ปัญหาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Page 1


ปัญหาในมหวิทยาลัยมหาสารคาม …………………………………………………………………………… พิมพ์ครั้งที่ 1 : กุมภาพันธ์ 2563 จำ�นวน 1 เล่ม จัดพิมพ์โดย : สำ�นักพิมพ์อินทนิล Published by: Inthanin Press บรรณาธิการบริหาร: ดวงกมล นารีนนท์ บรรณาธิการ: ดวงกมล นารีนนท์ จัดรูปเล่ม: ดวงกมล นารีนนท์ ออกแบบปก: ดวงกมล นารีนนท์ พิสูจน์อักษร: ดวงกมล นารีนนท์ ประชาสัมพันธ์และการตลาด: ดวงกมล นารีนนท์


¤Ó¹Ó¨Ò¡Êӹѡ¾ÔÁ¾ì Êӹѡ¾ÔÁ¾ìÍÔน·¹ÔÅเป็นสำ�นักพิมพ์ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ ทางด้านการศึกษาเป็นหลัก โดยทางสำ�นักพิมพ์จัดพิมพ์หนังสือ ตำ�ราเรียน ในศาสตร์สาขา ต่างๆอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งหนังสือ “ปัญหาในมหวิทยาลัยมหาสารคาม” เล่มนี้ด้วย หนังสือ“ปัญหาในมหวิทยาลัยมหาสารคาม”เล่มนี้ได้รีไรท์โดย นางสาว ดวงกมล นารีนนท์ นิสิตชั้นปีที่3 สาขาภาษาเพื่อการสร้างสื่อ คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นการรวบรวมปัญหาต่างๆเพื่อให้ทุกคนได้ ตระหนักและทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น

ด้วยคารวะ สำ�นักพิมพ์อินทนิล กุมภาพันธ์ 2563


1


เลนจักรยานปลอดภัยหรืออันตราย “จักรยาน” กำ�ลังเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการเดินทางของนิสิตในมหาวิทยาลัย มหาสารคาม จากเดิมที่แต่นำ�มาใช้ในวันหยุดปั่นไปซื้อของบ้าง แต่ปัจจุบันนี้ความนิยม ของการ ปั่นจักรยานเริ่มมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ใช่ปั่นเพื่อออกกำ�ลังกายแค่นั้น ยังเป็นการปั่นเพื่อออกไป ท่องเที่ยวรวมทั้งการปั่นไปเรียน แต่ปัญหาของนักปั่นจักรยานก็คือ “เส้นทาง” ในเลนจักรยาน ภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ช่างไม่ค่อยเอื้ออำ�นวยให้ใช้จักรยานปั่นไปไหนต่อไหนได้อย่าง สะดวกสบายและปลอดภัยเสียเลย ดังนั้นหลายพื้นที่เริ่มหันมาให้ความสนใจและพร้อมจะส่งเสริมให้ คนมาออกกำ�ลังกายมากขึ้นจึงพยายามสร้างช่องทางจักรยาน แต่ทั้งนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ กับการ ที่จะสร้างถนนขึ้นมาใหม่หรือตัดแปลงถนนเดิม เพราะจำ�เป็นต้องใช้เวลาและทรัพยากรจำ�นวนมาก ข้อดีของเส้นทางจักรยานแบบไข้ผิวการจราจรร่วมกับรถอื่นมีอะไรบ้าง? 1. รถทั่วไปยังสามารถใช้ผิวจราจรได้ตามปกติ 2. คนที่ปั่นจักรยานก็ไม่ต้องไปแย่งชิงทางเท้าหรือพื้นที่อื่นอยู่นอกผิวจราจร 3. ไม่จำ�เป็นต้องเริ่มขยายถนนหรือก่อสร้างผิวจราจรใหม่ เป็นผลดีที่ไม่ต้องไปซื้อที่ดิน หรือ เวนคืนที่ดิน ส่งผลให้ประหยัดเงินลงทุนได้อย่างมหาศาล 4. ส่งเสริมให้คนหันมาออกกำ�ลังกายเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งทางตรง และทางอ้อม แถมยัง ประหยัดน้ำ�มัน ช่วยลดมลภาวะ แก้ปัญหารถติด 5. เมื่อยกเลิกใช้เส้นทางจักรยานแล้ว ก็สามารคืนช่องทางการจราจร ให้รถทั่วไปกลับมาใช้ได้ ตามปกติ จักรยานก็เปรียบเสมือนรถชนิดหนึ่งที่มีสิทธิใช้เส้นทางได้เช่นเดียวกันกับรถชนิด อื่นๆ ฉะนั้นผู้ปั่นเองเมื่อได้สิทธิ ในเส้นทางแล้ว ควรต้องปั่นจักรยานด้วยความระมัดระวัง อย่า ปันออกไปนอกเลนของตนเอง รวมทั้งต้องไม่เผลอไปกีด ขวางช่องทางการสัญจรของผู้อื่น ด้วยเช่นกัน


“ ไม่ได้อยากถาม....แต่แค่อยากรู้ทำ�ไมเธอถึงย้อนศร ” ‘ไม่ได้อยากถาม แต่แค่อยากรู้ทำ�ไมเธอถึงย้อนศร’ เป็นประโยคที่นิสิตมมส.หลายๆคน อยากจะใช้มากที่สุดก็ว่าได้ เหตุผลก็เพราะว่า มองไปทางไหนก็เห็นแต่คนขับรถย้อนศรเต็มไปหมด ทำ�ให้ฉันนึกสงสัยว่า ทำ�ไมพวกเขาถึงชอบย้อนศรกันจังนะ ไม่ว่าจะมองไปทางซ้าย หรือมองไปทางขวาก็เจอแต่คนขับรถย้อนศรเต็มไปหมด ไม่ ว่าจะเป็นนิสิตมมส. หรือบุคคลทั่วไปต่างก็พากันย้อนศรตามๆกัน แล้วทำ�ไมผู้คนเหล่านั้นถึง ขับย้อนศรกันล่ะ คำ�ตอบสั้นๆง่ายๆเลยคือ ย้อนศรใกล้กว่าการไปกลับรถ ซึ่งอยู่ห่างจากจุด หมายปลายทางที่จะไปอย่างมาก อาจทำ�ให้เสียเวลาในการเดินทาง หากมีกรณีเร่งด่วน เช่น ทำ� สิ่งของมีค่าหล่นระหว่างทาง หากไปกลับรถแล้วกลับมาไม่เจอของที่ทำ�หล่นแล้วก็แย่ล่ะสิ แต่ละ คนก็ต่างมีเหตุผลของตน บางคนอาจจะย้อนศรเพราะความจำ�เป็น แต่บางคนก็ย้อนเพราะความ สะดวกสบายของตัวเองจนบางครั้งก็ไปทำ�ให้ผู้ร่วมใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆเดือดร้อน หากทำ�ผิดแล้ว ขอโทษก็ไม่มีใครว่าอะไรหรอก แต่หากทำ�ผิดแล้วทำ�เหมือนว่าตัวเองไม่ผิดนี่มันน่านัก ! ‘ใกล้ๆแค่นี้เอง ขับย้อนนิดหน่อยจะเป็นไรไป’ ‘ก็เห็นว่าย้อน แล้วทำ�ไมไม่หลบล่ะ แค่หลบก็ไม่ชนแล้ว’ พวกคุณเคยประสบกับปัญหาพวกนี้ไหมคะ เจอแบบนี้พวกคุณมีวิธีจัดการ แบบไหนบ้าง นอกจากว่าเราจะใช้ข้อกฎหมายมาลงโทษซะให้เข็ด พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 41 ระบุให้ผู้ขับขี่รถไปตามทิศทางที่กำ�หนด ใครฝ่าฝืน (ขับย้อนศร) มีโทษ ปรับไม่เกิน 500 บาท แต่ก็ยังมีคนยังแอบย้อนศรอยู่แม้ว่าจะโดนตักเตือนและโดนปรับไปตามที่ กฎหมายกำ�หนดแล้ว แต่ถ้าหากว่าคนขับได้ขับรถย้อนศรแล้วทำ�ให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ นั้นจึงทำ�ให้ ตำ�รวจบางท้องที่จึงจัดระเบียบใหม่ ด้วยการใช้ช่องทางกฎหมายเพิ่มข้อหา โดยบังคับใช้ควบคู่ กับมาตรา 43 (8) ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่ให้แจ้งข้อหาฐานขับรถไม่คำ�นึง ถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น มีโทษจำ�คุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 - 10,000 บาท!!!


อันที่จริง แม้โทษจะหนักหรือเบา ก็ไม่ควรขับรถย้อนศร เพราะมากกว่าค่าปรับ เราอาจเป็นสาเหตุทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน และการสูญเสียชีวิตคนๆ หนึ่งที่ไม่อาจประเมิน ค่าได้ รู้อย่างนี้แล้ว หากเลิกย้อนศรได้ก็เลิกเถอะค่ะ เพราะเราไม่สามารถย้อนเอาชีวิตของคนๆ หนึ่งกลับมาได้เหมือนกับการขับรถของเรานะคะ แต่ในบางครั้งเราก็ยังต้องพบเจอกับคนที่ยังฝ่าฝืนกฎจราจรอยู่ แล้วเราควรจะ แก้ไขการย้อนศรยังไงดีนะ ก่อนอื่นคงต้องศึกษาโครงสร้างผังเมืองว่าเป็นอย่างไร หรือการ สร้างจุดกลับรถเพิ่มเพื่อความสะดวกที่มากขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด ก็คงอยู่ที่จิตสำ�นึกของแต่ละ คนด้วย หากเราบังคับให้พวกเขาเหล่าให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบไม่ได้ เราก็เริ่มจากตัวเราเองก่อน หากทุกคนคิดเช่นนี้ก็คงจะช่วยลดการขับรถย้อนศรได้มากเลยทีเดียว เราทุกคนต่างก็มีเหตุผลต่างกัน การขับรถย้อนศรก็เช่นกัน บางคนอาจจะย้อน เพราะความจำ�เป็น เช่น ทำ�ของมีค่าหล่นกลางทาง หรืออาจจะขี่หนีตำ�รวจเวลาตั้งด่าน บาง คนที่ย้อนอาจจะย้อนเพราะเหตุจำ�เป็น อันนี้เรายังพอเข้าใจได้ แต่กับบางคนก็ทำ�เหมือนกับว่าเรา เป็นคนผิดซะอย่างนั้นและคนเหล่านี้มักจะใช้คำ�พูดที่ว่า ‘ย้อนแค่นี้ไม่เห็นเป็นไรเลย’ แหม่ ไม่เป็นไร สำ�หรับคุณแต่มันอาจจะสร้างความเดือดร้อนให้กับคนที่ใช้รถใช้ถนนร่วมกันกับคุณ ถ้าเราเป็นคน ขับขี่รถตามกฎจราจรแล้วมาเจออะไรแบบนี้ บอกเลยว่าโมโหค่ะ! ไม่ว่าคุณจะย้อนศรด้วยความ จำ�เป็นหรือไม่ แต่อย่าให้ความจำ�เป็นนั้นสร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่นเลยนะคะ ‘ใจเขาใจเรา’ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมามีแต่เสียกับเสียทั้งนั้น ไหนๆก็ใช้ถนนร่วมกันแล้ว เคารพกันและกันด้วยน๊า


เมื่อหนทางสู่ดวงจันทร์ อยู่ใกล้กว่าที่เราคิด “ทุกวันนี้เหมือนเราขับรถอยู่บนดวงจันทร์ มากกว่าจะเป็นดาวเคราะห์ที่ทุกคนเรียกว่า โลก” ถ้าพูดถึงความขรุขระ เป็นหลุมบ่อ หรือทางที่ไม่มีความสม่ำ�เสมอเอาซะเลย สิ่งแรกที่เรา จะนึกถึงคงหนีไม่พ้น“ดวงจันทร์” อาจจะดูเหมือนกล่าวเกินจริง แต่เชื่อเถอะ สำ�หรับที่นี่อะไรก็ เป็นไปได้ เพราะที่นี่คือมหาสารคาม สถานที่ที่เต็มไปด้วยถนนที่มี option เสริมเป็นหลุม บ่อ และรอยนูน มากมายมหาศาล หนทางที่ไม่ราบเรียบคงจะเปรียบเสมือนการใช้ชีวิตที่มีแต่ความติดขัด สำ�หรับการเดิน ทางไปไหนมาไหนที่ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล เราเองก็คงจะแอบหวังลึกๆว่าทางที่เราจะไปนั้น ต้องราบ เรียบไหลลื่นไร้อุปสรรค ถ้าเป็นสถานที่อื่นอาจจะสามารถคาดหวังได้ในระดับหนึ่ง แต่คงไม่ใช่กับ ที่มหาสารคาม จังหวัดที่เต็มไปด้วยถนนแสนขรุขระ หลุมบ่ออีกมากมายนับไม่ถ้วน และถนนดวง จันทร์ที่เคยตกเป็นข่าวจนโด่งดังไปทั่วประเทศมาแล้ว ปัญหาเรื่องถนนชำ�รุดคือปัญหาที่เป็นรูปธรรม เราเห็นภาพอย่างชัดเจนว่าเรื่องนี้ เป็นปัญหาที่ควรจะได้รับการแก้ไขในเวลาที่รวดเร็ว แต่น่าแปลกที่ปัญหานี้มักถูกละเลยและไม่ได้รับ การแก้ไข ทั้งๆที่มันส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำ�วันของเราในด้านต่างๆ การชำ�รุดของถนนอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การที่ถนนขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ ให้ลอง นึกภาพนิสิตที่รีบไปเรียน หรืออยู่ในสถานการณ์เร่งรีบ มีความประมาทไม่ระมัดระวัง ขับรถเร็ว เกินไปจนไม่ทันได้สังเกตหลุมบ่อ หรือถนนที่ขรุขระชำ�รุด ก็อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุตั้งแต่เล็ก น้อยไปจนถึงขั้นร้ายแรงได้ หรือแม้แต่ในช่วงที่มีฝนตก ทำ�ให้เกิดน้ำ�ท่วมขัง ก็อาจจะทำ�ให้มองไม่ เห็นหลุมและบ่อเหล่านี้ ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน ถนนชำ�รุดกับปัญหาการจราจร การที่ถนนขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ เห็นได้ชัดเจน ว่าส่งผลกระทบในเรื่องของเวลา ทำ�ให้การจราจรติดขัด เพราะถนนไม่ราบเรียบ ทำ�ให้รถ เคลื่อนตัวได้ช้าและทุกอย่างก็ช้าตามกันไปหมด ไปเรียนช้า ไปเรทเวลานัด ยิ่งถ้าเกิดอุบัติเหตุเรา ก็เตรียมทำ�ใจได้เลย ช้าในช้า เรทในเรท สายในสายอย่างแน่นอน การใช้ชีวิตก็ดูจะยากขึ้นต้อง เผื่อเวลาในการเดินทางมากขึ้นไปอีก


พอเราได้เห็นผลกระทบจากการชำ�รุดผุพัง เป็นหลุมเป็นบ่อของถนนภายในมหาวิทยาลัย มหาสารคามแล้ว เคยคิดกันบ้างไหมว่าทำ�ไมปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข แล้วปัญหาซ้อนปัญหานี้มัน เกิดขึ้นจากอะไร ถนนทำ�ไมถึงชำ�รุด แล้วพอชำ�รุดแล้ว ทำ�ไมถึงไม่ได้รับการแก้ไข ทุกอย่างเกิด จากอะไร เราลองมามองจุดที่เป็นปัญหา สามจุดใหญ่ๆที่เห็ดได้ชัด แต่ไม่ได้รับการกาแก้ไข ถนนบริเวณวงเวียนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในแต่ละวันมีรถยนต์และรถ จักรยานยนต์ขับขี่ผ่านไปมาเป็นจำ�นวนมาก เป็นถนนที่ควรจะราบเรียบแต่กลับมีหลุมลึกและรอย นูนเกิดขึ้น แน่นอนว่าปัญหานี้ยังไม่ได้รับการแก้ไข จนผู้ที่ขับขี่รถผ่านทางนั้นเป็นประจำ�ทุกวันเกิด ความเคยชิน ถึงแม้จะไม่ค่อยเกิดอุบัติเหตุ แต่หลุมและรอยนูนดังกล่าวก็ควรจะได้รับการแก้ไข ทำ�นุบำ�รุงไม่ใช่หรือ? ถนนบริเวณ Café Amazon ลากยาวไปจนถึงถนนเลียบตึกคณะวิทยาศาสตร์และตึก วิทยบริการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถนนตรงจุดนี้สมควรอย่างยิ่งกับการตั้งชื่อว่าถนน ดวงจันทร์แห่งใหม่ เพราะเวลาที่ขับขี่รถผ่านถนนเส้นนี้ เรียกได้ว่าหัวสั่นหัวคลอนกันเลยทีเดียว ขับผ่านไปอีกนิดจะเจอทางโค้งที่มีแท่งเหล็กโผล่ขึ้นมา ซึ่งถูกทุบให้แบนนาบไปกับพื้นถนนแบบลวกๆ อดจะถอนหายใจแบบเอือมๆไม่ได้ ความปลอดภัยของนิสิตมหาวิทยาลัยนี้อยู่ที่ไหนกัน ยิ่งไปกว่า นั้น เวลาที่ฝนตกน้ำ�ก็มักจะท่วมขังเป็นประจำ� ทำ�ให้มองไม่เห็นหลุม ขับรถตกหลุมจนน้ำ�กระเด็น เปรอะเปื้อนผู้ร่วมทางคนอื่นๆ สร้างความขุ่นเคืองใจกัน จนเกิดเสียงด่าทอสบถด่าเกิดขึ้นบ่อย ครั้ง “รู้สึกปวดหัวมาก เวลาขับรถผ่านถนนเส้นนี้ หัวมันสั่นไปหมด” นิสิตมหาวิทยาลัย มหาสารคามที่สัญจรผ่านบริเวณนี้ทุกวันเผยถึงผลกระทบที่ตนเองได้รับจากการที่ถนนชำ�รุด


ถนนบริเวณจุดจอดรถของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ของมหาวิทยาลัย มหาสารคาม เป็นจุดที่ถนนชำ�รุดและเกิดการตั้งคำ�ถามในเชิงตัดเพ้อมากที่สุด เพราะประเมินด้วย สายตาและความรู้สึก จุดชำ�รุดนี้เป็นปัญหาที่หากจะซ่อมแซมก็สามารถทำ�ได้ง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ เวลามากมาย เพราะจุดที่ชำ�รุดเกิดจากการที่แผ่นอิฐแตกและหลุดหายไปบางส่วนทำ�ให้เกิดเป็น หลุม การแก้ปัญหานี้ก็เหมือนการต่อจิ๊กซอว์ที่ต้องหาแผ่นอิฐมาต่อให้ลงล็อกเพียงเท่านั้น แต่ถึง จะง่ายขนาดไหน ปัญหานี้ที่เกิดมาตั้งแต่ต้นปีจนถึงตอนนี้เวลาล่วงเลยมาเกือบจะท้ายปีก็ยังไม่ได้ รับการแก้ไข ถึงแม้จะมีนิสิตบางคนเสียหลักรถล้มตรงจุดนี้ก็ตาม อาจเป็นเพราะไม่มีใครรู้เห็นและ นิสิตคนดังกล่าวไม่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ปัญหานี้จึงถูกปล่อยผ่านและยังไม่ได้รับการแก้ไขเสียที ปัญหานี้เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำ�วันของนิสิตอย่างเห็นได้ชัด เพราะถนนทั้งหมดที่กล่าวมา ล้วนเป็นทางที่นิสิตต้องสัญจรผ่านในทุกๆวัน ทำ�ไมปัญหานี้ถึงอยู่ นาน และไม่ได้รับการแก้ไขเสียที อย่างที่บอกไปข้างต้นว่านี่เป็นปัญหาที่ค่อนข้างเป็นรูปธรรม เห็นกันอยู่ชัดๆว่าสิ่งนี้เป็นปัญหาและมีผลกระทบกับนิสิตโดยตรง ทำ�ไมการแก้ปัญหาถึงล่าช้า หรือถูกละเลยไป จนกระทั้งถูกลืมไปในที่สุด จนอดบ่นกับเพื่อนๆไม่ได้ว่า “ที่นี่สารคาม” วลีเรา มักจะพูดปลอบใจปนประชดชีวิตเวลาที่เจออะไรแย่ๆชนิดที่ว่า “ที่อื่นไม่เห็นเป็นแบบนี้เลย” หรือ ”โห!! แบบนี้ก็ได้หรอ?” มันเป็นความรู้สึกที่เหมือนจะอัศจรรย์ใจแต่ก็แอบขัดในใจว่า ”แบบนี้ก็ได้ หรอวะ?” เป็นการตัดปัญหาและปลงกับชีวิตในสารคาม จังหวัดที่เต็มไปด้วยหลุมบ่อและถนนที่ แสนจะขรุขระ เรื่องของความล่าช้าในการแก้ไขปัญหา หากมองย้อนกลับไปถึงปัญหาต่างๆที่เกิด ขึ้น ที่ไม่ใช่เพียงแค่ถนนชำ�รุด ลองนึกดูดีๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นมักจะได้รับการแก้ไขที่ล้าช้าหรือถูก ปล่อยผ่านไป ตรงนี้มันเกิดจากอะไรกัน? เพราะไม่มีการแจ้งให้ผู้รับผิดชอบในเรื่องนี้เห็นถึง ปัญหาดังกล่าว หรือทุกคนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหานี้ไม่ได้ใส่ใจว่าควรจะได้รับการแก้ไขสักเท่า ไหร่ โอเค ว่ามันส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำ�วัน แต่ก็ยังสามารถใช้ชีวิตประจำ�วันแบบนี้ได้อย่าง ปกติ จนเกิดเป็นความเคยชิน และรู้สึกว่า ‘ชั่งมัน’ เพราะแบบนี้หรือเปล่าหลายสิ่งหลายอย่าง ภายในรั้วมหาวิทยาลัยมหาสารคามถึงไม่ได้รับการแก้ไขและพัฒนาเท่าที่ควรจะเป็น


นิสิตผู้ใช้รถใช้ถนนยังคงต้องเผชิญกับปัญหานี้อยู่ในทุกวัน ทั้งการจราจรที่ติดขัดอัน เกิดจากถนนที่ไม่ราบเรียบ การเกิดอุบัติเหตุต่างๆที่มาจากถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือแม้แต่การที่ รถบางคันเสียหายจากการขับตกหลุม ทำ�ให้มีค่าใช้จ่ายตามมา หากลองคิดดู ปัญหานี้ควรจะได้ รับการแก้ไขในทันท่วงที อาจจะมีการเดินเรื่องขอบประมาณการซ่อมแซมที่ค่อนข้างต้องใช้เวลา แต่สำ�หรับบางสถานที่หรือถนนบางเส้น การซ่อมแซมนั้นง่ายดายมากๆ แต่กลับไม่ได้รับการ ซ่อมแซม มันเพราะอะไรกัน? เราทำ�ได้เพียงแค่ตั้งคำ�ถาม แต่ก็ไม่เคยคิดจะหาวิธีการแก้ไข ปล่อยตัวเองให้อยู่กับ ปัญหานี้เรื่อยๆจนเกิดความเคยชินในที่สุด เพราะเราเลือกที่จะชั่งมันและตัดสินใจใช้ชิวิตอยู่กับ ปัญหานี้ด้วยความรู้สึกที่ว่าไม่แก้ไขก็ได้ แต่แก้ไขซ่อมแซมได้ก็ดีเหมือนกัน นั่นเท่ากับว่าเราตัดสิน ใจที่จะใช้ชีวิตสัญจรผ่านถนนดวงจันทร์ ที่โครงการนาซ่าใช้ความพยายามแทบตายในการไปเยือน แต่ที่มหาสารคามไม่ต้องพยายามอะไรก็ให้ความรู้สึกเหมือนใช้ชีวิตอยู่บนถนนดวงจันทร์


เรื่อง เยือนดวงจันทร์ โดยไม่ต้องพึ่งนาซ่า รณรงค์ให้ขับขี่ปลอดภัยต้องสวมใส่หมวกนิรภัยกันทั่วทุกพื้นที่ ผู้ขับขี่เข้าใจปฏิบัติตาม กฎระเบียบอย่างเคร่งครัด แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าเราป้องกันตัวเอง แต่กลับได้รับอันตรายจาก การปล่อยปะละเลยไม่มีการซ่อมแซมของถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ยิ่งกับพื้นที่ในมหาวิทยาลัยที่ควรจะ เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่สุดแล้ว แต่ก็กลับกลายเป็น¬สถานที่ที่เสี่ยงภัยไปเสียเอง ในหลายสิบปีก่อนองค์กรนาซ่าพาคนขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ได้ แต่ใช้เวลานานและยุ่ง ยาก แต่ในปี 2019 มนุษย์สามารถไปเหยียบดวงจันทร์ได้อย่างง่ายดาย ด้วยการมาเยือนที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถนนหน้าอเมซอน ในฝั่งมอใหม่ ฝั่งท่าขอนยาง ถนนขรุขระยิ่งกว่า พื้นผิวของดวงจันทร์ ขับขี่รถผ่านทีหนึ่งถึงกับต้องตรวจสอบให้ดีว่าได้ทำ�อวัยวะชิ้นไหนหล่น หายไประหว่างทางหรือเปล่า สภาพการจราจรในช่วงเวลาเร่งรีบของนิสิตก็ย่ำ�แย่พอแล้ว แต่มาเจอกับถนนที่ไม่ เอื้อให้แก่การเดินทางก็นับว่ายิ่งแย่เข้าไปใหญ่ สภาพถนนที่ขรุขระเป็นที่พบเห็นกันมาเป็นระยะเวลา ยาวนานในบรรดานิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม บริเวณหน้าอเมซอนฝั่งมอใหม่ ตรงข้าม กับคณะวิทยาการสารสนเทศ เป็นหลุมเป็นบ่อสภาพเหมือนพื้นผิวของดวงจันทร์อย่างไงอย่าง งั้น ไม่จำ�เป็นที่เราจะต้องพึ่งพานาซ่าหรือองค์กรไหน ๆ ให้พาไปเหยียบบนดวงจันทร์แค่เพียง มาเยือนที่ถนนหน้าอเมซอนมหาวิทยาลัยมหาสารคามก็เปรียบเสมือนได้เป็นตัวแทนคนไทยไปปัก ธงชาติบนดวงจันทร์ได้แล้ว วันไหนฝนตกก็ลำ�บากมากหน่อย ยิ่งผสมรวมไปกับช่วงเวลาเร่งรีบของนิสิตใน มหาวิทยาลัยแล้วด้วยล่ะก็ ขับช้าก็รถติด ขับไวก็อันตราย ตกหลุมทีหนึ่งเหมือนกับว่าจะหาย ไปในหลุมดำ�ในอวกาศเสียอย่างนั้น ยังไม่รวมเวลาที่ฝนตกและน้ำ�ขังจนขับตกหลุมทีน้ำ�แทบจะ กระเด็นขึ้นมาโดนหน้าอีก แต่เรื่องแค่นี้ก็ยังคงเป็นปัญหาที่ถูกละเลยไปอยู่ดี


จากการสอบถามความคิดเห็นของนิสิตผู้ใช้ขับขี่ผ่านถนนเส้นนี้เป็นประจำ�ก็ได้ความว่า “ได้รับความเดือดร้อนเวลาขับขี่โดยใช้ถนนเส้นนี้ถ้าขี่นานๆ เข้ามันทำ�ให้ยางรถเสียค่ะ แล้วก็ ช่วงที่ฝนตกด้วยมันเป็นหลุมเล็กๆ ใช่ไหมคะพอน้ำ�ขังจะมองไม่เห็นหลุมเลยกลัวว่ามันจะทำ�ให้เกิด อุบัติเหตุขึ้นสักวันค่ะ” ตัวอย่างความคิดเห็นจากนิสิต เราเห็นอะไรบ้างชัดเจนว่าปัญหาของถนน เส้นนี้มันเกิดขึ้นจริง ยังไม่รวมอีกหลายเสียงที่ไม่ได้กล่าวถึงที่บอกไปในทางเดียวกันว่าได้รับความ เดือดร้อนจริงจากการสัญจรผ่านถนนเส้นนี้ ไม่ใช่เพียงแต่นิสิตเท่านั้น แต่สวัสดิการการอำ�นวย ความสะดวกอย่างแค่ทำ�ถนนให้มันสามารถที่จะสัญจรได้อย่างสะดวก มันยังเป็นวิธีที่จะแสดงออก ได้ว่ามหาวิทยาลัยของเราเป็นมหาวิทยาลัยที่เจริญทั้งด้านการศึกษา และสวัสดิการต่างๆ ก็เอื้อ ให้เหมาะแก่การมาเรียนเพื่อหาความรู้ในแค่ละวัน และเพราะอย่างนี้ต่อให้จะอยากมาเรียนแค่ไหน แต่ถ้าต้องมาเจอกับเส้นทางที่มันไม่ สะดวกและยังบั่นทอนให้แต่ละวันมันเหนื่อยมากขนาดนี้ใครมันจะอยากมาเรียนกัน ส่วนถ้าบอกให้ ไปใช้เส้นทางอื่นก็คงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดูจะปลายเหตุมากเกินไปหน่อย ในเมื่อมันมีเส้นทางที่ใกล้และ สะดวก เราก็ควรจะทำ�ให้มันดีแทนที่จะเลี่ยงปัญหาและแก้ที่ปลายเหตุกันอยู่เรื่อย ซึ่งสถิตินิสิตที่เข้ามาศึกษาก็มีจำ�นวนมากขึ้นทุกปี รวมไปถึงการเก็บค่าทำ�เนียมการ ศึกษาหรือที่เรารู้จักกันดีในนามของค่าเทอมยังได้มีการเปลี่ยนเป็นแบบเหมาจ่าย ปริมาณเงินเพิ่ม มากขึ้นและเงินจำ�นวนนั้นก็ไม่ใช่น้อย ถ้าหากจะเจียดมาปรับปรุงพื้นผิวถนนตรงส่วนนี้ให้มันดี ขึ้นเสียหน่อย ให้สมกับเงินที่นิสิตเสียให้กับทางมหาวิทยาลัยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นก็คงจะไม่มาก เกินไปนักที่จะซ่อมแซมปรับปรุงหรือมีวิธีจัดการปัญหาที่ดีกว่านี้ ไม่ใช่ให้มันคงสภาพความพังและ ประจานการไม่เอาใจใส่ของมหาวิทยาลัยแบบนี้กันต่อไป จะให้ฝืนทนมองมันเป็นอยู่อย่างนี้ ทนใช้ ถนนพังๆ ที่ไม่รู้ว่าวันดีคืนดีตัวเราเองอาจจะล้มคว่ำ� เนื้อตัวเปียก เกิดบาดแผลต่างๆ จากอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงของถนนเส้นนี้ก็ได้


อย่างนี้อีกหน่อยก็คงจะต้องเขียนจดหมายไปหาองค์กรนาซ่าว่า “คุณไม่ต้องเสียเวลา ส่งคนขึ้นไปบนดวงจันทร์อีกแล้ว ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามน่ะ เขามีถนนพื้นผิวดวงจันทร์ ให้นิสิตได้ทดลองเหยียบและขี่รถผ่านอยู่ทุกวัน” ให้พวกฝรั่งเขาทึ้งกันไปเลยว่าประเทศไทย ใน จังหวัดมหาสารคามนี่แหละก้าวนำ�ทุกชนชาติยิ่งกว่านโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลอีกนะจะ บอกให้ สุดท้ายแล้วจากที่กล่าวมาทั้งหมดในบทความนี้กับการเยือนดวงจันทร์โดยที่ไม่จำ�เป็น ต้องพึ่งพานาซ่า แค่มา ณ ดินแดนมหาวิทยาลัยมหาสารคามแห่งนี้ คงต้องยืมประโยคยอด นิยมจากนักร้องสาวท่านหนึ่ง ที่ทำ�เอากลายเป็นมุกขำ�ขันใช้ได้กับทุกอย่างที่ไม่มีวันพัฒนาได้เสียที มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเรื่องนี้นิดหน่อยจนได้มาว่า “ถนนหน้าอะเมซอนมมส จะอีก 50ปี หรือ อีก1000 ก็ไม่มีทางซ่อมแซมหรอก ยิงกูดิ” (เครดิต : นางสาวน.ส.สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ หรือ อิมเมจ เจ้าของประโยคต้นฉบับที่ว่า “ประเทศเฮงซวย จะอีก 50 ปีหรืออีก 1,000 ปี ก็ไม่เจริญขึ้นหรอก”) อย่าให้ต้องถึง 50ปี 1000ปีกันเลยดีวกว่า กลัวว่าจะอยู่ไม่ทันถึงได้เห็น การเปลี่ยนแปลงนี้


พื้นที่ห้ามจอดแต่ทำ�ไมยังจอดอยู่…. .!!! จอดผิดกฎ…!!! จอดในที่ห้ามจอด จอดรถไม่เผื่อผู้อื่น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยและ หาทางแก้ไขได้ยาก ติดป้ายก็แล้ว ทาสีก็แล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ลดลงและแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังนี้ไม่ ได้ซักที ซึ่งปัญหานี้นั้นเป็นเส้นสุดของปัญหา และคนส่วนใหญ่ก็มักมองแค่เพียงเส้นสุดของปัญหา โดยที่ไม่ได้มองถึงจุดเริ่มต้นหรือต้นตอของปัญหาเลย จอดตามใจคือไทยแท้ ถึงจะเป็นสำ�นวนคำ�กล่าวที่ออกจะเหมารวมเกินไปสักหน่อย แต่ก็ต้องยอมรับเพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนเราก็จะสามารถพบเจอกับพฤติกรรมการจอดรถแบบตามใจ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถบนทางเท้า หรือการจอดรถบนฟุตบาท เป็นการกีดขวางทางเดินของผู้ สัญจรไปมาในระแวกนั้น การจอดรถกีดขวางการจราจร ซึ่งเป็นสามเหตุหลักที่ทำ�ให้การจราจร ติดขัด การจอดรถห่างจากไหล่ทางเกิน 25เซนติเมตร การจอดในพื้นที่ห้ามจอดหรือบริเวณที่มี ป้ายห้ามจอดติดตั้งอยู่ และการจอดรถขวางทางเข้า-ออก ทั้งหมดล้วนเป็นพฤติกรรมที่พบเห็น ได้บ่อยๆ จนกระทั่งการกระทำ�ดังกล่าวกลายเป็นความเคยชินและภาพที่ชินตา การกระทำ�ทุกๆการกระทำ�ล้วนมีผลที่ตามมา พฤติกรรมการจอดรถตามใจก็เช่น กันไม่ว่าคุณจะทำ�ไปด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะจอดแค่แป๊บเดียวคงไม่เป็นไร ดูแล้วคงไม่มีคน ผ่านทางนี้หรอก ทุกๆพฤติกรรมล้วนมีผลและปัญหาที่ตามมา หากกล่าวลอยๆทุกท่านคงไม่เข้าใจ ว่ามันมีปัญหาที่ตามมาอย่างไร ผู้เขียนจึงจะขอยกพฤติกรรมการจอดรถตามใจมาประกอบคำ� อธิบายดังนี้ 1. จอดในที่ห้ามจอด เป็นภาพที่พบเห็นจนกลายเป็นภาพที่ชินตา เป็นการจอดรถในบริเวณ ที่เป็นทางจราจร อธิเช่น การจอดรถตรงทางโค้งที่เป็นทางหักศอกซึ่งการจอดรถในบริเวณดัง กล่าวจะทำ�ให้การจราจรติดขัดเนื่องจากไปจอดขวางองศาการเลี้ยวรถของรถคันอื่นที่ต้องขับผ่าน เส้นทางดังกล่าว. และที่สำ�คัญยังเป็นสาเหตุต้นๆของการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย 2. จอดรถบนทางเท้าหรือการจอดรถบนฟุตบาท เป็นอีกพฤติกรรมการจอดตามใจที่ ทำ�ให้เกิดการกีดขวางการเดินของผู้ที่สัญจรไปมาในระแวกนั้น บางครั้งถึงขั้นเกิดอุบัติเหตุโดนรถ ชน


อย่างนี้อีกหน่อยก็คงจะต้องเขียนจดหมายไปหาองค์กรนาซ่าว่า “คุณไม่ต้องเสียเวลา ส่งคนขึ้นไปบนดวงจันทร์อีกแล้ว ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามน่ะ เขามีถนนพื้นผิวดวงจันทร์ ให้นิสิตได้ทดลองเหยียบและขี่รถผ่านอยู่ทุกวัน” ให้พวกฝรั่งเขาทึ้งกันไปเลยว่าประเทศไทย ใน จังหวัดมหาสารคามนี่แหละก้าวนำ�ทุกชนชาติยิ่งกว่านโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาลอีกนะจะ บอกให้ สุดท้ายแล้วจากที่กล่าวมาทั้งหมดในบทความนี้กับการเยือนดวงจันทร์โดยที่ไม่จำ�เป็น ต้องพึ่งพานาซ่า แค่มา ณ ดินแดนมหาวิทยาลัยมหาสารคามแห่งนี้ คงต้องยืมประโยคยอด นิยมจากนักร้องสาวท่านหนึ่ง ที่ทำ�เอากลายเป็นมุกขำ�ขันใช้ได้กับทุกอย่างที่ไม่มีวันพัฒนาได้เสียที มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเรื่องนี้นิดหน่อยจนได้มาว่า “ถนนหน้าอะเมซอนมมส จะอีก 50ปี หรือ อีก1000 ก็ไม่มีทางซ่อมแซมหรอก ยิงกูดิ” (เครดิต : นางสาวน.ส.สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ หรือ อิมเมจ เจ้าของประโยคต้นฉบับที่ว่า “ประเทศเฮงซวย จะอีก 50 ปีหรืออีก 1,000 ปี ก็ไม่เจริญขึ้นหรอก”) อย่าให้ต้องถึง 50ปี 1000ปีกันเลยดีวกว่า กลัวว่าจะอยู่ไม่ทันถึงได้เห็น การเปลี่ยนแปลงนี้


พื้นที่ห้ามจอดแต่ทำ�ไมยังจอดอยู่…. .!!! จอดผิดกฎ…!!! จอดในที่ห้ามจอด จอดรถไม่เผื่อผู้อื่น เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยและ หาทางแก้ไขได้ยาก ติดป้ายก็แล้ว ทาสีก็แล้ว แต่ปัญหาก็ยังไม่ลดลงและแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังนี้ไม่ ได้ซักที ซึ่งปัญหานี้นั้นเป็นเส้นสุดของปัญหา และคนส่วนใหญ่ก็มักมองแค่เพียงเส้นสุดของปัญหา โดยที่ไม่ได้มองถึงจุดเริ่มต้นหรือต้นตอของปัญหาเลย จอดตามใจคือไทยแท้ ถึงจะเป็นสำ�นวนคำ�กล่าวที่ออกจะเหมารวมเกินไปสักหน่อย แต่ก็ต้องยอมรับเพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนเราก็จะสามารถพบเจอกับพฤติกรรมการจอดรถแบบตามใจ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถบนทางเท้า หรือการจอดรถบนฟุตบาท เป็นการกีดขวางทางเดินของผู้ สัญจรไปมาในระแวกนั้น การจอดรถกีดขวางการจราจร ซึ่งเป็นสามเหตุหลักที่ทำ�ให้การจราจร ติดขัด การจอดรถห่างจากไหล่ทางเกิน 25เซนติเมตร การจอดในพื้นที่ห้ามจอดหรือบริเวณที่มี ป้ายห้ามจอดติดตั้งอยู่ และการจอดรถขวางทางเข้า-ออก ทั้งหมดล้วนเป็นพฤติกรรมที่พบเห็น ได้บ่อยๆ จนกระทั่งการกระทำ�ดังกล่าวกลายเป็นความเคยชินและภาพที่ชินตา การกระทำ�ทุกๆการกระทำ�ล้วนมีผลที่ตามมา พฤติกรรมการจอดรถตามใจก็เช่น กันไม่ว่าคุณจะทำ�ไปด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ไม่ว่าจะจอดแค่แป๊บเดียวคงไม่เป็นไร ดูแล้วคงไม่มีคน ผ่านทางนี้หรอก ทุกๆพฤติกรรมล้วนมีผลและปัญหาที่ตามมา หากกล่าวลอยๆทุกท่านคงไม่เข้าใจ ว่ามันมีปัญหาที่ตามมาอย่างไร ผู้เขียนจึงจะขอยกพฤติกรรมการจอดรถตามใจมาประกอบคำ� อธิบายดังนี้ 1. จอดในที่ห้ามจอด เป็นภาพที่พบเห็นจนกลายเป็นภาพที่ชินตา เป็นการจอดรถในบริเวณ ที่เป็นทางจราจร อธิเช่น การจอดรถตรงทางโค้งที่เป็นทางหักศอกซึ่งการจอดรถในบริเวณดัง กล่าวจะทำ�ให้การจราจรติดขัดเนื่องจากไปจอดขวางองศาการเลี้ยวรถของรถคันอื่นที่ต้องขับผ่าน เส้นทางดังกล่าว. และที่สำ�คัญยังเป็นสาเหตุต้นๆของการเกิดอุบัติเหตุอีกด้วย 2. จอดรถบนทางเท้าหรือการจอดรถบนฟุตบาท เป็นอีกพฤติกรรมการจอดตามใจที่ ทำ�ให้เกิดการกีดขวางการเดินของผู้ที่สัญจรไปมาในระแวกนั้น บางครั้งถึงขั้นเกิดอุบัติเหตุโดนรถ ชน


3. การรจอดรถซ้อนคัน การจอดรถซ้อนคันเป็นพฤติกรรมที่ทำ�ให้เกิดปัญหาการทะเลาะ วิวาทได้ง่าย เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่น่าหงุดหงิดและไม่ควรทำ�ไม่ว่าจะเกิดจากความตั้งใจหรือ ไม่ก็ตาม เพราะคนที่รถอยู่ด้านในที่มีความต้องการนำ�รถออกจากที่จอดแต่ออกไม่ได้ หรือเข้า อาจจะมีธุระด่วนที่ต้องไปทำ�แต่ก็ไปไม่ได้เนื่องจากมีรถขวางรถของเขาอยู่ 4. การจอดรถกีดขวางทางเข้า-ออก การจอดรถตรงปากทางเข้า-ออก ของอาคาร หรือทางเดินรถในระยะ 5 เมตรจากปากทางเดินรถ หรือการจอดรถขวางทางเข้า-ออก ของ บ้านผู้อื่นเป็นอีกพฤติกรรมจอดรถตามใจที่ก่อให้เกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท ลุกลามไปจนถึงขั้น งัดมาตรการกวาดล้างมาใช้กับพฤติกรรมการจอดรถตามใจจนกลายเป็นข่าวครึกโครมอยู่บ่อย ครั้ง ยกตัวอย่างกรณีที่เห็นได้ชัดก็คงจะหนีไม่พ้นกรณี “ ข่าวป้าทุบรถ ” นั้นเอง นอกจากพฤติกรรมการจอดรถตามใจดังกล่าวข้างต้นที่ผู้เขียนได้กล่าวมาแล้ว นั้นจะก่อให้เกิดปัญหา ไม่ว่าจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การกีดขวางการราจร เกิดการทะเลาะวิวาท และเกิดการลงไม้ลงมืออย่างกรณี “ ข่าวป้าทุบรถ ” แล้ว การกระทำ�พฤติกรรมการจอดรถ ตามใจที่คุณคิดว่าเป็นความเคยชินและเป็นภาพที่หลายคนเห็นจนชินตาอยู่นั้น ยังเป็นการกระทำ�ที่ ผิดกฎหมายการจอดรถตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ. ศ 2522 มาตรา 55 (6) ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถ (1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่อง เดินรถประจำ�ทาง (2) บนทางเท้า (3) บนสะพานหรือในอุโมงค์ (4) ในทางร่วมทางแยก (5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ (6) ตรงปากทางเข้า-ออก ของอาคารหรือทางเดินรถ (7) ในเขตปลอดภัย


นอกจากนี้ยังเป็นความผิดฐานก่อความเดือดร้อนรำ�คาญ ตามประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 397 วรรคสองต้องระวางโทษจำ�คุก ไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายจากกรณีนี้สามารถร้องทุกข์ดำ�เนินคดีได้ รวมทั้งสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งได้ ตามมาตรา 420 และถ้าเป็นที่สาธารณะยัง มีโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ จราจรทางบก เจ้าหน้าที่สามารถออกใบสั่งยกรถได้ ทั้งนี้ หาก ความเสียหายหรือทำ�ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนประชาชนมีสิทธิ์แจ้งความร้องทุกข์ได้ จากพฤติกรรมการจอดรถแบบตามใจที่ก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ถึงแม้จะมี ตัวกฎและบทลงโทษทางกฎหมายการจอดรถตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ. ศ 2522 มาตรา 55 (6) ออกมาบังคับใช้อย่างชัดเจนก็ไม่สามารถทำ�ให้ปัญหาเรื้อรังนี้ลดลงได้ แต่ก็ใช่ ว่าจะไม่มีแนวทางแก้ไขและลดปัญหานี้ลงเลย ซึ่งแนวทางการแก้ไจปัญหานั้นง่ายนิดเดียว เพียง แค่ผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคนรู้หน้าที่ของตน มีวินัยและจิตสำ�นึกในการใช้รถใช้ถนน นึกถึงใจเขาใจเรา ยอมเดินไกลอีกซักหน่อยเพื่อความปลอดภัยต่อผู้อื่นและทรัพย์สินของตนเอง เพียงเท่านี้ก็จะลด ปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมการจอดรถตามใจได้ อย่างไรก็ตามหากผู้ใช้รถใช้ถนนไม่ร่วมมือกันในการแก้ไขพฤติกรรมการจอดรถ ตามใจนี้ แล้วยังยกเหตุผลข้ออ้างอีกสิบล้านเหตุผลมาใช้เพื่อที่จะยังจอดรถได้ตามใจตน การ แก้ไขปัญหาถึงจะต้องไปขุดผังเมืองมาแก้ใหม่เพื่อทำ�ให้มีเส้นทางการเดินรถที่กว้างขึ้นและมีที่จอด ที่เยอะขึ้น ปัญหานั้นก็จะยังไม่หมดไปอย่างแน่นอนหากทุกคนไม่ร่วมกันแก้ไข ดังนั้นจึงขอเชิญชว นทุกๆคนจงหันมาเล็งเห็นปัญหาและร่วมกันแก้ไข ไม่อย่างนั้นสำ�นวนคำ�กล่าวที่ว่า “จอดตามใจ คือไทยแท้” ก็จะถูกเหมารวมและเป็นสำ�นวนที่ใช้เรียกคนไทยอย่างแท้จริง


ไฟเลี้ยว ถ้าไม่อยากเสียวก็เปิดซะ อีกหนึ่งสาเหตุสำ�คัญของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน คงหนีไม่พ้นการให้สัญญาณไฟ จราจร โดยเว็บไซต์ Motorexpo.co.th ระบุไว้ว่า การไม่ให้สัญญาณ…จอด ชะลอ เลี้ยว ทำ�ให้ เกิดอุบัติเหตุเฉลี่ย 700/ปี ซึ่งแน่นอนว่าปัญหาจราจรกับการไม่เปิดหรือลืมปิดไฟเลี้ยว เป็นเรื่อง ความประมาทของคนเพียงไม่กี่คน แต่มันอาจสร้างความเสียหาย และความสูญเสียให้กับพวกเขาเหล่า นั้นอย่างคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นการเฉี่ยวชน หรือไปจนถึงการเสียชีวิต “อีกแล้วซินะ” ประโยคนี้ใช้บ่อยเกินไปสำ�หรับใครหลายคนรวมถึงเราด้วย โดยเฉพาะกับการ ให้สัญญาณไฟในการขับขี่ ถือว่าเป็นเรื่องที่คนในยุคสมัยนี้ให้ความสำ�คัญน้อยมาก นั้นจึงเป็นสาเหตุให้ เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยไม่นึกถึงเพื่อนร่วมทาง นึกแค่อยากจะจอดก็จอด นึกอยากจะเลี้ยวก็เลี้ยว นึกอยากจะแซงก็แซง แต่ช่วยละลึกไว้สักนิดเถอะว่า “ไม่มีใครอยากเล่นเกมทายใจกับคุณหรอก” ตีไฟเลี้ยวแต่ไม่เลี้ยว คนขี่ตามหลังมาก็มองไปซิ จ้องมันเข้าไป “จะเลี้ยวตอนไหนวะ” คำ�ถามง่ายๆ แต่ไม่ค่อยได้คำ�ตอบ ในกรณีขับขี่รถจักยานยนต์ บางคนไปกับเพื่อนคงจะคุยกันจน เพลินหรือยังไง บางคนเพลินกับการชมนกชมไม้ข้างทางบ้างล่ะ ในกรณีรถยนต์ เล่นโทรศัพท์บ้าง คุยโทรศัพท์บ้างปัญหาเลยตกมาอยู่ที่คนขี่ตามหลังมา ถ้าในเวลาปกติก็คงไม่เป็นอะไร ขี่ตามๆ กันไป ถึงช้าหน่อยแต่คงปลอดภัยดี แล้วถ้าในเวลาเร่งรีบ นอกจากจะต้องระวังในการขับขี่ของตัวเองแล้ว ก็ต้องมาเล่นเกมทายใจกับรถที่เปิดไฟกระพริบอยู่ข้างหน้าจะเอาไง ตีไฟเลี้ยวซ้ายแต่เลี้ยวขวา ตีไฟเลี้ยวขวาแต่เลี้ยวซ้าย เป็นงงในดงจราจรกันเลยใช่มั้ยคะ บางครั้งใส่หมวกกันน็อกอยู่แต่รู้สึกอยากเกาหัว ปัญหานี้เป็นประสบการณ์ตรงของเราเอง ในเวลา เร่งรีบมาเรียนในช่วงเช้า มีรถจักรยานยนต์หลายคันขี่ตามกันมา เราก็ขี่ตามหลังไปดีๆ เห็นคันหน้า ตบไปเลี้ยวซ้าย เราเลยตีไฟเลี้ยวจะแซงขวา พอกำ�ลังบังคับแฮนด์รถเพื่อเปลี่ยนทิศทาง ความไม่น่า รักของคนขบรถคันหน้าก็บังเกิด เพราะพี่ท่านเกิดเลี้ยวซ้ายกะทันหัน และเราต้องเบรกหัวทิ่มกะทันหัน เช่นกัน ทำ�ให้รถจักรยานยนต์ที่ขี่ตามกันมาเป็นจำ�นวนมาก ค่อยๆ ชนตูดกัน พร้อมกับเสียงที่เกิดขึ้น จากการกระทบกันของหน้ารถกับท้ายรถ มีเสียงเกิดขึ้นเป็นระยะตามจังหวะ ถึงจะเป็นการชนที่ไม่แรง มากนัก แต่ก็ทำ�ให้ลูกรักของเราเสียโฉมได้เช่นกัน และที่ช้ำ�ใจไปกว่านั้น แม้แต่คำ� “ขอโทษ” ยังไม่มี


เคยเจอมั้ย คันหน้าชะลอเหมือนจะให้เราไปก่อน เราก็นึกขอบคุณกับความใจดีมีน้ำ�ใจของพี่ ท่าน แต่ที่ไหนได้ พี่ท่านเลี้ยวกะทันหัน(อีกแล้ว) แบบไม่เปิดไฟเลี้ยว และพี่ท่านไม่ดูรถเล็กที่ตามหลังมา เลย ไม่รู้ว่าเป็นบุญบาปที่ยังต้องชดใช้หรือยังไง ทำ�ให้เรากระชับแฮนด์รถ เบรกจนล้อสะบัด พร้อมกับ จังหวะการเต้นของหัวใจที่ทำ�งานถี่ขึ้น แต่ครั้งนี้ถือว่าเป็นความโชคดีของเราไป ที่ไม่เกิดเหตุการณ์อะไร ร้ายแรง และโชคดีที่ไม่มีรถตามหลังมา เพราะก็ไม่อยากคิดว่าถ้ามีรถตามหลังมาเราจะเป็นยังไง เลี้ยวกะทันหันโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว ถอนหายใจยาวๆ กับเรื่องนี้ เป็นข่าวออกช่องดังก็เยอะ พอที่จะเป็นอุทาหรณ์คำ�เตือนได้เป็นอย่างดี แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นซ้ำ�ๆ และนี่คงเป็นบทลงโทษของ คนที่มักง่าย ไม่เคารพกฎจราจรเลยก็ว่าได้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง สงสัยพึ่งนึกได้ ว่าจะเลี้ยว แต่โชคร้ายไปนิดนึง เพราะพี่แกดันเลี้ยวผิดที่ ใช่ค่ะ มอ’ไซต์คันนี้เลี้ยวกลางหน้ารถยนต์ คันโต ที่วิ่งมาด้วยความเร็ว พร้อมกับเสียง “โครม” ที่ดังสนั่น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา เราเอง ถึงแม้จะไม่ถึงแก่ชีวิต แต่ด้วยความเร็วของรถทั้งสองคันที่ขี่ตามกันมา มันบอกให้รู้ว่าคนที่ขี่ จักรยานยนต์นั้นเจ็บไม่น้อยเลย จากเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ทำ�ให้ฉันรู้ว่า แม้จะเป็นสถานที่ที่เราคุ้นเคย แต่เราไม่ ควรประมาทแม้แต่เสี้ยววินาที เพียงเพราะว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของเราเอง เพราะนั้นอาจหมายถึงชีวิต แล้วคุณรู้มั้ย ว่าการไม่เปิดไฟเลี้ยวนี่ผิดกฎจราจรนะ ข้อมูลจาก Fongdi.com ระบุไว้ ว่า ถ้าไม่เปิกไฟเลี้ยวในเวลาที่ต้องเปิด มีโทษปรับ 500 บาท ตามพ.ร.บ.จราจรทางบกตามมาตรา 36 ส่วนผู้ขับขี่จะเลี้ยวรถ โดยให้รถคันอื่นผ่านหรือ แซงขึ้นหน้า เปลี่ยนช่องเดินรถ ลดความเร็ว รถ จอดรถ หรือหยุดรถ จะต้องให้สัญญาณด้วยมือ และแขนตามมาตรา 37 หรือไฟสัญญาณตาม มาตรา 38 หรือสัญญาณอย่างอื่นตามข้อบังคับของเจ้าพนักงานจราจร เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อุบัติเหตุคงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป แต่อุบัติเหตุที่เพิ่มสูงขึ้นใน ทุกวัน เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่ควรมองข้ามเลย เมื่อไหร่กันนะที่คนเหล่านี้จะเลิกเห็นแก่ตัว แล้วหันมา มีจิตสำ�นึก คิดถึงเพื่อนร่วมทางบ้าง อย่าลืมสิว่า “จิตสำ�นึกดีๆ ไม่มีขาย อยากได้ต้องเริ่มสร้าง” รวมถึงจิตสำ�นึกบนท้องถนนด้วย แค่ลองใส่ใจกันสักนิด แล้วเรามาร่วมกันสร้างบรรยากาศดีๆ บนท้องถนนไปด้วยกันเถอะค่ะ


เรื่อง : ปัญหาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเด็น : แสงไฟข้างถนนรอบ ม.ใหม่ ชื่อเรื่อง : แสงไฟไม่เพียงพอ บทนำ� ทำ�ไมต้องติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างข้างถนน? นั่นก็เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสัญจรให้ กับผู้ใช้รถใช้ถนนในยามวิกาล ไฟฟ้าแสงสว่างทําให้ผู้ขับขี่มีทัศนะวิสัยในการมองเห็นที่ชัดเจนมาก ขึ้น หรือเทียบเท่ากับในเวลากลางวัน ได้อย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ ไฟฟ้าแสงสว่างยัง มีประโยชน์ด้านความปลอดภัยมากในพื้นที่เขตชุมชน หรือในเมือง เพราะไม่เพียงแต่จะทําให้ผู้ใช้ ทางมีความปลอดภัยด้านการจราจรเท่านั้น แสงสว่างยังช่วยป้องกันอาชญากรรมให้กับคนเดิน เท้าได้อีกด้วย การติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างจะมีประโยชน์อย่างสมบูรณ์ได้ ถ้ามีการใช้มาตรฐานที่ ถูกต้องและจุดที่ติดตั้งไม่ก่อให้เกิดอันตราย รอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ม.ใหม่) หลายจุดยังคงขาดแสงส่องสว่าตามท้องถนน จากที่ได้สำ�รวจพื้นที่ สอบถามนิสิต และบุคลลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคามมานั้นแสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยควรติดตั้งหลอดไฟฟ้าตามถนนที่มีรถสัญจรผ่าน โดยถนนที่ยังคงไร้แสงไฟในยาม วิกาลมีทั้งหมดจำ�วน 7 จุด สถานที่ทั้ง 7 จุดที่ยังขาดแสงส่องสว่างนั้นประกอบไปด้วย ถนนหน้าตึกศึกษาทั่วไป (ตึกRN) ถนนหน้าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีไฟแต่ไม่ได้เปิดใช้งาน ถนนหน้าวิทยาลัย การเมืองการปกครองไปจนถึงหน้าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ ถนนหน้าร้านคาเฟ่อ เมซอนไปจนถึงข้างสำ�นักวิทยบริการฝั่งตรงข้ามคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ถนนข้างตึกคอมฯ ถึงคณะเภสัชศาสตร์มีไฟแต่เปิดเพียงบางจุดเท่านั้น ถนนทางเข้ากองทะเบียนและประมวลผล บางจุดหน้าคณะเทคโนโลยี


ผลกระทบจากแสงส่องสว่างถนนไม่เพียงพอ มีหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น อาชญากรรม อุบัติเหตุ ใบไม้บดบังแสง ปัญหาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นหากมีแนวทางการแก้ ปัญหาที่ดี ภัยอาชญากรรมตามท้องถนนในยามวิกาลที่เราไม่อาจรู้ได้ล่วงหน้า ว่ามีมิจฉาชีพจะ แอบหรือหลบอยู่ตามต้นไม้ พุ่มไม้ริมทางหรือไม่ หากมีแสงสว่างอย่างน้อยเราก็ยังพอที่จะรู้ตัว ทันและตั้งสติก่อนรับมือกับมิจฉาชีพได้ ผลของแสงไฟน้อยเป็นอีกส่วนหนึ่งของปัญหาอาชกรรม เช่นกัน หลายเดือนที่ผ่านมานี้พบว่าในถนนเส้นมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีผู้คนถูกกระชากกระเป๋า เพิ่มมากขึ้น แต่ผู้ที่เห็นเหตุหารณ์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเห็นหน้ามิจฉาชีพไม่ชัด บนท้องถนนที่ไร้แสงสว่างยังส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุ สิ่งกีดขวาง พื้นถนนขรุขระ มี หลุมบ่อ พื้นยกระดับ หรือผู้คนเดินข้ามถนน แสงไฟจากรถเพียงอย่างเดียวโดยเฉพาะรถ จักรยานยนต์ไม่ได้ส่องสว่างพอที่ช่วยให้ผู้ขับขี่มองเห็นได้อย่างชัดเจน มองไม่เห็นป้ายจราจรที่ ติดตั้งอยู่ตามไหลทาง เป็นผลให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าป้ายดังกล่าวเป็นป้ายเตือนทางโค้ง หรือป้าย ให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติอย่างไรนั่นเอง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุตามมา ต้นไม้ตามไหลทางที่มากจนเกินไปเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้บดบังแสงไฟส่องสว่างให้ท้อง ถนน ผู้รับผิดชอบควรมีการตัดแต่งกิ่งไม้ที่ยื่นออกมาบดบังแสงไฟ แทนที่แสงไฟจะส่องสว่าง ลงมาถึงพื้นของถนนกลับถูกกิ่งก้านใบสาขาของเหล่าต้นไม้ยื่นมารับแสงสว่างไว้เสียหมด จน ทำ�ให้เกิดคำ�ถามว่าแสงไฟตามไหลถนนนี้คุ้มแล้วหรอกับค่าไฟที่เสียไปในแต่ละเดือน มหาวิทยาลัยได้เพิ่มพื้นที่ติดตั้งแสงสว่างรอบมหาวิทยาลัยในบางพื้นที่ อาทิเช่น สวน สนุกของมหาวิทยาลัยที่มีการติดตั้งแสงไฟเป็นร้อยดวงเพื่อเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของนิสิต แต่ ถนนหลักอย่างหน้าสำ�นักศึกษาทั่วไป(RN) ไปจนถึงหน้าคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ยัง ไม่มีแผนที่จะติดตั้งแต่อย่างใดทั่งที่มีผู้สัญจรเป็นจำ�นวนมาก ซึ่งในบริเวณหน้าตึกแต่ละคณะนั้น เป็นความรับผิดชอบของแต่ละคณะ


การจัดระเบียบผังมหาวิทยาลัยถือว่ามีความสำ�คัญเป็นอย่างมาก ผังเมืองที่ดีควร ออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอยให้มากที่สุดและสวยงามไปพร้อมๆกัน ไม่ใช่เน้นเพียงความสวยงาม แต่ไม่สามารถใช้ประโยชน์อะไรได้เลยแม้แต่น้อย แนวทางการแก้ปัญหาสำ�หรับแสงสว่างตามไหลถนนนั้น ผู้บริหารแต่ละคณะควร คำ�นึงถึงความปลอดภัยของนิสิต บุคลลากร คณาจารย์ใน ผู้ขับขี่ ในเรื่องของความปลอดภัย การติดตั้งไฟฟ้าเพิ่มตามไหลทาง หรือเปิดไฟดีกว่าตั้งให้ร้าง เสียค่าใช้จ่ายไม่กี่บาทดีกว่าสูญ เสียชีวิต ทรัพย์สิน ที่ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย แม้ประเด็นของไฟฟ้าแสงสว่างข้างถนนรอบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการนำ�เสนอ ผ่านสื่อออนไลน์ หนังสือพิมพ์ของเหลานิสิตมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง รวมถึงมีการส่งเรื่องให้ ผู้ที่มีเกี่ยวข้องในการรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าวได้รับทราบ แต่ยังคงไร้วี่แววในการแก้ไข


ลานจอดรถไม่พอดีหรือเธอไม่มีวินัย ลานจอดรถภายในมหาวิทยาลัยมหาารความที่มีอยู่ตามคณะต่างๆยกตัวอย่างเช่น คณะมนุษย์ศาสตร์ที่อยู่ด้านหลัง ลานจอดรถนั้นถูกจัดแจงไว้อย่างดับดี แต่ทว่า ลานจอดรถนั้น กลับไม่เพียงพอต่อจำ�นวนนิสิตที่ใช้จักรยานยนต์จนบางครั้งทำ�ให้ลานจอดรถเต็มจนล้นออกมาเกะกะ ขวางทางจราจร และยังมีผลเสียอีกมากมาย และเรื่องลานจอดรถนี้ยังเป็นปัญหาที่แก้ไม่หายมาเป็น เวลานาน ปัญหาที่เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนนั่นก็คือด้านพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่นคณะมนุษย์ที่ จัดแจงไว้ด้านหลังเป็นที่จอดรถอยู่ภายในขอบเขตสี่เหลี่ยมที่จัดไว้ให้พร้อมกับตามถนนที่สามารถขับ ผ่านนั่นทำ�ให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อนิสิตที่จะเข้ามาจอดรายต่อไป เราจะสังเกตได้ว่าพื้นที่นั้นไม่ เพียงพอต่อจำ�นวนนิสิตทำ�ให้รถนั้นล้นออกมาจากที่จอดรอดส่งผลให้นิสิตจำ�ใจต้องจอดรถเกะกะ ขวางทางเป็นประจำ� แม้ในเวลากลางคืนก็ยังสามารถเกิดอันตรายได้อีกเพราะไฟส่องสว่างยังมีไม่ มากนัก นอกจากนี้ความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่อำ�นวยความสะดวกยังไม่มีเลยแม้แต่น้อย ทาง มหาลัยควรคำ�นึงถึงสุขภาพจิตนิสิตด้วยว่าเวลาที่ลานจอดรถนั้นไม่เป็นระเบียบจะสร้างความลำ�บาก แก่ตัวนิสิตได้อย่างไรบ้าง จึงมีการเห็นสมควรไหมที่เราควรมีคนมาจัดระเบียบรถของเราเหมือนกับ คลองถมสักที แต่เราจะโทษทางมหาวิทยาลัยอย่างเดียวก็ไม่ได้เพราะจำ�นวนประชากรของนิสิตนั้น เพิ่มขึ้นลดลงไม่แน่ชัดในแต่ละปี ทำ�ให้รถจักรยานยนต์นั้นมกขึ้นตามไปด้วย แต่ด้วยที่นิสิตเยอะถ้าเรามองในมุมกลับล่ะ เราจะปฏิเสธไม่ได้อีกว่าเรื่องแบบนี้นั้นก็ขึ้นอยู่ กับจิตสำ�นึกของตัวนิสิตเองด้วยว่า เวลาที่เราเห็นคนจอดรถผิดระเบียบแล้วตัวเราจะจอดรถผิด ระเบียบตามเขา และสร้างความลำ�บากให้คนอื่นต่อไปอีกรึเปล่า และทั้งหมดนี้เป็นผลเสียต่างๆที่ตาม มา จากที่กล่าวไปข้างต้นิดหน่อยนั่นก็คือ ทำ�ให้เสียเวลา เสียสุขภาพจิตร ดีไม่ดี อาจจะถึงขั้น ทำ�ลายข้าวของเพื่อเป็นการเตือนว่าอย่าทำ�อย่างนี้อีก ด้วยเหตุผลหลายอย่างนี้เราควรคำ�นึงถึงส่วนรวม และปัญหาลานจอดรถนั้นเกิดได้ หลากหลายกรณีไม่ว่าจะจากทางมหาวิทยาลัยหรือตัวนิสิตเอง ถ้าเราเริ่มต้นจากตัวเราเองปัญหานี้


ขับรถย้อนศรมีความผิด สิ่งหนึ่งที่เรามักจะพบเห็นกันอยู่เป็นประจำ�จนชินตาบนท้องถนนรอบบริเวณมหาวิทยาลัย มหาสารคามที่ผู้เขียนอยากยกให้เป็นเรื่องที่ควรแก้ไขคือการขับรถย้อนศร ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า เป็นความมักง่ายและเป็นความประมาทของผู้ขับขี่เอง เพราะผู้ขับขี่เหล่านี้มองเห็นเพียงแต่ความ สะดวกของตน โดยไม่ได้คำ�นึงถึงกฎจราจรและความปลอดภัยของผู้อื่นบนท้องถนน และการขับ รถย้อนศรยังเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้งอีกด้วย ผู้เขียนจึงได้นำ�เรื่องเกี่ยวกับบท ลงโทษตามกฎหมาย และการรับมือเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจากการขับขี่ย้อนศรแล้วใครเป็นคนรับผิด ชอบ การขับรถย้อนศรที่ผู้ขับขี่ไม่ขับตามทิศทางที่กำ�หนดไว้ไม่ว่าใกล้ไกลก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิด กฎหมายจราจร และต้องรับโทษตามพระราชบัญญัติ จราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๑ ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาณจราจรและเครื่องหมายจราจรที่ได้ติดตั้งไว้หรือ ทำ�ให้ปรากฏในทาง หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่แสดงให้ทราบ มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือ ไม่ปฏิบัติตาม มาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๙๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับไม่ เกิน 1,000 บาท และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 41 ระบุให้ผู้ขับขี่รถไปตาม ทิศทางที่กำ�หนด ใครฝ่าฝืน (ขับย้อนศร) มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท เมื่อเห็นโทษเบาจึงไม่น่า แปลกใจที่จะมีคนฝ่าฝืนขับย้อนศรเป็นจำ�นวนมาก โดยเฉพาะมอเตอร์ไซค์ แม้เจ้าหน้าที่ตำ�รวจ จะมีการตักเตือนแต่ก็ยังมีปัญหานี้เห็นกันจนชินตาแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่เนื่องจาก การขับย้อนศรเป็นสาเหตุต้นๆ ที่ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้ตำ�รวจบางท้องที่จึง จัดระเบียบใหม่ ด้วยการใช้ช่องทางกฎหมายในการเพิ่มข้อหา โดยบังคับใช้ควบคู่กับมาตรา 43 (8) ใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ที่ให้แจ้งข้อหาฐานขับรถไม่คำ�นึงถึงความปลอดภัย หรือความเดือดร้อนของผู้อื่น มีโทษจำ�คุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 - 10,000 บาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับตามมาตรา 160 วรรคสาม


ถ้าหากเกิดอุบัติเหตุขับรถชนมอเตอร์ไซค์ที่ย้อนศรใครจะต้องรับผิดชอบ? เรามีคำ�ตอบ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นผู้ขับขี่รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์สามารถพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้ด้วยการขอ ตรวจสอบกล้องวงจรปิดที่อยู่บริเวณในจุดเกิดเหตุ หรือ ติดตั้งกล้องหน้าและกล้องหลังที่รถของ ตนเอง ซึ่งจะทำ�ให้มีหลักฐานยืนยันว่าไม่ได้ขับรถผิดกฎจราจร และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจาก ความประมาทของคู่กรณีทั้งหมด ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วจะยังอยู่ในความคุ้มครองของประกันภัยอยู่หรือไม่นะ? เรามีคำ�ตอบ รถยนต์กรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการขับรถย้อนศร ไม่ว่าเราจะเป็นผู้ขับรถย้อนศรเองแล้วเกิดการ ชน หรือ รถเราถูกรถคันอื่นที่ขับย้อนศรมาชนก็ถือเป็นอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่อยู่ในความคุ้มครอง ของประกันภัยรถยนต์ ซึ่งเรานั้นสามารถที่จะแจ้งเคลมได้ตามเงื่อนไขปกติของประกันภัยรถยนต์ ได้เลย สรุปว่า กรณีที่ขับรถย้อนศรแล้วเกิดอุบัติเหตุรถชนขึ้นนั้น ไม่ว่าเราจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด ประกันภัยรถยนต์ก็ให้ความคุ้มครอง แต่ความคุ้มครองจะเป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ที่รถยนต์เราทำ�ไว้เท่านั้น เห็นการคุ้มครองดีแบบนี้เราก็ไม่สนับสนุนให้ผู้ขับขี่ขับรถย้อนศรกันนะคะ ไม่ว่ายังไงการขับรถย้อนศรก็เป็นสิ่งที่ผิดกฎจราจร เมื่อเกิดเหตุขึ้นแน่นอนว่าต้องเสียทั้งเงิน เสีย ทั้งเวลา และความรู้สึกต่อตนเองและผู้อื่นอีกด้วย จากข้อบังคับใช้ตามกฎหมายจราจรและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการขับขี่รถย้อนศรข้างต้น จะสามารถนำ�พาเราไปสู่การแก้ไขปัญหา และปฏิบัติตามข้อบังคับมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการแก้ปัญหา เบื้องต้นที่ทุกคนสามารถทำ�ได้คือความมีจิตสำ�นึกในขับขี่การขับขี่ และคำ�นึงถึงความปลอดภัย ของตนเองและผู้อื่นเป็นอันดับแรก เพราะไม่ว่าจะมีข้อบังคับและบทลงโทษมากมายอย่างไรก็จะไม่ สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพหากไม่เริ่มจากจิตสำ�นึกที่ดีจากตนเอง


ปัญหาการจอดรถบริเวณคลองถมท่าขอนยาง ปัจจุบันนิสิตในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมถึงบุคลากรและคนในตัวอำ�เภอกันทรวิชัย มีจำ�นวนกว่า 40,000 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซื่งแค่ละคนมีทักษะในการขับขี่ที่แตกต่างกันจึงทำ�ให้มี ปัญหาที่ตามมาเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุบริเวณยูเทิร์น หรือการขับมาด้วยความเร็วและเสียหลักล้ม เป็นต้น ดังนั้นการมีมารยาทในการขับขี่บนถนนจำ�เป็นอย่างมาก รวมถึงการเคารพกฎจราจรไม่ว่าจะ เป็นบริเวณท่าขอนยาง ในมอ ขามเรียงและหน้ามอ เพราะความมั่นใจที่มีมากเกินไปในการขับขี่ จะทำ�ให้ คนอื่นเดือดร้อน ปัญหาการจอดรถบริเวณคลองถมท่าขอนยาง เกิดจากบริเวณนั้นมีตลาดนัดตอนเย็น อยู่สามวันต่อสัปดาห์ ทำ�ให้ช่วงเวลาดังกล่าวมีปัญหาการจราจรไม่ว่าจะเป็น การจอดรถตรงฟุตบาท ทั้งสองฝั่งบริเวณเซเว่นและโลตัส การจอดรถบนทางเท้า การจอดรถซ้อนคัน การไม่เปิดไฟเลี้ยวแล้ว ยังมีการขับรถสวนเลนของนิสิตและชาวบ้านแถวนั้น บางวันเกิดอุบัติเหตุที่เบาถึงรุนแรงในบางวัน ซึ่ง ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื้อรังมานานมากแล้ว จากการสัมภาษณ์นิสิตผลกระทบของปัญหาเหล่านี้เกิดกับผู้ใช้รถ ใช้ถนน การจอดรถบนฟุตบาททำ�ให้คนลงมาเดินบนถนน มีความเสี่ยงที่จะทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุเป็นบางครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการขับรถชนแผ่นป้ายทะเบียนรถ ชนไฟท้ายรถและเฉี่ยวชนคนบริเวณนั้น และการผ่าไฟแดง ตรงเลนรถจักรยานยนต์ ทำ�ให้สร้างความรำ�คาญอย่างมากกับผู้ใช้รถใช้ถนนบริเวณนั้น “คำ�ว่าใครๆ เขาก็ทำ�กัน” เปรียบเสมือนทำ�เนียมการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ว่าคนนั้นทำ�ได้ยังไง? เราทำ�บ้างได้ไหม? เหมือนกับว่าเขาทำ�ได้เราก็ทำ�ได้ เขาผ่าไฟแดงได้เราก็ผ่าได้ เขาขับรถย้อนศรได้เราก็ต้องทำ�ได้สิ ทำ�ให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่ตามมาด้วยเช่นกัน จึงเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ สักที เพราะมันเป็นความเห็นแก่ตัวในการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ถ้าเราทุกคนมีน้ำ�ใจต่อคนที่ใช้ถนนร่วมกัน และมีวินัยในการขับรถ ก็จะทำ�ให้ลดการเกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องด้วยประชากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีจำ�นวนมากขึ้นบวกกับประชากรใน พื้นที่อำ�เภอกันทรวิชัยที่มีมากอยู่แล้ว จึงยากที่จะควบคุมวินัยจราจร แม้ว่ากฎหมายการจราจรจะมีบท ลงโทษที่เบาจึงทำ�ให้มีการผ่าผืนกฎจรากรอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นความปลอดภัยต้องมาก่อนเสมอไม่ว่าจะ เป็นการสวมหมวกนิรภัยการคาดเข็มขัด การมีน้ำ�ใจบนท้องถนนและมีความใจเย็นอยู่เสมอ จะทำ�ให้ลดอุบัติเหตุได้


10 นิสัยขับรถสไตล์คนมมส มหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนิสิตและบุคลลากร รวมไปถึงประชากรใน พื้นที่เยอะ มากจํานวนของยานพาหนะจึงมีเยอะตามทําให้เกิดปัญหาการจราจรที่เกิดจากนิสัยการขับรถ ของคน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากความมักง่ายและความประมาทในการขับรถ ปัญหาหลักๆที่เกิดขึ้น ที่เราได้เห็นอยู่ในทุกๆวันหรือในบางครั้งเราก็เป็นส่วนหนึ่งของ ปัญหานั้นเสียเองปัจจัยหนึ่งก็มาจากนิสัยการขับรถที่มักง่าย ประมาทหรือการวางผังถนนที่ไม่ได้ คุณภาพ และการที่ “ใครๆ เขาก็ ทํากัน” จนกลายเป็นเรื่องปกติ 1.อยากเลี้ยวก็เลี้ยวเลย ไม่เปิดไฟเลี้ยว/เปิดไฟเลี้ยวตอนเลี้ยวเสร็จแล้ว เคยสงสัยไหมว่าทําไมรถคันข้างหน้าถึงไม่เปิดไฟเลี้ยว หรือการเปิดไฟเลี้ยวตอนเลี้ยวเสร็จ แล้วไม่ว่า จะเป็นการเลี้ยวเข้าซอยหรือเลี้ยวเพื่อจอดรถเราสามารถพบเจอปัญหานี้ได้ในทุกๆครั้งที่ขับ รถภายในบริเวณ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นอันตรายต่อคนที่ขับรถตามมาหรือคนที่จะเลี้ยวเอง เพราะคันหลังอาจจะเบรกไม่ทัน ทําให้เกิดอุบัติเหตุได้ 2.ขับรถไม่มองซ้ายมองขวา/ไม่มองกระจกหลัง เคยไหมที่ขับรถอยู่ดีๆ รถอีกคันก็พุ่งมาจากไหนไม่รู้ไม่ได้มีแค่รถจักรยานยนต์เท่านั้นที่ขับรถ ไม่มองซ้าย-ขวาแม้แต่รถยนต์เองในบางครั้งก็พุ่งออกมาจากซอยเลยหากคนขับรถทางตรงเบี่ยงหลบ แทบไม่ทันหรือ อาจจะเบี่ยงทันแต่ก็เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุอยู่ดีเพราะอาจจะไปชนกับรถที่อยู่ถนนเลนอื่นได้ 3.ขับรถย้อนศรไม่ว่าจะถนนเล็กหรือถนนใหญ่ หนึ่งในปัญหายอดฮิตเนื่องจาก การทําถนนที่ไม่ได้คุณภาพ ไม่มีจุดกลับรถที่สะดวกมาก พอ ถ้าต้องการที่จะกลับรถใกล้ๆเพราะจะกลับรถทีก็ต้องขับรถไปถึงวงเวียนหรืออีกจุดนึงที่ไกลจาก ซอยหอพักมากๆ ซึ่งบางที เราต้องการจะไปแค่ที่ใกล้ๆ ถ้าจะไปตามทางที่ถูกต้องก็ต้องไปกลับรถ ไกล หลายๆ คนก็คงจะขี้เกียจขับรถ ก็เลยขับย้อนศรไปเลย บางคนขับรถย้อนศรมาแต่แสดงท่าทาง ไม่พอใจให้คนที่ขับมาทางที่ถูกต้องซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ เราเจอเราทํากันจนเป็นเรื่องปกติทั้งที่มันผิดกฎ จราจรแถมยังอันตรายอีกด้วยคนที่ข้ามถนนก็อาจจะไม่ได้ มองรถที่ขับย้อนศรมาหรือไปเฉียวรถที่ขับ มาทางปกติ


4.ผ่าไฟแดง อากาศร้อนรีบมาก กําลังจะไปเรียนสายแล้วหรือขี้เกียจรอเฉยๆ ก็อาจจะทําให้ หลายๆคนเคยผ่าไฟแดงอย่างแน่นอน บางที่ก็ไม่ได้อยากจะผ่าหรอก แต่ทางตรงข้ามไม่มีรถ ทางซ้ายทางขวาก็ไม่มี ขอไปหน่อยละกันถ้าหากระวังไม่มากพอก็อาจจะทําให้เกิดอุบัติเหตุที่คาดไม่ ถึงได้ แต่ทางที่ดีที่สุดคือการไม่ผ่าไฟแดง 5.รถในวงเวียน (รอ) ไปก่อน จริงๆ แล้วรถในวงเวียนไปก่อนหรือรอไปก่อน? บางที่ก็ติดแหง็กอยู่ในวงเวียน นานมากกว่าจะมีรถนอกวงเวียนหยุดให้ไป หรือการที่ไม่มีใครยอมใคร รถข้างในก็จะไป ข้างนอก ก็จะไป 6.ไม่ชะลอรถให้ทางม้าลาย/ไม่ข้ามทางม้าลาย ต้องรอจนรถหมดหรือเว้นระยะห่างประมาณนึ่งจากทางม้าลายคนรอข้ามก็รอไป ทั้ง ที่จริงรถยนต์หรือ รถมอเตอร์ไซค์ควรจะหยุดให้คนข้ามไปก่อนฃละบางทีคนเดินนี่แหละไม่ยอมข้าม ทางม้าลาย 7.จอดรถในจุดห้ามจอด ขอบฟุธบาทที่ทาสีขาวแดง บริเวณใกล้ไฟแดง ทางโค้ง ทางม้าลายหรือแม้แต่ที่ จอดรถตามคณะต่างๆ รีบไปเรียนหาที่จอดรถไม่ได้ ที่จอดรถใกล้ๆคณะก็เต็ม ก็จอดตรงช่อง ทางเดินนี่แหละหรือการจอดรถบนทาง เท้าที่ทําให้คนต้องลงมาเดินบนถนนซะงั้นหรือการคิดว่า จอดแป๊ปเดียวคงไม่เป็นไร แต่ก็เป็นการทําให้ผู้ที่ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆต้องเสียเวลาและเดือดร้อนไป ด้วย 8.เวลาขับรถชอบเปิดไฟสูง ในซอยเล็กๆ หรือบนถนนใหญ่ หลายคนชอบเปิดไฟสูง ไม่รู้ทําไม ยิ่งรถคันที่ขับ ย้อนศรแถมยังเปิดไฟสูงอีกทําให้รถที่ขับสวนมองทางแทบไม่เห็นเพราะไฟที่จ้าเกินไปสร้างความรํา คาญเป็นอย่างมาก


9.ตอนฝนตก รถยนต์ รถจักรยานยนต์มักจะขับเร็ว ทําให้น้ำ�กระเด็นโดนรถคันอื่น ในช่วงเวลาที่ฝนตกทุกคนต่างเร่งรีบที่จะไปให้ถึงจุดหมายให้เร็วที่สุด โดยลืมนึกถึงผู้ อื่นที่ใช้ถนนร่วมกัน การขับรถเร็วตอนฝนตกไม่เพียงแต่จะทําให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายแล้วยังทําให้ ละอองน้ำ�จากล้อรถหรือน้ำ�ที่ท่วมขังอยู่กระเด็นใส่รถคันอื่นที่ขับสวนหรืออยู่บริเวณใกล้ๆนั้นคนขับ รถจักรยานยนต์ก็อาจจะเปียกกว่าเดิม หรือเกิดโรคต่างๆที่เกิดจากน้ำ�สกปรก 10.เมาแล้วขับ นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่รักในการเที่ยวกลางคืนในช่วงเวลา กลางคืนที่ถนน โล่งบวกกับฤทธิ์แอลกอฮอลล์ บางคนอาจขับรถเร็วกว่าปกติคิดว่าควบคุมการ ขับรถของตนเองได้ ยิ่งเกิดอุบัติเหตุจากการที่เสียหลักล้มเองหรือไปชนกับรถคันอื่นได้ง่ายฃําให้ เกิดการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้



ชีวิตดีดีที่ (ไม่) ลงตัว : การชํารุดทรุดโทรมของห้องน้ำ�ที่รอรับการแก้ไขที่ตึกศึกษาทั่วไป งบประมาณในการจัดการและดําเนินงานต่างๆ เกี่ยวกับสวัสดิการหรือสาธารณูปโภคภายใน มหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้น ส่วนหนึ่งได้รับจากการจ่ายค่าเทอมและค่าหน่วยกิตของนิสิตในแต่ละเทอม ของทุกภาคการศึกษา ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้มีการปรับเปลี่ยนการเก็บค่าเทอมและค่า หน่วยกิตเป็นแบบเหมาจ่าย แทนที่จะเก็บเป็นรายวิชาอย่างที่ผ่านมา โดยเริ่มต้นในปีการศึกษา 2562 การเก็บเงินค่าเทอมและค่าหน่วยกิตที่เป็นแบบเหมาจ่าย ทําให้ทางมหาวิทยาลัยได้รับเงินมาก ขึ้น จนสามารถนําเอาไปปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม ซ่อมแซม ตกแต่งมหาวิทยาลัยให้สวยและดูดี แต่ในทาง กลับกัน เมื่อบางที่เฟื่องฟูและสวยงามบางที่ก็ย่อมต้องถูกมองข้ามและปล่อยผ่านไปโดยไม่ได้รับความ สนใจ ถูกปัดทิ้งเหมือนไม่มีความสําคัญทั้งๆ ที่มันสําคัญ “มันก็เป็นแบบนี้ตลอดแหละเรียนมาจนป่านนี้แล้วก็ยังไม่เห็นมีใครมาจัดการ อะไรเลย อะไร ที่พังก็ยังพังเหมือนเดิม” คําพูดเชิงปลงตกนี้ถูกเอ่ยขึ้นมาอยู่บ่อยครั้ง มันเป็นความชินชาที่ ต้องมา เจอกับเหตุการณ์ซ้ำ�ๆ เดิมๆ เป็นคําพูดติดปากไปแล้วเมื่อได้ใช้สวัสดิการและสาธารณูปโภคของทาง มหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนําอีกหนึ่งแห่งทางภาคอีสาน ชีวิตดีดีที่ลงตัวของทุกคนเริ่มจากตรงไหนหรือเริ่มจากอะไร? บางคนอาจจะเริ่มที่ตัวเอง ก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเชื่อว่าการทําตัวเองให้ดี สิ่งดีดีก็จะตามมาเอง หรือจะเกิดจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราได้ใช้ประโยชน์จากมันทุกวัน อาจจะเป็นการรอรถประจําทางแล้วรถมาตรงตามตาราง โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลารอนาน การขึ้นลิฟต์โดยที่ไม่ค้างขณะพาเราขึ้นไปยังชั้นที่สูงกว่า การใช้ สวัสดิการและสาธารณูปโภคต่างๆ ได้สะดวกสบายอย่างที่ควรได้รับ สําหรับตัวเราสิ่งที่ทําให้ชีวิตลงตัว ที่สุดคือการใช้ห้องน้ำ�ในสถานศึกษาได้สะดวกสบาย ความรู้สึกเล็กๆ เหล่านี้เป็นตัวกําหนดวันของเรา เลยว่าจะมีความสุขหรืออมทุกข์ ในทุกวันที่ได้ไปใช้บริการห้องน้ำ�ของมหาวิทยาลัย ถ้าวันไหนโชคดีคน ไม่มีก็มีโอกาสเลือกห้องน้ำ�ว่าจะเข้าห้องน้ำ�ห้องไหนที่ดี ถ้าโชคร้ายหน่อยก็ไม่สามารถเลือกได้ว่าอยากเข้า ห้องน้ำ�ห้องไหน เพราะมีไม่กี่ห้องที่สามารถใช้ได้ มันค่อนข้างที่จะเสียความรู้สึกเพราะเงินที่จ่ายไปก็อยาก ให้นํามาปรับสาธารณูปโภคเหล่านี้ให้ดีขึ้น


“ม. สารคาม ชีวิตดีดีที่ลงตัว มันน่าขํานะคะ ที่ความหมายจริงๆ กลับสวนทางกับรูปประโยคที่ แสน จะดีเลิศ จะเอาอะไรไปลงตัวกันคะกับที่นี่ อยากเข้าห้องน้ำ�ก็มีแค่ 1-2 ที่ใช้ได้จาก 6-7 ห้อง เช่น การไปเรียนที่ตึกศึกษาทั่วไปกับนิสิตอีก 18 คณะ 2 วิทยาลัย ห้องน้ำ�บางห้องก็พัง บ้างก็กดชักโครก ไม่ได้ บ้างก็ลงกลอนประตูไม่ได้ บางห้องหนักเลยที่ฉีดตูดไม่มี ชีวิตดีดีที่ลงตัวมากๆ เลยค่ะ (หัวเราะ)” นิสิตหญิงคนหนึ่ง เล่าถึงประสบการณ์ที่พบเจอตั้งแต่ปีหนึ่งจนถึงปีสาม “ห้องน้ำ�ใครๆ ก็ใช้กันทั้งนั้นไม่เว้น แม้แต่อาจารย์หรือบุคลากรทั่วไปที่เข้ามาทําธุระภายในมหาวิทยาลัย มันเป็นสิ่งสําคัญมากนะถ้าเกิดบุคคล ภายนอกมาเห็นว่าห้องน้ำ�ไม่ได้คุณภาพแบบนี้เค้าจะคิดเห็นยังไง ส่วนเล็กๆ นี้อาจจะเป็นตัวการที่สามารถ เปลี่ยนแปลงหรือ กลายเรื่องใหญ่ก็ได้ใครจะรู้” ความเห็นอีกด้านที่มองอย่างกว้างไกลของนิสิตหญิงอีกคน ไม่เพียงแต่ห้องน้ำ�ของตึกสํานักศึกษาทั่วไปเท่านั้นที่เป็นปัญหา แต่ห้องน้ำ�ชํารุดที่กําลังรอการ ซ่อมแซมนั้นเป็นปัญหาที่กระจายอยู่ทั่วทุกคณะภายในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ โดยบางส่วนผุผังตามกาลเวลา หากแต่บางส่วนก็พบว่าเสียหายจากการกระทําของนิสิตเอง เช่น การเหยียบโถส้วม การที่เราอยากให้ทาง มหาวิทยาลัยซ่อมแซมหรือปรับปรุงแก้ไข ส่วนหนึ่งเราอาจจะต้องเริ่มต้นที่ตัวเราก่อนเป็นอันดับแรก การใช้ ของร่วมกับบุคคลอื่นจําเป็นต้องมีความเกรงใจแก่กัน ปฏิบัติโดยคํานึงถึงการอยู่ในสังคมกับคนหมู่มาก หากยังมีสวัสดิการและสาธารณูปโภคอีกหลายอย่างที่ยังไม่ได้รับแก้ไขหรือแก้ไขแล้วแต่ยังไม่ดี ขึ้น เช่น เว็บไซต์สําหรับการลงทะเบียนเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ได้รับการถกเถียงและก่นด่าจากนิสิตทุกภาค ของการศึกษา ต่อให้มีอีกกี่หน้าเพจเพื่อให้เข้าใช้แต่ทุกเพจก็ล่มไม่เป็นท่าตั้งแต่ต้นวินาทีที่เปิดใช้งาน หรือ เหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านไปเมื่อมานานนี้คือเหตุการณ์ที่นั่งเรียนไม่เพียงต่อนิสิตในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อความ มุ่งหมายเฉพาะด้านหรือวิชาอึ้ง 3 อย่างที่นิสิตชอบเรียกกันสั้นๆ โดยจะเปิดสอนเป็นคณะฯ แยกเป็นเซค เชคละ 15 ที่นั่งหรือ15 คน (อ้างอิงจากการลงเรียนตอนปี 2 เทอม 2) และไม่ได้เรียนรวมทุกคณะอย่าง อึ้ง 1 หรืออิ้ง 2 ทําให้นิสิตปีสามบางส่วนที่ลงไม่ได้ในตอนปี 2 เทอม 2 จะต้องลงเรียนในปี 3 เทอม 1 แต่ไม่สามารถลงเรียนได้เพราะทุกเชคเต็ม แต่ทางมหาวิทยาลัยก็ได้ทําการแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มที่นั่ง เรียนบาง เซคจาก 15 ที่นั่งเป็น 90 ที่นั่ง จนทําให้ปี 3 ที่ตกค้างสามารถลงทะเบียนเรียนในรายวิชานี้ได้


จะเห็นได้ว่าการมองข้ามสิ่งเล็กๆ นี้ไปก็ทําให้เกิดปัญหาขึ้นมาได้ การจํากัดที่นั่งโดย ที่ไม่ทําการ คํานวณหรือจํานวนนิสิตให้มีการแน่ชัด ทําให้เกิดเหตุการณ์อย่างที่กล่าวมาข้างต้น การมองข้ามสิ่งเล็กๆ นี้ เองจึงเป็นเหตุผลว่าทําไมห้องน้ำ�ที่ควรได้รับการแก้ไขจึงถูกมองข้าม และอีกหลายอย่างที่ทางมหาวิทยาลัย ยังคงเพิกเฉยและไม่คิดที่จะปรับปรุงแก้ไข ปล่อยปละละเลย แล้วให้มันกลืนหายไปพร้อมกับความเคยชิน เงินที่เสียไป (ไม่) ให้อะไรกับนิสิตบ้าง ตลาดน้อยที่ปรับปรุงใหม่คือตัวอย่างที่เห็น ชัดสุด ลักษณะ รูปร่างใหม่ที่ดูสวยงามนั้น ในความสวยงามก็ยังมีจุดด่างพร้อย มีความไม่ สมบูรณ์แบบปะปนและซุกซนอยู่ ที่เห็นได้ชัดคือเรื่องสั่งข้าว ผู้สั่งต้องยืนอยู่หน้าร้านเพราะไม่มีเลขโต๊ะกํากับของแต่ละ ร้านเพื่อให้ทางร้านมา เสิร์ฟ ทําให้เกิดปัญหาการขวางทางเดินหน้าร้าน ทางด้านร้านก็ต้อง ตะโกนเรียกลูกค้า มองดูแล้วรู้สึกว่าไม่เป็นระเบียบร้อยร้อยเท่าใด อีกทั้งภายในร้านก็มีพื้นที่คับ แคบ ทําให้การทําอาหารเป็นได้อย่างยากลําบาก ชีวิตดีดีที่(ไม่)ลงตัว เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ที่ถูกลืมเลือนและปล่อยผ่านให้หายไปกับความ ชินชา


ห้องสุขขา พาใจเศร้า… การใช้ห้องน้ำ�นับว่าเป็นสิ่งที่สำ�คัญมากต่อการดำ�เนินชีวิตประจำ�วันของเราในทุกๆวัน เพราะห้องน้ำ�เป็นเห้องที่ทุกคนใช้เพื่อปลดปล่อยความทุก ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยหนัก ปล่อยเบา หรือใช้ห้องน้ำ�เพื่อชำ�ละล้างสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย ที่ร่างกายสะสมเชื่อโรคมากมายจากการ ที่เราทำ�กิจกรรมต่างๆ มาทั้งวัน ดังนั้นทุกคนก็จะใช้ห้องน้ำ�เพื่อทำ�ความสะอาดร่างกาย สำ�หรับห้องน้ำ�ในความคิดของทุกคน แน่นอนว่าผู้คนส่วนใหญ่ก็ต้องคิดว่าห้องน้ำ�เป็น ห้องที่สะอาด ปราสจากเชื้อโรค มีอุปกรณ์ในห้องน้ำ� เพื่ออำ�นวยความสะดวกในการทำ�ธุระส่วน ตัวในห้องน้ำ� โดยถ้าเป็นห้องน้ำ�ที่บ้านของเราเอง แน่นอนว่าทุกคนก็คงยิ่งจะต้องรักษาความ สะอาดของห้องน้ำ�ในบ้านตัวเองให้สะอาดอยู่เสมอ อุปกรณ์ภายในห้องน้ำ�ก็ได้ประสิทธิภาพสะดวก ต่อการใช้งาน หรืออาจจะมีความแตกต่างตามกำ�ลังทรัพย์ของแต่ละครอบครัว แต่ถ้าหากเมื่อเราไม่ได้อยู่ที่บ้าน หรือเมื่อเราต้องออกมาข้างนอกมาทำ�ธุระ มา ทำ�งาน หรือกระทั้งออกมาเรียนหนังสือ แน่นอนว่า เมื่อเวลาที่เราทุกคนเกิดปวดท้องหรืออยาก ใช้ห้องน้ำ�ก็ต้องใช้ห้องน้ำ�สาธารณะ หรือตามที่หน่วยงานต่างๆได้จัดไว้ให้ แต่ว่า ห้องน้ำ�เหล่า นี้ทุกคนต้องเผื่อใจใว้แล้วว่า อาจจะไม่มีความสะอาด หรือ อุปกรณ์อำ�นวยความสะดวกภายใน ห้องน้ำ�อาจจะไม่มีความพร้อม ชำ�รุด ไม่ได้ประสิทธิภาพเหมือที่บ้านเรา โดยเฉพาะห้องน้ำ�ตามสถาศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน หรือแม่กระทั้งในระดับ มหาวิทยาลัย แน่นอนว่าห้องน้ำ�ในสะถานที่เหล่านี้ ส่วนใหญ่เท่าที่ทุกคนได้พบเจอมา อาจจะไม่ สะอาด ไม่น่าเข้า ในระดับโรงเรียนถ้ามองว่าส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บาง คนอาจจะยังไม่รู้จักการรักษาความสะอาด อาจจะยังไม่ได้ความสำ�คัญในส่วนนี้ แต่ในระดับ มหาวิทยาลัย เป็นวัยที่โตกว่าช่วงที่อยู่ในโรงเรียน กลายมาเป็นนิสิต ที่ต้องมีวุฒิภาวะ ความ รับผิดชอบมากขึ้นกว่าช่วงที่เป็นเด็กนักเรียน ยิ่งต้องรู้จักการรักษาความสะอาด มีความรับผิด ชอบต่อส่วนรวมในการใช้ห้องน้ำ�


กลิ่นเน่าเหม็นและถิ่นที่อยู่ เคยสังเกตกันไหมว่าทำ�ไม กลิ่นเหม็นๆแบบนี้มันถึงได้กลิ่นแถวร้านอาหารตลอด เลย? ไม่ว่าจะร้านอาหารหรือเขตชุมชนเรามักได้กลิ่นอันไม่พึงประสงอยู่เสมอๆ จนบางทีได้กลิ่น ชินไปเลยทีเดียว และเพราะความเคยชินเหล่านี้ทำ�ให้เรามองข้ามมันไป เมื่อได้กลิ่นก็ทำ�เพียงอดทน และรีบออกไปจากตรงนั้น โดยไม่ได้ตระนักว่าเราจะแก้ปัญหามลภาวะทางกลิ่นนี้อย่างไรดี และด้วยความคิดที่ว่าปัญหามันไม่ได้เกิดมาจากฉันหรือเปล่า? เลยทำ�ให้ทกคนละ เลยในจุดนี้ไปด้วย แต่ท่านรู้หรือไม่ว่าทุกที่ที่มีคนอาศัยอยู่ สิ่งที่ตามมาเสมอคือ “ขยะ” (สิ่งที่ ทิ้งไปเพราะไม่ใช้แล้ว, เศษสิ่งของที่ไม่ต้องการ, มูลฝอย) และในปีกาศึกษา 2562 นี้มีนิสิตเข้า ศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามถึง 9,800 กว่าคน รวมกับประชากรเดิมของมหาวิทยาลัย และคนในพื้นที่ถือว่าเป็นจำ�นวนที่เยอะมาก ไม่แปลกที่มองไปทางไหนก็เจอแต่กองขยะ ที่ล้นจนเก็บ กันแทบไม่ไหว เลยส่งกลิ่นไปทั่วทุกพื้นที่จนน่าปวดหัว และที่ที่ไม่ควรมีกลิ่นแบบนั้นกลับเป็นที่ที่มีส่งกลิ่นชวนอ้วกได้ดีที่สุด ยกตัวอย่างที่ ใกล้ตัวชาวมอที่สุดคือ “ตลาดน้อย” แค่เอ่ยชื่อก็เหมือนกลิ่นลอยมาตามลมเลยทีเดียว ข้อนี้เรา ควรตระหนักให้มากที่สุด เป็นพื้นที่ขายอาหารไม่ควรจะมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ หรือไม่? คำ�ถาม เหล่านี้เรามักจะได้ยินบ่อยๆ แต่ไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก เพราะเคยชินกันเสียหมด บ้างก็บอก ว่าแก้ยาก คำ�ถามคือได้ลงมือทำ�อย่างจริงจังแล้วหรือไม่ แต่ก่อนจะไปพูดถึงทางแก้ เราควรรู้ก่อนว่าสาเหตุของกินอันไม่พึงประสงค์นี้มี ต้นตอมาจากไหน กลิ่นที่เราได้รับในทุกๆวันคือกลิ่นของการหมักหมมบางสิ่งบางอย่างไว้นานเกิน ไป ทำ�ให้ส่งกลิ่นเหม็นเน่าไปทั่วทั้งบริเวณ บางสิ่งบางอย่างนั้นคือเศษอาหาร ขยะที่ไม่ได้คัดแยก ตั้งแต่แรก ทุกอย่างผสมปนกันไปหมด พอมารวมกันเยอะขึ้นการส่งกลิ่นเหม็นก็ขยายอาณาเขต มากขึ้น และเนื่องจากจำ�นวนขยะที่มากเกินไปทำ�ให้เทศบาลรับผิดชอบตรงนี้ไม่ไหว เพราะบ่อพัก ขยะเต็มจนไม่มีที่ให้ทิ้งแล้ว ระยะเวลาในการเก็บขยะจึงเพิ่มมากขึ้น


ร่วมไปถึงการเผาขยะที่เป็นมลภาวะทางตรงที่เห็นได้ชัดที่สุด นอกจากส่งกลิ่นเหม็น รบกวนคนในพื้นที่แล้วยังส่งผลต่อสภาพแวดล้อมอีกด้วย และเนื่องจากเป็นพื้นที่ชุมชน เป็นที่อยู่ อยู่อาศัย การปล่อยน้ำ�เสียย่อมต้องมีมากกว่าพื้นที่ทั่วไป สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ส่งกลิ่นทั้งนั้น อ่าน มาถึงตรงนี้บางคนอาจจะยังนึกโทษเทศบาลที่ไม่หาบ่อขยะใหม่ หรือเร่งจัดการขยะที่คั่งค้าง โดยไม่ ได้นึกเลยว่าต้นทางของขยะเหล่านั้นมาจากตัวเราเองทั้งนั้น อย่าเพิ่งไปพูดถึงถุงพลาสติกที่ได้จาก ร้านสะดวกซื้อเลย เพียงแค่เศษอาหารจากจารนข้าวของเราที่กินไม่หมดก็แทบล้นบ่อขยะแล้ว ถึง ตรงนี้ท่านจะตระหนักได้หรือยังว่าต้นตอของปัญหาที่แท้จริงคืออะไร วันนี้เราจะมาแนะแนวทางแก้ ปัญหานี้อย่างยั่งยืน แต่ไม่มีสิ่งไหนยั่งยืนหากไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำ�เสมอ เช่นเดียวกับข้อมูลที่ เรากำ�ลังจะเสนอนี้ ทุกคนคงเคยได้ยินคำ�ว่า “ก๊าซชีวภาพ” กันมาบ้างแล้ว เป็นก๊าซที่ได้จากการย่อย สลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจนโดยจุลินทรีย์ ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นในที่ลุ่ม ชื้นแฉะ ในที่ลึกลงไปใต้ผิวดิน ก้นทะเลสาป ในบ่อบำ�บัดน้ำ�เสีย ในกระเพาะของสัตว์เคี้ยวเอื้อง และ ในหลุมขยะฝังกลบ เป็นต้น พลังงานของก๊าซชีวภาพ 1 ลูกบาศก์เมตร เทียบเท่า กับ ก๊าซหุง ต้ม (LPG) 0.46 กิโลกรัมน้ำ�มันเบนซิน 0.67 ลิตร น้ำ�มันดีเซล 0.60 ลิตร หรือฟืนไม้ 1.50 กิโลกรัม () นี่ถือเป็นหนทางการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนและเรายังได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้นด้วย และเรา สามารถหาวิธีการแปรรูปจากเศษอาหารที่มีให้เป็นก๊าซชีวภาพได้มากมายหลายช่องทาง หรือขอคำ� แนะนำ�จากผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้ก็ได้ ซึ่งคงหาไม่ยากนักเพราะบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่ รู้เรื่องนี้ก็มีไม่ใช่น้อย หากลองนึกภาพ ตลาดน้อย เปลี่ยนจากแก๊สหุงต้ม มาเป็นการใช้ก๊าซชีวภาพ แทน นั่นถือเป็นอีกก้าวของการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว ซึ้งสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย อีกด้วย นอกจากก๊าซชีวภาพที่ได้จากการหมักเศษอาหารแล้ว อีกทางที่ช่วยลดขั้นตอนการกำ�จัด ขยะคือ “การคัดแยกขยะจากต้นทาง” คือเริ่มจากตัวเรา คัดแยกขยะอย่าทุกต้อง เชื่อว่าทุกคน ได้ยินคำ�นี้มาบ่อยพอสมควร เพราะช่วงหนึ่งได้มีการรณรงค์เรื่องนี้อย่างจริงจังมาแล้วและไม่ว่าจะ รัฐบาลไหนๆก็มีความพยายามที่จะทำ�ให้ประสบผลสำ�เร็จแต่ก็ยากเหลือเกิน


เพราะเป็นเองของจิตสำ�นึกของคน บังคับกันได้ง่ายๆ ที่ไหนกัน แต่ในปัจจุบัน เริ่มมีคนให้ความสนใจมากขึ้น เพราะจากสื่อต่างๆ ให้ความสนใจเรื่องธรรมชาติมากขึ้น นำ�เสนอ ข่าวของสัตว์ทะเลที่ตายเพราะกินทุกพลาสติก สัตว์บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ ปรากฏการณ์ธรรมที่ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การละลายของน้ำ�แข็งคั่วโลก และข่าวที่ทำ�ให้คนหันมาใส่ใจธรรมขาติมาก ขึ้นคงเป็น ไฟไหมป่าแอเมซอน ที่ถือเป็นปอดของโลกก็ว่าได้ เหตุนี้ คดว่าคนรุ่นใหม่คงใส่ใจสิ่ง รอบข้างมากขึ้น ตระหนักถึงต้นตอปัญหาที่แท้จริง ว่าการเปลี่ยนแปรงไปของธรรมชาติมันไม่ได้ มาจากธรรมชาติ แต่มาจากการกระทำ�ของมนุษย์เรา ที่ทำ�มาจนเคยตัว มีคนกล่าวไว้ว่ามนุษย์คือจุดสูงสุดของวัฏจักรแต่ความจริงแล้วเราก็เป็นเพียง แค่ส่วนหนึ่งของวัฏจักร ที่เป็นผู้กระทำ�และต้องรับผลของการกระทำ�นั้นให้ได้ ถ้าเรายังใช้ ทรัพยากรธรรมชาติโดยไม่ผ่านกระบวนการคิดหรือไตร่ตรอง ใช้แล้วทิ้งไม่นึกถึงผลที่จะตามมา ไม่พยายามรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีนี้ไว้ อีกไม่นานอาจจะเกิดการสูญพันธุ์เผามนุษย์ เหมือนกับ การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์เมื่อ 65 ล้านปีที่ผ่านมาก็เป็นได้


ศึกชิงห้องเรียน ลงทะเบียนเรียนมมส ความโหดหินของชีวิตนิสิตมหาวิทยาลัย ไม่เคยมีคำ�ว่าง่ายบัญญัติอยู่ในพจนานุกรม ไม่ว่าจะตั้งแต่การสอบเข้า การตื่นแปดโมงไปเรียน การเรียนให้เกรดยังคงอยู่ในเกณฑ์ โดย เฉพาะศัตรูตัวที่ร้ายที่สุด นั่นก็คือการลงทะเบียนเรียนอันเป็นที่รู้ดีกันว่านิสิตมมสกับการลง ทะเบียนเรียนเป็นของคู่กันมาอย่างยาวนาน ในทุกๆปีมีนิสิตจำ�นวนมากกว่า 30,000 คน ต้อง ประสบปัญหาในการลงทะเบียนเรียนมากมาย ต้องต่อสู้กับเว็บลงทะเบียนเรียนที่ล่มง่ายเสียยิ่งกว่า การลดน้ำ�หนัก ชวนหัวร้อนยาวไปตั้งแต่แปดโมงเช้าจนถึงเที่ยง บางคนยังต้องปวดหัวไปจน การสำ�รองที่นั่ง หรือยิ่งแล้วไปกว่านั้นก็คือร้อนรนจนนั่งไม่อยู่ไปจนถึงวันลงทะเบียนรอบสอง แต่พูดถึงเรื่องด้านลบอย่างเดียวคงจะฟังดูไม่เป็นการยุติธรรมสักเท่าไหร่ เมื่อยก มาเปรียบเทียบกันระหว่างข้อดีของการลงทะเบียนเรียนที่เปิดเสรี โดยให้นิสิตได้เป็นคนเลือกวัน เวลา วิชา รวมไปถึงการจัดตารางเรียนเอง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีอย่างมาก เพราะนิสิตจะได้ เป็นคนจัดเวลาทั้งหมดด้วยตนเอง สามารถเลือกได้ว่าอยากจะเรียนอะไร สนใจวิชาอะไรก็เลือก ลงเรียนเอาได้ตามใจ อยากเรียนเช้า สาย บ่าย เย็น หรือค่ำ� ก็จัดตารางเรียนเอาที่เหมาะ สมกับตนเองได้เลย ไม่เหมือนบางมหาวิทยาลัยอื่นที่เขามีตารางเรียนมาให้ ต้องทนเรียนวิชา ที่ตัวเองไม่ได้สนใจ หรือต้องเจอกับตารางเรียนที่ไม่เหมาะกับตนเอง ก็คงกลายเป็นว่าชีวิตนิสิต มหาวิทยาลัยนั้นมันไม่สนุกเอาเสียเลย และเมื่อนำ�มาเทียบกับข้อเสียของระบบลงทะเบียนเรียนของมมสที่นิสิตจะต้องพบเจอ คือ ความไม่เสถียร ไม่เพียงพอ และไม่ครอบคลุม ไม่ว่าจะเรื่องกลุ่มเรียนที่มีจำ�นวนน้อยเกินไป เว็บ ลงทะเบียนเรียนล่ม ตารางเรียนชนกัน และการล็อคที่นั่งในกลุ่มเรียน เมื่อนำ�มาเปรียบเทียบกัน แล้วก็คงต้องบอกเลยว่ามีความสูสีกันอย่างมาก เป็นมวยถูกคู่ที่น่าติดตามดูไปจนจบว่าในท้าย ที่สุดฝ่ายใดจะสามารถเอาชนะและครองใจนิสิตมมสไปได้มากกว่ากัน


การเรียนการสอนกับอุปกรณที่ยังไม่ดีพอ คุณว่าอุปกรณ์การเรียนสมัยใหม่อะไรสำ�คัญครัยในห้องเรียนหลากหลายเสียงเหลือเกิน ที่มองว่าไม่คอมพิวเตอร์ก็โปรเจคเตอร์นี้แหละใช่ครับนี้คือสิ่งจำ�เป็นหลักเลยในห้องเรียนซึ่งทำ�ไมผมต้อง ถามคนที่เรียนอยู่เพราะเขาเหล่านี้คือคนที่ได้สัมผัสและพบเจอปัญหาแบบเดียวกับผมในห้องเรียนครับ บางทีเรื่องพวกนี้ที่นักศึกษาเจอจนชินตาอาจมองว่าแล้วมันเกี่ยวและมีผลกระทบกับการเรียนการสอน ยังไงผมจะแจกแจงให้เห็นภาพกันเลยครับอันดับแรกเลยการเรียนในรูปแบบปัจจุบันนั้นคอมพิวเตอร์คือ สื่อนำ�ที่ท่านอาจารย์ใช้เป็นสื่อการสอนและให้ความรู้กับตัวนิสิตครับไม่นิสิตก็อาจารย์เองผมเชื่อเหลือเกิน ว่าต้องเคยเจอปัญหาคอมเปิดไม่ติดในคาบที่จะสอนเรียนเปิดติดแต่อยู่ๆก็ดับไปมันทำ�ให้ผู้เรียนและผู้สอน ต้องเสียเวลาตรงนี้ไปในการต้องมานั่งแก้ไขคอมพิวเตอร์ให้กลับมาใช้งานได้หากเราวัดอุปกรณ์พวกนี้ใน เชิงปริมาณจะพบเลยว่าโคตรเพียงพอเลยครับนิสิตจะมีความสุขใช้งานได้สบายกับสิ่งที่ได้รับ แต่ผมอยากให้มองในเชิงคุณภาพด้วยว่าในปัจจุบันโลกมันก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไป แล้วสิ่งเหล่านี้ก็ต้องเดินหน้าตามด้วยไม่ว่าจะทั้งคอมพิวเตอร์โปรเจคเตอร์และอื่นก็ควรพัฒนาปรับปรุง ให้ดีขึ้นต่อไปอีกอย่างหากคอมใช้ได้อินเตอร์เน็ตก็ดันมีปัญหาครับทุกคนที่ผมได้สอบถามเจอปัญหา เดียวกันอีกแล้วตัวอย่างคือหากอาจารย์ต้องการเปิดไฟล์ภาพหรือวีดีโอที่แนบมาใน Powerpoint ก็ ไม่สามารถเปิดได้เพราะอะไรเพราะอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยใช้งานไม่ได้ไงครับพอเปิดไม่ได้ก็ต้อง ข้ามในส่วนนี้ไปซึ่งจริงๆแล้วอินเตอร์เน็ตก็คืออุปกรณ์หลักนี้แหละครับในการใช้ค้นหาข้อมูลหรือใช้สำ�หรับ การสอนในห้องเรียนเลยก็ว่าได้พอใช้งานไม่ได้ตัวนิสิตก็เสียประโยชน์ไปเองในคาบนั้นแบบงงๆหรือแม้แต่ ปัญหาของโปรเจคเตอร์ที่เปิดไม่ติดหรือเปิดติดแต่สีที่ฉายขึ้นดูไม่รู้เรื่องเลยเก้าอี้นั่งเรียนพังชำ�รุดขาด ความมั่นคงผมอยากบอกเลยว่ามีเยอะมากๆและไมค์ของอาจารย์ดันเสียนี้ก็เป็นอีกปัญหาที่เกิดขึ้นผม เรียนที่ตึกสาธารณสุขนิสิตทุกคนมานั่งรอเรียนกันนานพอสมควรแต่ไม่สามารถเริ่มสอนได้ครับเพราะไมค์ ดันเกิดปัญหาเปิดไม่ติดต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ให้มาช่วยแก้ไขกันพักใหญ่เพราะห้องเรียนเป็นคลาสรวมห้อง ใหญ่เสียงท่านอาจารย์ไม่สามารถทำ�ให้นิสิตได้ยินได้ทั้งหมดนักศึกษานับร้อยชีวิตก็ต้องนั่งรอเพียงเพ ราะไม่ค์เปิดไม่คิดแต่เวลาในการสอนนั้นยังคงเท่าเดิมพออาจารย์สอนไม่ทันเพราะเอาเวลาที่ผ่านมาแล้วใน ชั่วโมงไปแก้ไขปัญหาไมค์เปิดไม่ติดคำ�ถามคือแล้วจะทำ�อย่างไรให้สามารถจบบทเรียนนี้ให้ทันได้คำ�ตอบคือ ไม่ยากเลยครับพูดคร่าวๆบีบเนื้อหาให้สั้นแล้วจบบทนั้นไปแบบงงๆ


หลากหลายครั้งครับที่อุปกรณ์เหล่านี้มีปัญหาและส่งผลให้การเรียนการสอนไม่เป็นไปตามที่ ตั้งไว้เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เรียบร้อยเพื่ออำ�นวยความสะดวกต่อตัวนิสิตหรืออาจารย์เอง สังเกตจากเทอมที่แล้วอุปกรณ์ที่ไม่พร้อมพอเปิดเทอมมาใหม่อุปกรณ์เหล่านั้นก็ยังคงเหมือนเดิมไม่ได้รับการ ปรับปรุงหรือแก้ไขแต่อย่างใดทั้งๆที่ค่าเทอมก็จ่ายครบถ้วนกระบวนความไม่เพียงแต่คณะมนุษยศาสตร์ครับ ที่เกิดปัญหาในเรื่องของอุปกรณ์การเรียนการสอนแต่คณะอื่นๆหรือแม้แต่ RN จุดรวมวิชาเลือกของคนทั้ง มหาวิทยาลัยก็เป็นเหมือนกันสิ่งที่เกิดขึ้นมันดูเป็นอะไรที่ปกติไปแล้วจนเป็นภาวะปล่อยเลยตามเลยจนเกิดความ สงสัยว่าใครต้องเข้ามาแก้ไขให้ดีขึ้นต้องเป็นนิสิตหรืออาจารย์ผู้สอนหรอครับจริง ๆ ปัญหาอุปกรณ์พวกนี้แก้ไขได้โดยการลงทุนของทางมหาวิทยาลัยแน่นอนว่าระบบมหาลัยก็ ต้องเอาเงินค่าเทอมไปจัดสรรปันส่วนให้ลงตัวกันทุกคณะทุกสาขาเป็นอะไรที่เข้าใจได้เลยในส่วนนี้แต่การลงทุน เพิ่มหักกำ�ไรอีกนิดให้ได้ของที่มันดีจริงๆผมว่าคงดีกว่าให้นิสิตหรืออาจารย์เสียเวลาในการแก้ปัญหาเองใน ห้องเรียนตรงส่วนนี้ไปเพราะการเรียนมหาวิทยาลัยของเด็กๆก็อยากได้สิ่งที่ดีที่สุดกลับมากันอยู่แล้วผมก็ เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกันที่อยากได้สิ่งที่ดีๆกลับมาเต็มประสิทธิภาพที่สุดในการมาเรียนมหาวิทยาลัยอาจารย์เอง ผมก็เชื่อว่าต้องการที่จะได้ใช้อุปกรณ์ดีๆในการปฏิบัติหน้าที่อบรมสั่งสอนนักศึกษาให้ได้ความรู้ความสามารถ จากตัวท่านไปได้มากที่สุดท้ายนี้จริงอยู่ที่อุปกรณ์ในการเรียนการสอนเป็นส่วนสำ�คัญในการเรียนการสอน ในปัจจุบันแต่หากสิ่งเหล่านั้นพร้อมแต่ใจกับตัวนิสิตเองไม่พร้อมจะเรียนมันก็ไม่ได้ทำ�ให้สิ่งของเหล่านั้นเกิด ประโยชน์สูงสุดหรอกครับทุกอย่างจริงๆแล้วก็ขึ้นอยู่กับตัวนิสิตเองด้วยว่ามีความตั้งใจเพียงใด


ชีวิตบนเส้นสลิง ชีวิตบนเส้นสลิง ในที่นี้คือการที่เราเอาชีวิตไปเสี่ยงบนลิฟต์ ลิฟต์ที่ว่านี้อยู่ อาคารราชนครินทร์หรือที่เรียกกันสั้นๆว่าตึกRN ซึ่งลิฟต์ที่ใช้ในปัจจุบันมีการใช้งานมาเกือบ 10 ปี มีการชำ�รุดบ่อย บ้างก็ค้าง เวลาใช้งานเสียงดึงสลิงก็ดังมากๆ หากเราเป็นนิสิตหรือ บุคลากรที่ต้องมาเรียนหรือมาทำ�การสอนที่ตึกแห่งนี้เราจะทราบกันดีว่า ณ ที่นี่เป็นอาคารเรียน รวมของนิสิตมมส. มีนิสิตมากมายมาเรียนและต้องใช้งานลิฟต์แต่ลิฟต์กลับมีปัญหาและเป็น ปัญหาเดิมๆที่ไม่ได้รับการแก้ไขสักที นางสาว นภาไลย์ ป้องเรือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานพัสดุสำ�นักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า “ มีนิสิตที่ใช้บริการลิฟต์ต่อวันประมาณ 20, 000 คน ซึ่งลิฟต์ตัวหนึ่งสามารถบันจุคนได้ประมาณ 15 คน วิ่งขึ้นลงเฉลี่ย 1,333 รอบต่อวัน เนื่องจากมีนิสิตมาใช้บริการมาก ลิฟต์ต้องรับน้ำ�หนักมาก เป็นการใช้งานที่หนักที่สุดในมหาวิยา ลัยเพราะเป็นอาคารเรียนรวม ปัญหาที่พบบ่อยคือลิฟต์ค้าง เพราะอะไหล่เก่ารวมถึงมีการขน ย้ายครุพันธ์ต่างๆ แล้วเกิดการกระแทกกับตัวลิฟท์ จึงทำ�ให้ลิฟต์เสื่อมโทรม ” เรามักจะเห็นภาพคนยืนต่อแถวใช้งานลิฟต์เป็นแถวยาว จนไม่อยากใช้ก็เดินขึ้น บันไดดีกว่า และไม่ใช่แค่เรา มีอาจารย์บางท่านที่อายุเยอะแล้วก็ต้องเดินขึ้นบันไดเพื่อไปสอนชั้น สูงๆ อย่างชั้น6 ชั้น7 ชั้น8 ส่วนนิสิตหากเลือกได้ นิสิตไม่อยากลงทะเบียนเรียนชั้นสูงๆ เพราะหวั่นเรื่องความปลอดภัยของลิฟต์ตลอดการใช้งาน เพราะลิฟต์เคยรูดจาก ชั้นบนลงมาซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากวันที่ลิฟต์เกิดอุบัติเหตุที่ คาดไม่ถึงและก่อให้เกิดการสูญเสีย จะสายเกินไปไหมที่จะมานั่งแก้ไขปัญหาทีหลัง ลิฟต์ที่ใช้ในปัจจุบันมีการค้างบ่อย ส่วนวิธีการแก้ไขและวิธีดูแลรักษาเบื้องต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้นิสิตหรือผู้ใช้งานจะแจ้งทางผู้รับผิดชอบ และได้มีการประสานผู้ประกอบ การให้เข้ามาตรวจสอบทันทีเมื่อเกิดการชำ�รุดของตัวลิฟต์ ซึ่งมีการจ้างเหมาในการบำ�รุงรักษา ลิฟต์ตลอดทั้งปีอยู่แล้ว เมื่อมีอะไหล่เสียหายเจ้าหน้าที่จะแจ้ง และจะทำ�การซื้อเปลี่ยนอะไหล่ให้ ลิฟต์สามารถใช้งานได้ ซึ่งค่อนข้างใช้เวลาในการจัดซื้อ จึงอาจเกิดความล่าช้า ในส่วนของการ บำ�รุงรักษาได้มีการทำ�สัญญาปีต่อปีและมีการตรวจเช็คสภาพลิฟต์ทุกเดือน


การใช้งานของลิฟต์เฉลี่ย1,333รอบต่อวัน โดยที่ลิฟต์ถูกใช้งานมาเป็นสิบ ปี เฉลี่ยการใช้งานเป็น4-5ล้านรอบแล้ว การแก้ไขปัญหาโดยการซ่อมแซมไปเรื่อยๆมันเป็นวิธีที่ ดีที่สุดแล้วจริงหรือ หากเทียบกับความปลอดภัยของชีวิตผู้ใช้งานเพราะคำ�ว่าอุบัติเหตุสามารถ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา


ชีวิตบนเส้นสลิง ชีวิตบนเส้นสลิง ในที่นี้คือการที่เราเอาชีวิตไปเสี่ยงบนลิฟต์ ลิฟต์ที่ว่านี้อยู่ อาคารราชนครินทร์หรือที่เรียกกันสั้นๆว่าตึกRN ซึ่งลิฟต์ที่ใช้ในปัจจุบันมีการใช้งานมาเกือบ 10 ปี มีการชำ�รุดบ่อย บ้างก็ค้าง เวลาใช้งานเสียงดึงสลิงก็ดังมากๆ หากเราเป็นนิสิตหรือ บุคลากรที่ต้องมาเรียนหรือมาทำ�การสอนที่ตึกแห่งนี้เราจะทราบกันดีว่า ณ ที่นี่เป็นอาคารเรียน รวมของนิสิตมมส. มีนิสิตมากมายมาเรียนและต้องใช้งานลิฟต์แต่ลิฟต์กลับมีปัญหาและเป็น ปัญหาเดิมๆที่ไม่ได้รับการแก้ไขสักที นางสาว นภาไลย์ ป้องเรือ เจ้าหน้าที่ฝ่ายงานพัสดุสำ�นักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้ให้ข้อมูลว่า “ มีนิสิตที่ใช้บริการลิฟต์ต่อวันประมาณ 20, 000 คน ซึ่งลิฟต์ตัวหนึ่งสามารถบันจุคนได้ประมาณ 15 คน วิ่งขึ้นลงเฉลี่ย 1,333 รอบต่อวัน เนื่องจากมีนิสิตมาใช้บริการมาก ลิฟต์ต้องรับน้ำ�หนักมาก เป็นการใช้งานที่หนักที่สุดในมหาวิยา ลัยเพราะเป็นอาคารเรียนรวม ปัญหาที่พบบ่อยคือลิฟต์ค้าง เพราะอะไหล่เก่ารวมถึงมีการขน ย้ายครุพันธ์ต่างๆ แล้วเกิดการกระแทกกับตัวลิฟท์ จึงทำ�ให้ลิฟต์เสื่อมโทรม ” เรามักจะเห็นภาพคนยืนต่อแถวใช้งานลิฟต์เป็นแถวยาว จนไม่อยากใช้ก็เดินขึ้น บันไดดีกว่า และไม่ใช่แค่เรา มีอาจารย์บางท่านที่อายุเยอะแล้วก็ต้องเดินขึ้นบันไดเพื่อไปสอนชั้น สูงๆ อย่างชั้น6 ชั้น7 ชั้น8 ส่วนนิสิตหากเลือกได้ นิสิตไม่อยากลงทะเบียนเรียนชั้นสูงๆ เพราะหวั่นเรื่องความปลอดภัยของลิฟต์ตลอดการใช้งาน เพราะลิฟต์เคยรูดจาก ชั้นบนลงมาซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากวันที่ลิฟต์เกิดอุบัติเหตุที่ คาดไม่ถึงและก่อให้เกิดการสูญเสีย จะสายเกินไปไหมที่จะมานั่งแก้ไขปัญหาทีหลัง ลิฟต์ที่ใช้ในปัจจุบันมีการค้างบ่อย ส่วนวิธีการแก้ไขและวิธีดูแลรักษาเบื้องต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้นิสิตหรือผู้ใช้งานจะแจ้งทางผู้รับผิดชอบ และได้มีการประสานผู้ประกอบ การให้เข้ามาตรวจสอบทันทีเมื่อเกิดการชำ�รุดของตัวลิฟต์ ซึ่งมีการจ้างเหมาในการบำ�รุงรักษา ลิฟต์ตลอดทั้งปีอยู่แล้ว เมื่อมีอะไหล่เสียหายเจ้าหน้าที่จะแจ้ง และจะทำ�การซื้อเปลี่ยนอะไหล่ให้ ลิฟต์สามารถใช้งานได้ ซึ่งค่อนข้างใช้เวลาในการจัดซื้อ จึงอาจเกิดความล่าช้า ในส่วนของการ บำ�รุงรักษาได้มีการทำ�สัญญาปีต่อปีและมีการตรวจเช็คสภาพลิฟต์ทุกเดือน


การใช้งานของลิฟต์เฉลี่ย1,333รอบต่อวัน โดยที่ลิฟต์ถูกใช้งานมาเป็นสิบ ปี เฉลี่ยการใช้งานเป็น4-5ล้านรอบแล้ว การแก้ไขปัญหาโดยการซ่อมแซมไปเรื่อยๆมันเป็นวิธีที่ ดีที่สุดแล้วจริงหรือ หากเทียบกับความปลอดภัยของชีวิตผู้ใช้งานเพราะคำ�ว่าอุบัติเหตุสามารถ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา



ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะ ปัญหาของขยะที่เกิดมากขึ้นในปัจจุบันนี้ เกิดจากการถูกกำ�จัดด้วยกระบวนการที่ไม่ถูก ต้อง จึงนำ�มาซึ่งปัญหาของสิ่งแวดล้อม จากพื้นที่เล็กๆ สะสมไปรวมกันจนกลายเป็นปัญหา สิ่งแวดล้อมระดับโลกได้ ผลกระทบหนึ่งต่อสุขภาพ จากการไม่แยกขยะ และไม่มีการจัดพื้นที่เท กองขยะให้ถูกต้อง มีได้ตั้งแต่การรับสารเจือปน ตั้งแต่ที่เป็นเชื้อโรค อย่าง ไมโครพลาสติก (พลาสติกเล็กๆ ที่เกิดจากการย่อยสลายที่ไม่สมบรูณ์) และสารเคมีอันตรายอย่างสารตะกั่ว และ โลหะหนักในขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึมลงดินและย้อนกลับมาหาคนและสัตว์ในผัก อาหารทะเล เนื้อ สัตว์ รวมถึงน้ำ� และยังเป็นสาเหตุที่ทำ�ให้สัตว์ทะเล 5-10% พิการจากการกินพลาสติกเข้าไป และเสียชีวิตตามที่เป็นข่าวดังตลอดหลายปีที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ จนถึงปัจจุบัน โดยในระเทศไทย เป็นประเทศที่มีขยะในทะเลมากที่สุด เป็นอันดับ 6 โดยมีขยะในทะเลกว่า 11.47ล้านตัน ซึ่ง 80% มาจากขยะบนบก และข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งพบว่า ขยะที่พบในทะเลกว่าครึ่ง เป็นพลาสติก ปัญหาสิ่งแวดล้อมเนื่องจากขยะ ทุกวันนี้คนไทยกว่า 60 ล้านคน สามารถสร้าง ขยะได้มากถึง 14 ล้านตันต่อปี แต่ความสามารถ ในการจัดเก็บขยะกลับมีไม่ถึง 70 % ของ ขยะที่เกิดขึ้น จึงทำ�ให้เกิดปริมาณมูลฝอยตกค้าง ตามสถานที่ต่าง ๆ หรือมีการนำ�ไปกำ�จัดโดย วิธีกองบนพื้นซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม คือ อากาศเสีย เกิด จากการเผามูลฝอยกลางแจ้งทำ�ให้เกิดควันและสารมลพิษทางอากาศ น้ำ�เสีย เกิดจากการก องมูลฝอยที่ตกค้างบนพื้นเมื่อฝนตกจะเกิดน้ำ�เสียซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำ�ทำ�ให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ� แหล่งพาหะนำ�โรค จากมูลฝอยตกค้างบนพื้นจะเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของหนูและแมลงวัน ซึ่งเป็น พาหะนำ�โรคติดต่อทำ�ให้มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เหตุรำ�คาญและความไม่น่า ดู จากการเก็บขยะมูลฝอยไม่หมดทำ�ให้เกิดกลิ่นเหม็นรบกวนระยะเวลาที่ขยะแต่ละชนิดย่อยสลาย ตามธรรมชาติชนิดของขยะ ตัวอย่างเช่นดังนี้ เศษกระดาษใช้เวลาในการย่อยสลายภายใน 2-5 เดือน ,เปลือกส้ม 6 เดือน,ถ้วยกระดาษเคลือบ 5 ปี,ก้นกรองบุหรี่ 12 ปี,รองเท้าหนัง 2540 ปี,กระป๋องอะลูมีเนียม 80-100 ปี,ถุงพลาสติก 450 ปี,โฟม ไม่ย่อยสลายควรหลีกเลี่ยง การใช้


โดยต้นเหตุหลักๆ ของการก่อให้เกิดปัญหาขยะในปัจจุบันนั้น อาจจะเกิดจากการที่เราไม่ ได้รับความรู้ หรือความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของขยะเพียงพอ รู้อาจจะแค่ผิวเผิน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นวิธี การย่อยสลายของขยะแต่ละชนิด บางคนอาจจะยังไม่รู้ด้วยซ้ำ�ว่าขยะแต่ละประเภท ควรคัดแยกทิ้ง อย่างไร อยู่ในขยะประเภทที่สามมารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลได้หรือไม่ ขยะแบบไหนควรแยก ทิ้งเพราะสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้คน หรือสัตว์สิ่งมีชีวิตอื่น รวมไปถึงทำ�ให้ภาวะมลพิษต่างๆ กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งที่พวกเราควรทำ�ความรู้ ความเข้าใจอย่างแรกคือ ทัศนะคติที่มีต่อขยะ เพราะขยะบางชนิดสามารถนำ�กลับมาใช้ประโยชน์ได้ ขยะมีกี่ประเภทและแต่ละ ประเภทมีอะไรบ้าง มีระยะเวลาในการย่อยสลายอย่างไร ขยะประเภทไหน สามารถนำ�กลับมารีไซเคิลได้ ขยะประเภทไหนควรแยก หรือทำ�ลายทิ้ง ดังนั้นอย่างแรกที่เราต้องต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ประเภทของขยะก่อนดังนี้ ขยะเปียก หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ง่าย เช่น เศษอาหาร พืชผัก เปลือกผลไม้ เป็นต้น ขยะแห้ง หมายถึง ขยะที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ เศษผ้า ไม้ ยาง เป็นต้น ขยะอันตราย ได้แก่ สารเคมี วัตถุมีพิษ ซากถ่านไฟฉาย หลอดไฟ และขยะติดเชื้อจาก สถานพยาบาล การคัดแยกขยะแต่ละประเภท ลงในถังสีต่างๆสามารถแยกได้ดังนี้ ขยะย่อยสลาย หรือ มูลฝอยย่อยสลาย: ขยะที่เน่าเสีย และย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำ�หมัก ทำ� ปุ๋ยได้ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เป็นต้น สำ�หรับถังขยะที่จะรองรับขยะประเภทนี้ คือ “ถังสีเขียว” ขยะรีไซเคิล หรือ มูลฝอยที่ยังใช้ได้อยู่: ของเสียบรรจุภัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถนำ�กลับ มาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋อง เศษพลาสติก เศษโลหะ อลูมิเนียม ยางรถยนต์ กล่องนมแบบ UHT สำ�หรับถังขยะที่จะรองรับขยะประเภทนี้ คือ “ถังสีฟ้า” ขยะทั่วไป หรือ มูลฝอยทั่วไป: ขยะที่มีลักษณะที่ย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสำ�หรับการนำ�กลับมา ใช้ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่ง สำ�เร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนอาหาร โฟม ฟอยล์ห่ออาหาร สำ�หรับถังขยะที่จะรองรับขยะประเภทนี้ คือ “ถังสีเหลือง”


ขยะอันตราย หรือ มูลฝอยอันตราย: คือ มูลฝอยที่ปนเปื้อน หรือ อันตราย เช่น ไวไฟ, สามารถระเบิดได้, วัตถุมีพิษ, วัตถุกัดกร่อน, วัตถุที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่ กระป๋องสเปรย์สี ภาชนะที่บรรจุสารเคมี อันตราย สำ�หรับถังขยะที่จะรองรับขยะประเภทนี้ คือ “ถังสีแดง” การจัดการขยะของประเทศไทย โดยอาศัยหลัก 5 R ในปัจจุบัน Reduce การลดปริมาณขยะ โดยลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีบรรจุภัณฑ์สิ้นเปลือง Reuse การนำ� มาใช้ซ้ำ� เช่น ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์หน้าหลัง เป็นต้น Repair การซ่อมแซมแก้ไขสิ่งของต่างๆ ให้สามารถใช้งานต่อได้ Reject การหลีกเลี่ยงใช้สิ่งที่ก่อให้เกิดมลพิษ Recycle การแปรสภาพและหมุนเวียนนำ�กลับมาใช้ได้ใหม่ โดยนำ�ไปผ่านกระบวนการผลิตใหม่ อีกครั้ง ซึ่งนอกจากวิธีการดังกล่าวข้างต้นที่ได้กล่าวมาเกี่ยวกับวิธีการจัดการขยะในรูปแบบ ต่างๆ แล้ว ในย่อหน้านี้ผู้เขียนจึงอยากจะนำ�เสนอถึงวิธีการจัดการขยะของประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศสวีเดนมาเป็นรูปแบบในการนำ�มาพัฒนาและปรับใช้กับวิธีการกำ�จัดขยะ ของบ้านเราบ้าง ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าต่างก็เป็นวิธีการที่น่าสนใจ และเหมาะแก่การนำ�มาปรับใช้กับการจัดการ ขยะในบ้านของเราไม่น้อย เริ่มกันที่วีการกำ�จัดขยะของประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับยกย่องให้เป็นรูปแบบ โมเดลของบ้านเมืองที่ไร้ขยะ และประเทศญี่ปุ่นนั้นมีวิธีการกำ�จัดขยะแบบใด ทำ�ไมประเทศนี้จึง ประสบความสำ�เร็จเรื่องการจัดการคัดแยกขยะ 1.ให้ข้อมูลการแยกทิ้งขยะพร้อมข้อตกลงที่ชัดเจน ในญี่ปุ่นเขามีกฎการทิ้งขยะที่เคร่งครัดซึ่งถูกกำ�หนดไว้โดยแต่ละเขตเทศบาล มีการแจกข้อมูลการ แยกทิ้งขยะที่ชัดเจนในรูปแบบของโปสเตอร์ขนาดเล็กที่นำ�มาแปะติดทั่วไปทั้งตามบ้านเรือน แมนชั่น อพาร์ตเมนต์ บอร์ดข่าวสารประจำ�ชุมชน และที่จุดรวบรวมขยะอย่างชัดเจน


ขยะเผาได้ (Kanen gomi, moeru gomi) ได้แก่ เศษอาหาร เสื้อผ้าเก่า กิ่ง ไม้เล็ก ๆ กระดาษที่ไม่สามารถนำ�ไปรีไซเคิลได้ พลาสติก และโฟม เป็นต้น ขยะเผาได้นั้นจะมี กำ�หนดเก็บอาทิตย์ละ 2 วัน ผู้ทิ้งต้องรวบรวมขยะใส่ถุงพลาสติกให้เรียบร้อยและนำ�มาวางไว้ที่ จุดสำ�หรับทิ้งก่อนเวลา 8.00 น. ของวันเก็บขยะ ขยะเผาไม่ได้ (Funen gomi, moenai gomi) ได้แก่ ของใช้เล็ก ๆ ในบ้านที่ไม่สามารถ นำ�มาเผาได้ เช่น เครื่องแก้ว เครื่องเคลือบ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีขนาดไม่เกิน 30 เซนติเมตร ร่ม โลหะ หลอดไฟและไฟเช็ค เป็นต้น ขยะเผาไม่ได้นั้นจะมีกำ�หนดเก็บเดือนละ 2 ครั้ง และหากขยะที่ทิ้งเป็นของมีคม เช่น เข็มหรือแก้วและจานที่แตก ก็ควรจะห่อด้วยกระดาษ และเขียนบ่งบอกไว้เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อเจ้าหน้าที่เก็บขยะ ขยะรีไซเคิล ได้แก่ ขวดพลาสติก PET กระป๋องอะลูมิเนียม กระดาษ และหนังสือเก่าที่นำ�มา รีไซเคิลได้ โดยมีกำ�หนดเก็บอาทิตย์ละ 1 วันตามแต่กำ�หนดของท้องถิ่น การนำ�ขยะมาวางนั้น ต้องวางไว้ที่จุดสำ�หรับเก็บก่อนเวลา 8.00 น. ทั้งนี้ตามแมนชั่นหรือหน้าซุปเปอร์มาร์เก็ตจะวาง ภาชนะสำ�หรับใส่ขยะรีไซเคิลที่มีรูปหรือตัวอักษรการแยกขยะที่ชัดเจน ขยะขนาดใหญ่ โดยทั่วไปขยะที่มีขนาดใหญ่กว่า 30 เซนติเมตร เช่น เฟอร์นิเจอร์ ที่นอน และรถจักรยาน เป็นต้น ผู้ทิ้งต้องทำ�การนัดวันเวลากับศูนย์เก็บขยะและซื้อสติกเกอร์ค่าขยะจาก ร้านสะดวกซื้อทั่วไปเพื่อมาติดไว้ที่ขยะชิ้นใหญ่ก่อนนำ�มาวางไว้ที่จัดนัดเก็บ 2.มีการปลูกฝังการแยกขยะจากครอบครัวและโรงเรียน แบบอย่างที่ดีจากผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็ก การทิ้งขยะในญี่ปุ่นแม้มีความยุ่งยากจากการ ต้องแยกทิ้งขยะ เช่น การแยกฝาขวด PET และลอกพลาสติกที่ติดกับขวด PET ออกก่อน แยกทิ้ง การล้างกระป๋องเบียร์และเศษอาหารออกจากกระป๋องให้สะอาดก่อนแยกทิ้ง และการนำ� กล่องนมมาล้างให้สะอาดและตัดให้ได้รูปแบบที่ต้องการเพื่อการเก็บรวบรวมนำ�ไปรีไซเคิล เป็นต้น แต่ตัวอย่างการใส่ใจแยกของทิ้งจากผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ทำ�ให้คนรุ่นหลังต่างใส่ใจแยกทิ้งขยะ เด็กญี่ปุ่นถูกฝึกตั้งแต่เล็กว่าเมื่อไปนอกบ้านหากหาถังขยะไม่เจอก็ให้นำ�ขยะกลับมาแยกทิ้งที่บ้าน ทั้งนี้เมื่อเข้าสู่ระดับชั้นประถมศึกษาเด็กญี่ปุ่นทุกคนจะได้เรียนรู้ชนิดขยะ วิธีการแยกและจัดการขยะ ตลอดจนการฝึกฝนให้เด็กปฏิบัติที่บ้านตามบทเรียนอย่างจริงจัง


3.เจ้าหน้าที่เก็บขยะมีความจริงจังและใส่ใจในการเก็บขยะอย่างตรงเวลา หลังจากวางขยะตามเวลาที่กำ�หนด ในไม่ช้าเจ้าหน้าที่ที่มาพร้อมรถเก็บขยะก็จะมาเก็บขยะจนหมด ตลอดจนนำ�ถังขยะหรือตาข่ายที่วางปิดขยะมาพับเก็บวางไว้ให้อย่างดี หากในถุงมีขยะที่ไม่ตรง กับจำ�พวกที่นัดเก็บก็จะมีการเขียนข้อความติดแปะไว้ให้เจ้าของนำ�ไปแยกขยะและรอทิ้งคราวถัด ไป ในหนึ่งปีจะมีวันหยุดเก็บขยะเพียงช่วงประมาณตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคมถึงประมาณวันที่ 7 มกราคม ซึ่งก็จะมีกระดาษแจ้งบอกวันหยุดและวันเริ่มเก็บขยะที่ชัดเจนแปะติดไว้ที่จุดรวบรวมขยะ เพื่อให้ประชาชนทิ้งขยะได้ไม่ผิดพลาด 4.ถังขยะที่สะอาดและมีป้ายติดแยกชนิดขยะที่ชัดเจน ถังขยะตามสวนสาธารณะหรือตามสถานีรถไฟจะมีป้ายติดแยกบอกชนิดขยะที่ชัดเจน โดยเจ้า หน้าที่ดูแลถังขยะจะหมั่นนำ�ขยะไปรวบรวมเก็บไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ขยะล้นถังจนไม่สามารถทิ้งขยะ ได้ อีกทั้งเจ้าหน้าที่มักเช็ดล้างทำ�ความสะอาดถังขยะเพื่อไม่ให้ผู้ทิ้งรู้สึกว่าถังขยะสกปรกจนไม่กล้า นำ�ขยะไปทิ้งหรือมักง่ายทิ้งรวมกันไป 5.ทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับความสะอาด คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ถูกปลูกฝังให้รักความสะอาดจากการเติบโตในสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่สะอาด เนื่องจากทุกคนให้ความร่วมมือกัน เช่น ตอนเช้าเจ้าของบ้านเรือนมักจะออกมากวาดทำ�ความ สะอาดนอกบ้านและทางเท้า อาสาสมัครวัยต่างๆมักดูแลเก็บขยะพื้นที่สาธารณะสะอาดอย่าง สม่ำ�เสมอ เป็นต้น อีกทั้งทัศนคติการมองเจ้าหน้าที่เก็บขยะว่าเป็นอาชีพสำ�คัญและเสียสละที่หาก ไม่มีพวกเขาบ้านเมืองก็ไม่สะอาด เมื่อมีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับความสะอาดที่เกิดจากการจัดการขยะ และเจ้าหน้าที่เก็บขยะ ความตั้งใจในการแยกขยะก็ตามมา ความรักและใส่ใจสิ่งแวดล้อมทำ�ให้ชาว ญี่ปุ่นอยากทำ�สิ่งดีๆ เพื่อให้โลกอยู่คู่กับพวกเขาและลูกหลานไปอีกนานแสนนาน การแยกทิ้งขยะ เป็นหนึ่งทางที่ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาโลกร้อนได้ การแยกขยะอย่างจริงจังและ ต่อเนื่องนั้นทำ�ได้ไม่ยากหากคนในบ้านเมืองใดก็ตามใส่ใจและมีความตั้งใจจริง


และอีกประเทศที่น่าสนใจก็คือประเทศสวีเดน ซึ่งได้มีการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนกับประชาชนอย่างเป็นระบบ เมื่อผนวกกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างไม่ หยุดยั้งทำ�ให้สวีเดนกลายเป็นประเทศผู้นำ�ด้านการบริหารจัดการขยะและการผลิตพลังงานจากขยะ (Waste-to-Energy) ในระดับนานาชาติ ในขณะที่หลายประเทศยังไม่สามารถจัดการกับปริมาณขยะ ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน ปัจจุบัน สวีเดนมีขยะที่ต้องนำ�ไปกลบฝังเพียง 0.08 % ของ ปริมาณขยะทั้งหมดในประเทศและต้องนำ�เข้าขยะจากต่างประเทศเพื่อผลิตเป็นพลังงาน ความตื่นตัวด้านพลังงานและการรักษาสิ่งแวดล้อมของชาวสวีเดนเริ่มมาตั้งแต่ ปี 2483 แม้ว่าไทยจะตามหลังสวีเดนอยู่มาก สังคมไทยวันนี้ตื่นตัวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ลองมาดูปัจจัยที่ทำ�ให้สวีเดนประสบความสำ�เร็จกลายเป็นผู้นำ�ในการนำ�เทคโนโลยีการนำ�ขยะมาผลิตเป็น พลังงาน เผื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจทำ�ให้ประเทศไทยกำ�จัดและใช้ประโยชน์จาก ขยะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เมื่อเดือนต้น พ.ค.ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีเพิ่งจะเห็นชอบกับ แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ ระยะ 5 ปี (2559 - 2564) 1.สวีเดนตั้งเป้าชัดเจนที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ “ของเสียเหลือศูนย์” หรือ Zero Waste ภายในปี 2563 รัฐบาลสวีเดนมุ่งมั่นในการลดจำ�นวนขยะภายในประเทศตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ออก กฎหมาย ทั้งระเบียบข้อบังคับท้องถิ่นเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าว ทั้งการห้ามเผาขยะ การจำ�กัดการปล่อย สารเคมีที่เป็นอันตราย การกำ�หนดให้นำ�ขยะกลับมาใช้ใหม่แทนการฝังกลบ ใช้หลักการจัดการขยะ ตามลำ�ดับขั้น (Waste Hierarchy) กล่าวคือ ลดจำ�นวนขยะ (reduce) นำ�กลับไปใช้ใหม่ (reuse) รีไซเคิล (recycle) นำ�ไปผลิตเป็นพลังงานเมื่อไม่สามารถนำ�กลับไปใช้ใหม่ได้อีก (recover energy) 2. สวีเดนเน้นมีจิตสำ�นึกต่อส่วนรวม ชาวสวีเดนได้รับการปลูกฝังให้คัดแยกขยะออก เป็นประเภททำ�ให้ง่ายต่อการนำ�ขยะไปแปรรูป ด้วยเหตุนี้ ขยะที่มาจากครัวเรือนได้รับการนำ�กลับมา รีไซเคิลและกลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้โดยง่าย เมื่อแยกเอาขยะที่รีไซเคิลได้และของเสียที่ย่อยสลายไม่ได้ ออกไปแล้ว จะเหลือขยะส่วนที่นำ�ไปทำ�เป็นเชื้อเพลงได้หรือที่เรียกว่า Refuse Derived Fuel (RDF) โดยผ่านกระบวนการขึ้นกับเทคโนโลยีที่ใช้ เชื้อเพลิงที่ได้สามารถนำ�ไปใช้ผลิตไฟฟ้าหรือจำ�หน่ายก็ได้


3. สวีเดนสานพลังความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ความร่วมมืออย่างเป็นระบบ ระหว่างเทศบาลท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้มีบทบาทหลักในการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน บริษัทและหน่วยงาน อื่น ๆ ของภาครัฐต่างก็มีส่วนทำ�ให้สวีเดนประสบความสำ�เร็จในการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนดังเช่น ทุกวันนี้ ยกตัวอย่างสมาคมจัดการขยะ (Swedish Waste Management Association) ที่เรียก ว่า Avfall Sverige ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2490 ปัจจุบัน กลายเป็นสมาคมขนาดใหญ่ที่มีสมาชิกเป็นภาค รัฐและเอกชนกว่า 400 องค์กร มีภารกิจในการสนับสนุนการบริหารจัดการขยะ รวมถึงการสร้างความ ตระหนักรู้และเผยแพร่องค์ความรู้เรื่องการจัดการขยะทั่วสวีเดน ยกตัวอย่างบริษัท MalarEnergi ที่เป็นบริษัทของเทศบาลเมือง Vasteras ของสวีเดน มีภารกิจในการผลิตกระแสไฟฟ้า การจัดการระบบปรับอากาศร้อนและเย็น ส่งจ่ายและบำ�บัดน้ำ� รวมถึง อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สำ�หรับบ้านเรือน บริษัทฯ ใช้ขยะเป็นเชื้อเพลิงร่วมกับชีวมวล ปัจจุบัน จัดการ กับขยะโดยเฉลี่ยปีละ 480,000 ตัน โดยเมื่อแยกขยะที่รีไซเคิลได้อย่างโลหะ แก้ว หิน ออกไปแล้ว จึงนำ� ขยะไปตัดบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำ�เข้าเครื่องเผาด้วยแรงน้ำ�อุณหภูมิสูงจัด ควันที่เกิดจากการเผาไหม้ส่วน หนึ่งจะส่งไปตามท่อไปหมุนใบพัดของเครื่องผลิตไฟฟ้า อีกส่วนหนึ่งส่งไปใช้ในการให้ความอบอุ่นแก่บ้าน เรือน ขณะที่ควันเสียจากการเผาไหม้จะถูกส่งไปบำ�บัดต่อไป เรียกว่าได้ใช้ประโยชน์จากขยะได้คุ้มมาก 4.สวีเดนเน้นนำ�เทคโนโลยีเข้าช่วยจัดการ โดย Global Innovation Index จัดให้สวีเดน เป็นประเทศอันดับต้น ๆ ของโลกในด้านนวัตกรรม สวีเดนลงทุนกับการวิจัยในเทคโนโลยีการบริหาร จัดการขยะ ซึ่งรวมถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำ�และสนับสนุนการศึกษาวิจัยทั้งใน ระดับประเทศและนานาชาติในสาขาต่าง ๆ ของการบริหารจัดการขยะ ซึ่งเป็นเรื่องที่สวีเดนทำ�มาโดย ตลอด จนสวีเดนสามารถสร้างโรงงานผลิตพลังงานจากขยะโดยเทคโนโลยีขั้นสูง และลดปริมาณการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 2.2 ล้านตันต่อปี ดังเช่นปัจจุบัน มหาวิทยาลัย Malardalen ของสวีเดนมีโครงการ Future Energy Profile ได้รับเงินสนับสนุนรวมทั้งสิ้น 83 ล้านโครนาสวีเดน หรือประมาณ 1 ล้านยูโร โดยแบ่งมาจากกองทุนองค์ความรู้ของประเทศ 40% จากบริษัทอุตสาหกรรม 40% และจากมหาวิทยาลัย 20% มีกรอบเวลา 7 ปี เพื่อพัฒนาระบบพลังงานทดแทน โดยเฉพาะการ เพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนประเภทก๊าซชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงขยะชีวภาพ


ความสำ�เร็จในการบริหารจัดการขยะของสวีเดนไม่ใช่เพียงเพราะการมีเทคโนโลยีที่ ทันสมัยแต่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ในการแก้ปัญหาและ ร่วมกันบริหารจัดการกันอย่างเป็นระบบ ถือเป็นแบบอย่างที่ไทยควรเรียนรู้และนำ�มาปรับใช้ไม่แพ้ กับวิธีการกำ�จัดขยะของประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน สุดท้ายนี้บทความนี้เขียนขึ้นมาเพื่อที่จะต้องการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธี การคัดแยกขยะ และนำ�เสนอวิธีการจัดการกับขยะที่น่าสนใจของประเทศญี่ปุ่นและสวีเดน ให้กับ บุคคลทั่วไปหรือผู้ที่สนใจ เพื่อที่จะให้ผู้ที่ได้มาศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการคัดแยก ขยะมากขึ้น และเพื่อให้สามาถนำ�ไปปรับใช้ได้จริง และเพื่อให้ง่ายต่อการทำ�งานขององค์กร หรือ หน่วยงานต่างๆ ที่จะนำ�ขยะไปไปกระทำ�กระบวนการทิ้ง หรือคัดแยก นำ�กลับไปรีไซเคิลให้เกิด ประโยชน์สูงสุด และเพื่อเป็นการช่วยลดโลกร้อน


การทำ�อนาจารในพื้นที่สาธารณะ ปัจจุบันมีปัญหามากมายในสังคมอีกหนึ่งปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้คือปัญหาที่ ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียในเขตพื้นที่สาธารณะ การทำ�อานาจารต่อพื้นที่สาธารณะเพิ่มมากขึ้น ซึ่ง มีพฤติกรรมการทำ�อนาจารในที่โล่งแจ้ง คาดว่าน่าจะไม่ใช่แค่คนในพื้นที่ แต่จะเป็นคนเฉพาะกลุ่ม ที่ชอบในการแสดงออกทางเพศ หรือการกอด จูบ ในพื้นที่สาธารณะโดยเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ� ยัง ทำ�ให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสภาพแวดล้อมสังคม นับเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ยังไม่มีการแก้ไขหรือ ทางออกที่ชัดเจน ในเขตพื้นที่สาธารณะที่เป็นที่นิยมของคนจำ�นวนมากอีกหนึ่งแห่งที่เกิดเหตุการณ์ การทำ�อนาจารบ่อยครั้งและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สวนสุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มี เหตุการณ์การทำ�อนาจารเกิดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งยังไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานจากภาค รัฐเข้ามาตรวจสอบดูแล ข้อมูลจากการสอบถามเพิ่มเติม ทางหน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ไม่ ทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่มีการเข้าไปเพื่อทำ�อนาจารในพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่ภายในเขต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่มีการทำ�อนาจารต่าหน้าธารกำ�นัลกระทำ�ในลักษณะเปิดเผย ทำ�ให้ เกิดความเสียหายต่อสังคม และยังไม่เคยมีผู้เสียหายเข้ามาร้องทุกข์แจ้งความเอาผิดเกี่ยว กับเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ไม่เคยได้รับแจ้งข้อมูลเรื่องนี้ จึงไม่มีการตรวจสอบดูแลบริเวณนั้นอย่าง เคร่งครัด การทำ�อนาจารในที่สาธารณะต่อหน้าธารกำ�นัล การกระทำ�ในลักษณะเปิดเผยให้ผู้ อื่นสามารถเห็นการกระทำ�ของตนได้ หากจำ�เลยกระทำ�อนาจารต่อหน้าธารกำ�นัล ซึ่งเป็นความ ผิดอันไม่อาจยอมความได้นั้น แม้ไม่มีการร้องทุกข์ เจ้าพนักงานก็ดำ�เนินคดีแก่จำ�เลยได้ ตาม มาตรา 278 และ การกระทำ�อันควรขายหน้าแก่ธารกำ�นัล ตามประมวลผลกฎหมายอาญา มาตรา 388 บัญญัติว่า “ผู้ใดกระทำ�การอันควร ขายหน้าต่อธารกำ�นัล โดยเปิดเผยร่างกายหรือกระทำ�ลามกอย่างอื่น ต้องระวางโทษ ปรับไม่ เกิน 5,000 บาท”


การกระทำ�ความผิดตามมาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำ�นัล ไม่เป็น เหตุให้ผู้ถูกกระทำ�รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการกระทำ�แก่บุคคลดังระบุ ไว้ในมาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้ (มาตรา 281) แนวทางในการแก้ไขปัญหา เรื่องการทำ�อนาจารพื้นที่สาธารณะ ถ้าเหตุการณ์แบบนี้ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ อาจก่อให้เกิด อันตรายกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดการลวงไปทำ�อนาจารได้ ทางหน่วยงานภาครัฐต้องมีมาตรา การสร้างความปลอดภัยป้องกันการเกิดเหตุการณ์นี้เพิ่มขึ้น โดยการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทาง ตำ�รวจหรือเจ้าหน้าฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องหน้าสอดส่องดูแล และถามความเสียหายจากผู้ร้อง ทุกข์ว่าเกิดความเสียหายอย่างไรบ้าง เพราะเหตุการณ์นี้เกี่ยวข้องกับส่วนรวมทุกคนในสังคมและ ต่อสาธารณะ โดยการที่มาทำ�เรื่องที่ไม่เหมาะสม ซึ่งทุกคนควรที่จะมีจริยธรรมให้มากขึ้นด้วย โดยปรับทัศคติของตนเองในการนึกถึงสวนรวมและอยู่ร่วมกับผู้อื่นให้ได้ เพราะในมุมมองของ สังคมไทย การมีจริยธรรมสำ�คัญที่สุด.


อยู่หอใน ใครว่าแย่ เมื่อเราได้ย่างก้าวเข้ามาสู่ชีวิตมหาวิทยาลัย แน่นอนว่าการดำ�รงชีวิตของเราจะ เปลี่ยนไปจากที่แต่ก่อนเลิกเรียนแล้วก็กลับบ้าน แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นเรียนเสร็จแล้วต้องกลับ หอ จากที่เคยได้อยู่กับพ่อแม่ครอบครัว ต้องมาอยู่คนเดียว ฉะนั้นหอพักหรือที่อยู่อาศัยจึงเป็น สิ่งสำ�คัญในการใช่ชีวิตในรั่วมหาวิทยาลัย “แล้วเราจะอยู่หอไหนดี? แต่ไม่เอาหอในนะ”เป็นคำ�พูดที่เรามักจะได้ยินบ่อยในช่วง ปี1ที่เราพึ่งย้ายเข้ามา และต้องการจะหาหอที่อำ�นวยความสะดวกให้ตัวเองได้มากที่สุด “หอนี้ก็ ดี ห้องกว้างแต่มันแพง” “หอนั้นก็ถูก แต่มันไกลอะ” หลายคนต่างพยายามหาหอที่ดีและ พอกับกำ�ลังทรัพย์ของตัวเอง แม้จะต้องวิ่งไปเช็คราคาหอนั้นหอนี้ แต่กลับไม่มีใครสนใจหอใน เลยทั้งๆที่ค่าห้องก็ไม่แพงและยังอยู่ภายในมหาวิทยาลัยอีกด้วย ไม่ต้องเดินทางไกล และมีรถราง ค่อยอำ�นวยความสะดวกตลอดเวลา แต่คนส่วนใหญ่ก็เลือกที่จะไปอยู่ข้างนอกอยู่ดี และไม่สนกับ สวัสดิการที่มหาวิทยาลัยมีให้ เพียงเพราะคิดถึงแต่ด้านลบของการอยู่หอใน โดยไม่คิดถึงข้อดีที่ มีอยู่เลย “เธออยู่หอไหนอะ? อยู่หอในหรออยู่ได้ไง” เป็นคำ�ถามที่นิสิตที่อยู่หอในโดนถามเป็น ประจำ� และก็ต้องตอบคำ�ถามเดิมๆอธิบายข้อดีทั้งหมดออกไป โดยสุดท้ายแล้วทัศนะคติด้านลบใน เรื่องของหอในของเขาจะเปลี่ยนไปบ้างรึป่าวก็ไม่รู้ “ทำ�ไมถึงเลือกที่จะอยู่หอนอกหรอ เราว่าหอในน่าจะกฎระเบียบเยอะอะ เราน่าจะทนอยู่ ไม่ได้” “เราอยากอยู่คนเดียวมากกว่า ถ้าอยู่หอในก็ต้องอยู่กับรูมเมทที่เป็นใครมาจากไหนก็ ไม่รู้ เราไม่โอเคอะ” “เราอยู่กับแฟนอะ ถ้าอยู่หอในแฟนเราก็มาหาไม่ได้ เพราะหอในเข้าได้เฉพาะผู้หญิง” และนี่คือเหตุผลของนิสิตที่เลือกที่จะอยู่หอนอก เราได้รู้เหตุผลของนิสิตหอนอกกันมา มากแล้ว แล้วนิสิตหอในหละทำ�ไมถึงเลือกที่จะอยู่หอใน “อยากประหยัดค่าใช้จ่ายช่วยแม่ค่ะ อยู่หอในก็ไม่ได้ลำ�บากอะไร” “มันใกล้คณะดีอะค่ะ เพราะหอมันอยู่ในมหาวิทยาลัยเลย เดินทางไปเรียนรวดเร็วดี”


“ฝนตกน้ำ�มันก็ไม่ท่วมเหมือนข้างนอกอะค่ะ แล้วก็ใกล้ตลาดน้อยด้วย เดินไปซื้อ กับข้าวใกล้ดี” “ไม่อยากให้มันเถลไถล อยู่หอมันก็ปลอดภัยดี ใกล้กับคณะลูกสาวด้วย อีกอย่างค่า หอข้างนอกมันแพง พักอยู่หอในนี้แหละแม่ค่อยสบายใจ” เป็นการสัมภาษณ์ นิสิตหอใน และผู้ปกครองที่ให้บุตรหลานพักอาศัยในหอใน จึงทำ�ให้ ได้รู้เหตุผลและข้อดีคร่าวๆ ว่าเพราะอะไรจึงเลือกที่จะพักอาศัยภายในหอใน การพักอาศัยอยู่ในหอใน นอกจากคนทั่วไปจะคิดถึงด้านลบ แต่ด้านดีนั้นก็มีอยู่มาก ราย ไม่ว่าจะเป็นการการประหยัดค่าใช่จ่ายในเรื่องของการพักอาศัย ค่าน้ำ� ค่าไฟ ที่ถูกกว่า หอนอก การได้รู้จักเพื่อนใหม่ที่เป็นรูมเมทร่วมห้อง ได้รู้จักผู้คนมากขึ้น เพราะสังคมหอในอยู่กัน แบบครอบครัว มักจะพึงพาอาศัยกันเสมอ และภายในหอยังมีกิจกรรมให้ได้ร่วมสนุกกันอยู่ตลอด จึงทำ�ได้รู้จักเพื่อนพี่น้องต่างคณะเยอะแยะมากมาย หอพักก็อยู่ภายในมหาวิทยาลัยซึ่งใกล้กับตึก เรียน หากฝนตกก็สามารถไปเรียนได้โดยไม่เปียกโดยการนั่งรถราง หรือที่เรียกว่ารถไฟฟ้า ไป ยังตึกที่เราเรียน ใกล้กับตลาดน้อยไม่ต้องไปซื้อกับข้าวช้างนอก และที่สำ�คัญหอในจะไม่ได้สัมผัส คำ�ว่าพายเรือไปเรียนเพราะน้ำ�ไม่ท่วมภายในมอ และข้อดีของหอในยังมีอีกมากมายที่นิสิตส่วน ใหญ่ยังไม่รู้ แต่เมื่อรู้แล้วความคิดด้านลบๆของการอยู่หอในอาจจะหายไปทันทีเลยก็เป็นได้.


รับน้องมมส ไม่เข้า = ปัญหา การไม่เข้ารับน้องเท่ากับปัญหา ? ทำ�ไมจึงเป็นเช่นนั้น เริ่มด้วยค่านิยมทางสังคม ของใครหลายคนที่ต้องเข้านะกิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ดี แต่กับเด็กบางกลุ่มไม่ใช่สำ�หรับพวก เขา กิจกรรมรับน้องเป็นเพียงบทบาทและหน้าที่ของนักศึกษาที่เข้ามาใหม่ต้องเข้าร่วมกิจกรรม โดยกิจกรรมนี้มีมาอย่างยาวนาน กิจกรรมนี้ไม่เพียงเป็นทางของทางมหาวิทยาลัย ยังเป็นมีรับ น้องคณะ รับน้องสาขา เรามักเห็นข่าวเกี่ยวกับการรรับน้องอยู่หลายครั้งแต่หลายครั้ง และเมื่อ อ่านหรือแม้แต่ประสบการณ์การเข้ารับน้องเองนั้นก็ทำ�ให้ก่อปัญหา เมื่อไม่เข้ารับน้องปัญหาหลาย อย่างก็จะตามมา เป็นอย่างนี้มานาน “วนลูป” กลับไปในรูปแบบเดิม กิจกรรมนี้มีการกล่าวว่า เป็นกิจกรรมที่กระชับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน พี่ น้องต่างที่ทางกันมา มีทั้งกิจกรรมที่เป็นของทางมหาวิทยาลัย คณะ และสาขา แต่กิจกรรมนี้ กับบางคนก็ไม่ใช่สิ่งที่หาเพื่อนได้ หลายอย่างที่เกี่ยวกับการเข้าร่วมกันในสังคม อุปนิสัยของคนก็ แตกต่างกันไปเช่นกัน เด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมอาจจะพักอาศัยอยู่คนเดียว มีการเดินทางที่ไม่สะดวกสบาย บางคนไม่มีรถเป็นของตัวเองต้องนั่งโดยสารเพื่อเดินทางกลับที่พัก แต่สำ�หรับเด็กบางคนพักที่หอ ในอาจจะสะดวกต่อการเดินทางมากกว่าเด็กที่พักอยู่หอนอก เพราะใกล้กับสถานที่ทำ�กิจกรรม บางบ้านผู้ปกครองไม่เห็นด้วยกับการเข้าร่วมกิจกรรม หรือไม่เห็นมีความจำ�เป็นที่ จะต้องเข้ารับน้องร่วมกับทางมหาวิทยาลัย เพราะกิจกรรมไม่ใช่การบังคับที่ต้องเข้าร่วมและด้วย ความเป็นห่วงที่ผู้ปกครองมีต่อบุตร เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำ�แล้วต้องเลิกดึก ? ต้องคำ�นึงถึงความปลอดภัยของ ตัวนิสิตเอง ร่วมถึงกิจกรรมที่ให้ทำ� การเดินทางไปกลับหอพัก เมื่อเลิกกิจกรรม รถจะเยอะ เป็นพิเศษอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ เมื่อเลิกกิจกรรมอาจมีการจัดรถไปรับ-ส่งเด็กที่ไม่มียาพาหนะ เป็นการเพิ่มความปลอดภัยได้ “เป็นกิจกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อกระชับสัมพันธ์ทำ�ให้เด็กรู้จักกัน ?”


ใช่ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง แต่ที่ได้ยินอยู่หลายครั้งว่า การเข้าร่วมกิจกรรมนั้นเป็นการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเกิดคำ�ถาม อยู่หลายครั้งว่าทำ�ไม ต้องเป็นการเสียสละ เสียสละอย่างไรกับการเข้าร่วมกิจกรรมนี้ เพราะ กิจกรรมนี้ไม่ได้มีการบังคับเข้าร่วมมิใช่หรือ เมื่อไม่เข้าร่วมกลับมีการบังคับเข้า เพื่อนโดนลงโทษ นี่หรือคือการเสียสละ บาง พื้นที่บอกกิจกรรมนี้ไม่ใช่กิจกรรมบังคับของทางมหาวิทยาลัย แต่ทำ�ไมเมื่อไม่เข้าร่วมกลับโดน ข่มขู่หรือสิ่งที่เรียกว่าว้ากน้องใส่ เราสามารถล้มเลิกกับระบบนี้ได้จริง ๆ หากปรับเปลี่ยนแผน ในกิจกรรมรับน้อง ส่งเสริมให้มีการรับน้องสร้างสรรค์ ไร้ความรุนแรง และเลิกมองเรื่องนี้ เป็นการบังคับ หากใครอยากเข้าก็ให้ดูที่ความสมัครใจของคนผู้นั้น ไม่มีการข่มขู่หรือแม้อ้างถึง ความเสียสละ แบบเดิมที่เคยเป็นมา ทั้งนี้กับตัวเด็กเองบางคนมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม ทำ�กิจกรรมร่วมกับผู้อื่นไม่ ชอบเป็นที่จับตามองของผู้คนทำ�ให้รู้สึกอึดอัด หรือบางอย่างที่มาจากกิจกรรมที่พี่จัด มีการใช้ คำ�พูด และการกระทำ�ที่ไม่ดีทำ�ให้ไม่อยากเข้าร่วมในกิจกรรมนั้นเลย “พวกคุณจะเอาไหมรุ่น ... ถ้างั้นก็ไม่ต้องเข้ามันแล้วรุ่นอะ” แต่กับเด็กบางคนมองว่ามันก็เป็นกิจกรรมที่ดี ควรมีให้ทำ�ร่วมกับเพื่อน ๆ และพี่ๆ เพราะเป็นกิจกรรมที่ร้องเล่น เต้นสนุก ไม่ได้มีความรุนแรงหรือบังคับให้เข้าร่วม รับน้องไม่ได้แย่ กับตัวเด็กขนาดนั้น “ถึงแม้พี่จะดุ แต่พอจบกิจกรรมพี่เขาก็ขอโทษหากพูดไม่ดีหรือการกระทำ�ที่ไม่ดีออกไป” กิจกรรมรับน้องมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีของกิจกรรม คือ ทำ�ให้เราได้ทั้งเพื่อน และพี่ ได้รู้จักกับคนมากขึ้น ข้อเสีย คือ ในระหว่างการทำ�กิจกรรมเราอาจรู้สึกแย่กับการก ระทำ�ของเพื่อนหรือพี่บางคน หรือคนอื่น ๆ จนทำ�ให้ไม่ชอบในกิจกรรมที่กำ�ลังทำ�อยู่ การจัด กิจกรรมนี้ควรมีการเตรียมการปรับเวลาให้หมดสม สำ�หรับนิสิตที่ไม่มีรถกลับควรมีบริการจัดหา รถรับ-ส่งเพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของนิสิตที่ร่วมกิจกรรม และกิจกรรมนี้ควรขึ้นอยู่ กับความสมัครใจของเด็กเอง ไม่ควรมีการบังคับให้เข้าร่วมหรือใด ๆ ก็ตาม


ปัญหาอะไรจะตามมาเมื่อคุณ ONSorFWB คุณผู้อ่านเชื่อหรือเปล่าครับ? ว่าโลกมันหมุนไปไกลกว่าที่คุณคิด ในหลายๆ ด้าน ทั้งนี้ผมจะยก เรื่องๆ ที่เป็นที่ถูกพูดถึงกันมาอย่างยาวนาน ทั้งในด้านวัฒนธรรม ทั้งในด้านความดีความงาม หรือ อื่นๆ ก็ตามแต่คุณผู้อ่านจะคิดออกมาได้ นั่นคือ ONS(One Night Stand) & FWB(Friend With Benefit) สองคำ�นี้อาจจะดูเหมือนคล้ายกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงครับ เริ่มกันที่ “ONS” มันคือการ มีคู่นอนแบบข้ามคืนครับ และ ก็ไม่รู้จักกัน หรือ รู้จักกันน้อย แบบน้อยมากจริงๆ และทั้งคู่ปรงใจมา ONS กันนั่นเอง มาต่อที่ “FWB” มันต่างกับ ONS ตรงที่ ความสัมพันธ์แบบนี้จะไม่ค่อยมั่นคง แต่ยืนยาวครับ เพราะ ทั้งคู่จะรู้จักกันและเข้าใจกัน มาเป็นคู่ขาเพื่อ ระบายความใคร่ เพียงเท่านั้นครับ ไม่มีสิทธ์ในการหึง หรือ หวงใดๆ หากอีกฝ่ายไปมีคนอื่น ก็มิอาจ ห้ามปรามได้ครับ พูดง่ายๆ คือ แค่คู่นอน เพียงเท่านั้น.. ONSorFWB ทำ�ไม? ถึงนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน.. ต้องยอมรับกันครับว่า เด็กรุ่นใหม่ Gen Z เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี ที่ยกระดับมามาก รวมไปถึงการเปิดทางความคิด ให้เป็นอิสระมากขึ้น ส่งผลให้เด็กรุ่นใหม่นั้น พร้อมที่จะปลดปล่อยตัว เองออกมาจากจุด Safe Zone ของตัวเองครับ และ พร้อมที่จะลองอะไรใหม่ๆ มากขึ้น รวมไปถึง ความสัมพันธ์แบบข้ามคืนเช่นกัน.. อ้างอิงจาก งานวิจัย “การศึกษาพฤติกรรมทางเพศ และการเห็น คุณค่าในตนเอง ที่มีความสัมพันธ์แบบข้ามคืน” จาก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวไว้ว่า “จาก แบบสำ�รวจ คนส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ความสัมพันธ์แบบนี้ไม่จำ�เป็นต้องกลับไปพบคนเดิมหรือพบก็แล้ว แต่เรา ที่ทำ�ไปเพราะ ชอบ สนุก รู้สึกดี และได้ปลดปล่อย” นี่แหละครับเหตุผลหลักๆ ที่ ONS หรือ FWB นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ONSorFWB เกิดขึ้นที่ไหน และ มีความเป็นมายังไง? ในส่วนของเรื่องนี้ ผมได้พยายามหาข้อมูลมาพอสมควรครับ แต่ก็ตอบไม่ได้แน่ชัดว่า จุดเริ่มต้นนั้น มันมาจากที่ไหน แต่ว่ายืนยันได้อย่างหนึ่งครับ ว่า ONS,FWB นั้น ต่างจากความ สัมพันธ์แบบ ขายตัว หรือ ซื้อกิน แน่นอนครับเพราะไม่มีการใช้เงินเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เกี่ยวข้อง ในด้านของจิตใจเสียมากกว่า FWB,ONS จะรู้สึกต่อกันไม่ได้ เพราะทั้งคู่ มาเพื่อปลดปล่อยในเรื่อง เดียวกันเพียงแค่นั้นครับ หากฝ่ายใดรู้สึก ฝ่ายนั้นจะเสียมากที่สุดครับ


ONSorFWB หากไม่ป้องกันอะไรจะตามมา? นี่เป็นสิ่งที่ควรพูดถึงอย่างมากครับ กับ โลกในปัจจุบันที่กระแสความนิยม FWB,ONS ที่มากขึ้น ไม่ว่าจะติดเทรนด์ Hastag ในทวิตเตอร์ หรือแม้แต่การเข้าไปชวนตรงๆ ตามสถานต่างๆ มันมักจะมีผลเสียตามมาอยู่แล้วครับ ไม่ว่าจะเรื่องของ โรคภัยที่ตามมา เช่น HIV ที่จะนำ�ไปสู่โรคอื่นต่อไป หรือ ความเป็นส่วนตัว หากตกลงONS,FWBกับใคร ซึ่งเราไม่มี ทางรับรู้ได้เลยครับว่า คนๆ นั้นจะSafe ความเป็นส่วนตัวของเราไหม คลิปที่ถ่ายไปจะถูกไปเผย แพร่ต่อไหม? หรือแม้แต่ ทางครอบครัวและสังคม หากรับรู้ จะยอมรับเราไหม? คุณลองคิด ตามสิครับ ดังนั้น ควรคิดให้ดี ก่อนจะเริ่มความสัมพันธ์เช่นนี้.. ONSorFWB แบบไหน Safe Yourself ที่สุด! ก่อนที่จะเริ่มความสัมพันธ์แบบนี้ ให้คิดไตร่ตรองตัวเองก่อนนะ ว่า ถ้าเริ่มแล้วมัน จะกลับมาจุดเดิมไม่ได้อีกแล้ว มันจะไปเรื่อยๆ จะสิ้นสุดพรุ่งนี้ วันต่อไป หรือ เดือนต่อไป ไม่ อาจมีใครรู้ได้เลยหากตัดสินใจดีแล้ว ก็ควรป้องกันตัวเองทุกครั้งโดยการใช้ ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรค.. ไม่ถ่ายคลิปหรือภาพ ขณะ ทำ�กิจกรรมบนเตียง และดีที่สุดควรหักดิบใจตัว เอง ว่า เรามาเพื่อความสุขและไม่ผูกพันธ์ เช่นเดียวกับคำ�ว่า “รักสนุก แต่ ไม่ผูกพันธ์”


Who understand me? คำ�ที่ไม่ได้ยั้งคิดของใครต่อใคร อาจะเป็นชนวนให้ใครอีกคนต้องจมไปกับความทุกข์ก็ เป็นได้ โดยเฉพาะภายในรั้วมหาวิทยาลัย อิสรภาพภายในกรอบที่ใครหลายคนหลงมัวเมา สังคม ขนาดใหญ่ที่ระดับมัธยมก็เทียบไม่ติดโดยมีส่วนประกอบคือ สี “ขาว” สี “เทา” และ สี “ดำ�” โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่เชื่อได้เลยว่าใครหลายๆคนต้องเคยได้ยิน ได้รู้จัก หรืออาจจะ เคยได้สัมผัสมากับตัว โดยเฉพาะภายในสังคมออนไลน์ที่มีการกระจายทั้งข้อมูล ข้อเสีย ข้อเท็จ อย่างมากมาย แต่ใครเล่าจะรู้ว่าความหมายของคำ�ว่า โรคซึมเศร้า จริงๆแล้วมันมีความหมาย ว่าอะไรกันแน่? ความหมายของแพทย์ที่ให้ความด้วยคำ�ศัพท์ยากๆ หรือ ความหมายที่บุคคล ทั่วไปทำ�ความเข้าใจออกมาใกล้เคียงกับคำ�ว่า ‘เป็นบ้า’? “ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า โรคซึมเศร้า เป็นความผิดปกติของสมอง ที่มีผลกระทบต่อ ความนึกคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรมและสุขภาพกาย แต่คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าโรคซึม เศร้า เป็นผลมาจากความผิดปกติของจิตใจ สามารถแก้ไขให้หายได้ด้วยตนเอง ในความจริง แล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน ซึ่งเป็นสารควบคุมอารมณ์ภายในสมอง” จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้บอกกับผู้เขียนเกี่ยวกับความหมายในเชิงของแพทย์ รวมถึงได้ บอกเกี่ยวกับความเข้าใจของบุคคลทั่วไปด้วยว่า โรคนี้ไม่ใช่จิตใจที่ผิดปกติขึ้นมาแล้วจะหายได้เอง ตามธรรมชาติหรือการเข้าวัด ทำ�บุญ ทำ�กุศล แต่เป็นอาการของสมองที่กำ�ลังผิดปกติ “บางคนที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า จะไม่อยากเข้าพบจิตแพทย์มากนัก โดยมีทั้ง เหตุผลของภายในครอบครัว สถานะ ความเป็นอยู่ มากจนไปถึงความคิดของตนเองที่ไม่อยาก ให้คนแปลกหน้าอย่างเราเข้าไปยุ่งเกี่ยว” จิตแพทย์เล่าถึงการเข้าพบที่มีหลายเคส หลายคนกลัว ต่อคำ�ว่า ‘จิตแพทย์’ “เมื่อร่างกายของเราอ่อนแอ จิตใจเราก็จะอ่อนแอไปด้วย”


เมื่อรู้ความหมายของโรคซึมเศร้าในเชิงของทางการแพทย์แล้ว ผู้เขียนจึงได้ ไปลองสัมภาษณ์กับคนทั่วไปอย่างเราๆกันบ้างค่ะ “คล้ายกับประสาท”ชายหนุ่มสูงวัยท่านหนึ่งได้เอ่ยออกมาขณะที่ผู้เขียนขอสัมภาษณ์ “เหมือนโรคประสาท บ้าๆบอๆ ไม่รู้จักทำ�ให้ตัวเองมีความสุข เออ! คงเหมือนคนบ้ามั้ง”เขาเอ่ย ออกมาเหมือนกับเรื่องนี้เป็นเรื่องไร้สาระเรื่องหนึ่ง “คนเราพอไม่มีความสุข หรือทำ�อะไรแล้วไม่มีความสุข ก็ใช้คำ�ว่าโรคซึมเศร้ามาบังหน้า การกระทำ�นั้นๆ”นิสิตชายคนหนึ่งได้บอกเช่นนั้นผ่านการสัมภาษณ์ “เราคิดว่าหมายถึง คนที่มีอาการซึมๆ ไม่อยากทำ�อะไร หมดกำ�ลังใจ หรือไม่ก็เจอ ปัญหาอะไรบางอย่างที่วุ่นวาย ยุ่งยาก หาทางแก้ไขไม่ได้จนจมกับความคิดของตัวเองแล้วไม่มี ใครช่วยได้มั้งนะคะ”นิสิตสาวคนหนึ่งให้คำ�ตอบเกี่ยวกับความหมายของโรคซึมเศร้าตามฉบับตัว เองมา จะเห็นได้ชัดเลยว่า ความหมายของโรคๆนี้ มีหลายแง่มุม ทั้งดี ทั้งร้าย ทั้งรุนแรง รวมถึงไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนัก ราวกับเป็นเพียงเรื่องห่างเหินที่พบเห็นได้ทั่วๆไปภายในสังคมของ มหาวิทยาลัยแห่งนี้ก็เช่นกัน “กลัวค่ะ”เด็กสาวผู้เป็นโรคซึมเศร้าที่ให้คำ�สัมภาษณ์เอ่ยออกมาด้วยน้ำ�เสียงแผ่วเบา ราวกับจะหายไปได้ง่ายๆ ตลอดทั้งการสัมภาษณ์จะเห็นได้ชัดเลยว่านอกจากจะมีท่าทางที่ซึมเศร้า ไม่ร่าเริง ดวงตาไม่แววใสยังมีบางครั้งที่มือสั่นราวกับวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลาเมื่อนึกถึงอะไร บางอย่างที่ไม่ดี “เรากลัวว่าการเข้าพบจิตแพทย์จะไม่ช่วยอะไรเราค่ะ เพราะขนาดเรายังทำ�อะไรไม่ได้ คนที่เขาไม่รู้จักตัวเรา(จิตแพทย์)จะช่วยอะไรได้งั้นหรอคะ” เด็กสาวเอ่ยอย่างเศร้าๆเมื่อนึกถึงการพบเจอกับจิตแพทย์ครั้งแรกๆก่อนที่เธอจะ เล่าอีกครั้ง “แต่ว่าพอเราได้เข้าไปหา เข้าไปพบจริงๆมันช่วยอะไรไม่ได้หรอกค่ะ แต่ว่าก็ได้ยามา บรรเทาอาการ ทางแพทย์บอกว่ามันเกี่ยวกับสมองของเราที่ทำ�งานผิดปกติ” “แต่ว่าในความคิดของเรา เราจิตใจผิดปกติมากกว่า”


ปัญหาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้านั้นไม่เพียงแต่ทำ�ให้ผู้ที่เป็นโรคประสบเจอกับปัญหา แต่ยังรวมไปถึง คนรอบข้าง คนรอบตัว ครอบครัว ญาติมิตร เพื่อนที่เจอกับผลกระทบเช่นกัน การกระทำ� การพูด จำ� ต้องคิดในถี่ถ้วนก่อนจะเอ่ยออกมาทุกครั้งเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย “อาจจะ...เป็นเพราะเราก็ได้”คุณแม่ของผู้ป่วยท่านหนึ่งได้ตอบออกมาเบาๆ “เราดูแลแกไม่ดี เหมือนเราไม่ได้รู้จักลูกของตัวเองเลย” แต่ถ้าหากลองมองในมุมของผู้ป่วยบ้าง ความคิดเห็นต่อสังคมในปัจจุบัน ความคิดเห็นต่อครอบ ครัวหลายๆครอบครัว มิตรสหาย เพื่อนข้างๆ “บางครั้งตอนเราเป็นหนักๆ เราก็มีความคิดนะคะว่าจะอยู่ไปทำ�ไม ไม่มีเราสักคนโลกคงไม่ได้น้ำ�ท่วม แค่ 1 ในหมื่นๆล้านคนที่หายไป คงไม่มีอะไรเกิดขึ้นกับโลก กับใครสักคน”น้ำ�เสียงที่สั่นแผ่วเล็กน้อยแสดงถึง ความเป็นจริงที่ต้องยอมรับของผู้ป่วยที่ให้สัมภาษณ์ “แต่ว่า..ในเมื่อเราต้องอยู่ต่อ คงได้แต่ยอมรับกับโรคที่เราเป็นค่ะ ตัวเรารับมือกับโรคได้อยู่แล้ว เพียงแต่ ‘ขอร้อง’ อย่าตอกย้ำ�อะไรที่มันเคยผิดพลาดของเรามาแล้ว ช่วย..เข้าใจในตัวของเราขึ้นมาแม้ เพียงน้อยนิดก็ยังดีค่ะ” โรคซึมเศร้ายังเป็นสิ่งที่คนทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องปกติ มองข้ามอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงยังมีความเข้า ใจผิดๆเกี่ยวกับโรคนี้ให้ได้เห็นอยู่โดยทั่วไป ในฐานะคนเขียนบทความก็ได้แต่หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้อ่าน เข้าใจโรคซึมเศร้ามากขึ้น รวมถึงเป็นกำ�ลังใจให้กับผู้ป่วยโรคนี้ด้วยนะคะ ในเรื่องของจิตแพทย์ใกล้กับมมส.นั้นทางผู้เขียน ขอเสนอช่องทางการติดต่อเข้าพบจิตแพทย์ เบอร์โทรศัพท์ 043-021-021 โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เลข ที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตําบลตลาด อําเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000 ในฐานะของอดีตคนที่ เคยเป็นโรคซึมเศร้าคนหนึ่ง เราเตรียมใจกับคำ�ว่าไม่มีวันหายจากโรคนี้มาแล้วค่ะ ดังนั้นเราจึงเปลี่ยนการใช้ ชีวิตของเราให้ไม่เครียดมากจนเกินไป พยายามจัดตารางอะไรที่เร่งรีบหรือมาก่อนมาหลังเพื่อสะดวกต่อการ จัดการในเรื่องต่างๆค่ะ พวกเราอาจจะใช้ชีวิตได้เหมือนปกติ ไม่ได้ลำ�บากลำ�บนเท่ากับคนพิการทางกาย แต่ ใบหน้าที่ยิ้มแย้มตลอดเวลาของพวกเรานั้นข้างในใจแตกละเอียดจนเป็นแค่เศษใจ เป็นกำ�ลังใจให้ผู้ป่วยนะคะ รวมถึงตัวของเพื่อนผู้ป่วย ญาติพี่น้อง มิตรสหาย และขอขอบคุณ ที่อ่านบทความนี้ค่ะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะคะ


สิ่งอำ�นวยความ(ไม่)สะดวกสำ�หรับผู้พิการทางร่างกาย ภาพของบุคคลไร้ความสามารถหรือผู้ที่พิการทางร่างกายไม่ใช่ภาพที่เราชาว มมส เห็นกันจนชินตา ผู้พิการทางร่างกายใน มมส ที่เรามักจะเห็น พวกเขาเหล่านั้นช่วยเหลือตัวเอง ได้ สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง หรือหยับจับของเองได้ และการที่ มมส ไม่ได้มีผู้บกพร่องทาง ร่างกายที่ถึงขั้นใช้รถเข็นเป็นพาหนะ จึงดูเหมือนว่า พวกเขากำ�ลังถูกละเลยเรื่องของสิ่งอำ�นวย ความสะดวก สิทธิและสวัสดิการที่ผู้พิการพึงได้รับด้านการบริการสิ่งอำ�นวยความสะดวก ในเรื่องของสิทธิด้านการเข้าถึงอุปกรณ์ สิ่งอำ�นวยความสะดวก หรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะบริการขนส่ง หรือบริการสาธารณะอื่น หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจะ ต้องจัดสิ่งอำ�นวยความสะดวกตามความเหมาะสม เพื่อให้คนพิการสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ จากบริการ เช่น บริการในการเดินทาง บริการขนส่งสาธารณะ ห้องน้ำ�ทางลาด บริการ ข้อมูลข่าวสาร และบริการให้สัตว์นำ�ทางเดินทางกับคนพิการ เป็นต้น ผู้พิการพึงได้รับสวัสดิการด้านสิ่งอำ�นวยความสะดวกอย่างเหมาะสม อย่างเช่น สิ่งอำ�นวยความสะดวกในการเดินทางของผู้พิการ หรือตัวอาคารที่มีผู้ปฏิบัติงานซึ่งเป็นคน พิการร่วมอยู่ด้วย ควรจัดให้มีอุปกรณ์สิ่งอำ�นวยความสะดวก เพื่อให้ผู้พิการสามารถเข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เช่น ทางลาด ทางลาดเลื่อนหรือทางเลื่อนในแนวราบ บันได เลื่อนสำ�หรับคนพิการ เป็นต้น สิ่งอำ�นวยความสะดวกของผู้พิการใน มมส เราบอกไม่ได้ว่าสามรถใช้คำ�ว่าสิ่งอำ�นวยความสะดวกสำ�หรับผู้พิการจริงหรือเปล่า เพราะสิ่งเหล่านี้ เหมือนไม่ได้ถูกสร้างมาเพื่อบริการ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้พิการเอาเสียเลย อย่างทางลาดเพื่อให้ผู้พิการที่ไม่สามารถเดินได้เข็นรถเข็ญอันเป็นพาหนะขึ้นไปยังตัวอาคาร ถูก สร้างออกมาทั้งสูงและชัน หรือหลังเต่าบนถนน ที่เว้นช่องว่างไว้ก่อนถึงเกาะกลางถนนประมาณ 10 เซนติเมตรได้


ถ้าพูดถึงความเหมาะสม คงกล่าวได้ว่าไม่มี จริงอยู่ว่า มมส ไม่ได้มีผู้พิการที่ มีความจะเป็นถึงขั้นต้องใช้บริการสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่างๆ ดังกล่าว แต่ถ้าว่าด้วยเรื่อง ของสิทธิที่ผู้พิการพึงจะได้รับที่ถูกกำ�หนดไว้ การทำ�ให้ถูกต้องคงเหมาะสมกว่า เพื่อที่ว่าผู้พิการ สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้เมื่อต้องใช้จริงๆ เมื่ออ่านดูสิทธิและสวัสดิการเกี่ยวกับสิ่งอำ�นวยความสะดวกต่างๆ ที่ผู้พิการพึง ได้รับ แล้วมองสภาพความเป็นจริงของสิ่งอำ�นวยความสะดวกภายในมหาวิทยาลัย นี่คือสิ่งที่ถูก สร้างขึ้นมาเพื่ออำ�นวยความสะดวกหรือ ทางลาดที่สูงชันกว่าจะเข็นรถเข็นขึ้นไปถึงตัวอาคารคง เมื่อย ช่องว่างระหว่างหลังเต่ากับเกาะกลางถนนพร้อมกับราวเหล็กเตี้ยๆ กลั้นอยู่ตรงกลาง จะ ข้ามไปอีกฝั่งได้จริงๆ หรือ สิ่งเหล่านี้แทนที่จะเป็นสิ่งอำ�นวยความสะดวกแก่พวกเขาที่บกพร่อง ทางร่างกาย กลับกลายเป็นสิ่งไม่อำ�นวยความเสียมากกว่า อาจเพราะพวกเราไม่ใช่ผู้พิการเลยไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นปัญหา หรือมองว่ามัน เป็นเรื่องเล็ก แต่ในเรื่องเล็กๆ นี้เอง ทำ�ให้ได้เห็นว่ากำ�ลังมีคนกลุ่มหนึ่งถูกมองข้าม แม้แต่สิ่ง อำ�นวยความสะดวกที่พวกเขาพึงได้รับก็ถูกสร้างขึ้นมาให้ดูไม่เหมาะสม เพียงเพราะ มมส ไม่ได้ มีผู้บกพร่องทางร่างกายที่ถึงขั้นได้ใช้ แต่มันเป็นสิทธิของพวกเขาที่ถูกกำ�หนดไว้ไม่ใช่หรือ ว่า พวกเขาควรได้รับทุกอย่างอย่างเหมาะสม



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.