด.ญ. ธันยพร สืบพันทา คุณสิตา อารยดิษกุล คุณปวีรรฐา โสภณอัครโรจน์ และครอบครัว คุณธารทิพย์ กมลทิพย์สมบัติ คุณล้อมเดช มั้นไล้ คุณสุทธิดา รัตนพันธ์ คุณสพล รัตนพันธ์ คุณอัญชลีพร ไพรรื่นรมย์ คุณเกศกัญญา ปาวรีย์ นายประยุทธ-บุญล้อม ละม้ายแข คุณภูษณหิศา บุญเอนก คุณสุชานาฎ บุญเอนก คุณพุทธิมา บุญเอนก คุณอาชวิชญ์ บุญเอนก คุณพีรกร บุญเอนก คุณชัยยศ และครอบครัว คุณณัฐพล สุขวัฒนศิริ พ.อ. หญิง อรุณี จารุเสน
๒๐ ๑,๕๐๐ ๕๐๐ ๓๙ ๒๐ ๒๐ ๒๐๐ ๒๐ ๕๐๐ ๑๐๐
๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑
๒,๔๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐
๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑
๕๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๙๖ ๔๒๐ ๑๐๐ ๑๕๐ ๒๙๐ ๒๕๐ ๒๘๐ ๑๖๙ ๗๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
๙ มี.ค. ๑๑ ๙ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๔ มิ.ย. ๑๑ ๒๘ ม.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๕๑๗ ๕๕๑๘ ๕๕๑๙ ๕๕๒๐ ๕๕๒๑ ๕๕๒๒ ๕๕๒๓ ๕๕๒๔ ๕๕๒๕ ๕๕๒๖ ๕๕๒๗ ๕๕๒๘ ๕๕๒๙ ๕๕๓๐ ๕๕๓๑ ๕๕๓๒ ๕๕๓๓ ๕๕๓๔ ๕๕๓๕ ๕๕๓๖ ๕๕๓๗ ๕๕๓๘ ๕๕๓๙ ๕๕๔๐ ๕๕๔๑ ๕๕๔๒ ๕๕๔๓
คุณยุพิน สายทอง ๑๐๐ คุณธนิต ปุ้มสะเกษ ๑๐๐ คุณพรพิไล ทูลตา ๘๐ พ.อ. จาตุรนต์ จารุเสน ๑๐๐ คุณจิดาภา จารุเสน ๑๐๐ คุณกนกลดา เจริญสุขณา ๒๐๐ ร.ต. หญิง พิธี ขำ�จิตร์ ๑๐๐ คุณจิตติ พิกุลทอง ๑๐๐ คุณนพพร ลัทธิธรรม ๕๐๐ คุณภาวิณี เลิศนวลจันทร์ ๔๐ ด.ต บุญเลิศ - นวลจันทร์ เซ้าฮุ้น ๑๐๐ คุณวริษา หงษ์ทอง ๒๐ คุณปัณวรรชน์-ดรุณนี-ด.ญ แกมแพรดงช นวพล- ด.ช ดลธรรม สุวรรกูฏ ๑๐๐ คุณอรวรรณ ทัศรุ่งเรืองและครอบครัว ๑๐๐ คุณรัตน์มณี นีลเซ่น-ริชาร์ด นีลเซ่น และครอบครัว ๑๐๐ พ.อ.อ ภาสกร อุณหชาต ๑๐๐ คุณโสดา ศรีนวนุช ๕๐๐ คุณพนิตนาฎ เคารพไทย ๓๐๐ คุณณัฏฐ์ฑิปัณณ์ สุวรรณธรรมา ๑๐๐ คุณวาสนา แสดงจิต ๑๐๐ คุณธีระ-นิรภา ครอบครัว ๑๐๐ คุณสุฑาลักษณ์ ทองคำ� ๓๖๙ คุณวลัยพรรณ สุขวัฒนศิริ ๑,๒๕๙ คุณวชิระ - คุณอรปภา ถาวรสิน และครอบครัว ๒๐๐ คุณชวนชัย-คุณกนกภรณ์ภาคภูมิ พาณิชย์สุทิคุณ ๑๐๐ คุณสุวรรณี สุทธิธรรมพาณิช ๕๐๐ คุณนันทพรรณ สุทธิธรรมพาณิช ๒๐๐
๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑
94 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๕๔๔ ๕๕๔๕ ๕๕๔๖ ๕๕๔๗ ๕๕๔๘ ๕๕๔๙ ๕๕๕๐ ๕๕๕๑ ๕๕๕๒ ๕๕๕๓ ๕๕๕๔ ๕๕๕๕ ๕๕๕๖ ๕๕๕๗ ๕๕๕๘ ๕๕๕๙ ๕๕๖๐ ๕๕๖๑ ๕๕๖๒ ๕๕๖๓ ๕๕๖๔ ๕๕๖๕ ๕๕๖๖ ๕๕๖๗ ๕๕๖๘ ๕๕๖๙ ๕๕๗๐ ๕๕๗๑
คุณอาทิตยา ประชันรณรงค์ คุณรัตติกร ภาระกุล คุณนิตยา นิมิตรพรสุโข คุณอโนมา ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยาชูจิตร นาครทรรพ คุณเกรียงศักดิ์ ธนมิตร์ คุณวรุตมาศ สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา ร้านชวนพนม สังฆภัณฑ์ คุณชุลีพร จุติการพาณิชย์ คุณบุญมา บำ�รุงเดช คุณอรทัย คู่ราศรี คุณณัฐณิชา เชื่อวิทยาวุฒิ คุณสรัญรัชญ์ รอดปราณี คุณภัทร์สิริย์ ศรีสัจจกุล จ.ส.อ.หญิง กนกพร ขจรอนันต์ คุณลำ�ดวน สมบุญ ส.อ.หญิง ธัญญรัตน์ เกลี้ยงเทศน์ คุณศรีวรรณ บูรณะบุตร คุณวรกานต์ ศุภจินดา และคุณวัลลภ วงศ์สุวัฒน์ คุณอรทัย กงธม คุณรัญญา ฉ่ำ�ประวิง คุณสุธาวรรณ ฉ่ำ�ประวิง และคุณนฤนาถ หงส์จ้อย คุณอัญชลี ภัทรพฤทธ์พาณิช คุณเอมอุไร ภัทรพฤทธ์พาณิช คุณชาญวัฒน์ ภัทรพฤทธ์พาณิช คุณอรัญญา โชติธีระวงศ์ ครอบครัวฤกษ์โสภา คุณพีระพล ภัทรพฤทธ์พาณิช คุณจิตรสุดา สมทอง และครอบครัว
๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑
๑,๐๐๐ ๔๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๒๐๐ ๒๐ ๓๐๐ ๒๐ ๑๐๐
๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๑ มี.ค. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑
๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑
๑๐๐ ๔๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๓๖๕ ๔๐๐ ๑,๕๘๖
๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๕๗๒ ๕๕๗๓ ๕๕๗๔ ๕๕๗๕ ๕๕๗๖ ๕๕๗๗ ๕๕๗๘ ๕๕๗๙ ๕๕๘๐ ๕๕๘๑ ๕๕๘๒ ๕๕๘๓ ๕๕๘๔ ๕๕๘๕ ๕๕๘๖ ๕๕๘๗ ๕๕๘๘ ๕๕๘๙ ๕๕๙๐ ๕๕๙๑ ๕๕๙๒ ๕๕๙๓ ๕๕๙๔ ๕๕๙๕ ๕๕๙๖ ๕๕๙๗ ๕๕๙๘ ๕๕๙๙ ๕๖๐๐
คุณเพลินจิตร บุญโต ร.ท.หญิง พัชราพรรณ บุญโต คุณบุญยง จินดากิจนุกูล คุณเมทิกา พุทธวิบูลย์ คุณกลอยใจ จั่นเพชร นางสุวรรณา ไทยบุญเรือง คุณภูดิศ แก้วสาคร นางทองห่อ ศรีริยะเกษ คุณณิชาภา สิทธิธรรม คุณยุพิน เอี่ยมสุเมธ คุณอัจฉราวดี ปราโมทย์ คุณวรรณา เปลี่ยนศักดิ์ คุณชาญณรงค์ หอมทอง คุณสุพจน์ ตามธรรม คุณรณิดา สุขวัฒนศิริ คุณสุนทรี ทองระยับ คุณสิริชนม์ ปิ่นน้อย คุณอภิษฎา จุลพันธ์ คุณชุลี นามสอน คุณธนวรรณ ดุกส์ คุณโศภิษฐา เซ่งมาก และคุณนภัสสร เซ่งมาก คุณไครินทร์ ฉันทนโพธิ์กุล คุณจริยา เรมัย คุณดวงพร เนาวภูต คุณสมบุญ โสดาคำ� คุณเขมิสรา กนกะปิณฑะ คุณประมวล คุณสวัสดิ์ สำ�เริญรัมย์ คุณครรสร ชอบชน พ.ท. วุฒิไกร์ พ.ต.หญิง จิภาวรรณ กนกะปิณฑะ
๒๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๗๐ ๖๐๐ ๑๙๐ ๓๐๐ ๒๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๖๐ ๗๒๐ ๑๐๐ ๕๕๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๔๑๐ ๒๐๐ ๓๐๐
๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑
๑๐๐ ๔๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๑๐๐ ๕๐
๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑
๕๐
๑๒ เม.ย. ๑๑
96 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๖๐๑ ๕๖๐๒ ๕๖๐๓ ๕๖๐๔ ๕๖๐๕ ๕๖๐๖ ๕๖๐๗ ๕๖๐๘ ๕๖๐๙ ๕๖๑๐ ๕๖๑๑ ๕๖๑๒ ๕๖๑๓ ๕๖๑๔ ๕๖๑๕ ๕๖๑๖ ๕๖๑๗ ๕๖๑๘ ๕๖๑๙ ๕๖๒๐ ๕๖๒๑ ๕๖๒๒ ๕๖๒๓ ๕๖๒๔ ๕๖๒๕ ๕๖๒๖ ๕๖๒๗ ๕๖๒๘ ๕๖๒๙
คุณจิราพร โชติวงษ์ พ.อ. ทวีศักดิ์ - บุปผา โชติวงษ์ พ.ต.ยศ - พ.ต.หญิงจินตนา ทองหล่อ คุณณัฏฐิมณฐ์ นิธิอัมรากุล คุณอัมพร ธิตธัญญานท์ คุณสุพล วงศ์พิพัฒน์กุล คุณณัฐวัฒน์ อริยะฉัตรมงคล คุณมณีวรรณ สีเขียว คุณปาลิตา เกสร คุณสุภนิจ ประมาล คุณพิชาพัทร์ ภูริพิริยกิตต์และครอบครัว คุณประสิทธ์คุณจันทร์แก้ว เรืองพิพัฒนพันธุ์ คุณคมกฤช สุขเสนี คุณพลอย คงมาก คุณณปภัช ทองสร้อย คุณพัชชา บุญครอบ คุณดวงเดือน อินทนะ ครอบครัวสุริยารัยวัฒนะ คุณวรินทร ผ่องแผ้ว คุณถาวาลัย ศิวะราตรี คุณสุรดา ศรีสุข คุณระเบียบ เชาว์วาส คุณชุติมา เชาว์วาส คุณติวัฒน์ ศรีคุรุเมธาภรณ์ คุณธัญกร ละอองศรี คุณธรรมรักษ์ โพธิถาวรนันท์ คุณสุนันทา-คุณโชติวรรณ เอี่ยมสุข ด.ช.ณัฐรนน มนัสไพบูลย์ ด.ช. เนติธร สุธรรมวราพร คุณอัญชลี ตันพิพัฒนโชค
๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐ ๑,๑๐๐
๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑
๑,๑๐๐ ๕๑๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๓๑๐ ๑๐๐
๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑
๑๐๐ ๒๐ ๒๐ ๔๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๔๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๖๐ ๘๐ ๔๔๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐
๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๖๓๐ ๕๖๓๑ ๕๖๓๒ ๕๖๓๓ ๕๖๓๔ ๕๖๓๕ ๕๖๓๖ ๕๖๓๗ ๕๖๓๘ ๕๖๓๙ ๕๖๔๐ ๕๖๔๑ ๕๖๔๒ ๕๖๔๓ ๕๖๔๔ ๕๖๔๕ ๕๖๔๖ ๕๖๔๗ ๕๖๔๘ ๕๖๔๙ ๕๖๕๐ ๕๖๕๑ ๕๖๕๒ ๕๖๕๓ ๕๖๕๔ ๕๖๕๕ ๕๖๕๖ ๕๖๕๗ ๕๖๕๘ ๕๖๕๙ ๕๖๖๐
คุณธนู ศรีโหร คุณวรินทร์ธร ปิยทัชอังก์วรา คุณวัลลภ มลิวัลย์ คุณศุภรากร ภูมิแสง คุณทีรราวุท ศรีกุล คุณนวลทิพย์ ผิวเหลืองสวัสดิ์ คุณเพ็ญรัศมิ์ เทินสระเกษ คุณเสาวลักษณ์ ทองยุทธและครอบครัว คุณสุรางคนา เสียงหวาน คุณพยุง สีหราช คุณสุกัลยา รอบคอบ คุณสุวรรณรัตน์ โพธิ์ข้าวก้นบาตร คุณราตรี ทองมาลา คุณสุจิตรา เหลี่ยมมกราเจริญ คุณทองเจือ แซ่ลิ้ม ด.ช. วิชญ์พล มนัสไพบูลย์ คุณสรวีย์ วิกุลนิธิโรจน์ คุณนิรันดร์ สติธรรม คุณวันเพ็ญ ถาวรเจริญ คุณพรทิพย์ พรมมาฏร์ คุณบัญญัติ สุดถาวร คุณพงศ์กานต์ โฏษิตธรรมนันท์ คุณพรทิพย์ สุธง คุณโชติรส ทองอร่าม คุณสุภาภรณ์ อยู่เย็น คุณอดิพร พรหมทา จ.ส.อ. สุริศักดิ์-ธารทิพย์ มะสุทธิ คุณวรณัน สุกุมลนันทน์ คุณจิตรลัดดา นาควารี คุณนันทวัน นาควิเชตร์
๑,๕๐๐ ๓,๐๐๐ ๒๐ ๑๐๐ ๒๐ ๑,๖๙๓ ๑๐๐ ๕๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๖๐ ๕๐ ๓๗๐ ๒๐๐ ๒๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๔๐๐ ๕๐๐ ๔๐๐ ๑,๑๙๓ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑,๑๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๒๔๐
๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑
98 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๖๖๑ ๕๖๖๒ ๕๖๖๓ ๕๖๖๔ ๕๖๖๕ ๕๖๖๖ ๕๖๖๗ ๕๖๖๘ ๕๖๖๙ ๕๖๗๐ ๕๖๗๑ ๕๖๗๒ ๕๖๗๓ ๕๖๗๔ ๕๖๗๕ ๕๖๗๖ ๕๖๗๗ ๕๖๗๘ ๕๖๗๙ ๕๖๘๐ ๕๖๘๑ ๕๖๘๒ ๕๖๘๓ ๕๖๘๔ ๕๖๘๕ ๕๖๘๖ ๕๖๘๗ ๕๖๘๘
ด.ญ. พรนภัส ฉิมอ่ำ� ๑๐๐ พ.ต. หญิง หัสยา พงษ์จุฬากุล ๑๐๐ นักเรียนชั้น ป.๒/๑ ร.ร. ประสาทวิทยา ๕๒๐ คุณครูณัฎฐาภรณ์ นาคไร่ขิง ๔๐๐ คุณนุชนาถ วิทยานันท์ ๒๐ คุณทัศนียา พรหมศรี ๒๐ ด.ช. สุขวิช ทับทิม ๒๐ ด.ญ. ปารณีย์ อาชวพร ๑๐๐ ด.ญ. พิชัญกานต์ นคละเวช ๔๔๑ คุณวุฒิพงษ์ จั่นแก้ว ๑๐๐ คุณวิญญวิชญ์ ศรีจันทรนิตย์ ๔๔๕ คุณคินธร ฉิมเนย อินร์เจริญ เมฆนิ่ม ๔๐๐ คุณธนชิต โกมินทร์ ๑,๕๗๒ คุณวรรณา สุริสิงห์ ๕๐๔ ด.ช. พีระมิตร-ด.ญ. เกวลิน น้อยจันทร์ ๔๗๐ คุณเกศกนก-คุณภานุวิชญ์ จงเจริญ ๕๕๐ เจ้าหน้าที่สำ�นักงานอุทยานการเรียนรุ ้ ๑๑๓ คุณสมพงษ์-ทิพย์วรรณกชกร เนียมหอม ๓๕๖ พี่น้อง บริษัทเสรีวัฒนา เอนเทอไพรซ จำ�กัด ๑,๒๐๐ คุณภูริทัต-ภัทราวดี-พิมลมาค นพเก้า ๒,๒๔๕ คุณพรชนก สวัสดี ๕๖๕ คุณสุภาวดี คธารัตน์ ๑,๐๒๙ ร.ต. นิเทศ ถาวร ๒๓๕ ครอบครัวนาคจำ�รัสศรี ๑๘๖ คุณทรงวุฒิ น้อย-คุณปรัชญา สะแกกลาง ๑,๑๔๖ คุณจิรัตน์ มหมาศ ๓๐๗ คุณสำ�เริง น้อยแก้วคุณไฉน เฉลิมชาต ๑,๐๓๓ ด.ช. กิตติพัชญ์ ไชยมานิตย์ ๑๙๒
๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๖ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ ม.ค. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๖๘๙ ๕๖๙๐ ๕๖๙๑ ๕๖๙๒ ๕๖๙๓ ๕๖๙๔ ๕๖๙๕ ๕๖๙๖ ๕๖๙๗ ๕๖๙๘ ๕๖๙๙ ๕๗๐๐ ๕๗๐๑ ๕๗๐๒ ๕๗๐๓ ๕๗๐๔ ๕๗๐๕ ๕๗๐๖ ๕๗๐๗ ๕๗๐๘ ๕๗๐๙ ๕๗๑๐ ๕๗๑๑ ๕๗๑๒ ๕๗๑๓ ๕๗๑๔ ๕๗๑๕ ๕๗๑๖ ๕๗๑๗
บจก.อัมรินทร์ ราชประสงค์ คุณนันทวรรณ อ้วนศรี แม่ชีบุษบา รอดศรี คุณปิยะดา ไชยสุริยะ คุณภคนันท์ บ้านใหม่ คุณฤทัยวรรณ เกื้อเกิน คุณธัญลักษณ์ ภู่บัวคุณสุนทร เกษแก้ว คุณรุ่งนภา รอบคอบ คุณศิวะพร เทพภิบาล คุณพัชรินทร์รัชต์ จงชาณสิทโธ คุณจุฑณัฎ จันทร์หนู และครอบครัว คุณอภิสัดิ์ เปรมสุนทร ด.ญ. สุพรรณนิกา-ด.ญ. นิติรัตน์ นายลำ�พันธ์ ศรีสิงห์ คุณธนธศร เทวกุล นางสมกมล - คุณนพรุจ ด่านสุวรรณ คุณศรีวิจิตร-คุณวรสันต์ ด่านสุวรรณ คุณวัชรินทร์ วรินทร์รักษ์ คุณวิลาวัณย์ วรินทร์รักษ์ คุณวิเชฐ-ศิริวรรณ-รตินิมิตธรรม คุณบู้ บุปผาเดช คุณอนิรุตต์ บุปผาเดช คุณวีรวัฒน์ นำ�บัณฑิต และครอบครัว แม่และต้องใจ วงศ์ตาผา คุณธนาคร จุลอักษร คุณเมธาวี ใช้บางยาง คุณปราชญ์ฐิณีย์ อัคคโภคิน คุณอภิชยา บุญญ์โรภาส เบส เอ็ม บอส ใช้บางยาง คุณรัชดา บีสวงค์
๑,๓๔๑ ๑๕๗ ๑๐๐ ๒๐ ๑,๐๐๐ ๕๐
๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑
๙๘๔ ๓๑๖ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐
๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๑๗ เม.ย. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑
๔๐ ๑,๐๐๐ ๔๐๐ ๓๙๒ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๓๐ ๖๐ ๒๐๐ ๒๓๐ ๓๐๐ ๔๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๘๐ ๑๐๐
๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑
100 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๗๑๘ ๕๗๑๙ ๕๗๒๐ ๕๗๒๑ ๕๗๒๒ ๕๗๒๓ ๕๗๒๔ ๕๗๒๕ ๕๗๒๖ ๕๗๒๗ ๕๗๒๘ ๕๗๒๙ ๕๗๓๐ ๕๗๓๑ ๕๗๓๒ ๕๗๓๓ ๕๗๓๔ ๕๗๓๕ ๕๗๓๖ ๕๗๓๗ ๕๗๓๘ ๕๗๓๙ ๕๗๔๐ ๕๗๔๑ ๕๗๔๒ ๕๗๔๓ ๕๗๔๔ ๕๗๔๕ ๕๗๔๖
โอ กะ จี ใช้บางยาง คุณณัฐชา ชินวงค์ คุณสุชีลา บุญบำ�เพ็ญศีล คุณสิริพร ใช้บางยาง คุณอดิสรณ์ พงษ์สุวรรณ คุณทองหม่อม - สมบัติ อาจศรี นางอุไรวรรณ ฤาชัย คุณนันท์ภสร ชอบรูป ด.ญ.สุธีกาญจน์ สุขสิง คุณทวัน เมณทะละ คุณจำ�รัส นามไพร คุณสมปอง บุตรอินทร์ คุณอุดมพร บัวขาว คุณปาจารีย์ เพิ่มเนียร โรงเรียนประสาทวิทยานนทบุรี คุณณัฐพัชร์ เต็กสงวน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๑ ร.ร. ประสาทวิทยานนทบุรี คุณพรนภัส จตุรวิทย์พรชัย คุณสุภาภรณ์ สงค์ประชา คุณฉัตรชัย ม่วงกรุป ด.ญ. ฐิติรวดา เทียนจีน คุณทัศรินทร์ ธนมิตร์และครอบครัว คุณธนทัต โทตระกูล คุณสิรีรัตน์ เชษฐสุมน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑/๒ ร.ร. ประสาทวิทยานนทบุรี คุณฐิติรัตน์ บุยเอนกบุศน์ คุณนิลลดา นนทรีย์ คุณรุ่งนภา วงศ์หนองเตย คุณปภัชญา อาจศรี
๗๘๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๓๐๐ ๑๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๔๐๐
๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๒ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑
๗๓๓ ๕๐๐ ๑,๐๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐
๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑
๖๒๐ ๕๐ ๓,๐๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐
๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๗๔๗ ๕๗๔๘ ๕๗๔๙ ๕๗๕๐ ๕๗๕๑ ๕๗๕๒ ๕๗๕๓ ๕๗๕๔ ๕๗๕๕ ๕๗๕๖ ๕๗๕๗ ๕๗๕๘ ๕๗๕๙ ๕๗๖๐ ๕๗๖๑ ๕๗๖๒ ๕๗๖๓ ๕๗๖๔ ๕๗๖๕ ๕๗๖๖ ๕๗๖๗ ๕๗๖๘ ๕๗๖๙ ๕๗๗๐ ๕๗๗๑ ๕๗๗๒ ๕๗๗๓ ๕๗๗๔ ๕๗๗๕ ๕๗๗๖
คุณแคทรียา อาจศรี คุณพรเทพ เชาวน์โอภาส คุณชุณหภัทร สุขย้อย คุณณัฐติณีย์ แสงแค คุณสิริญาพร บัวพรมมา คุณนพกร เส็งดอนไพรและครอบครัว คุณธัญญรัตน์ บวรชัยเต็มสิริ คุณสบเกียรติ วัฒนถาวร คุณนิธินันท์ ชัยธนาหิรัณย์ คุณไกรฤกษ์ มิตตกานนท์ คุณกุลชลี ปราณีนุช ยายน้อย มาศภรัม คุณนีรกานต์ พรมพิมพ์ คุณวันดี บุญสางและครอบครัว คุรแม่-คุณนรีกานต์ มงคลนรานิตย์ มูลนิธิ ร้านเคที มาร์ท คุณเกรียงไกร เดือนวันเพ็ญสว่าง คุณประสาน-สมศรี คงสมบูรณ์ คุณบัวคำ� ชอบจิต คุณกรวีร์ ภาตะนันท์ นางอุษา เหรียญทอง สมชัย ตั้งอมรศิริ บ. สุราจเอ็นพาวันเอ็มเอฟจี จำ�กัด คุณเพรชรีณา กางนอก ส.อ. วิทูร อิ่มสำ�อางค์ คุณชัยนันท์ สิรยายน คุณถาคิณ ทองสร้อย คุณลิ้นจี่ พูนฉ่ำ� ครอบครัวไปรเยท(ทองคำ�สุก) คุณอรรคราเดช โพฆธิ์ชัย คุณนิภาลัย แรกข้าว
๓๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๖๐๐ ๓๘๖ ๑๐๐ ๒๑๘ ๕๐๙ ๗๒๒ ๒,๓๗๗ ๑,๓๒๔ ๑๐๐ ๑,๕๘๘ ๙๐๐ ๑,๘๗๒ ๔๘๗ ๑๐๐ ๑๐๐ ๓๐๐ ๒๐๐ ๓,๕๐๐ ๑๐๐ ๒๐ ๕๐๐
๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๔ พ.ค. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑
102 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๗๗๗ ๕๗๗๘ ๕๗๗๙ ๕๗๘๐ ๕๗๘๑ ๕๗๘๒ ๕๗๘๓ ๕๗๘๔ ๕๗๘๕ ๕๗๘๖ ๕๗๘๗ ๕๗๘๘ ๕๗๘๙ ๕๗๙๐ ๕๗๙๑ ๕๗๙๒ ๕๗๙๓ ๕๗๙๔ ๕๗๙๕ ๕๗๙๖ ๕๗๙๗ ๕๗๙๘ ๕๗๙๙ ๕๘๐๐ ๕๘๐๑ ๕๘๐๒ ๕๘๐๓ ๕๘๐๔ ๕๘๐๕
คุณสมศรี ไผ่งาม คุณวรรณี ชูกล้า คุณวิภา กาญจนประภาส ครอบครัวเกิดสุข ด.ช. มนต์ภรณ์ ไตรศักดิ์ธนัย คุณเกศกัญญา เห็นสว่างปภา คุณเกศกัญญา ปาวะรีย์ คุณณัฐชนน สมภพศาสน์ คุณธนณัฎฐ์ ตั้งพิรุฬห์ฆธรรม คุณมินท์ธิตา หุ่นแจ้งกุลวัฒน์ คุณจิระพงษ์ นภสิริ อาพิรุณ คุณวิมลรัตน์ ชาญปรีชา คุณกาญนีย์ พรทิพย์ คุณสุนันท์ เจียมสัมพิมลคุณสุชาติ เอี่ยมสำ�อางค์ ด.ช.ภวัต ศรีสมบูรณ์รัตน์ คุณอรุณี โกสินเจริญชัย คุณธเนศ วงศ์รัตนะ คุณกรรณิกา พิมคีรี คุณพวงรัตน์ ปานเดช คุณพรพิมล พูลพละ คุณอารยา แสงกระจ่าง และภูมฐาน พันธพฤทธ์พยัต คุณทรัพย์นรี เชื้อลีมาศ คุณนงลักษณ์ อันประนิตย์ คุณสุวลักษณ์ พัสดุ คุณจรัสศรี น้อยวงษ์ บจก.ซันไชร์ ซันฟลาวเวอร์จำ�กัด ด.ช.ภูรินท์ อ่าวนิล กิตตน์ อ่าวนิล ฐิตารีย์ พุฒิกรเลิศศิริและครอบครัว จรียา ไชยศักดา
๖๖๐ ๒๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒๐๐ ๙๐๐ ๓๐๐ ๑,๔๒๔ ๑๐๐ ๑๙๐ ๑,๐๖๖ ๑,๕๐๐ ๒๐๐
๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๒ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑
๒๕๙ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๕๕๕ ๘๙๗ ๕๐๐
๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑
๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๔,๓๐๐ ๓๗๔ ๖๑๙ ๑๐๐
๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๘๐๖ ๕๘๐๗ ๕๘๐๘ ๕๘๐๙ ๕๘๑๐ ๕๘๑๑ ๕๘๑๒ ๕๘๑๓ ๕๘๑๔ ๕๘๑๕ ๕๘๑๖ ๕๘๑๗ ๕๘๑๘ ๕๘๑๙ ๕๘๒๐ ๕๘๒๑ ๕๘๒๒ ๕๘๒๓ ๕๘๒๔ ๕๘๒๕ ๕๘๒๖ ๕๘๒๗ ๕๘๒๘ ๕๘๒๙ ๕๘๓๐ ๕๘๓๑ ๕๘๓๒ ๕๘๓๓ ๕๘๓๔ ๕๘๓๕ ๕๘๓๖
คุณปิยวรรณ-อนัตถ์นันท์ ๓๐๐ ครอบครัวเสนะวงศ์ ๑๐๐ คุณสรวิชต์ รักจริต ๓๐๐ ด.ต. หญิง ศุภรดา พรมสิงห์ ๒๐๐ แก้ววานิช-สุมารินทร์ ๑๐๐ คุณเอกชัย เอี่ยมหนู ๑๐๐ คุณนนทชา พัฒนะบุณยกร ๒๐ คุณสมปอง สาสะกุล ๒๐ คุณกนกอร ดีอุดมวงศา ๒๐ คุณหทัยรัตน์ จิตไตรเลิศ ๒๐ คุณประเสริฐ ดีอุดมวงศา ๒๐ กองทุนทับเที่ยง รุ่งเรือง ๕๐๐ คุณนันท์พนิตา-ณัฐปภัสร์ บุญทรง ๑๐๐ กองทุน นวลศรี ๑๐๐ กองทุนนวลศิริภัค ๑๐๐ คุณสุนันทา ศิริปิยะวัฒน์ ๕๐๐ นางปุณยนุช สุระชลภูมิ ๖๑๒ คุณสาริศา ยิ่งสุข ๑๐๐ คุณสมจิตร มณีโรจน์ ๒,๔๔๐ คุณโสภณ จึงรุ่งฤทธ์ ๒๐๐ พ.อ. หญิง นันทิพา พรรัตนพันธุ์ ๑,๓๐๐ คุณสิทธิชัย สุทธิสุนทร ๑๐๐ พระอานนท์ เมืองชม ๑๐๐ พระมนู วรชัยโม ๑๐๐ คุณศักรินทร์ นาคเจือ ๔๑๐ คุณวีโรจน์ มั่นเสกวิทย์ และครอบครัว ๒๐๐ คุณชาตรี หุ่นศรี ๒๐๐ คุณธนพล เดชอุ่ม ๑๐๐ บ้านเปี่ยมสุข ๖๐๐ คุณทรินทร์ ทาเอื้อ ๑๐๐ คุณสุพรรษา ต้นบุญ ๒๐
๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑๘ เม.ย. ๑๑ ๑ พ.ค. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๑ มิ.ย. ๑๑ ๒ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑ ๓ มิ.ย. ๑๑
104 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๘๓๗ ๕๘๓๘ ๕๘๓๙ ๕๘๔๐ ๕๘๔๑ ๕๘๔๒ ๕๘๔๓ ๕๘๔๔ ๕๘๔๕ ๕๘๔๖ ๕๘๔๗ ๕๘๔๘ ๕๘๔๙ ๕๘๕๐ ๕๘๕๑ ๕๘๕๒ ๕๘๕๓ ๕๘๕๔ ๕๘๕๕ ๕๘๕๖ ๕๘๕๗ ๕๘๕๘ ๕๘๕๙ ๕๘๖๐ ๕๘๖๑ ๕๘๖๒ ๕๘๖๓ ๕๘๖๔ ๕๘๖๕ ๕๘๖๖
คุณณรงค์ศักดิ์ จารุบริรักษ์ คุณอณัญญา อินทรชลิต นายสมบูรณ์ มีนาค คุณจิราภรณ์ ชินวงค์ คุณนิธิชัย ยศอมรสุนทร คุณปิยะวรรณ-คุณธนัตถ์นันท์ คุณศุภชัย วิชากร คุณวีรวรรณ อุ่มน้อย คุณเพ็ญพรรณ พากเพียน คุณศิวพร ลิ้มเจริญคุณวิภาส วนิชอาภาบูรณ์ คุณวัลลภี คิดดี คุณหนึ่งฤดี ศรีหามะ คุณเกวลี แสนสุข คุณสุวนันท์ พะเทศ คุณศิริพร ภูทอง คุณรัตนพล เลิศพันธ์ คุรอุบล ยศศรี คุณชุจิตร สุดถนอม คุณชวลิต สหุอินนาถ คุณวนิดา ศรีนามเอ้น คุณณัฐาพร ลูกอินทรื คุณกนิจฎา สดสี คุณธนวัฒน์ คันน้อย คุณสุรีพร จำ�จิตา คุณอรดุมา ปาสา คุณสายใจ คำ�แพง คุณสุกัญญา ฮวดกุล คุณเสนารัตน์-คุณอนันต์ วีระปุลลี คุณยุภาพร สองคร คุณสำ�เภา-คุณฉวี การทิพย์
๑,๑๔๗ ๒๙๘ ๗๙๑ ๕๕๕ ๑,๑๘๙ ๓๐๐ ๕๐๐ ๕๐๐ ๒๐
๔ มิ.ย. ๑๑ ๔ มิ.ย. ๑๑ ๔ มิ.ย. ๑๑ ๔ มิ.ย. ๑๑ ๔ มิ.ย. ๑๑ ๔ มิ.ย. ๑๑ ๔ มิ.ย. ๑๑ ๔ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑
๒๐๐ ๑๐๐ ๕ ๕ ๕ ๑๒ ๑๐ ๔๐ ๓๐ ๑๓ ๒ ๓ ๑๔ ๒๐ ๓ ๒๐ ๕ ๒๐ ๑๐๐ ๕ ๑๐๐
๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๘๖๗ ๕๘๖๘ ๕๘๖๙ ๕๘๗๐ ๕๘๗๑ ๕๘๗๒ ๕๘๗๓ ๕๘๗๔ ๕๘๗๕ ๕๘๗๖ ๕๘๗๗ ๕๘๗๘ ๕๘๗๙ ๕๘๘๐ ๕๘๘๑ ๕๘๘๒ ๕๘๘๓ ๕๘๘๔ ๕๘๘๕ ๕๘๘๖ ๕๘๘๗ ๕๘๘๘ ๕๘๘๙ ๕๘๙๐ ๕๘๙๑ ๕๘๙๒ ๕๘๙๓ ๕๘๙๔ ๕๘๙๕ ๕๘๙๖ ๕๘๙๗
คุณอุทัย-คุณวฃภา น้อยพะวงษ์ คุณปารเมศ เหลียหวัง คุณจันทิมา จันคำ� คุณกนกพร เกิดการบุญ คุณสมบูรณ์ บุญคง คุณสมบูรณ์ คำ�ชู คุณวริวรรณ สุภาษิต คุณรัชนีกร เงินเสียง คุณนิภาคม ทองย้อย คุณไตรภพ น้อยเกตุ คุณอนุชิต หงษ์ทอง คุณอาภาพร ทรัพย์ประไพ คุณภานุวัฒน์ คล่องสั่งสอน คุณรำ�พึง ผู้พัฒน์ คุณปานทิพย์ บุญน้อย คุณทัชกานต์ ปานเพ็ขร คุณบังอร อ่อนตา คุณฒัติการ สุทธิประภา คุณอิสริยา เงินเสียง คุณศิราภรณ์ พะนอ คุณสุวนันท์ ยงยืน คุณสมเกียรติ สุวธรณรอร คุณนิรันดร์ โพธิมูล คุณรณชัย จันมวย คุณอาทิตย์ ร้อยต๊ะ คุณเบญจพร สุรินทร์ คุณสาวิตรี บรเพ็ชร คุณยิ่งยศ วังเวงจิต คุณนันทนา เกลี้ยงเกลา คุณวรพล พันธนี คุณหทัยชนก วงษ์คำ�
๑๐๐ ๒๐ ๒ ๕ ๗ ๒ ๔ ๒ ๒ ๕ ๕ ๕ ๒๐ ๒๐ ๑๒ ๒๒ ๒ ๑๐ ๑๐ ๒๐ ๑๐ ๒ ๒๐ ๒๐ ๒๑ ๑๑ ๓ ๑๐ ๙ ๑ ๒๐
๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑
106 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๘๙๘ ๕๘๙๙ ๕๙๐๐ ๕๙๐๑ ๕๙๐๒ ๕๙๐๓ ๕๙๐๔ ๕๙๐๕ ๕๙๐๖ ๕๙๐๗ ๕๙๐๘ ๕๙๐๙ ๕๙๑๐ ๕๙๑๑ ๕๙๑๒ ๕๙๑๓ ๕๙๑๔ ๕๙๑๕ ๕๙๑๖ ๕๙๑๗ ๕๙๑๘ ๕๙๑๙ ๕๙๒๐ ๕๙๒๑ ๕๙๒๒ ๕๙๒๓ ๕๙๒๔ ๕๙๒๕ ๕๙๒๖
คุณสุรีรัตน์ ลาภนูน คุณจินตนา แก้วมั่น คุณรัชนี เอียมคำ� คุณดวงดาว ห่อนาค คุณเสาวลักษณ์ ม่วงสีทอง คุณณัฐฐินันท์ สังคขจร คุณภูริชฌา จงเกษกรณ์ คุณเยาวพา พุกการะเวก คุณวันวิสา ตะรุละ คุณอมรรัตน์ คำ�ศรี คุณธัญชนก กลนฤนาทวนิช คุณวรรค์รยา นิธีไกรเกียรติ คุณนพลักษณ์ ทัศนืธนาวัฒน์ คุณธรียา รุจิเมธากุล คุณรตานพร วัฒนปิยังกูร คุณดนิตา โรจจภาสกุล คุณสุภาพร ทองดี คุณบี จองชัย คุณอมร ตั้งบรรเจิดสุขคุณวสันต์ ปัญจมวัด คุณกิตยาภรณ์ อัศวเอกะวานิช คุณวสิตา หุ่นศรี คุณภัทรพงษ์ หุ่นศรี คุณสุมิตรา ขาวสำ�อางค์ พ.ต.ท. ประสิทธิ์ บุญปลูก คุณวิภาวรรณ บุญปลูก คุณวัชรพงษ์ วิมลจริยาบูลย์ คุณสงกรานต์ ทองแผ่น คุณนิภาพรรณ ทองแจ่ม คุณเฉลิมวุฒิ พงษ์เจริญ คุณรัตน์สุดา แซ่แต้
๕ ๓ ๓ ๑๐ ๑๐ ๕ ๕ ๒๐ ๕ ๓ ๑,๐๐๐ ๒๐๐ ๒,๐๐๐ ๘๐ ๑๐๐ ๒๐ ๕ ๒๐
๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๗ มิ.ย. ๑๑ ๑๖ มิ.ย. ๑๑ ๑๖ มิ.ย. ๑๑ ๑๖ มิ.ย. ๑๑ ๑๖ มิ.ย. ๑๑ ๑๗ มิ.ย. ๑๑
๒๙,๐๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐
๑๗ มิ.ย. ๑๑ ๑๗ มิ.ย. ๑๑ ๑๗ มิ.ย. ๑๑ ๑๗ มิ.ย. ๑๑ ๑๗ มิ.ย. ๑๑
๑,๕๐๐ ๒๐๐ ๑,๐๐๐ ๕๐ ๑๓๑ ๒๔๓
๑๗ มิ.ย. ๑๑ ๑๗ มิ.ย. ๑๑ ๑๗ มิ.ย. ๑๑ ๑๗ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๙๒๗ ๕๙๒๘ ๕๙๒๙ ๕๙๓๐ ๕๙๓๑ ๕๙๓๒ ๕๙๓๓ ๕๙๓๔ ๕๙๓๕ ๕๙๓๖ ๕๙๓๗ ๕๙๓๘ ๕๙๓๙ ๕๙๔๐ ๕๙๔๑ ๕๙๔๒ ๕๙๔๓ ๕๙๔๔ ๕๙๔๕ ๕๙๔๖ ๕๙๔๗ ๕๙๔๘ ๕๙๔๙ ๕๙๕๐ ๕๙๕๑ ๕๙๕๒ ๕๙๕๓ ๕๙๕๔ ๕๙๕๕
คุณจิตตานันท์ บุญสุวรรณ คุณเฉลา คชาชีวะ คุณนรชนก บุญแจ่ม คุณนุจารีย์ แฉ่งช้าง คุณนารีรัตน์ เทียมเท่า คุณวสันต์ เทียมเท่า คุณกาญจนา เทียมเท่า คุณสิงห์ เทียมเท่า คุณสายสุนีย์ จึงชูไตรรงค์ คุณเตือนใจ ฟอเลย์ คุณวราภรณ์ อินคง คุณนุชนาถ เทพยสุวรรณ คุณยุคล พิทักษ์ คุณสุดารัตน์ เตียเจริญวรรธน์ Anthony Ung คุณศุภลัคน์ คำ�ทะเนตร คุณศรีสุภา ส่งศิริ คุณอัญชลี ผิวจันทึก คุณรัตนาภรณ์ ลาภอินทรี คุณธุสาวดี พฤหษะศรี คุณสมศรี ยอดวิเชียร คุณชนกันต์ เฟื่องทอง พ.ต. ชนวัศ ทองประสาน คุณนุวารีย์ แฉ่งช้าง บริษัท เอ็น.ที.มีเดีย กรุป จำ�กัด คุณพิพัฒน์พล พันธ์ยาว คุณวาสนา - ธงชัย - ธนบดี จนิสตา นามโพธิ์ชัย ทรงกลด-รัศมีจันทร์ คุณจิณรัตน์ อธิรัตน์พรกุล คุณพลอยแหวน ย่างหาร
๑๑๐ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๕๐ ๓,๖๕๐ ๓,๖๕๐ ๓,๖๕๐ ๓,๖๕๐ ๓,๖๕๐ ๓,๖๕๐ ๓,๖๕๐ ๓,๖๕๐ ๓,๖๕๐ ๓,๖๕๐ ๑,๐๙๕ ๑,๘๒๕ ๑,๘๒๕ ๑,๒๐๕ ๓๖๕ ๓๖๕ ๗๓๐
๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑
๑๐๐ ๕๐ ๒๔๓ ๙๔๒
๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑
๑,๒๔๕ ๔๒๕ ๑๐๗ ๕๑๘
๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๒๓ มิ.ย. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑
108 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๙๕๖ ๕๙๕๗ ๕๙๕๘ ๕๙๕๙ ๕๙๖๐ ๕๙๖๑ ๕๙๖๒ ๕๙๖๓ ๕๙๖๔ ๕๙๖๕ ๕๙๖๖ ๕๙๖๗ ๕๙๖๘ ๕๙๖๙ ๕๙๗๐ ๕๙๗๑ ๕๙๗๒ ๕๙๗๓ ๕๙๗๔ ๕๙๗๕ ๕๙๗๖ ๕๙๗๗ ๕๙๗๘ ๕๙๗๙ ๕๙๘๐ ๕๙๘๑ ๕๙๘๒ ๕๙๘๓ ๕๙๘๔ ๕๙๘๕ ๕๙๘๖
คุรพัทธนันท์ ทองใส ๙๐๖ คุณพันธวัช จรัญจรุงเกียรติ ๒๐๐ คุณสุขุม จ้อยร่อย ๑๐๐ ด.ช. ณพงศธร จรัสจรุงเกียรติ ๒๐๐ คุณวธิรวิทช์ จรัสจรุงเกียรติ ๒๐๐ คุณวิมลวรรณ จรัสจรุงเกียรติ ๒๐๐ คุณทองสี จ้อยร่อย ๑๐๐ คุณวิวัฒน์+กรรณิกาณ์ เสถียรพันธ์ ๑,๐๐๐ คุณนิชดา พุฒทอง ๕๐ พ.ต.อ. สิทธพันธ์-ณัฐนันท์ พุฒทอง ๒๐๐ คุณธนธัส ธนกิจปกรณ์ ๑๐๐ บจก. ซันไชน์ ซันฟลาวเวอร์ ๔๖๐ คุณปราณี เลไทสงค์ ๗๐๐ คุณไปรยา บุนนาค ๑,๐๐๐ คุณสุชาติ กล้าหาญ ๑๐๐ คุณยศกสน ศรีสุขสวัสดิ์ ๕๐๐ คุณไชยวืวรรผธน์ ชูวิเชียร ๕๐๐ คุณะธนัชพันธ์ เต็กสงวน ๓๐๐ คุณธัญญธร นิรากรกุลยา ๓๐ คุณชวันรัตน์ ชวกุลศิริวัฒน์ ๑๐๐ คุณนฤมล สว่างแก้ว ๑๐๐ คุณสมหมาย สว่างแก้ว ๑๐๐ คุณศิวกร วิชญะไพบูลย์ศรี ๕๐๐ คุณสมบูรณ์ สว่างแก้ว ๑๐๐ คุณวลัยพรรณ วิริยะวรชัย ๒๗๐ คุณละเอียด ม่วงชุ่ม ๘๐ คุณณกัญญา-สาวิตรี และครอบครัว ๔๐ คุณสาคร สุภาพ ๑๐๐ คุณ๓ณฑิลา มานิจ ๑๐๐ คุณวิริยา โกสิทธิ์-คุณธนกฤษฏ์ แก้วบุตรดา ๑๐๐ คุณนภาพร มากมณี ๑๐๐
๑๗ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๑๓ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๕๙๘๗ ๕๙๘๘ ๕๙๘๙ ๕๙๙๐ ๕๙๙๑ ๕๙๙๒ ๕๙๙๓ ๕๙๙๔ ๕๙๙๕ ๕๙๙๖ ๕๙๙๗ ๕๙๙๘ ๕๙๙๙ ๖๐๐๐ ๖๐๐๑ ๖๐๐๒ ๖๐๐๓ ๖๐๐๔ ๖๐๐๕ ๖๐๐๖ ๖๐๐๗ ๖๐๐๘ ๖๐๐๙ ๖๐๑๐ ๖๐๑๑ ๖๐๑๒ ๖๐๑๓ ๖๐๑๔ ๖๐๑๕
คุณเอกศักดิ์ โฮชิน ๑๐๐ คุณรวิสุต อินทร์ทอง ๑๐๐ คุณพิมพ์ใจ สุขเสน่ห์ ๕๐๐ คุณสุวรรณ เทียนภา ๒๐ คุณแสงอุษา แสนสวย ๑๐๐ พระมนู วรธัมโม ๑๐๐ คุณศิริพร สุกมลานันท์ ๔๗๐ คุณภิรญา พีรธนาวัชร ๑๐๐ คุณวรรณศิกา เรืองสุกใสคุณสุมณี อดกลั้น ๔๐ คุณปฎิรูป โต้เศรษฐี ๒๐ คุณเทียนพรรษา สอนวงษ์ ๑๐๐ คุณชนกานต์ ดีงาม ๒๐ คุณภีระชัย เพลงกระโทก ๒๐ คุณนิธินาท เสนีวงค์ ณ อยุธยา ๒๐ คุณสุวรา หาญสิริเศรษฐ ๒๐ คุณปรีชา ละอองสุวรรณ ๑,๐๘๐ ชั้น ป.๔/๒ ร.ร. ประสาทวิทยานนทบุรี ๑,๕๗๖ สำ�นักงานเกษตรจังหวัดกาญจนบุร ี ๒,๗๐๐ ครอบครัวพวงประเสริฐและ ครอบครวเบี้ยทอง ๖๖๗ ชั้นอนุบาล ๓ ร.ร. ประสาทวิทยานนทบุรี ๘๕๗ ชั้น ป๒/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๔๐๐ เจ้าหน้าที่หอผู้ป่วยอาการหนักโรคหัวใจ ๔๐๐ คุณศศิพิมม์ ลี และบริวาร ๔,๓๕๐ คุณเมธาพร ชื่นชอบ ๘๘๖ คุณปราณี ค้ำ�คูณ ๓๑๗ คุณกันตา รอดจันทร์ ๒๗๐ ชั้นอนุบาล ๒/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๒๐๐ ชั้นอนุบาล ๒/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๒๓๕ ชั้นอนุบาล ๑/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๑๐๐
๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๑ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑
110 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๖๐๑๖ ๖๐๑๗ ๖๐๑๘ ๖๐๑๙ ๖๐๒๐ ๖๐๒๑ ๖๐๒๒ ๖๐๒๓ ๖๐๒๔ ๖๐๒๕ ๖๐๒๖ ๖๐๒๗ ๖๐๒๘ ๖๐๒๙ ๖๐๓๐ ๖๐๓๑ ๖๐๓๒ ๖๐๓๓ ๖๐๓๔ ๖๐๓๕ ๖๐๓๖ ๖๐๓๗ ๖๐๓๘ ๖๐๓๙ ๖๐๔๐ ๖๐๔๑ ๖๐๔๒ ๖๐๔๓ ๖๐๔๔ ๖๐๔๕
ชั้นอนุบาล ๑/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๑๐๐ ชั้นอนุบาล ๑/๓ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๒๓๐ คุณปภาวิน ไชยบูรณะพันธ์กุล ๖๘๐ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๑ ร.ร.ประสาทวิทยา ๑๐๐ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓/๒ ร.ร.ประสาทวิทยา ๑๐๐ คุณพิชัยกานต์ นาคะเวช ๕๐๕ คุณปุณณกัญจน์ จารุพูนผล ๑,๐๐๐ คุณฟองน้อย วรนาวิน ๕๐๐ คุรปัทมาภรณ์ วัฒนศิริ ๑๐๐ คุณสุมาลา นิลวรรณ ๑๐๐ คุณสิริกร - มนพันท์ สีเงิน ๑๐๐ คุณศุภฤกษ์ สีเงิน - คุณพิชญากร สมเดช ๒๐๐ คุณณัชณัญช์ ไผ่ล้อมทอง ๒๐๐ คุณจารุวรรณ แจ่มศรีจันทร์ ๑๘๐ คุณสุพิมพรรณ ไพรวัลย์-คุณธนกร พินิตพร ๒๐๐ คุณอรัญญา เอื้อกาญจนวิไล ๑๐๐ คุณเบญจมาศ เอื้อกาญจนวิไล ๑๐๐ คุณพรสวรรค์ เอือกาญจนวิไล ๑๐๐ คุณวิชญดา ใจดี ๒๐๐ คุณศิริศักดิ์ คชพัชรินทร์-คุณธนพล กองบุญมาคุณวงวสุ ขันติวราคม ๓๐๐ คุณประภัสสร ทองชั้น ๑๙๙ คุณณัฐวรรณและคุณปุณยวีร์ งามขำ� ๑๐๐ คุณกฤตณัฐ - คุณพรนิภา-- ว่องกิตติสิน ๑๐๐ คุณบุณยนุช แซ่โก้ ๕๐ คุณนันทภัค-ทศพล-บุษาบง เมืองฟัก ๑๐๐ คุณทิพย์วาที ปุณณภุม ๕๐ คุณพรพิมล โสรัจจัญตยา ๑๐๐ คุณสุกัญญา จิตตานนท์ ๑๐๐ ม.โพธิ์วัณณา ๑๒๐ คุณโศจิรัตน์ เทียนกิ่งแก้ว ๔๐๐
๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๒ ก.ค. ๑๑ ๒๓ ก.ค. ๑๑ ๒๓ ก.ค. ๑๑ ๒๓ ก.ค. ๑๑ ๒๓ ก.ค. ๑๑ ๒๓ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๖๐๔๖ ๖๐๔๗ ๖๐๔๘ ๖๐๔๙ ๖๐๕๐ ๖๐๕๑ ๖๐๕๒ ๖๐๕๓ ๖๐๕๔ ๖๐๕๕ ๖๐๕๖ ๖๐๕๗ ๖๐๕๘ ๖๐๕๙ ๖๐๖๐ ๖๐๖๑ ๖๐๖๒ ๖๐๖๓ ๖๐๖๔ ๖๐๖๕ ๖๐๖๖ ๖๐๖๗ ๖๐๖๘ ๖๐๖๙ ๖๐๗๐ ๖๐๗๑ ๖๐๗๒
คุณศมาธร เทียนกิ่งแก้ว ๔๐๐ คุณจิตตพา เทียนกิ่งแก้ว ๒๐๐ คุณไสว ภู่สยาม ๑๐๐ คุณเฉิดโฉม ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ๕๐๐ คุณทศพงศ์ เฉลิมชัยโกศล ๔๐๐ คุณหทัยรัตน์ แซ่ลามและครอบครัวคุณเมธี รัฐสมบูรณ์และครอบครัว ๒๕๐ คุณพัชรินทร์-บุษบา-กัมปนาท-จินตนานิธิยาภรณ์-พฤธ์พิริยะ พิเชียรพงษ์ ๔๐๐ คุณรัสรินทร์ วิจิตรเจริญขวัญ ๒๐๐ คุณธนะพัฒน์ วัฒนะเรืองนนท์ ๑๐๐ คตุณธนเดช ธนากรวรกิจ ๒๐๐ คุณผดุงศักดิ์-ผดุงพล-พุฒิธร เกียรติพันฑุ์สดใส ๕๐๐ คุณศรีวลักษณ์ เกตุวรรรโสภณและครอบครัว ๑๐๐ คุณวิภาดา ธนากรวรกิจ ๕๐๐ คุณอินท์ระวี ศรีสุคนธรัตน์ ๑๐๐ คุณปิยะ-คุณฤทัยพัทธ-สุพัตรา เทวีลาภรณ์ ๑๐๐ คุณเสมอ อินจู-คุณสมหมาย แสงไชยคุณสุนิสา แสงไชย-คุณสมคิด สิงห์เถื่อน ๖๐๐ คุณภานุพันธุ์-คุณประไพพรคุณกัญญา พันธ์เสือทอง ๑๐๐ คุณวราลักษณ์ เจริญศรี ๒๐ คุณกนกอร ลีลาพจน์สัณห์ ๕๐๐ คุณอริสา บุญถนอม ๐ คุณไพรัช-คุณทุเรียร โพธานิล ๑,๐๐๐ คุณทรงพล ภาษาเวทย์ ๒๐๐ คุณเล็กซิงตั้น กาลาน ๑๐๐ คุณทัศนียา มีละมัย ๑๐๐ คุณเฉลิม สมศักดิ์ ๑๐๐ ด.ญ.จรัสพรรณ เดชว่องไวโรจน์ ๒๐ ร้านมิตรสัมพันธ์ ๑๐
๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๖ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๒๗ ก.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑
112 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๖๐๗๓ ๖๐๗๔ ๖๐๗๕ ๖๐๗๖ ๖๐๗๗ ๖๐๗๘ ๖๐๗๙ ๖๐๘๐ ๖๐๘๑ ๖๐๘๒ ๖๐๘๓ ๖๐๘๔ ๖๐๘๕ ๖๐๘๖ ๖๐๘๗ ๖๐๘๘ ๖๐๘๙ ๖๐๙๐ ๖๐๙๑ ๖๐๙๒ ๖๐๙๓ ๖๐๙๔ ๖๐๙๕ ๖๐๙๖ ๖๐๙๗ ๖๐๙๘ ๖๐๙๙ ๖๑๐๐ ๖๑๐๑
คุณธิติทัศน์ สวาสดิ์เพ็ชร์ ๑๐๐ คุณศรุตยา เสนีย์วงษ์ ณ อยุธยา ๑๐๐ คุณมิ่งสมร จตุโรโภคทรัพย์ ๑๐๐ คุณรัตนทรัพย์-คุณอนุตรตรีย์คุณกวิสราพร พงศรดาทิพ ๑๐๐ คุณวิภากร ลิ้มผ่องใส ๕๐๐ คุณสิริเพ็ญ จิระวนิช ๕๐ คุณพลอยไพลิน จันทร์นวล ๕๐ คุณสุดารัตน์ สมศักดิ์ ๔๐๐ คุณโกลัญญา บุนนาค ๒๐๐ คุณดวงกมล จันทร์ก้อน ๒๐๐ ครอบครัว เอี่ยมเจริญ ๑๐๐ คุณแพรว วงค์ใหญ่ ๑๐๐ คุณนันท์นภัส โยมงาม ๑๐๐ คุณอารยา บุริสการ ๑,๐๐๐ คุณนภาศิริ สิริสาลี ๑,๐๐๐ คุณพันดนัย สถาวรมณี ๒๐๐ คุณพรณิชา ทิมพิทักษ์ ๒๐๐ คุณจิราภรณ์ บรรณสีเขียว ๑๐๐ คุณโภชชงค์ จัตตานนท์ ๑๐๐ คุณทิพย์กลม ศรีแจ้งธนนันท์ ๓๖๗ คุณชาญวุฒิ เจิมจำ�รูญ ๑,๐๐๐ คุณอเนชา อังทองกำ�เนิด ๑๐๐ คุณฐิติรัตน์ เลิศล้ำ�เลอพงค์คุณรุ่งนภา แซ่อึ้งและครอบครัวเจริญชัย ๑๐๐ คุณธิติ วราโชคสถิต ๑๐๐ คุณสิตา จารุวินกุล ๑๐๐ บ.นวโลหะอุตสาหกรรมจำ�กัด ๓๐๐ เจ้าหน้าที่ ร.พ.ศรีธัญญา ๓๒๐ คุณพิชญ์สินี สายจันทร์ ๒๐๘ คุณเกียรติก้อง สุวรรณกูฎและครอบครัว ๓๐๐
๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑
หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๖๑๐๒ ๖๑๐๓ ๖๑๐๔ ๖๑๐๕ ๖๑๐๖ ๖๑๐๗ ๖๑๐๘ ๖๑๐๙ ๖๑๑๐ ๖๑๑๑ ๖๑๑๒ ๖๑๑๓ ๖๑๑๔ ๖๑๑๕ ๖๑๑๖ ๖๑๑๗ ๖๑๑๘ ๖๑๑๙ ๖๑๒๐ ๖๑๒๑ ๖๑๒๒ ๖๑๒๓ ๖๑๒๔ ๖๑๒๕ ๖๑๒๖ ๖๑๒๗ ๖๑๒๘ ๖๑๒๙ ๖๑๓๐ ๖๑๓๑
คุณพรรณีย์ ทองอินต๊ะ ๑๐๐ ชั้น ป.๔/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๑๙๔ ชั้น ป ๕/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๓๘๖ ชั้น ป.๑/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๒๘๐ ชั้น ป.๓/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๑๗๐ ชั้น ป ๒/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๒๐๐ ชั้น ป.๒/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๒๐๐ ชั้น ป ๖/๑ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๑๓๔ ชั้น ป.๖/๒ ร.ร.ประสาทวิทยานนทบุรี ๑๓๔ คุณณัฐินี มงคลลิขิตกุล ๗๖๓ พนักงานธ.กรุงไทย สาขาลาดพร้าว๓๓ ๑,๑๕๘ คุณอัมพวัน ตั้งประเสริฐกิจ ๑๐๐ คุณเฉลิม ภูมิลักษ์ ๑๐๐ คุณธันยพัต นิ่มนุช ๒๐๐ คุณศุลีมาศ โพธินิล ๑๐๐ คุณจิตตวดี โพธินิล ๑๐๐ คุณแก้วมณี โพธินิล ๑๐๐ พ.อ.อ. ประสงค์ โพธินิล ๑๐๐ คุณตรีกานต์ ธงอินเนตร ๑๐๐ คุณเกรียรติศักดิ์ โพธินิล ๑๐๐ คุรจิระเมธ บำ�รุงไทย คุณนิธิวันท์ สุระแสง ๒,๐๐๐ คุณอรนุช วานิช ๑๐๐ คุณศิริวรรณ สุดพุก ๑๐๐ คุณนเรศ สุดพุก ๑๐๐ คุณญาณินดา คงสมนวน ๑๐๐ ด.ช.ลิปกร อยู่มากญาติ ๒๘๘ คุณวนัทปรียา จันทนยิ่งยง ๑๐๐ คุณพักตร์ชนก สงสงฆ์ ๒๐ ลัพธิโสภณ ๑๐๐ พนักงานชั้น ๕ บ.โชคพนา ๒,๐๙๐
๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๑ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๓ ส.ค. ๑๑ ๑๓ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๖ ส.ค. ๑๑ ๑๗ ส.ค. ๑๑ ๑๗ ส.ค. ๑๑ ๑๗ ส.ค. ๑๑ ๑๗ ส.ค. ๑๑
114 หมายเลข ชื่อเจ้าของทุน จำ�นวนทุน วั น เริ่ ม ทุ น ๖๑๓๒ ๖๑๓๓ ๖๑๓๔ ๖๑๓๕ ๖๑๓๖ ๖๑๓๗ ๖๑๓๘ ๖๑๔๐ ๖๑๔๑ ๖๑๔๒ ๖๑๔๓ ๖๑๔๔ ๖๑๔๕ ๖๑๔๖ ๖๑๔๗ ๖๑๔๘ ๖๑๔๙ ๖๑๕๐ ๖๑๕๑ ๖๑๕๒ ๖๑๕๓ ๖๑๕๔
คุณพัณนิดา สรสาร คุณจารุร ดวงอัมพร คุณพัชรินทร์ บุญเรือน คุณสิริวรรณ เสาภานะเจริญ คุณชญาดา ธนินเฉลิมพล คุณภูมิพันท์ พันธ์ประหัส คุณรัตนพงศ์ เจนณรงค์ศักดิ์ คุณศิรวัฒน์ ม่วงกรุง คุณบุญสม เมฆสมิทธิผล พล.ต.ท. ภัทรชัยคุณนาถฤดี หิรัญญเวช พ.อ. ปรัญญ์ ตุลยานนท์อัชฌา สกุลไทย์ คุณนพพร ศุภวัฒน์ คุณศุภัคชา เรืองอร่าม คุณชนินทร อินทรบุตร คุณพรประสงค์ สุขศรี คุณศิริวรรณ ศรีสวัสดิ์ - ณัฐริธา - จิรัฏฐ์ คุณณัฐวรรณ ดวงจิตร ร.ต.ท. กฤษณกันต์ เกรียงทวีชัย คุณฤดี แก้วสกุลณี คุณยศสรัล อู่ทรัพย์ คุณกรรภิรมย์ ยิ้มเจริญ คุณชาญชัย - คุณประภาวัลย์ แสงอรุณ และครอบครัว
๑๐๐ ๕๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๒,๐๐๐ ๒,๔๐๐ ๒,๐๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐
๑๗ ส.ค. ๑๑ ๑๘ ส.ค. ๑๑ ๑๘ ส.ค. ๑๑ ๑๘ ส.ค. ๑๑ ๒๐ ส.ค. ๑๑ ๒๐ ส.ค. ๑๑ ๒๘ ส.ค. ๑๑ ๒๘ ส.ค. ๑๑ ๒๘ ส.ค. ๑๑
๒๐๐
๒๘ ส.ค. ๑๑
๒๐๐ ๒๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๐๐ ๑๕๔ ๗๖๐ ๔๖๙ ๓๐๐ ๒๓๕
๒๘ ส.ค. ๑๑ ๒๘ ส.ค. ๑๑ ๒๘ ส.ค. ๑๑ ๒๘ ส.ค. ๑๑ ๒๘ ส.ค. ๑๑ ๒๘ ส.ค. ๑๑ ๓๐ ส.ค. ๑๑ ๓๐ ส.ค. ๑๑ ๓๐ ส.ค. ๑๑ ๓๐ ส.ค. ๑๑ ๓๐ ส.ค. ๑๑
๒,๙๐๐
๓๐ ส.ค. ๑๑
“หน้าแข้งหลวงพ่อเงินไหลมาครับ!..”
116
มุกด์ วงศ์ไชยกุล
Product Supervisor บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำ�กัด
“เวลามีอะไรมากระทบอารมณ์ใจเรา ก็คิดเหมือนว่าเรานั่งมองผ่านกระจกบานหนึ่ง ที่กั้นระหว่างร่างกายกับจิตเราไว้..”
117 มุกเองเพิ่งเข้ามาที่วัดเขาวง (ถ้ำ�นารายณ์) นี้ได้ไม่นาน นัก ยังจำ�ได้ว่าก้าวแรกที่เข้ามาถึงภายในบริเวณวัดรู้สึกจิตใจ สงบ คงเป็นเพราะบรรยากาศอันร่มรื่นและความสงบ เป็น ระเบียบของวัด หลังจากเข้าไปกราบนมัสการพระในอุโบสถ และเดินเล่นทั่ววัดแล้ว ก็มาเจอบริเวณที่ชอบมากที่สุดนั่นก็ คือหน้าองค์พระแก้วมรกตและพระสังกัจจายทองคำ�ที่ในถ้ำ� นั่นเอง บริเวณนี้เงียบสงบและเย็นชื่นใจจากความชื้นของผนัง ถ้ำ� ตอนนั้นยังแอบนึกในใจว่านี่หละจะเป็นที่ที่เราจะมาจับจอง นั่งสมาธิถ้ามีโอกาส หลังจากมาเที่ยววัดเขาวงครั้งแรกผ่านไปไม่กี่สัปดาห์ก็ ทราบข่าวว่าที่วัดจะจัดงานสืบสานวัฒนธรรมไทย และต้องการ อาสาสมัครมาช่วยงานหลวงตา มุกก็เลยไม่รอช้าขอติดรถพี่ๆ น้องๆ มาช่วยงานวัดกับเค้าด้วย ในวันงานเห็นทุกคนมาช่วย งานกันคนละไม้ คนละมือ เหนื่อยกันยังไงแต่หน้าตาก็ยังยิ้ม แย้ม อาจเป็นเพราะทุกคนทำ�เต็มที่เพื่อให้งานของหลวงตา ออกมาดีที่สุด และเพราะหลวงตาเองก็เดินตรวจตราทั่วงาน แวะทักทายผู้มาช่วยงานทุกคนอย่างเป็นกันเอง ตอนนั้นมอง จากไกลๆ ยังสัมผัสได้ถึงความเมตตาของหลวงตาที่มีต่อพวก เราทุกคน และจากจุดนี้เองทำ�ให้มุกเริ่มสนใจอยากเข้ามาที่
118 วัดเขาวงบ่อยขึ้น อยากมารู้จักหลวงตาให้มากขึ้น จนในที่สุด โอกาสนั้นก็มาถึงเมื่อมุกได้มาปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวง มุกได้มี โอกาสปฏิบัติตามตารางกิจกรรมที่ทางวัดวางไว้ น่าแปลกที่เรา สามารถทำ�ตัวมีวินัยและตื่นเช้าๆได้โดยไม่อิดออดเหมือนตอน อยู่บ้าน ได้ช่วยงานที่สำ�นักงานกลาง ได้คอยรับใช้หลวงตาและ หลวงพี่และยังโชคดีได้ฟังธรรม ฟังเทศน์จากหลวงตาอยู่บ่อย ครั้ง ธรรมะของหลวงตาฟังแล้วเย็นใจ เข้าใจง่าย เพราะหลวง ตาใช้คำ�ร่วมสมัยมากๆ หนึ่ ง ในเรื่ อ งที่ ห ลวงตาเทศน์ แ ล้ ว จำ � ได้ แ ม่ น ที่ สุ ด คื อ ‘เรื่องอารมณ์โทสะ’ หลวงตาเทศน์สอนว่า “เราอย่าไปติดยึดกับร่างกาย เพราะร่างกายของเราก็ เหมือนคอมพิวเตอร์ที่เค้าวางขายอยู่ตามร้าน วิญญาณเราแค่ อาศัยเจ้าคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไม่นาน พอร่างกายเรานี้เสื่อมไป หมดอายุขัยไป ก็เหมือนกับคอมพิวเตอร์ที่เสียใช้งานไม่ได้แล้ว ตกรุ่นไปแล้ว วิญญาณเราก็ออกจากคอมพิวเตอร์เครื่องนี้ไป ถ้าไปเกิดใหม่ก็ไปอยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เป็นแบบนี้ไป เรื่อยๆ หรือลองคิดว่าร่างกายของเราก็คือขี้กองหนึ่ง เพราะมัน มีแต่ของเน่าเหม็นและเสื่อมลง ผุพังลงทุกนาที ร่างกายของคน อื่นก็ขี้กองหนึ่ง แล้วเวลาเราโกรธใครก็ให้ลองคิดแบบนี้ว่าเรา
119 และเขาเป็นแค่กองขี้ แล้วเราจะไปนั่งโกรธกองขี้มันมั้ยเล่า เรา อยากไปกอดกองขี้นั้นไว้ใกล้ๆตัวมั้ย ก็คงไม่.. ใช่มั้ย คิดแบบนี้ แล้วตัดโทสะง่ายมั้ย จำ�ไว้นะลูก ทุกอย่างบนโลกนี้ตั้งอยู่บนกฎของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เหมือนกันทุกคน ทุกสิ่ง รวมทั้งอารมณ์และความรู้สึกของเราด้วย เรามีความสุข อยู่ไม่นานเดี๋ยวเราก็ทุกข์ถูกมั้ย แล้วเราทุกข์ซักพักเดี๋ยวเราก็ สุขสลับกันไปมา ไม่มีอะไรคงอยู่อย่างนั้นแล้วไม่เปลี่ยนแปลง ดู อย่างร่างกายของเราสิเมื่อตอนเป็นเด็กๆผิวพรรณเราเป็นยังไง ตึง เนียนใช่มั้ย พอเริ่มอายุมากขึ้นเริ่มเหี่ยว เริ่มแก่ถูกมั้ย เราไป ห้ามมันไม่ให้แก่ไม่ให้เหี่ยวได้มั้ยลูก คงได้ไม่นานเท่าไหร่เนอะ แล้วถ้าเราไม่ยอมรับกฎความจริงข้อนี้เราจะทุกข์มั้ยลูก เหมือน กันเวลาเราโกรธใคร เราโกรธเค้าเพราะเค้าไม่เป็นอย่างที่ใจ เราต้องการใช่มั้ย แล้วก็เป็นใจเราเองอีกที่ไม่สบายและร้อนรน ลองคิดดูนะลูกเวลาที่เราเศร้าหรือโกรธเราสั่งตัวเราให้หยุด เศร้าหรือโกรธได้ทันทีมั้ยลูก มันทำ�ไม่ค่อยได้เนอะ บางทีเรายัง ไปบังคับอะไรมันไม่ได้เลย เพราะเรามักขาดสติและให้อารมณ์ มาควบคุมตัวเรา ตัวกูยังไม่ใช่ของกูเลยลูกเอ๋ย แล้วประสาอะไร กับคนอื่นเล่า เราจะไปบังคับให้เค้ามาได้อย่างใจเรามันเป็นไป ได้มั้ยเล่า ทุกคน ทุกสิ่งก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปทั้งนั้น ถ้าเรา
120 ไม่เจริญสติบ่อยๆ ปล่อยให้เราไหลไปตามอารมณ์ เดือดร้อน นะลูกนะ ชีวิตเราคงหาความสุขได้ยาก ดังนั้นจงหมั่นระลึกถึง สัจธรรมข้อนี้เอาไว้ลูก จงมีสติอยู่กับปัจจุบัน รู้ทันอารมณ์ของ ตัวเอง ฝึกจากจับลมหายใจตัวเองก็ได้ เออตอนนี้เราหายใจเข้า นะ หายใจออกนะ ตอนนี้เราโกรธแล้วนะ ให้รู้ทันอารมณ์ตัว เอง เพราะเราก็คนปกติธรรมดา อารมณ์รัก โลภ โกรธ หลงมัน มีกันได้เป็นเรื่องปกติ เพียงแต่เมื่ออารมณ์ต่างๆเหล่านี้มันเกิด ขึ้นแล้ว เราต้องรู้เท่าทันมันและไม่ปล่อยให้ตัวเองไหลไปตาม อารมณ์เหล่านั้น จงคิดว่าจิตเราอยู่เหนือร่างกายนี้ เอาจิตควบคุม ร่างกายไว้ เวลามีอะไรมากระทบอารมณ์ใจเรา ก็คิดเหมือนว่า เรานั่งมองผ่านกระจกบานหนึ่งที่กั้นระหว่างร่างกายกับจิตเรา ไว้ โดยที่กระจกบานนี้มีใบมีด ๓ ใบที่คอยปั่น ย่อยเรื่องต่างๆ ที่จะเข้ามากระทบใจเรา มีดแต่ละใบคืออะไรลูก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาไง พออารมณ์โกรธเข้ามาปุ๊บ กดปุ่มให้ใบพัดทำ�งานเลย ลูก เหมือนอะไรนะเครื่องปั่น Mulinex น่ะลูก กดปุ่มปุ๊บใบพัด ทำ�งานปั๊บ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป มีอะไรจะเข้ามากระทบใจอีกก็กดปุ่มให้เครื่องปั่นทำ�งานอีก ทำ� บ่อยๆ ฝึกบ่อยๆ ลูกอีกหน่อยมันก็เป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ใจ
121 เราก็จะไม่ยึดติดกับอะไรทั้งนั้น” หลวงตาเจ้าขาคำ�สอนของหลวงตาทำ�ให้ลูกได้ข้อคิด และมีสติในการดำ�เนินชีวิตมากขึ้น แม้ลูกจะต้องอาศัยความ เพียรและความตั้งใจในการปฏิบัติตามคำ�สอนเหล่านี้ แต่ลูกก็ รับรู้ว่านี่แหละคือทางรอดเพื่อหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งหลาย ลูกขอเดินตามรอยเท้าพ่อตามคำ�พ่อสอนตราบจนลมหายใจ สุดท้ายของร่างกายนี้ บุญกุศลอันใดที่ลูกได้จากการปฏิบัติตาม คำ�สอนเหล่านี้ตั้งแต่ภพใด ชาติใดก็ตามมาจนถึงปัจจุบัน ลูกขอ ถวายบุญกุศลทั้งหมดนี้ให้แก่หลวงพ่อและหลวงตาเจ้าค่ะ.
122
ธนกร ธรรมพงศ์ธร
Senior Customer Care Professional American Express (Thai) Co.,Ltd.
“หลวงตาสอนอารมณ์ของพระโสดาบัน สอนให้ไม่ยึดติด ไม่ให้เราถือว่าเป็นของเรา”
123 บันทึกนี้..กรขอเขียนเพื่อสรรเสริญคุณของ ‘หลวงตา’ ผู้ที่บอกได้เลยว่า เป็นสงฆ์สาวกและเนื้อนาบุญอันดีเยี่ยมที่ สามารถกราบได้อย่างหมดใจเลย แม้เพียงช่วงสั้น ๆ สี่วันที่ หลานคนนี้ ได้มีโอกาสไปอยู่ใต้ใบบุญหลวงตา หลานหมดสิ้น ความสงสัยอะไร ๆ ในพระรัตนตรัยเลยทีเดียว เมตตาของ หลวงตาที่มีให้กับทุกคนนั้นมากยิ่ง เพราะหลวงตานอกจากจะ ให้ความสงบ.. ให้บุญเกิดแก่เราแล้ว หลวงตายังมีอริยทรัพย์ให้ ทุกคนได้กลับบ้านมาอีกด้วย หลายคนคงอยากรู้ว่า ‘หลวงตา’ เป็นใคร?.. หลวง ตาวัชรชัย หรือพระครูภาวนาพิลาศ เจ้าอาวาสวัดเขาวง(ถ้ำ� นารายณ์) จ.สระบุรี ปัจจุบันท่านอายุ ๗๐ แล้ว แต่ยังดูแข็งแรง อยู่... ความจริงแล้วเป็นที่รู้กันภายในว่า หลวงตาไม่สบายอยู่ เยอะ ต้องการพักผ่อนมาก ๆ แต่หลวงตาเป็นลูกศิษย์ของหลวง พ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง เมื่อหลวงพ่อฤๅษีฯ ทำ�อย่างไรหลวงตาของ เราที่เป็นศิษย์ก็ทำ�อย่างนั้น ท่านพยายามสั่งสอนลูกหลานทุก คนที่เข้าไปหา ไปกราบท่าน.... เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา หลานคนนี้ได้ไปวัดเขาวง เพื่อพักปฏิบัติธรรมในช่วง วันเกิด เมื่อไปถึง โอ้หลวงตาจ๋า.. หลานดีใจที่สุด! หลานเห็น หลวงตานั่งอยู่ที่จุดลงทะเบียน สำ�นักงานกลาง เหมือนท่านมา คอยก่อนแล้ว คำ�แรกที่ท่านถามก็คือ “มาทำ�อะไรกันลูกเอ๋ย!”
124 แค่เรียก ‘ลูก’ เราก็รู้สึกเต็มตื้นเลย... ทุกวันเราจะเจอ หลวงตาอยู่เรื่อย ๆ เพราะท่านจะเดินตรวจดูงานต่าง ๆ รอบ วัด และบอกได้เลยว่าวัดนี้ สะอาด เรียบร้อย สัปปายะ และ สะดวกสบาย ๆ มาก ๆ สำ�หรับใครที่ไม่เคยเข้าวัด... เวลาหลวงตาท่านสอนจะเอาสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเรามา สอนและดีมากเหลือเกิน คืนแรกหลวงตาสอนอารมณ์ของพระ โสดาบัน สอนให้ไม่ยึดติด ไม่ให้เราถือว่าเป็นของ ๆ เรา เพราะ ขนาดขี้ของเราเวลามันอยู่ในตัวเรา เราก็บอกว่านี่คือตัวเรา แต่ พอมันออกไปแล้วสิ เราเองยังไม่อยากหันไปมองเลย รีบราดน้ำ� ให้มันไปไกล ๆ จริงไหมล่ะท่านทั้งหลาย.. เออจริงแฮะ แล้วไอ้ ที่มันอยู่ในตัวคนสวยคนหล่อล่ะ มันก็ขี้นั่นแหละ ตัวเรา ๆ ยัง รังเกียจแล้วของคนอื่นละรังเกียจไหมละ?... ง่าย ๆ เห็นภาพและไม่ต้องไปคิดเยอะด้วย คำ�สอน ของหลวงตามีอีกเยอะเลย อยากรู้ลองไปเองเถิด! แล้วจะรู้ว่า พระแท้เป็นยังไง... หลวงตาจ๋า ถึงหลานจะไปนอนป่วยที่วัด ของหลวงตาแต่ขณะนอนป่วยหลานก็เอาคำ �สอนหลวงตามา พิจารณาให้เกิดปัญญาอยู่บ้าง และยังหมั่นระลึกถึงพระพุทธเจ้า ให้ท่านอยู่กับลูกเสมอนะครับ.. ถึงตอนนี้ หลานจะกลับมาบ้าน แล้วยังนำ�มาพิจารณาอยู่เรื่อย ๆ หลวงตาครับ! วันนี้(ขณะ บันทึก) หลานทำ�วัตรเย็นทั้งน้ำ�ตา.. เพราะหลานนึกว่าได้ไปนั่ง
125 สวดมนต์ที่โบสถ์อันสวยงามของหลวงตา ได้นั่งมององค์พระ ประธานที่งดงามเกินบรรยายจริง ๆ อีกไม่นานหลานจะกลับไป ครับหลวงตา! การไปครั้งนี้ยังได้บุญเพิ่มอีก ๑ บุญ คือ การเป็น ธรรมทูต คือมีชาวเบลเยี่ยม อายุ ๕๔ ปี ได้มาที่วัดเพื่อมุ่งหา ความสงบ ชื่อของเขาคือ ‘นายพระจันทร์ยิ้ม (MR.Smiling Moon)’ มีพระท่านหนึ่งตั้งชื่อให้เขาไว้นานแล้ว เขาทำ�ธุรกิจส่ง ออกและนำ�เข้าจากประเทศต่าง ๆ รวมถึงไทยด้วย... เราไปถึง เวลาไล่เลี่ยกัน พระท่านเลยขอให้เราช่วยดูแลเค้าหน่อย... นั่น แน่! บุญอินเตอร์มาถึงแล้ว ตอนนี้เลยต้องอธิบายทุกอย่างเป็น ภาษาอังกฤษทั้งหมด สอนตั้งแต่สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม อธิบายเรื่องพระพุทธเจ้าและธรรมะ ช่วยแปลสิ่งที่หลวงตา สอนให้กับเขา ในวันสุดท้ายเขาบอกว่า เราน่าจะมาอยู่ที่วัด นะ เพราะเราอธิบายเก่งมาก สุภาพ และเข้าใจได้ง่าย โห!!! อิ่ม บุญกันเลยคุณ... ตอนพาไปกราบหลวงตาก่อนเรากลับ เพราะ เขาอยากคุยกับหลวงตามาก แต่ไม่มีใครช่วยแปล เราเลยได้ ใกล้หลวงตาเลย... นายพระจันทร์ยิ้มบอกว่าหลวงตามีอะไร แปลก ๆ ที่เขาบอกไม่ถูก อยู่ใกล้ ๆ แล้วเค้ามีความสุข ถึงจะฟัง หลวงตาไม่เข้าใจ แต่มันเข้าไปถึงใจเลยว่าหลวงตาเมตตามาก ๆ ..ท้ายที่สุด เขาให้เราบอกหลวงตาว่า “วันหนึ่งผมจะกลับมา
126 แล้วพูดภาษาไทยให้ได้ ผมจะได้เข้าใจที่หลวงตาสอน” เรางี้ อึ้งเลย! หลวงตายิ้มแล้วก็ชมว่าดีแล้ว ๆ.. ดีใจที่สุดที่ได้รู้จักกับ กัลยาณมิตรต่างแดนต่างภาษาแต่ใจเดียวกันเพิ่มอีก ๑ คน .. ลืมบอกไป..เขาเป็นคริสต์นะ แต่ท่าทางเราจะล้างใจให้กลาย เป็นพุทธซะแล้วล่ะ อิอิ.. ขอผลบุญใดก็ตามที่กรพึงได้ในครั้งนี้จะมีประโยชน์ มากมายเพียงใด ขอให้พึงเกิดแก่ทุก ๆ คนที่ได้อ่านบทความนี้ เช่นเดียวนะครับ.
กลอนบทหนึ่งที่พวกเราชาวศิษย์วัดเขาวงคุ้นเคย ก็คือบทกลอน ‘พ่อนั่งพัก’ ที่หลวงตาท่านประพันธ์เพื่อบูชา คุณครูบาอาจารย์ ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ผ่านมาได้ ๑๒ ปีใน วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ นี้พอดิบพอดี หลายสิบปีที่หลวงตา อยากเห็นพ่อนั่งพักเหนื่อย เพราะพ่อทำ�งานหนักมาตลอดชีวิต เท่าที่ผู้เขียนได้ซึมซับรับทราบผ่านปากของหลวงตาที่เวลาท่าน เล่าถึงพ่อ ท่านมักจะเผลอสะอื้น หลวงตาบอกว่าท่านบุญน้อย สนองงานพ่อได้ไม่เหมือนพวกพี่ๆ... ทุกวันนี้ท่านเลยพยายาม ทำ�งานของพ่ออย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย หลวงตาเล่าให้ฟังว่า “ตอนตีสองทุกวัน พ่อจะลุกขึ้นมาอัดเสียงเทศน์ เสียง ธรรมะที่พวกเราได้สดับฟัง เป็นอย่างนี้ทุกวันไม่เคยขาด” สมัยนั้นใช้เทปแบบคาสเซ็ท เวลากดอัดเสียงก็ต้องกด สองปุ่มพร้อมๆ กัน (ปุ่มเล่นเสียงกับปุ่มสีแดง) ท่านเทศน์ เหมือนพูดคุยกับลูกหลาน อะไรที่ปรากฎผ่านระหว่างอัดเทป ท่านก็พูดทักถึงเหมือนเป็นเรื่องเดียวกับที่ท่านเทศน์อยู่ เช่น “อ้าว.. นาฬิกามันหล่นปุ่บ! ไปไหนหว่า ไม่รู้เวลา ก็ขอ จบเรื่องคุยเสียตรงนี้..”
130 หลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง ที่พวกเราลูกหลานเรียกท่าน ว่า ‘พ่อ’ ท่านเป็นคนรักษาเวลามากๆ ตารางเวลาในแต่ละวัน ของท่านแน่นอน! เช้ามืดอัดเสียงลงเทปคาสเซ็ทเพื่อรอให้ช่วง เช้า ลูกๆ พระที่ทำ�หน้าที่จะมานำ�รับเทปที่อัดแล้วไปถ่ายทอด ออกสู่บรรดาศิษยานุศิษย์ได้รับฟังกัน.. ‘พ่อ’ ฉันเช้าที่กุฏิริมน้ำ� สมัยนั้นแพปลาที่ด้านโรงครัวเก่าปลายังไม่มากเท่าสมัยปัจจุบัน เด็กวัดสมัยนั้นก็ซนตามประสา โดดน้ำ�เล่นเสียงดัง ท่านออกมา ออกเสียง “เฮ่ย! เบาๆ หน่อย” ทำ�เอาบางคนผลุบหายลงน้ำ�ลืม หายใจไปเลย.. ป้าครูนนทา อนันตวงษ์ เคยเรียกผู้เขียนให้ขึ้นไปถูพื้น กุฏิริมน้ำ�แทนคนอื่น ขณะถูพื้นไปเพลินๆ ประตูตรงบันไดที่ขึ้น ไปห้องข้างบนเปิดผลั่วะออกมา ‘พ่อ’ เดินลงมาผ่านหน้าเด็ก ถูพื้นไปนั่งรับโทรศัพท์ตรงเตียงเหล็กด้านใน เหลือบมองขึ้นไป เห็นเพียงชายผ้าสบงท่าน ก็ไม่กล้าเงยหน้าต่อไปอีก กลัวท่าน! ตอนที่ท่านปรากฏกายนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวนิ่งสนิท จน ท่านขึ้นไปทำ�งานข้างบนแล้ว มือถึงค่อยๆ ขยับเขยื้อนได้อีกหน ท่านไม่ใช่คนดุหรอก! แต่ความเข้มแข็ง เด็ดขาด ความตรงต่อ เวลาของท่าน กระแสความแกร่งในใจของ ‘พ่อ’ ทำ�ให้คนกระ จ้อยร่อยอย่างเราละลายกลายเป็นขี้ฝุ่นไปเลย..
131
‘พ่อ’ ถ่ายภาพในงานครอบรอบ ๑๐๐ ปีเกิดของหลวงปู่ปาน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ตอนนั้นผู้เขียนเพิ่งอายุ ๗ ขวบ
132 บ่ายโมงตรงเป๊ะ! ก็จะเห็น ‘พ่อ’ เดินออกมาจากกุฏิ ท่ามกลางพระลูกๆ สามสี่องค์ มีหลวงพี่อนันต์(พระครูปลัด สุวัฒนสมาธิคุณ).. หลวงพี่โอ(พระครูสมุห์พิชิต).. หลวงอาสุรจิต (พระครูสังฆรักษ์ รองเจ้าอาวาสวัดท่าซุง).. หลวงพี่วิรัช(พระครู ปลัดวิรัชแห่งวัดธรรมยาน จ.เพชรบูรณ์).. หลวงพี่ชัยศรีและ หลวงพี่บัญชา(ทั้งสองท่านลาสิกขาไปแล้ว) แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ดาบตระกูล(จ่าแดง).. อาบัง(นที).. และพี่เอี้ยง.. เป็นภาพที่เห็น ทุกวันอย่างนั้นตลอดมา จนกระทั่ง ‘พ่อ’ ท่านละสังขารไปตาม สภาวะธรรมดาตามที่ท่านพร่ำ�สอน หลวงตาก็ออกมาประกาศปฏิปทาของ ‘พ่อ’ ที่สระบุรี เมื่อพรรษา ๑๓ ในช่วงเวลาที่กรำ�งานนั้นท่านเล่าให้ฟังว่า “ไม่ว่าจะเจอปัญหาหรืออุปสรรคใดๆ ก็ตามหลวงตา มักจะนึกถามหลวงพ่อว่า เอายังไงดีครับ พ่อ! หรือไม่ก็นึกถาม พ่อว่า ถ้าเป็นพ่อ พ่อจะทำ�อย่างไรกับเรื่องนี้ แล้วหลวงตาก็ได้ คำ�ตอบในใจทุกครั้ง” จนมาปัจจุบันนี้ หลวงตาพรรษา ๓๐ ท่านก็ยังทำ�งาน ตามแบบปฏิปทาของ ‘พ่อ’ ให้พวกเราลูกหลานเห็นประจักษ์ แจ้งใจ วัดเขาวง(ถ้ำ�นารายณ์) ที่หลวงตาบูรณะและพัฒนาตาม รอยของ ‘พ่อ’ แห่งนี้เจริญขึ้นจากเดิม เปลี่ยนแปลงในทุกๆ ปี ขนาดที่ลูกศิษย์บางท่านไม่ได้มาวัดเดือนเดียว กลับมาอีกครั้งก็
133 นั่งงงว่า ต้นไม้ต้นใหญ่ๆ โตๆ ที่ให้ร่มเงา สงบงามเหล่านี้ มาได้ อย่างไร? หลวงตาเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อท่านเหน็ดเหนื่อยกว่า หลวงตาหลายร้อยเท่านัก.. ช่วงแรกๆ ที่วัดท่าซุงยังไม่กว้างขวาง มากนัก หลวงพ่อจะมีเวลาเดินไปโน่นนี่อยู่บ้างโดยไม่มีใครคอย ตามเป็นขบวนเหมือนช่วงหลัง วันหนึ่ง.. ท่านนั่งขัดสมาธิซ้อน เข่า(เหมือนรูปหล่อพ่อนั่งพัก) บนเฉลียงโรงพยาบาลสมเด็จพระ ยุพราช(โรงพยาบาลแม่และเด็กสมัยนั้น) นั่งพูดคุยกับ ลูกสี่ห้าคน ว่า “เออ! ..พวกแก หาเงินมาซื้อที่ข้าง วัดสิ ย้ายมาอยู่ใกล้ๆ วัด อยู่ด้วยกันเป็นหมู่บ้าน อี พวกผู้หญิงก็เรียนควั่นธูปตำ�ราแม่ศรีเขานี่ ทำ� ธูปขาย ‘หมู่บ้านผัวบวช’ ฮ่ะ..ฮ่ะ หมู่บ้าน เศรษฐี น่ะ.. ไอ้ผู้ชายก็ช่วยอยู่เวรยามดูของ สงฆ์กัน ฮึ!.. เมื่อถึงเวลาก็บวชพระ..” นานแค่ไหนแล้วที่เราไม่เคยเห็น ท่านั่งที่สบายคลายอิริยาบถของพ่อหนอ.. เสียงรถหวอตำ�รวจนำ�ขบวนก็ดังมา แต่ไกล เห็นหน้าพ่อถอนความ เบิกบานสบายใจลงมา หลวงตา บอกว่าแว่บเดียว!เห็นแค่นิดเดียว
134 หลวงพ่อบ่นกับลูกๆ ตรงหน้าว่า “ เออ.. ข้าจะมีโอกาสสบายใจ อย่างนี้สักหน่อยก็ไม่ได้ว่ะ!” แล้วท่านก็ลุกไปขึ้นรถในขบวน กลับไปทำ�งาน พ่อทำ�งานหนักจนถึงวันที่ท่านละสังขาร ท่านยัง ไล่ลูกๆ ที่มาเฝ้าดูใจท่านให้กลับไปทำ�งาน “มานั่งกันอยู่ทำ�ไม.. ทำ�ไมไม่ไปทำ�งานทำ�การกัน!” ที่เขียนเล่ามาถึงตรงนี้.. ก็ยังถ่ายทอดเรื่องในใจของ หลวงตาได้ไม่ถึงครึ่ง ทราบแต่เพียงว่าทุกครั้งที่หลวงตาพูดถึง กลอนที่ท่านประพันธ์ถวาย ‘พ่อ’ ท่านพูดได้ปากเปล่าอย่าง ขึ้นใจ เสียงหลวงตาจะสั่นเครือเล็กน้อย ทั้งหมดที่กล่าวมา คงจะอธิบายเหตุผลได้ว่าทำ�ไมหลวงตาจึงอยากหล่อรูป ‘พ่อ นั่งพัก’ นักหนา และก็สมปรารถนาในวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา วัดเขาวง(ถ้ำ�นารายณ์) ได้จัดพิธีหล่อพระ สิงห์หนึ่ง(ความตามฉบับที่แล้ว) วันนั้นก็ได้หล่อพ่อนั่งพักสมใจ ปรารถนา โดยมีศรัทธานำ�ร่อง คือคณะคุณพิกุลฉัตร ภิจารณ์ จิตร ปวารณาถวายทุนจัดงานหล่อรูปของ ‘พ่อ’ ขนาดเท่าองค์ จริง มูลค่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท ร่วมกับลูกๆ หลานๆ หลวงพ่อ ฤๅษีฯ จัดงานมหากุศลวันนั้นแล้วเสร็จสิ้นเรียบร้อยดี หลวงตาท่านแวะเวียนไปดูการเริ่มงานตั้งแต่ขึ้นรูปดิน เหนียวบนแท่นหิน ที่ท่านเลือกสรรมาด้วยตัวเอง เพื่อให้รูป หล่อออกมากลมกลืนสมจริงกับสถานที่ที่รองรับองค์หลวงพ่อ
135
ขึ้นแบบดินเหนียวบนพระแท่นหิน สถานที่จะประดิษฐานจริง
หลังจากขึ้นรูปดินเหนียว ยืนติชมกันหลายเสียงจน เป็นทีี่พอใจแล้ว ช่างปั้นจากโรงหล่อ ‘อุทยานหุ่นขี้ผึ้งสยาม’ ของคุณไพโรจน์ ศิริพรเลิศ ผู้สนิทสนมกับหลวงตา ก็ถอดแบบ ดินเหนียวไปทำ�แบบขี้ผึ้งต่อไป วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๔ ทางโรงหล่อก็นิมนต์หลวงตา และคณะเจ้าภาพไปติหุ่นครั้งที่สอง พร้อมเมตตารับรองอาหาร เพลถวายพระและคณะเจ้าภาพอย่างดี บอกตรงๆ เลยว่าไม่มี อะไรจะติฝีมือช่างโรงหล่อนี้เลย ถึงขนาดนั้นคุณลุงไพโรจน์และ คุณอำ�นวย (น้องชายคนเล็กของคุณลุง) ยังบอกว่า “ต้องติกัน ครับ! งานจะออกมาดี ต้องมีความสุขทั้งสองฝ่ายทั้งคนปั้นและ
136 เจ้าของชิ้นงาน..” นั่นเป็นคติในการทำ�งานของโรงหล่อนี้ และบัดนี้ วัดเขาวง(ถ้ำ�นารายณ์) ก็มีรูปเคารพอันเป็น มงคลยิ่งมาประดิษฐานใต้ร่มไม้โพธิ์โบราณที่แผ่กิ่งก้านมาคู่วัด ยาวนาน ท่านที่ีมาปฏิบัติธรรม เมื่อได้จอดรถตามช่องจอดรถที่ หลวงตาออกแบบเอาไว้ให้ด้วยตัวท่านเอง แล้วเดินหิ้วกระเป๋า เข้ามาตามถนนลาดยาง ผ่านร้านค้าสวัสดิการ‘วันยังค่ำ�’ร้าน ค้าของวัดที่บริหารโดยคณะสงฆ์เอง ท่านทั้งหลาย! ท่านจะเห็น ‘พ่อ’ นั่งพัก ยิ้มทักทายลูกหลานอย่างสบายอิริยาบถ เหมือน อย่างที่หลวงตาอยากให้หลวงพ่อท่านพักมานานนัก.. ในรอย ยิ้มพิมพ์เข้าไปในใจของลูกหลานเหมือนกับจะบอกพวกเราว่า “พ่อได้พักแล้วลูกเอ๋ย.. ที่ที่เป็นสุขที่สุด ก็คือที่ที่ไม่มี ร่างกายอันเป็นเหตุให้เราหลงเกิด หลงวนเวียนกันมานาน ที่พ่อ ไม่เหนื่อยแล้ว เพราะพ่อไม่ต้องเกี่ยวข้องกับร่างกายแล้ว.. เดิน เข้ามาดู มาปฏิบัติตามปฏิปทาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เดินตามท่าน.. ทำ�ตามท่าน.. แบบที่พ่อได้ทำ�แล้ว!.. ลูกก็จะได้ นั่งพัก มานั่งบนตักพ่อ มามีความสุขด้วยกันลูก!..” โอย.. น้ำ�ตาจะร่วงแล้ว ขออนุญาตจบมันตรงแหละ! ร่างกายอันเป็นเหตุให้ทุกข์ให้โทษของผู้เขียนมันพาลจะเกเร เฉไฉ แล้วพบกันวันที่ท่านทั้งหลายเดินก้มตัวผ่าน ‘พ่อ’ มาพัก ปฏิบัติธรรมที่วัดเขาวงกันจ้ะ.
น้อมกราบพ่อ ก่อนลงทะเบียนเข้าพักปฏิบัต
ิธรรม
ขณะที่กำ�ลังเขียน ‘ท้ายเล่ม’ ฉบับนี้ ประเทศ ชาติ บ้ า นเมื อ งไทยคงยั ง ไม่ ห มดเคราะห์ ก รรมจาก ‘อุทกภัย’ ภัยธรรมชาติ ที่พวกเราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ นอกจากทำ�ใจยอมรับสภาพของเหตุการณ์ปัจจุบัน นั้น.. และพยายามช่วยกันหาทางออก ช่วยกันบำ�บัด และบรรเทาทุกข์ต่อกัน ทำ�ได้เพียงแค่นั้น..
เท่าที่ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ ทั้งจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อออนไลน์ต่างๆ ตามที่มีให้บริหารกิจการ งานของสงฆ์ ก็ได้เห็นและรับทราบถึงคุณธรรมอันยอดเยี่ยม ของคนไทยทั้งหลาย ที่ต่างก็กุลีกุจอจัดหากองทุน จัดตั้งกลุ่ม โน้น..กลุ่มนี้.. เพื่อนำ�ข้าวของออกไปช่วยเหลือแจกจ่ายให้ผู้ ประสบภัย บางท่านก็ไร้ที่อยู่.. ไม่มีที่แม้กระทั่งจะหุงหาอาหาร ประทังชีวิตในช่วงเวลาวิกฤติแบบนี้ บางท่านสูญเสียทรัพย์สิน
140 สัตว์เลี้ยงและหลายๆ สิ่ง บางท่านเหลือเพียงแค่ชีวิตกับเสื้อผ้า ที่ใส่ติดตัวเท่านั้น พวกเราชาวคณะศิษย์วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี ถึงจะไม่ได้ อยู่อาศัยในจังหวัดอุทัยธานี แต่ก็ร้อนรนใจไปกันหมด ห่วงวัด ท่าซุง บ้านหลังใหญ่ของ‘พ่อ’เรา.. ตั้งแต่วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ เป็นต้นมาน้ำ�เหนือก็เริ่มไหลบ่าลงมา ระดับน้ำ�ช่วง แรกสูงท่วมตาตุ่ม (ประมาณ ๕ เซ็นติเมตร) และท่วมแข้งท่วม เข่าอีกหนึ่งวันถัดมา (ประมาณ ๔๐ เซ็นติเมตร) จนกระทั่งวัน ที่ ๑๗ กันยายนเป็นต้นมา น้ำ�ก็เพิ่มระดับขึ้นมากจนน่าใจหาย สถานที่สำ�คัญต่างๆ ในวัดท่าซุงจมน้ำ�หมดสิ้น ไม่เว้นกระทั่ง
ระดับน้ำ�ที่สูงเกือบมิดหลังคาบ้าน แต่ก่อนเป็นบริเวณท้องไร่ท้องนาของชาวบ้าน
141 วิหาร ๑๐๐ เมตร ที่ประดิษฐานพระสรีระของ ‘พ่อ’ เราทุกคน วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๔ คณะศิษย์วัดท่าซุง (ชมรม คนรักษ์เขาวง) ได้นำ�สิ่งของอุปโภคบริโภคขนขึ้นรถหกล้อออก วิ่งลุยน้ำ�บนถนนทางหลวงหมายเลข ๓๓๓ (ทางเข้าตัวเมือง อุทัยธานี) มีระดับน้ำ�สูงขนาดที่รถเล็กวิ่งผ่านไม่ได้แล้ว เพราะ น้ำ�จากด้านเหนือเอ่อท้นและเชี่ยวมาก ระหว่างทางที่วิ่งรถเข้า ไป พวกเราเห็นรถเก๋งคันหนึ่งจอดนิ่งสนิทจมน้ำ� สปอยเลอร์ ที่ประดับด้านข้างรถยนต์ฉีกขาดเพราะแรงน้ำ�จากด้านข้างที่ซัด ใส่ขณะเดินทาง.. แล้วก็มาถึงจุดนัดหมายที่หมู่บ้านแพนด้า (บริเวณแยกวัดสิงห์) ด้วยใจเต้นตุ๊มๆ ต่อมๆ วันนั้นพวกเราขน
142 อะไรเข้าวัดท่าซุงได้ไม่มากนัก เพราะยังไม่ทราบกันว่าพระและ ฆราวาสในวัดท่าซุงท่านต้องการสิ่งของจำ�เป็นประเภทไหนบ้าง ได้แต่เดากันไปต่างๆ นาๆ ว่า อะไรจำ�เป็นอะไรไม่จำ�เป็น...
‘ป้าแป๋ว’ มือก๋วยเตี๋ยวเขาวง นำ�เด็กทำ�อาหารแจกโรงทาน
การไปทำ�สาธารณประโยชน์ครั้งที่ ๒ เริ่มขึ้นเมื่อชมรม คนรักษ์เขาวง มากราบเรียนหลวงตาท่านว่า ชาวบ้านรอบๆ วัด ท่าซุงเดือดร้อนมาก บางคนไม่กล้าทิ้งบ้านแม้ว่าน้ำ�จะท่วมสูง แล้ว.. ยังนอนในเรือพาย แล้วสอดตัวเรือเข้าใต้หลังคาที่พ้นน้ำ� มาเพียงไม่กี่ศอก เขาบอกพวกเราว่า “กลัวขโมยขึ้นบ้าน! ไม้ กระดานพื้นบ้านถัดไปมันยังงัดเลย” ในใจเราได้แต่นึกชิงชังคน ที่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ในยามทุกข์เข็ญอย่างนี้
143 ตัวตั้งตัวตีของกลุ่มศิษย์หลวงตา หรือที่พวกเราใช้ชื่อ สนองงานหลวงตาท่านว่า ‘ชมรมคนรักษ์เขาวง’ เริ่มลงมือ รวบรวมศรัทธาทั้งจากสายลูกหลานหลวงพ่อฤๅษีฯ วัดท่าซุง และจากศรัทธาสาธารณะผู้ประสงค์อยากทำ�ทานช่วยเหลือ ผู้คน เริ่มจัดหาข้าวของ.. ทั้งของสดที่นำ�มาปรุงเป็นข้าวพร้อม แจกให้รับประทานโดยไม่ต้องหาที่ปรุงอีก.. และของแห้งที่ จำ�เป็นมาจัดทำ�ถุงยังชีพได้จำ�นวนถึง ๖๐๐ กว่าชุด.. หัวปักหัว ปำ�กันจนจำ�วันที่ไม่ได้! แต่จำ�ได้ว่าวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๕.๐๐ น. คณะศิษย์วัดสร้อยทอง, คนรักษ์เขาวง, เว็บพลังจิต, และจิตอาสาทั้งหลาย..ก็มารวมตัวกันที่วัดสร้อยทอง ท่ามกลาง สายฝนโปรยปราย ได้รับความอนุเคราะห์จากกองพันสารวัตร ทหาร กองบัญาชาการกองทัพไทย ให้ใช้รถขนของถึง ๓ คัน เตรียมบัตรประชาชนไว้ด้วย เผื่อเขาเรียกตรวจ!
144 บรรทุกของที่จะนำ�ไปแจก ๒ เต็มคันรถ และบรรทุกแรงงาน ต่างด้าวไปอีก ๑ คัน นั่งกรำ�ฝนสลับแดดและฝุ่นไปประมาณ ๕ ชั่วโมง (ก้นด้าน) ก็ถึงจุดนัดหมาย.. ที่วัดหลุมเข้า ต.ท่าซุง จ.อุทัยธานี เป็นจุดที่รถบรรทุก เข้าไปได้ใกล้วัดท่าซุงมากที่สุด ก่อนหน้านี้ชมรมคนรักษ์เขาวง ได้กราบเรียนขออนุญาตท่านพระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ เจ้า อาวาสวัดท่าซุง ขอใช้ชื่อกลุ่มทำ�งานว่า ‘คณะศิษย์ วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี’ ท่านก็เมตตาอนุญาต บอกว่าทำ�ได้.. ทำ�ไปเถอะ ดี! เรื่องตั้งโรงทานที่ หลายๆ คนกังวล.. กลัวว่าจะถูกตำ�หนิ.. ท่านก็ บอกว่าทำ�ได้.. เราทำ�ความดีกันนี่! คนที่ตำ�หนิคน ทำ�ความดี เป็นคนเลว (ท่านพูดเอง) ส่วน ที่ ท่ า นทำ � แจกชาวบ้ า นนะ ท่ า นบอกว่ า กลั ว จะเน่าเสีย อย่าง กล้ ว ยก็ ต้ อ งรี บ เอา มาทอด เดี๋ยวจะ เสีย อย่างสับปะรด เยอะมาก ก็ต้องเอา ไปแจก ที่ทำ�เเจกก็ พระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ เจ้าอาวาสวัดท่าซุง
145 ไม่ได้มากหรอก เอาที่จะใกล้จะสุก ใกล้จะเสียแล้วมาทำ�ก่อน เดี๋ยวมันจะเสียหาย ท่านบอกขอบใจที่มาช่วยกัน ได้กราบเรียน ถามท่านเรื่องสุขภาพ ท่านบอกว่าตอนนี้ไม่เครียดแล้ว ตอน ก่อนนี้เครียด “น้ำ�ยังไม่มานี่หาทางป้องกัน.. เครียด! พอน้ำ�มา มากขนาดนี้ ไม่ต้องป้องกันแล้ว ยอมแพ้อย่างเดียว ท่วมได้ท่วม ไป รอซ่อมรอล้างอย่างเดียว หายเครียดเลย! ยอมรับเสียแล้ว ของพัง.. ช่างมัน ซ่อมทีหลังได้ เอาชีวิตคน.. เอาชีวิตสัตว์ไว้ ก่อน..” ท่านสอนเรื่องอุเบกขารมณ์อย่างแนบเนียนมากๆ ‘หลวงพี่นันต์’ (ผู้เขียนเรียกท่านอย่างนี้ ตั้งแต่ยังเป็น เด็กวัดท่าซุง) ท่านน่ารักและเมตตามากๆ ไม่เคยโดนท่านดุด่า ให้เจ็บช้ำ�น้ำ�ใจเลยแม้สักครั้งเดียว.. ท่านเล่าให้ฟังต่อว่าบอกให้ ท่านสมปอง (พระน้องท่านอีกองค์หนึ่ง) ขึ้นมาอยู่มากินด้วย กัน.. เป็นห่วงเขาว่าจะอยู่กันอย่างไร ทราบทีหลังว่าทำ�โรงทาน แจกชาวบ้านเหมือนกัน ก็เลยเบาใจว่าน้องอยู่ได้ เพราะยังช่วย คนอื่นได้ หลวงพี่สมปองมาหาหลวงพี่นันต์ พาลูกศิษย์มาถวาย เงินช่วยบำ�รุงวัดหลังน้ำ�ลดห้าล้านบาท “ถึงตอนนี้มีคนช่วยมา แล้วร่วมสิบล้านกว่าๆ” ท่านพูดถึงงานกฐินปีนี้ว่า ไม่รู้จะเอาอย่างไร น้ำ�คงยัง ไม่ลด กฐินนี่! เขาหมายเอาผ้านะ ถ้าไม่ได้อยากได้ตังค์เขาน่ะ นะ เอาผ้ากฐิน ตังค์ให้ไปเขาวงแทน.. (แอบงุบงิบรับพรท่าน)
146 พอเห็นว่าไม่มีอะไรแล้ว ก็กราบลาท่าน รบกวนท่านมาก กลัว ท่านเหนื่อยเพราะท่านก็ยังคงต้องรับแขกคณะอื่นๆ ต่อไป ก่อน จะกลับท่านก็เมตตาให้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึกกับคณะที่มาทำ�โรง ทานแจกของชาวบ้าน ก่อนล่องเรือกลับไปขึ้นรถที่วัดหลุมเข้าก็ประมาณห้า โมงเย็นแล้ว ทางคณะโรงทานแวะกราบขอพรหลวงพี่สมปอง ที่บ้านสบายใจ ที่ท่านเองก็ยังสบายใจจริงๆ กราบเรียนท่านว่า หลวงตาฝากมาเยี่ยม เป็นห่วงว่าอยู่ได้ไหม? ท่านก็ฝากกราบ มาบอกว่าขอบคุณหลวงตาที่ห่วง วันหลังจะแวะไปเยี่ยมหลวง ตาบ้าง ท่านให้พรพวกเรา บางคนก็ตาแฉะออกมาเลย.. ท้ายเล่มนี้เขียนเล่าถึงความเมตตา ความน่ารัก ความ เยือกเย็นของครูบาอาจารย์ ไม่ว่าลูกๆ ของหลวงพ่อจะแยกย้าย ไปทำ�งานที่จุดไหน.. ห่างไกลกันอย่างไรก็ตาม.. ความรักความ สามัคคีในสายเลือดก็ไม่เคยจืดจางห่างหาย ที่สำ�คัญประการ สุดท้าย คือครูบาอาจารย์ทุกองค์ทำ�ให้พวกเราเห็นเหมือนกัน
147
แบบถอดแบบ ‘พ่อ’ มาเปี๊ยบเลย.. ก็คือการหยิบยื่นให้คนที่ ตกทุกข์ได้ยาก ช่วยเหลือคนที่ลำ�บาก นี่เอง! เมื่อเรามองไปทาง ไหน และเห็นปฏิปทาสาธารณประโยชน์ที่ล้นท้นใจออกมาจาก ผู้ใดก็ตาม ผู้นั้นก็ขึ้นชื่อเดินตามรอยพ่อตลอดมา.. ‘พ่อ’ ของผู้เขียนคือหลวงพ่อฤๅษีฯ (พระราชพรหม ยาน) วัดท่าซุง.. ที่ผู้เขียนทั้งกลัวท่าน รักท่าน.. คำ�หนึ่งที่ ‘พ่อ’ ให้ไว้กับลูกทั้งหลายและสลักสักติดแน่นไปจนตายก็คือ สิ่งที่ บรรดาครูอาจารย์ทั้งหลายทำ�ให้เห็น.. ตั้งแต่ท่านพระครูปลัด สุวัฒนสมาธิคุณ, พระครูภาวนาพิลาศ (หลวงตาของเราทั้ง หลาย), หลวงพี่สมปอง สุธัมมสันตจิตโต และท่านอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง.. คำ�นั้นปรากฏอยู่เป็นตัวอักษรไทยบน ปกหลังฉบับนี้ พลิกอ่านด้วยความอิ่มใจด้วยกันนะ!