การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
สาส์นจากผู้อำ�นวยการสำ�นักสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ เป็ นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ที่มีภารกิจเพื่อการอนุรักษ์ชา้ ง ให้มีความปลอดภัยและอยูร่ ่ วมกับสังคมไทยได้อย่างมีความสุ ขมีหน้าที่ ในการสนับสนุนทางวิชาการ สร้างงานวิจยั ให้ความรู ้เรื่ องการดูแลช้าง สวัสดิภาพช้าง และแสดงความ คิดเห็นที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์ชา้ งต่อสังคมและองค์กรต่างๆ เพื่อก่อเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนา ด�ำรงอยู่ ของช้างไทยอันเป็ นสมบัติชาติ ในห้วงเวลา ๑๐-๑๑ สิ งหาคม ๒๕๖๐ นี้ สถาบันฯ จึงได้จดั “การประชุมช้างแห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๖๐” ซึ่ งจัดติดต่อกันเป็ นปี ที่ ๔ แล้ว ด้วยความร่ วมมือกันระหว่าง ๒ หน่วยงาน คือ สถาบันคชบาล แห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวตั ถุประสงค์หลัก ประการแรก คือ การสร้ างความรับรู ้ ในเรื่ องของสุ ขภาพช้างรวมถึงการดูแลช้างและงานวิจยั ต่างๆ ต่อสังคม ด้วยการสร้างความร่ วมมือกับส่ วนราชการ สถาบัน องค์กร กลุ่มวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน ประการที่สอง คือ การผลักดันบุคลากรที่มีความรู ้ความสามารถได้นำ� เสนองานวิชาการและสื่ อสาร ต่ อ สาธารณะ เพื่ อ ร่ ว มกัน ยกระดบมาตรฐานการดู แ ลสุ ข ภาพช้า งของไทยให้ไ ด้รั บ การยอมรั บ ในวงกว้างมากขึ้น ประการสุ ดท้าย คือ เพื่อให้บุคลากรต่างๆ ในแวดวงวิชาการและคนทัว่ ไปในวงการ ช้างได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนและพูดคุยกัน คณะผูจ้ ดั หวังว่าท่านผูเ้ ข้าร่วมประชุมทุกท่าน จะได้ร่วมมือกันช่วยขับเคลื่อนผลักดัน ให้ชา้ งไทย ได้มีสุขภาพ ชีวติ ความเป็ นอยูท่ ี่ดีตอ่ ไป และในโอกาสการประชุมช้างแห่งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๖๐ ในครั้งนี้ ข้า พเจ้า ในฐานะผูอ้ ำ� นวยการส�ำ นัก สถาบัน คชบาลแห่ ง ชาติ ฯ ขอขอบพระคุ ณ ทุ ก ท่ า นที่ เ ล็ง เห็ น ความส�ำคัญของการด�ำรงอยูข่ องช้างไทยสมบัติของชาติไทยของเรา
ภพปภพ ลรรพรัตน์ รักษาการในต�ำแหน่งผูอ้ ำ� นวยการส�ำนัก สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้
ข
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
สาส์นจากคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่ามกลางพลวัตการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ท�ำให้คนรุ่ นใหม่ในยุคปั จจุบนั เห็นคุณค่าและให้ความส�ำคัญ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมแบบ ดั้งเดิมน้อยลง จนแทบจะเลือนรางลงไปทุกที ปัจจุบนั น้อยคนนักที่จะสนใจเรื่ อง ช้าง สัตว์ที่คูบ่ า้ นคูเ่ มือง มีความสัมพันธ์และผูกพันกับวิถีชีวติ ของคนไทยมาเป็ นเวลานาน ช้างมีบทบาทในหลายมิติของคนไทย ทั้งความเชื่อ ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และสังคม ตั้งแต่อดีตจนถึงปั จจุบนั อีกทั้งทาง ด้านธรรมชาติวทิ ยาและการอนุรักษ์ ช้างเป็ นสัตว์ที่สำ� คัญต่อระบบนิเวศ ให้ร่มเงาและค�้ำจุนสัตว์อื่นๆ เพือ่ ให้การตระหนักรู ้ หวงแหน และเข้าใจในช้าง รวมถึงสร้างความรู ้และความเข้าใจที่เกี่ยวข้อง กับช้างในหลากหลายแง่มุม ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ ทางการสัตวแพทย์ ทางวัฒนธรรม รวมไปถึง ทางด้านเศรษฐศาสตร์ และการท่องเที่ยว ในเดือนสิ งหาคมของทุกๆ ปี ทางสถาบันคชบาลแห่ งชาติ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ ากัลยานิวฒั นา กรมหลวงนราธิวาสราชนคริ นทร์ องค์การ อุตสาหกรรมป่ าไม้ ร่ วมกับศูนย์ความเป็ นเลิ ศด้านการศึ กษาและวิจยั ช้าง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิ ท ยาลัย เชี ย งใหม่ จะมี ก ารจัด ประชุ ม ช้า งแห่ ง ชาติ ข้ ึ น เพื่ อ เป็ นพื้ น ที่ ใ นการแลกเปลี่ ย น ความรู ้ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับช้างของบุคลากรที่ทำ� งานเกี่ยวกับช้างในทุกภาคส่ วนทุกหน่วยงาน เพื่อระดมความคิด และแนวทางในการพัฒนาความเป็ นอยูข่ องช้างให้ทนั ต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และวัฒนธรรม ในขณะที่ยงั คงด�ำรงไว้ซ่ ึ งวัฒนธรรม ประเพณี อนั ดีงามของวัฒนธรรมการเลี้ยงช้าง ของไทย ผมขอขอบคุ ณวิท ยากร ผูเ้ ข้าร่ ว มประชุ ม หน่ ว ยงาน และผูท้ ี่ ให้ค วามสนับ สนุ นทุ กท่ า น ตลอดจนคณะกรรมการการจัดงานจากหน่วยงานทั้งสองที่เสี ยสละเวลาและทุ่มเททั้งก�ำลังกาย ก�ำลังใจ และความคิด ท�ำให้เกิดเป็ นงานประชุมช้างแห่ งชาติประจ�ำปี พุทธศักราช ๒๕๖๐ นี้ ข้ ึน ผมหวังเป็ น อย่า งยิ่ง ว่า การประชุ ม ในครั้ งนี้ จะเป็ นจุ ด เชื่ อ มต่ อ และตัว ช่ ว ยในการกระจายความคิ ด ถ่ า ยทอด องค์ความรู ้ และเจตนารมณ์ในงานที่เกี่ยวข้องกับช้างทั้งจากนักวิชาการ ผูป้ ฏิบตั ิงาน รวมไปถึงประชาชน ทัว่ ไป เพื่อช่วยให้ชา้ งไทยได้คงอยูก่ บั ประชาชนคนไทยอย่างมีความสุ ขตราบนานเท่านาน
ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. ขวัญชาย เครื อสุ คนธ์ คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ค
รายนามผู้สนับสนุน
มูลนิธิคืนช้างสู่ธรรมชาติ มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง บริษัท เอเลเฟนท์ ฮิลส์ จำ�กัด บริษัท เอ.พี.เทค จำ�กัด บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำ�กัด (มหาชน)
ง
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
กิตติกรรมประกาศ คณะผูจ้ ดั งานขอขอบคุณผูใ้ หญ่ใจดีจากกองทุนรักษ์ชา้ ง คุณพิไลพรรณ สมบัติสิริ ทีใ่ ห้การสนับสนุนด้วยดีเสมอมา ขอขอบคุณมูลนิธิคนื ช้างสู่ธรรมชาติ และปางช้างเอเลเฟ่ นฮิลส์ ที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนก�ำลังทรัพย์ ขอขอบคุ ณ น.สพ.มล.พิ พ ฒ ั นฉัต ร ดิ ศ กุ ล ที่ ช่ ว ยประสานงาน ขอขอบคุ ณ คณะวิทยากรทุกท่านที่ตอบรับค�ำเชิญโดยไม่มีขอ้ โต้แย้งหรื อข้อสงสัยใดใด ขอขอบคุณ พิ ธี ก ร เจ้า หน้า ที่ ส่ ว นการเรี ย นรู ้ แ ละประชาสัม พัน ธ์ แ ละส่ ว นพัฒ นาการท่ อ งเที่ ย วที่ สนับสนุนบุคลากรช่วยงานอย่างเต็มที่ ขอขอบคุณผูร้ ่ วมงาน ควาญช้าง หมอช้าง เจ้าของช้าง นักวิจยั ช้าง ข้าราชการช้าง ชาวบ้านช้าง และอื่นๆ ที่เล็งเห็นความส�ำคัญของการประชุม พบปะพูดคุยเรื่ องของช้าง และสุ ดท้ายการด�ำเนินงานประชุมจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากปราศจากความช่วยเหลือ ทั้งร่ างกายและสติปัญญาของมดงานจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ และทีมงานจากส่ วนอนุรักษ์และบริ บาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
จ
คำ�นำ� งานประชุ มช้างแห่ งชาติ ประจ�ำปี ๒๕๖๐ จัดขึ้ นติ ดต่ อกันเป็ นครั้ งที่ ๔ ด้วย ความร่ ว มมื อ กัน ระหว่ า งสถาบัน คชบาลแห่ ง ชาติ องค์ ก ารอุ ต สาหกรรมป่ าไม้ก ับ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่ งมีบทบาทในการดูแลและอนุรักษ์ชา้ งของ ประเทศไทยมายาวนาน เนื้ อ หาสาระของการประชุ ม ในครั้ งนี้ มุ่ ง เน้น ใน ๒ มิ ติ คื อ มิ ติ ที่ เ กี่ ย วข้อ งกับ คนเลี้ยงช้าง ทั้งในเรื่ องของกฎหมาย, สวัสดิภาพการเลี้ยงช้าง และ การบอกเล่าความส�ำคัญ ความเป็ นมาของช้างไทยในอดีต อีกมิติหนึ่งคือธรรมชาติวทิ ยาของช้าง และ งานวิจยั ใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึ้น อันยังให้เกิดผลประโยชน์ตอ่ ช้าง ซึ่งต่างมีวธิ ีนำ� เสนอเนื้องานในรูปแบบทีแ่ ตกต่างกัน ออกไปทั้งการเสวนา และ การน�ำเสนอผลงานวิชาการ นอกเหนื อไปจากสาระทางวิชาการที่ ได้รับในการประชุ มแล้ว การที่ บุคลากร ในวงการช้าง ได้มีโอกาสมาพบปะ เจอกัน สนทนากัน ยังเอื้ อให้เกิ ดบรรยากาศของ ความร่ วมมือกัน ประสานประโยชน์ร่วมกันเพื่อการอนุรักษ์ชา้ งอีกด้วย ท้ายที่สุดนี้ หวังว่าท่านที่มีส่วนร่ วมในการประชุมครั้งนี้ จะได้สื่อสาร ขยายแนว ประชาสัมพันธ์ต่อไปในวงกว้างเกี่ยวกับการอนุ รักษ์ชา้ ง เพื่อให้คงอยู่กบั เราต่อไปอย่าง มีคุณภาพและตราบนานเท่านาน
คณะผูจ้ ดั ท�ำ
ฉ
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
สารบัญ สาส์นจากผู้อ�ำนวยการส�ำนักสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ
ข
สาส์นจากคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ค
รายนามผู้สนับสนุน
ง
กิตติกรรมประกาศ ค�ำน�ำ
จ
บทความวิชาการ • “การดูแลช้างชราและช้างดุ” โดย น.สพ.รณชิต รุ่งศรี • “ระดับไขมันและระดับน�้ำตาลในเลือดของช้างเลี้ยงเอเชีย (Elephas maximus)” โดย : ตรีประดับ หน่อแก้ว • “การศึกษาเบื้องต้นเทคนิคการคัดแยกอสุจิเพื่อเพิ่มคุณภาพน�้ำเชื้อในช้างเอเชีย” โดย : พจนา วรรธนะนิตย์ • “ผลของการให้สารน�้ำบ�ำบัดต่อซีรั่มออสโมแลลิตี ค่าโลหิตวิทยาและค่าเคมีคลินิก ในเลือดช้างเอเชีย (Elephas maximus) ที่มีสภาวะขาดน�้ำแบบไม่แสดงอาการ” โดย : ธนาวรรณ วงศ์วิทยาพาณิชย์ • “การประเมินชุดทดสอบแอนติบอดีที่ผลิตเองส�ำหรับการตรวจหา แอนติบอดีต่อโรคคอบวมในช้างเอเชีย” โดย : พัลลพ ตันแก้ว • “การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไอเวอร์เมกติน (Ivermectin) ในรูปแบบ การกินในการก�ำจัดเหาช้าง (Haematomyzus elephantis) ในช้างเอเชีย (Elephas maximus)” โดย : เชิญขวัญ พาบุตตะ • “รายงานสัตว์ป่วย: การตีบตันอย่างสมบูรณ์ของล�ำไส้แต่ก�ำเนิด ในลูกช้างเอเชีย (Elephas Maximus) โดย : ขจรพัฒน์ บุญประเสริฐ • “ประชากรและการใช้พื้นที่อาศัยของช้างป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่” โดย : มนันยา พลาอาด • “การแก้ไขปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมในกลุ่มป่าตะวันออก โดยใช้แนวทางการจัดการในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน” โดย : รักษา สุนินทบูรณ์
3 7 15 19
27
33
39
45 51
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ช
สารบัญ (ต่อ)
• “การแก้ไขปัญหาช้างป่าในชุมชน :กรณีศึกษาฝูงช้างป่าในท้องที่ อ�ำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี” โดย : พิทักษ์ ยิ่งยง • “การเคลื่อนย้ายช้างป่าในพื้นที่ป่าตะวันออก” โดย : สุภกานต์ แก้วโชติ • “การน�ำเสนอแผนภูมิตัวแบบเพื่อการตัดสินใจ (Algorithmic decision tree) ในการจัดการบริบาลฝีในช้างเอเชีย (Elephas maximus) ในที่เลี้ยง” โดย : กิตติกุล นามวงศ์พรหม • “การสร้างเครือข่ายเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพช้างบ้าน โดยชมรมปางช้างเชียงใหม่” โดย : ทิตฏยา จรรยาเมธากุล • “การติดเชื้อเฮอร์ปีส์ไวรัสในช้างแบบไม่แสดงอาการ ในช้างเลี้ยงในประเทศไทย” โดย : สุภาเพ็ญ ศรีพิบูลย์ • “การใช้เทคนิคทางอณูชีวโมเลกุลตรวจหาเชื้อ Trypanosoma evansi ในช้างเอเชียด้วยวิธี PCR” โดย : นิคม สุจดา ภาคผนวก • รายงานการจัดท�ำระบบฐานข้อมูลประชากรช้างเพื่อการอนุรักษ์ช้างไทย (Elephant Data base for the Conservation) • รายงานโครงการระบบจดจ�ำรูปลักษณ์ช้างไทย (Elephant Recognition) • รายงานโครงการศึกษาการผสมเทียมช้าง ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย • โรคไวรัสเฮอร์ปีส์ในช้าง (Elephant Endotheliotropic Herpesvirus, EEHV) • ถามตอบ กับเรื่อง “ช้างตกมัน” • การจัดการปัญหาช้างเลี้ยงในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ • Addressing a Giant Problem in Southeast Asia • การอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการหลักสูตรพยาบาลช้างขั้นก้าวหน้า ครั้งที่ 2 ปี 2560 • ค�ำอธิบายปก
ซ
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
57
63 69
71
79 85
93 97 101 105 111 118 123 129 131
บทความวิชาการ
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
1
การดูแลช้ างชรา น.สพ.รณชิต รุ่งศรี บทน�ำ ปั จจุบนั มีชา้ งที่อายุมากท�ำงานอยูใ่ นปางช้างต่างๆ จ�ำนวนเพิ่มขึ้นเรื่ อยๆ และยังมีชา้ งที่อยูใ่ น สภาวะใช้งานหนักไม่ได้อีกจ�ำนวนหนึ่ง ซึ่งช้างแต่ละเชือกเหล่านี้เคยท�ำงานบริ การนักท่องเที่ยวมาอย่าง ยาวนาน ถึงเวลาแล้วที่จะปลดระวางจากการท�ำงานหนักและได้รับการดูแลที่ดีและถูกสุ ขลักษณะตาม ประเภทและสภาพร่ างกายของช้าง ซึ่งหลายๆปัจจัยของการจัดการจะแตกต่างจากช้างใช้งานตามปรกติ ทั้งทางด้านอาหาร การออกก�ำลังกาย การดูแลเรื่ องที่พกั อาศัย และการตรวจสุขภาพ ปัญหาที่มกั พบบ่อยๆ ในช้างชราคือเรื่ องของระบบทางเดินอาหาร ซึ่ งฟั นของช้างในกลุ่มนี้ มกั จะท�ำหน้าที่บดย่อยอาหารได้ ไม่ดี แล้วยังส่ งผลไปยังการย่อยในกระเพาะอาหารและล�ำไส้ที่ลดประสิ ทธิภาพลง ท�ำให้เสี่ ยงต่อสภาวะ ท้องอืด อาหารไม่ยอ่ ยและอุดตันทางเดินอาหารส่ วนท้าย ซึ่งหากการแก้ไขไม่เป็ นไปอย่างทันท่วงที ช้าง ก็สามารถล้มตายได้ อีกหนึ่งปัญหาที่พบในช้างชราคือ ช้างมีอาการอ่อนแรงลงจากการที่ไม่สามารถได้ รับสารอาหารที่เพียงพอ ช้างกลุม่ นี้ไม่สามารถท�ำงานหนักได้อกี ต่อไป หากมีการใช้ชา้ งชราท�ำงานเหมือน ที่เคย ก็อาจจะท�ำให้ชา้ งหมดแรงเนื่ องจากสภาพร่ างกายไม่ทนต่อสภาวะเหน็ดเหนื่ อยและเป็ นสาเหตุ หนึ่ งของการเสี ยชีวิตได้ ดังนั้นการจัดการช้างชราอย่างเป็ นระบบจึงมีความจ�ำเป็ นอย่างยิ่งเพื่อลดการ สู ญเสี ยและเป็ นการดูแลช้างที่ทำ� งานมาอย่างยาวนาน ถือเป็ นการตอบแทนบุญคุณของช้างให้มีชีวติ อยู่ ในช่วงสุ ดท้ายได้อย่างมีความสุ ขนัน่ เอง การดูแลช้ างชรา อายุที่อยู่ในเกณฑ์ช้างชราหรื อใกล้หมดสภาพส�ำหรั บการใช้งานตามปรกติ คื ออายุต้ งั แต่ 50-60 ปี ขึ้นไป ตัวอย่ างกิจวัตรประจ�ำวันของการดูแลช้ างชรา - เก็บกวาด ท�ำความสะอาดที่ผกู มัดช้าง ในโรงพักช้าง - กรณี ผกู มัดในป่ า ให้นำ� ช้างออกมาตรวจร่ างกายทุกเช้า - อาบน�้ำท�ำความสะอาด ร่ างกายช้างเพื่อตรวจสุ ขภาพ - ให้อาหารในตอนเช้า ประกอบด้วย หญ้าสด, อาหารเม็ด, สมุนไพร, มะขามเปี ยก - ตรวจรักษา ในกรณี เจ็บป่ วย มีบาดแผล - ฝึ กให้ฟังค�ำสัง่ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสุ ขภาพ - พักระหว่างวัน การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
3
- - - - -
ให้อาหาร เตรี ยมอาหารช้าง ปล่อยช้างเล่นโคลนในช่วงบ่าย พักผ่อนแบบปล่อยอิสระในพื้นที่ที่มีร้ ัวหรื อแนวป้ องกันช้าง โดยมีควาญและผูร้ ่ วมสังเกตการณ์ อาบน�้ำช้างหลังจากปล่อยให้อาบโคลน น�ำช้างกลับเข้าโรงพักช้าง ให้อาหาร เตรี ยมน�ำช้างไปผูกล่ามในป่ า
อาหารเสริมส� ำหรับช้ างชรา - จะต้องให้กินอาหารที่ยอ่ ยง่ายร่ วมกับอาหารหยาบ เช่น หญ้าสด หรื อหญ้าที่มีการสับให้มี ขนาดเล็กลงในปริ มาณที่มากขึ้น อาทิ สมุนไพรยาระบาย, กล้วยสุ ก, ข้าวนึ่ง, อาหารเม็ด วันละประมาณ 30-40 กิโลกรัม 1% ของน�้ำหนักตัว - น�้ำส�ำหรับกินให้อย่างเพียงพอสม�่ำเสมอ(วันละ อย่างน้อย 3 ครั้ง) - อาหารเสริ ม เช่น การท�ำก้อนสมุนไพร,การท�ำอาหารกินเล่นให้ชา้ ง ส่ วนประกอบในการดูแลช้ างชราทีจ่ ำ� เป็ น สถานที ่ 1. โรงพักช้าง พร้อมโรงเก็บอุปกรณ์ที่ใช้สำ� หรับช้าง สถานที่ผกู มัดเพื่อพักผ่ อนและนอน - สะอาด ระบายของเสี ยได้ดี - จัดเก็บมูลช้างได้ - ไม่ลาดชัน ซึ่งอันตรายต่อช้างชรา - ไม่ไกลจากที่พกั และถนนเพื่อขนย้ายหรื อเครื่ องจักรเข้าถึง รวมถึงควาญช้างสามารถ เข้าถึงได้ง่าย (ส�ำหรับสังเกตการณ์ยามค�่ำคืน) - จัดให้มีที่ปล่อย ให้เดินได้โดยอิสระ 2. บ้านพักควาญช้าง อยูใ่ กล้ที่พกั ช้างชรา 3. สถานพยาบาลช้าง เพื่อใช้ในการจัดเก็บเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ดูแลรักษาช้าง และการควบคุมช้างเพื่อการรักษา 4. โรงเก็บอาหารและปรุ งอาหารช้าง ใช้เก็บหญ้า, กล้วย, อ้อย อาหารเม็ด และประกอบอาหารช้าง เช่น สมุนไพร ข้าวเหนียวนึ่ง
4
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
การจัดการด้ านสุ ขภาพ การป้ องกันโรคในช้างชรา ควรมีการให้ยาถ่ายพยาธิ ทั้งภายนอกและภายในอย่างน้อยปี ละ 2 ครั้ง การตรวจสุ ขภาพช้ าง 1. การตรวจร่ างกายภายนอก 1.1 ผิวหนัง ตรวจสภาพทัว่ ไปเช่นความชุ่มชื้นของผิวหนัง ซึ่งถ้าผิดปกติจะบ่งบอกถึงสภาวะ ของโรค เช่น ขาดอาหาร ขาดน�้ำ ตรวจเช็คการมีพยาธิภายนอก เช่นเหา หรื อหนอน แมลงวัน ที่มกั จะไชผิวหนัง และตรวจเช็คแผลฝี ที่เกิดขึ้นกับร่ างกายช้าง เพื่อท�ำการ แก้ไขในล�ำดับขั้นต่อไป 1.2 เล็บ เท้ า และพืน้ เท้ า การตรวจสภาพโดยทัว่ ไปสามารถบอกได้วา่ ช้างผิดปกติหรื อไม่ การตรวจยังรวมไปถึง สภาวะของเท้า และพื้นเท้าด้วย โดยมากช้างมักมีปัญหาจากการ เหยียบของแหลมต่างๆ เช่นไม้แหลม ตะปู และเศษแก้วเป็ นต้น ดังนั้นจึงควรมีการตรวจ สภาพเท้าอยูเ่ สมอ และจ�ำเป็ นต้องมีการตัดแต่งเล็บเท้าช้างในกรณี เล็บแตกและเล็บยาว ผิดรู ปด้วย 1.3 ตา ควรให้การใส่ ใจดูแลตาของช้างว่ามีความผิดปกติใดๆ หรื อไม่ เพื่อที่จะได้ป้องกัน หรื อแก้ไขได้ทนั ท่วงที โดยมากช้างมักจะมีปัญหาเรื่ องตา โดยเฉพาะ ปัญหาตาอักเสบ, น�้ำตาไหล, กระจกตามีแผลหลุม และตาขาดความชุ่มชื้น 1.4 ปาก ฟัน และงา ตรวจเช็คช่องปาก เพื่อดูสภาพที่ผดิ ปกติ เช่นมีแผล หรื อมีกลิ่นผิดปกติ ตรวจเช็คฟันช้างในยามที่ชา้ งอ้าปากกินอาหาร และตรวจดูงาหรื อขนาย เพือ่ ดูวา่ งาหรื อ ขนายช้างผิดปกติหรื อไม่ โดยทัว่ ไปอาจจะพบปั ญหา หนอนแมลงวัน หรื ออาจจะพบ ปัญหางาอักเสบ, งาแตก, งาหรื อขนายหัก แล้วจึงหาทางแก้ปัญหาต่อไป 1.5 งวง งวงช้างเป็ นอวัยวะพิเศษที่สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย หรื อบางครั้งใช้เป็ น อาวุธร้ายได้เป็ นอย่างดี การตรวจเช็คสภาพการใช้งานต้องสังเกตจากการใช้ประโยชน์ เช่นการหยิบจับสิ่ งของและอาหาร สังเกตดูบาดแผลที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งให้สงั เกต ดูสี, ความชุ่มชื้นของเยือ่ เมือกบริ เวณปลายงวง ดูความชุ่มชื้นของปลายงวงด้วย 1.6 หู ช้างปกติมกั จะสะบัดหูไปมาอยูเ่ สมอๆ เพื่อระบายความร้อนจากร่ างกายถ้าหากช้าง ป่ วยมักจะไม่คอ่ ยสะบัดหู นอกจาการสังเกตการสะบัดหูแล้วยังสามารถตรวจเช็คอาการ อื่นๆได้อีกเช่น อุณหภูมิ, แผลตรงรอยพับ และพยาธิภายนอกต่างๆ 1.7 หาง ช้างปกติจะแกว่งหางไปมาอยูต่ ลอดเวลาเพื่อปั ดไล่แมลง โดยช้างที่ป่วยมักจะ ไม่แกว่งหาง อีกประการหนึ่งที่สงั เกตได้กค็ ือพยาธิภายนอกซึ่งมักจะอยูต่ ามแผงขนหาง เมื่อช้างแสดงอาการคันก็มกั จะไปถูกบั สิ่ งต่างๆ รอบตัว จึ งท�ำให้เกิ ดรอยแผลและ ขนหางหลุดไปได้ การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
5
2. การตรวจสิ่งขับถ่ าย 2.1 อุจจาระ การตรวจอุจจาระสามารถตรวจสิ่งต่างๆดังนี้ เช่นการตรวจวัดขนาดและปริ มาณ ตรวจหาตัวและไข่ของพยาธิ การตรวจสี ความหยาบ ความละเอียดของอุจจาระ เพื่อ บ่งชี้สภาวะต่างๆ ของร่ างกายช้าง 2.2 ปั สสาวะ สามารถตรวจมาตรฐานได้เช่ น ปริ มาณ สี กลิ่ น สิ่ งแปลกปลอม และ ส่ วนประกอบที่ขบั ออกมาในแต่ละวัน
3. การตรวจเลือด 3.1 การตรวจเลือดสามารถวิเคราะห์ค่าต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่ น จ�ำนวนเม็ดเลือดแดง ค่าเม็ดเลือดแดงอัดแน่น บ่งชี้สภาวะโลหิ ตจาง จากสาเหตุต่างๆ
3.2 เม็ดเลือดขาว และแบ่งชนิดของเม็ดเลือดขาวต่างๆ บง่ บอกสภาวะการติดเชื้อเฉียบพลัน หรื อเรื้ อรัง หรื อเป็ นโรคพยาธิ
3.3 ค่าโปรตีน ค่าเอนไซม์ตา่ งๆ รวมถึงอีเล็คโตรไลท์ที่มีอยูใ่ นกระแสเลือด บ่งชี้สภาวะการ ท�ำงานของอวัยวะของร่ างกาย เช่น กล้ามเนื้อ, หัวใจ, ตับ,ไต เป็ นต้น
3.4 พยาธิ ตรวจเช็คพยาธิในกระแสเลือด เช่น ทริ ปปาโนโซม, ไมโครฟิ ลาเรี ย เป็ นต้น
4. การตรวจสภาพทัว่ ไป 4.1 การเดิน ดูจงั หวะการเดิน เพื่อที่จะบ่งบอกอาการต่างๆที่ผดิ ปกติเช่น อาการเจ็บฝ่ าเท้า จากการเหยียบของมีคม ไม่วา่ จะเป็ นหิ น ตะปู หรื อเศษแก้ว เพื่อให้ง่ายต่อการวินิจฉัย และการรักษาต่อไป 4.2 การลูบคล�ำ ลูบคล�ำในจุดที่ผดิ ปกติ เช่น บริ เวณที่บวมและช้างแสดงอาการผิดปกติ เช่น ข้อเท้า ถ้าช้างเจ็บมักจะไม่ยอมให้จบั โดยง่าย 4.3 การตรวจอัตราการเต้ นของหัวใจ ปกติชา้ งจะมีอตั ราการเต้นของหัวใจอยูท่ ี่ประมาณ 25–35 ครั้งต่อนาที สามารถตรวจเช็คได้โดยการจับชีพจรที่เส้นเลือดแดงที่ใบหูชา้ ง 4.4 การตรวจอัตราการหายใจ ซึ่งปกติชา้ งจะมีอตั ราการหายใจอยูท่ ี่ 4 – 6 ครั้งต่อนาที 4.5 การวัดอุณหภูมิ โดยปกติการวัดอุณหภูมิชา้ งมักจะท�ำโดยวิธีการล้วงผ่านทวารหนัก ให้ลึกที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ โดยอุณหภูมิปกติจะอยูใ่ นช่วง 36 – 37 องศาเซลเซี ยส 4.6 การวัดสภาวะขาดน�้ำและโลหิต โดยการกดดูที่เนื้ อเยือ่ อ่อน ที่ปากหรื ออวัยวะเพศมี ความจ�ำเป็ นในกรณี ที่ชา้ งป่ วยโดยเฉพาะการขาดน�้ำหรื อเสี ยเลือดเป็ นจ�ำนวนมาก อีกทั้งยังใช้ในการประเมินการรั กษาจากการให้สารน�้ำได้อีกด้วย ปกติ CRT ควร น้อยกว่า 2 วินาที 6
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ระดับไขมันและระดับน�ำ้ ตาลในเลือดของช้ างเลีย้ งเอเชีย (Elephas maximus) Lipid profiles and blood glucose levels in domesticated Asian Elephant (Elephas maximus) ตรี ประดับ หน่อแก้ว 1 ภัคนุช บันสิ ทธิ์ 1 นพมาส สมบูรณ์ 2 เฉลิมชาติ สมเกิด1,3 ขนิษฐา พันธุรี 4 วีระศักดิ์ ปัญญาพรวิทยา 5 ฉัตรโชติ ทิตาราม1,3 ปรี ยานาถ วงศ์จนั ทร์ 4 จารุ วรรณ คนมี 6 Treepradab Norkaew1, Pakkanut Bansiddhi1, Nopphamas Somboon2, Chaleamchat Somgird1,3, Khanittha Punturee4, Veerasak punyapornwithaya5, Chatchote Thitaram1,3, Preeyanat Vongchan4, Jaruwan Khonmee6
ค�ำส� ำคัญ: ช้างเลี้ยงเอเชีย ระดับไขมันในเลือด ระดับน�้ำตาลในเลือด Keywords: Domesticated Asian elephants (Elephas maximus), Serum lipid profiles, Blood glucose บทน�ำ (Introduction) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทางด้านโลหิตวิทยาและชีวเคมีในเลือดของช้างเอเชียยังมีขอ้ มูลน้อยมาก มีเพียงรายงานการศึกษาเกี่ยวกับการตรวจความสมบูรณ์และปริ มาณเม็ดเลือดในช้างอินเดีย พบว่าระดับ ฮีโมโกลบินรวมในช้างเพศผูแ้ ละเพศเมียไม่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่ปริ มาณเซลล์เม็ดเลือดขาวใน เพศผูม้ ีค่าสูงกว่าในเพศเมีย (Allwin et al., 2015) มีรายงานการศึกษาระดับน�้ำตาลกลูโคสในช้างศรี ลงั กา
ศูนย์ความเป็ นเลิศด้านการวิจยั ช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3 ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4 ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 5 ภาควิชาคลินิกสัตว์บริ โภค คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 6 ภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุ ข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
7
พบว่าในช้างเพศผูม้ ีระดับน�้ำตาลกลูโคส (l32.49 ± 6.7 mg/dL) สูงกว่าในช้างเพศเมีย (97.55 ± 6.7mg/dL) (Ratnasooriya et al., 1999) และรายงานการศึกษาระดับ total cholesterol พบว่าในช้างเพศผูม้ ีค่าเท่ากับ 46.06 mg/dL เพศเมียมีค่าเท่ากับ 42.83 mg/dL ระดับ High-density lipoprotein cholesterol (HDL) เพศผูม้ ีค่าเท่ากับ 44.94 mg/dL เพศเมียมีค่าเท่ากับ 38.54 mg/dL และระดับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) เพศผูม้ ีค่าเท่ากับ 25.49 mg/dL เพศเมียมีค่าเท่ากับ 25.14 mg/dL จากการศึกษาดังกล่าวพบว่าช้างเพศเมีย และเพศผูม้ ีระดับไขมันในเลือดไม่แตกต่างกัน (Ratnasooriya et al., 2006) นอกจากนี้ ยงั มีรายงาน การศึกษาระดับน�้ำตาลกลูโคสในช้างไทย พบว่าช้างเพศเมียมีระดับกลูโคสเท่ากับ 77.4 mg/dL เพศผูม้ ี ระดับกลูโคสเท่ ากับ 72.7 mg/dL โดยระดับน�้ำตาลกลูโคสในช้างทั้งสองเพศมี ค่าไม่แตกต่ างกัน (Weerakhun et al., 2010) อย่างไรก็ตาม รายงานวิจยั ดังกล่าวที่ผา่ นมาเป็ นการศึกษาเฉพาะระดับน�้ำตาล กลูโคสเพียงอย่างเดียว แต่ยงั ขาดข้อมูลด้านชีวเคมีของเลือดในด้านอื่นๆ ได้แก่ ระดับ HDL ระดับ LDL ระดับ triglyceride ระดับฟรุ คโตซามีน (fructosamine) และระดับฮอร์โมนอินซูลิน (insulin) จากรายงานการศึกษาที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเพศและสายพันธุ์ชา้ งที่แตกต่างกันส่ งผลให้มี ความแตกต่างกันขององค์ประกอบทางชีวเคมีในเลือด ดังนั้น วัตถุประสงค์ของงานวิจยั ในครั้งนี้ เพื่อ ศึกษาระดับน�้ำตาลและระดับไขมันในเลือดช้างเอเชียเพศผูแ้ ละเพศเมีย เพื่อน�ำมาใช้เป็ นข้อมูลพื้นฐาน และเพือ่ ประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรค การรักษา และช่วยในการส่งเสริ มสุ ขภาพและความเป็ นอยูท่ ี่ดีของ ช้างในประเทศไทย อุปกรณ์ และวิธีการ (Materials and Methods) กลุ่มตัวอย่ าง (Animals) ช้างเอเชียที่มีสุขภาพดี จ�ำนวน 48 เชือก ประกอบด้วยช้างเพศเมีย 35 เชือก (อายุ 18-50 ปี ) และ เพศผู ้ 13 เชือก (อายุ 16-50 ปี ) ช่วงคะแนนความสมบูรณ์ของร่ างกาย (body condition score) เฉลี่ยใน เพศเมียเท่ากับ 3.5 และในเพศผูเ้ ท่ากับ 3.7 (5 scale) (Morfeld et al., 2014; Wijeyamohan et al., 2015) ช้างทั้งหมดอาศัยอยูใ่ นปางช้างเขตอ�ำเภอแม่แตงและแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การเก็บตัวอย่ าง (Sample collection) เก็บตัวอย่างเลือดช้างโดยการเจาะเลือดทางเส้นเลือดด�ำที่ใบหู จ�ำนวน 10 มิลลิลิตร จ�ำนวน 2 ครั้งต่อเดือน เป็ นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 - กุมภาพันธ์ 2560
8
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
การตรวจวัดระดับไขมัน (Lipid analysis) วิเคราะห์ระดับ total cholesterol โดยอาศัยหลักการ cholesterol oxidase - peroxidase (CHOD-POD) method วิเคราะห์ระดับ triglyceride โดยอาศัยหลักการ glycerokinase peroxidase peroxidase (GPO-POD) method วิเคราะห์ระดับ HDL โดยอาศัยการท�ำงานของเอนไซม์ cholesterol esterase และ cholesterol oxidase และวิเคราะห์ระดับ LDL โดยอาศัยการท�ำงานของเอ็นไซม์ peroxidase และ hydrogen peroxidase ท�ำ ปฏิ กิ ริ ย ากับ 4-aminoantipyrine และ Sodium N-(2-hydroxy3-sulfopropyl)-3,5-dimethoxyaniline เกิดสารสี ม่วงซึ่ งความเข้มข้นของสารจะขึ้นกับปริ มาณความ เข้มข้นของ LDL-cholesterol การตรวจวัดระดับน�ำ้ ตาลและระดับฮอร์ โมนอินซูลิน (Glucose and insulin analysis) วิเคราะห์ระดับกลูโคสโดยใช้เครื่ อง automated glucose analyzer (Glucinet T01-149, Bayer, Barcelona, Spain) โดยอาศัยหลักการ glucose oxidase method วิเคราะห์ระดับ fructosamine โดยใช้ เทคนิค nitrobluetetrazolium (NBT) (Biosystems BA400 clinical chemistry analyzer) และวิเคราะห์ ระดับฮอร์โมนอินซูลินโดยอาศัยวิธี enzyme immunoassay ตามชุดตรวจของ Mercodia bovine insulin ELISA (Mercodia AB, Uppsala, Sweden) การวิเคราะห์ ข้อมูลทางสถิติ (Statistical analysis) วิเคราะห์ขอ้ มูลทางสถิติโดยใช้วธิ ี Generalized Least Square โดยใช้โปรแกรม R version 3.1.2 2 (R Development Core Team, 2016) และใช้ geeglm package ในการค�ำนวณหาความแตกต่างทางสถิติ ที่ระดับความเชื่อมัน่ ร้อยละ 95 ผลการศึกษา (Results) ผลการศึกษาระดับน�้ำตาลในเลือดของช้าง พบว่าระดับน�้ำตาลกลูโคส ระดับ fructosamine และ ระดับฮอร์โมนอินซูลินในช้างเพศเมียมีระดับสู งกว่าในช้างเพศผูอ้ ย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ดังแสดงข้อมูลในตารางที่ 1 (Table 1) ผลการศึกษาระดับไขมันในเลือดของช้าง พบว่าระดับ Total cholesterol และระดับ LDL ใน ช้างเพศผูม้ ีระดับสูงกว่าในช้างเพศเมียอย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ (P < 0.05) และพบว่าระดับ triglycerides ของช้างเพศเมียมีระดับสู งกว่าในช้างเพศผูอ้ ย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ (P < 0.05) ดังแสดงข้อมูลใน ตารางที่ 1 (Table 1)
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
9
Table 1. Mean (±SE) of serum lipid and metabolic levels of Asian elephant (Elephas maximus) Parameters Lipid profiles Total Cholesterol (mg/dL) Triglycerides (mg/dL) HDL - Cholesterol (mg/dL) LDL - Cholesterol (mg/dL) Glucose levels Glucose (mg/dL) Fructosamine (mM) Insulin (µg/L)
Entire Group n=48
Female n=35
Male n=13
38.05 ± 0.28 28.24 ± 0.57 11.72 ± 0.09 28.08 ± 0.26
37.40 ± 0.32 29.00 ± 0.65* 11.60 ± 0.95 27.70 ± 0.30
39.90 ± 0.56* 26.20 ± 1.15 12.00 ± 0.23 29.20 ± 0.49*
88.71 ± 0.65 0.59 ± 0.002 0.73 ± 0.04
89.80 ± 0.78* 0.589 ± 0.002* 0.810 ± 0.050*
86.3 ± 1.38 0.579 ± 0.003 0.499 ± 0.071
* Significantly different across groups (P < 0.05) วิจารณ์ (Discussion) งานวิจยั ที่ผา่ นมาเกี่ยวกับระดับน�้ำตาลกลูโคสในช้างเพศผูแ้ ละเพศเมีย (จ�ำนวน 46 เชือก) ที่อาศัย อยูใ่ นจังหวัดสุ รินทร์ ประจวบคีรีขนั ธ์ และกาญจนบุรี โดยใช้การตรวจระดับน�้ำตาลกลูโคสด้วยตัวเอง (ACCU-CHEK Advantage II) (Weerakhun et al., 2010) พบว่าระดับน�้ำตาลกลูโคสในเลือดมีค่าอยู่ ระหว่าง 67.4 - 79.6 mg/dL ซึ่งมีค่าน้อยกว่าการศึกษาวิจยั ในครั้งนี้ซ่ ึ งมีการศึกษาระดับน�้ำตาลกลูโคส ทั้งช้างเพศเมีย (35 เชือก) และเพศผู ้ (13 เชือก) โดยมีระดับน�้ำตาลกลูโคสเฉลี่ยเท่ากับ 88.71 mg/dL นอกจากนี้ ยงั พบว่าระดับน�้ำตาลกลูโคสจากการศึกษาในครั้งนี้ มีค่าน้อยกว่าการศึกษาในช้างศรี ลงั กา (115 mg/dL) (Ratnasooriya et al., 1999) และช้างอินเดีย (110 mg/dL) (Lewis, 1974) ระดับน�้ำตาล กลูโคสที่แตกต่างกันอาจเนื่ องมาจากลักษณะทางสรี รวิทยาของช้างในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน รวมถึงชนิ ดของอาหารที่ชา้ งได้รับในแต่ละวัน และอาจขึ้นกับวิธีการตรวจระดับน�้ำตาลกลูโคส ซึ่ ง การศึกษาวิจยั นี้ใช้วธิ ีการตรวจระดับน�้ำตาลกลูโคสโดยวิธี glucose oxidase method และมีการเก็บตัวอย่าง ในหลอด NaF ซึ่ งจะช่วยป้ องกันสลายน�้ำตาลโดยเม็ดเลือด สามารถคงปริ มาณน�้ำตาลไม่ให้ลดลงได้ นานถึง 8 ชม. ซึ่งมีความแม่นย�ำกว่าการตรวจด้วย ACCU-CHEK ท�ำให้ค่าระดับน�้ำตาลกลูโคสที่ได้มี ความถูกต้องแม่นย�ำมากยิง่ ขึ้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาที่ผา่ นมาได้ตรวจวัดระดับกลูโคสเพียงอย่างเดียว อาจท�ำให้ได้ขอ้ มูลที่ไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ระดับน�้ำตาลกลูโคสในช้างที่แท้จริ งเพราะระดับน�้ำตาล กลูโคสอาจขึ้นอยูก่ บั อาหารที่ชา้ งกินเข้าไปซึ่ งงานวิจยั ในครั้งนี้ได้ศึกษาระดับของน�้ำตาลกลูโคสควบคู่
ไปกับการตรวจวัดระดับ fructosamine เนื่ องจากการตรวจวัดระดับกลูโคสนั้นต้องท�ำการตรวจวัด หลังจากอดอาหารอย่างน้อย 8 ชัว่ โมง เพื่อให้ได้ค่าที่เที่ยงตรง เนื่องจากในแต่ละวันช้างใช้เวลาในการ กินอาหาร 12-18 ชัว่ โมงต่อวัน (Eltringham, 1991) การอดอาหารในช้างนั้นจึงท�ำได้ยาก ดังนั้นการศึกษา วิจยั ในครั้งนี้จึงมีการตรวจวัดระดับ fructosamine ซึ่ งเป็ นรายงานการศึกษาวิจยั ครั้งแรกที่มีการรายงาน ผลของระดับ fructosamine พบค่าเฉลี่ยในช้างไทยมีค่าเท่ากับ 0.59 mM และระดับ fructosamine ใน ช้างเอเชียเพศเมียเท่ากับ 0.589 mM และช้างเพศผูเ้ ท่ากับ 0.579 mM เพื่อเป็ นตัวบ่งชี้ถึงระดับน�้ำตาลใน เลือดในช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์ เนื่องจาก fructosamine เป็ นการวัดระดับโปรตีนในเลือดที่มีน้ ำ� ตาลเกาะ (glycated serum protein) เนื่องจากอายุครึ่ งชีวติ ของอัลบูมินเท่ากับ 20 วัน ดังนั้นระดับ fructosamine จึงบ่งชี้ระดับน�้ำตาลในเลือดในช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์ (Sacks et al., 2011) จากงานวิจยั ในครั้งนี้พบว่า ในช้างเพศผูม้ ีระดับน�้ำตาลกลูโคส ระดับ fructosamine และอินซูลินน้อยกว่าในช้างเพศเมีย ผลที่ได้อาจ เนื่องมาจากปางช้างส่ วนใหญ่มกั จ�ำกัดปริ มาณอาหารในช้างเพศผูเ้ พื่อป้ องกันการตกมัน (Bansiddhi P, per comm.) งานวิจยั นี้ เป็ นการศึกษาครั้งแรกเพื่อตรวจวัดระดับไขมันในช้างเอเชี ยทั้งเพศผูแ้ ละเพศเมีย ที่อาศัยอยูใ่ นประเทศไทย (Elephas maximus indicus) พบว่าระดับ total cholesterol (38.05 mg/dL) และระดับ HDL (11.72 mg/dL) มีระดับน้อยกว่าการศึกษาในช้างศรี ลงั กา (ระดับ total cholesterol 44.28 mg/dL และระดับ HDL 44.49 mg/dL) อีกทั้งยังพบว่าระดับ Triglycerides (28.24 mg/dL) จากการศึกษา ในครั้งนี้ มีค่ามากกว่าการศึกษาในช้างศรี ลงั กา (ระดับ Triglycerides 25.28 mg/dL) เพียงเล็กน้อย (Ratnasooriya et al., 2006) และมีระดับไขมันน้อยกว่าในคนถึง 19 - 30% (NCEP, 2002) ภาวะไขมัน ที่ต่ ำ� กว่าปกติของช้างอาจเนื่ องมาจากอาหารที่ชา้ งกิ นส่ วนใหญ่ได้แก่ ต้นข้าวโพดและหญ้าเนเปี ยร์ ที่ประกอบไปเส้นใยเซลลูโลสและลิกนิน (Daud et al., 2013) ซึ่งเป็ นอาหารที่ให้พลังงานต�่ำและมีปริ มาณ ไขมันที่นอ้ ยจึงท�ำให้ระดับไขมันที่ตรวจวัดได้ในช้างมีระดับค่อนข้างต�่ำกว่าในคน อย่างไรก็ตาม ข้อมูล ที่ได้จากการศึกษาระดับน�้ำตาลและระดับไขมันในเลือดมีความส�ำคัญต่อการบ่งชี้ถึงความเสี่ ยงของโรค ทีเ่ กีย่ วกับระบบแมตาบอลิซึม โรคทีเ่ กีย่ วกับระบบหลอดเลือดและหัวใจ ดังนั้น ข้อมูลทีไ่ ด้จากการศึกษานี้ สามารถน�ำมาใช้เป็ นข้อมูลพื้นฐานขององค์ประกอบทางชี วภาพในเลือดของช้างเอเชี ยที่อาศัยอยู่ใน ประเทศไทยได้ สรุป (Conclusion) การศึกษาระดับน�้ำตาลและระดับไขมันในครั้งนี้ พบว่ามีความแตกต่างกันในเพศผูแ้ ละเพศเมีย โดยพบว่าในเพศเมียมีระดับน�้ำตาลสู งกว่าในเพศผู ้ และในเพศผูม้ ีระดับ cholesterol สู งกว่าในเพศเมีย โดยการศึ กษาในครั้ งนี้ เป็ นงานวิจยั แรกที่ ทำ� การศึ กษาระดับของไขมันในช้างเอเชี ยที่ อาศัยอยู่ใน ประเทศไทย
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
11
กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) ขอขอบคุณส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) และทุนเงินรายได้คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ให้ทุนสนับสนุนงานวิจยั และขอขอบคุณห้องปฏิบตั ิการฮอร์ โมน คณะสัตว แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สนับสนุนอุปกรณ์ เครื่ องมือ ส�ำหรับการตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมน และขอขอบคุณปางช้างอ�ำเภอแม่แตงและแม่ริม ที่อำ� นวยความสะดวกในการเก็บตัวอย่างเลือด ขอ ขอบคุณ Dr. Janine L. Brown จากสถาบัน Smithsonian Conservation Biology Institute, USA ส�ำหรับ ค�ำชี้แนะและการให้ความรู ้ในด้านงานวิจยั ช้าง ขอขอบคุณ น.ส.จารุ ณี ลอยธง นักวิทยาศาสตร์ โรง พยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ช่วยในการตรวจวิเคราะห์ระดับไขมัน ทางห้องปฏิบตั ิการ เอกสารอ้ างอิง (References) 1. Allwin, B., Kalaignan, P.A., Senthil, K.G., Senthil, N.R., Vairamuthu, S., Vedamanickam, S., et al., 2015. Haematology of the Asian Elephants. IJAMR. 2(3), 82–86. 2. Daud, Z., Hatta, M.Z.M., Kassim, A.S.M., Awang, H., Aripin, A.M., 2013. Analysis the Chemical Composition and Fiber Morphology Structure of Corn Stalk. Aust. J. Basic & Appl. Sci. 7(9), 401-405. 3. Eltringham, S.K., 1991. The Illustrated Encyclopedia of Elephants. Salamander Books Limited. 73-95. 4. Lewis, J.H., 1994. Comparati ve haematology: Studies on elephants, Elephas maximus. Compo Biocehm. Physiol. 49, 175-181. 5. Maneepitaksanti, W., Worananthakij, W., Sriwilai, P., Laoprasert, T., 2014. Identification and distribution of gill monogeneans from Nile tilapia and red tilapia in Thailand. Chiang Mai Vet. J. 12, 57–68. 6. Morfeld KA, Meehan CL, Hogan JN, Brown JL (2016) Assessment of Body Condition in African (Loxodonta africana) and Asian (Elephas maximus) Elephants in North American Zoos and Management Practices Associated with High Body Condition Scores. PLoS ONE 11(7): e0155146. doi:10.1371/ journal.pone.0155146. 7. National Cholesterol Education Program (NCEP) Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel III). Third Report of the National Cholesterol Education Program (NCEP) Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel III) final report. 2002. Circulation. 106(25), 3143- 421.
12
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
8. Ratnasooriya, W.D., Alwis, G.K.H, Vijesekara, R.D., Amarasinghe, R.M., Perera, D., 2006. Lipid profile of coptive Sri Lqnkqn elephonts. Gajah. 24 9. Ratnasooriya, W. D., Gunasekera, M. B., Goonesekere, N. C. W., Vandebona, H.,. Kodikara, D.S., 1999. Serum glucose levels in captive Sri Lankan elephants (Elephas maxim us maximus). Vidvodaya 1. of Sci. 8, 127- 134. 10. Sacks, D.B., Arnold, M., Bakris, G.L., Bruns, D.E., Horvath, A.R., Kirkman, M.S., Lernmark, A., Metzger, B.E., Nathan, D.M., 2011. Guidelines and recommendations for laboratory analysis in the diagnosis and management of diabetes mellitus. Diabetes Care. 34, e61–e99. doi:10.2337/ dc11-9998 11. Weerakhun1, S., Wichianrat, Y., Laophakdee, T., Juntako, P., Torsri T., 2010. Blood Glucose Levels in Asian Elephants (Elephas maximus) of Thailand. KKU Vet J. 20(2), 208-217 12. Wijeyamohan, S., Treiber, K., Schmittand, D., Santiapillai, C., 2015. A visual system for scoring body condition of Asian elephants (Elephas maximus). Zoo Biol. 34, 53-59.
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
13
การศึกษาเบือ้ งต้ นเทคนิคการคัดแยกอสุ จเิ พือ่ เพิม่ คุณภาพน�ำ้ เชื้อในช้ างเอเชีย Preliminary study in sperm separation using density gradient centrifugation technique to improve quality of Asian elephant semen พจนา วรรธนะนิตย์1,2 กรไชย กรแก้วรัตน์1 กาวิล นันท์กลาง1 สุ ดธิษา เหล่าเปี่ ยม1 เสรี กุญแจนาค1 สิ ทธิเดช มหาสาวังกุล3 อนุชยั ภิญโญภูมิมินทร์1,2 ค�ำส� ำคัญ: อสุ จิ คุณภาพน�้ำเชื้อ ช้างเอเชีย การคัดแยกอสุ จิ น�้ำเชื้อแช่เย็น Keywords: Sperm, semen quality, Asian elephant, sperm separation, chilled semen บทน�ำ การผสมเทียมในช้างเลี้ยงเป็ นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการผสมพันธุ์ และการจัดการ ประชากรช้างให้มีความหลากหลายทางพันธุกรรม (Imrat et al., 2013) แต่เนื่องจากคุณภาพน�้ำเชื้อของ ช้างเอเชียมีค่าเฉลี่ยที่ต่ำ � (Imrat et al., 2012) ท�ำให้การน�ำไปแช่เย็นหรื อแช่แข็งเพื่อการผสมเทียมนั้น เป็ นไปได้ยาก การเพิ่มคุณภาพของน�้ำเชื้อจึงมีความส�ำคัญและมีประโยชน์อย่างมากในสัตว์ชนิ ดนี้ การคัดเลือกตัวอสุจทิ มี่ คี ณ ุ ภาพดีถกู ใช้ในการเตรี ยมอสุจสิ ำ� หรับกระบวนการเทคโนโลยีชว่ ยการเจริ ญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology, ART) อย่างแพร่ หลายโดยเฉพาะในคน (Claassens et al., 1998; Beydola et al., 2014) การคัดเลือกอสุ จิคือ การก�ำจัดอสุ จิที่ไม่เคลื่อนที่และสิ่ งแปลกปลอมอื่น ๆ ออก ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพของน�้ำเชื้อให้ดีข้ ึน โดยมีหลายวิธีที่นิยมใช้กนั แพร่ หลาย (Beydola et al., 2014) หนึ่งในนั้นคือ วิธี Density Gradient Centrifugation โดยอาศัยหลักการที่ตวั อสุ จิปกติกบั ไม่ปกติจะมี ความหนาแน่นที่แตกต่างกัน จึงมีการใช้สารแขวนลอยที่มีความหนาแน่นแตกต่างกันเพือ่ ท�ำการคัดแยก อสุ จิปกติและไม่ปกติ โดยหลังจากท�ำการปั่ นเหวี่ยงน�้ำเชื้อผ่านสารแขวนลอยนี้ แล้วตัวอสุ จิที่ปกติจะ เคลื่อนที่ลงไปด้านล่างของหลอดทดลอง ส่ วนอสุ จิที่ตายหรื อผิดปกติและสิ่ งแปลกปลอมอื่น ๆ จะอยู่ ระหว่างชั้นของสารแขวนลอย (Beydola et al., 2014) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรุ งเทพมหานคร 10900 2 ศูนย์วทิ ยาการขั้นสูงเพื่อเกษตร และอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แขวงลาดยาว เขตจตุจกั ร กรุ งเทพมหานคร 10900 3 ศูนย์อนุรักษ์ชา้ งไทย องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ สถาบันคชบาลแห่งชาติ อ�ำเภอห้างฉัตร จังหวัดล�ำปาง 52190 1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
15
อุปกรณ์ และวิธีการ การใช้สตั ว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ได้ผา่ นการพิจารณาของกรรมการก�ำกับดูแลการเลี้ยงและ ใช้สตั ว์ฯ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ACKU 01858) การรี ดน�ำ้ เชื อ้ และการวิเคราะห์ คุณภาพน�ำ้ เชื อ้ การรี ดน�้ำเชื้อใช้วิธีการกระตุน้ ผ่านทางทวารหนัก ตรงบริ เวณ pelvic urethra (ต�ำแหน่งของ ampullae) น�้ำเชื้อที่ได้จะท�ำการวิเคราะห์คณ ุ ภาพดังนี้ ความเข้มข้นของตัวอสุจิ โดยใช้ Haemocytometer chamber, เปอร์ เซ็นต์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ผ่านกล้องจุลทรรศน์ และComputer assisted semen analysis, เปอร์เซ็นต์การมีชีวติ ใช้ Hypo-osmotic test, ลักษณะรู ปร่ างของอสุ จิ ย้อมด้วยสี William’s และ คุณภาพดีเอ็นเอของอสุ จิ ย้อมด้วย Acridine orange การคัดแยกอสุจิ สารละลาย 90% IsolateTM 2 มล. ไว้กน้ หลอดทดลองขนาด 15 มล. จากนั้นค่อยๆ เติมสารละลาย 50% IsolateTM 2 มล. ไว้ดา้ นบน จากนั้นเติมน�้ำเชื้อ 2 มล. ด้านบนของสารแขวนลอยสองชั้นนี้ (IS-2) ส่ วนอีกการทดสอบจะใช้สารละลาย 90% IsolateTM 2 มล. เพียงชั้นเดียว (IS-1) และท�ำการปั่นเหวีย่ งที่ ความเร็ วรอบ 700 g นาน 20 นาที ท�ำการดูดสารละลายด้านบนออก และท�ำการเติมสารละลาย TEST เพื่อปั่นล้างที่ความเร็ วรอบ 700 g นาน 5 นาทีอีกหนึ่งครั้ง น�้ำเชื้อที่ผา่ นและไม่ผา่ นการคัดแยก จะท�ำการ แช่เย็นเป็ นระยะเวลา 48 ชัว่ โมง โดยใช้สารละลายชนิด TEST เพือ่ เก็บรักษาโดยความเข้มข้นสุ ดท้ายของ น�้ำเชื้อคือ 100 x 106 ตัวอสุ จิต่อมล. ผลการศึกษา การศึกษาเบื้องต้นจากช้างเลี้ยงเพศผูส้ องตัวพบว่า มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพิม่ มาก ขึ้นทั้งสองตัว โดยตัวแรกเพิม่ จาก 60% เป็ น 90% และ 70% ตามล�ำดับ ส่ วนตัวที่สองเพิม่ จาก 20% เป็ น 85% และ 65% ตามล�ำดับ เปอร์เซ็นต์การมีชีวติ เป็ นไปในทางเดียวกันในช้างตัวที่สองคือเพิม่ ขึ้นจาก 53% เป็ น 87% และ 81% ตามล�ำดับ แต่ไม่ชดั เจนในช้างตัวแรก ความเข้มข้นของตัวอสุจมิ ปี ริ มาณลดลงหลัง จากผ่านการคัดเลือกโดยตัวแรกลดลงจาก 1,460 เป็ น 433 และ 359 ล้านตัว ต่อมล. ส่ วนตัวที่สองลดลง จาก 430 เป็ น 198 และ 288 ล้านตัว ต่อมล.ตามล�ำดับ (Table 1) หลังจากแช่เย็นนาน 48 ชัว่ โมง คุณภาพ น�้ำเชื้อของกลุ่มที่ผา่ นการคัดเลือกอสุ จิยงั คงดีกว่ากลุ่มที่ไม่ผา่ นการคัดเลือกในช้างทั้งสองตัว โดยใน ช้างตัวแรกเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพิ่มขึ้นจาก 4% เป็ น 52% และ 40% ส่ วนตัวที่สองเพิ่มขึ้น จาก 6% เป็ น 47% และ 39% ตามล�ำดับ (Table 2)
16
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Table 1: Semen quality of two Asian elephant bulls with or without separation using density gradient centrifugation technique with 50% and 90% IsolateTM (IS-2) or 90% IsolateTM (IS-1) Parameter Bull 1 Bull 2 Control IS-2 IS-1 Control IS-2 IS-1 % Motility % Viability % Abnormal DNA integrity Sperm concentration (x106 sperm cells/mL) % Normal sperm morphology
60 61 0 1460 69.5
90 70 67 62 0 0 433 359 75 71
20 53 0 430 91.5
85 87 0 198 97
65 81 0 288 85
Table 2: Quality of chilled semen at 4oC for 48 h after separation using density gradient centrifugation technique with 50% and 90% IsolateTM (IS-2) or 90% IsolateTM (IS-1) from two Asian elephant bulls. Control means unseparated semen. Parameter Control % Motility 4 % Viability 38 % Abnormal DNA integrity 4
Bull 1 Bull 2 IS-2 IS-1 Control IS-2 52 40 6 47 60 59 43 77 0 0 3 0
IS-1 39 72 2
วิจารณ์ ในช้างแอฟริ กนั ได้ใช้วธิ ีการนี้ในการคัดเลือกตัวอสุ จิจากน�้ำเชื้อแช่แข็งโดยพบว่า น�้ำเชื้อที่ผา่ น กระบวนการคัดเลือกให้เปอร์เซ็นต์อสุ จิที่เคลื่อนไปข้างหน้าสูงกว่าน�้ำเชื้อที่ไม่ผา่ นกระบวนการคัดเลือก (Saragusty et al., 2015) เช่ นเดี ยวกับในผลการศึกษานี้ ที่สามารถเพิ่มคุณภาพน�้ำเชื้ อให้สูงขึ้นเมื่ อ เปรี ยบเที ยบกับน�้ำเชื้ อที่ ไม่ผ่านการคัดกรอง ทั้งในแง่ของการเคลื่ อนที่ ไปข้างหน้า และการมี ชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมื่อเก็บรักษาไว้นานสองวัน หากแต่มีขอ้ เสี ยคือความเข้มข้นของน�้ำเชื้อจะลดลงไปถึง 2-3 เท่า อย่างไรก็ตามน�้ำเชื้ อที่ได้ สามารถเก็บรักษาแบบแช่เย็นได้ โดยยังคงมีคุณภาพเพียงพอต่อ การน�ำไปใช้ผสมเทียม
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
17
สรุป ยังต้องท�ำการศึกษาเก็บตัวอย่างเพิม่ เพือ่ ยืนยันว่าเทคนิคการคัดแยกอสุ จิน้ ีสามารถใช้ในการเพิม่ คุณภาพของน�้ำเชื้อช้างเอเชียได้จริ ง ซึ่ งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเก็บรักษาพันธุ กรรมที่หลากหลายใน สัตว์ชนิดนี้ ได้โดยไม่จำ� กัดเพียงแค่ชา้ งที่ให้คุณภาพน�้ำเชื้อเริ่ มต้นสู งเท่านั้น (ซึ่ งมีจำ� นวนน้อยมาก) น�้ำ เชื้อที่เพิ่มคุณภาพดีข้ ึนจะสามารถเข้าสู่ กระบวนการแช่เย็นหรื อแช่แข็งเพื่อการผสมเทียมต่อไป กิตติกรรมประกาศ การศึ ก ษาในครั้ งนี้ ได้รั บ ทุ น สนับ สนุ น งานวิ จ ัย จากศู น ย์วิ ท ยาการขั้น สู ง เพื่ อ เกษตร และอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และองค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ สถาบันคชบาลแห่งชาติ เอกสารอ้ างอิง 1. Beydola, T., Sharma, R.K., Agarwal, A., 2014. Sperm Preparation and Selection Techniques, In: Rizk, B.R.M.B., Aziz, N., Agarwal, A., Sabanegh Jr, E. (Eds.), Medical & Surgical Management of Male Infertility, Jaypee Brothers Medical Publishing, New Delhi, India, pp. 244-251. 2. Claassens, O.E., Menkveld, R., Harrison, K.L., 1998. Evaluation of three substitutes for Percoll in sperm isolation by density gradient centrifugation. Human reproduction 13, 3139-3143. 3. Imrat, P., Hernandez, M., Rittem, S., Thongtip, N., Mahasawangkul, S., Gosalvez, J., Holt, W.V., 2012. The dynamics of sperm DNA stability in Asian elephant (Elephas maximus) spermatozoa before and after cryopreservation. Theriogenology 77, 998-1007. 4. Imrat, P., Suthanmapinanth, P., Saikhun, K., Mahasawangkul, S., Sostaric, E., Sombutputorn, P., Jansittiwate, S., Thongtip, N., Pinyopummin, A., Colenbrander, B., Holt, W.V., Stout, T.A., 2013. Effect of pre-freeze semen quality, extender and cryoprotectant on the post-thaw quality of Asian elephant (Elephas maximus indicus) semen. Cryobiology 66, 52-59. 5. Saragusty, J., Prieto, M.T., Courtiol, A., Potier, R., Göritz, F., Hildebrandt, T.B., Hermes, R., 2015. Sperm rescue in wild African elephants. Reproduction, fertility, and development 28, 1433-1442.
18
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ผลของการให้ สารน�ำ้ บ�ำบัดต่ อซีรัมออสโมแลลิตี ค่ าโลหิตวิทยา และค่ าเคมีคลินิก ในเลือดในช้ างเอเชีย (Elephas maximus) ทีม่ สี ภาวะขาดน�ำ้ แบบไม่ แสดงอาการ The effects of fluid therapy on serum osmolality, hematology and blood chemistry in subclinical dehydrated Asian elephants (Elephas maximus) ธนาวรรณ วงศ์วทิ ยาพาณิ ชย์1 พีรวัส วงษ์ลือชัย1 นลิน อารี ยา2 วลาสิ นี มูลอามาตย์3 พรสวรรค์ พงษ์โสภาวิจิตร4 ทวีโภค อังควานิช5 วรางคณา ลังการ์พินธุ์5 เพชรธิศกั ดิ์ สมบัติภธู ร5 อรจิรา ชาวพงษ์5 ราชันชัย ฉวางวงศานุกลู 2 Thanawan Wongwittayapanit1 Peerawat Wongluechai1 Nlin Arya2 Walasinee Moonarmart3 Pornnsawan Pongsopawijit4 Taweepoke Angkawanish5 Warangkhana Langkaphin5 Petthisak Sombutputorn5 Onchira Chaopong5 Rachanchai Chawangwongsanukun2
ค�ำส� ำคัญ: สภาวะขาดน�้ำ ช้างเอเชีย การให้สารน�้ำบ�ำบัด Keywords: dehydration, Asian elephant, fluid therapy
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 2 ภาควิชาปรี คลินิกและสัตวศาสตร์ประยุกต์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 3 ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุ ข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 4 ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อ�ำเภอแม่เหี ยะ จังหวัดเชียงใหม่ 50110 5 สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ อ�ำเภอห้างฉัตร จังหวัดล�ำปาง 52190 ผูร้ ับผิดชอบบทความ E-mail address: thanawan.wongwittayapanit@gmail.com 1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
19
บทน�ำ ช้างเอเชีย (Elephas maximus) ที่มีปัญหาสุ ขภาพมักกินน�้ำและอาหารลดลง ซึ่ งอาจท�ำให้เกิด สภาวะขาดน�้ำตามมา การรักษาภาวะขาดน�้ำสามารถท�ำได้โดยการให้สารน�้ำทดแทน โดยนิยมให้ผา่ น ทางหลอดเลือดด�ำมากกว่าผ่านทางชั้นใต้ผิวหนัง เนื่ องจากพื้นที่ช้ นั ใต้ผิวหนังของช้างมีอยูอ่ ย่างจ�ำกัด ท�ำให้ไม่สามารถให้สารน�้ำบ�ำบัดในปริ มาณมากได้ (Fowler and Mikota, 2006) การแก้ไขสภาวะ ขาดน�้ำโดยการให้สารน�้ำบัดผ่านทางหลอดเลื อดด�ำ ควรให้สารน�้ำที่ มีคุณสมบัติเป็ นไอโซโทนิ ก (isotonic fluid) เนื่ องจากสารน�้ำคุณสมบัติเป็ นไฮเปอร์ โทนิ ก (hypertonic fluid) และ ไฮโปโทนิ ก (hypotonic fluid) อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงตามมาได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับผล ของการให้สารน�้ำบ�ำบัดเพื่อแก้ไขสภาวะขาดน�้ำในช้างเอเชีย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวตั ถุประสงค์เพื่อ เปรี ยบเทียบผลของการตรวจร่ างกาย ซีรัมออสโมแลลิตี (serum osmolality) ค่าโลหิ ตวิทยาและค่าเคมี คลินิกในเลือดระหว่างก่อนและหลังการให้สารน�้ำบ�ำบัดในช้างเอเชียที่มีสภาวะขาดน�้ำแบบไม่แสดง อาการ อุปกรณ์ และวิธีการ ช้างเอเชียจ�ำนวน 5 ตัว ช่วงอายุ 25-70 ปี มีประวัติกินอาหารและน�้ำลดลง เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ และได้รับการรักษาด้วยการให้สารน�้ำบ�ำบัด ทางหลอดเลือดด�ำ ช้างแต่ละตัวจะถูกบันทึกประวัติเบื้องต้น และได้รับการตรวจร่ างกายและเก็บตัวอย่าง เลือดทั้งก่อนและหลังได้รับสารน�้ำบ�ำบัด เพื่อประเมินค่าซี รัมออสโมแลลิตี ค่าโลหิ ตวิทยาและค่าเคมี คลินิกในเลือด ปริ มาณและชนิ ดของสารน�้ำบ�ำบัดส�ำหรับช้างแต่ละตัวจะถูกบันทึกไว้ ข้อมูลที่ได้จะ ถูกแสดงในรู ปของค่ามัธยฐาน (median) และควอร์ไทล์ที่ 1 และ 3 (quartile 1 - 3) น�ำมาเปรี ยบเทียบ โดยใช้การทดสอบทางสถิติดว้ ย Wilcoxon signed-rank test งานวิจยั นี้ได้รับการรับรองการใช้สตั ว์ทดลองจากคณะกรรมการก�ำกับดูแลการเลี้ยงและใช้สตั ว์ เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล โครงการที่ 2015-05-20 ผลการศึกษา ช้างในการศึกษาประกอบด้วยเพศผู ้ 3 ตัว และเพศเมีย 2 ตัว ช้างทั้ง 5 ตัวอยูใ่ นช่วงอายุระหว่าง 25 - 70 ปี และได้รับการประเมินว่ามีสภาวะขาดน�้ำแบบไม่แสดงอาการ ข้อมูลคะแนนร่ างกาย น�้ำหนัก ตัว และอาการทางคลินิกของช้างแต่ละตัวถูกแสดงไว้ในตารางที่ 1 ช้างแต่ละตัวได้รับปริ มาณและชนิดของสารน�้ำบ�ำบัดที่แตกต่างกัน ปริ มาณสารน�้ำบ�ำบัดเฉลี่ย คือ 17 (14-20) ลิตรต่อตัว จากการค�ำนวณ ช้างทุกตัวได้รับสารน�้ำที่มีคุณสมบัติเป็ นไฮเปอร์โทนิก ราย ละเอียดของปริ มาณและองค์ประกอบในสารน�้ำที่ชา้ งได้รับ และระยะเวลาในการให้สารน�้ำบ�ำบัด จัด แสดงไว้ในตารางที่ 2
20
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ผลการตรวจร่ างกาย ประกอบด้วย สภาพจิต (mental status) ความชุ่มชื้นของเยือ่ เมือก (mucous moisture) สี ของเยือ่ เมือกที่งวง (trunk mucous membrane color) การยืน่ ของหนังตาที่สาม (third eyelid protrusion) อัตราชีพจร (pulse rate) และอัตราการหายใจ (respiratory rate) ก่อนและหลังการให้สารน�้ำ บ�ำบัดไม่มีความแตกต่างกัน ค่าความเข้มข้นของโซเดียมในซีรัม (serum sodium concentration) เป็ นค่าพารามิเตอร์เดียวที่ ลดลงอย่างมีนยั ส�ำคัญ ได้รับสารน�้ำบ�ำบัด ขณะที่ค่าซี รัมออสโมแลลิตีมีค่าสู งกว่าปกติในช้างทุกตัว รายละเอียดของผลการตรวจร่ างกาย ค่าซี รัมออสโมแลลิตี ค่าโลหิ ตวิทยา และค่าเคมีคลินิก แสดงใน ตารางที่ 3 และ 4 Table 1 : Signalment and clinical signs for each elephant. Variable
No. 1
No. 2
No. 3
No. 4
No. 5
Signalment Sex female male male female male Age (years) 70 60 40 60 25 Body weight (kg) 2000 3395 3820 2830 3545 BCS 2.5/5 3.5/5 3/5 4/5 2/5 Clinical signs Appetite decrease inappetite inappetite decrease decrease Drinking behavior decrease normal decrease normal not drink Other weakness bloat bloat constipation Diagnosis aging bloat toxin- bloat food mediated intolerance diarrhea
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
21
Table 2 : Volume, component and time of fluid administration for each elephant. Variable
No. 1
No. 2
No. 3
No. 4
No. 5
Total fluid (l) 10 20 17 26.5 14 NSS 4 10 7 5.5 7 D5S 3 4 7 20 3 LRS 3 4 1 0 4 ® 0 1 1 0 0 Aminoleban ® 0 1 1 0 0 BFLUID Fluid osmolarity per liter 373 400 467 302 352 (mOsm/l) Component (mEq/l) Sodium 147 136 137 132 147 Potassium 1.2 1.8 1.4 3.8 1.1 Chloride 140 136 138 116 141 Calcium 0.8 0.8 0.5 2.2 0.8 Magnesium 0 0.3 0.3 0.3 0 Sulphate 0 0.3 0.3 0.3 0 Acetate 0 0.9 1.1 0.7 0 Lactate 6.8 5.6 2.5 17.8 6.5 Citrate 0 0.3 0.4 0.2 0 Phosphorus 0 0.5 0.6 0.4 0 Amino acid 0 45.5 34 9.3 0 Glucose 75.6 71.2 128.2 15.7 54.0 Duration of intravenous fluid 4 4 6 10 5 replacement (hours)
22
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Table 3 : Physical examination of elephants before and after receiving fluid. Results are reported by median (Q1-Q3). Comparing results by Wilcoxon sign rank test. Variables Mental status Mucous moisture Trunk mucous membrane color Third eyelid protrusion Pulse rate (bpm) Respiratory rate (bpm)
Before replacement
After replacement
P-value
1 2 1 0/8 44 (34-50) 10 (7-11)
1 2 1 0/8 44 (36-50) 12 (8-14)
1.00 1.00 1.00 1.00 0.56 0.18
Mental status; 0 = depressed, 1 = alert and responsive Mucous moisture; 0 = dry, 1 = tacky, 2 = moist Trunk mucous membrane color; 0 = pale, 1 = pale pink, 2 = pink, 3 = red Table 4 : Hematology and biochemistry values of elephants before and after receiving fluid. Results are reported by median (Q1-Q3). Comparing results by Wilcoxon sign rank test. Variables Unit Before replacement After replacement P-value Normal range median (Q1-Q3) median (Q1-Q3) Hematology Hematocrit % 39.50 35.50 0.136 30 - 40 (Centrifuge) (33.00-46.06) (29.00-46.00) Hemoglobin g/dl 11.20 12.10 0.588 11.2-11.8 (10.60-18.75) (11.00-23.00) 2.35 2.51 0.225 2.5-2.7 RBC (X 106) cell/mm3 (1.86-3.42) (2.21-4.13) MCV fL 127.90 125.50 0.138 120.2-123.4 (123.40-135.75) (123.15-131.70) MCH pg 55.80 53.20 0.225 42.9-43.9 (48.75-58.40) (47.20-58.65) MCHC g/dl 42.90 42.40 0.225 35.2-36.0 (39.50-43.45) (38.30-43.40) การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
23
Variables Unit Before replacement After replacement P-value Normal range median (Q1-Q3) median (Q1-Q3) WBC (x 106) cell/mm3 7.80 8.10 0.225 (6.10-14.15) (3.10-11.55) Neutrophil % 40.00 24.80 0.043 (27.40-54.55) (16.90-39.00) Lymphocyte % 50.10 62.40 0.080 (32.15-55.25) (48.50-70.25) Eosinophil % 3.50 3.00 0.786 (1.35-5.70) (1.85-3.95) Basophil % 5.00 3.50 0.345 (2.15-5.20) (1.15-5.35) Monocyte % 5.70 6.70 0.786 (4.75-9.35) (4.85-7.55) Biochemical test Serum osmolality mg/dl 278.00 287.00 0.225 (274.50-289.25) (280.25-288.67) Total protein g/dl 8.20 8.00 0.500 (6.60-9.05) (7.25-8.20) BUN mg/dl 13.00 11.00 0.854 (9.50-18.00) (9.50-18.50) Creatinine mg/dl 1.60 1.40 0.176 (1.45-2.75) (1.25-2.45) AST U/l 24.00 20.00 0.715 (15.50-44.00) (23.5-66.75) ALP U/l 123.00 114.00 0.465 (71.50-172.00) (67.00-135.50) ALT U/l 11.00 13.00 0.539 (10.50-33.50) (10.00-19.00) Glucose mg/dl 90.00 106.00 0.500 (whole blood) (71.00-135.50) (90.50-127.00)
24
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
10 - 18 25-30 30-40 <5 <1 25-30 257 - 269 6 - 12 5 - 20 1-2 15 - 35 60 - 450 1.5 - 3 60 -116
Variables Unit Before replacement After replacement P-value Normal range median (Q1-Q3) median (Q1-Q3) Electrolyte Na * mEq/l 131.00 126.00 0.042 120 - 140 (126.00-133.00) (123.50-129.65) K mEq/l 4.00 4.20 0.461 3-6 (3.77-5.50) (3.76-5.00) Cl mEq/l 87.00 89.00 1.000 100 - 115 (84.00-92.00) (84.65-90.00) *Denotes values that are statistically different (P-value listed in table). reference: Murray E. Fowler, Susan K. Mikota, Biology, Medicine, and Surgery of Elephants. 2006. วิจารณ์ ช้างทุกตัวในการศึกษานี้ มีสภาวะขาดน�้ำแบบไม่แสดงอาการ โดยพิจารณาจากการที่ชา้ งมี ประวัติกินอาหารและน�้ำที่ น้อยลง ถึ งแม้ว่าค่าเม็ดเลื อดแดงอัดแน่ น โปรตี นรวมและบี ยูเอ็นอยู่ใน ช่วงปกติ แต่ค่าซี รัมออสโมแลลิตีที่สูงกว่าช่วงปกติเป็ นตัวบ่งชี้ ว่า ช้างอยู่ในสภาวะสภาวะที่ขาดน�้ำ (Hall et al. 2012) หลังจากการบ�ำบัดด้วยสารน�้ำพบว่าความเข้มข้นของโซเดียมในซีรัมเป็ นพารามิเตอร์เดียวที่ลด ลงอย่างมีนยั ส�ำคัญ ผลการศึกษานี้เหมือนกับที่มีรายงานในโคที่อยูใ่ นสภาวะขาดน�้ำ (Suzuki et al., 1997) การเปลี่ยนแปลงนี้ อาจเกิดขึ้นได้จากการเพิ่มปริ มาณของน�้ำที่เข้าไปในร่ างกาย ผ่านการให้สารน�้ำบ�ำบัด ทางหลอดเลือดด�ำ นอกจากนี้การกินน�้ำของช้างบางตัวระหว่างการให้สารน�้ำ อาจท�ำให้ปริ มาณของเหลว ในหลอดเลือดเพิม่ สูงขึ้น เกิดการขยายของหัวใจห้องบนด้านขวาจึงเกิดการปล่อย ANP (atrial natriuretic peptide) ออกมา ส่ งผลให้เกิดการยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมที่ไต จึงเพิ่มการขับโซเดียมออกมาทาง ปัสสาวะ จึงมีความเป็ นไปได้ที่ทำ� ให้ค่าความเข้มข้นของโซเดียมในซี รัมลดลงหลังการให้สารน�้ำบ�ำบัด ในทางทฤษฎี ช้างต้องการน�้ำประมาณ 120 - 180 ลิตรต่อวัน (ค�ำนวณจากช้างน�้ำหนัก 3,000 กิโลกรัม) แต่ในการศึกษานี้ ช้างแต่ละตัวได้รับสารน�้ำเฉลี่ยเพียง 17 ลิตร ซึ่ งเป็ นปริ มาณน้อยมากเมื่อ เที ยบกับปริ มาณที่ ควรได้รับจริ ง อาจเป็ นเหตุ ผลที่ ไม่ เห็ นการเปลี่ ยนแปลงอย่างมี นัยส�ำคัญของ พารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องส่ วนใหญ่ หลังการได้รับสารน�้ำบ�ำบัด
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
25
สรุป จากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าซี รัมออสโมแลลิตีเป็ นตัวบ่งบอกภาวะสภาวะขาดน�้ำของช้าง ที่รวดเร็ วกว่าพารามิเตอร์ อื่น นอกจากนี้ แม้ว่าปริ มาณสารน�้ำบ�ำบัดที่ให้ในการศึกษานี้ จะน้อยกว่า ความต้องการของช้าง แต่มีผลให้ความเข้มข้นของโซเดียมในซี รัมลดลงหลังการให้สารน�้ำบ�ำบัด การเปลี่ยนแปลงพารามิเตอร์ในช้างที่มีสภาวะขาดน�้ำ ปริ มาณสารน�้ำที่เหมาะสมต่อการแก้ไข สภาวะขาดน�้ำ และผลของการได้รับสารน�้ำแต่ละชนิ ด เป็ นสิ่ งที่ น่าสนใจและควรท�ำการศึ กษาใน ครั้งต่อไป ข้อแนะน�ำส�ำหรับผูท้ ี่สนใจศึกษาต่อคือ ควรท�ำการเพิม่ จ�ำนวนช้าง ความถี่ในการเก็บตัวอย่าง และปริ มาณสารน�้ำที่ให้ เพื่อเพิ่มปั จจัยในการศึกษาและท�ำให้เห็นแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงข้อมูล มากขึ้น กิตติกรรมประกาศ ขอขอบพระคุณคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดลส�ำหรับทุนศึกษาวิจยั สถาบัน คชบาลแห่ งชาติ ในพระอุ ปถัมภ์ฯที่ ได้ให้ความอนุ เคราะห์ ช้างเพื่ อการศึ กษาและห้องปฏิ บตั ิ การ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำ� หรับห้องปฏิบตั กิ าร และ ผศ.ดร.สพ.ญ. พนิดา ชนาภิวตั น์ ส�ำหรับเครื่ องออสโมมิเตอร์ เอกสารอ้ างอิง 1. Murray E. Fowler SKM. Biology, Medicine, and Surgery of Elephants. 2006. 2. DiBartola SP. Fluid, Electrolyte, and Acid-Base Disorders in Small Animal Practice, 4th Edition. 2006. 3. Hall NH, Isaza R, Hall JS, Wiedner E, Conrad BL, Wamsley HL. Serum osmolality and effects of water deprivation in captive Asian elephants (Elephas maximus). Journal of veterinary diagnostic investigation : official publication of the American Association of Veterinary Laboratory Diagnosticians, Inc. 2012;24(4):688-95. 4. Suzuki K, Ajito T, Kadota E, Ohashi S, Iwabuchi S. Comparison of commercial isotonic fluids intravenously administered to rehydrate fasted bullocks. The Journal of veterinary medical science / the Japanese Society of Veterinary Science. 1997;59(8):689-94. 5. Suzuki K, Okumura J, Abe I, Iwabuchi S, Kanayama K, Asano R. Effect of isotonic and hypotonic lactated ringer’s solutions with dextrose intravenously administered to dehydrated heifers. The Journal of veterinary medical science / the Japanese Society of Veterinary Science. 2002; 64(4):335-40.
26
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Evaluation of an In-house indirect ELISA for detection of antibody against haemorrhagic septicemia in Asian elephants การประเมินชุดทดสอบแอนติบอดีทผี่ ลิตเองส� ำหรับการตรวจหาแอนติบอดีต่อ โรคคอบวมในช้ างเอเชีย Pallop Tankaewa,b (pallop_off@hotmail.com), Thawatchai Singh-Lac, Chatchote Titaramb, Veerasak Punyapornwittayac, Preeyanat Vongchand, Takuo Sawadaa,e, Nattawooti Sthitmateea (drneaw@gmail.com) พัลลพ ตันแก้วa,b ธวัชชัย สิ งห์หล้าc ฉัตรโชติ ทิตารามb วีระศักดิ์ ปั ญญาพรวิทยาc ปรี ยานารถ วงศ์จนั ทร์d ทาคุโอ ซาวาดะa,e ณัฐวุฒิ สถิตเมธีa
Keywords: Haemorrhagic septicemia, Asian elephant, Indirect ELISA, Bayesian analysis ค�ำส� ำคัญ: โรคคอบวม ช้างเอเชีย แอนติบอดี
Department of Veterinary Bioscience and Veterinary Public Health, Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University, Muang, Chiang Mai 50100, Thailand b Center for Excellence in Elephant Research and Education, Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University, Muang, Chiang Mai 50100, Thailand c Department of Food Animal Clinic, Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University, Muang, Chiang Mai 50100, Thailand d Department of Medical Technology, Faculty of Associated Medical Sciences, Chiang Mai University, Chiang Mai 50200, Thailand e Laboratory of Veterinary Microbiology, Nippon Veterinary and Life Science University, Musashino, Tokyo 180-8602, Japan a
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
27
Introduction Pasteurella multocida causes haemorrhagic septicemia in livestock and wild animals, including elephants (Ahmed, 2001; Chandrasekaran, 2002; Singh, 2002). The disease has been reported in Asian elephants in India and Sri Lanka (Harish et al., 2002; Yadav al., 2012), but to date there have been no reported cases in Thailand. ELISA or indirect hemagglutination assays (IHA) have been demonstrated to be able to detect the antibody against the disease in cattle (OIE, 2008), but no data are available for elephants. The present study reports a novel inhouse indirect ELISA for antibody detection of haemorrhagic septicemia in Asian elephants, and evaluates the sensitivity and specificity of the method using a Bayesian approach. The characteristics of ELISA and IHA were analyzed using a one population Bayesian model assuming conditional dependence between these two diagnostic tests. The IHA was performed as recommended by the World Organization for Animal Health (OIE) manual for haemorrhagic septicemia. Materials and Methods Fifty samples of positive elephant sera against haemorrhagic septicemia, thirty colostrum-deprived neonatal elephant sera were used as negative control sera to haemorrhagic septicemia and 85 samples of elephant sera that had been no haemorrhagic septicemia vaccinations or disease outbreaks were also tested in this study. Elephant sera were tested by indirect hemagglutination assay (IHA) (Sawada et al., 1982) in order to be classified sera as positive or negative sera to haemorrhagic septicemia that titers at 1:160 or higher by IHA in surviving in-contact animals were considered as suggestive of the disease. A heat extraction protein of P.multocida strain M-1404 (serovar B:2) was prepared and used as a coating antigen(Afzal et al., 1982). Rabbit-anti elephant IgG (eIgG) was prepared as horseradish peroxidase conjugated (HRP-anti eIgG) (Vongchan, 2013). Tetramethylbenzidine (TMB) was used as a substrate and the optical density (OD) read at 450 nm. The optimization of the indirect ELISA reaction were performed with different concentrations of antigen; 20, 40, 80, and 160 μg/ml. Serum concentrations were diluted at different dilutions; 1:50, 1:100, 1:200, 1:400, 1:800, and 1:1600. The HRP-anti-eIgG was also diluted at different dilutions; 1:1000, 1:2000, 1:3000; 1:4000, 1:5000, and 1:6000. The checkerboard titration method was conducted using positive and negative samples as described above (Crowther, 2001). The cut-off OD values were calculated from the mean of the negative control plus 3 standard deviations, any OD value greater than the cutoff value were considered as seropositive. Bayesian model was using for estimation of sensitivity and specificity of ELISA test and IHA test (Branscum et al., 2005; Gardner et al., 2000) because both tests are based on detection of antibody response, their results were considered to be conditionally 28
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
dependent on each other. We thus employed a Bayesian model for two diagnostic tests and one population. The prevalence of the disease was assumed based on expert opinion. Prior information on test performance and prevalence was introduced into the analysis using probability distributions (prior distributions). All analyses were implemented in JAGS 3.4.0 (Plummer, 2003) via the rjags and R2jags packages (Su and Yajima, 2015; Plummer et al., 2016) from the R 3.2.2 software. Posterior distributions were computed after 100,000 iterations of the models with the first 10,000 discarded as the burn-in phase. The experiments and animal use protocols were approved by the Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University Animal Use and Care Committee (License No. S7/2558). Results Fifty positive control sera and thirty negative control sera were obtained for use to optimize the ELISA method in this study. The IHA titers of positive were higher than 1:160 (range from 1:160 to 1:640) and titers of negative ranged from 1:2 to 1:64. A total of 21 out of 85 (24.71%) sera derived from elephant camps were classified as seropositive to haemorrhagic septicemia and 64 sera (75.29%) were classified as seronegative. The sample per negative (S/N) ratio was shown the optimal conditions for the ELISA were as follows: the heat extract antigen 160 μg/ml in coating buffer, 1:100 diluted elephant serum in blocking buffer for 1 h and of 1:1000 diluted HRP-anti-eIgG in blocking buffer for 1 h. Average optical density values at 450 nm of the negative sera were 0.054 and the standard deviation was 0.016. The cut-off point of the indirect ELISA was calculated with the formulation as described above and the value was set to 0.103. A total of 44/85 (50.59%) sera were identified as seropositive by indirect ELISA. Estimates for sensitivity and specificity of ELISA were lower than prior values, with a median of 86.5% [95% posterior probability interval (PPI) = 52.5–98.9%], 54.1% (PPI = 43.6–64.7%), respectively. Estimates for sensitivity of IHA were lower than prior values and the sensitivity of ELISA (median=80.5%, PPI=43.8–98.0%) while the measures of specificity were close to prior values (median = 78.4%, PPI = 69.0–87.0%).Posterior estimates for the prevalence of the disease were quite close to the prior values, with a median of 3.1% (b3% PPI = 0.5–9.8%). The conditional dependence between the ELISA test and IHA test was low in both infected- and non-infected- animals, with probability intervals including 0 for both. The conditionally independent model, which did not include a covariance term between the ELISA and IHA tests, had a higher Deviance Information Criterion (DIC) value than the conditionally dependent model (51.4 versus 17.9, respectively); therefore, the conditionally dependent model was preferred as the final model. In the sensitivity analysis, no major changes (change in median or 95% probability percentiles N 10%) in the posterior estimates of the sensitivity and specificity of the ELISA test and the specificity of the IHA test were การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
29
found when non-informative distributions were used as priors for any parameter, which was interpreted as evidence of model robustness. In contrast, a large change in the posterior estimates for the sensitivity of the IHA test was observed with a lower estimated posterior sensitivity (from80.5% to 51.0%). Similarly, the estimation of prevalence in the dairy cattle population also increased, with an estimated percentage up to 24.8% (PPI = 1.80–53.8%) when a non-informative prior was used for this parameter, suggesting a stronger effect of the priors on these parameters, which influenced the results of the model. Discussion The present investigation successfully applied an HRP-anti-eIgG to detect elephant antibody against haemorrhagic septicemia by a novel in-house indirect ELISA method. The Bayesian analyses indicated that the sensitivity of ELISA was higher than that of the IHA test, while the specificity was lower. This finding suggests that the in-house indirect ELISA could be used as a tool to detect the antibody against haemorrhagic septicemia in Asian elephants. Conclusion An in-house indirect ELISA was successfully developed. The method used a heat extract antigen of P. multocida strain M-1404 (serovar B:2) as a coating antigen and rabbit anti-immunoglobulin G conjugated with horseradish peroxidase (eIgG-HRP). The heat extract antigen at 160 μg/ml, sample serum at dilution factor of 1:100, and eIgG-HRP 1:1000 were optimal concentrations for the assay. The calculated cut-off value was 0.103. The Bayesian estimates of the ELISA sensitivity and specificity were 86.5% and 54.1%. In application, there were 51.76% (44/85) elephant sera samples that were considered seropositive by the ELISA. This finding suggested that an in-house indirect ELISA can be used as a tool to detect the antibody against haemorrhagic septicemia in Asian elephants. Acknowledgement This work was supported in part by the Center for Excellence in Elephant Research and Education, Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University, Chiang Mai, Thailand and the Research Academic Center, Chiang Mai University and the Faculty of Veterinary Medicine, Chiang Mai University (Contract No.18/2016).
30
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
References 1. Afzal, M.,Muneer, R., Akhtar, S., 1992. Serological evaluation of Pasteurella multocida antigens associated with protection in buffalo calves. Rev. Sci. Tech. Off. Int. Epiz. 11, 917–923. 2. Ahmed, N., 2001. Health management of free ranging wild animals. Intus. Polivet. 2, 182–186. 3. Branscum, A.J., Gardner, I.A., Johnson,W.O., 2005. Estimation of diagnostic-test sensitivity and specificity through Bayesian modeling. Prev. Vet. Med. 68, 145–163. 4. Chandrasekaran, K., 2002. Specific diseases of Asian elephants. J. Indian Vet. Assoc. 3, 31-34. 5. Crowther, J.R., 2001. The ELISA Guidebook. Humana Press, Totowa, NJ (421 pp). 6. Gardner, I.A., Stryhn, H., Lind, P., Collins, M.T., 2000. Conditional dependence between tests affects the diagnosis and surveillance of animal diseases. Prev. Vet. Med. 45, 107–122. 7. Harish, B.R., Shivaraj, B.M., Chandranaik, B.M., Venkatesh, M.D., Renukaprasad, C., 2002. Haemorrhagic septicemia in Asian elephants Elephas maximus in Karnataka state. India J. Threatened Taxa 1 (3), 194–195. 8. OIE Terrestrial manual for haemorrhagic septicemia, 2008. Chapter 2.4.12. pp. 739–751. 9. Plummer, M., 2003. JAGS: a program for analysis of Bayesian graphical models using Gibbs sampling. Proceedings of the 3rd International Workshop on Distributed Statistical 10. Computing. Technische Universität Wien, p. 125. 11. Sawada, T., Rimler, R.B., Rhoades, K.R., 1982. Indirect hemagglutination test that uses glutaraldehyde-fixed sheep erythrocytes sensitized with extract antigens for detection of Pasteurella antibody. J. Clin. Microbiol. 15, 752–756. 12. Singh, V.N., 2002. Symptomatic study of haemorrhagic septicemia in elephant in Mudumalai Wildlife Sanctuary, Tamil Nadu. Indian Forester 128, 1089–1100. 13. Vongchan, P., 2013. Production of a rabbit polyclonal anti-elephant IgG antibody for the elephant laboratory investigation. Chiang Mai J. Sci. 40, 376–385. 14. Yadav, V.K., Maherchandani, S., Sarma, K.K., 2012. Seroepidemiology of Asian Elephant: Diseases of Captive Asian Elephants. LAP LAMBERT Academic Publishing, Saarbrucken. 15. Plummer, M., Stukalov, A., Denwood, M., Bayesian graphicalmodel using MCMC: package ‘rjags’. 2016. URL: https://cran.r-project.org/web/packages/rjags/rjags.pdf. (accessed07.07.2016). 16. Su, Y., Yajima, M., 2015. Using R to run ‘JAGS’: package ‘R2jags’. URL: https://cran.rproject. org/web/packages/R2jags/R2jags.pdf. (accessed 07.07.2016.)
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
31
การเปรียบเทียบประสิ ทธิภาพของไอเวอร์ เมกติน (Ivermectin) ในรู ปแบบการกินในการก�ำจัดเหาช้ าง (Haematomyzus elephantis) ในช้ างเอเชีย (Elephas maximus) Effectiveness of Oral Ivermectin for Elephant Lice (Haematomyzus elephantis) Control in Asian Elephant (Elephas maximus) กัญญาณัฐ ศรี กฤตยาวัฒน์1 เจนจิรา ศรี โชค1 พิมพ์ชนก ประจ�ำค่าย1 ริ นรดา เขียวมีส่วน1 สุ รวิทย์ จีนสุ ข1 เชิญขวัญ พาบุตตะ1* รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์2** Kanyanut Srikittayawat1 Jenejira Srochok1 Pimchanok Prachamkhai1 Rinrada Kheawmeesuan1 Surawich Jeensuk1 Choenkwan Pabutta1* Rattapan Pattanarangsan2** ค�ำส� ำคัญ: ช้างเอเชีย เหาช้าง ไอเวอร์เมกติน Keywords: Asian elephant , Elephant Lice , Ivermectin บทคัดย่ อ เหาช้าง เป็ นปรสิ ตภายนอกที่พบได้บ่อยในช้าง มักอาศัยอยูบ่ ริ เวณผิวหนังที่มีรอยแตกและมีขน บนตัวช้าง การก�ำจัดเหาช้างตามปกติมกั จะใช้ยาไอเวอร์ เมกตินฉี ดเข้าใต้ผิวหนังช้าง ซึ่ งต้องท�ำโดย สัตวแพทย์เท่านั้น และเสี่ ยงต่อการเกิ ดฝี บริ เวณที่ฉีด การศึกษานี้ จึงมีวตั ถุประสงค์เพื่อเปรี ยบเทียบ ประสิ ทธิภาพของไอเวอร์เมกตินในรู ปแบบการกินต่อรู ปแบบฉี ด โดยใช้ขนาด 0.1 มก./กก. การศึกษานี้ ใช้ชา้ ง 10 เชือกจากปางช้างแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี แบ่งออกเป็ น 2 กลุม่ การทดลอง กลุม่ ละ 5 เชือก ได้แก่ กลุ่มที่ ได้รับไอเวอร์ เมกติ นผ่านทางการฉี ดใต้ผิวหนัง และกลุ่มที่ ได้รับไอเวอร์ เมกติ นผ่าน ทางการกิน ก่อนให้ยาจะท�ำการเก็บข้อมูลและนับจ�ำนวนเหาที่บริ เวณหัว (30 x 30 ตร.ซม.) และตลอด
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล 2 ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุ ข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต�ำบลศาลายา อ�ำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 * ผูร้ ับผิดชอบบทความ E-mail address: choenkwan.pabutta@gmail.com ** ผูร้ ับผิดชอบบทความ E-mail address: rattapan@gmail.com 1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
33
ความยาวของหาง หลังจากนั้นจะท�ำการนับจ�ำนวนเหาซ�้ำหลังจากที่ได้รับยาไปแล้ว 24 และ 48 ชัว่ โมง ตามล�ำดับ ข้อมูลที่ ได้จะน�ำมาเปรี ยบเที ยบโดยการใช้การทดสอบทางสถิ ติด้วย Non-parametric Mann-Whitney test ผลการศึกษาพบว่าการให้ไอเวอร์เมกตินผ่านทางการกินสามารถลดจ�ำนวนเหาช้าง ได้ และให้ผลในการก�ำจัดเหาช้างไม่แตกต่างจากการให้ ไอเวอร์เมกตินผ่านทางการฉี ดใต้ผวิ หนังอย่าง มีนยั ยะส�ำคัญทางสถิติ บทน�ำ เหาช้าง (Haematomyzus elephantis) เป็ นปรสิ ตภายนอกที่พบได้บ่อยในช้าง มักอาศัยอยูบ่ ริ เวณ ผิวหนังที่มีรอยแตกและมีขนบนตัวช้าง เช่น หัว หลังใบหู โคนหาง โดยจะกัดกินผิวหนังช้างเป็ นอาหาร สามารถท�ำให้ชา้ งเป็ นโรคผิวหนังอักเสบ (Dermatitis) หากมีจำ� นวนมาก จะท�ำให้คนั ไม่อยูน่ ่ิง ช้างจะ ใช้หางปัดล�ำตัวหรื อถูตวั กับวัตถุเพือ่ เกา อาจท�ำให้พบผิวหนังหรื อกระจกตาเป็ นแผล แห้งหรื อเป็ นสะเก็ด ได้ (Fowler et al., 2006) ซึ่ งจะเป็ นปั ญหาต่อช้างที่ทำ� หน้าที่รับส่ งนักท่องเที่ยวในปาง วิธีการก�ำจัด เหาช้างสามารถท�ำได้หลายวิธี แต่หนึ่ งในวิธีที่ได้รับความนิ ยมมากที่สุด คือ การฉี ดไอเวอร์ เมกติน ผ่านทางใต้ผวิ หนัง แต่การฉีดไอเวอร์เมกตินมีขอ้ จ�ำกัด คือ อาจท�ำให้เกิดฝี บริ เวณที่ฉีด ต้องมีการจับบังคับ ช้าง และสามารถท�ำได้โดยสัตวแพทย์เท่านั้น ในปั จจุบนั มีการใช้ยาไอเวอร์เมกตินในรู ปแบบการกินเพื่อก�ำจัดปรสิ ตทั้งภายในและภายนอก ในสัตว์หลายชนิด เช่น วัว แพะ แกะ (Baynes et al., 2000) ม้า (Flajs et al., 2002) และมีรายงานสัตว์ป่วย เกี่ ยวกับการใช้ไอเวอร์ เมกตินในรู ปแบบการกิ นเพื่อรักษาเหาช้างทั้งช้างเอเชี ยและแอฟริ กา โดยใช้ ขนาดยา 0.059 – 0.087 มก./กก. (Karedh et al., 1985) นอกจากนี้ยงั มีการศึกษาเภสัชจลนศาสตร์ของ การให้ยาทางการกินในช้างแอฟริ กา (Loxodonta africana) เพือ่ ใช้เป็ นยาก�ำจัดปรสิต (Gandolf et al., 2009) ดังนั้นการทดลองนี้จึงมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ศึกษาเปรี ยบเทียบประสิ ทธิภาพของไอเวอร์เมกตินใน รู ปแบบการกินต่อรู ปแบบฉี ดที่ใช้ตามปกติในการก�ำจัดเหาช้างในช้างเอเชีย อุปกรณ์ และวิธีการ ช้างเอเชียจ�ำนวน 10 เชือก ช่วงอายุ 15 - 40 ปี จะถูกซักประวัติเพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ชื่อ เพศ อายุ และลักษณะเฉพาะของช้างแต่ละตัว หลังจากนั้นจะท�ำการวัดขนาดตัวเพื่อค�ำนวณน�้ำหนัก โดยใช้สูตรดังนี้ Body weight = 18.9 (Girth) – 2239 Body weight = 18 (Girth) – 3336 Body weight = 21.11 (Girth) – 4425 น�ำน�้ำหนักที่คำ� นวณได้จากสูตรทั้งสามสูตรมาหาค่าเฉลี่ย และค�ำนวณปริ มาณยาไอเวอร์เมกติน ขนาด 0.1 มก./กก เพื่อเตรี ยมให้ชา้ งแต่ละเชือก ช้างทุกเชือกจะถูกก�ำหนดพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาทั้งสิ้ น 2 บริ เวณ โดยเลือกบริ เวณหัวช้าง ตีตารางพื้นที่ขนาด 30 x 30 ตร.ซม. และตลอดความยาวของหาง 34
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ช้างจะถูกแบ่งเป็ นสองกลุ่ม กลุ่มละ 5 เชือก ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับไอเวอร์ เมกตินผ่านทางการ ฉีดใต้ผวิ หนัง และกลุ่มที่ได้รับไอเวอร์เมกตินผ่านทางการกิน การให้ยาบริ เวณใต้ผวิ หนังจะท�ำโดยฉีดยา ที่ บริ เวณหลังใบหู โดยใช้เข็ม 18G 1/2 นิ้ ว และการให้ยาโดยการกิ นจะให้โดยฉี ดยาใส่ เข้าไปใน ปั้นข้าวเหนียว ท�ำการนับจ�ำนวนเหาในพื้นที่ที่กำ� หนดไว้ก่อนให้ยา หลังให้ยา 24 ชัว่ โมง และ 48 ชัว่ โมง (H0 , H24 , H48) ตามล�ำดับ น�ำข้อมูลจ�ำนวนเหาที่ได้ท้ งั ก่อนการให้ยา หลังให้ยาที่ 24 ชัว่ โมง และ 48 ชัว่ โมง ทั้งวิธีการให้ไอเวอร์เมกตินรู ปแบบกินและรู ปแบบฉี ดใต้ผวิ หนังมาเปรี ยบเทียบทางสถิติ ด้วย Non-parametric Mann-Whitney test (P < 0.05) โดยใช้โปรแกรมส�ำเร็ จรู ป SPSS 20 ผลการศึกษา ช้างในการศึกษาทั้ง 10 เชือกถูกเก็บข้อมูลต่างๆ และค�ำนวณน�้ำหนักเพือ่ หาปริ มาณยาไอเวอร์เมกติน ดังแสดงในตารางที่ 1 เมื่อท�ำการให้ยาไอเวอร์เมกติน พบว่าจ�ำนวนเหาลดลงในชัว่ โมงที่ 24 และ 48 หลังการให้ยา ดังแสดงในตารางที่ 2 และรู ปภาพที่ 1 โดยพบว่าที่ชวั่ โมงที่ 48 ทั้งรู ปแบบการกินและการฉี ด เหาลดลง อย่างมีนยั ส�ำคัญทางสถิติ (P = 0.01) และการให้ยาในรู ปแบบการกินไม่แตกต่างทางสถิติจากการให้ยา ทางการฉี ดอย่างมีนยั ส�ำคัญ (P = 0.84) Table 1. Elephant data collection and Ivermectin dosage calculation Group
No
Sex
Age (years)
Body weight (kg.)
Ivermectin (mg.)
1 (SC) 2 (PO)
1 2 3 4 5
Female Female Female Female Female
35 17 40 38 40
4,169 3,164 3,086 3,222 3,086
420 320 310 320 310
6 7 8 9 10
Female Female Female Female Female
18 37 17 18 39
2,990 4,401 3,241 3,435 2,970
300 440 320 340 300
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
35
Table 2. % louse before treatment (H0), 24 hours after treatment (H24) and 48 hours after treatment (H48) Group
No
Total louse count on two area (number of louse) % H0 H24 H48
1 (SC) 2 (PO)
1 2 3 4 5
100 (41) 100 (3) 100 (2) 100 (2) 100 (7)
244 (100) 167 (5) 0 (0) 0 (0) 114 (8)
41 (17) 0 (0) 0 (0) 0 (0) 0 (0)
6 7 8 9 10
100 (5) 100 (2) 100 (8) 100 (2) 100 (11)
100 (5) 0 (0) 100 (8) 550 (11) 36 (4)
0 (0) 0 (0) 38 (3) 0 (0) 9 (1)
Figure 1. % louse before treatment (H0), 24 hours after treatment (H24) and 48 hours after treatment (H48)
36
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
วิจารณ์ จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าการใช้ยาไอเวอร์ เมกตินเพื่อก�ำจัดเหาช้างในรู ปแบบการกินสามารถ ให้ผลการรักษาไม่แตกต่างจากการให้ยาผ่านทางใต้ผวิ หนัง โดยพบว่าที่เวลา 48 ชัว่ โมงหลังการให้ยา จะ มีเหาลดลง แต่ที่ 24 ชัว่ โมงหลังการให้ยาพบว่ามีเหาเพิม่ ขึ้นในช้างบางเชือก เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว ยาจะออกฤทธิ์กบั เหา ท�ำให้เหาออกมาจากพื้นที่ที่เคยอยู่ ท�ำให้มีจำ� นวนเหาเพิม่ ขึ้นกว่าตอนแรกที่เคยนับ จากรายงานสัตว์ป่วยของ Karedh et al., 1985 พบว่าที่ 48 และ 72 ชัว่ โมงหลังการให้ยา เหาจะออกมาที่ ผิวหนังและสามารถดึงเหาออกได้ง่าย และไม่พบเหาอีกภายใน 7 วัน นอกจากนี้ ผลการศึกษาเภสัช จลนศาสตร์ในช้างแอฟริ กา พบว่าเวลาที่ระดับของยาไอเวอร์เมกตินมี ความเข้มข้นมากที่สุดในพลาสมา คือ 0.32 ± 0.11 วัน และมีค่าครึ่ งชีวติ ในการขับออกทางอุจจาระ 0.83 ± 0.34 วัน (Gandole et al., 2009) ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะเป็ นเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ต่อเหาได้ดีที่สุด นอกจากนี้ ยงั พบว่าการให้ไอ เวอร์เมกติกผ่านทางการกินจะมีระยะเวลาในการไปถึงความเข้มข้นในพลาสม่าที่สูงสุ ดได้เร็ วกว่า แต่จะ สามารถขับยาออกได้เร็ วกว่าการให้ยาการให้ทางใต้ผวิ หนัง (Flajs et al., 2002) เนื่องจากยาไอเวอร์เมกตินไม่สามารถก�ำจัดไข่เหาได้ (Fowler et al., 2006) ดังนั้นควรมีการให้ ยาซ�้ำที่ 2 - 3 สัปดาห์ เนื่องจากไข่จะใช้เวลา 1 - 3 สัปดาห์ในการฟักตัว จากรายงานสัตว์ป่วยของ Karedh et al., 1985 ได้มีการให้ยาซ�้ำในสัปดาห์ที่ 5 – 6 หลังจากให้ยาครั้งแรก พบว่ามีเหาจ�ำนวนลงลงไปมาก และไม่พบไข่เหาอีกเลย สรุป สามารถให้ไ อเวอร์ เ มกติ น ผ่า นทางการกิ น แทนรู ป แบบการฉี ด ใต้ผิว หนัง ได้ เนื่ อ งจากมี ประสิ ทธิภาพในการก�ำจัดเหาช้างไม่แตกต่างกัน ทั้งยังช่วยลดผลเสี ยที่เกิดจากการฉีด และช่วยให้การให้ ยาในช้างท�ำได้ง่ายขึ้น บุคลากรในปางช้างสามารถท�ำได้เอง ในส่ วนของความพึงพอใจของเจ้าของปางช้างนั้น พบว่าเจ้าของปางมี ความพึงพอใจมาก เนื่ องจากสามารถให้ยาช้างได้เองโดยไม่ตอ้ งจับบังคับช้าง ทั้งนี้ ท้ งั นั้นมีขอ้ ควรระวัง คือ ควรค�ำนวณ ปริ มาณยาที่ชา้ งจะได้รับให้ถูกต้อง โดยหมัน่ ตรวจสอบน�้ำหนักช้าง เพื่อป้ องกันการได้รับยาเกินขนาด หรื อต�่ำกว่าขนาดที่ควรจะได้รับ และติดตามอาการของช้างหลังจากได้รับยา เพือ่ ป้ องกันการเกิดพิษของ ยา นอกจากนี้การให้ยาควรอยูภ่ ายใต้การควบคุมของสัตวแพทย์ กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุ ณ แคมป์ ช้า งไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุ รี ที่ ใ ห้ ค วามอนุ เ คราะห์ ใ นการ ท�ำการทดลองครั้งนี้ ขอขอบคุณโรงพยาบาลสัตว์ป่าและปศุสตั ว์ปศุปาลัน น.สพ.วรพงศ์ โกษารักษ์ และ น.สพ.ธนพรรณ ชมชื่น ที่ให้ความอนุเคราะห์ดา้ นเวชภัณฑ์ และควบคุมดูแลตลอดการทดลอง
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
37
เอกสารอ้ างอิง 1. Fowler M. E., Mikota S. K., 2006. Biology, Medicine, and Surgery of Elephants. Blacwell Scientific Publication, Iowa, pp 159-181. 2. Baynes R. E., Payne M., Martin-Jimenez T., Abdullah A., Anderson K. L., Webb A. I., Craigmill A., Riviere J. E., 2000. Extralebel use of ivermectin and moxidectin in food animal. JAVMA. 217(5), 668-671. 3. Gandolf A. R., Lifschitz A., Watson B., Galvanek L.,M. Ballent, 2009. Zoo and Wildlife Med J. 40(1), 107-112. 4. Karesh W. B., Robinson P. T., 1985. Ivermectin treatment of lice infestations in two elephant specie. JAVMA. 187(11), 1235. 5. Flajs V. C., Grabnar I., 2002. Ivermectin Pharmacokinetics. Slov Vet Res. 39, 167-178.
38
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
รายงานสั ตว์ ป่วย: การตีบตันอย่ างสมบูรณ์ ของล�ำไส้ แต่ กำ� เนิดใน ลูกช้ างเอเชีย (Elephas Maximus) Case Report: Congenital intestinal atresia in new born Asian elephant (Elephas Maximus) ขจรพัฒน์ บุญประเสริ ฐ1 ภัคนุช บันสิ ทธิ์ 1 พนิดา เมืองหงษ์2 วรางค์พิชา ค้อชากุล3 ฉัตรโชติ ทิตาราม1,4 เฉลิมชาติ สมเกิด1,4 Khajohnpat Boonprasert1, Pakkanut Bannasith1, PanidaMuanghon2, Varankpicha Kochagul3, Chatchote Thita-ram1,4, Chaleamchat Somgird1,4
ค�ำส� ำคัญ: ช้างเอเชีย ล�ำไส้ การตีบตันอย่างสมบูรณ์ ความผิดปกติแต่กำ� เนิด Keywords: Asian elephants (Elephas maximus), Intestine, Atresia, Congenital defect บทคัดย่ อ ลูกช้างเอเชีย (Elephas maximus) แรกเกิด แสดงอาการซึ ม เสี ยดท้อง ท้องกางขยายใหญ่และ ไม่พบว่ามีการถ่ายขี้เทา (Meconium) ออกมาหลังคลอด ทั้งโดยการสังเกตและโดยการสวนทวาร ลูกช้าง ได้รับการรักษาเบื้องต้นโดยการให้สารน�้ำ ยาลดปวดและยาระบาย ภายหลังลูกช้างเสี ยชีวติ ลงเมื่อชัว่ โมง ที่ 38 หลังคลอด จากการชันสูตรซากตรวจพบว่ามีความผิดปกติของล�ำไส้ คือ การบิดตัวของล�ำไส้เล็ก และมีการคัง่ ของเลือดที่บริ เวณที่เกิดการบิดตัว ทั้งนี้ยงั สามารถตรวจพบว่ามีการเจริ ญอย่างไม่สมบูรณ์ และมีการตีบตันอย่างสมบูรณ์ (Atresia) ของล�ำไส้เล็กส่ วนปลาย ซึ่ งความผิดปกติที่เป็ นมาแต่กำ� เนิ ด (Congenital defect) โดยเป็ นสาเหตุที่ทำ� ให้มีการอุดตันอย่างสมบูรณ์ของระบบทางเดินอาหารและ เป็ นสาเหตุให้ลูกช้างไม่สามารถขับถ่ายได้อย่างปกติ รวมถึงเหนี่ยวน�ำให้เกิดล�ำไส้บิดตัวจนเป็ นสาเหตุ ท�ำให้ลกู ช้างเสี ยชีวติ
ศูนย์ความเป็ นเลิศด้านการวิจยั ช้างและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2 ปางช้างแม่แตง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 3 ศูนย์ชนั สู ตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4 ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
39
บทน�ำ (Introduction) ภาวะความตีบตันของล�ำไส้ที่เป็ นมาแต่กำ� เนิด (Intestinal stenosis and atresia) มีรายงานการเกิด น้อยมากในสัตว์ ทว่ามีรายงานความผิดปกติน้ ีในสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น ลูกม้า ลูกวัว หรื อลูกแกะ แต่กเ็ ป็ น ส่ วนน้อย ส�ำหรับความผิดปกติที่เป็ นมาแต่กำ� เนิดในระบบทางเดินอาหารของช้างนั้นยังไม่มีรายงานการ เกิดในเมืองไทยและในต่างประเทศ ส�ำหรับสาเหตุของความผิดปกติน้ นั ยังไม่เป็ นที่แน่ชดั ซึ่งอาจจะเป็ น ได้หลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของยีน การขาดเลือดไปเลี้ยงส่ วนที่เป็ นล�ำไส้ของตัวอ่อนท�ำให้หยุด การเจริ ญเติบโตของล�ำไส้ในระหว่างอยูใ่ นท้องแม่ (Santschi, 2002) รวมถึงการที่เส้นเลือดที่เลี้ยงล�ำไล้ ส่ วนนั้นๆไม่เจริ ญตามปกติ Intestinal Stenosis and Atresia สามารถแบ่งได้เป็ น 6 ชนิด ได้แก่ (1) Stenosis: คือมีการตีบของ ล�ำไส้บางส่วน แต่ไม่ตีบสนิทและยังมีรูให้อาหารผ่านไปได้ (2) Stenosis diaphragm with small perforation : การตีบของล�ำไส้โดยมีการสร้างแผ่นเนื้อเยือ่ พังผืดยืน่ ออกมาจากผนังล�ำไส้ ท�ำให้ขดั ขวางการท�ำงาน ของล�ำไส้ แต่ยงั มีรูตรงกลางพังผืดให้อาหารผ่านไปได้ (3) Membrane atresia : การตีบตันของล�ำไส้โดย มีการสร้างแผ่นเนื้ อเยื่อพังผืดยื่นออกมาจากผนังล�ำไส้ปิดรู ทางเดินของล�ำไส้ทำ� ให้ลำ� ไส้ตีบตันแบบ สมบูรณ์ (4) Cord Atresia : คือการตีบตันอย่างสมบูรณ์โดยล�ำไส้แยกขาดออกจากกันเป็ นสองส่ วนแต่ยงั มีส่วนของล�ำไส้ที่ตีบจนเป็ นเส้นขนาดเล็กยึดไว้ และ (5) Blind-end atresia: คือการตีบตันอย่างสมบูรณ์ โดยโดยที่ส่วนของล�ำไส้แยกกันเป็ นสองส่ วน ส่ วนปลายของล�ำไส้จะแยกออกจากกันโดยสมบูรณ์ (6) Multiple atresia คือการตีบตันของล�ำไส้ที่ความผิดปกติมากว่า 2 แบบในตัวเดียวกัน (Jone et al., 2009, Gaag I. et al., 1980) ส่วนใหญ่แล้วอาการทีเ่ ป็ นผลจากความผิดปกติเหล่านั้นมักจะเกิดขึ้นหลังจากคลอด 24-48 ชัว่ โมง โดยลูกสัตว์จะแสดงอาการซึม แน่นท้อง ท้องกางและไม่มีข้ ีเทาออกมาหลังจากการคลอด (Laikul et al., 2010 ,Young et al., 1992) ในลูกม้ามีการวินิจฉัยที่สามารถท�ำโดยการซักประวัติ สังเกตจากอาการที่พบ การใช้นิ้วล้วงตรวจผ่านทางทวารหนัก การใช้กล่องส่ องผ่านทางทวารหนัก (Endoscope) หรื อการถ่าย ภาพรังสี (Contrast radiography) (Laikul et al., 2010) ซึ่ งวิธีการตรวจวินิจฉัยเหล่านี้สามารถน�ำประยุกต์ ใช้ในกรณี ที่เกิดความผิดปกติข้ ึนในลูกช้างได้ แต่ตอ้ งท�ำอย่างรวดเร็ ว ส�ำหรับการรักษานั้นปั จจุบนั ยังมี วิธีการเดียวคือการผ่าตัดล�ำไส้ (Laikul et al., 2010, Schumacher,2002) ประวัตแิ ละอาการทางคลินิก (History and Clinical signs) ลูกช้างเอเชียเพศเมียแรกเกิดที่เมื่อแรกคลอดลูกช้างมีสุขภาพแข็งแรงและกินนมแม่เป็ นปกติหลัง จากการคลอด (Figure 1) หลังจากผ่านไป 24 ชัว่ โมง ลูกช้างแสดงอาการแน่นท้อง ท้องขยายใหญ่ ไม่กิน นมแม่ ไม่นอนและไม่พบว่ามีการขับถ่ายขี้เทา (meconium) ออกมาหลังจากคลอด เมื่อท�ำการสวนทวาร ก็ไม่พบว่ามีข้ ีเทาออกมา ดังนั้นลูกช้างจึงได้รับการรักษาโดยการให้ยาระบายท้อง ยาลดปวดและสารน�้ำ ตามล�ำดับ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณชัว่ โมงที่ 38 หลังคลอด ลูกช้างจึงได้เสียชีวติ ลง ซากลูกช้างได้ถกู น�ำมา ผ่าพิสูจน์ ณ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายหลังลังจากลูกช้างเสี ยชีวติ ผ่านไป 8 ชัว่ โมง 40
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Figure 1 newborn female Asian elephant was born as a normal habit and physical appearances ผลการชันสู ตรซาก (Necropsy finding) ผลจากการผ่าชันสูตรซากพบว่ามีจุดเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ หัวใจ ม้าม ส่ วนระบบ ทางเดินอาหารนั้นพบว่าล�ำไส้มีขนาดเล็กและรู ปร่ างผิดปกติเมื่อเทียบกับล�ำไส้ของลูกช้างปกติที่อายุ เท่ากัน คือ ล�ำไส้มีการบวมขยายใหญ่ในต�ำแหน่งที่มีการตีบแคบของล�ำไส้เล็กร่ วมกับการบิดตัวของ ส่ วนที่โป่ งพองของล�ำไส้น้ ี (Figure 2) ซึ่งภายในจะเป็ นของเหลวสี เทาด�ำ ซึ่ งเป็ นส่ วนของขี้เทา ทั้งนี้มี เลือดคัง่ บริ เวณที่มีการบิดตัวของล�ำไส้ในบริ เวณส่ วนท้ายของล�ำไส้เล็กที่โป่ งพองนี้ และในส่ วนปลาย ของล�ำไส้ที่โป่ งพองตัวนั้นจะมีส่วนต่อของล�ำไส้ที่เป็ นลักษณะเส้นเอ็นแข็งคล้ายเส้นเลือดแดงยืน่ ออก ไปเชื่ อมกับล�ำไส้ที่คาดว่าน่ าจะเป็ นส่ วนของล�ำไส้เล็กส่ วนท้ายและล�ำไส้ใหญ่ โดยเส้นของล�ำไส้ที่ ผิดปกติน้ ีมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโดยเฉลี่ยที่ 0.8-1 เซนติเมตร และยาว 30 เซนติเมตร เมื่อท�ำการเปิ ดผ่า ดูพบกว่าเป็ นชิ้นส่ วนที่เชื่อมต่อกันแต่มีการตีบตันและไม่เจริ ญอย่างสมบูรณ์ ซึ่ งยืนยันได้จากผลทาง จุลพยาธิวทิ ยาที่ไม่พบลักษณะโครงสร้างของท่อภายในล�ำไส้ (Figure 3) จึงยืนยันได้วา่ ลูกช้างเชือกนี้มี ความผิดปกติที่เรี ยกว่า การตีบตันอย่างสมบูรณ์ของล�ำไส้แต่กำ� เนิด (congenital intestinal atresia) ทั้งนี้ การตรวจทางอนูชีววิทยาไม่พบการติดเชื้ออื่นๆ
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
41
5
5
2 4 2 A
B
1
3
Figure 2 the gastrointestinal of newborn Asian elephants (not equally in sizes), normal (a) and congenital intes-tinal atresia (b), the ballooning of small intestine (1) with located by cecum (2), small rod of intestinal atresia was observed (3), and the blood congestion of intestinal torsion (4).
Figure 3 histopathology of congenital intestinal atresia without the intestinal lumen (4X) 42
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
วิจารณ์ และสรุปผล (Discussion and Conclusion) การเกิดการตีบตันของล�ำไส้น้ นั มีการตั้งสมมุติฐานการเกิดไว้หลายทฤษฏีเพือ่ ที่จะท�ำการอธิบาย ถึงสาเหตุของความผิดปกติน้ ี เช่น ความผิดปกติของเซลล์ลำ� ไส้เอง การผิดปกติของการเจริ ญเติบโตของ ล�ำไส้ในขณะที่ลกู ช้างอยูใ่ นท้องแม่ หรื อ การขาดเลือดมาเลี้ยงล�ำไส้ระหว่างอยูใ่ นท้อง (Gaag I. et al., 1980) ลักษณะของการเกิดของการตีบตันของล�ำไส้ในกรณี ของลูกช้างเชื อกนี้ เป็ นการเกิดแบบชนิ ด ที่เรี ยกว่า cord atresia จึงเป็ นเหตุทำ� ให้ลำ� ไส้มีการตีบตันไม่สามารถขับถ่ายออกมาได้ รวมถึงมีการบิดตัว ของล�ำไส้ซ่ ึ งน่ าจะเกิดภายหลังจากที่ลูกช้างคลอดออกมาแล้ว โดยเป็ นผลจากวางตัวของล�ำไส้ที่ผิด ไปจากเดิมในระหว่างคลอดหรื อหลังคลอด ที่ทิศทางการวางตัวของล�ำไส้เปลี่ยนไปจากเดิมที่ไม่เหมือน ตอนที่ลูกช้างอยูใ่ นท้องแม่ รวมถึงการไม่มีพงั ฝื ดช่วยยึดไว้ทำ� ในเกิดการบิดของล�ำไส้และท�ำให้เกิด ความเจ็บปวดจนท�ำให้เป็ นสาเหตุของการเสี ยชีวติ ในกรณีน้ ีการตรวจวินิจฉัยค่อนข้างจะมีความยากและล�ำบาก การวินิจฉัยนอกจากการซักประวัติ และการตรวจร่ างกายโดยละเอียดแล้วยังต้องใช้เครื่ องมือช่วยวินิจฉัยอื่นๆร่ วมด้วย เช่น กล้องส่ องตรวจ ภายใน เครื่ องถ่ายภาพรังสี เป็ นต้น ดังนั้นการสังเกตพฤติกรรมและอาการลูกช้างหลังจากการคลอด เช่น การกินนมแม่ การนอน การขับถ่ายและการมีข้ ีเทาออกมาหลังจากการคลอดจึงเป็ นสิ่ งส�ำคัญ ที่จะสามารถ ช่วยให้เกิดการวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ ว (Laikul et al., 2010) แม้วา่ การเกิดความผิดปกติที่เป็ นมาตั้งแต่ ก�ำเนิดนั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วอาจจะท�ำการการรักษาได้ยาก ซึ่ งจ�ำเป็ นที่ตอ้ งแก้ไขด้วยการผ่าตัด ดังนั้นการ ตัดปั จจัยที่จะท�ำให้ความเสี่ ยง เช่น การจัดการปัญหาเลือดชิด (Santschi, 2002) หรื อการขาดสารอาหาร หรื อแร่ ธาตุบางอย่าง หรื อเป็ นความผิดปกติของการเจริ ญของตัวอ่อนเอง (Hall J. et. al., 1998) ในอนาคต หากมีการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยให้มีความรวดเร็ วและแน่นอน รวมถึงพัฒนาเทคนิคการท�ำศัลยกรรม ตัดต่อล�ำไส้ในลูกช้างลูกช้างได้ อาจจะสามารถช่วยชีวติ ลูกช้างได้หากมีความผิดปกติที่ลำ� ไส้เกิดขึ้น
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
43
เอกสารอ้ างอิง (References) 1. Van Der Gaag I., Tibboel D. 1980. Intestinal atresia and stenosis in animals: A report of 34 cases. Veterinary Pathology journal. 17,565-574. 2. Hall J., Solehdin F. 1998. Folic acid for the prevention of congenital anomalies. Eur J Pediatr. 157(6) pp. 445-450. 3. Jones, B.A., B.P. Modi. 2009. Intestinal Atresia, Stenosis, and Webs. eMedicine from http:// emedicine.medscape. com/article/940615-overview. 4. Laikul A., Phetufimsinsuk K., Aumarm W., Sritrakul T., Prukudom S. 2010. Congenital colonic atresia in horse. Kasetsart Veterinarians. 20(1), 36-40. 5. Santschi, E.M. 2002. Atresia recti and ani. edit by T. mair, T. divers, and N. ducharme. In Manual of equine gastroenterology. W.B. Saunders, Sydney, Toronto. pp. 491-492. 6. Schumacher, J. 2002. Disease of the small colon and rectum. edit by T. mair, T. divers, and N. ducharme. In Manual of equine gastroentero- logy. W.B. Saunders, New York, USA. pp. 299- 300. 7. Young, R.L., R.L. Linford and H.J. Olander. 1992. Atresia coli in the foal: a review of six cases. Equine Vet J. 24: 60-62
44
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ประชากรและการใช้ พนื้ ทีอ่ าศัยของช้ างป่ าในอุทยานแห่ งชาติเขาใหญ่ Population and Habitat Use of Wild Elephant in Khao Yai National Park มนันยา พลาอาด 1 รองลาภ สุ ขมาสรวง 1* และ วิจกั ขณ์ ฉิ มโฉม 1 Mananya Pla-ard 1 Ronglarp Sukmasuang 1* and Vijak Chimchom 1
ค�ำส� ำคัญ: ช้างป่ า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประชากร การใช้พ้นื ที่อาศัย บทคัดย่ อ การศึกษาประชากร และการใช้พ้นื ที่ของช้างป่ าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ด�ำเนินการระหว่าง เดือน มกราคม พ.ศ. 2559 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เพือ่ ศึกษาความหนาแน่นกองมูล ความหนาแน่น ประชากรโดยใช้เส้นทางศึ กษา ศึ กษาอัตราการสลายตัวของมูลช้างป่ าเพื่อน�ำมาใช้ในการค�ำนวณ ประชากร ศึกษาโครงสร้างชั้นอายุ และสัดส่วนเพศในประชากรโดยการสังเกตโดยตรง ผลการศึกษาจาก เส้นทางศึกษาที่ได้วางเป็ นระบบ จ�ำนวน 115 เส้น แต่ละเส้นยาว 2 กิโลเมตร แต่ละเส้นห่างกัน 500 เมตร รวมระยะทางที่ท้งั หมด 213.20 กิโลเมตร พบกองมูลรวม 1,209 กอง ผลการค�ำนวณความหนาแน่นกองมูล 531.49 กอง/ตร.กม. เมือ่ วิเคราะห์โดยรวมข้อมูล ในช่วงฤดูแล้งความหนาแน่นกองมูลมีคา่ 841.85 กอง/กม2 ในช่วงฤดูฝนมีความหนาแน่ น 468.56 กอง/กม2 อัตราการสลายตัวของมูลช้างป่ า 0.0039 กอง/วัน ความหนาแน่นประชากร 0.15 ตัว/กม2 ในฤดูแล้ง 0.23 ตัว/กม2 ฤดูฝน 0.130 ตัว/กม2 โครงสร้างชั้นอายุ ลูกช้าง: ช้างวัยรุ่ น: ช้างก่อนเต็มวัย: ช้างตัวเต็มวัย มีค่า 1:1.09:1.14: 2.10 ตามล�ำดับ สัดส่ วนเพศผูเ้ ต็มวัย: เพศเมียเต็มวัย 1:1.09 ปั จจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการปรากฏของช้างในรอบปี คือ โป่ ง แหล่งท่องเที่ยว และความสู งจากระดับน�้ำทะเล ช่วงฤดูแล้งปัจจัยแวดล้อมส�ำคัญต่อการปรากฏของช้างป่ า ได้แก่ โป่ ง ความสูงจากระดับน�้ำทะเล และระยะห่างจากล�ำน�้ำถาวร ในฤดูฝนปัจจัยแวดล้อมส�ำคัญ ได้แก่ โป่ ง ถนน แหล่งท่องเที่ยว อาศัยข้อมูลพื้นฐานเต็มเวลาพบการปรากฏของช้างป่ าบนถนน และแหล่งพื้นที่ทอ่ งเที่ยว
ภาควิชาชีววิทยาป่ าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Department of Forest Biology, Faculty of Forestry Kasetsart University, Bangkok 10900 * email: mmhunyha_p@hotmail.com, Tel : 0972372912 1 1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
45
421 ครั้ง ที่พบโดยตรงพบว่าช้างป่ าปรากฏตัวมากที่สุดในบริ เวณเส้นทางหมายเลข 3077 ช่วงเวลาที่ชา้ ง มีการปรากฏมากที่สุดได้แก่ช่วงเวลา 18.00น.- 20.00 น. และช่วงเวลา 16.00น.-18.00 น. ตามล�ำดับ ข้อเสนอแนะส�ำหรับการจัดการช้างป่ าในพื้นที่ได้เสนอแนะไว้ในการศึกษานี้แล้ว บทน�ำ ช้างป่ าที่อาศัยอยูต่ ามธรรมชาติในประเทศไทยมีประมาณ 3,000 – 4,000 ตัว อาศัยในพื้นที่อนุรักษ์ 60 แห่ง โดยแต่ละแห่งมีลกั ษณะเป็ นพื้นที่สูงชันเป็ นส่ วนใหญ่ ไม่ต่อเนื่องกัน เมื่อพิจารณาลักษณะของ พื้นที่อนุรักษ์เป็ นกลุ่มป่ าพบว่ามีชา้ งป่ าอาศัยอยู่ ใน 8 กลุ่มป่ า ได้แก่ กลุ่มป่ าภูเขียว-น�้ำหนาว กลุ่มป่ าดง พญาเย็น-เขาใหญ่ กลุ่มป่ าตะวันออก กลุ่มป่ าตะวันตก กลุ่มป่ าแก่งกระจาน กลุ่มป่ าคลองแสง-เขาสก กลุ่มป่ าเขาหลวง และกลุ่มป่ าฮาลาบาลา (สมหญิง และคณะ, 2552) แม้วา่ พื้นที่ที่พบช้างป่ าอาศัยอยู่ ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางแต่ในความเป็ นจริ งสภาพพื้นที่ดงั กล่าวเกือบทุกแห่งได้ถกู ตัดขาดจากกัน ทั้ง จากการก่อสร้างถนน สาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่อยูอ่ าศัย พื้นที่เกษตรกรรม ท�ำให้ความสามารถในการ รองรับการของพื้นที่ลดน้อยลง ช้างป่ าที่มีพ้ืนที่หากินกว้างจึงเดินทางออกนอกพื้นที่ไปหากินในพื้นที่ เกษตรกรรม ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่ า และการลดลงของประชากรช้างป่ าในที่สุด อุ ทยานแห่ งชาติ เขาใหญ่ ได้รับการประกาศให้เป็ นพื้ นที่ มรดกทางธรรมชาติ ของโลกใน ปี พ.ศ. 2548 รวมกับพื้นที่อนุ รักษ์ขา้ งเคียงในชื่ อผืนป่ าดงพญาเย็นเขาใหญ่ มีพ้ืนที่ขนาดใหญ่เป็ น ความหวังในการอนุรักษ์ชา้ งป่ าตลอดจนสัตว์ป่าส�ำคัญชนิดอื่น แต่การศึกษาช้างป่ า ด้วยการวางเส้นทาง ศึกษาเพื่อเก็บข้อมูลอย่างเป็ นระบบ การติดตามศึกษาอัตราการสลายตัวของกองมูลเพื่อน�ำมาใช้ในการ ค�ำนวณจ�ำนวนประชากรยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เคยถูกคาดหวังว่าควรเป็ น สถานที่ศึกษา และอนุรักษ์ชา้ งป่ าที่สำ� คัญของประเทศไทย (Storer, 1981) แต่การศึกษาลักษณะประชากร ตลอดจนการใช้ประโยชน์พ้ืนที่อาศัยด้วยเส้นทางศึกษา ยังไม่เคยด�ำเนินการมาก่อนผลที่ได้สามารถน�ำ ไปใช้ในการจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมเพื่อการอนุรักษ์ประชากรช้างป่ าต่อไป อุปกรณ์ และวิธีการ การศึกษาประชากรช้ างป่ า 1. ศึกษาความหนาแน่นของกองมูล โดยใช้เส้นทาง (Dawson & Dekker 1992; Dekker et al., 1991)และค�ำนวณหาความหนาแน่นกองมูลด้วยโปรแกรม DISTANCE 2. ศึกษาอัตราการย่อยสลายกองมูล (decay rate) จากกองมูลสดใหม่จำ� นวน 56 กอง ท�ำการตรวจ เช็คการย่อยสลายทุก 7 วัน ค�ำนวณอัตราการย่อยสลายจากสู ตร (Barnes & Jensen, 1987) Nt= N0e-rt เมื่อ Nt = จ�ำนวนกองมูลที่เหลือเมื่อเวลาผ่านไป, N0 = จ�ำนวนกองมูลเมื่อเริ่ มต้น, e = 2.71828183, r = อัตราการย่อยสลายของกองมูล, t = เวลา
46
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
3. ความหนาแน่นของประชากรค�ำนวณจากสูตร (Dekker et al., 1991; Dawson & Dekker, 1992) E = (D X R)/Y เมื่อ E = ความหนาแน่นประชากร (ตัว/ตร.กม.), D = ความหนาแน่นกองมูล (กอง/ตร.กม.), R = ค่าเฉลี่ยอัตราการสลายตัวของกองมูล (กอง/วัน) Y = ค่าเฉลี่ยอัตราการถ่ายมูลต่อตัวต่อวันของช้างป่ า (กอง/ตัว/วัน) 4. การศึกษาโครงสร้างชั้นอายุ สัดส่ วนเพศ การศึกษาโครงสร้างชั้นอายุ ศึกษาจากการพบตัวโดยตรงและกองมูลโดยจ�ำแนกชั้นอายุ ของช้างออกเป็ น 4 กลุ่มคือกลุ่มลูกช้างเล็ก อายุต่ำ� กว่า 1 ปี กลุ่มลูกช้างโต อายุ 1-5 ปี กลุ่มช้างวัยรุ่ น อายุ 5-15 ปี และกลุ่มช้างวัยเจริ ญพันธุ์อายุมากว่า 15 ปี (Sukumar ,1989) การศึกษาสัดส่ วนเพศในประชากร (sex ratio) ศึกษาจากการพบตัวโดยตรงจ�ำแนกเพศของ ช้างจากงา อวัยวะเพศ สังเกตลักษณะทางสรี ระวิทยา ทั้งบริ เวณหัวหน้าผาก และด้านท้าย (Sukumar, 1989) การศึกษาการใช้ พืน้ ที่อาศัย รวบรวมข้อมูลการปรากฏของช้างป่ าจากการลาดตระเวนเชิ งคุณภาพตลอดระยะเวลา 1 ปี และปั จจัยที่คาดว่ามีผลต่อการปรากฏของช้างป่ า คือ ปั จจัยแวดล้อมทางกายภาพได้แก่ ความสู งจาก ระดับน�้ำทะเล ความลาดชัน แหล่งโป่ ง ถนน เส้นล�ำน�้ำ ปั จจัยแวดล้อมทางชี วภาพ ได้แก่ ชนิ ดป่ า แหล่งโป่ ง เส้นล�ำน�้ำ ปัจจัยที่เกิดจากกิจกรรมมนุษย์คือ พื้นที่กิจกรรมหรื อแหล่งท่องเที่ยว หน่วยพิทกั ษ์ อุทยาน น�ำไปจัดท�ำแบบจ�ำลองการใช้พ้นื ที่อาศัยของช้างป่ าด้วย Maximum Entropy MaxEnt software version 3.3.2 การปรากฏของช้ างป่ าบนถนน รวมรวบข้อมูลการปรากฏตลอด พ.ศ.2559 เพื่อศึกษาความถี่ และช่วงเวลาของการปรากฏใน พื้นที่กิจกรรมและบนถนนเส้นทางหลวงที่ตดั ผ่านอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผล ประชากรช้ างป่ า 1. ความหนาแน่นกองมูล พบกองมูลรวม 1,209 กอง คิดเป็ นความหนาแน่น 531.494 กอง/กม2 ซึ่ งมีความหนาแน่นระหว่าง 433.69 - 651.36 กอง/กม2 ที่ความเชื่อมัน่ 95 % มีค่าสัมประสิ ทธิ์ ความ ผันแปร 10.30% ในฤดูแล้งพบกองมูล 511 กอง คิดเป็ นความหนาแน่น 841.855 กอง/กม2 โดยมีค่าความ หนาแน่นกองมูลระหว่าง 608.00 -1165.7 กอง/กม2 ที่ความเชื่อมัน่ 95 % มีคา่ ค่าสัมประสิ ทธิ์ความผันแปร เท่ากับ 16.22 % ขณะที่ฤดูฝนคิดเป็ นความหนาแน่น 468.560 กอง/กม2 ความหนาแน่นกองมูลมีคา่ ระหว่าง 359.50 - 610.71 กอง/กม2 ที่ความเชื่อมัน่ 95 % และมีค่าสัมประสิ ทธิ์ความผันแปรเท่ากับ 13.37 % การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
47
2. อัตราการย่อยสลายกองมูล ใช้เวลา 371 วัน มีอตั ราการย่อยสลายเท่ากับ 0.0039 กอง/วัน เมื่ อเปรี ยบเที ยบกับพื้นที่ เขตรั กษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งพบว่ามี อตั ราการย่อยสลายมากกว่าคือมี อัตราการย่อยสลายกองมูล 0.0078 กอง/วัน ทั้งนี้เพราะการย่อยสลายกองมูลมีความแปรผันตามสภาพ พื้นที่ เช่นปริ มาณน�้ำฝนซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความรวดเร็วในการย่อยสลายของกองมูล (Dawson, 1990) 3. ความหนาแน่ นประชากร จากการค�ำนวณโดยใช้ความหนาแน่ นกองมูล และอัตราการ ย่อยสลายจากผลการศึกษาที่ได้ รวมถึงอัตราการถ่ายมูลเฉลีย่ จากการศึกษาช้างเลี้ยงมีคา่ 14.00 กอง/ตัว/วัน (Sukmasuang, 2009) ได้ผลความหนาแน่นประชากรเท่ากับ 0.148 ตัว/กม2 ในฤดูแล้ง 0.234 ตัว/กม2 และฤดูฝน 0.130 ตัว/กม2 4. โครงสร้างชั้นอายุ สัดส่ วนเพศ การศึกษาโครงสร้างชั้นอายุดว้ ยการพบตัวโดยตรงจ�ำนวน 71 ครั้ง การศึกษาด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางกองมูลจ�ำนวน 74 กอง พบอัตราส่ วนลูกช้างเล็ก: ลูกช้างโต: ช้างก่อนเต็มวัย: ช้างวัยเจริ ญพันธุ์ได้เท่ากับ 1:1.09:1.14: 2.10 สัดส่ วนเพศผูเ้ ต็มวัยต่อเพศเมียเต็มวัย มีค่าเท่ากับ1:1.095 การใช้ พืน้ ที่ อาศัย ปั จจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการปรากฏของช้างป่ ามากที่สุดคือ โป่ ง มีค่าความสัมพันธ์มากถึง ร้อยละ 48.1 ปั จจัยที่มีผลรองลงมาคือ แหล่งท่องเที่ยว ความสู งจากระดับน�้ำทะเล ล�ำน�้ำถาวร ล�ำน�้ำ ที่ไหลเฉพาะฤดูกาล ความชัน หน่วยพิทกั ษ์อุทยาน ถนน และประเภทป่ า ในฤดูแล้งโป่ ง ความสู งจาก ระดับน�้ำทะเล ระยะห่างจากล�ำน�้ำถาวร เป็ นปั จจัยที่มีผลต่อการปรากฏมากที่สุดโดยมีค่าความสัมพันธ์ เท่ากับร้อยละ 49.7 10.5 9 ตามล�ำดับ และในฤดูฝนพบว่าปั จจัยแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์ต่อการปรากฏ ของช้างป่ ามากที่สุดคือ โป่ ง ถนน แหล่งท่องเที่ยว โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับร้อยละ 37.8 29.1 10.5 ตามล�ำดับ ขนาดพื้นที่อาศัยที่เหมาะสมต่อการอยูอ่ าศัยของช้างป่ ามีขนาด 220.592 กม2 ขณะในฤดูแล้ง และฤดูฝนมีขนาดพื้นที่ที่เหมาะสม 258.640 517.457 กม2 ตามล�ำดับ การปรากฏบนถนน พบการปรากฏของช้างป่ าบนถนนและพื้นที่กิจกรรมจ�ำนวน 421 ครั้ง ใน 3 พื้นที่คอื เส้นทางหลวง หมายเลข 2090 จ�ำนวน 176 ครั้ง เส้นทางหลวงหมายเลข 3077 จ�ำนวน 206 ครั้ง พบมากในช่วงเวลา 16.00 น.-20.00 น.และพื้นที่กิจกรรมอื่นๆจ�ำนวน 40 ครั้งพบมากในช่วงเวลา 14.00 น.-20.00 น. สรุป การศึกษาประชากรช้างป่ าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ด้วยเส้นทางศึกษาทั้งหมด 115 เส้นรวม ระยะทาง 213.20 กิโลเมตรพบกองมูล 1,209 กอง คิดเป็ นความหนาแน่นกองมูล 531.494 กอง/ตร.กม. มีอตั ราการย่อยสลายกองมูลเท่ากับ 0.0039 กอง/วัน และมีความหนาแน่นประชากรเท่ากับ เท่ากับ 0.148 48
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ตัว/กม2 โดยโครงสร้างชั้นอายุลูกช้างเล็ก: ลูกช้างโต : ช้างก่อนเต็มวัย : ช้างวัยเจริ ญพันธุ์ได้เท่ากับ 1:1.09:1.14: 2.10 สัดส่ วนเพศผูเ้ ต็มวัยต่อเพศเมียเต็มวัยมีค่าเท่ากับ 1:1.095 มีถิ่นที่อยูอ่ าศัยที่เหมาะสม มีขนาด 220.592 ตารางกิโลเมตร ปั จจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการปรากฏของช้างมากที่สุดคือ โป่ งทั้งใน รอบปี ฤดูแล้งและฤดูฝน พบการปรากฏของช้างป่ าบนถนนและพื้นที่กิจกรรมจ�ำนวน 421 ครั้งโดยปรากฏ บนเส้นทางหลวงหมายเลข 3077 มากที่สุด และช่วงเวลา 16.00น-20.00น เป็ นช่วงเวลาที่ปรากฏมากที่สุด กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ นายครรชิต ศรี นพวรรณ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ช่วย เหลือการท�ำงานในพื้นที่ และส�ำนักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติที่ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาประเภท บัณฑิตศึกษา ประจ�ำปี พ.ศ. 2560 เอกสารอ้ างอิง 1. สมหญิง ทัฬพิกรณ์ และ สุ ธีร์ ลอยมา. 2552. การใช้ประโยชน์พ้ืนที่อาศัยของสัตว์ป่า (Elephas maximas Linnaeus, 1758) ในเขตพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย. หน้า 125-153 ใน ผลงานวิจยั และรายงานความก้าวหน้างานวิจยั ประจ�ำปี 2551. กลุ่มงานวิจยั สัตว์ป่า ส�ำนักอนุรักษ์ สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, กรุ งเทพฯ. 2. Dawson S. and A. J. F. M. Dekker. 1992. Counting Asian elephant in forests. FAO, Bangkok. 3. Dekker, A. J. F. M., S. Dawson and A. A. Desai. 1991. An indirect method for counting Asian elephant in forests, pp 54-64. In Censusing Elephant in Forests Proceedings of an International Workshop, Southern India, 2-10 January, 1991. Asian Elephant Conservation Center,Bangalore, India. 92 p. 4. Storer, P. J. 1981. Elephant population in Thailand. Natural History Bulletin of Siam Society 29: 1-30. 5. Sukmasuang, R. 2009. Population density of Asian elephants in Huai Kha Khaeng Wildelife Sanctuary. Thai Journal of Forestry 28(1): 40 – 50. 6. Sukumar, R. 1989. The Asian Elephant: Ecology and Management. Cambridge University, New York. 251p.
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
49
การแก้ ไขปัญหาช้ างป่ าบุกรุกพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมในกลุ่มป่ าตะวันออกโดยใช้ แนวทางการจัดการในรู ปแบบวิสาหกิจชุ มชน Community Enterprise for solve a problem Wild Elephants have destroyed agriculture area in the Eastern Forest Complex รักษา สุ นินทบูรณ์ 1 Raksa Suninthaboonrana 1
ค�ำส� ำคัญ: ช้างป่ า กลุ่มป่ าตะวันออก วิสาหกิจชุมชน ฝาง Keywords: Wild Elephant, the Eastern Forest Complex, Community Enterprise, Sappan Tree บทน�ำ (Introduction) ฝางมีประโยชน์ที่อย่างยิง่ ต่อประชาชนและสังคมไทย โดยฝางมีความเกี่ยวข้องในเรื่ องปั จจัย 4 ถึง 3 ปัจจัยได้แก่ ด้านที่เกี่ยวของกับอาหาร ฝางสามารถน�ำมาผสมอาหารพีใ่ ห้เกิดสี สนั และเป็ นการถนอม อาหารอีกด้วย ด้านที่เกี่ยวข้องยารักษาโรค สารในฝางมีสีชมพูอมส้มถึงแดง (sappan red: brazilin, Sappanin) และtannin จึงสามารถรักษาโรคได้เช่นต�ำรับยาน�้ำฝางแก้ไอแก้น้ ำ� กัดเท้า ใช้แก่นฝาง 2 ชิ้น ฝนกับน�้ำปูนใสให้ขน้ ๆ ทาบริ เวณน�้ำกัดเท้าช่วยฆ่าเชื้อสมานแผล แก้ทอ้ งร่ วง ต�ำรายาไทยใช้แก่นฝาง หนัก 3-9 กรัม ต้มกับน�้ำ 500 มิลลิลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่ งหนึ่ง ดื่มแก้ทอ้ งร่ วง น�้ำดื่มสมุนไพรฝางเพื่อ บ�ำรุ งเลือดและหัวใจ ด้านที่เกี่ยวข้องกับเครื่ องนุ่งห่มการใช้ฝางในการย้อมผ้าให้เกิดสี แดง หรื อสี ชมพู บานเย็น และที่สำ� คัญงานวิจยั ยืนยันได้วา่ การรับประทานผลิตภัณฑ์ทางอาหารที่มีส่วนประกอบจากฝาง หรื อมีเฉพาะฝางเพียงอย่างเดียวไม่มีพิษสะสมอยูใ่ นร่ างกาย สามารถใช้และรับประทานได้เป็ นประจ�ำ ในสมัยราชอาณาจักรกรุ งศรี อยุธยา ฝางเป็ นสิ นค้า 1 ใน 3 ที่หวงห้ามไว้เฉพาะให้ราชส�ำนักจัดการขาย และส่งออกไปยังประเทศตะวันออกไกลและยุโรปแต่เพียงผูเ้ ดียว สร้างรายได้ให้ประเทศสยามในสมัยนั้น จนเจริ ญรุ่ งเรื อง และยังเป็ นของราชบรรณาการที่สำ� คัญอีกด้วย
ส�ำนักจัดการทรัพยากรป่ าไม้ที่ 9 (ชลบุรี) 201 หมู่ที่ 1 ถ.สุ ขมุ วิท ต.หนองไม้แดง อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 เบอร์โทร 0-3804-7528-31 แฟกซ์ 0-3804-7531 E-mail address:R_edku54forester60@hotmail.com 1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
51
ฝางสามารถลดเงื่อนไขให้ประชาชนในการปลูกไม้ป่า ที่ไม่ใช่พชื ผักสวนครัว คือการไม่สามารถ ใช้ประโยชน์อย่างทันท่วงที แต่สำ� หรับฝางถือว่าเป็ นต้นไม้ที่ให้ประโยชน์ในทางตรงได้รวดเร็วมาก เพียง ระยะเวลา 3 ปี เท่านั้น จากผลการทดลองปลูกฝางเพื่อแก้ปัญหาช้างบุกรุ กพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ป่า รอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก พบว่าฝางเป็ นต้นไม้ที่โตเร็ วและช้างป่ าไม่กินและท�ำลาย สามารถปลูก เพื่อเป็ นไม้เศรษฐกิจควบคู่กบั พืชอื่นๆได้เป็ นอย่างดี สามารถเป็ นแนวทางหนึ่ งในการช่วยแก้ปัญหา ช้างป่ าในพื้นที่ภาคตะวันออก ประกอบกับประชาชนในภาคตะวันออก ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อศึกษา การใช้ประโยชน์ฝางโดยตรงในรู ปแบบต่างๆ จึงเห็นว่าฝางเป็ นต้นไม้อีกชนิดหนึ่ง ที่จะสร้างประโยชน์ ให้แก่ประชาชน ตามแนวคิด จากการอนุรักษ์สู่ นวัตกรรม:ไม้ป่ามีศกั ยภาพในการจัดการเพื่อการค้าและ การแก้ปัญหาช้างป่ ารอบกลุ่มป่ าตะวันออก หมายถึงการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจให้กบั ประชาชนรอบป่ า นัน่ เอง ปั ญหาด้านเศรษฐกิ จ เป็ นผลกระทบที่ เกิ ดขึ้นจากช้างป่ าบุกรุ กพื้นที่ เกษตรกรรม แนวทาง ประการหนึ่งที่จะสามารถแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจคือการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน ให้ประชาชนรอบกลุ่มป่ า ตะวันออกเป็ นสมาชิก แล้วท�ำการแปรรู ปไม้ฝางและไม้ชนิดอื่นๆที่ส่งเสริ มให้เกษตรกรปลูกในระบบ วนเกษตรในพื้นที่ของตนเองรอบป่ าตะวันออกเป็ นสิ นค้าเชิงพาณิ ชย์ โดยเฉพาะฝางเพราะด้วยสรรพคุณ และประโยชน์นานัปการของฝาง สามารถพัฒนาและแปรรู ปผลิตภัณฑ์ดา้ นต่างๆได้หลากหลายด้าน เช่น ด้านอาหาร เครื่ องดื่ม ยาสมุนไพร และเวชส�ำอาง จากการศึกษามูลค่าการตลาดของศูนย์วจิ ยั กสิ กรไทย ในปี 2557 พบว่ามูลค่าทางการตลาดของเครื่ องดื่มรวมทุกชนิดประมาณ 1.27 แสนล้านบาท มูลค่าทางการ ตลาดของเครื่ องส�ำอาง 1.4 แสนล้านบาท มูลค่าทางการตลาดของอาหาร 1.43 ล้านล้านบาทบาท และ ธุรกิจด้านท่องเที่ยวคิดเป็ นร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ เหล่านี้สามารถ น�ำฝางมาเป็ นองค์ประกอบเกิดเป็ นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่จะเป็ นทางเลือกส�ำหรับผูบ้ ริ โภค ซึ่ งด้วยแนวทาง ดังกล่าวนี้ จะสามารถสามารถแก้ปัญหาได้ในทุกด้านกล่าวคือ การปลูกต้นฝางและไม้ที่มีศกั ยภาพใน ระบบวนเกษตร (Agroforetry) หรื อป่ าครอบครัว (Farm Forestry) เป็ นการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ในให้กบั ประเทศ ช้างป่ าสามารถมีอิสระในการหากิ นเพราะมีป่าไม้มากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะ ประชาชนรอบป่ ามีรายได้จากต้นไม้ที่ชา้ งไมกินและสามารถสร้างเป็ นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อการค้าได้ วิธีการ (Method) ใช้กระบวนการปฏิบตั ิการอย่างมีส่วนร่ วม ( Participatory Action Process) ในการก่อตั้งวิสาหกิจ ชุมชน ดังนี้ 1. ถ่ายทอดองค์ความรู ้เรื่ องการจัดการทรัพยากรป่ าไม้เพื่อการแก้ปัญหาช้างป่ า และการสร้าง รายได้จากผลผลิตป่ าไม้แก่ประชาชนที่อยูร่ อบกลุ่มป่ าตะวันออก 2. เสนอแนวคิดเรื่ องวิสาหกิจชุมชนกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่ าที่อยูร่ อบกลุ่ม ป่ าตะวันออก 52
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
3. ประชุมเพื่อก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน สร้างระเบียบ และข้อบังคับ ในหมู่มวลสมาชิก 4. ด�ำเนินการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนให้ถกู ต้องตามกฎหมาย 5. การสร้างผลิตภัณฑ์จากผลผลิตป่ าไม้และเครื่ องหมายทางการค้า และด�ำเนินการทางการตลาด
ผลการด�ำเนินงาน (Result) ในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย มีกลุ่มป่ าตะวันออกที่พ้ืนที่ประมาณ 1.487 ล้านไร่ ประกอบไปด้วย 6 จังหวัดภาคตะวันออกได้แก่ ตราด จันทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ซึ่งมีชา้ งป่ าอาศัยอยูก่ ระจายทัว่ ทั้งภาค โดยเฉพาะป่ ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ในพื้นที่ประมาณ 1.198 ล้านไร่ ที่มีชา้ งป่ าอาศัยอยูห่ นาแน่น และประเมินว่ามีปริ มาณที่เกินกว่าพื้นที่ป่าจะรองรับได้ มีผล ท�ำให้ชา้ งป่ าออกมาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่อาศัยของราษฎรซึ่งเป็ นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ก่อให้เกิดการกระทบกระทัง่ ระหว่างกันมาโดยตลอด ปัจจัยหนึ่งที่ทำ� ให้เกิดปัญหาคือ ความไม่มนั่ คงทาง เศรษฐกิจของประชาชนที่อยูโ่ ดยรอบป่ ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก ผูใ้ หญ่วบิ ูลย์ เข็มเฉลิม และ คณะ ได้ดำ� เนินการโครงการศึกษาผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมของชุมจากช้างป่ า รอบเขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน เพื่อศึกษาปัญหา ผลกระทบและแนวทางการแก้ไขปั ญหาดังกล่าวตั้งแต่ปี 2543 ซึ่ ง โดยสรุ ปแล้วปั ญหาเกิดขึ้นทั้งพฤติกรรมของช้างป่ า และของคนที่อยูร่ อบป่ า แม้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะ เกิดขึ้นทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และระบบนิเวศ ผูใ้ หญ่วบิ ูลย์ เข็มเฉลิม จึงได้ใช้ประสบการณ์ที่ได้สงั่ สม มาวิเคราะห์วา่ ปัญหาที่แท้จริ ง ที่ทำ� ให้เกษตรกรรู ้สึกว่าปัญหาช้างป่ าเป็ นเรื่ องใหญ่ เนื่องมาจากเกษตรกร มีภาระหนี้สินที่ตอ้ งหาเงินมาช�ำระคืน เมื่อช้างป่ าท�ำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสี ยหายย่อมไม่สามารถ ขายและน�ำเงินไปใช้หนี้สินได้ นัน่ หมายถึงเกิดปั ญหาด้านเศรษฐกิจภายในครัวเรื อนเป็ นสิ่ งส�ำคัญมาก ส�ำหรับประชาชนที่อยูร่ อบป่ า ในปี 2559 จึงได้จดั ท�ำโครงการวนเกษตรเพือ่ แก้ปัญหาช้างป่ า โดยทดลอง ปลูกพืชที่ชา้ งไม่กินหรื อกินแต่สามารถฟื้ นตัวได้รวดเร็ วในระบบวนเกษตร ซึ่ งฝางเป็ นต้นไม้หนึ่ งใน หลายชนิดที่ชา้ งไม่กินไม่ทำ� ลาย และมีประโยชน์ต่อผูค้ นในหลากหลายประการ กลุ่มเกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน ข้าราชการ และกลุ่มชนชั้นกลางที่ให้ความสนใจในเรื่ อง ทรัพยากรป่ าไม้และสัตว์ป่า จึงได้รวมตัวระดมทุนเพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์ชา้ งรักษาป่ าตะวัน ออก(ปม.) ขึ้น เพื่อมุ่งเน้นการจัดการฝางทั้งระบบให้เกิดประโยชน์ดา้ นเศรษฐกิจแก่ประชาชนที่อยูร่ อบ กลุ่มป่ าตะวันออก ทั้ง 6 จังหวัดภาคตะวันออกได้แก่ ตราด จันทบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง ด้วยเล็งเห็นว่าสรรพคุณและประโยชน์นานัปการของฝาง จะสามารถพัฒนาและแปรรู ปผลิตภัณฑ์ ด้านต่างๆได้หลากหลายด้านเช่นด้านอาหาร เครื่ องดื่ม ยาสมุนไพร เวชส�ำอาง และสิ นค้าเพื่อการท่อง เที่ยว จากการศึกษามูลค่าการตลาดของศูนย์วจิ ยั กสิ กรไทยเมื่อปี 2557 ผลิตภัณฑ์ที่มีมลู ค่าทางการตลาด เหล่านั้นสามารถน�ำฝางมาเป็ นองค์ประกอบเกิดเป็ นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถสร้างมูลค่าทางการตลาด ได้ (Creation Value) ที่จะเป็ นทางเลือกส�ำหรับผูบ้ ริ โภค ซึ่ งตลอด 1 ปี ที่มีการก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนกลุ่ม รักษ์ชา้ งรักษาป่ าตะวันออก (ปม.) ได้ดำ� เนินการสร้างผลิตภัณฑ์ที่แปรรู ปไม้ฝางและต้นไม้ชนิดอื่นเป็ น การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
53
สิ นค้า ได้แก่ แก่นฝาง เครื่ องดื่มฝาง สบู่ฝาง ข้าวสารหอมมะลิเคลือบฝาง และน�้ำมันนวดเทพทาโร ซึ่ ง ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นเป็ นสิ นค้าที่มีคุณภาพและมีประโยชน์จริ ง จากการสะท้อนมาของผูบ้ ริ โภค วิจารณ์ (Discussion) แนวทาง การแก้ไขปัญหาช้างป่ าบุกรุ กพื้นที่เกษตรกรรมในกลุ่มป่ าตะวันออก โดยใช้แนวทาง การจัดการในรู ปแบบวิสาหกิจชุมชน เป็ นแนวทางการใช้กระบวนการมีส่วนร่ วมและเป็ นการระดมทุน โดยการซื้อหุน้ ของกลุ่มคนที่เห็นคุณค่าและเชื่อในประสิ ทธิภาพของต้นฝาง และเห็นว่าการด�ำเนินการ ธุรกิจในรู ปแบบวิสาหกิจชุมชนเป็ นธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่ งถือว่าเป็ นเรื่ องใหม่ในสังคมไทย จึงมีปัญหาใน 2 เรื่ องคือ คนไทยโดยส่วนใหญ่ยงั ไม่รู้จกั ประโยชน์และคุณค่าของต้นฝาง มีคนในวงการแพทย์แผนไทย เท่านั้น ที่ให้ความเชื่อมัน่ ในสรรพคุณฝางอย่างยิง่ ยวด แต่ในภายภาคหน้าคนกลุม่ นี้จะเป็ นกลุม่ คนส�ำคัญ ที่ช่วยเผยแพร่ ประโยชน์และคุณค่าของฝาง ได้เป็ นอย่างดี ประการต่อมาในเรื่ องการด�ำเนินธุรกิจแบบมี ส่ วนร่ วมมักจะไม่สามารถด�ำเนินการได้ภายใต้ความคิดของคนใดคนหนึ่งได้ ตอ้ งให้ทุกคนมีโอกาสใน การน�ำแนวคิดของตนเองมาใช้ ภายใต้การยอมรับของมวลสมาชิกโดยส่ วนใหญ่ ซึ่ งจะเกี่ยวพันกับเงิน ทุนที่จะใช้ดำ� เนินการด้วย ณ ปัจจุบนั จึงมีเงินทุนในการด�ำเนินการค่อนข้างจ�ำกัดยังไม่สามารถลงทุนใน สร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอ้ งลงทุนสู งแต่ความเสี่ ยงน้อยได้ ในสถานการณ์ปัจจุบนั จากการประเมินวิเคราะห์ สถานการณ์ปัญหาช้างบุกรุ กพื้นที่เกษตรกรรม ที่ปลูกพืชชนิดใดก็มีปัญหาตามมา แม้กระทัง่ ยางพารา ช้างก็ลม้ ต้นกินใบอ่อน ในขณะที่มีการปลูกฝางในพื้นที่ที่มีอายุมากที่สุดประมาณ 22 ปี พบว่าช้างป่ าไม่ กินและท�ำลายจริ งๆ เกษตรกรจึงมีความมัน่ ใจที่จะปลูกฝางเป็ นวัตถุดิบเพราะมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ท�ำให้เกษตรกรกลุ่มหนึ่งรอบกลุ่มป่ าตะวันออก มีความพร้อมที่จะปลูกเพื่อเป็ นแหล่งวัตถุดิบและสร้าง รายได้ให้กบั ตนเอง ประกอบกับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนมีคุณภาพและมีประโยชน์จริ ง จึงเป็ น หน้าที่ของคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชกลุ่มรักษ์ชา้ งรักษาป่ าตะวันออก(ปม.) ที่ตอ้ งท�ำการตลาดให้ ประสบความส�ำเร็ จเพื่อประโยชน์ตามเป้ าหมาย อย่างไรก็ตาม หากโลกไม่แตกสลาย สารออกฤทธิ์ทาง ชีวภาพของฝางและต้นไม้อื่นก็ยงั คงอยูใ่ นส่ วนต่างๆอยูเ่ สมอ อยูท่ ี่วา่ กลุ่มธุรกิจไหนจะสามารถท�ำการ ตลาดให้ประสบความส�ำเร็ จได้เท่านั้นเอง สรุป (Conclusion) ด้วยปั ญหาช้างป่ าในพื้นที่กลุ่มป่ าตะวันออกยังไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็ นรู ปธรรม และยัง ทวีความรุ นแรงขึ้นเรื่ อยๆ ด้วยสรรพคุณคุณค่าและคุณประโยชน์ของฝาง ที่มีประวัติศาสตร์ มาอย่าง ยาวนาน มีงานวิจยั รองรับอย่างแน่นหนา และด้วยแนวทางการท�ำธุรกิจเพื่อสังคม ตลอดจนแนวทาง การด�ำเนินงาน วัตถุประสงค์ เป้ าหมาย ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์ชา้ งรักษาป่ าตะวันออก (ปม.) ที่ มองภาพรวมให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ชาติโดยรวมเป็ นหลัก มากกว่าเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรื อ เพียงกลุม่ คนเพียงบางกลุม่ สุดท้ายแล้วรัฐบาลหรื อภาคเอกชนที่มีจิตสาธารณะน่าจะต้องยืน่ มือเข้ามาช่วย เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทางธุรกิจ และมีการประชาสัมพันธ์ในระดับมหภาค เป็ นวงกว้างจนเป็ นที่รู้จกั 54
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ของคนโดยส่ วนใหญ่ในประเทศ ประชาชนที่จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการปลูกฝางหรื อต้นไม้อื่น ที่มีประโยชน์ ก็จะกลายเป็ นส่ วนหนึ่งของห่วงโซ่แห่งธุรกิจที่สำ� คัญ และจะสามารถพึ่งตนเองได้จาก ต้นไม้ที่ชา้ งไม่กินและท�ำลาย จนมีรายได้ที่เพียงพอโดยไม่ตอ้ งกังวลกับพฤติกรรมการหากินของช้างป่ า ที่อาจเข้ามาในบริ เวณบ้านเรื อน หรื อป่ าครอบครัวที่ปลูกไว้ จนสามารถมีทศั คติเชิงบวกมองช้างป่ าเป็ น เพื่อนร่ วมโลกอยูร่ ่ วมกันได้อย่างปกติสุข ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าในเชิงการท่องเที่ยวอีกในอนาคต เพราะฉะนั้นการแก้ไขปั ญหาช้างป่ าบุกรุ กพื้นที่เกษตรกรรมในกลุ่มป่ าตะวันออก โดยใช้ แนวทางการจัดการในรู ปแบบวิสาหกิจชุมชน จึงเป็ นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการแก้ไขปั ญหา ระบบเศรษฐกิจชุมชน เพือ่ ส่งผลโดยตรงไปยังระบบนิเวศให้มีความสมบูรณ์ข้ นึ สู่การท�ำให้สงั คมอยูเ่ ย็น เป็ นสุ ขและมีความเข้มแข็งตามที่คนไทยได้ปรารถนาไว้ ซ่ ึ งก็หมายถึง ความมัง่ คัง่ มัน่ คง และยัง่ ยืนของ ประเทศชาตินนั่ เอง กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement) งานแก้ปัญหาช้างป่ าบุกรุ กพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่กลุ่มป่ าตะวันออก มีผใู ้ หญ่ของบ้านเมือง ที่ ให้ความส�ำคัญในปั ญหาดังกล่าวนี้ ที่จะต้องประกาศให้คนทัว่ ไปได้รับรู ้ รับทราบโดยทัว่ กันก็คือ ผูใ้ หญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิ ม เพราะท่านได้สนับสนุ นให้มีการวิจยั ปั ญหาดังกล่าวนี้ ต้ งั แต่ปี 2543 และ หน่ วยงานภาครัฐดังต่อไปนี้ ส�ำนักจัดการป่ าชุมชน ส�ำนักวิจยั พัฒนาการป่ าไม้ สถานี วนวัฒนวิจยั เขาสอยดาว และส่ วนจัดการป่ าชุมชน ส�ำนักจัดการทรัพยากรป่ าไม้ที่ 9 (ชลบุรี) กรมป่ าไม้ และ คณะกรรมการและสมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรักษ์ชา้ งรักษาป่ าตะวันออก (ปม.) คณะรัฐบาล และ ผูท้ ี่เกี่ยวข้องทุกท่านในปี 2548 ที่ได้สร้างกลุม่ ธุรกิจในรู ปแบบวิสาหกิจชุมชนขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็ น แนวทางหนึ่ งที่ จะท�ำให้ประชาชนระดับรากหญ้าได้มีบทบาทในระบบธุ รกิ จ สร้ างความเข้มแข็ง ให้แก่ชุมชนและพึ่งตนเองได้ อันเป็ นรากฐานที่สำ� คัญในการสร้างความมัง่ คัง่ มัน่ คง และยัง่ ยืนให้กบั ประเทศชาติ
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
55
เอกสารอ้ างอิง (References) 1. ชุติมา ชุติกาโม. 2553. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสิ นใจเลือกดื่ม Functional dring ด้านบ�ำรุ งสมองของ ผูบ้ ริ โภคในเขตกรุ งเทพมหานคร. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุ งเทพฯ 2. เต็ม สมิตินนั ทน์. 2523. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. กรมป่ าไม้. กรุ งเทพฯ 3. นฤพร สุ ทธิสวัสดิ์ และศุทธินี ธไนศวรรยางค์กรู . 2549. ฤทธิ์กนั เสี ยของฝาง (Caesalpinia sappan L.)ในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทน�้ำพริ ก. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล. นครปฐม 4. วิบูลย์ เข็มเฉลิม ,รักษา สุนินทบูรณ์ และธวัช เกียรติเสรี . 2545. โครงการศึกษาผลกระทบต่อพื้นที่ เกษตรกรรมของชุมชนจากช้างป่ า รอยเขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าเขาอ่างฤาใน.รายงานการวิจยั พัฒนา วิศวกรรมฉบับสมบูรณ์ . ศูนย์พนั ธุวศิ วกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ 5. วิบูลย์ เข็มเฉลิม ,รักษา สุ นินทบูรณ์ และธวัช เกียรติเสรี . 2550. โครงการแก้ปัญหาช้างป่ าบุกรุ ก พื้นที่เกษตรกรรมจากกระบวนการมีส่วนร่ วมของเกษตรกรรอบเขตรักษาพันธุส์ ตั ว์ป่าเขาอ่างฤาไน. รายงานความก้าวหน้าครั้งที่ 3 และ 4. ศูนย์พนั ธุวศิ วกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ 6. รักษา สุ นินทบูรณ์. 2556. ศึกษาชนิดพันธุ์ไม้”ฝาง”.ส่ วนจัดการป่ าชุมชน ส�ำนักจัดการทรัพยากร ป่ าไม้ที่ 9 (ชลบุรี)กรมปาไม้. 7. ศูนย์วจิ ยั กสิ กรไทย. 2557. อุตสาหกรรมอาหารและเครื่ องดื่ม (foods and Bererages). กรุ งเทพฯ
56
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
การแก้ ไขปัญหาช้ างป่ าในชุ มชน :กรณีศึกษาฝูงช้ างป่ าในท้ องที่ อ�ำเภอแก่ งหางแมว จังหวัดจันทบุรี Resolving problem of wild elephant in urban area : Case study of herd wild elephant at Kaeng Hang Maeo District, Chanthaburi provice นายพิทกั ษ์ ยิง่ ยง1 Pithak Yingyong1
ค�ำส� ำคัญ: ช้างป่ า เขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าเขาอ่างฤาไน Keywords: Wild elephant Wildlife sanctuaries, Khao Ang Rue Nai บทน�ำ (Introduction) เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 ได้ปรากฏว่ามีชา้ งป่ าฝูงใหญ่จำ� นวนกว่า 80 ตัว ออกหากินนอก พื้นที่ป่าเขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าเขาอ่างฤาไน มาหากินและอาศัยอยูใ่ นพื้นที่ชุมชน โดยในช่วงกลางวันได้ อาศัยหลบพักอยูบ่ ริ เวณ “ป่ าเกาะกลาง” ซึ่งเป็ นหย่อมป่ า มีเนื้อที่ประมาณ 80 ไร่ ในเขตป่ าสงวนแห่งชาติ “ป่ าขุนซ่อง” ท้องที่ตำ� บลพวา อ�ำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และช่วงเย็น เวลาประมาณ 16.00 น. ช้างป่ าฝูงดังกล่าวจะรวมตัวกันออกหากิ นในพื้นที่ ก่อสร้ าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” ซึ่ งเป็ นพื้นที่ ที่ กรมชลประทานได้รับอนุญาตให้ใช้พ้ืนที่ก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำจากกรมป่ าไม้ โดยกรมชลประทานได้จ่าย ค่าชดเชยอาสิ นให้กบั ผูอ้ ยูอ่ าศัยในพื้นที่เดิมไปแล้ว จึงไม่มีประชาชนอาศัยอยูใ่ นพื้นที่ พื้นที่โดยทัว่ ไป เป็ นที่ราบมีสภาพเป็ นทุ่งหญ้าและแปลงปลูกมันส�ำปะหลังอยูก่ ระจายสลับกันไปทัว่ พื้นที่ มีที่ต้ งั อยู่ บริ เวณรอยต่อระหว่าง หมู่ 1 , 6 , 8 , 9 และ หมู่ 10 ต�ำบลพวา อ�ำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เมื่อ ฝูงช้างป่ าหากินในพื้นที่ก่อสร้างอ่างประแกตได้ระยะหนึ่ ง ฝูงช้างป่ าได้เคลื่อนย้ายฝูงไปทางทิศตะวัน ออกไปที่ป่าน�้ำซับ และเคลื่อย้ายไปทางทิศใต้ตาม “เทือกเขาป้ อม” และพื้นที่หย่อมป่ าแห่งอื่นๆในพื้นที่ รอยต่อระหว่างต�ำบลพวากับต�ำบลอื่นๆ ในท้องที่อำ� เภอแก่งหางแมว การเคลื่อนย้ายของฝูงช้างป่ าได้
เขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ อ�ำเภอศรี ราชา จังหวัดชลบุรี 20110 โทรศัพท์ 081-7237327 Email : pithak_elephant@hotmail.com
1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
57
สร้างความเสี ยหายทั้งพืชผลและทรัพย์สินของชาวบ้านในพื้นที่ เป็ นระยะเวลากว่า 1 ปี ทั้งนี้เนื่องจาก เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจ�ำกัดบริ เวณและควบคุมการเคลื่อนที่ของช้างป่ าฝูงดังกล่าวได้ จึงท�ำได้เพียงการ ติดตามพฤติกรรมการเคลื่อนที่และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าด้วยการผลักดันออกจากบริ เวณบ้านเรื อนของ ประชาชนเท่านั้น ช้างป่ าฝูงดังกล่าวจึงยังสามารถเคลื่อนย้ายออกไปสร้างความเสี ยหายแก่พชื ผลทางการ เกษตรและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ อ�ำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย หมู่ 6, 8, 12, 17 ต�ำบลขุนซ่อง หมู่ 6 และ 7 ต�ำบลสามพี่นอ้ ง หมู่ 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 , 9, 10 , 11 และ 12 ต�ำบลพวา ส่ วนอ�ำเภอเขาชะเมา ประกอบด้วย ต�ำบลน�้ำเป็ นบางส่ วน ต�ำบลห้วยทับมอญบางส่ วน และ ต�ำบลเขาน้อยบางส่ วน ต่อไปได้อีก สมมติฐานและทีม่ า การติดตามเพื่อเรี ยนรู้ หลังจากการปรากฏตัวของฝูงช้างป่ าแล้ว ส่ วนราชการและประชาชนในพื้นที่พยายามหาทาง ผลัก ดัน ช้า งป่ าฝู ง ดัง กล่ า วแต่ ย งั หาวิ ธี ที่ ป ลอดภัย ไม่ ไ ด้ฝู ง ช้า งป่ าก็ ย งั คงอาศัย หลบพัก บริ เ วณ “ป่ าเกาะกลาง” จึ งก�ำหนดมาตรการดูแลความปลอดภัยของคนและช้างป่ าในชุ มชนเบื้ องต้นเป็ น การเฉพาะหน้า ด้วยการดูแลเส้นทางสัญจรที่มีความเสี่ ยงและผลักดันช้างออกจากชุมชน จนถึงเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558 ได้พบว่า ฝูงช้างป่ าได้ไปอาศัยอยูท่ ี่บริ เวณป่ า “เขาป้ อม” รอยต่อระหว่าง หมู่ 6 ต�ำบล ขุนซ่อง และหมู่ 8 ต�ำบลพวา ผ่านหมู่ 7 ต�ำบลสามพี่นอ้ ง หลังจากนั้นฝูงช้างป่ าได้มุ่งหน้าเข้าสู่ พ้ืนที่ ต�ำบลพวาที่ไปหลบพักในหย่อมป่ าใน “ไร่ ธีรพงษ์” และมุ่งหน้าไปที่ หย่อมป่ า “หัวเขาฆ้อง” หมู่ 5 มุ่งหน้าผ่าน “วัดเนินจ�ำปา”ไปที่ “เขาชะมูน” หมู่ 3 และได้เดินทางออกจากป่ า “เขาชะมูน” เข้าไปยัง เขาหลัง “เทศบาลต�ำบลพวา” ไปเข้าหากินพื้นที่ หมู่ 7 และ หมู่ 2 และในช่วงกลางวันจะหลบพักอยูใ่ น “ป่ าคลองตาบาน” ในพื้นที่ “อุทยานแห่ งชาติเขาชะเมา-เขาวง” และพยายามขยายพื้นที่หากินลงไป ทางทิศใต้ไปเรื่ อยๆ การทดลองควบคุม วันที่ 18 กุมภาพันธุ์ 2558 จึงทดลองท�ำการผลักดันและควบคุมฝูงช้างป่ าด้วยก�ำลังเจ้าหน้าที่ได้ ส�ำเร็ จเป็ นครั้งแรก ซึ่ งมีผลท�ำให้ชา้ งป่ าทั้งฝูง เดิ นกลับไปตามเส้นทางเดิ มที่เคยมา ได้แก่ เขาหลัง “เทศบาลต�ำบลพวา”- “เขาชะมูน” - “วัดเนินจ�ำปา” - “บ่อกบ” - “เขาฆ้อง” หมู่ 5 และ มุ่งหน้าขึ้นเหนือ ไปตามเส้นทางใหม่ ไปที่ “เขาฆ้อง” หมู่ 11 เข้าไปใน “ป่ าบ่อชะอม” หมู่ 3 และ “ป่ าวังปลา” หมู่ 4 ใน เขตพื้นที่ “เขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าเขาอ่างฤาไน” หลังจากนั้นช้างป่ าฝูงนี้ได้แยกเป็ นฝูงย่อย จ�ำนวน 2 ฝูง ฝูงแรกจ�ำนวน 20-30 ตัว มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก เข้าสู่ พ้ืนที่ ต�ำบลห้วยทับมอญ อ�ำเภอเขาชะเมาที่ “ป่ าเขาเงาะ” หมู่ 2 และ ผ่าน “บ้านสี ระมัน” หมู่ 4 และไปไกลที่สุด เข้าสู่ พ้ืนที่ตำ� บลเขาน้อย อ�ำเภอเขาชะเมา ที่ “ป่ าเขาเต่า” บ้านเขาน้อย หมู่ 4 หลังจากนั้นได้ถกู กลุ่มจิตอาสาและเจ้าหน้าที่ควบคุม และผลักดันกลับไปทางทิศตะวันตกกลับเข้าสู่ “เขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่า เขาอ่างฤาไน” ตามเส้นทางเดิม 58
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ที่มา ส่ วนฝูงช้างป่ าฝูงย่อยที่ 2 อีกประมาณ 40-50 ตัว ได้เดินทางออกจากป่ า “เขาชะมูน” หมู่ 3 เข้า ไปยังพื้ น ที่ ช ายป่ า “อุ ท ยานแห่ ง ชาติ เ ขาชะเมา” และเดิ นเลี ย บชายเขาด้า นตะวันออกไปพักที่ “ป่ าคลองตาบาน” ท้องที่ หมู่ 2 และหมู่ 7 และเลยเข้าสู่เขตจังหวัดระยอง จนถึง “วัดน�้ำเป็ น” ต�ำบลน�้ำเป็ น อ�ำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง หลังจากนั้น ช้างป่ าฝูงดังกล่าว จึงได้กระจายกันออกหากินเป็ นกลุ่มเล็ก กลุ่มละประมาณ 5-10 ตัว โดยช่วงระหว่างเดือนมีนาคมจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม 2558 ก็ไม่มีใครพบ ช้างป่ าฝูงนี้อีกเลย จนกระทัง่ วันที่ 26 พฤษภาคม 2558 จึงได้ตรวจพบว่าช้างป่ าฝูงดังกล่าวได้กลับ เข้ามาหากิน ในพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำประแกตอีกครั้ง โดยระหว่างทางขณะที่ฝงู ช้างป่ าเคลื่อนที่ กลับมาที่อ่างประแกตก็ไม่มีใครพบเห็นช้างป่ าฝูงนี้เช่นเดียวกัน การฝึ กและการควบคุมการกระจาย ช่วงต้นปี 2559 เจ้าหน้าที่และชาวบ้านในพื้นที่ได้ร่วมกันผลักดันช้างป่ าฝูงดังกล่าวกลับเข้าไป ในเขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าเขาอ่างฤาไนได้แล้ว จ�ำนวน 2 ครั้ง แต่ชา้ งป่ าฝูงดังกล่าวก็ยงั คงออกมาจากป่ า เขตรักษาพันธุ์สตั ว์ป่าเขาอ่างฤาไน มาหากินในพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำประแกต รอยต่อระหว่าง หมู่ 1 หมู่ 6 และหมู่ 8 ต�ำบลพวา อ�ำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เหมือนเดิม หลังจากนั้นฝูงช้างป่ าได้รวมตัวกันหากินอยูใ่ นพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” อีกครั้ง จนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2559 ฝูงช้างป่ าจึงได้เริ่ มเคลื่อนย้าย ออกจากพื้นที่ก่อสร้าง ”อ่างเก็บน�้ำประแกต” อีกครั้งไปทางทิศตะวันออกเข้าไปอยูใ่ นพื้นที่ “ป่ าเทือกเขาป้ อม” รอยต่อระหว่าง หมู่ 1 หมู่ 9 ต�ำบลพ วาและ หมู่ 8 ต�ำบลขุนซ่อง ไปที่ “เขาตาม้า” รอยต่อระหว่าง หมู่ 6 ต�ำบลขุนซ่อง หมู่ 8 ต�ำบลพวาและ หมู่ 6 ต�ำบลสามพีน่ อ้ ง ผ่าน หมู่ 7 ต�ำบลสามพีน่ อ้ งมุง่ ไปที่ หย่อมป่ าใน “ไร่ ธีรพงษ์” และเปลีย่ นเส้นทาง เคลื่อนที่ใหม่โดยลัดเข้าไปพักที่ “เขาหลัง เทศบาลต�ำบลพวา” (โดยไม่ผา่ นวัดเนินจ�ำปาและเขาชะมูน เหมือนเดิม) และผ่าน “วัดสวนป่ าหิ มพานต์” ไปที่หน้า “หน่วยคลองพระเจ้า” มุ่งหน้าลงไปทางทิศใต้ เจ้าหน้าที่เกรงว่าฝูงช้างป่ าจะเคลื่อนย้ายฝูงไปหากินใกล้ชุมชนเมืองจนเกินไป จึงได้ทำ� การต้อนกลับ ตาม เส้นทางใกล้เคียงกับเส้นทางลัดเดิม ถึง “หย่อมป่ าไร่ ธีรพงษ์” ภายในคืนเดียว เป็ นระยะทางประมาณ กิโลเมตร หลังจากนั้น ช้างป่ าฝูงนี้จึงเดินย้อนกลับไปอาศัยหลบพักที่ “เขาป้ อม”และหากินอยูใ่ นพื้นที่ ใกล้เคียง จนกระทัง่ วันที่ 9 มิถนุ ายน 2559 จึงได้พบว่าช้างป่ าฝูงดังกล่าวกลับเข้ามาหากินในพื้นที่ก่อสร้าง อ่างฯ ประแกตอีกครั้ง สมมุติฐานการแก้ ไขปั ญหาที่ต้นเหตุ จากข้อมูลของฝูงช้างป่ า อันได้แก่ เส้นทาง พื้นที่หยุดพักและช่วงเวลาที่ได้บนั ทึกไว้ พบว่า ช้างป่ าฝูงดังกล่าวได้กลับมาอาศัยหากินในพื้นที่สร้างอ่างเก็บน�้ำประแกตในปี 2558 คือวันที่ 26 พฤษภาคม 2558 และในปี 2559 คือวันที่ 9 มิถุนายน 2559 จึงสรุ ปในเบื้องต้นได้ว่า ช้างป่ าฝูงนี้ มีปัญหาเรื่ อง แหล่งอาหารที่เป็ นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่และแหล่งน�้ำในพื้นที่ป่ามีไม่เพียงพอ การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
59
ดังนั้นหากต้องการให้ปัญหาการกระทบกระทัง่ ระหว่างช้างป่ ากับคนในพื้นที่ลดลงและให้ชาว บ้านในพื้นที่ได้หากินได้ใกล้เคียงเป็ นปกติแล้ว ขั้นตอนแรกที่จะต้องท�ำคือ จ�ำกัดการกระจายของ ฝูงช้าง ป่ าให้อยูใ่ นพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งก็คือพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” นัน่ เอง ผลทีไ่ ด้ รับ ซึ่งผลจากการที่ได้ปฏิบตั ิตามแนวสมมติฐานดังกล่าว ท�ำให้ชา้ งป่ าฝูงดังกล่าวยังคงหากินอยูใ่ น บริ เวณก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำประแกตจนถึงปัจจุบนั (วันที่ 9 กรกฏาคม 2560) รวมเป็ นระยะเวลา 15 เดือน (ไม่รวมเวลาที่ฝงู ช้างป่ ากลับเข้าไปอยูใ่ นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนโดยที่ไม่มีผใู ้ ดผลักดันใน ช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2560) ซ่ ึงผลที่ได้กค็ ือ ชาวบ้านในพื้นที่อำ� เภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ได้รับผลกระทบและมีความเดือดร้อนน้อยลงสามารถท�ำมาหากินได้ใกล้เคียงกับปกติ และเจ้าหน้าที่ สามารถควบคุมแก้ไขสถานการณ์ได้ดีข้ ึน วิจารณ์ และสรุป การแก้ไขปั ญหาฝูงช้างป่ าในพื้นที่ชุมชนนั้นจะต้อง ด�ำเนินการแก้ไขปั ญหาอย่างรวดเร็ ว ด้วย การจัดหาพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่ฝงู ช้างปรากฏตัวบ่อยครั้ง ซึ่ งก็จะหมายถึงพื้นที่แห่งนั้นฝูงช้างได้พบแล้ว ว่ามีแหล่งน�้ำ แหล่งอาหารที่สมบูรณ์เพียงพอส�ำหรับช้างป่ าฝูงนั้นแล้ว ดังนั้น เมื่อฝูงช้างป่ ามีอาหารเพียง พอและมีที่พกั ชัว่ คราวและมีการดูแลป้ องกันการรบกวนอย่างดี ฝูงช้างป่ าก็จะไม่กระจายออกไปสร้าง ความเสี ยหายให้ชาวบ้านใกล้เคียงที่อยูโ่ ดยรอบมากนัก แต่หากปล่อยให้มีการผลักดันช้างป่ าออกจาก พื้นที่แห่งนั้น จะท�ำให้ชา้ งป่ ากระจัดกระจายไปสร้างความเสี ยหายต่อชีวติ และทรัพย์สินของชาวบ้านที่ อยูใ่ กล้เคียงได้ หากพิจารณาแล้วในขณะนั้น พื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำประแกตเป็ นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด ส�ำหรั บการหากิ นของช้างป่ าเพราะเมื่ อฝูงช้างป่ าหากิ นอยู่ในพื้นที่ ก่อสร้ าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” ช้างป่ าเพศผูท้ ี่อยูน่ อกฝูงก็จะมีการเคลื่อนย้ายที่นอ้ ยลง ผลกระทบก็จะเกิดกับประชาชนในพื้นที่นอ้ ยลง ด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงพยายามให้ชา้ งป่ าอยูใ่ นพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” ให้นานที่สุดด้วยการ ลดการรบกวนขณะที่ชา้ งป่ าหากินอยูใ่ นพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” และการท�ำความเข้าใจกับ ผูท้ ี่ได้รับผลกระทบจากช้างป่ าจึงเป็ นแนวทางที่ดีที่สุด ณ ขณะนั้น เมื่อมีแนวคิดเช่นนี้ ในทางปฏิบตั ิจึงเกิดปั ญหาความขัดแย้งกับกลุ่มคนที่ทำ� ประโยชน์ดว้ ยการ ปลูกมันส�ำปะหลังในพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำประแกตทันที ในสภาวะที่การท�ำงานจะต้องรี บเร่ งแก้ไข สถานการณ์และอยูใ่ นช่วงที่ยงั สรุ ปสาเหตุและผลการศึกษาไม่ได้ชดั เจน จึงเป็ นเรื่ องที่ยากล�ำบากที่จะ พูดคุยท�ำความเข้าใจกับบุคคลโดยทัว่ ไปได้ จึงท�ำให้เกิดปั ญหาผูท้ ี่มีผลประโยชน์ในพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” อาศัยช่วงเวลานี้โจมตีการท�ำงานของเจ้าหน้าที่ โดยการบิดเบือนข้อเท็จจริ งทั้งทาง สื่ อโทรทัศน์ หนังสื อพิมพ์ ตลอดจนสื่ อสังคมออนไลน์ พยายามท�ำให้ผคู ้ นโดยทัว่ ไปเข้าใจผิดเจ้าหน้าที่ ว่าปล่อยปละละเลยปล่อยให้ชา้ งป่ ารบกวนชาวบ้าน และท�ำให้ชาวบ้านและบุคคลโดยทัว่ ไปเข้าใจผิด 60
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
เจ้าหน้าที่และมีความรู ้สึกว่าช้างป่ ามีความน่ากลัวและหวาดกลัวช้างป่ า จนเกินเหตุ จนท�ำให้ชาวบ้าน โดยทัว่ ไปท�ำมาหากินยากล�ำบากยิง่ ขึ้น จนน�ำไปสู่กระแสการต่อต้านฝูงช้างป่ าและเจ้าหน้าที่ลามออกไป ทัว่ อ�ำเภอแก่ งหางแมวและพื้นที่ ใกล้เคียง โดยในช่ วงตั้งแต่ฝูงช้างป่ าเข้ามาหากิ นในพื้นที่ ก่อสร้ าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” จนถึงเดือนเมษายน 2560 กลุม่ คนทีท่ ำ� ประโยชน์ในพื้นทีก่ อ่ สร้างอ่างเก็บน�้ำประแกต พยายามที่จะลักลอบผลักดันช้างป่ าฝูงดังกล่าวออกจากพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำประแกตในช่วงกลางคืน ขณะที่ ช้างป่ าออกหากิ นอยู่ในพื้นที่ อ่างฯทุ กวิถีทางมาโดยตลอด จนมี ช้างป่ าแตกฝูงออกมาสร้ าง ความเสี ยหาย ในพื้นที่ชุมชนหลายครั้ง ถึงแม้วา่ เจ้าหน้าที่กรมชลประทานต้องน�ำป้ ายประกาศห้ามการ ท�ำประโยชน์ในพื้นที่ “อ่างเก็บน�้ำประแกต” มาติดตั้ง ในวันที่ 21 ตุลาคม 2559 แล้วก็ตาม จากเหตุการณ์ดงั กล่าว เห็นว่าหากยังปล่อยให้มีการลักลอบผลักดันช้างป่ าด้วยวิธีการต่างๆ ให้ ออกจากพื้นที่ก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำประแกต ช้างป่ าก็จะเคลื่อนย้ายออกไปสร้างความเดือดร้อนให้ชุมชน ในพื้นที่ตำ� บลอื่นด้วย ซึ่งก็จะท�ำให้คนเกือบทั้งอ�ำเภอแก่งหางแมว ที่ประกอบอาชีพท�ำสวนยางพาราและ อยูใ่ นพื้นที่ยากล�ำบากจนอาจเกิดกระแสการต่อต้านช้างป่ าขึ้นมาและอาจท�ำให้คนในพื้นที่และช้างป่ า ได้รับอันตราย เจ้าหน้าที่และจิตอาสาในพื้นที่จึงได้พยายามที่จะควบคุมให้ฝูงช้างป่ าอยู่แต่ในพื้นที่ ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” เป็ นการเฉพาะหน้า และพยายามให้ความรู ้ดว้ ยการอบรมชาวบ้านและ สร้างความเข้าใจกับชาวบ้านผูไ้ ด้รับผลกระทบและหัวหน้าส่ วนราชการในพื้นที่ อ�ำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี จนมีชาวบ้านในพื้นที่ ต�ำบลพวาและพื้นที่ใกล้เคียงกลุ่มหนึ่งที่มีจิตอาสาได้เห็นถึงความ ตั้งใจจริ งของเจ้าหน้าที่ในการที่จะดูแลและควบคุมช้างป่ าให้อยูใ่ นพื้นที่ที่กำ� หนด จึงได้เข้ามาช่วยในการ ควบคุมฝูงช้างป่ าไม่ให้ขยายพื้นที่ได้รับความเสี ยหายออกไปในวงกว้างและดูแลความปลอดภัยให้กบั ประชาชน นักเรี ยน ขณะเดินทางสัญจรผ่านพื้นที่เสี่ ยง ในภายหลังกลุ่มคนเหล่านี้ได้รวมตัวกันเข้ามาเป็ น “อาสาสมัครพิทกั ษ์ชา้ งเขาอ่างฤาไน (แก่งหางแมว)” ในครั้งแรก จ�ำนวน 50 คน โดย “กลุ่มอาสาสมัคร พิทกั ษ์ชา้ งเขาอ่างฤาไน (แก่งหางแมว)” เหล่านี้หลายคนเป็ นผูน้ ำ� ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่ าจาก ต�ำบลพวา และต�ำบลข้างเคียงที่อยูใ่ นพื้นที่ ซึ่งไม่เคยรู ้ขอ้ เท็จจริ งในพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” มาก่อน หลังจากที่เหล่า “อาสาสมัครพิทกั ษ์ชา้ งเขาอ่างฤาไน(แก่งหางแมว)” ได้เข้ามาช่วยงานเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่ จึงได้เข้ามารู ้เห็นพฤติกรรมของกลุ่มคนที่ทำ� ประโยชน์ในพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” ซึ่ งได้แก่ นักการเมืองท้องถิ่นและอดี ตผูน้ ำ� ชุ มชนในท้องที่ ต�ำบลพวา ที่พยายามผลักดันฝูงช้างป่ า ออกจากพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” จนฝูงช้างป่ าไปสร้ างความเดื อดร้ อนให้กบั ชาวบ้าน นอกพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” จึงท�ำให้มีการกระจายข่าวการท�ำประโยชน์ในพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” แบบเอาเปรี ยบสังคมของกลุ่มคนเหล่านี้ จนกระแสการต่อต้านพฤติกรรมของ กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นและผูท้ ี่หาประโยชน์จากพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” เกิดขึ้น และ ช่วงเดือนสิ งหาคม 2559 ได้มีสื่อมวลชน (ช่อง 3) ได้นำ� เสนอข่าวการลักลอบผลักดันช้างและการท�ำ ประโยชน์ในพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำประแกต” ด้วยการเอาเปรี ยบสังคมอย่างต่อเนื่ องจนท�ำให้เกิด แรงกดดันกับคนกลุ่มดังกล่าว หลังจากนั้นการลักลอบผลักดันช้างป่ าออกจากพื้นที่ก่อสร้าง “อ่างเก็บน�้ำ ประแกต” จึงลดลงและท�ำให้มีจำ� นวนผูไ้ ด้รับผลกระทบจากฝูงช้างป่ าจึงลดลงตามไปด้วย การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
61
ดังนั้นการแก้ไขปัญหาต่อไป ส่ วนราชการที่ที่เกี่ยวข้องจะต้อง ท�ำความเข้าใจและให้ความรู ้กบั ชาวบ้านในพื้นที่ให้มากยิง่ ขึ้น ในเรื่ องพฤติกรรมของช้างป่ าและการปฏิบตั ิตวั เมื่อพบว่ามีชา้ งป่ าอยูใ่ น พื้นที่ชุมชนที่อาศัยอยู่ และต้องร่ วมกับผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสี ยในพื้นที่กำ� หนดเป้ าหมายในการจัดการฝูง ช้างป่ าฝูงนี้ ให้ชดั เจนว่าจะใช้ แนวทางการยอมรับให้ชา้ งป่ าเข้ามาในพื้นที่ชุมชนหรื อแนวทางให้ ฝูงช้างป่ ากลับเข้าป่ า เพื่อให้ผปู ้ ฏิบตั ิมีเป้ าหมายที่ชดั เจนและสามารถหาแนวทางในการปฏิบตั ิให้บรรลุ เป้ าหมายได้ต่อไป กิตติกรรมประกาศ • รองอธิบดีกรมชลประทาน (วิชาการ) ที่รับฟังปัญหาและน�ำไปสู่การด�ำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ก่อสร้างอ่างเก็บน�้ำ ประแกต จนเป็ นผลส�ำเร็ จในเบื้องต้น • อาสาสมัครพิทกั ษ์ชา้ งป่ าเขาอ่างฤาไน (แก่งหางแมว) ทั้ง 69 นาย ที่ร่วมปฏิบตั ิการควบคุมช้างป่ า และท�ำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ และเป็ นก�ำลังใจให้กนั และกันเสมอมา • กลุม่ ปันใจให้ป่ายัง โดย คุณบุปผา สุขประเสริ ฐ คุณดวงกมล พูลสวัสดิ์และคณะ ที่ช่วยประชาสัมพันธ์ และท�ำความเข้าใจกับสื่ อสังคมออนไลน์ • พี่ๆ สื่ อ ทีวี ช่อง 3, PPTV, Thai pbs ที่จุดประเด็น การน�ำเสนอข่าวข้อเท็จจริ งในพื้นที่ให้สงั คม ภายนอกได้รับรู ้
62
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
การเคลือ่ นย้ ายช้ างป่ าในพืน้ ทีป่ ่ าตะวันออก Translocation of wild elephants in eastern forest สุ ภกานต์ แก้วโชติ1 พิทกั ษ์ ยิง่ ยง2 กิรณา นรเดชานนท์3 สุ นิตา วิงวอน3 กิตติยาภรณ์ เอี่ยมสะอาด4 Supakarn Kaewchot1, Pithak Yingyong2, Kirana Noradechanon3, Sunita Wingwong3, Gittiyaporn Ieamsaard4
ค�ำส� ำคัญ: การเคลื่อนย้าย ช้างป่ า ป่ าตะวันออก Keywords : Translocation, Wild elephants , Eastern forest บทน�ำ ปั ญ หาช้า งในประเทศไทยจากสภาพคุ ก คามต่ อ ช้า งป่ าในเรื่ อ งการสู ญ เสี ย ถิ่ น ที่ อ ยู่อ าศัย (habitat loss) จากการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าธรรมชาติไปเป็ นพื้นที่เกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานของ ประชาชนโดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่ งมีความส�ำคัญต่อช้างป่ าและสัตว์ป่าต่างๆ หายไป ปั ญหาช้างป่ า เข้ากินพืชผลการเกษตรที่พบเพิ่มถี่มากขึ้น พื้นที่ที่เหลืออยูท่ ี่มีการประกาศจัดตั้งเป็ นอุทยานแห่ งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเป็ นพื้นที่ที่สูงชัน หน้าแล้งขาดแคลนแหล่งน�้ำและแหล่งพืชอาหาร การถูก
กลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตจตุจกั ร กรุ งเทพมหานคร 10900 2 ส�ำนักบริ หารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรี ราชา) อ�ำเภอศรี ราชา จังหวัดชลบุรี 20110 3 ส�ำนักบริ หารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรี ราชา) อ�ำเภอศรี ราชา จังหวัดชลบุรี 20110 3 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าบางละมุง อ�ำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260 4 กลุ่มงานเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตจตุจกั ร กรุ งเทพมหานคร 10900 ผูน้ ำ� เสนอผลงาน : โทรศัพท์ : 098-9129489 โทรสาร : 02-5799630 ที่อยูไ่ ปรษณี ยอ์ ิเลกโทรนิกส์ : supakarn_vet@hotmail.com 1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
63
ซ�้ำเติมการลักลอบล่าช้างป่ า หรื อถูกท�ำร้ายเนื่ องจากการ เข้าไปกินพืชผลการเกษตร ซึ่ งพื้นที่ในแถบ ผืนป่ าตะวันออกที่มีปัญหาการออกมานอกพื้นที่ของช้างป่ าขณะนี้ พบใน 6 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา โดยส่ วนใหญ่พบในแนวเขตป่ ารอยต่อ 5 จังหวัด เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนเป็ นพื้นที่ราบต่อเนื่ องไปถึงพื้นที่โดยรอบจึงเกิ ดความรุ นแรงขึ้น มีความรกชัฏพืชอาหารที่พ้ืนป่ ามีนอ้ ย เมื่อเปรี ยบเทียบกับอุทยานแห่ งชาติกุยบุรี จึงท�ำให้ปัญหาความ ขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่ ารุ นแรงกว่าจากการที่ชา้ งป่ าออกนอกพื้นที่ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากช้างป่ า ออกมาหากินนอกป่ าในพื้นที่ ที่มีระดับความรุ นแรงมาก ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทราและจันทบุรี ตั้งแต่ปี 2557 – 2560 ช้างป่ าออกมาหากินนอกป่ ามากถึง 1,980 ครั้ง โดยเฉพาะปี 2560 ตั้งแต่เดือนตุลาคม ถึงปั จจุบนั มีมากกว่า 600 ครั้ง มีชาวบ้านเสี ยชีวติ 19 ราย บาดเจ็บ 24 ราย ช้างตาย 12 ตัว และบาดเจ็บ 21 ตัว สาเหตุสำ� คัญที่สุดที่ชา้ งป่ าออกมาหากินนอกป่ า นอกจากอัตราการเพิ่มขึ้นของช้างป่ าที่สูงขึ้น สิ่ งส�ำคัญคือที่อยูอ่ าศัยของช้างป่ าถูกรบกวน แหล่งน�้ำ อาหารเสื่ อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ เกษตรกรรมของชาวบ้านอยูต่ ิดกับเขตป่ า และพื้นที่ดงั กล่าวเคยเป็ นที่อยูอ่ าศัยของสัตว์ป่า การแก้ปัญหาของหน่วยงานภาครัฐ ตลอดแนวเขตป่ า 5 จังหวัด ใช้แผนขุดคูกนั ช้าง รอบแนว เขตป่ ารวมระยะทางมากกว่า 500 กิโลเมตร แต่ชา้ งป่ าก็ยงั เดินข้ามคูก้ นั ช้างได้ในบางแห่ง พากันออกมา หากินนอกป่ าเหมือนเดิม ชา้ งป่ าบางกลุ่มไม่ยอมกลับเข้าป่ า ยังคงหากินและอาศัยอยูต่ ามป่ าชุมชนต่างๆ ในหมู่บา้ น การเคลื่อนย้ายช้างป่ า ที่ดำ� เนินการโดยเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในพื้นที่เขตป่ าตะวันออก ได้ดำ� เนิ นการตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 เป็ นต้นมา โดยการเคลื่อนย้ายช้างป่ าเป็ น แนวทางที่ใช้กบั ช้างป่ าที่มีพฤติกรรมชอบออกหากินในพื้นที่ชุมชน ดุร้าย เคยมีประวัติทำ� ร้ายคนบาดเจ็บ หรื อเสี ยชีวติ และไม่สามารถผลักดันกลับเข้าไปหากินในพื้นที่ป่าได้ การด�ำเนินการในครั้งนี้ เป็ นการจับและเคลื่อนย้ายช้างป่ า 3 ตัว ที่มีพฤติกรรมออกหากินในพื้นที่ ชุมชน เดินบนถนนในที่สาธารณะ ไม่กลัวคน สร้างความเสี ยหายต่อทรัพย์สินของประชาชน และ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถผลักดันกลับเข้าพื้นที่ป่า ได้แก่ ช้างตัวเล็กไม่มีงา (สี ดอสมบูรณ์), ช้างมีงาข้างเดียว (พลายงางาม) และสี ดอแก้ว คณะท�ำงานจะท�ำการจับและเคลื่อนย้ายช้างป่ าทั้ง 3 ตัว ไปยังพื้นที่ปล่อยใน โครงการจัดการช้างป่ าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ บริ เวณป่ าเขาตะกรุ บ ต�ำบลทุง่ มหาเจริ ญ อ�ำเภอวังน�้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว ซึ่ งได้รับอนุญาตให้จบั และเคลื่อนย้ายช้างป่ าดังกล่าวจากอธิ บดีกรมอุทยานแห่ งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็ นที่เรี ยบร้อยแล้ว เพื่อเป็ นการป้ องกันอันตรายทั้งชีวติ และทรัพย์สินของราษฎร กับทั้งเป็ นการคุม้ ครองช้างป่ าทั้ง 3 ตัว โดยใช้กำ� ลังเจ้าหน้าที่ในการจับบังคับและลากจูงช้างป่ าขึ้น รถ 10 ล้อ ในสภาวะที่ชา้ งป่ าอยูใ่ นการควบคุมของการวางยาซึ ม โดยใช้ยาไซลาซี น ไฮโดรคลอไรด์ ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร (Xylazine Hydrochloride 100 mg/ml) ในทางทฤษฎี การ เคลื่อนย้ายช้างป่ าที่มีปัญหาเป็ นการด�ำเนินการ จดั การความขัดแย้งอย่างได้ผลที่สมบูรณ์ และด�ำเนินการ
64
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
เพื่อแก้ไขความขัดแย้งในหลายพื้นที่ท้ งั ในเอเชี ย เช่น อินเดีย (Lahiri-Choudhury, 1993) มาเลเซี ย (Stuwe et al., 1998) เวียดนาม (FFI, 2002) เกาะสุ มาตรา ประเทศอินโดนีเซี ย (Nyhus et al., 2000) และ ในทวีปแอฟริ กา เช่น ประเทศเคนยา (Litoroh et al., 2001 ; Njumbi et al., 1996) ประเทศแอฟริ กาใต้ (Garai and Carr , 2001) และประเทศอูกนั ดา (Wambwa et al., 2001) ประวัติ ช้างเอเชีย (Elephant maximus) เพศผู ้ ทั้ง 3 ตัว ได้แก่ สี ดอสมบูรณ์ มีอายุประมาณ 12 ปี น�้ำหนัก ประมาณ 2 ตัน , พลายงางาม มีอายุประมาณ 14 ปี น�้ำหนักประมาณ 2.5 ตัน และสี ดอแก้ว มีอายุประมาณ 18 ปี น�้ำหนักประมาณ 3.8 ตัน โดยสี ดอแก้วมีประวัติถูกเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาอ่างฤาไน จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่ปล่อยในโครงการจัดการช้างป่ าออกนอกพื้นที่ป่าอนุ รักษ์ บริ เวณป่ าเขาตะกรุ บ เป็ นจ�ำนวนทั้งสิ้ น 3 ครั้ง (ตั้งแต่ปี พ.ศ.2556) แต่กส็ ามารถหลบหนี และออกจาก พื้นที่ดงั กล่าวมาหากินในพื้นที่ชุมชน แถบจังหวัดจันทบุรี แต่เดิมสี ดอแก้วจะมีพฤติกรรมออกหากิน ตัวเดียว ครั้งนี้สีดอแก้วได้ออกหากินร่ วมกับสี ดอสมบูรณ์ และพลายงางาม ซึ่ งมีลกั ษณะพฤติกรรมของ การดูแลและเฝ้ าระวังภัยให้กนั ได้ดำ� เนินการเคลื่อนย้ายระหว่างวันที่ 26 – 27 กรกฎาคม 2559 ในท้องที่ บ้านแก้ว หมู่ 7 ต�ำบลแสลง อ�ำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี อุปกรณ์ และวิธีการ การด�ำเนิ นการจับและเคลื่อนย้ายช้างป่ าในครั้ งนี้ ได้แบ่งคณะท�ำงานออกเป็ น 4 ฝ่ าย ดังนี้ 1. ฝ่ ายด�ำเนินการ แบ่งเป็ น 4 ชุด ได้แก่ ชุดยิงยา (ปื นยิงยาสลบ 2 กระบอก) , ชุดรักษาความปลอดภัย (สัตวแพทย์) ชุดเคลื่อนย้ายช้างขึ้นรถ และชุดเอาช้างลง , 2. ฝ่ ายประชาสัมพันธ์ , 3. ฝ่ ายจราจร และ 4. ฝ่ ายสนับสนุน เป็ นการท�ำงานในรู ปแบบของการใช้กำ� ลังเจ้าหน้าที่ในการจับบังคับ ในขณะที่ชา้ งป่ า ได้รับการวางยาซึม โดยใช้ยาไซลาซีน ไฮโดรคลอไรด์ ความเข้มข้น 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ในขนาด เริ่ มต้น 0.3 มิลลิกรัม/กิ โลกรัม ด้วยวิธีการใช้ปืนยิงยาสลบ (Dart gun) บรรจุลูกดอกยาสลบขนาด 5 มิลลิลิตร โดยที่การยิงยาซึมครั้งแรกจะเป็ นการหวังผลให้ชา้ งป่ าหยุดหรื อซึมลง เพื่อที่เจ้าหน้าที่พร้อม ทีมสัตวแพทย์สามารถเข้าไปประเมินอาการได้ในระยะใกล้ โดยดูลกั ษณะจากอาการงวงตก ลึงค์โผล่ มีเสี ยงกรน ก่อนที่จะมีการใช้เชือกผูกมัดข้อเท้าทั้ง 4 ข้าง และใช้กำ� ลังคนในการดึงลากขึ้นรถ ระหว่างที่ ด�ำเนินการในขั้นตอนลากจูงจะมี ทีมสัตวแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด หากพบว่าช้างป่ ามีอาการขัดขืน หรื อเริ่ มมีสติ จะพิจารณาให้ยาซึมเพิม่ และหากช้างป่ าล้มนอน หรื อไม่ยอมเดิน จะพิจารณาให้ยาแก้ฤทธิ์ โยฮิมบิน ไฮโดรคลอไรด์ ความเข้มข้น 10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร (Yohimbine Hydrochloride 10 mg/ml) ขนาด 0.125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
65
ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2559 เวลา 05.00 น. ทีมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนย้ายช้างป่ าเข้า ด�ำเนินการจัดเตรี ยมอุปกรณ์ยงิ ยาซึมส�ำหรับช้างป่ า 3 ตัว โดยได้ดำ� เนินการยิงยาซึมแก่ชา้ งสี ดอสมบูรณ์, สี ดอแก้ว และพลายงางาม ตามล�ำดับ เนื่ องจากช้างป่ าทั้ง 3 ตัว เดินทิ้งระยะไม่ห่างกันมากเพื่อความ ปลอดภัยคณะท�ำงาน ชุดยิงยาจึงได้พิจารณายิงยาซึ มแก่ชา้ งทั้ง 3 ตัว โดยเริ่ มยิงยาซึ มแก่ชา้ งป่ าสี ดอ สมบูรณ์เป็ นตัวแรกในเวลา 14.35 น., สี ดอแก้วในเวลา 14.45 น. และพลายงางามในเวลา 15.20 น. ประกอบกับช้างป่ าสี ดอแก้วมีการเรี ยนรู ้จากการถูกยิงยาซึ มเพื่อเคลื่อนย้าย 3 ครั้งก่อน ได้อาศัยช่วงที่ยา ซึมยังไม่ออกฤทธิ์เดินเข้ากอไผ่ดา้ นในสุ ดและมีชา้ งป่ าอีก 2 ตัว คอยกันไว้ดา้ นนอก จึงต้องด�ำเนินการ เคลื่อนย้ายสี ดอสมบูรณ์ และพลายงางามออกทีละตัว โดยใช้กำ� ลังคนซึ่ งเป็ นเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยาน แห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่ วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในพื้นที่ ช่วยกันต้อนประคองลากช้างป่ า เดินออกจากป่ ามาขึ้นรถบรรทุก 10 ล้อ ที่จดั เตรี ยมไว้ (จากจุดที่ชา้ งโดนยาซึมถึงรถบรรทุก 10 ล้อ มีระยะ ทาง 100 เมตร) โดยการผูกเชือกกับข้อเท้าช้างป่ าทั้ง 4 ข้าง โดยเท้าหน้าแต่ละข้างจะใช้กำ� ลังเจ้าหน้าที่ 30 - 35 คน ส่ วนเท้าหลังแต่ละข้างจะใช้กำ� ลังเจ้าหน้าที่ 10 - 15 คน ร่ วมกับการใช้ไม้ไผ่ขนาดยาวคอย กระทุง้ บริ เวณเท้า ช่วงท้ายล�ำตัว หรื อใบหู เป็ นสัญญาณให้ชา้ งป่ าเดินตามแรงดึงของเจ้าหน้าที่ในการลาก โดยมีหวั หน้าชุดเคลื่อนย้ายช้างป่ าเป็ นผูใ้ ห้สญ ั ญาณและสัง่ การในการบังคับช้างป่ าขึ้นรถ การด�ำเนินการ เคลื่อนย้ายช้างป่ าทั้ง 2 ตัว ใช้เวลาในการประคองลากขึ้นรถเป็ นที่เรี ยบร้อยในเวลาประมาณ 20.35 น. ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานเนื่องจากจุดที่ยงิ ยาซึมช้างได้น้ นั อยูไ่ กลจากรถบรรทุก 10 ล้อ ส่ งผลให้สีดอแก้ว คลายจากฤทธิ์ ยาซึ มมีอาการขัดขืนการลากจูงและล้มตัวลงนอน ทีมสัตวแพทย์ตดั สิ นใจให้ยาแก้ฤทธิ์ ยาซึ มเพื่อความปลอดภัยของตัวสัตว์เป็ นหลัก และได้เคลื่อนย้ายช้างป่ าเพียง 2 ตัว ออกจากพื้นที่ไปยัง โครงการจัดการช้างป่ าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ บริ เวณป่ าเขาตะกรุ บ ระหว่างการจับบังคับและเคลื่อน ย้ายมาพื้นที่ปลายทางนั้นทีมสัตวแพทย์ได้มีการให้ยาซึ มเพิ่มเติมเป็ นระยะๆ โดยจัดชุดเจ้าหน้าที่และ สัตวแพทย์ข้ ึนไปสังเกตอาการของช้างป่ าบนรถร่ วมด้วยตลอดระยะการเดินทาง แสดงดังตารางที่ 1
66
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Table 1 : Dose of Xylazine Hydrochloride 100 mg/ml was used to sedate 3 elephants
No
1 2
สี ดอสมบูรณ (2 ตัน) (Elephant 1)
สี ดอแก้ ว (3.8 ตัน) (Elephant 2)
Time Dose (mg) / Time Route 14.35 500 / Dart 14.45 15.35 300 / Dart 15.27
3
18.20 300 / Hand 16.15 syring
4
22.50 500 / Hand 17.30 syring
พลายงางาม (2.5 ตัน) (Elephant 3) Remark Dose (mg) / Time Dose (mg) / Route Route 500 / Dart 15.20 500 / Dart 1,000 / Dart 16.20 300 / Dart สีดอสมบูรณ์ (Elephant 1) ; Rope tied 17.03 Drag 17.17 On truck 18.30 800 / Dart 17.00 300 / Dart พลายงางาม (Elephant 3) ; Rope tied 17.30 Drag 19.35 On truck 20.35 500 / Dart 19.18. 300 / Dart
หลังจากเดินทางด้วยระยะทาง 140 กิโลเมตร ได้เดินทางมาถึงโครงการจัดการช้างป่ าออกนอก พื้นที่ป่าอนุรักษ์ บริ เวณป่ าเขาตะกรุ บ ในเวลา 03.00 น. ของเช้าวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 ท�ำการให้ ยาถ่ายพยาธิ (Ivermrctin) และเจาะเก็บเลือดเพื่อน�ำไปตรวจโรคในช้างที่สำ� คัญ ทีมสัตวแพทย์ได้ให้ ยาแก้ฤทธิ์โยฮิมบิน ไฮโดรคลอไรด์ ขนาด 0.125 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยให้ยาแก้ฤทธิ์เข้าเข้าเส้นเลือด ครึ่ งนึง (Intravenous) และอีกครึ่ งให้เข้าทางกล้ามเนื้อ (Intramuscular) ซึ่ งพลายงางามได้ยาแก้ฤทธิ์ใน เวลา 03.12 น. สามารถลุกเดินออกจากรถได้ในเวลา 03.33 น. และสี ดอสมบูรณ์ได้ยาแก้ฤทธิ์ในเวลา 04.09 น. และเดินออกจากรถได้ในเวลา 04.13 น.
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
67
วิจารณ์ และสรุป การจับและเคลือ่ นย้ายช้างป่ าในพื้นทีป่ ่ าตะวันออกทีด่ ำ� เนินการโดยเจ้าหน้าทีก่ รมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช นั้น มีขอ้ จ�ำกัดของการเลือกพื้นที่ในการยิงยาซึ ม เนื่ องจากต้องใช้กำ� ลังคนใน การประคองลากขึ้นรถ หากระยะทางจากจุดที่ยงิ ยาซึ มห่างจากรถขนย้ายมากขึ้นจะยิง่ เพิ่มระยะเวลาที่ ปฏิบตั ิงาน ความเสี่ ยงของการให้ยาซึ มในขนาดที่สูง และเป็ นระยะเวลานานๆ อาจส่ งผลต่อการให้ ยาเกินขนาด และภูมิประเทศบริ เวณโดยรอบที่ชา้ งป่ าอาศัยอยู่ หากไม่ใช่พ้นื ที่ราบลุม่ หรื อเป็ นพื้นที่ป่ารก จะต้องมีการวางแผนงานให้รัดกุมมากยิง่ ขึ้น อีกทั้งพฤติกรรมของช้างป่ าที่เป็ นข้อจ�ำกัดของเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบตั ิงานที่มกั จะเริ่ มออกหากินในช่วงเวลาก่อนพลบค�่ำและกลับเข้าพื้นที่นอนในช่วงเช้าตรู่ ซึ่ งเป็ นระยะเวลาที่จำ� กัดในการปฏิบตั ิงานแต่ละครั้ง ดังนั้นการประชุมร่ วมกันวางแผนและแบ่งหน้าที่ ก่อนการปฏิบตั ิงานจึงมีความส�ำคัญทุกครั้ง รวมทั้งชนิ ดของยาซึ มที่มีขอ้ จ�ำกัดในการใช้งาน และมี ผลข้างเคียงต่อตัวช้างป่ าค่อนข้างสูง หากมีการผลักดันให้ใช้ยากลุม่ อื่นที่ออกฤทธิ์ได้เร็ว มีความปลอดภัย สูงต่อตัวช้างป่ า และลดความเสี่ ยงต่อผูป้ ฏิบตั ิงานจะยิง่ เพิ่มประสิ ทธิภาพในการท�ำงานได้ดียงิ่ ขึ้น กิตติกรรมประกาศ การด�ำเนินงานครั้งนี้ ขอพระขอบคุณเจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และ หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ดำ� เนินการ ส�ำหรับการอ�ำนวยความสะดวกและจัดชุดเจ้าหน้าที่ร่วมปฏิบตั ิงาน เอกสารอ้ างอิง 1. FFI. 2002. Asian Elephant Conservation Programme. Fauna & Flora, April 2002: 24 - 27. 2. Garai, M.E. & Carr, R.D. 2001. Unsuccessful introductions of adult elephant bulls to confined areas in South Africa. Pachyderm, 31: 52-57. 3. Lahiri Choudhury, D.K., 1993 . Problem of wild elephant translocation., Oryx., 27 (11), pp. 53 - 55. 4. Litoroh, M., Omondi, P., Bitok, E. & Wambwa, E. 2001. Two successful elephant translocations in Kenya. Pachyderm, 31: 74-75. 5. Michael Stüwe., Jasmi B. Abdul., Burhanuddin Mohd. Nor and Christen M. Wemmer., 1998. Tracking the movements of translocated elephants in Malaysia using satellite telemetry. Pp. 68 - 74. 6. Njumbi, S., Waithaka, J., Gachago, S., Sakwa, J., Mwathe, K., Mungai, P., Mulama, M., Mutinda, H., Omondi, P. & Litoroh, M. 1996. Translocation of elephants: The Kenyan experience. Pachy-derm, 22: 61-65. 7. Nyhus, P.J., R. Tilson, and Sumianto. 2000. Crop raiding elephants and conservation implications at Way Kambas National Park, Sumatra, Indonesia, Oryx, 34:262 - 274. 8. Wambwa, E., Manyibe, T., Litoroh, M. & Ga-kuya, F. 2001. Resolving human-elephant conflict in Luwero District, Uganda, through elephant translocation. Pachyderm, 31: 58-63. 68
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
การน�ำเสนอแผนภูมติ วั แบบเพือ่ การตัดสิ นใจ (Algorithmic decision tree) ในการจัดการบริบาล ฝี ในช้ างเอเซีย (Elaphas maximus) ในทีเ่ ลีย้ ง กิตติกลุ นามวงษ์พรหม* รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์* มาโนชญ์ ยินดี* วรพงษ์ โกศารักษ์ * ธนพรรณ ชมชื่น*
ค�ำส� ำคัญ: แผนภูมิตวั แบบเพื่อการตัดสิ นใจ ฝี ช้างเอเซี ย Keywords; algorithmic decision tree, abscess, Asian elephant, Elaphas Maximus, captivity
บทน�ำ การเกิดฝี ในช้างเอเซี ยในที่เลี้ยง เป็ นอาการป่ วยที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อเข้าทางบาดแผล การฉี ดยาทีมีความระคายเคือง การเกิดห้อเลือดและติดเชื้อตามมา เป็ นต้น การรั กษามี หลายวิธีการ เช่ น การให้ยาปฏิ ชีวนะ การประคบร้ อน การเปิ ดผ่าเปลื อกหุ ้มและล้างฝี การผ่าตัดเอาก้อนฝี ออกทั้งหมด ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาพของรอยโรค แผนผังการตัดสิ นใจ ที่นำ� เสนอขึ้นมา จะช่วยให้การตัดสิ นใจ ในขั้นตอนการรักษา เป็ นระบบมากขึ้น ตลอดจนการทบทวนเอกสาร จะน�ำเสนอ รายละเอียดของวิธีการล้าง เช่น ความเข้มข้นของน�้ำยาล้างแผลแบบต่างๆ ต่อชนิดของรอยโรค
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล พุทธมณฑล นครปฐม 73170 ผูร้ ับผิดชอบหลัก รัฐพันธ์ พัฒนรังสรรค์ 02-441-0937 rattapan@gmail.com *
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
69
อุปกรณ์ และวิธีการ การศึ ก ษานี้ ใช้ก ารทบทวนวรรณกรรม และ ศึ ก ษาย้อ นหลัง จากประวัติ ก ารรั ก ษาและ ความคืบหน้าของการรักษาของสัตว์ป่วย กลุ่มช้างที่ได้รับรักษาที่ โรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลัน คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล ผลการศึกษา แผนผังการตัดสิ นใจ มีหัวเรื่ อง การแยกแยะกลุ่มชนิ ดของฝี และการติดเชื้ อที่ผิวหนังอื่นๆ, ควรให้ยาปฏิชีวนะทั้งระบบหรื อไม่, ควรเปิ ดผ่าหรื อไม่, การเตรี ยมผิวหนังรอบฝี เพือ่ ลดการติดเชื้อเข้าฝี , ชนิ ดของหนองหรื อสิ่ งคัดหลัง่ และแนวทางการให้การรั กษา, ชนิ ดของวิธีการการระงับความรู ้ สึก เฉพาะที่, ขนาดและรู ปร่ างของการเปิ ดผ่าฝี , ชนิ ดของอุปกรณ์และขั้นตอนการน�ำหนองและเนื้ อตาย ออกจากเปลือกฝี , ชนิด ความเข้มข้น และขั้นตอนการล้างฝี ดว้ ยน�้ำยาต้านเชื้อชนิดต่างๆ, การให้ยาแบบ ยัดหมุดในโพรงฝี , การะบายหนองและสิ่ งคัดหลัง่ แบบต่างๆ, การเลือกใช้ยาปฏิชีวนะแบบฉี ดและ ใส่ แผลฝี , การควบคุมหนอนและแมลงที่ปากแผลและทั้งระบบ, การปิ ดปากแผล, อาการข้างเคียง ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น, การพิจารณาให้ยารักษาประคับประคองอาการอื่นๆ สรุปผลและวิจารณ์ การน�ำเสนอแผนภูมิตวั แบบเพื่อการตัดสิ นใจ การบริ บาลฝี ช้างในครั้งนี้ จะเป็ นแนวทางช่วย สัตวแพทย์ในการตัดสิ นใจให้การบริ บาลต่อรอยโรคฝี ในช้างเลี้ยงให้ทำ� งานได้สะดวกรวดเร็ วและมี ประสิ ทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การน�ำเสนอแผนภูมิตวั แบบนี้ เป็ นขั้นตอนแรกที่เมื่อสัตวแพทย์นำ� ไปใช้แล้ว เกิดความคิดวิพากษ์วจิ ารณ์ หรื อหากเทคในโลยีความก้าวหน้าทางการแพทย์เกิดมีข้ ึนมาใหม่ ก็สามารถน�ำเสนอและปรับปรุ งให้เกิด แผนภูมิตวั แบบใหม่ ที่ดีและมีประสิ ทธิภาพกว่าเดิมได้ เอกสารอ้ างอิง 1. Fowler, M., Mikota, S. 2006 . Biology, Medicine, and Surgery of Elephants. Blackwell Publishing, Oxford, pp 57-67, 75-91, 91-110,119-131, 253-271. 2. Miller, E., Fowler, M., 2015 . Zoo and wild animal medicine. Elsevier Saunders. Missouri, pp 517-531
70
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
การสร้ างเครือข่ ายเพือ่ ส่ งเสริมการดูแลสุ ขภาพและสวัสดิภาพช้ างบ้ าน โดยชมรมปางช้ างเชียงใหม่ Elephant Healthcare and Welfare Enhancement by Chiang Mai Elephant Alliance Network ทิตฏยา จรรยาเมธากุล 1,2* ธีรภัทร ตรังปราการ 1,2 พนิดา เมืองหงษ์ 1,3 และ เฉลิมชาติ สมเกิด 4 Thittaya Janyamethakul 1,2* Theerapat Trugprakarn 1,2 Panida Muanghong 1,3 and Chaleamchat Somgird4 ค�ำส� ำคัญ: ช้างบ้าน เครื อข่าย สุ ขภาพ สวัสดิภาพ ชมรมปางช้างเชียงใหม่ เครื อข่ายสังคมออนไลน์
บทคัดย่ อ ประเทศไทยนับเป็ นประเทศท่องเที่ยวที่น่าประทับใจของชาวต่างชาติทวั่ โลก ซึ่ งการท่องเที่ยว เกี่ยวกับช้างได้รับความนิ ยมเป็ นอย่างมากส่ งผลให้ชา้ งในการท่องเที่ยวมีจำ� นวนเพิ่มขึ้น ประกอบกับ นักท่องเที่ยวได้ให้ความส�ำคัญในเรื่ องของสวัสดิภาพช้างบ้านซึ่ งส่ งผลต่อการเลือกท�ำกิจกรรมกับช้าง การรวมตัวของผูเ้ ลี้ ยงช้างภาคเอกชนในจังหวัดเชี ยงใหม่เพื่อช่ วยในกิ จกรรมส่ งเสริ มสุ ขภาพและ สวัสดิ ภาพช้าง นับเป็ นการช่ วยเหลือช้างและปางช้าง ในแง่ของการปรับแนวทางการดูแลช้างให้มี ชมรมปางช้างเชียงใหม่ Chiang Mai Elephant Alliance 2 ฟาร์มช้างภัทร อ�ำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ 2 Patara Elephant Farm 3 ปางช้างแม่แตง อ�ำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 3 Maetaeng Elephant Park & Clinic 4 ศูนย์ความเป็ นเลิศด้านการศึกษาวิจยั ช้างและสัตว์ป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4 Center of Excellence in Elephant and Wildlife Research, Chiang Mai University * email: cmelealliance@gmail.com, Tel : 0635946366 1
1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
71
มาตรฐานเดียวกันมากขึ้น เมื่อช้างมีสุขภาพดี ได้รับสวัสดิภาพที่ดี นักท่องเที่ยวรับรู ้และเข้าใจการดูแล ช้างทั้งในส่ วนของการจัดการให้เข้ากับยุคสมัย และวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างที่มีมานาน ย่อมเป็ นการ ส่ งเสริ มภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงานในสายตานักท่องเที่ยว ซึ่ งการที่นกั ท่องเที่ยวมาใช้บริ การมากขึ้น จะเป็ นฟั นเฟื องส�ำคัญที่ ช่วยในการอนุ รักษ์ช้างของภาคเอกชนต่อไปในอนาคต ลักษณะการสร้ าง เครื อข่ายเพื่อด�ำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสุ ขภาพและสวัสดิภาพช้าง ทางชมรมปางช้างเชียงใหม่ได้มุ่งเน้น ทั้งการให้ขอ้ มูลผูป้ ฏิบตั ิงานมากขึ้นควบคู่กบั การสื่ อสารที่มีประสิ ทธิภาพมากขึ้น คือน�ำเครื อข่ายสังคม ออนไลน์มาใช้ประกอบการประสานงาน ทั้งในการดูแลสุ ขภาพช้าง ช่วยเหลือช้างป่ วย การให้ขอ้ มูลแก่ บุคคลทัว่ ไปและนักท่องเที่ยว บทน�ำ จากอดีตทีช่ า้ งเป็ นสัตว์สญ ั ลักษณ์ประจ�ำประเทศและมีความส�ำคัญในความเชื่อทางศาสนา คนไทย ได้เลี้ยงช้างเพื่อใช้งาน ทั้งในการขนสัมภาระ สิ นค้า ตลอดจนน�ำมาฝึ กเป็ นช้างศึกเพื่อการสงคราม ท�ำให้ชา้ งมีส่วนส�ำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศมาโดยตลอด ปั จจุบนั ช้างได้กลาย เป็ นสัตว์ที่มีความส�ำคัญในด้านเศรษฐกิจ คือการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเกี่ยวกับช้างของประเทศไทย เป็ นสิ่งทีด่ ึงดูดนักท่องเทีย่ วต่างชาติมาโดยตลอด พบว่าช้างหนึ่งเชือกสามารถท�ำรายได้ให้กบั การท่องเทีย่ ว ถึง 2-2.5 ล้านต่อปี ทั้งในแง่ของกิจกรรมโดยตรงและอ้อมที่เกี่ยวกับช้าง ก่อให้เกิดรายได้ต่อชุมชน เป็ นอย่างมาก (นิสิต, รอตีพิมพ์) การท�ำกิจกรรมกับช้างถูกแบ่งออกเป็ นหลายรู ปแบบ เช่น การนัง่ แหย่ง การชมการแสดงความสามารถของช้าง การนัง่ คอหรื อหลังช้างแบบไม่มีแหย่ง การสังเกตพฤติกรรมตาม ธรรมชาติของช้าง เป็ นต้น จากการท�ำงานของช้างที่แตกต่างกัน ย่อมมีกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความชอบ ส่วนตัวที่สนใจช้างในด้านการเลี้ยงดู การท�ำงานที่ตา่ งไปด้วย จึงท�ำให้มีการถกเถียงในด้านของสวัสดิภาพ ช้างในการท่องเที่ยวมากขึ้น (วีระเดช, 2560) การจัดท�ำแผนการอนุรักษ์และแก้ไขปัญหาช้างในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2556 และผลจากการ ประชุมเกี่ยวกับช้างในหลายครั้ง ได้มีการเสนอให้มีการรวมตัวผูเ้ ลี้ยงช้างบ้านเป็ นชมรมหรื อสมาคมที่ สามารถติดต่อสื่ อสารกับหน่วยงานอื่นๆได้ และสามารถช่วยเหลือกันได้ (รองลาภและคณะ, 2556) และ จากการส�ำรวจจ�ำนวนช้างบ้านในจังหวัดเชียงใหม่ ประจ�ำปี 2560 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผา่ นมา พบว่ามี ช้างบ้านที่ผเู ้ ลี้ยงเป็ นภาคเอกชนถึง 833 เชือก (ศูนย์ความเป็ นเลิศด้านการศึกษาและวิจยั ช้าง มหาวิทยาลัย เชี ยงใหม่ สถาบันวิจยั และบริ การสุ ขภาพช้างแห่ งชาติ กรมปศุสัตว์ และสถาบันคชบาลแห่ งชาติใน พระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้, 2560) จัดเป็ นร้อยละ 30 ของจ�ำนวนช้างบ้านทัว่ ประเทศ (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุพ์ ชื , 2560) ช้างบ้านในเขตจังหวัดเชียงใหม่จึงจัดเป็ นกลุม่ ประชากร ที่ควรให้ความส�ำคัญ จึงท�ำให้มีการรวมตัวจัดตั้งเป็ นชมรมปางช้างเชียงใหม่ข้ ึนเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2560 เพื่อมุ่งเน้นการสร้างเครื อข่ายที่ส่งเสริ มสุ ขภาพและสวัสดิภาพช้างบ้าน ซึ่ งถือเป็ นการร่ วมกัน อนุรักษ์ชา้ งไทยในส่ วนของผูเ้ ลี้ยงช้างภาคเอกชน และเพื่อเผยแพร่ ขอ้ มูลการเลี้ยงช้างในวิถีคนไทยที่มี ความใส่ ใจในสวัสดิภาพช้างให้กบั นักท่องเที่ยวต่างชาติได้เข้าใจมากขึ้น ในการด�ำเนิ นงานของชมรม 72
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ปางช้างได้มีการปรึ กษาและประสานกับหลายหน่วยงาน อาทิเช่น ศูนย์ความเป็ นเลิศด้านการศึกษาวิจยั ช้างและสัตว์ป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรม ป่ าไม้ หน่วยงานในพื้นที่ของกรมปศุสตั ว์ โรงพยาบาลช้าง มูลนิธิเพื่อนช้าง เป็ นต้น แนวทางการท�ำงานของชมรมเน้นการสร้างเครื อข่ายของสมาชิก ทั้งในความสัมพันธ์ของเจ้าของ ปางช้าง เจ้าของช้าง ควาญช้าง สัตวแพทย์ และร่ วมกันพัฒนาการสื่ อสารให้รวดเร็ วและมีประสิ ทธิภาพ มากขึ้น ในส่ วนของสุ ขภาพช้าง ความรู ้การเลี้ยงช้าง อีกทั้งชมรมยังให้ความส�ำคัญต่อการสื่ อสารกับ บุคคลทัว่ ไปและนักท่องเที่ยว ในแง่ของวัฒนธรรมการเลี้ยงช้าง และการใช้ชา้ งที่จึงมีโครงการต่างๆ เกิดขึ้น ได้แก่ โครงการจัดทีมอาสาเพื่อช้ าง (C-EVO: Chiang Mai Elephant Volunteer Operations) บทบาทและขอบเขตด�ำเนินงานของทีมอาสาคือ การแจ้งข่าวสุ ขภาพช้าง การเข้าถึงตัวช้างป่ วย และปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อรอรับรักษาจากสัตวแพทย์ภายในเครื อข่ายหรื อเตรี ยมตัวช้างให้พร้อมกับ การขนส่ งไปโรงพยาบาลช้าง (โรงพยาบาลช้าง สถาบันคชบาลแห่ งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การ อุตสาหกรรมป่ าไม้ จ.ล�ำปาง และโรงพยาบาลช้าง มูลนิ ธิเพื่อนช้าง จ.ล�ำปาง) และเป็ นทีมควบคุม สถานการณ์ในกรณี ที่นกั ท่องเที่ยวได้รับอุบตั ิเหตุที่เกี่ยวข้องกับช้าง โครงการให้ ข้อมูลเกี่ยวกับการเลีย้ งช้ างบ้ านของผู้เลีย้ งช้ างเอกชนเพื่อการท่ องเที่ยวให้ กบั บุคคล ทั่วไปและนักท่ องเที่ยว มีจุดประสงค์เพือ่ ให้ขอ้ มูลแก่บุคคลทัว่ ไปและนักท่องเที่ยวเพือ่ ให้เข้าใจธรรมชาติของช้าง การ เลี้ยงช้างในวิถีของคนไทยที่มีการใช้อุปกรณ์ที่เป็ นภูมิปัญญาในการสื่ อสารกับช้าง และเรื่ องน่าสนใจ ต่างๆเกี่ยวกับช้าง โดยให้ขอ้ มูลอยู่ 2 ช่องทางคือ 1. การให้ขอ้ มูลผ่านการฟัง การพูดคุย ในงานประชุมต่างๆ ชมรมปางช้างเชียงใหม่ได้มีแนวทาง การเข้าร่ วมงานประชุ มของหน่ วยงานต่างๆที่มีความเกี่ ยวข้องกับช้างทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อ ให้สามารถเข้าถึ งกลุ่มคนที่ มีความส�ำคัญในการให้ขอ้ มูลแก่ นักท่องเที่ ยว เช่ น มัคคุเทศก์ ตัวแทน การท่องเที่ยว เป็ นต้น 2. การให้ขอ้ มูลผ่านทางเครื อข่ายสังคมออนไลน์ที่เป็ นที่นิยมคือ เฟสบุค๊ (Facebook) ชื่อ ชมรม ปางช้างเชียงใหม่ - Chiangmai Elephant Alliance โครงการให้ ข้อมูลที่ ส่งเสริ มการดูแลสวัสดิภาพช้ างแก่ สมาชิ กผู้ดูแลช้ างผ่ านเครื อข่ ายสั งคม ออนไลน์ ที่เป็ นที่ นิยม จุดประสงค์คือ เพื่อส่ งเสริ มให้ผดู ้ ูแลช้างมีความรู ้ความเข้าใจที่ถกู ต้อง และได้รับความรู ้ในเชิง ภูมิปัญญาการเลี้ยงช้างของไทย รวมถึงเป็ นช่ องทางในการเตื อนให้ระมัดระวังเรื่ องสุ ขภาพช้างใน แต่ละฤดูกาล ซึ่งมีความคาดหวังว่าสมาชิกจะสามารถดูและสวัสดิภาพช้างได้ดีข้ ึน และอาจเป็ นแนวทาง การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
73
การรวมกันเพื่อพัฒนาให้มีมาตรฐานปางช้างท่องเที่ยวที่เป็ นที่ยอมรับในอนาคต โดยใช้การให้ขอ้ มูล ในการพิ มพ์สนทนาโต้ตอบ การส่ งรู ปภาพ หรื อเอกสารความรู ้ ผ่านเครื อข่ ายสังคมออนไลน์คือ แอปพลิเคชัน่ ไลน์ โดยจัดตั้งห้องสนทนาเป็ นกลุ่มชื่อ ชมรมปางช้างเชียงใหม่ ขั้นตอนการด�ำเนินงาน โครงการจัดที มอาสาเพื่อช้ าง (C-EVO: Chiang Mai Elephant Volunteer Operations) 1. รวบรวมรายชื่อสมาชิกทีมอาสาจากปางช้างที่เป็ นสมาชิกชมรม ประกอบด้วยเจ้าของปาง ช้าง เจ้าของช้าง ควาญช้าง (ปกาเกอญอ ปะหล่อง ไทย พม่า) สัตวแพทย์ ผูช้ ่วยสัตวแพทย์และบุคลากร อื่นๆ ของปาง เช่น ผูจ้ ดั การปางช้าง ช่างภาพ ผูม้ ีทกั ษะภาษาท้องถิ่นหรื อภาษาต่างประเทศ เป็ นต้น 2. การอบรมและให้ความรู ้แก่ทีมอาสา ซึ่งมีท้งั การส่งอบรมผูช้ ่วยสัตวแพทย์แบบก้าวหน้าของ ศูนย์ความเป็ นเลิศด้านการศึกษาวิจยั ช้างและสัตว์ป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ การอบรมโดยสัตวแพทย์ในเครื อข่าย และการเรี ยนรู ้ผา่ น การฝึ กฝนในสถานการณ์จริ งร่ วมกับสมาชิกที่มีประสบการณ์ 3. การวางบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนในแต่ละสถานการณ์ เช่น ช้างท้องอืด ช้างคลอด ลูก ช้างตกมันหลุด อุบตั ิเหตุกบั นักท่องเที่ยวที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกับช้าง เป็ นต้น 4. การประชุมเพือ่ แลกเปลีย่ นประสบการณ์ และการปรึ กษาแนวทางการปฏิบตั หิ รื อแก้ไขปัญหา ที่พบจากการปฏิบตั ิงาน ลักษณะการด�ำเนินงานของทีมอาสาแบ่งเป็ น 2 กรณี 1) การด�ำเนินงานกรณี ที่สัตวแพทย์ สามารถเข้ าถึงตัวช้ างป่ วยได้ เมื่อได้รับแจ้งช้างป่ วยทั้งผ่าน การโทรศัพท์หรื อไลน์ สัตวแพทย์ที่สามารถเข้าถึงช้างป่ วยได้จะสอบถามอาการกับเจ้าของ สัตว์ทางโทรศัพท์ ทีมอาสาอยูใ่ กล้เคียงที่ๆ มีชา้ งป่ วย โดยเฉพาะอาสาที่มีความสามารถด้าน ภาษาท้องถิ่นสามารถช่วยในการการซักประวัติกบั เจ้าของช้างหรื อควาญช้างป่ วยได้ดีข้ ึน โดยใช้การประสานงานผ่านทางไลน์เพื่อประโยชน์ในการแจ้งปั ญหาสุ ขภาพช้างและ การส่ งรู ปอาการ หรื อวีดีโอของพฤติกรรมช้าง ท�ำให้สัตวแพทย์ได้ประเมินอาการช้าง สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวช้าง และให้คำ� แนะน�ำเบื้ องต้นทั้งทางโทรศัพท์และทางไลน์ นอกจากนี้ ยงั เอื้อประโยชน์ให้ชา้ ง ในกรณี อาสาที่เป็ นผูช้ ่วยสัตวแพทย์ช่วยปฐมพยาบาล เบื้องต้น ภายใต้คำ� แนะน�ำของสัตวแพทย์ หรื อจัดสถานที่ สิ่ งแวดล้อมในการรักษา เช่น การจัดท�ำที่ผกู โยงช้างหรื อย้ายช้างเข้าในพื้นที่ที่สัตวแพทย์สามารถท�ำงานได้สะดวกขึ้น เป็ นต้น ระหว่างการเดินทางของสัตวแพทย์จากสังกัดมายังจุดที่มีชา้ งป่ วย 2) การด�ำเนิ นงานกรณี ที่สัตวแพทย์ ไม่ สามารถเข้ าถึ งตัวช้ างป่ วยได้ มักพบการด�ำเนิ นงาน ลักษณะนี้ ในช่ วงที่ ช้างป่ วยพร้ อมๆ กันจ�ำนวนมากและคนละพื้นที่ ท�ำให้สัตวแพทย์ ไม่สามารถเดินทางไปหาช้างได้พร้อมๆ กัน หรื อกรณี ที่สตั วแพทย์ประเมินเบื้องต้นว่าต้อง น�ำส่ งโรงพยาบาล ทีมอาสาจะเข้าตรวจสอบความพร้อมของช้าง อุปกรณ์ที่ตอ้ งใช้ เช่น โซ่ 74
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
จุดที่รถขนช้างสามารถเข้าถึงได้ และการนัดหมายรถขนช้าง ซึ่งในระหว่างการรอรถขนช้าง ทีมอาสาที่มีผชู ้ ่วยสัตวแพทย์สามารถเข้าให้ยาหรื อสารน�้ำภายใต้คำ� แนะน�ำของสัตวแพทย์ เพื่อให้ชา้ งอยูใ่ นสภาพร่ างกายที่สามารถเคลื่อนย้ายไปสู่ โรงพยาบาลได้ปลอดภัยยิง่ ขึ้น โครงการให้ ข้อมูลเกี่ยวกับการเลีย้ งช้ างบ้ านของผู้เลีย้ งช้ างเอกชนเพื่อการท่ องเที่ ยวให้ กับบุคคลทั่วไป และนักท่ องเที่ ยว 1. การสอบถามผ่านทางสมาคมหรื อชมรมมัคคุเทศก์เพือ่ ให้ทราบความต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ ช้างบ้านที่นกั ท่องเที่ยวสงสัย 2. การจัดท�ำสื่ อที่เหมาะสมกับลักษณะการบรรยายหรื อเสวนา ทั้งในรู ปแบบการน�ำเสนอภาพ นิ่ง วีดีโอ เอกสารให้ความรู ้ บอร์ดให้ขอ้ มูล 3. การจัดกลุ่มผูบ้ รรยายที่มีประสบการณ์ และมีที่มาหลากหลาย เช่น เจ้าของปางช้าง อาจารย์ มหาวิทยาลัย ตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นๆ 4. การสอบถามผูเ้ ข้าร่ วมการบรรยายหรื อเสวนา เพื่อสามารถปรับปรุ งลักษณะการให้ความรู ้ สื่ อที่จดั ท�ำให้เหมาะสมแก่ผฟู ้ ังในแต่ละกลุ่มเป้ าหมายในครั้งต่อๆไป โครงการให้ ข้อมูลที่ ส่งเสริ มการดูแลสวัสดิภาพช้ างแก่ สมาชิ กผู้ดูแลช้ างผ่ านเครื อข่ ายสั งคมออนไลน์ ที่ เป็ นที่ นิยม 1. จัดตั้งกลุ่มสมาชิกชมรมปางช้างเชียงใหม่ท้ งั ในไลน์และเฟสบุค๊ 2. จัดตั้ง ที มท�ำงานที่ มีค วามรู ้ ท างวิช าการและความสามารถในการท�ำ สื่ อ เช่ น ช่ างภาพ สัตวแพทย์ ผูม้ ีความสามารถด้านภาษาต่างประเทศ นักออกแบบกราฟิ ก เป็ นต้น 3. แบ่งการท�ำสื่ อออกเป็ น 2 ลักษณะ คือ 3.1 สื่ อเพื่อให้ความรู ้ผดู ้ ูแลสุ ขภาพช้าง(เจ้าของช้าง เจ้าของปาง ควาญช้าง) ในแง่การการ ดูแลสุขภาพ โดยสัตวแพทย์จะยกตัวอย่างกรณีศึกษาช้างป่ วย เพือ่ ให้เจ้าของช้าง ควาญช้างเข้าใจถึงสาเหตุ การป่ วย แนวทางการแก้ไขเบื้องต้นและการป้ องกัน รวมถึงเผยแพร่ ภมู ิปัญญาในการเลี้ยงหรื อท�ำอุปกรณ์ ต่างๆที่เกี่ยวกับช้างเช่น การท�ำปะอก การใช้สมุนไพรในการรักษาเบื้องต้น เป็ นต้น 3.2 สื่ อเพือ่ แจ้งเตือน ให้ระมัดระวังปัญหาสุ ขภาพที่เกิดเป็ นช่วงตามฤดูกาล ในรู ปแบบการ พิมพ์ขอ้ ความและรู ปภาพ ลงในกลุ่มไลน์ชมรมปางช้างเชียงใหม่ ผลการปฏิบัตงิ าน โครงการจัดที มอาสาเพื่อช้ าง (C-EVO: Chiang Mai Elephant Volunteer Operations) 1. มีสมาชิกทีมอาสาถึง 40 ท่าน จากปางสมาชิกชมรมปางช้างเชียงใหม่ 2. ช่วยเหลือช้างป่ วย ในเขตจังหวัดเชียงใหม่จำ� นวน 7 เชือก และ เขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน จ�ำนวน 2 เชือก 3. การตรวจสุขภาพช้างและให้คำ� ปรึ กษาในการจัดการปางช้างของเขตจังหวัดแม่ฮอ่ งสอน 2 ครั้ง การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
75
โครงการให้ ข้อมูลเกี่ยวกับการเลีย้ งช้ างบ้ านของผู้เลีย้ งช้ างเอกชนเพื่อการท่ องเที่ ยวให้ กับบุคคลทั่วไป และนักท่ องเที่ ยว 1. การเสวนาเรื่ อง ช้างความเป็ นอยูแ่ ละการดูแล และการใช้ชา้ งในการท่องเที่ยว เพื่อให้ความ รู ้ ความเข้าใจเกี่ ยวกับช้างบ้าน และความเข้าใจเรื่ องสวัสดิ ภาพช้างที่นักท่องเที่ยวมักมีขอ้ สงสัย แก่ มัคคุเทศก์ 40 ท่าน โดยความร่ วมมือกับสมาคมมัคคุเทศก์เชียงใหม่ 1 ครั้ง 2. การจัดท�ำสื่ อส่ งเสริ มความเข้าใจการเลี้ยงช้างไทย (ส�ำหรับบุคคลทัว่ ไปและมัคคุเทศก์) ในลักษณะบอร์ดให้ความรู ้ เอกสาร โครงการให้ ข้อมูลที่ ส่งเสริ มการดูแลสวัสดิภาพช้ างแก่ สมาชิ กผู้ดูแลช้ างผ่ านเครื อข่ ายสั งคมออนไลน์ ที่ เป็ นที่ นิยม 1. การประชุมเพื่อให้ความรู ้ควาญเรื่ องโรคในลูกช้างและการสังเกตอาการ ในเขตอ.แม่วาง 1 ครั้ง 2. การจัดท�ำสื่ อการให้ขอ้ มูลการเลี้ยงช้าง การดูแลสุ ขภาพและโรคต่างๆ รวมถึงแนวทางการ ป้ องกันโรค (ส�ำหรับผูเ้ ลี้ยงช้าง) ในกลุ่มไลน์ชมรมปางช้างเชียงใหม่ และเฟสบุค๊ ชมรมปางช้างเชียงใหม่ 3. สัตวแพทย์จะยกตัวอย่างกรณี ศึกษาช้างป่ วย และเตือนภัย ในรู ปแบบการพิมพ์ขอ้ ความและ รู ปภาพ ลงในกลุ่มไลน์ ได้แก่ ช่วงน�้ำป่ าไหลหลากได้เตือนภัยย้ายช้างผูกในที่ปลอดภัย การเตือนวิธีการ แก้ไขช้างท้องอืดเบื้องต้นและยาสัตว์ที่ควรมีประจ�ำปางช้าง การเตือนอันตรายในช้างที่ได้รับสารพิษใน ฤดูกาลเพาะปลูกที่มีการใช้สารเคมีมากขึ้นของเกษตรกรใกล้เคียงปางช้าง เป็ นต้น 4. ได้รับการตอบสนองจากสมาชิ กเป็ นอย่างดี และมีการอนุ ญาตให้เผยแพร่ ขอ้ มูลการดูแล สุ ขภาพช้างและการแจ้งเตือนต่างๆ กับกลุ่มผูเ้ ลี้ยงช้างที่ไม่เป็ นสมาชิกได้ อุปสรรคทีพ่ บและแนวทางการปรับปรุง โครงการจัดที มอาสาเพื่อช้ าง (C-EVO: Chiang Mai Elephant Volunteer Operations) 1. การสื่ อสาร การติดต่อกับคนในพื้นที่ไม่สามารถท�ำได้ต่อเนื่ องเพราะสัญญาณโทรศัพท์ ไม่ทวั่ ถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนภูเขาสู ง มีแนวทางการแก้ไขคือมีทีมอาสาที่สามารถออกมาในจุดที่มี สัญญาณโทรศัพท์ระหว่างทางเป็ นจุดๆ เพื่อรอสัตวแพทย์ในแต่ละจุดนัดหมาย 2. ในการสื่ อสารโดยใช้ไลน์จำ� เป็ นต้องมีการพิมพ์ บุคลากรบางท่านยังไม่สามารถใช้ได้คล่อง บางท่านพิมพ์ภาษาไทยไม่เป็ น มีแนวทางการแก้ไขคือสอนให้ถ่ายรู ปและวีดีโอ และใช้การโทรศัพท์ สอบถามเป็ นระยะๆ 3. ยานพาหนะในการเดินทางของสัตวแพทย์ เนื่องจากมีสตั วแพทย์หลายสังกัด ในบางสังกัด ยังไม่มียานพาหนะที่สามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัย (รถยนต์ที่มีระบบขับเคลื่อนสี่ ลอ้ ) ซึ่ งในขณะนี้ ชมรมปางช้างได้มีทีมรถขับเคลื่อนสี่ ลอ้ อาสา 2 คัน
76
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
4. ยานพาหนะที่ใช้ขนส่ งช้างไปโรงพยาบาล มีปางเพียงส่ วนน้อยที่มีรถขนส่ งช้างเป็ นของ ตนเอง ส่ วนมากยังใช้วิธีการจ้างรถขนสัตว์ทวั่ ไป หรื อ รถขนผลิตผลทางการเกษตร ซึ่ งรถเหล่านี้อาจ ไม่สามารถมาขนช้างในเวลาที่ตอ้ งการ ดังนั้นทางชมรมจึงพยายามผลักดันโครงการจัดซื้ อยานพาหนะ ในการขนส่ งช้างไปโรงพยาบาลช้างเพื่อให้สามารถส่ งช้างไปรักษาได้ทนั ท่วงที 5. ค่าใช้จ่ายในการรักษา ในการรักษาช้างมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสู ง จึงจ�ำเป็ นต้องมีการตกลง ส�ำหรับเจ้าของช้าง เช่น การจัดหาเวชภัณฑ์มาทดแทนที่ใช้ไป หรื อการช�ำระค่าใช้จ่ายในราคาที่เท่ากับ ราคาต้นทุนเวชภัณฑ์ โครงการให้ ข้อมูล เกี่ยวกับการเลีย้ งช้ างบ้ านของผู้เลีย้ งช้ างเอกชนเพื่อการท่ องเที่ ยวให้ กับบุคคลทั่วไป และนักท่ องเที่ ยว มัคคุเทศก์ให้ความสนใจและมีการติดต่อเพือ่ ให้มีการจัดงานเสวนาในครั้งต่อๆไป แต่ทางชมรม ยังมีความต้องการบุคลากรที่มีความสามารถในภาษาต่างประเทศต่างๆ เพือ่ ช่วยท�ำสื่ อให้ความรู ้ที่เหมาะ สมมากขึ้น โครงการให้ ข้อมูลที่ ส่งเสริ มการดูแลสวัสดิภาพช้ างแก่ สมาชิ กผู้ดูแลช้ างผ่ านเครื อข่ ายสั งคมออนไลน์ ที่ เป็ นที่ นิยม ไม่พบอุปสรรคใด สรุป ปัจจุบนั เจ้าของปางและเจ้าของช้างให้ความส�ำคัญในการดูแลช้างมากขึ้น ทั้งในด้านการจัดการ ด้านโภชนาการ ลักษณะการท�ำงาน และการดูแลสุขภาพ ซึ่งนับว่ามีบทบาทมากขึ้นในการอนุรักษ์ชา้ งไทย เพราะฉะนั้นการจัดตั้งชมรมปางช้างเชียงใหม่ เพื่อให้มีเครื อข่ายการท�ำงานที่เน้นการเข้าช่วยเหลือเรื่ อง สุ ขภาพช้าง การอบรมให้ขอ้ มูลความรู ้แก่ผปู ้ ฏิบตั ิงาน บุคคลทัว่ ไปและนักท่องเที่ยว จึงเป็ นการส่ งเสริ ม การดูแลสุ ขภาพและสวัสดิภาพช้างบ้านทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งยังส่ งเสริ มภาพลักษณ์การเลี้ยงช้าง ของประเทศไทยให้ดียงิ่ ขึ้น กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ สมาชิกชมรมปางช้างเชียงใหม่ทุกท่านที่ช่วยเหลือการท�ำงานในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ จากศูนย์ความเป็ นเลิศด้านการศึกษาวิจยั ช้างและสัตว์ป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการให้คำ� ปรึ กษาและ ช่วยเหลือ รวมถึงทีมนายสัตวแพทย์สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
77
เอกสารอ้ างอิง 1. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. Population and distribution of elephant in Thailand [อินเทอร์เน็ต].กรุ งเทพฯ: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พชื ; 2560 [เข้าถึงเมื่อ16 ก.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/pg/DNP1362/photos/?ref=page_internal 2. นิ สิต พันธมิตร. การวิเคราะห์โครงสร้ างและกลไกการตลาดเพื่อสร้ างมูลค่าเพิ่มของธุ รกิ จการ ท่องเที่ยวประเภทปางช้างแบบยัง่ ยืนในจังหวัดเชียงใหม่.ส�ำนักงานคณะกรรมการวิจยั แห่งชาติ. รอตีพิมพ์ 2560. 3. รองลาภ สุ ขมาสรวง นริ ศ ภูมิภาคพันธ์ นิกร ทองเทิพย์ และ วันชัย อรุ ณประภารัตน์. 2556. การแก้ไขปั ญหาช้าง. หน้า 53 ใน แผนการอนุรักษ์และแก้ไขปั ญหาช้างในประเทศไทย. คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุ งเทพฯ. 4. วีระเดช คชเสนีย.์ กรมการท่องเที่ยวแจงแนวปฏิบตั ิในการใช้ชา้ งเพือ่ การท่องเที่ยว ระบุชดั ไม่ส่งเสริ ม การท่องเที่ยวที่เข้าข่ายการทรมานสัตว์ทุกชนิด [อินเทอร์เน็ต].กรุ งเทพฯ: ส�ำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์; 2560 [เข้าถึงเมื่อ16 ก.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก : http://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/TNECO6007080010003 5. ศูนย์ความเป็ นเลิศด้านการศึกษาและวิจยั ช้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สถาบันวิจยั และบริ การสุ ขภาพ ช้างแห่งชาติ กรมปศุสตั ว์ และสถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้. จดหมายข่าวฉบับที่ 25 เรื่ อง ข้อมูลประชากรช้างเลี้ยง 2560 [อินเทอร์เน็ต].เชียงใหม่: ศูนย์ความเป็ นเลิศ ด้านการศึกษาและวิจยั ช้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560 [เข้าถึงเมื่อ16 ก.ค. 2560]. เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/pg/EREC.CMU/photos/?tab=album&album_id=1633891569957686
78
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Subclinical EEHV infection in captive Asian elephants in Thailand การติดเชื้อเฮอร์ ปีส์ ไวรัสในช้ างแบบไม่ แสดงอาการในช้ างเลีย้ งในประเทศไทย Supaphen Sripiboon 1,2, Preeda Lertwatcharasarakul 2 , Chatchote Thitaram 3, Khajohnpat Boonprasert 4,a, Piyaporn Kongmakee 5, William Ditchem 1, Kristin Warren 1 Keywords: asymptomatic, EEHV, elephant, subclinical, Thailand Introduction Elephant endotheliotropic herpesvirus (EEHV) is a recently recognised subgroup of herpesviruses that can lead to acute and often fatal haemorrhagic disease (EEHV HD) in young Asian elephants. In line with other herpesviruses, EEHV may enter latency if a host does not initially develop clinical disease or survives clinical infection. Herpesviruses can also reactivate, resulting in viral shedding, if the host is immunocompromised (Grinde, 2013). Previous studies have reported intermittent shedding of EEHV from healthy elephants in ocular, respiratory, and reproductive secretions (Stanton et al., 2010), demonstrating subclinical EEHV infection can occur in healthy Asian elephants. However, the predisposing factors for EEHV reactivation and shedding are still unclear (Stanton et al., 2010).
College of Veterinary Medicine, School of Veterinary and Life Sciences, Murdoch University, Perth 6150, Australia 2 Faculty of Veterinary Medicine, Kasetsart University, Kamphaeng saen, NakornPrathom 73140, Thailand 3 Center of Excellence in Elephant Research and Education, Chiang Mai University, Chiang Mai 50100, Thailand 4,a Southern Elephant Hospital, National Elephant Institute, Krabi 81120, Thailand 5 Bureau of Conservation and Research, Zoological Park Organization, Bangkok 10300, Thailand a present position; Center of Excellence in Elephant Research and Education, Chiang Mai University, Chiang Mai 50100, Thailand Corresponding author: Supaphen Sripiboon (ssripiboon@gmail.com) 1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
79
Thailand has the world’s fourth-largest remaining Asian elephant population, and has previously reported fatalities associated with EEHV infection in young captive Asian elephants (Sripiboon et al., 2016). Despite the confirmed clinical cases of EEHV infection in Thailand, PCR surveillance of a healthy elephant population in Thailand (n = 31) found an EEHV prevalence of 0% (95%CI: 0–11%) (Hildebrandt et al., 2005). The findings from Hildebrandt et al. (2005)’s study questioned whether the virus is absent from healthy elephant populations in Thailand, or whether the observed prevalence was related to limitations of the study, such as sample size or analytical sensitivity of the diagnostic tests used. To investigate these questions and to determine the status of subclinical EEHV infection in Thailand, this study used real-time PCR to detect EEHV from Asian elephants located across Thailand’s large captive population. Variables including types of sample collected, sex, age-class structures, locations, and contact history were recorded, evaluated and reported. Materials and methods This study was conducted between September 2013 and March 2015, with samples collected from elephants at 20 study sites (elephant facilities) located across five different regions of Thailand. Whole blood, conjunctiva swab and/or trunk swab were aimed to collect from each elephant. All sample collection procedures were approved by Murdoch University’s Animal Ethics Committee (Permit No. R2582/13). DNA was extracted from 200 μl of whole blood or swab solution using the FavorPrepTM Viral Nucleic Acid Extraction Kit (Favorgen Biotech Co., Taiwan). A SYBR Green I-based real-time PCR using redundant PANPOL primers was performed to detect EEHV infection (Latimer et al., 2011). In order to confirm specific product amplification, a melt curve analysis and nucleotide sequencing were performed. Absolute quantification was performed using the standard curve method, in order to quantify the viral copy number. Tested samples were considered positive when: i) the threshold cycle (Ct) value was less than 40; ii) the melting temperature matched the expected temperature; and iii) a nucleotide sequence matched an EEHV sequence in the database. Any sample not meeting these criteria was considered negative. Results A total of 362 individual captive Asian elephants were sampled, comprising 267 females, 93 males, and two that had no recorded sex. The ages of elephants in this study ranged from two months to 80 years old, with the median age being 30 years old. However, when divided by age-class structure according to Arivazhagan and Sukumar (2008), five elephants were babies (newborn to one year old), 80
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
36 elephants were juveniles (1–5 years), 58 were sub-adults (5–15 years), and 263 were adults (> 15 years). Based on external appearance, behaviour, and medical records, all sampled elephants in this study were considered to be healthy elephants. This study found 5.5% (20/362, 95%CI: 3.4–8.4%) of all elephants sampled were positive for EEHV infection on either blood, trunk swab, or conjunctival swab. Nucleotide sequencing and phylogenetic dendrogram showed that 80% (16/20) of EEHV-positive cases were closely related to EEHV1A, and 20% (4/20) were closely related to EEHV1B. The viral levels in this study ranged from 5.5x103 – 3.1x104 VGCs/ml of blood or swab solution (limit of detection of this assay was 2.5x103 VGCs/ml). Of the 20 individuals that tested positive by qPCR, 15/20 were positive on their swab sample, and 5/20 were positive on their blood sample. No individual tested positive across two or more sample types. In addition, this study found no significant association between sex and likelihood of EEHV infection (OR = 1.05; 95%CI: 0.37–2.97; p = 0.93). However, the analyses found that juvenile elephants (1–5 years) were significantly more likely to be positive for EEHV infection by qPCR, when compared to all other age classes combined (OR = 4.46; 95%CI: 1.60–12.45; p = 0.05). Furthermore, no association between qPCR detection and either elephant camps, or regions of Thailand, or history of EEHV exposure were found. Discussion and conclusion This study reported findings from the first cross-sectional study to be undertaken across different regions and captive facilities in Thailand, to evaluate apparent EEHV prevalence in healthy Asian elephants using the qPCR method. The population of captive Asian elephants in Thailand is estimated to be around 3000–3500 individuals; therefore, samples from this study represent approximately 10% of the total captive Asian elephant population in Thailand. The overall prevalence of subclinical EEHV infection in this study was 5.5% (20/362), of which all were positive for EEHV1. Results from this study were similar to the findings from previous research conducted in South India, where the prevalence of EEHV1 was reported to be 6.5% (95%CI: 1.4– 17.9%) (Stanton et al., 2014). Based on melt curve analysis and nucleotide sequencing, the most common type of EEHV detected in this study was EEHV1A (16/20), which is the type most frequently responsible for EEHVrelated fatalities in young elephants across the world, and in Thailand (Long et al., 2015). Despite the skewed ratio towards adult elephants, this study found that EEHV was significantly more likely to be detected in juvenile elephants (1–5 years old) than all other age classes. This could suggest that the virus is more active in this age class; and it is recommended that regular การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
81
monitoring (physical examination and routine blood tests) should be planned in order to prevent the clinical phase of EEHV infection in this age class particularly. Due to low numbers of virus being shed, the analytical sensitivity of conventional PCR appears insufficient to detect EEHV in healthy populations. Therefore, nested PCR or qPCR should be used to screen elephants for subclinical EEHV infection (Stanton et al., 2010; Latimer et al., 2011). The viral levels in this present study ranged from 103-104 VGCs/ml. No EEHV-related clinical signs were observed in positive cases. This concurs with the findings of Stanton et al. (2013); indicating that the diagnostic test applied here is able to detect both subclinical and clinical infections. This is the first study to undertake EEHV surveillance in healthy captive Asian elephants across Thailand. This study’s reported prevalence likely significantly underestimate the true prevalence of EEHV infection, duet to the issue of intermittent shedding and latency associated with herpesviruses. Elephant that positive for EEHV infection, did not develop EEHV-related clinical signs. This suggests that subclinical EEHV infection (particular EEHV1) occurs in the Asian elephant population in Thailand. Understanding the prevalence of infection in each herd is fundamental for decision-making around health management of captive individuals, and ultimately conservation management of free-ranging individuals. Accurate identification of healthy individuals that are shedding the virus in a herd is crucial to better understand the epidemiology of the disease, as well as to facilitate quarantine and management plans. Acknowledgement The authors grateful to veterinarians and staffs from National Institute of Elephant Research and Health Service (Surin), camp’s owners, elephant’ owners, and mahouts for good collaboration on sample collection. References 1. Arivazhagan, C. & Sukumar, R. (2008). Constructing age structures of Asian elephant populations: a comparison of two field methods of age estimation. Gajah. 29, 11-16. 2. Grinde, B. (2013). Herpesviruses: latency and reactivation-viral strategies and host response. J Oral Microbiol. 5, 1-9. 3. Long, S. Y., Latimer, E. M. & Hayward, G. S. (2015). Review of elephant endotheliotropic herpesviruses and acute hemorrhagic disease. ILAR Journal. 56, 283- 296. 4. Sripiboon S, Jackson B, Ditcham W, Holyoake C, Robertson I, Thitaram C, Tankaew P, Letwatcharasaralul P, Warren K. (2016) Molecular characterisation and genetic variation of elephant 82
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
5.
6. 7. 8.
endotheliotropic herpesvirus infection in captive young Asian elephants in Thailand. Infect Genet Evol. 44: 487-494. Stanton, J. J., Zong, J. C., Latimer, E., Tan, J., Herron, A., Hayward, G. S. & Ling, P. D. (2010). Detection of pathogenic elephant endotheliotropic herpesvirus in routine trunk washes from healthy adult Asian elephants (Elephas maximus) by use of a real-time quantitative polymerase chain reaction assay. Am J Vet Res. 71, 925-933. Stanton, J. J., Nofs, S. A., Zachariah, A., Kalaivannan, N. & Ling, P. D. (2014). Detection of elephant endotheliotrooic herpesvirus infection among healthy Asian elephants (Elephas maximus) in South India. J Wild Dis. 50, 279-287. Hildebrandt, T. B., Hermes, R., Ratanakorn, P., Rietschel, W., Fickel, J., Frey, R., Wibbelt, G., Reid, C. & Göritz, F. (2005). Ultrasonographic assessment and ultrasound- guided biopsy of the retropharyngeal lymph nodes in Asian elephants (Elephas maximus). Vet Rec. 157, 544-548. Latimer, E., Zong, J. C., Heaggans, S. Y., Richman, L. K. & Hayward, G. S. (2011). Detection and evaluation of novel herpesviruses in routine and pathological samples from Asian and African elephants: identification of two new probosciviruses (EEHV5 and EEHV6) and two new gammaherpesviruses (EGHV3B and EGHV5). J Vet Microbiol. 147, 28-41.
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
83
การใช้ เทคนิคทางอณูชีวโมเลกุลตรวจหาเชื้อ Trypanosoma evansi ในช้ างเอเชียด้ วยวิธี PCR Molecular technique detection of Trypanosoma evansi in Asian Elephant by PCR วรางคณา ลังการ์พินธุ์ *,1 ทวีโภค อังควานิช1 นิคม สุ จดา1 นลิน อารี ยา2 ดุสิต เลาหสิ นณรงค์3 ธนศักดิ์ ช่างบรรจง3 และ ศรุ ดา ติวนันทกร4 Varangkana Langkapin*,1, Taweepoke Angkawanish1, Nikhom Sujada1, Nlin Areeya2, Dusit Laohasinnarong3, Tanasak Changbunjong3 and SarudaTiwananthagorn4 ค�ำส� ำคัญ: ช้างเอเชีย Keywords: Trypanosoma evansi, PCR บทน�ำ โรคเซอร่ า (Surra) หรื อ Trypanosomiasis เกิดจากการติดเชื้อ Trypanosoma evansi ซึ่งเป็ นปรสิ ต ในเลือด โดยส่ วนมากพบใน โค, กระบือ, ควาย, ช้าง, ม้า, หมู, หมา และช้าง เป็ นต้น (OIE, 2012; Desquesnes et al., 2013) สามารถแพร่ กระจายได้ง่าย และรวดเร็ ว ขึ้นอยูก่ บั สายพันธุ์ ความไวต่อโรคใน สัตว์แต่ละตัว รวมไปถึงปริ มาณของปรสิ ต และอายุของสัตว์ (Morter, 2006) ซึ่ งส่ งผลต่อสุ ขภาพสัตว์ โดยตรง ท�ำให้ผลผลิตต�่ำ มีสุขภาพไม่แข็งแรง ก่อให้เกิดความสู ญเสี ยทางเศรษฐกิจค่อนข้างสู ง
สถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ Nation Thai Elephant Institute, Forest Industry Organization 2 ภาควิชาปรี คลินิกและสัตวศาสตร์ประยุกต์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล Department of Pre-clinic and Applied Animal Sciences, Faculty of Veterinary Science, Mahidol University 3 ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุ ข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิ ดล Department of Clinical Science and Public Health, Faculty of Veterinary Science, Mahidol University 4 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Faculty of Veterinary Science, Chiang Mai University * Corresponding author: taweepoke@gmail.com 1
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
85
เนื่ องจากช้างเป็ นสัตว์ประจ�ำชาติไทย และมีความส�ำคัญมาอย่างยาวนาน จากการรายงานพบ โรคเซอร่ าครั้งแรกในช้างแอฟริ กา (Bruce and Hamertor, 1909) นอกจากนี้ยงั พบการติดเชื้อในช้างเอเชีย ที่ประเทศอินเดีย และพม่า (Evan, 1910; Chandrasekharan et al., 1995; Tresamol, 2002) ส�ำหรับใน ประเทศไทยพบการรายงานในช้างลากไม้ทางภาคเหนือและใต้ (Rodtian et al., 2004; อรพรรณ และ คณะ, 2002) โรคเซอร่ าถือว่าเป็ นโรคประจ�ำถิ่นในประเทศไทย ที่มีความส�ำคัญต่อสุ ขภาพของช้าง มีการแพร่ กระจายจากสัตว์ชนิ ดหนึ่ งไปสู่ สัตว์อีกชนิ ดหนึ่ ง โดยอาศัยพาหะน�ำโรคที่สำ� คัญได้แก่ เห็บ และแมลงดูดเลือด เช่น เหลือบตัวเมีย (Tabanas spp.), แมลงวันคอก (Stomoxy spp.), แมลงเขาควาย (Lyperosia spp.) และHaematopota spp. เป็ นต้น (Luckins, 1998b; Baldacchino et al., 2013) การระบาด พบมากในประเทศที่มีภมู ิอากาศร้อนชื้น โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนถึงปลายหนาว สัตว์ที่มีการติดเชื้อบางตัว จะแสดงอาการของโรคหรื อไม่แสดงก็ได้ อาการของโรคที่ชดั เจนจะมีไข้สูง, เบื่ออาหาร, สู ญเสี ย กล้ามเนื้อ, ภาวะโลหิ ตจาง, เกิดการเปลี่ยนแปลงของเลือดในอวัยวะ เช่น หัวใจ ตา และระบบประสาท (Ulienberg, 1988; Nwoha, 2013) ช้างที่เป็ นโรคนี้อาจจะไม่แสดงอาการป่ วย หรื อาจแสดงอาการแบบ เรื้ อรัง รุ นแรง และอาจท�ำให้ชา้ งตายได้ (Hunngerford, 1990) ช้างจะมีไข้ โลหิ ตจาง เบื่ออาหาร บวมน�้ำ ที่หน้า งวง คอ ส่ วนล่างของท้อง ขา ขนแห้งหยาบ ซึม เคลื่อนไหว เชื่องช้า กระวนกระวาย ไม่ยอมท�ำงาน ห้อเลือด เยือ่ บุตาขาวอักเสบและตาย (Stephen, 1986) การวินิจฉัยโรคสามารถท�ำได้หลายวิธี เช่น การตรวจเชื้อโดยตรงจากกล้องจุลทรรศน์ (Stained thick blood smear, Woo’s technique, Murray’s Woo’s technique) การใช้สตั ว์ทดลอง, IFAT, ELISA, CATT รวมไปถึงการตรวจสารพันธุ์กรรมด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์ที่จำ� เพาะเพื่อยืนยันผล ซึ่ ง จะท�ำให้การวินิจฉัยโรคมีความแม่นย�ำมากยิง่ ขึ้น อีกทั้งยังใช้ตรวจหาความชุก และความหลากหลายทาง ชีวภาพของเชื้อ T. evansi ได้ดว้ ย (Njiru et al., 2005; Tian et al., 2011; Berlin et al., 2012; villareal et al., 2013) การรักษาโรคนี้ สามารถท�ำโดยใช้ยาฉี ด ไดมินาซี น อะเซตูเรท พบว่าในช้างยังให้ผล ที่ไม่แน่นอน (Pandey et al., 2010) ดังนั้นในปัจจุบนั จึงมีการน�ำเทคนิคการตรวจทางอณูชีวโมเลกุลมา ใช้ประโยชน์ในการตรวจโรคมากขึ้น วัตถุประสงค์ เพือ่ ศึกษาเปรี ยบเทียบวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (PCR) โดยใช้ไพรเมอร์ที่แตกต่างกัน ส�ำหรับ การตรวจวินิจฉัยโรคเซอร่ าในช้างเอเชีย อุปกรณ์ และวิธีการ เก็บตัวอย่างจากเลือดช้าง ปริ มาณ 5-10 มิลลิลิตร ลงในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็ง (EDTA) จ�ำนวน 160 ตัวอย่าง ท�ำการตรวจเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ด้วยเทคนิ ค Wet blood film, Strained thin blood smear และ Woo’s technique, HCT การตรวจค่าโลหิ ตวิทยา และ ค่าชีวเคมีในเลือด ตามวิธีมาตรฐานที่มีการรายงานก่อนหน้านี้ (OIE, 2012) 86
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ท�ำการสกัดดีเอนเอด้วยชุดสกัดส�ำเร็ จรู ป QIAamp® (DNA Blood Mini Kit, QIAGEN, USA.) โดยปฏิบตั ิตามคู่มือของผลิตภัณฑ์ ดีเอนเอที่สกัดได้จะถูกน�ำมาตรวจสอบหายีนของ T. evansi เทียบกับ ชุดควบคุม ด้วยเทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์ TBR1, TBR2, TR3 และ TR4 ตามที่ได้รายงานไว้ก่อน หน้านี้ (Masiga et al., 1992; Sukhumsirichart et al., 2000) ผล วิธีการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นด้านปรสิ ตวิทยาด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่พบการติดเชื้ อในช้าง ทั้งหมด ผลการตรวจค่าโลหิตวิทยา และค่าชีวเคมีในเลือดอยูใ่ นเกณฑ์ปกติ ส�ำหรับการตรวจวินิจฉัยด้วย เทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์ TBR1 และ TBR2 ให้ผลบวกต่อเชื้อ T. evansi จ�ำนวน 6 เชือก (9.6%) ส่ วนไพรเมอร์ TR3 และ TR4 พบว่ามี 12 เชือก (19.2%) ให้ผลบวกต่อเชื้อ ตัวอย่างแสดงการเปรี ยบเทียบ การใช้ไพรเมอร์แต่ละแบบดังรู ปภาพ 1
รู ปภาพ 1 แสดงตัวอย่างการเพิ่มจ�ำนวนดีเอ็นเอของยีนด้วยวิธี TBR-PCR (>164 bp) และ TR-PCR (>227 bp) (2% Gel electrophoresis) เทียบกับชุดควบคุม (T. evansi) วิจารณ์ และสรุป การตรวจหาเชื้อ T.evansi ในช้างด้วยเทคนิค PCR จะให้ผลที่จำ� เพาะและมีความไวต่อเชื้อมากกว่า วิธีการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Muieed et al., 2008) ซึ่ งสามารถเลือกใช้ไพรเมอร์ ได้หลายแบบ ที่นิยมใช้ คือ TBR1 และ TBR2 จะได้ PCR product เท่ากับ 164 คู่เบส (Masiga et al., 1992) เช่นเดียวกับ ไพร์เมอร์ TR3 และ TR4 ซึ่งได้ PCR product เท่ากับ 227 คู่เบส (Sukhumsirichart et al., 2000) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเทคนิค PCR โดยใช้ไพรเมอร์ TR3 และ TR4 สามารถตรวจหา เชื้อ T.evansi ในช้างได้ดีกว่า สอดคล้องกับรายงานก่อนหน้านี้ของ Pruvot et al., (2010) พบว่าการเลือก ใช้ไพรเมอร์ ที่มีความหลากหลายจะให้ผลที่จำ� เพาะ และไวต่อการตรวจหาเชื้อ T.evansi ที่แตกต่างกัน การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
87
นอกจากนี้ยงั มีการตรวจด้วยเทคนิค LAMP-PCR ซึ่งใช้ไพรเมอร์หลายคูจ่ บั ท�ำให้มีความจ�ำเพาะมากกว่า PCR ที่ใช้ไพรเมอร์เพียงแค่คู่เดียว (Moradi et al., 2008) โดยสรุ ปวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเทคนิค PCR เป็ นวิธีที่มีความไวในการตรวจพบเชื้อสูงกว่า วิธีทางปรสิ ตวิทยาอื่นๆ ซึ่ งความไวของการทดสอบขึ้นอยูก่ บั ชนิดของไพรเมอร์ที่เลือกใช้ จะให้ผลใน การตรวจเชื้อที่แตกต่างกันด้วย อีกทั้งเทคนิค PCR ยังสามารถตรวจหาความชุก และความหลากหลาย ของเชื้อ ซึ่ งเป็ นประโยชน์ในการเฝ้ าระวัง ป้ องกัน ควบคุม รวมถึงการเกิดโรคอุบตั ิใหม่ หรื อการกลาย พันธุ์เป็ นสายพันธุ์ใหม่ของเชื้อได้อีกทางหนึ่ง กิตติกรรมประกาศ งานวิจยั นี้ได้รับการสนับสนุนจากงบอุดหนุนรัฐบาลขององค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ เอกสารอ้ างอิง อรพรรณ อาจค�ำภา เมษายน ชี วเสรี ชล พิพล สุ ขสายไทยชะนะ จุจีรัตน์ วรสิ งห์ สมศักดิ์ อนันต์ ประชา คงโอ ปองพล หอมคง และมนทกานต์ วงษ์ภากร. (2554). โรคเซอร่ าในช้างลากไม้ใน อ�ำเภอทุง่ สง จังหวัดนครศรี ธรรมราช. จุลสารส�ำนักควบคุม ป้ องกัน และบ�ำบัดโรคสัตว์. 18: 4-7. Baldacchino, F., Muenworn, V., Desquesnes, M., Desoli, F., Charoenviriyaphap,T. and Duvallet, G. 2013. Transmission of pathogens by Stomoxys flies (Diptera, Muscidae): a review. Parasite. 20: 26. Berlin, D., Nasereddin, A., Azmi, K., Ereqat, S., Abdeen, Z., Eyal, O. and Baneth, G. 2012. Prevalence of Trypanosoma evansi in horses in Israel evaluated by serology and reverse dot blot. Res. Vet. Sci. 93: 1225-1230. Bruce D. and Hamerton A.E. (1909). A note on the occurrence of a trypanosome in the African elephant. Proceeding of the Royal Society of London. Series B, Biological Science. 81, pp.414–416. Chandrasekharan K. (1995). Prevalence of Infectious Diseases in Elephant in Kerala and Their Treatment. In The Asian Elephant: Ecology, Biology, Diseases, Conversation and Management. Proceeding of the National Symposium on the Asian Elephant. Kerala Agri Univ Trichur, India. 16-19 Jan. 1995. Pp. 148-155. Desquesnes M., Holzmuller P., Lai D.H., Dargantes A., Lun Z.R. and Jittaplapong S. (2013). Trypanosoma evansi and Surra: A Review and Perspectives on Origin, History, Distribution, Taxonomy, Morphology, Hosts, and Pathogenic Effects Evan G.H. (1910). Elephants Surra: Trypanosomiasis in the elephant Journal of Trcalopi Veterinary. Science.,5, 233. Hunngerford, T.G. 1990. Various effects parasite of diseases of livestock. McGraw-Hill bookcompany. 9 ed. Sydney. Vol 2: 1357. 88
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Luckins, A.G. 1998b. Trypanosomiasis caused by Trypanosoma evansi in Indonesia. J. Protozoo. Res. 8: 144-152. Masiga, D.K., Smyth, A.J., Hayes, P., Bromidge, T.J. and Dibson, W.C. 1992. Sensitive detection of trypanosomes in tsetse flies by DNA amplification. Int. J. Parasitol. 22: 909–918. Moradi A., Karami A., Hagh Nazari A., Ahmadi Z., Soroori Zanjani R., Javadi S.M. (2008). Comparison of the PCR and LAMP Techniques in the Diagnosis of Salmonella Infection. Molecular Biology Research Center. Morter R.L. (2006). Treating for international parasites of cattle. Available from: http://www.ces.purdue.edu/extmedia/VY/VY-51.html Muieed, M.A., Chaudhary, Z.I. and Shakoori, A.R. 2008. Comparative studies on the sensitivity of polymerase chain reaction (PCR) and microscopic examination for the detection of Trypanosoma evansi in horses. Turk. J. Vet. Anim. Sci. 34(6): 507-512. Njiru, Z.K., Constantine, C.C., Crowther, J., Kiragu, J.M., Thompson, R.C.A. and Davila A.M.R. 2005. The use of ITS1 rDNA PCR in detecting pathogenic African trypanosomes. Parasitol. Res. 95: 186-192. Nwoha RIO. (2013). A review on trypanosomosis in dogs and cats. African journal of biotechnology. 12(46): 6432-6422. Pandey, H.K., Singh, K.K., Roy. B.K. and Kumari, S. 2010. Pharmacokinetics of diminazene aceturate in buffalo calves. J. Bioanal. Biomed. 2 (1): 13-16. Pruvot M1, Kamyingkird K, Desquesnes M, Sarataphan N, Jittapalapong S. (2010). A comparison of six primer sets for detection of Trypanosoma evansi by polymerase chain reaction in rodents and Thai livestock. Rodtian P., W. Hin-on, W. Uthaiwan, P. Vitoorakool, A. Trisanarom, S. Chaiyasert, S. Klaihong, N. Sarataphan and M. Muangyai. (2004). A case report: Trypanosoma evansi infection in timber elephant at Lampang province. The 4th annual livestock conference, department of livestock development. pp. 90–100. Thailand. Stephen, L.E. 1986. Trypanosomiasis : A veterinary perspective. Pergamon Press, Oxford and New York. 55 p. Sukhumsirichar, W., S. Khuchareonaworn, N. Sarataphan, N. ViseshakulI, K. Chansiri (2000): Application of PCR-based assay for diagnosis of Trypanosoma evansi in different animals and vectors. J. Trop. Med. Parasitol. 23, 1-6. Tian, Z., Liu, G., Xie, J., Shen, H., Zhang, L., Zhang, P. and Luo, J. 2011. The internal transcribed spacer 1 (ITS-1), a controversial marker for the genetic diversity of Trypanosoma evansi. Exp. Parasitol. 129: 303-306. การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
89
Tresamol P.V. (2002). Elephant surra. Journal of Indian Veterinary Association Kerala. 7(3): 6 Ulenberg G. (1998). A field guide for the diagnosis, treatment and prevention of African animal trypanosomosis. In: Food&Agriculture Org. Villareal, M.V., Mingala, C.N. and Rivera, W.L. 2013. Molecular characterization of Trypanosoma evansi isolates from water buffaloes (Bubalus bubalis) in the Philippines. Acta. Parasitologica. 58(1): 6-12. World Organization for Animal Health (OIE). 2012. Trypanosoma evansi infection (Surra). In: Manual of diagnostic tests and vaccines for terrestrial animals. Chapter 2.1.17, OIE.
90
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ภาคผนวก
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
91
รายงานการจัดท�ำระบบฐานข้ อมูลประชากรช้ างเพือ่ การอนุรักษ์ ช้างไทย (Elephant Data base for the Conservation) สถาบันคชบาลแห่ งชาติ ในพระอุปถัมภ์ ฯ ศึกษากลุม่ ประชากรช้างในกลุม่ ช้างท่องเที่ยว ช้างลากไม้ และช้างอืน่ ๆ ในประเทศไทยเก็บข้อมูล โดยการซักประวัติ และออกตรวจสุ ขภาพช้างประจ�ำปี ร่ วมกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่ดำ� เนินงาน ด้านการอนุ รักษ์ อาทิเช่น กรมปศุสัตว์ มหาวิทยาลัย และองค์กรเอกชนต่างๆ แล้วบันทึกข้อมูลที่ได้ อันได้แก่ ประวัติชา้ งและเจ้าของช้าง ตัว๋ พิมพ์รูปพรรณ และรหัสไมโครชิ พ ลงในระบบฐานข้อมูล ประชากรช้างไทย หรื อ www.chang-thai.com เพื่อท�ำการวิเคราะห์ขอ้ มูล และประเมินสถานการณ์ ช้างเลี้ยงของไทยในอนาคต จากการศึกษาและเก็บข้อมูล ตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ท�ำให้ ทราบว่า ปั จจุ บนั ประเทศไทยมี ช้างเลี้ยง อยู่ประมาณ 3,241 เชื อก กระจายตัวอยู่ทวั่ ทุกภาคของ ประเทศไทย และตามสถานที่ท่องเที่ยวเป็ นส่ วนใหญ่ (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2560) แบ่งออก เป็ นเพศเมีย (พัง) 2,283 เชือก เพศผู ้ (พลาย) 697 เชือก และเพศผู ้ (สี ดอ) 261 เชือก โดยพบช้างที่สามารถ ระบุอายุ ในช่วงอายุ มากกว่า 30-40 ปี มากกว่าช้างในช่วงอายุอื่นๆ ดังแสดงในแผนภูมิที่ 1
แผนภูมิที่ 1 แสดงประชากรช้างแยกตามช่วงอายุ (ปี )
และเมื่อผ่านการวิเคราะห์ขอ้ มูลแล้ว พบว่า สถานการณ์ชา้ งเลี้ยงในประเทศไทย มีแนวโน้มที่ จะมีช่วงเจริ ญพันธุ์ลดลง เห็นได้จากอัตราการเกิดเปรี ยบเทียบกับอัตราการตายของช้างเลี้ยงในช่วง 5ปี ที่ผา่ นมา (ดังแสดงในกราฟที่ 1) ท้งั นี้ เนื่องจากช้างเลี้ยงส่วนมากเป็ นช้างเพศเมีย และอาศัยอยูต่ ามแหล่ง การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
93
ท่องเที่ยว ดังนั้นกิจกรรมของช้างจึงไม่เอื้ออ�ำนวยต่อการเจริ ญพันธุ์ และช้างชราก็มีจำ� นวนเพิ่มมากขึ้น ท�ำให้ยงั คงต้องติดตามและดูแลการเพิ่มจ�ำนวนช้างเลี้ยงในไทยอย่างใกล้ชิด
กราฟที่ 1 แสดงอัตราการเกิดและอัตราการตายในปี พ.ศ. 2556 - มิถุนายน พ.ศ. 2560 และจังหวัดที่มีชา้ งเลี้ยงมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพังงา จังหวัดชลบุรี จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดสุ รินทร์ ซึ่งมีชา้ งเลี้ยงในพื้นที่ขา้ งต้น เท่ากับ 955, 270, 243, 231, และ189 เชือก ตามล�ำดับ (ดังแสดงรู ปภาพที่ 1)
รู ปภาพที่ 1 แสดงจังหวัดที่มีชา้ งเลี้ยงมากที่สุดใน 5 อันดับแรก 94
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
แต่อย่างไรก็ตาม ในการออกเก็บข้อมูล หรื อการออกตรวจสุ ขภาพช้าง ยังพบความผิดพลาดของ ข้อมูลในหลากหลายส่วน อาทิเช่น ช่วงอายุของช้าง การเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ หรื อข้อมูลเจ้าของช้าง เป็ นต้น แม้กระทัง่ การไม่สามารถอ่านเลขรหัสไมโครชิ พช้างได้ เนื่ องด้วย อาการตกมันในช้างเพศผูท้ ี่ทำ� ให้ ไม่สามารถเข้าถึงตัวช้างเพือ่ อ่านเลขไมโครชิพ หรื อการเกิดอาการอักเสบเป็ นแผลหรื อฝี บริ เวณที่ฝังเลข ไมโครชิพ ท�ำให้ในบางครั้งเลขไมโครชิพหลุดไปพร้อมกับฝี ที่แตก และในช้างเด็กหรื อช้างแรกเกิดที่ ไม่สามารถท�ำการฝังเลขไมโครชิพได้ทนั ที ท�ำให้ไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ในครั้งต่อไปที่พบ ช้างเลี้ยงในประเทศไทยส่ วนใหญ่เป็ นช้างเพศเมียและอยูต่ ามแหล่งท่องเที่ยว ซึ่ งกิจกรรมของ ช้างในการท่องเที่ยวบางครั้งอาจไม่เอื้อต่อช้างเพศผู ้ ด้วยเพราะเพศผูม้ กั มีความดุร้ายมากกว่าเพศเมียหรื อ มักไม่ค่อยได้อยูร่ ่ วมกัน ท�ำให้โอกาสการแพร่ ขยายพันธ์ลดน้อยลง อีกทั้งในบางพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อ การด�ำรงชีพของช้างมากนัก และเมื่อพิจารณาจากช่วงอายุ จะเห็นว่ามีชา้ งที่มีอายุนอ้ ยจ�ำนวนน้อยกว่า ช้างในช่วงวัยเจริ ญพันธุ์ ซึ่ งในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีชา้ งในช่วงวัยเจริ ญพันธุ์นอ้ ยลง และมีชา้ งชรา มากขึ้น ซึ่ งสอดคล้องกับอัตราการเกิดและอัตราการตายของช้าง อัตราการเกิดมีนอ้ ยกว่าอัตราการตาย อย่างเห็ นได้ชดั ท�ำให้ยงั คงต้องมี การติ ดตามและหาสาเหตุอย่างใกล้ชิด จากข้อมูลเหล่านี้ ทำ� ให้มี ความจ�ำเป็ นที่จะต้องมีการวางแผนเพื่อจัดการและดูแลช้างไทยให้เป็ นระบบมากขึ้น การจัดระเบียบข้อมูลประชากรช้างไทย ท�ำให้สามารถติดตามและตรวจสอบช้างได้ง่ายท�ำให้ สัตวแพทย์สามารถใช้ขอ้ มูลประวัติชา้ งในการวางแผนด้านการรักษาและการเฝ้ าระวังโรคช้าง ซึ่ งเป็ น ประโยชน์ตอ่ การอนุรักษ์ประชากรช้างไทย ทั้งนี้ยงั มีขอ้ มูลบางส่วนที่ยงั ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์อยู่ จึงจ�ำเป็ น อย่างยิง่ ที่จะต้องด�ำเนินการติดตามเก็บข้อมูล และฐานข้อมูลที่ใช้ในปั จจุบนั ยังอยูใ่ นขั้นตอนพัฒนาและ แก้ไขเพื่อให้มีความถูกต้องต่อไป
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
95
รายงานโครงการระบบจดจ�ำรู ปลักษณ์ ช้างไทย (Elephant Recognition) สถาบันคชบาลแห่ งชาติ องค์ การอุตสาหกรรมป่ าไม้ ผู้ร่วมโครงการ น.สพ. ทวีโภค อังควานิช สพ.ญ. วรางคณา ลังการ์พินธุ์ ปรมาภรณ์ ประสูตร์แสงจันทร์ และ บริ ษทั จิ๊กซอว์ อินโนเวชัน่ จ�ำกัด หลักการและเหตุผล การออกเก็บข้อมูล หรื อการออกตรวจสุขภาพช้าง ยังพบความผิดพลาดของข้อมูลในหลากหลาย ส่ วน อาทิเช่น ช่วงอายุของช้าง การเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ หรื อข้อมูลเจ้าของช้าง เป็ นต้น แม้กระทัง่ การ ไม่สามารถอ่านเลขรหัสไมโครชิพช้างได้ เนื่องด้วย อาการตกมันในช้างเพศผูท้ ี่ทำ� ให้ไม่สามารถเข้าถึง ตัวช้างเพื่ออ่านเลข หรื อการเกิ ดอาการอักเสบเป็ นแผลฝี บริ เวณที่ ฝังไมโครชิ พ ท�ำให้ในบางครั้ ง ไมโครชิพหลุดไปพร้อมกับฝี ที่แตก รวมถึง ช้างเด็ก หรื อช้างแรกเกิดที่ไม่สามารถท�ำการฝังชิพได้ทนั ที ท�ำให้ไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ในครั้งต่อไปที่พบ หากสามารถจดจ�ำรู ปลักษณ์ชา้ งจากลักษณะภายนอกได้ อาทิ ลักษณะรู ปร่ าง หน้าตา หรื อต�ำหนิ รู ปพรรณต่ างๆ อาจท�ำให้ขอ้ ผิดพลาดของข้อมูลช้างซ�้ำซ้อนลดลง ทั้งช่ วยห้ามารถปฏิ บตั ิ งานได้ อย่า งรวดเร็ ว และแม่ น ย�ำ มากยิ่ ง ขึ้ น โรงพยาบาลช้า ง สถาบัน คชบาลแห่ ง ชาติ ในพระอุ ป ถัม ภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ ากัลยาณิ วฒั นา กรมหลวงนราธิ วาสราชนคริ นทร์ องค์การอุตสาหกรรม ป่ าไม้ และบริ ษทั จิ๊กซอว์ อินโนเวชัน่ จ�ำกัด จึงได้ร่วมมือกันพัฒนา ระบบจดจ�ำรู ปลักษณ์ภายนอก ช้างไทย (Elephant Recognition) ขึ้น โดยน�ำเทคโนโลยีการวิเคราะห์ภาพถ่าย (Image processing) เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเก็บภาพถ่ายของช้าง วัตถุประสงค์ 1. เพือ่ พัฒนาศักยภาพในการเก็บข้อมูลและเรี ยกใช้ขอ้ มูลประชากรช้างไทย ให้ทนั ต่อการพัฒนา ทางด้าน เทคโนโลยีของประเทศ 2. เพื่อให้สะดวกต่อการวิเคราะห์ขอ้ มูลส�ำหรับใช้เป็ นแนวทางในการวางแผนและด�ำเนินการ เพื่อการอนุรักษ์ชา้ งไทย
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
97
วิธีดำ� เนินการ แบ่งการด�ำเนินงานออกเป็ น 3 ระยะ ได้แก่ 1. ขั้นศึกษาเทคนิคในการระบุตวั ตนและรู ปร่ างภายนอกช้ าง เป็ นเวลา 30 วัน ในขั้นต้น เน้นศึกษาความสามารถในการตรวจจับอัตลักษณ์ดว้ ยโครงสร้างทางกายภาพจาก รู ปลักษณ์ภายนอกอาทิเช่น โครงหน้า รอยเหี่ ยวย่น หรื อรู ปร่ างทรงหลัง ซึ่ งอาจใช้ส่วนใดส่ วนหนึ่งของ ช้าง หรื อหลายส่ วนมาประกอบกัน 2. ขั้นการพัฒนาระบบซอฟท์แวร์ หรือระบบปฏิบตั กิ ารคอมพิวเตอร์ เพือ่ ให้ เหมาะสมกับระบบ การจดจ�ำรู ปลักษณ์ ภายนอกช้ าง เป็ นเวลา 30 วัน เลือกใช้ภาพถ่ายของช้างของสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ ฯลฯ จ�ำนวน 12 เชือก แบ่งเป็ นช้างเพศผู ้ 3 เชือก และช้างเพศเมีย 9 เชือก ในลักษณะหันหน้าตรง
รู ปที่ 1 ภาพถ่ายช้างหน้าตรง 98
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
จากนั้นเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์ โดยตัดภาพพื้นหลังออก ก�ำหนดจุดกึ่งกลางของใบหน้า ช้าง แล้วปรับค่าสี ของภาพให้เป็ นขาว/ด�ำ เพื่อให้เกิดลายเส้นที่ชดั เจน และเปรี ยบเทียบภาพถ่าย (Image matching) โดยใช้การเปรี ยบเทียบทั้งหมด 3 แนวคิด ได้แก่ 1) แนวคิด Canny Edge Detector คือ วิธีการหาขอบของภาพโดยใช้ algorithm หลายขั้น ตอน เพื่อให้ได้ขอบของภาพในหลายๆช่วง สร้างโดย John F. Canny 2) แนวคิด Contour คือ list ของจุดที่แทน curve ในรู ปภาพ ในกรณี ของ Contour ใน OpenCV จะเก็บไว้ใน sequence จากภาพประกอบ 3) แนวคิด Grayscale Image เปลี่ยนสี ของภาพให้เป็ นภาพระดับสี เทา (Grayscale) เพื่อ ท�ำให้สามารถวิเคราะห์ภาพได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อแปลงภาพเป็ นระดับสี เทาแล้วจะท�ำให้แต่ละจุดภาพของ ภาพจะเหลือเพียงค่าความเข้มของสี มีค่า ตั้งแต่ 0 ถึง 255 ผ่านระบบที่เขียนด้วยภาษา Python และโปรแกรม Open CV 1.0 ซึ่ งเป็ นส่ วน Library เข้าใช้ผ่านระบบ VNP (Visual Private Network) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตภาคพายัพ 3. ขั้นการทดสอบและรายงานผลการทดสอบ 15 วัน ผลการด�ำเนินงานและสรุป ระบบที่ พฒ ั นาสามารถวิเคราะห์ เปรี ยบเที ยบความคล้ายคลึ งของช้างจากภาพถ่ ายได้น้อย (ดังแสดงในรู ปที่ 2) ท�ำให้การวิเคราะห์และสรุ ปผลว่าเป็ นช้างเชือกใดนั้นยังไม่มีความถูกต้อง ทั้งนี้ อันเนื่องมาจากสภาพของสถานที่ที่พบช้าง เช่น ยืนในโรง ยืนในป่ าทึบ มุมภาพ พื้นหลัง และช่วงเวลา ในการถ่ายภาพ ส่ งผลต่อการตกกระทบของแสง รวมถึงคุณภาพและความละเอียดของอุปกรณ์ที่ใช้ใน การถ่ายภาพ และเครื่ องประมวลผลแบบ Cloud Server ขนาด CPU แบบ 8 core และมีหน่วยความจ�ำ ชัว่ คราว (RAM) ขนาด 8 GB ประสิ ทธิภาพในการท�ำงานกับการประมวลผลภาพ (Image Processing) ได้ผลออกมาไม่ดีเท่าที่ควรในเรื่ องของเวลาในการประมวลผลใช้เวลานาน ท�ำให้ส่งผลเมื่อมีรูปถ่าย ต้นฉบับจ�ำนวนมากขึ้นการทดสอบแต่ละครั้งใช้เวลานานมาก ซึ่ งผูพ้ ฒั นาจะต้องแก้ไข ปรับปรุ งและ พัฒนาระบบการวิเคราะห์รูปลักษณ์ชา้ งไทยต่อไป เพื่อให้ระบบดังกล่าวสามารถใช้งานได้กบั อุปกรณ์ เคลื่อนที่ (Mobile Device) ได้ในอนาคต ให้บุคคลทัว่ ไปสามารถเข้าถึง เพือ่ เป็ นส่วนหนึ่งในการสอดส่อง ดูแล และมีส่วนร่ วมในการอนุรักษ์ชา้ งไทยต่อไป
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
99
รู ปที่ 2 แสดงผลการเปรี ยบเทียบภาพถ่ายช้าง ระหว่างพังวังเจ้ากับพังวันดี และพังวังเจ้ากับเทียบพังวังเจ้า 100
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
รายงานโครงการศึกษาการผสมเทียมช้ าง ศูนย์ อนุรักษ์ ช้างไทย สถาบันคชบาลแห่ งชาติ ในพระอุปถัมภ์ ฯ ต.เวียงตาล อ.ห้ างฉัตร จ.ล�ำปาง เรี ยบเรี ยงโดย นางสาวพิมพ์พนิต ไชยองค์การ ลูกจ้างโครงการวิจยั ฯ บทน�ำ การศึกษาของโครงการศึกษาการผสมเทียมช้าง ในศูนย์อนุรักษ์ชา้ งไทย สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ล�ำปาง ได้ดำ� เนินการศึกษาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 จนถึง เดือนมิถุนายน 2560 มีวตั ถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคนิ คการเก็บน�้ำเชื้ อ ตรวจคุณภาพน�้ำเชื้ อ และผลิต น�้ำเชื้อช้างแช่แข็ง ตรวจวงรอบการเป็ นสัดช้างเพศเมียเพือ่ เตรี ยมการผสมพันธุ์ ทั้งผสมจริ งและผสมเทียม และตรวจสอบการตั้งท้องในช้าง โดยโครงการนี้ได้แบ่งออกเป็ น 2 ส่ วน ได้แก่ ส่ วนที่ 1 ตรวจสอบคุณภาพน�้ำเชื้อช้าง รวมไปถึงศึกษาความสมบูรณ์พนั ธุ์ชา้ งเพศผูแ้ ละการจัด เก็บน�้ำเชื้อช้างแช่แข็ง โดยมีชา้ งที่ทำ� การรี ดเก็บน�้ำเชื้อทั้งหมด 14 เชือก โดยมีตวั อย่างน�้ำเชื้อที่มีเปอร์เซ็นต์ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของตัวอสุ จิ (Progressive motility) เท่ากับ 60 % ขึ้นไปมีท้ งั หมด 4 ตัวอย่าง และ มีตวั อย่างน�้ำเชื้อที่เก็บแช่แข็งทั้งหมด 6 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 63 ตัวอย่าง คิดเป็ นร้อยละ 6.34 และ 9.52 ตามล�ำดับ ส่ วนที่ 2 ตรวจสอบการเป็ นสัดในช้างเพศเมียและน�ำช้างเข้าผสมจริ งหรื อผสมเทียม ตรวจสอบ การตั้งท้อง การตรวจระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีชา้ งเพศเมียที่ส่งตรวจฮอร์โมนทั้งหมด 16 เชือก ซึ่งจะท�ำการเจาะเลือดเพื่อส่ งตรวจทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จากการศึกษาได้ทำ� การผสมจริ งช้าง โดยดูจากผลฮอร์โมนที่ได้ โดยมีชา้ งที่เข้าผสมจริ งทั้งหมด 4 เชือก วัตถุประสงค์ 1. พัฒนาเทคนิคการเก็บน�้ำเชื้อ ตรวจคุณภาพน�้ำเชื้อ และผลิตน�้ำเชื้อช้างแช่แข็ง 2. ตรวจวงรอบการเป็ นสัดในช้างเพศเมียเพือ่ การเตรี ยมเข้าผสมพันธุ์ ทั้งผสมจริ งและผสมเทียม 3. พัฒนาเทคนิคการผสมเทียมในช้าง 4. ตรวจสอบการตั้งท้องในช้าง
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
101
วิธีการด�ำเนินงาน 1. ตรวจสอบคุณภาพน�้ำเชื้อช้าง รวมไปถึงศึกษาความสมบูรณ์พนั ธุ์ชา้ งเพศผูแ้ ละการจัดเก็บ น�้ำเชื้อช้างแช่แข็ง 2. ตรวจสอบการเป็ นสัดในช้างเพศเมีย 3. น�ำช้างเข้าผสมจริ งหรื อผสมเทียม 4. ตรวจสอบการตั้งท้องในช้างที่ผสมแล้ว การรีดน�ำ้ เชื้อช้ าง คัดเลือกช้างเพศผูท้ ี่เป็ นพ่อพันธุ์และท�ำการตรวจสุ ขภาพเบื้องต้น ถ้าช้างมีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงดีจึงจะน�ำเข้ารี ดน�้ำเชื้อ จับบังคับช้างพ่อพันธุใ์ ห้อยูใ่ นท่าพร้อมรี ดน�้ำเชื้อ โดยมัดขาหน้าและหรื อ ขาหลังเข้ากับเสาตะลุงหรื อคอกช้าง อาบน�้ำท�ำความสะอาดตัวช้างและล้วงอุจจาระออกจากทวารหนัก ล้า งท�ำ ความสะอาดภายในทวารหนักด้ว ยน�้ำสะอาด ในขณะที่ ทีมงานรี ด น�้ำ เชื้ อ ซึ่ งประกอบด้ว ย ควาญช้างของช้างที่ทำ� การรี ดน�้ำเชื้อ คนรี ดน�้ำเชื้อ คนช่วยจับบังคับช้าง (จับหาง) คนรองน�้ำเชื้อ คนเช็ด ท�ำความสะอาดอวัยวะเพศช้างขณะรี ด และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพน�้ำเชื้ อ คนรี ดน�้ำเชื้ อสวมชุด ที่สะอาด ผ้ากันเปื้ อน และถุงมือล้วงตรวจ ท�ำการกระตุน้ ให้ชา้ งผลิตน�้ำเชื้อ โดยคนรี ดน�้ำเชื้อสอดมือ ผ่านทวารหนักและก�ำมื อแบบเก็บนิ้ วหัวแม่มือ ดึ งมื อเข้า-ออกทวารหนักให้มีการนวดสัมผัสผนัง ของทวารหนักส่ วนล่างให้มากที่สุดโดยใช้สารหล่อลื่นช่วย เมื่ออวัยวะเพศเริ่ มโผล่ออกจากหนังหุ ้ม คนรี ดน�้ำเชื้อจะพบว่ามีแรงต้านจากภายในทวารหนักเพิ่มมากขึ้น ให้คนรี ดน�้ำเชื้อดึงมือเข้า-ออก อย่าง เป็ นจังหวะและสม�่ำเสมอจนกระทัง่ มีชา้ งหลัง่ น�้ำเชื้อออกมา ก่อนการหลัง่ น�้ำเชื้อของช้างอาจจะพบว่า ช้างมีการหลัง่ ปั สสาวะหรื อน�้ำเชื้ ออาจปนมาพร้ อมกับปั สสาวะซึ่ งท�ำให้ไม่สามารถรองน�้ำเชื้ อส่ วน ดังกล่าวไปใช้ได้แต่จะเก็บส่ วนดังกล่าวเพื่อไปวิเคราะห์ค่าทางชีวเคมีหาทางอ้อมเพื่อหาประสิ ทธิ ภาพ ในการผลิตและเก็บน�้ำเชื้ อ จากนั้นท�ำการรองน�้ำเชื้ อและตรวจวัดคุณภาพของน�้ำเชื้ อก่อนเก็บน�้ำเชื้ อ เมื่อเก็บน�้ำเชื้อช้างเสร็ จแล้วท�ำความสะอาดช้างทวารหนักด้วยน�้ำสะอาด การท�ำน�ำ้ เชื้อช้ างแช่ แข็ง น�ำน�้ำเชื้อช้างที่มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้ามากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ไปท�ำการตรวจสอบ ค่าความเป็ นกรด-ด่ าง และค่าทางเคมี อื่น ก่ อนน�ำไปผสมตัวท�ำละลายน�้ำเชื้ อและน�ำไปแช่ แข็งใน ถังไนโตรเจนเหลว (Liquid Nitrogen) ที่อุณหภูมิ – 196 องศาเซลเซี ยส ตรวจสอบการเป็ นสั ดในช้ างเพศเมีย คัดเลือกช้างเพศเมียที่เป็ นแม่พนั ธุ์ ท�ำการตรวจสุ ขภาพเบื้องต้นและตรวจระบบสื บพันธุ์ ถ้าหาก ช้างมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงและมีระบบสื บพันธุ์ปกติ จะท�ำการเจาะเก็บเลือดทุกสัปดาห์ ท�ำการแยก ซีรั่มและน�ำซีรั่มที่ได้ไปตรวจฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเป็ นประจ�ำทุกสัปดาห์ เพือ่ ท�ำนายวงรอบการเป็ น สัดของช้างและวางแผนในการผสมพันธุ์ต่อไป 102
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ผลการด�ำเนินการ จากการตรวจสอบคุณภาพน�้ำเชื้อช้าง และศึกษาความสมบูรณ์พนั ธุ์ชา้ งเพศผูเ้ พื่อผลิตและจัดเก็บ น�้ำเชื้ อช้างแช่แข็งด�ำเนิ นงานเก็บน�้ำเชื้ อช้างเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2559 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2560 โดยมีชา้ งที่ทำ� การรี ดเก็บน�้ำเชื้อทั้งหมด 14 เชือก ได้แก่ 1. พลายสมัย 6. พลายทราย 11. สี ดอตาแดง 2. สี ดอสามพราน 7. พลายสุ พรรณเคนทร์ 12. สี ดอสาธิต 3. พลายจาปาตี 8. สี ดอโจโจ้ 13. พลายพงษ์ 4. พลายมงคล 9. พลายแอ๊ด 14. พลายถ่าง 5. พลายพะเยา 10. พลายพะเหม่ จากการศึกษาจะเห็นได้วา่ น�้ำเชื้อของช้างที่มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Progressive motility) เท่ากับ 60 % ขึ้นไป มีอยู ่ 4 เชือก 4 ตัวอย่าง ได้แก่ 1. สี ดอตาแดง Progressive motility = 60% ( เก็บเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 59 ) 2. พลายจาปาตี Progressive motility = 60% ( เก็บเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 60 ) 3. สี ดอสามพราน Progressive motility = 70% ( เก็บเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 60 ) 4. พลายพะเหม่ Progressive motility = 60% ( เก็บเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 60 ) เมื่อน�ำมาหาสัดส่วนร้อยละของประสิทธิภาพของอสุจิชา้ งที่มีเปอร์เซ็นต์การเคลือ่ นที่ไปข้างหน้า ที่มีค่ามากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ จากจ�ำนวนตัวอย่างน�้ำเชื้อทั้งหมด 65 ตัวอย่าง มีค่าเท่ากับ 6.15 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เ ห็ น ว่ า น�้ำ เชื้ อ ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ต่ ำ� เมื่ อ เที ย บกับ จ�ำ นวนตัว อย่า งทั้ง หมดและเมื่ อ น�ำ ไปศึ ก ษา หาความผิดปกติของตัวเชื้ ออสุ จิ (abnormality) พบว่า อสุ จิมีรูปร่ างไม่สมบูรณ์ มีการหัก ขาดและ ม้วนตัวของอสุ จิ ท�ำให้ไม่เหมาะสมในการน�ำไปผลิตเป็ นน�้ำเชื้อได้ จากการศึกษามีน้ ำ� เชื้อช้างที่ทำ� การรี ดเก็บและน�ำมาแช่แข็งทั้งหมด 6 ตัวอย่าง เมือ่ น�ำมาหาสัดส่วน ร้อยละของตัวอย่างน�้ำเชื้อช้างทั้งหมด ที่เก็บแช่แข็งจากจ�ำนวนตัวอย่างน�้ำเชื้อทั้งหมด 65 ตัวอย่าง มีค่า เท่ากับ 9.23 เปอร์เซ็นต์ ตรวจสอบการเป็ นสั ดในช้ างเพศเมีย การตรวจระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน มีชา้ งเพศเมียที่ส่งตรวจฮอร์โมนทั้งหมด 16 เชือก ซึ่ ง จะท�ำการเจาะเลือดเพื่อส่ งตรวจทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ได้แก่ 1. พังอุม้ ผาง 6. พังอาลีนา 11. พังประจวบ 2. พังสิ งขร 7. พังโมเจ 12. พังพุม่ พวง 3. พังขอด 8. พังวนาลี 13. พังพระธิดา 4. พังลูกข่าง 9. พังเนื้ออุ่น 14. พังลาวัลย์ 5. พังน�้ำเมย 10. พังภาชี 15. พังค�ำมี 16. พังใบตอง การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
103
จากการศึกษาได้ทำ� การผสมจริ งช้างโดยดูจากผลฮอร์ โมนโปรเจสเตอโรนที่ได้ โดยมีชา้ งที่ เข้าผสมจริ งทั้งหมด 4 เชือก
104
1. พังขอด - พังขอด + พลายพะเหม่ ผสมครั้งที่ 1 วันที่ 14 พ.ย. 59 ผสมครั้งที่ 2 วันที่ 19 พ.ย. 59 - พังขอด + สี ดอโจโจ้ ผสมครั้งที่ 1 วันที่ 15 พ.ย. 59 ผสมครั้งที่ 2 วันที่ 16 พ.ย. 59 ผสมครั้งที่ 3 วันที่ 17 พ.ย. 59 ผสมครั้งที่ 4 วันที่ 18 พ.ย. 59 ผสมครั้งที่ 5 วันที่ 19 พ.ย. 59
2. พังอุ้มผาง - พังอุม้ ผาง + สี ดอโจโจ้ ผสมครั้งที่ 1 วันที่ 6 ธ.ค. 59 ผสมครั้งที่ 2 วันที่ 7 ธ.ค. 59 ผสมครั้งที่ 3 วันที่ 8 ธ.ค. 59 ผสมครั้งที่ 4 วันที่ 9 ธ.ค. 59 ผสมครั้งที่ 5 วันที่ 10 ธ.ค. 59 ผสมครั้งที่ 6 วันที่ 11 ธ.ค. 59 ผสมครั้งที่ 7 วันที่ 12 ธ.ค. 59
3.
4.
พังวนาลี - พังวนาลี + สี ดอโจโจ้ ครั้งที่ 1 วันที่ 1 ม.ค. 60 ครั้งที่ 2 วันที่ 2 ม.ค. 60 ครั้งที่ 3 วันที่ 3 ม.ค. 60
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
พังน�ำ้ เมย - พังน�้ำเมย + สี ดอภูพาน ครั้งที่ 1 วันที่ 9 ม.ค. 60 ครั้งที่ 2 วันที่ 16 ม.ค. 60 ครั้งที่ 3 วันที่ 18 ม.ค. 60 ครั้งที่ 4 วันที่ 20 ม.ค. 60 ครั้งที่ 5 วันที่ 24 ม.ค. 60
โรคไวรัสเฮอร์ ปีส์ ในช้ าง (Elephant Endotheliotropic Herpesvirus, EEHV) ค�ำถามทีพ่ บบ่ อย 1. EEHV คือ อะไร EEHV ย่อมาจาก Elephant Endotheliotropic Herpesvirus ซึ่งเป็ นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบเฉพาะ ในช้าง ค�ำว่า Endotheliotropic บ่งบอกถึงต�ำแหน่งที่ไวรัสมักก่อให้เกิดความเสี ยหาย ซึ่ งในที่น้ ี ได้แก่ เยื่อบุช้ นั ในของผนังหลอดเลือด (endothelial tissue) พบว่าไวรัส EEHV มีสายพันธุ์ที่หลากหลาย แต่สายพันธุ์ที่ทำ� ให้เกิดการตายส่ วนใหญ่ในช้างเอเชีย ได้แก่ สายพันธุ์ EEHV1a ทั้งนี้สายพันธุ์อื่นที่มี รายงานว่าก่อให้การตายเช่นเดียวกันในช้างเอเชีย ได้แก่ EEHV1b, EEHV3. EEHV4 และ EEHV5 2. EEHV มีการติดต่ ออย่ างไร โดยทัว่ ไปเชื้อเฮอร์ ปีส์ไวรัสสามารถติดต่อได้ผา่ นสิ่ งคัดหลัง่ เช่น น�้ำลาย นม น�้ำมูก และ สิ่ งคัดหลัง่ จากช่องคลอด จากหลักฐานที่มีพบว่าเชื้อ EEHV สามารถพบได้ในสิ่ งคัดหลัง่ ของช้าง และ ไวรัสอาจสามารถส่ งผ่านได้จากการสัมผัส เช่น การใช้งวงแตะกัน เป็ นต้น 3. คนและสั ตว์ ชนิดอืน่ ๆ สามารถติดเชื้อ EEHV ได้ หรือไม่ เชื้อ EEHV นี้ก่อให้เกิดโรคเฉพาะในช้างเท่านั้น ดังนั้นคนและสัตว์ชนิดอื่นจึงไม่สามารถ ติดเชื้อนี้ได้ 4. ควรแยกเลีย้ งช้ างทีต่ ดิ เชื้อ EEHV จากฝูงหรือไม่ ทางคณะท�ำงานไม่เห็นว่ามีความจ�ำเป็ นที่จะต้องแยกช้างที่ติดเชื้อ EEHV ออกจากฝูง เนื่องจาก เราเชื่ อว่าในความเป็ นจริ งแล้วช้างส่ วนมากมีเชื้ อ EEHV แฝงอยูเ่ พียงแต่ไม่แสดงอาการป่ วยออกมา ประกอบกับการพบว่าอุบตั ิการณ์การเกิดโรค EEHV นั้นเป็ นแบบกระจัดกระจาย (sporadic) ซึ่ งไม่ได้ เกิ ด จากการติ ด ต่ อ สัม ผัส กัน โดยตรงจากตัว ที่ ป่ วย ณ ขณะนั้น และเนื่ อ งจากช้า งเป็ นสัต ว์สัง คม การแยกช้างจากฝูงนั้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเครี ยดให้แก่ชา้ งได้ 5. ระยะฟักตัวของเชื้อ EEHV นานแค่ ไหน จากหลักฐานที่มีพบว่าระยะฟักตัวของโรคอาจจะอยูท่ ี่ระหว่าง 7 – 14 วัน ซึ่ งคล้ายคลึงกับ ระยะการฟักตัวของเฮอปี ส์ไวรัสในสัตว์ชนิดอื่น การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
105
6. EEHV มีความส� ำคัญอย่ างไร EEHV เป็ นโรคที่ มีความส�ำคัญ เนื่ องจากเป็ นสาเหตุ ทำ� ให้ลูกช้างจ�ำนวนมากเสี ยชี วิต ช้างเอเชียอยูใ่ นภาวะที่ถกู คุกคามจากการสูญพันธุแ์ ละทั้งยังมีอตั ราการเกิดที่ต่ำ � ดังนั้นการสูญเสี ยลูกช้าง ท�ำให้ประชากรช้างที่สามารถสื บพันธุ์ได้ในอนาคตลดลง ซึ่ งอาจส่ งผลกระทบต่อจ�ำนวนประชากรช้าง ในอนาคตได้ 7. เราสามารถท�ำความเข้ าใจ EEHV เพิม่ เติมได้ อย่ างไร ในปัจจุบนั แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับโรคนี้ ได้แก่ เวปไซต์ www.EEHVinfo.org ซึ่งจัดท�ำโดยนักวิจยั สัตวแพทย์ และผูเ้ กี่ยวข้องกับช้างซึ่งท�ำการศึกษา รักษา และดูแลช้างป่ วยเป็ น EEHV โดยเป็ นข้อมูลที่มีการยืนยันทางวิทยาศาสตร์และมีหลักฐานรองรับ 8. เกิดอะไรขึน้ กับช้ างทีต่ ดิ เชื้อ EEHV EEHV ท�ำให้ผนังบุหลอดเลือดขนาดเล็กเกิดความเสี ยหาย โดยเฉพาะอย่างยิง่ เส้นเลือดฝอย เป็ นผลท�ำให้เกิดการรั่วของเลือดออกนอกหลอดเลือด ส่ งผลให้เกิดการสูญเสี ยเลือดและสารน�้ำอย่างต่อ เนื่ อง ความเสี ยหายของหลอดเลือดที่เพิ่มมากขึ้นจะส่ งผลให้ประสิ ทธิ ภาพการท�ำงานของหัวใจลดลง และท้ายที่สุด ช้างจะตายเนื่องจากภาวะช็อคและโลหิตจาง การด�ำเนินของโรคนี้คล้ายกับการติดเชื้อไวรัส อีโบลา ซึ่ งเป็ นไวรัสส่ งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิ ตในคน อย่างไรก็ตาม พบว่าช้างส่ วนมากเป็ นพาหะของเชื้อ EEHV และไม่แสดงอาการของโรค มี เพียงไม่กี่กรณี ที่แสดงรอยโรคทางผิวหนัง ทั้งนี้ ทางทีมงานยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชดั ว่าท�ำไมช้างบาง เชือกเกิดอาการเลือดออกจนถึงชีวติ เนื่องจากการติดเชื้อ EEHV 9. ช้ างอายุเท่ าใดทีส่ ามารถติดเชื้อ EEHV ได้ ช้างทุกวัยสามารถติดเชื้อ EEHV ได้ แต่วยั ที่มีความเสี่ ยงต่อการเสี ยชีวิตได้แก่ลูกช้างอายุ ระหว่าง 1-8 ปี 10. อาการของEEHV เป็ นอย่ างไร อาการเริ่ มแรกของ EEHV จะไม่มีลกั ษณะจ�ำเพาะ โดยช้างจะแสดงอาการเหมือนช้างป่ วย ทัว่ ไป ได้แก่ อาการเซื่ องซึ ม, เคลื่อนไหวช้าลง (หรื อบางเชือกอาจพบว่ารู ปแบบการนอนเปลี่ยนไป), อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ปวดท้อง ท้องเสี ย ท้องผูก, ความอยากอาหารลดลง, และ อาการเจ็บขา เป็ นต้น เมื่ออาการรุ นแรงขึ้นจะพบอาการที่สัมพันธ์กบั การเสี ยเลือดและช็อค ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจและอัตราการหายใจสู งขึ้น และเนื่ องจากประสิ ทธิ ภาพของการไหลเวียนเลือด และการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนลดลง ดังนั้นในระยะสุดท้ายของโรค ช้างจะแสดงอาการลิน้ ซีดจนคล�้ำ ซึ่งอาการนี้พบได้บ่อยในช้างที่ติดเชื้อ EEHV และมีการบวมน�้ำที่ศรี ษะหรื อใบหน้า เนื่องจากการรั่วของ 106
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ของเหลวจากเส้นเลือดสู่เนื้อเยือ่ โดยรอบ ในกรณี ที่มีเลือดออกในเยือ่ หุม้ สมอง ช้างอาจแสดงอาการทาง ระบบประสาทหรื อมีอาการง่วงซึมอย่างรุ นแรง นอกจากนี้ยงั มีรายงานการพบรอโรคในช่องปากในช้าง ที่ติดเชื้อบางเชือกอีกด้วย 11. โรคนีส้ ามารถรักษาได้ หรือไม่ และประสบผลส� ำเร็จในการรักษามากน้ อยแค่ ไหน มีรายงานช้างป่ วยที่รอดชีวติ จากการรักษา 9 เชือกจากอเมริ กา, 2 เชือกจากประเทศไทย, และ 1 เชือกจากกัมพูชา ซึ่งช้างป่ วยทุกเชือกได้รับการรักษาและดูแลอย่างใกล้ชิด โดยการรักษาเบื้องต้น จะเริ่ มด้วยการให้สารน�้ำ และการให้ยาต้านไวรัส ซึ่ งได้แก่ famciclovir และ acyclovir นอกจากนี้ยงั มี การรักษาเพื่อพยุงอาการอื่น ๆ ได้แก่ การให้ยาลดอักเสบ, ให้สาร antioxidant, ยาขับน�้ำ, และการให้ พลาสมา อย่างไรก็ตามอัตราการรอดชีวติ จากโรคนี้ยงั คงต�่ำ โดยประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของช้างที่ติดเชื้อ EEHV จะเสี ยชีวติ ซึ่งใกล้เคียงกับการติดเชื้ออีโบลา อย่างไรก็ตามพบว่าอัตราการรอดชีวติ สูงขึ้นหากได้ รับการรักษาอย่างทันท่วงที อัตราการรอดชีวติ จากโรคนี้ค่อนข้างต�่ำเนื่องด้วยหลายปั จจัยด้วยกัน อาทิเช่น ความรุ นแรง ของเชื้อ ซึ่งมีความรุ นแรงมากจึงท�ำให้การด�ำเนินไปของโรคเป็ นไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับการวินิจฉัย โรคในปั จจุบนั กินเวลามากกว่า 24 ชัว่ โมง แต่ชา้ งส่ วนมากมักตายภายใน 24 ชัว่ โมง ดังนั้นการรักษาจึง สามารถเริ่ มได้ต้ งั แต่ก่อนการยืนยันการตรวจโรคทางห้องปฎิบตั ิการ นอกเหนื อจากนี้ การรักษาเป็ น เสมือนการรักษาผูป้ ่ วยขั้นวิกฤต ทั้งยังต้องการการดูแลที่ใกล้ชิดตลอด 24 ชัว่ โมง ดังนั้นจึงจ�ำเป็ นอย่าง ยิ่งที่ชา้ งต้องผ่านการฝึ กเบื้องต้นเพื่อยอมรับการให้ยาและเชื่อฟั งค�ำสั่ง ร่ วมทั้งสัตวแพทย์ควรมีความ ช�ำนาญการ และมีเครื่ องมืออุปกรณ์สำ� รองอย่างพร้อมเพรี ยง 12. ค่าใช้ จ่ายในการรักษาช้ างทีต่ ดิ เชื้อ EEHV การรักษาโรค EEHV มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสู ง เนื่องจากช้างต้องได้รับยาต้านไวรัสติดต่อกัน อย่างน้อยเป็ นเวลา 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ชา้ งป่ วยยังต้องการการดูแลตลอดเวลา ซึ่ งเป็ นการเสี ยเวลาของ คนดูแล ร่ วมถึงค่าตรวจเพื่อวินิจฉัยและเฝ้ าระวังการด�ำเนินไปของโรคก็ค่อนข้างมีราคาสู ง แต่อย่างไร ก็ตามค่าใช้จ่ายเหล่านี้ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าของช้างถ้ารอดจากการรักษา จากข้อมูลจากทาง อเมริ กาพบว่าถึงแม้วา่ ช้างที่ได้รับการรักษาจะไม่รอดชีวติ ทุกเชือก แต่ชา้ งทุกเชือกที่รอดชีวติ ล้วนแต่ผา่ น การรักษามาแล้วทั้งสิ้ น และพบว่าช้างที่ไม่ได้รับการรักษาจะเสี ยชีวติ ทุกเชือก 13. เราสามารถป้ องกันโรค EEHV ได้ อย่ างไร และมีวคั ซีนป้ องกันโรคหรือไม่ ในปั จจุบนั ยังไม่มีวคั ซี นหรื อวิธีป้องกันโรค แต่อย่างไรก็ตามเราพบว่าการรักษาช้างป่ วย อย่างเร็ วที่สุดหลังจากที่ชา้ งแสดงอาการสามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ ดังนั้นการให้ความรู ้แก่ท้ งั ควาญและสัตวแพทย์เพื่อเฝ้ าระวังและสังเกตุอาการป่ วยเบื้องต้นจึงมีความส�ำคัญอย่างมาก รวมทั้งการ ฝึ กลูกช้างให้เชื่องพอที่จะเก็บตัวอย่างและท�ำการรักษาได้เมื่อเกิดความเจ็บป่ วย การเตรี ยมความพร้อม การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
107
ส�ำหรับการวินิจฉัยและยาส�ำหรับรักษาก็เป็ นสิ่ งส�ำคัญ ท้ายที่สุด การเฝ้ าระวังในฝูงโดยการตรวจหาเชื้อ ไวรัสในเลือดเป็ นการกระตุน้ ให้ผดู ้ ูแลช้างตระหนักถึงปั ญหาสุ ขภาพที่กำ� ลังจะเกิดขึ้น 14. ควรท�ำอย่ างไรเมือ่ พบช้ างป่ วยทีส่ งสั ยว่ าติดเชื้อ EEHV ในกรณี ที่ลูกช้างอายุระหว่าง1-8 ปี แสดงอาการป่ วยใกล้เคียงกับโรค EEHV ขั้นแรกของ การรักษาควรเริ่ มจากการให้สารน�้ำทางทวารหนัก ในขนาด 10-20 มิลลิลิตรต่อกิโลกรัม ซึ่ งการให้สาร น�้ำทางทวารหนักนี้ ช่วยชะลอการเกิดภาวะช็อคได้ และควรมีการให้สารน�้ำซ�้ำหลายๆ ครั้งต่อวัน ซึ่ ง วิธีการนี้สามารถใช้ได้กบั โรคอื่น ๆ ที่มีอาการใกล้เคียงกันระหว่างที่ตอ้ งรอผลการวินิจฉัยโรค การให้ ยาต้านไวรัสควรให้เร็ วที่สุดเท่าที่ทำ� ได้ และสามารถให้ยาได้ก่อนการผลการตรวจเชื้อ EEHV ได้รับการ ยืนยัน การตรวจยืนยันโรค EEHV ควรท�ำอย่างเร็ วที่สุดเท่าที่สามารถท�ำได้ เนื่องจากอาการเริ่ มต้นของ โรคมีความคล้ายคลึงกับการติดเชื้อแบคทีเรี ย ช้างป่ วยบางเชือกได้รับการรักษาเริ่ มต้นด้วยยาปฏิชีวนะ ด้วยเช่นกัน เนื่ องจากอาการป่ วยของโรคนี้อาจคล้ายคลึงกับโรคอื่นด้วย ดังนั้นจึงควรเก็บตัวอย่างเพื่อ ท�ำการวินิจฉัยแยกโรคต่อไปในอนาคตด้วย 15. มีโรคอืน่ ๆ ทีม่ อี าการใกล้ เคียงกับ EEHV หรือไม่ อาการระยะแรกของ EEHV ใกล้เคียงกับโรคติดเชื้อแบคทีเรี ยหลายชนิด เช่น ซัลโมเนลลา อีโคไล และพาสซูเรลลา และโรคติดเชื้อไวรัส เช่น เอนเซฟาโลไมโอคาไดติสไวรัส ซึ่ งไม่วา่ จะเป็ น อาการป่ วยใดก็ตาม การให้สารน�้ำเป็ นสิ่ งแรกที่ควรท�ำ นอกจากนี้ ควรท�ำการเก็บเลือดเพื่อส่ งตรวจหา เชื้อ EEHV รวมถึงเก็บซีรัมเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจในอนาคตด้วยเช่นกัน 16. ประเทศไหนบ้ างทีเ่ คยมีช้างป่ วยเป็ น EEHV EEHV เป็ นโรคที่สามารถพบได้ทวั่ โลก โดยมีรายงานช้างป่ าและช้างเลี้ยงที่ติดเชื้ อและ เสี ยชีวติ จากหลายประเทศในแถบเอเชีย เช่น เมียนมาร์ ลาว มาเลเซี ย อินเดีย ไทย และกัมพูชา นอกจาก นี้ยงั มีอีกหลายประเทศในแถบเอเชียที่พบช้างป่ วยต้องสงสัยด้วยโรคนี้ 17. ใครท�ำการศึกษาวิจยั เกีย่ วกับ EEHV อยู่ หลายหน่วยงาน สถาบันวิจยั และ สถาบันการศึกษา ทัว่ โลกก�ำลังศึกษาและวิจยั เกี่ยวกับ EEHV อยูใ่ นประเทศไทย: คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยมหิ ดล สถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ ศูนย์วจิ ยั และพัฒนาทาง สัตวแพทย์ กรมปศุสตั ว์ และ ส�ำนักวิจยั และอนุรักษ์ องค์การสวนสัตว์ หน่วยงานดังกล่าวเหล่านี้ ก�ำลัง ศึกษาและวิจยั อย่างเร่ งด่วนเพื่อแก้ไขปั ญหาเหล่านี้ นอกจากนี้หน่วยงานศึกษาและวิจยั เกี่ยวกับ EEHV ในต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริ กา: Baylor College of Medicine, Johns Hopkins University,
108
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Cornell University และ Smithsonian’s National Zoo ทวีปยุโรป: Animal and Plant Health Agency in Weybridge (UK), Erasmus University Rotterdam, Artemis One Health in Utrecht (Netherlands), Free University Berlin, Institute for Zoo Biology and Wildlife Research IZW (Germany), Veterinary University Zurich (Switzerland) ทวีปเอเชีย: Kerala Veterinary and Animal Sciences University (India). 18. ช้ างทุกเชือกสามารติด EEHV ได้ หรือไม่ ช้างทุกเชื อกสามารถติดเชื้ อ EEHV ได้ ทั้งช้างป่ า ช้างเลี้ยง ช้างเอเชี ย และช้างอัฟริ กา แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มที่มีความเสี่ ยงสูงที่สุดได้แก่ กลุ่มลูกช้างเอเชียทั้งที่เป็ นช้างป่ าและช้างเลี้ยง 19. EEHV มีมานานแค่ ไหนแล้ ว มีแนวโน้มว่าเชื้อ EEHV มีววิ ฒั นาการมาพร้อมกับการวิวฒั นาการของช้าง ซึ่งน่าจะประมาณ หนึ่งล้านปี ที่ผา่ นมาน่าจะอยูม่ านานกว่าพันปี 20. อะไรคือปัจจัยเสี่ ยงทีท่ ำ� ให้ ตดิ เชื้อ EEHV ในช้ าง อายุน่าจะเป็ นปัจจัยเสี่ยงหลัก เนื่องจากพบอาการป่ วยในลูกช้างได้บอ่ ยครั้งกว่าช้างโตเต็มวัย การเปลี่ยนแปลงระดับภูมิคุม้ กันอาจเป็ นส่ วนหนึ่งที่ทำ� ให้ลกู ช้างป่ วยจาก EEHV ในบางกรณี ลกู ช้างอาจ ติดโรคเนื่องจากได้รับภูมิคุม้ กันจากแม่ไม่เพียงพอ และมีอาการเจ็บป่ วยจากโรคอื่น ๆ ร่ วมด้วย ท�ำให้ ร่ างกายอ่อนแอและมีความต้านทานต่อการติดไวรัสลดลง ทั้งนี้ การที่ความเครี ยดจะเป็ นหนึ่ งในปั จจัย เสี่ ยงที่ทำ� ให้ชา้ งติดโรคหรื อไม่น้ นั ยังอยูใ่ นขั้นตอนการศึกษาและวิจยั 21. การเคลือ่ นย้ ายช้ างควรตระหนักถึงโรค EEHV หรือไม่ ในบางครั้ง อาจพบการระบาดของ EEHV ภายหลังจากการเคลื่อนย้ายลูกช้างไปยังฝูงใหม่ หรื อการน�ำช้างใหม่เข้าฝูง ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้วา่ การเคลื่อนย้ายช้างอาจมีความเสี่ ยงต่อการเกิดโรค แต่อย่างไรก็ดีปัจจัยและความเสี่ ยงต่อการเกิดโรคยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป 22. ควรมีการตรวจเลือดเพือ่ หาเชื้อไวรัสบ่ อยแค่ ไหนในช้ างทีม่ สี ุ ขภาพปกติ ในทางอุดมคติ ช้างที่อยู่ในช่วงอายุที่เสี่ ยงต่อการติดโรคได้ง่าย (1-8 ปี ) ควรได้รับการ เจาะเลือดเพื่อเฝ้ าระวังสัปดาห์ละครั้ง เนื่องจากเชื้อมีระยะฟักตัว 7-14 วัน อย่างไรก็ตาม หากการเจาะ เลือดทุกสัปดาห์ไม่สามารถท�ำได้ การสังเกตอาการหรื อการตรวจทางคลินิคอื่น ก็สามารถใช้เพื่อการ เฝ้ าระวังโรคได้เช่นกัน ทั้งนี้ การตรวจหาเชื้อ EEHV เป็ นสิ่ งที่ควรกระท�ำถึงแม้วา่ จะไม่สามารถท�ำได้ อย่างสม�่ำเสมอ หรื อเป็ นการตรวจย้อนหลังก็ตาม
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
109
23. มีข้อก�ำหนดหรือกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้ องกับ EEHV หรือไม่ ณ ปัจจุบนั ยังไม่มีขอ้ ก�ำหนดหรื อกฎหมายใด ๆ เกี่ยวข้องกับโรคนี้ เนื่องจากโรคนี้ไม่ได้ ส่ งผลกระทบถึงมนุษย์หรื อสัตว์อื่น ประกอบกับการเกิดโรคไม่ได้ติดต่อจากการที่ชา้ งสัมผัสกันโดยตรง ดังนั้นข้อก�ำหนดจึงไม่มีความจ�ำเป็ น 24. อะไรทีเ่ ราต้ องเรียนรู้ เกีย่ วกับโรคนี้ ส�ำหรับความรู ้เกี่ยวกับโรค EEHV นั้น ยังมีอีกมากมายที่ยงั คลุมเครื อ อาทิเช่น เรื่ องที่วา่ ท�ำไมช้างบางเชือกตายจากเลือดออกแต่บางเชือกก็ไม่ปรากฎอาการดังกล่าว, ยาต้านไวรัสชนิดไหนที่มี ประสิ ทธิภาพการรักษาดีที่สุด และกลไกการเกิดพยาธิสภาพของเชื้อไวรัส เช่น ผลกระทบทางสรี ระวิทยา ที่ไวรัสมีต่อร่ างกายช้าง ซึ่ งทั้งหมดนี้ เป็ นเหตุเนื่ องมาจากที่เรายังไม่สามารถเพาะเลี้ยงเชื้ อไวรัสได้ การศึกษาเชื้อไวรัสชนิดนี้ทำ� ได้ยาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อไม่นานมานี้ เชื้อไวรัสได้ถกู น�ำมาจัดท�ำล�ำดับทางพันธุกรรม ซึ่งจะช่วย ให้นกั ไวรัสวิทยาสามารถศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติเบื้องต้นของไวรัสชนิ ดนี้ ได้ นอกจากนี้ เรายังพบวิธี การตรวจวินิจฉัยที่สามารถตรวจพบเชื้อได้ในระยะแรกและมีการรักษาที่สามารถช่วยชีวติ ช้างไว้ได้ แต่ ทั้งนี้ การให้ความรู ้ ความเข้าใจที่ ถูกต้องกับบุ คลากรที่ ทำ� งานเกี่ ยวกับข้องกับช้างให้เข้าใจเกี่ ยวกับ โรค EEHV รวมถึงจัดทีมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับโรคนี้กเ็ ป็ นสิ่ งส�ำคัญเช่นกัน 25. โรค EEHV สามารถวินิจฉัยได้ อย่ างไร วิธีมาตรฐานส�ำหรับการวินิจฉัยโรค EEHV คือ วิธี Polymerase Chain Reaction (PCR) ซึ่ ง ต้องใช้เวลาในการวินิจฉัยอย่างน้อย 24 ชัว่ โมง วิธีอื่น ๆ ที่สามารถใช้ในการวินิจฉัย ได้แก่ ELISA ซึ่ งใช้ หลักการทางซีรัมวิทยา พยาธิวทิ ยาคลินิก เช่น การตรวจเลือด โดยอาจพบค่าเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด ลดต�่ำลงในช้างป่ วย และอาจพบเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ยงั ไม่โตเต็มที่เนื่องจากกระบวนการอักเสบ เป็ นต้น นอกเหลือจากนี้ลกั ษณะอาการป่ วยทางคลินิกก็สามารถบ่งบอกว่าช้างป่ วยเบื้องต้นได้เช่นกัน หากช้างเสี ยชีวติ การผ่าซากจะพบเลือดออกอย่างรุ นแรงตามช่องว่างของร่ างกาย พบน�้ำใน ถุงหุ ้มหัวใจ และการบวมน�้ำที่อวัยวะหลายแห่ ง เช่น สมอง การท�ำจุลพยาธิ วิทยาพบการอักเสบของ เส้นเลือดและลิม่ เลือดตามหลอดเลือดด�ำ โดยอวัยวะทีส่ ามารถพบได้บอ่ ย คือ หัวใจ ไต และตับ นอกจากนี้ อาจพบ inclusion bodies ที่มีนิวเคลียสติดสี ม่วงซึ่งเป็ นลักษณะเฉพาะของเชื้อ EEHV อีกด้วย (อาจจะพบ ได้ยากในบางครั้ง)
ขอขอบคุณ Asian EEHV Working Group and EEHV Task force Thailand แปลและรวบรวม 110
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ถามตอบ กับเรื่อง
“ช้ างตกมัน” ช้ างตกมัน คืออะไร “ช้างตกมัน” เป็ นค�ำเรี ยกช้างที่มีการขับสิ่ ง คัดหลัง่ ออกจากรู เปิ ดของต่อมที่ขา้ งขมับของช้าง ซึ่ง อาจจะมี ลกั ษณะอื่ นๆ ของการตกมันร่ วมอยู่ดว้ ย ทั้ง นี้ บางครั้ งอาจจะเรี ย กว่ า “ช้า งน�้ำ มัน ” หรื อ “ช้างตกน�้ำมัน” ได้ดว้ ย การตกมันของช้ าง คืออะไร การตกมันของช้างเป็ นการเปลี่ยนแปลงทางสรี ระวิทยาปกติของช้าง ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสรี ระ วิทยาของระบบสื บพันธุ์ ทั้งนี้ เชื่อกันว่าการตกมันของของจะอยูภ่ ายใต้อิทธิ พลของสรี ระวิทยาระบบ สื บพันธุ์ที่ชื่อว่า hypothalamo-pituitary-gonadal (HPG) axis ที่ถกู ควบคุมด้วย ฮอร์โมนโกนาโดโทรปิ น -รี ลีสซิ่ ง (gonadotropin-releasing hormone; GnRH) ที่สำ� คัญต่อการสร้างฮอร์ โมนทางระบบสื บพันธุ์ อื่นๆ ซึ่ งสามารถยืนยันได้จากระดับฮอร์โมนของระบบสื บพันธุ์หลายชนิดเพิ่มสู งขึ้นกว่าปกติหลายเท่า ในช่วงที่ชา้ งตกมัน โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศผู ้ ท�ำไมช้ างต้ องตกมัน ช้างจะมีการตกมันเป็ นปกติในช้างที่มีความพร้อม คือ มีความสมบูรณ์ของร่ างกาย อายุเหมาะสม และสุ ขภาพดี เป็ นต้น การตกมันของช้างนั้นเชื่อว่าเป็ นการแสดงออกของสังคมของช้างอย่างหนึ่ งที่ สัมพันธ์กนั ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางสรี ระวิทยาของช้างกับพฤติกรรมทางสังคม โดยในธรรมชาติ แล้ว ช้างที่จะตกมันแรกๆนั้นจะเป็ นช้างที่มีระดับชั้นหรื อวรรณะทางสังคมที่สูง เป็ นช้างที่เป็ นตัวเด่นใน พื้นที่น้ นั ๆ และมีโอกาสที่จะได้รับการยอมรับและสามารถผสมพันธุ์กบั ช้างเพศเมียได้มากขึ้น อีกทั้ง เป็ นการแสดงออกถึงสถานะทางสังคมของช้างตัวนั้นเอง รวมถึงการข่มต่อช้างตัวผูต้ วั ที่ดอ้ ยกว่าหรื อ กลุ่มช้างของช้างตัวผูอ้ ายุนอ้ ยในพื้นที่น้ นั เพื่อให้ชา้ งเหล่านั้นอยูใ่ นอาณัติหรื อการควบคุม ช้ างตกมัน เป็ นช้ างทีม่ คี วามก�ำหนัดและต้ องการผสมพันธุ์ ช้างตกมันนั้นไม่ใช่ชา้ งที่มีความก�ำหนัดและต้องการผสมพันธุ์เสมอไป ทั้งนี้ การตกมันของ ช้างนั้นมีเป้ าประสงค์หลักในเรื่ องสถานะและพฤติกรรมทางสังคมเป็ นหลัก โดยเฉพาะพฤติกรรม ทางสังคมของช้างเพศผู ้ มีรายงานการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่ได้มีการศึกษาว่าลูกช้างแอฟริ กาที่เกิดใน การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
111
รอบปี นั้นเป็ นลูกช้างที่เกิดจากช้างเพศผูท้ ี่ตกมันหรื อไม่ การศึกษาพบว่ามีลูกช้างกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ ที่ ไม่ได้เกิดจากพ่อช้างที่ตกมันในช่วงปี ที่มีการศึกษานั้น ต่ อมน�ำ้ มันของช้ าง ต่อมน�้ำมันในช้าง มีชื่อเรี ยกอื่นอีก เช่น ต่อมขมับ ต่อมเท็มโปรอล (temporal gland) เป็ นต้น ต่อมนี้ที่แท้จริ งแล้วเป็ นต่อมเหงื่อชนิด หนึ่ง ที่มีการพัฒนาเป็ นพิเศษของช้าง เป็ นต่อม ชนิ ด เดี่ ย วกัน ที่ ส ามารถพบได้ใ นสั ต ว์อื่ น ๆ รวมถึงมนุษย์ เพียงแต่แตกต่างกันในต�ำแหน่ง ที่ อ ยู่ ข องต่ อ ม ซึ่ งผลิ ต กลิ่ น และฟี โรโมน (pheromone) เป็ นการเฉพาะของสัตว์แต่ละชนิด เมื่อสัตว์เหล่านั้นเข้าสู่ช่วงวัยเจริ ญพันธุ์ ทั้งนี้ใน ช้า งเอง ต่ อ มน�้ำ มัน นี้ จะเริ่ ม พัฒ นาและผลิ ต สิ่ งคัดหลัง่ ให้เห็นได้เด่นชัดเมื่อช้างเข้าสู่วยั เจริ ญพันธุเ์ ช่นกัน โดยที่สิ่งคัดหลัง่ ที่ต่อมน�้ำมันผลิตนั้นจะถูก กักเก็บไว้ในช่องว่างภายในต่อมและจะขับออกมาทางช่องเปิ ดของต่อมที่สามารถเห็นได้บริ เวณขมับของ ช้าง อีกทั้งจากการศึกษาทางจุลกายวิภาคของต่อมน�้ำมันในช้าง พบว่าโครงสร้างของเซลล์ที่อยูใ่ นต่อม นี้คอ่ นข้างที่จะเหมือนกับโครงสร้างของเซลล์เลดิ๊ก (leydig cell) ในอัณฑะ ที่มีหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมน เพศผู ้ ดังนั้นอาจจะอนุมานได้วา่ ต่อมน�้ำมันในช้างสามรถที่จะผลิตฮอร์โมนเพศผูไ้ ด้เช่นกัน องค์ ประกอบของน�ำ้ มัน น�้ำมันหรื อสิ่ งคัดหลัง่ จากต่อมขมับนี้ น้ ัน ที่แท้จริ งแล้วไม่ใช่ สารประกอบหรื อสารที่มีองค์ ประกอบของน�้ำมัน เพียงแต่มีลกั ษณะเหลวข้นคล้ายน�้ำมันเท่านั้น โดยสิ่ งคัดหลัง่ นี้มีสารเคมีที่เป็ นองค์ ประกอบหลายตัวในกลุ่มของสารประกอบ carboxylic acid สารประกอบของ acetate และสารประกอบ ชอง ketone นอกเหนือจากนี้องค์ประกอบที่สำ� คัญ คือ ฟี โรโมนที่มีชื่อว่า frontalin และ ฮอร์โมนเพศผู ้ หลายชนิด โดยเฉพาะฮอร์โมนเทสโตสเตอร์โรน (testosterone) ช้ างจะมีการตกมันเมือ่ ไร ช้างตัวผูจ้ ะเริ่ มมีการตกมันให้เห็นได้เมื่อช้างเข้าสู่วยั เจริ ญพันธุ์ ในช่วงอายุ 15-20 ปี ทั้งนี้ข้ ึนกับ ความสมบูรณ์และความพร้อมทางระบบสื บพันธุ์ของช้างแต่ละตัว ที่บางครั้งพบว่าช้างอายุนอ้ ย 11-12 ปี ก็สามารถที่จะตกมันได้แล้ว ทั้งนี้ ในประเทศไทยพบว่าช้างเพศผูส้ ่ วนใหญ่จะมีการตกมันครั้งแรกเมื่อ อายุได้ 20 ปี และเมื่อช้างมีการตกมันครั้งแรกแล้ว ในปี ถัดๆไปช้างตัวนั้นก็จะมีการตกมันเป็ นประจ�ำทุกปี ในช่วงเวลาเดียวกันของทุกปี 112
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ช้ างนั้นจะตกมันในช่ วงเวลาใด ปกติแล้วในธรรมชาติชา้ งเอเชียส่ วนใหญ่ ในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้น้ นั จะมีการตกมันในช่วงปลายฤดูฝนถึงต้นฤดูหนาว ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่ชา้ งตกมันนั้นสัมพันธ์กบั วงรอบ ของฤดูกาล ด้วยเหตุที่ว่าในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา นั้นช้างได้รับน�้ำและอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์ สภาพร่ า งกายพร้ อ มที่ จ ะเข้า สู ้ ก ารตกมัน ซึ่ ง สอดคล้องกับการตกมันของช้างเลี้ยงเช่นกัน ช้ างตกมันนานเท่ าใด ระยะเวลาการตกมันของช้างแต่ละตัวนั้นไม่แน่ นอนในแต่ละปี ที่ชา้ งตกมัน ทั้งนี้ ปกติแล้วมี การตกมันในช่วงปี แรกๆ ของชีวติ หรื อในกลุม่ ช้างอายุนอ้ ยนั้น ช้างกลุม่ นี้มกั จะมีระยะเวลาของการตกมัน ที่ส้ นั อาจจะเพียงหนึ่งหรื อสองอาทิตย์เท่านั้น ส่วนช้างที่อายุมากขึ้น ระยะเวลาของการตกมันก็จะยาวนาน ขึ้น ที่อาจจะกินเวลาถึงหลายเดือน อย่างไรก็ตามระยะเวลาการตกมันของช้างอาจจะสั้นหรื อนานนั้น จะขึ้นกับปั จจัยอื่นๆ อีก เช่น สถานะทางสังคมของช้าง สุ ขภาพและภาวะทางโภชนาการของช้าง หรื อ การควบคุมการตกมันของช้าง เป็ นต้น ปัจจัยใดบ้ าง ทีเ่ กีย่ วข้ องกับการตกมัน มีปัจจัยหลายๆ อย่างที่คาดว่าเกี่ยวเนื่องหรื อ มีอิทธิพลต่อการตกมันของช้าง ทั้งปั จจัยด้านภายใน ของช้างเอง เช่น เพศ อายุ ความสมบูรณ์พนั ธุ์และ ความสมบู ร ณ์ ข องร่ า งกาย ภาวะทางโภชนาการ ของช้า ง ระดับ สถานะทางสั ง คม เป็ นต้น ปั จ จัย ภายนอก เช่น ฤดูกาล อาหารน�้ำ สังคมช้าง เป็ นต้น โดยเฉพาะปัจจัยทางด้านอาหารหรื อโภชนาการทีส่ ่งผล ต่อการตกมันอย่างเด่นชัด ที่พบว่าช้างที่ได้รับอาหาร ที่มคี ณ ุ ภาพและพลังงานสูง มีโอกาสที่จะตกมันได้งา่ ย เช่นที่ปรากฏค�ำว่า “ตกมันหญ้า” ที่เป็ นค�ำที่ใช้เรี ยกการตกมันของช้างที่กินหญ้าอ่อนคุณภาพดีในช่วง ต้นฤดู หรื อได้รับอาหารที่คุณภาพสูง ซึ่งแตกต่างจากการตกมันปกติ ที่ส่วนใหญ่จะพบเพียงการขับสิ่ ง คัดหลัง่ จากต่อมขมับเพียงอย่างเดียว โดยลักษณะการตกมันเช่นนี้ ในประเทศอื่นที่เลี้ยงช้างก็มีคำ� เรี ยก ทีเ่ ฉพาะเช่นกัน อย่างไรก็ตามด้วยปัจจัยทีห่ ลากหลาย จึงเป็ นเหตุให้ตกมันทุกปี เป็ นส่วนใหญ่ แต่ชา้ งบางตัว อาจจะไม่มีการตกมันให้เห็นทุกปี ด้วยขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่างข้างต้น การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
113
ท�ำไมช้ างตกมันถึงก้ าวร้ าวในช่ วงตกมัน ฮอร์ โมนเพศผูท้ ี่เพิ่มสู งขึ้นในช่วงที่ชา้ งตกมันมันนั้นสัมพันธ์กบั พฤติกรรมก้าวร้าวของช้าง ด้วยการศึกษาวิจยั ในสัตว์หลายชนิดรวมถึงมนุษย์ พบว่าสัตว์หรื อมนุษย์ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวจะมีระดับ ของฮอร์โมนเพศผูท้ ี่สูงกว่าปกติ ทว่าช้างที่ตกมันนั้นไม่ได้แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเสมอไปทุกตัวหรื อ ทุกครั้งไป ขึ้นกับลักษณะนิ สัยของช้างแต่ละตัวด้วย รวมถึงบริ บทแวดล้อมในขณะนั้นๆ หรื อในการ ตกมันแต่ละครั้งอีกด้วย อีกทั้งมีรายงานว่าช้างที่อายุมากขึ้น ความก้าวร้าวจะลดลงหรื อไม่มีเลย หรื อเป็ น เหมือนช่วงปกติ ในช่วงที่ชา้ งมีการตกมัน ช้ างดุ ช้ างอาระวาด นั้นเป็ นช้ างทีต่ กมันใช่ ไหม แม้วา่ ความก้าวร้าวในช่วงตกมันมันอาจจะเป็ นผลมาจากอทธิ พลของฮอร์ โมนเพศผูท้ ี่เพิ่มขึ้น ในขณะนั้น ทว่าความเข้าใจส่ วนใหญ่ของสาธารณะชนมีความเข้าใจว่าช้างที่ดุ อาระวาดนั้นเป็ นช้างที่ ตกมัน แต่ในความเป็ นจริ งแล้วช้างที่ตกมันไม่ได้ดุหรื อก้าวร้าวเสมอไป ช้างบางตัวที่ดุหรื อก้าวร้าว อาระวาด นั้นเกิ ดจากพฤติกรรมและนิ สัยส่ วนตัว แม้ว่าจะอยู่ในช่ วงที่ไม่ตกมันก็ตาม อีกทั้งบริ บท แวดล้อมบางอย่างที่สามารถกระตุน้ ให้ชา้ งแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว อาระวาด ขึ้นมาได้ เช่น การหวง ถิ่นที่อยู่ ปกป้ องโขลง หรื อ ป้ องกันตัวเอง เป็ นต้น ลักษณะทีส่ ั งเกตได้ ของช้ างทีต่ กมันเป็ นอย่ างไร การสังเกตการณ์ตกมันของช้างนั้น เมื่อควาญช้างทราบว่าช้างของตนเองตกมันในช่วงเวลาใด แล้วนั้น เมื่อใกล้เวลาช้างตกมัน ตัวควาญช้างเองจะเฝ้ าระวังเป็ นพิเศษ ทั้งนี้ชา้ งจะดื้อขึ้น ไม่เชื่อฟังควาญ เหมือนก่อน ควบคุมยากขึ้นกว่าช่วงปกติ ส่ วนลักษณะภายนอกที่สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงแรก เช่น ร่ างกายช้างมีความสมบูรณ์ของร่ างกายมากขึ้น ต่อมขมับบวมขยายใหญ่ข้ ึน อาจจะพบรู เปิ ดใหญ่และ จะมีสารประกอบคล้ายขี้ผ้ ึงอุดที่ปากรู เปิ ด จากนั้นเวลาถัดจะพบการหลัง่ ไหลของสิ่ งคัดหลัง่ จากต่อม ขมับ จากรู เปิ ดของต่อมขมับไปจนสุ ดปลายปากหรื อคาง ประกอบกับการหลัง่ ของปัสสาวะที่มากขึ้นใน ช่วงเวลาเดียวกันนี้ ช่วงนี้ชา้ งจะมีความก้าวร้าวมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงที่พบทั้งการหลัง่ ของสิ่ งคัดหลัง่ จากต่อมขมับและปัสสาวะ อาการเหล่านี้จะคงอยูจ่ นถึงช่วงท้ายๆ ของการตกมัน และจะลดน้อยลงจน หายไปเมื่อช้างออกจากการตกมัน หรื อสิ้ นสุ ดการตกมัน ช้ างเพศเมียสามารถตกมันได้ หรือไม่ ช้างเพศเมียสามารถที่จะตกมันได้เช่นเดี ยวกัน แต่ท้ งั นี้ พบได้น้อยและการตกมันไม่เด่นชัด เท่าช้างเพศผู ้ ซึ่ งการตกมันในช้างเพศผูน้ ้ นั จะรุ นแรงกว่าด้วยอิทธิ พลของฮอร์ โมนเพศผูน้ น่ั เอง การที่ ช้างเพศเมียมีการตกมันให้เห็ นนั้น พบว่าจะเกิ ดในช้างที่สมบูรณ์มากๆ ช่ วงตั้งท้องใกล้คลอด ช่ วง คลอดลูกหรื อช่วงเลี้ยงลูกอ่อน ที่จะพบเพียงการขับสิ่ งคัดหลัง่ หรื อน�้ำมันออกจากต่อมข้างขมับเท่านั้น บางครั้งอาจจะพบว่าช้างอายุนอ้ ย ลูกช้าง สามารถมีส่ิ งคัดหลัง่ ไหลออกจากต่อมข้างขมับได้เช่นกัน ที่ 114
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
อาจจะเป็ นผลมาจากความสมบูรณ์ของตัวช้าง สภาวะทางอารมณ์บางอย่าง เป็ นต้น ซึ่ งเกิดในช่วงสั้นๆ เท่านั้น สามารถควบคุมการตกมันของช้ างได้ หรือไม่ ในกรณี ของช้างเลี้ยง เมื่อควาญช้างพบว่าช้างของตนเองก�ำลังจะเข้าสู่ ช่วงการตกมัน ควาญช้าง จะน�ำช้างเข้าสู่ การควบคุมตามล�ำดับระเบียบวิธีการปฏิบตั ิ เช่น เปลี่ยนโซ่ ให้เหมาะสมทั้งขนาดและ ความยาว ผูกล่ามในพื้นที่ที่เฉพาะ ห่างจากผูค้ น สัตว์เลี้ยงอื่นและช้างเชือกอื่น มีน้ ำ� และอาหารให้อย่าง เพียงพอ โดยควาญช้างจะเป็ นผูค้ อยดูแลช้างตลอดช่วงของการตกมัน ทั้งนี้บางกรณี อาจจะมีการจัดการ อย่างอื่นร่ วมด้วย เช่น การควบคุมโภชนาการของช้าง หรื อ การน�ำช้างออกก�ำลังกาย เป็ นต้น ส�ำหรับการ ควบคุมการตกมันของช้างอืน่ ในเชิงการสัตวแพทย์น้ นั สามารถที่ใช้การควบคุมสรี ระวิทยาระบบสื บพันธุ์ ด้วยฮอร์โมนวัคซีน หรื อฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ใช้ในการรักษาเนื้องอกต่อมลูกหมากในมนุษย์ เป็ นต้น
ศูนย์ ความเป็ นเลิศด้ านการศึกษาและวิจยั ช้ างและสั ตว์ ป่า คณะสั ตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ขอขอบพระคุณ ภัทร เอลิเฟ่ น ฟาร์ ม ส�ำหรั บภาพประกอบบางส่ วน
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
115
116
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
117
การจัดการปั ญหาช้างเลี้ยง ในอุ ตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ สวัสดิภาพของช้างเลี้ยงเป็ นเรื่ องที่มีการ โต้เถียงกันมากระหว่าง คนเลี้ยงช้าง นักอนุ รักษ์ นักวิทยาศาสตร์ ประชาชนทัว่ ไป นักสวัสดิภาพ ของสัตว์นักสิทธิประโยชน์ของสัตว์ และสื่อมวลชน ในเรื่ องการจัดการ การดูแล และการใช้ชา้ ง ความ กังวลในเรื่ องสวัสดิ ภาพของช้างได้เพิ่มมากขึ้ น โดยเฉพาะการใช้ชา้ งในในอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจนส่ งผลกระทบต่อการ ด�ำรงชี วิตตามธรรมชาติของช้าง ส่ งผลให้มีการ เรี ยกร้องการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างเร่งด่วนเพือ่ หาทางแก้ไขทีจ่ ะรับรองได้วา่ ช้างจะได้รบั การดูแลทีด่ ี รวมถึงมีการจัดการช้างเลี้ยงอย่างมีจริยธรรมในอนาคต การอยูร่ ่ วมกันระหว่างมนุษย์กบั ช้างนั้นมี ประวัตศิ าสตร์ทยี่ าวนาน อีกทั้งช้างยังมีบทบาทส�ำคัญ ต่อสภาพเศรษฐกิจตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบนั ตาม ที่องค์กรระหว่างประเทศเพือ่ การอนุรักษ์ธรรมชาติ (Internaonational Union for the Conservation of 118
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Nature, IUCN) ได้มกี ารประมาณการว่า ในประเทศ ที่ มี ช้า งเอเชี ย เป็ นถิ่ น ก�ำ เนิ ด มี ช้า งเลี้ ย งเอเชี ย ประมาณ 13,000 เชือก ถูกใช้ในอุตสาหกรรมการ ท่องเที่ยว การลากไม้ และการขนส่ ง(1) การใช้ชา้ ง ในธุรกิจการท่องเที่ยวในปางช้างนั้นเพิม่ สูงขึ้นโดย ในประเทศไทยใช้ชา้ งในธุรกิจการท่องเทีย่ วประมาณ 2,700 เชือกจากจ�ำนวนช้างทั้งหมด 4,500 เชือก(2) ในปัจจุบนั ธุรกิจปางช้างเพือ่ การท่องเที่ยว ในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้น้ นั ยัง ไม่มีแนวปฏิบตั ิการจัดการดูแลช้างที่เป็ นที่ยอมรับ เพือ่ ให้การจัดการและดูแลสุขภาพช้างมีประสิทธิภาพ ที่ ดี ส่ งผลให้การจัดการช้างในหลายพื้นที่ ไม่ มี คุณภาพเพียงพอ โดยปางช้างบางแห่งถูกวิจารณ์ใน เรื่ องความด้อยประสิ ทธิ ภาพในการจัดการช้าง ท�ำให้เกิดความใจผิดเกี่ยวกับการจัดการช้างเลี้ยงที่ เหมาะสมซึ่งเป็ นการค่อยๆ ท�ำลายชื่อเสี ยงปางช้าง ที่การจัดการที่ดี
อดีต และยังแสดงให้เห็นถึงความผูกพันของ ดังนั้นจึงมีความจ�ำเป็ นเร่ งด่วนที่จะต้อง คนกับช้างที่ช่วยส่งเสริ มความเข้าใจและคุณค่า เพิม่ การตระหนักในเรื่ องปัญหาและการแก้ไข รวม ของช้าง ทั้ง การให้ ค ำ� แนะน�ำ เพื่ อ ที่ จ ะพัฒ นาการดู แ ล สุ ขภาพและการจัดการช้างเลี้ยงในประเทศภูมิภาค 4. เนื่ อ งจากข้อ จ�ำ กัด ของผูด้ ู แ ลช้า งที่ ต อ้ งเพิ่ ม รายได้สำ� หรับค่าอาหารและการดูแลส�ำหรับช้าง เอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ โดยกลุ่มของผูท้ ี่มีความ การเพิ่มจ�ำนวนของช้างเลี้ยงในปั จจุ บนั นั้น เชี่ยวชาญทางด้านช้าง สัตวแพทย์ นักวิจยั และนัก ขึ้นอยูก่ บั การจ้างงานในอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ ว อนุรักษ์ ได้รวมตัวกันเป็ นคณะท�ำงานช้างเลี้ยงใน ประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ (ASEAN 5. ช้างเป็ นสัตว์ที่ฉลาดและสามารถเคลื่อนที่ มี การพึ่งพากันในกลุ่ม มีโครงสร้างทางสังคมที่ Captive Elephant Working Group, ACEWG) ใน มี ค วามซับ ซ้อ น การเลี้ ย งช้า งจึ ง ต้อ งมี ก าร เดือนมิถุนายน พ.ศ.2558 จัดการที่ดีและต้องการการดูแลอย่างมืออาชีพ 6. ช้างสามารถท�ำอันตรายต่อคนและช้างด้วยกัน โดยคณะท�ำงานนี้มีความเห็นว่า: ไม่ว่าในช้างเลี้ ยงหรื อช้างป่ าและต้องมี การ 1. การปิ ดปางช้ า งเพื่ อ การท่ อ งเที่ ย วนั้ นไม่ จัดการที่เหมาะสม สามารถท�ำได้ในความเป็ นจริ ง รวมไปถึงการ ขาดทางเลือกในการประกอบอาชีพของคนกับ 7. การใช้ชา้ งในธุ รกิจการท่องเที่ยวสร้างความ กังวลมากขึ้นในระดับนานาชาติ มีการถกเถียง ช้าง การปล่อยช้างเลี้ยงเข้าป่ านั้นจึงควรมีการ กันมากและยังไม่มีขอ้ แก้ไขในเบื้องต้น ดังนั้น ศึกษา แต่ในปัจจุบนั ทางเลือกนี้ไม่สามารถเป็ น การศึ กษาทางวิทยาศาสตร์ จะมี ส่วนช่ วยได้ ไปได้ท้งั หมด เนื่องจากช้างเลี้ยงส่วนใหญ่ขาด มากขึ้นเพื่อจะพัฒนาแนวปฏิบตั ิที่มีการค�ำนึง ที่อยูอ่ าศัยที่เหมาะสม และยังพบปั ญหาความ ถึ งสวัสดิ ภาพสัตว์และเพื่อปรั บปรุ งวิธีการ ขัดแย้งของคนกับช้างในทวีปเอเชีย การปล่อย จัดการช้างในอนาคต ช้างเข้าสู่ ป่าอาจท�ำให้ปัญหาความขัดแย้งนี้ 8. ประชากรช้างป่ านั้นถูกคุกคาม มีการน�ำช้าง เพิ่มสู งขึ้นได้ ออกป่ าด้วยเหตุผลต่างๆ โดยเฉพาะเหตุผลเพือ่ 2. การใช้ชา้ งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นมี การท่องเที่ยว ซึ่ งเป็ นเหตุผลที่มีการตั้งค�ำถาม ความหลากหลาย แต่ ไ ม่ มี ข ้อ ควบคุ ม การ จากกลุ่มนักอนุรักษ์ทวั่ โลก ท�ำงานของช้าง เช่น การนัง่ ช้าง การอาบน�้ำ การ มีกิจกรรมร่ วมกับนักท่องเที่ยว การแสดงโชว์ 9. เพื่อที่จะรับรองว่าช้างจะมีสวัสดิภาพที่ดีข้ ึน ควรมีการพัฒนาวิธีการฝึ กช้างแบบใหม่และ การฝึ กควาญช้าง และการจัดการท่องเที่ยวใน น�ำไปปรับใช้แทนที่หรื อใช้เสริ มกับวิธีการฝึ ก รูปแบบของสวนสัตว์ทจี่ ดั พืน้ ทีใ่ ห้นกั ท่องเทีย่ ว การควบคุมช้างแบบดั้งเดิมที่ทำ� ให้เกิดความ นักชมช้าง นอกจากนี้ยงั สามารถเป็ นประโยชน์ ไม่สบายหรื อความเจ็บปวดต่อช้าง ต่อการเรี ยนรู และการศึกษาเกี่ยวกับช้าง 3. จากความสัมพันธ์ระหว่างคนกับช้างนั้นมีมา 10. ในประเทศภูมิภาคเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ ช้างเลี้ยงส่ วนใหญ่มีเจ้าของหรื อถูกดูแลตาม นานกว่าพันปี ธุรกิจการท่องเที่ยวปางช้างช่วย แบบวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีการส่ งต่อกันมากว่า รักษาความรู ้ และวัฒนธรรมการเลี้ยงช้างใน การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
119
พันปี ความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพการ 12. การจัดการสัตว์ที่ได้ผลดีน้ นั ต้องมีการบันทึก และการจัดเก็บข้อมูลในด้านการจัดการ การ จัดการช้างเลี้ยงโดยการท�ำความเข้าใจวิธีการ ดู แ ลสุ ข ภาพของช้า งรายเชื อ กที่ เ ป็ นระบบ เลี้ยงการจัดการช้างแบบใหม่ตลอดจนน�ำมา ท�ำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเชิ งลึกเช่น ข้อมูล ปฏิบตั ิ ต้องอาศัยระยะเวลาในการเปลีย่ นแปลง การเกิด การเสี ยชีวติ การผสมพันธุ์ ซึ่ งจะเป็ น 11. แผนการขึ้นทะเบียนช้างอย่างเป็ นทางการนั้น ประโยชน์ ใ นการวางแผนการจัด การทาง มี ความจ�ำเป็ นอย่างเร่ งด่ วนที่ จะช่ วยลดการ พันธุ กรรม และ การจัดการประชากรช้างที่ ค้าช้างที่ผดิ กฏหมาย ซึ่งต้องมีการบังคับใช้ตาม ยัง่ ยืน แผนอย่างเคร่ งครัด
กลุ่มของผู ้ท่มี ีความเชี่ ยวชาญทางด้านช้าง สัตวแพทย์ นักวิจัย และ นักอนุรักษ์ ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มคณะท�ำงานช้างเลี้ยงในประเทศภูมิภาค เอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ เห็นว่าเป็ นเรื่องที่จ�ำเป็ นเร่งด่วนและต้องมีการ ท�ำงานเชิ งรุ ก โดยใช้ความรู ท้ างวิทยาศาสตร์ท่ีจะจัดการปั ญหาช้างใน อุ ตสาหกรรมในประเทศภูมิภาคเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ในปั จจุ บัน เป้าหมายของคณะท�ำงานช้างเลี้ยงในประเทศภูมิภาคเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้ มีดังนี้: เพื่อรับรองว่าประชากรช้างที่คงอยูแ่ ละยัง่ ยืนจะมาจากช้างเลี้ยงเท่านั้น
ส่งเสริ มคุณภาพชีวติ ที่ดีของช้างเลี้ยงในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการส่งเสริ มแนว
ปฏิบตั ิต่อช้างอย่างมีสวัสดิ ภาพ ช้างจะได้รับความต้องการพื้นฐานทั้งร่ างกายและจิ ตใจมีสภาพ แวดล้อมที่เหมาะสม มีการส่ งเสริ มทางพฤติกรรม และการมีสงั คมของช้าง ลดการจับช้างป่ าเพื่อออกมาใช้ทำ� ธุรกิจในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ มีการน�ำบุคคลและหน่วยงานที่มีความรู ้และประสบการณ์ท้ งั หลายมาร่ วมกันแก้ปัญหา เพื่อท�ำให้ คุณภาพของช้างเลี้ยงในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ให้ดีข้ ึน ปรับปรุ งสวัสดิภาพของช้างเลี้ยงโดยการส่ งเสริ มควาญช้างที่มีคุณภาพและป้ องกันช้างจากการถูก ทรมานและการใช้งานที่ไม่เหมาะสมโดยมนุษย์ สนับสนุ นการสร้างมาตรฐานสวัสดิภาพของช้างเลี้ยงในประเทศภูมิภาคเอเชี ยตะวันออกเฉี ยงใต้ ส�ำหรับผูจ้ ดั การปางช้างและสาธารณชน ที่จะเป็ นพื้นฐานส�ำหรับการดูแลช้าง รวมทั้งจัดท�ำแนวทาง และส่ งเสริ มให้ปางช้างบรรลุมาตรฐานนี้ หาแนวทางที่เหมาะสมและยัง่ ยืนในการจัดการค่าใช้จ่ายที่ครอบคลุมในการดูแลช้างเลี้ยงโดยยังคงมี จริ ยธรรมในการเลี้ยงและอนุรักษ์ชา้ ง รักษาประเพณี และวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการดูแลช้างควบคู่ไปกับพัฒนาแผนการจัดการช้างเลี้ยงที่มี ประสิ ทธิภาพและมีมนุษยธรรมตามประเพณี และวัฒนธรรมของควาญช้างและการเลี้ยงช้าง 120
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
สนับสนุนและสร้างธุรกิจต้นแบบของช้างที่คำ� นึงถึงสวัสดิภาพและมาตรฐานการเลี้ยงช้าง เพิม่ คุณค่า
ทางเศรษฐกิจให้กบั ช้างเพื่อมีสนับสนุนให้มีการจัดการที่มีจริ ยธรรมและมีการอนุรักษ์ชา้ ง เพิ่มการศึกษาและความตระหนักต่อช้างป่ าและช้างเลี้ยง โดยให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของช้าง เลี้ยงที่มีส่วนในการอนุรักษ์สายพันธุ์ชา้ ง สนับสนุนการใช้ชา้ งในธุรกิจการท่องเที่ยวโดยใช้ขอ้ มูลทางวิทยาศาสตร์ ที่ถูกต้องเพื่อส่ งเสริ มการ อนุรักษ์ชา้ งป่ า ถิ่นที่อยูอ่ าศัย และสวัสดิภาพที่ดีของช้าง คณะท�ำงานช้างเลี้ยงในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ (ASEAN Captive Elephant Working Group, ACEWG) กุมภาพันธ์ 2559
เอกสารอ้างอิง:
AsERSM (2006). Report of the Asian Elephant Range States Meeting, January 2006, Kuala Lumpur, Malaysia. IUCN-SSC. Pintavongs, W. et al. (2014). Domestic elephant population structure and health status in Thailand. Journal of Kasetsar Veterinarians. 24(1): 16-24.
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
121
เเถลงการณ์ของคณะท�ำงานช้างเลี้ยงในประเทศภูมิภาคเอเชี ยตะวันออกเฉียงใต้นี้ สนับสนุนโดย:
122
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Addressing a Giant Problem in Southeast Asia The welfare of captive elephants is a topic of intense debate among animal managers, conservationists, scientists, the general public, animal welfare/rights groups and the media. Common concerns, especially on welfare, raised about elephant tourism in particular are complex in their nature and impact, and call for urgent scientific evaluation as well as for realistic solutions to ensure the sustainable and ethical management of captive elephants in the future. The interaction between elephants and people has a long-standing cultural and commercial history and elephants continue to play a role in the economy. According to the International Union for the Conservation of Nature (IUCN) there are
approximately 13,000 Asian elephants in captivity used for tourism, logging and transport throughout the Asian elephant range countries (AsERSM, 2006). The use of elephants in tourism camps is increasing; an estimated 2,700 elephants from an estimated total captive population of 4,500 are used for such purposes in Thailand (Pintawong et al., 2014). For the tourist camps in ASEAN (Association of Southeast Asian Nations) countries, there are currently no acknowledged and/or widely used guidelines for best practices for the management and care of elephants. This has resulted in a large number of facilities operating with an insufficient capacity to manage captive elephants. Such facilities การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
123
are extremely vulnerable to criticism, creating false assumptions about proper captive elephant management and undermining the reputation of good facilities.
the possible solutions as well as provide recommendations to improve health care and management practices for captive elephants in the ASEAN countries, a group of regional elephant specialists, veterinarians, researchers and Recognizing the urgent need to create more conservationists formed an ASEAN Captive awareness about both the problems and Elephant Working Group (ACEWG) in June 2015.
The ACEWG Acknowledges: 1. Closing all elephant tourism camps is not a realistic option for a variety of reasons, including the lack of alternative livelihoods for both people and elephants. Releasing captive elephants back into the wild should be explored, but is currently not a realistic option for a large majority of captive elephants due to a lack of suitable habitat within elephant range countries, the high levels of human- elephant conflict (HEC) across Asia, and the risks – real or perceived – that releases will result in increased HEC. 2. There are a variety of opportunities or uses for elephants in tourism facilities including, but not limited to activities such as riding, bathing, interaction with tourists, shows, mahout experiences and zoo style viewing of elephants in a landscaped area. In addition, these facilities have the potential to provide favourable conditions for studying and offering education about elephants.
124
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
3. The relationship between humans and elephants has existed for thousands of years. The elephant tourism industry provides an opportunity to maintain the knowledge and historic cultural value of elephants in ASEAN range countries, and showcases the deep humanelephant bond that encourages an understanding and appreciation for elephants. 4. With limited possibilities for raising the significant income required for elephant food and care, an increasing number of captive elephants now depend on employment in the tourism industry. 5. Elephants are intelligent and mobile animals with a highly developed socialstructure. They have complex needs and in captivity require professional management and care protocols. 6. Elephants have the capacity to be fatally dangerous to humans and other elephants in both captive and wild situations and must be managed accordingly.
7. The use of elephants in tourist camps has raised global concerns and public debate. It is evident that although there are no simple solutions, more research is required to scientifically guide the development of protocols to appropriately address welfare concerns and to further improve management systems. 8. Wild elephant populations continue to be threatened, and thus the removal of elephants from the wild for any reason, but specifically to meet the needs of the tourism industry, is a major concern to the global conservation community. 9. To ensure better welfare for captive elephants, modern techniques of animal training should be developed and introduced gradually to adjust or supplement those traditional training and handling practices that cause severe discomfort or suffering. 10. The majority of captive elephants in ASEAN countries are owned or cared for on a daily basis by people adhering to a management culture that has been passed down over thousands of years. Efforts are currently underway to improve the quality of captive elephant management but understanding, adopting and enforcing the need for new management practices within local culture will take time.
11. A formal elephant registration program, particularly in those countries without an existing program, is urgently needed and will help to reduce the illegal capture and trade of elephants. Existing formal elephant registration programs must be properly enforced. 12. Effective animal management requires systematic registration, health management and record keeping for all individuals in a population. Such databases can track reproduction and mortality, thus providing valuable information on genetic diversity and demographic stability of the registered population. 13. Different management systems have to be carefully and scientifically. assessed as releasing elephants into the wild or large managed habitats does not automatically address welfare concerns appropriately. 14. The term sanctuary is often misapplied to, or by, some captive elephant facilities in an effort to differentiate them from other places with alternative management styles. At present, no tourism-funded ASEAN elephant facility meets all the requirements that define a true sanctuary. A full understanding of the limitations of elephant care and welfare as well as different elephants’ individual needs in any facility is needed before any such designation can or should be applied. การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
125
15. A certification program for elephant tourism camps is urgently needed. This has the potential to encourage the development of a much-needed registration system for all captive elephants, enforce best practices for
welfare, improve training opportunities for mahouts, and provide a means by which camps that follow best practices are rewarded by greater financial viability.
As a group of elephant specialists, veterinarians, researchers, camp managers and conservationists, we recognize the urgency to, proactively and with sound scientific knowledge, address the current situation of elephants in tourism in ASEAN countries. The goals of ACEWG are to:
Ensure sustainable populations are only created from already existing captive elephant groups. Promote
a high quality of life for captive elephants in ASEAN elephant range countries by supporting positive elephant welfare practices, ensuring that the physical and mental needs of elephants are met, and promoting proper environmental stimulation, enrichment and social group living. Eliminate the capture of wild elephants for any commercial purpose whatsoever from within ASEAN countries. Bring together knowledgeable/experienced parties to address all matters related to ensuring a sustainable quality of life for captive elephants in ASEAN elephant range countries. Improve captive elephant welfare by supporting quality mahouts and protecting elephants from abuse and misuse by humans. Support the creation of an Elephant Welfare Standard for captive elephants in ASEAN countries providing camp managers and the public with a baseline for elephant care as well as guidelines & support for camps to exceed this standard. Identify sustainable means for covering the costs of captive elephants while encouraging ethical management and conservation. Maintain the traditions and culture surrounding elephant care while developing effective and humane elephant management plans that respect mahout tradition and its cultural history and significance. Encourage good business practices, and strengthen business models for captive elephant management based on high welfare standards. 126
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
Enhance education and awareness of issues related to wild and captive elephants, and recognise the
opportunities the captive populations present for species conservation. Encourage tourism facilities to use accurately researched and conveyed science and education to promote wild elephant and habitat conservation and good captive elephant welfare practice to the public.
References:
AsERSM (2006). Report of the Asian Elephant Range States Meeting, January 2006, Kuala Lumpur, Malaysia. IUCN-SSC. Pintavongs, W. et al. (2014). Domestic elephant population structure and health status in Thailand. Journal of Kasetsar Veterinarians. 24(1): 16-24.
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
127
This statement of the ASEAN Captive Elephant Working Group is supported by the following entities:
128
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
การอบรมเชิงปฏิบัตกิ าร โครงการหลักสู ตรพยาบาลช้ างขั้นก้ าวหน้ า ครั้งที่ 2 ปี 2560 (Elephant Nurse Advance Course 2, year 2017)
ศูนย์ความเป็ นเลิศด้านการศึกษาและวิจยั ช้าง คณะสัตวแพยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่ วมกับ สถาบันคชบาลแห่ งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่ าไม้ ได้จดั การอบรมเชิงปฏิบตั ิการโครงการหลักสู ตร พยาบาลช้างขั้นก้าวหน้า ปี พ.ศ. 2559 (Elephant Nurse Advance Course) ภายใต้โครงการบริ การวิชาการ “เสริมสร้ างศักยภาพในการดูแลสุ ขภาพและสวัสดิภาพช้ างในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ” ประจ�ำปี งบประมาณ 2559 มหาวิทยาลัยเชี ยงใหม่ ไปแล้วนั้น ในครั้ งนั้นได้รับการตอบรั บจากผูเ้ ข้ารั บการอบรมและ สถานประกอบการท่องเที่ยวปางช้างเป็ นอย่างดี โดยผูท้ ี่เข้ารับการอบรมสามารถน�ำความรู ้ความสามารถ ไปปฏิบตั ิได้จริ ง เพิ่มขีดความสามารถในการดูแลสุ ขภาพและสวัสดิภาพช้างเลี้ยงขึ้น อย่างไรก็ตามด้วย ข้อจ�ำกัดของหลักสูตรในเรื่ องจ�ำนวนผูเ้ ข้ารับการอบรมที่จำ� กัดจ�ำนวน และมีผทู ้ ี่สนใจและอยากเข้าร่ วม การอบรมอีกจ�ำนวนหนึ่ง จึงเป็ นเหตุให้เกิดการการจัดการอบรมนี้ข้ ึนอีกครั้งในชื่อ “การอบรมเชิงปฏิบตั ิ การโครงการหลักสู ตรพยาบาลช้ างขั้นก้าวหน้ า ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560 (Elephant Nurse Advance Course 2; year 2017)” ภายใต้โครงการบริ การวิชาการ “การเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุ ขภาพและสวัสดิภาพช้าง ในระดับการยอมรับสากล” ประจ�ำปี งบประมาณ 2560 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การอบรมเชิงปฏิบตั ิการ ฯ ในครั้งนี้มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ให้บุคลากรที่รับผิดชอบดูแลช้างมีทกั ษะ ทางด้านการดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพช้างในระดับพยาบาลช้าง หรื อผูช้ ่วยสัตวแพทย์ เสริ มสร้างพัฒนา และเพิ่มศักยภาพของสถานประกอบการท่องเที่ยวที่มีชา้ งในอยูใ่ นการดูแล ให้มีการดูแลสุ ขภาพและ สวัสดิภาพช้างให้เหมาะสม และทันต่อบริ บทและสถานการณ์ปัจจุบนั โดยแบ่งออกเป็ น 3 ช่วงระยะเวลา คือ (1) จัดอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั ิ เป็ นระยะเวลา 4 วัน (2) การลงมือปฏิบตั ิจริ งและประเมินผล การปฏิบตั ิงานหลังการอบรมในพื้นที่ของตนเอง เป็ นระยะเวลา 4 เดือน และ (3) การวัดและทดสอบ ความสามารถเพื่อรับใบประกาศนียบัตร ทั้งนี้การจัดอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบตั ิได้รับเกียรติจาก นายภพปภพ ลรรพรัตน์ รักษาการ ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักสถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ ฯ เป็ นประธานในพิธีเปิ ดโครงการฝึ กอบรม ดังกล่าว โดยในงานได้มีการจัดบรรยายและเสวนาในหัวข้อต่างๆ ที่เป็ นประโยชน์และมีความน่าสนใจ เกี่ ยวกับช้างเป็ นจ�ำนวนมาก เช่ น การแลกเปลี่ ยนทัศนคติ และความรู ้ “การเสริ มสร้ างสุ ขภาพและ สวัส ดิ ภ าพช้ า งเพื่อ เพิ่ม ศั ก ยภาพของสถานประกอบการ” อี ก ทั้ง ยัง มี ก ารจัด การเสวนาในหัว ข้อ “ศาสตร์โบราณและภูมิปัญญาที่ขอ้ งเกี่ยวกับช้าง” นอกเหนือจากองค์ความรู ้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ การสัตวแพทย์ เช่น การดูแลช้างป่ วยและเสริ มสร้างสุ ขภาพช้าง โภชนาการ เป็ นต้น ซึ่งส่ งผลให้มีผสู ้ นใจ เข้าร่ วมทั้งสิ้ นจ�ำนวน 30 คน จากปางช้างในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ล�ำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย สุ โขทัย พังงา สุ ราษฎร์ ธานี และสาธารณรัฐประชาธิ ปไตยประชาชนลาว ทั้งนี้ ทางคณะผูจ้ ดั ต้องขอขอบคุณ (1) โครงการ Brian Nixon Fund for the Protection of Elephant in Thailand (2) มูลนิธิกองทุนรักษ์ชา้ ง (3) Golden Triangle Asian Elephant Foundatio ที่ให้การสนับสนุนโครงการ ฯ ครั้งนี้ การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
129
130
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
ค�ำอธิบายปก ภาพปกแสดงถึงการก�ำเนิ ดและวิวฒั นาการของช้างและมนุษย์ ที่มีจุดบรรจบร่ วมกันตั้งแต่ยคุ ก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงปัจจุบนั โดยเล่าผ่านประวัติศาสตร์ในแถบอุษาคเนย์เป็ นหลัก ที่มีวฒั นธรรม ช้างเลี้ยงมาแต่อดีตจนถึงปั จจุบนั ที่ชา้ งเข้าไปมีส่วนร่ วมกับศาสนา ความเชื่อ ประเพณี ประวัติศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ผ่านการวิวฒั น์ ตามสถานการณ์และบริ บทที่เปลี่ยนแปลงอยูต่ ลอดเวลาของโลกใบนี้ ดังนั้นเราเองที่เป็ นหนึ่ งในผูส้ ื บสานวัฒนธรรมช้างเลี้ยง มรดกทางวัฒนธรรมของชาติและของโลก ต่อไปเช่นไร เพื่อให้ชา้ งและวัฒนธรรมเหล่านี้ ด�ำรงคงอยูค่ ู่กบั ชาติและโลกต่อไปตราบนานเท่านาน เฉกเช่นเดียวกับช้างป่ าที่ควรคู่กบั ป่ าที่อุดม เป็ นชนิดพันธุ์ผคู ้ ้ ำ� จุล เกื้อกูล ระบบนิเวศน์ต่อไป ดังค�ำกล่าว ที่วา่
“The question is, are we happy to suppose that our grandchildren may never be able to see an elephant except in a picture book ?” “เราจะยินดีไหมทีล่ ูกหลานของเราอาจจะต้ องเห็นช้ างแต่ เพียงภาพในหนังสื อ ?”
David Attenborough
37m BC; 37 ล้ านปี ก่ อน Moeritherium สัตว์ที่เชื่อว่าเป็ นต้นตระกูลของช้างได้ถือก�ำเนิดขึ้น บนโลก มีขนาดและรู ปร่ างคล้ายกับหมูในปัจจุบนั ซึ่ งมีการค้นพบซากฟอสซิลครั้งแรกที่ประเทศอียปิ ต์ 20-5m BC; 20-5 ล้ านปี ก่ อน สายพันธุ์ของช้างมีการพัฒนาที่หลากหลายขึ้น แต่ท้ งั หมดได้ สูญพันธุ์กนั ไปหมดแล้ว
5m BC; 5 ล้านปี ก่อน สายพันธุช์ า้ งปัจจุบนั หรื อช้างยุคใหม่ได้ถือก�ำเนิดขึ้น ทว่าหลายสายพันธุ์ ไปแล้ว ทั้งนี้ตน้ ตระกูลของมนุษย์เพิ่งถือก�ำเนิดขึ้นมาก่อนช่วงเวลานี้เพียงเล็กน้อย และมนุษย์โบราณก็ ถือก�ำเนิดในช่วงเวลาประมาณ 1.5 ล้านปี ก่อนท่านั้น 10,000 BC; 10,000 ก่ อนคริสตกาล เมื่อสิ้ นสุ ดยุคน�้ำแข็งครั้งล่าสุ ด สัตว์โบราณหลายชนิดได้ สูญพันธุ์ไป หนึ่งในนั้นคือช้างแมมมอธขนยาว ช้างแมสโทดอน เสื อเขียวดาบ สล๊อทยักษ์ แต่เผ่าพันธุ์ ของช้างยังคงเหลืออยูส่ องสายพันธุ์สุดท้าย คือ ช้างแอฟริ กา (Loxodonta spp.) และ ช้างเอเชีย (Elephas maximus) เช่นเดียวกับมนุษย์ยคุ ใหม่ที่เหลืออยูเ่ พียงสายพันธุ์เดียวคือ เรา (Homo sapien)
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
131
3,000 BC; 3,000 ก่ อนคริสตกาล เริ่ มมีหลักฐานถึงวัฒนธรรมของมนุษย์ที่นำ� ช้างเข้ามาอยู่ ร่ วมกัน แรกเริ่ มพบที่อนุทวีปอินเดีย ถัดพบว่ามีการกระจายตัวในแถบสุ วรรณภูมิ ที่มีหลักฐานไม่วา่ จะ เป็ น ภาพเขียนสี โบราณ ภาพสลักหิ น ปติมากรรม เหรี ยญ เป็ นต้น จากแหล่งอารยธรรมหรื ออาณาจักร โบราณต่างๆ ในแถบนี้ 325 BC; 325 ปี ก่อนคริสตกาล สงครามระหว่างพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งมาชิโดเนีย กับ พระเจ้าเปารวะ แห่งอินเดีย เกิดขึ้น ณ ตอนเหนือของอินเดีย ซึ่ งเป็ นครั้งแรกชาติตะวันตกพบเจอกับ กองทัพช้าง ที่การรบครั้งนั้นมีเหรี ยญและรู ปสลักบ่งชี้ถึงผลการรบในครั้งนั้น ถัดจากนั้นวัฒนธรรมการ เลี้ยงช้างได้ถกู แผ่ขยายไปยังตะวันตก ผ่านกองทัพกรี กโบราณ และผ่านทางทัพมองโกลหรื อจีนหลังจาก การรบที่พุกาม หรื อผ่านการใช้ชา้ งเป็ น บรรณาการต่อชาติต่างๆในแถบเอเชีย เป็ นต้น อย่างไรก็ตาม ในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉี ยงใต้ยงั มีการใช้ชา้ งในวัฒนธรรมของตนเสมอมา ทั้งแรงงาน การขนส่ ง การสงคราม การค้า เป็ นต้น
1900-1950 AD; ช่ วงต้ นถึงช่ วงกลางยุครัตนโกสิ นทร์ หรื อยุคสงครามโลก ประเทศไทย รวมถึงประเทศในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เข้าสู่ยคุ ที่ทีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทว่าช้างยังคงมีความส�ำคัญต่อวัฒนธรรมและเศรษฐกิ จของชาติ โดยเฉพาะของการท�ำป่ าไม้สัก ที่ ชาติตะวันตกเข้ามาตั้งบริ ษทั ท�ำไม้อย่างมากมาย ท�ำให้เจ้าผูค้ รองนครและผูร้ ับจ้างในงานท�ำไม้ต่างๆ มี รายได้อย่างมาก ความมัง่ คัง่ มัน่ คงของพื้นที่ การพัฒนาของพื้นที่ ดังที่ พบเห็ นวัดวาอารามและ อาคารเก่า ที่คงอยูม่ าจนถึงปั จจุบนั ในหลายจังหวัดแถบภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ ล�ำปาง แพร่ เป็ นต้น รวมถึงช้างเองได้เข้ามามีบทบาทในเรื่ องของประวัติศาสตร์ทอ้ งถิ่นหรื อของชาติ ที่เด่นชัดคือ การเสด็จ เยือ่ นมณฑลพายัพของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั เมื่อปี พ.ศ. 2469 PRESENT; ปั จจุบนั ช้างของไทยได้ผา่ นมาหลายยุคหลายสมัย มีหลายสถานะ อีกทั้งได้รับ ความสนใจจากสาธารณะเป็ นอย่างมาก อย่างไรก็ตามช้างเลี้ยงในปั จจุบนั ได้รับการดูแลและจัดการได้ดี จากหลายภาคส่ วน ทั้งจากองค์กรของภาครัฐและเอกชน รวมถึงผูเ้ ลี้ยงช้าง ควาญ และผูป้ ระกอบการเอง ซึ่ งบุคคลและองค์กรเหล่านี้เป็ นหนึ่งในฟันเฟื่ องในเรื่ องของการจัดการช้างเลี้ยงของประเทศไทย และ ในท�ำนองเดียวกัน ช้างป่ าก็ได้รับการดูแลจากหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนด้านการอนุรักษ์เช่นกัน FUTURE; อนาคตของช้างจะเป็ นเช่นไรนั้นขึ้นกับปัจจุบนั ช้างจะเหลืออยูเ่ พียงซากเหมือนกับ บรรพบุรุษที่สูญพันธุ์ไปก่อนหน้า หรื อ คงอยูใ่ นวัฒนธรรมและวิถีการเลี้ยงช้าง วิถีชา้ งวิถีควาญ หรื อ เป็ นเพียงรู ปภาพ กราฟฟิ ค หรื อรู ปปั้ น เท่านั้น ซึ่ งเราเองคงต้องช่วยกันก�ำหนดอนาคตของช้าง………
132
การประชุมช้างแห่งชาติ ๒๕๖๐
บันทึก
เอกสารการประชุ ม
การประชุ มสุขภาพช้างแห่งชาติ ประจ�ำปี 2560
ที่ปรึกษาการจัดท�ำ
ภพปภพ ลรรพรัตน์ น.สพ. ทวีโภค อังควานิช ผศ.น.สพ.ดร. ฉัตรโชติ ทิตาราม
คณะผู ้จัดท�ำ
อ.น.สพ.ดร. เฉลิมชาติ สมเกิด สพ.ญ. วรางคณา ลังกาพินธุ ์ สพ.ญ สาริศา กลิ่นหอม น.สพ. ศรัณย์ จันทร์สิทธิเวช สพ.ญ. อรจิรา ซาวพงษ์
พิมพ์ท่ี
หจก.สมพรการพิมพ์ 84 หมู ่ 10 ต.สันก�ำแพง อ.สันก�ำแพง จ.เชี ยงใหม่ 50130 โทร. 0 5333 2920