สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ

Page 1

ISBN : 978-974-286-918-2

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ:

บ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่

โครงการจัดท�ำฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมอาชีพชุมชน

พื้นที่กลุ่มป่าภูคา-แม่ยมและกลุ่มป่าศรีลานนา-ขุนตาล ปี ๒๕๕๔ โดยส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ



LOGO LOGO

โครงการจัดท�ำฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ

และภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมอาชีพชุมชนพื้นที่กลุ่มป่าภูคา-แม่ยม และกลุ่มป่าศรีลานนา-ขุนตาล ปี ๒๕๕๔

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ โดย ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ


สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ พิมพ์ครั้งที่

1 (พ.ศ.2554)

จำ�นวน

500 เล่ม

ISBN

978-974-286-918-2

พิมพ์เผยแพร่โดย สำ�นักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

4

สงวนลิขสิทธิ์

สำ�นักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผู้เรียบเรียงและ ภาพประกอบ ที่ปรึกษาโครงการ ผู้ประสานงาน

ว่าที่ ร.ต.ดร. ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ นักวิจัย ดร. วรรณา มังกิตะ นักวิจัย Mr. J. F. Maxwell นักพฤกษศาสตร์ นางสาวปุณยนุช ต้อตานา ผู้ช่วยนักวิจัย นายราวิน รักนา ผู้ช่วยนักวิจัย นายอรรถพล นามจักร ผู้ช่วยนักวิจัย นางสาวศิรดา ศรีสิงห์ ผู้ช่วยนักวิจัย นายศรายุ เพ็งผลา ผู้ช่วยนักวิจัย นายณัฐพงษ์ พิณพิมาย ผู้ช่วยนักวิจัย นายชวน ศิรินันท์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นายเสรี ค�ำภีรธัมโม รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นายอภิชาติ เทียวพานิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นายชูเกียรติ พงศ์ศิริวรรณ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ ผศ.ชูชีพ ชีพอุดม ผู้อ�ำนวยการมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ นางวิริยา อาษานอก นักวิเคราะห์นโยบายและแผนช�ำนาญการ

ออกแบบพิมพ์

หจก.ไอเดีย กรุ๊ป ปริ้นท์ติ้ง แอนด์ แอดเวอร์ไทซิ่ง 300/253 หมู่ 10 ตำ�บลแม่เหียะ อำ�เภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ 0 5380 4413, 0 5380 5111, 08 6429 5543

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


คำ�นำ� สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพของ บ้านเหล่าเหนือ ตำ�บลบ้านกลาง อำ�เภอสอง จังหวัดแพร่ จัดขึ้นจากผลการดำ�เนินงานของสำ�นักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ ร่วมกับมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกัน สำ�รวจรวบรวมข้อมูลความหลายหลายทางชีวภาพในระดับชุมชน กลุ่มป่าภูคา-แม่ยม และกลุ่มป่าศรีลานนา-ขุนตาล เพื่อรวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นแนวทางในการสงวน อนุรักษ์และ ใช้ประโยชน์อย่างยัง่ ยืนภายใต้ภมู ปิ ญ ั ญาท้องถิน่ มาใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจควบคูไ่ ปกับ การอนุรักษ์อย่างยั่งยืน อีกทั้งสร้างโอกาสให้เกิดกระบวนการ สร้างงาน สร้างรายได้ และใช้ฐานจากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นควบคู่กับ วิทยาการใหม่ๆ ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

5


สารบัญ

6

รายการ

หน้า

ข้อมูลทั่วไปของบ้านเหล่าเหนือ ประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ท้องถิ่น ข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรเด่นด้านพืช พรรณพืชน่าสนใจ ทรัพยากรเด่นด้านสัตว์ รายชื่อพืชและสัตว์ที่สำ�รวจพบ แผนการจัดการทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น ดัชนีชื่อพืชเด่น พืชน่าสนใจ และสัตว์เด่น รายชื่อผู้ดำ�เนินงานในพื้นที่บ้านเหล่าเหนือ ตำ�บลบ้านกลาง อำ�เภอสอง จังหวัดแพร่

5 ๗ 9 14 15 17 69 77 89 101 107 109

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ข้อมูลทั่วไปของบ้านเหล่าเหนือ ประวัติความเป็นมา ในอดีตหมู่บ้านเหล่าเหนืออาศัยรวมกับบ้านเหล่าใต้และบ้านกลาง พื้นที่เดิมนั้น ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มใกล้แม่น้ำ�สอง เมื่อถึงฤดูฝนน้ำ�จะไหลท่วมบ้านเรือนของชาวบ้าน ได้รับความเดือดร้อนทุกปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2494 นายจั๋นติ๊บ คำ�ฟั่น ผู้ใหญ่บ้าน ในขณะนั้นได้ทำ�การอพยพชาวบ้านขึ้นมาทางเหนือของหมู่บ้านเดิม เพื่อมาตั้งรกราก ถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่ที่สูงกว่าที่ตั้งเดิม ซึ่งก็คือพื้นที่บ้านเหล่าเหนือในปัจจุบันนั่นเอง สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านเหล่าเหนือ” เนื่องจากชาวบ้านต้องการอนุรักษ์ ชือ่ หมูบ่ ้านเดิมไว้ นอกจากนีบ้ า้ นเหล่าเหนือยังมีชอื่ เรียกอีกชือ่ หนึง่ ว่า “บ้านสันป่าตา” สาเหตุที่เรียกเช่นนี้เพราะว่าชาวบ้านที่พากันอพยพมาจากที่ตั้งเดิมเพื่อมาตั้งบ้านเรือน ในพื้นที่ที่สูงกว่าบ้านเดิมที่เป็นพื้นที่ป่าในสมัยตายาย รายชื่อผู้ใหญ่บ้านบ้านเหล่าเหนือจากอดีตถึงปัจจุบัน 1. นายจั๋นติ๊บ คำ�ฟั่น เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2493 – 2498 2. นายดำ� เขียวชอุ่ม เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2498 – 2499 3. นายจั๋นทิพย์ นาคพรม เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2499 – 2500 4. นายศรี ไชยวงค์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2500 – 2507 5. นายสมาน ธรรมวิลัยพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2507 – 2523 6. นายประสิทธ์ บุญเสริฐ เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2523 – 2533 7. นายประทวน จันทร์สว่าง เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2533 – 2534 8. นายบุญยงค์ จิตมณี เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2534 – 2548 9. นายสัมพันธ์ พงษ์มณี เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2548 – 2550 10. นายบุญยงค์ จิตมณี เป็นผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน

สภาพทั่วไปของหมู่บ้าน บ้านเหล่าเหนือตั้งอยู่ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ อยู่ห่างจากที่ว่าการอำ�เภอสอง ประมาณ 2 กิ โ ลเมตร พื้ น ที่ ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น ที่ ราบสู ง มี พื้ น ที่ ทำ � การเกษตรทั้ ง หมด 1,650 ไร่ เป็นที่นา 500 ไร่ ที่สวน 193 ไร่ และพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ 700 ไร่

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

7


อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก

ติดต่อกับบ้านต้นผึ้ง และบ้านธาตุพระลอ ติดต่อกับบ้านหล่ายห้วย ติดต่อกับสันเขาระหว่างบ้านแม่ทราย อ.ร้องกวาง ติดต่อกับแม่น้ำ�สอง

จ�ำนวนประชากร บ้ า นเหล่ า เหนื อ มี ป ระชากรรวมทั้ ง หมด 510 คน แยกเป็ น ชาย 254 คน หญิง 256 คน และมีจำ�นวนครัวเรือน 170 ครัวเรือน

การประกอบอาชีพของประชากร

8

คนในชุมชนบ้านเหล่าเหนือ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำ�นา โดยสายพันธ์ข้าวที่ปลูก ได้แก่ สันป่าตอง 1 กข 6 แพร่ 72 ทำ�ไร่ข้าวโพด ปลูกยาสูบ กระหล่ำ� มันสำ�ปะหลัง ยางพารา ทำ�สวนผลไม้ เช่น ลำ�ไย มะขาม มะม่วง รับจ้างทั่วไป มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น หมู ไก่ เป็ด ปลานิล และกบ แต่ยังขาดการรวมกลุ่มเพื่อส่งเสริมอาชีพ และยังไม่มีผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นรูปธรรม

วิสัยทัศน์หมู่บ้าน ป่าดีมีน้ำ�ใช้ ชุมชนห่างไกลยาเสพติด เศรษฐกิจพอเพียง ลือเลื่องวัฒนธรรมไทย ใส่ใจพัฒนาชุมชน

อัตลักษณ์ของหมู่บ้าน

ต้องการพัฒนาไปสู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

พันธกิจของหมู่บ้าน

1. พัฒนาแหล่งน้ำ�ให้เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค 2. อนุรักษ์และส่งเสริมป่าชุมชน 3. ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็งและห่างไกลยาเสพย์ติด 4. ส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมในท้องถิ่น 5. ส่งเสริมการดำ�เนินชีวิตตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ประเพณีและวัฒนธรรมเด่นในท้องถิ่น ประเพณีปี๋ใหม่เมืองหรือประเพณีสงกรานต์

ปี๋ใหม่เมืองเป็นการเริ่มต้นปีใหม่ของคนเมืองหรือคนล้านนา คนเมืองจะมีการเริ่มต้น นับปีตามปีใ๋ หม่เมือง ซึง่ พอถึงปีใหม่กจ็ ะกลายเป็นอีกปีหนึง่ ซึง่ ไม่ใช่ปเี ดิม เป็นประเพณีในระหว่าง วันที่ 13 – 16 เมษายนของทุกปี เป็นการเตือนตนและสำ�รวจตรวจสอบตัวเอง การเปลี่ยนปี ทำ�ให้อายุเพิ่มขึ้น เป็นการย้ำ�เตือนให้คนเมืองรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของวัน วัยและสังขารนั้น คืออนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา เป็นการชำ�ระสะสางสิ่งที่ไม่ดี ปีใหม่เมืองเป็นช่วงโอกาสที่คนเมือง ได้สำ�รวจตรวจสอบสิ่งต่างๆ ที่ล่วงมา เมื่อพบข้อบกพร่องก็จะตั้งจิตตั้งใจสะสางสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ออกไป อันใดที่ร้ายก็ขอให้ดับไปกับไฟ ไหลไปกับน้ำ� ล่องไปกับสังขาร เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ อีกครั้ง กิจกรรมในวันปีใหม่มีดังนี้ วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันสังขารล่อง ถือเป็น วันส่งท้ายปีเก่า คนเมืองจะตื่นแต่เช้าเป็นพิเศษ ในช่วงเช้ามืดของวันดังกล่าวจะมีการยิงปืนหรือ จุดประทัด ซึ่งเชื่อว่าเป็นการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีหรือสิ่งอัปมงคลให้ห่ างไกลชีวิตครอบครัวและ คนรอบข้าง ตอนสายจะช่วยกันทำ�ความสะอาดบ้านเรือน วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนาหรือ วันเน่า ในวันนี้จะมีการจับจ่ายซื้อของใช้ที่จำ�เป็นจะต้องใช้ในงานประเพณีปีใหม่ มีการเตรียม ทำ�อาหารคาวหวานสำ�หรับนำ�ไปทำ�บุญที่วัด เช่น ขนมจ๊อกหรือขนมเทียน ห่อนึ่ง ข้าวแต๋น วันที่ 15 เมษายน เป็นวันพญาวัน ซึ่งถือว่าเป็นวันที่มีความหมายสำ�หรับคนเมืองมาก เป็นวันที่ดีที่สุดในรอบปี ในวันนี้จะมีการประกอบกิจกรรมตามความเชื่อในวิถีการดำ�เนินชีวิต และกิจกรรมตามความเชื่อในพิธีกรรมไสยศาสตร์ เช่น การเลี้ยงผีครู การนำ�เครื่องรางของขลัง มาชำ � ระล้ า งเพื่ อ ให้ สิ่ ง ที่ ไ ม่ ดี ไ ม่ ง ามที่ ติ ด อยู่ ห ายไป วั น นี้ จ ะเป็ น วั น ที่ มี ก ารทำ � บุ ญ ทาง พระพุทธศาสนาแต่เช้าตรู่ มีการทำ�บุญถวายภัตตาหารให้กับญาติพี่น้องผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว คนเหนือ เรียกการทำ�บุญดังกล่าวว่า “ตานขันข้าว” นอกจากนี้ยังมีการตานตุงหรือถวายตุงปักเจดีย์ทราย การนำ�น้ำ�ส้มป่อย ข้าวตอกและดอกไม้ต่างๆ ไปรดน้ำ�ดำ�หัวพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติ ผู้ ใ หญ่ ที่ เ คารพนั บ ถื อ เพื่ อ เป็ น การแสดงความกตั ญ ญู นอกจากนี้ ใ นวั น นี้ ยั ง มี กิ จ กรรม การสรงน้�ำ พระธาตุ พระสถูปเจดีย์ และพระพุทธรูป การตานไม้ก�้ำ สะหลีหรือการถวายไม้ค�้ำ โพธิ์ และ การทำ�บุญใจบ้าน คือ บริเวณที่ตั้งของเสาบ้านหรือสะดือบ้าน วันที่ 16 เมษายน ถือเป็น วันปากปี๋ ในวันนี้แต่ละหมู่บ้านจะทำ�พิธีส่งเคราะห์บ้านและสืบชะตาบ้าน วันที่ 17 เมษายน ถือเป็นวันปีใหม่ และในช่วงเทศกาลปีใหม่เมืองนี้จะมีกิจกรรมการสาดน้ำ�ปีใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

9


จะเป็นกิจกรรมของกลุ่มหนุ่มสาวและเด็กๆ สิ่งสำ�คัญ คือ ในช่วงเทศกาลปีใหม่เมืองลูกหลาน ที่ออกไปทำ�งานหรือออกเรือนไปอยู่ต่ างจังหวัดจะกลับมารวมญาติ กลับมาทำ�บุญร่วมกัน มาพบปะสังสรรค์และร่วมรดน้ำ�ดำ�หัวพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยายและญาติผู้ใหญ่ที่นับถือร่วมกันอีกด้วย

ประเพณีตานก๋วยสลากหรือประเพณีกินข้าวสลาก หรือประเพณีสลากพัตร ประเพณีตานก๋วยสลากนิยมปฏิบตั กิ นั ตัง้ แต่เดือน 12 เหนือถึงเดือนยีเ่ หนือ (เดือนกันยายน

10

ถึงเดือนตุลาคม) ซึ่งจะเป็นช่วงที่ข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในยุ้งฉางใกล้จะหมดหรือบางครอบครัว ก็อาจจะหมดแล้ว ตามคำ�พูดของผู้เฒ่าผู้แก่ที่มักพูดว่า “เดือนกันยาคือเดือนกั้นอยาก” และ เชื่อว่าเมื่อคนที่มีชีวิตอยู่อดอยากก็จะส่งผลให้ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้วอดอยากเหมือนกัน ประกอบกับเป็นช่วงที่ชาวบ้านได้มีการทำ�นาเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ก็จำ�พรรษาอยู่ที่วัด ชาวบ้านจึงได้รว่ มกันจัดทำ�บุญตานก๋วยสลากขึน้ มา โดยทำ�การจัดหาอาหาร ของใช้ไปถวายพระสงฆ์ ในการทำ�บุญดังกล่าวก็เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยไม่เจาะจง พระภิ ก ษุ ห รื อ สามเณรรู ป ใดรู ป หนึ่ ง การตานก๋ ว ยสลากนั้ น จะเขี ย นชื่ อ ผู้ เ ป็ น เจ้ า ของ เครือ่ งไทยทานพร้อมระบุวา่ จะอุทศิ ส่วนกุศลไปให้ใครติดไว้กบั เครือ่ งไทยทาน แล้วเครือ่ งไทยทาน ดังกล่าวมาวางรวมกันให้พระภิกษุหรือสามเณรที่ได้นิมนต์มาร่วมงานบุญจับฉลากสลาก หรือที่เรียกว่า “เส้นสลาก” ถ้าหากว่าจับได้ของผู้ใดผู้นั้นก็จะต้องประเคนก๋วยสลากหรือ เครือ่ งไทยทานของตนเองถวายแก่พระภิกษุหรือสามเณรรูปนัน้ จากนัน้ ท่านก็จะเจริญพุทธมนต์ อุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ที่ล่วงลับไปแล้วตามชื่อที่เราเขียนไว้ติดกับก๋วยสลากก็ถือเป็นอันเสร็จพิธี

ประเพณียี่เป็งหรือประเพณีลอยกระทง

ประเพณียเี่ ป็งนับเป็นประเพณีทสี่ �ำ คัญสำ�หรับพุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำ�ความสะอาดวัด ตลอดจนบริเวณวัด ทำ�ประตูป่า เตรียมทำ�โคมลอยและโคมไฟ จัดเตรียมเครื่องไทยธรรมหรือ กัณเทศน์ ซึ่งเป็นการเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์ ตอนเช้าวันยี่เป็งจะมีการทำ�บุญด้วยการนำ� ข้าวปลาอาหารถวายพระสงฆ์ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือที่เรียกว่า “ตานขั น ข้ า ว” ร่ ว มฟั ง เทศน์ ฟั ง ธรรม พอพลบค่ำ � ก็ จ ะมี ก ารนำ � กระถางเที ย นหรื อ ขี้ ผึ้ ง ที่เรียกกันว่า “ผางประทีป” มาจุดเรียงไว้ตามหน้าบ้านหรือตามรั้วบ้าน พร้อมกับการ จุดโคมไฟแขวนประดับไว้หน้าบ้าน ในวันนี้จะมีการประดิษฐ์กระทงและนำ�กระทงไปลอย ในแม่ น้ำ � ตามความเชื่ อ ว่ า เป็ น การปล่ อ ยหรื อ การลอยเคราะห์ ใ ส่ ไว้ ใ นกระทงให้ ไ หล ไปตามแม่น้ำ� และยังเป็นการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่ในแม่น้ำ�อีกด้วย

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพื้นบ้าน หมายรวมถึง การอนุรักษ์ดิน น�้ำ และป่าไม้ การปรับตัวกับสภาวะแวดล้อม การจัดทัศนียภาพ การจัดที่อยู่อาศัย  การบวชป่า เป็นพิธกี รรมอันศักดิส์ ทิ ธิแ์ ละเป็นการประกาศเจตนารมณ์รว่ มกัน ของคนในชุมชนในการร่วมกันดูแลรักษาป่า ละเว้นการตัดไม้ท�ำลายป่าและการสืบชะตาน�ำ้ ตามความเชื่อของชาวล้านนา ซึ่งถือเป็นการต่ออายุ สืบต่อชีวิตสายน�้ำให้ยืนยาว เพือ่ ให้สายน�ำ้ มีความใสสะอาด มีความอุดมสมบูรณ์ตลอดทัง้ ปี เป็นแหล่งน�ำ้ แหล่งอาหาร ให้แก่คนในชุมชนได้พึ่งพิงตราบนานเท่านาน เป็นพิธีกรรมที่ย�้ำเตือนให้ชาวบ้านรัก หวงแหน และช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน มีความสอดคล้องกับ วิถีชีวิตของคนในชุมชน ก่อให้เกิดความร่วมมือ ความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ก่อให้เกิดความเคารพและความศรัทธาต่อสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ ดี่ แู ลสายน�ำ้  พิธีสืบชะตาน�้ำ ท�ำเพื่อต่ออายุและความเป็นสิริมงคลจะได้เกิดขึ้นกับแม่น�้ำ รวมทั้งผู้คนในชุมชนด้วย เป็นการขอขมาต่อแม่น�้ำ เป็นการกระตุ้นเตือนให้คนที่อาศัย 11 อยูบ่ ริเวณแม่น�้ำมีจติ ส�ำนึกช่วยกันรักษาสายน�ำ้ แห่งนีใ้ ห้ยนื ยาวอย่างยัง่ ยืน การสืบชะตา ให้กับแม่น�้ำจึงเป็นการแสดงความศรัทธา ความเคารพ และเหนือสิ่งอื่นใด คือ การร่วมกัน แสดงออกถึ ง ความห่ ว งใยต่ อ แม่ น�้ ำ มี ก ารบวงสรวงเทวดาเพื่ อ เป็ น การขอขมา ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปกปักรักษาแม่น�้ำ โดยก่อนท�ำพิธีสืบชะตาแม่น�้ำ ชาวบ้านจะร่วมแรง ร่วมใจกันขุดลอกล�ำคลองและแหล่งน�้ำ  พิธีสืบชะตาต้นไม้ เป็นการต่ออายุ สืบต่อชีวิตต้นไม้ให้ยืนยาว ให้ป่ามี ความอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี เป็นพิธีกรรมที่ปลูกจิตส�ำนึกให้ชาวบ้านรัก หวงแหน และช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ของชุมชน  การเลี้ ย งผี ขุ น น�้ ำ เป็ น พิ ธี ก รรมที่ ท�ำในช่ ว งเดื อ นกลางเดื อ นเมษายนถึ ง สิ้นเดือนมิถุนายนของทุกปี เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยดูแลน�้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์ เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร โดยแต่ละหมู่บ้านจะมาร่วมกันในการ จัดเตรียมสถานที่และของประกอบพิธีกรรม เช่น ผลไม้ หมู เหล้ามาเป็นเครื่องบูชา ซึง่ การเลีย้ งผีขนุ น�ำ้ เป็นพิธกี รรมทีท่ �ำให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรน�ำ้ และได้มีโอกาสร่วมพูดคุยปรึกษาหารือในการจัดการน�้ำและทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


 การเลี้ยงผีฝาย เป็นพิธีกรรมที่ท�ำในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ของทุกปี เพื่อขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยดูแลฝายกั้นน�้ำไม่ให้แตกหรือพังทลาย สามารถเก็บกักน�้ำ ไว้ ไ ด้ น านๆ และมี ป ริ ม าณที่ เ พี ย งพอต่ อ การใช้ ต ลอดทั้ ง ปี เป็ น พิ ธี ก รรมที่ จ ะท�ำ ก่ อ นฤดู ก าลปลู ก พื ช ผลทางการเกษตร ซึ่ ง ของประกอบพิ ธี ก รรม คื อ ไก่ 1 คู ่ เหล้าขาว 1 ขวด ดอกไม้ ธูปและเทียน เป็นต้น

ด้านการจัดการสังคมและวัฒนธรรมพื้นบ้าน

12

หมายรวมถึง การรักษาจารีตประเพณี การปลูกฝังการแสดงความเคารพต่อ ผู้มีพระคุณ การปลูกฝังและส่งเสริมความสามัคคีในท้องถิ่น  ประเพณี ล อยกระทง เป็ น กิ จ กรรมที่ ท�ำในวั น ขึ้ น 15 ค�่ ำ เดื อ น 12 (เดือนพฤศจิกายน) ตามความเชื่อในการลอยเคราะห์ และการขอขมาต่อพระแม่คงคา และสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ สี่ งิ สถิตอยูใ่ นแหล่งน�ำ้ ทีไ่ ด้มกี ารล่วงเกิน ได้ลงอาบหรือปล่อยสิง่ ปฏิกลู ลงในแหล่งน�้ำ ทั้งโดยการตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ รวมทั้งเป็นการบูชาหรือการขอบคุณ พระแม่คงคาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่ในแหล่งน�้ำที่ได้ดลบันดาลให้มีแหล่งน�้ำ ที่อุดมสมบูรณ์ส�ำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภค และการท�ำเกษตรกรรม  การเลีย้ งผีเจ้าบ้าน เป็นพิธกี รรมระดับหมูบ่ า้ น ด้วยความเชือ่ ทีว่ า่ แต่ละหมูบ่ า้ น จะต้องมีวญ ิ ญาณบรรพบุรษุ ทีค่ อยดูแลรักษาคนในชุมชนให้อยูเ่ ย็นเป็นสุข ผีเจ้าบ้านจะคอย ปกป้องคุ้มครอง คอยดูแล และดลบันดาลให้ทุกคนในหมู่บ้านอยู่เย็นเป็นสุข ไม่เจ็บป่วย ท�ำการเกษตรก็ ไ ด้ ผ ลผลิ ต ที่ ดี เจริ ญ งอกงาม สั ต ว์ เ ลี้ ย งอุ ด มสมบู ร ณ์ ไ ม่ มี โรคระบาด ฝนตกต้องตามฤดูกาล ผืนดินมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านจะมีการจัดตั้ง หอผีเจ้าบ้าน ที่มีลักษณะคล้ายๆ กับศาลพระภูมิ ในแต่ละปีจะมีการจัดพิธีการเลี้ยง ผีเจ้าบ้านเพือ่ เป็นการขอบคุณและขอพรให้ผเี จ้าบ้านช่วยดูแลและคุม้ ครองคนในชุมชนต่อไป โดยมีเครื่องเซ่นไหว้ ได้แก่ หัวหมู ไก่ สุรา ดอกไม้ ธูปและเทียน ทั้งนี้ขึ้นเครื่องเซ่นไหว้ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่ง อยู่กับความเชื่อของแต่ละหมู่บ้านเป็นหลัก  การเลี้ยงผีปู่ย่า เป็นพิธีกรรมในระดับหมู่บ้านที่เกิดจากความเชื่อของกลุ่ม วงศ์ตระกูลที่มาจากวงศ์ตระกูลเดียวกัน ด้วยความเชื่อที่ว่าในแต่ละวงศ์ตระกูลจะมี ดวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้วนั้นจะมาคอยปกปักรักษาลูกหลานให้ อยูเ่ ย็นเป็นสุข ทุกๆ ปีจะมีการเลีย้ งผีปยู่ า่ หรือการเซ่นไหว้ผปี ยู่ า่ ด้วยอาหารเครือ่ งคาวหวาน เหล้า พร้อมด้วยดอกไม้ ธูป และเทียน นอกจากนี้การเลี้ยงผีปู่ย่ายังเป็นการรวมญาติ การพบปะกัน ของคนที่อยู่ห่างไกลกันที่นับถือผีเดียวกันได้มารวมตัวกันอีกครั้งหนึ่งในรอบปี

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ด้านสุขอนามัยพื้นบ้าน

หมายรวมถึง อาหารพื้นบ้าน ยาพื้นบ้าน การรักษาสุขภาพและเสริมความงาม พิธีกรรมพื้นบ้าน และกายภาพบ�ำบัด  การสื บ ชะตาบ้ า น เป็ น พิ ธี ก รรมโบราณที่ ท�ำกั น ในช่ ว งปี ใ หม่ เ มื อ งหรื อ ช่วงสงกรานต์ เพื่อให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน นอกจากนี้การสืบชะตาบ้านยังสามารถท�ำเนื่องในโอกาสงานมงคลได้อีกด้วย เช่น งานท�ำบุญขึ้นบ้านใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านและผู้มาร่วมงาน  การฮ้องขวัญ บางทีเรียกว่า “การเรียกขวัญหรือการสู่ขวัญ” ตามความเชื่อ ว่าขวัญจะมีอยู่ประจ�ำตัวของแต่ละคนมาตั้งแต่เกิด ถ้าขวัญยังอยู่เราก็จะมีความสุขกาย สุขใจ มีจติ ใจมัน่ คง หากขวัญไม่อยูก่ บั ตัวก็จะเป็นสาเหตุให้รา่ งกายและจิตใจเจ็บป่วย ดังนัน้ จึงต้องมีการฮ้องขวัญให้กลับมาอยู่กับตัว เพื่อให้ชีวิตกลับมามีความปกติสุขอีกครั้ง โดยในการฮ้องขวัญหรือการเรียกขวัญจะมีเครื่องบายศรี (ท�ำจากใบตองประดับด้วย ดอกไม้) ไข่ต้ม ข้าวเหนียว กล้วย ใบพลู หมาก เมี่ยง บุหรี่ ด้ายมัดข้อมือหรือ อาจจะมีเสือ้ เจ้าของขวัญและอาจมีเครือ่ งต่างๆ ตามแต่ภมู ปิ ญ ั ญาในการท�ำพิธหี มอขวัญ หรือผูท้ จี่ ะฮ้องขวัญจะท�ำพิธฮี อ้ งขวัญ พรมน�ำ้ มนต์และผูกข้อมือให้กบั เจ้าของขวัญ พร้อมญาติ พี่น้องและผู้ที่มาร่วมพิธีเพื่ออวยพรให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความสุขความเจริญในชีวิต 13  การส่งเคราะห์ ท�ำช่วงเดือนเมษายนซึ่งเป็นเหมือนการเริ่มต้นปีใหม่ของ ชาวล้านนาเพื่อให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ให้พ้นเคราะห์ร้ายภัยอันตรายทั้งปวง และ นอกจากนี้จะมีการส่งเคราะห์ในกรณีต่างๆ เช่น ต้องเดินทางไกล มีคนท�ำนายทายทัก ว่าจะมีเคราะห์ ฝันร้าย มีอาการเจ็บไข้เรื้อรัง และเมื่อหายจากอาการเจ็บป่วยแล้ว การส่งเคราะห์ เกิดจากความเชื่อของบุคคลที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติขึ้นกับตนเองหรือ ผู ้ ใ กล้ ชิ ด ต่ า งก็ เชื่ อ กั น ว่ า เหตุ ก ารณ์ ต่ า งๆ ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ ตนเองหรื อ ผู ้ ใ กล้ ชิ ด นั้ น เกิดจากเคราะห์ได้เข้ามาสู่ผู้นั้น จึงได้หาวิธีการที่จะขจัดปัดเป่าเคราะห์นั้นให้หมดสิ้นไป ซึ่งเป็นการขจัดความวิตกกังวลที่เกิดในจิตใจให้หมดสิ้นไป เคราะห์ที่เกิดขึ้นนั้นเชื่อว่า เกิดจากภูติผีปีศาจหรือรุกขเทวดาที่โน่นที่นี่ท�ำเอา จึงต้องท�ำการส่งเครื่องเซ่นไปไหว้ เพื่อให้เคราะห์นั้นหมดสิ้นหรือเบาลงไป ผู้ที่ท�ำพิธีส่งเคราะห์คือ อาจารย์ การประกอบ พิธีกรรม จะมีบรรดาญาติของผู้เจ็บป่วยและผู้ป่วยเข้ าร่วมในพิธีกรรม เครื่องบูชา ประกอบด้วยตุง (สาม หก เก้า หรือสิบสองตัว ก็แล้วแต่ข้อก�ำหนดของปู่อาจารย์) รูปปั้นดินเหนียวรูปคน รูปสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง วัว ควาย เสือ งู ไก่ นอกจากนี้ก็มีกล้วย อ้อย หมาก พริก บุหรี่ ข้าวสุก อาหารคาว (แกงดิบและแกงสุก) อาหารหวาน เครื่องบูชา

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


14

เหล่านี้จะบรรจุไว้ใน สะตวง ซึ่งท�ำด้วยกาบกล้วยท�ำเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ปู่อาจารย์ ก็จะน�ำสะตวงนั้นไปยังทางสามแพร่ง หรือทิศทางที่ไม่ถูกกับลักขณา ของผู้ป่วย และ จุดธูปเทียนบูชาภูติผีปีศาจ ยกสะตวงขึ้นจบเหนือศีรษะ และกล่าวอัญเชิญ ภูติผีปีศาจ เทวดาอารักษ์ให้มารับเครื่องเซ่น แล้วจึงวางสะตวงไว้ โดยปล่อยให้นกกามากินของ ในสะตวงนั้นเป็นอันเสร็จพิธี อนึ่งในขณะท�ำเครื่องบูชานั้นปู่อาจารย์จะประกอบพิธียกครูให้ผู้เป็นอาจารย์ การยกครูหรือเรียกว่า “การตั้งขันตั้ง” เครื่องขันตั้งส่วนมากจะมีหมาก พลู ผ้าขาว เงินค่าครู (ไม่ได้ก�ำหนดไว้ว่าเท่าใดแล้วแต่ปู่อาจารย์จะเป็นผู้ก�ำหนด) และเหล้า ๑ ขวด  การรักษาโรคด้วยสมุนไพร เป็นการสืบทอดองค์ความรูจ้ ากบรรพบุรษุ ในการ ใช้ส่วนต่างๆ ของพืช สัตว์และแร่ที่มีสรรพคุณทางยามาใช้เพื่อการรักษาโรคหรือบรรเทา อาการเจ็บป่วย ซึ่งในอดีตการถ่ายทอดสูตรยาสมุนไพรจะพูดเป็นปริศนาสูตรยาต่างๆ เช่น สีปันต้น ค้นปันฮาก นั่งปันกิ่ง เป็นปริศนายาแก้เบื่อ  การเสกเป่า คือ การท่องบริกรรมคาถาแล้วเป่าลงไปบนร่างกายบริเวณที่ เจ็บป่วย โรคที่ต้องใช้วิธีการเป่า เช่น โรคลมขึ้นศีรษะท�ำให้เกิดมีอาการวิงเวียนหน้ามืด ตาลาย โรคตาแดง โรคตาต้อ อาการคันตามผิวหนัง โรคงูสวัด แผลสด แผลเปื่อย ปวดบวม เป็นฝี เป็นผ�้ำ งูพิษกัด ตะขาบกัด เงี่ยงปลาดุกปัก แมลงมีพิษกัดสัตว์ต่อย ฯลฯ วิธีรักษาเมื่อมีคนป่วยด้วยโรคดังกล่าวมาขอให้ช่วยรักษาพ่อหมอจะวินิจฉัยก่อนว่าเป็น โรคใด จากนั้นจึงลงมือเป่า สุดท้ายจะเป่าคาถาลงในคนโทเพื่อเป็นน�้ำมนต์ให้ผู้ป่วย ไปดื่มกินที่บ้าน ภายในเวลา 3 วัน ถ้าหมอเป่ารักษาถูกโรคผู้ป่วยจะรู้สึกเย็นบริเวณ ที่เจ็บป่วยและรู้สึกสบายค่อยๆ คลายความเจ็บป่วย ถ้ารักษาไม่ถูกโรคผู้ป่วยจะรู้สึกร้อน บริเวณที่เจ็บป่วย อาการเจ็บป่วยไม่ทุเลาเบาลง จึงต้องมีการเปลี่ยนหมอผู้รักษา

ด้านการเกษตรพื้นบ้าน

หมายรวมถึง เกษตรกรรมพื้นบ้าน การปศุสัตว์พื้นบ้าน พันธุกรรมพืชท้องถิ่น พันธุกรรมสัตว์ท้องถิ่น สุขอนามัยสัตว์ที่ใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาพืชเพาะปลูก  การท�ำน�้ำหมัก/ปุ๋ยชีวภาพ เป็นการน�ำเอาเศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหาร มาหมักในภาชนะทีม่ ปี ากกว้าง เช่น ถังพลาสติกหรือโอ่ง เติมกากน�ำ้ ตาล แต่หากมีนำ�้ หมัก ชีวภาพอยูแ่ ล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน�ำ้ ตาลลง ปิดฝาภาชนะทิง้ ไว้จนได้เป็น น�้ำหมักชีวภาพที่พร้อมน�ำไปใช้ทางด้านการเกษตรต่อไป  การท�ำเกษตรอินทรีย์ เป็นการท�ำการเกษตรที่หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ในการเกษตร ซึง่ เป็นการปรับปรุงบ�ำรุงดิน ท�ำให้ดนิ มีความอุดมสมบูรณ์ พืชผลทางการ เกษตรเจริญเติบโตได้ดี มีผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้น�ำไปบริโภค

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง

พระธาตุพระลอ พระธาตุพระลอ เป็นโบราณสถานที่มีประวัติเกี่ยวเนื่องกับ เวียงสรอง เมืองโบราณทีก่ ล่าวถึงวรรณคดีไทยเรือ่ ง “ลิลติ พระลอ” และเป็นทีป่ ระดิษฐาน พระศรี ส รรเพชร พระคู ่ บ ้า นคู ่ เ มื อ งของอ�ำเภอสอง ภายในวั ด มี รู ป ปั ้ น ของพระลอ พระเพื่อน พระแพง ตลอดจนประวัติความเป็นมา เดิมวัดพระธาตุพระลอนี้เดิมเรียก “ธาตุหินส้ม” เพราะแต่เดิมก่อนที่จะสร้างพระธาตุนั้นพบว่ามีซากอิฐและหินกองใหญ่อยู่ หินนี้มีลักษณะเป็นหินส้ม แต่ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น “พระธาตุพระลอ” การก่อสร้างสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เนื่องจากมีการขุดพบ โบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น ดาบและพระพุทธรูป ซึ่งเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย หล่อด้วยตะกั่ว รูปแบบเจดีย์เป็นทรงลังกา ในปี พ.ศ. 2521 จังหวัดแพร่ได้สร้างอนุสาวรีย์ พระลอ พระเพื่อนและพระแพง ขึ้นในบริเวณวัด เป็นรูปปั้นของกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ ที่ถูกทหารยิงด้วยธนูจนสิ้นพระชนม์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2325 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา ซึ่งตรงกับปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พระธาตุพระลอเป็นพระธาตุเก่าแก่ อายุกว่า 400 ปี สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการระลึกถึงความรักอมตะของพระลอ แห่งนครแมนสรวง และพระเพือ่ น - พระแพง แห่งเมืองสรอง ในทุกๆ ปีจะมีการจัดประเพณี นมัสการพระธาตุพระลอ ในวันขึ้น 15 ค�่ำ เดือน 7 เหนือ 15 

ปฏิทินกิจกรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ กิจกรรม

ม.ค.

ก.พ.

มี.ค.

เม.ย

พ.ค.

เดือน มิ.ย. ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ต.ค.

พ.ย.

เลี้ยงผีเจาบาน/ผีเสีย ๊ ะบาน (เจาฟามืด) ตานขาวใหม สืบชะตาบาน เลี้ยงผีปู ยา ดําหัวอาจารย ดําหัวผูสงู อายุ การสงเคราะหบาน เลี้ยงผีขน ุ น้าํ สืบชะตาน้าํ เลี้ยงผีฝาย สืบชะตาตนไม การบวชปา ตานกวยสลาก ลอยกระทง การฮองขวัญ การเสกเปา การแกวงขาว/ผีหมอนึง่

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

ธ.ค.


ปราชญ์ท้องถิ่น

16

ชื่อ : นายบุญยงค์ จิตมณี อายุ : 58 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : 22 ก.ค. 2496 ที่อยู่ : 44/1 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : เดินป่า ประกอบอาหารพื้นบ้าน

ชื่อ : นางสร้อยทอง มหาวี อายุ : 52 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : 28 มิ.ย. 2502 ที่อยู่ : 25 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : ประกอบอาหาร พื้นบ้าน

ชื่อ : นายอินสอน ศรีบุญเรือง อายุ : 94 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : 20 ต.ค. 2489 ที่อยู่ : 94 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : หมอสมุนไพร เดินป่า จำ�แนกพรรณไม้ป่า

ชื่อ : นายสุวัตน์ ทวีสุข อายุ : 52 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : 26 เม.ย. 2502 ที่อยู่ : 2 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : เดินป่า

ชื่อ : นายแอ๊ด จันทาพูน อายุ : 52 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : 4 พ.ย. 2502 ที่อยู่ : 49 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : ช่างไฟฟ้า

ชื่อ : นายสิงหาญ อุดคำ�มี อายุ : 43 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : 4 ม.ค. 2511 ที่อยู่ : 26 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : เดินป่า

ชื่อ : นายประพันธ์ จอมคำ� อายุ : 53 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : 7 พ.ย. 2500 ที่อยู่ : 91/1 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : ช่างไม้

ชื่อ : นางเสงี่ยม คำ�ฝั้น อายุ : 54 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : พ.ศ. ๒๕๐๐ ที่อยู่ : 16 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : เดินป่า

ชื่อ : นายจั๋น ศรีบุญเรือง อายุ : 55 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : 5 เม.ย. 2499 ที่อยู่ : 48 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : เดินป่า

ชื่อ : นางรวงทอง มหาวี อายุ : 41 ปี วัน/เดือน/ปีเกิด : 23 พ.ค. 2500 ที่อยู่ : 81 ม.4 ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ สาขาที่ถนัด : ทำ�การเกษตร

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพบ้านเหล่าเหนือ การสำ�รวจพรรณพืชในพื้นที่ป่าชุมชนบ้านเหล่าเหนือ ตำ�บลบ้านกลาง อำ�เภอสอง จังหวัดแพร่ โดยกำ�หนดพื้นที่ในการสำ�รวจพรรณพืช เป็นตัวแทนของระบบนิเวศ ป่ า ชุ ม ชนนั้ น โดยตั ว แทนของชุ ม ชนร่ ว มสำ � รวจจำ � นวน 10 คน วางแปลงศึ ก ษา จำ�นวน 1 แปลงตัวอย่าง กำ�หนดขนาดของแปลงตัวอย่างสำ�รวจ ขนาด 20 x 50 เมตร และวางแปลงย่อยขนาด 10 x 10 จำ�นวน 10 แปลงเพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้าง ของป่าที่เป็นตัวแทนนั้น ติดหมายเลขต้นไม้ใหญ่ทุกต้น ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง เพี ย งอก (DBH) ตั้ ง แต่ 4.5 เซนติ เ มตรขึ้ น ไปทุ ก ต้ น และวางแปลงย่ อ ยขนาด 2 x 2 เมตร ที่มุมขวาล่างของแปลง 10 x 10 จำ�แนกชนิดไม้พื้นล่าง และเก็บตัวอย่าง เพื่อทำ�ตัวอย่างแห้ง ตรวจสอบชื่อวิทยาศาสตร์จากหอพรรณไม้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนีย้ งั สำ�รวจเพิม่ เติมจากเส้นทางทีช่ มุ ชนใช้ในการเก็บหา ผลผลิ ต ของป่ า พบว่ า ป่ า ชุ ม ชนในพื้ น ที่ บ้ า นเหล่ า เหนื อ เป็ น ป่ า เต็ ง รั ง มี ลั ก ษณะ 17 โครงสร้าง(ดังแสดงในภาพ) มีพันธุ์ไม้ต้นที่เป็นไม้เด่น คือ เปา ดู่ ปี้ แงะ กว้าว ตีนนก ชิงชัน แดง กุ๊ก และ แคทราย เป็นต้น ดังในรายชื่อพืชบ้านเหล่าเหนือ พบพรรณพืช ในแปลงสำ�รวจ เท่ากับ 77 ชนิด จำ�แนกตามลักษณะวิสัย ได้แก่ไม้ต้นพบ 50 ชนิด ไม้พุ่ม 5 ชนิด ไม้เถาว์ 7 ชนิด ไม้ล้มลุก 8 ชนิด หญ้า 4 ชนิด และเฟิร์น 3 ชนิด การสำ � รวจสั ต ว์ ป่ า โดยทำ � การสำ � รวจในเส้ น ทางเดิ น ในพื้ น ที่ ป่ า ชุ ม ชน และ ตามลำ�ธารขนาดเล็กทีป่ รากฏในพืน้ ที่ โดยการเดินเท้าสำ�รวจ พบสัตว์จ�ำ นวน 119 ชนิด โดยพบ นกจำ�นวน 37 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 15 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 16 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบก 10 ชนิด ปลา 22 ชนิด กุ้ง 1 ชนิด และหอย 18 ชนิด (ในตารางรายชื่อพืชและสัตว์ที่สำ�รวจพบในพื้นที่บ้านเหล่าเหนือ)

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


18

ลักษณะโครงสร้างป่าเต็งรัง ขนาดแปลง 10 x 50 เมตร บ้านเหล่าเหนือ ตำ�บลบ้านกลาง อำ�เภอสอง จังหวัดแพร่

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


พรรณพืชเด่น ( ไม้ต้น )

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เปา 20

ชื่อสามัญ : รัง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea siamensis Miq. var. siamensis ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ลักษณะ : ไม้ผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15- 25 ม. ลำ�ต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีเทา แข็งและหนา แตกเป็นร่องลึก ใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง หรือรูปไข่ ใบมีขนาดกว้าง 10-25 ซม. ยาว 8-17 ซม. ปลายใบกลมหรือแหลมเล็กน้อย ฐานเป็นรูปหัวใจ ใบอ่อนสีน้ำ�ตาลแดง มีขนรูปดาว ใบแก่สีเขียวเรียบเกลี้ยง มีหูใบ ขนาด 1.5-2 ซม. รูปไข่แคบ โค้ง และหลุดไว ดอกสีเหลือง มีสีแดงแต้มกลุ่มละ 5- 20 ดอก ดอกมัก จะออกก่อนแตกใบอ่อน กลีบดอกบิดรูปเกลียวคล้ายปากแตร ปลายกลีบโค้งไปด้านหลัง ฐานกลีบเชื่อมกัน เมื่อหลุดจะร่วงทั้งชั้น พร้อมกับเกสรตัวผู้ที่ติดบนกลีบ เกสรตัวผู้ 15 อัน ชั้นนอก 10 ชั้นใน 5 อับละอองเรณูปลายแหลม ก้านเกสรตัวเมียยาวเท่ากับรังไข่ ผลมีปีกขนาดใหญ่ 3 ปีก ปลายป้าน ขนาด 6-10 x 1.5-2 ซม. ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน ใช้เป็นไม้ฟืนและถ่าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ดู่ ชื่อสามัญ : ประดู่ ชื่อวิทยาศาสตร์: Pterocarpus macrocarpus Kurz ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE ลักษณะ : ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 15-30 ม. เปลือกนอกสีน้ำ�ตาลเข้ม 21 แตกเป็นสะเก็ดเปลือกในมีน้ำ�ยางสีแดง ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ยาว 15-25 ซม. ใบย่อยเรียงสลับมีใบย่อย 3-12 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่ รูปรี รูปไข่ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 6-11 ซม. ขอบเรียบ โคนมนกลม ปลายใบติ่งหนาม ดอกเป็นช่อกระจะดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอม ช่อดอกยาว 5-10 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง โค้งเล็กน้อย ปลายแยกเป็น 5 แฉก ด้านนอกมีขนนุ่ม กลีบดอกแบบดอกถั่ว 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน แบ่งเป็น 2 มัด รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 6-10 ซม. ปีกเป็นคลื่นรอบเมล็ด มีเมล็ด 1-2 เมล็ด ประโยชน์ : ไม้คุณภาพดีมาก สีสวยงาม ใช้ในการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน ทำ � เครื่ อ งเรื อ น ทำ � เครื่ อ งมื อ ที่ ต้ อ งการความแข็ ง แรงและทนทาน ชาวเหนื อ และ ตะวันออกเฉียงเหนือใช้เปลือกต้นเป็นสีย้อมผ้าฝ้ายให้สีน้ำ�ตาลแดง

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ปี้ 22

ชื่อสามัญ : กระพี้ ชื่อวิทยาศาสตร์: Millettia macrostachya var. teetha ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 10-15 เมตร เรือนยอดแผ่ขยายกว้าง โปร่ง เปลือกต้นสีน้ำ�ตาลมีรอยแตกตื้นๆ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ใบย่อย 4-5 คู่ กว้าง 5-7 ซม. ยาว 10-18 ซม. ใบอ่อนมีขนสีน้ำ�ตาลปกคลุม ใบแก่ด้านล่างมีขนอ่อนนุ่ม เส้นใบข้าง 9-11 คู่ ก้านใบย่อย 5-8 มม. ที่ฐานมีหูใบย่อยปลายแหลม ดอกขนาด 3-4 ซม. สี ช มพู ห รื อ สี ม่ ว งอ่ อ นมี แ ต้ ม สี เ หลื อ งตรงกลาง กลี บ ดอกด้ า นนอกมี ข น กลีบบนสุดกลมโค้งงอไปด้านหลัง กลีบด้านข้างตรงและแคบ กลีบล่างสุดโค้งเข้าด้านใน ผลยาวถึ ง 20-30 ซม. เปลื อ กหนา ขอบฝั ก เป็ น สั น ตามแนวต่ อ ปลายบนแหลม เมล็ดแบน 1-3 เมล็ด สีน้ำ�ตาลเข้ม ฝักที่หนักจะห้อยลง ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


แงะ ชื่อสามัญ : เต็ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Shorea obtusa Wall. ex Bl. ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ลั ก ษณะ : ไม้ ต้ น ผลั ด ใบ ขนาดกลางถึ ง ขนาดใหญ่ สู ง 15- 25 ม. 23 เปลือกต้นสีน้ำ�ตาล สีแดงเมื่อต้นยังอ่อน ต้นแก่สีจะคล้ำ�ลงเปลือก แตกเป็นร่องลึก เปลือกชั้นในสีน้ำ�ตาลเหลือง มีชันสีเหลืองใบเดี่ยวมนรีหรือขอบขนาน ปลายทั้งสองป้าน หรือกลม ฐานใบรูปหัวใจ ใบอ่อนมีขนรูปดาว ใบแก่สีเขียวหม่น เกือบจะเกลี้ยงหรือ มีขนประปราย มักหนาและเหนียว ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. สั้น หูใบมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 5 ซม. มี ข นและร่ ว งไว ใบแก่ ร่ ว งมี สี เ หลื อ ง ดอก ขนาด 1.5-2.2 ซม. สีขาวหรือเหลือง ช่อดอกห้อยลง ยาว 5-10 ซม. ดอกตูมรูปขอบขนาน กลีบดอกแหลม และแคบ บิดเป็นเกลียวซ้อนกัน ฐานไม่เชื่อมกันจะร่วงทีละกลีบ เกสรตัวผู้ 22-29 อัน เรียงเป็น 3 วง อับเรณูยอดสั้น ก้านเกสรตัวเมียสั้นกว่ารังไข่ ผลมีปีกขนาดใหญ่ 3 ปีก ปลายป้าน ขนาด 4-5 x 1.3-1.5 ซม. ส่วนกลางผลมีปลายสั้น ประโยชน์​์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน ใช้เป็นไม้ฟืนและถ่าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


กว้าว 24

ชื่อสามัญ : กระท่อมหมู ชื่อวิทยาศาสตร์: Mitragyna brunonis Craib ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ เรือนยอดโปร่ง สูง 5-10 ม. ลำ�ต้นคดงอ เปลือกสีน้ำ�ตาลอ่อนถึงเทา แตกเป็นสะเก็ด หรือเป็น มีร่องเล็กตามยาว ใบเดี่ยว เรียงสลับ ออกตรงกันข้าม ใบกลม โคนใบเว้า ยอดใบอ่อน และก้านใบ สีแดงเรื่อๆ ดอกช่อ แบ่งช่อกระจุกแน่นจำ�นวนมากออกตามปลายกิง่ เมือ่ ดอกบานเต็มที่ เส้นผ่านศูนย์กลางช่อ 2-3 ซม. ดอกเล็ก สีนวล ปากหลอดดอกมีขนยาว ผลเป็นกลุ่มกลมกว้าง 1.2-2 มม. แต่ละผลรูปกรวยหรือมนรี มีสันเล็กน้อยแตกออกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีกโดยรอบ ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ตีนนก ชื่อสามัญ : ตีนนก ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex limoniifolia Wall. ex Kurz ชื่อวงศ์ : LABIATAE 25 ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ เรือนยอดกลม โปร่ง สูง 5-18 ม. เปลือกต้นสีน้ำ�ตาล อมเทา บางแตกเล็กน้อย และลอกออก ใบประกอบ 3 ใบย่อย ขนาด 5-25 x 3-9 ซม. ขอบใบเรียบ หรือมีซี่หยักตื้นๆ ประปราย ยอดอ่อนมีขนคล้ายกำ�มะหยี่ ใบแก่บางแข็ง ด้านล่างมีขนนุ่มสีน้ำ�ตาล มีต่อมสีน้ำ�ตาลเป็นมัน ใบย่อยไม่มีก้านใบ ก้านใบร่วม ขนาด 5-10 ซม. เป็นปีกกว้าง ทั้งในต้นที่โตเต็มที่ ดอก ขนาด 0.5-0.7 ซม. สีขาวและมีสีครามเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และซอกใบบน ยาว 30 ซม. ก้านดอกสั้นมีขนหนา ชั้นกลีบเลี้ยง ขนาด 2-4 มม. มีขนคล้ายกำ�มะหยี่ ผลสีม่วงเข้มถึงดำ� กลม มีแผงขน สีน้ำ�ตาลแดงที่ปลาย และที่ฐานมีชั้นกลีบเลี้ยงติดอยู่ ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ชิงชัน 26

ชื่อสามัญ : ชิงชัน ชื่อวิทยาศาสตร์: Dalbergia oliveri Gamble ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 15-25 ม. ใบบาง ต้นแก่เรือนยอดกว้างโปร่ง เปลือกต้นสีเทาเข้ม เป็นเกล็ดและหลุดออกเป็นชิ้นเล็กๆ เปลือกชั้นในสีเหลือง แก่นไม้ สีแดงแก่ ใบขนาด 16-35 ซม. ใบย่อย 5-7 คู่ ขนาดใบย่อย 3.5-8 x 1.5-3 ซม. ใบอ่อนสีชมพู ใบแก่สีเขียวเทาเข้ม ผิวเรียบเกลี้ยง ดอกขนาด 1.2 ซม. ดอกตูมสีม่วง บาน สี ม่ ว งอ่ อ นหรื อ ขาว ช่ อ ยาว 11-16 ซม. กลี บ เลี้ ย งขนาด 3.5-5 มม. สีม่วง กลีบดอกบนกลมยาวเท่ากับความกว้าง กลีบล่างสั้นกว่าเล็กน้อย เกสรตัวผู้ สองมั ด ขนาดผลเท่ า กั บ 10-15 x 3-5 ซม. ฝั ก แคบและแหลมทั้ ง สองด้ า น มี 1-3 เมล็ด ขนาด 13-10 มม. สีน้ำ�ตาลแดง ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


แดง ชื่อสามัญ : แดง ชื่อวิทยาศาสตร์: Xylia xylocarpa Taub. var. kerrii Nielsen ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-MIMOSACEAE 27 ลักษณะ : ไม้ต้นผลัดใบ สูง 15-25 ม. เปลือกลำ�ต้นบางสีครีมอมน้ำ�ตาล หรือน้ำ�ตาลอมแดง เปลือกชั้นในสีชมพู ใบประกอบขนนกสองชั้น ก้านใบชั้นที่หนึ่ง มีหนึ่งคู่ ยาว 15-35 ซม. แต่ละเส้นมีใบย่อย 3-7 คู่ เรียงตรงกันข้าม ใบบนใหญ่ที่สุด มีขนาด 5-15 x 3-6 ซม. ยอดอ่อนมีขนสีเหลืองปกคลุม ใบแก่ด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างขนสีน้ำ�ตาลเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนๆ ช่อกลมหรือช่อสั้นๆ ไม่แตกแขนง ก้านช่อยาว 4-5 ซม. ดอกย่อยไม่มีก้าน กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมกันเล็กน้อยที่ฐาน กลีบยาว 4-5 ซม. ผลขนาด 10-15 x 5-7 ซม. ฝักหนา แข็ง โค้งเล็กน้อยสอบลงที่ฐาน แตกเป็นสองส่วน โค้งไปด้านหลัง เมล็ดแบน ขนาด 2x1.5 ซม. มีเมล็ด 6-10 ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


กุ๊ก

28

ชื่อสามัญ : กุ๊ก ชื่อวิทยาศาสตร์: Lannea coromandelica (Houtt.) Merr. ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-17 ม. ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย 3-6 คู่ โคนใบหรือเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ดอกช่อแบบ กระจะออกซอกใบ ช่อห้อยลงยาว 10-30 ซม. ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย จะแยกกันอยู่คนละต้น กลีบเลี้ยงมี 4-6 กลีบ กลีบดอกมี 4-5 กลีบ สีเหลืองอ่อน รังไข่เป็นหมันมี 4 พู ดอกเพศเมีย มีเกสรเพศผู้ที่เป็นหมัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียขนาดสั้นและแยกเป็น 3-4 อัน ผลสดมีเนื้อบาง ยาว 1.0-1.2 ซม. ผลค่อนข้างแบน ผลสุกสีแดงภายในมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด ประโยชน์ : ใยจากเปลื อ กต้ น ใช้ ทำ � เชื อ ก เปลื อ กต้ น รั ก ษาอาการปวดฟั น เป็นยาต้มแก้อ่อนเพลีย แก้ไข้ ต้มอาบเมื่อเป็นฝี รักษาโรคเรื้อน และโรคผิวหนัง

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


แคทราย ชื่อสามัญ : แคทราย ชื่อวิทยาศาสตร์: Stereospermum neuranthum Kurz. ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE ลักษณะ : ไม้ผลัดใบ สูงถึง 15-20 ม. เรือนยอดมีกิ่งก้ านมาก ลำ�ต้นสั้น 29 เปลือกต้นสีน้ำ�ตาลออกครีม หลุดร่อนเล็กน้อย ใบ 25-45 ซม. ใบประกอบแบบขนนก ปลายคี่ ใบย่อย 2-4(6) คู่ 6-13 x 3-6 ซม. มนรีสอบเข้าที่ปลายทั้งสอง ใบแก่เกลี้ยง หรือมีขนสีขาวเล็กๆ ประปรายด้านล่าง มักจะมีต่อมแบนๆ สีเข้มขนาดใหญ่ใกล้ฐานใบ ก้านใบเรียวเล็ก 0.5-1.7 ซม. แต่ใบย่อย 11-18 x 5-11 ซม. รูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้างปลายป้าน มีขนละเอียดด้านล่าง ก้านใบ 0.1-0.5 ซม. ดอก 2.5-3.5 ซม. สีขาวอมเขียว มี เ ส้ น สี ม่ ว งเข้ ม ช่ อ ดอกยาว 5-14 ซม. ก้ า นดอกมี ข นเล็ ก น้ อ ยหลอดกลี บ เลี้ ย ง 0.9-1.5 ซม. พูของหลอดกลีบดอก ด้านในปิดบางส่วนของปากกรวย ด้านในไม่มีขน ผล 35-50 x 0.6-0.9 ซม. มีสันบางๆ ไม่มีขน ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะมื่น 30

ชื่อสามัญ : กระบก ชื่อวิทยาศาสตร์: Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn. ชื่อวงศ์ : IRVINGIACEAE ลักษณะ : ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูง 25-30 ม. เรือนยอด ทึบและแผ่กว้างลำ�ต้นหนา พูพอนขนาดใหญ่ เปลือกต้นสีน้ำ�ตาลเทาอ่อน เปลือกชั้นใน สีส้มอ่อน ใบขนาด 6-15 x 3-6 ซม. ใบเดี่ยว เรียงแบบวนรอบ รูปมนรี ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบแก่ผิวเรียบ ด้านบนเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างมีนวลสีเขียวเทา เส้นใบข้าง มีจำ�นวน 8-12 คู่ ก้านใบมีขนาด 0.8-1.3 ซม. ตาใบเรียวแหลม มีหูใบ เป็นกรวยยาว ห่อหุ้ม แต่หลุดร่วงง่าย ทิ้งร่องรอยเป็นวงแหวนบนกิ่ง ดอกขนาด 0.4-0.7 ซม. สี ข าวอมเขี ย ว เป็ น กลุ่ ม ช่ อ สั้ น ๆ ในซอกใบ ดอกจะออกก่ อ นที่ จ ะเกิ ด ใบชุ ด ใหม่ ดอกร่วงอย่างรวดเร็ว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมกัน กลีบดอก 5 กลีบ ยาวเป็น 3 เท่า ของกลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้ 10 อัน ติดกับขอบนอกของหมอนรองดอก ผล ขนาด 4-7 ซม. สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อสุก ภายในมีสีส้ม ผลห้อยมีก้านยาวๆ คล้ายกับมะม่วง ขนาดเล็ก ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง ภายในมี 1 เมล็ด ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน เมล็ดกินได้

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะเกิ้ม ชื่อสามัญ : มะกอกเกลื้อน ชื่อวิทยาศาสตร์: Canarium subulatum Guill. ชื่อวงศ์ : BURSERACEAE ลั ก ษณะ : ไม้ ต้ น ผลั ด ใบสู ง 15-20 ม. ลำ � ต้ น เปลาตรง เรื อ นยอดกลม 31 เปลือกสีน้ำ�ตาลเทา เปลือกในสีน้ำ�ตาลอ่อนมีขีดเส้นขาว น้ำ�ยางใส และเปลี่ยนเป็นสีดำ� เมื่อปล่อยทิ้งไว้ ใบยาว 15-40 ซม. ใบย่อย 2-5 คู่ ขนาด กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-15 ซม. ฐานใบเบี้ยว ขอบใบหยักเป็นซี่ละเอียด กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำ�ตาลส้มหนา ใบแก่เกลี้ยงหรือ มีขนน้อย ด้านล่างใบ ก้านใบร่วมมีหูใบแคบหนึ่งคู่ ใบแก่สีแดงเข้ม ดอก ขนาด 1 ซม. สี ค รี ม เป็ น กลุ่ ม เล็ ก ๆ ในซอกใบช่ อ ยาว 8-25 ซม. กลี บ เลี้ ย งยาว 3-4 ซม. แยกเป็น 3 พู มีขนนุ่มทั้งสองด้าน กลีบดอก 3 กลีบยาวเป็น 2 เท่า ของกลีบเลี้ยง ติดกันที่ฐาน ผลขนาด 2.5-3 ซม. ช่อยาว 2.5-8 ซม. สีเขียวเหลืองรูปไข่ ปลายแหลม หน้าตัดตามขวางเป็นสามเหลี่ยมยางสีส้มอ่อน ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง ภายในมี 3 (2) เมล็ด ประโยชน์ : ผลและเมล็ดกินได้ ยอดอ่อนกินเป็นผักสด ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืนเผาถ่าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ก่อแพะ 32

ชื่อสามัญ : ก่อแพะ ชื่อวิทยาศาสตร์: Quercus kerrii Craib ชื่อวงศ์ : FAGACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ สูง 5-15 ม. เปลือกต้นสีน้ำ�ตาลถึงเทาหนา ประมาณ 2 ซม. แตกเป็นร่องลึก เปลือกชั้นในสีแดง ใบเดี่ยวเรียงสลับ ใบกว้าง 3-10 ซม. ยาว 9-25 ซม. ขอบใบมี ซี่ ห ยั ก แหลมคม ใบอ่ อ นสี ช มพู มี ข นสี ท องหนาแน่ น ใบแก่สเี ขียวหม่น เกลีย้ งทัง้ สองด้าน ผล กาบหุม้ มากกว่าครึง่ หนึง่ ของผล ขนาดประมาณ 0.8 ถึง 2.5 ซม. รูปถ้วยหรือรูปจาน มีวงเป็นซี่ละเอียด ประมาณ 6-9 วง ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะตึง ชื่อสามัญ : แสลงใจ ชื่อวิทยาศาสตร์: Strychnos nux-vomica L. ชื่อวงศ์ : LOGANIACEAE 33 ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ สูง 10-15 ม. กิ่งก้านยาวทอดแผ่กว้าง เปลื อ กต้ น สี เ ทาอ่ อ น เกลี้ ย งมี ร อยย่ น ตามขวางบางครั้ ง มี ห นาม เรื อ นยอดเรี ย ว เล็กกว่า ใบ 5-18 x 4-12 ซม. เส้นใบหลัก 3 เส้น ผิวใบเกลี้ยง ก้านดอกมีขน หนาแน่ น และมี ก าบเล็ ก ๆ ชั้ น กลี บ เลี้ ย ง 0.5-1.5 มม. ผล 2.5-4.5 ซม. เมล็ดรูปคล้ายจาน 1-4 เมล็ดหนา <7 มม. ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


สะกึ๋น 34

ชื่อสามัญ : ยอป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda coreia Ham. ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE ลักษณะ : ไม้ผลัดใบเป็นพุ่มหรือไม้ขนาดเล็ก สูงถึง 8 ม. ทรงพุ่มมีกิ่งก้าน ไม่ เ ป็ น ระเบี ย บ ลำ � ต้ น สั้ น คดงอ เปลื อ ก ต้ น สี น้ำ � ตาลมี ร่ อ งแตกตามยาว ใบ 10-21 x 5-9 ซม. รูปไข่ ใบแก่บางมีขนนุ่มทั้ง 2 ด้าน ด้านล่างสีอ่อนกว่า มีต่อมจุดดำ� ๆ กระจายบนผิวล่าง เส้นใบข้าง 8-10 คู่ เส้นใบย่อยสานเป็นร่างแห เห็นชัดเจน ก้านใบ 0.6-2 ซม. หูใบ 3-5 ซม. รูปสามเหลี่ยม ปลายมักเป็นแฉกและ เชื่ อ มกั น เป็ น แผ่ น ร่ ว งหลุ ด ง่ า ย ดอก +2 ซม. สี ข าวบริ สุ ท ธิ์ ช่ อ ดอกกลมหลวมๆ อยู่ตรงข้ามกับใบ 1 ใบ หรือหลาย ๆ ช่อที่ปลายกิ่ง หลอดกลีบเกลี้ยงด้านบนแบน เชื่ อ มติ ด กั บ กลี บ ดอกข้า งเคี ย งที่ ฐาน หลอดกลี บ ดอกรู ป กรวย ปลายแยก 5(6)พู ยาว + ครึ่ ง หนึ่ งของหลอดกลีบ มีขนอ่อนนุ่มทั้ง 2 ด้าน เกสรตัวผู้สั้น 5-6 อัน ติดที่ปากหลอดไม่โผล่ออกมา ก้านเกสรตัวเมียยาวกว่าหลอดกลีบ ปลายแยก 2 แฉก รังไข่มีหมอนรองดอกชัดเจน ผลเชื่อมติดกันเป็นกลุ่มผิวขรุขระ ขนาด 1.5-3 ซม. สี เขี ย วเปลี่ ย นเป็ น ขาวมี เ นื้ อ ชุ่ ม น้ำ � แต่ ล ะผลย่ อ ยมี เ มล็ ด แข็ ง 1 เมล็ ด (pyrene) ก้านผลยาวถึง 4 ซม. ประโยชน์​์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะกอก ชื่อสามัญ : มะกอก ชื่อวิทยาศาสตร์: Spondias pinnata (L.f.) Kurz ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นสูง 15-25 ม. ทุกส่วนมีน้ำ�ยางใส ดอกออกช่วงที่มีการผลัดใบ 35 ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ยาว 20-30 ซม. มีใบย่อย 5-11 ใบ ใบย่อยรูปหอก หรือขอบขนาน ขนาดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-10 ซม. ไม่มีก้านใบย่อย โคนใบมน หรือเบี้ยว ปลายเรียวแหลม ขอบใบและผิวใบเรียบ ดอกช่อแยกแขนงออกปลายยอด ช่ อ ดอกยาว 15-20 ซม. กลี บ เลี้ ย ง 5 กลี บ แยกกั น สี ข าว กลี บ ดอก 5 กลี บ เรียงจรดกัน สีขาว แยกกัน เกสรเพศผู้ 10 อัน ติดบนฐานรองดอก ซึ่งมีขนาดใหญ่ สีเหลือง อับเรณู 2 พู ก้านชูอับเรณูติดที่ด้านหลังอับเรณูแตกตามแนวยาว รังไข่อยู่เหนือ วงกลีบ มี 5 ช่อง แต่ละช่องมี 1 ไข่อ่อน ติดตรงมุมที่เชื่อมติดกัน ก้านชูเกสรเพศเมีย แยกเป็น 5 แฉก ผล รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 2-3 ซม. ยาว 3-5 ซม. ประโยชน์​์ : ยอดกินกับน้ำ�พริก ลาบ ผล ปรุงรสอาหารให้มีรสเปรี้ยว

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ปุย 36

ชื่อสามัญ : กระโดน ชื่อวิทยาศาสตร์: Careya sphaerica Roxb. ชื่อวงศ์ : LECYTHIDACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 10-20 ม. เปลือกลำ�ต้นสีน้ำ�ตาลเทา หรือดำ� ใบเดี่ยวเรียงเวียนที่ปลายกิ่งใบรูปไข่ รูปขอบขนาน กว้าง 5-10 ซม. ยาว 15-25 ซม. ขอบใบหยั ก ปลายใบมน โคนใบแหลม ดอกช่ อ แบบกระจุ ก ดอกย่ อ ยแต่ ล ะดอก มี ข นาดใหญ่ ดอกสมบู ร ณ์ เ พศ กลี บ เลี้ ย ง 4 กลี บ โคนเชื่ อ มติ ด กั น เป็ น รู ป ระฆั ง ปลายแยก 4 แฉก กลีบแข็งหนาสีเขียวอ่อนยาว 2 ซม. กลีบดอก 4 กลีบ สีเขียวอ่อน กว้ า ง 1-2 ซม. ยาว 2-4 ซม. เกสรเพศผู้ จำ � นวนมาก ก้ า นชู อั บ เรณู สี ข าว เรียงเป็นสามชั้น ชั้นนอกยาวสุดไม่มีอับเรณู ชั้นกลางมีอับเรณู ชั้นในสั้น ไม่มีอับเรณู สามชั้นเชื่อมติดกัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ผลรูปกลมหรือรีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 ซม. กลีบเลี้ยงติดอยู่ เมล็ดมีรูปร่างแบน สีน้ำ�ตาลอ่อน รูปขอบขนานยา 1.2 ซม. ประโยชน์ : ยอดรับประทานเป็นผักสด เปลือกต้น สมานแผล แก้เคล็ดเมื่อย แก้ ไข้ แก้ อั ก เสบจากงู กั ด ในกรณี งู พิ ษ ยั ง ไม่ ค วรใช้ เปลื อ กต้ น ใช้ เ ป็ น สี ย้ อ มผ้ า เส้นใยใช้ทำ�เชือกและกระดาษ

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


งิ้วป่า ชื่อสามัญ : งิ้วป่า ชื่อวิทยาศาสตร์: Bombax ceiba Linn. ชื่อวงศ์ : BOMBACACEAE ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 20-35 ม. เปลือกลำ�ต้นสีเทาอ่อนหรือสีครีม 37 ในต้นอ่อนมีหนามแข็งทั่วไป เมื่อแก่ผิวเปลือกเรียบ ใบย่อยขนาด 9-15 x 4-6 ซม. มนรีแคบหรือรูปหอก ปลายทั้งสองข้างสอบเข้า ผิวเรียบเกลี้ยง ก้านใบย่อยขนาด 2-3 ซม. ก้านร่วม 10-20 ซม.ดอกขนาด 9-12 ซม. สีส้มแดงสดใส ออกดอกขณะใบแก่ร่วงไป กลีบเลี้ยงขนาด 1.5-2 ซม. สีเขียวสด รูปถ้วยปลายแยกห้าแฉกสั้น กลีบดอกหนา อุ้ ม น้ำ � บานแผ่ อ อก เกสรตัวผู้สีส้มอ่อนมากกว่ า 50 อัน เรียงเป็นสองวงเชื่อมกัน เป็น 10 มัด ล้อมรอบก้านเกสรตัวเมียสีแดงเข้มที่ยาวเรียว ปลายแยกเป็นห้าแฉก ผลขนาด 12-18 x 5-7 ซม. รูปขอบขนาน ผลตรงไม่มีสันมีร่องตื้นๆห้าร่อง ประโยชน์ : เกสรตากแห้งใช้ประกอบเป็นอาหาร

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


แคหางค่าง 38

ชื่อสามัญ : แคหางค่าง ชื่อวิทยาศาสตร์: Markhamia stipulata Seem. var. kerrii Sprague. ชื่อวงศ์ : BIGNONIACEAE ลักษณะ : ไม้ผลัดใบ สูงถึง 15 (25) ม. เรือนยอดโปร่ง กิ่งก้านระเกะระกะ เปลือกต้นสีครีมออกน้ำ�ตาล มีรอยตามแนวยาวเล็กน้อย เปลือกชั้นในมีชั้นสีส้มอ่อนกับ ส้มแก่สลับกัน ใบ 25-55 ซม. ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ใบย่อย 2-5 คู่ มักมีใบปลายมีกา้ นยาว ขอบใบมีซลี่ ะเอียดค่อนข้างแหลม ด้านล่างของใบแก่มขี นสีน�้ำ ตาล อ่อนที่หลุดอ่อนง่าย และต่อมที่จมในผิวใบใกล้ฐานใบ ก้านใบย่อยด้านข้าง ยาว 3-5 ซม. ใบย่อยคู่ล่างกลมและเล็กกว่าใบอื่น ๆ มาก 1.5-3 ซม. ดูคล้ายหูใบ ดอก 7-10 ซม. สีครีมหรือน้ำ�ตาลเหลือง ช่อดอกแคบไม่แตกแขนงออกปลายกิ่ง ยาว 14-33 ซม. หลอดกลีบเลี้ยง 3.5-5.5 ซม. หลอดแยกออกข้างหนึ่งและปลายโค้งไปด้านหลัง ไม่มีพูหรือซี่หยัก หลอดกลีบดอกรูปกรวยกว้าง มีตุ่มนูน (2-3 มม.) หลายตุ่มด้านนอก ผล 45-70 ซม. ตรงหรือโค้งเล็กน้อยไปหาปลายไม่มีสันแตกได้ ตามยาวเป็น 2 ซีก เมล็ด +3.5 ซม. รูปสี่เหลี่ยม มีปีกใสทั้งสองด้าน ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ตองตึง ชื่อสามัญ : พลวง ชื่อวิทยาศาสตร์: Dipterocarpus tuberculatus Roxb. var. tuberculatus ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20-25 ม. ล�ำต้นตรง 39 เปลือกต้นแตกเป็นสะเก็ดลึก เปลือกต้นเทา หรือน�้ำตาล กิ่งก้านเป็นตะปุ่มตะป�่ำและ คดงอ ใบเดี่ยวออกสลับรูปหัวใจ กว้าง 35-40 ซม. ยาว 15-35 ซม. ฐานใบกลมหรือ รูปหัวใจ ใบแก่เรียบเกลี้ยง หูใบสีน�้ำตาล หรือสีชมพูสดยาว 8-12 ซม. ดอก 2-3 ซม. ช่อละ 6-8 ดอก เกสรตัวผู้ 28-30 อัน กลีบดอกสีม่วงแดงเข้ม เพียงด้านเดียว ผลกลมมีปีก 2 ปีก สีน�้ำตาลแดงยาว 15-20 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5-3.5 ซม. มีเส้นยาวตามปีก 3-5 เส้น ผิวเรียบไม่มีขน ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน ใบใช้มุงหลังคา

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เคาะ 40

ชื่อสามัญ : ตะคร้อ ชื่อวิทยาศาสตร์: Schleichera oleosa (Lour.) Oken ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE ลักษณะ : ไม้ผลัดใบ สูง 25 ม. เปลือกต้นสีครีมถึงน้ำ�ตาล เปลือกชั้นในสีครีม หรือชมพู ใบรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ขนาด 25-46 ซม. ใบย่อย 1-4 คู่ กว้าง 4-11 ซม. ยาว 7-30 ซม. โคนใบไม่เท่ากัน ใบอ่อนมีขนนุ่ม สีม่วงแดง ผิวเรียบหรือมีต่อมที่มีขน เส้นแขนงใบ 10-21 คู่ ก้านใบย่อย ยาว 0.1-0.2 ซม. ก้านใบร่วม ยาว 5-17 ซม. ดอก เป็นช่อยาวเรียว สีเขียวอ่อนหรือเขียวเหลือง ช่อยาว 19 ซม. ก้านดอกย่อย ยาว 0.3 ซม. กลี บ เลี้ ย ง 4-6 กลี บ รู ป สามเหลี่ ย ม มี ข นสี ข าว ไม่ มี ก ลี บ ดอก เกสรเพศผู้ 5-9 อัน ยาวเป็น 3 เท่าของกลีบเลีย้ ง ยอดเกสร เพศเมีย หยักเป็นพู 3-4 พู มี ทั้ ง ดอกสมบู ร ณ์ เ พศ และดอกเพศผู้ แ ยกต้ น ผล ผลกลมปลายเป็ น ติ่ ง แหลม ขนาด 1.5-2.5 ซม. สี เขี ย วสดเปลี่ ย นเป็ น น้ำ � ตาล ผิ ว เกลี้ ย งไม่ แ ตก มี เ นื้ อ ใสๆ หรือสีเหลืองคล้ายวุ้น ห่อหุ้มเมล็ดสีน้ำ�ตาล จำ�นวน 1-2 เมล็ด ประโยชน์ : ผลรับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ใช้เป็นยาระบาย

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เหมือดจี้ ชื่อสามัญ : เหมือดจี้ ชื่อวิทยาศาสตร์: Memecylon scutellatum (Lour.) Hk. & Arn. ชื่อวงศ์ : MELASTOMATACEAE 41 ลั ก ษณะ : ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง ถึ ง 8 ม. ลำ � ต้ น มั ก คดงอ เปลื อ กสี น้ำ � ตาลเข้ ม มี ร อยแตกละเอี ย ด เปลื อ กชั้ น ในสี ค รี ม ใบมี ก้ า นใบเรี ย วเล็ ก กว้ า ง 1-2 ซม. ยาว 2-4 ซม. กิ่ ง ก้ า นหน้ า ตั ด เป็ น รู ป สี่ เ หลี่ ย มมี 4 สั น ดอก 0.5 ซม. สี ม่ ว ง ออกเป็นช่อแน่น ก้านดอกประมาณ 0.3 ซม. เรียวเล็กมีรอยต่อและใบประดับที่ฐาน ชั้ น กลี บ เลี้ ย งรู ป กรวยปลายแยก 4 แฉก กลี บ ดอก 4 กลี บ บานโค้ ง กลั บ และ หลุดร่วงง่าย เกสรตัวผู้ 8 อัน ก้านชูสีม่วงอับเรณูสีเหลือง ก้านเกสรตัวเมียประมาณ 3 มม. รังไข่ฝังในฐานรองดอก มีหมอนรองดอกเป็น 8 ร่อง ผลประมาณ 9 มม. สีเหลืองเปลี่ยนเป็นม่วงอมน้ำ�เงิน ผลกลมมีก้านเกสรตัวเมียติดข้างบน มีเนื้อบางและ เมล็ดขนาดใหญ่ ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ยมหิน 42

ชื่อสามัญ : ยมหิน ชื่อวิทยาศาสตร์: Chukrasia velutina Wight & Arn. ชื่อวงศ์ : MELIACEAE ลักษณะ : ไม้ไม่ผลัดใบ สูงถึง 35 ม. เปลือกต้นสีน้ำ�ตาลเข้ม มีรอยแตกห่างๆ ตามยาว เปลื อ กด้ า นในสี แ ดง ใบยาว 30-85 ซม. ใบย่ อ ย (5)8-13 คู่ ขนาด 7-13 x 3-4.5 ซม. ฐานใบเบี้ยว ใบอ่อนมีขนละเอียด ใบแก่เรียบเกลี้ยง มีเส้นใบข้าง 7-10 คู่ ก้านใบย่อย 0.3-0.5 ซม. ก้านใบร่วม 7-11 ซม. ดอก 2.5-3 ซม. สี เ หลื อ งอ่ อ นมั ก จะมี สี แ ดงหม่ น แต้ ม ด้ า นนอก ช่ อ ดอกออกเป็ น กลุ่ ม ตรงซอกหรื อ เหนือซอกใบ บางครั้งออกปลายกิ่งแต่ละก้านดอก ยาว 0.3 ซม. ไม่มีขน กลีบเลี้ยง ยาว 1-2 มม. กลี บ ดอกแคบ 4-5 กลี บ ยาว 0.7 ซม. โค้ ง ไปข้ า งหลั ง มีขนคล้ายกำ�มะหยี่ เกสรตัวผู้เป็นหลอดแคบที่ปลาย มีอับเรณู 10 อัน ติดกับขอบที่เรียบ หรือเป็นซี่เล็กๆ รังไข่เกลี้ยง ยาวกว่าก้านเกสรตัวเมีย มีหมอนแบนๆ รูปถ้วยล้อมรอบ ผล 4 ซม. สีเทาออกเหลือง ผลอ่อนมีขนเล็กน้อย ผลแก่ย่นและแตกออกเป็น 3 เสี้ยว เมล็ดมากมาย แต่ละเมล็ดมีปีก ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืนเผาถ่าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ส้าน ชื่อสามัญ : ส้านหิ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dillenia parviflora Griff. var. kerrii (Craib) Hoogl. ชื่อวงศ์ : DILLENIACEAE 43 ลักษณะ : ไม้ผลัดใบสูงถึง 40 ม. เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง มีกิ่งห้อยลงไม่มีระเบียบ เปลือกต้นเรียบสีน้ำ�ตาลอ่อน ใบ ยาว 15-25 ซม. แต่ในต้นอ่อนมักมีขนาดใหญ่มาก (ถึง 100 ซม.) รูปไข่กลับแคบ ปลายป้านค่อยๆ สอบที่โคนยอดมีขนอ่อนปกคลุม ใบแก่มีขนหยาบๆ เส้นใบข้างมี 22-35 คู่ ก้านใบยาว 1-3.5 ซม. พองและแผ่ออก โอบฐานของกิ่ง ดอก สีเหลืองขนาด 3-5(6) ซม. ช่อละ 2-7 ดอก ออกบนกิ่งที่ไม่มีใบ ก้ า นดอก 0.5-3 ซม. กลี บ เลี้ ย ง 5 กลี บ ซ้ อ นกั น ด้ า นนอกมี ข นคล้ า ยไหม กลี บ ดอก 5 กลี บ กลี บ กลมฐานแคบ เกสรตั ว ผู้ 150-200 เรี ย งเป็ น 2 วง ยาว 11-14 มม. เกสรตัวเมีย 5-8 หน่วย ผล 1.5-1.8 ซม. สีเหลืองถึงส้มอ่อน ผลสดไม่แตก ประโยชน์​์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้านและทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


กาสามปีก 44

ชื่อสามัญ : กาสามปีก ชื่อวิทยาศาสตร์: Vitex peduncularis Wall. ex Schauer ชื่อวงศ์ : LABIATAE ลักษณะ : ไม้ผลัดใบ หรือกึ่งผลัดใบ สูง 15-25 ม. เปลือกต้นสีเทาอ่อนเกลี้ยง หรือแตกตื้นๆ หลุดออก เปลือกชั้นในสีส้มอ่อนอมครีม ใบกระกอบ 3 ใบ ใบย่อย 9-16 ซม. ใบแก่บาง ด้านล่างเกลี้ยงหรือมีขนบางๆ และมีจุดต่อมยาง ก้านใบย่อยด้านข้าง ขนาด 0.6-1.5 ซม. ก้านใบร่วม 6-10 ซม. มักจะมีปีกในต้นอ่อนแต่ไม่มีปีกในต้นแก่ ดอกขนาด 0.8-1.2 ซม. ก้านใบร่วม 6-10 ซม. สีข าวมีแต้มสีเหลืองหรือม่วง ช่อดอกแตกแขนงแคบๆ ออกในซอกใบหรือหลังใบ ช่อยาว 11-25 ซม. ก้านดอก ยาว 2-5 ซม. ก้ า นเรี ย วมี ก ลี บ เล็ ก ๆ ชั้ น กลี บ เลี้ ย งและกลี บ ดอกมี ข นและมี จุ ด สีเหลืองมันๆ ด้านนอก ชั้นกลีบเลี้ยง ขนาด 1-2 มม. หลอดกลีบดอก 2-4 มม. ปากล่างยาวกว่าหลอดกลีบ ผล ขนาด 0.5-1.0 ซม. สีเขียวอมเหลือง สีแดงเข้มอมม่วง ถึงดำ� มีเนื้อและชั้นหุ้มแข็ง ภายในมี 4 เมล็ด ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มูก ชื่อสามัญ : โมก ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia arborea (Dennst.) Mabb. ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE 45 ลักษณะ : ไม้ต้นผลัดใบ สูง 15-20 ม. ใบขนาด 8-15 x 3-7 ซม. ออกตรงข้ามกัน ในระนาบ ใบแก่ด้านล่างมีขนสั้นๆ มีต่อมระหว่างซอกเส้นใบ ก้านใบขนาด 0.3-0.8 ซม. มีขน ดอกขนาด 1.6-2.5 ซม. สีขาว แต้มสีเหลืองหรือเขียว พบบางครั้ง ช่อดอกออก ปลายกิ่ ง ก้ า นช่ อ ยาว 3.6-8 ซม. ก้ า นดอก ขนาด 0.6-1.2 ซม. กลี บ เลี้ ย ง ขนาด 0.1-0.4 ซม. มีขนและมีต่อม 5 ต่อม ด้านในหลอดกลีบดอก ขนาด 0.4-0.7 ซม. พู ก ลี บ 0.8-1.6 ซม. ซ้ อ นทั บ ทางซ้ า ย มี ข น 2 ด้ า น เกล็ ด สี ส้ ม 10 เกล็ ด ปลายแยก 2-3 พู เกสรตั ว ผู้ 5-8 มม. ผลขนาด 3.5-10 x 0.5-2.0 ซม. สีน้ำ�ตาล มีรูอากาศเป็นจุดสีครีม ผลเกลี้ยง รูปทรงกระบอก แคบมีร่องตื้นๆ ทั้งสองด้าน เมล็ดขนาด 1-1.5 ซม. ด้านหนึ่งมีแผงขนยาวชี้ไปที่ฐานของผล ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เหมือดโลด 46

ชื่อสามัญ : เหมือดโลด ชื่อวิทยาศาสตร์: Aporosa villosa (Wall. Ex Lindl.) Baill. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 7-12 ม. สีน้ำ�ตาลออกเหลืองเปลือกหนา แตกเป็นร่องลึก ตามยาว ใบ รูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 6-10 ซม. ยาว 10-16 ซม. ปลายตัดหรือเป็นติ่ง ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย โคนใบมนหรือแหลม ก้านใบ ยาว 1.2-2.2 ซม. มีขนสีน้ำ�ตาลออกเหลือง เนื้อใบค่อนข้างหนา ด้านบนเกลี้ยงหรือ มีขน ด้านล่างมีขนสีน้ำ�ตาลออกเหลือง ดอก ออกเป็นช่อ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย อยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ ขนาดเล็กยาว 2-4 ซม. มีใบประดับรูปไข่ ด้านนอกและ ขอบมี ข น กลี บ เลี้ ย งเชื่ อ มติ ด กั น ปลายแยกเป็ น 3-6 กลี บ ไม่ มี ก ลี บ ดอก เกสรเพศผู้ มี 2 อั น เรณู แ ตกตามยาว ดอกเพศเมี ย มี ช่ อ สั้ น กว่ า รั ง ไข่ มี ข น สีน้ำ�ตาลออกเหลือง ภายในมี 1 ช่อง มี 2 ไข่อ่อน ต่อหนึ่งช่อง ก้านเกสรเพศเมีย แยกเป็ น 2 แฉก ผล รู ป ไข่ ปลายมี ติ่ ง แหลม สี ส้ ม มี ข นสี น้ำ � ตาลเหลื อ ง กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 10 มม. มี 1 เมล็ด ประโยชน์ : เปลือกต้น นำ�ไปสับ ตากแห้ง นำ�ไปทำ�ไส้บุหรี่ ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน ถ่าน เนื้อไม้รสร้อน ขับโลหิตระดู ขับลมในลำ�ไส้ แก้แน่นจุกเสียด ให้สีย้อมสีแดง

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เปล้าหลวง ชื่อสามัญ : เปล้าใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton roxburghii N.P.Balakr. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE 47 ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8 ม. ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน หรือรูปหอกโคนใบและปลายใบแหลม ขอบใบหยัก กว้าง 5-10 ซม. ยาว 9-30 ซม. เส้ น แขนงใบ 12-16 คู่ ที่ ฐ านมี ต่ อ ม 2 ต่ อ ม ดอก ออกเป็ น ช่ อ ที่ ป ลายกิ่ ง ตั้งตรง ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย อยู่บนต้นเดียวกันหรืออยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้ มี ก ลี บ รองดอกรู ป ขอบขนาน มี ข นหนาแน่ น ที่ ฐ านดอก กลี บ ดอกเป็ น เกล็ ด ยาว เกสรเพศผู้ 12 อัน ดอกเพศเมีย มีกลีบรองดอก รูปขอบขนาน กลีบดอกขนาดเล็ก รูปยาวแคบ ขอบมีขน ผลรูปกลมมี 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม. ด้านบนแบนมีเกล็ด ประโยชน์​์ : ใช้ในการอยู่ไฟ โดยนำ�ใบมาลนไฟ ให้สตรีหลังคลอดบุตรนั่ง ช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ใบ แก้ลมจุกเสียด บำ�รุงกำ�ลัง แก้กระหาย แก้เสมหะและ ลม ดอก แก้พยาธิ ลูก ดองสุรา ขับโลหิตในเรือนไฟ เปลือก แก้เลือดร้อน กระพี้ ช่วยย่อยอาหาร เนื้อไม้ แก้ริดสีดวงลำ�ไส้ และริดสีดวงทวารหนัก แก่น แก้ลมอันผูก เป็นก้อนให้กระจาย ราก แก้น้ำ�เหลืองเสีย ผื่นคัน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะเกลือ 48

ชื่อสามัญ : มะเกลือ ชื่อวิทยาศาสตร์: Diospyros mollis Griff. ชื่อวงศ์ : EBENACEAE ลักษณะ : ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ สูง 10-25 เมตร ขนาดใบ 5-12 x 1.8-5 ซม. ใบเดี่ ย ว ใบอ่ อ นมี ข นสี เ งิ น ใบแก่ ห นา เมื่ อ แห้ ง ผลสี ดำ � เส้ น ใบข้ า ง 10-15 คู่ ก้านใบยาว 0.6-1.2 ซม. ดอกตัวผู้ ชั้นกลีบเลี้ยงแยกลึก หนึ่งในสามของชั้นเป็น 4 พู โค้ ง ไปด้ า นหลั ง หลอดกลี บ เลี้ ย งกลม 5-8 ซม. แยกลึ ก ทั้ ง สองด้ า นครึ่ ง หนึ่ ง ของหลอดกลี บ เกสรตั ว ผู้ จำ � นวน 14-24 อั น ไม่ มี ข น ดอกตั ว เมี ย ใหญ่ ก ว่ า ก้านดอก 1-3 มม. เกสรตัวผู้เป็นหมัน 8-10 อัน รังไข่มีขน ผลขนาด 1.5-2.5 ซม. กลมหรือรูปไข่ สีดำ� ไม่มีเนื้อ ประโยชน์ : ผลสดเป็นยาถ่ายพยาธิ

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ตับเต่า ชื่อสามัญ : ตับเต่าต้น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros ehretioides Wall. ex G. Don ชื่อวงศ์ : EBENACEAE 49 ลั ก ษณะ : ไม้ ต้ น ผลั ด ใบ สู ง 10-15 เมตร เปลื อ กลำ � ต้ น สี น้ำ � ตาลอมแดง หรืออมเทา มีรอยแตกใบเดี่ยว กว้าง 10-27 ซม. ยาว 8-24 ซม. ใบอ่อนมีขน ใบแก่เหนียว เรียบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย เส้นใบข้าง 6-12 คู่ ก้านใบยาว 1.5-2.5 ซม. ดอกตั ว ผู้ ชั้ น กลี บ เลี้ ย ง 2-3 มม. ชั้ น กลี บ ดอก 3-5 มม. ทั้ ง สองชั้ น มี พู แ ยกลึ ก หนึ่งในสามของชั้น เกสร 20-30 อัน ดอกตัวเมียก้านเกสรและรังไข่มีขนยาวปกคลุม ผลขนาด 2-3 ซม. สีเหลืองถึงแดงอมน้ำ�ตาล ชั้นกลีบเลี้ยงแยกเป็นพูรูปขอบขนานโค้ง ไปด้านหลัง แต่ไม่เป็นคลื่น มีเส้นใบลางๆ ประโยชน์​์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ขว้าว 50

ชื่อสามัญ : ขว้าว ชื่อวิทยาศาสตร์: Haldina cordifolia Ridsd. ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ เรือนยอดกลม โปร่ง สูง 5-10 ม. ลำ�ต้นตรง ฐานมีร่อง เปลือกต้นสีน้ำ�ตาลอ่อนถึงเทา ผิวเรียบ หรือมีเกล็ด มีร่องเล็กๆ ตามยาว เปลือกชั้นในสีชมพู ถึงน้ำ�ตาลเข้ม ใบเดี่ยวเรียงสลับขนาด 5-15 x 10-20 ซม. ออกตรงกันข้าม ใบกลม หรือรูปไข่กว้าง ใบอ่อนสีเขียวอ่อนมีกา้ นใบสีชมพู โคนใบเว้า กิ่ ง ก้ า นอ่ อ นเป็ น สี่ เ หลี่ ย มมี ต าตุ่ ม กลมและแบน ดอกช่ อ กลมแบ่ ง ช่ อ กระจุ ก แน่ น จำ�นวนมากออกตามปลายกิ่ง เมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่านศูนย์กลางช่อ 2- 3 ซม ผลเป็ น กลุ่ ม กลมกว้ า ง 0.3-0.4 ซม. ผลแห้ ง จะมี แ กนแข็ ง ๆ กั้ น ระหว่ า งเมล็ ด ผลแตกจากปลายผลลงระหว่างแกนแข็ง เมล็ดขนาดเล็ก ปลายแหลม ปีกแคบ ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เก็ด ชื่อสามัญ : กระพี้เขาควาย ชื่อวิทยาศาสตร์: Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE 51 ลักษณะ : ไม้ผลัดใบขนาดเล็กน้อยที่จะสูงถึง 20 ม. ลำ�ต้นตรง เรือนยอดแคบ และโปร่ง เปลือกต้นสีครีมค่อนข้างมีรอยย่นตามแนวขวาง เปลือกชัน้ ในสีแดงออกน้�ำ ตาล แก่ น ไม้ สี ม่ ว งแก่ ใบ 10-20 ซม. ใบย่ อ ย 3-6 คู่ 2.5-5 x 1.5-2 ซม. เส้นใบข้าง 9-12 คู่ ยอดอ่อนมีขนสีขาว ใบแก่เกลี้ยง ดอก 5-6 มม. สีขาวหรือสีชมพู ช่อยาว 5-8 ซม. ดอกออกก่อนผลิใบ กลีบเลี้ยง 3-5 มม. พูกลีบล่าง ยาวใกล้เคียงกับ กลีบอื่น กลีบดอกกลีบบนกลมหรือรูปหัวใจ กว้างเท่ากับความยาว ฐานแคบ กลีบอื่นๆ สั้ น กว่ า เล็ ก น้ อ ย กลี บ ล่ า งสุ ด โค้ ง งอ เกสรตั ว ผู้ เชื่ อ มติ ด เป็ น แผ่ น ด้ า นหนึ่ ง เปิ ด ผล 2.5-10 x 1.5-2 ซม. รูปขอบขนานมักจะโค้งงอเล็กน้อย ก้านผล 0.5-1.5 ซม. 1-3 เมล็ด ขนาด 10 x 6 มม. ตำ�แหน่งเมล็ดชิดค่อนไปด้านหนึ่งของฝัก ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะคัง 52

ชื่อสามัญ : มะคัง ชื่อวิทยาศาสตร์: Gardenia erythroclada Kurz ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็ก ผลัดใบ กิ่งก้านไม่เป็นระเบียบ สูง 8 ม. มีหนามยาวตรง เป็นคู่ๆ ใบขนาด 5-10 x 3-7 ซม. รูปไข่ ใบบางมีขนหยาบๆ ด้านบน ด้านล่างขน นุ่ ม หนาแน่ น ก้ า นใบยาว 0.5-1.0 ซม. หู ใ บแคบ ปลายแหลม ยาวถึ ง 1 ซม. ดอกเล็ ก สี เขี ย ว ช่ อ เล็ ก ยาว 3-4 ซม. ก้ า นดอก 0.5-0.7 ซม. มี ข นละเอี ย ด หลอดกลี บ ดอกทรงกลม ปลายแยก 5 พู รู ป สามเหลี่ ย มสลั บ กั บ เกสรตั ว ผู้ สั้ น ๆ ก้านเกสรตัวเมียยาวกว่าหลอดกลีบปลายเป็นปุ่มกลม ผลขนาด 3-5 ซม. สีเขียวเหลือง ทรงกลมอาจเป็ น พู ห รื อ เป็ น มุ ม ปลายผล มี ร อยของชั้ น กลี บ เลี้ ย งเป็ น วงและ มีติ่งแหลม 5 ติ่ง ผลมีเนื้อ เมล็ดแข็ง สีน้ำ�ตาลแดง ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ติ้วหนาม ชื่อสามัญ : ติ้วหนาม ชื่อวิทยาศาสตร์: Cratoxylum formosum subsp. Pruniflorum (Kurz) Gogel. ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE 53 ลั ก ษณะ : ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก ถึ ง ขนาดกลาง สู ง 8-15 ม. ผลั ด ใบ เปลือกต้นสีน้ำ�ตาลเทา ใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบมนแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-14 ซม. โคนใบสอบเรียว ปลายใบสอบเข้า ด้านล่างใบมีขนนุ่ม ใบอ่อนสีชมพู ถึ ง สี แ ดง ดอกออกเป็ น กระจุ ก ตามกิ่ ง ดอกสี ช มพู อ่ อ นถึ ง แดง กลี บ เลี้ ย ง 5 กลี บ มีขน กลีบดอก 5 สีชมพูอ่อนถึงสีแดง มีขนนุ่ม เกสรเพศผู้จำ�นวนมาก รังไข่อยู่เหนือ วงกลีบ ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 3 ผลรูปไข่ปลายแหลม กว้าง 0.4-0.6 ซม. ยาว 1.3-1.8 ซม. ก้านผล ยาว 1 ซม. ผลแก่จะแตกตามรอยประสานเป็น 3 แฉก เมล็ดมีปีกโค้ง ประโยชน์ : ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอก รับประทานเป็นผัก กับอาหารประเภท ส้มตำ� ลาบ น้ำ�ตก ไม้ใช้ทำ�ฟืนและเผาถ่านมีคุณภาพดีมาก

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะกอม 54

ชื่อสามัญ : มะกอม ชื่อวิทยาศาสตร์: Microcos paniculata L. ชื่อวงศ์ : TILIACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นสูง 15-20 ม. ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกระบอกแน่นทึบ ลำ�ต้นมีร่องเล็กน้อย เปลือกสีน้ำ�ตาลอ่อน หลุดเป็นชิ้นๆ เปลือกชั้นในเป็นเส้นใย ใบขนาดกว้าง 6-8 ซม. ยาว 12-20 ซม. ใบระนาบรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ฐานป้านหรือกลม ขอบใบเรียบหรือมีหยักตื้นๆ ที่ปลาย ใบแก่สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างใบเกลี้ยงหรือมีขนประปรายบนเส้นใบ เส้นใบที่ฐานสามเส้น มีเส้นใบย่อย ห่ า งกั น 4-8 คู่ ก้ า นใบยาว 0.5-2.0 ซม. มี ข นยาวสี ข าว หู ใ บแคบแหลม ดอกขนาด 1.0-1.5 ซม. สีเหลืองสด เป็นกลุ่มช่อที่ปลายกิ่ง ประโยชน์​์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ติ้ว ชื่อสามัญ : ติ้วขน ชื่อวิทยาศาสตร์: Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 8-15 ม. ลำ�ต้นค่อนข้างเปลาตรง 55 กิ่งอ่อนเกลี้ยง และปลายกิ่งมักเปลี่ยนสภาพเป็นหนามแข็งอยู่ตามลำ�ต้น ใบเดี่ยวเรียง ตรงข้าม รูปรีหรือรูปหอก กว้าง 2.0-3.5 ซม. ยาว 4.5-10.0 ซม. โคนและปลาย ใบสอบ หรือบางทีปลายใบมน เนื้อใบบางเกลี้ยง ส่วนทางท้องใบมักมีสีจ างนวล ใบอ่อนจะออกสีชมพูอ่อน ขอบใบเรียบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นกระจุก 2-5 ดอก กลีบเลี้ยง และกลี บ ดอก 5 กลี บ แต่ ล ะกลี บ แยกกั น กลี บ ดอกสี ส้ ม หรื อ แดงเข้ ม แกมขาว เกสรเพศผูจ้ �ำ นวนมากและรวมกันเป็นกลุม่ สามกลุม่ รังไข่ รูปรี ผลแห้งรูปรี ผิวแข็งเกลีย้ ง เป็นมัน พอแก่จะแตกออกเป็น 3 เสี่ยง ประโยชน์ : ใบอ่อนและยอดอ่อน เป็นผักจิ้ม ช่วยระบายอ่อน ๆ เนื้อไม้ ใช้ทำ�ฟืน ถ่านคุณภาพดีเปลือกใช้ทำ�สีย้อม

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เสี้ยว 56

ชื่อสามัญ : เสี้ยว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia purpurea Linn. ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็กสูง 5-15 เมตร ลำ�ต้นสีเทา ถึงสีน้ำ�ตาลเข้มเปลือก ค่อนข้างเรียบหรือแตกเป็นร่องขนาดเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ รูปมนเกือบกลม แยกเป็นพู ปลายมนกลม กว้าง 8-16 ซม. ยาว 10-14 ซม. ขอบใบเรียบ ดอกออก เป็นช่อออกด้านข้างหรือปลายกิ่ง 6-10 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูถึงม่วงเข้ม รูปรีกว้างตรงส่วนกลาง เมื่อบานวัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6-8 ซม. ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ลักษณะของดอกคล้ายดอกกล้วยไม้ เกสรตัวผู้ จะเป็นเส้นงอนยาวยื่นออกมาตรงกลาง ดอก 3 อัน ส่วนเกสรตัวเมียจะอยู่ตรงกลางดอกอีก 1 เส้น รังไข่มีขน ผลเป็นฝัก ยาว 20-25 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปร่างกลมมีประมาณ 10 เมล็ด ประโยชน์​์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน ปลูกเป็นไม้ประดับ

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ขี้เหล็ก ชื่อสามัญ : ขี้เหล็กบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE 57 ลักษณะ : ไม้ต้น สูง 8-15 ม. ผลัดใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ช่อใบ ยาว 30 ซม. มี ใ บย่ อ ย 5-10 คู่ ใบย่ อ ยออกตรงข้ า มกั น รู ป รี แ กมขนานแคบ โคนใบสอบแคบเข้ า เล็ ก น้ อ ย ปลายใบมนหรื อ เว้ า ตื้ น ยอดอ่ อ นและใบอ่ อ น สีออกแดงเรื่อๆ ดอกออกเป็นช่อยาวประมาณ 30 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แต่ละกลีบ ไม่ติดกัน กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองเข้ม มีก้านกลีบดอก เกสรเพศผู้ 10 อัน มี 2 อัน ที่ขนาดใหญ่กว่าอันอื่น รังไข่รูปรี ผิวมีขนประปราย ฝักแบน นูนตรงตำ�แหน่งที่เมล็ด ติดอยู่ ฝักกว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาว 15-30 ซม. ผลแก่สีน้ำ�ตาล มีเมล็ด 20-30 เมล็ด ประโยชน์​์ : ดอกตูม ยอดอ่อน ประกอบอาหาร ทำ�ให้เจริญอาหาร แก้ท้องผูก ช่วยให้นอนหลับ ราก แก้ไข้

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะขามป้อม 58

ชื่อสามัญ : มะขามป้อม ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูง 8-12 ม. เปลือกนอกสีน้ำ�ตาลออกเทา เปลือกในสีชมพู ใบเดี่ยวเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ใบรูปขอบขนาน กว้าง 0.2-0.5 ซม. ยาว 0.8-1.5 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้นมาก ดอกแยกเพศ เกิดบนต้นเดียวกันออกที่ซอกใบ 3-5 ดอก ดอกเพศผู้ มีก้านดอก ยาว 2.0-2.5 มม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ สีขาวนวล ไม่มีกลีบดอก เกสรเพศผู้ 3 อัน ก้านชูเกสรเพศผู้เชื่อมติด ดอกเพศเมีย มีกลีบเลี้ยง 6 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย สีเขียวอ่อน รังไข่มี 3 ช่อง ก้านชูเกสรเพศเมียเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 3 แฉก ผลกลม มีเนื้อหนา เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2-2.0 ซม. ผลแก่สีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีริ้วตามยาว 6 เส้น เมล็ดสีเขียวเปลือกหุ้ม เมล็ดแข็ง ประโยชน์​์ : ผลแก่ รั บ ประทานเป็ น ผลไม้ มี ร สเปรี้ ย วอมฝาด แก้ ก ระหายน้ำ � ทำ�ให้ชุ่มคอและมีปริมาณวิตามินซีสูง ราก แก้ร้อนใน รักษาความดันโลหิตสูง แก้ท้องเสีย แก้โรคเรื้อน แก้พิษตะขาบกัด รักษามะเร็งลาม แก้มะเร็งกรามช้าง ทำ�ให้เส้นเอ็นยืด เปลือกต้น แก้บิด แก้ท้องร่วง ใบ แก้ผิวหนังเป็นผื่นคันมีน้ำ�เหลือง

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ซางดอย ชื่อสามัญ : มะม่วงหัวแมงวัน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Buchanania glabra Wall. ex Hk. f. ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE 59 ลักษณะ : ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ ขนาดเล็ก สูง 5-10 ม. เปลือกต้นสีเทาเข้ม มีรอยแตกระแหงแคบๆ และลึก เปลือกชั้นในสีชมพูมีน้ำ�ยางใสที่ไม่มีพิษ ใบเดี่ยว ขนาด 5-12 x 14-26 ซม. ในมนรีแคบหรือขอบขนาน ปลายมนมักมีติ่ง ใบอ่อนมีขน สี น้ำ � ตาลอมแดงหนาแน่ น ใบแก่ แ ข็ ง และเหนี ย ว มั ก มี ข นที่ เ ส้ น ใบด้ า นล่ า ง เส้นใบข้าง 10-17 คู่ นูนขึ้นมาเล็กน้อย เส้นใบที่เล็กกว่าจะเห็นเป็นชั้นๆ คล้ายบันได ก้านใบยาว 1.4-3.0 ซม. ดอก ขนาด 0.5 ซม. สีขาวเป็นช่อที่ปลายกิ่งและในซอก ใบบนๆ ก้านดอกร่วมอ้วน มีขนสีน้ำ�ตาลหนาแน่น กลีบเลี้ยง 4-5 พู มีขนด้านนอก ก ลี บ ด อ ก 4 - 5 ก ลี บ เ ก ส ร ตั ว ผู้ 8 - 1 0 อั น มี อั บ เร ณู รู ป ข อ บ ข น า น ผลขนาด 1.0-1.3 ซม. สีม่วงรูปไข่ หรือเป็นทรงมะม่วง ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ขี้เหล็กโคก 60

ชื่อสามัญ : แสมสาร ชื่อวิทยาศาสตร์: Senna garrettiana Craib ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE ลั ก ษณะ : ไม้ ต้ น ผลั ด ใบ ขนาดเล็ ก สู ง 8-10 เมตร ใบย่ อ ย 6-9 คู่ ขนาด 5-9 ซม. รู ป ไข่ ปลายใบยาวไม่ มี ต่ อ ม ใบแก่ เ กลี้ ย งหรื อ เกื อ บเกลี้ ย ง หู ใ บหลุ ด ร่ ว งไว ดอกสี เ หลื อ งสด ช่ อ ดอกแคบออกที่ ป ลายกิ่ ง ยาว 9-20 ซม. กลีบดอก 1.5-1.8 ซม. เกสรตัวผู้ 2 อันยาวกว่าที่เหลือ ผล 15-22 x 2-4 ซม. ฝักแบนและมักบิดเป็นเกลียว ก้านผล 3 ซม. ประโยชน์​์ : เป็นส่วนประกอบของยารักษาโรคริดสีดวงทวาร

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เม่า ชื่อสามัญ : มะเม่า ชื่อวิทยาศาสตร์: Antidesma sootepense Craib ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลั ก ษณะ : เป็ น ไม้ พุ่ ม หรื อ ไม้ ต้ น ขนาดเล็ ก สู ง 8-10 ม. ใบเดี่ ย วรู ป ไข่ ก ลั บ 61 กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 6-8 ซม. โคนสอบแคบ ปลายเรียวแหลม ก้านใบยาว 2-7 มม. มีขน หูใบ รูปแถบกว้าง 1-2 มม. ยาว 3-7 มม. ดอก ออกเป็นช่อ ใบประดับรูปกลม กลี บ เลี้ ย งเชื่ อ มติ ด กั น ช่ อ ดอกเพศผู้ ยาว 5-14 ซม. กว้ า ง 0.6 มม. ดอกเพศผู้ กว้าง 1-1.5 มม. ยาว 2-2.5 มม. กลีบดอกรูปกลม กว้าง 0.8 มม. ยาว 0.5 มม. กลี บ เลี้ ย งจำ � นวน 3 กลี บ ยาว 1.5-2 มม. อั บ เรณู ก ว้ า ง 0.6 มม. ยาว 0.3 ม. ช่อดอกเพศเมีย ยาว 2-3 ซม. ดอกเพศเมีย กว้าง 1 มม. ยาว 2 มม. วงกลีบเลี้ยง กว้างและยาว 1 มม. กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ รังไข่รูปไข่เลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียมี 3 หรือ 4 แฉก ผล ติดเป็นช่อยาว 2-5 ซม. ก้านช่อยาว 1.5-3 มม. ผลรูปรีทรงกระบอก กว้าง 3-4 มม. ยาว 4-6 มม. ประโยชน์ : ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว กินเป็นผลไม้ ยอดอ่อนใช้ประกอบอาหาร

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะตาปู๋ 62

ชื่อสามัญ : ปรู๋ ชื่อวิทยาศาสตร์: Alangium salviifolium Wang. subsp. hexapetalum ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ลั ก ษณะ : ไม้ ต้ น ผลั ด ใบ สู ง 5-15 เมตร ขนาดใบ 5-15 x 3-8 ซม. ใบเดี่ยว ออกในแนวระนาบ ใบรูปไข่ หรือไข่กลับ ปลายเป็นติ่งหรือป้าน ฐานใบค่อนข้าง สมมาตร ใบแก่เรียบเกลี้ยง ด้านล่างมีขนประปรายบนเส้นใบ ก้านใบยาว 0.4-1.6 ซม. ดอก 1.3-3.5 ซม. สีเหลืองอ่อนหรือครีม ช่อดอกสั้น มีดอก 3-17 ดอกต่อช่อ ก้ า นช่ อ สั้ น มาก 0.1-0.3 ซม. ตาดอกแคบและยาว พองออกที่ ฐ าน ก้ า นดอก ขนาด 0.2-0.8 ซม. ชั้นกลีบเลี้ยง 1-2 มม. ปลาย 5-7 พู กลีบเป็นเส้นยาวโค้ง ไปด้านหลังเมื่อดอกบาน เกสรตัวผู้ 10-18 อัน มีขนยาวที่ขอบ และปลายอับเรณูยาว กว่าก้านชู ผลขนาด 1-2 ซม. สีแดงแล้วเปลี่ยนเป็นดำ� รูปกลม มีชั้นกลับเลี้ยงติดที่ปลาย ผลเกลี้ยงหรือมีขนห่างๆ บางทีมีสันเล็กๆ 12 สัน ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง ภายในมี 1 เมล็ด ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ลำ�ไยป่า ชื่อสามัญ : คอแลน ชื่อวิทยาศาสตร์: Nephelium hypoleucum Kurz ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE 63 ลักษณะ : ไม้ต้นสูงถึง 36 เมตร เปลือกเรียบหรือร่อนเป็นสะเก็ดใหญ่ สีน้ำ�ตาลเทา มีช่องระบายอากาศ ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับมีใบย่อย 12 คู่ เรียงตรงข้าม บางครั้งเยื้องกัน แผ่นใบย่อยรูปไข่ถึงรูปรี ปลายป้านถึงแหลมหรือเรียว โคนแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อถึง 12 ซ.ม. ผลรูปกลมถึงรูปกลมรี เปลือกเป็นตุม่ ยาวคล้ายหนามอ่อนปลายแหลมทัว่ ทัง้ ผล เมือ่ สุกสีเหลือง สีสม้ หรือสีชมพู เมล็ดมีเยื่อหุ้ม ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน ผลกินได้

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


มะเม่าสาย 64

ชื่อสามัญ : เม่าสาย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma acidum Retz. ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE ลักษณะ : เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก 10 ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 ซม. ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ กว้าง 2.5-4 ซม. ยาว 5-10 ซม. โคนสอบแคบ ปลายเรียวแหลม ก้านใบยาว 2-7 มม. มีขน หูใบ รูปแถบกว้าง 1-2 มม. ยาว 3-7 มม. ดอก ออกเป็นช่อ ใบประดับรูปกลม กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ช่อดอกเพศผู้ ยาว 5-14 ซม. กว้าง 0.6 มม. ดอกเพศผู้ กว้าง 1-1.5 มม. ยาว 2-2.5 มม. กลีบดอกรูปกลม กว้าง 0.8 มม. ยาว 0.5 มม. กลีบเลี้ยงจำ�นวน 3 กลีบ ยาว 1.5-2 มม. อับเรณูกว้าง 0.6 มม. ยาว 0.3 ม. ช่อดอกเพศเมีย ยาว 2-3 ซม. ดอกเพศเมีย กว้าง 1 มม. ยาว 2 มม. วงกลีบเลี้ยง กว้างและยาว 1 มม. กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ รังไข่รูปไข่เลี้ยง ยอดเกสรเพศเมียมี 3 หรือ 4 แฉก ผล ติ ด เป็ น ช่ อ ยาว 2-5 ซม. ก้ า นช่ อ ยาว 1.5-3 มม. ผลรู ป รี ท รงกระบอก กว้าง 3-4 มม. ยาว 4-6 มม. ประโยชน์​์ : ใบอ่อนมีรสเปรี้ยว ทำ�อาหารใส่ในแกง และกินเป็นผัก ผลกินได้

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


แหน ชื่อสามัญ : สมอพิเภก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia bellerica (Gaertn.) Roxb. ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE 65 ลั ก ษณะ : ไม้ ผ ลั ด ใบสู ง ถึ ง 30(40) ม. ทรงพุ่ ม รู ป ไข่ ก ว้ า ง ลำ � ต้ น ยาวตรง เมือ่ ต้นโตเต็มทีจ่ ะมีพพู อนเล็กน้อย เปลือกต้นสีเทามีรอยแตกแคบ ๆ เปลือกบางและเปราะ เปลื อ กชั้ น ในสี เ หลื อ ง ใบ 7-23 x 3-14 ซม. เรียงแบบสลับ เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับหรือมนรี ยอดอ่อนมีขนหนาแน่น ใบแก่เรียบและเหนียว เส้นใบข้าง 6-7 คู่ จรดกันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบเรียวเล็ก 2.5-6(9) ซม. มักจะมีต่อมเล็กๆ 2 ต่อมอยู่เหนือ หรือกลางก้าน ดอก 0.4-0.6 ซม. สีเหลืองหรือเขียวอ่อน เป็นช่อห้อยลง ยาว 5-18 ซม. มักจะเป็นดอกตัวผู้ช่วงบน ช่วงล่างเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ชั้นกลีบเลี้ยงรูปถ้วย 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมโค้งไปข้างหลัง เกสรตัวผู้ 3-3.5 มม. ก้านเกสรตัวเมีย 4 มม. รังไข่ 2-3 มม. หมอนรองดอกมีขนหนาแน่น ผล 1.8-3.5 ซม. สีน้ำ�ตาลเข้มเหลือบเงินหรือสีทองแดง มีขนคล้ายกำ�มะหยี่ ผลรูปไข่หรือลูกข่างไม่มปี กี บางครัง้ มีสนั ลาง ๆ 5 สัน เมือ่ แห้งผลเหนียว ชั้นหุ้มเมล็ดแข็ง ประโยชน์​์ : ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ฮกฟ้า 66

ชื่อสามัญ : รกฟ้า ชื่อวิทยาศาสตร์: Terminalia alata Heyne ex Roth ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE ลักษณะ : ไม้ต้น ไม่ผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง 30 ม. เปลือกลำ�ต้น สีเทามีรอ่ งยาวลึกและเป็นเกล็ด เปลือกชัน้ ในสีแดง ในฐานมักเบีย้ ว ยอดอ่อนมีขนปกคลุม ใบแก่เรียบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ด้านล่างที่เส้นกลางใกล้ฐานใบมีต่อม 1-2 ต่อม ใบกว้ า ง 5-10 ซม. ยาว 12-20 ซม. เส้ น ใบข้ า ง 10-16 คู่ ขนานกั น ก้านใบยาว 1-2 ซม. ดอก ขนาด 0.5 ซม. สีเหลืองอ่อน เป็นช่อแคบยาว 6-18 ซม. ชั้นกลีบดอกรูปถ้วย แยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ยาวประมาณ 4 มม. ผลขนาด 3-5 ซม. สีแดงสดสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำ�ตาลอ่อนรูปขอบขนาน ปีกเป็นคลื่น 5 ปีก กว้าง 1-2 ซม. ประโยชน์​์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ปอยาบ ชื่อสามัญ : ปอยาบ ชื่อวิทยาศาสตร์: Grewia disperma Rottler. ชื่อวงศ์ : TILIACEAE 67 ลักษณะ : ไม้พุ่มหรือไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูงถึง 12 ม. กิ่งก้านเรียวเล็กลู่ลง เปลื อ กต้ น สี เ ทาบางและเรี ย บหรื อ มี ร อยแตกเล็ ก น้ อ ย ใบ 4-10 x 3-5.5 ซม. (ถึง 15 x 7 ซม. ในช่ออ่อน) รูปไข่กว้างในระนาบ ฐานไม่สมมาตรขอบใบมีซี่เล็กๆ ค่อนข้างคม ใบแก่ด้านบนค่อนข้างหยาบด้านล่างสีขาวออกเทา มีขนรูปดาวหนาแน่น เส้นใบที่ฐาน 4-6 เส้น เส้นกลาง 2 เส้นทอดไปเกือบถึงปลายใบ ก้านใบ 0.5-1.0 ซม. ดอก 0.8-1.5 ซม. สีเหลืองออกเขียว ออกเป็นช่อตั้งตรง (cyme) ช่อละ 3-8 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกมาก กลีบดอกมีต่อมน้ำ�หวานที่ฐานด้านใน ปลายเกสรตัวเมีย 4-5 พู รังไข่มีขนหนาแน่น ผล +1 ซม. เนื้อบาง กลม หรือรูปไข่ มีติ่งเล็กที่ปลาย เมื่อสุกสีดำ�และมีพูตื้น ๆ 2-4 พู ประโยชน์ : ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เหียง 68

ชื่อสามัญ : ยางเหียง ชื่อวิทยาศาสตร์: Depterocarpus obtusifolius Teijsm. Ex Miq. var. obtusifolius ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่สูง 10-20 ซม. ลำ�ต้นตรงเปลือกต้นแตกเป็น สะเก็ดลึก เปลือกต้นสีน้ำ�ตาล ใบเดี่ยวออกสลับรูปรี กว้าง 10-15 ซม. ยาว 20-30 ซม. ฐานมน ปลายแหลม ขอบใบหยักตื้น เส้นใบเห็นชัดเจน ผิวใบทั้งสองด้านมีขนปกคลุม ก้านใบยาว 7-15 ซม. มีขน ดอกเดี่ยว ช่อออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ เชื่อมติดกัน เป็นหลอดปลายแยกเป็น 5 แฉก มี 2 กลีบ ที่มีขนาดยาวกว่ากลีบอื่น กลีบดอก 5 กลีบ ฐานเชื่ อ มติ ด กั น เล็ ก น้ อ ย กลี บ ดอกหนาอวบน้ำ � สี ช มพู ยาว 2.5-3.5 ซม. เกสรตัวผูจ้ �ำ นวนมาก เชือ่ มติดกับกลีบดอกเป็นวง รังไข่อยูเ่ หนือวงกลีบ ภายในมีชอ่ งว่าง 3 ช่อง ผลกลมมีปีก 2 ปีก สีน้ำ�ตาลแดงยาว 7-10 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ซม. ประโยชน์ : ปมที่ลำ�ต้น (ปลีเหียง) ใช้ในการเข้ายา และเป็นยาบำ�รุง วัว ควาย เนื้อไม้ใช้สร้างบ้าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เปือย ชื่อสามัญ : ตะแบก ชื่อวิทยาศาสตร์: Lagerstroemia floribunda Jack 69 ชื่อวงศ์ : LYTHRACEAE ลั ก ษณะ : ไม้ ต้ น สู ง 15-25 ซม. เปลื อ กต้ น ลอกหลุ ด เป็ น แผ่ น บางๆ ใบขนาด 80-25 x 5-10 ซม. ใบอ่ อ นสี ช มพู หรื อ สี ส้ ม อ่ อ นๆ มี ข นรู ป ดาว กิ่ ง ก้ า นมี สั น คม ดอก ขนาด 2.5 x 3.5 ซม. สี ช มพู อ่ อ นหรื อ ม่ ว ง สี จ างจนขาว ช่ อ ดอกยาว 30-40 ซม. ก้ า นช่ อ และดอกตู ม มี ข นละเอี ย ดสี น้ำ � ตาลทองปกคลุ ม ชั้นกลีบเลี้ยงมีสัน 10-12 เส้น ปลายแยก 5-6 กลีบ มักจะมี 5-6 ซี่ ระหว่างกลีบ และ มีขนสีน้ำ�ตาลข้างนอกและที่ปลายกลีบด้านใน ผล ขนาด 1.3-2.5 ซม. สีน้ำ�ตาลเข้ม รูปขอบขนาน ชั้นกลีบเลี้ยงปกคลุม ครึ่งหนึ่งของผล ประโยชน์​์ : ปมที่ลำ�ต้น (ปลีเหียง) ใช้ในการเข้ายา และเป็นยาบำ�รุง วัว ควาย เนื้อไม้ใช้สร้างบ้าน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


70

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


พรรณพืชน่าสนใจ

( ไม้พื้นล่าง )

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


บัวบก ชื่อท้องถิ่น : บัวบก ชื่อสามัญ : ดอกมะปู้ ชื่อวิทยาศาสตร์: Crinum wattii Baker ชื่อวงศ์ : AMARYLLIDACEAE

ก้องกูด ชื่อท้องถิ่น : ก้องกูด ชื่อสามัญ : ลิเภา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dryopteris amboinensis Ktze. ชื่อวงศ์ : DRYOPTERIDACEAE

72

จะล่อ ชื่อท้องถิ่น : จะล่อ ชื่อสามัญ : เขือง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leea macrophylla Roxb. ex Hornem. ชื่อวงศ์ : LEEACEAE

เอื้องหมายนา ชื่อท้องถิ่น : เอื้องหมายนา ชื่อสามัญ : เอื้องหมายนา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Costus speciosus Smith ชื่อวงศ์ : COSTACEAE

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


บุก ชื่อท้องถิ่น : บุก ชื่อสามัญ : บุก ชื่อวิทยาศาสตร์: Amorphallus linearis Gagnep. ชื่อวงศ์ : ARACEAE

หญ้าไข่เหา ชื่อท้องถิ่น : หญ้าไข่เหา ชื่อสามัญ : หญ้าไข่เหา ชื่อวิทยาศาสตร์: Panicum incomtum Trin. ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

ว่าน ชื่อท้องถิ่น : ว่าน ชื่อสามัญ : ว่าน ชื่อวิทยาศาสตร์: Curcuma sp ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

หญ้าคมบาง ชื่อท้องถิ่น : หญ้าคมบาง ชื่อสามัญ : หญ้าคมบาง ชื่อวิทยาศาสตร์: Carex stramentita Boott & Boeck. ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

73


สาปเสือ ชื่อท้องถิ่น : สาปเสือ ชื่อสามัญ : สาปเสือ ชื่อวิทยาศาสตร์: Eupatorium odoratum Linn. ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE

หญ้าคา ชื่อท้องถิ่น : หญ้าคา ชื่อสามัญ : หญ้าคา ชื่อวิทยาศาสตร์: Imperata cylindrical Beauv. ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE

74

เถาว์ลาย ชื่อท้องถิ่น : เถาว์ลาย ชื่อสามัญ : เถาว์ลาย ชื่อวิทยาศาสตร์: Oxystelma esculentum R.Br. ชื่อวงศ์ : ASCLEPIADACEAE

ข่าดอย ชื่อท้องถิ่น : ข่าดอย ชื่อสามัญ : ข่าดอย ชื่อวิทยาศาสตร์: Globba nuda K. Lar. ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ผักปลาบป่า ชื่อท้องถิ่น : ผักปลาบป่า ชื่อสามัญ : ผักปลาบป่า ชื่อวิทยาศาสตร์: Commelina bengalensis Linn. ชื่อวงศ์ : COMMELINACEAE

ถั่วป่า ชื่อท้องถิ่น : ถั่วป่า ชื่อสามัญ : ถั่วผี ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phaseolus lathyroides Linn. f. ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ถั่วนก ชื่อท้องถิ่น : ถั่วนก ชื่อสามัญ : ถั่วนก ชื่อวิทยาศาสตร์: Phaseolus adenanthus G.F.W. Mey. ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

หนามไก่ไห้ ชื่อท้องถิ่น : หนามไก่ไห้ ชื่อสามัญ : คนทา ชือ่ วิทยาศาสตร์ : Harrisonia perforata (Blanco) Merr. ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

75


คราม ชื่อท้องถิ่น : คราม ชื่อสามัญ : คราม ชื่อวิทยาศาสตร์: Indigofera hirsuta Linn. ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

เถาว์ยาง ชื่อท้องถิ่น : เถาว์ยาง ชื่อสามัญ : เถาว์ยาง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trachelospermum siamensise Craib ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

76

เปราะป่า ชื่อท้องถิ่น : เปราะป่า ชื่อสามัญ : เปราะป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaempferia marginata Carey ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

แหพันชั้น ชื่อท้องถิ่น : แหพันชั้น ชื่อสามัญ : แหพันชั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dumasia leiocarpa Benth. ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


พลูลาย ชื่อท้องถิ่น : พลูลาย ชื่อสามัญ : พลูลาย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Scindapsus pictus Hassk. ชื่อวงศ์ : ARACEAE

นมแมว ชื่อท้องถิ่น : นมแมว ชื่อสามัญ : นมแมว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anomianthus dulcis (Dun.) Sincl. ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE

มะหวด

ชื่อท้องถิ่น : มะหวด ชื่อสามัญ : มะหวด ชื่อวิทยาศาสตร์: Lepisanthes rubiginosa Leenh. ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE

พ่อค้าตีเมีย ชื่อท้องถิ่น : พ่อค้าตีเมีย ชื่อสามัญ : พ่อค้าตีเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Selaginella ostenfeldii Hier. ชื่อวงศ์ : SELAGINELLACEAE

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

77


เฟิร์นก้านด�ำ ชื่อท้องถิ่น : เฟิร์นก้านดำ� ชื่อสามัญ : เฟิร์นก้านดำ� ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adiantum erylliae C. Chr. & Tard. ชื่อวงศ์ : PAKERIACEAE

ไมยราบ ชื่อท้องถิ่น : ไมยราบ ชื่อสามัญ : ไมยราบ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimosa diplotricha C. Wright ex Sauv. var. diplotricha ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE

78

หญ้าก่อ ชื่อท้องถิ่น : หญ้าก่อ ชื่อสามัญ : หญ้ากกดอกขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cyperus kyllingia Endl. ชื่อวงศ์ : CYPERACEAE

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ทรัพยากรเด่น ( ด้านสัตว์ )

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ไก่ป่า

ชื่อท้องถิ่น : ไก่ป่า ชื่อสามัญ : ไก่ป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gallus gallus Common Name : Red Jungle Fowl

ลักษณะทั่วไป : ไก่ป่าตุ้มหูขาวตัวผู้มีตุ้มหูสีขาว หน้าและหงอนขนาดใหญ่มีสีแดงสด หัว คอ ปีกและหลังมีสีเหลืองสลับแดง ท้องดำ� หางสีดำ�เหลือบเขียว หางคู่กลางยื่นยาวกว่า หางเส้นอื่น ไก่ตัวเมียมีสีน้ำ�ตาลเรียบ ๆ ออกเทา หางสั้นและมีหงอนเล็กมาก

นกปิ๊ดจะริว นกกวิดก้นแดง

80

ชื่อท้องถิ่น : นกปิ๊ดจะริว นกกวิดก้นแดง ชื่อสามัญ : นกปรอดหัวโขน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnonotus jocosus Common Name : Red – whiskered Bulbul ลักษณะทั่วไป : มีสสี นั สวยงามและเสียงร้องไพเราะ แก้มและคอจนถึงหน้าอกมีสขี าวและ มีสีแดงเป็นเส้นอยู่ข้างหูลงมาถึงหน้าอก ขนส่วนหัวจะร่วมกันเป็นเหมือนหน่อตั้งอยู่ บนหัวสูงขึ้นไปเหมือนหัวโขน อันเป็นที่มาของชื่อใต้ท้องมีขนสีขาว ก้นสีแดง

นกเขา นกเขาตู้ ชื่อท้องถิ่น : นกเขา นกเขาตู้ ชื่อสามัญ : นกเขาใหญ่ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Streptopelia chinensis Common Name : Spotted Dove

ลักษณะทั่วไป : นกเขาใหญ่ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกัน หางยาว ลำ�ตัวเพรียว บนหัวมีสีเทาและหลังสีน้ำ�ตาล อกแดงและคอสีน้ำ�ตาลอมแดง ขาสีแดง ลักษณะ ที่เด่นชัด คือ มีแถบสีดำ�จุดขาวคาดบริเวณคอด้านหลัง ยกเว้นนกวัยอ่อนที่จะไม่พบ

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


นกเอี้ยง

ชื่อท้องถิ่น : นกเอี้ยง ชื่อสามัญ : นกเอี้ยงสาริกา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acridotheres tristis Common Name : Common Myna ลักษณะทั่วไป : ปากตรง ขาและเท้าใหญ่แข็งแรง หางสั้น ปีกแหลมยาว ขนปกคลุมลำ�ตัว สีน้ำ�ตาลเข้ม หัว คอและอกด้านบนสีดำ� ปีกมีแถบสีขาว ปลายหางขาว หนังที่หน้า มีสีเหลืองสด ปากเหลือง

นกจอก

ชื่อท้องถิ่น : นกจอก ชื่อสามัญ : นกกระจอกบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Passer mantanus Common Name : Tree Sparrow 81 ลักษณะทั่วไป : ปากเป็นกรวยอ้วนสั้น หัวค่อนข้างใหญ่ คอ หางและปีกสั้น หน้าผากจนถึง ท้ายทอยสีน้ำ�ตาลเข้มแกมแดง ตาสีดำ� คางมีแต้มสีดำ� แก้มและขนเกือบรอบหลังคอ เป็นสีขาว หัวด้านข้างและคอสีขาว ลำ�ตัวด้านบนและปีกสีน้ำ�ตาลเข้ม ขนปลายปีกมีแถบ สีขาวสองแถบ

นกแควะ นกกวิด

ชื่อท้องถิ่น : นกแควะ นกกวิด ชื่อสามัญ : นกปรอดสวน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pycnonotus blanfordi Common Name : Streak - eared Bulbu ลักษณะทั่วไป : สีขนเป็นสีน้ำ�ตาลอมเขียว ลำ�ตัวด้านบนสีเข้มกว่าด้านล่าง ขนใต้หาง มีสีเหลืองเล็กน้อย มีขีดสีขาวเรียงถี่ๆ บนขนคลุมหู ตัวผู้มีตาสีเทา ส่วนตัวเมียและตัวที่ยัง ไม่ใช่ตัวเต็มวัยมีสีน้ำ�ตาลอมเทา ความยาวจากปากจรดปลายหางประมาณ 20 เซนติเมตร

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ตุ่น ชื่อท้องถิ่น : ตุ่น ชื่อสามัญ : อ้นเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cannomys badius Common Name : Lesser Bamboo rat

ลักษณะทั่วไป : คล้ายหนูขนาดเล็ก มีขนอ่อนนุม่ สีน�้ำ ตาลหรือสีน�้ำ ตาลเทา ขนทีท่ อ้ งสีเข้มกว่า ที่หลัง หน้าผากอาจจะมีขนสีขาวขึ้นแซม ฝ่าเท้าเล็กเรียบ เป็นสัตว์ฟันแทะมีฟันหน้าที่ยาว ออกมาจากปาก 2 คู่ ซึ่งมีปลายแหลมคมแบบสิ่วหรือลิ่ม ใช้สำ�หรับการขุดดินและขบกัด

แมงอีเล็น อีเล็น

82

ชื่อท้องถิ่น : แมงอีเล็น อีเล็น ชื่อสามัญ : กระเล็นขนปลายหูสั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamiops macclellandi Common Name : Burmese Stripe Squirrel

ลักษณะทั่วไป : เป็ น กระรอกที่ มี ข นาดเล็ ก ที่ สุ ด ในประเทศไทย หู แ ละตามี ข นาดใหญ่ หลังมีลายแถบสีดำ� 5 แถบ สลับกับแถบสีจาง 4 แถบ หน้าผากและกระหม่อมมีสีเขียว ลำ�ตัวด้านข้างและขาสีเทา ขนปลายหูมีสีจาง ท้องมีสีออกส้ม หางเรียวมีจุดประสีเทาและดำ�

หนูต๊องขาว ชื่อท้องถิ่น : หนูต๊องขาว ชื่อสามัญ : หนูท้องขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rattus rattus Common Name : Roof rat, Black rat

ลักษณะทั่วไป : เป็ น หนู ข นาดกลาง ใบหู ใ หญ่ ขนตามลำ � ตั ว ด้ า นสี น้ำ � ตาลอ่ อ นหรื อ สีน้ำ�ตาลแดงหรือสีดำ� ขนท้องสีขาว มีลายสีดำ�เล็กๆ ที่หน้าอก หางสีดำ�ยาว มีเกล็ด ตลอดทั้งหาง จมูกแหลมกว่าหนูบ้าน มีความยาวลำ�ตัวและหัวประมาณ 18 เซนติเมตร

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ไหน่ ไหน่ข้างลาย

ชื่อท้องถิ่น : ไหน่ ไหน่ข้างลาย ชื่อสามัญ : กระจ้อน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Menetes berdmorei Common Name : Indochinese Ground Squirrel ลักษณะทั่วไป : เป็นกระรอกดินขนาดกลาง มีขนาดใหญ่กว่ากระเล็น จมูกยาว ลำ�ตัวด้านข้าง มีแถบสีเข้มสลับกับจาง ลำ�ตัวด้านบนสีน้ำ�ตาลแกมแดง ลำ�ตัวด้านล่างมีสีน้ำ�ตาลอ่อนๆ มีหางที่สั้นกว่าลำ�ตัว

กระต่าย ชื่อท้องถิ่น : กระต่าย ชื่อสามัญ : กระต่ายป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepus peguensis Common Name : Burmese hare 83 ลักษณะทั่วไป : ขนสีน้ำ�ตาลอมเทา มีใบหูยาวเห็นได้ชัด ฟันหน้าของขากรรไกรบนมี 4 ซี่ เรียงซ้อนกันเป็น 2 คู่ ฟันตู่หน้ามีขนาดใหญ่และยาวกว่าฟันคู่หลัง ขาคู่หลังยาวกว่า ขาคู่หน้า เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว มีขนปกคลุมใต้ฝ่าเท้าหนาแน่น หางสั้น เป็นกระจุก

จ่อนแจ้ ไหน่ ชื่อท้องถิ่น : จ่อนแจ้ ไหน่ ชื่อสามัญ : กระแตเหนือ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tupaia belangeri Common Name : Northern Treeshrew ลักษณะทั่วไป : ลำ�ตัวสีน้ำ�ตาลแดง มีรูปร่างลักษณะภายนอกคล้ายกระรอกแต่หน้ายาว ใบหูไม่มีขน หางไม่เป็นพวง

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


งูสิงทอง งูสิงอ้อย งูสิงหัวขาบ ชื่อท้องถิ่น : งูสิงทอง งูสิงอ้อย งูสิงหัวขาบ ชื่อสามัญ : งูสิงธรรมดา งูเห่าตะลาน งูสิงหัวขาบ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ptyas korros Common Name : Indochinese Rat Snake

ลักษณะทั่วไป : หัวกลมเรียว ตาโตกลมใหญ่และโปน ลำ�ตัวกลม สีค่อนข้างไปทางสีน้ำ�ตาล ปนเทาหรือสีน้ำ�ตาลเขียว มีลายเล็กน้อย สีลายไม่ค่อยชัดเจน หางเรียวยาวความยาว ประมาณ 1.5 - 2 เมตร งูสิงเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ว่องไว กินปลาเป็นอาหาร

แลน

84

ชื่อท้องถิ่น : แลน ชื่อสามัญ : ตะกวด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Varanus bengalensis nebulosus Common Name : Clouded Monitor, Bengal Monitor

ลักษณะทั่วไป : เกล็ ด บนคอไม่ ข ยาย รู จ มู ก อยู่ ใ นตำ � แหน่ ง ใกล้ ป ลายจมู ก มากกว่ า ตา จมูกยื่นยาวหลังสีดำ�มีเกล็ดสีเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป สีข้างบนแขนและขามีลายจุด สีเหลืองขอบดำ� เกล็ดลำ�ตัวมีลักษณะเป็นสัน เกล็ดท้องเรียบ

จะก่า จะก่าหัวเขียว ชื่อท้องถิ่น : จะก่า จะก่าหัวเขียว ชื่อสามัญ : กิ้งก่าหัวสีฟ้า กิ้งก่าสวน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calotes mystaceus Common Name : Blue Crested Lizard

ลักษณะทั่วไป : เป็นกิง้ ก่าขนาดกลาง แพงหนามบนสันคอต่อเนือ่ งกับแพงหนามบนสันหลัง ในฤดู ผ สมพั น ธุ์ ตั ว ผู้ จ ะมี สี สั น สดใส ส่ ว นหั ว จะเป็ น สี ฟ้ า มาถึ ง ครึ่ ง หน้ า ของลำ � ตั ว ขอบปากด้ า นบนมี แ ถบสี ขาวกว้ า งคาดสี ค่ อ นมาทางด้ า นบนมี จุ ด ใหญ่ ๆ สี น้ำ � ตาล เรียงเป็นแนวตามยาว 3 - 4 จุด

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


แย้ ชื่อท้องถิ่น : แย้ ชื่อสามัญ : แย้เหนือ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leiolepis reevesii Common Name : Northern Butterfly Lizard ลักษณะทั่วไป : รูปร่างคล้าย ๆ ตุ๊กแก แต่ปราดเปรียวและคล่องแคล่วกว่า ตอนกลางลำ�ตัว มีลักษณะเป็นแต้มสีเหลืองไหม้ผสมสีแสด นอกนั้นเป็นสีเทาบางๆ ท้องแบนยื่นออก สองข้าง ขายาว มีฝ่าเท้า นิว้ ยาว มีเล็บแหลมงอ หางยาวตอนโคนใหญ่เท่าหัวแม่มอื ฟันแหลม

จะก่า จะก่าหนาม

ชื่อท้องถิ่น : จะก่า จะก่าหนาม ชื่อสามัญ : กิ้งก่าแก้วเหนือ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calotes emma alticristatus Common Name : Northern Forest Crested Lizard 85 ลักษณะทั่วไป : หัวโต เกล็ดลำ�ตัวเป็นรูปหลายเหลี่ยม หัวและลำ�ตัวด้านบนสีเทาอมฟ้า หัวมีลายจุดสีแดงหรือสีสม้ ลำ�ตัวมีลายจุดสีสม้ กระจายทัว่ ไป และมีลายจุดสีเทาและสีขาว เรียงเป็นแถวตามแนวขวางลำ�ตัว หางมีลายสีเทาอมฟ้าสีเข้มสลับสีออ่ น ท้องสีขาวอมเทา อาจมีจุดสีส้ม

จะก่า จั๊กก่า

ชื่อท้องถิ่น : จะก่า จั๊กก่า ชื่อสามัญ : กิ้งก่าคอแดง กิ้งก่ารั้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calotes versicolor Common Name : Changeable lizard ลักษณะทั่วไป : มี ล ายเส้ น รั ศ มี ร อบดวงตา มี ห นาม 2 อั น เหนื อ ช่ อ งหู มี แ ผงหนาม จากท้ า ยทอยต่ อ เนื่ อ งไปบนหลั ง สี แ ละลวดลายมี ค วามหลากหลายและสามารถ เปลี่ยนสีตามพื้นที่ที่เกาะ ลำ�ตัวส่วนหลังและหางสีน้ำ�ตาลอ่อน แก้มและไหล่มีแต้มสีดำ� ขนาดใหญ่

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เขียดนา เขียดจิ๋ง เขียดขี้ควาย เขียดละอง เขียดอีโหย่ง

ชื่อท้องถิ่น : เขียดนา เขียดจิ๋ง เขียดขี้ควาย เขียดละอง เขียดอีโหย่ง ชื่อสามัญ : กบหนอง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fejervarya limnocharis Common Name : Grass Frog, Ricefield Frog

ลักษณะทั่วไป : ลำ�ตัวสีน�้ำ ตาลเทา อาจมีลายแถบสีครีม สีสม้ หรือสีเขียวจากปลายจมูกถึงก้น บางตัวอาจมีลายแต้มสีเขียว มีสันสั้น ๆ หรือตุ่มกระจายบนหลัง ขาสีน้ำ�ตาลมีลาย พาดขวางสีน้ำ�ตาลเข้ม ท้องสี เท้าหลังมีพังผืดประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวนิ้ว

เขียดตะป้าบ

86

ชื่อท้องถิ่น : ชื่อสามัญ : ชื่อวิทยาศาสตร์ : Common Name :

เขียดตะป้าบ ปาดบ้าน Polypedates leucomystax Four – lined Tree Frog

ลักษณะทั่วไป : หัวแบนกว้าง ลำ�ตัวด้านบนสีน้ำ�ตาลเหลือง น้ำ�ตาลอ่อน น้ำ�ตาลเทาหรือ น้�ำ ตาลแดง มีลายแต้มสีน�้ำ ตาลเข้มบริเวณหลังตาและสีขา้ ง ขามีลายพาดขวางสีน�้ำ ตาลเข้ม ริมฝีปากสีครีม ท้องสีขาว ปลายนิ้วแผ่ออกเป็นแผ่นกลมขนาดใหญ่ เท้าหลังมีพังผืด เต็มความยาวนิ้ว

เขียด

ชื่อท้องถิ่น : เขียด ชื่อสามัญ : เขียดหลังขีด ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rana macrodactyla Common Name : Stripe - backed frog

ลักษณะทั่วไป : ลำ�ตัวสีน้ำ�ตาลเข้ม มีจุดสีดำ� เหลืองหรือเขียว จากปลายหัวมีเส้นสีขาว ขนานกัน 4 – 5 เส้น พาดยาวกลางหลังไปจนถึงก้น เส้นที่ 2 และ 3 อยู่ตามแนวขอบหลัง เส้นที่ 4 และ 5 ต่ำ�ลงมาจากแผ่นหูถึงขาหลัง ขาสีเหลืองอมแดง ต้นขาและข้างแข้ง มีลายพาดสีน้ำ�ตาล ท้องสีขาว ใต้ขาสีเหลือง

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เขียด

ชื่อท้องถิ่น : เขียด ชื่อสามัญ : เขียดทราย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Occidozyga martensii Common Name : Marten’s Puddle Frog ลักษณะทั่วไป : ลำ�ตัวด้านบนสีน�้ำ ตาลเทา มีลายด่างพร้อยเลือนลางสีเทา อาจมีเส้นสีน�้ำ ตาล ตามแนวสันหลังจากปลายจมูกถึงก้น บนขามีลายแถบตามขวางสีเทาเข้ม ปลายนิ้ว แผ่ ก ลมแบนเล็ ก น้ อ ย นิ้ ว ที่ 1 สั้ น กว่ า นิ้ ว ที่ 2 และนิ้ ว ที่ 3 มี ค วามยาวมากที่ สุ ด นิ้วเท้ามีพังผืด

อึ่งอ่าง

ชื่อท้องถิ่น : อึ่งอ่าง ชื่อสามัญ : อึ่งอ่างบ้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Kaloula pulchra Common Name : Painted Burrowing Frog ลักษณะทั่วไป : 87 หน้าสั้น ลำ�ตัวอ้วนป้อม รูปร่างเกือบเป็นรูปสามเหลี่ยมกว้าง ลำ�ตัวสีน้ำ�ตาลเทา มีลายแถบกว้างสีน้ำ�ตาลอ่อน สีเทาอ่อน สีเหลือง ขอบสีน้ำ�ตาลเข้มบนหัวและบริเวณ สองข้างของขอบลำ�ตัวด้านบนจากตาถึงขาหนีบ ปลายนิว้ แผ่แบนปลายตัด นิว้ เท้ามีพงั ผืด เล็กน้อย

เขียดจา เขียดทราย

ชื่อท้องถิ่น : เขียดจา เขียดทราย ชื่อสามัญ : เขียดจะนา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Occidozyga lima Common Name : Common Puddle Frog ลักษณะทั่วไป : ผิวหยาบขรุขระ ลำ�ตัวสีน�้ำ ตาลส้ม บนหลังและหัวสีน�้ำ ตาลเทาเข้ม มีจดุ ขนาดเล็ก สีดำ�ตามลำ�ตัวและขา ท้องสีครีม บนขามีลายแถบตามขวางสีเทาเข้ม นิ้วเท้าหน้ามีพังผืด เล็กน้อย นิ้วเท้าหลังมีพังผืดเต็มความยาวนิ้ว มีปุ่มบนฝ่าเท้า 2 ปุ่ม และมีปุ่มใหญ่ บริเวณฝ่าเท้า

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ปลาดุก

ชื่อท้องถิ่น : ปลาดุก ชื่อไทย : ปลาดุกด้าน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clarias batrachus ชื่อสามัญ : Walking catfish, Batrachian walking catfish

ลักษณะทั่วไป : ลำ�ตัวแบนข้าง หัวแบนราบ ท้ายทอยยื่นแหลม ครีบหลังอยู่ค่อนข้างชิด กับท้ายทอย ครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางแยกกันชัดเจน ครีบท้องเล็ก ครีบหางเล็ก ปลายมนลำ�ตัวและครีบสีคล้ำ�อมเขียวมะกอก ลำ�ตัวมีจุดประขาวกระจายทั่ว ท้องสีจาง

ปลาขาว ปลาตะเพียน ปลาสะป้าก ชื่อท้องถิ่น : ปลาขาว ปลาตะเพียน ปลาสะป้าก ชื่อสามัญ : ปลาตะเพียนขาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Barbonymus gonionotus Common Name : Common Silver Barb

88

ลักษณะทั่วไป : ลักษณะคล้ายๆ ตะเพียนทอง แต่ลำ�ตัวยาวเพรียวกว่า และมีสีเงินวาว หลังสีคล้ำ�เล็กน้อย ลำ�ตัวแบนข้าง หัวเล็ก เกล็ดใหญ่ ปากเล็ก ครีบหลังมีก้านแข็ง ขอบหยักก้านแรก ครีบสีเหลือง ขอบเกล็ดเป็นสีดำ�

ปลานิล

ชื่อท้องถิ่น : ปลานิล ชื่อสามัญ : ปลานิล ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tilapia nilotica Common Name : Nile Tilapia

ลักษณะทั่วไป : รูปร่างค่อนไปทางสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ลำ�ตัวแบนข้าง ปากกว้าง ครีบหลัง มีก้านแข็ง จำ�นวนมาก ครีบอกยาว ครีบท้องใหญ่ ครีบหางปลายตัดมีเส้นแนวขวาง หลายเส้ น เกล็ ด ใหญ่ เป็ น แบบขอบหยั ก ตั ว มี สี อ อกเขี ย วหรื อ น้ำ � ตาลอมเหลื อ ง ด้านบนมีสีคล้ำ�อมเขียว มีแถบสีคล้ำ�ตามขวางลำ�ตัว 6 - 7 แถบ ด้านท้องมีสีชมพูเรื่อ หรือเหลือง

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


ปลายี่สก

ชื่อท้องถิ่น : ปลายี่สก ชื่อสามัญ : ปลายี่สก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Probarbus jullieni Common Name : Seven – striped barb, Jullien’s golden carp ลักษณะทั่วไป : ลำ�ตัวทรงกระบอกและด้านท้ายแบนข้าง หัวใหญ่ ตากลมนูน ครีบหลัง 2 อัน แยกกันชัดเจน ครีบอกใหญ่ปลายมน ครีบหางใหญ่กลมมน ลำ�ตัวสีน้ำ�ตาลอมแดง หรืออมเหลืองคล้ำ� และมีลายเลอะ โคนหางมีลายรูปตัววี ครีบใสและมีลายประสีคล้ำ� ครีบหางมีแถบสีออกส้ม

ปลาหลิม

ชื่อท้องถิ่น : ปลาหลิม ชื่อสามัญ : ปลาช่อน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Channa striatus Common Name : Striped Snake - head Fish 89 ลักษณะทั่วไป : ลำ�ตัวทรงกระบอกเรียวยาว ท่อนหางแบนข้าง หัวแบนลง เกล็ดมีขนาดใหญ่ ปากกว้างมาก ครีบทุกครีบไม่มีก้านแข็ง ครีบหลังและครีบก้นยาวเกือบถึงโคนหาง ครีบหางกลม ครีบอกใหญ่ ลำ�ตัวส่วนหลังสีดำ� ท้องสีขาว ด้านข้างลำ�ตัวมีลายดำ�พาด เฉียงลำ�ตัว

ปลาตะเพียน

ชื่อท้องถิ่น : ปลาตะเพียน ชื่อสามัญ : ปลาตะเพียนทราย ชื่อวิทยาศาสตร์ : Puntius brevis ลักษณะทั่วไป : มี แ ต้ ม ดำ � บริ เวณโคนหาง ครึ่ ง ตั ว บนสี ค ล้ำ � ครึ่ ง ตั ว ล่ า งเป็ น สี เ งิ น วาว ตามขอบเกล็ดมีจุดดำ�เล็ก ๆ ครีบหลังสีส้มมีแถบดำ� หางแฉกลึก

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


90

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


รายชื่อพืชและสัตว์ ที่ส�ำรวจพบ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


แคหางค่าง

งิ้วป่า

แงะ

จะล่อ

ชิงชัน

15

16

17

18

ขี้เหล็กโคก

10

14

ขี้เหล็ก

9

แคทราย

ข่าดอย

8

13

คราม

ขว้าว

7

คราม

เก็ด

6

เคาะ

กุ๊ก

5

11

แสมสาร

กาสามปีก

12

ก่อแพะ

ก่อแพะ

3

4

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

ชิงชัน

เขือง

เต็ง

งิ้วป่า

แคหางค่าง

แคทราย

ตะคร้อ

ขี้เหล็กบ้าน

ข่าดอย

ขว้าว

กระพี้เขาควาย

กุ๊ก

กาสามปีก

ลิเภา

ก้องกูด

ชื่อสามัญ

กระท่อมหมู

2

ชื่อท้องถิ่น

กว้าว

1

ลำ�ดับที่

Dalbergia oliveri

Leea macrophylla

Shorea obtusa

Bombax ceiba

Markhamia stipulata

Stereospermum neuranthum

Schleichera oleosa

Indigofera hirsuta

Senna garrettiana

Senna siamea

Globba nuda

Haldina cordifolia

Dalbergia cultrata

Lannea coromandelica

Vitex peduncularis

Quercus kerrii

Gamble

Roxb. ex Hornem.

Wall. ex Bl.

Linn.

Seem. var. kerrii Sprague

Kurz

Merr.

Linn.

Craib

(Lam.) Irwin & Barneby

K. Lar.

Ridsd.

Grah. ex Benth.

(Houtt.) Merr.

Wall. ex Schauer

Craib

Ktze.

Craib

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dryopteris amboinensis

Mitragyna brunonis

ไม้พุ่ม ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้ล้มลุก ไม้ต้น

LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE SAPINDACEAE BIGNONIACEAE BIGNONIACEAE BOMBACACEAE DIPTEROCARPACEAE LEEACEAE LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ไม้ต้น

ไม้ต้น

ZINGIBERACEAE

LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE

ไม้ต้น ไม้ล้มลุก

RUBIACEAE

ไม้ต้น

ไม้ต้น

LABIATAE

LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ไม้ต้น

FAGACEAE

ไม้ต้น

เฟิร์น

DRYOPTERIDACEAE

ANACARDIACEAE

ไม้ต้น

ลักษณะวิสัย

RUBIACEAE

ชื่อวงศ์

ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

ไม่พบการใช้ประโยชน์

ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

เกสรตากแห้งใช้ประกอบเป็นอาหาร

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ผลสุกกินได้รสเปรี้ยว

ใบใช้ให้สีฟ้าย้อมสี

เป็นส่วนประกอบของยารักษาโรค ริดสีดวงทวาร

ดอกตูม ยอดอ่อน ประกอบอาหาร

ไม่พบการใช้ประโยชน์

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ใยจากเปลือกต้นใช้ทำ�เชือก เปลือกต้น รักษาอาการปวดฟัน

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้จักสาน

ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

การใช้ประโยชน์

รายชื่อพืชที่ส�ำรวจพบในป่าชุมชนบ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่

92


สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

แดง

ตองตึง ตับเต่า ติ้ว

ติ้วหนาม

ตีนนก ถั่วนก ถั่วป่า เถาว์ยาง เถาว์ลาย นมแมว บุก

ปอยาบ

ปี้

ปุย

เปราะป่า

เปล้าหลวง

22

23 24 25

26

27 28 29 30 31 32 33

34

35

36

37

38

เปล้าใหญ่

เปราะป่า

กระโดน

กระพี้

ปอยาบ

ตีนนก ถั่วนก ถั่วผี เถาว์ยาง จมูกปลาหลด นมแมว บุก

ติ้วหนาม

พลวง ตับเต่าต้น ติ้วขน

แดง

Croton roxburghii

Kaempferia marginata

Careya sphaerica

Millettia macrostachya

Grewia disperma

Vitex limoniifolia Phaseolus adenanthus Phaseolus lathyroides Trachelospermum siamensise Oxystelma esculentum Anomianthus dulcis Amorphallus linearis

Cratoxylum formosum

Dipterocarpus tuberculatus Diospyros ehretioides Cratoxylum cochinchinense

Xylia xylocarpa

N.P.Balakr.

Carey

Roxb.

var. teetha

Rottler

Gagnep.

(Dun.) Sincl.

R.Br.

Craib

Linn. f.

G.F.W. Mey.

Wall. ex Kurz

(Jack) Dyer ssp. pruniflorum (Kurz) Gog.

(Lour.) Bl.

ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้เถาว์ ไม้เถาว์ ไม้เถาว์ ไม้เถาว์ ไม้เถาว์ ไม้ล้มลุก ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้ล้มลุก ไม้ต้น

GUTTIFERAE LABIATAE LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE APOCYNACEAE ASCLEPIADACEAE ANNONACEAE ARACEAE TILIACEAE LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE LECYTHIDACEAE ZINGIBERACEAE EUPHORBIACEAE

ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้ต้น

DIPTEROCARPACEAE EBENACEAE GUTTIFERAE

Wall. ex G. Don

ไม้ต้น

LEGUMINOSAE- MIMOSOIDEAE

ใบใช้ลนไฟ ในสตรีหลังคลอด

ไม่พบการใช้ประโยชน์

ยอดเป็นอาหาร เปลือกสมุนไพร

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้สร้างบ้านและทำ�ฟืน ไม่พบการใช้ประโยชน์ อาหารสัตว์ ไม่พบการใช้ประโยชน์ ไม่พบการใช้ประโยชน์ ไม้ประดับดอกหอม ไม่พบการใช้ประโยชน์

ยางใส่แผลส้นเท้าแตก

ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน ยางใส่แผลส้นเท้าแตก

ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

ลักษณะวิสัย การใช้ประโยชน์ ไม้ต้น ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน ไม้ล้มลุก สมุนไพร ไม้ต้น ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน เปลือดต้นใช้ย้อมผ้า

Roxb. var. tuberculatus

ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE AMARYLLIDACEAE LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

Taub. var. kerrii Nielsen

ลำ�ดับที่ ชื่อท้องถิ่น ชื่อสามัญ ชื่อวิทยาศาสตร์ 19 ซางดอย มะม่วงหัวแมงวัน Buchanania glabra Wall. ex Hk. f. Baker 20 บัวบก ดอกมะปู้ Crinum wattii 21 ดู่ ประดู่ Pterocarpus macrocarpus Kurz

93


มะกอก

มะเกลือ

มะเกิ้ม

มะขามป้อม

มะคัง

มะตาปู๋

มะตึง

มะมื่น

มะเม่าสาย

มะหวด

มูก

เม่า

47

48

49

50

51

52

53

54

55

56

57

เฟิร์นก้านดำ�

44

มะกอม

พ่อค้าตีเมีย

43

46

พลูลาย

45

ผักปลาบป่า

ผักปลาบป่า

41

42

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

มะเม่า

โมก

มะหวด

มะเม่าสาย

กระบก

แสลงใจ

ปรู๋

มะคัง

มะขามป้อม

มะกอกเกลื้อน

มะเกลือ

มะกอม

มะกอก

เฟิร์นก้านดำ�

พ่อค้าตีเมีย

พลูลาย

ตะแบก

เปือย

40

รัง

ชื่อสามัญ

เปา

ชื่อท้องถิ่น

39

ลำ�ดับที่

Antidesma sootepense

Wrightia arborea

Lepisanthes rubiginosa

Antidesma acidum

Irvingia malayana

Strychnos nux-vomica

Alangium salviifolium

Gardenia erythroclada

Phyllanthus emblica

Canarium subulatum

Diospyros mollis

Microcos paniculata

Spondias pinnata

Adiantum erylliae

Selaginella ostenfeldii

Scindapsus pictus

Commelina bengalensis

Lagerstroemia floribunda

Shorea siamensis ไม้ล้มลุก ไม้เถาว์ เฟิร์น เฟิร์น ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้ต้น

COMMELINACEAE ARACEAE SELAGINELLACEAE PAKERIACEAE ANACARDIACEAE TILIACEAE EBENACEAE

Craib

(Dennst.) Mabb.

Leenh.

Retz.

EUPHORBIACEAE

ไม้ต้น

ไม้ต้น

APOCYNACEAE

ไม้ต้น

IRVINGIACEAE

Oliv. ex A. Benn.

ไม้พุ่ม

ไม้ต้น

LOGANIACEAE

L.

SAPINDACEAE

ไม้ต้น

ALANGIACEAE

Wang. subsp. hexapetalum

ไม้ต้น

ไม้ต้น

RUBIACEAE

EUPHORBIACEAE

ไม้ต้น

EUPHORBIACEAE

L. Kurz

BURSERACEAE

ไม้ต้น

ไม้ต้น

ไม้ต้น

ลักษณะวิสัย

LYTHRACEAE

DIPTEROCARPACEAE

ชื่อวงศ์

Guill.

Griff.

L.

Kurz

C. Chr. & Tard.

Hier.

Hassk.

Linn.

Jack

Miq. var. siamensis

ชื่อวิทยาศาสตร์

94 ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว กินเป็นผล ไม้ ยอดอ่อนใช้ประกอบอาหาร

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ไม่พบการใช้ประโยชน์

ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว กินเป็นผล ไม้ ยอดอ่อนใช้ประกอบอาหาร

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน เมล็ดกินได้

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ผลสุกกินได้รสเปรี้ยว

ผลและเมล็ดกินได้ ยอดอ่อนกินเป็นผัก สด ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืนเผาถ่าน

ผลสดเป็นยาถ่ายพยาธิ

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ผลกินได้

ไม้ประดับ

ไม้ประดับ

ไม่พบการใช้ประโยชน์

ไม่พบการใช้ประโยชน์

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้สร้างบ้าน

การใช้ประโยชน์


สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

ชื่อสามัญ

ส้าน

สาปเสือ

สะกึ๋น

ส้าน

62

63

คอแลน ไม้ต้น ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ต้น หญ้า หญ้า หญ้า

RUBIACEAE DILLENIACEAE COMPOSITAE LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE CYPERACEAE GRAMINEAE CYPERACEAE

Ham. Griff. var. kerrii (Craib) Hoogl.

Benth.

Dumasia leiocarpa

หญ้าไข่เหา

หญ้าคมบาง

หญ้าคา

หนามไก่ไห้

เหมือดจี้

เหมือดโลด

เหียง

แหน

แหพันชั้น

เอือ้ งหมายนา เอือ้ งหมายนา Costus speciosus

ฮกฟ้า

67

68

69

70

71

72

73

74

75

76

77

รกฟ้า

แหพันชั้น

สมอพิเภก

ยางเหียง

เหมือดโลด

เหมือดจี้

คนทา

หญ้าคา

หญ้าคมบาง

หญ้าไข่เหา

หญ้ากกดอกขาว

ไม้พุ่ม ไม้ต้น

SIMAROUBACEAE MELASTOMATACEAE EUPHORBIACEAE

(Lour.) Hk. & Arn.

(B.-H. ex D. Don) Vick. var. octandra

(Blanco) Merr.

Terminalia alata

Terminalia bellerica

ไม้ต้น

COMBRETACEAE Heyne ex Roth

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ไม่พบการใช้ประโยชน์

ไม้ล้มลุก

COSTACEAE

Smith

ผลแก้ไข้และเป็นยาระบาย ผลแห้งแก้ไอ ไม่พบการใช้ประโยชน์

ไม้ต้น

COMBRETACEAE

ลำ�ต้นใช้สร้างบ้านและทำ�ฟืน

เปลือกต้น นำ�ไปสับ ตากแห้ง นำ�ไปทำ� ไส้บุหรี่ ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน ถ่าน

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

ไม่พบการใช้ประโยชน์

วัชพืช

อาหารสัตว์

อาหารสัตว์

อาหารสัตว์

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน ปลูกเป็นไม้ประดับ

ใบห้ามเลือด

ลำ�ต้นใช้สร้างบ้านและทำ�ฟืน

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน

สมุนไพร

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืน ผลกินได้

ลำ�ต้นใช้ทำ�ฟืนเผาถ่าน

วัชพืช

การใช้ประโยชน์

LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE ไม้เถาว์

Roxb.

ไม้ต้น

DIPTEROCARPACEAE

ไม้ต้น

หญ้า

Beauv.

GRAMINEAE

Boott & Boeck.

Trin.

Endl.

Depterocarpus obtusifolius Teijsm. Ex Miq. var. obtusifolius

Aporosa octandra

Memecylon scutellatum

Harrisonia perforata

Imperata cylindrica

Carex stramentita

Panicum incomtum

Cyperus kyllingia

Linn.

Linn.

หญ้าก่อ

Bauhinia purpurea

66

เสี้ยวป่า

สาปเสือ

เสี้ยว

Eupatorium odoratum

ไม้ต้น ไม้ล้มลุก

ZINGIBERACEAE

ไม้ต้น

MELIACEAE

ลักษณะวิสัย ไม้พุ่ม

ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE- MIMOSOIDEAE SAPINDACEAE

Kurz

64

Dillenia parviflora

Morinda coreia

Curcuma sp

Wight & Arn.

C. Wright ex Sauv. var. diplotricha

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nephelium hypoleucum

Chukrasia velutina

Mimosa diplotricha

65

ยอป่า

ว่าน

ลำ�ไยป่า

ว่าน

61

ยมหิน

ไมยราบ

60

ยมหิน

59

ชื่อท้องถิ่น

ไมยราบ

58

ลำ�ดับที่

95


นกเขาใหญ่ นกกวัก

นกกะถาบ

นกกะเต๋น นกกะเต๋นจ๊าง

นกป่องแป๋ว

นกอีแวน

นกก้นปู้ด

นกแอ่นแว่น

นกเก๊า

นกเขา นกเขาตู้

กวัก กะหวัก

เหยี่ยวขาว

แหลวนกเขา

แหลว

นกกะยาง

นกกะยาง

นกยาง

นกแอ่นฟ้า

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

15

16

17

18

นกแอ่นพง

นกยางกรอกพันธุ์จีน

นกยางโทนน้อย

นกยางเปีย

เหยี่ยวฮอบบี้

เหยี่ยวนกเขาชิครา

เหยี่ยวขาว

นกเค้าโมง นกเค้าแมว

นกแอ่นฟ้าหงอน

นกกระปูดใหญ่

นกกาเหว่า

นกจาบคาเล็ก

นกกะเต็นอกขาว

นกตะขาบทุ่ง

ไก่ป่า

ไก่ป่า

นกกระทาทุ่ง

กะตา กะทา

ชื่อภาษาไทย

1

ชื่อท้องถิ่น

2

ลำ�ดับที่

Artamus fuscus

Ardeola bacchus

Mesophoyx intermedia

Egretta garzetta

Falco severus

Accipiter badius

Elanus caeruleus

Amaurornis phoenicurus

Streptopelia chinensis

Glaucidium cuculoides

Hemiprocne coronata

Centropus sinensis

Endynamys scolopacea

Merops orientalis

Halcyon smyrnensis

Coracias benghalensis

Gallus gallus

Francolinus pintadeanas

ชื่อวิทยาศาสตร์

อาหาร อาหาร อาหาร อาหาร อาหาร ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์ อาหาร

Indian Roller White - throated Kingfisher Green Bee - eater Asian Koel Greater Coucal Crested Treeswift Asian Barred Owlet

อาหาร อาหาร อาหาร อาหาร อาหาร อาหาร อาหาร ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์

White - breasted Waterhen Black - winged Kite Shikra Oriental Hobby Little Egret Intermediate Egret Chinese Pond Heron Ashy Woodswallow

อาหาร เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามและฟังเสียงร้อง

อาหาร

Spotted Dove

อาหาร

Red Jungle Fowl

การใช้ประโยชน์

Chinese Francolin

Common Name

รายชื่อสัตว์ที่ส�ำรวจพบในหมู่บ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ : สัตว์ปีก

96


สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ นกกินแมลงอกเหลือง นกกระจอกบ้าน

นกอี่ปู่

32

นกกระจิบธรรมดา

นกกระจาบธรรมดา นกกระติ๊ดตะโพกขาว

นกเบย

นกผีด

นกผีด

35

36

37

นกกระติ๊ดขี้หมู

นกเด้าดินทุ่งเล็ก

นกจอก

นกแควะดิน นกจอกเฟือง

33

34

นกกระจิบคอดำ�

นกอี่ปู่ นกจิบ

นกอี่ปู่ นกจิบ

นกปรอดสวน

31

นกแควะ นกกวิด

29

นกปรอดหัวสีเขม่า

นกปรอดหัวโขน

นกเอี้ยงหงอน

นกเอี้ยงสาริกา

นกยอดหญ้าสีดำ� นกขี้หมา

นกกางเขนบ้าน

30

นกกวิด นกกวิดฮู้ขี้แดง

28

นกปรอดเหลืองหัวจุก

นกแอ่นแว่น

25

นกหงอนจ๊อก นกกวิดหงอน

นกเอี้ยง

24

นกปิ๊ดจะริว นกกวิดก้นแดง

นกเอี้ยง

23

26

นกขี้กมา นกขี้หมาไม้ นกอีแจ๊บ

22

27

นกนางแอ่นบ้าน

นกจี๋เจี้ยบ นกอีแจ๊บ

21

นกแซงแซวสีเทา นกจับแมลงจุกดำ�

นกแซว นกแซวหางแง่ม

นกอีปู่

ชื่อภาษาไทย

20

ชื่อท้องถิ่น

19

ลำ�ดับที่

อาหาร เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามและฟังเสียงร้อง

Common Myna White - vented myna Barn Swallow

Acridortheres javanicus Hirundo rustica

อาหาร อาหาร

Baya Weaver White - rumped Munia Scaly - breasted Munia

Ploceus philippinus Lonchura striata Lochura punctulata

อาหาร

อาหาร

อาหาร

Tree Sparrow Paddyfield Pipit

Passer mantanus

อาหาร

อาหาร

อาหาร

Anthus rufulus

Striped Tit - Babbler

Macronous gularis

อาหาร

Common Tailorbird Dark - necked Tailorbird

Orthotomus sutorius

Streak - eared Bulbul

Pycnonotus blanfordi Orthotomus atrogularis

อาหาร

Sooty - headed Bulbul

Pycnonotus aurigaster

อาหาร อาหาร เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามและฟังเสียงร้อง

Black - crested Bulbul Red - whiskered Bulbul

Pycnonotus melanicterus Pycnonotus jocosus

ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์

อาหาร อาหาร เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามและฟังเสียงร้อง

Pied Bushchat

อาหาร เลี้ยงไว้เพื่อความสวยงามและฟังเสียงร้อง

Oriental Magpie - Robin

Copsychus saularis Saxicola caprata

อาหาร

Black - naped Monarch

Acridotheres tristis

อาหาร

Ashy Drongo

การใช้ประโยชน์

Dicrurus leucophaeus

Common Name

Hypothymis azurea

ชื่อวิทยาศาสตร์

97


จ่อนแจ้ ไหน่

ลิ่น

เห็นอุ้ม เห็นอ้ม

หมูป่า

ฮอก ฮอกเฟย ฮอกแดง

แมงอีเล็น อีเล็น

ไหน่ ไหน่ข้างลาย

หนูต๊องขาว

หนูหวาย

อ้น

ตุ่น

เม่น

หอน

กระต่าย

หนูปุ๊ก

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

ชื่อท้องถิ่น

1

ลำ�ดับที่

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ หนูพุกเล็ก

กระต่ายป่า

เม่นหางพวง

เม่นใหญ่

อ้นเล็ก

อ้นใหญ่

หนูหวาย

หนูท้องขาว

กระจ้อน

กระเล็นขนปลายหูสั้น

กระรอกหลากสี

หมูป่า

อีเห็นข้างลาย อีเห็นธรรมดา

ลิ่นพันธุ์ใต้ ลิ่นชวา

กระแตเหนือ

ชื่อภาษาไทย

Bandicota savilei

Lepus peguensis

Atherurus macrourus

Hystrix brachyura

Cannomys badius

Rhizomys sumatrensis

Rattus sabanus

Rattus rattus

Menetes berdmorei

Tamiops macclellandi

Callosciurus finlaysonii

Sus scrofa

Paradoxurus hermaphroditus

Manis (Paramanis) javanica

Tupaia belangeri

ชื่อวิทยาศาสตร์

อาหาร อาหาร

Burmese Bandicoot rat, Savile Bandicoot rat

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

Burmese hare

Bush - tailed Porcupine

Malayan Porcupine

Lesser Bamboo rat

Indomalayan Bamboo Rat

Noisy Rat

Roof rat, Black rat

Indochinese Ground Squirrel

อาหาร

อาหาร

Finlayson's Squirrel, Variable Squirrel Burmese Stripe Squirrel

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

การใช้ประโยชน์

Wild Pig, Wild Boar

Common Palm Civet

Sunda Pangolin

Northern Treeshrew

Common Name

รายชื่อสัตว์ที่ส�ำรวจพบในหมู่บ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ : สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

98


สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ งูสิงธรรมดา งูเห่าตะลาน งูสิงหัวขาบ งูเห่าไทย งูเห่าหม้อ

งูสิงทอง งูสิงอ้อย งูสิงหัวขาบ

งูเห่าป้าก งูเห่าดำ� งูเห่าปลวก

งูเห่าจงอาง งูเห่าหยวก

จะก่า จะก่าหนาม

4

5

6

แย้เหนือ ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางหนาม จิ้งจกบ้านหางหนาม จิ้งจกหางแบน

แย้

ต๊กโต

จั๊กเล้อ จั๊กกะเล้อ จะเล้อบ้าน

จั๊กกิ้ม

จั๊กกิ้ม

เต่าดอย

เต่า

แลน

9

10

11

12

13

14

15

16

กิ้งก่าหัวสีฟ้า กิ้งก่าสวน

8

ตะกวด

เต่านา

เต่าเหลือง

จิ้งเหลนบ้าน

กิ้งก่าคอแดง กิ้งก่ารั้ว

จะก่า จะก่าหัวเขียว

จะก่า จั๊กก่า

7

กิ้งก่าแก้วเหนือ

งูจงอาง

งูทางมะพร้าว

3

ชื่อภาษาไทย

งูก้านป้าว งูสิงสา

งูไซ

2

ชื่อท้องถิ่น

งูไซ

1

ลำ�ดับที่

Indochinese Rat Snake Siamese Cobra, Monocled Cobra King Cobra Northern Forest Crested Lizard

Ptyas korros Naja kaouthia Ophiophagus hannah Calotes emma alticristatus

อาหาร อาหาร

Northern Butterfly Lizard Tokay Gecko Common Sun Skink Spiny – tailed House Gecko on Frilly Gecko Elongated Tortoise, Pek Tortoise Malayan Snail - eating Turtle Clouded Monitor, Bengal Monitor

Leiolepis reevesii Gekko gecko Mabuya multifasciata Hemidactylus frenatus Cosymbotus platyurus Indotestudo elongata Malayemys subtrijuga Varanus bengalensis nebulosus

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์

ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์

ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์

อาหาร

Blue Crested Lizard Changeable lizard, Red - headed lizard

Calotes mystaceus Calotes versicolor

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

Radiated Ratsnakes, Copperhead Rat Snake

Elaphe radiata

การใช้ประโยชน์ อาหาร

Common Name Bocourt' water snake

Enhydris bocourti

ชื่อวิทยาศาสตร์

รายชื่อสัตว์ที่ส�ำรวจพบในหมู่บ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ : สัตว์เลื้อยคลาน

99


สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ เขียดจะนา

เขียดทราย

กบอ่องเล็ก

อึ่งอ่างบ้าน

ปาดบ้าน

Tilapia nilotica

Channa striatus

Trichogaster trichopterus

Oxyeleotris marmorata

Parambassis siamensis

Cirrhina microlepis

Puntius brevis

Barbonymus gonionotus

Puntius orphoides

Rasbora trilineata

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nile tilapia

Striped snake - head fish

Three spot gourami

Sand Gody, Marbled Sleepy Gody

Small Scale Mud Carp

Golden Little barb

Common Silver Barb

Red – cheek Barb

Three - lined rasbora

Common Name

ปลาซิว

ปลาปีกเหลือง ปลาเกล็ดถี่ ปลาหนามบี้

ปลาขาว ปลาตะเพียน ปลาสะป้าก

ปลาขาว

1

2

3

4

ปลาตะเพียนทราย

ปลาตะเพียนขาว

ปลาหนามหลังครีบดำ�

ปลาซิวหางกรรไกร

ชื่อภาษาไทย

Puntius brevis

Barbonymus gonionotus

Mystacoleucus marginatus

Rasbora trilineata

ชื่อวิทยาศาสตร์

Golden Little barb

Common Silver Barb

Yellow Tail Barb

Three - lined rasbora

Common Name

รายชื่อสัตว์ที่ส�ำรวจพบในหมู่บ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ : ปลา

ชื่อท้องถิ่น

เขียดจา เขียดทราย

10

ลำ�ดับที่

เขียดหนาว เขียดขี้ยา

อึ่งอ่าง

7

เขียด

เขียดตะป้าบ

6

8

เขียด

5

9

กบหนอง

4 เขียดหลังขีด

อึ่งลาย

อึ่งน้อย อึ่งตอง

คางคกบ้าน

เขียดนา เขียดจิ๋ง เขียดขี้ควาย เขียดละอง เขียดอีโหย่ง เขียดลาย

กบขะตู๋ คางคาก

2

คางคกหัวราบ

ชื่อภาษาไทย

3

กบขะตู๋ คางคาก

ชื่อท้องถิ่น

1

ลำ�ดับที่

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

การใช้ประโยชน์

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

การใช้ประโยชน์

รายชื่อสัตว์ที่ส�ำรวจพบในหมู่บ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่: สัตว์สะเทินน�้ำสะเทินบก

100


สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

ปลาหลาด

ปลาแว่น

ปลาบู่ ปลาบู่จาก

ปลากระดี่ ปลาสลาด

ปลาหลิม

8

9

10

11

12

ปลากระดี่ ปลาสลาก

ปลาสะเด็ด

ปลาซิว

ปลาดุก

ปลาซิว

ปลาสร้อย ปลาสร้อยหัวกลม

ปลาหมอ

16

17

18

19

20

21

22

1

กุ้งฝอย

ปลาไน

ลำ�ดับที่

ปลาไหลนา

ปลาเหยี่ยน

14

15

Three spot gourami Striped snake – head fish Nile tilapia Asian swamp eel, Common swamp eel Common carp Two - spot Gourami Climbing perch Sidestripe rasbora Walking catfish, Batrachian walking catfish Striped flying barb Jullien's Mud Carp Climbing perch, Climbing gourami

Channa striatus Tilapia nilotica Monopterus albus Cyprinus carpio Trichogaster tricopterus Anabas testudineus Rasbora paviei Clarias batrachus Esomus metallicus Henicorhynchus siamensis Anabas testudineus

ชื่อท้องถิ่น

ชื่อภาษาไทย กุ้งฝอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrobrachium lanchesteri

Common Name Lanchester's Freshwater Prawn

อาหาร

การใช้ประโยชน์

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

Sand Gody, Marbled Sleepy Gody

Trichogaster trichopterus

อาหาร

อาหาร

Oxyeleotris marmorata

Tire Track Eel

Mastacembelus armatus

อาหาร

Small Scale Mud Carp

Cirrhina microlepis

อาหาร

อาหาร

การใช้ประโยชน์

Parambassis siamensis

Jullien's Mud Carp

Henicorhynchus siamensis

Common Name Red - cheek Barb

ชื่อวิทยาศาสตร์ Puntius orphoides

รายชื่อสัตว์ที่ส�ำรวจพบในหมู่บ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ : กุ้ง

ปลาหมอไทย

ปลาสร้อยขาว

ปลาซิวหนวดยาว

ปลาดุกด้าน

ปลาซิวควายแถบดำ�

ปลาหมอไทย

ปลากระดี่นาง

ปลาไน

ปลานิล

ปลาช่อน

ปลากระดี่หม้อ

ปลาบู่ทราย

ปลาแป้นแก้ว

ปลากระทิง ปลากระทิงลาย

ปลานวลจันทร์น้ำ�จืด

ปลานิล

13

ปลานวลจันทร์

7

ปลาสร้อยขาว

ปลาบอก

ชื่อภาษาไทย

6

ชื่อท้องถิ่น

ปลาขาวห้วย ปลาแก้ม ปลาป๊อก ปลาปก ปลาแก้มช้ำ�

5

ลำ�ดับที่

101


สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

หอยกาบลาย หอยไข่ปลา หอยแง้บ หอยทราย หอยเม็ดขนุน และหอยลาย

หอยกาบแหลม หอยเงี๊ยบ หอยลูกปลา หอยเสียบ และหอยหัวปลี

หอยกาบ หอยกาบลาย หอยเงี๊ยบ และหอยลาย

หอยทราย

11

12

13

14

หอยทาก

หอยกาบ หอยกาบกี้ หอยกิบกี้ และหอยเม็ดมะม่วง

10

18

หอยเม็ดมะม่วง หอยกาบกี้ หอยกี้ และหอยกิบกี้

9

หอยคัน

หอยเหล็กจาน

8

17

หอยเหล็กจาน

7

หอยคัน

หอยเหล็กจาน

6

หอยคัน

หอยเหล็กจาน

16

หอยเชอรี่

หอยเชอรี่

4

5

15

หอยขม

หอยขม หอยขี้ขม หอยจุ๊บ หอยจูบ และหอยดูด

3

หอยทาก

หอยคัน

หอยคัน

หอยคัน

หอยทราย

หอยกาบลาย

หอยกาบแหลม

หอยเม็ดขนุน

หอยกาบ

หอยกาบ

หอยเจดีย์

หอยเจดีย์

หอยเจดีย์

หอยเจดีย์

หอยขม

หอยขม หอยขมลาย หอยจูบ หอยทราย และหอยลาย

หอยขม

หอยเกล็ดแดง หอยขม หอยขมลาย และหอยลาย

ชื่อภาษาไทย

1

ชื่อท้องถิ่น

2

ลำ�ดับที่

Vitrea subrimata

Indoplanorbis exutus

Lymnaea(Radix) auricularis swinnoei

Lymnaea(Radix) auricularis rubiginosa

Corbicula spp.

Uniandra contradens rustica

Ensidens ingallsianus ingallsianus

Scabies crispata

Pilsbryoconcha exilis compressa

Pilsbryoconcha exilis exilis

Semisulospira libertina

Clea (Anentome) helina

Melaoid tuberculata

Brotia costula costula

Pomacea sp.

Filopaludina (Siamopaludina) martensi martensi

Filopaludina (Filopaludina) sumatrensis polygramma

Filopaludina (Filopaludina) filosa

ชื่อวิทยาศาสตร์

รายชื่อสัตว์ที่ส�ำรวจพบในหมู่บ้านเหล่าเหนือ ต.บ้านกลาง อ.สอง จ.แพร่ : หอย

102 ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์

ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์

ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์

ไม่ปรากฏการใช้ประโยชน์

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

อาหาร

การใช้ประโยชน์


กระบวนการจัดท�ำแผนชุมชน

บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

การสร้างกระบวนการและจัดทำ�แผนชุมชน จะทำ�ให้เกิดกระบวนการเรียนรูร้ ว่ มกันระหว่าง

คนในชุมชนด้วยกันในฐานะเจ้าของพืน้ ทีแ่ ละบุคคลภายนอกชุมชน ซึง่ จะเป็นหน่วยงานทีเ่ ข้ามา ส่งเสริมการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่เข้ามาส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เป็นกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนให้เข้ามามีสว่ นร่วม ในการจัดทำ�แผนชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนระดับหมู่บ้าน และตำ�บล เป็นงานทีต่ อ้ งอาศัยกระบวนการดำ�เนินงานทีม่ คี วามเชือ่ มโยงกับมิตกิ ารดำ�เนินงาน ด้านอื่นๆ ประกอบกัน ต้องคำ�นึงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน รวมถึง สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ในพื้นที่นั้นๆ โดยให้ความสำ�คัญกับทุกองค์ประกอบอย่างเป็นระบบแนวทางที่ได้ เกิดจากการบูรณาการหลักการต่างๆ และความคิดเห็น ข้อเสนอแนะของทุกภาคส่วนเข้าไว้ ด้วยกันและร่วมค้นหาแนวทางที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและสามารถนำ�ไปปฏิบัติได้ การจัดกระบวนการเรียนรูร้ ว่ มกัน จะช่วยทำ�ให้ชมุ ชนค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเอง หรือตามต้นทุนที่ชุมชนมี อันได้แก่ ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทางทรัพยากรมนุษย์ ทุนทางสังคมวัฒนธรรม ทุนทางองค์กรและสถาบัน ศักยภาพที่ชุมชนมีจะเป็นพื้นฐานในการ 103 ร่วมคิดแสวงหาทางออกหรือแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป ผลผลิตจากกระบวนการเรียนรู้ ของชุมชน คือ “แผนชุมชน” ซึ่งเป็นแผนพัฒนาของชุมชนที่มุ่งสู่แนวทางการพัฒนาทั้งทาง ระบบนิเวศและระบบสังคมให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน ดังนั้นการสร้าง กระบวนการเรียนรู้ จึงต้องเปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้มีบทบาทสำ�คัญในการค้นหาศักยภาพ ของตนเองและสะท้อนปัญหาด้วยความเชื่อว่า คนมีศักยภาพสามารถพัฒนาตนเองและชุมชน ของตนเองได้ ในชุมชนมีองค์ความรู้พื้นบ้าน ภูมิปัญญาที่สามารถนำ�มาใช้ในการพัฒนาตนเอง และชุมชนเพื่อแสวงหาแนวทางในการแก้ปัญหา เรียนรู้เพื่อความอยู่รอดของตนเองและชุมชน โดยมีหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาคอยให้การสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เชื่อมโยงแนวทางนโยบายของทางภาครัฐ เอกชน และของชุมชน ได้อย่างสอดคล้อง อันจะนำ�ไปสู้ความเข้มแข็งของชุมชนและเป็นแนวทาง การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป การจัดทำ�แผนชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่น โดยชุมชนมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปแบบของ เวทีชุมชนเพื่อการจัดทำ�แผนชุมชนในการอนุรักษ์และ เพื่อใช้แผนชุมชน เป็นเครื่องมือ

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


104

ในการคุ้มครองอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และพั ฒ นาทั ก ษะในการติ ด ตามการเปลี่ ย นแปลงสถานภาพทรั พ ยากรชี ว ภาพในระดั บ ชุมชนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง วิธีการดำ�เนินงาน การจัดทำ�แผนชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรชีวภาพอย่างมีส่วนร่วม เป็นกระบวน การเรี ย นรู้ เ พื่ อ ให้เกิดการจัดทำ�แผนชุมชนร่วมกัน ซึ่ ง สามารถแบ่ ง ได้ เ ป็ น 3 ระยะ คื อ ระยะก่ อ นการจั ด ทำ � แผนชุ ม ชน ระยะการเก็ บ ข้ อ มู ล และระยะการจั ด ทำ � แผนชุ ม ชน แต่ละระยะการดำ�เนินงานมีรายละเอียดดังนี้ 1. ระยะก่อนการจัดทำ�แผน 1.1 การชี้แจงโครงการฯ ประสานความร่วมมือกับผู้นำ�ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อร่วมตัดสินใจในการคัดเลือกหมู่บ้านเป้าหมายและเตรียมความพร้อม ในการดำ�เนินงานขั้นตอนต่อไป 1.2 ศึกษาข้อมูลชุมชนเป้าหมาย โดยทบทวนจาก เอกสารงานวิจัยต่างๆ เอกสาร ของทางชุมชน และเว็บไซต์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนงานในการศึกษาต่อไป 1.3 จั ด เวที ชี้ แจงโครงการเกี่ ย วกั บ ความเป็ น มา วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ทำ � ความเข้ า ใจ ประสานความร่วมมือกับชุมชนหมู่บ้านเป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมกันนี้มีการ แต่งตัง้ ผูป้ ระสานงานระดับตำ�บล หมูบ่ า้ นและอาสาสมัครในการร่วมดำ�เนินงาน ทัง้ ในด้านการ สำ�รวจพรรณพืช พันธุ์สัตว์ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น 2. ระยะการเก็บข้อมูล 2.1 การสร้ า งความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งที ม งานกั บ ชุ ม ชนเป้ า หมาย โดยที ม งาน ทำ�ความเข้าใจและประสานความร่วมมือกับผู้นำ�ชุมชนมีการชี้แจงโครงการในระดับหมู่บ้าน โดยผ่านผู้ประสานงานระดับตำ�บล และหมู่บ้าน ร่วมวางแผนเพื่อเก็บข้อมูล 2.2 ที ม งานและชุ ม ชนร่ ว มสำ � รวจข้ อ มู ล ความหลากหลายทางชี ว ภาพในท้ อ งถิ่ น ได้แก่ ด้านพืช ด้านสัตว์ปา่ และปลา ด้านภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และสัมภาษณ์ผรู้ ทู้ เี่ กีย่ วกับประโยชน์ รวมถึงบริบทและประเพณี วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำ�ร่างแผนชุมชน เพื่อให้ชุมชนตรวจสอบความถูกต้องและใช้ประกอบการพิจารณา การตัดสินใจ ในการจัดทำ� แผนชุมชนต่อไป 2.3 สรุปรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสำ�รวจให้เป็นระบบ นำ�เสนอในเวทีการจัดทำ� ร่างแผนชุมชน เพื่อให้ชุมชนตรวจสอบความถูกต้องและใช้ประกอบการพิจารณา ตัดสินใจ ในการจัดทำ�แผนชุมชนต่อไป

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


3. ระยะการจัดทำ�แผน 3.1 การศึกษารายละเอียดของการดำ�เนินโครงการ การทบทวนนโยบายและยุทธศาสตร์ การจัดการทรัพยากรชีวภาพ บทบาทของชุมชนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรชีวภาพ ั ญาท้องถิน่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการจัดการทรัพยากรชีวภาพ รวมตลอดจนการประมวลความรูแ้ ละภูมปิ ญ 3.2 การกำ�หนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงกลุ่มสมาชิกในชุมชนที่เป็น กลุม่ เป้าหมายหลักทีต่ อ้ งเข้ามามีสว่ นร่วมในกระบวนการจัดทำ�แผนชุมชน ทัง้ นีก้ ารประสานงาน กลุ่มเป้าหมายโดยผ่านผู้ประสานงานชุมชน และอาสาสมัครประจำ�หมู่บ้านในการเตรียม ความพร้อมของชุมชนก่อนการจัดเวทีชาวบ้าน 3.3 การจั ด เวที ชุ ม ชน เป็ น กระบวนการในการยกร่ า งแผนชุ ม ชนโดยมี วิ ท ยากร กระบวนการ (Facilitator) เป็นผู้สนับสนุนกระบวนการ มีกระบวนการดังนี้ 1) ทีมงานนำ�เสนอศักยภาพของชุมชน ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ จากการศึกษาร่วมกับชุมชน เพื่อตรวจสอบข้อมูลและสะท้อนให้เห็นภาพรวมของความ หลากหลายทางชีวภาพในท้องถิน่ ซึง่ ภาพสะท้อนทีเ่ กิดขึน้ นัน้ จะเป็นข้อมูลสำ�หรับการตัดสินใจ และค้นหาแนวทางเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู หรือพัฒนาต่อยอดทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญา ท้องถิ่น เพื่อบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของแผนชุมชน 2) ทบทวนและวิ เ คราะห์ กิ จ กรรมเกี่ ย วกั บ การอนุ รั ก ษ์ แ ละใช้ ป ระโยชน์ จ าก ทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยชุมชนร่วมทบทวนการดำ�เนินงานด้านการจัดการ 105 ทรัพยากรชีวภาพของชุมชนในช่วงทีผ่ า่ นมาการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา การกำ�หนดความต้องการร่วม ในการจัดการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อไป 3) จั ด ทำ � แผนชุ ม ชนเพื่ อ การจั ด การทรั พ ยากรชี ว ภาพในท้ อ งถิ่ น โดยชุ ม ชน มีส่วนร่วม โดยนำ�ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ศักยภาพ ทบทวนกิจกรรม และสิ่งที่ต้องการ ดำ�เนินการต่อไป มาจัดเป็นแผนงาน โครงการและกิจกรรม ในการจัดการทรัพยาการชีวภาพ ในท้องถิ่นต่อไป 4) การใช้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการนำ�แผน ชุมชนสู่การปฏิบัติในระดับท้องถิ่น และสามารถตอบสนองต่อความเชื่อมโยงเชิงบูรณาการ นโยบายและยุทธศาสตร์ระดับชาติสู่ระดับท้องถิ่น โดยครอบคลุมในประเด็นด้านเสริมสร้าง ศั ก ยภาพการเรี ยนรู้และเครือข่ ายในการอนุรักษ์และใช้ ป ระโยชน์ ท รั พ ยากรชี ว ภาพและ ความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งในระดับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีต่างๆ ควบคู่กับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางนิเวศวิทยา และองค์ความรู้ทางสังคม วัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาเพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


แผนชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรชีวภาพในท้องถิ่นโดยชุมชนมีส่วนร่วม บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ การดำ � เนิ น กิ จ กรรมตามโครงการจั ด ทำ � ฐานข้ อ มู ล เพื่ อ การศึ ก ษาและพั ฒ นาความ

หลากหลายทางชีวภาพและภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และส่งเสริมอาชีพชุมชนพืน้ ทีก่ ลุม่ ป่าภูคา-แม่ยม และกลุ่มป่าศรีลานนา-ขุนตาล ปี ๒๕๕๔ ในพื้นที่บ้านเหล่าเหนือ ตำ�บลบ้านกลาง อำ�เภอสอง จังหวัดแพร่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐและ ภาคีความร่วมมือต่างๆ อันได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัคร ชาวบ้ า น โรงเรี ย นหน่ ว ยงานภาครั ฐ และเอกชน ได้ ร่ ว ม สำ � รวจ รวบรวมข้ อ มู ล การตรวจสอบข้อมูล การประเมินสถานภาพทรัพยากรชีวภาพความหลากหลายทางชีวภาพ และวิเคราะห์ศักยภาพด้านทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น จากการทบทวนกิจกรรมด้านการจัดการทรัพยากรที่เคยดำ�เนินการของบ้านเหล่าเหนือ ตำ�บลบ้านกลาง อำ�เภอสอง จังหวัดแพร่ พบว่ามีกิจกรรมจัดตั้งป่าชุมชน/เครือข่ายป่าชุมชน การปั ก ป้ า ยหลั ก ทำ � เขตป่ า ชุ ม ชน การตั้ ง กฎระเบี ย บการใช้ ป ระโยชน์ จ ากป่ า ชุ ม ชน การทำ�ป้ายกฎระเบียบ การปลูกป่าเสริม การสร้างฝายชะลอน้ำ� การสร้างฝายกึ่งถาวร 106 การทำ � อ่ า งเก็ บ น้ำ � การสื บ ชะตาน้ำ � การสื บ ชะตาต้ น ไม้ การสร้ า งศาลพระภู มิ ใ นป่ า การทำ � แนวกั น ไฟ การเดิ น สำ � รวจความเรี ย บร้ อ ยของป่ า ชุ ม ชน การทำ � ป้ า ยคำ � ขวั ญ การดูแลรักษาและบำ�รุงต้นไม้ที่ปลูก การเก็บข้อมูลต้นไม้ การอนุรักษ์สัตว์น้ำ�และสัตว์ป่า แต่บางกิจกรรมขาดความต่อเนื่อง นอกจากนี้ ชุ ม ชนยั ง มี กิ จ กรรมในโครงการเกษตรอิ น ทรี ย์ สู่ เ ศรษฐกิ จ พอเพี ย ง คื อ การปลูกผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน การทำ�ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ การเพาะเห็ด การรักษาโรค ด้วยสมุนไพรและมีการจัดตั้งกลุ่มผู้ทำ�สมุนไพร การเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลา ไก่ หมู ในส่วนของ การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนอยากให้มีการจัดตั้งกลุ่มจักสาน กลุ่มผู้ทำ�เฟอร์นิเจอร์ โดยมีภาครัฐเข้ามาสนับสนุน เรื่อง การพัฒนา และต่อยอดเพื่อทำ�เป็นอาชีพเสริมของคน ในชุมชน มีการจัดการด้านการผลิตและตลาดรองรับผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ จากการร่วมวิเคราะห์ศักยภาพ ทบทวนโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่เคยดำ�เนินการ และร่วมตรวจสอบข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทีไ่ ด้จากการศึกษา จากนั้นนำ�ข้อมูลดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการวางแผนชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรชีวภาพ ในท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของบ้านเหล่าเหนือ ตำ�บลบ้านกลาง อำ�เภอสอง จังหวัดแพร่ สรุปรายละเอียดของแผนชุมชนได้ดังตาราง

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


แผนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

แผนงาน

โครงการ/กิจกรรม

วัตถุประสงค์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

- เพื่ออนุรักษ์และจัดการ ทรัพยากรน้ำ�และป่าในท้องถิ่น ให้คงความอุดมสมบูรณ์ - เพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ในด้าน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ในท้องถิ่นสำ�หรับเด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจ - เพื่อสร้างเครือข่ายอนุรักษ์ป่า ชุมชน

-เกิดแหล่งเรียนรู้ด้าน การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติในท้องถิ่น -คนในชุมชนเกิดความ รักและหวงแหน เห็นคุณค่าทรัพยากร ธรรมชาติ

- คณะ กรรมการ หมู่บ้าน - ชุมชน

- การปักป้ายหลักทำ� - เพื่อกำ�หนดขอบเขตป่าชุมชน เขตป่าชุมชน ให้ชัดเจน เพื่อให้สะดวก ต่อการดูแล

- มีขอบเขตป่าชุมชน ที่ชัดเจน สะดวกต่อ การดูแล

- ชุมชน

- การตั้ ง กฎระเบี ย บ - เพื่อกำ�หนดกฎระเบียบการ การใช้ ป ระโยชน์ จ าก ประโยชน์จากป่าชุมชนร่วมกัน ป่าชุมชน ให้ชัดเจน ให้ทุกคนในชุมชนถือ ปฏิบัติร่วมกัน

- มีกฎระเบียบการ ประโยชน์จากป่าชุมชน ที่ชัดเจน ให้ทุกคนใน ชุมชนถือปฏิบัติร่วมกัน

- ชุมชน

- ก า ร ทำ � ป้ า ย ก ฎ - เพื่อให้ทุกคนในชุมชนรับ ระเบียบ ทราบกฎระเบียบที่ร่วมกัน กำ�หนดขึ้น

- ทุกคนในชุมชนรับ ทราบกฎระเบียบที่ร่วม กันกำ�หนดขึ้น

- คณะกรรมการ - อบต. หมู่บ้าน - กรมป่าไม้ - ชุมชน

- การบวชป่า

- เพื่อลดการทำ�ลายและเพิ่ม ความสมบูรณ์ของทรัพยากร ป่าไม้

- การตัดต้นไม้ลดลง - ความสมบูรณ์เพิ่ม มากขึ้น

- ชุมชน

- การปลูกป่าเสริม

- เพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของ ทรัพยากรความหลากหลาย ทางชีวภาพ

- ป่ามีความหนาแน่น และมีความหลากหลาย เพิ่มขึ้น

- ชุมชน

- งบจากจังหวัด

- สร้างฝายชะลอน้ำ�

- เพื่อกักเก็บน้ำ� ชะลอการไหล ของน้ำ�

- เพิ่มความอุดม สมบูรณ์และความ ชุ่มชื้น

- ชุมชน

- งบจากจังหวัด

- การทำ�อ่างเก็บน้ำ�

- เพื่อกักเก็บน้ำ�ไว้ใช้ในช่วง ฤดูแล้ง

- มีน้ำ�ไว้ใช้ในช่วง ฤดูแล้ง

- ชุมชน

- กรมชลประทาน - กรมพัฒนาทีด่ นิ

- การสืบชะตาน้ำ�

- เพื่อปลุกจิตสำ�นึกการอนุรักษ์ ทรัพยากรน้ำ�

- คนในชุมชนมี จิตสำ�นึกการอนุรักษ์ ทรัพยากรน้ำ�

- ชุมชน

- การสืบชะตาต้นไม้

- เพื่อปลุกจิตสำ�นึกการอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้

- คนในชุมชนมี จิตสำ�นึกการอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้

- ชุมชน

- จัดตั้งป่าชุมชน/ 1. การ อนุรักษ์และ เครือข่ายป่าชุมชน จัดการ ทรัพยากรน้ำ� และป่าใน ท้องถิ่น

ผู้รับผิดชอบ

หน่วยงานสนับสนุน

- อบต. - หน่วยงาน ต้นน้ำ�

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

107


- สร้างศาลพระภูมิ ในป่า

- เพื่อเป็นจิตวิทยาว่าป่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองดูแล เพื่อเตือนใจมิให้คนเข้าไป บุกรุกทำ�ลาย

- การบุกรุกทำ�ลายป่า ลดลง

- ชุมชน

- การทำ�แนวกันไฟ

- เพื่อป้องกันไฟไหม้ ลดความรุนแรงของไฟป่า

- ลดความรุนแรง ของไฟป่า

- ชุมชน

- การจัดเวรยามและ เดินสำ�รวจความ เรียบร้อยของป่าชุมชน

- เพื่อดูแลความเรียบร้อยของ ป่าชุมชน มิให้ใครเข้ามาบุกรุก ได้ง่าย

- การบุกรุกทำ�ลายป่า ลดลง

- ชุมชน

- การดูแลรักษา และบำ�รุง - เพื่อบำ�รุงดูแลต้นไม้ที่ปลูกให้ ต้นไม้ที่ปลูก เช่น กำ�จัด เจริญเติบโตดีขึ้น วัชพืช พรวนดิน ใส่ปุ๋ย

-ต้นไม้ที่ปลูกเจริญ เติบโตดีขึ้น

- ชุมชน

- การเก็บข้อมูลต้นไม้ - เพื่อบันทึกข้อมูลการเจริญ เติบโตของต้นไม้

- ใช้เป็นข้อมูลในการ ดูแลต้นไม้

- ชุมชน

- การทำ�ป้ายคำ�ขวัญ

- คนในชุมนมีจิตสำ�นึก - ชุมชน อนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ

- เพื่อปลุกจิตสำ�นึกให้คนใน ชุมชนเห็นความสำ�คัญของ ทรัพยากรธรรมชาติ

- การจัดทำ�ฐานเรียนรู้ - เพื่ อ เป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ใ ห้ กั บ - มีแหล่งเรียนรู้ให้กับ ในป่าชุมชน คนในชุมชน และผู้ที่สนใจ คนในชุมชน และผู้ที่ สนใจ

108

- หน่วยจัดการ ต้นน้ำ�

- ชุมชน

- การทำ�แปลงสาธิต - เพื่ อ เป็ น แหล่ ง เรี ย นรู้ ใ ห้ กั บ - มีแปลงสาธิตเพื่อเป็น - ชุมชน ในป่าชุมชน คนในชุมชน และผู้ที่สนใจ แหล่งเรียนรูใ้ ห้กบั คนใน ชุมชน และผู้ที่สนใจ - การอนุรักษ์สัตว์น้ำ� - เพื่อเพิ่มความหลากหลายของ - ความหลากหลายของสัตว์ - ชุมชน และสัตว์ป่า สัตว์น้ำ�และสัตว์ป่า น้�ำ และสัตว์ป่า ยังคงอยู่ 2.โครงการ เกษตร อินทรีย์ สู่เศรษฐกิจ พอเพียง

-การทำ�ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์

-เพื่อให้ชุมชนพึ่งตนเองได้บน ฐานทรัพยากรเศรษฐกิจ และ สังคมในชุมชน - การเพาะเห็ด - มีแหล่งอาหารที่เพียงพอ - การเลี้ยงสัตว์ เช่น ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง จิ้งหรีด หมู ไก่ ปลา กบ

-ชุมชนสามารถพึ่ง ตนเองได้บนฐาน เศรษฐกิจพอเพียง

- การปลูกผักพื้นบ้าน และผักสวนครัว - การรักษาโรคด้วย สมุนไพร

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่

- คนในชุมชน - กรมพัฒนาทีด่ นิ ที่สนใจ


ดัชนี

ชื่อพืชเด่น พืชน่าสนใจ และสัตว์เด่น

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


110

กว้าว ก้องกูด ก่อแพะ กาสามปีก กุ๊ก เก็ด ขว้าว ข่าดอย ขี้เหล็ก ขี้เหล็กโคก คราม เคาะ แคทราย แคหางค่าง งิ้วป่า แงะ จะล่อ ชิงชัน ซางดอย ดู่ แดง ตองตึง ตับเต่า ติ้ว ติ้วหนาม ตีนนก ถั่วนก ถั่วป่า เถาว์ยาง เถาว์ลาย นมนาง บุก บัวบก ปอยาบ ปี้ ปุย

22 70 30 42 29 49 48 72 55 58 74 38 27 36 35 21 70 24 57 19 25 37 47 53 51 23 73 73 74 72 75 71 70 65 20 34

ดัชนี​ี

เปราะป่า เปล้าหลวง เปา เปือย ผักปลาบป่า พลูลาย พ่อค้าตีเมีย เฟิร์นก้านดำ� มะกอก มะกอม มะเกลือ มะเกิ้ม มะขามป้อม มะคัง มะตาปู๋ มะตึง มะมื่น มะเม่าสาย มะหวด มูก เม่า ไมยราบ ยมหิน ลำ�ไยป่า ว่าน สะกึ๋น ส้าน สาปเสือ เสี้ยว หญ้าก่อ หญ้าไข่เหา หญ้าคมบาง หญ้าคา หนามไก่ไห้ เหมือดจี้ เหมือดโลด

74 45 18 67 73 75 75 76 33 52 46 29 56 50 60 31 28 62 75 43 59 76 40 61 71 32 41 72 54 76 71 71 72 73 39 44

เหียง 66 แหน 63 แหพันชั้น 74 เอื้องหมายนา 70 ฮกฟ้า 64 ไก่ป่า 78 นกเขาใหญ่ 78 นกเอี้ยงสาริกา 79 นกปรอดหัวโขน 78 นกปรอดสวน 79 นกกระจอกบ้าน 79 กระแตเหนือ 81 กระเล็นขนปลายหูสั้น 80 กระจ้อน 81 หนูท้องขาว 80 อ้นเล็ก 80 กระต่ายป่า 81 งูสิงธรรมดา งูเห่าตะลาน งูสิงหัวขาบ 82 กิ้งก่าแก้วเหนือ 83 กิ้งก่าหัวสีฟ้า กิ้งก่าสวน 82 กิ้งก่าคอแดง กิ้งก่ารั้ว 82 แย้เหนือ 83 ตะกวด 82 กบหนอง 84 เขียดหลังขีด 84 ปาดบ้าน 84 อึ่งอ่างบ้าน 85 เขียดทราย 85 เขียดจะนา 85 ปลาช่อน 87 ปลานิล 86 ปลาตะเพียนทราย 87 ปลาตะเพียนขาว 86 ปลายี่สก 87 ปลาดุกด้าน 86

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


รายชื่อผู้ด�ำเนินงานในพื้นที่บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่ โครงการจัดท�ำฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนาความหลากหลาย ทางชีวภาพและภูมิปญญาทองถิ่น และสงเสริมอาชีพชุมชน พื้นที่กลุมปาภูคา – แมยม และกลุมปาศรีลานนา – ขุนตาล ปีงบประมาณ ๒๕๕๔ ที่ปรึกษาโครงการ นายชวน ศิรินันท์พร นายเสรี ค�ำภีรธัมโม นายอภิชาติ เทียวพานิช นายชูเกียรติ พงศ์ศิริวรรณ ผศ.ชูชีพ ชีพอุดม

ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ผู้อ�ำนวยการส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ 111 ผู้อ�ำนวยการมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ

คณะท�ำงานฝ่ายอ�ำนวยการ ส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ ฝ่ายบริหารทั่วไป กลุ่มงานสิ่งแวดล้อม กลุ่มงานทรัพยากรธรรมชาติ กลุ่มงานทรัพยากรน�้ำ

ผู้ประสานงานโครงการ นางวิริยา อาษานอก

นักวิเคราะห์นโยบายและแผนช�ำนาญการ

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


คณะผู้ด�ำเนินงาน

112

ว่าที่ ร.ต.ดร. ธนากร ลัทธิ์ถีระสุวรรณ ดร. วรรณา มังกิตะ Mr. J. F. Maxwell นางสาวปุณยนุช ต้อตานา นายราวิน รักนา นายอรรถพล นามจักร นางสาวศิรดา ศรีสิงห์ นายศรายุ เพ็งผลา นายณัฐพงษ์ พิณพิมาย นายบุญยงค์ จิตมณี นางสร้อยทอง มหาวี นายอินสอน ศรีบุญเรือง นายสุวัตน์ ทวีสุข นายแอ๊ด จันทาพูน นายสิงหาญ อุดคำ�มี นายประพันธ์ จอมคำ� นางเสงี่ยม คำ�ฝั้น นายจั๋น ศรีบุญเรือง นางรวงทอง มหาวี

นักวิจัย นักวิจัย นักพฤกษศาสตร์ ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย ผู้ช่วยนักวิจัย อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ อาสาสมัครร่วมสำ�รวจ

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


เอกสารอ้างอิง ความหลากหลายของชนิดพันธุส์ ตั ว์เลือ้ ยคลาน. 2554 . http://chm- thai.onep.go.th/ chm/data_province/kanchanaburi/Reptiles.html วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 งูพิษของไทย 6 ชนิดที่มีเซรุ่มป้องกันพิษ. 2554 http://webboard.sanook.com/ forum/3426938 วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 จันทร์น้อย. 2554. สาระสังเขปจาก http://www.bloggang.com/mainblog. php?id=channoi วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 จีรเดช มโนสร้อย อรัญญา มโนสร้อย และอุดม รุ่งเรืองศรี. 2552. พจนานุกรมสมุนไพร ล้านนา. ศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 689 น. ดวงพร สุวรรณกุล และรังสิต สุวรรณเขตนิคม. 2544. วัชพืชในประเทศไทย. สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. 440 น. 113 เต็ม สมิตินันทน์. พ.ศ. 2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำ�นักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้. นก. 2549 . สาระสังเขปจาก http://kanchanapisek.or.th. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 ปลาน้ำ�จืด. 2549. สาระสังเขปจาก http://www.fisheries.go.th/sf-ratburi/Fish/Fish.htm วันที่สืบค้นข้อมูล 21 กรกฎาคม 2554 เม่นในเมืองไทย. 2554. สาระสังเขปจาก http://www.magnoliathailand.com. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 รายชื่อชนิดสัตว์ป่าเลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ศึกษาภูผาเทิบ. 2552. สาระสังเขปจาก http://chm-thai.onep.go.th/chm/data_province/kanchanaburi/Reptiles. html วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 สัตว์ป่าของไทย. 2554. สาระสังเขปจาก http://www.moohin.com/animals/ reptiles-26.shtml วันที่สืบค้นข้อมูล 22 มิถุนายน 2554

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่


สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม. 2549. สาระสังเขปจาก http://kanchanapisek.or.th. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 สัตว์สะเทินน้ำ�สะเทินบก. 2549. สาระสังเขปจากhttp://kanchanapisek.or.th. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 สัตว์เลื้อยคลาน. 2549. สาระสังเขปจาก http://kanchanapisek.or.th. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 สะอาด บุญเกิด จเร สดากร ทิพย์วรรณ สดากร. 2543. ชื่อพรรณไม้ในเมืองไทย. อนิเมท พริ้น แอนด์ดีไซน์ จำ�กัด. กรุงเทพ 672 น. สิบอันดับเรือ่ งแปลกในสัตว์. 2552. สาระสังเขปจาก http://www.nanmeebooks.com. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 อัลบั้ม: Birds Hunter. 2554. สาระสังเขปจาก http://www.siamphotography.com. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 Amphibian care. สาระสังเขปจาก 2552 http://www.amphibiancare.com/frogs/ gallery/china.html วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 Common Garden Lizard - Calotes versicolor. 2554. สาระสังเขปจาก 114 http://www.flickr.com/ วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 Frogs and Toads. 2553. สาระสังเขปจาก http://www.flickr.com. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554. Hemidactylus frenatus -Asiatischer Hausgecko . 2554. สาระสังเขปจาก http://www.spidercity.eu. วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 My Biodiversity. 2554 Mc Makin P. D. 1993. A Field Guide to the Flowering Plants of Thailand, White Lotus Co. Ltd., Bangkok, Thailand. 141 p. PestSciences. 2554. สาระสังเขปจาก http://malaysiapest.blogspot.com /2011/01/kenali-tikus.html วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 True Frogs. 2554. สาระสังเขปจาก http://www.ribbitphotography.com/galleries/ true_frogs/index.html วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554 Tupaia belangeri. 2553. สาระสังเขปจาก http://www.siamensis.org/taxonomy/ term/726/0 วันที่สืบค้นข้อมูล 21 มิถุนายน 2554

สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพ บ้านเหล่าเหนือ ต�ำบลบ้านกลาง อ�ำเภอสอง จังหวัดแพร่



โครงการจัดท�ำฐานข้อมูลเพื่อการศึกษาและพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมอาชีพชุมชน

พื้นที่กลุ่มป่าภูคา-แม่ยมและกลุ่มป่าศรีลานนา-ขุนตาล ปี ๒๕๕๔ โดยส�ำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแพร่ และ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.