ย้ อ น วั น เ ก่ า
ย่านวังบูรพา
ย้อนรอยสถานที่แห่งความทรงจำ�หลังวังบูรพา ก่อเกิดตำ�นาน “โก๋หลังวัง” ที่เล่าขานกันมากว่า 60 ปี 1 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ย้อนวันเก่า ย่านวังบูรพา ณัฐภัทร ด้วงบุญมา
พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2557 กรุงเทพมหานคร จำ�นวน หน้า โทรศัพท์ 08-7670-1370 อีเมล ninguknow2@gmail.com ที่ปรึกษา ผศ.มัทนา เจริญวงศ์ คณะที่ปรึกษา รศ.ดร.สุกัญญา บูรณเดชาชัย อาจารย์อารีย์ พีรพรวิพุธ อาจารย์สุเจน กรรพฤทธิ์ อาจารย์กองทรัพย์ ชาตินาเสียว ภาพ ณัฐภัทร ด้วงบุญมา วิลาวัลย์ อนุสรธนาวัฒน์ ออกแบบปกและรูปเล่ม ณัฐภัทร ด้วงบุญมา วิลาวัลย์ อนุสรธนาวัฒน์ หนังสือเล่มนี้เป็นลิขสิทธิ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ห้ามลอกเลียนแบบส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ ไม่ว่ารูปแบบหรือวิธีการใด ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต
ย้อนวันเก่า ย่านวังบูรพา
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 4
คำ�นำ� วังบูรพา ชื่อนี้อาจยังคงตราตรึงอยู่ในความทรงจำ�ของคนเก่าแก่หลายคน หรือ อาจจะเกือบเลือนลางไปแล้วสำ�หรับใครบางคน แต่สำ�หรับเด็กยุคใหม่นั้นน้อยคนที่จะรู้ว่า ‘วังบูรพา’ หรือชื่อเรียกเต็มคือ ‘วังบูรพาภิรมย์’ นั้นครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์รวมความบันเทิง และห้างร้านที่ทันสมัยที่สุดในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครฯ สถานทีแ่ ห่งนีพ้ ร้อมสรรพไปด้วยสิง่ ทันสมัยมากมาย อาทิ โรงภาพยนตร์ ภัตตาคาร ห้างสรรพสินค้า ร้านหนังสือ เป็นต้น จึงกล่าวได้วา่ วังบูรพานัน้ คือย่านทีท่ นั สมัยทีส่ ดุ แห่งยุค หนุ่มสาวคนใดหากได้มาเดินเฉิดฉายในวังบูรพาแล้วนั้นนับว่าเป็นที่โก้เก๋มากทีเดียว ในยุคซิกซ์ตี้ หรือช่วงปี พ.ศ. 2503 วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามามีบทบาทมากมาย ในเมืองไทย โดยเฉพาะทางฝั่งอเมริกา วัยรุ่นไทยน้อยคนที่จะไม่รู้จักเอลวิส เพรสลีย์ ราชา เพลงร็อคแอนด์โรล หรือนักแสดงหนุ่มจากฮอลลีวูดอย่าง เจมส์ ดีน ทั้งคู่คือต้นแบบแฟชั่น และการใช้ชีวิตของชาวโก๋หลังวัง หนังสือเล่มนี้จึงขอนำ�บรรยากาศที่อบอุ่นในอดีตมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง พร้อมกับ ภาพถ่ายในอดีตที่หาดูยาก กับสถานที่ที่ก่อเกิดตำ�นานโก๋หลังวัง ห้างสรรพสินค้าที่มีอายุ ยาวนานที่สุดของเมืองไทย โรงมหรสพอันเชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ร้านกาแฟเล็ก ๆ ที่ อยู่คู่ชาวหลังวังมากว่า 80 ปี และย่านการค้าประวัติศาสตร์ของชาวไทยเชื้อสายจีน ทัง้ หมดนีค้ อื ความเจริญรุง่ เรืองในอดีต เป็นความศิวไิ ลซ์ของคนในยุคนัน้ หากมอง ในยุคปัจจุบันก็จะพบว่าบ้านเมืองเรานั้นเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเพียงไร แต่ในความเจริญนั้น ก็มีบางสิ่งที่สูญหายไปตามกาลเวลา และสิ่งเหล่านี้เองเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงอะไรหลาย ๆ อย่างในชาติบ้านเมืองเรา วันนีผ้ า่ นมาแล้วกว่าห้าสิบปีทวี่ งั บูรพายังคงเป็นตำ�นานทีถ่ กู เล่าขานกันมา แม้บาง สิ่ง บางสถานที่จะไม่หลงเหลือให้เห็นแล้วก็ตาม แต่วังบูรพาก็ยังคงเป็นวังบูรพา ของชาวโก๋ หลังวังตราบนานเท่านาน ทัง้ นีผ้ เู้ ขียนขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลทุกท่านทีไ่ ด้ให้ความกรุณาในการสัมภาษณ์ รวมถึงอนุญาตให้มีการบันทึกภาพเพื่อมาประกอบใช้ จนสำ�เร็จลุล่วงเป็นหนังสือเล่มนี้
ณัฐภัทร ด้วงบุญมา 5 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
สารบัญ 07
บทนำ� พระนครเมื่อยุคซิกซ์ตี้
11
บทที่ 1 เปิดตำ�นานโก๋หลังวัง
19
บทที่ 2 รู้จักห้างดัง ไนติงเกล - โอลิมปิค
27
บทที่ 3 สถานบันเทิงยุคคลาสสิค ศาลาเฉลิมกรุง
32
บทที่ 4 หอมกรุ่นกาแฟรับอรุณกับ ออน ล๊อก หยุ่น
46
บทที่ 5 แหล่งลงทุนพันล้าน นามเวิ้งนาครเกษม
56
บทส่งท้าย วังบูรพาที่รุ่งโรจน์สู่วันที่ร่วงโรย
60’s
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 8
9 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 10
11 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
พระนคร
เมื่อยุคซิกซ์ตี้
“
สีสันแห่งยุคสมัยที่แม้วันเวลาจะล่วงเลย ผ่านมาเกินครึ่งศตวรรษแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ได้จางหายไปจนหมดสิ้น
”
หากจะนึกถึงภาพกรุงเทพมหานครเมืองหลวงทีแ่ สนสงบสุข ถนนสองข้างทางยังคงโล่งรถวิง่ ผ่านไปมาได้อย่างสะดวก ไม่ตอ้ งบีบแตรเสียงดังให้ร�ำ คาญใจ และชีวติ ผูค้ นทีไ่ ม่ตอ้ งรีบเร่งจน กลายเป็นเหมือนหุ่นยนต์อย่างทุกวันนี้ คงยากที่จะหาได้ในปัจจุบัน เพราะด้วยโครงสร้าง สภาพบ้านเมือง การจราจรที่หนาแน่นเกินไป ทำ�ให้การดำ�เนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป อีก ทั้งกาลเวลาที่เปลี่ยนผ่านทำ�ให้ทุกสิ่งล้วนแปรเปลี่ยนไป กรุงเทพมหานครเมื่อครั้งยังเป็นพระนครนั้น มีเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย สีสันแห่ง ยุคสมัยทีแ่ ม้วนั เวลาจะล่วงเลยผ่านมาเกินครึง่ ศตวรรษแล้วก็ตามแต่กย็ งั ไม่ได้จางหายไปจน หมดสิน้ ยุคหนึง่ ทีช่ วี ติ คนเมืองเต็มไปด้วยสีสนั และความสนุกสนานนัน้ อาจกล่าวได้วา่ คือยุค ซิกซ์ตี้ (Sixties) หากจะนับตามแบบฝรั่งก็คือปี ค.ศ. 1960 – 1969 ส่วนแบบไทยนั้นตรง กับปี พ.ศ. 2503 - 2512 ย้ อ น วั น เ ก่ า | 12
13 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ศิลปินในยุคซิกซ์ตี้ ภาพจากหนังสือ ‘เรื่องเล่าชาวหลังวัง (วังบูรพาภิรมย์) ตอนหลังวัง ความหลังแห่งความเริงรมย์’
ยุ ค ซิ ก ซ์ ตี้ ที่ ว่ า นี้ เ ป็ น ช่ ว งเวลาที่ วั ฒ นธรรม ตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในสังคมไทยมากนัก ทั้งจากเพลง ภาพยนตร์ แฟชั่น หรือแม้แต่ ตัวศิลปิน ดาราเองก็ตาม ล้วนแล้วแต่เป็น ขวัญใจของหนุ่มสาวในสมัยนั้น สำ�หรับการ เข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกนั้นส่วนหนึ่งมา จากการทีท่ หารอเมริกนั ได้เข้ามาตัง้ ฐานทัพใน ประเทศไทยในช่วงสงครามเวียดนาม พ.ศ. 2507
เอลวิส เพรสลีย์ จากภาพยนตร์เรื่อง ‘G.I. Blues’2 ภาพจาก www.photos.elvispresley.com
ภาพยนตร์เรื่อง ‘G.I. Blues’ นำ�แสดงโดยเอลวิส เพรสลีย์ ภาพจาก www.eil.com
การเข้ามาตั้งฐานทัพของทหารอเมริกันได้ สร้างความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาในหลายพื้นที่ ของประเทศไทย เช่น เกิดการสร้างสนามบิน ที่อู่ตะเภา จังหวัดระยอง สนามบินอุดรธานี และสนามบินอุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2512 จำ�นวนทหารอเมริกัน ในไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง ประมาณ 48,000 นาย เหตุการณ์ดงั กล่าวจึง มีส่วนทำ�ให้วัฒนธรรมตะวันตกแพร่กระจาย เข้ามาในสังคมไทย เกิดแหล่งบันเทิงเริงรมย์ ตามแบบตะวันตกขึ้นมามากมาย เช่น โรง ภาพยนตร์ บาร์ และไนต์คลับ ในส่วนของกรุงเทพมหานครนัน้ เริม่ มีตกึ แถว
15 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ทหารหนุ่มขี่รถมอเตอร์ไซต์บนถนนจอมพล โคราช ภาพจาก www.koratnana.com
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 16
ทหารจีไอกับปาร์ตี้ในผับที่โคราช ภาพจาก www.koratnana.com
17 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
เดอะบีเทิลส์ ภาพจาก www.gizmantra.com
เดอะบีเทิลส์ ภาพจาก www.johnrieber.com ย้ อ น วั น เ ก่ า | 18
เดอะบีเทิลส์ ภาพจาก www.johnrieber.com
เดอะบีเทิลส์ ภาพจาก www.johnrieber.com
19 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
อาคารพาณิชย์ผดุ ขึน้ เต็มสองข้างทาง ทหาร อเมริกนั ได้ตงั้ กองบัญชาการอยูใ่ จกลางเมือง โดยเหมาเช่าอาคาร และพื้นที่ต่าง ๆ ใน กรุงเทพฯ หลายแห่ง เป็นครั้งแรกที่มี ซูเปอร์มาร์เกต ศูนย์การค้า ฟาสฟูด้ อเมริกนั และอีกมากมาย สถานที่หนึ่งที่เป็นความทรงจำ�ในวันวาน ของชาวซิ ก ซ์ ตี้ นั้ น คงเป็ น ที่ ใ ดไปไม่ ไ ด้ นอกจาก ‘วังบูรพา’ ย่านการค้าที่เคยมีชื่อ เสี ย งในอดี ต ห้ า สิ บ กว่ า ปี ม าแล้ ว ร้ า นค้ า ต่าง ๆ ไปชุมนุมกันอยู่ที่นั่น ไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร สำ�นักพิมพ์ขาย หนังสือ รวมถึงโรงภาพยนตร์ชนั้ นำ�มากมาย อี ก ทั้ ง บริ เวณใกล้ เ คี ย งก็ นั บ ว่ า เป็ น ย่ า นที่ เจริญแล้ว จึงสรุปความได้ว่า วังบูรพาคือ บริเวณร้านค้าทีเ่ คยคึกคักทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ของ กรุงเทพมหานคร เป็นแหล่งชุมนุมของชน ชาวโก๋หลังวังที่มีรสนิยมในการฟังเพลงฝรั่ง และแต่งตัวคล้าย ๆ กัน ภาณุ ดาวเรือง อดีตโก๋หลังวังและพนักงาน
“วังบูรพานี่เป็นที่
ทันสมัยที่แรกเลย ของประเทศไทยเลย”
ห้างไนติงเกล – โอลิมปิค เล่าถึงบรรยากาศ ในสมัยนั้นให้ฟังว่า “วั ง บู ร พานี่ เ ป็ น ที่ ทั น สมั ย ที่ แรกเลยของ ประเทศไทยเลย เป็นแหล่งรวมดารานัก แสดง วั ย รุ่ น นั ก เที่ ย ว มี ภั ต ตาคารร้ า น อาหารเยอะมาก คือมันมีแหล่งเดียว ถือว่า ดังมากทันสมัยที่สุด แล้วแต่ก่อนมันไม่มี อะไรให้ เ ที่ ย วมากคนก็ จ ะมารวมตั ว กั น ที่ นี่ ตอนนั้นยังไม่มีดิโอลด์สยาม ตรงข้ามกับ ไนติงเกลก็เป็นร้านขายยา มีแต่หอ้ งแถวครึง่ ตึกครึ่งไม้ ข้างหลังก็เป็นร้านอาหาร ยุคนั้น เขาก็แต่งตัวกันตามแฟชันสุด ๆ เอลวิสนี่ใช่ เลย เท่หม์ าก เขาถึงได้เรียก ‘โก๋หลังวัง’”
เอลวิ ส เพรสลีย์ ราชาเพลงร็อคก้องโลก
สารวัตรทหารในผับที่โคราช ปี 1969 ภาพจาก www.koratnana.com
เอลวิส เพรสลีย์ จากภาพยนตร์เรื่อง ‘G.I. Blues’ ภาพจาก www.photos.elvispresley.com
เอลวิ ส เกิ ด เมื่ อ วั น ที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1935 ที่เมืองทูเพอโล มลรัฐมิสซิสซิปปี้ ประเทศสหรัฐอเมริกา เขามีพี่ชายฝาแฝดชื่อ ว่า เจสซี่ อารอน และชื่อของเขาคือ เอลวิส อารอน แต่เคราะห์ร้ายที่แฝดผู้พี่มีชีวิตอยู่ได้ เพียงไม่ก่ีชั่วโมงก็เสียชีวิตไปเนื่องจากสุขภาพ ร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนเอลวิส อารอน นั้น มีสุขภาพสมบูรณ์ และเติบโตมาเป็นบุตรชาย คนเดียวของครอบครัวเพรสลีย์ แม้ครอบครัวเพรสลีย์จะไม่ร่ำ�รวย ออกจะค่อนข้างยากจนนั้น ผู้เป็นแม่ก็เลี้ยงดู เอาใจใส่เอลวิสเป็นอย่างดีเพราะกลัวว่าจะต้อง เสียเขาไปตามพีช่ ายอีกคน เอลวิสจึงเติบโตขึน้ มาท่ามกลางการประคบประหงมของทั้งพ่อ แม่ ปู่ ย่า และญาติ ๆ เขาจึงมีความสุขมาก เวลาที่อยู่กับครอบครัว ตัง้ แต่เล็กจนโต เอลวิสต้องเข้าโบสถ์ กับครอบครัวทุกอาทิตย์ เขาต้องไปสวดมนต์ และร้องเพลงในโบสถ์ เอลวิสจึงได้คลุกคลีกับ เพลงมาตัง้ แต่เด็กและกลายเป็นนักร้องประจำ� โบสถ์ที่บ้านเกิดที่มิสซิสซิปปี้ในที่สุด นอกจาก นี้ใกล้บ้านเอลวิสยังมีนักร้องเพลงบลูส์ชาว นิโกรอาศัยอยู่ เอลวิสชื่นชอบเพลงบลูส์เป็น ชีวิตจิตใจและสนใจการเล่นกีต้าร์ของคุณลุง ผู้นี้จึงไปนั่งฟังและร่วมร้องเพลงอยู่ด้วยเสมอ และนี่คือสิ่งจุดประกายให้เขามุ่งมั่นที่จะเล่น กีต้าร์และร้องเพลงไปด้วย 21 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 22
ภาพยนตร์เรื่อง ‘G.I. Blues’ นำ�แสดงโดยเอลวิส เพรสลีย์ ภาพจาก www.en.wikipedia.org
เมื่อถึงวันเกิดอายุ 11 ปี พ่อและ แม่ของเขาได้มอบของขวัญวันเกิดที่เป็นส่วน สร้างราชาเพลงร็อคแอนด์โรลผู้นี้ขึ้นมา นั่น คือ ‘กีต้าร์’ เอลวิสหอบหิ้วกีต้าร์ไปหาคุณลุง เพือ่ นบ้านเพือ่ ถามถึงวิธกี ารเล่น ลูกเล่นต่าง ๆ จนฝีมอื อยูใ่ นขัน้ โชว์ได้เลยทีเดียว ต่อมาครอบ ครัวต้องย้านถิ่นฐานมาอยู่ที่เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี่ เมื่อยามเหงาเอลวิสก็จะร้องเพลงดี ดกีต้าร์ให้ชาวบ้านฟังเป็นประจำ� ครั้งมีงานที่โรงเรียน HUMES HIGH SCHOOL ไฮสคูลทีเ่ ขาเรียนอยู่ เอลวิสได้ถกู คัด เลือกให้ขึ้นไปร้องเพลง แม้จะเป็นคนเงียบ ๆ ขีอ้ าย แต่เมือ่ เริม่ เล่นกีตา้ ร์และร้องเพลง พร้อม ขยับแขนขาไปมาเล็กน้อย ภาพเด็กขีอ้ ายนัน้ ก็ หายไป ผู้คนด้านหน้าเวทีตบมือส่งเสียงเชียร์ กั น เกรี ย วกราว หลั ง จากนั้ น ชี วิ ต ของเขาก็ เปลี่ยนไปผู้คนจดจำ�สไตล์การร้อง เล่น และ ลีลาการเต้นของเขากันได้ทุกคน นอกจากนี้ เขายังได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดร้อง เพลงของโรงเรียนอีกด้วย ต่อมาเมื่อเรียนจบเอลวิสอยากมอบ ของขวัญวันเกิดให้แม่ของเขาด้วยการอัดแผ่น เสียงเพลง My Happiness และเพลง That’s When Your Heartaches Begin ขณะนั้น แซม ฟิลลิปส์ เจ้าของห้องอัด Sun Studio ห้อง อัดทีเ่ อลวิสมาอัดแผ่นเสียง ได้เห็นแววของเขา จึงขอเจรจาเพือ่ ตกลงทำ�สัญญากับเอลวิส เป็น ระยะเวลา 6 เดือน โดยมีข้อแม้ว่าจะต้องร้อง เพลงในแบบฉบับของคนผิวดำ�รวม 50 เพลง 23 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ความจริงแล้ววัฒนธรรมตะวันตกได้แพร่เข้า มาในเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ต่อมา ในช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ องเป็นต้นมา เมือ่ สงครามสงบลง สหรัฐอเมริกาก็มยี คุ เบบี้ บูมเกิดขึ้น คือให้หนุ่มสาวผลิตคนรุ่นใหม่ ออกมาให้มากที่สุดเนื่องจากการที่มีทหาร ไปเสียชีวติ ในสงครามมากจึงจำ�เป็นต้องผลิต คนรุน่ ใหม่ขนึ้ มา (สัมภาษณ์ อ.วิศษิ ฐ์ เตชะเกษม)
อีกทัง้ ในยุคเบบีบ้ มู ก็เริม่ สร้างภาพยนตร์ สร้างวัฒนธรรมแล้วก็เผยแพร่ไปทัว่ โลก เพือ่ ให้ คนทั่วโลกได้บริโภควัฒนธรรมแล้วก็สนใจในอารยธรรมของอเมริกัน รวมไปถึงประเทศ เกิดใหม่อย่างประเทศไทย ฉะนั้นเราจึงรับเอาวัฒนธรรมเบบี้บูมเข้ามาด้วย คือการใช้ ชีวิตให้สนุกที่สุด ซึ่งความสนุกนี้ก็ได้ผ่านเข้ามาทางภาพยนตร์ฮอลลีวูด ทางดนตรี และ อารยธรรมตะวันตกทั้งหลาย กระแสวัฒนธรรมตะวันตกที่เป็นที่นิยมอย่างมากในยุคซิกซ์ตี้คงหนีไม่พ้น เพลงและ ภาพยนตร์ สินค้าต่าง ๆ รวมถึงตัวศิลปินดาราซึ่งเป็นที่คลั่งไคล้ของวัยรุ่นหนุ่มสาวทั่ว โลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย และคงจะเป็นใครไปไม่ได้หากไม่ใช่ ‘เอลวิส เพรสลีย์’ ราชาเพลงร็อคแอนด์โรล เจ้าของรางวัลแผ่นเสียงทองคำ�มากที่สุดในโลก ชนชาวโก๋หลังวังสาวกของราชาเพลงร็อคแอนด์โรลผู้นี้หากได้ยินเสียงเพลงของเอลวิส เมื่อใด ก็เหมือนมีวิญญาณของเอลวิสเข้าสิงต้องลุกขึ้นมาขยับแข้งขยับขากันด้วยลีลา ของใครของมัน แต่ยังตามแบบฉบับโยกและคลึงตามสไตล์เอลวิสที่ในขณะนั้นยังไม่มี นักร้องคนใดทำ�ได้อย่างนั้น
Elvis Presley
พริสซิลล่า แอน และเอลวิส เพรสลีย์ ภาพจาก www.photos.elvispresley.com
“ราชาเพลง
ร็อคแอนด์โรล เจ้าของรางวัล แผ่นเสียง ทองคำ�มาก ที่สุดในโลก”
ในช่วงแรกยังคงตะกุกตะกัก เอลวิ สออกจะเกร็ง ๆ จึงร้องออกมาไม่ดีเท่าที่ควร แซมจึ ง ขอให้ เ อลวิ ส ทำ � ใจให้ ส บายและเริ่ ม ต้นใหม่ร้องแบบสนุกสนานผ่อนคลาย เพลง That’s All Right ของ Arther Crudup ทีเ่ อล วิสร้องไว้จงึ ออกมาสมบูรณ์ยงิ่ กลายเป็นเพลง ที่โด่งดังที่สุดในช่วงนั้น นับเป็นบันไดขั้นแรกสู่ ความสำ�เร็จของราชาเพลงร็อคผูน้ อี้ ย่างแท้จริง โดยความรูส้ กึ ส่วนตัวนัน้ เอลวิสชอบ เพลงช้า ๆ ซึ้ง ๆ ผสมผสานแนวบูลส์มากกว่า เพลงเร็ว แต่แฟนเพลงส่วนใหญ่มักคลั่งไคล้ สไตล์การร้องเพลงเร็ว และลีลาท่าเต้นอัน เร้าใจในจังหวะเพลงร็อคของเขามากกว่า ที่ แม้ว่าเพลง Can’t Help Falling In Love จะ กลายเป็นเพลงอมตะนิรันดร์กาลของราชาผู้นี้ ไปแล้วก็ตาม เพียงไม่กปี่ เี อลวิสก็กลายเป็นเศรษฐี ย่อย ๆ ในปี ค.ศ. 1957 เขาได้ซอื้ คฤหาสน์เกรซ แลนด์ โดยนำ�พ่อ แม่ และย่ามาอยูใ่ นคฤหาสน์ แห่งนีด้ ว้ ย เขาเป็นผูเ้ ปลีย่ นชีวติ ของครอบครัว จากที่ต้องอดมื้อกินมื้อมากลายเป็นผู้มีอันจะ กิน นอกจากจะประสบความสำ�เร็จด้านวงการ เพลงแล้ว เอลวิสยังได้ร่วมแสดงภาพยนตร์อีก หลายเรือ่ ง ซึง่ เพลงประกอบภาพยนตร์กเ็ ป็นที่ โด่งดังเช่นเดียวกัน
25 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
Rock and roll music, if you like it, if you feel it, you can’t help but move to it. That’s what happens to me. I can’t help it.’ - Elvis Presley -
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 26
“จิตใจเป็น เอลวิส ความคิดเป็น เจมส์ดีน”
เอลวิสเป็นนักร้อง นักแสดงทีป่ ระสบ ความสำ�เร็จมากมาย ในช่วงเวลาที่เกิดขึ้นเร็ว มากแม้ตัวเขาเองยังตั้งตัวไม่ทันแต่ก็ยาวนาน กว่า 20 ปี ทีเ่ ขายืนหยัดเป็นนักร้องครองอันดับ หนึ่งในดวงใจของแฟนเพลง แต่สำ�หรับด้าน ความรักเส้นทางชีวิตในครอบครัวของเขาเอง หลังจากทีพ่ ริสซิลล่า แอน ภรรยาของเขาได้ให้ กำ�เนิดลูกสาวทีน่ า่ รักกับเขาหนึง่ คน เอลวิสกับ ภรรยาก็มอี นั ต้องแยกทางกันโดยพริสซิลล่าได้ เอาลูกสาว คือ ลิซ่า มารี ไปด้วย หลังจากแยกทางกับพริสซิลล่าแล้ว เอลวิสก็ได้พบรักใหม่กับลินดา ทอมสัน ใน ช่วงปี ค.ศ. 1973 เอลวิสเริ่มป่วยเป็นหลาย โรค และมีน้ำ�หนักตัวเพิ่มมากขึ้น ต้องทานยา ตามหมอสั่งอีกเป็นจำ�นวนมาก โดยที่เขายัง เปิดการแสดงอยู่ตลอด ต่อมาเอลวิสได้พบรัก ครั้งใหม่อีกครั้งกับจินเจอร์ อัลเดน คู่ควงคน สุดท้ายในชีวิตของเขา ก่อนที่เขาจะจบชีวิต ลงเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1977 ที่คฤหา สน์เกรซแลนด์ เอลวิสอยู่ในสภาพฟุบตัวอยู่ที่ ห้องน้ำ� แฟนสาวของเขามาพบและรีบนำ�ตัว ส่งโรงพยาบาลแต่กไ็ ม่ทนั การ เอลวิส เพรสลีย์ เสียชีวติ ไปแล้ว เป็นอันสิน้ สุดบทบาทของราชา เพลงร็อค แม้กาลเวลาจะล่วงเลยผ่านไปแต่ชอื่ ของ เอลวิส เพรสลีย์ ราชาเพลงร็อคก้องโลก ผู้นี้ก็ยังคงเป็นตำ�นานที่ยังเล่าขานและคงอยู่ ในความทรงจำ�ของใครมาหลายคนมาจนถึง ทุกวันนี้ 27 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
เจมส์ ดีน ภาพจาก www.digitalspy.co.uk
เจมส์ ดีน จากภาพยตร์เรื่อง ‘Rebel Without a Cause’ ภาพจาก www.listal.com
นอกจากเอลวิส เพรสลีย์ ราชาเพลงร็อค แอนด์โรลแล้ว ยังมีดาราหนุ่มสุดฮอตจาก ฮอลลีวูด เขาคือ ‘เจมส์ ดีน’ พระเอกมาด กวน ทีใ่ คร ๆ เห็นก็ตอ้ งคลัง่ ไคล้ในตัวเขา ไม่ เพียงแต่สาว ๆ ในยุคนั้น เด็กหนุ่มสมัยนั้นก็ ทนความหล่อ เท่ ของเจมส์ ดีน ไม่ได้เหมือน กัน เพราะใคร ๆ ก็อยากเป็นเจมส์ ดีน กัน ไปทั่วบ้านทั่วเมือง แม้กระทั่งแดง ไบเล่ วัย รุ่นหัวโจกผู้โด่งดังแห่งยุค 2499 ก็มีเจมส์ ดีน เป็นไอดอล
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 28
สโลแกนของวัยรุ่นยุคร็อคแอนด์โรลนั้นคือ ‘จิตใจเป็นเอลวิส ความคิดเป็นเจมส์ดีน’ ถือเป็นคำ�ที่สมจริงกับวัยรุ่นยุคนั้น เพราะ พวกเขามี เ อลวิ ส กั บ เจมส์ ดี น มากกว่ า ศิลปินดาราคนอืน่ ในความคิด คือมีมาดของ เจมส์ ดีน และท่าทางของเอลวิส มีอารมณ์ เพลงที่ลึกซึ้ง และเป็นการตอบรับกระแส จากอเมริกาที่เข้ามาอย่างมากมายในช่วง เวลานั้น)
เจมส์ ดีน
เทพบุตรแห่งฮอลลีวูด
เพราะใคร ๆ ก็อยากเป็น
เจมส์ ดีน
กันไปทั่วบ้านทั่วเมือง
เจมส์ ดีน ภาพจาก www.konstanze-evans.tumblr.com
เจมส์ ดีน นักแสดงหนุ่มหล่อมาดเท่ ทีเ่ ล่นหนังเพียงไม่กเี่ รือ่ งแต่กก็ ลายเป็นขวัญใจ ของวัยรุ่นไปทั่วโลก เจมส์ ดีน เกิดที่เมืองแมริ ออน รัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1931 บิดาชื่อ วินตัน ดีน มารดาชื่อ มิลเดร็ด วิลสัน ดีน ครอบครัว ของเจมส์ ดีน มีฐานะยากจนมาก มีอาชีพทำ� ฟาร์ม ในปี ค.ศ. 1938 แม่ของเขาเกิดเป็น โรคมะเร็ง ทำ�ให้ผู้เป็นพ่อต้องขายบ้านเพื่อ นำ�เงินมารักษาแม่ซึ่งป่วยหนัก โดยไม่บอก ให้เจมส์รู้ ซึ่งเจมส์เองก็ไม่เข้าใจเรื่องนี้คิดว่า พ่อไม่สนใจใยดีแม่ของเขา จนกระทั่งแม่ของ เจมส์เสียชีวิต ความหมางเมินระหว่างพ่อลูก จึงเกิดขึ้น เจมส์ถูกส่งกลับมาอยู่กับพี่สาวของ พ่อเพราะความขัดสนในเรื่องเงิน จากนัน้ มาเจมส์ ดีน เริม่ เก็บตัวเงียบ ไม่พูดจากับใคร เมื่อจบไฮสคูลในปี 1949 เขา ก็สมัครเข้าเรียนวิชากฎหมาย และได้แสดง ละครในช่วงซัมเมอร์ ในบทละครเพลงเรื่อง The Romance of Scarlet Gulch ชื่อที่ใช้ ในการแสดงคือ ไบรอน เจมส์ และถึงแม้ว่าจะ เลือกเรียนกฎหมายแต่ลึก ๆ แล้วเจมส์กลับ ชอบการแสดงมากกว่าเลยหันไปเรียนทางด้าน การแสดงทีว่ ทิ ยาลัย UCLA และได้ท�ำ งานเป็น ผู้ประกาศในสถานีวิทยุของวิทยาลัยด้วย
29 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
เจมส์ ดีน และนิโคลัส เรย์ ผู้กำ�กับภาพยนตร์เรื่อง ‘Rebel Without a Cause’
เจมส์ ดีน ภาพจากหนังสือ ‘เรื่องเล่าชาวหลังวัง (วังบูรพาภิรมย์) ตอนหลังวัง ความหลังแห่งความเริงรมย์’
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 30
นักแสดงที่เจมส์ ดีน ชื่นชอบเป็น อย่างมากนั้นคือ ‘มาร์ลอน แบรนโด’ เพราะ หลังจากที่เขาได้ดูหนังเรื่อง ‘THE MEN’ แล้ว นั้น เจมส์ ดีน คิดว่าเขาจะต้องเป็นนักแสดง ผู้ยิ่งใหญ่อย่างมาร์ลอน แบรนโด ให้ได้ แล้ว ความคิดนัน้ ก็ไม่ไกลเกินจริงเมือ่ เขาได้มโี อกาส แสดงละครเรื่อง ‘MACBETH’ ของเชคสเปียร์ และการแสดงครั้งนั้นเองไปสะดุดตาแมวมอง คนหนึ่งเข้า คือ อิสเบล เดรสเมย์ จนกระทั่ง เจมส์ ดีน ได้งานแสดงโฆษณาเครื่องดื่มยี่ห้อ หนึง่ ความยาวนาทีครึง่ ปรากฏว่าเพลงโฆษณา ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม เมื่ อ ผิ ด หวั ง จากการไม่ ไ ด้ แ สดง ละครของมหาวิทยาลัยช่วงฤดูใบไม้ผลิ เจมส์ จึงตัดสินใจลาออกจาก UCLA และมาสมัคร เรี ย นที่ โรงเรี ย นสอนการแสดงอย่ า งไม่ เ ป็ น ทางการ เขาเริม่ ได้แสดงหนังเรือ่ งแรกคือ HILL NUMBER ONE และถึงแม้หนังจะประสบ ความสำ�เร็จแต่ชวี ติ ของเจมส์กย็ งั คงขัดสนเรือ่ ง เงิน ถึงกับมาทำ�งานเป็นคนเฝ้ารถยนต์ทสี่ ถานี วิทยุแห่งหนึ่งแต่ก็ถูกไล่ออกเพราะนิสัยที่ชอบ เอาแต่ใจ และเข้ากับคนยาก แต่เขาก็ยังได้รับ รายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ จากงานแสดงในบทเล็ก ๆ บ้างในหนัง ในต้นปี 1951 เลมูเอล อายเยอร์ ผู้ อำ�นวยการสร้างชือ่ ดังคนหนึง่ เตรียมทำ�ละคร บรอดเวย์เรื่อง SEE THE JAGUAR เจน เดซี่ ผู้ เห็นแววของเจมส์ ดีน จึงพาเจมส์ไปพบเลมูเอล
31 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
เจมส์ ดีนกับรถสปอตร์หรูของเขา ภาพสุดท้ายก่อนเสียชีวิตเมื่อ 30 กันยายน 1955 ภาพจาก www.vintag.es
เมือ่ กล่าวถึงไอดอลขวัญใจชาวโก๋หลังวังฝ่าย ชายไปแล้ว ฝ่ายหญิงหรือชาวกี๋หลังวังนั้นก็ มีตน้ แบบแฟชันด้วยเช่นกัน อดีตโก๋ภาณุเล่า ว่า “ผู้หญิงสมัยนั้นเขาก็นุ่งกระโปรงบาน กระโปรงสั้นบ้าง กางเกงสามส่วนแบบสีก็ มี ดารานางแบบดัง ๆ ในยุคนั้นก็มี มาริลีน มอนโร เซ็กซี่มากแต่เขาดังมาก่อนยุคซิกซ์ตี้ แล้ว นางแบบฝรัง่ อีกคนทีด่ งั ยุคนัน้ ชือ่ ทวิกกี้ ผมสั้น ๆ สาว ๆ ยุคนั้นเขาก็มีกรีดตา ตัดผม กันแบบทวิกกี้นี่แหละ”
สำ�หรับแฟชั่นไอคอนยุคซิกซ์ตี้ของผู้หญิง ในยุคนั้นก็คือนางแบบสาว ‘ทวิกกี้’ เธอดู โดดเด่นกว่าใคร ๆ เรียกได้ว่าสาวทวิกกี้คือ ต้น ฉบับ นางแบบหน้ า เด็ ก ตลอดกาลจาก ยุคซิกซ์ตี้ และเป็นเด็กสาววัยรุ่นคนแรก ที่เป็นนางแบบแล้วมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว โลก มีสไตล์สาววัยแรกรุ่นที่ผมซอยสั้น ตัว เล็ก ผอมบาง
ทวิกกี้ ภาพจาก www.last.fm
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 32
เจมส์ ดีน ภาพจากหนังสือ ‘เรื่องเล่าชาวหลังวัง (วังบูรพาภิรมย์) ตอนหลังวัง ความหลังแห่งความเริงรมย์’
เจมส์ได้ไปทดสอบกับวอลลี่ รัทกินส์ ตัวเอก ของเรื่อง จากการแสดงครั้งนี้ผู้ชมให้ความ สนใจในตัวเจมส์ ดีน มาก และนีค่ อื จุดประกาย ที่ทำ�ให้เขาได้ก้าวเข้าสู่วงการภาพยนตร์ เรื่องแรกคือ A Long Time Till Dawn ตามด้วย The Silver และ East of Eden เรื่ อ งนี้ เจมส์ ไ ด้ ค่ า เหนื่ อ ยถึ ง 4,000 เหรียญ และค่าประกันอีก 2,000 เหรียญ เจมส์นำ�เงินล่วงหน้าไปซื้อรถสปอร์ตเอ็มจี สี แดง และม้าสีน้ำ�ตาลทองมาเลี้ยงหนึ่งตัว เมื่อ หนัง East of Eden ออกฉายรอบปฐมทัศน์ เจมส์ ดีน ประสบความสำ�เร็จอย่างล้นหลาม ได้รับคำ�ชมจากสื่อมวลชนจากทุกแขนง เรียก ได้ว่าความคิดที่เขาจะเป็นนักแสดงที่ยิ่งใหญ่ อย่างมาร์ลอน แบรนโด นั้นได้ประสบความ สำ�เร็จแล้ว เจมส์ ก ลายเป็ น ดาวรุ่ ง พุ่ ง แรงที่ สุ ด ของฮอลลี วู ด ในยุ ค นั้ น เลยก็ ว่ า ได้ แต่ แล้วอนาคตก็ต้องมาดับวูบลงหลังจากแสดง ภาพยนตร์เรือ่ ง Giant เสร็จสมบูรณ์ ภาพยนตร์ เรื่องสุดท้ายในชีวิตของเขา เนื่องจากเจมส์ ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ คอหักเสียชีวิต คาที่ สภาพรถสปอร์ตคันงามของเขาพังยับ เยิน เป็นการจบชีวติ ของเทพบุตรแห่งฮอลลีวดู ด้วยวัยเพียง 24 ปี แต่หนังเรื่อง Giant กลับได้ รับการต้อนรับจากผู้ชมอย่างมาก ชื่อเสียงของเจมส์ ดีน กลายเป็นที่ติดปากของ ผู้ชม โดยเฉพาะวัยรุ่นทั่วอเมริกาต่างพูดเป็น
33 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
แม้นางแบบทวิกกี้จะดูเหมือนเด็กผู้ชายมากกว่าจะดูเป็นนางแบบสาวเซ็กซี่ แต่นั่นถือเป็น เอกลักษณ์ของเธอทีป่ ฏิวตั แิ ฟชัน่ ให้ผหู้ ญิงหันมาหัน่ ซอยผมสัน้ กันไปทัง้ เมือง จนกระทัง่ ทรง ผมนี้มีชื่อว่า ‘ทวิกกี้’ ตามชื่อของเธอมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งลุคผมสั้นแบบทอมบอยในช่วงยุค ซิกซ์ตี้นั้นทำ�ให้ทวิกกี้โดดเด่นและปลุกกระแสนำ�แฟชั่นให้กับวงการ ส่วนในเมืองไทยผูห้ ญิงสาว ๆ ในบ้านเราก็แห่แหนกันไปตัดผมซอยสัน้ เช่นกัน โดยพากันเรียก ขานทรงผมซอยสั้นว่า ‘ทรงทวิกกี้’ นอกจากนี้ทวิกกี้ยังเป็นต้นแบบของความ ‘ไม่สมบูรณ์ แบบ’ ด้วย เพราะเธอทั้งตัวเล็ก ผอมบาง ดูธรรมดาติดดิน แต่ก็น่ารักน่าเอ็นดู ในแบบที่ ฝรั่งเรียกว่า ‘Girl Next Door’ หรือ ‘สาวน้อยข้างบ้าน’ เมื่อผู้หญิงเห็นภาพของทวิกกี้ ก็ จะรู้สึกเชื่อมโยงกับเธอ เพราะในเมื่อผู้หญิงที่ดูธรรมดายังสามารถกลายเป็นนางแบบชื่อดัง ระดับโลกได้ ผู้หญิงทั่วไปก็ควรจะมีความมั่นใจในตัวเองเช่นกัน กระแสความนิยมและอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกจึงเป็นปัจจัยทีส่ �ำ คัญประการหนึง่ ทีส่ ง่ ผลต่อกิจกรรมการใช้ชีวิต ใช้เวลาว่าง การพักผ่อน และกิจกรรมความบันเทิงในยุคสมัยซิก ซ์ตี้ ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เพราะมีการแหวกออกจากขนบเก่า ๆ โดยวัยรุ่น ภาพยนตร์ ดนตรีรอ็ คแอนด์โรลซึง่ เป็นผลพวงหนึง่ จากการพยายามหลุดจากธรรมเนียมนิยม ยุคทีส่ งั คมและความบันเทิงเริงรมย์ของชาวกรุงเทพฯ คึกคักเต็มไปด้วยสีสนั โดยเฉพาะทีย่ า่ น ‘วังบูรพา’ สถานที่ก่อเกิดตำ�นานโก๋กี๋หลังวังที่เล่าขานกันมากว่า 50 กว่าปี
ทวิกกี้ ภาพจาก www.cerebralboinkfest.blogspot.com
สาโรจน์ เสมทรัพย์ อดีตโก๋หลังวังและนัก แต่งเพลงไทย กล่าวถึงวังบูรพาว่า “เสน่ ห์ ข องวั ง บู ร พานั้ น คื อ ความเป็ น จุดศูนย์กลาง ใครมาก็เหมือนได้เข้ามาใน เมือง วังบูรพาคือเมือง มันก็เหมือนกับพา รากอนในยุคนี้ แต่บรรยากาศแตกต่างกัน มันต่างกันที่ว่าคนปัจจุบันต้องมีฐานะถึงมา เดิน แต่สมัยก่อนคนไม่คอ่ ยมีฐานะก็มาเทีย่ ว กันได้ มาจีบสาว มาเดินโชว์ตัวอะไรอย่างนี้ พูดถึงบรรยากาศเก่า ๆ มันก็สนุก สมัยก่อน ภัตตาคารก็หรูแล้วนะ แต่ตอนนีต้ อ้ งโรงแรม หรู ๆ เท่านั้น อะไรมันก็เปลี่ยนไปเรื่อย เปลี่ยนไปถึงโลกพระจันทร์ แล้วเรื่องคนรุ่น ใหม่กับคนรุ่นเก่าก็ต่างกัน แต่อีกหน่อยคน รุ่นใหม่ก็จะกลายเป็นคนรุ่นเก่าถูกไหม...”
เสียงเดียวกันว่า เจมส์ ดีน คือวีรบุรุษที่แท้จริง ของพวกเขา และหลังจากที่เจมส์ ดีน เสียชีวิต ไปแล้ว ในบรรดาจดหมายของแฟน ๆ ที่ส่งถึง ดาราฮอลลีวูดจำ�นวนจดหมายถึงเจมส์ก็ยังคง ติดอันดับหนึ่งอยู่เป็นเวลานานหลายปีทีเดียว แม้แต่เมืองไทย เจมส์ ดีน ก็ยังคงมีอิทธิพลให้ กลุ่มวัยรุ่นโก๋หลังวังยุคนั้นแต่งตัวเลียนแบบ เจมส์ ดีน กันหมด ไม่ว่าจะเป็นท่าทาง การ เดิน ลีลายียวนตามแบบฉบับของเจมส์ ดีน แทบทั้งสิ้น
ข้อมูลประกอบการเขียน 1.หนังสือ ‘ย้อนรอย โก๋หลังวัง ครั้งรุ่งเรืองยุค 2503’ โดย ช.ชัยโรจน์ 2.หนังสือ ‘เดินอย่างปุ๊’ โดย ปุ๊ กรุงเกษม
ทวิกกี้ ภาพจาก www.picpost.postjung.com
เปิดตำ�นาน
โก๋หลังวัง
“
สำ�หรับชาวโก๋หลังวังแล้วนั้นวังบูรพา คือสถานที่แห่งเดียวที่ถือว่าถ้ามาเดินแล้วเท่ วัยรุ่นยุคนั้นต้องรู้จักแล้วก็ต้องมาเหยียบให้ได้สักครั้ง
กำ�เนิดวังบูรพาภิรมย์
”
เสียงเพลงเอลวิสกับจังหวะท่าเต้นอันเร่าร้อนไปตามแบบฉบับโยกและคลึง ตามสไตล์ของ ราชาเพลงร็อคแอนด์โรลไม่เพียงแต่โด่งดังเป็นที่คลั่งไคล้ของหนุ่มสาวชาวตะวันตกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนุ่มสาวชาวไทยผู้มีสไตล์ มีรสนิยมเสพเพลงฝรั่งอีกด้วย ย้อนกลับไปเมื่อ 50 กว่าปีก่อน ย่านที่นำ�สมัยที่สุดแห่งยุคซิกซ์ตี้สถานที่แห่งเดียวใน กรุงเทพมหานคร เป็นย่านแฟชัน่ ทีร่ บั อิทธิพลวัฒนธรรมอเมริกนั แหล่งรวมห้างสรรพสินค้า ชัน้ นำ�ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ พรัง่ พร้อมไปด้วยศูนย์รวมความบันเทิงเริงรมย์ของวัยรุน่ ผูน้ �ำ สมัยแห่งยุค ที่แห่งนั้นคือศูนย์การค้า ‘วังบูรพา’
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 36
Fabian Anthony Forte ผู้นำ�ทรงผม ‘เฟเบี้ยน’ ภาพจาก www.explorepahistory.com 37 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
วังบูรพาภาพจากหนังสือ ‘วังบ้านฐานถิ่น’
วังบูรพาถ่ายจากมุมสูง ภาพจากหนังสือ ‘วังบ้านฐานถิ่น’
ศู น ย์ ก ารค้ า ย่ า นวั ง บู ร พาหรื อ วั ง บู ร พา ภิ ร มย์ เดิ ม เคยเป็ น ที่ ตั้ ง ของวั ง มาก่ อ น วั ง บูรพาถือกำ�เนิดขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ) ได้ทรง พระราชทานทีด่ นิ ซึง่ ตัง้ อยูบ่ ริเวณป้อมมหาชัย (ปัจจุบนั รือ้ ถอนหมดแล้ว) ให้เป็นสถานทีส่ ร้าง วัง เพื่อพระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์ เธอ เจ้าฟ้าภาณุรงั สีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุ พันธุวงศ์วรเดช พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์ สุดท้องในสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
อ.เยื้อน ภาณุทัต ภาพจากหนังสือ ‘วังบ้านฐานถิ่น’
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษี สว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ภาพจาก หนังสือ ‘เรื่องเล่าชาวหลังวัง (วังบูรพาภิรมย์) ตอนหลังวัง ความหลังแห่งความเริงรมย์’
เมือ่ พ.ศ. 2418 และพระราชทานชือ่ ให้ดว้ ยว่า ‘วังบูรพาภิรมย์’ โดยใช้เวลาสร้างวัง 5 ปีเศษ สมเด็จฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เริ่ม มาประทับเมื่อ พ.ศ. 2424 และประทับอยู่ที่นี่ จนกระทั่งทิวงคตเมื่อ พ.ศ. 2471 ระหว่างนั้น วังบูรพาถือเป็นสถานที่อันโอ่อ่า มีการชุมนุม เต้นรำ�และจัดงานใหญ่ ๆ หลายต่อหลายหน แต่ต่อมาก็ซบเซาลง ราวปี พ.ศ. 2478 ส่วน หนึ่งของวังบูรพากลายเป็นโรงเรียนการช่าง สตรี ชื่ อ ภาณุ ทั ต ดำ � เนิ น การโดย อ.เยื้ อ น ภาณุทัต
อ.เยื้อน ภาณุทัต ภาพจากหนังสือ ‘วังบ้านฐานถิ่น’
นักเรียนโรงเรียนภาณุทัต กำ�ลังออกท่าทางบางอย่าง ภาพจากหนังสือ ‘วังบ้านฐานถิ่น’
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 40
อ.เยื ้อน ภาณุทัต และโรงเรียนสตรีภาณุทัต อาจารย์เยื้อน ภาณุทัต เป็นผู้ก่อ ตั้งโรงเรียนสตรีภาณุทัตในวังบูรพา ท่านมี ชีวิตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยรัชกาล ปัจจุบัน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2433 ถึงแก่กรรมไป เมื่อ พ.ศ. 2528 มีอายุถึง 95 ปีเศษ เป็นผู้ มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางวิชาเย็บปักถัก ร้อยชนิดเป็นเลิศ ถึงขนาดสมเด็จพระศรีพัช รินทราบรมราชินีนาถ ยังเคยมีพระประสงค์ ทอดพระเนตรตัว ในขณะที่อาจารย์เยื้อน มีอายุเพียง 8 ขวบเท่านั้น อาจารย์เยือ้ นเป็นผูป้ กั ม่าน ปักพระ เขนย ทำ�เครื่องใบตองของหลวง เคยไปเผย แพร่วชิ าถึงเขมร ลาว ญีป่ นุ่ สิงคโปร์ ปีนงั เคย สอนประณีตศิลป์ตามโรงเรียนต่าง ๆ หลาย แห่ง จนถือว่าเป็นต้นแบบของการทำ�ใบตอง ดอกไม้บายศรี แกะผัก ผลไม้ในยุคหลังนี้ เมื่อครั้งอายุจวน 90 ปีแล้วก็ยังสอนและช่วย ปักผ้าห่มละครให้แก่จักรพันธุ์โปษยกฤต จน สำ�เร็จ ในปี พ.ศ. 2477 อาจารย์เยื้อนเริ่ม ไปสอนวิชาช่างในโรงเรียนตามคำ�ขอร้องของ ทางกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2478 ท่านจึงก่อตัง้ ‘โรงเรียนภาณุทตั ’ เป็นการส่วน ตัว แรกเปิดตั้งที่สี่กั๊ก เสาชิงช้าก่อน ต่อมาจึง ย้ายมาที่วังบูรพา เปิดสอนทั้งแผนกการช่าง สตรี แผนกอนุบาล แผนกหนังสือ และแผนก กวดวิชา ปรากฏว่าได้รับความนิยมมาก มี 41 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
จากวังสู่ศูนย์การค้า วังบูรพาภายหลังจากยุคญี่ปุ่นบุกแล้ว และ สิ้นสุดการดำ�เนินการของโรงเรียนสตรีภาณุ ทั ต ก็ ไ ด้ ก ลายเป็ น โรงเรี ย นพาณิ ช ยการ พระนคร ซึ่งได้เข้ามาใช้เป็นอาคารเรียน กระทั่ง พ.ศ. 2495 ทายาทราชสกุลภาณุ พันธุ์ได้ขายวังให้เอกชน นายโอสถ โกศิน นักธุรกิจชื่อดังได้มาติดต่อขอซื้อวังจากพระ ทายาทในราคา 12 ล้าน 2 หมื่นบาท
Fabian Anthony Forte ผู้นำ�ทรงผม ‘เฟเบี้ยน’ ภาพจาก www.explorepahistory.com
แล้ววังบูรพาก็ตกเป็นของนายโอสถ โกศิน วังบูรพาภิรมย์ทเี่ คยตัง้ เด่นเป็นสง่าในอดีตก็ถกู ทุบทิ้ง กลายเป็นศูนย์การค้าและโรงภาพยนตร์พร้อมอาคารพาณิชย์ที่ทันสมัยที่สุดแห่ง ยุค พรั่งพร้อมไปด้วยห้างสรรพสินค้า ร้านหนังสือ ภัตตาคาร ห้องอาหาร ร้านไอศกรีม ตลอดจนตู้เพลง ซึ่งยังเป็นของใหม่และทันสมัย ที่ย่านนี้เองทำ�ให้เกิดตำ�นาน ‘โก๋หลังวัง’ ขึ้น หมายถึงเหล่าวัยรุ่นชาย - หญิง ที่มีรสนิยม ทั้งหลาย และเป็นผู้นำ�แฟชั่นในทุกด้านที่จะมานัดจับกลุ่มรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณหลัง วังบูรพา พวกเขาเหล่านั้นนิยมฟังเพลงฝรั่งนำ�โดยพระเอกของยุคอย่าง เอลวิส เพรสลีย์ และนัก ร้องอมตะเสียงกลมกล่อมอย่าง คลิฟ ริชาร์ด พร้อมทั้ง เดอะบีเทิลส์ ตำ�นานวงร็อคจาก เกาะอังกฤษ นอกจากนี้ยังมี แฮงก์ วิลเลียมส์ เฟเบี้ยน ฟอร์ด แฟรงกี้ อวาลอน เป็นต้น ความคลั่งไคล้ดาราฮอลลีวูดอย่าง เจมส์ ดีน ยังส่งผลถึงการแต่งกาย ไม่ว่าจะเป็นด้าน เสื้อผ้า หรือว่าทรงผม ล้วนถอดแบบมาจากเมืองฮอลลีวูดแทบทั้งสิ้น
โก๋หลังวัง
คลิฟ ริชาร์ด ภาพจากหนังสือ ‘เรื่องเล่าชาวหลังวัง (วังบูรพาภิรมย์) ตอนหลังวัง ความหลังแห่งความเริงรมย์’
“ผู้นำ�แฟชั่น
นักเรียนมาเรียนถึง 2,000 กว่าคน นับได้ว่า กิจการของโรงเรียนเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง แต่แล้วโรงเรียนแห่งวังบูรพาก็กลับปิดฉากลง เมื่อครั้งญี่ปุ่นเข้ายึดโรงเรียนวัฒนาเป็นที่พัก จนทำ�ให้เปิดภาคเรียนทำ�การสอนไม่ได้ คุณ หลวงสำ�เร็จฯ ซึ่งเป็นอธิบดีกรมศึกษาขณะ นัน้ ได้ขอร้องให้อาจารย์เยือ้ นแบ่งทีใ่ ห้โรงเรียน วัฒนาฯ เช่าทำ�การสอน อาจารย์เยื้อนแบ่ง เรือนเรียนให้หลังหนึง่ โดยไม่คดิ ค่าเช่า ไม่ชา้ พอ ปิดภาคเรียน คุณประยูร ภมรมนตรี ได้ให้คณ ุ สุ กิจ นิมมานเหมินท์ มาขอสถานทีโ่ รงเรียนภาณุ ทัตเพื่อใช้เป็นโรงเรียนพาณิชยการ อาจารย์ เยื้อนขอเปลี่ยนที่ แต่คุณสุกิจแจ้งว่าไม่มี แล้ว โรงเรียนภาณุทตั ก็ถกู เบียดออก จนทีส่ ดุ ท่านผู้ เป็นเจ้าของจำ�ใจต้องขายโต๊ะเก้าอี้ในโรงเรียน หมด อาจารย์เยื้อนหันไปยึดการช่างต่าง ๆ เป็นอาชีพ เป็นการจบประวัตโิ รงเรียนการช่าง สตรีที่มีชื่อเสียงลงอย่างกะทันหัน
ในทุกด้านที่จะมา นัดจับกลุ่มรวมตัว กันอยู่ที่บริเวณ หลังวังบูรพา ” Fabian Anthony Forte ผู้นำ�ทรงผม ‘เฟเบี้ยน’ ภาพจาก www.picstopin.com
โรงภาพยนตร์แกรนด์ ภาพจากหนังสือ ‘ย้อนรอย โก๋หลังวัง ครั้งรุ่งเรืองยุค 2503’
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 44
โรงภาพยนตร์แกรนด์ ภาพจากหนังสือ ‘ย้อนรอย โก๋หลังวัง ครั้งรุ่งเรืองยุค 2503’
45 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
โรงภาพยนตร์คิงส์ ภาพจากหนังสือ ‘เรื่องเล่าชาวหลังวัง (วังบูรพาภิรมย์) ตอนหลังวัง ความหลังแห่งความเริงรมย์’
ยุค 60’s นี้ผู้ชายนิยมใส่กางเกงฟิต ๆ เสื้อ พับแขน ลายสก็อตบ้าง ยกปกขึ้นมา ปลด กระดุมหนึง่ เม็ด ทำ�ผมทรงเฟเบีย้ น ลักษณะ ข้าง ๆ ไว้ยาวตีโป่ง ข้างบนดึงให้ชะโงกแบบ มดแดงชะเง้อ ใส่น้ำ�มันตันโจสติ๊กเป็นแท่ง หมุนเอาแล้วทา หวีผมสองข้างให้เรียบแล้ว ปัดให้ยอ้ ยลงมาสักเส้น เวลาเดินก็โยก ๆ เสีย หน่อย ส่วนผู้หญิงนั้นนุ่งกระโปรงบานและ กระโปรงสั้น ผมดัด ใส่เสื้อแขนกุด กางเกง สามส่วนขาลีบมีหลากสี เช่น สีชมพู สีเขียว สีเหลือง บ้างก็ชุดเดรสติดกัน นิยมแต่งหน้า เข้ม ปากแดง กรีดตา และเขียนคิ้วโก่ง ๆ (จากหนังสือ ‘เดินอย่างปุ’๊ โดย ปุ๊ กรุงเกษม)
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 46
โรงภาพยนตร์คิงส์ ภาพจาก Kyoto University Library
พลชรัฐ เหลีย่ มเพ็ชร และสาโรจน์ เสมทรัพย์ โก๋รนุ่ เก๋าแห่งยุคซิกซ์ตเี้ ล่าบรรยากาศย่านวัง บูรพาให้ฟงั ว่า มีโรงภาพยนตร์เกิดขึน้ มาใหม่ สามโรงคือโรงภาพยนตร์คิงส์ ควีนส์ และ แกรนด์ ที่ยังคงสภาพอยู่ในปัจจุบันคือโรง ภาพยนตร์ควีนส์ แต่มีการรื้อจอ รื้อเก้าอี้ ออก กลายเป็นที่จอดรถไปเสียแล้ว มีร้าน ขายส้มตำ�มาตั้งขาย ส่วนคิงส์กับแกรนด์นั้น กลายเป็นห้างเมก้า พลาซ่า แต่กอ่ นจะมีพวก นักเรียนเพาะช่าง นักเรียนสวนกุหลาบ และ นักเรียนบพิตรมาตีกนั ทีห่ ลังวังนีเ้ ป็นประจำ� สมัยก่อนวัยรุน่ ไม่มที ไี่ หนก็ตอ้ งมาทีน่ ี่ ซึง่ เมือ่ ก่อนใครมาเที่ยววังบูรพาถือว่าสุดยอดมาก มาเดินโชว์ตัวให้สาว ๆ เห็น
สภาพด้านหน้าโรงภาพยนตร์ควีนส์ในปัจจุบัน
“โรงหนังนี่ไปประจำ�อยู่แล้ว วังบูรพาจะ มีโรงหนังอยู่สามโรง โรงหนังคิงส์ฉายหนัง ต่างประเทศ แกรนด์ฉายหนังไทย และควีน ส์ฉายหนังอินเดีย ควีนส์จะอยู่ข้างหลัง คิง ส์กับแกรนด์จะอยู่ติดกัน เวลาคนจะไปดู หนังต้องซื้อเม็ดก๋วยจี๊ (เมล็ดแตงโม) แล้วก็ ปลาหมึกย่าง ถ้าหนุม่ สาวจะเข้าโรงหนังต้อง ซือ้ สองอย่างนีเ้ ลยนะฮิตมาก (หัวเราะ) สมัย นัน้ โรงหนังใหญ่กม็ เี บอร์อยูล่ ะ เข้าไปไม่ตอ้ ง ไปแย่งกัน เข้าไปก็ไปนั่งเรียง ๆ ตามเบอร์ เอาอะไรเข้าไปกินได้หมด สูบบุหรี่ยังได้ เอา เหล้าเข้าไปกินก็ยังได้เลย” โก๋พลชรัฐกล่าว
ในช่วง พ.ศ. 2503 แถววังบูรพานีย้ งั เป็นห้อง แถวอยู่มีคนแขกขายอาหารอิสลามอยู่มาก คนในย่านนีต้ อ้ งรูจ้ กั ร้าน ‘ฮานูรนู ’ นอกจาก นี้ยังมีร้านขายข้าวต้ม ร้านหมูสะเต๊ะ เรียก ได้ว่ามีพร้อมหมดทุกอย่าง มีร้านอาหาร ไทยซึ่งเมนูที่ขึ้นชื่อมากคือ หอยขม แกง เลียง ต้มยำ�ปลากรอบ ปัจจุบันร้านที่ยังอยู่ คือร้าน ‘ผู้ใหญ่ลี’ ขายข้าวราดแกงที่เปิด มายาวนานกว่า 50 ปี และยังมีภัตตาคาร จีนชื่อ ‘สมบูรณ์ลาภ’ ตอนนี้เปลี่ยนเป็น ชื่อเป็น ‘ส.บ.ล.’ อยู่ทางออกไปถนนใหญ่ และฝั่งตรงข้ามเมก้า พลาซ่าในปัจจุบันเมื่อ ก่อนเป็นร้านกาแฟนมสด ดาราจะชอบไป นั่งกันที่นั่น 47 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ตู้เพลงในยุคซิกซ์ตี้ ภาพถ่ายจาก บ้านพิพิธภัณฑ์
ตู้เพลงของชาวโก๋หลังวัง ภาพจากหนังสือ ‘เดินอย่างปุ๊’
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 48
ใบปิดภาพยนตร์ เรื่อง ‘เหยี่ยวราตรี’ ฉายที่แกรนด์ ภาพจาก www.thaifilm.com
ใบปิดภาพยนตร์ เรื่อง ‘เหนือมนุษย์’ ฉายที่แกรนด์ ภาพจาก www.thaifilm.com
49 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
อดีตโก๋หลังวังทัง้ สองยังเล่าถึงบรรยากาศโรง หนังสมัยก่อนให้ฟังอีกว่า “เวลาหนังดี ๆ เข้าก็จะมีคนแย่งกันซื้อตั๋ว บางคนซื้อตั๋วเยอะ ๆ แล้วก็เอามาขายเกิน ราคา คนที่มาที่หลังตั๋วหมดก็ต้องมาซื้อเกิน ราคา บ่อยเลยยิ่งเรื่องดี ๆ 5 บาท ซื้อ 7 บาท 7 บาท ซื้อ 10 บาท ตอนนั้นมี 3 บาท 5 บาท 7 บาท 10 บาท 12.50 บาท แล้ว ก็มี 16 บาท 16 บาทนี่โก้เลย ไม่มีปัญญา กันหรอก ดู 3 บาทก็หรูแล้ว (หัวเราะ) จะรู้ ความลับอีกนิดไหม จะบอกให้ ถ้าเกิดชอบ ผูห้ ญิงอยูค่ นนึงจะนัง่ ข้างล่างไม่ได้เพราะคน มันเยอะ ต้องไปนัง่ ชัน้ บนเลยยอมเสียเงินนิด หน่อย เพราะคนมันไม่ค่อยมี (หัวเราะ)” โก๋ สาโรจน์ช่วยเล่าเสริม นอกจากนี้ ยั ง มี ไ นต์ ค ลั บ แห่ ง แรกเรี ย กว่ า ‘นครถ้ำ�’ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับโรงหนังควีนส์ ส่วนโรงหนังคิงส์ขา้ งบนมีไนต์คลับเรียก ‘คิง ส์ เฮฟเว่น’ และโรงหนังควีนส์นั้นมี ‘ท็อป ช้อยส์’ คุณพลชรัฐบอกกับเราว่าคุณสาโรจน์ เป็นคนเปิดท็อปช้อยส์คนแรก คุณสาโรจน์ ที่เราคุยอยู่ด้วยนี้ไม่ใช่แค่โก๋หลังวังธรรมดา ๆ เพราะท่านเป็นถึงนักแต่งเพลงไทย ที่ โด่งดังคือเพลง ‘ความรักไม่รู้จบ’ เชื่อว่าคน เก่า ๆ และผูท้ คี่ ลุกคลีกบั วงการเพลงไทยคง ต้องรู้จักชื่อเสียงเรียงนามของอาจารย์ ‘สา โรจน์ เสมทรัพย์’ ท่านนี้เป็นที่แน่นอน และ ในขณะการพูดคุยอาจารย์สาโรจน์ยังร้อง
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 50
เพลงออกมาให้เราฟัง ไพเราะเสนาะหูมาก ทีเดียว ปัจจุบนั ท่านยังคงแต่งเพลงและสอน ร้องเพลงอยู่ที่ดิโอลด์สยาม พลาซ่า สถานที่ ที่นัดพูดคุยกันวันนี้ด้วย “ข้างบนดิโอลด์สยามตอนนี้มีฟาสฟู้ดแล้ว ก็มีคาราโอเกะให้ร้องเพลงเต็มเลย ผมได้ ข้อมูลมานะว่าคนสูงอายุได้รอ้ งเพลงอายุจะ ยืนขึน้ อีกสิบปี ความจำ�จะดีขนึ้ มันเป็นความ สุขทางใจด้วย แต่ตอนนี้ก็เริ่มหมดสภาพกัน แล้ว (หัวเราะ) แล้วเพลงสมัยก่อนกับสมัยนี้ นะต่างกันมาก อย่างเพลงสมัยก่อนถ้าร้อง มานะไม่ต้องแปล อย่างเพลงค่าน้ำ�นมร้อง ว่า “...แม่นี้มีบุญคุณอันใหญ่หลวง...” ก็ไม่ ต้องแปลเข้าใจได้เลย แต่เพลงสมัยนีน้ ะต้อง แปลฟังยากเหลือเกิน” คุณพลชรัฐ อดีตวัย รุ่นหลังวังให้ความเห็น การได้ ม าพู ด คุ ย กั บ อดี ต โก๋ ห ลั ง วั ง ทั้ ง สอง ท่านนั้นสัมผัสได้เลยว่าทั้งสองมีความสุข มากกับการทีไ่ ด้เล่าย้อนวันวาน เรียกว่าเป็น วันวานอันแสนหวานก็ว่าได้ สีหน้า แววตา ท่าทางประกอบการเล่านั้นล้วนแสดงออก มาซึง่ ความสุขและถวิลหาอดีตยิง่ ตลอดการ พูดคุยพวกท่านเองยังมีการหยอกล้อแซวกัน อย่างสนุกสนานโดยทีอ่ กี ฝ่ายไม่ถอื โทษโกรธ เลยสักนิด อีกทั้งยังมีใบหน้าที่เปื้อนรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะออกมาอีก ในฐานะผูฟ้ งั ยัง รู้สึกสนุกสนานไปด้วยและนึกย้อนไปในยุค นั้นคงมีความสุขสนุกสนานน่าดู
“เป็นวันวานอันแสนหวาน
ก็ว่าได้ สีหน้า แววตา ท่าทาง ประกอบการเล่านั้นล้วน แสดงออกมาซึ่งความสุขและ ถวิลหาอดีตยิ่ง”
ถัดจากการพูดคุยกับโก๋หลังวังทั้งสองท่าน เราได้พบกับคุณวิฑูรณ์ สุริยะเรืองรัศมี เป็นบุคคลร่วมสมัยซิกซ์ตี้อีกท่านหนึ่ง คุณ วิฑูรณ์จะมาร่วมย้อนวันวานไปเรา เพียง แค่เริ่มถามถึงเรื่องราวในอดีต คุณวิฑูรณ์ก็ เรื่มประโยคมาเลยว่า “...โอ๊ยยย สมัยก่อน สนุก...” จนเรารู้สึกตื่นเต้นอยากที่จะฟัง เรื่องราวของต่อทันที ว่าแล้วอดีตโก๋ก็เริ่ม ย้อนวันวานให้เราฟังถึงโรงหนังสามโรงที่
ศูนย์การค้าวังบูรพา ที่บรรดาโก๋กี๋ขาโจ๋ทั้ง หลายต้องไปชุมนุมรวมตัวกันที่นั้นเหมือน กับที่โก๋หลังวังทั้งสองได้กล่าวมา “วังบูรพาจะมีโรงหนังคิงส์ แกรนด์ ควีน ส์ ติดกันเลยสามที่เลย ค่าตั๋วสมัยก่อนก็ ประมาณ 10 บาท 15 บาท ถือว่าแพง เหมือนกัน พวกผู้ชายนะจะใส่กางเกงเดฟ รัด ๆ เสื้อตัวใหญ่ ๆ เป็นยุคสมัยเอลวิส แต่งตัวตามเอลวิสเลยละ แล้วก็มีเจมส์ ดีน ต้องบอกเลยว่าถ้าอยากเท่ต้องให้ได้เหมือน เจมส์ ดีน (หัวเราะ) ส่วนผู้หญิงจะนุ่งสั้น ๆ กางเกงรัด ๆ แต่งตัวตามดาราต่างประเทศ แต่ ก็ เ ปลี่ ย นไปเปลี่ ย นมาอยู่ เรื่ อ ยเหมื อ น สมัยนี้ ช่วงนั้นนักร้องดัง ๆ มีเอลวิส คลิฟ เดอะบี เทิลส์ แล้วก็เพลงบรรเลงของเจมส์ ลาสท์ เอลวิสนี่ผมฟังประจำ� ทุกบ้านต้องฟัง จะมี วิทยุใช้ถ่านไปไหนก็เอาไปด้วยเดินไปฟังไป แต่ก่อนวิทยุสถานีมันน้อยส่วนใหญ่ก็เปิด เพลงพวกนี้ ซีดี เทป อะไรพวกนี้ไม่มีหรอก มีแต่เป็นแผ่นเสียง สมัยก่อนมันไม่มีอะไร โทรทัศน์ยังไม่มีให้ดูเลย มีอยู่ช่องเดียวช่อง สี่บางขุนพรหม เป็นภาพขาวดำ� ที่บ้านยัง ไม่มีเลยต้องไปดูข้างบ้าน เขาซื้อมาก็ไปดู บ้านเขา สมัยก่อนร้อยบ้านจะมีสักหลังนึง (หัวเราะ)” ประเทศไทยเริ่ ม มี ก ารแพร่ ภ าพโทรทั ศ น์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 โดย
บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำ�กัด แพร่ภาพ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ผ่าน ระบบโทรทัศน์ขาวดำ�จากวังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) ต่อมามีการ พัฒนาเป็นระบบโทรทัศน์สี สถานีโทรทัศน์ สีแห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์สี กองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพครั้งแรกเมื่อ วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เป็นช่วง ปลายของยุคซิกซ์ตี้ขณะนั้นแต่ละบ้านยัง ไม่ค่อยมีโทรทัศน์ดู ส่วนบ้านไหนที่มีก็จัด ว่ามีฐานะดีเลยทีเดียว “แต่ก่อนคนไม่รู้จะไปไหนกัน ก็มีโรงหนัง 3 โรง ไปดูหนังแอร์เย็น ๆ ดูหนังเสร็จก็นั่ง กินข้าวกัน ที่วังบูรพามีของอร่อย ๆ เยอะ มีร้านขายของไปเดินเล่น ชอปปิ้ง ใต้ตึก โรงหนังจะเป็นบันไดขึ้นไปสูง ๆ ข้างล่าง ก็มีร้านขายของขายของถูกอะไรอย่างนี้ มีภัตตาคาร คนจีนไปนั่งกินกัน มีดนตรี
ร้องเพลง มีเวทีลีลาศ ฟลอร์เต้นรำ� คิดถึง สมัยก่อน แล้วโรงหนังนะซื้ออะไรเข้าไป กินก็ได้ บุหรี่ยังสูบในโรงได้เลย (หัวเราะ) แล้วขึ้นรถเมล์นี่ซื้อน้ำ�สี ๆ ใส่ถุงน้ำ�แข็ง กินเสร็จแล้วก็โยนลงถนนเลย สมัยก่อนนี่ มักง่าย ขึ้นรถเมล์นี่บุหรี่ก็สูบกัน แล้วก็ดีด ลงมาที่ข้างล่างพื้น กินอะไรเสร็จก็โยนทิ้ง ลงถนน แต่เป็นนิสัยที่ไม่ดีนะ” “แล้วก็ขึ้นรถรางสลึงนึง เสียงดังแด๊ง ๆ แถววั ง บู ร พานี่ แ หละวิ่ ง ผ่ า นรอบเกาะ รัตนโกสินทร์ มีสามสาย ใครจะนั่งจะยืน ก็ได้ตามสบาย สามล้อถีบก็ยังมี สมัยนั้น เดินไปไหนมาไหนก็สะดวก รถก็ไม่เยอะ อยากจอดรถที่ไหนก็ได้ ขับไปเรื่อย ๆ จะ ไปซื้ออะไรกินก็จอดหน้าร้านเขาเลยเพราะ ไม่ค่อยมีรถ สมัยนี้จอดไม่ได้แล้วโดนล็อค ล้อแน่ (หัวเราะ)”
รถรางวิ่งผ่านเวิ้งนาครเขษม ภาพจาก www.arunsawat.com ย้ อ น วั น เ ก่ า | 52
รถราง
พาหนะแห่งยุคโก๋หลังวัง
“รถรางสลึงนึง
เสียงดังแด๊งๆ แถววังบูรพานี่แหละ”
เสี ย งระฆั ง ที่ ดั ง กั ง วาน“...เก๊ ง เก๊ง เก๊ง เก๊ง…” ที่เป็นที่คุ้นหูของชาว บางกอกสมัยก่อนนั้นจะเป็นเสียงใดไปไม่ ได้นอกจากรถราง ยานพาหนะคู่บ้านคู่ เมืองกรุงเมื่อครั้งก่อนนั่นเอง เสียง “เก๊ง เก๊ง” ของรถรางในสมัยนั้นคงเปรียบได้กับ เสียงแตรของรถเมล์ในยุคปัจจุบัน ที่เป็น สัญญาณเตือนให้ผู้โดยสารรู้ว่ารถโดยสาร สาธารณะมาแล้ว แต่เสียงนั้นคงไม่เสียด หูอย่างรถเมล์ในปัจจุบันแน่ เพราะแตร ในปัจจุบันบีบเพื่อเบียดแซง แสดงความ ใจร้อนของคนขับเสียมากกว่า ทว่ารถรางแม้จะเป็นรถโดยสาร สาธารณะแต่ก็ใช่ว่าจะรวดเร็วทันใจเหมือน อย่างรถเมล์เพราะรถรางนั้นจะวิ่งเคลื่อน ตัวอยู่บนราง ค่อย ๆ เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ หากใครที่รีบมีธุระต้องถึงที่หมายโดยไว คงต้องเปลี่ยนไปใช้บริการรถเมล์หรือรถ สาธารณะอย่างอื่นแทนแม้จะจ่ายแพงกว่า ก็ตาม ประวั ติ ค วามเป็ น มาของรถราง ในยุ ค แรกเริ่ ม นั้ น มี กั น มานานตั้ ง แต่ ส มั ย พ.ศ. 2430 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) รถราง เมือ่ เริม่ แรกนัน้ ใช้มา้ ลากเหมือนรถม้านัน่ เอง เป็นรถรางในสัมปทานเดินรถของนายจอน 53 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
รถรางสายหัวลำ�โพงขณะวิ่งผ่านประตูโรงเรียนเทพศิรินทร์ ข้างคลองผดุงกรุงเกษม ภาพจาก www.update.in.th
ในเมือ่ ยุคซิกซ์ตเี้ ป็นยุคแห่งสีสนั ดนตรี เสียง เพลงแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้คงเป็นตู้เพลง ขา แดนซ์อย่างคุณวิฑูรณ์เล่าว่า ตู้เพลงสมัย ก่อนจะใช้หยอดเหรียญเอา มีลักษณะเป็น แผ่นเสียง เมือ่ หยอดเงินลงไปตูก้ จ็ ะเล่นเพลง เอง เป็นลำ�โพงใหญ่ ๆ ตู้เพลงใหญ่ ๆ พวก บรรดาจิก๊ โก๋วยั รุน่ เป็นแก๊งก็จะมาเต้นกันอยู่ หน้าตู้เพลงเป็นที่ประจำ� สนุกกันอยู่ในกลุ่ม ของใครของมัน
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 54
“วัยรุ่นสมัยนั้นเขาจะจับกลุ่มกัน มากัน เป็นกลุ่ม ตกเย็นก็มานั่งกินโอเลี้ยงคุยกัน มีตีกันบ้างตอนเต้น หรือไม่ก็มองหน้ากัน เดินไปชนกันก็มเี รือ่ ง สมัยก่อนเวลาเขาจะ นัดตีกนั มาทีกเ็ ป็นฝูงเลย ยีส่ บิ สามคนอย่า งงี้ แต่กไ็ ม่รนุ แรงเหมือนสมัยนีน้ ะ แต่กอ่ น เขาใช้ไม้ไล่ตกี นั อย่างมากก็แค่อดี าบแล้วก็ วิง่ หนีกนั ไป ไม่เหมือนสมัยนีย้ งิ กันเอาตาย เลย โหดมาก สมัยก่อนสนุก ตีกนั ใช้ไม้คว้า อะไรได้ก็เอา วิ่งไล่กันฝ่ายน้อยกว่าก็ต้อง
“วัยรุ่นสมัยนั้นเขาจะจับกลุ่มกัน
มากันเป็นกลุ่ม ตกเย็นก็มานั่งกินโอเลี้ยงคุยกัน
”
หนี ฝ่ายชนะก็เย่ว ๆ กันไปเรื่อย ไม่พอใจก็ ท้ากันต่อยท้ากันตี ไม่มีแอบฟันอะไรแบบนี้ ไม่เหมือนสมัยนี้พวกอาชีวะไปไล่ตีเขาแบบ ไร้สาเหตุ ลุกลามใหญ่โต” พู ด จบอดี ต โก๋ ห ลั ง วั ง ก็ ถ อนหายใจเฮื อ ก ถึ ง เด็ ก รุ่ น ใหม่ ท่ี เ ปลี่ ย นไปจากเด็ ก รุ่ น เก่ า อย่างสิ้นเชิง ทั้งเรื่องการชกต่อยตีกัน เรื่อง มารยาทความเป็นไทย การปฏิบัติตนใน ที่สาธารณะกับพฤติกรรมที่ไม่ควรกระทำ� พร้อมกับนึกเป็นห่วงอนาคตของชาติ “เด็กสมัยนี้กับสมัยก่อนต่างกันมาก สมัย ก่อนเขาไม่กล้าแสดงออก เดี๋ยวนี้น่าเกลียด มากขนาดเดินใส่เครื่องแบบนักเรียนก็ยัง เดินกอดกันเลย นุ่งสั้นอะไรอีก มารยาทไม่ ค่อยดี ไม่อายคน สมัยก่อนนี่ไม่ได้เลยเป็น เรื่อง ดูหนังสองคนก็ไม่ดี ส่วนใหญ่ไปกัน เป็นกลุ่ม ผู้ชายต้องไปส่งผู้หญิงกลับบ้าน ก่อนให้ถงึ บ้านให้พอ่ แม่เขาเห็นหน้าก่อน ไป คนเดียวไม่ได้หา้ มกลับดึก ดูหนังรอบสิบโมง รอบเทีย่ งอะไรอย่างนี้ มากสุดก็นงั่ คุยกันจับ ไม้จับมือบ้าง แล้วก็แยกย้ายกันกลับ สมัยนี้ ไปไหนค่ำ� ๆ มืด ๆ ไม่เป็นไร บางทีก็ไม่กลับ บ้านเลย สมัยนั้นเรียน เจอหน้ากันเรียน อย่างเดียว วัดโพธิ์นี่ไปนั่งอ่านหนังสือกัน”
ลอฟสตัฟ และนายเอ ดูเปลสิ เดริเซอเลียว ระยะทางของรถรางสายแรกที่ วิ่ ง อยู่ ใ น บางกอกนั้น เริ่มวิ่งตั้งแต่พระบรมมหาราช วัง บริเวณศาลหลักเมือง โดยวิ่งผ่านถนน เจริญกรุงหรือทีฝ่ รัง่ เรียกกันว่า ‘นิวโรด’ และ สิ้นสุดระยะทางที่บางคอแหลม ปัจจุบันคือ ถนนตก ต่ อ มาเปลี่ ย นสั ม ปทานในการ เดินรถไปเป็นของบริษัทเอกชนชาติอังกฤษ มี ชื่ อ ว่ า ‘บางกอก แทรมเวย์ คอมปานี ลิมิเตด’ โดยยังคงใช้ม้าลากอยู่เหมือนเดิม กระทั่งรถรางม้าเทียมนี้ประสบกับปัญหา การขาดทุนมาโดยตลอด เพราะว่าต้องใช้ เงินเป็นจำ�นวนมากในการเลีย้ งดูมา้ ทีใ่ ช้ลาก รถ อีกทั้งผู้โดยสารก็น้อยลงกว่าเดิม จึงมี การเปลี่ยนสัมปทานการเดินรถอีกครั้งไป เป็น บริษัท เดนมาร์ก มีการนำ�เอาระบบ ไฟฟ้ามาใช้ในการเดินรถและบางกอกถือ เป็นเมืองแรกที่ได้ใช้รถรางระบบนี้อีกด้วย ก่อนประเทศทีไ่ ด้รบั การพัฒนาแล้วอย่างใน ยุโรปเสียอีก กระทั่ ง ปี พ.ศ. 2443 บริ ษั ท เดนมาร์ก ได้รวมตัวเข้ากับ บริษัท อีเลค ตริกซิตี้ คอมปานี ลิมิตเตด แต่ก็เพียงแค่ เวลาหนึ่งปีเท่านั้นก็ได้ล้มเลิกกิจการกันไป สัมปทานในการเดินรถจึงตกเป็นของ บริษทั ไซแอม อีเลคตริกซิตี้ คอมปานี ลิมิตเตด ต่อ มาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไฟฟ้าสยาม จำ�กัด อีกทั้งยังได้สัมปทานในการจำ�หน่ายจ่าย 55 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
พิธีเปิดการเดินรถราง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
พิธีเปิดการเดินรถราง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ย้ อ น วั น เ ก่ า | 56
รถราง กับ รถตุ๊ก ๆ พ.ศ. 2504 ภาพจาก www.update.in.th
รถรางขณะวิ่งอยู่แถวบางลำ�พู แยกวันชาติ ถนนมหาไชย พ.ศ. 2510 ภาพจาก www.update.in.th
รถรางสายบางคอแหลมหน้าวัดไตรมิตร ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
กระแสไฟฟ้าในเมืองบางกอกด้วย และทำ�การ เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท ไฟฟ้าไทย คอปเปอร์เรชั่น จำ�กัด สถานที่ตั้งคือวัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) ผูค้ นในสมัยนัน้ ต่างพากันเรียก ว่า ‘โรงไฟฟ้าวัดเลียบ’ ยุคสมัยที่รถรางของบริษัท ไฟฟ้า สยาม จำ�กัด กำ�ลังดำ�เนินกิจการอยู่นั้น ก็ได้มี การเกิดสัมปทานการเดินรถขึ้นมาในบางกอก อีกสายหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2448 ชื่อว่า บริษัท รถรางไทย ท.จ.ก. ซึ่งได้รับสัมปทานในการ เดินรถสายดุสิต สมัยก่อนเรียกกันว่าสายรอบ เมือง ครัน้ พอมีการทารถด้วยสีแดง รถรางสาย ดุสิต หรือ สายรอบเมือง ก็กลายเป็น ‘รถราง สายแดง’ ซึ่งก็เหมือนกันกับรถรางของ บริษัท ไฟฟ้าไทย คอปเปอร์เรชั่น จำ�กัด ที่ทาตัวรถ ด้วยสีเหลือง น้อยคนจะเรียกว่าเป็นรถรางสาย พระบรมมหาราชวัง หรือ สายบางคอแหลม ก็ เรียกตามสีของรถว่า ‘รถรางสายเหลือง’ กัน มากกว่า ในปี พ.ศ. 2470 มีรถรางของบริษัท ใหม่เกิดขึ้นอีก เรียกว่า ‘รถรางสายพระกาฬ’ เป็นการร่วมหุ้นกันระหว่างบริษัท ไฟฟ้าไทย คอปเปอร์เรชัน่ จำ�กัด กับหุน้ ส่วนบางท่านของ บริษัทรถรางไทย ท.จ.ก. ออกเดินรถกันตั้งแต่ บริเวณหน้าโรงพยาบาลอานันทมหิดล ผ่าน ศาลพระกาฬ สิ้นสุดที่ตลาดท่าหิน แห่งเมือง ละโว้ (จังหวัดลพบุรี) เป็นสายแรกที่มีการวิ่ง รถในระยะไกล 57 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ตูไ้ ม้และเก้าอี้พนักพิงภายในภัตตาคาร ‘จีจ้งหว่อ’ อายุการใช้งานกว่า 60 ปี
บรรยากาศในปัจจุบัน ลูกค้ายังคง แวะเวียนเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย
แหล่งรวมอาหารรสเด็ด ที่ศูนย์การค้าย่านวังบูรพานั้นนอกจากจะ เต็มไปด้วยโรงหนังสามโรง แล้วที่ขึ้นชื่อไม่ แพ้กันคือร้านอาหาร เพราะย่านนี้ขึ้นชื่อว่า มีของอร่อย เด็ด ๆ มากมาย ในปัจจุบันนี้ก็ ยังมีร้านที่ยังเปิดดำ�เนินการอยู่ เรียกว่าก่อ ตั้งมาพร้อมกับศูนย์การค้าแห่งนี้เลยทีเดียว หนึ่งในนั้นคือภัตตาคารจีจ้งหว่อ ร้านขาย บะหมี่เป็ดตุ๋นอันเลื่องชื่อแห่งย่านหลังวังนี้ ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 58
“…เส้นใหญ่ราดหน้าหมูหนึ่ง เส้นหมี่ขาวใส่ เกี๊ยว เส้นใหญ่ราดหน้าทะเลอีกจาน บะหมี่ น้ำ�พิเศษเส้น ของน้องใส่เกี๊ยวมั้ย…” เสียง ทวนรายการอาหารตามแบบฉบับของภัต ตาคารจีจ้งหว่อ เจ้ า ของเสี ย งคื อ อาม่ า ท่ า นหนึ่ ง ชื่ อ นาง ขุนทอง จีนแดง อาม่าผูน้ กี้ ค็ อื ภรรยาเจ้าของ ร้านภัตตาคารจีจ้งหว่อคนปัจจุบันนั่นเอง ท่านจะนั่งอยู่เคาน์เตอร์ข้างหน้าร้านหลัง บริเวณที่ลวกบะหมี่ - ทำ�อาหาร อาม่าจะ
นั่ ง สั่ ง อาหารโดยใช้ ไ มค์ เพื่อเป็น การบอก รายการอาหารของลูกค้าให้กับพ่อครัว แม่ครัว เมื่อเข้ามาภายในร้านก็เหมือนได้ย้อนกลับ ไปในยุคเก่า ๆ โต๊ะ เก้าอี้ ถูกจัดวางไว้ดงั เดิม ตามที่เปิดร้านใหม่ ๆ ไม่นานพนักงานก็เข้า มาจดรายการอาหาร และเมื่อที่นี่เป็นร้าน บะหมี่เป็ดตุ๋นอันเลื่องชื่อจึงต้องเอ่ยปากขอ บะหมี่เป็ดหนึ่งที่ แต่ทางร้านนั้นก็มีเมนูอื่น ๆ ให้ลิ้มลองกันด้วย พลันสายตาหันไปเห็น รายการเครื่องดื่มมียี่ห้อ ‘ไบเล่’ อยู่ด้วย จึง สั่งมาพร้อมกับบะหมี่เป็ดเพื่อเป็นการย้อน วันวานยุคโก๋กี๋หลังวัง ที่ครั้งหนึ่งน้ำ�อัดลม ยี่ห้อนี้เป็นที่นิยมกันมากทีเดียว
ในระยะแรกคนเห่อกันมาก แต่ต่อ มาเมื่อรถเมล์ รถโดยสาร บ.ข.ส. รถแท็กซี่ และรถสามล้อเครื่อง เริ่มเข้ามามีบทบาทใน เมืองบางกอกมากขึ้น และไม่ต้องเสียเวลารอ รถอยู่นานสองนาน มากกว่านั้นยังวิ่งได้เร็ว กว่า สะดวกกว่า อีกทั้งรถยนต์ส่วนตัว รถจิ๊ป ก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การจราจรในบางกอก เริ่มมีติดขัด รถรางจึงได้กลายเป็นส่วนเกิน ของชาวบางกอกไปเสีย ไม่ต่างกับการได้ของ ใหม่แล้วลืมของเก่า และระยะเวลาเพียงแค่ 5 ปีเท่านั้น ที่ ‘รถรางสายพระกาฬ’ ได้อยู่รับใช้ ชาวบางกอก ในเวลาต่อมาอีกไม่นาน ชั่วระยะ เวลาไม่ถึงหนึ่งปีรถรางสายดุสิต หรือ รถราง สายรอบเมือง ทีช่ าวประชาเรียกกันว่า ‘รถราง สายแดง’ กับ รถรางสายพระบรมมหาราชวัง หรือรถรางสายบางคอแหลม ที่เรียกติดปาก กั น ว่ า ‘รถรางสายเหลื อ ง’ ก็ มี อั น ต้ อ งถึ ง วาระสุดท้ายของหน้าที่การทำ�งานในบริษัท เดินรถราง ซึง่ มีการเลิกวิง่ ไปทีละสายสองสาย เนื่องจากว่าไม่มีใครให้ความสนใจที่จะรับช่วง สัมปทานในการเดินรถรางอีกต่อไป กระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 รถรางก็ได้ถูกยกเลิกโดยสิ้นเชิงหลังจากที่ยื้อ กันมานาน เพราะเหตุว่าแล่นช้าและกีดขวาง ทางจราจรเช่นเดียวกับรถลากและรถสามล้อ ถีบที่เคยถูกยกเลิกมาก่อนหน้านี้ เป็นอันว่าถึง การอวสานของรถรางเสียงดัง ‘เก๊ง เก๊ง เก๊ง เก๊ ง...’ ลงแต่เพียงเท่านี้
59 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
เมื่อจัดการกับบะหมี่เป็ดตุ๋น พร้อมกับน้ำ� อัดลมยี่ห้อไบเล่ที่อยู่ตรงหน้าเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มาพูดคุยกับอาม่า อาม่าเล่าว่าร้านเปิด มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ในสมัยนั้นก่อนที่จะ มีโรงหนัง แถวนี้เป็นสระน้ำ� เลี้ยงเป็ด เลี้ยง ไก่ ยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของร้านคือประมาณ ราวปี 2500 คนที่มากินก็เป็นคนมีสตางค์ ทัง้ นัน้ เพราะถ้าไม่มสี ตางค์มาเทีย่ วทีน่ ไี่ ม่ได้ ของแพง อย่างเสื้อผ้านั้นก็แพง ที่วังบูรพานี้ ถือเป็นศูนย์การค้าแห่งแรก สยามยังไม่เปิด แต่เมื่อสยามมาเปิดทางร้านก็เริ่มซบเซาลง เพราะที่นั่นทันสมัยกว่า “ยุครุ่งเรืองนี่ไม่เห็นถนนเลยเห็นแต่ขาคน (หัวเราะ) ทีร่ า้ นนีค่ นแน่นมากจนคนตีกนั ว่า “...ฉันมาก่อน ฉันมาก่อน...” ลูกจ้างตอน นั้นมี 12 คน สมัยก่อนลูกจ้างหาง่ายเป็น พวกคนอีสาน แล้วก็แบ่งเวลากันพัก ปิดสี่ ทุ่ม แต่กว่าจะปิดจริง ๆ ก็สองยาม แทบ
จะไม่ได้นอนกัน เปิดก็หกโมงเช้า คนก็เริ่ม เจี๊ยวจ๊าวกันแล้ว แล้วยุคเอลวิสนี่แฟชั่นทั้ง นั้นเลย ตอนนั้นดาราไทยก็มีมิตร – เพชรา เพชรานีก่ แ็ หม ผูห้ ญิงแต่งตัวตามทำ�ผมตาม กันทั้งนั้น ใครสวยแต่งแล้วก็ดูน่ารัก แต่บาง คนก็นะ (หัวเราะ)” อาม่ า เล่ า ไปยิ้ ม ไป เป็ น ท่ า ทางที่ ดู ใจดี มี ไมตรีจิตเหลือเกิน พลางสั่งอาหารไปด้วย ในมื อ ก็ ถื อ ไมค์ ห นึ่ ง ตั ว สั ง เกตได้ ว่ า ร้ า น บะหมี่แห่งนี้ก็มีลูกค้าเข้าอยู่เรื่อย ๆ อาม่า จึงเล่าไปสั่งอาหารไป เกี่ยวกับพื้นที่ในย่าน ประวัติศาสตร์แห่งนี้ “ที่นี่เป็นที่ของแต่ละคน ไม่เหมือนกับพื้นที่ เช่าเพราะความเจริญจะมากกว่า เช่น ที่ ของจุฬาฯ ถ้าหมดสัญญาก็เปลี่ยนใหม่ได้ แต่นี่ที่ของเราต่างคนต่างซื้ออย่างพวกเรานี่ แหละ พอมันหมดเวลาของมันก็ไม่ได้มีใคร มาพัฒนาเหมือนอย่างพื้นที่เช่า ตรงนี้ก็เลย
กลายเป็นตำ�นานไป เสาร์ – อาทิตย์ ก็มีคน บ้าง แต่ยังสู้ดิโอลด์สยามไม่ได้เลย ตรงนั้น เป็นทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ ส่วนที่ ตรงก็นี้แพงมากนะ ใครขายได้ก็ขาย อย่าง ร้านข้าวมันไก่ ขายไป 22 ล้าน ส่วนร้านเรา ก็ขายได้ 25 ล้าน แต่ไม่อยากขาย เก็บไว้ ให้ลูกหลานดีกว่า เพราะเดี๋ยวพอรถไฟฟ้า มามันจะเจริญขึ้นใช่ไหม เขาจะได้มีที่ทำ�กิน ตอนนี้ก็จะหมดวาระแล้ว (หัวเราะ)” สำ�หรับการมาของรถไฟฟ้านั้นถือเป็นความ หวังเล็ก ๆ ของชาวบ้านในย่านวังบูรพาแห่ง นี้ โดยเฉพาะคนทำ�มาค้าขายก็หวังจะให้ ย่านนีเ้ จริญขึน้ กลับมามีชวี ติ ชีวาอีกครัง้ หนึง่ จึงหวังว่าหลังจากที่รถไฟฟ้าเข้าถึงบริเวณนี้ แล้วอาจช่วยต่อลมหายใจอันรวยรินให้กับ วังบูรพาได้
โดยย่านศูนย์การค้าแห่งนี้เองก็ได้มีความ พยายามทีจ่ ะปรับตัวให้ทนั กับโลกยุคใหม่อยู่ ไม่น้อย แต่ก็ดูเหมือนว่าจะต้านทานกระแส สังคมใหม่ ๆ ไม่ได้นัก ซึ่งก็เป็นที่น่าเสียดาย กับบรรยากาศเก่า ๆ ทีค่ ลาสสิก หากเปรียบ เทียบกับปัจจุบันนี้แล้วสถานที่ท่องเที่ยวมี เพียงแต่โครงสร้าง ไม่ลึกซึ้งกินใจ ‘วั ง บู ร พา’ จึ ง ไม่ ใช่ แ ค่ ย่ า นศู น ย์ ก ารค้ า ธรรมดาทั่วไป สำ�หรับชาวโก๋หลังวังแล้วนั้น วังบูรพาคือสถานที่แห่งเดียวที่ถือว่าถ้ามา เดินแล้วเท่ วัยรุ่นยุคนั้นต้องรู้จักแล้วก็ต้อง มาเหยียบให้ได้สักครั้ง แม้ในวันนี้พื้นที่แห่ง นีจ้ ะไม่ใช่ยา่ นทีเ่ จริญรุง่ เรืองทีส่ ดุ แต่กย็ งั คง เป็น ‘วังบูรพา’ ศูนย์การค้าที่ทันสมัยที่สุด แห่งแรกในเมืองไทยที่ยังเป็นตำ�นานให้เรา ได้เล่าขานกันต่อไป บรรยากาศของความ คลาสสิกในวันวานก็ยังคงตราตรึงในหัวใจ ชาว ‘โก๋หลังวัง’ เสมอ
ข้อมูลประกอบการเขียน 1.หนังสือ ‘วังบ้านฐานถิ่น’ โดย เอนก นาวิกมูล 2.หนังสือ ‘ตามรอยบางกอก’ โดย ทิพย์วารี
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 62
63 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
รู้จักห้างดัง
“ไนติงเกล – โอลิมปิค”
ก่อร่างสร้างตัว ตึกแถวสามคูหาสูงเจ็ดชั้นรูปทรงแปลกตาบริเวณแยกพาหุรัด ถนนตรีเพชร ตรงข้ามกับห้า งดิโอลด์สยามในปัจจุบันนี้ มองดูแล้วคงจะผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างยาวนานไม่ต่ำ�กว่า ครึ่งศตวรรษ ด้วยความเก่าที่แลดูเห็นได้ชัดของตัวตึก อีกทั้งด้านหน้าของตึกมีป้ายที่ติด ชื่อว่า ‘บริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’ ความเก่าของป้ายนี้พอ ๆ กับความเก่าของตัว ตึก ยิ่งมองเข้าไปแล้วพบพนักงานขายที่มีอายุร่วมหลายสมัยแล้วยิ่งย้ำ�ชัดว่าห้างร้านแห่งนี้ ไม่ธรรมดาเสียแล้ว เพียงแต่วันนี้กาลเวลาที่เปลี่ยนไปความเงียบเหงาจึงเข้ามาทักทายที่นี่ บริษทั ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด เริม่ เปิดตำ�นานการค้าทีย่ าวนานทีส่ ดุ ของห้างร้านในเมือง ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 80 ปี เมื่อ ‘นัติ นิยมวานิช’ ลูกชายคนที่ 2 ของตระกูลนิยมวานิช ได้เข้ามาช่วยกิจการพ่อแม่ที่ประสบปัญหาจากการ ค้าขายอันเนื่องมาจากอัคคีภัยและการถูกขโมยสินค้า โดยเริ่มดำ�เนินกิจการขายปลีกสินค้า ต่าง ๆ ด้วยความขยันขันแข็ง จนกิจการค่อย ๆ ดีขึ้นเรื่อย ๆ และพัฒนาไปจนถึงการนำ�เข้า เครื่องดนตรีจากประเทศเยอรมนีและเชคโกสโลวาเกีย (ปัจจุบันคือประเทศสาธารณรัฐเชค และสโลวัก) หนึ่งในนั้นคือ สายไวโอลิน ตรา ‘ไนติงเกล’ สินค้ายอดนิยมของทางร้าน
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 64
65 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
อาคารพาณิชย์ ถนนลาดหญ้า ธนบรี พ.ศ. 2498 ภาพจากหนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 66
อาคารพาณิชย์ ถนนตรีเพชร พระนคร พ.ศ. 2509 ภาพจากหนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’ 67 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
สินค้าทีต่ ระกูลนิยมวานิชจะลืมเสียไม่ได้เลย คือสายไวโอลิน ตรา ‘ไนติงเกล’ ซึ่งเป็นชื่อ ทีม่ คี วามหมายในทางทีด่ เี หมือนนกทีม่ เี สียง ไพเราะเหมือนดนตรี ทางร้านจึงพร้อมใจกัน เลือกเป็นชื่อร้านและขึ้นป้ายเมื่อวันที่ 20 “ไนติงเกล กันยายน พ.ศ. 2473 เดิมร้านตั้งอยู่ที่ถนน ซึ่งเป็นชื่อที่มีความหมายในทางที่ดี หลั ง วั ง บู ร พา ยั ง มิ ไ ด้ ย้ ายมาอยู่ที่ตึก แถว เหมือนนกที่มีเสียง ที่ถนนตรีเพชร ต่อจากนั้นก็เริ่มสั่งเครื่อง ไพเราะเหมือนดนตรี ” สำ�อางจากอเมริกามาขายเป็นครั้งแรก คือ ครีมสติลแมนแก้สิวฝ้า แป้งน้ำ�สกินฟู้ด และ น้ำ�มันใส่ผมปริ๊นส์เวฟเซ็ท เครื่องดนตรีนั้น นอกจากไวโอลินแมนโดลินก็มหี บี เสียงไนติง เกล มีการโฆษณาสินค้าในหนังสือพิมพ์เดลิ เมล์วนั จันทร์ และหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ บริษัทมีคำ�ขวัญว่า “ซื่อตรง ตามใจ ไมตรี จิตต์ และ มิตรภาพ” โดยนายห้างนัติยึด หลักคำ�สอนของพ่อและแม่วา่ เมือ่ จะค้าขาย ก็ให้เป็นคนซื่อ อย่าใช้เล่ห์เหลี่ยมกับลูกค้า อย่าเซ้าซี้ขืนใจลูกค้าถ้าเขาไม่เต็มใจซื้อ ถ้า ปฏิบัติตามนี้ได้ก็จะได้รับไมตรีจิตตอบแทน เป็นทางให้ลูกค้าระลึกถึงทุกครั้งที่ต้องการ จะซื้อสินค้าจากทางร้าน และเป็นการสร้าง มิตรภาพขึ้นระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
นัติ นิยมวาณิช
นายห้างผู้เปิดตำ�นาน ไนติงเกล - โอลิมปิค
นายห้างนัติ นิยมวานิช ภาพจากหนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’
นัติ นิยมวานิช เป็นบุตรของ นาย นาวาและนางชื่น นิยมวานิช เกิดเมื่อวันศุกร์ ที่ 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2457 ณ ตำ�บลวังบูรพา ภิรมย์ อำ�เภอพระนคร จังหวัดพระนคร เมื่อ เยาว์ได้รบั การศึกษาเบือ้ งต้นทีโ่ รงเรียนจักรเพ็ ชร โรงเรียนวัดสุทัศน์ฯ และต่อมาที่โรงเรียน บพิตรพิมุข จบมัธยมปีที่ 6 จึงเข้าสอบเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบ วิทยาลัย เมื่อสอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ 8 แล้ว ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนกฎหมาย ซึ่งต่อมา เปลีย่ นเป็นมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และ การเมือง สำ�เร็จได้รบั ปริญญาเป็นธรรมศาสตร์ บัณฑิต รุน่ ที่ 2 ในปี พ.ศ. 2478 ต่อมาสมรสกับ น.ส. พิมพ์ ภาณุพินทุ มีบุตรธิดาด้วยกัน 7 คน ในช่วงที่เรียนผ่านกฎหมายปีสอง และเริ่มเรียนปีสาม นัติ นิยมวานิช สอบผ่าน เป็นธรรมศาสตร์บณ ั ฑิตได้คะแนนดีจนกระทัง่ อาจารย์ ก ฏหมายเอ็ น ดู เรี ย กตั ว ไปพบและ บอกว่า ถ้าอยากจะไปเรียนต่อเมืองนอกก็จะ สนับสนุนให้ไปต่อที่ประเทศฝรั่งเศส นัติกลับ มาบ้านด้วยใบหน้าสดชื่นพร้อมรายงานบอก แม่เพื่อขออนุญาต แต่ผู้เป็นแม่ได้ขอร้องไม่ ให้ไปด้วยเหตุที่ว่าร้านกำ�ลังก่อร่างสร้างตัวได้ หากนัติจะปลีกตัวไปคนแต่เดียวในขณะนั้น ก็จะมีโอกาสเฉพาะตัวเอง แต่หากอยู่ช่วยกัน ทำ�งานไปก่อน ต่อไปถ้ากิจการเจริญขึ้นจะไป
69 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
การเปิดฉากของไนติงเกล – โอลิมปิค เมื่อ พ.ศ. 2473 จากห้องแถวที่ไม่มีชื่อสู่ร้าน ‘ไน ติงเกล’ อีกสองปีถัดมาได้เซ้งร้านต่อจาก แขกอินเดีย เปิดเป็นร้านขายเครือ่ งกีฬาโดย เฉพาะ ใช้ชื่อร้านว่า ‘โอลิมปิค’ นายห้าง นัติและพี่น้องอีกสี่คนในตระกูลนิยมวานิช ทุกคนช่วยกันทำ�งานอย่างขยันขันแข็งโดย ไม่ได้จ้างคนอื่น ต่อมาในพ.ศ. 2480 จึงได้ ปรับปรุงกิจการด้วยการขยายจากร้านค้า ห้องเดียวเป็นสองห้อง พร้อมกับเปลี่ยนชื่อ เป็น ‘บริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’
ร้านไนติงเกลสโตร์ ณ ถนนหลังวังบูรพา พ.ศ. 2473 ภาพจากหนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’
ครั้นถึง พ.ศ. 2489 จึงได้สร้างที่ทำ�การแห่ง ใหม่ ขึ้ น ที่ ถ นนลาดหญ้ า ธนบุ รี เพื่ อ เป็ น สถานที่หนีภัยยามสงครามเมื่อ พ.ศ. 2485 ต่อจากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 ได้ตั้งร้านขึ้น ที่ถนนตรีเพชรอีกแห่ง เป็นอาคารพาณิชย์ 3 คูหา 7 ชั้น พร้อมกับปรับปรุงทางด้าน ธุรกิจและการบริการลูกค้าอีกหลายอย่าง มีสโลแกนของห้างว่า “คลังแห่งเครื่องกีฬา ราชาเครื่ อ งดนตรี ราชิ นี เ ครื่ อ งสำ � อาง” พร้อมทั้งตั้งคำ�ว่า “ของดี ราคายุติธรรม” ขึ้นด้วย เพราะสมัยนั้นทุกห้างประกาศกัน
ร้านไนติงเกลสโตร์ ณ ถนนหลังวังบูรพา พ.ศ. 2473 ภาพจากหนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’
แต่ว่า “ของดี ราคาถูก” ซึ่งนายห้างเห็น ว่าจะเป็นความจริงไปไม่ได้เพราะถ้าของดี ราคาก็ควรจะยุติธรรมสมกับค่าของสินค้า จึงจะถูกต้องตามอุดมคติที่ตั้งใจจะทำ�การ ค้าเป็นอาชีพสุจริต
สักกี่ครั้งก็ได้ นัติรับฟังและเคารพต่อเหตุผล ของแม่ พร้อมก้มกราบแม่ด้วยน้ำ�ตาอาบหน้า นอกจากบทบาทของการเป็นนาย ห้าง เป็นผู้นำ�ครอบครัวแล้วนั้น นายห้างนัติ ยังมีความสนใจในด้านการกีฬาต่าง ๆ เป็นผู้ มีความรู้ทางการเล่นเทนนิสเป็นอย่างดี และ มี ตำ � แหน่ ง เป็ น เลขานุ ก ารกิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ ข อง ลอนเทนนิ ส สมาคมแห่ ง ประเทศไทย หรื อ ตำ�แหน่งเลขาธิการในปัจจุบัน ในช่วงปี 2494 - 2495 พร้อมทั้งเขียนหนังสือคำ�แนะนำ�การ เล่นเทนนิสเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอีก ด้วย นอกจากนี้ยังมีหนังสือคำ�แนะนำ�สำ�หรับ ผูเ้ ริม่ หัดมวยสากล นายห้างนัตเิ ขียนไว้เมือ่ ครัง้ ได้หัดมวยกับครูย้อม มีนะกรรณ และครูทิม อติเปรมานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2515 นับเป็นผู้ที่มี ความสามารถหลากหลายอย่างแท้จริง นายห้างนัติ หรือ ‘แน็ต’ ชื่อเรียก ของคนสนิทและคนในครอบครัว เป็นผู้ที่มี ความคิดริเริ่มที่แปลกใหม่และนำ�ยุคอยู่เสมอ มีความขยันขันแข็ง และนอกจากจะเป็นผู้เสีย สละตัวเองให้กับครอบครัวแล้ว ยังเป็นผู้ที่เสีย สละเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นอย่างน่ายกย่อง ทั้งเมื่อยังมีชีวิตอยู่และสิ้นชีวิตไปแล้ว หนึ่งใน ความเสียสละนั้น คือ นายห้างนัติได้บริจาค ดวงตาให้ แ ก่ ส ภากาชาดไทย และบริ จ าค ร่างกายให้กับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ถือเป็นอีกบทหนึ่งของความ ประทับใจของนายห้างผู้นี้
71 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ตำ�นานการค้าอันยิ่งใหญ่
คุณบุญช่วย มีคล้าย (พนักงาน) คุณอรุณ นิยมวานิช (ผู้จัดการ) คุณศศิตา ดาวเรือง (พนักงาน)
ปัจจุบัน ‘อรุณ นิยมวานิช’ น้องสาวแท้ ๆ ของนายห้าง เป็นผู้ดำ�เนินกิจการสืบมา ตั้งแต่ที่พี่ชายเสียไป คุณอรุณขณะนี้มีอายุ ถึง 92 ปี แม้ร่างกายจะเริ่มอ่อนล้าแล้ว ก็ตาม แต่ก็ยังคงทำ�หน้าที่ของผู้จัดการ บริษัทได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
“สมเด็จพระนางเจ้า รำ�ไพพรรณี ก็ได้เสด็จมา ”
คุณอรุณบอกกับเราว่า ตนค่อนข้างโชคดี ที่สุดในบรรดาพี่น้องทั้งหมด เพราะเป็นลูก คนสุดท้อง กิจการครอบครัวก็มีมาแต่เดิม อยู่แล้ว ทั้งพ่อแม่ พี่ชายและพี่น้องคนอื่น ๆ ก็ได้ร่วมกันสร้างมาให้ค่อนข้างดี ท่านจึง สานต่อกิจการได้โดยไม่ล�ำ บากนัก และขณะ ทีน่ ายห้างยังอยูน่ นั้ ก็ได้พาท่านไปดูงานและ ฝึกงานทีโ่ รงงานของเมิลนอร์แมนทีป่ ระเทศ สหรัฐอเมริกา ท่านได้เข้าอบรมวิชาเสริม สวย เมื่อกลับมาประเทศไทยจึงได้จัดอบรม การแต่งหน้าฟรีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย ต่อมาจึงได้เปิดเป็นทีร่ บั ตกแต่งรักษาใบหน้า ให้ลูกค้า เป็นเหมือนสถานเสริมความงาม แห่งแรกของเมืองไทย
nightingale
“ไนติงเกลเป็นห้าง ที่มีชื่อเสียง ลูกค้า มีตั้งแต่คนธรรมดา คนมีระดับ คุณหญิง คุณนาย หม่อมเจ้า รวมถึงดาราดัง ๆ สมัยก่อน”
บุญช่วย มีคล้าย พนักงานอาวุโสของห้างเล่า ถึงบรรยากาศในวันวานที่คึกคักของที่นี่ว่า ไนติงเกลเป็นห้างที่มีชื่อเสียง ลูกค้ามีตั้งแต่ คนธรรมดา คนมีระดับ คุณหญิง คุณนาย หม่อมเจ้า รวมถึงดาราดัง ๆ สมัยก่อนก็มา ทีน่ กี่ นั ประจำ�ตัง้ แต่ทรี่ า้ นเก่าและอาคารใหม่ แห่งนี้ ลูกค้านั้นมีทุกเพศทุกวัยแน่นร้านไป หมด สินค้าที่นี่ก็เป็นของดีสั่งมาจากเมือง นอก มียหี่ อ้ เป็นของมีระดับ ลูกค้าจะไปเมือง นอกก็นิยมมาซื้อไปใส่ แต่คนสมัยก่อนก็ไม่ ค่อยฟุ่มเฟือย รู้จักใช้ของอย่างคุ้มค่า
นายห้างนัติ นิยมวานิช ถึงแก่กรรม ด้วยโรคหัวใจวายขณะกำ�ลังปฏิบตั งิ าน เมือ่ วัน อังคารที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2515 เวลา 10.45 น. ณ บริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด เป็นการ จากไปอย่างไม่มีวันกลับ แต่ก็แค่เพียงร่างกาย เท่านัน้ คุณงามความดีของนายห้างยังคงอยูใ่ น ความทรงจำ�ของทุกคน เป็นตัวอย่างทีน่ า่ ยึดถือ เป็นแบบอย่างตลอดไป
“สมัยก่อนก็คึกคัก ลูกค้าเยอะ มีทุกระดับ นะคะ สมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณีก็ได้ เสด็จมา คุณอภิรมย์ (หลานสาวนายห้าง) ก็ถอนสายบัวต้อนรับ เจ้าก็ชอบ คุณอภิรมย์ เป็นคนขายแกต้อนรับเก่ง ตอนนีเ้ สียไปแล้ว ท่านผู้หญิงจงกลภรรยาท่านจอมพลถนอม กับท่านผู้หญิงวิจิตราภรรยาท่านจอมพล สฤษดิ์ก็เป็นลูกค้าที่นี่ มีเลขามาซื้อ นายเลิศ เศรษฐบุตร (เจ้าของห้างนายเลิศ-เรือเมล์ ขาว-รถเมล์ขาว) ลูกหลานของหมอชิตก็มา ดาราสมัยก่อนก็มี อรัญญา นามวงศ์ สมบัติ เมทะนี ก็พาลูกเมียมาซื้อที่นี่ประจำ� สมัย ก่อนคนเจาะจงมาทีน่ เี่ พราะทีอ่ นื่ ไม่มี สินค้า ขายดีทกุ อย่าง กระเป๋า เสือ้ ผ้าสวยๆ ทัง้ นัน้ ”
ไม่เพียงแต่ขา้ วของเครือ่ งใช้ของบรรดาคุณผูห้ ญิงทัง้ หลาย สินค้าสำ�หรับคุณผูช้ ายก็หาได้จาก ทีน่ เี่ ช่นกัน พลชรัฐ เหลีย่ มเพชร อดีตโก๋หลังวังผูเ้ คยใช้บริการห้างไนติงเกล–โอลิมปิค เล่าว่า “ร้านค้าดัง ๆ มีอยูแ่ ถววังบูรพาทัง้ นัน้ มีหา้ งไนติงเกล เป็นห้างทีน่ �ำ สินค้ามาจากต่างประเทศ ขายเครือ่ งกีฬา เครือ่ งดนตรี แล้วก็พวกเครือ่ งสำ�อาง สรรพบริการเลย แล้วก็มเี สือ้ ผ้า ของใช้ ที่มาจากต่างประเทศ ถ้ามาวังบูรพาแล้วไม่รู้จักไนติงเกลนี่ไม่ได้เลย เป็นห้างอันดับหนึ่งดัง มาก หนุ่ม ๆ จะไปซื้อแอโรว์ ไฟแช็ค เสื้อยืดกันก็ที่นี่”
โบว์ชัวร์สินค้า ‘ไนติงเกล - โอลิมปิค’ ปี พ.ศ. 2534
หากเปรียบห้างไนติงเกล – โอลิมปิค ว่าคือ สยามพารากอนในยุคปัจจุบนั เห็นทีจะไม่ผดิ เพราะเมือ่ ห้าสิบกว่าปีกอ่ นสถานทีแ่ ห่งนีถ้ อื เป็นห้างไฮโซระดับต้น ๆ ของเมืองไทยเลย ก็ว่าได้ สินค้าที่นี่ก็ยังเป็นของดีมีระดับทั้ง เสื้อผ้า ชุดชั้นใน ที่สั่งจากนอกทั้งนั้น ใคร ๆ ก็ต้องมาซื้อที่ไนติงเกล นอกจากนี้ยังมี
เครื่องสำ�อาง ‘เมิลนอร์แมน’ ที่นำ�เข้าจาก อเมริกา แพร่หลายเข้ามาทางฮ่องกง เป็นที่ ฮอตฮิตมากในยุคนัน้ มีลกู ค้าถามหาอยูม่ าก ราย แถมราคาก็ไม่แพงด้วย กระปุกละไม่กี่ สตางค์หกสิบถึงเจ็ดสิบบาท ต่างจากสมัยนี้ ลิบลิ่วที่ราคาพุ่งสูงเป็นพัน ๆ
สาวเสมอ สาวเสมอ ด้วย MERLE NORMAN
ห้องรับตกแต่งใบหน้า บริเวณชั้น 2 ปัจจุบันปิดทำ�การแล้ว
เมื่อห้าสิบกว่าปีก่อนสาว ๆ ในเมือง กรุงคงไม่มใี ครไม่รจู้ กั กับ บันได 3 ขัน้ แห่งความ งามกับเครื่องส�ำอางเมิลนอร์แมนที่มาพร้อม ชุดบ�ำรุงผิวหน้า ลักชิวา ที่ให้ความนุ่มเนียนที่ ยาวนานกว่า เพื่อผิวหน้าที่สวยดูสดใส และใน วันนี้กรรมวิธีสู่ความงามนั้นยังคงรอคอยการ พิสจู น์อยูท่ หี่ า้ งไนติงเกล – โอลิมปิค และพร้อม ทีจ่ ะพาคุณไปพบกับบันได 3 ขัน้ แห่งความงาม ทีแ่ ม้วนั เวลาจะเปลีย่ นผ่าน แต่ความงามนัน้ ไม่ เปลี่ยนแปลง อันประกอบไปด้วย 1.ครีมล้างหน้า คลีนซิ่งครีม เพื่อขจัดสิ่งสกปรก ออกจากผิวหน้าและคงความนุ่มนวลให้ผิวหน้า อย่างที่คุณต้องการ 2.ไมราคอลน�้ำยาพิเศษ ขั้นตอนที่ล�้ำลึกปกป้อง ผิวให้ดูสดใส นุ่มเนียน และมีชีวิตชีวา 3.พาวเดอร์เบส เพื่อความมั่นใจกับผิวพรรณที่ เปล่งปลั่ง งามดุจดั่งธรรมชาติพิทักษ์ผิว ป้องกัน แสงแดด
เพียงเท่านี้คุณก็จะมีผิวหน้าที่สดใส ดูอ่อนเยาว์อยู่เสมอ อันเป็นสิ่งที่ Miss Merlnorman เจ้าของผลิตภัณฑ์ได้พสิ จู น์ให้เห็นมา แล้ว เมื่อครั้งที่นายห้างนัติ นิยมวานิช แห่งไน ติงเกล – โอลิมปิค ตัวแทนจ�ำหน่ายแต่เพียงผู้ เดียวในประเทศไทย ได้เชิญเธอมาเมืองไทย และพบว่าเธอยังสวยสดแม้จะอยูใ่ นวัย 80 แล้ว ก็ตาม
75 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 76
77 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ต้อนรับมิสเมิลนอร์แมน มารดา และหลานสาว หน้าบริษัทไนติงเกล - โอลิมปิค จำ�กัด ภาพจากหนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’
นายห้างนัติขณะปฏิบัติงานโฆษณา ภาพจากหนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’
ต้อนรับมิสเมิลนอร์แมน เปิด Studio ครั้งแรกที่อาคารพาณิชย์ ถนนลาดหญ้า พ.ศ. 2499 ภาพจากหนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’ 79 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
สาธิตการเสริมสวย ทางโทรทัศน์เป็นครั้งแรก ภาพจากหนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’
เดิมห้างไนติงเกล – โอลิมปิค เปิดให้บริการ ทั้งหมด 3 ชั้น คือ ชั้น G (ทางห้างเรียกชั้น แรกว่าเป็นชั้น G) ขายเสื้อผ้า น้ำ�หอม ชุด ชั้นใน และเครื่องสำ�อาง ชั้นหนึ่งขายเครื่อง ดนตรี และเครื่ อ งกี ฬ า มี ห้ อ งฟิ ต เนสให้ บริการซึ่งเป็นที่แรกในประเทศไทย เป็น เครือ่ งออกกำ�ลังกายแบบใช้ไฟฟ้า ปัจจุบนั นี้ ก็ยงั ใช้ได้อยูม่ ที งั้ ขายและตัง้ โชว์ และสุดท้าย ชัน้ สองเป็นห้องเสริมสวย รับตกแต่งใบหน้า และสอนแต่งหน้าฟรี ซึ่งปัจจุบันนี้เลิกไป แล้วทั้งฟิตเนสและห้องตกแต่งหน้า บริษัท จึงเอาเครื่องออกกำ�ลังกายไปเก็บรวมกับ ห้องแต่งหน้าทีช่ นั้ สองซึง่ ไม่ได้ให้บริการแล้ว ย้ อ น วั น เ ก่ า | 80
บรรยากาศภายในห้องรับตกแต่งใบหน้า
81 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
เครื่องนวดสะโพก
ห้องแต่งหน้าทีช่ นั้ สองซึง่ ไม่ได้ให้บริการแล้ว สำ�หรับเครือ่ งออกกำ�ลังกายในสมัยนัน้ ถือว่า ฮอตฮิตมาก สาว ๆ คนใดที่ได้มาออกกำ�ลัง กายที่นี่ถือว่าโก้หรูมากทีเดียว เครื่องออก กำ�ลังกายที่เป็นที่นิยมนั้นคือ ‘เครื่องนวด สะโพก’ เครื่องนวดสะโพกมีลักษณะเป็น เหมือนเตียงนอนแบนราบ แต่มีลักษณะ พิเศษคือจะมีเบาะนูนสูงขึ้นมาตรงบริเวณ สะโพกพอดี เ มื่ อ นอนลงไป มี เ สาไว้ ป รั บ ระดับขึ้นลง วิธีการนวดก็ง่ายแสนง่ายเพียง แค่นอนราบลงไป เอาสะโพกวางบนเบาะ เครื่องก็จะสั่นนวดให้เราหายเมื่อยได้ทันที
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 82
“สาวๆคนใด
ที่ได้มาออกกำ�ลังกาย ที่นี่ถือว่า โก้หรูมากทีเดียว ”
เครื่องบริหารเท้า
อี ก เครื่ อ งหนึ่ ง คื อ ‘เครื่ อ งบริ ห ารเท้ า ’ ลั ก ษณะคล้ า ยกั บ เครื่ อ งนวดสะโพก คื อ เป็นเบาะยาวนอนราบลงไปเหมือนกัน และ มี ที่ พิ เ ศษคื อ นอนลงไปแล้ ว เหมื อ นได้ ถี บ จักรยานเลย แต่ข้อเสียของเครื่องนี้คือจะมี เสียงค่อนข้างดัง วิธีการก็คือนอนราบลงไป เอาเท้าใส่เข้าไปตรงทีใ่ ส่เท้า แล้วเครือ่ งก็จะ ขยับเขยือ้ นเท้าเราไปเอง เป็นการออกกำ�ลัง กายที่แสนจะสบาย ส่วนเครื่องสุดท้ายเป็น ‘เครื่องปรับสมดุลร่างกาย’ ลักษณะเป็น เตียงนอนราบเรียบไม่มีอะไรเลย วิธีใช้นั้น
เครื่องปรับสมดุลร่างกาย
คือนอนราบลงไปเฉย ๆ แล้วเครื่องก็จะสั่น ไปมาเอง ช่วยให้เลือดไหลเวียนปกติ เครื่อง นี้ใช้เป็นขั้นตอนสุดท้ายเมื่อไปนวดเครื่อง อื่นมาเสร็จแล้ว อัตราค่าบริการในสมัยก่อนนัน้ คิดเป็นชัว่ โมง ชั่วโมงละ 100 บาท เรียกได้ว่าเป็นฟิตเนส ที่แรกในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ และถึงแม้ จะมีราคาค่อนข้างแพงในยุคนั้นแต่จำ�นวน คนมาใช้บริการก็เยอะ เนือ่ งจากมีครบวงจร แบ่งเป็นคอร์ส ที่สำ�คัญเป็นที่แรกที่อื่นไม่มี
83 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
บริ เ วณชั้ น สองที่ เ ป็ น ที่ เ ก็ บ เครื่ อ งออก กำ�ลังกายและห้องแต่งหน้านั้นจะถูกปิดไว้ นอกเสียจากจะมีรายการโทรทัศน์ ละคร มิวสิควิดีโอมาขอถ่ายทำ�จึงเปิดใช้การที ซึ่ง คุ ณ อรุ ณ และพนั ก งานต่ า งบอกเป็ น เสี ย ง เดี ย วกั น ว่ า มี ม าตลอด บ่ อ ยมากแทบทุ ก เดือน ไม่เบื่อกันบ้างหรืออย่างไรพูดไปก็ หัวเราะไป ล่าสุดเป็นมิวสิควิดโี อของนักร้อง สาวปาล์มมี่มาถ่ายเพลง ‘คิดมาก’ ซึ่งป้า บุญช่วยเล่าว่าได้ขายของให้กับปาล์มมี่ด้วย เป็นหมวกที่ใช้ถ่ายในมิวสิควิดีโอ จากนั้นก็ มีคนมาซือ้ ตาม แต่หมดเสียก่อน นักร้องสาว ซื้อไปเองก็หลายใบ “ชั้ น สองเป็ น ห้ อ งแต่ ง หน้ า วั น นึ ง ลู ก ค้ า ประมาณห้าสิบหกสิบคน มีการสาธิตการใช้ เครื่องสำ�อาง ซื้อเมิลนอร์แมนแล้วแต่งหน้า ให้ด้วย ซื้อเสร็จก็ไปออกงานได้เลย ที่นี่แต่ง หน้าทำ�อะไรให้หมด แล้วแต่ก่อนก็มีส่งของ ไปต่างจังหวัดด้วยกว่า 70 จังหวัด ได้เงิน บ้างไม่ได้บา้ งก็เลยเลิกไป” คุณบุญช่วยกล่าว ขณะที่ เ ดิ น ชมรอบ ๆ ห้ า งก็ พ บกั บ หุ่ น ที่ ใส่ เ สื้ อ ผ้ า โชว์ อ ยู่ ต ามจุ ด ต่ า ง ๆ ของห้ า ง สอบถามได้ ค วามว่ า เป็ น หุ่ น ที่ ใช้ ม าตั้ ง แต่ สมั ย แรกเริ่ ม ของห้ า งและเป็ น หุ่ น ตั ว แรก ในประเทศไทยนำ�เข้ามาจากญี่ปุ่น ในสมัย นั้นคนเดินผ่านไปแล้วก็ต้องเดินกลับมาดู เพราะเมื่อก่อนหุ่นนั้นแต่งชุดสวยงาม
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 84
ส่วนของที่ขายก็ยังเหมือนเดิม แต่แบบก็มี เปลีย่ นไปบ้างตามสมัย คุณบุญช่วยย้�ำ เสมอ ว่าของทางร้านไม่แพงหากเทียบกับคุณภาพ แล้ว ลูกค้าบางคนไปซื้อชุดชั้นในที่อื่นมา ราคาสองสามหมื่นแต่ใส่สู้ของทางห้างไม่ได้ เพราะที่นี่เลือกให้เหมาะกับลูกค้า ให้ลูกค้า พอใจมากที่สุด ดาราเช่น มยุรา เศวตศิลา ก็ มาซื้อชุดชั้นในที่นี่ ม้า อรนภา และอาภัสรา หงสกุล ก็เคยมา สมัยก่อนราคาไม่กรี่ อ้ ยบาท แต่ตอนนี้ก็ขึ้นมาเป็นพันแล้ว
“ชุดชั้นในที่นี่หาที่ไหนไม่ได้ มีทุกไซส์ทุกข นาด ที่อื่นไม่มี มีก็ไม่เหมือนเรา เราสั่งมา จากนอก เห็นแล้วจะตกใจ ที่อื่นไม่มีขาย ใส่ กับชุดราตรี โชว์หลัง เปิดไหล่ได้หมด ลูกค้า เขาก็แนะนำ�กันมาเรื่อย ๆ บางคนคุณแม่ แต่งงานมาซื้อที่นี่ พอคุณลูกแต่งงานคุณแม่ ก็พามา สมัยตอนแต่งงานเราก็มาซือ้ ของทีน่ ี่ พอลูกสาวแต่งงานก็บอกให้มาซือ้ ทีน่ เี่ หมือน กัน (หัวเราะ) สินค้าส่วนใหญ่ทนี่ เี่ ป็นของนำ� เข้าของมีราคาหมด ของไม่มีราคาขายไม่ได้ หาที่ไหนไม่มีก็ต้องมาไนติงเกล ของน้องก็มี นะตัวเล็ก ๆ แต่ให้ดูเฉย ๆ (หัวเราะ)”
ชุดชั้นใน สินค้ายอดนิยมตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบันของห้างไนติงเกล - โอลิมปิค
85 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
คุณภาณุ ดาวเรือง ผู้ดูแลสินค้าบริเวณชั้น 1 กับพัดลมเก่า ๆ หนึ่งตัว
คุณบุญช่วยเล่าด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส อีกทั้งยังหยอกล้อแซวเราเล่นเล็กน้อย คุณ บุญช่วยและพนักงานคนอื่น ๆ ของห้างที่ นี่มีกิริยาที่สำ�รวมและพูดจาไพเราะกันทุก คน เวลาที่พูดจะมีหางเสียงเสมอ แสดงการ ต้อนรับเป็นอย่างดีตงั้ แต่เดินเข้าห้างมา เป็น ไมตรีจติ ทีด่ ยี งิ่ แม้วา่ กาลเวลาจะผ่านมานาน แค่ไหน แต่ทางห้างก็ยังคงรักษาระเบียบ และความเป็ น มิ ต รกั บ ลูก ค้าได้ดีเสมอมา คุณบุญช่วยยังบอกอีกว่ามีความสุขเสมอ ตลอดที่ทำ�งานที่นี่เพราะไม่เพียงแค่เลี้ยงดู พนักงานดี แต่คนไม่เป็นงานก็สอนให้เป็น งานได้ มีความเป็นผู้ใหญ่ขึ้น เมื่อเดินชม ย้ อ น วั น เ ก่ า | 86
รอบ ๆ ชั้นล่าง หรือชั้น G แล้วก็ถึงเวลาขึ้น ไปเยี่ยมชมชั้นบน ที่ชั้นหนึ่งในปัจจุบันเป็น เหมือนพิพิธภัณฑ์เสียมากกว่าร้านซื้อขาย บรรยากาศดูเงียบ ๆ แม้จะมีเสียงเพลงคลอ อยูต่ ลอดก็ตาม เป็นเพลงวัยรุน่ ตามสมัยนิยม เปิดตามคลื่นวิทยุ ทราบมาว่าสมัยก่อนเปิด เพลงสากลบ้าง เพลงบรรเลงบ้าง หรือเปิด วิทยุแต่ขอ้ เสียคือต้องเดินมาเปลีย่ นอยูบ่ อ่ ย ๆ เนื่องจากการจัดรายการวิทยุมีไม่นานก็ ต้องเดินมาเปลีย่ นเพลงไปเรือ่ ย ๆ ไม่เหมือน สมัยนี้ที่เปิดครั้งเดียวเล่นทั้งวัน หน้าที่ของ
ขณะซ่อมหลุมบิลเลียด
เมื่อเดินขึ้นบันไดเวียนมาที่ชั้นหนึ่งก็จะพบ ชายวัยกลางคนปลาย ๆ ท่านหนึ่งท่าทาง เป็นผู้มีอารมณ์ศิลปะ จะนั่งอยู่ที่โต๊ะทำ�งาน เงียบ ๆ พร้อมกับพัดลมตั้งพื้นสุดคลาสสิก ตัวหนึ่งที่หากใครเดินขึ้นบันไดมาก็จะพบพี่ ชายผู้นี้ทันที ชื่อของคุณพี่ท่านนี้คือ ภาณุ ดาวเรือง เป็นพนักงานประจำ�ชั้น 1 ที่นี่ มีหน้าทีเ่ ฝ้าดูแลเครือ่ งดนตรี และเครือ่ งออก กำ�ลังกายทั้งที่ตั้งโชว์และวางขายอยู่ คอย ตอบข้อสงสัยของผู้ที่สนใจ
“ชั้นนี้ก็มีคนขึ้นมาดูเรื่อย ๆ นะ แต่ไม่ค่อย มีคนซื้อหรอก จะมีพวกที่ชอบหรือพวกคน เก่า ๆ เขาก็กลับมาทบทวน มาดู สมัยยังทีย่ งั เป็นเด็กนักเรียนเพาะช่าง สวนกุหลาบอะไร อย่างงี้ มาถึงเขาก็บอกสมัยก่อนยังเคยเข้ามา เลย ก็มาย้อนวันวานกัน แล้วก็พวกต่างชาติ ฝรัง่ ญีป่ นุ่ คนส่วนใหญ่ทมี่ าก็มาแอบถ่ายรูป กันเพราะเขาไม่ให้ถ่าย (หัวเราะ)” พี่ภาณุ เล่าไปซ่อมหลุมบิลเลียดไป (หลุมบิลเลียด สำ�หรับขาย)
87 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
คุณภาณุสมัยก่อนคือออกแบบโฆษณา ทำ� อาร์ตเวิร์ค โบว์ชัวร์ ให้กับทางห้าง ส่วน ตอนนี้ก็ทำ�อยู่เล็ก ๆ น้อย ๆ ถ้ามีคนจ้างก็ วาด ศิลปะสมัยก่อนใช้มอื วาดหมด ต่างจาก สมัยนีท้ ใี่ ช้คอมพิวเตอร์ท�ำ กราฟิกเกือบหมด ถ้าถามถึงผลงานของตัวเองทีผ่ า่ นมานัน้ คุณ ภาณุบอกว่า “มาถึงตอนนี้ผมว่าไม่ได้เรื่อง ถ้าตอนนี้ทำ�ได้ดีกว่านั้นเยอะ (หัวเราะ)” พร้อมกับหยิบผลงานบางส่วนมาให้เราดู สวยงามคลาสสิกเลยทีเดียว ถามถึงความรูส้ กึ ของคุณภาณุในการทำ�งาน ทุกวันนี้ว่าเป็นอย่างไร มีเบื่อเหงาบ้างไหม เพราะรอบข้างนั้นไม่มีใครเลย หันไปก็เจอ แต่พัดลมเก่า ๆ หนึ่งตัว (คุณภาณุบอกว่า เป็นพัดลมสมัยแรกเริม่ ของห้าง) แล้วก็ได้ค�ำ ตอบพร้อมเสียงหัวเราะเบา ๆ ว่า “จะเหลือ เหรอ” แน่นอนว่าต้องมีเบื่อกันบ้างแต่ใน ความเบือ่ นัน้ ก็ยงั คงมีความสุขกับสิง่ ทีท่ �ำ อยู่
“ความรู้สึกถ้า ณ ปัจจุบัน ก็ไม่มีความรู้สึกอะไร มันพีคสุดแล้วไง ตัวเราก็อายุมากแล้ว เหมือนไม่ได้คิดอะไร ก็อยู่ไปเรื่อยๆ เพื่อให้มันมีอะไรทำ� ก็มีความสุขดี ”
“ความรูส้ กึ ถ้า ณ ปัจจุบนั ก็ไม่มคี วามรูส้ กึ อะไร มันพีคสุดแล้วไง ตัวเราก็อายุมากแล้ว เหมือนไม่ได้คิดอะไร ก็อยู่ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้มันมีอะไรทำ�ก็มีความสุขดี บริษัทก็สุด แล้วเติบโตอะไรไม่ได้แล้ว แต่เมือ่ ก่อนก็ภมู ใิ จทีไ่ ด้เข้ามา ได้มาทำ�หน้าทีน่ ี้ รูส้ กึ มีความ สำ�คัญ แล้วผมก็เต็มทีก่ บั มัน ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ก็ไปอยูท่ สี่ นามกีฬาไนติงเกล (สนาม กีฬาไนติงเกล - โอลิมปิค คือ สนามกีฬาครบวงจรของทางบริษทั อยูแ่ ถวรามอินทรา)”
ผลงานบางส่วนของคุณภาณุ ดาวเรือง
สินค้าทั้งขายและโชว์ที่บริเวณชั้น 1
ไนติงเกล – โอลิมปิค ในวันนี้ ปั จ จุ บั น บริ ษั ท ไนติ ง เกล โอลิมปิค เปิดให้บริการทั้งสิ้น 2 ชั้น ด้วย กัน โดยชั้น G ขายสินค้าทั่วไป เสื้อผ้า ชุด ชัน้ ใน เครือ่ งสำ�อางเมิลนอร์แมน และเครือ่ ง กีฬา ส่วนชั้น 1 นั้นมีเครื่องดนตรีที่ทั้งขาย และตั้งโชว์ เมื่อขึ้นไปทางขวามือของโต๊ะ พี่ภาณุเล็กน้อยจะเห็นกีต้าร์ขนาดเล็กสีส้ม วางอยู่ในตู้มีลายเซ็นของสมาชิกวงเดอะบี เทิลส์ครบทุกคน กีต้าร์นั้นเป็นของนายนัติ นั่นเอง นอกจากเครื่องดนตรีแล้วก็มีเครื่อง ออกกำ�ลังกายทีต่ ดิ ราคาขาย ราคานัน้ ถือว่า ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว อย่างเครื่องปั่นเอวที่ ยังหลงเหลืออยู่ก็ราคาหนึ่งหมื่นบาทขึ้นไป
กีต้าร์ของนายห้างนัติ มีลายเซ็น สมาชิกเดอะบีเทิลส์ครบทั้งวง
เครื่องปั่นเอวที่ยังวางขายอยู่
ศศิตา ดาวเรือง พนักงานขายเครื่องสำ�อาง และบริการแต่งหน้าให้กบั ลูกค้า (ภรรยาคุณ ภาณุ) บอกกับเราว่าปัจจุบันลูกค้าที่มาจะ เป็นลูกค้าประจำ�ที่เจาะจงมาซื้อเลย ส่วน ลูกค้าทั่วไปก็มีมาซื้อครีมทาปาก ขี้ผึ้งไนติง เกล บางคนก็มาเดินเที่ยว ชาวต่างชาติจะ เยอะเพราะเห็นจากสื่อบ้าง ส่วนของเก่า ๆ ที่ยังเหลืออยู่ก็จะมีพวกน้ำ�หอม ก็ยังคงขาย อยูแ่ ต่ไม่มขี องมาใหม่ ทีช่ นั้ ล่างมีบริการแต่ง หน้าทำ�ให้ลูกค้าดูเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ของเมิล นอร์แมน วิธีทำ�ก็ยังเหมือนสมัยก่อน มีการ สาธิตการแต่งหน้าให้ดูสำ�หรับลูกค้าใหม่ ล่าสุดคุณศศิตาก็ได้ทำ�ผมให้ฝรั่งที่มาถ่าย รายการเป็นทรงผมยุคโก๋หลังวัง
เครื่องปั่นเอวติดราคาสูงกว่าหนึ่งหมื่นบาท
‘น้ำ�หอม’ อีกหนึ่งสินค้ายอดนิยมในอดีต ซึ่งปัจจุบันไม่ได้วางขายแล้ว
91 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
nightingale
บริเวณสาธิตการใช้เครื่องสำ�อางสำ�หรับลูกค้าในปัจจุบันที่ชั้น G ลูกค้าสามารถมาใช้บริการแต่งหน้าฟรีได้เมื่อได้รับบัตรแต่งหน้า
ลูกค้าเก่าแก่ของที่นี่นั้นก็เสียไปเยอะ ส่วน คนเก่า ๆ ที่ยังอยู่ก็วนเวียนมาเรื่อย ๆ สมัย นี้ที่มาก็จะมากันเป็นครอบครัว คุณย่า คุณ แม่ พาลูกหลานมาซื้อโดยแนะนำ�กันมา คน รุ่นใหม่ที่ใช้แล้วถูกใจก็กลับมาซื้อ วัยรุ่นก็มี มาซื้อเครื่องสำ�อางบ้าง ลูกค้าประจำ�ก็มา ซื้อเครื่องสำ�อางเช่นกัน ซื้อครั้งละสองถึง สามพัน ชุดชั้นในก็มาซื้อครั้งละเป็นหมื่น ๆ แต่ลกู ค้ากลุม่ นีก้ ไ็ ม่ได้มาบ่อยเนือ่ งจากซือ้ ไป แล้วสินค้าใช้ได้นาน ชุดชั้นในที่ว่านี้คือยี่ห้อ CARNIVAL ขายมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เปลีย่ นแบบเปลีย่ นสไตล์ไปตามยุคสมัย เมือ่ ก่อนมีหลายยี่ห้อแต่ตอนนี้เหลือยี่ห้อเดียว
ยี่ห้ออื่นเลิกผลิตไปแล้ว ที่ขายดีคือสำ�หรับ ใส่กับชุดแต่งงาน และชุดราตรี ส่วนด้านพนักงานอย่างคุณบุญช่วยทีท่ �ำ งาน ที่นี่มานานกว่าห้าสิบปีนั้นก็ยังคงจะทำ�ไป เรื่อย ๆ แม้ใกล้จะหมดแรงแล้วก็ตาม และ ถึงแม้ในเวลานี้จะเงียบเหงาเพราะมีห้าง ร้านต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายก็ยังจะไม่ไปไหน เพราะผูกพันกับที่นี่ขายกันแบบครอบครัว สมั ย ก่ อ นนั้ น คุ ณ บุ ญ ช่ ว ยทำ � งานทุ ก อย่ า ง ทั้ ง ชั้ น บนชั้ น ล่ า งแม้ จ ะค่ อ นข้ า งยุ่ ง แต่ ก็ มี ความสุขและมีคุณอภิรมย์ช่วยขาย (หลาน สาวนายห้าง) เป็นคนพูดเก่ง ต้อนรับลูกค้า ดี พูดจาคนเชื่อถือ ซึ่งเสียไปประมาณสาม ปีแล้ว
“ก็เป็นสิ่งที่มิได้จาง หายไปตามกาลเวลา ยังคงอยู่ในความทรง จำ�และย้ำ�เตือนความ ยิ่งใหญ่ของห้างแห่งนี้ ได้เสมอ”
เวลาเปิดทำ�การ ของบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด คือ วันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา 9.00 – 18.00 น. หยุดวันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ที่นี่ใช้ระบบเดียวกับบริษัทไม่เหมือนห้างทั่วไป
สุดท้ายนีค้ ณ ุ อรุณบอกกับเราว่าภายในปีสอง ปีนี้บริษัทอาจจะเปลี่ยนระบบใหม่ เปลี่ยน ไปให้ลกู หลานเหลนมาสืบต่อ เพราะตัวท่าน เองท่านไม่ได้แต่งงาน แล้วก็เริ่มทำ�ไม่ไหว แล้วตามวัย เมื่อก่อนพนักงานที่นี่มีกว่า 80 คน แต่ปัจจุบันนี้เหลือไม่ถึงสิบคน เสียไปก็ หลายคน ตอนนี้จึงเรื่อย ๆ หลาน ๆ จึงเป็น ความหวังของท่าน แม้ในวันนีบ้ ริษทั ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด จะไม่ได้เป็นห้างร้านทีค่ กึ คักทันสมัยเหมือน ดั่งวันวานเมื่อห้าสิบกว่าปีก่อน แต่ตำ�นาน ความยิ่งใหญ่ของการเป็นห้างแรก และการ เป็นผู้นำ�สิ่งใหม่ ๆ มาสู่ผู้คนในสมัยนั้น อีก ทั้งความอดทน ความพากเพียรพยายาม ในการก่อร่างสร้างตัว และคุณงามความดี ของตระกูลนิยมวานิช โดยเฉพาะนายห้าง นัติ นิยมวานิช ก็เป็นสิ่งที่มิได้จางหายไป ตามกาลเวลา ยังคงอยู่ในความทรงจำ�และ ย้�ำ เตือนความยิง่ ใหญ่ของห้างแห่งนีไ้ ด้เสมอ
ข้อมูลประกอบการเขียน 1.หนังสือ ‘อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อำ�นวยการบริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จำ�กัด’ 2.หนังสือ ‘เสน่ห์ร้านเก่า’ โดย ธนาทิพ ฉัตรภูติ
สถานบันเทิงสุดคลาสสิก
“ศาลาเฉลิมกรุง”
“
สำ�หรับไ้ ด้รับการขนานนามว่าเป็นโรงฉายภาพยนตร ์ที่ทันสมัยมากที่สุดในเอเชียเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมความบันเทิง เปรียบเสมือนฮอลลีวูดเมืองไทย
”
โรงมหรสพ ซึง่ เป็นทีร่ วมของความโอ่อา่ ทันสมัยในยุคนัน้ คงเป็นทีใ่ ดไม่ได้นอกจาก ‘ศาลาเฉลิมกรุง’ โรงฉายภาพยนตร์ชนั้ หนึง่ บนถนนเจริญกรุงและตรีเพชร ซึง่ ก่อสร้างขึน้ เมือ่ ครั้งเฉลิมฉลองพระนครที่มีอายุครบ 150 ปี ความไม่ธรรมดาของเฉลิมกรุงขณะนั้น ทำ�ให้ได้รับการขนานนามว่าเป็นโรงฉาย ภาพยนตร์ทที่ ันสมัยมากที่สุดในเอเชีย เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมความบันเทิง เปรียบ เสมือนฮอลลีวูดเมืองไทย เดิมที่ดินบริเวณนี้เป็นที่ดินส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อที่ดินบริเวณช่วงถนนเจริญกรุงและถนน พาหุรัด หลังวังบูรพาภิรมย์ ระหว่างถนนบูรพาและถนนตรีเพชร และวางแผนตัดถนนเป็น รูปกากบาทบทพื้นที่ดินรูปสี่เหลี่ยม โดยมีพระราชประสงค์ว่าอยากให้เป็นแหล่งธุรกิจ ย่าน พาณิชย์ แต่แนวพระราชดำ�รินกี้ ม็ ไิ ด้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เพราะคงปล่อยเป็นลานโล่ง ต่อ มาผูค้ นเรียกบริเวณนีว้ า่ ‘สนามน้�ำ จืด’ เป็นสถานทีท่ ที่ างการนำ�น้�ำ จืดมาแจกจ่ายให้ราษฎร ได้ใช้ในช่วงรัชสมัยของในหลวงรัชกาลที่ 5 ย้ อ น วั น เ ก่ า | 94
95 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
เมื่อจะมีการฉลองพระนครครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็ จ พระ ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระ ราชดำ�ริให้จัดสร้างถาวรวัตถุขนาดใหญ่ ซึ่ง สามารถอำ�นวยสาธารณประโยชน์เป็นที่ ระลึกการเฉลิมฉลองครั้งนั้น จึงโปรดฯ ให้ มี ก ารสร้ า งสะพานพระพุ ท ธยอดฟ้ า เพื่ อ เชื่ อ มกรุ ง เทพฯ กั บ กรุ ง ธนบุ รี ใ ห้ มี ค วาม เจริ ญ พั ฒ นาทั ด เที ย มกั น และด้ ว ยความ รอบรู้ และมีสายพระเนตรที่ยาวไกลของ พระองค์ จึงทรงมีพระราชดำ�ริวา่ สิง่ บันเทิงที่ เฟือ่ งฟูมากทีส่ ดุ ในโลกยุคนัน้ ก็คอื ภาพยนตร์ ซึง่ แม้ในขณะนัน้ จะมีการสร้างโรงภาพยนตร์ ขึน้ อย่างแพร่หลายในกรุงเทพมหานครและ ในทุกหัวเมืองแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีโรง
ภาพยนตร์ใดทีส่ วยงาม ภูมฐิ าน เป็นสง่าราศี แก่เมืองได้ เมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดย เฉพาะในยุโรป ในอเมริกา ที่โรงหนังมักจะ ก่อสร้างอย่างใหญ่โตสวยงามดุจพระราชวัง ขณะที่ โรงหนั ง ในประเทศไทยที่ มี อ ยู่ นั้ น มีหน้าตาคล้ายโกดังสินค้า เพราะสร้างเป็น โรงไม้หลังคามุงสังกะสี พระองค์จึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์กว่า 9 ล้านบาท เพื่อสร้างโรง มหรสพที่ทันสมัยฉายภาพยนตร์เสียงขึ้น เป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยทรงกำ�หนด แนวทางการออกแบบทางสถาปัตยกรรมให้ เน้นความภูมิฐาน สง่างาม เพื่อเชิดหน้าชูตา ประเทศ และเป็นของขวัญแก่พสกนิกรชาว ไทย ให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อน
สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) ภาพจากหนังสือ ‘พระราชประวัติ พระมหากษัตริย์ 9 รัชกาล’ ย้ อ น วั น เ ก่ า | 96
ใจ โดยพระราชทานนามว่า ‘ศาลาเฉลิมกรุง’ ซึ่ง ‘เฉลิมกรุง’ ก็คือกรุงเทพฯ ส่วน ‘ศาลา’ หมายถึง ที่พักผ่อนพักใจของราษฎร อีกทั้ง เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ออกแบบ คือ หม่อมเจ้า สมัยเฉลิม กฤดากรี อาคารศาลาเฉลิมกรุงเริ่มก่อสร้างขึ้นเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 ว่ากันว่า เหล็กส่วนหนึ่งที่เหลือจากการสร้างสะพาน พระพุทธยอดฟ้านั้นก็ถูกนำ�มาใช้เป็นส่วน หนึ่งในการสร้างศาลาเฉลิมกรุงด้วย
ศาลาเฉลิมกรุง ภาพจากหนังสือ ‘ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ’
สนามน้ำ�จืด
บ่อน้ำ�บาดาลแห่งแรกในเมืองไทย
เหม เวชกร (2446 - 2512) จิตรกร และนักเขียนคนสำ�คัญ เล่าถึงสนามน้�ำ จืดไว้ใน เรื่องสั้นชุดผีเรื่องหนึ่งว่า “…มันก็ตึกแถวทั้งนั้น นับแต่ถนน อุณากรรณเป็นสี่เหลี่ยมอ้อมไปพาหุรัด แล้ว หั ก เลี้ ย วกลั บ มาถนนตี ท องและวกเข้ า ด้ า น เจริญกรุงนี่ แต่ว่าตึกแถวตอนนี้เขาสร้างหัก เลี้ยวเข้าตรงกลางเป็นเวิ้งว่าง เขาทำ�เครื่อง สูบน้ำ�บาดาลอยู่ชิดตลาดมิ่งเมืองด้านพาหุรัด นั่น…นามของตำ�บลนี้ คือ ‘สนามน้ำ�จืด’….” และเล่าบรรยากาศยุคนั้นไว้อีกว่า “…แดนนี้จัดว่าเป็นแดนสำ�คัญของ ชาวบางกอก เป็นแดน สำ�คัญของชาวบางกอก เป็นแดนมีน�้ำ สะอาดดืม่ กิน แทนทีจ่ ะดืม่ กินใน คลองหรือแม่น�้ำ กัน เพราะตามคลองนัน้ มีของ สกปรกลอยให้เห็นเวลาน้�ำ ขึน้ น้�ำ ลงเสมอๆ เมือ่ มามีน้ำ�บาดาลดื่มกิน น้ำ�ในลำ�คลองบางกอก เราจึงใช้แต่อาบกัน ในแดนนี้ทั้งวันจะมีคนมา หาบน้ำ�ไปใช้บ้างและขายตามชาวตึกชาวบ้า นทั่วๆไปบ้าง พอเวลาเย็นค่ำ�ก็ปิดการจ่ายน้ำ� ในเวิ้งสนามน้ำ�จืดก็เงียบคน พวกตึกแถวนั้น ถ้าเป็นหัวมุมถึงจะเป็นห้างขายของญี่ปุ่นบ้าง จีนบ้าง ถ้าไม่ใช่หัวมุมก็เป็นห้องเช่าของคนที่ อยู่อาศัยธรรมดานั่นเอง…” จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 7 พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านก็มาทำ� 97 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ศาลาเฉลิมกรุง ภาพจากหนังสือ ‘ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ’
ศาลาเฉลิมกรุง ภาพจากหนังสือ ‘เรื่องเล่าชาวหลังวัง (วังบูรพาภิรมย์) ตอนหลังวัง ความหลังแห่งความเริงรมย์’
ตัวอย่างใบปิดภาพยนตร์ ที่ศาลาเฉลิมกรุง ภาพถ่ายจาก บ้านพิพิธภัณฑ์
ศาลาเฉลิมกรุงมุมสูง ภาพจาก www.thaidvd.net
99 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
แรกเริ่ ม ศาลาเฉลิ ม กรุ ง มี กำ � หนดเปิ ด ใน ปี พ.ศ. 2475 แต่เนื่องจากว่าเป็นสถาน ที่ ตั้ ง ใจก่ อ สร้ า งให้ ง ดงาม เป็ น ที่ สุ ด ทาง สถาปัตยกรรมของสยามการก่อสร้างจึงค่อน ข้างช้า เสร็จไม่ทันงานปี 2475 หากมาแล้ว เสร็จเมื่อปี 2476 ซึ่งประชาชนก็ตื่นเต้นกัน มาก เพราะไม่เคยมีโรงหนังที่โอ่อ่าเหมือน พระราชวัง ซ้�ำ ยังมีการติดเครือ่ งปรับอากาศ ทัง้ โรงอย่างนีม้ าก่อน ก่อนฉายหนัง จะมีการ ฉายรูปสถาปนิก วิศวกรซึง่ มีสว่ นร่วมในการ ก่อสร้าง ที่น่าภาคภูมิใจคือทุกท่านเป็นคน ไทยที่ไปเรียนต่างประเทศ มีการเล่นแสง
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพจากหนังสือ ‘พระราชประวัติ พระมหากษัตริย์ 9 รัชกาล’
เสียง ฉายสีต่าง ๆ น่าตื่นตาตื่นใจเป็นพิธีเปิดแล้วจึงฉายภาพยนตร์ สถาปัตยกรรมภายนอกของศาลาเฉลิมกรุงเป็นแบบตะวันตก เนื่องจากหม่อมเจ้าสมัย เฉลิม กฤดากร สถาปนิกผู้ออกแบบจบการศึกษามาจากต่างประเทศ แต่แม้ตัวตึกจะ เป็นสีเ่ หลีย่ มธรรมดาตามแบบตะวันตก หากทรงนำ�สถาปัตยกรรมไทยมาตกแต่งภายใน ตัวอาคาร โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงจึงนับเป็น ‘สถาปัตยกรรมร่วมสมัย’ ที่สะท้อนความ งดงามของศิลปะตะวันตกกับตะวันออกอย่างลงตัว กลายเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำ�แบบใคร สมเป็นผลงานชั้นเลิศแห่งยุค โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 ซึ่งมี การฉายภาพยนตร์ฝรัง่ เสียงในฟิลม์ (บันทึกเสียงจริงของนักแสดงพร้อมไปกับการถ่ายทำ� และใช้เสียงจริงที่บันทึกมาลงฟิล์มภาพยนตร์) เรื่อง ‘มหาภัยใต้ทะเล’ ผู้คนต่างแห่แหน มาชมกันอย่างล้นหลามจนแถวยาวเลยออกไปถึงถนนหน้าโรง เอก อัครเมธา ผู้สร้างและผู้กำ�กับหนังไทยรุ่นเก๋าเล่าถึงวันเปิดเฉลิมกรุงว่า วันที่เปิด โรงภาพยนตร์จำ�ได้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาไม่ได้ แต่คนก็มา
กันเยอะมาก นั่งรถรางมากัน จนรถรางติด “ก่อนการฉายภาพยนตร์ในวันนัน้ มีการฉาย พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และบรรเลง เพลงสรรเสริญพระบารมี เนื่องจากพระ องค์เสด็จฯ มาไม่ได้ เลยต้องใช้วิธีนี้แทน ต่อมาการฉายพระบรมฉายาลักษณ์กษัตริย์ และพระบรมวงศานุ ว งศ์ พร้ อ มกั บ การ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนฉาย ภาพยนตร์ก็กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ จนถึงทุกวันนี้” ผูก้ �ำ กับมือดียอ้ นรอยอดีตทีเ่ ฟือ่ งฟูของเฉลิม กรุงต่อไปว่า ภายในโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง มีการติดเครือ่ งปรับอากาศในระบบคูลลิง่ ใช้ น้�ำ เพราะฉะนัน้ ใครเข้ามาในศาลาเฉลิมกรุง ก็จะหนาวมากจนตัวสั่นกันเลยทีเดียว “สมัยก่อนคนมาดูหนังจะแต่งตัวดีเพราะ เป็นสถานที่โอ่อ่า ราคาที่นั่งแพงสุดกับถูก สุดก็จะต่างกันมาก ตั๋วราคาถูกก็จะอยู่แถว หน้า ตัว๋ แพงก็จะอยูด่ า้ นบน พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั ท่านสร้างโรงหนังแห่ง นีเ้ พือ่ ให้ให้ประชาชนทัว่ ไปก็ได้มโี อกาสดู ไม่ เพียงแต่คนมีเงินเท่านั้นที่จะเข้ามาดูได้ ตั๋ว จึงมีขายหลายราคา ใครไปเที่ยวย่านนี้ มา ดูหนังที่นี่ถือว่าสุดยอดมากแล้ว หน้าศาลา เฉลิมกรุงเข้าคิวกันไปยาวถึงไหนต่อไหน สี่ แยกคนเต็มไปหมด เรียกได้ว่าทุกพื้นที่ของ ศาลาเฉลิมกรุงนี่แน่นไปหมด”
เป็นโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง จึงได้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นย่านการค้า ซึ่ง บริเวณข้างๆ ศาลาเฉลิมกรุงนั้นก็เป็นแหล่ง ค้าขายจริงๆ ย่านสนามน้ำ�จืดได้กลายเป็นที่ ตั้งของโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ที่สร้าง ขึ้นในช่วงแห่งการฉลองพระนครครบ 150 ปี เมื่อ พ.ศ. 2475 ส่ ว น เ ส ถี ย ร โ ก เ ศ ศ ( พ ร ะ ย า อนุมานราชธน) อธิบายไว้ในหนังสือชุด ‘ฟื้น ความหลัง’ ว่าเหตุที่เรียกกันว่าสนามน้ำ�จืด นั้น เนื่องจาก “…เคยตั้งถังน้ำ�ขนาดใหญ่สูบ เอาน้ำ�บาดาลขึ้นมาเก็บไว้ บ่อน้ำ�บาดาลแห่ง นี้เป็นแห่งแรกที่มีขึ้นในเมืองไทย…”
เดิมทีรัชกาลที่ 7 ทรงตั้งใจจะสร้างโรงหนัง ให้สามารถจุผู้ชมได้ถึง 4,000 ที่นั่ง เหมือน กับโรงหนังทีห่ รูหราตามอย่างประเทศตะวัน ตก แต่ดว้ ยทุนทีจ่ �ำ กัด ทำ�ให้จ�ำ เป็นต้องปรับ ลดขนาดลง เหลือประมาณ 2,000 ที่นั่ง คุณเอกเล่าต่อด้วยน้ำ�เสียงสนุกสนานว่า ที่ เฉลิมกรุงจะมีช่องจำ�หน่ายตั๋วเป็นช่องเล็ก ๆ ขายตั๋วประมาณ 7 บาท ตั้งแต่หกโมงเย็น “เขาขายตั๋วกันหกโมง แต่คนไปกันตั้งแต่ สี่โมงเย็น คนมันเยอะมาก ยิ่งถ้ามิตร - เพ ชราเป็นพระเอกนางเอกนี่คนเต็มเลย พอ
เขาเปิดขายปับ๊ คนก็พรึบ่ กันเข้าไป พอซือ้ ตัว๋ ได้ มือดันดึงไม่ออก เพราะมันเป็นช่องเล็ก ๆ ติดมือทีก่ �ำ เงินอยู่ คนขายตัว๋ ก็จะแกะมือเรา ออก ถ้า 7 บาท ก็หนึ่งใบ 14 บาท ก็สอง ใบ 21 บาท ก็สามใบอะไรอย่างงี้ พอได้ปั๊บ ดึงไม่ออก! ต่างคนต่างติดอยู่ในนั้น บางคน ถึงกับตีกระจกแตก แต่ก็สนุกดี” (หัวเราะ) พิชยั น้อยรอด ผูส้ ร้างและผูก้ �ำ กับหนังเพือ่ น สนิทคุณเอกเสริมว่า ยุคนั้นภาพยนตร์เป็น หนังเสียงเต็มตัวแล้ว ก่อนหน้านี้เป็นหนัง เงียบมาตลอด หนังเสียงเข้ามาในปี พ.ศ. 2470 มาแพร่ ห ลายในเมื อ งไทยปี พ.ศ. 2473 โรงหนังที่สร้างขึ้นก่อนหน้านี้ จึงไม่ใช่ โรงภาพยนตร์สำ�หรับหนังเสียง แต่ศาลา เฉลิมกรุงเป็นโรงภาพยนตร์ฉายหนังเสียง โดยเฉพาะ “ยุคนั้นมีหนังเงียบ หนังพากย์ แล้วก็หนัง เสียง ศาลาเฉลิมกรุงสร้างมาเพื่อเป็นโรง ภาพยนตร์เสียง แต่ว่าหนังไทยในเวลานั้นมี อยู่สองแบบ แบบแรกเป็นเสียงในฟิล์ม อีก แบบใช้วิธีพากย์สดขณะฉาย โรงหนังเฉลิม กรุงจึงต้องปรับให้ฉายหนังไทยที่พากย์ได้ ด้วย เลยต้องมีการสร้างเป็นห้องพากย์เล็ก ๆ ต่อมาช่วงหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง หนัง ไทยเปลี่ยนเป็นแบบ 16 ม.ม. ซึ่งเวลาฉาย แล้วจอเล็ก และต้องใช้นักพากย์มาพากย์ สดในโรง แต่ก็ยังยืนหยัดสู้กับหนังฮอลลี วูด หนังต่างประเทศที่ได้มาตรฐานกว่าได้”
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 102
นอกจากโรงภาพยนตร์แล้ว พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวยังโปรดฯ ให้จัดตั้ง บริษัท ‘สหศีนิมา จำ�กัด’ ซึ่งมีความหมาย ว่า ‘แข็งแรงขึน้ ร่วมกัน’ และยังออกเสียงล้อ กับคำ�ว่า ‘Cinema’ เพือ่ จัดจำ�หน่ายซือ้ ขาย ภาพยนตร์ป้อนศาลาเฉลิมกรุง ช่วงเวลานั้น มีโรงหนังในเครือ 7 โรงด้วยกัน คนนิยมเรียก ว่า ‘7 เฉลิม’ ได้แก่ ศาลาเฉลิมกรุง ศาลา เฉลิมบุรี ศาลาเฉลิมธานี ศาลาเฉลิมรัตน์ ศาลาเฉลิมเวียง ศาลาเฉลิมนคร และศาลา เฉลิมราสดร์ ทั้งหมด 7 โรงตามรัชกาลที่ 7 จุดเปลี่ยนที่สำ�คัญของการพักผ่อนหย่อน ใจของชาวกรุ ง เทพเกิ ด ขึ้ น อี ก ครั้ ง เมื่ อ สงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้น รัฐบาลไทย ประกาศสงครามกับอเมริกา และอังกฤษ จึงไม่มีหนังฮอลลีวูดเข้าฉาย มีแต่หนังญี่ปุ่น หนังเยอรมัน แต่ก็ประสบปัญหาขาดแคลน อุปกรณ์ อะไหล่ต่าง ๆ จนกระทั่งต้องหยุด ฉายหนังไป ศาลาเฉลิมกรุงก็ได้รบั ผลกระทบ ด้วยเช่นกัน โดยเปลี่ยนบทบาทมาเป็นโรง ละครเวทีแทน รัฐบาลในขณะนั้นพยายาม สร้างความบันเทิงให้ประชาชน เพือ่ ลดความ ตึงเครียดจากภาวะสงคราม โรงภาพยนตร์ จึงกลายเป็นโรงละครจนกระทั่งสงครามจบ ลง จนสงครามสงบลงแล้วระยะหนึง่ จึงกลับ มาฉายภาพยนตร์อกี ครัง้ ละครเวทีกห็ ายไป เมื่อผู้คนกลับมาเพลิดเพลินกับภาพยนตร์ อี ก ครั้ ง บริ ษั ท สหศี นิ ม าก็ ก ลั บ มาเฟื่ อ งฟู
บริษัทดำ�เนินการสั่งหนังจากต่างประเทศ เข้ามาฉาย ส่วนใหญ่เป็นหนังฮอลลีวูดที่ ครองโลกครองตลาดอยู่ รวมถึงหนังไทยที่ ลงทุนสร้างเอง “หลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 จัดว่าเป็นยุคทอง ของภาพยนตร์ไทย หนังไทยได้รบั ความนิยม อย่างมาก โดยเฉพาะพวกสายหนังมาตั้ง ชุมนุมอยู่เป็นสิบ ๆ เจ้า ตัวประกอบหนังก็ จะมาวนเวียนป้วนเปี้ยนอยู่แถว ๆ นั้น เพื่อ รอคนติดต่อไปแสดง ศาลาเฉลิมกรุงกลาย มาเป็นแหล่งพบปะพูดคุยของกลุ่มคนใน อุตสาหกรรมหนังไทย จนได้รับสมญานาม ว่าเป็นฮอลลีวูดแห่งเมืองไทย” คุณพิชัยเล่า ถึงความเฟื่องฟูของศาลาเฉลิมกรุง
ใบปิดโฆษณา ‘เฉลิมกรุงไอศกรีม’ ภาพจาก นสพ. กรุงเทพฯวารศัพท์
ภาพยนตร์
ส่วนพระองค์รัชกาลที่ 7
ภาพยนตร์ ข่ า วและภาพยนตร์ สารคดีในระยะแรกจำ�นวนหนึง่ เป็นภาพยนตร์ ส่ ว นพระองค์ พ ระบาทสมเด็ จ พระปกเกล้ า เจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่โปรด ภาพยนตร์อย่างมาก เพราะทรงเป็นทั้งนักชม ภาพยนตร์และนักถ่ายทำ�ภาพยนตร์สมัครเล่น มาตัง้ แต่กอ่ นเสด็จขึน้ ครองราชย์ เมือ่ เสด็จขึน้ ครองราชย์แล้ว ยังทรงโปรดภาพยนตร์เป็น พิเศษ เมื่อพระองค์เสด็จฯไปที่แห่งใดทั้งใน และนอกพระราชอาณาจักร มักจะทรงถือ กล้องถ่ายภาพยนตร์ขนาดเล็ก 16 มิลลิเมตร ติดพระหัตถ์ไปด้วยเสมอ เพือ่ บันทึกเหตุการณ์ ต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง นอกเหนือไปจากที่ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ จั ด ตั้ ง สมาคมภาพยนตร์ ส มั ค รเล่ น แห่ ง สยามในพระบรมราชูปถัมภ์ในปี พ.ศ.2473 มีสำ�นักงานตั้งอยู่ในพระราชวังสวนจิตรลดา (เมื่อมีโรงภาพยนตร์ขึ้นมาสมาคมก็มาตั้งอยู่ ในศาลาเฉลิมกรุง) เพื่อส่งเสริมและเป็นศูนย์ รวมของนักถ่ายภาพยนตร์สมัครเล่นในสยาม มีสมาชิกประกอบด้วยเจ้านายในพระราชวงศ์ ขุนนางและนักธุรกิจทั้งไทยและต่างประเทศ กิจกรรมสำ�คัญอย่างหนึ่งของสมาคมคือจัด ประชุมฉายหนังแลกเปลีย่ นกันดูในหมูส่ มาชิก และแขกของสมาคมเดือนละครั้ง รัชกาลที่ 7 103 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพจาก www.chaoprayanews.com
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพจากหนังสือ ‘พระราชประวัติ พระมหากษัตริย์ 9 รัชกาล’
พระที่นั่งอัมพรสถาน ภาพจาก www.pantip.com
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 104
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาพจากหนังสือ ‘พระราชประวัติ พระมหากษัตริย์ 9 รัชกาล’
พระที่นั่งอัมพรสถาน ภาพจาก www.pantip.com
โปรดฯพระราชทานภาพยนตร์ฝีพระหัตถ์ซึ่ง เรียกว่า ‘ภาพยนตร์ทรงถ่าย’ และภาพยนตร์ เผยแพร่ในส่วนพระองค์ซงึ่ เรียกว่า ‘ภาพยนตร์ อัมพร’ มาฉายให้สมาชิกชมอยู่เสมอ รวมทั้ง ยั ง เสด็ จ ฯมาทอดพระเนตรภาพยนตร์ เ ป็ น ประจำ�อีกด้วย สำ�หรับนักถ่ายภาพยนตร์ได้ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชา่ งทองจัดทำ�แหนบหรือ เข็มเครื่องหมายเป็นแบบตราอาร์ม มีอักษร ลงยาอยูใ่ นวงตราอาร์มว่า ส.ภ.ส ซึง่ ย่อมาจาก คำ�ว่า ‘สมาคมถ่ายภาพยนตร์สวนจิตรลดา’ พระราชทานแก่ บ รรดานั ก ถ่ า ยภาพยนตร์ สมัครเล่นด้วย สมาคมภาพยนตร์ ส มั ค รเล่ น แห่ ง สยามและกิจกรรมภาพยนตร์ในส่วนพระองค์ ได้ ซ บเซาและหยุ ด ชะงั ก ไปหลั ง จากการ เปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 ฟิล์ม ภาพยนตร์ถกู ทอดทิง้ และเก็บรักษาอย่างไม่ถกู หลักวิชาการ จนส่วนหนึง่ ชำ�รุดไปมาก กระทัง่ สมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 พระราชทานให้แก่สยามสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อรักษาไว้เป็นสมบัติ ของชาติ และปัจจุบันอยู่ในการดำ�เนินการ โครงการอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ภาพยนตร์ ส่ ว นพระองค์ ทั้ ง หมดแบ่ ง ได้ 3 ประเภท คือ 1. ภาพยนตร์ทรงถ่าย คือ ภาพยนตร์ ที่ เ ป็ น ผลงานฝี พ ระหั ต ถ์ มี ทั้ ง ที่ บั น ทึ ก เป็ น
105 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ใบเบิกทางสู่วงการภาพยนตร์ นอกจากฉายภาพยนตร์ แ ล้ ว เฉลิ ม กรุ ง ยั ง เป็นที่แจ้งเกิดของดาวประดับฟ้าบันเทิงเมือง ไทย และเป็นบันไดสร้างชื่อเสียงให้แก่บุคคล ในแวดวงภาพยนตร์มากมาย ตั้งแต่ผู้สร้าง ผู้ กำ�กับ ดารา ตัวประกอบ ทีมงาน นักพากย์ นักร้อง ช่างเขียนโปสเตอร์ ฯลฯ โดยหนึง่ ในนัก แสดงที่แจ้งเกิดจากศาลาเฉลิมกรุงที่ยังคงยืน หยัดอยูใ่ นวงการทุกวันนีค้ อื ‘พิศมัย วิไลศักดิ’์ ความนิยมของภาพยนตร์เรื่อง ‘การะเกด’ ปี 2501 ที่เธอเล่นเป็นนางเอก ไม่เพียงสร้าง ความคึกคักให้ศาลาเฉลิมกรุง ทว่ายังแจ้งเกิด ให้นางเอกหน้าใหม่ ผู้สร้างความประทับใจ พิศมัย วิไลศักดิ์ จากภาพยนตร์เรื่อง ให้แก่ผู้ชมยิ่งขึ้น เมื่อนางเอกในจอออกมารำ� ‘การะเกด’ เป็นที่รู้จักจากฉากรำ�ฉุยฉายในเรื่อง ภาพจาก www.thaifilm.com ฉุยฉายหน้าเวทีเกือบร้อยรอบที่หนังเข้าฉาย ในครั้งนั้นนางเอกวัย 19 ปีอย่างพิศมัยต้องรำ� กินและนอนอยู่ที่ศาลาเฉลิมกรุงตลอดระยะ “สมัยก่อนเวลาหนังเข้า ดาราจะมาโชว์ตวั เก็บ คนละ 15 บาท 20 บาท คนต้องมาจองคิวดู จะ เวลาที่หนังเข้าโรง มาดูพระเอก เมือ่ ก่อนนีย่ ากทีจ่ ะเจอ ดาราสมัย ก่อนเก็บตัว ไม่กล้ามีแฟน สมัยนี้เดินห้างก็เจอ แล้ว จะเจอมิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ นีห่ มดสิทธิ์ ต้องไปวันเปิดตัวหนังเท่านัน้ คนมา เป็นพัน ไม่เหมือนสมัยนี้ เดี๋ยวนี้เดินชนกันยัง ไม่รู้ใครเป็นใคร ดาราดัง ๆ สมัยนั้นมีสมบัติ เม ทะนี ไชยา สุริยัน มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาว ราษฎร์ ดังระเบิดเถิดเทิง สองคนนี้ต้องคู่กัน
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 106
สมัยนั้น พระเอกนางเอกต้องคนนี้ คนดู ชอบมาก” คุณเอกเล่าอย่างเห็นภาพ เมือ่ ศาลาเฉลิมกรุงเปรียบเหมือนแม่เหล็ก ดึงดูดผู้คน บริเวณข้าง ๆ อาคารจึงเต็ม ไปด้วยร้านรวงต่าง ๆ ผุดขึ้นมากมาย ทั้ง ร้านข้าวแกง ข้าวขาหมู แกงกะหรี่ สตู ก๋วยเตี๋ยวเป็ด จนเป็นที่รู้กันว่าหากจะหา ของอร่อย ๆ ทาน ต้องมาที่เฉลิมกรุงมีทุก อย่าง มีแม้กระทั่งตลาดขายของ
เหตุ ก ารณ์ เ บ็ ด เตล็ ด เรี ย กเป็ น สามั ญ ได้ ว่ า ภาพยนตร์ในครอบครัว บางเรื่องเป็นบันทึก เหตุการณ์ในส่วนพระองค์จริงๆ มีตัวอักษร ขึ้นหัวฟิล์มว่า ห้ามฉายเผยแพร่สู่สาธารณชน นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์เรื่องแสดงในชุดที่ ทรงเรียกว่า ‘นิทานของลุง’ เช่น เรื่อง ‘แหวน วิเศษ’ อยู่อีกด้วย 2. ภาพยนตร์อัมพร คือ ภาพยนตร์ บันทึกพระราชกรณียกิจสำ�หรับเผยแพร่อย่าง เป็นทางการ ถ่ายทำ�ระหว่างปี พ.ศ. 2469 2474 เช่นการเสด็จฯ เลียบมณฑลต่าง ๆ หลัง จากเสด็จขึ้นครองราชย์ การเสด็จฯ เยือนต่าง ประเทศอย่างเป็นทางการทั้งในเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา พระราชกรณียกิจในพระ ราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีโล้ชิงช้า พระ ราชพิธีฉลองพระนคร 150 ปี พระราชพิธีทาง ศาสนาและการตรวจพลสวนสนามและการ ซ้อมรบของกองทัพ 3. ภาพยนตร์หายากร่วมรัชสมัย คือ ภาพยนตร์ที่มีผู้นำ�ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายและที่ ทรงซือ้ มาในจำ�นวนนีเ้ ป็นฟิลม์ ภาพยนตร์ชนิด 9.5 มิลลิเมตร เป็นภาพยนตร์ยคุ หนังเงียบของ ฮอลีวูดมากกว่า 10 เรื่อง
ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง ‘แสงสูรย์’ ภาพจาก www.wikipedia.org
107 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ในช่ ว งที่ ห นั ง ไทยกลั บ มาเฟื่ อ งฟู ขึ้ น อี ก ครั้ง หนังไทยเรื่องใดที่ได้เข้าฉายเฉลิม กรุงถือว่าไม่ธรรมดา เป็นหนังที่มีความ พิเศษ นอกจากนี้ ในรอบปฐมทัศน์จะมี การจัดการแสดงต่าง ๆ เช่น มีการแสดง ดนตรี มีละครสั้น เป็นที่คึกคักมาก “หนั ง สมั ย ก่ อ นยาวนะ ประมาณสาม ชั่วโมงกว่า ๆ ไม่งั้นคนไม่ดู หนังไม่สั้น เหมื อ นสมั ย นี้ หนุ่ ม สาวเขาก็ เ ลยมาใช้
เวลาเจอกันยาว ๆ ที่โรงหนังนี่ไง แต่เมื่อ ก่อนคนไม่กลับดึกกัน ไม่มีรถด้วย มีแต่ สามล้อ รถเมล์ก็หมดทุ่มครึ่ง ไม่เหมือน สมัยนี้กลับเมื่อไหร่ก็ได้ (หัวเราะ) สมัย ก่อนหนังรอบพิเศษเขา 10 โมง สมัยนี้ 5 ทุ่ม รอบดึกนี่สองยามกว่า ๆ แต่ไม่ค่อยมี คนดู มีเฉพาะคนย่านนัน้ ดูบา้ ง เพราะเดิน ทางไม่สะดวก” คุณพิชัยกล่าว
ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง ‘จ้าวนักเลง’ ภาพจาก www.thaifilm.com ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง ‘จ้าวนักเลง’ ภาพจาก www.thaifilm.com
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 108
ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง ‘ดวงตาสวรรค์’ ภาพจาก www.thaifilm.com
ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง ‘สาวบ้านแต้’ ภาพจาก www.thaifilm.com
ซองแผ่นเสียง ประกอบภาพยนตร์ เรื่อง ‘เรือนแพ’ ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร ภาพจาก หนังสือ ‘เมืองไทย 2495 - 2519’
แหล่งรวมศิลปินคุณภาพ
มิตร ชัยบัญชา - เพชรา เชาวราษฎร์ ดาราคู่ขวัญ ภาพจากหนังสือ ‘เมืองไทย 2495 - 2519’
ความบันเทิงที่คู่กับศาลาเฉลิมกรุงซึ่งได้ รับความนิยมอย่างมากหนีไม่พน้ ‘ละคร’ โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ศาลาเฉลิมกรุงใช้เป็นที่แสดงละครเวที และดนตรี เนื่องจากไม่มีภาพยนตร์ฉาย และที่ก่อกำ�เนิดมาพร้อมกับความเฟื่อง ฟูของละครที่ศาลาเฉลิมกรุงก็คือเหล่า บรรดานักร้องหน้าม่านที่ร้องเพลงสลับ ฉากทั้งหลาย โดยไม่มีวงดนตรีบรรเลง
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 110
เสริมคอยช่วยเหลือ ต้องใช้ความสามารถ และพรสวรรค์ในการสร้างความสำ�ราญให้ แก่เหล่าบรรดาผู้ชม การแสดงพวกนีต้ อ้ งเป็นรอบพิเศษเท่านัน้ เช่น เป็นภาพยนตร์รอบปฐมทัศน์ รอบ การกุศล ก็ถึงจะมีดนตรีหน้าม่าน ตลก หน้าม่าน และละครสั้นหน้าม่าน ก่อนจะ ฉายภาพยนตร์
จากโรงภาพยนตร์สู่โรงมหรสพแห่งชาติ ศาลาเฉลิ ม กรุ ง จึ ง เกิ ด ขึ้ น มาพร้ อ มกั บ ความเจริญรุ่งเรืองของกรุงเทพมหานคร เป็ น สั ญ ลั ก ษณ์ แ ห่ ง ความเฟื่ อ งฟู ข อง วงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เป็น ศูนย์กลางความบันเทิง และความทันสมัย ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศ จนหากใครไม่รู้จัก ศาลาเฉลิมกรุงถือว่าตกยุคกันเลยทีเดียว เฉลิมกรุงรุง่ เรืองอยูก่ ว่า 60 ปี จนกระทัง่ ปี พ.ศ. 2535 โรงภาพยนตร์สว่ นใหญ่เปลีย่ น ตัวเองจากที่เคยเป็นใหญ่โตโอ่โถงกลาย เป็นโรงฉายขนาดเล็ก เป็นมินิเธียเตอร์ จุ คอหนังได้เพียงสองร้อยทีน่ งั่ และมักตัง้ อยู่ ในศูนย์การค้า ซึ่งสะดวกเมื่อทำ�กิจกรรม อื่น ๆ เสร็จก็เข้าไปดูภาพยนตร์ต่อได้เลย ประกอบกับช่วงนั้นคนก็เสพวิดีโอที่บ้าน กันมากขึน้ อีกทัง้ ยังมีวดิ โี อผี ซีดเี ถือ่ น โรง ภาพยนตร์ขนาดใหญ่ที่มีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากมายจึงยากจะอยู่รอด ตัวศาลาเฉลิม กรุงเองก็ทรุดโทรม ด้วยผ่านกาลเวลามา นานกว่าหกสิบปี คนดูก็น้อยลง สํานักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลกิจการของโรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุง จึงตัดสินใจปิดศาลาเฉลิม กรุงเพื่อปรับปรุง ปรับระบบต่าง ๆ ใหม่ และลดที่นั่งใหม่จากเดิมสองพันกว่าที่นั่ง ให้เหลือแค่หกร้อยที่นั่ง 111 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
บรรยากาศภายในศาลาเฉลิมกรุงปัจจุบัน มีภาพถ่ายเก่า ๆ ประดับตามผนัง
แต่แม้จะลดที่นั่งให้เหลือเพียงหกร้อยที่นั่ง แล้วก็ตาม แต่การฉายภาพยนตร์ประจำ�ก็ คงทำ�ไม่ได้แล้ว เนื่องจากว่ายังมีขนาดใหญ่ เกินไปสำ�หรับโรงภาพยนตร์ในยุคสมัยใหม่ การปรับบทบาทครั้งสำ�คัญของเฉลิมกรุงจึง เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2535 โดยนำ�แนวพระ ราชดำ�ริของรัชกาลที่ 7 ที่ทรงปรารถนาให้ ศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงมหรสพที่เชิดหน้าชู ตาของประเทศมาเป็นแนวทาง ด้วยการนำ� โขนประยุ ก ต์ แ นวใหม่ ที่ เรี ย กว่ า โขนจิ น ต นฤมิต และละครเวทีมาเปิดการแสดงแทน
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 112
รวมถึงการขับร้องเพลงลูกกรุง เพื่ออนุรักษ์ และส่งเสริมศิลปะความบันเทิงแบบไทย ๆ สู่ อ นุ ช นคนรุ่ น หลั ง และเป็ น ขวั ญ ของ กรุงเทพมหานคร เป็นสมบัติของประชาชน ทั่ว ๆ ไปไม่ต่างจากเดิม “ศาลาเฉลิมกรุงสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสถาน บันเทิงให้คนเข้ามาแวะเวียน มีคนพูดเสมอ ว่าโรงหนัง โรงละครต้องร้อนอยู่เสมอ คำ� ว่าร้อนนั้นคือต้องมีคนเข้าออกอยู่อย่างต่อ เนื่อง เพราะฉะนั้นกิจกรรมที่มีอยู่ก็ต้องมี อยู่อย่างต่อเนื่อง ถ้าพูดถึงตัวอาคารศาลา
เฉลิมกรุงก็แข็งแรง สามารถที่จะอยู่ได้ร้อย สองร้ อ ยปี อ ยู่ แ ล้ ว แต่ ค วามนิ ย มที่ ค นจะ อยู่ไปกับที่นี่เป็นสองร้อยปีนี่เป็นสิ่งที่ศาลา เฉลิมกรุงต้องทำ�” คุณพิชัยแสดงความคิด เห็นในฐานะผู้มีชีวิตพันผูกอยู่กับเฉลิมกรุง มาโดยตลอด ส่ ว นคุ ณ เอกเห็ น ว่ า พฤติ ก รรมการชม ภาพยนตร์ที่แตกต่างระหว่างคนในอดีตกับ ปัจจุบันสะท้อนรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตก ต่างกันของคนกรุงเทพฯ “ปัจจุบนั ทุกคนมีโรงหนังอยูใ่ นฝ่ามือตัวเอง กันหมด จากโรงหนังที่เป็นกิจกรรมสังคมก็ กลายเป็นของส่วนตัว ทั้งที่หนังเขาทำ�เพื่อ ฉายขึ้นจอใหญ่ให้คนดูได้ดูโรงใหญ่ ๆ เรา
ไม่มีทางจะได้รสชาติของมันเลยจากการดู จอเล็ก ๆ หรือดูในบ้าน จะได้ต่อเมื่อไปดู ในโรงใหญ่กับคนอื่นร่วมสังคม อย่างน้อยห นุ่มสาวแฟนกัน ก็มักจะรู้จักกันผ่านการไป ดูหนังในโรง ไม่ว่าอย่างไร สำ�หรับคนทำ� หนัง โรงหนังก็ยงั มีความสำ�คัญกับเราเสมอ” ศาลาเฉลิ ม กรุ ง จึ ง เปรี ย บเหมื อ นภาพ สะท้อนชีวิตมนุษย์ มีขึ้น มีลง แม้ปัจจุบัน จะเงียบเหงาไม่คกึ คักเหมือนดัง่ วันวาน หาก ก็ยงั คงยืดหยัดกลับมาให้คนนึกถึงได้ และยัง คงเป็นโรงมหรสพที่สร้างความบันเทิงคู่กับ คนไทยมานานถึง 80 ปี
ศาลาเฉลิมกรุงกับการแสดงโขนชุด ‘หนุมาน’
113 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 114
ข้อมูลประกอบการเขียน 1.หนังสือ ‘ย่านเก่าในกรุงเทพฯ เล่ม 2’ โดย ปราณี กล่ำ�ส้ม 2.หนังสือ ‘ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ’ โดย น. ณ ปากน้ำ� 3.เว็บไซต์ ศาลาเฉลิมกรุง www.salachalermkrung.com 4.เว็บไซต์การศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ใน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพร รณีฯ http://kingprajadhipokstudy.blogspot.com/
115 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
หอมกรุ่นกาแฟรับรุ่งกับ
ออน ล๊อก หยุ่น
กลิ่นหอมกรุ่นของกาแฟ พร้อมด้วยขนมปังนุ่ม ๆ และชุดอาหารเช้า คงเป็นสิ่ง ที่ขาดไม่ได้ของใครหลายคน ท่ามกลางความวุ่นวายของเมืองหลวง บรรยากาศที่รีบเร่งใน ยามเช้าของทุก ๆ วัน ยังมีรา้ นกาแฟโบราณร้านหนึง่ ทีย่ งั คงเปิดดำ�เนินการข้ามผ่านวันเวลา มาหลายยุคหลายสมัย ร้านแห่งนี้คือ ร้าน ‘ออน ล๊อก หยุ่น’ ร้านกาแฟเก่าในย่านวังบูรพา บริเวณริมถนนเจริญกรุง ใกล้กับโรงมหรสพศาลาเฉลิมกรุง หากมองผ่านหน้าร้านเราจะเห็นชายวัยกลางคนผู้หนึ่งมักยืนอยู่บริเวณตู้กระจก ที่วางขายขนมปังแถวและสังขยาตรงหน้าร้าน หรือไม่ก็บริเวณเคาน์เตอร์ข้าง ๆ หรือแม้แต่ ทำ�หน้าทีบ่ ริกรคอยจดรายการอาหาร เสิรฟ์ รวมไปถึงคิดเงินลูกค้า ชายผูน้ คี้ อื คุณประพนธ์ ทยานุกูล เจ้าของร้านอารมณ์ดี ผู้สืบทอดกิจการครอบครัวรุ่นที่ 3 ของร้านออน ล๊อก หยุ่น คุณประพนธ์เล่าว่า จุดเริ่มต้นของร้านเริ่มจากคุณพ่อคือ นายเท่งซาง แซ่ลี้ มา จากเมืองจีน มาก็ทำ�หุ้นส่วนกับคนจีนไหหลำ�เปิดร้านที่นี่ กว่า 80 ปีแล้ว ขายพวกกาแฟ โบราณ ไข่ดาว อาหารเช้า ขนมปัง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เมื่อคุณพ่อเสียไปคุณแม่คือ นางกาญจนา แซ่ลี้ ก็ทำ�หน้าที่ทุกอย่างแทนคุณพ่อ จนถึงปัจจุบันตนก็มารับช่วงต่อ “ขนมปังสังขยานี่สั่งเขาทำ� แต่พวกกาแฟนี่คั่วเอง สมัยก่อนก็มีขายไอศกรีม ขาย ไปกินไปเอง (หัวเราะ) เป็นไอศกรีมกะทิถังไม้โอ๊ค มีเครื่องปั่นไอเราก็นั่งปั่น ๆ อยู่ในบ้าน ใส่ เป็นขันแล้วก็แช่ตู้เย็น ขายเป็นถ้วย ถ้วยละ 2 บาท กาแฟนี่แก้วละบาทแล้วก็ขึ้นมาเรื่อย ๆ”
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 116
117 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
คุณประพนธ์ ทยานุกูล ปัจจุบัน
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 118
คุณประพนธ์ ทยานุกูล เมื่อครั้งยังหนุ่ม ภาพจากนิตยสาร จารึกเศรษฐกิจ
119 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
บรรยากาศภายในร้านที่มีแต่ลูกค้ารุ่นเดอะ ภาพจากนิตยสาร จารึกเศรษฐกิจ
กระป๋องโอวัลตินเปล่าถูกนำ�มาเรียงไว้ ประดับตู้ ภาพจากนิตยสาร จารึกเศรษฐกิจ
เดิมร้านออน ล๊อก หยุน่ มีสาขาอืน่ อีกนอกจาก ที่บริเวณหลังวังบูรพานี้ คือที่ห้างมาบุญครอง ตลาดโบ๊เบ๊ และบริเวณย่านฝั่งธนฯ แต่ก็ปิด หมดเพราะรายรับไม่พอกับรายจ่ายจึงเหลือ ที่นี่ที่เดียว เพราะค่าเช่าแต่ละที่นั้นแพงมาก ทางร้านสู้ไม่ไหว คุณประพนธ์บอกว่าอยู่ไป ก็เหมือนทำ�ให้เจ้าของเขารวย ไม่เหมือนกับ ที่ตรงนี้เพราะเป็นที่ดินซื้อขาดไม่ต้องจ่ายค่า เช่าให้ใคร
บรรยากาศในร้านก็ยังคงเดิม เมื่อเดินเข้ามา ก็เหมือนได้ก้าวย้อนวันเวลากลับมาเมื่อครั้ง ที่ยุคโก๋หลังวังรุ่งเรือง บริเวณหน้าร้านจะมีตู้ กระจกขนาดสูงตัง้ อยูท่ างด้านซ้ายและขวามือ ของร้านใช้วางโชว์กระป๋องเครื่องดื่มรุ่นเก่า ๆ ปัจจุบันนี้คือกระป๋องไมโลสีเขียว ๆ ส่วนด้าน บนตู้น้ันมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่และพระบาทสมเด็จพระ ราชินี เข้าไปด้านใน โต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ สิ่งของ ทุกอย่างยังคงถูกจัดวางไว้เหมือนเดิม ราวกับ ว่าวันเวลาไม่อาจส่งผลใด ๆ ต่อร้านกาแฟ แห่งนี้ได้เลย โต๊ะมีสองแบบคือแบบโต๊ะกลม มีเก้าอี้หนังวางรายล้อม อีกแบบเป็นพนักพิง
121 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
คุณประพนธ์เล่าว่าบรรยากาศในร้านก็ยัง คงเดิม ทำ�ใหม่ไปเมื่อ 13 ปีมานี้ และน่าจะ ทำ�ใหม่เพิ่มเนื่องจากพื้นทรุด ส่วนพวกโต๊ะ เก้าอีน้ กี้ ใ็ ช้ของเดิม จัดแบบเดิม เพียงแต่ตอ้ ง หุ้มหนังใหม่ ทว่าก็แลดูเก่าจนเห็นได้ชัดถึง สนิมบนโต๊ะและขาเก้าอี้ ด้านบนรอบ ๆ ร้านจะมีตู้ไม้ฉาบติดกับผนัง ทั้งสองด้านเป็นตู้กระจกเพื่อโชว์สินค้าต่าง ๆ เช่น กระป๋องไมโล นมข้น ซอส กระดาษ ทิชชู่ ก่อนทีจ่ ะถูกทยอยนำ�ลงมาใช้สอย รวม ไปถึงพระพุทธรูปหลายองค์ทโี่ ชว์อยูใ่ นตูข้ วา มือของร้าน หากนั่งอยู่ในร้านก็จะสัมผัสได้ กับลมเย็น ๆ จากพัดลมเพดานสุดคลาสสิ กสามตัว เข้ามานั่งในร้านเหลือบเห็นป้ายเมนูอาหาร และเครื่องดื่มหลากหลายรายการที่ติดอยู่ บนผนังขวามือ ทราบมาว่าทางร้านเพิ่งจะ ปรับเปลี่ยนราคาเพิ่มขึ้นไม่นานมานี้ตาม ภาวะเศรษฐกิ จ บ้ า นเมื อ ง กลั บ มาที่ เ มนู อาหารก็ไม่รู้ว่าจะสั่งอะไรดีเพราะละลาน ตาไปหมด แล้ ว ก็ เ กิ ด ความสงสั ย ว่ า ชุ ด อาหารเช้านี่สั่งได้แค่ตอนเช้าหรืออย่างไร คุณประพนธ์หัวเราะออกมาอย่างอารมณ์ดี และตอบว่า “ชื่ออาหารเช้า แต่สั่งได้ตลอด ได้ทั้งวัน ที่ นี่เป็นเจ้าแรกของประเทศไทยที่ขายอาหาร เช้า สมัยก่อนก็มีร้านแขกที่ขายพวกกาแฟ คล้าย ๆ กัน แต่เขาเลิกไปละ ปิดไปหมดแล้ว
เดิมที่ร้านมีขายเค้กด้วยพวกเค้กปีใหม่ รับ เขามาอีกทีแล้วก็มาขาย แต่ตอนนีเ้ ลิกแล้ว” เมื่ อ คิ ด เมนู อ อกแล้ ว จึ ง ขอสั่ ง ชุ ด ไข่ ด าว หมูแฮม ไส้กรอก ชุดเล็กพร้อมชาเย็นหนึ่ง แก้ว ไม่นานบริกรของร้านก็นำ�ชุดอาหาร เช้าพร้อมชาเย็นมาเสิร์ฟให้รวดเร็วทันใจที เดียว อีกทั้งยังมีน้ำ�ชาเย็น ๆ หนึ่งแก้วแถม ให้ฟรีอีกด้วย ทางด้านเจ้าของนั้นก็บอกว่า “น้ำ�ชาที่ร้านเสิร์ฟตลอด ฟรี กินได้กินไป” พูดจบก็หัวเราะพลางอ่านหนังสือพิมพ์ตาม ข่าวสารบ้านเมืองไปด้วย เมื่อได้รับรายการอาหารครบแล้วก็ถึงเวลา ต้องจัดการเสียที ชุดอาหารเช้านี้ถูกจัดวาง
มาอย่างเรียบง่ายในจานใบเล็ก ๆ แลดูน่า รักทีเดียว พร้อมกับอุปกรณ์รบั ประทานเป็น ช้อนใบเล็ก ๆ เสิรฟ์ มาพร้อมกับชาเย็นทีส่ ง่ั คู่ กันไป รสชาติของชุดอาหารเช้านั้นแม้จะไม่ ได้วิเศษมากนักแต่ก็ไม่เลวทีเดียว ไส้กรอก ทอดเล็ก ๆ พร้อมเบคอนจิ้มซอสมะเขือ เทศ บวกกับไข่ดาวไม่สุกเหยาะซอสแม็กกี้ ลงไปก็ถูกปากใช้ได้ ส่วนรสชาติของชาเย็น นั้นก็หวานพอเหมาะ แถมยังมีน้ำ�ชาให้จิบ เรื่อย ๆ อีกด้วย การได้มานั่งรับประทานอาหารที่นี่นั้น ผู้ เขียนกลับรูส้ กึ ว่าไม่ได้มานัง่ ทานอาหารอยูท่ ี่ ร้านแต่อย่างใด เพราะด้วยความเป็นกันเอง
ความเรียบง่าย รวมถึงบรรยากาศในร้าน แล้วนัน้ ส่งเสริมให้รสู้ กึ เหมือนกับว่าเรากำ�ลัง อยู่ ‘บ้าน’ บ้านที่เรียบง่าย สบาย ไม่ต้องคิด อะไรมาก... นั่งอยู่เพลิน ๆ กว่าจะรู้ตัวอีกที ก็เห็นลูกค้าใหม่เข้าร้านมาอีกแล้ว มีทั้งวัย รุ่นหนุ่มสาว วัยกลางคน จนถึงผู้สูงวัยที่มา นั่งรำ�ลึกความหลังกัน แม้เพียงกาแฟคนละ แก้วก็อยู่กันได้ทั้งวัน... ร้านกาแฟโบราณแห่งนี้ไม่ใช่ร้านกาแฟที่ ใช้วัตถุดิบชั้นดีแต่อย่างใด ขนมปังสังขยา ขนมปังแถวที่ทางร้านนำ�มาขายก็สั่งมาอีก ที ไส้กรอก เบคอน เครื่องปรุงต่าง ๆ ก็ไม่ใช่ ของพิเศษอะไรซื้อได้ตามห้างสรรพสินค้า ทั่วไป แต่ในความไม่พิเศษนั้นกลับมีบางสิ่ง ที่ดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาในร้านนี้อยู่เสมอแม้ จะไม่แน่นขนัดเหมือนดั่งวันวานแต่ก็ไม่เคย ปล่อยให้ว่างเว้นเลยสักวัน “คนจะเยอะในช่วงวันเสาร์ - อาทิตย์ มา กันเป็นครอบครัว พ่อแม่ลูก คุณพ่อคุณแม่ เขาให้ลูกพามา นั่งรถเข็นมาเลย บางทีทำ� ไม่ทันคนเยอะ ส่วนพวกรุ่นเก่า ๆ วันเสาร์ - อาทิตย์นี่ก็เยอะ บางทีศาลาเฉลิมกรุงมี จัดงานพวกเอลวิสมั่ง สุนทราภรณ์มั่ง เขา ก็มากัน เทียวไปเทียวมา ส่วนมากจะมากัน วั น ธรรมดาก็ มี เ งี ย บบ้ า ง นั่ ง จ้ อ งหน้ า กั น (หัวเราะ) คนจะมาช่วงเช้า ๆ เป็นคนแถวนี้ บ้าง คนทำ�งานบ้าง นักเรียนก็มี ส่วนคนทีอ่ นื่ เขาก็ตามมาจากอินสตาแกรมที่เขาโพสกัน
(อินสตาแกรม - แอปพลิเคชันหนึ่งในโทร ศัพท์สมาร์ทโฟนใช้แชร์รูปภาพ) พอคนเห็น ก็ เอ้...ร้านนี้อยู่ที่ไหนตามมากิน พอมาถึงก็ ต้องถ่ายรูปกันก่อนอย่าเพิง่ กิน เดีย๋ วไม่ได้ลง อินสตาแกรม เป็นอย่างนีท้ กุ ราย (หัวเราะ)”
ที่ชักลอกอาหารโดยใช้แรงคน เพื่อนำ�ไปเสิร์ฟชั้นสอง ภาพจากนิตยสาร จารึกเศรษฐกิจ
ที่ร้านกาแฟธรรมดา ๆ แห่งนี้นี่เองเมื่อย้อน กลับไปเมื่อประมาณห้าสิบปีก่อน สถานที่ แห่งนีค้ อื แหล่งชุมนุมของพีโ่ ก๋ น้าโก๋ยา่ นหลัง วังนี่เอง หนุ่ม ๆ สาว ๆ ในยุคนั้นคงไม่มีใคร ไม่รู้จักร้านกาแฟริมถนนเจริญกรุง อยู่ใกล้ กับโรงมหรสพแห่งชาติอย่างศาลาเฉลิมกรุง ที่ นี่ คื อที่ นั ด พบปะสังสรรค์กัน ในเวลานั้น โดยเฉพาะช่วงที่มีหนังฉายก็จะมารอดูหนัง จิบกาแฟ โอเลี้ยงรอกันที่นี่ พิชัย น้อยรอด ผู้สร้างและผู้กำ�กับหนังไทย รุ่นเก๋าก็เคยมานั่งที่นี่ “ร้านกาแฟออน ล๊อก หยุ่น ก็เคยไปเป็นร้านเก่าแก่ เก้าอี้เป็นพนัก พิงสูง ๆ นัดรวมพลกันตรงนั้น ไปนั่งคุยกัน
กินกาแฟ คนสมัยก่อนไม่มีอะไรก็ไปนั่งคุย กัน เป็นสภากาแฟ พวกดาราก็มีมานัดกัน ที่ร้านนี้ คนทำ�หนังก็มาซื้อฟิล์มหนัง ติดต่อ ซื้อขายหนังบ้าง สมัยก่อนมันเป็นฟิล์มม้วน ๆ เอาใส่กระเป๋าไปได้ เรื่องนึงไม่รู้กี่ม้วน แหนะ” นอกจากคุณพิชยั น้อยรอด แล้วยังมีตลกชือ่ ดังอย่าง ล้อต๊อก ชูศรี มีสมมนต์ ตลกคู่ขวัญ ทีเ่ ล่นคูก่ นั มาหลายปี ในสมัยนัน้ แค่ผคู้ นเห็น ดาราตลกอย่าง ล้อต๊อก-ชูศรี ก็หัวเราะกัน ท้องคัดท้องแข็งแล้ว ถือว่าทั้งสองเป็นสีสัน ให้กับวงการบันเทิงไทยได้อย่างดีทีเดียว
ล้อต๊อก กับ ชูศรี สองดาราตลก กำ�ลังออกรายการ ขายหัวเราะ พ.ศ. 2510 ภาพจากหนังสือ ‘เมืองไทย 2495 - 2519’
ล้อต๊อก หรือ สวงษ์ ทรัพย์สำ�รวย ดาวตลกชายที่รุ่งทุกสมัย ภาพจากหนังสือ ‘เมืองไทย 2495 - 2519’ ชูศรี โรจนประดิษฐ์ หรือ ชูศรี มีสมมนต์ ดาราตลกหญิงยุค 2490 - 2510 ภาพจากหนังสือ ‘เมืองไทย 2495 - 2519’
ร้านออน ล๊อก หยุน่ เมือ่ อยูใ่ นทำ�เลทีเ่ หมาะ เจาะแล้วจึงเปรียบเสมือนสถานที่รองรับ การการรอคอยชมภาพยนตร์ การพบปะ สังสรรค์ ตลอดจนเมื่อชมภาพยนตร์เสร็จ แล้วแต่ยังไม่รู้ว่าจะไปที่ใดต่อนั่นเอง และ ในยุ ค ที่ พ ระนางคู่ ข วั ญ ที่ ดั ง เป็ น พลุ แ ตก อย่าง มิตร – เพชรา สมบัติ – อรัญญา นั้น ที่ร้านแห่งนี้เองคือที่ที่แมวมองจะมาคอย มองหานักแสดงหน้าใหม่ที่มีแววเป็นดารา ไปประดับวงการบันเทิงไทย ในช่วงที่ภาพยนตร์เฟื่องฟูมาก ๆ นั้น ศาลา เฉลิมกรุงคนจะพลุกพล่านมาก เวลาเปิด ทำ�การของร้านนั้นตั้งแต่ตีห้า – สามทุ่มเลย ทีเดียว ส่วนวันเสาร์ – อาทิตย์ นั้นปิดสี่ทุ่ม ทีเ่ ฉลิมกรุงจะมีหนังฉายรอบเช้าเก้าโมง รอบ เทีย่ ง รอบบ่ายสาม รอบห้าโมงเย็น รอบหนึง่ ทุม่ และรอบสามทุม่ วันเสาร์ – อาทิตย์ เพิม่
รอบเที่ยงคืนเข้ามาอีก เรียกได้ว่ามีตลอด และบริ เวณนี้ เ ป็ น ที่ ค้ า ขายของอร่ อ ย ๆ มากมาย มีทงั้ บริเวณหัวมุมถนน ร้านในซอย ตลอดทั้งแถบนี้ รวมถึงออน ล๊อก หยุ่น ย่าน นี้จึงคึกคักมาก “แต่กอ่ นนีค่ กึ คักมากผมยังชอบไปเลยเฉลิม กรุง มิตร ชัยบัญชา นี่ดังมากมาเปิดตัวหนัง ทีนี่คนเต็มเลย แต่ตอนนั้นยังเด็กอยู่ หน้า บ้านนีม่ รี ถรางวิง่ ผ่าน วิง่ ไปถึงวงเวียนโอเดีย น ค่ารถสลึงนึง พอมาทีก็มีเสียงระฆัง แด๊ง ๆๆ เราก็กระโดดขึ้นรถ พอคนมาเก็บตังค์ จ่ายไป รถมันก็วิ่งไปช้า ๆ แล้วก็เลิกไป ก็ เสียดายบ้าง แต่มันก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัย คนก็มีรถเก๋งมีอะไรมากขึ้น ตอนนี้เห็นมีรถ พานักท่องเที่ยวเที่ยวชมเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่เป็นของกทม. คล้าย ๆ รถรางสมัยก่อน ก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบ”
บรรยากาศภายในร้าน ที่มีแต่ลูกค้ารุ่นเดอะ ภาพจากนิตยสาร จารึกเศรษฐกิจ ย้ อ น วั น เ ก่ า | 126
รอบรูระหว่ ้วงการบั นเทิงไทย าง พ.ศ. 2495 - 2519
สภาพตึกรุ่นเก่าของร้านออน ล๊อก หยุ่น บนถนนเจริญกรุง ภาพจากนิตยสาร จารึกเศรษฐกิจ
วงการบันเทิงของไทย อาจแบ่งได้ตามช่วงเวลา และกลุ่มชนผู้ให้ ผู้รับ เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ บันเทิงอย่างสากลหรือบันเทิงยุคปัจจุบัน ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ วงดนตรีสมัย ใหม่ การแสดง การโชว์สมัยใหม่และอะไรทั้งสิ้น ที่คิดว่าเป็น ‘สากล’ นับเป็นวงการบันเทิงที่ได้รับ ความนิยมแพร่หลายทีส่ ดุ นับแต่ปี 2495 หรือก่อน หน้านัน้ มาจนปัจจุบนั และจะก้าวหน้าเรือ่ ย ๆ ไป โดยไม่มีการหยุดยั้ง บันเทิงของรัฐบาล ได้แก่ การบันเทิงที่ส่วนใหญ่ เป็นฝีมือของกรมศิลปากร ซึ่งมีหน้าที่จัดสอน จัด แสดงอยู่เสมอ เช่น โขน ละคร วงดนตรีไทย วง ดนตรีสากล เป็นต้น บันเทิงแบบนี้แม้จะได้รับ ความนิยมเป็นรองแบบแรก แต่ก็ย่อมยืนตัวอยู่ได้ เสมอ เพราะมีรัฐบาลสนับสนุน บันเทิงอย่างชาวบ้าน ได้แก่ การละเล่นพื้นเมือง ทุกชนิด เช่น เซิ้ง ลำ�เพลิน ของอีสาน ลิเก เพลง ฉ่อย เพลงพวงมาลัย ฯลฯ ของภาคกลาง โนรา หนังตะลุงของภาคใต้ และซอ (หมายถึงการขับ ร้องแบบภาคเหนือ ไม่ใช่การสีซอ) ฟ้อนรำ� ของ ภาคเหนือ การบันเทิงแบบนี้ อาจกล่าวได้ว่าค่อย ๆ สลายตัว หรือคลายความนิยมจากประชาชนลง คนรุ่นหลัง ๆ มาแทบจะร้องเพลงกล่อมลูกไม่เป็น กันแล้ว ที่เป็นเช่นนี้เพราะความเปลี่ยนแปลงทาง สังคมและเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว และถ้า ไม่มีการเล็งเห็นคุณค่า จัดเก็บ ถ่ายทอดไว้ ก็จะ เป็นเรื่องที่น่าเสียดายในภายหลัง 127 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ที่นี่จึงถือเป็นศูนย์รวมของดาราของยุคลาย ครามก็ว่าได้ อาจเป็นรองเพียงศาลาเฉลิม กรุงที่อยู่ข้าง ๆ กันนั่นเอง นอกจากดารา จะมากั น มากมายแล้ ว ท่ า นอดี ต นายกฯ ชาติชาย ชุณหะวัณ ก็เคยเข้ามาสัมผัสร้าน ในตำ�นานแห่งนี้ด้วยเช่นกัน “นายกฯ ก็ ม าคื อ ท่านชาติช าย ชุณหะ วัณ มากับภรรยาแต่ตอนนั้นท่านยังไม่ได้ แต่งงานกัน ดาราก็มีรอง เค้ามูลคดี ป้าจุ๊ จุรี โอศิริ เกชา เปลี่ยนวิถี มีหลายท่านเยอะคิด ไม่ออก คนส่วนใหญ่มานัดเจอกันที่นี่แล้วก็
มิตร ชัยบัญชา ภาพจากหนังสือ ‘มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาล’
ไปดูหนังที่ศาลาเฉลิมกรุง แล้วตอนที่ยังไม่มีดิโอลด์สยาม ข้างหลังจะมีพวกหนังฟิล์ม หนังกลางแปลง หนังเก่า ๆ มาฉาย คนก็เลยเยอะคึกคักมาก สมัยก่อนนี่กินกาแฟแก้ว ละห้าบาท แล้วก็นั่งกันทั้งวัน (หัวเราะ) มานั่งส่องพระบ้าง คุยกันบ้าง” แม้กระทั่งคุณแอ๊ว วัลภา ภรรยาของแดง ไบเล่ ก็เคยมาใช้สถานที่ร้านออน ล๊อก หยุ่น ถ่ายทำ�รายการโทรทัศน์ด้วยแต่คุณประพนธ์นั้นจำ�ไม่ได้ว่ารายการใด เมื่อถามถึงแดง ไบเล่ นั้นคุณประพนธ์ว่าไม่เคยเจอ ปุ๊ ระเบิดขวด ก็เช่นกันไม่เคยเห็นหน้าเลยสักครั้ง ร้านออน ล๊อก หยุ่น นั้นไม่เพียงแต่รายการโทรทัศน์ในบ้านเราเท่านั้นที่มาถ่ายทำ� สื่อ ของประเทศต่างประเทศก็ยังมาขอสัมภาษณ์อีกด้วย “มีคนมาสัมภาษณ์บ่อยมาก รายการสารคดีของสิงคโปร์ก็มา แนะนำ�ร้านเก่า ๆ สมัย โบราณ เราก็ให้ข้อมูลเขาไปเขาก็ไปพูดคนเดียว เพราะเขาพูดภาษาอังกฤษเราฟังไม่รู้ เรือ่ ง เราเน้นภาษาไทย (หัวเราะ) นิตยสารเล่มแรกทีม่ าสัมภาษณ์กค็ อื นิตยสารกรุงเทพ 30 แต่ตอนนี้หาไม่เจอแล้ว หาในอินเทอร์เน็ตก็ไม่เจอ ไม่ได้เก็บไว้ด้วย เพราะปกติจะ เก็บทุกเล่ม” พูดจบคุณประพนธ์ก็เดินไปหยิบนิตยสารต่าง ๆ ในตู้กระจกที่ใช้เก็บของมาให้ดู มากมายจริง ๆ ทัง้ นิตยสาร พ็อกเก็ตบุค๊ แต่ทนี่ า่ เสียดายคือไม่มรี ปู ภาพเก่า ๆ ให้เราได้ เห็นกัน เพราะคุณประพนธ์บอกว่าไม่ได้ถา่ ยเก็บไว้เลย มีแต่คนทีข่ อสัมภาษณ์มาถ่ายเอง แล้วคำ�ถามที่อดสงสัยไม่ได้คือ ‘ออน ล๊อก หยุ่น’ นั้นแปลว่าอะไร ก็ได้คำ�ตอบจาก
มิตร ชัยบัญชา
เจ้าของร้านว่า แปลว่า ‘สวนสนุก’ เป็น ภาษาจีนแคระนั่นเอง มาถึงวันนีร้ า้ น ‘ออน ล๊อก หยุน่ ’ ก็เปรียบ เสมือนที่พักผ่อนหย่อนใจของคนกรุงมา หลายยุคหลายสมัย ทั้งโก๋กี๋รุ่นเก๋าที่กลาย มาเป็นคุณลุง คุณป้า คุณตา คุณยายใน ทุกวันนี้ หรือจะเป็นคนรุ่นใหม่ที่มากันทั้ง ทีต่ งั้ ใจและไม่ได้ตงั้ ใจ แต่รา้ นกาแฟแห่งนี้ ก็ยงั คงทำ�หน้าทีข่ องตนมาอย่างสม่�ำ เสมอ เป็นเวลายาวนานกว่า 80 ปีแล้ว แม้ว่าตอนนี้จะมีห้างร้านใหม่ ๆ เกิดขึ้น มากมายแต่ออน ล๊อก หยุ่นก็มิได้เกิดผลก ระทบแต่อย่างใด ยังคงยืนหยัดท้าทายวัน เวลาเหมือนเมื่อครั้งที่ห้างดิโอลด์สยาม พลาซ่า ได้ก่อกำ�เนิดขึ้นใหม่ ๆ ทางร้านก็
“พระเอกที่มีผล
งานการแสดงถึง 267 เรื่อง รับบทบาทที่มากมาย เป็นพระเอกที่ขาย ดีที่สุดแห่งยุค ภาพยนตร์ 16 ม.ม.”
ประวัตพระเอกตลอดกาล ิมิตร ชัยบัญชา ‘มิตร ชัยบัญชา’ บุรุษผู้ครองใจแฟน ๆ ทั้งประเทศ จนได้รับรางวัลพระราชทาน ‘ดารา ทอง’ เขาเป็นพระเอกทีม่ ผี ลงานการแสดงถึง 267 เรื่อง รับบทบาทที่มากมาย เป็นพระเอกที่ขายดี ที่สุดแห่งยุคภาพยนตร์ 16 ม.ม. ของเมืองไทยใน อดีต ก่อนจะมาเป็นมิตร ชัยบัญชา ทีเ่ รารูจ้ กั กัน เดิมนั้นพระเอกผู้นี้มีชื่อว่า ‘บุญทิ้ง ระวีแสง’ ชื่อบุญทิ้งนั้นปู่และย่าเป็นผู้ตั้งให้ เนื่องจากความ กำ�พร้าพ่อและแม่ของเด็กชายบุญทิ้งนั่นเอง ต่อมาด้วยความจำ�เป็นในด้านการศึกษา เด็กชาย บุญทิ้ง จึงต้องเปลี่ยนมาใช้ชื่อ ‘สุพิศ นิลศรีทอง’ ตามนามสกุลของน้าเขย ทีเ่ ป็นข้าราชการสามารถ เบิกค่าเล่าเรียนได้จนครบอายุ 20 ปีบริบูรณ์ เมื่อมีอายุครบ 20 ปี สุพิศ นิลศรีทอง ได้เปลี่ยนมาใช้นามสกุลใหม่เป็น ‘สุพิศ พุ่มเหม’ และสอบเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนจ่าอากาศโดยมี ความฝันว่าอยากจะเป็นนักบิน อยากขับเครื่อง บินพาณิชย์เพราะจะมีรายได้ดีมาก ครั้ น จบการศึ ก ษาก็ ถู ก ส่ ง ไปฝึ ก งาน ที่ ก รมอากาศโยธิ น ดอนเมื อ ง กระทั่ ง ได้ รั บ พระราชทานยศเป็นจ่าอากาศโท สุพศิ พุม่ เหม ต่อ มาจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ‘พิเชษฐ์ พุ่มเหม’ กลาย เป็นจ่าเชษฐ์ จ่ามหากาฬ ของผูใ้ ต้บงั คับบัญชาทุก คน ด้วยความที่หน้าตาหล่อเหลา รูปร่าง สง่างาม ผิวขาวอมชมพู ผมหยักศกธรรมชาติ มี 129 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ยังคงดำ�เนินกิจการมาได้อย่างปกติ ราวกับ ว่าไม่หวั่นเกรงกับสิ่งรอบตัวเลยสักนิด “ตอนสร้างดิโอลด์สยามก็ไม่มีผลกระทบ อะไรนะ เขาก่อสร้างไปผมก็ขายไปเรื่อย ๆ ฝุ่ น ตลบไปหมดเลย เหมื อ นตอนนี้ ทำ � รถไฟฟ้า เขารื้อไปเราก็ขายไปเรื่อย ๆ ฝุ่น ก็เยอะเหมือนกัน แต่ก็ไม่มีผลกระทบอะไร คนก็มาเรื่อย ๆ (หัวเราะ)” เมื่ อ ถามถึ ง อนาคตของร้ า นและการ เปลี่ยนแปลงของย่านวังบูรพาในปัจจุบัน คุ ณ ประพนธ์ นั้ น เข้ า ใจว่ า ทุ ก สิ่ ง ย่ อ ม เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา วังบูรพาที่ เงียบเหงาก็เป็นเรื่องปกติ แต่สำ�หรับศาลา
มิตร ชัยบัญชา - เพชรา เชาวราษฎร์ ภาพจาก หนังสือ ‘มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาล’
เฉลิมกรุงแล้วนับว่าเป็นสถานที่ผูกพันมาก พอกับร้านทีเดียว ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะไม่ ค่อยได้เข้าไปแล้วก็ตามตั้งแต่เปลี่ยนเป็น โรงละคร แต่ก็ยังจดจำ�วันเก่า ๆ ได้ไม่เคย ลืม และหากวันใดที่ไม่มีศาลาเฉลิมกรุงคง เสียดายไม่น้อย “ตอนนี้เฉลิมกรุงก็เงียบ ๆ คนก็เริ่มน้อยลง แถวนี้จะมีคนแค่ช่วงเที่ยง ๆ บ่าย ๆ เพราะ ร้ า นแถวนี้ ปิ ด กั น เร็ ว ที่ ร้ า นนี่ ก็ ปิ ด สี่ โ มง ครึ่ง ตกเย็นสี่โมงห้าโมงก็เงียบแล้ว แต่ถ้ามี รถไฟฟ้าเข้ามานีก่ ไ็ ม่แน่ตอ้ งดูกอ่ น อนาคตก็ ไม่แน่ใจว่าจะมีคนมาสืบทอดกิจการต่อหรือ เปล่า ถ้าไม่มกี อ็ าจจะต้องปิด ไม่รจู้ ะมีรนุ่ ที่ 4 หรือเปล่า มีแววว่าจะยาก (หัวเราะ) หลาน ๆ ก็ออกเรือนไป ถ้าไม่มีก็คงเสียดาย...” สำ�หรับอนาคตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ได้ ร้าน ‘ออน ล๊อก หยุ่น’ นั้นก็เช่นกันจะอยู่หรือ จากไป จะมีคนสืบต่อหรือไม่อย่างไร แต่ใน วันนี้ร้านกาแฟเล็ก ๆ แห่งนี้ก็ได้กลายเป็น ตำ�นานทีย่ งั มีชวี ติ อยูไ่ ปแล้ว ไม่ใช่แค่การเป็น เจ้าแรก การอยู่มาอย่างนาน แต่นั่นหมาย รวมถึงความพากเพียร ความอดทนของผู้ เป็นเจ้าของที่ร่วมสร้างร้านให้เกิดตำ�นาน ขึ้นในวันนี้
มิตร ชัยบัญชา ในบทบาทสุดท้ายกับ ‘อินทรีทอง’ ภาพจากหนังสือ ‘มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาล’
“เพื่อน คือ มิตร
มิตร คือ เพื่อนของทุก ๆ คน”
ข้อมูลประกอบการเขียน 1.หนังสือ ‘เสน่ห์ร้านเก่า’ โดย ธนาทิพ ฉัตรภูติ 2.หนังสือ ‘เมืองไทย 2495 - 2519’ โดย เอนก นาวิกมูล 3.หนังสือ ‘มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาล’ โดย ท่านขุน บุญราศรี
กล้ามพองาม จึงมีผู้เห็นแววชักชวนให้ไปเป็น นักแสดงหนัง และภาพยนตร์เรื่องแรกของจ่า เชษฐ์คือ ‘ชาติเสือ’ ที่ประกบกับนางเอกถึง หกคน และเป็นธรรมเนียมของนักแสดงใน สมัยนั้นที่ไม่นิยมใช้ชื่อจริงและนามสกุลจริง คุณประทีป โกมลภิศ จึงได้ตั้งชื่อใหม่ให้กับ พระเอกของเรื่องชาติเสือ “...ในชีวิตที่ผ่านมา มีอะไรประทับใจบ้าง” ผู้ กำ�กับพูดคุยซักถามจ่าเชษฐ์ “ชีวิตของผมมีแต่เพื่อน มีความรักผูกพันกับ เพื่อน ๆ ตลอดเวลา” จ่าเชษฐ์อธิบาย... “เพือ่ น คือ มิตร มิตร คือ เพือ่ นของทุก ๆ คน” “ในชีวิตมีความภูมิใจอะไรมากที่สุด” ผู้กำ�กับ ถามต่อ “ผมเป็นทหาร ผมได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน ของกองทัพ ได้เป็นผู้อัญเชิญธงชัยเฉลิมพลใน พิธสี วนสนามของทหารสามเหล่าทัพ ผมได้ท�ำ หน้าที่สำ�เร็จลงได้ด้วยดี ผมภูมิใจมากที่สุด” “ธงชัย เฉลิมพล นำ�มาซึ่งชัยชนะ ชัยบัญชา คือคำ�สั่งของชัยชนะ มิตร ชัยบัญชา คือชื่อใหม่ของคุณ” นับจากวันนั้น ‘มิตร ชัยบัญชา’ เป็นพระเอก ทีม่ ผี ลงานการแสดงมากทีส่ ดุ มีนางเอกคูข่ วัญ คือ เพชรา เชาวราษฎร์ มิตรใช้ชวี ติ อยูใ่ นวงการ บันเทิงนานถึง 13 ปี ได้ทำ�หน้าที่ของตัวเอง เป็นอย่างดีจนถึงวาระสุดท้ายของชีวติ การเป็น นักแสดง มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตลงในขณะที่ รับบท ‘อินทรีทอง’ เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุตก เฮลิคอปเตอร์ขณะถ่ายทำ� และในวันนี้แม้จะ ไม่มีมิตร ชัยบัญชา อีกแล้ว แต่ชื่อเสียงและ ผลงานของเขายังคงเป็นอมตะ ให้เราได้ระลึก ถึงตราบชั่วฟ้าดินสลาย 131 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
แหล่งลงทุนพันล้าน
“นามเวิ้งนาครเขษม”
“
‘เวิ้งนาครเขษม’ นั้นแปลว่า ‘นครแห่งความเบิกบานอันกว้างใหญ่’
”
เมือ่ เดินเทีย่ วรอบศูนย์การค้าวังบูรพาครบแล้ว ย่านการค้าใกล้เคียงกันอีกแห่งหนึง่ ทีพ่ ลาดไม่ได้ของเหล่าบรรดาโก๋กที๋ งั้ หลายนัน้ ก็คอื ‘เวิง้ นาครเขษม’ ทำ�เลทองบนทีด่ นิ ขนาด 14 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา ย่านการค้าประวัติศาสตร์พื้นที่สี่เหลี่ยมระหว่างถนนเจริญกรุง กับถนนเยาวราช ตรงคลองคูเมืองหรือคลองโอ่งอ่าง ด้านนอกกำ�แพงเมืองจนกระทัง่ ถึงถนน วรจักร พืน้ ทีแ่ ห่งนีค้ อื แหล่งชุมชนชาวจีนและมีการค้าขายมาอย่างยาวนานตัง้ แต่อดีตนับเป็น เวลากว่าสามร้อยปีมาแล้ว ‘เวิ้งนาครเขษม’ นั้นแปลว่า ‘นครแห่งความเบิกบานอันกว้างใหญ่’ เป็นที่ดินใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระราชทานให้แก่สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (ทูลกระหม่อมบริพัตร) เป็นทรัพย์สินมรดก เพื่อสำ�หรับใช้ให้ บังเกิดคุณประโยชน์การทำ�มาหากินแก่ไพร่ฟ้าประชาชนของพระองค์สืบไป บริเวณนีม้ บี งึ เก็บน้�ำ ใสสะอาดขนาดกว้างใหญ่แห่งหนึง่ เป็นทีส่ �ำ หรับพักผ่อนหย่อน ใจสรวลสราญของพระบรมวงศ์และเหล่าข้าราชบริพาร ซึ่งบริเวณนั้นเป็นที่อยู่ของชาวจีน แต้จิ๋ว ชาวจีนเรียกบึงขนาดใหญ่นี้ว่า ‘วังน้ำ�ทิพย์’ สำ�เนียงจีนแต้จิ๋วว่า ‘จุ้ยเจียเก็ง’
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 132
133 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ภาพจาก www.siamsouth.com
จากการขยายตัวอย่างต่อเนือ่ งและด้วยพระ มหากรุณาธิคุณของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระ นครสวรรควรพินิต (ทูลกระหม่อมบริพัตร) ที่ ไ ด้ ท รงเห็ น ว่ า ผื น ที่ ดิ น บริ เวณนี้ มี ค วาม ผูกพันกับประชาราษฎร์ชาวจีนจำ�นวนมาก จึ ง มี ดำ� ริ ใ ห้ ถ มบึ ง เป็ น ที่เนิน ‘เวิ้ง’ กว้าง ใหญ่ที่จะจัดเป็นพื้นที่ให้ประชาชนชาวจีน ที่อาศัยจับจองอยู่เดิม ได้อาศัยเป็นที่ทำ�มา หาเลี้ยงชีพสร้างฐานะตน สร้างความเจริญ รุ่งเรืองและความมั่นคงให้กับครอบครัวสืบ ต่อจนลูกหลานในตระกูลหลายชั่วคน
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 134
ประชาชนชาวจีนต่างแห่แหนจับจองพื้นที่ ขายของทั้งแผงลอยทั้งแบกะดิน จนเคย ได้รับการขนานนามว่า ‘ตลาดโจร’ หรือ ‘Thief Market’ เนื่องจากสินค้าส่วนใหญ่ เป็นสินค้ามือสองที่ใช้แล้ว ของเก่า หรือ ของที่ถูกขโมยมาแลกเปลี่ยน ซ่อม ซื้อขาย กันในบริเวณนี้ เกิ ด เป็ น ศู น ย์ ก ารค้ า ที่ มี รู ป แบบเป็ น ห้ อ ง แถวมี ส ถาปั ต ยกรรมที่ ห ลากหลาย แรก เริ่มเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว มีการปรับปรุง เป็นอาคารสองชั้นและสามชั้นตามลำ�ดับ
เปลี่ ย นแปลงไปตามความเจริ ญ ทาง เศรษฐกิ จ และเทคโนโลยี และเนื่ อ งจาก เดิมอาคารส่วนมากเป็นอาคารไม้ ครั้งหนึ่ง เมื่อเกิดเพลิงไหม้ในเวิ้งนาครเขษม อาคาร หลายส่วนถูกทำ�ลายไปเกือบสิ้น จึงมีการ สร้างอาคารทันสมัยขึน้ มาแทนทีเ่ ป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็กผสมโครงสร้างไม้คาน และคงแบบเดิมอยู่ด้วย อาจารย์ วิ ศิ ษ ฐ์ เตชะเกษม ที่ ป รึ ก ษา กิตติมศักดิ์ของเวิ้งนาครเขษม ผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านฮวงจุ้ยและสถาปัตยกรรมศาสตร์ เล่าถึงสถาปัตยกรรมของเวิ้งในยุคสมัยซิก ซ์ตี้ว่า ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2500 เวิ้งเริ่ม เป็นอาคารขึ้นมาแล้วเพราะว่าอาคารแบบ สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มสร้างมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2470 ตามแบบทางตะวันตกซึง่ เลาะมาจาก ถนนเจริญกรุงและเข้ามาถึงในเวิ้ง และเมื่อ ถนนเยาวราชสร้างเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 5 เวิ้งก็ได้ส่วนผสมมาทั้งอารยธรรมตะวันตก และตะวันออก แต่ ใ นสมั ย รั ช กาลที่ 7 มี ก ารสร้ า งถนน เยาวราชขึ้นมาใหม่ ศิลปะแบบวัฒนธรรม ตะวั น ตกที่ เริ่ ม เข้ า มาตั้ ง แต่ ส มั ย รั ช กาลที่ 6 ที่เรียกว่า ‘อาร์ต เดคโค’ จึงเข้ามาใน เวิ้งเกิดเป็นรูปแบบหลายตึกในเวิ้ง เวิ้งจึง กลายเป็นตำ�แหน่งของตัวเริ่มต้นวัฒนธรรม สองอารยธรรมด้วยกัน ขณะเดียวกันก็เป็น แหล่งทีเ่ ข้าไปจะเห็นตัวสถาปัตยกรรมหลาย
รุ่น เพราะเกิดจากการพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมา เรื่อย ๆ เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเวิ้งซึ่งแตก ต่างจากที่อื่น โรงหนั ง จากที่ เ ป็ น ครึ่ ง ตึ ก ครึ่ ง ไม้ ก็ มี ก าร พัฒนากลายเป็นปูนเมื่อถูกไฟไหม้ก็กลาย เป็นตึก 6 ชัน้ ตลาดปีระกา เดิมเป็นไม้เกือบ ทัง้ หมดเมือ่ โดนไฟไหม้กส็ ร้างใหม่เป็นปูนขึน้ มา ตึกริมถนนใหญ่ซงึ่ เป็นตึกแบบรัชกาลที่ 4 เมื่อครั้งไฟไหม้ก็กลายเป็นตึก 7 ชั้น รวมถึง บ้านเกิดของอาจารย์เองเดิมข้างล่างเป็นปูน ข้างบนเป็นไม้ เมื่อไฟไหม้จึงสร้างใหม่กลาย เป็นตึก 4 ชั้น ดังนั้นสถาปัตยกรรมในยุค 2500 จึงเป็น สถาปั ต ยกรรมใหม่ เกิ ด การพั ฒ นาไป ตามกาลเวลา ฉะนั้นเข้าไปในเวิ้งจะมีตัว สถาปัตยกรรมตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นตัวเริ่ม ต้น จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งไม่มีไฟไหม้แล้ว ในช่วงที่ศูนย์การค้าวังบูรพาคึกคักนั้นถ้า คนมาเที่ยววังบูรพาก็จะมาเที่ยวเวิ้ง ถ้าคน มาเที่ยวเวิ้งก็จะไปเที่ยววังบูรพาด้วยเพราะ อยู่ใกล้ ๆ กัน ซึ่งวังบูรพามาสร้างที่หลัง แต่ก็จัดว่าอยู่ในย่านเดียวกัน ส่วนเวิ้งนาคร เขษมนั้นจัดว่าเป็นแหล่งชอปปิงเซ็นเตอร์ ขนาดใหญ่ สถานที่ดึงดูดผู้คนทั้งสองแห่งนี้ คือโรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง ของเวิ้งก็คือ ‘โรงภาพยนตร์เวิ้งนาครเขษม’ ชื่อเดียวกับย่านการค้านี้
135 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
โรงหนังญี่ปุ่น ก่อนจะกลายเป็นโรงภาพยนตร์เวิ้งนาครเขษม ภาพจาก อ.วิศิษฐ์ เตชะเกษม
ทางเข้าโรงหนังเวิ้งนครเกษมซีเนมาสะโคป ถนนเจริญกรุง บางกอก พ.ศ. 2489
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 136
โรงภาพยนตร์เวิ้งนาครเขษมนั้นมีสองชั้น ทำ�การฉายหนังไทย ซึ่งเดิมมีการเล่นละคร ตามที่ได้กล่าวไปแล้ว หนังสมัยก่อนนั้นก็ ใช้คนพากย์ หากเดินไปด้านหลังแล้วล่ะก็มี พร้อมทุกอย่างทั้งหม้อ กะละมัง แก้ว เพื่อ ใช้สร้างเสียงตามเนื้อเรื่องของหนัง หากใน หนังฉากใดมีเสียงพลุก็ใช้ปืนยิงเอา ฉากใด ฟาดฟันกันก็ใช้ไม้ดาบฟันกันอยูข่ า้ งหลังจริง ๆ นับว่าเป็นบรรยากาศทีส่ นุกสนานกันมาก ของคนในยุคนั้น เดือน ดียิ่ง โก๋รุ่นเก๋าผู้มีความคุ้นเคยกับเวิ้ง นาครเขษมเป็นอย่างดีเพราะเคยอาศัยอยู่ แถววัดตึกในสมัยเด็ก ๆ ทำ�ให้ได้มาเทีย่ วเล่น ที่เวิ้งฯ อยู่บ่อย ๆ ว่าแล้วโก๋ท่านนี้ก็อดเล่า วีรกรรมสุดแสบเมื่อครั้งยังเยาว์วัยไม่ได้ว่า “สมัยก่อนค่าตั๋วหนังก็มี 3 บาท 4.50 บาท 10 บาทก็มี แต่เราไม่เคยเสียสักบาทเพราะ เราเป็นเจ้าถิ่น แต่ก่อนมีรถกระบะแล้วโรง หนังมีหลังคาตรงห้องน้ำ� พวกเก็บตั๋วไปอยู่ ข้างนอกกันหมดไม่มใี ครอยู่ พอมีพวกสามสี่ คนก็เอาไม้ปีนขึ้นไป ไปแอบในห้องน้ำ� แล้ว ก็ไปดูหนังฟรี (หัวเราะ) สมัยก่อนสนุก แต่ ตอนหลังผมไม่เอาแล้ว มาช่วยเขาแบกป้าย แทน ตอนนั้นจะมีป้ายที่ขึ้นโฆษณาว่าวันนี้ มีหนังเรื่องอะไรใครแสดงอะไรอย่างนี้ เช่น มี มิตร - เพชรา พอไปช่วยเขาก็เลยได้ดูครึ่ง เรื่อง (หัวเราะ)
รอบรูระหว่ ้วงการบั นเทิงไทย าง พ.ศ. 2495 - 2519 เมื่อในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ญี่ปุ่นบุก เข้ามาในไทย เกิดโรงหนังขึ้นมาโดยใช้เต็นท์ ขนาดใหญ่ เรียกว่า ‘โรงหนังญี่ปุ่น’ เมื่อญี่ปุ่น แพ้สงครามกลับไปแล้ว ทูลกระหม่อมบริพัตร ซึ่งเป็นเจ้าของเวิ้งนาครเขษม ท่านเป็นบิดา แห่งดนตรีไทย ท่านมีความชอบดนตรีไทย ชอบสะสม ก็เลยสร้างโรงงานผลิตเครือ่ งดนตรี ไทยในเวิ้งแห่งนี้ด้วย ท่ า นยั ง มี ค วามสนใจในเรื่ อ งของ ละคร ประกอบกับอยากมีโรงละครเป็นของ ตัวเอง ท่านจึงสร้าง ‘โรงละครนิยมไทย’ ขึ้น มา เป็นโรงละครทีใ่ ช้ส�ำ หรับแสดงละคร แสดง ดนตรี โดยมีพวกราชนิกูลเข้ามาแสดงด้วยแม้ กระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่ หัว รัชกาลที่ 6 ท่านก็เข้ามาร่วมแสดงด้วย สมัยนั้นยังเป็นยุคที่การแสดงยังไม่ใช้ชายจริง หญิงแท้ โรงละครนั้นอยู่ตรงกลางเวิ้งและอยู่ ชั้นบน เปิดเล่นรอบบ่ายกับรอบค่ำ� ต่อมาเมื่อ หมดยุ ค ของละครแล้ ว จึ ง เปลี่ ย นไปเป็ น โรง ภาพยนตร์และเปลี่ยนชื่อเป็น ‘โรงภาพยนตร์ เวิ้งนาครเขษม’
คุณเดือน ดียิ่ง อดีตโก๋หลังวัง ขณะนั่งฟังวิทยุทรานซิสเตอร์ 137 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
เวิ้งนาครเขษม ภาพจากหนังสือ ‘ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ’
เเวิ้งนาครเขษมในอดีต ภาพจาก อ.วิศิษฐ์ เตชะเกษม
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 138
เเวิ้งนาครเขษมในอดีต ภาพจาก อ.วิศิษฐ์ เตชะเกษม
139 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 140
มิตร ชัยบัญชา ภาพจากหนังสือ ‘มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาล’
สมบัติ เมทะนี ภาพจากหนังสือ ‘ย้อนรอย โก๋หลังวัง ครั้งรุ่งเรืองยุค 2503’
ยังไม่ทนั ถามถึงดาราในดวงใจคุณเดือนก็รบี บอกกับเราว่าชื่นชอบ มิตร ชัยบัญชา เป็น อย่างมาก ชอบในความเป็นลูกผู้ชายของ พระเอกคนดัง เพราะสมัยก่อนนั้นพระเอก เป็นผู้ชายแท้ ๆ มาดแมน เท่มาก ต่างจาก สมัยนี้...คุณเดือนละไว้ในฐานที่เข้าใจ แล้ว มิตร – เพชรา นั้นคือพระนางคู่ขวัญ คน ชอบเยอะ เพชรา เชาวราษฎร์ ก็ถือเป็นไอ ดอลของผู้หญิงยุคนั้นเช่นกันเพราะเธอทั้ง สวย หุ่นดี แสดงหนังเก่ง
นอกจากการเที่ยวชมภาพยนตร์จะเป็นสิ่ง บันเทิงเริงใจของผู้คนในยุคนั้นแล้วยังมีการ แสดงโชว์อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นที่นิยมกันมากนั่น คือ ‘ระบำ�โป๊’ ซึ่งเดิมนั้นมาจากคำ�ว่า ‘โป้ ว’ ในภาษาจีนแต้จิ๋วที่แปลว่า ‘ทดแทน’ คือมีการแสดงละครแบบเสื้อผ้าน้อยชิ้นแต่ ไม่เปลือย เช่น ใส่เสื้อกล้าม กางเกงขาสั้น ซึ่งก็ถือว่าวาบหวิวมากแล้วในยุคสมัยนั้น แต่พอขาดคนเล่นเขาจึงเอาหนังมาฉายแทน เมือ่ หนังทีม่ าฉายเป็นหนังประเภทตะวันตก เสือ้ ผ้าน้อยชิน้ เหมือนกัน เรียกว่าเอาหนังมา โป้ว คือเอามาทดแทน คนจีนเลยเรียกว่า ‘หนังโป้ว’ หมายถึงหนังที่เอามาฉายแทน ระบำ�นั้น เป็นที่มาของคำ�ว่าหนังโป๊ที่เรียก ผิดเพี้ยนกันไป ซึ่งจริง ๆ แล้วหนังโป๊ไม่ได้ แปลว่าหนังลามกอนาจาร แต่หมายถึงหนัง ที่เอามาทดแทน
อีกประการหนึ่งที่คนมาเที่ยวเวิ้งกันมาก ๆ ก็เพราะมีตลาดเก่าเจ็ดสิบกว่าปีมาแล้ว ชื่อ ว่า ‘ตลาดปีระกา’ ขายพวกของสดทั้งผัก เป็ด ไก่ หมู ให้คนมาจับจ่ายซื้อของกัน พอ ตกเย็นก็จะมีรา้ นอาหารมาตัง้ ขายกันยาวไป ทั้งซอยเป็นอีกหนึ่งศูนย์รวมของอร่อยและ ราคาย่อมเยา แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าตลาด ปีระกานั้นถูกรื้อทิ้งไปเสียแล้ว และร้านค้า ในปัจจุบันนี้ก็เริ่มออกกันไปหมดแล้ว
สำ � หรั บ ธุ ร กิ จ หนึ่ ง ที่ ยั ง คงอยู่ กั บ เวิ้ ง นาคร เขษมมาช้านานนั้นคือธุรกิจสำ�นักพิมพ์กับ การจำ � หน่ า ยหนั ง สื อ ในปั จ จุ บั น ที่ ยั ง คง ดำ�เนินการอยูใ่ นเวิง้ นัน้ เหลือเพียง ร้านเขษม บรรณกิจ บรรณาคาร เสริมวิทย์บรรณาคาร และพิทยาคาร เท่านั้น (สำ�หรับร้านเขษม บรรณกิจนั้นเป็นร้านหนังสือร้านแรกของ เวิง้ นาครเขษม ปัจจุบนั เน้นเรือ่ งโหราศาสตร์ โดยหันมาทำ� ‘Niche Market’ แล้วคือ การ เจาะตลาดแบบเฉพาะ)
ร้าน 'เขษมบรรณกิจ' ร้านหนังสือเก่าแก่ของเวิ้งนาครเขษม ปัจจุบันเป็นศูนย์รวมของตำ�ราโหราศาสตร์
141 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
เรามีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณพิจิตร เตชะ วัฒนานันท์ ผู้บริหารร้านหนังสือพิทยาคาร คนปั จ จุ บั น ซึ่ ง เป็ น อี ก หนึ่ ง ในร้ า นขาย หนังสือที่เก่าแก่แห่งหนึ่งในเวิ้งนาครเขษม สอบถามถึงกิจการในปัจจุบันกับเมื่อครั้ง รุ่งเรืองในอดีตที่นวนิยายเป็นหนังสือที่ได้ รับความนิยมอย่างสูง หากมาย่านเวิ้ง หรือ วังบูรพานั้นหลายคนคงอดไม่ได้ที่จะหยิบ จับหนังสือกลับบ้านกันไปคนละเล่มสองเล่ม คุณพิจิตรบอกถึงกิจการในปัจจุบันว่าแย่ ลงมาก เพราะในสมัยนี้มีอินเทอร์เน็ต มี ดาวเทียม คนก็ไม่นิยมมาดูหนังสือ ส่วน คนที่มาก็จะมาหาพวกหนังสือเรียน ตำ�รา เรียนเก่า ๆ กัน เป็นหนังสือสมัยแรก ๆ หรื อ มาหาหนั ง สื อ ประวั ติ ข องเก้ า รั ช กาล ประวัตศิ าสตร์กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยาตอน ต้น หนังสือที่ขายในปัจจุบันก็เป็นหนังสือ ดั้ ง เดิ ม ตั้ ง แต่ ส มั ย คุ ณ พ่ อ ที่ เริ่ ม จากสนาม
หลวงมาก่อน สมัยก่อนขายดี มีหนังสือทุก ประเภท เจ้านายใหญ่ ๆ ก็มาซื้อหนังสือที่ นี่ ที่เวิ้งจึงถือเป็นแหล่งใหญ่ของหนังสือคือ มีร้านหนังสือกว่าสิบห้อง “สมัยก่อนหนังสือที่ขายดีจะเป็นพวกท่อง เที่ยว ถ้านิยายก็สามเกลอ เสือดำ� เสือใบ ทุกวันนีค้ นก็ยงั อ่านกันอยู่ เพราะว่าลีลาการ เขียนของ ป. อินทรปาลิต เขียนได้สนุก คน อ่านรูส้ กึ เหมือนเข้าไปอยูใ่ นบรรยากาศแบบ นัน้ ด้วย ปัจจุบนั ก็จะเป็นพวกภาษา ทางร้าน แนะนำ�เลยเพราะสืบมาจากรุ่นคุณพ่อคุณ แม่ จัดทำ�เกือบทุกภาษาและทำ�ขึ้นมาเรื่อย ๆ กับอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านภาษา รับ ประกันคุณภาพได้เลย หนังสือทีอ่ อกใหม่กม็ ี ภาษาอินเดีย พม่า ล่าสุดก็เวียดนาม ราคา ไม่แพงเล่มละสี่สิบถึงห้าสิบ มีทั้งขายปลีก และขายส่ง ถ้าลูกค้าอยู่ต่างจังหวัดก็จัดส่ง ให้ เล่มสองเล่มก็ยินดีจัดส่งให้ไม่คิดค่าส่ง
หนังสือมากมายที่ท่านจะสรรหาได้ที่ 'พิทยาคาร'
เพราะทำ�กันมาตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่แล้ว ก็คิดอย่างนี้ตลอด” ในแง่ ข องคนทำ � กิ จ การนั้ น คุ ณ พิ จิ ต ร ยอมรับว่าทุกวันนี้รู้สึกเหนื่อยและเสียดาย มากเพราะอยู่ ม าตั้ ง แต่ รุ่ น คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ บรรยากาศนั้นก็ต่างกันโดยสิ้นเชิง เมื่อก่อน คึกคักแถวนี้ขายหนังสือเยอะ ตอนนี้เหลือ อยู่เพียงสี่ร้านเงียบลงไปมาก สำ�หรับที่นี่ นั้นยังคงยึดอาชีพนี้ไว้อยู่ อีกทั้งเมื่อถึงเวลา ที่ต้องย้ายออกไปเพราะหมดสัญญาเช่าที่ เวิ้งซึ่งเจ้าของใหม่คือเบียร์ช้าง คุณพิจิตร ก็ยืนยันว่ายังจะขายหนังสืออยู่ แต่ไม่รู้ว่า ย้ายออกไปแล้วจะเป็นอย่างไรเพราะเหมือน ต้องเริม่ ต้นกันใหม่ ลูกค้าเก่าก็อาจจะตามไป ไม่ได้ ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อทางร้านไม่น้อย
ส่วนร้านอืน่ ๆ ก็เปลีย่ นอาชีพไปกัน ซึง่ เป็นที่ น่าเสียดายเป็นอย่างยิง่ ว่าร้านหนังสือเก่าแก่ จะต้องปิดตัวลงเพราะไล่ตามกระแสปัจจุบนั ไม่ทัน หรือต้องเงียบเหงาไปตามกาลเวลา เพราะโลกยุคปัจจุบันจะหาอะไรอ่านก็ช่าง ง่ายดาย เดินไปในห้างก็มี ไปที่ไหน ๆ ก็มี หรือเพียงแค่หยิบโทรศัพท์มาก็อ่านได้แล้ว ต่ า งจากสมั ย ก่ อ นจะหาหนั ง สื อ อ่ า นต้ อ ง มาที่เวิ้ง มาวังบูรพา ซึ่งก็มีแต่หนังสือไม่มี อย่างอื่นให้อ่าน นักประพันธ์สมัยก่อนจึง โด่งดังเป็นที่รู้จัก เช่น ทมยันตี ยาขอบ และ ป.อินทรปาลิต ไม่เหมือนอย่างในสมัยนีอ้ า่ น ในอินเทอร์เน็ตก็ได้ คนจึงลืมนักประพันธ์ เก่า ๆ เป็นที่น่าเสียดายยิ่ง
ตัวละครสามเกลอ ภาพจากหนังสือ ‘วิวัฒนาการสังคมไทย กับหัสนิยาย ชุด พล นิกร กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต’
ธุรกิจสำ�คัญ ๆ ที่ประกอบการกันภายใน เวิ้ ง นาครเขษมนอกจากธุรกิจสำ�นัก พิม พ์ กั บ การจำ � หน่ า ยหนั ง สื อ เก่ า แล้ ว นั้ น ยั ง มี ธุรกิจค้าของเก่า ธุรกิจเครื่องเสียง ประเภท หี บ เสี ย ง จานเสี ย ง รวมทั้ ง เครื่ อ งดนตรี เพราะเป็นแหล่งเครื่องดนตรีที่ใหญ่ที่สุดใน ประเทศไทยและเป็นต้นกำ�เนิดของเครื่อง ดนตรีหลาย ๆ ชนิด เครื่องดนตรีตะวันตก เครื่องแรกของประเทศไทยก็สั่งโดยพื้นที่นี้ หาที่ไหนไม่ได้ให้ไปที่เวิ้ง แถมเจ้ า ของร้ า นค้ า เครื่ อ งดนตรี นั้ น ยั ง มี ความรู้ ใ นเรื่ อ งเครื่ อ งดนตรี และมี ค วาม สามารถในการซ่อมแซมเครื่องดนตรีที่เสีย หาย รวมถึงเจ้าของร้านบางคนก็ยังเป็นนัก ดนตรีที่มีใจรักและมีความรู้เรื่องดนตรีเป็น อย่างดี ที่สำ�คัญราคาก็ย่อมเยา ในยุคที่แผ่นเสียงกำ�ลังเป็นที่นิยมนั้น เวิ้ง นาครเขษมคือแหล่งร่วมแผ่นเสียงชั้นดี ทั้ง แผ่นเสียงเก่าแผ่นเสียงใหม่ มีทั้งเพลงฝรั่ง เพลงไทยสากล และเพลงไทยเดิม สมัยก่อน จะหาเพลงคลาสสิก เช่น มาดามบัตเตอร์ ฟลาย บรรเลงโดยวงดนตรีโรมออร์เคสตร้า หรือมหาอุปรากรลาทอสกา ก็ต้องไปหาที่ นั่น รวมทั้งหีบเสียง และเข็มจานเสียงด้วย ผู้บริโภคไม่จำ�เป็นต้องไปตระเวนหาซื้อจาก ที่อื่นให้ยุ่งยากเพราะรวมไว้ในเวิ้งหมดแล้ว สำ�หรับธุรกิจค้าของเก่านั้นก็ขึ้นหน้าขึ้นตา
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 144
มาก ใครอยากได้ของเก่าประเภทไหนก็ไป หาซื้อที่เวิ้งได้ รวมทั้งพวกวัตถุโบราณด้วย กล่ า วกั น ว่ า สิ น ค้ า ส่ ว นใหญ่ ที่ ว างขายอยู่ ในเวิ้งเป็นข้าวของที่ผ่องถ่ายมาจากโรงรับ จำ�นำ� ซึ่งเป็นของที่ผู้จำ�นำ�ไม่ได้ไปไถ่ถอน ตามกำ�หนด ของที่หลุดจำ�นำ�ก็จะเคลื่อน ย้ายไปอยู่ในเวิ้ง และจำ�หน่ายในราคาถูก ๆ หน้าร้านขายของในเวิ้งหลายร้านจะมีเสื้อ กางเกงชุดสากลซักรีดเรียบร้อยเหมือนของ ใหม่ไม่มผี ดิ ซึง่ ความจริงก็เป็นเสือ้ ผ้าทีใ่ ช้มา ไม่กคี่ รัง้ แต่เจ้าของร้อนเงินจึงต้องเอาเข้าโรง รับจำ�นำ� แล้วอีก 3 เดือนก็มาแขวนขายอยู่ ในเวิ้ง เสื้อกางเกงสากลเหล่านี้ล้วนแต่เป็น ชุดสากลยอดนิยมทั้งสิ้น แม้ ก ระทั่ ง สิ้ น ค้ า ประเภทของโบราณ เครื่องเรือน เครื่องลายคราม เฟอร์นิเจอร์ เครื่ อ งจั ก รขนาดย่ อ ม เครื่ อ งผสมปู น มอเตอร์ เครื่องปั๊มน้ำ� ไขควง น็อตที่หาซื้อ ที่ไหนไม่ได้ เป็นไขควงประเภทพิเศษหรือ เกลียวทางอุตสาหกรรม ซึ่งเยอรมันผลิต แตกต่างจากฝรั่งเศส อังกฤษ อเมริกา หรือ อย่ า งทางอเมริ ก าใช้ ห น่ ว ยเซ็ น ยุ โรปใช้ หน่วยนิ้ว หาซื้อที่ไหนไม่ได้เข้ามาที่เวิ้งก็จะ เจอเสมอ กระทะทองเหลือง เครื่องทำ�ขนมหวาน ทำ� อาหาร รถเข็น เครื่องเหล็กอะไรต่ออะไรมี ขายที่เวิ้งทั้งนั้น ทั้งเก่าและใหม่ก็มีให้เลือก
ป.อิ นทรปาลิต ผู้ให้กำ�เนิดสามเกลอ และสร้างประวัติศาสตร์วงการนักอ่านของเมืองไทย
ป.อินทรปาลิต ภาพจากหนังสือ ‘วิวัฒนาการสังคมไทยกับหัสนิยาย ชุด พล นิกร กิมหงวน ของ ป.อินทรปาลิต’
เป็นระยะเวลา 30 ปีเต็มที่หัสนิยาย ชุดสามเกลอ พล นิกร กิมหงวน ได้ผลิตออก สู่ตลาดหนังสือให้ความอภิรมย์แก่นักอ่านชาว ไทยมาอย่างต่อเนือ่ ง โดยทีผ่ อู้ า่ นและผูต้ ดิ ตาม วรรณกรรมชุดนี้ ส่วนใหญ่เป็นสามัญชนทุก เพศทุกวัย พล นิกร กิมหงวน นับเป็นหัสนิยาย ที่ ไ ด้ ส ะท้ อ นเหตุ ก ารณ์ เ หตุ ก ารณ์ บ้ า นเมื อ ง ในสังคมไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2482 – 2511 โดย แบ่งเป็น 3 ยุค คือ ยุคเบื้องแรกประชาธิปไตย ยุคสงครามและสันติภาพ และยุคโลกาภิวัต น์ เนื้อหาสาระ บรรยากาศ และพฤติกรรม ของตัวละคร รวมทั้งบทสนทนาในแต่ละเรื่อง แต่ละตอนของหัสนิยายชุดนี้นั้นเขียนต่อเนื่อง ยาวนานถึง 30 ปี ดังนั้นจึงยอมรับกันว่าพล นิกร กิม หงวน เป็นวรรณกรรมที่มีคนอ่านและติดตาม มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในวงการหนังสือของ ไทย มีจำ�นวนพิมพ์นับเป็นร้อยล้านเล่ม แม้ว่า ผู้ประพันธ์ได้ล่วงลับไปแล้วกว่า 45 ปี แต่ยังมี การพิมพ์จำ�หน่ายอยู่อย่างสม่ำ�เสมอ และมีผู้ ติดตามอ่านอย่างไม่ขาดสาย นับตั้งแต่เล่มแรกที่ตีพิมพ์ออกมา เมื่อ พ.ศ. 2482 จนกระทั่งบัดนี้ เป็นเวลากว่า 70 ปี พล นิกร กิมหงวน ก็ยังเป็นหัวข้อการ 145 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 146
สนทนาที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่าง คนต่างรุ่นต่างวัยได้โดยไม่ขัดคอกัน ป.อินทรปาลิต จึงกลายเป็น ‘นักประพันธ์ของ ประชาชน’ ไปในที่สุด ประวัติโดยย่อของ ป. อินทรปาลิต ป. อินทรปาลิต หรือ ปรีชา อินทรปาลิต เกิด เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2453 เป็นบุตรคนที่ 2 ของพันโท พระวิสิษฐพจนการ (อ่อน อินทร ปาลิต) และนางวิสิษฐพจนการ (ชื่น อินทรปา ลิต) โดยทีบ่ ดิ าเป็นอาจารย์ในโรงเรียนนายร้อย ทหารบก จึงทำ�ให้ปรีชาต้องเข้าเรียนทีโ่ รงเรียน แห่งนั้น ตั้งแต่อายุ 9 ปี เป็นรุ่นหลังจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ 2 รุ่น แต่ดว้ ยความทีไ่ ม่ชอบการเป็นทหาร จึงออกจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกกลาง คัน ต่อมาได้รับราชการเป็นเสมียนกระทรวง พาณิชย์และคมนาคมอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนย้าย ไปอยู่กรมโยธาเทศบาล และเริ่มเขียนเรื่องสั้น เมื่อลาออกจากงานประจำ�ได้หันไปขับแท็กซี่ แล้วไปเป็นนายท้ายเรือกลไฟ ขึ้นล่องระหว่าง กรุงเทพฯ กับนครสวรรค์ จากประสบการณ์ชีวิตที่ได้พบเห็น ทำ�ให้เขาเขียนนิยายเรือ่ งแรก คือ ‘ยอดสงสาร’ และตามมาด้วย ‘นักเรียนนายร้อย’ ซึ่ง เสาว์ บุญเสนอ บรรณาธิการคัดเลือกเรือ่ งของเพลิน จิตต์ ให้การสนับสนุนนำ�เรื่องนักเรียนนาย ร้อย ตีพิมพ์เป็นหนังสือปกอ่อนและได้รับการ ต้อนรับอย่างอบอุน่ ทำ�ให้มผี ลงานทำ�นองชีวติ
147 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ซื้อหาได้ในราคาค่อนข้างย่อมเยา เพราะ เป็นแหล่งใหญ่ที่สุด ทุกวันนี้ก็ยังเป็นเช่น นั้น เวิ้งนาครเขษมจึงเป็นแหล่งสารพัดที่ ท่านจะสรรหาได้ มาถึงในยุคนี้แม้เวิ้งจะไม่มีการแสดงระบำ� อย่างครึกครื้น โรงหนังที่คอยรองรับผู้คน ให้เข้ามาเที่ยวหาพักผ่อนหย่อนใจ แต่เวิ้ง นาครเขษมก็ยังคงเป็นแหล่งการค้าขนาด ใหญ่มากไปด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน กว่าสามร้อยปี ที่มีคุณค่าทั้งด้านบุคลากร ด้านวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ที่เป็นชุมชน เก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายจีน เนื่ อ งจากเป็ น คนจี น ข้ า มโพ้ น ทะเลมาตั้ ง
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 148
รกราก มาร่วมสร้างเมือง สร้างกรุงเทพฯ ร่วมสร้างรัตนโกสินทร์ คนจีนบริเวณเวิ้งคือ กลุ่มแรงงาน บุคลากรเหล่านี้นอกจากจะ สร้างแผ่นดินจนมั่นคงแล้ว พวกเขาก็สร้าง ครอบครัวขนาดใหญ่ คนในเวิ้งนาครเขษม เรียกว่าบ้านหลังใหญ่ ไม่ใช่ชุมชนแต่เป็น ครอบครัวขนาดใหญ่ซงึ่ ทุกคนต่างเป็นพีน่ อ้ ง กัน เวิ้งจึงกลายเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ของ กาลเวลา เรื่องของการเกิดขึ้นของช่วงเวลา แม้จะผ่านไปเป็นร้อยปีแต่วัฒนธรรมไทย และจีนก็ยังเข้ามารวมกันอยู่ถึงวันนี้ สำ�หรับเทศกาลในเวิ้งฯ ปัจจุบันก็มีการจัด เทศกาลไหว้พระจันทร์สนับสนุนโดยเบียร์
ช้าง งานประจำ�ปีกม็ กี ารเล่นงิว้ งานแรก ที่เริ่ม คือ เทศกาลไหว้พระจันทร์ งานที่ สอง คือ เทศกาลไหว้บะจ่าง ณ เวลานี้ เ วิ้ ง นาครเขษมได้ ถู ก นาย เจริ ญ สิ ริ วั ฒ นภั ก ดี เจ้ า สั ว ใหญ่ ข อง เบียร์ช้างซื้อไปแล้วในราคาหลายพัน ล้านบาทซึ่งกลายเป็นที่ดินที่แพงที่สุด ในประเทศไทย การเก็บค่าเช่าก็มาก ขึ้ น บางคนไม่ ก ล้ า สู้ ก็ ต้ อ งย้ า ยออกไป อนาคตของเวิ้งจะเป็นอย่างไรก็คงต้อง ดูกันต่อ หวังเพียงว่าคงจะช่วยกันรักษา พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ไว้ให้กับลูก หลานของเราในอนาคต ให้ได้เล่าสู่กัน ฟังว่ากาลครั้งหนึ่งเคยมีพื้นที่แห่งนี้ วิถี ชีวิตแบบนี้ เป็นดินแดนที่มีคุณค่าที่สุด ในรัตนโกสินทร์ เพราะบ้านเรามีวัตถุดิบที่ดีไม่รู้เท่าไร หากเราไม่เห็นคุณค่าแล้วทุบทำ�ลายไป เรื่อย ๆ ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่เรามอง ข้ามสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ไป ไม่ได้นึกไปถึง วั ฒ นธรรม ประวั ติ ศ าสตร์ ข องแต่ ล ะ พืน้ ทีน่ นั้ มีความสำ�คัญมีคณ ุ ค่ามากเพียง ไร ที่สำ�คัญคือยังเป็นพื้นที่ที่มีชีวิตอยู่ยัง จับต้องได้ ไม่ใช่พนื้ ทีท่ อี่ นุรกั ษ์ได้แต่โครง แต่หัวใจและจิตวิญญาณกลับไม่มี ข้อมูลประกอบการเขียน 1.หนังสือ ‘วิวัฒนาการสังคมไทยกับหัสนิยายชุด พล นิกร กิม หงวน ของ ป.อินทรปาลิต’ โดย ดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร 2.หนังสือ ‘ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ’ โดย น. ณ ปากน้ำ� 3.เว็บไซต์ ชุมนุมนักเขียนไทย http://www.thaiwriter.org/
รักโศกติดตามมาอีกหลายเล่ม อาทิ ยอดสงสาร เมียขวัญ และผู้รับบาป ในยุ ค ที่ ส ถานการณ์ บ้ า นเมื อ ง ตึงเครียดจากสงครามอินโดจีน ป. อินทรปา ลิต ได้แต่งเรื่องปลุกใจขึ้นจำ�นวนหนึ่ง เช่น กองพันยุวชน กองพันรถรบ เลือดทหารหนุ่ม เลือดทหารม้า และในปี พ.ศ. 2481 เขาก็ได้ เริ่มสร้างหัสนิยายในชุดของ พล พัชราภรณ์ และนิกร การุณวงศ์ ขึ้นในเรื่อง ‘อายผู้หญิง’ และต่อมาได้เพิ่มตัวละครอื่น ๆ เช่น กิมหงวน ไทยแท้ และ ดร.ดิเรก ณรงค์ฤทธิ์ ฯลฯ แต่ตอ้ ง ชะงักไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสงครามสงบ ป. อินทรปาลิต กลับมาเขียนหัสนิยายชุดสามเกลอให้กบั เพลิน จิตต์อยูร่ ะยะหนึง่ ก่อนออกไปทำ�หนังสือพิมพ์ ปิ ย ะมิ ต ร และฉี ก แนวการเขี ย นไปสู่ อ าชญ นิยาย ชุด ‘เสือใบ’ และต่อมาได้เขียนนิทาน สำ�หรับเด็กชุดซูเปอร์แมนแกละ ซึง่ มีความยาว ถึง 162 ตอน ชีวิตในช่วงหลังของ ป. อินทรปา ลิต ป่วยด้วยโรคเบาหวานและปอดอักเสบ ประกอบกับสุขภาพที่ทรุดโทรม เขาเสียชีวิต เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2511 รวมอายุได้ 58 ปีเศษ อาจินต์ ปัญจพรรค์ ยกย่องเขาว่าเป็น “นัก เขียนของประชาชน” พร้อมกับย้ำ�ว่า “คำ�นี้ ข้าพเจ้าไม่เคยใช้ และจะไม่ใช้พร่ำ�เพรื่อ”
149 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
วังบูรพาที่รุ่งโรจน์
สู่วันที่ร่วงโรย
ในยุคทีเ่ มืองหลวงยังถูกเรียกว่าพระนคร มีรถรางวิง่ ผ่าน เอลวิสและเจมส์ ดีน คือ วีรบุรษุ ของเหล่าวัยรุน่ ไทยหัวใจอเมริกนั ยุคนัน้ คงไม่มแี หล่งพักผ่อนหย่อนใจแห่ง ใดจะเทียบเท่า ‘วังบูรพา’ ได้อกี แล้ว ศูนย์การค้าย่านใจกลางเมืองแห่งนีเ้ องทีก่ อ่ เกิดชาวโก๋ กี๋ หลังวังจนเป็นตำ�นานที่ยังเล่าขานกันมาถึงทุกวันนี้ ที่แห่งนี้มีพร้อมสรรพทุกอย่างทั้งโรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า ร้านหนังสือ ภัตตาคาร ห้องอาหาร ร้านไอศกรีม ตลอดจนตู้เพลง ซึ่งยังเป็นของใหม่และทัน สมัยตามทีไ่ ด้กล่าวไปแล้วในบทข้างต้น จนมิอาจคิดได้วา่ จะมีทแี่ ห่งใดจะดีไปกว่า ‘วังบูรพา’ ศูนย์การค้าที่ทันสมัยที่สุดแห่งยุค กระทัง่ เมือ่ ประมาณช่วง พ.ศ. 2513 ‘สยามสแควร์’ ได้กอ่ กำ�เนิดขึน้ อย่างเต็มรูป แบบ พรัง่ พร้อมไปด้วยโรงภาพยนตร์ 3 โรงคือ โรงภาพยนตร์สยาม โรงภาพยนตร์ ลิโด และโรงภาพยนตร์สกาลาตามลำ�ดับ นอกจากนี้ยังมีโรงโบว์ลิ่ง ร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้า ร้านตัดผม และร้านอาหาร ที่ส่วนใหญ่ย้ายมาจากย่านธุรกิจอื่น เช่น สุรวงค์ สีลม รวมไปถึงย่านวังบูรพา ย้ อ น วั น เ ก่ า | 150
151 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ดิโอลด์สยาม พลาซ่า สถานที่นัดหมายและย้อนวันวานของชาวโก๋หลังวัง
สภาพภายในโรงภาพยนตร์ควีนส์ในปัจจุบันกลายเป็นที่จอดรถไปเสียแล้ว
เป็นธรรมดาที่ว่า “สรรพสิ่งบนโลก นี้ล้วนมีเกิดและมีดับด้วยกันทั้งนั้น” ‘วังบูรพา’ ที่เคยรุ่งโรจน์สุดขีดก็ถึงวัน ที่ต้องซบเซาลงเพียงเพราะมีของใหม่ ที่ดีกว่า ทันสมัยกว่า ‘สยามสแควร์’ จึงกลายเป็นย่านพบปะสังสรรค์แห่ง ใหม่ของคนกรุง ในทำ�เลที่ดีกว่า อีก ทั้งยังใกล้กับศูนย์การค้าราชประสงค์ ย่านการค้าแห่งใหม่ที่มีความทันสมัย มากกว่าวังบูรพา ที่สุดแล้วก็ถึงกาลอวสานของย่านวัง บูรพา ย่านประวัติศาสตร์แห่งนี้ เมื่อ แหล่งชุมนุมของชาวโก๋หลังวังคือโรง ภาพยนตร์คิงส์ และโรงภาพยนตร์แก รนด์ ซ่ึ ง อยู่ ติ ด กั น ถู ก ทุ บ ทิ้ ง เพื่ อ สร้ า ง เป็นห้างสรรพสินค้าเมอร์รี่คิงส์ ส่วน โรงภาพยนตร์ ค วี น ส์ นั้ น ยื น หยั ด มา ได้ระยะหนึ่ง แต่ในที่สุดก็สู้ความทัน สมั ย ของโรงภาพยนตร์ ยุ ค ใหม่ ย่ า น สยามสแควร์ ไ ม่ ไ ด้ จึ ง ได้ ก ลายเป็ น ที่ จอดรถ แม้แต่ห้างเซ็นทรัลวังบูรพาซึ่ง นับเป็นสาขาแรกของห้างเซ็นทรัลก็มี อันต้องปิดตัวลงเช่นกัน
“แม้วา่ศูนย์การค้าย่าน วังบูรพาจะพยายาม เปลี่ยนแปลงตัวเอง เพื่อให้ทันกับยุคสมัยเท่าไร แต่ก็ยังไม่ประสบ ความสำ�เร็จ” แม้ ว่ า ศู น ย์ ก ารค้ า ย่ า นวั ง บู ร พาจะ พยายามเปลี่ ย นแปลงตั ว เองเพื่ อ ให้ ทั น กั บ ยุ ค สมั ย เท่ า ไร แต่ ก็ ยั ง ไม่ ประสบความสำ�เร็จ ห้างสรรพสินค้า เมอร์รคี่ งิ ส์ สาขาวังบูรพา ทีเ่ ปิดดำ�เนิน การมาตั้งแต่ พ.ศ. 2527 ก็ถูกปรับ เปลี่ยนเป็นห้างเมก้า พลาซ่า วังบูรพา เมื่อปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบันก็ยัง คงเงียบ ๆ ไม่คึกคักเหมือนวันวาน อีก ทัง้ บริเวณนีย้ งั เป็นบริเวณทีก่ ารจราจร หนาแน่นติดขัด หาที่จอดรถได้ยาก จึงยากที่วังบูรพาจะมีโอกาสกลับมามี ชีวิตชีวาขึ้นอีกครั้ง
153 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
แต่วงั บูรพานัน้ ก็ไม่ได้ตายจากไปเสียที เดียว ยังคงมีรา้ นค้าเก่าแก่ทยี่ งั ยืนหยัด เปิ ด ดำ � เนิ น การก้ า วผ่ า นวั น เวลามา ได้อย่างเป็นตำ�นาน อย่างภัตตาคาร จีจ้งหว่อ ภัตตาคาร ส.บ.ล. ที่กล่าว ไปในบทข้างต้น นอกจากนี้ยังมีธุรกิจ สำ�นักพิมพ์กับการจำ�หน่ายหนังสือที่ เก่าแก่ คือ ร้านผดุงศึกษาบูรพา บูรพา สาสน์ โอเดียนสโตร์ แพร่พิทยา รวม สาส์น และคลังวิทยา ที่ปัจจุบันยังเปิด ดำ�เนินการให้ผู้ที่รักหนังสือเข้ามาแวะ เวียนกันเรื่อย ๆ แม้จะไม่คึกคักดังเดิม แล้วก็ตาม แต่หากใครที่อยากจะหา หนังสือเก่า ๆ อยากมาย้อนวันวานคง ลืมร้านหนังสือย่านวังบูรพาไปไม่ได้แน่ อีก ร้านในตำ � นานที่ ย่า นวั ง บู ร พานั้ น หากจะไม่กล่าวถึงคงไม่ได้ ร้านถ่าย รูปชื่อดังตั้งแต่ยุคสมัยคุณตา คุณยาย จนถึ ง ปั จ จุ บั น นี้ นั่ น คื อ ร้ า น ‘ฉายา จิตรกร’ ที่ยังคงดำ�เนินการเป็นร้าน ถ่ายรูปอันเต็มเปีย่ มไปด้วยคุณภาพมา โดยตลอดกว่า 74 ปี
ร้านหนังสือ 'แพร่พิทยา' และ ภัตตาคาร 'ส.บ.ล.'
ร้านหนังสือ ‘คลังวิทยา’ กับความเงียบเหงาในวันนี้
บริเวณหน้าร้าน ‘ฉายาจิตรกร’ ที่ผนังด้านหน้าประดับไปด้วยรูปถ่ายของบุคคลมีชื่อเสียงที่เคยมาใช้บริการที่นี่
เอนก นาวิกมูล นักเขียนสารคดีและนัก สะสมของเก่า ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเสน่ห์ของ วังบูรพาแห่งนี้ไว้ว่า “ยุคนีผ้ มชอบในฐานะของคนซือ้ หนังสือ ไป ดูหนังสือทั้งเก่าทั้งใหม่ที่เขาพิมพ์ออกมา มี ลดราคาปีละครั้งสองครั้ง หนังสือสมัยที่เรา เป็นเด็กอยู่มาลดราคาถูกมากไปทุกครั้งก็ ต้องซื้อ แต่ก่อนสิบบาท ถ้าร้อยบาทก็ถือว่า แพงมากแล้ว สมัยนี้หลายร้อย พ็อกเก็ตบุ๊ค เล่มละสามบาท ห้าบาท สมัยนัน้ คุณอาจินต์ ปัญจพรรค์ (ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. 2534) ก็ทำ�หนังสือช่วงปี 2510 ยัง ขายพ็อกเก็ตบุ๊คเล่มละห้าบาทเลย ถูกมาก หนังสือดีด้วย ปกแข็งเล่มละสามสิบบาท สี่ สิบบาท เดี๋ยวนี้สี่ร้อยห้าร้อยแพงมาก”
ส่วนในแง่ของความร่วงโรยไปในปัจจุบัน ของวังบูรพานั้น คุณเอนกให้ความเห็นว่า เป็นที่แน่นอนว่าบ้านเมืองก็ต้องมีของใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา วังบูรพาจึงกลายเป็น ของเก่า จนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีแหล่งใหม่เกิด ขึ้นมา สยามสแควร์ซึ่งเกิดยุคหลังวังบูรพา ในที่ ดิ น ซึ่ ง ถื อ ว่ า เป็ น ชานเมื อ งสมั ย ก่ อ น ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบัน ก็ ก ลายเป็ น ศู น ย์ ก ลางไปแล้ ว ซึ่ ง มี ค วาม ทันสมัยมากขึ้น การก่อสร้างตึกก็ทันสมัย ขึ้น คนก็รู้จักมาก และมีพื้นที่ที่กว้างกว่าวัง บูรพา อีกทั้งยังอยู่ใกล้ศูนย์การเรียนใหญ่ อย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงทำ�ให้มี คนไปเดินเที่ยว จับจ่ายใช้สอย ซื้อของ ดู หนัง กันมาก
ก่อกำ�เนิด
ฉายาจิตรกร
ร้านฉายาจิตรกรสาขาแรกบริเวณศาลาเฉลิมกรุง
วังบูรพาในปัจจุบันกับย่านค้าปืน
หากเอ่ยถึงวังบูรพาในปัจจุบนั นีค้ งปฏิเสธ ไม่ ไ ด้ ว่ า หลายคนคงนึ ก ถึ ง ภาพย่ า นค้ า อาวุธมากกว่าที่จะเป็นแหล่งบันเทิงเริง รมย์ ผู้ ใ ดที่ ต้ อ งการแสวงหาอาวุ ธ ปื น ต้ อ งมาที่ ย่ า นนี้ จ ะเห็ น ร้ า นค้ า มากมาย เรียงรายกันเป็นแถวบนถนนเจริญกรุง และถนนอุณากรรณ ซึ่งความจริงแล้ว ร้านค้าปืนในแถบนี้มีการค้าขายกันมา ก่อนการสร้างศูนย์การค้าวังบูรพาและ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงเสียอีก แต่ มีกันอยู่ไม่กี่ร้านไม่มากเท่าปัจจุบันกว่า 20 ร้าน
แม้จะกำ�เนิดเกิดมาในครอบครัวช่างไม้ แต่ดว้ ยความสนใจในงานถ่ายรูป ‘ยิม้ ฮุนตระกูล’ จึงแอบไปเป็นลูกจ้างร้านถ่ายรูป เมื่อสั่งสมฝีมือ จนได้ระดับจากการได้ลงมือปฏิบตั มิ านานปี ความ คิดที่จะเปิดร้านเป็นของตนเองก็ได้เวลาเริ่มต้น เมื่อได้นำ�ความคิดไปปรึกษากันกับเพื่อน ๆ แล้ว ทุกคนเห็นดีด้วย เขากับเพื่อนอีกประมาณ 2 – 3 คน ก็รว่ มกันเข้าหุน้ เปิดร้านถ่ายรูป ‘ฉายาจิตรกร’ ขึ้น บริเวณใกล้ ๆ กับโรงหนังเฉลิมกรุง มีคนร่วมหัวจมท้ายถึง 2 – 3 คน แต่ เงินทุนก่อตั้งร้านนั้นก็ไม่ได้เหลือเฟือ เพราะทุน ในการก่อตั้งร้านส่วนหนึ่งนั้นคือ ‘ค้อนปอนด์’ ที่ เป็นดังนี้ก็เพราะเงินมันหายาก ต้องเอาค้อนมา ลงไว้แทน แต่ก็เพราะด้วยค้อนปอนด์นี้ ในปี พ.ศ. 2482 ฉายาจิตรกรจึงก่อตั้งขึ้นมาได้ในที่สุด สำ�หรับช่างถ่ายรูปประจำ�ร้านนั้นก็ไม่ ต้องสงสัยจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก นายยิม้ ฮุน ตระกูล กิจการของฉายาจิตรกรในยุคเริ่มต้น ดำ�เนินไปได้ด้วยดี จนได้ขยายไปเปิดสาขาใหม่ ขึ้นในย่านวังบูรพา ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากร้านฉายา จิตรกรร้านแรกเท่าใดนัก แต่ต่อมาก็เกิดความ เปลี่ยนแปลงในการถือหุ้น จนในที่สุดนายยิ้มก็ กลายเป็ น เจ้ า ของฉายาจิ ต รกรแต่ เ พี ย งผู้ เ ดี ย ว และยังได้ดำ�เนินงานสืบทอดต่อมาจนถึงรุ่นลูกใน ปัจจุบัน 157 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
สถานที่พบปะสังสรรค์ยอดฮิตของบรรดาโก๋รุ่นเก๋า ร้าน ‘กาโตว์ เฮ้าส์’ และ ‘แม็คโดนัลล์’ ภายในดิโอลด์สยาม พลาซ่า
สำ�หรับวังบูรพาในยุคปัจจุบัน แม้จะกลาย เป็ น ย่ า นค้ า ปื น ไม่ ใ ช่ ย่ า นศู น ย์ ก ารค้ า ที่ ครึกครื้นเหมือนเมื่อก่อน แต่ภาพความทรง จำ�ในอดีต เรื่องราวของวันวานยังคงย้ำ�ชัด กับบุคคลร่วมสมัยนั้น หรือคุณลุง คุณป้า คุณตา คุณยาย ในสมัยนี้ ทุกวันนี้พวกท่าน ยังคงมาพบปะพูดคุยสังสรรค์กันในย่านนี้ แม้จะไม่มีโรงหนัง ตู้เพลง ร้านค้าอะไรใน อดีต แต่ภาพวันเวลาเหล่านั้นก็ยังคงชัดเจน ในความทรงจำ�ที่แม้จะเล่ากี่ทีกี่หนก็มิรู้เบื่อ สถานที่พบปะพูดคุยของโก๋กี๋รุ่นเก๋าที่ยังมี ชีวติ อยูน่ นั้ ไม่ใช่ทอี่ นื่ ใดเลย หากแต่ยงั อยูใ่ น ย่านวังบูรพาแห่งนี้ ที่นัดรวมพลในปัจจุบัน นี้คือ ‘ดิโอลด์สยาม พลาซ่า’ นั่นเอง เรา จะเห็นพี่โก๋ น้าโก๋ ทั้งหลายมานั่งจิบกาแฟ กันคนละถ้วยสองถ้วยตามร้านอาหารใน ห้างแห่งนี้ ร้านที่เป็นที่นิยมจับจองกันของ อดีตโก๋ทั้งหลายนั้นคือ ‘กาโตว์ เฮ้าส์’ และ ‘¬แม็คโดนัลล์’ เพราะเมือ่ เพียงแค่มองผ่าน นอกร้านก็จะเห็นเหล่าสภากาแฟมาจับจอง ที่นั่งกัน กลุ่มละโต๊ะสองโต๊ะ บางโต๊ะนั้น กาแฟคนละถ้วยก็นั่งกันได้ยาวแล้ว ภาพ เหล่านี้ยังคงเห็นกันได้ทุกวัน เรียกได้ว่าเป็น ตำ�นานที่มีชิวิตอยู่จริง หากจะพูดถึงของเก่า ย่านเก่านั้น ก็นับว่า เป็นทีน่ า่ เสียดายกับหลายสิง่ ในบ้านเราทีไ่ ด้ สูญสิ้นไป อย่างรถรางที่เคยมีมาในครั้งก่อน ที่วิ่งผ่านย่านวังบูรพา ผ่านถนนเจริญกรุง ไปจนถึงพระบรมมหาราชวังแล้วก็เลิกไป
จากตลาดมิ่งเมือง สู่ดิโอลด์สยาม พลาซ่า
หากเอ่ยถึง ‘ตลาดมิ่งเมือง’ นั้น ผู้ที่เกิด มาในยุครุน่ หลัง ๆ คงคิดว่าเป็นตลาดธรรมดาเป็น แน่แท้ น้อยคนนักทีจ่ ะรูว้ า่ ณ ทีแ่ ห่งนีเ้ องคือแหล่ง รวมผ้าแพรพรรณนานาชนิด เป็นที่ชุมนุมชอง เหล่าช่างฝีมือดีตัดเย็บรวดเร็วทันใจภายในเวลา แค่ทานก๋วยเตี๋ยวชามเดียว ต ล า ด มิ่ ง เ มื อ ง นั้ น ส ร้ า ง ขึ้ น ม า พร้อม ๆ กับศาลาเฉลิมกรุง ในสมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเฉลิมฉลอง กรุงเทพมหานคร 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 มีหลักฐานที่ระบุไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2468 – 2469 นายมาริ โ อ ตามานโญ (Mario Tamagno) สถาปนิ ก ชาวอิ ต าเลี ย นที่ เข้ า มารั บ ราชการใน เมืองไทยระหว่างรัชกาลที่ 5 ถึงต้นรัชกาลที่ 7 ได้ออกแบบก่อสร้างตลาดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เป็ น ตลาดที่ มี ห ลั ง คาคลุ ม สร้ า งด้ ว ยคอนกรี ต สำ�หรับเป็นที่ขายเสื้อผ้า จำ�ลองจากตลาดแบบ ตะวันออกกลาง ดังนั้น แม้จะไม่ได้ระบุนาม แต่ก็ น่าจะหมายถึงตลาดมิ่งเมืองนั่นเอง ตลาดมิ่งเมืองมีชื่อเสียงในฐานะแหล่ง ชุมนุมช่างตัดเย็บเสื้อผ้า เพื่อรองรับลูกค้าที่มา ซื้อผ้าที่ตลาดสำ�เพ็ง – พาหุรัด แล้วไม่มีเวลาไป หาร้านตัดเย็บ เป็นการอำ�นวยความสะดวกให้ ลูกค้าและส่งเสริมเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เมื่อซื้อ ผ้าแล้วมีแหล่งตัดเย็บอยู่ใกล้ ๆ ก็ได้เสื้อกลับบ้าน
159 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
รถรางบริเวณสี่แยกคอกวัว ภาพจาก www.arunsawat.com
ภายในตลาดมิ่งเมือง ภาพจากหนังสือ ‘ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ’ ย้ อ น วั น เ ก่ า | 160
ด้านหน้าตลาดมิ่งเมือง ภาพจากหนังสือ ‘ย่ำ�ต๊อกทั่วกรุงเทพฯ’
ในปี 2511 นั้น เป็นที่น่าเสียดายสำ�หรับ คนรุ่นหลังนี้เหลือเกินที่ในวันนี้ไม่มีให้เห็น กันอีกต่อไป เอนก นาวิกมูล ได้ทงิ้ ท้ายเอาไว้วา่ บ้านเมือง เราทำ�ลายของเก่า ๆ ไปมาก เช่น ระบบ ขนส่งมวลชน ซึ่งมีผลต่อระบบท่องเที่ยว ตึกเก่าที่สวยงามก็ทำ�ลายไป หากเรามีการ ป้องกันสำ�รองของเก่า ๆ ให้เหลืออยูบ่ า้ ง ทัง้ ตึกเก่า รถยนต์ รถราง หรือว่าวัดเก่าที่ไม่ถูก แปลงสภาพมากก็ยอ่ มทำ�ให้การท่องเทีย่ วดู สวยงาม ไม่ใช่ทตี่ า่ งคนต่างสร้างอะไรก็ได้ ซึง่ ถ้าในย่านหนึง่ เราได้มกี ารสำ�รองว่าเป็นย่าน เก่า ยังมีรถรางวิง่ อยูจ่ ะสัน้ จะยาวก็ตามแต่ มี ตึกทีห่ า้ มรือ้ ทำ�ลายก็ถอื ว่าเป็นต้นทุนทีเ่ ราใช้ เพื่อการท่องเที่ยวได้ ตัวอย่างการอนุรักษ์ ตามต่างประเทศก็มีให้เห็นอยู่มาก ปัญหาที่สำ�คัญของบ้านเมืองเราคือไม่ค่อย เก็บรักษาสิ่งเก่า แล้วไปสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา อย่างมากมายซึ่งก็ขัดตา ตัวอย่างเช่น วัด
อย่างรวดเร็ว ตลาดแห่งนี้จึงได้รับความนิยมจาก บรรดาสุภาพสตรีเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ดารา นัก ร้อง จนถึงประชาชนทั่วไป สมัยก่อนช่วงปีใหม่ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม – 1 มกราคม จะเป็นช่วงที่สนุกครึกครื้น มาก มีการปิดถนนให้คนเดินเที่ยว มีการแสดง ดนตรี จำ�อวด ลิเก แถวนีเ้ ป็นย่านบันเทิงมีโรงหนัง ถึงสีโ่ รง นัง่ ดูกนั จนสว่างคาตา คนจากต่างจังหวัดก็ มากันนับหมืน่ มาดูดารา โรงหนังทีว่ า่ นีก้ ค็ อื ศาลา เฉลิมกรุง โรงภาพยนตร์คิงส์ ควีนส์ และแกรนด์ นั่นเอง บรรยากาศในตลาดมิ่งเมืองนั้นคึกคัก มาก เพราะสมัยก่อนยังไม่ค่อยมีเสื้อผ้าสำ�เร็จรูป ต้องซื้อผ้าเป็นชิ้น ๆ มาตัดจึงจะได้รูปทรงตาม ต้องการ โดยเฉพาะช่วงกลางวันและช่วงเย็นเป็น ช่วงที่คนมาตัดเสื้อผ้ากันมาก กิตติศัพท์การตัดเสื้อผ้าเร็วทันใจของ ตลาดแห่งนีถ้ งึ กับมีเรือ่ งเล่ากันว่า เอาผ้ามาให้ชา่ ง วัดตัวเรียบร้อย แล้วไปกินก๋วยเตี๋ยว ก็กลับมารับ เสื้อได้เลย ฝีมือการตัดนั้นก็เรียบร้อย ใส่ออกงาน ได้สบายมาก แล้ววันที่ชาวตลาดมิ่งเมืองต่างอกสั่น ขวัญแขวนไปตาม ๆ กัน คือเมือ่ รัฐบาลโดยการนำ� ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มีนโยบายให้รอื้ ตลาด มิง่ เมืองในปี พ.ศ. 2502 ผูท้ คี่ า้ ขายอยูใ่ นตลาดนัน้ ก็ยื้อกันอยู่นานที จนกระทั่งประมาณ พ.ศ. 2521 จึงได้เริ่มรื้ออย่างจริงจัง เป็นอันสิ้นสุดกาลเวลา ของตลาดมิ่งเมือง
161 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 162
ก็กลายเป็นที่จอดรถไปเสีย ต้นไม้ให้ความ ร่มรื่นก็ไม่มี เป็นปัญหาทั่วไปที่พบเห็นได้ ทุกจังหวัด สุดท้ายนี้ ย่านวังบูรพาอาจสะท้อนเรื่องราว ต่าง ๆ ให้กับความเป็นไปของชีวิตคนเรา ได้ อย่างหนึ่งคือความเป็นอนิจจัง ที่ไม่มีสิ่ง ใดแน่นอนและคงอยู่ตลอดไป มีเกิดก็ย่อม มีดับ เหมือนที่แห่งนี้ครั้งหนึ่งคือศูนย์รวม ความบันเทิงอันดับหนึ่ง ความเริงรมย์อย่าง หาทีเ่ ปรียบไม่ได้ แต่เมือ่ ถึงวันเวลาหนึง่ ก็ถงึ คราวทีจ่ ะต้องยอมรับสภาพความจริง แต่ถงึ กระนั้น ในวันนี้ย่านแห่งนี้ก็ยังคงเป็นที่รู้จัก กันในนามของ ‘วังบูรพา’ อยู่ อีกสิ่งหนึ่งที่เราเรียนรู้ได้จากอดีตคือเรื่อง ของความอดทน ความพยายามของคนใน สมัยก่อน ชีวิตของคนรุ่นใหม่แตกต่างกับ คนรุ่นเก่า คนรุ่นเก่าเมื่อได้แหล่งทำ�กินที่ใด ก็จะตัง้ รกรากให้ยาวทีส่ ดุ แต่คนปัจจุบนั นัน้ ความอดทนน้อยลงอีกทั้งโลกปัจจุบันก็เป็น เสรีมากขึ้น เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ทำ�ได้ไม่ ดีกเ็ ลิกพร้อมทีจ่ ะจ่ายไปและแสวงหาสิง่ ใหม่ เดิ ม เจ้ า ของกิ จ การที่ ป ระสบความสำ� เร็ จ นั้นต้องผ่านอุปสรรคมามากมาย ตัวอย่าง ก็มีอยู่ให้เห็นมากว่า กว่าจะเดินทางมาถึง เมืองไทยนั่งเรือรอนแรมสามสี่เดือน บาง คนเสียชีวิตระหว่างทาง เมื่อลงที่ไหนจึงตั้ง รกรากที่น่ันให้ยาวที่สุดนี่จึงเป็นความแตก ต่างของวิถีชีวิต
พอเก่าไปใหม่กม็ า ราว พ.ศ. 2535 ก็มโี ครงการก่อ สร้างดิโอลด์สยาม พลาซ่า ขึ้นในพื้นที่ของตลาด มิ่งเมืองเดิม ศูนย์การค้าแห่งนี้ก่อสร้างอย่างใหญ่ โตด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เน้นเอกลักษณ์ ความเป็นไทย แม้จะไม่มีตลาดมิ่งเมืองแล้ว แต่ดิโอลด์ สยามก็ยังคงรักษาชื่อ ‘มิ่งเมือง’ ไว้ เป็นชื่อลาน โล่งภายในห้าง เหมือนลานอเนกประสงค์เพื่อให้ มีกิจกรรมหมุนเวียนเปลี่ยนกันไป ดังที่เห็นเป็น ประจำ�คงเป็นการให้เช่าพื้นที่ขายสินค้าจำ�พวก เสือ้ ผ้า กระเป๋า รองเท้า อาหาร ฯลฯ คงเพือ่ ดึงดูด ลูกค้าให้เข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าภายในห้าง ฉะนั้นหลากหลายเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมา จึงเป็นสิ่งที่ย้ำ�เตือนเราได้ หลายสิ่งเป็นสิ่งดี งามควรเอาเยี่ยงอย่างหลายสิ่งควรแก้ไข หรือ เพียงแค่เราย้อนมองกลับมาดูตัวเองก็จะรู้ว่า ผิดไปตรงไหน เราต่างก็เรียนรู้ได้จากอดีตกัน ทัง้ นัน้ และในเมือ่ ครัง้ หนึง่ เราได้เกิดมาใช้ชวี ติ เป็นมนุษย์ผปู้ ระเสริฐนัน้ ก็ควรทีจ่ ะหมัน่ รักษา ความดี ความพากเพียรพยายามเอาไว้ แม้น ว่าตายจากไปก็ยังคงเหลือความดีงามนั้นไว้ ให้ได้จดจำ�กัน ข้อมูลประกอบการเขียน 1.หนังสือ ‘เสน่ห์ร้านเก่า’ โดย ธนาทิพ ฉัตรภูติ 2.หนังสือ ‘ย่านเก่าในกรุงเทพฯ เล่ม 2’ โดย ปราณี กล่ำ�ส้ม
163 | ย่ า น วั ง บู ร พ า
บรรณานุกรม ช.ชัยโรจน์. ย้อนรอยโก๋หลังวัง ครั้งรุ่งเรืองยุค 2503. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ดอกหญ้ากรุ๊ป, 2545. ทิพย์วารี. ตามรอยบางกอก. กรุงเทพฯ: C.A.D PUBLISHING, 2537. ธนาทิพ ฉัตรภูติ. เสน่ห์ร้านเก่า. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์เวลาดี, 2546. น. ณ ปากน�้ำ. ย�่ำต๊อกทั่วกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2544. บรรเจิด กฤษณายุธ. เดินอย่างปุ๊. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์ H.A., 2546. บริษัท ไนติงเกล-โอลิมปิค จ�ำกัด. อนุสรณ์งานฌาปนกิจศพ นายนัติ นิยมวานิช อดีตผู้อ�ำนวยการ บริษัท ไนติงเกล – โอลิมปิค จ�ำกัด. กรุงเทพฯ: ประจักษ์การพิมพ์, 2516. ปราณี กล�่ำส้ม, ย่านเก่าในกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2552. วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. วิวัฒนาการสังคมไทยกับหัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน ของ ป. อินทรปา ลิต. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แสงดาว, 2544. วิหค เหินลม. 60’s MEMORIES คู่มือ โก๋หลังวัง. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์โปร-เอสเอ็มอี, 2543. ศิริพงษ์ บุญราศรี. มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาล. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์โกเมนเอก, 2548. เอนก นาวิกมูล. เมืองไทย 2495 – 2519. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์สายธาร, 2552. เอนก นาวิกมูล. วังบ้านฐานถิ่น. กรุงเทพฯ: ส�ำนักพิมพ์แสงดาว, 2549.
เว็บไซต์
เว็บไซต์การศึกษาพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณีฯ http://kingprajadhipokstudy.blogspot.com/ เว็บไซต์ชุมนุมนักเขียนไทย http://www.thaiwriter.org/ เว็บไซต์ศาลาเฉลิมกรุง www.salachalermkrung.com
จุลนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญานิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ เอกวารสารและหนังสือพิมพ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2556 ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยศิลปากร ย้ อ น วั น เ ก่ า | 166
เพราะเวลามาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง
ย้ อ น วั น เ ก่ า | 168