ภาพจิตรกรรมไทยฝาผนัง
วัดกลางธรรมสาคร อุตรดิตถ์
อธิษฐาน แก้วดี
ภาพจิตรกรรมไทยฝาผนัง
วัดกลางธรรมสาคร อุตรดิตถ์ อธิษฐาน แก้วดี
2
3
จิตรกรรมฝาผนังนัดอุโบสถวัดกลาง เป็นจิตรกรรมที่เขียน โดยช่างนิรนาม ไม่ปรากฎชื่อผู้เขียนและวันเดือนปีที่เขียน ผนัง ด้านหน้าพระประธานเป็นผนังว่างเปล่าไม่มีภาพเขียน แต่เดิมมี ภาพเขียนมารผจญไว้ที่ผนังด้านหน้า เหมือนที่ปรากฏอยู่ที่ผนัง ด้านหน้าของวิหารวัดบรมธาตุทุ่งยั้ง ผนังด้านข้างส่วนล่างจากพื้น พระอุโบสถถึงขอบหน้าต่างด้านบนทั้งสองด้านลบเลือนแต่ยังมี ร่องรอยของภาพเขียนปรากฏเหนือขอบหน้าต่างด้านบนขึ้นไป ทางซ้ายมือเป็นภาพเขียนทศชาติชาดก ตอนพระเวสสันดรสร้าง บารมีทาน ผนังด้านขวามือเขียนภาพจุลประทุมชาดก ซึ่งชาดกนี้ เป็นที่นิยมกันในสมัยรัชกาลที่ 5-6
ถัดจากภาพชาดกขึ้นไปจะเป็นพื้นที่แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นล่างเขียนภาพฤๅษี นักสิทธิ์ วิทยาธร ยักษ์ นั่งหันหน้าไปทาง พระประธานด้วยตาลปัดพัดยศ ชั้นกลางเป็นภาพเทพชุมนุม นั่งหันหน้าไปทางพระประธานคั่นด้วยตาลปัตรพัดยศ ซึ่งสมัย อยุธยานิยมเขียนภาพเทพชุมที่ผนังอุโบสถ วิหาร บนผนังด้าน เหนือหน้าต่างขึ้นไป แบ่งเป็น 3 แถว หรือ 4 แถว สลับพื้นด้วย สีแดงชาด และสีม่วงแก่ หรือสีน้ำ�ตาล เขียนเทพชุมนั่งเรียงราย ไปทั้ง 3 แถว ระหว่างเทพคั่นด้วยเจดีย์หรือพัดยศแถวล่างสุด นิยมเขียนรูปเทพชั้นต่ำ� มีครุฑ ยักษ์ และเทวดาจัตุมหาราชิก ที่ วัดช้างใหญ่ในอยุธยาตอนปลายเทพชุมนุมแถวล่างเขียนเป็นรูป หนุมาน สุครีพ ครุฑสลับกันไป
4
สมัยราชการที่ 4 เปลี่ยนความนิยม เลิกเขียนเทพชุมนุม บนผนังด้านข้างเหนือหน้าต่างขึ้นไป หันมาเขียนเรื่องราวต่างๆ เช่น วัดทองนพคุณ เขียนเวสสันดรชาดก เทพชุมนุมเก่าที่สุด อยู่ที่วัดใหม่ประชุมพลนครหลวงอยุธยาสมัยพระเจ้าปราสาททอง ส่วนเทพชุมนุมวัดใหญ่สุวรรณารามเพชรบุรี เขียนแบ่งผนัง ด้านข้างเป็น 4 ช่อง จนดูเต็มไปหมดทั้งผนัง เนื่องจากที่นั่นไม่มี หน้าต่าง
สำ�หรับเทพชุมนุมทีพ่ ระอุโบสถแห่งนี้ เขียนโดยชัน้ บนสุด เป็นรูปอรหันต์สาวกหรือพระมาลัย(นั่งสะพายบาตรถือตาลปัตร หันหน้าไปทางพระประธานคัน่ ด้วยพัดยศ) ผนังด้านหลังพระ ประธานมีการทาสีทับและมีการเขียนภาพต่อเติมขึ้นมาใหม่ในชั้น หลังเขียนเป็นรูปซุม้ โพธิเ์ รือนแก้วหรือโพธิบลั ลังก์ ซึง่ โพธิบลั ลังก์ มั ก เขี ย นเป็ น รู ป พุ่ม ใบโพธิ์ไ ว้ เ บื้อ งหลั ง พระพุ ท ธรู ป หรื อ เขี ย น พระพุทธรูปคติโบราณ และมีฉพั พรรณรังสีพวยพุง่ อยูด่ า้ นหลัง คือ รัศมีหกประการของพระพุทธเจ้า ช่างเขียนโบราณมักนิยมเขียน เป็นลายกนกเปลวสอดสลับหลายสี
5
ผนังด้านซ้าย
6
เวสสันดรชาดก
7
8
ส่วนแรกของผนังซ้าย กัณฑ์ ที่ 1 กัณฑ์ทศพร เป็นตอนนางผุสดี เป็นมเหสีของพระอินทร์จะต้องมา จุ ติ จ ากดาวดึ ง ส์ ล งมาเกิ ด ในโลก มนุษย์ นางจึงขอพรพระอินทร์ 10 ประการ ซึ่งมีพรที่สำ�คัญ 3 ประการ คือ ขอให้เกิดในปราสาทพระเจ้าสีวี ราช ขอได้นามว่าผุสดี และขอให้มี พระโอรสทรงมักในการทำ�ทาน
9
10
พระเวสสันดรทรงพระราชทาน ทรั พ ย์ สิ น แก่ บ รรดาอาณาไพร่ ราษฎร์
11
12
ส่วนที่ 2 ของผนังทางกลางเป็นภาพป่านี้ยาวติดต่อกับ กัณฑ์วนประเวศน์กินพื้นที่ไปจนถึงพื้นที่ผนังกลาง ภาพกลาง ซ้ายเป็นตอนทานกัณฑ์เมื่อขึ้นรถออกจากวังแล้วมีพราหมณ์ มาขอม้าขอรถไป เมื่อพระเวสสันดรและนางมัทรีเดินทางผ่าน เมืองต่างๆจนถึงเมืองเจตราษฎร์เชิญขึ้นครองเมือง
13
14
ห้องภาพส่วนสุดท้ายเป็นภาพ เกี่ยวกับตัวเมืองเจตราษฎร์
15
ผนังด้านขวา
16
จุลปทุมชาดก
17
18
ส่วนที่ 1 เป็นหมู่ปราสาท ราชวังตรงกลางมีกษัตริย์ประทับ นั่งว่าราชการอยู่ ในปราสาทเรือน ยอด และมีนางกษัตริย์นั่งอยู่ด้าน ข้าง 2 นาง ทางซ้ายเป็นสนมนางใน กำ�ลังแต่งตัวอยู่ ด้านล่างมีหนุ่มๆ แอบมองชะเง้อดู ด้านขวาของ ปราสาทมีศาลาโถงคั่นกลางด้วยรั้ว ไม้ ภายในมีกษัตริ์นั่งว่าราชการอยู่ และมีนางกษัตริย์นั่งอยู่ด้วย 3 นาง ด้านล่างมีฝูงชนเฝ้า
19
20
ส่วนที่ 2 เป็นเรื่องราวในป่ามี ผู้คนทำ�กิจกรรมต่างๆ เช่น เข้าป่าล่า สัตว์ เดินเที่ยวไปมา สำ�หรับป่าเต็ม ไปด้วยโขดหิน
21
22
ส่วนที่ 3 เป็นการจัดภาพเมือง
23
24
ส่วนที่ 4 เป็นภาพป่า กษัตริย์ เดินทางออกจากเมืองมุ่งหน้าสู่ป่า มีชาวบ้านนำ�สัตว์มาเลี้ยงในภาพ เป็นวัว บ้างก็ทำ�กิจกรรมต่างๆตาม แนวราวป่า บ้างก็ล่าสัตว์ ส่วนหนุ่ม สาวก็ ซุ่ ม อยู่ ใ นราวป่ า เป็ น คู่ ๆ อยู่ ทางด้านบนภาพ
25
26
ส่วนที่ 5 เป็นเรื่องภายในตัวเมือง
27
28
เทพชุมนุม
ภาพเทพชุมนุมเขียนไว้บนผนังเป็นส่วนที่ 3
ส่วนของผนังด้านทิศใต้ จิตรกรรมแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ชั้นล่างสุดเป็นนักสิทธิ ( นักสิธิเป็นฤาษีประเภทหนึ่งที่อยู่ในป่า หิมพานต์ เป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้) ชั้น กลางเป็นภาพเทพชุมมุม ชั้นบนสุดเป็นภาพพระอรหันต์สาวก หรือพระมาลัยเส้นลายหน้ากระดานที่คั่นระหว่างส่วนที่ 2 และ 3 เป็นลายพรรณพฤกษา และเครือเถา ส่วนที่ 3 ของผนังด้านทิศเหนือ ก็เป็นการเขียนภาพเทพ ชุมนุมเช่นเดียวกับผนังด้านทิศใต้ เส้นลายกระดานคั่นระหว่าง ส่วนที่ 2 และส่วนที่ 3 เป็นลายหน้ากระดานลูกฟัก สลับลาย ดอกซีก ส่วนแรกของส่วนที่ 3 เป็นรูปพญาครุฑสลับกับพญายักษ์ คั่นด้วยพัดยศ เทพชุมนุมอยู่ชั้นที่ 2 และพระอรหันต์สาวกหรือ พระมาลัยอยู่ชั้นสุดท้าย
29
30
เทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง
สำ�หรับพื้นดินและท้องฟ้า มีการซ่อมทับกันมาหลายครั้งสี พื้นดินและท้องฟ้าเดิมเป็นสีนำ�้ตาลอ่อน แดงเสนอ่อนๆและแดง ชาดอ่อนๆ สังเกตสีเดิมตามจุดต่างๆได้ดังนี้
ผนังด้านทิศใต้ 1.สีพื้นดินและท้องฟ้า บริเวณกัณฑ์แรก ตรงใต้ปราสาท ที่ พ ระนางผุ ส ดี น อนอยู่ เ ป็ น สี พื้ น เดิ ม ไม่ มี ก ารเขี ย นซ่ อ มหรื อ ระบายทับ สีท้องฟ้าถูกระบายทับด้วยสีครามแต่ยังพอมองเห็น ร่องรอยของสีเดิมได้เล็กน้อยคือสีนำ�้ตาลอ่อน 2.พื้นที่ภายในตัวเมือง ผนังด้านที่ติดกับพระประธาน เป็นสีนำ�้ตาลอ่อนซึ่งคือสีเดิม 3.ด้ า นบนของภาพตลอดทั้ ง ผนั ง มี ก ารระบายทั บ สี ท้องฟ้าด้วยสีครามมอคราม บริเวณกัณฑ์แรกระบายทับเลยลง มาถึงกำ�แพงใต้ และมีคนเดินอยู่บนท้องฟ้าซึ่งผิดจากความเป็น จริงแสดงถึงผู้ไม่รู้ในการซ่อม 4.ส่ ว นที่ อื่ น ๆถู ก ระบายทั บ ให้ เ ข้ ม ขึ้ น ด้ ว ยสี นำ �้ ต าลเข้ ม และอ่อนบ้างเพื่อเน้นให้ภาพชัดขึ้นซึ่งทำ�ให้การเขียนภาพแบบ อยุธยาหายไปอย่างน่าเสียดาย
31
4
1
2
5
3
32
ผนังด้านทิศเหนือ
1.สีพน้ื และสีทอ้ งฟ้าถูกระบายทับและถูกต่อเติม ซึง่ สีเดิม ตอนบนบริเวณประตูระบายเป็นสีนำ�้ตาลเข้มท้องฟ้าระบายเป็นสี มอคราม 2.ส่วนที่ 2 ไม่มกี ารระบายทับ เป็นสีเดิมตลอดแต่ไประบาย ทับทีอ่ น่ื 3. ส่วนที่ 3 พืน้ ด้านล่างระบายเป็นสีน�ำ ต้ าลเข้มส่วนท้องฟ้า ระบายเป็นสีคราม 4. ส่วนที่ 4 ไม่มกี ารระบายสีทบั เป็นสีเดิมตลอดแต่ไป ระบายทับทีอ่ น่ื 5.ส่วนที่ 5 มีการระบายทับบางๆด้วยสีน�ำ ต้ าลเข้มเป็นบาง แห่ง ด้านบนระบายทับด้วยสีคราม เป็นสีทอ้ งฟ้า
33
34
เทคนิคการเขียนต้นไม้ และก้อนหิน
เทคนิคการเขียนภาพทีน่ ม่ี กี ารใช้สเี พียงไม่กส่ี คี อื สีเขม่า(ดำ�) สีฝนุ่ (ขาว) สีดนิ แดง สีชาดและเสนเพียง 4-5สีเท่านัน้ อาจมีสเี ขียว มาผสมบ้าง การเขียนภาพต้นไม้บนผนังด้านทิศใต้เขียนแบบต้นไม้ ประดิษฐ์ เป็นทีน่ ยิ มเขียนกันในสมัยรัชกาลที่ 2-4 คือเขียนแบบ จีนแต่เป็นช่างไทยมาเน้นให้เป็นแบบตกแต่งมากขึ้นช่างได้ใช้สี แดงลิน้ จี่ ขาว และแดงเสนเขียนลำ�ต้นส่วนใบไม้ใช้สดี �ำ เขียวเข้ม มอครามมอและมอหมึก โดยใช้พกู่ นั เปลือกกระดังงากระทุง้ เป็นพุม่ ใบ บางทีเ่ ขียนเป็นใบๆแล้วตัดด้วยเส้น บางแห่งป้ายสีบางๆเป็น ใบๆทับลงไปบนต้นไม้ บางทีเ่ ขียนเลียนแบบเหมือนจริง สีทใ่ี ช้เขียน มีสขี าวเทา เสน นำ�ต้ าลเข้มแล้วตัดเส้นด้วย สีเสน นำ�ต้ าลเข้ม ดำ�
35
36
ใบไม้มีการเขียน 3 แบบ คือ การเขียนด้วยเปลือกกระดังงา ที่ถูกทุบ กระทุ้งให้เป็นพุ่มด้วยสีเขียวเข้ม แบบที่ 2 ลงสีพื้นด้วยสี เขียวเข้มตัดเป็นใบๆด้วยสีอ่อนๆ เช่นสีขาวเหลือง อ่อนเขียวอ่อน แล้วตัดเส้นด้วยสีดำ� เป็นเทคนิคการเขียนที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 1 แบบที่ 3 ใช้พู่กันเขียนตวัดปลายพู่กันให้ใบไม้ พริ้วไหวอย่างอิสระ บางจุดมีการแต้มสีขึ้นทับใหม่เป็นต้นหญ้า แซมอยู่ตามจุดต่างๆเล็กน้อย ส่วนก้อนหินเขียนเป็นแบบประดิษฐ์แบบจีนเหมือนต้นไม้ แทรกด้วยหมู่มวลต้นไม้ใบไม้ดอกเป็นหย่อมๆ ตลอดทั้งห้อง ใช้ การระบายสีบางๆและตัดด้วยเส้นหนัก และหนาเหมือนกับโครง สีเดิมเป็นสีอ่อนๆเช่น สีเทาอ่อน สีนำ�้ตาลอ่อน และสีเสนแล้วเน้น เหลี่ยมสันหรือหยักโค้งด้วยสีที่เข้มกว่าสองสามชั้น เป็นลักษณะ การเขียนของช่างในรัชกาลที่ 1 การเขียนภาพต้นไม้และก้อนหินบนผนังด้านทิศเหนือ เดิม มีการเขียนภาพต้นไม้อยู่ไม่กี่ต้น และเขียนใบไม้ด้วยวิธีกระทุ้ง ด้ ว ยเปลื อ กกระดั ง งาเป็ น หย่ อ มๆแต่ ถู ก ระบายสี แ ละเขี ย นทั บ เป็นต้นไม้เล็กๆด้วยสีขาว และสีเสนเต็มไปหมดเช่นเดียวกับก้อน หินที่ถูกระบายสีและเขียนตัดเส้นใหม่หมด 37
38
การเขียนภาพสัตว์ ผนังด้านทิศใต้ เป็นการเขียนภาพสัตว์แบบเหมือนจริง เขียนแบบง่ายๆได้อารมณ์ และมีชีวิตชีวาเป็นอย่างดี มีเสือโคร่ง ระบายสีตัวเป็นสีนำ�้ตาลอ่อน ท้องและหนวดเป็นสีขาว ตัดเส้น ลายด้วยสีดำ� เป็นสีที่มาแต่เดิม ส่วนเก้งที่เดินอยู่ก็เขียนเช่น เดียวกันกับเสือ สัตว์ที่มีมากที่สุดคือนกชนิดต่างๆ เขียนด้วยสี ขาว สีดำ� สีนำ�้ตาล ทั้งตัวเล็กตัวใหญ่มีหลายขนาดลายพันธ์เช่น นกแก้ว นกแซงแซว และนกพันธุ์อื่นๆอีก ส่วนสัตว์หิมพานต์ที่พบ ได้แก่ตัวอรหัน 2 ตัว ตัวผู้ กับตัวเมีย ซึ่งไม่ใช่กินรีกับกินนรเพราะ ส่วนบนเป็นคนเหมือนกันแต่ส่วนล่างมีหางเหมือนนก ผนังด้านทิศเหนือมีเสือเขียนแบบด้านทิศใต้ ส่วนเก้งถูก ระบายทับด้วยสีคราม สัตว์ที่มีเพิ่มเข้ามาได้แก่ช้าง ส่วนสัตว์เลี้ยง ได้แก่วัวด้วยสีเสน ตัดเส้นด้วยสีนำ�้ตาล
39
40
การเขียนภาพคน
การเขี ย นภาพกษั ต ริ ย์ แ ละพระราชวงศ์ เ ครื่ อ งทรงและ เครื่องประดับปิดทอง และตัดเส้นด้วยสีแดงและสีนำ�้ตาลทุกองค์ ในเมืองกษัตริย์จะประทับนั่ง ออกว่าราชการอยู่ในปราสาทเรือน ยอดส่วนพระมเหสีจะประทับนั่งอยู่ด้านหลังหรือด้านข้างซ้ายขวา หรือศาลาโถง เว้นแต่บนผนังด้านทิศเหนือส่วนที่ 5 พระมเหสีออก มาเดินข้างๆวังภายในกำ�แพงเมือง วัฒนธรรมการแต่งกายของผู้คนหรือชาวบ้านทั่วทั่วไปนุ่ง โจงกระเบนทั้งชายและหญิง เดิมภาพเขียน ผ้าโจงกระเบนจะ ระบายเป็นสีพื้น เช่น สีเขียว สีเสน สีนำ�้ตาล สีนำ�้ตาลอ่อน สีขาว ไม่มีการเขียนยกลาย หรือยกดอก เพราะเป็นผ้าของชนชั้นสูง การ เขียนยกลายเขียนลงสีและตัดเส้นใหม่ทั้งหมดชั้นหลังด้วยความ ไม่รู้ระเบียบกติกา ผู้ชายไม่ใส่เสื้อ บางคนมีผ้าพาดไหล่ ยกเว้น บรรดาข้าราชบริพารใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอกมีผ้าเคียนเอวไว้ ปมทรงมหาดไทยหรือหลักแจว ที่บริเวณภายนอกกำ�แพงเมืองใน ภาพเขียนบนผนังด้านทิศใต้ส่วนที่ 5 มีภาพชายใส่เสื้อคอกลม แขนกระบอกยาวสีเสน ส่วนหญิงห่มผ้าแถบมีทั้งห่มเฉียงและห่ม ตะเบ็งมาน หรือพลาดคอไว้เฉยๆ สีเช่นเดียวกับโจงกระเบนสีเช่น เดียวกับโจงกระเบน เขียนลงสีและตัดเส้นใหม่หมดในชั้นหลัง แต่ยังมีผ้าพื้นเดิมเหลือให้เห็นอยู่แทรกๆทั่วไปทั้งสองผนัง เช่น เดียวกันทรงผมไว้ปีกที่บริเวณประตูกำ�แพงเมืองในภาพเขียนบน ผนังด้านทิศใต้ 41
42
ส่วนที่ติดกับพระประธาน มีผู้หญิงชาวเหนือนุ่งผ้าซิ่นไว้ผม ยาว มือขวาถือผ้าพาดบ่า แปลกไปจากคนอื่น เกล้ามวย มีปิ่นปัก ผม นับเป็นวัฒนธรรมการแต่งกายของผู้คนที่อยู่ในสังคมเดียวกัน ส่วนเด็กจะใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอกยาว บางคนไม่ใส่เสื้อ จะไว้ ผมหลายแบบ คือ จุก แกละ และผมเปีย แสดงถึงวัฒนธรรมการไว้ ผมของเด็กสมัยก่อนเป็นอย่างดี การเขียนใบหน้าและท่าทางของตัวพระตัวนางไม่ได้เขียน แบบมาตรฐานภาพเขียนไทยโบราณ คือมีการเขียนแสดงความ รู้สึกของใบหน้าด้วย เช่นยิ้มแย้มเป็นต้น สัดส่วนของตัวพระ และ ตัวนาง จะผอมสูงอรชร ท่านั่งของตัวนางจะนั่งพับเพียบท้าวแขน ข้างหนึ่งด้วยแขนอีกข้างหนึ่ง ส่วนแขนอีกข้างนั้นจะทำ�กริยา อาการต่างๆ ส่วนกษัตริย์จะนั่งชันเข่าข้างหนึ่ง หรือนั่งขัดสมาธิ หรือมือข้างหนึ่งถือพระขรรค์ มืออีกข้างทำ�กริยาต่างๆ ส่วนเหล่า สนม กำ�นัล ข้าราชบริพาร และไพร่ฟ้า ช่างเขียนได้เขียนอย่าง มีชีวิตชีวาแทบทุกอิริยาบถจะยืน เดิน นั่ง หมอบ คลาน พูดคุย หยอกล้อกัน รวมถึงการทำ�กิจวัตรประจำ�วัน ตามวิถีธรรมชาติของ คนทั่วๆไปสัดส่วนของคนทั่วๆไปมีทุกขนาดไม่ว่าอ้วน ผอม สูง ตำ�่ ดำ� ขาว มีทุกผิวพรรณ แสดงถึงวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของผู้คน หลายเชื้อชาติ 43
44
สิ่งของเครื่องใช้ สิง่ ของเครือ่ งใช้ทป่ี รากฏในภาพเขียนมีอยูม่ าก ช่างมุง่ เขียน แต่เกีย่ วกับภาพชาดก เครือ่ งประดับ และสิง่ ของเครือ่ งใช้ทพ่ี บ ได้แก่ เครือ่ งดนตรีของวงมโหรี ทีป่ รากฏในกัณฑ์แรก ผนังด้านทิศ ใต้ ได้แก่ พิณ ซอด้วง รำ�มะนาโทน อันเป็นเครือ่ งดนตรีทพ่ี บใน จิตรกรรมมาตัง้ แต่สมัยอยุธยา ซึง่ มีของใช้ได้แก่ พานทำ�ด้วยทองคำ�ทีเ่ วสสันดรใช้ใส่สงิ ของ บริจาคทานแก่ อาณาประชาราษฎร์ ปรากฏในกัณฑ์แรก ผนังด้านทิศใต้ หมอนอิงที่ปรากฏในผนังด้านทิศใต้ท่ีติดกับพระประธาน เป็นรูปสามเหลีย่ มหุม้ ด้วยฝ้ายกลายเส้นทอง ร่มทีป่ รากฏในกัณฑ์แรกบนผนังทางทิศใต้ เป็นร่มผ้าสีขาว รูปทรงคล้ายร่มทางยุโรป เพราะมีความโค้งมาก ร่มทางเหนือสมัย ก่อนจะทำ�ด้วยกระดาษสาทานำ�ม้ นั และโค้งลาดเอียงน้อย พัดขนาดเล็ก มีขนาดเล็กคงใช้พดั ไม่ได้ทน่ี างกำ�นัลถือคอย ถวายงาน ด้ามทำ�ด้วยทองคำ�ตัวพัดทำ�ด้วยไม้ไผ่สาน พัดโบก ด้ามลงรักสีแดงตัวพัดทำ�ด้วยทองคำ� ทำ�ด้วยผ้าทีม่ ี สำ�หรับนางกำ�นัลถือ คอยถวายงาน กระบุงทีผ่ หู้ ญิงถือ และผูช้ ายเดินหาบกระบุงด้วยไม้คานอยู่ นอกกำ�แพงเมือง ทีป่ รากฏในผนังด้านทิศใต้ทต่ี ดิ กับพระประธาน มีขนาดเล็ก ทำ�ด้วยไม้ไผ่สาน ลงรักสีด�ำ ส่วนไม้คาน ทำ�ด้วยไม้ไผ่ ดัดส่วนปลายให้งอโค้งเชิดขึน้ อย่างสวยงาม 45
46
กำ�ปั่น กำ�ปั่นใส่ของที่ปรากฏในกัณฑ์แรกบนผนังทางด้าน
ทิศใต้ เป็นลังสี่เหลี่ยมลงรักสีแดง ใช้สาแหรกสอด และมีคานหาม ส่วนกำ�ปั่นขนาดเล็กทำ�ด้วยไม้ลงรักสีแดงใช้มือเดียวถือได้ ไม้พายที่ผู้หญิงถือเดินอยู่นอกกำ�แพงเมืองปรากฏในผนัง ทางด้านทิศเหนือ ส่วนแรกทำ�ด้วยไม้ ย่ามที่ปรากฏในกัณฑ์แรกบนผนังด้านทิศใต้เป็นย่ามผ้าสี ขาว และสีนำ�้ตาลอ่อน ส่วนสีครามระบายทับในชั้นหลัง เครื่องประดับ ที่ปรากฏมีปิ่นปักผม กำ�ไลคอ กำ�ไลแขน ของสาวชาวเหนือ ที่ปรากฏในผนังทางด้านทิศใต้ ที่ติดกับพระ ประธานไม่ทราบว่าทำ�ด้วยโลหะชนิดใด เพราะว่าเขียนเส้นไว้ เฉยๆไม่ได้ระบายสี ปืนแก๊ป หรือปืนคาบศิลาที่ปรากฏบนผนัง ทางด้านทิศใต้ ตอนกลางที่พรานใช้ล่าสัตว์ มีใช้กันตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง หอก ที่พรานใช้ล่าสัตว์เป็นอาวุธที่มีใช้กันตั้งแต่สมัยโบราณ
47
48
การเขียนภาพสถาปัตยกรรม การเขียนภาพสถาปัตยกรรมในจิตรกรรมฝาผนังทั้งหมด ที่นี่เป็นการเขียนภาพเมืองที่มีแต่ปราสาทราชวัง กำ�แพงและ ป้อมประตูเมือง ไม่ปรากฏอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่เป็นบ้านคน แผนผังการเขียนภาพหมู่อาคารเป็นการเขียนแบบอยุธยา คือจัด วางบังซ้อนเหลื่อมกัน เป็นทัศนียภาพทางขนานมีปราสาทเรือน ยอด อยู่ตรงกลางมีตำ�หนัก และศาลาโถงอยู่ด้านหน้า ด้านข้าง หรือด้านหลังสลับกันในแต่ละตอน สีเดิมของฐานปัทม์ ผนัง และวงกบหน้าต่างเป็นสีขาวและ สีนำ�้ตาลอ่อน ฐานปัทม์เขียนลาย และตัดเส้นด้วยบัวรวน ด้วยสี นำ�้ตาลแดง และสีดำ� การตัดเส้นสีคราม น่าจะเขียนขึ้นมาใหม่ใน ชั้นหลัง สีเดิมของผนังส่วนที่ติดใต้หลังคา เป็นสีเสนอ่อนๆ สังเกต ที่ปราสาทบริเวณกัณฑ์แรก ผนังทางทิศใต้ และส่วนที่ 1 ผนัง ทางทิศเหนือเป็นสีเดิม ส่วนสีของฉากหลัง หรือส่วนที่เป็นภายใน ปราสาทและหน้าน่าจะเป็นสีเดียวกับสีของผนัง คือสีเสนผสม แดงชาด
49
50
เสาส่วนปลายเขียนบัวจงกลตัวเสาเขียนเป็นรักร้อย โคนเสา มีกาบพรหมศร ลายเสาเดิม บริเวณกัณฑ์แรกผนังทางด้านทิศใต้ และส่วนที่ 1 ผนังทางด้านทิศเหนือนอกนัน้ ลงสี และตัดเส้นใหม่ หมด ผนังทางด้านทิศใต้ ส่วนอืน่ นัน้ ลงสี และตัดเส้นใหม่หมดใน ชัน้ หลัง เรือนยอดหรือหลังคามุงกระเบื้องเกล็ดสีชาดอ่อนๆและสี เสน ตัดเส้นด้วยสีน�ำ ต้ าลแดง และสีด�ำ สีเขียวของบางส่วนเป็นสี เดิม ส่วนหลังคาศาลาโถงแบบเก๋งจีน และหลังคาซุม้ ประตูเมืองมุง กระเบือ้ งลอน ระบายทับด้วยสีครามในชัน้ หลัง ซุม้ ประตูเมืองเป็น แบบไทยบ้าง จีนบ้างฝรัง่ บ้าง ป้อมกำ�แพงเป็นแบบยุโรป ตัดเส้นสี ครามทับในชัน้ หลัง
51
52
จิตรกรรมฝาผนังของพระอุโบสถในวัดกลางแห่งนี้ เมื่อ สมัยอดีตราวๆ 40 กว่าปีมาแล้วผนังด้านล่าง ของพระอุโบสถ ทั้งซ้ายขวาและผนังหุ้มกลองด้านหน้าเดิมมีภาพจิตรกรรม ฝาผนังอยู่เต็มไปหมด ปัจจุบันมี เพียงร่องรอยของสีและเส้น ปรากฏอยู่รางๆบางแห่งเท่านั้น
53
ภาพจิตรกรรมไทยฝาผนัง วัดกลางธรรมสาคร จังหวัดอุตรดิตถ์ อธิษฐาน แก้วดี 530310144 ภาษาไทย © 2556 ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม พ.ศ. 2556 จัดพิมพ์โดย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบโดย อธิษฐาน
54
55