Propac-week-11-Interior Design Business _Office_Managment

Page 1

Professional Practices การจัดการธุรกิจออกแบบภายใน

Part I ACADEMIC YEAR 2013 / FIRST SEMESTER DEPARTMENT OF INTERIOR DESIGN


ธุรกิจ ( Business )

การดําเนินกิจกรรมของมนุษย์ด้วยการผลิต, จําหน่าย, ซื้อขายแลกเปลี่ยนและการให้บริการ โดยมีผลประโยชน์เป็นสิ่งตอบแทนและมีความเสี่ยงต่อการขาดทุน

บุคคลใดบุคคลหนึ่ง, กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลที่ทํางานหรือร่วมมือกันทํางานในการให้ บริการ,การผลิต, จําหน่าย, แลกเปลี่ยนสินค้าต่างๆ ด้วยการสร้างสรรค์เพื่อตนเองและ สังคม โดยมุ่งหวังกําไรเป็นสิ่งตอบแทน

องค์กรหรือกลุ่มคณะบุคคลที่ให้สินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและ หวังผลกําไรเป็นสิ่งตอบแทน


ปัจจัยในการผลิต (factor of production) •

ที่ดิน (Land) ทรัพย์สิน(Access) ที่ดินสิ่งปลูกสร้างและอสังหาริมทรัพย์ของธุรกิจ รวมทั้งทรัพยากรและวัตถุดิบต่างๆ แรงงาน (Labor) คนทํางาน ซึ่งรวมทั้งแรงงานไร้ฝีมือและแรงงานที่มีฝีมือ เงินทุน (Capital) ตัวเงินที่นํามาลงทุนในธุรกิจ รวมทั้งมูลค่าของที่ดิน อาคาร อุปกรณ์เครื่องใช้สํานักงาน และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆด้วย ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ผู้ริเริ่มหรือดําเนินการในการก่อตั้งกิจการธุรกิจ การจัดการถือว่าเป็นสิทธิและความรับผิดชอบของผู้ ประกอบการด้วย


ประโยชน์ของธุรกิจ •

ผลิตสินค้าและบริการหลากหลายชนิด สนองความต้องการของมนุษย์

ช่วยกระจายสินค้าจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค

ช่วยให้คนมีงานทํา

ช่วยเสียภาษีให้รัฐบาล

ช่วยกระจายความเจริญ

ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ


ประเภทของธุรกิจ •

ธุรกิจการเกษตร (Agricultural)

ธุรกิจการอุตสาหกรรม (Manufacturing)

ธุรกิจการพาณิชย์ (Commercial)

ธุรกิจบริการ (Services)


ธุรกิจการเกษตร (Agricultural) •

การทํานา

การประกอบอาชีพนี้ ชาวนาเป็นผู้เพาะปลูกเพื่อผลิตข้าวเปลือกและนําไปขายต่อยังโรงสี โรงสีจะทําการสีข้าวเปลือกเป็นข้าวสารแล้วขายต่อไปยังร้านค้าปลีก จากนั้นร้านค้าปลีก จะนํามาขายต่อให้แก่ผู้บริโภคต่อไป การทําไร่และทําสวน

การประกอบอาชีพนี้ เป็นการใช้พื้นที่ดินที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์เช่นเดียวกับการประกอบ อาชีพทํานา เช่น การทําไร่อ้อย ไร่มัน หรือการทําสวน เช่น สวนดอกไม้หรือผลไม้


ธุรกิจการเกษตร (Agricultural) (ต่อ) การเลี้ยงสัตว์ การประกอบอาชีพนี้ เป็นการผลิตสินค้าประเภทเนื้อสัตว์ ขนสัตว์ หนังสัตว์ ฯลฯ ผู้ประกอบ อาชีพนี้มีอยู่ทั่วไป ผู้ผลิตจะเป็นผู้เลี้ยงสัตว์ เช่น การเลี้ยงวัว ไก่ หมู ปลา กุ้ง ฯลฯ • การประมง การประกอบอาชีพนี้ คือ การออกหาปลาและสัตว์น้ําต่างๆเพื่อนํามาเป็นสินค้าซึ่งมีทั้งสัตว์น้ําจืด และน้ําเค็ม ผู้ผลิตจะเป็นผู้ทําการจับสัตว์น้ําซึ่งมีตั้งแต่ปู ปลา กุ้ง หอย ฯลฯ และนํามาขายให้แก่ ผู้บริโภค •


ธุรกิจการเกษตร (Agricultural) การทําป่าไม้ การประกอบอาชีพที่แท้จริง คือ การทําสวนประเภทหนึ่งนั่นเอง แต่จะแตกต่างกับการทํา สวนประเภทอื่น เพราะการทําป่าไม้ คือการปลูกไม้พันธ์ที่เมื่อลําต้นโตได้อายุเป็นไม้เนื้อ แข็งก็จะถูกตัดและนําไปประกอบการก่อสร้างที่พักอาศัยหรือใช้ประโยชน์อื่นๆต่อไป •


ธุรกิจการอุตสาหกรรม (Manufacturing) •

อุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือขนาดย่อม เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานและเงินลงทุนน้อย หรืออุตสาหกรรมภายในครัวเรือน ใช้แรงงานจาก สมาชิกในครอบครัว ใช้วัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น และใช้วิธีการผลิตแบบง่ายๆไม่ซับซ้อนซึ่งสืบทอด มาตั้งแต่บรรพบุรุษ เช่น เครื่องเรือนเฟอร์นิเจอร์ ของประกอบการตกแต่ง การทําม่าน เครืองเซอรา มิค การทําเครื่องเขิน จักสาน เป็นต้น อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ การผลิตมีกรรมวิธียุ่งยากมากขึ้น ใช้เครื่องจักร คนงานและเงินทุนเป็นจํานวนมากขึ้น เพราะฉะนั้น อุตสาหกรรมประเภทนี้จะมีโรงงานที่มีขนาดใหญ่ มักมีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย สามารถผลิต สินค้าได้ทีละมากๆ เช่น โรงงานผลิตเครื่องกระป๋อง โรงงานผลิตรถยนต์ เป็นต้น


ธุรกิจการพาณิชย์ (Commercial) •

ผู้ประกอบธุรกิจค้าส่ง ซื้อสินค้าจากผู้ผลิตทีละมากๆและขายไปจํานวนมากให้แก่พ่อค้ารายอื่นๆที่จะจัด จําหน่ายต่อไป ผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีก ซื้อสินค้าทีละมากๆและนํามาจําหน่ายให้แก่ผู้บริโภคซึ่งผู้บริโภคจะนําไปใช้สอยให้ เป็นประโยชน์ต่อไป


ธุรกิจบริการ (Services) •

เป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ แต่ซื้อขายกันได้ บริการเกิดจากการกระทํา ของบุคคลหนึ่งทําให้เกิดความพึงพอใจแก่อีกบุคคลหนึ่ง เช่น การออกแบบ การศึกษา การ ท่องเที่ยวโรงแรม, การรักษาความปลอดภัย, การรักษาความสะอาด, การขนส่งทั้งภายใน และภายนอกประเทศ, ด้านการธนาคาร, ด้านการประกันภัย, บริการเสริมสวย ฯลฯ


หลักในการประกอบธุรกิจ ประสบการณ์/องค์ความรู/้ ทักษะ โอกาส/เวลา/จังหวะ การตัดสินใจ การเลือกธุรกิจ การวางแผนประกอบธุรกิจ การลงมือประกอบธุรกิจ


รูปแบบขององค์การธุรกิจ


รูปแบบขององค์การธุรกิจ •

เจ้าของคนเดียว (Single or Sole Proprietorship)

ห้างหุ้นส่วน (Partnership)

บริษัทจํากัด (Limited Company)

สหกรณ์ (Co-operative Society)

แฟรนไชส์ (Franchise)

รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise)


เจ้าของคนเดียว (Single or Sole Proprietorship) •

กิจการเจ้าของคนเดียว กิจการที่มีบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ ทําหน้าที่ในการดําเนินงานบริหาร และรับผิดชอบ ในหน้าที่ต่างๆทั้งหมดของกิจการ โดยได้รับผลตอบแทนเป็นกําไร และยอมรับการเสี่ยง ภัยต่อการขาดทุนแต่เพียงผู้เดียว กิจการเจ้าของคนเดียวเป็นหน่วยธุรกิจที่ได้รับความแพร่ หลาย และมีจํานวนมากกว่ากิจการในรูปแบบอื่นๆ


ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคล (จดทะเบียน) สามัญ

ทั่วไป(ไม่จดทะเบียน)

ห้างหุ้นส่วน

จํากัด(จดทะเบียน)


ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership) •

ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกันโดยไม่จํากัดจํานวน

ผู้เป็นหุ้นส่วนนําสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาลงทุนจะเป็นเงิน ทรัพย์สิน แรงงานก็ได้

ถ้ามิได้ตกลงกันไว้ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนให้ผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กฎหมายให้ถือว่าผู้เป็น หุ้นส่วนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนนั้นได้ทุกคน

กฎหมายไม่ได้บังคับว่าห้างหุ้นส่วนสามัญต้องจดทะเบียน


ห้างหุ้นส่วนจํากัด (Limited partnership) •

ประเภทจํากัดความรับผิด จะรับผิดเพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ลงหุ้นเท่านั้น หุ้นส่วนประเภทนี้ไม่มีสิทธิเข้าจัดการงานของห้าง และ ไม่มีสิทธินําชื่อของตนมาประกอบเป็นชื่อห้างฯ ทุนที่นํามาเข้าหุ้นจะต้องเป็นเงินหรือทรัพย์สินเท่านั้น จะ เป็นแรงงานเหมือนหุ้นส่วนประเภทไม่จํากัดความรับผิดไม่ได้ ประเภทไม่จํากัดความรับผิด จะรับผิดในบรรดาหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จํากัดจํานวนเช่นเดียวกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้น ส่วนสามัญ หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิเข้าจัดการการบริหารงานของห้างหุ้นส่วนได้ กฎหมายบังคับว่าห้างหุ้นส่วนจํากัดต้องจดทะเบียน


บริษัทจํากัด (Limited Company)

• • • • • • • • • •

มีผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัทอย่างน้อย 7 คน แบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน มูลค่าหุ้นไม่ต่ํากว่า 5 บาท มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากําไร กําหนดอํานาจหน้าที่ของกรรมการในการกระทําแทนบริษัทจํากัด มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีประจําบริษัทจํากัด มีสํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร มีตราสําคัญของบริษัทที่ใช้ประทับในใบหุ้น มีใบสําคัญแสดงการถือหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นทุกคน จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นและบริษัท ต้องมีคําว่า “บริษัท” นําหน้า “จํากัด” ต่อท้ายชื่อเสมอ ยกเว้นกิจการธนาคาร


การจัดตั้งบริษัทจํากัด •

จัดทําหนังสือบริคณฑ์สนธิไปขอจดทะเบียน

จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น

ประชุมจัดตั้งบริษัท

เรียกให้ผู้เข้าชื่อจองหุ้นและผู้เริ่มก่อการชําระเงินค่าหุ้น

จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท


บริษัทมหาชนจํากัด •

ต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 15 คนขึ้นไป จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

หุ้นหนึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป

ต้องเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปอย่างน้อย 50% ของหุ้นทั้งหมด ทําให้สามารถระดมเงินทุนได้มาก

ชื่อบริษัทต้องมีคําว่า “ บริษัท ” นําหน้า และมีคําว่า “ จํากัด(มหาชน) ” ต่อท้าย


สหกรณ์ (Co-operative Society) •

องค์การที่จัดตั้งและดําเนินการโดยกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่มีความสนใจและมีจุดประสงค์ อย่างเดียวกัน ร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยการลงทุนดําเนินกิจการและเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อทําหน้าที่ ทางธุรกิจในการที่จะขจัดปัญหาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่สมาชิกเพื่อรักษาและ ส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสมาชิกให้ดีขึ้น


ประเภทของสหกรณ์ของไทย •

สหกรณ์การเกษตร มีหน้าที่ในการจัดหาและให้บริการแก่สมาชิกในด้านการผลิตการเกษตร สหกรณ์นิคม มีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาหรือจัดสรรที่ดินให้แก่สมาชิกในการประกอบอาชีพ รวมถึง การจัดหาและอํานวยความสะดวกในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้แก่สมาชิก สหกรณ์ประมง มีหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพด้านการประมง


ประเภทของสหกรณ์ของไทย (ต่อ) •

สหกรณ์ออมทรัพย์ มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับฝากเงินและจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืมไปใช้จ่ายในเวลาจําเป็น สหกรณ์ร้านค้าหรือสหกรณ์ผู้บริโภค มีหน้าที่ในการจัดหาสินค้าหรือเครื่องอุปโภคบริโภคมาจําหน่ายให้สมาชิก ส่วนมากหรือเกือบ จะทั้งหมดเป็นสหกรณ์ที่ตั้งอยู่ในเมืองหรือในย่านชุมชน


ประเภทของสหกรณ์ของไทย (ต่อ) •

สหกรณ์บริการ จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการประชาชนในด้านต่างๆและยังส่งเสริมงานผลิตและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ วัตถุประสงค์ของสหกรณ์คือ การจัดหาบริการอย่างใดอย่างหนึ่งที่สมาชิกต้องการ และจะ เรียกเก็บค่าบริการที่สหกรณ์จัดนั้นจากสมาชิกตามส่วนที่แต่ละคนใช้ประโยชน์เพื่อเป็นค่าใช้ จ่าย สหกรณ์ประเภทนี้เมื่อใดสมาชิกหมดความจําเป็นที่จะใช้บริการก็อาจจะเลิกได้


กิจการประเภทแฟรนไชส์ (Franchise) •

การค้าสัมปทาน การทําธุรกิจร่วมกันโดยมีความสัมพันธ์อันต่อเนื่องระหว่างผู้ให้สิทธิในการดําเนินธุรกิจ และผู้รับสิทธิ ในการดําเนินธุรกิจ ซึ่งสิทธิที่กล่าวถึงคือ สิทธิในการจําหน่ายสินค้าและบริการ โดยรวมถึงการช่วย เหลือทางการจัดองค์การ การฝึกอบรมการขาย และการจัดการด้านอื่นๆให้แก่ผู้รับสิทธิสัมปทาน โดยผู้ให้สิทธิสัมปทานคาดหวังที่จะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าธรรมเนียมการให้สัมปทาน ค่าสิทธิ และค่าใช้จ่ายอื่นๆเพื่อเป็นค่าตอบแทนในการให้สิทธิสัมปทานนั้น


รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) • • •

รัฐเป็นเจ้าของหรือมีหุ้นส่วนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 มีฐานะเป็นนิติบุคคล อาจฟ้องร้องบุคคลอื่นหรือถูกฟ้องร้องได้ โดยปกติก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมายเฉพาะหรือโดยพระราชกฤษฎีกาที่กําหนดขอบเขตอํานาจ หน้าที่และเอกสิทธิ์ความคุ้มครองจากรัฐ รวมทั้งกําหนดโครงสร้างและการบริหารได้ เงินที่ใช้ในการดําเนินการนอกจากได้รับเงินจัดสรรจากงบประมาณประจําปีแล้วอาจกู้ยืมเงิน จากรัฐ ประชาชน หรือจากต่างประเทศ ไม่ถูกควบคุมตรวจสอบทางการเงินเคร่งครัดเหมือนหน่วยงานราชการ ทําให้คล่องตัวใน การดําเนินงานทางธุรกิจ พนักงานรัฐวิสาหกิจไม่มีฐานะเป็นข้าราชการ รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะบริหารบุคคลของ ตนเอง รัฐวิสาหกิจจะต้องจัดสรรผลกําไรส่งให้แก่รัฐตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ของรัฐวิสาหกิจแต่ละ ประเภท


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.